ประชาไท | Prachatai3.info |
- กองทัพรัฐฉาน SSA และรัฐบาลพม่านัดเจรจากันอีก เน้นเรื่องปราบยาเสพติด
- 'มหากาพย์ 3G' ประมวลข้อท้วงติง-คำโต้แย้ง-6 คำวินิจฉัยศาลปกครอง
- สภาประชาสังคมชายแดนใต้กับบทบาทสร้างสันติภาพ ตามทัศนะ 'มันโซร์ สาและ'
- หลากความเห็น จะใช้ภาษาอะไร ใน 'ทีวีมลายู 24 ชั่วโมง'
- หลากความเห็น จะใช้ภาษาอะไร ใน 'ทีวีมลายู 24 ชั่วโมง'
- หลากความเห็น จะใช้ภาษาอะไร ใน 'ทีวีมลายู 24 ชั่วโมง'
- ร่วมรณรงค์ บอก Coca-Cola เคารพสิทธิแรงงานในฟิลิปปินส์ ยกเลิกระบบ ‘3P’
- นิธิ เอียวศรีวงศ์
- ลี กวน ยู: สังคมนิยมหรือตลาดเสรี? หันมองพม่าและไทย
- ดีซี่แมพ: นวัตกรรมตรวจสอบการบุกรุกผืนป่า
กองทัพรัฐฉาน SSA และรัฐบาลพม่านัดเจรจากันอีก เน้นเรื่องปราบยาเสพติด Posted: 24 Oct 2012 01:59 PM PDT คณะเจรจาสันติภาพสภากอบกู้รั เจ้าหน้าที่สภากอบกู้รัฐฉาน / กองทัพรัฐฉาน (RCSS/SSA) เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ คณะเจรจาสันติภาพสภากอบกู้รั พ.อ.จายหาญ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามยาเสพติ ทั้งนี้ สภากอบกู้รัฐฉาน / กองทัพรัฐฉาน (RCSS/SSA) ภายใต้การนำของเจ้ายอดศึก ได้เจรจาสร้างสันติภาพกับตั ด้าน พล.ท.เจ้ายอดศึก เปิดเผยกับสำนักข่าวฉาน (SHAN) ถึงข้อเสนอปราบปรามยาเสพติดกั
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ |
'มหากาพย์ 3G' ประมวลข้อท้วงติง-คำโต้แย้ง-6 คำวินิจฉัยศาลปกครอง Posted: 24 Oct 2012 10:38 AM PDT เปิดบทวิเคราะห์สถานการณ์ 7 ข้อ กสทช.โต้วิพากษ์ประมูล 3G พร้อมประมวล 6 คำฟ้อง-คำสั่งศาลปกครองกรณีทักท้วงการประมูล ด้านการตรวจสอบ ป.ป.ช.รับลูกเตรียมประชุมสรุปฮั้วประมูลพรุ่งนี้ ส่วน กมธ.วุฒิเรียกกสทช.ผู้วิจัยจุฬาฯ ร่วมประชุม หลังการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz อันถือเป็นประวัติศาสตร์การประมูลคลื่นครั้งแรกของไทย เมื่อวันที่ 16 ต.ค.55 ผ่านพ้นไป และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค.ได้มีมติเห็นชอบผลการประมูล (อย่างไม่เป็นเอกฉันท์) แล้ว แต่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถึงกรณีการทุจริตในการประมูล-ราคาตั้งต้นการประมูลที่ไม่เหมาะสม-การแข่งขันที่ไม่เกิดขึ้นจริง ก็ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ไม่หยุดหย่อน ภาพข่าว: 'กสทช.' นำเอกสารประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz ยื่น 'ป.ป.ช.' ตรวจสอบ ยืนยันความโปรงใส ความเคลื่อนไหวล่าสุด เพื่อเป็นการทานกระแสคัดค้านการประมูล เมื่อวันที่ 24 ต.ค.55 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้เดินทางด้วยตนเองไปยื่นเอกสารเกี่ยวกับการประมูลทั้งหมดที่สำนักงาน กสทช.จัดรวบรวมขึ้น แก่หน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจในการตรวจสอบ ทั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กสทช.เปิดบทวิเคราะห์สถานการณ์ 7 ข้อ โต้วิพากษ์ประมูล 3Gก่อนหน้านี้ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.และหนึ่งใน กทค.เปิดเผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ของการคัดค้านการประมูล 3G ใน 7 ประเด็น ดังนี้ 1.การเคลื่อนไหวต่อต้านการประมูล มีการนำประเด็นเรื่องสัมปทานมาเกี่ยวข้องทั้งๆ ที่มีหลายคนมีแนวคิดที่ไม่เห็นด้วยกับระบบสัมปทานมาก่อน รวมทั้งเคยผลักดันให้มีการเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบการแข่งขัน แต่ตอนนี้มีความพยายามนำเรื่องการประมูลมาเปรียบเทียบกับข้อดีของระบบสัมปทาน ทั้งๆ ที่ระบบการประมูลคลื่นความถี่จะเป็นการช่วยลดการผูกขาดอำนาจของหน่วยงานของรัฐ เพิ่มการแข่งขันให้ภาคเอกชน ส่งผลให้คุณภาพบริการดีขึ้น และราคาค่าบริการถูกลง การนำประเด็นเรื่องราคาตั้งต้นการประมูลมาโจมตีว่า กสทช.ตั้งราคาตั้งต้นการประมูลต่ำไป โดยมีการสื่อข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คลาดเคลื่อนและนำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าสัมปทาน ทั้งๆ ที่การประมูลครั้งนี้เป็นการนำคลื่นความถี่ที่ไม่อยู่ภายใต้สัมปทานมาจัดสรรให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยมิได้เข้าไปแทนที่ระบบสัมปทาน จึงเป็นเรื่องที่น่ากังขาอย่างยิ่ง 2.การเคลื่อนไหวคัดค้านการประมูลในครั้งนี้เคลื่อนไหวในประเด็นที่ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล โดยการพยายามให้ กสทช.หารายได้ให้รัฐบาลเยอะๆ และมุ่งโจมตีว่ารัฐบาลจะเสียผลประโยชน์จากการประมูลในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่ กสทช.เป็นองค์กรของรัฐก็จริงแต่เป็นอิสระจากรัฐบาลและมิได้มีหน้าที่หารายได้ให้รัฐบาล แต่ต้องจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จึงมีข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงเคลื่อนไหวเช่นนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อบทบาทอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย 3.การให้ กสทช.กำหนดราคาตั้งต้นการประมูลสูงเกินไปโดยไม่มีหลักวิชาการรองรับ ทำให้ส่งผลเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อยไม่ให้เข้าร่วมการประมูลได้ ทำให้ตลาดผูกขาดเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น เหตุใดการคัดค้านจึงต้องการให้ กสทช.กำหนดราคาตั้งต้นที่สูงอย่างไม่มีเหตุผล โดยมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงจากผลการศึกษาของคณะผู้วิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คลิกอ่านรายงานฉบับเต็ม) เช่นนี้ หาก กสทช.ทำตามข้อเรียกร้อง ย่อมเป็นการทำให้ กสทช.กระทำผิดกฎหมาย เนื่องจากถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายใหญ่และมุ่งหารายได้ให้รัฐบาล โดยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนดที่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน 4.กระบวนการโจมตีการทำงาน และ discredit กสทช.ถูกทำอย่างเป็นระบบ มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ก่อนการประมูล มีการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ส่งต่อกันเป็นทอดๆ มีการปลุกระดมโดยใช้สื่อหลายแขนง ซึ่งถ้ากระบวนการนี้ยังดำเนินต่อไปอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ประชาชนบางกลุ่มอาจถูกโน้มน้าวให้เกิดความเข้าใจผิดๆ จนต้องการให้ล้มการประมูล 3Gครั้งนี้ 5.มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า กระบวนการเคลื่อนไหวนี้มิได้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการอย่างสุจริตใจ เนื่องจากมีการปลุกเร้าให้คนไทยเกลียดชังและหวาดระแวงว่า กสทช.ทำให้รัฐสูญเสียรายได้นับหมื่นล้าน ทั้งที่จริงๆ แล้วคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลครั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้มีต้นทุนใดๆ เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วและใช้ได้ตลอดไปโดยสามารถกำหนดระยะเวลาการใช้ตามอายุของใบอนุญาตได้ เมื่อหมดใบอนุญาตก็สามารถนำมาจัดสรรได้ใหม่ และที่ผ่านมาคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จำนวน 45 MHz ก็ถูกทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใดๆ ตรงกันข้าม หากไม่มีการนำคลื่นความถี่นี้มาจัดสรร หรือประวิงเวลาให้การจัดสรรคลื่นย่านความถี่นี้ต้องล่าช้าออกไป จะทำให้เกิดวิกฤตต่อระบบโทรคมนาคมของไทยและเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล 6.อีกไม่ถึง 2 ปี เราก็จะเข้าสู่ AEC แล้ว หากประเทศไทยยังมีระบบโทรคมนาคมที่ไม่มีประสิทธิภาพเราก็จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ไม่ได้ และเมื่อบริษัทโทรคมนาคมของต่างชาติเข้ามาแข่งขัน บริษัทโทรคมนาคมของไทยจะไม่มีโอกาสเติบโตได้ การขัดขวางผลการประมูล 3G จะทำให้ต่างชาติได้ประโยชน์แต่ประเทศไทยเสียหายย่อยยับ จึงมีหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นเรื่องที่ผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้โดยทำให้ประเทศชาติเสียหาย แต่ต่างชาติได้ประโยชน์ 7.มีการโจมตีการทำงานของ กทค.เช่น โจมตีว่า กทค.เร่งรับรองผลการประมูล และ รีบให้ใบอนุญาตโดยพิรุธ ทั้งๆ ที่สื่อมวลชนก็เห็นแล้วว่าเราได้มีการถ่ายทอดเสียงในวันพิจารณาผลการประมูล โดยมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ได้มุบมิบแอบทำ และไม่ได้ลุกลี้ลุกลนแต่ต้องดำเนินการตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้มีการกล่าวหาว่า กสทช.เร่งรัดออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล ซึ่งไม่เป็นความจริง ดังจะเห็นได้จากวันที่ 22 ต.ค.55 ที่ กทค.ได้แถลงการณ์ยืนยันว่ามีเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการก่อนให้บริการ 3G (คลิกอ่านแถลงการณ์) ซึ่งเราต้องแน่ใจก่อนว่าผู้ประกอบการต้องทำตามเงื่อนไขที่เรากำหนดก่อนว่าประชาชนผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์สูงสุด คอมเมนต์ส่งตรงถึง กสทช.การประมูลเข้าข่ายฮั้วประมูล?!?แม้ กสทช.และกทค.บางส่วนจะออกมาให้ข่าวยืนยันว่าทำเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชน แต่ในอีกฟากฝั่งหนึ่งของคนที่เฝ้าจับตาและตั้งคำถาม ก็ยืนยันเหตุผลเดียวกันนี้ว่า พวกเขาตั้งคำถามและตรวจสอบการประมูลก็เพื่อผลประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเช่นกัน 1.นายณกฤช เศวตนันท์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ พ.อ.เศรฐพงษ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค.มีหนังสือแนะนำให้มีการประมูลใหม่เพราะเข้าข่ายฮั้วประมูล 2.น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทำหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ กค (กพวอ) 0421.3/42301 ลงวันที่ 18 ต.ค.2555 ส่งตรงถึงประธาน กสทช. ประมวล 6 คำฟ้อง-คำสั่งศาลปกครอง กรณีการทักท้วงประมูลคลื่นนอกจากนี้ช่วงเวลาก่อนการประมูลคลื่นความถี่ กลุ่มบุคคล ทั้งองค์กรภาคประชาสังคม พนักงาน บมจ.ทีโอที และนักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม ได้ยื่นฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครอง กรณีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz จำนวนทั้งสิ้น 6 คดี ต่อมาคดีทั้งหมดศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ อย่างไรก็ตาม คำฟ้องดังกล่าวในหลายคดีมีรายละเอียดที่น่าสนใจ แม้อีกหลายคดีจะถูกมองว่ายื่นฟ้องโดยมีเป้าหมายต้องการล้มการประมูลอย่างเห็นได้ชัดจากระยะเวลายื่นอันกระชั้นชิดกับการประมูล ทั้งนี้ 6 คดี ดังกล่าวประกอบด้วย 1.นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว หรือกลุ่มกรีนและพวก ฟ้อง กสทช.เมื่อวันที่ 15 ต.ค.55 คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยฟ้องให้เพิกถอนประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 GHz เนื่องจากเห็นว่า กสทช.กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและราคาการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้รัฐสูญเสียรายได้ โดยขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและไต่สวนฉุกเฉินการเปิดประมูลใบอนุญาตฯ ของ กสทช.จนกว่าการปรับแก้จะแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 22 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลเห็นว่า ผู้ที่จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไปในกรณีนี้ได้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่หากเป็นบุคคลทั่วไป บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพและได้ความเดือดร้อนเสียหายโดยตรงจากประกาศของ กสทช. แม้ว่าเหตุแห่งการฟ้องคดีของนายสุริยะใสกับพวกที่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำฟ้องจะมีข้อเท็จจริงพวกสมควรที่ทำให้ศาลในคดีนี้เห็นว่าอาจจะมีประเด็นที่สมควรตรวจสอบการใช้ดุลพินิจและความชอบด้วยกฎหมายของประกาศ กสทช. แต่เมื่อนายสุริยะใสกับพวกเป็นประชาชนทั่วไปมิได้มีส่วนได้เสียกับประกาศของ กสทช.จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง อย่างไรก็ตามหากในอนาคตเห็นว่า กสทช.มีการกระทำทางปกครองที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะและละเมิดสิทธิเสรีภาพของนายสุริยะใสกับพวกก็อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ 2.นายนราพล ปลายเนตร พนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และพวกรวม 3 คน ฟ้อง กสทช.และสำนักงาน กสทช. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยขอให้มีคำสั่งชะลอการประมูลคลื่นความถี่ และเพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้คลื่นความถี่ผ่าน 2.1 GHz ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นหนังสือต่อ ประธาน กสทช.ขอให้ตรวจสอบการโอนทรัพย์สินของบริษัทที่ได้สัมปทานให้แล้วเสร็จก่อนอนุญาตให้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ และชะลอการเปิดประมูลคลื่นไว้ก่อนจนกว่าจะมีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต พร้อมเปิดเผยข้อมูลและการตรวจสอบต่อสาธารณะ เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลเห็นว่าผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศดังกล่าว ส่วนการระบุว่า กสทช.ไม่ปฏิบัติตามบทเฉพาะกาลมาตรา 82 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กรณีจะต้องตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาดังกล่าว พร้อมเปิดเผยข้อมูลและการตรวจสอบต่อสาธารณะ ตามที่ได้ยื่นหนังสือถึงประธาน กสทช.ไปก่อนหน้านี้ ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิฟ้องศาลให้ กสทช.ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังไม่ใช่ในคดีนี้ (เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่ขอให้มีคำสั่งชะลอการประมูลคลื่นความถี่ และเพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้คลื่นความถี่ผ่าน 2.1 GHz) 3.นายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ฟ้อง กสทช.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์และจัดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ คดีนี้นายบุญชัยประสงค์จะโต้แย้งการกระทำของ กสทช.ที่มิได้นำความคิดเห็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป อันได้แก่ ข้อเสนอเรื่องอัตราค่าบริการจากโครงการ "3G-200" คือให้ประชาชนเสียค่าใช้จ่ายสูงสุดในการใช้โทรศัพท์ในระบบ 3G ในอัตรา 200 บาทต่อเดือน หากใช้ไม่ถึง 200 บาท ก็ให้จ่ายตามจริง ที่เสนอโดยเครือข่ายโทรคมนาคมเพื่อประชาชน กำหนดไว้ในประกาศของ กสทช. เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลเห็นว่า การดำเนินการของ กสทช.ยังไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของนายบุญชัย ตามมาตรา 28 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการละเมิดสิทธิเสรีภาพของนายบุญชัยในฐานะประชาชนทั่วไปในคดีจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการประมูลเกิดขึ้น และผู้ชนะประมูลซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ได้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยมีอัตราค่าบริการที่สูงเกินไป และ กสทช.ไม่ได้ดำเนินการ หรือละเลยไม่ดำเนินการกับผู้รับใบอนุญาต เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างถูกต้องเป็นธรรม นายบุญชัยจึงจะเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายจากการงดเว้นการกระทำของ กสทช. 4.สมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค ฟ้อง กสทช.และสำนักงาน กสทช.เมื่อวันที่ 10 ต.ค.55 คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกาศ กสทช.และสำนักงาน กสทช.เรื่องรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่ประกาศให้เอไอเอส ดีแทค และทรู มีสิทธิเข้าร่วมประมูล 3G โดยเฉพาะในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตบางรายไม่มีคุณสมบัติเนื่องจากเป็นคนต่างด้าว พร้อมขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนฉุกเฉินและมีคำสั่งระงับเปิดการประมูลเป็นการชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะนี้ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของ กสทช.และสำนักงาน กสทช.ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 อีกทั้งมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้าง อาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นในอนาคต หากในอนาคตเป็นไปตามที่กล่าวอ้าง ก็ยังมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลได้ภายหลัง 5.พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ และพวกรวม 3 คน ฟ้อง กสทช.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีประกาศหลักเกณฑ์และจัดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz โดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ เพราะการเรียกเก็บเงินประมูลขั้นต่ำ 4,500 ล้านบาท อาจทำให้ กสทช.ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้ตามกฎหมาย โดยขอให้ศาลปกครองกลางสั่งเพิกถอนประกาศดังกล่าว และขอทุเลาการบังคับตามประกาศ เมื่อวันที่ 15 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เงินที่ได้จากการประมูลหลังหักค่าใช้จ่ายย่อมตกเป็นของแผ่นดิน กสทช.จึงไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่อย่างใด และหากมีกรณีที่ กสทช.จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้เงินประมูลคลื่นความถี่หรือหนี้อื่นใดก็เป็นเพียงการดำเนินการแทนรัฐเท่านั้น 6.นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม ฟ้อง กสทช.เมื่อวันที่ 10 ต.ค.55 คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 GHz ไม่มีข้อกำหนดที่จะแสดงให้เห็นว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการประมูล โดยเฉพาะใน 3 ประเด็น คือ 1.พื้นที่และระยะเวลาที่จะได้รับบริการต้องครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศในเวลาที่ทัดเทียมกัน โดยไม่แบ่งตัวเมืองและชนบท 2.คุณภาพการให้บริการต้องครอบคลุมและมีความเสถียรของโครงข่ายและคุณภาพสัญญาณดี ซึ่ง กสทช.ไม่ได้กำหนดความชัดเจน และ 3.อัตราค่าบริการขั้นสูงที่ผู้ให้บริการจะเรียกเก็บได้ เมื่อวันที่ 15 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา เนื่องจาก ผู้ฟ้องไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรงตามคำร้อง และการฟ้องเป็นการกล่าวหาและการคะเนล่วงหน้า ซึ่งความเสียหายอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ ผู้ฟ้องในคดีนี้จึงยังไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ในความเคลื่อนไหว กระบวนการตรวจสอบ 'การประมูลคลื่น'ขณะนี้ กระบวนการการจัดสรรคลื่นความถี่ 2.1 GHz อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาดำเนินการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้แก่ผู้ผ่านการประมูล ในส่วนกระบวนการตรวจสอบ คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภาได้รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ และจะมีการเชิญคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. คณะผู้วิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงาน กสทช.เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำ เพื่อประเมินมูลค่าคลื่นความถี่และมูลค่าขั้นต่ำฯ ตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนเอกชน 3 ราย รวมไปถึงนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง มาร่วมประชุมพร้อมกัน วันที่ 25 ต.ค.นี้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. นำโดย นายสุรศักดิ์ ศิริพรอุดมสิน อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยคณะลูกศิษย์ลูกตามหาบัว ได้รวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 57,904 รายชื่อ ยื่นต่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้วุฒิสภาถอดถอน กสทช.ทั้งคณะจำนวน 11 คน ออกตากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 (2) เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 เนื่องจากเห็นว่า มีพฤติการณ์ 1.ส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ในกรณีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G เป็นความผิดตามมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) 2.ส่อว่าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง 3.ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G โดยถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 วรรคสาม ที่ระบุว่า การดำเนินการของ กสทช.จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมทั้งต้องจัดให้ประชาชนมีส่วนในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ และ 4.ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายโดยใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2555 โดยใช้กฎหมายอย่างไม่มีความเสมอภาค ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาและมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมส่อว่าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด โดยจงใจละเว้นการอนุญาตการใช้คลื่นความถี่และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้กับสถานีวิทยุที่ทดลองออกอากาศ และจงใจไม่ออกระเบียบหรือประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตกิจการกระจายเสียงประเภทบริการชุมชนให้ครอบคลุมตามกฎหมาย ขณะที่ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สอบ.) เข้ายื่นหนังสือต่อ น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ประธาน กมธ.ศึกษา ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่รัฐสภาเช่นกัน ขอให้ตรวจสอบการฮั้วและธรรมาภิบาลในการประมูล 3G ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.การกระทำของ กสทช.เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการฮั้วประมูลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) หรือไม่ 2.มาตรการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การกำหนดเงื่อนไขของการให้บริการ การประกาศสัญญามาตรฐานในการให้บริการ ราคาค่าบริการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะผลการประมูลเอื้อประโยชน์กับผู้ให้บริการ (ราคาต่ำกว่าทรัพย์สิน) และ 3.แนวทางในการกำหนดกติกาที่ชัดเจนในการให้ผู้ประมูลหรือผู้รับใบอนุญาตในอนาคตใช้โครงข่ายร่วมกัน ป.ป.ช.รับลูกเตรียมประชุมสรุปฮั้วประมูล 3G พรุ่งนี้ด้านความเคลื่อนไหวล่าสุด วันนี้ (24 ต.ค.55) น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานะ กมธ.ศึกษา ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา พร้อมคณะ ยื่นหนังสือต่อนายนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบการประมูลคลื่น 3G ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่ามีการทำผิด พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือไม่ จากการที่ คณะอนุกรรมการกฎหมายป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคมที่มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ตรวจสอบพบว่า การประกาศรับรองผลการประมูล 3G ของ กทค.มีเจตนาเอื้อประโยชน์ต่อผู้เสนอราคา ส่อทุจริตในการกำหนดราคาโดยมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เห็นได้จากการตั้งราคาเริ่มต้นการประมูลที่ต่ำเกินไป พฤติกรรมบริษัทที่เข้าประมูลไม่มีการแข่งขัน และพฤติกรรมของ กทค.ที่เร่งรีบลงมติเห็นชอบผลการประมูล แม้จะมีผู้คัดค้านจำนวนมาก จึงนำข้อมูลยื่นให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบ เพื่อความโปร่งใส ขณะที่เดลินิวส์ รายงานว่า ในวันเดียวกันที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ โดยหากที่ประชุม ป.ป.ช.เห็นว่าหลักฐานที่มีอยู่เข้าองค์ประกอบที่ ป.ป.ช.จะสามารถรับเรื่องมาพิจารณาได้ กล่าวคือมีมูลเหตุที่ส่อให้เห็นว่าการกระทำที่เกิดขึ้นอาจขัด พ.ร.บ.การฮั้วประมูล ป.ป.ช.จะรับเรื่องไว้ พร้อมตั้งอนุกรรมการมาศึกษาเรื่องนี้อย่างเร็วที่สุด แต่หากพบว่าไม่เข้าเงื่อนไขก็ถือว่าคำร้องนั้นยุติไป ทั้งนี้ ข้อร้องเรียนที่เข้ามายื่นให้ ป.ป.ช.พิจารณาประกอบไปด้วย ข้อร้องของกระทรวงการคลัง กลุ่มกรีน และคณะกรรมาธิการวุฒิสภาตรวจสอบการทุจริตฯ วุฒิสภา รวมถึงกรณีที่ กสทช.แสดงเจตนาขอรับการตรวจสอบด้วยตัวเอง ย้ำอีกครั้ง... อำนาจ ป.ป.ช. ตรวจสอบ ไม่ใช่พิพากษาอย่างไรก็ตาม แม้ว่าเรื่องจะเข้าสู่ ป.ป.ช. แล้ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การประมูลที่ผ่านมาจะถูกล้มเลิ ขณะที่การดำเนินการเพื่อให้ล้ หากมีข้อมูลข้อเท็จจริงปรากฏชั
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สภาประชาสังคมชายแดนใต้กับบทบาทสร้างสันติภาพ ตามทัศนะ 'มันโซร์ สาและ' Posted: 24 Oct 2012 09:02 AM PDT สภาประชาสังคมในบทบาทสร้างกระบวนการสันติภาพที่ดำเนินมากว่าหนึ่งปี หนึ่งในบุคคลที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน คือ นายมังโซร์ สาและ
มันโซร์ สาและ ขณะพูดคุยกับผู้รายงาน ณ ศูนย์อัลกุรอานและภาษา QLCC, จะนะ จังหวัดสงขลา อันเนื่องมาจากการทำงานของสภาประชาสังคมดำเนินการมาปีกว่า และการสร้างกระบวนการสันติภาพเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญ หนึ่งในบุคคลที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเรื่องนี้คือ นายมังโซร์ สาและ จึงขอนำทัศนะมาเผยแพร่ให้เห็นวิวัฒนาการการขับเคลื่อน 0 0 0 หนึ่งใน 5 ยุทธศาสตร์หลักของสภาประชาสังคมชายแดนใต้ คือการหาข้อยุติความรุนแรงทางตรง ซึ่งนำไปสู่งานเฉพาะหน้าในเรื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเจรจาระหว่างรัฐกับขบวนการก่อความไม่สงบ (ตามชื่อเรียกของรัฐไทย)หรือกลุ่มที่ทำงานปลดเอกราชปตานี (ตามชื่อเรียกของขบวนการ) เพื่อยุติความรุนแรง[1] ทั้งๆ ที่เป็นความรับผิดชอบที่ใหญ่หลวงนัก เกินที่สถานะของสภาจะแบกรับได้ แต่เมื่อสภาประชาสังคมชายแดนใต้เป็นองค์ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของตัวแทนองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว มันก็เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความจริง คำว่า สันติภาพและสันติสุข เป็นวาทกรรมที่ได้ป่าวประกาศจากฝ่ายรัฐในรูปแบบต่างๆ อย่างหนักหน่วงในช่วงต้นๆ หลังเกิดสถานการณ์ความรุนแรงระลอกใหม่ในปี พ.ศ. 2547 รัฐไทยได้ทุ่มเทงบประมาณอย่างมหาศาล พร้อมๆ กับดำเนินกิจกรรมทุกอย่างเพื่อสันติภาพ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่รัฐได้ทำลงไปนั้น รัฐอาจลืมคิดไปว่า บริบท ความขัดแย้งและความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลานั้น รัฐได้เป็นตัวละครหลักตัวหนึ่งที่สร้างปมปัญหาความขัดแย้งเช่นเดียวกัน สันติภาพเป็นวาทกรรมคู่กับความขัดแย้งหรือสงคราม ดังนั้น ก่อนที่จะขยับไปที่บริบทของสันติภาพ ก็ควรต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของความขัดแย้ง ซึ่งความขัดแย้งถือเป็นลักษณะธรรมชาติที่เกิดขึ้นในหมู่มวลมนุษยชาติอยู่เนืองนิตย์ ความขัดแย้งจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขัดขวาง กดทับหรือบีบบังคับอีกฝ่ายหนึ่ง และอีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า มันเป็นการคุกคามสิทธิของตนเอง โดยปกติแล้ว การแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น มักจะต้องใช้คนที่สามหรือคนกลางในการไกล่เกลี่ยเสมอ ทั้งนี้เพี่อให้เป็นไปตามหลักการสากลที่ถูกต้อง หรือในหลักธรรมก็เช่นเดียวกัน การเข้าใจบริบทความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป คนในสังคมนั้นจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงสาเหตุหรือรากเหง้าแห่งความขัดแย้งนั้นๆ เสียก่อน อาทิ การจำแนกลักษณะ ประเภท ระดับสาเหตุ ปัจจัย และองค์ประกอบเป็นต้น บางครั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคล ครอบครัว สังคม ประชาชนกับรัฐ รัฐกับรัฐและอื่นๆ เมื่อความขัดแย้งมีลักษณะที่แตกต่างกันเช่นที่กล่าวมาข้างต้น หลักการสร้างกระบวนการสันติภาพในแก้ปัญหาความขัดแย้งเหล่านั้นก็ย่อมแตกต่างไปด้วย ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปตานี เป็นลักษณะความขัดแย้งแนวดิ่งระหว่างประชาชนชาวปตานีชาติพันธุ์มลายู นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่เดิมกับรัฐไทยและกลไกรัฐ นับตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นลักษณะความขัดแย้งอันเกิดจากโครงสร้างอำนาจการเมืองการปกครองที่ไปกดทับและคุกคามสิทธิของพวกเขาที่ควรจะต้องมี อย่างน้อยที่สุด ก็คือ สิทธิของชนกลุ่มน้อย เป็นต้น ต่อมาความขัดแย้งนี้มันได้ขยายไปในลักษณะแนวราบ หมายถึงระหว่างประชาชนชาวพุทธ ชาติพันธุ์ไทยกับประชาชนมุสลิม ชาติพันธุ์มลายู แม้ว่า รัฐและกลไกของรัฐได้พยายามอธิบายว่า ความขัดแย้งในพื้นที่นั้นเกิดจากสาเหตุอื่น อันมิใช่โครงสร้างอำนาจการเมืองและการปกครองก็ตาม แต่คำถามที่จะต้องถามรัฐและกลไกรัฐก็คือ ทำไมความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงไม่สามารถแก้ไขและสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนได้สักที ทั้งๆที่รัฐได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง เสมือนหนึ่งเป็นการเอาอกเอาใจประชาชนในพื้นที่แห่งนี้เป็นพิเศษ มากกว่าประชาชนและกลไกรัฐในพื้นที่อื่น ไม่ว่าการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค4 ส่วนหน้า) และกลไกอื่นอีกมากมาย รวมทั้งการทุ่มงบประมาณด้านการพัฒนาและความมั่นคงจำนวนมหาศาล และแนวโน้มแห่งอนาคตก็ยังไม่มีใครยืนยันและให้หลักประกันได้ว่า ความขัดแย้งครั้งรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2547 จะไม่หวนกลับมาประทุอีกครั้ง ดังนั้น กระบวนการสันติภาพที่เกิดจากความต้องการและการมีส่วนร่วมของประชาชน น่าจะเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่งในอนาคต ตลอดระยะเวลาการดำรงอยู่ของความขัดแย้งในพื้นที่ ทัศนะและมุมมองระหว่างรัฐและกลไกรัฐกับคนมลายูมุสลิมในพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่า รัฐจะพยายามอ้างว่า ความแตกต่างนี้เป็นเพียงคำกล่าวอ้างจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหรือกลุ่มที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนก็ตาม แต่ความเห็นแตกต่างกันนี้มีการกล่าวอ้างอยู่ทั่วไปในหมู่ประชาชนทุกระดับ เพียงแต่รายละเอียดและคำอธิบายความแตกต่างนี้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของประชาชนแต่ละคน สำหรับเครื่องชี้วัดง่ายๆต่อประเด็นดังกล่าวคือ ประชาชนมลายูมุสลิมส่วนใหญ่จะตอบว่า พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนจากประชาชนระดับรากหญ้า แม้เขาเคยได้รับของแจกของแถมจากรัฐผ่านโครงการใดๆ ก็ตาม หรือการเยียวยาด้วยตัวเงินและสิ่งของ แต่สามัญสำนึกลึกๆ ของพวกเขาก็ยังรู้สึกเหมือนเดิม บทบาทภาคประชาสังคมกับกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ เริ่มมีการกล่าวถึงในช่วงกลางปี พ.ศ.2552 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากการสัมมนาในหัวข้อ ประชาสังคมกับกระบวนการสันติภาพ: การขยายพื้นที่ภาคประชาชนเพื่อแก้ไขความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้[2] เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2552 ซึ่งจัดโดยศูนย์ศึกษาความขัดแย้งและสันติภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานสันติวิธีและธรรมาภิบาลสถาบันพระปกเกล้า และมูลนิธิเฟรดดริก ณ โรงแรมหาดใหญ่พาราไดซ์รีสอร์ท อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 153 คน จากตัวแทนองค์กรทั้งในและนอกพื้นที่ พร้อมทั้งได้สรุปผลของการสัมมนาในประเด็นสำคัญดังนี้ 1. การสร้างกระบวนการสร้างสันติภาพ สิ่งที่เป็นข้อสังเกตสำคัญจากการจุดประเด็นเรื่องนี้ในการประชุมครั้งนั้นพบว่า ไม่มีกลุ่มประสังคมใดสามารถขับเคลื่อนในเชิงปฏิบัติ ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจาก สภาพการณ์ที่แท้จริงของกลุ่มหรือองค์กรในพื้นที่ไม่มีการพูดคุยทิศทางการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และต่างกลุ่มต่างก็ทำงานตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มหรือองค์กรของตนเองเป็นหลัก นอกจากนั้น การจุดประเด็นบางประเด็นดังกล่าว เกิดจากกลุ่มหรือองค์กรภายนอก โดยไม่มีกลุ่มหรือองค์กรในพื้นที่สืบสานเจตนารมณ์อย่างจริงจัง การก่อตั้งสภาประชาสังคมชายแดนใต้ที่ประกอบด้วย นักเคลื่อนไหวด้านสังคมนักพัฒนาองค์กรเอกชน นักวิชาการ กลุ่มสตรี กลุ่มสื่อและอื่นๆ รวม 20 องค์กรในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถือเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญในมิติของภาคประชาชนชายแดนใต้ เพราะสภาแห่งนี้จะได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนดูแล ปกป้องสิทธิต่างๆของประชาชนหลากหลายกลุ่มท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไทยพุทธและมุสลิม การริเริ่มกระบวนการสันติภาพปตานีภายใต้วาทกรรม และนวัตกรรมใหม่ "กระบวนการสร้างสันติภาพปตานีในบริบทอาเซียน " ( Patani Peace Process in Asean context – PPP ) เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2555 ณ หอประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ โดยสภา ฯ และพันธมิตรนั้น ถือเป็นการริเริ่มโดยประชาชนในพื้นที่จริงๆ และยิ่งได้รับการหนุนเสริมด้านวิชาการจากนักวิชาการด้านความขัดแย้งและสันติวิธีทั้งในและต่างประเทศตลอดจนการช่วยเหลือด้านงบประมาณจากองค์กรภาคี ก็ยิ่งทำให้บทบาทภาคประชาสังคมในพื้นที่กับกระบวนการสันติภาพมีความชัดเจนมากขึ้น แม้ว่า ณ เวลานี้ ประชาชนในพื้นที่ยังไม่สามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อกระบวนการสันติภาพก็ตาม แต่ยุทธศาสตร์และกิจกรรมที่ดำเนินการโดยสภา เช่น การจัดเวทีชายแดนใต้จัดการตนเอง การเยียวยา การเรียกร้องให้ทบทวนการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และอื่นๆ ล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่เป็นต้นทุนเพื่อนำไปสู่กระบวนการสันติภาพทั้งสิ้น ถึงกระนั้นก็ตาม แม้คำจำกัดความสันติภาพที่แท้จริงนั้นไม่สามารถจะกำหนดรูปแบบที่ตายตัวและชี้วัดด้วยเครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ที่สำคัญยิ่งนั้น มันจะต้องอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรมหรือธรรมะ มิฉะนั้นแล้วก็จะเกิดความสับสนในการขับเคลื่อนกระบวนการนี้ ตัวอย่างเช่น สันติภาพและสันติสุขในมิติและความต้องการของรัฐ คือการยุติการใช้อาวุธหรือก่อความรุนแรงต่อประชาชนและต่อกลไกของรัฐ ส่วนในแง่มุมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบอาจคิดว่า การที่ผู้เสียหายและญาติพี่น้องของผู้สูญเสียได้รับค่าชดเชย การเยียวยา หรือการช่วยเหลือจากรัฐและอื่นๆ ก็อาจจะกล่าวได้ว่า นี่คือสันติภาพก็เป็นได้ ส่วนกลุ่มที่ต่อต้านรัฐ ก็ย่อมมีทัศนะอีกอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กระบวนการสันติภาพที่ควรต้องมีในพื้นที่ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานที่จะทำให้เกิดความสันติสุข เสมอภาค เที่ยงธรรมและสัจธรรมเป็นสำคัญ
[1] โปรดดูแผ่นพับแนะนำสภาประชาสังคมชายแดนใต้ หน้า 3 และ หน้า 5 หรือ ใน http://www.southcso.com สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555 [2] ดูเอกสารสรุปการประชุม ใน http://portal.in.th/peace-strategy/pages/5479/ สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หลากความเห็น จะใช้ภาษาอะไร ใน 'ทีวีมลายู 24 ชั่วโมง' Posted: 24 Oct 2012 08:33 AM PDT โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) รวมนานาทัศนะผู้เชี่ยวชาญภาษามลายู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นมาตรฐานการใช้ภาษา เนื่องจากคนในพื้นที่ใช้ภาษามลายูที่แตกต่างจากภาษามลายูในมาเลเซียและอินโดนีเซีย โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) รวมนานาทัศนะผู้เชี่ยวชาญภาษามลายูเกี่ยวกับทีวีภาษามลายู 24 ชั่วโมงตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) มีแผนจะดำเนินการโทรทัศน์ดาวเทียมและคาดว่าจะออกอากาศก่อนสิ้นปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นมาตรฐานการใช้ภาษามลายูในการผลิตรายการ เนื่องจากคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยใช้ภาษามลายูที่แตกต่างจากภาษามลายูในมาเลเซียและอินโดนีเซีย 0 0 0 นายดอรอแม หะยีหะซา เท่าที่มีการพูดคุยกันในการประชุมที่ผ่านมา (การประชุมหารือการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ ภาษาถิ่นผ่านสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนให้มีการประชาสัมพันธ์ภาษาถิ่น ทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ โดยมีผู้แทนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และภาคประชาสังคม เมื่อวันที 14 ตุลาคม 2555 ที่โรงแรมปาร์ควิวปัตตานี) ตกลงจะมีการใช้ภาษามลายูที่คนปัตตานีสื่อสารแล้วมีความเข้าใจ และเป็นภาษามลายูที่ไม่มีการผสมผสานกับภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ในส่วนของภาษาไทยนั้นพยายามที่หลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธการใช้ภาษาไทยเลยทีเดียว จากประสบการณ์ที่ได้สอนภาษามลายูมาหลายสิบปีในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและในโรงเรียนของรัฐบาล พบว่า นักเรียนที่นี่ได้รับรู้รับฟังภาษามลายูเฉพาะในช่วงการเรียนการสอนเท่านั้น เมื่อออกจากห้องเรียนก็ไม่มีสิ่งแวดล้อมที่เป็นสื่อภาษามลายู รายการโทรทัศน์ไม่มีภาษามลายู ฉะนั้นหากมีทีวีภาษามลายูเกิดขึ้น ถือว่าเป็นความพยายามสร้างสภาพแวดแวดล้อมที่เป็นการส่งเสริมการใช้ภาษามลายูขึ้นมา สำหรับสถานีวิทยุที่หน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของ ส่วนใหญ่ไม่มีความเป็นมืออาชีพในด้านการใช้ภาษามลายู แม้แต่สถานีวิทยุของ ศอ.บต.เอง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่า ผู้ดำเนินรายการนำข่าวสารในหนังสือพิมพ์มาอ่านอย่างไม่ค่อยจะอัพเดท แต่มีสถานีวิทยุของเอกชนในพื้นที่ที่มีการอัพเดนข้อมูลข่าวสารที่ทันยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา ซึ่งต้องยอมรับว่ามีความมืออาชีพมากกว่า ในช่วงแรกของการออกอากาศทีวีมลายู 24 ชั่วโมง อาจจะใช้ในรูปแบบบันทึกเทปไปก่อน แต่จะมีการประชุมของภาคประชาสังคมเพื่อสรรหาคนที่จะมาเป็นสมาชิกสภาที่จะมากำกับดูแลทีวีภาษามลายู จะมีการประชุมหลังการนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 หลังจากนั้นจะมีการเปิดดำเนินรายการทีวี ทีวีภาษามลายูจะต้องมีบอร์ดบริหารที่จะเป็นผู้ที่กำกับดูแลในการผลิตรายการก่อนออกอากาศ แต่ขณะเดียวกันก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีที่ปรึกษาหลายๆ ด้าน ทั้งด้านเทคนิค ด้านเนื้อหาซึ่งหากมีการปล่อยปละละเลยก็เหมือนกับสถานีวิทยุในทุกวันนี้ บางสถานีก็อยู่ก็อยู่ได้ ส่วนสถานีอยู่ไม่ได้ต้องยุบไป การที่จะดึงให้เยาวชนเข้ามาดูทีวีภาษามลายูนั้น คิดว่าต้องมีรายการบันเทิง เป็นรายการที่สำคัญที่จะให้เยาวชนมาดูทีวีภาษามลายู เพราะรายการบันเทิงเป็นรายการให้ความสุขแก่ทุกๆ คนได้ ไม่ว่าเป็นคนแก่ หรือเยาวชน แต่ในที่นี้ต้องเป็นความบันเทิงที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามด้วย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วรายการบันเทิงไม่ใช่มีเพียงแค่ละครหรือการขับร้องอนาซีดอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายรูปแบบมากมาย การที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. มีความพยายามที่จะก่อตั้งทีวีภาษามลายูท่านอาจจะมองเห็นว่า หนึ่ง ในปัญหาที่เกิดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็คือทางรัฐบาลไม่ได้ตอบสนองสิ่งที่คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการ ท่านจึงบอกในประชุมว่าทีวีมลายูที่จะเกิดขึ้น ไม่ได้เป็นทีวีของ ศอ.บต. แต่เป็นทีวีของประชาชน ศอ.บต.เป็นเพียงผู้ที่ประสานงานให้เกิดทีวีภาษามลายูเท่านั้น 0 0 0 ศาสตราจารย์ ดร.ฮารูน ดาวุด ศ.ดร.ฮารูนให้สัมภาษณ์กับ DSJ ระหว่างเดินทางมาร่วมสัมมนา "Seminar Antarabangsa Mematabakan Bahasa Melayu di Asean" ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมปาร์ควิว อ.เมือง จ.ปัตตานี เขากล่าวว่าการใช้ภาษามลายูในสื่อทีวีก็ต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มไหน เราจะสื่อเฉพาะคนปัตตานีหรือกลุ่มอาเซียน ทวีปเอเชียหรือเป้าหมายทั่วโลก ถ้าเป้าหมายเป็นคนรับสื่อที่ปัตตานีก็ต้องใช้ภาษามลายูปัตตานีเพราะจะสื่อตรงต่อผู้รับได้เลย แต่ถ้าใช้ภาษามลายูมาตรฐานอย่างที่ใช้อยู่ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย คนปัตตานีก็จะไม่เข้าใจ หน้าที่ของการสื่อสารที่เป็นทีวีดาวเทียมที่ว่าก็จะไม่ถึงเป้าหมายที่เป็นรากฐานเพราะเราจะสื่อให้คนของเรา แต่คนของเรากลับไม่รู้เรื่อง อันนี้ต้องดูว่าเราต้องการสื่อไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่ไกลออกไปถึงกลันตัน หรือไกลกว่านั้น เราก็ต้องใช้ภาษามลายูมาตรฐานซึ่งก็กำลังเกิดข้อขัดแย้งระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซียอ้างว่าเขามีประชากรที่ใช้ภาษาแบบอินโดนีเซียมากที่สุด ก็ควรจะใช้ภาษาอินโดนีเซียเป็นมาตรฐาน แต่มาเลเซียบอกว่าภาษามลายูเป็นภาษาของเขา ถ้าเราดูในประวัติศาสตร์ภาษามลายูไม่ใช่ภาษาของคนส่วนใหญ่ของอินโดนีเซีย ซึ่งในอินโดนีเซียกลุ่มที่ใช้ภาษามลายูมีเพียงในพื้นที่จามบีที่เป็นส่วนหนึ่งของสุมาตราและที่เรียวเท่านั้น ภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดในอินโดนีเซียคือภาษาชวาที่ประชากรอินโดนีเซียเกือบ 3 ใน 4 ใช้ ยิ่งที่เกาะสุลาเวสีเขาไม่เข้าใจภาษามลายูและเขาก็เป็นชาติพันธุ์ดายัก ไม่ใช่มลายูแต่ภาษามลายูที่เป็นภาษาของชนกลุ่มเล็กๆ ถูกเลือกโดยนักการเมืองให้เป็นภาษาแห่งชาติ ซึ่งก็ทำให้ทุกคนในอินโดนีเซียต้องเรียนต้องพูดภาษามลายู แต่ละกลุ่มชาติพันธ์ก็ต้องใช้ภาษามลายู ในบริบทของปัตตานี คนที่นี่ง่ายกว่าที่จะพูดภาษามลายูมาตรฐานเพราะเป็นเชื้อชาติมลายู ถ้าดูที่อินโดนีเซีย คนชวาซึ่งไม่ใช่มลายูเลยยังสามารถพูดภาษามลายูได้ คนดายักยังพูดมลายูได้ สำหรับคนที่นี่กับภาษามลายูมาตรฐานไม่ห่างไกลกันมากนักจึงเรียนรู้ได้ง่ายกว่า ในการทำทีวีดาวเทียม ถ้าเราวางเป้าหมายว่าต้องการสื่อภาษามลายูปัตตานีให้ไกลกว่าคนปัตตานี ถ้าเราจะยกภาษามลายูปัตตานีเป็นภาษาทางการนั้นคงเป็นเรื่องคล้ายกับการต้องแบกภูเขาทั้งลูกมันยากกว่าถ้าเทียบกับแบกภูเขาทั้งลูกกับการเดินขึ้นเขา หมายความว่าภาษามลายูที่เราพูดกันที่ปัตตานี กลันตัน เราเป็นเพียงคนกลุ่มเล็กเท่านั้น และมันมีภาษาที่ใช้โดยคนกลุ่มใหญ่อยู่แล้วคือภาษามลายูมาตรฐานที่ใช้อยู่ในมาเลเซีย ที่คนอินเดีย คนจีนเข้าใจ ในอีกด้านหนึ่ง คนปัตตานีต้องทำให้ภาษามลายูปัตตานีเข้มแข็ง จะไปไหนก็ตามคนปัตตานีต้องให้ภาษาปัตตานีแข็งแรงก่อน พื้นฐานของภาษาต้องแข็งแรง ต้องจัดการเรียนการสอนภาษามลายูปัตตานีก่อนแล้วให้คนปัตตานีก้าวไปสู่ภาษามลายูมาตรฐาน ถ้าลูกหลานเราไม่มีฐานภาษามลายูปัตตานีที่แข็งแกร่งแล้วเราไปใช้ภาษามลายูมาตรฐาน ภาษามลายูปัตตานีก็จะสูญหายไปด้วย เราจำเป็นต้องบำรุงรักษาภาษามลายูปัตตานีให้มั่นคงก่อน เราต้องเริ่มที่สิ่งที่เรามีก่อน เพราะถ้ารากฐานไม่แข็งแรงมันก็จะพัง ถ้าไม่มีรากแก้วมันก็จะล้ม 0 0 0 นายอัศโตรา ญาบัต การทำรายการทีวีภาษามลายูเห็นด้วยอย่างยิ่งคือ เราต้องมีการใช้ภาษาทั้งสองแบบคืออย่างเป็นรายการข่าวต้นชั่วโมงต้องเป็นภาษามลายูกลาง แต่พอเป็นรายการวิเคราะห์ข่าวที่เป็นรายการสนทนาก็ใช้ภาษามลายูถิ่น โดยเฉพาะรายการที่มีเป้าหมายสำหรับปัญญาชน รายการที่มีเนื้อหาที่เป็นวิชาการหรือคุ๊ตบะห์วันศุกร์ ต้องใช้ภาษามลายูกลางเพื่อเป็นการฝึกให้คนดูที่นี่ทันกับประชาคมอาเซียน ส่วนรายการที่เป็นการวิเคราะห์การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมก็สามารถใช้ภาษามลายูถิ่น ในความเป็นจริงชาวบ้านมีความเข้าใจภาษามลายูมาตรฐานเพราะเดี๋ยวนี้เขามีทีวีดาวเทียมที่ดูช่องมาเลเซีย ทีวีอินโดนีเซีย ฟังเพลงมาเลเซีย คนที่มีการศึกษาระดับชั้น 10 ซานาวีหรือระดับมหาวิทยาลัยเข้าใจภาษามลายูกลาง โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำ...? แล้วเขาจะพึงพอใจสื่อที่ใช้ภาษามลายูกลางมากกว่าสื่อที่ใช้ภาษามลายูถิ่น ซึ่งเมื่อเรามีโอกาสก็ควรเปิดพื้นที่ให้กับภาษามลายูกลางให้มากขึ้น จะเป็นการพัฒนาภาษามลายูกลางให้กว้างขวางขึ้นในบ้านเรา ในมาเลเซียเองก็เช่นกัน เมื่อก่อนคนมาเลเซียก็ชอบใช้ภาษาถิ่นของตนเองมากกว่า ไม่ค่อยยอมรับภาษากลางมากนัก แต่เมื่อมีสื่อภาษากลางที่เป็นสื่อสารมวลชนมากขึ้น ภาษามลายูกลางก็ได้รับการยอมรับ บ้านเราก็อยากให้ไปถึงจุดนั้น เท่าที่สังเกตการณ์ใช้ภาษามลายูของคนบ้านเราเดี๋ยวนี้ อย่างในพื้นที่ อ.รือเสาะ หรือที่อื่นๆ เริ่มมีการใช้ภาษาที่ใกล้เคียงภาษามลายูกลางเพราะสื่อที่เป็นภาษามลายูกลางเข้ามาสู่บ้านเรา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หลากความเห็น จะใช้ภาษาอะไร ใน 'ทีวีมลายู 24 ชั่วโมง' Posted: 24 Oct 2012 08:33 AM PDT
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) รวมนานาทัศนะผู้เชี่ยวชาญภาษามลายู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นมาตรฐานการใช้ภาษา เนื่องจากคนในพื้นที่ใช้ภาษามลายูที่แตกต่างจากภาษามลายูในมาเลเซียและอินโดนีเซีย โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) รวมนานาทัศนะผู้เชี่ยวชาญภาษามลายูเกี่ยวกับทีวีภาษามลายู 24 ชั่วโมงตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) มีแผนจะดำเนินการโทรทัศน์ดาวเทียมและคาดว่าจะออกอากาศก่อนสิ้นปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นมาตรฐานการใช้ภาษามลายูในการผลิตรายการ เนื่องจากคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยใช้ภาษามลายูที่แตกต่างจากภาษามลายูในมาเลเซียและอินโดนีเซีย 0 0 0 นายดอรอแม หะยีหะซา |
หลากความเห็น จะใช้ภาษาอะไร ใน 'ทีวีมลายู 24 ชั่วโมง' Posted: 24 Oct 2012 08:32 AM PDT
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) รวมนานาทัศนะผู้เชี่ยวชาญภาษามลายู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นมาตรฐานการใช้ภาษา เนื่องจากคนในพื้นที่ใช้ภาษามลายูที่แตกต่างจากภาษามลายูในมาเลเซียและอินโดนีเซีย โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) รวมนานาทัศนะผู้เชี่ยวชาญภาษามลายูเกี่ยวกับทีวีภาษามลายู 24 ชั่วโมงตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) มีแผนจะดำเนินการโทรทัศน์ดาวเทียมและคาดว่าจะออกอากาศก่อนสิ้นปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นมาตรฐานการใช้ภาษามลายูในการผลิตรายการ เนื่องจากคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยใช้ภาษามลายูที่แตกต่างจากภาษามลายูในมาเลเซียและอินโดนีเซีย 0 0 0 นายดอรอแม หะยีหะซา |
ร่วมรณรงค์ บอก Coca-Cola เคารพสิทธิแรงงานในฟิลิปปินส์ ยกเลิกระบบ ‘3P’ Posted: 24 Oct 2012 08:14 AM PDT สมาคมสหภาพแรงงานอาหาร เกษตรกรรม โรงแรม ภัตตาคาร การบริการอาหาร ยาสูบและแรงงานพันธมิตรระหว่างประเทศ (IUF) เปิดการรณรงค์ออนไลน์ล่าชื่อกดดัน Coca-Cola ฟิลิปปินส์ ยกเลิกระบบจัดการ '3P' ที่ทำลายการรวมตัวต่อรอง และทำให้คนงานขาดความมั่นคง 24 ต.ค. 55 - สมาคมสหภาพแรงงานอาหาร เกษตรกรรม โรงแรม ภัตตาคาร การบริการอาหาร ยาสูบและแรงงานพันธมิตรระหว่างประเทศ (Uniting Food, Farm and Hotel Workers World-Wide - IUF) เปิดการรณรงค์ออนไลน์ "Tell Coca-Cola to respect workers' rights in the Philippines" เชิญผู้ท่องโลกไซเบอร์ลงชื่อร่วมกดดันให้บริษัท Coca-Cola เคารพสิทธิแรงงานในฟิลิปปินส์ ยกเลิกระบบจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ทำลายการรวมตัวเจรจาต่อรองตามหลักสหภาพแรงงาน และทำให้คนงานขาดความมั่นคง IUF ระบุว่าสองปีที่ผ่านมา Coca-Cola ฟิลิปปินส์ (Coca-Cola Bottlers Philippines, Inc. - CCBPI) ได้ใช้ระบบการจัดการบริหารบุคคลแบบใหม่ คือ ระบบ P3 (Performance, Participation และ Presence) ซึ่งได้สร้างปัญหาให้กับคนงานและผลกระทบต่อครอบครัวของคนงาน โดยระบบ P3 นี้เน้นการประเมินและบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบ "ปัจเจก" กับคนงานนับพัน แทนที่การร่วมเจรจาต่อรองผ่านสหภาพแรงงาน รวมถึงการทำลายความมั่นคงในการทำงานของคนงานด้วยการทำให้คนงานมีลักษณะงาน "ชั่วคราว" (casualization) มากขึ้น รวมถึงการจ้างงานเอาท์ซอร์ส (outsourcing) จากภายนอก โดย IUF หวังว่าการรณรงค์ทั้งในอินเตอร์เน็ตและการรณรงค์ในฟิลิปปินส์ที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน จะเป็นการบอกกล่าว Coca-Cola ควรเคารพต่อสิทธิของคนงาน โดยข้อความและรายชื่อของผู้สนับสนุนออนไลน์จะถูกส่งไปยังต่อไปยัง Bill Schultz CEO ของ Coca-Cola ฟิลิปปินส์ และผู้อำนวยการระดับประเทศ John Smith เพื่อกดดัน Coca-Cola ต่อไป ร่วมลงชื่อรณรงค์ได้ที่: http://www.iuf.org/cgi-bin/campaigns/show_campaign.cgi?c=719 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 24 Oct 2012 05:14 AM PDT "..การใช้ความรุนแรงเป็นสัญญาณให้เห็นความอ่อนแอของกลุ่มที่ยึดกุมอำนาจรัฐ แสดงให้เห็นว่าไม่มีพลังในการต่อรองกับกลุ่มอื่นด้วยวิธีปกติธรรมดาได้ อีกทั้งยังเป็นสัญญาณว่ากลุ่มนั้นอาจจะใช้วิธีกินรวบแทนการกินแบ่งอย่างเคย จึงยิ่งทำให้ความแตกร้าวระหว่างกันของชนชั้นนำยิ่งสูงขึ้น.." 22 ต.ค.55, กระแสทรรศน์ มติชน, รัฐไทยกับความรุนแรง (1) |
ลี กวน ยู: สังคมนิยมหรือตลาดเสรี? หันมองพม่าและไทย Posted: 24 Oct 2012 03:58 AM PDT
ในแง่ของพื้นที่และประชากร พม่าและไทยมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน และในทศวรรษ 1960 ทั้งสองประเทศก็มีอัตราการเจริญเติบโตที่ใกล้เคียงกัน แต่ในปี 1962 นายพลเน วินของพม่าได้ทำการรัฐประหาร และใช้ระบบรัฐบาลทหารแบบสังคมนิยมซึ่งตามนโยบายเศรษฐกิจแบบพอเพียง พม่าได้ปิดประตูให้กับโลกและเนรเทศชาวอินเดียออกไป ซึ่งก่อนหน้านี้พวกเขาอพยพมาในสมัยที่อังกฤษปกครองเป็นอาณานิคม และมีบทบาททำให้ธุรกิจค้าปลีกรุ่งเรืองในหลายทศวรรษ ถึงแม้พลเอกเน วินจะลงจากตำแหน่งในปี 1988 ทหารยังปกครองประเทศด้วยความเข้มงวด ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็เผชิญกับการรัฐประหารหลายครั้ง แต่ผู้นำประเทศก็เลือกวิถีทางเศรษฐกิจที่แตกต่างออกไป ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจระบบตลาดแบบเสรี เปิดกว้างรับการลงทุนจากหลากประเทศและดูดซับผู้อพยพจากประเทศจีนซึ่งหลั่งไหลเข้ามาหลังการปกครองของอังกฤษ ทุกวันนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเอเชียที่เป็นศูนย์กลางการผลิตที่คึกคักมากที่สุด ด้วยระบบสังคมนิยมแบบปิด ตัวเลขจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ) ของพม่าได้วิ่งตามหลังประเทศไทย ในทศวรรษ 1980 จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 172 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนประเทศไทยอยู่ที่ 1,060 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2012 ช่องว่างดังกล่าวได้ถ่างออกยิ่งขึ้น โดยจีดีพีของพม่าอยู่ที่ 1,950 ดอลลาร์สหรัฐ และของไทยอยู่ที่ 8,516 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤษภาคม 1997 สหรัฐอเมริกามีมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่รุนแรงเนื่องจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพม่า โดยการสั่งห้ามการลงทุนและการค้าทุกชนิด และเนื่องจากการเติบโตทางเศษฐกิจของพม่าที่จำกัดร่วมกับปัญหาอื่นๆ พลเมืองพม่าที่ต้องการการรักษาทางการแพทย์ต้องอพยพข้ามชายแดนไปยังประเทศไทยเพื่อทำการค้าเพชรพลอยและสิ่งมีค่าอื่นๆ เพื่อแลกกับการรักษาพยาบาล ในขณะเดียวกัน รัฐบาลพม่าก็ยินยอมให้ประเทศจีนเข้ามาสกัดทรัพยากรพวกเพชรพลอยและโลหะมีค่าต่างๆ ที่อยู่ในพม่า สัญญานที่ดี และมันก็เริ่มมีสัญญาณที่เป็นบวกในพม่า สิ่งที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงหนึ่งคือนางออง ซาน ซูจี บุตรีคนที่ 3 ของนายพลออง ซาน บิดาของพม่าสมัยใหม่ นางเกิดเมื่อเดือนมิถุนายน 1945 และในสมัยวัยุร่นได้เติบโตที่เมืองนอก นางเดินทางกลับบ้านในปี 1988 เพื่อดูแลมารดาที่ป่วยหนัก และภายหลังก็ได้กลายเป็นผู้นำขบวนการประชาธิปไตย และก่อตั้งพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย นางถูกกักบริเวณในเดือนกรกฎาคม 1989 แต่ต่อมาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี 1990 ถึงร้อยละ 59 ของคะแนนเลือกตั้งทั้งหมด และได้ที่นั่งร้อยละ 81 อย่างไรก็ตาม กองทัพก็ยังไม่สนใจผลการเลือกตั้งดังกล่าว นับตั้งแต่การที่เธอถูกจับครั้งแรก นางถูกกักบริเวณในบ้านของเธอเป็นเวลาเกือบ 15 ปีจากทั้งหมด 21 ปี และได้รับรางวัลโนเบลในปี 1991 ในที่สุดเธอก็ได้รับการปล่อยตัวในเดือนพฤศจิกายน 2010 ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา พรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตยได้รับที่นั่ง 43 ที่นั่งในการเลือกตั้งซ่อม ออง ซาน ซู จี ได้นั่งเก้าอี้ในสภาล่างของรัฐสภา การดำรงอยู่ของเธอในการเมืองพม่านับเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงและพม่าแบบใหม่ ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการเปลี่ยนใจของรัฐบาลทหาร พลเอกตัน ฉ่วย ซึ่งเป็นประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งชาติได้ลงจากตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม 2011 สมาชิกคนใหม่ในรัฐบาลทหารคือ เต็ง เส่ง ซึ่งดูเหมือนจะเป็นนักปฏิรูปอย่างแท้จริง ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนที่ และภายใต้การนำของเขา พม่าได้เปลี่ยนแปลงไปสู่รัฐบาลพลเรือน เมื่อประธานาธิบดีเต็ง เส่งได้พบกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ฮิลลารี่ คลินตัน ในเดือนธันวาคม 2011 นางได้สนับสนุนให้เขาเปิดประเทศมากขึ้นสำหรับการค้าและการลงทุนจากประเทศ และเมื่อทั้งสองได้พบกันอีกครั้งในเดือนกันยายนที่ผ่านมา นางคลินตันประกาศว่าสหรัฐจะยกเลิกการคว่ำบาตรการนำเข้าสินค้า ซึ่งทำให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างพม่าและไทยแคบลงไป ประเทศไทยเองได้เปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีการจัดการเลือกตั้งที่ปรกติและวุ่นวายบ้าง แต่กองทัพก็ยังคงทำการรัฐประหารเมื่อพวกเขาเห็นว่ารัฐบาลมีความเอาแน่เอานอนไม่ได้หรือมีความเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันกษัตริย์ ตลอด 80 กว่าปีที่ผ่านมา มีการทำรัฐประหารที่สำเร็จแล้ว 11 ครั้งและล้มเหลวอีก 7 ครั้ง การรัฐประหารครั้งล่าสุดคือการขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรเมื่อเดือนกันยายน 2006 การแทรกแซงของทหารได้ส่งผลให้อยู่ในสภาวะของความไม่แน่นอนที่ยาวนาน และสั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน คงจะดีหากรัฐบาลของทั้งสองประเทศจำได้ว่า นโยบายเปิดประเทศและการลงทุนเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง และนโยบายที่ตั้งรับแบบปิดประตูซึ่งทำให้พม่าถอยหลังไป 50 ปี *ลี กวน ยู เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ระหว่างปี 1959-1999 เป็นผู้ก่อตั้งพรรคและเลขาธิการคนแรกของพรรค People's Action Party (PAP) หลังจากนั้นได้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีระหว่างปี 2004- 2011 หมายเหตุ: แปลจากบทความ Socialism or Free Markets? Consider Myanmar and Thailand โดย ลี กวน ยู ตีพิมพ์ในนิตยสารฟอร์บส์ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ดีซี่แมพ: นวัตกรรมตรวจสอบการบุกรุกผืนป่า Posted: 24 Oct 2012 02:29 AM PDT ดีซี่แมพ เป็นโปรแกรมที่ใช้ ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ DSI MAP เป็นโปรแกรมที่ศูนย์ปฏิบัติ ดีซี่แมพ เป็นโปรแกรมที่ใช้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น