โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ตำรวจสหรัฐฯ จับคนพิการประท้วงต้าน 'ทรัมป์แคร์' ลิดรอนสวัสดิการสุขภาพ

Posted: 24 Jun 2017 11:45 AM PDT

สื่อนอกกระแสสหรัฐฯ นำเสนอภาพของคนพิการและผู้สูงอายุถูกตำรวจหามออกไปในขณะที่พวกเขานั่งปักหลักประท้วงวุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน จากกรณี ส.ว. ออกร่างกฎหมายใหม่ลดสวัสดิการสุขภาพของประชาชน

 

ในสหรัฐฯ เองก็กำลังมีความพยายามออกนโยบายที่จะทำให้สวัสดิการของประชาชนแย่ลงกว่าเดิมจากการออกร่างกฎหมายใหม่โดยวุฒิสภาที่มีชื่อเรียกว่าร่างกฎหมายประกันสุขภาพของชาวอเมริกัน (American Health Care Act) หรือ "ทรัมป์แคร์" ซึ่งฝ่ายก้าวหน้าและประชาชนส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ มองว่าเป็นการกีดกันทั้งผู้หญิง คนจน คนชรา และผู้ป่วยทางจิตใจ ไม่ให้เข้าถึงสวัสดิการสุขภาพได้ 

เรื่องนี้ทำให้มีประชาชนปักหลักประท้วงหน้าสำนักงานของ มิตช์ แมคคอนเนลล์ ประธานวุฒิสภาเสียงข้างมาก หลังจากที่วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันออกร่างกฎหมายทรัมป์แคร์ในแบบของพวกเขาออกมาเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 21 มิ.ย. 2560 แต่พวกเขาก็ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจากรัฐสภาสหรัฐฯ
 
ผู้ประท้วงเหล่านี้พากันตะโกนว่า "อย่าแตะต้องเมดิเคด" โดยที่ "เมดิเคด" คือโครงการสวัสดิการสุขภาพสมัยรัฐบาลบารัค โอบามา ที่เน้นดูแลผู้มีรายได้น้อยรวมถึงความพิการบางด้าน คอมมอนดรีมส์ระบุว่าผู้ที่ปักหลักประท้วงมีจำนวนมากที่เป็นคนพิการหรือคนชรา ภาพของผู้คนที่ถูกตำรวจอุ้มออกไปจากโถงทางเดินจึงเป็น "ดูน่าทึ่ง"
 
ผู้ที่จัดการชุมนุมในครั้งนี้คือองค์กรด้านสิทธิของผู้พิการในสหรัฐฯ ที่ชื่อ ADAPT พวกเขาบอกว่าร่างกฎหมายใหม่จากวุฒิสภาเป็นภัยต่ออนาคตของประชากรคนพิการและผู้ที่มีอาการอยู่ก่อนหน้านี้
 
บรูซ ดาร์ลิง ผู้จัดการชุมนุมจากองค์กร ADAPT กล่าวว่ากฎหมายใหม่ที่มีจาก ส.ว. รีพับลิกันมีการจำกัดและสั่งตัดงบประมาณของเมดิเคด ซึ่งจะเป็นการทำให้ผู้สูงอายุและคนพิการชาวอเมริกันสามารถเข้าถึงสวัสดิการรวมถึงบริการเกี่ยวกับบ้านและชุมชนได้น้อยลง บีบให้ต้องตายหรือจำใจต้องไปอยู่ในสถานคนชรา ในขณะที่ปรับลดภาษีให้พวกคนร่ำรวย "ชีวิตและเสรีภาพของพวกเราไม่ควรจะถูกขโมยไป มันเป็นสิ่งที่ไม่เป็นอเมริกันอย่างแน่แท้"
 
ก่อนหน้านี้ยังมีการสำรวจโพลจากเอ็นบีซีและวอลสตรีทเจอนัลระบุว่ามีชาวอเมริกันถึง 3 ส่วนต่อ 1 ส่วน ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมาย "ทรัมป์แคร์" กล่าวคือมีผู้ไม่เห็นด้วยรวมร้อยละ 48 ส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตและผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดทางการเมือง ผู้ที่เห็นว่าทรัมป์แคร์
 
นอกจากกลุ่ม ADAPT แล้ว ยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่ใช้วิธีนั่งปักหลักประท้วงในสำนักงานของวุฒิสมาชิก เช่นในโอไฮโอ มีชาวโอไฮโอที่ไม่พอใจพากันเข้าไปทวงถามคำถามเขาถึงสำนักงานว่าเขามีจุดยืนเกี่ยวกับสวัสดิการสุขภาพ กลุ่มเรียกร้องประเด็นเรื่องสตรีอย่าง 'อัลตราไวโอเล็ต' (Ultraviolet) ก้มีการจัดปักหลักประท้วงเช่นกัน เนื่องจาก "ทรัมป์แคร์" จะส่งผลกระทบคือการตัดงบประมาณบริการสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของสตรี
 
เรียบเรียงจาก
 
Common Dreams, Arrests of Trumpcare Protesters, Some in Wheelchairs, Outside McConnell's Office,  22-06-2017
 
Common Dreams, As Resistance Mobilizes, Poll Shows 'Overwhelming' Hatred for Trumpcare,  22-06-2017
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประมวลภาพ รำลึก 85 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง ณ หมุดคณะราษฎร (จำลอง)

Posted: 24 Jun 2017 09:03 AM PDT

24 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 17.10 น. ที่หมุดคณะราษฎร จำลอง บริเวณหน้าตึกคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ประชาชนประมาณ 50 คน นำโดย กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย จัดกิจกรรมวางดอกไม้ และยืนสงบนิ่ง 85 วินาที รำลึกครบรอบ 85 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมี พ.ต.พุทธินาถ พหลพลพยุเสนา ทายาท พล.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา รวมกิจกรรมด้วย เป็นต้น

สุวรรณา ตาลเหล็ก ตัวแทนกลุ่ม 24 มิถุนาฯ กล่าวว่า เราไม่สามารถไปในพื้นที่เคยจัดกิจกรรมได้ วันนี้เมื่อ 85 ปีที่แล้วเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะได้เบ่งบานกับระบอบประชาธิปไตย แต่ว่า ณ วินาทีนี้ คำว่าประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่แค่หยุดอยู่กับที่ แต่ว่ามันไปไหนก็ไม่รู้ ลงคลองลงใต้ตมไปเลย จึงทำให้เรายังมองไม่เห็น  เพราะฉะนั้นกิจกรรมโดยปกติเราก็จะไปรำลึกคุณูประการของคณะราษฎร ซึ่งหลายคนจะตื่นตีสี่ตีห้าเพื่อไปจัดกิจกรรมด้วยกัน แต่ว่า ณ วันนี้ทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว เงื่อนไขอะไรต่างๆ เราก็พูดไม่ได้ จึงทำให้เราทำอะไรไปได้ไม่มากไปกว่านี้ ก็ลุ้นกันว่าเราจะได้มีโอกาสจัดกิจกรรมรำลึกอีกหรือไม่ เพราะหลายคนก็โดนคุกคามไม่ต่างอะไรกับตนที่ถูกติดตามเช่นกัน พร้อมทั้งมีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปที่ต่างจังหวัดด้วย 
 
"อิสระเสรีภาพที่มีอยู่เราก็จะรักษามันไว้ เรายังคงยืนยันที่จะเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ การต่อสู้ในระบอบประชาธิปไตย ในการใช้สิทธิใช้เสียงของเราได้พูดบ้าง" สุวรรณา กล่าว
 
สำหรับหมุดคณะราษฎรเดิมยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นสถานที่จัดกิจกรรมรำลึกในทุกปีนั้น ถูกถอดออกไปตั้งแต่ต้น เดือนเม.ย.ที่ผานมา พร้อมกับมีหมุดใหม่และความหมายใหม่เข้ามาแทนที โดยที่ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ถอดหมุดออก และในวันนี้รวมทั้งก่อนหน้านี้มีนักกิจกรรมหลายคนที่ถูกเจ้าหน้าที่ตามประกบ บางคนถูกควบคุมตัวด้วย (อ่านรายระเอียดเพิ่มเติม)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดแนวคิดให้เด็กรักชาติแบบคิดเป็น ต้องสร้างนักเรียนขี้สงสัยไม่ใช่พลเมืองเชื่องๆ :วงเสวนา

Posted: 24 Jun 2017 07:07 AM PDT

เวทีถกประเด็นการศึกษากับการสร้างประชาธิปไตยและพลเมืองที่ดี ระบุ ออกแบบการศึกษาเท่ากับ ออกแบบสังคม/โลก แค่พลเมืองเชื่องๆ ยังไม่พอสร้างประชาธิปไตย วอนครูช่วยกันสร้างเด็กขี้สงสัย เปิด "รักชาติเชิงวิพากษ์" สิงคโปร์ทำได้ เด็กรักชาติแล้วยังคิดเป็น ประชาธิปไตยมีตื้นลึกหนาบาง ถ้าครูความรู้ยังตื้นเขินจะสร้างเด็กได้อย่างไร

24 มิ.ย. 2560 มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ICIRD มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่ม Thai Civic Education จัดงานเสวนาสาธารณะหัวข้อ "ประชาธิปไตย การศึกษาและความเป็นพลเมือง" ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเชิญวิทยากรจากทั้งชาวไทยและต่างชาติมาร่วมพูดคุยในเรื่องการศึกษาด้านพลเมืองในหลายบริบท ประชาไทเปิดการรายงานเสวนาในช่วงเช้าว่าด้วยเรื่องการออกแบบการศึกษาให้สร้างพลเมืองที่ดี รูปแบบพลเมืองและครูที่รู้ประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้งและตื้นเขิน รวมถึงเปิดแนวทางการศึกษาที่สอดแทรกอุดมการณ์ "รักชาติเชิงวิพากษ์" ในสิงคโปร์

ออกแบบการศึกษา = ออกแบบสังคม/โลก แค่พลเมืองเชื่องๆ ยังไม่พอสร้าง ปชต. วอนครูช่วยกันสร้างเด็กขี้สงสัย

โจแอล เวสท์ไฮเมอร์

เวทีแรกในหัวข้อ "ประชาธิปไตย การศึกษาและความเป็นพลเมือง ในวิกฤตการณ์โลก" นำเสนอโดยโจแอล เวสท์ไฮเมอร์ หัวหน้าทีมวิจัยด้านประชาธิปไตยและการศึกษา มหาวิทยาลัยออตตาวา ประเทศแคนาดา

โจแอลตั้งคำถามให้ผู้เข้าร่วมชวนขบคิดว่า อะไรคือความแตกต่างระหว่างโรงเรียนในรัฐระบอบเผด็จการกับโรงเรียนของรัฐในระบอบประชาธิปไตย "ความจริง" หรือชุดคุณค่าต่างๆ จะมีหลากหลาย มากน้อยต่างกันหรือไม่ หากเราเดินไปถามคนไทยตามท้องถนนว่า "โรงเรียนควรสอนให้นักเรียนเป็นพลเมืองดีหรือไม่" แน่นอนว่าคำตอบคือใช่ แต่ถ้าถามลึกลงไปอีกว่า "แล้วพลเมืองดีคืออะไร" คำตอบที่ได้คงแตกต่างออกไป บางคนอาจตอบว่าแค่เชื่อฟังพ่อแม่ ปฏิบัติตามกฎหมายก็พอ ในขณะที่บางคนอาจจะบอกว่าต้องออกไปต่อสู้กับความอยุติธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระบุว่า มีการถกเถียงในเรื่องคอนเซปต์การสอนความเป็นพลเมืองดีในโรงเรียนสูงมาก ต่อคำถามที่ว่า ทำไมคนถึงต้องใส่ใจกับการสอนในโรงเรียนด้วย แค่เอาลูกหลานไปไว้ในโรงเรียนแล้วเขากลับบ้านแบบมีความสุขไม่พอหรือ ทว่า แท้ที่จริงแล้วการออกแบบพลเรือนศึกษาในโรงเรียน คือการออกแบบสังคมในแบบที่เราอยากจะให้เป็นด้วย ไม่เพียงแต่สังคมในชุมชน แต่ยังไปไกลได้ถึงการออกแบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ในระดับโลกด้วย

ทว่า โรงเรียนในปัจจุบันมีความผูกพันกับระบบเศรษฐกิจ โรงเรียนกลายเป็นสถานฝึกวิชาชีพไปแล้ว แนวคิดเรื่องการเรียนเพื่อรู้ (learning for learning's sake) ไม่มีแล้ว เราสูญเสียแนวคิดการศึกษาที่มุ่งอบรมผู้คนให้มีการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนระบอบประชาธิปไตยไป ระบบการจัดมาตรฐาน (Standardization) ทำให้โรงเรียนเลือกให้ความสำคัญกับบางวิชามากกว่าวิชาอื่นๆ โดยโจแอลระบุว่า โรงเรียนหันมาสนใจกับการให้การศึกษาให้เด็กมีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ และอ่านออกเขียนได้ บางโรงเรียนไม่ให้ความสนใจกับวิชาสังคมศึกษา

โจแอลกล่าวถึงพลเมืองมี 3 ประเภท ประกอบด้วย

  • พลเมืองที่รับผิดชอบตนเอง คนกลุ่มนี้ปฏิบัติตามกฎหมาย รับผิดชอบตนเองดี โรงเรียนแทบทุกประเทศมุ่งผลิตพลเมืองประเภทนี้

  • พลเมืองที่มีส่วนร่วม คนกลุ่มนี้รู้กลไกระบบการปกครอง ขั้นตอนการออกกฎหมาย รู้หน้าที่พลมเมืองว่าต้องทำอะไร หลายโรงเรียนมีการเสริมสร้างพลเมืองประเภทนี้ผ่านการเรียนรู้ผ่านการให้บริการ (Service-based learning) ที่สร้างหลักสูตรให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน

  • พลเมืองที่ใส่ใจความยุติธรรม คนกลุ่มนี้คิดถึงเรื่องความยุติธรรม มุ่งหาสาเหตุปัญหาหรือสงสัยถึงกลไกการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รู้จักมองปัญหาจากหลายมุมมอง

โจแอลยกตัวอย่างเรื่องปัญหาคนไร้บ้าน โดยระบุว่า การแก้ปัญหาด้วยการบริจาคอาหาร ช่วยหางานให้ก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ว่าปัญหานี้สามารถมองได้หลายมุมจากการตั้งคำถามเสียก่อนว่าสาเหตุของความหิวโหย ยากจนที่เกิดในสังคมหรือประเทศเราเกิดจากอะไร

นักวิจัยจากแคนาดากล่าวว่า ทุกประเทศอยากได้พลเมืองประเภทแรก เขาอยากให้ประชาชนเคารพกฎหมาย บริจาคเลือดเวลาที่รัฐต้องการ หรือให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อเกิดภัยพิบัติเกิดขึ้น แต่ว่าการสร้างพลเมืองดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นประชาธิปไตยเลย โดยในประเทศประชาธิปไตยนั้น ประชาชนควรมีส่วนร่วมคิดเพื่อแก้ไขปัญหา ผ่านการแลกเปลี่ยนความเห็นให้ได้แง่มุมหลายหลาก การตัดสินใจแก้ไขปัญหาก็วางอยู่บนหลักการดังกล่าว การเลือกตั้งเพื่อเอาผู้แทนผลประโยชน์ของตนก็เป็นเรื่องที่อย่างน้อยต้องรู้ แต่ว่าเพียงสิ่งนั้นสิ่งเดียวเป็นประชาธิปไตยที่เบาบางมาก

การศึกษาในประเทศประชาธิปไตยก็เช่นกัน มีการนำเสนอ แลกเปลี่ยนความเห็นอย่างหลากหลายก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ หรือแก้ปัญหาใดๆ เพื่อให้นักเรียนมีความคิดเชิงวิพากษ์ต่อไปในอนาคต โจแอลระบุว่า สิ่งที่จำเป็นจะต้องสอนคือ ความกล้าในการตั้งคำถามยากๆ กับโลกที่เขาอาศัยอยู่ แม้ในประเทศเผด็จการจะไม่ต้องการคนแบบนั้น แต่ในฐานะนักการศึกษาถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

นักวิจัยด้านการศึกษากล่าวว่า นักการศึกษาสามารถจุดประกายความคิดของนักเรียนด้วยคำถามหนึ่งที่อาจสร้างคำถามต่อไปอีกมากมาย

"อย่างน้อยคำถามแรงๆ ที่ครูจะลองถามนักเรียนได้ควรเป็นคำถามว่า "นักเรียนรู้ไหมว่าหนังสือเรียนของพวกเธอถูกคนเขียนขึ้นมา" ทำไมถึงว่ามันแรง เพราะคำถามดังกล่าวทำให้ฉุกคิดว่าหนังสือไม่ได้เป็นสิ่งที่ได้รับมาจากเบื้องสูง จากหลักศิลาบัญญัติบนยอดเขา แต่ว่ามาจากมนุษย์ มันอาจทำให้นักเรียนถามต่อว่า แล้วเขาเป็นใคร ทำไมเลือกนำเสนอเรื่องต่างๆ มากน้อยไม่เท่ากัน"

โจแอลยังกล่าวว่า การสอนนั้นคือการเลือกเอาข้อเท็จจริงมาร้อยเรียงกัน และมันไม่มีวิธีการเล่าเรื่องราวข้อเท็จจริงอย่างสมบูรณ์ แม้แต่บทเรียนประวัติศาสตร์ของสองประเทศก็ไม่เหมือนกัน ทุกวันนี้สหรัฐฯ และแคนาดายังตกลงกันไม่ได้ว่าใครกันแน่เป็นผู้ชนะสงครามปี 1812 ที่ทั้งสองชาติสู้รบกัน โดยโจแอลปิดท้ายด้วยข้อคิดด้านแนวคิดของการศึกษาของแม็กซีน กรีน อาจารย์ของเขาผู้ล่วงลับว่า "วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือช่วยผ่อนคลายผู้ที่มีปัญหาและสร้างปัญหาให้ความสบาย (The purpose of education is to comfort the troubled and to trouble the comfortable)" โดยขยายความว่า โรงเรียนควรเป็นพื้นที่ที่นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความเห็น หาเพื่อนฝูงและเรียนรู้อย่างปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็ต้องเขย่าไม่ให้คนในสังคมประชาธิปไตยสบายจนเกินไป เพราะสังคมประชาธิปไตยต้องการให้ประชาชนลุกขึ้นมามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น

เปิด "รักชาติเชิงวิพากษ์" สิงคโปร์ทำได้ เด็กรักชาติแล้วยังคิดเป็น

จากซ้ายไปขวา: เดวิด ซินเจอร์ โจแอล เวสท์ไฮเมอร์ บุน ยี จาสมิน ซีม และวัชรฤทัย บุญธินันท์

ในหัวข้อ "รักชาติแบบวิพากษ์: กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์" โดย ผศ.บุน ยี จาสมิน ซีม จากศูนย์การศึกษาแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานหยาง ประเทศสิงคโปร์ กล่าวถึงรูปแบบการสอนที่ใส่ความรักชาติเข้าไปพร้อมๆ กับการเปิดช่องให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นในสิงคโปร์

จาสมินกล่าวว่า มีการถกเถียงกันมาตลอดถึงการสอดแทรกอุดมการณ์รักชาติลงไปในการเรียนการสอน ฝ่ายที่สนับสนุนก็ยืนบนฐานที่ว่า การรักชาติจะทำให้คนรู้สึกเป็นเจ้าของชาติและชุมชนร่วมกัน ทำให้คนพร้อมสร้างประโยชน์ให้ชาติและชุมชนได้มากมายหลายอย่าง แต่ฝ่ายที่คัดค้านก็ค้านว่า ความรักชาติผูกติดอยู่กับอารมณ์ ความรู้สึกซึ่งปัญหาคือจะสอนอย่างไร และการทำเช่นว่าในหลายประเทศ นำไปสู่การบิดเบือนประวัติศาสตร์ให้รับใช้แนวคิดชาตินิยม และอารมณ์ความรู้สึกที่มาจากความรักชาติมักบดบังการเกิดขึ้นของพลเมืองที่ตัดสินใจบนฐานของความเป็นพลเมือง และตรรกะทางการเมือง

ผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์ระบุว่า หลายรัฐบาลทั่วโลกต้องการให้พลเมืองมีความรักชาติ เพราะพลเมืองเช่นว่ามีแนวโน้มทุ่มเทให้ชาติเกินกว่าบทบาทของพลเมืองที่มี ซึ่งถ้าการศึกษาถูกขับเคลื่อนด้วยอุดมการณ์รักชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็ควรจะต้องกลับมานั่งทบทวนกันว่าควรจะใช้อุดมการณ์รักชาติในการสอนในโรงเรียนอย่างไร

จาสมินกล่าวว่า การรักชาติแบบวิพากษ์คือการมีความสามารถที่จะคิดถึงการผูกโยงตัวเองเข้ากับชาติได้ในเชิงวิพากษ์ และแสดงความไม่พอใจเมื่อคุณค่าหลักต่างๆ ที่มีในขนบ ธรรมเนียมการเมืองถูกบ่อนทำลาย วิพากษ์วิจารณ์บรรทัดฐานที่มีอยู่แล้วในสังคม ท้าทาย เปิดโปงความไม่เท่าเทียมในระเบียบสังคมเพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น นัยหนึ่งคือการขัดเกลาทางสังคมแบบประชาธิปไตยที่ต้องประกอบไปด้วยการปลูกฝัง และการต่อต้านการปลูกฝังควบคู่กันไป

จาสมินยังระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา ผ่านการถูกยึดเป็นอาณานิคม ทั้งสภาพภูมิประเทศยังถูกขนาบด้วยมาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นเกาะที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเลย ดังนั้นการเรียนการสอนจึงปลูกฝังให้นักเรียนเห็นถึงความเปราะบางของประเทศที่ตั้งอยู่บนความตึงเครียดจากปัจจัยหลายประการ โดยถือว่าหน้าที่ของความเป็นพลเมืองคือการทำประโยชน์ให้กับชาติ และรับผิดชอบตัวเองให้ได้เสียก่อน เรื่องสิทธิเป็นสิ่งที่ตามมาเพื่อคงไว้ซึ่งระเบียบและความสามัคคีในชาติ สิงคโปร์มีคุณค่าที่ยึดถือร่วมกัน 5 ประการ ได้แก่

  • ชาติมาก่อนชุมชนและตนเอง

  • ยึดสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม

  • สนับสนุนชุมชน และเคารพสิทธิส่วนบุคคล

  • มุ่งหาฉันทามติ ไม่ใช่ความขัดแย้ง

  • ความสมานฉันท์ระหว่างเชื้อชาติและศาสนา

การชุมนุมโดยผิดกฎหมายและการประท้วงเป็นสิ่งที่ถูกห้าม การแสดงออกจะถูกจัดให้กระทำตามรูปแบบที่รัฐบาลจัดให้

จาสมินยังพูดถึงหลักการศึกษาแห่งชาติ 6 ข้อ ดังนี้

  • สิงคโปร์คือบ้านเกิดเมืองนอนของเรา

  • เราต้องรักษาความสมานฉันท์แห่งศาสนาและเชื้อชาติ

  • เราต้องเชิดชูระบบคุณธรรมและการต่อต้านคอร์รัปชัน

  • สิงคโปร์ไม่ได้เป็นหนี้บุญคุณใคร เรารอดได้ด้วยตัวเอง

  • พวกเราต้องปกห้องสิงค์โปร์

  • พวกเราเชื่อมั่นในอนาคตของเรา ขับเคลื่อนชาติไปร่วมกัน

นักการศึกษาจากสิงคโปร์เล่าแนวทางการสอนวิชาสังคมศึกษาในสิงคโปร์ว่า สิงคโปร์มุ่งสร้างแนวคิดเชิงวิพากษ์และความคิดปลายเปิดที่มีพื้นที่ให้การตีความ และให้นักเรียนตกผลึกความคิดได้เอง หลักสูตรอิงอยู่กับคุณค่า 2 ประการได้แก่ "ความมีรากเหง้า (Being Rooted)" และ "มีความสากล (Being Global)" ต้องการให้นักเรียนเป็นคนสร้าง และรักษาสังคมที่เหนียวแน่น ความก้าวหน้าทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีทักษะทางความคิดสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเอง มีอัตลักษณ์ร่วมแห่งชาติและมุมมองที่เป็นสากลไปพร้อมกัน และความเป็นพลเมืองที่พร้อมให้ความร่วมมือกับสังคมพหุเชื้อชาติและศาสนา

จาสมินระบุว่า การมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยความรักชาติเชิงวิพากษ์ ทำให้คนสิงคโปร์นึกถึงคนที่แต้มต่อในสังคมด้อยกว่าคนอื่นด้วยเพื่อร่วมพัฒนาให้สังคมดีขึ้นไปด้วยกัน พร้อมยังยกตัวอย่างวิธีการสอนในห้องเรียน ที่ครูเปิดวงอภิปรายโดยเล่นบทเป็นคนปลุกปั่นนักเรียนด้วยคำถามเชิงยั่วยุหลายประการ เพื่อทำให้ห้องเรียนมีความเคลื่อนไหว เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็นผ่านการถาม-ตอบ เช่น ยกประเด็นการให้สิทธิผู้แต่งงานในด้านที่อยู่อาศัยตามนโยบายสนับสนุนให้คนมีลูก โดยมีคำถามในเรื่องความเหมาะสมของมาตรการ ใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ นโยบายนี้จะทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งสุดท้ายครูสรุปให้นักเรียนเห็นถึงความยากลำบากของรัฐบาลในการนำนโยบายมาปฏิบัติจริง

นักการศึกษาได้สรุปข้อสังเกตทั่วไปของแนวทางการสอนวิชาสังคมศึกษา เธอพบว่าหลักสูตรถูกกำหนดโดยรัฐ แต่ว่าออกแบบให้เป็นประชาธิปไตยและเน้นให้เกิดความสมานฉันท์ พยายามทำให้เห็นว่ามุมมองของรัฐบาลนั้นมีความเป็นเหตุเป็นผล มุ่งให้ผู้เรียนขับเคลื่อนกิจกรรมใดๆ ตามระบบมากกว่าจะให้มีการท้าทายระบบ ตัวครูอาจารย์ก็มีความยืดหยุ่นในการสอน แต่เน้นการวิพากษ์

หลังการนำเสนอของจาสมิน โจแอลกล่าวว่า เมื่อเรากล่าวถึงความเป็นชุมชนนั้นมีนัยถึงการหมายรวมคนกลุ่มหนึ่งและกีดกันคนอีกกลุ่มออกจากสังคม เพราะชุมชนนั้นถูกกำหนดด้วยเขตแดนว่าใครอยู่ใน และนอกชุมชน การปลูกฝังความรักชาตินั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้คนในชาติมองคนอื่นด้อยกว่า หรือเป็นคนอื่นไกลไป

ในขณะที่เดวิดกล่าวว่า ความรักชาตินั้นเป็นชาตินิยมของคนโง่ การรักประเทศไม่ใช่เรื่องผิด แต่ว่าตอนนี้พวกเราอาศัยอยู่ในสังคมโลก มนุษย์ควรจะรักกันและกันด้วยเช่นกัน

จาสมินให้ความเห็นว่า ความรักชาติเชิงวิพากษ์มุ่งหาความเป็นประชาธิปไตยที่มากขึ้นและพัฒนาโครงสร้างที่มีให้ดีขึ้น ถือเป็นมุมมองทางเลือกอีกทางที่ทำให้นักเรียนมีความคิดเชิงวิพากษ์ ซึ่งการนำไปใช้ต้องมองบริบทต่างๆ ให้ดี

ประชาธิปไตยมีตื้นลึกหนาบาง ถ้าครูยังตื้นเขินจะสร้างเด็กได้อย่างไร

(ยืน): เดวิด ซินเจอร์

ในหัวข้อ "พลเมืองเชิงวิพากษ์ สำหรับสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาประเทศออสเตรเลีย" พูดโดยเดวิด ซินเจอร์ อาจารย์และนักวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย

นักการศึกษาจากออสเตรเลียกล่าวถึงคุณสมบัติของครูในด้านประชาธิปไตย โดยจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ครูที่มีมุมมองประชาธิปไตยตื้นเขิน และครูที่มีมุมมองประชาธิปไตยลึกซึ้ง

ครูที่มีมุมมองประชาธิปไตยตื้นเขิน จะมุ่งอธิบายกลไกการเลือกตั้ง การเชื่อมโยงห้องเรียนกับสังคมไม่ได้ยึดถือเรื่องการตั้งคำถามเพื่อค้นหาปัญหาที่มี จัดการเรียนรู้เชิงให้บริการ (Service-learning) โดยไม่ยึดโยงอยู่กับหลักสูตรและประสบการณ์ทางการศึกษา และมองการเลือกข้างเป็นอคติ มองการรับอุดมการณ์ความคิดเป็นเรื่องการเมืองสกปรก และหลีกเลี่ยง หรือพยายามขจัดการถกเถียง

ส่วนครูที่มีมุมมองประชาธิปไตยลึกซึ้งจะรู้ว่าความรู้เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างขึ้น ปฏิเสธรูปแบบการสอนที่ครูคือคนเอาความรู้ไปใส่ให้เด็กเหมือนเอาเงินไปฝากธนาคาร พยายามกระตุ้นให้นักเรียนได้สัมผัสกับความเป็นจริง ปัญหาและกลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลายนอกเหนือไปจากสิ่งที่กระแสหลักนำเสนอ เชื่อมโยงการเรียนรู้เชิงให้บริการกับประสบการณ์การศึกษาและหลักสูตรอย่างลึกซึ้ง เข้าใจการเป็นกลางคือการเข้าข้างฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่า และเปิดพื้นที่ให้มีการอภิปราย เข้าใจว่าการขาดการถกเถียงเชิงวิพากษ์จะนำไปสู่การสร้างพลเมืองเชิงรับที่อดทนต่อความอยุติธรรมและบ่มเพาะความเกลียดชังเอาไว้

เดวิดกล่าวว่า พลเมืองในความคิดของตนมีอยู่ 4 ประเภท

  • พลเมืองเชิงรับ คือพลเมืองที่ไม่สนใจอะไร

  • พลเมืองที่ตื่นตัว คือพลเมืองที่เข้าใจหน้าที่ตนเองและมีส่วนร่วมกับชุมชน

  • พลเมืองที่ใส่ใจความยุติธรรม คือพลเมืองที่กังวลกับความอยุติธรรมภายใต้โครงสร้างสังคมที่เป็น

  • พลเมืองที่เคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรม คือพลเมืองที่ไม่ได้หยุดแค่ตั้งคำถาม แต่ทำอะไรบางอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นทันที

เดวิดทำโครงการวิจัยชื่อ Global Doing Democracy ศึกษาจากกลุ่มอาจารย์และนักวิชาการทั่วโลกเรื่องมุมมองของประชาธิปไตยและการศึกษาที่สร้างเสริมความเป็นประชาธิปไตย เดวิดยกตัวอย่างประเทศประชาธิปไตย 2 ประเทศได้แก่สหรัฐฯ และออสเตรเลีย โดยผลวิจัยพบว่า กลุ่มครูของสองประเทศนี้เชื่อมั่นว่าประเทศตนเองเป็นประชาธิปไตย แต่กลุ่มนักวิชาการมีความสงสัย และไม่เชื่อว่าประเทศตนเป็นประชาธิปไตย เพราะมองว่ายังมีการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนในประเทศอยู่ เดวิดจึงตั้งคำถามว่า แท้จริงๆแล้วประชาธิปไตยประกอบจากอะไรบ้าง แล้วมีไว้สำหรับใครกันแน่ ทั้งที่ประชาธิปไตยนั้นไม่สามารถแยกออกจากความยุติธรรมได้อยู่แล้ว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสนอยกเลิกให้งบ ส.ส.-ส.ว.ไปดูงานเมืองนอก

Posted: 24 Jun 2017 06:16 AM PDT

ประธาน กมธ.ขับเคลื่อนปฏิรูปการเมือง สปท. เผยชงปฏิรูปงานรัฐสภา เลิกจัดสรรงบไปดูงานต่างประเทศของ กมธ. ส.ส.-ส.ว. หลังพบแฝงไปเที่ยว พร้อมเสนอเลิกจัดหาโน้ตบุ๊ก อ้างมีสมาร์ทโฟนกันอยู่แล้วจะไปซื้อให้สิ้นเปลืองทำไม 

 
24 มิ.ย. 2560 ASTV ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่านายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวว่า ในการประชุม สปท.วันที่ 27มิ.ย. กมธ.จะเสนอรายงานการปฏิรูปการปฏิบัติงานในรัฐสภาให้ที่ประชุม สปท.ให้ความเห็นชอบ โดยสาระสำคัญ คือการปฏิรูปการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา รวมทั้งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาที่มีหน้าที่สนับสนุนการทำงานฝ่ายนิติบัญญัติให้เกิดประสิทธิ ภาพในทางปฏิบัติ อาทิ การเสนอยกเลิกการจัดสรรงบประมาณการศึกษาดูงานต่างประเทศของคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ
       
นายเสรี กล่าวว่า เนื่องจากที่ผ่านมา กมธ.ทั้งสองสภามักจัดสรรงบประมาณจำนวนมากไปดูงานต่างประเทศแต่ละปีหลายครั้ง โดยใช้ภาษีของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติพบว่า แฝงการไปท่องเที่ยว จึงควรยกเลิกการดูงานต่างประเทศทั้งหมด หากกมธ.คณะใดอยากไปดูงานต่างประเทศต้องออกงบประมาณเอง ยกเว้นการเดินทางไปประชุมองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ หรือประชุมทวิภาคีระหว่างรัฐสภาต่างประเทศให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเดินทางไปราชการโดยเคร่งครัด นอกจากนี้ยังเสนอให้ยกเลิกการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวแบบพกพาให้แก่สมาชิกรัฐสภาด้วย เนื่องจากสมาชิกรัฐสภาทุกคนมีสมาร์ทโฟนที่มีคุณภาพเทียบเท่าเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่รัฐสภาจัดให้สมาชิกอยู่แล้ว หากไปจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อีกจะสิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์
       
นายเสรีกล่าวว่า ขณะเดียวกัน กมธ.ยังมีข้อเสนอเรื่องการสร้างมาตรฐานจริยธรรมสมาชิกรัฐสภา โดยเสนอให้มีการตราข้อบังคับเกี่ยวกับประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยระบุให้ชัดเจนว่าพฤติการณ์แบบลักษณะใดเป็นการผิดจริยธรรมที่ร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง รวมทั้งจะมีบทลงโทษเช่นใดบ้าง เพราะที่ผ่านมาประมวลจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาขาดความชัดเจนในการปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม เพราะไม่ได้กำหนดระดับความร้ายแรงของการกระทำฝ่าฝืนจริยธรรมและบทลงโทษที่ชัดเจนไว้ ดังนั้นจึงควรมีการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมให้ชัดเจน หลังจากเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว โดยนำมาตรฐานจริยธรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญวางมาตรฐานกลางไว้มาบังคับใช้ ทั้งนี้กมธ.มีข้อเสนอขั้นตอนการลงโทษการกระทำผิดจริยธรรมตามระดับความร้ายแรงดังนี้ 1. กรณีฝ่าฝืนจริยธรรมไม่ร้ายแรงอาทิ การขาดประชุม การเซ็นชื่อโดยไม่เข้าประชุม ให้มีบทกำหนดโทษว่ากล่าวตักเตือน และให้ผู้ฝ่าฝืนลงนามรับรองการฝ่าฝืนในครั้งนั้น เป็นลายลักษณ์อักษร หากมีการฝ่าฝืนจริยธรรมเกิดขึ้นอีก ผู้ฝ่าฝืนต้องแสดงความรับผิดชอบโดยการขอโทษต่อที่ประชุมสภา หากยังกระทำผิดมากกว่าสองครั้งขึ้น ถือเป็นการกระทำผิดซ้ำซาก ถือว่าเข้าข่ายกระทำผิดร้ายแรง
       
นายเสรีกล่าวว่า 2.กรณีฝ่าฝืนจริยธรรมที่ร้ายแรง เช่น การเสียบบัตรแทนกัน การใช้ความรุนแรงชกต่อย การขว้างปาสิ่งของต่าง ๆ หรือการแสดงพฤติกรรมคุกคามข่มขู่สมาชิกด้วยกันในห้องประชุมสภา รวมถึงพฤติกรรมประพฤติผิดศีลธรรมที่กระทบต่อชื่อเสียงเกียรติภูมิของการเป็นสมาชิกรัฐสภา ต้องถูกลงโทษทั้งทางประมวลจริยธรรม และทางสังคมควบคู่กันไปด้วย อาทิ การขอโทษต่อที่ประชุมสภา การตัดสิทธิต่างๆเช่นค่าเดินทาง ค่าตอบแทน การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รวมถึงการให้สื่อมวลชนเผยแพร่ข้อเท็จจริงการกระทำผิดให้สาธารณชนรับทราบโดยทั่วกัน นอกจากนี้ยังให้มีบทลงโทษทางแพ่งร่วมด้วย เช่น การปรับเงิน 1 แสน - 5 แสนบาท ทั้งนี้การจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมภายในองค์กรเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติตนของสมาชิกให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้คัดเลือกจากบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ประจักษ์ เป็นผู้ที่สมาชิกให้ความเคารพศรัทธาโดยใช้มติเสียงข้างมากของที่ประชุมสภา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เจ้าหน้าที่คุมเข้มพื้นที่ครบรอบ 85 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง

Posted: 24 Jun 2017 02:59 AM PDT

24 มิ.ย. 2560 สำนักข่าวไทย รายงานว่าเจ้าหน้าที่คุมเข้มพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ลานพระบรมรูปทรงม้าจัดกิจกรรม เนื่องในวันครบรอบ 85 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 โดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เดินทางมาตรวจสอบความเรียบร้อยด้วย ขณะที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 2516 ก็ไม่มีการจัดกิจกรรมใด ๆ เช่นกัน (จนถึงเวลา 15.00 น.)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวบ้าน อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ฮือต่อต้านโรงกำจัดขยะ

Posted: 24 Jun 2017 12:11 AM PDT

ชาวบ้านเมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ฮือต่อต้านโรงกำจัดขยะ หวั่นมลพิษ กระทบระบบนิเวศ ชีวิตสัมพันธ์ คน และสัตว์ พื้นที่ป่าสงวน

 
 
น.ส.ดวงพร บุญครบ รอง ผวจ.สุรินทร์ พบกับตัวแทนชาวบ้าน ที่ยื่นข้อร้องเรียนคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงกำจัดขยะ 
 
24 มิ.ย. 2560 ชาวบ้าน บ้านหนองตาด ต.เมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ รวมตัวยื่นหนังสือร้องเรียน ผวจ.สุรินทร์ คัดค้านการประชุมเรื่องโครงการก่อสร้างโรงกำจัดขยะ โดยเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) เกรงเกิดผลกระทบตามมาโดยตรงจากระบบนิเวศ ซึ่งจะสร้างอยู่ใกล้วัด สถานศึกษา โรงพยาบาล เทศบาลตำบลเมืองแก และใกล้บ้านเรือนราษฎรที่พักอาศัย จึงได้ยื่นหนังสือร้องคัดค้านไม่เอาโรงกำจัดขยะ หวั่นมลพิษ กระทบระบบนิเวศ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานมาว่า ที่ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ มีตัวแทนชาวบ้าน บ้านหนองตาด ตำบลเมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ประมาณ 20 คน ได้เดินทางมายังศูนย์ดำรงธรรม เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านไม่เอาโครงการก่อสร้างโรงกำจัดขยะ โดยเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) เกรงเกิดผลกระทบตามมาโดยตรงจากระบบนิเวศ ซึ่งจะสร้างอยู่ใกล้ชุมชนจึงได้ยื่นหนังสือร้องคัดค้านไม่เอาโรงกำจัดขยะ ต่อ ผวจ.สุรินทร์
 
ต่อมาได้มี น.ส.ดวงพร บุญครบ รอง ผวจ.สุรินทร์ ได้เดินทางมาพบกับตัวแทนชาวบ้าน บ้านหนองตาด ตำบลเมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ โดยมี นายเมตต์ แสงจันทร์ นายอำเภอท่าตูม และ นายสิรินเทพ ร่วมพัฒนา นายกเทศมนตรีเทศบาลอำเภอท่าตูมมาอยู่ในที่ประชุมที่ห้องไกล่เกลี่ยศูนย์ดำรงธรรมด้วย
 
นายเมตต์ แสงจันทร์ นายอำเภอท่าตูม ได้เล่าเรื่องที่ชาวบ้านมายื่นหนังสือร้องเรียน ได้มายื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโรงกำจัดขยะ โดยเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ให้กับทางอำเภอก่อนหน้านี้ เพราะเกรงอาจเกิดผลกระทบตามมา จึงรับหนังสือไว้ แต่ชาวบ้านต้องการยื่นหนังสือให้กับจังหวัดด้วย
 
นายสิรินเทพ ร่วมพัฒนา นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าตูมได้ชี้แจ้งเรื่องการประชุมก่อสร้างโรงกำจัดขยะ โดยเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ซึ่งยังไม่มีการขับเคลื่อนไดๆทั้งสิ้นเลย มีแต่การประชุมพบปะกันเท่านั้น
 
ส่วนนายอุบล กระโจมทอง หนึ่งในตัวแทนชาวบ้านหนองตาด ตำบลเมืองแกบอกว่า ตนเองและคณะชาวบ้าน ทราบว่าทางจังหวัดได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษาความพร้อมในการจัดหาสถานที่กำจัดขยะ โดยเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) และแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอำเภอท่าตูมจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 โดยมีเทศบาลอำเภอท่าตูมรับไปดำเนินการ ซึ่งราษฎรตำบลเมืองแก เมื่อทราบข่าวก็พากันตกใจ และมีความกังวลใจ ถ้าสร้างขึ้นมาจะมีผลกระทบในสิ่งต่างที่จะตามมา คือ โรคทางเดินหายใจ, โรคติดต่อจากแมงวันเป็นพาหะนำเชื้อโรค, โรคทางน้ำ ซึ่งน้ำจะไหลจากบ่อขยะผ่านบ้านหนองขาม, บ้านหนองคูใหญ่, ลงสู่ห้วยระวี, ลงสู่แม่น้ำมูล, ไหลผ่านตลาดอำเภอท่าตูม, ผลกระทบจากการทำนาข้าวของเกษตรกรชาวนา ที่มีที่นาใกล้บริเวณบ่อขยะ และทางน้ำไหลผ่านจะทำนาไม่ได้ และสัตว์เลี้ยง กับสัตว์ป่าที่ยังพอมีอยู่จะติดเชื้อจากขยะ
 
และการประชุมกันไปแล้วที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลท่าตูม เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา ตามหนังสือ สร.12181/ 1443 ทางอำเภอได้ส่งถึงเทศบาลตำบลเมืองแก และอีกทางหนึ่ง ทางอำเภอท่าตูมโทรศัพท์ถึงกำนันตำบลเมืองแกให้แจ้งต่อไปยังผู้ใหญ่บ้านมีการพบกันเรื่องการเข้าประชุมมีแต่เฉพาะ 4 หมู่บ้านเท่านั้น รวมทั้งเทศบาลตำบลเมืองแก รวมแล้ว 5 คนเท่านั้น ทั้งๆที่ มีราษฎรเกือบหมื่นคน จึงพร้อมใจกันมายื่นหนังสือคัดค้านการประชุมเรื่องโครงการก่อสร้างโรงกำจัดขยะ โดยเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) เกรงเกิดผลกระทบตามมาโดยตรงจากระบบนิเวศ ซึ่งจะสร้างอยู่ใกล้ชุมชน จึงได้ยื่นหนังสือร้องคัดค้านไม่เอาโรงกำจัดขยะ ซึ่งนางสาวดวงพร บุญครบ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ รับหนังสือร้องเรียนเอาไว้
 
น.ส.ดวงพร บุญครบ รองผวจ.สุรินทร์ บอกว่าเรื่องขยะนั้นทุกที่มีปัญหา ซึ่งทางจังหวัดได้ให้นโยบายเทศบาล ส่วนในเรื่องการก่อสร้างโรงกำจัดขยะนั้น ทางจังหวัดยังไม่มีเนื้อที่รองรับ และยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างได ๆ แต่ต้องรอให้มีเนื้อที่พอไม่มีผลกระทบ ทางจังหวัดก็จะดำเนินการแก้ไขต่อไป
 
นายอุบล กระโจมทอง หนึ่งในตัวแทนชาวบ้านบอกว่าที่มายื่นหนังสื่อนั้น ครั้งแรกได้ยื่นหนังสือให้กับนายอำเภอ และท่านายอำเภอเมตรานำมาพบกับรองผู้ว่าดวงพร ซึ่งชาวตำบลเมืองแก่ไม่เอาบ่อขยะ ซึ่งรองผู้ว่าก็รับปากว่าจะยังไม่ขับเคลื่อนโครงการนี้ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งนี้ยังมีสัตว์ป่าอยู่บ้าง ถ้าสร้างขึ้นมามีผลกระทบต่อชาวบ้านแล้วสัตว์เลี้ยงสัตว์ป่าแน่นอนชาวตำบลเมืองแกไม่เอาแน่นอน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายปฏิรูปตำรวจหนุนข้อเสนอ 'ประยุทธ์' ห้ามตำรวจนำตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าว

Posted: 23 Jun 2017 11:53 PM PDT

เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจออกแถลงการณ์สนับสนุนข้อเสนอนายกรัฐมนตรีที่สั่งห้ามตำรวจนำตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าว และขอให้เร่งปฏิรูปตำรวจและระบบงานสอบสวน

 
24 มิ.ย. 2560 เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (คป.ตร.) ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนข้อเสนอนายกรัฐมนตรีที่สั่งห้ามตำรวจนำตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าว และขอให้เร่งปฏิรูปตำรวจและระบบงานสอบสวน โดยระบุว่กรณี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี ได้สั่งห้ามมิให้ตำรวจนำตัวผู้ต้องหาคดีต่างๆ มาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอีกต่อไปนั้น
 
คป.ตร.ขอขอบคุณและสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว ที่เห็นและเข้าใจว่าการปฏิบัติของตำรวจต่อผู้ต้องหาในการสอบสวนที่นิยมทำกันมาอย่างยาวนานนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง  โดยเฉพาะไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรรคสองและทุกฉบับ ที่บัญญัติว่า " ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้" แต่ตำรวจผู้ใหญ่ก็ไม่เคยนำพาต่อกฎหมายสูงสุดของประเทศดังกล่าว 
 
แม้จะมีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 855/ 2548 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข่าว การแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์ การเผยแพร่ภาพต่อสื่อมวลชน และแก้ไขเป็นคำสั่งที่ 465 / 2550 ห้ามอนุญาตหรือจัดให้สื่อมวลชนทุกแขนง ถ่ายภาพ หรือให้ข่าวของผู้ต้องหา แต่ยังคงเปิดช่องยกเว้นให้อ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งคดี หรือหากได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหาและเหยื่ออาชญากรรม ซึ่งตามข้อเท็จจริง ผู้ต้องหาทุกคนที่ถูกจับล้วนตกอยู่ในสภาพกดดันไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และความยินยอมในสภาวะดังกล่าว แท้จริงคือการจำยอม ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจอย่างแท้จริง
 
ส่วนข้ออ้างเพื่อประโยชน์แห่งคดีนั้น การนำผู้ต้องหามาแถลงข่าว ก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสอบสวน ซ้ำยังส่งผลกระทบต่อการพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการ แม้กระทั่งการพิจารณาของศาลด้วย เนื่องจากสังคมได้ถูกตำรวจทำให้เชื่อว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำผิดโดยปราศจากข้อสงสัย ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว พนักงานสอบสวนจะไม่กระทำทำเช่นนี้เป็นอันขาด
 
นอกจากนั้น การที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีวิทยุด่วนที่สุด 0001(ศปก.ตร.)/96 กำชับการปฏิบัติในการนำตัวผู้ต้องหาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ เท่ากับตอกย้ำว่า ตำรวจได้ละเลยและฝ่าฝืนคำสั่งของตัวเองในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นการปฏิบัติอีกเรื่องที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม เนื่องจากหลายกรณีเมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาชั้นศาลและพิพากษายกฟ้อง นอกจากความเสียหายที่เกิดกับตัวผู้ต้องหาในการนำมาแถลงข่าวประจานหรือทำแผนประทุษกรรมยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวอย่างร้ายแรง โดยไม่มีการแสดงความรับผิดชอบ และไม่สามารถคืนความยุติธรรมให้กับผู้บริสุทธิ์และได้รับผลกระทบเหล่านั้นได้
 
การสั่งห้ามของนายกรัฐมนตรีดังกล่าว จึงเป็นการยุติการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในการสอบสวนของตำรวจลงอย่างเด็ดขาด ซึ่งประชาชนจะไม่ยอมทนเห็นการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาในลักษณะที่ป่าเถื่อนดังกล่าวอีกต่อไป และการนำผู้ต้องหาไปทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพก็ควรห้ามมิให้กระทำด้วยเช่นกัน 
 
นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรี ควรเร่งปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศในชั้นสอบสวนให้เป็นมาตรฐานสากลเป็นที่เชื่อถือยอมรับของประชาชน ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังนี้ 1. ให้พนักงานอัยการมีอำนาจตรวจสอบควบคุมการสอบสวนคดีอาญาสำคัญ กรณีที่ประชาชนร้องเรียนว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นธรรมตั้งแต่เริ่มคดี 2. การออกหมายเรียกบุคคลมาแจ้งข้อหาหรือการเสนอศาลออกหมายจับ ให้กระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากพนักงานอัยการ 3. ให้มีการบันทึกภาพและเสียงการสอบสวนในการสอบปากคำผู้เสียหาย ผู้ต้องหาและพยานเก็บเป็นหลักฐานไว้ให้อัยการและศาลตรวจสอบได้เมื่อจำเป็นทุกคดี และ 4. ปรับระบบงานสอบสวนให้เป็นอิสระ โดยแยกออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ งานสอบสวนต้องไม่อยู่ในโครงสร้างองค์กรและระบบการบังคับบัญชาที่มีชั้นยศแบบทหาร ทั้งนี้ เพื่อสร้างหลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานและใช้ดุลยพินิจทางคดีได้ตามกฎหมายในลักษณะเดียวกับพนักงานอัยการ
 
คป.ตร. หวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อเสนอเพื่อยกระดับการสอบสวนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาชั้นต้นของประเทศให้มีเป็นที่เชื่อถือยอมรับของประชาชน และสอดคล้องกับมาตรฐานสากลเช่นเดียวกับประเทศที่เจริญทั่วโลกดังกล่าว จะได้รับการพิจารณาและดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วในรัฐบาลชุดนี้ 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 11-24 มิ.ย. 2560

Posted: 23 Jun 2017 11:03 PM PDT

ก.แรงงาน เผยสถิติคนไทยไปทำงานที่ไต้หวันมากสุดกว่า 3 พันคน
 
กรมการจัดหางาน เผยสถิติเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คนงานไทยนิยมไปทำงานไต้หวันมากที่สุด 3,375 คน คิดเป็นร้อยละ 37.14 ของจำนวนคนงานไทยที่เดินทางไปทำงานและฝึกงานในต่างประเทศ ซึ่งมีจำนวน 9,087 คน ขณะที่ยอดระงับการเดินทางของผู้ที่มีพฤติการณ์จะลักลอบไปทำงานในต่างประเทศ มีจำนวน 13 คน โดยระงับไปบาห์เรนมากที่สุดนายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า คนงานไทยยังนิยมไปทำงานต่างประเทศโดยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีคนงานไทย เดินทางไปทำงานและฝึกงานในต่างประเทศผ่านด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ จำนวน 9,087 คน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 22.90 ซึ่งมีจำนวน 7,390 คน โดยไปทำงานไต้หวันมากที่สุด 3,375 คน รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 1,070 คน อิสราเอล 801 คน ญี่ปุ่น 668 คน ตามลำดับ ขณะที่มีการระงับการเดินทางของผู้ที่มีพฤติการณ์จะลักลอบไปทำงานในต่างประเทศ และให้การยอมรับว่าจะไปทำงานในต่างประเทศ รวม 13 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนน้อยลง คิดเป็นร้อยละ 56.67 ซึ่งมีจำนวน 30 คน โดยประเทศที่ถูกระงับการเดินทางมากที่สุดเป็นบาห์เรน รองลงมาเป็น สิงคโปร์ อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นายวรานนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีการหลอกลวงคนหางานผ่านสื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก จึงขอย้ำเตือนอีกครั้งว่าการไปทำงานต่างประเทศจะต้องไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีใบอนุญาตทำงาน มีสัญญาจ้างที่ผ่านการรับรองสัญญาจ้างจากหน่วยงานภาครัฐของทั้งสองประเทศ ใช้วีซ่าท่องเที่ยวในการทำงานไม่ได้ เพื่อป้องกันการหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ จึงขอให้ตรวจสอบกับกรมการจัดหางานก่อน โดยสอบถามข้อมูล แจ้งเรื่องร้องทุกข์หรือแจ้งเบาะแสการหลอกลวงคนหางานได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัดสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน โทร. 0-2248-2278 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694
 
 
เผยมีแรงงานเด็กต่างด้าวทำประมง 55%
 
ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เนื่องในวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลก นำโดยมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (แอลพีเอ็น) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาและแถลงข่าว ในหัวข้อ"แรงงานเด็กในภาคการประมงและอุตสาหกรรมอาหารทะเลยังมีอีกไหมในสังคมไทย และโจทย์ท้าทายการแก้ไขปัญหา" โดยในงานมีเด็กนักเรียนจากโรงเรียน วัดศรีสุทธาราม จ.สมุทรสาคร จำนวน 15 คนเข้าร่วมกิจกรรมด้วย โดยนางสุภางค์ จันทวานิช นักวิชาการ กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กไทยที่อยู่ในแรงงานประมงมีน้อยมากส่วนมากจะเป็นแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเด็กที่ทำงานในการประมงนั้นมีสูงถึงร้อยละ 55 ความจริงเด็กไม่สามารถทำงานบนเรือได้เนื่องจากงานหนัก จึงมองว่าทางเลือกของการที่จะไม่ให้เด็กเข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันควร คือการศึกษาแต่ก็ไม่ใช่ทางเลือกเดียว อาจมีการกำหนดให้เด็กทำงานได้ในอุตสาหกรรมอากหารทะเลได้ แต่ต้องเป็นงานที่ไม่หนัก จะสามารถทำให้ตัวเด็ก ครอบครัวพอใจ รวมถึงรัฐสามารถรักษากติกาไว้ได้
 
ขณะที่นายสายชล แจ่มแจ้ง ตัวแทนจากกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การกำจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายของประเทศไทยมีความก้าวหน้า มีการปรับปรุงกฎหมาย อาทิ การแก้ไขกฎหมายแรงงานในแง่ของการเพิ่มโทษนายจ้างที่ใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด เดิมปรับไม่เกิน 2 แสนบาทต่อลูกจ้าง 1 คน หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี แก้ไขเป็นปรับตั้งแต่ 4-8 แสนบาทต่อลูกจ้าง 1 คน หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี นอกจากนี้ยังมีการร่างกฎกระทรวงขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกำหนดการประมงปี 2558 เช่น กำหนดสถานที่่่ห้ามนายจ้างห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงาน เพื่อเป็นการคุ้มครองไม่ให้นายจ้าง จ้างแรงงานเด็กที่อายุต่ำกว่ากฎหมายกำหนด
 
ด้านนายสุรพงษ์ กรองจันทึก นักสิทธิมนุษยชนและนักกฎหมาย กล่าวว่า ยังมีการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ จึงต้องทำทุกทางเพื่อกันเด็กไม่ให้เข้าสู่แรงงาน อาจแก้ปัญหาโดยการนำแรงงานเด็กต่างชาติเข้าสู่โรงเรียน และจะเกิดคำถามตามมาว่าเหตุใดต้องนำแรงงานต่างชาติเหล่านี้เข้าสู่โรงเรียน หรือต้องนำภาษีคนไทยมาดูแลแรงงานเหล่านี้ ซึ่งคำตอบคือภาษีไม่ได้มีไว้เพื่อคนที่จ่ายและแรงงานต่างชาติที่มาไทยไม่ว่าจะถูกหรือไม่ถูกกฎหมาย ถ้าทำงานมีรายได้ต้องเสียภาษีทางตรงและทางอ้อมเหมือนคนไทยทุกประการ ดังนั้นแรงงานต่างชาติต้องได้รับการบริการของรัฐไทยในด้านสิทธิมนุษยชนหรือสิทธิขั้นพื้นฐาน
 
จากนั้นเวลา 12.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการแถลงข่าวของกลุ่มมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตฯ เรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ประกอบการ ว่า ปัจจุบันมีกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า18 ในการประมงแต่อาจมีแรงงานเด็กหลงเหลืออยู่ ดังนั้นหน่วยงานรัฐต้องประชาสัมพันธ์ให้สังคมทราบ และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ทำผิดอย่างจริงจัง ด้านผู้ประกอบการ และพ่อแม่ของแรงงานเด็กต้องมีความรู้เรื่อการใช้แรงเด็ก รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาจะต้องต้องนำเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา และ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะต้องทำเอกสารแสดงตัวแรงงานเด็กข้ามชาติที่ถูกต้องให้เด็กเหล่านี้ด้วย
 
 
เวสเทิร์นดิจิตอล เตรียมจ้างงานคนไทยเพิ่ม 2,500 คน
 
บีโอไอเผยกลุ่มเวสเทิร์น ดิจิตอล ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ชูไทยเป็นฐานผลิตของโลก สร้างมูลค่าการส่งออกเพิ่มกว่า 3 หมื่นล้านบาท จ้างแรงงานไทยเพิ่ม 2,500 คน
 
นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (WD) หนึ่งในผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟรายใหญ่ของโลก ได้ขยายการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟของบริษัท เอชจีเอสที (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม WD ตั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เนื่องจากตลาดโลกมีความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
"กลุ่มบริษัท WD ขยายการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในประเทศไทย เพราะเล็งเห็นว่าไทยเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่สำคัญ โดยมีศักยภาพและมีแรงงานที่มีทักษะสูง และยังทำให้เกิดการจ้างงานรวมถึงช่างเทคนิค เพิ่มขึ้น 2,500 คน ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และคาดว่ามูลค่าการส่งออกของบริษัทจะเพิ่มขึ้นประมาณ 35,000 ล้านบาท" นางสาวอัจฉรินทร์กล่าว
 
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท WD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในประเทศไทยแล้วถึง 112 แห่ง ในการพัฒนาหลักสูตรและความรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา อย่างไรก็ตามปัจจุบันไทยมีผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟรายใหญ่ของโลกเข้ามาลงทุนในประเทศไทย 2 ราย คือ บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ทำให้เกิดการลงทุนมากกว่า 30,000 ล้านบาท
 
 
ทางการไทยในจีนช่วยสาวลำปางและเพื่อนคนไทยทั้ง 10 กลับบ้าน โดยจะสำรองจ่ายค่าปรับ-ตั๋วเครื่องบินคนละหกหมื่นกว่าบาท
 
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความคืบหน้ากรณีช่วยสาวชาวลำปางพร้อมเพื่อนชาวไทย 10 คน ถูกนายจ้างชาวจีนลอยแพที่ประเทศจีน ซึ่งล่าสุดนายสงบการณ์ มุ้งทอง เลขานุการเอก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ได้มารับทั้ง 10 คนจากสถานีรถไฟปักกิ่งไปพำนัก ณ สถานเอกอัครราชทูตกรุงปักกิ่งแล้ว และได้แจ้งกลับมายังจังหวัดลำปางว่ารายชื่อคนงานไทยที่เดินทางไปทำงานร้านสปานวดไทย ณ เมืองเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีนมี 10 คน เป็นชาวลำปาง 2 คน เชียงใหม่ 2 คน พะเยา 1 คน มหาสารคาม 1 คน นครสวรรค์ 1 คน ชัยภูมิ 1 คน และ กทม. 1 คน
 
การช่วยเหลือหลังจากนี้คือทางการจีนปรับค่าพำนักในประเทศแบบผิดกฎหมายคนละ 10,000 หยวน หรือประมาณ 50,000 บาท และค่าตั๋วเครื่องบินเดินทางกลับประเทศไทยคนละประมาณ 12,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดเบื้องต้นทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่งจะใช้เงินสำรองทางราชการในการดำเนินการพาคนไทยกลับมาก่อน หลังจากนั้นทุกคนจะต้องรับสภาพหนี้และผ่อนชำระคืนให้ทางราชการต่อไป
ขณะที่แรงงานจังหวัดลำปางก็ได้ย้ำเตือนแรงงานที่ต้องการไปหางานทำที่ต่างประเทศว่า ขอให้เดินทางไปกับบริษัทจัดหางานหรือกรมการจัดหางานอย่างถูกกฎหมาย เพราะหากเกิดปัญหาทางราชการจะได้ช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่ เพราะหากไปทำงานแบบผิดกฎหมายและเกิดปัญหาอาจจะไม่โชคดีเหมือน 10 คนนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือให้กลับประเทศไทยอย่างปลอดภัยก็เป็นได้
 
 
กสร. ดำเนินคดีนายจ้าง พระประแดง ฝืนกฎหมายความปลอดภัยฯ ทำลูกจ้างขนปลาเจ็บ
 
กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินคดีอาญานายจ้าง รับขนถ่ายสินค้าย่านพระประแดง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยฯ ส่งผลให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บ ขณะขนถ่ายปลาบนเรือบรรทุกปลาทะเล
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึง กรณีลูกจ้างต่างด้าวสัญชาติเมียนมา จำนวน 10 คน ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี บีเ อส ทรานสปอร์ต 2016 ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากสูดดมสารเคมีที่รั่วไหล ขณะขนถ่ายปลาบนเรือบรรทุกปลาทะเล สัญชาติปานามา ซึ่งจอดอยู่ที่ท่าเทียบเรือใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า กสร.ได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษนายจ้างรายนี้ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ฐานไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยฯ เนื่องจากไม่มีการแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานรวมทั้งไม่ได้จัดให้มีการอบรมลูกจ้างที่ต้องทำงานในสถานที่อับอากาศ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย
 
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 ทั้งนี้ ความผิดดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ตระหนักถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการประสบอันตรายจากการทำงาน เพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น 
 
 
สมาคมลูกจ้างฯ ร้อง "บิ๊กตู่" ขอรับค่าจ้างจากเงินงบประมาณ
 
19 มิ.ย. 2560 -เวลา 10.00 น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ฝั่งก.พ.) นายโอสถ สุวรรณ์เศวต เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมลูกจ้างของรัฐแห่งประเทศไทย (สสลท.) พร้อมสมาชิกกว่า 20คน ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ลูกจ้างชั่วคราวและพนักงานกระทรวงสาธารณสุขได้รับเงินค่าจ้างจากเงินงบประมาณโดยตรง
 
นายโอสถ กล่าวว่า ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้จ้างลูกจ้างชั่วคราวและพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเป็นรายวัน รายเดือน รวมถึงจ้างเหมาบริการ โดยใช้เงินนอกงบประมาณหรือเงินบำรุงของหน่วยบริการ จึงทำให้ลูกจ้างชั่วคราวไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการด้านต่างๆ เท่ากับการจ้างโดยตรงจากเงินงบประมาณ ซึ่งได้รับเพียงประกันสังคมเท่านั้น จึงขอเรียกร้องให้มีการปรับสถานะลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข และให้มีการเยียวยาค่าประสบการณ์ของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขตามอายุงาน 4 ช่วงคือ 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี ตามลำดับที่ สสลท. ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กับกระทรวงสาธารณสุขไปแล้ว
 
"หาก 30 วันไม่มีความคืบหน้าจะพากลุ่มตัวแทนสมาพันธ์ฯ มาพบกับนายกฯ อีกครั้ง ทั้งนี้ค่าแรงขั้นต่ำที่แรงงานต่างด้าวได้รับ ซึ่งรวมแล้วยังมากกว่าค่าแรง 30 วันของลูกจ้างชั่วคราวของโรงพยาบาลเสียอีก จึงอยากขอความเป็นธรรมให้ปรับสภาพการจ้างงานของเราให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดด้วย" นายโอสถ กล่าว
 
 
อุตสาหกรรมประมง โอดแรงงานขาด 74,000 คน เรือจอดนิ่งกว่า 4,000 ลำ เล็งบินถกพม่า นำเข้าคนถูกกฏหมาย
 
นายศราวุธ โถวสกุล รองประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า อุตสาหกรรมประมงทั่วประเทศกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจากการสำรวจ ณ วันที่ 12 มิ.ย.2560 พบว่า อุตสาหกรรมประมง ขาดแคลนแรงงานมากถึง 74,000 คน มีเรือประมงจอดนิ่งที่ท่าเรือกว่าร้อยละ 30 หรือ คิดเป็นจำนวนเรือกว่า 4,000 ลำ ซึ่งแนวทางการแก้ไขนั้น เห็นว่า วันที่ 29 มิ.ย. - 1 ก.ค.2560 กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปหารือกับรัฐบาลพม่า เพื่อนำเข้าแรงงานถูกกฏหมาย โดยภาครัฐได้กำหนดค่าแรงขึ้นต่ำของแรงงานประมง คือ เดือนละ 10,000 - 12,000 บาท หรือ 350 บาทต่อวัน พร้อมมีค่ารักษาพยาบาล รวมถึงที่พักตามความเหมาะสม พร้อมย้ำว่า หากไม่มีการนำเข้าแรงงานประมง ก็จะทำให้ราคาอาหารทะเล 3-4 เดือนข้างหน้า ปรับตัวสูงขึ้นอีกร้อยละ 50
 
 
ระวัง!! ถูกหลอกไปทำงานเก็บผลไม้ป่า "สวีเดน-ฟินแลนด์" เผยโควตาครบแล้ว
 
กรมจัดหางานเตือน "แรงงานไทย" ระวังถูกหลอกไปทำงานเก็บผลไม้ป่าที่ "สวีเดน-ฟินแลนด์" เผยปี 60 โควตาไปทำงานที่สองประเทศนี้ครบแล้ว 6.6 พันคน ไม่มีการเปิดรับสมัครเพิ่ม
 
นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีแรงงานไทยเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าประเภทผลเบอร์รี่ ได้แก่ ผลยู่ตรอน ผลบลูเบอร์รี่ และผลลินง่อน ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในแถบประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ ซึ่งมีประชาชนสนใจเดินทางไปทำงานกันเป็นจำนวนมากจึงอาจเป็นช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีชักชวนไปทำงานผ่านสื่อในช่องทางต่างๆได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันมิให้คนหางานเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง กรมการจัดหางานจึงขอแจ้งให้ทราบว่าในปี 2560 นี้ มีแรงงานไทยสมัครไปเก็บผลเบอร์รี่ที่ประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ครบตามจำนวนโควตาเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งสิ้น 6,618 คน
 
นายวรานนท์ กล่าวว่า ประเทศสวีเดนกำหนดโควตาคนงานเก็บผลไม้จำนวน 3,351 คน และประเทศฟินแลนด์กำหนดโควตา จำนวน 3,267 คน ซึ่งมีกำหนดเดินทางเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ ในปี 2559 ที่ผ่านมา กรมการจัดหางานได้จัดส่งแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน จำนวน 3,327 คน และประเทศฟินแลนด์ จำนวน 2,503 คน โดยคนหางานจะเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานประเทศสวีเดนรวมแล้วไม่เกินคนละ 75,000 บาท ส่วนประเทศฟินแลนด์มีค่าใช้จ่ายจำนวนคนละ 65,000 บาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายก่อนเดินทาง เช่น ค่าวีซ่า ค่าเดินทางภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ค่าประกันต่างๆ เป็นต้น
 
"ขอเตือนผู้ที่สนใจจะไปเก็บผลไม้ป่าในปี 2560 นี้ อย่าหลงเชื่อผู้มาชักชวนเพราะมีผู้สมัครไปเก็บผลไม้ป่าครบตามจำนวนโควตาแล้วและจะไม่มีการรับเพิ่มอีกแต่อย่างใด นอกจากนั้น ผู้ที่จะเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าต้องคิดให้รอบคอบ เพราะเป็นงานที่หนัก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการเก็บผลไม้และมีร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้น ทั้งยังอาจขาดทุนเพราะมีรายได้เหลือน้อยหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเก็บผลไม้ป่าในประเทศสวีเดน และฟินแลนด์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน โทร. 02 245 6499 และ 02 245 6714 หรือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทร.สายด่วนกรมการจัดหางาน 1694" นายวรานนท์ กล่าว
 
 
ประกันสังคมจ่ายชดเชย 1.5 แสน "หญิงท้อง" ตกรางแอร์พอร์ตลิงก์ดับ
 
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีน.ส.รสรินทร์ เปลี่ยนหล้า หญิงท้องที่ประสบอุบัติเหตุตกรางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ทับเสียชีวิต ช่วงสถานีบ้านทับช้าง เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ว่า ขณะนี้ สำนักงานประกันสังคมได้เร่งให้ความช่วยเหลือแล้ว โดยได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 ซึ่งรับผิดชอบสถานประกอบการที่ผู้ประกันตนทำงานอยู่ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและเร่งให้ความช่วยเหลือโดยทายาทผู้ประกันตนที่เสียชีวิตมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2537
 
"เบื้องต้นมีสิทธิได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท เงินสงเคราะห์กรณีตาย 30,000 บาท และเงินชราภาพอีก 78,549.79 บาท (ยังไม่รวมอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 148,549.79 บาท สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 ได้เร่งประสานให้ทายาทผู้ประกันตนที่เสียชีวิตติดต่อขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิตได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 หรือติดต่อสำนักงานประกันสังคมที่สะดวก ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว" นพ.สุรเดช กล่าว
 
 
รฟม.ตั้ง กก.คุมเข้มความปลอดภัยก่อสร้างรถไฟฟ้า คาดโทษ บ.เกิดอุบัติเหตุบ่อย มีผลต่อการจ้างงาน
 
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มมาตรการความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน นายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง รฟม. เปิดเผยว่า จากกรณีการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ที่มีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในวันนี้ รฟม.จึงได้มีการเชิญผู้แทนจากบริษัทผู้รับจ้างมาพูดคุยทำความเข้าใจ และหาแนวทางป้องกันแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นที่ผ่านมาอีกในอนาคต เพื่อเรียกความเชื่อมั่นและมั่นใจกับประชาชนที่ต้องสัญจรผ่านเส้นทางก่อสร้างในทุกๆ จุด โดยรฟม. ได้ข้อสรุปว่าจะตั้งคณะกรรมการการก่อสร้างปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารของรฟม. บริษัทผู้รับจ้างเช่นบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด (มหาชน) /บริษัท ยูนีค เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชัน จำกัด (มหาชน) /บริษัท ชิโน-ทัย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทที่ปรึกษา รวมถึงจะเชิญผู้แทนจากสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน โดยเน้นการลงตรวจพื้นที่ทุกจุดทั้งพื้นเปิดและพื้นที่ปิด รวมไปถึงพื้นที่บนพื้นผิวจราจรและใต้ดิน โดยใช้หลักเกณฑ์ เช่น การป้องกันการปลอดภัยทั้งตัวของผู้ทำงาน และการป้องกันการร่วงหล่นของวัสดุก่อสร้าง พร้อมกำชับบริษัทผู้รับจ้างให้จัดเจ้าหน้าที่ดูแลในพื้นที่ก่อสร้างตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ คาดว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะแต่งตั้งเสร็จภายในสัปดาห์นี้ และเริ่มดำเนินการทันทีหลังจากแต่งตั้งแล้วเสร็จ
 
ขณะเดียวกัน ในคณะกรรมการชุดนี้จะมีการหารือถึงบทลงโทษสำหรับผู้รับจ้างที่พบสถิติการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยจะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะมีการจ้างงานหรือไม่ในอนาคต แต่เบื้องต้นหากพบว่าพื้นที่ใดมีปัญหาจะมีคำสั่งให้ปิดพื้นที่และหยุดดำเนินการก่อสร้างทันทีจนกว่าจะดำเนินการแก้ไขสำเร็จ ซึ่งรฟม. จะไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนเกินในระหว่างที่ผู้รับจ้างไม่สามารถดำเนินการได้
 
 
กสร. เปิดเสนอชื่อเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
 
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เชิญชวนสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน คณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการ และสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ร่วมเสนอชื่อผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งและแจ้งชื่อผู้ลงคะแนนเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทน ฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร.จะดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบด้วย คณะกรรมการค่าจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน และคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง โดยได้กำหนดจำนวนผู้แทนในแต่ละคณะฝ่ายละ 5 คน รวม 30 คน ซึ่งจะมีวาระดำรงตำแหน่งคณะละ 2 ปี จึงขอเชิญชวนสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการและ สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปร่วมเสนอชื่อผู้แทนเป็นผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งทั้ง 3 คณะ ได้ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม 2560 และแจ้งผู้ลงคะแนนเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคีระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน ถึง 12 กรกฎาคม 2560 ในวันเวลาราชการ
 
อธิบดีกสร. กล่าวต่อไปว่า สามารถสมัครและส่งรายชื่อผู้ลงคะแนนเลือกตั้งได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัดตามที่องค์การจดทะเบียนที่ตั้งสำนักงาน สำหรับองค์การที่จดทะเบียนที่ตั้ง ณ จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม สามารถสมัครและส่งรายชื่อได้ที่สำนักแรงงานสัมพันธ์ ชั้น 2 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพมหานคร ได้ด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักแรงงานสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2246 8993 หรือwww.labour.go.th
 
 
คสรท. ช่วยลูกจ้างไทยซินฯ 111 คน ทวงสิทธิแรงงาน หลังบริษัทปิดกิจการ
 
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) พร้อมด้วย นายไพฑูรย์ บางหรง กรรมการบริหาร คสรท. ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก และผู้แทนจากสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมกับสหภาพแรงงานบริษัทบริติชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ สมาชิกประมาณ 40 คน
 
ได้ไปติดตามเรื่องการเยียวยาจากเหตุการณ์ของบริษัท บริติชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ ได้ปิดกิจการลงหลังจากศาลพิพากษาให้บริษัทล้มละลาย ทำให้คนงานทั้งหมดจำนวน 111 คน ซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิงทั้งที่เป็นแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติต้องถูกลอยแพคนงานโดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2560
 
นายสาวิทย์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาคนงานบริษัทบริติชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ ก็ได้พยายามหาวิธีการให้หน่วยงานของรัฐเข้ามาแก้ไขปัญหา ทั้งที่เป็นนายจ้าง หน่วยงานภาครัฐ คือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) และกรมบังคับคดี เพื่อให้หาแนวทางในการเยียวยาแก้ไขปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องคนงาน รวมทั้งการเขียนคำร้องเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และความพยายามก็เกิดขึ้นหลายครั้ง ในการประสานหน่วยงานต่างๆ แต่การแก้ไขปัญหาก็เป็นไปด้วยความล่าช้า
 
คสรท.เห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นเรื่องของการละเมิดสิทธิแรงงานอย่างรุนแรงที่นายจ้างกระทำต่อลูกจ้างโดยไม่รับผิดชอบใดๆ การบังคับใช้กฎหมายให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก และเรื่องดังกล่าวก็เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน ซึ่งทุกครั้งที่มีการติดตามเรื่องก็จะได้รับคำตอบว่านายจ้างล้มละลายจะให้ทำอย่างไร
 
แม้กระทั่งอำนาจหน้าที่ที่จะเยียวยาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานในการบรรเทาทุกข์ของคนงานจากเงินสงเคราะห์ลูกจ้างก็อ้างเรื่องสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตรวจสอบเรื่องการบริหารกองทุนที่มียอดเงินลดลง ทำให้มีปัญหาในการจ่าย
 
"อย่างไรก็ตามภายหลังจากการประชุมกรรมการบริหาร คสรท.เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ได้มีมติให้ คสรท.ร่วมกับสหภาพแรงงานบริษัทบริติชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ เร่งดำเนินการผลักดันเพื่อให้คนงานได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้โดยเร็วต่อไป ทั้งนี้จากการคิดตามเรื่องในวันนี้ สรุปว่า 1.อนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์ให้แก่คนงานไทยซึ่งจะได้รับประมาณคนละไม่เกิน 18,000 บาท
 
2.สำหรับแรงงานข้ามชาติประมาณ 20 คน ต้องไปตรวจสอบเอกสารการทำงานว่าถูกต้องหรือไม่หากมีเอกสารการทำงานและเดินทางมาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็มีสิทธิในการรับเงินสงเคราะห์แต่หากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีแค่ใบอนุญาตทำงานชั่วคราว(บัตรสีชมพู)ไม่สามารถจ่ายได้ ซึ่งจะนำมาพิจารณาอีกครั้งหลังตรวจสอบเอกสารแล้ว 3.การจ่ายเงินจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากรับฟังคำชี้แจงจากผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างแล้ว"ประธาน คสรท.กล่าว
 
 
เศร้าดับ 5 ศพ ตกบ่อบำบัดน้ำเสีย 'ซีพีเอฟ'
 
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 23 มิถุนายน ร.ต.อ ภูมิวัฒนา ฤทธิ์ทอง รองสารวัตร(สอบสวน) สน.บางนา ได้รับแจ้งเหตุมีผู้เสียชีวิต 4 ราย ภายในบ่อบำบัดน้ำเสีย บริษัทผลิตอาหาร ของบริษัท ซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ภายในซ.บางนา-ตราด 20 ถ.บางนา-ตราด ฝั่งขาเข้า แขวงและเขตบางนา กทม. จึงรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ แล้วไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพร้อมด้วยแพทย์นิติเวช รพ.จุฬาลงกรณ์ และมูลนิธิกู้ภัยร่วมกตัญญู
 
ที่เกิดเหตุภายในบริษัท ซีพีเอฟ จำกัด ซึ่งผลิตอาหารแปรรูปเกี่ยวกับอาหารสัตว์ปีกประเภท ไก่ เป็ด โดยจุดเกิดเหตุอยู่บริเวณบ่อพักน้ำเสียด้านหลังของโรงงาน ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำท่อออกซิเจน ลงไปที่ด้านล่างของบ่อพักน้ำดังกล่าว เพื่อเติมอากาศลงไปในการค้นหา โดยใช้เวลา 30 นาที จนพบร่างผู้เสียชีวิต เป็นชาย 2 ราย หญิง 2 ราย รวม 4 ราย อยู่บริเวณก้นบ้อบำบัด ซึ่งเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ
 
นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บอีก 1 ราย เจ้าหน้าที่รีบนำตัวส่ง รพ.บางนา 1 ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา เบื้องต้นทราบชื่อผู้เสียชีวิต คือ 1.นายสมพร บุญบาน พนักงาน 2.นายชาญชัย พันนาคิน พนักงาน 3.น.ส.ลักษชนก แสนทวีสุข พนักงาน 4.น.ส.หวาย (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นนิสิตคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย และ 5.นายชาตรี ศรีสันคร เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ก่อนนำศพผู้เสียชีวิตทั้ง 5 คน ส่งภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย เพื่อชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิตต่อไป
 
ต่อมาเวลา 14.00 น. วันเดียวกัน นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ซีพีเอฟ จำกัด กล่าวว่า วันนี้ (23 มิ.ย.) มีนักศึกษามาทัศนศึกษาดูงานภายในโรงงาน ในส่วนของขั้นตอนการพักน้ำเสีย จำนวน 2 คน โดยทางบริษัทมอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมเป็นคนนำนักศึกษาทั้ง 2 คน ดูขั้นตอนการทำงานต่างๆ จนเกิดเหตุนักศึกษา ซึ่งเป็นหญิงหนึ่งรายพลัดตกลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสีย ก่อนที่เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมคนดังกล่าวจะลงไปช่วยจนจมหายไป จากนั้นพนักงานอีก 3 คน ก็ลงไปช่วยอีกครั้ง จนเกิดเหตุการณ์สลดมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ถึง 5 คน
นายปริโสทัต กล่าวอีกว่า ตนยังไม่สามารถตอบถึงสาเหตุของการที่นักศึกษาดูงานรายนี้ตกลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสียดังกล่าวได้อย่างไร เพราะปกติในพื้นที่ดังกล่าวนี้จะเป็นพื้นหวงห้าม และมีระบบรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี โดยปกติปากท่อดังกล่าวจะมีฝาปิด เมื่อไม่ได้มีการใช้งาน แต่ในวันนี้ตนก็ไม่ทราบว่าในขณะเกิดเหตุฝาท่อมีการปิดหรือเปิดอยู่ ซึ่งบริเวณนั้นก็ไม่มีกล้องวงจรปิด หลังจากนี้ต้องสอบสวนถึงข้อเท็จจริงอีกครั้ง
 
นายปริโสทัต กล่าวด้วยว่า ตนขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต ซึ่งเบื้องต้นทางบริษัทจะช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตโดยการนำศพส่งกลับภูมิลำเนา และช่วยเหลือในลักษณะอื่นตามที่บริษัทเห็นสมควร
 
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเกิดเหตุ ทางบริษัทฯ ได้ทำการปิดรั้วบริเวณด้านหน้า พร้อมทั้งกั้นไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปภายในแต่อย่างใด โดยเฉพาะผู้สื่อข่าว
 
 
กกจ.รับสมัคร "ชายไทย" ทำงานเกษตรที่อิสราเอล ค่าจ้าง 4.8 หมื่นบาท/เดือน
 
กรมการจัดหางานเปิดรับสมัคร "ชายไทย" ไปทำงานภาคเกษตรที่อิสราเอล สัญญาจ้าง 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี 3 เดือน เงินเดือนขั้นต่ำ 48,000 บาท สมัครฟรีตั้งแต่วันที่ 3- 7 ก.ค. 2560 แต่คุณสมบัติต้องเข้าเกณฑ์
 
นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กรมฯ เปิดรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเพื่อไปทำงานภาคเกษตรในประเทศอิสราเอล ภายใต้โครงการ "ความร่วมมือไทย - อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน" (TIC) ตำแหน่งคนงานภาคเกษตร ระยะเวลาการจ้างงาน 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี 3 เดือน ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำก่อนหักภาษีเดือนละ 5,000 เชคเกลอิสราเอล หรือประมาณ 48,000 บาท (ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2560) คุณสมบัติเป็นเพศชาย ไม่มีประวัติอาชญากรรม ไม่มีคู่สมรส บุตร หรือบิดาและมารดา พำนักอยู่ในประเทศอิสราเอล และไม่เคยทำงานในประเทศอิสราเอล สุขภาพแข็งแรง ตาไม่บอดสี และไม่เป็นโรคต่าง ๆ เช่น วัณโรค โรคไวรัสตับอักเสบบี หรือซี โรคเอดส์ เบาหวาน ซิฟิลิส เป็นต้น ไม่เคยเสพสารเสพติดและมีประสบการณ์ทำงานภาคการเกษตร (ปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์)
 
หลักฐานในการสมัคร ได้แก่ ใบสมัครที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว รูปถ่ายสีครึ่งตัวพื้นหลังสีฟ้า ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป สำเนาหนังสือเดินทาง (ถ้ามี) จำนวน 2 ฉบับ บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา จำนวน 2 ฉบับ สำเนาสูติบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้าน ณ ปีที่เกิดของผู้สมัคร หรือ ท.ร.1/ก หรือหลักฐานแสดงผลการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.05) จำนวน 2 ฉบับ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล จำนวน 2 ฉบับ (ถ้ามี) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ฉบับ สำเนาหลักฐานการพ้นภาระการรับราชการทหาร (สด.8, สด.43) 2 ฉบับ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของภรรยาจำนวน 2 ฉบับ สำเนาเอกสารแสดงสถานภาพการสมรส (ถ้ามี) สำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ หรือรถบรรทุกจำนวน 2 ฉบับ (ถ้ามี) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลที่ติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน จำนวน 2 ฉบับ โดยให้ผู้สมัครลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในสำเนาหลักฐานทุกฉบับ
 
นายวรานนท์ กล่าวว่า ในปี 2560 ทางการอิสราเอลแจ้งความต้องการจ้างงานของนายจ้างอิสราเอลที่มีความประสงค์จ้างแรงงานไทยไปทำงานในภาคเกษตรประมาณ 4,963 อัตรา และขอย้ำเตือนว่า การจัดส่งไปทำงานอิสราเอลตำแหน่งคนงานภาคเกษตรกรในครั้งนี้ เป็นการจัดส่งโดยรัฐ ดังนั้นจึงอย่าหลงเชื่อผู้ไม่หวังดีหลอกเรียกรับเงินโดยอ้างว่าสามารถช่วยให้ไปทำงานได้ หากคนหางานใดสนใจติดต่อขอรับใบสมัครและยื่นใบสมัครด้วยตนเองพร้อมหลักฐานได้ที่กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 (สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้จากเว็บไซต์ของกรมการจัดหางานwww.doe.go.th/prdหรือเว็บไซต์ของกองบริหารแรงงานไทยไปต… www.doe.go.th/prd/overseas) ได้ตั้งแต่วันที่ 3 - 7 กรกฎาคม 2559 เวลา 08.30 - 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ โทร. 0-2245-0978 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694
 
 
บังคับแล้ว พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวใหม่ จ้างผิด กม.ปรับ 8 แสนต่อคน นายหน้าคุก 10 ปี ปรับ 1 ล้าน
 
บังคับใช้แล้ว กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ เริ่ม 23 มิ.ย. นี้ เผยโทษหนักขึ้นเอาผิด "นายจ้าง" ใช้คนต่างด้าวผิดกฎหมาย ทั้งไม่มีใบอนุญาต ทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำงาน โทษสูงสุดถึง 8 แสนบาทต่อต่างด้าว 1 คน พร้อมเอาผิดนายหน้าค้ามนุษย์หลอกต่างด้าวมาทำงานในไทย คุก 10 ปี ปรับ 1 ล้านบาท
 
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. 2560 เป็นต้นไป สำหรับ พ.ร.ก. ฉบับนี้ เป็นการรวมกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ. การทำงนของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และ พ.ร.ก. การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 โดยมีการปรับปรุงกฎหมายให้บทบัญญัติครอบคลุมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้งระบบ โดยเน้นการให้ความคุ้มครอง อำนวยความสะดวกให้กับทั้งนายจ้างและแรงงานต่างด้าว รวมถึงมีการเพิ่มโทษนายจ้างที่กระทำผิดกฎหมาย พร้อมดึงประชาคนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
 
สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ คือ การเพิ่มโทษให้มีอัตราที่สูงขึ้น โดยเฉพาะโทษปรับ "นายจ้าง" จากเดิมหากกระทำผิดเกี่ยวกับการจ้างงานแรงงานต่างด้าว ไม่ว่าจะทำผิดต่อแรงงานต่างด้าวกี่คนจะรับรวมเป็นกรณีเดียว แต่ พ.ร.ก. ฉบับนี้ จะปรับนายจ้างแยกตามจำนวนแรงงานต่างด้าวรายคน ทำให้โทษสูงขึ้น เช่น นายจ้างที่จ้างต่างด้าวทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเข้าทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 - 800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือนายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาท ต่อต่างด้าว 1 คน เป็นต้น
 
ส่วนโทษของแรงงานต่างด้าวก็มีเพิ่มขึ้น เช่น คนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานหรือทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คนต่างด้าวที่ทำงานจำเป็นและเร่งด่วนแต่ไม่แจ้งนายทะเบียน มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท คนต่างด้าวทำงานแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
 
สำหรับการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์นั้น พบว่า หากนายจ้างหรือผู้ใดยึดใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 - 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 600,000 - 1,000,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้ใดประกอบธุรกิจนำคนต่างด้าวมาทำงาน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางาน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 - 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ยังเพิ่มกลไกการร้องทุกข์และเข้าถึงช่องทางการร้องทุกข์สำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับความเสียหายจากการที่นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบที่กฎหมายกำหนด
 
อนึ่ง งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในประเทศไทย ตาม พ.ร.ก. กำหนดในอาชีพและวีชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 มีทั้งสิ้น 39 งาน ประกอบด้วย 1. งานกรรมกร 2. งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม 3. งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น 4. งานแกะสลักไม้ 5. งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ 6. งานขายของหน้าร้าน 7. งานขายทอดตลาด 8. งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว 9. งานเจียระไน หรือขัดเพชร หรือพลอย 10. งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
 
11. งานทอผ้าด้วยมือ 12. งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่ 13. งานทำกระดาษสาด้วยมือ 14. งานทำเครื่องเขิน 15. งานทำเครื่องดนตรีไทย 16. งานทำเครื่องถม 17. งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก 18. งานทำเครื่องลงหิน 19. งานทำตุ๊กตาไทย 20. งานทำที่นอนผ้าห่มนวม 21. งานทำบาตร 22. งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ 23. งานทำพระพุทธรูป 24. งานทำมีด 25. งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า 26. งานทำรองเท้า 27. งานทำหมวก 28. งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
29. งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ 30. งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ 31. งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย 32. งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา 33. งานมวนบุหรี่ด้วยมือ 34. งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว 35. งานเร่ขายสินค้า 36. งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ 37. งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ 38. งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ 39. งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี อย่างไรก็ตาม มติ ครม. ได้ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว และ กัมพูชา ทำงานได้ 2 อาชีพ คือ งานกรรมกร และ งานบ้าน
 
 
สสปท.แจงกฎกระทรวงแรงงานกำหนดขั้นตอนการทำงานในพื้นที่อับอากาศ
 
24 มิ.ย. 2560 นายชัยธนา ไชยมงคล ผอ. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สสปท.) องค์การมหาชน กล่าวถึงกรณีมีผู้เสียชีวิตในบ่อบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2560 จำนวน 5 รายว่า กฎกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่อับอากาศนั้น จะต้องมีขั้นตอนในการทำงาน เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะสถานประกอบกิจการที่มีบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีก๊าซพิษหรือที่เรียกว่าพื้นที่อับอากาศ
 
โดยกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำการขออนุญาตไปทำงานในพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นต้องสำรวจพื้นที่ และมีอุปกรณ์ตรวจวัดก๊าซพิษ และปริมาณออกซิเจน ว่าสามารถทำงานได้หรือไม่
 
ทั้งนี้อุปกรณ์วัดปริมาณออกซิเจนในพื้นที่อับอากาศหรือบ่อบำบัดน้ำเสียนั้น ตามกฎกระทรวงจะต้องตรวจวัดว่าพื้นที่นั้นมีออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 19.5%   ขณะที่บางประเทศกำหนดค่าออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 20.6% และในส่วนของปริมาณก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2s) ซึ่งเป็นก๊าซพิษนั้น จะต้องมีค่าเป็นศูนย์ (0 ppm.) จึงจะสามารถให้คนงานลงไปทำงานในพื้นที่อับอากาศได้
 
ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานจะต้องลงไปทำงานด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล พร้อมถังอัดอากาศช่วยหายใจ  รวมทั้งต้องมีผู้ช่วยเหลืออยู่บริเวณนอกใกล้เคียง ที่พร้อมจะช่วยเหลือทันทีเพราะสภาพในบ่อน้ำเสียอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
 
ในเบื้องต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุรวมทั้งสสปท.ทราบว่า ผู้ประสบเหตุ มี 2 คน คือจนท.สิ่งแวดล้อมและนศ.ที่มาดูงานไม่ได้เกิดจากการลงไปทำงานในพื้นที่อับอากาศแต่เข้าไปในพื้นที่หวงห้าม และพลัดตกลงไปในบ่อน้ำเสียจากนั้นได้มีพนักงาน 3 คน เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งเป็นบ่อน้ำเสียลึกลงไปราว 3 เมตร ซึ่งคาดว่าจะมีก๊าซไฮโดรเจนซัลฟด์ ภายในบ่อน้ำลึก ซึ่งเป็นพื้นที่อับอากาศ 
 
 
อธิบดี กสร. ลงพื้นที่สอบเหตุผู้เสียชีวิต 5 รายในบ่อน้ำเสียซีพีเอฟ
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า กรณีมีผู้เสียชีวิต 5 ราย ในบ่อน้ำเสีย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ตนได้ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุพร้อมด้วยพนักงานตรวจความปลอดภัยได้สอบข้อเท็จจริงเบื้องตนพบว่า ในวันนี้ มีนักศึกษามาศึกษาดูงานภายในโรงงาน ในส่วนของขั้นตอนการพักน้ำเสีย จำนวน 2 คน โดยทางบริษัทมอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมเป็นคนนำนักศึกษาทั้ง 2 คน ดูขั้นตอนการทำงานต่างๆ บริเวณบ่อน้ำเสีย และได้เกิดอุบัติเหตุนักศึกษาหญิงหนึ่งรายพลัดตกลงไปในบ่อน้ำเสีย โดยเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมได้พยายามลงไปช่วยและจมหายไป จากนั้นพนักงานอีก 3 คน ได้ลงไปช่วยและประสบเหตุเช่นเดียวกันอีก โดยการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวไม่เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้อง จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 5 ราย ประกอบด้วย ลูกจ้างบริษัท 4 ราย ได้แก่ 1. นางสาวลักษ์ชนก แสนทวีสุข อายุ 24 ปี เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม 2. นายชาญชัย พันธุนาคิน อายุ 42 ปี หัวหน้าช่างซ่อมบำรุง 3. นายพรศักดิ์ บุญบาล อายุ 40 ปี หัวหน้างานอนามัย 4. นายชาตรี สีสันดร อายุ 53 ปี คนงานรายวันประจำ และนางสาวปัณฐิกา ตาสุวรรณ อายุ 23 ปี เป็นนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเข้ามาศึกษาดูงาน เบื้องต้นได้ตรวจสอบการจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าโอที นายจ้างได้โอนเงินเข้าบัญชีลูกจ้างแล้วก่อนเกิดเหตุในวันนี้ สำหรับกรณีดังกล่าวบริษัท ซีพีเอฟฯ จะรับผิดชอบเบื้องต้นโดยจ่ายเงินช่วยเหลือค่าทำศพ และค่าเคลื่อนย้ายศพไปยังภูมิลำเนา โดยจ่าย 1 ล้านบาทสำหรับนักศึกษาดูงาน
 
อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเบื้องต้นพนักงานตรวจความปลอดภัยจะได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่และรวบรวมพยานหลักฐานว่านายจ้างได้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 รวมทั้งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 หรือไม่ ซึ่งหากตรวจสอบแล้วนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวคือ ลูกจ้างไม่มีการประเมินอันตรายว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อับอากาศ และลูกจ้างไม่ได้รับการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด มีบทกำหนดโทษคือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้พนักงานตรวจความปลอดภัยได้มีหนังสือเชิญนายจ้างมาพบเพื่อสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในวันที่ 26 มิถุนายน 2560 ต่อไป
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยเอกสารชี้แจงแก้ กม.บัตรทองส่อเจตนาชัด ทำเพื่อประโยชน์ผู้ให้บริการไม่ใช่เพื่อประชาชน

Posted: 23 Jun 2017 10:23 PM PDT

'นิมิตร์' เผยมีการส่งเอกสารชี้แจงเหตุผลในการแก้กฎหมายบัตรทองไปยังผู้บริหารโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อ้างเรื่องหน่วยบริการ สธ.โดนบังคับให้ร่วมระบบหลักประกันสุขภาพ จึงต้องเพิ่มตัวแทนเข้าไปเป็นบอร์ดเพื่อร่วมบริหารจัดการ ชี้เจตนาชัดเป็นการแก้กฎหมายปกป้องผลประโยชน์ผู้ให้บริการ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ประชาชน

 
 
นิมิตร์ เทียนอุดม แกนนำกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
 
นายนิมิตร์ เทียนอุดม แกนนำกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการเผยแพร่เอกสารชี้แจงเหตุผลการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 ไปยังกลุ่มไลน์ของผู้บริหารโรงพยาบาลต่างๆในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยผู้จัดทำเอกสารนี้เป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการพิจารณาจัดทำร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่...) พศ... ซึ่งสะท้อนเจตนาที่แท้จริงในการแก้ไขกฎหมายว่าทำไปเพื่อประโยชน์ของหน่วยบริการ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของประชาชน
 
นายนิมิตร์ กล่าวว่า เอกสารดังกล่าวให้เหตุผลการเพิ่มสัดส่วนตัวแทนหน่วยบริการในระดับต่างๆจำนวน 7 คน ให้เข้าไปเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าโรงพยาบาลในสังกัด สธ. ถูกบังคับให้เข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่สามารถปฏิเสธเช่นหน่วยบริการภาคเอกชนได้ ดังนั้นในภาวะจํายอมดังกล่าว จําเป็นต้องให้มีผู้แทนของหน่วยบริการภาครัฐได้มีโอกาสสะท้อนความคิดเห็น รวมทั้งมีโอกาสเข้ามาเป็นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขใน พ.ร.บ.ฉบับใหม่ เพื่อมีส่วนรวมในการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
เอกสารดังกล่าวยังระบุด้วยว่า หากจะแยกบทบาทผู้ซื้อบริการและผู้รับบริการออกจากกันอย่างชัดเจน (Purchaser-Provider Split) จําเป็นต้องปลดล็อกให้หน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถเลือกไม่เข้าร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ในกรณีที่ข้อเสนอของผู้ซื้อบริการไม่ดีพอ
 
นอกจากนี้แล้ว ยังมีการระบุเหตุผลในการคงสาระสำคัญในเรื่องการร่วมจ่ายไว้ว่า เนื่องจากสถานการณ์ด้านสุขภาพของประเทศไทยในอนาคตกําลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ราคาแพงและเผชิญกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นตามลําดับ ทําให้ค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขของประเทศสูงมากขึ้น ดังนั้นสําหรับผู้มีฐานะหรือมีศักยภาพในการจ่าย คณะกรรมการอาจกําหนดให้บุคคลที่เข้ารับการบริการสาธารณสุขต้องร่วมจ่ายค่าบริการในอัตราที่กำหนดให้แก่หน่วยบริการในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ ในลักษณะ "รวยช่วยจน" ให้มีเงินเข้ามาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ระบบสามารถอยู่รอดได้ในอนาคต
 
"โดยเจตนาของการเขียนคือบอกว่าถ้าโรงพยาบาลถูกบังคับให้อยู่กับบัตรทอง ก็เลยต้องมีตัวแทนเข้าไปเพื่อไปปกป้องผลประโยชน์ของโรงพยาบาล ถ้าจ่ายในอัตราที่ไม่เหมาะสม คนที่เป็นบอร์ดก็ต้องไปท้วงติง หรือท่อนท้ายๆก็บอกว่าถ้าไม่ไม่ให้เพิ่ม ก็ต้องให้อิสระโรงพยาบาลว่าจะอยู่หรือไม่อยู่กับบัตรทองได้ ไม่ใช่บังคับให้อยู่ รวมทั้งประเด็นการร่วมจ่าย ตรงนี้คือเป้าจริงๆของการแก้กฎหมาย เป็นการแก้เพื่อประโยชน์ผู้ให้บริการ แล้วจะบอกว่าแก้กฎหมายเพื่อประชาชนได้อย่างไร" นายนิมิตร์ กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เฟซบุ๊กซ่อน 'ปุ่มสีรุ้ง' ในประเทศที่มีกฎหมายต่อต้านคนรักเพศเดียวกัน

Posted: 23 Jun 2017 10:04 PM PDT

ถึงแม้ว่าในเดือนแห่งไพรด์หรือ "ความทรนง" ของผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ เฟซบุ๊กจะเปิดให้มีการใช้ปุ่มรูปธงสีรุ้งในการแสดงความรู้สึกได้ แต่ปุ่มดังกล่าวนี้กลับไม่มีใช้ในหลายประเทศที่ส่วนมากเป็นประเทศที่มีกฎห้ามคนรักเพศเดียวกัน โดยเฟซบุ๊กก็ไม่ได้บอกถึงสาเหตุในเรื่องนี้ชัดเจน

 
 
 
23 มิ.ย. 2560 หลังจากเข้าสู่เดือนแห่งไพรด์ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เฟซบุ๊คก็มีการเพิ่มปุ่มโต้ตอบปุ่มใหม่คือปุ่มรูปธงสีรุ้ง หรือปุ่ม "ไพรด์" เข้าไปในหลายประเทศ ในบ้านเราก็สามารถได้รับปุ่มนี้มาใช้ด้วยกดไลก์เพจ LGBTQ@Facebook (https://www.facebook.com/LGBTQ/) อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกตุว่าในบางประเทศที่มีกฎหมายห้ามคนรักเพศเดียวกันหรือต่อต้านความหลากหลายทางเพศจะไม่มีปุ่มนี้ให้ใช้ในเฟซบุ๊ก
 
ผู้ใช้เฟซบุ๊กในบางประเทศจะสามารถเพิ่มปุ่มธงสีรุ้งลงไปในปุ่มโต้ตอบทั่วไปที่เดิมทีมีการแสดงอารมณ์อย่างการกดไลก์ กดเลิฟ แสดงความเศร้า โกรธ หรือหัวเราะ ในฐานะที่เป็นเดือนแห่งไพรด์สำหรับชาว LGBTQ สาเหตุที่มีการจัดให้เดือน มิ.ย. เป็นเดือนแห่งไพรด์หรือ "ความทรนง" ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเนื่องจากเป็นการรำลึกถึงเดือนเดียวกับที่เกิด "เหตุจลาจลสโตนวอลล์" ในปี 2512
 
เหตุการณ์สโตนวอลล์มีความสำคัญในแง่ของการประท้วงและการต่อสู้ของชุมชน LGBTQ ที่แสดงความไม่พอใจเมื่อตำรวจบุกเข้าทลายชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศในสโตนวอลล์อินน์ ตั้งอยู่ในรีนนิช วิลเลจ แมนฮันตัน รัฐนิวยอร์ก ซึ่งกฎหมายของสหรัฐฯ ในยุคสมัยนั้นยังเป็นระบบกฎหมายที่ต่อต้านคนรักเพศเดียวกัน ทำให้กลุ่ม LGBTQ ในยุคนั้นต้องพยายามแสวงหาชุมชนของตัวเองไปพร้อมๆ กับการต่อสู้ในเชิงขบวนการสิทธิพลเมือง เรียกร้องสิทธิและการยอมรับพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
 
การต่อสู้เหล่านี้เป็นจุดกำเนิดของการเดินขบวนอย่าง "ทรนง" ที่เรียกว่า "เกย์ไพรด์" ในหลายรัฐของสหรัฐฯ จนกระทั่งแพร่หลายไปทั่วและต่อมาได้รวมเอาผู้มีความหลากหลายทางเพศอื่นๆ จนกลายเป็น "LGBTQ ไพรด์" หนึ่งในบุคคลสำคัญที่เป็นตัวตั้งตัวตีของ "LGBTQ ไพรด์" คือ เบรนดา ฮาเวิร์ด หญิงผู้รักสองเพศที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น "แม่แห่งไพรด์"
 
อย่างไรก็ตามผู้ใช้เฟซบุ๊กในหลายประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีกฎหมายห้ามคนรักเพศเดียวกันพบว่าพวกเขาไม่สามารถใช้ปุ่มไพรด์ได้ อาทิเช่น ประเทศอียิปต์ ปาเลสไตน์ บาห์เรน เลบานอน สิงคโปร์ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ 
 
แต่ทางเฟซบุ๊กก็ไม่ได้บอกสาเหตุว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ให้ผู้ใช้ในประเทศเหล่านี้มีการโต้ตอบด้วยปุ่มไพรด์ เท่าที่ทราบเฟซบุ๊กแค่พูดถึงปุ่มไพรด์นี้ในช่วงก่อนเปิดให้ใช้ว่า "ผู้คนในตลาดใหญ่ๆ ที่มีการเฉลิมฉลองไพรด์จะสามารถใช้ปุ่มโต้ตอบสีรุ้งได้ชั่วคราวในช่วงเดือนแห่งไพรด์" 
 
เฟซบุ๊กอ้างอีกว่า "คุณสามารถกดไลก์เพจเพื่อเข้าถึงปุ่มแสดงการโต้ตอบได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนี้เป็นประสบการณ์ใหม่ที่พวกเรากำลังทดลองอยู่ ปุ่มโต้ตอบสีรุ้งจึงจะไม่ปรากฏให้ใช้ทุกที่" ในเรื่องนี้สื่อ LGBTQ พิงค์นิวส์บมองว่าเป็นการที่เฟซบุ๊กพยายามเลือกใช้คำอย่างระวัง และทำให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางส่วนประณามการตัดสินใจในครั้งนี้
 
มีผู้ใช้รายหนึ่งแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ในเพจ LGBTQ ของเฟซบุ๊กว่า รู้สึกเหมือนเฟซบุ๊กเองกำลังกลัวว่าจะสูญเสียผู้ใช้จำนวนหนึ่งที่เป็นพวกใจแคบเกลียดชัง LGBTQ ไป เลยต้องซ่อนด้วยการให้ไลก์เพจเพื่อที่จะไม่ให้พวกใจแคบเหล่านั้นรู้สึกไม่พอใจที่บังเอิญมาเห็นปุ่มธงสีรุ้
 
ผู้ใข้อีกรายหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า ทีตอนฮัลโลวีนก็ไม่ได้มีทุกคนที่เฉลิมฉลองฮัลโลวีน แต่ก็มีการดัดแปลงปุ่มโต้ตอบให้สะท้อนลักษณะแปลกประหลาดแบบฮัลโลวีน
 
บ้างก็บอกว่าเฟซบุ๊กคงจะพยายามเอาใจทั้งสองฝั่งเพื่อพยายามให้ได้แต่คำชมอย่าางเดียว
 
พิงค์นิวส์ระบุอีกว่าในสหรัฐฯ เองก็ดูเหมือนจะมีการพยายามลบเลือนประเด็น LGBTQ ทิ้งเช่นกัน
 
 
 
เรียบเรียงจาก
 
Facebook is hiding LGBT reactions in countries with homophobic laws, Pink News, 21-06-2017
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสม. ลงพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อน 9 แห่ง

Posted: 23 Jun 2017 09:51 PM PDT

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการก่อสร้างเขื่อน 9 แห่ง และโครงการขุดแม่น้ำไชยมนตรี

 
 
 
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2560 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แจ้งข่าวว่านางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  พร้อมคณะอนุกรรมการฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีร้องเรียนเรื่องชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเขื่อน 9 แห่ง และโครงการขุดแม่น้ำไชยมนตรี เพื่อบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช  ระหว่างวันที่ 21–22 มิ.ย. 2560
 
โดยวันที่ 21 มิ.ย. 2560 นางเตือนใจฯ ได้ลงพื้นที่รับฟังข้อมูลจากชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ 4 แห่ง คือ โครงการขุดแม่น้ำไชยมนตรี (อำเภอเมือง) โครงการสร้างเขื่อนลาไม (อำเภอชะอวด) โครงการสร้างเขื่อนโคกยาง (อำเภอจุฬาภรณ์) และโครงการสร้างเขื่อนวังหีบ (อำเภอทุ่งสง) เนื่องจากโครงการส่งผลต่อวิถีชีวิตชุมชนที่ต้องย้ายถิ่นหรือเสียพื้นที่ทำกิน ซึ่งผลการศึกษาที่มีอยู่เดิมยังไม่รอบด้านและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันของพื้นที่  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องทำการศึกษาผลกระทบและรายละเอียดของโครงการ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและคำนึงถึงผู้ได้รับผลกระทบให้มากที่สุด จากนั้นในวันที่ 22 มิ.ย. 2560 ได้ร่วมประชุมเพื่อรับฟังข้อเท็จจริงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและระดับจังหวัด ที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยมีชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบทั้ง 4 พื้นที่เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งจากการรับฟังข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องในเบื้องต้นพบว่า ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบยังขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการจากภาครัฐ  ทั้งนี้ กระบวนการต่างๆ ของภาครัฐยังขาดการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์  รวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ  จึงทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างภาครัฐกับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยผู้แทนกรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโครงการรับว่า จะเพิ่มช่องทางและกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น  เพื่อให้ภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วมในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนอย่างแท้จริง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

85 ปี 24 มิถุนายน 2475: กนกรัตน์ เลิศชูสกุล 85 ปีหลังปฏิวัติฝรั่งเศสและการอยู่ร่วมกัน ทั้งที่เกลียดกัน

Posted: 23 Jun 2017 08:47 PM PDT

'กนกรัตน์' เปรียบเทียบ 85 ปีหลังปฏิวัติฝรั่งเศสกับ 85 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ประชาธิปไตยไม่ใช่การก้าวไปข้างหน้าแบบเส้นตรง สังคมไทยยังไม่เชื่อว่าทุกฝ่ายจะอยู่ร่วมกันได้ ยังต้องหาระบบที่จะจัดการความขัดแย้งเช่นที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นหลัง 1986 การกำจัดอีกฝ่ายมีต้นทุนที่แพงเกินไปและสังคมไทยต้องเรียนรู้สิ่งนี้

กนกรัตน์ เลิศชูสกุล (คนกลาง)

วันนี้เป็นวันครบรอบ 85 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสู่ประชาธิปไตย รายงานการสัมมนาชิ้นนี้คือส่วนหนึ่งของการรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น ในหัวข้อ 'การเมืองกับประวัติศาสตร์-ประวัติศาสตร์กับการเมือง ตอน การเมืองในชีวิตประจำวัน (Politics of Everyday Life' จัดโดยภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กนกรัตน์ เลิศชูสกุล จากรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในวิทยากรที่บรรยายในครั้งนี้ โดยเธอทำการเปรียบเทียบ 85 ปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กับการปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 หรือ พ.ศ.2332

"ดิฉันอยากจะชวนทำความเข้าใจ 2475 ผ่านการใช้ Comparative Historical Analysis เวลาที่เราอยากจะเห็นภาพ 85 ปีของพัฒนาการการเมืองไทยบนประชาธิปไตยไทยหลัง 2475 เรามีวิธีอย่างไรบ้างในการทำความเข้าใจ นอกจากการกลับไปดูประวัติศาสตร์ของเราเอง

"อยากลองไล่ดูว่า ถ้านับจำนวนปีที่เป็นประชาธิปไตยกับปีที่เป็นระบอบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นอำนาจนิยมแบบอ่อนหรือเป็นเผด็จการทหาร ลองบวกลบเล่นๆ ว่าเราก้าวหน้า ถอยหลัง ขนาดไหน 85 ปี เราได้ลบ 8 คือเอาประชาธิปไตยเป็นปีบวก แล้วเอาปีเผด็จการเป็นปีลบ จริงๆ ไม่เลวนะ เพราะดิฉันจะพาไปดูต่อว่า แล้ว 85 ปีหลังปฏิวัติ 1789 ของฝรั่งเศส ถ้าเทียบแล้ว เราจะเข้าใจการเมืองไทยผ่านการทำความเข้าใจ 85 ปีหลัง 1789 ในฝรั่งเศสได้อย่างไรบ้าง

"อาจมีรายละเอียดหลายอย่างที่เปรียบเทียบกันไม่ได้ ทั้งในเชิงเงื่อนไขทางการเมือง แล้วก็การเติบโตของพลังทางการเมืองต่างๆ ก่อน 1789 และ 2475 เราดูของไทยก่อน หลัง 2475 ไทยเป็นประชาธิปไตยประมาณ 6 ปี หลังจากนั้นก็เป็นจอมพล ป. หลังจากนั้นก็เป็นสฤษดิ์ ถนอม ประภาส อยู่ 15 ปี แล้วก็เป็นประชาธิปไตยตอนช่วง 14 ตุลาถึง 6 ตุลา 3 ปี แล้วหลังจากนั้นก็เป็นเปรม ประชาธิปไตยครึ่งใบ 12 ปี แล้วจากนั้นเป็นชาติชาย 3 ปี จากนั้นเป็นรัฐประหาร 1 ปี แล้วก็เป็นประชาธิปไตยรัฐบาลผสม 7 ปี เป็นพรรคไทยรักไทย 9 ปี จากนั้นรัฐประหาร 2549 เป็นเผด็จการไป 2 ปี ประชาธิปไตยตอนช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมือง 6 ปี และรัฐประหารอีก 3 ปี

"หลายคนอาจจะรู้สึกอึดอัด โดยเฉพาะฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตยอาจจะพร่ำบ่นว่า ทำไมการเมืองไทยวกเวียนไปมาอยู่กับการก้าวหน้าไปเป็นประชาธิปไตยบ้าง แล้วก็มีการรัฐประหารอยู่ตลอดเวลาในช่วง 85 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่พลังอนุรักษ์นิยมและคนจำนวนมากในกรุงเทพฯ ที่คิดว่าสนับสนุนสถาบันและขบวนการทางการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเติบโตมากขึ้น ขณะเดียวกันก็พยายามอธิบายว่า ประชาธิปไตยอาจจะไม่เหมาะกับประเทศเราจริงๆ มันอาจจะไม่ระบอบที่เหมาะสมกับการจัดการความขัดแย้ง

"ในการอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ดิฉันจะลองใช้ Comparative Historical Analysis อยากลองเปรียบเทียบดูว่า 85 ปีหลังปฏิวัติ 1789 กับ 85 ปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เรากับเขาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และจะช่วยให้เราเข้าใจการเมืองไทยที่เผชิญกันอยู่ในปัจจุบันได้อย่างไร

"เหตุผลที่เลือกฝรั่งเศสเนื่องจากเป็นประเทศที่มีพัฒนาการประชาธิปไตย การเปลี่ยนผ่านการเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู่อย่างอื่น มีความน่าสนใจคือไม่ได้มีพัฒนาการเป็นแบบเส้นตรง คือไม่ใช่หลังจากสมบูรณาญาสิทธิราชแล้วเป็นประชาธิปไตย เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศที่นักประชาธิปไตยอาจจะมีมายาคติว่า หลังการเปลี่ยนแปลงแล้ว ทุกคนตระหนักถึงประชาธิปไตย แล้วเราก็มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เคสฝรั่งเศสน่าสนใจเพราะมีความเปลี่ยนแปลงแบบสวิงมากๆ คือเปลี่ยนจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง ซึ่งอาจจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นว่า ปัญหาที่เราเผชิญอยู่คืออะไร

"หลัง 1789 ฝรั่งเศสเต็มไปด้วยความวุ่นวาย หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มคนหลายกลุ่มที่ไม่พอใจระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เต็มไปด้วยความวุ่นวายของกลุ่มปฏิวัติในการจัดการหรือขจัดพลังอนุรักษ์นิยมปีกต่างๆ โดยเฉพาะปีกสุดขั้วของฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติ สนับสนุนการใช้ความรุนแรงกำจัดฝ่ายที่ตนระแวงว่าจะเป็นปีกอนุรักษ์นิยม รวมทั้งปีกที่สนับสนุนการปฏิวัติ แต่อาจจะไม่เห็นด้วยกับวิธีการสุดขั้ว จนนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า The Reign of Terror ทำให้เกิดการฆ่คนไปกว่า 25,000 คนในฝรั่งเศส

ดังนั้น จะเห็นว่าหลัง 1789 ทันที ฝรั่งเศสไม่ได้นำไปสู่ประชาธิปไตย แต่สุดท้ายหลังจากที่ The Reign of Terror จบลง ฝรั่งเศสก็ต้องพบกับปัญหารัฐบาลที่ค่อนข้างอ่อนแอ เกิดปัญหาความวุ่นวายมากมาย ซึ่งท้ายที่สุดนำไปสู่การยึดอำนาจโดยรัฐบาลทหารของนโปเลียน โบนาปาร์ต หรือนโปเลียนที่ 1 จะเห็นว่าหลัง 1789 หรือ 10 ปีหลังปฏิวัติ ฝรั่งเศสหันไปหาเผด็จการทหารเพื่อจัดการกับความวุ่นวายทางการเมือง

"แล้วหลังจากนโปเลียน โบนาปาร์ตพ่ายแพ้สงครามกับรัสเซียหลังครองอำนาจอยู่ 15 ปี ฝรั่งเศสก็ไม่ได้หันไปหาประชาธิปไตย แต่กลับไปฟื้นฟูระบอบกษัตริย์โดยนำราชวงศ์บอร์บอนกลับมา ครั้งนี้มีลักษณะเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่แบบที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน แต่เป็นลักษณะแบบที่ประเทศอื่นๆ ในยุโรปเป็นกันคือหลังจากที่นโปเลียนแพ้สงคราม มีการเซ็นต์สนธิสัญญาเวียนนา กษัตริย์ในประเทศอื่นๆ ก็กลัวการกลับมาของระบอบทหารจึงรื้อฟื้นกษัตริย์ขึ้นมาในฝรั่งเศส ในฝรั่งเศสเอง พวกชนชั้นนำก็เบื่อหน่ายกับความวุ่นวายและสงคราม ชนชั้นสูงก็ไม่ชอบการปฏิวัติ คนธรรมดาเองก็ไม่อยากได้การปฏิวัติแบบ 1789 อีกที่ Radical มาก มีการใช้ความรุนแรง เต็มไปด้วยความวุ่นวาย จะเห็นว่าในช่วงเวลาหลาย 10 ปี หลังปฏิวัติ 1789 ฝรั่งเศสเองก็ไม่ได้ไปในแนวทางประชาธิปไตย

"16 ปี ภายใต้ราชวงศ์บอร์บอนก็มีกระแสความไม่พอใจอย่างต่อเนื่องต่อระบอบกษัตริย์ที่ถูกรื้อฟื้นกลับมา เพราะกษัตริย์ต่างก็พยายามรวบอำนาจและลดทอนอำนาจของรัฐสภา จนนำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสครั้งที่ 2 คุณจะเห็นว่าไม่ได้จบที่ 1789 แต่มีการปฏิวัติโดยขบวนการแรงงาน กลุ่มคนที่ไม่พอใจสถาบันกษัตริย์อีกครั้งในปี 1830 รวมทั้งหลังจาก 1830 อีก 20 ปีให้หลังฝรั่งเศสก็ยังเต็มไปด้วยความวุ่นวายทางการเมือง การต่อสู้กันของทั้งปีกอนุรักษ์นิยม ปีกเสรีนิยม และขบวนการต่างๆ มากมาย เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มอำนาจเก่าและกลุ่มอำนาจใหม่ที่มีความหลากหลายมากขึ้น มีสำนึกทางการเมืองอย่างหลากหลาย

"เช่นในปี 1830 เป็นการปฏิวัติขับไล่ราชวงศ์บอร์บอน แต่ก็ไม่ใช่ไปสู่ประชาธิปไตย แต่เป็นการนำราชวงศ์โรแลงมา เป็นกษัตริย์ที่มีแนวทางเสรีนิยมกว่า เป็นกษัตริย์ที่เป็นสมาชิกในการปฏิวัติ 1789 อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ได้จบลง ยังเกิดการลุกขึ้นของประชาชนกลุ่มต่างๆ อีกหลายระลอก ไม่ว่าจะเป็นการลุกขึ้นมาต่อต้านระบอบกษัตริย์ในอีก 2 ปีต่อมาหรือปี 1832 ซึ่งก็เป็นการปฏิวัติที่ล้มเหลวในการล้มระบอบกษัตริย์ คุณเห็นภาพแล้วจะรู้ว่าการต่อสู้ของเหลือง-แดงมันน้อยมากเมื่อเทียบกับการลุกขึ้นมาปฏิวัติครั้งที่ 2 ของฝรั่งเศส

"ความสำเร็จจริงๆ เกิดขึ้นเมื่อปี 1848 มีการลุกขึ้นมาปฏิวัติ ซึ่งจริงๆ เป็นระลอกทั่วยุโรป ไม่ใช่ฝรั่งเศสประเทศเดียว แต่เป็นการปฏิวัติที่ประสบความสำเร็จในการล้มระบอบกษัตริย์ มีการก่อตั้งสาธารณรัฐหรือรัฐที่ไม่มีกษัตริย์เป็นครั้งที่ 2 หลังจาก 1789 มีการจัดตั้งรัฐบาล ครั้งนี้มีการขยายสิทธิทางการเมือง มีการพูดถึงโครงการช่วยเหลือความยากจน เปรียบเทียบช่วง 1830-1871 ในฝรั่งเศสจะตรงกับช่วง 2535-2560 ของไทย คือหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งแรกมาระยะหนึ่งที่นานมาก พอถึงช่วงนี้ มันเกิดความตื่นตัวของคนหลากหลายกลุ่มมาก มันลุกขึ้นมาต่อสู้อย่างรุนแรงในหลากหลายปีกในฝรั่งเศส

"การจะเกิดระบบนี้ได้ (Cohabitation) มันผ่านกระบวนการในการเรียนรู้ว่าการจะขจัดอีกฝ่ายออกไปจากสังคม มันมีต้นทุนที่แพงมากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ ระบบรัฐสภาสมัยใหม่จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ Accommodate การต่อรองทางอำนาจของแต่ละกลุ่มและการสลับสับเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจ คือถ้าเราเข้าใจกระบวนการในการคลี่คลายความขัดแย้งของพลังกลุ่มต่างๆ เราก็จะค่อยๆ เข้าใจว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร"

"ในช่วง 1848 หลังจากล้มสถาบันกษัตริย์ได้เป็นครั้งที่ 2 มีการจัดตั้ง National Workshop หรือโครงการเพื่อคนจน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้นำไปสู่ประชาธิปไตย แต่ยิ่งทำให้ปีกอนุรักษ์นิยมหวาดกลัวการลุกขึ้นมาของคนจน ของชนชั้นแรงงาน และพยายามโต้กลับ รักษาอำนาจความเป็นระเบียบแบบที่คุ้นเคย ผลการเลือกตั้งหลัง 1848 ฝ่ายที่ชนะคือปีกอนุรักษ์นิยม นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลแบบอนุรักษ์นิยม ผลที่ตามมาคือมีการลุกขึ้นมาของขบวนการแรงงานและชนชั้นแรงงานในช่วงปลายปี 1848 แต่ก็ถูกปราบอย่างราบคาบ

"คุณคิดดู มาถึงจุดนี้ใกล้จะ 85 ปีแล้วหลังปฏิวัติ 1789 ฝรั่งเศสยังเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเผชิญอยู่ในสังคมไทยตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องที่มันน่ากลัว น่าผิดหวัง ที่เราเปลี่ยนแปลงการปกครองมา 85 ปีแล้วยังไม่ถึงไหน ท่ามกลางความวุ่นวายที่ขบวนการแรงงานลุกขึ้นมาก่อกบฏและถูกปราบอย่างราบคาบในปี 1848 แทนที่ฝรั่งเศสจะไปสู่ประชาธิปไตย ไม่ใช่ แต่คนส่วนใหญ่เบื่อความวุ่นวาย ความขัดแย้ง เบื่อสงครามกลางเมือง สังคมฝรั่งเศสหันไปหานโปเลียนที่ 3 หลานของนโปเลียนที่ 1 คือไม่เอากษัตริย์ แต่ก็ไม่อยากได้การปกครองแบบคณะปฏิวัติ 1789 และ 1848

"ผลที่ตามมาทำให้นโปเลียนที่ 3 ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นประธานธิบดี ครองอำนาจอยู่ 22 ปี ถ้าเปรียบเทียบกับไทย 3 ปีก่อนที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย ถ้าเปรียบกับฝรั่งเศสคือนำไปสู่ Law and Order และยอมอยู่ภายใต้การปกครองของคนคนเดียว 22 ปี จุดจบของนโปเลียนที่ 3 คือทำสงครามกับเยอรมนีและพ่ายแพ้ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังความพ่ายแพ้คือการลุกขึ้นมาของขบวนการแรงงานและชนชั้นกลางระดับล่าง ยึดปารีสหรือปารีส คอมมูน แต่ยึดได้ไม่กี่เดือนก็ถูกปราบ มีการตายไป 20,000 กว่าคนในปารีส

"ปารีส คอมมูน คือจุดตัดเมื่อเปรียบเทียบ 85 ปีกับการเมืองไทย หลัง 85 ปีของการปฏิวัติฝรั่งเศสจบลงด้วยโศกนาฏกรรมของผู้คนที่เข้ายึดปารีสเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตย

"จากภาพพัฒนาการทางการเมืองของฝรั่งเศสมาถึงจุดนี้ มันเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ชนชั้นนำเองก็ยังไม่ยอมรับและให้พื้นที่ทางการเมืองกับชนชั้นล่าง ชนชั้นกลางเองก็ละทิ้งชนชั้นแรงงานและหันไปสนับสนุนระบอบที่ช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเมือง จะเห็นได้ว่า 8 ทศวรรษหลัง 1789 ฝรั่งเศสยังวนเวียนอยู่กับวงจรการเปลี่ยนแปลงจากถอนรากถอนโคนไปถึงการโหยหาสายประนีประนอม แต่สุดท้ายก็พบว่ามีข้อจำกัด จึงหันหลังและพยายามกลับมาเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนอีก จากนั้นก็ถูกโต้กลับโดยฝ่ายอนุรักษ์นิยมและพยายามรื้อฟื้นอำนาจของตนเองกลับมา วนเวียนแบบนี้หลายรอบ

"เพราะฉะนั้นถ้าดู 80 ปีฝรั่งเศส แล้วเราลองมาดูว่าในฝรั่งเศสหลัง 80 ปีนั้นนำไปสู่ประชาธิปไตยได้อย่างไร พัฒนาการประชาธิปไตยฝรั่งเศสสมัยใหม่แบบที่เรารู้จักกัน จริงๆ เป็นเรื่องใหม่มาก เพิ่งเกิดปี 1986 เป็นระบอบที่เรียกว่า Cohabitation คือประธานาธิบดีมีอำนาจดูแลเรื่องต่างประเทศ ความมั่นคง นายกรัฐมนตรีดูนโยบายภายในประเทศ การแบ่งแยกอำนาจแบบนี้ ประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีอาจมาจากคนละพรรคกัน ส่วนใหญ่ประธานาธิบดีจะมาจากฝ่ายสังคมนิยม นายกรัฐมนตรีมาจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมบ้าง แล้วก็ยอมอยู่ร่วมกัน ทั้งที่เกลียดกัน

"ระบบที่ทั้งสองฝ่ายยอมอยู่ร่วมกันและแบ่งอำนาจกันเพิ่งเกิดขึ้นในปี 1986 ก่อนหน้านั้น ฝรั่งเศสเต็มไปด้วยความวุ่นวาย คือหลังจากปารีส คอมมูน ก็มีความพยายามสร้างกลไกในการดุลอำนาจระหว่างปีกอนุรักษ์นิยมหลายๆ ปี เริ่มมีระบบรัฐสภาที่เป็นกลไกถ่วงดุล ตรวจสอบกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังเป็นรัฐบาลแบบเผด็จการ หรือแม้แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบอบที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นก็ยังถูกครอบงำโดยชาร์ล เดอ โกล์ คือประธานาธิบดีมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ควบคุมทุกอย่าง

"ก่อน 1986 ยังเป็นวงจรที่ฝรั่งเศสต้องเจอเดดล็อกทางการเมืองหลายรุ่น แล้วจะแก้ไขเดดล็อกทางการเมืองเล่านั้นโดยการโหยหาวีรบุรุษทางการเมือง เช่น ชาร์ล เดอ โกล์ หรือทหารหลายๆ ปีกเพื่อช่วยแก้ไขวิกฤต ประชาธิปไตยเสรีนิยมเป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างใหม่มาก จุดเปลี่ยนนี้เกิดขึ้นช่วงที่ฟรังซัวส์ มิสเตอร์รองด์เป็นผู้นำจากฝ่ายซ้าย แล้วก็ยอมลดอำนาจของตนเองโดยการยอมรับนายกรัฐมนตรีจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมเพื่อแก้ปัญหาเดดล็อกทางการเมืองและเป็นยุทธศาสตร์ในการสู้ทางการเมืองในระยะยาว คือให้นายกรัฐมนตรีจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมดำเนินนโยบาย และให้ประชาชนเป็นคนตัดสินเองว่าไม่พอใจและแพ้การเลือกตั้งในครั้งต่อมา

"เราจะเห็นว่า หลังจาก 1986 จะเห็นการสลับขั้ว ชนะ-แพ้ตลอดเวลาระหว่างสังคมนิยมและอนุรักษ์นิยม พูดง่ายๆ คือการยอมให้มีการแบ่งแยกอำนาจและอยู่ร่วมกันได้ของปีกการเมืองที่มีความคิดและฐานผลประโยชน์ที่แตกต่างกันมาก เป็นปรากฏกการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในฝรั่งเศสในช่วงหลังสงครามครั้งที่ 2 ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมานาน

"จากจุดนี้เราเรียนรู้อะไรบ้าง ดิฉันมีข้อสรุปสองสามข้อ ประเด็นแรกคือประชาธิปไตยไม่ได้พัฒนาเป็นเส้นตรงหรือไม่ได้เติบโตแบบก้าวไปข้างหน้าอย่างเดียว แต่พัฒนาการทางการเมืองในฝรั่งเศสทำให้เราเห็นว่า หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองทางการเมือง เราต้องเผชิญกับอำนาจของระบอบเก่าที่ยังคงดำรงอยู่และเราต้องเผชิญกับการต่อสู้กันของอำนาจกลุ่มต่างๆ ถ้าถามว่าเราอยู่ตรงไหนในการเมืองฝรั่งเศส ดิฉันมองว่า เราอยู่ในศตวรรษที่ 19 ของฝรั่งเศส แน่นอน เงื่อนไขรายละเอียดอาจจะต่างกัน แต่ถ้าเทียบในเรื่องช่วงเวลา เรายังมาไม่ถึงครึ่งของพัฒนาการประชาธิปไตยในฝรั่งเศส เรายังไม่ผ่านความขัดแย้งถึงจุดแตกหักทางการเมือง เรายังต้องผ่านวงจรทางการเมืองที่ทุกปีกยังไม่เชื่อว่าเราจะอยู่ร่วมกันได้ ทุกปีกยังเชื่อว่าทางออกทางการเมืองคือการขจัดฝ่ายตรงข้ามให้หมดไปจากสังคม ในขณะที่ปีกอนุรักษ์นิยมและระบอบเก่าก็ยังพยายามทวงคืนอำนาจและใช้วิธีแก้ไขปัญหาด้วยการจัดการฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายสังคมนิยม

"ขณะที่ฝ่ายเสรีนิยม สังคมนิยม ก็เชื่อว่าเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาคือเราต้องจัดการและล้มระบอบเก่าให้ได้ ซึ่งนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส ทั้งสองฝ่ายและหลายๆ ฝ่ายยังมองไม่เห็นวิธีการอยู่ร่วมกันได้แบบเท่าเทียมกัน โดยการสร้างระบบ Cohabitation การจะเกิดระบบนี้ได้ มันผ่านกระบวนการในการเรียนรู้ว่าการจะขจัดอีกฝ่ายออกไปจากสังคม มันมีต้นทุนที่แพงมากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ ระบบรัฐสภาสมัยใหม่จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ Accommodate การต่อรองทางอำนาจของแต่ละกลุ่มและการสลับสับเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจ คือถ้าเราเข้าใจกระบวนการในการคลี่คลายความขัดแย้งของพลังกลุ่มต่างๆ เราก็จะค่อยๆ เข้าใจว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร

"ดิฉันมีข้อความมาบอกเพื่อนนักประชาธิปไตยของดิฉันที่รู้สึกอึดอัดทางการเมือง อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงในสังคม ที่จะเป็นสังคมที่ดีขึ้น เป็นเสรีมากขึ้น ทุกคนมีสิทธิ มีเสียงในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เราคงต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยเป็นการต่อสู้ตลอดชีวิต ประชาธิปไตยคงไม่เกิดขึ้นในชั่วข้ามวันข้ามคืน

"ขณะเดียวกันดิฉันก็มีข้อความสำหรับเพื่อนๆ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือชนชั้นกลางที่สนับสนุนแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมและเชื่อว่าการสนับสนุนรัฐประหารและรัฐบาลทหารเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการสร้างสังคมที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นสังคมที่สงบ โดยการจำกัดพื้นที่ทางความคิดของคนที่คิดต่างและเชื่อในแนวทางเศรษฐกิจ-สังคมที่ต่างออกไปว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในระยะยาว และเป็นเรื่องที่ยิ่งจะเป็นไปไม่ได้เมื่อประชาธิปไตยพัฒนาผ่านวงจรการเปลี่ยนผ่านหลายต่อหลายครั้ง เพราะมันมีกระบวนการในการสร้างจิตสำนึกในการลุกขึ้นมาปกป้องผลประโยชน์ของคนกลุ่มต่างๆ ที่หลากหลายแบบที่เราเห็นในการเมือง 85 ปีหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น