โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เสวนานิติราษฏร์: การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ

Posted: 30 Sep 2012 10:23 AM PDT



30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมเสวนาหัวข้อ "การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ" ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ธีระ สุธีวรางกูร กล่าวในช่วงเกริ่นนำว่า ประเทศไทยมีการรัฐประหารเฉลี่ย 3-4 ปีต่อครั้ง และการรัฐประหารทุกครั้งจะนำมาซึ่งเรื่องใหม่ๆ ทางกฎหมาย ทั้งการมีองค์กรและกฎเกณฑ์ใหม่ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐ

การรัฐประหาร 2549 เป็นสาเหตุของการกำเนิดขึ้นของนิติราษฎร์ซึ่งมีข้อเสนอออกมานับตั้งแต่มีการรวมกลุ่ม และมีหลายข้อเสนอที่ก่อให้เกิดการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์ในทางสาธารณะค่อนข้างมาก นั่นคือการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร

นอกจากนี้ คือเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยซึ่งนำมาซึ่งการจำกัดอำนาจของสถาบันกษัตริย์ แต่ระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมาความสัมพันธ์นี้แกว่งไกวมาตลอดแล้วแต่สถานการณ์ แต่ระหว่างการจัดความสัมพันธ์นี้ สิ่งที่เห็นคือ จะมีบรรดานักนิติศาสตร์ที่ทำหน้าที่อธิบายความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นการเทิดพระเกียรติและอำนาจของสถาบันฯ แต่ข้อเท็จจริงนั้น ก่อนการรัฐประหาร 2549 ในช่วงที่ประเทศอยู่ในภาวะวุ่นวาย กลไกที่ทำหน้าที่หลักในบ้านเมืองตอนนั้นคือสถาบันตุลาการ ซึ่งมีบทบาทสำคัญค่อนข้างมากในช่วงที่กำลังจะมีการรัฐประหาร บทบาทสำคัญอีกประการคือ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2549 เรื่องปัญหาการเลือกตั้ง ที่ศาล รธน. มีคำวินิจฉัยให้เลือกตั้งใหม่ และต้องเลือกคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่คณะที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีมติไม่เลือกโดยอ้างพระราชอำนาจ ตามหนังสือที่ประธานศาลฎีกาเวียนไประบุเหตุที่มีกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจโดยตรงทางตุลาการผ่านพระราชดำรัสวันที่ 25 เม.ย. 2549 เมื่อมีพระราชดำรัสเช่นนั้นการที่ศาลฎีกาไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ก็เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

ธีระกล่าวต่อว่า ที่อ้างมานี้ เพื่อให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ถูกนำมาอ้างอิงเสมอไม่ว่าจากศาลหรือใครก็ตาม และ 30 ปีที่ผ่านมา ก็มีคำอธิบายทางนิติศาสตร์มากในเรื่องพระราชอำนาจและอำนาจอธิปไตย เป็นสิ่งที่ต้องตั้งคำถามและหาคำตอบ

สุดท้าย สิ่งที่ต้องรำลึกเสมอคือ แม้ว่าปัจจุบันมีการรัฐประหารค่อนข้างยาก แต่การรัฐประหารแบบคลาสสิกคือการใช้รถถังก็ยังมีอยู่ ก่อนหน้านั้นเราไม่มีองค์ความรู้ในการป้องกันหรือแก้ไขการรัฐประหารเลย

ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวถึงการสร้างคำอธิบายของนักกฎหมายรัฐธรรมนูญเรื่องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ระบุว่าอาจจะแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ หนึ่ง ยุคอภิวัฒน์สยามกับอุดมการณ์กษัตริย์นิยม

ในช่วงนี้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้รู้และเข้าใจเรื่องระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ ในช่วงเวลานั้นนักกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบคณะราษฎรได้ผลิตตำราจำนวนมากเพื่อประกอบการสอน ตั้งอยู่บนฐานแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม มีเรื่องการแบ่งอำนาจ กษัตริย์ไม่ทรงทำอะไรผิดเพราะกษัตริย์ไม่ทำอะไรเลย ตำราของนักกฎหมายสายคณะราษฎร์จะเดินทางนี้

แต่อีกปีกหนึ่งที่เติบโตและรับราชการในราชสำนักในระบอบเก่าก็พยายามอธิบาย แต่ไม่ได้โต้กับคณะราษฎรโดยตรง เพียงพยายามอธิบายว่าระบอบเก่ากับระบอบใหม่สามารถเชื่อมโยงกันได้

ปี 2492 สมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ การฟื้นฟูอำนาจกษัตริย์ก็เกิดอย่างต่อเนื่องและภายใต้ระบอบเผด็จการ สฤษดิ์ ถนอม ประภาส ก็ไม่มีสิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญแบบสมัยใหม่ แต่เป็นการปลูกฝังอุดมการณ์กษัตริย์นิยมเข้าไปผ่านระบอบเผด็จการ

ต่อมายุคประชาธิปไตยหลัง 14 ตุลา รัฐไทยไม่สามารถปฏิเสธได้แล้วว่ายุคสมัยปัจจุบันต้องปกครองแบบประชาธิปไตย แต่จะทำอย่างไรให้มีจิตวิญญาณกษัตริย์นิยมสถิตอยู่ ก็มีการผลิตคำอธิบายเรื่องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อยู่เหนือการเมือง แต่มีกติกาพระราชอำนาจบางประการและไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง ส่วนปี 2475 ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางระบอบอย่างยิ่งใหญ่ แต่เป็นการแย่งชิงอำนาจไปใช้ในทางที่ผิดและก่อให้เกิดรัฐประหารซ้ำไปซ้ำมา และ 2475 เป็นกรณีกษัตริย์พระราชทานอำนาจโดยพระองค์เอง

นักกฎหมายสายนี้มีบทบาทสำคัญในการผลิตความคิด หากพิจารณาปีเกิดของนักกฎหมายสองกลุ่มจะพบว่าสายคณะราษฎร เกิดในช่วงปี 2443-2453 ศึกษากฎหมายในระบอบเก่าแล้วต่อมาได้ไปศึกษากฎหมายระหว่าปงระเทศในภาคพื้นยุโรป

ในขณะที่นักกฎหมายชุดหลังเกิดช่วงปี 2490-2500 เติบโตช่วงทศวรรษ 2510 เป็นช่วงระบอบเผด็จการเฟื่องฟู ฟื้นฟูอุดมการณ์กษัตริย์นิยม การศึกษาในมหาวิทยาลัยจะไม่ผูกพันกับคณะราษฎร แล้วก็ไปศึกษาต่อต่างประเทศ จากนั้นกลับมาทำงานให้ระบอบที่อุดมการณ์กษัตริย์นิยมสร้างสำเร็จ คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

นักกฎหมายที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตเรื่องประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็คือวิษณุ เครืองาม และบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

บวรศักดิ์แสดงจุดยืนว่าสถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันหลักของชาติ โดยวิจารณ์ว่าสถาบันของอังกฤษเป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติ แต่สถาบันกษัตริย์ของไทยนั้นเป็นศูนย์รวมอย่างแท้จริง

ในกฎหมายมหาชนเล่ม 2 บท 7 ความต่อเนื่องในกฎหมายมหาชนไทย ขยายความว่า ถ้าเพราะความเป็นรัฐชาติมีอยู่เพราะคนมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเชื่อมโยงความเป็นรัฐชาติเอาไว้ เคียงคู่สังคมไทยมาตลอดตั้งแต่โบราณ เป็นสถาบันเดียวที่แสดงให้เห็นความต่อเนื่องของไทย นักกฎหมายสายนี้ได้สร้างคำอธิบายที่น่าสนใจและครอบงำแวดวงนิติศาสตร์

ประเด็นที่หนึ่ง อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ร่วมกับประชาชน โดยบวรศักดิ์สร้างทฤษฎีว่า ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์และประชาชน ด้วยเหตุผลทางประเพณีวัฒนธรรมที่สั่งสมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวระหว่างกษัตริย์และประชาชน และเหตุผลทางนิติศาสตร์ที่แต่ไหนแต่ไรมาอำนาจอธิปไตยอยู่ที่กษัตริย์ แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองได้พระราชทานอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน ลดตัวเองลงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังใช้อำนาจแทนประชาชน

ความเห็นนี้อาจจะวิจารณ์ได้สองลักษณะ ลักษณะแรก วันที่ 24-26 มิ.ย.2475 อำนาจสูงสุดอยู่ที่คณะผู้รักษาพระนครแล้วปล่อยให้กับประชาชน วันที่ 24 มิ.ย. 2475 โดยเขียนว่า อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎร การอ้างว่าอำนาจสูงสุดเป็นของกษัตริย์นั้นไม่ถูกต้อง

พระปกเกล้าเป็นเพียงบุคคลหนึ่งที่คณะราษฎรให้เกียรติไปถามท่านว่ายังยินยอมกลับมาเป็นกษัตริย์หรือไม่ ถ้าไม่ตกลงจะเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ ไทยจึงเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

หลังจากนั้นกษัตริย์กลายเป็นสถาบันทางการเมืองหนึ่ง เหมือนสถาบันการเมืองอื่นๆ โดยวางให้เป็นประมุขของรัฐ

แต่ก็มีคำโต้แย้งว่า ทำไมต้องเอาธรรมนูญฉบับแรกไปให้พระปกเกล้าลงนาม แล้วทำไมต้องไปขอพระราชทานอภัยโทษ อธิบายได้ว่า ในประกาศคณะราษฎรก็แจ้งชัดแล้วว่า ให้ตอบว่าจะกลับมาเป็นกษัตริย์ภายใต้ระบอบใหม่หรือไม่ แสดงว่าพระปกเกล้ายอมเปลี่ยนตัวเองจาก อำนาจอัน "ล้นพ้น" มาอยู่ใต้ระบอบใหม่

ส่วนการขอขมานั้นเป็นธรรมเนียมแบบไทย เพื่อเดินหน้าสู่ปรองดองและอยู่ร่วมกันตามระบอบใหม่
"ผมเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองคือการเริ่มต้นชีวิตของรัฐแบบใหม่ กษัตริย์คือตำแหน่งทางการเมืองที่ระบอบใหม่อนุญาตให้อยู่ต่อ" ปิยบุตรกล่าว

ลักษณะที่สอง ในสังคมการเมืองอำนาจถูกแย่งชิงเสมอ หากเราต้องการย้อนกลับไปหาความเป็นเจ้าของอำนาจ ท่านจะเจอประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอยู่ดี การอ้างว่าไม่อาจะขาดกษัตริย์ได้เลยเป็นประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียวกับประชาชน นักวิชาการฝรั่งเศส กล่าวว่า เพราะอำนาจเป็นของประชาชนตลอดเวลา สภาวะที่กษัตริย์แย่งชิงอำนาจจากประชาชนนั้นก็ผิดโดยตัวเองอยู่แล้ว คำประกาศของคณะราษฎร นั้นก็ระบุเช่นกันว่า

"อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเสมอมา และเป็นตลอดกาล เพียงแต่บางช่วงบางตอนถูกแย่งชิงไป อย่างไรเสียวันหนึ่งประชาชนก็จะเอากลับคืนมาจนได้" ปิยบุตรกล่าว

เขากล่าวถึงประเด็นที่สองเรื่องสถาบันกษัตริย์กับการรัฐประหาร โดยยกตัวอย่างอิตาลีที่เปลี่ยนแปลงจากระบอบกษัตริย์มาสู่ประชาธิปไตยโดยมีการตกลงกันว่าจะไม่มีสถาบันกษัตริย์อีกต่อไป นับแต่นั้นสถาบันกษัตริย์ก็ปลาสนาการไปจากอิตาลี กรณีสเปน มีการตกลงกันแล้วให้กษัตริย์ลี้ภัย

สำหรับไทยนั้นมีการรัฐประหารหลายครั้ง ปัญหามีอยู่ว่าจะจัดความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับคณะรัฐประหารอย่างไร แล้วเหตุใดต้องให้สถาบันกษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญของคณะรัฐประหาร

เขายกว่า อ.บวรศักดิ์ อธิบายว่า ก่อนการเปลี่ยนแปลง 2475 อำนาจอยู่ที่สถาบันกษัตริย์ หลังจากนั้นพระราชทานอำนาจให้ประชาชน เมื่อมีการรัฐประหาร อำนาจอธิปไตยจึงกลับไปที่สถาบัน แต่การอธิบายเช่นนี้ แทนที่จะส่งผลดีกลับส่งผลร้ายต่อสถาบัน เพราะคนคิดต่อไปได้ว่ารัฐประหารไปเพื่ออะไร เพื่อใคร แทนที่จะอธิบายว่าคณะรัฐประหารทำกันเอง แล้วไปบังคับให้สถาบันฯ ลงนาม แต่พออธิบายเรื่องอำนาจย้อนกลับไปสู่สถาบันพระมหากษัตริย์แบบนี้เป็นผลร้ายต่อสถาบัน

ประเด็นที่ 3 ธรรมเนียมปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ บวรศักดิ์อธิบายว่าการอธิบายแบบอังกฤษ คือธรรมเนียมปฏิบัติ จริงๆ ว่ากันอย่างเคร่งครัด ธรรมเนียมกับจารีตนั้นต่างกัน ประเพณีทางรัฐธรรมนูญต้องเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างสม่ำเสมอและขัดแย้งกฎหมายลายลักษณ์ไม่ได้

แต่บวรศักดิ์อธิบายอีกแบบเพื่อเพิ่มอำนาจสถาบันให้มากกว่าที่ปรากฏตามลายลักษณ์ และยังอธิบายต่อไปด้วยว่าธรรมเนียมปฏิบัตินี้เปลี่ยนแปลงได้อีกตามพระบรมเดชานุภาพของกษัตริย์แต่ละพระองค์

การเปลี่ยนแปลง 2475 ทำให้พระราชอำนาจใดที่เป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณไม่ว่าเรื่องจริงหรือถูกสร้าง ต้องถูกจัดวางใหม่ พระราชอำนาจมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับประชาธิปไตยตามระบอบใหม่ การเพิ่มพระราชอำนาจตามประเพณีโดยเฉพาะเพิ่มแล้วขัดต่อหลักประชาธิปไตยนั้นไม่ถูกต้อง

ทำไมจึงมีนักกฎหมายแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะเขาไม่เคยให้ความสำคัญกับ 24 มิ.ย. 2475 เลย เหตุการณ์นั้นไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงรอบใหม่ ระบอบเก่านั้นเชื่อมโยงมาตลอดไม่เคยถูกปรับเปลี่ยน และการศึกษาสายนิติศาสตร์บัณฑิตไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้

ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย ไล่ย้อนไปถึงอยุธยา สุโขทัย คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ การประยุกต์กฎหมายในสมัย ร. 5 เพื่อความทันสมัย แล้วมาจบที่ ร.7 แทบไม่มีการกล่าวถึง 24 มิ.ย. 2475 ในฐานะการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยกเลิกอำนาจล้นพ้นของสถาบัน ทำให้ประชาชนกลายเป็นผู้ทรงสิทธิ มีอำนาจ ไม่ขึ้นกับใคร มีอัตวินิจฉัย ฐานคิด 2475 ต้องการตีความกฎหมายตามระบอบใหม่ แต่เมื่อนักกฎหมายตีความและใช้กฎหมายตามระบอบเก่า การใช้และตีความจึงบิดเบี้ยวอย่างทุกวันนี้ เมื่อเราประกาศตัวเป็นนิติรัฐ กฎหมายเป็นใหญ่ นักกฎหมายจึงเป็นใหญ่ตาม บรรดานักกฎหมายจึงพยายามช่วงชิงว่าตัวเองเป็นผู้ผูกขาดการใช้ การตีความกฎหมาย ถ้าพูดกันเรื่อง 24 มิ.ย. 2475 ก็พูดนอกวง แต่ในวงนักกฎหมายเขาไม่พูดกัน

การปลุกฝังอุดมการณ์ของคณะราษฎรให้กลับไปสู่นักกฎหมายให้มากเป็นเรื่องสำคัญ ให้สอดคล้องกับประชาธิปไตยเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การออกแบบรัฐธรรมนูญ การอธิบายเรื่องนี้อาจจะดูล้าสมัยแต่จำเป็นสำหรับช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

ฝ่ายกษัตริย์นิยมเขาปรารถนาให้กลับไปใกล้เคียงกับระบอบราชาธิปไตยมากที่สุด เพราะการสู้แบบเปิดหน้าสู่หลัง 2475 นั้นเสี่ยงที่จะถูกทำลายไปเหมือนยุโรป จึงปรารถนาให้สังคมไทยกลับไปใกล้เคียงระบอบเก่ามากที่สุด แต่ตระหนักดีว่าในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นไปได้ยากเพราะระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ก็เป็นเผด็จการแบบหนึ่ง ถ้าให้ปัญญาชนฝ่ายกษัตริย์นิยมพูดออกมาชัดเจนว่าให้เพิ่มพระราชอำนาจก็แลดูจะโง่เขลามากเกินไป สถานการณ์ไม่เอื้อให้ทำอย่างตรงไปตรงมา และไม่ต้องการให้สถาบันรับผิดชอบ ปัญญาชนจึงต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นการตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งต้องทำในรูป Norm ทำแบบลายลักษณ์ไม่ได้ เพราะจะเห็นชัด เขาจึงสร้างผ่านธรรมเนียมประเพณี ศาสนา เป็นเครื่องมือในการเพิ่มอำนาจและบทบาทให้สถาบัน โดยเปิดทางด้วยว่าอำนาจเหล่านี้เปลี่ยนไปตามสมัย แล้วแต่บารมีของกษัตริย์แต่ละพระองค์

ปิยบุตร จบท้ายการอภิปรายโดยอ้างนักวิชาการกฎหายมหาชนฝรั่งเศสว่า "ความเก่าแก่ของกฎไม่ได้พิสูจน์อะไรเลย หากจะมีการพิสูจน์ก็เพียงแต่ว่ากฎหมายนั้นเก่าแก่ เราอาศัยประวัติศาสตร์ แต่ประวัติศาสตร์ไม่ใช่กฎหมายของเรา"

ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล กล่าวถึงทฤษฎีอเนกนิกรสโมสรสมมติ โดยระบุว่าเป็นเรื่องที่ถูกอธิบายมานานแล้ว ตั้งแต่พระองค์เจ้าธานีนิวัต แต่คำอธิบายเช่นนี้สมเหตุสมผลมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาในตัวเองหรือเปล่า

ทฤษฎีนี้มาจากพระไตรปิฎกอัคคัญสูตร ฑีฆนิกาน สุตตันตปิฏก สาระสำคัญคือ ชนชั้นต่างๆ นั้นเป็นการกำเนิดขึ้นตามธรรมชาติของโลก จักรวาล และมวลมนุษย์ ความเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมาในหมู่มนุษย์ซึ่งก่อปัญหาการคุกคามการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นความจำเป็นในการคัดเลือกบุคคลผู้หนึ่งขึ้นทำหน้าที่ใช้อำนาจปกครอง แต่พอเลือกแล้ว สถานะก็มีต่างๆ กันไป เช่น มหาชนสมมติ กษัตริย์ และราชา ซึ่งมหาชนสมมติ เป็นกรณีที่ประชาชนมีมติร่วมกัน กษัตริย์คือผู้เป็นใหญ่ ราชาคือผู้ที่ทำให้เป็นที่พอใจแก่ผู้อื่น

ประเด็นสำคัญของอัคคัญญสูตร คือ เมื่อเกิดปัญหาก็มีการร่วมประชุมกัน "พวกเราจะสมมติผู้หนึ่งให้เป็นผู้ว่ากล่าวได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ...ส่วนพวกเราจะเป็นผู้แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น"

สรุปประเด็นได้ว่า หนึ่งคือเรื่องราวในอัคคัญสูตร สองคือประเด็นนี้ถูกนำมาอธิบายเป็นทฤษฎีที่เรียกว่าอเนกนิกรสโมสรสมมติ ใช้มาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ประเด็นที่สาม "พวกเราจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น" ซึ่งหายไป ถูกเน้นเพียงประเด็นที่สอง แต่ประเด็นที่สาม เลือกแล้วน้อมศิโรราบหรือ เป็น "ข้อตกลง" ที่ผู้อยู่ใต้ปกครองไปทำหน้าที่ตามที่กำหนดแล้วผู้ถูกปกครองจะเลี้ยงดูด้วยข้าวสาลี

อย่างไรก็ตาม หลักอัคคัญสูตรนี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีมาก่อนผู้ปกครอง เหมือนน้ำมีอยู่ก่อนเรือ และผู้ปกครองขึ้นไปนั่งอยู่ได้เพราะได้รับมอบอำนาจ จึงมีภารกิจและความรับผิดชอบต่อผู้อยู่ใต้ปกครองแล้วถ้าไม่ทำหน้าที่นี้จะจำเป็นต้องให้ข้าวสาลีต่อไปหรือไม่ นักวิชาการที่เสนอประเด็น อเนกสิกรสโมสรสมมตินั้นอ่านพระสูตรไม่ครบหรือเปล่า
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ท่อ’ รักษาชีวิต เจาะเศรษฐกิจ ‘รวมมิตร’ เมืองยะลา

Posted: 30 Sep 2012 09:08 AM PDT

 

สำรวจบรรยากาศถนนรวมมิตร ย่านธุรกิจไข่แดงเซฟตี้โซนกลางเมืองยะลา เส้นทางที่ยาวแค่ 950 เมตร ทว่าที่มีกำลังหมุนเวียนดูแลความปลอดภัยมากกว่า 200 นาย เศรษฐกิจกับชีวิตที่ฝากไว้กับ 'ท่อซิเมนต์' และโชคชะตา

 

"ตอนนี้มีทหารหมุนเวียนสลับกันดูแลรักษาความปลอดภัยในย่านถนนรวมมิตร รวม 200 นายครับ"

คือน้ำเสียงหนักแน่นของ พ.อ.นพพร เรือนจันทร์ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา ที่พูดถึงมาตรการหนึ่งในการรักษาความปลอดภัยในเขตพื้นที่ปลอดภัย หรือ 'เซฟตี้โซน' ย่านเศรษฐกิจสำคัญกลางเมืองยะลา

ถนนรวมมิตร ยาวเพียง 950 เมตร ทว่ามีประวัติโชกโชน เพราะตกเป็นพื้นที่เป้าหมายโจมตีทำลายล้างด้วยระเบิดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 ครั้ง

ครั้งที่หนักที่สุดก็คงไม่พ้นเหตุคาร์บอมบ์ 3 ลูก เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 วันเดียวกับเหตุคาร์บอมบ์ที่โรงแรมลีการ์เด้นส์พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จนเป็นข่าวดังไปทั่วโลก กระทั่งเลขาธิการสหประชาชาติถึงกับออกแถลงการณ์ประณามผู้ก่อเหตุรุนแรง

เหตุการณ์ครั้งนั้น สร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินไปมาก ตัวอาคารร้านค้าถูกเพลิงไหม้ย่อยยับไปหลายคูหา

ที่แย่ไปกว่านั้น คือ อารมณ์ความรู้สึกของผู้ประกอบการ พ่อค้าแม้ค้าทั้งรายเล็กรายใหญ่ ซึ่งหลายคนเพิ่งเริ่มฟื้นจากเหตุคาร์บอมบ์ครั้งที่แล้วเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นเหตุระเบิด 12 จุดทั่วเมืองยะลามาได้ไม่นาน กลับต้องมาเจอกับเหตุการณ์นี้ซ้ำอีกครั้ง อย่างที่นายนฤพล สุคนธชาติ ผู้ประกอบการร้านอาหารและผับย่านถนนรวมมิตร เคยเล่าให้ฟังมาก่อนหน้านี้

หลังเหตุคาร์บอมบ์ 3 ลูก เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 มาตรการต่างๆ ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการจากรัฐจึงค่อยๆ ทยอยออกมาดังเช่นทุกครั้งหลังเกิดเหตุ ทั้งการปกป้องดูแลรักษาชีวิตและทรัพย์สิน และการกระตุ้นเศรษฐกิจในย่านนี้ให้กลับมาคึกคักโดยเร็ว

มาตรการหนึ่งในนั้นคือ การกำหนดเป็นเขตเซฟตี้โซน เริ่มจากกำหนดให้เดินรถทางเดียว หรือ one way กำหนดทางเข้าออกชัดเจน และมีจุดตรวจบริเวณทางเข้าและทางออก โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจตลอด 24 ชั่วโมง

"ย่านถนนรวมมิตรมีจุดตรวจ 14 จุด อยู่ตรงทางเข้า 6 จุด ทางออก 8 จุด แต่ละจุดมีทหารประจำอยู่ 6-8 นาย มีทั้งยานพาหนะและตรวจบุคคล" พ.อ.นพพร ระบุว่า

คำว่า 'เข้า 6 ออก 8' ในที่นี้หมายถึงถนนหรือซอยที่เชื่อมต่อถนนสายอื่นกับถนนรวมมิตรลักษณะเหมือนก้างปลา ซึ่งถนนก้างปลาพวกนี้ก็ถูกกำหนดให้เดินรถทางเดียวเช่นกัน

พ.อ.นพพร บอกว่า เดิมมีกำลังทหารรักษาความปลอดภัยในเขตเทศบาลนครยะลาวันละ 50 - 100 คน ทั้งการเดินลาดตระเวน ตั้งด่านตรวจ ดูแลตลาด แต่เหตุระเบิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ได้เพิ่มกำลังเป็น 200 นาย ที่จะหมุนเวียนดูแลรักษาความปลอดภัยในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งรวมถึงย่านถนนรวมมิตรด้วย

"นั่นยังไม่นับกำลังตำรวจ อาสาสมัครรักษาดินแดน(อส.) รวมทั้งกองกำลังประชาชนที่แทรกอยู่ตามจุดต่างๆ ในย่านถนนรวมมิตรอีกหลายสิบคน" พ.อ.นพพร ระบุ

"ไม่เพียงเท่านั้นครับ สิ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องเตรียมการอยู่ตลอด คือ พยายามวิเคราะห์รูปแบบการก่อเหตุของฝ่ายขบวนการ เพื่อหาทางป้องกันการก่อเหตุที่อาจเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ ให้ได้"

แต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นมาแล้ว "เราได้เชิญผู้นำศาสนาและนักเรียนที่ได้รับผลกระทบออกมาละหมาดฮายัต เพื่อแสดงว่า เราไม่เห็นด้วยกับความรุนแรง"

หัวหน้าชุดรักษาความปลอดภัยประจำจุดตรวจนายหนึ่ง บอกว่า ที่นี่มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง โดยผลัดเปลี่ยนเวรกันทุกๆ 3 - 4 ชั่วโมง

วิธีการตรวจตราและรักษาความปลอดภัย มีตั้งแต่การสอบถามผู้ขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ การตรวจสอบผ่านกล้องวงจรปิดว่า ผู้ที่เข้ามาในย่านนี้ ได้เดินทางไปตรงจุดที่แจ้งไว้กับเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจหรือไม่ ผู้ที่ผ่านเข้าออกพูดจาคล่องแคล่วฉะฉานไม่ตะกุกตะกัก หรือมีพิรุธหรือไม่ จนมั่นใจจึงจะให้ผ่านไปได้

"ทุกคนที่เข้ามาในย่านนี้ เรียกได้ว่า จะอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่และกล้องวงจรปิดตลอด"

เจ้าหน้าที่รายนี้ บอกว่า การตรวจเข้มแบบนี้ บางทีก็ถูกประชาชนบ่น ส่วนเจ้าหน้าที่เองก็เบื่อเหมือนกันที่ต้องคอยดูแลรักษาความปลอดภัยตลอด แต่พวกผู้ก่อความไม่สงบไม่ยอมที่จะหยุดหาช่องโหว่ช่องว่างเพื่อเข้ามาก่อเหตุ เจ้าหน้าที่ก็ต้องปิดทุกช่องให้ได้ต่อไป ไม่มีสิทธิเบื่อ

 

'ท่อ' ป้องกันชีวิต
แม้รัฐพยายามออกมาตรการต่างๆ เพื่อดูแลย่านนี้อย่างที่สุด แต่ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการเองก็ไม่อยากรอให้รัฐมาช่วยอย่างเดียวแล้ว เพราะหลังเหตุการณ์ ปรากฏว่าตลอดแนวถนนผู้ประกอบการได้นำท่อซิเมนต์มาตั้งเรียงหน้าร้าน เพื่อให้เป็นตัวช่วยบรรเทาความรุนแรงจากระเบิดที่อาจเกิดขึ้นได้อีก

เป็นท่อซิเมนต์ที่มาจากการช่วยเหลือของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ด้วยส่วนหนึ่ง

ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานหอการค้าจังหวัดยะลา บอกว่า "ท่อซิเมนต์ไม่ได้ช่วยให้คาร์บอมบ์ลดลงหรอกครับ แต่อย่างน้อยก็ช่วยทำให้ร้านไม่เสียหายมากและอาจช่วยชีวิตได้ด้วย"

ท่อซิเมนต์พวกนี้ เริ่มผุดขึ้นมาเป็นแถวหลังจากร้านขายก๋วยเตี๋ยวราดหน้าตรงปากทางเข้าโรงแรมปาร์ควิว นำท่ออัดด้วยปูนซิเมนต์มาตั้งไว้เป็นร้านแรกมาเป็นปี ก่อนที่ย่านนี้จะถูกกำหนดเป็นเขตเซฟตี้โซนเสียอีก

เจ้าของร้านขายอุปกรณ์ประกอบพิธีทางศาสนาของคนไทยเชื้อสายจีน ระบุว่า ปกติการวางท่อซีเมนต์หน้าร้านต้องขออนุญาตจากเทศบาลก่อนด้วย แต่พอหลังเกิดเหตุระเบิด ไม่มีใครรอขออนุญาตแล้ว ตัดสินในทำเลย เพราะถึงอย่างไรก็ไม่ย้ายไปไหนแล้ว

"เราไม่อยากไปเริ่มต้นทำกิจการที่อื่น เพราะไม่รู้ว่าจะคุ้มค่ากับการไปเริ่มใหม่หรือไม่ คนย้ายออกไปส่วนใหญ่เป็นข้าราชการมากกว่าเจ้าของธุรกิจ" เจ้าของร้านรายนี้ ยืนยัน

ส่วน 'แจ๊ค' ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายตุ๊กตาย่านถนนรวมมิตร 20 ปีแล้ว บอกว่า ตอนนี้ท่อซิเมนต์ กลายเป็นสิ่งก่อสร้างดึงดูดสายตานักท่องเที่ยวหรือคนแปลกหน้าไปแล้ว

ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ หากมีคนลงจากรถมาถ่ายรูป 'คู่กับท่อ' สีสันแปลกตากันบ้างแล้ว

ทว่า "ท่อหน้าร้านไม่ได้ทำให้ผมมีความสุขมากขึ้นเลย มันไม่สวยงามหรอก จะวางของโชว์หน้าร้านก็ไม่ได้ เพราะคนมองไม่เห็น แถมยังทำให้เสียพื้นที่ไปด้วย"

ที่สำคัญ แจ๊ค บอกว่า "มันดูน่ากลัว รู้สึกว่าเหมือนอยู่ในพื้นที่สงคราม แต่เอาล่ะ ไหนๆ ก็ตั้งมาแล้ว ก็ต้องให้มันดูดีซักหน่อย ซื้อสีมาทาหรือวาดรูปเสียเลย จิตใจจะได้ไม่หดหู่ สุขภาพจิตจะได้ไม่แย่มาก"

การวางท่อหน้าร้านครั้งนี้ แจ๊คบอกว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และยังหมดเงินไปประมาณ 3,000 บาท จากราคาท่อละ 300 บาท รวม 10 ท่อ พร้อมกับตั้งความหวังไว้ว่า "เมื่อไหร่หนอ ลูกค้าคนต่อไปจะแวะเข้ามาในร้าน?"

 

แย่ไม่ใช่แค่ถูกคาร์บอมบ์
แน่นอนว่า ทุกครั้งหลังเกิดคาร์บอมบ์ในเมือง ก็ย่อมต้องส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจตามมา แจ๊ค บอกว่า ช่วงแรกของการทำเซฟตี้โซน ย่านนี้เหมือนเมืองร้าง ยอดขายโดยรวมลดลง 70-80 เปอร์เซ็นต์ แต่ต่อมาก็ดีขึ้น 'นิดหน่อย' และไม่มั่นใจว่าจะไม่มีระเบิดในเขตนี้อีก

แจ๊ค บอกว่า สาเหตุที่ยอดขายลดลง มาจากการทำเป็นถนนวันเวย์และการตรวจเข้มของเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้ลูกค้ารู้สึกรำคาญ แต่เชื่อว่าผ่านไปสักพักทุกคนก็คงจะชิน และอย่างน้อยเซฟตี้โซนก็ช่วยให้อุ่นใจได้บ้าง

แจ๊คเปรียบเทียบถนนรวมมิตรกับถนนยะลาสายกลาง ซึ่งเป็นเขตเซฟตี้โซนแห่งแรกในเขตเทศบาลนครยะลาว่า สินค้าหลักที่ขายในย่านถนนยะลาสายกลาง เป็นพวกสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งขายได้ตลอดและเข้าออกง่าย ทำให้ผู้ประกอบการยังขายสินค้าได้

"ต่างกับถนนรวมมิตร ที่ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร และการเข้าออกยากกว่า เพราะต้องเดินรถทางเดียว มีการปิดทางเข้าออกในซอยย่อยๆ ทำให้ต้องขับรถวนกว่าจะถึงร้านที่ลูกค้าต้องการ ทำให้เสียเวลา ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ลูกตัดสินใจหันไปจับจ่ายที่อื่น"

แจ๊ค ระบุว่า เหตุคาร์บอมบ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ยังส่งผลกระทบมาถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาเคยคิดจะย้ายออกไปอยู่ที่อื่นด้วย แต่ตอนนี้ยอมรับสภาพกับสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่ได้แล้ว และยืนยันจะสู้ต่อไป

ถึงแม้ว่า ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการส่วนหนึ่งย้ายออกไป แต่ก็มีผู้ประกอบการรายใหม่ย้ายเข้ามาแทนที่ ซึ่ง ดร.ณพพงศ์ บอกว่า "ถึงอย่างไรก็ตาม ถนนรวมมิตรก็ยังคงเป็นทำเลทองของศูนย์กลางเศรษฐกิจเมืองยะลาอยู่ดี"

แนวคิดเรื่องเซฟตี้โซนมีขึ้นในช่วงที่นายกฤษฎา บุญราช เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา โดยก่อนเหตุระเบิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2554 มีการจัดทำเขตเซฟตี้โซนนำร่องในย่านถนนยะลาสายกลาง ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกล

"เซฟตี้โซนในช่วงแรกทำได้เพียงเดือนเศษ ผู้ประกอบการก็ขอให้ยกเลิก เพราะส่งผลทำให้ยอดขายลดลง พร้อมทั้งมีเสียงบ่นถึงความรำคาญและความลำบากในการเดินทางเข้าออกย่านเซฟตี้โซน" ดร.ณพพงศ์ ระบุ

จากนั้นจึงมีการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหาทางปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความสมดุลในทางปฏิบัติมากขึ้น ทว่ายังคงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างเต็มที่เหมือนเดิม

ประธานหอการค้าจังหวัดยะลา บอกว่า มีเซฟตี้โซนก็ช่วยรักษาความปลอดภัยได้อยู่ แต่ถ้ามีแล้วยังช่วยอะไรไม่ได้ ก็ไม่รู้จะมีไว้ทำไม แต่ถึงอย่างไรก็ตามผ่านมา 8 ปีมาแล้วที่เจอเหตุการณ์ คนในพื้นที่ปรับตัวพอสมควรแล้ว

แต่ก็ใช่ว่า เซฟตี้โซนอย่างเดียวที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ หากแต่เหตุการณ์อื่นๆ หรือในพื้นที่อื่น โดยเฉพาะเหตุระเบิดในเขตเมืองหรือย่านเศรษฐกิจ ก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของเมืองยะลาด้วยเช่นกัน

ดร.ณพพงศ์ อธิบายด้วยว่า หลังเหตุคาร์บอมบ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเมืองยะลาอย่างเห็นได้ชัด เช่น เหตุคาร์บอมบ์ในเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เหตุระเบิดโรงแรมซีเอส.ปัตตานี รวมทั้งเหตุการณ์อื่นๆ ในช่วงแรกของเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม

แม้กระทั่งเทศกาลการถือศีลอดของชาวมุสลิมซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เอง ก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมเช่นกัน เนื่องจากประชาชนไม่ค่อยออกมาท่องเที่ยวหรือจับจ่ายสินค้ามากนัก ยกเว้นในช่วงก่อนสิ้นสุดเดือนรอมฎอน ที่ประชาชนส่วนใหญ่จะออกมาซื้อเครื่องแต่งกายชุดใหม่ๆ และซื้อทองไว้ใช้ในช่วงวันรายอ ซึ่งเป็นวันฉลองสิ้นการถือศีลอด

ทว่า นายวรพจน์ อุฬาร์ศิลป์ เจ้าของห้างทองโอฬาร(อุ่ยยงพง) ในเขตเทศบาลนครยะลา ก็ยังเห็นว่า ปีนี้ยอดซื้อขายทองน้อยลงถึงครึ่งหนึ่งถ้าเทียบกับปีก่อน

"ปีนี้ยอดขายลดลง แถมชาวบ้านยังเอาทองมาจำนำเพิ่มอีกต่างหาก" ประกอบกับมีร้านทองที่มุสลิมเป็นเจ้าผุดขึ้นมาในพื้นที่ชุมชนมากขึ้น ชาวบ้านจึงมักใช้บริการร้านทองในตัวเมืองน้อยลง เพราะสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

อย่างไรก็ตาม ทั้งดร.ณพพงศ์และนายวรพจน์ ระบุเหมือนกันสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เศรษฐกิจซบเซา คือ ราคายางพาราที่ตกต่ำลงอย่างมากเมื่อเทียบกับราคาในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อราคาตกคนก็ต้องประหยัดเงินมากขึ้น การจับจ่ายก็น้อยลงตามไปด้วย

ดร.ณพพงศ์ ระบุว่า "50 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จังหวัดยะลา ก็มาจากยางพารานี่แหละ"

 'หมอหน่อย' หรือ ทันตแพทย์หญิงศุภมาส ลิ่วคุณูปการ เจ้าของคลินิกหมอหน่อยย่านรวมมิตร บอกว่า ช่วงแรกของการตั้งเซฟตี้โซน คนไข้ประจำไม่ยอมมาใช้บริการเลยเพราะกลัว แต่พอจะเข้าใช้บริการ ก็บอกว่าเข้าไม่ถูก เพราะเส้นทางเข้าออกเปลี่ยนไป

"ส่วนแม่ค้าบอกว่าไม่ต้องการเซฟตี้โซน เพราะในความเป็นจริง มีเจ้าหน้าที่มาดูแลเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ดิฉันอยากให้มี เนื่องจากมีคนเข้าออกพลุกพล่านเพราะเป็นร้านอาหารเสียส่วนใหญ่ และเป็นร้านของคนมุสลิม 2 -3 ร้านเท่านั้น"

 

กระตุ้นเศรษฐกิจ
ข้อตกลงจากการพูดคุยหารือกันระหว่างหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่กับตัวแทนภาคเอกชนก่อนหน้านี้ คือให้ฝ่ายรัฐ ทั้งทหาร ตำรวจและฝ่ายปกครอง ดูงานด้านการรักษาความปลอดภัยในเขตเซฟตี้โซน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าภาพ

ดร.ณพพงศ์ บอกว่า ส่วนหอการค้าจังหวัดยะลา มาทำหน้าที่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างเต็มที่เช่นกัน

ที่ผ่านมา มีหลายกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดยะลา โดยเฉพาะย่านถนนรวมมิตร เช่น เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม 2555 หอการค้ายะลาได้จัดงานยะล้า ยะลาแฟร์ ซึ่งหอการค้ามอบคูปองให้ร้านค้าเพื่อแจกมอบให้ลูกค้า ซึ่งพอเรียกขวัญกำลังใจของผู้ประกอบการให้กลับคืนมาได้บ้าง

หลังเหตุคาร์บอมบ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ไม่นาน นายกิตตรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อร่วมงาน Dinner Talk เชื่อมั่นเศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ร่วมกับพ่อค้าประชาชนในพื้นที่ ซึ่งครั้งนั้นทางหอการค้าทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีข้อเสนอต่างๆ ที่จะให้รัฐบาลช่วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในพื้นที่

นอกจากนี้ หอการค้าจังหวัดยะลายังได้ประสานธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) มาปล่อยสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการย่านถนนรวมมิตร ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุคาร์บอมบ์ นำใช้ฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น

ขณะที่นายวรพจน์ อุฬาร์ศิลป์ เจ้าของห้างทองโอฬาร เสนอให้เพิ่มเขตเซฟตี้โซนอีก 3 แห่ง คือ ย่านถนนรถไฟ ย่านถนนสายคุรุ และบริเวณหลังกองร้อย ถนนสุขยางค์ เพราะบริเวณนี้มักมีข่าวการก่อเหตุรุนแรงบ่อยครั้ง

นายวรพจน์ เสนอให้รัฐบาลนำเทคโนโลยีมาใช้ในเขตเซฟตี้โซน เช่น ติดตั้งกล้องวงจรปิดคุณภาพสูง เครื่องเอ็กซเรย์ใบหน้าบุคคล เครื่องมือที่สามารถจดจำใบหน้าของคนร้ายได้ และเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและสารระเบิด เป็นต้น

ถึงตอนนี้เทรนด์(ทำลาย)เศรษฐกิจกำลังมาแรง ก็คงต้องเอาทุกทางกันแล้วกับนวัตกรรมรักษาชีวิตและปากท้อง ถ้าไม่ซวยจริงๆ ทุกคนก็จะอยู่รอดปลอดภัย

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
คาร์บอมบ์กลางเมือง... กับมาตรการป้องกันไข่แดง'เซฟตี้โซน'

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วรเจตน์ ภาคีรัตน์

Posted: 30 Sep 2012 08:40 AM PDT

"เพื่อให้สังคมไทยเดินไปข้างหน้า เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ต่อหน้าเราได้ ถ้าเราต้องการการปรองดอง ที่สมานฉันท์อย่างแท้จริง อย่างน้อยรัฐธรรมนูญต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สถาบันการเมือง สถาบันศาล และกองทัพ.."

30 ก.ย. 2555

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: เมดิคัลฮับและความไม่เท่าเทียม (2)

Posted: 30 Sep 2012 08:36 AM PDT

ความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยระหว่างกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ในกรุงเทพฯมีอุปทานการแพทย์จากโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนสูงกว่าจังหวัดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนบุคลากรทางการแพทย์เครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์หรือระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน  [1] สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมนี้คือ นโยบายการบริหารประเทศที่ร่วมศูนย์กลางไว้ที่กรุงเทพฯทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง

ความเจริญในกรุงเทพฯสูงกว่าจังหวัดอื่นๆและดึงดูดเงินลงทุน นักลงทุน แรงงาน เข้ามากระจุกตัวที่กรุงเทพฯ แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่ถึงแม้ไม่ใช่คนกรุงเทพฯโดยกำเนิดก็อยากจะย้ายเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯมากกว่าเมื่อใช้ทุนเสร็จแล้ว กรุงเทพฯมีสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันและ ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและสร้างฐานครอบครัวในอนาคตได้ดีกว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงเทพฯมีโรงเรียนแพทย์เฉพาะทาง มีศูนย์โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากกว่าเพื่อให้แพทย์ได้ศึกษาต่อ มีโรงเรียนที่มีคุณภาพการศึกษามากกว่าต่างจังหวัดเพื่อให้ลูกหลานพวกเขาได้ศึกษาเป็นทุนในการสร้างอนาคตต่อไป มีโรงพยาบาลเอกชนให้เลือกทำงานมากกว่าหรือมีโอกาสที่เปิดคลีนิคเป็นของตนเองได้ง่ายกว่า ในขณะเดียวกันนักลงทุนเอกชนก็มองเห็นโอกาสทำกำไรได้มากเมื่อเปิดโรงพยาบาลในกรุงเทพฯที่เต็มไปด้วยผู้คนและนักท่องเที่ยว

เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยระหว่างกรุงเทพฯและต่างจังหวัด นโยบายสาธารณสุขต้องสัมพันธ์กับนโยบายบริหารประเทศ และจำเป็นต้องมีนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นลดความเหลื่อมล้ำระหว่างจังหวัด ต้องสร้างงานในต่างจังหวัดเพื่อลดการอพยพของคนต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเพฯ สร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นในทุกจังหวัดเช่น ระบบขนส่งมวลชนราคาถูก ระบบการศึกษาเป็นต้น กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น สร้างแนวทางเจริญในอาชีพการงานของบุคลากรสาธารณสุขในต่างจังหวัดให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนเพื่อดึงดูดให้พวกเขาอยากทำงานในท้องที่ต่อไป

ความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยระหว่างโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน โรงพยาบาลภาครัฐมีความสามารถในการแข่งขันน้อยกว่าโรงพยาบาลภาคเอกชน โรงพยาบาลเอกชนมีอุปทานทางการแพทย์ที่ดีกว่าและมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น บุคลากรทางสาธารณสุข แพทย์เฉพาะทาง อุปกรณ์ทางการแพทย์ราคาแพง [2]

โรงพยาบาลที่สะดวกสบายสะอาดและมีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน สถานที่และบรรยากาศการทำงานน่าดึงดูดให้บุคลากรสาธารณสุขมาร่วมงาน อัตราเงินเดือนของเอกชนที่สูงกว่าของรัฐสองถึงสี่เท่าแต่มีภาระงานที่เบากว่าภาครัฐ ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นกว่าระบบราชการและมีอิสระมากกว่า ภาวะสมองไหลของบุคลากรจากภาครัฐสู่ภาคเอกชนเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศสที่มีระบบสาธารณสุขที่ประสิทธิภาพดีที่สุดตามที่องค์การอนามัยโลกจัดอันดับในปี 2000  [3] แพทย์สมองไหลออกไปสู่ที่ๆอัตราเงินเดือนสูงกว่า สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ระบบภาษีอัตราก้าวหน้าในฝรั่งเศสที่เป็นตัวยับยั้งชั่งใจแพทย์ก่อนที่จะตัดสินใจไปทำงานภาคเอกชน ในขณะที่ประเทศไทยกลับไม่มีการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า

การรักษาสุขภาพในอดีตถูกมองว่าเป็นเรื่องความเสี่ยงส่วนบุคคล แต่ละคนที่เกิดมาเจ็บป่วยหนักหรือไม่เป็นเรื่องของผลกรรมในอดีต ดังนั้นแต่ละคนต้องรับผิดชอบต่อความเจ็บป่วยนั้นเอง การจ่ายค่ารักษาพยาบาลจึงเป็นเรื่องปัจเจกบุคคลโดยที่รัฐไม่จำเป็นต้องเข้ามาจัดการ ผลของการวางตำแหน่งการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องส่วนตัวทำให้รัฐไม่ใส่ใจเรื่องสุขภาพประชาชนและใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐต่อเรื่องสุขภาพน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และต้องอาศัยภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในระบบสาธารณสุข

ผลดีของนโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรคคือการเปลี่ยนมุมมองของคนในสังคมว่าสุขภาพและการรักษาไม่ใช่เรื่องของปัจจเจกบุคคลอีกต่อไป แต่เป็นความเสี่ยงของสังคมที่ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันแบกรับและเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขกัน หลังจากนโยบายสามสิบบาทประกาศออกมาปรากฏว่าภาครัฐเพิ่มงบประมาณในการรักษามากขึ้นทุกปี สัดส่วนค่าใช้จ่ายในเรื่องสุขภาพระหว่างรัฐและเอกชนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  [4]

อย่างไรก็ตามการขาดการลงทุนด้านการรักษาจากภาครัฐก่อนมีนโยบายสามสิบบาทและต้องอาศัยการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อเปิดโรงพยาบาลจำนวนมากและรองรับความต้องการสินค้าบริการที่เพิ่มสูงมากขึ้นตามสภาพเสือเศรษฐกิจที่เติบโตในช่วงทศวรรษ 90 สาเหตุนี้ทำให้เปิดโอกาสนักลงทุนเอกชนเข้ามาสู่ระบบสาธารณสุขได้อย่างเสรีโดยมีกฎระเบียบข้อบังคับที่ไม่เคร่งครัดและตามไม่ทันกระแสการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการเอกชนจำนวนมากเข้ามาแสวงหากำไรและสร้างการแพทย์พาณิชย์ที่ฝังรากลึกในระบบสาธารณสุข


ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ สินค้าทั่วไปยิ่งมีผู้ประกอบการจำนวนมากเท่าไรยิ่งส่งผลดีต่อผู้บริโภคเพราะเกิดการแข่งขันด้านราคาขึ้น ผู้ประกอบการต้องเพิ่มขีดความสามารถของตนเองเพื่อลดต้นทุน อย่างไรก็ตามสินค้าบริการการแพทย์แตกต่างจากสินค้าทั่วไปเพราะมีความไม่สมมาตรทางข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ผลิต(แพทย์)กับผู้บริโภค(ผู้ป่วย)กล่าวคือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นเรื่องเฉพาะทางและมีความแตกต่างด้านความรู้ระหว่างแพทย์กับคนไข้ และยังมีลักษณะเป็นสินค้าผูกขาดจากใบประกอบโรคศิลป์ ช่องโหว่นี้ส่งผลให้ผู้ผลิตสามารถหากำไรจากค่าเช่าทางข้อมูลและการผูกขาด เช่น แพทย์สามารถสั่งจ่ายการรักษาที่ไม่จำเป็นโดยคนไข้ไม่รู้ตัวเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง โรงพยาบาลเอกชนในระบบสาธารณสุขจึงไม่ได้แข่งกันด้านราคาเป็นหลักแต่แข่งกันด้านการสร้างความไว้วางใจและคุณภาพการบริการ โรงพยาบาลเอกชนทั้งระบบสามารถกำหนดราคาในอัตราสูงได้ระดับหนึ่งและแสวงหากำไรได้โดยที่จำนวนผู้ประกอบการที่สูงขึ้นไม่ส่งผลต่อราคาของสินค้าสาธารณสุขเท่าใดนัก เมื่อมีกำไรขึ้นย่อมเป็นเชื้อไฟให้ผู้ประกอบการอื่นๆเข้ามาในตลาดสาธารณสุขมากขึ้นเรื่อยๆ บุคลากรสาธารณสุขจากภาครัฐก็ย้ายมาทำงานในภาคเอกชนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

การขาดกฎระเบียบควบคุมและผู้บริโภคขาดอำนาจต่อรองส่งผลให้การแพทย์พาณิชย์เติบโตอย่างแข็งแกร่ง องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบสาธารณสุขคือ

  •  กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ออกนโยบายสาธารณสุขส่วนกลาง องค์กรอาหารและยาทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพเครื่องมือแพทย์ ยา เครื่องสำอาง อย่างไรก็ตามไม่สามารถควบคุมจำนวนได้ เครื่องมือแพทย์ราคาแพงในโรงพยาบาลเอกชนจึงมีจำนวนมาก นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจในการอนุญาตเปิดคลีนิคและโรงพยาบาลเอกชนซึ่งถ้าได้มาตรฐานก็สามารถเปิดได้แต่ไม่สามารถควบคุมจำนวนและการกระจายของโรงพยาบาลให้ไปสู่พื้นที่ที่ขาดแคลนได้ และเนื่องจากบุคลากรสาธารณสุขในภาครัฐเป็นข้าราชการ ค่าตอบแทนจึงถูกควบคุมโดยระเบียบข้าราชการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไม่ทันเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในขณะที่รัฐไม่สามารถควบคุมค่าตอบแทนของบุคลากรภาคเอกชน เงินเดือนจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 4 สภาวิชาชีพ ได้แก่แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช และ พยาบาล ทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพ ความรู้ของบุคลากร และมีอำนาจออกใบประกอบโรคศิลป์ และสอบสวนเรื่องที่ฟ้องจากผู้เสียหายจากการรักษา ซึ่งถ้าผิดจริงก็จะทำการยึดใบประกอบโรคศิลป์ อย่างไรก็ตามการทำงานในการสอบสวนก็ถูกวิจารณ์ว่ามีความล่าช้า  [5]
  • สำนักงานประกันสังคมและสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่เป็นผู้รวบรวมเงินกองทุนและผู้ซื้อบริการสุขภาพจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชนเพื่อกระจายสู่ประชาชน และควบคุมราคายาและค่ารักษาทางอ้อมโดยทำหน้าที่เจรจาค่ายาค่ารักษากับโรงพยาบาลรัฐและเอกชนผ่านการกำหนดสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน
  • ผู้บริโภค มีหน้าที่ควบคุมคุณภาพและราคายาและค่ารักษาทางอ้อมโดยสิทธิผุ้ป่วยในการปฏิเสธการรักษาที่มีราคาแพงและอันตราย รวมถึงทำการฟ้องร้องผ่านสมาคมคุ้มครองผู้บริโภค หรือ แพทยสภากรณีพบปัญหาการรักษาที่ผิดจริยธรรมทางการแพทย์ การรักษาผิดพลาด อย่างไรก็ตามสิทธิผู้ป่วยซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลการรักษาลดความไม่เท่าเทียมกันด้านข้อมูล ควบคุมการสั่งจ่ายการรักษาที่ไม่จำเป็น และมีอำนาจต่อรองกับแพทย์และกลุ่มธุรกิจการแพทย์ และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานนั้น ในประเทศไทยเพิ่งมีการประกาศเมื่อสิบสองปีที่แล้ว โดยยังไม่มีการร่างเป็นกฎหมายควบคุม

เพื่อลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชนต้องอาศัยการลงทุนเพิ่มขึ้นจากภาครัฐ ปฏิรูประบบราชการ เพิ่มรายได้ให้กับบุคลากรสาธารณสุขในภาครัฐสูงขึ้นระดับหนึ่ง เก็บภาษีอัตราก้าวหน้าเพื่อควบคุมเงินเดือนของบุคลากรสาธารณสุขภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ออกกฎระเบียบควบคุมจำนวนอุปกรณ์การแพทย์ สร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภค สิทธิผู้ป่วยในภาคปฏิบัติ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเข้าถึงข้อมูลการรักษาเพื่อลดโอกาสที่บุคลากรสาธารณสุขแสวงกำไรจากความไม่เท่าเทียมด้านข้อมูล   

เชิงอรรถ

http://www.moph.go.th/ops/thp/index.php?option=com_content&task=view&id=176&Itemid=2

2 http://www.moph.go.th/ops/thp/index.php?option=com_content&task=view&id=176&Itemid=2

http://fr.wikipedia.org/wiki/Syst%C3%A8me_de_sant%C3%A9_fran%C3%A7ais

4 Source : WHO

http://thai-medical-error.blogspot.com/2011/02/6_09.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทวิจารณ์รายงานของ คอป. ส่วนที่ว่าด้วย "สาเหตุและรากเหง้า" ของปัญหาการเมือง

Posted: 30 Sep 2012 07:28 AM PDT


รายงานฉบับสมบูรณ์ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ (คอป.) ประกอบด้วย 5 ส่วน. ส่วนแรกเป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์กร คอป. เอง. ส่วนที่สองเป็นบทสรุปข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิ ทางการเมืองตั้งแต่การรัฐประหาร 2549 จนถึงความรุนแรงช่วงสลายการชุมนุม 2553. ส่วนที่สามว่าด้วย "สาเหตุและรากเหง้าของปัญหา[การเมือง]". ส่วนที่ 4 ว่าด้วยหลักการชดเชยความเสียหายแก่เหยื่อความรุนแรงทางการเมือง. ส่วนสุดท้าย (ส่วนที่ 5) เป็นข้อเสนอแนะของ คอป. ในการสร้างความปรองดอง.

เพียงไม่กี่วันหลังจากที่ คอป. เผยแพร่รายงานฉบับนี้ ก็มีบทวิจารณ์เนื้อหาของรายงานฉบับนี้ออกมาจำนวนหนึ่ง. แต่บทวิจารณ์ส่วนใหญ่กล่าวถึงรายงานส่วนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์เป็นหลัก. เท่าที่ผมทราบยังไม่มีใครออกบทวิจารณ์เนื้อหาของรายงานส่วนที่ว่าด้วยสาเหตุ และรากเหง้าของปัญหาการเมือง ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะมุมมองเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุนั้นกำหนดกรอบการมองเหตุการณ์ปลีกย่อย, ชี้นำการร้อยเรียงเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้นมาเป็นเรื่องราว, และกำหนดข้อเสนอเกี่ยวกับทางออกของปัญหา. ในแง่นี้มันจึงเป็นรากฐานของเนื้อหารายงานส่วนอื่น. บทความชิ้นนี้จะมุ่งสรุปและวิเคราะห์รายงานของ คอป. เฉพาะในส่วน "สาเหตุและรากเหง้าของปัญหา" โดยจะไม่พูดถึงส่วนอื่น.

โดยสรุปแล้วผมเห็นว่า ในฐานะงานวิชาการ รายงานของ คอป. ในส่วน "สาเหตุและรากเหง้าของปัญหา" นี้บกพร่องร้ายแรงด้วยเหตุผลหลายประการ จนสามารถพูดได้ว่ามันเป็นรายงานที่ไร้ค่าในทางวิชาการ. ในบทวิจารณ์ชิ้นนี้ ผมจะเริ่มด้วยการสรุปเนื้อหาของรายงาน คอป. แล้วจะชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของรายงาน 6 ข้อ.


สรุปสาระสำคัญของรายงาน คอป. ส่วนที่ว่าด้วย "สาเหตุและรากเหง้าของปัญหา[การเมือง]"

ในส่วนที่ว่าด้วยสาเหตุและรากเหง้าของปัญหาการเมือง คอป. แยก "ระยะ" ของปัญหาออกเป็นสามระยะ ได้แก่ (1) "ระยะเริ่มแรกของความขัดแย้ง" (2) "ระยะความขัดแย้งปรากฏ" และ (3) "ระยะความขัดแย้งระดับการช่วงชิงอำนาจและการเกิดความรุนแรง".  ในแต่ละระยะ ของปัญหา คอป. ได้ร่ายรายการปัจจัยต่างๆ ที่ คอป. คิดว่าเป็น "สาเหตุของปัญหา" มาหลายปัจจัย. หากนับรวมทั้งสามระยะปัญหาแล้ว เราจะได้ "สาเหตุของปัญหา" ทั้งหมดถึง 25 ปัจจัย.

ในจำนวน 25 ปัจจัยนี้ มีตั้งแต่ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมระดับรากฐาน เช่น "การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ" และ "ความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองและชนบท" ไปจนถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบุคคลบางคนและองค์กรบางองค์กรโดยเฉพาะ เช่น "การโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร". บางปัจจัยที่ คอป. เสนอเป็นปัจจัยที่เป็นเหตุการณ์ที่เป็นกายภาพและจับต้องได้อย่างยิ่ง เช่น "การรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549". แต่บางปัจจัยก็เป็นนามธรรมและมีนิยามคลุมเครือ เช่น "วัฒนธรรมการเมืองแบบไทยๆ และความเชื่อเรื่องบุญกรรม". บางปัจจัยก็เป็นที่เห็นพ้องกันทั่วไปว่าทำลายเสถียรภาพทางการเมืองอย่าง สำคัญ เช่น "ตุลาการภิวัฒน์" แต่บางปัจจัยก็ดูเล็กน้อยและน่าแปลกใจที่ คอป. ยังพูดถึง เช่น การเรียกพรรคประชาธิปัตย์ว่า "พรรคประชาวิบัติ" และการเรียกพรรคเพื่อไทยว่าพรรค "เผาไทย" (คอป. บัญญัติศัพท์เทคนิคมาเรียกการล้อเลียนเสียดสีแบบนี้ว่า "การป่วนทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงความเกลียดชัง")
 

เมื่อได้รายการสาเหตุของปัญหามาแล้ว คอป. ก็สรุปว่า "วิกฤติ ความขัดแย้งในประเทศไทยนั้น เกิดจากรากเหง้าของปัญหาที่โยงใยกันอย่างซับซ้อน ไม่มีมูลเหตุใดเพียงลำพังที่จะสามารถอธิบายปัญหาความขัดแย้งได้". หากจะตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัด ข้อสรุปนี้ก็คงจริง แต่ก็คงไม่มีประโยชน์สำหรับผู้อ่าน เพราะก็ไม่มีใครเชื่ออยู่แต่แรกแล้วว่าจะมีปัจจัยใดที่สามารถอธิบายความขัด แย้งทางการเมืองได้โดยปัจจัยเดียว. ในแง่นี้ข้อสรุปของ คอป. จึงไม่ได้บอกอะไรใหม่. หากเราจะตีความให้คำพูดของ คอป. มีประโยชน์ขึ้นมาบ้าง เราต้องตีความว่า สาเหตุของปัญหาทั้ง 25 ข้อที่ คอป. ยกมานั้น ต่างเป็นปัจจัยที่ "จำเป็น" ต่อการเกิดปัญหาทั้งสิ้น ไม่มีปัจจัยใดที่เราจะละเลยได้. การตีความแบบนี้สอดคล้องกับคำพูดในรายงานของ คอป. ที่กล่าวว่า

ความรุนแรง...ไม่ได้เกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง และจะมีลักษณะเป็นองค์รวม ซึ่งเกิดจากการผสมผสานปัจจัยหลายๆ ด้านที่มีความสลับซับซ้อน เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้เชื่อมโยงกันแบบแยกไม่ออก และมีความเป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลา. (น. 216)

ในเมื่อปัจจัยทั้ง 25 ปัจจัย "เชื่อมโยงกันแบบแยกไม่ออก" และก่อให้เกิดความรุนแรง ซึ่ง "มีลักษณะเป็นองค์รวม" ที่ "เกิดจากการผสมผสานปัจจัยหลายๆ ด้าน" ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราตัดปัจจัยบางปัจจัยออกไป ปัจจัยที่เหลือย่อมไม่สร้างผลแบบเดิมอีกต่อไป. กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ปัจจัยทุกปัจจัยที่ คอป. ยกมานั้น เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการเกิดปัญหาการเมืองทั้งสิ้น.


ข้อบกพร่อง 1: คอป. สับสนว่า "ปัญหา" แท้จริงคืออะไร

ในการหาสาเหตุของปัญหาใดๆ จุดเริ่มต้นที่ดีคือการระบุใช้ชัดเจนว่า "ปัญหา" คืออะไรกันแน่. แต่รายงานของ คอป. พูดถึง "สาเหตุของปัญหา" โดยไม่เคยระบุใช้ชัดเจนว่า คอป. มองอะไรว่าเป็นปัญหาบ้าง. ในบางจุด คอป. พูดให้คิดได้ว่าความรุนแรงเป็นปัญหา. แต่ในบางจุด คอป. ก็กล่าวเสมือนว่าความขัดแย้งก็ เป็นปัญหาโดยตัวของมันเอง โดยที่มันไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ความรุนแรง. การที่ คอป. สับสนว่าอะไรคือปัญหากันแน่ แล้วกระโดดกลับไปกลับมาระหว่างความรุนแรงกับความขัดแย้ง ทำให้รายงานของ คอป. มีเนื้อหาสะเปะสะปะและขาดเอกภาพ.

การที่ คอป. คิดว่าความขัดแย้งเป็นปัญหาในตัวของมันเอง ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า คอป. ไม่เข้าใจที่ทางของความขัดแย้งในระบอบประชาธิปไตยเลย. ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่ง และประชาธิปไตยที่เข้มแข็งก็ย่อมมีกลไกในการตัดสินข้อขัดแย้งก่อนที่มันจะ กลายเป็นความรุนแรงอยู่แล้ว. หากความขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรงได้ นั่นย่อมหมายความว่ากลไกประชาธิปไตยที่ใช้ตัดสินความขัดแย้งนั้นถูกทำให้ใช้ การไม่ได้. ในกรณีนี้ปัญหาย่อมอยู่ที่ความไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่อยู่ที่ความขัดแย้ง. ในระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งจึงไม่ใช่ปัญหา.

แต่ต่อให้เราสมมติว่า คอป. คิดว่าความขัดแย้งไม่เป็นปัญหา หากแต่ความรุนแรงเท่านั้นที่เป็นปัญหา รายงานของ คอป. ก็ยังบกพร่องอีกจุดหนึ่ง. นั่นคือ คอป. ทึกทักเอาว่าความรุนแรงทุกรูปแบบเป็นปัญหา ทั้งที่จริงๆ แล้วความรุนแรงบางรูปแบบเท่า นั้นที่เป็นปัญหา. การที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้โล่พลาสติกกระแทกเพื่อผลักดันผู้ประท้วงนั้น เป็นความรุนแรงที่ปกติเรายอมรับได้และไม่ถือว่าเป็นปัญหา. แต่การที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้ปืนติดกล้องส่องยิงศีรษะผู้ประท้วงจากระยะไกล นั้น เป็นความรุนแรงที่ยอมรับไม่ได้และเป็นปัญหาแน่นอน. การตีขลุมว่าความรุนแรงทุกรูปแบบ ทุกระดับ เป็นปัญหาทั้งหมด ทำให้รายงานของ คอป. หลงประเด็นไปสาธยายสาเหตุของหลายสิ่งที่ไม่ใช่ปัญหาอยู่ตั้งแต่แรก.



ข้อบกพร่อง 2: คอป. สับสนว่าใครคือ "คู่ขัดแย้ง"

รายงานของ คอป. มีคำว่า "ความขัดแย้ง" ปรากฏอยู่ถึง 423 ครั้ง. แต่น่าประหลาดอย่างยิ่งที่ คอป. กลับไม่เคยระบุให้ชัดเจนเลยว่าคู่ขัดแย้งคือใครกันแน่. ในบางจุด คอป. พูดราวกับว่าคู่ขัดแย้งนั้นมีเพียงพรรคไทยรักไทย/พลังประชาชน/เพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ โดยที่ผู้เล่นอื่นๆ เช่น กลุ่มมวลชน (รวมทั้ง กองทัพ, ศาล และองคมนตรี?) เป็นเพียง "กลุ่มผู้สนับสนุน" ที่มีเป้าหมายเพียงแค่ให้พรรคการเมืองที่ตนสนับสนุนได้เป็นรัฐบาล โดยไม่มีเป้าหมายอื่นใดเป็นของตัวเอง:


"ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่มีการรัฐประหาร ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายใช้เป็นข้ออ้างในการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจ รัฐ ในการเข้ามาบริหารประเทศ และทำให้ฝ่ายผู้ที่มีอำนาจรัฐและกลุ่มผู้สนับสนุน กับฝ่ายต่อต้านและกลุ่มผู้สนับสนุน ผลัดกันเข้ามามีอำนาจ" (น. 217)


แต่ในบางจุด คอป. ก็พูดเสมือนว่าคู่ขัดแย้งหลักคือมวลชน -- นั่นคือ นปช. กับพันธมิตรฯ -- ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวทางการเมืองขัดกัน และมีเป้าหมายจะเปลี่ยนแปลงการเมืองให้เป็นตามแนวคิดของตน (ไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่ทำให้พรรคใดพรรคหนึ่งได้เป็นรัฐบาล)


ไม่ว่ากรณีใดๆ คอป. ดูจะไม่มองว่า กองทัพ, ศาล และสถาบันกษัตริย์ (ซึ่งครอบคลุมองคมนตรี) เป็นหุ้นส่วนหลักในความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาเลย. คอป. มองว่าสถาบันเหล่านี้เพียงแค่ถูกกลุ่มการเมืองดึงมาใช้เพื่อให้ฝ่ายตนได้ ประโยชน์ หรือบางครั้งก็อาจเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยตัวเองบ้างเพื่อสนับสนุนฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งตามสถานการณ์ แต่ก็ไม่ได้พัวพันกับความขัดแย้งอย่างลึกซึ้งตั้งแต่แรก. มุมมองนี้ของ คอป. ขัดกับมุมมองของนักวิชาการจำนวนมากทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งก็คงไม่มีอะไรเสียหายหาก คอป. สามารถให้เหตุผลสนับสนุนมุมมองตัวเองได้. แต่น่าเสียดายที่ คอป. ไม่เคยให้เหตุผลว่าทำไมสถาบันเหล่านี้จึงไม่นับเป็นคู่ขัดแย้งหลัก เช่นเดียวกับพรรคการเมืองและกลุ่มมวลชน.



ความสับสนของ คอป. เรื่องคู่ขัดแย้งนี้ ดูจะเป็นผลจากแนวคิดพื้นฐานของ คอป. ที่ว่าความขัดแย้งทางการเมืองมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว. ในความเป็นจริงแล้ว ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในวิกฤติการเมืองนั้นมีหลากหลาย. ผู้เล่นแต่ละกลุ่มในสนามการเมืองก็มีความขัดแย้งกับกลุ่มอื่นๆ ในรูปแบบที่ต่างกันไป (เพราะผู้เล่นแต่ละกลุ่ม ถึงแม้ว่าจะสนับสนุนกันในสถานการณ์ส่วนใหญ่ ก็มีเป้าหมายที่ไม่เหมือนกัน). สาเหตุที่อธิบายความขัดแย้งระหว่างพรรคไทยรักไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่อาจอธิบายความขัดแย้งระหว่างพรรคไทยรักไทยกับกองทัพ หรือระหว่างพันธมิตรฯ กับพรรคประชาธิปัตย์ได้. สมมุติฐานของ คอป. ที่ว่าผู้เล่นทุกกลุ่มถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่ายด้วยความขัดแย้งเดียวนั้น จึงเป็นสมมุติฐานที่ผิดมาตั้งแต่ต้น.


ข้อบกพร่อง 3: คอป. มีปัญหาเรื่องการลำดับความสำคัญของ "สาเหตุ" ของปัญหา

คอป. ร่ายรายการ "สาเหตุ" ของปัญหามาถึง 25 ข้อ โดยไม่จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุแต่ละปัจจัยเลย. คอป. กล่าวว่า "วิกฤติความขัดแย้งในประเทศไทยนั้นเกิดจากรากเหง้าของปัญหาที่โยงใยกัน อย่างซับซ้อน ไม่มีมูลเหตุใดเพียงลำพังที่จะสามารถอธิบายปัญหาความขัดแย้งได้". แต่การที่สาเหตุแต่ละสาเหตุมีความเกี่ยวข้องโยงใยกันนั้น ไม่ได้หมายความว่าทุกสาเหตุจะสำคัญเท่ากัน. และมันก็ไม่ได้เป็นข้ออ้างให้ คอป. ปัดความรับผิดชอบในการวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดสำคัญมาก ปัจจัยใดสำคัญน้อย.

ในทางหนึ่ง การที่ คอป. หลีกเลี่ยงจะระบุว่าปัจจัยใดสำคัญมาก ปัจจัยใดสำคัญน้อย เป็นการชวนให้เข้าผิดว่าปัจจัยทุกข้อที่ คอป. เสนอมานั้นสำคัญเท่ากัน: "การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549" มีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้งเท่าๆ กับ "การโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ"; และ "ตุลาการภิวัฒน์" มีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้งพอๆ กับการล้อเลียนพรรคเพื่อไทยว่า "พรรคเผาไทย" และการล้อเลียนพรรคประชาธิปัตย์ว่า "พรรคประชาวิบัติ".

ในอีกทางหนึ่ง การที่ คอป. ร่ายรายการปัจจัยมายืดยาวโดยที่ไม่จัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเหล่านั้น ไม่ต่างอะไรจากนักอุตุนิยมวิทยา ที่พอถูกถามว่าอะไรคือสาเหตุของพายุเมื่อสัปดาห์ก่อน ก็จัดแจงเอาตำรา "ลมฟ้าอากาศเบื้องต้น" มาอ่านให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ โดยไม่ระบุว่าส่วนใดบ้างของตำราที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพายุเมื่อสัปดาห์ ก่อนมากที่สุด. การนั่งอ่านตำราให้ผู้ชมฟังแบบนี้ ไม่ได้เกินความสามารถของเด็กมัธยมทั่วไป. ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องเสียเงินหลักสิบล้านเพื่อจ้างคณะกรรมการใดมาอ่านให้ ฟัง.


ข้อบกพร่อง 4: คอป. ไม่แยกแยะประเภทของ "สาเหตุ" ของปัญหา

"สาเหตุ" ของปัญหานั้นมีอยู่หลายแบบ. ในมิติหนึ่ง เราต้องแยกความต่างระหว่างสาเหตุที่เฉพาะเจาะจงกับปัญหาหนึ่งๆ ("สาเหตุเฉพาะเหตุการณ์") กับสาเหตุที่โดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็จะก่อให้เกิดปัญหา ("สาเหตุทั่วไป"). ลองพิจารณาตัวอย่างเช่น การที่คนขับรถของกษัตริย์ออสเตรียเลี้ยวรถผิดทาง จนเป็นเหตุให้กษัตริย์ถูกลอบสังหารในเซอร์เบีย ซึ่งทำให้ออสเตรียประกาศสงครามกับเซอร์เบียแล้วเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง. ในกรณีนี้การที่คนขับรถเลี้ยวรถผิดทางเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ หนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง แต่ไม่ใช่สาเหตุของสงครามโดยทั่วไป. คนที่พยายามป้องกันการเกิดสงครามในอนาคตด้วยฝึกให้คนเลี้ยวรถถูกทางนั้น เป็นคนโง่เขลาที่สับสนระหว่าง "สาเหตุเฉพาะเหตุการณ์" กับ "สาเหตุทั่วไป".

รายงานของ คอป. พูดถึงสาเหตุของปัญหาการเมือง โดยไม่แยกแยะระหว่างสาเหตุเฉพาะเหตุการณ์ กับสาเหตุทั่วไป. "ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ" อาจเป็นสาเหตุเฉพาะเหตุการณ์ของความขัดแย้งในการเมืองไทย แต่ไม่ใช่สาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองโดยทั่วไป เพราะมีความขัดแย้งทางการเมืองมากมายที่ไม่ได้เกิดจากความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจ (เช่น อาจเกิดจากความไม่พอใจของคนจำนวนมากที่ถูกริดรอนสิทธิพื้นฐานทางการเมือง เป็นต้น). ในแง่นี้ การที่ คอป. เสนอว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็น "สาเหตุ" หนึ่งของปัญหาการเมือง แล้วเสนอว่าเราควรแก้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพื่อป้องกันความขัดแย้งทาง การเมือง จึงโง่เขลาไม่ต่างจากการเสนอให้ป้องกันสงครามด้วยการฝึกให้คนเลี้ยวรถถูก ทาง. รายงานของ คอป. เต็มไปด้วยความสับสนระหว่างสาเหตุเฉพาะเหตุการณ์กับสาเหตุทั่วไป.

ในอีกมิติหนึ่ง เราต้องแยกแยะระหว่าง "สาเหตุที่ควรแก้ไข" กับ "สาเหตุที่ไม่ควรแก้ไข". สาเหตุบางปัจจัย แม้จะเป็นสาเหตุทั่วไป แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่ควรถูกแก้ไข. ตัวอย่างเช่น การที่ร้านสะดวกซื้อเปิดดึก เป็นสาเหตุทั่วไปประการหนึ่งที่ทำให้ร้านสะดวกซื้อถูกปล้น. แต่เราคงไม่พยายามป้องกันปัญหาการปล้นด้วยการบอกให้ร้านสะดวกซื้อปิดเร็ว ขึ้น (เพราะร้านมีสิทธิที่จะเปิดดึก) หากแต่เราต้องพยายามให้รัฐป้องกันไม่ให้โจรสามารถปล้นได้สำเร็จต่างหาก (เพราะนั่นคือหน้าที่ของรัฐ). ในกรณีนี้ ถึงแม้ว่าการที่ร้านสะดวกซื้อเปิดดึกจะเป็นสาเหตุทั่วไปของการถูกปล้น แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่ควรแก้ไข.

รายงานของ คอป. ไม่เคยแยกแยะระหว่างสาเหตุที่ควรแก้ไขกับสาเหตุที่ไม่ควรแก้ไข. คอป. กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ...จากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคม อุตสาหกรรม" และ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540" เป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมือง. ในขณะเดียวกัน คอป. ก็กล่าวว่า "การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549" และ "ตุลาการภิวัฒน์" ก็เป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมือง โดยไม่แยกแยะสาเหตุชุดใดควรแก้ ชุดใดไม่ควรแก้. การผสมปนเปสาเหตุสองประเภทนี้เข้าด้วยกันทำให้รายงานของ คอป. ชวนให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่าสาเหตุแต่ละสาเหตุสมควรถูกแก้ไขพอๆ กัน.


ข้อบกพร่อง 5: คอป. (จงใจ?) หลงลืมสาเหตุสำคัญบางประการของปัญหา

ในขณะที่ คอป. กล่าวถึงปัจจัยที่เล็กน้อย อย่างการตั้งฉายาพรรคการเมืองและการโฟนอินของทักษิณ ว่าเป็น "สาเหตุ" ของปัญหา แต่ คอป. กลับละเลยปัจจัยหลายอย่างที่สำคัญต่อปัญหาการเมืองอย่างชัดแจ้ง. หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดของปัญหาการเมืองตั้งแต่รัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา คือการริดรอนสิทธิพื้นฐานทางการเมืองของคนจำนวนมหาศาล. เมื่อใดที่คนนับสิบล้านคนที่ตระหนักถึงสิทธิทางการเมืองของตัวเอง ถูกริดรอนสิทธิในการเลือกรัฐบาลของเขาไปด้วยการก่อรัฐประหาร, การพิพากษาล้มล้างผลการเลือกตั้ง, การยุบพรรคการเมือง และการตัดสิทธินักการเมือง เมื่อนั้นความขัดแย้งทางการเมืองที่ใหญ่และรุนแรงย่อมหลีกเลี่ยงได้ยาก.


คอป. นอกจากจะไม่พูดถึงการริดรอนสิทธิทางการเมืองของคนจำนวนมากแล้ว ก็ยังไม่พูดถึงบทบาทของสถาบันทางการเมืองบางสถาบัน ที่มีส่วนโดยตรงต่อการริดรอนสิทธินี้. กล่าวคือ คอป. ไม่พูดถึงบทบาทของบุคคลในสถาบันกษัตริย์ เช่น องคมนตรี ในการสนับสนุนรัฐประหาร. คอป. ไม่พูดถึงบทบาทของกองทัพในการช่วยจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย หลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบ. แม้ว่า คอป. จะพูดถึงรัฐประหารและตุลาการภิวัฒน์อยู่ด้วย แต่ก็พูดถึงเพียงผ่านๆ (พูดถึงตุลาการภิวัฒน์เพียง 6 บรรทัด และรัฐประหารเพียง 15 บรรทัด โดยตัดเอาเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น การตัดสินล้มผลการเลือกตั้ง และการตัดสินยุบพรรค ไปใส่ไว้ใน footnote ราวกับว่ามันเป็นแค่รายละเอียดที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องรับทราบ).


ข้อบกพร่อง 6: คอป. เข้าใจความคิดของมวลชนที่เป็นคู่ขัดแย้ง อย่างผิวเผินและคลาดเคลื่อน

ความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมานั้น ไม่ได้เป็นเพียงความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำ แต่เป็นความขัดแย้งที่มีมวลชนเป็นหนึ่งในคู่ขัดแย้งหลักด้วย. ดังนั้น ในการทำความเข้าใจสาเหตุของความขัดแย้ง จึงสำคัญอย่างยิ่งที่ คอป. จะต้องทำความเข้าใจความคิดของมวลชนในความขัดแย้ง. แต่รายงานของ คอป. นั้นกล่าวถึงแนวคิดของกลุ่มมวลชนเพียงสั้นๆ เท่านั้น และในส่วนที่กล่าวถึงก็กล่าวสรุปแบบผิวเผินและคลาดเคลื่อน.


คอป.กล่าวถึงแนวคิดของ นปช. และของพันธมิตรฯ เกี่ยวกับประชาธิปไตย ดังนี้:

"สังคมได้แบ่งกลุ่มออกเป็น ๒ กลุ่มอย่างชัดเจน ... อันได้แก่
(๑) กลุ่มที่เชื่อว่ามีประชาธิปไตยแบบที่จับต้องได้ โดยมองว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่อง ของเสียงข้างมาก มีนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ ซึ่งเห็นว่าถ้าได้รับเลือกตั้งจะมี อำนาจสิทธิขาดในการบริหารประเทศ ได้แก่ "กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)" ที่เชื่อว่า รัฐบาลต้องมีนโยบายที่ตอบสนองความต้องการประชาชนรากหญ้า ส่งผลให้เกิด รัฐบาลเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้ง และอ้างสิทธิการเป็นตัวแทนของประชาชนอันเป็น ความชอบธรรมตามหลักการเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีการคอร์รัปชั่นบ้างก็ตาม
(๒) กลุ่มที่เชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความโปร่งใส และการถูกตรวจสอบ ความเชื่อที่แตกต่างของกลุ่มทั้งสองดังกล่าว ทำให้การนำประชาธิปไตยไปใช้มี ความแตกต่างกัน ได้แก่ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" มีความเชื่อว่าประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ต้องมีความชอบธรรม ปราศจากการคอร์รัปชั่น มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และผู้มีอานาจรัฐต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบตลอดเวลา (Accountability)

การมีฐานความเชื่อที่ต่างกันเช่นนี้เป็นการเลือกมองประชาธิปไตย เฉพาะส่วนที่ตรงกับความเห็นของฝ่ายตน ซึ่งเป็นความจริงเพียงส่วนเดียว" (น. 207)

สรุปคือ คอป. มองว่า นปช. เชื่อว่ารัฐบาลต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่จำเป็นต้องมีความโปร่งใสและถูกตรวจสอบ ในขณะที่พันธมิตรฯ เชื่อว่ารัฐบาลต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง.

นี่เป็นมุมมองที่ผิวเผินและคลาดเคลื่อน. ในลำดับแรก ผมยังไม่เคยเห็นหลักฐานใดๆ เลยที่บ่งชี้ว่า นปช. เชื่อว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสมควรมี "อำนาจสิทธิขาดในการบริหารประเทศ" โดยไม่ต้องถูกตรวจสอบ. และ คอป. เองก็ไม่ได้ให้หลักฐานใดๆ ไว้. ความจริงที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปคือ นปช. ปฏิเสธองค์กรอิสระและตุลาการที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร และประกอบขึ้นด้วยบุคคลที่เป็นปรปักษ์กับพรรคไทยรักไทยเป็นการเฉพาะ แต่ไม่ได้ปฏิเสธกลไกการตรวจสอบรัฐบาลในรูปแบบปกติ. การที่ นปช. เรียกร้องให้องค์กรอิสระและตุลาการต้องมีที่มาถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย (คือต้องยึดโยงกับประชาชน) ไม่ได้หมายความว่า นปช. ปฏิเสธการมีองค์กรอิสระและตุลาการโดยทั่วไป.

ในลำดับที่สอง มุมมองของ คอป. ที่ว่าพันธมิตรฯ ให้ความสำคัญกับการที่รัฐบาลประชาธิปไตยต้องโปร่งใสและถูกตรวจสอบได้เป็น หลัก ก็ดูจะเป็นมุมมองที่คลาดเคลื่อน. ไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้ว่าพันธมิตรฯ แสวงหาความโปร่งใสและการตรวจสอบ มากกว่าการได้บุคคลที่มีจริยธรรมเข้ามาทำหน้าที่. ในทางตรงกันข้าม พันธมิตรฯ ได้แสดงให้เห็นหลายครั้งว่าเขาพร้อมจะยอมรับ "คนดี" ที่ไม่ถูกตรวจสอบ มากกว่า "คนชั่ว" ที่ตรวจสอบได้ เห็นได้จากการสนับสนุน สว. แต่งตั้ง, การเสนอให้ สส. 70% มาจากการแต่งตั้ง, การเรียกร้องนายกรัฐมนตรีพระราชทาน และการกล่าวโจมตีผู้เรียกร้องให้สถาบันกษัตริย์ต้องโปร่งใสและถูกตรวจสอบ ได้.

อันที่จริง ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าใดนักที่ คอป. จะเข้าใจแนวคิดของมวลชนแบบคลาดเคลื่อน เพราะ คอป. มุ่งระดมความเห็นโดยการจัดสัมมนาวิชาการและ "เวทีสาธารณะ" (ที่เอาเข้าจริงก็ไม่มีมวลชนตัวจริงเสียงจริงเข้าร่วมเท่าใดนัก) แต่ไม่เคยลงไปฝังตัวในเวทีชุมนุมเสื้อแดงหรือพันธมิตรฯ หรือเกาะติดกลุ่มตัวอย่าง เพื่อสังเกตและบันทึกความรู้สึกนึกคิดของมวลชนแต่ละฝ่าย. (จริงๆ แล้ว ด้วยเวลาสามปีและงบประมาณหลักสิบล้านบาท การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแบบนี้ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร.)


สรุปบทวิจารณ์

รายงานของ คอป. ส่วนที่ว่าด้วยสาเหตุและรากเหง้าของปัญหาการเมืองบกพร่องร้ายแรงทั้งในระดับ กรอบแนวคิดพื้นฐานในการวิเคราะห์ และในระดับรายละเอียดของคำอธิบายสาเหตุของปัญหาการเมือง. ข้อบกพร่องเหล่านี้เป็นข้อบกพร่องพื้นฐานที่ไม่ควรปรากฏแม้แต่ในงานวิชาการ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและโท อย่าว่าแต่จะปรากฏในงานวิจัยที่ใช้เวลาร่วมสามปีและงบประมาณหลายสิบล้านใน การจัดทำ. รายงานในส่วนนี้แสดงให้เห็นว่า คอป. เข้าใจปัญหาการเมืองไทยแบบผิวเผินและฉาบฉวยอย่างยิ่ง. ด้วยความเข้าใจในระดับนี้ ผมมองไม่เห็นว่า คอป. จะอยู่ในจุดที่จะ "เสนอแนะ" ทางออกของปัญหาการเมืองได้อย่างไร.

 
 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘สาวตรี’ วิจารณ์ข้อเสนอ คอป. ชี้ประโยชน์และปัญหา

Posted: 30 Sep 2012 03:54 AM PDT

 

30 ก.ย.55 ในช่วงท้ายของเวทีเสวนา 2 ปีนิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์  กล่าวถึงรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)  ว่า หลังจากได้อ่านรายงานมีหลายจุดที่ค่อนข้างมีประโยชน์ เช่น มีข้อเท็จจริงจำนวนหนึ่งที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ แต่ปัญหาคือ ข้อมูลดิบที่แสดงมีไม่เพียงพอ

สาวตรีกล่าวว่า แล้ว คอป. เกี่ยวอะไรกับนักกฎหมายและรัฐประหาร เราทราบกันดีว่าในคอป. มีนักกฎหมายค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าเราดูทัศนคติก็ดี หรือตัวรายงานก็ดี จะพบว่า คอป. อาจไม่ใช่นักกฎหมายที่รับใช้รัฐประหารโดยตรง แต่ปัจจุบันก็มีการตั้งคำถามกันว่า คอป.รับใช้รัฐบาลที่เป็นผลพวงของรัฐประหารหรือไม่

"คอป.อาจถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการแอบอ้างความเป็นกลางเพื่อรับรองความชอบธรรมให้กับการปราบปรามประชาชน" สาวตรีกล่าว

สาวตรีกล่าวต่อว่า หลังอ่านรายงานอย่างละเอียดจะพบประเด็นปัญหาคือ 1)  ที่มาของ คอป.ที่มีการแต่งตั้งและคัดเลือกในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นฝ่ายที่ปราบปรามประชาชน ลักษณะของความเป็นกลางจึงถูกตั้งคำถามแต่แรก  2) ปัญหาการอ้างอิงแหล่งข้อมูล จะเห็นว่ามีการเทน้ำหนักพยานหลักฐานไปที่ฝ่ายรัฐ เต็มไปด้วยคำให้การของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ แต่ในส่วนของชาวบ้าน ผู้เห็นเหตุการณ์มีน้อยมาก 3) ในรายงานราว 300 หน้า กว่าครึ่งพยายามอธิบายปัญหาที่ คอป.มองว่าก่อให้เกิดความไม่ปรองดองหรือความขัดแย้งยืดเยื้อ ซึ่งเราจะพบปัญหาในการมองปัญหา เช่น คอป.สรุปปัญญาคดีหลายคดีในศาลรัฐธรรมนูญว่าศาลทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง แต่รายละเอียดมีแค่คดีซุกหุ้นเท่านั้น คดีอื่นๆ ไม่มีรายละเอียดเลย , ในการพูดถึงปัญหาเรื่องการชุมนุมปิดสถานที่ต่างๆ เปรียบเทียบระหว่างฝ่ายเสื้อเหลืองและเสื้อแดงแดง สิ่งที่เกิดขึ้นคือผลพวงจากการปิดสนามบินไม่มีปรากฏ แต่เน้นเรื่องการปิดสถานที่ต่างๆ ของคนเสื้อแดง รวมถึงผลพวงของมัน นี่คือลักษณะที่แสดงทัศนะออกมา , คอป.พูดถึงปัญหาผังล้มเจ้า โดยบอกว่า ศอฉ. แสดงชัดเจนว่ามีผังล้มเจ้า แต่คอป.ไม่ระบุเลยว่าในที่สุด ศอฉ.ประกาศว่าไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น , คอป.ยกเรื่องการอ้างสถาบันของฝายต่างๆ ทำให้เกิดปัญหายืดเยื้อ พร้อมเสนอว่าควรหยุดอ้างได้แล้ว แต่ในรายงานไม่เคยมีการวิเคราะห์ให้เห็นบทบาทของสถาบันเองนับแต่การรัฐประหารเป็นต้นมา และไม่มีการยกว่าเหตุการณ์อะไรที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด

สาวตรีกล่าวต่อว่า ปัญหาสำคัญสำหรับคอป.คือการคอรัปชั่นของนักการเมืองซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนทราบดี แต่สถาบันศาล สถาบันทหาร  องค์กรอิสระก็มีปัญหาเรื่องคอรัปชั่นเช่นกัน แม้กระทั่งองคมนตรีเองก็เคยถูกต้องคำถามจากประชาชน คอป.จำเป็นต้องวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้ด้วย

ประเด็นเรื่อง ชายชุดดำ สาวตรีกล่าวว่า ในทางกฎหมาย ทุกวันนี้ ศาล อัยการ พนักงานสอบสวน ไม่สามารถชี้ได้ว่าชายชุดดำเป็นฝ่ายใคร มีจำนวนเพียงไร แต่ในรายงาน คอป. มีการเขียนถึงเรื่องนี้เยอะ และพยายามเขียนอย่างมากว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนเสื้อแดง ผู้ชุมนุม และเขีนเกริ่นๆ สรุปแตะๆ ให้คิดต่อเอาเองว่า เหตุที่เจ้าพนักงานต้องยิงเพราะมีชายชุดดำอยู่ในที่ชุมนุม ลักษณะแบบนี้นำไปสู่การตัดสินว่า ชายชุดดำแท้ที่จริงคือคนเสื้อแดง เจ้าพนักงานยิงเพราะเป็นการตอบโต้ ถามว่าในฐานะมีนักกฎหมายร่วมอยู่หลายคน คอป.สรุปแบบนี้ได้อย่างไร

"เรื่องพยานหลักฐานนั้นก็สำคัญมากสำหรับนักกฎหมาย การสลายการชุมนุมเต็มไปด้วยพยานหลักฐานในสถานที่การชุมนุม สิ่งที่เกิดหลังการสลายการชุมนุมคือ บิ๊กคลีนนิ่งเดย์ มีการล้างทำความสะอาดพยานหลักฐานทั้งหมด แต่เรื่องนี้ คอป.ไม่พูดถึงเลย" สาวตรีกล่าว

เธอกล่าวด้วยว่า ข้อเสนอของ คอป.ที่สำคัญ คือ 1) อยากให้ปสู่การปรองดองด้วยการยุติพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งทั้งหมดทั้งปวง ในรายงานพูดถึงความขัดแย้งคือการชุมนุม นี่เป็นนัยยะแฝงที่คอป.ต้องการบอก คำถามคือ การเสนอแบบนี้ ไม่แก้ปัญหาเลย ตราบใดที่ปัญหาในเชิงโครงสร้างยังอยู่ สิทธิของชาวบ้านยังแย่เหมือนเดิม จะมาเรียกร้องให้ชาวบ้านหยุดเรียกร้องได้อย่างไร

ประเด็นต่อมาคือยุติการอ้างสถาบัน (หน้า 256) คอป.เห็นว่าข้อเสนอที่ผ่านมาเกี่ยวกับสถาบัน ยังไม่ได้รับการปฏิบัติตาม โดยเฉพาะนักการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่ยังคงพาดพิงสถาบัน เอามาเป็นประเด็นทางการเมือง ขอให้ตระหนักว่าการกล่าวอ้างสถาบันยิ่งทำให้สถาบันอันตรายมากขึ้นและกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ขอเน้นย้ำให้ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคอป. ทุกฝ่ายต้องงดการกล่าวอ้างถึงสถาบันเพื่อประโยชน์ทางการเมือง และกำหนดแนวทางที่มีผลในการเทิดทูนสถาบันให้อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ...จะเห็นว่านี่เป็นการแฝงเอาแนวคิดราชาชาตินิยมมาปิดปาก ประชาชน ปัญหาเกี่ยวกับสถาบันที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาความเข้าใจที่แตกต่าง ความเชื่อที่แตกต่างกัน ในเฟซบุ๊คมีการแชร์ภาพคุณยายที่ถือป้ายตั้งคำถามว่าผิดด้วยหรือที่รักในหลวง คำตอบคือ ไม่ผิด แต่การแสดงความรักโดยการกระทืบคนอื่น นั่นเป็นสิ่งผิดและเป็นการดึงสถาบันลงมา บางคนอาจอยากถามว่าแล้วจะผิดอะไรหากมีบางคนไม่ได้คิดแบบคุณยาย จะสามารถสร้างบทสนทนากันดีๆ ได้หรือไม่

"การแก้ปัญหาในประเด็นนี้ไม่ใช่ให้ยุติการพูด แต่ต้องยิ่งพูดเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน และลดการเคลือบแคลงต่างๆ ยิ่งให้ยุติยิ่งทำให้เกิดการพูดกันลับหลัง ติฉินนินทา" สาวตรีกล่าว

ส่วนประเด็นเรื่อง 112  คอ.เสนอสองส่วนในการแก้ไขมาตรานี้ คือ ให้ลดโทษลง เหลือจำคุกไม่เกิน 7 ปี ซึ่งนิติราษฎร์ยังถือว่าเยอะอยู่ และตั้งองค์กรพิเศษในการกลั่นกรองคดี คือ สำนักพระราชวัง เรื่องนี้นิติราษฎร์เสนอไปแล้ว 7 ข้อ และยังยืนยันว่าอย่างน้อยต้องแก้ทั้ง 7 ข้อดังกล่าวเพื่อให้มีการแสดงออกโดยสุจริตได้ อย่างไรก็ตาม แม้ คอป.เสนอเพียงเท่านี้ แต่ถ้าทำให้เรื่องนี้ขยับไปได้อีกเล็กน้อยก็ควรทำ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เหตุป่วนใต้เช้ายันเย็น วันเดียวตาย 4 เจ็บ 4

Posted: 30 Sep 2012 03:11 AM PDT

กอ.รมน.ภาค 4 สน. รายงานเบื้องต้น วันเดียวเกิดเหตุเช้ายันเย็น ทั้งยิงทั้งระเบิด 7 เหตุการณ์ ตาย 4 เจ็บ 4 คนร้ายวางบึ้มพลาดเป้าทหารรอด ยิงซ้ำโดนรถชาวบ้าน ประกบยิงสามีภรรยาสองคู่ตายเจ็บ

ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน กองอานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) รายงานเหตุการณ์ประจำวันที่ 29 กันยายน 2555 โดยตลอดวันตั้งแต่เช้าไปจนถึงช่วงเย็น มีทั้งหมด 7 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 4 คน ดังนี้

เวลา 07.30 น.คนร้ายใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด ยิง ด.ต.มุสตอพา แลแฮ อายุ 44 ปี ตำรวจกองกำกับการ สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรจังหวัด(กก.สส.ภ.จว.) ปัตตานี ที่หน้าพักของตัวเอง ที่บ้านสือดัง หมู่ที่ 4 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี กระสุนปืนถูกศีรษะ 1 นัด ได้รับบาดเจ็บสาหัส

เวลา 07.45 เกิดเหตุระเบิดบริเวณริมถนนสาย 42 สะพานบ้านลาคอ เขตรอยต่อระหว่าง ต.ตะบิ้ง - ต.มะนังดาลา อ.สายบุรี จ.ปัตตานี แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ โดยคนร้ายนำระเบิดแสวงเครื่อง ไม่ทราบภาชนะบรรจุ และการจุดชนวน มาซุกซ่อน ไว้ เป้าหมายเพื่อลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐที่เดินทางโดยรถยนต์มาประชุมที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ค่ายสิรินธร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี แต่รถของเจ้าหน้าทีชุด ชป.ฉก.ทพ.46 ขับรถผ่านไปก่อนแล้วจึงไม่ได้รับบาดเจ็บ

ต่อมาคนร้ายอีกชุดได้ใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด ซุ่มยิงเจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าว แต่กระสุนปืนพลาดเป้าไปถูกรถยนต์เก๋ง ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นแจส สีเทา ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน ซึ่งเป็นรถของนางวริยา ขวัญนุ้ย ชาวบ้าน ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ที่ขับรถตามทำให้รถยนต์เก๋งได้รับความเสียหาย ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง

เวลา 07.45 น. คนร้าย 2 คน ขับขี่รถจักรยานยนต์ประกบนางสาวเสาวลักษณ์ อินทรวิสุทธิ์ อายุ 27 ปี อยู่บ้านเลขที่ 147 บ้านถ้ำเหนือ หมู่ที่ 4 ต.หน้าถ้า อ.เมือง จ.ยะลา กระสุนปืนถูกบริเวณแผ่นหลัง 1 นัด ได้รับบาดเจ็บสาหัส และ เสียชีวิต ในเวลาต่อมา ส่วนนายปริญา สิทธิพันธ์ อายุ 29 ปี ชาวบ้านตะวันออก หมู่ที่ 5 ต.ลำพระยา อ.เมือง จ.ยะลา กระสุนปืนถูกบริเวณเข่าซ้าย ซึ่งทั้งสองคนเป็นสามีภรรยากัน เหตุเกิดขณะกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์ไปซื้อของที่ อ.เมือง จ.ยะลา เหตุเกิดบนถนนสาย 4065 บ้านเนียง - ท่าสาป บ้านท่าสาป หมู่ที่ 1 ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา สาเหตุอยู่ระหว่างตรวจสอบ

เวลา 09.30 น.คนร้ายใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด ลอบยิงนางสาวดวงเนตร คาศรี อายุ 37 ปี ชาวบ้านบันนังบูโบ หมู่ที่ 3 ต.ถ้าทะลุ อ.บันนังสตา จ.ยะลา กระสุนถูกบริเวณแก้มขวา 2 รู ได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดขณะนางสาวดวงเนตรกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์เพียงลาพังอยู่บนถนนสาย 410 มุ่งหน้าเข้าพื้นที่เขต อ.เมือง จ.ยะลา บริเวณบ้านกาโสด หมู่ที่ ถ ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา สาเหตุอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

เวลา 11.10 น. คนร้าย 2 คน ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ทราบยี่ห้อและหมายเลขทะเบียน ใช้อาวุธปืนพกไม่ทราบขนาด ยิงนายมาหะมะ อาแว อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 45/5 หมู่ที่ 5 บ้านจือแรบาตู ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ขณะยืนขายของอยู่ริมถนนหน้ามัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี สาเหตุอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

เวลา 13.00 น.คนร้าย ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ทราบยี่ห้อและหมายเลขทะเบียน ใช้อาวุธปืนสงคราม และอาวุธปืนพกไม่ทราบขนาด ประกบยิงนางกิตติมา นัดทอง เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และนายสุนทร นัดทอง ได้รับบาดเจ็บ ทั้งสองเป็นสามีภรรยา เหตุเกิดขณะทั้งสองขับรถกระบะยี่ห้อ นิสสัน ฟรอนเทียร์ ทะเบียน บจ 8947 ปัตตานี มุ่งหน้าพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เหตุเกิดบริเวณบ้านบาโงปะแต หมู่ที่ 1 ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส สาเหตุเป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง

เวลา 14.40 น.คนร้ายไม่ทราบจำนวน ขับรถยนต์เก๋งไม่ทราบยี่ห้อและหมายเลขทะเบียน เป็นพาหนะ ใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิด และขนาด ประกบยิง นายเกื้อม สุขการ อายุ 74 ปี อยู่บ้านเลขที่ 25 บ้านเหมืองล่าง หมู่ที่  5 ต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ยี่ห้อ ฮอนด้า รุ่น เวฟ หมายเลขทะเบียน กบค 279 ยะลา เหตุเกิดบริเวณบ้านอาเส็น หมู่ที่ 6 ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา สาเหตุเป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วรเจตน์ ภาคีรัตน์: เหตุใดจึงควรแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดสถาบันกษัตริย์

Posted: 30 Sep 2012 01:57 AM PDT

สรุปการอภิปรายของวรเจตน์ ภาคีรัตน์ กลุ่มนิติราษฎร์ ระบุว่า ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของรัฐประหาร 2490 คือ การฝังสำนึกห้ามแตะต้องรัฐธรรมนูญหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เพื่อให้สังคมไทยเดินไปข้างหน้าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ต่อหน้าได้ ถ้าเราต้องการการปรองดองที่สถานฉันท์อย่างแท้จริง อย่างน้อยรัฐธรรมนูญต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สถาบันการเมือง ศาล และกองทัพ


30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมเสวนาหัวข้อ "การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ" ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่ากิจกรรมต่อไปของนิติราษฎร์คือการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเวทีเสวนา วรเจตน์กล่าวว่า รัฐประหาร 2490 โดยผิน ชุณหวัณ เป็นต้นแบบของการทำรัฐประหารปัจจุบันคือ ล้มลางการปกครองแล้วเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราว และจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ รัฐประหารครั้งที่เปลี่ยนแปลงการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิงคือจอมพลสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2500 ตามด้วย รัฐประหารอีกครั้ง 2501 ใช้เวลายาวนานก่อนจะก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 รัฐประหารอีกครั้งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ตามกฎหมายในส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ รัฐประหารปี 2534 โดยพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ. 2534 ขึ้นมา

รัฐประหารที่สำคัญๆ นั้นส่งผลกระทบต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร แม้บางช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจะปกครองไปในเชิงอำนาจนิยมบ้าง แต่ก็มีกฎหมายเหนี่ยวรั้งอยู่จนถึง พ.ศ. 2489 แต่หลังรัฐประหาร โดยผิน ชุณหวัณ  เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2490ได้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ มีผลเป็นการสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ก่อนรัฐประหารปี 2490 กฎเกณฑ์การถ่วงดุลของสถาบันทางการเมืองได้มาตรฐานสากลพอสมควร แต่หลังรัฐประหารครั้งนั้นได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญหลายเรื่อง

ประการแรก คือ การจตัดตั้งให้มีคณะอภิรัฐมนตรี ถ้าครม. จะเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมที่ทำไว้ ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์ก่อน

รัฐธรรมนูญปี 2492 ก็ได้เป็นต้นแบบให้รัฐธรรมนูญต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน คือ การกำหนดให้มีองคมนตรี และในกรณีที่ไม่มีผู้สำเร็จราชการฯ ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนฯ กำหนดห้ามยกเลิก-แก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วนการสืบสันตติวงศ์ และอำนาจในการวีโต้กฎหมายของสถาบัน ซึ่งกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้สืบต่อมาถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบัน

นี่จึงเป็นที่มาที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้กลับไปใช้แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามแนวทางก่อนปี 2490 เพราะเป็นการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับองค์กรทางการเมืองที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยมากที่สุด

แม้ปี 2517 รัฐธรรมนูญได้ถูกแก้ให้พระราชธิดาสืบสันตติวงศ์ได้ แต่หลายท่านก็ไม่ทราบยว่าหลังรัฐประหารปี 2534 ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ 2 เรื่อง คือ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งแล้ว ให้เชิญรัชทายาทที่แต่งตั้งไว้โดยให้รัฐสภารับทราบ ต่างจากเดิมที่ให้รัฐสภาเห็นชอบ อีกประการคือ แม้ว่ารัฐธรรมนูญบางช่วงเช่น ปี 2492 จะถึงขนาดห้ามแก้ไขกฎมณเฑียรบาล แต่ปี 2517 ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยวิธีเดียวกับการแก้รัฐธรรมนูญ แต่กฎเกณฑ์นี้ได้รับการยกเลิกไปปี 2534 เพราะหลังรัฐประหาร รัฐธรรมนูญถาวรปี 34 เพิ่มเติมว่าการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลเรื่องการสืบสัตติวงศ์กระทำได้โดยพระมหากษัตริย์เท่านั้น และหลักดังกล่าวรับกันต่อมาถึงรัฐธรรมนูญปี 2540-2550 คงไว้เหมือนเดิมทุกตัวอักษร

ขณะนี้กำลังมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีข้อห้ามในทางสาธารณะว่าจะไม่แตะต้องกฎเกณฑ์ในหมวดพระมหากษัตริย์ทั้งๆ ที่ไม่มีการห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญ

ประเด็นสำคัญในการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็มีการพูดถึงการแตะหรือเปลี่ยนแปลงหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ คำถามคือ การที่รัฐบาลยกร่างฯ แล้วไม่ให้แตะหมวดกษัตริย์ทั้งหมวดนั้นมากเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดไว้ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดห้ามแก้แค่ 2 ประเด็นคือ ห้ามแก้ไขรูปของรัฐ การห้ามแก้เรื่องพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กับกับห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ไม่ได้ห้ามแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ ไม่มีการห้ามไม่ให้แก้ไขเรื่ององคมนตรี

การห้ามแก้ไขดังกล่าวในร่างแก้ไขฯ ที่กำลังจัดทำนั้น จึงเป็นสิ่งที่มากกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

วรเจตน์ พบว่าการรัฐประหารในระบบกฎหมายไทย ส่งผลในทาง tradition (จารีต) ในหมู่นักกฎหมายไทยตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมาว่า เมื่อผู้ใดยึดอำนาจรัฐแล้วสามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างมั่นคง เขาก็เป็นรัฏาธิปัตย์ ศาลและวงการกฎหมายก็เดินตาแนวคิดแบบนี้ แต่อย่างน้อยที่สุดการเดินตามแนวคิดแบบนี้ได้ก็ต้องมีการรัฐประหารสำเร็จ ไม่ได้แยกแยะการปฏิวัติในแง่การเปลี่ยนแปลงระบอบกับการแย่งชิงอำนาจรัฐออกจากกัน

อ.หยุด แสงอุทัย ได้เสนอไว้และตนมีความเห็นต่างคือ ประเด็นเรื่องความเป็นรัฎฐาธิปัตย์จากการทำรัฐประหาร โดยอ้างอิงจากศาลเยอรมันหลังสงครามโลกที่มีการสถาปนาอาณาจักรไรซ์ เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ ตอนเกิดสาธารณรัฐไวมาร์ มีปัญหาว่าตอนเปลี่ยนระบอบ ตัวอำนาจที่ก่อตั้งใหม่จะถูกโต้แย้งไม่ได้ เพราะได้ตั้งอำนาจขึ้นสำเร็จแล้ว เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นรัฏฐาธิปัตย์ในระบอบการปกครองแบบใหม่ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบรัฐ การปกครองไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่การแย่งชิงอำนาจจากรัฐบาลดังที่เกิดขึ้นในไทย ซึ่งมีความแตกต่างกัน

ถามว่าของเรามีคราวไหนที่เป็นการเปลี่ยนระบอบอย่างสิ้นเชิง ก็คือ การอภิวัฒน์ 2475 ในทางรัฐศาสตร์ชัดเจนว่าเป็นการปฏิวัติ แม้ไม่ได้เกิดจากการลุกฮือแต่ทำโดยกลุ่มคนคือคณะราษฎร เปลี่ยนระบอบและตั้งมั่นระบอบใหม่ขึ้น แต่การรัฐประหารโดยผิน ชุณหวัณ ไม่ได้เปลี่ยนความคิดผู้ทรงอำนาจรัฐ หรือระบอบการปกครอง แต่เป็นการแย่งชิงอำนาจรัฐบาล แต่นักกฎหมายไทยมักจะเอามาเทียบในระนาบเดียวกัน

เคยมีคนเสียดสีเมื่อครั้งนิติราษฎร์เสนอให้ลบล้างผลพวงรัฐประหารว่า ทำไมไม่เสนอให้ล้มล้างการอภิวัฒน์ 2475 เสียเลย นั่นเพราะเขาไม่เข้าใจว่า 2475 คือการเปลี่ยนตัวระบอบรัฐ มีคุณค่าที่แตกต่างไปจากการยึดอำนาจหรือล้มอำนาจรัฐบาลเฉยๆ เพื่อเปลี่ยนตัวรัฐบาล

วรเจตน์ กล่าวต่อว่า แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ความคิดนี้ก็ฝังแนบแน่นในทางกฎหมาย ทำให้เมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ต้องห้ามเปลี่ยนแปลงหมวดสถาบันฯ ส่งผลให้แก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่ององคมนตรีไม่ได้ นี่เป็นความสำเร็จอย่างสูงสุดของการรัฐประหารปี 2490 และรัฐธรรมนูญปี 2492 ที่ได้ทำให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญปักหลักฝังแน่น ไม่มีใครตั้งคำถามว่าสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ไม่มีใครตั้งคำถามนี้อีกจนถึงปัจจุบัน แนวคิดนี้ก็ดำรงอยู่และจะดำรงอยู่ต่อไปตราบเท่าที่เราไม่สามารถพูดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด โดย strict แค่การไม่แตะต้องรูปแบบการปกครอง

วรเจตน์ กล่าว่า สิ่งที่ปรากฏทุกวันนี้มันรุนแรงกว่า หรือมากกว่าการเขียนห้ามแก้รัฐธรรมนูญเสียอีก เพราะถึงแม้ทุกวันนี้จะไม่ได้ห้ามแก้ในเชิงลายลักษณ์ แต่ที่สุดแล้วทุกคนจะไม่กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา ว่ารัฐธรรมนูญให้แก้ไขหมวดสถาบันฯ ได้อย่างสันติ ผลคือการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เหนือการเมืองก็จะปรากฏเป็นจริงไม่ได้ เพราะถูกล็อกไว้โดยสำนึกที่สืบทอดมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2492

เขากล่าวว่า สิ่งที่นิติราษฎร์เสนอลบล้างผลพวงการรัฐประหารนั้นเป็นเพียงเทคนิค แต่เราไม่ได้เสนอเลยไปถึงเรื่องสำนึกเพราะไม่สามารถเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ความสำเร็จของการทำรัฐประหารในสังคมไทยไม่ได้สำเร็จเพียงแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์รัฐธรรมนูญ แต่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของรัฐประหาร 2490 ก่อเกิดธรรมนูญชั่วคราว และรัฐธรรมนูญปี 2492 คือ การฝังสำนึกห้ามแตะต้องรัฐธรรมนูญหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์

"เพื่อให้สังคมไทยเดินไปข้างหน้า เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ต่อหน้าเราได้ ถ้าเราต้องการการปรองดอง ที่สมานฉันท์อย่างแท้จริง อย่างน้อยรัฐธรรมนูญต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ สถาบันการเมือง ศาล และกองทัพ" วรเจตน์ กล่าว

เขากล่าวว่า แต่ตราบที่สำนึกเช่นนี้ยังมีอยู่ การเปลี่ยนแปลงโดยการเปลี่ยนผ่านรัฐธรรมนูญใหม่จึงไม่ได้ทำได้ง่ายนัก การรัฐประหารไม่ได้สำเร็จได้ด้วยอำนาจทหาร แต่สำเร็จได้โดยการไม่ต่อต้านหรือมองเห็นกฎเกณฑ์ที่เป็นผลผลิตของการรัฐประหาร

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์ให้ย้อนไปสู่กฎเกณฑ์ก่อนปี 2490 คือ ต้องเปิดโอกาสให้คนที่เขาเห็นเป็นอย่างอื่นได้มีโอกาสพูดในที่สาธารณะ และมาอภิปรายกันว่า อะไรดีกว่า แล้วให้คนส่วนใหญ่ได้เลือกทางของเขาที่จะเดินต่อไปในวันข้างหน้าอย่างดีที่สุดกับสังคมและประเทศชาติ


"ผมตั้งใจพูดกับท่านเป็นประเด็นหลักประเด็นเดียวเพราะผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้"วรเจตน์ กล่าว
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สะท้อนย้อนคิดฯ: มอง "สำนักเชียงใหม่" 360 องศา

Posted: 30 Sep 2012 01:11 AM PDT

ในระหว่างวันที่ 21 - 22 กันยายน ที่ผ่านมา ในการประชุมวิชาการ "สะท้อนย้อนคิด สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเชียงใหม่" ที่ห้องประชุมใหญ่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยภาควิชาสังคมวิทยามานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และสำนักพิมพ์คบไฟนั้น

ในการประชุมวันแรก มีการเสวนาหัวข้อ "มอง "สำนักเชียงใหม่" 360 องศา" ผู้อภิปรายประกอบด้วย ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี และ อ.ดร.อรัญญา ศิริผล จากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.นลินี ตันธุวนิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการและร่วมเสวนาโดย ศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง โดยมีการอภิปรายโดยลำดับ ดังนี้

 

อรัญญา ศิริผล

 

การอภิปรายโดยอรัญญา ศิริผล (รับชมแบบ HD)

จากยุคศึกษาตอบสนอง "ความมั่นคง" สู่งานข้ามพรมแดนหลังสงครามเย็น

โดย อรัญญา ศิริผล อภิปรายว่า จะสำรวจสถานภาพความรู้ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาตั้งคำถามกับสิ่งที่เรียกว่า "สำนักเชียงใหม่" มีจริงอย่างที่ภายนอกมองหรือไม่ และอะไรเป็นแรงผลักในการก่อรูปสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเชียงใหม่ และมีคุณูปการในการมีอิทธิพลต่อสังคมภายนอกอย่างไร หลักสูตรการเรียนการสอนมีจุดเน้นอย่างไร

ทั้งนี้ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการปรับปรุงหลักสูตรแล้ว 4 ครั้งในปี พ.ศ. 2507, 2518, 2531 และ 2549 โดยในการก่อตั้งภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาช่วงต้น พ.ศ. 2507 - 2517 มีอย่างน้อย 4 ปัจจัยที่เป็นแรงผลักได้แก่ 1.วิชาการในประเทศจากศูนย์กลางมาสู่ภูมิภาค มีอาจารย์จากธรรมศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มาสอนที่เชียงใหม่ ซึ่งมาพร้อมๆ กับการตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. บริบทของประเทศ ที่เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการพัฒนาที่วางแผนมาจากส่วนกลาง มองว่าการพัฒนาจะลงสู่ชนบทได้อย่างไร

3. องค์กรวิชาการต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ส่งอาจารย์ที่ได้ทุนฟุลไบรท์มาเป็นอาจารย์ช่วยสอนมาตั้งแต่ตั้งภาควิชา

4. คหบดีท้องถิ่น เช่นไกรศรี นิมมานเหมินท์ มีความสนใจงานวิชาการมานุษยวิทยา

ต่อมาในปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 2 ยังไม่แบ่งหมวดหมู่วิชา แต่เริ่มมีอาจารย์ใหม่ๆ เข้ามา มีการเพิ่มวิชาสาขาย่อยทางมานุษยวิทยา บริบททางการเมืองเปลี่ยน บรรยากาศที่นักศึกษาสนใจการเมืองและเป็นซ้าย ส่งผลต่อการเรียน 2 ด้าน

ด้านแรก เพิ่มวิชาด้านท้องถิ่นนิยมและชาติพันธุ์มากขึ้น ด้านที่สอง ไม่เปลี่ยนชื่อวิชา แต่เปลี่ยนสาระ เช่น วิชาสถาบันการเมือง วิชาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่อาจารย์ประจำวิชาเอาทฤษฎีมาร์กซิสต์มาถกเถียงปัญหาแทนฐานเดิม

การปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่สาม เน้นการพัฒนาสังคมเกษตรกรรม วิเคราะห์ปัญหาในสังคมภาคเหนือ หวังว่าจะไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกระบวนการพัฒนา ทำให้เกิด เรียนให้ลึกขึ้น และแบ่งกาเรียนออกเป็น 5 สาขาวิชา

ล่าสุดในการปรับปรุงครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549 เปลี่ยนโครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา ลดสาขาวิชาลงมาเป็น 2 สาขา คือสายวิชาการ และสายวิชาชีพ ให้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ประยุกต์มากขึ้น ให้ความสำคัญกับสหสาขาวิชามากกว่า และต้องการเพิ่มความหลากหลายในแนวคิดทฤษฎีของการศึกษาวิเคราะห์สังคมมากขึ้น ส่วนของวิชาการ วิธีวิทยา และการศึกษาเชิงพื้นที่ ได้ขยายไปสู่ภาคเหนือไปเป็นลุ่มน้ำโขง คือเน้นอาณาบริเวณศึกษามากขึ้น

ส่วนหลักสูตรปริญญาโทเริ่มในปี 2532 ปรับปรุง 2 ครั้งในปี 2535 และ 2542 โดยพยายามตอบโจทย์สังคมในภูมิภาค โดยมองว่าสถาบันการศึกษาที่อื่นโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ยังขาดการศึกษาเรื่องการพัฒนาสังคมด้านเกษตรกรรม ในส่วนของหลักสูตรไม่ได้เน้นเรื่องผลผลิต รายได้ แต่เน้นการพัฒนาอย่างเท่าเทียม จัดการที่ดิน แรงงาน น้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีวิทยานิพนธ์เรื่อง "ดิน น้ำ ป่า" ออกมาเป็นจำนวนมาก ขณะที่ส่วนที่เป็นวิธีวิทยาเป็นแบบสหสาขา ด้านวิชาเรียนแยกสองส่วน คือ สังคมเกษตรในชนบทกับการจัดการทรัพยากร และการจัดการเชิงโครงสร้างสถาบัน

ต่อมามีการปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 2 ทำให้วิชานิเวศวิทยาสังคม เป็นตัวบังคับเพราะเน้นเรื่องสังคมเกษตรในภาคเหนือ จึงเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมและนิเวศน์มากขึ้น

ในปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโทครั้งที่สาม พ.ศ. 2542 จากเดิมที่เน้นเรื่องการจัดการทรัพยากรและสังคมเกษตรภาคเหนือ ไปสู่ประเด็นที่หลากหลายมากขึ้น มีมิติที่มากขึ้น ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ศาสนาและระบบความเชื่อ การขยายตัวของเมือง ความเป็นพลเมือง กลุ่มคนชายขอบในสังคมสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ตามความถนัดและความสนใจของคณาจารย์ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งนี้ในการเปิดหลักสูตรปริญญาโท 22 ปี มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา 100 คน มีวิทยานิพนธ์ 100 เล่ม โดยวิทยานิพนธ์ในช่วงปี 2532 - 2541 ประเด็นจะเป็นเรื่องดินน้ำป่า นิเวศวิทยาวัฒนธรรม เรื่องความขัดแย้ง ยุคหลัง 2542 จะเริ่มมีวิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเรื่องคนชายขอบ ความสัมพันธ์ทางอำนาจและอำนาจในการต่อรอง ส่วนสถานภาพของหลักสูตรในปัจจุบัน มีการปิดหลักสูตรปริญญาโทสาขาการพัฒนาสังคมไปตั้งแต่ปี 2554 แต่เปิดหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกเป็นสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาแทน

 

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

การอภิปรายโดยปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (รับชมแบบ HD)

 

สงครามเย็นและการบูรณาการแห่งชาติ สู่แนวการศึกษาแบบขัดขืนต่อรองอำนาจ

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เริ่มอภิปรายว่า เมื่อปี 2529 ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยเป็นเจ้าภาพการประชุมเรื่อง "สถานภาพสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไทย" และมีการสรุปรวบรวมประเด็นจากการประชุมแล้วตีพิมพ์ในเวลาต่อมา โดยโจทย์เมื่อปี 2529 จากการอ่านคำนำของหนังสือดังกล่าวที่เขียนโดยฉลาดชาย รมิตานนท์คือจะทำอย่างไรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไทยจะสลัดตัวเองออกจากความคิด "พวกฝรั่ง"

ขณะที่ในปีนี้ ได้กลับมามองสิ่งที่เรียกว่า "สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไทย" อีกครั้งหนึ่ง แต่ตัวตั้งตอนนี้เป็นเรื่อง "ประกันคุณภาพ" ที่รัฐไทยพยายามใช้ควบคุมอุดมศึกษาไทย

โดยสิ่งที่ สวนกระแสหรือทิศทางระบบประกันคุณภาพ ด้วยการเสนอวิธีมองคุณภาพที่ต่างไป และเป็นมิติที่ไม่เคยถูกมองในวิธีคิดกระแสหลัก ตัวชี้วัดในระบบการศึกษาปัจจุบัน มักใช้คำว่า "ใบสั่ง" มากกว่า "อรรถาธิบาย" เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่ใช่โรงงานผลิตปลากระป๋อง แต่ผลิตสร้างความรู้และสร้างคน

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในฐานะที่เป็นศาสตร์ที่สะท้อนการสร้างคน จะคุณภาพที่ต่างจากกรอบคิดกระแสหลักอย่างไร นั้น จะต้องตอบโจทย์ให้มากกว่า 4 ข้อ หนึ่ง พลังทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง อะไรที่ก่อรูปสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไทยในแต่ละยุคสมัย สอง ในฐานะศาสตร์ที่มีเป้าหมายในการทำความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาใช้เครื่องมืออะไรในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทั้งในแง่ทฤษฎีและวิธีวิทยา และเครื่องมือดังกล่าวนำไปสู่การสร้างความรู้ประเภทใด สาม แต่ละยุคสมัย สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ได้มีส่วนก่อรูปสังคม หรือการรับรู้ของสาธารณชนต่อสังคมและวัฒนธรรมที่ตนศึกษาอย่างไรบ้าง และ สี่ บุคคลประเภทใด เป็นผลผลิตของศาสตร์ในสายสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

โดยปิ่นแก้ว ได้เริ่มอภิปรายว่า กำเนิดของมานุษยวิทยาไทย เป็นผลผลิตของสงครามเย็น ในทศวรรษ 1950 นักมานุษยวิทยาจำนวนมากเห็นพ้องต้องกันว่า กำเนิดของมานุษยวิทยาเชื่อมโยงโดยตรงกับความต้องการของสหรัฐอเมริกาในการเข้าใจภูมิภาคอันจะเป็นฐานต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งความต้องการดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐไทยในสมัยเดียวกันที่จะผนวกชนบทเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชาติผ่านสถาบันการศึกษา จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่มีการตั้งภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา พร้อมกับมหาวิทยาลัยวิทยาลัยเชียงใหม่

ถ้าเข้าไปดูในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ "Master Narrative" หรือโครงเรื่องหลักของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยคือ "คนในท้องถิ่นเรียกร้องให้มีมหาวิทยาลัยในล้านนา" แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในนโยบายการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เพื่อสร้างปัญญาชนแก่ชาติ เป็นส่วนหนึ่งของการ "National Integration" หรือนโยบายบูรณาการแห่งชาติ เป็นส่วนหนึ่งของรัฐที่มองชนบทว่ามีภัยความมั่นคง มีภาวะการด้อยพัฒนา โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คนแรกคือพระยาศรีวิสารวาจา องคมนตรี นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่คือจอมพลถนอม กิตติขจร

ผู้มีบทบาทในการวางแผนหลักสูตรคณะสังคมศาสตร์ และภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เป็นนักรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าภาควิชาคนแรกคือ อานนท์ อาภาภิรม สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มช. ยุคแรกจึงประกอบไปด้วยการเมืองยุคสงครามเย็นมีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวหอก การใช้มหาวิทยาลัยเชื่อมต่อท้องถิ่นและรัฐส่วนกลาง และกระแสท้องถิ่นนิยมที่ต้องการให้ล้านนามีมหาวิทยาลัยเป็นของตัวเอง

บทบาทของสหรัฐอเมริกาในการสร้างภาควิชามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในยุคแรกที่อาจารย์มีอย่างจำกัด สหรัฐอเมริกาได้ส่งอาจารย์มาสอนในวิชาสำคัญๆ 14 ปี ผ่านโครงการทุนฟุลไบรต์ ซึ่งไม่แน่ใจว่ามหาวิทยาลัยอื่นมีสัญญาเดียวกันนี้หรือไม่ โดยอาจารย์ชาร์ล เอฟ คายส์ (Charles F. Keyes) บอกว่า ในยุคที่ไม่มีตำรา ในห้องสมุดไทยยุคนั้นไม่มีหนังสือเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา การบรรยายของอาจารย์ในยุคนั้นสำคัญมากในการถ่ายทอดวิทยาการความรู้ และความคิดให้กับนักศึกษาในยุคนั้น การบรรยายของอาจารย์จึงก่อรูปความคิดของนักศึกษา

สหรัฐอเมริกามีบทบาทในการให้ทุนทำวิจัยต่อเนื่องจนถึงยุคปลายสงครามเย็น บทบาทของแหล่งทุน ที่มีส่วนในการก่อรูปทุนการศึกษาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในสังคมไทย ยังเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีคนศึกษาอย่างจริงจัง แม้ในต่างประเทศหัวข้อดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่มีการศึกษาในเชิงวิพากษ์อย่างกว้างขวาง

ในยุคแรก มูลนิธิฟอร์ด มูลนิธิรอกกี้เฟลเลอร์ จัดประชุมร่วมกันและมีข้อถกเถียงว่า สหรัฐอเมริกาจะต้องเริ่มเข้าไปในภูมิภาคส่งเสริมงานด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และเผยแพร่สิ่งที่เรียกว่า การศึกษาแบบอาณาบริเวณศึกษา การนำทฤษฎีความทันสมัยเข้ามาสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคนั้น

พลังจากการเมืองยุคสงครามเย็น การสร้างชาติภายใต้อุดมการณ์ความทันสมัย มีส่วนสำคัญในการก่อรูปสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเชียงใหม่ยุคต้น งานวิชาการยุคต้นตอบสนองโจทย์รัฐชาติ การเมืองระหว่างประเทศ และความมั่นคงเป็นสำคัญ มุ่งเน้นการอรรถาธิบายโครงสร้างประชากรกลุ่มชนต่างๆ มากกว่าสนใจความเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์อันซับซ้อนของกลุ่มชนกับรัฐไทย งานทางวิชาการในปี 2507 เป็นต้นมา การศึกษาประชากรในมิติต่างๆ มีความสำคัญมาก เช่น เรื่องการเติบโตประชากร ภาวะการเจริญพันธุ์ การวางแผนครอบครัว

ในยุคต่อมา ขบวนการนักศึกษาและขบวนการเรียกร้องประชาชน มองสังคมไทยในมิติที่มีความขัดแย้งและเปลี่ยนแปลง นักศึกษาตั้งคำถาม และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดของคณาจารย์ และเนื้อหาในการสอนในบางวิชา โดยอาจารย์ชาร์ล เอฟ คายส์ ซึ่งเข้ามาสอนช่วงนั้นให้ข้อมูลว่า นักศึกษามีกิจกรรมเยอะมาก นักศึกษาเองเป็นตัวกระตุ้น ตั้งคำถามในวิชาที่สอน มีการจัดสัมมนา "การศึกษาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในประเทศไทย" ที่นักศึกษาจัดที่ค่ายอนุชน (ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 2 กันยายน 2516) มีการตั้งคำถามกับคุณค่าของสังคมวิทยาและมานุษยาไทย มีอาจารย์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเข้าร่วม และมีอาจารย์บุญสนอง บุญโยทยาน มาร่วมด้วย เนื้อหาการสัมมนาก็น่าสนใจมาก

ในยุคนี้ อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ ให้ข้อมูลว่า เกิดพลวัตในภาควิชา เดิมสอนแต่ทฤษฎีของพาร์สันส์ (Talcott Parsons - สำนักหน้าที่นิยม) เรื่องสังคมจะปรับตัวอย่างไร ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคนั้นได้ตั้งคำถามขึ้นมา ทฤษฎีมาร์กซิสต์เริ่มมีการนำมาใช้ในภาควิชา ทั้งที่ก่อนหน้านี้แนวคิดที่ใช้เป็นหลักคือเรื่องประชากรศาสตร์

ในยุคถัดมาทิศทางการศึกษาเรื่องพื้นที่สูงและพื้นที่ราบที่เริ่มในทศวรรษ 2530 ซึ่งเป็นอานิสงส์จากมูลนิธิฟอร์ด ซึ่งให้ทุนสนับสนุนเยอะมาก ชุมชนวิชาการ ประสานตัวเองเข้ากับขบวนการทางสังคมและการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งพลวัตที่เกิดขึ้นไปไกลเกินการคาดคิดของมูลนิธิฟอร์ด โดย agenda (วาระ) ในการสนับสนุนวิจัยของมูลนิธิฟอร์ดคือต้องการให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น

ทั้งนี้ภาคเหนือเป็นพื้นที่ขัดแย้งแหลมคมระหว่างรัฐกับประชาชน ก่อให้เกิดการเรียกร้องงานวิชาการที่ตอบสนองต่อโจทย์ทางสังคมในการทำความเข้าใจต่อเงื่อนไขความขัดแย้งและการเผชิญหน้าทั้งในระนาบปรากฏการณ์และอุดมการณ์ ยุคนี้อาจเป็นยุคทองของมโนทัศน์ว่าด้วยเรื่องการต่อรอง ขณะที่คำถามทางวิชาการก่อนหน้านี้ว่าด้วยเรื่องแนวคิดการปรับตัวเข้าหารัฐและสังคม อาจจะเรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคมองหาการต่อรองและขัดขืน ระหว่างรัฐและคนชายขอบ

ยุคนี้เป็นยุคที่ อาจารย์เคร็ก (Craig J. Reynold) และอาจารย์คายส์เรียกว่าเป็นยุค "Socially Engaged Sociology and Anthropology" เป็นมานุษยวิทยาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคม ขณะเดียวกันในภาควิชาเกิดการขยายตัวของประเด็นในการศึกษาออกนอกกรอบคิดรัฐเป็นศูนย์กลาง

 

หลังสงครามเย็น:สู่ยุค สกว. สสส. สวรส.

ในยุคปัจจุบันตั้งแต่ 2540 เป็นต้นมา การเปิดพรมแดนประเทศ การล่มสลายของอุดมการณ์การเมืองที่เคยแบ่งโลกในยุคก่อน ไม่เพียงได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงความหมายของพรมแดนธรรมชาติ หากแต่ยังก่อให้เกิดการลากเส้นเขตแดนทางวิชาการของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาขึ้นใหม่ เรียกร้องให้แสวงหาความรู้นอกพรมแดนสังคมไทย คือไม่เพียงแต่เกิดวิชา "ข้ามพรมแดน" ในหลักสูตร แต่งานวิจัยชายแดนกลายเป็นประเด็นที่คึกคักอย่างยิ่ง และกลายเป็น trademark (เครื่องหมายการค้า) ให้สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มช. ปัจจุบัน

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 2540 สหรัฐอเมริกาได้ยุติบทบาทลงอย่างสิ้นเชิงในการสนับสนุนการศึกษาในไทย โดยเฉพาะเรื่องสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เช่นเดียวกับทุนจากญี่ปุ่น แหล่งทุนที่เข้ามาแทนที่คือ สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ) สวรส. (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข) บทบาทของแหล่งทุนไทยที่มีอิทธิพลต่อทิศทางความรู้ของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประเด็นที่ควรค่าแก่การวิเคราะห์และศึกษาอย่างยิ่ง

โดยการศึกษาของสังคมวิทยาและมานุษวิทยาเชียงใหม่ ได้ก่อรูปทางความคิดในเรื่อง หนึ่ง การเปิดมิติการเข้าใจสังคมชาวนาและการเปลี่ยนแปลงของสังคมชาวนา ในความสัมพันธ์กับรัฐไทย และกับระบบทุนนิยม สอง การเปลี่ยนวิธีคิดในการมองเรื่องสิทธิ ที่มองแต่เรื่องรัฐและเอกชน มาสู่ข้อเสนอเรื่องสิทธิชุมชน สาม การท้าทายมายาคติกระแสหลักว่าด้วยกลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูง สังคมชายแดน และสังคมชายขอบทั้งหลาย และสี่ การเปิดให้เห็นเงื่อนไขเชิงโครงสร้างของปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นในสภาวะการปิดล้อมทางทรัพยากร

 

นลินี ตันธุวนิตย์

คลิปการอภิปรายโดยนลินี ตันธุวนิตย์ และการอภิปรายแสดงความคิดเห็นโดยผู้เข้าร่วมการเสวนา (รับชมแบบ HD)

 

สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเชียงใหม่: การถูกอ้างถึงเมื่อมองจากฝั่งธรรมศาสตร์

ด้านนลินี ตันธุวนิตย์ ได้อภิปรายแบ่งออกเป็นสามประเด็น โดยประเด็นแรก กล่าวถึงความสัมพันธ์ทางวิชาการระหว่างคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเด็นที่สอง นักวิชาการ นักพัฒนา นักเคลื่อนไหว และพัฒนาการของสังคมศาสตร์สาธารณะ และประเด็นที่สาม ตัดต่อขอยืมทางวิชาการของสำนักท่าพระจันทร์ และสำนักเชียงใหม่

โดยประการแรก นลินี ตั้งข้อสังเกตว่าสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดขึ้นในปีเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขทางการเมือง เศรษฐกิจ บริบททางวิชาการที่คล้ายๆ กัน แต่มีทิศทางของพัฒนาการต่างกันเพราะต่างมีเงื่อนไขเฉพาะ

ประเด็นที่สอง พัฒนาการของสังคมศาสตร์สาธารณะ จุดพีคของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น่าจะอยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2530 - 2540 เริ่มมีเจ้าหน้าที่จากองค์กรพัฒนาเอกชนจากที่ต่างๆ ในประเทศมาเรียนปริญญาโทที่นี่ ด้วยเหตุผลทั้งการหาทางเลือกใหม่ในการทำงาน รวมไปถึงมาเรียนเพราะรู้จักอาจารย์มานุษยวิทยาที่เชียงใหม่อย่างเช่นรู้จักอานันท์ กาญจนพันธุ์

ประเด็นเหล่านี้น่าสนใจก็คือ งานวิชาการสังคมศาสตร์ที่นี่ไม่ได้เป็นอะไรที่ตัดขาดจากเรื่องราวที่เกิดรอบๆ มหาวิทยาลัย  และเป็นส่วนสำคัญมากในการก่อรูป สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่เชียงใหม่ และด้วยบริบทของท้องถิ่นทำให้ อาจารย์หลายคนที่นี่นอกจากสอนหนังสือยังมีส่วนเคลื่อนไหวอย่างสำคัญกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ทั้งนี้การทำงานในพื้นที่ การลงชุมชน การร่วมเคลื่อนไหวกับการเคลื่อนไหวทางสังคม คิดว่าเป็นเสน่ห์หนึ่งของสำนักเชียงใหม่

ประการที่สาม เมื่อกลับมามองวิทยานิพนธ์ของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าการขอหยิบขอยืมการอ้างอิงทางวิชาการมาจากสำนักเชียงใหม่ เอาเข้าจริงๆ ไม่ได้เยอะมากในช่วงปี 2529-2530 และแนวการศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาธรรมศาสตร์ ยังใช้กรอบการศึกษาเชิงจิตวิทยาทางสังคม กระทั่งต่อมาในปี 2530 เริ่มมีงานศึกษา 3 เล่มที่อ้างอิงงานของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเชียงใหม่ จนกระทั่งปี 2534 มีการเชิญ อานันท์ กาญจนพันธุ์ จากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ โดยถือเป็นวิทยานิพนธ์เล่มแรกๆ ที่มีอาจารย์นอกมหาวิทยาลัยมาเป็นที่ปรึกษา และมีการอ้างงานจากสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเชียงใหม่เยอะมาก

และต่อมาในช่วง 2540 เริ่มมีการอ้างอิงงานจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวทางสังคม ชาวบ้าน ดินน้ำป่า จะพบว่างานทางวิชาการจากสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นงานอันดับต้นๆ ที่ถูกอ้างถึงเยอะมากถ้าดูในบรรณานุกรม

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 23-29 ก.ย. 2555

Posted: 30 Sep 2012 12:26 AM PDT

เผดิมชัยสั่งจัดระบบแรงงานเก็บผลไม้ฟินแลนด์-สวีเดน

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2555 นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(รมว.รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนและคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงานได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมแรงงาน ไทยที่ไปทำงานเก็บผลไม้ป่าตระกูลเบอร์รี่ที่ประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ซึ่งพัก อยู่ใน 5 แคมป์รวมประมาณ 5,000 คนโดยพบว่า แรงงานไทยมักจะพักอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่โดยเช่าบ้านหรืออาคารเรียน เก่า ซึ่งแรงงานที่เดินทางไปต้องมีสุขภาพแข็งแรงและเพราะต้องออกไปเก็บผลไม้ ตั้งแต่เช้าตรู่ทุกวัน และทำงานภายใต้อุณหภูมิหนาวเย็นตลอดระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี ทั้งนี้ การออกไปเก็บผลเบอร์รี่ของแรงงานไทยนั้น จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งค่ารถ ค่าที่พัก ค่าอาหาร รวมทั้งหมด 160-180 โคลนหรือคิดเป็นเงินไทยอยู่ที่คนละ 760-885 บาทต่อวัน

"คนไทยได้รับการยอมรับว่า มีความอดทนและสามารถเก็บผลเบอร์รี่ป่าได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับแรงงานชาติ อื่นๆ โดยผลเบอร์รี่ป่าเป็นพืชที่ขึ้นเอง แต่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างผลิตภัณฑ์ รายได้ ที่เป็นผลประโยชน์เข้าประเทศฟินแลนด์และสวีเดน อย่างไรก็ตาม ปัญหาของแรงงานในการเก็บผลไม้ป่าตระกูลเบอร์รี่ที่ผ่านมา ได้แก่ ปัญหาบริษัทรับซื้อให้ราคาต่ำ และปริมาณผลไม้ที่ไม่แน่นอน เนื่องจากเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศและฤดูกาล"รมว.แรงงาน กล่าว

นายเผดิมชัย กล่าวต่อไปว่า เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น ทำให้แรงงานไทยมีรายได้แน่นอนจากการไปเก็บผลเบอร์รี่ ตนจึงเสนอให้มีการประกันความเสี่ยงในเรื่องราคา โดยให้บริษัทที่จัดหาแรงงานไทยเดินทางเข้าไปเก็บผลไม้ จะต้องทำสัญญาประกันรายได้ให้แก่แรงงานเป็นเงิน 100,000 บาทต่อคนในช่วง 3 เดือนที่ไปเก็บผลเบอร์รี่

รมว.แรงงานด้วยว่า ได้สั่งการให้นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.)และ ผอ.สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ (สรต.) สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานไปเจรจากับเอกอัครราชทูตฟินแลนด์และสวีเดนในการ จัดระบบการจ้างแรงงานเก็บผลไม้ป่าตระกูลเบอร์รี่โดยให้ไปโดยผ่านบริษัทจัดหา คนที่ทำสัญญาประกันรายได้เท่านั้นเพราะไม่อยากให้คนไทยที่ต้องการเข้าไปเก็บ ผลเบอรี่ป่าทั้งในสวีเดนและฟินแลนด์เดินทางเข้าไปโดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว เนื่องจากจะไม่มีอะไรเป็นหลักค้ำประกันและดูแลให้ได้รับความเป็นธรรม หากเกิดปัญหาขึ้น

(เนชั่นทันข่าว, 24-9-2555)

 

พนักงานมหา'ลัยได้เฮ รับเงิน 15,000 ย้อนหลัง

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนได้ลงนามในหนังสือเวียนและแจ้งไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เรื่องการของบจัดสรรงบประมาณเพิ่มเพื่อการเบิกจ่ายค่าครองชีพชั่วคราวของ พนักงานมหาวิทยาลัยที่จ้างด้วยเงินงบประมาณแผ่นดินตามนโยบายรัฐบาลที่ให้กับ ผู้จบปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากที่ผ่านมาสำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 ซึ่งเป็นงบกลางให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยวงเงิน 305,150,678 บาท ให้กับมหาวิทยาลัยทั้ง 79 แห่ง จำนวน 13,709 คน

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยที่ได้รับงบประมาณมีดังนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง วงเงิน 119,050,165.00 บาท จำนวน 4,584 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง มหาวิทยาลัยส่วนราชการ 16 แห่ง และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 14 แห่ง ทั้งนี้ พนักงานมหาวิทยาลัยจะได้เงินย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-30 ก.ย.2555 อย่างไรก็ตาม เงินที่ได้ครั้งนี้จะเป็นเงินของพนักงานมหาวิทยาลัยที่ใช้งบประมาณแผ่นดิน จ้างเท่านั้น ส่วนพนักงานมหาวิทยาลัยที่ใช้เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยจ้าง ทางมหาวิทยาลัยต้องใช้เงินมหาวิทยาลัยเอง

(ไทยรัฐ, 24-9-2555)

 

ร้องอปท.อุดรฯปลด-ลดเงินพนง.

ชาวบ้านจากเทศบาลตำบลหนองขอนกว้าง อ.เมือง จ.อุดรธานี กว่า 100 คน นำโดยนายบรรจง เชื้อเพชร อดีตกำนัน ต.หนองขอนกว้าง ขอเข้าพบนายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผวจ.อุดรธานี เพื่อขับไล่ นายกริช ฤทธิลี นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล(ทต.)หนองขอนกว้าง และยื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมให้กับลูกจ้างรวม 4 คน ที่ถูกนายกริช ฤทธิลี นายกเทศมนตรี ทต.หนองขอนกว้าง กลั่นแกล้ง โดยมีนายจีระศักดิ์ คำรณฤทธิศร ปลัด จ.อุดรธานี มารับหนังสือ

นายบรรจง กล่าวว่า  ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน จากนโยบายผู้บริหาร ทต.หนองขอนกว้าง ได้มีคำสั่งเลิกจ้าง และเปลี่ยนพนักงานจ้างตามภารกิจ มาเป็นพนักงานจ้างทั่วไปแบบจ้างเหมา รวม 5 คน ประกอบด้วย นายปิยพงษ์ สุขใจ  คนขับรถ  นายสุวรรณ อินทะมุข คนงาน นายสมศรี สุทา คนงาน ยกเลิกการ่อสัญญาจ้าง และนายจักรพงษ์ เสวตวงษ์  ช่าง นายสุขสันต์ สุวรรณจักร คนขับรถ พนักงานจ้างตามภารกิจ มาเป็นพนักงานจ้างทั่วไป ทั้งที่แต่ละคนทำงานมานานกว่า 10 ปี ทำให้ค่าจ้างที่เคยได้ลดลง ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ

"เทศบาลฯให้เหตุผลว่าค่าใช้จ่ายเกิน 40% โดยมีการนำเรื่องนี้เข้าสู่สภาฯ และสภาฯมีความเห็นว่าให้ปรับพนักงานจ้างตามภารกิจ มาเป็นพนักงานจ้าวทั่วไปทุกคน แต่ผู้บริหารไม่ได้ปฏิบัติตามความเห็นสภาฯ โดเลือกที่จะเลือกเลิกจ้าง และเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างเพียงบางคน จึงเกิดความไม่เห็นธรรมแก่พนักงาน 5 คน เพราะทุกคนไม่ได้กระทำผิดร้ายแรง ญาติพี่น้องของผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงรวมตัวมาร้องเรียนต่อ ผวจ.อุดรธานี "นายบรรจง กล่าว

นายปิยพงษ์ สุขใจ  คนขับรถ ที่ถูกเลิกจ้าง กล่าวว่า ทำงานเป็นพนักงานขับรถมา 12 ปี ตามสัญญาจ้างล่าสุด 4 ปี ซึ่งมีสิทธิได้รับการต่อสัญญา เพราะที่ผ่านมาไม่ได้ทำความผิดร้ายแรง การถูกเลิกจ้างจึงไม่มีความเป็นธรรม โดยเชื่อว่าสาเหตุที่ถูกเลิกจ้าง เพราะฝ่ายบริหารเหลือเวลาอีก 1 ปี 3 เดือน ซึ่งประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งอีกสมัย โดยมีผู้สมัครรายอื่น เริ่มออกรณรงค์หาเสียงแล้ว และเป็นคนบ้านเดียวกัน จึงกลายเป็นเป้าหมายถูกเลิกจ้าง

ด้านนายกริช ฤทธิลี นายก ทต.หนองขอนกว้าง กล่าวว่า ข้อมูลผู้ไปร้องเรียนคาดเคลื่อนไปบ้าง ความจริงคือต้องทำตามนโยบายรัฐบาล วุฒิปริญญาตรีเริ่ม 15,000 บาท ต่ำลงมาเริ่ม 9,000 บาท หรือรายวัน 300 บาท โดยเทศบาลฯ เรามีลูกจ้างสัญญาจ้าง 4 ปี อยู่ราว 20 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่กันมาเป็นสิบปีแล้ว จึงมีเงินเดือน 10,000 -12,000 บาท ขณะที่มีผู้จบปริญญาตรีมากเกินครึ่ง แต่งบประมาณมีจำกัด รัฐบาลไม่ได้อุดหนุนงบประมาณมาให้

นายก ทต.หนองขอนกว้าง กล่าวอีกว่า ลูกจ้างจบปริญญาตรีจะได้เงินเดือน 15,000 บาท ต่ำกว่าปริญญาตรี 9,000 บาท ทั้งหมดไม่ได้ถูกเลิกจ้าง แต่เป็นเรื่องของหมดสัญญา ก็จะไม่มีการต่อสัญญาอีก แต่จะจ้างต่อเป็นเดือดต่อเดือน เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่อยู่กันมานาน เรื่องนี้มีการประชุมชี้แจงเข้าใจกันแล้ว แต่เพราะการเมืองทำให้เรื่องไม่จบ และสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นกับ อปท.ทั่วประเทศ อาทิ เทศบาลบางแห่ง อ.เมืองอุดรธานี เลิกจ้างลูกจ้าพร้อมกันถึง 20 คน แต่หากรัฐบาลอุดหนุนงบประมาณมา เราก็สามารถทำสัญญาได้ใหม่

(โพสต์ทูเดย์, 25-9-2555)

 

พยาบาลทั่วไทยกว่าหมื่นคนนัดหยุดงาน 16 ต.ค. ทวงสัญญาบรรจุข้าราชการ

นางศิริวันต์ ยิ้มเลี้ยง ประธานชมรมผู้บริหารทางการพยาบาลแห่งประเทศไทย รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิจิตร กล่าวว่า พยาบาลทั่วประเทศกว่า 1 หมื่นคน นัดหยุดงานพร้อมกันวันที่ 16 ต.ค.นี้เพื่อชุมนุมใหญ่หน้าทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นโยบายรัฐบาลไม่สร้างความมั่นคงในอาชีพ ที่รับปากหลายครั้งว่าจะบรรจุเป็นข้าราชการแต่ก็ไม่ดำเนินการ ขณะนี้ประเทศไทยกำลังขาดแคลนบุคลากรอาชีพ แพทย์ และ พยาบาล เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนักและมีความรับผิดชอบในความเสี่ยงสูงที่ อาจต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหากมีการรักษาที่ผิดพลาด แม้จะขาดเจตนาก็ตามทำให้เยาวชนที่เรียนเก่งไม่สนใจที่จะสอบเข้าเรียนเป็น พยาบาลวิชาชีพ ปัจจุบันขาดแคลนพยาบาลมากถึง 3 หมื่นคน ส่งผลให้บุคลากรที่มีอยู่ทุกวันนี้ต้องเข้าเวรกันอย่างหนัก บางรายวันหนึ่งๆทำงานกัน 2 รอบ 16 ชั่วโมง ถ้าเป็นวันหยุดยาวจะถูกสั่งห้ามลากิจหรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่พยาบาลป่วย เล็กน้อยก็ต้องลากสังขารมาทำงานล่วงเวลา ทำให้เกิดความเครียดส่งผลให้คุณภาพของงานออกมาไม่เต็มร้อย เพราะการทำงานที่หนักเกินไป

นางศิริวันต์ กล่าวอีกว่า ปัจจัยหนึ่งคือเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการความมั่นคงของอาชีพพยาบาลไม่มี ให้เลย ทุกวันนี้มีถึง 17,000 คน จบปริญญาตรี ทำงานมานานถึง 4-5 ปี ก็เป็นได้แค่เพียงพยาบาลลูกจ้างชั่วคราว ได้เงินเดือนแค่ 1 หมื่นหรือไม่เกิน 12,000 บาท ไม่มีวี่แววว่าจะได้บรรจุเป็นข้าราชการพลเรือน หรือเป็นพนักงานเหมือนกับองค์กรอื่นๆ แถมเงินเดือนค่าจ้างที่ได้ก็ต้องไปเจียดมาจากเงินบำรุงรายหัวจากรัฐบาลที่ มอบให้โรงพยาบาลต่างๆ ทำให้ต้องไปตัดในส่วนของเงินที่จะนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย  ดังนั้นที่น่าเป็นห่วงก็คือ ในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่เปิดกว้างเสรีทางด้านตลาดแรงงาน คาดว่าจะมีพยาบาลของไทยที่มีใบประกอบวิชาชีพย้ายไปเป็นลูกจ้างพยาบาลใน ประเทศสิงคโปร์ที่ตอนนี้มีข้อเสนอมาแล้วว่าจะให้เงินเดือนๆละ 50,000 บาท  ถ้ามีประสบการณ์หรือมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ก็จะได้มากขึ้นกว่านี้ แถมยังมีข้อเสนอสวัสดิการต่างๆมากมาย  จึงน่าเป็นห่วงคุณภาพชีวิตของคนไทยหากรัฐบาลไม่เร่งแก้ไขมีหวังกระทบ กระเทือนด้านการให้บริการทางการแพทย์ทั่วประเทศไทยอย่างแน่นอน

(โพสต์ทูเดย์, 26-9-2555)

 

คปก.ดันกฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านให้เป็นธรรม เสนอเร่งตั้งคณะกรรมการฯ ด้วยวิธีลงคะแนน 1 กลุ่มต่อองค์กร

ายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเรื่อง การตรากฎหมายลำดับรองตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553 เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อให้การบังคับใช้และการออกกฎหมายลำดับรองเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพ.ร.บ. และเพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้รับความเป็นธรรมและมีมาตรฐานชีวิตที่ดี ขึ้น

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายมีความเห็นและข้อเสนอแนะหลายประเด็น คือ ควรเร่งรัดให้กระทรวงแรงงานมีคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ตามมาตรา 25 หากกระทรวงแรงงานยังไม่ดำเนินการตามนี้ จะทำให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านต้องเสียสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะในประเด็นที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำงาน ตามที่กฎหมายกำหนด อาทิ ค่าตอบแทน ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพและค่าทำศพ

ส่วนวิธีการคัดเลือกคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ในส่วนของกรรมการผู้แทนผู้รับงานไปทำที่บ้าน คปก.เห็นว่า ควรใช้วิธีลงคะแนนแบบ 1 กลุ่มต่อองค์กรผู้รับงานไปทำที่บ้านต่อ 1 เสียง โดยคำนึงถึงจำนวนสมาชิกของกลุ่ม หรือองค์กรในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และกระทรวงแรงงานควรกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อแสดงว่ากลุ่มหรือองค์กรดังกล่าวมี อยู่จริง มีการดำเนินงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปีนับแต่วันขึ้นทะเบียนและควรมีหลักฐานประกอบการขึ้นทะเบียน เพื่อให้ได้ผู้แทนผู้รับงานไปทำที่บ้านอย่างแท้จริง นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานควรประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจแก่สังคม ผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านถึงเจตนารมณ์และสาระสำคัญของกฎหมายฉบับ นี้ด้วย

นอกจากนี้ในการร่าง กฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศและคำสั่งตามกฎหมาย ควรส่งเสริมให้องค์กรแรงงานและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม เพื่อให้กฎหมายลำดับรองสอดคล้องกับความเป็นจริง ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 87 เกี่ยวกับนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

อย่างไรก็ตาม ควรให้ความสำคัญกับพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งจากทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพราะเป็นกลไกสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 37 ประกอบกับงานที่รับไปทำที่บ้านมิไดจำกัดอยู่ในรูปแบบของสถานประกอบการเท่า นั้น จึงควรพัฒนากลไกอาสาสมัครแรงงานตามระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยอาสาสมัครแรง งาน พ.ศ.2547 หรือประสานงานกับกลไกอื่นในภูมิภาคหรือชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตลอดจนสหภาพแรงงานในการให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานกับพนักงานตรวจแรง งานด้วย

(คปก., 27-9-2555)

 

"เผดิมชัย" ปิ๊งไอเดียสร้างแฟลตให้แรงงานไทยในมาเก๊าเช่าถูก หลังพบปัญหาค่าเช่าที่พักแพงหูฉี่ 

(27 ก.ย.) ที่เดอะเวเนเชี่ยน เขตปกครองพิเศษมาเก๊า นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวหลังนำคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน เข้าหารือกับ นางรามิเรซ รองประธานฝ่ายบริหารงานบุคคลกลุ่มโรงแรมในเครือเวเนเชี่ยน ว่า ในภาพรวมผู้บริหารเวนเชี่ยนแจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลมาเก๊าจะอนุญาตให้มีการจ้าง แรงงานผ่านในเครือเวเนเชี่ยนเพิ่มขึ้นอีก 4,000-6,000 คน ในจำนวนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะให้โควต้าแรงงานไทยเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าจะได้มากกว่าที่เคยได้รับ ทั้งนี้ทางเวเนเชี่ยนได้ประสานให้กรมการจัดหางานเตรียมบุคคลากรที่มีความ เชี่ยวชาญภาษาจีนกลาง กวางตุ้ง และภาษาอังกฤษ เพื่อเข้าทำงานในโรงแรมและรีสอทร์ทขนาดใหญ่ในเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ยังมีข่าวดีว่าผู้บริหารของโรงแรมในเครือของเอ็มจีเอ็มมีความต้อง การแรงงานไทยเข้าทำงานในด้านโรงแรม 120 อัตรา แต่ยังไม่ได้แจ้งรายละเอียดเรื่องตำแหน่ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงแรงงานต้องไปคัดเลือกคนเพื่อป้อนตลาด ทั้งนี้เบื้องต้นจะพิจารณารายชื่อผู้สมัครที่ขึ้นบัญชีไว้กับกรมการจัดหางาน

นายเผดิมชัย กล่าวต่อว่า ส่วนการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่มาเก๊า หากเป็นไปได้จะประสานให้นายจ้างมาเก๊ามารับสมัครเองโดยตรง รวมถึงกรมการจัดหางานจะเป็นผู้จัดส่งแรงงานไปเองเพื่อไม่ให้มีการเรียกเก็บ ค่าหัวคิว และถ้าตลาดที่นี่ยังบูมต่อเนื่องจะหารือกับสำนักงบประมาณ สำนักงานข้าราชการพลเรือน เพื่อเปิดอัตรากำลังอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายแรงงานที่มาเก๊าอย่างเป็นทางการ รวมทั้งจะให้สำนักงานประกันสังคมไปพิจารณาโครงการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับ แรงงานไทยในมาเก๊า โดยจะเป็นการลงทุนซื้ออาหารที่พักขนาด 4,000-5,000 คน ให้แรงงานเช่าพักอาศัยในอัตราที่เป็นธรรม เนื่องจากแรงงานที่มาทำงานที่นี่มีปัญหาในเรื่องที่อยู่อาศัยมีราคาสูงมาก ทั้งนี้อาคารดังกล่าวจะถือเป็นทรัพย์สินของรับบาลไทย นอกจากนี้กระทรวงแรงงานจะเดินทางไปเปิดตลาดแรงงานในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิ เรตส์ กาตาร์ และอินเดีย ต่อไป.

(เดลินิวส์, 27-9-2555)

 

เด็กแว้นส้มหล่น!งานมาเกย กลุ่มยานยนต์เห็นฝีมือเตรียมปั้นเป็นช่างใหญ่

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์มีความสนใจที่จะร่วมมือกับ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำเด็กแว้นมาพัฒนาฝีมือ เพื่อเข้าสู่แรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือ และแก้ปัญหาสังคม เนื่องจากกลุ่มเด็กแว้นส่วนใหญ่ มีความสามารถพิเศษเกี่ยวกับการตกแต่งยานยนต์ จึงใช้เวลาในการพัฒนาให้เป็นช่างเร็วกว่าบุคคลทั่วไป

"เด็กกลุ่มนี้ยอมรับว่าเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพมาก โดยเฉพาะเรื่องการตกแต่งยานยนต์ แต่ส่วนใหญ่ไปใช้ในทางที่ผิด สร้างความเดือดร้อนให้สังคม ภาคเอกชนจึงมีแนวคิดที่จะเข้าไปช่วยสนับสนุนให้เด็กแว้นให้มีงานทำและสร้าง ประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม โดยงานที่เหมาะกับเด็กแว้นหากสามารถพัฒนาฝีมือได้ เช่น เป็นช่างในธุรกิจการตกแต่งรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือบริษัทที่มีการแข่งรถประเภทต่างๆที่ถูกต้องตามกฎหมาย"

นายศุภรัตน์กล่าวว่า สำหรับแรงงานในส่วนของค่ายรถยนต์ในปัจจุบันมีประมาณ 100,000 คน และมีความต้องการเพิ่มอีก 10,000-20,000 คน รองรับการผลิตในอนาคต หลังจากที่ค่ายรถยนต์หลายค่ายได้ขยายกำลังการผลิต เพราะในปีนี้มั่นใจว่าจะผลิตรถยนต์ได้ 2.3 ล้านคัน และจะเพิ่มเป็น 2.5 ล้านคันในปี 2556

นายนคร ศิลปอาชา รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานก็มีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้กลุ่มเด็กแว้นเข้าอบรมพัฒนาฝีมือ แรงงาน เพราะมั่นใจว่าเด็กกลุ่มนี้มีศักยภาพและสามารถเป็นช่าง ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนได้ เพราะต้องการให้ผู้ปกครองและสังคมให้โอกาสเด็กกลุ่มนี้ได้มีโอกาสได้เข้าไป เรียนหนังสือและทำงานเพื่อสร้างชีวิตที่ดีในอนาคต "ในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีแรงงานอยู่ 700,000 คน จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาแรงงานให้มีขีดความสามารถตรงความ ต้องการของโรงงาน ดังนั้นกระทรวงฯมีนโยบายที่จะทำยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังแรงงานในอุตสาหกรรม ประเภทรองรับการขยายตัวในอนาคต".

(ไทยรัฐ, 28-9-2555)

 

สพฐ.ขาดครู 200,000 อัตราขออนุมัติเพิ่ม 23,123 อัตรา

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าที่ประชุมได้เห็นชอบการปรับเพิ่มกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเพิ่มเติมใน ปีงบประมาณ 2556-2559 ซึ่งได้มีการเสนอให้ปรับเพิ่มอัตรากำลังอีกจำนวน 2,940 อัตรา โดยเพิ่มไปในกรอบอัตราพนักงานราชการกลุ่มงานบริหารทั่วไป ตำแหน่งครูผู้สอน จากกรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้เดิม 20,183 อัตรา ทำให้มีกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการกลุ่มดังกล่าวรวม 23,123 อัตรา ซึ่งจำแนกเป็นอัตรากำลังที่ทดแทนลูกจ้างประจำที่มีลักษณะไม่ใช่งานจ้าง เหมาบริการ 425 อัตรา และทดแทนลูกจ้างชั่วคราว 22,698 อัตรา

สำหรับกรณีที่จะมีข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. จะเกษียณอายุราชการปรกติและเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือระหว่างปี 2555-2565 เป็นจำนวนมากนั้น เป็นเรื่องของนโยบายว่าจะมีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดของ สพฐ. ได้ประเมินว่าจะมีข้าราชการครูในสังกัด สพฐ. หายไปประมาณ 200,000 กว่าคน จากจำนวนทั้งหมดในปัจจุบันประมาณ 430,000 กว่าคน

"เรื่องนี้ถือเป็นวิกฤตการณ์ในอนาคตที่จะต้องมีนโยบายออกมาว่าจะบริหาร จัดการอย่างไร และคิดว่าคงไม่สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบปรกติอย่างที่เคยทำ อย่างการที่ สพฐ. ใช้วิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุข้าราชการครูเข้ามาทดแทนต้องใช้ระยะเวลา นานกว่าที่ข้าราชการครูจะสั่งสมประสบการณ์จนมีคุณภาพในการจัดการเรียนการส อน"

(โลกวันนี้, 28-9-2555)

 

สิ่งทอภูธร จ่อลอยแพแรงงาน เหตุค่าแรง 300

นายสุกิจ คงปิยาจารย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยหลังร่วมเปิดงาน "เสื้อผ้าส่งออกแฟร์ 2012" ว่า อุตสาหกรรมฯ อาจต้องลดขนาดการผลิตของโรงงานในต่างจังหวัดซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาค อีสานมีการจ้างแรงงาน 90,000-100,000 คน และมีผู้เกี่ยวเนื่องกับแรงาน เช่นครอบครัวอีก 400,000 คน หากคณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการไตรภาคี ที่ให้ขึ้นค่าแรงงานวันละ 300 บาททุกจังหวัด เพราะอุตสาหกรรมไม่สามารถแบกรับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทันทีได้จำเป็น ต้องลดต้นทุนการผลิต หรือย้ายฐานการผลิตมาในกรุงเทพซึ่งมีต้นทุนค่าแรงงานเท่ากับที่ต่างจังหวัด แต่แรงงานในกรุงเทพมีความเชี่ยวชาญกว่าและใกล้แหล่งส่งออกสินค้า หากเป็นเช่นนี้ จะทำให้โครงสร้างการจ้างงานของไทยผิดพลาดเพราะจากเดิมจะให้ต้องการให้ภาค อุตสาหกรรมกระจายตัวไปยังภูมิภาค แต่ทันทีที่ค่าจ้างแรงงานมีอัตราเท่ากันจะทำให้ทิศทางการจ้างงานภาค อุตสาหกรรมจะกลับมากระจุกตัวในกรุงเทพ

"ถ้าค่าแรงงานขึ้น 40% จะทำให้โรงงานในต่างจังหวัดของเราไม่สามารถตอบโจทย์การผลิตที่ต้องการลดต้น ทุนเพราะไม่มีความแตกต่างกับค่าจ้างในกรุงเทพ ทำให้หลายโรงงานต้องลดกำลังการผลิต และอาจปิดตัวในที่สุด ซึ่งผลกระทบแรกที่จะได้รับคือแรงงานเกือบ 1 แสนคนในภาคอีสานจะได้รับผลกระทบทันที รวมถึงครอบครัวแรงงานกว่า 4 แสนคนด้วย จึงอยากให้ครม.อย่าเพิ่มเห็นชอบการปรับขึ้นค่าแรงงาน 300 บาทใน 70 จังหวัดทั่วประเทศ"นายสุกิจ กล่าว

ทั้งนี้ ภาคเอกชน ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ต่างแสดงความเห็นตรงกันให้รัฐบาลใช้วิธีทยอยขึ้นค่าแรงงานอัตรา 13-14% จากฐานปัจจุบัน และกำหนดให้ค่อยๆปรับเพิ่มขึ้นภายใน 2-3 ปีเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวได้และสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในอุตสาหกรรม เดียวกันนี้ทั้งที่อินโดนีเซีย และเวียดนาม

นายสุกิจ กล่าวว่า สมาคมฯได้มีการหารือภายในเพื่อการปรับตัวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคการผลิต ขณะนี้ เบื้องต้น แจ้งให้สมาชิกคงราคาขายสำหรับปีหน้าให้เท่ากับปีนี้ไว้ก่อนเพื่อดึงลูกค้า ไว้ จากนั้นให้ใช้วิธีการลดต้นทุนการผลิตเพื่อรักษาสัดส่วนกำไรที่สามารถให้ ธุรกิจอยู่ได้ไว้ก่อน รวมถึงอธิบายให้ลูกค้าปลายทางเข้าใจความจำเป็นการปรับขึ้นค่าแรงงานในประเทศ ไทยว่าเป็นเหตุผลทางการเมืองซึ่งภาคอุตสาหกรรมจะปรับตัวรับมือให้ได้และหลีก เลี่ยงการขอปรับขึ้นราคาให้ได้มากที่สุด

สาเหตุที่ไม่สามารถปรับราคาขายได้เนื่องจากขณะนี้ ลูกค้าในต่างประเทศซึ่งกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต้องการหาแหล่งนำ เข้าสินค้าใหม่ที่มีต้นทุนการผลิตแข่งขันได้ หากไทยปรับราคาขายในช่วงนี้ คำสั่งซื้อจะไปอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านและโอกาสที่จะกลับมาที่ไทยอีกจะน้อย มาก นอกจากนี้ อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญการสร้างแต้มต่อทางการค้าผ่านการเจรจาข้อตกลงการ ค้าเสรีต่างๆ โดยเฉพาะเอฟทีเอไทย-ยุโรป และการเข้าเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ทีพีพี ที่จะทำให้สินค้าไทยเข้าตลาดสหรัฐโดยมีแต้มต่อไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าอัตรา เฉลี่ย 10-30% เช่นเดียวกับตลาดยุโรปหากการเจรจาเป็นผลสำเร็จก็จะทำให้ไทยไม่ต้องเสียภาษี นำเข้า 12%

 "หากปล่อยให้สานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป การเข้ามาสั่งซื้อสินค้าจากไทยจะไม่มีอะไรน่าดึงดูดเพราะปีนี้ต่อเนื่องถึง ปีหน้าสิ่งที่อุตสาหกรรมส่งออกต้องเผชิญคือ เงินบาทแข็งค่าจากมาตรการคิวอี 3 ค่าแรงงานเพิ่มขึ้น และสภาพตลาดอ่อนตัวจากภาวะเศรษฐกิจทำให้ปีนี้ คาดว่าจะติดลบ 10% มูลค่า 2,900-3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปี 2556 คาดว่าการส่งออกจะไม่ขยายตัว ซึ่งจะทำได้ก็ต้องอาศัยความพยายามอย่างสูงและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน" นายสุกิจ กล่าว

การส่งออกสินค้าเครื่องนุ่งห่มไทย ปี 2554 มูลค่ารวม3,275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2.16% ตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ สหรัฐ มูลค่า 1,142 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สหภาพยุโรป (27) มูลค่า 998.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ญี่ปุ่น มูลค่า 325 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอาเซียน (9) มูลค่า 148 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

(กรุงเทพธุรกิจ, 29-9-2555)

 

ลูกจ้าง ทน.สงขลานับร้อยประท้วงถูกเลิกจ้างหน้าจวนผู้ว่าฯ

วันนี้ (29 ก.ย.) ลูกจ้างคนงานของเทศบาลนครสงขลากว่า 200 คน รวมตัวชุมนุมประท้วงที่ตำหนักเขาน้อย จวนผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา หลังจากที่ทางเทศบาลนครสงขลาเลิกจ้าง และให้เข้าไปทำงานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด กาญจนมาศ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทที่ทางเทศบาลนครสงขลาจ้างเหมาให้เข้าดำเนินการงานสวนสาธารณะ และงานสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะรับผิดชอบงานแทนเทศบาลนครสงขลา

โดยลูกจ้างคนงานกลัวว่าจะเสียสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ ทั้งในเรื่องของรายได้ ค่ารักษาพยาบาล สิทธิตามหลักประกันสังคม รวมทั้งจะมีการทดลองงาน 3 เดือน หากไม่ผ่านก็จะมีหลักประกัน โดยต้องการให้ทางเทศบาลนครสงขลามีการจ้างทั่วไป และจ้างเหมาคนงานแบบเดิม ถึงแม้จะได้รับเงินค่าจ้าง 6,500 บาทต่อเดือนก็ตาม และหากให้ทำงานกับบริษัทใหม่จะต้องมีการแก้ไขสัญญาจ้างให้ลูกจ้างมีสิทธิ ประโยชน์ และสวัสดิการแบบเดียวกับที่ทางเทศบาลนครสงขลา

เบื้องต้น นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้มาพบกับตัวแทนลูกจ้างคนงาน เพื่อรับทราบปัญหาความเดือดร้อน และประสานผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งหาทางออกร่วมกัน และล่าสุด ทางเทศบาลนครสงขลาได้เรียกตัวแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด กาญจนมาศ กรุ๊ป มาทำการเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างใหม่ เพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกับของทางเทศบาล เนื่องจากพบว่า สัญญาเดิมเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ทำกับแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบแรงงานไทย สร้างความพอใจให้แก่ลูกจ้างในระดับหนึ่ง และสลายตัวไปอย่างสงบ

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 29-9-2555)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สรุปปาฐกถาเกษียร เตชะพีระ: นักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร

Posted: 30 Sep 2012 12:26 AM PDT

วิดีโอและสรุปปาฐกถา เกษียร เตชะพีระ ในงานเสวนานิติราษฎร์ 2 ปีนิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร มุมมองจากนักรัฐศาสตร์ที่มองพัฒนาการบทบาทของนักกฎหมายในการสร้างความชอบธรรมให้รัฐประหาร หน้าที่ในเชื่อมรอยต่อเผด็จการกับประชาธิปไตยให้เรียบเนียน โดยยึดถือการดำรงอยู่และอำนาจของสถาบันกษัตริย์

คลิปการอภิปรายของเกษียร เตชะพีระ หัวข้อ นักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร

30 ก.ย. 55 เกษียร เตชะพีระ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาในงาน "นิติราษฎร์เสวนา: 2 ปี นิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร" ในหัวข้อ นักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร

เกษียร กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของนักกฎหมายไทยกับรัฐประหารเหมือน "ผีเน่ากับโลงผุ" คือ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับภาชนะเครื่องมือที่ไม่เลือกนาย คือ ต่อให้เป็นผีเน่าก็ช่าง ถ้าเรียกใช้บริการของโลงผุแล้ว โลงผุก็พร้อมจะสนองรับใช้ ซึ่งผลของมันก็คือ หลักนิติธรรมของรัฐก็ผุผังสึกกร่อนกันไปหมด

โดยเกษียร ได้หยิบยกบทกลอนของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่เขียนถึงผีเน่ากับโลงผุว่า

ฉันนั้นความเปื่อยเน่าเป็นของแน่ ย้อมเกิดแก้ความนิ่งทุกสิ่งสม
แต่แล้วความเน่าในเปือกตม ก็ผุดพรายให้ชมซึ่งดอกบัว

"ผมคิดว่านิติราษฎร์ คือ ดอกบัวที่ผุดพรายขึ้นมาจากความเปื่อยเน่า" เกษียรกล่าว

เกษียรกล่าวถึงประเด็นนักกฎหมายกับการรัฐประหาร โดยอ้างคำพูดของ ไพศาล พืชมงคล กับการรัฐประหาร คปก. ไพศาลเป็นนักกฎหมายคดีการเมือง อดีตนักเคลื่อนไหวสมัย 14 ต.ค. 6 ต.ค. ไพศาลจับภาพความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างนักกฎหมายกับรัฐประหารอย่างชัดเจน มีชีวิตชีวา ซึ่งความตอนหนึ่งระบุว่าต้องเดินทางเขาไปยังกองบัญชาการทหาร โดยมีโน้ตบุ๊กและตำรารวมทั้งกฎหมายต่างๆ อย่างฉุกเฉินกลางดึก

ทำไมทหารต้องการนักกฎหมายเวลาก่อรัฐประหาร  เกษียร เตชะพีระ กล่าวว่า ศาสตราจารย์ เฟรด วอเรน ริกส์ เสนอว่าการเมืองไทยเป็นอำมาตยาธิปไตย โดยมีความสัมพันธ์แบบสนธิพลังร่วมระหว่างทหารกับข้าราชการพลเรือน คือทหารเท่านั้นที่ยึดอำนาจได้เพราะมีกำลังอาวุธ ขณะที่ข้าราชการพลเรือนไม่มี แต่แม้ทหารจะขึ้นเป็นผู้นำก็ต้องอาศัยข้าราชการพลเรือนที่จะสามารถทำในสิ่งที่ทหารขาด คือ ความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ด้านเทคนิคอันสลับซับซ้อน เช่น ต้องออกประกาศคำสั่ง ต้องร่างรัฐธรรมนูญ วางแผนเศรษฐกิจ การทูต ฯลฯ ทหารจึงต้องแบ่งอำนาจให้ข้าราชการพลเรือน เนติบริการ รัฐศาสตร์บริการ เทคโนแครตการคลังการเงิน ผีเน่าจึงต้องการโลงผุด้วยประการฉะนี้

เกษียรยังกล่าวถึงสองสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่จากการปฏิวัติ2475 คือ นิติรัฐ และการใช้กำลังทหารยึดอำนาจ  ในช่วงของรัฐบาลจอมพล ป.จะพบว่ามีความพยายามประสานสองหลักนี้ คื มีหลักนิติรัฐอยู่และเหนี่ยวรั้งไม่ให้เป็นเผด็จการ ตลอดสมัยรัฐบาลจอมพลป. จะดีจะชั่วหลักนิติรัฐยังมี แต่ยังมีการใช้กำลังบังคับ ไม่ว่าจะเป็นศาลพิเศษหรือออกกฎหมายพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่มันยังมีสมดุลบางอย่างระหว่างของใหม่สองอย่างที่เป็นไปได้ว่าจะขัดกัน

ดุลมาเสียไปหลัง 2490 เข้าสู่ยุคจอมพล ป. สมัยสอง เหลือแต่จอมพล ป. คณะทหารและเผ่า ศรียานนท์ มาคุมตำรวจ เริ่มมีการใช้อำนาจเถื่อนของผู้รักษากฎหมายโดยเฉพาะตำรวจ มีการใช้กำลังบังคับ จี้ลักพาตัว ฆ่าปิดปาก โดยพลตำรวจอัศวินแหวนเพชร และการฆาตกรรมทางการเมืองก็เริ่มอย่างเป็นเรื่องเป็นราว คนที่เคยเห็นหน้าค่าตาลุกขึ้นมาฆ่ากันเป็ฯว่าเล่นเป็นสิบๆ ศพ มีการฆ่าทางการเมือง ปูทางไปสู่จุดสุดยอดในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คือ ไปสู่ยุค 'กฎหมายนั้นหรือก็คือกู' มีการใช้กำลังบังคับด้วยอำนาจเผด็จการ ยิงเป้า จับคนขังคุก ยึดทรัพย์ ปฏิวัติ และสุดท้ายการฆ่ากันทางการเมืองได้ขยายมาสู่การฆ่าประชาชนซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายทางการเมือง เช่น กรณีถีบลงเขาเผาลงถังแดง

นี่คือหลัก The Rules of Law กลายมาเป็น The Rules of กู, มีการบัญญัติมาตรา 17 ในธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 ที่ระบุว่าให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย นี่คือการทำให้หลักกูกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอย่างเป็นระบบ และเมื่อกระทำการใดๆ แล้วก็แจ้งให้สภาทราบ เช่นยิ่งเป้าคนแล้วค่อยมาบอกสภา

อะไรคือผลของมาตรา 17 มันคือการรวบอำนาจบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการไว้ในมือนายกรัฐมนตรีคนเดียว มันคือการทำให้อำนาจอาญาสิทธิ์แก่คนๆ เดียวได้ปกครองอย่างไม่มีใครขัดขวางได้ กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยเอาไปบัญญัติไว้ในมาตรา 17 จะบัญญัติเช่นนั้นได้ต้องใช้นักกฎหมาย นักกฎหมายจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสถาปนาหลักกูแทนที่หลัก The Rules of Law เกิดนิติธรรมอย่างไทยขึ้น

เกษียร กล่าวว่า อาจารย์เสน่ห์ จามริก ชี้ไว้ในหนังสือการเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญว่า บรรดาประกาศ คำสั่งคณะปฏิวัติที่ก่อโดยคนถือปืน ได้รับการปฏิบัติต่อจากนักกฎหมายว่า ศักดิ์สิทธิ์เทียบกฎหมายที่ผ่านสภาฯ โดยชอบ นี่เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของนักนิติศาสตร์ไปอย่างมหาศาล ซึ่งปรีดี พนมยงค์เคยกล่าวว่า หน้าที่ของนักกฎหมายคือการอธิบายหลักที่ว่าด้วยสิทธิของมนุษยชนอันจำเป็นสูงสุดในการศึกษากฎหมายปกครอง และยืนยันว่ากำเนิดแห่งระบอบรัฐธรรมนูญไทยเป็นข้อตกลงหรือสัญญาอันเป็นพระราชประสงค์ของพระปกเกล้าฯ ที่เป็นแม่บทสำคัญ ไม่อาจถวายคืนได้

แต่หลักการนี้ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยนักนิติศาสตร์ในระบอบประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาฯ เช่นบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, มีชัย ฤชุพันธ์, วิษณุ เครืองาม นำเสนอตีความว่ากำเนิดแห่งรัฐธรรมนูญไทยนั้นเป็นพระบรมราชานุญาต และดังนั้นการถวายพระราชอำนาจคืน ในความหมายถวายอำนาจอธิปไตยคืนจึงเป็นไปได้ในหลักกฎหมายและทำได้ในความเป็นจริง และยังได้อธิบายความชอบธรรมแห่งธรรมราชา จนหลักเหล่านี้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติส่วนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญไทย

"ฝรั่งนั้นเสมอภาคกันแบบลูกกำพร้าไม่มีพ่อ ไม่สามารถซาบซึ้งกับหลักพ่อปกครองลูกแบบไทยๆ ได้" เกษียรกล่าว

เขากล่าวด้วยว่า บทบาทสำคัญของนักกฎหมายกลุ่มนี้คือ หนึ่ง เป็นช่างเทคนิคด้านอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ โดยนักกฎหมายเหล่านี้มีความสามารถเป็นพิเศษในการจำกฎหมายจำนวนมาก ใครๆ ต้องวิ่งไปหามีชัย บวรศักดิ์ วิษณุ บุคคลเหล่านี้ก็จะไปนั่งตำแหน่งสำคัญด้านกฎหมายเป็นประจำ เป็นการส่งต่อกัน ไม่ว่าจะเป็น เลขานายก รองนายกฯ และคณะกรรมการกฤษฎีกา เรียกว่า เป็นช่างเทคนิคด้านอำนาจอธิปไตย

สอง นักกฎหมายเหล่านี้จะเกลี่ยเชื่อมรอยต่อการเมืองการปกครองระหว่าง ประชาธิปไตยกับเผด็จการ คือไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็ล้วนมีสิ่งเดียวกัน คือมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งสิ้น ดังนั้นการเปลี่ยนระบอบที่เป็นเรื่องใหญ่ในที่อื่นๆ จึงเป็นเรื่องเกลี่ยเชื่อมได้โดยรักษาสถาบันและความมั่นคงของสถาบันไว้เป็นหลัก โดยอ้างงว่าสถาบันกษัตริย์เป็นที่สถิตของอำนาจอธิปไตย การเปลี่ยนผ่านจึงลื่น เนียน  เพราะมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักยึดอยู่ ท่านเหล่านี้ยังประสานหลักนิติธรรมกับอำนาจธรรมราชา แสดงออกเป็นรูปธรรมในปรากฏการณ์ 'ตุลาการภิวัตน์' ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เรื่องที่ผิดปกติหรือเป็นความเจ็บป่วยทางสังคมนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นธรรมชาติของ 'ความเป็นไทย' ไป

ปัญหา เกิดคือเมื่อมีนักกฎหมายที่ไมเห็นด้วย คือนิติราษฎร์ ซึ่งเป็น 'ปีศาจของธรรมศาสตร์' ดูง่ายๆ ก็คือ หาที่จัดงานยาก ต่างกับการจัดเวทีแบบอื่นๆ เช่น จะต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างไร แต่หัวข้อที่นิติราษฎร์จัดคือ การต่อต้านรัฐประหาร และมีอะไรบางอย่างที่แปลกใหม่ไม่เป็นที่คุ้นเคยในงานวิชาการ เช่น ก่อนเวทีเริ่มจะมีการเอาขนมไหว้พระจันทร์ หรือเอาหนังสือมาให้อ.วรเจตน์เซ็นต์ชื่อ

นอกจากนี้สิ่งที่นิติราษฎร์ทำนั้นผิดหลักธรรมชาติ ธรรมดาของนักกฎหมาย และแปลก คือไม่ยอมรับอำนาจของการรัฐประหาร ขณะที่รูปแบบกิจกรรมของนิติราษฎร์โดยเฉพาะในระยะหลัง เริ่มนำเสนอหัวข้อที่แหลมคมขึ้น เช่นการลบล้างผลพวงรัฐประหาร 

เกษียรกล่าวถึงข้อเสนอต่อนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ระบุว่า คำขวัญของนิติราษฎร์ คือ 'นิติศาสตร์เพื่อราษฎร' นั้น น่าคิดต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้เป็น 'ธรรมศาสตร์เพื่อราษฎร'  เพราะนิติราษฎร์ไม่ได้โดดเดี่ยว หรือไม่มีเพื่อนมิตรที่เห็นด้วย แต่ควรมีการขยายแวดวงการเสวนาทางวิชาการ และรูปแบบอื่น ไม่เฉพาะการจัดตลาดวิชาการเพื่อมวลชน โดยกระบวนการนั้น นิติราษฎร์และเพื่อนนักวิชาการจะได้แลกเปลี่ยนและปรับแนวคิดให้หลากหลายขึ้น ไปสู่รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร เศรษฐศาสตร์เพื่อราษฎร ประวัติศาสตร์เพื่อราษฎร วารสารศาสตร์เพื่อราษฎร เพื่อกลับไปสู่จิตวิญญาณเดิมของมหาวิทยาลัยแห่งนี้คือ ธรรมศาสตร์ทั้งธรรมศาสตร์เพื่อราษฎร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น