ประชาไท | Prachatai3.info |
- พันธมิตรฯ ออกแถลงการณ์ให้กำลังใจ "องค์กรพิทักษ์สยาม" ชุมนุม 28 ต.ค. แต่จะไม่เข้าร่วม
- เปิดรายงานวิจัยฉบับเต็ม เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่มาราคาประมูล 3G
- ไทใหญ่เตรียมจัดประชุมใหญ่ว่าด้วยเรื่องสันติภาพในพม่า
- นิติพงษ์ ห่อนาค
- ท่องไปในประวัติศาสตร์: มะละกา กำเนิดและบทบาทสำคัญ
- นักฟุตบอลอียิปต์ประท้วงวอนขอ ‘เปิดฤดูกาล-รักษาความปลอดภัย’
- ผบช.ภ.4 จ่ายเงินเยียวยาให้ตำรวจที่วิสามัญเหยื่อขณะปฏิบัติ “หน้าที่”
- เกร็ดข่าวบันเทิง: สเตลลาอวอร์ดส์ ศักดิ์ศรีของคดีความ 'แปลก'
- ทหารพม่าทารุณกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากสงสัยว่าหนุนกลุ่มต่อต้าน
- TDRI: ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการกำกับดูแลบริการ 3G ของ กสทช.
- ศาลนัดสืบพยานกลางปีหน้า คดี ‘หรั่ง’ คนสนิทเสธ.แดง มีอาวุธในครอบครอง
- ตัวแทนข้าหลวงใหญ่ฯ สนับสนุนรัฐบาลผลักดันประกันตัวนักโทษ112 และปฏิรูปม.112
- ประวัติศาสตร์ฉบับย่อว่าด้วยการเลิกทาสและไพร่สยาม
พันธมิตรฯ ออกแถลงการณ์ให้กำลังใจ "องค์กรพิทักษ์สยาม" ชุมนุม 28 ต.ค. แต่จะไม่เข้าร่วม Posted: 23 Oct 2012 02:01 PM PDT ระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายการชุมนุมยังไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขตามที่ พธม. เคยแถลง และไม่ห้ามหากมวลชนพันธมิตรจะเข้าร่วม โดยให้ใช้วิจารณญาณของแต่ละบุคคล เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 22 ต.ค.ภายหลังจากการประชุมแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บ้านพระอาทิตย์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำรุ่นที่ 2 และโฆษกพันธมิตรฯ ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 8/2555 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรื่อง จุดยืนต่อการเคลื่อนมวลชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย โดยมีเนื้อหาในรายละเอียดดังนี้ "สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ในปัจจุบันประเทศชาติกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤตอีกครั้งหนึ่งพร้อมกันหลายด้าน อันได้แก่ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอย่างรุนแรง ปัญหาการก่อหนี้ภาครัฐ ปัญหาการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในระหว่างประเทศ ปัญหาการถูกประเทศเพื่อนบ้านรุกรานอธิปไตย และปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ รวมถึงปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ โดยปัญหาวิกฤตของชาติข้างต้นนั้น ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลในระบอบทักษิณ อันได้แก่ รัฐบาลพรรคไทยรักไทย รัฐบาลพรรคพลังประชาชน และรัฐบาลพรรคเพื่อไทย หรือ รัฐบาลที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับระบอบทักษิณ อันได้แก่ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร จึงย่อมพิสูจน์เป็นที่ชัดเจนว่า การเมืองไทยในระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทุกขั้วอำนาจล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งการสลับเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองที่ผ่านมาก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติของชาติได้ เพราะเป็นเพียงแค่การช่วงชิงอำนาจทางการเมืองและแย่งชิงผลประโยชน์ให้กับนักการเมืองเพียงไม่กี่คนในขั้วอำนาจของตัวเองเท่านั้น ดังนั้น การต่อสู้ของภาคประชาชนที่เสียสละด้วยแรงกาย แรงใจ และชีวิต จะไม่สามารถปฏิรูปประเทศได้ หากเป็นเพียงแค่การโค่นล้มรัฐบาลชุดหนึ่งเพื่อให้นักการเมืองที่ล้มเหลวอีกชุดหนึ่งเข้ามาบริหารประเทศต่อไป จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงเห็นว่า การปฏิรูปประเทศไทยที่มาจากการตื่นรู้ของประชาชน ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วงชิงผลประโยชน์จากการนักการเมืองที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงให้กลับมาเป็นของประชาชนเท่านั้น จึงจะสามารถหาทางออกที่แท้จริงให้กับประเทศได้ และเป็นเหตุทำให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศให้มีการจัดกิจกรรมเดินสายสัญจรให้ข้อมูล และความรู้กับประชาชนให้มากที่สุดดังที่ปรากฏเป็นกิจกรรมทั่วประเทศตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ การประชุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2555 ณ สวนลุมพินี พี่น้องประชาชนได้มีฉันทานุมัติเห็นชอบเป็นมติในการเคลื่อนไหวมวลชนปรากฏเป็นแถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาชนเพื่อประชาธิปไตยฉบับที่ 2/2555 ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ 1.มีการดำเนินการใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือออกกฎหมายอื่นใด ที่มีความชัดเจนว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ 2.มีการดำเนินการใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือออกกฎหมายอื่นใด ที่มีความชัดเจนว่าจะนำไปสู่การนิรโทษกรรมให้กับนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร และพวก 3.เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่สถานการณ์ความเหมาะสมที่ประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยครั้งใหญ่ ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นเมื่อใด พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะแจ้งให้ทราบและพร้อมจัดให้มีการชุมนุมใหญ่โดยทันที ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงได้ประกาศในแถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยฉบับที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2555 ด้วยหลักปกครองประเทศ 15 ประการ ซึ่งเป็นการประกาศ "เป้าหมาย" การปฏิรูปการเมืองในเชิงเนื้อหาว่าประเทศชาติและประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไร โดยได้ปรากฏต่อมาว่าไม่มีขั้วอำนาจใดที่ออกมาขานรับหลักปกครองประเทศดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่า นักการเมืองทุกขั้วอำนาจขาดความจริงใจที่จะปฏิรูปประเทศชาติ และสนใจแต่จะรักษาอำนาจ หรือช่วงชิงอำนาจทางการเมืองให้มาเป็นของพวกตนเองอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มีกลุ่มภาคประชาชน 30 กว่าองค์กรได้รวมตัวกันในนาม "องค์การพิทักษ์สยาม" นำโดย พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ที่ได้ประกาศว่าจะจัดกิจกรรมการชุมนุมในวันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2555 นั้น เมื่อแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพิจารณาวัตถุประสงค์ขององค์กรดังกล่าวแล้วเห็นว่า "องค์การพิทักษ์สยาม" เป็นองค์กรภาคประชาชนอีกองค์กรหนึ่งที่หวังดีต่อประเทศชาติซึ่งควรให้กำลังใจ แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการชุมนุมอาจพุ่งเป้าไปที่เฉพาะความล้มเหลวของรัฐบาลชุดปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งแม้ในความเป็นจริงรัฐบาลชุดปัจจุบันจะเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองที่ล้มเหลวในภาวะวิกฤตก็ตาม แต่ก็ยังไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขการเคลื่อนไหวมวลชนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตามแถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยฉบับที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2555 และยังไม่ชัดเจนว่า จะมีเป้าหมายสอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศไทยโดยหลักปกครองประเทศ 15 ประการตามแถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉบับที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 หรือไม่ ประกอบกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้มีกำหนดการในการจัดกิจกรรมของตนเองซึ่งประกาศล่วงหน้าว่าจะมีการจัดเสวนาการปฏิรูปประเทศไทยที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2555 ซึ่งตรงกับการจัดกิจกรรมขององค์การพิทักษ์สยามอีกด้วย จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงยังไม่พร้อมที่จะเข้าร่วมชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยามในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2555 นี้ และขอให้กำลังใจองค์การพิทักษ์สยามในการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ส่วนการตัดสินใจของภาคประชาชนที่จะเข้าร่วมกับองค์การพิทักษ์สยามนั้นวันและเวลาดังกล่าวนั้น แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยให้ถือเป็นสิทธิเสรีภาพในการใช้วิจารณญาณของแต่ละปัจเจกบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ด้วยจิตคารวะ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดรายงานวิจัยฉบับเต็ม เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่มาราคาประมูล 3G Posted: 23 Oct 2012 10:07 AM PDT เปิดรายงานคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงาน กสทช.เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำ เพื่อประเมินมูลค่าคลื่นความถี่และมูลค่าขั้นต่ำฯ โดยรายงานฉบับดังกล่าวถูกใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลและถูกอ้างอิงมาตลอด แต่ กสทช.ยังไม่เคยมีการเปิดเผยฉบับเต็มต่อสาธารณะ เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้อ่าน "ประชาไท" ขอเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์
- ในกรณีที่มีผู้เข้าแข่งขัน 3 ราย ดังเช่นกรณีที่คาดว่าจะเกิด (และเกิดขึ้นแล้ว) ในประเทศไทยรายงานระบุว่า ควรมีสัดส่วนอยู่ที่ 82% ซึ่งจะทำให้ราคาตั้งต้นขยับจาก 4,500 ล้านบาท เป็น 5,280 ล้านบาท (หน้า 167)
- ราคาประมูลที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค (หน้า 158)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไทใหญ่เตรียมจัดประชุมใหญ่ว่าด้วยเรื่องสันติภาพในพม่า Posted: 23 Oct 2012 09:43 AM PDT กลุ่มองค์กรชาวไทใหญ่เตรียมจั แหล่งข่าวสมาชิกพรรคการเมื แผนการประชุมดังกล่าวถูกกำหนดขึ แหล่งข่าวระบุว่า การประชุมกลุ่มองค์กรของไทใหญ่ ด้านเจ้าขุนทุนอู ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติ
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 23 Oct 2012 09:32 AM PDT |
ท่องไปในประวัติศาสตร์: มะละกา กำเนิดและบทบาทสำคัญ Posted: 23 Oct 2012 08:55 AM PDT หากจะกล่าวถึงมาเลเซียในปัจจุบันแล้ว จะได้พูดถึงอดีตอันยิ่งใหญ่ของมะละกาคงไม่ได้ จากเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ว่า มะละกา ถือเป็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ มีความรุ่งเรืองทางด้านการค้า และการเมืองที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัว นอกเหนือจากนั้นมะละกายังคงเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดเริ่มต้นของพัฒนาการของภาษามลายู จุดเริ่มต้นของการแพร่ขยายและการเผยแพร่ศาสนาอิสลามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงพัฒนาการของคนมลายูอีกด้วย มะละกาถือเป็นศูนย์รวมของการค้าในภูมิภาค พ่อค้ามากหน้าหลายตา ต่างเดินทางมาแลกเปลี่ยนสินค้ากันในบริเวณแห่งนี้ ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสม คือ เป็นเมืองท่า และอยู่ติดกับช่องแคบ จึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการเดินเรือ และยังผลให้มะละกา ประสบความสำเร็จในด้านการค้า จากการค้านี่เองทำให้มะละกาได้สร้างอิทธิพลในการเผยแพร่ศาสนาอิสลามในภูมิภาคนี้ มะละกามีความรุ่งเรืองในหลากหลายด้าน เช่น ทำเลที่ตั้ง ซึ่งเหมาะแก่การพักสินค้า และแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าต่างๆ การสร้างตำนาน หรือความเชื่อเกี่ยวกับเชื้อสายกษัตริย์ การวางรูปแบบการปกครองที่มีระบบ ด้วยกับการสร้างตำนานว่าราชาองค์แรกคือ ปราเมศวรสืบเชื้อสายมาจากอเล็กซานเดอร์มหาราช และการสร้างตำนานความเชื่อมโยงกับอาณาจักรศรีวิชัย ที่ได้รุ่งเรืองมาก่อนหน้านี้แล้ว การสร้างประเพณีวัฒนธรรมในราชสำนักที่เหนือกว่าดินแดนใกล้เคียง วิสัยทัศน์ของผู้นำ เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนในการเป็นหลักประกันความมั่นคง และการรับศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งรัฐเพื่อดึงดูดพ่อค้ามุสลิม และการมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับบรรดาชาวเล (orang laut) ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความสำคัญต่อรัฐในภาคพื้นทะเล ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้มีบทบาทในการคุ้มครองความปลอดภัยจากกลุ่มโจรสลัดการค้าทางทะเล (รวมถึงบางครั้งคนกลุ่มนี้เป็นโจรสลัดเสียเอง อย่างไรก็ตามหากใครใคร่มาทำการค้ากับมะละกา ก็ได้รับการปกป้องและไม่ปล้นเรือสินค้าดังกล่าว) การเกิดขึ้นของอาณาจักรมะละกาและบทบาททางด้านการค้า เดิมทีมะละกา เป็นหมู่บ้านของชาวประมงเล็กๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น จุดเริ่มต้นของมะละกาเริ่มที่เจ้าชายปรเมศวร (หรืออีกชื่อ ซรีตรีบัวนา) ตัดสินใจสร้างที่ประทับบนตอนบนของแม่น้ำห่างจากมะละกา ได้อพยพออกจากเมืองปาเล็มบังไปอภิเษกกับเจ้าหญิงในราชวงศ์มัชฌปาหิตมา ต่อมาเกิดขบถขึ้นในเมืองมัชฌปา จึงลี้ภัยการเมืองมาอาศัยเจ้าเมืองเทมาเส็ค แต่ภายหลัง เจ้าชายปรเมศวรได้ลอบฆ่าเจ้าเมืองเทมาเส็ก (สิงคโปร์-ปัจจุบัน) ทำให้เจ้าชายปรเมศวร ถูกขับไล่ออกไปจากเมือง จึงหนีมาตั้งเมืองมะละกาเป็นการต่อมา สภาพทางภูมิศาสตร์ของมะละกาตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าที่สำคัญระหว่างซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตก มีความเหมาะแก่การเป็นที่แวะพักเพื่อคอยลมมรสุม รวมไปถึงอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นสินค้าสำคัญที่ต้องการของโลก เช่น ของป่า ยางไม้ หวาย เครื่องเทศ ทองคำ ดีบุก และสินค้าทะเล และมีสินค้าจากหลากหลายพื้นที่ เช่น สินค้าจากจีน: น้ำหอม เครื่องเคลือบ ผ้าไหม เครื่องประดับ กำมะถัน และกระสุนปืน เป็นต้น สินค้าจากยุโรป: เหล็ก อาวุธ กระจก ลูกปัด ขนสัตว์ และไวน์ และสินค้าสำคัญที่มาจากทางมหาสมุทรอินเดีย: ผ้า สินค้าจากเมืองท่าต่างๆใน SEA: เครื่องเทศ ทั้งกานพลู ลูกจันทน์เทศ ดอกจันทน์เทศ จากหมู่เกาะโมลุกกะ เครื่องเทศ พริกไทย ของป่า และไม้หอม จากหมู่เกาะอินโดนีเซีย ข้าว และสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น อัญมณี ทับทิม เงิน จากพะโค และข้าว เกลือ ปลาแห้ง จากสยาม มะละกากับ ศูนย์กลางในการเผยแพร่อิสลาม แม้ปรเมศวรได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในปี ค.ศ. 1414 และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาอาหรับว่าเมกัต อิสกันดาร์ ชาร์ (Megat Iskandar Shah) แล้วก็ตาม แต่ในระยะแรก ข้าราชสำนักและประชาชนทั่วไปยังไม่ได้เปลี่ยนศาสนาตามมากนัก รวมทั้งพระราชาองค์ที่สองแห่งมะละกายังคงใช้พระนามตามแบบฮินดูคือ ศรีมหาราชา (ค.ศ. 1424-1445) แต่การแพร่ขยายของมะละกา ได้มีความชัดเจนขึ้นในช่วงของ ราชากาซิมขึ้นครองราชย์ในนามสุลต่านมุสซัฟฟาร์ (ค.ศ.1445-1459) โดยในปี ค.ศ. 1450 จึงมีการประกาศให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งรัฐ ราชสำนักและประชาชนเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามกันอย่างกว้างขวาง และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มะละกาจึงเพิ่มบทบาทในการเป็นแหล่งเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่มีอิทธิพลสำคัญแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระยะแรกที่ศาสนาอิสลามเข้ามา ยังคงปรากฏธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮินดู-พุทธ ความเชื่อดั้งเดิมหรืออาดัต (adat) และการนับถือเจ้าถือผี ศาสนาอิสลามที่เข้ามาในระยะแรกนั้นเป็นนิกายซูฟีที่มีความเชื่อในเรื่องญาณและสิ่งลี้ลับ การเปลี่ยนมารับอิสลามของผู้คนในบริเวณหมู่เกาะเป็นผลมาจากการปฏิวัติภายใน กล่าวคือ ความไม่พอใจต่อระบบสังคมแบบฮินดูที่มีการแบ่งแยกชนชั้นเป็นปัจจัยผลักดันให้ผู้คนหันไปรับอิสลามที่เน้นย้ำความเท่าเทียมกันได้ง่ายขึ้น ศาสนาอิสลามเอื้ออำนวยต่อระบบเศรษฐกิจแบบพ่อค้าได้ดีกว่าศาสนาฮินดู-พุทธ โดยไม่จำเป็นต้องมีพระหรือวัดในการประกอบพิธีทางศาสนาทุกคนสามารถปฏิบัติกิจทางศาสนาได้อย่างเท่าเทียมกัน ศาสนาอิสลามเข้ามายังอาณาจักรมะละกาพร้อมกับความรุ่งเรืองทางการค้า ถึงแม้ว่าการขยายอิทธิพลทางดินแดนของมะละกาได้ยุติลง แต่ในขณะเดียวกันการแพร่ขยายของวัฒนธรรมะละกา-มลายู ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามได้แพร่ขยายเข้าสู่ดินแดนอื่นๆ ในคาบสมุทรมลายู มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงจากศาสนาดั้งเดิมนั่นก็คือว่า ศาสนาอิสลามไร้ซึ่งคณะสงฆ์ ประชาชนไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของสังคม หากรับนับถือศาสนาอิสลามแล้วก็ย่อมที่จะมีความเท่าเทียมกัน ใช่ว่าจะมีการแบ่งแยกระหว่างชนชั้นปกครอง ขุนนาง นักบวช และประชาชน ผู้คนในสังคมถูกรวมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันภายใต้หลักคำสอนของอิสลาม ด้วยเหตุที่ว่าการเผยแพร่ศาสนาเป็นหน้าที่ของผู้คนทุกคนในสังคม ศาสนาอิสลามก็ได้เริ่มซึมซับเข้าสู่ผู้คนในสังคมนั้นๆ ซึ่งต่างออกไปจากศาสนาดั้งเดิมที่หน้าที่ของการเผยแพร่ศาสนาจำกัดอยู่ที่นักบวชเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มะละกาต้องเผชิญอยู่กับภาวะสงครามโดยศัตรูจากแดนอื่น นั่นก็คือโปรตุเกส ที่ยกกองทัพเรือเข้ามาปิดล้อมร่วมเดือน ก่อนที่โปรตุเกสจะตีมะละกาแตก และสร้างอำนาจการปกครองเหนือมะละกา ถือเป็นจุดจบแห่งอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของมะละกา อย่างไรก็ตามแม้นไม่มีอาณาจักรมะละกาแล้ว แต่การเผยแพร่ศาสนาอิสลามยังคงอยู่ แม้จะต้องเผชิญอยู่กับศาสนาใหม่ของอาณานิคมที่มีอิทธิพลอยู่เหนือบริเวณเหล่านี้เป็นระยะเวลาหลายร้อยปี แต่ศาสนาของอาณานิคมเหล่านั้นไม่สามารถที่จะพิชิตใจผู้คนในคาบสมุทรมลายูได้
ที่มา: PATANI FORUM ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักฟุตบอลอียิปต์ประท้วงวอนขอ ‘เปิดฤดูกาล-รักษาความปลอดภัย’ Posted: 23 Oct 2012 08:22 AM PDT ที่มาวีดีโอ: indiavisiononlive เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 55 ที่ผ่านมา indiavisiononlive เผยแพร่ภาพข่าวการประท้วงของนักฟุตบอลอาชีพในอียิปต์ ที่ออกมาเรียกร้องให้มีการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ พร้อมกับมาตรการรักษาความปลอดภัยระหว่างการแข่งขันที่รัดกุม หลังจากที่มีการเลื่อนการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศไปย่างไม่มีกำหนด สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศอียิปต์ (Egyptian Football Association - EFA) ระบุว่าฟุตบอลลีกภายในประเทศ ฤดูกาล 2012–13 ยังไม่สามารถเปิดฤดูกาลได้ หลังถูกเลื่อนมาตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา เนื่องจากความกลัวเรื่องมาตรการความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอ หลังจากเกิดเหตุการณ์ปะทะกันของแฟนบอลของ Al-Ahly กับ Al-Masry ทำให้มีมีผู้เสียชีวิตไปถึง 74 ราย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา (อ่านเพิ่มเติม: แฟนบอลจลาจลเดือดตาย 74 ย้อนสำรวจพบวัฒนธรรมแฟนบอลอียิปต์รุนแรงบ่อยครั้ง) และแฟนบอลของ Al-Ahly ก็ได้มีการประท้วงสมาคมฟุตบอลบ่อยครั้ง เพื่อเรียกร้องให้มีการสอบสวน และคืนความยุติธรรมแก่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นั้น แต่ทั้งนี้ในเกมส์ระดับทวีป ในรอบรองชนะเลิศของแอฟริกาแชมเปี้ยนส์ลีก (CAF) ของทีม Zamalek ของอียิปต์ กับ Sunshine Stars ของไนจีเรีย ยังสามารถทำการแข่งขันได้ แต่ไม่มีการเปิดให้แฟนบอลเข้าสนาม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผบช.ภ.4 จ่ายเงินเยียวยาให้ตำรวจที่วิสามัญเหยื่อขณะปฏิบัติ “หน้าที่” Posted: 23 Oct 2012 06:49 AM PDT คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย โวยปูนบำเหน็จตำรวจจำเลยคดีวิสามัญหลังศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดสังหารเด็กหนุ่มชาวกาฬสินธุ์วัย17ปี
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2555 พล.ต.ท.สมพงษ์ คงเพชรศักดิ์ ผบช.ภ.4 ได้มอบเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่ พ.ต.ท.สุมิตร นันท์สถิต พร้อมพวกอีก 4 คน โดย เว็บไซต์ตำรวจภูธรภาค 4 เป็นผู้โพสต์ข่าวดังกล่าว ข้อมูลจากเว็บไซต์ระบุว่า เงินที่มอบให้นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือตำรวจทั้ง 5 ในกรณีที่ "ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งที่สถานีตำรวจภูธรจังหวัดกาฬสินธุ์" (ที่มาของภาพ: เว็บไซต์ตำรวจภูธรภาค 4) หลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวได้ไม่นาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียได้ออกถ้อยแถลงแสดงความยินดีต่อคำพิพากษาดังกล่าวที่เป็นดั่งหมุดหมายสำคัญ และเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า ในที่สุด ศาลสถิตยุติธรรมในประเทศไทยก็แสดงเจตนาที่จะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องรับโทษต่อการใช้ความรุนแรงนอกกระบวนการยุติธรรมต่อประชาชน แต่แล้วการกระทำในทางตรงกันข้ามกับคำพิพากษาของ พล.ต.ท.สมพงษ์ คงเพชรศักดิ์ ได้แสดงถึงเจตนาที่ชัดเจนของตำรวจที่จะไม่ขีดเส้นแบ่งระหว่างการปฏิบัติหน้าที่และการใช้ความรุนแรงนอกกระบวนการยุติธรรม และยังแสดงถึงการสนับสนุนอย่างโจ่งแจ้งของนายตำรวจที่เป็นผู้บังคับบัญชาให้มีการใช้ความรุนแรงนอกกระบวนการยุติธรรมต่อประชาชน ย้อนกลับไปดูข้อเท็จจริงของคดีนี้โดยย่อ เพื่ออธิบายถึงบริบทของการกระทำของ ผบช.ภ.4 ในการจ่ายเงินทำขวัญให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำการฆาตกรรมผู้ต้องหาขณะปฏิบัติ "หน้าที่" เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาในคดีดำที่ 3252/2552, 3466/2552 ตัดสินลงโทษตำรวจ 5ใน 6 นาย ที่ตกเป็นจำเลยในคดีฆาตกรรมนายเกรียงศักดิ์ ถิตย์บุญครอง อายุ 17 ปี เมื่อปี 2547 จำเลยทั้ง 6 ได้แก่ ด.ต.อังคาร คำมูลนา, ด.ต.สุดธินัน โนนทิง, ด.ต.พรรณศิลป์ อุปนันท์, พ.ต.ท.สำเภา อินดี, พ.ต.อ.มนตรี ศรีบุญลือ และ พ.ต.ท.สุมิตร นันท์สถิต ทั้ง 6 เป็นตำรวจประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองกาฬสินธุ์ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 จำเลยได้จับกุมนายเกรียงศักดิ์ ในข้อหาลักทรัพย์รถจักรยานยนต์ เมื่อครอบครัวของนายเกียรติศักดิ์ทราบข่าว จึงมาที่สถานีตำรวจและพยายามที่จะขอเข้าเยี่ยมนายเกียรติศักดิ์ หลังความพยายามกลับมาที่สถานีตำรวจหลายต่อหลายครั้ง ในที่สุด ในวันที่ 22 กรกฎาคม ผู้เป็นย่าจึงได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมฟังการสอบปากคำนายเกียรติศักดิ์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บอกให้นางรอ เนื่องจากนายเกียรติศักดิ์จะได้ประกันตัวในวันนั้น แต่แล้วนางก็ไม่เห็นเขากลับมาบ้านเลย จนกระทั่งอีกหลายวันต่อมา มีคนพบศพนายเกียรติศักดิ์ในจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง โดยศพซึ่งมีร่องรอยการถูกทำร้าย ดังนั้น คดีของเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง จึงแตกต่างจากคดีวิสามัญฆาตกรรมอื่นๆ ในประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีหลังอย่างเห็นได้ชัด โดยที่คดีอื่นๆ นั้น ศาลแสดงเจตนาที่จะไม่เอาผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรวมถึงคดีการเสียชีวิตหมู่ของประชาชนในระหว่างถูกควบคุมตัวภายหลังเหตุการณ์ประท้วงที่ตากใบเมื่อเดือนตุลาคม 2547 และการสังหารผู้ชุมนุมในกรุงเทพเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 แม้แต่ในคดีที่ศาลพิพากษาว่าประชาชนเสียชีวิตในระหว่างถูกควบคุมตัวอันเนื่องมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น กรณีอิหม่ามยะผา กาเซ็ง ซึ่งถูกซ้อมทรมานจนเสียชีวิตเมื่อเดือนมีนาคม 2552 แต่การกระทำของเจ้าหน้าที่ถือเป็นการปฏิบัติราชการตาม "หน้าที่" ดังนั้น ผู้กระทำผิดจึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกดำเนินคดี ยิ่งไปกว่านั้น ความไม่ชัดเจนว่าเงินช่วยเหลือดังกล่าวเป็นเงินของทางการจากหน่วยงานของตำรวจ หรือเป็นเงินช่วยเหลือส่วนตัวจาก พล.ต.ท.สมพงษ์ ก่อให้เกิดความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับรูปแบบของการไม่ต้องรับผิดที่ปรากฏอยู่ในหมู่ตำรวจไทย รายงานข่าวเรื่องการมอบเงินช่วยเหลือที่ปรากฏในเว็บไซต์ตำรวจภูธรภาค 4 ประกอบด้วยข้อความบรรยายถึงเงินช่วยเหลือดังกล่าว และภาพประกอบ 3 ภาพ ภาพแรกแสดงการมอบเงินช่วยเหลือจาก พล.ต.ท.สมพงษ์ให้แก่ตำรวจทั้ง 5 นาย เป็นที่น่าสังเกตว่า ตำรวจทั้ง 5 ยังแต่งเครื่องแบบ เนื่องจากทั้งหมดยังคงปฏิบัติราชการอยู่ในช่วงที่ได้รับการประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์ ถึงแม้โดยข้อเท็จจริงแล้วพวกเขาถูกพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำแล้วก็ตาม ส่วน พล.ต.ท.สมพงษ์ ไม่ได้แต่งเครื่องแบบ ถึงแม้ว่าการเลือกที่จะแต่งกายเช่นนั้นอาจจะมีเจตนาที่จะส่งสัญญาณว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินช่วยเหลือส่วนตัว ไม่ใช่เงินช่วยเหลือของทางการ แต่การโพสต์รูปและข่าวลงในเว็บไซต์ของตำรวจภูธรภาค 4 ทำให้เป็นที่ชัดเจนว่าเงินช่วยเหลือนั้นได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ การไม่ต้องรับผิดต่อความรุนแรงนอกระบบยุติธรรมไม่ว่าจะได้รับการรับรองผ่านนโยบายอย่างเป็นทางการของตำรวจ หรือผ่านเครือข่ายระบบอุปถัมภ์อย่างไม่เป็นทางการซึ่งเป็นที่รับรู้โดยทั่วไป แต่สารที่ตำรวจส่งถึงประชาชนก็คือ "เราจะคุ้มครองตัวเราเอง ไม่ใช่ท่าน" ซึ่งเป็นสารที่ประชาชนไทยทั้งมวลคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียขอเรียกร้องต่อกลไกของตำรวจในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อ พล.ต.ท.สมพงษ์ ให้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการต่อต้านการใช้ความรุนแรงนอกกระบวนการยุติธรรมในกรณีการฆาตกรรมนายเกรียงศักดิ์ ถิตย์บุญครอง และในกรณีอื่นๆ เช่นเดียวกัน โดยต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติหน้าที่และการฆาตกรรม ขอเรียกร้องให้ พล.ต.ท.สมพงษ์เรียกคืนเงินช่วยเหลือที่มอบไปแล้ว ขอเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติพักราชการโดยไม่มีการจ่ายเงินเดือน ตำรวจทั้ง 5 นาย ที่ถูกพิพากษาว่ากระทำผิดทางอาญาอย่างร้ายแรง จนกว่าศาลอุทธรณ์และฎีกาจะมีคำพิพากษา ยกเลิกการปูนบำเหน็จและริเริ่มให้มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นที่รับรู้ว่ากระทำการซ้อมทรมานและฆาตกรรมผู้อื่น โชคร้ายที่ตำรวจที่เข้าข่ายดังกล่าวในประเทศไทยมีจำนวนไม่ใช่น้อย และกระบวนการในการถอดถอนคนเหล่านี้ออกจากตำแหน่งคงต้องใช้เวลายาวนานและมีความยากลำบาก แต่อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นจะต้องเกิดขึ้น ศาลอาญาได้เปิดโอกาสให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเริ่มกระบวนการดังกล่าวแล้วจากคดีของเกียรติศักดิ์ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องรีบฉกฉวยโอกาสนี้เริ่มต้นแสดงตนเองว่าเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์มืออาชีพ ไม่ใช่แก๊งอาชญากรรมในเครื่องแบบ และร่วมมือกับศาลในการขัดขวางเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีพฤติกรรมก่ออาชญากรรม ไม่ใช่ท้าทายอำนาจศาลด้วยการปกป้องฆาตกรที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้ซึ่งแก้ตัวว่าการกระทำทุกอย่างทำไปตาม "หน้าที่"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เกร็ดข่าวบันเทิง: สเตลลาอวอร์ดส์ ศักดิ์ศรีของคดีความ 'แปลก' Posted: 23 Oct 2012 04:30 AM PDT
ชื่อของรางวัลนี้มาจาก สเตลลา ลีเบค หญิงชาวอเมริกัน วัย 79 ปี ที่อาศัยอยู่ในนิวเม็กซิโก ในวันเกิดเหตุแห่งคดี เธอนั่งอยู่ที่เบาะผู้โดยสาร โดยมีหลานชายเป็นคนขับรถให้ หลังซื้อกาแฟร้อนจากแมคโดนัลด์ เธอหนีบแก้วกาแฟไว้ที่หว่างขา เพื่อจะเติมนมและน้ำตาล แต่ปรากฏว่าขณะที่เธอกำลังเปิดฝา กาแฟก็หกลงลวกตักของเธอ เธอฟ้องเรียกค่าเสียหายจากแมคโดนัลด์ โดยชี้ว่าอุณหภูมิของกาแฟนั้นร้อนเกินไป และอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้มากกว่ากาแฟร้านอื่น และสุดท้าย คณะลูกขุนแห่งนิวเม็กซิโกให้เธอชนะคดี โดยปีนี้ สเตลลาอวอร์ดส์ 3 อันดับแรก ได้แก่ แอมเบอ คาร์สัน ที่ชนะคดีที่ฟ้องร้านอาหารในฟิลาเดลเฟีย เนื่องจากน้ำอัดลมที่พื้นทำเธอลื่นล้มกระดูกก้นกบแตก โดยเหตุผลที่มีน้ำอัดลมนองพื้นนั้นมาจากการที่เธอมีปากเสียงกับแฟนและสาดน้ำใส่เขา อันดับสอง คารา วาลตัน ฟ้องเจ้าของไนท์คลับ เพราะเธอตกจากหน้าต่างห้องน้ำ ฟันหน้าหักไปสองซี่ หลังปีนเข้าทางหน้าต่างเพื่อเลี่ยงจ่ายค่าเข้าไนท์คลับ และอันดับแรก เมิฟ แกรซินกิ ฟ้องบริษัทรถแห่งหนึ่ง เพราะรถบ้านของเธอที่ตั้งให้ขับอัตโนมัติที่ความเร็ว 70 ไมล์ต่อชั่วโมง แล้วก็เดินไปทำแซนวิชกิน ปรากฏว่ารถตกถนนและพลิกคว่ำ เธอฟ้องบริษัทรถยนต์ว่า ไม่ยอมระบุในคู่มือว่าไม่ควรละจากที่นั่งคนขับในขณะที่ตั้งความเร็วอัตโนมัติไว้ ซึ่งเธอก็ชนะคดีและยังได้รถคันใหม่ชดเชยอีกคันนึงด้วย อย่างไรก็ตาม มีหมายเหตุว่า การประกาศรางวัลเหล่านี้ เป็นรางวัลที่มีผู้ทำต่อจากรางวัลดั้งเดิม ที่ประกาศในช่วงปี 2545-2550 แล้วก็หยุดไป ขณะเดียวกัน บางกระแสก็บอกว่า คดีความต่างๆ ที่เล่ากันมานั้น เป็นเพียงเรื่องแต่ง เพื่อสร้างความเป็นศัตรูกับระบบกฎหมายเท่านั้น ไม่ว่าคดีเหล่านี้จะจริงหรือไม่ แต่ก็ช่วยให้ได้ลองพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของเรื่องต่างๆ อย่างสิทธิผู้บริโภค หรือกระบวนการยุติธรรม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ทหารพม่าทารุณกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากสงสัยว่าหนุนกลุ่มต่อต้าน Posted: 23 Oct 2012 03:40 AM PDT แม้ประธานาธิบดีเต็งเส่ง จะประกาศสร้างสันติ สำนักข่าวฉาน รายงานจากแหล่งข่าวจากชาวปะหล่ กำนันผู้ใหญ่บ้านที่ถูกจับกุมส่ หนึ่งในผู้ใหญ่บ้านที่เผชิญเหตุ ด้านหม่าย อ้ายพง เลขาธิการกองกำลังปลดปล่อยชาติ
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
TDRI: ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการกำกับดูแลบริการ 3G ของ กสทช. Posted: 23 Oct 2012 02:39 AM PDT ท่ามกลางกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์ กสทช. อย่างรุนแรง จากการจัดประมูลล้มเหลว เนื่องจากออกแบบการประมูลให้ไม่มีการแข่งขันกันจริง จนสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษีกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับราคาประเมินของคลื่นความถี่ กสทช. ได้พยายามกู้ศรัทธาองค์กร โดยประกาศเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 ว่า จะกำกับดูแลผู้ประกอบการและคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้มงวดขึ้น ทั้งที่การดำเนินการดังกล่าวเป็นหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งต้องทำเป็นปรกติอยู่แล้ว โดยรูปธรรม กสทช. ได้ประกาศที่จะกำกับอัตราค่าบริการ 3G ทั้งบริการเสียงและข้อมูลที่จัดเก็บจากผู้บริโภคให้ลดลงไม่น้อยกว่า 20% จากอัตราในปัจจุบันที่อยู่ในระดับเฉลี่ย 899 บาทต่อเดือน โดยจะกำหนดให้อัตราค่าบริการในปีแรกลดลง 10% ปีที่ 2 ลดลง 15% และปีที่ 3 ลดลง 20% นอกจากนี้ กสทช. ยังประกาศที่จะกำกับดูแลคุณภาพบริการ และให้ผู้รับใบอนุญาตจัดทำแผน CSR และแผนคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนประกาศว่าจะปรับปรุงกระบวนการของตนในการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค บทความนี้จะนำเสนอข้อคิดเห็นต่อท่าทีดังกล่าวของ กสทช. และจะเสนอแนะว่า หาก กสทช. มีความจริงใจที่จะกำกับดูแลบริการ 3G ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริงแล้ว ควรดำเนินการอย่างไร การกำกับอัตราค่าบริการ อย่างไรก็ตาม อุปสรรคต่อการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ในปัจจุบัน และบริการ 3G ที่จะเกิดขึ้นก็ยังมีอยู่มากมาย ที่สำคัญคือ ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (IC) ซึ่งเปรียบเสมือนราคาขายส่งระหว่างผู้ประกอบการ ยังถูกกำหนดอยู่ที่ 0.99 บาทต่อนาที ซึ่งสูงกว่าต้นทุนจริงที่ผู้เขียนเคยคำนวณไว้ที่ 0.27 บาทต่อนาที ที่ผ่านมา กสทช. ปล่อยให้เอกชนรวมหัวกันกำหนดค่า IC สูงกว่าต้นทุนจริงมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่แพงกว่าที่ควรจะเป็น จนน่าจะเสียประโยชน์ไปแล้วเป็นหมื่นล้านบาท หากไม่แก้ไขปัญหาพื้นฐานนี้เพื่อให้กลไกตลาดทำงาน กสทช. ก็จะไม่สามารถกำกับดูแลให้ค่าบริการ 3G ลดลงได้อย่างยั่งยืน เพราะผู้ประกอบการอาจออกโปรโมชั่นใหม่ๆ ซึ่งตัดบางบริการออกไปเพื่อให้ดูราคาถูกลง หรือยัดเยียดขายพ่วงบริการอื่นที่ไม่จำเป็นเข้ามา ตลอดจนไปถึงการปฏิเสธไม่ลดราคาลงตามที่กำหนด โดยอ้างปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น ค่าแรงงานและภาวะเงินเฟ้อที่ขึ้นสูง เป็นต้น นอกจากนี้ แม้ กสทช. จะสามารถลดค่าบริการ 3G ลงได้จริง 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า ราคาค่าบริการของไทยตอนนั้น ก็ใช่ว่าจะถูกกว่าราคาของต่างประเทศ ในปัจจุบัน บริษัท StarHub ในสิงคโปร์ คิดค่าบริการบรอดแบนด์เคลื่อนที่ซึ่งไม่จำกัดปริมาณข้อมูล (unlimited) เพียงเดือนละ 670 บาท และแม้ในอินเดีย บริษัท Air Tel ก็คิดค่าบริการโทรศัพท์ 3G ซึ่งจำกัดปริมาณข้อมูลที่ 3.1 GB ในราคาเพียง 340 บาทต่อเดือน ซึ่งถูกเป็นครึ่งหนึ่งของบริการที่คล้ายกันในประเทศไทย ในอนาคต ราคาค่าบริการในต่างประเทศก็มีแนวโน้มที่จะลดลงต่ำลงไปอีก เนื่องจากตลาดโทรคมนาคมของประเทศเหล่านั้นมีการแข่งขันมากกว่าประเทศไทย การลดราคาบริการ 3G ของไทยลงเพียง 20% จึงยังไม่เพียงพอ การคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ เมื่อดูสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค เราจะพบว่า ในช่วงเดือน พ.ย. 2554-พ.ค. 2555 มีเรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณา ไม่เสร็จในเวลา 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดถึง 85% ในส่วนของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ 78% ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ต โดยสาเหตุสำคัญของความล่าช้าดังกล่าวก็คือ กสทช. ปล่อยให้สำนักงาน กสทช. เข้าเกียร์ว่าง ไม่ดำเนินการใดๆ นอกจากรอให้ผู้ประกอบการชี้แจงและแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคเอง เสมือนหนึ่งการแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค เป็นภารกิจโดยสมัครใจของผู้ประกอบการเช่นเดียวกับกิจกรรม CSR ความไม่ใส่ใจในการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช. ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประกาศเจตนารมณ์ของ กสทช. ที่ออกมาดูว่างเปล่า ไม่มีน้ำหนัก จนหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเป็นแต่เพียงการแก้เกี้ยวเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองยังหวังว่า กสทช. จะพยายามพลิกวิกฤติขององค์กรในครั้งนี้ให้เป็นโอกาสของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาลนัดสืบพยานกลางปีหน้า คดี ‘หรั่ง’ คนสนิทเสธ.แดง มีอาวุธในครอบครอง Posted: 23 Oct 2012 02:00 AM PDT
22 ต.ค.55 ที่ห้องพิจารณา 903 ศาลอาญา รัชดา ศาลได้นัดพร้อมตรวจพยานหลักฐาน คดีเลขที่ 1223/2555 ที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ฟ้องนายสุรชัย หรือ หรั่ง เทวรัตน์ อายุ 28 ปี การ์ดรักษาความปลอดภัย พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง หนึ่งในจำเลยคดีร่วมกันก่อการร้าย และยังเป็นจำเลยในคดีนี้ ข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำหน่ายวัตถุระเบิดและอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนอนุญาตให้ไม่ได้และไม่ได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม โดยโจทก์ระบุว่าเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.53 เวลากลางคืน จำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 4, 7, 55, 78, พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 มาตรา 4, 5, 7, 15 และ 42 เหตุเกิดที่ ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ผลการประชุมคดี ฝ่ายโจทก์จะมีการเบิกพยาน 28 ปาก สืบ 8 นัด ซึ่งประกอบด้วยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่สอบสวนคดี บุคคลที่เกี่ยวข้องในการล่อซื้อของกลาง ผู้ตรวจพิสูจน์ของกลางผู้ตรวจข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้านฝ่ายจำเลยจะมีการเบิกพยาน 8 ปาก สืบ 2 นัด ซึ่งเป็นตัวจำเลยเอง บุคคลที่อยู่กับจำเลยในวันที่โจทก์อ้างว่ามีการล่อซื้อ บุคคลที่ซื้ออาหารให้จำเลยขณะที่จำเลยอยู่ที่จังหวัดชลบุรีและบุคคลที่พาจำเลยออกจากสี่แยกราชประสงค์หลังสายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เมื่อ พ.ค.53 ไปยังชลบุรี โดยจะมีการสืบพยานฝ่ายโจทก์ปากแรกในวันที่ 16 ก.ค. 2556 จำเลยและทนายจำเลยได้มีการแถงต่อศาลด้วยว่าไม่มีข้อเท็จจริงของฝ่ายโจทก์ที่รับกันได้กับฝ่ายตนเอง และแถลงแนวทางการต่อสู้ด้วยว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง นายเกตุปัญญา วงศีล ทนายจำเลย กล่าวว่า หลังจากนี้จะนำเอกสารของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลแล้วนั้น มาเป็นเหตุในการยื่นประกันตัวจำเลย โดยคดีนี้เป็นการล่อซื้อ(อาวุธ)ที่ไม่ได้จับกุมในขณะที่ล่อซื้อ ซึ่งถือเป็นข้อพิรุธที่ทางทีมทนายจะหยิบไปสู้คดี เพราะปกติการล่อซื้อนั้นจะมีการจับกุมในขณะที่มีการล่อซื้อทันที แต่กรณีนี้ได้อาวุธมาแล้วจึงได้มีการจับกุมในภายหลัง สำหรับการพยายามเชื่อมโยงกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงชุมนุมทางการเมือง เมษา – พ.ค.53 กับ เสธ.แดง จากคดีนี้นั้น นายเกตุปัญญา วงศีล มองว่ามีความเป็นไปได้ที่จะโยงเข้ากับ เสธ.แดง เพราะทางจำเลยก็เป็นการ์ดของ เสธ.แดง เพื่อที่จะโยงว่าเป็นตัวต้นเหตุในการก่อความรุนแรง เนื่องจากทางรัฐบาลในขณะนั้นก็เพ็งเล็ง เสธ.แดง อยู่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ นายสุรชัย เทวรัตน์ ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จนกระทั้งเมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา พนักงานกรมสอบสนคดีพิเศษ หรือ DSI ได้เดินทางมาขออายัดตัว ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 704 ศาลอาญารัชดา ในระหว่างการพิจารณาเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวร่วมกับแกนนำ นปช.คนอื่นๆ เนื่องจากเจ้าตัวมีหมายจับในคดีค้าอาวุธสงคราม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตัวแทนข้าหลวงใหญ่ฯ สนับสนุนรัฐบาลผลักดันประกันตัวนักโทษ112 และปฏิรูปม.112 Posted: 23 Oct 2012 12:22 AM PDT ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนของ UN ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าเยี่ยมนักโทษที่ต้องคดี ม. 112 ในเรือนจำทั้ง 7 คน สนับสนุนการประกันตัวและการปฏิรูปกฎหมาย ขณะที่ก่อนหน้านี้คณะทำงานเรื่องการจับกุมโดยพลการของUN แจงรัฐบาลไทยยังยืนยันม.112 เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 ต.ค. 55) คณะทำงานเรื่องการจับกุมโดยพลการแห่งสหประชาชาติ (UN Working Group on Arbitrary Detention) ได้ออกข้อคิดเห็นว่าด้วยการจับกุมและคุมขังของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักเคลื่อนไหวด้านแรงงานและแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย โดยข้อคิดเห็นดังกล่าวของคณะทำงานฯ ระบุว่า การจับกุมและคุมขังของนายสมยศ ขัดกับหลักกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามรับรองเป็นภาคีสมาชิก โดยเฉพาะมาตรา 19 ที่ระบุเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก และได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวนายสมยศออกจากเรือนจำ และชดเชยจำเลยตามความเสียหายที่เกิดขึ้นทันที
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประวัติศาสตร์ฉบับย่อว่าด้วยการเลิกทาสและไพร่สยาม Posted: 22 Oct 2012 09:24 PM PDT จำได้ว่าในช่วงชั้นมัธยมต้น เมื่อใดที่วันปิยมหาราชเวียนมาถึง บรรดาคุณครูวิชาสังคมมักตักเตือนให้นักเรียนรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ห้าในการยกเลิกระบบไพร่และทาส โดยเน้นว่าเป็นการค่อยๆ ยกเลิกทีละขั้นทีละตอน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการเสียเลือดเนื้อ ดังเช่นที่เกิดกับประเทศอเมริกา ซึ่งการเลิกระบบทาสทำให้เกิดสงครามกลางเมือง ผมและเพื่อนๆ ก็ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณมานาน จนกระทั่งได้เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ 'ป่าเถื่อน' มาก เนื่องจากข้อสมมุติแรกสุดของวิชานี้เริ่มต้นโดยถือว่า มนุษย์ทุกคนเป็น "สัตว์เศรษฐกิจ" ในความหมายว่า การกระทำหรือไม่กระทำการใดๆ นั้นก็เพื่อผลประโยชน์ของเขาเอง ศีลธรรมจึงไม่มีที่ทางในวิชานี้ David Feeny นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยเสนอว่า เราควรจะเข้าใจเรื่องนี้ภายใต้บริบทใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงของยุครัชกาลที่ห้าในสามประเด็นคือ การขยายตัวของการค้าและระบบตลาด, ความขัดแย้งระหว่างกษัตรย์และขุนนางในการควบคุมแรงงาน, และการปฏิรูปเพื่อรวมศูนย์อำนาจรัฐเข้าสู่กรุงเทพฯ ภายหลังการเซ็นสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในปี พ.ศ. 2398 แล้ว การค้าระหว่างประเทศของสยามโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่เส้นทางเดินเรือกลไฟระหว่างจีนตอนใต้กับสยามทำให้มีแรงงานจีนอพยพเข้าสู่กรุงเทพมหาศาล เนื่องจากมีค่าแรงสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเพิ่มขึ้นของกรรมกรจีนซึ่งเป็นแรงงานรับจ้าง ไม่ใช่แรงงานไพร่ที่ถูกเกณฑ์และบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน (ซ้ำยังต้องเตรียมเสบียงกรังมาเองสำหรับใช้ในช่วงที่ถูกเกณฑ์ด้วย) ย่อมมีแรงจูงใจที่จะทำงานมากกว่าไพร่ ดังนั้น มันจึงคุ้มค่ากว่าที่ผู้ปกครองจะจ้างกรรมกรจีนให้ทำงานแทนการบังคับใช้แรงงานจากไพร่ ผู้ปกครองจึงเริ่มอนุญาตให้ไพร่จ่ายเงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานได้ แต่พวกไพร่ๆ จะไปหาเงินจากไหนมาจ่าย หากระบบเศรษฐกิจการตลาดและการหมุนเวียนของเงินตรายังไม่ขยายตัว คำตอบคือการขยายตัวของการส่งออกข้าวหลังสัญญาเบาว์ริ่ง พูดอีกแบบคือ พวกไพร่เมื่อไม่ต้องถูกบังคับใช้แรงงานแล้วจึงหันไปปลูกข้าวขาย เอาเงินมาจ่ายให้ผู้ปกครองแทนการเกณฑ์แรงงาน ดังเช่นที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2413 ต้นรัชการที่ 5 ไพร่หลวงต้องจ่ายเงิน 9-12 บาทแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน และลดลงเหลือ 6 บาทต่อปีในช่วง พ.ศ. 2440-2441 ต่อมาจึงยกเลิกระบบการเกณฑ์แรงงานไพร่ หันมาเก็บภาษีรัชชูปการแทน (ภาษีต่อหัวที่สามัญชนทุกคนต้องจ่ายรายปี–poll tax) ในปี 2442 รวมทั้งออกกฎหมายเกณฑ์ทหารในสามปีถัดมา เป็นอันว่าภาษีรัชชูปการและการเกณฑ์ทหารจึงมาแทนการทำงานของระบบไพร่เมื่อร้อยปีเศษมานี่เอง ส่วนเรื่องการคานอำนาจระหว่างกษัตรย์และขุนนางในการควบคุมแรงงานนั้น การอนุญาตให้จ่ายเงินแทนการใช้แรงงานไพร่ทำให้กษัตริย์ได้ประโยชน์ในขณะที่พวกขุนนางเสียประโยชน์ เพราะเงินที่ได้จากไพร่ไปสู่กษัตริย์มากกว่า ในขณะที่พวกขุนนางก็ไม่สามารถใช้แรงงานและควบคุมไพร่ที่จ่ายเงินได้อีกต่อไป อย่าลืมเป็นอันขาดว่า ความสามารถในการควบคุมไพร่และทาสของขุนนางนั้น เป็นอำนาจต่อรองทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของขุนนางต่อกษัตริย์สยามมาแต่ไหนแต่ไร การปฏิรูประบบไพร่นี้จึงเป็นการลดทอนอำนาจของขุนนางโดยตรง ซึ่งก็คือหนึ่งในมาตรการปฏิรูปการปกครองของ ร.5 เพื่อรวมศูนย์อำนาจรัฐจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพ และจากขุนนางในกรุงเทพฯ เข้าตัวกษัตริย์เอง การค่อยๆ ยกเลิกระบบทาสก็เกิดขึ้นในบริบทเดียวกันนี้เอง เช่นเดียวกับไพร่ จำนวนทาสที่อยู่ใต้การควบคุมของขุนนางก็คือฐานอำนาจของขุนนาง ประเด็นหลักของการค่อยๆ ยกเลิกซึ่งกินเวลากว่า 41 ปีจึงจะเสร็จสมบูรณ์ ก็เพื่อที่จะลดแรงต้านทานของพวกขุนนาง อีกเหตุผลหนึ่งที่หนุนส่งให้การค่อยๆ ยกเลิกไม่ถูกต่อต้านจากขุนนางมากนักก็คือ การที่ราคาที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุ่งนา มีมูลค่าสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับการเป็นเจ้าของทาส เนื่องจากการเฟื่องฟูของการส่งออกข้าวหลังสัญญาเบาว์ริ่ง ดังนั้น พวกขุนนางและชนชั้นสูงจึงหันไปพัฒนาที่ดิน หรือถือครองที่ดินเพื่อเก็งกำไร (เช่น การขอสัมปทานขุดคลองรังสิตของตระกูลบุนนาค) แทนที่จะถือครองทาสไว้ในฐานะทรัพย์สินเช่นในอดีต พร้อมๆ กับการที่รัฐสยามก็ค่อยๆ ยอมรับกรรมสิทธิ์ของเอกชนในการถือครองที่ดินมากขึ้น แม้อาจจจะมองได้ว่า บางมุมของแรงจูงใจในการเลิกทาสนั้น ไม่ใช่เป็นเหตุผลเชิงผลประโยชน์เสียทั้งหมด แต่อาจเป็นเหตุผลเชิงศีลธรรม เช่น การที่รัชกาลที่ 5 เคยให้เหตุผลว่า การบังคับให้เด็กที่เกิดจากทาสต้องตกเป็นทาสด้วยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเด็กแรกเกิดย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่สมควรที่จะต้องรับกรรมที่ผู้ให้กำเนิดเป็นผู้ก่อไปด้วย (สาเหตุการตกเป็นทาสมีสองเหตุใหญ่คือ จากการขายตัวเองลงเป็นทาสเพื่อชำระหนี้ หรือถูกวาดต้อนมาจากบ้านเมืองอื่น เมื่อเมืองนั้นแพ้สงคราม) อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจแรงจูงใจเชิงศีลธรรมนี้ในภาพกว้างด้วย กล่าวคือ หากสยามต้องการได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกลับคืน ซึ่งสูญเสียไปเมื่อครั้งเซ็นสัญญาเบาว์ริ่ง สยามมีภาระต้องแก้ระบบกฎหมายภายในประเทศให้เป็น 'อารยะ' ในสายตาของตะวันตกเสียก่อน แต่บรรยายกาศขณะนั้น ความเป็นอารยะหมายถึงสังคมที่ปราศจากทาสด้วย แต่กว่าที่ระบบทาสจะหมดสิ้นไปจากสยามในขอบเขตทั่วประเทศก็ล่วงเข้าปี 2458 หรือยุครัชกาลที่ 6 แล้ว และกว่าที่สยามจะได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกลับคืนมาทั้งหมดก็เมื่อล่วงเข้ายุคคณะราษฎรหลัง พ.ศ. 2475 โดยสรุป แม้ว่าระบบไพร่และทาสที่ถูกกฎหมายจะหมดสิ้นไปจากสยามในรัชกาลที่ 6 แต่กว่าที่ภาษีรัชชูปการ ซึ่งเป็นตัวแทนของความเป็นไพร่ จะถูกกำจัดไปก็หลังปี 2481 เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมีการสถาปนาประมวลรัษฎากรขึ้นใช้แทน ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีอากรทางตรงที่เป็นธรรมแก่สังคม โดยกำหนดให้ผู้มีรายได้มากเสียภาษีมาก ผู้มีรายได้น้อยเสียภาษีน้อย ในโอกาส 80 ปี การปฏิวัติสยาม 24 มิ.ย. 2475 อยากเตือนผู้ลืมเลือนว่า หากไม่มี 2475 เราอาจต้องจ่ายภาษีรัชชูปการอยู่ทุกปีก็ได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Feeny, D. (1989) "The Decline of Property Rights in Man in Thailand, 1800-1913" The Journal of Economic History, Vol. 49, No.2., pp.285-296.
ที่มา: ไทยพับลิก้า ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น