ประชาไท | Prachatai3.info |
- ซาอุดิอาระเบียแต่งตั้งมกุฎราชกุมารองค์ใหม่
- คลังเตรียมชง 'ภาษีลาภลอย' เข้า ครม.
- สมาคมนักข่าวฯ ปฏิเสธร่วมเสวนากับกรรมาธิการสื่อ สปท.ถก 'มาตรฐานกลางทางจริยธรรม'
- 'เกษตรกรใต้' ค้าน คสช.ใช้ ม.44 ใช้ประโยชน์อื่นในพื้นที่ ส.ป.ก. นอกเหนือจากการทำเกษตร
- ถกพื้นที่ป้อมมหากาฬวันที่ 2 ยังไม่ได้ข้อสรุป ชุมชนย้ำอนุรักษ์แต่บ้านไม่ให้คนอยู่ก็ไม่มีค่า
- ไร้เสียงค้าน สนช. ผ่าน ก.ม.ยุทธศาสตร์ชาติ - ก.ม.ขั้นตอนปฏิรูปประเทศ เป็นกฎหมาย
- สลา คุณวุฒิ: ความ(ไม่)เปลี่ยนแปลงของวงการลูกทุ่งไทย
- คสช.แจง 'เสธ.พีท' ค้นบ้าน 'ดาวดิน' อ้างคำสั่งปราบผู้มีอิทธิพล
- จี้ 'สรรเสริญ-รมว.สาธารณสุข' ขอโทษ ปชช. เหตุบิดเบือน หวังแก้ ก.ม.บัตรทองง่อยเปลี้ยเสียขา
- วงเสวนาถก 'ใบอนุญาตก่อสร้าง' ความสะดวกที่ต้องจ่ายจริงหรือ ระดมความเห็น ปลดล็อคสินบน
- กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างยอมจ่ายเงินช่วยลูกจ้างบริติชไทยซิน หลังนายจ้างปิดกิจการ
- ทีมตรวจสอบระบุ ไทยพีบีเอสซื้อหุ้นกู้ซีพีเอฟได้ ไม่ผิดธรรมาภิบาลและจริยธรรม
ซาอุดิอาระเบียแต่งตั้งมกุฎราชกุมารองค์ใหม่ Posted: 22 Jun 2017 02:01 PM PDT ที่ซาอุดิอาระเบียมีการแต่งตั้งเจ้าชายซัลมานวัย 31 พรรษา ขึ้นดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมารแทนที่เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน นาเยฟ รวมถึงมีการแต่งตั้งเจ้าชายองค์อื่นๆ ดำรงตำแหน่งอีกหลายตำแหน่ง รวมถึงมีการแก้ไขกฎหมายให้พระราชโอรสรุ่นถัดๆ ไปต้องทรงสวามิภักดิ์ต่อข้อหลักการของคัมภีร์อัลกุรอาน โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฏราชกุมารพระองค์ใหม่แห่งซาอุดิอาระเบียวัย 31 พรรษา (ที่มา: Wikipedia) 22 มิ.ย. 2560 สื่ออัลอาราบิยารายงานว่าสภาสวามิภักดิ์แห่งซาอุดิอาระเบียมีมติด้วยคะแนน 31 ต่อ 34 ให้โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน วัย 31 พรรษา เป็นมกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่แห่งซาอุฯ โดยที่พระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ วัย 85 พรรษา ซึ่งเพิ่งครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีเมื่อเดือนมกราคม 2558 ก็ทรงเรียกร้องให้ประชาชนถวายความจงรักภักดีต่อรัชทายาทพระองค์ใหม่ด้วย ทั้งนี้นับเป็นการแต่งตั้งใหม่ที่สร้างความประหลาดใจ เพราะอดีตมกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน นาเยฟ ในวัย 57 พรรษา เป็นผู้ที่สนับสนุนสหรัฐอเมริกา รวมทั้งเป็นผู้นำปฏิบัติการตอบโต้กลุ่มอัลเคด้าและไอซิส นอกจากนี้ในปี 2552 เขาเกือบถูกลอบสังหารโดยกลุ่มอัลเคด้าอีกด้วย โดยการแต่งตั้งในครั้งนี้เป็นการแต่งตั้งเจ้าฟ้าชายซัลมานขึ้นดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมารแทนที่เจ้าฟ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน นาเยฟ ซึ่งเจ้าฟ้าชายซัลมานทรงดำรงตำแหน่งตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอยู่ก่อนแล้วและได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งด้วย' สำหรับเจ้าชายซัลมานนั้น เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกลาโหมในเดือนมกราคม 2558 แล้วหลังจากนั้นอีก 2 เดือน ซาอุดีอาระเบียก็บุกเยเมนเพื่อช่วยรัฐบาลของประธานาธิบดีอับดรับบูห์ มันซูร์ ยึดกรุงซานาคืนจากกบฎแต่ยังไม่สำเร็จ นอกจากนี้พระองค์ยังเคยแสดงวิสัยทัศน์ "Vision 2030" ในฐานะประธานสภาเศรษฐกิจและการพัฒนา โดยมุ่งปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อให้ซาอุดีอาระเบียลดการพึ่งพิงรายได้จากน้ำมันภายในปี ค.ศ. 2020 หรือ พ.ศ. 2563 นอกจากนี้พระราชาธิบดีอับดุลอาซิซ ยังทรงมีพระราชกฤษฎีกาแต่งตั้งให้เจ้าฟ้าชายอับดุลอาซิล บิน ซาอุด บิน นาเยฟ ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายใน และอาห์เหม็ด บิน โมฮัมหมัด อัลซาเล็ม เป็นรักษาการรัฐมนตนตรีกิจการภายใน และให้นาสเซอร์ อัลดาวุด ออกจากตำแหน่งกลายเป็นรองเลขาธิการกระทรวงกิจการภายใน สื่ออัลอาราบิยายังระบุถึงการแต่งตั้งเจ้าฟ้าชายพระองค์อื่นๆ ในซาอุขึ้นดำรงตำแหน่งต่างๆ อีกหลายตำแหน่งทั้งตำแหน่งที่ปรึกษาราชสำนักและตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศอิตาลีกับประเทศเยอรมนี ตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการเกี่ยวกับการกีฬา ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด และตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายข่าวกรองทั่วไป โดยส่วนมากเป็นการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งที่ปรึกษาราชสำนัก ทั้งนี้ พระราชาธิบดีอับดุลอาซิซทรงมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการแก้ไขกฎหมายพื้นฐานรัฐบาลบทที่ 2 มาตรา 5 ให้มีสืบทอดกฎหมายนี้จากพระราชาธิบดีไปสู่พระราชโอรสและทายาทรุ่นถัดไปเรื่อยๆ รวมถึงต้องมีการให้พระราชโอรสต้องทรงสวามิภักดิ์ต่อข้อหลักการของพระคัมภีร์อัลกุรอานและประเพณีของพระศาสดา เรียบเรียงจาก Saudi Arabia's Mohammed bin Salman appointed Crown Prince, Al Arabiya, 21-06-2017 Profile: Former Saudi crown prince Mohammed bin Nayef, Al Jazeera Mohammed bin Salman: the prince trying to wean Saudi Arabia off oil, The Guardian, 13 May 2016 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คลังเตรียมชง 'ภาษีลาภลอย' เข้า ครม. Posted: 22 Jun 2017 01:30 PM PDT 22 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจากกระทรวงคลังศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีจากฐานมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ปรับสูงขึ้น จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ เช่น รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ และโครงการต่าง ๆ ทำให้ราคาที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ปรับสูงขึ้น เช่น ปรับเพิ่มจากตารางวาละ 100,000 บาท เป็น 400,000-500,000 บาทต่อตารางวา กระทรวงคลังจึงขอจัดเก็บภาษีจากการเปลี่ยนมือเมื่อขายให้กับผู้อื่น เพื่อใช้ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 5 ของส่วนต่างทรัพย์สิน หากไม่เปลี่ยนมือไปยังบุคคลอื่นก็ไม่ต้องเสียภาษีเหมือนกับการเสียภาษีมรดก ดังนั้น ผู้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์เจ้าของเดิมจะไม่มีภาระเพิ่มจากภาษีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าแนวทางจัดเก็บภาษีดังกล่าวหลายประเทศทั่วโลกจัดเก็บลาภลอยดังกล่าว หลังจากกระทรวงการคลังเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากหลายฝ่าย คาดว่าจะเสนอ ครม.พิจารณาในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า พร้อมกับเสนอจัดเก็บภาษีอิงทรัพย์ เช่น การขายสิทธิ์การเช่าทรัพย์สินของรัฐหรือสิทธิ์การเช่าอื่นต่อไปยังผู้อื่น แล้วมีส่วนต่างกำไรเกิดขึ้น จึงต้องเสียภาษีดังกล่าวด้วย อภิศักดิ์ กล่าวถึงการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) วงเงิน 8,000 ล้านบาท ว่ากระทรวงการคลังเตรียมหารือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อคำนวณสูตรการนำเงินกำไรจาก ตลท.มาใช้ตั้งกองทุน ซึ่งมีข้อเสนอให้นำกำไรสัดส่วนร้อยละ 90 ของกำไรที่เหลือจากการใช้จ่ายด้านต่าง ๆ มาใช้ตั้งกองทุน หลังจากมีเงินสะสมปัจจุบันเหลือประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อตั้งกองทุนเบื้องต้นขนาด 8,000 ล้านบาท จากนั้นค่อยทยอยปรับเพิ่มขึ้นภายหลัง และการใช้เงินของ ตลท. โดยไม่ได้ใช้เงินจากคลังของรัฐไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลมีปัญหาถังแตกตามที่เป็นข่าว ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน สำหรับการใช้เงินกองทุนส่งเสริมพัฒนาตลาดทุนนั้น จะต้องตั้งคณะกรรมการกองทุนพิจารณาการใช้เงินจากกองทุนและอยู่ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนแห่งชาติ เพื่อให้ทุกส่วนเสนอขอเงินจากกองทุน ทั้ง ตลท. โบรกเกอร์ ก.ล.ต. มหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานอื่น เพื่อใช้ในการพัฒนาตลาดทุน โดยเฉพาะ ก.ล.ต.ตามกฎหมายใหม่ต้องทำหน้าที่พัฒนาตลาดทุนด้วย จึงต้องมีบทบาทเพิ่มตามร่างกฎหมายฉบับใหม่ เพื่อให้เกิดการใช้เงินจากกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มา : สำนักข่าวไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สมาคมนักข่าวฯ ปฏิเสธร่วมเสวนากับกรรมาธิการสื่อ สปท.ถก 'มาตรฐานกลางทางจริยธรรม' Posted: 22 Jun 2017 01:04 PM PDT สมาคมนักข่าวฯ ปฏิเสธร่วมเสวนา กับกรรมาธิการสื่อ สปท.ถก "มาตรฐานกลางทางจริยธรรม" ยันเดินหน้าปฏิรูปสื่อ ยึดหลักการกำกับ ดูแลกันเองโดยมีกฎหมายรองรับ แต่ไม่มีตัวแทนรัฐ พร้อมหนุนผู้บริโภคสื่อให้ตื่
22 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ปรัชญาชัย ดัชถุยาวัตร โฆษกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ปรัชญาชัย กล่าวว่า สมาคมนักข่าวฯ และ 30 องค์กรวิชาชีพ เห็นด้วยที่ควรจะมีการปฏิรูปสื่ "องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนกำลังพิ โฆษกสมาคมนักข่าวฯ กล่าวย้ำว่า ภายใต้หลักการกำกับ ดูแลกันเอง มาตรการทางสังคมจะใช้ได้อย่างมี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'เกษตรกรใต้' ค้าน คสช.ใช้ ม.44 ใช้ประโยชน์อื่นในพื้นที่ ส.ป.ก. นอกเหนือจากการทำเกษตร Posted: 22 Jun 2017 12:26 PM PDT สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ออกแถลงการณ์ คัดค้าน มติ คสช. ใช้ ม.44 ทำประโยชน์สาธารณะด้าน 22 มิ.ย. 2560 สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ออกแถลงการณ์ คัดค้าน มติคณะรักษาความสง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ถกพื้นที่ป้อมมหากาฬวันที่ 2 ยังไม่ได้ข้อสรุป ชุมชนย้ำอนุรักษ์แต่บ้านไม่ให้คนอยู่ก็ไม่มีค่า Posted: 22 Jun 2017 10:55 AM PDT กทม. ทหาร ลงพื้นที่ป้อมมหากาฬร่วมกับชาวชุมชนและนักวิชาการต่อเนื่องเป็นวันที่สอง พิจารณาคุณค่า 5 ด้านของบ้าน ประชุมสรุปครั้งต่อไปวันที่ 2 -3 ก.ค. พร้อมเสนอข้อมูลต่อผู้ว่า กทม.และรัฐบาล 22 มี.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชุมชนป้อมมหากาฬ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีการลงพื้นที่เพื่อพิจารณาคุณค่าบ้านเป็นวันที่ 2 ต่อจากวานนี้(21 มิ.ย.60) โดย คณะกรรมการ 3 ฝ่าย ได้แก่ 1) ชุมชนและนักวิชาการ 2) กรุงเทพมหานคร 3) ทหาร พรเทพ บูรณบุรีเดช รองประธานชุมชน ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า วันนี้ลงสำรวจชุมชนเพื่อพิจารณาคุณค่าบ้านเป็นวันที่สอง หลังจากนี้จะมีการประชุมสรุปของคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 2-3 ก.ค. ที่จะถึงนี้ และจะนำเสนอผลที่ได้ต่อผู้ว่ากรุงเทพมหานคร แม่ทัพภาค 1 และคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 ต่อไป "สองวันนี้มีการให้ข้อมูลตามความเป็นจริงว่าเราอยู่มานานเท่าไร ทำไมต้องอยู่ เพราะเรามีประวัติชุมชน มีศิลปวัฒนธรรม ตามข้อเสนอ 5 ด้านที่นักวิชาการเสนอไว้ ถ้าถามว่าพอใจไหม ตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าอยู่ได้หรือไม่ แต่ก็มีการสรุปในเรื่องของบ้าน แต่ถ้าความพอใจของชุมชนก็คือได้อยู่ที่นี่ต่อ" พรเทพ ยังกล่าวอีกว่า "วันที่ 2 -3 ก.ค. นี้ จะต้องดูข้อมูลชุมชนและข้อมูลเพิ่มเติมจากนักวิชาการ และจะนำข้อมูลนี้นำเสนอต่อผู้ว่า กทม. แม่ทัพภาค 1 และรัฐบาลต่อไป ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่เราและชุมชนต้องการ ไม่ใช่แค่รักษาบ้านและคุณค่าบ้านไว้อย่างเดียว แต่ต้องมีคนด้วย ถ้าต้องอนุรักษ์บ้านแล้วคนออกไปมันก็ไม่มีคุณค่าของชุมชนและไม่เห็นวิถีชีวิต" เว็บไซต์มติชน รายงานว่า มีการลงพื้นที่พิจารณาคุณค่าบ้านเป็นวันที่ 2 ต่อเนื่องจากวานนี้ โดยมีคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ลงพื้นที่ โดยในวันนี้เป็นการพิจารณาบ้านที่ "ถูกแขวน" คือ เป็นบ้านที่ กทม. ยังไม่ตัดสินใจในการดำเนินการ เช่น บ้านเลขที่ 107 ลักษณะบ้าน 2ชั้น ตั้งอยู่ริมคลองโอ่งอ่าง ซึ่ง ภารนี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการอิสระด้านผังเมือง ให้ความเห็นว่า มีความสำคัญโดยตั้งอยู่บนแนวแกนตรอกพระยาเพชรปาณี สะท้อนคุณค่าสังคมและกลไกการจัดการและการพัฒนาชุมชน จากนั้นคณะกรรมการ 3 ฝ่ายได้ไปยังบ้านเลขที่ 179 ที่นักวิชาการระบุว่าเป็นบ้านที่แสดงหลักฐานการตั้งชุมชนบ้านไม้ชานพระนครและมีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และ บ้านเลขที่ 159 ระบุว่ามีข้อมูลว่าสร้างก่อนพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน พ.ศ.2535 ประเด็นสำคัญคือ ตัวบ้านมีการอยู่อาศัยตั้งแต่ก่อน พ.ศ.2495 ซึ่งขัดแย้งกับฐานข้อมูลข้อมูลทะเบียนราษฎรที่ระบุว่ามีผู้ย้ายเข้ามาในปี พ.ศ.2532 สุดจิต เศวตจินดา สนั่นไหว สมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์ กล่าวว่า บ้านหลายหลังที่มีการพิจารณาคุณค่าในวันนี้อาจดูเหมือนบ้านธรรมดา ไม่คงทนถาวร แต่ก็สะท้อนถึงความพยายามแก้ปัญหาของมนุษย์ ที่จะทำให้ตนสามารถอยู่อาศัยได้ เป็นภาพแห่งความจริงของชีวิต หากฝืนทำสวนสาธารณะหลังกำแพง จะกลายเป็นสวนที่เปล่าเปลี่ยว ไม่ได้อะไร ขณะที่ สุนี ไชยรส อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งมาร่วมสังเกตการณ์ กล่าวว่า เวลามีการถกเถียงในประเด็นกฎหมาย ตนอยากแสดงความเห็นว่า เมื่อครั้งที่มีการเวนคืนนั้น กทม.กระทำในช่วงที่ชุมชนไม่ได้มีโอกาสปกป้องตัวเอง เนื่องจากสังคมไทยในช่วงเวลานั้นยังไม่เปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วม ทั้งนี้ ปัญหาที่ชุมชนป้อมมหากาฬได้รับผลกระทบอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นผลมาจากโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะและอนุรักษ์โบราณสถานของชาติตั้งแต่ปีพ.ศ.2502 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ ทำให้ต้องมีการรื้อถอนบ้านและย้ายชุมชนที่อยู่ในแนวกำแพงป้อมมหากาฬออกทั้งหมด เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และทำเป็นสวนสาธารณะแต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ ต่อมา กทม.ทำการเวนคืนที่ดินในปี พ.ศ.2535 ตั้งแต่นั้นก็มีปัญหาไล่รื้อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยในปีนี้มีการรื้อถอนบ้านเรือนไปแล้ว 19 หลัง อย่างไรก็ตาม ชาวชุมชนป้อมมหากาฬก็มีการต่อสู้เพื่อสิทธิในการอยู่อาศัยโดยใช้แนวคิดการพัฒนาสวนสาธารณะป้อมมหากาฬด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตามกระบวนการ co - creation ที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของชุมชนและการออกแบบจากทุกภาคส่วน (ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ) รวมถึงมีการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการ 3 ฝ่าย คือ 1. ชุมชนและนักวิชาการ 2. กรุงเทพมหานคร และ 3. ทหารที่เข้ามาเป็นคนกลาง โดยมีความพยายามหาทางออกด้วยการพิสูจน์คุณค่าของบ้านแต่ละหลัง โดยบ้านที่จะได้รับการอนุรักษ์ต้องมีการพิสูจน์ให้ครบถ้วนทั้ง 5 ด้านด้วยกัน คือ 1) ด้านคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ 2) ด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรมและผังเมือง 3) สังคมและวิถีชีวิต 4) โบราณคดีและการตั้งถิ่นฐาน และ 5) คุณค่าในด้านวิชาการ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไร้เสียงค้าน สนช. ผ่าน ก.ม.ยุทธศาสตร์ชาติ - ก.ม.ขั้นตอนปฏิรูปประเทศ เป็นกฎหมาย Posted: 22 Jun 2017 09:59 AM PDT สนช.มีมติในวาระที่ 3 เห็นชอบให้ร่าง พ.ร.บ. การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. .... และ ร่าง พ.ร.บ. แผนและขั้นตอนดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.. ประกาศใช้เป็นกฎหมาย แฟ้มภาพ 22 มิ.ย. 2560 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติในวาระที่ 3 เห็นชอบให้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. .... ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 218 ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 3 เสียง ทั้งนี้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่กำหนดว่าภายใน 120 วัน หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ต้องตรากฎหมายการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นกรอบในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติวางเป้าหมายในการพัฒนาประเทศต่อไป โดยในร่าง พ.ร.บ. การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. .... นี้ กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ทำหน้าที่กำกับดูแลให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติจะแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติขึ้นมาคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อพิจารณาจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่าง ๆ สำหรับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน, ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง, ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง, รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการคนที่สาม, มีกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และประธานสมคมธนาคารไทย และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มี 17 คน อายุไม่เกิน 75 ปี แต่งตั้งโดยคำนึงถึงความหลากหลายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและช่วงอายุ ประกอบด้วย ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านความมั่นคง ด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ. นี้ ทั้งนี้ ในส่วนของจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น คณะกรรมาธิการฯ วิสามัญของ สนช. ได้บัญญัติเพิ่มเติม จากเดิมมี 14 คน เพิ่มเป็น 17 คน ขณะที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุขนั้น ที่ประชุมฯ ได้เพิ่มเติมขึ้นในการพิจารณาในวาระ2 ตามคำแนะนำของสมาชิก สนช. เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2560 และแผนปฏิรูปประเทศ ส่วนคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านต่าง ๆ จะมีด้านละไม่เกิน 15 คน ซึ่งการแต่งตั้งให้คำนึงถึงความหลากหลายของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและความหลากหลายของช่วงอายุ ทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ ตาม 3 เป้าหมายหลัก คือ 1 เป้าหมายด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ 2.เป้าหมายคุณภาพความเป็นอยู่ของประชาชน และ3 บทบาทของรัฐที่มีต่อประชาชน ขณะที่การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมหรือภารกิจขององค์กรอิสระ ให้แต่งตั้งผู้แทนจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมหรืองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการด้วย สำหรับการติดตามพิจารณาผลนั้น หน่วยงานรัฐต้องรายงานผลการดำเนินการประจำปีต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะรัฐมนตรี หัวหน้าหน่วยงาน และรัฐสภา ทราบภายใน 90 วัน หากสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเห็นว่าหน่วยงานรัฐไม่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ก็ให้ส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการสอบสวนกับผู้บังคับบัญชาหน่วยงานนั้น ขณะที่ในกรณีหน่วยงานรัฐไม่ดำเนินการแก้ไขการดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติหลังได้รับแจ้งให้ปรับปรุง ให้ถือว่าหัวหน้าหน่วยงานของรัฐจงใจปฏิบัติหน้าที่ขัดกับกฎหมาย ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติส่งเรื่องไปที่ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อไป เห็นสมควรประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนดำเนินการปฏิรูปประเทศ เป็นกฎหมายวันเดียวกัน สนช. ยังมีมติเห็นสมควรประกาศให้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แผนและขั้นตอนดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ...ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง 216 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี และงดออกเสียง 4 เสียง จากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 220 คน พร้อมเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ สำหรับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวตราขึ้น ตามมาตรา 259 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่กำหนดให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ โดยมีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีจัดทำแผนขั้นตอนในการดำเนินการปฏิรูปประเทศ การวัดผลการดำเนินการ และระยะเวลาดำเนินการปฏิรูปประเทศทุกด้าน รวมทั้งกำหนดกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้การปฏิรูปประเทศบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการปฏิรูปประเทศ ขณะที่การจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศควรพิจารณาถึงความเร่งด่วนของการปฏิรูปประเทศในแต่ละด้าน เพื่อกำหนดลำดับขั้นตอนในการปฏิรูปประเทศ และต้องคำนึงถึงความพร้อมทางด้านบุคลากรและการเงินการคลังของประเทศ ที่มา : เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สลา คุณวุฒิ: ความ(ไม่)เปลี่ยนแปลงของวงการลูกทุ่งไทย Posted: 22 Jun 2017 08:07 AM PDT สัมภาษณ์พิเศษ สลา คุณวุฒิ ครูเพลงลูกทุ่งอีสานถึงเรื่องความความเปลี่ยนแปลง บนความไม่เปลี่ยนแปลงในวงการเพลงลูกทุ่งไทย หลังค่ายเพลงเล็กๆ ผงาดได้รับความนิยมจากคนฟังมากกว่า 100 ล้านวิว ครูเพลงชี้ไม่มีอะไรใหม่ เพียงแค่ Youtube ทำให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากัน พร้อมระบุปัญหาโชว์เซ็กซี่เกินไปแค่ออกมาโวยวายแก้ไขไม่ได้ หากพูดถึงความนิยม หรือความโด่งดังของศิลปินเพลงลูกทุ่งสังกัดค่ายเพลงใหญ่ซัก 10-20 ปีก่อน สิ่งที่จะสามารถการันตีความมีชื่อเสียงที่ว่านั่นได้คือยอดขายเทปคาสเซ็ท หากศิลปินคนไหนได้ยอดทะลุล้านตลับนั่นคือขั้นหนึ่งของการประสบความสำเร็จวงการศิลปินเพลง ตัวอย่างที่เห็นชัดยากและที่จะปฏิเสธได้ก็คือ ดอกหญ้าในป่าปูน ต่าย อรทัย , รักน้องพร สดใส รุ่งโพธิ์ทอง , สั่งนาง ของมนต์สิทธิ์ คำสร้อย , ปริญญาใจ ศิริพร อำไพพงษ์ , ยาใจคน ไมค์ ภิรมย์พร , ติด ร. วิชาลืม แอร์ สุชาวดี , ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ ตั๊กแตน ชลดา , กระเป๋าแบนแฟนทิ้ง เอกราช สุวรรณภูมิ และอีกหลายบทเพลงที่แปรเปลี่ยนจากยอดขายล้านตลับ กลายเป็นตราประทับที่ตอกแน่นลงไปกลางใจของแฟนเพลงหลายล้านคน ก่อนที่การพัฒนาการทางเทคโนโลยีจะเปลี่ยนรูปแบบของการเพลงฟัง จากเทปคาสเซ็ทสู่ซีดี ดีวีดี mp.3 จนมาถึงยุคของการฟังออนไลน์ในเว็บไชต์เช่น ยูทูบ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การที่บทเพลง หรือศิลปินจะได้รับความนิยมได้ ปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงผลักคือช่องทางในการสื่อสารเช่น วิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ และรายการทีวี ซึ่งผู้ที่จะเข้าถึงช่องทางเหล่านั้นได้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทุนทรัพย์พอสมควร จึงเป็นเหตุให้ค่ายใหญ่เป็นแหล่งรวมศิลปินที่มีชื่อเสียงไว้จำนวนมาก แต่เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ศิลปินที่มีชื่อเสียง และได้รับความนิยมสูง กลับไม่ได้ถูกการันตีด้วยยอดขายอีกต่อไป หากแต่วัดจากยอดคลิ๊กเข้าชมในเว็บไซต์เป็นสำคัญ และเชื่อว่าในเวลานี้ ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน-คู่คอง ก้องห้วยไร่ , คำแพง แซ็ค ชุมแพ , ผู้สาวขาเลาะ ลำไย ไหทองคำ, มหาลัยวัวชน วงพัทลุง , สเตตัสถืกถิ่ม บอย พนมไพร จากที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้เป็นเพลงลูกในปัจจุบันที่มียอดคลิ๊กชมในยูทูบไม่น้อยกว่า 100 ล้านครั้ง และที่สำคัญบทเพลงเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากค่ายแพลงยักษ์ใหญ่เหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต นี่เป็นอีกหนึ่งปรากฎการณ์ที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ท่ามกลางแว่วเสียงวิจารณ์ว่า ค่ายใหญ่กำลังถูกล้อมโดยค่ายเล็ก หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่าค่ายอินดี้ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้เป็นเรื่องใหม่หรือไม่ เป็นความท้าทายใหม่ในวงการเพลงหรือไม่ และแง่มุมใดให้น่าคบคิดพิจารณาบ้าง ประชาไทพูดคุยกับ ครูสลา คุณวุฒิ ครูเพลงผู้คลุกคลีอยู่กับวงการเพลงไม่น้อยว่า 35 ปี ซึ่งมีชื่อเสียงที่ถูกการันตีด้วยผลงานที่ได้รับความนิยมมากมาย และคงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมให้มากความว่าชื่อ สลา คุณวุฒิ คือใคร ทว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ เขาคิด เห็น หรือมองอย่างไรกับปรากฎการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ปรากฏการณ์ไม่ใหม่ แต่เทคโนโลยีทำให้มันเหมือนสิ่งที่พึ่งเกิดปรากฏการณ์การเกิดขึ้นเพลงที่มาจากค่ายเล็กและได้ความนิยมสูงในเวลานี้ ครูสลามองว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะจากอดีตวงการเพลงมีทั้งศิลปินที่สังกัดค่าย และศิลปินใต้ดินมาโดยตลอด หากจะมีสิ่งที่ใหม่และทำให้แตกต่างออกไปก็คือ ช่องทางการนำเสนอผลงานแค่นั้น เขาทำให้ภาพชัดขึ้นด้วยการชี้ให้เห็นว่า ในยุคก่อนการที่ศิลปินจะมีชื่อเสียงขึ้นมาได้ นอกจากมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีเอกลักษณ์ของตัวเองแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเชื่อมตัวเองเข้าหาสื่อ เพราะการที่จะทำให้เพลงเพลงหนึ่งกระจายไปถึงชาวบ้าน หรือผู้ฟังต้องอาศัยสื่อหลักสามสื่อ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และสื่อสิ่งพิมพ์ และผู้ที่สามารถเชื่อมตัวเองเข้าหาสื่อได้ก็กลายมาเป็นศิลปินที่มีคนรู้จักจำนวนมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วความเป็นศิลปินมีอยู่ทั่วไป และตัวศิลปินเหล่านั้นก็สร้างผลงานของตัวเองตลอดเวลาไม่ว่าจะยุคใดก็ตาม เพียงแต่ก่อนหน้านี้การเชื่อมตัวเองเข้ากับสื่อยังเป็นเรื่องที่จำกัด "บางคนที่เก่งจริง ค่ายเพลงมองเห็นความสามารถ ก็มีค่ายเป็นสะพานเชื่อมโยงไปยังสื่อหลัก เมื่อผลงานตอบโจทย์ผู้บริโภคก็กลายเป็นธุรกิจ มันจึงเกิดขึ้นเป็นศิลปินสังกัดค่าย ค่ายใหญ่ ค่ายเล็กก็ว่ากันไป และศิลปินที่ไม่สังกัดค่าย ซึ่งเขาก็มีช่องทางสื่อสารกับกลุ่มเครือข่ายของเขาอยู่ เล็กๆ ไม่กว้างมาก สมัยนั้นเราเรียกว่าใต้ดิน แต่สมัยนี้เรียกกันใหม่ว่าอินดี้ และเหตุผลที่ความสำเร็จของศิลปิน มักจะมีชื่อค่ายแนบมาด้วยเสมอก็เพราะเหตุผลที่ครูเล่ามานี่แหละ เพราะค่ายเป็นสะพานเชื่อมไปหาสื่อใหญ่" "เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงยุค 4G เว็บไซต์ยูทูบ (Youtube) มีระบบที่แข็งแรงมาก และไม่เคยมีมากก่อน การเชื่อมโยงเปรียบเทียบยุคนี้กับยุคก่อนมันเทียบได้ไม่แนบสนิทกันเสียทีเดียว เพราะความเป็นยูทูบหลอมรวมทุกอย่าง ในแง่หนึ่งมันเป็นทีวีที่เป็นลักษณะของทีวีส่วนบุคคลรวมถึงเป็นตัวรองรับทีวีจริงๆ ให้เข้ามาอยู่ในพื้นที่เว็บไซต์เพื่อให้คนเลือกเสพในสิ่งที่ต้องการ และมากไปกว่านั้นคือมันสนองความแตกต่างที่มีอยู่ทั่วโลก มันไม่มีพรมแดน ที่สำคัญมันให้โอกาสคนเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นค่ายเพลงใหญ่ หรือคนทั่วไปซึ่งไม่มีทุนเลยก็ได้สิทธิเข้าไปอยู่ในยูทูบเท่ากัน" สิ่งที่เกิดเขาเห็นว่า แทนที่คนจะมุ่งไปค่ายเพลง แต่คนกลับมุ่งไปที่ยูทูบแทน ซึ่งเป็นช่องทางที่นำเสนอผลงานง่ายกว่า และเผยแพร่ได้บ่อย ผลิตผลงานอะไรได้ก็ลงเลย ใครทำก่อนก็มีโอกาสให้คนเห็นก่อน ยิ่งไปกว่านั้นหากมีความลงตัวในการเป็นศิลปินยิ่งได้เปรียบคนอื่น และได้เปรียบค่ายใหญ่ตรงสามารถแพร่ผลงานได้ทุกวันได้ด้วยตัวเอง แต่เป็นค่ายใหญ่เคลื่อนตัวช้า อาจจะเป็นเดือน หรืออย่างเร็วที่สุดอาจเป็นสัปดาห์กว่าจะได้เพลงหนึ่งเพลง "มันอาจจะใหม่เพราะเทคโนโลยีเพิ่งเกิดขึ้น แต่ถ้าหากเราเอาเครื่องแบบของสังคมในปัจจุบันที่มีเครื่องมือครบครันไปไว้ในยุค 30 ปีก่อน มันก็จะมีปรากฏการณ์แบบนี้เช่นกัน นักร้องดังหลายคนอาจไม่ต้องมาสังกัดค่าย อาจจะไปที่ยูทูบและประสบความสำเร็จเลย... สมัยครูเรียนฝึกหัดครูก็รวมกลุ่มเพื่อน ตอนนั้นก็เป็นยุคอาจารย์จรัล ยุคน้าหงา คาราวาน ยุคครู แล้วก็มาเป็นยุคพี่ปู พงษ์สิทธิ์ คนเหล่านี้เริ่มจากการทำเพลงใต้ดินหมดเลย ลองคิดดูหากวันนั้นมีเทคโนโลยีแบบตอนนี้พี่ปูก็อาจจะมาเป็นแบบก้อง ห้วยไร่ ไม่ต้องมาหาค่ายเพลงอะไรต่างๆ เขาทำเสร็จเขาก็เอาลงยูทูบได้เลย" เมื่อผู้บริโภคอยากลิ้มรสเพลงแนวใหม่ๆ และทุกคนเข้าใกล้สื่อมากขึ้น"ความเปลี่ยนแปลงตรงนี้มันเหมือนกับการที่คนเริ่มหันมากินของป่า เหมือนอย่างเราคนชนชั้นกลางมาห้างก็มาได้ แต่เวลาไปต่างจังหวัดก็ชอบแวะซื่อเห็ดริมทาง แวะร้านริมทางมากกว่าไปนั่งร้านใหญ่ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอะไรจะดีกว่ากันนะ เพียงแต่ว่าบรรยากาศห้างใหญ่กลายเป็นสิ่งที่คุ้นเคยของผู้คนไปแล้ว วันนี้เค้าอาจชอบที่นั่งร้านแบบนี้ มันก็เล่นกลายเป็นกระแสอย่างที่เราเห็นนี่แหละ" ปรากฎการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนมองว่าค่ายเพลงอินดี้กำลังล้อมกรอบค่ายใหญ่ แต่เขาเห็นว่านี่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สิ่งที่สำคัญคือช่องทางการสื่อสารนั้นอยู่ใกล้กับคนทำงานมากขึ้น เมื่อ Youtube เอื้อต่อศิลปินที่กระจายกันอยู่ทั่วทุกภูมิภาค หลายคนจึงมองว่าค่ายอินดี้ถล่มค่ายใหญ่ ซึ่งเขาเห็นว่า ไม่เป็นธรรมทางความรู้สึกสักเท่าไหร่ เพราะปัจจุบันไม่ใช่การแบ่งว่าเป็นค่ายใหญ่กับค่ายอินดี้(ใต้ดิน) แต่มันคือค่ายเล็กกับค่ายใหญ่ เพราะกระบวนการผลิตเหมือนกัน ซึ่งแต่ก่อนต้นทุน เครื่องมือในการผลิตต้องใช้ทุนสูง แต่ทุกวันนี้ปรากฏว่าแค่สมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องก็สามารถถ่ายมิวสิควิดีโอได้แล้ว อย่างไรก็ตามเขาเห็นว่า การมีเทคโนโลยีการสื่อสารเกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการเพิ่มช่องทางที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนได้ การโชว์เซ็กซี่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้หากอยู่ในกรอบของศิลปะแม้ครูสลา จะเห็นว่า การเกิดขึ้นของยูทูบเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ยังมีแง่ลบอยู่คือยูทูบยังไม่มีตะแกรงกรองเนื้อหาที่เผยแพร่ ซึ่งอาจจะส่งปัญหาอยู่บ้าง เช่นเรื่องความเหมาะโดยเฉพาะในแง่ของการแสดงโชว์ และในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ "เรื่องของสิทธิ์เป็นอันดับแรกของปัญหา ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของผลงานแต่เอางานผู้อื่นไปลงเผยแพร่ มันเป็นการละเมิดอย่างเป็นทางการและเปิดเผยมากในปัจจุบัน เช่นการเอาเพลงดังๆ หลายเพลงมาสร้างเพลลิสต์ใหม่โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของเพลง และมียอดเข้าชมหลักหมื่น หลักแสน หรืออาจเป็นล้าน และได้รายได้จากตรงนั้น นี่ขนาดเป็นเรื่องของสิทธิ์เรายังไม่มีตะแกรงเลย" "ส่วนในเรื่องของการแสดงเป็นจุดที่ยากจะชี้ชัด บางคนแต่งเซ็กซี่แล้วก็พอเข้าใจได้ แต่บางคนเหมือนจงใจที่จะแต่งแบบนั้นแสวงหาความดังอย่างเดียว อย่าช่วยกันด่า ยิ่งด่ายิ่งดัง อาจจะขอความร่วมมือ ส่วนการจะลงรายละเอียดของความเหมาะสมมันยาก เพราะเพลงแต่ละสไตล์มันต่างกัน หากไปวิจารณ์เลยอาจจะโดนกระแสตีกลับเพราะเราอาจไม่รู้จริงในด้านนั้น เช่นบางคนที่ครูรู้จัก อย่างที่เป็นประโคมข่าวกันอยู่ตอนนี้ก็คือ ลำไย เขาก็เคยมาหาครู เขาก็เป็นเด็กสู้ชีวิต แต่การแสดงออกของเขาก็ไม่รู้ว่ามันประมาณไหน รู้แค่ว่าทำอย่างไรถึงจะได้งาน หรือยกตัวอย่างลำซิ่งก็ได้ หากครูไปวิจารณ์ว่าเขาโป๊เกินไป เขาก็ตอบกลับมาถ้าไม่ทำอยากนี้ชาวบ้านก็จะไม่ดู ไม่มีใครจ้างงาน แล้วอยากนี้เราจะตอบเขาอย่างไร ปัญหามันก็วนอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นความแยบยลของผู้มีอำนาจนั่นแหละ เป็นเรื่องที่สังคมควรหันหน้าไปหา และถามว่าคุณควรจะทำอะไร เพราะมีอำนาจอยู่ในมือ" อย่างไรก็ตามเขาเห็นว่า ความเหมาะสมของการแสดงโชว์ของศิลปินนั้นก็ควรอยู่ในกรอบของศิลปะ ไม่ได้มุ่งหวังเพียงแต่ความดังอย่างเดียว ซึ่งจริงๆ แล้วความเป็นศิลปะไม่ได้บอกให้ห้ามโป๊ บางทีความเซ็กซี่หน่อยๆ หากอยู่ในขนบของศิลปะก็น่ามอง เขายกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดต่อไปถึง ตัวละครจักรๆ วงษ์ๆ หรือนางในวรรณคดีก็ยังมีการเปลือยอก แต่ก็เป็นเสน่ห์ หรือหนังฮอลลีวูด หนังรางวัลที่โด่งดังหลายเรื่องก็ยังต้องมีฉากเลิฟซีน การโวยวายเรื่องโชว์โป๊เกินไปไม่ใช่ทางแก้ สิ่งที่ทำได้คือการทำความเข้าใจ และขอความร่วมมือสำหรับเรื่องการแสดงของศิลปินในปัจุบันที่มีหลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการโชว์เซ็กซี่ หรือโป๊มากเกินไป ครูสลา เห็นว่า การออกมาโวยวายแต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่ใช่ทางแก้ และนอกจากจะไม่ช่วยแก้ไขแล้วยังไปส่งเสริมความดังให้เพิ่มมากขึ้นอีก เขาเห็นว่าทางแก้ที่ง่ายที่สุดคือ การทำความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นออแกไนเซอร์ ผู้จ้างงาน หรือศิลปิน มาตกลงกันแบบง่าย ศิลปินผู้สร้างงานก็จะตระหนักเองว่าแบบนี้ทำไม่ได้ "หากพูดถึงแนวทางแก้ไขมีแนวทางคือรัฐ ยิ่งในยุคแบบนี้ยิ่งแก้ไขง่าย แทนที่การว่ากล่าวจะเป็นทางแก้ไขกลับเป็นการเติมความดัง การที่แก้ไขแบบง่ายคือเรียกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นออแกไนเซอร์ ผู้จ้างงาน หรือศิลปิน มาตกลงกันแบบง่าย ศิลปินผู้สร้างงานก็จะตระหนักเองว่าแบบนี้ทำไม่ได้ เพราะจะไม่มีงานจ้าง อย่างสื่อเองที่รู้ว่าใครถูกด่า หรือกำลังเป็นกระแสก็เชิญมาออกรายการยิ่งทำให้เค้าดัง ครูมองว่าภาครัฐสามารถที่จะคุย ปรับแก้กับคนแค่สามสี่กลุ่มได้ ดีกว่าออกมาพูดว่าทำอย่างนั้นทำไม? ตรงนี้ครูไม่ได้ต้องการให้รัฐเข้ามาควบคุมนะ แต่อยากให้แก้ไขให้ถูกจุด เพียงแค่คุยกับผู้จ้างงาน รวมถึงถามและฟังเหตุผลของศิลปินก่อน บางคนก็คิดแค่ว่าทำยังไงก็ได้ขอให้ดัง ขอแค่มีงานจ้างต่อสู้ดิ้นรน จนลืมมองไปว่าการแสดงมันเกินคำว่าศิลปะ" ภาษาสองแง่สองง่ามไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น ความท้าทายใหม่ของคนแต่เพลง และกระแสเพลงอีสานกลางกรุงเมื่อถามถึงในแง่ของเนื้อหา และความสละสลวยของภาษา จากเดิมที่เคยมีแต่ค่ายใหญ่เป็นผู้คัดกรอง แต่ในปัจจุบันศิลปินสามารถส่งตรงผลงานสู่ผู้ฟังได้เลยโดยไม่ต้องผ่านค่ายใหญ่ เขาเห็นว่าเรื่องนี้ก็ไม่มีอะไรที่เปลี่ยนไป ทุกอย่างเป็นอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ยุคก่อนก็จะมีเพลงที่มีความสองแง่สองง่ามมาตลอด เพียงแต่การมีค่ายเพลงก็เหมือนกับการมีตะแกรงกลั่นกรอง แต่ทุกวันนี้ศิลปินทำเสร็จแล้วก็ส่งผลงานให้คนฟังได้เลย คล้ายกับการมีเทคโนโลยีทำให้เห็นสิ่งที่เป็นอยู่ได้มากขึ้นเท่านั้น "ครูมองว่า มันไม่ใหม่ แต่มันมีให้ฟัง ให้เห็นเยอะมากกว่า คือถ้าเราอ่านขุนช้างขุนแผน ก็จะรู้ว่าอารมณ์ของคนมันเป็นแบบนี้มาตั้งแต่ยุคขุนช้างขุนแผนแล้ว เพียงแต่ว่ายุคนี้มันทำให้เราเห็นได้ง่ายขึ้นเท่านั้น มันก็ดูเยอะในความรู้สึกของคน คนก็รู้สึกว่า ทำไมเด็กยุคนี้มันอะไรต่างๆ นาๆ แต่จริงๆ ยุคก่อนก็เป็น เพียงแค่แสดงออกให้คนเห็นมากๆ ไม่ได้ แต่ยุคมันง่าย และทำได้เลย แต่ยุคก่อนเพลงพื้นบ้านกลอนฉ่อย หมอลำกลอน นิทานก้อม ก็ยังมีเรื่องใต้สะดือเป็นว่าเล่น แต่ฟังยังไงก็เป็นศิลปะ ไม่ได้จงใจแบบทุกวันนี้ที่มันก้าวไปสู่ความอนาจารมากขึ้น" "สมัยนี้เพลงที่มีเนื้อหาสะท้อนบริบททางสังคมยังคงมีอยู่ แต่สู้กระแสเพลงยุคนี้ไม่ได้ ก็ยังเชื่อว่าสิ่งที่มาเร็วก็มักจะไปเร็ว โดยการคัดกรองของคนฟังเอง ส่วนเพลงที่มีคุณภาพอาจเติบโตช้าแต่อยู่ได้นาน ในการสร้างสรรค์ผลงานก็ถือว่าท้าทายเสมอ สำหรับครูเราก็ต้องทำผลงานให้คนฟังยอมรับให้ได้ ในยุคนี้ พ.ศ. สิ่งไหนที่มันดี และสิ่งที่ครูต้องครูปรับ ครูก็ต้องปรับเหมือนกัน มันก็สนุกดี ท้าทายดี เพราะว่างานศิลปะปลายทางไม่ใช่ค่าตอบแทน ปลายทางของความสุขจริงๆ คือการสร้างงานที่มีคุณภาพ และประสบความสำเร็จ หากเราศึกษาจริงๆ จะพบว่าทุกอย่างมันเหมือนเดิม เพียงแต่โครงสร้างของเทคโนโลยีเปลี่ยน มันก็เป็นความท้าทายที่เราต้องยืนยันความเป็นตัวเอง" สำหรับเพลงลูกทุ่งอีสานที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ครูสลามองว่า เป็นพัฒนาการที่ดี โดยเด็กรุ่นใหม่มีความคิดสร้างสรรค์ที่พยายามจะปรับเปลี่ยนการทำเพลงให้เขากับวัฒนธรรมป๊อป และเห็นว่าการปรับเปลี่ยนเหล่านี้ไม่ใช่การละทิ้งหรือลืมรากของตัวเอง แต่กลับยิ่งทำให้คนได้เข้าถึงเพลงอีสาน วัฒนธรรมอีสานมากขึ้นไปด้วย "มันเป็นพัฒนาการที่ดี คือในสมัยก่อนถ้าหากว่าเราเป็นเพลงหมอลำเราก็จะอิงลายหมอลำทั้งดุ้น อย่างลายเต้ย ลายต่างๆ แต่บางคนเขาก็รู้สึกว่าเรากินบ่อยจนอิ่มแล้ว และอยากจะลองรสชาติใหม่ๆ ตอนนี้เด็กรุ่นใหม่ๆ เขาก็มีความคิดสร้างสรรค์ น้องๆ ที่ทำผู้บ่าวไทบ้าน อะไรต่างๆ กู่แคน ก้อง ห้วยไร่ และคนอื่นๆ พวกคลื่นลูกใหม่ เขามีความสร้างสรรค์ เขาเอามาผสมกัน คือตัวตนเขายังรักหมอลำอยู่ ยังรักอะไรที่มันเป็นอีสาน แต่รสชาติต่างหากที่เขาพยายามปรุงใหม่ โดยเปลี่ยนที่จังหวะ แทนที่จะเอาลำเต้ยมาทั้งดุ้นแบบยุคก่อนๆ ซึ่งก็เพราะอยู่แล้ว แต่เขาก็หยิบโครงสร้างของดนตรีเพื่อชีวิต ป๊อป แล้วใส่เมโลดีของอีสานเข้าไป มันก็กลายเป็นรสชาติใหม่ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ดี และทำให้ใครๆ ก็เสพงานบ้านเราได้อย่างลงตัว และกลมกลืน คนฟังก็ไม่เขินเวลาฟังเพลงแบบนี้ บางคนฟังไม่เข้าใจแต่ก็ชอบฟัง เหมือนที่เราบางคนชอบฟังเพลงฝรั่งนั่นแหละ และมันไม่ได้เป็นการทิ้งของเก่า มันเป็นการสร้างสรรค์ มันไม่หยุดอยู่กับที่หรอก งานศิลปะมันเคลื่อนไปกับยุคสมัยเสมอ ยุคทูล ทองใจ สายัณห์ สัญญา ยุคครูไพบูลย์ หรือแม้กระทั้งที่ครูเขียน มันก็ประยุกต์มาเรื่อยไม่เคยอยู่กับที่" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คสช.แจง 'เสธ.พีท' ค้นบ้าน 'ดาวดิน' อ้างคำสั่งปราบผู้มีอิทธิพล Posted: 22 Jun 2017 05:38 AM PDT โฆษก คสช. แจ้ง ทหารค้น 'บ้านดาวดิน' ไม่ต้องมีหมายศาล หรือหมายค้นใดๆ เหตุทหาร ไปตรวจค้น เพิ่อความสงบเรียบร้อย โดยอาศัยตามคำสั่ง คสช.ที่13/2559 โดยคำสั่งดังกล่าวให้อำนาจทหารปราม กลุ่มมาเฟียหรือผู้มีอิทธิพล ภาพขณะเจ้าหน้าที่ค้นบ้านดาวดิน วานนี้ (21 มิ.ย.60) 22 มิ.ย. 2560 จากกรณีช่วงเช้าวานนี้ ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. จะมาปาฐกถาพิเศษเรื่อง "การขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และตรวจราชการด้านการพัฒนาการเกษตร เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ นำโดยพันโทพิทักษ์พล ชูศรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษ มณฑลทหารบกที่ 23 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหารนอกเครื่องแบบ และเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งชายและหญิงรวมแล้วราว 30 นาย ได้ทำการเข้าตรวจค้นบ้านนักกิจกรรมกลุ่มดาวดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยไม่มีหมายตรวจค้นจากศาลนั้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) ล่าสุดวันนี้ (22 มิ.ย.60) วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวด้านความมั่นคง โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Wassana Nanuam รายงานว่า พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษก คสช. กล่าวถึงการร้องเรียน กรณี "เสธ.พีท" พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี นำกำลัง เข้าตรวจค้นดังกล่าวนั้น เป็นวันที่ นายกฯลงพื้นที่ ขอนแก่น นั้น ว่า ไม่ต้องมีหมายศาล หรือหมายค้นใดๆ เพราะ เจ้าหน้าที่ทหาร ไปตรวจค้น เพิ่อความสงบเรียบร้อย โดยอาศัยตามคำสั่ง คสช.ที่13/2559 ในนามของ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) เพิ่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคง อีกทั้งให้ฝ่ายทหาร ทำหน้าที่เป็น เจ้าพนักงาน อีกด้วย โดยครั้งนี้ไปในนาม กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) มทบ.23 สำหรับ คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2559 นั้น เป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารเป็นพนักงานป้องกันและปราบปราม กลุ่มบุคคลที่กระทำความผิดหรือมีเหตุอันสงสัยว่ากระทำความผิด อาทิกลุ่มมาเฟียหรือผู้มีอิทธิพล และมีอำนาจเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่เพื่อตรวจค้น เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามพยานหลักฐาน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จี้ 'สรรเสริญ-รมว.สาธารณสุข' ขอโทษ ปชช. เหตุบิดเบือน หวังแก้ ก.ม.บัตรทองง่อยเปลี้ยเสียขา Posted: 22 Jun 2017 03:56 AM PDT แจงเอ็นจีโอรับงบสนับสนุนกิจการภาครัฐ อภ.แค่ 6 แสน 0.38% ของงบทั้งหมดปี 57 จี้ผู้บริหาร สปสช. ออกโรงแจงข้อเท็จจริง ระบุกรณี ปลัด สธ.เอ่ยน้ำตาตกในกลางเวทีเสวนา ชี้เหตุจาก คตร.ไม่ใช่ สปสช.ใช้วิธีนักบัญชีตี กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่ 22 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่ ทั้งนี้เมื่อดูรายงานเบิกจ่ "ที่ผ่านมา สธ.เคยเป็นหน่วยงานที่มีความก้ "แค่โฆษกรัฐบาลขอโทษรัฐมนตรี ง่ายไปไหมคะ สังคมมีอารยะ ทำหน้าที่ของตัวเองได้แย่ขนาดนี้ กรรณิการ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สปสช.ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้ กรรณิการ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวบนเวทีเสวนาแก้ไข กม.บัตรทอง ที่จัดโดย สธ.วานนี้ (21 มิ.ย.) โดยระบุถึงปัญหาการบริ สรรเสริญขอโทษรมว.สธ.กรณีสื่อสารประเด็นบัตรทองคลาดเคลื่อนขณะที่ สำนักข่าว TNN24 รายงานว่า พล.ท.สรรเสริญ กล่าวขอโทษ นพ.ปิยะสกล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หลังเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ กฏหมายบัตรทอง ว่าเมื่อมีการแก้ไขกฎหมายแล้ว การซื้อยาของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในจำนวนมากๆ จะได้ราคาที่ลดลง ซึ่งราคาที่ลดลงนี้ จะนำมาสนับสนุนภารกิจของเอ็นจีโอที่ร้องขอมา จนเกิดการเข้าใจผิดขึ้น และนพ.ปิยะสกล ก็ได้โทรศัพท์มาชี้แจ้งเมื่อวานนี้ (21 มิ.ย.) แฟ้มภาพ สำหรับ 14 ประเด็น ที่มีการแก้ไข จะมุ่งไปที่การบริหารจัดการขององค์กรทั้งกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิสวัสดิการหรือการดูแลประชาชน โดยขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งนพ.ปิยะสกลก็บอกว่ารัฐบาลเอง ไม่ควรออกความคิดเห็นอะไรมาก เพราะจะกลายเป็นการตั้งธงไว้ตั้งแต่ต้น แต่ควรรอให้กระทรวงสาธารณสุขได้แก้ปัญหาก่อน ซึ่งสุดท้ายรัฐบาลก็ต้องฟังเสียงของประชาชน แล้วจึงนำมาปรับแก้ให้ตรงกับความต้องการอยู่แล้ว เตือนตั้งใจล้มประชาพิจารณ์อาจเจอโทษได้ส่วนการล้มเวทีประชาพิจารณ์ พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า แม้ว่ารัฐบาลนี้จะไม่ใช่รัฐบาลประชาธิปไตย แต่ก็พร้อมจะรับฟังความเห็นบนรากฐานของระบอบประชาธิปไตย เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะเห็นต่าง แต่ก็ไม่ควรจำกัดสิทธิของผู้อื่น โดยเฉพาะการล้มเวทีประชาพิจารณ์นั้นถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ตำรวจในพื้นที่ได้รวบรวมข้อมูลไว้หมดแล้ว และจะดำเนินการไปตามกระบวนทางกฎหมาย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วงเสวนาถก 'ใบอนุญาตก่อสร้าง' ความสะดวกที่ต้องจ่ายจริงหรือ ระดมความเห็น ปลดล็อคสินบน Posted: 22 Jun 2017 03:06 AM PDT องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันจัดเสวนา 'ใบอนุญาตก่อสร้าง ความสะดวกที่ต้องจ่าย... จริงหรือ' เพื่อระดมความเห็น ปลดล็อคสินบน ภาคเอกชนชี้ ผู้ประกอบการไม่มีใครอยากจ่ายใต้โต๊ะ เพราะทุกอย่างเป็นต้นทุนทั้งนั้น ซึ่งในที่สุดก็ตกอยู่กับผู้บริโภค 22 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT แจ้งว่า ACT จัดงานเสวนา 'ใบอนุญาตก่อสร้าง ความสะดวกที่ต้องจ่าย.. จริงหรือ' โดยเชิญตัวแทนแต่ละภาคส่วนมาร่วมถก ได้แก่ อัชชพล ดุสิตานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ฯ ชี้ 'ปัญหาคอร์รัปชันจะแก้ไขได้ ต้องแก้ที่ตัวเราก่อน ตัวเราเองดีแล้วหรือยัง' ส่วน รศ. ดร. ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เน้นว่า 'ถึงจุดนี้ ประเทศต้องมีการเปลี่ยนแปลง และพยายามแก้ไขปัญหาการให้สินบนการก่อสร้าง' สำหรับภาคเอกชน สรรค์ สุขุขาวดี ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท แอล. พี. เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) พูดแทนภาคเอกชน 'ถึงวันนี้ ผู้ประกอบการไม่มีใครอยากจ่ายใต้โต๊ะ เพราะทุกอย่างเป็นต้นทุนทั้งนั้น ซึ่งในที่สุดก็ตกอยู่กับผู้บริโภค' มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปัจจุบันประชาชนต้องแบกรับภาระราคาที่อยู่อาศัยที่สูงขึ้น สาเหตุหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายซ่อนเร้นซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายให้กับข้าราชการในการขอใบอนุญาตที่ต้องยื่นขอเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน แม้ว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. อำนวยความสะดวกในการพิจารณาใบอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ที่กำหนดให้ทุกหน่วยงานของรัฐต้องปรับปรุงการให้บริการประชาชนเมื่อไปติดต่อทำเรื่องขออนุญาตต่างๆ ให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว แต่ปัจจุบัน ถือว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังมีผลในทางปฎิบัติน้อยมาก รศ. ดร. ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า "เรามีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหามาเป็นเวลานานมาก แต่เนื่องจากขาดความต่อเนื่อง และความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ ผลที่ออกมาไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน" อัชชพล ดุสิตานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ให้ความเห็นว่า "ปัญหาการขอใบอนุญาตเกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัย อาทิ ค่านิยมของคนในสังคมที่ประชาชนในการอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าขุนมูลนาย อีกทั้งกฎหมายของประเทศที่ยังไม่ศักดิ์สิทธิ์ทำให้ทุกคนคิดแต่จะเลี่ยงกฎหมาย และพื้นฐานทางด้านการศึกษา เป็นต้น" "นอกจากนี้ เราต้องยอมรับความเป็นจริงในสังคมว่า ปัจจุบันข้าราชการระดับสูงเงินเดือนค่อนข้างน้อย จึงทำให้คนกลุ่มนี้ถูกชักจูงด้วยกลุ่มพ่อค้าที่เข้ามาหยิบยื่นข้อเสนอบางอย่างให้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ตนต้องการได้ง่าย" สรรค์ สุขุขาวดี ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท แอล. พี. เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้แสดงความคิดเห็นในมุมมองภาคเอกชนว่า ผู้ประกอบการไม่มีใครอยากจ่ายใต้โต๊ะเพราะทุกอย่างเป็นต้นทุน การไปยื่นใบอนุญาตก่อสร้างในแต่ละครั้ง จะมีเจ้าหน้าที่เรียกไปคุยก่อน เพื่อต่อรองกันเรื่อง 'การแบ่งปันรายได้' ซึ่งเหตุผลที่ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจในการต่อรองมี 2 ประเด็นหลักคือ การที่ผู้ประกอบการทำผิดกฎหมาย และการซื้อเวลา ดังนั้นจึงอยากให้หน่วยงานรัฐ จัดตั้ง One Stop Service เพื่อให้การทำงานต่างๆ รวดเร็วขึ้น อารีพันธ์ เจริญสุข ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในฐานะตัวแทนจากภาครัฐ ได้กล่าวว่า "สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่เห็นกันมานาน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะภาครัฐสร้างกลไกความไม่สะดวกให้เกิดขึ้นจากการเข้าไปกำกับในทุกขึ้นตอน ทำให้ภาคเอกชนต้องใช้เงินเพื่อซื้อความสะดวก ทั้งหมดนี้จึงเป็นต้นตอของการคอร์รัปชัน" "เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่กัดกร่อนสังคมไทยมานาน วันนี้ รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาที่ละฉบับๆ แต่โลกหมุนไปเร็วมาก ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศถดถอยลงไปมาก ทำให้ คะแนน Ease of Doing Business ของประเทศไทยถดถอยลงเรื่อยๆ ดังนั้น พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 จึงถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และถูกลง แต่ในทางปฎิบัติ ถึงแม้ว่าจะช่วยให้การทำงานมีความโปร่งใสมากขึ้น ก็ยังไม่ช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้นทั้งหมด สำนักงาน ก.พ.ร. จึงมีแนวคิดที่จะปรับลดขั้นตอนลงในอนาคต" ดังนั้น ก.พ.ร. จีงมีแนวคิดในการพัฒนาการบริการภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัลให้มากขึ้น หรือ Zero Touch ที่ทำให้ทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยระบบที่เซ็ทไว้ ทำให้ลดเวลาในการดำเนินการ และลดปัญหาการคอร์รัปชัน ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการของบประมาณจาก กสทช. เพื่อทำ Single Form และนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งหากโครงการนี้สำเร็จ จะสามารถลดขั้นตอนและเวลาดำเนินการต่างๆไปได้ 30-50% จากการเสวนาในครั้งนี้ วิทยากรทุกท่านต่างให้ความเห็นว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรมานั่งคุยกัน ถึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อแก้ไขให้ปัญหาต่างๆเหล่านี้หมดไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างยอมจ่ายเงินช่วยลูกจ้างบริติชไทยซิน หลังนายจ้างปิดกิจการ Posted: 22 Jun 2017 02:35 AM PDT คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือลูกจ้างบริษัทบริติชไทยซินฯ 18,000 บาท กรณีนายจ้างปิดกิจการหลังเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลายตั้งแต่ต้นปี ส่งผลคนงานไทย-ข้ามชาติ 111 คน ตกงาน ขณะที่ 'ทหาร-ตร.' เฝ้าเกาะติดคนงานตั้งแต่หอพักถึงกระทรวงแรงงาน ภาพ 'ทหาร' เฝ้าเกาะติดคนงานที่กระทรวงแรงงาน (ที่มา : voicelabour.org) เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา voicelabour.org รายงานว่า สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ร่วมกับ สหภาพแรงงานบริษัทบริติชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ สมาชิกประมาณ 40 คน ซึ่งเป็นของบริษัทบริติชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ ที่ได้ปิดกิจการลงหลังจากศาลพิพากษาให้บริษัทล้มละลาย ทำให้คนงานทั้งหมดจำนวน 111 คน ซึ่งมีทั้งที่เป็นแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติต้องถูกลอยแพคนงานโดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่าย นับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.เป็นต้นมา ได้ไปติดตามเรื่องการเยียวยาจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่มีการประชุมในวันที่ 21 มิ.ย.นั้น ผลการประชุมมีดังนี้ 1. อนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์ให้แก่คนงานไทยซึ่งจะได้รับประมาณคนละไม่เกิน 18,000 บาท 2. สำหรับแรงงานข้ามชาติประมาณ 20 คน ต้องไปตรวจสอบเอกสารการทำงานว่าถูกต้องหรือไม่หากมีเอกสารการทำงานและเดินทางมาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็มีสิทธิในการรับเงินสงเคราะห์ แต่หากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีแค่ใบอนุญาตทำงานชั่วคราว(บัตรสีชมพู)ไม่สามารถจ่ายได้ ซึ่งจะนำมาพิจารณาอีกครั้งหลังตรวจสอบเอกสารแล้ว และ 3. ส่วนการจ่ายเงินจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากรับฟังคำชี้แจงจากผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างแล้ว ประธาน คสรท. กล่าวขอบคุณประธานและคณะกรรมการลูกจ้าง ผู้อำนวยการ รวมทั้งข้าราชการกระทรวงแรงงานหลายคนที่อำนวยความสะดวกให้การต้อนรับรวมทั้ง ทหาร ตำรวจ ที่เฝ้าเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจากหอพักคนงานย่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่จนถึงกระทรวงแรงงาน ภาพ ทหารจำนวนหนึ่งไปหาคนงานสหภาพแรงงานบริติชไทยซิน เทติคเท็กส์ไทล์ ที่ยังคงอาศัยอยู่ที่ในโรงอาหารที่โรงงาน เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เมื่อ เวลา 19.30 น. ของวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีทหารจำนวนหนึ่งไปหาคนงานสหภาพแรงงานบริติชไทยซิน เทติคเท็กส์ไทล์ ที่ยังคงอาศัยอยู่ที่ในโรงอาหารที่โรงงาน รายงานข่าวระบุด้วยว่า การเข้ามาพบคนงานครั้งนี้ เนื่องจากทหารทราบว่าคนงานกลุ่มนี้และแรงงานกลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อยอ้อมใหญ่จะเดินทางไปกระทรวงแรงงานในวันพรุ่งนี้ (21 มิ.ย.60) เพื่อไปติดตามกรณีที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ที่จะประชุมในวันดังกล่าว ว่าจะมีความคืบหน้ากรณีการเลิกจ้างคนงานบริติชไทซิน สำหรับกรณีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2560 บริษัทบริติช-ไทยซินเทติคเท็กสไทล์ จำกัด บริษัทขนาดกลางสัญชาติไทย-จีน ตั้งอยู่ที่ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ประกอบกิจการประเภทตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออก ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2515 หรือดำเนินการมากว่า 45 ปี ต้องปิดตัวลง เนื่องจากนายจ้างล้มละลายเพราะติดหนี้ธนาคารกรุงเทพ และเลิกจ้างคนงานจำนวน 111 คน เป็นคนไทย 89 คน แรงงานข้ามชาติจากพม่าอีก 22 คน โดยที่บริษัทหลบหนี และไม่มีการจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยใดๆ ทั้งสิ้นแม้แต่บาทเดียว อีกทั้งไม่นับว่า "ทรัพย์สินทั้งหมดเมื่อนำออกขายแล้ว เมื่อเทียบกับหนี้ที่คงอยู่ก็ไม่พอชำระหนี้แม้แต่น้อย" อีกด้วย คนงานแทบทั้งหมดที่นี่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงวัยกลางคน ยกเว้นหนุ่มสาวแรงงานข้ามชาติบางส่วน ที่ต่างก็เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานบริติชไทยซินเทติคเท็กสไทล์ มี "นิภา มองเพชร" เป็นประธานสหภาพแรงงาน สังกัดกลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ที่มี "สัพพัญญู นามไธสง" เป็นประธานกลุ่ม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ทีมตรวจสอบระบุ ไทยพีบีเอสซื้อหุ้นกู้ซีพีเอฟได้ ไม่ผิดธรรมาภิบาลและจริยธรรม Posted: 21 Jun 2017 11:17 PM PDT รายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีไทยพีบีเอสซื้อตราสารหนี้ซีพีเอฟ (เจริญโภคภัณฑ์อาหาร) ระบุ ซื้อได้ ไม่ส่อผิดธรรมภิบาลแม้คณะผู้บริหารยังมิได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นต้อนตามกฎหมาย ระเบียบ ชี้ ยังไม่ปรากฏหลักฐานบ่งชี้ว่ามีผู้ได้ผลประโยชน์เพราะซื้อขายตามราคาใกล้เคียงกับรายอื่นในเวลาเดียวกัน 21 มิ.ย. 2560 สืบเนื่องจากกรณีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ลงทุนซื้อหุ้นของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาคประชาชนและสังคมเกิดข้อสงสัยและความคลางแคลงใจในเรื่องความเป็นกลาง แม้ทางผู้อำนวยการองค์การฯ กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ จะออกมาชี้แจงว่าเป็นการดำเนินงานที่ถูกต้อง แต่ก็รับผิดชอบต่อความรู้สึกของประชาชนและเครือข่ายที่ร่วมทำงานมากับไทยพีบีเอสด้วยการลาออกเมื่อ 15 มี.ค. ที่ผ่านมา (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ทางคณะกรรมการนโยบายได้มีคำสั่งองค์การฯ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการซื้อตราสารหนี้ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ขึ้นมา ได้ปฏิบัติงานโดยอาศัยเอกสารที่ทีมเลขานุการจัดหาให้ ประกอบด้วย พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 พ.ร.บ. ระเบียบองค์การฯ ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และการงบประมาณ พ.ศ. 2558 รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่เกี่ยวข้อง และเอกสารประกอบเกี่ยวกับการลงทุนซื้อหุ้นกู้ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และเชิญผู้เกี่ยวข้อง 3 รายมาให้ข้อมูลประกอบการพิจารณา เมื่อวานนี้ (21 มิ.ย.) เว็บไซต์ไทยพีบีเอส ได้เผยแพร่เอกสาร "รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการซื้อตราสารหนี้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (ซีพีเอฟ)" โดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ (อ่านเอกสารตัวเต็ม) ในส่วนสรุปความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ระบุไว้ ดังนี้ พิจารณาจาก พ.ร.บ. คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ เห็นว่า ส.ส.ท. สามารถซื้อหุ้นกู้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้ แม้ว่าการดำเนินการของคณะผู้บริหารยังมิได้ดำเนินการให้ถูกต้อง ครบถ้วนทุกขั้นตอนตามที่กฎหมายและระเบียบที่เกียวข้องกำหนดไว้ นอกจากนี้ ยังไม่ปรากฎหลักฐานที่จะชี้ให้เห็นได้ว่า การซื้อหุ้นกู้ครั้งนี้มีผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน เนื่องจากราคาซื้อ-ขาย เป็นราคาที่ใกล้เคียงกับรายอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน กรณีที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถบ่งชี้ถึงการกระทำที่ผิดหลักธรรมาภิบาล ในบทบาทหน้าที่ของสื่อสาธารณะ ทั้นี้โดยอ้างอิงกับ ข้อบังคับองค์การฯ ว่าด้วยจริยธรรมของ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน พ.ศ. 2551 และข้อบังคับองค์การฯ ว่าด้วยจริยธรรมของวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิตและการเผยแพร่รายการ พ.ศ. 2552 การซื้อหุ้นกู้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ไม่ได้มีข้อขัดแย้งกับข้อบังคับองค์การฯ ว่าด้วยจริยธรรมดังกล่าว
ในส่วนข้อเสนอแก่คณะกรรมการนโยบาย มีใจความว่า
ในส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับขั้นตอนการซื้อหุ้นกู้ซีพีเอฟนั้น ระบุว่า มีการเสนอขออนุมัติซื้อหุ้นกู้ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ผ่านธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) เป็นจำนวนเงิน 193,615,453.80 บาท (หุ้นกู้มีราคาตามมูลค่า 180,000,000 บาท + ส่วนต่างการลงทุนเพื่อปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นอันตราตลาด ณ ขณะนั้น 13,615,453.80 บาท) อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในหุ้นกู้ร้อยละ 4.90 ต่อปี้ อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ ส.ส.ท. ได้รับ ร้อยละ 3.06 ต่อปี วันครบกำหนดอายุหุ้นกู้ 2 ส.ค. 2564 ตามรายงาน มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลือกซื้อหุ้นกู้ซีพีเอฟ ใจความว่า เมื่อ 12 ม.ค. 2560 ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) เสนอข้อมูลหุ้นกู้ 2 บริษัท ตามคำขอของภิญญาพัชญ์ หงส์พิมลมาศ เจ้าหน้าที่การเงิน ส.ส.ท. เมื่อเดือน ธ.ค. 2559 โดยเสนอหุ้นกู้ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) รุ่นที่ CPF218B อันดับเครดิต A+ อัตราผลตอบแทนร้อยละ 3.06 ต่อปี อายุหุ้นกู้คงเหลือ 4.53 ปี และ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTS) รุ่นที่ BTSC19NA อันดับเครดิต A อัตราผลตอบแทนร้อยละ 2.46 ต่อปี อายุหุ้นกู้ประมาณ 3 ปี จากนั้น ภิญญาพัชญ์ ได้นำข้อมูลหุ้นกู้ 2 บริษัทไปปรึกษากับอัจฉรา สุทธิศิริกุล ที่ปรึกษาด้านการเงินการคลัง และได้ข้อสรุปที่จะลงทุนในหุ้นกู้ CPF218B ที่มา: ไทยพีบีเอส, รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการซื้อตราสารหนี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (ซีพีเอฟ) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น