โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

‘พีมูฟ’ ชี้ 1 ปี ‘รัฐบาลยิ่งลักษณ์’ ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาคนจน

Posted: 26 Sep 2012 01:51 PM PDT

 

เปิดสรุปข้อมูล 1 ปี ความล้มเหลวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับการแก้ไขปัญหาของคนจน พร้อมประกาศ 1 ต.ค.นี้ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) จะมาทวงคืนนโยบายคนจน ด้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินอีสานร้องชาวบ้านยังถูกเจ้าหน้าที่รัฐข่มขู่ คุกคาม
 
วันนี้ (26 ก.ย.55) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ จัดแถลงข่าวที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา บริเวณสี่แยกคอกวัว เผยความล้มเหลว 1 ปีในการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่นำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ต.ค.2555 นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการเจรจาดังกล่าว และระบุว่าทางเครือข่ายจะเดินทางมาปักหลักรอฟังคำตอบจากรัฐบาลอย่างสงบ
 
การแถลงข่าวมีการอ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 15 "1 ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับความล้มเหลว ในการแก้ไขปัญหาของคนจน โดยระบุว่า นับตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมซึ่งเป็นเครือข่ายของเกษตรกรรายย่อยและคนจนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดในอดีต โดยได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อให้สานต่อการแก้ไขปัญหามาแล้วหลายครั้ง โดยที่ผ่านมารัฐบาลนี้ได้ตอบสนองข้อเรียกร้อง ด้วยการบรรจุไว้ในนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2554 อาทิ นโยบายข้อ 4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ในเรื่องนโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม และการให้โอกาสประชาชนที่มีฐานะยากจนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง 
 
ข้อ 5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการสนับสนุนการจัดการอย่างมีส่วนร่วมและให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันในลักษณะที่ทำให้คนมีภารกิจดูแลป่าให้มีความยั่งยืน โดยการปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ 5 ฉบับให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากร ให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย รวมทั้งการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน และนโยบายข้อที่ 8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยการส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือคนจนและคนด้อยโอกาส 
 
การแถลงนโยบายดังกล่าวผูกพันให้รัฐบาลต้องดำเนินการ และต่อมารัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยมีรองนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นอีกจำนวน 10 คณะเพื่อใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแต่ก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้
 
 
จี้ 'ยิ่งลักษณ์' เปิดโต๊ะเจรจา หลังแก้ปัญหาไม่คืบ
 
แถลงการณ์ระบุด้วยว่าตลอดช่วงเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการติดตามและผลักดันให้กลไกการแก้ไขปัญหาทั้งคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ ดำเนินการตามข้อตกลงและแนวทาง เพื่อสานต่อการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงเป็นรูปธรรม แต่ในท้ายที่สุดจนถึงปัจจุบันกลับพบกับอุปสรรคในการแก้ไขปัญหา อันเกิดจากความตั้งใจของผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานราชการ ที่ไม่ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง 
 
ขณะที่หลายกรณีปัญหา เช่น การจัดให้มีโฉนดชุมชนและการจัดตั้งสถาบันธนาคารที่ดิน ได้ถูกแช่แข็ง และแปลงหลักการจนผิดเพี้ยน ขณะที่หลายกรณีปัญหามีข้อยุติไว้ชัดเจนแล้ว แต่กลับถูกขัดขวางจากระบบราชการที่ล้าหลัง และทัศนคติของบุคคลากรของรัฐที่ไม่ยอมรับการมีส่วนร่วมของประชาชนทำให้ไม่สามารถเดินหน้าแก้ไขปัญหาต่อไปได้ เช่น กรณีโครงการบ้านมั่นคง กรณีคนไทยพลัดถิ่น และกรณีเขื่อนปากมูล ในขณะที่อีกกว่า 500 กรณีปัญหาก็ยังคงย่ำอยู่กับที่ 
 
"ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ขอยืนยันว่า 1.นโยบายการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลต่อปัญหาของพวกเรามีความชัดเจน แต่รัฐบาลไม่ยอมนำไปปฏิบัติ 2.รัฐมนตรีบางคน และหน่วยงานราชการบางหน่วยงาน บิดเบือน และมีการแปลงสาร โดยไม่คำนึงถึงการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก 3.แนวทางที่มีอยู่แล้วถูกล้มเลิก และมีการขัดขวางการดำเนินงาน"
 
ข้อเรียกร้องของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมต่อรัฐบาลให้เร่งดำเนินการ มีดังนี้ 1.รัฐบาลต้องปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว 2.นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้กำกับและผลักดันการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง 3.รัฐบาลต้องปรับปรุงกลไกการแก้ไขปัญหาให้สามารถปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาได้จริง
โดยรัฐบาลจะต้องเปิดการเจรจาขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ต.ค.2555 นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมี
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการเจรจาดังกล่าว โดยทางเครือข่ายจะเดินทางมาปักหลักรอฟังคำตอบจาก
รัฐบาลอย่างสงบที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
 
 
แจงประเด็นความล้มเหลวในเชิงนโยบายของรัฐบาล
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการจัดแถลงข่าวดังกล่าว ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ยังมีการเผยแพร่ข้อมูล "สรุปความล้มเหลว 1 ปีกลไกการแก้ปัญหาร่วมกับรัฐบาล" (ตามเอกสารแนบ) และความล้มเหลวในเชิงนโยบายของรัฐบาล ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 

ความล้มเหลวในเชิงนโยบายของรัฐบาล

ประเด็น

ความเป็นมา (ความเดิม)

ผลการดำเนินงาน

ปัญหา/อุปสรรค

ข้อเสนอ

การดำเนินงานเรื่องโฉนดชุมชน

-เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยผลักดันให้รัฐบาลดำเนินการจัดโฉนดชุมชน ให้แก่ชุมชนที่ประสบความเดือดร้อนด้านการเข้าถึงสิทธิในที่ดิน ซึ่งเป็นแนวคิดดั้งเดิมของภาคประชาชนที่คิดค้นริเริ่มตั้งแต่พ.ศ.๒๕๔๑ โดยเป็นหลักการภายใต้สิทธิชุมชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐

-มีการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.๒๕๕๓ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ดินที่ยั่งยืนและเป็นธรรม

-ขปส.ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรสานต่อนโยบายโฉนดชุมชน และให้มีการผลักดันเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ

-หลังจากการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯมีชุมชนที่เดือดร้อนและยื่นคำขอจัดให้มีโฉนดชุมชนจำนวน ๔๓๕ ชุมชน ในพื้นที่ ๔๗ จังหวัด

-มีชุมชนที่ผ่านการอนุมัติให้จัดโฉนดชุมชนโดยคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน(ปจช.) แล้วจำนวน ๕๕ ชุมชน

-มีชุมชนที่รับการจัดให้มีโฉนดชุมชนแล้วจำนวน ๒ ชุมชน คือชุมชนคลองโยง จ.นครปฐม และชุมชนแม่อาว จ.ลำพูน

-มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ โดยเปลี่ยนประธานจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย และส่งผลให้เป็นการยกเลิกคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนชุดเดิม

-๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ ขปส.เข้าเจรจากับรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) โดยรองนายกฯให้คำยืนยันจะดำเนินการสานต่อโฉนดชุมชนต่อ

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.) ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้เร่งรัดการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน โดยเสนอรายชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินการโฉนดชุมชนเข้าเป็นคณะกรรมการ และเร่งรัดให้มีการเปิดประชุมพิจารณาการจัดให้มีโฉนดชุมชนโดยเร่งด่วน แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผลความคืบหน้าใดๆในเรื่องดังกล่าว

-มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ อนุมัติงบประมาณจำนวน ๕๐ ล้านบาทเพื่อให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการตามโครงการปราบปรามการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่ต้นน้ำลำธารเพื่อปลูก
ไม้ยางพาราในท้องที่จังหวัดภาคใต้ ซึ่งจะเป็นการขัดขวางการดำเนินงานโฉนดชุมชนในพื้นที่

 

 

-เร่งรัดการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน(ปจช.)

-ผลักดันให้ระเบียบสำนักนายกฯเป็นกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติเพื่อการบังคับใช้ได้ทั่วไป

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน พ.ศ.๒๕๕๓

ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยได้เสนอข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ขอให้มีการแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎร โดยเสนอให้มีการดำเนินการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินและการไม่สามารถเข้าถึงที่ดินของเกษตรกรรายย่อยและคนยากจนอย่างยั่งยืน ด้วยการดำเนินการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน เพื่อเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเกี่ยวกับที่ดินโดยตรง โดยใช้งบประมาณ จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท       

 

๑) คณะรัฐมนตรีมีมติ  เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน(องค์การมหาชน) พ.ศ. ....  ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปดำเนินการเพิ่มเติมบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ....  ซึ่งอยู่ในระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  โดยให้มีการจัดสรรรายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) และธนาคารที่ดินที่จะตรากฎหมายขึ้นต่อไปด้วย

๒) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลใช้บังคับแล้ว วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔

๓)ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน

 

 

ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อที่ดินให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ยากไร้ที่ดินตามโครงการนำร่องงบประมาณ ๑๖๗ ล้านบาทได้ รวมทั้งเป้าหมายอื่นๆตามพระราชกฤษฎีกาได้

-ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน ภายใต้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน พ.ศ.๒๕๕๔ โดยให้ผู้แทนของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ขปส.)เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในสัดส่วนผู้แทนองค์กรชุมชน

-ผลักดันการจัดตั้งธนาคารที่ดินโดยให้มีเป้าหมายเพื่อการกระจายการถือครองที่ดินให้แก่คนจนและผู้ด้อยโอกาส และจัดสรรที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

-ผลักดันภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าเพื่อเป็นช่องทางในการกระจายการถือครองที่ดิน และนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการเก็บภาษีเป็นกองทุนในธนาคารที่ดิน

โครงการนำร่องธนาคารที่ดิน งบประมาณดำเนินการ ๑๖๗ ล้านบาท

 

๑) มติคณะรัฐมนตรี ๒๒ กุมภาพันธ์ และ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ เห็นชอบให้มีการดำเนินงานโครงการนำร่องแก้ไขปัญหาที่ดินของเกษตรกรรายย่อยไทยเข้มแข็ง ภายใต้นโยบายกองทุนธนาคารที่ดิน ในพื้นที่ ๕ ชุมชน วงเงินงบประมาณ ๑๖๗ ล้านบาท

๒) วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ ที่ประชุมการเจรจาระหว่างรัฐบาลซึ่งมีรองนายกฯ(นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ)เป็นประธาน กับตัวแทนของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม  (ขปส.) ได้มีมติให้เปลี่ยนแปลงหน่วยงานการเบิกจ่ายจากสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน มาเป็นสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) แทนและได้มอบหมายให้พอช.ไปจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบรปะมาณสำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าว

ขณะนี้พอช.ได้จัดทำโครงการฯเสร็จแล้ว

 

 

 

-คณะรัฐมนตรียังไม่มีการพิจารณาโครงการนำร่องดังกล่าว

-มีความพยายามของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล) ในการยกร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน โดยยกเลิกแนวทางการจัดสรรที่ดินให้ในรูปแบบโฉนดชุมชน /มีการเปลี่ยนสาระสำคัญจากเดิมที่ส่งเสริมภาคเกษตรเปลี่ยนเป็นการส่งเสริมภาคพาณิชย์และอุตสาหกรรม นอกจากนี้ร่างพ.ร.บ.นี้ยัง ไม่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

 

-ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการโครงการดังกล่าวในพื้นที่ ๕ ชุมชน ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์และ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยให้พอช.เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

กรณีบ้านมั่นคง นโยบายที่อยู่อาศัย/คนไร้บ้าน

กรณี คนไร้บ้านได้ดำเนินการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดรัฐบาลในยุคที่ผ่านได้สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาคุณชีวิตและสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับคนไร้บ้าน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

ได้มีข้อสรุปร่วมกันกับรัฐบาลโดยรองนายกรัฐมนตรี(นายยงยุทธ  วิชัยดิษ) ให้ พอช.ไปจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโครงการดังกล่าว

พอช.ไม่สามารถเนื่องจากมีข้อจำกัดในการจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณประจำปีของกระทรวงได้

ให้รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ (งบกลางรายการเงินฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วน)เพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว

กรณีการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูลตามมติคณะรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ได้มีการเจรจากับนายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) โดยในการเจรจาดังกล่าวได้มีข้อสรุปร่วมกันดังนี้

๑)เห็นควรทดลองเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลเป็นระยะเวลา ๕ปี โดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ศึกษาเกี่ยวกับการฟื้นตัวของระบบนิเวศและวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งผลกระทบจากการเปิดเขื่อนปากมูลดังกล่าว

๒)ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุดที่ นร๐๕๐๖/๑๐๑๔๑ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด นร ๐๕๐๖/๑๒๔๘๙ ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ทั้งฉบับ รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี คำสั่งหรือประกาศอื่นใด ที่ขัดแย้งกับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามข้อเสนอของขปส.

๓) เห็นควรเยียวยาตามหลักมนุษยธรรมให้แก่ผู้มีอาชีพประมงที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนปากมูล รายละ ๓๑๐,๐๐๐ บาท โดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการเยียวยาดังกล่าว

 

 

 

คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นได้มีการประชุมไปแล้ว หนึ่งครั้งเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ แต่ยังไม่มีข้อสรุปและจากนั้นก็ยังไม่มีการจัดประชุมขึ้น

คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นได้มีการประชุมไปแล้ว หนึ่งครั้งเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ แต่ยังไม่มีข้อสรุปและจากนั้นก็ยังไม่มีการจัดประชุมขึ้น

๑.ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔

๒.ให้นำมติคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ และมติการเจรจาเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ มาใช้ในการแก้ไขปัญหา

กรณีคนไทยผลัดถิ่น ตามพระราชบัญญัติคืนสัญชาติ

หลังการยุบสภาของ รบ.ปชป.ช่วงเลือกตั้งพรรคการเมือง บันทึกความร่วมมือที่จะดำเนินการต่อหากได้เป็น รบ.หลังเลือกตั้ง รบ.ได้มีมติครม.ยืนยันความจำเป็นที่ต้องมี กฎหมายสัญชาติไปยังวุฒิสภาๆตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณากฎหมายสัญชาติก่อนนำเข้าสู่การพิจารณา จนผ่านวาระ ๒และ๓วุฒิสภาและประกาศในกิจจานุเบกษา ๒๑ มีนาคม ๕๕ พร้อมตั้ง กก.รับรองความเป็นไทยพลัดถิ่นและออกกฎกระทรวงหลักเกณฑ์และวิธีการพร้อมเข้า ครม.และมีมติเมื่อ ๑๗กค.๕๕ประกาศในกิจจานุเบกษา ๑๘ กค.๕๕ พร้อมรับคำขอเพื่อพิจารณารับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น  กย.๕๕ในจ.ตราด ระนอง ชุมพร ประจวบฯ ตาก

-มีคณะกก.รับรองฯ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ฯ โดยเฉพาะในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ

-มีการออกกฎกระทรวงฯ

 

๑) มีคณะกก.รับรองฯ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ฯ โดยเฉพาะในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ

๒) กฎกระทรวงฯ ไม่เป็นตามเจตนารมณ์ฯ

๒.๑) กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นถูกแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือกลุ่มที่ถูกบันทึกในทะเบียนประวัติว่ามีเชื้อสายไทย, กลุ่มที่ถูกบันทึกในทะเบียนประวัติว่าเป็นคนต่างด้าวกลุ่มต่างๆ, กลุ่มที่ตกหล่นการสำรวจ

๒.๒) ความไม่ชัดเจนกรณีคนไทยพลัดถิ่นที่แม่สอด

๒.๓) การกำหนดให้ต้องมีพยานบุคคลที่มีเชื้อสายไทย

๒.๔) การกำหนดให้มีพยานบุคคลที่มีเชื้อสายไทย รับรองการไม่มีสัญชาติของประเทศอื่น

๑)ทบทวนองค์ประกอบของกรรมการรับรองฯ ในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ

๒)ทบทวน/ปรับเปลี่ยนฝ่ายเลขาฯ

๓)ทบทวนกฎกระทรวงฯ ฉบับปัจจุบัน

๔)ออกกฎกระทรวงฯ เพื่อการแก้ปัญหาคนไทยพลัดถิ่นที่มีลักษณะอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

๕)มีมติครม.เพื่อสำรวจคนไทยพลัดถิ่นที่ตกหล่น

 

คปอ.ร้องปัญหาเร่งด่วนในพื้นที่ ยื่นหนังสือ "ยงยุทธ" ถูกข่มขู่ คุกคาม กรณีพิพาทเรื่องที่ดิน
 
 
ขณะที่ นายเด่น คำแหล้ นายนิด ต่อทุน และนายประชัน ชำนาญวงษ์ ตัวแทนชาวบ้านจาก อ.คอนสาร  จ.ชัยภูมิ สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) ได้เข้าร่วมแฉลงข่าวร่วมกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) กรณีความเดือดร้อนเร่งด่วนในพื้นที่ และได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ผ่านสำนักนายกรัฐมนตรีที่หน้าทำเนียบรัฐสภา เพื่อให้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยุติการข่มขู่คุกคามราษฎรในพื้นที่พิพาทที่ดินกับหน่วยงานของรัฐ
 
สืบเนื่องจากในขณะนี้ ชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ดำเนินการใช้กำลังข่มขู่ คุกคาม อาทิ กรณีปัญหาที่พิพาทสวนป่าคอนสาร ต.ทุ่งพระ ในวันที่ 24 ก.ย.55 เจ้าหน้าที่สวนป่าคอนสาร พร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าไปตรวจพื้นที่และถ่ายรูปในพื้นที่พิพาทที่กำลังมีการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาลอยู่ และในขณะนี้ได้มีการแจ้งจับผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ อีกทั้งยังมีการเข้าไปข่มขู่ราษฎรที่อาศัยทำกินอยู่ในพื้นที่พิพาทอีกด้วย
 
กรณีปัญหาพิพาทสวนป่าโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย เมื่อวันที่  25 ก.ย.55 เจ้าหน้าที่ป่าไม้หน่วยป้องกันและปราบปรามชัยภูมิที่ 4 (ชย.4) ได้นำกำลังทั้งหมด 13 นาย พร้อมด้วยปืนและอาวุธครบมือ เข้าล้อมปราบ พร้อมจับกุมชาวบ้านที่กำลังทำกินอยู่ในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านตกใจได้วิ่งหนีเจ้าหน้าที่เข้าไปในป่าหายไปหลายชั่วโมง จากการกระทำดังกล่าวทำให้ชาวบ้านหวาดผวา รู้สึกไม่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิต และอาจทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงในพื้นที่
 
"เพื่อความสงบสุขของราษฎรที่ทำกินในพื้นที่ ให้ได้ดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข  และการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาลให้สำเร็จลุล่วง  เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) จึงใคร่เรียนขอให้ท่านได้โปรดมีบัญชาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ยุติการข่มขู่  คุกคามราษฎร" นายเด่นกล่าว
 
ทั้งนี้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) เป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหากรณีพิพาทที่ดินกับหน่วยงานของรัฐ ทั้งพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงมหาดไทย และอื่นๆ ตามแนวทางโฉนดชุมชนตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา รวมทั้งได้มีการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาลในนามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) 
 
 
แถลงการณ์ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) มีรายละเอียด ดังนี้
 
 
แถลงการณ์ ฉบับที่ ๑๕
๑ ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับความล้มเหลว ในการแก้ไขปัญหาของคนจน
 
นับตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ พวกเราขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ซึ่งเป็นเครือข่ายของเกษตรกรรายย่อยและคนจนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดในอดีต ประกอบด้วย เครือข่ายสลัม ๔ ภาค, สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.), เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.), สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.), เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.), เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.), สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.), เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา, เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล อันเป็นปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ปัญหาที่เกิดจากการสร้างเขื่อน ปัญหาการไร้สิทธิสถานะและชาติพันธุ์ปัญหาจากเหมืองและโรงไฟฟ้า ปัญหาการทำเกษตรพันธสัญญา รวมทั้งปัญหาความไม่เป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม ทั้งคนจนจากชนบทและคนจนในเมืองได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อให้สานต่อการแก้ไขปัญหาของพวกเรามาแล้วหลายครั้ง
 
โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้ตอบสนองข้อเรียกร้องของพวกเรา ด้วยการบรรจุไว้ในนโยบายของรัฐบาลซึ่ง ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ อาทิเช่น นโยบายข้อ ๔.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต (ข้อ๔.๕. .....นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม ข้อย่อยที่ ๔.๕.๒ การให้โอกาสประชาชนที่มีฐานะยากจนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง.....) ข้อ ๕.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ข้อ ๕.๑ ......สนับสนุนการจัดการอย่างมีส่วนร่วมและให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันในลักษณะที่ทำให้คนมีภารกิจดูแลป่าให้มีความยั่งยืน โดยการปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ 5 ฉบับให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ..... ข้อ ๕.๔ สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากร..... .....ให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย...... .....ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน......) และ นโยบายข้อที่ ๘.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ข้อ ๘.๒.๒ ....ส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อการคุ้มครองช่วยเหลือคนจนและคนด้อยโอกาส....) ซึ่งผูกพันให้รัฐบาลต้องดำเนินการ
 
ต่อมารัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) เป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นอีกจำนวน ๑๐  คณะ เพื่อใช้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแต่ก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้
 
อย่างไรก็ตามตลอดช่วงเวลากว่า ๑ ปีที่ผ่านมา ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการติดตามและผลักดันให้กลไกการแก้ไขปัญหาทั้งคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ ดำเนินการตามข้อตกลงและแนวทางเพื่อสานต่อการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงเป็นรูปธรรม แต่ในท้ายที่สุดจนถึงปัจจุบันพวกเราได้พบกับอุปสรรคในการแก้ไขปัญหา อันเกิดจากความตั้งใจของผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานราชการ ที่ไม่ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ขณะที่หลายกรณีปัญหา เช่น การจัดให้มีโฉนดชุมชนและการจัดตั้งสถาบันธนาคารที่ดิน ได้ถูกแช่แข็ง และแปลงเปลี่ยนหลักการจนผิดเพี้ยน ขณะที่หลายกรณีปัญหามีข้อยุติไว้ชัดเจนแล้ว แต่กลับถูกขัดขวางจากระบบราชการที่ล้าหลัง และทัศนคติของบุคคลากรของรัฐที่ไม่ยอมรับการมีส่วนร่วมของประชาชนทำให้ไม่สามารถเดินหน้าแก้ไขปัญหาต่อไปได้ เช่น กรณีโครงการบ้านมั่นคง กรณีคนไทยพลัดถิ่น และกรณีเขื่อนปากมูล ในขณะที่อีกกว่า ๕๐๐ กรณีปัญหาก็ยังคงย่ำอยู่กับที่
 
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ขอยืนยันว่า
๑. นโยบายการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลต่อปัญหาของพวกเรามีความชัดเจน แต่รัฐบาลไม่ยอมนำไปปฏิบัติ
๒. รัฐมนตรีบางคน และหน่วยงานราชการบางหน่วยงาน บิดเบือน และมีการแปลงสาร โดยไม่คำนึงถึงการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก
๓. แนวทางที่มีอยู่แล้วถูกล้มเลิก และมีการขัดขวางการดำเนินงาน
 
ดังนั้นขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ให้เร่งดำเนินการ ดังนี้
๑. รัฐบาลต้องปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว
๒. นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้กำกับและผลักดันการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
๓. รัฐบาลต้องปรับปรุงกลไกการแก้ไขปัญหาให้สามารถปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาได้จริง โดยรัฐบาลจะต้องเปิดการเจรจาขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการเจรจาดังกล่าว พร้อมกันนี้พวกเราจะเดินทางมาปักหลักรอฟังคำตอบจากรัฐบาลอย่างสงบที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
 
ด้วยความเชื่อมั่นในพลังประชาชน
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)
อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา
๒๖ กันยายน ๒๕๕๕
 

 

 
 
AttachmentSize
๑ ปีกลไกการแก้ปัญหาร่วมกับรัฐบาล (๒๖ ก.ย.๕๕).doc67.5 KB
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

ม.อ.จัดเต็มให้ทุนอื้อ เด็ก‘เหนือ-อีสาน-กลาง’ยังเมินเรียนปัตตานี

Posted: 26 Sep 2012 01:27 PM PDT

โครงการ ม.อ.ให้ทุนดึงนักเรียนนอกชายแดนใต้เหลว เด็กภาคเหนือ-อีสาน-กลางเมินมาเรียนที่วิทยาเขตปัตตานี เปิดสมัคร 3 ปีได้แค่ 88 คน เหตุผู้ปกครองห้าม เผยมีแต่ใต้ตอนล่างส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ชี้ไม่บรรลุเป้าสร้างความหลากหลายในสถาบัน แถมผลการเรียนต่ำ เล็งเลือกเฉพาะเด็กเก่งจากพื้นที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งานหลักสูตรและพัฒนาคณาจารย์ กองบริการการศึกษาวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ปิดรับสมัครนักศึกษาโครงการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อจูงใจนักเรียนต่างพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาสเข้าศึกษาต่อใน ม.อ.ปัตตานีทางไปรษณีย์แล้ว หลังจากเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 3–24 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี ชัยสุขสันต์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาเขตปัตตานี ในฐานะผู้จัดการโครงการ เปิดเผยว่า โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้นในม.อ.ปัตตานี เนื่องจากเหตุไม่สงบส่งผลทำให้นักเรียนต่างพื้นที่ 3 สามจังหวัดชายแดนใต้เข้ามาเรียนต่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้น้อยลง ทำให้นักศึกษาที่นี่ขาดการเรียนรู้ในเชิงแลกเปลี่ยน ทั้งความรู้ ทัศนคติและวัฒนธรรม ทางมหาวิทยาลัยจึงขอทุนจากรัฐบาลมาให้นักเรียนต่างพื้นที่เข้ามาศึกษาต่อใน ม.อ.ปัตตานี
 
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี เปิดเผยต่อไปว่า การรับสมัครครั้งนี้ เป็นรุ่นสุดท้าของโครงการ ซึ่งผลผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ เนื่องจากนักเรียนที่ได้รับทุน ส่วนใหญ่ยังเป็นคนในภาคใต้ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตกับคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี เปิดเผยว่า โครงการนี้มีทุนให้แก่นักเรียนคนละ 50,000 บาทต่อปี รวมค่าเทอมและค่าที่พัก ปีการศึกษาละ 250 ทุน เดิมตั้งหลักเกณฑ์ว่าในการเรียนที่ม.อ.ปัตตานีจะต้องได้เกรดเฉลี่ยในแต่ละเทอม 2.75 ขึ้นไป แต่ปรากฏว่าผู้รับทุนส่วนใหญ่ทำเกรดได้ไม่ถึง ทางมหาวิทยาลัยจึงปรับลดเกณฑ์ลงเหลือ 2.50 แต่ก็ยังมีผู้ทำได้น้อยมาก ทางมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับเกรดลงอีกครั้งเหลือ 2.00
 
"ถึงกระนั้นก็ยังมีนักศึกษาที่ได้รับทุนนี้ทำเกรดเฉลี่ยได้ต่ำกว่า 2.00 เสียอีก ทางโครงการจึงงดทุนในเทอมนั้น แต่หากนักศึกษาสามารถปรับปรุงตัวและตั้งใจเรียนมากขึ้นจนได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 ก็จะมีโอกาสได้รับทุนอีกครั้ง" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี กล่าว
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี เปิดเผยว่า นักเรียนที่ได้รับทุนนี้ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฏร์ธานี เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและนับถือศาสนาอิสลาม ส่วนคนที่มาจากภาคกลาง ภาคอีสสานและภาคเหนือ และนับถือศาสนาพุทธก็มีบ้าง แต่น้อยมากๆ
 
"โครงการนี้ไม่ได้คาดหวังถึงขั้นการสร้างสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอแค่ให้มีนักศึกษาต่างพื้นที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็พอ เพื่อสร้างความหลากหลายและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ความแตกต่างและสามารถแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันได้ เพราะจะช่วยเปิดวิสัยทัศน์ของนักศึกษาให้กว้างขึ้น นี่คือความคาดหวังสูงสุด" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี กล่าว
 
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี กล่าวว่า สาเหตุที่คนนอกเข้ามาเรียนที่ ม.อ.ปัตตานีน้อยเนื่องจากผู้ปกครองเป็นห่วง จึงไม่ต้องการให้มาเรียนที่นี่ ส่วนสาเหตุที่นักศึกษาทุนโครงการนี้ส่วนใหญ่มีผลการเรียนต่ำ เนื่องจากมีผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาต่ำอยู่แล้ว มีนักเรียนเก่งๆ ที่ได้รับทุนโครงการนี้น้อยมากๆ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี เปิดเผยด้วยว่า ในปีการศึกษา 2555 มีนักศึกษาต่างชาติได้รับทุนโครงการนี้ด้วย โดย ม.อ.ปัตตานี ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (มอย.) ในการขอนักเรียนต่างชาติผ่านการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาเข้ามาเป็นศึกษาม.อ.ปัตตานี เพื่อสร้างความหลากหลายให้กว้างขึ้น ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน
 
"ถ้าเป็นไปได้ ต้องการให้มีโครงการนี้ขึ้นมาอีก แต่จะเลือกเฉพาะเด็กเก่งมาเรียนที่นี่เท่านั้น โดยแบ่งเป็นการให้ทุนเด็กเก่งในพื้นที่และเด็กเก่งนอกพื้นที่" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพดี กล่าว
 
 
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กอ.รมน.สบช่อง 93 ผู้แสดงตัว ตั้งทีมดึงขบวนการให้หยุดใช้วิธีรุนแรง

Posted: 26 Sep 2012 01:03 PM PDT

กอ.รมน.สบช่อง 93 ผู้เห็นต่างแสดงตัว ตั้งกรรมการดึงคนในขบวนการให้หยุดใช้วิธีรุนแรง พร้อมให้ศอ.บต.ดูแลด้านคดี เผยรู้ชื่อ 19 คนทีมสังหารหน้ากล้องฆ่า 4 ทหารมายอแล้ว ออกจับ 11 คน คุมตัวแล้ว 6 ล่าอีก 5 เร่งควานหาสาวนรา แต่ยังคว้าน้ำเหลว

 

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2555 พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน.เปิดเผยว่า  พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 มีคำสั่งแต่งตั้ง"คณะกรรมการประสานงานและรณรงค์เพื่อยุติการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้" มีบุคลากรที่ได้รับการยอมรับจากภาคส่วนต่างๆ 18 คน เป็นกรรมการ 
 
พ.อ.ปราโมทย์ เปิดเผยต่อไปว่า คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ประสานงานและรณรงค์ให้ผู้ที่ยังคงต่อสู้กับรัฐด้วยวิธีรุนแรงอยู่ยุติการต่อสู้ด้วยความรุแรง แล้วมาแสดงตัวเพื่อร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ กอ.รมน.ภาค 4 สน.ได้นัดประชุมคณะกรรมการชุดนี้ เป็นครั้งแรกในวันที่ 27 กันยายน 2555 เวลา 10.00 น. ที่โรงแรง ซี.เอส.ปัตตานี
พ.อ.ปราโมทย์ เปิดเผยอีกว่า นอกจากนี้จะมีการแต่งตั้ง"คณะกรรมการอำนวยความสะดวกด้านกระบวนการยุติธรรม" สำหรับผู้ที่แสดงตัวเพื่อยุติการต่อสู้ด้วยวิธีความรุนแรงในพื้นที่ ดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 
 
พ.อ.ปราโมทย์ เปิดเผยด้วยว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดังกล่าวขึ้นมา เนื่องจากกรณีที่มีสมาชิกขององค์กรที่ต่อสู้กับรัฐจำนวนหนึ่งออกมาแสดงตัว เพื่อยุติการใช้วิธีการต่อสู้ด้วยความรุนแรง และแสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ จำนวน 93 คน เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา
 
จับแล้ว 6 ล่าอีก 5 ทีมฆ่าหน้ากล้อง
 
ในวันเดียวกัน พ.อ.ปราโมทย์ เปิดเผยความคืนหน้าคดีคนร้ายใช้รถกระบะ 3 คัน เป็นยานพาหนะซุ่มโจมตี ทหารชุดปฏิบัติการหมวดปืนเล็กที่ 2 กองร้อยทหารราบ 15321 หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25 ทำให้ทหารเสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บ 2 นาย เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 เหตุเกิดบนถนนสาย 4061 มายอ - ปาลัส บ้านดูวา หมู่ที่ 3 ต.ถนน อ.มายอ จ.ปัตตานี โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถูกกล้องวงจรปิดบันทึกไว้ได้
 
พ.อ.ปราโมทย์ เปิดเผยว่า จากการรวบรวมพยานหลักฐาน และวัตถุพยานรวมทั้งการขยายผลจากการซักถามทำให้ทราบจำนวนผู้ร่วมก่อเหตุแล้วอย่างน้อย 19 คน และได้ขออนุมัติหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ป.วิอาญา) ไปแล้ว 11 คน และสามารถควบคุมตัวได้แล้ว 6 คน
 
โดยรายชื่อผู้ที่ถูกควบคุมตัวทั้ง 6 คน ได้แก่ 1.นายมะซาฮาพี มีทอ 2.นายกอร์เด เจะแต 3.นายนิมูหัมมัด นิเซ็ง 4.นายฮิซบุลอฮ บือซา 5.นายอิสมาแอ ดาโอง 6.นายมุสรอ ยาลา โดยในจำนวนนี้มี 4 คนที่ให้การรับสารภาพว่า ร่วมก่อเหตุครั้งนี้จริง ส่วนที่เหลืออีก 5 คน ประกอบด้วย 1.นายมะรูดิน ตาแฮ 2.นายปาตะ ลาเต๊ะ 3.นายอับดุลฮาดี ดาหะเล็ง 4.นายนิอิดือเระ เจะแห 5.นายอาหาหมัด ดือราแม อยู่ระหว่างการติดตามจับกุม
 
พ.อ.ปราโมทย์ กล่าวว่า กอ.รมน.ภาค 4 สน. ยังคงเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐเข้ามาพูดคุยและร่วมแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งอย่างสันติวิธี เพื่อร่วมสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 
 
เร่งควานหาสาวนรา แต่ยังคว้าน้ำเหลว
 
พ.ต.อ.เสน่ห์ จรรยาสถิต ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร (ผกก.สภ.) ตากใบ จ.นราธิวาส เปิดเผยในวันเดียวกันว่า เจ้าหน้าที่ยังตามหานางอุดมลักษณ์ ชาน อายุ 41 ปีไม่พบ หลังจากถูกคนร้าย 4 คนแต่งกายชุดทหารพรานสีดำมีอาวุธปืนสงครามครบมือควบคุมนางอุดมลักษณ์พร้อมเพื่อนและชิงรถเก๋งยี่ห้อฮอนด้ารุ่นซิตี้zxสีขาว หมายเลขทะเบียน ฎผ 4677กรุงเทพมหานครของนางอุดมลักษณ์ไปด้วย ก่อนจะคุมตัวนางอุดมลักษณ์ลงที่บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และปล่อยเพื่อนที่บ้านยะโง๊ะต.ลุโบะบือซาอ.ยี่งอ จ.นราธิวาส เหตุเกิดเมื่อวันที่ 21กันยายน 2555 ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ตามจับคนร้ายที่ขับรถคันดังกล่าวได้
พ.ต.อ.เสน่ห์ เปิดเผยอีกว่า เจ้าหน้าที่กำลังระดมค้นหาทุกพื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายที่คนร้ายใช้ควบคุมตัวนางอุดมลักษณ์
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มสิทธินำญาติเยือนคุก เยี่ยมผู้ต้องหาคดีความมั่นคง

Posted: 26 Sep 2012 12:59 PM PDT

กลุ่มสิทธิ 'ด้วยใจ' จัดกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ที่เรือนจำกลางปัตตานี พาญาติเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในสามจ. ชายแดนใต้ หวังสร้างความเข้าใจระหว่างญาติ จนท. และสังคม

 

เมื่อวันที่ 09.30 น.วันที่ 26 กันยายน 2555 ที่เรือนจำกลางปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี กลุ่มด้วยใจ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน จัดกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ นำญาติผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่อยู่ในเรือนจำกลางปัตตานีมาเยี่ยม ซึ่งมีผู้ต้องหาคดีความมั่นคงประมาณ 30 คน
 
นางสาวอัญชนา หีมมิน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในโครงการยุติธรรม นำสันติสุขของกระทรวงยุติธรรม ที่ให้ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในเรือนจำในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วม ซึ่งมีหลายกิจกรรมด้วยกัน เช่น การสานเสวนา การฝึกอบรมการเขียนเรื่องเล่า การพบปะครอบครัว เป็นต้น เพื่อผู้ต้องขังได้แสดงออก ซึ่งกระทรวงยุติธรรมจะนำไปศึกษาเพื่อแสวงหาทางออกในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งโครงการดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมได้ศึกษามาแล้ว พบว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาได้
 
นางสาวอัญชนา กล่าวอีกว่า เป้าหมายของโครงการนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างญาติผู้ต้องหาคดีความมั่นคงกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และเพื่อลบภาพที่สังคมภายนอกมองบุคคลเหล่านี้ในแง่ลบ เนื่องจากบางคนยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ศาลยังไม่พิพากษาว่ามีความผิด
 
ญาติผู้ต้องขังคดีความมั่นรายหนึ่ง กล่าวว่า ดีใจที่ได้มาพบสามี หลังสามีถูกขังมาแล้วประมาณ 6 เดือน โดยพาลูกสาววัย 3 ขวบมาด้วย เพื่อให้เจอหน้าพ่อ ซึ่งลูกสาวเข้าใจมาตลอดว่าพ่อไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย ปกติตนจะมาเยือนทุกสัปดาห์ แต่จะไม่พาลูกสาวมาด้วย
ส่วนสามีซึ่งเป็นผู้ต้องขัง กล่าวว่า หลังจากทราบว่าจะมีกิจกรรม 1 เดือน ผู้ต้องขังต่างเฝ้ารอวันนี้ มีการพูดเรื่องนี้ทุกวัน ทุกคนอยากให้วันนี้มาถึงเร็วๆ ดีใจที่สุดที่ได้เจอลูกสาว
 
ระหว่างการพบญาติ มีการแสดงของผู้ต้องขังด้วย โดยผู้ต้องขังกลุ่มหนึ่งได้ร่วมร้องเพลงอานาชีด ชื่อเพลงว่า แผ่นดินที่สมบูรณ์ และเพลงคำสั่งเสียของผู้เฒ่า เป็นเพลงภาษามลายู จนทำให้ญาติบางคนถึงกับหลั่งน้ำตา
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักธุรกิจวอนรัฐหนุนธุรกิจท่ามกลางไฟใต้ ชี้ถูกขู่หยุดวันศุกร์

Posted: 26 Sep 2012 12:41 PM PDT

นักธุรกิจชายแดนใต้วอนรัฐช่วยเหลือให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สนับสนุนการประกันวินาศภัย  แจงข่าวลือให้หยุดวันศุกร์ ขู่ตัดหูหากไม่ปฎิบัติ

 

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 25 ก.ย. 2555 ที่ห้องอัล-อิมาม อัน-นาวาวีย์ อาคารวิทยอิสลามนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หอการค้าจังหวัดปัตตานี จัดโครงการ "เชื่อมั่นเศรษฐกิจชายแดนใต้" ภายใต้ชื่องาน "เปิดบ้านปัตตานี"
 
ในการเสวนาพิเศษ เรื่อง "ผู้ประกอบการอยู่กันอย่างไรภายใต้ภาวะความไม่สงบ" นายมานะ สัตกุลพิบูลย์ เจ้าของธุรกิจจัดส่งเสื้อผ้าและของใช้ภายในบ้านกล่าวว่าครั้งหนึ่งเคยมีคนร้ายยิงปืนเข้ามาในร้านค้าของตน ซึ่งตนคิดว่าคนร้ายกลุ่มนี้เป็นวัยรุ่นมากกว่า เพราะตนทำการค้าอย่างบริสุทธิ์โปร่งใสและไม่เคยข้องแวะหรือเป็นศัตรูกับใคร  ซึ่งนับจากนั้น ตนต้องปรับมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยการติดตั้งวงจรปิดและให้ลูกจ้างระวังภัยมากขึ้น
 
เขามองว่าการทำการค้าในพื้นที่มีข้อดีคือมีคู่แข่งน้อยและก็ต้องการให้รัฐมีมาตรการในการช่วยเหลือผู้ประกอบการมากขึ้นด้วยการลดภาษีและลดดอกเบี้ยให้เหลือ 1.5 เปอร์เซ็นต์ โดยควรจะให้มีระยะเวลาการกู้ที่ยาวเช่น  6 – 7 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเวลาที่จะทำให้ธุรกิจคืนทุน 
 
นายสุวิทย์ มาตยานุมัติ เจ้าของร้านอาหารไทปันกล่าวว่าร้านอาหารปัตตานีเบย์ซึ่งเป็นร้านอาหารอีกร้านของตน นอกเหนือจากร้านไทปันได้ปิดกิจการไปเมื่อประมาณ 2 - 3 ปีที่ผ่านมาเพราะเคยถูกยิงเข้าไปในร้านเช่นกัน
 
"เราต้องทำใจ เพราะอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ โดยเฉพาะที่เกิดเหตุการณ์ใน 2 - 3 ปีแรก ลำบากมาก เพราะคนตื่นกลัว ไม่กล้าออกจากบ้าน แต่ปัจจุบันประชาชนเริ่มชินชากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะรู้สึกว่าประชาชนไม่ค่อยตื่นกลัวมากเท่าไหร่แล้ว ซึ่งการที่ประชาชนชินแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะหมายถึงประชาชนในพื้นที่เริ่มปรับตัวได้แล้ว" นายสุวิทย์ กล่าว
 
ก่อนหน้านี้มีคนนอก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเข้ามาท่องเที่ยวและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ก็ไม่ค่อยได้นอนพักค้างคืนกันมากนัก
 
"(ผม) ต้องใช้ความอดทน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมีการปลดคนออก เพราะแรงงานหายาก คนนอกไม่เข้ามาทำงาน แต่ก็ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนให้ลูกจ้าง เพราะถือว่าช่วยๆ กัน"
สุวิทย์กล่าวว่าตนจะไม่ขยายร้านแต่จะทำให้ดีขึ้น พัฒนาศักยภาพคนทำงานในร้านให้ดีขึ้น โดยเขาเชื่อว่า "สงครามอย่างไรก็ต้องมีวันยุติ"
 
นางกัญญาภัทร ศรวียวิวัฒน์ เจ้าของธุรกิจประมงและผลไม้กวนตราก๊วน กวน เชฟ กล่าวว่าตนต้องการให้ความช่วยเหลือของรัฐมีความต่อเนื่อง
"ธนาคารที่จะเข้ามาช่วยเหลือ ต้องช่วยเหลือจริง ไม่ใช่ช่วย 1 ก้าว ถอยหลัง 1 ก้าว ...ที่ผ่านมารัฐไม่เคยเข้ามาช่วยเหลือธุรกิจของตนเลย" นางกัญญาภัทรกล่าว "ผู้ประกอบการอยากเดินงานต่อ แต่ขอให้มีทุนเข้ามาสนับสนุน เพราะหากภาครัฐยังไม่เชื่อมั่นตัวเอง แล้วเราจะเชื่อมั่นได้อย่างไร"
 
นางกัญญาภัทร กล่าวอีกว่า เนื่องจากปัจจุบันยอดการส่งออกปลาทูน่าน้อยลงจึงหันมาทำผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปด้วยเพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวบ้าน หากชาวบ้านปลูกผลไม้ ซึ่งหากผลไม้ชนิดใดสามารถทำมาแปรรูปได้ก็จะนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเรามีแนวคิดว่า หากผู้ทำมีความสุข ผู้บริโภคก็มีความสุข จากที่คนทั่วไปเคยรับประทานบ๊วย ก็อาจกลัวว่าเม็ดจะติดคอ แต่ผลิตภัณฑ์ของตนได้นำเม็ดออก และในหนึ่งเมล็ดมาผลไม้รวมกันถึงสามชนิด และไอเดียการทำผลไม้แปรรูปนี้อยากให้เป็นไอเดียสำหรับคนรุ่นใหม่ในการทำสินค้าส่งออก ซึ่งอยากให้ราชการมีส่วนช่วยสนับสนุนการส่งออกด้วย
 
นางกัญญาภัทรได้กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมามีข่าวลือข่มขู่ให้หยุดทำงานวันศุกร์ 
"ช่วงนี้มีข่าวลือว่า ห้ามทำงานวันศุกร์ มิฉะนั้นจะโดนตัดหู สำหรับธุรกิจของตนก่อนหน้านี้มีวันหยุดเพียงวันเดียวคือวันอาทิตย์ แต่เมื่อเกิดข่าวลือเช่นนี้ ตนก็ต้องหยุดวันศุกร์แทน ซึ่งตนก็เห็นด้วยในการให้หยุดวันศุกร์ เนื่องจากที่ผ่านมา วันหยุดที่เป็นวันอาทิตย์นั้นลูกจ้างไม่สามารถไปติดต่อหน่วยงานราชการ ไปทำธุรกรรมอื่นๆ พาคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องไปทำธุระได้เลย" นางกัญญาภัทรกล่าว
 
นายกิตติ สมบัติ เจ้าของห้างหุ้นส่วน ซูซูกิปัตตานี จำกัดกล่าวว่าตนทำธุรกิจเป็นดีลเลอร์ในการจัดสินเชื่อบ้าน  แต่ว่าไม่ได้เป็นผู้ปล่อยสินเชื่อเอง  โดยช่วงปี 2552 เป็นช่วงที่เหตุการณ์มีความรุนแรง ผู้ปล่อยสินเชื่อก็ตั้งข้อจำกัดว่าบริษัทจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับหมู่บ้านในบริเวณนั้นบริเวณนี้ โดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถที่จะไปตามทวงค่างวด เพราะกังวลในเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน 
 
เขาเล่าว่าวันหนึ่งมีลูกค้ามาถามว่าเขาว่าร้านของตนจะขายสินเชื่อให้คนนาเกตุมั้ย เนื่องจากช่วงนั้นผู้ใหญ่ถูกยิง ถูกระเบิด หมู่บ้านดังกล่าวจึงกลายเป็นพื้นที่ต้องห้ามไป ลูกค้าบอกกับตนว่าไปถามมาหลายร้านแล้วไม่มีใครขายไฟแนนซ์ให้และบอกว่าหมู่บ้านของตนอยู่ในพื้นที่ห้ามขายให้แล้ว
 
"ผมจึงบอกกับลูกค้าไปว่า ผมจะขายให้และขายให้จริงๆ หลังจากนั้นไปประชุมกับไฟแนนซ์ ไฟแนนซ์ก็ถามว่าทำไมจึงขาย ผมจึงให้เหตุผลไปว่า คนในพื้นที่ตรงนั้น คนในหมู่บ้านนั้น เป็นคนชั่วทั้งหมดหรือ ทำไมไม่ให้ผมมีสิทธิ์ในการเลือกลูกค้า ผมเป็นคนปัตตานี เกิดที่ปัตตานี อยู่ที่ปัตตานีมาตลอด ผมพูดภาษามลายู มีเพื่อนเป็นคนอิสลาม จึงขอให้ไฟแนนซ์ให้สิทธิ์ผมบ้าง และผมขายได้ ซึ่งในช่วงนั้นร้านผมขายดีกว่าร้านอื่น เพราะคนไปบอกต่อกันว่า ร้านของผมขายให้ ช่วงหลังร้านอื่นๆ จึงขายตามด้วย ซึ่งความจริงเราต้องร่วมมือกัน ไม่ใช่ให้รัฐทำอย่างเดียว" นายกิตติ กล่าว
 
"ลูกค้าของเราเสียเปรียบที่อื่นเยอะเลย ผมเคยไปดูที่สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ออกรถ 1 บาท เปิดร้านกันจนถึง 2 - 3 ทุ่ม ของผมเนี่ย 5 โมงต้องปิดแล้ว เปิดต่อไม่ได้แล้ว ออกรถ 4,900 ซึ่งเหตุที่ออกราคาดังกล่าว บริษัทรถบอกว่าจะต้องจ่ายค่าประกันรถหาย 2 ปี ประกันอุบัติเหตุให้กับผู้ซื้อ 1 ปี คิดค่าประกันในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 2,500 บาท แต่จังหวัดสงขลาซึ่งอยู่ติดกับเรา คิดแค่ 1,500 บาท ต่างกัน 1,000 บาท เวลาออกรถ ประชาชนจังหวัดสงขลาออกรถในราคา 3,900 บาท ขณะที่ประชาชนในจังหวัดปัตตานีต้องออกรถต่ำสุดในราคา 4,900 บาท ผมพยายามเอาสถิติรถหายมาดู ปรากฏว่าสถิติรถหายในพื้นที่ก็ไม่ได้ต่างจากนอกพื้นที่เลย แต่ทำไมจึงมาคิดในสามจังหวัดแพงขึ้น" นายกิตติ กล่าว
 
นายกิตติได้ระบุถึงข่าวลือเรื่องการหยุดวันศุกร์เช่นกัน  
 
"ยิ่งช่วงนี้มีข่าวลือว่าให้ผู้ประกอบการหยุดงานวันศุกร์ ซึ่งในร้านมีลูกจ้างที่ต้องไปละหมาด โดยช่วงบ่ายวันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานตำรวจในพื้นที่อ.โคกโพธิ์จะมีการประชุมกับ เพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้"  และเขากล่าวว่ารัฐควรที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือเรื่องการประกันวินาศภัยซึ่งโดยส่วนใหญ่บริษัททั่วไปมักจะคิดค่าเบี้ยประกันสูง 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ที่ประชุม ก.พ.อ. เปลี่ยนหลักเกณฑ์ตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ใหม่

Posted: 26 Sep 2012 11:20 AM PDT

กำหนดเกณฑ์ผลงานทางวิชาการที่ใช้ขอตำแหน่ง จะต้องก่อให้เกิดความรู้ใหม่ มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์  และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ

เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ รายงานว่า นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ 7/2555 เมื่อวันที่ 24 ก.ย.

โดยที่ประชุมที่ประชุมได้นำข้อร้องเรียนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) รองศาสตราจารย์ (รศ.) และศาสตราจารย์ (ศ.) โดยเฉพาะในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ผ่านมากำหนดให้ผู้ขอเข้าสู่ตำแหน่งสามารถทำตำราหรืองานวิจัย เสนอเพื่อขออนุมัติแต่งตั้งเป็น ผศ.เท่านั้น ต่อมาภายหลังมีการปรับเปลี่ยนให้ต้องทำตำราและงานวิจัย ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ยากขึ้นเพราะต้องทำ 2 อย่าง ส่งผลให้ผู้ทำผลงานรู้สึกไม่เป็นธรรมและร้องเรียนมา ดังนั้นจึงได้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์เฉพาะตำแหน่ง ผศ. คือ ให้ทำตำราหรืองานวิจัยเสนอเท่านั้น โดยเปลี่ยนจาก "และ" เป็น "หรือ" สำหรับตำแหน่ง รศ. และ ศ.นั้น ไม่ได้มีการปรับแก้ไข จึงให้ใช้หลักเกณฑ์เดิม

ทั้งนี้ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามในประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 17 กันยายน 2555 กรณีกำหนดลักษณะของผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทุกตำแหน่ง และผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งมีสาระสำคัญที่ปรับปรุงดังนี้

หลักเกณฑ์เดิม

1. การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้

(1)  1.1 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด  ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ 1.2 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และ
(2) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

คุณภาพของผลงาน

(1) ถูกต้อง สมบูรณ์ และทันสมัย
(2) เป็นประโยชน์ หรือนำไปประยุกต์ใช้ได้

000

 

หลักเกณฑ์ที่ปรับปรุง

1. การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผลงานทางวิชาการ  ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้

(1) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด  ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ
(2) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(3) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

คุณภาพของผลงาน

ผลงานดังกล่าวข้างต้น ต้องเป็นงานที่มีลักษณะคุณภาพระดับดี และมี 3 องค์ประกอบดังนี้ ร่วมด้วย คือ

(1) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่  และ
(2) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์  และ
(3) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ

2. กำหนดลักษณะของผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทุกตำแหน่ง ดังนี้

ผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่ง ต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา ดังต่อไปนี้

1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ

 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักสิทธิแรงงานแนะเลิกมองแรงงานข้ามชาติเป็นภัยคุกคาม

Posted: 26 Sep 2012 09:25 AM PDT

เสวนาการทำงานร่วมระหว่างภาคประชาสังคมกับสื่อมวลชนเพื่อแรงงานข้ามชาติที่เชียงใหม่ นักเคลื่อนไหวสิทธิแรงงานย้ำ แรงงานข้ามชาติถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ ชี้ไทยควรเปลี่ยนทัศนะมองแรงงานข้ามชาติเป็นภัยคุกคามความมั่นคง

วานนี้ (25 ก.ย.) ที่โรงแรมเมอร์เคียว เมืองเชียงใหม่ มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP) จัดเวทีเสวนาเกี่ยวกับสิทธิและโอกาสแรงงานข้ามชาติในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายใต้เชื่อ "การทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาสังคมกับสื่อมวลชน เพื่อพื้นที่แรงงานข้ามชาติในยุคบูรณาการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวสิทธิแรงงาน สื่อมวลชน และแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่

ทั้งนี้ การเสวนากล่าวเน้นถึงการเตรียมการรับมือและแนวทางรองรับแรงงานข้ามชาติในปี 2558 ที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน ในสิทธิของแรงงานข้ามชาติ โดยระบุปัจจุบันแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาใช้แรงงานในประเทศไทย ถูกหลบซ่อนจากสังคม อาศัยอยู่ในเพิงพักหรือกระท่อมที่สร้างขึ้นมาในพื้นที่ก่อสร้าง ถูกจำกัดให้อยู่ในบ้านพักส่วนตัวของนายจ้าง และยังถูกเอารัดเอาเปรียบ ละเมิดสิทธิต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนจะสื่อสารเรื่องราวและสิทธิต่างๆ ของแรงงานข้ามชาติในกรอบของการทำงานของอาเซียนในอนาคต

นางกาญจา ดีอุต จากมูลนิธิแมพ (MAP) กล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน 2558 แต่เชื่อว่าจะยังคงมีแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทย ขณะนี้กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานงานนานแล้วกว่า 10 ปี ยังไม่ได้รับสิทธิด้านการดูแลที่เพียงพอ ขณะที่อีกสามปีจากนี้ประเทศไทยจะเข้าสู่ชาติประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ยังไม่มีหลักการรองรับแรงงานข้ามชาติอย่างชัดเจน

นางกาญจนา ดีอุต กล่าวอีกว่า จนถึงขณะนี้อาเซียนได้กำหนดงานสำหรับแรงงานจะทำได้อย่างอิสระเพียง 7 อย่าง คือ งานเกี่ยวกับวิศวกร, แพทย์, พยาบาล, ทัณตแพทย์, พนักงานบัญชี, งานสำรวจรังวัด และ สถาปนิก ซึ่งงานเหล่านี้ล้วนเป็นงานสำหรับผู้ผ่านการเรียนรู้มาเฉพาะด้าน ฉะนั้น ในส่วนของแรงงานข้ามชาติแล้วจะทำกันอย่างไร

ด้านนางปรานม สมวงศ์ จากสมาคมผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนาแห่งเอเซียแปซิฟิก (APWLD) กล่าวว่า จนถึงปัจจุบันนี้สภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ยังมองแรงงานข้ามชาติเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคง ในฐานะประเทศไทยเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกประชาคมอาเซียนถึงเวลาเปลี่ยนทัศนะมุมมองนี้ นอกจากนี้ สภาความมั่นคงแห่งชาติ ยังควรที่จะเปลี่ยนเป็น "สภาความมั่นคงมนุษย์" แล้วเช่นกัน

ทั้งนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ ลาว พม่า กัมพูชา รวมไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคน เฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีแรงงานข้ามชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานชาวไทใหญ่ไม่มากกว่า 3 แสนคน ในจำนวนนี้มีเพียง 5 หมื่นกว่าคนที่จดทะเบียนเป็นแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย

ขณะที่ยังมีรายงาน แม้รัฐบาลพม่าจะประกาศสันติภาพและกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มเจรจาหยุดยิงแล้ว แต่จนถึงขณะนี้สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังไม่ลดน้อยลง โดยในพื้นที่รัฐฉานซึ่งมีพรมแดนติดกับไทยด้านจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ก็ยังคงเกิดการสู้รบระหว่างทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA และทหารกองทัพพม่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อว่าหากสถานการณ์ความข้ดแย้งยังไม่สงบอาจส่งผลให้มีผู้อพยพหลั่งไหลเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีก

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'มิเชล มาส' นักข่าวดัตช์ ให้ปากคำดีเอสไอ เชื่อตนถูกทหารยิง

Posted: 26 Sep 2012 08:27 AM PDT

นักข่าวเนเธอร์แลนด์ หนึ่งในผู้บาดเจ็บเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อพ.ค. 53 ให้ปากคำดีเอสไอในฐานะพยาน ระบุหลักฐานต่างๆ ชี้ว่าทหารเป็นผู้ยิง ย้ำไม่เห็นชายชุดดำ  

26 ก.ย. 55 - มิเชล มาส ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์โฟลกส์ครานต์ (Volkskrant) และสถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นโอเอสของเนเธอร์แลนด์ หนึ่งในผู้สื่อข่าวที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระสุนปืนยิงในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมวันที่ 19 พ.ค. 53 ได้เข้าให้ปากคำกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยในช่วงเช้าวันนี้ได้ชี้จุดเกิดเหตุที่ตนเองถูกยิงบริเวณถนนราชดำริใกล้กับสวนลุมพินี และระบุว่าตนถูกยิงเข้าที่บริเวณด้านหลังในขณะที่กำลังรายงานข่าวทางโทรศัพท์ มาสกล่าวว่า ทิศทางของกระสุนมาจากบริเวณที่ทหารประจำการอยู่บริเวณสี่แยกราชดำริ พร้อมระบุ ไม่เห็นชายชุดดำหรือกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ ในบริเวณดังกล่าว จึงค่อนข้างมั่นใจว่าทหารน่าจะเป็นผู้ยิง


นายมิเชล มาส ขณะชี้จุดเกิดเหตุบริเวณถนนราชดำริ กับดีเอสไอ

 
ในการเข้าให้ปากคำเป็นพยานในครั้งนี้ มาสมาในฐานะพยานเหตุการณ์ในคดีการเสียชีวิตของนักข่าวชาวอิตาเลียน ฟาบิโอ โปเลนกี ในเหตุการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 53 และมาในฐานะผู้เสียหาย เนื่องจากเขาถูกกระสุนปืนยิงเข้าบริเวณหลังด้านขวา ซึ่งผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่า กระสุนดังกล่าวเป็นกระสุนจากปืนเอ็ม 16 
 
ภาพกระสุนปืนเอ็ม 16 ที่พบหลังการผ่าตัดจากร่างกายนายมิเชล มาส
(ที่มาภาพ จากมิเชล มาส)
 
ทั้งนี้ มาสเป็นผู้บาดเจ็บเพียงคนเดียวในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเม.ย.- พ.ค. ปี 53 ที่ยังคงมีกระสุนเป็นหลักฐานชัดเจน แต่ในครั้งนี้ เขากล่าวว่า ยังไม่ได้นำกระสุนมามอบให้ทางดีเอสไอเนื่องจากยังเก็บรักษาไว้ที่บ้านในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย แต่จะนำมาให้ถ้าหากจำเป็นต่อการสืบสวนคดี
 
มาสกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การเดินทางมาในครั้งนี้ เพื่อต้องการมาให้ปากคำแก่ทางการไทย และบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น เพื่อให้สามารถค้นหาความจริงว่าใครเป็นผู้กระทำผิดในเหตุการณ์ดังกล่าว และหวังว่า การให้ปากคำในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อคดีการเสียชีวิตของช่างภาพชาวอิตาเลียน ฟาบิโอ โปเลนกีด้วย 
 
มิเชล มาส เป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศให้กับหนังสือพิมพ์และสถานีวิทยุโทรทัศน์ของเนเธอแลนด์มากว่า 10 ปี โดยรายงานข่าวจากพื้นที่สงครามต่างๆ มากว่า 10 ปี ทั้งการสู้รบในโคโซโว บริเวณยุโรปตะวันออก เขตการสู้รบของชนกลุ่มน้อยในพม่า และรายงานข่าวในประเทศไทยมาได้ 9 ปีแล้ว แต่มาสกล่าวว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เขาได้รับบาดเจ็บระหว่างการรายงานข่าว 
 
นักข่าวดัตช์ให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า ในระหว่างที่ตนรายงานข่าวบริเวณถนนราชดำริบริเวณใกล้กับสวนลุมพินีเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 53 ไม่คิดเลยว่าตนเองจะถูกยิง เนื่องจากคาดหวังว่าน่าจะมีสัญญาณเตือนจากทหารในการเคลียร์พื้นที่ เช่น การประกาศโดยใช้ลำโพง การใช้กระสุนยาง หรือการยิงปืนขึ้นฟ้า ซึ่งตนมองว่าเป็นมาตรการที่ทหารมักจะใช้ในหลายๆ ประเทศเมื่อต้องการสลายการชุมนุมประชาชน แต่ทหารก็กลับยิงปืนโดยใช้กระสุนจริง ซึ่งทำให้เขาเองแปลกใจมาก 
 

เอกสารทางการแพทย์ แสดงการผ่ากระสุนปืนออกจากร่างกายของนายมิเชล มาส
(ที่มาภาพ จากมิเชล มาส)

เทปบันทุกเสียงการรายงานสดของมิเชล มาส ให้สถานีวิทยุเอ็นโอเอสในขณะที่ถูกยิง
โดยในตอนท้ายคลิปเสียง เป็นช่วงที่เขาถูกยิง และพูดทางโทรศัพท์ว่า "I'm hit. I'm hit."

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ไชยันต์' เสนอวิจัยแก้วิกฤต ทำสัญญาประชาคมใหม่บทบาท "สถาบัน"

Posted: 26 Sep 2012 04:39 AM PDT

ไชยันต์ ไชยพร ชี้วิกฤตการเมือง เกิดจาก 1) การเปลี่ยนจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญยังไม่ลงตัว แนะทำสัญญาประชาคมตกลงบทบาทกษัตริย์ 2) วงจรอุบาทว์จากเลือกตั้งสู่จลาจล 3) ความไม่พอดีของประชาธิปไตย


(26 ก.ย.55) ในการเสวนาเรื่อง "ความมั่นคงมนุษย์ : ความมั่นคงทางการเมืองในกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย" ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไชยันต์ ไชยพร รองศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง "การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยเพื่อความเป็นธรรมและเสมอภาค ในกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย" กล่าวว่า นักวิจัยมองว่าวิกฤตการเมืองใน 5-6 ปีที่ผ่านมา เกิดจากสาเหตุเชิงโครงสร้าง 3 ข้อ ได้แก่ หนึ่ง ผลพวงของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ยังไม่ลงตัว ส่งผลให้เกิดวิกฤตการเมืองเป็นระยะๆ และเห็นความเข้มข้นสะท้อนชัดเจนใน 5-6 ปีที่ผ่านมา เห็นได้จากความเห็นของประชาชนต่อบทบาทพระราชอำนาจต่างกัน กลุ่มหนึ่งมองว่าเหมาะสมแล้วในเงื่อนไขแบบไทยๆ อีกกลุ่มมองว่าต้องการลดทอนพระราชอำนาจ หากจะแก้วิกฤตการเมืองไทย ต้องทำให้เกิดการตกลงสร้างสัญญาประชาคมใหม่ว่า ที่สุดแล้วระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญควรจะมีหน้าตาอย่างไร

ไชยันต์ กล่าวต่อว่า สาเหตุที่สอง คือ วงจรอุบาทว์ โดยเมื่อมีการเลือกตั้ง จะตามมาด้วยการซื้อเสียง ถอนทุน ทุจริต ขับไล่ประท้วง จลาจล ไม่ว่าจะโดยการสร้างสถานการณ์ว่ารัฐบาลเอากองกำลังมาปราบประชาชน ทำให้รัฐบาลไม่มีความชอบธรรม หรือรัฐบาลบอกว่าการชุมนุมไม่สงบ จึงต้องส่งกำลังทหารมาควบคุมความเรียบร้อย โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516 ซึ่งขณะนั้นเหมือนว่ามีข้อตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลกับนักศึกษาแล้วว่าจะเลิกการชุมนุม แต่ก็เกิดความเข้าใจผิด จนเหตุการณ์บานปลาย หรือกรณี พ.ค.35 ที่รัฐบาลอ้างความชอบธรรมในการปราบจากกรณีที่มีการเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง อย่างไรก็ตาม มองว่าวงจรนี้ค่อยๆ หายไป โดยการซื้อเสียงในระดับชาติแผ่วลง แต่อาจไปหนักที่ท้องถิ่น

ไชยันต์ กล่าวว่า สาเหตุที่สาม คือ คำตอบสุดท้ายของความพอดีของระบอบประชาธิปไตย โดยประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกมีปัญหาเดียวกัน โดยจะพบว่า ปัจจุบัน การเรียกร้องความเสมอภาค ในอเมริกา อังกฤษ ก็ยังดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องเสรีภาพมากขึ้น เป็นทั้งเสน่ห์และเป็นสิ่งที่จะทำลายระบอบประชาธิปไตย หากไม่รู้จักความพอดี

ไชยันต์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุของวิกฤตการเมืองในระดับย่อยลงมา ได้แก่ 1) วิกฤตการเมืองไทยเกิดขึ้นจากการสร้างวาทกรรมที่เกินจริง และวาทกรรมเกลียดชัง หรือ hate speech อย่างเข้มข้นรุนแรง ประกอบกับ 2) ช่วงสิบปีที่ผ่านมา พัฒนาการของเทคโนโลยีพัฒนามีประสิทธิภาพ ส่งข้อมูลข่าวสารได้ในวงกว้างและกระชั้นถี่ตลอด 24 ชม. ทำให้วาทกรรมเกินจริงส่งผลต่อความคิดเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงและนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกัน เช่น เหตุการณ์วานนี้ จะเห็นว่า ก่อนวันเรียกผู้ที่มีปัญหาหมิ่นประมาท มีการใช้เครื่องมือสื่อสารปลุกระดมอย่างมีประสิทธิภาพและนำมาซึ่งความรุนแรง 3) การสร้างความรู้สึกของความเหลื่อมล้ำ ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีคนจนรวยขึ้น แต่ช่องว่างก็ถ่างมากขึ้น แต่การสร้างความรู้สึกที่รู้สึกว่าตัวเองสูญเสีย ถูกพราก หรือควรได้มากกกว่านี้ ก่อให้เกิดกระแสการต่อต้านและอาจนำไปสู่การปฏิวัติทางการเมืองก็เป็นได้




หมายเหตุ:  ในงานมีการนำเสนองานวิจัย หัวข้อ "ประชาธิปไตยไทย : ปรัชญาและความเป็นจริง" โดย สมบัติ จันทรวงศ์  และการวิจารณ์โดยปิยบุตร แสงกนกกุล และอธึกกิต แสวงสุข หรือ "ใบตองแห้ง" ติดตามได้ที่นี่ เร็วๆ นี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลปกครองยกฟ้อง คดี 'บ.กัลฟ์ฯ' ฟ้องห้ามเปิด 'สัญญาซื้อขายไฟฟ้า' แต่ยังขอดูเอกสารไม่ได้

Posted: 26 Sep 2012 02:44 AM PDT

คำพิพากษาศาลปกครองกลางยืนตามคำสั่งคณะกรรมการวินิจฉัยฯ เปิดเนื้อหาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟฝ.-บริษัทเอกชน แต่ให้คำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งมีผลต่อไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาอุทธรณ์หรือมีคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

 
 
เมื่อวันที่ 25 ก.ย.55 เวลา 13.30 น.ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ 1971/2552 ที่เครือข่ายภาคประชาชน 4 เครือข่าย อันได้แก่ เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม เครือข่ายรักษ์แปดริ้ว และเครือข่ายติดตามผลกระทบโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน ร้องสอดเข้าไปเป็นคู่กรณีฝ่ายที่ 3 ในคดีที่บริษัทเพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด หรือบริษัทกัลฟ์ เจพี เอ็นเอส จำกัด ฟ้องคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.) 
 
คดีดังกล่าว โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยฯ ที่มีมติให้ กฟผ.เปิดเผยข้อมูลสัญญาซื้อขายไฟฟ้าซึ่งทำกับบริษัทแก่เครือข่ายฯ ในฐานะผู้ขอข้อมูล และเพิกถอนคำสั่งของกฟผ.ที่เห็นควรเปิดเผยข้อมูลสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
 
สืบเนื่องจากรณีที่ เมื่อวันที่ 10 พ.ย.51 เครือข่ายภาคประชาชนที่คัดค้านโรงไฟฟ้า 4 พื้นที่ ได้มีการชุมนุมและยื่นหนังสือเรียกร้องให้ กฟผ.เปิดเผยสัญญา ที่กฟผ.ได้ลงนามซื้อขายไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) 3 ราย จาก 3 โครงการ คือ 1.โรงไฟฟ้าถ่านหิน บริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด ในพื้นที่นิคมมาบตาพุด จ.ระยอง 2.โรงไฟฟ้าก๊าซบางคล้า บริษัท สยามเอ็นเนอร์จี จำกัด ในพื้นที่ ต.เสม็ดเหนือ-ใต้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา และ 3.โรงไฟฟ้าหนองแซง ของ บริษัท เพาเวอร์เจเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด ในพื้นที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี และ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา โดยที่ขณะนั้นโรงไฟฟ้าเขาหินซ้อน ของ บริษัท ไทยเพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด ในพื้นที่ ต.เขาหินซ้อน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ยังไม่มีการเซ็นสัญญา
 
ทั้งนี้ ศาลปกครองมีคำพิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 มีเจตนารมณ์ให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐ เพื่อสามารถแสดงความคิดเห็นและแสดงออกทางการเมือง เว้นแต่การเปิดเผยนั้น ทำให้เกิดความเสียหายอย่างชัดแจ้ง ประกอบกับ มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ รับรองสิทธิในการขอข้อมูลข่าวสาร โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดในฐานะประชาชนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจึงสามารถขอข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานรัฐได้
 
ส่วนประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าการเปิดเผยข้อมูลตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและข้อตกลงเพิ่มเติมจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจนั้น ศาลเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลนี้ไม่ถึงขนาดกระทบต่อความเป็นอยู่ของประเทศและเศรษฐกิจ จึงไม่ใช่ข้อมูลที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผย
 
อีกทั้งการเปิดเผยเนื้อหาสัญญาและข้อตกลงก็มิใช่การรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลของบริษัทแต่อย่างใด เนื่องจาก พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ได้กำหนดนิยามของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ไว้เฉพาะข้อมูลข่าวสารของบุคคลธรรมดาเท่านั้น ไม่รวมข้อมูลของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยเช่นกัน
 
เมื่อคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนแล้ว การใช้ดุลพินิจในการเปิดเผยข้อมูลย่อมชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการเปิดเผยดังกล่าวไม่ได้ละเมิดสิทธิในเรื่องความลับทางการค้า เนื่องจากเป็นไปเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะและตรวจสอบการดำเนินการของรัฐ โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางการค้าแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นความลับทางการค้าหรือไม่ก็ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545
 
อย่างไรก็ตาม แม้คำพิพากษาของศาลปกครองจะยืนยันตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งให้คัดถ่ายเนื้อหาสัญญา ที่ไม่คลอบคลุมถึงเอกสารเรื่องความพร้อมจ่ายพลังงานไฟฟ้า และเอกสารเรื่องค่าพลังงานไฟฟ้า ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปตรวจดูได้ แต่ในปัจจุบัน ประชาชนก็ยังไม่สามารถเข้าตรวจดูหรือคัดถ่ายเอกสารดังกล่าวได้ เนื่องจาก ศาลปกครองให้คำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดียังมีผลต่อไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาอุทธรณ์หรือศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 24 ก.ย.55 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง คดีหมายเลขดำที่ 1970/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 1708/2555 ที่บริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จำกัด หรือบริษัท สยามเอ็นเนอร์จี จำกัด ยื่นฟ้องคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมและการเกษตร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.) เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจากกรณีเดียวกันนี้ โดยพิพากษายกฟ้อง และให้คำสั่งทุเลาการบังคับสิ้นผลนับตั้งแต่วันมีคำพิพากษา  
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนงานไทยในสวีเดนต่อสายร้องทุกข์ ถูกเบี้ยวค่าแรง

Posted: 26 Sep 2012 12:23 AM PDT

26 ก.ย. 55 – โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยเปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 55 เวลาประมาณ 14.00 น.คนงานไทยที่ไปเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน จำนวน 100 กว่าคนได้ส่งตัวแทนโทรศัพท์มาร้องทุกข์ต่อโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เนื่องจากบริษัทนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ที่ผ่านมาบริษัทฯ จ่ายเพียงแค่ค่าน้ำมันรถ  กลุ่มคนงานจึงต้องการเงินค่าจ้างเป็นการด่วนเนื่องจากคนงานเองทำงานครบตามกำหนดแล้ว และเตรียมการจะเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 27 ก.ย. 55  นี้  

เบื้องต้นกลุ่มคนงานดังกล่าวได้ให้ข้อมูลว่า ได้ไปสมัครงานกับบริษัทจัดหางานชื่อ บ. เจเจวาย  และไปในรูปแบบ ประกันราคา 170,000 บาทต่อฤดูกาล เคยขอเจรจากับนายจ้างแต่ไม่ได้พบเจอนายจ้าง ขณะนี้พยายามติดต่อสถานทูต แต่ยังไม่สามารถติดต่อได้ จึงโทรศัพท์ทางไกลร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือจากโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยให้ช่วยประสานงาน และให้คำแนะนำต่างๆ แก่คนงาน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยกฟ้องคดี 112 'สนธิ' ปราศรัยถึงคำพูด'ดา ตอร์ปิโด' ศาลชี้ไม่มีเจตนาทำผิด

Posted: 25 Sep 2012 11:19 PM PDT


 

25 ก.ค.55 เวลาประมาณ 11.50 น.ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา รัชดา ผู้พิพากษานั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นจำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือความผิดตามมาตร 112 ประมวลกฎหมายอาญา จากกรณีที่นำคำปราศรัยของนางดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ที่ปราศรัยที่สนามหลวง ไปปราศรัยบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยการอ่านคำพิพากษานี้ใช้เวลาราว 10 นาที โดยได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนจำนวนมากที่มาเฝ้ารอฟังคำพิพากษาแต่เช้า รวมทั้งมีประชาชนเข้าฟังคดีและให้กำลังใจนายสนธิประมาณ 20 คน

ศาลพิพากษายกฟ้อง โดยระบุว่า

พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์จำเลยแล้ว ฟังได้ว่าจำเลยปราศรัยถ้อยความของนางสาวดารณี ให้ประชาชนฟังบนเวทีกลุ่มพันธมิตรประชนเพื่อประชาธิปไตย และมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีเอเอสทีวีและอินเทอร์เน็ต และในช่วงเวลานั้นมีเว็บไซต์ที่โจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์จริง   จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเพียงว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่

เห็นว่า การพูดของจำเลยไม่เป็นการขยายความคำพูดของนางสาวดารณีชาญเชิง ศิลปกุล แต่เป็นการพูดโดยถอดข้อความบางตอนมาสรุปให้ประชาชนฟัง เพราะพยานโจทก์เองก็เบิกความว่า ทราบว่าคำพูดของนางสาวดารณีหมายถึงทั้งสองพระองค์แม้ไม่มีการระบุพระนาม และเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงหลายนายก็ยืนยันว่าเป็นการปราศรัยเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับนางสาวดารณี

ในขณะที่นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ เบิกความว่าจำเลยต้องการบอกเล่าความไม่ดีของนางสาวดารณี เพราะฉะนั้นแม้คำพูดของจำเลยจะหมิ่นเหม่ หรืออาจใช้วิธีอื่นในการดำเนินการเรื่องเดียวกันนี้ได้ก็ตาม แต่วิญญูชนก็ไม่อาจเข้าใจได้ว่าจำเลยมีเจตนาใส่ร้าย โจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ ประกอบกับคำยืนยันของพลโทนันทเดช เมฆสวัสดิ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านข่าวกรองว่า วันเกิดเหตุจำเลยปราศรัยเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับนางสาวดารณีที่ได้กระทำการลักษณะดังกล่าวมาหลายครั้งแล้ว

การกระทำของจำเลยจึงไม่มีเจตนากระทำความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

ด้านนายสนธิ ลิ้มทองกุล ให้สัมภาษณ์ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาว่า "มาวันนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง บนพื้นฐานของความจริง ท่านผู้พิพากษาไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัวอิทธิพลใดๆ ทั้งสิ้น เพราะท่านคือผู้พิพากษาในพระปรมาภิไธย ท่านจะถูกซื้อไม่ได้ ถูกบีบไม่ได้ ฉะนั้นแล้วผมไม่ประหลาดใจ"

"ผมไม่ได้ดีใจจนตัวลอย ผมเชื่อมั่นในนิติรัฐ จุดสุดท้ายของสังคมไทยคือศาล และผมเชื่อมั่นว่าศาลส่วนใหญ่ยังเป็นคนดีอยู่ ยึดถือพระเจ้าอยู่หัว จะมีบ้างที่รับงานนักการเมือง ที่รับงานของฝ่ายทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่เป็นไร ก็ว่ากันไป ถึงที่สุดแล้วถ้าศาลฎีกา ผมมีคดีถึงศาลฎีกาหลายคดี ถ้าศาลฎีกาพิพากษาจำคุกผม ผมจะเดินเข้าคุกอย่างสง่าผ่าเผย และจะไม่หนีเลยแม้แต่นิดเดียว" สนธิกล่าว

เขากล่าวด้วยว่า มีขบวนการพยายามเอาเขาเข้าคุกให้ได้ แม้ตนโดนคดีหลายสิบคดี แต่ก็ไม่เคยต่อว่าศาลสถิตยุตธรรมแม้แต่ครั้งเดียว ทั้งๆ ที่หลายครั้งรู้ว่าโดนแกล้งจากผู้พิพากษาบางท่านแต่ก็ไม่พูด เมื่อศาลพิพากษาจำคุกในคดีค้ำประกันตัดสิน 80 กว่าปีลดเหลือ 20 ปี ก็ไม่พูด

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องการปราศรัยของนายสนธิบนเวทีพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 20 ก.ค.51 โดยนำเอาคำปราศรัยบางส่วนของนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล มากล่าวซ้ำพร้อมเรียกร้องให้มีการดำเนินคดีกับดารณี จากนั้นจึงมีการออกหมายจับนายสนธิในวันที่ 23 ก.ค.ต่อมาวันที่ 24 ก.ค. นายสนธิพร้อมมวลชนจำนวนหนึ่งได้เดินทางเข้ามอบตัวที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล และได้รับการประกันตัว ส่วนกรณีของดารณีนั้นหลังการปราศรัยของนายสนธิ วันที่ 21 ก.ค. ผบ.ทบ.ในขณะนั้นได้มอบอำนาจให้นายทหารพระธรรมนูญไปแจ้งความดำเนินคดีตาม มาตรา 112 กับดารณี และมีการจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ที่อพาร์ตเมนท์ในวันที่ 22 ก.ค.51 จากนั้นจึงถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง กระทั่งมีคำพิพากษาล่าสุดของศาลชั้นต้นเมื่อ 15 ธ.ค.54 ลงโทษจำคุก 15 ปี คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ และเมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา ดารณีถูกคุมขังครบ 4 ปี

 

อ่านรายละเอียดคดีนี้ได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/45#detail

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แนะนำหนังสือ "ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช"

Posted: 25 Sep 2012 09:43 PM PDT

แนะนำหนังสือ "ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" โดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักวิชาการประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

"ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" แปลจาก "East Timor : The Price of Freedom" ของ John G. Taylor เป็นหนังสือแปลฉบับภาษาไทยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของติมอร์ตะวันออกเล่มแรกถึงเรื่องราวความเป็นมาของการต่อสู้อันยาวนานเพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออก แปลโดย สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ และอรพรรณ ลีนะนิธิกุล

วิดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานเสวนา / เปิดตัวหนังสือ -- Book launch "ติมอร์ตะวันออก: เส้นทางสู่เอกราช" จัดโดย มูลนิธิโครงการตำรสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ มธ, โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ศศ.มธ. และสมาคมจดหมายเหตุสยาม เนื่องในโอกาส 45 ปี อาเซียน และร่วมเฉลิมฉลอง 50 ปี ศิลปศาสตร์ มธ.วันที่ 25 ก.ย.2555 ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สะท้อนย้อนคิดฯ ที่เชียงใหม่: ความคิดทางสังคมศาสตร์กับทิศทางทฤษฎีไทย

Posted: 25 Sep 2012 03:24 PM PDT

ประชุม "สะท้อนย้อนคิด สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เชียงใหม่" ที่ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เมื่อ 21 ก.ย. ในช่วงอภิปรายหัวข้อ "ความคิดทางสังคมศาสตร์กับทิศทางทฤษฎีไทย" โดย (จากซ้ายไปขวา) จันทนี เจริญศรี, ไชยันต์ รัชชกูล, นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และจามะรี เชียงทอง ผู้ดำเนินรายการ 

คลิปช่วงอภิปรายหัวข้อ "ความคิดทางสังคมศาสตร์กับทิศทางทฤษฎีไทย

ระหว่างวันที่ 21 - 22 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมใหญ่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) มีการประชุมวิชาการประจำปี "สะท้อนย้อนคิด สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เชียงใหม่" จัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน) และสำนักพิมพ์คบไฟ

โดยในการประชุมวันแรก (21 ก.ย.) มีการอภิปรายหัวข้อ "ความคิดทางสังคมศาสตร์กับทิศทางทฤษฎีไทย" วิทยากรโดย รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผอ.สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) อ.ดร.จันทนี เจริญศรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.จามะรี เชียงทอง ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เนื้อหาช่วงการอภิปรายของไชยันต์ รัชชกูล และ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์มาจาก สำนักข่าวประชาธรรม)

 

โดย ไชยันต์ รัชชกูล กล่าวว่า เริ่มต้นด้วยคำถามง่ายๆ ว่า "จริงหรือที่สังคมวิทยาเป็นราชินีแห่งสังคมศาสตร์" (Is Sociology "The Queen of Social Sciences" still true?) โดยสมัยหนึ่งถูกมองว่าเป็นอย่างนั้นจริง แต่ถ้ามองในปัจจุบันถือว่าล้าสมัยไปแล้ว ฉะนั้นคำตอบคือ ไม่ เพราะประเด็นหลักสามประเด็น คือ หนึ่ง สังคมวิทยาที่เคยอ้างว่าเป็นแก่นหลักของสังคมศาสตร์นั้น ก็ไม่จริงเสมอไป เพราะมีสาขาวิชาอื่นที่พูดแบบนี้ในลักษณะที่แตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น ภูมิศาสตร์ (Geography) ก็อ้างว่าขอบเขตของศาสตร์ภูมิศาสตร์ก็อยู่ทั่วทุกที่

ไชยันต์ เล่าเรื่องตลกที่ว่า มีหนุ่มคนหนึ่งเขาไปในร้านหนังสือแล้วถามคนขายหนังสือว่า หนังสือเกี่ยวกับภูมิศาสตร์อยู่ตรงไหน คนขายหนังสือตอบว่า ปรัชญาอยู่ตรงนี้ รัฐศาสตร์อยู่ตรงนั้น ส่วนภูมิศาสตร์อยู่ทั่วทั้งร้าน

ด้านประวัติศาสตร์ ผมได้สนทนากับอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งท่านบอกว่า นักสังคมศาสตร์ถ้าไม่มีประวัติศาสตร์ก็ไปไม่ถูก ฉะนั้นประวัติศาสตร์ก็อ้างในสิ่งเดียวกับที่สังคมวิทยาอ้าง เศรษฐศาสตร์ก็อ้างแบบเดียวกัน รัฐศาสตร์ก็เช่นกัน มองว่า ทุกอย่างเป็นการเมืองหมด

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วสังคมวิทยาอ้างอะไร อาจารย์อานันท์ กาญจนพันธุ์ prachatai.com/taxonomy/term/2672 ก็อ้างบ่อยๆว่า สังคมวิทยา คือการศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคม แต่สาขาอื่นๆก็ทำในแบบเดียวกัน เช่นรัฐศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์ เพียงแต่ไม่ได้ใช้คำนี้ เช่นเศรษฐศาสตร์มักอ้างอุปสงค์ อุปทานเสมอ ไม่ว่าจะศึกษาเรื่องการขนส่ง การวางผังเมืองหรือเรื่องอื่นๆ ทำนองเดียวกันรัฐศาสตร์ก็มักจะพูดถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างหญิงกับชาย คนชั้นหนึ่งกับคนอีกชั้นหนึ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อสาขาอื่นๆ ต้องศึกษาสิ่งนี้ เราก็ไม่สามารถอ้างได้ว่าจุดเด่นของสังคมวิทยาคือศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคม

สอง หมายความว่า ศาสตร์ในแต่ละสาขาเป็นศิลปะที่ส่องทางให้แก่กันและกัน เช่น Economic Anthropology คือ ผสมผสานการใช้ระหว่างแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์กับมานุษยวิทยา หรือในทางกฎหมายก็มีการพูดถึงเรื่องกฎหมายที่เป็น Positivism and Naturalism   แต่ที่พูดถึงกันน้อย คือ Sociology of Laws ที่หมายถึงว่า เวลากฎหมายถูกนำไปใช้มันมีผลในทางสังคมอย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เป็นคนละเรื่องกับ Positivism and Naturalism เลย ดังนั้นศาสตร์สองศาสตร์ก็สามารถที่จะส่องทางให้แก่กันและกันได้ นอกจากนี้ยังมีศาสตร์อื่นๆที่ผสมผสานระหว่างกัน อาทิ Politic of Sociology Social history และอื่นๆ

สาม อยากลองนำเสนอการมองแนวคิดแบบใหม่ คือ Semiology of Concept (สัญวิทยาแนวคิด) อย่างที่ทราบกันว่าในทางภาษาศาสตร์เดิมที คำหนึ่งคำเหมือนจะสื่อตรงต่อ Object (วัตถุ) เช่น รูปร่างแบบนี้เรียกว่านาฬิกา แบบนี้เรียกว่าแว่นตา เป็นต้น แต่ทางด้านสัญวิทยากลับมองว่า ไม่ใช่คำที่ไปสอดคล้องกับวัตถุ แต่มันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน เมื่อลองนำแนวคิดนี้มาใช้กับ Concept (แนวคิด) ทางสังคมวิทยา ก็เกิดคำถามว่า แนวคิดมันสอดคล้องกับความเป็นจริง หรือว่า แนวคิดถูกใช้ในความหมายหรือสัมพันธ์กับแนวคิดอื่น ที่มันอาจจะไม่ได้ไปสอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะฉะนั้น "A concept is in relation to other concepts" (แนวคิดหนึ่งจึงสัมพันธ์กับแนวคิดอื่นมากกว่า) ซึ่งแนวคิดนี้ได้มาจากการการสนทนาเรื่องการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์กับอาจารย์ชาญวิทย์ที่เมื่อต้องการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ต้องค้นหาข้อมูลที่กระจัดกระจายมาร้อยเรียงหรือสนับสนุนสิ่งกำลังศึกษาเพื่อให้เห็น Pattern (รูปแบบ) และ Movement (การเคลื่อนไหว) เดียวกัน เช่น เมื่อต้องการศึกษาการก่อตัวของรูปรัฐ ก็ต้องไปนำข้อมูลจากหอจดหมายเหตุ  และจากที่ต่างๆ มาร้อยเรียงกัน เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น แนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ ในบทที่หนึ่งก็พูดถึง Value (ค่านิยม) Labour (แรงงาน)  Commodity (สินค้า) ฯลฯ ซึ่งคำเหล่านี้ เราอาจเข้าใจความหมายเฉพาะคำ แต่เราไม่ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน จนเมื่อมันถูกโยงต่อๆกันให้เป็นภาพใหญ่จนกลายเป็น Capitalism (ทุนนิยม) หรือแนวคิดของแมกซ์ เวเบอร์ (Max weber) ที่รัฐศาสตร์มักสอนกันว่า ความชอบธรรม (Legitimacy) คืออะไร อำนาจ (authority)คืออะไร การครอบงำ (Domination) คืออะไร แต่ตนมองว่าน่าจะผิดประเด็น เพราะว่าการพูดเรื่องอำนาจ (Authority) มันต้องเริ่มต้นจากการพูดถึงเรื่องการครอบงำ ก่อนว่ามีแบบไหนบ้าง เมื่อเข้าใจอันนี้มันถึงมีอำนาจ เมื่อมีอำนาจจึงมีความชอบธรรม เป็นต้น ความสับสนที่เกิดขึ้นจากแนวคิด มีอยู่ให้เห็นบ่อย เนื่องจากหลายแนวคิดมีลักษณะที่คล้ายกัน คำต่างๆที่ใช้อาจจะไม่เหมือนกัน แต่มันเหมือนกันในลักษณะของเนื้อหาเช่น คำว่า Social fact หรือ Ruling Order หรือ Normative Order ในขณะเดียวกันก็มีคำที่ใช้เหมือนกันแต่ความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น ชนชั้น (Class) ในนิยามของคาร์ล มาร์กซ์ กับนิยามของแมกซ์ เวเบอร์ เป็นต้น

ตอนท้าย ไชยันต์สรุปว่าสังคมวิทยาที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็นราชินีของสังคมศาสตร์ แต่มงกุฎนี้ได้ถูกแย่งชิงไปแล้ว คำถามคือ มันไม่ว่างเปล่าหรือ ที่จะยืน มีปัญหาอะไรบ้างที่ควรต้องกังวล จะยุบสาขานี้เลยดีไหม หรือว่าสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาจะอยู่ยงคงกระพัน สุดท้าย ในอนาคตสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาควรจะเป็นอย่างไร (Then, what should sociology to be in the future?)

 

ด้าน นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ กล่าวว่า ทฎษฎีมาจากคำว่า "Theory" ภาษาอังกฤษที่มีรากศัพท์ว่ามุมมองของพระเจ้า หมายความว่ามนุษย์ในสมัยก่อนถูกห้ามไม่ให้คิดหรืออธิบายตัวเองและโลก เพราะโลกจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่นั้นขึนอยู่กับบัญญัติหรือบัญชาของพระเจ้า ทุกวันนี้เรามาสร้างทฤษฎีกันก็คล้ายๆ ว่าเราทำตัวเป็นพระเจ้า ในอีกแง่หนึ่งทฤษฎีเป็นภาษาสันสกฤต ถ้าเราเทียบเคียงภาษาบาลี ทฤษฎีก็คือทิฐิ ซึ่งไม่ได้มีไว้ให้เรายึดติด แต่มีไว้ให้เราปลดเปลื้อง จึงไม่แน่ใจว่าการดิ้นรนหาทฤษฎีใหม่มันคือการดิ้นรนในการมองแบบพระผู้เป็นเจ้า หรือ แต่ถ้าจะมองหาตัวทฤษฎีคิดว่าก็สมควรที่จะมามองหา ณ สำนักเชียงใหม่ เพราะเป็นสำนักที่แข็งแรง มีนักคิด นักเขียน ครูบาอาจารย์ที่มารวมตัวกันเยอะ

แล้วทิศทางของทฤษฎีที่นี่เป็นอย่างไร ผมก็ไม่แน่ใจว่าเราสามารถที่จะรู้ตัวได้ หรือมองไปข้างหน้าได้หรือไม่ หรือว่าจะรู้ตัวว่ามันไปไหนก็ต่อเมื่อเรามองย้อยหลังกลับไปเท่านั้น อย่างไรก็ดีคิดว่าเป็นเรื่องดีที่ได้มาสะท้อนคิดกัน เคยอ่านบทสัมภาษณ์หนึ่งของมิเชล ฟูโก ซึ่งมีคนไปถามเรื่องวาทกรรม และสิ่งที่นักวิชาการทำ ฟูโกก็ตอบในทำนองที่ว่า งานของนักวิชาการที่เขียนขึ้นมาก็เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของวาทกรรมที่อาจจะรับใช้อำนาจบางอย่าง แต่นักวิชาการส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังรับใช้วาทกรรมหรือความสัมพันธ์เชิงอำนาจชุดไหน คนก็ถามฟูโกต่อไปว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นหมายความว่านักวิชาการไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่หรือ? ฟูโกก็ตอบว่า They know what they do but they don"t know what they do do. ซึ่งก็น่าสนใจว่าเราสร้างทฤษฎีของเราไปแต่สิ่งที่ทำมันสร้างอะไรอีกเราก็ไม่รู้ได้ อย่างไรก็ดีการมาทบทวนก็ดีกว่าไม่ทำอะไร

กระบวนการส่งต่อความคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไม่ได้อยู่ในห้องเรียน หรือพื้นที่ของงานวิจัย แต่บางทีมันมาจากกิจกรรม การพยายามจะหาคำอธิบายใหม่หรือคำอธิบายที่ใช้การได้ คิดว่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่เราจะไปให้พ้นจากวิธีคิด หรือการครอบงำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ หากเราไม่ตระหนักเรื่องนี้เราก็อาจเป็น คนค้าความคิดมือสอง Secondhand dealer of ideas

ถ้าเราจะหาทฤษฎีที่เวิร์คกว่าที่ผ่านมา ผมก็คิดถึงสิ่งที่ อ.อานันท์ กาญจนพันธุ์ พยายามสร้างข้อถกเถียงจำนวนมากว่าทฤษฎีเป็นเรื่องของวิธีคิด ตัวช่วยคิด หรือเป็นกระบวนการที่ใช้มองตัวโลกซึ่งผ่านเครื่องมือ และวิธีการอันหลากหลาย (พหุนิยม) ส่วน อ.ชยันต์ วรรธนะภูติ ซึ่งบอกว่าทฤษฎีหรือความคิด อาจจะเป็นภาพตัวแทนของสิ่งที่เรากำลังพูดถึงก็ได้ หรือเป็นการประกอบสร้างชุดความสัมพันธ์ของสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ผมก็มีความคิดอย่างนั้นว่าเวลาเราพูดถึงทฤษฎีมันคล้ายๆ กับว่าเราดึงองค์ประกอบย่อยๆ หลายองค์ประกอบมาปะติดปะต่อกัน สามารถที่จะเข้าใจ ผมรู้สึกว่าถ้าหากอ.อานันท์บอกว่าทฤษฎีคือวิธีคิด ผมคิดว่ามันอาจจะมีระบบวิธีคิดที่ดึงเอาส่วนต่างๆ มาประกอบกัน โดยเรื่องของระบบเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในสมัยหนึ่งมีวิธีคิดเกี่ยวกับระบบว่า เราสามารถสร้างตัวแทนของระบบขึ้นมาได้ เช่น ระบบสุริยะ เราก็วาดรูปวงโคจร แต่หลังจากนั้นก็มีการแย้งว่า สิ่งที่เขียนขึ้นมาแทนระบบนั้นมีข้อจำกัด เพราะการเขียนระบบสามารถเขียนได้หลายแบบ สิ่งต่างๆ มันมาประกอบสร้างกันได้หลากหลายรูปแบบ

เช่น ร่างกายของคนหนึ่งคนประกอบด้วยระบบที่แยกย่อยได้จำนวนมาก หรือ ระบบสังคมก็สามารถแบ่งเป็นระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เมื่อแบ่งได้หลายระบบมากจึงมีคำขวัญในหมู่นักคิดเรื่องระบบว่า "All systems are wrong but some are useful" กล่าวคือไม่มีระบบไหนถูกต้องหรือสมบูรณ์ที่สามารถแทนความจริงได้แต่มีบางอย่างที่เป็นประโยชน์ ซึ่งในกรณีของทฤษฎีผมก็สงสัยว่าเราจะพูดได้หรือไม่ว่า "All theory are wrong but some are useful" ซึ่งอ่านงานของอ.อานันท์ก็มีความรู้สึกอย่างนั้น แต่คำถามมีต่อไปว่ามันเป็นประโยชน์สำหรับใคร

ซึ่งตรงนี้ก็ได้เรียนรู้จากสำนักเชียงใหม่ว่าเป็นการประโยชน์ต่อคนชายขอบ คนไร้อำนาจทั้งหลาย ซึ่งถ้าเราจะภูมิใจต่อการมีสำนักเชียงใหม่ คือการภูมิใจว่าแนวคิด ทฤษฎีทั้งหลายที่พยายามคิดขึ้นไปเพื่อการต่อสู้ร่วมกับคนที่ไร้อำนาจ ต่อสู้ให้กับคนตัวเล็กตัวน้อย ซึ่งมันก็อาจจะป่วยการที่ทุ่มเถียงกันว่าทฤษฎีมันถูกหรือผิด แต่ทฤษฎีมันเอาไปใช้ได้กับพื้นที่อันไหน

ภาพตัวแทนที่เราสร้างขึนมาเพื่ออธิบายโลก ทฤษฎีก็เป็นภาพตัวแทนชนิดหนึ่ง ซึ่งก็ไม่สามารถแทนอะไรได้สมบูรณ์ ส่วนทิศทางของทฤษฎีไทยในอนาคต ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน พวกที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบแห่งความซับซ้อนก็จะมักจะบอกว่าเวลาดูเรื่องระบบสังคม การคลี่คลายตัวของระบบเศรษฐกิจสังคม การเมือง และระบบความรู้ เราเดามันไม่ถูก unpredictable events in a predictable pattern ซึ่งนักมานุษยวิทยาชำนาญในการมองรูปแบบความสัมพันธ์ ซึ่งจะทำให้เจอระบบ ซึ่งทำให้เราสร้าง (construct) ขึ้นมาได้ ซึ่งมันจะเหมือนจริงหรือไม่ก็ยากที่จะพูดได้

แต่ทางเดินข้างหน้าของทฤษฎีนั้น เป็นการเดินทางภายใต้ความตึงแย้ง (tension) ซึ่งความกดดันชุดนี้น่าจะเป็นตัวแบบรูปแบบ ความตึงแย้งอย่างแรก คือ To represent or to not represent มันเป็นการต่อสู้บนความไม่พอเพียงของ representation กับความจำเป็นต้องมี  representation ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งการจะตอบเรื่องนี้นั้นผมยังไม่รู้ ประเด็นที่สอง ในเรื่องพื้นที่ความรู้ของ อ.อานันท์ ผมมีความเห็นว่ามันเป็นพื้นที่ที่มีความทับซ้อนพอๆ กับตัวความรู้ แนวคิด ทำให้ความจริงมันดำรงอยู่โดยมีการต่อสู้กันในพื้นที่ต่างๆ กันไป การผลิตความรู้หรือทฤษฎีต่างๆ ในอนาคต มันจะสัมพัทธ์กับพื้นที่ด้วย

ดังนั้นคำถามคือว่าหากว่ามันมีย้อนแย้ง ทับซ้อน ซับซ้อน พื้นที่แบบไหนต้องการความรู้แบบไหน อาจเป็นสิ่งที่ต้องคิดกันต่อไป

ความตึงแย้งประการที่สาม คือ วิธีการที่เราทำมาในอดีต เขียนเองอ่านกันเอง สำนักเชียงใหม่ ไม่ได้อยู่ในลักษณะเขียนเองอ่านกันเอง มันมีคนนอก มีนักพัฒนาเอกชน กลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เพียงผู้เข้ามาร่วมเคลื่อนไหว หรือผู้ถูกศึกษา แต่มีการนำพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์มาเรียนเป็นนักมานุษยวิทยา  เพราะฉะนั้นมันน่าสนใจว่ามันจะคลีคลายอย่างไรต่อไปในอนาคต

ประเด็นที่สี่คือ ความตึงแย้งระหว่างทุนภายในกับทุนภายนอก ซึ่งมีพลวัตสำคัญ ว่าทุนภายในอย่างสกว. สสส. มันจะมากำกับให้เราทำเรื่องอะไร มากน้อยแค่ไหน และมันดีหรือแย่กว่าเดิมที่เคยถูกกำกับโดยทุนต่างประเทศ หรือเราจะรักษาสมดุลได้อย่างไร

ประการสุดท้าย คิดว่า มันมีความตึงแย้งระหว่างการรักษา Autonomy กับความพยายามที่จัดการอำนาจจากภายนอก ที่เราเรียกว่า Globalization แต่ความจริงมันเป็น Neoliberalization ยกตัวอย่าง มคอ. หรือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education) เป็นร่างปรากฏของเสรีนิยมใหม่ ซึ่งเราจะสู้กับมันอย่างไร เพราะเราจะไม่มีเสรีภาพ หรือไม่รับรู้เดินหน้าผลิตงานวิชาการ อย่างน้อยแรงที่ต้องเสียไปกับพลังงานที่จะมาลดทอนพลังของวิชาการ ซึ่งก็ไม่ต่างกับองค์กรอื่นๆ ซึ่งผมขอเรียกว่าองค์กรปรนัย และมีคำขวัญให้มันไว้คือ เดินตามช่อง มองแค่ที่เห็น เน้นตัวชี้วัด วิสัยทัศน์เอาไว้ท่องจำ งานที่ทำไม่มีความหมายอะไรเลย

นพ.โกมาตร กล่าวทิ้งท้ายว่า หากจะมีการทบทวนสำนักเชียงใหม่ให้ชัด ต้องทบทวนในกรอบช่วงเวลาหลัง 19 กันยายน 2549 เข้าไปด้วยซึ่งจะเห็นวิวัฒนาการของสำนักเชียงใหม่ได้ชัดเจน และสัมพัทธ์กับสำนักอื่นๆ ในกรุงเทพมหานคร

 

จันทนี เจริญศรี กล่าวว่า เท่าที่อ่าน ถกสังคมศาสตร์ไทย ของอานันท์ กาญจนพันธุ์ มีคำสองที่ผุดมาบ่อยคือ หนึ่ง ทะลุกรอบคิด มองว่าคล้ายๆ ทฤษฎีนี้เป็นกรอบปิดกั้นฝั่งภาคปฏิบัติการในโลกของผู้คนจริงๆ ที่มีความสลับซับซ้อนหลากหลาย และทฤษฎีจะเกิดเมื่อมีการทะลุกรอบคิด

อีกคำหนึ่งที่เจอบ่อยคือ อ่านตำราฝรั่งโดยตัวเนื้อหาเอาไม่ได้เพราะเป็นการตอบโจทย์เฉพาะของมัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเอามาได้คือวิธีคิด เลยสงสัยว่าตกลงทฤษฎีพึงเอาไว้ทำอะไร ซึ่งตัวเองจะเข้าใจว่าทฤษฎีคล้ายกับเป็น spcae (พื้นที่) เป็นที่ยืนที่ทำให้เราแยกตัวเองออกมาจากประสบการณ์ที่เราอาจพบเจอในการทำงานสนาม และเอามาใคร่ครวญ ในอีกแง่หนึ่งรู้สึกว่าทฤษฎีคือการโยงใยประสบการณ์กับความคิด หรือไอเดียที่มีอยู่แล้ว รวมถึง Second order thinking  ซึ่งหลายๆ ครั้งสวนทางประสบการณ์

ดูเหมือนว่าประสบการณ์กับทฤษฎี มีความสัมพันธ์กันในแง่การเปิดพื้นที่ และให้กลับมาทบทวน และขณะเดียวกันเป็นวงจรที่เดินไปเรื่อยๆ หยุดไม่ได้ เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่าประสบการณ์มันเยอะ ซับซ้อนกว่าที่จะเข้าใจจากทฤษฎีนั้นก็ต้องเปลี่ยนทฤษฎี ก็เลยคิดว่าสิ่งนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของทฤษฎี

ช่วงท้าย จันทนีเปรียบเทียบที่ทางของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในไทยกับของประเทศอื่นๆ โดยที่จันทนีอภิปรายว่าสังคมวิทยาในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นโตในบริบทของมหาวิทยาลัยและผูกกับความเป็นวิชาการ ส่วนสังคมวิทยาอังกฤษ ผูกกับนโยบายทางสังคมและไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาส่วนบุคคล กล่าวคือทั้ง 2 ประเทศ สังคมวิทยามีที่ยืน ส่วนในประเทศไทย สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไทยอยู่ในชายขอบทั้ง 2 ทาง ในทางวิชาการ นักศึกษาบอกว่าไม่รู้จะกลับไปบอกพ่อแม่ว่าเรียนอะไร ทำงานอะไร ในขณะที่นโยบายทางสังคม ก็ได้ยินนักวิจัยที่ทำงานสนาม ทำงานกับชาวบ้าน บอกว่าผู้กำหนดนโยบายอยากได้ยินสิ่งที่ตัวเองอยากได้ยินอยู่แล้ว สองเรื่องนี้ที่อาจทำให้เห็นที่ยืนหลักๆ ของสังคมวิทยาไทยว่าสังคมวิทยาไทยอยู่ชายขอบทั้ง และเรื่องนี้เป็นตัวอธิบายว่าทำไมต้องเห็นความจำเป็นว่าจะต้องเผยแพร่งานด้านสังคมวิทยา

 

หมายเหตุ: เนื้อหาช่วงการอภิปรายของไชยันต์ รัชชกูล และ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์มาจาก สำนักข่าวประชาธรรม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น