ประชาไท | Prachatai3.info |
- “เจ้าคิดส่วย” ชาวกะเหรี่ยงนักสู้เพื่ออิสรภาพไทใหญ่ถึงแก่กรรม
- ใจ อึ๊งภากรณ์: เขมรกับเจ้าสีหนุ
- งานวิจัยเผย นสพ.อังกฤษเต็มไปด้วยการเหมารวมทางเพศ
- 6 ตุลา 19 ของผู้ตาม
- จำคุก ‘ผู้หญิงยิง ฮ.’ 1 ปี-การ์ด นปช.3 ปี คดีจับทหารในที่ชุมนุมปี 52
- ทัศนะจากชายแดนใต้ ‘หยุดวันศุกร์คือโอกาส...’
- ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๖ (จันทจิรา เอี่ยมมยุรา)
- ซีรีส์จำนำข้าว (4) วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ: ปัญหาเชิงโครงสร้างไม่(เคย)มีใครแตะ
- รบ. ฟิลิปปินส์ลงนามสันติภาพกับกลุ่มกบฎแล้วอย่างเป็นทางการ
- เสื้อแดงรำลึก 78 ปี อนุสาวรีย์ปราบกบฏ เชิดชูทหารรักษาประชาธิปไตย
- ศาลปกครองยกคำร้อง "อนุภาพ" ฟ้องระงับประมูล 3G
- ชี้ตะกั่วในสีทาบ้านอันตราย
- ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
- สมเด็จพระนโรดม สีหนุ สวรรคตแล้วที่ปักกิ่ง
“เจ้าคิดส่วย” ชาวกะเหรี่ยงนักสู้เพื่ออิสรภาพไทใหญ่ถึงแก่กรรม Posted: 15 Oct 2012 10:55 AM PDT เจ้าคิดส่วย ชาวกะเหรี่ยงซึ่งเข้าร่วมต่อสู้กับขบวนการเพื่ออิสรภาพของรัฐฉานหลายยุคหลายสมัย ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคประจำตัว ระหว่างเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวัย 74 ปี เจ้าคิดส่วย ชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นผู้นำอาวุโสในขบวนการต่อสู้เพื่ออิสรภาพรัฐฉานหลายยุค เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 74 ปี (ที่มาของภาพ: S.H.A.N.) เจ้าคิดส่วย ผู้เป็นที่กล่าวขานกันในกลุ่มอดีตสหายร่วมอุดมการณ์ในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพรัฐฉาน ว่าเป็นผู้มีความกล้าหาญและซื่อสัตย์ ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจตีบเมื่อเวลา 21.00 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการสูญเสียบุคคลสำคัญเก่าแก่อีกคนในแวดวงนักต่อสู้กู้ชาติของไทใหญ่ เพราะถึงแม้เจ้าคิดส่วย จะไม่ได้มีเชื้อสายชาวไทใหญ่ แต่เขามีหัวใจรักชาติรักแผ่นดินไทใหญ่อย่างแรงกล้า อุทิศชีวิตร่วมเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพรัฐฉานมานานกว่า 50 ปี เริ่มจากเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองกำลังปะโอ กองกำลังไทใหญ่ภายใต้การนำเจ้ากอนเจิง กระทั่งหลายกลุ่มรวมกันตั้งเป็นกองทัพเมืองไต MTA ภายใต้การนำของขุนส่า เจ้าคิดส่วย เกิดเมื่อปี 2481 ที่หมู่บ้านกะหยิ่นเลเซก อ.สะทง รัฐกะเหรี่ยง จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย และมีโอกาสเข้าศึกษาหลักสูตรการศึกษามวลชน (Mass Education Course) จากนั้นถูกส่งเข้าไปอยู่ในรัฐฉาน ที่เมืองปางโหลง เพื่อศึกษาต่อ และในปี 2503 เขาได้เข้าร่วมเป็นทหารในกองกำลังปลดปล่อยประชาชนชาติรัฐฉาน (Shan State National People Liberation Organization - SSNPLO) ซึ่งเป็นกองกำลังปะโอ หลังจากกองกำลัง SSNPLO และกองกำลังของไทใหญ่หลายกลุ่มรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน เจ้าคิดส่วย ได้ทำหน้าที่อยู่ในสำนักงานกองบัญชาการที่มีเจ้ากอนเจิง เป็นผู้บังคับบัญชา ปี 2511 กองกำลังที่รวมตัวกันเกิดความแตกแยกกัน เนื่องจากผู้นำมีอุดมการณ์แตกต่างกัน บางกลุ่มไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (Communist Party of Burma-CPB) โดยเจ้าคิดส่วย ซึ่งเป็นผู้มีอุดมการณ์ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ได้เข้าร่วมอยู่ในกองกำลังเจ้ากอนเจิง ที่แยกตัวและตั้งเป็นกองทัพสหปฏิวัติรัฐฉาน (SURA) ร่วมกับเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ผู้ก่อตั้งกองกำลังหนุ่มศึกหาญ ซึ่งเป็นกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่กลุ่มแรก โดยเจ้าคิดส่วยได้อยู่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเจ้ากอนเจิง มาโดยที่ไม่เคยแยกตัวไปร่วมกับกองกำลังกลุ่มใด โดยระหว่างอยู่ในกองกำลังไทใหญ่ภายใต้การนำเจ้ากอนเจิง เขาได้รับความไว้วางใจเป็นเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยอารักขากองบัญชาการ และมีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลการเงิน กระทั่งกองกำลังไทใหญ่ SURA ของเจ้ากอนเจิง และกองกำลัง SUA ของขุนส่าเข้าร่วมกันตั้งเป็นกองทัพเมืองไตย MTA เจ้าคิดส่วย ก็ยังเป็นนายทหารไทใหญ่ร่วมต่อสู้กู้ชาติกู้แผ่นดินรัฐฉานอย่างซื่อสัตย์ จวบจนกระทั่งขุนส่านำกองทัพเมืองไตย MTA เข้าสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลทหารพม่าเมื่อต้นปี 2539 กระนั้น เจ้าคิดส่วย ไม่คิดหนีจากวงการการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของไทใหญ่ ซึ่งเขาได้นำครอบครัวไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านเปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นชุมชนไทใหญ่และเป็นอดีตที่ตั้งกองบัญชาการกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน RCSS และกองทัพรัฐฉาน SSA ภายใต้การนำของเจ้ายอดศึก จนกระทั่งถึงแก่กรรมจากไป โดยระหว่างที่เขาเข้าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนั้นยังได้พูดถึงอนาคตของรัฐฉานอย่างเป็นห่วง ซึ่งเขาได้พูดคุยถึงสถานการณ์การหยุดยิงระหว่างกองกำลังไทใหญ่และรัฐบาลพม่า กับเจ้าคืนใส บรรณาธิการสำนักข่าวฉาน ที่เข้าเยี่ยมดูอาการเขาว่า "สันติภาพจะเกิดขึ้นได้หรือ การหยุดยิงจะเป็นยังไงต่อไป เพราะแม้จะหยุดยิงแต่ยังมีการสู้รบกันอยู่อย่างนี้" ขณะนี้ศพของเจ้าคิดส่วย ถูกนำไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้านพัก บ้านเปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ มีกำหนดฌาปนกิจในวันพฤหัสบดี ที่ 18 ตุลาคม 2555 นี้ ที่สุสานแขก ทางไปบ้านหลักแต่ง ชายแดนไทย – พม่า (รัฐฉาน) โดยทางครอบครัวได้ฝากคำเชิญถึงอดีตผู้ร่วมขบวนการเดียวกัน ตลอดมิตรสหายและผู้เคยเคารพนับถือกันไปร่วมงานศพเจ้าคิดส่วยได้ตามวันดังกล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ใจ อึ๊งภากรณ์: เขมรกับเจ้าสีหนุ Posted: 15 Oct 2012 10:25 AM PDT ความเชื่อแบบเก่าคือความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของกษั หลังการเจรจาสันติภาพ ระหว่างเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศ สีหนุพยายามใช้นโยบายเป็นกล จุดยืนของสีหนุบวกกับความอ่ สีหนุปกครองในรูปแบบเผด็จกา ในปี ค.ศ. 1960 สล็อท ซาร์ หรือที่ใครๆรู้จักในภายหลัง ในปี ค.ศ. 1970 สหรัฐหนุนการทำรัฐประหารล้ม การกระทำของสหรัฐมีผลให้พรร สรุปแล้วสีหนุเป็นนักฉวยโอก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
งานวิจัยเผย นสพ.อังกฤษเต็มไปด้วยการเหมารวมทางเพศ Posted: 15 Oct 2012 10:00 AM PDT องค์กร Women in Journalism นำเสนองานวิจัยเปิดเผยว่า ผู้ เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2012 องค์กร Women in Journalism (WIJ) เผยแพร่งานวิจัยของกลุ่มเกี่ งานวิจัยเปิดเผยว่านักข่ ทีมวิจัยทำการสำรวจข้อมูลจากหนั ผลการวิจัยรายงานว่า สตรีที่ได้รับการขึ้นหน้าหนังสื กลุ่มสิทธิสตรีที่ไม่พอใจเรื่ แฮร์เรียต ฮาร์มาน รองหัวหน้าพรรคแรงงานผู้ที่ รายงานวิจัยของ WIJ สะท้อนความกังวลที่ผู้ มาร์ก ทอมป์สัน อดีตผู้อำนวยการข่าวก่อนหน้านี้ เอนท์วิสเทิล กล่าวว่าเหตุที่เป็นเช่นนี้ สำนักข่าว เดอะ การ์เดียน ของอังกฤษเปิดเผยว่างานวิจัยชิ้ ก่อนหน้านี้ในปีเดียวกัน องค์กร 'ฐานันดรที่ 4' (4th Estate) ของสหรัฐฯ ก็เคยทำวิจัยพบว่า เมื่อสื่อรายงานประเด็นที่เกี่ WIJ วิจัยพบอีกว่าหนังสือพิมพ์ที่มี ในหมู่สื่อที่เรียกตัวเองว่าสื่ ในหมู่คน 668 คนที่มีชื่อในบทความหลัก ร้อยละ 84 ที่เป็นผู้ชายซึ่งได้รับการอ้ แม้จะมีความเท่าเที มีการตั้งข้อสังเกตอีกว่าเมื่ ที่มา Sexist stereotypes dominate front pages of British newspapers, research finds, The Guardian, 14-10-2012 แผนภาพรายละเอียด How women make the front page in Britain: get the full data, The Guardian, 15-10-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 15 Oct 2012 09:19 AM PDT คำไว้อาลัยของ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ที่เสนอประเด็นการต่อสู้เผด็จการ เชิดชูประชาธิปไตย ทำให้ผมนึกถึงการให้สัมภาษณ์ Voice TV ในฐานะผู้เข้าร่วมเหตุการณ์ 6 ตุลา เมื่องานรำลึก 6 ตุลา ปี 2552 ผมได้แสดงทัศนะว่า การต่อสู้ของเสื้อแดงที่ถูกการใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง เมื่อสงกรานต์ 2552 กับ 6 ตุลา มีความแตกต่างกันในด้านจุดมุ่งหมายบางประเด็นที่สำคัญคือ ผู้เข้าร่วม 6 ตุลา มีความมุ่งหมายสถาปนาสังคมที่เป็นธรรม ไม่มีการกดขี่ขูดรีด ประเด็นนี้ถูก Voice TV ตัดออกทั้งหมด แนวคิดสังคมนิยมกับขบวนการนักศึกษาหลัง 14 ตุลาเป็นเรื่องไม่อาจปฏิเสธได้ และเป็นสิ่งที่มาจากความมุ่งมั่นปรารถนาในการสังคมเป็นธรรม ปราศจากการเอารัดเอาเปรียบ โดยสถานการณ์ในเวลานั้นได้สร้างเส้นทางนั้นขึ้นมา ซึ่งความปรารถนานี้มาจากความรักเพื่อนมนุษยชาติและความต้องการความเท่าเทียมในสังคมก็ไม่ใช่ความผิด จึงไม่ควรจะถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง จากพิราบขาวสู่พิราบแดง การรับรู้ต่อจีนแผ่นดินใหญ่ที่แตกต่างจากการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐไทย กระตุ้นให้กลุ่มของผมในยุคนั้นสนใจสังคมนิยม พร้อมกับการเผยแพร่แนวคิดสังคมนิยมทั้งสายจีน สายตะวันตก เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในที่สุดพวกเรามีความเชื่อว่าสังคมนิยมควรจะเป็นทางออกของมนุษยชาติ เราเชื่อเปลี่ยนแปลงให้กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของสังคมแทนที่จะถือครองด้วยคนจำนวนน้อยจะนำไปสู่ความมั่งคั่ง ผาสุกและเท่าเทียมกันของมนุษยชาติ เมื่อเขมรแดงสามารถยึดพนมเปญในวันที่ 17 เมษายน 2518 ที่นำไปสู่การปลดปล่อยเวียดนามและลาวในระยะใกล้กัน เพราะขวัญและกำลังใจของฝ่ายขวาในสองประเทศตกต่ำ ไม่มีความพยายามในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ในประเทศตัวเองอีกต่อไป ประกอบกับความหวาดกลัวของชนชั้นนำในยุคคือ ภัยคอมมิวนิสต์ แม้กระทั่ง การฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยคำแนะนำของสหรัฐ ก็เพื่อระดมสรรพกำลังในการต่อต้านภัยนี้ การเปลี่ยนในอินโดจีนจึงความวิตกอย่างรุนแรงต่อชนชั้นนำของสังคมไทยอย่างรุนแรง ดร.ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญการเมืองไทย เขียนไว้ใน Revolution Interrupted และจากการสนทนากับบรรดาคนในตระกูลชนชั้นนำจำนวนหนึ่งที่เล่าเรื่องราวการอพยพไปอยู่ในสหรัฐช่วงปี 2518 – 2524 ด้วยความหวาดกลัวต่อการปฏิวัติของฝ่ายสังคมนิยม การสู้เป็นคนสุดท้ายของชนชั้นนำจึงเป็นแค่ "จะสู้บนแผ่นดินไทยจนเป็นคนสุดท้ายที่หนีออกจากประเทศไทย" ขณะที่ กระแสสากลต่อการเข้าหารัฐสังคมนิยมจีนเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในที่สุด มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้องเดินไปฟื้นความสัมพันธ์ไทย-จีน แต่ในประเทศไทยได้เริ่มขบวนการกวาดล้างการเคลื่อนไหวของนักศึกษา กรรมกร และชาวนา พลตรีชาติชาย ชุณหวัณ พูดว่า "นี่คือประชาธิปไตยครั้งสุดท้าย" พลตรีประมาณ อดิเรกสาร พูดถึง "ขบวนการขวาพิฆาตซ้าย" ตั้งแต่นั้นมา ผู้นำชาวนาของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ถูกลอบสังหารหลายสิบคน ผู้นำนักศึกษา เช่น นายอมเรศ ไชยสะอาด นักการเมือง คือ ดร.บุญสนอง บุญโยทยาน มีการกวาดจับนักศึกษาและกรรมกรจำนวนมาก ความรุนแรงได้เดินทางถึงจุดสูงสุด ในการเดินขบวนขับไล่ฐานทัพสหรัฐ เมื่อ 20 มีนาคม 2519 การเดินขบวนครั้งนี้ตั้งต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปยื่นหนังสือให้ถอนฐานทัพที่สถานทูตสหรัฐ ถนนวิทยุ ท่ามกลางข่าวลือการใช้ความรุนแรงจนขั้นการทำรัฐประหาร ก่อนหน้าการเดินขบวน มีการขว้างระเบิดมือเอ็ม 26 ไปที่เวทีเคลื่อนที่ แต่ระเบิดด้าน ผู้เข้าร่วมการขับไล่ฐานทัพยังยืนยันที่ไปยื่นหนังสือให้กับสถานทูตสหรัฐ เมื่อขบวนเดินมาถึงสยามเซ็นเตอร์ มีการขว้างระเบิดมือเอ็ม 26 มีผู้เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บหลายสิบคน สองในผู้เสียชีวิต คนหนึ่งเป็นนิสิตปีหนึ่ง คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นรุ่นพี่โรงเรียนของผม อีกหนึ่งเป็นนักศึกษารามคำแหงรุ่นพี่ที่รู้จักกันในการร่วมสนับสนุนการหยุดงานของกรรมกรแสตนดาร์ดกาเมนต์ ของตระกูลอื้อจือเหลียง ในปี 2518 ที่จบลงด้วยการใช้ตำรวจปราบจลาจลเข้ามาสลายการชุมนุม ในช่วงการเดินขบวนครั้งนี้ผมไปรณรงค์เรื่องนี้ในต่างจังหวัด จึงได้แต่ไปไว้อาลัยและยืนดูความตายของคนที่รู้จัก ก่อนหน้าการเดินขบวน 20 มีนาคม 2519 มีการรณรงค์ต่อต้านฐานทัพสหรัฐเป็นไปอย่างกว้างขวางทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในการรณรงค์ครั้งนี้มีเหตุการณ์สะเทือนใจมากคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในนครราชสีมา ถูกกราดยิงด้วยปืนเอ็ม 16 บนรถกระบะขณะที่กำลังออกไปปิดโปสเตอร์ การขับไล่ฐานทัพสหรัฐมีนัยยะอย่างมากในช่วงเวลานั้น ทำให้มีการประเมินว่าอาจจะมีการกวาดล้างจนถึงการทำรัฐประหารเพื่อหยุดยั้งการขับไล่ฐานทัพ เพราะฝ่ายนักศึกษาและประชาชนเห็นว่า สหรัฐในช่วงเวลาดังกล่าวทรงอิทธิพลต่อการเมืองไทย ตั้งแต่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ที่ต้องไปวางแผนในสหรัฐ การสนับสนุนบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่ได้รับการฟื้นฟูในยุคของจอมพลสฤษดิ์ การรัฐประหาร 2514 ของจอมพลถนอม ต้องหารือและขออนุญาตจากสหรัฐ ขณะเดียว ประเทศไทยมีฐานะสำคัญในยุทธศาสตร์ทางทหาร สหรัฐใช้เป็นฐานทัพในทิ้งระเบิดในเวียดนามและลาว เพื่อหยุดยั้งคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม จนถึงปัจจุบัน ในการหวนกลับเอเชียของสหรัฐก็ได้ใช้ประเทศไทยเป็นที่มั่นในการยับยั้งอำนาจของจีน สหรัฐได้แสดงท่าทีชัดเจนในการสนับสนุนระบบอำมาตยาธิปไตย ในการกวาดล้างชุมนุมเสื้อแดงปี 2552 สถานทูตสหรัฐออกแถลงการณ์ชี้นำว่าเสื้อแดงเป็นฝ่ายใช้ความรุนแรง ในการชุมนุมที่ราชประสงค์ปี 2553 สหรัฐก็ทราบดีว่าฝ่ายเสื้อแดงเป็นอย่างไร เพราะผู้ชุมนุมกางเต็นท์ริมถนนราชดำริข้างสถานทูตสหรัฐ แต่แสดงท่าทีสนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิ์ การกวาดล้างยังมีต่อไป มีการจับกุมนักศึกษาและกรรมกรอ้อมน้อยในข้อหา "คอมมิวนิสต์" หนึ่งในนั้นคือ นางสาวนิภาพรรณ พัฒนไพบูลย์ หรือสุนีย์ ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน การกล่าวหานักศึกษาและประชาชนด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์โยงไปสู่การกล่าวหาว่าคอมมิวนิสต์เป็นพวกทำลาย ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ หรือ อุดมการณ์ "ราชาชาตินิยม" ที่มีใช้โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นอกจากการคุกคามการคุกคามต่อขบวนการนักศึกษาและประชาชนแล้ว ฝ่ายอำมาตย์ได้ทำการจัดตั้งมวลชนหลายกลุ่มเพื่อต่อต้าน กลุ่มแรกคือ การจัดนักศึกษาอาชีวะ "กระทิงแดง" ในความรับผิดชอบของ พลตรีสุดสาย เทพหัสดิน ณ อยุธยา มีนายสมศักดิ์ ขวัญมงคลและนายเฉลิมชัย มัจฉากล่ำ เป็นแกนนำ กลุ่มเคลื่อนไหว "นวพล" รับผิดชอบโดย นายวัฒนา เขียววิมล ทั้งกระทิงแดงและนวพลได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายทหาร มีการจัดตั้งชาวบ้านและคหบดีภายใต้รูปแบบ "ลูกเสือชาวบ้าน" ที่จะได้รับพระราชทานผ้าพันคอ การจัดตั้งนี้อยู่ภายใต้การกำกับของตำรวจตระเวนชายแดน ในด้านสื่อมวลชน วิทยุ มีสถานีวิทยุยานเกราะ เป็นแม่ข่ายในการปลุกระดมอุดมการณ์ "ราชาชาตินิยม" ขวาจัด ในความรับผิดชอบ พ.ท.อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีผู้ร่วมจัดรายการประจำคือ นายสมัคร สุนทรเวช, อุทิศ นาคสวัสดิ์, ดุสิต ศิริวรรณ, ประหยัด ศ.นาคะนาท, ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ทมยันตี, อาคม มกรานนท์ โดยนายธานินทร์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ด้านหนังสือพิมพ์ มี "ดาวสยาม" ที่มีนายประสาน มีเฟื่องศาสตร์ เป็นบรรณาธิการ และมี เปลวสีเงิน เป็นนักข่าว เมื่อเผชิญกับการคุกคามของ "ขวาพิฆาตซ้าย" ต่อการเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม มีขบวนการล่าสังหารนักศึกษา กรรมกร และชาวนา การแพร่หลายของแนวคิดสังคมนิยมที่เคยเพียงแค่แนวคิดได้กลายเป็นอุดมการณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิวัติสังคม นำสู่ข้อสรุปว่าการสร้างสังคมที่เป็นธรรมต้องใช้ความรุนแรงตามมาร์กซ์พูดไว้ สภาพแวดล้อมของไทยใกล้เคียงกับจีนจึงต้องใช้แนวทางของเหมาเจ๋อตงด้วยการต่อสู้ด้วยอาวุธในชนบท ใช้ชนบทล้อมเมืองและยึดเมืองในที่สุด 6 ตุลา วันสังหารพิราบแดง เมื่อการชุมนุมยืดเยื้อเริ่มขึ้นในวันที่ 4 ตุลา มีการแสดงละครการแขนคอสองพนักงานการไฟฟ้านครปฐม นายวิชัย เกษศรีพงษา และนายชุมพร ทุมไมย ถูกฆ่าและแขวนคอ ขณะที่พวกเขาออกติดโปสเตอร์ต่อต้านการกลับมาของจอมพลถนอม ฉากการแขวนคอได้กลายเป็นภาพบนหนังสือพิมพ์ดาวสยาม และบางกอกโพสต์ ที่พาดหัวข่าวในทำนองหมิ่น "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ฉบับเช้าวันที่ 5 ตุลาคม สถานีวิทยุยานเกราะได้เรื่องนี้นำประโคมเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาในวันที่ 6 ตุลา ผมกับเพื่อนๆ ที่ค้างคืนวันที่ 5 ตุลาคม 2519 ใต้ถุนคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ตลอดคืนมีการเสียงปืนปะปราย หนาแน่นบ้างเป็นบางช่วง ระหว่างการ์ดนักศึกษากับกลุ่มติดอาวุธของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องปกติในการชุมนุมทางการยืดเยื้อ ตั้งแต่ปี 2518 จากนั้น ผมกับเพื่อนอีกคนเดินไปกินข้าวเช้าที่โรงอาหารคณะเศรษฐศาสตร์ เมื่อไปถึงโรงอาหาร ผมสั่งข้าวแกง ขณะนั้น เราได้ยินเสียงยิงเอ็ม 79 เสียงระเบิดเกิดขึ้นน่าจะเป็นบริเวณสนามฟุตบอล แล้วเสียงปืนดังขึ้นด้านหน้ามหาวิทยาลัยด้วยการยิงรัวของปืนหลายร้อยกระบอก และต่อมาในทุกทิศทุกทาง เสียงดังก้องคำรามสนั่นหวั่นไหว กลบเสียงอื่นในยามเช้าของกรุงเทพมหานคร นี่เป็นเสียงที่น่าหวาดกลัวยิ่งนัก เราไม่เคยคิดว่าจะเผชิญกับการล้อมปราบ แม้ว่าจะเคยอ่านพบในเอกสารจำนวนมากก็ตาม การยิงเอ็ม 79 ผมเข้าใจในภายหลังว่า นี่เป็นสัญญาณนำปฏิบัติการ ผมมองไปรอบๆ มีคนนั่งอยู่บริเวณหลายสิบคน ทุกคนนิ่ง เงียบ และสงบ ไม่มีเสียงบ่น โวยวาย หรือแม้แต่คร่ำครวญ ผมจึงต้องอยู่อย่างเงียบสงบเหมือนนักศึกษารุ่นพี่คนอื่นๆ อาจจะยกเว้น แม่ค้าขายข้าวแกงที่มีสีหน้าหวาดหวั่นพรั่นพรึง เมื่อโผล่ออกมามองทางไปตึกโดมก็ไม่มีการเคลื่อนไหว หันไปทางถนนพระอาทิตย์ ก็ไม่มีอะไรเคลื่อนไหว เช่นกัน แต่รู้สึกว่าด้านถนนพระอาทิตย์รู้น่ากลัวมากกว่า จึงหันไปถามเพื่อนจะเอาอย่างไร เขาบอกว่าอยู่ที่นี่ก็แล้วกัน เพราะเรางุนงงจนไม่รู้จะทำอะไรดี ผมเริ่มกินข้าวอย่างสงบ โดยคิดว่าคงจะเป็นอาหารมื้อสุดท้าย แต่ก็เป็นไม่เป็นเช่นนั้น ผมยังมีโอกาสกินข้าวมื้อถัดมาในอีก 24 ชั่วโมงต่อไป พวกเราได้ยินเสียงของธงชัย วินิจกุล จากเวทีบอก "อย่ายิง อย่ายิง" เป็นระยะๆ สักครู่เราเห็นเรือตำรวจน้ำลอยลำกลางแม่น้ำเจ้าพระยาด้านหลัง เมื่อมีคนเดินผ่าน เขาเล่าว่ามีคนว่ายน้ำข้ามไปศิริราชแต่เรือตำรวจยิงตาย เจ้าพระยาแดงไปหมด ทว่าผมไม่เห็นเหตุการณ์นี้ เช่นเดียวกัน ผมไม่รู้ว่าวันนั้นมีความรุนแรงอะไรบ้าง การลากคนไปรอบสนามจนตาย การลากคนไปเผา การแขวนคอ เป็นภาพที่พบเห็นในภายหลัง วิดีโอเหตุการณ์ได้ดูหลังจากนั้นนานนับสิบปี พวกเราเริ่มได้ยินเสียงปืนรัวใกล้เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ มีเสียงระเบิดเป็นระยะๆ ในภายหลังผมเข้าใจเป็นเสียงปืนยิงรถถัง 75 ม.ม. หรือ ปืนไร้สะท้อน จากรูปภาพที่เห็น เสียงบนเวทีหายไปแล้ว ทุกคนยังคงสงบนิ่ง ไม่มีใครกระวนกระวาย ทำให้ผมพร้อมรับสถานการณ์ พลางคิดว่าเราคงเป็นวีรชนเหมือนกับรัฐประหารนองเลือดในชิลี ทหารนำโดยปินโนเช่ ที่สหรัฐสนับสนุนเพื่อการโค่นล้มรัฐบาลเลือกตั้งสังคมนิยมของนายอาเยนเด้ เพราะโอนกิจการเหมืองทองแดงของบริษัท ไอทีที เป็นของรัฐ อาจจะเหมือนเหตุการณ์นองเลือด 1905 ในรัสเซีย ที่ทหารคอสแซกของกษัตริย์ซาร์นิโคลัส ออกมาเข่นฆ่าประชาชน เสียงปืนบางส่วนเปลี่ยนเป็นการยิงทีละนัด ผมคิดว่าอาจจะเป็นยิงประหารทีละคน ผมรู้สึกความตายมาอยู่เบื้องหน้าแล้ว นี่เป็นความบีบคั้นมากขึ้นๆ ทุกที เมื่อมองไปรอบๆ ทุกคนยังเหมือนเดิม ไม่มีใครกระวนกระวายแม้แต่น้อย เสียงปืนยิงรัวกำลังเข้ามาใกล้ทุกขณะ ดังมาจากทุกทิศทางจนพวกเราไม่ได้ยินอื่นใด แล้วตำรวจชุดสีกากีจากกองปราบ ถือปืนพร้อมยิง ดาหน้ามาจากคณะรัฐศาสตร์ ปืนชนิดนั้น ผมรู้จักชื่อในภายหลัง เรียกว่าปืนคาร์บิน ตำรวจบอกให้ทุกคนถอดเสื้อ ไม่ว่าชายหรือหญิง บางคนถูกตำรวจปลดสร้อยคอ นาฬิกา และเครื่องประดับ สั่งมือประสานท้ายทอย เดินก้มหน้าเรียงแถวไปที่สนามฟุตบอล หลายคนโดนตำรวจเตะ บางคนตะโกนด่า บางประโยคที่จำได้คือ "อ้ายพวกแกว (เวียดนาม)" "พวกหนักแผ่นดิน ต้องตายทั้งหมด" เมื่อมาถึงสนามฟุตบอลพบว่ามีพวกเรานอนคว่ำหน้าเต็มไปหมด ตำรวจสั่งให้เรานอนคว่ำหน้า เรานอนอยู่ไม่นาน แล้วพวกนั้นไล่เตะพวกเรา ต้อนไปขึ้นรถโดยสาร ให้นั่งก้มหน้าจนทั้งเบาะและพื้น เมื่อรถจอด น่าจะเป็นประตูด้านท่าพระจันทร์ มีคนเอาไม้ เหล็ก ทุบตีหน้าต่างรถ ตำรวจสองสามนายขึ้นรถ รูดนาฬิกาและทรัพย์สินอีกรอบหนึ่ง ในเวลานี้ ผมคิดว่าวาระสุดท้ายมาถึงแล้ว พวกเรานั่งก้มหน้าบนรถ จนไปถึงสถานแห่งหนึ่งช่วงเย็นมากแล้ว พวกเราถูกต้อนให้ขึ้นชั้นสองของโรงนอนที่เป็นอาคารไม้สองชั้น เช้าวันรุ่งขึ้น ผมได้เจอคนที่รู้จัก แล้วรู้ว่าที่นี่คือ โรงเรียนพลตำรวจชลบุรี และรู้ว่าเกิดรัฐประหารเมื่อคืนนี้นำโดยพลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ เราเริ่มพูดคุยกันอย่างเงียบๆเป็นระเบียบ บางคนเล่าว่าเดินเลาะไปที่ท่าพระจันทร์ แล้ววิ่งเข้าไปในตึกแถว ในชั้นของเขามีคนซ่อนตัวหลายสิบคน แต่ไม่พ้นมือตำรวจ วันต่อมา พวกเราถูกเรียกตัวไปให้การกับพนักงานสอบสวน ในภายหลังรู้สึกเสียใจกับคำให้การของตัวเองว่า ไม่รู้ ไม่เห็น บังเอิญผ่านไป ผมไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จึงได้รอคอยพร้อมจินตนาการว่าตัวเองถือปืนอยู่บนเขาลูกหนึ่ง บางอารมณ์ก็กำลังไล่ยิงพวกทหาร ตำรวจ พวกเราอยู่ที่นี่ประมาณหนึ่งสัปดาห์ แล้วย้ายมาที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน ที่ได้กลายมาเป็นเรือนจำนักโทษการเมืองหลักสี่ ผมอยู่ที่นี่อีกสองสัปดาห์ จึงได้รับการประกันตัวจากญาติห่างๆ ที่เป็นผู้พิพากษาในคดีนี้ ท่านบอกเมื่อมารับตัวว่า จะยกฟ้องทุกคน ยกเว้นผู้นำนักศึกษา ในวันรายงานตัวกับศาล ซึ่งใช้ห้องประชุมของโรงเรียนพลตำรวจบางเขนเป็นห้องพิจารณาคดี ผมไปกับแม่ เนื่องจากยังเป็นผู้เยาว์ เราไปรายงานตัวก่อน สักพักมีคนมากมายทั้งญาติ และผู้ให้กำลังใจมากมาย นักศึกษาหญิงบางกลุ่มที่มาให้กำลังใจกับบรรดานักโทษการเมือง 6 ตุลา ผมไม่แน่ใจว่าเป็นพวกนักเคลื่อนไหวหรือเปล่า เพราะไม่คุ้นหน้าและแต่งตัวดีมาก ข่าวสารที่รับทราบผ่านหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับหลักฐานที่พบในธรรมศาสตร์ ไม่พบว่าการแสดงอาวุธหรือคลังแสง รวมถึงอุโมงค์ลับ คอลัมนิสต์ของเดลินิวส์ เขียนไว้ อุโมงค์ลับของอุทิศ นาคสวัสดิ์ สงสัยจะเป็นความเข้าใจผิดของเขา ที่คิดว่าท่อระบายน้ำเป็นอุโมงค์ลับ ในช่วงดังกล่าว มีโอกาสรับรู้การเคลื่อนไหวประณามเหตุการณ์ 6 ตุลาในต่างประเทศ ผมเคยให้ข้อมูลกับนักศึกษาไทยที่เรียนปริญญาโทในฝรั่งเศสที่มารวบรวมข้อมูลของเหตุการณ์ ระหว่างการคอยศาลสั่งยกฟ้อง ผมกับเพื่อนรุ่นพี่รามคำแหงที่ติดต่อกันอยู่ก็กลายเป็นหน่วยจัดตั้งได้รับการติดต่อเดินทางขึ้นภาคเหนือ แล้วพวกเราใช้เวลาการรอคอยปฏิบัติการทางการเมืองด้วยการโรเนียวเอกสารโดยใช้กระดาษไข พิมพ์ข้อความ ทาบบนแผ่นซิลค์สกรีนรีดหมึกด้วยลูกกลิ้ง แอบไปวางตามสถานที่สาธารณะต่างๆ ส่งทางไปรษณีย์ เป็นต้น จนกระทั่งเดินทางเข้าสู่เขตชนบท ผู้สังหารนกพิราบ ฝ่ายทหารผู้ทำรัฐประหาร พลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ ต้องขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ซึ่งคือ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร แทนที่จะตั้งคนของตัวเอง เพื่อแสดงว่าพวกเขาไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาและวางตัวมีระยะห่าง หลังจากนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้วางแผนประชาธิปไตย 12 ปี ออกกฎหมายภัยสังคมที่ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถจับกุมโดยไม่ต้องไต่สวน และมีผู้ถูกจับกุมจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่ถูกใส่ร้ายป้ายสี ส่วนพวกนักเคลื่อนไหวจะถูกจับด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์ มีขบวนการปล่อยป้ายสีและสร้างความเกลียดชังชาวเวียดนามในไทย ขณะเดียวกัน ฝ่ายกองทัพมีความขัดแย้งรัฐบาลมาตลอดตั้งแต่รัฐบาล วิทยุกองทัพมีบทความวิจารณ์รัฐบาลอย่างสม่ำเสมอ เช่น บทความชื่อ "จะปกครองประเทศด้วยหลักรัฐศาสตร์หรือไสยศาสตร์" เนื่องจากนายธานินทร์ เป็นผู้พิพากษาที่เชี่ยวชาญเรื่องโหร และมักจะทำพิธีกรรมแก้เคล็ด จนนายธานินทร์และพลเรือเอกสงัดออกรายการโทรศัพท์ ชี้แจงว่าไม่มีความขัดแย้ง นายธานินทร์เปรียบเทียบว่า รัฐบาลคือหอย ทหารคือเปลือกหอย มีหน้าที่คุ้มกันรัฐบาล ในที่สุดทหารก็ล้มรัฐบาล "หอย" ธานินทร์ในหนึ่งปีต่อมา ด้วยข้อหาไม่สามารถอารักขาความปลอดภัยขององค์ประมุข เพราะมีการค้นพบระเบิดในทางเสด็จผ่านของในหลวงและพระราชินี แล้วอดีตนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ ผู้แข็งขันในการปลุกระดมการฆ่านักศึกษา เมื่อ 6 ตุลา ด้วยความเกลียดชัง ก็ไปดำรงตำแหน่งองคมนตรีทันที นายสมัคร สุนทรเวช ไปเป็นรองผู้อำนวยการสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในภายหลังเมื่ออ่านบันทึกความทรงจำของนายบุญชนะ อัตถากร นักการคลังผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น เขียนไว้ว่า พลเรือเอกสงัด เล่าถึงการเลือกนายกรัฐมนตรีให้เขาฟังว่า พลเรือเอกสงัดได้เดินทางไปเข้าเฝ้าในหลวงที่ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศ เขาได้รอพระราชดำรัสจนถึงเย็น จึงเข้าจะขอทูลลา ในหลวงได้ทรงตรัสว่า จะตั้งนายกรัฐมนตรีทำไมไม่ปรึกษานักกฎหมาย อย่างคุณธานินทร์ พลเรือเอกสงัด และคณะปฏิรูป จึงเลือกนายธานินทร์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลัง 6 ตุลา ผมมีข้อสรุปว่า ผู้ก่อเหตุการณ์คือ พวกขวาจัดกษัตริย์นิยม ได้แก่ กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน จปร,รุ่น 7 ตำรวจ ฝ่ายทหารอาจจะไม่ต้องการใช้วิธีการนี้ เพราะจะเป็นการผลักดันให้นักศึกษาเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ฝ่ายทหารอาจจะต้องการกดดันผ่านการจับกุม ลอบสังหาร ป้ายสี โดดเดี่ยว เหมือนการลอบสังหารผู้นำนักศึกษา กรรมกร ชาวนา หลายสิบคนตั้งแต่ปี 2518 พิราบแดงปีกหักกับความจำ 6 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ได้มาเพื่อลดกระแส พฤษภา 35 ที่พวกเขา โดยเฉพาะกองทัพอยู่ในฐานะพ่ายแพ้ทางการเมืองยับเยิน ภายหลังเหตุการณ์นี้ มีการเพิ่มคำว่า "ประชาชน" ต่อท้ายคำขวัญ "เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" บนป้ายของกองทัพเกือบทุกหน่วยงาน ผมมีโอกาสพบกับผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชาย ที่บ้านหม่องคั๋วะ หมู่บ้านนี้เคยเป็นฐานที่มั่นของ พคท. จังหวัดตาก ในปี 2548 เขาได้สะท้อนความคิดว่า 6 ตุลา นักศึกษาแพ้ แต่พวกเขาแพ้ในเหตุการณ์พฤษภา 35 เท่ากับหายกัน ผมเข้าร่วมเหตุการณ์รำลึกเดือนตุลา ที่รวมเหตุการณ์ 14 ตุลาและ 6 ตุลา ในปี 2524 มีนักเคลื่อนไหวรุ่นนั้นมาร่วมหนาตาพอสมควร เวทีจัดที่สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นก็ไม่ได้เข้าร่วมอีกเลยจนหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภา 35 เพราะสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด การรำลึกในบรรยากาศ ตุลาคม 2524 เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เรียกว่าวิกฤติศรัทธา อันเนื่องจากสัมพันธภาพของพรรคคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน ไทย และจีน ที่นำไปสู่ความถดถอยของการต่อสู้ของขบวนการปฏิวัติไทย ปีต่อมา การแยกตัวระหว่างนักศึกษาและแนวร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ ขณะเดียว พคท. มีแตกแยกสืบเนื่องจากการการประชุมสมัชชา แล้วการปฏิวัติไทยจึงจุดจบ ความจริง 6 ตุลาในเวลานั้น ไม่ใช่ความพ่ายแพ้ของขบวนการนักศึกษา แต่เป็นการเปิดแนวรบที่นักเคลื่อนไหวรุ่นนั้นเชื่อว่าเป็นแนวทางที่จะไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมตามความใฝ่ฝัน เมื่อปิดฉากด้วยการพ่ายแพ้ของการปฏิวัติไทย พวกเราจึงกลับมาอย่างผู้พ่ายแพ้ที่เดิมพันด้วยชีวิต จึงเป็นความขมขื่นอย่างยิ่ง ความรู้สึกนี้เชื่อมไปสู่ 6 ตุลา ที่เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเราเลือกไปสู่แนวทางการต่อสู้ด้วยอาวุธในชนบท ความจดจำทางประวัติศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ ต้องมาจากประชาชนเท่านั้น แต่พวกเราผู้อยู่ขบวนการต่อสู้นี้ตกอยู่ในฐานะพ่ายแพ้ หลายคนปิดบังเรื่องการเข้าร่วมต่อสู้ในชนบทกับผู้คนรอบข้างจนบัดนี้ จึงเป็นเรื่องยากที่ให้พวกเราหาญกล้ามาผลักดันเรื่องนี้ต่อไป แต่ความรุนแรงในปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของชนชั้นปกครองก็ไม่ได้หมดสิ้นไป การสลายการชุมนุมเสื้อแดง พฤษภา 53 ได้เกิดขึ้นด้วยการใช้กำลังทหารและอาวุธสงคราม และการรำลึก 6 ตุลา จึงมีผู้เข้าร่วมมากขึ้น ซึ่งคือ กลุ่มเสื้อแดง นักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ รวมถึงอดีตนักศึกษารุ่นนั้นบางส่วนประมาณ 20% จึงเป็นไปได้ว่าประวัติศาสตร์นี้จะกลับมาชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ คนรุ่น 6 ตุลาส่วนใหญ่ในขณะนี้อยู่ฝ่ายเสื้อเหลืองหรือสลิ่ม ความปรารถนาแห่งสังคมนิยม การเลือกแนวทางต่อสู้อาวุธในชนบท เกิดมาจากการล่าสังหารอันยาวนานของชนชั้นปกครองไทย ทำให้ทางเลือกอื่น เช่น สังคมประชาธิปไตย แนวทางสันติ แนวทางรัฐสภา ถูกกำจัดออกไป เหลือแต่เพียงแนวทางการใช้ความรุนแรงขึ้นตอบโต้ เหมือนกับบทกลอน วิสา คัญทัพ ที่เขียนไว้อาลัย ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน ที่ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 "อหิงสาผลตอบคือความตาย ทางสุดท้ายมันบังคับให้จับปืน" สังคมนิยมหรือสังคมที่ปราศจากการกดขี่ขูดรีดไม่ได้เป็นความปรารถนาในทางโลกเท่านั้น สังคมประเภทนี้เป็นความปรารถนาในทางศาสนา เช่น สังคมพระศรีอาริยะ ของศาสนาพุทธ แม้กระทั่งยูโทเปีย ที่เป็นต้นธารของสังคมนิยมตะวันตก ก็นำเสนอโดยพระคาทอลิก นักบุญโทมัส มอร์ ในปีที่แล้ว ขบวนการ Occupy Wall Street เลือกใช้หน้ากาก Guy Fawkes เป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ เขาเป็นชาวคาทอลิก ผู้ถูกกดขี่ในความเชื่อศาสนาจากกษัตริย์อังกฤษ เขาและพรรคพวกใช้การก่อวินาศกรรมในการสังหารฝ่ายตรงข้าม แต่ขบวนการ Occupy Wall Street เลือกเขาเป็นสัญลักษณ์ในฐานะการต่อสู้ของคนไร้อำนาจที่กล้าต่อสู้กับอำนาจกดขี่ขนาดใหญ่ เช่นเดียวกัน อุดมการณ์สังคมนิยมของนักศึกษา 6 ตุลา ควรมองไปที่ความปรารถนาสร้างสังคมที่เป็นธรรมปราศจากการกดขี่ขูดรีด ความกล้าหาญและความปรารถนาอันสูงส่ง ความมุ่งหวังในการสร้างสังคมที่ปราศจากการกดขี่ขูดรีดด้วยความรักมนุษยชาติของพวกเขาเป็นสิ่งสมควรยกย่อง ผมอาจจะไม่สามารถรับประกันทุกคน ถ้านับผู้เสียชีวิตตั้งแต่ปี 2518 จนถึง 6 ตุลาคม 2519 เข้าด้วยกันเพราะเกิดจากขบวนการล่าสังหารของฝ่ายขวาทั้งหมด จะมีประมาณ 600 คน เหตุการณ์ 6 ตุลา เสียชีวิตประมาณ 530 คนจากรายงานของ 2519.net ส่วนที่เหลือเกิดจากการล่าสังหาร การก่อวินาศกรรมอื่นๆ ผมเชื่อว่าเพื่อนของผมสองคน เสียชีวิตด้วยความฝันของสังคมที่เป็นธรรม อาจจะกล่าวถึงผู้เสียชีวิตว่า มี 598 คนตายเพื่อประชาธิปไตย อีก 2 คนตายเพื่อสังคมที่ไม่มีการกดขี่ขูดรีด ถ้ากล่าวถึง 3,000 คนที่ถูกจับกุม ก็จงบอกว่า 2,999 คนถูกกุมขังเพื่อประชาธิปไตย มี 1 คนยืนหยัดในสังคมที่ไม่มีการกดขี่ขูดรีด ผู้เข้าร่วมเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่ได้เป็นเหยื่อความรุนแรงด้วยการเข้าพื้นที่ความรุนแรงโดยบังเอิญ หรือไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะทุกคนร่วมการต่อสู้โดยรู้ว่ากำลังจะเผชิญกับอะไร เนื่องจากการล่าสังหาร คุกคามเกิดขึ้นมานานกว่าหนึ่งปี การบอกว่าเป็นเหยื่อโดยไม่อธิบายอย่างชัดเจนจะเป็นลดทอนความกล้าหาญของพวกเขา ประวัติศาสตร์จะจำเรื่องนี้อย่างไร เป็นเรื่องของคนรุ่นต่อไปจะทำความเข้าใจและตีความ เพียงจะฝากไว้ว่าพวกเขามีความกล้าหาญและมีความปรารถนาอันสูงส่ง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จำคุก ‘ผู้หญิงยิง ฮ.’ 1 ปี-การ์ด นปช.3 ปี คดีจับทหารในที่ชุมนุมปี 52 Posted: 15 Oct 2012 09:11 AM PDT นฤมล หรือผู้หญิงยิง ฮ. ถูกสั่งจำคุก 1 ปี หน่วงเหนี่ยวกักขังทหารสายสืบ การ์ด นปช.อีกคนโดน 3 ปี ตีหัวทหารแตก ทนายยื่นประกัน 4 แสน ศาลชั้นต้นส่งเรื่องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาใช้เวลา 3 วัน สองจำเลยนอนคุก
15 ต.ค.55 ที่ศาลอาญารัชดา ผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ อ.1780/2552 ซึ่งนายศรชัย ศรีดี กับพวกรวม 4 คน ตกเป็นจำเลยในข้อหาร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นโดยมีอาวุธ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น และร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฯ เหตุเกิดเมื่อคราวการชุมนุมของ นปช.ปี 2552 เหตุเกิดในวันที่ 25 ก.พ.52 ทั้งนี้ คดีนี้มีเพียง จำเลยที่ 3 คือ นางสาวนฤมล วรุณรุ่งโรจน์ หรือจ๋า และจำเลยที่ 4 นายกิตติศักดิ์ จีนขจร เข้าฟังคำพิพากษา โดยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 คือ นายศรชัย ศรีดี และ นายประจวบ บุญสันเทียะ นั้นหลบหนี ศาลศาลชั้นต้นพิพากษาให้ น.ส. นฤมล มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ให้จำคุก 1 ปี สำหรับ นายกิตติศักดิ์ ศาลได้สั่งให้จำคุก 3 ปี ด้วยความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 309 (2) นายสุภาพ เพชรศรี ทนายจำเลย กล่าวว่า ได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสด 3 แสนบาทสำหรับนายกิตติศักดิ์ และ 1 แสนสำหรับนางสาวนฤมล แต่ศาลชั้นต้นได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ซึ่งโดยปกติใช้เวลาประมาณ 3 วัน ทั้งนี้ คำฟ้องระบว่า เมื่อวันที่ 25 ก.พ.52 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยทั้งสี่กับพวกได้ร่วมกันข่มขืนใจและขู่เข็ญสิบเอกอำนวย ทองรินทร์ ผู้เสียหายที่ 1 และพลทหารวัชระ แสนสีแก้ว ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้สังเกตการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยจำเลยทั้งสี่กับพวกได้ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายจับและล็อกตัวผู้เสียหายทั้งสองไว้กับแผงเหล็กบริเวณเวทีปราศรัย และมีการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสอง โดยจำเลยที่ 3 ได้ใช้ไม้ยาวประมาณ 2 ฟุต เป็นอาวุธตีทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 จนศีรษะแตก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 309, 310 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้เป็นคดีที่สองของ น.ส. นฤมล หรือ จ๋า วัย 50 ปี โดยก่อนหน้านี้เธอเคยตกเป็นผู้ต้องหาในคดี 'ผู้หญิงยิง ฮ.' ถูกกล่าวหาว่าได้ใช้อาวุธปืนยิงใส่เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพในขณะที่เฮลิคอปเตอร์ทำการทิ้งใบปลิวและแก๊สน้ำตาลงใส่ผู้ชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน ในเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เม.ย.53 โดยนฤมลถูกจำคุกเป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน 2 วัน โดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว และภายหลังศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องในคดีดังกล่าว
|
ทัศนะจากชายแดนใต้ ‘หยุดวันศุกร์คือโอกาส...’ Posted: 15 Oct 2012 09:06 AM PDT เปิดความเห็นนักวิชาการ ชี้หยุดวันศุกร์ในชายแดนใต้ เป็นโอกาสสร้างความเข้าใจวิถีมุสลิม แนะนำถกในเวทีสาธารณะสร้างมติมหาชนเอา-ไม่เอาเป็นวันหยุดราชการ กอ.รมน.ชี้ขบวนการทำเนียนป้ายสีรัฐ ไม่ต้องตามแก้แม้ชาวบ้านไม่ชอบ หยุดวันศุกร์ เจ้าหน้าที่ระดับสูง ส่วนทีมงานระดับล่าง ได้แก่ พวกทำใบปลิว สร้างข่าวลือ ข่มขู่ประชาชน การปล่อยข่าวลือข่มขู่ให้หยุดค้าขายในวันศุกร์ เป็นหน้าที่ของทีมงานระดับล่างของฝ่ายปฏิวัติความคิดจิตวิญญาณ จะเป็นผู้ปล่อยข่าวลือและลอบวางระเบิด เพื่อให้ประชาชนกลัวจนต้องหยุดค้าขายในศุกร์ เมื่อประชาชนหยุดขายของกันอย่างเต็มที่แล้ว ทางขบวนการก็จะปล่อยอีกชุดว่า ข่าวลือที่ขู่ให้หยุดค้าขายวันศุกร์เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใช่ฝ่ายขนวนการทำ เพราะหากประชาชนรู้ว่าเป็นการกระทำของขบวนการ ก็จะเกิดความเสียหายแก่ขบวนการเสียเอง ขณะเดียวกันแม้ว่าฝ่ายขบวนการเองอาจจะมองว่า การหยุดวันศุกร์ส่งผลเสียต่อคนโดยรวม ฝ่ายขบวนการก็จะไม่แก้ไขหรือแก้ข่าวเพื่อให้ประชาชนกลับมาค้าขายเหมือนเดิม จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐแก้ข่าว เพื่อประชาชนกลับมาทำการค้าขายเหมือนเดิมตามปกติ เพราะขบวนการคิดว่าถึงอย่างไรรัฐก็ต้องแก้ปัญหาเรื่องนี้อยู่แล้ว ก็เท่ากับว่าปัญหาเรื่องนี้ได้รับการแก้ไขอยู่ดี ส่วนการแก้ปัญหาการหยุดวันศุกร์นั้น รัฐต้องสร้างกระแสให้ประชาชนกลับมาค้าขายให้เร็วที่สุด และมีการค้าขายเป็นปกติ ซึ่งฝ่ายขบวนการจะไม่ออกมาข่มขู่ประชาชนอีกแล้ว เพราะฝ่ายขบวนการถือว่าผ่านบททดสอบไปแล้ว ซึ่งเหมือนกับข่าวลือให้มีการหยุดค้าขายในวันศุกร์ในช่วงปี 2549 ซึ่งสุดท้ายแล้ว ข่าวลือจะหายไปเอง โดยที่ไม่มีคนออกมาข่มขู่ประชาชนที่ออกมาค้าขายในวันศุกร์
นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง ปัญหาคือ รัฐไม่สามารถแยกออกว่า อันไหนเป็นความต้องการของประชาชน และอันไหนเป็นแนวทางการต่อสู้ทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม เมื่อรัฐไม่สามารถแยกได้รัฐก็เลยมั่ว นำเรื่องศาสนามาเกี่ยวข้องเป็นกับการเมือง การหยุดวันศุกร์ เป็นการสร้างกระแสให้เกิดความเข้าใจอิสลาม ให้รัฐเข้าใจวิถีชีวิตของอิสลาม ซึ่งมีการพูดคุยเรื่องนี้มานานแล้ว แต่รัฐไม่เข้าใจจึงปล่อยปละละเลย ทำให้การปล่อยข่าวลือของฝ่ายตรงข้ามมีพลังมหาศาล เพราะทำให้ประชาชนมีความกลัวเกินกว่าที่รัฐจะควบคุมได้ แม้จะมีทหาร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือจุฬาราชมนตรีออกมาบอกว่าไม่ต้องหยุดงานวันศุกร์ ประชาชนก็ยังไม่ทำตาม ความต้องการหยุดวันศุกร์กับความจำเป็นในการหยุดวันศุกร์และความจำเป็นในการทำมาหากินในวันศุกร์เป็นคนละเรื่อง แต่ถูกเหมารวมให้หยุดทำงานไปด้วย ต่างกับประเทศซาอุดีอาระเบียที่เมื่อถึงเวลาอาซาน(การประกาศเชิญชวนให้คนละหมาด) ร้านค้าจะปิดทั้งหมด เมื่อละหมาดเสร็จร้านค้าต่างๆ ก็รีบกลับมาเปิดค้าขายต่อเหมือนเดิม เพราะอิสลามบอกว่าเสร็จละหมาดแล้วให้รีบไปหารีสกี(ปัจจัยยังชีพ)บนหน้าแผ่นดิน ผมเห็นว่า การส่งทหารมาควบคุมพื้นที่ในวันพฤหัสกับวันศุกร์ เหมือนจะบอกว่ารัฐมีอำนาจ ต้องการให้ฝ่ายตรงข้ามกลัว แต่คนที่กลัวกลับเป็นประชาชน แสดงว่ารัฐยังไม่สามารถควบคุมข่าวลือได้ ยิ่งสร้างความกลัวให้ประชาชนมากขึ้น ตั้งแต่มีข่าวลือที่ให้หยุดวันศุกร์เมื่อ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ประชาชนยังหยุดวันศุกร์มากขึ้น ซึ่งชาวบ้านเห็นด้วยกับการหยุดวันศุกร์และยินดีเพราะจะได้เตรียมละหมาดวันศุกร์ แต่ไม่เห็นด้วยกับการหยุดค้าขาย ต้องแยกให้ออก เมื่อมีข่าวลือขู่ให้หยุดวันศุกร์ทุกคนพร้อมใจจะหยุดอยู่แล้ว แต่รัฐยังไม่ยอมให้หยุด ในขณะที่องค์กรปกครองท้องถิ่นบางแห่ง พอถึงเวลา 11.00 น.ของวันศุกร์ก็ให้หยุดทำงาน เพราะความกลัว ซึ่งรัฐน่าจะใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาสในการสอดรับความต้องการของคนในพื้นที่ การหยุดวันศุกร์เป็นความต้องการของประชาชนในพื้นที่มานานมาแล้ว แต่รัฐยังไม่สนอง เมื่อฝ่ายตรงข้ามออกมาข่มขู่ให้หยุดวันศุกร์ รัฐก็ออกมาตอบโต้การขู่ดังกล่าว ประชาชนก็ไม่สนใจรัฐแล้ว เพราะประชาชนยังกลัวฝ่ายตรงข้ามรัฐมากกว่า จึงยังต้องหยุดวันศุกร์ ซึ่งตรงนี้ทำให้รัฐเสียหาย ยิ่งคนหยุดงานมากขึ้นรัฐก็เสียหายมากขึ้น เพราะรัฐไม่สามารถคุ้มกันประชาชนได้ ในบางอำเภอชาวบ้านปิดบ้านเงียบ ไม่กล้าออกไปไหน มีแต่ทหารถืออาวุธปืนคุ้มอยู่ แต่ฝ่ายตรงข้ามไม่ต้องวางระเบิดและใช้ปืนยิงก็สามารถให้ชาวบ้านอยู่แต่ในบ้านได้ นี่คือความสำเร็จของเขา รัฐยังไม่สามารถทำให้ชาวบ้านสบายใจได้ ทั้งๆที่มีเจ้าหน้าที่คุ้มกันถึงหน้าบ้าน การแก้ปัญหาเรื่องนี้ รัฐบาลต้องทำตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการให้วันศุกร์เป็นหยุดราชการ ไม่ใช่ทำตามความต้องการของฝ่ายต่อต้านรัฐ เช่น ให้โรงเรียนหยุดวันศุกร์ นี่คือเรื่องสำคัญ เพราะการเอาชนะจิตใจของประชาชนไม่ต้องเอาชนะด้วยอาวุธ แต่เอาชนะด้วยการทำตามความต้องการของประชาชน การให้วันศุกร์เป็นวันหยุดราชการ ต้องไม่ใช่เพราะมีคนมาข่มขู่ แต่หยุดเพราะเป็นความต้องการของประชาชน เรื่องนี้มีการเรียกร้องมาแล้ว 10 ปีแล้ว แต่รัฐไม่ดำเนินการใดๆทั้งสิ้น ปัจจุบันองศ์กรภาคประชาสังคมหลายองค์กร รวมทั้งสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ก็เคยเสนอให้รัฐบาลประกาศให้หยุดราชการในวันศุกร์ มาแล้ว
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี เรื่องนี้จะเป็นตัวที่สะท้อนการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ บวกกับเป้าหมายทางการเมือง ในแง่ของการรุกทางการเมือง เพื่อตอบโต้การทำงานของฝ่ายรัฐในช่วงนี้ โดยเฉพาะนโยบายสานใจสู่สันติ ที่ให้คนออกมามอบตัวหรือยอมจำนน ที่ทำให้เห็นว่าขบวนการมีความอ่อนแอลง หรือตอบโต้กรณีที่รัฐรายงานสถิติพื้นที่หรือหมู่บ้านที่มีเหตุรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า มีประมาณ 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่ที่ไม่มีความรุนแรง ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากการข่มขู่ให้หยุดทำงานวันศุกร์พบว่า คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หยุดการค้าขายปรากฏว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เกิดเหตุการณ์ แต่เป็นเรื่องการใช้อำนาจเชิงสัญลักษณ์ ที่แสดงให้ว่าอิทธิของขบวนการยังสามารถที่จะให้เกิดแรงกระเพื่อมทั่วทุกพื้นที่ได้ ตัวอย่างเช่น เหตุระเบิดที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีที่เกิดเหตุในวันศุกร์เพียงจุดเดียว แต่สามารถสร้างแรงกระเพื่อมไปทั่วทุกพื้นที่ได้ เป็นการแสดงสัญลักษณ์บวกกับความสามารถในการสื่อสารทางการเมืองของขบวนการด้วย เพราะไม่จำเป็นต้องมีการแถลงข่าวหรือทำแถลงการณ์ เพียงแต่ใช้วิธีการพูดปากต่อปาก ก็สามารถกระจ่ายข่าวไปทั่วทุกพื้นที่ได้เร็วมาก การสื่อสารแบบปากต่อปากหรือคนต่อคน สามารถส่งสัญลักษณ์ทางการเมืองหรือแสดงอำนาจอิทธิพลของฝ่ายขบวนการถือเป็นการเมืองแบบหนึ่งที่ทางฝ่ายขบวนการใช้ ควบคู่กับวิธีการทางทหาร การใช้ความรุนแรงบวกกับแรงขับเคลื่อนทางการเมืองและเชิงสัญลักษณ์ลักษณะนี้มีผลอย่างมาก รัฐต้องคิดหลายชั้นในแง่ของการจัดการกับปัญหาแบบนี้ รัฐไม่สามารถจัดการปัญหาแบบชั้นเดียวหรือเพียงแค่การใช้นโยบายสันติสุขที่เอาคนมามอบตัวหรือจำนน แล้วถือว่ารัฐได้เปรียบและมองว่าขบวนการอ่อนแอ ผมคิดว่าการต่อสู้ของที่นี้มีความซับซ้อนมากกว่านั้น การห้ามทำงานวันศุกร์คนจะยอมรับหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ขบวนการสามารถรุกทางเมืองได้ มีผลกระทบต่อวงกว้าง ฉะนั้นการจัดการกับปัญหาต้องคิดถึงเรื่องการเมือง การจัดการเชิงการเมืองที่สามารถใช้โอกาสรุกคืบ งานการทหารไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะจะให้ทหารไม่สามารถควบคุมทุกพื้นที่ในวันศุกร์ได้อย่างแน่นอน การที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า(กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ออกแถลงการณ์ตอบโต้ก็เป็นความพยายามหนึ่งของฝ่ายเจ้าหน้าที่ แต่ก็ต้องคิดหลายชั้นในการจัดการกับปัญหา ความจริงแล้วการต่อสู้ทางการเมือง ไม่เพียงแค่บอกประชาชนไม่ให้กลัวอย่างเดียว เพราะจะห้ามไม่ให้ประชาชนกลัวไม่ได้ เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ แต่การใช้เงื่อนไขทางการเมืองมาต่อสู้ คิดว่ามีความเป็นไปได้ โดยการสร้างพื้นที่ในทางการเมือง เพื่อที่จะให้มีพื้นที่ในการต่อสู้กัน ตัวอย่างเช่น ความหมายของการหยุดวันศุกร์ ในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หรือศาสนา มาพูดคุยกันในเวทีสาธารณะ หรือพื้นที่ของคนส่วนใหญ่ว่า มันควรตีความอย่างไร ควรหยุดหรือไม่ควรหยุด หากหยุดแล้วจะหยุดอย่างไร ต้องมาคุยกัน เรื่องนี้ต้องทำให้เป็นประเด็นในการพูดคุย โดยเอาภาคประชาสังคม ผู้นำศาสนาและนักวิชาการมาพูดคุยหาทางออกร่วมกันว่า จะทำอย่างไรกับการหยุดวันศุกร์เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่ หรือหันกลับไปใช้นโยบายเดิมเมื่อหลายปีก่อนที่เคยหยุดราชการในวันศุกร์ ก็อาจจะเป็นไปได้ เพราะเป็นลักษณะพิเศษของพื้นที่ แต่ขออย่างเดียวหากมีการพูดคุยกันแล้ว อย่าการทำร้ายกันหรือขุมขู่ คุกคามด้วยกลัวอย่างนี้ เพราะไม่มีความยั่งยืน ซึ่งแม้จะมีคนหยุดงานในวันศุกร์ แต่ก็หยุดเพราะความกลัว ไม่ใช่หยุดเพราะเห็นด้วยว่าควรหยุด หากพูดด้วยเหตุผล ด้วยความคิดและความเหมาะสมทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ หรือประเพณีวัฒนธรรมหรือศาสนา หากฝ่ายรัฐรุกกลับโดยใช้วิธีทางการเมืองหรือเปิดพื้นที่สาธารณะในการพูดคุย คิดว่าจะเป็นโอกาสดีที่จะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ โดยใช้เงื่อนไขที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้เป็นโอกาส เป็นการตอบโต้ในความหมายใหม่หรือสัญลักษณ์ใหม่ที่เราต้องใช้ในการพูดคุย ประเด็นนี้น่าจะให้ความสำคัญ ส่วนแนวโน้มของเหตุไม่สงบในพื้นที่ จะเป็นลักษณะขึ้นๆลงๆอยู่อย่างนี้ เพราะตอนนี้ในทางนโยบาย ของรัฐเอง ก็ยังทำอะไรได้ไม่มากนัก สิ่งที่มีการพูดถึงในนโยบายของรัฐในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ยังไม่ได้ทำ แต่มีการพูดถึงมากขึ้น มีแนวทางใหม่เกิดขึ้น เป็นแนวทางสันติหรือการเมืองนำการทหาร การเปิดพื้นที่ในการพูดคุยสันติภาพหรือกระจายอำนาจ หรือการจัดการปกครองในรูปแบบพิเศษ แต่หากมองในเรื่องการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวถือว่ายังน้อย สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมีเพียงบางส่วนเท่านั้น รัฐยังจะต้องดำเนินการอีกหลายอย่าง แม้แต่เรื่องการปรับโครงสร้างการบริหารงานความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะมีศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) ขึ้นมาแล้วก็ตาม เพราะยังไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้ประสานงานระหว่างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ตอนนี้รัฐบาลประกาศยุทธศาสตร์เอาชนะที่หมู่บ้าน ซึ่งก็ยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีเพียงนโยบายเดียวที่มีความชัดเจนและมีการดำเนินการเป็นรูปธรรมมากที่สุด คือนโยบายการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ การปรับโครงสร้างความมั่นคงในพื้นที่ รัฐต้องทำให้เห็นก่อนว่า แนวคิดที่ให้ 2 แท่งอำนาจ คือศอ.บต.กับกอ.รมน.ภาค 4 สน.ประสานงานมากขึ้น โดยให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) เป็นตัวประสาน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้มีการบรูณาการกัน ต้องยอมรับว่าในทางนโยบายมีความก้าวหน้า มีพัฒนาการในเรื่องตัวหนังสือ การแสดงออกและการพูด เพราะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง แต่กลไกทั้งทฤษฏีและการปฏิบัติยังไม่ถึงจุดที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนได้จริง ทั้งที่น่าจะขับเคลื่อนได้แล้วในตอนนี้ ขณะนี้รัฐบาลได้เปลี่ยนเลขาธิการสมช.คนใหม่แล้ว คือ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร ซึ่งน่าจะสนองนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้หรือการประสานงานจะคล่องตัวมากขึ้น การขับเคลื่อนงานในทางปฏิบัติก็อาจจะมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องทำรีบจัดการ เพราะพื้นที่ยังว่างอยู่ ในขณะที่อีกฝ่ายยังรุกเข้ามาเรื่อยๆ ทั้งทางการทหาร การเมือง ทางสัญลักษณ์ตลอดเวลา ตอนนี้รัฐบาลมีข้อได้เปรียบมีอยู่ ทั้งในแง่การจัดการในเชิงยุทธศาสตร์หรือเชิงนโยบาย ข้อเสนอใหม่ๆที่เกิดขึ้น เกิดจากการยอมรับในการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดการขับเคลื่อนที่ดีให้ได้หรือไม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๖ (จันทจิรา เอี่ยมมยุรา) Posted: 15 Oct 2012 08:59 AM PDT ฤาว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบราชาธิปไตย |
ซีรีส์จำนำข้าว (4) วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ: ปัญหาเชิงโครงสร้างไม่(เคย)มีใครแตะ Posted: 15 Oct 2012 05:25 AM PDT วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ จากมูลนิธิชีววิถี หรือ ไบโอไทย เป็นเอ็นจีโอผู้ทำงานเกี่ยวกับการเกษตรโดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ รวมถึงประเด็นความมั่นคงด้านอาหารมาอย่างยาวนาน โดยเน้นศึกษาปัญหาเชิงโครงสร้างต่างๆ ที่เกี่ยวของกับภาคเกษตร เขานำเสนอให้เห็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ควรแก้ไขเร่งด่วนและตรงประเด็นกว่าโครงการแจกเงิน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน หนี้สิน แหล่งน้ำ และการลดต้นทุนการผลิต โดยเปรียบเทียบให้เห็นภาพคร่าวๆ ของเพื่อนบ้านที่กำลังรุดแซงหน้าเราในหลายด้านก่อนจะเปิดอาเซียน รวมถึงนำเสนอผลกระทบต่อแวดวงเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนความคิดเห็นของชาวนาในหลายพื้นที่ซึ่งก็มีแนวคิด-ทางออกที่หลากหลายสำหรับโครงการนี้
000000000 องค์กรภาคประชาชนมีข้อห่วงกังวลหลักๆ อะไรบ้างเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว ปัญหาใหญ่ของชาวนาที่คิดว่ารัฐควรแก้ไขคืออะไร นี่คือข้อเสนอของคณะกรรมการชุดปฏิรูปประเทศ ชุดอานันท์ ปันยารชุน เคยเสนอไว้ ว่าถ้ามีกองทุนที่ใช้งบปีละ 100,000 บาทก็จะสามารถแก้ปัญหาชาวนาไร้ที่ดินได้ภายใน 4 ปี ในด้านหนึ่งมันทำให้สามารถแข่งขันได้ในช่วงที่เรากำลังเข้าสู่เศรษฐกิจแบบอาเซียน ถ้าเทียบกับเวียดนามแล้ว ชาวนาของเวียดนามส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง มีคนเช่าที่ดินไม่ถึง 20% เอง และถ้าที่ดินอยู่ในมือชาวนา จะทำให้การฟื้นฟูดีมีประสิทธิภาพในระยะยาวด้วย นาเช่าไม่สามารถแม้แต่จะหมักฟาง หรือปรับปรุงดินให้ยั่งยืนได้ อีกประการคือ การแก้ปัญหาเรื่องน้ำ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เช่นเดียวกัน ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มที่มีชลประทานน้อยที่สุดในอาเซียน มากกว่าลาวและกัมพูชาอยู่บ้าง แต่น้อยกว่าฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียมากเลย เราจะปล่อยให้มีการแข่งขันระยะยาวได้ยังไง ถ้าเราไม่แก้ปัญหาสะสมเรื่องนี้ เราไม่ได้ต้องการโครงการใหญ่เลย โครงการเล็กก็ได้แต่ต้องเอางบมาทำเรื่องโครงสร้างพื้นฐานนี้ นี่คือเรื่องใหญ่ลำดับต้นในความเห็นผม โครงการจำนำข้าวไม่ได้แก้เรื่องนี้ เรื่องที่คณะปฏิรูปเสนอ 100,000 ล้านภายใน 4 ปีเพื่อแก้ปัญหาที่ดิน คิดว่าทำได้จริงหรือ นี่คือหมวดที่ว่าด้วยเรื่องปัญหาโครงสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่เคยแตะกันเลย ยังมีอีกประเด็นซึ่งก็ใหญ่พอกัน และคนยังพูดน้อยคือ โดยเทคโนโลยีของการผลิตข้าวในปัจจุบันเป็นการผูกติดกับปัจจัยการผลิตจากภายนอกซึ่งมีพื้นฐานจากฟอสซิล พวกปุ๋ยหรือสารเคมีต่างๆ การจำนำข้าวโดยที่คุณไม่แตะหรือไม่ตั้งเงื่อนไขเลยในการสนับสนุนตัวราคาให้กับเกษตรกร ทำให้รักษาความไม่มีประสิทธิภาพและการผลิตที่พึ่งพาปุ๋ยหรือสารเคมีตรงนี้อยู่ โดยไม่ได้แก้ไขใดๆ เลย ถ้าดูตัวเลข ต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาไทยเทียบกับเวียดนาม ฟิลิปปินส์ ผลผลิตข้าวเราต่ำกว่า แต่ต้นทนเราสูงกว่า ถ้าดูสถิติการใช้สารเคมีที่เป็นปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ศึกษาโดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI-อีรี่) พบว่าของประเทศไทยสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนทั้งหมด ทั้งลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำแดงของเวียดนาม ที่ลูซอน ฟิลิปปินส์ ที่ชวาของอินโดนีเซีย หรือกระทั่งเทียบกับทมิฬนาดูของอินเดียด้วยซ้ำ ไทยใช้ต้นทุนสูงสุด ประเทศที่ใช้ปัจจัยการผลิตที่มากกว่าเราคือจีน แต่ผลผลิตเขาก็สูงกว่ามาก นั่นคือเหตุผลว่า การรับจำนำโดยไม่มีเงื่อนไขพวกนี้จะเกิดผลอย่างที่ว่า นี่คือเรื่องใหญ่ที่สำคัญมากในความเห็นผม ยังมีมุมอื่นๆ อีกไหมที่กังวล โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ลองเช็คพื้นที่ดูก็ประเมินได้ เช่น ภาคใต้ชาวนาน้อยมากที่เข้าสู่โครงการรับจำนำได้ เพราะข้าวมีน้อยเกินไป แล้วข้าวส่วนใหญ่ผลิตไว้กินเอง ใช้โรงสีขนาดเล็กในพื้นที่ นี่ก็รวมภาคเหนือ ภาคอีสานด้วยที่ปลูกข้าวแล้วกันข้าวไว้กินเอง มีสัดส่วนอยู่มาก ที่จริงก็ภาคกลางบางส่วนด้วย ชาวนากลุ่มนี้ก็ไม่ได้ประโยชน์ เพราะไม่มีข้าวไปจำนำ ส่วนที่จำนำก็ได้น้อยเพราะเขาปลูกน้อย นี่คือประเด็นที่เราชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมของการผลิต ชาวนาย่อยซึ่งควรได้รับความช่วยเหลือกลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ อีกกลุ่มก็คือ กลุ่มที่ทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน กลุ่มนี้ในแง่คนที่ผลิตข้าวเพื่อความมั่นคงด้านอาหารเพื่อบริโภคเอง แน่นอน เขาไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเขาปลูกไว้กินเอง และเมื่อเทียบกับการต้องแปรรูปมันก็ยังคุ้มค่า เทียบกับการขายแล้วไปซื้อกิน แต่มันน่าสนใจในแง่ที่ว่า กลุ่มผลิตเหล่านี้กับกลุ่มที่ผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องพึ่งตลาดอยู่ และราคาจูงใจให้มีการนำตลาด มีการตั้งราคาข้าวอินทรีย์สูงกว่าข้าวทั่วไป เมื่อรัฐตั้งราคาจำนำข้าวคุณภาพต่ำ หรือทั่วไปเท่ากับราคาข้าวอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์เขาตั้งไว้ที่ 20,000 มันก็จะไปขัดขวางในเรื่องการขยายตัวของเกษตรอินทรีย์ของชาวบ้านกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ใช้แรงจูงใจด้านราคาข้าว หมายความว่า เกษตรอินทรีย์กลุ่มนี้ที่มีการทำตลาดกันมาเกือบ 20 ปีแล้ว และเป็นพื้นที่หลักของประเทศด้วยในภาคอีสาน คนกลุ่มนี้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจ ชาวนา โรงสี ผู้ประกอบการเองได้รับผลกระทบจากโครงการจำนำข้าว คนกลุ่มที่ทำเกษตรอินทรีย์มีขนาดเท่าไร และผลกระทบเป็นอย่างไร ราคาข้าวอินทรีย์ไม่ปรับตัวสูงขึ้นด้วยหรือจากโครงการนี้ ถามว่ามีขนาดเท่าไร ถ้าประเมินจากที่ได้รับรองมาตรฐานอยู่ที่ประมาณ 150,000-200,000 ไร่ แต่ถ้าที่ไม่ได้รับการรับรองจะเกินกว่านี้ 2-3 เท่าตัว อาจถึง 450,000 ไร่ อันนี้คือส่วนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการรับจำนำซึ่งไม่ได้แยกประเภทของข้าว ประเด็นอื่นก็มีหลายท่านพูดไปแล้ว คือประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร ณ ขณะนี้ กลไกของการปลูกข้าวเพื่อความมั่นคงด้านอาหารจะมีกลไกที่ชาวบ้านส่งสีกับโรงสีขนาดเล็กในท้องถิ่น หรือโรงสีที่อยู่ในชุมชน โดยที่ระบบตลาดที่รัฐเป็นคนรับซื้อข้าวทั้งหมด มีโรงสีจำนวนน้อย ไม่เกินพันโรงที่จะสามารถร่วมโครงการของรัฐได้ ฉะนั้น โรงสีขนาดเล็กพวกนี้จะหายไปจากระบบ ระยะยาวจะกระทบต่อตัวบริการโรงสีที่ให้บริการสำหรับการแปรรูปข้าวเพื่อบริโภคในชุมชน มันจะมีต่อเนื่องด้วยเหมือนกัน ตัวแกลบ ตัวรำ จากที่ได้มาจากระบบโรงสีเล็กจะไหลเวียนในชุมชน สร้างความสมดุลในชุมชน อาจเป็นอาหารปลา เอาไปบำรุงดิน มันจะมีหน้าที่แบบนี้อยู่ รวมถึงอื่นๆ ด้วยเช่น ท่าข้าว ที่เป็นกลไกการค้าระดับท้องถิ่น ซึ่งมันก็ตอบสนองการผลิตระดับท้องถิ่น พวก SMEs กลไกเหล่านี้หายไปแล้วจะกระทบยังไง โครงการจำนำดูจะช่วยชาวนาในระบบตลาดในสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังแก้ปัญหาโครงสร้างไม่ได้ หากจะเริ่มต้นจัดการปัญหาเชิงโครงสร้างด้วย ทำไปควบคู่กัน อย่างนี้รับได้ไหม มันยังมีต่ออีก เงินที่ไหลไปในระบบสู่ชาวนา จริงๆ แล้วถ้าวิเคราะห์ดูต้นทุนการผลิต จะพบว่า เขตภาคกลาง นาปรัง ประมาณ 1 ใน 3 เป็นต้นทุนค่าเช่าที่ดิน มันไหลไปสู่เจ้าของที่ดิน อีก 1 ใน 3 เป็นปุ๋ยและเคมีการเกษตร มันก็ไหลไปสู่บริษัทสารเคมี ซึ่งวัสดุปุ๋ยและสารเคมี สองตัวนี้เรานำเข้ามาแทบทั้งหมด เกือบ 100% มันกลายเป็น 2 ใน 3 ของต้นทุนการผลิต ฉะนั้น การใช้แนวทางนี้มันไม่ได้แก้ปัญหาที่ควรจะแก้ เพราะเงินมันไม่ถึง แต่ถ้าเราวิเคราะห์ปัญหาชัด ปัญหาเรื่องค่าเช่า การใช้เคมีมากเกินไป มากกว่าเพื่อนบ้าน ประสิทธิภาพในการผลิตไม่ดี มันต้องแก้อีกแบบหนึ่ง ที่ผ่านมา การแก้ปัญหาในภาพรวม พรรคการเมืองต่างๆ ก็เสนอแนวทางซึ่งดูแล้วมี 2 อย่างคือ ประกันรายได้ กับรับจำนำ ในสายตาคนทำงานด้านนี้ มองว่าแบบไหนเหมาะสมกว่ากัน สองกลไกนี้ ถูกเสนอโดยรัฐบาลสองยุค อันนี้ต้องปรับทั้งคู่ แต่จำนำข้าวสาหัสกว่าเพราะงบประมาณเยอะกว่า ช่องทางการรั่วไหลเยอะกว่า ประกันรายได้ก็รั่วไหลได้เหมือนกัน การขึ้นราคาของเจ้าของที่ดินก็มีเหมือนกัน แต่การรั่วไหลในขั้นตอนต่างๆ น้อยกว่าในแง่มันเข้าบัญชีโดยตรงของชาวนา และกลไกตลาดมันก็ทำงานได้ การจะต้องมีค่าเช่าไซโล ค่าแปรสภาพ การหาประโยชน์จากความชื้น หรือรัฐรับซื้อข้าวผู้เดียวและปล่อยราคาเท่าไรไม่มีใครรู้ ปล่อยให้ใครไม่ชัดเจน มันมีปัญหาอย่างที่วิพากษ์วิจารณ์กัน การผูกขาดตลาดโดยรัฐเป็นปัญหา แต่ก่อนรัฐบาลจะทำแบบนี้ กลไกตลาดที่มันเป็นมาก็ไม่ได้ช่วยทำให้ชาวนาได้รับราคาที่เป็นธรรมไม่ใช่หรือ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เคยศึกษาเรื่องนี้ที่ปราจีนบุรี การหักเปอร์เซ็นต์ข้าวที่โรงสีทำ กับกรณีที่เมื่อมีการรวมตัวของเกษตรกร ปรากฏว่าชาวนาในพื้นที่ ได้ส่วนได้เพิ่มขึ้นประมาณ 5 ล้าน หมายความว่า กลไกที่ชาวนาถูกเอาเปรียบมันมีอยู่ แต่อย่างน้อยที่สุดกลไกตลาดมันก็ทำงาน แล้วเราก็รู้ว่าเราจะแก้ตรงไหนให้ชาวนาไม่เสียเปรียบ แก้ปัญหาในการต่อรองกับพ่อค้าคนกลางได้มากขึ้น อย่างน้อยที่สุดมันมีกลไกตลาดกลางที่มันอยู่ได้ ถ้าให้ระบบตลาดมันทำงาน เราเห็นจุดบกพร่องว่าจะแก้ตรงไหน แต่ถ้ารัฐเป็นคนมาผูกขาดแล้วมันโคตรไม่โปร่งใสเลย คุณเชื่อได้ยังไงภายใต้รัฐแบบนี้ที่จะผูกขาดแล้วมีประสิทธิภาพ ไม่มีทาง ในฐานะที่ทำงานร่วมกับชาวนาในบางพื้นที่ด้วย มีความขัดแย้งทางความคิดหมู่ชาวนามากน้อย ขนาดไหน มีการแบ่งตามระดับความชื้นอยู่แล้ว เพื่อแก้ปัญหาอะไร ในโครงการจำนำข้าวไม่มีกรณีของข้าวอินทรีย์ใช่ไหม ตลาดข้าวอินทรีย์กระทบขนาดไหน กลับมาที่เรื่องเดิมความเห็นของชาวนา กลุ่มหนึ่งชอบโครงการรับจำนำแต่ควรปรับ อันที่สองคือ ประกันรายได้ พี่น้องที่เสนอแบบนี้เยอะเลย ถ้าทางใต้ หรือพื้นที่ที่ปลูกข้าวน้อย เขาอยากได้แบบนี้เพราะเงินมันเข้าบัญชีเขาเลย ดูพื้นที่การปลูกแล้วให้เงินตามพื้นที่การปลูกเราเลย ฉะนั้นกลุ่มที่มีข้าวน้อยจะชอบแบบนี้ ไม่ต้องยุ่งอะไรมาก แค่มาขึ้นทะเบียน ทำประชาคมแล้วก็รอรับเงินเลย ความเห็นผมคือ ถ้ามีโอกาสให้ชาวนาได้วิเคราะห์สองโครงการนี้อย่างกว้างขวาง ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน เช่น การใช้งบประมาณเท่าๆ กัน ที่เราวิเคราะห์กันเราเชื่อว่าชาวนาส่วนใหญ่ที่เป็นรายย่อย จะเลือกประกันรายได้ แต่ต้องวิเคราะห์ให้รอบด้านภายใต้เงื่อนไขเดียวกันด้วย มันวิเคราะห์ภายใต้คนละเงื่อนไขไม่ได้ เช่น รัฐบาลที่แล้วเสนอว่าให้มีส่วนต่าง 25% ของราคาตลาด แต่พรรคนี้ไปใหญ่เลย เสนอเป็นเท่าตัวเลย มันเป็นเงื่อนไขคนละอัน ให้ดูผลระยะยาวด้วยว่ารัฐบาลจะทำได้นานแค่ไหนด้วยนะ ทางเลือกที่สามคือ อย่างที่พูดไปแล้ว เพราะสองอันนี้ไม่พอ มันไม่แตะเรื่องโครงสร้างเลย ระยะยาวจะอยู่ยังไง ในขณะที่เวียดนามเขาทำโครงการ 3 ลด 3 เพิ่มแล้ว เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นโครงการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต คุณภาพและกำไร ในส่วนลดต้นทุน คือ ลดพันธุ์ข้าวต่อไร่ลงให้ใช้พันธุ์ข้าวน้อยลง ใช้ปุ๋ยเคมีน้อยลง ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชน้อยลง เป็นโครงการรัฐบาลที่ทำในสองพื้นที่หลัก และกำลังจะทำทั่วประเทศ เขาเป็นรัฐบาลสังคมนิยม งานแบบนี้เขาก็ทำสเกลใหญ่ได้ อันนี้แหละคือยุทธศาสตร์ของการแข่งขัน การอยู่รอด การรับมือกับการเปิดตลาดอาเซียน ประเมินว่าถ้ายังทำโครงการในลักษณะนี้อยู่ เมื่อเปิดตลาดอาเซียนแล้ว สถานการณ์จะเป็นยังไง ถ้าวิเคราะห์เรื่องการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือการเปิดเสรี เราก็จะเห็นเลยว่าเราต้องทำอะไร จะเห็นคำตอบชัดเลยว่าสิ่งที่เราทำอยู่ตอนนี้มันไม่ใช่ทางออก มันเป็นโครงการ ใช้คำว่าอะไรดี ระยะสั้นก็คงไม่ได้ มันไม่ใช่ทางออก มันต้องหลุดออกไปจากการต่อสู้ทางการเมืองอย่างเดียว ต้องมุ่งไปสู่การแก้ปัญหาของเกษตรกรจริงๆ ปัญหาของประเทศจริงๆ มันก็จะง่ายขึ้นในการแก้ปัญหา แต่ดูๆ บรรยากาศตอนนี้ แม้กระทั่งคนที่วิจารณ์โครงการจำนำข้าวก็ถูกมองโยงไปเป็นประเด็นทางการเมือง ถูกมองไปถึงเรื่องทางการเมืองแบบไม่ควรจะเป็นด้วยนะ ซึ่งมันน่าสังเวช
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รบ. ฟิลิปปินส์ลงนามสันติภาพกับกลุ่มกบฎแล้วอย่างเป็นทางการ Posted: 15 Oct 2012 03:38 AM PDT กรอบข้อตกลงสันติภาพดังกล่าว มุ่งสร้างสันติภาพในเกาะมินดาเนาทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ภายในปี 2559 โดยก่อนหน้านี้ การสู้รบระหว่างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนและรบ. ฟิลิปปินส์ได้ดำเนินมากว่า 40 ปี
15 ต.ค. 55 - รัฐบาลฟิลิปปินส์และกลุ่มกบฎมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์ได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพแล้ววันนี้ที่ทำเนียบประธานาธิบดี กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวได้ร่างขั้นตอนการดำเนินงานที่จะยุติความขัดแย้งในเกาะมินดาเนาภายในปี 2559 หลังการสู้รบระหว่างทั้งสองฝ่ายดำเนินมากว่า 40 ปี หัวหน้าการเจรจาจากทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในกรอบข้อตกลงสันติภาพในวันนี้ ณ ทำเนียบประธานาธิบดี ซึ่งมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ระดับชาติด้วย โดยมีประธานาธิบดีฟิลิปปินส์เบนิญโน่ อาคีโน่, หัวหน้าขบวนการปลดปล่อยอิสลามโมโร มูราด อิบราฮิม และนายกรัฐมนตรีมาเลเซียนาจิบ ราซัก ในฐานะผู้ไกล่เกลี่ย เข้าร่วมในพิธีลงนามดังกล่าว กรอบข้อตกลงดังกล่าว กำหนดให้มีเขตปกครองตนเองใหม่ที่ชื่อว่า "บังซาโมโร" ซึ่งแปลว่า "ชาติมุสลิม" ที่เกาะมินดาเนา ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ภายในปี 2559 องค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ได้แสดงความยินดีต่อการลงนามในข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งบรรลุหลังการเจรจาระหว่างขบวนการปลดปล่อยอิสลามโมโรและรัฐบาลฟิลิปปินส์ ดำเนินมากว่า 15 ปี อย่างไรก็ตาม ทางหัวหน้าของขบวนการปลดปล่อยอิสลามโมโร เช่นเดียวกับผู้สังเกตการณ์อิสระและรัฐบาลต่างประเทศ ได้กล่าวด้วยความระมัดระวังว่า เส้นทางไปสู่สันติภาพยังมีอุปสรรคที่ยังขวางกั้น และการลงนามในวันจันทร์ไม่ได้การันตีว่าความขัดแย้งจะยุติลง "เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับการต้อนรับในกรุงมะนิลา แต่ข้าพเจ้าต้องย้ำว่า นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นชองการเดินทางไปสู่สันติภาพเท่านั้น" กาซิล จาฟาร์ รองหัวหน้าฝ่ายการเมืองของอิบราฮิม ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพี แผนที่แสดงให้เห็นเขตปกครองพิเศษเดิมในเกาะมินดาเนา ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งแทนด้วยพื้นที่สีเขียวโดยจุดสีแดง คือเขตที่มีการลงคะแนนเสียงในปี 2544 ว่าต้องการรวมเข้าไปในเขตปกครองพิเศษของมุสลิมมินดาเนาด้วย ที่มาภาพ: เว็บไซต์ The Phillipines Inquirer การต่อสู้เพื่อเอกราช กลุ่มกบฎมุสลิมได้ต่อสู้เพื่อเอกราช และอำนาจในการปกครองตนเองมาตั้งแต่ทศวรรษ 2510 ในเกาะมินดาเนา ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นมาตุภูมิของตน ตั้งแต่ก่อนที่ชาวเสปนที่เผยแพร่ศาสนาคริสต์จะเข้ามายึดครองประเทศให้เป็นอาณานิคมเมื่อราว 500 ปีที่แล้ว ในปัจจุบัน ชาวมุสลิม 4-9 ล้านคน นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในมินดาเนา หลังจากที่ประชาชนกรชาวแคทอลิกอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่มากขึ้น แต่พวกเขาก็ยังถือว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ในบางพื้นที่ โดยในเขตการปกครองที่จะมีขึ้นใหม่ จะทำให้ชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ของพื้นที่นี้ ความขัดแย้งที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลานาน ได้ทำให้มินดาเนา ซึ่งเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 ของฟิลิปปินส์ และเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่เพาะปลูก ต้องตกอยู่ในความยากจนที่ยืดเยื้อยาวนาน และยังทำให้การครอบครองอาวุธที่ไม่มีการจดทะเบียน และขุนศึกทางการเมืองที่ต่อสู้เพื่อแย่งชิงการถือครองที่ดิน เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนมุสลิม ก็สามารถยึดครองพื้นที่ที่กฎหมายไม่สามารถคุ้มครองได้ด้วย มีการประมาณการณ์ว่า มีผู้เสียชีวิตจากความขัดแย้งดังกล่าวแล้วอย่างน้อย 150,000 คน โดยส่วนมากเสียชีวิตในการสู้รบที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 2510 เมื่อเกิดการปะทะอย่างหนัก ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างขบวนการปลดปล่อยอิสลามโมโรและรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่มีขึ้นในปี 2546 ได้ทำให้เกิดสันติภาพมากขึ้น แต่ยังคงมีความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ขบวนการปลดปล่อยอิสลามโมโร เป็นกลุ่มกบฎที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลือในขณะนี้ หลังจากที่ขบวนการปลดปล่อยโมโรแห่งชาติ หรือ Moro National Liberation Front (MNLF) ได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับรัฐบาลไปเมื่อปี 2539 สนธิสัญญาดังกล่าว ได้นำไปสู่การตั้งเขตปกครองตนเองในมินดาเนา ซึ่งต่อมา อาคีโนได้กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เป็น "การทดลองที่ผิดพลาด" เนื่องจากการคอร์รัปชั่นที่สูงและความยากจนที่เลวร้ายลง โดยเขตปกครองตนเองใหม่นี้ จะแทนที่เขตปกครองพิเศษอันเก่า กองทัพของขบวนการปลดปล่อยอิสลามโมโร ที่มาภาพ: เว็บไซต์ www.bikyamasr.com อุปสรรคต่อสันติภาพ การโจมตีโดยขบวนการปลดปล่อยโมโรแห่งชาติ หรือกลุ่มอิสลามขนาดเล็กที่ยังต้องการเอกราช ถูกมองว่าเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการสร้างสันติภาพในอนาคต รวมถึงกลุ่มฝ่ายค้านจากนักการเมืองสายศาสนาคริสต์และผู้นำทางธุรกิจ นอกจากนี้ รัฐสภาแห่งชาติ ยังจำเป็นต้องผ่านกฎหมายว่าด้วยเขตปกครองตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม อาคีโน หนึ่งในประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคนหนึ่งของฟิลิปปินส์ ได้ใช้ทุนทางการเมืองและความพยายามส่วนบุคคลอย่างมากในการยุติความรุนแรงดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญมองว่า ประธานาธิบดีอาคีโนอาจจะสามารถโน้มน้าวประชากรส่วนมากที่เป็นชาวแคธอลิกให้มาสนับสนุนการปกครองตนเองของชาวมุสลิมได้ ซึ่งต่างจากสมัยของประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ทั้งสองฝ่าย ได้กำหนดให้ปี 2559 เป็นเส้นตายของการดำเนินแผนการดังกล่าว เนื่อจากเป็นเวลาที่อาคีโนต้องลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ การเจรจาสันติภาพอย่างเป็นทางการ ได้เกิดขึ้นที่มาเลเซียเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยอาคีโน ได้ประกาศว่าสามารถบรรลุ "กรอบข้อตกลง" หลังจากการเจรจาอย่างเข้มข้นเป็นเวลาหลายเดือนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Philippines signs truce with Muslim rebels ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสื้อแดงรำลึก 78 ปี อนุสาวรีย์ปราบกบฏ เชิดชูทหารรักษาประชาธิปไตย Posted: 15 Oct 2012 12:45 AM PDT
เสื้อแดงในนามคณะกรรมการอนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช จัดกิจกรรมรำลึก 78 ปี เผยจะมีการจัดต่อไปในทุกปีเพื่อให้คนเห็นความสำคัญของเหตุการณ์ ภาพกิจกรรมรำลึก 78 ปี อนุสาวรีย์ปราบกบฏ ที่อนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช
เมื่อวันที่ 14 ต.ค.55 ที่อนุสาวรีย์ปราบกบฏหรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" บริเวณหลักสี่ บางเขน คณะกรรมการอนุสาวรีย์ปราบกบฏได้จัดกิจกรรมรำลึกรำลึก 79 ปี อนุสาวรีย์ปราบกบฏขึ้น โดยมี พ.ต.พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา บุตรชายพระยาพหล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยพิธีสงฆ์อุทิศส่วนกุศลแด่วีรชนที่เสียชีวิตจากการปราบกฎบวรเดช นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมบรรยายความสำคัญของสถานที่ การปราศรัย การแสดงดนตรีและการเสวนา การจุดพลุไฟเฉลิมฉลองในช่วงค่ำ โดยมี นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เหวง โตจิราการ ส.ส.พรรคเพื่อไทย นายนิสิต สินธุไพรและนายวัฒน์ วรรลยางกูล ฯลฯ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย จากนั้นมีการประกาศคำมั่นสัญญาร่วมกันของผู้ร่วมกิจกรรมว่า จะสืบสานเจตนารมณ์ของคณะราษฎร เพื่อให้ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตยของประชาชนโดยแท้จริง สำหรับคณะกรรมการอนุสาวรีย์ปราบกบฏนั้น ประกอบไปด้วยเสื้อแดงกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม เช่น กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย คณะสืบสานเจตนารมณ์คณะราษฎร กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ 2540 กลุ่มแดงบางเขน กลุ่มแดงสายไหม กลุ่มแดงบางกะปิ กลุ่มแดงมีนบุรี และสมัชชาเสื้อแดงสมุทรปราการ เป็นต้น นายทรงชัย วิมลภัตรานนท์ รักษาการประธานกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และคณะคณะกรรมการอนุสาวรีย์ปราบกบฏ ได้กล่าวว่า การจัดกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อเชิดชูรำลึกทหารกล้าที่ปราบกบฏและรักษาประชาธิปไตยไว้ได้ 2. เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์การปราบกบฏและการปกป้องประชาธิปไตยให้ทราบอย่างกว้างขวาง 3. เพื่อเป็นแบบอย่างจากความกล้าหาญในการปกป้องประชาธิปไตยกับประชาชน พร้อมทั้งทางคณะจัดงานจะมีการจัดงานรำลึกในปีต่อๆ ไปทุกปี รักษาการประธานกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย กล่าวด้วยว่า ประวัติศาสตร์ของวันนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่คนรุ่นหลังควรจะเรียนรู้ เนื่องจากมีความสำคัญมาก โดยนอกจากที่ทางกลุ่มจะมีการจัดกิจกรรมรำลึกต่อไปในทุกปีแล้ว ยังมีการเอกสารข้อมูลเผยแพร่ประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์นี้ และปีหน้าจะมีการจัดกิจกรรมใหญ่ขึ้นเนื่องจากครบรอบ 80 ปี สำหรับอนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" ที่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อ "อนุสาวรีย์หลักสี่" ได้มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2479 เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยบริเวณที่สร้างอนุสาวรีย์นี่เป็นหนึ่งในพื้นที่สู้รบ ซึ่งกบฏบวรเดชนั้นเป็นกลุ่มคณะที่นำโดยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเกิดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดยมีการยิงปะทะกันกับฝ่ายคณะราษฎรครั้งแรกเริ่มที่ อ. ปากช่อง และมีการปะทะกันกับฝ่ายคณะราษฎรในหลายจุดรวมทั้งบริเวณที่ตั้งอนุสาวรีย์ด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาลปกครองยกคำร้อง "อนุภาพ" ฟ้องระงับประมูล 3G Posted: 15 Oct 2012 12:42 AM PDT (15 ต.ค.55) (เบื้องต้น) ศาลปกครองกลางยกคำร้อง กรณีที่นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้ กสทช.ยุติการประมูล 3G ไว้ก่อน จนกว่าจะได้จัดทำประกาศ ระเบียบ ที่เป็นประโยนช์ต่อสาธารณะ ส่วนกรณีสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว หรือกลุ่มกรีน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการประมูลคลื่นความถี่ 3G ศาลปกครองรับคำร้อง แต่ยังไม่ไต่สวนในวันนี้ จากกรณีดังกล่าว ทำให้การประมูล 3G ในวันที่ 16 ตุลาคมของ กสทช. เดินหน้าต่อไป ตามกำหนดเดิม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 15 Oct 2012 12:36 AM PDT พบเด็กเล็กกว่า 50% เสี่ยง เสนอมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิตไม่ค้านแต่รัฐควรคุมนำเข้า แพทย์ วิศวกร องค์กรสิ่งแวดล้อม-ผู้บริโภค ชี้อันตรายจากสีทาบ้าน เผยกว่า 47% ที่ยังวางขายมีตะกั่วสูงกว่ามาตรฐาน พบเด็กเล็กกว่า 50% เสี่ยงต่อการได้รับสารตะกั่ว เสนอให้มีมาตรฐานเชิงบังคับ ด้านนายกสมาคมผู้ผลิตสียืนยันไม่คัดค้าน แต่ภาครัฐควรมีมาตรการควบคุมการนำเข้าก่อนการห้ามผู้ผลิตในประเทศ 15 ตุลาคม 2555 (กรุงเทพฯ) – เมื่อเวลาประมาณ 9.30 น. ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี มูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกันจัดเวทีเสวนา "ตะกั่วในสีทาอาคาร: ภัยที่ป้องกันได้" ขึ้น ณ ห้องประชุมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 40 คน ทั้งจากภาครัฐ เอกชน รวมถึงสมาคมผู้ผลิตสีแห่งประเทศไทย โดยในเวทีดังกล่าว รศ. นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เปิดเผยถึงผลการวิจัยโดยคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อปี 2553 ซึ่งตรวจพบว่า เด็กมากกว่าร้อยละ 50 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร เสี่ยงต่อการได้รับสารตะกั่ว โดยแหล่งกำเนิดที่พบมากที่สุดคือสีทาอาคารที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว "เด็กที่อยู่ในอาคารที่ทาสีน้ำมันควรถูกตรวจคัดกรองเลือดทุกคน เพราะความเสี่ยง 50 เปอร์เซ็นต์นั้นหมายความว่าไม่ต้องรอแล้ว ถ้าบ้าน โรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็กของคุณทาสีน้ำมัน และถ้าอยู่เป็นเวลานาน เจาะเลือดได้เลย มิฉะนั้นเด็กที่ได้รับสารตะกั่วจะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที"รศ. นพ. อดิศักดิ์ กล่าวก่อนให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เด็กเล็กคือกลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดต่ออันตรายของสารตะกั่วจากสีทาบ้าน เนื่องจากสมองเด็กเล็กอ่อนไหวต่อผลกระทบจากสารตะกั่ว และองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้โรคปัญญาอ่อนจากสารตะกั่วเป็นหนึ่งในโรคจากสภาพแวดล้อมที่ร้ายแรงที่สุดในโลก และระบุว่าไม่มีปริมาณการได้รับสารตะกั่ว ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก จากนั้นเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้กล่าวให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานบังคับปริมาณสารตะกั่วที่ใช้ผสมในสีทาอาคาร จึงยังมีสีปนเปื้อนสารตะกั่ววางจำหน่ายอยู่อย่างแพร่หลาย "ผลการสุ่มตัวอย่างโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศเมื่อปี 2552 พบสีน้ำมันร้อยละ 47 ที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานของไทย (600 ppm) มาตรฐานที่ใช้ในประเทศไทยในเวลานี้เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจ ดังนั้นจึงทำให้ผลการสำรวจของทางมูลนิธิพบว่ายังมีสีทาอาคารอีกหลายยี่ห้อที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนในระดับสูง โดยมากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในตลาดระดับกลางและระดับล่าง "นอกจากสีที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ยังมีสีปนเปื้อนสารตะกั่วที่ติดอยู่บนพื้นผิวอาคาร ซึ่งยังคงเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย ช่างก่อสร้าง และเสี่ยงต่อการปนเปื้อนต่อเนื่องในสภาพแวดล้อมรอบอาคาร เนื่องจากตะกั่วเป็นสารพิษที่ตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม" ด้านชาญณรงค์ ไวยพจน์ ประธานอนุกรรมการวิศวกรรมความปลอดภัย สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "นอกจากผู้ผลิตสีจะต้องผลิตสีที่มีคุณภาพแล้ว ต้องให้ความรู้เรื่องการเก็บสีล้างสีเก่าของช่าง เพราะถ้าล้างไม่ดี ตะกั่วจะฟุ้งกระจายสู่สิ่งแวดล้อม" ขณะที่สุทธิยา จันทวรางกูร ตัวแทนคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ได้กล่าวว่ามีความยินดีที่ในประเทศไทยเริ่มมีการขับเคลื่อนให้เพิกถอนสารตะกั่วจากสีทาอาคาร และยินดีสนับสนุน "ตะกั่วเป็นสารเคมีเป็นพิษที่หากใช้อย่างแพร่หลายจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ โดยเฉพาะเด็ก และยังเกิดผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อม เราสนับสนุนพฤติกรรมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน"ตัวแทนคณะผู้แทนสหภาพยุโรปฯกล่าว ก่อนให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ล่าสุด คณะผู้แทนสหภาพยุโรปสนับสนุนความร่วมมือระหว่าง 7 ประเทศเอเชียเพื่อเพิกถอนสารตะกั่วในสีทาอาคารที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยมีสำนักงานประสานงานและบริหารอยู่ที่สวีเดนและสหรัฐอเมริกา โดยร่วมกับเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อการจัดการสารพิษที่ตกค้างยาวนาน (International POPs Elimination Network: IPEN) ภายใต้งบสนับสนุนทั้งหมดใน 9 ประเทศเป็นจำนวน 1.4 ล้านยูโร มีระยะเวลาดำเนินงานรวม 3 ปี ด้านนายกสมาคมผู้ผลิตสี เพชรรัตน์ เอกแสงกุล ได้กล่าวยืนยันว่า "สมาชิกของสมาคมฯ ไม่คัดค้านการเลิกใช้สารเคมีที่มีตะกั่วผสมในสีทาบ้าน แต่ภาครัฐควรจะมีมาตรการป้องกันการนำเข้าสีที่มีสารตะกั่วอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนการห้ามผู้ผลิตในประเทศ"
หมายเหตุ: มูลนิธิบูรณะนิเวศ เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ทำงานเพื่อความเป็นธรรมและความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาและติดตามนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม สถานการณ์มลพิษอุตสาหกรรม และรูปแบบการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน เราส่งเสริมความเป็นธรรมในการจัดการความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ธรรมาภิบาล และความพร้อมรับผิดของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นที่ผลกระทบของสารเคมีอันตรายที่เกิดต่อระบบนิเวศน์ ชุมชนท้องถิ่น และสุขภาพของคนทำงาน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 14 Oct 2012 08:48 PM PDT |
สมเด็จพระนโรดม สีหนุ สวรรคตแล้วที่ปักกิ่ง Posted: 14 Oct 2012 06:11 PM PDT "พระวรราชบิดา" ของกัมพูชา สวรรคตแล้วขณะประทับอยู่ที่ประเทศจีน โดยช่วงที่ทรงพระชนม์ชีพ ทรงมีบทบาทอย่างสูงในการเมืองกัมพูชาสมัยใหม่ ทั้งการเรียกร้องเอกราช - ตั้งพรรคสังคมราษฎร์นิยม - มีบทบาทในสงครามกลางเมือง - ตั้งแนวร่วมเขมรสามฝ่ายกับเขมรแดง นำมาสู่การเลือกตั้งและสิ้นสุดสงครามกลางเมืองในปี 2536 ก่อนสละราชสมบัติในปี 2547 แฟ้มภาพกษัตริย์นโรดม สีหนุ ระหว่างเยือนโรมาเนียในปี 2515 โดยพระองค์สวรรตแล้วเช้าวันนี้ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (ที่มาของภาพ: วิกิพีเดีย)
เช้าวันนี้ (15 ต.ค.) อดีตกษัตริย์กัมพูชา สมเด็จพระนโรดม สีหนุ ซึ่งได้รับการนับถือของชาวกัมพูชา สวรรคตแล้วด้วยพระชนมายุ 89 พรรษา จากการเปิดเผยของรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งอ้างถึงข่าวของสำนักข่าวซินหัวของจีน ที่ระบุว่าพระองค์สวรรตที่กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน
พระญาติชั้นที่ 3 ของเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ และผู้เรียกร้องเอกราชกัมพูชา สมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงพระราชสมภพเมี่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต และสมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 หลังจากพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ผู้เป็นพระอัยกา และพระราชบิดาของสมเด็จพระราชินีกุสุมะ พระราชมารดาสวรรคต เมื่อนับพระญาติทางฝ่ายพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์นับเป็นพระญาติชั้นที่ 3 ของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ โดยเป็นญาติทางฝ่ายพระบิดาของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เมื่อสมเด็จนโรดม สีหนุทรงขึ้นครองราชย์ในปี 2484 ได้ทรงเรียกร้องเอกราชของกัมพูชาจากฝรั่งเศสได้สำเร็จในปี 2496 โดยก่อนที่จะได้รับเอกราชในเดือนพฤษภาคมปี 2496 พระองค์เสด็จลี้ภัยอยู่ที่กรุงเทพฯ และกลับไปกัมพูชาเมื่อได้รับการรับรองเอกราชในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน
ชีวิตการเมือง จากพรรคสังคมราษฎร์นิยม สู่แนวร่วมเขมรแดง และต่อมาในปี 2498 ทรงสละราชสมบัติ เพื่อให้พระบิดาของพระองค์คือพระนโรดม สุรามฤต ขึ้นครองราชย์แทน จากนั้นพระองค์หันมาเล่นการเมือง ทรงตั้งพรรคสังคมราษฎร์นิยม (Sangkum Reastr Niyum หรือ ส็องกุมเรียะนิยุม) เรียกสั้นๆว่า "พรรคสังคม" เป็นพรรคแนวอนุรักษ์นิยมผสมแนวคิดพุทธศาสนา โดยพรรคนี้มีบทบาทมากในกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2498 - 2513 โดยบางช่วงพระองค์มีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นทั้งประมุขของรัฐต่อจากพระบิดาที่สวรรคตด้วย กระทั่งถูกลอน นอล ทำรัฐประหารในปี 2513 ตั้งระบอบสาธารณรัฐขึ้นมา ทั้งนี้แม้พระองค์พยายามที่จะรักษาประเทศให้พ้นจากความขัดแย้งในช่วงสงครามเย็น ที่เขม็งเกลียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงทศวรรษที่ 2510 แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้หลังพระองค์ถูกรัฐประหาร พระองค์ลี้ภัยไปอยู่ปักกิ่ง และเปียงยาง และตั้งแนวร่วมสหชาติเขมร (FUNK) ขึ้นที่ปักกิ่ง เพื่อต่อต้านรัฐบาลลอน นอล และทรงเป็นแนวร่วมกับพรรคกัมพูชาธิปไตยหรือเขมรแดง โดยทรงเสด็จไปเยี่ยมแนวรบของเขมรแดงด้วย โดยมีชาวนาจำนวนมากมาร่วมสนับสนุนการปฏิวัติของเขมรแดงเนื่องจากเข้าใจว่าเขมรแดงต่อสู้เพื่อสนับสนุนพระองค์ ต่อมาโดยภายหลังในปี 2522 พระองค์ต้องชี้แจงการร่วมมือกับเขมรแดงว่าเป็นเพราะระบอบกษัตริย์กำลังถูกโค่นล้ม พระองค์สู้เพื่อเอกราชของประเทศ แม้ว่าประเทศจะต้องเป็นคอมมิวนิสต์ก็ตาม โดยในช่วงของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐของลอน นอล กษัตริย์สีหนุทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ประทับอยู่ที่บ้านรับรองขนาด 60 ห้องที่กรุงเปียงยาง เกาหลีเหนือ ในปี 2518 แนวร่วมของพระองค์คือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตยหรือเขมรแดงได้ยึดอำนาจนายพลลอน นอล โดยพระองค์ได้กลับไปประทับที่กรุงพนมเปญและเป็นประมุขเชิงสัญลักษณ์ ในเดือนเมษายนปี 2519 เขมรแดงบีบให้พระองค์วางมือทางการเมือง ระหว่างนั้นพระองค์ถูกระบอบเขมรแดงส่งไปพูดในที่ประชุมสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการที่เวียดนามส่งกองทัพเข้ามารุกรานกัมพูชา ทั้งนี้ระบอบเขมรแดงซึ่งปกครองประเทศอย่างโหดเหี้ยมในระหว่างปี 2518 ถึง 2522 ได้ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดในศตวรรษที่ 20 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 ล้านคน และข้อมูลบางแหล่งเชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 2.5 ล้านคน กระทั่งต่อมาพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา นำโดยเฮง สัมริน และฮุน เซ็น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามเข้ามาขับไล่เขมรแดงออกจากพนมเปญในปี 2522
ตั้งแนวร่วมเขมรสามฝ่าย - สู่การเลือกตั้งทั่วไป ขึ้นครองราชย์ครั้งที่ 2 และสละราชสมบัติ ในช่วงที่พรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชามีอำนาจ ทรงลี้ภัยไปประทับในจีนและเกาหลีเหนือ และทรงร่วมมือกับกลุ่มต่างๆ ตั้งแนวร่วมเขมรสามฝ่าย (The Coalition Government of Democratic Kampuchea - CGDK) ประกอบด้วย เขมรแดงภายใต้การนำของเขียว สัมพันและพล พต แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรของซอนซาน และพรรคฟุนซินเปกของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2525 และเข้าไปมีที่นั่งในสหประชาชาติ แทนที่รัฐบาลพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชาของเฮง สัมริน และฮุน เซ็น ต่อมาหลังจากเวียดนามถอนทหารในปี 2532 มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2536 และสิ้นสุดสงครามกลางเมือง สมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงขึ้นครองราชย์หนที่สองในปี 2536 และต่อมาได้สละราชสมบัติให้กับสมเด็จพระนโรดม สีหมุนี เมี่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ขณะทรงมีพระชนมพรรษา 82 พรรษา หลังจากนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น "พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดา เอกราช บูรณภาพดินแดน และความเป็นเอกภาพแห่งชาติเขมร" หรือ "The King-Father of Cambodia" ทั้งนี้แม้พระองค์จะต้องลี้ภัยอย่างยาวนานขณะดำรงพระชนม์ และทรงสละราชสมบัติในปี 2547 ด้วยเหตุผลด้านพระพลานามัย แต่สมเด็จพระนโรดม สีหนุ ยังคงเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลต่อสังคมกัมพูชาเสมอ
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Cambodia former king Norodom Sihanouk 'dies' in Beijing, BBC 14 October 2012 Last updated at 23:01 GMT http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-19943963 Norodom Sihanouk, Wikipedia, http://en.wikipedia.org/wiki/Norodom_Sihanouk ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น