โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รัฐบาลพม่า- กองกำลังไทใหญ่- UNODC สานมือขจัดยาเสพติดในรัฐฉาน

Posted: 30 Oct 2012 11:26 AM PDT

 

รัฐบาลพม่า - กองกำลังไทใหญ่ SSA และสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมาและยาเสพติด UNODC ลงนามร่วมมือสำรวจพื้นที่ทำโครงการนำร่องปลูกพืชทดแทนฝิ่น ขจัดยาเสพติดในรัฐฉาน

มีรายงานว่า รัฐบาลพม่าร่วมกับสภากอบกู้รัฐฉาน RCSS องค์กรการเมืองกองทัพรัฐฉาน SSA ภายใต้การนำของพล.ท.เจ้ายอดศึก และสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมและยาเสพติด UNODC ร่วมกันขจัดปัญหายาเสพติดในรัฐฉาน โดยตกลงร่วมกันสำรวจพื้นที่เพื่อทำโครงการนำร่องปลูกพืชทดแทนฝิ่น เพื่อนำไปสู่การขจัดยาเสพติดในรัฐฉาน ตามข้อเสนอแผนปราบปรามยาเสพติดจากทางฝ่าย RCSS/SSA ซึ่งโครงการนำร่องมีกำหนดเริ่มในพื้นที่เมืองนายและเมืองปั่น ในรัฐฉานตอนใต้ก่อน

โดยข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นระหว่างตัวแทนสามฝ่าย คือ รัฐบาลพม่า , RCSS/SSA  และสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมและยาเสพติด UNODC พบเจรจาหารือกันที่เมืองท่าขี้เหล็ก ตรงข้ามอ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 27-28 ต.ค. ที่ผ่านมา ฝ่ายรัฐบาลพม่านำโดยพ.อ.อ่องตู่ รมต.ความมั่นคงชายแดนรัฐฉาน พ.ต.อ.มิ้นอ่อง ผบ.ตำรวจ ฝ่าย RCSS/SSA นำโดยพลจัตวาป๋องเครือ หัวหน้าคณะเจรจาสันติภาพ พ.อ.จายหาญ หัวหน้าฝ่ายปราบปรามยาเสพติด ส่วน UNODCมีเจสัน อีลิกษ์ (Jason Eligh) เป็นตัวแทน นอกจากนี้ในการหารือมีเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการควบคุมเรื่องยาเสพติด (Central Committee for Drug Abuse Control – CCDAC) เข้าร่วมด้วย

สำหรับโครงการนำร่องภายใต้ความร่วมมือสามฝ่าย คือ การปลูกพืชทดแทนฝิ่น ช่วยเหลือประชาชนในเรื่องเมล็ดพันธุ์พืชและให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติด รวมถึงการบำบัดผู้ติดยาเสพติด ซึ่งในส่วนของ UNODC จะให้การช่วยเหลือด้านเทคนิคพร้อมทั้งจะหาผู้สนับสนุนนานาชาติเกี่ยวกับงบประมาณช่วยเหลือโครงการ โดยทาง UNODC ต้องการให้โครงการดังกล่าวเริ่มภายในสิ้นปีนี้

 

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐบาลพม่า- กองกำลังไทใหญ่- UNODC สานมือขจัดยาเสพติดในรัฐฉาน

Posted: 30 Oct 2012 11:26 AM PDT

รัฐบาลพม่า - กองกำลังไทใหญ่ SSA และสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมาและยาเสพติด UNODC ลงนามร่วมมือสำรวจพื้นที่ทำโครงการนำร่องปลูกพืชทดแทนฝิ่น ขจัดยาเสพติดในรัฐฉาน

มีรายงานว่า รัฐบาลพม่าร่วมกับสภากอบกู้รัฐฉาน RCSS องค์กรการเมืองกองทัพรัฐฉาน SSA ภายใต้การนำของพล.ท.เจ้ายอดศึก และสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมและยาเสพติด UNODC ร่วมกันขจัดปัญหายาเสพติดในรัฐฉาน โดยตกลงร่วมกันสำรวจพื้นที่เพื่อทำโครงการนำร่องปลูกพืชทดแทนฝิ่น เพื่อนำไปสู่การขจัดยาเสพติดในรัฐฉาน ตามข้อเสนอแผนปราบปรามยาเสพติดจากทางฝ่าย RCSS/SSA ซึ่งโครงการนำร่องมีกำหนดเริ่มในพื้นที่เมืองนายและเมืองปั่น ในรัฐฉานตอนใต้ก่อน

โดยข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นระหว่างตัวแทนสามฝ่าย คือ รัฐบาลพม่า , RCSS/SSA  และสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมและยาเสพติด UNODC พบเจรจาหารือกันที่เมืองท่าขี้เหล็ก ตรงข้ามอ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 27-28 ต.ค. ที่ผ่านมา ฝ่ายรัฐบาลพม่านำโดยพ.อ.อ่องตู่ รมต.ความมั่นคงชายแดนรัฐฉาน พ.ต.อ.มิ้นอ่อง ผบ.ตำรวจ ฝ่าย RCSS/SSA นำโดยพลจัตวาป๋องเครือ หัวหน้าคณะเจรจาสันติภาพ พ.อ.จายหาญ หัวหน้าฝ่ายปราบปรามยาเสพติด ส่วน UNODCมีเจสัน อีลิกษ์ (Jason Eligh) เป็นตัวแทน นอกจากนี้ในการหารือมีเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการควบคุมเรื่องยาเสพติด (Central Committee for Drug Abuse Control – CCDAC) เข้าร่วมด้วย

สำหรับโครงการนำร่องภายใต้ความร่วมมือสามฝ่าย คือ การปลูกพืชทดแทนฝิ่น ช่วยเหลือประชาชนในเรื่องเมล็ดพันธุ์พืชและให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติด รวมถึงการบำบัดผู้ติดยาเสพติด ซึ่งในส่วนของ UNODC จะให้การช่วยเหลือด้านเทคนิคพร้อมทั้งจะหาผู้สนับสนุนนานาชาติเกี่ยวกับงบประมาณช่วยเหลือโครงการ โดยทาง UNODC ต้องการให้โครงการดังกล่าวเริ่มภายในสิ้นปีนี้

 

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สืบทอดเจตนารมณ์ ‘นวมทอง ไพรวัลย์’ และภารกิจต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยยังไม่สิ้นสุด

Posted: 30 Oct 2012 10:49 AM PDT

31 ตุลาคม 2549 นวมทอง ไพรวัลย์  ผูกคอตายกับราวสะพานลอย บริเวณสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ก่อร่างประวัติศาสตร์ของสามัญชน ผู้คัดค้านอำนาจเผด็จการรัฐประหาร พิทักษ์ประชาธิปไตย

สำหรับคนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตย คงไม่มีใครลืมประวัติศาสตร์ของสามัญชนที่ชื่อ 'นวมทอง ไพรวัลย์' ผู้คัดค้านอำนาจเผด็จการรัฐประหาร พิทักษ์ประชาธิปไตย

คืนวันที่ 31 ตุลาคม 2549 นายนวมทองผูกคอตายกับราวสะพานลอย บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาออก เยื้องกับที่ตั้งสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (บริษัท วัชรพล จำกัด) โดยในจดหมายลาตายระบุว่า ต้องการลบคำสบประมาทของ พันเอก อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คปค. ที่ว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้

ในคืนที่นายนวมทองแขวนคอตาย เขาตั้งใจสวมเสื้อยืดสีดำ สกรีข้อความเป็นบทกวี ที่เคยใช้ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยด้านหน้าเป็นบทกวีของรวี โดมพระจันทร์ ที่ว่า

ตื่นเถิดเสรีชน
อย่ายอมทนก้มหน้าฝืน
ดาบหอกกระบอกปืน
หรือทนคลื่นกระแสเรา

แผ่นดินมีหินชาติ
ที่ดาดาษความโฉดเขลา
ปลิ้นปล้อนตะลอนเอา
ประโยชน์เข้าเฉพาะตน

ก่อนหน้านั้น  เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 นายนวมทอง ซึ่งเป็นอดีตพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย ได้ขับรถยนต์แท็กซี่ พุ่งเข้าชนรถถังเบา M41A2 Walker Bulldog ป้ายทะเบียนตรากงจักร 71116 ของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และได้รับบาดเจ็บสาหัส
นวมทอง ไพรวัลย์ ได้สละชีพกระทำอัตวินิบาตรกรรม เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความหมายสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ความอัปยศอัปลักษณ์ของอำนาจรัฐประหาร

นวมทอง ไพรวัลย์ จึงเป็นสัญญลักษ์แห่งอุดมการณ์ประชาธิปไตย ที่ปรารถนาถึงสังคมไทยเป็นสังคมที่มี 'เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ' ไม่ต่างไปจากความใฝ่ฝันของคณะราษฎร เมื่อปี 2475 แต่อย่างใดเลย

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ความขัดแย้ง ระหว่าง 'ฝ่ายอำนาจอำมาตยาธิปไตย' กับ 'ฝ่ายพลังประชาธิปไตย' ก็ยังไม่จบสิ้น นับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากปัญหารากเหง้าของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มาจาก 'ระบอบอำมาตยาธิปไตย' โดย 'อำมาตยาธิปไตย' และเพื่อ 'อำมาตยาธิปไตย'


แม้ว่า ภายหลังจากการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลตามหลักการประชาธิปไตยรัฐสภา แต่ความขัดแย้งดังกล่าวยังไม่จบสิ้น เนื่องด้วยมีการเคลื่อนไหวของ 'ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย' เพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมีขึ้นอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน รวมทั้งรัฐบาลพลเรือนก็ยังไม่สามารถควบคุมกองทัพได้โดยตรงเนื่องจากมีพรบ.กลาโหมเป็นอุปสรรคขัดขวาง

ขณะเดียวกัน 'คณะนิติราษฎร์' ได้มีข้อเสนอเพื่อแก้ไขผลพวงของการรัฐประหาร ปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ต้องแก้ไขมาตรา 112 เพื่อสอดคล้องกับหลักการความยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยดั่งอารยะประเทศ ซึ่งรวมทั้งพรบ.คอมพิวเตอร์ ที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนด้วย เพื่อมิให้เกิดกรณีเช่น 'อากง'  'สมยศ พฤกษาเกษมสุข' 'สุรชัย แซ่ด่าน' และอีกหลายคน  จึงต้องยึดหลักนิติรัฐคู่กับนิติธรรม มิใช่ปล่อยให้บุคคลใดฟ้องร้องกล่าวโทษก็ได้ ควรกำหนดโทษให้เหมาะสมกับสิทธิ์ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ยุคโลกาภิวัฒน์มิใช่ยุคป่าเถื่อนอีกแล้ว  รวมทั้งเพื่อมิให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายผู้รักชาติรักประชาธิปไตยเหมือนเช่นประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา    ตลอดทั้งเพื่อป้องกันมิให้เกิดการรัฐประหารขึ้นในสังคมไทยอีกต่อไป

ดังนั้น ภารกิจในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนยังไม่เสร็จสิ้น   ผู้เขียนมีข้อเสนอดังนี้

1.ปล่อยผู้บริสุทธิ์ที่ถูกจับกุมคุมขังทางการเมืองอย่างไม่มีเงื่อนไข และต้องให้สิทธิประกันผู้ต้องขัง ตามหลักการสิทธิมนุษยชนที่กระบวนการยุติธรรมพึงมีดั่งอารยะประเทศ   เช่น  กรณี 'สมยศ พฤกษาเกษมสุข' 'สุรชัย แซ่ด่าน' และอีกหลายคนทั้งหมด เพราะพวกเขามิใช่อาชญากร เพียงแต่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย และพวกเขาถูกใส่ร้ายป้ายสีทางการเมือง

2.นำคนสั่งฆ่าสังหารประชาชนในเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิต 53 มาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อสร้างความยุติธรรมในสังคมและเพื่อมิให้ 'ฆาตรกรลอยนวล' เหมือนเช่นที่ผ่านมาตลอดอีกทั้งเพื่อทำ 'ความจริง'ให้ปรากฎ มิใช่ 'ปรองดอง' อย่างไร้ความยุติธรรม

3.รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องแก้ไข พรบ.กลาโหม และดำเนินการปฏิรูปกองทัพให้เป็นประชาธิปไตยสอดรับกับยุคสมัยสันติภาพเพื่อนไร้พรมแดน พร้อมกับลดงบประมาณให้เหมาะสม

4.ขอสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์ รวมทั้งข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหารากเหง้าทั้งมวลของปัญหาการเมืองไทยที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นภาระกิจที่รัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องดำเนินกระบวนการต่างๆตามกลไกรัฐสภา ให้บรรลุเป็นรูปธรรม

5.ขอสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550  โดยมีหลักการสำคัญของ 'ระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา' 'อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน' 'เคารพสิทธิเสรีภาพและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์' คือรูปธรรมต้องลดอำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตยโดยเฉพาะอำนาจขององคมนตรี กองทัพและกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมและสร้างเงื่อนไขให้สถาบันพรรคการเมืองพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งส่งเสริมสิทธิพื้นฐานของสถาบันต่างๆ เช่น สหภาพแรงงาน องค์กรเกษตรกรและอื่นๆด้วยเช่นกัน

6. ขอเรียกร้องให้ฝ่ายนิยมอำมาตยาธิปไตย ยอมรับกติกาประชาธิปไตย ตามหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง คนเท่ากัน เสียงส่วนน้อยต้องยอมรับเสียงส่วนใหญ่ โดยเสียงส่วนใหญ่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อยตามหลักอารยะประเทศประชาธิปไตย ก่อนที่ความขัดแย้ง ความเกลียดชังจะนำไปสู่ความล่มสลายของสังคมไทยอย่างที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

งานวิจัยเผยมนุษย์ชอบคิดว่า ปรากฏการณ์เกิดจากประสงค์ของธรรมชาติ

Posted: 30 Oct 2012 10:25 AM PDT

ภัยธรรมชาติใดๆ ก็ตามไม่เว้นแม้แต่เฮอร์ริเคน 'แซนดี้'  มักจะมีคนคิดว่าเป็นคำเตือนจากพระเจ้าหรือความพิโรธจากพระแม่ธรรมชาติ งานวิจัยล่าสุดจาก ม.บอสตันเผย แม้แต่นักวิทยาศาสตร์บางครั้งก็เผลออธิบายแบบเดียวกัน

 
เมื่อเกิดเหตุพายุเฮอร์ริเคน 'แซนดี้' พัดเข้ามาทางชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ อาจทำให้ใครบางคนคิดว่ามันเป็นความพิโรธของพระแม่ธรรมชาติ คงไม่มีคำพูดซ้ำๆ คำใดที่รบกวนนักวิทยาศาสตร์มากไปกว่า "ทุกอย่างเกิดขึ้นโดยมีเหตุผลของมัน"
 
อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยล่าสุดเปิดเผยว่า คนเราอาจคิดแบบนี้กันเป็นเรื่องปกติ มนุษย์เราทุกคนแม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์จะมีอคติทำให้ใช้แนวคิดการให้เหตุผลแบบ 'ตั้งอยู่บนฐานของวัตถุประสงค์' (purpose-based)
 
ทีมนักวิจัยด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยบอสตัน (BU) ได้ทำการสำรวจโดยการสัมภาษณ์ นักเคมี, นักธรณีวิทยา และนักฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด, เอ็มไอที และเยล โดยให้พวกเขาอธิบายตีความปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ คำอธิบายของพวกเขามีส่วนหนึ่งที่เป็นแบบตั้งอยู่บนฐานของวัตถุประสงค์ หรือ แนวแบบอันตวิทยา (Teleological - การให้วัตถุประสงค์การดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ) เช่นคำอธิบายที่ว่า "ต้นไม้ผลิตอ็อกซีเจนเพื่อให้สัตว์หายใจได้" หรือ "โลกมีชั้นบรรยากาศโอโซนเพื่อป้องกันตัวมันเองจากแสงยูวี"
 
ผลการวิจัยเปิดเผยอีกว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ความกดดันด้านเวลามักจะปฏิเสธคำอธิบายแบบตั้งอยู่บนฐานของวัตุประสงค์การมีอยู่ ขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ที่ถูกบอกให้อธิบายอย่างเร่งด่วนมักจะใช้วิธีการอธิบายแบบอันตวิทยามากกว่า แม้ว่ามันจะเป็นคำอธิบายที่ไม่มีการรับรองทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม
 
"มันเป็นเรื่องน่าประหลาดใจกับสิ่งที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้" เดบอราห์ เคเลเมน ผู้ช่วยศาตราจารย์สาขาจิตวิทยา ม.บอสตัน กล่าว "แม้ว่าการศึกษาวิทยาศาสตร์ระดับสูงจะทำให้รับกับคำอธิบายแบบอันตวิทยาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ได้น้อยลง แต่มันก็ไม่สามารถลบเลือนแนวคิดการพยายามหาจุดมุ่งหมายของธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อย่างเหนียวแน่นมาตั้งแต่ยุคต้นๆ ได้ ราวกับว่าจิตใจของพวกเราโดยธรรมชาติอาจเอนเอียงเข้าหาศาสนามากกว่าวิทยาศาสตร์ก็ได้"
 
นักวิจัยมองเห็นรูปแบบเดียวกันจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มประกอบด้วยนักศึกษาปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา แม้ว่านักวิทยาศาสตร์โดยทั่งหมดไม่ค่อยยอมรับคำอธิบายแบบที่ตั้งบนฐานของวัตถุประสงค์การดำรงอยู่ แต่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เองก็มีคติโน้มเอียงที่จะคิดแบบดังกล่าวไม่น้อยไปกว่าอาจารย์ประวัติศาสตร์หรืออาจารย์ภาษาอังกฤษ จากการสำรวจวิจัยในครั้งนี้
 
กลุ่มนักวิจัยบอกว่าผลการสำรวจของพวกเขาสื่อเป็นนัยว่ามนุษย์เรายังคงมีความเชื่อว่าเบื้องหลังปรากฏการณ์ธรรมชาติมีความหมายบางอย่างอยู่ ซึ่งเป็นความเชื่อมาตั้งแต่ยุคก่อนการพัฒนา จากปรากฏการณ์พายุเฮอร์ริเคนแซนดี้ล่าสุด เมื่อพิจารณาผลการวิจัยก่อนหน้านี้ ก็ทำให้เห็นว่ามนุษย์โดยมากมีความปรารถนาที่จะอธิบายปรากฏการณ์ภัยธรรมชาติต่างๆ โดยอ้างว่าเป็นฝีมือของพระเจ้า ผลสำรวจเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา มีชาวอเมริกันร้อยละ 44 คิดว่าภัยธรรมชาติเป็นหรืออาจจะเป็นสัญญาณจากพระผู้เป็นเจ้า
 
ผลการวิจัยล่าสุดนี้มีการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตในวารสารการทดลองทางจิตวิทยาของสหรัฐฯ ฉบับเดือนตุลาคม
 
 
ที่มา
Even Scientists Unwittingly See Purpose in Nature, Livescience, 29-10-2012
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ผลิตยาไทยย้ำไม่เอาทริปส์พลัสในเอฟทีเอกับยุโรป

Posted: 30 Oct 2012 10:21 AM PDT

ตามที่นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งทำกรอบการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ให้เสร็จเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และเสนอให้รัฐสภาพิจารณาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ โดยน่าจะเริ่มเปิดการเจรจากับอียูอย่างเป็นทางการได้ในต้นปี 56 และอ้างว่า ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนแล้ว รวมถึงกลุ่มยาที่คัดค้านการเปิดเจรจา

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศว่า เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (TPMA) ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาชื่อสามัญในประเทศ ได้ทำหนังสือที่ ท.032/2555 ถึงอธิบดีกรมเจรจาฯเพื่อแสดงจุดยืนของสมาคมต่อการเปิดเขตการค้าเสรี ไทย-สหภาพยุโรป (EU) และ ไทย-สมาคมการค้ายุโรป (EFTA) ระบุว่า สินค้ายาสำเร็จรูปที่นำมาจำหน่ายในประเทศไทยส่วนใหญ่นำเข้าจากสหภาพยุโรป (EU-EFTA) และสหรัฐฯ แต่ประเทศหลักที่ไทยส่งยาออกไปไม่ใช่ประเทศเหล่านี้ ดังนั้น ในหมวดสินค้ายาในรูปวัตถุดิบ สินค้ายาสำเร็จรูป และของเสียจากเภสัชภัณฑ์ประเทศไทยจะไม่ได้ประโยชน์จากการเจรจาเอฟทีเอแต่อย่างใด จึงขัดกับหลักการและวัตถุประสงค์ของการเจรจาเอฟทีเอที่ว่าจะส่งเสริมให้การค้าระหว่างกันสูงขึ้น ทางสมาคมฯจึงไม่เห็นด้วย

"เพราะนอกจากประเทศไทยจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากความตกลงดังกล่าวแล้ว กลับเป็นการเอื้อประโยชน์ให้สินค้ายาฯมีปริมาณและมูลค่านำเข้าที่สูงขึ้น ประกอบกับถ้าหากกรมเจรจาฯยอมรับข้อผูกพันที่มากกว่าความตกลงทริปส์ หรือ ทริปส์พลัส ก็จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงและใหญ่หลวงต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ"

ทางด้านนายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า การที่รัฐมนตรีพาณิชย์อ้างว่าได้รับฟังความเห็นทุกฝ่ายแล้วนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะตามที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้นัดหมายเพื่อรับฟังความเห็นเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมาเป็นไปอย่างกระชั้นชิด จดหมายเชิญส่งมาวันเดียวกับที่นัดรับฟัง ราวกับไม่ได้ต้องการรับฟังจริงๆ ทางเครือข่ายงดเหล้าจึงทำหนังสือขอให้นัดประชุมใหม่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการเปิดรับฟัง ทางเครือข่ายฯจึงจะร้องเรียนไปยังคณะกรรมธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร

"เราไม่ได้ต่อต้านการค้าเสรี แต่เราคิดว่า การที่รัฐบาลเป็นนักประชาธิปไตยต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่มาพูดตลอดเวลาว่า อียูต้องการลดภาษีแอลกอฮอล์ให้ได้ 90% ดังนั้นต้องรับเงื่อนไขนี้ กรมเจรจาฯไม่เคยเอาความเห็นของประชาชนไปพิจารณาว่า ควรกำหนดให้สินค้าแอลกอฮอล์และบุหรี่เป็นสินค้าทำลายสุขภาพ แม้แต่ในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนที่ไทยเป็นเจ้าภาพก็ยังมีจุดยืนเช่นนี้ให้ถอดสินค้าทำลายสุขภาพเหล่านี้ออกจากการเจรจา นอกจากนี้ เราไม่อยากเห็น กรมเจรจาฯทำให้รัฐบาลตกอยู่ในภาวะหมิ่นเหม่ต่อการรัฐธรรมนูญเพราะไม่เคยนำกรอบเจรจาฯรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนเข้ารัฐสภา ทั้งที่เมื่อจะเริ่มเจรจาอียู-อาเซียนยังนำกรอบไปรับฟังความคิดเห็น"

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค สธ.ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบความเห็นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง "นโยบายแอลกอฮอล์เพื่ออนาคตเยาวชนไทย" ซึ่งหนึ่งในข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาฯคือให้คงมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยยุทธศาสตร์แอลกอฮอล์แห่งชาติ โดยละเว้นการบรรจุเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการเจรจาเอฟทีเอ ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคจะนำเสนอข้อสรุปนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายใน 25 วันตามคำสั่งสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ราคาบ้านปี 2556 ไม่ขึ้นมาก อย่ารีบร้อนซื้อ

Posted: 30 Oct 2012 10:17 AM PDT

          อย่ากลัวว่าราคาบ้านจะเพิ่มขึ้นมากในปี 2556 เพราะจะทำให้เกิดการซื้อบ้านอย่างไม่รอบรู้ รีบร้อน  ในความเป็นจริง แรงงานในวงการอสังหาริมทรัพย์ก็จ้างเกิน 300 บาทมานานแล้ว  ค่าก่อสร้างในช่วงปีกว่าที่ผ่านมาก็เพิ่มขึ้นเพียง 4% ราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นเพียงปีละ 5%  การรีบร้อนซื้ออาจเป็นการสร้างภาวะฟองสบู่ และสร้างหายนะให้เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยได้ ที่ราคาจะไม่เพิ่มขึ้นมากเช่นที่มีผู้ให้ข่าวอย่างแน่นอน ทั้งนี้เพราะ

          1. ราคาวัสดุก่อสร้างนับแต่กลางเดือนมิถุนายน 2555 – เดือนกันยายน 2556 เพิ่มขึ้นเพียง 4% โดยเฉลี่ยเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่ราคาบ้านจะเพิ่มขึ้นถึงขนาดนั้น

          2. ค่าแรงอาจเพิ่มขึ้นมาก โดยที่ค่าแรงเพิ่มเป็น 300 บาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 40% อาจส่งผลต่อราคาบ้านบ้าง แต่ค่าแรงเป็นสัดส่วนเพียง 30% ของค่าก่อสร้าง

          3. ดังนั้นหากค่าวัสดุก่อสร้างเพิ่มจาก 100% เป็น 104% ส่วนค่าแรงเพิ่มจาก 100% เป็น 140% และโดยที่ค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงมีสัดส่วนเป็น 7:3 จึงทำให้ราคาสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 114.8%  อย่างไรก็ตามแรงงานในวงการก่อสร้างไม่เคยจ้างที่ราคา 215 บาท  จ้างราคา 300 บาทมาก่อนหน้าประกาศปรับค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว  การปรับค่าจ้างขั้นต่ำจึงไม่มีผลต่อวงการก่อสร้างโดยตรง จึงทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยประมาณการไว้ที่ 5% เท่านั้น

          4. อย่างไรก็ตามสัดส่วนรวม (กำไรและค่าดำเนินการต่าง ๆ) ระหว่างสิ่งก่อสร้างกับค่าที่ดิน มีสัดส่วนเป็นประมาณ 1 ต่อ 2  หากค่าที่ดินเพิ่มขึ้น 4% เช่นปีก่อน แต่ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 105% ก็จะทำให้ การเพิ่มขึ้นโดยรวมของราคาขาย เพิ่มเป็น 5% เท่านั้น  ไม่ได้เพิ่มขึ้น 15-20% แต่อย่างใด

          5. แม้ค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น  แต่ในอดีตที่ผ่านมา หากเศรษฐกิจไม่ดี แม้ค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น 20% แต่ก็ไม่ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังลดลง เพราะสร้างไปก็ไม่สามารถขายได้ในตลาด

          6. สำหรับกรณีพื้นที่ "ยอดฮิต" เช่น บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้า ราคาที่ดินอาจพุ่งขึ้นตามผังเมืองใหม่  ผู้ประกอบการก็คงต้องมองหาทำเลใหม่ ๆ ที่เป็นทางเลือกแทนที่จะมุ่งพัฒนาบริเวณรอบ ๆ รถไฟฟ้า ยกเว้นสินค้าราคาแพง ที่อาจต้องปรับราคาขึ้น แต่เป็นสินค้าส่วนน้อย ไม่กระทบต่อประชาชนโดยรวม

          7. ในปี พ.ศ.2556 ราคาที่อยู่อาศัยอาจปรับเพิ่มขึ้นเช่นในปีที่ผ่านมาคือ 5% แต่อย่างไรก็ตามในบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าหรือบริเวณที่มีศักยภาพสูงอื่น ราคาอาจปรับเพิ่มเป็น 10%  แต่บริเวณรอบนอก ราคาแทบจะไม่ได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นเลย โดยเฉพาะราคาที่ดินเขตชานเมืองที่ไม่มีระบบขนส่งมวลชน ปรากฏว่า หลายบริเวณ ราคาคงที่หรืออาจตกต่ำลงด้วยซ้ำไป

          8. การปรับเพิ่มขึ้นมากถึง 10-15% ของมูลค่าปีก่อนหน้า อาจเกิดขึ้นได้ หากเศรษฐกิจไทยเติบโตดีมาก จนมีผู้สนใจลงทุนเป็นจำนวนมากจากต่างประเทศ  ในกรณีนี้ การที่ราคาเพิ่มสูงขึ้น จะเป็นผลดีต่อทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเพราะต่างหากสามารถขายต่อได้ในราคาดี  แต่สัญญาณเศรษฐกิจดีจนเด่นชัดเช่นว่ายังคงมองไม่ปรากฏ  ในทางตรงกันข้ามหากเศรษฐกิจเกิดตกต่ำลงตามภาวะของสากลโดยเฉพาะในประเทศยุโรป  การเติบโตของราคาที่อยู่อาศัยอาจไม่ได้สูงดังที่คาดหวัง

          9. ในกรณีของผู้ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะหาซื้อทรัพย์มือสอง ซึ่งมีทั้งทรัพย์มือสองสภาพใหม่ที่ยังไม่มีผู้เข้าอยู่ และทรัพย์มือสองที่มีอายุ 10-20 ปี ซึ่งส่วนมากยังอยู่ในสภาพดี  ผู้ซื้อได้บ้านแน่นอน ไม่ต้อง "ลุ้น" ว่า บ้านจะสร้างเสร็จหรือไม่  บ้านมือสองมักตั้งอยู่ใกล้ย่านชุมชนมากกว่า และที่สำคัญ ราคาบ้านมือสองมักถูกกว่าบ้านมือหนึ่งประมาณ 15-30%  การซื้อบ้านมือหนึ่งซึ่งเป็นตลาดของผู้ขายในขณะนี้ คงทำกำไรไม่ได้มากสำหรับนักลงทุน บ้านมือสองจึงควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

          10. การลงทุนซื้อบ้านมือสอง ต้องถือตามคติ "ใส่ตะกร้าล้างน้ำ" แต่ไม่ใช่ "ย้อมแมวขาย" โดยผู้ซื้อสมควรซ่อมแซม ตกแต่งให้อยู่ในสภาพดี แทนที่จะ "ขายตามสภาพ" เพื่อว่าจะสามารถขายได้ในราคาดี  บ้านมือสองมีอายุขัยทางกายภาพอยู่ได้อีกนาน  คุ้มค่าที่จะซื้อเช่นเดียวกับบ้านมือหนึ่ง  และยังสามารถเห็นสภาพของชุมชนและการดูแลสภาพของชุมชนว่ามีการดูแลที่ดีเพียงพอเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือไม่เช่นกัน   ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีบ้านอยู่ทั้งหมดประมาณ 4.4 ล้านหน่วย แต่มีบ้านเกิดใหม่เพียง 1 แสนหน่วยต่อปี หรือ 2.3% ต่อปี  แต่เชื่อว่ามีการขายบ้านมือสองในปริมาณที่มากกว่านี้  การลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์จึงควรพิจาณาทั้งสินค้ามือหนึ่งและสินค้ามือสอง

          การออกข่าวราคาบ้านจะปรับตัวสูงขึ้น คงเป็นกลยุทธในการกระตุ้นกำลังซื้อในขณะนี้มากกว่า  เพราะการก่อสร้างขนาดใหญ่ในพม่า เช่น ท่าเรือน้ำลึกทวาย และโดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน แรงงานยังไม่หนีไปไหน  แรงงานในวงการอสังหาริมทรัพย์ก็ใช้น้อยลงเรื่อย ๆ เพราะใช้การก่อสร้างระบบกึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากกว่าคงเป็นกลุ่มสิ่งทอและอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างที่อยู่อาศัย

          อนึ่งสิ่งหนึ่งที่พึงสังวรก็คือ การกระตุ้นกำลังซื้อจนผู้บริโภคหลงซื้อกันจนเกินความจำเป็นนั้น ก็จะส่งผลร้ายต่อวงการอสังหาริมทรัพย์ในทางตรงกันข้าม กล่าวคือจะเป็นการสร้างปรากฏการณ์ฟองสบู่ได้  ยิ่งในภาวะที่สถาบันการเงินอำนวยสินเชื่อจนแทบจะไม่มีเงินดาวน์เพราะการประเมินค่าทรัพย์สินในราคาสูงเกินจริง  ภาวะฟองสบู่ และที่ร้ายกว่านั้นคือภาวะฟองสบู่แตกอาจเกิดขึ้นได้  ดังนั้นรัฐบาล สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการและโดยเฉพาะผู้ซื้อบ้าน จึงพึงสังวรณ์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โครงสร้างความสัมพันธ์ของสังคมไทยใน 'แรงเงา'

Posted: 30 Oct 2012 10:00 AM PDT

กระแสที่มาแรงที่สุดบน face book ของมหาชนชาวสยามเวลานี้ คงจะหนีไม่พ้นรายการ "The Voice" และละครโทรทัศน์เรื่อง "แรงเงา" ซึ่งเรียกได้ว่า เมื่อรายการทั้งสองเล่นเมื่อไหร่ ข่าวสารเกี่ยวกับการบ้านการเมืองแทบจะหายไปชั่วขณะ

ในกรณีละครเรื่อง "แรงเงา" นั้น ความ "แรง" ของมันได้ทำให้เกิดข้อถกเถียงและข้อวิจารณ์กันมากมายในหลายวงการ เริ่มตั้งแต่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เรียกร้องให้กระทรวงวัฒนธรรมเลื่อนละครไปฉายหลังสี่ทุ่ม เนื่องจากความรุนแรงของเนื้อหา[1] หรือจะเป็นเจ้าเก่าอย่างคุณหญิงระเบียบรัตน์ก็ออกมาตีโพยตีพายว่า ละครดังกล่าวสร้างความเสื่อมเสียให้ "สถาบันเมียหลวง" [2] (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าคืออะไร) ไม่เว้นแม้กระทั่งนักวิชาการมีชื่อหลายท่านก็ออกมาพูดถึงละครดังกล่าวอีกด้วย[3]

สำหรับผู้เขียนนั้นมิได้เป็นแฟนพันธุ์แท้ของละครเรื่องดังกล่าว แต่เนื่องจากบุคคลใกล้ชิดตกอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่า "ติดงอมแงม" ผู้เขียนจึงได้ติดตามละครเรื่องดังอยู่บ้างเป็นครั้งคราว กระนั้นก็ตาม จากการติดตามแบบห่างๆ อย่างห่วงๆ  เช่นนี้กลับพบว่า ละครเรื่องดังกล่าวมีความน่าสนใจมากกว่าประเด็นเรื่องการตบตีแย่งผัว แย่งเมีย แต่พบว่ามันสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยได้ดีทีเดียว แม้ว่าจะไม่ชัดเจนและจงใจนักก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองไม่ใช่นักวิจารณ์มืออาชีพ สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ จึงคล้ายกับการจับแพะชนแกะ พยายามลากเรื่องราวในเนื้อเรื่องให้เข้าสู่โครงเรื่องที่ผู้เขียนวางเอาไว้ ดังนั้น ท่านผู้อ่านจึงอย่าหวังที่จะหาความเป็นวิชาการ หรือบทวิจารณ์ที่เข้มข้นลึกซึ้งจากบทความของผู้เขียนฉบับนี้

ผู้เขียนเห็นว่า "แรงเงา" เป็นภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่าง "บ้าน" กับ "เมือง" ในช่วง 50 ปีหลังนี้เป็นอย่างดี โดยแสดงผ่านตัวละครต่างๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างสับสนวุ่นวายภายในเนื้อเรื่อง ซึ่งผู้เขียนได้แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้ หนึ่งคือ "พวกผู้ดีเก่า" สะท้อนผ่านตัวละครคือ "ผอ.เจนภพ" สองคือ "พวกผู้ดีใหม่" สะท้อนผ่านครอบครัวเมียหลวง "นพนภา" สามคือ ชนชั้นกลางในเมืองกรุง สะท้อนผ่านพระเอกของเรื่อง "วีกิจ" สี่คือ "ชนบทเก่า" ผ่านตัวละคร "มุตตา" และสุดท้ายคือ "ชนบทใหม่" ผ่านนางเอกสุดร้าย มากฤทธิ์อย่าง "มุนินทร์"

เจนภพ: ผู้ดีเก่าตกอับ
เจนภพ เป็นข้าราชการตัวเล็กๆ (ตามคำนิยามของนพนภาภรยาของเขา) ผู้อำนวยการกองพัสดุ สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางเก่า ซึ่ง (น่าจะ) เคยเฟื่องฟูมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตราบถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งถือว่าเป็นยุคสมัยที่กลุ่มขุนนางข้าราชการมีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทย

อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจภาคเอกชนเฟื่องฟูขึ้นหลังนโยบายการพัฒนาตั้งแต่ทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา ได้ทำให้การทำมาค้าขายเป็นภาคธุรกิจที่นำมาซึ่งความมั่งคั่งอย่างมหาศาล ขุนนางเก่ากลุ่มนี้ไม่สามารถปรับตัวได้ จนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มคนที่เหลือแต่เกียรติ ไม่มีเงินทองพอที่จะประคับประคองตนเองให้ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างสมฐานะ ดังที่เจนภพพูด (กึ่งหลอก) กับมุตตาไว้ว่า "เรื่องของผมมันน่าอาย มันยิ่งกว่าละครน้ำเน่าเสียอีก บ้านผมเป็นตระกูลขุนนางเก่า มีแต่เกียรติไม่มีเงิน ยิ่งคุณพ่อผมอยากทำธุรกิจ แต่ไม่มีประสบการณ์ ลงท้ายเป็นหนี้สินกว่าสิบล้าน" ทางออกหนึ่งของคนกลุ่มนี้จึงอยู่ที่การสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือญาติกับพวกผู้ดีหรือเศรษฐีใหม่อย่างครอบครัวของนพนภา จนกระทั่งมีสถานะเป็น "..ปูกล้ามโพลก มีแต่เปลือก เกาะเมียกินเป็นแมงดาอยู่ทุกวัน" (นพนภา)

นพนภา: เศรษฐีใหม่ผู้ฝักใฝ่ในเกียรติยศ
ครอบครัวของนพนภาเป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่ได้ผลประโยชน์จากนโยบายพัฒนา เติบโตมาจากการค้าและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (เล็กๆ น้อยๆ ตามคำของนพนภา) คนกลุ่มนี้แม้จะสะสมความมั่งคั่งร่ำรวยขึ้นมาได้ แต่ในจิตใจลึกๆ แล้วกลับยังรู้สึกว่าตนเองเป็นพวกไร้ราก ไร้เกียรติยศ จึงต้องสร้างความสัมพันธ์กับพวกตระกูลขุนนางเก่าอย่างเจนภพ เนื่องจากว่า "บ้านของเขามีเงินล้นฟ้า แต่ไม่มีเกียรติไงครับ" (เจนภพ) ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะดิ้นให้หลุดออกจากภาพพ่อค้าหน้าเลือด ผู้ที่พร้อมจะกดขี่ขูดรีดคนอื่นอย่างๆ ไร้มนุษยธรรมเพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ดังที่เนตรนภิศกล่าวถึงพฤติกรรมของพี่สาวของตนเองไว้ว่า "ก็วิธีตอบแทนใครๆ ของพี่สาวชั้นไง เอาเงินฟาดหัวมันเข้า มันจะได้คลานมามอบแล้วกระดิกหางทุกครั้งเวลาเรียกใช้"

นอกจากนั้น การสร้างสายสัมพันธ์เชิงเครือญาติกับพวกตระกูลข้าราชการ ยังเป็นวัฒนธรรมสำคัญของนายทุนไทยในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเฉพาะในยุคของเผด็จการทหารจอมพลสฤษดิ์จนถึงจอมพลถนอมนั้น การมีเส้นสาย มี connection กับข้าราชการย่อมนำมาซึ่งสัมปทานและสิทธิพิเศษต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งย่อมเป็นผลประโยชน์กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของนพนภาอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งพันธมิตรระหว่างเจนภพ (ขุนนางข้าราชการ) กับนพนภา (นักธุรกิจนายทุน) นั้น พร้อมที่จะกดขี่บีฑาชนบท/ชาวบ้านอย่างมุตตาให้จมดิน จนกระทั่ง "มุตตาสูญเสียจนไม่เหลืออะไรเลย จากฝีมือมนุษย์ที่มีหัวใจเป็นสัตว์" (มุนินทร์)

วีกิจ: ชนชั้นกลางเมืองกรุงผู้หมดจด งดงาม
วีกิจเป็นตัวแทนชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่เติบโตมาจากนโยบายการพัฒนาเช่นเดียวกัน เขาถูกเลี้ยงดูมาแบบครอบครัวเดี่ยวในเมืองโดยแท้ ดังที่เขาได้เล่าให้มุตตาฟังว่า "พ่อผมตายตั้งแต่ผม 10 ขวบเอง แม่เลี้ยงผมมาตัวคนเดียว แม่ผมน่ะเป็นซูเปอร์มัมตัวจริงฮะ" เขาสมาทานศีลธรรมแบบชนชั้นกลางอย่างเต็มที่ เลือกที่จะเป็นข้าราชการตัวเล็กๆ เจียมเนื้อเจียมตัว กินอยู่อย่างพอเพียง ไม่ทำตัวโอ้อวดใหญ่โต แม้ว่าจะมีอาเป็นถึงผู้อำนวยการของหน่วยงานที่ตนทำงานอยู่ และเขาก็ไม่เคยคิดจะใช้บารมีของอาเพื่อส่งเสริมตนเองเลย ดังที่เขาได้กล่าวตอนที่นพนภาสร้างภาพออกสื่อไว้ว่า "พรุ่งนี้มีรายการสร้างภาพอีกแล้วซิฮะ...ให้อาภพกับอานภาเป็นพระเอกนางเอกไปเถอะฮะ ผมไปด้วยเดี๋ยวแย่งซีนเปล่าๆ"

บทละครเรื่อง "แรงเงา" มอบบทบาทสำคัญให้กับวีกิจ (กลุ่มชนชั้นกลาง) เขาเป็นคนที่คอยให้ความช่วยเหลือดูแลมุตตา สาวชนบทที่ต้องมาเผชิญกับชาวเมืองผู้โหดร้าย นอกจากนั้นเขายังเป็นตัวกลางที่ต้องคอยไกล่เกลี่ย สร้างความเข้าใจ สร้างความสมาฉันท์ให้กับความแตกแยกของเจนภพ (ขุนนางเก่า) นพนภา (พ่อค้านายทุน) มุนินทร์ (สาวชนบทสมัยใหม่) และมุตตา (สาวชนบทแบบเก่า) อีกด้วย

ในเนื้อเรื่องนั้น วีกิจเพียงแค่แอบเมตตา สงสาร เอ็นดู และคอยช่วยเหลือมุตตา (ชนบทแบบเก่า) จากการถูกรังแกจากรัฐและทุน (ผอ.เจนภพและภรรยา) แต่เขากลับ "หลงรัก" มุนินทร์ สาวชนบทใหม่ผู้มาดมั่น มีความรู้ เปี่ยมด้วยพลังอย่างสุดหัวใจ ดังที่ตัวเขาได้สารภาพกับมุนินทร์ไว้ว่า "เมื่อปีก่อน ผมเคยขอคบคุณเป็นแฟนแต่คุณปฏิเสธ รู้ไหมฮะวันนั้นผมไม่เจ็บเท่าไหร่ ผมถึงบอกตัวเองว่าผมคงไม่ได้รักคุณ แต่ช่วงหลังนี้ทุกอย่างมันเปลี่ยนไป คราวนี้มันกลับเจ็บ เจ็บอย่างที่ผมไม่เคยคิดว่ามันจะเจ็บได้ถึงขนาดนี้"

มุตตา: ชนบทแบบเก่า ถูกเหยียบย่ำ รังแก และไร้พิษสง
มุตตาเปรียบได้กับชาวชนบทรุ่นแรกที่ต้องอพยพเข้าสู่เมืองภายหลังนโยบายการพัฒนาของจอมพลสฤษดิ์ เธอเป็นชาวชนบทที่ไร้พิษสง "ไม่ใช่คนเข้มแข็ง..เปราะบางเกินไปด้วยซ้ำ" (วีกิจ) แต่ทว่าในอีกด้านหนึ่งก็ "ดูบริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนน้ำค้างกลางหาว" (สรรค์ เพื่อสนิทของเจนภพ) ซึ่งความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสาของเธอ ทำให้เธอต้องหลงติดกับอยู่ในวังวนคำหวานของเจนภพ ที่พร่ำพรรณนาบอกกับเธอว่า "ผมรักตา ตาคือทุกสิ่งทุกอย่าง คือชีวิต คือลมหายใจของผม" จนกระทั่งเธอต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไป

ประโยคเด็ดประโยคนี้ เปรียบดั่งโฆษณาชวนเชื่อที่รัฐบาลเผด็จการทหารในสมัยพัฒนา ที่พร่ำบอกกับประชาชนอยู่เสมอว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ซึ่งเมื่อชาวชนบทหลงเชื่อ ก็ต้องเผชิญกับความฉิบหายวายวอด และสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างไม่มีทางที่จะหวนกลับ

มุตตาจึงเป็นดังตัวแทนของชาวชนบทจำนวนมากที่ถูกปู้ยี่ปู้ยำจากรัฐและทุน จนสูญเสียทั้งเรือนร่าง ความบริสุทธิ์ ครอบครัว เครือญาติ จนกระทั่งวิญญาณ

มุนินทร์: ชนบทใหม่ผู้ไม่ศิโรราบ
แม้ว่านโยบายการพัฒนาจะได้ "ฆ่า" ชาวชนบทแบบเก่าอย่างมุตตาไปจากโลก แต่ในทางตรงกันข้าม นโยบายดังกล่าวก็ได้สร้างชาวชนบทแบบใหม่อย่างมุนินทร์ขึ้นมาด้วย เธอปรากฏตัวในละครฉากแรกในฉากสุดท้ายของมุตตา ดังนั้น ด้านหนึ่งของความตายของมุตตาก็คือการเกิดขึ้นมาของมุนินทร์

มุนินทร์เป็นสาวชนบทสมัยใหม่ผู้มาดมั่น เปี่ยมด้วยความรู้ เธอเรียนหนังสือและทำงานอย่างหนักหน่วงเพื่อเลื่อนชนชั้น จนรายได้ (นอกภาคการเกษตร) ที่เธอหามาสามารถเปลี่ยนฐานะของครอบครัวจากร้านขายกาแฟโบราณเล็กๆ จนกลายเป็นเจ้าของไร่ดอกไม้ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งจากประสบการณ์การสร้างเนื้อตัวด้วยลำแข้งดังกล่าว ทำให้เธอไม่ใช่ชาวชนบทที่ยอมก้มหัวศิโรราบให้แก่รัฐและทุนอีกต่อไป ดังที่เธอได้ประกาศกร้าวไว้ว่า "มุตตาคนเดิมไม่กลับมาแล้ว" แต่กระนั้นมุตตาก็ "จะไม่ตาย จะอยู่ค้ำฟ้าไปจนกว่าเขาทั้งสองคนจะพินาศไปก่อน"

เธอกลับมาเรียกร้องความยุติธรรม ในลักษณะตาต่อตาฟันต่อฟัน ซึ่งมาดใหม่ของเธอนั้นได้สร้างความหวาดหวั่นให้กับทั้งมิตรและศัตรู วิธีการ "เอาคืน" ของเธอทำให้วีกิจและกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ซึ่งมุนินทร์ได้อธิบายการกระทำของเธอเอาไว้ว่า "ฉันทำอย่างนั้นเพราะว่าฉันเป็นคน หรือคุณคิดว่าพวกคุณเท่านั้นที่เป็นคน แต่คนอื่น เป็นแค่สัตว์เดียรัจฉาน" ซึ่งสาวชนบทใหม่อย่างเธอนั้น ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ดังที่เธอเองได้อธิบายไว้ในอีกตอนหนึ่งว่า "ตาเลือกแบบนั้น มนุษย์มีสิทธิ์ที่จะเลือก มันอาจไม่ถูกต้อง แต่ตาเลือกไปแล้ว ในขณะที่ฉันเลือกที่จะให้ตายังอยู่ และกลับไปเรียกหาความยุติธรรม"

บทส่งท้าย
ละครเรื่องนี้มอบบทบาทสำคัญให้กับหนุ่มชนชั้นกลางอย่างวีกิจ ในการเป็นโซ่ข้อกลาง เรียกสติสตางค์ และสร้างความเข้าใจระหว่างคนกลุ่มต่างๆ จนนำมาสู่การอโหสิกรรมเลิกแล้วต่อกัน (สมานฉันท์??) ในที่สุด

แต่หากพิจารณาในบริบททางการเมืองไทยปัจจุบันแล้ว กลุ่มคนที่ไร้สติรองจากพวกขุนนางมากที่สุดก็ดูเหมือนจะเป็นพวกชนชั้นกลางในเมืองกรุงอย่างวีกิจ พวกเขารังเกียจชาวชนบทใหม่อย่างมุนินทร์ ที่เข้ามาเรียกร้องหาความยุติธรรมในกรุงเทพฯ และพร้อมที่จะใช้ยาขนานใดก็ได้เพื่อกวาดล้างเชื้อโรคเหล่านั้นออกไปให้สิ้นซาก ด้วยทัศนคติเช่นนี้ จึงเป็นไปได้ยากยิ่งที่เราจะพบจุดจบแบบสมานฉันท์อย่างที่ละครเรื่องนี้ได้วาดภาพเอาไว้ ซึ่งลึกๆ แล้ว "มุนินทร์" ก็ตระหนักถึงจิตใจของ "วีกิจ" เป็นอย่างดี เพราะเธอได้รำพันถึงมุตตาไว้ว่า "เขารักเธอ ไม่ได้รักฉัน" เพราะว่าในสายตาของชนชั้นกลางนั้น ชนบทที่น่ารัก บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา น่าคบหากว่ากันเยอะ

 

หมายเหตุ: คำพูดของตัวละครต่างๆ อ้างอิงจาก นิตยสารภาพยนตร์ ฉบับละคร, ปีที่ 9 ฉบับที่ 755. ซึ่งทำให้อาจจะไม่ตรงกับที่ปรากฏในละครทีวีมากนัก




[1] http://news.sanook.com/1149673/%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%98.-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87-%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1/

[2] http://www.thairath.co.th/content/life/301335

[3] อาทิเช่น ยุติ มุกดาวิจิตร, "ทำไมพระเองมันโง่จัง" ใน http://blogazine.in.th/blogs/yukti-mukdawijitra/post/3707 และ ธเนศร์ เจริญเมือง, "แรงเงา-แรงซ้ำรอยเดิมๆ" ใน http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43357

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลปกครองฟัน ขสมก.ผิดปล่อยควันดำ

Posted: 30 Oct 2012 09:49 AM PDT

ศาลปกครองสูงสุด ยืนตามศาลชั้นต้น ขสมก. ผิด ปล่อยควันดำ กำหนดมาตรการ รายงานการแก้ปัญหาทุก 3 เดือน 

30 ตุลาคม 2555 ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาคดีดำเลขที่ 915/2549 กรณีที่มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ยื่นฟ้ององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยปล่อยให้รถเมล์ของขสมก.และรถร่วมเอกชน ปล่อยควันดำสร้างมลพิษในเขตพื้นที่ กทม. หลังจากใช้ระยะเวลาในการไต่สวนตามกระบวนการของศาล นับตั้งมีการยื่นฟ้องครั้งแรกในวันที่ 28 พ.ย.2545 รวมเวลากกว่า 10 ปี
 
โดยการพิจารณาครั้งนี้ มีนายสุเมธ รอยกุลเจริญ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ในฐานะตุลาการเจ้าของสำนวนคดีดังกล่าว เป็นผู้แถลงคดี โดยผู้ถูกฟ้องร้องคือ ขสมก. ไม่ได้ส่งตัวแทนเข้าฟังการพิจารณาคดี มีเพียงนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน พร้อมด้วยตัวแทนจากมูลนิธิป้องกันควันพิษ และตัวแทนจากกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เข้าฟัง
 
ทั้งนี้ ตุลาการผู้แถลงคดี สรุปว่า ตามที่มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ยื่นฟ้ององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) เมื่อเดือนพ.ย. 2545 ว่าละเลยต่อหน้าที่ มิได้ดำเนินการให้การเดินรถของ ขสมก. และเอกชนที่ร่วมบริการเป็นไปโดยปลอดภัยไร้มลพิษควันดำ เป็นคดีดำเลขที่ 2007/2545 และได้ยื่นฟ้อง คพ. ว่าละเลยต่อหน้าที่ ไม่ได้ดำเนินการควบคุมป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบภาวะมลพิษทางอากาศในเขต กทม.ไม่ให้เกินมาตรฐานเป็นคดีหมายเลขดำที่ 2028/2545 รวมทั้งนายป๊อก แซ่เจีย กับพวกรวม 3 คน ได้ยื่นฟ้อง ขสมก. เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2026 /2545 กับได้ยื่นฟ้องกรมควบคุมมลพิษเป็นคดีหมายเลขดำที่ 2025/2545 โดยมีลักษณะข้อหาอย่างเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกัน ต่อมาศาลปกครองกลาง ได้พิพากษาเมื่อปี 2549 ว่า ขสมก.นั้นมีความผิดและมีคำสั่งให้ ขสมก. ดำเนินการตรวจสอบมลพิษจากรถยนต์ทั้งในส่วนของรถร่วม ขสมก. และรถร่วมบริการต้องส่งผลการตรวจสอบให้กับทางศาลทุก 3 เดือน ส่วนกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ศาลมีคำสั่งยกฟ้อง ซึ่ง ขสมก.ได้อุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.914 - 917/2549 นั้น ศาลปกครองสูงสุด ได้พิจารณาตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นแล้วว่า ผู้ถูกฟ้องร้องคดีที 1 ละเลยปล่อยให้รถ ขสมก.และรถร่วมบริการปล่อยควันดำจริง ทั้งที่เป็นหน้าที่ในการติดตามดูแลตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ส่วนผู้ถูกฟ้องที 2 มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบปัญหามลพิษทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ ตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ซึ่งพบว่า ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ไม่ได้ละ เลยในการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด จึงยืนยันตามคำพิพากษาเดิม แต่เนื่องจากผู้แถลง ไม่ได้ยื่นแถลงทางวาจาและหนังสือ ประกอบกับตุลาการผู้แถลงคดี ได้เสนอความคิดเห็นต่อองค์คณะศาลปกครอง โดยจะมีคำพิพากษาต่อไป และจะแจ้งให้คู่กรณีรับทราบ
 
ด้านนายศรีสุวรรณ กล่าวว่า พอใจกับคำพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดในครั้งนี้ เพราะการที่ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม ก็เท่ากับว่า เราชนะคดีที่รอคอยมานานนับ 10 ปีของชาวบ้านที่ร่วมฟ้องกับมูลนิธิป้องกันควันพิษ และสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ซึ่งจะใช้เป็นบรรทัดฐานในการฟ้องร้องหน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการสาธารณะ แต่ละเลยการทำหน้าที่ของตัวเอง โดยคาดว่าอีก 1 เดือนหลังจากนี้ศาลปกครองจะนัดฟังคำพิพากษาแล้ว หลังจากนั้น ขสมก.จะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบังคับคดีของศาลปกครอง กล่าวคือ จะต้องตรวจสอบสภาพรถ ขสมก. และรถร่วมบริการทุกคันไม่ให้ปล่อยควันดำ ออกสู่บรรยากาศทุกๆ 3 เดือนเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งจากข้อมูลที่เคยมีการรายงานต่อศาลเมื่อหลายปีก่อน ขสมก.มีรถเมล์มากกว่า 14,700 คัน แต่ขณะนี้น่าจะมีจำนวนมากขึ้นจากรถเมล์เช่าจากจีนที่นำเข้ามาเมื่อ 2-3 ปีก่อน
 
"คดีนี้ใช้เวลานานถึง 10 ปีแต่ถือเป็นบรรทัดฐานใหมที่ ขสมก.และรัฐวิสาหกิจอื่นๆต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะปัญหารถปล่อยควันดำที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพ และสิ่ง แวดล้อมของกทม.อย่างต่อเนื่อง ยังไม่นับกับปัญหารถเมล์ที่ด้อยคุณภาพและการร้องเรียนอื่นๆที่มีมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ทางสมาคมฯกำลังพิจารณาฟ้องร้องรถตู้เอกชน และรถตู้ร่วมบริการกับ บขส.เป็นรายต่อไป เพราะขณะนี้มีรถตู้ที่มีสภาพเก่า และปล่อยควันดำที่วิ่งบริการนับพันคันในเขตพื้นที่กทม.และปริมณฑล ที่เริ่มพบปัญหาปล่อยมลพิษแซงหน้ารถเมล์" นายศรีสุวรรณ กล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีฟ้องร้อง ขสมก.และคพ.นั้น เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพ.ย.2545 หลังจากมีรายงานปัญหามลพิษทางอากาศจากรถเมล์ควันดำ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการนำรถเมล์เก่ามาใช้วิ่ง ทำให้เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จนปล่อยควันดำออกมาสูง และส่งผลให้ค่าฝุ่นละอองในเขตกทม.เกินค่ามาตรฐานเฝ้าระวัง โดยมาตรการที่คพ.ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก แก้ไขปัญหาระยะแรกคือการตั้งจุดตรวจรถควันดำ โดยหากพบว่ารถเมล์มีควันดำ ก็จะพ่นที่ตัวรถว่า "ห้ามใช้เด็ดขาด" หรือ "ห้ามใช้ชั่วคราว" แต่ปัจจุบันมาตรการในการสุ่มตรวจวัดควันดำ ได้ยกเลิกไปหลายปีแล้ว เนื่องจากคพ.ไม่มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไปดูแลปัญหา
 
 
 
ที่มา: เรียบเรียงจากกรุงเทพธุรกิจ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'แผนที่เพื่อผู้ประสบภัย' นวัตกรรมใหม่ของกลุ่ม GEN-V

Posted: 30 Oct 2012 09:32 AM PDT

GEN–V สร้างโมเดลแผนที่รับมือน้ำท่วม ในพื้นที่บางใหญ่ หวังเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เผยแผนที่ดังกล่าวมีพร้อมทั้งความสูงต่ำของพื้นที่ ระดับน้ำท่วม และดัชนีความสัมพันธ์อื่นๆ


ประชุมอาสาสมัครก่อนลงพื้นที่สำรวจ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน


แผนที่ หมู่ 11


ลงสำรวจทำแผนที่


อาสาสมัครลงพื้นที่เก็บข้อมูล
 

เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมานับเป็นบทเรียนสำคัญในการเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต  ทั้งการติดตามข้อมูลข้าวสาร การเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติ  จากเหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มเยาวชนที่มีจิตอาสาต่างช่วยกันระดมทุนทั้งแรงกายและแรงใจในการร่วมกันระดมกำลังในการบรรจุถุงยังชีพ แต่ยังมีเยาวชนอีกกลุ่มหนึ่งที่เล็งเห็นว่านอกจากความต้องการในเรื่องของถุงยังชีพสิ่งหนึ่งที่ประชาชนต้องการคือ การเรียนรู้ที่จะรับมือกับภัยพิบัติ จึงเกิดการรวมตัวกันขึ้นมา โดยตั้งชื่อกลุ่มของตนเองว่า คนรุ่นใหม่ใจอาสา...เพื่อผู้ประสบภัย ดำเนินการโดยมูลนิธิโกมลคีมทอง และอาสาสมัครที่เรียกตัวเองว่า GEN V ภายใต้การสนับสนุนของทางมูลนิธิสยามกัมมาจล ที่มีนโยบายในการสนับสนุนเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ทำงานจิตอาสาได้ใช้ศักยภาพและความสามารถของตนในการเข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูชุมชนที่ประสบภัยตามพื้นที่ต่าง ๆ

นางสาวเพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง หรือนุ่น หนึ่งในกลุ่มอาสาสมัครดูแลเขตพื้นที่ ต.บ้านใหม่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี เกิดแนวคิดสร้าง แผนที่สำหรับน้ำท่วม  "เกิดจากการลงพื้นที่เมื่อปลายปีที่แล้ว 2554 โดยพบว่าปัญหาของชุมชนบางใหญ่คือ การคมนาคมที่ลำบาก โดยปกติหากขับรถยนต์เข้าไประยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรจากกาญจนาภิเษก แต่ในช่วงน้ำท่วม ต้องนั่งเรือเข้าไป ประมาณ 25 กิโลเมตร ประกอบกับระดับน้ำค่อนข้างลึก ช่วงระดับน้ำอยู่ที่ประมาณ 70-80 ด้วยความยากลำบากและไกล ทำให้ความช่วยเหลือค่อนข้างเข้าไปไม่ถึง จึงนำประเด็นเหล่านี้มาใช้ในการพูดคุยกับชุมชน

จากการจัดเวทีประชุมหารือ ตามวงต่าง ๆ พบว่า 3 โจทย์หลักที่ชุมชนให้ความสำคัญในตอนนั้นคือ เรื่องของการฟื้นฟูเกษตร การฟื้นฟูสถานที่สำคัญต่างๆ ในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน และการเตรียมความพร้อมชุมชนเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ  ในส่วนของตัวโครงการใหญ่ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ต้องการสร้างอาสาสมัครในเรื่องของการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ"

ซึ่งกลุ่ม GEN- V มีองค์ความรู้เรื่องของแผนที่ และเห็นว่าการทำแผนที่ประสบภัยพิบัติจะมีประโยชน์ต่อกลุ่มคน 2 กลุ่ม คือ คนในชุมชนและอาสาสมัคร ข้อมูลของแผนที่เป็นลักษณะเชิงลึกมากกว่าเรื่องของสถานที่สำคัญ หรือการทำแผนที่ในเชิงผังเครือญาติ แผนที่เชิงสังคมทั่วไป โมเดลแผนที่ตัวนี้จะนำเสนอในส่วนของความสูงต่ำของพื้นที่ เรื่องของระดับน้ำท่วม และในขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งในส่วนของดัชนีความสัมพันธ์ โดยเก็บข้อมูลในเรื่องของความสัมพันธ์เครือญาติ และสถานที่สำคัญ เช่น สถานที่อพยพก็จะถูกทำเอาไว้ในแผนที่ โดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ทางมหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ความรู้ในเรื่องของการอ่านแผนที่ การทำสัญลักษณ์ การลงแผนที่ เป็นการนำเอาเรื่องยากมาประยุกต์ให้เป็นเรื่องง่ายที่สามารถใช้ได้ จากนั้นน้องพลอยหนึ่งในอาสาสมัครที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำแผนที่ เสนอวิธีการทำแผนที่โดยการลอกเป็น Layer ออกมา ซึ่งตัวโครงร่างแผนที่ทางกลุ่ม GEN- V ได้ Crop จาก Google Arch ใช้แบบ 3A4( 3x3) จากนั้นนำเอาแผนที่ที่ได้ลงสู่ชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนชี้จุดสุดเขตของหมู่บ้านในแต่ละจุด โดยเริ่มจากหมู่ 11 สำหรับการลงพื้นที่ เพื่อสะดวกในเรื่องของการวางแผน และการจัดโซนในการเก็บข้อมูล โดยการเก็บข้อมูลทางกลุ่ม Gen-V จะเก็บข้อมูลทั่วไป และอัพเดทข้อมูลบ้านที่สร้างขึ้นมาใหม่แต่ยังไม่มีพื้นที่เพื่อเอาไปลงในแผนที่ตัวนี้ด้วย มีการสำรวจภาวะพึ่งพิง จะเก็บข้อมูลในส่วนของ ผู้ป่วย ผู้พิการ คนชรา และเด็กโดยแบ่งเป็นเด็กทารก(0-2ปี) เด็กเล็ก(2-7ปี) เพื่อสะดวกในการช่วยเหลือ พร้อมกันนี้ยังมีการสำรวจการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติของแต่ละครัวเรือนด้วย มีการสำรวจเรือของแต่ละโซนว่ามีเรือกี่ลำ เพื่อที่จะได้เห็นภาพของการช่วยเหลืออย่างชัดเจน เพราะที่ผ่านมาชุมชนจะมีปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนเรือ รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ของแต่ละบ้านด้วย

นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมข้อมูลระหว่าง Index กับแผ่นเก็บข้อมูล รันคู่กัน เป็นตัวเก็บข้อมูลกับแผนที่ แบ่งย่อยออกเป็น โซน A,B,C,D,จากนั้นทำการรัน codeไว้ เพื่อเชื่อมกับฐานข้อมูลให้เห็นในแง่ของการรวมข้อมูลใหญ่ว่าบ้าน B2 อยู่ตรงไหนของแผนที่ B2 มีอะไรบ้าง ในแง่ของความละเอียด เมื่อแปรผลรวมจะสามารถบอกได้อีกว่าโซน B มีเรือกี่ลำ น้ำท่วมลึกกี่เมตร มีผู้พิการกี่คน มีเด็กกี่คน ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้หมดในเรื่องของการจัดการชุมชน โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกลงในโปรแกรม Microsoft  Excel ในส่วนแผ่นเก็บข้อมูลจะถูกจัดใส่แฟ้มแบ่งเป็นโซน A โซน B หากทีมอาสาสมัครหรือผู้ที่เข้ามาสอบถามข้อมูลสามารถดูข้อมูลได้ทั้งในแฟ้มเอกสารและในโปรแกรม Excel โดยแบ่งโซนตามแผนที่ โดยแผนที่นี้จะถูกเก็บไว้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลา

นุ่นให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า แผนที่ตัวนี้คนที่จะใช้ได้จริงในหมู่บ้าน คือ ทีมจัดการในชุมชน โดยแผนที่ชิ้นนี้ทางกลุ่มอาสาสมัคร Gen-V สร้างขึ้นมาโดยเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ได้ในเวลาน้ำท่วม แต่หลักการในการทำนั้นเราสามารถปรับประยุกต์ได้กับทุก ๆ โจทย์ขึ้นอยู่กับว่าผู้ทำต้องการอะไร เช่น หากผู้ทำต้องการผังเครือญาติก็สามารถลอกใส่ Layer  เข้าไปได้อีก Layer หนึ่ง หรือหากต้องการทำเรื่องของโคลนถล่มก็สามารถทำเพิ่มเข้าไปได้อีกหนึ่ง Layer  เพราะหลักการทำนั้นเป็นหลักสากลทั่วไปที่สามารถทำได้

แม้การทำแผนที่เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ใจอาสา...ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จะเริ่มดำเนินการเป็นปีแรก แต่สิ่งหนึ่งที่เรามองเห็นจากกลุ่ม GEN-V นั่นคือความตั้งใจของเยาวชนที่มีความตั้งใจอยากที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยอย่างจริงจัง แต่หากมองในส่วนของผู้ประสบภัยแล้วนั้น "แผนที่" นอกจากจะมีประโยชน์ในเรื่องของน้ำท่วมแล้ว แต่ยังเป็นตัวเชื่อมชั้นดีในการที่จะดึงคนภายในชุมชนมาร่วมกิจกรรมในการสำรวจพื้นที่ ลูกบ้านและผู้นำชุมชนได้พูดคุยกันมากขึ้น ถือเป็นประโยชน์ 2 ต่อของการทำแผนที่ตัวนี้ โดยทางกลุ่ม GEN-V อีกก็ยังไม่หยุดนิ่งและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้ได้ในทุก ๆ พื้นที่ที่รับผิดชอบ....

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายบัณฑิตใต้ปั่นจักรยานเชื่อมเยาวชนกับสังคม

Posted: 30 Oct 2012 09:23 AM PDT

กิจกรรมปั่นจักรยาน "ปัน ปั่น ปั้น 2" เพื่อขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์กับทุกภาคส่วนในสังคม โดยมีเครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (INSouth) เป็นเจ้าภาพ

เมื่อวันที่ 18-19 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา กลุ่มเยาวชน นักศึกษา นักพัฒนาชุมชน และนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคมประมาณ 80 คน ร่วมกิจกรรมปั่นจักรยาน "ปัน ปั่น ปั้น 2" เพื่อขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์กับทุกภาคส่วนในสังคม โดยมีเครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (INSouth) เป็นเจ้าภาพ

กิจกรรมปั่นจักรยานในครั้งนี้เริ่มต้นออกจากตัวเมืองปัตตานี มุ่งหน้าสู่หาดตะโละสะมิแล อ.ยะหริ่ง ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร โดยช่วงกลางคืนมีเวทีเสวนาและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทั้งเก็บขยะและปัดกวาดทำความสะอาดมัสยิดในช่วงเช้าวันที่ 2

นายดีลละห์ เจะสุรี คณะกรรมาธิการ INSouth ในฐานะประธานโครงการ ปัน ปั่น ปั้น 2 (ขี่จักรยานเพื่อสุขภาพ) เปิดเผยว่า รูปแบบในการจัดโครงการครั้งนี้ออกแบบกิจกรรมตามความหมายของชื่อโครงการ คือ คำแรก "ปัน"หมายถึง การแบ่งปันความคิดดีๆ โดยเริ่มที่การมีจิตอาสาในการช่วยเหลือสังคม

คำที่สองคำว่า "ปั่น" หมายถึง การลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ได้คิด ชักชวนทำความดี คือความพยายามในรูปแบบของการ "ปั่น" จักรยาน

คำสุดท้าย "ปั้น"หมายถึงการให้ความสุข ให้ความหวัง และให้โอกาสในการทำความดีเพื่อ "ปั้น" สังคมและโลกนี้ให้น่าอยู่ ทั้งนี้ยังเป็นการรณรงค์สู่การสร้างสรรค์โอกาสให้กับการไม่ใช้ความรุนแรง เป็นการสร้างพลังสาธารณะเพื่อร่วมขับเคลื่อนสังคมสู่การเปลี่ยนแปลงโดยเร็วที่สุด

นายดีลละห์ เปิดเผยอีกว่า โครงการครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงการปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น กิจกรรม "วงเสวนาใต้เงาจันทร์" ภายใต้หัวข้อ"บทบาทคนหนุ่มสาวมุสลิม" โดยมีนายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิง อดีตรองเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2550 เป็นผู้นำการเสวนา และหัวข้อ "บทบาทคนหนุ่มสาวกับการเปลี่ยนแปลงสังคมท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์" มีนายตูแวดานียา ตูแวแมแง รองผู้อำนวยการสถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (YDA) เป็นผู้นำเสวนา รวมทั้งกิจกรรมเทศบาลอาสา "เก็บขยะให้ลิงดู" กิจกรรม "พระอาทิตย์ขึ้น ปัดกวาดมัสยิดต้อนรับรายอ"

นายอับดุลเลาะ ดอเลาะ กรรมการฝ่ายสื่อ INSouth และผู้ประสานงานโครงการเปิดเผยว่า โครงการนี้จัดขึ้นมาเพื่อขยายพื้นที่ทางสังคม ส่งเสริมและรณรงค์ให้คนหนุ่มสาวตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำสิ่งดีๆ แบบสบายๆ ง่ายๆ สไตล์เรา ต่อสังคมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมร้อยความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย

นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ อดีตรองเลขาธิการ สนนท. กล่าวในเวทีเสวนาว่า เมื่อพูดถึงหน้าที่ของคนหนุ่มสาวมุสลิมแล้วจะมีมากมายหลายหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ อย่างเช่น หน้าที่ของลูกต่อผู้ให้บิดามารดากำเนิด หน้าที่ของลูกศิษย์ต่อครูบาอาจารย์ หน้าที่ความเป็นผู้นำต่อผู้ตาม หน้าที่ของคนมุสลิมต่อเพื่อนร่วมศาสนา และหน้าที่ของคนหนุ่มสาวต่อสังคม

"หน้าที่ในการเผยแพร่และเชิญชวน (ดะวะฮฺ) ให้ทำในสิ่งที่ดี หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นหน้าที่ของเราเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะหน้าที่ที่มีต่อสังคม เราในฐานะคนหนุ่มสาวมุสลิมจำเป็นอย่างยิ่ง (วายิบ) ต้องปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้" มูฮำหมัดอาลาดี กล่าว

"วันนี้เราสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะอยู่เพื่อตนเองอย่างเดียว หรืออยู่เพื่อคนอื่นด้วย หรือเพื่อทั้งสองอย่าง ลองคิดดูว่าหากเราอยู่เพื่อให้มีชีวิตรอดไปวันๆ หมูป่ามันก็มีชีวิตอยู่เพื่อให้มีชีวิตรอดไปวันๆ เช่นเดียวกัน และหากเราคิดจะทำงานเพื่อปากท้องตนเองอย่างเดียว ลิงในป่าก็ทำงานเพื่อปากท้องตนเองเช่นเดียว ดังนั้นหากเราต้องการที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ เราต้องมีข้อแตกต่างจากหมูป่าและลิงเหล่านั้น" มูฮำหมัดอาลาดี กล่าวทิ้งท้าย

นายตูแวดานียา ตูแวแมแง รองผอ.YDA กล่าวในเวทีเสวนา "บทบาทคนหนุ่มสาวกับการเปลี่ยนแปลงสังคมท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์" ว่าขอนิยามคำว่า โลกาภิวัฒน์ ให้เข้าใจง่ายๆ คือ การทำให้เรื่องไกลตัวเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวได้อย่างเช่น เมื่อก่อนการเข้าถึงข่าวสารเป็นเรื่องยาก แต่วันนี้เกิดเหตุการณ์แค่เพียงวินาทีเดียวทุกคนก็รับรู้แล้ว เช่น เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ตากใบ ทุกคนสามารถรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว จนวันนี้ทุกคนก็ยังหาดูได้ผ่านโลกออนไลน์

"ดังนั้น เราในฐานะคนหนุ่มสาวในยุคปัจจุบันต้องหาช่องทางเพื่อไปมีบทบาทในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ให้ได้ ที่ผ่านมาเราได้ยินแต่ข้อเสียของโลกาภิวัฒน์ คือเป็นตัวเร่งทำให้เราเสียอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตนได้ง่ายเพราะการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วอย่างไร้พรมแดน ทำให้ความเป็นเอกวัฒนธรรมถูกรุมเร้าโดยพหุวัฒนธรรมอย่างคลุมเครือและสับสนว่าวัฒนธรรมแบบไหนที่ดีและแบบไหนที่ไม่ดี" ตูแวดานียากล่าว

ตูแวดานียากล่าวอีกว่า ข้อดีของโลกาภิวัตน์ก็คือการที่โลกเชื่อมต่อกันทุกมุมโลก ทุกพื้นที่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้นั้น เราก็ต้องใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่นี่ให้สังคมโลกได้รู้ โดยอาศัยความเป็นโลกาภิวัตน์ที่ไร้พรมแดนด้านการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายรุสลี มะทา ตัวแทนเยาวชนจากบ้านบือซู อ.บันนังสตา จ.ยะลา กล่าวว่าปกติชอบปั่นจักรยานอยู่แล้ว พอรู้ข่าวก็รีบตรวจสภาพจักรยานเพื่อเข้าร่วม ประทับใจมาก เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ไม่เหมือนที่เคยจัดในหมู่บ้าน และจะนำประสบการณ์ตรงนี้ไปจัดทำในหมู่บ้านตนเองต่อไป

นายรุสดี สาแมง ตัวแทนเยาวชนจากบ้านสะกำ อ.มายอ จ.ปัตตานี กล่าวว่าช่วงปั่นจักรยานมาเกือบ 30 กิโลเมตรก็รู้สึกเหนื่อย แต่เมื่อได้ร่วมกิจกรรมอื่นๆ รู้สึกประทับใจมาก ได้รู้ถึงหน้าที่ของตนเอง และรู้ถึงข้อบกพร่องของสังคมท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้ง

นางสาวนูเรียณี บือราเฮง ตัวแทนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีกล่าวว่าดีใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ถ้าเป็นไปได้อยากให้จัดกิจกรรมเช่นนี้อีก และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมบ้าง เช่น เปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงมาร่วมกันมากขึ้น

นายอิสมาแอล หะยีดอเลาะ เจ้าหน้าที่ประเมินหลักทรัพย์จากธนาคารพาณิชย์ในพื้นที่ กล่าวว่าการทำกิจกรรมที่เปิดพื้นที่สำหรับทุกภาคส่วนเช่นนี้ถือว่าดี ในฐานะคนทำงานในระบบธุรกิจเมื่อได้เข้ามาร่วมกิจกรรมก็รู้สึกดี อยากให้มีกิจกรรมเช่นนี้อีกเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยเฉพาะคนทำงานในระบบธุรกิจกับกลุ่มเพื่อนที่ทำงานในองค์กรเพื่อสังคม

 

......................................................................

Trailer VDO ปันปั่น ปั้น 2
http://www.youtube.com/watch?v=XXRagzhtPc8

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เวียดนามตัดสินจำคุก 'นักแต่งเพลง' 6 ปี

Posted: 30 Oct 2012 05:53 AM PDT

นักแต่งเพลงชาวเวียดนาม 2 คน ถูกตัดสินจำคุก 4 และ 6 ปีด้วยข้อหาเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐ จากการแต่งเพลงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและประเด็นทางสังคม 

30 ต.ค. 55 - นักแต่งเพลงชาวเวียดนาม 2 คน แทรน วู แอน บิน และ โว มิน ไตร ถูกศาลในกรุงโฮจิมินห์ตัดสินจำคุก 6 และ 4 ปีตามลำดับ ในข้อหาเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อ จากการแต่งเพลงที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาล โดยก่อนหน้านี้ ทั้งคู่ถูกคุมขังมาตั้งแต่ปีที่แล้ว มีรายงานว่า การไต่สวนของศาลใช้เวลาทั้งหมด 5 ชั่วโมง 

ทนายของทั้งสองกล่าวว่า ศาลได้สั่งให้จำเลยต้องถูกกักบริเวณในบ้านอีกเป็นเวลา 2 ปี หลังจากที่อยู่ในเรือนจำครบกำหนด และทนายยอมรับว่า ทั้งคู่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองที่ถูกแบน แต่ก็มิได้มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองโดยเฉพาะแต่อย่างใด 
 
การจับกุมในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการจับกุมชาวเวียดนามที่เคลื่อนไหวต่อต้านจีนมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อพิพาทระหว่างการแย่งชิงกรรมสิทธิ์หมู่เกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ โดยรายงานระบุว่า เนื้อหาของเพลงที่นักเขียนเพลงทั้งสองได้แต่งนั้น นอกจากจะวิจารณ์เรื่องประเด็นทางสังคมทั่วไปแล้ว ยังวิจารณ์ประเทศจีนและเวียดนามในประเด็นดังกล่าวด้วย 
 
องค์กรสิทธิมนุษยชนอย่างแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เรียกการดำเนินคดีของทั้งสองนักแต่งเพลงว่า เป็นสิ่ง "น่าขัน" และได้เรียกร้องให้ร้องให้รัฐบาลเวียดนามปล่อยตัวนักแต่งเพลงทั้งสองคนทันที โดยชี้ว่าพวกเขาเป็นนักโทษทางมโนธรรมสำนึก (Prisoners of Conscience) ที่ถูกคุมขังเพียงเพราะการแสดงความคิดเห็นตนเองผ่านทางดนตรีและกิจกรรมแบบสันติวิธี
 
ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ รัฐบาลเวียดนามได้ตัดสินจำคุกบล็อกเกอร์ชาวเวียดนาม 3 คนเป็นเวลา 12 ปี ในข้อหาเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาล นำมาซึ่งการคัดค้านจากสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และองค์กรสิทธิมนุษยชน  
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

น.ศ พรรคสามัญชน ค้านเวทีจัดการน้ำอีสาน จวกไม่เป็นธรรม-ขาดการมีส่วนร่วม

Posted: 30 Oct 2012 03:42 AM PDT

น.ศ พรรคสามัญชน ยกขบวนขวางเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการระบบเครือข่ายน้ำในพื้นที่วิกฤตน้ำ 19 พื้นที่ ก่อนทานไม่ไหวต้องปล่อยเวทีดำเนินต่อ ด้าน 'หาญณรงค์ เยาวเลิศ' ชี้ชาวบ้านมีความชอบธรรมที่จะเคลื่อนไหวค้านโครงการ

 
วันที่ 29 ต.ค.55 เวลาประมาณ 8.00 น.กลุ่มนักศึกษาในนาม "พรรคสามัญชน" จำนวนประมาณ 30 คนเข้าคัดค้านการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 4 (ปัจฉิมนิเทศโครงการ) พื้นที่ 9: ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ฝั่งขวา ในโครงการระบบเครือข่ายน้ำในพื้นที่วิกฤตน้ำ 19 พื้นที่ ณ ห้องประชุมพระธาตุขามแก่น ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ที่มี นายธนวัฒน์ พลอยโสภณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานการประชุม
 
ก่อนที่การประชุมจะเริ่มต้น กลุ่มนักศึกษาได้เข้าไปในห้องประชุมและได้ประกาศขอให้ยุติการประชุมครั้งนี้โดยให้เหตุผลว่าเวทีประชุมนี้ไร้ซึ่งกระบวนการการมีส่วนร่วมจากประชาชนที่ได้รับความเสียหาย จากนั้นจึงอ่านคำแถลงการณ์ของกลุ่ม ต่อมาจึงมีผู้ประชุมบางคนเข้ามาเจรจากับกลุ่มนักศึกษาที่คัดค้านโครงการระบบโครงข่ายน้ำฯ โดยอ้างเหตุผลว่าได้มีเวทีประชาวิจารณ์แล้วในเวทีครั้งก่อนๆ ซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เช่น อ.โคกโพธิ์ไชย และ อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น และขอให้กลุ่มผู้คัดค้านออกจากห้องประชุมเพื่อให้การประชุมได้ดำเนินต่อ
 
 
กลุ่มนักศึกษาตอบโต้ว่า เวทีที่ประชาวิจารณ์มีขึ้นก่อนหน้านี้นั้นไม่ใช่การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เป็นแต่เพียงการส่งตัวแทนซึ่งล้วนแต่มาจากองค์กรของภาครัฐทั้งสิ้นมาเข้าร่วม พร้อมยกประเด็นเรื่องเขื่อนห้วยสามหมอ ที่ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ "โขง เลย ชี มูน" ที่หากสร้างสำเร็จจะเป็นเขื่อนที่มีขนาดใหญ่กว่าเขื่อนภูมิพลซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศถึง 4 เท่า และมีพื้นที่กว่า 4 แสนไร่ทีได้รับผลกระทบ ต้องอพยพผู้คนกว่า 20,000 ครอบครัวหรือกว่าหนึ่งแสนคนออกจากพื้นที่ดังกล่าว และกลุ่มผู้คัดค้านยังคงยืนยันในเจตนารมณ์ต่อไปว่าจะไม่ยอมให้โครงการนี้เกิดขึ้น และจะไม่ล่าถอยจนกว่าจะยุติเวทีประชุมครั้งนี้
 
"การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผลประโยชน์ก็ไม่ได้ตอบสนองภาคประชาชนโดยแท้จริง ดังนั้นเวทีดังกล่าวจึงขาดความชอบธรรม และเราจึงต้องการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อแสดงจุดยืนให้มีการดำเนินการจัดเวทีใหม่โดยให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง" นางสาว ศศิประภา ไร่สงวน ตัวแทนพรรคสามัญชน กล่าว
 
 
สถานการณ์ภายในห้องประชุมเริ่มตึงเครียดขึ้น มีการปะทะคารมระหว่างผู้เข้าประชุมกับกลุ่มนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านอยู่ตลอดเวลา ส่วนด้านนอกห้องประชุมก็เริ่มวุ่นวาย โดยผู้ร่วมประชุมรายอื่นๆ เริ่มทยอยเข้ามาลงทะเบียน แต่ยังรอกันอยู่ข้างหน้าห้องประชุม จนกระทั่ง นายธนวัฒน์ พลอยโสภณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ต้องเข้ามาเจรจากับกลุ่มผู้คัดค้าน แต่สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ส่วนกลุ่มนักศึกษายังคงปราศรัยให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความวุ่นวาย จนกระทั่งผู้เข้าร่วมประชุมที่อยู่ภายนอกสามารถเข้ามาในห้องประชุมได้
 
 
จากนั้น เวลาประมาณ 9.15 น.เจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 15 นาย โดยบางนายพกพาอาวุธปืนเข้ามาในบริเวณที่ประชุมและพยายามกดดันให้กลุ่มผู้คัดค้านออกจากพื้นที่ ซึ่งผู้คัดค้านเองได้ทำการคล้องแขนเกี่ยวกันเป็นหน้ากระดานเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมได้ ต่อมากลุ่มนักศึกษาได้ส่งตัวแทนมาเจรจากับผู้จัดงานจนได้มีข้อตกลงว่าจะออกจากห้องประชุมโดยสันติและขอให้รับรองความปลอดภัยของกลุ่มผู้คัดค้านด้วย
 
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) กล่าวถึงการประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการระบบเครือข่ายน้ำฯ ในครั้งนี้ว่าเป็นเพียงขั้นของการศึกษาของโครงการที่พยายามจะรวมน้ำในลุ่มน้ำชีมาไว้ที่เดียวกัน โดยไม่ได้คำนึงถึงบริบทชีวิตความเป็นอยู่ของคนในลุ่มน้ำ
 
นายหาญณรงค์ แสดงความเห็นว่า ถือเป็นโครงการที่อัปลักษณ์ที่จะศึกษาความเหมาะสม (FS) ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) โดยที่การทำประชาวิจารณ์หรือกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาไม่พร้อมกัน ทั้งนี้ กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนควรให้ประชาชนมีส่วนกำหนดตัวโครงการก่อนที่จะเริ่มขบวนการทั้งหมด ไม่ใช่รวบมาเป็นกระบวนการเดียว
 
"แม้โครงการจะมีงบประมาณมากแต่ไม่ใช่ตัวกำหนดว่าโครงการว่าดี ซึ่งโครงการนี้ใช้งบศึกษาถึง 865 ล้านบาท ชาวบ้านจึงมีความชอบธรรมที่จะเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการ" นายหาญณรงค์กล่าว
 
อีกทั้ง เวทีการมีส่วนร่วมที่ประชาชนไม่ได้ร่วมให้ความเห็นอย่างแท้จริง ส่วนมากจะไม่ได้ยกเรื่องความต้องการของประชาชนในพื้นที่โครงการและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมาเป็นประเด็นในการพูดคุย ดังนั้นเราจึงมีบทเรียนมากมาย ที่ว่าโครงการจัดการน้ำของรัฐไม่ได้ตอบสนองต่อภาคประชาชน
 
ที่มาภาพ: http://www.thaiwatergrid.com/
 
ทั้งนี้ โครงการระบบเครือข่ายน้ำในพื้นที่วิกฤตน้ำ 19 พื้นที่ เพื่อทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ มีสาระสำคัญ คือ 1.ศึกษาวางโครงข่ายการพัฒนา ปรับปรุง อนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำต้นทุน สำหรับการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม และปัญหาความยากจน ในมิติการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาจัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA)
 
2.ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (FS) งานศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) งานศึกษาประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA) และงานศึกษาประเมินผลกระทบด้านสังคม (Social Impact Assessment: SIA) ของโครงการระบบเครือข่ายน้ำในพื้นที่วิกฤตน้ำ 19 พื้นที่เครือข่าย ครอบคลุม พื้นที่ปกครอง 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ
 
โครงการระบบเครือข่ายน้ำในพื้นที่วิกฤตน้ำ 19 พื้นที่เครือข่าย ประกอบด้วย พื้นที่ 1 ห้วยน้ำโสม พื้นที่ 2 ห้วยน้ำโมง พื้นที่ 3 ห้วยน้ำสวย พื้นที่ 4 ห้วยหลวง พื้นที่ 5 ลำพะเนียง พื้นที่ 6 เหนือเขื่อนอุบลรัตน์ พื้นที่ 7 น้ำเชิญ-น้ำพรม พื้นที่ 8 ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ฝั่งซ้าย พื้นที่ 9 ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ฝั่งขวา พื้นที่ 10 ลำปาวตอนบน พื้นที่ 11 ห้วยสายบาตร พื้นที่ 12 ลำปาวฝั่งขวา พื้นที่ 13 ลำปาวฝั่งซ้าย พื้นที่ 14 น้ำสงครามตอนบน พื้นที่ 15 น้ำสงครามตอนกลาง พื้นที่ 16 น้ำสงครามตอนล่าง พื้นที่ 17 น้ำยาม พื้นที่ 18 น้ำอูน พื้นที่ 19 ริมน้ำโขง
 
โดยมีขอบเขตการศึกษา ดังนี้ 1)งานศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) ในการบริหารจัดการน้ำภายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้น้ำพรมแดนแม่น้ำโขง และการใช้น้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน 2) งานศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (FS) งานศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) งานศึกษาประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA) และงานศึกษาประเมินผลกระทบด้านสังคม (Social Impact Assessment: SIA) ของโครงการระบบเครือข่ายน้ำในพื้นที่วิกฤตน้ำ 19 พื้นที่เครือข่าย
 
3)งานศึกษา ติดตั้งสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำ (โทรมาตร) และติดตาม ตรวจวัดปริมาณน้ำในแม่น้ำชี แม่น้ำมูล และบริเวณพรมแดนแม่น้ำโขง (ฝั่งไทย) 4)งานศึกษาจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารน้ำอย่างบูรณาการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5)งานศึกษารูปแบบองค์กร การบริหารจัดการน้ำ การปรับโครงสร้างการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการตลาด ตลอดจนกฎระเบียบ ข้อบังคับ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ 6)งานรับฟังความคิดเห็น การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
 
 
อ่านข้อมูลโครงการที่:

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: สรุปข้อต่อสู้คดี 112 บนเฟซบุ๊ค ‘เราจะครองxxxx’ ก่อนพิพากษาพรุ่งนี้

Posted: 30 Oct 2012 02:59 AM PDT

 

พรุ่งนี้ (31 ต.ค.55)  เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดา จะมีการพิพากษา คดีของนายสุรภักดิ์ จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3)

มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

 

สุรภักดิ์ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 ก.ย.54 ไม่ได้ประกันตัวและอยู่ในเรือนจำจนถึงปัจจุบัน

สุรภักดิ์ อายุ 40 ปี เป็นโปรแกรมเมอร์ที่เพิ่งจัดตั้งบริษัทของตนเอง รับจ้างออกแบบระบบให้บริษัทเอกชนต่างๆ รวมถึงรัฐวิสาหกิจด้วย

เขาถูกกล่าวหาว่า เป็น "เจ้าของ" บัญชีเฟซบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า "เราจะครองxxxx"  โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดทั้งสิ้น 6 ข้อความ แต่เมื่ออัยการทำคำฟ้องปรากฏเพียง 5 ข้อความ (4 พ.ค.54, 18 มิ.ย.54, 22 มิ.ย.54, 23 มิ.ย.54, 16 ส.ค.54) ดังนั้น หากศาลพิพากษาให้เขามีความผิดจริง เขาจะมีความผิด 5 กรรม

สุรภักดิ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาทั้งในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวน โดยระบุด้วยว่า ไม่ใช่เจ้าของอีเมล์และเฟซบุ๊คดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หลังสุรภักดิ์ถูกจับกุม เฟซบุ๊คบัญชีนี้ยังเปิดใช้งานและมีความเคลื่อนไหวอยู่

ความเป็นมาของคดีนี้เริ่มต้นจาก มีประชาชนทั่วไปชื่อ มานะชัย แจ้งเบาะแสไปยังกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. โดยแจ้งว่ามีเฟซบุ๊คที่กระทำความผิดดังกล่าว มีเจ้าของเป็นนายสุรภักดิ์ พร้อมให้ชื่อ-นามสกุล-ที่อยู่ แก่เจ้าหน้าที่ด้วย โดยในการสืบพยานในศาล เจ้าหน้าที่เบิกความว่าไม่รู้และไม่ได้ตรวจสอบว่าบุคคลผู้ให้เบาะแสนี้คือใคร และไม่สามารถนำตัวผู้แจ้งเบาะแสมาเบิกความได้

จากนั้นไม่นานจึงมีนักศึกษาราชภัฏคนหนึ่งไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ ทำให้เรื่องนี้เป็นคดีขึ้นมาอย่างเป็นทางการ พยานปากนี้ขึ้นเบิกความในชั้นศาลด้วย ซึ่งทั้งพยานและจำเลยไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว อย่างไรก็ตาม พยานปากนี้ระบุว่าได้ปลอมตัวเป็นคนเสื้อแดงเข้าไปเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊คที่ถูกกล่าวหาดังกล่าว จึงสามารถเห็นข้อความหมิ่นที่ถูกโพสต์ได้ และทำการ capture หน้าจอ ปริ๊นท์ออกมาเป็นหลักฐานให้ตำรวจ

นักศึกษาราชภัฏยังระบุถึงความเชื่อมโยงระหว่างอีเมล์และเฟซบุ๊คที่กระทำผิดไว้ว่า พยานเป็นสมาชิกในอีเมล์กรุ๊ปหนึ่งของกูเกิลกรุ๊ป และได้นำอีเมล์สมาชิกคนหนึ่ง คือ dorkao@hotmail.com (ดอกอ้อ) ไปค้นหาใน google ผลการค้นหาพบหน้าเฟซบุ๊คบัญชี เราจครองxxxx จึงสันนิษฐานว่าเจ้าของอีเมล์นี้เป็นเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊คดังกล่าวด้วย ต่อมาจึงได้ทราบในภายหลังจากตำรวจว่า อีเมล์ดังกล่าวนั้นคือนายสุรภักดิ์

สิ่งที่น่าสนใจในคดีนี้ คือ การต่อสู้กันระหว่างพยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยและตัวจำเลยเอง กับ พยานผู้เชี่ยวชาญฝ่ายโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นกองพิสูจน์หลักฐาน , เนคเทค (ไอซีที)

กองพิสูจน์หลักฐานซึ่งตรวจสอบคอมพิวเตอร์ของกลางระบุว่า ไม่พบถ้อยคำหมิ่นสถาบันตามที่พนักงานสอบสวนให้ตรวจเช็คหลายรายการ แต่พบร่องรอยการใช้อีเมล์ dorkao@hotmail.com  และการใช้เฟซบุ๊คเจ้าปัญหาในฐานะเจ้าของเพจ โดยทำการกู้จาก temporary file  ขึ้นมาได้อย่างละ 1 ไฟล์

อย่างไรก็ตาม ข้อต่อสู้ที่สำคัญของฝ่ายจำเลยคือ คอมพิวเตอร์ของกลางดังกล่าวมีการเปิดใช้เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์ในวันที่ 2 ก.ย.เวลากลางคืน และ 7 ก.ย.54 (อ้างอิงตามเอกสารที่อยู่ในสำนวนคดี) ทั้งที่จำเลยถูกจับกุมและอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย.54 ช่วงบ่ายแล้ว ซึ่งเมื่อพยานจากกองพิสูจน์หลักฐานดูเอกสารก็รับว่าเป็นเช่นนั้น

ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ใช้ในการต่อสู้ เนื่องจากคดีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลักการที่ต้องไม่เปิดคอมของกลางอีกเลย ดังที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีนี้ก็ได้เบิกความไว้ว่าการส่งคอมพิวเตอร์จากพนักงานสอบสวนไปให้กองพิสูจน์หลักฐานต้องผนึกหีบห่ออย่างดี จะเปิดได้ต่อเมื่อส่งถึงผู้ชำนาญการแล้วและมีการทำสำเนาข้อมูลออกมาโดยไม่เปิดเครื่อง ที่ทำเช่นนี้เพราะถ้าเปิดดูก่อนเครื่องจะบันทึกการเปิดเครื่องไว้ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลักฐานที่ได้มา

นอกจากนี้ยังมีการต่อสู้กันว่า temporary file หรือ cache ที่เจ้าหน้าที่กู้ได้และใช้เป็นหลักฐานในคดีนี้ เป็นเอกสารจริงหรือไม่

เนื่องจากฝ่ายจำเลยชี้ว่าฮอตเมล์และโดยเฉพาะเฟซบุ๊ค จะมีระบบที่กำหนดไม่ให้คอมพิวเตอร์ผู้ใช้งานเก็บ temporary file ใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งาน อีกทั้งตามหลักฐานในสำนวนยังพบว่ามีการเก็บไฟล์ดังกล่าวใน partition ที่สองของเครื่อง ไม่ใช่ partition หลัก ซึ่งเชื่อว่าผิดปกติ

ที่สำคัญฝ่ายจำเลยระบุว่า ไฟล์ที่เกิดจาก cache file จะไม่มี source code ในภาษา html ส่วน source code ที่เจ้าหน้าที่ได้มาและใช้เป็นหลักฐานในคดีนั้นเป็นการ copy มาจากหน้าเว็บโดยการเข้าไปในเว็บไซต์เฟซบุ๊คแล้วคลิ๊กขวาคัดลอก source code โดยเปลี่ยนข้อความให้เป็นอีเมล์ที่ต้องการ (dorkao@hotmail.com  เพื่อระบุความเป็นเจ้าของ-ประชาไท) แล้วนำมาลงไว้ใน partition 2 เสมือนว่าเจ้าของเครื่องได้เข้าไปใช้เว็บไซต์นั้นจริงๆ อีกทั้งในเอกสาร source code ที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นหลักฐานการเข้าใช้เฟซบุ๊คเพจ ก็เป็นภาษา htm ขณะที่ source code ของเฟซบุ๊คใช้ภาษา php  

ดังนั้นจำเลยจึงสันนิษฐานว่า ไฟล์ที่เอามาใช้ฟ้องคดีนี้เป็นการคัดลอก source code จากเว็บมาวางใน note pad แล้วแก้ไขสาระสำคัญที่ต้องการ จากนั้นก็ทำการบันทึกซึ่งจะบันทึกเป็นนามสกุลใดก็ได้ ในกรณีนี้บันทึกเป็นนามสกุล html แล้วนำไปเก็บไว้ในเครื่อง จากนั้นใช้โปรแกรม internet explorer อ่าน โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็ได้ เพราะไฟล์ลักษณะนี้เป็นชิ้นส่วนของเว็บไซต์ที่ไม่ต้องต่ออินเตอร์เน็ต และสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงถ้อยคำได้ จากชื่อเพจดังกล่าวจะเปลี่ยนให้เป็นเพจเรารักในหลวงก็สามารถทำได้

คำเบิกความของทั้งสองฝ่ายก็ต่างสนับสนุนข้อสันนิษฐานของตนเอง แต่สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับคดีนี้คือ การที่ศาลอนุญาตให้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมประกอบการอธิบาย โดยให้ฉายผ่านโปรเจ๊กเตอร์ไปยังผนังห้องเพื่อให้เห็นกันได้อย่างสะดวก ขณะในคดี 112 ที่เกี่ยวพันกับคอมพิวเตอร์ก่อนหน้านี้ ศาลมักไม่อนุญาตให้เอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ประกอบ ด้วยเหตุผลว่าไม่ว่าเรื่องจะซับซ้อนเพียงใดก็สามารถใช้การอธิบายผ่านปากผู้เชี่ยวชาญของสองฝ่ายได้ และเปิดไปศาลก็ไม่เข้าใจ

อย่างไรก็ตาม เมื่อคดีนี้อนุญาตให้มีการใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการอธิบาย ทำให้ฝ่ายจำเลยสามารถเรียกร้องให้พยานฝ่ายโจทก์สาธิตให้ดูว่า การเปิดใช้เฟซบุ๊คจะมีการเก็บ temporary file หรือไม่  ซึ่งปรากฏว่าไม่มี แต่พยานโจทก์ระบุว่าอาจเป็นเพราะ browser ของคอมพิวเตอร์ที่กำหนดให้เก็บหรือไม่เก็บก็ได้ นอกจากนี้ฝ่ายจำเลยยังมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสาธิตให้ดูได้ว่า ไฟล์ html ไม่สามารถใช้กับเฟซบุ๊คได้ การปรับแต่งหลักฐาน หากจะมีเกิดขึ้นนั้นกระทำได้ง่ายเพียงใด และสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าวันเวลาให้เป็นตามต้องการได้ด้วย ส่วนผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงให้ศาลเห็นได้ว่า source code ของเฟซบุ๊คในส่วน header จะมีคำสั่งไม่ให้เครื่องผู้ใช้มีการเก็บ cache file จริง

หากจะดูรายละเอียดของคดีไล่ตั้งแต่การจับกุมจนถึงการเบิกความของพยานปากต่างๆ ทั้งของโจกท์และจำเลย แหล่งข้อมูลที่ละเอียดที่สุดในเวลานี้ก็คือ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม หรือ iLaw  (คดีสุรภักดิ์ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/176#detail ) ก่อนจะรับฟังคำพิพากษาร่วมกันในวันที่ 31 ต.ค.นี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“โอปป้า ชอมสกี้ สไตล์” เมื่อนักศึกษา MIT ชวน "นอม ชอมสกี้" เข้าฉาก MV ล้อ “กังนัมสไตล์”

Posted: 30 Oct 2012 12:41 AM PDT

มิวสิควิดีโอ "กังนัมสไตล์" (Gangnam Style/강남스타일) และท่าเต้นขี่ม้าล่องหนของปาร์ก แจซัง (Park Jae-sang) หรือไซ (PSY) นักร้องเกาหลีใต้นอกจากยอดเข้าชม 592 ล้านครั้งในยูทูป และดังจนบริทนีย์ สเปียร์ส โพสต์ลงทวิตเตอร์ว่าอยากเรียนเต้น "กังนัมสไตล์" และต่อมารายการ The Ellen DeGeneres Show ต้องเชิญปาร์ก แจซังมาสอนบริทนีย์ในรายการแล้ว ยังมีคนดังนำท่ากังนัมสไตล์ไปเต้น ทั้งอีริก ชมิตต์ ผู้บริหาร Google ที่เต้นระหว่างเยือนเกาหลีใต้ เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่ถูกอ้างถึงโดยบอริส จอห์นสัน นายกเทศมนตรีลอนดอนว่าได้เต้น "กังนัมสไตล์" ด้วยกัน อ้าย เหว่ย เหว่ย ศิลปินจีนที่ต่อต้านรัฐบาลปักกิ่งก็ออกมาทำเอ็มวีล้อ รวมไปถึง เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ บัน คีมุน ที่ปาร์ก แจซังไปสอนเลขาธิการยูเอ็นเต้นกังนัมสไตล์ กันถึงที่ทำการยูเอ็นกันเลยทีเดียว

เวอร์ชั่นล้อกังนัมสไตล์ยังถูกผลิตออกมาเรื่อยๆ ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมา  มีการเผยแพร่เอ็มวี "MIT Gangnam Style (MIT 강남스타일)" ถ่ายทำโดยนักศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) หรือ MIT เพื่อล้อต้นฉบับ "กังนัมสไตล์" ของปาร์ก แจซัง โดยขณะที่รายงานข่าวอยู่นี้ (30 ต.ค.) คลิปดังกล่าวมีผู้เข้าชมเกิน 5.4 แสนครั้งแล้วหลังจากปล่อยมาได้เพียง 4 วัน และคาดว่าจะเกินล้านวิวภายในไม่กี่วันนี้

สำหรับมิวสิควิดีโอ "MIT Gangnam Style" กำกับและตัดต่อโดย เอ็ดดี้ ฮา (Eddie Ha) ผลิตโดย อิงวอน แจ (Ingwon Chae) ส่วนผู้แสดงเป็น "MIT PSY" หรือปาร์ก แจซัง ในเวอร์ชั่น MIT คือริชาร์ด ยูน (Richard Yoon)

มิวสิควิดีโอ MIT Gangnam Style (ที่มา: MIT GangnamStyle/youtube.com)

ภาพจากมิวสิควิดีโอ MIT Gangnam Style (ที่มา: MIT GangnamStyle/youtube.com)

 

ทั้งนี้ในบล็อกของ Anna H. หนึ่งในชาว MIT ได้อัพบล็อกเรื่อง MIT Gangnam Style โดยเล่าว่าเริ่มจาก คริส ปีเตอร์สัน (Chris Peterson) อีเมล์เมื่อ 13 กันยายนไปยังบล็อกเกอร์ให้ทราบว่าสมาคมนักศึกษาเกาหลีที่  MIT กำลังถ่ายทำมิวสิควิดีโอกังนัมสไตล์ และช่วงต้นเดือนตุลาคมเธอก็ได้เห็นเมล์ลิสต์รายชื่อของคณะที่จะซ้อมเต้นกังนัมสไตล์ และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม ก็มีแฟลชม็อบกังนัมสไตล์ที่หน้าตึก "Killian Court" ซึ่งเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คของ MIT และเช้าวันนี้ (Anna H. อัพบล็อกเมื่อ 27 ตุลาคม) ก็มีการปล่อยเอ็มวีดังกล่าวออกสู่สาธารณะ

สำหรับเนื้อหาของเอ็มวีนอกจาก "แฟลชม็อบกังนัมสไตล์" และ "การล้อ" โดยอาศัยสถานที่ต่างๆ ใน MIT เป็นฉากหลังแล้ว ที่น่าสนใจก็คือในเอ็มวี "MIT Gangnam Style" ยังมีการนำผู้มีชื่อเสียงใน MIT มาร่วมแสดงด้วยอย่าง นอม ชอมสกี้ (Noam Chomsky) ศาสตราจารย์ทางรัฐศาสตร์ ผู้วิจารณ์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และผู้วางรากฐานวิชาภาษาศาสตร์สมัยใหม่ โดยในการปรากฏตัว 5 วินาทีของนอม ชอมสกี้ ในนาทีที่ 3.19 เขาไม่ได้ออกท่าทางอะไรมากนอกจากยกถ้วยชาขึ้นมาดื่มและพูดด้วยสีหน้าเรียบเฉยว่า "Oppa Chomsky Style" จากนั้นก็ตัดเป็นฉากแดนซ์กระจายโดยชาว MIT

ซึ่งตรงข้ามกับ เอริก แลนเดอร์ (Eric Lander) ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา ประจำ MIT และประธานร่วมในสภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งดูเหมือนจะรับบทหนักกว่าอยู่มาก โดยเอริก ผู้เป็นประธานโครงการวิจัยยักษ์ "Human Genome Project" ทำแผนที่ของพันธุกรรมมนุษย์ ปรากฏอยู่ในคลิปประมาณ 13 วินาทีเริ่มตั้งแต่นาทีที่ 1.42 โดยเอริกได้ตรงเข้ามาเต้นคู่กับ "MIT PSY" ต่อจากนั้นทั้งคู่ก็ปีนขึ้นไปเต้นบนโต๊ะกลางห้องบรรยายกันเลยทีเดียว

เอริก แลนเดอร์ ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาเต้นกังนัมสไตล์กลางห้องบรรยาย (ที่มา: HMSFrench/youtube.com)

 

นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อ 20 ตุลาคม ก็มีผู้เผยแพร่คลิปเบื้องหลังการถ่ายทำฉากดังกล่าว ที่จู่ๆ เอริก ก็หยุดการบรรยายแล้วมาเต้นกังนัมสไตล์ด้วย

นอกจากนอม ชอมสกี้ และเอริก แลนเดอร์แล้ว ยังมีคนดังใน MIT อื่นมาร่วมแสดงในเอ็มวีด้วยเช่น สตู ชมิลล์ (Stu Schmill) คณบดีฝ่ายสำนักทะเบียน MIT ที่รับบทให้ "MIT PSY" ซบไหล่ รวมถึงโดนัลด์ ซาโดเวย์ (Donald Sadoway) ศาสตราจารย์ด้านเคมีวัสดุ ผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่และติด 1 ใน 100 บุคคลทรงอิทธิพลของโลกของนิตยสาร Time ในปี 2012 สำหรับงานวิจัยเพื่อการพัฒนาแบตเตอรี่โลหะเหลว (ฟังคำบรรยายเรื่องแบตเตอรี่ของเขาที่นี่)

เอ็ดดี้ ฮา ผู้กำกับมิวสิควิดีโอดังกล่าวให้สัมภาษณ์กับ "ประชาไท" เพิ่มเติมว่า ดูเหมือนศาสตราจารย์นอม ชอมสกี้เองจะเคยได้ยินเกี่ยวกับกังนัมสไตล์มาก่อน เช่นเดียวกับศาสตราจารย์เอริก แลนเดอร์ และศาสตราจารย์โดนัลด์ ซาโดเวย์  อย่างไรก็ตามกับคำถามที่ว่านอม ชอมสกี้เต้นท่ากังนัม สไตล์ด้วยหรือไม่ ผู้กำกับตอบว่า เขายังไม่ควรกล่าวถึงวิดีโอส่วนที่ยังไม่ได้รับการเผยแพร่ เนื่องจากพวกเขาอาจจะเผยแพร่คลิปวิดีโอเพิ่มในภายหลังอีก

ส่วนข่าวคราวล่าสุดของมิวสิควิดีโอกังนัมสไตล์ต้นฉบับนั้น ล่าสุดยังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลวิดีโอยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัล MTV Europe Music Awards ประจำปี 2012 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้อีกด้วย

 

 

เรียบเรียงจาก

MIT Gangnam Style (MIT 강남스타일), 27 Oct 2012, youtube.com http://www.youtube.com/watch?v=lJtHNEDnrnY

MIT Gangnam Style, by Anna H., 27 Oct 2012, http://mitadmissions.org/blogs/entry/mit-gangnam-style

Eric Lander, Wikipedia, retrieved, 30 Oct 2012, http://en.wikipedia.org/wiki/Eric_Lander

Donald Sadoway, Wikipedia, retrieved, 30 Oct 2012, http://en.wikipedia.org/wiki/Donald_Sadoway

Noam Chomsky, Wikipedia, retrieved, 30 Oct 2012, http://en.wikipedia.org/wiki/Noam_Chomsky

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักสหภาพแรงงานเกาหลีชี้ ‘นักสหภาพฯ’ ต้องมีจิตสำนึก ‘คนงาน’ มากกว่า ‘ลูกจ้าง’

Posted: 29 Oct 2012 04:55 PM PDT

นักสหภาพแรงงานเกาหลีระบุจิตสำนึก "คนงาน" ต่างจาก "ลูกจ้าง" นักสหภาพต้องมีจิตสำนึกคนงานเพื่อต่อรองกับนายจ้าง และความมุ่งหวังของคนงานคือ "แรงงานสัมพันธ์ที่มีสันติ" เครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ไปถึงคือ "การเจรจาต่อรอง" และความเข้าใจเรื่อง "มาตรฐานแรงงานสากล" จำเป็นสำหรับกิจกรรมสหภาพแรงงาน

ยูน เฮียววัน (Yoon Hyowon) ผู้ประสานงาน IndustriAll

เมื่อวันที่ 27 - 28 ต.ค. 55 ที่โรงแรมเวอโรนิก้า กรุงเทพฯ สหพันธ์แรงงานสากล IndustriAll ได้จัดเสวนา "มาตรฐานแรงงานสากลและการเจรจาต่อรองร่วม" โดยในหัวข้อ "มาตรฐานสากลสำหรับนักสหภาพแรงงาน" ยูน เฮียววัน (Yoon Hyowon) ผู้ประสานงาน IndustriAll เป็นผู้นำเสวนา

 

นักสหภาพแรงงานต้องมีจิตสำนึก "คนงาน" ไม่ใช่ "ลูกจ้าง"

ยูนกล่าวถึงประเด็นการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ทั้งนี้แนวความคิดของนักสหภาพแรงงานอาจจะดูไม่เหมือนกับกลุ่มนักกิจกรรมอื่นๆ ที่เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชนแต่ไม่กล่าวถึงสิทธิแรงงาน ยูนกล่าวว่าถ้าไม่มีสิทธิแรงงานแล้วก็จะไม่เกิดสิทธิมนุษยชน และแก่นของการจัดตั้งสหภาพแรงงาน มีอยู่สองเรื่องสำคัญที่ต้องพูดถึง นั่นก็คือเรื่องการเรียกร้อง "ผลประโยชน์" (Interest) และการปกป้อง "สิทธิ" (Right) ให้กับคนงาน

เมื่อพูดถึงคำว่าคนงานแล้ว ยูนให้ภาพว่านักสหภาพแรงงานต้องมีมุมมองต่อคำว่า "คนงาน" (Worker) กับ "ลูกจ้าง" (Employee) ให้ต่างกัน เพราะจะมีผลต่อทัศนคติการทำงานในฐานะนักสหภาพแรงงาน

ทั้งนี้ความเป็น "คนงาน" นั้นมันจะติดตัวนักสหภาพฯ ไปตลอดเวลา เพราะหากเราคิดว่าเราเป็นแค่ "ลูกจ้าง" ที่หมายถึงการเป็นแค่ผู้ที่ถูกจ้างให้ทำงาน ซึ่งการเป็น "ลูกจ้าง" นั้นมันขึ้นอยู่กับสถานะทางตลาดแรงงานที่เราอาจจะถูกเลิกจ้าง หรืออยู่ในระหว่างเปลี่ยนงาน หรือแม้แต่กระทั่งบริษัทปิดตัวลงไป ความเป็นลูกจ้างก็สิ้นสุดลง ซึ่งหากเราคิดว่าเราเป็นแค่ลูกจ้างก็จะเป็นการเอาตัวไปผูกติดกับนายจ้างมากเกินไป และจะเป็นทัศนะคติมุมมองที่ไม่สามารถต่อยอดให้ทำกิจกรรมสหภาพแรงงานให้มีประสิทธิภาพได้

ในการเรียกร้องผลประโยชน์และเรียกร้องสิทธินั้น นักสหภาพฯ จะต้องทำให้กับคนงานที่แม้ว่าจะถูกเลิกจ้างไปแล้ว และการเป็นนักสหภาพฯ นั้นมีความเป็นสากล เพราะหากเราเป็นสมาชิกสหภาพฯ ซึ่งเชื่อได้ว่าองค์กรสหภาพของเราจะต้องขึ้นอยู่กับองค์กรสหพันธ์แรงงานสากลต่างๆ [1] ที่มีสมาชิกรวมกันเป็นคนงานหลายร้อยล้านคน การต่อสู้ของเราจึงจะมีสมาชิกขององค์กรต่างๆ ที่เป็น "คนงาน" เหมือนเราหนุนช่วยกันทั่วโลก และเราก็ต้องหนุนช่วยคนงานเหล่านั้นด้วยเช่นกันเมื่อเขาเกิดปัญหา

เมื่อพูดถึงสหภาพแรงงาน ในทัศนะของยูนมองว่าสหภาพแรงงานจะต้องไม่เกี่ยวข้องและถูกครอบงำบริษัท แต่องค์กรสหภาพแรงงานจะต้องเป็นเอกเทศ และมุ่งเป้าไปที่การเรียกร้องผลประโยชน์และปกป้องสิทธิให้คนงานเท่านั้น โดยวิธีการรวมตัวกันเพื่อเจรจาต่อรองเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุด

 

สู่ "แรงงานสัมพันธ์ที่มีสันติ" ด้วย  "การเจรจาต่อรอง"

ทั้งความมุ่งหวังของคนงานคือ "แรงงานสัมพันธ์ที่มีสันติ" (Industrial Peace) และเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่เป้าหมายนี้ได้คือ "การเจรจาต่อรอง" โดยสหภาพแรงงาน และในการทำกิจกรรมสหภาพแรงงานนั้น จะต้องมีการเจรจาต่อรองร่วม (collective bargaining) คือการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้าง เพื่อร่วมกันตัดสินใจในเรื่องค่าจ้าง และสภาพการทำงาน ซึ่งมีผลต่อชีวิตการทำงานของคนงานและความเป็นอยู่ของครอบครัวของคนงาน

และการเจรจาต่อรองร่วมนั้นแตกต่างกับการต่อรองรายบุคคล เพราะการพูดคุยเรื่องผลประโยชน์ระหว่างนายจ้างกับคนงานแบบรายปัจเจกนั้น แทบที่จะเรียกว่าเป็นการต่อรองได้ด้วยซ้ำ เพราะนายจ้างกุมอำนาจไว้ และสามารถเอาเปรียบคนงานได้ตลอดเวลา

ทั้งนี้การทำข้อตกลงสภาพการจ้าง ต่างกับสัญญารายบุคคล เพราะเป็นการกระทำรวมหมู่ของคนงานที่เพิ่มอำนาจการต่อรอง ให้การเจรจากับนายจ้างดูสมเหตุสมผลมากขึ้นกว่าการทำเป็นรายบุคคล และในอีกนัยหนึ่งคือถ้าไม่มีข้อตกลงสภาพการจ้างก็หมายความว่าไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อตกลงสภาพการจ้างต้องอยู่ในระดับที่สูงกว่าและดีกว่ากฎหมายในประเทศ และต้องดีกว่ามาตรฐานสากล

 

ทั้งนี้ในการเสวนา ยูนได้กล่าวถึงความสำคัญของมาตรฐานแรงงานสากลว่า ควรเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่สุดและเป็นสิทธิพื้นฐานที่คนงานทุกคนต้องได้รับ โดยในการเสวนา ได้มีการให้ข้อมูลถึงความสำคัญของมาตรฐานแรงงานกลต่างๆ ที่นักสหภาพแรงงานควรรู้ไว้ดังนี้ ...

มาตรฐานแรงงานสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

มาตรฐานสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization - ILO) ซึ่งเป็นองค์กรไตรภาคีในระดับนานาชาติ มีมาตรฐานแรงงานพื้นฐานสำหรับคนงานโดยเป็นอนุสัญญาหลัก 8 อนุสัญญา ได้แก่

1. อนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพการรวมกลุ่มและการคุ้มครองสิทธิการรวมกลุ่มจัดตั้ง ค.ศ. 1948 (หมายเลข 87)

2. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิการรวมกลุ่มจัดตั้งและการเจรจาต่อรองร่วม, ค.ศ. 1949 (หมายเลข 98)

3. อนุสัญญาว่าด้วยการใช้แรงงานบังคับ, ค.ศ. 1930 (หมายเลข 29)

4. อนุสัญญาว่าด้วยการยกเลิกการใช้แรงงานบังคับ, ค.ศ. 1957 (หมายเลข 105)

5. อนุสัญญาว่าด้วยอายุขั้นต่ำ, ค.ศ. 1973 (หมายเลข 138)

6. อนุสัญญาว่าด้วยการใช้แรงงานเด็กที่เลวร้ายที่สุด, ค.ศ. 1999 (หมายเลข 182)

7. อนุสัญญาว่าด้วยค่าจ้างที่เท่าเทียมกัน, ค.ศ. 1951 (หมายเลข 100)

8. อนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ (ในการจ้างงานและอาชีพ), ค.ศ. 1958 (หมายเลข 111)

โดยเรื่องหลักที่ ILO ให้ความสำคัญประกอบไปด้วย

เสรีภาพการรวมกลุ่มและการยอมรับอย่างจริงจังต่อสิทธิการเจรจาต่อรองร่วม (อนุสัญญาฉบับที่ 87, 98) – คนงานมีเสรีภาพและสิทธิในการรวมกลุ่มจัดตั้งสหภาพแรงงานของตนเองหรือเข้าร่วมสหภาพแรงงานที่สามารถปกป้องสิทธิประโยชน์ของเขา, นายจ้างและรัฐบาลไม่สามารถแทรกแซงการรวมกลุ่มจัดตั้งของคนงานหรือกิจกรรมสหภาพแรงงาน และคนงานมีเสรีภาพและสิทธิในการเข้าร่วมองค์กรแรงงานระดับจังหวัด ระดับชาติ และสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมมีสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในการให้การสนับสนุนคนงานและจัดตั้งสหภาพแรงงาน

สำหรับด้านสิทธิการเจรจาต่อรองร่วมนั้น การเจรจาต่อรองร่วมเป็นการเจรจาที่กระทำระหว่างฝ่ายจัดการและสหภาพแรงงานเพื่อการกำหนดร่วมกันในเรื่องค่าจ้าง สภาพการทำงาน สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนงานและครอบครัวของคนงาน โดยผลของการเจรจาต่อรองร่วมคือการทำข้อตกลงสภาพการจ้าง (CBA) และการทำข้อตกลงสภาพการจ้างสามารถทำได้ทุกระดับ: สถานประกอบการ, จังหวัด รวมถึงในระดับอุตสาหกรรม และระดับชาติ

การขจัดการใช้แรงงานบังคับทุกรูปแบบ (อนุสัญญาฉบับที่ 29, 105) - การทำงานภายใต้การข่มขู่และ บังคับโดยที่บุคคลไม่ยินยอม และการทำงานล่วงเวลาโดยไม่มีการปรึกษาหารือกับคนงานหรือสหภาพแรงงาน

การขจัดการใช้แรงงานเด็กอย่างจริงจัง (อนุสัญญาฉบับที่ 138 182) - เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ไม่ควรทำงาน, เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีไม่ควรทำงานที่ผู้ใหญ่ทำ และเด็กอายุต่ำกว่า 18  ปีไม่ควรให้ทำงานที่เข้าข่ายเป็นงานอันตราย

การขจัดการเลือกปฏิบัติในเรื่องการจ้างงานและอาชีพ (อนุสัญญาฉบับที่ 100, 111) - ค่าจ้างเท่าเทียมสำหรับงานที่เท่ากัน, การปฏิบัติทีเท่าเทียมสำหรับการทำงานเท่ากัน, ขจัดการการเลือกปฏิบัติระหว่างหญิง-ชาย  และขจัดการเลือกปฏิบัติระหว่างคนงานประจำและคนงานชั่วคราว

นอกจากนี้ยูนยังได้เพิ่มเติมว่า ส่วนใหญ่ประเทศที่มีขบวนการแรงงานที่เข้มแข็งนั้นมักจะรับสัตยาบันอนุสัญญาของ ILO มากกว่าประเทศที่มีขบวนการแรงงานอ่อนแอ รวมถึงประเทศที่รัฐมักจะเข้าข้างฝ่ายทุนมากกว่าคนงาน และประเทศที่เป็นเผด็จการนั้นมักจะไม่เข้าไปรับ สัตยาบันอนุสัญญาของ ILO แตกต่างจากประเทศประชาธิปไตย

แนวปฏิบัติ OECD สำหรับบรรษัทข้ามชาติ

 

แนวปฏิบัติขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) องค์กรระหว่างประเทศของประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยภายใต้การนำของยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีสมาชิก 31 ประเทศ  ได้แก่ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, สวีเดน, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, สเปน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สหรัฐ, แคนาดา, เม็กซิโก และชิลี

แนวปฎิบัตินี้เป็นมาตรฐานสากลเป็นแนวทางจรรยาบรรณเพื่อการปฏิบัติของบรรษัทข้ามชาติ ของประเทศในกลุ่ม OECD พึงปฏิบัติ (ไม่มีบทลงโทษตามกฎหมายแต่เป็นแนวปฏิบัติที่แนะนำให้มีการปฏิบัติตาม) โดยแนวปฎิบัติที่เกี่ยวข้องกับคนงานได้แก่ บทที่ 3, 4 และ 5 คือเรือง การเปิดเผยข้อมูล, สิทธิมนุษยชน และเรื่องแรงงานสัมพันธ์ ตามลำดับ

การเปิดเผยข้อมูล - บรรษัทข้ามชาติควรเปิดเผยข้อมูลเรื่อง กิจกรรมบรรษัทข้ามชาติ, โครงสร้าง, สถานการณ์ทางการเงินและผลการประกอบการ, lบริษัทลูก, สัดส่วนการถือครองหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริษัทลูกเหล่านี้, การถือหุ้นประเภทอื่นๆ 

และบรรษัทข้ามชาติควรเปิดเผยข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรดังต่อไปนี้ ผลการดำเนินธุรกิจและการเงินของบริษัท, คณะกรรมการบอร์ดและผู้บริหารหลักๆ และค่าจ้างของพวกเขา, ข้อมูลเรื่องลูกจ้างของบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ และโครงสร้างการบริหารงานรวมถึงนโยบาย

สิทธิมนุษยชน - สิทธิแรงงานเป้นสิทธิพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนที่บรรษัทข้ามชาติพึงควรเคารพ

แรงงานสัมพันธ์ - สิทธิการเข้าร่วมสหภาพแรงงานและข้อตกลงสภาพการจ้าง, การยกเลิกการใช้แรงงานเด็ก, การขจัดการใช้แรงงานบังคับ และการไม่เลือกปฏิบัติต่อคนงานเพราะสาเหตุของเชื้อชาติ เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ และภูมิหลังความเป็นมา

การจ้างงานและแรงงานสัมพันธ์ที่ดี จะต้องประกอบไปด้วย การอำนวยความสะดวกให้กับผู้แทนของคนงานในการเจรจาต่อรอง, การเปิดเผยให้ข้อมูลเพื่อการเจรจาต่อรองที่สร้างสรรค์, การปฏิบัติตามกฏหมายแรงงานในประเทศที่มีการลงทุน, ส่งเสริมสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน, จัดการฝึกอบรมการทำงานที่เหมาะสม, ในกรณีที่จะมีการเลิกจ้างจำนวนมาก บริษัทจะต้องแจ้งล่วงหน้าและมีระยะเวลาที่สมเหตุสมผล พร้อมกับการให้ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์กับสหภาพแรงงาน, ห้ามขู่ว่าจะมีการโอนย้ายการผลิตส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปยังประเทศอื่นโดยการอ้างว่าเป็นเพราะการดำเนินกิจกรรมของสหภาพแรงงาน การ, เจรจาต่อรองข้อเรียกร้องหรือ การนัดหยุดงานของสหภาพแรงงาน และเปิดโอกาสให้ผู้แทนคนงานเข้าปรึกษาหารือกับผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจ

 

 

…………

เชิงอรรถ

[1] ก่อนถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2555 นั้น องค์กรสหพันธ์แรงงานระดับโลกมีด้วยกัน 11 องค์กร ประกอบไปด้วย ...

1. สหพันธ์แรงงานนานาชาติกิจการเคมีภัณฑ์, พลังงาน, เหมืองแร่, แรงงานทั่วไปในประเทศไทย (International Federation of Chemical, Energy, Mine and General Workers' Unions - ICEM)

2. สหพันธ์แรงงานโลหะระหว่างประเทศ (International Metalworkers' Federation - IMF)

3. สหพันธ์แรงงานสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องหนังระหว่างประเทศ (International Textile, Garment and Leather Workers' Federation - ITGLWF)

4. สหพันธ์แรงงานก่อสร้างและงานไม้ระหว่างประเทศ (Building and Wood Workers' International - BWI)

5. สหพันธ์แรงงานภาคสาธารณูปโภคระหว่างประเทศ (Public Services International - PSI)

6. สหพันธ์แรงงานภาคการศึกษาโภคระหว่างประเทศ (Education International - EI)

7. สหพันธ์แรงงานภาคการขนส่งระหว่างประเทศ (International Transport Workers' Federation - ITF)

8. สมาคมสหภาพแรงงานอาหาร เกษตรกรรม โรงแรม ภัตตาคาร การบริการอาหาร ยาสูบและแรงงานพันธมิตรระหว่างประเทศ (International Union of Food, Agricultural, Hotel, Restaurant, Catering, Tobacco and Allied Workers' Association - IUF)

9. สหพันธ์แรงงานภาคการเงินและภาคบริการระหว่างประเทศ (UNI global union - UNI)

10. สหพันธ์แรงงานสื่อสารมวลชนระหว่างประเทศ (International Federation of Journalists - IFJ)

11. พันธมิตรคนทำงานด้านศิลปะและการบันเทิงระหว่างประเทศ (International Arts and Entertainment Alliance - IAEA)

แต่หลังจากวันที่ 19 มิถุนายน 2555 องค์กรสหพันธ์แรงงานระดับโลกจะเหลือเพียง 9 องค์กร เนื่องจาก ICEM, IMF และ ITGLWF ควบรวมกันเป็น สหพันธ์แรงงานสากล IndustriAll

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น