โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ปรองดอง | กรงในกะลา #7

Posted: 09 Jun 2017 12:07 PM PDT

เมื่อรัฐเสนอให้ทุกฝ่ายปรองดอง แต่ความร้าวลึกในสังคมไม่เคยจางหาย คนต่างสีเสื้อ คิดต่างกัน จะมาคุยกันอย่างไร อะไรคือจุดเริ่มต้นและจุดร่วมที่จะพาทุกฝ่ายหันหน้ามาคุยกันอย่างเปิดใจ ติดตามได้ใน "ปรองดอง" (NON ZERO SUM GAME) ผลงานของ พันธวิศย์ เทพจันทร์

ประชาไท ภายใต้มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน เผยแพร่คลิปวิดีโอผลงานเยาวชนในประเด็น 'เสรีภาพออนไลน์ Online Freedom' ทั้งหมด 10 คลิป เช่น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ นักโทษการเมือง การอยู่ในโลกเสมือนจริง และ Single Gateway โดยก่อนหน้านี้มีการฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในงานมอบรางวัลให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานวิดีโอ ภายใต้ชื่องาน "กรงในกะลา" ที่โรงภาพยนตร์เอสพลานาด รัชดา

รับชมคลิปจากงาน "กรงในกะลา" ที่ https://goo.gl/UkDElt

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Nanaoutai | กรงในกะลา #6

Posted: 09 Jun 2017 11:42 AM PDT

โลกเสมือนที่คนไม่เหมือนเรามาอยู่กับเรา เราจะทำอย่างไร ความรู้สึกแปลกแยก เหยียดหยาม ห้ามเข้า ทำได้จริงหรือ โลกคู่ขนานที่เหมือนโลกจริงเข้าไปทุกที เราจะอยู่กับคนที่ไม่เหมือนเราอย่างไร ติดตามได้ใน "Nanaoutai" ผลงานของ วรัญญา บูรณากาญจน์

ประชาไท ภายใต้มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน เผยแพร่คลิปวิดีโอผลงานเยาวชนในประเด็น 'เสรีภาพออนไลน์ Online Freedom' ทั้งหมด 10 คลิป เช่น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ นักโทษการเมือง การอยู่ในโลกเสมือนจริง และ Single Gateway โดยก่อนหน้านี้มีการฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในงานมอบรางวัลให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานวิดีโอ ภายใต้ชื่องาน "กรงในกะลา" ที่โรงภาพยนตร์เอสพลานาด รัชดา

รับชมคลิปจากงาน "กรงในกะลา" ที่ https://goo.gl/UkDElt

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผลเลือกตั้งทั่วไปสหราชอาณาจักรมาแล้ว อนุรักษ์นิยมต้องตั้งรัฐบาลผสม

Posted: 09 Jun 2017 11:02 AM PDT

พรรคอนุรักษ์นิยมกวาดที่นั่งมากสุดตามคาด แต่ไม่พอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้เองเพราะผู้แทนไม่ถึงกึ่งหนึ่ง หัวหน้าพรรค เทเรซา เมย์ หวังรวมกับพรรคชาวสหภาพประชาธิปไตยจัดตั้งรัฐบาลผสม หัวหน้าพรรคระบุ ตัดสินใจตามผลประโยชน์ของชาติ ส่วนพรรคแรงงานมาแรงกวาดที่นั่งมากกว่าเดิม 31 ที่ หัวหน้าพรรคแรงงานชี้ ได้ที่นั่งเยอะเพราะคนเบื่อการเมืองอดอยากปากแห้ง

เมื่อวานนี้ (9 มิ.ย.) สิ้นสุดการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปของสหราชอาณาจักร ที่ได้จัดขึ้นในวันที่ 8 มิ.ย. เพื่อสรรหาตัวแทนจากทุกเขตในสหราชอาณาจักรจำนวน 650 คนเข้าไปนั่งในรัฐสภา โดยพรรคใดที่กวาดจำนวนผู้แทนได้มากกว่ากึ่งหนึ่งหรือ 326 ที่นั่งจะได้สิทธิ์ในการจัดตั้งรัฐบาล

จำนวนผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้ง

พรรคอนุรักษ์นิยม: 318 ที่นั่ง ลดลงจากเดิม 12 ที่

พรรคแรงงาน : 261 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นจากเดิม 31 ที่

พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย: 12 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 ที่

พรรคแห่งชาติสกอตแลนด์: 35 ที่นั่ง ลดลงจากเดิม 19 ที่

พรรคชาวสหภาพประชาธิปไตย: 10 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นจากเดิม 2 ที่

พรรคกรีน: 1 ที่นั่ง

พรรคและผู้สมัครอื่นๆ: 12 ที่นั่ง

จากจำนวนที่นั่งจะเห็นว่า พรรคอนุรักษ์นิยม ภายใต้การนำของเทเรซา เมย์ เสียเสียงข้างมากในสภาไปแล้ว โดยเดอะ การ์เดียน ระบุว่า เป็นการเดิมพันที่เมย์เป็นฝ่ายแพ้ หลังจากลงมติยุบสภาแล้วจัดเลือกตั้งใหม่ โดยหวังว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมจะได้ที่นั่งมากกว่าเดิมเพื่อทำให้การออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ราบรื่นขึ้น หลังจากเมย์กล่าวหาว่าพรรคฝ่ายค้านเป็นอุปสรรคในการเตรียมตัวออกจากอียู

อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นั่งรวมทั้งสิ้นตอนนี้ยังขาดอีก 1 ที่นั่ง เนื่องจากการนับคะแนนที่เขตเคนซิงตันถูกระงับไว้หลังจากหาผู้ชนะยังไม่ได้ แม้จะนับใหม่มาแล้วถึง 3 ครั้ง

ตั้งรัฐบาลผสมหวังออกอียูราบรื่น หัวหน้าพรรคแรงงานกล่าว ได้ที่นั่งเยอะสะท้อนคนเบื่อการเมืองเดิมๆ

ซ้ายไปขวา: เทเรซา เมย์ หัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม เจเรมี คอร์บิน หัวหน้าพรรคแรงงาน

บีบีซี รายงานว่า เมย์ ต้องการจัดตั้งพรรครัฐบาลผสมระหว่างพรรคแรงงานและพรรคชาวสหภาพประชาธิปไตย (DUP)  โดยระบุว่า พรรคดังกล่าวจะสามารถให้ "ความแน่นอน" กับอนาคตได้ โดยหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมได้แถลงสั้นๆ หลังจากเข้าพบสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรว่า พรรคอนุรักษ์นิยมจะร่วมจัดตั้งกับพรรค DUP และเริ่มทำงานในเรื่องการออกจากอียู

"พรรคทั้งสองของเรามีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา" เมย์กล่าว และยังระบุว่า "และนั่นทำให้ฉันมั่นใจว่าพวกเราสามารถร่วมงานกันในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสหราชอาณาจักรทั้งหมด

หัวหน้าพรรค DUP จากไอร์แลนด์เหนือ อาร์ลีน ฟอสเตอร์ ยืนยันว่าได้พูดคุยกับ เมย์ แล้วและระบุว่า จะต้องมีการพุดคุยต่อไปเพื่อ "ค้นหาความเป็นไปได้ที่จะนำเสถียรภาพมาสู่ชาติในช่วงเวลาที่ีพบความท้าทายอันใหญ่หลวง" หัวหน้าพรรค DUP ยังระบุว่า ถึงแม้พรรคมีความมุ่งมั่นหาสิ่งที่ดีที่สุดให้ชาวไอร์แลนด์เหนือเสมอมา แต่พรรคก็ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของสหราชอาณาจักรอยู่เต็มหัวใจ

ในขณะที่หัวหน้าพรรคแรงงาน เจเรมี คอร์บิน ผู้ได้จำนวนที่นั่งในสภาสูงเป็นอันดับที่ 2 กล่าวว่า "รู้อะไรไหม การเมืองทุกวันนี้เปลี่ยนไป มันไม่ใช่การถอยหลังกลับไปสู่สิ่งที่เคยเป็น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ประชาชนอดทนกับการเมืองแบบอดอยากแบบนี้ไม่ไหว พวกเขาทนการตัดงบประมาณค่าใช้จ่ายสาธารณะ ตัดงบบริการสาธารณสุข โรงเรียน การบริการด้านการศึกษาของพวกรา และไม่ให้โอกาสแก่คนหนุ่มสาวของพวกเราอย่างที่พวกเขาสมควรได้รับในสังคม" คอร์บิน ยังได้กล่าวแสดงความขอบคุณในทวิตเตอร์อีกว่า "แม้ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร การรณรงค์หาเสียงในเชิงบวกของพวกเราได้เปลี่ยนการเมืองให้ดีขึ้น"

 

 

แปลและเรียบเรียงจาก

The Guardian, UK election 2017: full results, 9 Jun. 2017

BBC, May to form government with DUP backing, 9 Jun. 2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฎีกาสั่งประทับรับฟ้องอภิสิทธิ์-สุเทพ ฟ้องธาริตและทีม ปมสรุปสำนวนคดีสลายแดง 53 โดยไม่สุจริต

Posted: 09 Jun 2017 09:45 AM PDT

ศาลฎีกาประทับรับฟ้องคดี 'อภิสิทธิ์-สุเทพ' ฟ้องธาริต และทีม กรณีสรุปสำนวนคดีสลาย นปช.ปี 53 โดยไม่สุจริต มีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษอาญา หลังจำเลยสรุปสำนวนโจทก์ทั้งสองข้อหาพยายามฆ่าโดยเจตนาและเล็งเห็นผล นัดตรวจหลักฐานและสอบคำให้การจำเลย 21 ส.ค.นี้

9 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า ที่ห้องพิจารณาคดี 910 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำสั่งศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.310/2556 ที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ในฐานะอดีตหัวหน้าชุดคดีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ จากเหตุรุนแรงทางการเมืองปี 2553 พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ และ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ในฐานะพนักงานสอบสวน เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานเป็นร่วมกันเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนกระทำการโดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 90, 157, 200

จากกรณีเมื่อเดือน ก.ค.2554 ถึงวันที่ 13 ธ.ค.2555 พวกจำเลยได้สรุปสำนวนโจทก์ทั้งสอง ข้อหาก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าโดยเจตนาและเล็งเห็นผล จากการที่ออกคำสั่ง ศอฉ. ใช้กำลังเจ้าหน้าที่กระชับพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี 2553 ซึ่งโจทก์เห็นว่า เป็นการแจ้งข้อหาบิดเบือนจากข้อเท็จจริง และดีเอสไอไม่มีอำนาจสอบสวน ต้องเป็นการวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เท่านั้น

คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกฟ้อง เห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ดำเนินการไปตามพยานหลักฐาน และบทบัญญัติของกฎหมาย พยานหลักฐานที่นำสืบมาของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาบิดเบือนแจ้งข้อกล่าวหาแก่โจทก์ โจทก์ทั้งสองยื่นฎีกาคัดค้าน 

ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุ ม.66 วรรคแรกบัญญัติว่า "ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีเหตุอันควรสงสัยหรือผู้กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นร่ำรวยผิดปกติ  กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่นให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวน" 

การกระทำของโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความสงบ เรียบร้อยของบ้านเมือง ซึ่งเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของโจทก์ที่ 2 เมื่อมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ทหารและกองกำลังติดอาวุธของผู้ร่วมชุมนุม

ต่อมาจำเลยทั้งสี่ก็ได้สอบสวนและเรียกโจทก์ทั้งสองมารับทราบข้อเท็จจริงและข้อหา โดยบันทึกการแจ้งข้อเท็จจริงและข้อหา ได้ว่า ข้อเท็จจริงในการชุมนุมของกลุ่มนปช.เป็นการชุมนุมโดยสงบ และไม่มีการใช้อาวุธ ซึ่งเห็นได้ชัดว่า เป็นการสอบสวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงบางส่วน เพื่อให้เห็นว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารเพียงฝ่ายเดียวมีอาวุธ กระทำต่อผู้ร่วมชุมนุม การกระของพวกจำเลยจึงมีข้อเคลือบแคลงสงสัยว่า จำเลยทั้งสี่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตหรือไม่ 

แม้การสอบสวนของจำเลยทั้งสี่ จะมีพนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนและต่อมาอัยการยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสองต่อศาล แต่ศาลจะต้องตรวจสอบว่ากระบวนการสอบสวนของจำเลยทั้งสี่ได้กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากการสอบสวนดังกล่าวกระทำโดยไม่ชอบกฎหมาย ย่อมมีผลให้พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์ทั้งสองก็ได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่หลักฐานที่บ่งชี้ว่าการสอบสวนและแจ้งข้อหาของจำเลยทั้งสี่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบตามกฎหมาย

การกระทำของจำเลยทั้งสี่ที่ได้สอบสวนและแจ้งข้อหาโจทก์ทั้งสอง ตามที่โจทก์ทั้งสองนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนมามีเหตุผลให้เชื่อว่า จำเลยทั้งสี่ไม่ ได้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ มาตรา 200 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องตามศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น จึงให้ประทับรับฟ้องคดีไว้พิจารณา พร้อมตรวจหลักฐานและสอบคำให้การจำเลยทั้งสี่ วันที่ 21 ส.ค.นี้ เวลา 09.00 น.

ที่มา : สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ก่อนจะมีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 1 ปี ภาษีมรดก ไม่สามารถเก็บได้แม้แต่บาทเดียว

Posted: 09 Jun 2017 09:28 AM PDT


 

ก่อนจะมีการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง วันนี้ Land Watch Thai อยากจะชวนพูดคุยเรื่องภาษีมรดกกันครับ เพราะภาษีมรดกนั้นมีเป้าหมายเพื่อจัดการความเหลื่อมล้ำเช่นเดียวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและเราคิดว่าในตอนนี้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีบ้างอย่างที่คล้ายกันอยู่บางเรื่องครับ


ภาษีรับมรดกและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในฐานะของการลดความเหลื่อมล้ำ

แท้จริงแล้วเงินและที่ดินต่างก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่าจำกัด ดังนั้นหากสองสิ่งนี้กระจุกตัวอยู่ที่คนส่วนน้อยในจำนวนมากๆ อย่างเช่นประเทศไทย ก็จะส่งผลให้มีคนจำนวนมากมีทรัพย์สินและที่ดินในจำนวนน้อยหรือไม่มีเลย ดังนั้นรัฐในฐานะที่จะต้องดูแลประชาชนทุกคน จึงจำเป็นที่จะต้องก่อให้เกิดการกระจายทรัพย์สินเหล่านั้น และนโยบายทางด้านภาษีนั้นก็ถือว่าเป็นนโยบายที่ก่อให้เกิดการกระจายตัวของทรัพย์สินได้จริงทั้งในทางตรง คือ การเอาภาษีไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และทางอ้อมคือการที่เจ้าของทรัพย์สินเหล่านั้นกระจายการถือครองออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษี


มารู้จักภาษีมรดกกัน

ณ ปัจจุบันภาษีรับมรดกของประเทศไทยถูกบังคับใช้ไปแล้วกว่า 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 โดยการเก็บภาษีรับมรดกนั้นเก็บจากผู้ได้รับมรดก โดยจะเริ่มเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดกมากกว่า 100 ล้านบาท และจะเริ่มเก็บจากมูลค่าที่เกิน 100 ล้านบาทเป็นต้นไป ในอัตรา 5% หากผู้ได้รับมรดกเป็นผู้สืบสันดานหรือเป็นบุพการี ของเจ้าของมรดก และอัตรา 10% หากผู้รับมรดกเป็นบุคคลอื่นๆ  โดยจะขอยกตัวอย่างให้เข้าใจดังนี้

หากนาย A มีทรัพย์สินมูลค่า 500 ล้านบาท มีลูก 2 คน เมื่อนาย A เสียชีวิต ได้แบ่งมรดกให้ลูกทั้งสองคน คนละ 250 ล้านบาท นั่นแปลว่าลูกทั้งสองของนายเอจะต้องเสียภาษีมรดก 5% ของทรัพย์สิน มูลค่า 150 ล้านบาท(คิดภาษีจากทรัพสินส่วนเกินจาก 100 ล้านบาทแรก) ในกรณีคือเท่ากับ 7.5 ล้านบาท แต่หากนาย A ตัดสินในมอบมรดกนี้ให้กับเพื่อนสนิท เพื่อนสนิทของนาย A จะต้องเสียภาษีรับมรดกในอัตรา 10% ก็จะเท่ากับ 15 ล้านบาท

โดยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมานั้นพบว่าประเทศไทยไม่สามารถเก็บภาษีมรดกได้เลยแม้แต่บาทเดียว จากข้อมูลผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเบื้องต้นจากกระทรวงการคลังระบุว่า ในปี 2559 รัฐบาลไทยเก็บภาษีได้ทั้งหมด 498,580 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าปี 2559 ถึงเกือบ 9 พันล้านบาท แต่ไม่มีภาษีรับมรดกได้แม้แต่บาทเดียว


ปีที่ผ่านมาไม่มีคนรวยได้รับมรดกเลยหรือ

สาเหตุของการที่เก็บภาษีไม่ได้ คงไม่ใช่เพราะว่าไม่มีผู้เสียชีวิตในปีที่แล้วแน่ๆครับ เพียงแต่การกฎหมายฉบับนี้ทำให้เกิดช่องว่างของกฎหมายในหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นการทยอยโอนทรัพย์สินให้ลูกหลานในขณะที่ตนยังมีชีวิตอยู่ การแบ่งทรัพย์สินที่มูลค่ามากๆ เช่น หากมีที่ดิน มูลค่า 100 ล้าน ก็แบ่งเป็นหลายแปลงและก็ทยอยโอนให้กับลูกหลาน หรือแม้กระทั้งการทำประกันชีวิตที่มีมูลค่าสูงและให้ลูกหลานเป็นผู้รับประโยชน์ ก็สามารถเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีได้เช่นกันเพราะถือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากเสียชีวิตแล้ว

แล้วเกี่ยวอะไรกับภาษีที่ดิน

กรณีแบบนี้มันคล้ายๆกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กำลังจะประกาศใช้ครับ เพราะ พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นมีอัตราภาษีที่ดินและสูงปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัยในกรณีบ้านหลังแรกและที่ดินเกษตรกรรมที่ 50 ล้านบาท โดยที่ไม่ได้มีการนับรวมทุกแปลงจองเจ้าของที่ดิน ดังนั้นจึงแปลว่า หากนาย A มี ที่ดิน 5 แปลง มูลค่าแปลงละ 20 ล้านบาท รวม 100 ล้านบาท หากแต่ว่าแต่ละแปลงนั้นไม่มีมูลค่าถึง 50 ล้าน จึงไม่ถูกเก็บ

กรณีเช่นนี้อาจจะทำให้รัฐบาลไม่อาจจะเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้เลยโดยหากว่าเจ้าของที่ดินตั้งใจจะให้ที่ดินของตนเองมีมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท เช่น กรณีเจ้าของบริษัทใหญ่ที่มีที่ดินมากกว่า 100,000 ไร่ ได้มีการตั้งบริษัทลูกในเครือกว่า 200 บริษัท เพื่อรับมือกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในขณะนี้

สุดท้ายเราขอยืนยันว่าการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้จริง แต่ถึงอย่างนั้นหากการออกกฎหมายโดยมีช่องว่างมากมายก็เป็นการง่ายที่จะทำให้เกิดการหลบเลี่ยงภาษี อาจจะทำให้โอกาสในการที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศเกิดขึ้นได้ยากและหาก พรบ.ฉบับดังกล่าวออกมาน่าผิดหวังด้วยแล้วก็จะเป็นการยากที่จะทำให้เกิดการสนับสนุน กฎหมายภาษีที่ดินที่ดีกว่านี้ในอนาคตเช่นกัน

 

 

หมายเหตุ: Land Watch Thai ติดตามปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเด็นที่ดิน และสถานการณ์ปัญหาการแย่งยึดที่ดินที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายของรัฐ  รวมถึงการผ่านกฎหมายหรือนโยบายใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดิน อันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำกินและอยู่อาศัย ที่ทุกคนบนแผ่นดินไทยควรมีสิทธิเสมอกัน

เผยแพร่ครั้งแรกใน: http://landwatchthai.org/2017/06/09/inheritatetax/

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บนเส้นทางกฎหมายชุมนุมสาธารณะ: กรณีการชุมนุมยื่นหนังสือค้านแก้กฎหมายบัตรทอง

Posted: 09 Jun 2017 09:12 AM PDT

การชุมนุมสาธารณะ ถือเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในเรื่องสาธารณะ  สามารถแสดงออกถึงความเดือดร้อนของตนหรือกลุ่มตนต่อผู้มีอำนาจ หรือต้องการแสดงออกถึงเจตจำนงค์บางประการได้

การชุมนุมสาธารณะ เป็นเครื่องมือในการต่อรองหรือโต้แย้งกับอำนาจรัฐหรือทุนที่ไม่เป็นธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญของชาวบ้านเพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนบางอย่าง ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เราจะเห็นการชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมเพื่อเป้าหมายต่อต้านรัฐบาล หรือการชุมนุมย่อยๆของกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ

แม้โดยหลักการ การชุมนุมสาธารณะโดยสงบจะถูกรับรองให้เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง แต่ในสังคมไทย หลายคนก็ไม่ได้พึงใจกับการชุมนุมสาธารณะมากนัก เพราะมันดูมีความขัดแย้งวุ่นวาย ไทยนี้รักสงบ จะมาชุมนุมกันให้วุ่นวายทำไม คนที่ไม่ชอบให้มีการชุมนุมก็มักจะลดทอนความชอบธรรมของการชุมนุมด้วยการกล่าวหาว่า เป็นม็อบรับจ้างบ้าง ซึ่งผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าม็อบแบบนั้นมีจริงสักเท่าไหร่กัน เพราะเท่าที่เข้าร่วมสักเกตุการณ์การชุมนุมที่ผ่านมาก็ไม่เห็นว่ามีใครถูกจ้างมาชุมนุม แต่ก็นั้นแหละครับ ใครอยากรู้ว่ากลุ่มต่างๆที่มาชุมนุมกันนั้น มีการจ้างมาหรือป่าว ก็น่าจะเข้าไปสังเกตการณ์การชุมนุมดูสักครั้ง

เท่าที่ผู้เขียนติดตามการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ พบว่า การชุมนุมมันมีสาเหตุ ไม่ได้เกิดจากการนึกอยากสนุก หรือการอยากเปลี่ยนบรรยากาศมากินนอนข้างถนน ตากแดดตากฝน การชุมนุมมันมีที่มาของมัน ซึ่งส่วนใหญ่เหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการชุมนุมก็มาจากรัฐเป็นผู้ก่อปัญหาเอง แม้แต่การชุมนุมทางการเมืองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลหลายครั้งหลายหนที่ผ่านมา เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลเองก็ทำผิดพลาด

ดังนั้น หากรัฐจริงใจ ฟังเสียงของประชาชน เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีการบริหารอย่างโปร่งใส และเคารพหลักนิติธรรม การชุมนุมสาธารณะก็คงลดลงหรือหมดไปเอง ไม่ต้องใช้อำนาจหรือกฎหมายใดๆมาจัดการด้วยซ้ำไป

 

ทำไมการชุมนุมสาธารณะถึงจำเป็น

การชุมนุมถือเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ด้อยอำนาจเพื่อใช้ต่อรองหรือเพื่อกดดันเรียกร้องให้รัฐรับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ

อาจจะมีบางคนบอกว่า ทำไมไม่ใช้กลไกหรือช่องทางที่รัฐจัดไว้ให้ล่ะ?

ประสบการณ์คงบอกภาคประชาชนอยู่แล้วว่า กลไกร้องทุกข์ร้องเรียนตามระบบราชการปัจจุบันทำงานยังไง และมีประสิทธิภาพขนาดไหน บางกลไกก็ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่ามี หรือเพื่อมารับหน้าแล้วขอไปที หรือเพื่อยื้อเวลา ถ้าเป็นปัญหาที่ไม่ใหญ่มาก ก็อาจจะมีการแก้ไขปัญหาได้  แต่ถ้าเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อย กลไกเหล่านี้ไม่เพียงพอที่จะผลักดันไปสู่การแก้ไขปัญหาได้

แทบทุกกรณี ก่อนที่ชาวบ้านจะมาชุมนุมกัน พวกเขาต่างใช้กลไกหรือช่องทางที่รัฐจัดให้แทบทั้งหมดแล้ว แต่ปัญหาที่พวกเขาร้องเรียนร้องทุกข์ไป มันไม่นำไปสู่การแก้ไข การชุมนุมจึงถูกเลือกมาใช้ในการผลักดันการแก้ไขปัญหา

ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการชุมนุมจะช่วยแก้ไขปัญหาได้เลยทันที เพราะที่ผ่านมาก็เห็นอยู่ว่า หลายประเด็นปัญหามีการชุมนุมแล้วชุมนุมอีก ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง แต่การชุมนุมมันก็ช่วยให้เกิดการขยับได้บ้าง และที่สำคัญมันช่วยรณรงค์และสร้างการตระหนักรู้สาธารณะเพื่อให้เกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนในประเด็นปัญหานั้นๆได้ด้วย


การใช้เสรีภาพในการชุมนุมในปัจจุบัน

การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในยุคสมัยที่ปกครองโดยรัฐบาลทหาร เป็นเรื่องที่ยากลำบากกว่าในยุครัฐบาลปกติ เพราะยุคสมัยที่ทหารและรัฐราชการเป็นใหญ่  พวกเขาคุ้นชินแต่เรื่องการใช้อำนาจ ไม่คุ้นชินกับการใช้เหตุผลในการแลกเปลี่ยนถกเถียง ความสงบราบคาบเป็นสิ่งที่รัฐแบบนี้ปรารถนา การเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสียงจึงเป็นเรื่องแปลกแยกและวุ่นวาย เป็นยุคสมัยที่ความคิด ความเดือนร้อนของประชาชนไม่สามารถแสดงออกมาได้อย่างเปิดเผย เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์รัฐราชการเสียหาย ต้องให้เอาเรื่องความเดือดร้อนไปยัดไว้ที่ศูนย์ดำรงธรรม ซึ่งไม่รู้ว่าจะได้รับแก้ไขปัญหาเมื่อไหร่

หลังคณะรัฐประหารที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และสถาปนาพวกพ้องตัวเองขึ้นเป็นรัฐฐาธิปัตในนามของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

การปกครองประเทศภายใต้ คสช. ได้มีการใช้อำนาจอย่างกว้างขวาง ทั้งจับกุม ควบคุมตัวบุคคล ตลอดจนมีการดำเนินคดีกับบุคคลที่อออกมาเคลื่อนไหว โดยอ้าง "ความสงบเรียบร้อย" "การคือความสุข"  "การปฏิรูป" โดยมีกระบวนการยุติธรรมรับสะนองนโยบายเหล่านี้อย่างดียิ่ง

คสช. พยายามควบคุมประชาชนผ่านการใช้ทั้งอำนาจแข็งกร้าวผ่านกองกำลัง กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และอำนาจอันอ่อนนุ่ม ผ่านการสร้างวาทกรรมต่างๆและการสร้างภาพลักษณ์ของผู้เสียสละและหวังดีต่อประเทศ

พวกเขาควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชนผ่านอำนาจอันกว้างขวางของกฎหมายที่พวกเขาสถาปนาขึ้น โดยเฉพาะอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ คำสั่งนี้ออกมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 และถูกนำมาใช้จัดการการเคลื่อนไหวของประชาชนแทบทุกเรื่องอย่างไร้ขอบเขต เมื่อมีการเคลื่อนไหวใดที่รัฐไม่สบายใจและอยากให้สลายไปโดยเร็ว พวกเขาก็จะอ้างคำสั่งนี้เข้ามาจับกุมควบคุมตัวบุคคลไปไว้ในค่ายทหารแล้วปรับทัศนคติ และ/หรือใช้คำสั่งนี้ตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนแก่ผู้ออกมาเคลื่อนไหวด้วย และคำสั่งนี้มันยังถูกใช้ในฐานะเครื่องมือในการข่มขู่ประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้วย อาทิ การชุมนุมของเครือข่ายสลัม 4 ภาค วันที่ 8 มีนาคม 2560 เพื่อทำการติดตามการแก้ปัญหาชุมชนที่อยู่ในที่ดินของกระทรวงคมนาคม หรือการชุมนุมของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ก็มีการยกคำสั่งที่ 3/2558 นี้ขึ้นมาข่มขู่ด้วย

กฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่ถูกนำมาจัดการกับการชุมนุมสาธารณะก็คือ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐพยายามผลักดันมาอย่างยาวนาน แต่สามารถผลักดันออกได้สำเร็จในยุคลรัฐบาลทหารนี้ โดยสภานิติบัญญัติที่รัฐบาลทหารสถาปนาขึ้น

ภายหลังพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ประกาศใช้ มีประชาชนที่มาเคลื่อนไหวถูกดำเนินคดีไปแล้วหลายกรณี โดเฉพาะข้อหาไม่แจ้งการชุมนุม เช่น การยื่นหนังสือของเครือข่ายประมงพื้นบ้าน การยื่นเฉยๆ ชาวบ้านพิจิตร 27 คนขวางเหมืองทองคำขนแร่ และมีบางกรณีถูกห้ามการชุมนุม อาทิ การห้ามเครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนชุมนุมคัดค้านคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่3/2559 และ ฉบับที่ 4/2559 ที่เกาะกลางถนนหน้าตึกยูเอน หรือมีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆให้ปฏิบัติตาม เช่น การให้ระวังในเรื่องการแสดงออกและการชูป้าย การห้ามต่อต้าน คสช.  การอ้างคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เป็นต้น

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ การเคลื่อนไหวเพื่อกฎหมายสวัสดิการของประชาชน

วันที่ 6 มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมา หากใครติดตามข่าวสารอยู่บ้างก็คงจะพอเห็นการเคลื่อนไหวของประชาชนกลุ่มหนึ่ง ในนามกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และองค์กรเครือข่ายที่ทำงานในประเด็นต่างๆ จากทั่วประเทศ พวกเขานัดชุมนุมกันเพื่อยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ให้หยุดกระบวนการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งก็คือกฎหมายเกี่ยวกับบัตรทอง หรือบัตร 30 บาท ที่หลายคนเข้าใจนั้นเอง

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพได้ติดตามการแก้กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาอย่างใกล้ชิด พวกเขาพบปัญหาของกระบวนการแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ตั้งแต่องค์ประกอบของคณะทำงานแก้ไขกฎหมายที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม โน้มเอียงไปในทางที่เอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายผู้ให้บริการจากกระทรวงสาธารณสุข คณะทำงาน 26 คน มีสัดส่วนประชาชนเพียง 2 คนเท่านั้น ส่วนเนื้อหาของการแก้ไขก็พบว่ามีหลายประเด็นที่อาจจะทำลายเจตนารมณ์และหลักการของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีแนวโน้มเอื้อประโยชน์ต่อผู้จัดบริการ (อ่านเพิ่มเติม) และที่สำคัญกระบวนการรับฟังความเห็นทำอย่างไม่ทั่วถึงและไม่กว้างขวางเพียงพอ การจัดเวทีรับฟังความเห็นใน 4 จังหวัดคือเชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ และกรุงเทพ โดยผู้สนใจเข้าร่วมจะต้องลงทะเบียนออนไลน์ ซึ่งมีคนที่สามารถเข้าถึงได้เพียงจำนวนน้อย ไม่ได้เอื้อให้ประชาชนไปร่วมได้ ไม่มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนประชาชนให้เข้าร่วมเวที ปล่อยให้ประชาชนดิ้นรนกันเอง ในขณะผู้เกี่ยวข้องเช่นผู้ให้บริการที่เป็นข้าราชการของกระทรวงสาธารณสุขกลับสามารถมาร่วมได้โดยสามารถเบิกจ่ายจากต้นสังกัด

ด้วยเหตุดังกล่าว พวกเขาจึงออกมาเคลื่อนไหวแสดงพลังเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุติกระบวนการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และให้มีการเริ่มต้นกระบวนการแก้ไขใหม่ โดยต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้กฎหมายให้มีความสมดุล และต้องมีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างเท่าเทียม โดยต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นต่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม


แค่เริ่มต้นชุมนุมก็ยากแล้ว

เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนได้รับการคุ้มครองต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อการมีส่วนร่วมในการบวนการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่พวกเขากำลังจะพิสูจน์ให้เห็นก็คือเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นเครื่องมือสำคัญของประชาชนในการต่อรองกับอำนาจรัฐจะได้รับการยอมรับหรือไม่เพียงใด

ก่อนการเคลื่อนไหววันที่ 6 มิถุนายน พวกเขาได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558

พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 กำหนดให้ผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ แจ้งการชุมนุมต่อหัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยต้องระบุวัตถุประสงค์ วัน ระยะเวลา และสถานที่ชุมนุมสาธารณะ[1] ซึ่งในทางปฏิบัติจะมีแบบฟอร์มเป็นหนังสือของเจ้าหน้าที่ให้กรอก

ผู้จัดการชุมนุมได้มีการแจ้งการชุมนุมเป็นหนังสือตามแบบฟอร์มของตำรวจส่งถึงหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาดุสิต (สน.ดุสิต) ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ที่จะจัดการชุมนุม ตั้งแต่วันที่ 2 มินุนายน 2560

เนื้อหาในหนังสือแจ้งการชุมนุมสรุปว่า กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพจะจัดชุมนุมในวันที่ 6 มิถุนายน 2560 เวลา 08.00 น. ถึงเวลา 15.00 น. บริเวณเกาะกลางถนนหน้ากระทรวงศึกษาธิการค่อนไปทางน้ำพุ ใกล้คลองผดุงกรุงเกษม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยื่นจดหมายคัดค้านการการแก้กฎหมายพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 1,000 คน โดยใช้ยานพาหนะประเภทรถปิคอัพ จำนวน 1 คัน เครื่องเสียงขนาดกำลังไฟ 1,000 วัตต์ ลำโพงขนาด 600 วัตต์ 4 ตัว และป้ายผ้ารณรงค์, ป้าวไวนิลรณรงค์, ธงกระดาษรณรงค์

สน.ดุสิต ได้รับหนังสือแจ้งการชุมนุมไว้แล้วในวันที่ 2 มิถุนายน 2560 หลังจากได้รับแจ้ง กฎหมายกำหนดให้ผู้รับแจ้งส่งสรุปสาระสำคัญในการชุมนุมสาธารณะให้ผู้แจ้งทราบภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้ง[2] แต่ผู้แจ้งกลับได้รับหนังสือสรุปสาระสำคัญการชุมนุมสาธารณะ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน เวลาประมาณ 19.00 น. ซึ่งเกินกว่า 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้ง

สำหรับสิ่งที่ สน.ดุสิต ส่งมานั้น นอกจากจะมีสรุปสาระสำคัญการชุมนุมสาธารณะแล้ว ยังมีการส่งเอกสารมาด้วยอีก 4 ฉบับคือ

1) หน้าที่ของผู้จัดการชุมนุมและผู้ชุมนุมสาธารณะ

2) การจัดการชุมนุมสาธารณะตามมาตรา 7, 8, 15, 16

3) คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558 และ

4) มีคำสั่งให้แก้ไขการชุมนุมสาธารณะตามมาตรา 11 วรรคสอง

ในหนังสือสรุปสาระสำคัญการชุมนุมสาธารณะที่ สน.ดุสิตส่งมา ระบุว่าการชุมนุมสาธารณะที่ผู้แจ้งแจ้งมานั้น ขัดต่อมาตรา 7 และ 8 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ซึ่งจะทำให้การชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมที่มิชอบด้วยกฎหมาย โดยระบุเหตุผลต่างๆนาๆดังต่อไปนี้

การชุมนุมสาธารณะบริเวณเกาะกลางถนนหน้ากระทรวงศึกษาธิการค่อนไปทางน้ำพุ ใกล้คลองผดุงกรุงเกษม อยู่ในรัศมีไม่เกิน 50 เมตรจากทำเนียบรัฐบาล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายมีอำนาจประกาศห้ามชุมนุมได้ ตามมาตรา 7 วรรคสี่ ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558

การชุมนุมดังกล่าวมีผู้ชุมนุมจำนวนมาก อาจเป็นการกีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่ของทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการหรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้สถานที่ดังกล่าว ตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558

ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น สน.ดุสิต จึงอ้างอำนาจตามมาตรา 11 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 สั่งให้ผู้แจ้งการชุมนุมแก้ไขการชุมนุมให้ถูกต้อง ดังนี้

  • ให้ไปจัดกิจกรรมชุมนุมสาธารณะที่บริเวณสนามม้านางเลิ้งซึ่งเป็นสถานที่ที่มีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอที่จะรองรับการรวมตัวของคนจำนวนมากได้

  • ให้จัดตัวแทนเพื่อยื่นจดหมายคัดค้านการแก้กฎหมายพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.)

  • ขอให้งดใช้เครื่องขยายเสียง เนื่องจากจะเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ หรือการให้บริการประชาชนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

  • ควรงดการจัดกิจกรรมที่อาจขัดต่อคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ข้อ 12 ห้ามมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ซึ่งการจัดการชุมนุมดังกล่าวจะเป็นการชุมนุมทางการเมือง หรือขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558 หรือไม่ จะได้ประสานหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่เพื่อพิจารณาแล้วแจ้งผลให้ทราบภายหลัง

หลังได้รับหนังสือและคำสั่งดังกล่าวแล้ว วันที่ 5 มิถุนายน 2560 ก่อนการชุมนุมไม่ถึง 24 ชั่วโมง กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพได้มีการหารือร่วมกันระหว่างเครือข่ายต่างๆที่มาร่วมเคลื่อนไหว และเห็นตรงกันว่า หนังสือและคำสั่งของ สน.ดุสิต ที่จะให้ย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่สนามม้านางเลิ้งนั้น ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการชุมนุมครั้งนี้ แต่เพื่อลดข้อขัดแย้ง ทางกลุ่มก็เลยขอย้ายไปใช้สถานที่แห่งใหม่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบริเวณที่แจ้งไว้เดิมนัก นั้นคือ หน้าตึกสหประชาชาติ หรือตึกยูเอน โดยผู้แจ้งการชุมนุมได้ขอแจ้งเปลี่ยนสถานที่การชุมนุมต่อ สน.ดุสิต ไปเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2560 ตอนเย็น

พออ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านคงคิดว่าทำไมผู้ชุมนุมดื้อดึง แต่ทุกการดื้อดึงย่อมมีเหตุผล สำหรับเหตุผลของการดื้อดึงต่อรัฐนั้น มีเหตุผลดังนี้

  • สน. ดุสิต ส่งหนังสือสรุปสาระสำคัญการชุมนุมสาธารณะกลับยังผู้แจ้งล้าช้าเกินกว่า 24 ชั่วโมงตามที่พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 11 กำหนดไว้ ผู้แจ้งการชุมนุมไปตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2560 โดยผู้รับแจ้งได้รับไว้แล้วในวันดังกล่าว แต่กลับส่งหนังสือสรุปสาระสำคัญการชุมนุมสาธารณะมาให้ผู้แจ้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2560 เวลา 00 น. ดังนั้น หนังสือและคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ
     
  • ตามที่ สน. ดุสิต ระบุว่าสถานที่ที่ผู้แจ้งการชุมนุมแจ้งไปนั้นเป็นสถานที่ห้ามการชุมนุมเนื่องจากอยู่ในรัศมีไม่เกิน 50 เมตรจากทำเนียบรัฐบาล ซึ่งขัดต่อมาตรา 7 วรรคสี่ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 นั้น คำสั่งห้ามดังกล่าวไม่มีความชัดเจนและไม่มีอำนาจตามกฎหมาย เพราะการจะมีคำสั่งห้ามกรณีนี้ได้ จะต้องมีประกาศห้ามโดยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และต้องเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งการรักษาความปลอดภัยสาธารณะและความสงบเรียบร้อยของประชาชนเท่านั้น ซึ่งในหนังสือของสถานีตำรวจดุสิตนั้น ไม่ปรากฏว่ามีประกาศดังกล่าวแต่อย่างใด
     
  • การอ้างว่าการชุมนุมดังกล่าวมีผู้ชุมนุมจำนวนมาก อาจเป็นการกีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่ของทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการหรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้สถานที่ดังกล่าว ตามมาตรา 8 นั้น ผู้แจ้งการชุมนุมเห็นว่า ในการแจ้งการชุมนุมก็ระบุชัดเจนว่าจะใช้พื้นที่เกาะกลางถนน และผู้จัดการชุมนุมก็มีการเตรียมการดูการชุมนุมอย่างดีเพื่อไม่ให้ไปกีดขวางทางเข้าออกสถานที่ราชการ ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องที่สามารถดูแลจัดการได้โดยไม่ต้องย้ายที่ชุมนุม
     
  • การขอให้งดใช้เครื่องขยายเสียงเนื่องจากจะเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ หรือการให้บริการประชาชนของ ก.พ.ร. ซึ่งการที่มีคนมาร่วมจำนวนมากการใช้เครื่องเสียงย่อมเป็นสิ่งจำเป็นในการชี้แจงทำความเข้าใจแก่ผู้มาร่วมชุมนุมและคนอื่นๆที่ผ่านไปมาเพื่อให้เข้าใจเจตนารมณ์ของการชุมนุม อย่างไรก็ดี หากเจ้าหน้าที่เกรงจะรบกวน ก็สามารถพูดคุยเจรราเรื่องการลดระดับเสียงลงได้ ซึ่งตามกฎหมายก็กำหนดระดับเสียงไว้แล้วว่าอยู่ที่เท่าใด ไม่ใช่สั่งให้งดใช้เครื่องเสียงเสียเลย
     
  • ข้ออ้างเรื่องการขัดต่อคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนนั้น เห็นว่าคำสั่งที่ 3/2558 ไม่ควรถูกนำมาใช่อย่างพร่ำเพรื่อ เพราะในสังคมประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมในทางสังคมการเมืองถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญของพลเมือง เพื่อร่วมกำหนด ติดตามและตรวจสอบการดำเนินนโยบายสาธารณะและกฎหมายให้เป็นไปอย่างรอบรอบ ดังนั้น การใช้คำสั่งที่ 3/2558 มาปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรมอย่างยิ่ง

มีข้อสังเกตว่า พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ไม่ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขทำนองเช่นนี้ได้  แต่ที่ผ่านมามีการอ้างคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 มากำหนดเงื่อนไขของการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะกับการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนอย่างน้อย 2 กรณี คือ การห้ามเครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนชุมนุมคัดค้านคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่3/2559 และ ฉบับที่ 4/2559  และการชุมนุมของเครือข่ายสลัม 4 ภาค เพื่อทำการติดตามการแก้ปัญหาชุมชนที่อยู่ในที่ดินของกระทรวงคมนาคม

 

  • การที่มีคำสั่งให้แก้ไขการชุมนุมโดยระบุให้ไปใช้สนามม้านางเลิ้ง ถือเป็นคำสั่งที่ออกโดยไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เพราะตามมาตรา 11 กำหนดเพียงว่า "ในกรณีที่ผู้รับแจ้งเห็นว่าการชุมนุมสาธารณะที่ได้รับแจ้งใดอาจขัดต่อมาตรา 7 หรือมาตรา 8 ให้ผู้รับแจ้งมีคำสั่งให้ผู้แจ้งแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด" ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ไม่น่าจะให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการไปกำหนดสถานที่ชุมนุมให้แก่ผู้ชุมนุมใหม่ได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้น ย่อมเป็นการลดทอดหลักการสำคัญของการชุมนุมสาธารณะที่ถือเป็นเครื่องมือในการต่อรองกับอำนาจรัฐและการสื่อสารสาธารณะลงด้วย

เจตนารมณ์หลักของการรวมตัวยื่นหนังสือเพื่อคัดค้านการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพครั้งนี้ นอกจากทางกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะต้องการจะยื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อรัฐบาลและผู้มีอำนาจแล้ว ทางกลุ่มฯต้องการจะสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมและไม่ถูกต้องของการแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย ซึ่งการสั่งให้แก้ไขโดยให้ไปใช้สนามม้านางเลิ้ง ซึ่งอยู่ห่างจากทำเนียบรัฐบาลพอประมาณและเป็นสถานที่ปิดนั้น ย่อมไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการจัดการชุมนุมสาธารณะในครั้งนี้

อย่างไรก็ดี แม้กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพจะไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของ สน. ดุสิต แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่ง พวกเขาจึงได้เปลี่ยนแปลงสถานที่ในการชุมนุม ไปใช้เกาะกลางถนนบริเวณหน้าตึกสหประชาชาติ (ตึกยูเอ็น) แทน เพราะทางกลุ่มเห็นว่ามีความเหมาะสมในการใช้เป็นสถานที่รวมตัวเพื่อยื่นหนังสือมากกว่าที่สนามม้านางเลิ้ง


ยืนยันว่าแจ้งการชุมนุมโดยถูกต้องแล้ว ไม่ขอผ่อนผัน

หลังจากมีการตกลงภายในเครือข่ายเรื่องการเปลี่ยนสถานที่ชุมนุมเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ประสงค์จัดการชุมนุมก็ได้แจ้งการชุมนุมไปยัง สน.นางเลิ้งในฐานะผู้รับผิดชอบพื้นที่ใหม่ทราบเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2560 ซึ่ง สน. นางเลิ้ง ได้มีหนังสือสรุปสาระสำคัญการชุมนุมสาธารณะ กลับมาในวันเดียวกันนั้น ระบุให้ผู้แจ้งดำเนินการแจ้งการชุมนุมพร้อมคำขอผ่อนผันกำหนดเวลาต่อผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 เพราะเห็นว่าเป็นการแจ้งการชุมนุมเกินกำหนดระยะเวลา 24 ชั่วโมงก่อนเริ่มการชุมนุม

ทางกลุ่มผู้ชุมนุม ยืนยันว่ามีการแจ้งการชุมนุมโดยถูกต้องแล้ว แต่เจ้าหน้าที่รัฐกำหนดเงื่อนไขที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและผู้ชุมนุมไม่เห็นด้วย ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนสถานที่ชุมนุม ดังนั้น ทางฝ่ายผู้ชุมนุมจึงถือว่าการแจ้งการชุมนุมต่อ สน. นางเลิ้ง ไม่ใช่การแจ้งการชุมนุมใหม่ แต่เป็นการแจ้งเปลี่ยนสถานที่ชุมนุมซึ่งเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการแจ้งการชุมนุมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน และยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ของ สน. ทั้งสองควรจะประสานงานกันเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาชุมนุมและประชานอื่นที่ใช้เส้นทางดังกล่าว มิใช่มาสร้างภาระให้กับประชาชน

วันชุมนุม เจ้าหน้าที่แวะเวียนมาขอพบแกนนำ กดดันให้ไปชุมนุมที่สนามม้านางเลิ้ง

ชเช้าวันที่ 6 มิถุนายน 2560 ณ เกาะกลางถนนหน้าตึกสหประชาชาติ ประชาชนกลุ่มต่างๆได้ทยอยมาร่วมชุมนุมกันตั้งแต่เช้า ในช่วงเวลา 08.00 น. ตัวแทนกลุ่มต่างๆก็แวะเวียนกันปราศรัยเกี่ยวกับกฎหมายหลักประกันสุขภาพ

ประมาณ 08.30 น. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบจาก สน. นางเลิ้ง นำหนังสือสรุปสาระสำคัญของการชุมนุมสาธารณะ มาส่งให้แก่ผู้แจ้งการชุมนุมอีกครั้ง เพื่อให้ผู้แจ้งการชุมนุมไปขอผ่อนผันการชุมนุมที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 แต่ผู้ชุมนุมได้ปรึกษากันแล้ว ยืนยันที่จะไม่ผ่อนผัน เพราะได้แจ้งการชุมนุมถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

หลังจากนั้น มีผู้กำกับการ สน. นางเลิ้ง มาพูดคุยกับผู้นำการชุมนุม ท่าทีของตำรวจมีลักษณะแข็งกร้าว มีการขู่เรื่องการทำผิดพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พร้อมทั้งพยายามกดดันให้ไปชุมนุมที่สนามม้านางเลิ้ง ผู้นำการชุมนุมยืนยันที่จะไม่ไป แต่รับปากว่าจะยุติการชุมนุมให้เร็วที่สุด ตำรวจพยายามมากดดันผู้นำการชุมนุมอยู่เป็นระยะๆ

เวลาประมาณ 09.00 น. เริ่มมีตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และนายทหารเข้ามากดดันผู้นำการชุมนุมมากขึ้น มีการขู่ให้ผู้ชุมนุมไปที่สนามม้านางเลิ้ง และให้ยุติการชุมนุม อ้างว่าผิดกฎหมายชุมนุมสาธารณะ โดยให้แกนนำจัดตัวแทนไปยื่นหนังสือที่สำนักงาน ก.พ.ร. ภายใน 9.10 น. และให้ผู้ชุมนุมส่วนที่เหลือไปรอในวัดมกุฏ พร้อมทั้งให้ยุติการใช้เครื่องเสียง อย่างไรก็ดี แกนนำได้ต่อรองให้ผู้ชุมนุมได้นั่งรออยู่ที่เดิมจนกว่าตัวแทนที่ไปยื่นหนังสือจะกลับมาถึง  เพื่อรับรองว่าตัวแทนกลับมาถึงอย่างปลอดภัย แล้วถึงจะสลายการชุมนุม ส่วนเครื่องเสียง แกนนำขอใช้ในการแถลงข่าวก่อน

ประมาณ 09.10 น. ตำรวจนำรถตู้มารับตัวแทนผู้ชุมนุมไปยื่นหนังสือที่ ก.พ.ร. ระหว่างนั้น แกนนำผู้ชุมนุมที่เหลืออยู่หน้าตึกสหประชาชาติก็ได้ร่วมกันแถลงข่าว พอแถลงเสร็จก็นั่งอย่างสงบ มีการงดการใช้เครื่องเสียง เวลา 9.58 น. ตัวแทนที่ไปยื่นหนังสือกลับมาบริเวณเกาะกลางถนน หลังจากยื่นหนังสือเสร็จ ตัวแทนที่ไปยื่นหนังสือได้มาชี้แจงต่อผู้ชุมนุม หลังจากนั้น ผู้ชุมนุมก็สลายตัวไปในช่วงประมาณ 10.00 น.


ตำรวจ/ทหารให้แกนนำไปพบเพื่อติเตียน

หลังจากที่การชุมนุมเลิกไป ตำรวจขอให้แกนนำผู้ชุมนุมไปพบที่ สน. นางเลิ้ง ภายในห้องประชุม มีรองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 มีผู้กำกับการ สน. นางเลิ้ง และมีนายทหารอีกหนึ่งนายนั่งอยู่หัวโต๊ะ และมีแกนนำและผู้ชุมนุมบางส่วนนั่งเรียงรายในห้องประชุม

รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ที่รับผิดชอบพื้นที่ เริ่มบอกกับแกนนำผู้ชุมนุมว่า การกระทำวันนี้ของพวกเขาผิดพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ แต่จะหยวนให้ไม่ดำเนินคดี ประเด็นสำคัญที่พอจับใจความได้เรื่องการผิดต่อกฎหมายชุมนุมก็คือ พื้นที่ที่ใช้ชุมนุมเป็นพื้นที่ควบคุม แต่ประกาศเป็นทางการไม่ได้

"….พื้นที่ตั้งแต่จากลานพระบรมรูปไปรัศมี 1 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ควบคุม แต่เราไม่สามารถประกาศเป็นทางการได้ แต่มีการประสานภายในว่าพื้นที่บริเวณนี้ควรงด ในหนังสือของ สน. ดุสิต ก็แจ้งอยู่แล้วว่าให้ไปรวมตัวกันที่สนามม้านางเลิ้ง  ดังนั้นมาวันนี้คือมันผิดเงื่อนไขแล้วถ้าจะเอาพรบ. ชุมนุมมาจับคือผิดทันทีเลย แต่พรบ.ชุมนุมเจตนาเพื่อกำกับดูแลไม่ได้จะต้องเอาเป็นเอาตาย เพราะฉะนั้นเราจะใช้การเจรจาเป็นหลัก ซึ่งก็ถือว่าโอเค ที่ว่าได้ยุติการชุมนุมในเวลาที่ตกลงกันไว้ จริงๆเรากำหนด 9.30 น. แต่ยุติ 10.00 น. ก็ไม่น่าเกลียด  จริงๆแล้วต้องดำเนินคดีเลย แต่ก็ได้พูดคุยเจรจาและเรายังต้องอยู่ด้วยกันอีกนาน มีอีกหลายงานที่ต้องเจอกัน เพราะฉะนั้นจึงใช้การเจรจา อะไรที่จะหยวนได้ก็หยวน อะไรที่ยอมได้ก็ยอม แต่ถ้าอันไหนที่ไม่ได้คือไม่ได้ วันนี้ถ้าเกิดยืดเยื้ออาจต้องมีการดำเนินคดี" รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ท่านหนึ่งกล่าว


ต่อมานายทหารท่านหนึ่งผู้มีท่าทีขึงขังอยู่ตลอดเวลาก็กล่าวเสริมถึงพื้นที่ต้องห้ามดังกล่าว

"ในฐานะที่เป็นฝ่ายทหาร บอกไว้ก่อนเลยว่า ถ้าว่าด้วยกฎหมายก็ต้องฉะกันไปแล้ว แต่วันนี้เรามาคุยทำความเข้าใจกัน ในสิ่งที่สน.ดุสิต เขาแนะนั้น ผมเห็นว่าควรปฏิบัติตาม บางครั้งเงื่อนไขที่เกิดขึ้นไม่สามารถบอกตรงๆได้ ถนนเส้นราชดำเดินจนถึงสนามหลวงตอนนี้เป็นเส้นทางเสด็จ ถูกกันไว้เป็นพื้นที่ที่จะใช้เป็นเส้นทางพระราชดำเนิน ไม่ต้องการให้มีความเคลื่อนไหวอะไรก็แล้วแต่เกิดขึ้นบนถนนเส้นนี้ เพราะฉะนั้นจึงแจ้งให้ทราบว่าไม่ควรมาทำอะไรบริเวณนี้ ไม่ว่าจะในเชิญสัญลักษณ์หรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะจะทำให้เกิดความไม่เรียบร้อย"

นายทหารคนเดิมยังกล่าวติเตียนแกนนำว่าเป็นพวกดื้อดึง ไม่ยอมทำตามที่ตำรวจบอก พร้อมเน้นย้ำแก่แกนนำว่าต่อไปเวลาเจ้าหน้าที่บอกอะไรก็ให้ทำตาม เพราะไม่อยากให้เป็นเยื้องอย่าง

"ท่านผู้กำกับท่านแนะนำอะไรบอกอะไรต้องฟัง ให้ขยับไปตรงโน้น ให้ขยับไปตรงนี้ต้องให้ความร่วมมือ ไม่ใช่ดื้อดึงแบบเมื่อเช้านี้ ผมถือว่าดื้อดึง แต่อาศัยว่าเมื่อท่านรองมาพูดแล้วฟังก็ถือว่าโอเค แต่ถ้าคราวหน้าเป็นแบบนี้อีกจะไม่ใจดีอีกแล้ว เพราะฉะนั้นที่ทางตำรวจแนะนำนั้น ขอให้ปฏิบัติตาม ถ้ากลุ่มนี้ทำได้ ก็จะมีกลุ่มอื่นๆทำอีก ก็ต้องมานั่งจับปูใส่กระด้ง มานั่งไล่หวดไล่ตีอีก ซึ่งอันนี้ประเด็นความเดือดร้อนก็พอเข้าใจ แต่ถ้าประเด็นการเมือง การแสดงความคิดเห็นที่ไม่เข้าท่าคงต้องอัดกันแล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้ก็คงจะคุยกันดีๆ เจอกันครั้งหน้าถ้าบอกขวาต้องขวา ถ้าบอกซ้ายต้องซ้าย การกระทำทุกอย่างบ้านเมืองมีกฎหมาย เพราะฉะนั้นต้องเล่นตามกฎกติกา อะไรที่จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องทำ ผมบอกว่าต้องทำ ไม่มีเงื่อนไข วันนี้ผมบอกว่า 10 โมงจบก็ต้องขอขอบคุณที่จบ เรื่องหนึ่งที่ต้องขอขอบคุณคือท่านได้ทำหนังสือประสาน ถือว่าท่านก็ได้พยายามทำตามกฎกติกาให้มากที่สุด แต่พอมีเงื่อนไขก็ขอให้ทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ วันนี้คงทำความเข้าใจกันให้รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น วันนี้อะไรที่เป็นข้อผิดพลาดก็นำไปแก้ไข อะไรเจ้าหน้าที่ตำรวจแนะนำต้องรีบทำตาม เพราะถ้าทหารมาถึงมันจะไม่ใช่เรื่องเล็กแล้ว วันนี้ถือว่าผมเอาหูไปนาเอาตาไปไร่หลายเรื่อง เพราะฉะนั้นต้องไม่เกิดอย่างนี้ขึ้นอีก"

หลังจากเจ้าหน้าที่กล่าวติเตียนจบ ได้เชิญให้แกนนำพูดบ้าง แกนนำผู้ชุมนุมท่านหนึ่ง กล่าวสั้นๆก่อนจบว่า

"วันนี้เราก็พยายามเต็มที่อย่างที่เจ้าหน้าที่บอกเราพยายามทุกๆขั้นตอนเพื่อไม่ใช้ผิดพรบ.ชุมนุม แต่เนื่องจากลึกๆแล้วเราไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงตามที่ท่านกล่าวมา ก็ต้องขอขอบคุณที่ไม่ดำเนินคดีหรือไม่ทำอะไรที่ทำให้พี่น้องต้องกระทบกระเทือน เพราะทุกวันนี้พี่น้องต่างก็มีทุกข์สาหัสอยู่แล้วในเรื่องของหลักประกันสุขภาพที่กำลังจะโดนลิดรอน"

นั้นแหละครับ แม้ประชาชนอย่างเราๆ อยากมีส่วนร่วมในเรื่องสาธารณะที่กระทบต่อเรา โดยการเคลื่อนไหวชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่การชุมนุมก็ไม่ได้ง่ายอีกต่อไปแล้ว เพราะปัจจุบันเจ้าหน้าที่รัฐมีเครื่องมือทางกฎหมายมาใช้จัดการเรา พูดไปประชาชนก็เหมือนลูกไก่ในกำมือ รัฐจะอ้างกฎหมายมาดำเนินการหรือดำเนินคดีกับเราเมื่อใดก็ได้ หากรัฐเห็นใจหรือประชาชนยอมตามก็อาจจะรอด แต่ถ้าแข็งขืนเมื่อไหร่ก็อาจจะถูกจัดการอย่างหนัก

อำนาจต่อรองของภาคประชาชนลดลงไปอย่างมากในสถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะที่รัฐราชการกำลังจะแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ  เราจะเดินต่อไปกันอย่างไรในสภาวะเช่นนี้

 

เชิงอรรถ: 

[1] พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 10

[2] พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 11

หมายเหตุ: สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เป็นองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยเป็นพื้นที่รวมของนักกฎหมาย ทนายความและคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมถึงการขับเคลื่อนและเผยแพร่แนวคิด นโยบาย กฎหมาย เพื่อให้สิทธิมนุษยชนเป็นที่ยอมรับในสังคม

เผยแพร่ครั้งแรกใน: http://naksit.net/th/?p=533

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.หญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เป็น รองสมุหราชองครักษ์

Posted: 09 Jun 2017 09:06 AM PDT

9 มิ.ย. 2560  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศเรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารสัญญาบัตรรับราชการ  โดยมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.อ.หญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา นายทหารสัญญาบัตร สังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ตําแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอก) เป็น รองสมุหราชองครักษ์ กรมราชองครักษ์(อัตราเงินเดือน น.9)  รับราชการสนองพระเดชพระคุณ ตั้งแต่วันที่  6 มิ.ย.2560

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ ธ.กรุงเทพ จ่าย OT พนง.ฝ่ายแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ

Posted: 09 Jun 2017 08:47 AM PDT

สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ บจม.ธนาคารกรุงเทพ จ่ายเงินค่าล่วงเวลาแก่ลูกจ้าง 'ฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนและโอนเงินระหว่างประเทศ' ภายใน 30 วัน
 
 
 
 
 
9 มิ.ย. 2560 สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ ได้แจ้งต่อสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ว่าตามที่สหภาพแรงงานฯ ได้เคยออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2560 หัวข้อ ธนาคารเมิน !!! กฎหมาย-ข้อตกลงร่วมฯ สหภาพฯ ยื่นหนังสือถึง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงาน OT มหากาพย์ "ฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนและโอนเงินระหว่างประเทศ" นั้น
 
สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ ต้องนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมภายนอก เพื่อช่วยดำเนินการให้เกิดความยุติธรรมและถูกต้อง ตามที่กฎหมายและข้อตกลงร่วมฯ ได้กำหนดไว้เป็นเพราะหนทางในการแก้ไขปัญหาภายในธนาคารไม่สัมฤทธิ์ผล สหภาพแรงงานฯ จึงขอให้เพื่อน ๆ สมาชิกสหภาพแรงงานได้ช่วยเป็นกำลังใจและติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิดว่าธนาคารกรุงเทพจะรีบดำเนินการตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานหรือไม่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอดมินเพจ 'ทูนหัวของบ่าว' แจ้งความเอาผิด ‘My Mate Nate’ ฐานทารุณกรรมสัตว์

Posted: 09 Jun 2017 08:22 AM PDT

แอดมินเพจรวมพลคนรักแมวชื่อดังเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หวังเอาผิด 'My Mate Nate' ยูทูบเบอร์เจ้าของคลิป 'แมว vs แมงป่อง!!! ใครจะชนะ?!?' ฐานทารุณกรรมสัตว์ 

ภาพจากเพจ 'Kingdom Of Tigers: ทูนหัวของบ่าว'

9 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นัชญ์ ประสพสิน เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก 'Kingdom Of Tigers: ทูนหัวของบ่าว' ได้เดินทางไปที่ สน.ห้วยขวาง เพื่อเอาผิด 'My Mate Nate' ซึ่งเจ้าของคือมิชชันนารีชาวอเมริกันชื่อ Nate Bartling  โดยมองว่าเนื้อหาของคลิปไวรัลล่าสุดอย่าง 'แมว vs แมงป่อง!!! ใครจะชนะ?!?' เข้าข่ายเป็นการทารุณกรรมสัตว์ เนื้อหาในคลิปเป็นการนำแมวและแมงป่องมาต่อสู้กัน นัชญ์กล่าวว่าแมงป่องทุกตัวมีพิษ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยต่างกันไปตามสายพันธุ์ ในฐานะที่เธอเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่รักแมวเธอจึงรับไม่ได้และต้องออกมาแสดงจุดยืน

"ธรรมชาติคนเราถ้าเราเห็นสัตว์มีพิษเข้ามาใกล้แมวที่เรารักเราก็จะไล่ไป แต่นี่คือปล่อยให้มันกัดปากแมวแล้วก็ยังไม่หยุด แล้วพี่ก็เชื่อว่ามันไม่ได้มีแค่นี้ มันต้องมีการตัดต่อ การใส่ซาวด์ ใส่เสียง มันต้องมีหลายเทค พี่เลยคิดว่านี่เป็นความรุนแรง" นัชญ์ กล่าว

นอกเหนือจากเรื่องทารุณกรรมสัตว์ นัชญ์ ยังกังวลว่าคลิปนี้จะสามารถสร้างความรุนแรงในเด็กได้ เพราะผู้ติดตาม ส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชน หากคลิปในลักษณะนี้กระแสดี มีผู้เข้าชมและยอดไลค์มาก เด็กที่ไม่มีวิจารณญาณในการรับชมอาจคิดว่าการกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่สมควร แค่เอาสัตว์มาทารุณก็สามารถเป็นคนดังได้

"พี่ได้เห็นผลตอบรับเมื่อประมาณ 3 ทุ่มเมื่อวานหลังจากที่พี่ออกมาแสดงจุดยืนเรื่องนี้ มีคนมาปกป้องว่า ไม่เห็นอันตรายเลย ขำๆ สนุกดีออก แต่พี่ไม่ขำด้วยหรอก และคนที่ออกมาปกป้องส่วนใหญ่ก็เป็นเด็ก พี่ว่ามันสามารถทำให้เด็กเสพติดความรุนแรงได้ เดี๋ยวนี้โซเชียลมันปิดกั้นเด็กไม่ได้ เด็กบางคนแยกไม่ออกหรอกว่าอะไรผิดอะไรถูก ทำตามเน็ตไอดอล มันจะทำให้เกิดมาตรฐานอีกแบบว่าทำอะไรก็ได้ห่ามๆ เพี้ยนๆ แชร์ออกมาในอินเทอร์เน็ตเดี๋ยวก็ดัง" เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก 'Kingdom Of Tigers: ทูนหัวของบ่าว' กล่าว

นัชญ์ ประสพสิน (คนกลาง) ภาพจากเพจ 'Kingdom Of Tigers: ทูนหัวของบ่าว' 

นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ช่องยูทูบนี้มีผู้ติดตามกว่า 3 ล้านคน ทำให้มีสปอนเซอร์เข้าไปให้การสนับสนุนค่อนข้างเยอะ นัชญ์ จึงมองว่าเธอต้องออกมาแสดงจุดยืนเพื่อให้ไม่มีการสนับสนุนในเรื่องเช่นนี้อีก เหมือนเป็นการไปตัดท่อน้ำเลี้ยงเพื่อให้ไม่มีคลิปที่มีเนื้อหารุนแรงในลักษณะนี้ออกมา

ทั้งนี้ ผู้รักแมวท่านหนึ่งได้สร้างแคมเปญทาง Change.org โดยอ้างอิงข้อความจากเพจของนัชญ์ เพื่อรวมรวมรายชื่อคนที่ไม่เห็นด้วยกับคลิปนี้และเอาผิดเจ้าของคลิปนี้ฐานทารุณกรรมสัตว์ โดยขณะนี้มีผู้ร่วมลงชื่อแล้วประมาณ 90,000 คน

ด้านเจ้าของ Youtube Channel 'My Mate Nate' ได้ออกมาโพสต์รูปกับแมวที่อยู่ในคลิป รวมทั้งได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกระแสทางลบที่กำลังเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ขณะนี้

นัชญ์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวด้วยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. ห้วยขวาง ชี้กับตนว่าการกระทำของเจ้าของคลิปนี้เข้าข่ายเป็นการทารุณกรรมสัตว์เลี้ยงอย่างชัดเจน สัตว์มีสิทธิได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ และจากการสืบสวนก็ยังพบอีกว่า การเดินทางเข้ามาในประเทศไทยของเจ้าของ Channel นี้มีปัญหาในเรื่องวีซ่า ความคลุมเครือของงาน การเสียภาษี รวมทั้งการหารายได้ในประเทศไทยด้วยการขายของหรือทำงาน

"พวกตำรวจเขารู้จักผู้ชายคนนี้ว่าดูถูกสติปัญญาคนไทย หรือเรื่องเหรียญในเซเว่น เหมือนตำรวจก็คิดว่าเป็นเด็กห่ามๆ ที่ทำอะไรพิเรนทร์ และตำรวจก็ชี้โทษเลยว่าเขาทำผิดจริงเรื่องการทารุณกรรมสัตว์ ก็ต้องมีการสืบสวนกันต่อไป อาจจะมีการส่งตัวกลับต่างประเทศ ซึ่งพี่ก็คงสู้ถึงที่สุด" เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก 'Kingdom Of Tigers: ทูนหัวของบ่าว' กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปัญหาของ ม.48 และ ม.49 ใน กม.สิ่งแวดล้อม กรณีเหมืองโปแตชพ่วงโรงไฟฟ้าถ่านหินที่บำเหน็จณรงค์

Posted: 09 Jun 2017 08:02 AM PDT


 

คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (คชก.) ทำจดหมายถึงบริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) บริษัทที่ปรึกษารับจ้างทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง แจ้งว่าในการประชุมของ คชก. ครั้งที่ 39/2559 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 เพื่อพิจารณารายงานชี้แจงเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ประกอบการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (โดยใช้ถ่านหินบิทูมินัสเป็นเชื้อเพลิง) หรือ 'EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน' สำหรับโครงการเหมืองแร่โพแทชและเกลือหิน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ของบริษัทฯดังกล่าว ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ มีมติไม่ให้ความเห็นชอบ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าว

เป็นการมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นรอบที่สอง หลังจากที่ คชก. เคยมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินมาแล้วรอบหนึ่งเมื่อคราวประชุมครั้งที่ 17/2559 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา

ในจดหมายยังระบุไว้ด้วยว่า การมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในรอบที่สองนี้ถือว่าเป็นการจบกระบวนการพิจารณา EIA ทั้งนี้ หากบริษัทฯไม่เห็นด้วยกับความเห็นของ คชก. ก็มีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง แต่กรณีที่บริษัทฯเห็นด้วยกับคำสั่งของ คชก. และต้องการเสนอ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่นหินใหม่ ก็ไม่ตัดสิทธิที่จะเสนอ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมทั้งฉบับให้ คชก. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งกรณีนี้จะกลับสู่กระบวนการพิจารณา EIA ใหม่ ตามมาตรา 48 และ 49 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (กฎหมายสิ่งแวดล้อม)

จึงมีประเด็นให้ต้องพิจารณาว่า การกลับสู่กระบวนการพิจารณา EIA ใหม่ ตามมาตรา 48 และ 49 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมมีรายละเอียดอย่างไร ?

เมื่อพินิจบทบัญญัติของมาตรา 48[1] และ 49[2] ของกฎหมายสิ่งแวดล้อม จะมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการกลับสู่กระบวนการพิจารณา EIA ใหม่ ตามมาตรา 48 และ 49 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อม ดังนี้

ข้อแรก สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม (สผ.) ต้องตรวจสอบ EIA และเอกสารที่เกี่ยวข้อง หากเห็นว่า EIA ที่เสนอมามิได้จัดทําให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในมาตรา 46[3] หรือมีเอกสารข้อมูลไม่ครบถ้วน ให้ สผ. แจ้งให้บริษัทฯทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับ EIA

ในกรณีที่ สผ. พิจารณาเห็นว่า EIA และเอกสารท่ีเกี่ยวข้องท่ีเสนอมาถูกต้อง และมีข้อมูลครบถ้วน หรือได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนดีแล้ว ก็ให้ สผ. พิจารณาเสนอความเห็นเบ้ืองต้นให้แล้วเสร็จภายในกําหนด 30 วันนับแต่วันที่ได้รับ EIA เพื่อนําเสนอให้ คชก. พิจารณาต่อไป

ในส่วนของการพิจารณาของ คชก. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับ EIA มาจาก สผ.

ดังนั้น เงื่อนไขแรกของการกลับสู่กระบวนการพิจารณา EIA ใหม่ ตามมาตรา 48 และ 49 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมคือระยะเวลา 75 วัน[4] เสมือนเป็นการส่ง EIA มาให้ สผ. และ คชก. พิจารณาเป็นครั้งแรก ไม่ใช่ระยะเวลา 30 วันซึ่งเป็นระยะเวลาสำหรับใช้ในการพิจารณา EIA ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

ข้อสอง เจตนารมณ์ของการกลับสู่กระบวนการพิจารณา EIA ใหม่ ตามมาตรา 48 และ 49 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมก็คือให้ปฎิบัติตามประกาศที่เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทํา EIA สำหรับโครงการหรือกิจการแต่ละประเภทและแต่ละขนาดตามมาตรา 46 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมด้วย ในกรณีนี้ประกาศดังกล่าวก็คือ 'ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 เรื่อง กําหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม' รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งได้มีรายละเอียดกำหนดไว้ในเอกสารท้ายประกาศ 4 ในเรื่องแนวทางการจัดทำ EIA ในส่วนของรายงานฉบับหลักว่า จะต้องดำเนินตามแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและ 'การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม' และ 'แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพใน EIA' ด้วย

ปัจจุบัน สผ. ได้จัดทำเอกสารแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพใน EIA[5] เอาไว้แล้ว โดยมีหลักการทั่วไปให้ต้องคำนึงถึงหลายข้อที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้มีการประชุมหารือร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการตั้งแต่ขั้นตอนของการกลั่นกรองโครงการ การกำหนดขอบเขตการศึกษา ไปจนถึงการประเมินผลกระทบ การพิจารณารายงาน และการติดตามตรวจสอบและประเมินผล

ดังนั้น เงื่อนไขที่สองของการกลับสู่กระบวนการพิจารณา EIA ใหม่ ตามมาตรา 48 และ 49 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมคือการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้มีการจัดเวทีประชุมเพื่อหารือร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คล้อยหลังประมาณครึ่งปีนับจากวันที่ คชก. มีมติไม่เห็นชอบ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในรอบที่สองเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 สผ. และ คชก. กลับรับ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในรอบที่สามเข้ามาพิจารณาใหม่ในคราวประชุม คชก. ครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560 

โดยสามารถพินิจพิเคราะห์ได้ว่าการรับ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในรอบที่สามของ สผ. และ คชก. เข้ามาพิจารณาไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตรา 48 และ 49 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมตามที่ คชก. เองได้ทำหนังสือแจ้งมีมติไม่เห็นชอบ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในรอบที่สองที่ผ่านมา กล่าวคือ สผ. และ คชก. ดำเนินตามเจตนารมณ์ของการกลับสู่กระบวนการพิจารณา EIA ใหม่ ตามมาตรา 48 และ 49 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมไม่ครบถ้วน มีเพียงข้อแรกข้อเดียว นั่นคือ การพิจารณา EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในรอบที่สามโดยใช้เงื่อนไขระยะเวลา 75 วัน ตามที่ได้แจ้งทางวาจาต่อชาวบ้านกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ที่เดินทางไปยื่นหนังสือในวันนั้นให้รับทราบ 

แต่ สผ. และ คชก. ทำผิดเจตนารมณ์ของการกลับสู่กระบวนการพิจารณา EIA ใหม่ ตามมาตรา 48 และ 49 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมในเงื่อนไขข้อที่สองที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในรอบที่สามนี้ปรากฎข้อมูลที่ได้จากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเมื่อครั้งเก่า ๆ เต็มไปหมด ซึ่งเป็นข้อมูลที่สร้างความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากนำรายชื่อและรูปถ่ายของชาวบ้านที่คัดค้านโครงการมาบิดเบือนว่าเป็นรายชื่อและรูปถ่ายชาวบ้านที่สนับสนุนโครงการ โดยเฉพาะในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินครั้งที่สองที่โรงเรียนมัธยมบางอำพันธ์วิทยาคมในเขตท้องที่ตำบลบ้านตาลเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 มีประชาชนที่แสดงตัวคัดค้านโครงการออกมาร่วมเวทีเกือบพันคน แต่บริษัทที่ปรึกษารับจ้างทำ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินให้เหมืองโปแตชกลับสร้างหลักฐานเท็จด้วยการนำรูปถ่ายของผู้ที่คัดค้านโครงการมาบิดเบือนว่าเป็นผู้สนับสนุนโครงการ เป็นต้น 

ปัญหาสำคัญข้อนี้เกี่ยวโยงกับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ไม่เป็นไปตาม 'แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม' ที่กำหนดเอาไว้ใน 'ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 เรื่อง กําหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม' ตามมาตรา 46 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อม จึงมีข้อร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ส่งให้กับ สผ. และ คชก. มาตลอดปีครึ่งที่ผ่านมาว่าข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ปรากฎอยู่ใน EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในรอบแรกและรอบที่สองที่ สผ. และ คชก. มีมติไม่ให้ความเห็นชอบนั้นเป็นข้อมูลเท็จ ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรม 

ดังนั้น การที่ สผ. และ คชก. รับ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในรอบที่สามมาพิจารณาโดยใช้ข้อมูลที่เกิดจากเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งเก่า ๆ ที่มีปัญหาตามที่ได้กล่าวไป จึงถือว่าเป็นการกระทำผิดไปจากเจตนารมณ์ของการกลับสู่กระบวนการพิจารณา EIA ใหม่ ตามมาตรา 48 และ 49 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมในเงื่อนไขข้อที่สองที่เกี่ยวกับเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน เสมือนเป็นการเหยียบย่ำหลักการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียเอง  

แม้การพิจารณา EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในรอบที่สาม เมื่อคราวประชุม คชก.ครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560 สผ. และ คชก. จะมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ จนถึงกับทำให้เหมืองโปแตชต้องร่อนจดหมายชี้แจงไปตามหน่วยงานราชการ ชาวบ้านในพื้นที่และสื่อมวลชนสาขาต่าง ๆ ว่าจะขอเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากถ่านหินเป็นกะลาปาล์ม ก็ยังเป็นที่สงสัยกันในพื้นที่ว่าบริษัทฯจะจริงใจแค่ไหน หรือหลอกล่อเพียงเพื่อหวังจะให้การยื่น EIA โครงการโรงไฟฟ้า (กะลาปาล์มเพื่อทดแทน) ถ่านหินในรอบที่สี่ที่จะนำส่งต่อ สผ. และ คชก. ในอนาคตอันใกล้นี้ผ่านความเห็นชอบให้ได้เสียก่อน ต่อจากนั้น เมื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นแล้วค่อยเปลี่ยนกลับมาใช้เชื้อเพลิงถ่านหินในภายหลังก็ได้ สองเหตุการณ์นี้ได้สร้างความพอใจให้กับชาวบ้านที่ต้องเสียสละรวบรวมเงินทองกันคนละเล็กละน้อยเช่ารถตู้โดยสารสาธารณะเข้ามากรุงเทพฯเพื่อขอร่วมประชุมและเสนอความเห็นในการประชุม คชก. ในวันดังกล่าวได้พอสมควร แต่ก็ไม่ทำให้ความผิดของ สผ. และ คชก. ต้องพ้นผิดตามไปด้วย เพราะเป็นความผิดสำเร็จแล้ว เพื่อเตือนสติแก่ สผ. และ คชก. ว่า หากประชาชนไม่ร้องเรียนให้เอาผิดกับ สผ. และ คชก. ในคราวนี้ หน่วยงานทั้งสองก็จะทำผิดซ้ำซากอีกหลายหน และก็จะนิ่งดูดายในความผิดของตัวเองเมื่อเหมืองโปแตชบำเหน็จณรงค์นำส่ง EIA โครงการโรงไฟฟ้า (กะลาปาล์มเพื่อทดแทน) ถ่านหินเป็นรอบที่สี่เข้ามาในอนาคตอันใกล้นี้ และไม่เฉพาะที่เกี่ยวกับ EIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในเหมืองโปแตชบำเหน็จณรงค์เท่านั้น แต่ยังรวมถึง EIA โครงการพัฒนาอื่น ๆ อีกมากมายที่ประชาชนจะต้องทนเห็นพฤติกรรมที่ชอบฟอกผิดให้เป็นถูกเช่นนี้ของ สผ. และ คชก. ไปอีกนานแสนนาน

 

เชิงอรรถ: 

[1] มาตรา 48  ในกรณีที่โครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 46 เป็นโครงการหรือกิจการซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการตามกฎหมาย  ก่อนเริ่มการก่อสร้างหรือดำเนินการ  ให้บุคคลผู้ขออนุญาตเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายนั้น  และต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ในการเสนอรายงานดังกล่าวอาจจัดทำเป็นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 46 วรรคสอง ก็ได้

ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายรอการสั่งอนุญาตสำหรับโครงการหรือกิจการตามวรรคหนึ่งไว้ก่อนจนกว่าจะทราบผลการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 49 จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตรวจสอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  และเอกสารที่เกี่ยวข้องที่เสนอมา  หากเห็นว่ารายงานที่เสนอมามิได้จัดทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 46 วรรคสอง  หรือมีเอกสารข้อมูลไม่ครบถ้วน  ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแจ้งให้บุคคลผู้ขออนุญาตที่เสนอรายงานทราบภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการเสนอรายงานนั้น
ในกรณีที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาเห็นว่า  รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  และเอกสารที่เกี่ยวข้องที่เสนอมาถูกต้อง  และมีข้อมูลครบถ้วน  หรือได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคสามแล้ว  ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาเสนอความเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการเสนอรายงานนั้น  เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาต่อไป

การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการตามวรรคสี่  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด  ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  และจะต้องมีเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายสำหรับโครงการหรือกิจการนั้น  หรือผู้แทนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย

[2] มาตรา 49  การพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการตามมาตรา 48  ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ถ้าคณะกรรมการผู้ชำนาญการมิได้พิจารณาให้เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ให้ถือว่าคณะกรรมการผู้ชำนาญการให้ความเห็นชอบแล้ว

ในกรณีที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการให้ความเห็นชอบ  หรือในกรณีที่ให้ถือว่าคณะกรรมการผู้ชำนาญการให้ความเห็นชอบแล้ว  ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายสั่งอนุญาตแก่บุคคลซึ่งขออนุญาตได้

ในกรณีที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการไม่ให้ความเห็นชอบ  ให้เจ้าหน้าที่รอการสั่งอนุญาตแก่บุคคลผู้ขออนุญาตไว้ก่อนจนกว่าบุคคลดังกล่าวจะเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการสั่งให้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำใหม่ทั้งฉบับ  ตามแนวทางหรือรายละเอียดที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการกำหนด

เมื่อบุคคลดังกล่าวได้เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมหรือได้จัดทำใหม่ทั้งฉบับแล้ว  ให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการเสนอรายงานดังกล่าว  แต่ถ้าคณะกรรมการผู้ชำนาญการมิได้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ให้ถือว่าคณะกรรมการผู้ชำนาญการเห็นชอบ  และให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวสั่งอนุญาตแก่บุคคลผู้ขออนุญาตได้

ในกรณีที่เห็นเป็นการสมควร  รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้โครงการหรือกิจการตามประเภทและขนาดที่ประกาศกำหนดตามมาตรา 46  ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการขอต่ออายุใบอนุญาตสำหรับโครงการหรือกิจการนั้น  ตามวิธีการเช่นเดียวกับการขออนุญาตด้วยก็ได้

[3]  มาตรา 46  เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดประเภทและขนาดของโครงการ  หรือกิจการของส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ  หรือเอกชนที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  เพื่อเสนอขอความเห็นชอบตามมาตรา 47  มาตรา 48  และมาตรา 49

ในการประกาศตามวรรคหนึ่ง  ให้กำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ  ระเบียบปฏิบัติ  แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องเสนอพร้อมกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการแต่ละประเภทและแต่ละขนาดด้วย

ในกรณีที่โครงการหรือกิจการประเภทหรือขนาดใด  หรือที่จะจัดตั้งขึ้นในพื้นที่ใดมีการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้แล้ว  และเป็นมาตรฐานที่สามารถใช้กับโครงการหรือกิจการประเภทหรือขนาดเดียวกัน  หรือในพื้นที่ลักษณะเดียวกันได้  รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา  กำหนดให้โครงการหรือกิจการในทำนองเดียวกันได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็ได้  แต่ทั้งนี้  โครงการหรือกิจการนั้นจะต้องแสดงความยินยอมปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด

[4]  จำนวนวันอาจมากกว่า 75 วัน  หากในชั้นการพิจารณาของ สผ. ไม่ได้ส่งให้ คชก. ทันทีทันใดนับจากระยะเวลา ๓๐ วันแรกที่อยู่ในการพิจารณาของ สผ.  หรือจำนวนวันอาจน้อยกว่า 75 วัน  หาก สผ. และ/หรือ คชก. ใช้เวลาน้อยกว่าที่กำหนดไว้  แต่โดยหลักคือ 75 วัน - ผู้เขียน

[5]  แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม.  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,  เมษายน 2556
   

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนช. ลงมติวาระ 2-3 ผ่านร่าง พ.ร.ป.กกต. ยันเซ็ตซีโร่ทั้งชุด กมธ.เสียงข้างมากระบุ ทำตามเจตนารมณ์กฎหมาย

Posted: 09 Jun 2017 06:25 AM PDT

ที่ประชุม สนช. เห็นชอบกฎหมายลูกว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งวาระ 2 และ 3 แล้ว ส่งผลให้เกิดการเซ็ตซีโร่ กกต. ทั้งคณะ หลังกฎหมายประกาศใช้ แต่ให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะสรรหาคนใหม่มาแทนที่ได้ ด้านภัทระ คำพิทักษ์ระบุ เซ็ตซีโร่ทำตามเจตนารมณ์กฎหมาย ไม่ได้โกรธเกลียดใคร

9 มิ.ย. 2560 มติชนออนไลน์ และ เว็บข่าวรัฐสภา รายงานว่า  ที่รัฐสภา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้มีการประชุมพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. พ.ศ. ... ในวาระ 2 หลังจากที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญ ฯ พิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายตวง อันทะไชย ประธานกมธ. กล่าวชี้แจงว่า ร่างพ.ร.ป.กกต. มีทั้งหมด 78 มาตรา มีการแก้ไขเพิ่มเติม 18 มาตรา อาทิ การสรรหาหรือคัดเลือกกรรมการให้ใช้วิธีลงคะแนนเปิดเผย และให้กรรมการสรรหาแต่ละคนบันทึกเหตุผลในการเลือกไว้ด้วย และกำหนดให้ กกต.ชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่ง เมื่อกฏหมายประกาศใช้ แต่ยังให้ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่ง กกต.ต่อไปจนกว่ามี กกต.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน โดยมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่ได้รับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎหมายประกาศบังคับใช้

โดยที่ประชุมได้มีการอธิปราย เรียงรายมาตรา โดยในมาตรา 12 ในการสรรหากรรมการ โดยกมธ.ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ให้คณะกรรมการสรรหา เลือก กกต.ด้วยการลงคะแนนแบบเปิดเผย พร้อมบักทึกเหตุผลของคณะกรรมการสรรหาแต่ละคนไว้เป็นหลักฐานด้วย โดยนายธานี อ่อนละเอียด สนช.อภิปรายแสดงความเป็นห่วงว่า จะไม่มีใครกล้าเป็นคณะกรรมการสรรหา เพราะต้องบันทึกเหตุผล เกรงว่าเป็นหลักฐานและถูกดำเนินคดีได้ อีกทั้งยังกังวลว่าจะเป็นบรรทัดฐานให้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆยึดแนวทางนี้ จึงเสนอให้ตัดเนื้อหาความดังกล่าวนี้ออกไป

มาตรา 70 บทเฉพาะกาล เกี่ยวกำกับดำรงอยู่ของกกตงชุดปัจจุบัน โดยนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในฐานะ กมธ.เสียงข้างน้อย ที่เสนอให้ปรับเปลี่ยนเฉพาะกกต.บางคนที่ขาดคุณสมบัติ อภิปรายว่า ในเรื่องคุณสมบัติ กกต. ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งกมธ.เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าให้ปรับเปลี่ยนกกต.ทั้งหมด หรือเซตซีโร่ โดยให้กกต.ทั้ง 5 คนพ้นจากหน้าที่ไปเมื่อกฎหมายใช้บังคับ และให้ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้กกต.ชุดใหม่ ส่วนตัวตนเห็นว่า ควรให้กกต.ชุดปัจจุบันที่มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ต่อ เรามองว่าประสิทธิภาพการทำงานของกกต.เป็นเรื่องสำคัญ คนที่มาเป็นต้องมีความรู้ มีประสบการณ์ และมีความเข้าใจในการทำงาน ดังนั้นคิดว่าควรมีกกต.คนเดิมทำหน้าที่ต่อ เพื่อประสิทธิภาพการทำงานน่าจะต่อเนื่องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญก็มีสูง และคนในกกต.บางคนก็มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ จึงยังมองไม่ออกว่ามีเหตุผลอะไรจะไม่ให้เขาทำหน้าที่ต่อไป ส่วนแนวทางที่กมธ.เสียงส่วนใหญ่ที่เสนอไว้เราก็เคารพ แต่ด้วยหลักการเหตุผลที่ คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง สปท.ได้ศึกษาและรวบรวมเสนอมาแล้วน่าจะเป็นหลักการสำคัญที่จะทำให้งานของกกต.ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป จึงคิดว่าน่าจะเป็นไปตามร่างเดิมของกรธ.ที่เสนอมา

ด้านพ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รักษาการเลขาธิการกกต. ในฐานะกรรมาธิการฯเสียงข้างน้อยที่ไม่ให้เซตซีโร่ กกต.ยกชุด อภิปรายว่า การทำงานไม่ว่าองค์กรใดย่อมมีความขัดแย้ง ที่ผ่านมาตนอยู่กับกกต. ก็จะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะการทำประชามติรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ปัจจุบันความขัดแย้งในกกต.หายไป เราร่วมมือกันทำงานให้เป็นไปได้ด้วยดี จนกระทั่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้แก้ไขคุณสมบัติจากเดิม และมีการเสนอญัตติของกมธ.เสียงข้างมาก ให้กกต.ทั้งชุดสิ้นสุดการทำหน้าที่ทันทีที่กฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้ ซึ่งตนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะกกต.ชุดปัจจุบันเข้ามาทำหน้าที่อย่างถูกต้องทุกกระบวนการ มีคุณสมบัติที่อยากให้อยู่ต่อตามวาระ เพราะกกต.ทุกคนกว่าจะมาทำงานวันนี้ต้องสอบเข้ามาและลาออกจากวิชาชีพหลายอย่าง อยากถามว่าหากมีกกต.ใหม่ทั้งชุดเข้ามาทำหน้าที่แล้ว จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ การทำงานด้านการเลือกตั้งต้องอาศัยเวลาและความชำนาญในการทำงาน ดังนั้นการให้กกต.ทั้งชุดยังคงอยู่เพื่อทำหน้าที่ต่อไป จึงเป็นเรื่องที่ตนเห็นด้วย

นอกจากนี้ยังมีสมาชิก สนช.อีกหลายคนที่ต้องการให้ กกต.อยู่ต่อทั้งชุดจนครบวาระ อาทิ นายกล้านรงค์ จันทิก นายนรนิติ เศรษฐบุตร และนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ อภิปรายว่า ตนขออภิปรายในแบบที่ชาวบ้านเข้าใจ จึงอยากถามไปที่.กรธและกมธ.ว่า โกรธอะไร กกต.เป็นการส่วนตัวหรือเปล่า ตนไม่แน่ใจ ทำไมกมธ.จึงอยากให้ก๊กนี้ไปทั้งหมด ทั้งที่กกต.ชุดปัจจุบันมาถูกต้องทุกประการ แต่ไปรังแกเขา เพราะกกต.บางคนมีคุณสมบัติถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และอยากถามว่าจะเซตซีโร่ทุกองค์กรหรือไม่ หรือเซตซีโรเฉพาะที่ไม่ใช่พวกเรา การอ้างปลา 2 น้ำก็ฟังไม่ขึ้น และในสภาฯนี้ก็ปลาหลายน้ำ สนช.ก็ปลาถึง 3 น้ำ ถ้าท่านจะทำเช่นนี้ชาวบ้านจะหาว่าสภาฯเรามีมาตรฐาน ทำงานกันอย่างไร และหากกฎหมายอื่นเข้ามาจะวางมาตรฐานอย่างไรเพราะหากทำอย่างนี้ก็คือหลายมาตรฐาน หากชี้แจงไม่ได้จะรู้สึกอายชาวบ้านหากเดินออกไปข้างนอก

ทั้งนี้ นายตวง อันทะไชย ประธานกมธ.วิสามัญฯ ชี้แจงว่า การตัดสินใจเซตซีโร่กกต. ไม่ได้เกิดจากความโกรธหรือรักใครใครหรือใครได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ แต่ตัดสินใจเพื่อประโยชน์ประเทศชาติ เจตนารมณ์ของรับธรรมนูญ และเจตจำนงค์เพื่อให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ กมธ.จึงเมินเฉยในร่างแรกของกรธ.ที่เสนอให้ตัดคุณสมบัติ กกต.บางคนที่ขัดรัฐธรรมนูญ และต้องการให้คนใหม่มาใช้กติกาใหม่ เพื่อให้การปฏิรูปมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เรายังให้ความเป็นห่วง กกต. โดยเขียนในวรรคสอง ให้มีการรักษาการ และได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จนกว่าจะมีกกต.ชุดใหม่เข้ามา เพราะเราคิดใหญ่ในการปฏิรูปประเทศ หากเราปฏิบัติแบบเดิม กลไกแบบเดิม วิธีการทำงานแบบเดิม ไม่มีทางเกิดผลแบบใหม่ได้ ส่วนคำถามที่ว่า กฎหมายองค์กรอิสระอื่น จะเดินตามแนวทางเซตซีโร่หรือไม่ ตนไม่สามารถตอบได้ เพราะกรธ.เป็นผู้ร่างกฎหมาย จึงต้องให้กรธ.ตอบเอง

ด้านนายภัทระ คำพิทักษ์ กรธ. ในฐานะกมธ.วิสามัญฯ ชี้แจงว่า การเสนอกฎหมายลักษณะทำนองเดียงกับกกต. อาจจะเหมือนหรือต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับองค์กรนั้นๆ ทั้งโครงสร้าง และสนธิสัญญาต่างประเทศ บางองค์กรอาจจะมีความคล้ายคลึง บางองค์กรอาจจะมีความแตกต่างกัน ยืนยันว่าการเซตซีโร่กกต.ดูเรื่องเจตนารมณ์ คุณสมบัติ และวัตถุประสงค์การปฏิรูป โดยไม่ได้พิจารณาว่าจะโกรธใคร เกลียดใคร และขอยืนยันอีกว่า กรธ.ไม่ได้เสียจุดยืนเพราะเป็นการแก้ไขอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นท่านทั้งหลายมีสิทธิ์พิจารณาตามดุลพินิจของท่าน และทำกฎหมายออกไปตามเจตนารมณ์

นอกจากนี้ สนช.บางคนยังเสนอให้มีการปรับเรื่องเงินบำเหน็จตอบแทนกกต.ที่พ้นสภาพว่าน้อยเกินไป เพราะเขาไม่มีความผิดแต่ถูกให้พ้นตำแหน่ง ขณะที่กมธ.ชี้แจงว่า หากเพิ่มให้มากกว่านี้จะผิดระเบียบการเงินการคลัง

จากนั้น ที่ประชุมลงมติ ในมาตรา 70 เห็นด้วยกับกมธ.เสียงข้างมาก ที่ต้องการให้เซตซีโร่ กกต.ด้วยคะแนน 161 ไม่เห็นด้วย 15 งดออกเสียง 12 เสียง และเมื่อที่ประชุมพิจารณาครบทั้ง 78 มาตรา ได้ลงมติในวาระ 3 เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวด้วยคะแนน เห็นชอบ 177 เสียง ไม่เห็นชอบ 1 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง และดำเนินการตามขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์ ย้ำจุดยืนพรรคเคารพเสียงข้างมากของประชาชน ยันไม่ขัดแย้งกับ กปปส.

Posted: 09 Jun 2017 06:09 AM PDT

อภิสิทธิ์ ย้ำจุดยืนตนเองและพรรคเคารพเสียงข้างมากของประชาชน ใครรวมเสียงเกินครึ่งจัดตั้งรัฐบาลได้ วุฒิสภาไม่ควรที่จะไปขัดขวางการจัดตั้งรัฐบาล ชี้เป็นการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งขึ้นใหม่ในสังคม  

แฟ้มภาพ

9 มิ.ย. 2560 ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมพูดคุยในรายการ "คนเคาะข่าว" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม "นิวส์วัน" ภายใต้หัวข้อ "อนาคตการเมืองไทย อนาคตประชาธิปัตย์ ในมุมมองอภิสิทธิ์" ดำเนินรายการโดย เติมศักดิ์ จารุปราณ

อภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณีมีสองขั้วความคิด สองแนวทางในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง แนวแรกคือพรรคการเมืองจับมือกันไม่เอานายกฯ คนนอก อีกแนวหนึ่งคือบางพรรคไปจับมือกับ 252 ส.ว.ชูมือให้ พล.อ.ประยุทธ์ ว่าค่อนข้างเร็วเกินไปที่จะไปพูดสูตรสำเร็จแบบนี้เพราะยังไม่ได้เลือกตั้ง เท่ากับว่าเราไม่เคารพเจ้าของประเทศที่จะใช้สิทธิเลือกตั้ง จุดยืนของตนและของพรรคก็คือเคารพเสียงข้างมากของประชาชน เพราะฉะนั้นถ้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรรวบรวมเสียงได้ 250 เขาอาจจะเลือกตั้งก็ได้ เขาอาจจะได้จากการที่เขาเจรจา พูดคุยกับพรรคการเมืองก็ได้ แล้วเกิน 250 ตนเห็นว่าสมาชิกวุฒิสภาไม่ควรที่จะไปขัดขวางการจัดตั้งรัฐบาล เพราะเท่ากับเป็นการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งขึ้นใหม่ในสังคม พูดง่ายๆ ก็คือว่า คนเกินครึ่งเขาให้คะแนนเสียง คนกลุ่มนี้มาจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ไปฝืนความต้องการของประชาชนมีแต่จะสร้างปัญหามากขึ้นในอนาคต ส่วนพรรคการเมืองจะจับได้ถึง 250 เสียงหรือไม่ 1. ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชนผลของการเลือกตั้ง 2. พรรคการเมืองที่จะจับมือกันเป็นรัฐบาล ก็ควรที่จะต้องมีอุดมการณ์ ความคิดที่นโยบายที่ไปด้วยกันได้ ไม่ใช่อยากจะเป็นรัฐบาลก็ไปรวมกันเพื่อจะเป็นโดยที่ไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเชิงอุดมการณ์ เพราะฉะนั้นสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ ข้อที่ 1 ภารกิจเรา เราต้องพัฒนาตัวเอง เสนอตัวให้เป็นทางเลือก ให้เป็นที่พึ่งที่หวังของคน มุ่งหวังที่จะให้คะแนนเสียงให้ได้มากที่สุดเกิน 250 ยิ่งดี ถ้าได้ไม่ถึงก็จะไปดูมีพรรคการเมืองไหนที่คิดว่ามีแนวคิดนโยบาย อุดมการณ์ที่จะไปด้วยกันได้ ถ้าเราสามารถรวบรวมเสียงได้ เราคิดว่าเราควรที่จะตั้งรัฐบาล ถ้าคนอื่นเขาทำได้เขาควรได้จัดตั้งรัฐบาล

เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยนี่ตัดออกไปเลยไหมสำหรับการร่วมรัฐบาลกับประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ตอบว่า ตราบเท่าที่พรรคเพื่อไทยยังเป็นเครื่องมือของครอบครัวชินวัตร แล้วก็มีวาระในการที่จะปกป้องประโยชน์ของครอบครัวชินวัตรคงจะร่วมงานไม่ได้ อันนั้นเป็นเงื่อนไขแบบชนิดที่เรียกว่าไม่ต้องพูดอย่างอื่นเลย แต่สมมติว่าเกิดหลุดจากตรงนั้นมาได้ก็ต้องมาดูต่อว่านโยบายไปด้วยกันได้ไหม เพราะว่าถ้านโยบายไปด้วยกันไม่ได้ ไปเป็นรัฐบาลก็เป็นปัญหาอีก เท่ากับว่าทรยศประชาชน สมมติเรานโยบายไปทางซ้าย เขาบอกนโยบายไปทางขวา ถึงเวลามาเป็นรัฐบาลด้วยกัน แล้วประชาชนที่เขาจะเลือกมาเพราะพรรคหนึ่งบอกว่าไปทางซ้าย ประชาชนที่เขาเลือกบอกไปทางขวา เขาจะคิดอย่างไร

อภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า 250 เสียงของวุฒิสภาควรที่จะมีบทบาทในเชิงของการไปเลือกก็ต่อเมื่อ 250 เสียงในสภาล่างมันไม่มี คือมันจับกันไม่ได้ ก็แปลว่าเหมือนกับปล่อยสภาผู้แทนราษฎรไป มันค้นหาไม่ได้ว่าใครควรที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ใครควรที่จะเป็นรัฐบาล อย่างนั้นคุณก็มาช่วยในฐานะสภาสูง แต่ถ้าพอ 250 แล้ว ส.ว.ไปตัดสินใจที่มันฝืนกับเสียงข้างมากของสังคม จะรับผิดชอบไหม ถ้ามีความขัดแย้งตามมา
       
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ยังกล่าวด้วยว่า ตอนนี้ต้องยืนยันว่าไม่มี 2 ขั้วความคิดในพรรค ไม่มีขัดแย้งกับคนที่เคยไปทำงานกับ กปปส. วันนั้นทั้ง 8 ท่านมาที่พรรคเเล้วคุยกันอย่างนี้ แล้วไม่ใช่ตนพูดก่อน 1 ใน 8 พูดเองว่าวันนี้เมื่อเขามาทำงานกับพรรคประชาธิปัตย์ ในพรรคประชาธิปัตย์ในระบบพรรคการเมือง เขาต้องสนับสนุนแนวทาง เพราะนั่นคือแนวทางของพรรคการเมืองและแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ คนที่พูดคือคุณถาวร เสนเนียม แล้วตนก็บอกคุณถาวรเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มาก่อนตน 20 กว่าปี เพราะฉะนั้นทราบดีว่าพรรคประชาธิปัตย์คืออะไร
       

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีต ผอ.เอฟบีไอแฉหนัก 'โดนัลด์ ทรัมป์' เคยขอให้ยกเลิกสืบสวนคนใกล้ชิด

Posted: 09 Jun 2017 06:04 AM PDT

ก่อนหน้านี้โดนัลด์ ทรัมป์ เคยสั่งปลดเจมส์ โคมี ออกจากตำแหน่งผอ.เอฟบีไอ ขณะสืบสวนเรื่องที่ทรัมป์อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัสเซีย แต่โคมีก็ได้ให้การต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ ถึงการเปิดโปงบันทึกการพูดคุยระหว่างตัวเขาเองกับทรัมป์ตั้งแต่หลังรับตำแหน่งใหม่ๆ ที่ฉายภาพให้เห็นว่าสิ่งที่ทรัมป์เคยพูดกับเขาอาจจะเข้าข่ายการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม

เจมส์ โคมี (ซ้าย) อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐอเมริกา หรือ FBI (ที่มา: Wikipedia/FBI)

9 มิ.ย. 2560 เจมส์ โคมี อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ (FBI) ให้การต่อคณะกรรมการข่าวกรองของวุฒิสภา เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 ตามเวลาในสหรัฐฯ เกี่ยวกับบทสนทนาระหว่างตัวเขากับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในประเด็นเกี่ยวกับการสอบสวนเรื่องที่ทรัมป์มีความเกี่ยวข้องกับรัสเซียหรือไม่ ซึ่งโคมีบอกว่าเขาเป็นคนที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของบทสนทนาระหว่างเขากับทรัมป์เองเพราะหวังว่ามันจะนำไปสู่การแต่งตั้งอัยการพิเศษที่จะนำการไต่สวนเรื่องเกี่ยวกับทรัมป์และรัสเซีย

โคมีบอกว่าการตัดสินใจของเขาคือเขาต้องการให้เรื่องนี้ออกสู่สายตาสาธารณะเพื่อหวังให้เกิดการแต่งตั้งอัยการพิเศษมาสืบสวนสอบสวนในเรื่องนี้ เมื่อหนึ่งในวุฒิสมาชิกถามว่าตัวโคมีเองเชื่อเรื่องที่ทรัมป์มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัสเซียหรือไม่โคมีตอบแค่ว่า "ผมหวังว่าจะมีเทป" และบอกว่าตัวเขาเองไม่ควรจะตอบคำถามเรื่องนี้ในพื้นที่เปิด

ก่อนหน้านี้โคมีเคยถูกทรัมป์ปลดออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมาในช่วงที่ยังมีการสืบสวนสอบสวนกรณีที่ว่ารัสเซียมีความเกี่ยวข้องในการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อปี 2559 โดยที่เดิมทีแล้วโคมีมีกำหนดการจะต้องให้การในเรื่องการสืบสวนของเขาต่อวุฒิสมาชิกด้านข่าวกรองของสหรัฐฯ ภายในวันที่ 11 พ.ค. 2560 แต่เขาก็ถูกสั่งปลดเสียก่อนเมื่อวันที่ 9 พ.ค.

ในคำให้การเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. โคมีเปิดเผยว่าทรัมป์พยายามทำให้เขารวมถึงหน่วยงานเอฟบีไอเสื่อมเสียชื่อเสียงด้วยการกล่าวหาว่าเอฟบีไอกำลังสับสนและกำลังโกหก อย่างไรก็ตามทั้งหน่วยงานเอฟบีไอและทรัมป์ก็ไม่ได้บอกให้เขาหยุดสืบสวนสอบสวนในเรื่องรัสเซีย โคมีบอกอีกว่าข้ออ้างสั่งปลดเขาออกจากตำแหน่งของทำเนียบขาวก็สลับสับเปลี่ยนไปมาทำให้เขารู้สึกว่าน่าเป็นห่วง

โคมียังให้การอีกว่าหลังจากที่เขาเข้าพบทรัมป์ในช่วงที่กำลังเปลี่ยนผ่านอำนาจไม่นาน เขาก็เขียนบันทึกการพบปะกันระหว่างเขากับทรัมป์เอาไว้เพราะกลัวว่าทรัมป์จะเอาเรื่องการพบปะกับเขามาเล่าอย่างโกหก และเพื่อให้การแก้ต่างให้ตัวเองและเอฟบีไอ เขายังบอกอีกว่าการเผยแพร่บันทึกการพบปะระหว่างเขากับทรัมป์นั้นยังเป็นการทำไปามบทบาทหน้าที่ของพลเมืองทั่วไปคนหนึ่ง

สื่อซีเอ็นเอ็นบรรยายการให้การของโคมีในครั้งนี้ว่าได้รับความสนใจจากสื่อและผู้คนจำนวนมากในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนทรัมป์ก็แสดงออกโต้ตอบคำให้การของโคมีผ่านเครือข่ายโทรทัศน์ของตัวเองและมีการถ่ายทอดสดที่รับชมจากเครื่องมือสื่อสารแบบพกพาได้ถือเป็นสิ่งที่หาได้ยากที่คนในสหรัฐฯ จะรับชมอะไรอย่างเดียวกันพร้อมๆ กันจำนวนมากในยุคอินเทอร์เน็ตเช่นนี้ การถ่ายทอดสดในครั้งนี้ยังถือเป็นจุดสำคัญของข้อกล่าวหาเรื่องที่รัสเซียมีส่วนแทรกแซงการเลือกตั้งเมื่อปี 2559 ซึ่งเป็นเรื่องเชิงลบที่ครอบคลุมรัฐบาลทรัมป์มาเป็นเวลาหลายเดือน

 

เปิดโปงทรัมป์เคยขอให้โคมีเลิกสืบสวนกรณีไมเคิล ฟลินน์ มีเอี่ยวรัสเซีย

โคมีระบุในบันทึกการสนทนากับทรัมป์ว่า ทรัมป์เคยขอร้องกับเขาเป็นการส่วนตัวให้ยกเลิกการสืบสวนไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรัฐบาลทรัมป์ผู้ลาออกหลังจากมีการตรวจสอบพบว่าเกี่ยวข้องกับรัสเซีย จากการที่เขาเคยโกหกต่อรองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ เกี่ยวเนื้อหาที่พูดคุยกับ เซอรกี คิลสยัค เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหรัฐฯ ในบันทึกของโคมีระบุว่าทรัมป์พยายามเกลี้ยกล่อมให้เขาเลิกสืบสวนฟลินน์โดยอ้างว่าฟลินน์ "เป็นคนดี" และ "ผ่านอะไรมามาก"

นอกจากนี้ยังมีการบันทึกการสนทนาระหว่างโคมีกับทรัมป์ไว้ว่าทรัมป์เคยถามเขาหลายครั้งในช่วงที่เชิญมาทานอาหารเย็นด้วยกันหลังทรัมป์ได้รับตำแหน่งใหม่ว่ายังอยากอยู่ในตำแหน่งนี้ต่อหรือไม่ และต่อมาก็บอกว่าเขาต้องการให้โคมี "มีความจงรักภักดี" ต่อทรัมป์ และพูดเปรยไว้ในทำนองว่าเขารู้สึกแย่กับเรื่องอื้อฉาวและข้อกล่าวหาต่างๆ โดยบอกว่ากำลังพิจารณาว่าจะให้โคมีช่วยสืบสวนเพื่อพิสูจน์ว่ามันไม่จริงได้หรือไม่

ทางพรรคเดโมแครตมองว่าจากเนื้อหาการสนทนาระหว่างทรัมป์กับโคมีสามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ว่าทรัมป์พยายามขัดขวางกระบวนการยุติธรรมซึ่งถือเป็นข้อหาที่สามารถนำมาใช้ร้องเรียนถอดถอนตำแหน่งประธานาธิบดีได้ ซึ่งมาร์ติน ไฮนริช วุฒิสมาชิกจากนิวเม็กซิโกบอกว่านี่เป็นเรื่องน่าเสียหายถ้าหากคนเป็นประธานาธิบดีพูดอะไรแบบนี้จริง

ส่วนโคมีให้การในเชิงสงวนท่าทีว่าเขาไม่ใช่ผู้ที่จะตัดสินว่าบทสนทนาระหว่างเขากับทรัมป์จะถือเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรมได้หรือไม่

เรียบเรียงจาก

James Comey hoped leak would lead to special counsel on Russia, CNN, 08-06-2017

ข้อมูลบันทึกการพูดคุยระหว่างเจมส์ โคมี กับ โดนัลด์ ทรัมป์

https://www.documentcloud.org/documents/3860401-Os-Jcomey-060817.html

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก

https://en.wikipedia.org/wiki/James_Comey

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มหาดไทยเตรียมเปิดรับคำตอบ 4 คำถามของประยุทธ์ เผยหนี้ของหน่วยงานราชการ ยังจ่ายทั้งหมดไม่ได้

Posted: 09 Jun 2017 05:22 AM PDT

อนุพงษ์ เผ่าจินดา เผยเตรียมเปิดรับความเห็นประชาชนกรณี 4 คำถามของประยุทธ์ จันทร์โอชา วันที่ 12 มิ.ย. เป็นต้นไป ส่วนกรณีค้างชำระหนี้สาธารณูปโภค 6 พันล้านบาทเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานนับ 10 ปี ยอมรับว่าอาจจะชำระไม่ได้ทั้งหมด

แฟ้มภาพทำเนียบรัฐบาล

9 มิ.ย. 2560 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การรับฟังความเห็น คำถาม 4 ข้อของนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทยมอบหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต /ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล / ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย และส่วนภูมิภาคใช้ศูนย์ดำรงธรรมของอำเภอ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งระยะเวลาดำเนินการรับฟังความคิดเห็น จะเปิดตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. นี้ เป็นต้นไป และยังไม่กำหนดเวลาปิดรับฟังความคิดเห็น ซึ่งประชาชนที่สนใจสามารถไปแสดงความเห็นในวัน เวลาราชการ คือ จันทร์ถึงศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. โดยจะต้องมาด้วยตัวเองและแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะมีเอกสารให้กรอก เพื่อตอบคำถาม และกระทรวงมหาดไทยจะสรุปความเห็น ทุก ๆ 10 วัน จากนั้นจะมีการประมวลผลไม่เกิน 7 วัน เพื่อส่งให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบ 

"ขอยืนยันว่าข้อมูลที่ได้มาจะเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบ ทั้งนี้ส่วนตัวไม่มีข้อห่วงใยและข้อกังวลใด ๆ เพราะเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็น และจะส่งความเห็นที่เป็นจริงให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบต่อไป" พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวถึงกรณีที่หน่วยงานภาครัฐ ค้างชำระเงินค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ และค่าไฟฟ้า ว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นมานานนับ 10 ปี และทุกหน่วยราชการ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ ก็มีการค้างชำระ ทำให้ต้องมีการอนุมัติหลักการในการจัดสรรงบประมาณในด้านอื่น เพื่อมาจ่ายการค้างชำระ 

เมื่อถามว่าจะต้องมีการเรียกเก็บย้อนหลังจากหน่วยงานรัฐอีกหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ต้องเรียกเก็บย้อนหลังแน่นอน ซึ่งตัวเลขทั้งหมดประมาณ 6 พันล้านบาท เป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ประมาณ 4 พันล้านบาท, การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เกือบ 2 พันล้านบาท, ส่วนการประปานครหลวง (กปน.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)ทั้ง 2 แห่ง รวมเป็น 100 ล้านบาท ยืนยันว่าหนี้ดังกล่าวมีการติดมานานแล้ว ตั้งแต่ตนยังเด็กจนกระทั่งเกษียณก็ติดมาตลอด อย่างไรก็ตาม เมื่ออนุมัติหลักการในการพิจารณานำงบประมาณมาใช้หนี้ดังกล่าวแล้ว ถามว่าหนี้จะหมดหรือไม่ ก็คงยังไม่หมด แต่ก็ถือว่าเป็นการเปิดช่องให้นำงบประมาณมาใช้หนี้ได้บ้าง

"เท่าที่ทราบ ยอดหนี้ทั้งหมดมี 6,000 ล้านบาท แยกเป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 4,000 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เกือบ 2,000 ล้านบาท และหนี้ของการประปา กว่า 100 ล้านบาท แต่ยอมรับว่ายังไม่สามารถจ่ายที่ค้างชำระหนี้ไม่ได้ทั้งหมด" พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

ที่มาจาก: สำนักข่าวไทย , เดลินิวส์ออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รมว.แรงงาน ชวนแรงงานไทยลงเรือประมง ยื่นค่าจ้าง 1.2 หมื่น พร้อมที่พัก รักษาพยาบาล อาหาร

Posted: 09 Jun 2017 04:07 AM PDT

กรมการจัดหางานจับมือสมาคมประมงฯ ดันจ่ายค่าจ้าง 12,000 บ./เดือนให้แรงงานในกิจการประมงทะเล พร้อมจัดสวัสดิการ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันชีวิต และประกันอุบัติเหตุ  ระบุไว้ในสัญญาจ้างอย่างชัดเจน สร้างความมั่นคงของชีวิตให้แรงงานไทยในภาคประมง

แฟ้มภาพ

9 มิ.ย. 2560 รายงานขาวจากกระทรวงแรงงานแจ้งว่า อนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและเห็นความสำคัญของแรงงานในภาคประมงที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ จึงได้สั่งการให้กรมการจัดหางานเร่งรัดดำเนินการหารือผู้เกี่ยวข้องในการปรับปรุงสภาพการจ้างและการทำงานพร้อมจัดสวัสดิการทุกรูปแบบให้กับแรงงานในภาคประมงเพื่อจูงใจให้แรงงานที่ทำงานในกิจการประมงทะเลโดยเฉพาะแรงงานไทยไม่ต้องห่างครอบครัวไปลงเรือประมงในต่างแดน ดังนั้น กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานจึงร่วมมือกับสมาคมประมงแห่งประเทศไทยผลักดันให้มีการปรับสภาพการจ้างงานเพื่อจูงใจแรงงานไทยหันมาทำงานในกิจการประมงทะเลเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเบื้องต้นทั้งสองฝ่ายมีข้อยุติร่วมกันว่าจะจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเป็นรายเดือนๆละ 12,000 บาท พร้อมกับจัดสวัสดิการด้านที่พัก อาหาร การรักษาพยาบาล ประกันสุขภาพ ประกันสังคม รวมทั้งประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุให้กับแรงงานภาคประมงอีกด้วย โดยจะต้องมีการทำสัญญาจ้างที่กำหนดอัตราค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับแรงงาน

อนันต์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับสภาพการจ้างงานที่เป็นธรรม รวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ จะช่วยให้แรงงานไทยมีรายได้ที่ดี มีความมั่นคงในชีวิตการทำงาน และจะช่วยจูงใจให้แรงงานไทยไม่ปฏิเสธงานประมง และไม่ต้องใช้ชีวิตบนท้องทะเลในต่างแดน  หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อรายละเอียดหรือสอบถามได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น