โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลง : ประเทศนี้พร้อมจะปกครองแบบมีผู้แทนหรือยัง? ร.7 ทรงตอบว่า ไม่

Posted: 23 Jun 2017 01:10 PM PDT

เปิดถาม-ตอบ (อีกครั้ง) เมื่อ ร.7 ทรงถามความถึง ฟรานซิส บี. แซร์ ก่อนคณะราษฏรเปลี่ยนแปลงการปกครอง ว่า ประเทศนี้พร้อมแล้วหรือยังที่จะมีการปกครองแบบมีผู้แทน? พร้อมทรงแสดงความเห็นส่วนตัวโดยย้ำอย่างหนักแน่นว่า 'ไม่'

ภาพคณะราษฎร

24 มิ.ย. 2560 เนื่องในวาระครบรอบ 85 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่นำโดยคณะราษฎร เป็นที่ทราบกันว่าหลายวาระก่อนหน้านี้ แม้กระทั่งล่าสุดที่มีการถอนหมดคณะราษฎรออกไป ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา จนขณะนี้ก็ไม่มีใครให้คำถามได้ว่าหายไปไหน นอกจากกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นหมุดคณะราษฎรแล้ว ยังรวมไปถึงประเด็นในสิ่งที่คณะราษฎรลงมือทำคือเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วย ว่า 'ชิงสุกก่อนห้าม' บ้าง หรือ ' รัชกาลที่ 7 ทรงเตรียมการมอบประชาธิปไตยให้ประชาชนอยู่แล้ว' บ้าง

นอกจากตัว ร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ไม่เคยมีการประกาศใช้ ฉบับแรกเป็นของพระยากัลยาณไมตรี "ฟรานซิส บี. แซร์" มี 12 มาตรา ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ มีพระราชอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี อภิรัฐมนตรี และองคมนตรีสภา อำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์ ส่วนอีกฉบับเป็นร่างของพระยาศรีวิสารวาจา พระมหากษัตริย์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง และแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ไม่เกินครึ่งหนึ่ง (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน : อ่านร่างรัฐธรรมนูญสมัยรัชกาลที่ 7 "ฉบับพระยากัลยาณไมตรี" และ "ฉบับพระยาศรีวิสารวาจา") ที่อาจโต้แย้งประเด็นที่ว่า คณะราษฎร 'ชิงสุกก่อนห้าม' บ้าง หรือ 'ร.7 ทรงเตรียมการมอบประชาธิปไตยให้ประชาชนอยู่แล้ว' แล้วนั้น

ยังมีกรณีที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้มี พระราชหัตถเลขาในหัวข้อ "Problem of Siam" เมื่อวันที่ 23 ก.ค.2469 ทรงถามความถึงพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์โดยทรงบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีประเด็นคำถามว่าด้วยการปกครองระบอบประชาธิปไตยอยู่หลายข้อโดยเฉพาะในข้อ 3 ทรงตั้งคำถามว่า "ประเทศนี้ควรจะมีการปกครองระบบรัฐสภาในวันหนึ่งหรือไม่ และการปกครองระบบรัฐสภาของพวกแองโกลแซกซอนเหมาะสมกับคนตะวันออกหรือไม่"(Must this country have a Parliamentary system one day, and is really the Anglo-Saxon type of Parliamentary Government suitable to an Eastern People?) 

และข้อ 4 ทรงตั้งคำถามว่า "ประเทศนี้พร้อมแล้วหรือยังที่จะมีการปกครองแบบมีผู้แทน" (Is this country ready to have some sort of representative Government?)

โดยในคำถามดังกล่าว รัชกาลที่ 7 ทรงเขียนต่อท้ายคำถามไว้ด้วยว่า "ข้าพเจ้าเองยังมีข้อสงสัยในคำถามที่ 3 แต่สำหรับคำถามที่ 4 ตามความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว ขอย้ำอย่างหนักแน่นว่า ไม่" ("I personally have my doubts as to the 3rd question, As to the 4th question, my personal opinion is an emphatic NO.")

เอกสารเพิ่มเติม : 

- Message to Francis B. Sayre of July 23, 1926 by Rama VII of Siam https://en.wikisource.org/wiki/Message_to_Francis_B._Sayre_of_July_23,_1926/Problem_of_Siam
- บทบรรณาธิการ  ชื่อ บทสนทนาอันไม่รู้จบ ในวารสาร ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร http://www.sameskybooks.net/journal-store/06-1/
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐทหาร: ไทยกี่ดีกรี แล้ว (ที่อื่น) ปฏิรูปอย่างไร

Posted: 23 Jun 2017 11:14 AM PDT

เปิดตำรา Garrison State แล้วหันมาดูการปกครองของไทยว่าเป็นรัฐทหารกี่ดีกรี สัมภาษณ์ภัควดีชี้นัย คสช. เข้าตำรารัฐทหารตั้งแต่พฤติกรรมยันการตั้งชื่อ เปิดทางลงรัฐบาลเผด็จการทหารอาร์เจนตินา อินโดนีเซีย เรียกน้ำย่อย คสช. รูดม่านลาโรงการเมือง

ครบรอบวาระดิถี 85 ปีเปลี่ยนแปลงระบอบสู่ประชาธิปไตย ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ซึ่งวนเวียนอยู่ในวงจรการเมืองไทยไม่สร่างซา จากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จนถึงกฎหมายการเลือกตั้ง ทำให้ชาวไทยเห็นว่า ไม่ช้าก็เร็ว รัฐบาล คสช. จะลาโรง และประเทศไทยจะกลับเข้าสู่เส้นทางของการเลือกตั้งอีกครั้ง

แต่ข้อสงสัยมีอยู่ว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ชาวไทยอยู่ภายใต้การปกครองแบบไหนกันแน่ เราอยู่ภายใต้รัฐทหารหรือเปล่า เรามีละครที่ยกย่องตำรวจ ทหารเรื่องใหม่ออกมาฉายอีกแล้ว มีทหารไปฝึกอบรมนักเรียน ข้าราชการราวระเบียบวินัยกับทหารคือสิ่งเดียวกัน การใช้กลไกกฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนแบบไม่สนหลักนิติรัฐยิ่งทำให้สงสัยว่า ท่ามกลางแสงสีนีออน ทุ่งนาป่าเขาเขียว ไพร่ฟ้าหน้าใสแดนไทยอยู่ในรัฐทหารหรือไม่

ประชาไทชวนทำความเข้าใจเรื่องรัฐทหาร ความหมายของรัฐทหาร ดีกรีรัฐทหารที่ประเทศไทยเป็น และฉายภาพประวัติศาสตร์การลงจากอำนาจของรัฐบาลเผด็จการ และวิธีปฏิรูปกองทัพที่คนอื่นเขาทำกันจากประเทศอาร์เจนตินาและอินโดนีเซีย เพื่อเรียกน้ำย่อยรอคอยการลงจากอำนาจของ คสช. (หากมี)

รัฐทหาร คืออะไร ไทยอยู่ตรงไหนในสมการ

งาน Garrison State ของ Harold Laswell ที่เขียนเมื่อปี 2484  เชื่อว่า โลกในอนาคตจะมีลักษณะการปกครองโดยทหาร หรือที่เรียกว่า "ผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรง" ทหารที่เป็นชนชั้นปกครองจะพัฒนาทักษะด้านการจัดการในรัฐสมัยใหม่ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากสัญลักษณ์เพื่อแสวงหาผลลัพธ์ในด้านการประชาสัมพันธ์

รัฐบาลทหารดำเนินการปกครองผ่านความรุนแรงและสร้างความกลัวจากภัยทั้งในและนอกประเทศ หรือที่ Laswell เรียกว่า "การปลูกฝังสภาวะภัยอันตรายในสังคม (Socialization of danger)" ทำให้ประชาชนต้องระมัดระวัง ไม่แสดงอาการต่อต้าน หรือละเมิดกฎหมายที่รัฐบาลทหารบัญญัติ

ในงานเขียนยังกล่าวถึงการใช้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือด้วยการกระจายอำนาจให้พรรคพวกตนเอง ให้ช่วยควบคุมสังคม รวมถึงใช้อุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นสัญลักษณ์ ให้ตนเองนำเสนอสิ่งใดๆ โดยอ้างว่าเป็นกระบอกเสียงของประชาชนทุกคน

ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักวิชาการอิสระ ให้สัมภาษณ์ประชาไทถึงนิยามของรัฐทหาร โดยภัควดีให้นิยามคำว่า "รัฐทหาร" เป็น 2 แบบ แบบที่หนึ่ง คือรัฐที่ทหารเข้ามายึดอำนาจและปกครองแทนพลเรือน และแบบที่สองคือรัฐนิยมลัทธิทหาร รัฐบาลจะเป็นทหารหรือพลเรือนก็ได้ การปกครองจะเป็นแบบมีการเลือกตั้งหรือเผด็จการก็ได้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Militarism โดยภัควดีระบุว่า ไทยแลนด์อยู่ในจำพวกแรกโดยดูจากพฤติการณ์ตั้งแต่ยึดอำนาจ การกระจายพวกของตนเข้าปกครองในสถาบันต่างๆ แม้แต่การตั้งชื่อคณะรัฐประหาร ซึ่งพฤติการณ์ทั้งหลายไม่ได้ต่างไปจากรัฐบาลทหารที่เดินบนเส้นทางเดียวกันในหลายประเทศทั่วโลก

"ข้ออ้างที่กองทัพเข้ามายึดอำนาจนั้นแทบจะเหมือนกันทั่วโลก นั่นคือ ข้ออ้างว่านักการเมืองโกงกินกับข้ออ้างด้านความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของชาติ การปกครองของรัฐทหารก็คือการใช้กฎอัยการศึก ในประเทศไทยนั้น ถึงแม้ยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ แต่การมีอยู่ของ ม.44 มันก็คือกฎอัยการศึกในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง"

"รัฐทหารมักจะปกครองกันเป็นคณะ คำว่า Junta ในภาษาสเปนซึ่งกลายเป็นคำเรียกรัฐบาลทหารที่ใช้กันทั่วโลกนั้น ตามตัวอักษรแปลว่า "การประชุม" มีความหมายรวมไปถึง "คณะกรรมการ" "สภา" อะไรประมาณนี้ คณะทหารมักจะตั้งชื่อตัวเองสวยหรู เช่น "คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการฟื้นฟูประชาธิปไตยและรัฐ" ของประเทศมาลี "สภากอบกู้ประเทศ" ของกานา หรือ "National Reorganization Process" ในอาร์เจนตินา ซึ่งพอจะแปลได้ว่า "กระบวนการปฏิรูปแห่งชาติ" เป็นต้น ถ้าเราย้อนดูการรัฐประหารในประเทศไทยที่ผ่านมา คณะทหารที่ทำการยึดอำนาจก็จะตั้งชื่อประมาณนี้ทั้งนั้น ถ้ามองในแง่ของแรงจูงใจ วิธีปฏิบัติ ไปจนถึงการตั้งชื่อ รัฐบาลทหารไทยก็ไม่ต่างจากรัฐบาลทหารประเทศอื่นๆ" นักวิชาการอิสระกล่าว

ดีกรีรัฐทหารไทย กระจายอิทธิพลทั่วประเทศ ใช้ทั้งไม้แข็งไม้อ่อน ตั้งแต่ปืนยันละคร นักวิชาการชี้ อยู่ยาวเพราะอยากรื้อถอน + สานต่อระบอบทักษิณ

หากมองผ่านงานเขียนของ Laswell แล้วจะพบว่า 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาล คสช. ได้สะท้อนภาพที่เข้าคุณค่าของการเป็นรัฐทหารเรื่อยมาตั้งแต่ยึดอำนาจใหม่ๆ ไม่ว่าจะในแง่ของการควบคุมพลเรือนผ่านอำนาจกฎหมาย การสอดใส่วัฒนธรรมทหารนิยมลงไปในสังคม รวมถึงการสถาปนาอิทธิพลทหารผ่านโครงสร้างการกระจายกำลังพลที่มีอยู่เดิมคู่ขนานไปพร้อมกับโครงสร้างการปกครองภาคพลเรือน

ในแง่การควบคุม เฝ้าดูพลเรือน มีการเรียกตัวบุคคลจำนวนมากเข้าค่ายเพื่อปรับทัศนคติ หรือถูกทหารไป "เยี่ยม" ที่บ้าน เมื่อเดือน ก.พ. 2559 เว็บไซต์ iLaw ได้จัดทำสถิติคนที่ถูกทหารเรียกเข้าค่ายทหารและไปเยี่ยมที่บ้านมีจำนวนอย่างน้อย 902 คน และสถิติมีแต่จะเพิ่มขึ้นหลังมีเหตุทหารเยี่ยมบ้าน เชิญนักกิจกรรม นักการเมืองเข้าค่ายทหารอีกในปี 2560 โดยผู้ที่ถูกเรียกตัวไปมักมีการให้เซ็นเอกสารเงื่อนไขการปล่อยตัว โดยมีเงื่อนไขให้ระบุที่อยู่อาศัย ไม่ให้เคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศ บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 1 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(ดูเอกสาร)

สัดส่วนทหาร ข้าราชการในสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ สนช. และในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ นับเมื่อ 9 ก.พ. 2560 สนช.มีจำนวนสมาชิกครบ 250 คน เป็นทหารทุกเหล่าทัพรวมกัน 145 คน (58%) ตำรวจ 12 คน (5%)  ข้าราชการ 66 คน (26%) ภาคธุรกิจ 19 คน (8%) และอื่น ๆ 8 คน (3%) หากรวมสมาชิกที่เคยเป็นข้าราชการ หรือทำงานในหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจทุกประเภทจะมีจำนวนถึง 223 คน (89%) ของสมาชิกทั้งหมด อัตราการโหวตเห็นชอบกฎหมายทุกฉบับของสนช. เกิน 90% ประกอบด้วยคนวัยเกษียณถึง 75% (มีอายุเฉลี่ย 64 ปี) และมีเพศชายคุมสภาสูงถึง 95%  (ข้อมูลจาก iLaw อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ด้านสัดส่วนทหารในคณะรัฐมนตรี กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า ครม. ชุดแรกของรัฐบาล คสช. มีการแต่งตั้งนายทหารให้ดำรงตำแหน่งเจ้ากระทรวงถึง 9 กระทรวง จากทั้งหมด 20 กระทรวง

อีกบทบาทของทหารที่สร้างข้อกังขาให้กับสังคมคือการได้รับอนุมัติจาก ครม. ให้ซื้อยกตัวอย่างเช่น กรณีการอนุมัติซื้อเรือดำจากจีนในวงเงิน 13,500 ล้านบาท จากแผนจัดซื้อ 3 ลำราคารวม 36,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการอนุมัติโดยลับ และได้ประกาศต่อเมื่อ ครม. อนุมัติไปแล้ว นอกจากนั้นยังมีการจัดซื้อรถถัง VT-4 และ วงเงินกว่า 2,000 ล้านบาท และจัดซื้อรถหุ้มเกราะ VN1 จำนวน 34 คันในวงเงิน 2,300 ล้านบาท สำนักข่าว บีบีซี ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2558 มา มีมติ ครม. ให้ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จาก 3 เหล่าทัพ มีจำนวนกว่า 30,000 ล้านบาท

การซื้อขายจำนวนมากเกิดขึ้นภายใต้บริบทการเพิ่มงบประมาณให้กระทรวงกลาโหมในทุกปีงบประมาณอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปี ภายใต้รัฐบาล คสช. งบประมาณของกระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2557 จาก 2.525 ล้านล้านบาท เป็น 2.9 ล้านล้านบาทในปีงบประมาณ 2561 ความมั่งคั่งของกองทัพไทยภายใต้รัฐบาลทหาร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับความพยายามในการเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น การอนุมัติกฎหมายเพิ่มอัตราการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 8 บนเหตุผลว่ารัฐบาลมีรายจ่ายมากขึ้น และไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้า (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ในขณะที่ภัควดีมองว่า นัยของการอยู่ยาวและกระจายอิทธิพลทหารเข้าสู่ทุกองคาพยพ สะท้อนความต้องการรื้อทำลายระบอบ และสานต่อระบอบทักษิณควบคู่กันไป โดยมุ่งทำลายความนิยมในตัวทักษิณและการสานต่อนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่ทั้งการเพิ่มมูลค่าให้ทรัพยากร ปัจจัยการผลิตทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อสร้างความมั่งคั่ง การที่รัฐบาลทหารอยู่นานนั้นเป็นเพราะว่าการรื้อถอนระบอบทักษิณจำเป็นต้องใช้เวลา พร้อมทั้งยังมีความจำเป็นต้องกดปราบแรงต้านจากประชาชนผ่านเครื่องมือกฎหมายเพื่อลดข้อครหา ท้ายที่สุดคือการแฝงฝังบทบาทของทหารลงไปในวัฒนธรรมและอณูต่างๆ ในสังคม

"ระบอบทักษิณนั้นมีหลายแง่มุม ระบอบทักษิณในฐานะนักการเมืองต้องคำนึงถึงประชาชนที่เป็นฐานเสียง ดังนั้นจึงเกิดนโยบายต่าง ๆ เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ นี่คือสิ่งที่รัฐบาลทหารต้องการรื้อถอน ส่วนหนึ่งจากความต้องการทำลายความนิยมในตัวทักษิณ กับอีกส่วนหนึ่งเพราะกองทัพต้องการงบประมาณจำนวนมากมาขยายและสร้างความมั่นคงมั่งคั่งให้ตัวเอง รวมทั้งทัศนคติของทหารที่มองประชาชนเป็นเสมือนชาวอาณานิคมที่ต้องปกครอง ประชาชนเป็นแค่แหล่งเก็บภาษีและขูดรีดทรัพยากร ดังนั้น กองทัพจึงไม่จำเป็นต้องแยแสประชาชนแต่อย่างใด"

"ระบอบทักษิณยังมีอีกด้านคือด้านของการเป็นรัฐบาลนายทุนที่มาพร้อมกับนโยบายเสรีนิยมใหม่ ส่วนนี้คือส่วนที่กองทัพต้องการสานต่อ สิ่งใดที่ทักษิณทำไม่สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ในเมืองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ที่ดิน รัฐบาลทหารเข้ามาเพื่อสานต่อนโยบายเหล่านี้ไม่ให้ "เสียของ" เราจึงเห็นการจัดระเบียบทางเท้า การสร้างถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ฯลฯ นโยบายเสรีนิยมใหม่เหล่านี้ไม่ต่างจากระบอบทักษิณ เพียงแต่เปลี่ยนหน้ากลุ่มทุนที่ได้รับประโยชน์ ถ้าระบอบทักษิณเป็นทุนนิยมเลือกตั้ง ระบอบทหารก็เป็นทุนนิยมถือปืน"

ภัควดี เห็นว่า การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เกิดขึ้นนั้น มีประชาชนจำนวนมากมองว่าผู้ถูกละเมิดทำผิดกฎหมายเสียเอง โดยไม่ได้มองว่ากระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวอย่างไร ในส่วนของการสร้างความหวาดกลัวให้ประชาชน กองทัพมีเครื่องมือทรมานอย่างถูกกฎหมายคือเรือนจำ ในขณะที่ประเทศเผด็จการอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น อาร์เจนตินา มีการตั้งค่ายกักกันลับขึ้นมาทรมานนักโทษการเมือง ซึ่งกลายเป็นหลักฐานย้อนไปเอาผิดรัฐบาลทหารในภายหลัง แต่รัฐบาลไทยสามารถใช้เรือนจำที่มีอยู่แล้วเป็นสถานทรมานอย่างถูกกฎหมายเพื่อทรมานนักโทษการเมือง รวมถึงนักโทษทั่วไป ทีละน้อย ช้าๆ นานๆ แม้แต่องค์กรสิทธิมนุษยชนต่างประเทศก็แทรกแซงการละเมิดนี้ได้ยาก ในสมัยรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มีคำกล่าวในสื่อต่างประเทศว่ามีความ "strong as silk" เผด็จการไทยก็มีลักษณะแบบนี้ ฆ่าคนก็ฆ่าไม่มากจนเกินไป ทรมานคนก็ไม่รีบร้อนและไม่รุนแรงเกินไป มันเหมือนผ้าไหม เวลาเอามาห้อยคอก็ดูสวยงามลื่นละมุนดี แต่มันก็รัดคอคนจนตายได้เหมือนกัน

เธอยกตัวอย่างต่อไปว่า การที่รัฐบาลทหารมีวาระที่ต้องอยู่นานเช่นนี้ ทำให้มีความพยายามที่จะยัดเยียดและเผยแพร่วัฒนธรรมแบบลัทธินิยมทหารลงไปในทุกภาคส่วนของสังคมไทย ไม่ว่าการเข้าไปฝึกนักเรียนในโรงเรียนสาธิตฯ การอบรมข้าราชการใหม่ การออกทีวีทุกวันศุกร์ การช่วงชิงพื้นที่สื่อ แม้กระทั่งการเข้าไปก้าวก่ายสังคมส่วนวัฒนธรรมบันเทิงต่าง ๆ ทหารต้องการให้ตัวเองเข้าไปปรากฏกายและกำกับในทุกอณูของสังคมไทย

ภาพเจ้าหน้าที่ทหารฝึกอบรมเด็กนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนสาธิต มศว. ประสานมิตร (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ระดม 8 พระนาง เปิด 'ซีรีส์ภารกิจรัก' 4 เรื่อง 4 เหล่าทัพ ก.ค. นี้ สอดแทรกแนวคิดเกี่ยวกับความรัก มิตรภาพ และ การเสียสละเพื่อประเทศชาติ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) 

ความเป็นรัฐทหารยังสามารถพิจารณาได้ผ่านการกระจายกำลังทหารของกองกำลังหลักของชาติ ได้แก่ ทหารบกเพื่อวัตถุประสงค์การพิทักษ์ความมั่นคง อีกแง่หนึ่งอาจหมายถึงการขยายกำปั้นเหล็กเพื่อสถาปนาพื้นที่อิทธิพลอยู่ในที จากบทความ "ผ่ารัฐทหารบกใต้ร่มอำนาจจันทร์โอชา" ในบล็อกกาซีนของ ดุลยภาค ปรีชารัชช มีใจความเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

(อ่านบทความตัวเต็ม)

กองทัพบกทำการแบ่งเขตป้องกันบริหารออกเป็นสี่ระบบกองทัพภาค ได้แก่ กองทัพภาคที่หนึ่ง รับผิดชอบพื้นที่ภาคกลาง กองทัพภาคที่สอง รับผิดชอบพื้นที่ภาคอีสาน กองทัพภาคที่สาม รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือ และ กองทัพภาคที่สี่ รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้

โดยในแต่ละกองทัพ จะมีแม่ทัพภาคเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด พร้อมถ่ายระดับการบริหารลงสู่มณฑลทหารบกและจังหวัดทหารบก ซึ่งถือเป็นการกำหนดวงดินแดนทางทหารที่ซ้อนทับและไล่ตีคู่ขนานไปกับเขตปกครองมหาดไทย โดย หน่วยดินแดนทั้งสองจะรับผิดชอบในเรื่องการระดมสรรพกำลัง การเรียกเกณฑ์พลเมืองสนับสนุนกิจการทหาร รวมถึงการดูแลอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับความมั่นคงและการส่งกำลังบำรุงทางทหาร โดยมณฑลทหารบกจะมีลักษณะเป็นการจัดกลุ่มจังหวัดเพื่อรวมศูนย์อำนาจคล้ายคลึงบางส่วนกับระบบมณฑลเทศาภิบาลในอดีต พร้อมมีจังหวัดทหารบกเป็นหน่วยระดมพลแยกย่อยที่ขึ้นตรงต่อมณฑลและกองทัพภาคอีกต่อหนึ่ง

ส่วนการจัดดินแดนในยามฉุกเฉินนั้น นวัตกรรมการบังคับบัญชาแบบกองทัพภาค ก็สามารถปรับสภาพให้ยืดหยุ่นพร้อมแปลงแบบแผนเข้าสู่การจัดดินแดนรูปแบบใหม่ เช่น หากเกิดสงครามจากข้าศึกภายนอก อาจแบ่งกองทัพภาค ออกเป็น "เขตหน้า" ซึ่งได้แก่พื้นที่แนวหน้าสุดที่ต้องส่งกองกำลังเข้าเผชิญกับศัตรู หรือ "เขตหลัง" ที่ถูกกันให้เป็นพื้นที่สนับสนุนการช่วยรบของทหารในแนวหน้า

ส่วนในกรณีที่เกิดความไม่สงบภายใน โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหรือการประท้วงทางการเมืองต่างๆ  หน่วยทหารทั้งหมดในกองทัพภาคจะทำการเพิ่มพูนอำนาจให้อยู่เหนือองค์กรปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในสายมหาดไทย พร้อมดึงโยกให้หน่วยราชการเหล่านั้นก้าวเข้ามารับคำสั่งหรือรับคำชี้แนะจากแม่ทัพภาคโดยอาศัยโครงข่ายของมณฑลและจังหวัดทหารบกในการกุมอำนาจทางการปกครอง เช่น การเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดภาคเหนือทั้งหมดเข้ามาประชุมที่กองบัญชาการกองทัพภาคที่สาม พร้อมสั่งการให้หน่วยรบที่มีการตั้งค่ายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ แปลงสภาพจากกองกำลังป้องกันประเทศมาเป็นกองกำลังรักษาความสงบภายใน

แผนที่แสดงการจัดดินแดนโดยสังเขปของกองทัพบก โดยแสดงให้เห็นถึงระบบกองทัพภาคที่แบ่งแยกย่อยออกเป็น 1.หน่วยรบประจำภาค เช่น กองพลและกองกำลัง และ 2. โครงข่ายบังคับบัญชาในแบบมณฑลและจังหวัดทหารบก (ที่มา:blogazine/Dulyapak Preecharush)

ทางลงเผด็จการต่างประเทศ เปิดปูมปฏิรูปกองทัพ สู่หลักการพลเรือนคุมทหาร

ตัวแบบอินโดนีเซีย: ลดบทบาททหารด้านเศรษฐกิจ การเมือง หนุนทหารสายปฏิรูป

อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ใน "สัมภาษณ์ อรอนงค์ ทิพย์พิมล : สภาปฎิรูปอินโดฯ ตัวแบบการนำทหารกลับเข้ากรมกอง" ของประชาไทว่า ชาวอินโดนีเซียถูกปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารโดยอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตนานถึง 32 ปี ช่วงเวลาดังกล่าว กองทัพมีบทบาทและอำนาจสูงมาก การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการคอร์รัปชันในระดับที่สูงมาก เมื่อเวลานานไป ซูฮาร์โตผู้สังขารโรยราลงพร้อมกับอำนาจในมือ ผนวกกับพิษวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้ประชาชนที่ทนไม่ได้ต่างพากันออกมาขับไล่รัฐบาลทหารออกไป พร้อมผลักดันกระแสการปฏิรูปทหาร มีการแก้กฎหมายและรัฐธรรมนูญให้เกิดการปฏิรูปขึ้น

กระบวนการปฏิรูปนั้นเริ่มในกองทัพก่อนด้วยการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปหลังซูฮาร์โตลงจากอำนาจ ในตอนนั้นมีทั้งกระแสจากสังคมให้ปฏิรูปทหาร และกระแสจากในฝ่ายทหารที่ต้องการปฏิรูปกองทัพเนื่องจากภาพลักษณ์เสียหายไปมาก ทำให้รัฐบาลหลังยุคซูฮาร์โตจัดตั้งคณะกรรมการผ่านมติที่ประชุม ส.ส. นำมาสู่การออกกฎหมายในสภาที่มีบทบาทในการปฏิรูปกองทัพ 3 ประการ ได้แก่ การแยกกองทัพกับตำรวจออกจากกัน ในปี 2543 และกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบทบาทกองทัพกับตำรวจ และกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันประเทศและกฎหมายเกี่ยวกับกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซีย

ในเวลาต่อมา ประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีคนที่ 6 (หรือคนที่ 4 นับจากซูฮาร์โต) ได้มีแนวทางปฏิรูปกองทัพด้วยการเพิ่มอำนาจพลเรือนให้มีมากกว่าทหาร ภาณุวัฒน์ พันธุประเสริฐ กล่าวเอาไว้ใน "การปฏิรูปกองทัพอินโดนีเซียให้เป็นประชาธิปไตยในยุคของประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน" (อ่านตัวเต็ม) ถึงแนวทางปฏิรูปกองทัพอินโดนีเซีย โดยประสบความสำเร็จในด้านการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารระดับสูงในกองทัพ ในตอนนั้น รัฐบาลยูโนโยโนได้ถอดถอนชื่อนายพลรยาคูดู นายทหารหัวอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการที่พลเรือนควบคุมและปฏิรูปกองทัพ ออกจากโผผู้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และสั่งให้สรรหาตัวผู้บัญชาการทหารคนใหม่ขึ้นมาแทน นอกจากนั้นยังโยกย้ายนายทหารระดับรองที่มีแนวโน้มยอมรับการปฏิรูปมาแทนที่กลุ่มที่ต่อต้านด้วย มาตรการดังกล่าวทำให้รัฐบาลเดินหน้าเจรจาสันติภาพกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดอาเจะห์ได้ราบรื่นขึ้น และถือเป็นผลสำเร็จในการสถาปนาความสถานะของพลเรือนเหนือทหาร

อย่างไรก็ดี อินโดนีเซียยังคงเผชิญข้อท้าทายอีกหลายประการบนเส้นทางปฏิรูปกองทัพ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการบัญชาการของกองทัพที่กระจายหน่วยบัญชาการไปตามภูมิภาคจนคล้ายจะซ้อนทับรัฐของพลเรือนอีกทีหนึ่ง ผนวกกับอำนาจตัดสินใจแต่งตั้ง โยกย้ายนายทหารยังอยู่ในมือกองทัพ ส่งผลให้กองทัพมีพื้นที่สงวนในการดำเนินการของตนเองนอกเหนือหูตาพลเรือนอยู่ ทั้งปัญหาการขาดงบประมาณที่เพียงพอของกองทัพ ยังคงทำให้กองทัพอินโดนีเซียมีข้ออ้างในการคงเหลือช่องทางหารายได้ผ่านธุรกิจต่างๆ อยู่ ไม่ถ่ายโอนทรัพย์สินให้รัฐบาลตามกฎหมายถ่ายโอนธุรกิจที่ทหารเป็นเจ้าของสู่มือรัฐบาล

ตัวแบบอาร์เจนตินา: นิรโทษกรรมตัวเองก็ไม่รอดถ้าประชาชนเอาจริง พลเรือนปรับโครงสร้างกองทัพใหม่

จากบทความ "ความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน: กรณีศึกษาประเทศอาร์เจนตินา" (อ่านตัวเต็ม) ของภัควดี วีระภาสพงษ์ เล่าว่า ในช่วงปี 1976-1983 อาร์เจนตินาตกอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหาร ภายใต้ประธานาธิบดีที่เป็นทหารทั้งสิ้น 4 คน (ก่อนหน้านี้ก็มีการปกครองแบบพลเรือนและทหารสลับกันไป) ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐฯ เพื่อให้ผู้นำเผด็จการเป็นผู้ต่อต้านอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ไม่ให้แพร่กระจายไปตามทฤษฎีโดมิโน ทำให้รัฐบาลทหารของอาร์เจนตินากวาดล้างกลุ่มก่อความไม่สงบในประเทศ รวมถึงผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งในที่นี้หมายรวมไปถึงคนที่มี "ความคิด" เป็นภัยต่อความมั่นคง มาตรการกวาดล้างดังกล่าวได้รับการขนานนามว่า สงครามสกปรก (Dirty War)

การกวาดล้างดำเนินไปอย่างเป็นระบบ ประชาชนถูกกองกำลังติดอาวุธบุกเข้าไปจับในบ้าน ถูกนำไปขังในคุกลับ ถูกบังคับให้หายสาบสูญ มีการทรมาน ศพถูกนำไปฝังในหลุมฝังศพหมู่จำนวนมาก มีรายงานว่า มีประชาชนจำนวนไม่น้อยถูกทิ้งลงทะเลทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยองค์กรสิทธิมนุษยชนบางองค์กรประเมินจำนวนผู้เสียชีวิตไว้ถึง 30,000 คน นอกจากนี้ ทารกของหญิงที่ถูกกักขังในค่ายกักกัน จะถูกนำไปยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของครอบครัวนายทหาร ซึ่งคาดว่ามีจำนวนทารกถูกกระทำในลักษณะนี้ถึง 500 คน

ระบอบเผด็จการอาร์เจนตินาล้มลงด้วยปัญหาเศรษฐกิจ การคอร์รัปชัน และแรงกดดันจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการตัดสินใจทำสงครามกับสหราชอาณาจักรเพื่อยึดหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ซึ่งผลคืออาร์เจนตินาเป็นฝ่ายแพ้ ทำให้รัฐบาลทหารตัดสินใจคืนอำนาจให้ประชาชน แต่ก็ทำเช่นนั้นภายหลังออกฎีกานิรโทษกรรมตนเอง และทำลายเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกวาดล้างประชาชนในช่วงที่ตนมีอำนาจ

การปฏิรูปกองทัพริเริ่มในสมัยประธานาธิบดีราอูล อัลฟอนซิน หลังรัฐบาลทหารล่มสลาย มีใจความสำคัญ ดังนี้

  • จำกัดให้ทหารรับผิดชอบหน้าที่ป้องกันภัยภายนอกประเทศเท่านั้น ไม่ให้มีบทบาทในด้านความมั่นคงภายใน

  • ย้ายการทำงานด้านข่าวกรองและปราบจลาจลออกจากความรับผิดชอบของกองทัพ

  • ปรับระบบการศึกษาภายในวิทยาลัยของกองทัพ ให้นักศึกษาวิชาทหารได้ศึกษาวิชาของพลเรือน

  • กองทัพต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งผู้นำเหล่าทัพ รมว. กลาโหมและเสนาธิการแต่ละเหล่าทัพเป็นพลเรือน

  • ลดจำนวนนายทหารระดับสูง

  • ลดงบประมาณป้องกันประเทศลงครึ่งหนึ่งเพื่อลดการใช้จ่ายของกองทัพ

  • ลดจำนวนการเกณฑ์ทหารลงเหลือ 1 ใน 3

  • ปลดนายทหารจำนวนมากออกจากตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ

นอกจากนี้ การกวาดล้างประชาชนจำนวนมาก ทำให้กระแสสังคมเรียกร้องการนำตัวทหารเจ้ากรรมมารับผิดชอบ ส่งผลให้มีการจัดตั้ง"คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อไต่สวนกรณีที่บุคคลถูกทำให้สาบสูญ" (National Commission on the Disappearance of Persons หรือชื่อย่อ CONADEP) หน่วยงานดังกล่าวจัดทำรายงานชุด Nunca Mas (Never Again) เกี่ยวกับรายชื่อเหยื่อความรุนแรงที่ถูกกระทำโดยกองทัพและตำรวจ พร้อมทั้งข้อมูลแวดล้อมต่างๆ อย่างละเอียด ในปี 1985 มีการนำตัวนายทหาร 9 นายที่เคยอยู่ในรัฐบาลทหาร รวมถึงประธานาธิบดีวิเดลา ประธานาธิบดีวิโอลา และประธานาธิบดีกัลตีเอรีอยู่ในนั้น มาดำเนินคดี ทั้งหมดถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตด้วยหลายข้อหา ไม่ว่าจะเป็นข้อหาลักพาตัว ฆาตกรรม ทรมาน ฯลฯ การดำเนินคดีครั้งนี้ได้รับคำชมเชยมาก แต่ก็มีข้อวิจารณ์ว่าควรนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้หมด

แต่ความยุติธรรมในอาร์เจนตินายังคงพบกับอุปสรรคอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขที่รัฐบาลพลเรือนในช่วงเปลี่ยนผ่านที่ยังต้องประนีประนอมกับกองทัพ หรือความไม่ต่อเนื่องของแนวทางการทวงคืนความยุติธรรมให้ประชาชน ในกรณีนายทหารทั้ง 9 คนที่ได้รับการตัดสินจำคุกตลอดชีวิต กลับได้รับอภัยโทษหลังจากจำคุกได้ประมาณ 4 ปี หลังรัฐบาลใหม่ขึ้นมา จนเรื่อยมาถึงปี 1998 จึงได้มีการนำนายทหารหลายคนรวมถึงอดีตประธานาธิบดีวิเดลา และอดีตประธานาธิบดีบิจโนเน กลับมาพิพากษาลงโทษอีกครั้ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ออกคำสั่ง หน.คสช. ใช้ประโยชน์อื่นในพื้นที่ ส.ป.ก. นอกจากการเกษตรกรรม

Posted: 23 Jun 2017 10:52 AM PDT

งัด ม.44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ใช้ประโยชน์พื้นที่ ส.ป.ก.นอกจากการเกษตรกรรม เช่น พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก สํารวจและใช้ปิโตรเลียม แร่ ทําเหมือง ฯลฯ

23 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 31/2560 เรื่อง การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. 

โดยระบุว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทํากิน และให้การใช้ที่ดิน เกิดประโยชน์มากที่สุดเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกรและลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจและสังคม ของบุคคล ดังที่ได้จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 นั้น ต่อมาความต้องการของประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์โลกซึ่งจําเป็นต้องพัฒนาการใช้ ประโยชน์ในที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่นอันมีความจําเป็นอย่างยิ่งควบคู่กันไปกับการแก้ปัญหา ของเกษตรกรดังกล่าวข้างต้นโดยยังคงหลักการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

โดยที่ในปัจจุบันพลังงานเป็นปัญหาสําคัญอย่างหนึ่งของสถานการณ์โลก ซึ่งรัฐบาลเองก็ได้ กําหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนให้มีการแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานอย่างยั่งยืน รวมทั้งการดําเนินการ ด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เพื่อป้องกันการขาดแคลนพลังงาน สร้างความมั่นคง ด้านพลังงานและลดการพึ่งพาการนําเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ในขณะที่นโยบายในการบริหารจัดการ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและกระจายการพัฒนา ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ก็เป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาลในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเช่นกัน แต่โดยที่ในการ ดําเนินการเพื่อให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล มีความจําเป็นต้องเข้าไปดําเนินการภายในที่ดินของรัฐ บางประเภทโดยเฉพาะที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีสภาพไม่เอื้อหรือไม่เหมาะสมต่อการทําเกษตรกรรม อย่างคุ้มค่า ซึ่งในปัจจุบันได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเขตปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 40 ล้านไร่ ได้มีการยินยอมหรืออนุญาตให้เอกชนเข้าใช้ หรือหาประโยชน์ที่ดินตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นจํานวนเนื้อที่เพียงประมาณร้อยละ 0.1 ของเนื้อที่ เขตปฏิรูปที่ดินทั้งหมดของประเทศ แต่การจะเข้าใช้หรือหาประโยชน์ที่ดินดังกล่าว เพื่อประโยชน์ สาธารณะอื่นนั้น ยังมีข้อจํากัดทางด้านกฎระเบียบบางประการที่มีมาตั้งแต่ในยุคสมัย ที่ความจําเป็น สําคัญเร่งด่วนยังไม่ปรากฏดังเช่นในปัจจุบัน

ในบางเรื่องรัฐบาลก่อนหน้านี้ได้ให้สัมปทาน ยินยอมหรืออนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในเขตดังกล่าวไปก่อนแล้วตามระเบียบจนมีการลงทุนมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท เกิดการจ้างงาน อย่างกว้างขวางและมีภาระผูกพันกับรัฐโดยเกษตรกรเองก็ได้รับค่าตอบแทนหรือชดเชยการให้เข้าใช้ ประโยชน์ที่ดินจนเป็นที่พอใจ ทั้งบางแห่งมีการจัดทําบริการสาธารณะให้เกษตรกรในพื้นที่เหล่านั้น ตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม และก่อให้เกิดรายได้เสริมจากทางอื่นต่อเนื่องตามมาแก่เกษตรกรอีกด้วย โดยประเทศชาติสามารถใช้ประโยชน์สาธารณะจากทรัพยากรในพื้นที่ดังกล่าว ประโยชน์ตอบแทน ส่วนหนึ่งตกเป็นรายได้ของท้องถิ่นนั้น ๆ รายได้ที่เหลือนําเข้ากองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเมื่อสิ้นสุดเวลาเข้าใช้ประโยชน์แล้วก็ยังสามารถคืนที่ดินนั้นให้เกษตรกรนําไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่นทําเป็นแหล่งน้ําเพื่อการเกษตร แหล่งเก็บน้ําตามโครงการแก้มลิง หรือเพื่อทําการเกษตรโดยตรง ตามปรัชญาของการปฏิรูปที่ดิน หากยกเลิกพันธะผูกพันดังกล่าว เกษตรกรและประเทศชาติก็จะเสียประโยชน์ และเกิดการฟ้องร้องติดตามมาอีกมากมาย จึงจําเป็นต้องลดข้อจํากัดอันเป็นอุปสรรคดังกล่าวภายใต้ หลักการใช้ที่ดินของรัฐให้สมประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่ายทั้งแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ ในขณะเดียวกันการเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นต้องให้ประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตกลับคืนสู่เกษตรกร ในรูปแบบที่อาจแตกต่างไปจากเดิมนอกเหนือจากการทําเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรมแก่เกษตรกร

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะ รักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในกรณีมีเหตุจําเป็นเพื่อประโยชน์ด้านพลังงาน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ ให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมาย ว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอํานาจพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อดําเนินกิจการอื่นใดนอกเหนือจากที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ในการพิจารณาให้คํานึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ ประโยชน์แก่เกษตรกร และประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ เป็นสําคัญ

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ ประโยชน์ที่ดิน ประเภทของกิจการหรือโครงการ เนื้อที่ วัตถุประสงค์ และมูลค่าของการดําเนินกิจการ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยในกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างน้อยจะต้อง กําหนดขนาดเนื้อที่และประเภทของวัตถุประสงค์ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องเสนอ ขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีก่อนพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตไว้ด้วย ทั้งนี้ ต้องดําเนินการ ให้มีการออกกฎกระทรวงไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ

ให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอํานาจออกระเบียบกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมทั้งการกําหนดค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม กับวัตถุประสงค์ในการใช้ที่ดินตามวรรคหนึ่ง

ข้อ 2 ให้สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจัดให้ผู้ขอใช้ประโยชน์ที่ดินเยียวยา หรือจ่ายค่าชดเชยการสูญเสียโอกาสจากการใช้ที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบนั้น และให้นําส่ง ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อ 1 และข้อ 5 เข้ากองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

ข้อ 3 การพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตตามคําสั่งนี้ ไม่มีผลเป็นการยกเว้น การปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 4 ให้ผู้ได้รับความยินยอมหรือได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อการประกอบกิจการปิโตรเลียม ตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม การสํารวจแร่ การทําเหมือง หรือการทําเหมืองใต้ดินตามกฎหมาย ว่าด้วยแร่ หรือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่อง การให้ความยินยอมในการนําทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. 2541 หรือระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาต และการให้ผู้รับอนุญาตถือปฏิบัติในการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สําหรับ กิจการที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2541 อยู่ในวันก่อนวันที่ คําสั่งนี้ใช้บังคับ ยื่นคําขอตามข้อ 1 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงที่ออกตามข้อ 1 วรรคสอง ใช้บังคับ ในระหว่างนั้นให้ผู้ได้รับความยินยอมหรือได้รับอนุญาตใช้ที่ดินได้ไปพลางก่อนหรือจนกว่า คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
 

ข้อ 5 ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมเข้าใช้ที่ดินที่สํานักงาน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว โดยยังไม่ได้รับความยินยอมตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่อง การให้ความยินยอม ในการนําทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. 2541 ไม่ว่าจะเป็น การใช้เพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียมในขั้นตอนใดก็ตาม ให้ผู้รับสัมปทานนั้นยื่นคําขอตามข้อ 1 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงที่ออกตามข้อ 1 วรรคสอง ใช้บังคับ ในระหว่างนั้นให้ผู้รับสัมปทาน ใช้ที่ดินได้ไปพลางก่อนหรือจนกว่าคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น โดยต้องชําระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินตั้งแต่เมื่อเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่สํานักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมกําหนด

ข้อ 6 ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมไม่อาจเข้าใช้พื้นที่ที่ขอสงวนไว้ ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 เนื่องจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีมติให้ชะลอ การให้ความยินยอมในการใช้ที่ดินเพื่อการสํารวจหรือใช้หรือหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่อง การให้ความยินยอมในการนําทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. 2541 เพื่อรอการพิจารณาคดีเกี่ยวกับอํานาจ ในการออกระเบียบดังกล่าว ให้ระยะเวลาในการสงวนพื้นที่ดังกล่าวขยายออกไปเท่ากับระยะเวลา ที่ไม่อาจเข้าใช้พื้นที่ที่ขอสงวนได้ ทั้งนี้ ให้อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีอํานาจพิจารณาคืนค่าสงวนพื้นที่ ให้แก่ผู้รับสัมปทานเป็นรายกรณี สําหรับช่วงเวลาที่ผู้รับสัมปทานไม่อาจเข้าใช้พื้นที่ที่ขอสงวนไว้และ การไม่อาจเข้าใช้พื้นที่นั้นเป็นเหตุให้ไม่สามารถดําเนินการสํารวจปิโตรเลียมในพื้นที่สงวนได้

ระยะเวลาในการสงวนพื้นที่ที่ขยายออกไปตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับระยะเวลาในการสงวนพื้นที่ ก่อนวันที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีมติให้ชะลอการให้ความยินยอมแล้ว ต้องไม่เกิน ระยะเวลาในการสงวนพื้นที่ที่ผู้รับสัมปทานกําหนดตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532

ในช่วงระยะเวลาในการสงวนพื้นที่ที่ขยายออกไปตามวรรคหนึ่ง ให้นําบทบัญญัติมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 และมาตรา 46 แห่งพระราชบญญั ัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 7 ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงหรือระเบียบที่ออกตามข้อ 1 ใช้บังคับให้นํา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความยินยอมตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม เรื่อง การให้ความยินยอมในการนําทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับกับผู้รับสัมปทานที่ได้ยื่นแผนการผลิตในรายละเอียด สําหรับพื้นที่ผลิตตามมาตรา 42 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีกฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามข้อ 1 ใช้บังคับ

ข้อ 8 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดําเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยการปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้มาเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร และประโยชน์สาธารณะของประเทศ ซึ่งรวมถึงการพิจารณาอนุญาตให้สํารวจหรือใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การให้ใช้ที่ดินเพื่อดําเนินกิจการด้านพลังงาน และการดําเนินกิจการอื่นอันเป็นประโยชน์แก่เกษตรกร และประโยชน์สาธารณะของประเทศด้วย

ข้อ 9 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอํานาจออกกฎกระทรวงตามคําสั่งนี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ข้อ 10 ในกรณีที่เห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบ แห่งชาติเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้ ข้อ 11 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2560

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รวมกรณีการถูกคุกคามก่อนหน้าวันครบรอบ 85 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง

Posted: 23 Jun 2017 10:25 AM PDT

รวมกรณีการคุกคามนักกิจกรรม นักวิชาการก่อนวันครบรอบ 85 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลายรายถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตาม บางรายเข้ากดดันครอบครัว บางรายถูกเจ้าหน้าที่ไปหาแม่ที่ที่ทำงานเพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัว เจ้าหน้าที่เผยรู้จักบ้านนักกิจกรรมบางรายเพราะมหาวิทยาลัยให้ข้อมูล

23 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วันนี้ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารได้พยายามเข้าไปติดตาม และขอความรวมมือ กับทั้งนักกิจกรรม และนักวิชาการ โดยห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง และห้ามใช้พื้นที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นบริเวณที่เคยมีหมุดของคณะราษฎรฝั่งอยู่ ก่อนจะถูกถอนไป และแทนที่ด้วยหมุดหน้าใส จัดกิจกรรมรำลึกวันครบรอบ 85 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิ.ย.

เบื้องต้นศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เผยแพร่ข้อมูลว่า ในวันที่ 22 มิ.ย. นักศึกษา 2 คน ของกลุ่มที่เคยจัดกิจกรรมประชามติ และถูกจับกุมตัวเมื่อปี 2559 ได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.บางเขน เพื่อสอบถามว่านักศึกษาคนดังกล่าวจะทำการเข้าร่วมในงาน "ทำบุญกรวดน้ำคว่ำขัน วัน (ไม่มี) ประชาธิปไตย" ที่วัดพระศรีมหาธาตุบางเขนหรือไม่ และภายในงานจะมีกิจกรรมอย่างไรบ้าง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนเท่าไร ซึ่งนักศึกษาคนดังกล่าวได้ตอบกล่าวไปว่าตนไม่ทราบรายละเอียด เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ระบุว่าไม่อยากให้มีประเด็นทางการเมือง เนื่องมาจาก "นาย" เป็นห่วง และทางมหาวิทยาลัยก็ได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกด้วย ซึ่งในตอนท้ายของการพูดคุยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ระบุว่าภายในวันงานจะมีทั้งทหารและตำรวจหลายหน่วยเข้าไปบริเวณที่จัดงาน

เช่นด้วยกันกับ สุวรรณา ตาลเหล็ก นักสหภาพแรงงาน และสมาชิกกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ประชาธิปไตย ระบุว่า ขณะที่สุวรรณาเดินทางไปจังหวัดอุทัยธานี เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้โทรศัพท์ติดตามขอพบตัว เพื่อคุยเรื่องกิจกรรมในวันที่ 24 มิ.ย.อีกครั้ง หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์ติดตามถึง 2-3 ครั้ง สุวรรณาจึงยืนยันว่าทางกลุ่มไม่มีการจัดกิจกรรมอะไรในวันดังกล่าว แต่ทางเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าผู้บังคับบัญชาไม่เชื่อว่าได้มีการพูดคุยกันแล้ว จึงขอพบระหว่างที่สุวรรณากำลังเดินทางกลับ โดยขอนัดพบกันที่จังหวัดสิงห์บุรี

เมื่อพบกันตำรวจนายนี้มาในชุดนอกเครื่องแบบพร้อมผู้หญิงอีกหนึ่งคน โดยไม่ทราบว่าเป็นใครรวม 2 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจพูดคุยย้ำถึงเรื่องกิจกรรมวันที่ 24 มิ.ย. อีกครั้ง แต่สุวรรณาก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่าไม่มีการจัดกิจกรรมในนามของกลุ่ม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้สอบถามถึงกิจกรรมของเพจ "หมุดคณะราษฎร" ที่ในกำหนดการจะมีการนัดรวมตัวที่หมุดคณะราษฎร เธอก็ยืนยันกับตำรวจว่าไม่ใช่กิจกรรมของกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ถ้าเป็นของทางกลุ่ม ก็จะระบุชัดเจนว่าเป็นของทางกลุ่มจัดเอง หลังการพูดคุยเจ้าหน้าที่ตำรวจขอถ่ายภาพเพื่อรายงานผู้บังคับบัญชา ก่อนแยกย้ายกันกลับ วันเดียวกันญาติของสุวรรณาโทรศัพท์บอกอีกว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจไปที่บ้านเก่าของเธอที่จังหวัดชัยนาทด้วย แม้ว่าบ้านหลังดังกล่าวจะเป็นบ้านร้างที่ประกาศขายไปแล้วก็ตาม

คล้ายกันกับกรณีที่เกิดขึ้นกับ ชลิตา บัณฑุวงศ์ รองหัวหน้าภาควิชา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยโพสต์สเตตัสเฟซบุ๊กระบุว่า เมื่อเวลาราว 7.00 น. ของวันที่ 23 มีรถกระบะสีดำป้ายแดงเข้าไปยังหมู่บ้านของอนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขับวนอยู่ในหมู่บ้านหลายรอบ จากนั้นมีคนลงจากรถมาเดินไปมาบนถนน คนหนึ่งมาทำทีออกกำลังกายตรงสนาม ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับบ้าน จนเวลาราว 8.00 น. มีเพื่อนบ้านมาเรียก ถามว่าเมื้อกี้มีคนมาหาไหม จึงบอกไปว่าไม่รู้เรื่องอะไรเลย เขาสังเกตดูสงสัยว่าจะเป็น "โจร" มาดูลาดเลา พร้อมทั้งบอกว่ารถคันนั้นยังจอดอยู่ที่ปากซอย

อนุสรณ์จึงออกไปดู  ก่อนเข้าไปทำการเคาะรถและเรียกให้ลงมาคุย ปรากฎว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองปราบฯ 3 นาย ซึ่งแต่ละคนแต่งกายกันคนละบุคลิก คนหนึ่งแต่งตัวเหมือนช่างรับเหมา คนหนึ่งใส่ชุดกีฬา คนหนึ่งดูภูมิฐานเป็นผู้ใหญ่ มาสอบถามเรื่องงาน 24 มิ.ย. พยายามถามว่าพรุ่งนี้อาจารย์จะไปร่วมงานไหนบ้าง เนื่องจากทางตำรวจถูก คสช. สั่งให้มาหาข่าว และต้องติดต่ออนุสรณ์ ให้ได้ก่อนเที่ยงวันนี้

ด้าน อานนท์ นำภา ทนายความ ยังได้เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ก่อน ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล โทรศัพท์ติดต่อมาสอบถามว่าวันที่ 24 มิ.ย. นี้ จะมีการจัดกิจกรรมอะไรหรือไม่ เจ้าหน้าตำรวจได้รับแจ้งมาจากทหารว่าไม่อยากให้จัดกิจกรรมใดๆ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จุดที่เคยมีหมุดคณะราษฏร ทางทนายอานนท์ได้ตอบกลับไปว่า ไม่มีการจัดกิจกรรมใด เนื่องจากช่วงนั้นตนเองจะเดินทางออกต่างจังหวัด จนล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ได้มีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายสายสืบ โทรศัพท์ติดต่อมายังทนายอานนท์ โดยระบุว่า ทราบข่าวว่าวันที่ 24 มิ.ย. ทนายอานนท์จะทำการเดินทางไปต่างจังหวัด ไม่ได้ไปจัดกิจกรรมใดๆที่หมุดคณะราษฏร จึงอยากให้ทนายอานนท์ทำการส่ง Location ไปให้ตนหน่อย เพื่อที่จะได้รายงาน "นาย"

นอกจากกรณีข้างต้น ศูนย์ทนายความฯ ยังได้รับทราบข้อมูลอีกว่า ยังมีนักกิจกรรมที่ถูกตำรวจโทรศัพท์ติดตามโดยระบุถึงเรื่องกิจกรรมในวันที่ 24 มิ.ย. อีกอย่างน้อย 4 ราย ได้แก่ ณัฐพัช อัคฮาด ธนพล พันธ์งาม และนักกิจกรรมที่ไม่ประสงค์ออกนามอีก 2 คน โดย 1 ใน 2 เพียงแค่กดเข้าร่วมกิจกรรมในเฟซบุ๊กของเพจ "หมุดคณะราษฎร" แต่ก็มีบางรายที่ถูกตำรวจไปหาที่บ้านของครอบครัวด้วย เช่น กันต์ แสงทอง และชลธิชา แจ้งเร็ว แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่พบไม่ได้พบตัวโดยตรง และเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้บอกเหตุผลที่มากับคนในครอบครัว

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติ่มด้วยว่า ได้รับแจ้งจาก อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ ว่า ค่ำวันนี้(23 มิ.ย.) เขาเดินทางกลับมาถึงหอพัก ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของหอพักว่า เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ได้มีชาย 2 คน แสดงตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาหาเขาที่หอพัก แต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่อนุญาตให้เขาไปในหอพัก ชายทั้งสองคนจึงบอกว่า ช่วงกลางคืนจะมาอีกครั้ง และต่อมาเมื่อ 19.00 น. ทั้งสองคนกลับมาอีกครั้งโดยจะขอขึ้นหอพักเพื่อไปพบกับเขาที่ แต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่อนุญาต เนื่องจากเจ้าของห้องไม่ได้เป็นคนพาขึ้นไปด้วย

ขณะที่ ธนพล พันธ์งาม นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์สเตตัสเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุถึงกรณีการถูกคุมคามว่า วันนี้เวลา 14.00 น.ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครืองแบบ 4 นาย เข้าไปหาเขาที่บ้านระหว่างตนเองไม่ได้อยู่ที่บ้าน เจ้าหน้าที่จึงได้พบกับยาย และพยายามถามข้อมูลส่วนตัวของเขาเช่น อยู่กับใครบ้าง เวลากลับบ้านคือกี่โมง แม่ทำงานที่ไหน จากนั้นขอถ่ายรูปกับยาย ก่อนจะออกไป

ต่อมาเมื่อเวลา 15.00 น. ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจไปพบ แม่ของเขาที่สถานที่ทำงาน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอให้หัวหน้างานเรียกแม่ของเข้ามาพบ แล้วถามว่า ลูกเป็นคนอย่างไร ชอบคุยเรื่องอะไรบ้าง เคยเล่าเรื่องที่ไปชุมนุมทางการเมืองให้ฟังไหม จากนั้นแม่ของเขาได้ถามว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบได้อย่างไรว่าบ้านเขาอยู่ที่ไหน และเขาทำงานที่ไหน คำตอบของเจ้าหน้าที่คือ "ได้ข้อมูลมาจากที่มหาวิทยาลัยน้องเขาให้มา"

ผู้สื่อข่าวประชาไท ได้รับแจ้งเพิ่มเติม จาก นักกิจกรรมที่รู้จักกันในชื่อ แชมป์ 1984 โดยเขาเราล่า ตนเองก็โดนเหมือนกัน จากการโทรศัพท์หา ว่าจะไปไหน มีจัดงานที่ไหนหรือไม่ และชวนไปกินกาแฟ เย็นวันพฤหัสบดีที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมาถึง 2 ครั้ง จากท้องที่ใกล้ ๆ หมุดคณะราษฎรและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
 
แชมป์ เล่าอีกว่า วันศุกร์ที่ 23 มิ.ย. ตอนสาย มีตำรวจท้องที่ไปหาที่บ้านตามทะเบียนบ้าน ซึ่งตอนนั้นไม่มีใครอยู่ ก็เลย โทรศัพท์มาหาตน ถามเรื่องเดิม จากนั้นตอนบ่ายตำรวจคนเดิมที่ โทรศัพท์มาเมือวันพฤหัสบดีก็ โทรศัทพ์มาถามอีกครั้ง
 
แชมป์ ยื่นยันว่า ทั้ง 4 ครั้งตนตอบเหมือนกันหมดว่า "ยังไม่แน่ใจว่าจะไปไหน แต่จะไม่ไปที่หมุดให้โดนจับ"  จากนั้นวันศุกร์เที่ยงตนไปเสวนาที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ตอนเย็นไปที่จุฬาฯ ก็เลยถือโอกาสช่วงถามคำถาม ฟ้องให้นักข่าว ผู้ฟังและสายตำรวจในงานฟังเสียเลย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โปรดเกล้าฯ ยศ 'พันโทหญิง' ให้พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ เหตุรับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นผลดี

Posted: 23 Jun 2017 09:46 AM PDT

23 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระยศ พันโทหญิง ให้ ว่าที่พันโทหญิง พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ซึ่งได้รับราชการ มาด้วยความเรียบร้อยเป็นผลดีแก่ทางราชการ ตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 2560 

ประกาศ ณ วันที่ 23 มิ.ย. 2560 ผู้รับสนองพระราชโองการ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรมสวัสดิการฯ ลงพื้นที่สอบเหตุนิสิตจุฬาฯฝึกงาน-คนงาน 5 ราย เสียชีวิตในบ่อน้ำเสียซีพีเอฟ

Posted: 23 Jun 2017 09:28 AM PDT

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีผู้เสียชีวิต 5 ราย ในบ่อน้ำเสีย บ.ซีพีเอฟ ซอยบางนา-ตราด 20 ถ.บางนา-ตราด กทม.

23 มิ.ย. 2560 จากกรณีช่วงสายวันนี้ เกิดเหตุมีผู้เสียชีวิต 5 ราย ภายในบ่อบำบัดน้ำเสีย บริษัทผลิตอาหาร ของบริษัท ซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ภายในซ.บางนา-ตราด 20 ถ.บางนา-ตราด จากเหตุ นักศึกษาสัตวแพทย์ จุฬาฯ มาฝึกงานเกิดลื่นพลัดตกลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย และมีพนักงานของบริษัทมาช่วยเหลือ 4 คน ซึ่งทั้งหมด 5 คนเสียชีวิต ประกอบด้วย 1. ปัณทิกา ตาสุวรรณ 23 ปี นักศึกษา ฝึกงานจากสัตวแพทย์จุฬาฯปี5 2.ลักษชนก แสนทวีสุข 24 ปี  จนท. สิ่งแวดล้อมของบริษัท 3. พรศักดิ์ บุญบาล  40ปี หัวหน้างานอนามัย 4. ชาญชัย  พันธุนาคิน 42 ปี หัวหน้าหน่วยซ่อมบำรุง 5.ชาตรี  สีสันดร 43 ปี  เป็นคนงานรายวัน

ล่าสุด กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รายงานว่า สุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่ากรณีมีผู้เสียชีวิต 5 ราย ในบ่อน้ำเสีย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ตนเองได้ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุพร้อมด้วยพนักงานตรวจความปลอดภัยได้สอบข้อเท็จจริงเบื้องตนพบว่า ในวันนี้ มีนักศึกษามาศึกษาดูงานภายในโรงงาน ในส่วนของขั้นตอนการพักน้ำเสีย จำนวน 2 คน โดยทางบริษัทมอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมเป็นคนนำนักศึกษาทั้ง 2 คน ดูขั้นตอนการทำงานต่างๆ บริเวณบ่อน้ำเสีย และได้เกิดอุบัติเหตุนักศึกษาหญิงหนึ่งรายพลัดตกลงไปในบ่อน้ำเสีย โดยเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมได้พยายามลงไปช่วยและจมหายไป จากนั้นพนักงานอีก 3 คน ได้ลงไปช่วยและประสบเหตุเช่นเดียวกันอีก โดยการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวไม่เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้อง จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน  5 ราย

เบื้องต้นได้ตรวจสอบการจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าโอที นายจ้างได้โอนเงินเข้าบัญชีลูกจ้างแล้วก่อนเกิดเหตุในวันนี้ สำหรับกรณีดังกล่าวบริษัท ซีพีเอฟฯ จะรับผิดชอบเบื้องต้นโดยจ่ายเงินช่วยเหลือค่าทำศพ และค่าเคลื่อนย้ายศพไปยังภูมิลำเนา ตามระดับตำแหน่งหน้าที่การปฏิบัติงาน คือ หัวหน้างาน 1 ล้านบาท พนักงาน 6 แสนบาท คนงาน 2 แสนบาท และ 1 ล้านบาทสำหรับนักศึกษาดูงาน

อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเบื้องต้นพนักงานตรวจความปลอดภัยจะได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่และรวบรวมพยานหลักฐานว่านายจ้างได้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 รวมทั้งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 หรือไม่ ซึ่งหากตรวจสอบแล้วนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวคือ ลูกจ้างไม่มีการประเมินอันตรายว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อับอากาศ และลูกจ้างไม่ได้รับการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด มีบทกำหนดโทษคือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้พนักงานตรวจความปลอดภัยได้มีหนังสือเชิญนายจ้างมาพบเพื่อสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในวันที่ 26 มิถุนายน 2560 ต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิสิตจุฬาฯฝึกงานพลาดตกบ่อบำบัดในโรงงาน 'ซีพีเอฟ' เพื่อนร่วมงานลงไปช่วย ตาย 5

Posted: 23 Jun 2017 05:47 AM PDT

เสียชีวิตรวม 5 ศพ เหตุนิสิตจุฬาฯตกบ่อบำบัดน้ำเสีย "ซีพีเอฟ" ขณะจนท.ลงไปช่วย 4 คน 

23 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (23 มิ.ย.60) เมื่อเวลา 11.00 น. ร.ต.อ ภูมิวัฒนา ฤทธิ์ทอง รองสารวัตร(สอบสวน) สน.บางนา ได้รับแจ้งเหตุมีผู้เสียชีวิต 4 ราย ภายในบ่อบำบัดน้ำเสีย บริษัทผลิตอาหาร ของบริษัท ซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ภายในซ.บางนา-ตราด 20 ถ.บางนา-ตราด ฝั่งขาเข้า แขวงและเขตบางนา กทม. จึงรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ แล้วไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพร้อมด้วยแพทย์นิติเวช รพ.จุฬาลงกรณ์ และมูลนิธิกู้ภัยร่วมกตัญญู 

รายงานข่าวระบุด้วยว่า ที่เกิดเหตุภายในบริษัท ซีพีเอฟ จำกัด ซึ่งผลิตอาหารแปรรูปเกี่ยวกับอาหารสัตว์ปีกประเภท ไก่ เป็ด โดยจุดเกิดเหตุอยู่บริเวณบ่อพักน้ำเสียด้านหลังของโรงงาน ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำท่อออกซิเจน ลงไปที่ด้านล่างของบ่อพักน้ำดังกล่าว เพื่อเติมอากาศลงไปในการค้นหา โดยใช้เวลา 30 นาที จนพบร่างผู้เสียชีวิต เป็นชาย 2 ราย หญิง 2 ราย รวม 4 ราย อยู่บริเวณก้นบ้อบำบัด ซึ่งเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ 

ทนง ฉายาวัฒนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรอาวุโส ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ให้ข้อมูลว่า พื้นที่อับอากาศ หมายถึง มีพื้นที่การเข้าออกจำกัด อากาศไม่พอ รวมทั้งห้องใต้ดินด้วย ทั้งนี้ ถ้าเป็นน้ำเสีย กลิ่นเหมือนแก๊สไข่เน่าจะเป็นพิษ ถ้าเป็นโรงงาน ต้องกำหนดว่าพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่อับอากาศ ไม่ว่าจะเข้าไปซ่อม หรือทำความสะอาด ต้องมีการขออนุญาตก่อน ต้องมีการพิสูจน์ก่อนว่าปลอดภัยมีการกำหนดเวลาการเข้าออก ปกติโดยหลักปฎิบัติทางเข้าต้องมีคนเฝ้าและต้องติดต่อกับคนที่อยู่ด้านในได้ด้วย เช่น มีเชือกคอยรัดเอาไว้ และมากระตุกแจ้งสัญญาณให้ทราบ

ทนง ระบุว่า ต้องมีการอบรม โรงงานบางที่จะมีความพร้อมอยู่แล้ว  ทั้งนี้ถ้าคนลงไปถ้าไม่มีความรู้ จะเหมือนคนที่ตกไป เพราะลงไปจะขาดอากาศ ช่วยคนตกก็ไม่ได้ ช่วยตัวเองก็ไม่ได้ สังเกตว่ามักมีเสียชีวิตมากกว่า1 เพราะต้องการลงไปช่วยเท่านั้น และเมื่อลงไปแล้วไม่ถึงนาที ก็ทำให้สลบได้ ระบบหายใจจะหยุดทำงาน วิธีการช่วยเหลือ ต้องใช้วิธีการสูบน้ำก่อน แล้ววัดระดับแก๊สพิษ การระบายอากาศต้องมีการทำตลอดเวลา สูบน้ำหมดแล้วจริง แต่ยังมีตะกอนเหลืออยู่  ต้องมีนักวิทยาศาตร์หรือผู้ที่เข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่อับอากาศ อุปกรณ์ต้องพร้อม สำหรับผู้ที่ลงไปช่วย

ผาสุก ลัดพลี ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางนา เพิ่มเติมว่า ช่วงเกิดเหตุมีนักศึกษาสัตวแพทย์ จุฬาฯ  มาฝึกงาน และเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมได้พาเดินชม ระหว่างนั้นนักศึกษาเกิดลื่นพลัดตกลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย และมีพนักงานของบริษัทมาช่วยเหลือ 4 คน และมีอีกคนไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ชื่อผู้เสียชีวิต 5 คน คือ 1. ปัณทิกา ตาสุวรรณ 23 ปี นักศึกษา ฝึกงานจากสัตวแพทย์จุฬาฯปี5 2.ลักษชนก แสนทวีสุข 24 ปี  จนท. สิ่งแวดล้อมของบริษัท 3. พรศักดิ์ บุญบาล  40ปี หัวหน้างานอนามัย 4. ชาญชัย  พันธุนาคิน 42 ปี หัวหน้าหน่วยซ่อมบำรุง 5.ชาตรี  สีสันดร 43 ปี  เป็นคนงานรายวัน คนที่หล่นคนแรก เป็นนักศึกษาฝึกงาน  ทางสำนักงานเขตบางนา เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ปกติบ่อบำบัดน้ำเสียจะมีหลายแบบ แบบปิด และเปิด แต่ที่นี่เป็นแบบเปิด อยู่หลังโรงงาน เมื่อประมาณ 2 เดือนทางเขตฯ เคยเข้าไปตรวจสอบพบว่า อยู่ในสภาพใช้งานได้ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอุบัติเหตุ  ลักษณะบ่อที่โรงงานนี้ จากที่ได้เคยไปดูงานเป็นบ่อกลม สูง 3 เมตร ลึก 1 เมตร 50 ซม. สภาพบ่อบำบัดเป็นขอบ การยืนจะยืนข้างขอบ เป็นบ่อระบบเปิด มีจำนวน 3 บ่อ แต่ละบ่อไม่เท่ากัน

ช่วงเกิดเหตุ 10.20 น.ตอนเกิดเหตุ ที่ได้รับรายงาน ทราบว่ามีการช่วยเหลือเป็นการฉุดกันขึ้นมา ส่วนอีก 3 คน  ลงไปช่วย ประกอบกับอากาศด้านล่างเป็นแก๊สไข่เน่า อากาศไม่พอหายใจ ตอนแรกพบว่าหมดสติไปก่อน  สำหรับคนที่ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลทราบว่าเป็นผู้ชาย  ขณะนี้มี สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ได้เข้ามาดูแล พร้อมทั้งหน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานอนามัย กรมสวัสดิการแรงงานพืั้นที่ ได้ตรวจสอบระบบความปลอดภัยและทุกหน่วยงาน ก็จะมีการรายงาน ถ้าไม่ผ่านก็จะมีการแก้ไข แต่ที่นี่มีการตรวจสอบทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ทำให้เชื่อได้ว่าระบบภายในโรงงานได้มาตรฐาน   โรงงานแห่งนี้ ทำธุรกิจชำแหละอาหาร เป็นส่วนสัตว์ปีก มีการล้างไก่ และน้ำจะมาลงที่บ่อตรงนี้ สาเหตุ ยังสันนิษฐานไม่ได้ เป็นหน้าที่ของตำรวจ  

ล่าสุด ฝ่ายสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ ซีพีเอฟ แถลงการณ์ว่า ตามที่ในวันศุกร์ที่ 23 มิ.ย. 2560 เวลาประมาณ 10.00 น. ได้เกิดอุบัติเหตุที่ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานแปรรูปเป็ดบางนา ถ.บางนา-ตราด จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 5 คน ปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในนามบริษัทฯ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต โดยบริษัทฯ ยืนยันว่าจะให้ความช่วยเหลือและเยียวยาแก่ครอบครัวผู้สูญเสียอย่างเต็มที่นอกเหนือจากความช่วยเหลือตามระเบียบของบริษัท และหากครอบครัวใดมีบุตรหลานที่อยู่ระหว่างศึกษา บริษัทจะให้การดูแลเรื่องทุนการศึกษาไปจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของครอบครัว โดยในเบื้องต้นบริษัทฯ ได้ดำเนินการติดต่อกับครอบครัวผู้เสียชีวิตเรียบร้อย พร้อมทำการส่งศพให้ครอบครัวเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่อไป

สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ควบคุมที่ระบุชัดเจนว่าเป็นพื้นที่อันตราย ซึ่งจะต้องได้รับการอนุญาตจึงจะเข้าเยี่ยมชมได้ ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าบริเวณบ่อบำบัดน้ำเสียดังกล่าวอาจมีแก๊สที่สามารถทำให้หมดสติ จึงมีความเป็นไปได้ว่าผู้เข้าเยี่ยมชมอาจประสบอุบัติเหตุพลัดตก พนักงานผู้นำชมได้ให้ความช่วยเหลือโดยดึงร่างของผู้ตกบ่ออย่างสุดกำลัง พร้อมทั้งส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือ เป็นเหตุให้พนักงานด้านนอกที่ได้ยินเสียงอีก 3 คนวิ่งเข้าไปช่วย จนเกิดความสูญเสียทั้ง 5 คนดังกล่าวขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังอยู่ระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริงของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

บริษัทฯ ยืนยันว่าทุกพื้นที่ในโรงงานปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน และระบบบำบัดน้ำเสียอย่างเคร่งครัด ทั้งยังได้ดำเนินการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 

มาตรการความปลอดภัยจะมีขั้นตอน ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเข้าประเมินความเสี่ยงของพ้นที่ต่างๆภายในโรงงาน โดยพิจารณาความเสี่ยงต่อความปลอดภัย และสุขอาชีวอนามัย เมื่อได้พื้นที่เสี่ยงแล้วจะกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมซึ่งจะมีมาตรการกำกับดูแล เช่น ต้องขออนุญาตเข้าพื้นที่ โดยทุกพื้นที่จะมีการตรวจสอบเป็นประจำ แต่ยังเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ขึ้น ซึ่งถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัทฯ 

 

ที่มา จส.100 และกรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ห้ามนำผู้ต้องหามาแถลงข่าว แนะใช้รูปภาพ เตือนสื่อไม่ควรสัมภาษณ์

Posted: 23 Jun 2017 05:25 AM PDT

ประยุทธ์กำชับตำรวจห้ามนำผู้ต้องหามาแถลงข่าว ให้ใช้รูปภาพผู้ต้องหาแทน เตือนสื่อไม่ควรสัมภาษณ์ผู้ต้องหา พร้อมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคล และองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2560

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

23 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (23 มิ.ย.60) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2560 โดยมี รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการป้องกัน  และปราบปรามยาเสพติด เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหาร ผู้แทนส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคธุรกิจเอกชน องค์กรภาคประชาชน และผู้เข้ารับรางวัล

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งในงานดังกล่าว ว่า ขอให้ตำรวจปรับรูปแบบการนำผู้ต้องหามานั่งแถลงข่าว โดยไม่ต้องนำผู้ต้องหามาแถลงข่าวโดยตรง อาจจะใช้รูปภาพของผู้ต้องหา มาแถลงข่าวแทน  ก็เพียงพอแล้ว

"ไม่ใช่ให้ออกมาพูดจาเลอะเทอะ ไม่ได้ เพราะว่าเขาเป็นผู้ต้องหา ไม่มีสิทธิพูดอะไรทั้งสิ้น จะพูดก็ต้องพูดในกระบวนการยุติธรรม  ไม่ใช่พูดกับสื่อ แล้วสื่อก็ไม่ต้องไปถามเขา ต้องรับผิดชอบด้วยนะ ผมก็เห็นใจทุกคนอยากได้ข่าว แต่ก็จะทำให้เกิดผลเสีย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว 

สำหรับพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กร ผู้ปฏิบัติงานที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมทั้งเชิดชูเกียรติผู้เสียชีวิตและสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติงานที่ได้รับบาดเจ็บ โดยในปี พ.ศ. 2560 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 24 มีผู้ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลองค์กร รวมทั้งสิ้น 216 ราย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลองค์กร จำนวน 47 ราย

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวชื่นชมแสดงความยินดีกับบุคคลและองค์ที่ได้รับรางวัล ขอให้ผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคนภาคภูมิใจ พร้อมกล่าวแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสีย โดยขอให้ครอบครัวผู้สูญเสียภาคภูมิใจกับความเสียสละในการหน้าที่เพื่อส่วนรวม เพื่อประเทศชาติ พร้อมกล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และเพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ประชาชนคนไทยเกิดความตระหนักว่ายาเสพติดเป็นปัญหาของคนไทยทั้งชาติ ที่ผ่านมาถึงแม้จะมีการปราบปรามยาเสพติด แต่ก็มียังมีการลักลอบผลิต ขนส่งตามพื้นที่ และตามแนวชายแดนต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องพัฒนาปรับรูปแบบการป้องกันและปราบปรามให้ทันต่อกระบวน ยาเสพติด โดยการนำเทคโนโลยี และระบบไอทีเข้ามาช่วยการทำงาน รวมทั้งต้องทำงานในเชิงรุกมากขึ้น

พร้อมกันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวแสดงความกังวลต่อการทำงานปราบปรามขบวนการยาเสพติด โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และประชาชน โดยเฉพาะการใช้อาวุธในการจับกุม ซึ่งบางครั้งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ใช้อาวุธ จึงขอให้คำนึง และพึงระลึกอยู่เสมอเรื่องความปลอดภัย ทำให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด โดยมอบหมายให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจัดทำหลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่ ให้มีความพร้อม  ในการเผชิญเหตุ ใช้กลยุทธ์ในการปิดล้อม และตรวจค้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ดำเนินการกับขบวนการค้ายาเสพติดอย่างเด็ดขาด รวมทั้งตั้งเป้าหมายให้เป็นปีแห่งการปราบปรามขบวนยาเสพติดรายใหญ่ เร่งนำคดีเกี่ยวกับยาเสพติด รวมไปถึงการค้ามนุษย์เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

ในส่วนของรัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดที่อันตรายร้ายแรงต่อสังคม และเป็นบ่อนทำลายชีวิตของประชาชน โดยในปี พ.ศ. 2560 ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ พร้อมทั้งจัดทำแผนประชารัฐร่วมใจ สร้างหมู่บ้าน/ชุมชนมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติด ซึ่งปัญหาจะแก้ไขไม่ได้ ถ้าสังคมไม่มีความเข้มแข็ง เพราะฉะนั้นทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาในรูปแบบของประชารัฐ ภาคราชการต้องทำงานตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ภาคประชาชนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา เป็นเครือข่ายให้กับภาครัฐ โดยนายกรัฐมนตรีคาดหวังให้การป้องกัน ปราบปราม ตลอดจนการฟื้นฟูมีประสิทธิผลมากขึ้น ส่วนราชการจะต้องทำงานเชิงรุกอย่างมีเอกภาพและครบวงจร มีการลงพื้นที่ในระดับจังหวัด อำเภอ ชุมชน เพื่อป้องกัน ปราบปราม บำบัดเพื่อสร้างความเข้มแข็งในหมู่บ้านชุมชนทั่วประเทศ สามารถควบคุมดูแลปัญหายาเสพติดทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล และสำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กกต. ยื่นข้อโต้แย้งร่าง พ.ร.ป.กกต. ให้สนช. พิจารณา ชี้เซ็ตซีโร่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

Posted: 23 Jun 2017 04:45 AM PDT

เลขาวุฒิสภาเผยข้อโต้แย้ง พ.ร.ป.กกต. ส่งมาถึง สนช. แล้ว พบ 6 ประเด็นโต้แย้ง เตรียมบรรจุเข้าวาระพิจารณา 29 มิ.ย. เพื่อตั้งกรรมาธิการร่วม 11 คน สนช.5 กรธ.5 กกต.1 พิจารณาภายใน 15 วัน

23 มิ.ย. 2560 สำนักข่าวไทย รายงานว่า วรารัตน์ อติแพทย์ เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานเลขาวุฒิสภา ได้รับคำแย้งร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง จาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้ว และ จะสามารถบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม สนช. ได้ ในวันที่ 29 มิ.ย. เพื่อให้ที่ประชุม สนช. พิจารณา ตั้งกรรมาธิการร่วม 11 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจาก สนช. 5 คน กรธ.5 คน และ ประธาน กกต. 1 คน โดย กรรมาธิการร่วม จะมีเวลาพิจารณา 15 วัน และ เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว ต้องส่งกลับมาให้ ที่ประชุม สนช. ให้ความเห็นชอบ หาก สนช. ไม่เห็นชอบ เกิน 2 ใน 3 ร่างกฎหมายฉบับนี้จะถือว่าตกไป ทั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 

สำหรับข้อโต้แย้งของ กกต.ได้แก่ 1 มาตรา 11 วรรคสามมีการกำหนดเพิ่ม เรื่องการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้เป็นกรรมการสรรหากกต.ว่า ให้คัดเลือกบุคคลซึ่งมีความเป็นกลาง ซื่อสัตย์ สุจริต มีความเข้าใจภารกิจของ กกต.ไม่มีพฤติกรรมยอมตนอยู่ใต้อาณัติพรรคการเมืองใด ซึ่งถือว่าเขียนเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 203 ประกอบมาตรา 201 และมาตรา202 บัญญัติไว้ 

2. มาตรา 12 วรรคหนึ่ง มีการกำหนดเพิ่มเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า บุคคลที่จะเป็นกกต.ต้องไมมีพฤติการณ์ยอมตนอยู่ใต้อาณัติพรรคการเมืองใดๆ รวมตลอดทั้งมีทัศนคติที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลสำเร็จ ซึ่งเขียนเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญมาตรา 203 วรรคท้าย ประกอบ 206 และ 222 บัญญัติไว้ 

3 มาตรา 26 ที่บัญญัติให้กกต.คนเดียวหากพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายเป็นทุจริตสามารถสั่งระงับ ยั้บยั้งการเลือกตั้งในหน่วยหรือเขตเลือกตั้งนั้นได้และให้รายงานต่อกกต.ทราบโดยเร็ว เห็นว่า ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 224 วรรคสามที่บัญญัติให้เรื่องดังกล่าวกกต.คนเดียวมีอำนาจเด็ดขาดดำเนินการได้โดยไม่ต้องรายงานต่อกกต. 

4. มาตรา 27 ให้กกต.มอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขณะที่ รัฐธรรมนูญมาตรา 224 (1) และ (2) บัญญัติให้กกต.มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นได้เองหรือมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้ 

5. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ที่ให้กกต.มอบอำนาจให้เลขาธิการกกต.หรือพนักงาน กกต.เป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจในการสืบสวน สอบสวน หรือไต่สวนได้ ซึ่งเป็นการเขียนเกินกว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 224 วรรคสองที่บัญญัติให้อำนาจดังกล่าวเป็นของกกต. เท่านั้น

6. มาตรา 70 ที่ให้กกต.ปัจจุบันพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยเห็นว่าบทบัญญัตินี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 3 มาตรา 26 และ 27 ในเรื่องของหลักนิติธรรมและหลักนิติประเพณีที่ปฏิบัติมา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'อภิสิทธิ์' ห่วงรถไฟความเร็วไทย-จีน หวั่นซ้ำรอย 'โฮปเวลล์'

Posted: 23 Jun 2017 04:25 AM PDT

อภิสิทธิ์ ชี้ทำอยู่ขณะนี้ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ย้ำต้องเร่งทำรถไฟรางคู่ลงทุนเพื่อการขนส่งและโดยสารที่ดีขึ้น ซึ่งโครงการรถไฟไทย-จีนที่เริ่มในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาล เตือนขอให้อย่าเป็น 3.5 กิโลเมตร แบบโฮปเวลล์

แฟ้มภาพ

23 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกฯ กล่าวว่า ตนย้ำอีกครั้งว่า ที่ทำอยู่ขณะนี้ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ถ้าเราพูดถึงรถไฟไทยก็ต้องเร่งทำรถไฟรางคู่ลงทุนเพื่อการขนส่ง และโดยสารที่ดีขึ้น ซึ่งโครงการรถไฟไทย-จีนที่เริ่มในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาล เป็นแนวคิดสร้างรถไฟภูมิภาค คือ จะวิ่งจากประเทศจีนตอนใต้ ไปถึงประเทศสิงคโปร์ แนวทางที่เหมาะสม คือ ให้ทุกฝ่ายทั้งประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนร่วมทุน และร่วมรับผิดชอบบริหารด้วยกัน ไม่ใช่แค่ว่า เราอยากมีรถไฟ แล้วเอาใครก็ได้มาสร้าง เพราะว่า รถไฟต้องเชื่อมกันหมดทั้งภูมิภาค แต่ไม่ทราบเหตุใด รัฐบาลทำโครงการนี้เหมือนว่า เป็นของไทยโดยให้ต่างชาติมาสร้างจึงติดขัดทางข้อกฎหมาย ที่สำคัญ คือ การจัดซื้อจัดจ้างกลายเป็นว่า ไม่มีกฎกติกาใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากการพิจารณาตามดุลพินิจของคณะกรรมการฯ ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก

"ระยะทางแค่ 3.5 กิโลเมตร ที่บ้านกลางดง ถามว่าใครจะไปโดยสาร และยังไม่รู้ว่าจะเป็นแบบลอยฟ้าหรือไม่ ขอให้อย่าเป็น 3.5 กิโลเมตร แบบโฮปเวลล์ก็แล้วกัน" อภิสิทธิ์ กล่าว


ที่มา เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Democrat Party, Thailand' อ้างถึง ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 23 มิ.ย. 2560

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.ย้ำเงินสนับสนุนภาครัฐ อภ.ไม่ใช่ส่วนลดซื้อยา 80% ให้หน่วยบริการ 20% พัฒนาระบบ

Posted: 23 Jun 2017 03:14 AM PDT

ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. แจงกรณีมีข่าวความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ สปสช.ได้รับจากองค์การเภสัชกรรมนั้น ย้ำเงินดังกล่าวไม่ใช่ส่วนลดจากการซื้อยา แต่เป็นเงินที่ อภ.ให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในลักษณะการให้สวัสดิการนอกเหนือจากส่วนลด

23 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า กรณีมีข่าวความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ สปสช.ได้รับจากองค์การเภสัชกรรม (อภ.) นั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ อภ.ได้ชี้แจงหลายครั้งว่า เงินดังกล่าวนั้น ไม่ใช่ส่วนลดจากการซื้อยา แต่เป็นเงินที่ อภ.ให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในลักษณะการให้สวัสดิการนอกเหนือจากส่วนลดที่ได้ให้ไว้แล้วแก่หน่วยงานรัฐ ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของ อภ. ซึ่งเงินสนับสนุนดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินค่านายหน้าหรือเงินค่าคอมมิชชั่น ไม่ใช่เงินส่วนลด และไม่ใช่เป็นเงินส่งเสริมการขาย กำหนดเบิกจ่ายภายใน 1 ปี หากไม่เบิกจ่ายเงินนี้จะเข้าสู่บัญชี อภ.

ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่มีการระบุว่า มีการนำเงินดังกล่าวไปสนับสนุนเอ็นจีโอนั้น ล่าสุดก็ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นจับประเด็นผิด ซึ่งส่วนนี้ สปสช.ขอชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในการใช้จ่ายเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐในส่วนนี้ เป็นการใช้ตามข้อบังคับองค์การเภสัชกรรมว่าด้วยเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ พ.ศ.2546 เพื่อให้การสนับสนุนและส่งเสริมทางด้านการบริหาร วิชาการ การวิจัย การพัฒนา การอบรมสัมมนา การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อเนื่อง รวมทั้งการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์อื่น โดยในส่วนของเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ สปสช.ได้รับจาก อภ.นั้น คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้ออกระเบียบว่าด้วยเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ พ.ศ.2557 ขึ้น

โดยต้องทำเรื่องเสนอโครงการเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ แต่ผู้อนุมัติปล่อยเงินคือผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม สัดส่วนการจัดสรรเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐนี้ ร้อยละ 80 ตามโครงการหรือกิจกรรม เพื่อสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบริการและบุคลากรของหน่วยบริการ และอีกร้อยละ 20 เพื่อสนับสนุนการปฎิบัติงานการพัฒนาระบบหรือเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมทั้งกิจกรรมสาธารณประโยชน์ 

ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2557-2559 มีโครงการที่สนับสนุนเอ็นจีโอ 1 โครงการ คือ โครงการเพิ่มการเข้าถึงการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ โดยเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แห่งประเทศไทย วงเงิน 1.5 แสนบาท

สำหรับตัวอย่างโครงการที่สนับสนุนกรมและสมาคมต่างๆ เช่น โครงการจัดทำเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 5-19 ปี กรมอนามัย วงเงิน 2.4 ล้านบาท  โครงการถอดบทเรียนและพัฒนาศักยภาพความเป็นพื้นที่ต้นแบบด้านแพทย์แผนไทย กรณีศึกษา จ.สกลนคร ให้กับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 893,300 บาท โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายวิชาชีพและประชาชนในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยสมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก จำนวน 1.5 ล้านบาท โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่เขต 3 นครสวรรค์(หลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง) รพ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี วงเงิน 503,820 บาท เป็นต้น

ล่าสุดในปี 2560 สปสช.ไม่ได้ดำเนินการเพื่อส่งโครงการจากหน่วยบริการ กรม มูลนิธิต่างๆ เพื่อขออนุมัติใช้งบประมาณในส่วนนี้ เพื่อต้องการลดปัญหาที่มีผู้ไม่หวังดีขยายข้อมูลไม่ถูกต้อง แต่อาจถูกตั้งข้อสังเกตจากหน่วยตรวจสอบว่า การไม่ขอรับเงินส่วนนี้อาจเข้าข่ายสร้างความเสียหายให้กับสำนักงานได้

ทั้งนี้แต่ละปีมีเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐในส่วนนี้สำหรับ สปสช.ประมาณ 80-100 ล้านบาท ก่อนหน้านี้ สปสช.เคยทำหนังสือแจ้ง อภ.ว่า เห็นควรให้จัดสรรเงินดังกล่าวไปให้กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ในฐานะหน่วยกำกับดูแลและสนับสนุนหน่วยบริการในวงเงิน 75 ล้านบาท แต่ สตง.เห็นว่า หากให้ สป.สธ.เป็นผู้ดำเนินการแทนอาจถือเป็นการขัดต่อข้อบังคับของ อภ. ไม่ตรงประเด็นตามข้อเสนอแนะของ สตง. และอาจขัดต่อ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จึงได้แนะนำให้ สปสช.ออกระเบียบการใช้เงินดังกล่าว และต่อมาคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงได้ออกระเบียบการใช้จ่ายเงินดังกล่าวขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับตายุทธศาสตร์รุกลงใต้ของจีน: รถไฟสะท้าน-แม่น้ำโขงสะเทือน

Posted: 23 Jun 2017 02:36 AM PDT

จับตานโยบายยุทธศาสตร์รุกลงใต้ของจีน หลังรัฐบาล คสช. ใช้ ม.44 เร่งรัดความการรถไฟความเร็วสูง และครม. มีมติเห็นชอบโครงการแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศ ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำ เมื่อปี 59 ภาคประชาชนหวั่นไทยเสีย มากกว่าได้ ขณะที่จีนมีอิทธิพลมากขึ้น แต่ไทยไร้อำนาจการต่อรอง

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560  ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๐/๒๕๖๐เรื่อง มาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา  โดยเป็นการยกเว้นการปฏิบัติตามกฎระเบียบบางเรื่อง เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานโครงการรถไฟไทย-จีน ซึ่งสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ Belt and Road /One Belt One Road (OBOR) หรือที่เรียกว่า ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ ซึ่งเป็นนโยบายที่จะเชื่อมจีนเข้ากับส่วนอื่นๆ ของเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ผ่านการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกและทะเล เพื่อกระตุ้นการค้าในภูมิภาคนี้ของโลก โดยไทยได้เข้าร่วมประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation (BRF) ที่กรุงปักกิ่ง ภายใต้หัวข้อการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและร่วมกันพัฒนาเส้นทางสายเศรษฐกิจเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ท่าทีของรัฐบาลไทยที่ตอบรับต่อข้อเรียกร้องของรัฐบาลจีนนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่ในเรื่องรถไฟความเร็วสูงเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยจีนต้องการขยายเส้นทางการเดินเรือพาณิชย์ในบริเวณแม่น้ำโขง และเช่นเดียวกันนั้นรัฐบาล คสช.ก็มีมติเห็นชอบในกรณีดังกล่าว

ที่มาภาพจาก: aseanthai.net

เมื่อวันที่ 27  ธันวาคม 2559 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศ ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง พ.ศ.2558-2568 โดยประชาสังคมหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าเป็นการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงตามพรมแดนไทย-ลาว บริเวณริมแม่น้ำโขง อำเภอ เชียงแสน จังหวัด เชียงราย ที่เป็นอุปสรรคในการเดินเรือ โดยรัฐบาลได้เห็นชอบในหลักการแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศในแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง พ.ศ.2558-2568, หลักการเบื้องต้นในการปรับปรุงร่องน้ำทางเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง

วันที่ 19 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา จีนได้ส่งเรือสำรวจภาคสนาม 6 ลำ มาสำรวจยังแม่น้ำโขง ในบริเวณพื้นที่อำเภอ เชียงแสน โดยมีเรือจาฟู้ 3, เรือ ฉีตง 9, เรือ เฉินไท้ 198 ซึ่งเรือทั้ง 3 ลำ เป็นเรือบรรทุกขนาดใหญ่ภายในบรรจุคนถึง 40 คน และเรือเล็กอีก 3 ลำ และในวันเดียวกันนั้นเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 คัดค้านการสำรวจระเบิดแก่งแม่น้ำโขงของเรือจีน เพราะเห็นว่าไทยไม่ได้ประโยชน์ เป็นการทำลายระบบนิเวศที่สำคัญของโลก และทรัพยากรข้ามพรมแดนที่ใช้ร่วมกันระหว่างประเทศ

ต่อมา วันที่ 26 เมษายน 2560 เรือสำรวจแม่น้ำโขงจากบริษัท CCCC Second Habor Consultant จำกัด จากประเทศจีน ยังคงปฏิบัติการสำรวจแม่น้ำโขงในเขตน่านน้ำไทย-สปป.ลาว ด้าน จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดคณะสำรวจจากจีนได้นำเรือจาฟู่ 3 ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ระวางน้ำหนักกว่า 450 ตันและมีแท่นขุดเจาะชั้นดินและหินใต้ท้องน้ำแยกไปสำรวจตามเส้นทางสายท่าเรือ แม่น้ำโขงเชียงแสนแห่งที่ 1 ภายในเขตเทศบาล ต.เวียงเชียงแสน อ.เชียงแสน ไปทางสามเหลี่ยมทองคำชายแดนไทย-เมียนมา-สปป.ลาว ด้านกลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านระบุว่าในปัจจุบันได้มีการนัดหมายกลุ่มชาว บ้านที่คัดค้านโครงการปรับปรุงร่องแม่น้ำโขงดังกล่าวแล้ว ซึ่งหากเรือสำรวจจีนทำการสำรวจบริเวณคอนผีหลงอย่างชัดเจนก็จะนำเรือออกไป แสดงสัญลักษณ์คัดค้าน โดยจะมีการใช้ป้ายข้อความ สัญลักษณ์ ฯลฯ และไม่การกระทำรุนแรงใดๆ

วันที่ 28 เมษายน 2560 กลุ่มเครือข่ายธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา (กลุ่มรักษ์เชียงของ) นำโดยนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ พร้อมด้วยเครือข่ายกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเยาวชน อ.เชียงของ กลุ่ม North องศาเหนือ ฯลฯ ประมาณ 30 คน นำป้ายซึ่งมีข้อความคัดค้านการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขง ล่องเรือยาวจำนวน 3 ลำจากพื้นที่ ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ทวนกระแสแม่น้ำโขงขึ้นไปยังเกาะแก่งกลางแม่น้ำโขงที่เรียกกันว่า "คอนผีหลง" โดย เป็นป้ายข้อความที่เป็นทั้งภาษาไทย ภาษาจีนและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาให้หยุดการระเบิดเกาะแก่ง ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่เพื่อแสดงพลังและสัญลักษณ์คัดค้านการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขง

แผนในการปรับปรุงเส้นทางเดินเรือโดยการระเบิดเกาะแก่งบริเวณแม่น้ำโขงที่จีนต้องการครั้งนี้ ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลไทย ทั้งที่ในอดีตแผนการดังกล่าวเคยเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล ทักษิณ แต่ก็ต้องพับโครงการไปเนื่องจากมองว่าจะทำให้เกิดปัญหามากกว่าผลประโยชน์ที่ได้ และมีแนวโน้มจะทำให้เสียพื้นที่อธิปไตย แต่ในรัฐบาล คสช. ได้มีมติเห็นชอบไปก่อนหน้านี้ต่อแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ปี 2558-2568

เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการจากสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ตั้งคำถามกับการเข้ามาของจีนครั้งนี้ว่า จีนมุ่งหวังที่จะระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขง เพื่อพัฒนาการเดินเรือพาณิชย์ระหว่างประเทศ โดยเกิดผลกระทบโดยตรงต่อประเทศที่ใช้แม่น้ำโขงร่วมกันทั้งไทย และลาว ซึ่งแน่นอนว่าการระเบิดเกาะแก่งครั้งนี้ได้สร้างผลกระทบอย่างมากมายต่อระบบนิเวศที่ซับซ้อน เนื่องจากมีการดำรงชีวิตของพันธุ์ปลากว่า 86 ชนิด การวางไข่ของนกบนสันดอนโดยรอบแม่โขง รวมไปถึงพืชชนิดต่างๆที่มีอยู่ในระบบนิเวศ เช่น ไก พืชที่ชาวบ้านนำมาแปรรูปเป็นอาหารและจำหน่าย  การมุ่งหวังที่จะระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขงของรัฐบาลจีนนั้น มีการนำเสนอข้อมูลที่อ้างว่าประเทศผู้ใช้แม่น้ำโขงร่วมกันจะได้รับประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ เพราะจะเป็นช่องทางในการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางการเดินเรือนี้ โดยจีนยอมให้เงินทุนในการศึกษาและดำเนินการแก่ประเทศต่างๆในพื้นที่นี้ รวมถึงประโยชน์ที่อ้างว่าไทยจะได้รับจากการค้าชายแดนอำเภอเชียงแสน เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไทยได้รับประโยชน์จากการค้าชายแดนในพื้นที่นี้น้อยมาก เมื่อเทียบกับพื้นที่ชายแดนอื่น

โดยรัฐบาลจีนเสนอว่าการระเบิดเกาะแก่งครั้งนี้จะสร้างประโยชน์แก่ทั้ง 4 ประเทศนั้นคือ จีน พม่า ไทย และลาว เพราะจะเป็นการเพิ่มเส้นทางขนส่งสินค้าและสามารถพัฒนาไปเป็นเขตเศรษฐกิจ โดยไทยสามารถส่งสินค้าไปขายในจีนได้เพิ่มมากขึ้น และในอนาคตอาจพัฒนาไปเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าสู่สิงคโปร์ และมาเลเซียได้ง่ายขึ้น ซึ่งในตอนนี้รัฐบาลไทยอยู่ในช่วงของการสำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ รอบแม่น้ำโขง ถึงกระนั้นขั้นตอนในการสำรวจและศึกษาทั้งหมดจีนต้องการเป็นผู้ประเมินเพียงผู้เดียว โดยไม่เชิญตัวแทนจากอีก 3 ประเทศไปมีส่วนร่วม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเพราะจะต้องรับฟังความคิดเห็นของทุกๆ ประเทศที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อแผนการนี้

นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ แกนนำในการเคลื่อนไหวต่อต้านการเข้ามาในลุ่มแม่น้ำโขงของรัฐบาลทั้งในและต่างประเทศกล่าวว่า รัฐบาล ต้องใส่ใจรายละเอียดต่างๆให้มาก ทุกๆขั้นตอน เพราะตอนนี้มันลัดขั้นตอน รัฐต้องตระหนักเรื่องนี้ เพราะว่าการดำเนินงานที่ผ่านมามันไม่ถูกต้อง

ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่แม่น้ำโขงนั้นคงเป็นเรื่องยากที่จะสร้างจุดร่วมกันของคนทั้งประเทศ เพราะคนที่อยู่ห่างจากแม่น้ำโขงก็คงไม่เข้าใจ แต่แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ใหญ่มีผลกับคนจำนวนมากในพื้นที่ เพราะฉะนั้นจึงต้องทำให้ทุกคนได้รู้ว่าปัญหามันเป็นอย่างไร

"แม่น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญกับชีวิตมนุษย์ เมื่อมันถูกทำลายก็จะส่งผลกระทบมาก อย่างประเด็นเรื่องอำนาจอธิปไตยก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่เราไม่ได้เป็นคนคลั่งชาตินะ เพราะทุกประเทศก็มีอธิปไตย แต่เราจะปล่อยให้เกาะแก่งมันถูกทำลายก็ไม่ได้ โลกมนุษย์มันไร้พรหมแดน เราทุกคนอยู่ร่วมกันหมด แม่น้ำสายหนึ่งเราต้องใช้ร่วมกัน ไม่ใช่แบ่งแล้วกีดกัน เพราะมันส่งผลกระทบทั้งวิถีชีวิตของคนที่ใช้แม่น้ำโขง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม แม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนา พัฒนาแล้วคนท้องถิ่นต้องอยู่ได้ สนธิสัญญาที่ฝรั่งเศสเคยใช้ร่องน้ำลึกเป็นตัวชี้วัดในการแบ่งเขตแดน ไทย-ลาว ฉะนั้นหากดำเนินการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงจะส่งผลให้ร่องน้ำเปลี่ยน เกาะแก่งบริเวณพรมแดนหายไป และจะทำให้เขตแดนจะเปลี่ยนทันที และประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนเป็นบริเวณกว้าง โดยการอนุมัติโครงการดังกล่าวถือเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถละเมิดอธิปไตยของไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ฉะนั้นแล้วปัญหาเรื่องการเสียอำนาจอธิปไตยในดินแดนของประเทศ เป็นเรื่องที่ประชาชนทุกคนต้องรับรู้และเป็นการบ่งบอกถึงจุดร่วมกันที่เราต้องตระหนักและมีส่วนร่วมในปัญหาด้วยกัน"

โดยนิวัฒน์อยากให้รัฐบาลและกลุ่มนายทุนตระหนักให้ดีว่า การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง เป็นการพัฒนาเพื่อแบ่งปัน เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่การพัฒนาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรให้ให้มันสมดุลกันเพราะยังไงเราก็ต้องค้าขายกับต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรือขนส่งสินค้ามันใหญ่ 500-600 ตัน ก็ให้ลดขนาดเรือลง ลดกำไรของนายทุนลง คนอื่นจะได้อยู่ร่วมด้วยได้ อยากให้คำนึงถึงผู้อื่นด้วยเพราะโลกในอนาคตเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ โดยตอนนี้กำลังทำงานเชิงวิชาการเกี่ยวกับมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ยืนยันกับรัฐในการพูดคุยและนำเสนอผลกระทบ โดยอยากให้รัฐบาลตระหนักว่าเราได้ผลประโยชน์หรือไม่ในการระเบิดครั้งนี้ ทุกวันนี้การค้าทางบกเราก็มีแล้ว ทางเรือก็มีบ้างแล้ว ทำไมเรายังต้องทุบเกาะแก่งอีก

นิวัฒน์กล่าวทิ้งท้ายว่า "มนุษย์ไม่สามารถตัดกิเลสได้ เรื่องผลประโยชน์มันก็เป็นเรื่องที่เราเข้าใจ มันเป็นนโยบายของจีนเรื่องรุกลงใต้ เพราะฉะนั้นเราจะตั้งรับอย่างไร อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราจะมีการตกลงยังไงไม่ให้เสียเปรียบ โดยที่สิ่งแวดล้อม และผู้คนต้องอยู่ได้ การพัฒนาที่คนอื่นได้เงิน แต่คนอีกพวกตายกันหมด มันไม่ใช่การพัฒนาที่ถูกต้อง แม่น้ำโขงมันเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ ทำอะไรไปมันมีผลกระทบกลับมามาก ต้องคำนึงถึงผู้อื่น อย่าคิดเป็นเงินเป็นทองมากนัก"

ทั้งกรณีโครงการรถไฟความเร็วสูง และแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศต่างเป็นโครงการเกี่ยวกับการขนส่งซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ Belt and Road /One Belt One Road (OBOR) แสดงให้เห็นว่ายุทธศาสตร์รุกลงใต้ของจีนนั้นได้เข้ามาสู่ประเทศไทย และยังแผ่ขยายไปยังประเทศอื่นๆ ทั้งกรณีรถไฟความเร็วสูงในลาว การให้เงินช่วยเหลือในกัมพูชาพร้อมผลักดันรถไฟความเร็วสูง  และการเซ็นสนธิสัญญาด้านกลาโหมฉบับสำคัญกับมาเลเซีย ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การป้องกัน พลังงาน และรางรถไฟ จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าอิทธิพลของจีนนั้นค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นในเอเชีย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประมวลภาพ-วิดีโอ : ไผ่ต้านลม 6 เดือนแห่งการจองจำ

Posted: 23 Jun 2017 02:20 AM PDT

23 มิย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 18.00 น. ที่ sky walk BTS ชิดลม มีการจัดกิจกรรม 'ไผ่ต้านลม 6 เดือนแห่งการจองจำ' เนื่องในโอกาสครบรอบ 6 เดือนการคุมขัง จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ 'ไผ่ ดาวดิน' ผู้ต้องหาคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแชร์ข่าว BBC ไทย โดยที่เขาไม่ได้รับสิทธิประกันตัว

กิจกรรมดังกล่าวถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบควบคุมอย่างใกล้ชิด พร้อมกำชัดให้ดำเนินการให้เสร็จอย่างรวดเร็ว

วิบูลย์ บุญภัทรรักษา พ่อของ 'ไผ่ ดาวดิน' หรือจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ให้สัมภาษณ์หลังกิจกรรม "ไผ่ต้านลม 6 เดือนแห่งการจองจำ" โดยพ่อของไผ่จะยังคงใช้ช่องทางตามกฎหมายต่อสู้คดีต่อไป

สัมภาษณ์ โบว์ ณัฏฐา มหัทธนา นักกิจกรรมอิสระ หลังจัดงานเชิงสัญลักษณ์ 'ไผ่ต้านลม 6 เดือนแห่งการจองจำ' เผยตอนท้ายงานมีเจ้าหน้าที่เข้ากระชับเวลา เหตุเอกชนเจ้าของพื้นที่หวั่น เตรียมจัดกิจกรรม 'นักโทษทางความคิด' ที่สถาบันปรีดีพนมยงค์เดือนหน้า

ทั้งนี้ จตุภัทร์ ถูกจับกุมและถูกนำตัวเข้าเรือนจำเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2559 จากการแชร์พระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai ซึ่งมีคนแชร์เหมือนกับเขาราว 2,800 คน แต่มีเพียงเขาคนเดียวที่ถูกจับกุม เขายื่นขอประกันตัวรวมทั้งหมด 9 ครั้ง และอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนสิทธิประกันตัวอีก 2 ครั้ง แต่ไม่เคยได้รับการอนุญาตให้ประกันตัวอีกเลย โดยพ่อแม่ของเขาต้องเดินทางไปรับรางวัลสิทธิมนุษยชนแห่งกวางจูประจำปี 2017 ที่เกาหลีใต้แทนลูกชาย และนำมามอบให้เมื่อลูกชายต้องเดินทางมาขึ้นศาลทหารที่ จ.ขอนแก่น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Realframe: "บัตรทอง" ที่พ่อไม่อยากใช้

Posted: 23 Jun 2017 01:48 AM PDT

 

ปลายเดือนพฤศจิกายนปี 2554 พ่อมีอาการเจ็บคออย่างรุนแรง เราพาพ่อไปหาหมอในโรงพยาบาลประจำอำเภอด้วย "สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า" และไปตามคลินิคอีกหลายที่ เวลาผ่านเลยไปร่วมเดือนอาการยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ร่างกายอ่อนแรงลงเรื่อยๆ เรากลับไปพบหมอที่โรงพยาบาลประจำอำเภออีกครั้งและขออนุญาตส่งตัวไปตรวจยังโรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่กลับได้รับการปฏิเสธ จนต้องมีปากเสียงกันกว่าจะได้รับการอนุญาต พ่อจึงถูกส่งตัวมาตรวจที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด

ในโรงพยาบาลใหญ่ที่สุดของจังหวัดมีผู้ป่วยล้นหลาม ญาติผู้ป่วยอีกมากมายยืนรอนั่งรอกระทั่งบางคนหาที่นอนรอการตรวจรักษา พ่อนั่งรออยู่เงียบๆผ่านไปหลายชั่วโมงจึงได้เข้าตรวจ หมอตรวจอย่างรวดเร็วและมีคำสั่งให้ส่องกล้องแล้วตัดชิ้นเหนือไปวินิจฉัย "คุณลุงมีเนื้อร้ายที่หลอดอาหาร เดี๋ยวผมนัดวันเจาะช่องท้องให้อาหารทางสายยางนะครับ" เป็นคำตอบของหมอหลังจากที่ส่องกล้องตรวจลำคอและนำชิ้นเนื้อไปตรวจ 

แม้ต้องรอนานแต่ผมคิดว่าโรงพยาบาลรัฐมีประสิทธิภาพอยู่ในมาตราฐานที่ดี ร่างกายที่อ่อนแอลงทำให้ไม่อาจรักษาด้วยการผ่าตัด ให้เคมี หรือแม้แต่การฉายรังสี การผ่าตัดช่องท้องเพื่อให้อาหารทางสายยางจึงเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้ร่างกายฟื้นได้เพื่อการรักษาในขั้นต่อไป หลังเจาะช่องท้องแล้ว หมอส่งตัวพ่อไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี เราต้องเดินทางจากสุพรรณบุรีไปลพบุรีทุกสัปดาห์ ที่นี่มีเครื่องมือตรวจรักษาที่ทันสมัย มีระบบบริการที่ดี ผู้ป่วยมะเร็งมาจากหลายที่หลายจังหวัด ผู้ป่วยที่ฐานะไม่ดีจะได้เข้าถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยหลายคนที่ได้เจอมีอาการดีขึ้น และบางคนกำลังจะหายขาด เป็นเรื่องน่ายินดี 

พ่อไม่ได้เข้าโรงพยาบาลบ่อยนัก เท่าที่จำได้ ผมเห็นพ่อเข้าโรงพยาบาลสองครั้งคือตอนที่โดนรถชนกับครั้งสุดท้ายที่เป็นมะเร็งและได้จากโลกนี้ไป หลายคนอาจมองว่าระบบสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นภาระที่ส่วนรวมต้องร่วมจ่ายให้กับคนอื่น แต่สำหรับผมนี่คือโครงการที่จะทำให้ผู้คนที่ฐานะยากจน ผู้มีรายได้น้อยได้เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และช่วยให้หลายคนรอดชีวิต

โรคบางโรคอาจใช้เงินที่เราหามาทั้งชีวิตในการรักษา หรือถ้ามันเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวใครซักคนหนึ่งที่หาเช้ากินค่ำ มันอาจทำให้เขาต้องเป็นหนี้ก้อนโตไปตลอดชีวิต สิทธิใดๆในการรักษาความป่วยไข้นั้นไม่มีใครอยากใช้ ใครจะอยากป่วยอยากไปโรงพยาบาล

ข่าวคราวการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยการเพิ่มสัดส่วนของกรรมการในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลเรื่องการถ่วงดุลอำนาจ และอาจส่งผลให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ตรงตามเป้าหมายที่ว่า "คนไทยทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ มาตรฐาน อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม"

การรักษาสุขภาพเป็นเรื่องที่ดี แต่ในประเทศที่อาหารการกินเต็มไปด้วยสารพิษ สารตกค้างจากเคมี พื้นที่ที่อากาศไม่บริสุทธิ์และมลพิษต่างๆนานา เราไม่รู้หรอกว่าเราจะเจ็บไข้ได้ป่วยเมื่อไหร่ หันไปดูรอบๆตัวเราถ้าไม่ได้ร่ำรวยมาก เราก็มีทางเลือกไม่มากเช่นกัน การเอื้อเฟื้อให้กับคนที่อยู่ร่วมโลก ร่วมประเทศเดียวกันผมว่ามันมีคุณค่ากว่าที่จะทำบุญเพื่อมอบให้กับเทวดาองค์ใดเสียอีก 

ผ่านไปสี่เดือนพ่ออาการไม่ดีขึ้นและทรุดลงเรื่อยๆ เมื่อมองไปในแววตาของพ่อผ่านเลนส์กล้อง ผมเห็นหัวใจของพ่อชัดเจน พ่อยอมรับในชะตาตัวเอง ไม่มีความกลัวใดๆ มีเพียงความห่วงใยต่อครอบครัว วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 ผมอยู่รถเมล์ ปอ.2 สายหมอชิต-สุพรรณบุรี เป็นเที่ยวเดินทางที่ยาวนานที่สุดในชีวิต เป็นเที่ยวเดินทางที่เศร้าที่สุด ระยะทางร้อยกว่ากิโลเมตรเจิ่งนองด้วยน้ำตา เพราะผมต้องอยู่ในโลกใบนี้โดยที่ไม่มี "พ่อ" อีกต่อไป 


 

Text&Photos: Chalit Saphaphak : Photographer Edited by Yostorn Triyos ©CHALIT SAPHAPHAK / REALFRAME e-mail : chalit.saphaphak@gmail.com www.realframe.net

เผยแพร่ครั้งแรกใน: Facebook/RealframeFanpage
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อชาย 3 คน แต่งงานกัน

Posted: 22 Jun 2017 10:27 PM PDT

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมาได้มีข่าวที่ดูเหมือนว่าจะเป็นข่าวเล็กๆชิ้นหนึ่งของ AFP แต่ได้สร้างความสั่นสะเทือนอย่างมหาศาลสำหรับวงการของคนรักเพศเดียวกันและคนที่ต่อต้าน ข่าวที่ว่านั้นก็คือข่าวของชาย 3 คน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันแบบคนรักในโคลอมเบีย ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยศาลให้การรับรองสิทธิการสมรสของครอบครัวที่อยู่กินกันหลายคน(มากกว่า 2 คน)หรือที่เรียกเป็นภาษาทางวิชาการว่า "polyamorous family"เป็นครั้งแรก

จากการที่ศาลโคลอมเบียได้ตัดสินรับรองสถานะการสมรสของชายรักชาย 3 คนที่เมืองMedellin เมืองใหญ่อันดับ 2 ของโคลอมเบียนี้ ทำให้โคลอมเบียเป็นประเทศแรกในอเมริกาใต้ที่อนุญาตให้มีการจดทะเบียนสำหรับครอบครัวที่อยู่กินกันมากกว่า 2 คนขึ้นไป

ชาย 3 คนที่ว่านี้ก็คือ Manuel Jose Bermudez ซึ่งเป็นนักข่าว(journalist)  ,Victor Hugo Prada อาชีพนักแสดง(actor) และ, John Alejandro Rodriguez ผู้ฝึกสอนกีฬา(sports instructor) เป็นชาวโคลอมเบียกลุ่มแรกที่ศาลรับรองสถานะสมรสแบบนี้ และพวกเขาเตรียมจัดพิธีสมรสอย่างเป็นทางการ ทั้งยังมีแผนจะเดินทางไปฮันนีมูนอีกด้วย

นอกจากนี้ Manuel Jose Bermudez ยังได้เผยแพร่ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่านี่คือความคืบหน้าครั้งสำคัญที่จะเปิดทางให้ครอบครัวอื่นๆ ทั่วโลกที่อยู่กินกันแบบสามคนหรือมากกว่านั้น ได้รับการยอมรับทางสังคมและทางกฎหมาย ขณะที่ Victor Hugo Prada ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวAFPว่า พวกเขามีสิทธิที่จะสร้างครอบครัวไม่ต่างกับครอบครัวที่มีรูปแบบอื่นๆ รวมถึงมีสิทธิที่จะสืบทอดหรือดูแลมรดกของคู่สมรสด้วย ซึ่งที่จริงแล้วครอบครัวนี้เคยมีสมาชิก 4 คน แต่อีกคนเพิ่งเสียชีวิตไปเสียก่อนด้วยโรคมะเร็ง

ขณะที่ German Rincon Perfetti นักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิผู้หลากหลายทางเพศ ระบุว่าในโคลอมเบียมีผู้สมรสที่อยู่กินกันแบบสามคนอยู่ไม่น้อย แต่กรณีนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งเป็นการยอมรับว่าครอบครัวแบบอื่นก็สามารถดำรงอยู่ในสังคมนี้ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ โคลอมเบียเป็นประเทศที่ 4 ในอเมริกาใต้ที่รับรองการจดทะเบียนสมรสของกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ต่อจาก 3 ประเทศก่อนหน้า คือ อาร์เจนตินา บราซิล และอุรุกวัย แต่เป็นประเทศแรกในอเมริกาใต้ที่รับรองสิทธิสมรสแบบหลายคน

ที่ผมนำข่าวนี้มาเสนอก็เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่าการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน(same-sex marriage)หรือการอยู่ร่วมกันหรือมีความสัมพันธ์ในทำนองนี้ เช่น gay marriage, gender-neutral marriage, equal marriage, lesbian marriage, same-sex civil marriage, marriage equality, homosexual marriage, single-sex marriage, same-gender marriage ฯลฯ นั้น ในต่างประเทศนั้นได้รับการยอมรับและเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด

คำกล่าวที่ว่า "ผิดธรรมชาติ" หรือ "โลกอยู่ยากขึ้นทุกวัน" มักถูกใช้เสียดสีคนรักเพศเดียวกัน เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดในสมัยนี้ จริงๆแล้วในอดีตเป็นเรื่องที่เป็นปกติของความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของหลายวัฒนธรรมทั่วโลก แต่ถูกตีความใหม่ให้เป็นเรื่องผิดปกติภายหลังการขยายตัวของศาสนา และเชื่อมต่อด้วยลัทธิล่าอาณานิคมที่แผ่กระจายไปทั่วโลก ทำให้เกิดความเชื่อว่าการรักเพศเดียวเป็นสิ่งที่ผิดปกติหรือผิดธรรมชาติ

ในอดีตเช่นกรีกเมื่อ 2- 3 พันปีก่อนความสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายถือเป็นสิ่งที่สวยงาม เช่น ชายอาวุโสสอนงานเด็กหนุ่มก่อนที่จะไปมีชีวิตครอบครัวกับเด็กสาวหรือไปประกอบอาชีพการงานและเมื่อแต่งงานไปแล้วในบางโอกาสยังกลับมาสัมพันธ์ในเพศเดียวกันอีก,ในญี่ปุ่น ซามูไรในอดีตมีพฤติกรรมเลือกเอาเด็กหนุ่มมาเป็นคู่ครอง,จีนในหลายร้อยปีก่อนก็เชื่อว่ามนุษย์สามารถหาความสุขทางเพศได้หลายรูปแบบ โดยไม่จำเป็นต้องกับเพศเดียวกันเท่านั้นหรือในอเมริกาคนพื้นเมืองในอดีตก็ได้การยอมรับและให้การนับถือคนสองเพศว่าเป็นผู้ที่สามารถติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ เป็นต้น

ผู้ที่ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน มักจะใช้คำว่า"การแต่งงานแบบเสมอภาค"(equal marriage) เพื่อเน้นว่า พวกเขาแสวงหาความเสมอภาคในฐานะที่เป็นการต่อต้านหรือคัดค้านสิทธิพิเศษต่างๆ เพื่ออธิบายถึงการแต่งงานใดๆ ก็ตามที่ไม่คำนึงถึงเรื่องเพศ(sex)ของคู่ครอง ซึ่งคู่ครองจะมีสถานะที่เท่าเทียมหรือเสมอกันในการแต่งงานไม่ว่าจะเป็นการแต่งงานระหว่างเพศใดก็ตาม

อย่างไรก็ตามผู้ที่คัดค้านมักจะให้เหตุผลว่าการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ ขณะที่การแต่งงานระหว่างเพศตรงข้ามสามารถให้กำเนิดบุตรและให้การศึกษากับลูกหลาน ซึ่งเหตุผลนี้ได้ถูกโต้แย้งว่ามิใช่ว่าทุกคู่แต่งงานที่เป็นเพศตรงข้ามกันจะต้องการมีบุตร บางคู่ตั้งใจไว้แน่วแน่ว่าไม่ต้องการมีบุตรจึงใช้วิธีคุมกำเนิด อย่างไรก็ตาม ในกฎหมายแพ่งหลายประเทศได้กำหนดไว้ว่า การไร้สมรรถภาพทางเพศหรือการเป็นหมันไม่เป็นมูลเหตุให้การแต่งงานเป็นโมฆะ หรือการแต่งงานระหว่างชายหญิงที่อายุมากเกินกว่าจะมีบุตรได้ก็ไม่เป็นโมฆะเช่นกัน ฉะนั้น การมีบุตรจึงไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญของการแต่งงานแต่อย่างใด

อนึ่ง การสมรสของเพศเดียวกันก็มักจะขอรับเลี้ยงบุตรจากผู้อื่นซึ่งสามารถทำได้อยู่แล้ว ดังนั้น หากพิจารณาถึงเหตุผลของการสร้างความเป็นสถาบัน (institutionalzing)แล้ว การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน เป็นทั้งการทำให้สองฝ่าย(หรือมากกว่า)มีสิทธิร่วมกันในความเป็นครอบครัวและมีสิทธิรับบุตรบุญธรรมได้ หรือการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถรับบุตรบุญธรรมก็สามารถทำได้เช่นกัน

กล่าวโดยสรุปก็คือสิทธิในการมีครอบครัวเป็นสิทธิพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับและพึงให้ความเคารพในการเลือกเส้นทางชีวิตของตนเองตราบใดที่เขาเหล่านั้นไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น จะชายกับชาย/หญิงกับหญิง/ชายกับชายกับชาย/หญิงกับหญิงกับหญิง/หญิงกับชายกับหญิง/ชายกับหญิงกับชาย ฯลฯ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอันใดครับ



หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 21 มิถุนายน 2560

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น