โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com

Link to ประชาไท

จ่ออุทธรณ์ เหตุศาลยกฟ้องคดี 'ครูแขก' ฟ้องกลับ ตร. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบคดีระเบิดปี 53

Posted: 09 Sep 2018 09:10 AM PDT

ทนายเบญจรัตน์ เผยเตรียมอุทธรณ์ต่อหลังศาลอาญาทุจริตฯ ยกฟ้องคดี 'ครูแขก' ฟ้องกลับ พล.ต.อ.ศรีวราห์ กับพวก ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หลังยกฟ้อง 2 คดีระเบิดสมานเมตตาแมนชั่นปี 53 ส่วนคดี พล.ต.อ.ศรีวราห์ ฟ้องทนายเบญจรัตน์ข้อหาหมิ่นประมาทฯ ตร.สอบปากคำแล้ว

ซ้าย ทนายเบญจรัตน์ มีเทียน, ขวา พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล

9 ก.ย.2561 ความคืบหน้าคดี อัมพร ใจก้อน หรือครูแขก อายุ 59 ปี อดีตจำเลยที่ศาลอุทธรณ์เพิ่งยกฟ้องในคดีระเบิดสมานเมตตาแมนชั่นปี 53 และได้ฟ้องกลับคณะตำรวจซึ่งเคยดำเนินคดีของครูแขก รวม 12 คน รวมถึง พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ

เบญจรัตน์ มีเทียน ทนายความของ อัมพร เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ทราบผบตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลอาญาทุจริตฯ ยกฟ้องคดีดังกล่าวโดยอ้างว่า ตำรวจทำตามกฎหมายและชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่ไม่ไต่สวน ขณะนี้กำลังเตรียมยื่นอุทธรณ์ ภายในวันที่ 24 ก.ย.นี้ โดยทางครูแขกแสดงเจตจำนงให้อุทธรณ์ต่อ

ส่วนความคืบหน้าคดีที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ แจ้งความเอาผิด เบญจรัตน์ ข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ภายหลังให้ข่าวกับประชาไทว่าจะไปฟ้องคดีคณะตำรวจซึ่งเคยดำเนินคดีของครูแขก รวม 12 คน รวมถึง พล.ต.อ.ศรีวราห์ ในคดีดังกล่าวนั้น เบญจรัตน์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจสอบคำให้การพยานผู้ถูกกล่าวหา คือตนเอง ไปเมื่อวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งตนยืนยันว่าสิ่งที่ตนให้ข่าวจนเป็นเหตุถูกฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทฯ นั้นเป็นคำพูดที่ครูแขกเองที่ว่าจะฟ้องกลับผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นเจตนาตัวผู้เสียหายไม่ใช่เจตนาตน ตนไม่มีส่วนได้เสีย เป็นเพียงทนายความของครูแขกเท่านั้น 

กระบวนการหนังจากนี้ เบญจรัตน์ ระบุว่าเจ้าหน้าที่จะสอบพยานต่อคือครูแขกและพยานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ไผ่ลู่ลมและนโยบายต่างประเทศ คสช. | หมายเหตุประเพทไทย #226

Posted: 09 Sep 2018 06:58 AM PDT

การต่างประเทศของไทยนับตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงยุคปัจจุบันดำเนินไปด้วยนโยบาย "ไผ่ลู่ลม" อันหมายถึงเป็นไปตามที่ประเทศมหาอำนาจมาชี้นำในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง แม้แต่ในยุค คสช. เองการกำหนดนโยบายและท่าทีก็เป็นไปตามมหาอำนาจทั้งจีนและตะวันตก อย่างไรก็ตามท่าทีที่ทำตามเงื่อนไขของชาติตะวันตกในระยะหลัง อาจไม่ได้ต้องการพาไทยกลับสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเร็ว แต่อาจทำไปเพื่อการรักษาความมั่นคงและอยู่ให้รอดของรัฐบาล คสช. เท่านั้น

ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในหมายเหตุประเพทไทย "ไผ่ลู่ลมและนโยบายต่างประเทศ คสช." ชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับอภิพล แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโทสาขาการระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้นำเสนอบทความ "ไผ่เหล็กลู่ลม : ความ "อยู่เป็น" กับการกำหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา"

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
เฟสบุ๊ค 
https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เปลือยมุมมอง ‘ประชาธิปัตย์’ ปมทหารเกณฑ์-ปฎิรูปกองทัพ กับ สาธิต ปิตุเตชะ

Posted: 09 Sep 2018 06:29 AM PDT

คุยกับ สาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องการเกณฑ์ทหาร ขณะที่หลายพรรคชูยกเลิกเกณฑ์ ประชาธิปัตย์ชี้พัฒนาคุณภาพชีวิตทหารเกณฑ์ พร้อมสร้างแรงจูงใจให้คนสมัครเพิ่ม ลดจำนวนกำลังพลที่ไม่จำเป็น และปรับวัฒนธรรมของทหาร

หลังจากเกิดกรณีพลทหารรุ่นพี่ 3 คนซ้อมทรมานพลทหารคชา พะชะ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส หัวใจหยุดเต้น จนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอนันทมหิดล ซึ่งตรวจพบว่ามีเซลล์สมองเสียหาย ปอดติดเชื้อ และไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้ เรื่องดังกล่าวทำให้สังคมไทยหันกลับมาตั้งคำถามต่อการเกณฑ์ทหาร และความจำเป็นของการมีทหารเกณฑ์กันอีกครั้ง เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องสะเทือนใจผู้คนในสังคมแล้ว การปรากฎขึ้นข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทหารเกณฑ์ยังพบว่ามีความต่อเนื่องเรื่อยมา แม้ทุกครั้งกองทัพจะได้รับปากว่าจะมีการดำเนินการแก้ไข ป้องกันเพื่อให้ไม่เกิดเรื่องขึ้นอีก

ท่ามกลางการตั้งคำถามของสังคม หลายพรรคการเมืองประกาศจุดยืนในเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า การยกเลิกทหารเกณฑ์คือ คำตอบของการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงขั้นของการยกเครื่องปฏิรูปกองทัพใหม่ทั้งหมด เสรีรวมไทย เพื่อไทย และอนาคตใหม่ต่างมีมุมมองที่เป็นไปในทางเดียวกัน นับได้ว่าก้าวหน้าขึ้นมาอีกขั้นเมื่อการหาแนวร่วมทางการเมืองของพรรคการเมืองได้หยิบยกเรื่องราวเหล่านี้เป็นธงนำ

สามพรรคการเมืองประกาศชัด เหลือเพียงพรรคประชาธิปัตย์ที่หลายคนยังเฝ้ารอคำตอบในนามของพรรคการเมืองว่ามีมุมมองอย่างไรกับปัญหาดังกล่าว เราติดต่อไปที่เลขานุการส่วนตัวของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อขอสัมภาษณ์ ผ่านพ้นไปหนึ่งวัน เราได้รับการตอบกลับจากเลขานุการของอภิสิทธิ์ว่า หัวหน้าพรรคได้มอบหมายให้สาธิต ปิตุเตชะ เป็นผู้ให้ความเห็นในเรื่องนี้แทน

เรานั่งคุยกับสาธิต ในห้องทำงานที่พรรคประชาธิปัตย์ แม้เขาไม่ได้ผ่านประสบการณ์ในรั้วลายพรางในฐานะน้องเล็กของกองทัพ เพราะจับสลากได้ใบดำ แต่รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต ส.ส. จังหวัดระยอง เห็นว่า ระบบการเกณฑ์ทหาร และคุณภาพชีวิตของเหล่าทหารเกณฑ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ควรจะได้รับการแก้ไข เพียงแต่ยังไม่ได้มองไปถึงขั้นของการยกเลิกทหารเกณฑ์

การรีดไขมันกองทัพ ตรวจสอบความจำเป็นของกำลังพล และการสร้างแรงจูงใจให้คนมาสมัครเป็นทหารโดยไม่ต้องบังคับจับใบดำ-ใบแดง เป็นคำตอบของเขาในนามประชาธิปัตย์ ขณะเดียวกันเขายังเห็นด้วยกับการเรียน รด. เพื่อสร้างวินัย พร้อมปลูกฝั่งประชาธิปไตยให้กับผู้เยาว์ และเห็นว่าทหารควรมีอาชีพเป็นทหารเท่านั้น ไม่ใช่มีอาชีพเป็นผู้บริหารประเทศ

00000

ประชาไท : กรอบวิธีของคนในสมัยหนึ่งมักมองว่าการเกณฑ์ทหารเป็นหน้าที่ที่ต้องทำสำหรับชายไทย แต่ปัจจุบันนี้ข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทหารเกณฑ์ปรากฎมากขึ้น และดูเหมือนว่ากระแสสังคมในเวลานี้กำลังเรียกร้องให้มีการยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร ประชาธิปัตย์มองเห็นเรื่องนี้ไปในทางเดียวกัน หรือมีจุดยืนที่แตกต่างออกไป

สาธิต : เวลาเรามองเห็นปัญหาอะไรขึ้นมา เราก็ต้องมองต้นเหตุแห่งปัญหาให้เจอ ยกตัวอย่างกรณีการเสนอให้มีการปรับแก้กฎหมายเพิ่มค่าปรับกรณีไม่มีใบขับขี่ เพื่อที่จะแก้ปัญหาการเสียชีวิตจากการใช้รถใช้ถนน ถ้าเรายังมองเห็นเหตุแห่งปัญหาไม่ออก แล้วเราแก้ไขผิดทางก็จะเป็นปัญหาเพิ่มขึ้นอีก เหมือนกันกับกรณีการออก พ.ร.ก.ประมง ซึ่งมีข้อจำกัด ระเบียบต่างๆ ยิบย่อย สุดท้ายก็กลายเป็นปัญหาของคนที่ทำอาชีพประมง จนทำให้เขาไม่สามารถประกอบวิชาชีพปกติได้ มันก็จะเกิดความเสียหาย

เรื่องที่พูดนี้คลายกับเรื่องทหารเกณฑ์ เบื้องต้นผมเห็นด้วยกับปัญหาสองเรื่องคือ เรื่องการซ่อมจนทำให้เกิดการเสียชีวิต ถึงแม้จะบอกว่ามีจำนวนเพียงหนึ่งในร้อย หรือหนึ่งในพันที่เสียชีวิต แต่ความสูญเสียนี้ไม่สามารถตีค่าได้ และเป็นการเสียชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากการปฎิบัติหน้าที่ทหาร แต่เกิดจากการทำร้ายร่างกาย เรื่องที่สองคือ การนำทหารเกณฑ์ไปรับใช้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง หนักไปกว่านั้นคือเรื่องของการทุจริต เช่นเรียกตัวไปเป็นทหารรับใช้ แต่จริงๆ แล้วมีการปล่อยให้กลับบ้าน ทั้งสองเรื่องนี้ต้องมีการบังคับให้กองทัพเลิกทำให้ได้อย่างเด็ดขาด ผมเรียกว่าสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นไขมันขององค์กรทหาร ฉะนั้นทหารจะต้องขจัดสิ่งเหล่านี้ให้ได้ หรือไม่ก็ต้องบังคับให้ทหารเลิกทำสิ่งเหล่านี้ให้ได้

การจะไปสู่จุดนั้นได้ต้องทำอย่างไร

มันต้องมีองค์ประกอบหลายทาง อย่างแรกคือวัฒนธรรมของตัวองค์กรทหารเองก็ต้องเปลี่ยน เปลี่ยนในแง่ของการมีจริยธรรมในอาชีพของตัวเอง แม้การปลูกฝั่งวัฒนธรรมของการทำตามคำสั่ง การสั่งการ เป็นเรื่องที่ทหารประสบความสำเร็จมากที่สุด แต่เมื่อโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว และการอยู่ในวัฒนธรรมแบบนี้มันทำให้เกิดปัญหา ทหารก็ต้องรู้จักปรับตัว ถ้าไม่ปรับตัวก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้

ถ้าจะพูดว่าเรื่องการ ซ่อม เป็นเรื่องปกติของรุ่นพี่ที่จะตักเตือนรุ่นน้อง ผมคิดว่ามันมีเส้นแบ่งอยู่ เช่น การทำโทษด้วยการหวิดพื้น หรือการวิ่ง อะไรก็ตามที่ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย หรือทำร้ายทารุน ตรงนี้สามารถทำได้ และถ้ามีการกระทำที่เกินเลยหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัด ตัวผู้บังคับบัญชาระดับสูงจะต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ หรือถูกลงโทษ ฉะนั้นนอกจากปรับวัฒนธรรมแล้ว ฝ่ายกำหนดนโยบายของกองทัพ ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือรัฐบาลก็ต้องมีความชัดเจนว่า การทำร้ายร่างกายพลทหาร และการนำทหารไปเป็นทหารรับใช้ เป็นเรื่องต้องห้าม รวมทั้งต้องมีการสร้างกลไกการตรวจสอบอย่างจริงจัง ซึ่งถ้าทำพร้อมกันทั้งระบบก็จะสามารถป้องกันปัญหานี้ได้

เมื่อพูดถึงการตรวจสอบ ในหลายกรณีที่เกิดเรื่องขึ้น กองทัพมักจะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้คนของกองทัพทั้งหมด ไม่มีพื้นที่สำหรับพลเรือน หรือหน่วยงานนอกกองทัพในการเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ ตรงนี้เป็นปัญหาหรือไม่

ผมคิดว่าควรจะเปิดให้หน่วยงานอื่นเข้าไปมีส่วนร่วม เพราะยิ่งไม่เปิดกว้างเมื่อมีการทำผิดก็จะมีการตั้งคณะกรรมการซึ่งเป็นคนในกองทัพเอง ก็จะทำให้ความไว้เนื้อเชื่อใจของผู้เสียหายและสังคมมีน้อยลง ฉะนั้นการเปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยก็จะทำให้กลไกการตรวจสอบของทัพน่าเชื่อถือขึ้น และเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อกองทัพเอง ที่จะไม่ถูกตราหน้าว่าเข้าข้างพวกเดียวกัน และจะได้นำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ เมื่อหาตัวคนผิดมาลงโทษได้ กองทัพก็จะถูกแยกออกมาเป็นหน่วยที่บริสุทธิ์ ส่วนคนที่กระทำผิดก็ถูกลงโทษไป เรื่องนี้เองก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย

พูดในระดับนี้ได้ไหมว่า ประชาธิปัตย์เองก็เห็นปัญหาของการละเมิดสิทธิทหารเกณฑ์ แต่ว่าต้องการแก้ไขปัญหาภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ก่อน ไม่ได้มองข้ามไปถึงขั้นของการเปลี่ยนแปลงวิธีการได้มาซึ่งทหารเกณฑ์อย่างการยกเลิกไปเลย

เราชัดเจนว่าเห็นปัญหา และเรามีแนวทางว่าจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร จะปรับเปลี่ยนอย่างไรเพื่อให้มีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้น แต่เราเป็นผู้ใหญ่เพียงพอ เราอาจจะไม่ได้พูดถึงขั้นว่า ชายไทยไม่ต้องเกณฑ์ทหารแล้ว เรามีทางเลือกว่าทำอย่างไรจะให้มีกำลังพลที่เพียงพอกับการทำงานของกองทัพ ทั้งงานที่เป็นเรื่องความมั่นคง และงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ หรืองานด้านไหนก็ตามแต่ ต้องมีการจำกัดจำนวนกำลังพลที่ชัดเจน และแสดงให้เห็นว่ากำลังต้องการกำลังเท่าไหร่ นำไปใช้ในงานอะไรบ้าง

เราพบข้อมูลว่า ปี 2557-2558 มีการเพิ่มแรงจูงใจโดยการให้ค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นทหารเกณฑ์เพิ่มขึ้น ผลปรากฎว่า มีผู้สมัครใจเข้าเป็นทหารเกณฑ์เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ และพบว่าในปี 2551 มีการใช้ พ.ร.บ.การศึกษานอกระบบ ให้ทหารเกณฑ์ที่เข้าไปฝึกสามารถเรียนหนังสือไปด้วยได้ โดยในปีนั้นมีผู้สมัครเพิ่มขึ้น 35 เปอร์เซ็นต์

ข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์ประการแรกคือ เราต้องจำกัด หรือตัดไขมันที่ไม่จำเป็นออกไปซะ สมมติปีนี้กองทัพต้องการกำลังพล 1 แสนคน เราก็ต้องเอามาดูว่า 1 แสนคนเอาไปทำอะไรบ้าง ส่วนไหนที่ไม่จำเป็นตัดออก เช่น ทหารที่จะถูกนำไปเป็นทหารรับใช้ประจำตัวนายทหารที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว หรือถูกนำไปทำงานที่ไม่มีประโยชน์ คัดให้เหลือเฉพาะกำลังหลักที่สำคัญ สมมติว่าเราลดได้จาก 1 แสน เหลือ 8 หมื่น เราก็มาดูว่าใน 8 หมื่นนี้จะทำอย่างไรให้มีคนมาสมัครให้มากที่สุด เราก็ต้องสร้างแรงจูงใจ เช่น เพิ่มค่าตอบแทนให้มากขึ้น มีสวัสดิการที่ดี หรืออาจจะเปิดโอกาสให้เขาได้เรียนหนังสือไปด้วย จำนวนคนที่ต้องการจะเข้ามาเป็นทหารเกณฑ์ก็จะมากขึ้น สุดท้ายก็เป็นไปได้ที่เราไม่ต้องไปประกาศยกเลิกเกณฑ์ทหาร แต่จะกลายเป็นว่าจะมีคนต้องการเป็นทหารโดยไม่เหลือมีที่ว่างให้การจับสลากคัดเลือเข้าไป

วิธีนี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องไปปิดกั้นสิทธิของคนที่อยากเป็นทหาร บางคนอยากเป็นทหารเกณฑ์เพราะครอบครัวยากจน สังคมที่บ้านพ่อแม่เขาเห็นว่าถ้ายังอยู่ตรงนี้ลูกอาจจะติดยา แต่ไปเป็นทหารก็ไม่ต้องติดยาแถมยังได้ฝึกระเบียบวินัย ได้เงินเดือน พ่อแม่อาจจะได้สวัสดิการด้วย วิธีนี้มันตอบโจทย์ได้ทั้งหมด ทุกคนในสังคมได้ประโยชน์ มันเป็นเสรีภาพ มันเป็นทางเลือกอีกอย่างหนึ่ง

อีกประเด็นที่เป็นเรื่องรองลงมาคือ การเรียน รด. (นักศึกษาวิชาทหาร) เราพบว่าส่วนใหญ่คนที่เรียน รด. เรียนเพราะไม่ต้องการเป็นทหารเกณฑ์ แต่ถ้าเรายกเลิกเกณฑ์ทหารเลย คนก็จะเรียน รด. น้อยลง และที่สำคัญคนที่เรียน รด. คือคนที่เรียนอยู่ในระดับมัธยมปลาย เท่ากับว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งต้องยอมรับว่าคนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เขาต้องอยู่ในระเบียบวินัย ต้องบังคับได้ เขายังไม่มีเสรีภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อไหร่ที่เขาอายุครบ 20 ปี บรรลุนิติภาวะแล้วนั่นแหละเสรีภาพเต็มที่ เขาสามารถเลือกที่จะทำอะไรเกิดได้ แต่ในโอกาสนี้เราน่าที่จะฝึกระเบียบวินัยให้กับเขา และให้เขาเลือกบริการชุมชนได้ เช่น ไปช่วยผู้ป่วยติดเตียง ไปเป็นอาสาสมัครสาธารณะ หรือไปช่วยเด็กกำพร้า เราก็ต้องเปิดให้เขาเลือก แล้วเราก็ฝึกในสิ่งที่เขาต้องการ พร้อมไปกับการฝึกเรื่องวินัยทหาร โดยใส่เรื่องความรักชาติ และหลักสูตรเรื่องประชาธิปไตยลงไปด้วย เราก็จะมีกำลังพลที่เป็นกองหนุนที่มีคุณภาพ

เรื่องปลูกฝั่งประชาธิปไตยให้กับ รด. จะให้ทหารเป็นคนทำ ?

ตอนเรียน รด. เขาให้เรียน 3 ปี โดยส่วนตัวผมเองเห็นว่า ประชาธิปไตยในประเทศยังมีปัญหาอยู่ คนในประเทศยังเข้าใจโครงสร้างประชาธิปไตยไม่เท่ากัน มีมุมมองที่ต่างกัน อย่างน้อยที่สุดคนในประเทศควรจะมีพื้นที่ใกล้เคียงกันในแง่ของที่มาของอำนาจที่มาจากประชาชน ถูกใช้ผ่านตัวแทนของเขา ตัวแทนของเขาไปเลือกผู้บริหาร และผู้บริหารถูกตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติ เราอยากให้เขาเข้าใจระบบนี้จนลึกซึ้งว่า ในบริบทของโลกไม่มีระบอบการปกครองแบบไหนที่จะสู้ประชาธิปไตยได้ เพื่อที่จะให้เขาเป็นนักประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ยึดติดกับบางคน หรือบางพรรค คนรุ่นใหม่เหล่านี้จะเป็นคนที่เข้าใจโครงสร้างประชาธิปไตย รักชาติ และสามารถเป็นทหารได้ด้วย ทุกอย่างก็จะถูกปลูกฝั่งในตอนที่เขายังเรียนหนังสือ หรือเรียน รด. อยู่

แต่ทิศทางของหลายๆ พรรคการเมือง ก็ดูเหมือนจะมีการหยิบยกเรื่องการยกเลิกเกณฑ์ทหาร และการปฏิรูปกองทัพมาเป็นธงนำในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งหน้า เช่นพรรคเสรีรวมไทย พรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องดังกล่าวไว้เป็นอันดับแรกๆ สำหรับประชาธิปัตย์จัดลำดับความสำคัญของเรื่องนี้ไว้ตรงไหน หรือว่าคิดว่ามีเรื่องอื่นที่ให้ความสำคัญมากกว่า

สำหรับประชาธิปัตย์เราให้ความสำคัญกับเรื่องประชาธิปไตย เราต้องการให้ประชาชนอยู่ดี กินดี คำว่าประชาธิปไตยมันรวมทั้งเรื่องสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอยู่ด้วย เรายึดมั่นในเจตนารมย์ของพรรค แล้วเราก็ปฏิบัติตามนั้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้ เราเห็นว่าการที่รัฐบาลทหารบริหารประเทศมา 4 ปีเต็ม ใครจะอ้างเรื่อง GDP อะไรก็ตาม แต่เราสัมผัสได้ว่าคนจนลง ผู้ประกอบการ SME หรือผู้ค้ารายย่อยเขาเดือดร้อนมาก เขาเดือดจากการที่คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง รายได้เขาน้อยลง คนที่อยู่ภาคเกษตรก็เผชิญหน้ากับราคาสินค้าที่ตกต่ำ

เราเน้นกับโจทย์ที่ว่า จะทำอย่างไรให้ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนระดับกลาง และระดับล่าง มีเสถียรภาพในรายได้ มีความมั่นคงทางรายได้ ส่วนเรื่องสิทธิเสรีภาพ เราคิดว่าในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ มันต้องเบ่งบาน และต้องไม่มีข้อจำกัด เพียงแต่ว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย

สิ่งที่ผมอยากจะเน้นอีกเรื่องคือ เรื่องปฏิรูป ถ้าพูดถึงการปฏิรูปในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ผมคิดว่าเราลืมมันไปได้เลย เพราะสิ่งที่เราจะเห็นในการเลือกตั้งครั้งหน้า เราจะเห็นแต่การเอาเปรียบ เราจะเห็นแต่การสืบทอดอำนาจซึ่งทำให้การปฏิรูปก้าวถอยหลัง ประเทศเราจะเจริญได้ กองทัพ หน่วยงานราชการ ประชาชน ต้องมาคิดร่วมกันว่าเราจะปฏิรูปอย่างไร

อย่างที่พูดไปแล้วตอนต้น บางคนคิดอยากจะลดความตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่พิสดารไปคิดแก้กฎหมายเพิ่มค่าปรับกับคนที่ไม่มี หรือไม่พกใบขับขี่ บางคนบอกว่าจะลดอาชญกรรม ด้วยการเพิ่มโทษประหารชีวิต เราคิดกันแต่จะแก้กฎหมาย แต่ไม่ได้มองที่ตัวปัญหาที่แท้จริงว่าปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร ฉะนั้นสิ่งที่มันจะแก้ไขปัญหาได้คือ การสร้างจิตสำนึกให้กับคนไทยทั้งประเทศ ใครอยู่ในความรับผิด หน้าที่ไหน ก็ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตัวเองให้ถูกต้อง

ประเทศเราตอนนี้มีรายได้ปีละ 2.4 ล้านล้านบาท รายได้ที่เรามีในจำนวนนี้ถูกใช้จ่ายไปกับเงินเดือนประจำของข้าราชการ พนักงานของรัฐกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เหลืองบสำหรับการพัฒนาประมาณ 6-7 แลนล้านบาท ซึ่งน้อยมาก โจทย์คือถ้าเราต้องการพัฒนาประเทศจริงๆ เราต้องเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย เริ่มต้นจากการลดขนาดหน่วยงานรัฐให้เล็กลง ลดค่าใช้จ่ายประจำให้มากขึ้น และเพิ่มรายได้ แต่ต้องเพิ่มรายได้โดยไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน นี่ควรจะเป็นโจทย์ใหญ่ของคนที่จะมาเป็นรัฐบาลไม่ว่าใครก็ตาม

กลับมาที่กองทัพ เรื่องความมั่นคงมันเปลี่ยนจากการสู่รบในสงครามแบบเดิม มาสู่สงครามทางการค้าแล้ว แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าความจำเป็นในเรื่องความมั่นคงในแบบทหารยังมีอยู่ แต่เราต้องชัดเจนว่ามันมีอยู่แค่ไหน แล้วก็ต้องลดขนาดกองทัพให้เหลือเท่าที่จำเป็น แต่ไม่ถึงกับงั้นนึกสนุกว่า จะยกเลิกไอ้นั่น ยกเลิกไอ้นี่ เขียนกฎหมายใหม่ ทำกฎหมายใหม่ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาเดิม

หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แล้วมีการผลักดันประเด็น เช่น รีดไขมันกองทัพ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหาร พรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะสนับสนุนไหม ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็ตาม

พร้อมอยู่แล้วครับ แต่ในแง่ของการรีดไขมันกองทัพ ยุติการทำร้ายร่างกายพลทหาร ยุติการนำทหารไปใช้ในทางที่ไม่ชอบ ตรงนี้ชัดเจนว่าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะเอาด้วย แต่เราไม่ได้ไปไกลถึงขึ้นว่าจะยกเลิกการเกณฑ์ทหารเลย เพราะเรามีวิธีที่คิดว่าดีกว่า

เวลานี้ความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อทหารส่วนหนึ่งก็รักทหาร ขณะที่อีกส่วนหนึ่งกลับรู้สึกว่าทหารที่เราเห็นอยู่ในเวลาเป็น 'ทหารการเมือง' ซึ่งเวลาทหารเข้ามาในพื้นที่ทางการเมือง ย่อมมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นทำให้คนรู้สึกกับทหารอีกแบบหนึ่ง ไม่ชอบ เกลียด ประชาธิปัตย์มองปรากฎการนี้อย่างไร ในรอบความขัดแย้งทางการเมือง 13-14 ปีที่ผ่านมีการรัฐประหารโดยกองทัพ 2 ครั้ง ประชาธิปัตย์จัดวางกองทัพไว้ตรงไหนในวิกฤตความขัดแย้งที่ผ่านมา

หลักของผมง่ายๆ ใครมีวิชาชีพอะไรก็ควรทำอย่างนั้น นักการเมืองมีหน้าที่ในการเข้ามาเป็นตัวแทนประชาชนในการบริหารประเทศ ทหารมีวิชาชีพในการป้องกันประเทศในเรื่องความมั่นคง ทหารก็ไม่ควรก้าวล้ำมาเป็นผู้บริหารประเทศ ที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่า การรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง อย่างน้อยประชาชนในเขตพื้นที่ผมก็สะท้อนออกมาว่าทหารควรจะกลับเข้ากรมกอง ไปทำหน้าที่ทหารจริงๆ

ส่วนความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคมผิดหวังกับการเมืองในช่วงที่มีความขัดแย้งอยู่ จึงหาทางออก เมื่อไม่รู้จะไปหาทางออกที่ไหน ก็เลยมองไปที่ทหาร เพราะอย่างน้อยที่สุดทหารเป็นคนคุมกำลัง มีกำลังพอที่จะเปลี่ยนแปลงได้ พูดง่ายๆ คือคนต้องการหาทางออกจากวิกฤติ แต่ทำอย่างไรก็ไม่มีทางออกจนต้องให้ทหารมาหาทางออกให้ แต่มันก็ชัดเจนว่าทหารไม่ได้มาหาทางออกให้อย่างเดียว แต่เขากลับคิดว่าเขาทำได้ดีกว่า มันก็เลยทำให้วิกฤติการเมืองมันวนเวียน

ผมคิดว่ามันต้องกลับที่การทำให้ประชาชนทุกคนเข้าใจโครงสร้างของระบอบประชาธิปไตยว่า มันมีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และถ้าเขาเข้าใจ เสียงของประชาชนส่วนใหญ่นี่แหละที่จะเป็นเสียงตัดสินอย่าแท้จริงว่าทุกๆ 4 ปีที่มีการเลือกตั้ง เสียงส่วนใหญ่จะมาเป็นเสียงที่กำหนดอำนาจรัฐ ส่วนคนที่บริหารประเทศในช่วงเวลาหนึ่งถ้าทำไม่ถูกไม่ดีต่อไปคนก็จะไม่เลือก หรือถ้าไม่ฟังประชาชนก็จะเกิดปัญหา ฉะนั้นถ้าเราปลูกฝังให้ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตย และสามารถติดตามตรวจสอบผู้แทนของตัวเองไปด้วย มันก็จะไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก

หมายความว่า ระบบการตรวจสอบก่อนหน้านี้ ไม่ทำงาน ?  

ต้องยอมรับงานมันเป็นวัฒนธรรมของคนไทย แม้การตรวจสอบมันจะเข้มข้น แต่สังคมไทยยังอยู่ภายใต้ความเกรงใจคนมีอำนาจ คนมีบารมี การตรวจสอบที่ผ่านมาก็เข้มข้น แต่ผู้มีอำนาจไม่ฟังและยังดันทุรัง มันจึงเป็นเกิดเหตุอย่างนี้ และผมเชื่อมั่นว่า ฝ่ายผู้มีอำนาจที่ลุแก่อำนาจในวันนั้น วันนี้เขาจะเห็นแล้วว่าสิ่งที่เขาทำไปมันเกินพอดี จึงทำให้เกิดวิกฤติการณ์แบบนี้ ฉะนั้น เรื่องจริยธรรมของผู้มีอำนาจก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อได้อำนาจจากประชาชนมาแล้วก็ควรจะอยู่ในความพอดี แต่ก็ต้องโทษส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น ฝ่ายการเมืองที่คิดเพียงแค่ว่าทำอย่างไรก็ได้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ในหลายครั้งที่ทหารอ้างว่าเข้ามาจัดการปัญหาทางการเมือง ส่วนมากทหารมักจะเข้าไปมีส่วนกับความบาดเจ็บล้มตายของประชาชนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 รวมทั้งเหตุการณ์ในปี 2552 – 2553 โดยเฉพาะหลังปี 2557 ก็มีกรณีที่ทหารเข้าไปละเมิดสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด ถ้าเรามองในมุมความคิดว่าด้วยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน พรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะหยิบเรื่องนี้มาสะสางหรือไม่

เราต้องยึดตามหลักกฎหมาย และยึดตามข้อเท็จจริง นี่คือหัวใจสำคัญ พรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะท่านอภิสิทธิ์เองก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างมาก ในช่วงที่เราได้เป็นรัฐบาลเราก็ตั้งคนของพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นคณะกรรมการในการตรวจสอบข้อเท็จจริง นี่คือความจริงใจที่เราทำ

ส่วนการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของรัฐบาล คสช. ต้องยอมรับว่า คุณอภิสิทธิ์ คัดค้านตั้งแต่ต้น พูดมาตลอดว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ไปย้อนดูข่าวได้เลยว่าคุณอภิสิทธิ์แสดงจุดยืนอย่างไร รวมทั้งให้คำแนะนำกับทหารด้วยว่าควรทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักการ ควรเปิดกว้างให้ประชาชนวิพากษณ์วิจารณ์ได้

เรื่องสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปัตย์เราให้ความสำคัญอยู่แล้ว และพรรคเราไม่เคยปิดกั้น แม้เรารู้ว่าการสื่อสารที่ขัดแย้งกันมันจะมีผลกระทบในคะแนนนิยมของเรา แต่ความเป็นประชาธิปไตยของพรรคเรา มันไม่มีการบังคับกัน ยกตัวอย่างที่เห็นชัด เราก็ไม่ได้เห็นด้วยกับคุณนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ที่ออกมาแสดงความเห็นเรื่องทหารเกณฑ์ ความจริงพรรคมีสิทธิห้ามไม่ให้คุณนิพิษฏฐ์พูดเพื่อให้ตกผลึก แล้วให้คนอื่นพูดแทนเพื่อไม่ให้กระทบกับคะแนนเสียงของพรรค แต่เราก็ไม่ทำแบบนั้นเพราะเราเห็นว่ามันเป็นสิทธิของคุณนิพิษฏฐ์ที่จะแสดงความคิดเห็น แต่สุดท้ายเราก็ต้องประชุมกัน แล้วคิดเพื่อให้ตกผลึกเพื่อประกาศเป็นแนวคิดของพรรค

การเคารพสิทธิ เสรีภาพ ของคนในพรรคเราก็สูงอยู่แล้ว ฉะนั้นสิทธิ เสรีภาพของคนที่มาด่าเรา เราก็ไม่ได้ปิดกั้น คุณอภิสิทธิ์เองเนี่ยโดนคนมาด่าด้วยความเท็จ ผมบอกให้ไปแจ้งความยังไม่อยากจะแจ้งเลย เพราะเขาไม่อยากดำเนินคดีกับคนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง หรือคนที่แชร์ข้อมูลเท็จมาเท่านั้น ฉะนั้นไม่ต้องตั้งคำถามกับเราว่า เราให้ความร่วมมือเรื่องสิทธิ เสรีภาพมากน้อยแค่ไหน เราจะสังคายนาอยู่แล้ว

ซึ่งนี่หมายความ ประชาธิปัตย์มีความคิดว่าจะผลักดันให้เกิดกลไกเพื่อสะสางปัญหาทั้งหมด ?

มันต้องดูเป็นกรณีๆ ไป คดีที่มีการดำเนินการไปตามขั้นตอนแล้ว เราก็ไม่เห็นด้วยที่จะมีการลบล้าง เมื่อกระบวนการยุติธรรมจบ มันก็ต้องจบ สังคมไทยถ้าเราไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม มันก็ไม่มีทางที่จะทำให้ความขัดแย้งมันจบได้ คดีสลายการชุมนุมของพันธมิตรปี 2551 ศาลสั่งฏีกายกฟ้องไป แม้พันธมิตรจะไม่เห็นด้วย มันก็ต้องจบตรงนั้น ปี 2552 2553 มันก็ต้องจบ เพราะ ป.ป.ช. ไม่ชี้มูลความผิดคุณอภิสิทธิ์ กับคุณสุเทพแล้ว ส่วนคดีเผาบ้าน เผาเมือง ก็มีการดำเนินคดีไป

ทั้งหมดนี้เราไม่สามารถให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมาจัดการเรื่องเหล่านี้ได้นอกจาก 'ศาลสถิตยุติธรรม'

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กสม. พาลูกชายผู้ถูกจับกุมกรณีเสื้อยืดต้องห้ามเข้าเยี่ยมแม่ที่ มทบ. 11

Posted: 09 Sep 2018 04:13 AM PDT

'อังคณา นีละไพจิตร' กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นำบุตรนางวรรณนภาผู้ถูกจับกุมกรณีเสื้อยืดต้องห้าม เข้าเยี่ยมมารดาที่ มทบ. 11  เผยกังวลกรณีการบันทึกภาพเด็กไปเผยแพร่โดยไม่ปกปิดใบหน้า เข้าข่ายละเมิดสิทธิฯ ด้านศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ปล่อยตัวทันที

9 ก.ย. 2561 ตามที่ปรากฏเป็นข่าวกรณีเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมตัวนางวรรณนภา (ปกปิดนามสกุล) พร้อมเสื้อยืดสีดำที่มีแถบป้ายสีขาวแดงบริเวณหน้าอกจำนวนหนึ่งที่บริเวณห้องพักย่านสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2561 โดยข่าวแจ้งว่าเจ้าหน้าที่ทหารจะนำตัวนางวรรณนภาส่งให้พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามในวันที่ 8 ก.ย. 2561 เพื่อแจ้งข้อกล่าวหา จึงทำให้บุตรสองคนของนางวรรณนภา ซึ่งมีอายุ 14 ปี และ 9 ปี ไปรอดักพบมารดาที่กองบังคับการปราบปราม แต่ต้องผิดหวังเมื่อเจ้าหน้าที่ไม่ได้นำนางวรรณนภามาที่กองบังคับการปราบปราม นั้น

กสม.ลั่นพาลูกเข้า มทบ.11 ตามหาแม่ถูกอุ้มเพราะเสื้อยืดต้องห้าม
ทหารรวบตัวผู้หญิง 2 คน เหตุสวมเสื้อยืดต้องห้าม

นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่าตนได้รับแจ้งจากผู้ดูแลเด็กทั้งสองคนว่า เด็กทั้งสองคนมีความเครียด ไม่พูดกับใคร เนื่องจากเด็กทั้งสองไม่ได้พบมารดานับแต่ถูกจับกุม แต่ได้ติดต่อกับมารดาทางโทรศัพท์บ้าง โดยเด็กทั้งสองรู้สึกกังวลว่ามารดาอาจถูกดำเนินคดี หรือไม่ได้กลับบ้าน โดยเจ้าหน้าที่ได้ให้มารดายืมโทรศัพท์เพื่อคุยกับบุตรเป็นเวลาสั้น ๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จึงขอให้ กสม. ช่วยประสานเจ้าหน้าที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่ออนุญาตให้บุตรทั้งสองคนของนางวรรณนภา ได้เข้าเยี่ยมมารดาตามหลักสิทธิมนุษยชน  กสม. จึงได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ คสช. และเจ้าหน้าที่ยินดีให้ตนในฐานะ กสม. พาบุตรทั้งสองของนางวรรณนภาเข้าเยี่ยมมารดาที่ มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ. 11) ในวันนี้ (9 ก.ย. 2561) เวลา 9.00 น.

นางอังคณา กล่าวว่าขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่อำนวยความสะดวกอย่างดีเพื่อให้บุตรของหญิงผู้ถูกกล่าวหาได้เข้าเยี่ยมมารดาตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยการเยี่ยมครั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้จัดสถานที่เยี่ยมในบรรยากาศที่ผ่อนคลายให้มารดาและบุตรได้พบและพูดคุยกันเป็นการส่วนตัวเพื่อให้คลายความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ โดยหลังจากที่เด็กทั้งสองได้เข้าเยี่ยมมารดาเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เด็กทั้งสองมีอาการผ่อนคลาย พูดคุย ยิ้มแย้ม และมีกำลังใจมากขึ้น อย่างไรก็ดี ตนมีความกังวลใจอย่างมากต่อการที่มีผู้บันทึกภาพบุตรทั้งสองคนของนางวรรณนภาในลักษณะที่ถือป้ายข้อความและนำไปเผยแพร่โดยไม่มีการปกปิดใบหน้าเด็ก ซึ่งการกระทำในลักษณะดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) ขององค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ การเผยแพร่ภาพใบหน้าเด็กซึ่งมารดาเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาโดยที่ศาลยังมิได้พิพากษาว่ากระทำผิด ยังอาจส่งผลให้เด็กถูกเกลียดชังจากสังคม ทั้งที่เด็กไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

อนึ่งในการเข้าเยี่ยมวันนี้ เจ้าหน้าที่ มทบ.11 ได้เปิดโอกาสให้ นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้าตรวจเยี่ยมห้องควบคุมตัวนางวรรณนภา ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นห้องกัก แต่เป็นห้องที่ปกติใช้เป็นห้องรับรอง โดยมีเตียงนอน ห้องน้ำส่วนตัว และมีสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีเจ้าหน้าที่หญิงให้การดูแลและคอยพูดคุยเพื่อมิให้ผู้ถูกกล่าวหามีความกังวลใจ

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ปล่อยตัวทันที

วันเดียวกันนี้ (9 ก.ย. 2561) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ออกแลงการณ์ ระบุว่าตามที่เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าควบคุมตัวบุคคลอย่างน้อยสองรายจากกรณีใส่หรือมีเสื้อยืดสีดำ ลายโลโก้สี่เหลี่ยมสีขาวสลับแดง ไปจากบ้านพักย่านประเวศและสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2561 ซึ่งขณะนี้ นางวรรณภา (สงวนนามสกุล) ยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ที่มณฑลทหารบกที่ 11  โดยไม่มีสิทธิในการเข้าถึงทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีความเห็นดังต่อไปนี้

1. การควบคุมตัวโดยไม่มีการแจ้งเหตุในการควบคุมตัว ไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบโดยศาล และไม่มีสิทธิในการพบทนายความ นั้นทำให้บุคคลขาดหลักประกันซึ่งสิทธิและเสรีภาพ  รูปแบบการจับกุมและควบคุมตัวดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 เป็นการควบคุมตัวบุคคลโดยใช้อำนาจตามอำเภอใจ ซึ่งขัดต่อข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อันรับรองว่า บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกาย บุคคลจะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอำเภอใจมิได้

2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปต่อรายงานตามวาระฉบับที่ 2 ของประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2560 ว่า รัฐไทยควรจะปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยพลการโดยทันที และจัดให้พวกเขาเข้าถึงการเยียวยาอย่างเต็มที่ ทั้งยังควรปรับปรุงเนื้อหาของกฎหมายและการปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อย่างไรก็ตาม คณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ในการควบคุมตัวบุคคลอย่างต่อเนื่อง

เยาวลักษุ์ อนุพันธ์ หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า "การควบคุมตัวโดยไม่ชอบเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่ทหาร  เหตุการณ์ไม่ปกติเหล่านี้ถูกทำให้เป็นเรื่องปกติซึ่งไม่อาจยอมรับได้ รัฐมีหน้าที่เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน หากกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่าการกระทำใดเป็นความผิดก็ควรที่จะดำเนินการไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเราเรียกร้องให้ปล่อยตัว นางวรรณภา และผู้ที่ถูกควบคุมตัวจากเหตุดังกล่าวในทันที"

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สวนดุสิตโพลชี้คนอยากได้ 'ประยุทธ์' เป็นนายก 24.72% 'ธนาธร' แซง 'ทักษิณ'

Posted: 09 Sep 2018 03:47 AM PDT

สวนดุสิตโพลเผยสำรวจ "ประชาชนคิดอย่างไร? กับ การเลือก ส.ส.ในปี 2562" ระบุประชาชนอยากได้ 'พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา' เป็นนายกรัฐมนตรี 24.72% ตามมาด้วย 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' 17.57% 'สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์' 16.53% 'ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ' 14.63% และ 'ทักษิณ ชินวัตร' 13.50% 'อลงกรณ์ พลบุตร' รับถูกทาบทามชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แต่ขอตัดสินใจอีกครั้ง

9 ก.ย. 2561 สวนดุสิตโพลสำรวจ "ประชาชนคิดอย่างไร? กับ การเลือก ส.ส.ในปี 2562" โดยการเลือกตั้งที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในปี 2562 เป็นเรื่องสำคัญทางการเมืองไทยที่ถูกจับตามอง ไม่ว่า จะเป็นผู้สมัครหน้าเก่าหรือหน้าใหม่ ต่างมีการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,132 คน ระหว่างวันที่ 5-8 ก.ย. 2561 สรุปผลได้ดังนี้ 

ระหว่าง "ส.ส.เก่า" กับ "ผู้สมัครใหม่" ประชาชนอยากเลือกใครมากกว่ากัน
1. ส.ส.เก่าหรือผู้สมัครใหม่ก็ได้ 69.88%
2. ส.ส.เก่า 16.15%
3.ผู้สมัครใหม่ 13.97% 

พรรคการเมืองแบบไหน? ที่ประชาชนอยากเลือก 
1. ซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีคุณธรรม ไม่คดโกง 32.46%
2. มีนโยบายใหม่ๆ ชัดเจน ทำได้จริง 23.39%
3. คำนึงถึงส่วนรวม เน้นประชาชนเป็นสำคัญ 20.15%
4. พัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจ 19.87%
5. ปฏิรูปการเมืองให้เข้มแข็ง สามัคคี เป็นประชาธิปไตย 4.13%

ประชาชนอยากได้ใคร? เป็นนายกรัฐมนตรี
1. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 24.72%
2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 17.57%
3. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 16.53%
4. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 14.63%
5. นายทักษิณ ชินวัตร 13.50%
*อื่นๆ ได้แก่ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ,ชวน หลีกภัย ,ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ,เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส, อนุทิน ชาญวีรกุล,จาตุรนต์ ฉายแสง ,ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ,ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร เป็นต้น 13.05%

'อภิสิทธิ์' แย้มขั้นตอนเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่

'อลงกรณ์ พลบุตร' รับถูกทาบทามชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แต่ขอตัดสินใจอีกครั้ง

วันเดียวกันนี้ (9 ก.ย.) มติชนออนไลน์ รายงานว่านายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีถูกทาบทามให้ลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ปชป. ว่ามีการทาบทามจริง ให้กลับไปเป็นหัวหน้าพรรคหรือเลขาธิการพรรค จากทางสาขาพรรคและอดีตส.ส.บางส่วน ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปพรรค ปชป. ให้เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน ทันสมัยก้าวหน้า โดยเห็นว่าตนเคยเป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคมาแล้วถึง 2 สมัย เคยเป็นรัฐมนตรีและ ส.ส.6 สมัยไม่เคยย้ายพรรค มีอาวุโสทางการเมืองเพียงพอ แต่เหตุผลสำคัญที่ยกมาอ้างคือเคยเป็นผู้นำในการผลักดันให้มีการปฏิรูปพรรค ปชป. ซึ่งพวกเขาเห็นด้วยมาตลอด

"ผมยังไม่ได้ตอบรับหรือปฏิเสธ เพียงตอบกลับไปว่าเคยประกาศวางมือทางการเมืองแล้ว เพื่อสานต่องานปฏิรูปประเทศ ซึ่งต้องไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่พวกเขาก็ขอให้ทบทวนการตัดสินใจอีกครั้ง ซึ่งผมก็รับปากที่จะพิจารณาข้อเสนออย่างจริงจัง"นายอลงกรณ์กล่าว

นายอลงกรณ์กล่าวต่อว่าในมุมมองของตนเห็นว่าพรรค ปชป.มีบุคลากรเก่งๆ ที่มีความรู้ความสามารถหลากหลาย ทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ มีความพร้อมที่จะกลับมาชนะในการเลือกตั้งถ้าสามารถเปิดพรรคกว้างและปฏิรูปพรรคอย่างน้อย 4 ด้าน คือปฏิรูปภาวะผู้นำ การบริหารจัดการ ความคิดวิสัยทัศน์และนโยบาย รวมถึงวัฒนธรรมองค์กรคือความเป็นประชาธิปไตยในพรรค ซึ่งการเคลื่อนไหวภายในพรรคปชป.ที่จะมีการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่นั้นถือเป็นโอกาสไม่ใช่เป็นปัญหาของพรรค ปชป. ถ้าสามารถเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปพรรคได้สำเร็จก่อนการเลือกตั้งปีหน้า พรรค ปชป.ก็จะเป็นตัวอย่างต้นแบบการขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปพรรคการเมืองสู่มิติใหม่ทางการเมืองในภาพรวมต่อไปด้วย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

หวั่นเศรษฐกิจ 'อินโดนีเซีย-ฟิลิปปินส์' ชะลอตัว กระทบส่งออกไทย

Posted: 09 Sep 2018 02:57 AM PDT

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ระบุวิกฤตค่าเงินและการชะลอตัวของเศรษฐกิจของอินโดนีเซียอาจลามไปฟิลิปปินส์ จะกระทบต่อภาคส่งออกของไทยไปอาเซียน ไทยส่งออกไปอินโดนีเซียประมาณ 4% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด 


ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (แฟ้มภาพ)

9 ก.ย. 2561 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้ความเห็นและวิเคราะห์ถึงวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มลุกลามเพิ่มขึ้นพร้อมผลกระทบสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น ว่าการลุกลามของวิกฤตเศรษฐกิจและการดิ่งลงของค่าเงินในตลาดเกิดใหม่จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น รวมทั้งเงินทุนระยะสั้นเก็งกำไรไหลเข้าตลาดตราหนี้ของไทยเพิ่มขึ้นและกดดันให้เงินบาทแข็งค่าเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาจเกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาททำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นด้วย โดยเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ยกเว้นดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ควรรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพราะจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกกระทบต่อภาคส่งออกขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ  

ทั้งนี้การอ่อนค่าลงอย่างรุนแรงของค่าเงินในตุรกี อาร์เจนตินา เวเนซูเอลา อินโดนีเซีย อินเดีย และจะเกิดขึ้นกับฟิลิปปินส์ บราซิลต่อไป ทำให้ภาระหนี้สินต่างประเทศของประเทศเหล่านี้ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงอยู่แล้วเพิ่มขึ้นอีกจากการอ่อนค่าของเงินสกุลท้องถิ่น ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้อาจจะเกิดขึ้นในบางประเทศและจะมีผลกระทบต่อสถาบันการเงินและเจ้าหนี้ระหว่างประเทศที่ปล่อยกู้ให้กับประเทศเหล่านี้ สถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่มีฐานะแข็งแกร่งขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาจะกลับมาอ่อนแออีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ผลกระทบจากการขยายวงของสงครามทางการค้าจะทำให้ปริมาณการค้าโลกและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสสี่ ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาผลของการทำประชาพิจารณ์ที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่มเติมมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์หรือไม่ หากมีการตัดสินใจเดินหน้าเก็บภาษีจากจีนเพิ่มเติมอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ คาดว่าจีนจะทำการตอบโต้ทางการค้าในระดับเดียวกัน จะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกค่อนข้างมาก ข้อมูลล่าสุดสหรัฐอเมริกามีตัวเลขขาดดุลการค้าในเดือน ก.ค. 2561 สูงกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สูงสุดในรอบ 5 เดือน หากสถานการณ์การขาดดุลการค้าสหรัฐฯ ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีการใช้มาตรการตั้งกำแพงภาษีและกีดกันการค้าต่อประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย ต่อไปเพื่อลดการขาดดุลการค้า จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ซึ่งต้องอาศัยรายได้จากการส่งออก

วิกฤตค่าเงินและการชะลอตัวของเศรษฐกิจของอินโดนีเซียและอาจลามไปที่ฟิลิปปินส์จะกระทบต่อภาคส่งออกของไทยไปอาเซียน ไทยส่งออกไปอินโดนีเซียประมาณ 4% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนยานยนต์ นอกจากนี้ ภูมิภาคอาเซียนเชื่อมโยงกันหมด เช่น สิงคโปร์มีสัดส่วนการส่งออกไปอินโดนีเซีย 8% ก็จะได้รับผลกระทบ และไทยก็พึ่งพาตลาดสิงคโปร์ค่อนข้างมาก ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางของประเทศในตลาดเกิดใหม่จะไม่สามารถหยุดยั้งอัตราเงินเฟ้อสูงรุนแรงและการอ่อนค่าลงอย่างรุนแรงของค่าเงินได้ การสร้างความเชื่อมั่นด้วยการลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ลดการขาดดุลงบประมาณ ลดภาระหนี้สินต่างประเทศ คือ ทางออกของวิกฤตค่าเงิน ประเทศที่มีการเกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัดล้วนมีค่าเงินที่มีเสถียรภาพและไม่เป็นเป้าหมายของการถูกโจมตีให้อ่อนค่าลง 

ผลกระทบจากวิกฤตค่าเงินในตลาดเกิดใหม่นั้นยังกระทบไทยค่อนข้างจำกัด ขณะนี้ประเทศไทยมีการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับ 45-47 พันล้านดอลลาร์ มีทุนสำรองระหว่างประเทศมากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ มีหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นไม่มาก อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานยังค่อนข้างต่ำ สัดส่วนหนี้สินต่อทุนของภาคธุรกิจแม้นเพิ่มขึ้นแต่ยังคงเป็นการกู้เงินในประเทศเป็นหลัก หากเกิดกระแสเงินไหลออกและต้องชำระหนี้ต่างประเทศ ไทยอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถรับมือได้ 

ดร.อนุสรณ์ ตั้งข้อสังเกตว่าเศรษฐกิจไทยอาจมีความเสี่ยงเรื่องหนี้สาธารณะและฐานะทางการคลังเพิ่มขึ้นในระยะต่อไปหากไม่มีการปฏิรูปรายได้ภาครัฐทั้งระบบภาษีและรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขด้วยการสร้าง "ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ" ไทยยังมีปัญหาสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ยังค่อนข้างสูงอยู่ หลังปี พ.ศ. 2546 สัดส่วนรายได้ของครัวเรือนต่อรายได้ประชาชาติลดลงเรื่อยๆ สะท้อนว่า การที่จีดีพีเติบโตดีอาจไม่ได้หมายถึงรายได้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ทั้งปีของครัวเรือนโดยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ. 2558-2560 สะท้อนรายได้ครัวเรือนโดยเฉลี่ยลดลง และมูลค่าหนี้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น มูลค่าหนี้ครัวเรือนโดยรวมของทุกกลุ่มรายได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมาจากการกู้ยืมของรายได้สูงเป็นหลัก แม้นการเลือกตั้งในปีหน้าจะไม่ได้ทำให้ประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยเต็มใบแต่เป็นระบอบกึ่งประชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่เชื่อว่าจะส่งผลบวกต่อภาคการลงทุน การเปิดเสรีการค้า มากกว่าระบอบรัฐประหารอย่างแน่นอน อย่างน้อยที่สุดก็สามารถเริ่มต้นเจรจาการค้าและการลงทุนกับอียูได้ มีการตรวจสอบถ่วงดุลจากฝ่ายค้าน มีเสรีภาพมากขึ้น หากหลังการเลือกตั้งสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยได้ก็จะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล: คนดีๆ กลายเป็นคนเลวร้ายและกดขี่ไปได้อย่างไร | ปาฐกถาประชุมใหญ่ ANTI-SOTUS

Posted: 09 Sep 2018 02:42 AM PDT

"คนดีๆ กลายเป็นคนเลวร้ายและกดขี่ไปได้อย่างไร" "เราเรียนรู้อะไรจาก Stanford Prison Experiment 1971 และ Milgram Experiment 1961" "ประชาธิปไตยไทยล้มเหลวส่วนหนึ่งมาจากโซตัสหรือไม่" "ทำให้ประชาธิปไตยไทยประสบความสำเร็จ ด้วยการเริ่มต้นเคารพสิทธิมนุษย์ และยอมรับหลักความเสมอภาค" ฯลฯ

โจทย์ใหญ่จากปาฐกถาเปิดโดยปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมใหญ่ประจำปี 2561 เครือข่ายปฏิรูปรับน้องประชุมเชียร์เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ANTI SOTUS) วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2561 ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ประกวดบทกวีรางวัล ‘ถนอม ไชยวงษ์แก้ว’ ครั้งที่ 1 บทสะท้อนผ่านตัวตน สังคมและการเมือง

Posted: 09 Sep 2018 02:24 AM PDT

เมื่อช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. 2561 ที่ผ่านมา กระแสบทกวีในประเทศนั้นมีการตื่นตัวกันมากขึ้น เมื่อมีการประกวดบทกวี รางวัล "ถนอม ไชยวงษ์แก้ว" เพื่อระลึกถึง ถนอม ไชยวงษ์แก้ว กวีนักเขียนอาวุโส ที่ได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบ เมื่อเช้าวันที่ 21 ส.ค.2557 ที่ผ่านมา ณ กระท่อมทุ่งเสี้ยว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

แน่นอน เมื่อพูดถึง "ถนอม ไชยวงษ์แก้ว" คนทั่วไปอาจจะไม่คุ้นหู แต่ในแวดวงวรรณกรรม หรืองานสังคม ท้องถิ่นนั้น ชื่อชั้น ตัวตนและผลงานของเขานั้นถือว่าไม่ธรรมดา เขามีผลงานดนตรีและงานเขียนหลากหลาย ทั้งบทกวี เรื่องสั้น ความเรียง โดยผลงาน "กับความอาดูรสูญสิ้น" เคยได้รับรางวัลชมเชยงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติปี 2527 "เหมือนดั่งดอกหญ้า" ได้รับรางวัลชมเชยจากงานเดียวกันในปี 2528 และเมื่อปี 2546 ผลงานรวมเรื่องสั้นของเขาที่ชื่อ "ยิ่งกว่าขุนเขา ตราบชั่วฟ้าดินสลาย" ยังได้รับการจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน และในช่วงที่ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดที่บ้านทุ่งเสี้ยว อ.สันป่าตอง เขายังคงทำงานให้กับองค์กรท้องถิ่นและเผยแพร่งานวรรณกรรมและบทกวีผ่านคอลัมน์ "เรื่องเล็กๆ จากกระท่อมทุ่งเสี้ยว" ทางบล็อกกาซีนประชาไทอยู่เป็นระยะ นับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2550 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต 

เหมือนกับที่ ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ เคยกล่าวถึง "ถนอม ไชยวงษ์แก้ว" เอาไว้ว่า นอกจากจะเป็น "กวีบริสุทธิ์" และเห็นด้วยกับ ไพลิน รุ้งรัตน์ ที่จัดเขาให้เป็นกวีอยู่ในกลุ่มประเภท "หวานลึกรู้สึกนำ" แล้ว เหนือสิ่งอื่นใด เขายังเป็น "นักคิด" "นักวิพากษ์สังคม" เป็น "ปราชญ์ชาวบ้าน" อีกด้วย

นั่นคือที่มาของการประกวดบทกวี รางวัลถนอม ไชยวงษ์แก้ว ในครั้งนี้ โดยการริเริ่มของ "แพร จารุ" คู่ชีวิตของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว ที่อยากให้มีการรางวัลนี้ขึ้นมาเพื่อระลึกถึงเขา

โล่รางวัลทำจากไม้มะค่า

โดยในปีแรกนี้ คณะทำงาน ได้มีการเสนอให้มีคณะกรรมการตัดสินทั้งหมด 5 ท่านด้วยกัน ได้แก่ 1.ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ 2.ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร 3.สุวิชานนท์ รัตนภิมล 4.ดร.ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล 5.รวิวาร รวิวารสกุล เป็นคณะกรรมการตัดสินผลงานทั้งหมด และได้แบ่งประเภทเนื้อหาบทกวีที่เกี่ยวกับสังคมและการเมือง สามารถส่งผลงานกวีนิพนธ์แบบฉันทลักษณ์และงานไร้ฉันทลักษณ์หรืองานกลอนเปล่า อีกทั้งยังเปิดกว้างให้คนทุกกลุ่ม ทั้งนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทุกสาขาอาชีพ เข้าร่วมส่งผลงานเข้าประกวดกันได้ ซึ่งเมื่อถึงวันหมดเขตรับสมัคร 15 สิงหาคม ปรากฏว่ามีผู้ส่งผลงานเข้ามาจำนวนทั้งหมด 63 ผลงาน ซึ่งถือว่าเกินความคาดหมาย

จนกระทั่ง คณะกรรมการได้ประกาศผลการประกวดบทกวี รางวัลถนอม ไชยวงษ์แก้ว ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561

ดังนี้ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ "ถนอมความมืดไว้หน่อยผมจะยืนชมจันทร์" โดย วันฟ้าใหม่ เทพจันทร์, รางวัลรองชนะเลิศที่ 1 "มิได้อุทธรณ์" โดย ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์, รางวัลรองชนะเลิศที่ 2 "ถ่าเบิ๊ดเฮาไป ไผสิเคี้ยวหมากแทน" โดย สุกรณ์ บงไทสาร

นอกจากนั้น ยังมีรางวัลชมเชย จำนวน 11 รางวัล ได้แก่ 1. ในชั้นเรียน โดย กังวาลไพร นามฯ 2. แว่วต่างบางเพลงผู้รอคอย โดย กอนกูย 3. ...สมดุล(สะ มะ ดุน) โดย อรินทร ผ่องแผ้ว 4. บนถนนสายเศร้าที่เราฝัน โดย ระวี ตระการจันทร์ 5. อำนาจนั้น! โดย พุทธิ์นันทะ ผลชัยอรุณ 6. มึนอ : การเดินทางใต้ขอบฟ้าชะตากรรม โดย ธนวัฏ ปรีชาจารย์ 7. รั้วและเรา โดย องอาจ สิงห์สุวรรณ 8. เสียงเพรียกที่แห้งผาก จากรั้วบ้านของเรา โดย ชาตรี อรุณพัด 9. คือความมหัศจรรย์ โดย สุธาทิพย์ โมราลาย 10.วันแม่ของฉัน โดย รอนฝัน ตะวันเศร้า และ 11.เราจึงพึงมี โดย ชิตะวา มุนินโท

ทั้งนี้ รางวัลชนะเลิศ จะได้รับโล่รางวัล พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศที่ 1 จะได้รับโล่รางวัล พร้อมเงินรางวัล 2,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศที่ 2 จะได้รับโล่รางวัล พร้อมเงินรางวัล 1,000 บาท

สำหรับรางวัลชมเชย ที่เข้ารอบ ซึ่งทางคณะกรรมการแจ้งว่าสูสีกันมาก จึงเพิ่มเป็นทั้งหมด 11 รางวัล จะได้รวมเล่มพร้อมกับบทกวีของ "ถนอม ไชยวงษ์แก้ว" (เป็นบทกวีที่ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว ที่เขียนทิ้งไว้เป็นชุดสุดท้ายที่ยังไม่เคยรวมเล่มตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน)

โดยผลงาน 13 บทกวี จะมีสิทธิ์ รวมเล่มบทกวีกับ "ถนอม ไชยวงษ์แก้ว" และได้รับเปอร์เซ็นต์จากการขายต่อไปด้วย

ทัศนะวิจารณ์จากคณะกรรมการตัดสินโดยภาพรวม

รางวัลชนะเลิศ "ถนอมความมืดไว้หน่อยผมจะยืนชมจันทร์" โดย "วันฟ้าใหม่ เทพจันทร์" วรรณศิลป์ดี คืออ่านแล้วชัดเลย มีฝีมือ มีความชำนาญทางภาษาไม่ได้เกรี้ยวกราดมี ความลื่นไหลในคำและท่วงทำนองด้วย เป็นบทกวีที่มีน้ำเสียง "นุ่ม เย็นและมีความเป็นปัจเจกสูง" คล้ายๆ ตัวตนของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว นอกจากชื่อเรื่องจะสะดุดใจแล้ว เนื้อหาภายในก็ยังมีคุณค่า เพราะได้นำเสนอแนวคิดที่ว่าหากเราทุกคนตระหนักรู้ในหน้าที่ บทบาท จุดยืนและอุดมการณ์ของตนเอง ไม่เที่ยวไปเกะกะยุ่งเหยิงกับคนอื่น เพียงเท่านี้ก็ทำให้โลกและสังคมสงบสุขขึ้นเยอะเลย

กระนั้น คณะกรรมการบางท่าน บอกว่า ในความเป็นจริง ก็มีที่ติและติงนิดนึง คือเรื่องท่าทีทางอารมณ์ของบทกวี มีลักษณะปฏิกิริยา ประชดนิดๆ เหมือนเกิดจากความไม่พอใจที่ถูกว่าโลกสวย หรือไม่สำนึกทางการเมือง หรือความเชื่อที่ว่า ไม่อยากมีสี อย่าจัดประเภทฉัน ซึ่งจริงๆ แล้ว เป็นวิธีคิดที่โอเคสำหรับการเริ่มจะก้าวข้ามความขัดแย้งแบ่งฝ่าย แต่มันอาจต้องลุ่มลึกในการนำเสนอมากกว่านี้ เพราะถ้าหันมาดูตัวตนของถนอม ไชยวงษ์แก้ว นั้นมีสำนึกตื่นตัวทางการเมืองและเลือกฝ่ายประชาธิปไตย

รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 "มิได้อุทธรณ์" โดย "ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์" ทางคณะกรรมการได้เสนอมุมมองความเห็นแบบสั้นกระชับ ชัดเจนว่า "ทางหวานแต่สารเข้ม" คือท่วงทำนองผลงานชิ้นนี้ถือว่าไม่หวานมาก เมื่อเทียบกับสารที่นำเสนอ

รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 2 "ถ่าเบิ๊ดเฮาไป ไผสิเคี้ยวหมากแทน" โดย สุกรณ์ บงไทสาร

กรรมการบอกว่า ชอบตรง local colour มีเสน่ห์ทั้งเนื้อหาและภาษาถิ่นอีสาน กับการสื่อเชิงเปรียบเทียบ ไม่ต้องบอกตรงๆ ทื่อๆ หรือสอน แต่อ่านจบก็จะเข้าใจ

ทั้งนี้ ในวันมอบรางวัลการประกวดบทกวี รางวัลถนอม ไชยวงษ์แก้ว เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2561 ที่ผ่านมา ที่สวนเหยิมเหยิม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ทาง ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินผลงานในปีนี้ ได้แสดงทัศนะเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า "คนที่สมควรจะได้รับรางวัลถนอม ไชยวงษ์แก้ว ก็จะต้องเข้าถึงอารมณ์ความเป็นถนอม ซึ่งอารมณ์ของความเป็นถนอม จะเป็นการผสมผสานระหว่าง จรัล มโนเพ็ชร นิดหนึ่ง พิบูลศักดิ์ ละครพล หน่อยหนึ่ง ไพรวรินทร์ ขาวงาม นิดหนึ่ง และถ้าเรารู้จักบุคลิกของถนอม จะรู้ว่าแกไม่ใช่ล้านนาจ๋า ไม่ใส่เสื้อผ้าพื้นเมือง แต่พี่ถนอมนั้นมีความเป็นคันทรี ใส่กางเกงยีนส์ ใส่เสื้อเชิ้ต ในขณะเดียวกัน พีถนอมก็ไม่ปฎิเสธที่จะอู้กำเมือง แต่พี่ถนอมนั้นมีความเป็นเพนเตอร์ คนเขียนรูป เป็นขบถ และมีความลึก มีความเศร้า บางทีก็ชอบอยู่กับข้างใน แต่พอบั้นปลายชีวิต พี่ถนอมนั้นเริ่มคลี่คลาย เปิดกว้างมากขึ้น เมื่อได้มาเปิดบล็อกกาซีน เขียนลงในประชาไท แล้วก็กล้าวิจารณ์การเมืองอย่างสาดเสียเทเสีย เราก็จะเห็นลีลาของพี่ถนอม ในหลายๆ รูปแบบ เพราะฉะนั้น อารมณ์ของพี่ถนอม นั้นใช่ว่าจะจับกันได้ง่ายๆ นัก จึงมองว่า บทกวีทั้ง 63 ชิ้นที่ส่งมาร่วมประกวดในครั้งนี้นั้นงดงามมาก งดงามตั้งแต่คิดจะส่งมาร่วมกันแล้วละ แม้กระทั่งหลายๆ ชิ้นที่แม้ไม่ได้รับรางวัล กรรมการอ่านแล้วก็รู้สึกงดงามมาก"

กิจกรรมการประกวดบทกวีในครั้งนี้ ทางคณะทำงาน ได้มีรางวัลพิเศษขึ้นมาอีกรางวัลหนึ่งคือ "รางวัลคนกวีดนตรี ถนอม ไชยวงษ์แก้ว" เพื่อคัดสรรผู้มีผลงานสร้างสรรค์ทางด้านบทกวี ดนตรีและบทเพลง สานเจตนารมณ์ของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว ซึ่งครั้งหนึ่ง 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เคยเปรยให้ให้ใครหลายคนว่า "ถนอม เป็นคนกวีดนตรี..."

"ชวด สุดสะแนน" ผู้ได้รับ "รางวัลคนกวีดนตรี ถนอม ไชยวงษ์แก้ว"

ซึ่ง "รางวัลคนกวีดนตรี ถนอม ไชยวงษ์แก้ว" ในปีนี้ ได้แก่ "ชวด สุดสะแนน" เจ้าของนามปากกา "ผการัมย์ งามธันวา" ผู้ซึ่งได้นำบทกวี "เหมือนดั่งดอกหญ้า" ของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว มาเป็นบทเพลงขับขานได้อย่างไพเราะ ลึกซึ้ง กินใจ โดยจะได้รับโล่รางวัล พร้อมเงินรางวัล 2,000 บาท จาก "กองทุนแสงดาว ศรัทธามั่น" เป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้ศิลปินได้สร้างสรรค์งานกันต่อไป

มาฟังเสียงกวีผู้ได้รับรางวัลในปีนี้กันบ้างดีกว่า..

ผลงานกวีนิพนธ์รางวัลรองชนะเลิศที่ 2 ได้แก่ ผลงาน "ถ่าเบิ๊ดเฮาไป...ไผสิเคี้ยวหมากแทน" ของ "สุกรณ์ บงไทสาร" ซึ่งเป็นนามปากกาของ นายภาสกร บาลไธสง วัย 31 ปี ปัจจุบันรับอาชีพ รับราชการครู โรงเรียนพุทไธสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์

โดยเจ้าของผลงาน เปิดเผยภายหลังได้รับรางวัลว่า ตนเองเริ่มหัดเขียนบทกวีตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 เป็นความชอบส่วนตัว คือชอบฟังเพลงทุกแนวเพื่อความเพลินเพลินและเป็นการเก็บคลังคำดื่มดำสุนทรียะทางภาษาและการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของศิลปิน และชอบอ่านหนังสือประเภทกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น สารคดี และค่อยๆ ฝึกเขียนตามตามแนวที่เราชอบอยู่เนืองๆ เพื่อหาความเป็นตนเอง ส่วนมากการเขียนในระดับมัธยมศึกษาจะเป็นแนวบทร้อยกรองมากกว่าบทกวี

"ผมฝึกเขียนทั้งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย คำประพันธ์ที่ถนัดที่สุดคือ โคลงสีสุภาพ เมื่อก้าวเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาก็เริ่มเขียนเป็นจริงเป็นจัง เขียนประกวดบ้าง เขียนลงเว็บไซต์บ้าง เขียนเพื่อบันทึกเหตุการณ์บ้าง เขียนประกอบงานต่างๆ ตามโอกาส เช่น ในวันสำคัญเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ศาสนา งานศพ งานเกษียณ เขียนเพื่อเป็นที่ระลึกตามสถานที่ท่องเที่ยว การเข้าค่าย เป็นต้น แต่ส่วนมากไม่เน้นการรวมเล่มตีพิมพ์เพราะอีกนัยหนึ่งยังไม่มั่นใจในฝีมือการประพันธ์ของตัวเองนั่งเอง สรุปเริ่มฝึกการเขียนตั้งแต่ชั้น ม.5 และพัฒนาการเขียนมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน"

เขายังบอกถึงที่มาและแรงบันดาลใจ กับผลงานกวีนิพนธ์ " ถ่าเบิ๊ดเฮาไป...ไผสิเคี้ยวหมากแทน" ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 2 ในครั้งนี้ว่า ผลงานชิ้นนี้ได้เขียนเอาไว้เมื่อปี 2552 หรือ เมื่อ 9 ปีที่แล้ว เมื่อครั้งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แล้วมีโอกาสได้เดินทางมาร่วมค่ายเรียนรู้ชุมชนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่หมู่บ้านหนองบัวแปะ ต.สร้างแซ่ง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม บทกวีนี้แรงบันดาลใจเกิดจากการลงเก็บข้อมูลภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านต่างๆ จากผู้เฒ่าผู้แก่ภายในชุมชน ที่กลุ่มชาวค่ายต้องไปฝังตัวเป็นลูกฮัก...

"ลูกฮัก คือลูกที่ชาวบ้านผูกข้อไม้ข้อมือด้วยฝ้ายขาวรับเป็นลูกเต้าเข้าร่วมพักอาศัยในครอบครัวขณะศึกษาในชุมชนนั้น ประมาณ 2 สัปดาห์ กินอยู่ หลับนอน กับชาวบ้านจนเกิดความผูกพัน ขณะที่สัมภาษณ์แม่เฒ่าผู้หนึ่งกำลังนั่งพันหมากพลู เตรียมอุปกรณ์กินหมากและกินหมากจนริมฝีปากแดงเรื่อนั้น ท่านพลางให้สัมภาษณ์และบ้วนน้ำหมากสีแดงๆ เป็นระยะลงกระโถน เราคุยกันถึงเรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และภูมิปัญญาการทอผ้าไหม แกกล่าวไปเรื่อยๆตอบคำถาม ตามคำเราสัมภาษณ์ และมีถ้อยคำหนึ่งที่แกกล่าวมาแบบกลายๆ สายตาเหม่อลอยคล้ายฝากความหวังอะไรสักอย่างให้ผู้สัมภาษณ์ขบคิด ในแบบฉบับภาษาถิ่นตนเองว่า " ถ่าเบิ๊ดเฮาไป...จั๊กไผสิเคี้ยวหมากแทนนอ" แล้วหัวเราะเบาๆ เล่นเอาผมหนึ่งในทีมงานเก็บข้อมูลขนลุกซู่ จากวาจาดังกล่าวมันไม่ใช่เพียงคำกล่าวเปรยๆ ลอยๆ ในอากาศ แต่มันแฝงไปด้วยภาพชีวิตของบรรพชนที่ต่อสู้ดิ้นรน ค้นหาวิถีหนทางเพื่อดำรงชีพความเป็นอยู่มอบสู่รุ่นลูกหลานผ่านภูมิปัญญาที่ถือว่าเป็นมรดกทางความคิด หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตมาแล้วกี่ยุคสมัย แล้วความรู้ภูมิปัญญา ประเพณี วิถีชีวิตที่เรียบง่ายและง่ายงามนี้ รุ่นลูกหลานจะมีใครสืบสานไว้ต่อไปหรือไม่ หรือมันจะต้องสูญหายไปกับการจากไปของผู้เฒ่าผู้แก่ นี่คือสิ่งที่แฝงมากับคมวาทะคนนั้นได้กล่าว"

เจ้าของผลงานกวีนิพนธ์ชิ้นนี้ บอกอีกว่า "ผมมองหน้ากันกับเพื่อนผู้ร่วมเก็บข้อมูลถึงกับอึ้งน้ำตาคลอเบ้าแทบยิงคำสัมภาษณ์ต่อไม่ได้ หลังจากเสร็จสัมภาษณ์เราก็นำวาทะนั้นมาคุยกัน และใช้ข้อความที่ว่า " ถ่าเบิ๊ดเฮาไป...ไผสิเคี้ยวหมากแทน" เป็นชื่อหนังสือกวีนิพนธ์ทำมือ โดยมีบทประพันธ์ชื่อนี้ที่ผมเขียนรวมในเล่มด้วยแต่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ประการใด เป็นการสร้างขึ้นจากแรงสะเทือนใจและไฟฝันผู้มีใจรักในบทกวีร่วมกันทำ"

บทกวีชิ้นนี้ นอกจากเน้นภาษาท้องถิ่นอีสานแล้ว ยังแฝงไปด้วยสัญลักษณ์ที่ซ่อนในงานไว้ให้ขบคิดอีกด้วย

"ใช่ครับ ผมพยายามซ่อนสัญลักษณ์ เอาไว้คือ 1.คนแก่คนเฒ่า หมายถึง ผู้ทรงภูมิรู้ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ จากบรรพบุรุษ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประวันได้อย่างต่อเนื่อง 2. การกินหมาก เปรียบได้กับการสืบทอดองค์ความรู้แห่งภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามเรียบง่าย ของชุมชนหรือท้องถิ่น และ 3. "ถ่าเบิ๊ดเฮาไป...ไผสิเคี้ยวหมากแทน" เป็นเสมือนหนึ่งคำถามจากคนเฒ่าคนแก่ฝากคนรุ่นหลังให้ขบคิดว่า ถ้าสิ้นผู้เฒ่าผู้แก่ไปใครจะสืบทอดภูมิปัญญา ประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่สืบไป" นายภาสกร บาลไธสง หรือ สุกรณ์ บงไทสาร ได้กล่าวในตอนท้าย

สำหรับผลงานกวีนิพนธ์รางวัลรองชนะเลิศที่ 1 เป็นของ "ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์" กับผลงานชื่อ "มิได้อุทธรณ์"

"ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์" รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 จากบทกวี "มิได้อุทธรณ์"

ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลงานที่สร้างกระแสฮือฮาในโลกโซเซียลกันมาก เมื่อทุกคนทราบข่าวว่าบทกวีชิ้นนี้ได้รับรางวัล เนื่องจาก เจ้าของผลงาน "ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์" เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งมีลูกศิษย์ลูกหาเยอะมาก ในขณะที่เจ้าตัวบอกว่าเพิ่งเริ่มต้นเขียนบทกวีอย่างจริงจังและได้มีผลงานเผยแพร่บ้างเมื่อ 2-3 ปีมานี้เอง

เมื่อสอบถามกวีที่ชื่นชอบในดวงใจจริงๆ มีใครบ้าง? เธอบอกว่า "เป็นคนหลายใจ กวีในดวงใจจึงมีหลายคน ถ้าจะต้องเอ่ยนามกันอย่างจริงจัง คงต้องยกมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงพุทธศักราชนี้ เชื่อว่า..เราต่างก็ถูกหล่อหลอมจากใครต่อใคร จนมาเป็นเราๆ ท่านๆ ที่เขียนที่อ่านกันอยู่ตอนนี้ ฉะนั้น กวี นักคิด นักเขียนทุกคน ทั้งไทยทั้งต่างชาติ ที่เคยได้อ่าน ล้วนอยู่ในดวงใจทั้งสิ้น แต่ถ้าให้ตอบแบบไม่หลายใจก็ขออนุญาตยกให้ครูศิวกานท์ ปทุมสูติ"

เมื่อพูดถึงบทกวี "มิได้อุทธรณ์" ชิ้นนี้ เธอบอกเล่าถึงแรงบันดาลใจว่า โจทย์ครั้งนี้คือ "ปัญหาสังคมและการเมือง" ซึ่งกว้างมาก แทบจะเขียนเรื่องอะไรก็ได้ เพราะการเมืองแทรกซึมชีวิตเราไปทุกเรื่อง สำหรับผลงานชิ้นนี้ ตั้งใจจะพูดแทนสภาวะ 'ความเป็นอื่น' (the otherness) ที่ถูกเบียดขับออกจากศูนย์กลาง ถูกกีดกัดออกจากกระแสหลัก ประเด็นความเป็นอื่นที่ปรากฏในผลงานชิ้นนี้มีหลายเรื่อง อาทิ สัญชาติ เพศสภาพ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม

"ถามว่าทำไมถึงเขียนเรื่องนี้ ก็เพราะมันเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า มันรายล้อมตัวเราอยู่ และจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม บางทีเราก็พลั้งเผลอผลักไสพวกเขาให้ไปอยู่ "ชายขอบของจักรวาล" ผลงานชิ้นนี้ แม้ว่าผู้เขียนจะเลือกนำเสนอแบบ personification (เกือบ)ตลอดเรื่อง แต่ก็มิได้ซุกซ่อน อำพรางสัญลักษณ์ใด ๆ เลย สัญญะเหล่านี้เปิดเผยตนเองต่อผู้อ่านอย่างชัดแจ้ง มันไม่ใช่ของใหม่ซะทีเดียว เชื่อว่าผู้อ่านย่อมตีความ "ฟ้า ดิน ตะวัน อากาศ ไม้งาม หญ้า" เหล่านี้ใน 4 บทแรก ได้อย่างแน่นอน ว่าอะไรถูกใช้แทนอะไร เพราะในบทต่อ ๆ มา ก็เหมือนได้เฉลยสัญญะเหล่านี้ไว้กลาย ๆ อยู่แล้ว ซึ่งก็ขอขอบคุณคณะกรรมการทุกท่าน ที่ท่านเห็นความงามหรือความอะไรก็แล้วแต่ของบทกลอนบทกวีชิ้นนี้ จนยกตำแหน่งที่ 2 ให้ค่ะ" เธอบอกเล่าในตอนท้าย

สำหรับประวัติและผลงานของเธอนั้น ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ เกิดเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2529 ปัจจุบันอายุ 32 ปี เดิมเป็นชาวจังหวัดเพชรบุรี เกิดและเติบโตที่นี่ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี และจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี ต่อมาเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย ปัจจุบันย้ายภูมิลำเนาตามสามีมาลงหลักปักฐานที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทำงานเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สนใจทั้งงานวิชาการและการแต่งบทประพันธ์ร้อยกรอง โดยเฉพาะ กลอน

ทุกวันนี้ เธอไม่มีนามปากกา แต่ใช้ชื่อจริงนามสกุลจริงว่า ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ ในการเผยแพร่ผลงาน

เคยตีพิมพ์ผลงานบทกวีในคอลัมน์ "อักษราร่ายรำ" ในนิตยสาร สะบายดีบุรีรัมย์ ชื่อผลงาน "จักรยานคันเก่า" "พรุ่งนี้" "รอนะบุตร" "เมื่อใดโลกผัสสะอารมณ์ลึก" "เรารู้อะไร" "ศาสตร์แห่งพระราชา"

นอกจากนั้น เธอยังมีผลงานบทกวีรวมเล่มกับคณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ชื่อหนังสือ "นักเรียนกลอนนอนดึกนึกถึงเธอ" ตีพิมพ์เมื่อปี 2560 และมีผลงานบทกวีรวมเล่มกับคณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ชื่อหนังสือ "เราต่างเรียนรู้กันและกัน" ตีพิมพ์ปีนี้ (ปี 2561) ที่มาของหนังสือทั้งสองเล่มนี้ คือ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อาจารย์ผู้สอนรายวิชากวีนิพนธ์ไทย (หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต) และวิชาศิลปะการประพันธ์ (หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต) ทั้งนี้ มีความปรารถนาที่จะสร้างความภูมิใจในตัวเองให้แก่ลูกศิษย์ และร่วมเรียนรู้ "กันและกัน" จึงได้จัดทำหนังสือรวมบทกวีทั้งสองเล่มนี้ขึ้น

ล่าสุด เธอยังได้รับรางวัล คือบทกวีชื่อ "แล้วเธอล่ะ...เป็นใครในเมืองนี้" ได้รับรางวัล ชมเชย การประกวดวรรณกรรม "รางวัลพานแว่นฟ้า" ประจำปี 2561 อีกด้วย

"วันฟ้าใหม่ เทพจันทร์" ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศจากบทกวี "ถนอมความมืดไว้หน่อยผมจะยืนชมจันทร์"

และรางวัลชนะเลิศ การประกวดบทกวี รางวัลถนอม ไชยวงษ์แก้ว ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561 นี้

เป็นของ "วันฟ้าใหม่ เทพจันทร์" เจ้าของผลงาน "ถนอมความมืดไว้หน่อยผมจะยืนชมจันทร์"

วันฟ้าใหม่ เทพจันทร์ บอกว่า เริ่มอ่านกลอน กวี มาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมต้น พอขึ้นมัธยมปลายก็มีโอกาสได้แต่งกลอนประกวด เมื่อรู้ว่าตัวเองชื้นชอบกลอนกวีก็เสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ เช่น เดินทางไปงานหนังสือที่ศูนย์สิริกิติ์เพื่อพบนักเขียน ก็เกิดแรงบันดาล เกิดแรงบันดาลฝัน จนกระทั่งอายุ 24 ปี ได้ส่งประกวดรวมเล่มบทกวีชื่อ 'ประโลมศักราชสมัย' รางวัล YoungThai Artist Award 2010 จัดโดยมูลนิธิเอสซีจี และได้รับรางวัลดีเด่น ปี 2555 ส่งรวมบทกวีรางวัลซีไรต์ ชื่อ ' จินตคตินิพนธ์ ' ปลายปี 2556 ถึง กลางปี 2558 ผมได้รับโอกาสจากอาจารย์ ส.ศิวรักษ์ ให้เป็นบรรณาธิการสารป๋วย ซึ่งเป็นวารสารรายเดือนจัดขึ้นในวาระรำลึก 100 ปี ชาตกาล อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ โดยมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และได้เข้ามาสู่วงการหนังสือแต่งกวีเรื่อยมาจนปัจจุบัน

เมื่อพูดกวีที่ชื่นชอบในดวงใจ เขาบอกว่า กวีที่นับถือและศรัทธาเสมอมา คือ ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์

"ผมนับว่าท่านเป็นเลิศเป็นมหากวีแห่งยุคสมัย ซึ่งในรอบร้อยหรือพันปีไปเบื้องหน้าคงจะหาได้ยากยิ่ง ด้วยความเป็นอิสระของ ภาษา สำนวน วิธีการเขียนและจินตนาการอันบรรเจิดเพริศพริ้งนั้นเป็นที่กล่าวขวัญอยู่มิรู้หาย บทกวีของท่านอังคารสามารถปลุกพลังงานในตัวผมได้เสมอเมื่อรู้สึกว่าล้าแรงไฟฝันลงไป กระทั่งทุกวันนี้ผมถือว่าการแต่งกวีของผมนั้นเสมอเป็นอาจาริยบูชาต่อท่านอังคาร คือเมื่อรู้สึกเกียจคร้านก็จะคิดถึงท่าน มีท่านเป็นพลังธาตุแห่งความศรัทธา"

สำหรับที่มาและแรงบันดาลใจ ของบทกวี "ถนอมความมืดไว้หน่อยผมจะยืนชมจันทร์" ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ เขาบอกว่า "บทกวีที่ส่งประกวดนี้ ผมได้นำบทกวีที่เคยแต่งสั้นๆ ซึ่งแต่งเก็บเอาไว้ต่างกรรมต่างวาระกัน และได้นำมาต่อกันจากกวี 3 ชิ้น จริงๆเป็นกวีที่แต่งต่างอารมณ์กัน และนำมารวมเป็นเรื่องเดียวกัน ก็บังเอิญว่าอ่านแล้วมันลงตัวในความคิดเห็นของตัวเอง ไม่ได้แต่งขึ้นมาใหม่แต่พอนำมาต่อกัน ก็เหมือนเป็นผลงานชิ้นใหม่ โดยได้ส่งในวันสุดท้ายก่อนจะหมดเขตรับผลงาน"

เมื่อเราถามว่า เนื้อหาบทกวีชิ้นนี้ต้องการสื่อสารยังไงบ้าง?         

เจ้าของผลงานบอกว่า สังเกตได้จากในบทแรกๆ จะกล่าวถึงสัจธรรมชาติและหรืออิสระ เสรีภาพ รวมถึงหน้าที่ของสรรพสิ่งที่ต่างไม่เบียดเบียนกัน มีที่อยู่ของตน ในช่วงกลางของเนื้อหาจะโยงไปถึงเรื่องตัวบุคคล

"โดยผมได้แสดง 'สัญญะ' ผ่านการใช้คำ เช่น 'พวกคุณ' 'พวกเขา' 'พวกเรา' ซึ่งผมสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม นั้นคือการแบ่งพรรคพวก แบ่งฝักฝ่ายของกลุ่มคน มิพักที่ปัญหาเหล่านั้นจะแทรกซึมเข้ามาสู่เหล่าศิลปิน นักเขียน หรือแม้แต่กวีผู้ที่ควรจะเป็นอิสระอยู่เหนืออำนาจการเมืองทั้งปวง และท้ายสุด ผมใช้คำว่า 'ผม' ในวรรคสุดท้ายตอนจบของกวี เพื่อจะสื่อให้เห็นว่าศิลปินหรือกวีนั้นมีคุณวิเศษในแง่ของสุนทรีย มองอะไรก็งดงาม ผมจึงบอกว่า 'ถนอมความมืดไว้หน่อยผมจะยืนชมจันทร์' ซึ่งเป็นความสุขเล็กๆน้อยๆของกวีที่คนอื่นๆอาจมองข้าม หรืออาจจะแสวงหาความสุขอื่นในเรื่องของยศฐาหรืออำนาจอะไรเหล่านั้น สรุปได้ว่าผมพูดถึงในแง่ของความจริง ความดี และความงาม อย่างซื่อๆ มิได้แฝงนัยยะทางการเมืองอะไรทั้งนั้น"

วันฟ้าใหม่ บอกทิ้งท้ายว่า ที่ส่งกวีมาร่วม เพราะชื่อ 'ถนอม ไชยวงษ์แก้ว'

"ผมมีภาพความทรงจำอันอบอุ่นต่ออ้ายถนอมในช่วงเวลาที่ผมยังเป็นเด็กหนุ่ม เคยอ่านกวีเคล้าคลอกีต้าร์จากอ้ายถนอม ทั้งบทกวีของอ้ายถนอมก็ยังเป็นผลงานที่ชี้ชวนให้ผมเห็นถึงถ้อยคำ ภาษา ความนุ่มนวล เรียบง่าย ทว่าลุ่มลึก แบบ 'เป็นอย่างที่เธอเป็น' ทำให้ได้รู้จักกับอ้ายถนอมที่มีชีวิตแบบ 'สามัญอันเรียบง่าย' พอมีรางวัลนี้ขึ้นมาผมตั้งใจส่งงานมาร่วมโดยมิได้หวังรางวัลไว้เลย แต่เมื่อได้รับการตัดสินให้ได้รางวัลนี้ก็รู้สึกเป็นเกียรติและอบอุ่นหัวใจอยู่มาก"

เขาบอกอีกว่า "ถึงแม้จะเป็นรางวัลเกิดใหม่ เป็นรางวัลที่เริ่มจากก้าวเล็กๆ แต่ผมหวังว่ารางวัลกวีในชื่อของถนอม ไชยวงษ์แก้ว นี้ จะมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมมากขึ้นทุกปี และสำคัญที่สุดคือ จะต้องช่วยกันอุดหนุนรางวัลนี้ ให้เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ควรจะมีดวงตาเห็นคุณค่าของเหล่าศิลปินกวี ทั้งต้องช่วยกัน 'ถนอม' ทั้งชื่อรางวัลและตัวผู้เป็นเจ้าของรางวัล ถึงแม้จะถึงแก่กาละไปแล้ว ก็ควรจะยกย่องเชิดชู เพราะอ้ายถนอมนั้นเป็นคนในตำนานคนหนึ่งในวงการกวี ควรป่าวประกาศให้อนุชน กวีรุ่นใหม่ได้รู้จักถึงคุณวิเศษอย่างไม่น้อยหน้าใคร โดยเฉพาะผมมีความภาคภูมิในฐานะเป็นคนร่วมภูมิภาคเป็นคนเหนือเหมือนกันจึงนับถืออย่างยิ่ง"

"ถนอมความมืดไว้หน่อยผมจะยืนชมจันทร์"

ฟ้าก็ยังกว้างใหญ่อยู่ในฟ้า
เมฆก็มีชีวาในเมฆขาว
ลมฝูงหนึ่งเย็นวูบไร้รูปราว
ชีวิตสั้นและยาว อยู่ในชีวิต

เหมือนป่าที่เข้มเขียวอยู่ในป่า
ฝนหลั่งมาแหล่งน้ำเป็นกรรมสิทธิ์
ดินไม่เคยไปสู่ฟ้าได้สักนิด
ไฟยังติดโชนรู้อยู่ในไฟ

ค่ำแล้วนกกลับหลังสู่รังนก
ดาวไม่ตกใจแสงไฟไสว
พระจันทร์ไม่เคยอยู่ในหัวแหวนใคร
ตะวันไม่เคยกลับตอนเที่ยงวัน

โลกก็ยังกว้างใหญ่อยู่ในโลก
ทุกข์โศกไม่เบียดเบียนความสุขสันต์
ต่างดำเนินทางไปทางใครทางมัน
เพราะต่างกันต่างมีที่ของตน

ถ้า "พวกคุณ" ถอดเครื่องแบบภายนอกออก
ลอกคราบเกียรติยศลดอกุศล
วางอาวุธชั่วร้ายหลากหลายกล
ไม่ปล้นเสรีภาพ กันและกัน

หาก "พวกเขา" เลิกหลงระเริงอำนาจ
อาจหาญปลดปล่อยความกระสัน
ทุกผู้หญิงผู้ชายทั้งนั้น
เห็นค่าสันติธรรมทำจริงใจ

แม้ "พวกเรา" เสียสละแล้ว
แนวรบก็จบสิ้นสุดยุคสมัย
เสมอภาคเรา เสมอกันไป
สมานกลับเป็นใจเดียวกัน

แผ่นดินนี้มีวีรกรรมทำไว้มาก
ธุลีแห่งความลำบากบุกบั่น
ทับถมอยู่แล้วทุกทุกชั้น
สูงพอให้ "พวกท่าน" มีที่ยืน

ใครจะกวาดหิมะก็กวาดเถิด
อย่าเตลิดมายุ่งน้ำค้างคนอื่น
หากจะจุดโคมไว้ส่องทางกลางคืน
"ถนอมความมืดไว้หน่อยผมจะยืนชมจันทร์"

วันฟ้าใหม่ เทพจันทร์
กวีนิพนธ์รางวัลชนะเลิศ
รางวัลถนอมไชยวงษ์แก้ว ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561

"มิได้อุทธรณ์"

ฟ้าเอย ฟ้าไกลของใครบ้าง
เธอเลือกนักเดินทางอยู่บ้างไหม
เมฆครามงามสม..สมบัติใคร
หรือต้องมีตั๋วใดได้สัญจร

แผ่นดินเอย มีเจ้าของครองหรือเปล่า
หรือเธอเลือกบางเท้าให้ก้าวก่อน
ตีนแดงเดินได้ทุกดงดอน
ตีนแตกแยกล่อนรอก่อน..รอ

ตะวันเอย เธอก็เอียงกระเท่เร่
หักเหแสงส่องบางห้องหอ
ฉาบฉายเพียงไม้งามที่งามพอ
หญ้าหยาบมิทาบทอให้เทียมทัด

อากาศเอย เป็นของฉันเพียงชั้นล่าง
เขาแบ่งสรรที่ทางต่างปฏิบัติ
โอโซน แบ่งโซนอย่างแจ่มชัด
ทุกตารางเขารังวัดไว้ให้แล้ว

ไร้ฐานะศักดินามาฝั่งนี้
ไม่มีสี เส้น สายไปท้ายแถว
ลูกตามีหลานยายมาอย่าล้ำแนว
เป็นกรวดทรายอย่าเกลือกแก้วให้กลืนกลาย

ไร้สัญชาติมิอาจดำรงทะนงศักดิ์
อัตลักษณ์ถูกเบียดขับระส่ำระสาย
เพศวิถีไม่ชัดเจนจงเจียมอาย
แดนตายคือชายขอบของจักรวาล

ไร้ทักษะฝีมืออย่าถือสิทธิ์
ไร้ปัญญาอย่าคิดจะเหิมหาญ
จงรอรัฐจัดสรรปันทาน
นโยบายอลังการนานนานครั้ง

ทรัพยากรใดใดของใครหรือ
ศูนย์กลางยึดถือและจัดตั้ง
คำว่า "รัฐ" อันศักดิ์สิทธิ์เป็นฉากบัง
ผลักใครใครไว้ข้างหลังให้คลั่งแค้น

ฉันถูกซัดมาสุดขอบแล้วตรงนี้
นอกพื้นที่สิทธิ์สงวนเขาหวงแหน
ถูกเหวี่ยงหวือกีดออกนอกแก่นแกน
เขาปักปันเขตแดนความเป็นคน

มิเป็นไรถ้าฟ้าจะกีดกั้น
มิเป็นไรถ้าตะวันมิยักสน
มิว่าดอกถ้าแผ่นดินรับสินบน
และอากาศยังแบ่งชนให้เชยชิด

มิได้อุทธรณ์วอนขอขยับขั้น
มิได้ขอแบ่งปันอภิสิทธิ์
มิฟูมฟายตะกายเกลือกมิเลือกทิศ
เพียงสักนิดเรียกขานตน "คน" เหมือนกัน

ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์
กวีนิพนธ์รางวัลรองชนะเลิศที่ 1
รางวัลถนอมไชยวงษ์แก้ว ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561

"ถ่าเบิ๊ดเฮาไป ไผสิเคี้ยวหมากแทน"*

หอมคำหมากลอยลมคมคำเว้า
ของผู้เฒ่าเล่าปรัชญาน่าหวงแหน
"เบิ๊ดเฮาไปไผสิเคี้ยวหมากพลูแทน"
คูนที่แก่นบ่เหลือกาบให้ปลวกกิน

ฮอยปูนแดงคงซีดเซียวกับเรียวปาก
ความลำบากลูกหลานเอ๋ยคงบ่สิ้น
หากลืมโตเจ้าของย่างย่องดิน
ลืมท้องถิ่นจารีตฮีตคองตน

ยืนอยู่ไสให้เบิ่งฮอยที่เฮาก้าว
ฮ้อนหรือหนาวฮู้รำลึกที่ฝึกฝน
นั่นแหละหลานคือฮ่องฮอยบรรพชน
ที่ดั้นด้นจนมื้อนี้มีธรณิน

ที่แดงดินบ่แม่นเลือดคือน้ำหมาก
ของผู้เฒ่านั้นฝากหลานถวิล
จารทรงจำฮอยฮักเตือนใจจินต์
ก่อนขวานไทยจะบิ่นด้วยเลือดไทย

อย่าเฮ็ดให้แดงดินเป็นดินเดือด
เพราะสายเลือดหมู่เฮาเผามอดไหม้
หากหลานหล่าคิดผิดจงกลับใจ
ฮ่วมกันสร้างแปงใหม่ให้เจริญ

เบิ่งยอดโบสถ์วิหารกะงามย่อง
แนมเบิ่งหนองพอมีน้ำบ่ขาดเขิน
แนมเบิ่งฟ้าฝนหยาดย้อยเป็นวังเวิน
ซุ่มดินเดิ่นให้นาข้าวเขียวขจี

ให้น้ำใจเฮานั้นบ่สิ้นสูญ
เหมือนแก่นคูนมั่นแก่นบ่เปลี่ยนสี
จักอยู่ไสใจยึดมั่นคุณความดี
เพียงเท่านี้หมากที่เคี้ยวบ่จืดจาง

จงเหลียวหลังเบิ่งบ้านเกิดที่เคยนอน
เบิ่งฟูกหมอนแม่พ่อบ่เหินห่าง
นั่งแนมคอม ฯ อย่าลืมอ่อมอึ่งบักยาง
ก้นต่าฮ้างหลานเคยค้นหาเหรียญดำ

เพียงเท่านี้แม้สิ้นยายตายตาหลับ
หากหลานรับแนวทางบ่ถลำ
เฮ็ดตามยายบอกกล่าวเล่าให้จำ
หมากทุกคำคงบ่สิ้นกลิ่นหอมเอย.

สุกรณ์ บงไทสาม
รางวัลรองชนะเลิศที่ 2
รางวัลถนอมไชยวงษ์แก้ว ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561

 

 

 

           

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

‘หนีว้ากขึ้นดอย’ ค้าน 'รับน้อง' ที่ ม.เชียงใหม่ ย้ำไม่รับน้องไม่เอารุ่นก็อยู่ได้อย่างเป็นสุข

Posted: 09 Sep 2018 01:30 AM PDT

 

เปิดพื้นที่ให้นักศึกษา ม.เชียงใหม่ที่ไม่เห็นด้วยกับ 'ระบบรับน้อง' ในนาม ชมรมวรรรณศิลป์และเพจงานเสวนาที่ไม่เป็นทางการ จัดป้ายคาดหัว 'หนีว้าก' เป็นสัญลักษณ์และรวมกลุ่มกันเดินขึ้นดอยสุเทพ สร้างทางเลือก 'ไม่รับน้อง-ไม่เอารุ่นก็สามารถใช้ชีวิตมหาวิทยาลัย (กับเพื่อน) ได้อย่างเป็นสุข' ให้นักศึกษาใหม่รู้สึกอบอุ่นใจ

8 ก.ย.2561 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดกิจกรรมรับน้องขึ้นดอยเพื่อสักการะพระบรมธาตุดอยสุเทพ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และนักศึกษาปีใหม่ เข้าร่วม อย่างคึกคักและบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่นและความทรงจำที่ดี

กิจกรรมดังกล่าวแต่ละคณะได้แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันช่วยกันเดิน-วิ่งขึ้นมาถึงดอยสุเทพระยะทาง รวมประมาณ 11 กิโลเมตร มีคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นดอยเป็นคณะแรก ตามด้วยเกษตรศาสตร์และรัฐศาสตร์ ภาพที่ออกมาสู่สื่อมวลชนมีบรรยากาศน่าประทับใจ เต็มไปด้วยความสุข ความอบอุ่น และรอยยิ้ม ในหลายๆ คณะ เช่น เทคนิคการแพทย์ วิจิตรศิลป์ สื่อสารมวลชน ล้วนภูมิใจที่ได้แสดงเอกลักษณ์ของตนเองด้วยวิธีต่างๆ ตลอดระยะกว่าจะไปถึงยอดดอย เช่น จากชุดที่แปลกไม่ซ้ำใคร จากการจัดรูปขบวนที่ให้น้องนักศึกษาปีหนึ่งถือวัตถุต่างๆ ขึ้นไปบนดอยด้วย

กลุ่มหนีว้าก​ ระบุว่า เบื้องหลังของกิจกรรมขึ้นดอยนี้ที่ถูกเปลี่ยนจาก 'กิจกรรม' ทั่วไป มาเป็น 'วัฒนธรรม' ที่ทุกคณะต้องทำออกมาให้ดีที่สุดไม่น้อยหน้าใคร นักศึกษาใหม่ต้องผ่านกระบวนการที่หนักพอควร ทั้งด้วยวิธีการบังคับ ใช้ท่าที-น้ำเสียงรุนแรง แสดงพฤติกรรมกึ่งอำนาจ กับนักศึกษาใหม่เพื่อกล่อมเกลาให้ผู้มาอยู่ใหม่เหล่านั้นรู้สึกร่วมไปด้วยกับกิจกรรมรับน้อง ไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่ยอมจำนนต่อสังคมลักษณะนี้ แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งที่รับรู้ได้ว่าตนเองถูกละเมิดเกินขอบเขต และกล้าที่จะตั้งคำถาม กล้าที่จะออกสังคมนั้น แต่เมื่อออกมาแล้ว การกลับเข้าไปช่วยทำกิจกรรมบางกิจกรรม มักจะทำให้เพื่อนที่ยังอยู่ในสังคมเดิมภายใต้ความกดดันกดขี่ของรุ่นพี่เกิดความรู้สึกติดค้างภายในใจ จนแบ่งแยก 'ผู้เห็นต่าง' กลายเป็นคนชายขอบ

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมปีนี้ นักศึกษา มช. หลายคณะที่ไม่เห็นด้วยกับระบบรับน้องในมหาวิทยาลัย ในนาม ชมรมวรรรณศิลป์และเพจงานเสวนาที่ไม่เป็นทางการ ได้จัดทำป้ายคาดหัว 'หนีว้าก' ขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ และรวมกลุ่มกันเดินขึ้นดอยสุเทพ ถือว่าเป็นการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของกลุ่มคนไม่รับระบบห้องเชียร์

สุชีพ กรรณสูตร (2552) กล่าวว่า อัตลักษณ์ หมายถึง การรับรู้ถึงตัวตนของตนเองซึ่งเกิดจากการ ปฏิสัมพันธ์กับตนเองและบุคคลอื่น ผ่านการมองตัวเองและบุคคลอื่นมองเรา โดยบางครั้งอัตลักษณ์อาจแสดง ออกมาแตกต่างกัน เมื่ออยู่ในสถานการณ์ อยู่กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกัน

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ (2554) กล่าวว่า อัตลักษณ์ร่วม คือ สิ่งที่เป็นตัวแทนแสดงตัวตน อ้างอิงถึง ลักษณะความเป็นบุคคลร่วมกันของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างพื้นที่ของตนเอง

ชมรมวรรณศิลป์มีการสร้างอัตลักษณ์ร่วมและแสดงจุดยืนของกลุ่มที่สำคัญ เพราะเป็นการสร้างพื้นที่ให้กับคนที่ถูกจำกัดความว่า คนชายขอบ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการสร้างทางเลือก 'ไม่รับน้อง-ไม่เอารุ่นก็สามารถใช้ชีวิตมหาวิทยาลัย (กับเพื่อน) ได้อย่างเป็นสุข' ให้นักศึกษาใหม่รู้สึกอบอุ่นใจว่าถ้าตนเองคิดต่าง ไม่ชอบระบบรับน้อง โซตัส หรือไม่ชอบว้าก ก็สามารถมีพื้นที่อื่นรองรับและทำกิจกรรมที่อยากเข้าร่วมได้เหมือนเพื่อนคนอื่น การไม่เอารุ่นควรเป็นคนละเรื่องกับมิตรภาพ หรือการได้รับความยอมรับจากสังคมรอบข้าง

กลุ่มหนีว้าก​ ระบุอีกว่า การแสดงอัตลักษณ์ร่วมที่ชัดเจนนี้ จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อหวังว่าจะช่วยลดจำนวนนักศึกษาที่จำต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยเนื่องจากการถูกบังคับให้เข้ารับน้องโซตัส และเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาสามารถแสดงศักยภาพทางวิชาการและด้านอื่นๆ อย่างเต็มศักยภาพ ตอบโจทย์ที่แท้จริงของการศึกษาที่หวังสร้างปัญญาชนพัฒนาสังคม เพราะอำนาจการเลือกและตัดสินใจอย่างอิสรเสรีควรเป็นของปัจเจกชนชาวมหาวิทยาลัย มิใช่มีเพียงคำตอบเดียวในชีวิต คือ การทุกข์ทนในระบบรับน้อง

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

‘อภิสิทธิ์’ แย้มขั้นตอนเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่

Posted: 09 Sep 2018 12:36 AM PDT

'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวถึงขั้นตอนการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "ประชาธิปัตย์ยุคใหม่" 

9 ก.ย. 2561 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้โพสต์ เฟสบุ๊คส่วนตัว (Abhisit Vejjajiva) เรื่อง 'ประชาธิปัตย์ยุคใหม่กับการเลือกหัวหน้าพรรคโดยสมาชิก' โดยระบุถึงขั้นตอนการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "ประชาธิปัตย์ยุคใหม่" 

"ช่วงนี้มีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มากขึ้น จึงขอใช้พื้นที่ตรงนี้อธิบายที่มาที่ไปของเรื่องนี้ครับ"

"ผมเคยประกาศแนวคิดที่จะให้สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสเลือกหัวหน้าพรรค ตั้งแต่เดือนเมษายนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "ประชาธิปัตย์ยุคใหม่" พร้อมกับเป็นการยืนยันความเป็นสถาบันการเมืองของพรรคในระบบประชาธิปไตยของไทย ความเป็นประชาธิปไตยต้องเริ่มต้นตั้งแต่ภายในพรรค พรรคการเมืองต้องไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของ พรรคประชาธิปัตย์พิสูจน์เรื่องนี้มากว่า 70 ปี จึงยืนหยัดมาได้ เราเป็นพรรคการเมืองเดียวที่มีการแข่งขันเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอย่างจริงจังมาหลายครั้ง ปัจจุบันข้อบังคับของพรรคกำหนดให้ที่ประชุมใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วย ส.ส. และประธานสาขาพรรคเป็นหลัก เป็นผู้มีสิทธิเลือกหัวหน้าพรรค ซึ่งก็สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ที่ออกมาอยู่แล้ว แต่ผมมองว่าประชาธิปัตย์สามารถเป็นผู้นำและมีความก้าวหน้ากว่านี้ได้ โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบันทำให้มีเหตุผลเพิ่มเติมคือ"

"• การปฏิรูปการเมืองที่ดำเนินการโดย คสช. ในเรื่องนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ความพยายามที่จะให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ เช่น การหยั่งเสียงเบื้องต้นเพื่อคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. กำลังจะวนกลับไปสู่ที่เดิม ขณะที่การแสดงตัวเป็น "เจ้าของ" ของพรรคการเมืองต่าง ๆ ทั้งใหม่และเก่าก็ยังชัดเจน

• คำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 มีผลให้สาขาพรรคกว่า 150 สาขาทั่วประเทศถูกยุบ ทำให้องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่ขาดความหลากหลายและความเป็นประชาธิปไตย

• สี่ปีที่ไม่มีการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกและในประเทศ เกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว ทำให้มีความจำเป็นที่จะให้สมาชิกพรรคและประชาชนในวงกว้างเข้ามามีส่วนร่วม มากกว่าการปล่อยให้การกำหนดตัวผู้บริหารและทิศทางของพรรค จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มอดีต ส.ส.และผู้บริหารพรรคในปัจจุบัน

• ในอดีตเราไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างนี้ได้ แต่ในปัจจุบันการลงคะแนนผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ไม่ยากแล้ว การหยั่งเสียงเลือกตั้งครั้งนี้พรรคจะให้สามารถทำได้โดยใช้แอปพลิเคชันผ่านทางโทรศัพท์ได้"

"การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคครั้งนี้ของประชาธิปัตย์ จึงเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของระบบการเมืองไทย ซึ่งผมหวังว่ากระบวนการนี้จะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ การแข่งขันที่จะเกิดขึ้น ไม่ควรถูกมองว่าเป็นเรื่องของความขัดแย้ง เพราะหากมองเช่นนั้นเท่ากับเป็นการไม่สนับสนุนให้เกิดกระบวนการประชาธิปไตยในพรรคการเมือง"

"อย่างไรก็ตาม โดยที่กฎหมายพรรคการเมืองยังไม่ได้รองรับเรื่องนี้ไว้ พรรคประชาธิปัตย์จึงจำเป็นจะต้องแก้ไขข้อบังคับให้ที่ประชุมใหญ่ของพรรคซึ่งกฎหมายยังกำหนดให้เป็นผู้เลือกหัวหน้าพรรค จะต้องรับฟังผลของการหยั่งเสียงจากสมาชิก ซึ่งผมมั่นใจว่าที่ประชุมใหญ่จะทำเช่นนั้น"

"สำหรับกรอบเวลาการดำเนินการในเรื่องนี้จะเป็นไปตามแผนภาพข้างล่างนี้ ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับวิธีการนั้นจะได้เล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปครับ" นายอภิสิทธิ์ ระบุ

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น