โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ประมวลภาพ: คาราวานมอเตอร์ไซค์คนจน เส้นทางจากเมืองเหนือสู่เมืองกรุงฯ

Posted: 02 Oct 2012 01:16 PM PDT

 

 
ประชาไทประมวลภาพและคำบอกเล่า ในการเดินทางไกลระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร ของคาราวานมอเตอร์ไซค์คนจน ขบวนการประชาชน เพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟจากภาคเหนือ เพื่อเข้าร่วมกับเครือข่ายประชาชนจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศเรียกร้องการแก้ปัญหาจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และการยืนหยัดกลางเปลวแดดและสายฝนในเมืองหลวงร่วม 2 วัน จนกระทั่งมีการเจรจาเมื่อช่วงเช้าวันที่ 2 ตุลาคม 2555
 
ทั้งนี้ ล่าสุดการเคลื่อนไหวของขบวนการคนจนประสบผล เมื่อตัวแทนคนจน 15 คนได้ร่วมในการประชุมที่มีนายกฯ เป็นประธาน ณ ห้องรับรอง อาคารสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทำเนียบรัฐบาล ซึ่งบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นว่า นายกฯ จะเปิดการเจรจา เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนในรายละเอียด ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2555 นี้
 
27 กันยายน 55
รวมพลจากเชียงใหม่ และเชียงราย
 
ขบวนมอเตอร์ไซค์จากบ้านห้วยหินลาด ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย สู่เชียงใหม่
ภาพโดย: Chaitawat Chomti
 
 
28 กันยายน 2555
 
ขบวนมอเตอร์ไซค์เชียงราย ทำพิธีบวงสรวงพ่อขุนเม็งราย และอ่านแถลงการณ์ ออกเดินทางไปตามเส้นทางเชียงราย – พะเยา เพื่อสมทบกับขบวนมอเตอร์ไซค์จากพะเยา และเดินทางไปตามเส้นทางพะเยา – แพร่ เพื่อไปสมทบกับขบวน ใหญ่ที่แยกเด่นชัย จ.แพร่
 
ขบวนเชียงใหม่ คาราวานมอเตอร์ไซค์ทวงคืนโฉนดชุมชนและธนาคารที่ดินรวมตัวกันที่ เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.) ก่อนเคลื่อนขบวนมอเตอร์ไซค์ออกเดินทางจากเชียงใหม่
ภาพโดย: Tuan Tuan Thinthupthai
 
ขบวนมอเตอร์ไซค์เชียงใหม่, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน, ตาก (ท่าสองยาง) จากเชียงใหม่ ไปลานครูบาศรีวิชัย จ.ลำพูน เพื่อทำพิธีบวงสรวง สักการะบูชา ขอพรครูบาฯ
ภาพโดย: Tuan Tuan Thinthupthai
 
อ่านบทกวี "การต่อสู้ของคนจน" โดยแสงดาว ศรัทธามั่น ศิลปินแห่งล้านนา
ภาพโดย: Tuan Tuan Thinthupthai
 
ขบวนรถออกจากลานครูบาฯ สู่เส้นทางลำพูน – ลำปาง
ภาพโดย: Tuan Tuan Thinthupthai
 
ทีมนักบิดจากลำปาง
ภาพโดย: Too Too Kamon
 
ผู้หญิงในขบวนเราก็มี....
ภาพโดย: Too Too Kamon
 
ขบวนรถออกจากลำปาง ไปตามเส้นทางหมายเลข 11 (ลำปาง – เด่นชัย) สมทบกับขบวนรถที่มาจากจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และแพร่ ณ แยกเด่นชัย หยุดพักเติมน้ำมัน และรับทานอาหารกลางวัน
 
ท้ายขบวนก่อนเข้าพิษณุโลก
ภาพโดย: Too Too Kamon
 
 
29 กันยายน 2555
 
ออกเดินทางจากวัดจอมทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
 
สักการะขอพรองค์พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ ม.นเรศวร พิษณุโลก
 
 
ตอนนี้ถึงอ่างทองแล้วพี่น้องพีมูฟเพื่อติดตามโฉนดชุมชนจากรัฐบาล
ภาพโดย: Worawuth Tamee Waen
 
เอ้า...ว่าไงพี่น้อง "ใจสู้หรือเปล่า.....ไหวไหมบอกมา..."
ภาพโดย: Too Too Kamon
 
ขบวนมอเตอร์ไซด์คนจน เดินทางมาถึงอยุธยาแล้วพรุ่งนี้มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ
 
 
30 กันยายน 2555
 
บรรยากาศในช่วงเช้าของนักบิดโฉนดชุมชน ที่สนามกีฬาอยุธยา
ภาพโดย: Worawuth Tamee Waen
 
พี่น้องลีซูร่วมตามทวงโฉนดชุมชนคับพี่น้อง
ภาพโดย: Worawuth Tamee Waen
 
ออกแล้วครับพี่น้องโฉนดชุมช
ภาพโดย: Worawuth Tamee Waen
 
สิงห์นักบิต ที่ศูนย์พัฒนาศักยภาพสตรี (วี-เทรน) ดอนเมือง กรุงเทพฯ
ภาพโดย: Worawuth Tamee Waen
 
 
1 ตุลาคม 2555
 
ขบวนสิงห์นักบิตถึงแล้วทีวีไทย
ภาพโดย: Worawuth Tamee Waen
 
อ่านแถลงการณ์พีมูพหน้าทีวี PBS
ภาพโดย: Worawuth Tamee Waen
 
ยื่นหนังสือที่ UN วันที่อยู่อาศัยสากล 1 ต.ค.
ภาพโดย: Too Too Kamon
 
นายกฯ คนเจียงใหม่ใจดำ ปล่อยให้เราตากแดดตากฝนไม่ยอมเปิดประตูต้อนรับ พวกเราอุตส่าห์ขี่มอเตอร์ไซค์มาเจ็ดร้อยกว่ากิโล เอาไงดีพี่น้อง.....
ภาพโดย: Too Too Kamon
 
พวกเราไม่ใช่ "ม็อบ" แต่พวกเราคือผู้ชุมนุมอย่างสงบซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญของเรา พวกเราคือผู้เดือดร้อน พวกเราคือผู้ที่ประสบปัญหา ถ้าไม่เดือดร้อนหรือมีปัญหาเราคงไม่มา พวกเราต้องการให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม พวกเราอยากให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมหมดไปอยากให้สังคมนี้อยู่กันอย่างเท่าเทียมและแบ่งปัน แต่ดูเหมือนพวกท่าน...ไม่อยากให้เกิดความเป็นธรรม ไม่อยากลดความเหลื่อมล้ำใช่ไหมจึงไม่ยอมแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังนโยบายภาคประชามักถูกเมินเฉย ท่านคิดบ้างหรือไม่ว่า..ถ้าวันใดเกษตรกร กรรมกร ผู้ใช้แรงงานฉลาดกันทั้งประเทศพวกท่านจะสูญเสียอำนาจแน่นอน
ภาพโดย: Bee Sangtawan
 
คนในพื้นที่ทับซ้อน ไม่ใช่ฆาตกรของสังคม
 
ฝนตกก็ไม่ใช่อุปสรรค เราจะปีนรั้วเข้าทำเนียบ พี่น้องเอ้ย....
ภาพโดย: Too Too Kamon
 
ที่นอนแลดาวของเรา หน้าทำเนียบ ไฮโซไม่มีโอกาสได้นอน เรานอนที่นี่ 1 คืน เพื่อพบนายกฯ ในวันพรุ่งนี้
 
 
2 ตุลาคม 2555
 
พีมูฟยังคงปักหลักชุมนุมอย่างสงบที่ทำเนียบรัฐบาล
 
พีมูฟพบนายกปู หารือการแก้ไขปัญหาของคนจน
 
อย่างไรก็ตาม จากแถลงการณ์ฉบับที่ 19 ของ พีมูฟ 'เดินทางกว่า 1000 กิโล พบนายกรัฐมนตรี 30 นาที เพื่อทวงคืนนโยบายคนจน บรรลุเป้าหมายในเบื้องต้น เปิดเจรจาเดือนพฤศจิกายน' ยืนยันว่า การมาทวงคืนนโยบายคนจนในครั้งนี้ยังไม่ลุล่วง แต่จะให้โอกาสนายกรัฐมนตรี ในการเปิดเวทีเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากยังไม่มีความชัดเจน และปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปประธรรม พีมูฟจะกลับมาเพื่อทวงนโยบายคนจนอีกครั้ง
 
ทั้งนี้ พีมูฟประกอบด้วย เครือข่ายสลัม 4 ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เหมืองแร่ในลาว : ทางสองแพร่งระหว่างความมั่งคั่งกับสิ่งแวดล้อม

Posted: 02 Oct 2012 10:18 AM PDT

 

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถือเป็นประเทศที่มีแร่ธาตุทรัพยากรธรณีอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับที่ราบหุบเขา อันเกิดจากการยกตัวของแผ่นทวีปเก่า และมีภูเขาไฟที่ดับแล้วหลายแห่ง จากการสำรวจได้ค้นพบสายแร่ธาตุและโลหะมีค่าต่างๆ เป็นจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสให้รัฐบาลลาวนำทรัพยากรเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศ ผ่านทางการให้สัมปทานต่อบริษัทต่างชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและเจรจารัฐบาลต่อรัฐบาล

แร่ธาตุและโลหะที่พบในลาว มีแหล่งแร่สำคัญ ได้แก่

-          เงิน ทองคำและทองแดง ในเหมืองเซโปน เมืองวีละบุลี แขวงสะหวันนะเขด

-          เหล็ก ในแขวงเวียงจัน

-          เหล็ก ทองแดง ทองคำ ดีบุกและสังกะสี ในแขวงเซกอง และอัดตะปือ

โดยการขุดแร่ดังกล่าว ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ (ກະ
ຊວງພະລັງງານ ແລະບໍ່ແຮ່) ให้ได้รับสัมปทานเสียก่อน โดยบริษัทผู้รับสัมปทานจะต้องจ่ายอากรบ่อแร่ ซึ่งในปัจจุบัน มีบริษัทต่างชาติได้รับสัมปทานสำรวจและขุดแต่งแร่จำนวน 140 บริษัท ในการขุดค้นและทำเหมืองกว่า 200 โครงการ ส่วนบริษัทลาวเองก็ได้ร่วมทุนรับสัมปทานขุดแร่อีกกว่า 40 บริษัท ใน 100 กว่าโครงการ

ท่านพูเพ็ด คำพูนวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน ได้แถลงว่า งบประมาณรายรับใน 8 เดือนต้นปี 2012 นี้ เป็นรายรับเกินแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยเฉพาะอากรกำไรจากทรัพยากรธรรมชาติจากเหมืองทองคำเซโปน ซึ่งเก็บได้กว่า 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 80.36 ของรายรับจากภาษีอากรประจำปีที่ได้ประเมินไว้อย่างไรก็ตาม ท่านสะหมาน อะเนกา ผู้อำนวยการบริษัทล้านช้างมิเนอรัล จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ลงทุนในการขุดแต่งแร่ทองคำที่เหมืองเซโปน ประมาณการว่า การขุดทองคำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปี จะทำให้ปริมาณทองคำในเหมืองหมดลงจนไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ภายในปี 2013 นี้ แม้ว่าแร่ทองแดงยังมีเหลือพอคุ้มค่าในการขุด และสามารถขุดเพื่อส่งออกไปยังออสเตรเลียได้อย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายการผลิตที่ 150,000 ตันในปี 2013 ก็ตาม

กลุ่มทุนต่างชาติที่เข้ามาร่วมทุนกับรัฐบาลลาว หรือรับสัมปทาน มีทั้งกลุ่มทุนสัญชาติไทย ญี่ปุ่น เวียตนาม จีน เยอรมัน และออสเตรเลีย โดยส่วนมากจะขนส่งนำแร่ดิบกลับไปถลุงยังประเทศตนเอง ขนส่งขึ้นรถบรรทุกมาลงเรือที่ท่าเรือแหลมฉบังหรือท่าเรือไฮฟอง เนื่องจากกังวลกับความไม่แน่นอนทางการเมืองของลาว ยกเว้นจีนและเวียตนาม ซึ่งตั้งโรงถลุงแร่ในลาวด้วย โดยนำเข้าแรงงานชนชาติตัวเองมาเป็นลุกจ้าง เพื่อเพิ่มตำแหน่งงาน และลดอัตราว่างงาน จนเกิดปัญหากับชาวลาวท้องถิ่นเป็นระยะ ซึ่งรัฐบาลลาวยอมรับว่า ไม่สามารถผลักดันแรงงานที่ก่อปัญหากลับประเทศได้

ในอีกด้านหนึ่ง เหมืองแร่ต่างๆ ได้ก่อปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนชาวลาวมากขึ้น โดยในการประชุมสภาแห่งชาติสมัยสามัญครั้งที่ 3 ของสภาแห่งชาติชุดที่ 7 ระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน ถึง 13 กรกฎาคม 2012 ที่ผ่านมา ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนทั้งทางโทรศัพท์สายด่วย ไปรษณีย์ และอีเมล ถึง 280 เรื่อง เป็น 300 ความเห็นเกี่ยวกับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเรื่องมาจากการให้สัมปทานที่ดินทำเหมืองแร่และป่าไม้ รวมถึงคดีความฟ้องร้องในศาลประชาชนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมก็เพิ่มขึ้น จาก 8,000 คดีในปี 2007 เป็นกว่า 10,000 คดีในปี 2011 โดยเฉพาะกับปัญหาสารพิษจากเหมืองแร่ทองแดง และโรงงานถลุงแร่ของเวียตนามในแขวงเซกองและอัดตะปือ ที่ไหลลงแหล่งน้ำชุมชนและแม่น้ำ การขุดแต่งทองคำในแขวงเชียงขวาง โรงงานหลอมแร่เหล็ก ทองแดง ดีบุก สังกะสี และโปแตสเซียม ในแขวงเวียงจันทร์

นอกจากนี้ จากการสืบสวนในทางลับในท้องถิ่นต่างๆ ยังทำให้ทราบปัญหาเพิ่มเติมว่า โดยเฉพาะการละเมิดสัญญาและข้อตกลงต่างๆ อย่างกว้างขวาง ยิ่งในการขุดแต่งเหมืองแร่นั้นทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติอย่างหนักหน่วงมากขึ้นไปด้วย

จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ในการประชุมสภาสมัยสามัญครั้งที่ 3 ของสภาชุดที่ 7 ท่านนายกรัฐมนตรี ทองสิง ทำมะวง ได้แถลงยืนยันต่อที่ประชุมว่า จะระงับการอนุญาตและการพิจารณาให้กลุ่มบุคคลหรือภาคเอกชน เข้าสำรวจและขุดค้นแร่ และสัมปทานปลูกยางพาราทั่วประเทศ ไปจนถึงเดือนธันวาคม 2015 เพื่อตรวจสอบการดำเนินการของกลุ่มบริษัทที่ได้รับสัมปทานไปก่อนหน้านี้ ว่าได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ข้อบังคับเรียบร้อยหรือไม่ ก่อนจะพิจารณากลับมาอนุมัติอีกครั้ง

กิจการเหมืองแร่สร้างความมั่งคั่งให้แก่รัฐบาลและประเทศลาวเป็นอย่างมาก แต่ยังเป็นที่น่าสงสัยว่า ประชาชนชาวลาวได้รับผลประโยชน์จากความมั่งคั่งนั้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ หรือได้รับเพียงผลกระทบ มลพิษ และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

 

อ้างอิง:

 

 

  

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชำนาญ จันทร์เรือง: ถ้าประเทศไทยไม่มีกองทัพ

Posted: 02 Oct 2012 09:13 AM PDT

ไม่น่าเชื่อว่าท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การเผาสถานกุงสุลที่เบงกาซี ลิเบีย จนเอกอัครราชทูตสหรัฐเสียชีวิต กรณีเผชิญหน้ากันระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในการแย่งชิงเกาะเตียวหยูหรือเซนกากุ การประกาศจะถล่มอิหร่านของอิสราเอล ฯลฯ แต่ยังมีประเทศที่ปราศจากกองทัพอีกจำนวนหลายสิบประเทศที่ยังอยู่อย่างสุขสบายดี

ประเทศที่ไม่มีกองทัพเลย คือ เกรนาดา คอสตาริกา คิรีบาส ซานมาริโน ซามัว เซนต์คิดส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ โดมินิกัน ตูวาลู นาอูรู ปานามา มัลดีฟส์ ลิกเตนสไตน์ วาติกัน วานูอูตู หมู่เกาะโซโลมอน และเฮติ (ที่มา : Sarbey 2001)

ประเทศที่ไม่มีกองทัพแต่มีสนธิสัญญาป้องกัน คือ นีเออู (นิวซีแลนด์) ปาเลา (สหรัฐอเมริกา) โมนาโก (สหรัฐอเมริกา) ไมโครนีเซีย (สหรัฐอเมริกา) หมู่เกาะคุก (นิวซีแลนด์) หมู่เกามาร์แซลล์(สหรัฐอเมริกา) อันดอร์รา (สเปน,ฝรั่งเศส) และไอซ์แลนด์ (นาโต,สหรัฐอเมริกา) (ที่มา: Sarbey 2001)

สำหรับประเทศที่เหลือที่ถึงแม้ว่าจะมีกองทัพ แต่ก็ไม่มีการเกณฑ์ทหาร คือ กรีซ กายนา คาซัคสถาน แคนาดา โครเอเชีย ซิมบับเว ซูรินาเม ไซปรัส เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ บราซิล บัลแกเรีย เบลเยียม เบอร์มิวดา ปารากวัย โปแลนด์ โปรตุเกส ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ มอลโดวา มอลตา ยูเครน ยูโกสลาเวีย เยอรมัน รัสเซีย โรมาเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย สเปน สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเช็ก สโลวีเนีย ออสเตรเลีย ออสเตรีย อาเซอร์ไบจัน เอสโตเนีย แอฟริกาใต้ อังกฤษ อิสราเอล อิตาลี อุรุกวัย อุซเบกิสถาน และฮังการี(ที่มา : Horeman and Stolwijk 1998)

สภาพที่ไม่มีกองทัพ หรือถึงแม้ว่าจะมีกองทัพแต่ก็ไม่มีการเกณฑ์ทหาร จึงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะน่าแปลกใจสำหรับคนไทยที่เห็นว่า กองทัพเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ต่อความมั่นคงของชาติ แต่ตัวอย่างประเทศที่ยกมาข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะปราศจากกองทัพ หรือหากแม้จะมีกองทัพแต่ก็ไม่มีการเกณฑ์ทหาร

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าประเทศไทยไม่มีกองทัพ
1) เมื่อไม่มีกองทัพ ย่อมไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้น เพราะจากประวัติศาสตร์การเมืองของไทยเราที่ผ่านมา การรัฐประหารหรือกบฏที่เกิดขึ้น ล้วนแล้วแต่เกิดจากการใช้กำลังทหาร ไม่ว่าจะเป็นการนำโดยทหารบกหรือทหารเรือ ตลอดจนการสนับสนุนจากทหารอากาศในการเข้ายึดอำนาจจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณหรือการเข้าร่วมเป็นองค์คณะของผู้ทำการรัฐประหารในเวลาแถลงข่าว โดยใช้ชื่อแตกต่างกันไป เช่น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป คณะรักษาความสงบเรียบร้อย ฯลฯ ซึ่งก็คือคณะรัฐประหารดีๆ นี่เอง แต่ไม่มีใครยอมเรียกชื่อตัวเองว่า เป็นคณะรัฐประหารเลย

2) เมื่อไม่มีกองทัพก็ย่อมที่จะไม่มีการเกณฑ์ทหารเกิดขึ้น ช่องทางที่ใช้ทำมาหากิน ทุจริตคอรัปชันในการเกณฑ์ทหารก็หมดไป ที่สำคัญคดีหนีทหารของคนสำคัญๆ ที่คาราคาซังฟ้องร้องหมิ่นประมาทหรือปลอมแปลงเอกสารกันอยู่ย่อมหมดไปด้วย (ไม่ฮา) พ่อแม่ผู้ปกครองของเยาวชนที่ครบอายุเกณฑ์ทหารก็ไม่ต้องนอนผวาว่า ลูกหลานตนเองจะถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร บางคนลูกตนเองเป็นนายทหารอยู่ดีๆ วิ่งเต้นย้ายโอนไปเป็นนายตำรวจเสียดื้อๆ อ้างว่าไม่อยากให้ลูกตนเองถูกส่งไปภาคใต้เสียอย่างนั้น มิหนำซ้ำยังให้เหตุผลในการโอนย้ายว่า ลูกชายตนเองยิงปืนแม่นเสียอีกแน่ะ

3) เมื่อไม่มีกองทัพ งบประมาณเป็นแสนๆ ล้านในแต่ละปีย่อมถูกนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านอื่น ประเทศไทยเราคงจะเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่านี้

4) เมื่อไม่มีกองทัพ พี่น้องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คงอยู่เย็นเป็นสุขขึ้นมาบ้าง เพราะหนึ่งในสาเหตุที่ความไม่สงบเกิดขึ้นในภาคใต้ก็เนื่องเพราะการมีกำลังทหารจำนวนมากเข้าไปอยู่ในพื้นที่นั่นเอง มิหนำซ้ำบางส่วนยังไปจากพื้นที่อื่นซึ่งไม่ใช่กองกำลังในพื้นที่ ซึ่งมีแต่ไปเพิ่มปัญหามากกว่าไปแก้ปัญหา เพราะด้วยเหตุไม่รู้สภาพพื้นที่และขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น

5) เมื่อไม่มีกองทัพทีทางต่างๆ นับเป็นแสนหรือล้านๆ ไร่ก็ย่อมจะถูกนำไปใช้ประโยชน์พัฒนาทางเศรษฐกิจได้คุ้มค่า ที่สำคัญยังมีประชาชนที่ยังไม่มีที่ทำมาหากินอีกมากมายต้องการ

6) เมื่อไม่มีกองทัพก็ย่อมไม่ผู้นำเหล่าทัพไปเที่ยวกราดเกรี้ยวชี้หน้าด่าสื่อมวลชนหรือประชาชนว่าถามอะไรหรือพูดอะไรที่ทำให้อารมณ์บูดอยู่เสมอๆ

7) เมื่อไม่มีกองทัพแล้วการที่ถูกนินทาว่าประเทศไทยมีจำนวนนายพลทหารประจำการต่อจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกก็จะหมดไป

8) เมื่อไม่มีกองทัพ เราก็ไม่ต้องกังวลว่าจะมีการใช้ทหารไปปราบม็อบอีก

9) เมื่อไม่มีกองทัพก็ย่อมลดความบาดหมางกับประเทศเพื่อนบ้าน  เพราะการปะทะกันด้วยกำลังทหารตามชายแดนย่อมน้อยลงหรือหมดไป ที่ผ่านมา แม้ว่าศักยภาพของกองทัพไทยจะเหนือกว่ากองทัพเขมรหลายเท่าตัว เครื่องบินรบไทยสามารถใช้เวลาบินไม่กี่นาทีถึงเมืองหลวงของเขมร แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรเขมรได้ เพราะติดด้วยระเบียบโลกที่ว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ มิหนำซ้ำกลับต้องเพลี่ยงพล้ำในเวทีการเมืองระหว่างประเทศที่ทำให้เขมรสามารถนำคดีกลับไปสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice หรือ ICJ) เพื่อตีความคำพิพากษารอบใหม่ได้อีก ทั้งๆ คดีผ่านมาตั้งห้าสิบปีแล้ว ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือออกก้อย แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ได้เขตปลอดทหารมาแทนชั่วคราว ทำให้การมีกองทัพที่เหนือกว่าไม่มีความหมายอันใด

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ มิได้มุ่งหวังว่าจะทำให้เกิดการยุบเลิกกองทัพในประเทศไทยขึ้น เพราะเป็นไปได้ยากกว่าการยุบเลิกราชการส่วนภูมิภาค การแก้ไขมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา หรือแม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายเท่าตัว แต่เพียงเพื่อจะชี้ให้เห็นว่า หากกองทัพมีขนาดที่เล็กลง ไม่มีการบังคับ   ขู่เข็ญให้ลูกคนจนต้องไปถูกเกณฑ์เป็นทหาร และจำกัดบทบาทของทหารที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองแล้ว ประเทศไทยเราจะไปได้ดีกว่านี้

กองทัพจะอยู่ได้หรือไม่ได้อยู่ที่การยอมรับของประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงเท่านั้น แม้ว่ากองทัพจะมีอาวุธยุทโธปกรณ์อยู่ในมือที่พร้อมจะรัฐประหารก็ตาม แต่หากประชาชนไม่เอาด้วยกองทัพก็ยากที่จะดำรงอยู่ได้ ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์โลกที่รัฐบาลทหารในหลายประเทศถูกโค่นล้มลง ล่าสุดก็จากการขยายตัวของปรากฏการณ์ปฏิวัติดอกมะลิและตัวอย่างการลบล้างอำนาจของทหารโดยประธานาธิบดีพลเรือนของอียิปต์ หรือล่าสุดการนำตัวทหารที่พยายามทำการรัฐประหารไปขึ้นศาลในตุรกีนั่นเอง

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ต้องหายิง M79 เชียงใหม่ยังถูกขังหลังศาลยกฟ้อง

Posted: 02 Oct 2012 09:08 AM PDT

วัลลภ พิธีพรม ผู้ต้องหายิง M79 ถูกขังต่อหลังศาลยกฟ้องและอยู่ระหว่างอัยการขอขยายเวลาอุทธรณ์เป็นรอบที่สอง พร้อมความเคลื่อนไหวคดีอื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ คดีดีเจวิทยุชุมชนถูกข้อหาปลุกปั่นให้ปิดถนน นัดสืบพยานนัดต่อไป 19 พ.ย.นี้


2 ต.ค.55 สืบเนื่องจากวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ยกฟ้องคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ฟ้องนายวัลลภ พิธีพรม ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ยิง M79 ก่อเหตุวุ่นวายในช่วงปี 2553 ด้วยเหตุขาดประจักษ์พยานและพยานหลักฐานไม่เพียงพอในการพิสูจน์เอาผิดจำเลย แต่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ยังคงสั่งให้ควบคุมตัวจำเลยไว้อีก 30 วันเพื่อรอการอุทธรณ์โดยพนักงานอัยการ

ต่อมาวันที่ 26 ก.ย.55 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำสั่งขยายระยะเวลาขังจำเลยระหว่างอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วันเนื่องจากพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่มีคำร้องขอขยายระยะเวลาในการอุทธรณ์

นายวัลลภกล่าวว่า แม้จะไม่เข้าใจว่าเหตุใดศาลจึงยังสั่งขังตนต่ออีก แต่ก็ยังไม่มีการอุทธรณ์คำสั่ง ตนได้ปรึกษากับทนายความแล้ว และเตรียมใจไว้แล้วสำหรับคำสั่งศาลเช่นนี้ ยังเชื่อมั่นว่าศาลจะอนุญาตให้ปล่อยตัวเมื่อครบกำหนดขังครั้งต่อไป ส่วนตอนนี้คิดถึงเมื่อครั้งที่ตนถูกย้ายไปขังที่เรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานครเกือบ 2 เดือนร่วมกับนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นายสุรภักดิ์ (สงวนนามสกุล) และนายธันย์ฐวุฒิ (สงวนนามสกุล) หรือหนุ่มเรดนนท์ ที่เคยพึ่งพาสนิทสนมกันแม้จะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ แต่ตนยังคงติดตามข่าวสารของเพื่อนนักโทษการเมืองผู้ร่วมชะตากรรมเหล่านี้เท่าที่จะมีโอกาส อยากฝากกำลังใจให้อดทน

ทั้งนี้ นายวัลลภถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย.53 และไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างที่ถูกดำเนินคดีจนถึงปัจจุบัน

ส่วนนายแดง ปวนมูล นักโทษเด็ดขาดคดีเสื้อแดงเชียงใหม่อีกคนหนึ่งนั้น ปัจจุบันมีสถานะเป็นนักโทษชั้นเยี่ยมและเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 3 อีกทั้งนายแดงยังมีปัญหาสุขภาพเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงมีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ในการขอพักโทษ โดยเจ้าหน้าที่เรือนจำได้เริ่มดำเนินการเกี่ยวกับการยื่นคำร้องเพื่อรับพิจารณาแล้วตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา

นายแดงกล่าวว่า ทั้งสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและสภาพเรือนจำที่แออัด (ข้อมูลปัจจุบันมีทั้งสิ้น 4,236 คน) ทำให้ตนมีอาการป่วยบ่อยครั้ง หวังว่าจะได้พักโทษโดยเร็ว ตนมีพ่อแม่และลูกอีก 2 คนต้องเลี้ยงดู ขณะที่ถูกจำคุกอยู่นี้ทรัพย์สินที่เคยมีก็หมดไปและยังมีหนี้สินที่เป็นภาระพอกพูนขึ้นทุกวัน หากได้รับอิสรภาพ ตนจะประกอบอาชีพสุจริตรับซ่อมรองเท้าตามที่ได้เรียนรู้จากหลักสูตรอาชีพของเรือนจำ คงกลับไปประกอบกิจการขับรถนำเที่ยวไม่ได้อีกแล้วเพราะรถถูกยึดไปแล้ว

รายงานข่าวแจ้งว่า คดีเสื้อแดงเชียงใหม่ที่ยังคงอยู่ในชั้นศาลอีก 1 คดีคือคดีที่นายจักรพันธ์ บริรักษ์ หรือดีเจหนึ่ง ซึ่งตกเป็นจำเลยในข้อหากระทำการให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา ชักชวน ปลุกปั่น ยุยง ให้ประชาชนที่รับฟังรายการไปร่วมกันปิดกั้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายเชียงใหม่-ลำปาง บริเวณแยกดอยติ อันเป็นการกระทำเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 กรณีประกาศผ่านทางสถานีวิทยุชุมชนรักเชียงใหม่ 51 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2552 

คดีนายจักรพันธ์มีกำหนดนัดสืบพยานโจทก์นัดต่อไปในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งเป็นการส่งประเด็นไปสืบที่ศาลจังหวัดลำพูน 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ศาสตราวุธของนักต่อสู้’ ผลงานทางปัญญา จากแดนคดีความมั่นคง

Posted: 02 Oct 2012 08:59 AM PDT

เผยผลงานของผู้ต้องขังคดีความมั่นคง จากกิจวัตรประจำวัน สู่การพิมพ์คู่มือประกอบศาสนกิจของมุสลิมเขียนด้วยลายมือ ชี้การศึกษาเปิดโอกาสให้อยากเป็นนักเขียน วอนให้ผู้ถูกอธรรมได้หลุดพ้นจากความลำบาก

วันหนึ่งที่ห้องโถงในเรือนจำกลางปัตตานี ในกลุ่มชายฉกรรจ์ หลายคนทำปากขมุบขมิบ พร้อมนั่งขยับนิ้วนับลูกประคำ ประหนึ่งกิจวัตรประจำวันในยามว่าง หรือแม้กระทั่งระหว่างนั่งฟังบรรยายจากวิทยากร

พฤติกรรมเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสำหรับมุสลิมที่เคร่งครัดในหลักการศาสนา ที่มักทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลจักรวาล โดยการเอ่ยนามพระเจ้าซ้ำแล้วซ้ำตลอดเวลา หรือเรียกว่า การซิกรุลลอฮฺ เฉกเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่อยู่นอกเรือจำ เพียงแต่สถานะของพวกเขาในทางคดี คือผู้ต้องขังคดีความมั่นคง

การำลึกดังกล่าว ถูกปฏิบัติอย่างปกติเช่นเดียวกับการขอดูอา หรือการขอวิงวอนหรือขอพรจากอัลลอฮฺ รวมถึงการกล่าวสรรเสริญและแซ่ซ้องสดุดีพระเจ้าอย่างเงียบๆ ซึ่งเรียกรวมๆว่า เป็นการทำอิบาดะห์ หรือการประกอบคุณงามความดีหรือศาสกิจตามแบบอย่างของนบีมุฮัมมัด ศาสดาแห่งอิสลาม

อันเป็นพฤติกรรมทำให้เกิดคำถามชวนสงสัยอยู่ว่า แล้วทำไมคนที่เคร่งศาสนาและมีพฤติกรรมที่ตอนนี้กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะภายในเรือนจำไปแล้วนั้น จึงถูกดำเนินคดีและต้องถูกจองจำด้วย

ในจำนวนนั้น บางคนยังถือหนังสือเล่มเล็กสีเขียวอยู่ในมือ ที่มีภาพปกเป็นรูปมัสยิดกรือเซะ พร้อมข้อความภาษามลายูอักษรยาวี ที่ระบุว่า นี่คือจดหมายที่มีชื่อว่า سنجات مجاهد (ซึนญาตอ มุญาฮิด)

ชื่อนี้แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "อาวุธของผู้ที่มีความพยายาม"

คำว่า "อาวุธ" นี้มีความหมาย เพราะศาสดามูฮัมหมัด มีวัจนะไว้ว่า "ดุอาเป็นอาวุธของผู้ศรัทธา เป็นเสาหลักของศาสนา เป็นรัศมีแห่งฟากฟ้าและแผ่นดิน" (รายงานโดยอัล-หากิม)

หนังสือเล่มเล็ก ที่เปรียบเสมือนคู่มือการปฏิบัติศาสนกิจประจำวันของมุสลิมเล่มนี้ หากใครมีเป้าประสงค์ที่ไม่ขัดกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม การขอดูอาอย่างสม่ำเสมอจึงมักถูกปฏิบัติควบคู่ไปกับกิจการงานต่างๆด้วย

หากแต่ในสายตาพวกเขามันยิ่งมีความหมายมากกว่าหนังสือที่ตั้งวางขายอยู่ทั่วไป เพราะเป็นหนังสือที่พวกเขาผลิตขึ้นมาเอง เขียนด้วยลายมือล้วนๆ ก่อนจะตีพิมพ์ขาย

ผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ บอกว่า หนังสือเล่มนี้ มีดุอามากกว่า 117 ดุอา หนาประมาณ 230 หน้า โดยรวบรวมจากหนังสือและตำราทางศาสนาประมาณ 14 เล่ม เนื้อหาส่วนใหญ่อธิบายด้วยภาษามลายู ประกอบด้วยวิธีการใช้ดูอาแต่ละประเภท ยกเว้นตัวบทของดูอา และโองการจากคัมภีร์อัลกุรอานที่เป็นภาษาอาหรับตามต้นฉบับเดิม

"ผมเขียนหนังสือคู่มือเล่มนี้ เพราะได้แรงบันดาลใจจาก ซัยยิด กูฏุบ นักเคลื่อนไหวเพื่ออิสลามของประเทศอียิปต์ในช่วงศตวรรษ 20 ที่เขียนหนังสือหลายเล่มระหว่างถูกจำคุก เช่น หนังสือเกี่ยวกับการอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอาน"

ผู้ต้องขังที่เคร่งครัด
เขาบอกว่า ต้องการให้โลกภายนอกเห็นว่า คนที่อยู่ในเรือนจำไม่ใช่ขยะของสังคมหรือเป็นคนที่ไม่ดี เพราะคนในเรือนจำมีความเคร่งครัดและมีความอดทนสูง การมีเวลาในการอ่านหนังสือ มีการศึกษา ทำให้คนในเรือนจำสามารถเขียนหนังสือได้

การรณรงค์ให้ผู้ต้องขังคดีความมั่นคงปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดตามหลักศาสนา ทำให้เกิดกิจกรรมหนึ่งที่มีสำคัญ คือ การบททวนการทำอิบาดะห์ประจำเดือน ซึ่งรวมถึงการอ่านดุอาด้วย ทำให้ต้องมีการเขียนบทดุอาต่างๆ ในกระดาษแล้วถ่ายเอกสารแจกให้เพื่อนๆผู้ต้องขังที่เข้ามาที่เรียนศาสนาศาลาละหมาดเป็นประจำทุกวัน แถมยังแจกให้เจ้าหน้าที่เรือนจำและคนนอกที่มาเยี่ยมด้วย

ผู้ต้องขังรายนี้ ซึ่งเป็นครูสอนศาสนาประจำศาลาละหมาดแห่งนี้ บอกว่า ทำอย่างนี้อยู่ประมาณ 1 ปี จึงเกิดแนวคิดว่า น่าจะรวมเล่มบทดุอาเหล่านี้มาเป็นหนังสือคู่มือเพื่อง่ายต่อการอ่าน

"จากนั้นจึงเริ่มเขียนบทดูอาต่างๆ ด้วยลายมืออย่างจริงจัง ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมูฮัรรอม ปีฮิจเราะห์ศักราช 1432 ตรงกับช่วงเดือนธันวาคม 2553 ใช้เวลา 16 วันในการจัดทำต้นฉบับ"

จากนั้นส่งพิมพ์จำนวน 100 เล่มก่อน ใช้งบประมาณ 3,000 บาท บางส่วนส่งให้โต๊ะครูที่ตนเคยเรียนด้วยช่วยตรวจความถูกต้องอีกครั้ง บางส่วนให้คนในเรือนจำช่วยตรวจความถูกต้องด้วยโดยการอ่านเป็นประจำ ใช้เวลาตรวจความถูกต้องประมาณ 4 เดือน

จากนั้นมีการปรับปรุงอีกครั้งที่ 1 มีการเพิ่มดุอาต่างๆ นอกจากดุอาประจำเดือน มีการเพิ่มบทกลอนภาษามลายูเกี่ยวกับหลักศรัทธาเรื่องวันสิ้นโลกและแก้คำผิด ก่อนส่งพิมพ์อีก 1,000 เล่ม ใช้งบประมาณ 20,000 บาท ปรากฏว่าขายหมดเกลี้ยง

"เงิน 20,000 บาท ส่วนหนึ่งยืมจากเพื่อนในเรือนจำ 5,000 บาท เป็นเงินเมีย 5,000 บาท และยืม จากเพื่อนข้างนอกอีก 10,000 บาท"

ต่อมามีการปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน ก่อนส่งพิมพ์อีก 2,000 เล่ม ขายหมดเช่นกัน สรุปแล้วพิมพ์ไป 3,100 เล่ม ขายได้ประมาณ 60,000 บาท รายได้ส่วนหนึ่งบริจาคญาติผู้ต้องขังที่มีฐานะยากจน

ขณะนี้สั่งพิมพ์เพิ่มอีก 1,000 เล่ม เพื่อนำไปวางขายตามร้านหนังสือต่างๆ ด้วย ซึ่งในการผลิตทั้งหมดได้รับความร่วมมืออย่างดีจากเจ้าหน้าที่เรือนจำ ถึงขนาดช่วยนำไปวางขายในร้านค้าในเรือนจำ จำนวน 300 เล่ม และขายหมดไปแล้ว

เขาเล่าด้วยว่า ตอนนี้กำลังเขียนหนังสืออีกเล่มชื่อว่า "หลังกำแพงเรือนจำมีอะไร" เพื่อสะท้อนชีวิตของนักโทษที่อยู่ในเรือนจำที่ด้วย

ใช้อะไรเขียน
ถามว่า เมื่ออยู่ในเรือนจำแล้วใช้อะไรเขียน เขาเล่าว่า ใช้ปากกาหมึกซึม เขียนบนกระดาษที่เหลือจากการประชุมสัมมนาภายในเรือนจำ แล้วให้ภรรยานำออกไปตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์บินฮาลาบี อ.เมือง จ.ปัตตานี

แม้ในเรือนจำมีร้านค้าอยู่ภายใน แต่ไม่ปากกาหมึกซึมขายและห้ามนำเข้ามาในเรือนจำ เพราะนักโทษมักใช้ปากกาหมึกซึมเขียนรอยสักบนร่างกาย จึงต้องอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ให้ภรรยานำมาให้ครั้งละ 2-3 ด้าม แต่ถ้าหมึกหมดก็จะต้องรออีก 2-3 วันกว่าจะได้มาอีก

ส่วนเหตุใดที่ใช้มัสยิดกรือเซะมาเป็นภาพปกนั้น คำตอบที่ออกมาจากปากของเขากลับกลายเป็นคำถามย้อนมาว่า "มัสยิดกรือเซะผิดอะไร ทำไมจึงถูกเผาอย่างที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์" "มันก็เหมือนกับที่ผิดอะไร ทำไมจึงถูกเจ้าหน้าทีมาจับ?"

เขาเล่าถึงสาเหตุที่ตัวเองต้องเข้ามาอยู่ในเรือนจำว่า เพราะถูกดำเนินคดีความมั่นคง ข้อหาอั้งยี่ ซ่องโจร ปลุกระดม ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 12 ปี จากนั้นได้ยื่นอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างฎีกา

เขาหวังว่า ศาลฎีกาจะกลับคำพิพากษา เพราะเขาเชื่อว่า ตัวเองไม่ได้เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ แต่เหตุที่ถูกจับเนื่องจากไปเป็นครูสอนศาสนาในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ที่รัฐเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อความไม่สงบ

เขามองถึงการสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ต้องให้เป็นไปตามความต้องการของคนในพื้นที่ปัญหาถึงจะจบลง และจำเป็นต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ไปด้วย

บทขอพรเพื่อคนถูกอธรรม
หนังสือคู่มือเล่มนี้ ไม่ได้แตกต่างจากคู่มือมุสลิมทั่วๆ ไป หากไม่ได้เป็นผลงานของผู้ต้องขังในเรือนจำ ซึ่งเขาบอกว่า เพื่อใช้ประกอบการทำอิบาดะห์อย่างเดียว เพื่อให้ผู้ศรัทธาทั้งหลายใช้ขอดูอาจากอัลลอฮให้หลุดพ้นจากความอธรรมและความไม่เป็นธรรมทั้งหลาย ไม่มีนัยยะทางการเมือง

เมื่อพลิกดูเนื้อหาในส่วนแรกของคู่มือเล่มนี้ จะพบการเริ่มต้นด้วยดูอาที่ชื่อว่า "ดูอา อาวุธของนักต่อสู้" เขียนอยู่กรอบรูปลวดหนามล้อมวาดด้วยลายมือ ซึ่งเขาบอกว่า หมายถึง เรือนจำ โดยมีภาพวาด 2 มือที่แบออกพร้อมกับถูกคล้องด้วยกุญแจมือ หมายถึง "คนที่ถูกอธรรมกำลังขอดุอาต่อพระเจ้า เพื่อขอให้หลุดพ้นจากการถูกอธรรม" ส่วนภาพวาดดอกชบา หมายถึง สัญลักษณ์ของคนมลายูมุสลิม

ความหมาย คือ "โอ้ อัลลอฮ จงประทานความสันติสุขแก่ศาสดามูฮัมหมัด และขอให้เกิดความกลัวในหัวใจของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ผู้ที่กราบไหว้อย่างอื่นไปด้วยนอกจากอัลลอฮ ผู้ที่สร้างความอธรรม ผู้ที่กลับกลอก และผู้ที่สร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน....มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ"

อามีน อามีน อามีน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รำลึก 10 ปีต่อสู้เข้าถึงยา-จี้ 'พาณิชย์' ระวังเอฟทีเอ อย่ายอมเรื่องสิทธิบัตรยา

Posted: 02 Oct 2012 08:51 AM PDT

(2 ต.ค.55) เครือข่ายภาคประชาชน ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย เครือข่ายผู้ใช้ยา เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ กว่า 600 คน ชุมนุมหน้ากรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพื่อยื่นข้อเสนอต่อการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ให้กับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า การมารวมตัวกันครั้งนี้ เนื่องจากครบรอบ 10 ปี ของการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิหรือซีแอลกับยาดีดีไอ (ddI) ตั้งแต่ปี 2542 จนนำไปสู่การฟ้องร้องให้แก้ไขและเพิกถอนสิทธิบัตรยาต้านไวรัส ddI ซึ่งถือเป็นปฐมบทของการต่อสู้เพื่อการเข้าถึงยาของไทยและเป็นแรงบันดาลใจไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการติดตามตรวจสอบการเจรจาการค้าเสรีที่ประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งกับสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปพยายามกดดันให้ประเทศไทยต้องให้ความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ที่เป็นมาตรฐานสากล

ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ชี้ว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือการยอมเกินกว่าข้อตกลงที่ว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (ทริปส์พลัส) เช่น การขอจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต การยืดระยะเวลาในการคุ้มครองสิทธิบัตรยาจาก 20 ปี ให้เป็น 25 ปี หรือการผูกขาดข้อมูลทางยา (Data Exclusivity) และการยึดจับยาที่ต้องสงสัยว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ณ จุดชายแดน จะขัดขวางการเข้าถึงยาของผู้ป่วย และทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ

"สิ่งสำคัญคือข้อตกลงนี้มันเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพของคน ทุกคนมีโอกาสป่วย และใช้กับยาทุกชนิด ทุกโรค เช่น โรคไต หรือโรคมะเร็ง ที่ยาบางตัวยังติดสิทธิบัตร ทำให้มีราคาแพง เราไม่ได้เรียกร้องเฉพาะยา แต่เรียกร้องให้รัฐบาลทำกติกาในเรื่องสุขภาพ ซึ่งจะครอบคลุมคนทุกคน แค่ยอมรับการผูกขาดข้อมูลทางยา งานวิจัยก็ชี้ชัดว่า จะทำให้ไทยต้องจ่ายค่ายาแพงมากกว่า 80,000 ล้านบาทต่อปี" ผู้อำนวยการฯ กล่าวและว่า "จะเอาชีวิตผู้คนไปแลกให้ได้สิทธิจีเอสพีส่งออกไก่-กุ้ง และอื่นๆมูลค่ารวม 70,000 กว่าล้านบาท มันไม่คุ้มกัน"

นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวถึงข้อเสนอว่า ในกรอบการเจรจาเอฟทีเอต้องไม่มีระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามากไปกว่าข้อผูกพันในข้อตกลงทริปส์ ขององค์การการค้าโลก และประเทศไทยต้องไม่เข้าร่วมเป็นภาคีภายใต้อนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชยูปอฟ (UPOV) และสนธิสัญญาบูดาเปส ว่าด้วยการฝากจุลชีพในการขอรับสิทธิบัตร

"ขณะนี้ สหภาพยุโรปประกาศเลิกกดดันอินเดียให้ต้องยอมรับทริปส์พลัสในเอฟทีเอแล้ว โดยระบุว่า เพราะจะกระทบกับการเข้าถึงยาชื่อสามัญในราคาที่เป็นธรรม ดังนั้นผู้เจรจาฝ่ายไทยควรเจรจาให้ฉลาดอย่างผู้เจรจาอินเดียบ้าง ไม่ใช่ยอมทุกเรื่อง แลกทุกอย่างแม้แต่ชีวิตของคนในชาติ"

ประธานเครือข่ายฯ กล่าวต่อไปว่า การเจรจาเอฟทีเอต้องเป็นไปตามเจตจำนงของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มาตรา 190 ที่ว่าด้วยการเจรจาใดๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน ต้องนำเรื่องนั้นๆ เข้าสู่สภาเพื่อขอความเห็นชอบ โดยต้องนำร่างกรอบเจรจามาทำประชาพิจารณ์ และต้องยึดการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำลังดำเนินการอยู่ 

"นอกจากนี้ เราได้มาติดตามและเร่งให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาพัฒนาและนำคู่มือการพิจารณาคำขอสิทธิบัตรยามาใช้โดยเร็ว เพื่อขจัดคำขอสิทธิบัตรยาแบบไม่มีวันสิทธิสุด หรือ evergreening patent ลดการผูกขาดตลาดที่ไม่เป็นธรรม และส่งเสริมการเข้าถึงยาที่มีคุณภาพได้เร็วขึ้น" นายอภิวัฒน์กล่าว

 

ทั้งนี้ ระหว่างการรณรงค์เคลื่อนไหว ที่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีจากทั่วประเทศมารวมตัวกันใช้พื้นที่หน้ากรมทรัพย์สินทางปัญญา กลางกระทรวงพาณิชย์ จัดกิจกรรมได้มีการรำลึกถึงการต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้เพื่อนผู้ติดเชื้อฯ เข้าถึงยาต้านไวรัสสมัย ddI เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว, บทเรียนจากคดียาดีดีไอสู่การเคลื่อนไหวเพื่อการเข้าถึงยา และยังมีการทำกิจกรรม die in คือการที่ผู้ชุมนุมทำท่านอนตายรอบป้ายตั้งรูปนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ที่ทำท่าอุ้มกุ้ง-ไก่ และมีคำพูดว่า "ส่งออกต้องได้ 15% เราพร้อมแลกชีวิตผู้ป่วยกับจีเอสพี"

 

ทางด้านองค์การหมอไร้พรมแดน สากล ได้ใช้วาระครบรอบ 10 ปีคดียาดีดีไอกล่าวถึงกระบวนการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในประเทศ เพื่อเรียกร้องให้มีการเข้าถึงยาจำเป็นในราคาที่ไม่แพง  คดีฟ้องการแก้ไขคำขอจดสิทธิบัตรยาดีดีไอที่ไม่ชอบ และคดีฟ้องเพิกถอนสิทธิบัตรยาดีดีไอถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาได้มีคำพิพากษาว่าผู้ป่วยเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องร้อง  และยังมีคำสั่งให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาแก้ไขคำขอจดสิทธิบัตรให้เหมือนเดิม  ส่วนคดีฟ้องเพิกถอนสิทธิบัตรยาดีดีไอได้มีการเจรจายอมความกันระหว่างเครือข่ายผู้ป่วยและภาคประชาสังคมกับบริษัทยา โดยที่บริษัทยายอมถอนสิทธิบัตรยาในประเทศไทยและเครือภาคประชาสังคมถอนคำฟ้อง

จากการเคลื่อนไหวคดีสิทธิบัตรยาดีดีไอ ได้นำไปสู่การต่อสู้เรียกร้องของภาคประชาสังคมและเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย อาทิ การเรียกร้องให้มีการผลิตยาต้านไวรัสชื่อสามัญ การมียาต้านไวรัสในระบบหลักประกันสุขภาพ การประกาศใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (ซีแอล) การต่อสู้คัดค้านการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีแบบทริปส์ผนวกของสหรัฐฯ ฯลฯ

 

 

---------------------------
เนื้อหาของจดหมายเปิดผนึก มีดังนี้

วันที่ 2 ตุลาคม 2555

เรื่อง         ข้อเสนอของภาคประชาสังคมต่อการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีและสิทธิบัตรยา
เรียน        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

สำเนาเรียน อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
                อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เครือข่ายภาคประชาสังคม 15 องค์กร ดังรายชื่อท้ายจดหมาย ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่เร่งรีบที่จะเปิดการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป  โดยไม่รับฟังคำทักท้วงจากภาคประชาสังคมด้านสุขภาพและการเกษตร นักวิชาการ และหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพและภาคการเกษตรแม้แต่น้อย  แต่กลับคำนึงถึงแต่ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจระยะสั้น ที่ขาดงานวิจัยทางวิชาการสนับสนุนและมีมุมมองคับแคบด้านการค้าเพียงด้านเดียว  ภาระหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจะถูกผลักให้เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐหน่วยอื่นหรือของประชาชน เพราะกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศมีหน้าที่เพียงการเจรจา แต่ไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ต่อผลจากการเจรจา

หลักฐานที่เห็นประจักษ์มากมาย เช่น งานวิจัยทางวิชาการ และบทเรียนจากประเทศกำลังพัฒนาอื่น ทำให้เห็นว่าถ้าประเทศไทยยอมให้มีกรอบการเจรจาที่ยอมให้มีข้อผูกพันด้านทรัพย์สินทางปัญญาเข้มงวดไปกว่าเกณฑ์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสากล  ข้อตกลงเขตการค้าเสรีเช่นนั้นจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะการเข้าถึงยาจำเป็น และภาคการเกษตรของประเทศ ซึ่งผลกระทบรุนแรงมากเสียกว่าการถูกตัดสิทธิจีเอสพี ด้วยเหตุผลที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่รายได้ระดับกลางค่อนข้างสูงด้วยซ้ำ

นอกจากนี้ ระบบการพิจารณาคำขอรับสิทธิบัตรยามีความหละหลวมอย่างมาก จนทำให้มีสิทธิบัตรยาที่ไม่สมควรได้รับการคุ้มครองเกิดขึ้นจำนวนมาก  ซึ่งเป็นการสกัดกั้นการแข่งขันของอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญและเป็นการผูกขาดตลาดที่ไม่เป็นธรรม  สุดท้ายแล้ว ส่งผลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาจำเป็นในราคาที่ย่อมเยาได้ช้าออกไป และประเทศต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงโดยไม่จำเป็น

เครือข่ายภาคประชาสังคม 15 องค์กร จึงมีข้อเสนอตรงถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวกับการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับและสิทธิบัตรยา ดังนี้

1.กรอบการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีใดๆ จะต้องระบุให้มีระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไม่มากไปกว่า หรือไม่เข้มงวดไปกว่า ข้อผูกพันในข้อตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (ข้อตกลงทริปส์) ขององค์การการค้าโลก นอกจากนี้ ประเทศไทยจะต้องไม่เข้าร่วมเป็นภาคีภายใต้อนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชยูปอฟ ปี ค.ศ.1991 และสนธิสัญญาบูดาเปสว่าด้วยการฝากจุลชีพในกระบวนการขอรับสิทธิบัตร

2.การเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีใดๆ จะต้องเป็นไปตามเจตจำนงของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มาตรา 190 อย่างแท้จริง และยึดผลจากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment หรือ HIA) ซึ่งเป็นกลไกตามมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดกรอบการเจรจา

3.กรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องเร่งพัฒนาและนำคู่มือการพิจารณาคำขอสิทธิบัตรยามาใช้โดยเร็วและให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิบัตรยาที่ไม่มีคุณภาพและไม่สมควรได้รับการคุ้มครอง ซึ่งจะลดภาวะการผูกขาดตลาดที่ไม่เป็นธรรม และส่งเสริมการเข้าถึงยาที่มีคุณภาพในราคาที่ไม่แพงได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

เครือข่ายภาคประชาสังคมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะได้ยินและตระหนักถึงความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพและการดำรงชีพของประชาชน ในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ ประเทศไทยต้องมีจุดยืนเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ที่ไม่เข้มงวดเกินไปกว่าความตกลงสากลที่ไทยเป็นภาคีอยู่ขณะนี้ ขณะเดียวกันกรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องปรับปรุงระบบการตรวจสอบคำขอสิทธิบัตรยาให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่

                                                   ด้วยความนับถือ


เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
ชมรมเพื่อนโรคไต
เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
มูลนิธิเภสัชชนบท
กลุ่มศึกษาปัญหายา
มูลนิธิชีววิถี
มูลนิธิบูรณะนิเวศ
มูลนิธิสุขภาพไทย
ชมรมแพทย์ชนบท
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่พบ ‘ชุดดำ’ ขู่หยุดวันศุกร์ สภา ศอ.บต.จี้ผู้นำศาสนาอธิบายให้ชัด

Posted: 02 Oct 2012 08:47 AM PDT

สภาที่ปรึกษา ศอ.บต.เรียกประชุมด่วนถกทางแก้ กรณีคำขู่ห้ามขายวันศุกร์ ได้ 3 ข้อสรุป ให้รัฐเร่งสร้างความเข้าใจ ให้ผู้นำศาสนาอธิบายให้ชัด พร้อมเสนอตั้งศูนย์เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างศาสนา

<--break->

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 2 ตุลาคม 2555 ที่ศูนย์อำนวยการบนริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา นายอาซิส เบ็ญหาวัณ ประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) ได้เรียกประชุมสภานัดพิเศษ หารือกรณีกลุ่มผู้ไม่หวังดีมีใบปลิวขู่ห้ามชาวบ้านออกมาขายของและออกไปทำงานในวันศุกร์ โดยมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. เข้าร่วมหารือด้วย

ในที่ประชุมมีการเสนอแนวทาง และหามาตรการสร้างความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชน รวมถึงหน่วยงานรัฐและหน่วยงานด้านความมั่นคง ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ และผู้นำท้องถิ่น เพื่อหาข้อสรุปและข้อยุติในการแก้ปัญหา

นายอาซิส กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่มีข่าวลือ ข่าวปล่อยดังกล่าวออกมาจากลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีที่ยังหาต้นตอไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ แม้เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต แต่ทุกอย่างก็คลี่คลายไปในทางที่ดี

นายอาซิส เปิดเผยว่า วันนี้เป็นการระดมความคิดเห็นจากสมาชิกสภาฯ จำนวน 49 คน โดยมีข้อสรุป 3 ประเด็นที่จะต้องร่วมกันคลี่คลายสถานการณ์นี้ให้ได้ในระดับหนึ่ง ประเด็นแรก ส่วนราชการจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชน ในเรื่องของความปลอดภัยในการทำธุรกิจค้าขายในวันศุกร์ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายความมั่นคง ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง และผู้นำศาสนา ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน

ประเด็นที่สอง เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องตรวจสอบที่มาให้แน่ชัดว่า ต้นตอที่มาของการปล่อยข่าวที่ห้ามขายของในวันศุกร์ เกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นจากขบวนการไหน ไม่ว่าจะเป็นของกลุ่มอิทธิพลอำนาจมืด กลุ่มค้ายาเสพติด กลุ่มค้าน้ำมันเถื่อน แล้วให้ดำเนินการตามที่ส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อทำความเข้าใจให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ยุติลงให้ได้

ประเด็นที่สาม คือ จะต้องให้ผู้นำศาสนาเป็นตัวแปรที่สำคัญ อาจจะมีการออกแถลงการณ์ ทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะพี่น้องชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ ว่านี่คือหลักการทางศาสนาหรือไม่ ประการใด ในขณะเดียวกันผู้นำศาสนาต้องเดินควบคู่กับฝ่ายผู้นำท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น นายก อบต. ลงพื้นที่ไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน พี่น้องประชาชน ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันคืออะไร และจะสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างไร

"ที่ประชุมเสนอให้จัดตั้งศูนย์เพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นระหว่าง บุคคลต่างศาสนา อาจจะเป็นศูนย์ปรองดอง ศูนย์สร้างสมานฉันท์ โดยมีผู้นำศาสนาหลายๆศาสนา และเยาวชน เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน ให้มีพูดคุยให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการของแต่ละศาสนา ให้รู้ถึงวัฒนธรรมที่มาที่ไป อันนี้เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาในระยะยาว"นายอาซิส กล่าว

นายอาซิส เปิดเผยต่อไปว่า ข้อเสนอทั้งหมด จะเสนอต่อเลขาธิการ ศอ.บต.ต่อไป เพื่อนำไปสู่แนวทางการยุติกรณีข่าวลือห้ามขายของหรือประกอบกิจการในวันศุกร์อย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ สภาที่ปรึกษาฯ จะเชิญหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ ทั้งทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง มาหารือร่วมกันว่าจะมีทางออกอย่างไร ในการสร้างความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน

นายอาซิส กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีข่าวลือที่ว่า มีผู้ชายใส่เสื้อแจ๊คเกตสีดำพยายามเข้าไปแสดงตัวและท่าที ต่อร้านค้าที่เปิดกิจการในวันศุกร์ในเชิงข่มขู่ มีข่าวลือเรื่องนี้จริงในหลายๆพื้นที่ แต่ก็ยังหาต้นตอไม่ได้ เพราะหลังจากสอบถามถึงลักษณะรูปพรรณของผู้ที่มาข่มขู่ ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นใคร ลักษณะรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่และพี่น้องประชาชนต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน เพื่อสยบข่าวลือให้ได้ ส่วนใครจะเปิดกิจการค้าขาย หรือปิดกิจการค้าขายในวันศุกร์ ก็เป็นวิจารณญาณของแต่ละคนไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศูนย์ข้อมูลสิทธิฯอีสาน จัดเวที ม.นอกระบบกับความเป็นธรรมด้านการศึกษา

Posted: 02 Oct 2012 08:37 AM PDT

                เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน จับร่วมกับแนวร่วมนิสิตนักศึกษาค้านม.นอกระบบและเครือข่ายนักศึกษัดค้าน ม.ขอนแก่นออกนอกระบบ ได้ร่วมกันจัดเวทีอภิปรายในหัวข้อ "ม.นอกระบบกับความเป็นธรรมด้านการศึกษา"  ณ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมีนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยและชาวบ้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เข้าร่วมประมาณ 50 คน

                นายสุวิทย์ กุหลาบวงศ์ ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า เวทีในวันนี้เป็นเวทีเสวนาสันติประชาธิปไตย ซึ่งทางผู้จัดได้ติดตามประเด็น ม.นอกระบบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกรณีของ ม.ขอนแก่น ซึ่งเราในฐานะของผู้ปกครองก็มีความกังวเช่นเดียวกับนักศึกษา ม.ขอนแก่น และคิดว่า ปัญหาเรื่อง ม.นอกระบบเป็นปัญหาของทุกคน ดังนั้นวันนี้จึงจัดเวทีคุยเรื่องนี้ เชิญชาวบ้านมาพูดคุยแลกเปลี่ยนด้วย เพราะถือว่าพวกเขาส่งลูกหลานไปฝากให้มหาวิทยาลัยดูแล 4-5 ปี ชาวบ้านจึงน่าจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดพื้นที่ในนักศึกษา มรภ.อุดรธานีนี้ ได้มีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง ม.นอกระบบ และปัญหาระบบการศึกษาโดยรวม

                นายปกรณ์ อารีกุล คณะทำงานข้อมูลแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบ ได้อภิปรายถึงความหมายและที่มาของการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ และเปรียบเทียบพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราภัฏ ปี 2547 กับ ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ.เพื่อแปรรูป นำ มรภ.สวนดุสิตออกนอกระบบ

                "ผมยกตัวอย่างให้ใกล้เคียงกับ มรภ.อุดรธานีให้มากที่สุด เพราะสวนดุสิตก็เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเหมือนกัน และการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบจะมีผลเป็นทางการ เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติฉบับใหม่ขึ้นมา ปัญหาอยู่ที่ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ ไม่มีหลักประกันเรื่องค่าเทอม อำนาจของสภามหาวิทยาลัยมากเกินไปและไร้การตรวจสอบนั้น จะทำให้สภาฯ ออกระเบียบขึ้นค่าเทอมเมื่อไหร่และเท่าไหร่ก็ได้ มีอำนาจแม้กระทั่งขายหรือให้เช่าที่ดินของในมหาวิทยาลัยได้ ดังนั้นนี่คือความไม่เป็นธรรมที่ถูกเขียนในกฏหมาย เพราะเราถือว่า มหาวิทยาลัยเป็นสมบัติของส่วนรวมเป็นของประชาชน"

                อ.สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรฯ กล่าวว่าในฐานะของอาจารย์มหาวิทยาลัยซึ่งไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยนั้น รู้สึกว่าระบบราชการทำให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาล้าหลัง แต่ผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการแปรรูป หรือทำให้การศึกษากลายเป็นสินค้า

                "ผมคิดว่ามันน่าจะมีทางเลือกอื่นๆ มีทางออกอื่นๆ เป็นตัวเลือก ไม่ใช่ว่าพอไม่เอา ม.นอกระบบแล้วเราจะย่ำอยู่กับที่ พอใจในความเป็นอยู่เหมือนเดิม บอกตรงๆว่า เราไม่พอใจ มันมีปัญหามากมายภายใต้ระบบราชการ ทั้งเรื่องหลักสูตร ทั้งเรื่องวัฒนธรรมองค์กร แต่ถ้าจะให้แก้ปัญหาเดิมด้วยการออกนอกระบบ ผมก็ไม่เห็นด้วยเหมือนกัน"

                นิติกร ค้ำชู เครือข่ายนักศึกษาคัดค้าน ม.ขอนแก่นออกนอกระบบ กล่าวว่า ในส่วนของ ม.ขอนแก่นนั้น นักศึกษาไม่เคยได้รับข้อมูลเรื่อง ม.นอกระบบเลย อยู่ดีๆ พอรู้จากคนนอกว่า มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบ เราก็หาข้อมูลกัน เริ่มจากกลุ่มเล็กๆ แล้วก็ไปขอข้อมูลจากมหาวิทยาลัย เขาก็ไม่ให้ ไปยื่นหนังสือคัดค้าน ขอเข้าพบอธิการบดี ท่านก็ไม่สนใจ ไม่เคยให้พื้นที่นักศึกษาในการแสดงความคิดเห็นเลย ทั้งๆที่เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งมหาวิทยาลัยควรจะให้ประชาคมทั้งหมดเข้าไปมีส่วนร่วม

                ในช่วงท้ายได้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่แสดงความเห็นคัดค้านและมีความรู้สึกกังวลว่า นโยบายการศึกษาของประเทศที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นจะทำให้ลูกหลานคนจนเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา

                "หากนักศึกษามีการเคลื่อนไหวคัดค้าน ม.นอกระบบอีกเมื่อไหร่ ผมพร้อมเข้าร่วมด้วย เพราะเราส่งลูกหลานไปเรียนมหาวิทยาลัย เราก็รู้สึกว่าควรมีส่วนในเรื่องนี้" พ่อปัญญา หนึ่งในชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีกล่าว

                นอกจากนี้ยังมีผู้เสนอทางเลือกที่ 3 ตามที่อาจารย์สันติภาพตั้งคำถามไว้ โดยรายละเอียดคือ ให้มีการจัดทำร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยฉบับนักศึกษาและประชาชน และให้ประชาชนลงชื่อสนับสนุน 10,000 รายชื่อ และเสนอไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ซึ่งถือเป็นข้อเสนอที่ผู้เข้าร่วมเสวนาสนใจและเห็นควรในการดำเนินการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ต่อไป

                ผู้สื่อข่าวได้โทรสัมภาษณ์ นายนิพิฐพนธ์ คำยศ ผู้ประสานงานแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบถึงทิศทางในการเคลื่อนไหวในอนาคต

                "เรากำลังอยู่ในช่วงขยายแนวร่วมกับเพื่อนๆนักศึกษา กับผู้ปกครอง กับสังคม จะเห็นว่า เราไปจัดวงคุยที่ มศว. สัปดาห์ก่อน เราก็ไปจัดที่ ม.เชียงใหม่ และในครั้งนี้ จัดที่ราชภัฏอุดรธานี ซึ่งทุกเวทีเราพยายามทำในลักษณะการแลกเปลี่ยนกัน เวลาพูดเรื่องมนอกระบบ เราพูดทั้งข้อดี-ข้อเสีย แล้วก็ถกเถียงกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้ใหญ่ๆ หลายๆ ท่านที่อยากนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เขาไม่เคยทำเลย "

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มในเดนมาร์กประท้วงรัสเซีย ร้องปล่อยตัวสมาชิกวง "พุสซี่ ไรออต" ทันที

Posted: 02 Oct 2012 08:01 AM PDT

กลุ่ม "ฟรี พุสซี ไรออต อาร์ฮุส" ในเดนมาร์ก ประท้วงพร้อมกลุ่มสมานฉันท์อื่นทั่วโลก ร้องรัสเซียปล่อยตัวสมาชิกวง "พุสซี ไรออต" ทันที เหตุศาลรัสเซียไต่สวนอุทธรณ์คำตัดสินสมาชิกวงพุสซีไรออตเมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา

 


สืบเนื่องจากการที่ศาลรัสเซียตัดสินจำคุกสมาชิก 3 คนของวงดนตรีสาวรัสเซีย "พุสซี่ ไรออต" เป็นเวลา 2 ปี เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา ในข้อหากระทำอันธพาลที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังต่อศาสนา จากการที่สมาชิกของวงได้ขึ้นไปร้องเพลงวิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ภายในโบสถ์คริสต์ออร์โธดอกซ์ โดยผลตัดสินดังกล่าวนำมาซึ่งการประณามจากองค์กรสิทธิมนุษยชน และการประท้วงจากประชาชนผู้สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกทั่วโลก สมาชิกของวงพุสซีไรออต ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินดังกล่าว และศาลมีกำหนดนัดไต่สวนอุทธรณ์ในวันที่ 1 ต.ค. 55

กลุ่ม "ฟรี พุสซี ไรออต อาร์ฮุส" ที่ประเทศเดนมาร์ก จึงได้จัดการประท้วง ร่วมกันกับกลุ่มประชาชนที่สนับสนุนพุสซี ไรออต ในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยมีรายงานว่าในเมืองอาร์ฮุส มีผู้ชุมนุมมาประท้วงร่วมกันกว่า 80 คน เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมาชิกวงพุสซีไรออตโดยทันที โดยระบุว่า "คำตัดสินดังกล่าวเป็นการโจมตีเสรีภาพการแสดงออก และเป็นความพยายามที่จะปิดปากฝ่ายค้านหรือผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล"

อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า ศาลได้เลื่อนการไต่สวนอุทธรณ์ออกไปเป็นวันที่ 10 ต.ค.ที่จะถึงนี้ เนื่องจากหนึ่งในจำเลยขอเปลี่ยนทนายความ เพราะความคิดเห็นในการต่อสู้คดีไม่ตรงกัน

หมายเหตุ: ภาพโดย สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“ยิ่งลักษณ์” พบ “ขบวนคนจน” รับประธานสางปัญหา นัดเจรจาอีกครั้ง พ.ย.นี้

Posted: 02 Oct 2012 06:52 AM PDT

นายกฯ พบตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หลังชุมนุมค้างคืนข้างทำเนียบเรียกร้องแก้ปัญหา 9 ข้อ ยันไม่เคยละเลยแต่ขอเวลาดูข้อมูล ส่วนปัญหาด่วน สิทธิสถานะบุคคล-ทำกินทับซ้อนที่ป่า-ปัญหาของคนไร้บ้านเร่งแก้ก่อน 

 
วันนี้ (2 ต.ค.55) เมื่อเวลา 9.00 น.ที่ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทำเนียบรัฐบาล ตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ 15 คน เข้าหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท.ธวัช บุญเฟื้อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในการแก้ไขปัญหาของเครือข่าย  
 
หลังจากที่ สมาชิกพีมูฟนับพันคนนัดรวมตัวกันและปักหลักชุมนุมปิดถนนพิษณุโลกข้างทำเนียบรัฐบาล เพื่อทวงถามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้อง 9 กรณี ประกอบด้วย 1.การปรับปรุงกลไกแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม 2.การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดิน ในรูปแบบโฉนดชุมชน 3.การจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) 4.กรณีโครงการนำร่องธนาคารที่ดินภาคเหนือ 5 หมู่บ้าน 5.กรณีสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัย (โครงการบ้านมั่นคง) 6.กรณีคนไร้บ้าน 7.กรณีการจัดทำเขตวัฒนธรรมพิเศษ (ชาวเลราไวย์) 8.กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล และ 9.กรณีเครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้นายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการพูดคุยใช้เวลาประมาณ 20 นาที โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ รับปากจะเร่งรัดติดตามปัญหาดังกล่าว และยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยไม่เลือกพรรค โดยเฉพาะในเรื่องความเดือดร้อน เพราะถือเป็นนโยบายของรัฐบาล จึงขอให้เชื่อใจกันว่ารัฐบาลจะติดตามเร่งแก้ปัญหาให้อย่างเต็มที่ หลังจากนั้นตัวแทนพีมูฟได้จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
 
ที่มาภาพ: Yingluck Shinawatra
 
ด้านนายไสว มาลัย แกนนำเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน หนึ่งในตัวแทนพีมูฟกล่าวภายหลังการเข้าร่วมประชุมกับรัฐบาลว่า นายกฯ ได้เดินทางมาเป็นประธานในที่ประชุมด้วยตนเอง และรับปากเป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาพีมูฟ แต่ขอเวลาให้คณะอนุกรรมการเพื่อแก้ปัญหาชุดต่างๆ เร่งจัดทำข้อมูลเพื่อนำเรื่องเสนอ และจะเริ่มประชุมในเดือน พ.ย.ที่จะถึงนี้ ส่วนในวันนี้จะเร่งรัดให้จัดการปัญหาเร่งด่วนคือ เรื่องสิทธิสถานะบุคคล ปัญหาการข่มขู่คุกความกรณีที่ดินทำกินที่ทับซ้อนกับพื้นที่ป่า และกรณีปัญหาของคนไร้บ้าน 
 
นายไสว ให้ข้อมูลอีกว่า รัฐบาลได้ประสานงานไปทางการรถไฟให้จัดโบกี้เพื่อขนส่งรถจักรยานยนต์ที่มีขบวนพีมูฟขับขี่จากเชียงใหม่ระยะทางเกือบ 700 กิโลเมตร ไปส่งถึงที่สถานีเด่นชัยด้วย
 
ทั้งนี้ ขณะรอเอกสารบันทึกการประชุมเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาของพีมูฟ ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักนานกว่าชั่วโมง แต่ผู้ชุมนุมทุกคนต่างร่วมกันตรึงผ้าใบกันฝน เพื่อรอผลสรุปการเจรจากันต่อไป 
 
 
ต่อมาเมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. นายสมภาส นิลพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชนสำนักปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี ตัวแทนรัฐบาล ได้มาชี้แจงต่อกลุ่มผู้ชุมนุมถึงผลการเจรจาระหว่างพีมูฟกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มีการจัดทำบันทึกสรุปผลการเจรจาหารือว่า 1.นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม จากเดิมที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นประธาน โดยจะมีการประชุมในเดือน พ.ย.55 2.ในระหว่างรอการประชุมหารือร่วมกับนายกฯ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองรับจะประสานให้คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของพีมูฟ ทั้ง 10 คณะเร่งรัดการประชุม และเสนอต่อนายกฯ 
 
3.กรณีที่ไม่อยู่ในการแก้ไขปัญหาของอนุกรรมการฯ ทั้ง 10 คณะเช่น กรณีโครงการโฉนดชุมชน สถาบันบริหารจัดการธนาคารทีดิน (องค์กรมหาชน) โครงการนำร่องธนาคารที่ดิน 5 พื้นที่ภาคเหนือ เป็นต้น รองเลขาธิการนายกฯ รับไปศึกษาข้อมูลรายละเอียดเพื่อพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหา และ 4.กรณีเร่งด่วน เช่น กรณีการไล่รื้อ และตัดฟันพืชผลอาสินของราษฎรในเขตพื้นทีอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จ.ตรัง ขอให้ตัวแทนพีมูฟแจ้งรองเลขาธิการนายกฯ เพื่อประสานงานแก้ไขปัญหาเบื้องต้นต่อไป
 
หลังจากนั้น ขบวนพีมูฟประกอบด้วย เครือข่ายสลัม 4 ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวลได้พูดคุยทำความเข้าใจสมาชิก และได้สลายการชุมนุมไปเมื่อเวลาประมาณ 15.30 น.
 
 
 
 
แฉลงการณ์ฉบับที่ 19
 
เดินทางกว่า 1000 กิโล พบนายกรัฐมนตรี 30 นาที เพื่อทวงคืนนโยบายคนจน
บรรลุเป้าหมายในเบื้องต้น เปิดเจรจาเดือนพฤศจิกายน

 
พวกเรา ขปส. เดินทางมาจากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน กรุงเทพฯ และปริมณฑล มาปักหลักข้างทำเนียบรัฐบาล ท่ามกลางเปลวแดดและสายฝน กว่า 2 วัน เพื่อรอหารือเจรจากับนายกรัฐมนตรี ให้สานต่อการแก้ไขปัญหาที่คั่งค้าง และถอยหลัง โดยหวังว่า ฯพณฯนายกรัฐมนตรี จะเข้ามาผลักด้นปัญหาให้เป็นรูปธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมในสังคม
 
ความทุกข์ยากจากปัญหาที่รุมเร้า และความยากลำบากที่มาอยู่หน้าทำเนียบ จนมีการเปิดเจรจาร่วมกับนายกฯ ในวันที่ 2 ตุลาคม 2555 ณ ห้องรับรอง อาคารสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทำเนียบรัฐบาล ซึ่งบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นว่า นายกรัฐมนตรีจะเปิดการเจรจา เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนในรายละเอียด ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2555 นี้
 
ขปส.เห็นว่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของภาคประชาชน และยืนยันจะตั้งใจแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงในระยะเวลาไม่นาน ทั้งนี้พวกเรา ขปส.ยืนยันว่า การมาทวงคืนนโยบายคนจนในครั้งนี้ยังไม่ลุล่วง แต่พวกเราจะให้โอกาสนายกรัฐมนตรี ในการเปิดเวทีเจรจาในเดือนพฤศจิกายน อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากยังไม่มีความชัดเจน และปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปประธรรม พวกเราจะกลับมาเพื่อทวงนโยบายคนจนอีกครั้ง
 
เชื่อมั่นในพลังประชาชน
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)
ข้างทำเนียบรัฐบาล
2 ตุลาคม 2555

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พูโลแถลงปักธงคาดหนุนเจรจา แจงไม่เคยห้ามขายวันศุกร์

Posted: 02 Oct 2012 01:15 AM PDT

เผยการติดธงพูโลสื่อความหมายสนับสนุนแกนนำและกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพ  ย้ำไม่เคยห้ามค้าขายวันศุกร์ แต่หนุนให้เกียรติวันศุกร์ซึ่งเป็นวันสำคัญของอิสลาม

เว็บไซต์ของกลุ่มพูโล (www.puloinfo.net) ได้เผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2555 โดยระบุว่า "ทางแกนนำขบวนการพูโลขอแสดงความยินดีกับนักสู้ปาตานีทุกคนในความกล้าหาญรอบคอบ ด้วยจุดยืนอย่างเปิดเผยรวมทั้งการชูธงขบวนการพูโลเหนือดินแดนปาตานีที่ยึดครองโดยจักรวรรดิ์นิยมไทยดังเช่นการปฏิบัติการในวันล่าสุดนี้นั้นเป็นสัญญาณที่ส่อแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจในการสนับสนุนทั้งแกนนำและกระบวนการเจรจาแก้ปัญหา(เพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน)ระหว่างขบวนการเพื่อเอกราชปาตานีกับรัฐบาลราชอาณาจักรไทย"

ทั้งนี้แถลงการณ์ได้รับการเผยแพร่หนึ่งวันหลังจากที่เจ้าหน้าที่พบธงพูโลแขวนอยู่ที่เสาไฟฟฟ้าแรงสูง บริเวณใกล้กับตู้ควบคุมไฟฟ้าซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกวางระเบิด  โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ถนนเทศบาลใหม่ เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส

นอกจากนี้  ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้าได้รายงานว่า เมื่อวันที่  30 กันยายน  2555 ได้พบการผูกธงลายขาวแดงมีพื้นหลังสีดำสัญลักษณ์รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวดาวห้าแฉกสีเหลือง จำนวน 2 ผืน ในที่เกิดเหตุระเบิดเสารับส่งสัญญาณโทรศัพท์ของบริษัทดีแทคที่บริเวณบ้านสะโต อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งคำอธิบายมีลักษณะเหมือนธงพูโล

นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ของพูโลยังได้กล่าวถึงกระแสข่าวลือห้ามการค้าขายในวันศุกร์ในช่วงหลายวันที่ผ่านมาว่า " ถึงแม้ว่าทางขบวนการพูโลไม่เคยออกหนังสือห้ามทำการค้าขายในวันดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามพูโลสนับสนุนความพยายามที่มีต่อเรื่องนี้ที่จะให้ปวงชนชาวปาตานีทั้งมวลทำการพิจารณาเองอย่างสุขุมรอบคอบและไตร่ตรองโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกียรติต่อความสำคัญของวันศุกร์ในอิสลาม  อย่างน้อยที่สุด ช่วงเวลาที่กำลังดำเนินการพิธีละหมาดวันศุกร์"

นายคัสตูรี  มะกอตา  ประธานกลุ่มพูโลกล่าวกับ DSJ ว่ากลุ่มพูโลไม่ประสงค์ที่จะยืนยันว่าทางกลุ่มเกี่ยวข้องกับการติดธงในวันที่ 28 กันยายนหรือไม่

ทั้งนี้ ได้เกิดความขัดแย้งภายในขึ้นในกลุ่มพูโล   ในปัจจุบัน สมาชิกพูโลแบ่งเป็นอย่างน้อยสองปีก ปีกหนึ่งนำโดยนายคัสตูรี  มะกอตา และอีกปีกหนึ่งนำโดยนายนอร์ อับดุลเราะห์มาน ซึ่งได้รับเลือกเป็นประธานพูโลในปี 2550 หลังจากที่นายตนกูบีรอ กอตอนีลอ ผู้ก่อตั้งพูโลเสียชีวิตในปี 2548

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ชนชั้นชาวนา

Posted: 01 Oct 2012 10:43 PM PDT



ชีวิตของ ชาวนา ค่ามันน้อย
ทุกวันคอย พึ่งพา แต่ฟ้าฝน
ไม่เคยมี เล่ห์เหลี่ยม ด้วยเจียมตน
สู้อดทน แทบสิ้นหวัง กลางท้องนา

ชีวิตนี้ มีแต่ แค่หนี้สิน
เป็นชาวดิน หมดสิทธิ์ คิดก้าวหน้า
นามสกุล ไม่ใช่ ณ อยุธยา
เป็นเพียงกา ยากไร้ ใช่หงส์ทอง

...หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน กินไม่อิ่ม
ฝืนใจยิ้ม แต่แววตา พาเศร้าหมอง
หากบเขียด หาหนู ตามคูคลอง
พอยาท้อง ยาไส้ ไปวันวัน

ทำหน้าที่ ปลูกข้าว ให้เขากิน
ไม่เคยยิน เสียงบ่น คนขยัน
ขายข้าวได้ กำไรที ไม่กี่พัน
ได้ประกัน ราคาข้าว คงเข้าที

โอ้...ชาวนา คนไหน ใครจะรู้
ว่ามีผู้ เหยียดหยาม ตามกดขี่
พวก"อำมาตย์" ขัดขวาง ทุกวิธี
พวก"คนดี" เห็นใจ แต่"นายทุน"

"ชาวนา"กับ"กรรมกร" "ฆ้อน"กับ"เคียว"
ผู้โดดเดี่ยว สิ้นไร้ ใครเกื้อหนุน
จงหาญกล้า ท้าทาย พวกนายทุน
ที่อิ่มอุ่น อิ่มหมี นี่เพราะใคร!

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น