ประชาไท | Prachatai3.info |
- ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล : ปัญหาและความเป็นเหตุผล "อเนกนิกรสโมสรสมมติ"
- คนงาน 1 ใน 10 ของยุโรปเจ็ดประเทศหยุดงานด้วยเหตุผลโรคซึมเศร้า
- 'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: พรรคพวกเพื่อนศาล Fast Track (2)
- เสรีนิยมไปกันได้ด้วยดีกับเศรษฐกิจพอเพียง?
- เสรีนิยมไปกันได้ด้วยดีกับเศรษฐกิจพอเพียง?
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเยือนเกาหลีเหนือ
- นักปรัชญาชายขอบ: ขันติธรรมระหว่างศาสนา (Religious Tolerance)
- ศาลนัดไกล่เกลี่ยคดีญาติฟ้องแพ่ง กรณี "พลทหารวิเชียร" ถูกครูฝึกลงโทษซ้อมจนเสียชีวิต
- ศาลนัดไกล่เกลี่ยคดีญาติฟ้องแพ่ง กรณี "พลทหารวิเชียร" ถูกครูฝึกลงโทษซ้อมจนเสียชีวิต
- จีนสั่งปิดบริษัทศิลปะของ อ้าย เหว่ยเหว่ย
- 'เอริค ฮอบส์บาวม์' นักประวัติศาสตร์สังคมนิยมคนสำคัญของอังกฤษ สิ้นแล้วด้วยวัย 95 ปี
- "ราชบัณฑิต" แจง ยังไม่มีมติแก้วิธีเขียนคำยืมภาษาอังกฤษ-อยู่ระหว่างสำรวจ
- กสท.เคาะทีวีดิจิตอลไทย มี 48 ช่อง ระบบ HD 4 ช่อง
- ขบวนคนจนเคลื่อนพลตามสัญญา ปักหลักค้างคืนทำเนียบรอเจรจา “ยิ่งลักษณ์” พรุ่งนี้
- บทเรียนการต่อสู้เพื่อ 'เอกราช' จากติมอร์ตะวันออก
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล : ปัญหาและความเป็นเหตุผล "อเนกนิกรสโมสรสมมติ" Posted: 01 Oct 2012 12:52 PM PDT 30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล กล่าวถึงทฤษฎีอเนกนิ ประเด็นสำคัญของอัคคัญญสูตร คือ เมื่อเกิดปัญหาก็มีการร่วมประชุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คนงาน 1 ใน 10 ของยุโรปเจ็ดประเทศหยุดงานด้วยเหตุผลโรคซึมเศร้า Posted: 01 Oct 2012 12:00 PM PDT สมาคมโรคซึมเศร้ายุโรป สำรวจคนงาน 7,000 คนจาก 7 ประเทศในยุโรป พบประเทศอังกฤษ, เดนมาร์ด เยอรมนี หยุดงานด้วยเหตุผลโรคซึมเศร้ สำนักข่าว BBC ของอังกฤษรายงานว่ามีคนงาน 1 ใน 10 หยุดงานเนื่องจากสาเหตุโรคซึ โดยสมาคมโรคซึมเศร้ายุโรป (EDA) ได้ทำการสำรวจในประเทศอังกฤษ, เยอรมนี, อิตาลี, เดนมาร์ค, ตุรกี, สเปน และ ฝรั่งเศส ผลสำรวจระบุว่าคนงานในประเทศอั ผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 7,000 คน เปิดเผยว่า ร้อยละ 20 ของผู้ทำการสำรวจเคยผ่ ประเทศที่มีผู้ตรวจพบโรคซึมเศร้ ในกลุ่มผู้เป็นโรคซึมเศร้า มีการสำรวจต่ออีกพบว่าคนกลุ่มนี้มีโอกาสหยุดงานมากที่สุ ก่อนหน้านี้เคยมีการวิจัยที่ ในหมู่ประเทศที่ได้รับการสำรวจ หนึ่งในสี่ของผู้เป็นโรคซึมเศร้ ผู้จัดการจำนวนหนึ่
EDA ร้องสนใจผลกระทบจากโรคซึมเศร้ ดร. วินเซนโซ คอสติกลิโอลา ประธาน EDA กล่าวว่า "ผลจากการสำรวจแสดงให้เห็นว่ามี "พวกเราเรียกร้องให้นักการเมื สตีเฟน ฮิวจ์ ผู้แทนด้านการจ้างงานและกิ ฮิวจ์กล่าวว่า "โรคซึมเศร้าในสถานที่ทำงานเป็ อีเมอร์ โอ'นีล ประธานสหพันธ์โรคซึมเศร้ากล่ "พวกเราพัฒนาก้าวไปข้างหน้าเรื่ "นอกจากนี้แล้ว ยังมีลูกจ้างที่เข้าหาองค์กรอย่
ที่มา: One in 10 workers has taken time off for depression, BBC, 30-09-2012 http://www.bbc.co.uk/news/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: พรรคพวกเพื่อนศาล Fast Track (2) Posted: 01 Oct 2012 11:38 AM PDT "หลักสูตรก็สำคัญ คอนเนคชั่นก็สำคัญ มีเพื่อนดีๆ ที่สกรีนมาให้เราแล้ว ถึงมีเงินก็ใช่จะหากันได้ เพื่อนที่จบในรุ่นจะรักกันสนิทกันมาก แถมยังสนิทข้ามรุ่นอีกต่างหาก" หรีด-รพีพรรณ เหลืองอร่ามรัตน์ พีอาร์ประจำรุ่น วตท.9 วิเคราะห์ให้ฟังเป็นฉากๆ ระหว่างความรู้กับคอนเนคชั่น ถ้าจะให้ว่ากันตามจริงในเมืองไทย เธอฟันธงเลยว่า Know How ไม่สำคัญเท่า Know Who ถ้ารู้จักคน เข้าให้ถูกทาง จะทำงานอะไรก็ลื่น "คุณหรีด" ยังประกาศชัดๆ ว่า งานหนึ่งของเธอคือล็อบบี้ยิสต์ ซึ่งทำมานานแล้ว แต่หลักๆ ตอนนี้จะเป็นล็อบบี้ยิสต์ประสานงานให้ธุรกิจปิโตรเคมีข้ามชาติแห่งหนึ่งที่เคยมีแผนมาลงทุนในเมืองไทย "ถึงไม่เป็นล็อบบี้ยิสต์ ยังไงเราก็ต้องรักษาคอนเนคชั่น หรีดทำรายการทีวีถ้าไม่รู้จักคน จะขายสปอร์เซอร์ได้ยังไง หรีดนั่งเป็นกรรมการที่บริษัทสามารถฯ ก็ต้องช่วยติดต่องาน ไม่ว่าอาชีพไหนก็ต้องมีคอนเนคชั่น" คุณหรีดเล่าว่า ปีนี้เธอยอมตัดกิจกรรมหลายอย่างทิ้ง เพราะต้องเรียนควบ 2 หลักสูตร ทั้งวตท. และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ซึ่งบังเอิญได้เรียนทีเดียวพร้อมกัน จะสละสิทธิ์ก็เสียดาย โดยเฉพาะวปอ.ที่อยากเรียนมาก เฝ้ารอมานานถึง 3 ปี ....................................... เมื่อคนที่ประสบความสำเร็จสูงในชีวิตระดับผู้นำมาเรียนหนังสือร่วมกันเกือบร้อยชีวิต จะให้ชั้นเรียนของนักศึกษาวตท. "ธรรมดาๆ"ได้อย่างไร ด้วยเพียบพร้อมทั้งสถานที่เรียน และผู้บรรยายตั้งแต่ระดับเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงบิ๊กๆ ในหน่วยงานราชการ ขณะที่งานเลี้ยงสังสรรค์ที่แบ่งกลุ่มกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละสัปดาห์ ต่างงัดพลังศักยภาพออกมาสร้างความประทับใจกันเต็มที่ แค่ครั้งแรก กลุ่ม "คุณหรีด" ก็สร้างความฮือฮาลงทุนยกบริการสปามาไว้บริการเพื่อนๆ พร้อมหมอนวด และเตียงให้บริการยกหน้าเด้ง แต่ที่ลือลั่นสะท้านวงการกว่าใครคือกลุ่มของกนกศักดิ์ ปิ่นแสง ที่ลงทุนยกห้องอาหารลอดจิมป์สุดหรูจากโอเรียนเต็ลมาให้บริการ ลือกันว่ามื้อนั้นไม่ต่ำกว่าหลักล้าน "ที่นี่มีเอกชนมาเรียนเยอะ ข้าราชการน้อย คนที่มีฐานะก็ใจกว้างอยากจะบริการเพื่อนๆ" อดิศักดิ์ ทิมมาศย์ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ศาลฎีกา เล่า อดิศักดิ์ เป็นหนึ่งในนักศึกษากลุ่มผู้พิพากษา อัยการ หลายคนที่เข้ามาเรียนร่วมหลักสูตรเพิ่มพูนความรู้ตลาดทุนที่นี่ กลุ่มผู้พิพากษาที่จบไปรุ่นก่อนๆ กลับไปพูดถึงหลักสูตรกันอื้ออึง บอกว่าเรียนแล้วเหมือนได้มาคลายเครียด "ปกติงานของผู้พิพากษาก็หนักและเครียดอยู่แล้ว หาความบันเทิงยาก เพราะต้องวางตัวอยู่ในกรอบไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ทุกคนพอถึงวัยนี้ ก็อยากจะมีความบันเทิงส่วนตัวบ้าง ถ้าเรียนวิชาการอย่างเดียวคงไม่มีใครอยากมา" 0 0 0 นี่ก๊อปมาจากบางส่วนของรายงานพิเศษในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 เรื่อง "Leader Society ... ห้องเรียนนี้มีแต่เฟิร์สคลาส" โดยดุลยปวีณ กรณฑ์แสง ซึ่งกล่าวถึงหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน หรือ "วตท." โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รุ่นที่ 9 ซึ่งมีพินิจ จารุสมบัติ เป็นประธานรุ่น มีนักการเมืองเช่น ไตรรงค์ สุวรรณคีรี, วิษณุ เครืองาม, อนุทิน ชาญวีรกูล, คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ,พรเทพ เตชะไพบูลย์ มีวัชรกิติ วัชโรทัย จากสำนักพระราชวัง ขณะที่ฝั่งธุรกิจมีสุรางค์ เปรมปรีด์, ปณต สิริวัฒนภักดี (ซึ่งบอกว่าพี่ชาย ฐาปน สิริวัฒนภักดี มาเรียนตั้งแต่รุ่น 5 พี่เขย อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ผู้บริหารเบอร์ลียุคเกอร์ มาเรียนรุ่น 6) คมชัดลึกยังมีรายงานเรื่อง "ควันหลง วตท.10 สปิริตเกิน 100" บรรยายงานรับน้อง วตท.10 ที่มีบุคคลระดับ "เฟิร์สคลาส" 350 คน ไปรวมกันที่รอยัลคลิฟบีช พัทยา เมื่อปี 2553 ว่า ละครเฮฮาที่จัดโดย "คุณหรีด" มีผู้แสดงตั้งแต่อดิศักดิ์ ทิมมาศย์ ที่ออกมาร้องเพลง "มนต์รัก วตท." ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล, ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล, ภริยาเอกอัครราชทูตอเมริกา, อนุทิน ชาญวีรกูล, พล.ต.อ. ดร.ชิดชัย วรรณสถิต, องอาจ คล้ามไพบูลย์ ขณะที่ "น้องรุ่น 10" ออกมารำเคียวเกี่ยวข้าว ได้แก่ "หมอเลี้ยบ" น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี, คีรี กาญจนพาสน์, สุกัญญา ประจวบเหมาะ, ปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยา, ชัชวาล เจียรวนนท์, สงกรานต์ อิสสระ, ตัน ภาสกรนที คนอื่นๆ ที่ชื่นมื่นสังสรรค์กันอยู่ในงานก็เช่น วราเทพ เทพกาญจนา, คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล, คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, สนั่น และณัฐิกา อังอุบลกุล เป็นต้น ฟังดูก็ตลกดี ในขณะที่คนข้างล่างแบ่งสีแบ่งฝ่าย ม็อบชนม็อบจะฆ่ากันตาย บุคคลระดับนำกลับสร้างคอนเนคชั่นโดยไม่ต้องเลือกข้าง ศาลยุติธรรมส่งผู้พิพากษาระดับสูงมาเรียน วตท.รุ่นละคน อดิศักดิ์ ทิมมาศย์ เป็นตุลาการชั้น 8 และเป็น 1 ใน 9 ผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่วินิจฉัยให้ยึดทรัพย์ทักษิณฐาน "ได้ประโยชน์โดยไม่สมควร" (เข้าใจว่าท่านเรียนจบวิทยาลัยตลาดทุนแล้วกลับไปยึดทรัพย์พอดี) ผมชอบที่คุณหรีดเธอพูด ชัดเจนตรงไปตรงมาดี ในสังคมไทย Know How ไม่เท่า Know Who ที่มาเรียนนี่ก็เพื่อจะรู้จักคน ถามว่าพวกที่มาเรียนหลักสูตรแบบนี้โง่หรือครับ แต่ละคนฉลาดทั้งนั้น ไม่งั้นไม่ประสบความสำเร็จหรอก ไม่ต้องเรียนเขาก็ทำมาหากินร่ำรวยอยู่แล้ว กะอีแค่มาฟังวิทยากรบรรยาย จะมีอะไรนักหนา สิ่งสำคัญมันอยู่ที่การสรวลเสเฮฮา ทำกิจกรรม แบ่งกลุ่มทำรายงานด้วยกัน แล้วก็เดินทางไปทัศนศึกษา ทั้งในและต่างประเทศด้วยกันต่างหาก แล้วเวลาเดินทางไปทั้งเมืองไทยเมืองนอกเนี่ย ก็เป็นโอกาสที่พ่อค้านักธุรกิจ จะช่วยเหลือเพื่อนร่วมรุ่นที่เป็นข้าราชการ ในด้านที่ตัวเองถนัด ตั้งแต่แนะนำโน่นนี่ พาไปช็อปไปกินนอกรอบ (หรือพาไปดูแดงเดือด-ฮา) เอ้า สมมติคนมาจากทรู จากเอไอเอส เวลาไปต่างประเทศ พี่จะทำโรมมิงไหม เดี๋ยวผมจัดการให้ โอ๊ยไม่ต้องพี่ ค่าใช้จ่ายเล็กน้อย บริษัทผมเอง ฯลฯ แล้วต่อไป เวลาไปมาหาสู่มีความสัมพันธ์กัน หน่วยงานของพี่ยังขาดงบประมาณอะไรบ้างไหมครับ บริษัทผมมีงบ CSR ช่วยเหลือกันได้ คำถามคือ เวลาไปอบรม บ.ย.ส. บ.ย.ป.บรรดาเศรษฐีล็อบบี้ยิสต์เหล่านี้จัดเลี้ยงมื้อเป็นล้านหรือบริการสปาหรูกันไหม (กนกศักดิ์ ปิ่นแสง ก็ไปอบรม บ.ย.ส.) ผมเชื่อว่าศาลท่านคงไม่ยอมให้ประเจิดประเจ้อขนาดนั้น แต่เวลาไปทัศนศึกษา ไปทัวร์เมืองนอก หรือจัดกิจกรรมนอกสถานที่ล่ะ เวลานัดตีกอล์ฟ เวลานัดทำรายงานในภัตตาคาร ฯลฯ ใครจะตามไปตรวจสอบได้ ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้พิพากษาตัวดี จ้องจะกินฟรีเที่ยวฟรี คบค้ามหาเศรษฐี ผมเชื่อว่าผู้พิพากษาตุลาการส่วนใหญ่ที่เข้าอบรมไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้น แต่เจตนาของนักธุรกิจ นักการเมือง หรือทนายความ เห็นชัดเจน แล้วระบบอุปถัมภ์พวกพ้องเส้นสายในสังคมไทย มันก็มาพร้อมกับน้ำใจ มารยาทสังคม ที่ปฏิเสธยากหากมีช่องให้คบหากันแล้ว ตลกร้ายคือผู้ที่เปิดช่องให้พ่อค้านักธุรกิจมีโอกาสมาตีสนิทชิดเชื้อ "เข้าถึงตุลาการ" กลับเป็นสำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลปกครองเสียเอง น่าสังเกตด้วยว่า นอกจากมีโอกาสตีซี้ผู้พิพากษาตุลาการแล้ว พ่อค้านักธุรกิจยังมีโอกาสใกล้ชิดข้าราชการในพระองค์ รวมทั้งสื่อมวลชน ซึ่งได้รับเชิญเข้าอบรม บ.ย.ส. บ.ย.ป.รุ่นละ 2-3 คน (เข้าใจว่าได้ตั๋วฟรีหรือตีตั๋วเด็ก)
ใครจัดคิว แต่หลักสูตร บ.ย.ส.ไม่กำหนดค่าสมัครไว้ ไม่ทราบว่าเก็บตังค์ หรือเรียนฟรี แบบศาลยุติธรรมออกให้หมดแถมค่าสมุดดินสอ ซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะเรียนฟรี เพราะเท่าที่ทราบ สำนักงานศาลยุติธรรมจ่ายให้ผู้บรรยายตามระบบราชการ ชั่วโมงละ 600 บาทเท่านั้น (ถ้าเก็บตังค์เป็นแสน แบบหลักสูตรปริญญาโท เขาคงจ่ายแพงกว่านี้) คำถามคือแล้วเวลาเดินทางไปดูงานต่างประเทศล่ะ ใครจ่าย อย่าบอกนะว่าสำนักงานศาลยุติธรรมจ่าย ควักงบประมาณพานักธุรกิจนักการเมืองล็อบบี้ยิสต์ไปเที่ยวเมืองนอกกับผู้พิพากษา หรือว่าให้ลงขันกันเอง อันนี้ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะมันไม่ใช่แค่ค่าโรมมิ่ง หรือพาไปกินไปช็อปปิ้ง แต่จะบานปลายกว่านั้น ขอฝากเป็นข้อกังขา เพราะสำนักงานศาลยุติธรรมไม่เปิดเผยว่าคิดค่าสมัครเท่าไหร่ ใช้งบประมาณเท่าไหร่ อันที่จริงหลักสูตรโด่งดังซะขนาดนี้ อย่าว่าแต่เงินแสนเลย 2-3 แสนหรือมากกว่านั้น นักธุรกิจก็พร้อมจ่าย จะเปิดประมูลก็ยังได้ สมมติเช่น บ.ย.ส.รุ่นนี้เรามีประธานศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายเข้าอบรมด้วยนะ พวกล้มบนฟูกใครอยากศึกษาหาความรู้ใส่ตัวบ้าง ขอเชิญประมูลออนไลน์ รีบด้วย ที่นั่งมีจำกัด พูดเป็นเล่น แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีมูล เพราะเมื่อหลักสูตรยอดฮิตอย่างนี้ มีคนเข้าคิวรอสมัครตั้งแต่ศาลฎีกา สนามหลวง ไปถึงศาลอาญา รัชดา ก็ต้องเกิดคำถามว่า แล้วสำนักงานศาลยุติธรรม หรือสำนักงานศาลปกครอง ท่านมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคนอย่างไร ทำไมคนนั้นได้เข้าอบรม ทำไมคนนี้ไม่ได้เข้าอบรม ทำไมตัวแทนบริษัทนี้ได้บ่อยจัง ทำไมตัวแทนบริษัทนั้นเข้าไม่ได้เลย ศาลท่านอาจมีกุศลจิต แต่ผู้สมัครเข้าอบรมไม่ได้มีกุศลจิตเสมอไปนะครับ พวกปากหอยปากปูก็เยอะ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่เขาแข่งขันช่วงชิงผลประโยชน์มหาศาลกันอยู่ เขาสู้กันทุกปริมณฑล ท่านเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในวังวนของเขา ก็เลี่ยงไม่ได้ แม้กระทั่งการแบ่งกลุ่มย่อยตอนเข้าอบรม ยังมีเสียงซุบซิบเลยว่าทำไมตัวแทนบริษัทนั้นได้เข้ากลุ่มกับตุลาการคนนี้ มีเลือกปฏิบัติหรือเปล่า ฯลฯ ศาลยุติธรรมยังไม่เท่าไหร่ แม้จะว่าคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีผู้บริโภค ก็อาจเกี่ยวข้องกลุ่มธุรกิจเพียงบางครั้ง แต่ศาลปกครองสิครับ เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องสัมปทานรัฐ อย่างเช่นการประมูล 3G สัญญาระหว่างบริษัทมือถือกับ ทศท. กสท. ฯลฯ หรือเรื่องโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม ที่พ่นมลภาวะใส่ชาวบ้าน ฉะนั้นอย่าแปลกใจที่กลุ่มธุรกิจและสำนักงานกฎหมายแห่ไปอบรม บ.ย.ป.เพียบ บางกลุ่มก็ชนกันเอง เช่น ทรู กับบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่ จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากทรูทำคดีมือถือทั้งหมด ตัวแทนบริษัทนี้เข้าอบรมทั้งรุ่น 2 รุ่น 3 โดยมีปริศนาคำทายว่าลูกสาวบิ๊กตุลาการคนไหนเอ่ย ทำงานอยู่บริษัทนี้ด้วย ที่จริงก็เป็นเสรีภาพในการประกอบอาชีพสุจริต เชื่อว่าไม่มีนอกไม่มีนัยอะไร แต่พอมันมีจุดไขว้กันก็อดอึดอัดใจแทนไม่ได้ ปัญหาการคัดเลือกคนเข้าอบรม สถาบันพระปกเกล้าเคยโดนวิพากษ์วิจารณ์มาแล้ว ในการคัดคนเข้าอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ 1 ซึ่งมี 120 รายชื่อ แต่ผลออกมา ตามโปรยข่าวไทยโพสต์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2554 "วุฒิสารแจงไม่มีเลือกปฏิบัติ แต่พบกว่า 70% ข้องเกี่ยว "กลุ่มทุน-นักการเมือง" ผงะ! เครือข่าย สนช.ติดโผพรึ่บ" มันน่าเศร้าเพราะหลักสูตรนี้สถาบันพระปกเกล้าออกค่าใช้จ่ายให้หมด "เรียนฟรี" แต่ดูชื่อคนที่มาเรียนมีแต่ตระกูลดังๆ ลูกหลานนักการเมือง นักธุรกิจ เช่น ธนา เธียรอัจฉริยะ อดีตผู้บริหารดีแทค, วิชญะ เครืองาม (ลูกวิษณุ หลานบวรศักดิ์ ทำงานเป็นนักล็อบบี้ให้ทรู) ชลาทิพย์ พุกผาสุข ลูกสาว พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข นารถสินี ยุติธรรมดำรง ลูกสาวพชร ยุติธรรมดำรง ลูกสาวอดีตอัยการสูงสุด พีรพล สุวรรณฉวี ลูกชายไพโรจน์ สุวรรณฉวี เป็นต้น หลักสูตรนักบริหารระดับสูงของ ก.พ.ก็ฟรีนะครับ ไปเมืองนอกฟรีด้วย แต่นั่นเขาจำกัดเฉพาะข้าราชการ ไม่มีภาคเอกชน พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า ผู้เคยร่างหลักสูตรให้ วปอ.ยอมรับว่าระยะหลังมี "นักล่าหลักสูตร" เข้ามาเยอะมาก ราว 1 ใน 4 ของผู้เรียน หลักสูตร ปนป.ของสถาบันพระปกเกล้า ยอมรับว่ามีลูกคนใหญ่คนโตมาเรียน แล้วพอรุ่น 1 ประสบความสำเร็จ รุ่น 2 ก็มากันเต็ม แต่ท่านมองว่าหลักสูตรที่เสี่ยงมากกับผลประโยชน์ทับซ้อนคือ หลักสูตรของ กกต.หลักสูตรของศาลยุติธรรม และหลักสูตรของศาลปกครอง ซึ่งถ้าสร้างคอนเนคชั่นเชื่อมไปยังผู้พิพากษาได้ ก็เสี่ยงมาก แต่ไหนๆ ก็เปิดหลักสูตรฮิตมาถึงขนาดนี้แล้ว ศาลยุติธรรมกับศาลปกครองคงไม่ยุบหลักสูตรง่ายๆ กระมังครับ ท่านคงถือว่าท่านมีเจตนาบริสุทธิ์ ถึงร่วมทำกิจกรรมก็เป็นเรื่องการกุศล อย่างเช่นเมื่อต้นเดือนกันยายน ประธานศาลปกครองท่านก็เพิ่งไปปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติกับ บ.ย.ป.รุ่น 2 ที่มีนพดล พลเสน ประธานที่ปรึกษากองทุนอนุรักษ์มรดกโลกห้วยขาแข้ง (อดีต ส.ส.พรรคชาติไทยผู้ถูกตัดสิทธิ วันก่อนยังเห็นไปร่วมงานศพลูกชายชาดา ไทยเศรษฐ์) เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในพื้นที่ ผมก็ไม่ได้เรียกร้องให้ยุบ แต่อย่างน้อยทั้งสองศาลก็น่าจะประกาศหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน ว่าคัดเลือกคนอย่างไร ตามคิว หรือตามคุณสมบัติ เพื่อขจัดเสียงนกเสียงกา โดยเฉพาะศาลยุติธรรม น่าจะชี้แจงด้วยว่าใช้งบประมาณจากไหน อย่างไร
อ่านตอนก่อนหน้า
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสรีนิยมไปกันได้ด้วยดีกับเศรษฐกิจพอเพียง? Posted: 01 Oct 2012 11:29 AM PDT เมื่ออาจารย์คณะพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับที่มาจากคณะรัฐประหาร พ.ศ.2550 มาตรา 84 (1) ข้อความว่า รัฐต้องดำเนินการตามนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อไปนี้ "สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ..." ทำให้เกิดความสงสัยอย่างมาก เมื่อเหลียวกลับไปมองมาตราที่อยู่ด้านบนมาตรา 84 เพราะมีข้อความที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงต่อความรู้สึกที่เคยรับรู้ผ่านสื่อสารธารณะในสังคมไทยกล่าวคือ มาตรา 83 ของรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า "รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ทั้งสองมาตราเป็นสิ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินนโยบายตามที่ระบุไว้นี้ จะทำเป็นอย่างอื่นมิได้ คำถามที่ชวนให้สงสัยก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงกับเสรีนิยมอยู่ด้วยกันได้ด้วยหรือ แล้วหน้าตาของนโยบายการปฏิบัติจะออกมาอย่างไร ในเมื่อฝ่ายหนึ่งบอกให้พอเพียง กินใช้เท่าที่ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน พอใจกับสิ่งที่มีอยู่ ไม่โลภ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เป็นหนี้ กับอีกฝ่ายที่ส่งเสริมการแข่งขัน การค้ากำไร โดยไม่มีเส้นจำกัดขีดกั้น ? ต่อเมื่อได้คิดทบทวน วิเคราะห์แล้วจึงได้คำตอบว่า ทั้งสองสิ่งไปด้วยกันอย่างลงรอย สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกันในบริบทของสังคมไทย ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ เสรีนิยม (libertarian) พวกเสรีนิยมเชื่อว่า มนุษย์เป็นเจ้าของร่างของตนเอง เพราะร่างกายคือสิ่งที่ติดตัวเรามาแต่เกิด อยู่กับเรา และไม่มีใครสามารถพรากไปจากเราได้ มนุษย์จึงมีเสรีอย่างเต็มที่ที่จะกระทำใด ๆ ต่อร่างกาย การถูกใช้กำลังทำร้าย บังคับ ควบคุมต่อร่างกายถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิที่ติดตัวมาพร้อมกับร่างกาย ดังนั้น พวกเสรีนิยมเมื่อได้ลงแรงไปกับการทำงานใด ๆ เพื่อผลิต สร้าง ทางเศรษฐกิจด้วยร่างกายที่ตนเป็นเจ้าของแล้ว ผลผลิตที่ได้มาจากแรงงานนั้นจะต้องตกแก่ตนผู้เป็นเจ้าของแรงงาน ทรัพย์สินที่เกิดขึ้น ผลผลิตจากการค้า การลงทุน จึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่พึงแบ่งปัน หรือกระจายให้กับใคร เพราะเมื่อผู้อื่นไม่ได้ลงแรงผลิตก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับ เช่นเดียวกันเมื่อรัฐเข้ามาแทรกแซงกลไกราคาทำให้ผลกำไรที่เคยได้รับน้อยลงไป ทั้งที่ตนเองลงแรงเท่าเดิมตามกลไกตลาด ในทัศนะของพวกเสรีนิยมย่อมไม่สามารถยอมรับได้ ความยุติธรรมของเสรีนิยมจึงเป็นเรื่องของการที่รัฐต้องไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวแทรกแซงกับการจัดโครงสร้างการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและเท่าเทียม ในสายตาของคนกลุ่มนี้ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า สังคมไม่เป็นธรรม ในทางตรงข้าม มันเป็นธรรมดีอยู่แล้ว เพราะคนจนไม่มีความสามารถมากพอที่จะหารายได้หรือทรัพย์สินได้เท่ากับคนรวย รัฐจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมาบังคับด้วยการจัดสรรงบประมาณ หรือจัดเก็บภาษีเพื่อให้นำเงินของคนรวยไปช่วยคนจน เพราะมันละเมิดสิทธิความเป็นเจ้าของทรัพย์สินเสมือนเป็นการขโมยแรงงานไปให้คนยากจนที่ด้อยกว่า เสรีนิยมให้เหตุผลว่า การได้มาซึ่งทรัพย์สิน รายได้ เป็นการใช้แรงงานมันสมองของตนเองไปเพื่อแสวงหาทรัพยากรที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงและหยิบฉวยมาใช้ประโยชน์ได้ ภายใต้สิทธิที่สังคมเปิดโอกาสให้ทุกคนเท่าเทียมกัน เพราะโดยเริ่มแรกแล้วไม่มีใครเป็นเจ้าของทรัพยากรเหล่านั้น ใครก็ตามที่มีความสามารถก็ย่อมหยิบฉวยเอาได้เท่าที่มีกำลังแรงงานที่จะไขว่คว้าหามาได้ และตราบเท่าที่ยังคงมีทรัพยากรเหลืออยู่ก็ไม่จำเป็นต้องจำกัดยับยั้งการแสวงหา ขอเพียงอยู่ภายใต้การแข่งขันอย่างเสรีและได้ทรัพยากรเหล่านั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมาย วิธีอธิบายแบบนี้คือคำอธิบายของผู้มีอำนาจที่มั่งคั่ง ร่ำรวย และเป็นผู้เข้าถึงทรัพยากรโดยง่าย ซึ่งไม่ต่างจาก เศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นจุดเริ่มต้นของหลักการที่เรียกกันติดปากว่า "หลักสามห่วง สองเงื่อนไข" กล่าวคือ หลักพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ส่วนสองเงื่อนไขได้แก่ เงื่อนไขคุณธรรม และเงื่อนไขหลักวิชาความรู้ แต่ต่อมามีการเพิ่มเงื่อนไขที่สามคือ เงื่อนไขการดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร หลักการที่กล่าวมา เมื่อถูกนำมาปฏิบัติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีกลุ่มเป้าหมายของการเผยแพร่และชี้บอกให้รับแนวทางนี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร ชาวนาผู้ยากจน จะเห็นได้ว่า ตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงล้วนเป็นการดำเนินชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ มีเหลือจึงขาย ผลิตสิ่งของใช้เอง และดำเนินชีวิตแบบสมถะเรียบง่าย ชีวิตแบบพอเพียง คือชีวิตของชาวนาที่ไม่เป็นหนี้เป็นสิน ไม่โลภ ใช้ชีวิตในถิ่นฐานบ้านเกิด ไม่อพยพเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามาทำงานในเมือง ลักษณะการดำเนินชีวิตของเกษตรกรชาวนา นี้อธิบายได้ว่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองเพราะมีความพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่คิดแสวงหารายได้จากโยกย้ายแรงงาน มีเหตุมีผล เพราะไม่เป็นหนี้ และมีภูมิคุ้มกัน เพราะมีอาหารจากการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรมในทางปฏิบัติ คือการแบ่งปัน และการแสวงหาความรู้ ซึ่งก็ไม่พ้นการเข้าอบรมหรือเข้าโครงการพัฒนาที่หน่วยงานภาครัฐมาชี้บอกให้ทำ เงื่อนไขข้อสุดท้าย ช่วยตอกย้ำ การพึงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่โดยไม่ดิ้นรน แข็งขืน ต่อสู้ เพราะบอกให้ต้องอดทน และมีความเพียร สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องพึ่งตนเองให้ได้ การพึ่งตนเองได้ ย่อมหมายถึงไม่พึ่งคนอื่น และไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้อื่นมาช่วยเหลือ เมื่อฐานะดีขึ้นก็สามารถบริโภคขยายกิจการได้ ดังเช่นที่ระบุไว้ในทฤษฏีใหม่ 3 ขั้น คือ ขั้นแรกให้ทำเพื่อพึ่งตัวเองให้ได้ เรียกว่าขั้นต้น ขั้นต่อมาคือขั้นกลาง ได้แก่ การรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจภายในชุมชนเพื่อค้าขายกับชุมชนใกล้เคียง และขั้นสุดท้ายคือการรวมกันเป็นเครือข่ายขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เศรษฐกิจพอเพียงจึงสนทนาบอกเล่าโดยตรงกับคนยากจน เกษตรกรในชนบท ไม่ให้เข้ามาแข่งขัน แย่งชิงในระบบเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม และให้ก้มหน้ายินยอมรับสิ่งที่ตนเองมีอยู่ และดำเนินชีวิตภายใต้ความพอเพียงในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก สามชาย ศรีสันต์ ระบบความคิดเชิงคำสั่งในวาทกรรม "ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง", วารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 10 ฉบับที่1) หลักปรัชญาทั้ง 2 มีความสอดคล้องลงรอยกันในความเชื่อพื้นฐานดังต่อไปนี้ 1. ทั้งสองไม่เห็นด้วยที่จะปรับโครงสร้างการกระจายรายได้ให้เป็นไปอย่างเป็นธรรม เสรีนิยมเห็นว่า รัฐไม่จำเป็นต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวจัดการแทรกแซงราคาผลผลิต หรือกำหนดมาตรการภาษี ขณะที่เศรษฐกิจพอเพียงมองว่า ชาวนาไม่จำเป็นต้องไขว่คว้าหารายได้ด้วยผลิตเพื่อขาย เพราะทำให้เป็นหนี้สิน แต่ควรหันมาผลิตเพื่อบริโภค 2. ทั้งสองมีฐานคิดว่าทรัพยากรมีอยู่อย่างเพียงพอรอให้ประชาชนลงทุน ลงแรงเข้าไปแสวงหาครอบครอง โดยทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่จำเป็นต้องไปปรับโครงสร้างการกระจายทรัพยากรอีก จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงกล่าวถึงที่ดิน 5 ไร่ สำหรับทำการเกษตรผสมผสานเป็นต้นทุนตั้งต้น แต่ไม่เคยกล่าวว่าจะนำที่ดิน 5 ไร่ และแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรมาจากไหน 3. ทั้งเศรษฐกิจพอเพียงและเสรีนิยมไม่จำกัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ถ้ามีเงินมีกำลังก็สามารถผลิต - บริโภคได้ตราบเท่าที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน 4. ข้อเสนอยืนอยู่บนฐานที่ว่า โครงสร้างทางสังคมมีความเป็นธรรมอยู่แล้ว การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดก็ย่อมได้ราคาสูง ส่วนการผลิตที่ขาดคุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการย่อมได้ราคาต่ำ สังคมไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ กดราคา ใช้อำนาจที่ทำให้สินค้าและบริการบางประเภทมีราคาต่ำ แต่บางประเภทมีราคาสูง เช่น ข้าวเปลือก กับข้าวสาร เมื่อสังคมมีความเป็นธรรมอยู่แล้วจึงต้องแก้ไขที่ตัวปัจเจกเองไม่ใช่แก้ไขที่โครงสร้าง 5. ปล่อยให้การแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ช่วยเหลือ เป็นไปด้วยความสมัครใจแบบปัจเจกบุคคล โดยที่รัฐไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว แต่ให้เป็นเรื่องของการสงเคราะห์ เยียวยา ด้วยจิตเมตตาของคนรวยที่จะช่วยเหลือคนจนตามหลักคุณธรรมที่ผู้ปกครองในฐานะปัจเจกบุคคลพึงมี 6. ฐานคติความเชื่อข้างต้น เป็นสิ่งที่ทำให้ดูเสมือนว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์โต้แย้ง เศรษฐกิจพอเพียงบอกให้มีศรัทธาเหมือนศรัทธาในศาสนา เพราะหลักปรัชญาอิงอยู่กับศาสนาพุทธ ขณะที่เสรีนิยมบอกว่าเป็นสิทธิที่ติดมาตั้งแต่เราเกิด สิ่งที่สอดคล้องเชื่อมประสานกันประการสุดท้ายคือ ทั้งสองผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียม ช่วยธำรงค์รักษาสังคมของการเอารัดเอาเปรียบให้ฝ่ายผู้ครอบครองทรัพยากรมีสิทธิอำนาจที่อยู่เหนือกว่าให้อยู่ในสถานะตำแหน่งที่เหนือกว่าต่อไป โดยมีคำอธิบายสาเหตุของความยากจนคล้ายคลึงกันคือ เป็นเหตุปัจจัยอันเนื่องมาจากบุคคลผู้ยากจนที่กระทำต่อตัวเอง ฉะนั้นจึงต้องแก้ด้วยตนเอง อย่าไปเรียกร้องให้ใครมาหยิบยื่นช่วยเหลือ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสรีนิยมไปกันได้ด้วยดีกับเศรษฐกิจพอเพียง? Posted: 01 Oct 2012 11:29 AM PDT เมื่ออาจารย์คณะพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับที่มาจากคณะรัฐประหาร พ.ศ.2550 มาตรา 84 (1) ข้อความว่า รัฐต้องดำเนินการตามนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อไปนี้ "สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ..." ทำให้เกิดความสงสัยอย่างมาก เมื่อเหลียวกลับไปมองมาตราที่อยู่ด้านบนมาตรา 84 เพราะมีข้อความที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงต่อความรู้สึกที่เคยรับรู้ผ่านสื่อสารธารณะในสังคมไทยกล่าวคือ มาตรา 83 ของรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า "รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ทั้งสองมาตราเป็นสิ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินนโยบายตามที่ระบุไว้นี้ จะทำเป็นอย่างอื่นมิได้ คำถามที่ชวนให้สงสัยก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงกับเสรีนิยมอยู่ด้วยกันได้ด้วยหรือ แล้วหน้าตาของนโยบายการปฏิบัติจะออกมาอย่างไร ในเมื่อฝ่ายหนึ่งบอกให้พอเพียง กินใช้เท่าที่ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน พอใจกับสิ่งที่มีอยู่ ไม่โลภ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เป็นหนี้ กับอีกฝ่ายที่ส่งเสริมการแข่งขัน การค้ากำไร โดยไม่มีเส้นจำกัดขีดกั้น ? ต่อเมื่อได้คิดทบทวน วิเคราะห์แล้วจึงได้คำตอบว่า ทั้งสองสิ่งไปด้วยกันอย่างลงรอย สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกันในบริบทของสังคมไทย ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ เสรีนิยม (libertarian) พวกเสรีนิยมเชื่อว่า มนุษย์เป็นเจ้าของร่างของตนเอง เพราะร่างกายคือสิ่งที่ติดตัวเรามาแต่เกิด อยู่กับเรา และไม่มีใครสามารถพรากไปจากเราได้ มนุษย์จึงมีเสรีอย่างเต็มที่ที่จะกระทำใด ๆ ต่อร่างกาย การถูกใช้กำลังทำร้าย บังคับ ควบคุมต่อร่างกายถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิที่ติดตัวมาพร้อมกับร่างกาย ดังนั้น พวกเสรีนิยมเมื่อได้ลงแรงไปกับการทำงานใด ๆ เพื่อผลิต สร้าง ทางเศรษฐกิจด้วยร่างกายที่ตนเป็นเจ้าของแล้ว ผลผลิตที่ได้มาจากแรงงานนั้นจะต้องตกแก่ตนผู้เป็นเจ้าของแรงงาน ทรัพย์สินที่เกิดขึ้น ผลผลิตจากการค้า การลงทุน จึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่พึงแบ่งปัน หรือกระจายให้กับใคร เพราะเมื่อผู้อื่นไม่ได้ลงแรงผลิตก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับ เช่นเดียวกันเมื่อรัฐเข้ามาแทรกแซงกลไกราคาทำให้ผลกำไรที่เคยได้รับน้อยลงไป ทั้งที่ตนเองลงแรงเท่าเดิมตามกลไกตลาด ในทัศนะของพวกเสรีนิยมย่อมไม่สามารถยอมรับได้ ความยุติธรรมของเสรีนิยมจึงเป็นเรื่องของการที่รัฐต้องไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวแทรกแซงกับการจัดโครงสร้างการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและเท่าเทียม ในสายตาของคนกลุ่มนี้ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า สังคมไม่เป็นธรรม ในทางตรงข้าม มันเป็นธรรมดีอยู่แล้ว เพราะคนจนไม่มีความสามารถมากพอที่จะหารายได้หรือทรัพย์สินได้เท่ากับคนรวย รัฐจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมาบังคับด้วยการจัดสรรงบประมาณ หรือจัดเก็บภาษีเพื่อให้นำเงินของคนรวยไปช่วยคนจน เพราะมันละเมิดสิทธิความเป็นเจ้าของทรัพย์สินเสมือนเป็นการขโมยแรงงานไปให้คนยากจนที่ด้อยกว่า เสรีนิยมให้เหตุผลว่า การได้มาซึ่งทรัพย์สิน รายได้ เป็นการใช้แรงงานมันสมองของตนเองไปเพื่อแสวงหาทรัพยากรที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงและหยิบฉวยมาใช้ประโยชน์ได้ ภายใต้สิทธิที่สังคมเปิดโอกาสให้ทุกคนเท่าเทียมกัน เพราะโดยเริ่มแรกแล้วไม่มีใครเป็นเจ้าของทรัพยากรเหล่านั้น ใครก็ตามที่มีความสามารถก็ย่อมหยิบฉวยเอาได้เท่าที่มีกำลังแรงงานที่จะไขว่คว้าหามาได้ และตราบเท่าที่ยังคงมีทรัพยากรเหลืออยู่ก็ไม่จำเป็นต้องจำกัดยับยั้งการแสวงหา ขอเพียงอยู่ภายใต้การแข่งขันอย่างเสรีและได้ทรัพยากรเหล่านั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมาย วิธีอธิบายแบบนี้คือคำอธิบายของผู้มีอำนาจที่มั่งคั่ง ร่ำรวย และเป็นผู้เข้าถึงทรัพยากรโดยง่าย ซึ่งไม่ต่างจาก เศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นจุดเริ่มต้นของหลักการที่เรียกกันติดปากว่า "หลักสามห่วง สองเงื่อนไข" กล่าวคือ หลักพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ส่วนสองเงื่อนไขได้แก่ เงื่อนไขคุณธรรม และเงื่อนไขหลักวิชาความรู้ แต่ต่อมามีการเพิ่มเงื่อนไขที่สามคือ เงื่อนไขการดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร หลักการที่กล่าวมา เมื่อถูกนำมาปฏิบัติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีกลุ่มเป้าหมายของการเผยแพร่และชี้บอกให้รับแนวทางนี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร ชาวนาผู้ยากจน จะเห็นได้ว่า ตัวอย่างแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงล้วนเป็นการดำเนินชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ มีเหลือจึงขาย ผลิตสิ่งของใช้เอง และดำเนินชีวิตแบบสมถะเรียบง่าย ชีวิตแบบพอเพียง คือชีวิตของชาวนาที่ไม่เป็นหนี้เป็นสิน ไม่โลภ ใช้ชีวิตในถิ่นฐานบ้านเกิด ไม่อพยพเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามาทำงานในเมือง ลักษณะการดำเนินชีวิตของเกษตรกรชาวนา นี้อธิบายได้ว่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองเพราะมีความพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่คิดแสวงหารายได้จากโยกย้ายแรงงาน มีเหตุมีผล เพราะไม่เป็นหนี้ และมีภูมิคุ้มกัน เพราะมีอาหารจากการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรมในทางปฏิบัติ คือการแบ่งปัน และการแสวงหาความรู้ ซึ่งก็ไม่พ้นการเข้าอบรมหรือเข้าโครงการพัฒนาที่หน่วยงานภาครัฐมาชี้บอกให้ทำ เงื่อนไขข้อสุดท้าย ช่วยตอกย้ำ การพึงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่โดยไม่ดิ้นรน แข็งขืน ต่อสู้ เพราะบอกให้ต้องอดทน และมีความเพียร สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องพึ่งตนเองให้ได้ การพึ่งตนเองได้ ย่อมหมายถึงไม่พึ่งคนอื่น และไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้อื่นมาช่วยเหลือ เมื่อฐานะดีขึ้นก็สามารถบริโภคขยายกิจการได้ ดังเช่นที่ระบุไว้ในทฤษฏีใหม่ 3 ขั้น คือ ขั้นแรกให้ทำเพื่อพึ่งตัวเองให้ได้ เรียกว่าขั้นต้น ขั้นต่อมาคือขั้นกลาง ได้แก่ การรวมกลุ่มจัดตั้งวิสาหกิจภายในชุมชนเพื่อค้าขายกับชุมชนใกล้เคียง และขั้นสุดท้ายคือการรวมกันเป็นเครือข่ายขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เศรษฐกิจพอเพียงจึงสนทนาบอกเล่าโดยตรงกับคนยากจน เกษตรกรในชนบท ไม่ให้เข้ามาแข่งขัน แย่งชิงในระบบเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม และให้ก้มหน้ายินยอมรับสิ่งที่ตนเองมีอยู่ และดำเนินชีวิตภายใต้ความพอเพียงในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก สามชาย ศรีสันต์ ระบบความคิดเชิงคำสั่งในวาทกรรม "ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง", วารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 10 ฉบับที่1) หลักปรัชญาทั้ง 2 มีความสอดคล้องลงรอยกันในความเชื่อพื้นฐานดังต่อไปนี้ 1. ทั้งสองไม่เห็นด้วยที่จะปรับโครงสร้างการกระจายรายได้ให้เป็นไปอย่างเป็นธรรม เสรีนิยมเห็นว่า รัฐไม่จำเป็นต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวจัดการแทรกแซงราคาผลผลิต หรือกำหนดมาตรการภาษี ขณะที่เศรษฐกิจพอเพียงมองว่า ชาวนาไม่จำเป็นต้องไขว่คว้าหารายได้ด้วยผลิตเพื่อขาย เพราะทำให้เป็นหนี้สิน แต่ควรหันมาผลิตเพื่อบริโภค 2. ทั้งสองมีฐานคิดว่าทรัพยากรมีอยู่อย่างเพียงพอรอให้ประชาชนลงทุน ลงแรงเข้าไปแสวงหาครอบครอง โดยทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่จำเป็นต้องไปปรับโครงสร้างการกระจายทรัพยากรอีก จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงกล่าวถึงที่ดิน 5 ไร่ สำหรับทำการเกษตรผสมผสานเป็นต้นทุนตั้งต้น แต่ไม่เคยกล่าวว่าจะนำที่ดิน 5 ไร่ และแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรมาจากไหน 3. ทั้งเศรษฐกิจพอเพียงและเสรีนิยมไม่จำกัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ถ้ามีเงินมีกำลังก็สามารถผลิต - บริโภคได้ตราบเท่าที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน 4. ข้อเสนอยืนอยู่บนฐานที่ว่า โครงสร้างทางสังคมมีความเป็นธรรมอยู่แล้ว การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดก็ย่อมได้ราคาสูง ส่วนการผลิตที่ขาดคุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการย่อมได้ราคาต่ำ สังคมไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ กดราคา ใช้อำนาจที่ทำให้สินค้าและบริการบางประเภทมีราคาต่ำ แต่บางประเภทมีราคาสูง เช่น ข้าวเปลือก กับข้าวสาร เมื่อสังคมมีความเป็นธรรมอยู่แล้วจึงต้องแก้ไขที่ตัวปัจเจกเองไม่ใช่แก้ไขที่โครงสร้าง 5. ปล่อยให้การแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ช่วยเหลือ เป็นไปด้วยความสมัครใจแบบปัจเจกบุคคล โดยที่รัฐไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว แต่ให้เป็นเรื่องของการสงเคราะห์ เยียวยา ด้วยจิตเมตตาของคนรวยที่จะช่วยเหลือคนจนตามหลักคุณธรรมที่ผู้ปกครองในฐานะปัจเจกบุคคลพึงมี 6. ฐานคติความเชื่อข้างต้น เป็นสิ่งที่ทำให้ดูเสมือนว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์โต้แย้ง เศรษฐกิจพอเพียงบอกให้มีศรัทธาเหมือนศรัทธาในศาสนา เพราะหลักปรัชญาอิงอยู่กับศาสนาพุทธ ขณะที่เสรีนิยมบอกว่าเป็นสิทธิที่ติดมาตั้งแต่เราเกิด สิ่งที่สอดคล้องเชื่อมประสานกันประการสุดท้ายคือ ทั้งสองผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียม ช่วยธำรงค์รักษาสังคมของการเอารัดเอาเปรียบให้ฝ่ายผู้ครอบครองทรัพยากรมีสิทธิอำนาจที่อยู่เหนือกว่าให้อยู่ในสถานะตำแหน่งที่เหนือกว่าต่อไป โดยมีคำอธิบายสาเหตุของความยากจนคล้ายคลึงกันคือ เป็นเหตุปัจจัยอันเนื่องมาจากบุคคลผู้ยากจนที่กระทำต่อตัวเอง ฉะนั้นจึงต้องแก้ด้วยตนเอง อย่าไปเรียกร้องให้ใครมาหยิบยื่นช่วยเหลือ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเยือนเกาหลีเหนือ Posted: 01 Oct 2012 11:13 AM PDT คณะกรรมาธิการต่างประเทศนำโดย "สุนัย จุลพงศธร" เยือนเปียงยาง ด้านเลขาธิการสมัชชาประชาชนเกาหลีเหนือระบุอดีตผู้นำ "คิม อิล ซุง" ได้พบมิตรจากประเทศไทยหลายโอกาสทำให้มิตรภาพระหว่างสองประเทศแนบแน่น และว่าเกาหลีเหนือจะส่งเสริมความร่วมมือกับไทย นายสุนัย จุลพงศธร ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรเดินทางถึงสนามบินกรุงเปียงยางเมื่อ 28 ก.ย. (ที่มาของภาพ: KCNA)
นายสุนัย จุลพงศธร นำคณะเยือนห้องสมุด ที่มหาวิทยาลัยคิม อิล ซุง เมื่อ 29 ก.ย. (ที่มาของภาพ: KCNA)
นายคณวัฒน์ วศินสังวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าพบนายคิม ยอง นัม ประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ เมื่อ 1 ต.ค. (ที่มาของภาพ: KCNA)
นายสุนัย จุลพงศธร ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร นำคณะถ่ายรูปร่วมกับนายคิม ยอง นัม ประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ เมื่อ 1 ต.ค. (ที่มาของภาพ: KCNA) เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายสุนัย จุลพงศธร ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาทิ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข นายคณวัฒน์ วศินสังวร นายนิติภูมิ นวรัตน์ นายเอี่ยม ทองใจสด และนายเยาวนิต เพียงเกษ และคณะได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (สปป.เกาหลี) หรือ เกาหลีเหนือ โดยหนังสือพิมพ์โรดอง ซิมมุน หนังสือพิมพ์ของพรรคแรงงานเกาหลี (WPK) รายงานเมื่อ 1 ต.ค. ว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ย. คณะกรรมการกลางพรรคแรงงานเกาหลีนำโดยนายคิม ยอง อิล เลขาธิการสมัชชาประชาชน ได้จัดงานรับรองเพื่อเป็นเกียรติแก่การมาเยือนของคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่สมัชชาประชาชนมันซูแดเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา
เลขาธิการสมัชชาประชาชนเกาหลีเหนือระบุว่าจะส่งเสริมมิตรภาพระหว่างสองประเทศ ด้านเลขาธิการสมัชชาประชาชน กล่าวว่าประธานาธิบดีคิม อิล ซุง ได้พบกับมิตรจากประเทศไทยหลายโอกาสทำให้มิตรภาพระหว่างสองประเทศแนบแน่น ประชาชนทั้งสองประเทศได้สร้างสายสัมพันธ์มิตรภาพและความร่วมมือ และได้พัฒนาไปอย่างดีบนพื้นฐานของความเคารพและความเท่าเทียมซึ่งกันและกัน และกล่าวด้วยว่า เกาหลีเหนือจะพยายามส่งเสริมมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างทั้งสองสภาและระหว่างประชาชน ด้วยแนวคิดเรื่องเอกราช สันติภาพ และมิตรภาพ ส่วนนายคณวัฒน์ ได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเยือนเกาหลีเหนือ และแสดงความขอบคุณต่อการต้อนรับด้วยความยินดีของประชาชนเกาหลี ทั้งนี้การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงของทั้งสองประเทศ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ฉันมิตร ทั้งในด้านการเมืองและในด้านอื่นๆ นายคณวัฒน์ยังแสดงความปรารถนาที่จะดำเนินการพัฒนาสายสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างสองประเทศด้วย
เข้าพบประธานสภาเกาหลีเหนือ พร้อมมอบของที่ระลึกแก่ "คิม จอง อึน" สำนักข่าวกลางเกาหลี (KCNA) รายงานว่าในวันที่ 29 ก.ย. คณะ ส.ส. ของไทยได้เดินทางเยือนบ้านเกิดของคิม อิล ซุง ประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีเหนือ โดยผู้นำคณะ ส.ส. ได้กล่าวว่าประธานาธิบดีคิม อุล ซุงได้อุทิศตัวเพื่อิสรภาพของประเทศและความสุขของประชาชน เป็นผู้นำที่แท้จริงของประชาชน นอกจากนี้คณะ ส.ส. ยังได้ไปเยี่ยมชมห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และสระว่ายน้ำที่มหาวิทยาลัยคิม อิล ซุง และหอคอยปรัชญาจูเช่ และสถานที่อื่นในเปียงยาง ในวันที่ 1 ต.ค. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดการเยือน ประธานสภาบริหารสูงสุดของสภาประชาชนสูงสุดเกาหลีเหนือ นายคิม ยอง นัม พร้อมด้วยนายปัก คุน กวาง รองผู้อำนวยการแผนกของคณะกรรมการกลางพรรคแรงงานเกาหลีและเจ้าหน้าที่ ได้พบปะหารือกับผู้แทนของพรรคเพื่อไทย นายคณวัฒน์ วศินสังวร ที่อาคารรัฐสภามันซูแด สำนักข่าวกลางเกาหลี รายว่า นายคณวัฒน์ กล่าวด้วยว่า สถานการณ์ของ สปป.เกาหลี ได้ทำให้ทราบดีว่าผู้นำที่เคารพ คิม จอง อึน รักประชาชนอย่างไร และเขามีความเฉียบแหลมอย่างไรในการเป็นผู้นำประชาชน และการไปเยือนโรงเรียนอนุบาลกยองซัง ทำให้ทราบถึงความรักอันอบอุ่นของคิม จอง อึน ที่มีต่อเด็ก นายคณวัฒน์กล่าวด้วยว่า ความสัมพันธ์ทวิภาคีแห่งมิตรภาพและความร่วมมือจะพัฒนาต่อไปในอนาคต โดยก่อนเดินทางกลับ สำนักข่าวกลางเกาหลี รายงานด้วยว่า นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้มอบของที่ระลึกจากนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ผ่านนายคิม ยอง นัม ให้กับผู้นำของเกาหลีเหนือนายคิม จอง อึน เลขาธิการคนที่หนึ่งพรรคแรงงานเกาหลี ประธานคนที่ 1 คณะกรรมการป้องกันประเทศ ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพประชาชนเกาหลี และประธานคณะกรรมการกลางกองทัพด้วย
สังเขปความสัมพันธ์ไทย - เกาหลีเหนือ ทั้งนี้ไทยและเกาหลีเหนือสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2518 ในปี 2534 เกาหลีเหนือได้ยกระดับสำนักงานผู้แทนการค้าของตนในกรุงเทพมหานครที่ตั้งในปี 2522 เป็นสถานเอกอัครราชทูต ปัจจุบันยังไม่มีสถานทูตไทย ณ กรุงเปียงยาง แต่มีสถานเอกอัครราชทูตไทยที่ปักกิ่งดูแลกิจการที่เกี่ยวข้องกับเกาหลีเหนือ โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างสองประเทศหลายครั้ง เช่นในปี 2545 นายคิม ยอง นัม เคยนำคณะเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ 3 ฉบับ นอกจากนี้พระราชวงศ์ของไทยก็เคยเสด็จไปเยือนในหลายโอกาส โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนในเดือนพฤษภาคมปี 2530 และในปี 2531 ทรงนิพนธ์หนังสือ "จากโคริโอสู่โคเรีย 8 วันในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" ต่อมาในเดือนมีนาคมปี 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนเกาหลีเหนือและทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ "แกะรอยโสม" ตีพิมพ์ในปีเดียวกัน และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเยือนในเดือนมีนาคมปี 2535 และเดือนมิถุนายนปี 2536 อนึ่งเมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมา สำนักข่าวกลางเกาหลีรายงานด้วยว่า นายคิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือได้รับพระราชสาสน์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ลงวันที่ 4 ก.ย. เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี วันที่ 9 ก.ย. โดยในพระราชสาสน์ทรงส่งความอวยพรมายังนายคิม จอง อึน และส่งความปรารถนาดีอย่างจริงใจมายังนายคิม จอง อึนมีความสุขสวัสดิ์ และให้ประเทศและประชาชนมีความเจริญก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรือง
ที่มาของข่าว: แปลและเรียบเรียงจาก Visits. September 28, 2012 (KCNA) Thai Delegation Visits Mangyongdae. September 29, 2012 (KCNA) Gift to Kim Jong Un from Thai Political Party Leader. October 1, 2012 (KCNA) Kim Yong Nam Meets Thai Party Delegation. October 1, 2012 (KCNA) Thai Party Delegation Feted, Rodong Sinmun, Oct.1, Juche 101 (2012) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักปรัชญาชายขอบ: ขันติธรรมระหว่างศาสนา (Religious Tolerance) Posted: 01 Oct 2012 11:06 AM PDT มองจากความคิดเสรีนิยม "ขันติธรรม" (tolerance) ความอดทน ความมีใจกว้าง (รวมทั้งการมีสปิริตให้อภัย) ต่อความเห็นต่าง เป็นสิ่งจำเป็นในสังคมพหุนิยมทางศาสนาและวัฒนธรรม ขันติธรรมที่ว่านี้มีความจำเป็นทั้งในแง่ว่า เราจะไม่ใช้เสรีภาพของตนเองไปละเมิดคนอื่น หรือไม่ใช้ความเชื่อในศาสนาของตัวเองไปตัดสินความเชื่อในศาสนาอื่น หรือไม่ใช้เสรีภาพในนามเสรีนิยมไปละเมิดความเชื่อ/หลักการของศาสนาต่างๆ ดังเช่นการสร้างภาพยนตร์ เขียนหนังสือดูหมิ่นศาสดาของศาสนาอื่น หรือการกระทำดังภาพหญิงสาวคร่อมพระพุทธรูปดังภาพข้างล่างนี้ โดยอาจจะคิดว่าตนเองอ้างเสรีภาพตามหลักเสรีนิยม (ซึ่งไม่ใช่) (ภาพจาก Snook) แต่ความหมายที่สำคัญกว่านั้นของขันติธรรมก็คือ การตอบโต้ต่อการถูกดูหมิ่นซึ่งเรามีความจำเป็นต้องตอบโต้ต่อการหมิ่นประมาทตัวเรา หรือการหมิ่นศาสดา ศาสนา ความเชื่อของเราภายใต้ขอบเขตของกฎหมายเท่านั้น เช่น การประณาม การเรียกร้องให้ขอโทษ การประท้วงอย่างสันติ หรือการแจ้งความเอาผิดตามกฎหมาย (ที่เป็นประชาธิปไตย) เราไม่มีสิทธิ์ใช้กำลังหรือความรุนแรงทำร้ายชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น เพื่อระบายความโกรธแค้นอย่างไร้มนุษยธรรม กรณีชาวมุสลิมในบังคลาเทศเผาวัดพุทธ 5 แห่ง สะท้อนการขาดขันติธรรมระหว่างศาสนา (Religious Tolerance) อย่างน่าวิตก เริ่มจากการขาดขันติธรรมของชาวพุทธคนหนึ่งที่โพสต์ภาพตนเองเหยียบคัมภีร์ของศาสนาอิสลามขึ้นเฟซบุ๊ก เป็นเหตุให้เกิดการโต้ตอบที่ขาดขันติธรรมยิ่งกว่าของชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งที่เผาวัดพุทธ 5 แห่งและก่อจลาจลทำลายบ้านเรือนร่วม 100 หลัง (ภาพจากคม ชัด ลึก) ไม่ว่าเราจะมองจากหลักมนุษยธรรม หลักเสรีนิยม สิทธิมนุษยชน หรือหลักการของแต่ละศาสนาเอง เราไม่มีทางจะยอมรับการการหมิ่นศาสนาว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ และยิ่งไม่อาจยอมรับการตอบโต้ที่รุนแรงของกลุ่มศาสนิกบางกลุ่มของศาสนาใดๆ ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ ผมเข้าใจว่าหลักขันติธรรมตามความคิดเสรีนิยมนั้น นอกจาจะวางอยู่บนพื้นฐานของการเคารพความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ ฯลฯ แล้ว ยังเป็นหลักการที่ยอมรับสมมติฐานว่า เป็นไปได้ที่ในโลกของความเป็นจริงจะมีการด่า การประณาม นินทาว่าร้าย ฯลฯ เกิดขึ้นได้เสมอ อาจจะเรียกได้ว่านี่เป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ก็ว่าได้ อย่างที่พูดกันว่า "ห้ามไฟไม่ให้มีควัน...ให้ได้ก่อน ค่อยห้ามคนด่าหรือนินทา" แน่นอน การแสดงออกในลักษณะต่างๆ ที่ถูกมองว่าเป็นการหมิ่นศาสดา หมิ่นศาสนา เช่น ผู้หญิงโพสต์ท่าถ่ายรูปคร่อมพระพุทธรูป การสร้างพระพุทธรูปในรูปลักษณ์แปลกๆ เอาพระพุทธรูปไปเป็นเครื่องตกแต่งประดับในโรงแรม สปา ฯลฯ หรือการแต่งนิยาย เขียนหนังสือ สร้างภาพยนตร์ที่สะท้อนภาพของพุทธะในด้านตรงข้ามกับที่ชาวพุทธเชื่อคงจะมีต่อไปเรื่อยๆ และอันที่จริงการด่าประณาม กระทั่งการลอบทำร้าย ลอบฆ่าพุทธะก็มีมาแล้วในสมัยพุทธกาล แต่พุทธะก็วางหลักให้ชาวพุทธตอบโต้การกระทำเหล่านั้นด้วยขันติธรรม ดังในโอวาทปาฏิโมกข์ซึ่งเป็นหลักการในการเผยแผ่พุทธศาสนาในระยะเริ่มแรกนั้น พุทธะให้ชาวพุทธมีขันติธรรม ไม่กล่าวร้าย ทำร้าย หรือฆ่าใคร แต่ให้ตอบโต้การกระทำของฝ่ายอื่นๆ ด้วยการมีสติ ไม่โกรธ ใช้เหตุผล และที่จริงแล้วขันติธรรมตามคำสอนพุทธศาสนานั้นเข้มงวดมากถึงขนาดว่า "ผู้ที่ยังจิตให้โกรธคนที่กำลังใช้เลื่อยตัดร่างกายของตนให้ขาดเป็นสองท่อน ย่อมไม่ชื่อว่าปฏิบัติตามคำสอนของตถาคต" นี่แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนามองว่า สิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมหรือความถูกต้องมีค่าในตัวมันเอง ไม่ได้เอาผลมาตัดสิน ในกรณีนี้ความไม่โกรธมีค่าในตัวมันเอง การถูกฆ่าไม่ใช่ผลอันเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ความไม่โกรธกลายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไปได้ ถามว่า หากชาวพุทธไม่ทำตามหลักขันติธรรมของพุทธศาสนา การตอบโต้ใครก็ตามด้วยวิธีรุนแรงต่างๆ เช่น การเรียกร้องให้ออกกฎหมายเอาผิดคนที่หมิ่นศาสดา การตอบโต้ด้วยความโกรธ ความเกลียดชัง ความแค้น การตั้งค่าหัว การฆ่า ฯลฯ วิธีการแบบนี้จะมีประสิทธิภาพขจัดคนที่หมิ่นศาสดาให้หมดไปจากโลกนี้จริงๆ หรือ ในทำนองเดียวกันอะไรที่สังคมเราทำให้เป็นศาสนา เช่น "อุดมการณ์ราชาชาตินิยมศักดิ์สิทธิ์" ที่อาจารย์เกษียร เตชะพีระ เรียกว่า "ศาสนาทางโลก" (secular religion) ที่อิงความศักดิ์สิทธิ์ของสมมติเทพหรือพระสยามเทวธิราช ก็ต้องเผชิญกับคำถามอย่างที่อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ตั้งคำถามว่า (ภาพจาก fb นิธิวัต วรรณศิริ) เราจำเป็นต้องพูดกันให้ชัดๆ ว่าอะไรที่สวม "เสื้อคลุมศาสนา" (ทำ/แสดงออกในนามศาสนา) มันไม่ใช่ "ศีลธรรม" เสมอไป การทำการตลาดหากินกับศรัทธาของชาวบ้าน การใช้อำนาจปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความเห็น วิพากษ์วิจารณ์ การตอบโต้คนที่ดูหมื่นศาสดาของตนด้วยวิธีรุนแรง ฯลฯ สิ่งพวกนี้มันไม่ใช่เรื่องศีลธรรม มันคือการทำลายศีลธรรม เพราะศีลธรรมต้องเคารพความเป็นมนุษย์ ต้องมีขันติธรรมต่อความเห็นต่าง มีขันติธรรมแม้กระทั่งต่อการดูหมิ่นเหยียดหยาม ไม่ใช้เพื่อนมนุษย์เป็นเครื่องมือแสวงผลประโยชน์ หรือระบายความเคียดแค้น ว่าตามจริง นักเสรีนิยมไม่ได้อ้างหลักขันติธรรมต่อความเห็นต่างในฐานะเป็น "สัจธรรมศักดิ์สิทธิ์" ไม่เหมือนบรรดาศาสนิกของศาสนาต่างๆ ที่อ้างความศักดิ์สิทธิ์ของศาสดา ของสัจธรรมคำสอน อ้างแนวคิดสันติภาพของศาสนาตนว่าเลอเลิศกว่าแนวคิดสันติภาพใดๆ ในโลก อ้างความรัก การให้อภัย กระทั่งความไม่มีกิเลส ความเมตตาต่อสรรพสัตว์ แต่เราก็พบว่านักเสรีนิยมที่ยอมรับความมีกิเลส บางคนไม่มีศาสนากลับแสดงออกว่า เขามีขันติธรรมต่อความเห็นต่างมากกว่าคนเคร่งศาสนา หรือพูดให้ตรงคือขันติธรรมที่นักเสรีนิยมมี "เหนือกว่า" บรรดาศาสนิกที่เคร่งศาสนาก็เนื่องมาจากที่พวกเขาต่อสู้เพื่อเป็นอิสระจากอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาต่างๆ และความสัตย์ซื่อต่อความเป็นมนุษย์ของตนนั่นเอง ผมเองไม่ได้เรียกร้องหรือคาดหวังว่า บรรดาศาสนิกที่เคร่งศาสนา ผู้รักศาสนา หรือแสดงออกว่าปกป้องศาสนาของตนเองจะต้องมีมาตรฐานสูงส่งตามหลักการของศาสนาตน เช่น ไม่มีกิเลส มีสติ ไม่โกรธ ให้อภัย รักศัตรูเหมือนรักตนเอง ยึด "ความเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ" ที่ต้องไม่ใช้ความรุนแรงใดๆ ผมขอเพียงแค่อยากเห็นการแสดงออกของเขาเหล่านั้น "มีขันติธรรมในมาตรฐานเดียวกับเสรีนิยม" หากศาสนาต่างๆ ไร้ศีลธรรมแม้ระดับพื้นฐานที่สุดคือระดับ "ขันติธรรม" ต่อความเห็นต่างตามมาตรฐานเสรีนิยม ก็ป่วยการที่จะป่าวประกาศความสูงส่งใดๆ ในหลักศาสนาของตน และการแสดงออกใดๆ ในนามการปกป้องศาสนาอย่างขาดขันติธรรม ย่อมเป็นการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทำลายสันติภาพอันเป็นเป้าหมายของแต่ละศาสนาเอง และของสังคมมนุษย์ ความเป็นไปได้ทางหนึ่งที่โลกเราจะมีขันติธรรมระหว่างศาสนา คือการที่ศาสนิกในแต่ละศาสนาต้องตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์กันเอง และปฏิเสธการแสดงออกใดๆ ในทางศาสนาที่ไม่มีขันติธรรม รวมถึงการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแสวงผลประโยชน์ใดๆ อย่างไม่ตรงไปตรงมา หรือขัดแย้งกับหลักการของศาสนาตนเอง อันเป็นหลักการที่เคารพคุณค่าของมนุษย์และสันติภาพของโลก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลนัดไกล่เกลี่ยคดีญาติฟ้องแพ่ง กรณี "พลทหารวิเชียร" ถูกครูฝึกลงโทษซ้อมจนเสียชีวิต Posted: 01 Oct 2012 10:15 AM PDT มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ส่งใบแจ้งข่าว กรณีนางประเทือง เผือกสม มารดาของพลทหารวิเชียร เผือกสม ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องที่ศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหายจากกระทรวงกลาโหม กองทัพบก และสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย กรณีที่ถูกครูฝึกทหารใหม่ได้ลงโทษพลทหารวิเชียร ด้วยการทำร้ายร่างกายโดยทรมานทารุณโหดร้ายจนเป็นเหตุให้พลทหารวิเชียรถึงแก่ความตาย เหตุเกิดที่ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส วันนี้ (1 ต.ค.55) เวลา 9.00 น. ซึ่งเป็นวันนัดพร้อม ศาลได้มีคำสั่งให้ส่งคดีเข้าสู่ศูนย์ไกล่เกลี่ย ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลย เนื่องจากคดีมีโอกาสเจรจาตกลงกันได้ เพื่อประโยชน์ของคู่ความทั้งสองฝ่าย ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00 น. และเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว จึงได้กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นวันที่ 18 ธันวาคม 2555 เวลา 9.00-16.00 น. ด้วย อนึ่ง พลทหารวิเชียร เผือกสม ได้เคยอุปสมบทเป็นพระภิกษุและศึกษาจนจบชั้นปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ผลการเรียนเกียตินิยมอันดับ 1 และสำเร็จระดับปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผลการเรียนดีเยี่ยม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 พลทหารวิเชียรได้สมัครเข้ารับการเกณฑ์ทหารและเข้าฝึกที่หน่วยฝึกทหารใหม่ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2554 เจ้าหน้าที่ทหาร 10 นาย ได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายพลทหารวิเชียร โดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้าย โดยอ้างว่าพลทหารวิเชียร เผือกสม หลบหนีการฝึก ทำให้พลทหารวิเชียร ได้รับบาดเจ็บสาหัส และได้เสียชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน 2554 โดยสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องจากไตวายเฉียบพลันจากกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุว่า ในส่วนของคดีอาญาที่นางประเทืองได้แจ้งความดำเนินคดีกับครูฝึกทหารใหม่และทหารที่ร่วมกันทำร้ายร่างกายพลทหารวิเชียรจนถึงแก่ความตายนั้น ยังมีความล่าช้าอย่างมาก ซึ่งขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) ของกระทรวงยุติธรรม แต่ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ทั้งนี้ การลงโทษโดยทำร้ายร่างกายด้วยวิธีการทารุณโหดร้าย นอกจากจะเป็นความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่งแล้ว ยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ม.32 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล และละเมิดอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีและมีพันธกรณีให้ปฏิบัติตามอนุสัญญาฯดังกล่าวด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลนัดไกล่เกลี่ยคดีญาติฟ้องแพ่ง กรณี "พลทหารวิเชียร" ถูกครูฝึกลงโทษซ้อมจนเสียชีวิต Posted: 01 Oct 2012 10:15 AM PDT มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ส่งใบแจ้งข่าว กรณีนางประเทือง เผือกสม มารดาของพลทหารวิเชียร เผือกสม ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องที่ศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหายจากกระทรวงกลาโหม กองทัพบก และสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย กรณีที่ถูกครูฝึกทหารใหม่ได้ลงโทษพลทหารวิเชียร ด้วยการทำร้ายร่างกายโดยทรมานทารุณโหดร้ายจนเป็นเหตุให้พลทหารวิเชียรถึงแก่ความตาย เหตุเกิดที่ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส วันนี้ (1 ต.ค.55) เวลา 9.00 น. ซึ่งเป็นวันนัดพร้อม ศาลได้มีคำสั่งให้ส่งคดีเข้าสู่ศูนย์ไกล่เกลี่ย ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลย เนื่องจากคดีมีโอกาสเจรจาตกลงกันได้ เพื่อประโยชน์ของคู่ความทั้งสองฝ่าย ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.00 น. และเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว จึงได้กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นวันที่ 18 ธันวาคม 2555 เวลา 9.00-16.00 น. ด้วย อนึ่ง พลทหารวิเชียร เผือกสม ได้เคยอุปสมบทเป็นพระภิกษุและศึกษาจนจบชั้นปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ผลการเรียนเกียตินิยมอันดับ 1 และสำเร็จระดับปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผลการเรียนดีเยี่ยม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 พลทหารวิเชียรได้สมัครเข้ารับการเกณฑ์ทหารและเข้าฝึกที่หน่วยฝึกทหารใหม่ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2554 เจ้าหน้าที่ทหาร 10 นาย ได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายพลทหารวิเชียร โดยทรมานและกระทำทารุณโหดร้าย โดยอ้างว่าพลทหารวิเชียร เผือกสม หลบหนีการฝึก ทำให้พลทหารวิเชียร ได้รับบาดเจ็บสาหัส และได้เสียชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน 2554 โดยสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องจากไตวายเฉียบพลันจากกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุว่า ในส่วนของคดีอาญาที่นางประเทืองได้แจ้งความดำเนินคดีกับครูฝึกทหารใหม่และทหารที่ร่วมกันทำร้ายร่างกายพลทหารวิเชียรจนถึงแก่ความตายนั้น ยังมีความล่าช้าอย่างมาก ซึ่งขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) ของกระทรวงยุติธรรม แต่ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ทั้งนี้ การลงโทษโดยทำร้ายร่างกายด้วยวิธีการทารุณโหดร้าย นอกจากจะเป็นความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่งแล้ว ยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ม.32 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล และละเมิดอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีและมีพันธกรณีให้ปฏิบัติตามอนุสัญญาฯดังกล่าวด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จีนสั่งปิดบริษัทศิลปะของ อ้าย เหว่ยเหว่ย Posted: 01 Oct 2012 09:51 AM PDT หลังจากเป็นคดีมานาน กรณีรัฐบาลจีนฟ้องอ้าย เหว่ยเหว่ย ศิลปินผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับรัฐบาลจีนว่าหลบเลี่ยงภาษี ล่าสุดศาลตัดสินใจปิดคดีด้วยการริบใบประกอบการบริษัทของศิลปินผู้นี้ ด้านอ้าย เหว่ยเหว่ย เปิดใจว่าแม้จะแพ้ 'การสู้รบ' แต่ก็ชนะ 'สงคราม'
อ้าย เหว่ยเหว่ย บอกว่า แม้ลูกทีมของเขาจะพ่ายแพ้ใน 'การสู้รบ' แต่ก็ชนะ 'สงคราม' (lost the battle but won the war) หลังจากที่ศาลปฏิเสธคำอุทธรณ์ของเขาต่อกรณีที่ถูกสั่งจ่ายค่าปรับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ภายในสุดสัปดาห์นี้พวกเขาจะยึดใบอนุญาตประกอบการของบริษัท Fake Cultural Development เนื่องจากไม่ผ่านการลงทะเบียนประจำปี ซึ่งการที่บริษัทไม่สามารถลงทะเบียนได้เนื่องจากตำรวจได้ยึดพัสดุและตราปั้มของบริษัทไปเมื่อช่วงที่อ้าย เหว่ยเหว่ย ถูกจับกุมตัวในปีที่ผ่านมา "ผมคิดว่ามันเป็นข้ออ้างในการไม่ต้องสั่งปรับเรา" หลิว เสี่ยวหยวน ทนายความของอ้าย เหว่ยเหว่ย กล่าว เขาบอกอีกว่าเป็นเรื่องยังไม่กระจ่างว่าบริษัท Fake จะจ่ายค่าปรับค้างชำระอยู่ 6.6 ล้านหยวน (ราว 32 ล้านบาท) ได้อย่างไรหากไม่มีใบอนุญาต แต่ก็กล่าวอีกว่าเขาได้ยื่นคำร้องขอเข้ารับฟังการสั่งปิดบริษัท ผู้สนับสนุนอ้าย เหว่ยเหว่ย กล่าวโดยตลอดว่าการที่เขาถูกสั่งปรับและสั่งจำคุก 81 วัน เป็นการโต้ตอบของรัฐบาลจีนต่อการที่อ้าย เหว่ยเหว่ย เป็นนักกิจกรรมทางสังคมและการเมือง ขณะที่ทางรัฐบาลจีนก็ยืนยันว่ากรณีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่เป็นเรื่องของการหลบเลี่ยงภาษี อ้ายเป็นหนึ่งในคนที่ถูกจับกุมท่ามกลางการปราบปรามนักกิจกรรม ทนายความ และผู้ต่อต้านรัฐบาล อย่างกว้างขวาง ผู้สนับสนุนเขาหลายพันคนส่งเงินช่วยเหลือ 8.45 ล้านหยวน (ราว 41 ล้านบาท) ทำให้เขาต่อสู้คดีได้ หลังจากที่ศาลปฏิเสธคำอุทธรณ์ของเขาแล้ว เขาคิดว่าจะเลือกจ่ายค่าปรับ เนื่องจากเขาไม่ยอมรับเรื่องค่าปรับ และบอกอีกว่าเขาสงสัยว่าเจ้าหน้าที่รู้สึกอับอายที่จะเก็บค่าปรับจากเขา "ผมคิดว่าพวกเขาต้องการถอยออกไปและมีการสรุปคดี พวกเขาไม่ควรจะทำแบบนี้อยู่แล้วตั้งแต่แรก พวกเขาใช้กลยุทธ์ที่เก่ามากในการลงโทษคนๆ หนึ่ง และสร้างคดีขึ้นมาเพื่อให้คนคิดว่า 'เขาเป็นคนไม่ดีนะ' ... มันไม่ได้ผล และมันก็ย้อนกลับไปทำร้ายพวกเขาเอง ผมคิดว่ามันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง" อ้าย เหว่ยเหว่ย กล่าว "แน่นอนว่าพวกเขาไม่ชอบที่มันกินเวลานานเกินไปแล้ว และอาจจะนานกว่านี้อีก" อ้าย เหว่ยเหว่ย กล่าว เขาบอกอีกว่าเขามีความรู้สึกหลากหลายปะปนกันต่อคดีนี้ "แน่นอนว่าพวกเราแพ้การต่อสู้ พวกเขาเอาภาษีของเราไป แต่ผมคิดว่าเราชนะสงคราม พวกเราทำให้ประชาชนเข้าใจกระจ่างแจ้งว่าคดีของบริษัท Fake เกี่ยวกับอะไร แล้วจะจัดการรับมือมันอย่างไร" อ้าย เหว่ยเหว่ย กล่าว อ้าย เหว่ยเหว่ย หวังว่ารัฐบาลจีนจะไม่ทำแบบนี้กับคนอื่นอีก "ไม่มีชาติที่ยิ่งใหญ่ชาติไหนที่เล่นกลสกปรกกับประชาชนของตัวเอง" เขากล่าว เดอะ การ์เดียนรายงานว่า พวกเขาไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ทางการจีนเพื่อสอบถามในกรณีนี้ได้ เนื่องจากวันที่ 1 ต.ค. เป็นวันชาติจีน ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ และในอดีตทางการจีนก็แสดงความเห็นต่อคดีนี้น้อยมาก นิโคลาส บีเควลิน นักวิจัยอาวุโสจากฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า กรณีคดีภาษีของอ้าย เหว่ยเหว่ย มีแรงจูงใจทางการเมืองตั้งแต่แรก และมาจากแผนการของรัฐบาลที่ต้องการข้ออ้างให้ความชอบธรรมตัวเองในการจับและขังเขาไว้ 81 วันอย่างผิดกฎหมาย นิโคลาสกล่าวอีกว่า แม้อ้าย เหว่ยเหว่ย จะสามารถเอาชนะคดีนี้ในเชิงจริยธรรมได้ แต่รัฐบาลก็ยังไม่คืนอิสรภาพในการเดินทาง และคืนหนังสือเดินทางให้เขา ทั้งยังไม่เลิกให้ตำรวจจับตามองเขา และยังไม่อนุญาตให้เขาทำกิจกรรมทางสังคม เช่นที่ก่อนหน้านี้เขาเคยทำภาพยนตร์สัมภาษณ์นักกิจกรรมและกดดันให้ตรวจสอบความโปร่งใสกรณีอาคารโรงเรียนถล่มในเหตุการณ์แผ่นไหวเสฉวนเมื่อปี 2008
Ai Weiwei firm to be closed down by Chinese authorities, The Guardian, 01-10-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'เอริค ฮอบส์บาวม์' นักประวัติศาสตร์สังคมนิยมคนสำคัญของอังกฤษ สิ้นแล้วด้วยวัย 95 ปี Posted: 01 Oct 2012 08:39 AM PDT เอริค ฮอบส์บาวม์ เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษสายมาร์กซิสม์ซึ่งเขียนหนังสือออกมากว่า 30 เล่ม ได้เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 95 ปี 1 ต.ค. 55 - เอริค ฮอบส์บาวม์ นักประวัติศาสตร์แนวสังคมนิยมคนสำคัญของอังกฤษ เสียชีวิตแล้วในวัย 95 ปี ด้วยโรคปอดอักเสบ โดยครอบครัวของเขาเปิดเผยว่า ฮอบส์บาวม์เสียชีวิตที่โรงพยาบาลรอยัล ฟรี ฮอสปิทอล ในกรุงลอนดอนเมื่อเช้าวันจันทร์ตามเวลาของอังกฤษ เอริค ฮอบส์บาวม์ เป็นนักประวัติศาสตร์คนสำคัญในสายมาร์กซิสม์ที่ได้เขียนหนังสือออกมากว่า 30 เล่ม โดยเล่มที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันอย่างมาก ได้แก่ The Age of Revolution, The Age of Capital, Empire, History of the 20th Century และ The Age of Extremes ซึ่งมองการปฏิวัติที่สำคัญๆ ในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 17, 18 และ 19 รวมถึงการเกิดขึ้นของระบอบทุนนิยมในตะวันตก ผ่านแนวคิดของมาร์กซิสม์ มีการนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 40 ภาษา หนังสือเล่มสุดท้ายที่เขาตีพิมพ์ในปี 2554 มีชื่อว่า "How to Change the World" ซึ่งเป็นการรวมบทความต่างๆ ในทศวรรษที่ 1960 ว่าด้วยคาร์ล มาร์กซ์ และลัทธิมาร์กซิสม์ นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง เอ.เจ.พี. เทย์เลอร์ ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว เคยกล่าวถึงงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของเอริค ฮอบส์บาวม์ว่า มีจุดเด่นในการอธิบายอย่างชัดเจนและแม่นยำว่าเกิดอะไรขึ้น และการให้ความสนใจในชีวิตของคนธรรมดาสามัญ "นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่แล้ว โดยปรกติจะสนใจแต่ชนชั้นสูงและชอบคิดว่าตนเองน่าจะจัดอยู่ในพวกนั้นหากพวกเขามีชีวิตอยู่เมื่อศตวรรษหรือสองศตวรรษที่แล้ว ซึ่งเป็นสันนิษฐานที่ไม่น่าเป็นไปได้เท่าไร" เทย์เลอร์ระบุ "แต่ฮอบส์บาวม์ได้จัดวางตนเองไว้ในอีกฝั่งหนึ่งของรั้วอย่างมั่นคง" ฮอบส์บาวม์ เกิดเมื่อปี 1917 ในกรุงอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ในครอบครัวของชาวยิว บิดาของเขาเป็นพ่อค้าชาวอังกฤษ ส่วนมารดาเป็นนักเขียนชาวออสเตรีย ครอบครัวของเขาย้ายมาอาศัยอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียเมื่อเขาอายุได้สองขวบ ต่อมาเมื่อบิดามารดาของเขาเสียชีวิตในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในยุโรปเมื่อเขาอายุได้ 14 เขากลายเป็นเด็กกำพร้า และอาศัยอยู่กับลุงในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และในช่วงนั้นเองที่เขาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ต่อมาในปี 1933 เขาย้ายมาอาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษในช่วงที่ฮิตเลอร์แห่งพรรคนาซีขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนี เข้าเรียนโรงเรียนในกรุงลอนดอน และได้รับทุนการศึกษาเพื่อเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จนถึงปริญญาเอก หลังจากนั้นได้รับตำแหน่งอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ที่วิทยาลัยเบิร์คเบค ประเทศอังกฤษในปี 1947 เขายังคงเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อังกฤษจนถึงปี 1991 เมื่อพรรคต้องปิดตัวลง และในปี 1998 ได้รับรางวัล "Companion of Honour" สมัยรัฐบาลโทนี่ แบลร์ ซึ่งเป็นรางวัลที่เคยมอบให้กับสตีเฟ่น ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ระดับโลก ดอริส เลสซิง นักเขียนและกวี เป็นต้น ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Historian Eric Hobsbawm dies, aged 95 Eric Hobsbawm, lifelong socialist lauded for works on 20th-century history, dies at 95
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"ราชบัณฑิต" แจง ยังไม่มีมติแก้วิธีเขียนคำยืมภาษาอังกฤษ-อยู่ระหว่างสำรวจ Posted: 01 Oct 2012 08:36 AM PDT ราชบัณฑิตยสถานแจงยังไม่มีมติให้แก้ไขรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าว เผยอยู่ระหว่างสำรวจความเห็น โดยจะนำเสนอผลในการประชุมสภาราชบัณฑิต 12 ธ.ค.นี้ กรณี กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย เสนอให้เปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ 176 คำ โดยเติมวรรณยุกต์เสียงเอก โท หรือตรี รวมทั้ง ไม้ไต่คู้ ให้ตรงตามอักขรวิธีไทย ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ ล่าสุด (1 ต.ค.55) เพจ "ราชบัณฑิตยสถาน" เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ ชี้แจงว่า ไม่มีการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่กำลังดำเนินการจัดพิมพ์ รวมทั้งยังไม่มีมติให้แก้ไขรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด โดยนางสาวกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ตามที่ได้มีประชาชนจำนวนมากแสดงความห่วงใยเรื่องรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ผ่านสื่อต่างๆ นั้น ราชบัณฑิตยสถานขอขอบคุณและขอชี้แจงว่า ราชบัณฑิตยสถานได้ถือหลักการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ ตามพระดำริของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ว่า การเขียนคำในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษออกเสียงไม่แน่นอน จะออกเสียงอย่างไรย่อมแล้วแต่ประโยค เสียงจะสูงต่ำก็แล้วแต่ตำแหน่งของคำในประโยค จึงทรงเห็นว่าไม่ควรใช้วรรณยุกต์กำกับตามเหตุผลดังกล่าว เลขาธิการราชบัณฑิตยสถานกล่าวต่อไปว่า ในปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานมีราชบัณฑิตสาขาวิชาต่างๆ 84 คน ภาคีสมาชิกสาขาวิชาต่างๆ 80 คน และมีคณะกรรมการวิชาการในสาขาวิชาการต่างๆ กว่า 90 คณะ ซึ่งอาจเสนอความเห็นทางด้านวิชาการให้ราชบัณฑิตยสถานพิจารณาได้ และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ในฐานะราชบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย ได้เสนอขอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ โดยแนะให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ หรือใช้อักษรสูง หรือใช้ ห นำในคำที่ไม่สามารถผันวรรณยุกต์ได้ ราชบัณฑิตยสถานจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางการเขียนคำที่มาจากต่างประเทศ เพื่อพิจารณาเรื่องที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล เสนอ คณะกรรมการฯ ได้มีมติให้ออกแบบสอบถามตามข้อเสนอของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล โดยสอบถาม ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และกรรมการวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรเป็นเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ต.ค. และจะเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวต่อสภาราชบัณฑิต ในการประชุม วันที่ 12 ธ.ค.นี้ "ผลการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรของราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับหลักการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะมีผลเป็นประการใด เป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ข้อยุติ การแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในทางราชการ ทางการศึกษา มาเป็นเวลานาน หากมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมมีผลกระทบสำคัญต่อการใช้ภาษาไทยของหน่วยงานราชการ นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและบุคคลดังกล่าวก่อน ตามหลักการพื้นฐานที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนที่จะพิจารณาดำเนินการไปในทางใดทางหนึ่ง และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดพิมพ์นั้น ไม่ได้แก้ไขรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าว ส่วนความคิดเห็นของประชาชนที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ราชบัณฑิตยสถานจะรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป" เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีข่าวข้อเสนอดังกล่าว มีผู้เข้าไปแสดงความเห็นในกระดานสนทนาของเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถานจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กสท.เคาะทีวีดิจิตอลไทย มี 48 ช่อง ระบบ HD 4 ช่อง Posted: 01 Oct 2012 07:22 AM PDT (1 ต.ค.55) พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) แถลงข่าวผลการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ว่า ที่ประชุม กสท. มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การแบ่งสัดส่วนคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล สาระสำคัญของหลักเกณฑ์กำหนดให้แบ่งสัดส่วนคลื่นความถี่สำหรับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ในช่วงการออกอากาศแบบคู่ขนานในระบบแอนะล็อกและระบบดิจิตอล ออกเป็น บริการชุมชนไม่น้อยกว่า 20% บริการสาธารณะประมาณ 20% และบริการธุรกิจประมาณ 60% และในช่วงหลังจากยุติระบบแอนะล็อกและให้บริการระบบดิจิตอลอย่างเดียว จะแบ่งสัดส่วนคลื่นความถี่ออกเป็นบริการชุมชนไม่น้อยกว่า 20% บริการสาธารณะประมาณ 30% และธุรกิจประมาณ 50% พ.อ.นที กล่าวว่า ทั้งนี้ ในช่วงการออกอากาศแบบคู่ขนานในระบบแอนะล็อกและระบบดิจิตอลจะมีช่องรายการ Digital Tv จำนวน 48 ช่องรายการ แบ่งเป็น ช่องรายการที่เป็นการบริการชุมชน 12 ช่องรายการแบบ Standard Definition (หรือ SD) ช่องรายการที่เป็นการบริการสาธารณะ 12 ช่องรายการแบบ SD ช่องรายการที่เป็นการบริการธุรกิจ 24 ช่องรายการ ซึ่งจะจัดแบ่งย่อยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ช่องรายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว 5 ช่องรายการ กลุ่มที่ 2 ช่องรายการสำหรับข่าวสาร และสาระประโยชน์ 5 ช่องรายการ กลุ่มที่ 3 ช่องรายการทั่วไปแบบ SD 10 ช่องรายการ กลุ่มที่ 4 ช่องรายการทั่วไป แบบ High Definition (หรือ HD) 4 ช่องรายการ การดำเนินการหลังจากนี้ จะนำหลักเกณฑ์นี้เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม กสทช. ในวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ก่อนจะนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป พ.อ.นที กล่าวว่า ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการโครงข่าย และดิจิตอลทีวีในกลุ่มช่องบริการสาธารณะ จากนั้นในช่วงเดือนมีนาคม 2556 จึงเปิดให้มีการประมูลช่องรายการในกลุ่มธุรกิจ และในกลุ่มช่องบริการชุมชนในเดือนพฤศจิกายนปี 2556 ซึ่ง กสท.ยังได้ให้คณะอนุกรรมการศึกษาในเรื่องของการกำหนดอัตราถือครองช่องรายการขั้นต่ำของผู้ประกอบการ โดยจะทำการประเมินจากศักยภาพด้านการดำเนินงานของผู้ประกอบการ พ.อ.นที กล่าวว่า ส่วนราคาตั้งต้นของการประมูล ขณะนี้กำลังรอผลการศึกษาจากทีมอนุกรรมการ แม้ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถรู้ผลเมื่อไร แต่คาดว่าราคาที่ออกมาได้จะไม่สูงมากนัก เนื่องจากต้องการให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนไปใช้ในการสร้างเนื้อหารายการดีๆ มากกว่าเอามาใช้ลงทุนประมูล ทั้งนี้ในการศึกษาการกำหนดราคาจะใช้วิธีการประเมินมูลค่าคลื่นเช่นเดียวกับการคิดมูลค่าในกิจการโทรคมนาคม พ.อ.นที กล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนของเนื้อหารายการหากผู้ประกอบการจะนำช่องรายการที่มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองสนับสนุนเสื้อสี หรือกลุ่มพรรคการเมือง ในเบื้องต้น กสท.สามารถอนุญาตให้ทำได้ แต่ห้ามฝ่าฝืน ม.37 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ว่าด้วยการไม่เผยแพร่รายการที่ออกอากาศจะต้องไม่กระทบกระเทือนหรือดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ แสดงออกโดยจงใจก่อให้เกิดการเหยียดหยามประเทศชาติ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือกลุ่มชนใด ลบหลู่ศาสนา ปูชนียบุคคล ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ หรือกระทบต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมอันดีงาม กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ยั่วยุกามารมณ์หรือลามกอนาจาร รวมทั้งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้พรรคการเมืองห้ามเป็นเจ้าของสื่อ
ที่มา: บางส่วนจากมติชนออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขบวนคนจนเคลื่อนพลตามสัญญา ปักหลักค้างคืนทำเนียบรอเจรจา “ยิ่งลักษณ์” พรุ่งนี้ Posted: 01 Oct 2012 07:16 AM PDT 'ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม' เคลื่อนขบวนถึงกรุงเทพฯ ค้างคืนหน้าประตู 4 ทำเนียบ หลังเจรจาไม่คืบรอนัดนายกฯ แก้ไขปัญหาพรุ่งนี้ จากที่ช่วงเช้าร่วมเครือข่ายสลัม 4 ภาค ยื่นหนังสือยูเอ็น 'วันที่อยู่อาศัยสากล' ภาพโดย: ฮาริ บัณฑิตา วันนี้ (1 ต.ค.55) คาราวานมอเตอร์ไซค์ของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ (pmove) จากภาคเหนือและเครือข่ายจากทั่วประเทศนับพันคน เคลื่อนขบวนถึงกรุงเทพฯ ตามนัดหมายจัดชุมนุมใหญ่เพื่อทวงคืนนโยบายของคนจน อาทิ นโยบายโฉนดชุมชนและธนาคารที่ดิน จากที่กว่า 1 ปีที่ผ่าน ได้พยายามติดตาม และผลักดันให้กลไกการแก้ไขปัญหาแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ สื่เนื่องจากที่พีมูฟ ซึ่งประกอบไปด้วย เครือข่ายสลัม 4 ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ได้แถลงข่าวนัดรวมตัวตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 ก.ย.55 (คลิกอ่าน) ภาพโดย: ฮาริ บัณฑิตา นอกจากนั้น เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. พีมูฟร่วมกับเครือข่ายสลัม 4 ภาค เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยื่นหนังสือถึงคณะกรรมธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UN Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - UNESCAP) ที่อาคารสำนักงานสหประชาชาติเพื่อให้รัฐบาลนานาประเทศตระหนัก และให้ความสำคัญของปัญหาการไร้ที่อยู่อาศัย รวมทั้งให้มีมาตรการ และนโยบายในการแก้ปัญหา เนื่องวันที่อยู่อาศัยสากล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขบวน พีมูฟ เดินทางจากอาคารสำนักงานสหประชาชาติมารวมตัวกันที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาลในช่วงบ่าย เรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่าย พร้อมเสนอให้การแก้ปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเป็นวาระแห่งชาติ โดยในเวลาประมาณ 14.00 น. ตัวแทนทางเครือข่ายได้เดินทางเข้าไปร่วมพูดคุยกับตัวแทนรัฐบาลในทำเนียบรัฐบาล ประเด็นการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับตัวแทนของพี่มูฟ ประกอบด้วย 1.การปรับปรุงกลไกแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม 2.การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดิน ในรูปแบบโฉนดชุมชน 3.การจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) 4.กรณีโครงการนำร่องธนาคารที่ดินภาคเหนือ 5 หมู่บ้าน 5.กรณีสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัย (โครงการบ้านมั่นคง) 6.กรณีคนไร้บ้าน 7.กรณีการจัดทำเขตวัฒนธรรมพิเศษ (ชาวเลราไวย์) 8.กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล และ 9.กรณีเครือข่ายสิทธิสถานะบุคคลและกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล นายเหมราช ลบหนองบัว ประธานเกษตรกรทุ่งซำเสี้ยว อ.เกษตรกรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานหนึ่งในตัวแทน 10 คนของพีมูฟ กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการเจรจาว่า การพูดคุยมี นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเข้าร่วม แต่ผลการเจรจาไม่คืบหน้า เนื่องจากตัวแทนรัฐบาลอ้างว่า ทั้ง 9 เรื่อง นายกรัฐมนตรีสามารถเป็นผู้ตัดสินใจได้เพียงคนเดียว ดังนั้นจะประสานไปยังนายกฯ และขอร้องให้ผู้ชุมนุมกลับบ้านไปก่อน อีก 3-4 วัน เมื่อติดต่อนายกฯ ได้แล้ว จะเชิญตัวแทนเข้ามาร่วมเจรจาในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากได้รับคำตอบ ผู้ชุมนุมต่างแสดงความไม่พอใจ และได้ให้เวลา 10 นาทีเพื่อประสานนายกฯ แต่จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.30 น. ไม่มีสัญญาณตอบกลับจากฝ่ายรัฐบาล ผู้ชุมนุมจึงลุกขึ้นมารวมตัวที่หน้าประตูเพื่อกดดันให้นายกฯ อออกมาเจรจาหรือให้คำตอบที่ชัดเจน ทำให้เกิดการผลักดันกันไปมาระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 2-3 ครั้ง ที่บริเวณหน้าประตู นอกจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมยังมีการนัดหมายกันว่าจะเดินทางไปบ้านนายกฯ ในช่วงเย็นเพื่อทวงถามถึงการแก้ปัญหา ภายหลังจากที่มีการปะทะกัน ทางรัฐบาลได้ส่งสัญญาณถึงแกนนำกลุ่มผู้ชุมชุม โดยมีข้อเสนอ 2 ข้อ คือ ขอตัวแทนเข้าร่วมเจรจาอีกครั้ง และขอร้องไม่ให้นำขบวนไปยังบ้านนายกฯ ภาพโดย: เอก ตรัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการเจรจารอบที่สอง ตัวแทนรัฐบาลรับปากจะศึกษารายละเอียดในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งประสานให้ผู้ชุมนุมส่งตัวแทนจำนวน 15 คนได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (2 ต.ค.) เวลา 09.00 น.ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พร้อมระบุว่านายกรัฐมนตรีจะเร่งพิจารณาข้อเรียกของทางเครือข่าย อย่างไรก็ตามในวันนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมตกลงค้างคืนกันที่ข้างทำเนียบรัฐบาล เพื่อติดตามผลการเจรจาในวันพรุ่งนี้ ซึ่งหากผลเป็นที่พอใจก็จะสลายการชุมนุม แต่หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขก็จะมีการร่วมกันพิจารณาถึงแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไป "หากนายกฯ ไม่ยอมออกมาร่วมเจรจาในการแก้ไขปัญหาเหมือนที่เคยสัญญาไว้อีก ทางกลุ่มพีมูฟจะปีนรั้วทำเนียบเพื่อเข้าไปพบเอง" นายเหมราชกล่าว ภาพโดย: ฮาริ บัณฑิตา ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้พีมูฟได้สรุปความล้มเหลว 1 ปีกลไกการแก้ปัญหาร่วมกับรัฐบาลพร้อมข้อเสนอไว้ดังนี้ สรุปความล้มเหลว 1 ปีกลไกการแก้ปัญหาร่วมกับรัฐบาล
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บทเรียนการต่อสู้เพื่อ 'เอกราช' จากติมอร์ตะวันออก Posted: 01 Oct 2012 07:10 AM PDT ผู้แปลหนังสือ "ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" เล่าถึงการต่อสู้เพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออก ชาติเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยชี้ว่า "ศาสนา" และ "สิทธิมนุษยชน" เป็นพลังหลักทำให้ชาวติมอร์รวมตัวกันต่อสู้ได้ จนทำให้ความชอบธรรมของกองทัพอินโดนีเซียในฐานะผู้ปกครองต้องหมดความชอบธรรมลงไปในที่สุด หนังสือ "ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" ที่แปลมาเป็นภาษาไทยจาก "East Timor : The Price of Freedom" ของ John G. Taylor โดย สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ และอรพรรณ ลีนะนิธิกุล ภายใต้มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อ 25 กันยายนที่ผ่านมา หลังจากที่ 'ติมอร์ เลสเต้' หรือติมอร์ตะวันออก ผ่านการสู้รบภายในประเทศอย่างนองเลือดมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นับตั้งแต่การยึดครองเป็นอาณานิคมโดยโปรตุเกสในทศวรรษที่ 16 มาจนถึงหยดสุดท้ายก่อนจะได้เอกราชในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ปัจจุบัน ติมอร์ตะวันออก ก็ได้เข้าสู่ช่วงที่ประเทศปลูกหน่ออ่อนและพัฒนาประชาธิปไตยอย่างช้าๆ และมั่นคง ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ ติมอร์ตะวันออกยังเผชิญกับปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม แต่สำหรับประเทศที่เกิดมาใหม่ที่สุดในโลก คือได้รับเอกราชราว 10 ปีเท่านั้น นับว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่น่าศึกษา ในฐานะประเทศที่สามารถจัดการกับความขัดแย้งและลุกขึ้นมายืนใหม่ได้อย่างมั่นคง หนังสือ "ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" ที่แปลมาเป็นภาษาไทยจาก "East Timor : The Price of Freedom" ของ John G. Taylor โดย สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ และอรพรรณ ลีนะนิธิกุล ภายใต้มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรกที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ของติมอร์ตะวันออก โดยเนื้อหาของหนังสือจำนวนความยาวกว่า 600 หน้านี้ เริ่มตั้งแต่สมัยที่ติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 แต่จุดเด่นของการเล่าประวัติศาสตร์ประเทศติมอร์ตะวันออกในเล่มนี้ อยู่ที่การต่อสู้อันนองเลือดเพื่อเอกราชของประชาชนชาวติมอร์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1975 เป็นต้นมา โดยผู้เขียน จอห์น จี เทย์เลอร์ ยังได้หยิบเอาคำบันทึกและบอกเล่าการต่อสู้และความเจ็บปวดของชาวติมอร์ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของกองทัพอินโดนีเซีย และสงครามภายในที่ยืดเยื้อ มาร้อยเรียงเป็นประวัติศาสตร์ของประชาชน ที่อยู่เบื้องหลังการได้มาซึ่งเอกราชของประเทศ ช่วงอภิปรายโดยสิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ ผู้เขียน หนังสือ "ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" ที่แปลมาเป็นภาษาไทยจาก "East Timor : The Price of Freedom" ของ John G. Taylor สำหรับช่วงอภิปรายโดยวิทยากรท่านอื่นๆ สามารถติดตามได้จากลิ้งนี้ [1] ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ [2] วิทยา สุจริตธนารักษ์ ในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือเล่มดังกล่าว ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ บรรณาธิการแปล มองปัจจัยความสำเร็จในการต่อสู้ของขบวนการเพื่อเอกราชในติมอร์ตะวันออกว่า มีพลังหลักๆ อยู่สองอย่าง คือ ศาสนา และสิทธิมนุษยชน ที่ช่วยทำให้ประชาชนชาวติมอร์รวมตัวกันได้ทั้งทางภายนอกและจิตใจ และต่อสู้เพื่อทำให้ความชอบธรรมของกองทัพอินโดนีเซียในฐานะผู้ปกครองต้องหมดความชอบธรรมลงไปในที่สุด ทั้งนี้ ติมอร์ตะวันออก ได้ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ต่อมาใน ค.ศ. 1974 (พ.ศ.2517) ได้เกิดการปฏิวัติดอกคาร์เนชั่นที่โปรตุเกส โค้นล้มระบอบทหารเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ทำให้จักรวรรดินิยมในโปรตุเกสล่มสลาย ติมอร์จึงประกาศเอกราชในปีถัดมา อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียในขณะนั้น เกรงว่าการได้เอกราชของติมอร์ตะวันออก จะมาพร้อมกับภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ จึงนำกองทัพบุกเข้ามาในติมอร์ตะวันออก โดยได้รับความสนับสนุนจากประเทศตะวันตกหลายประเทศ ภายใต้ผู้ปกครองคนใหม่ ติมอร์ตะวันออกถูกปกครองด้วยความโหดร้ายไม่ต่างจากเดิม มีรายงานว่าในระหว่างปี 1975-1999 ซึ่งเป็นปีก่อนที่อินโดนีเซียถอนกองทัพออกไปนั้น ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกตกเป็นเหยื่อของการสังหารนอกกฎหมาย และการซ้อมทรมานจากกองทัพอินโดฯ ราว 18,600 คน และเสียชีวิตจากความอดอยากอีกราว 102,800 คน ในระหว่างนั้น ขบวนการชาตินิยมหลักที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ "เฟรติลิน" พรรคการเมืองของติมอร์ตะวันออก นำโดยโฮเซ่ รามอส ฮอร์ตา ผู้ซึ่งต่อมากลายเป็นประธาธิบดีคนที่สองของติมอร์ตะวันออก และ ""ฟาลินติล" ปีกกองกำลังของพรรคเฟรติลิน มีซานาน่า กุสเมา ประธานาธิบดีคนแรกในเวลาต่อมา เป็นผู้บัญชาการของกองกำลังด้วย ศาสนาในฐานะ "ศูนย์รวมจิตใจ" แต่นอกจากบทบาทของผู้นำในการได้เอกราชมาแล้ว บรรณาธิการแปลหนังสือเล่มนี้ มองว่าเรื่องของ "ศาสนา" โดยเฉพาะศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิกนั้น ยังมีบทบาทสำคัญ ที่ทำให้ประชาชนชาวติมอร์มี "ศูนย์รวมจิตใจ" ยึดเหนี่ยวการต่อสู้เพื่อเอกราชในภาวะสงคราม โดยเขาชี้ให้เห็นว่า ในช่วงที่ติมอร์ตะวันออกอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกสราว 400 ปี มีเพียงร้อยละ 2-5 เท่านั้นที่นับถือศาสนาคริสต์ ในขณะที่ปัจจุบันมีประชาชนนับถือคริสต์ราวร้อยละ 93 อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ประชาชนส่วนใหญ่ปวารณาตนเป็นคริสต์และทำพิธีกรรมต่างๆ อย่างเคร่งครัด กลับเป็นช่วงที่อินโดนีเซียเข้ายึดครอง สิทธากล่าวว่า เป็นเพราะสถานการณ์ที่บีบคั้นทางการเมืองและสังคม ทำให้ประชาชนชาวติมอร์ต้องหันเข้าหาโบสถ์ เนื่องจากในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โตขึ้นสู่อำนาจปี 1965 ได้ออกกฎให้ทุกคนต้องนับถือศาสนา มิเช่นนั้นจะถือว่าเป็นคอมมิวนิสต์ โดยในช่วงเวลานั้น เกิดกระแสการปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างดุเดือด มีการประมาณการณ์ว่า สมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ถูกสังหารโดยกองทัพอินโดนีเซียราว 5 แสนถึง 1 ล้านคน นอกจากนี้ บุคคลต่างๆ ในฝ่ายค้านที่มีบทบาทนำทางการเมือง ก็มักจะถูกข้อหา "คอมมิวนิสต์" เล่นงานและถูกจับกุมคุมขังเช่นกัน ชาวติมอร์จำนวนมาก จึงได้วิ่งเข้าหาโบสถ์และปวารณาตนเป็นคริสตศาสนา ประกอบกับในช่วงปีเดียวกัน มีการสังคายนาศาสนาคริสต์จากกรุงวาติกัน ทำให้คนสามารถทำพิธีมิสซาเป็นภาษาท้องถิ่นได้ จากแต่ก่อนจำกัดอยู่ในภาษาโรมันเท่านั้น ทำให้คนกลับเข้าหาและเข้าถึงศาสนาคริสต์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ ในทางการเมือง ถึงแม้ว่าด้านการเมืองการปกครอง ติมอร์ตะวันออก จะถูกยึดครองโดยรัฐบาลอินโดนีเซีย แต่ในทางศาสนจักร์ อินโดนีเซียมิได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว จึงถือว่าติมอร์ตะวันออกยังขึ้นตรงอยู่กับกรุงวาติกันในทางศาสนา "ฉะนั้น 'เอกราช' ในทางศาสนาของติมอร์ตะวันออกยังคงอยู่ ทำให้พลังของศาสนาเป็นพลังสำคัญของขบวนการที่เรียกร้องเอกราช นักรบของเฟรติลิน แรกเริ่มเป็นนักบวช เป็นเณรในศาสนาคริสต์ด้วยซ้ำ แต่สุดท้าย ก็ได้เข้ามามีบาทในทางการเมืองในตอนหลัง" สิทธากล่าว เขาเสริมว่า ในช่วงที่อินโดนีเซียยึดครองติมอร์ "คุณพ่อ" ในศาสนาคริสต์หรือบาทหลวง ยังได้กลายเป็นศูนย์รวมทางจิตใจและกำลังคน และหากว่ามีการหลบหนีลี้ภัย ก็จะมาอาศัยโบสถ์หรือที่พักอาศัยของพระเป็นหลัก ทำให้เรื่องของชาติและศาสนาไปด้วยกันได้อย่างมีพลังมากในขณะนั้น ในขณะเดียวกัน การเดินทางมาเยือนของพระสันตะปาปาจอนปอลที่สองมายังติมอร์ในปี 1989 ก็ได้เป็นจุดสำคัญในการล็อบบี้รัฐบาลตะวันตกให้หยุดสนับสนุนการยึดครองติมอร์ของอินโดนีเซีย และมองติมอร์ในมุมมองที่ต่างออกไป "สิทธิมนุษยชน" จุดทำลายความชอบธรรมผู้ปกครองที่โหดร้าย จุดเปลี่ยนอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้นานาชาติเริ่มเข้ามาสนใจปัญหาในติมอร์ตะวันออก ทั้งๆ ที่ติมอร์เผชิญการกระทำจากรัฐบาลอินโดนีเซียก่อนหน้านี้มาเป็นระยะเวลานาน คือกรณีการสังหารหมู่ที่โบสถ์ซานตาครู๊ซ ในกรุงดีลิ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1991 (2534) ที่กองทัพอินโดนีเซียเปิดฉากยิงปืนใส่ประชาชนที่ชุมนุมกันในระหว่างงานศพผู้เสียชีวิตจากการเผชิญหน้าก่อนหน้านี้ โดยผู้ชุมนุมในงานศพได้ถือธงชาติติมอร์ตะวันออกและตะโกนเพื่อเรียกร้องเอกราชอย่างสันติ แต่ด้วยความตึงเครียด ทหารชาวอินโดนีเซียราว 200 คน ได้เปิดฉากยิงปืนใส่ผู้ประท้วงในโบสถ์อย่างไม่เลือกหน้า ทำให้มีชาวติมอร์เสียชีวิตในเหตุการณ์นั้นอย่างน้อย 250 คน นักข่าวชาวอังกฤษ "แม็กซ์ สตาห์ล" ผู้ถ่ายคลิปของการสังหารหมู่ครั้งนั้นไว้ได้ ได้ลักลอบเทปวีดีโอดังกล่าวออกสู่ภายนอก และได้ทำเป็นสารคดีฉายภาพการปกครองที่โหดร้ายในติมอร์ตะวันออก ทำให้ประชาคมนานาชาติ ได้หันมาสนใจเรื่องราวของดินแดนแห่งนี้เป็นครั้งแรก ต่อมาได้เกิดแรงสนับสนุนและสมานฉันท์จากหลายประเทศ กดดันอินโดนีเซียเพื่อปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตยและเรียกร้องเอกราชในติมอร์ตะวันออก จากนั้นมา เรื่องสิทธิมนุษยชน ก็ได้กลายเป็นประเด็นหลักในการล็อบบี้ในเวทีนานาชาตืเพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออก โดยเฉพาะฮอร์ต้าจากพรรคเฟรติลิน ได้มีบทบาทสำคัญในการล็อบบี้เรื่องนี้ จนในที่สุด ได้นำมาซึ่งการจัดประชามติที่สนับสนุนโดยสหประชาชาติในปี 1999 โดยมีประชาชนกว่าร้อยละ 80 ที่โหวตเพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออก "ในโลกหลังยุคสงครามเย็นจบสิ้น ที่ทางของทหารมันอยู่ยากมาก คือความชอบธรรมในการอ้างเพื่อที่จะใช้อำนาจในแง่การใช้อาวุธเพื่อที่จะปกครอง มันอยู่ยากมาก และเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นตัวที่ทำลายความชอบธรรมรบ.ที่ปกครองด้วยอาวุธต่างๆ เหล่านี้" สิทธากล่าว เขายกตัวอย่างเปรียบเทียบกับกลุ่มแนวหน้าปลอดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front - MILF) ทางเกาะมินดาเนาในประเทศฟิลิปปินส์ ที่ปัจจุบันต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธเพื่อการแบ่งแยกดินแดน แต่รัฐบาลฟิลิปปินส์เองก็พยายามจะผลักดันเรื่องนี้ไปสู่การเจรจาสันติภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์รุนแรงไปถึงขั้นความเป็นเอกราช ในขณะที่อินโดนีเซีย ปล่อยให้ความรุนแรงเป็นไปอย่างสุดโต่ง ทำให้ติมอร์หลุดไปสู่ความเป็นเอกราชได้ในที่สุด "โลกสมัยใหม่ แม้แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยแล้ว กาารเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยก็ดี หรือไปสู่เอกราชก็ดี ถ้ามันเปลี่ยนผ่านด้วยกำลังทหาร มันมีสถิติที่บันทุกไว้ว่า มากกว่าครึ่งจะไม่ประสบความสำเร็จ ที่จะคงให้ประเทศอยู่ต่อ จะเจอกับปัญหาการเอาคืนจากฝ่ายที่เสียประโยชน์ หากมีการใช้อาวุธ อย่างในกรณีของลิเบียในปัจจุบัน" สิทธาระบุ "น่าสนใจที่อย่างติมอร์ได้ปรับด้วยการเลือกตั้ง ในทางสัญลักษณ์แล้ว ในทางระยะยาว มันปลูกฝังวิธีคิดการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่สันติ" บทบาทของทหารที่ถูก "จำกัด" แม้สิทธิการเลือกตั้ง เขากล่าวด้วยว่า สิ่งหนึ่งที่จะไม่เกิดขึ้นในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา คือการรัฐประหาร ที่ผ่านมามีความพยายามหลายครั้งแต่ก็ทำไม่สำเร็จ มีความพยายามลอบสังหารประธานาธิบดี แต่ก็ล้มเหลว เขามองว่าเป็นเพราะบรรยากาศทางการเมืองที่มีความประนีประนอม การเจรจาต่อรองและการเลือกตั้งที่มีพลัง ทำให้ประชาชนตื่นตัวเรื่องการเมือง เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับการเจริญเติบโตทางประชาธิปไตย นอกจากนี้ การที่อินโดนีเซียเองพัฒนาไปทางประชาธิปไตยมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็ทำให้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความรุนแรงในติมอร์ตะวันออกไม่เลวร้ายลง เนื่องจากไม่มีปัจจัยแทรกซ้อนจากภายนอก สิทธากล่าวว่า ตั้งแต่รัฐธรรมนูญอินโดนีเซียฉบับ 1999 เป็นต้นมา ได้มีการจำกัดสิทธิของทหารในทางการเมือง ไม่ว่าจะสิทธิการเลือกตั้ง หรือการมีที่นั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ก็ถูกตัดเสียหมดสิ้น ถึงแม้ว่าอินโดนีเซีย จะเป็นผู้กระทำความรุนแรงในบทประวัติศาสตร์ของติมอร์ตะวันออก แต่ในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศ ก็ให้ความสำคัญเรื่องการเยียวยาและสมานฉันท์บาดแผลจากในอดีต มีกระบวนการมากมายที่จะสลายความขัดแย้งในอดีตและมุ่งสู่การเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกันในอนาคต และอินโดนีเซียเองก็เป็นตัวหลักที่ผลักดันให้ติมอร์เป็นสมาชิกของอาเซียนด้วย "การเยียวยากับความขัดแย้งในอดีต เป็นพื้นฐานสำคัญมากในการเดินไปข้างหน้าของประเทศ ว่าเราจะอยู่กับความขัดแย้งที่ผ่านมาอย่างไร" สิทธากล่าวส่งท้าย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น