ประชาไท | Prachatai3.info |
- กป.อพช.ภาคเหนือตอนบน ร้องประยุทธ์หยุด แก้ ก.ม.บัตรทอง ยุติส่ง จนท.ติดตาม ปชช.
- ศาลให้ฝากขังทนายประเวศ คดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ต่อครั้งที่ 6
- ปัญหาโรคผู้พิการเริ่มแก้จากครอบครัว ควรยอมรับผู้พิการเยี่ยงมนุษย์คนหนึ่ง
- โครงสร้างสังคม ก.ม. ไทยเป็นประชาธิปไตยยาก จะเปลี่ยนผ่านต้องรวดเร็ว ตรวจสอบได้:วงเสวนา
- โฆษกวิป สนช. ชี้แม้เซ็ตซีโร่ กสม. แต่สามารถกลับมาสมัครใหม่ได้
- ประยุทธ์ อวยพร 'สปท.-สนช.' ลาออกลงเลือกตั้งส.ส. ยันไม่กระทบโรดแมป
- พ.ค. 2560 ผู้ประกันตนว่างงาน 155,719 คน ทำสถิติสูงสุดตั้งแต่ต้นปี
- ทางการจีนยอมส่งตัวนักโทษการเมือง 'หลิวเสี่ยวโป' รักษามะเร็งหลังประชุมกับอียู
- ศาลชี้ คดีฐนกรแชร์ผังราชภักดิ์ อยู่ในขอบเขตอำนาจศาลทหาร
- ว่าด้วยระบบสาธารณสุขไทยและแนวคิดสังคมประชาธิปไตย
- ผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์เรียกร้องนายกรัฐมนตรีเร่งถอด 'กัญชา' จากบัญชียาเสพติด
- 'ศรีสุวรรณ' ยื่นศาล รธน.วินิจฉัย ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง
- จากหนุ่มชื่อ “วา” ถึงชายชื่อ “กระแสร์”...สะท้อนอะไรในกระบวนการยุติธรรมบ้านเรา?
- การจดสิทธิบัตรเฟซบุ๊กเผยแผนการ "อ่านอารมณ์ผู้ใช้" ผ่านเว็บแคม
- อุทธรณ์ยกฟ้อง 'มือปืนป็อปคอร์น' เหตุมีเพียงภาพจากสื่อ ไม่มีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยัน
กป.อพช.ภาคเหนือตอนบน ร้องประยุทธ์หยุด แก้ ก.ม.บัตรทอง ยุติส่ง จนท.ติดตาม ปชช. Posted: 27 Jun 2017 11:03 AM PDT 27 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการประสานงานองค์กรพั รายละเอียดดังนี้ : แถลงการณ์ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพั เรื่อง ยุติกระบวนการแก้กฎหมายหลั 26 มิถุนายน 2560 คณะกรรมการประสานงานองค์กรพั การดำเนินการแก้กฎหมายครั้งนี้ มุ่งเน้นการแก้เกี่ยวกับหน่ การแก้กฎหมายครั้งนี้มี สิ่งที่ควรปรับแก้แต่ไม่ทำ แต่มีการเพิ่มการแก้ไขในสิ่งที่ กป.อพช.ภาคเหนือจึงขอให้ นายกรัฐมนตรียุติกระบวนการแก้ 27 มิถุนายน 2560 คณะกรรมการประสานงานองค์กรพั กลุ่มเขลางค์เพื่อการพัฒนา ลำปาง กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ เชียงราย กลุ่มดอยหมอกเพื่อการพัฒนา ลำปาง กลุ่มรักษ์เชียงของ เชียงราย กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา เชียงราย คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้ เครือข่ายเด็กและเยาวชนภาคเหนื เครือข่ายทรั เครือข่ายที่ดิน จ.แพร่ โครงการจัดการลุ่มน้ำปิงตอนบน พะเยา โครงการปฏิรูปการเกษตรและพั โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ เชียงใหม่ โครงการฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรม แม่ฮ่องสอน โครงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โครงการละครชุมชน เชียงใหม่ โครงการส่งเสริมการจัดการทรั โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ ชมรมคริสเตียนเพื่อการพั พันธกิจเอดส์ สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย เชียงใหม่ มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา พะเยา มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ เชียงใหม่ มูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา เชียงราย มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ เชียงใหม่ มูลนิธิพัฒนาภูมิปัญญาชนเผ่ มูลนิธิพัฒนาสตรีภาคเหนือ เชียงใหม่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยื มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน เชียงใหม่ มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรี มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ เชียงใหม่ มูลนิธิรักษ์ไทย พะเยา มูลนิธิวายเอ็มซีเอเพื่อการพั มูลนิธิไว เอ็ม ซี เอ กรุงเทพฯ สาขาพะเยา มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท เชียงใหม่ มูลนิธิสายสัมพันธ์ เชียงใหม่ มูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว เชียงใหม่ มูลนิธิฮักเมืองน่าน น่าน มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ เชียงใหม่ ศูนย์การเรียนรู้โจโก้ เชียงใหม่ ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุ ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุ ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุ สถาบันการจัดการทางสังคม น่าน สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน น่าน สถาบันพัฒนาและเสริมสร้างการเรี สถาบันร่วมเรียนรู้ ลำพูน สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้เพื่ สถาบันอ้อผญา แม่ฮ่องสอน สมาคมชีวิตดี ลำปาง สมาคมพัฒนาชนบทสมบูรณ์แบบ ลำพูน สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ลำพูน สมาคมวาย เอ็ม ซี เอ เชียงใหม่ สาขาลำพูน สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวั สมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เชียงราย สำนักข่าวเด็กและเยาวชน พะเยา สิทธิชุมชนจังหวัดพะเยา พะเยา โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เชียงใหม่ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เอดส์ ภาคเหนือบน เชียงใหม่ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาลให้ฝากขังทนายประเวศ คดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ต่อครั้งที่ 6 Posted: 27 Jun 2017 10:22 AM PDT ศาลให้ฝากขังทนายประเวศ คดี ม.112 ต่อเป็นครั้งที่ 6 จนถึง 9 ก.ค.นี้ แม้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง อ้างเหตุกระทบสิทธิเสรีภาพและโอกาสต่อสู้คดีของผู้ต้องหา อีกทั้งยังไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐานไม่ได้
27 มิ.ย. 2560 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลอาญาพิจารณาคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ปอท.) ยื่นคำร้องฝากขัง ประเวศ ประภานุกูล อาชีพทนายความ ครั้งที่ 6 ต่อศาลในคดีที่ทนายประเวศถูกแจ้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำนวน 10 กรรม, ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จำนวน 3 กรรม, และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) จากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ทั้งนี้วานนี้ (26มิ.ย.2560) ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ได้รับมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องคัดค้านฝากขังแทนทนายประเวศ โดยระบุเหตุผลว่าพนักงานสอบสวนได้ถามคำให้การทนายประเวศไปจนเสร็จสิ้นแล้ว หากไม่ถูกขังระหว่างสอบสวนสามารถรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ ส่วนของกลางในคดีซึ่งเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้ในครอบครองหมดแล้วจึงไม่มีทางที่ทนายประเวศจะเข้าไปยุ่งเหยิงได้อีก นอกจากนั้นการตรวจสอบข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์และการตรวจสอบประวัติอาชญากรก็เป็นขั้นตอนติดต่อรับส่งเอกสารระหว่างพนักงานสอบสวนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท้าน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับทนายประเวศอีกด้วย อีกทั้งพยานบุคคลอีก 1 ปาก ที่พนักงานสอบสวนระบุว่ายังต้องทำการสอบสวน ทนายประเวศก็ไม่มีทางไปยุ่งเหยิงกับพยานได้แน่นอน ตามเหตุผลข้างต้นจึงเห็นว่าหากทนายประเวศต้องถูกขังระหว่างสอบสวนย่อมเป็นการคุมขังเกินจำเป็น นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังสร้างภาระเกินจำเป็น กระทบต่อการทำงานทนายความและสิทธิเสรีภาพและโอกาสในการสู้คดีของทนายประเวศเป็นอย่างมาก ทนายประเวศ จึงเห็นว่าพนักงานสอบสวนไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือความจำเป็นใด ที่จะขอให้ศาลออกหมายขังได้ หากขังไว้จะเกินความจำเป็นตามพฤติการณ์คดีและเพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา ตามมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 จึงขอให้มีการไต่สวนพนักงานสอบสวนเพื่อให้มีการชี้แจงเหตุจำเป็น โดยแสดงพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องประกอบการไต่สวนด้วยตาม ป.วิ อาญามาตรา 87 ต่อมาศาลมีคำสั่งว่า พนักงานสอบสวนได้มีการสรุปสำนวนคดีเสร็จสิ้นแล้ว แต่จำเป็นที่จะต้องยื่นเรื่อง เพื่อทำความเห็นทางคดีเสนอผู้บังคับบัญชา สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อมีคำสั่งต่อไปและยังคงมีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาคดีความมั่นคงของ สตช. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดตั้งคณะกรรมการอยู่ จึงมีความจำเป็นต้องฝากขังต่ออีก 12 วันตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.- 9ก.ค.2560 ตาม คดีนี้ทนายประเวศถูกขังระหว่างการสอบสวนตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค.2560 จนถึงปัจจุบันรวมแล้วเป็นเวลา 55 วัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปัญหาโรคผู้พิการเริ่มแก้จากครอบครัว ควรยอมรับผู้พิการเยี่ยงมนุษย์คนหนึ่ง Posted: 27 Jun 2017 05:26 AM PDT ครอบครัวคอยแนะนำ ดูแล พร้อมทั้งการรู้ตัวโรคควรบอกตัวเด็กอย่างมีวิธี ผู้พิการชี้ ความพิการก็เหมือนความหลากหลายทางเพศ หรืออื่นๆ เป็นมนุษย์เท่ากัน ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคเหมือนมนุษย์คนอื่นๆ ภาพบรรยากาศงานเสวนา (ที่มา: Documentary Club) เมื่อ 17 มิ.ย. มีการจัดงานงานเสวนา "Gleason ตราบใดชีวิตที่ยังมีเธอ" วันที่ 17 มิ.ย. 2559 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตออกเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อผู้พิการ จนได้รับการออกกฎหมายสตีฟ กลีสัน ในประเทศสหรัฐอเมริกาในที่สุด โดยหลังจากการฉายหนัง มีการเปิดวงพูดคุยกับ ผศ.พญ.อรณี แสนมณีชัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กรรมการมูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, นลัทพร ไกรฤกษ์ กองบรรณาธิการเว็บไซต์ thisAble.me และผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงดำเนินรายการโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ดำเนินรายการเช้าทันโลก FM 96.5 อรณี กล่าวว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีปัญหาสมองสั่งการส่วนปลายทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่เขาจะมีความสามารถในการคิด ความอยากรู้เท่ากับคนปกติ แต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้ กระบวนการของสมองจะสั่งการใน 3 ส่วน ได้แก่ ไขสันหลัง เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ ซึ่งหากมีความผิดปกติในการสั่งการก็จะเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแร ด้าน นลัทพร ได้กล่าวถึงตัวโรคของเธอเองว่ารู้โรคที่ตนเองเป็นจริงๆตอนอายุประมาณ 11-12 ปี ซึ่งเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชนิด SMA (Spinal Muscular Arthopy) เป็นอาการไขสันหลังไม่สั่งการร่างกายให้เคลื่อนไหว เธอเล่าว่าหมอบอกเป็นโรคมาจากพันธุกรรม ตอนนั้นพ่อแม่รู้สึกเศร้า กว่าจะคุยเรื่องโรคอีกทีคือตอนสมัครเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุ 16 ปี อรณีกล่าวว่า เด็กที่รับรู้เรื่องโรคเร็วจะเตรียมตัวและสามารถดูแลตัวเองได้ดีขึ้น เด็กไม่สามารถเข้าถึงความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีต่อโรค แต่เรื่องนี้เด็กสามารถคุยกับพ่อแม่ได้แต่เด็กไม่กล้าคุย ในเรื่องการปรึกษา กรรมการมูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงกล่าวว่า การบอกขั้นแรกคงไม่ได้บอกตรงๆ ขั้นต่อมาค่อยบอกตรงๆ ว่าเราเป็นโรคอะไร ตอนนี้ยังมีงานวิจัยการรักษาและหายารักษาโรค ความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้ดีขึ้น เพราะพ่อแม่ดูแลเขามาเรื่อยๆ สมัยก่อนยังไม่มีค่อยมีคนเป็นโรคนี้ และพบว่าเด็กเล็กมากไม่รู้เรื่องโรคของตนเองที่เป็น ซึ่งหลักสำคัญคือ การสะท้อนความคิดและการตั้งคำถามให้เด็กเข้าใจตนเอง อรณีย้ำเตือนว่า พ่อแม่ต้องไปบอกเองหากลูกไม่รู้ว่าเป็นโรค ส่วนใหญ่พบว่าเด็กฉลาดและมีความเป็นผู้ใหญ่ แต่ด้วยข้อจำกัดทางร่างกายทำให้สื่อสารลำบาก โดยเด็กเริ่มเข้าใจโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ตอนประมาณอายุ 10 ขวบ จึงควรทำให้เขาเข้าใจกับโรคได้มากที่สุดพร้อมทั้งได้มีความสุขที่สุด ทำให้เขาคิดได้เอง ไม่รู้สึกแย่ที่เป็นโรคนี้ นลัทพรระบุว่า อยากให้ประเทศไทยยอมรับความเท่าเทียมของมนุษย์ของกลุ่มผู้พิการเพราะผู้พิการก็เหมือนกับความแตกต่างหลากหลายอื่นๆ สังคมเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่แตกต่าง ตอนเรียนก็เหมือนเด็กคนอื่นๆ มีจังหวะชีวิตเหมือนคนอื่นๆที่เขาเป็น อรณี กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มต้นจากการอยากเห็นในสิ่งที่เด็กๆ อยากเป็น อยากให้ปฏิบัติกับเขาเหมือนเป็นคนปกติ เด็กกลุ่มนี้เหมือนคนปกติ ขอให้ดูแลเขาในระดับที่เหมาะสมโดยให้เขาช่วยตัวเองได้ในระดับที่เขาสามารถทำได้ SMA คืออะไรจากนิตยสาร 247 ฉบับที่ 341 ในบทสัมภาษณ์กับนลัทพร ได้กล่าวถึงโรค SMA หรือ Spinal Muscular Atrophy ไว้ว่า อาการของโรคนี้เกิดจากการที่เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังไม่สามารถส่งสัญญาณไปกล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้ อันเป็นปัญหาที่เกิดจากแกนเซลล์ประสาทมอเตอร์นิวรอน ซึ่งส่งผลต่อการทำงานต่อร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกและภายใน เป็นกลุ่มอาการที่ไม่ติดต่อ แต่จะมีโอกาสติดต่อจากการสืบทอดทางพันธุกรรม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โครงสร้างสังคม ก.ม. ไทยเป็นประชาธิปไตยยาก จะเปลี่ยนผ่านต้องรวดเร็ว ตรวจสอบได้:วงเสวนา Posted: 27 Jun 2017 04:40 AM PDT สิริพรรณระบุ ทั้งรัฐธรรมนูญ ส.ว. แต่งตั้ง เป็นอุปสรรคประชาธิปไตย จะเปลี่ยนผ่านได้ฝ่ายการเมืองควรร่วมมือกันเพื่อให้กองทัพไม่แทรกแซงทางการเมือง เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น นักกฎหมายชี้ สื่อสังคมออนไลน์เป็นพลังใหม่ของการต่อสู้ทางการเมือง ระบบประชาธิปไตยควรสามารถตรวจสอบและถ่วงดุลได้ จากซ้ายไปขวา: ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ชาติชาย ณ เชียงใหม่ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี มานพ ทิพย์โอสถ สืบเนื่องจากงานเสวนา "ราชดำเนินเสวนา: 85 ปี ประชาธิปไตยจะไปไหนดี" ร่วมเสวนาโดย ศ.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย มานพ ทิพย์โอสถ บรรณาธิการหนังสือเบื้องแรกประชาธิปตัย ชาติชายกล่าวว่า ประเทศไทยตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ คือ ไม่มั่นใจว่าจะหลุดพ้นออกไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยได้ ซึ่งโครงสร้างวัฒนธรรมเป็นลักษณะรัฐรวมศูนย์ และปัญหาความเฉื่อยจากภาครัฐที่มีอยู่สูงมาก จากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ไม่สามารถลดทอนปัญหาได้ เพราะไม่สามารถเปิดพื้นที่ให้กับภาคประชาชน สังคมยังให้ความสำคัญเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถของผู้บริหาร อีกทั้งระบบอุปถันภ์ คือการต้องมีสังกัดว่าต้องเป็นคนของใคร และระบบสืบสถานะอย่างพรรคการเมืองหาคนมีอิทธิพลช่วย สิริพรรณ กล่าวว่า ประเทศที่ประสบความสำเร็จในเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยมีปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การผนึกกำลังฝ่ายค้าน พลังฝ่ายค้านต้องร่วมมือกันในสังคม ยกตัวอย่างประเทศโปแลนด์ที่มีการร่วมมือจากสหภาพแรงงาน พรรคศาสนา และพรรคคอมมิวนิสต์ ทั้ง 3 กลุ่มมีอุดมการณ์ ความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่มองอนาคตทางการเมืองว่าต้องการประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น ละเลยความบาดหมางและจุดยืนทางการเมืองในอดีต สิริพรรณ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติล่าสุด ที่สามารถให้มีนายกคนนอกเข้ามาทำหน้าที่ซึ่งการเมืองหากไม่ผนึกกำลังสมาชิกวุฒิสภาที่แต่งตั้งโดย คสช. ทำให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยยากขึ้น ทางออกที่นำเสนอจากประเทศที่เปลี่ยนผ่านได้สำเร็จมี 2 กรณี ได้แก่ การลุกฮือด้วยพลังประชาสังคมอย่างประเทศเกาหลีใต้ ปัจจัยบทบาทผู้นำทางการเมืองอย่างประเทศอินโดนีเซียที่ซูฮาร์โตปกครองด้วยระบบเผด็จการทหารมากว่า 20 ปี แต่เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำลงก็ถอยออกมาจากการปกครอง เพราะกองทัพเองก็ไม่สามารถบริหารงานทั้งหมดได้ สิริพรรณยังกล่าวอีกว่า สังคมไทยมีการรวมตัวของชนชั้นกลางส่วนบนและชนชั้นสูงส่งผลให้เกิดระบบการปกครองอำนาจนิยมแบบฟาสซิสม์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ของประเทศอิตาลี เพราะ ชนชั้นกลางมีพลังมากที่สุดในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจากสาเหตุดังกล่าวทำให้ประชาธิปไตยไทยยังไม่ชับเคลื่อนไปถึงไหน และทุกฝ่ายยอมรับรัฐธรรมนูญเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งในไทยรัฐธรรมนูญไม่ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง เพราะมีกฎหมายสูงสุดถึง 3 อย่าง ได้แก่ รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับประชามติปี 2560 และมาตรา 44 ซึ่งการเห็นพ้องตั้งแต่กระบวนการที่ได้มา และเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ สิริพรรณ กล่าวทิ้งท้ายด้วย 2 เงื่อนไข หนึ่ง"กองทัพต้องอยู่ใต้พลเรือน" เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ผู้นำกองทัพต้องยอมรับ ยกตัวอย่างประเทศอินโดนีเซียในการปกครองแบบเผด็จการทหาร เมื่อถึงภาวะวิกฤติ ทางผู้นำกองทัพ กล่าวว่า นี่คือจุดสุดท้ายของรัฐบาลทหาร เพราะการทำงานของทหารเป็นทวิภาระ ต้องจัดการภายในกองทัพและการบริหารประเทศไปพร้อมกันจนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจนล่มสลายในที่สุด ช่วงเดียวกับวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง สอง ทุกประเทศที่เปลี่ยนผ่านจัดเลือกตั้ง ภายใน 6-13 เดือนด้วยเหตุผลว่าจะทำให้เกิดประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น เช่น เกาหลีใต้เลือกตั้งหลังจากเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตย 6 เดือน เป็นต้น ปริญญากล่าวว่า ในปี 2557 ที่เกิดการรัฐประหาร ไทยได้รับการจัดลำดับความเป็นประชาธิปไตยอยู่ที่ 63 เกิดจากการเก็บสถิติตั้งแต่ปี 2556 ตามเกณฑ์ถือว่าเป็นกลุ่มปานกลาง ไม่ได้แย่มาก แต่ปัจจุบันอยู่ในกลุ่มเดียวกับเกาหลีเหนือ ปริญญา กล่าวอีกว่าพลังของสื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นพลังใหม่ของการต่อสู้ทางการเมือง และกล่าวถึงระบบอำนาจที่สามารถตรวจสอบและถ่วงดุล โดยให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจตรวจสอบศาล และศาลทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยทั้งนิติบัญญัติและบริหารมีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน จากที่กล่าวมาทั้งหมด แสดงถึงระบบประชาธิปไตยต้องการตรวจสอบและถ่วงดุลตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โฆษกวิป สนช. ชี้แม้เซ็ตซีโร่ กสม. แต่สามารถกลับมาสมัครใหม่ได้ Posted: 27 Jun 2017 03:55 AM PDT นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกวิป สนช. เผย 5 รายชื่อ สนช. ร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาข้อโต้แย้งกฎหมายลูกว่าด้วยกกต. พร้อมชี้กรณี เซ็ตซีโร่ กสม. สามารถกลับมาสมัครอีกครั้งได้ 27 มิ.ย. 2560 นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิปสนช.) แถลงถึงการตั้งกรรมาธิการร่วม3ฝ่าย เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามที่ กกต.เสนอ 6 ประเด็นโต้แย้งกลับมา อาทิ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการสรรหา กกต. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ กกต. ซึ่งเขียนเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ กฎหมายลูก ไม่ให้อำนาจ กกต.คนเดียวสั่งระงับยับยั้งหรือสั่งเลือกตั้งใหม่ และไม่ให้อำนาจ กกต.จัดเลือกตั้งทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น รวมถึงประเด็นการเซตซีโร่ กกต. โดยวันศุกร์ที่ 30 มิ.ย.นี้ จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. 3 ฝ่าย ประกอบด้วยตัวแทน สนช. 5 คน ได้แก่ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. สมชาย แสวงการ ตวง อันทะไชย พล.อ.ศุภวุฒิ อุตมะ และนายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ ทำงานร่วมกับตัวแทน กรธ. 5 คน และประธาน กกต. 1 คน ซึ่งจะประชุมนัดแรกในวันจันทร์ที่ 3 ก.ค. นี้ ทั้งนี้ การพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นโต้แย้งจะต้องแล้วเสร็จภายใน 15 วัน โดยพิจารณาร่วมกับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และประธาน กกต. โดยให้สภาลงมิติ เห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ผลการพิจาณาของคณะกรรมรวม 3 ฝ่าย ถ้าผลไม่เห็นด้วย ก็ต้องใช้เสียงมากกว่า 2 ใน 3 ร่างกฎหมายดังกล่าวก็จะตกไป นายแพทย์เจตน์ ยังกล่าวว่าในวันเดียวกัน ที่ประชุม สนช. จะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) วาระแรก ซึ่งสาระสำคัญในมาตรา 60 บัญญัติให้มีการเซ็ตซีโร่ กสม.เช่นเดียวกับ กกต. แต่แตกต่างกันตรงที่กรรมการ กสม.ชุดปัจจุบันสามารถกลับเข้าสมัครเข้ารับการสรรหาได้อีกครั้ง ขณะที่ กกต.ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ระบุว่า กสม. ชุดปัจจุบัน ซึ่งมีที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ใช่องค์กรอิสระ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการว่าจะบัญญัติเป็นอย่างอื่นหรือไม่ ที่มาจาก: สำนักข่าวไทย , ข่าวรัฐสภา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประยุทธ์ อวยพร 'สปท.-สนช.' ลาออกลงเลือกตั้งส.ส. ยันไม่กระทบโรดแมป Posted: 27 Jun 2017 03:38 AM PDT ลาออกอีกราย 'นิกร จำนง' เตรียมลงเลือกตั้ง ส.ส. ประยุทธ์ อวยพร 'สปท.-สนช.' ลาออกลงเลือกตั้งส.ส. ขอให้ประสบความสำเร็จ ยันไม่กระทบโรดแมป ขณะที่ 'วิษณุ' อมยิ้มหลังถูกถามหาชื่อรมต.ที่จะลาออก นิกร จำนง สมาชิกสปท. (ที่มาภาพ parliament.go.th) 27 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า ในช่วงท้ายของการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) วันนี้ (27 มิ.ย.60) นิกร จำนง สมาชิกสปท. ได้หารือและประกาศลาออกกลางที่ประชุม โดยให้เหตุผลว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 266 วรรค 3 ประกอบมาตรา 263 วรรค 7 กำหนดให้ผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะต้องเป็นผู้พ้นจากตำแหน่ง สปท. ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิการสมัคร ส.ส. จึงขอลาออกจากการเป็นสมาชิก สปท. นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้ไปลาประธานและรองประธาน สปท.แล้ว ประยุทธ์ อวยพร 'สปท.-สนช.' ลาออกลงเลือกตั้งส.ส. ยันไม่กระทบโรดแมปวันเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเเละหัวหน้าคณะรักษาความสงบเเห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ ถึงกรณี สปท. และ สนช. ส่วนหนึ่งเตรียมลาออกเพื่อลงสมัคร ส.ส.ว่า เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ไม่สามารถไปห้ามได้ ซึ่งทราบว่าไม่ได้ลาออกทั้งหมด แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มีอนาคตทางการเมือง คนที่เหลืออยู่ก็สามารถทำงานได้ 'วิษณุ' อมยิ้มหลังถูกถามหาชื่อรมต.ที่จะลาออกขณะที่วานนี้ (26 มิ.ย.60) วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มี สนช. และ สปท. บางคนเตรียมลาออก เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การเมือง ว่า ไม่ส่งผลกระทบกับการทำงานของสนช.และสปท. กรณีของสนช.ถ้ามีคนลาออกจำนวนมาก สามารถแต่งตั้งเข้าไปทดแทนได้ ถ้าลาออกไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งใหม่ ส่วนสปท.จะพ้นจากตำแหน่งต่อเมื่อใช้พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ แม้บางคนจะลาตอนนี้ก็ไม่กระทบกับงานและไม่ต้องตั้งคนมาแทน บางคนอาจไม่ได้ลาออกเพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้งก็ได้ หลังการให้สัมภาษณ์ วิษณุได้ถามกระเซ้าผู้สื่อข่าวว่ามีข่าวว่ารัฐมนตรีคนไหนจะลาออกบ้างหรือไม่ เมื่อผู้สื่อข่าวถามกลับวิษณุว่ามีรายชื่อคนที่จะลาออกบ้างหรือไม่ วิษณุ อมยิ้มโดยไม่ตอบคำถาม โดยก่อนหน้านี้ วิทยา แก้วภราดัย สมาชิก สปท. ลาออกเช่นัน โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค. เป็นต้นไป หลังจากนั้น ณัฎฐ์ ชพานนท์ สมาชิก สปท. ลำดับที่ 51 ก็ได้แสดงความประสงค์ยื่นหนังสือลาออกจากการดำรงตำแหน่งเช่นเดียวกัน โดยระบุเหตุผลการลาออกเนื่องจากปัญหาสุขภาพ
ที่มา : สำนักข่าวไทย, ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ และเดลินิวส์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พ.ค. 2560 ผู้ประกันตนว่างงาน 155,719 คน ทำสถิติสูงสุดตั้งแต่ต้นปี Posted: 27 Jun 2017 03:21 AM PDT เดือน พ.ค. 2560 มีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมว่างงาน 155,719 คน มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 10.55% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วและสูงที่สุดในปี 2560 นี้ 27 มิ.ย. 2560 สำนักเศรษฐกิจการแรงงานเปิดเผยตัวเลข เศรษฐกิจแรงงาน ประจำเดือน พฤษภาคม 2560 ระบุว่าภาวะการจ้างงานในตลาดแรงงาน เดือนพฤษภาคม 2560 การจ้างแรงงานในระบบประกันสังคม มีผู้ประกันตน (มาตรา 33) จำนวน 10,543,612 คน มีอัตราการขยายตัว 1.89% (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2559 ซึ่งมีผู้ประกันตน จำนวน 10,347,954 คน แสดงให้เห็นว่ามีผู้ใช้แรงงานเข้าสู่การทำงานเพิ่มขึ้นถึง 195,658 คน สำหรับการว่างงานจากตัวเลขผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม มีจานวน 155,719 คน มีอัตราขยายตัวอยู่ที่ 10.55% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 5.33% (MoM) เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2560 มีจำนวน 147,838 คน อัตราการว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 อยู่ที่ร้อยละ 1.48 อัตราการเลิกจ้างลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ผู้ประกันตนที่สานักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างมีจำนวนทั้งสิ้น 23,795 คน คิดเป็นร้อยละ 0.23 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2560 ที่ร้อยละ 0.22 ในด้านสถานการณ์การจ้างงานจากข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2560 มีลูกจ้างที่มีนายจ้างในระบบประกันสังคม (ม.33) จำนวน 10,543,612 คน มีอัตราการขยายตัว 1.89% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือนพฤษภาคม 2559) ซึ่งมีจำนวน 10,347,954 คน หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลง (YoY) ของเดือนพฤษภาคม 2560 เทียบกับเดือนเมษายน 2560 พบว่าในเดือนพฤษภาคม 2560 มีอัตราการขยายตัว (YoY) อยู่ที่ 1.89% ขยายตัวจากเดือนเมษายน 2560 (YoY) ซึ่งอยู่ที่ 1.80% สถานการณ์การจ้างงานขยายตัวมากกว่า 1% จึงถือว่าสถานการณ์การจ้างงานอยู่ในภาวะปกติ สถานการณ์การว่างงาน (ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม : SSO) จากข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2560 มีผู้ว่างงานจานวน 155,719 คน มีอัตราการขยายตัว (YoY) อยู่ที่ 10.55% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (เดือนพฤษภาคม 2559) มีจำนวน 140,854 คน ซึ่งตัวเลขเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2560 เทียบกับเดือนมีนาคม 2559 (YoY) อยู่ที่ 6.92% แต่เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (เมษายน 2560) พบว่ามีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 5.33% (MoM) และหากคิดเป็นอัตราการว่างงานจากตัวเลขผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเดือนพฤษภาคม 2560 อยู่ที่ 1.48% โดยอัตราการว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ อยู่ที่ 1.3 % (เมษายน 2560) ในด้านสถานการณ์การเลิกจ้าง พบอัตราการเลิกจ้างลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 คิดจากจำนวนผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้าง ต่อจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 เดือนพฤษภาคม 2560 ผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างมีจำนวนทั้งสิ้น 23,795 คน คิดเป็นร้อยละ 0.23 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2560 ที่ร้อยละ 0.22 แต่ลดลงจากปีที่แล้วที่ร้อยละ 0.26 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ทางการจีนยอมส่งตัวนักโทษการเมือง 'หลิวเสี่ยวโป' รักษามะเร็งหลังประชุมกับอียู Posted: 27 Jun 2017 02:32 AM PDT หลิวเสี่ยวโป นักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชนรางวัลโนเบลที่ถูกทางการจีนคุมขังเพราะต่อต้านรัฐบาล ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยเหตุผลทางการแพทย์เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ที่ผ่านมา หลังจากที่เขาได้รับการตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับ หลิวเสี่ยวโป ภาพจาก blatantworld 27 มิ.ย. 2560 สำนักงานเรือนจำมณฑลเหลียวหนิง แถลงผ่านเว็บไซต์ว่าหลิวเสี่ยวโปได้รับการตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง "เมื่อไม่นานมานี้" และได้รับการอนุมัติให้เข้ารักษาตัวท่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยการแพทย์เสิ่นหยาง โดยมีการให้ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง 8 คนรักษาเขา โดยที่ทนายความของหลิวเสี่ยวโปเปิดเผยว่าหลิวได้รับการตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. 2560 แล้ว จากที่ครอบครัวของหลิวเสี่ยวโปบอกว่าเขาดูป่วยหนักมาก หลิวเสี่ยวโปถูกทางการจีนจับกุมตัวเนื่องจากเขาเรียกร้องให้จีนเป็นประชาธิปไตย เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับแถลงกาณ์ "กฎบัตร 08" ทำให้ถูกจับกุมตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2552 ซึ่งทางการจีนอ้างว่าเขาเป็นผู้ต้องสงสัยข้อหา "ยุยงให้เกิดการบ่อนทำลายอำนาจรัฐ" เขาถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 11 ปีและจำกัดสิทธิ่ทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปี อย่างไรก็ตามนักหลิวเสี่ยวโปก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2553 จากการที่เขาต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในจีนมาเป็นเวลานาน โดยที่หลิวเสี่ยวโปยังเคยเป็นนักกิจกรรมที่เคยเข้าร่วมชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมินด้วย ทางการจีนเปิดเผยในเรื่องนี้เพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่จีนได้เข้าหารือรายปีกับสหภาพยุโรปในเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อนๆ ของหลิวเสี่ยวโปทรายเรื่องนี้ต่างก็รู้สึกประหลาดใจเพราะพวกเขาไม่ได้ข่าวเรื่องปัญหาสุขภาพของหลิวเสี่ยวโปมาหลายปี โดยทนายความเปิดเผยอีกว่าเคยมีการเรียกร้องให้มีการนำตัวหลิวเสี่ยวโปรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลายครั้งก่อนหน้านี้แล้วแต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจากทางการ เบริต ริสส์-แอนเดอร์เซน ประธานคณะกรรมการรางวัลโนเบลของนอร์เวย์ระบุว่า จีนควรจะปล่อยให้หลิวเสี่ยวโปเป็น "อิสระอย่างเต็มที่" รวมถึงสิทธิในการเดินทางไปต่างประเทศด้วย และจริงๆ แล้วเขาไม่ควรจะถูกคุมขังตั้งแต่แรกเพียงเพราะใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทางองค์กรแอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลก็เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวหลิวเสี่ยงโปอย่างไม่มีเงื่อนไขเช่นกัน รวมถึงนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ที่ถูกคุมขังเพียงเพราะใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน สื่อเซาธ์ไชนามอร์นิงโพสต์รายงานว่า หลิวเซีย ภรรยาของหลิวเสี่ยวโปอยู่ภายใต้การคุมขังภายในบ้านจากรัฐบาลจีนทำให้ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อสื่อได้ นอกจากนี้อพาร์ทเมนต์ที่เธอพักอาศัยอยู่ก็อยู่ภายใต้การตรวจตราของรัฐและยามก็ห้ามไม่ให้นักข่าวเข้าเมื่อคืนหลังการประกาศ ในที่ประชุมแถลงข่าวของรัฐบาลโฆษกการต่างประเทศของทางการจีนก็ตอบถึงเรื่องของหลิวเสี่ยงโปว่า "ผมไม่เข้าใจสถานการณ์ที่คุณพูดถึง"
เรียบเรียงจาก Authorities confirm Nobel laureate Liu Xiaobo in hospital, South China Morning Post, ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาลชี้ คดีฐนกรแชร์ผังราชภักดิ์ อยู่ในขอบเขตอำนาจศาลทหาร Posted: 27 Jun 2017 01:08 AM PDT ฐนกร คดีแชร์ผังราชภักดิ์ ถูกฟ้องเข้าข่ายผิด ม.116 คณะกรรมการวินิจฉัยเขตอำนาจศาลชี้ อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร เช่นเดียวกับคดี 112 หมิ่นสุนัขทรงเลี้ยง 27 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 10.00 น. ศาลนัดฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ในคดีของ ฐนกร ศิริไพบูลย์ กรณีแชร์แผนผังทุจริตการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์บนเฟซบุ๊ก ซึ่งถูกฟ้องเข้าข่ายความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งเป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร คดีนี้จึงอยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร ศาลทหารกรุงเทพจึงนัดตรวจพยานหลักฐานคดีนี้วันที่ 14 พ.ย. 2560 ทั้งนี้ นอกจากคดี 116 แล้ว ฐนกร ยังมีคดี 112 อีกจำนวน 2 กรรม จากการโพสต์ข้อความเสียดสีสุนัขทรงเลี้ยงและกดไลค์ภาพที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ฐนกรยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลเมื่อ 9 มิ.ย. 2559 ระบุว่า คดีนี้ไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร แต่เป็นคดีอาญาซึ่งจำเลยเป็นพลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด ควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ศาลทหารกรุงเทพฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำนวน 2 กรรมเป็นความผิดตามที่ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 และ 38/2557 ที่กำหนดให้คดีความผิดต่อพระมหากษัตริย์ คดีความความมั่นคง คดีอาวุธ และคดีฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช. รวมถึงความผิดเกี่ยวเนื่องกัน ให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร อนึ่ง คดีของฐนกรเริ่มจากการคัดลอกและแชร์ภาพแผนผังทุจริตการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์บนเฟซบุ๊ก ทำให้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม และนำไปควบคุมไว้ในสถานที่ปิดลับ 7 วัน หลังถูกควบคุมตัวครบกำหนดเขาถูกตั้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่ม จากการโพสต์ข้อความเสียดสีสุนัขทรงเลี้ยงและกดไลค์ภาพที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ และถูกฝากขังต่อศาลทหารกรุงเทพและได้รับอนุญาตให้ประกันตัวในการยื่นประกันตัวครั้งที่ 3 รวมแล้วฐนกรถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพรวม 86 วัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ว่าด้วยระบบสาธารณสุขไทยและแนวคิดสังคมประชาธิปไตย Posted: 27 Jun 2017 12:57 AM PDT
ในปัจจุบันนั้นมีปัญหาอยู่ภายในระบบสาธารณสุขไทยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการที่บุคลากรกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ งบประมาณของหน่วยงานที่ขาดแคลน การโยกย้ายของบุคลากรออกจากภาครัฐไปยังภาคเอกชน หรือภาระงานที่หนักหนาสาหัส ปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลให้บุคลากรในระบบสาธารณสุขไทยนั้นรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและขุ่นเขืองใจกับสภาพในการปฏิบัติงาน และยิ่งเหน็ดเหนื่อยหรือขุ่นเขืองใจมากเพียงใดก็ยิ่งผลักดันให้อยากหนีออกจากระบบ ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาในระบบแย่ลงไปอีก กลายเป็นวงจรที่มีแต่จะดิ่งเหวลงไปเรื่อยๆ โครงการสังคมประชาธิปไตย (Project for Social Democracy) ถูกตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการและบทเรียนจากแนวคิดสังคมประชาธิปไตย(www.prachatai.com) และเราเชื่อว่าแนวคิดสังคมประชาธิปไตยนี้เป็นทางออกให้แก่ปัญหาของบุคลากรและระบบสาธารณสุขไทยได้ นอกจากความตั้งมั่นในระบอบประชาธิปไตยตามชื่อแล้ว แก่นของแนวคิดนี้ก็อยู่ที่การสร้างสมดุลระหว่างกลไกตลาดตามระบบทุนนิยมและรัฐสวัสดิการตามแนวคิดสังคมนิยม (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างวิธีการสร้างสมดุลนี้ได้ที่ www.komchadluek.net) โดยรัฐจะผลักดันกลไกตลาดให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนา จากนั้นจะเก็บภาษีในอัตราที่สูงจากธุรกิจและผู้ที่ร่ำรวยเพื่อกระจายความมั่งคั่ง และใช้เงินภาษีที่ได้มาใช้ในการสร้างสวัสดิการพื้นฐานที่ทั่วถึงและเท่าเทียมเพื่อเป็นเบาะรองรับให้คนในสังคม และแน่นอนว่าระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพสูงก็เป็นหนึ่งในสวัสดิการพื้นฐานที่สำคัญในแนวคิดนี้ ประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีคือประเทศสวีเดน ซึ่งมีระบบสาธารณสุขที่สร้างขึ้นโดยแนวคิดสังคมประชาธิปไตย แนวทางที่ประเทศสวีเดนใช้นั้นมีหลายสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ในประเทศไทยและเป็นตัวอย่างที่โครงการสังคมประชาธิปไตยต้องการนำเสนอให้เป็นที่รู้จัก โดยระบบสาธารณสุขในสวีเดนมีองค์ประกอบสามส่วนที่สำคัญคือ 1.ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 2.ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพสำหรับทั้งผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน 3. การกระจายอำนาจและความเจริญสู่ท้องถิ่น
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีผลขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศได้หลากหลายรูปแบบ สำหรับประโยชน์ในเรื่องนี้นั้นไม่ต้องไปไกลถึงสวีเดนด้วยซ้ำ เพราะตัวอย่างจากในประเทศไทยก็สามารถแสดงให้เห็นผลดีของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ชัดเจน รายงาน Good practices in health financing โดยองค์การอนามัยโลก และ Millions Saved: New Cases of Proven Success in Global Health โดย Center for Global Development ระบุว่าระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทยนั้นส่งผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศมากมาย เช่น 1.ทำให้เงินออมครัวเรือนทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจาก 9,650 ล้านบาทในปี 2545 (ปีแรกที่เริ่มใช้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ไปเป็น 12,726 ล้านบาทในปีถัดมา 2.ลดภาระค่าใช้จ่ายครัวเรือน ทำให้จำนวนครอบครัวที่หลุดพ้นจากภาวะยากจนมีมากขึ้น 3.ลดโอกาสที่ครัวเรือนจะสิ้นเนื้อประดาตัวเพราะค่ารักษาพยาบาลจากร้อยละ 5.4 ในปี 2543 (ก่อนการใช้ระบบฯ) เหลือเพียงร้อยละ 2 ในปี 2549 (สี่ปีหลังใช้ระบบฯ) 4.ลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและบุตร 5.ลดอัตราการลาป่วยและเพิ่มผลิตภาพ ผลลัพธ์ในทางบวกเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ เมื่อประชาชนไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแล้วก็จะสามารถนำเงินไปลงทุนทำธุรกิจหรือลงทุนในการศึกษาได้ แรงงานที่สุขภาพดีจะสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้อย่างสม่ำเสมอ ปัญหาการเงินที่น้อยลงจะทำให้ความรุนแรงในครอบครัวน้อยลง อาชญากรรมในสังคมจะน้อยลง และสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งขึ้นจะสามารถสร้างเยาวชนให้เป็นสมาชิกที่มีคุณค่าต่อสังคม
ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพสำหรับทั้งผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน แนวคิดสังคมประชาธิปไตยไม่ต้องการระบบสาธารณสุขที่ด้อยคุณภาพ ไม่ว่าจะในมุมมองของผู้ป่วยหรือผู้ปฏิบัติงาน ในสวีเดนนั้นผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการที่ครบถ้วนผ่านสถานพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่ต้องเดินทางไกล และมีการรับประกันช่วงเวลาในการรับบริการจากแพทย์เฉพาะทาง องค์การอนามัยโลกและ Commonwealth Fund จัดลำดับระบบสาธารณสุขสวีเดนเอาไว้ว่ามีการกระจายของบริการและความสามารถในการบรรลุเป้าประสงค์ทางสุขภาพได้ติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก ด้วยคุณภาพการบริการเช่นนี้ทำให้แม้แต่ผู้ที่มีฐานะทางการเงินดีก็ยังเลือกใช้บริการจากสถานพยาบาลของภาครัฐ ในมุมมองของผู้ปฏิบัติงานนั้นประเทศสวีเดนมีกฎหมายแรงงานที่เป็นธรรมกับผู้ปฏิบัติงาน จำนวนชั่วโมงในการทำงานปกติต่อสัปดาห์นั้นต้องไม่เกินสี่สิบชั่วโมง และการอยู่เวรนอกเวลาจะต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงในช่วงเวลาสี่สัปดาห์ หากองค์กรต้องการให้ผู้ปฏิบัติงานอยู่เวรนอกเวลามากกว่านี้ก็จะต้องทำข้อตกลงเป็นกรณีพิเศษ และไม่ใช่ในระดับรายบุคคล แต่ต้องเจรจากับสหภาพของผู้ปฏิบัติงานเช่นองค์กรแพทย์หรือสภาการพยาบาล ซึ่งจะสร้างอำนาจในการต่อรองให้กับผู้ปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องรับภาระหนัก และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สวีเดนทำสิ่งเหล่านี้ได้โดยการเก็บภาษีจากผู้มีรายได้สูงในอัตราที่สูงมาก(อัตราสูงสุดถึงเกือบ 60%) และเมื่อได้เงินภาษีแล้วก็ใช้จ่ายเต็มที่กับการสาธารณสุขเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม มีเครื่องมืออุปกรณ์ครบครัน และมีการผลิตบุคลากรออกมาเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับระบบสุขภาพของสวีเดนคิดเป็น 11% ของจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในขณะที่งบประมาณสาธารณสุขในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 2% ของจีดีพีเท่านั้น (ประมาณ 280,000 ล้านบาทเทียบกับจีดีพีประมาณ 13.6 ล้านล้านบาท)
การกระจายอำนาจและความเจริญสู่ท้องถิ่น สัดส่วนบุคลากรทางสุขภาพต่อประชากรในประเทศไทยนั้นจริงๆแล้วไม่ได้ต่ำมาก แต่มีปัญหาสำคัญคือการกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ โครงการต่างๆที่มุ่งเป้าให้บุคลากรคงอยู่ในพื้นที่นั้นไม่ได้ผลเต็มที่ เหตุผลหนึ่งที่สำคัญคือประเทศไทยไม่มีการกระจายความเจริญอย่างเพียงพอ คุณภาพชีวิตในเมืองใหญ่มีความแตกต่างจากเมืองเล็กๆและชนบทมากไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม สิ่งอำนวยความสะดวก สินค้าบริการ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนสำหรับบุตร สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่จะเกื้อหนุนให้บุคลากรสามารถปักหลักในพื้นที่ได้ หากไม่มีเสียแล้วก็จะทำให้บุคลากรมาทำงานอยู่เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อรับค่าตอบแทนสูงๆก่อนที่จะย้ายไปอยู่ในพื้นที่อื่น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ตรงกันข้ามกับสวีเดนที่มีความเชื่อในเรื่องการกระจายความเจริญให้ผู้คนทุกพื้นที่มีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงกัน และทำให้บุคลากรใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขไม่ว่าจะอยู่ที่ใด นอกจากนั้นสวีเดนยังมีการกระจายอำนาจออกไปที่ส่วนภูมิภาค ให้ภูมิภาคตัดสินใจเรื่องเกี่ยวกับตัวเองไม่ว่าจะเป็นงบประมาณหรือนโยบายท้องถิ่น โดยรัฐบาลกลางจะมีหน้าที่ในการกำหนดหลักการและแนวทางปฏิบัติ รวมถึงเป้าประสงค์ทางสุขภาพของทั้ประเทศในระดับกว้างๆ จากนั้นแสภาท้องถิ่นจะมีอำนาจในการเลือกวิธีดำเนินการและการจัดสรรงบประมาณในพื้นที่ของตัวเอง โดยมีตัวแทนสภาที่มาจากการเลือกตั้งทุกสี่ปี การกระจายอำนาจเช่นนี้ทำให้การบริหารจัดการมีความยืดหยุ่นและมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับลักษณะท้องถิ่น นำมาซึ่งประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้นและการตอบสนองต่อปัญหาที่รวดเร็วขึ้น
การนำมาใช้ในประเทศไทย แนวทางที่ประเทศสวีเดนใช้นั้นล้วนมีประโยชน์ในการนำมาปฏิบัติในประเทศไทยทั้งสิ้น แต่หากจะเลือกส่วนที่สำคัญๆมาปฏิบัติก่อนก็ควรจะเริ่มต้นที่การเพิ่มอัตราภาษีและจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ๆเพื่อกระจายความมั่งคั่งจากบุคคลและบริษัทที่ร่ำรวย จากนั้นทำการแบ่งงบประมาณจากกระทรวงอื่นที่ไม่จำเป็นและเพิ่มงบประมาณให้กับระบบสาธารณสุขเพื่อหยุดวงจรที่กำลังดิ่งเหวลงไปอยู่ทุกขณะ และก็สมควรสนับสนุนให้มีการสร้างสหภาพแรงงานเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิออกเสียงและมีอำนาจต่อรองมากขึ้น สุดท้ายคือดำเนินการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและให้ภูมิภาคได้มีสิทธิเลือกแนวทางของตัวเอง สถานพยาบาลเอกชนที่มีอยู่มากในประเทศไทยก็สามารถเข้าร่วมในระบบนี้ได้เช่นกัน ประมาณ 12% ของการรักษาพยาบาลทั้งหมดในสวีเดนเกิดขึ้นในสถานพยาบาลเอกชนที่อยู่ภายใต้ระบบสาธารณสุขของรัฐ หรืออาจจะดำเนินการเป็นเอกเทศเช่นเดิมก็ได้ ทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์สำคัญไม่ได้อยู่ที่การลดจำนวนสถานพยาบาลเอกชน แต่เป็นการเพิ่มคุณภาพของระบบสาธารณสุข คำถามสุดท้ายที่สำคัญคือแนวคิดนี้นั้นสามารถเกิดขึ้นนอกระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่ จะสามารถเกิดขึ้นภายใต้แนวทางของรัฐบาล คสช.ได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ เพราะปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ระบบเข้มแข็งและดำเนินอยู่ต่อไปได้จะไม่สามารถเกิดขึ้น ดังที่กล่าวมาแล้วการที่ท้องถิ่นไม่ถูกพัฒนาจะทำให้มีปัญหาในการดึงบุคลากรให้คงอยู่ในพื้นที่ และการที่ท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการตัดสินใจก็หมายถึงประสิทธิภาพที่ต่ำและการดำเนินงานที่เชื่องช้า อันจะนำไปสู่ความไม่พึงพอใจของทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ รัฐบาลคสช.แสดงให้เห็นแล้วว่ามีนโยบายรวมศูนย์การปกครอง และไม่มีความต้องการให้ท้องถิ่นได้มีสิทธิตัดสินใจเรื่องตนเอง โดยเห็นตัวอย่างได้จากการที่รัฐธรรมนูญใหม่ไม่ให้สิทธิแต่ละจังหวัดในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเพื่อไปเป็นกระบอกเสียงของตัวเองอีกต่อไป การปกครองแบบรวมศูนย์ไม่ใช่หนทางในการสร้างระบบสุขภาพที่ยั่งยืน การให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการออกแบบระบบนั้นก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีระบอบประชาธิปไตยที่เปิดช่องทางให้ผู้คนจากภาคส่วนต่างๆในสังคมได้รวมกลุ่มกันและออกเสียงของตัวเอง ในปัจจุบันนั้นรัฐบาล คสช.ไม่มีนโยบายในการสนับสนุนการรวมกลุ่มกันของผู้คนจากภาคส่วนต่างๆ และการเลือกตั้งที่ถูกเลื่อนไปเรื่อยๆอย่างไม่มีกำหนดก็ยิ่งทำให้ความหวังในการที่ผู้คนจะได้มีส่วนร่วมในการสร้างระบบนั้นเลือนรางเข้าไปทุกที ในมุมกลับนั้นแนวคิดสังคมประชาธิปไตยไม่เพียงสนับสนุนให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมผ่านระบบการเลือกตั้ง แต่สนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงานและการรวมกลุ่มแบบอื่นๆเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ทุกภาคส่วนของสังคม นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมบุคลากรในระบบสาธารณสุขจึงควรให้การสนับสนุนแนวคิดสังคมประชาธิปไตย ระบบสาธารณสุขที่ดีจะดำเนินไปได้ก็ด้วยผู้ปฏิบัติงานที่มีความสุข โครงการสังคมประชาธิปไตยเชื่อว่าระบบสาธารณสุขที่ดีทั้งสำหรับผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงานนั้นเป็นไปได้จริงตามตัวอย่างและแนวทางที่กล่าวมา และเราเชื่อว่ามันถึงเวลาแล้วที่ผู้ปฏิบัติงานในระบบสาธารณสุขไทยจะเปลี่ยนจากความภาคภูมิใจจากการตรากตรำทำงานหนักอย่างไร้ซึ่งคุณภาพชีวิตมาเป็นความภาคภูมิใจจากการให้บริการที่มีคุณภาพไปพร้อมๆกับคุณภาพชีวิตที่ดีของตัวเอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์เรียกร้องนายกรัฐมนตรีเร่งถอด 'กัญชา' จากบัญชียาเสพติด Posted: 27 Jun 2017 12:45 AM PDT เครือข่ายผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ ยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาลเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีใช้ ม.44 ถอด "กัญชา" จากบัญชียาเสพติด บรรจุเป็นพืชสมุนไพร เพื่อเปิดโอกาสให้มีการวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ ด้านผู้ปกครองของลูกที่ป่วยโรคสมองพิการระบุว่าใช้น้ำมันจากกัญชาเพื่อบรรเทาอาการชักเกร็งของลูก วันนี้ (27 มิถุนายน 2560) "เครือข่ายผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์" ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลขอให้เร่งถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด และบรรจุเป็นพืชสมุนไพร เพื่อเปิดให้นำไปวิจัย และพัฒนาในทางการแพทย์ บัณฑูร นิยมาภา หรือ "น้าตู้" ตัวแทนเครือข่ายกล่าวว่า วันนี้ได้พาตัวแทนผู้ป่วย และผู้ปกครองของเด็กที่รับการรักษาด้วยน้ำมันสกัดจากกัญชามายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี โดยในจำนวนนี้มี สองรายที่หายขาดจากมะเร็งด้วยน้ำมันกัญชา บัณฑูรกล่าวว่าตนขอขอบคุณทางรัฐบาลที่ริเริ่มผลักดันกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ ซึ่งผ่านมติ ครม. และเข้าสู่ขั้นตอนกฤษฎีกาตั้งแต่ 2 เมษายนปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่ากระบวนกล่าวดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรในขณะที่มีคนไทยแต่ละปีต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยน้ำมันกัญชา โดยขอเรียกร้องให้ "ลุงตู่" ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว โดยเสนอให้ใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2557 เพื่อถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดโดยเร็วที่สุด บัณฑูร กล่าวด้วยว่า ทุกวันนี้หน่วยงานต่างๆ เริ่มให้ความสนใจกับการนำกัญชามาพัฒนาในทางการแพทย์มากขึ้น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้เริ่มวิจัยกัญชาเพื่อการรักษา โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานีได้มีการนำร่องเอาน้ำมันกัญชาไปรักษาผู้ป่วยจริง โดยมี น.พ.อิสระ เจียวิริยบุญญา เป็นผู้ดูแล ทางเครือข่ายผู้ใช้กัญชายังมีการตั้งคลีนิคพิเศษที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาเรื่องการใช้น้ำมันกัญชาเพื่อการรักษาอย่างมีหลักวิชา ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้แม้กัญชายังไม่ถูกกฎหมาย น้าตู้จึงเชื่อว่าหากรัฐบาลปลดล๊อคเรื่องนี้ ประเทศไทยจะสามารถพัฒนากัญชาได้อย่างก้าวกระโดด "ประเทศอื่นเขาเอาสารสกัดจากกัญชา ใบกระท่อมไปจดสิทธิบัตรยากันหมดแล้ว แล้วเราที่เป็นประเทศที่เหมาะกับการปลูกกัญชาที่สุด ทำไมถึงไม่ทำ" บัณฑูร หรือที่เพื่อนๆ เรียกว่า "น้าตู้" กล่าว ศศินันท์ สีทอง แม่ของน้องแก้มหอม ผู้ป่วยโรคสมองพิการตั้งแต่กำเนิดกล่าวว่าน้ำมันกัญชาช่วยลดอาการชักเกร็งของน้องแก้มหอม และทำให้เธอมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน น้ำมันกัญชาช่วยให้เธอลดจ่ายใช้จ่ายในการดูแลลูกของเธอได้เป็นจำนวนมาก ศศินันท์มองว่าเธอโชคดีที่มีโอกาสได้รับการรักษาจากน้าตู้ แต่ยังมีผู้ป่วยอีกหลายคนที่ไม่ได้รับโอกาสดังกล่าว เธอจึงอยากให้รัฐบาลเห็นใจ และถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดโดยเร็วที่สุด ด้านผู้รับมอบหนังสือ พันศักดิ์ เจริญ ผอ.ส่วนประสานงานมวลชน และองค์กรประชาชน สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าจะนำเรื่องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีให้ทราบต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ศรีสุวรรณ' ยื่นศาล รธน.วินิจฉัย ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง Posted: 27 Jun 2017 12:43 AM PDT ศรีสุวรรณ ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง เปิดช่องคนต่างด้าวได้สัญชาติไทยเกิน 5 ปี เป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ เข้าข่ายขัด รธน.หรือไม่ ชี้ เสี่ยงความมั่นคงชาติ ภาพจากเฟซบุ๊ก 'Srisuwan Janya' 27 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่า จากกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชา จึงใคร่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญไ ศรีสุวรรณ กล่าวว่า สมาคมฯ เห็นว่า มาตรา 9 (1) อาจจะเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 95 กำหนดไว้ การให้ต่างด้าวที่แปลงสัญชาติมาเป็นสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถเข้าเป็นสมาชิกพรรคได้ เท่ากับว่าจะเป็นการเปิดช่องให้ต่อไปสามารถเป็นผู้บริหารพรรคได้ และหากได้รับการเลือกตั้ง ก็สามารถเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศ ถ้ากลุ่มคนเหล่านี้เป็นผู้มีอิทธิพล และใช้เงื่อนไขดังกล่าวในการเข้ามาเพื่อมีอำนาจ ก็อาจจะมีการไปเปลี่ยนแปลงกฎหมาย หรือเข้าแทรกแซงการบริหารต่างๆ ถือว่าสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงชองชาติ "การยื่นเรื่องดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการจำกัดสิทธิคนเหล่านี้ เพราะตาม พ.ร.บ.สัญชาติ ก็ให้สิทธิกับคนต่างด้าวหลายเรื่องอยู่แล้ว ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 9(1) ของร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องสำคัญระดับประเทศ ที่เราควรต้องเฝ้าติดตาม และไม่ควรที่กฎหมายจะเปิดช่องให้กลุ่มคนเหล่านี้เข้ามามีสิทธิได้" ศรีสุวรรณ กล่าว ศรีสุวรรณ กล่าวด้วยว่า ได้เตรียมที่จะยื่นหนังสือคัดค้านดังกล่าว ต่อนายกรัฐมนตรีด้วย เพราะก่อนที่ร่างกฎหมายจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ นายกรัฐมนตรี มีอำนาจที่จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ขณะเดียวกัน ก็จะยื่นหนังสือต่อประธาน สนช. ขอให้มีการพิจารณาทบทวน ในช่วงที่ร่างกฎหมายดังกล่าว อาจจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย
ที่มา : สำนักข่าวไทย และเฟซบุ๊ก 'Srisuwan Janya' ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จากหนุ่มชื่อ “วา” ถึงชายชื่อ “กระแสร์”...สะท้อนอะไรในกระบวนการยุติธรรมบ้านเรา? Posted: 27 Jun 2017 12:41 AM PDT ฉันนั่งดู live ของเพจดัง "อีจัน" ที่ถ่ายทอดสดวินาทีที่แพะคนหนึ่งที่ชื่อ "วา" ได้รับอิสรภาพออกจากเรือนจำอุบลราชธานี ได้สวมกอดแม่ เมีย พี่สาวและอุ้มลูกสาวตัวน้อยไว้แนบอก วินาทีที่วาก้าวออกมาจากเรือนจำและก้มลงกราบผู้เป็นแม่ ทั้งสองร้องไห้และสวมกอดกัน ฉันกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ สะอื้นไห้ราวกับว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวของตัวเอง หลังจากนั้นญาติผู้ใหญ่มารายล้อมผูกข้อไม้ข้อมือรับขวัญตามธรรมเนียมของคนอีสานพร้อมเอาน้ำมนต์ 9 วัดมาราดตัวเพื่อล้างความซวยที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเขา วา หรือวรวิทย์ สินทองน้อย คือแพะคนล่าสุดที่ฉันได้รู้จัก เขาถูกศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตในคดีร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้อื่นเสียชีวิต ต่อมาศาลฎีกายกฟ้อง โดยได้รับความช่วยเหลือจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยใช้หลักนิติวิทยาศาตร์เข้ามาช่วย เพื่อพิสูจน์ว่าผู้ต้องหาทั้งหมดเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ความซวยยังไม่หมดแค่นั้น ในวันเดียวกันนั้นเอง วาถูกตำรวจอายัดตัวในคดียาเสพติดต่ออีกหนึ่งคดี โดยอ้างว่าเขาใช้มือถือในเรือนจำโทรไปสั่งยาเสพติด ซึ่งทางดีเอสไอก็ได้ลงพื้นที่เพิ่มเติมจนพิสูจน์ได้ว่า วาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดภายนอกเรือนจำ และยังพบว่าผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดอุบลราชธานี มีคนชื่อวรวิทย์ ซ้ำกันถึง 6 คน โดย 5 คน เป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติด มีวาเพียงคนเดียวเป็นผู้ต้องในคดีฆ่าผู้อื่น เขาถึงรอดมาได้และกลับสู่อ้อมกอดของคนในครอบครัวอีกครั้ง ดูจบรำพึงกับตัวเองว่า "อยากให้เขาเป็นแพะคนสุดท้ายของประเทศไทย"...ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันอาจจะไม่เป็นจริง... 7 ปี กับชีวิตนักโทษประหารส่งผลทำให้ครอบครัวพังพินาศ ภรรยาเครียดจัดจนเสียชีวิต ลูกสาววัย 17 ที่กำลังเตรียมสอบชิงทุนไปญี่ปุ่น ถูกฆ่าข่มขืนโดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับตัวผู้ที่กระทำความผิดได้ ในขณะที่ลูกชายคนเล็กก็หายสาปสูญ ส่วนตัวเขาเองถูกตำรวจซ้อมให้รับสารภาพทำให้ต้องพิการเนื่องจากกระดูกสันหลังร้าวจึงต้องไปรับยาจากโรงพยาบาลทุกเดือนผลจากการถูกตำรวจทรมานด้วยวิธีการต่างๆ นานา จนกลายเป็นภาพหลอนฝังแน่นในจิตใจ "ผมเห็นตำรวจก็ยังกลัวอยู่ กลัวถูกทรมานในคุกอีก" ส่วนเพื่อนอีก 3 คนก็สูญเสียไม่แพ้กัน คนหนึ่งถูกโรคประจำตัวรุมเร้าเพราะร่างกายและจิตใจอ่อนแอ บวกกับความทุกข์ระทมจนตรอมใจเสียชีวิตในเรือนจำ อีกคนติดโรคจากในคุกและเสียชีวิตไม่นานหลังหลุดคดี ส่วนอีกคนหนึ่งรอดออกมาในสภาพสมบูรณ์แต่ก็หมดโอกาสในชีวิตไปมากมายและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในเวลาต่อมา ท้ายสุดคดีนี้คุณกระแสร์และครอบครัวผู้เสียหายทั้งหมดได้ยื่นฟ้องแพ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยศาลมีคำสั่งชดเชยค่าเสียหายให้ทั้ง 4 คน จำนวน 26 ล้านบาท เมื่อปี 2546 ฉันมีโอกาสได้พบกระแสร์ในปี 2554 ได้ชวนเขามาคุยเกี่ยวกับการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเขายืนยันอย่างหนักแน่นว่าการทรมานไม่ใช่วิธีการที่ทำให้ได้รับความจริง เพราะเมื่อถูกทรมานมากๆ ผู้ต้องหาก็พร้อมจะพูดอะไรก็ได้ที่ตำรวจอยากได้ยิน เพื่อยุติการทรมานที่เกิดขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของการจับแพะนั่นเอง ในที่สุดกระแสร์ก็เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2555 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ภรรยา (คนใหม่พบกันหลังหลุดคดี) ของเขาเล่าให้ฟังว่าหลังจากกินข้าวเย็นเสร็จ นั่งดูทีวีกับครอบครัวเขาก็ล้มฟุบไปและเสียชีวิตในเวลาต่อมา สิ้นสุดความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจที่ตามหลอกหลอนเขามากว่า 26 ปี ขณะนี้นายกรัฐมนตรีกำลังให้ความสนใจเรื่องการปฏิรูปตำรวจ ขอยกมือสนับสนุนและหวังว่าจะไม่ได้ปรับเปลี่ยนแค่ระบบโครงสร้างเท่านั้น คุณภาพในการทำงานก็เป็นเรื่องสำคัญ จึงฝันอยากให้ทีมสืบสวนของไทยเน้นใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยมากขึ้น หาพยานหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถมัดตัวผู้กระทำผิดให้แน่นหนามากกว่าแค่คำรับสารภาพหรือคำบอกเล่าของพยานบุคคล และที่สำคัญต้องสลายมายาคติเก่าที่ว่าผู้ร้ายมักจะปากแข็ง ไม่ยอมรับสารภาพแต่โดยดี จึงต้องทรมานให้รับสารภาพ พาเข้าเซฟเฮ้าส์เพื่อรีดเค้นความจริง เพราะนั่นไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องตามหลักกระบวนการยุติธรรม เพราะกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรมส่งผลมากกว่าที่เราคิด กระบวนการสอบสวนที่มีการทรมานร่วมอยู่ด้วย ไม่สามารถค้นหาความจริงได้ และเสี่ยงที่จะลงโทษผิดคน และทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องกลายเป็นแพะรับบาป ดังนั้นอาจต้องยอม "ปล่อยคนผิดสิบคนดีกว่าจับหรือลงโทษผู้บริสุทธิ์เพียงคนเดียว" สุภาษิตทางกฎหมายที่ยึดถือกันทั่วโลกนี้ควรถูกนำมาปฏิบัติใช้ในบ้านเมืองของเราด้วยเช่นกัน
ที่มา: www.amnesty.or.th
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การจดสิทธิบัตรเฟซบุ๊กเผยแผนการ "อ่านอารมณ์ผู้ใช้" ผ่านเว็บแคม Posted: 27 Jun 2017 12:27 AM PDT จะเป็นอย่างไรถ้าหากโซเชียลเน็ตเวิร์กพยายามตรวจสอบอารมณ์คุณผ่านสีหน้าหรือการพิมพ์ข้อความเพื่อนเสนอข้อมูลที่พวกเขาคิดเอาเองว่าคุณจะสนใจโดยดูจากอารมณ์นั้นๆ เมื่อไม่นานมานี้สื่อต่างชาติรายงานถึงเรื่องที่พวกเขาค้นพบการจดสิทธิบัตรของเฟซบุ๊กเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่สุ่มเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัว แต่ทางเฟซบุ๊กก็บอกว่าพวกเขาไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีจากแนวคิดในสิทธิบัตรนี้มาใช้ หรืออย่างน้อยก็ยังไม่ได้ทำ 27 มิ.ย. 2560 สื่อดิอินดิเพนเดนต์ รายงานว่า เฟซบุ๊คกำลังพิจารณาเรื่องการแอบดูผู้ใช้อย่างลับๆ และเก็บข้อมูลปฏิกิริยาของผู้ใช้ผ่านเว็บแคม และกล้องโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลดังกล่าวนี้ได้มาจากรายละเอียดการจดสิทธิบัตรที่เฟซบุ๊กจดไว้กับสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐฯ เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว สิทธิบัตรดังกล่าวมีชื่อว่า "เทคนิคสำหรับการตรวจจับอารมณ์และการส่งถึงเนื้อหา" (Techniques for Emotion Detection And Content Delivery) โดยระบุถึงการที่บริษัทเฟซบุ๊กต้องการพัฒนาวิธีการตรวจจับอารมณ์ของผู้ใช้งาน รวมถึงมีการระบุประเภทของอารมณ์และประมวลผลเพื่อจัดหาข้อมูลเนื้อหาที่สอดรับกับอารมณ์ของผู้ใช้ ในสิทธิบัตรดังกล่าวยังมีภาพที่แสดงถึงผู้ใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนถูกเก็บภาพจากกล้องโทรศัพท์มือถือหรือเทคโนโลยีเก็บภาพใดๆ ก็ตาม แล้วส่งผ่านไปยังระบบประมวลผลด้านการตรวจจับอารมณ์ ไปยังหน่วยความจำและการประมวลผลอื่นๆ โดยจะเก็บรวบรวมประเภทของการแสดงอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆ ไว้ แล้วก็จัดหาเนื้อหาที่เหมาะสมตามอารมณ์ของผู้ใช้งาน กล่าวอย่างย่อคือเฟซบุ๊กพยายามจะตรวจจับอารมณ์ผู้ใช้แล้วจัดหาเนื้อหาที่เหมาะสมกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้ รวมถึงยังมีการเก็บข้อมูลอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นเอาไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่นถ้าเฟซบุ๊กตรวจจับได้ว่าเรายิ้มเมื่อมองรูปเพื่อนคนหนึ่ง ระบบการจัดเรียงข้อมูลของเฟซบุ๊กก็จะจดจำอารมณ์แบบนี้ไว้และทำให้รูปของเพื่อนเราปรากฏให้เราเห็นบ่อยครั้งขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่งที่มีการระบุไว้ในรายละเอียดการขอสิทธิบัตรคือถ้าหากผู้ใช้มองไปทางอื่นในขณะที่มีวิดีโอของลูกแมวเล่นอยู่เฟซบุ๊กจะไม่นำวิดีโอที่มีลักษณะคล้ายกันนี้มาเผยแพร่ในหน้าข่าวสารหรือฟีด (feed) ของผู้ใช้นั้นๆ นอกจากนี้รายละเอียดสิทธิบัตรยังระบุถึงการนำมาใช้กับโฆษณาโดยระบุยกตัวอย่างว่าถ้าหากผู้ใช้รับชมโฆษณาเกี่ยวกับสก็อตช์วิสกี เฟซบุ๊กก็จะนำเสนอโฆษณาสก็อตช์วิสกีให้กับผู้ใช้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้สิทธิบัตรดังกล่าวยังระบุถึงรายละเอียดเรื่องการพยายามตรวจจับการลงน้ำหนักการพิมพ์ข้อความลงในโปรแกรมแช็ตส่งข้อความของพวกเขาเพื่อหาข้อมูลว่าผู้ส่งข้อความกำลังรู้สึกอย่างไรด้วย สิทธิบัตรฉบับดังกล่าวนี้เฟซบุ๊กขอยื่นมาตั้งแต่เดือน ก.พ. 2557 และมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาตั้งแต่ ส.ค. 2558 แล้วแต่สื่อบางแห่งเพิ่งพบเห็นสิทธิบัตรชิ้นนี้ ทางโฆษกของเฟซบุ๊กกล่าวถึงเรื่องนี้ว่าพวกเขายื่นจดสิทธิบัตรในเรื่องเทคโนโลยีที่พวกเขาไม่เคยนำมาใช้จริง และไม่ควรตีความการจดสิทธิบัตรว่ามันบ่งบอกถึงแผนการในอนาคตของเฟซบุ๊ก อย่างไรก็ตามเอกสารสิทธิบัตรก็ยังเผยให้เห็นถึงเรื่องที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องหนึ่งคือในปี 2557 เฟซบุ๊กเคยทดลองปรับเปลี่ยนหน้าข่าวสารที่เรียกว่านิวส์ฟีดของผู้ใช้หลายแสนคนอย่างลับๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในเรื่องนี้ว่ามันจะส่งผลต่ออารมณ์ของผู้คนอย่างไรบ้าง ซึ่งทางเฟซบุ๊กยอมรับในเวลาต่อมาว่าพวกเขาไม่ได้สื่อสารเรื่องนี้ดีพอว่าทำไมต้องทำเช่นนี้และใช้วิธีการใด เมื่อปี 2559 ที่ผ่านมาเคยมีภาพของมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กใช้เทปกาวปิดเว็บแคมโน็ตบุ๊กและไมโครโฟนของตัวเองไว้ทำให้ผู้คนพากันตั้งข้อสงสัยในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่าเทคโนโลยีที่เฟซบุ๊กจดสิทธิบัตรไว้จะถูกนำมาใช้จริงหรือไม่
เรียบเรียงจาก Facebook could secretly watch users through webcams, patent reveals, The Independent, 08-06-2017 รายละเอียดสิทธิบัตร Techniques for Emotion Detection And Content Delivery, United States Patent and Trademark Office http://pdfaiw.uspto.gov/.aiw?PageNum=0&docid=20150242679&IDKey=47BC4614A23D ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อุทธรณ์ยกฟ้อง 'มือปืนป็อปคอร์น' เหตุมีเพียงภาพจากสื่อ ไม่มีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยัน Posted: 26 Jun 2017 11:05 PM PDT ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้อง 'มือปืนป็อปคอร์น' คดีร่วมกันฆ่าผู้อื่นฯ ศึกชิงคูหาเลือกตั้งปี 57 ระบุหลักฐานไม่อาจยืนยันได้ มีเพียงภาพจากสื่อมวลชน โดยไม่มีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยัน และคำรับสารภาพ แต่ยังมีข้อพิรุธ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย แต่ให้ขังจำเลยไว้ระหว่างฎีกา แฟ้มภาพ 27 มิ.ย. 2560 เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (27 มิ.ย.60) ที่ห้องพิจารณาคดี 713 ศาลอาญาถนนรัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีฆ่าผู้อื่นหมายเลขดำที่ อ.1626/2557 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ฟ้อง วิวัฒน์ หรือท็อป ยอดประสิทธิ์ มือปืนป็อปคอร์น อายุ 25 ปี เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่น มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พกพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตและนำอาวุธปืนออกนอกเคหะสถาน ภายในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขอให้ลงโทษตามป.อาญา มาตรา 288, 371, พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา ม.4, 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548 ม.5, 6, 11, และ 18 สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายที่นำสืบหักล้างกันแล้วเห็นว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง พิพากษาจำคุกตลอดชีวิต คำให้การชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาบ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยไว้ 37 ปี 4 เดือน ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ตรวจสำนวน ประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุยิงใส่ผู้ชุมนุม และตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด พบชายแต่งกายด้วยชุดดำสวมหมวกไหมพรม จากนั้นนำภาพมาเปรียบเทียบกับจำเลย หลักฐานดังกล่าวจึงไม่อาจยืนยันได้ว่าภาพจากกล้องวงจรปิด และตัวจำเลยนั้น เป็นบุคคลเดียวกัน ซึ่งมีเพียงภาพจากสื่อมวลชน โดยไม่มีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยัน และคำให้การของจำเลยที่ให้การรับสารภาพ แต่ยังมีข้อพิรุธ เคลือบแคลงน่าสงสัย จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ ไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์จำเลยฟังขึ้น พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง แต่ให้ขังจำเลยไว้ระหว่างฎีกา หลังฟังคำพิพากษา วิวัฒน์ กล่าวสั้นๆ ว่ารู้สึกดีใจมามากจนพูดอะไรไม่ออก สำหรับคดีนี้อัยการโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2557 สรุปความผิดจำเลยว่า เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2557 เวลากลางวัน จำเลยกับพวกได้มีปืนเล็กยาวไม่ทราบชนิดและขนาดติดตัวไปที่ทางแยกหลักสี่ เขตหลักสี่ พื้นที่ประกาศให้เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และยิงปืนเข้าไปในอาคารศูนย์การค้าไอทีสแควร์ จน อะแกว แซ่ลิ้ว เสียชีวิต ส่วน สมบุญ สักทอง นครินทร์ อุตสาหะ และพยนต์ คงปรางค์ ได้รับบาดเจ็บสาหัส โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดด้วย เหตุเกิดที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม. จำเลยให้การปฏิเสธ ภาพบางส่วนที่ถูกใช้เป็นหลักฐานในการจับกุม จากเพจ Policespokesmen ขณะที่ พวงทิพย์ บุญสนอง ทนายความจำเลย กล่าวภายหลังศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีมือปืนป็อปคอร์นว่า หลังจากนี้เตรียมที่จะยื่นขอประกันตัวนายวิวัฒน์จำเลย ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าการประกันตัวจะต้องใช้หลักทรัพย์3.7 ล้านบาท ซึ่งแม้ตอนนี้เรายังไม่มีหลักทรัพย์แต่เชื่อว่ามีคนที่พร้อมจะช่วย หากอัยการโจทก์ยื่นฎีกาก็เตรียมที่จะแก้ฎีกา แต่หากอัยการไม่ยื่นฎีกาตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คดีก็จะถึงสุดตามที่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง เมื่อถามว่าผลคำพิพากษาเกินความคาดหมายหรือไม่ พวงทิพย์ กล่าวว่าเราทราบอยู่แล้วว่าข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นอย่างไรและมีพยานหลักฐานอะไรบ้าง ซึ่งอาวุธปืนที่ทำให้มีคนบาดเจ็บเป็นปืนกระบอกอื่น วิดีโอคลิป วิวัฒน์ ยอดประเสริฐ มือปืนป๊อบคอร์น ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวไทย หลังถูกจับกุม เป็นส่วนหนึ่งในสกู๊ป TNA SPECIAL ตอน มือปืนป๊อบคอร์น เหยื่อเกมการเมือง นี่เป็นเทปฉบับเต็มของการสัมภาษณ์ครั้งนั้น ความยาว 16 นาที ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น