ประชาไท | Prachatai3.info |
- ผู้ต้องหาคดีวางระเบิด รพ.พระมงกุฎ ถูกส่งตัวให้ ตร. หลังถูกทหารคุมตัว 6 วัน
- 'ประยุทธ์-ประวิตร' โต้ 'เสกสรรค์' ปัดสืบทอดอำนาจ ย้ำเลือกตั้งปี 61
- 'มีชัย' แจงเซ็ตซีโร่ กสม. เพื่อให้ที่มาสอดคล้องกับหลักการปารีส
- [คลิป] De-centering Lanna History ท้าทายข้อจำกัด-ขยายพรมแดนล้านนาคดีศึกษา
- 86 ประชาสังคมออก จม.เปิดผนึกเสนอออก พ.ร.ป.ว่าด้วย กสม. ให้อิสระ-ตามหลักสากล
- ประยุทธ์ ชี้สร้างรถไฟ ดูแค่คนขึ้นอย่างไรก็ไม่คุ้ม ขอให้มองการพัฒนา-ผลประโยชน์ต่อเนื่อง
- ทหารอบรมข้าราชการ นักเรียน กับภาพจำ “ระเบียบวินัย” ในสังคม ทางออกอยู่ที่ประชาธิปไตย
- วิเคราะห์ภูมิทัศน์การเมือง การขีดเส้นอำนาจใหม่ ในภาวะไร้อำนาจนำ เกษียร เตชะพีระ
- ประยุทธ์ ชี้พวกต้านแก้ ก.ม.บัตรทอง อาจจะมีคนเสียผลประโยชน์
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: หนังสืองานศพคณะราษฎร
- UN เตือนอาเซียน ยิ่งห้ามแม่บ้านไปทำงาน ตปท. ยิ่งเสี่ยงค้ามนุษย์
- ชำนาญ จันทร์เรือง: วิพากษ์ปาฐกถาเสกสรรค์ ประเสริฐกุล
- กลุ่มคนรักหลักประกัน ยื่นเงื่อนไข 3 ข้อก่อนเข้าร่วมเวทีพรุ่งนี้ เตรียมดันสมัชชาสุขภาพวาระพิเศษ
- ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ อัดแก้ ก.ม.บัตรทอง ทำลายหลักการมีส่วนร่วมภาคประชาชน
- วันผู้ลี้ภัยโลก 'แอมเนสตี้' ชมไทยรองรับผู้ลี้ภัยมาหลายสิบปี วอนคุ้มครองทางกฎหมายเพิ่ม
ผู้ต้องหาคดีวางระเบิด รพ.พระมงกุฎ ถูกส่งตัวให้ ตร. หลังถูกทหารคุมตัว 6 วัน Posted: 20 Jun 2017 12:19 PM PDT ผบ.ตร.รับมอบตัว วัฒนา อายุ 62 ผู้ต้องหาคดีวางระเบิด รพ.พระมงกุฎ จากทหาร หลังถูกทหารควบคุุมตัวไว้สอบสวน 6 วัน ก่อนที่จะนำตัวไปตรวจร่างกาย และแถลงข่าว โดยตำรวจแสดงหมายจับและแจ้งข้อหา ทั้งหมด 5 ข้อหา ภาพจากเพจ Banrasdr Photo 20 มิ.ย. 2560 กรณีเหตุระเบิด เมื่อวันที่ 22 พ.ค.60 ที่ผ่านมา บริเวณที่เกิดเหตุเป็นห้องรับรองนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เกษียณอายุราชการ หน้าห้องวงษ์สุวรรณ ภายใน รพ.พระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี กทม. จนมีผู้บาดเจ็บหลายราย นั้น ต่อมา เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.60 มีรายงานข่าวว่าเจ้าหน้าที่จับกุม วัฒนา ภูมเรศ อายุ 62 ผู้ต้องสงสัยคดีดังกล่าว และถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารตั้งแต่นั้นมา ล่าสุดวันนี้ (20 มิ.ย.60) พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้รับมอบตัว วัฒนา หลังถูกทหารควบคุุมตัวไว้สอบสวน 6 วัน ก่อนที่จะนำตัวไปตรวจร่างกาย และแถลงข่าว โดยตำรวจแสดงหมายจับและแจ้งข้อหา วัฒนา โดยเขาถูกออกหมายจับทั้งหมด 5 หมายจับ มีพยานหลักฐานว่า เกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดหน้าโรงภาพยนตร์เมเจอร์รัชโยธิน เมื่อ 9 เม.ย.50, คดีระเบิดหน้าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเดิม กองสลากแห่งเก่า เมื่อ 5 เม.ย. 60, คดีระเบิดหน้าโรงละครแห่งชาติ เมื่อ 15 พ.ค.60, คดีระเบิดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ เมื่อ 22 พ.ค.60 และ ข้อหามีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง หลังเจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจค้นบ้านพักย่านบางเขนแล้วพบไปป์บอมบ์พร้อมอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนมาก ในความผิดฐาน พยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ทำให้เกิดระเบิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ, มีวัตถุระเบิดและอาวุธปืนเครื่องกระสุนโดยไม่รับอนุญาต, มียุทธภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาต และทำให้เสียทรัพย์ ภาพจากเพจ Banrasdr Photo ในระหว่างการแถลงข่าวนั้น วัฒนา ได้กล่าวว่า ตนเป็นผู้ลงมือเพียงคนเดียว ทำเพราะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติ เพราะทำให้ประเทศหายนะ ตลอดจนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนก็ถูกลิดรอน ทุกครั้งที่ทำต้องการให้เป็นการแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารเท่านั้น ไม่ต้องการให้ใครได้รับบาดเจ็บ และไม่ใช่ระเบิด เป็นเพียงประทัดยักษ์ ส่วนความคิดทางการเมือง ตนได้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับหลายกลุ่ม ทั้ง กปปส.และ นปช. นาฬิการูปอดีตนายกเป็นของตนจริง ได้รับมาจากเพือนเป็นของขวัญตอนเกษียณ พล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้สืบสวนขยายผลเพิ่มเติมว่า มีผู้อื่นเกี่ยวข้องอีกหรือไม่ ถ้ามีพยานหลักฐานเชื่อมโยงถึงผู้ใดให้ดำเนินการทั้งหมด แม้นายวัฒนา จะสารภาพว่า ก่อเหตุเพียงลำพัง ยอมรับว่า การป้องกันการก่อเหตุแบบ"โลน วูล์ฟ" (Lone Wolf หมาป่าโดดเดี่ยว) หรือก่อเหตุแบบฉายเดี่ยว ป้องกันได้ยาก ซึ่งจะต้องมีการทบทวนแผนป้องกันอีกครั้ง ด้าน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่า การจับกุมครั้งนี้ ไม่ผิดตัว โดยจะสืบสวนขยายผลต่อไป
ที่มา : สำนักข่าวไทย และ Banrasdr Photo ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
'ประยุทธ์-ประวิตร' โต้ 'เสกสรรค์' ปัดสืบทอดอำนาจ ย้ำเลือกตั้งปี 61 Posted: 20 Jun 2017 11:38 AM PDT กรณี 'เสกสรรค์' คาดการกุมอำนาจของชนชั้นนำภาครัฐคงดำเนินอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 9-10 ปี 'ประยุทธ์' ย้ำจะมีการเลือกตั้งในปี 61 ระบุใครวิจารณ์ก็ต้องปล่อยให้มีการแสดงความคิดเห็นไป 'ประวิตร' ยันโรดแม็ปกำหนดไว้แล้ว ไม่ใช่การสืบทอดอำนาจ ประยุทธ์ - เสกสรรค์ - ประวิตร 20 มิ.ย. 2560 จากกรณีเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวตอนหนึ่งในปาฐกถา เรื่อง "การเมืองไทย กับ สังคม 4.0" ในงานเสวนา "Direk's Talk ทิศทางการเมืองโลก ทิศทางการเมืองไทย และนโยบายสาธารณะ" ว่า การกุมอำนาจของชนชั้นนำภาครัฐคงดำเนินอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 9-10 ปี นั้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) วันนี้ (20 มิ.ย.60) สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า จะมีการเลือกตั้งในปี 2561 ส่วนใครจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร ก็ต้องปล่อยให้มีการแสดงความคิดเห็นไป ส่วนตัวติดตามและฟังความเห็นของทุกส่วน และเลือกในส่วนที่เป็นประโยชน์ มาพิจารณา และทั้งหมดก็ต้องอยู่ที่ประชาชนจะพิจารณาข้อเท็จจริง เช่นเดียวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ไม่ทราบจะมองไปแบบนั้นได้อย่างไร เพราะมีโรดแม็ปกำหนดไว้แล้ว ส่วนการวางกลไกล ส.ว.สรรหาและกระบวนการทางรัฐสภานั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ไม่ใช่การสืบทอดอำนาจ เมื่อถามว่าจะมีการตั้งพรรคของทหารเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า จะไม่มีการจัดตั้งพรรคของทหารเพื่อมาลงเลือกตั้งอย่างแน่นอน ตนอายุเยอะแล้ว ทำงานตรงนี้ให้จบก็พอแล้ว คงไม่ทำอะไรอีกแล้ว พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) ประกาศว่าไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งในขณะนี้ว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังเดินหน้าเรื่องการสร้างความปรองดองอยู่ จึงอยากขอความร่วมมือทุกฝ่ายให้เกิดความปรองดอง ส่วนใครจะให้ความเห็นอย่างไรก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล ตอนนี้เวลานี้ทุกอย่างเดินไปแล้วขอทุกฝ่ายร่วมมือกัน นายสุเทพก็เคยมาให้ความคิดเห็นแล้ว สำหรับเรื่องสัญญาประชาคม เตรียมตั้งเวทีสาธารณะให้ประชาชนแสดงความเห็นและรวบรวมความเห็นมาให้นายกรัฐมนตรี ซึ่งทุกอย่างก็ทำไปตามขั้นตอนขอทุกฝ่ายอย่ากังวล เมื่อถามว่า สุเทพ ระบุว่าเรื่องระเบิดทำให้เห็นชัดเจนว่าไม่น่ามีการเลือกตั้งในขณะนี้ และในฐานะดูมั่นคงจะสร้างความมั่นใจและควบคุมสถานการณ์ในปีหน้าได้อย่างไร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ในส่วนความมั่นคงต้องคุมได้อยู่แล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับ ส่วนที่ เสกสรรค์ กล่าวถึงการสืบทอดอำนาจนั้น เขากล่าวว่า ถ้าดูบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญจะเห็นว่า พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ กับ พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีส่งร่างเข้าสภาแล้ว ต้องออกมาภายใน 4 เดือน หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ นี่หมายถึงว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแทบจะกำหนดนโยบายเพิ่มไม่ได้เลยและอาจต้องกลายเป็นผู้สืบทอดนโยบายของ คสช.เสียเอง ยิ่งไปกว่านี้ รัฐธรรมนูญ2560 ยังมีบทบัญญัติต่างๆ ที่ทำให้แก้ไขได้ยาก จนถึงขั้นเกือบเป็นไปไม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่าผู้ร่างมีวัตถุประสงค์จะตรึงโครงสร้างดังกล่าวไว้ให้นานแสนนาน ดังนั้น เมื่อบวกรวมกับช่วงที่รัฐบาลทหารปกครองโดยตรงแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า การกุมอำนาจของชนชั้นนำภาครัฐคงดำเนินอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 9-10 ปี แน่ล่ะ ถ้าพูดถึงตัวบุคคลหรือแม้แต่ คสช. การสืบทอดอำนาจอาจไม่เป็นเส้นตรงขนาดนั้น แต่ถ้าพูดถึงชนชั้นนำภาครัฐแล้วการต้องการพื้นที่ถาวรและอำนาจนำทางการเมืองเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
'มีชัย' แจงเซ็ตซีโร่ กสม. เพื่อให้ที่มาสอดคล้องกับหลักการปารีส Posted: 20 Jun 2017 11:16 AM PDT ประธาน กรธ. แจง เซ็ตซีโร่ กสม. เพื่อให้ที่มาของ กสม.ไทยสอดคล้องกับหลักการปารีส แก้ปัญหาการทำงานแบบต่างคนต่างทำ ด้านประธาน กสม. ค้านระบุหลักการปารีสไม่ได้กำหนดกระบวนการสรรหาว่าต้องมีกระบวนการเช่นนั้น มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) 20 มิ.ย. 2560 เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา รายงานว่า มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงการเซ็ตซีโร่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่า การกำหนดให้สรรหา กสม. ใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ที่มาของ กสม.ไทยสอดคล้องกับหลักการปารีส ซึ่งจะทำให้ กสม.มีความหลากหลาย และเชื่อมั่นว่าจะไม่มีปัญหาความขัดแย้งเหมือนในอดีต เพราะ กรธ.ได้บัญญัติแก้ปัญหาในอดีตที่การทำงานของ กสม. มีลักษณะแบบต่างคนต่างทำ เปลี่ยนมาให้ใช้รูปแบบการทำงานแบบคณะกรรมการและหาข้อยุติด้วยการใช้มติร่วมกัน พร้อมกับให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่ต้องการข้อมูลเป็นการเฉพาะได้ ทั้งนี้ ก่อนการยกร่าง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทางกรธ.ได้มีการชี้แจงต่อคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(ICC) แล้ว ซึ่ง ICC ก็มีท่าทีพอใจกับการทำให้ที่มาของ กสม.ไทยมีความหลากหลาย จึงเชื่อมั่นว่า เมื่อร่างกฎหมายลูกฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะทำให้ไทยได้รับการคืนระดับคุณภาพด้านสิทธิมนุษยชนของไทยกลับมาดีขึ้น ประธาน กสม. ค้าน มีชัยขณะที่เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา วัส ติงสมิตร ประธาน กสม.โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในลักษณะสาธารณะว่า ไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วย กสม. ที่ให้ประธาน กสม. และ กสม.ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.ป.กสม.ใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ พ.ร.ป.กสม.ใช้บังคับ แต่ให้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า กสม.ที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ วัส ติงสมิตร ประธาน กสม. สำหรับเหตุผลของ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่บอกว่า ต้องรีเซ็ต กสม.เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล ที่ประเทศไทยถูกทักท้วงว่ามีปัญหาว่าด้วยกระบวนการได้มาซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการว่าด้วยสถานะและหน้าที่ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (หลักการปารีส) ซึ่งตรงกับเหตุผลในร่าง พ.ร.ป.กสม.ของ กรธ.ที่ระบุว่า กสม.ชุดปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับหลักการสากลเกี่ยวกับกระบวนการได้มา ซึ่ง กสม.จะต้องมาจากความหลากหลายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนั้น ประธาน กสม.กล่าวว่า เป็นเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง เพราะหลักการปารีสไม่ได้กำหนดกระบวนการสรรหาว่าต้องมีกระบวนการเช่นนั้น "กฎเกณฑ์ตามร่าง พ.ร.ป.กสม.ของ กรธ.ดังกล่าว ไม่มีปรากฏในหลักการปารีส" ประธาน กสม.กล่าว ประธาน กสม.ย้ำอีกว่า หลักการปารีสกำหนดแต่เพียงว่า การกำหนดองค์ประกอบของสถาบันแห่งชาติควรประกอบด้วยสมาชิกของสถาบัน ไม่ว่าจะด้วยวิธีการเลือกตั้งหรือด้วยวิธีอื่นใด จะต้องเป็นกระบวนการที่มีหลักประกันที่ทำให้มั่นใจได้ว่าสถาบันจะเป็นตัวแทนที่หลากหลายของพลังทางสังคม หรือภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจที่จะทำให้สถาบันได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีกับตัวแทนของกลุ่มต่างๆ หรือโดยผ่านการเข้าร่วมของตัวแทนกลุ่มต่างๆ เช่น องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ รวมทั้งองค์กรวิชาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมทนายความ แพทย์ สื่อมวลชน นอกจากนั้นก็เป็นกระแสแนวคิดทางปรัชญา ศาสนา รวมทั้งมหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสม รัฐสภา และหน่วยงานต่างๆของรัฐ ซึ่งควรมีส่วนร่วมในการพิจารณาที่มีหน้าที่เพียงการให้คำแนะนำเท่านั้น ประธาน กสม.กล่าวว่า กรธ.คิดร่าง พ.ร.ป.กสม. ดังกล่าวมาได้อย่างไร เพราะเป็นการกำหนดที่เกินเลยจากหลักการปารีสค่อนข้างมาก ไม่ยืดหยุ่น และสรรหามาได้ยาก "รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ กรธ. สร้างมาได้กำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการสรรหาไว้ระดับเทพแล้ว ยังกำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะได้รับการสรรหามาเป็น กสม. ให้เกินเลยไปจากมาตรฐานสากล ซึ่งจะกลายเป็นปัญหายุ่งยากในการสรรหาทั่วไปและสรรหาซ่อมในอนาคตต่อไปได้" ประธานกสม.กล่าว ส่วนประเด็นที่อ้างว่าการทำงานของ กสม.มีปัญหา หรือที่มาของ กสม.ชุดปัจจุบันขาดความหลากหลายจึงต้องรีเซ็ต กสม.ทั้งชุดนั้น ประธาน กสม. เห็นว่า ไม่ถูกต้องทั้งในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง เพราะ กสม. ชุดปัจจุบัน ซึ่งเป็นชุดที่ 3 นี้ มีผลงานออกมาทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศมากขึ้นและต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งองค์ประกอบของกสม.ชุดปัจจุบันก็มีความหลากหลาย มีทั้งอดีตข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับงานสิทธิมนุษยชน ผู้พิพากษา นักจิตอาสา และภาคประชาสังคม ประธาน กสม. กล่าวอีกว่า กสม.ชุ ดปัจจุบันสามารถทำงานให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างชัดแจ้งทั้งด้านการคุ้มครองสิทธิฯและด้านส่งเสริมสิทธิฯ "เมื่อเร็วๆนี้นายกรัฐมนตรียังได้มาปาฐกถาพิเศษในหัวข้อหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกับการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ กสม. ร่วมกับ 8 องค์กรพันธมิตรจัดการสัมมนาวิชาการเรื่อง การเผยแพร่และขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในประเทศไทย ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก จนเป็นที่ชื่นชมทั้งภายในและระหว่างประเทศอันเป็นผลดีต่อประเทศโดยรวม" ประธาน กสม. ย้ำ นอกจากนี้ประธาน กสม. กล่าวอีกว่า การรีเซ็ตองค์กรอิสระใดๆ จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุจำเป็นโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ รวมทั้งต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อผู้ที่อาสาเข้ามาทำงานที่ต้องละทิ้งงานเดิมมาทำงานให้องค์กรอิสระ "งานของ กสม. น่าจะมีผลกระทบกระเทือนแน่นอน เพราะโครงการต่างๆกำลังเดินไปด้วยดี จะหยุดชะงักทันที" ประธาน กสม. ตอบคำถามที่ว่าหาก กสม.ถูกรีเซ็ตจะกระทบต่อการทำงานหรือไม่ ประธาน กสม. ชี้ให้เห็นทางออกของเรื่องนี้ที่จะทำได้มากที่สุดคือ เขียนในบทเฉพาะกาลของ พรป.องค์กรอิสระให้ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระพ้นจากตำแหน่งเฉพาะรายที่เป็นบุคคลผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใหม่ ไม่ใช่ให้พ้นไปทั้งชุด เพราะไม่เป็นธรรมต่อผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระนั้น ประธาน กสม. กล่าวย้ำในที่สุดว่า รัฐธรรมนูญ 2560 มีปัญหาทั้งในด้านหลักการเขียนและการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงขอให้ผู้มีอำนาจในการเขียน พ.ร.ป.กสม.เปิดใจให้กว้าง พิจารณาให้รอบคอบ และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้อื่น ควรคิดแก้ไขปัญหาอื่นๆที่รอการแก้ไขอยู่ก่อนจะมาคิดรีเซ็ตองค์กรอิสระให้เกิดปัญหาเพิ่มไปอีก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
[คลิป] De-centering Lanna History ท้าทายข้อจำกัด-ขยายพรมแดนล้านนาคดีศึกษา Posted: 20 Jun 2017 11:05 AM PDT คลิปจากการเสวนาหัวข้อ De-centering Lanna History วิทยากรโดย สุวิภา จำปาวัลย์ อำนวยวิทย์ ธิติบดินทร์ และภูเดช แสนสา โดยผู้นำเสนอชี้ให้เห็นถึงปัญหาข้อจำกัด และมุมมองใหม่ๆ สำหรับการศึกษาล้านนาคดีอย่างน่าสนใจ อ่านระหว่างบรรทัดตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ | ||||
86 ประชาสังคมออก จม.เปิดผนึกเสนอออก พ.ร.ป.ว่าด้วย กสม. ให้อิสระ-ตามหลักสากล Posted: 20 Jun 2017 10:07 AM PDT 86 องค์กรสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคม พร้อม 71 รายชื่อ ร้อง ประธาน สนช. และ มีชัย ออกพ.ร.ป.ว่าด้ 20 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์กรสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคม นำโดย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) 86 องค์กร พร้อมด้วยรายชื่อบุคคลอีก 71 รายชื่อ รวมออกจดหมายเปิดผนึก เรื่อง ความเห็นร่าง พ.ร.ป.ว่าด้ โดยจดหมายฯ ระบุว่า ร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าว ยังคงมีบางมาตรา ที่บัญญัติขึ้นตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการสากลที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องมีความเป็นอิสระ ตามหลักการแห่งกรุงปารีส พร้อมทั้งมีข้อแนะนำเพื่อให้ ร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าว มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา หน้าที่และอำนาจเสนอเรื่องต่อศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ หน้าที่และอำนาจจัดทำรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นธรรม การเปิดเผยข้อมูลและสำนักงานคณะกรรมการฯ รวมทั้งบทเฉพาะกาล โดยมีรายละเอียดดังนี้ :
จดหมายเปิดผนึกของภาคประชาสังคม เรื่อง ความเห็นร่างพระราชบัญญัติ เรียน ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรียน นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้จัดทำร่าง พ.ร.ป.ว่าด้ หลักการและเหตุผล1. โดยที่รัฐธรรมนูญ 2540 รัฐธรรมนูญ 2550 และรัฐธรรมนูญ 2560 ได้รับรอง"ศักดิ์ศรีความเป็นมนุ 2. โดยที่ พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่ 3. แม้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จะมีการเพิ่มอำนาจหน้าที่ 4. ปลายเดือนธันวาคม 2557 คณะกรรมการประสานงานระหว่ 5. ร่าง พ.ร.ป.ยังคงมีบางมาตรา ที่บัญญัติขึ้นตามที่กำหนดไว้ 6. ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิ ข้อเสนอแนะเพื่อให้ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้ 1. คุณสมบัติของคณะกรรมการสิทธิมนุ ร่างมาตรา 8 วรรคหนึ่งกำหนดคุณสมบัติด้านต่ เห็นว่าการกำหนดคุณสมบัติ 2. องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา ร่างมาตรา 11 (5) กำหนดให้ผู้แทนสภาวิชาชี 3. หน้าที่และอำนาจเสนอเรื่องต่ เห็นด้วยกับมาตรา 37 ที่กำหนดให้หน้าที่ เห็นว่า ควรเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจให้ 4. หน้าที่และอำนาจจัดทำรายงานสถาน มาตรา 44 กำหนดว่าเมื่อปรากฏว่ามี เห็นว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5. การเปิดเผยข้อมูล มาตรา 46 กำหนดความผิดและผู้ที่อาจต้องรั (1) บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุ (2) ข้อมูลข่าวสารที่ต้องปกปิดคือข้ (3) ความรับผิดควรจำกัดอยู่เฉพาะเจ้ 6. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุ เห็นว่ามาตรา 47 การกำหนดให้สำนั 7. บทเฉพาะกาล เห็นว่าควรคงบทเฉพาะกาล มาตรา 60 วรรค 1 ที่บัญญัติว่า "ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุ ด้วยเหตุที่ กระบวนการร่างพระราชบัญญัติ ด้วยความเชื่อมั่นในหลักสิทธิ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
ประยุทธ์ ชี้สร้างรถไฟ ดูแค่คนขึ้นอย่างไรก็ไม่คุ้ม ขอให้มองการพัฒนา-ผลประโยชน์ต่อเนื่อง Posted: 20 Jun 2017 06:30 AM PDT พล.อ.ประยุทธ์ ยันยังไม่เคยพูดว่าจะไปกู้เงินใครมาเดินหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน ชี้ดูแค่คนขึ้นอย่างไรก็ไม่คุ้ม ขอให้มองการพัฒนา-ผลประโยชน์ต่อเนื่อง ด้าน สถาปนิก-วิศวะ ยอมเเล้ว ม.44 ดันรถไฟ หลังพบ 'วิษณุ' ขณะที่ 'ศรีสุวรรณ' ยื่นผู้ตรวจฯ ส่งศาลรธน.-ศาลปกครอง สอบคำสั่ง ม. 44 สร้างรถไฟฯ แฟ้มภาพ 20 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึง แหล่งเงินกู้ในการเดินหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน ที่ต้องใช้เม็ดเงิน 1.74 แสนล้านบาท ว่า ขณะนี้ยังไม่ตัดสินใจว่าจะกู้เงินจากจีนหรือไม่ เป็นเพียงข้อเสนอจากทางการจีนเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลจะพิจารณาจากแหล่งเงินกู้ ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด รวมถึงพิจารณาแหล่งเงินกู้ในประเทศด้วย "เรื่องเงินกู้ผมยังไม่เคยพูดเลยว่า จะไปกู้เงินใครมา ในประเทศก็มีพอสมควร ซึ่งจีนก็ไม่เคยเรียกร้อง เพียงแต่เสนอข้อพิจารณามาว่า ถ้าใช้ของเขาดอกเบี้ยเท่าไหร่ ก็เอามาเปรียบเทียบเงินกู้ที่ใช้จากแหล่งอื่นมันต่ำกว่าหรือไม่ ถ้าตรงไหนต่ำกว่าก็ใช่ตรงนั่น เขาไม่เคยมาบังคับตรงนี้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว หัวหน้า คสช. กล่าวว่า วงเงิน 1.74 แสนล้าน จะใช้ในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน 1.3 แสนล้าน และใช้บริหารจัดการการเดินรถอีก 4 หมื่นล้าน ในส่วนของสัญญาโครงการนี้ ไม่มีผลต่อรถไฟในเส้นทางอื่น ๆ เพราะรถไฟที่เหลืออาจจะดำเนินการในลักษณะอื่น ไม่ว่าจะเป็นไปประมูล ไปร่วมทุน หรือจะให้เอกชนลงทุนในรูป PPP แต่เส้นนี้ถือเป็นเส้นแรกที่ต้องเกิดขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการนี้ จะคิดเฉพาะรายได้จากการโดยสารเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งรัฐบาลจะเข้าไปดูข้อกฏหมาย เพื่อให้เกิดการพัฒนาประโยชน์จากสองข้างทางด้วย เชื่อว่าจะเกิดการลงทุนอื่น ๆ ตามมา รวมถึงเกิดเมืองใหม่ ซึ่งผลประโยชน์จะตกกับประชาชนโดยตรง "อันนี้มันเป็นสายแรกที่เราจำเป็นต้องทำให้มันเกิดขึ้น ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเส้นทางความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ มันต้องไปมองว่าประเทศไทยจะไปคาซักสถานอย่างไรโน้น คิดตรงนั้นสิครับ เรื่องผลประโยชน์ตอบแทนจะคิดเอารายได้จากแค่คนขึ้นหรอ มันต้องมองอย่างอื่นด้วย มอง 2 ประโยชน์ข้างทาง มันจะเกิดขึ้นอย่างไร รัฐบาลก็ไปดูกฎหมายตรงนี้ว่าจะเอา 2 ข้างทางมาบริหารจัดการให้เกิดทางธุรกิจอย่างไร ดูแลผู้มีรายได้น้อยได้อย่างไร ประชาชนได้ประโยชน์อย่างไรจากเส้นทางดังกล่าว มีเมืองใหม่เกิดขึ้นไหม มันก็มีการลงทุนอย่างอื่นอีก มากมายตามมา มันก็เป็นผลประโยชน์ตอบแทนไปถึงประชาชนโดยตรงนั่นล่ะ อย่าไปคิดคุ้มค่าไม่คุ้มค่าเฉพาะคนขึ้นรถ อย่างไร มันก็ไม่คุ้ม ถ้าคิดแบบนั้นนะ ไปคิดถึงผลประโยชน์ต่อเนื่องในธุรกิจเยอะแยะ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว "วันนี้ผมให้แนวทางข้าราชการใหม่ทั้งหมด ต้องมองว่าจะเอื้อประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไรต่อไปในอนาคต "make different for future" make different คือ ให้มันต่างจากของเดิม ส่วน for future ไม่ใช่มองวันนี้เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่มองข้อขัดแย้ง มองปัญหา มองเรื่องทุจริต ซึ่งเราพยายามแก้ทุกอัน เพื่อไป future วันนี้ทำงานแบบหาเป้าหมายให้เจอ ให้ตรงกลุ่ม ไม่ใช่ทั่งหมดโปรยปรายไปทั้งหมด เท่ากันหมด มันไม่ได้ แต่ต้องจัดสรรงบประมาณให้เหมาะกับทุกภาคส่วน ต้องเฉลี่ยรายได้ให้ลงมาสู่คนที่มีรายได้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลคิดมาตลอดเวลา ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ต้องไม่ได้รับผลประโยชน์ลดลงจากเดิมที่เคยได้อยู่" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว หัวหน้า คสช. กล่าวว่า ในส่วนข้อกังวลของวิศวกรรมสถาน ได้หารือกัน และทางวิศวกรรมสถานมีความเข้าใจแล้ว ซึ่งในประเด็นที่มีความกังวล ไม่ว่าเรื่องวิศวกร การถ่ายทอดเทคโนโลยี ทางการไทยได้เจรจามาโดยตลอด ซึ่งมีข้อตกลงมาแล้วถึง 18 ครั้ง ในกิจกรรมใดที่ไทยสามารถทำได้ ก็ให้ดำเนินการไปอยู่แล้ว แต่ติดเพียง 3-4 ข้อ ที่เป็นปัญหา จึงนำไปสู่การออกมาตรา 44 โครงการนี้ไม่ได้ให้ประโยชน์กับใครเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว สถาปนิก-วิศวะ ยอมเเล้ว หลังพบ 'วิษณุ'วานนี้ (9 มิ.ย.60) วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกสภาสถาปนิกและวิศวกรรมสถานเเห่งประเทศไทยหลังจากที่มีคำสั่ง คสช.มาตรา 44 เพื่อเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งทำให้สภาสถาปนิกและวิศวกรรมสถานเเห่งประเทศไทยออกมาแสดงความเป็นห่วงหารือทำความเข้าใจถึงข้อกังวลต่างๆ โดย ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย กมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกรได้เข้าพบ วิษณุ เพื่อหารือทำความเข้าใจในกรณีดังกล่าว โดยจากการหารือกว่า 1 ชั่วโมง ที่ประชุมยอมให้ดำเนินการตามมาตรา 44 ที่วิศวกรจีนที่เข้ามาทำโครงการไม่จำเป็นต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของไทย แต่จะต้องเข้าอบรมและผ่านการทดสอบตามหลักสูตรที่คณะกรรมการ 5 ฝ่ายจัดขึ้น ธเนศ เปิดเผยว่า ไม่มีปัญหาในการออกคำสั่งตามมาตรา 44 ที่ยกเว้นให้วิศวกรจีนไม่ต้องสอบใบอนุญาตในการเข้ามาทำงานในโครงการนี้ แต่ขอให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับวิศวกรรมสถานฯ มหาวิทยาลัยของรัฐ และสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม นายวิษณุ ยังเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยวิศวกรรมสถานจะเป็นองค์กรกลางในการรวบรวมข้อมูลมานำเสนอและกำหนดข้อเสนอของสมาคมวิชาชีพในสัญญาการก่อสร้างต่อไป ศรีสุวรรณยื่นผู้ตรวจฯ ส่งศาลรธน.-ศาลปกครอง สอบคำสั่ง ม. 44 สร้างรถไฟฯวานนี้เช่นกัน สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นำโดย ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมฯเข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายฐนภณ ธนวชิรนนท์ เจ้าหน้าที่สืบสวนอาวุโสระดับสูง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบและเสนอเรื่องความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองวินิจฉัยว่า คำสั่งคสช.ที่ 30 /2560 กรณีเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงชาวกรุงเทพ-นครราชสีมา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.60 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ที่มาภาพ เฟซบุ๊ก Srisuwan Janya ศรีสุวรรณ กล่าวว่า การออกคำสั่งดังกล่าวมีผลต่อเอกราช อธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งน่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 52 ประกอบมาตรา 26 ทั้งนี้ 1 การก่อสร้างรถไฟฯ ดังกล่าวโดยให้การพัฒนาที่ดินด้านข้าง ๆ ละ150 เมตรตลอดเส้นทาง เป็นของชาวจีน เข้าข่ายทำให้ไทยสูญเสียอธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิ 2.คำสั่งคสช.ดังกล่าวยังได้ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายปกติไม่น้อย 7 ฉบับในเรื่องเกี่ยวกับการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง ระเบียบว่าด้วยพัสดุ ทั้งที่ผ่านมารัฐบาลพยายามรณรงค์เรื่องการสร้างความโปร่งใส แต่การยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเท่ากับไม่เคารพกลไกการตรวจสอบ ถ่วงดุล ศรีสุวรรณ กล่าวว่า 3. คำสั่งดังกล่าวไม่สอดคล้องหลักการการใช้อำนาจตาม ม. 44 ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับ 2557 ที่กำหนดให้คสช.ใช้อำนาจออกคำสั่งเฉพาะกับเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงเท่านั้น แต่กรณีรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องเศรษฐกิจ นอกจากนี้การออกคำสั่งยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 265 อีกด้วย 4.เรื่องดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายเป็นเรื่องการทำสนธิสัญญาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 178 ที่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา การมาใช้อำนาจตามม. 44 ออกคำสั่งจึงน่าจะเป็นการกระทำที่ก้าวล่วง หาก สนช.ยกเว้นไม่ดำเนินการก็เท่ากับไม่รักชาติรักแผ่นดิน อย่างไรก็ตามหากผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบแล้วพบว่ากรณีการดำเนินการดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศจีนก็ขอให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการตามมาตรา 221 ด้วย "คิดว่า 4 ประเด็นน่าจะเพียงพอที่ผู้ตรวจฯ จะใช้อำนาจหน้าที่ยื่นเรื่องดังกล่าวพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง เพราะคำสั่งคสช. มีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ เมื่อรัฐธรรมนูญปัจจุบันใช้บังคับ คสช.จะใช้อำนาจเหมือนปกติที่ผ่านมาไม่ได้แล้ว รวมทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ก็ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งจะมาคิดกัน แต่มีการเจรจากันมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จึงไม่ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องออกคำสั่งเพื่อมาลดขั้นตอนวิธีการในการดำเนินการ หรือใช้อำนาจทุบโต๊ะซึ่งก็ไม่น่าจะเข้าหลักเกณฑ์ที่จะออกคำสั่งม. 44 ด้วย" นายศรีสุวรรณ และว่า หากรัฐบาลดึงดันจนไปถึงขั้นของการลงนามสัญญากับประเทศไทย ตนก็จะยื่นเรื่องดังกล่าวต่อป.ป.ช.และสตง. เพราะถือว่ามีอำนาจหน้าที่โดยตรง
ที่มา : สำนักข่าวไทย, สปริงนิวส์ และ ยูทูบ 'ทำเนียบ รัฐบาล' ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ทหารอบรมข้าราชการ นักเรียน กับภาพจำ “ระเบียบวินัย” ในสังคม ทางออกอยู่ที่ประชาธิปไตย Posted: 20 Jun 2017 05:26 AM PDT คุยกับวินัย ผลเจริญ กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ เรื่องทหารฝึกข้าราชการ นักเรียน ระบุ ปัญหาเพราะสังคมไทยยอมรับทหาร สมยอมการกดความเห็นต่าง ประชาธิปไตยคือทางออกของการแก้ไขปัญหา ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมตรวจสอบระบบราชการ ถ่วงดุลอำนาจรัฐ ระเบียบวินัยไม่ต้องมาจากทหาร พลเรือนสามารถอบรมกันได้ตั้งแต่สถาบันครอบครัว จากกรณีการฝึกข้าราชการสาธารณสุขเขต 5 กับโรงเรียน จปร. และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรนำทหารมาฝึกสอนระเบียบวินัยกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 3-4 สร้างข้อกังขาเกี่ยวกับภาพจำของสังคมเรื่องการมองทหารเป็นสัญลักษณ์ของระเบียบวินัย ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างทหารและพลเรือน หรือทหารกับข้าราชการ รวมถึงสภาวะการยอมรับการมีอยู่ของทหารตามสถาบันต่างๆ ภายใต้สภาวะปรกติของสังคม ประชาไทจึงได้สัมภาษณ์ ผศ.วินัย ผลเจริญ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ "ครูจุ๊ย" กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ ดินแดนแห่งโมเดลการศึกษาที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งเมื่อพูดถึงปัญหาการศึกษาเมืองไทย เพื่อเจาะลึกระบบราชการและทางแก้ไขของโครงสร้างระบบที่เป็นปัญหา รวมถึงนัยเรื่อง "ระเบียบวินัย" ที่ควรจะเป็นในสังคม ซึ่งทำได้โดยไม่ต้องให้ทหารเป็นคนที่เดินเข้ามา ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านได้ให้ข้อแนะนำในเรื่องการแก้ไขโครงสร้างสังคม เช่น กฎหมายและกระบวนทัศน์ความคิดที่ยอมรับความหลากหลาย การสอนระเบียบวินัยเป็นหน้าที่ของทุกคนไม่ใช่เฉพาะหน้าที่ของทหาร หลักอำนาจนิยมที่เป็นอยู่ย้อนแย้งไทยแลนด์ 4.0 เปรย สังคมยอมรับให้ทหารฝึกระเบียบวินัย
วินัย ผลเจริญ (ที่มา: Facebook) วินัย กล่าวว่า การนำข้าราชการสาธารณสุขมาอบรมผ่านการฝึกทหารหรือการนำทหารมาฝึกระเบียบวินัยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สะท้อนให้เห็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่มีลักษณะเป็นอำนาจนิยม การนำทหารมาฝึกอบรมข้าราชการสะท้อนให้เห็นถึงความคิดของคนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยราชการในลักษณะชื่นชมทหาร คิดว่าทหารมีระเบียบวินัยเป็นแบบอย่างที่ดีได้ ดังนั้นการเป็นข้าราชการหรือนักเรียนที่ดีจึงกลายเป็นนำทหารเข้ามานำฝึกอบรม เพื่อรักษาระเบียบวินัยให้กับข้าราชการและเด็กนักเรียน เป็นเพราะคนในสังคมเชื่อและคิดแบบนั้นโดยมาจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรม นักรัฐศาสตร์กล่าวว่า การนำนักเรียนและข้าราชการเข้าอบรมกับทหาร เป็นการปลูกฝังความคิดข้าราชการหรือระบบอำนาจนิยมให้กับนักเรียนผ่านภารกิจต่างๆ ของการอบรมข้าราชการใหม่ตามที่เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ นอกจากนี้คนที่มีหน้าที่อบรมข้าราชการใหม่มีความคิดแบบอำนาจนิยมเพราะระบบราชการมีสั่งการลำดับขั้นบังคับบัญชา ผู้น้อยต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ เป็นความคิดที่ติดตัวข้าราชการและคนอื่นๆที่ไม่ใช่ข้าราชการจำนวนไม่น้อย ความคิดที่เสริมสร้างอำนาจแบบนี้เอาไว้ไม่ได้มามาจากเจตนาของผู้บังคับบัญชาโดยตรงเท่านั้น แต่คนที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมมีความคิดรูปแบบอำนาจนิยม ทำให้เห็นเนื้อหาการอบรมในแนวทางการคล้อยตาม เช่น ข้าราชการห้ามตั้งคำถามต่อผู้มีอำนาจ หรือการเชื่อฟังผู้ใหญ่ เป็นต้น วินัยกล่าวว่า นโยบายข้าราชการที่เห็นจากกรณีศึกษาย้อนแย้งกับนโยบาย 4.0 ของรัฐ ที่เน้นนวัตกรรม สร้างสิ่งใหม่ สิ่งใหม่เกิดขึ้นไม่ได้หากควบคุมคน หากการแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นภัยความมั่นคงไม่เหมาะสมที่จะแสดงออก เพราะฉะนั้นจึงไม่คิดว่าเราจะสามารถอยู่ด้วยนโยบายที่เป็น 4.0 ตามความตั้งใจความหวังที่อยากให้เป็น ฝึกระเบียบด้วยทหารไม่จำเป็น เริ่มได้ในครอบครัว สถานศึกษา ยกตัวอย่างฟินแลนด์ทำให้ดู(อีก)แล้วกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ (ที่มา: admission premium) กุลธิดาเห็นว่า การฝึกทหารส่วนใหญ่ของประเทศไทย เป็นการฝึกระเบียบวินัยภายใต้นิยามว่ามีคนสั่งแล้วทำตาม เพื่อให้เกิดระเบียบ แต่แท้จริงแล้วระเบียบคือการอยู่ด้วยกันได้ในสังคมโดยไม่วุ่นวาย นักเรียนมีความจำเป็นขนาดไหนต้องแถวตรงตลอดเวลา ซึ่งสุดท้ายแล้วเราสามารถทำให้เขารู้จักรับผิดชอบพื้นที่ส่วนรวมในโรงเรียน ให้เข้าแถวเป็น เท่านั้นสังคมก็เป็นระเบียบแล้วหรือเปล่า กุลธิดาเห็นว่า คิวที่เป็นระเบียบ เหมือนของเรียงกันแล้วสวยงาม แต่ก็มีวิธีที่คนสามารถเรียงกันโดยไม่ทะเลาะกัน อาจไม่จำเป็นต้องสวยงาม ไม่ตรงแถวอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถจัดการโดยไม่มีใครสั่ง ผ่านกฎสังคมต่างๆ สามารถทำได้ในห้องเรียน ไม่ต้องมีทหาร พ่อแม่ก็สอนได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา กล่าวถึงการแก้ไขระเบียบวินัยในเชิงนิยามว่า ควรแก้ไขตั้งแต่สถาบันครอบครัว ผู้ปกครองยังสั่งลูกซ้ายหันขวาหันหรือไม่ คุยกันบ้างหรือไม่ ฟังความเห็นของลูกหรือเปล่า ถ้าในบ้านเป็นแบบที่กล่าว ภาวะนอกบ้านที่ผิดไปจากในบ้าน จะทำให้เกิดการตั้งคำถามได้ว่า ทำไมไม่เคารพซึ่งกันและกัน ทำไมไม่ฟังเสียงฉัน ก็จะค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงไป ไม่เช่นนั้นก็เริ่มที่โรงเรียน ตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-ผู้สอน เลิกคิดว่าครูเป็นคนชี้เป็นชี้ตาย ยกตัวอย่างเช่น การขอความเมตตาจากครูหลังสอบเสร็จ แท้จริงแล้วการขอความช่วยเหลือควรขอแต่ในห้องเรียนหรือเปล่า แต่ก็ไม่ค่อยมีการตั้งคำถามในห้องเรียน ไม่มีใครยกมือ กุลธิดาเสนอว่า ควรปรับแก้ทัศนคติครูไทยให้มีการสื่อสารสองทาง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ดีกว่าการสื่อสารทางเดียว คือบรรยายให้ผู้เรียนฟังอย่างเดียว เปลี่ยนจากบทบาทของคนถ่ายทอด เป็นบทบาทคนทำให้เด็กขวนขวาย หรือให้เด็กได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามบริบทปัจจุบันที่เป็นยุคของอินเทอร์เน็ตที่ข้อมูลหาได้ฟรีตาม Google นักวิชาการอิสระกล่าวว่า กระบวนการสั่ง การมีสิทธิเหนือร่างกายมีผลทางจิตวิทยา เป็นออโต้ไพล็อต ก็ทำตามกันไป จนทำให้ความเงียบเป็นสภาวะสมดุลของที่นี่ คือการไม่มีใครพูดอะไรเป็นเรื่องปกติ ใครแสดงความคิดเห็นหรือไม่ทำตามเท่ากับคนนั้นนอกคอก คนที่ไม่ยอมตามกฎกลายเป็นคนไม่ดี ดังนั้นจึงเลือกที่จะอยู่เฉยๆดีกว่า กุลธิดายังได้กล่าวถึงกรณีระเบียบวินัยของประเทศฟินแลนด์ว่า ฟินแลนด์แทบไม่เคารพธงชาติ มีแค่ตามวันสำคัญครั้งสองครั้ง วันอื่นไม่ได้มีการเคารพธงชาติ การปลูกฝังเริ่มจากทำตั้งแต่ในบ้าน ทำให้เด็กมีหน้าที่ต่อครอบครัว ต้องดูแลตนเอง ครอบครัว พื้นที่ชุมชนรอบตัวเขาให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ยกตัวอย่างเช่น การแยกขยะอย่างละเอียด เขาทำกันจนเป็นธรรมชาติ ที่บ้าน ที่โรงเรียนทำเป็นปรกติโดยไม่ต้องบังคับ เป็นตัวอย่างให้กับทุกที่ในสังคม ชาวฟินแลนด์เคร่งครัดกับกฎหมายมากๆ ความเคารพกฎหมายมาจากความรับผิดชอบของเขา โดยเป็นหนึ่งในหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกติกามารยาท ถ้ากฎหมายไม่ยุติธรรมก็มีกระบวนการท้วงติงตามปกติ เรื่องการเดินข้ามถนน ฟินแลนด์แทบไม่มีสะพานลอย จะมีไว้ก็เพื่อให้จักรยานข้ามไปได้ สิ่งเหล่านี้คนทุกคนปฏิบัติเป็นปกติในสังคม ราชการถูกตรวจสอบได้และสังคมประชาธิปไตยคือจุดตั้งต้นของทางออกวินัยกล่าวในประเด็นทางออกการแก้ไขระบบราชการไทยว่า ข้าราชการควรตรวจสอบถ่วงดุลกันเอง ระบบราชการควรตรวจสอบกันเองได้ ซึ่งในหน่วยงานของข้าราชการควรถูกตรวจสอบอยู่แล้ว แต่ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ข้าราชการที่มีอำนาจนำไม่ถูกตรวจสอบเลย เพราะการที่ข้าราชการสายทหารมีอำนาจปกครอง ทำให้ข้าราชการอื่นกลัวและเกรงใจ ผู้นำทางทหารเขามีอำนาจ ไม่ค่อยมีการตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ในความเป็นจริง นักวิชาการกล่าวว่า ข้าราชทหารกับพลเรือน หรือพลเรือนด้วยกันเองก็ควรมีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ภาคประชาชนเป็นส่วนสำคัญมากที่จะตรวจสอบนักการเมืองและข้าราชการ แต่สิทธิการตรวจสอบถูกกดทับไว้ ผ่านกฎหมายพิเศษมาตรา 44 แม้ว่ามีรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้แล้วแต่ยังมีการใช้ ม.44 ทำให้ประชาชน หรือภาคประชาสังคมเองอ่อนแอ นอกจากนี้ การแก้ไขกฎหมาย อาทิ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน วินัยกล่าวว่า ประเด็นที่ควรแก้ไข ความสัมพันธ์ระหว่างบริหารราชการส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่นก็จะเปลี่ยนไป ส่วนท้องถิ่นจะมีอำนาจมากขึ้น ซึ่งเดิมส่วนท้องถิ่น ต้องขึ้นต่อภูมิภาค โดยนายอำเภอมีอำนาจมากในการควบคุมส่วนท้องถิ่น ในกรณีเทศบาลตำบล นายอำเภอเป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมท้องถิ่น ควรให้อำนาจของตัวแทนภูมิภาคถอยห่างออกไปจากท้องถิ่น โดยมีหน้าที่เพียงคอยกำกับให้เป็นไปตามกฎหมายแต่ไม่ใช่การควบคุม ต้องมีการกระจายอำนาจมากขึ้น ส่วนท้องถิ่นจะเข้มแข็งได้ต่อเมื่อประชาชนมีหน้าที่ตรวจสอบผู้แทนตัวเอง เพื่อให้มีระบบราชการที่ดีขึ้น และสร้างสังคมที่น่าอยู่ วินัยให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนความคิดคนภายใต้โครงสร้างสังคมที่ไม่เอื้อต่อการแสดงความเห็นเต็มที่เป็นเรื่องยาก จึงเรียกร้องให้เกิดสังคมที่เปิดกว้าง ใครอยากแสดงความเห็นอะไรก็สามารถพูดได้ กรณีการเอานักเรียนเข้าฝึกวินัย หรือการเอาข้าราชการไปอบรมกับทหารนั้นไม่เอื้อต่อการเปิดความคิดของคน เป็นเพียงนัยการสมยอมต่อผู้มีอำนาจ ดังนั้นการแก้ไขโครงสร้างและความคิดต้องทำไปพร้อมๆกัน ซึ่งมันไม่หลุดจากความเป็นประชาธิปไตย และปัญหาสำคัญในปัจจุบันคือการไม่เป็นประชาธิปไตย วินัยทิ้งท้ายว่า เป็นเรื่องปรกติที่ผู้มีอำนาจปกครองจะรักษาอำนาจการปกครองของตนเองให้ได้นานที่สุด เดิมอำนาจถูกรักษาไว้ได้ด้วยกำลัง การกดขี่และการบังคับ ซึ่งไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วในปัจจุบันที่ต้องอาศัยการชักจูงโน้มน้าวให้ผู้มีคน ผ่านการแต่งเพลง สร้างละคร เพื่อให้คนถูกกล่อมเกลา แต่ก็ถูกตั้งคำถามโดยสื่อ กับประชาชนมากขึ้น ประชาชนรู้ทันจนอำนาจนำตอนนี้ไม่สามารถสร้างได้อย่างมั่นคง การที่ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จในด้านเศรษฐกิจ หรือไม่สามารถตรวจสอบการทุจริตได้ทำให้คนที่มีอำนาจในปัจจุบันอยู่ยากขึ้น จึงฝากความหวังไว้ที่พลังประชาชนในการสะท้อนและวิพากษ์เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ระบบได้จริงมากขึ้นจะสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
วิเคราะห์ภูมิทัศน์การเมือง การขีดเส้นอำนาจใหม่ ในภาวะไร้อำนาจนำ เกษียร เตชะพีระ Posted: 20 Jun 2017 05:24 AM PDT 'เกษียร' วิเคราะห์ภูมิทัศน์การเมืองไทย รัฐพันลึกหรือรัฐราชการประจำทำตัวเป็นรัฐซ้อนรัฐ เป็นการเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะสมัยใหม่ที่ไม่เสร็จ ครึ่งๆ กลางๆ แต่อยู่ได้ภายใต้ฉันทามติแห่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ แต่ช่วงนี้คือการขีดเส้นอำนาจใหม่ของพลังฝ่ายต่างๆ ภายในงานเสวนา 'Direk's Talk ทิศทางการเมืองโลก ทิศทางการเมืองไทย และนโยบายสาธารณะ' ที่จัดขึ้นที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ในวงพูดคุยวงสุดท้ายของงาน เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นบรรยายในหัวข้อ 'ความขัดแย้งทางชนชั้นกับการเมืองมวลชนรอยัลลิสต์: ความย้อนแย้งของกระบวนการสร้างประชาธิปไตยกับพระราชอำนาจนำในสังคมไทย' เขากล่าวว่า "ความขัดแย้งทางชนชั้นกับการเมืองมวลชนรอยัลลิสต์: ความย้อนแย้งของกระบวนการสร้างประชาธิปไตยกับพระราชอำนาจนำในสังคมไทย ตั้งใจมองความขัดแย้งในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยวางลงไปในภูมิหลังของประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยสมัยใหม่ว่าหมายถึงอะไร "นำข้อค้นพบหรือข้อคิดที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้มามองดูสถานการณ์ปัจจุบัน เผอิญฟังอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ทิ้งประเด็นที่น่าคิดไว้ หนึ่งคือเรื่องรัฐพันลึกหรือรัฐเร้นลึก หรือ Deep State สองคือประโยคสั้นๆ ที่พูดปิดท้ายปาฐกถาที่ว่า การที่มีนักการเมืองนอกระบบเลือกตั้งมากขึ้น นั่นหมายถึง State Elite หรือนักการเมืองที่เป็นข้าราชประจำแต่ออกมาเล่นการเมืองในภาวะที่ไม่มีการเลือกตั้ง น่าสนใจว่า State Elite เหล่านี้การเมืองเข้าไปยุ่งกับเขา เพราะเขามาเล่นการเมือง แล้วมันจะนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างไร "ผมอยากเลือก 2 เรื่องนี้และพูดต่อ ผมอยากทำในสิ่งที่อาจารย์เสกสรรค์เปรยขึ้น ท่านบอกว่าสิ่งที่เราควรทำคือการวิเคราะห์สถานการณ์รูปธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ผมคิดว่าทำแบบนี้อาจจะเป็นประโยชน์ น่าสนใจ และมีการเชื่อมร้อยกับสิ่งที่อาจารย์เสกสรรค์ปาฐกถามากกว่า ดังนั้น ผมจึงอยากต่อยอดจากงานวิจัยโดยพูดถึงภูมิทัศน์ใหม่ทางการเมือง มี 4 ประเด็นย่อย ตุ๊กตาแม่ลูกดกรัสเซีย Matryoshka Dolls "ประเด็นที่ 1 คือตุ๊กตาแม่ลูกดกของรัสเซีย Matryoshka Dolls ที่ถอดออกเป็นชั้นๆ ในแวดวงรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ไทย การค้นพบทางวิชาการแห่งปี 2559 น่าจะได้แก่แนวคิดวิเคราะห์เรื่องรัฐพันลึกหรือ Deep State ของ ดร. Eugénie Mérieau ในบทความเรื่อง Thailand's Deep State, Royal Power and the Constitutional Court (1997–2015) บทความนี้ถูกกล่าวขวัญถึงมาก ถูกวิเคราะห์ วิจารณ์ คิดต่อยอดจากนักวิชาการไทยหลายคน อาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ รวมทั้งผมด้วย "แนวคิดรัฐพันลึกเสนอว่า รัฐสมัยใหม่บางรัฐอย่างตุรกี อเมริกา หรือประเทศไทย ภายใต้รัฐบาลจากการเลือกตั้งทางการ ยังมีองค์กรรัฐราชการประจำต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานฝ่ายความมั่นคง ข่าวกรอง ตุลาการบางหน่วย ถ้าคิดในกรณีไทยก็คงรวมทั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญบางแห่ง หรือแม้แต่ผู้บริหารบางมหาวิทยาลัย ที่เป็นรัฐเร้นลึก ซ้อนทับอยู่ในลักษณะรัฐซ้อนรัฐ หรือรัฐในรัฐ "รัฐพันลึกที่ว่านี้มีตรรกะและผลประโยชน์ของตัวเอง สามารถดำเนินการอิสระจากรัฐบาลเลือกตั้งและอาจแข็งขืนหรือกระทั่งโค่นอำนาจรัฐบาลเลือกตั้งได้ ภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอน แต่ไม่ทันข้ามปี สภาพการณ์ความเป็นจริงของการเมืองไทยก็เปลี่ยนไปแล้ว "เมื่อคิดถึงข่าวสารบ้านเมืองอันแปลกพิลึกพิศดารชวนพิศวงระยะหลังมา มันมีหลายข่าวแปลกๆ เยอะ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา อะไรที่เคยอยู่ก็หายไป อะไรที่ไม่น่าจะแก้ได้ก็แก้ได้ อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้กล่าวทักไว้ระยะหลังว่า อะไรที่ไม่เคยเห็นก็จะได้มาเห็นและอะไรที่เคยเห็นก็อาจจะไม่ได้เห็นอีกแล้ว ผมคิดว่ามันสะท้อนแนวคิดรัฐพันลึกหรือรัฐซ้อนรัฐ (a state within the state) อาจจะไม่พอเพียงเสียแล้วที่จะทำความเข้าใจสภาพการเมืองไทยที่เปลี่ยนภูมิทัศน์ไปไกลในปี 2560 "ผมรู้สึกว่าสิ่งที่เรากำลังประสบพบเห็น เหมือนตุ๊กตาแม่ลูกดกของรัสเซีย กล่าวคือมันดูเสมือนหนึ่ง a state within the state within the state within the state within the state เป็นชั้นๆๆ หลายต่อหลายชั้นซ้อนทับกัน คำถามคือสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นได้ยังไง กระบวนการเปลี่ยนเป็นแบบสมัยใหม่หรือภาวะสมัยใหม่แบบไทยๆ "ประเด็นที่ 2 กระบวนการเปลี่ยนเป็นแบบสมัยใหม่หรือภาวะสมัยใหม่แบบไทยๆ ผมคิดว่าต้องย้อนไปจึงจะเห็นว่ามายังไง สิ่งที่เรียกว่ากระบวนการเปลี่ยนเป็นแบบสมัยใหม่หรือภาวะสมัยใหม่อันเป็นกระบวนการสืบเนื่องจากปรัชญายุครู้แจ้งในยุโรป อเมริกา คริสต์ศตวรรษที่ 17-18 แล้วแผ่กระจายไปทั่วโลกถึงสยาม ผ่านระบอบอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ประกอบด้วยการปฏิวัติใหญ่ 3 ด้าน หนึ่ง-การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะกระแสเหตุผลนิยม ประสบการณ์นิยม วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คติโลกวิสัย เข้ามาแทนที่ความเชื่อทางศาสนาและความเชื่อทางเทวสิทธิ์ของผู้ปกครองหรือพระเจ้าแผ่นดิน สอง-การปฏิวัติอุตสาหกรรม ในด้านเศรษฐกิจสังคม โดยเฉพาะระบบตลาด เศรษฐกิจทุนนิยม การแบ่งงานกันทำ การผลิตแบบอุตสาหกรรม เป็นต้น และสาม-การปฏิวัติกระฎุมพีในด้านการเมือง โดยเฉพาะระบอบรัฐธรรมนูญ เสรีนิยม ประชาธิปไตย เป็นต้น "ในประสบการณ์ประเทศต่างๆ ของโลก กระบวนการปฏิวัติ 3 ด้านเพื่อไปสู่ภาวะสมัยใหม่ดังกล่าว มีลักษณะพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน รุนแรง นองเลือด และทิ้งบาดแผลทางความคิดจิตใจไว้ในสังคมมาก แต่ในกรณีประสบการณ์ของสยามหรือไทยค่อนข้างต่างออกไป กล่าวคือมีลักษณะไปครึ่งทาง กึ่งๆ กลางๆ มีการประนีประนอมรอมชอมกันมาก หรือจะมองในทางกลับกันก็ได้ว่า กระบวนการเปลี่ยนเป็นแบบสมัยใหม่หรือเปลี่ยนไปสู่ภาวะสมัยใหม่ของไทยนั้นไม่เสร็จสิ้น ค้างเติ่ง เปลี่ยนผ่านเท่าไหร่ก็ไม่ถึงจุดหมาย ไม่สำเร็จสมบูรณ์เสียที "ศาสตราจารย์เบนเนดิก แอนเดอร์สัน รวมทั้งนักวิชาการไทยแบบทวนกระแสหลายคน เช่น อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ไมเคิล ไรท์ ไมเคิล เฮิร์ทเฟล ธงชัย วินิจจะกูล ไชยันต์ รัชชกูล กุลลดา เกษบุญชู มี้ด คนเหล่านี้เสนอไว้คล้ายๆ กันว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียอาคเนย์แล้ว ถึงแม้สยามไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกเต็มตัว แต่ก็มีสภาพอาณานิคมทางอ้อมหรืออาณานิคมอำพรางที่ผนวกเข้ากับระบบทุนนิยมของอาณานิคมตะวันตกทั่วโลกในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการทูต การเมือง ภายใต้อำนาจอำนวยการของเจ้านาย ขุนนางท้องถิ่น ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช "สยามจึงมีลักษณะเป็นอัตตานานิคมของคนไทยด้วยกันเอง และฉะนั้นจึงไม่มีขบวนการชาตินิยมของประชาชนเพื่อกู้ชาติจากต่างชาติ มีแต่กบฏลี้ลับ ครึ่งๆ กลางๆ ของคณะราษฎร 2475 ซึ่งสมาชิกล้วนแต่เป็นชนชั้นนำ ตัวแทนระบบราชการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และฉะนั้นสยามหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจึงยังไม่ได้เป็นรัฐชาติสมบูรณ์เต็มตัวเสียที เป็นแค่รัฐราชการรวมศูนย์ที่มีปัญหาความชอบธรรมเรื้อรังอยู่ภายใต้อุดมการณ์ราชาชาตินิยมบ้าง เสนาชาตินิยมบ้าง สลับกันไป "ถ้าพูดในภาษาของอาจารย์นิธิที่กล่าวไว้ในงานเสวนาครั้งหนึ่ง สยามกลายเป็นรัฐที่ไม่มีชาติที่แท้จริงในความหมายชุมชนในจิตนากรรมของพลเมืองที่เสมอภาคและเป็นภราดรภาพ และที่กุมอำนาจอธิปไตยร่วมกันไว้ได้ หากแต่ตกอยู่ในสภาพที่ไม่เป็นชุมชนในจินตนากรรมของคนไทยและคนไม่ไทยที่ไม่เท่าเทียม เพราะฉะนั้นจึงเกิดกรณีเหยื่อของรัฐที่ไม่มีชาติให้พบเห็นอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะเป็นทนายสมชาย นีละไพจิตร บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ชัยภูมิ ป่าแส ฉันทามติแห่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ "ประเด็นที่ 3 ฉันทามติแห่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ สังคมไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ผ่านการเดินทางแสวงหา สลับพลิกผัน สับเปลี่ยนไปมาระหว่างแรงผลักดัน ต่อสู้ ขัดแย้ง ของโครงการเปลี่ยนเป็นแบบสมัยใหม่หรือเปลี่ยนไปสู่ภาวะสมัยใหม่ในแนวทางต่างๆ เช่น โครงการเสรีประชาธิปไตย โครงการสังคมนิยมประชาธิปไตยของปรีดี พนมยงค์ โครงการชาตินิยมแบบอำนาจนิยมทหารของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โครงการเสรีนิยมรอยัลลิสต์ของ ม.ร.ว.เสนีย์และคึกฤทธิป์ ปราโมท โครงการเผด็จการทหารอาญาสิทธิ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และโครงการปฏิวัติประชาชาติประชาธิปไตยของขบวนการคอมมิวนิสต์ เป็นต้น เหล่านี้คือทางเลือกโครงการต่างๆ ที่มุ่งสู่ความทันสมัยในความเชื่อต่างๆ
"กระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ในหลวงรัชกาลที่ 9 สังคมไทยจึงบรรลุฉันทามติของการประนีประนอม รอมชอม ระหว่างกระบวนการเปลี่ยนเป็นแบบสมัยใหม่หรือเปลี่ยนไปสู่ภาวะสมัยใหม่กับฐานการเมืองวัฒนธรรมไทยแบบอนุรักษ์นิยมที่ลงตัวในระดับหนึ่ง ระหว่างช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมาก ซึ่งพอจะสรุปสาระสังเขปในด้านต่างๆ ของฉันทามติดังกล่าวได้ดังนี้ "ในแง่เศรษฐกิจ เอาเศรษฐกิจทุนนิยมที่เติบโตอย่างไม่สมดุล เมืองโต ชนบทลีบ อุตสาหกรรม บริการโต เกษตรกรรมลีบ เศรษฐกิจทุนนิยมที่เติบโตอย่างไม่สมดุล โดยถูกทานไว้ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "ในแง่การเมือง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีอุดมการณ์ราชาชาตินิยม มีชาตินิยมบวกราชานิยม หรืออุดมการณ์ชาติพันธุ์ไทยภายใต้พระราชอำนาจนำ "ในแง่ศาสนา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก นี่เป็นทางเลือกที่ไม่ใช่ Secularism เต็มที่ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่รัฐที่เป็นพุทธเต็มตัว แต่ให้องค์ประมุขเป็นพุทธมามกะและเป็นอัครศาสนูปถัมภก "อาจกล่าวได้ว่าฉันทามติแห่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศหรือ The Bhumibol Consensus เป็นแบบวิถีการเปลี่ยนผ่านสู่ความทันสมัยอย่างไทยๆ ผ่านการประนีประนอมต่อรองที่ไม่หักรานจนเหี้ยน ไม่ใหม่หมด คนข้างล่างได้บ้าง แม้จะได้ไม่มากเท่าคนข้างบน คนชั้นกลางได้มากกว่า และเติบใหญ่ขยายตัวออกไป ส่วนคนข้างบนได้มากที่สุด มันช่วยให้หลีกเลี่ยงการแตกหักกวาดล้างรุนแรงของกระบวนการเปลี่ยนเป็นแบบสมัยใหม่มาได้ และมีฐานรองรับสนับสนุนจากชนชั้นต่างๆ ตามสมควร ทั้งคนชั้นบน คนชั้นกลาง และคนชั้นล่าง "ขณะเดียวกันก็มีเส้นอำนาจและการแบ่งเขตอำนาจเชิงปฏิบัติหรือเสมือนจริงที่ใช้กำกับ เส้นและเขตที่ว่าอาจไม่ต้องตรงกับเส้นแบ่งเขตอำนาจตามกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญเสียเลยทีเดียว แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า อำนาจของฝ่ายหนึ่งหยุดตรงนี้ อำนาจของอีกฝ่ายเริ่มตรงนั้น ไม่ก้าวก่ายกัน ยอมรับ เคารพกัน โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นประหนึ่งอนุญาโตตุลาการสุดท้ายในยามเกิดความขัดแย้ง "นอกจากนี้ ภายใต้ฉันทามติแห่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศดังกล่าว โครงการเปลี่ยนเป็นแบบสมัยใหม่ ภาวะสมัยใหม่ทางเลือกอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางเสรีประชาธิปไตย สังคมนิยม ชุมชนนิยม ทหารนิยม สมบูรณาญาสิทธิ ฟาสซิตส์ คอมมิวนิสต์ ต่างถูกแช่แข็ง กดปราม ให้หยุดยั้ง ชะงักไว้ชั่วคราวด้วยบารมีแห่งพระราชอำนาจนำ จวบจนการปรากฏขึ้นของโครงการทางเลือกเพื่อเปลี่ยนเป็นแบบสมัยใหม่หรือเปลี่ยนสู่ภาวะสมัยใหม่ในแนวทางประชานิยม วัตถุนิยม บวกประชาธิปไตยอำนาจนิยมโดยผ่านการเลือกตั้งของรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แห่งพรรคไทยรักไทย ปี 2544 เป็นต้นมา ตั้งแต่ตุลาคม 2516 ถึง 2544 ช่วงนี้คือช่วงของ The Bhumibol Consensus การลากเส้นแบ่งเขตอำนาจกันใหม่และการเมือง วัฒนธรรม ของการหวนหาอดีต "ประเด็นที่ 4 การลากเส้นแบ่งเขตอำนาจกันใหม่และการเมือง วัฒนธรรม ของการหวนหาอดีต ปัจจุบัน การที่เกิดสภาพอะไรที่ไม่เคยเห็นก็จะได้เห็น และอะไรที่เคยเห็นก็อาจจะไม่ได้เห็นอีกแล้ว เช่นที่อาจารย์ชาญวิทย์เอ่ยทักนั้น ก็เพราะผู้สนับสนุนโครงการเปลี่ยนเป็นแบบสมัยใหม่หรือเปลี่ยนสู่สภาวะสมัยใหม่ อันเป็นทางเลือกในแนวทางต่างๆ ได้ฟื้นตัว โผล่ออกมา แย่งชิงพื้นที่ ปะทะกัน เพื่อผลักดันแนวทางการทำให้เป็นสมัยใหม่ของตัวเองในสถานการณ์อันเปราะบางที่ไม่มีอำนาจนำทางการเมืองอันเป็นที่ยอมรับในแง่ความชอบธรรม "ไม่มีกรอบกฎเกณฑ์กติกาปกติของการดำเนินและแก้ไขยุติความขัดแย้ง มีแต่กระบวนการยุติธรรมที่ถูกตั้งคำถามมากขึ้น และอำนาจบังคับด้วยกำลังที่ไม่อาจแก้ไขข้อขัดแย้งให้จบได้ โดยฝ่ายต่างๆ ที่เป็นเจ้าของโครงการเปลี่ยนให้เป็นสมัยใหม่แนวทางต่างๆ ก็พยายามหวนหาช่วงอดีตหรือบ้านเก่าที่สอดรับกับอุดมคติของกลุ่มตนมากที่สุด บ้างก็หวนไปหาสมัยรัชกาลที่ 5 บ้างก็หวนไปหาสมัยรัชกาลที่ 7 บ้างก็หวนไปหายุคปฏิวัติและมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกิดเป็นกลุ่มอาการวัฒนธรรมของการหวนหาอดีตโดยทั่วไป "ประเด็นก็คือเราเจอคนแบบนี้เยอะมาก มันเหมือนอยู่ดีๆ คนลุกขึ้นมา Nostalgia กันใหญ่ หวนหาอดีตกันเยอะ เป็นเพราะอะไร ผมคิดว่าประเด็นไม่ใช่อดีตโดยตัวมันเอง ประเด็นคือกลุ่มฝ่ายต่างๆ ที่มีโครงการการทำให้เป็นสมัยใหม่ของตัวเอง ไปเลือกหยิบอดีตที่คิดว่าโครงการของตนดีที่สุด เหมาะที่สุด เด่นชัดที่สุด แล้วหวนอันนั้น "ขณะเดียวกัน กลุ่มอำนาจและสถาบันต่างๆ ซึ่งเสมือนตุ๊กตาแม่ลูกดกของรัสเซีย a state within the state within the state within the state within the state ต่างก็อาศัยช่วงที่เส้นอำนาจเดิมคลอนแคลน คลี่คลาย ฐานรองรับแนวทางการปฏิบัติตามประเพณีเดิมขยับขยาย เปลี่ยนแปลง พากันหาทางพยายามปรับเส้นอำนาจและเขตอำนาจกันใหม่ โดยผลักดันเส้นอำนาจใหม่ของตนออกไปให้กว้างไกลที่สุด ให้เขตอำนาจของตนแผ่ขยายออกไปให้มากที่สุด กินพื้นที่อำนาจเก่าออกไปให้ใหญ่ที่สุด ด้วยความหวังว่าเส้นอำนาจไกลที่สุดของตน ซึ่งอยากให้อยู่ตรงนี้นั้น ฝ่ายอื่นจะยอมรับโดยดุษณี ได้ข้อยุติกันตรงนี้ ทุกฝ่ายคิดแบบนี้ หวังแบบนี้ และทำแบบนี้ "อย่างเช่นที่ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) และสถาบันอำนาจในเครือข่าย เร่งผลักดันกฎหมายใหม่ๆ สารพัดออกมา แผ่ขยายอำนาจของฝ่ายความมั่นคงในหน่วยราชการไปสุดเอื้อม ก่อนที่จะจัดเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ "ข้อความเสี่ยงที่ชวนวิตกคือ เส้นเขตอำนาจต่างๆ ที่ต่างกลุ่มต่างลากขึ้นมาอาจพาดเกยกันได้ เบียดเสียดกันได้ กระทั่ง ปะทะชนกันได้ แล้วจะหาข้อยุติอย่างไร จะยืดเยื้อไปนานเท่าไหร่ จึงจะบรรลุฉันทามติใหม่ที่ค่อนข้างลงตัวและเป็นที่ยอมรับของกลุ่มพลังใหม่ต่างๆ "อะไรที่ไม่เคยเห็นก็จะได้เห็นและอะไรที่เคยเห็นก็จะไม่ได้เห็นอีกแล้ว ในแง่หนึ่งจึงเป็นการแสดงออกของภูมิทัศน์ใหม่ทางการเมืองดังกล่าวมานี้เอง" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ประยุทธ์ ชี้พวกต้านแก้ ก.ม.บัตรทอง อาจจะมีคนเสียผลประโยชน์ Posted: 20 Jun 2017 05:14 AM PDT ประยุทธ์ ชี้พวกต่อต้านแก้ ก.ม.บัตรทอง อาจจะมีคนเสียผลประโยชน์ ระบุจำเป็นบริหารต้องมีผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาร่วมด้วย 'สรรเสริญ' ยันไม่มีการลิดรอนสิทธิ์ในการดูแลบริการสุขภาพ 20 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ 4 ภาคออกแถลงการณ์คัดค้านและแสดงออกไม่เข้าร่วมเวทีประชาพิจารณ์แก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ว่า การแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการงบประมาณในการดูแลประชาชนให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะการดำเนินงานที่ผ่านมามีปัญหาอยู่บ้าง จึงจำเป็นต้องมีผู้ที่มีความสามารถด้านการบริหารเข้ามาด้วย และจะมีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม "มันก็มีสัดส่วนให้ชัดเจน ที่ผ่านมามันอาจจะมีปัญหาอยู่บ้างมันต้องให้นักบริหารจัดการเข้ามาบ้างก็มีตัวแทนทุกภาคส่วน ไม่ใช่ว่ามีตัวแทนมาก ตัวแทนน้อย ก็ต้องด้วยเหตุด้วยผลตามที่ประชุมของคณะกรรมการ เหตุผลใครดีกว่ามันก็ออกมาเป็นมติ มันไม่ใช่กรรมการคัดสรรเมื่อไหร่เล่า ใช่ไหมเล่า ก็มีตัวแทนทุกภาคส่วนเข้าไป บางครั้งการทำงานของแต่ละหน่วยงาน เอาข้าราชการเพียงอย่างเดียว หรือคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวในเชิงบริหารมันก็ต้องมีคนบริหารเข้ามาร่วมด้วย มันจะได้รู้ว่าจะบริหารมืออาชีพอย่างไร งบประมาณจำนวนนี้มหาศาล" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่ยกเลิกสิทธิบัตรทอง 30 บาท แต่พยายามที่จะให้เกิดการดูแลประชาชนได้มากขึ้น เพิ่มวงเงินดูแลประชาชนต่อคนต่อปี และจะไม่ทำให้เกิดภาระกับประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงมีการออกมาให้ข้อมูลบิดเบือนว่ารัฐบาลจะยกเลิกบัตรทอง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชน ต้องมีส่วนช่วยทำความเข้าใจกับประชาชน "ผมไม่ต้องการไปรีดเงินจากประชาชนเลย แม้แต่บาทเดียวก็ไม่ต้องการ เพียงแต่ใช้งบประมาณจากภาษีอย่างอื่นที่มีอยู่แล้ว นำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ขณะนี้ทำงานหลายหน่วยงาน ไม่เคยทะเลาะกัน เพียงแต่มีการต่อต้านคัดค้าน ก็อาจจะมีคนเสียผลประโยชน์ตรงนี้ไปบ้าง ที่จะนำเงินตรงนี้ไปทำอย่างอื่นด้วยในกิจการของเขา ซึ่งมันก็ดีนะ แต่ก็ต้องเห็นใจเงินก้อนใหญ่ด้วย ประชาชนจะได้อะไร" พล.อ.ประยุทธ์ กกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้รัฐบาลมีแนวทางเพิ่มการดูแลด้านสาธารณสุขให้กับประชาชนโดยเฉพาะการแก้ปัญหา เข้าถึงยาราคาแพง หรือยาต้านจุลชีพ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด สรรเสริญยันไม่มีการลิดรอนสิทธิ์ในการดูแลบริการสุขภาพพล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงเรื่องที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รายงานปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับเวทีประชาพิจารณ์จากกรณี (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็น พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฉบับใหม่ ให้ที่ประชุมครม. รับทราบเนื่องจากเป็นปัญหาร่วมกันของทุกหน่วย โดยพระราชบัญญัติประกันสุขภาพฯ ได้มีการใช้กฎหมายดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2545 โดยมุ่งเน้นการซ่อมสุขภาพหรือการรักษาเป็นหลัก จึงมีคำว่า "30 บาทรักษาทุกโรค" โดยมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือกระทรวงสาธารณสุขในฐานะเป็นผู้บริการกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะผู้ซื้อบริการ ซึ่งการทำงานที่ผ่านมาทั้ง 2 หน่วยงานอาจจะไม่ได้ติดต่อประสานงานกันเท่าที่ควร แต่ปัจจุบันภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลชุดนี้ กระทรวงสาธารณสุขกับ สปสช. ได้มีการติดต่อประสานงานระหว่างกันดีขึ้นโดยลำดับ รวมทั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เคยออกคำสั่งตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องให้บางส่วนแล้ว ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานที่ประชุมรับทราบว่า ในการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วนและหน่วยงานต่าง ๆ โดยได้มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น 4 ครั้ง ในส่วนของภูมิภาค 3 ครั้ง และในส่วนของพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามแม้ทุกอย่างจะเป็นไปตามขั้นตอน แต่ปรากฏว่ายังมีบุคคลบางกลุ่มพยายามที่จะล้มเวทีประชาพิจารณ์หรือการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว นายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข ไปดำเนินการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนทุกภาคส่วน โดยรัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณสุข แจ้ว่า พรุ่งนี้ (21 มิ.ย.60) เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะจัดเวทีเสวนาให้ความรู้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเชิบสื่อมวลชนทุกสาขาไปร่วมรับฟังด้วย โดยจะมีการนำ พ.ร.บ. ประกันสุขภาพฉบับเดิมกับร่าง พ.ร.บ.ประกันสุขภาพ ฉบับใหม่มาเปรียบเทียบชี้แจงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างกัน รวมถึงสิทธิประโยชน์และการดูแลต่าง ๆ ที่ประชาชาได้รับ อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ฉบับใหม่ ไม่ได้มีการลิดรอนสิทธิ์ในการดูแลบริการสุขภาพต่าง ๆ ของประชาชนแต่อย่างใด ยืนยันประชาชนยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ในการรับบริการต่าง ๆ ด้านสาธารณสุขและบริการสุขเช่นเดิม
ที่มา สำนักข่าวไทย, เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลและยูทูบ 'ทำเนียบ รัฐบาล' ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: หนังสืองานศพคณะราษฎร Posted: 20 Jun 2017 03:27 AM PDT
บทความเรื่อง "อนุสรณ์งานศพสมาชิกคณะราษฎร" โดย นริศ จรัสจรรยาวงศ์ ซึ่งลงพิมพ์ในหนังสือศิลปวัฒธรรม เล่มใหม่ (มิถุนายน 2560) ถือว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมาก ในยุคสมัยที่หมุดคณะราษฎรได้ถูกขุดและหายสาบสูญไปในปีนี้ บทความเรื่องนี้ จึงถือเป็นบทความเชิงสำรวจข้อมูลชั้นต้นเกี่ยวกับคณะราษฎร และเป็นบทความเรื่องแรกที่พยายามเล่าเรื่องประวัติศาสตร์คณะราษฎรผ่านหนังสืออนุสรณ์งานศพ คณะราษฎร ที่เป็นคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 เริ่มก่อตั้งในฝรั่งเศส ราว พ.ศ.2469 โดยเริ่มต้นจาก ปรีดี พนมยงค์ และ ประยูร ภมรมนตรี ต่อมา ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) เข้าร่วมด้วย ในการเปิดประชุมทางการครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2469 (ปฏิทินเก่า) มีผู้เข้าร่วมประชุม 7 คน นอกเหนือจาก 3 คนแรกแล้ว อีก 4 คน คือ หลวงศิริราชไมตรี ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี ตั้ว ลพานุกรม และ แนบ พหลโยธิน ซึ่งกำหนดให้ ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าคณะชั่วคราว บุคคลสำคัญต่อมาที่ได้รับการชักชวนเข้าร่วมที่สำคัญคือ ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน (หลวงสินธุสงครามชัย) ซึ่งต่อมาจะเป็นหัวหน้าคณะราษฎรสายทหารเรือ หลังจากนั้น แม้ว่านักเรียนนอกเหล่านี้จะกลับมาประเทศไทยแล้ว แต่โอกาสที่จะก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังไม่เห็นทาง จนกระทั่งประยูร ภมรมนตรี ประสบความสำเร็จในการชักชวนนายทหารบก 4 คนเข้าร่วม คือ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน) พ.อ.พระยาทรงสุรเดช(เทพ พันธุมเสน) พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) และ พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) พระยาพหลฯจึงรับตำแหน่งหัวหน้าคณะราษฎร พระยาทรงสุรเดช เป็นรองหัวหน้าคณะ แต่เป็นคนที่มีบทบาทสำคัญ เพราะเป็นผู้วางแผนยึดอำนาจ จนทำให้การปฏิวัติ 24 มิถุนายน ประสบความสำเร็จ ก่อนหน้านี้ เคยมีผู้พยายามรวบรวบประวัติคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 จากหนังสืออนุสรณ์งานศพมาแล้ว นั่นคือ คุณธีรัชย์ พูลท้วม ซึ่งมิได้เป็นนักประวัติศาสตร์ และมิได้เป็นญาติของผู้ก่อการ 2475 แต่เป็นผู้ที่เกิดใน พ.ศ.2475 และมีเห็นว่าคณะราษฎรเป็น "คณะบุคคลที่กล้าหาญเสี่ยงต่อชีวิตไม่เฉพาะตนเองเท่านั้น หากรวมไปถึงครอบครัวด้วย เพื่อที่จะนำประชาธิปไตยสู่ประเทศ" คุณธีรัชย์ พูลท้วม ได้ใช้ความพยายามในการรวบรวมเรื่องราวจากหนังสืองานศพ มาเรียบเรียงมาเป็นหนังสือ "ประวัติคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475" คุณธีรัชย์ พูลท้วม ได้มาทำงานกับ กลุ่มบริษัทสุราทิพย์ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ตั้งแต่ พ.ศ.2517 จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.2539 เป็นเวลา 22 ปี ประวัติคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงนำมาเป็นหนังสืองานศพชองคุณธีรัชย์ ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2539 ซึ่งในหนังสือขนาดยาวเล่มนี้ ยังมีเรื่องประวัติอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ประกาศพระบรมราชโองการและประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี, ทำเนียบนายกรัฐมนตรีและรายนามคณะรัฐมนตรีตั้งแต่เริ่มใช้รัฐธรรมนูญ สรุปเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองในรอบ 60 ปี และ เทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 7 ฉบับได้รับรางวัลที่ 1 ในการประกวดกวีนิพนธ์ในงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 บทประพันธ์ของ นายฉันท์ ขำวิไล และประกาศปรารภสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นต้น สำหรับงานของ นริศ จรัสจรรยาวงศ์ เริ่มต้นเรื่องด้วยการเสนอปัญหาเรื่องการรวบรวมรายชื่อผู้ก่อการคณะราษฎร ซึ่งส่วนมากจะยึดตามรายชื่อของนายประยูร ภมรมนตรี ซึ่งต่อมา ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ สรุปได้102 รายชื่อ แต่ความจริงรายชื่อผู้เข้าร่วมก่อการน่าจะมากกว่านั้น เพราะนายประยูรรวบรวมรายชื่อเฉพาะชั้นสัญญาบัตร อย่างน้อยที่สุดในหนังสือมานานุกรม พ.ศ.2480 ก็มีรายนาม"ผู้ตั้งกำเนิดรัฐธรรมนูญ" ทำให้มีชื่อเพิ่มมาอีก 17 คน แต่ก็ยังมีรายชื่อที่ยังไม่ได้เข้ารวมในรายชื่อคณะราษฎร เช่น กระจ่าง ตุลารักษ์ น้องชายของนายสงวน ซึ่งอธิบายตนเองว่าเป็น "คณะราษฎรคนสุดท้าย" ก็ไม่มีรายชื่อในบัญชีใด และในฝ่ายทหารเรือ ก็ยังมีรายชื่ออีก 4 คน ที่นัดก่อการไว้ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน แต่พอเลื่อนกำหนดเป็น 24 มิถุนายน จึงตามกันไม่ทัน และยังมีรายชื่อของทหารเรือชั้นผู้น้อยที่เข้าร่วมอีกจำนวนหนึ่ง ที่ไม่ปรากฏในบัญชีรายชื่อ และยังมีบางราย เช่น พระสิทธิเรืองเดชพล ที่ถูกประหารชีวิตในข้อหากบฏเมื่อ พ.ศ.2481 ก็เคยถูกอ้างว่าเป็นผู้ร่วมมือกับคณะราษฎรในสายพระยาทรงสุรเดชด้วย ต่อมา บทความของนริศ จรัสจรรยาวงศ์ ก็ได้เล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับบุคคลสำคัญของคณะราษฎร เกี่ยวข้องกับหนังสืองานศพ เช่น ในงานพระราชทานเพลิงศพของพระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อ พ.ศ.2490 จะวันที่คณะผู้ก่อการได้มาพบกัน และเป็นครั้งสุดท้ายแห่งการพบกันของปรีดี พนมยงค์ และ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เพราะหลังจากนั้น จะเกิดการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ที่ทำให้เส้นทางชีวิตของผู้นำคณะราษฎรทั้งสองคนแยกออกจากกัน สำหรับพระประศาสน์พิทยายุทธ ได้ไปเป็นอัครราชทูตที่กรุงเบอร์ลิน สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และยังคงอยู่ในเยอรมนีจนถึง พ.ศ.2488 เมื่อเยอรมนีแพ้สงครามและกองทัพโซเวียตเข้ายึดกรุงเบอร์ลิน พระประศาสน์พิทยายุทธถูกจับตัวเป็นเชลย เพราะถือว่าประเทศไทยเข้าสงครามในฐานะฝ่ายอักษะ โซเวียตจึงปฏิบัติในฐานะชนชาติศัตรู ต่อมา เมื่อได้รับการปล่อยตัวกลับ ก็ได้เขียนหนังสือเรื่อง "225 วันในคุกรัสเซีย" และเป็นผู้เล่าเบื้องหลังเหตุการณ์ปฏิวัติ 2475 ก่อนจะถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ.2492 ในบทความของนริศ จรัสจรรยาวงศ์ ยังได้เล่าถึงชีวิตและหนังสืองานศพของผู้ก่อการคณะราษฎรคนอื่น ก็คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นผู้นำคณะราษฎรสายทหารบกคนสำคัญ ร.อ.หลวงทัศนัยนิยมศึก ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 คนแรกของคณะราษฎร ถึงแก่กรรมเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2476 พ.ต.หลวงอำนวยสงคราม (ถม เกษะโกมล) ซึ่งเสียสละชีวิตในกรณีกบฏบวรเดช ตุลาคม พ.ศ.2476 นอกจากนี้ก็คือ หลวงอดุลเดชจรัส หลวงกาจสงคราม หลวงเสรีเริงฤทธิ์ และ ขุนศรีศรากร ซึ่งมีเรื่องเล่าอันน่าสนใจ สำหรับสายทหารเรือ งานสำคัญ คือข้อเขียนของ น.อ.หลวงศุภชลาศัย เรื่อง "จอมพลในทัศนะของข้าพเจ้า" ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2492 นอกจากนี้ เรื่องที่เด่นมากคือ บันทึกของ พล.ร.ต.หลวงสังวรยุทธกิจ (สังวร สุวรรณชีพ) ที่เล่าถึงเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงกรณีกบฏวังหลวง พ.ศ.2492 และ งานเขียนของ พล.ร.ต.ทหาร ขำหิรัญ เรื่อง "กุหลาบ เพื่อนตาย 24 มิถุนายน 2475" ในหนังสืองานศพของ กำลาภ (กุหลาบ) กาญจนสกุล นอกจากนี้ คือ นิทานชาวไร่ ของ น.อ.สวัสดิ์ จันทนี ในสายพลเรือน หนังสืองานศพของควง อภัยวงศ์ เรื่อง "เรื่องราวของ พ.ต.ควง อภัยวงศ์"ก็น่าสนใจอย่างมาก เล่ากันว่า คุณณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เรียบเรียงตามคำบอกเล่าของนายควง แต่เล่มที่โดดเด่น คือ "ชีวิตห้าแผ่นดินของข้าพเจ้า" เขียนโดย ประยูร ภมรมนตรี นอกจากนี้ คือ หนังสืองานศพของ สงวน ตุลารักษ์ และ บุญล้อม(ปราโมทย์ พึ่งสุนทร) เล่าเรื่องของขบวนการเสรีไทยสมัยสงครามโลกเอาไว้อย่างน่าสนใจ ท้ายที่สุด บทความนี้ยังได้รวบรวมรายชื่ออนุสรณ์งานศพของภรรยา ผู้ก่อการคณะราษฎร อีก 12 เรื่อง โดยเฉพาะหนังสืออนุสรณ์งานศพของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ที่เล่าเรื่องราวเอาไว้มากมาย สรุปแล้วในโอกาส 24 มิถุนายน พ.ศ.2561 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 86 ปี ของการปฏิวัติ 2475 ซึ่งเป็นการนำประเทศมาสู่ระบอบรัฐธรรมนูญ จะขอระลึกถึงคณะราษฎร ผ่านหนังสืออนุสรณ์งานศพเหล่านี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
UN เตือนอาเซียน ยิ่งห้ามแม่บ้านไปทำงาน ตปท. ยิ่งเสี่ยงค้ามนุษย์ Posted: 20 Jun 2017 02:53 AM PDT สหประชาชาติเตือน การที่รัฐบาลกลุ่มประเทศอาเซียนมีมาตรการห้ามผู้หญิงเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ ยิ่งทำให้เสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ส่วนฟิลิปปินส์พึ่งระงับส่งแรงงานไปกาตาร์เมื่อต้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ILO ระบุมาตรห้ามแรงงานหญิงไปทำงานยังต่างประเทศ ยิ่งส่งผลให้บรรดาผู้หญิงที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ มีโอกาสตกเป็นเหยื่อของแก๊งค้ามนุษย์เพิ่มมากขึ้น ที่มาภาพประกอบ: hongwrong.com เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมาเว็บไซต์ straitstimes.com รายงานว่าองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้เตือนว่าการที่รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกมาตรการห้ามผู้หญิงเดินทางไปทำงานเป็นแม่บ้านในต่างประเทศ จะทำให้พลเมืองของตนเองเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของขบวนการการค้ามนุษย์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ผู้หญิงเอเชียซึ่งส่วนใหญ่ครอบครัวมีฐานะยากจนตัดสินใจออกเดินทางไปทำงานแม่บ้านในต่างประเทศเพื่อหารายได้ จุนเจือครอบครอบ โดยคิดเป็นเกือบครึ่งของจำนวนแรงงานแม่บ้านทั้งหมด 53 ล้านคนทั่วโลก แต่พวกเธอมักจะพบกับชะตากรรมที่โหดร้ายไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกายและข่มขืนในประเทศปลายทาง อินโดนีเซีย พม่า และกัมพูชา เคยออกมาประกาศห้ามไม่ให้แรงงานหญิงเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิพลเมืองของตนจากนายจ้างที่ต่างแดน แต่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เคยเผยแพร่ผลการศึกษาพบว่ามาตรการดังกล่าวส่งผลให้บรรดาผู้หญิงที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ มีโอกาสตกเป็นเหยื่อของแก๊งค้ามนุษย์เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่กัมพูชาออกคำสั่งห้ามเมื่อปี 2554 พม่าประกาศห้ามเมื่อปี 2557 ก็ส่งผลให้มีจำนวนผู้ลักลอบนำแรงงานผิดกฎหมายออกนอกประเทศเพิ่มมากขึ้น แอนนา โอลเซ่น ผู้เชี่ยวชาญจาก ILO ระบุว่ามาตรการการห้ามโดยไม่มีการออกเอกสารรับรองให้นั้น ได้ทำให้สุดท้ายบรรดาแรงงานหญิงเหล่านั้นก็แสวงหาวิธีเดินทางออกนอกประเทศไปทำงานได้อยู่ดี ขณะที่ UN ระบุว่าหากไม่มีช่องทางอนุญาตให้เดินทางไปทำงานในต่างประเทศได้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็จะทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากขึ้น รวมถึงจะไม่กล้าขอความช่วยเหลือหากเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเอง ฟิลิปปินส์ประกาศระงับการส่งแรงงานไปยังกาตาร์เป็นการชั่วคราว ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2560 เว็บไซต์ scmp.com รายงานว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศระงับการส่งแรงงานไปยังกาตาร์เป็นการชั่วคราว เนื่องจากวิตกต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการที่หลายประเทศได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของฟิลิปปินส์ระบุว่าคำสั่งระงับการส่งแรงงานดังกล่าวจะยังคงมีผลบังคับใช้ จนกว่ารัฐบาลจะเสร็จสิ้นการประเมินสถานการณ์ของกาตาร์ ปัจจุบันมีแรงงานจากฟิลิปปินส์มากกว่า 2 ล้านคน ทำงานในภูมิภาคตะวันออกกลาง ไม่ว่าจะเป็นงานแม่บ้าน, คนงานก่อสร้าง, วิศวกร และพยาบาล โดยทำงานที่กาตาร์ประมาณ 250,000 คน และทำงานในซาอุดิอาระเบียประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งแรงงานเหล่านี้ได้สร้างรายได้ส่งกลับฟิลิปปินส์กว่า 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา อนึ่งเมื่อต้นเดือน มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมา บาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ เยเมน ลิเบีย และมัลดีฟส์ ได้ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูดกับกาตาร์ โดยอ้างเหตุผลว่ากาตาร์ให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย และบ่อนทำลายเสถียรภาพในภูมิภาค
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ชำนาญ จันทร์เรือง: วิพากษ์ปาฐกถาเสกสรรค์ ประเสริฐกุล Posted: 20 Jun 2017 02:44 AM PDT พลันที่ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถา เรื่อง "การเมืองไทย กับ สังคม 4.0" ในงานเสวนา "Direk's Talk ทิศทางการเมืองโลก ทิศทางการเมืองไทย และนโยบายสาธารณะ" จัดโดย ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 19 มิถุนายน 2560 จบลง การวิพากษ์วิจารณ์ก็เกิดขึ้นอย่างเผ็ดร้อนในโซเชียลมีเดีย และตามมาด้วยการเสนอข่าวในสื่อกระแสหลักในวันถัดมา แน่นอนว่ามีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มีทั้งเห็นด้วยบางประเด็นไม่เห็นด้วยบางประเด็น ฯลฯ บ้างไปไกลถึงขนาดโจมตีว่าช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานั้นเสกสรรค์หายไปไหน ในฐานะที่เป็นนักวิชาการซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะอาวุโสตามความหมายของอ.เสกสรรค์หรือเปล่าก็อดเสียไม่ได้ที่จะต้องออกมาให้ความเห็น เพราะมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบในฐานะนักวิชาการเช่นกัน แต่จะให้ความเห็นเฉพาะที่เห็นต่างเท่านั้นโดยไม่จำต้องให้ความเห็นในส่วนที่เห็นพ้องต้องกันแต่อย่างใด เพราะเป็นหลักวิชาทางรัฐศาสตร์ที่รับรู้กันโดยทั่วไปแล้ว เว้นเสียแต่ว่าจะตะแบงกันไปข้างๆคูๆของพวกเนติบริกร รัฐศาสตร์บริการหรือนักวิชาการเครื่องซักผ้าน่ะครับ 1.เสกสรรค์ - "ยิ่งไปกว่านี้ รัฐธรรมนูญ2560 ยังมีบทบัญญัติต่างๆ ที่ทำให้แก้ไขได้ยาก จนถึงขั้นเกือบเป็นไปไม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่าผู้ร่างมีวัตถุประสงค์จะตรึงโครงสร้างดังกล่าวไว้ให้นานแสนนาน ดังนั้น เมื่อบวกรวมกับช่วงที่รัฐบาลทหารปกครองโดยตรงแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า การกุมอำนาจของชนชั้นนำภาครัฐคงดำเนินอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 9-10 ปี แน่ล่ะ ถ้าพูดถึงตัวบุคคลหรือแม้แต่ คสช. การสืบทอดอำนาจอาจไม่เป็นเส้นตรงขนาดนั้น แต่ถ้าพูดถึงชนชั้นนำภาครัฐแล้วการต้องการพื้นที่ถาวรและอำนาจนำทางการเมืองเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน" ความเห็นแย้ง ผมคิดว่า คสช.ไม่มีกึ๋นอะไรขนาดนั้นหรอกครับ คิดเป็นอยู่อย่างเดียวคือทำอย่างไรจึงจะไม่ให้เสียของ ตอนนี้เลยเสียหมด กอปรกับสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เป็นใจ เมื่อผนวกเข้ากับภาวการณ์ที่รัฐธรรมนูญแก้ไขได้ยากหรือเรียกได้ว่าแก้ไขไม่ได้เลยนั้นย่อมนำมาสู่ภาวะที่อึดอัดขัดข้องและนำไปสู่การฉีกรัฐธรรมนูญในที่สุดด้วยวิธีการ 2 แบบ คือ 1.การทำรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง หรือ 2.การลุกฮือขึ้นมาของประชาชน ซึ่งอย่านึกว่าจะเป็นไปไม่ได้เพราะเมื่อถึงภาวะฟางเส้นสุดท้ายหรือpoint of no return แล้ว อะไรก็เกิดขึ้นได้ อนึ่ง การวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทยจะดูเฉพาะเพียงปัจจัยที่ปรากฏภายนอกไม่ได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมาย เพราะแม้แต่ร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้วยังเปลี่ยนแปลงได้ 2.เสกสรรค์ - "ดังนั้น การเมืองในยุคไทยแลนด์ 4.0 จึงมีแนวโน้มที่จะไปได้ทั้งสองทางคือ ทางแรก นักการเมืองเล่นบทหางเครื่อง คอยผัดหน้าทาแป้งให้กับชนชั้นนำภาครัฐที่ได้กุมอำนาจต่อในฐานะรัฐบาลประชาธิปไตย กลายเป็นการเมืองแบบที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรียกว่าระบอบเกี้ยเซียะ ทางที่สอง พรรคการเมืองส่วนใหญ่อาจผนึกกำลังทำหน้าที่ฝ่ายค้านที่สร้างสรรค์ มีข้อเสนอแนะข้อโต้แย้งที่แตกต่างจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม อันนี้ถ้าเกิดขึ้นจริงจะเป็นปรากฏการณ์ที่เร้าใจยิ่ง และเป็นการสมทบส่วนที่สำคัญให้กับพัฒนาการทางการเมืองในประเทศเรา" ความเห็นแย้ง มีความเป็นไปได้เพียงทางเดียว คือ นักการเมืองเล่นบทหางเครื่อง คอยผัดหน้าทาแป้งให้กับชนชั้นนำภาครัฐที่ได้กุมอำนาจต่อในฐานะรัฐบาลประชาธิปไตยเท่านั้น ซึ่งหมายความรวมถึงพรรคเพื่อไทยที่ถึงแม้จะถูกกระทำมาอย่างหนักก็ตาม เพราะนักการเมืองก็คือนักการเมืองนั่นเอง
"...ปัญญาชนและนักวิชาการ ชนกลุ่มนี้มีศักยภาพทางการเมืองสูงมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพียงแต่วิวัฒน์จากนักปราชญ์ราชบัณฑิต ปุโรหิต สมณะ มาเป็น ผศ.รศ. คอลัมนิสต์หรือนักวิชาการอิสระเท่านั้นเอง" "...ปัญญาชนที่ถือตนว่าเป็นเป็นฝ่ายประชาธิปไตยนั้นไม่ค่อย connect กับการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนเท่าใด ส่วนใหญ่พอใจอยู่กับการออกความเห็นใน Facebook กระทั่งบางส่วนออกจะรังเกียจการเมืองภาคประชาชน โดยเห็นว่าแกนนำบางคนเคยต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง" "...หลายท่านให้ความสำคัญกับเสรีภาพส่วนตัวในการแสดงความคิดเห็นมากกว่าการผนึกกำลังกันเป็นกลุ่มก้อนขบวนการ บางท่านใช้เวลาไปในการวิพากษ์ โต้แย้ง หรือเสียดสี ตรวจสอบคุณสมบัติของปัญญาชนด้วยกันมากกว่าจะสร้างขบวนทางปัญญาที่มีพลัง" "...ผมเห็นว่าปัญญาชนจำนวนมากเกินไป แทบจะไม่พยายามเข้าไปเกี่ยวร้อยกับทุกข์ร้อนรูปธรรมของประชาชนหมู่เหล่าต่างๆเลย" "ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงยังไม่สามารถทำให้ความเห็นของตนmatterในสังคมไทย ศักยภาพทางการเมืองของเขายังคงเป็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในโลกเสมือนจริง แต่ยังไม่ใช่พลังในโลกแห่งความจริง" | ||||
กลุ่มคนรักหลักประกัน ยื่นเงื่อนไข 3 ข้อก่อนเข้าร่วมเวทีพรุ่งนี้ เตรียมดันสมัชชาสุขภาพวาระพิเศษ Posted: 20 Jun 2017 01:07 AM PDT กลุ่มคนรักหลักประกันฯ ยื่นเงื่อนไขหมอพลเดช 3 ข้อ ก่อนเข้าร่วมเวทีพรุ่งนี้ ระบุต้องไม่ใช่การคุยในสถานการณ์สู้รบที่มีทหาร-ตำรวจมาคอยควบคุม ต้องเปิดรับฟังอย่างหลากหลาย ไม่รวบรัด เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน และเตรียมเปิดสมัชชาสุขภาพวาระพิเศษเพื่อศึกษาข้อมูล ก่อนแก้กฎหมายให้ดีที่สุด กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเข้าหารือกับ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เกี่ยวกับเวทีปรึกษาสาธารณะพรุ่งนี้ วันที่ 20 มิถุนายน 2560 เวลา 11.30 น. กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ นัดพบประธานรับฟังความคิดเห็น นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ.... เพื่อตัดสินใจเข้าร่วมเวทีปรึกษาสาธารณ (Public Consultation) ในวันที่ 21 มิถุนายน 2560 ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ ภายหลังการหารือ นิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ แกนนำกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ในนามของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพที่มีโอกาสพูดคุยกับ นพ.พลเดช ประเด็นสำคัญที่ทาง นพ.พลเดช กังวลคือ พรุ่งนี้ทางกลุ่มคนรักหลักประกันฯ จะเข้าร่วมหรือไม่ และหากเข้าร่วมจะทำอะไรกับเวทีหรือเปล่า ซึ่งทางกลุ่มคนรักหลักประกันฯ ก็กังวลเกี่ยวกับการจัดเวทีพรุ่งนี้เช่นกัน เหตุนี้ เพื่อให้เวทีพรุ่งนี้เป็นกระบวนการพูดคุยที่ให้เวลา ให้โอกาส ที่จะแสดงความเห็นที่หลากหลายและมากพอที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ข้อสรุปร่วมกัน กลุ่มคนรักหลักประกันฯ จึงมีเงื่อนไข 3 ข้อคือ 1.ต้องเป็นเวทีการพูดคุยที่ไม่ใช่อยู่ในภาวะสงคราม ที่มีทหาร ตำรวจนอกเครื่องแบบเต็มไปหมด ขอเรียกร้องให้ฝ่ายจัดการสื่อสารกับฝ่ายความมั่นคงว่า กระบวนการพูดคุยต้องไม่ใช่การพูดคุยในสถานการณ์สู้รบ ภาคประชาชนที่ได้รับเชิญ 18 คนที่จะเข้าร่วมกระบวนการเวทีพรุ่งนี้ 2.การพูดคุยพรุ่งนี้ต้องไม่ใช่การปิดห้องคุยและรวบรัดประเด็น สิ่งที่กลุ่มคนรักหลักประกันฯ ต้องการเห็นคือการพยายามหาข้อยุติร่วมกันให้ได้ กล่าวคือต้องหาประเด็นที่เห็นร่วมกันให้ได้ ต้องหาประเด็นที่เห็นต่างกันให้ได้ และได้ประเด็นที่จะเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การปฏิรูประบบสุขภาพที่เป็นธรรมกับทุกคนให้ได้ "สิ่งเหล่านี้จะเกิดได้ สช. ต้องดำเนินกระบวนการอย่างเป็นธรรม ไม่รวบรัด ไม่ตัดประเด็น ไม่ปิดโอกาสการแสดงความเห็นของทุกฝ่าย และต้องพยายามขมวดให้เกิดสามเรื่องนี้ให้ได้" นิมิตร์ กล่าว 3.กระบวนการต่อจากเวทีวันพรุ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก รัฐบาลจะต้องไม่เร่งรัดนำเรื่องทั้งหมดเข้าสู่กรรมการแก้กฎหมาย เพราะถ้ายังมีเรื่องที่เห็นต่างกันอยู่ สิ่งที่ประชาชนเห็นด้วยกันกับทางทีมของ สช. คือ หลังจากนี้เราจะใช้กระบวนการและกลไกของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติวาระพิเศษหรือประเด็นเฉพาะ เพื่อนำไปสู่การแก้กฎหมายที่ดีที่สุด มีการตั้งกลุ่มหาข้อมูล เพราะฉะนั้นภาคประชาชนที่อยู่ในสมัชชาสุขภาพจะยื่นเสนอให้เปิดประชุมสมัชชาสุขภาพในวาระพิเศษเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ต่อ นิมิตร์ กล่าวอีกว่า พรุ่งนี้ ทางภาคประชาชน 18 คนที่ได้รับเชิญจะไปเข้าร่วม แต่ถ้าเห็นว่ามีกองกำลังอยู่หน้าห้องประชุม ภาคประชาชนทั้ง 18 คนจะเดินทางกลับทันที ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ อัดแก้ ก.ม.บัตรทอง ทำลายหลักการมีส่วนร่วมภาคประชาชน Posted: 20 Jun 2017 12:07 AM PDT ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้ แฟ้มภาพ เพจบัตรทองของเรา 20 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า อภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้ อภิวัฒน์ ยกตัวอย่างการทำงานของเครือข่ นอกจากนี้ การดำเนินการอย่างมีส่วนร่ "รางวัลที่ประเทศไทยได้รับ มันสะท้อนให้เห็นถึงความสำคั "พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพเป็นเรื่ อภิวัฒน์ กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาในรายละเอียดการแก้ "แล้วไปให้ สธ.เป็นคนจัดซื้อ ซึ่งหากถอดบทเรียนในอดีตที่ผ่ ทั้งนี้ข้อเรียกร้องจากเครือข่ วันนี้ (20 มิ.ย.60) เวลา 11.30 กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ นัดพบหารือกับ นพ.พลเดช ปิ่นประทีบ เลขาธิการ สช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการจัดรั
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
วันผู้ลี้ภัยโลก 'แอมเนสตี้' ชมไทยรองรับผู้ลี้ภัยมาหลายสิบปี วอนคุ้มครองทางกฎหมายเพิ่ม Posted: 19 Jun 2017 11:28 PM PDT แอมเนสตี้ แถลง 'วันผู้ลี้ภัยโลก' ยินดีไทยรองรับผู้ลี้ภัยมานานหลายทศวรรษ ชี้ยังมีการละเมิดสิทธิผู้แสวงหาที่ลี้ภัยอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะการส่งฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของรัฐบาลตุรกีกลับประเทศเมื่อเดือนก่อน เรียกร้องคุ้มครองทางกฎหมายมากขึ้น พร้อมเปิดข้อเท็จจริง 10 ข้อ 20 มิ.ย. 2560 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แถลงเนื่องใน "วันผู้ลี้ภัยโลก" ปี 2560 โดยระบุว่า ยินดีที่ประเทศไทยรองรับและให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยแม้ว่าไทยจะไม่ได้เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 แต่ก็ยังให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ยกตัวอย่างเช่น ผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาที่ทางการไทยไม่ได้บังคับส่งกลับ แต่ยืนยันให้มีการส่งกลับโดยสมัครใจแทน นอกจากนี้ ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยผู้ลี้ภัยเมื่อเดือนกันยายน 2559 และเวทีนานาชาติอีกหลายโอกาส ทางการไทยเน้นย้ำโดยตลอดว่าจะคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัย พัฒนาระบบคัดกรองผู้ลี้ภัย และปฏิบัติตามหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) อย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ผู้ลี้ภัย (refugees) และผู้แสวงหาที่ลี้ภัย (asylum seekers) ที่ลี้ภัยยังไม่มีสถานะทางกฎหมายในประเทศไทย ทำให้พวกเขาถูกปฏิบัติในฐานะ "คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย" ซึ่งเสี่ยงที่จะถูกจับติดคุกอย่างไม่มีกำหนดและบังคับส่งตัวกลับไปยังพื้นที่อันตราย ปัจจุบัน คาดว่ามีผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่ขึ้นทะเบียนกับ UNHCR ราว 330 คนที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในศูนย์กักตัวคนต่างด้าวซึ่งมีสภาพแออัดและเลวร้าย โดยบางคนถูกควบคุมตัวมานานหลายปีแล้ว นอกจากนี้ มีรายงานว่าคนจากชาติพันธุ์บางกลุ่ม เช่น ชาวม้งลาว ไม่สามารถขึ้นทะเบียนกับ UNHCR ได้ เป็นเหตุให้พวกเขาไม่มีโอกาสถูกส่งไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังเคยละเมิดหลักการไม่ส่งกลับซึ่งเป็นกฎหมายจารีตระหว่างประเทศ กรณีล่าสุดคือเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2560 ทางการไทยส่งตัวนายเอ็ม ฟูรกาน เซิกเม็น (M. Furkan Sökmen) กลับตุรกีผ่านกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน แม้ว่าสหประชาชาติจะเตือนแล้วว่าเขาเสี่ยงจะถูกคุกคามหากถูกส่งตัวกลับไปยังตุรกี กรณีดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงและทำให้ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยคนอื่นๆ ในประเทศไทยเกิดความหวาดกลัว แอมเนสตี้ จึงเรียกร้องทางการไทยให้รับประกันว่าจะไม่มีการควบคุมตัวผู้ลี้ภัยหรือผู้แสวงหาที่ลี้ภัย มีนโยบายและกรอบกฎหมายที่เข้มแข็งเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยมากขึ้น ซึ่งรวมถึงสิทธิที่จะพำนักชั่วคราวในประเทศไทยระหว่างที่รอการพิจารณาส่งตัวไปยังประเทศที่สาม แถลงการณ์ของแอมเนสตี้ฯ ระบุด้วยว่า การให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยอยู่คู่กับประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2513 โดยปัจจุบัน มีผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาประมาณ 100,000 คน และยังมีผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยอีกราว 8,000 คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ผู้ลี้ภัยในไทยมาจากหลายที่ เช่น เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม ปากีสถาน โซมาเลีย อิรัก ปาเลสไตน์ ซีเรีย ฯลฯ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น