ประชาไท Prachatai.com | ![]() |
- เครือข่ายหาบเร่แผงลอย ร้อง 'ประยุทธ์' ทบทวนนโยบาย 'จัดระเบียบทางเท้า'
- ออกหมายจับ 'แอดฯเพจ CSI LA - 13 แชร์' ปมโพสต์ข่าวข่มขืนบนเกาะเต่า 'ทนายวิญญัติ' ชี้ให้ดูที่เจตนา
- 'หมอสุวิทย์' ชี้เก็บเงินผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 10-20% กระทบคนจน-วิจัยชี้ชัดทำให้ใช้บริการน้อยลง
- จับตา 'ร่าง กม.ขจัดใช้แรงงานบังคับ' เผยกลโกงนายจ้างสร้างภาระหนี้บังคับลูกจ้างไร้ทางเลือก
- ตามรอยเส้นทางบ่อนทำลาย 30 บาทรักษาทุกโรค เมื่อสุขภาพคน 48 ล้านคนคือภาระ
- ทนายเผย ศาลทหารปล่อย 'แหวน' ชั่วคราว-ห้ามออกนอกประเทศ ถูกขังทั้งสิ้น 3 ปี 5 เดือน
- ไฟไหม้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติบราซิลอายุ 200 ปีวอด จุดคลื่นจวกรัฐบาลตัดงบวิทย์-การศึกษา
- Thailand Unsettled EP.1 | พวงทอง ภวัครพันธุ์: ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ‘ประชาธิปไตย’ หลังเลือกตั้ง
- กูเกิลดูเดิลเสนอ 'แม่ประยูร' ราชินีลำตัดไทยผู้ฟื้นเพลงพื้นบ้านให้กลับมามีชีวิต
- นิธิ เอียวศรีวงศ์: รัฐลอยนวล
เครือข่ายหาบเร่แผงลอย ร้อง 'ประยุทธ์' ทบทวนนโยบาย 'จัดระเบียบทางเท้า' Posted: 04 Sep 2018 08:36 AM PDT Submitted on Tue, 2018-09-04 22:36 เครือข่ายหาบเร่แผงลอยฯ ร้อง พล.อ.ประยุทธ์ ทบทวนนโยบายจัดระเบียบทางเท้า คืนพื้นที่ขายให้กับหาบเร่แผงลอย ผลหารือ สำนักนายกฯ รับจะนำเสนอข้อร้องเรียนนี้ต่อนายกฯ เพื่อให้นายกฯ มีคำสั่งตั้ง กก.แก้ไขปัญหาภายใน 30 วัน โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมเป็น กก. พร้อมทั้งผู้ค้าในจุดที่กำลังจะถูกยกเลิกให้ยื่นเรื่องขอให้ผ่อนปรนไปก่อน 4 ก.ย.2561 วันนี้ สมาชิกเครือข่ายหาบเร่แผงลอยไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นำโดย เรวัตร ชอบธรรม รวมตัวกันที่หน้าองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ก่อนจะเคลื่อนไปที่บริเวณด้านหน้าศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทบทวนนโยบายจัดระเบียบทางเท้า คืนพื้นที่ขายให้กับหาบเร่แผงลอย เครือข่ายหาบเร่แผงลอยฯ ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี มีรายละเอียดว่า จากการที่สำนักงานกรุงเทพฯ ดำเนินนโยบาย "คืนทางเท้าให้กับประชาชน" ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ให้เหตุผลว่าหาบเร่-แผงลอยทำให้การจราจรติดขัด กีดขวางการสัญจรและทางเท้า สร้างความสกปรก และต้องการปรับภูมิทัศน์เมืองโดยยกเลิกจุดผ่อนผันแล้ว 451 จุด และมีแผนจะยกเลิกจุดผ่อนผันที่เหลืออีก 232 จุด ที่ผ่านมากรุงเทพฯ ได้หาพื้นที่ใหม่ให้ผู้ค้า แต่ค่าเช่าแพงและไม่มีผู้ซื้อ รวมทั้งการยกเลิกดังกล่าวยังส่งผลกระทบกับผู้ค้าหลายพื้นที่ ตลอดจนนักท่องเที่ยวและประชาชนที่ต้องซื้ออาหารจากผู้ค้าริมทางเท้า เครือข่ายหาบเร่แผงลอย มีข้อเรียกร้อง ประกอบด้วย 1. ระยะเร่งด่วน ขอให้รัฐบาลและ กทม. ทบทวนยกเลิกนโยบายนี้ และคืนพื้นที่ค้าขายให้กับกลุ่มหาบเร่แผงลอยที่เคยได้รับอนุญาตอยู่เดิมเพื่อให้ได้มีอาชีพ มีรายได้ เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และดำรงชีวิตอยู่ได้ก่อน 2. ระยะกลางขอให้มีการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอันประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เทศกิจ เครือข่ายผู้ค้าริมทางเท้า กลุ่มผู้บริโภค นักวิชาการ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนามาตรการการจัดระเบียบกลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอยให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ ไม่ใช่การยกเลิกหาบเร่แผงลอยออกไปจากพื้นที่กรุงเทพฯ เช่น การดูแลเรื่องความสะอาด การดูแลพื้นที่ตั้งแผงลอยให้มีทางเดินตามกำหนดของกรุงเทพฯ การควบคุมเวลาตั้งแผงค้าให้เป็นไปตามที่กำหนด การลงโทษผู้กระทำผิด และการเสียภาษีอย่างถูกต้องให้แก่ภาครัฐ 3. ระยะยาวขอให้รัฐบาลและ กทม. พิจารณาออกกฎหมายเรื่องการค้าริมทางเท้าเพื่อให้เกิดการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอยในระยะยาว และป้องกันไม่ให้เกิดนโยบายที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จนเป็นผลกระทบกับการประกอบอาชีพโดยสุจริตของประชาชน หลังจากการประชุมหารือร่วมกันของตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พล.ต.ต.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา รอง ผบ.ชน. จิรวัฒน์ แพงมา ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ พร้อมด้วย ศุภกฤต บุญขันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ และตัวแทนเครือข่ายหาบเร่แผงลอยฯ ได้ข้อสรุปประกอบด้วย 1. ทางสำนักนายกรัฐมนตรีจะนำเสนอข้อร้องเรียนนี้ต่อนายกฯ เพื่อให้นายกฯมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการมาแก้ไขปัญหาภายใน 30 วัน โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือตัวแทนจากเครือข่ายฯมาเป็นคณะกรรมการชุดนี้ และ 2. สำหรับผู้ค้าในจุดที่กำลังจะถูกยกเลิกให้ยื่นเรื่องขอให้มีการผ่อนปรนให้ขายต่อไปก่อน ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
ออกหมายจับ 'แอดฯเพจ CSI LA - 13 แชร์' ปมโพสต์ข่าวข่มขืนบนเกาะเต่า 'ทนายวิญญัติ' ชี้ให้ดูที่เจตนา Posted: 04 Sep 2018 06:50 AM PDT Submitted on Tue, 2018-09-04 20:50 ศาลอนุมัติหมายจับแอดมินเพจ CSI LA และผู้แชร์ข้อมูล รวม 13 คน ผิด พ.ร.บ.คอมฯ 'ทนายวิญญัติ' ชี้จะผิด 'ผู้แชร์' ต้องรู้ว่าข้อมูลที่แชร์นั้นเป็นเท็จและบิดเบือน และต้องมีคนชี้หรือยืนยันว่า "ความจริงคืออะไร" สำหรับการแชร์ข่าวสารนั้น 'วัฒนา' ระบุโพสต์ของเพจฯ 'ไม่ได้' ทำให้เกิดความเสียหาย-ตื่นตระหนก
4 ก.ย.2561 จากกรณีนักท่องเที่ยวสาวชาวอังกฤษ อ้างว่าถูกข่มขืนบนเกาะเต่าเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.61 ซึ่งสำนักข่าวเดลิเมล์ของอังกฤษได้รายงานเรื่องนี้ในวันที่ 21 ส.ค. ที่ผ่านมา หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 3 ก.ย. เพจ CSI LA ซึ่งมียอดผู้กดถูกใจเพจกว่า 8 แสน ได้โพสต์ข้อมูล ซึ่งเป็นไทม์ไลน์ที่แม่ของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวอังกฤษได้ติดต่อไปยังสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทยเกี่ยวกับกรณีที่ลูกสาวของเธอโดนข่มขืน และเมื่อลูกสาวเธอไปแจ้งความตำรวจกลับรับแจ้งเฉพาะกรณีของหาย แต่ไม่ลงข้อมูลเรื่องการข่มขืนโดยอ้างว่าเป็นคนละพื้นที่กัน โดยเพจ CSI LA ได้แนบหลักฐานเป็นอีเมลและรายละเอียด
ล่าสุดวันนี้ (4 ก.ย.) วอยซ์ทีวีรายงานว่า ศาลอนุมัติหมายจับแอดมินเพจ CSI LA และผู้แชร์ข้อมูล รวม 13 คน ฐานกระทำผิดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือประชาชน และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ฯลฯ มติชนฉบับวันที่ 4 ก.ย. รายงานว่า 'บิ๊กโจ๊ก' พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ที่ลงพื้นที่และเข้าพบ พอล เคย์ กงสุลใหญ่แห่งสหราชอาณาจักรชี้แจงว่า คืนวันเกิดเหตุเป็นวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ห้วงเวลาดังกล่าวระดันน้ำทะเลสูงขึ้นมาถึงฝั่ง ไม่มีใครสามารถนั่งดื่มบริเวณชายหาดได้ หากผู้เสียหายอ้างว่ามีการอุ้มไปที่โขดหิน จปร. จริง ก็ต้องอุ้มเดินลุยลงไปในน้ำถือว่าผิดปกติมาก นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ รปภ. บริเวณริมชายหาด จึงสรุปได้ว่า ไม่มีการวางยาและการข่มขืนเกิดขึ้น และพร้อมเดินทางไปสอบปากคำผู้เสียหายที่อังกฤษ เพราะต้องทำความจริงให้ปรากฎเพื่อปกป้องชื่อเสียงประเทศ เช่นเดียวกับที่พล.ต.ต.อภิชาติ บุญศรีโรจน์ เปิดเผยว่าจากการตรวจสอบย้อนหลังพบว่าช่วงเกิดเหตุเวลา 01.30 น. วันที่ 26 มิ.ย. ที่ผู้เสียหายระบุเวลานั้นยังมีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก นักท่องเที่ยวผู้คนยังเดินพลุกพล่าน บริเวณใกล้เคียงมีชุดสายตรวจเกาะเต่าเดินตรวจอยู่ และมีกล้องวงจรปิดบริเวณในระยะ 300 เมตรอยู่ 7 ตัว ขณะที่ไทม์ไลน์จากเพจ CSI LA ระบุว่า วันที่ 4 ก.ค. เพื่อนชายกลับไปเกาะเต่าเพื่อจะหาหลักฐานกล้องวงจรปิดที่ร้าน Fishbowl เเต่ถูกบอกว่ากล้องไม่ทำงานทุกอย่างถูกลบไปเเล้ว มติชนฉบับดังกล่าวยังระบุว่า ภัทรา แจ่มตระกูล ผู้ดูแลที่พักได้รับการบอกเล่าจากผู้เสียหายว่าตนถูกวางยาในเครื่องดื่มถูกข่มขืนบริเวณแหลมหิน จปร. และถูกนำทรัพย์สินไป โดยภัทราได้แนะนำให้ไปแจ้งความ แต่ผู้เสียหายอ้างจะรีบไปพบแฟนหนุ่มที่มางานฟูลมูน ผิดวิสัยที่เป็นผู้เสียหาย ขณะที่ข้อมูลจาก พ.ต.ท.นพา เสนาทิพย์ รองผู้กำกับการสอบสวน สภ.เกาะเต่า เผยว่า คดีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบนเกาะเต่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องทรัพย์สินสูญหาย และผู้เสียหายมาขอลงบันทึกประจำวันเพื่อนำไปขอเคลมประกัน โดยในเดือนส.ค. 61 สภ.เกาะเต่ารับแจ้งความลงบันทึกประจำวันทรัพย์สินสูญหายมากถึง 20 ราย ทนายวิญญัติ ชี้ให้ดูที่เจตนาด้าน วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความและเลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) โพสต์เฟซบุ๊คแสดงความเห็นต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่า การแชร์ข่าวสาร เพจ CSI LA ที่กล่าวหาว่า "บิดเบือน" หรือ "ปลอม" ข้อมูลนั้น มีการกระทำที่มีเจตนาพิเศษ "โดยทุจริต" หรือ "โดยหลอกลวง" หรือไม่ ผู้แชร์ต้องรู้ว่าข้อมูลที่แชร์นั้นเป็นเท็จ และบิดเบือน นั่นคือต้องมีคนชี้หรือยืนยันว่า "ความจริงคืออะไร" การแชร์ข่าวสารนั้น จึงจะเป็นความผิดได้ คดีข่มขืนเป็นความผิดต่อส่วนตัวผู้ตกเป็นผู้เสียหาย จะเป็นจริงหรือเท็จ ผู้ไม่อยู่ในเหตุการณ์ ใครจะรู้ หากมีการแจ้งความโดยผู้เสียหาย หน้าที่ของตำรวจในการสืบสวนสอบสวนหาความจริงและผู้กระทำผิด ทำแล้วหรือยัง การแชร์ข่าวสารนั้น สร้างความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะอย่างไร มันคล้ายกับการแชร์เรื่องนาฬิกาหลายเรือนก่อนหน้านี้หรือไม่
'วัฒนา' ระบุโพสต์ของเพจฯ 'ไม่ได้' ทำให้เกิดความเสียหาย-ตื่นตระหนกเช่นเดียวกับ วัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า การที่เพจ CSI LA นำเสนอข้อมูลว่าชาวอังกฤษถูกข่มขืนที่เกาะเต่านั้น ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน อันจะถือเป็นความผิดตามกฎหมายคอมพิวเตอร์ได้เลย เพราะคดีข่มขืนเป็นคดีทั่วไปที่เกิดขึ้นเป็นประจำอีกทั้งยังเป็นความผิดที่ยอมความได้ ความผิดฐานข่มขืนไม่ได้อยู่ในหมวดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ส่วนที่บอกว่าตำรวจไม่ดำเนินการอะไรก็เป็นการวิจารณ์การทำงานของตำรวจที่กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน ไม่อาจเป็นความผิดตามกฎหมายคอมพิวเตอร์ได้อีกเช่นกัน สิ่งที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรทำคือสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ด้วยการเร่งทำการสืบสวนสอบสวนเรื่องนี้ให้กระจ่างแล้วชี้แจงให้ประชาชน นอกจากนี้ควรขอบคุณเพจ CSI LA ที่นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมาตลอด เช่น การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนาฬิกาเพื่อน 25 เรือนจนนำไปสู่การตรวจสอบของประชาชน นี่เป็นอีกตัวอย่างของการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือปิดปากประชาชนในยุคเผด็จการเรืองอำนาจ วันที่อำนาจกลับคืนมาเป็นของประชาชนต้องสะสางกัน อีกไม่นาน
ไทม์ไลน์ที่แม่ผู้เสียหายติดต่อไปยังสถานทูตอังกฤษ ในเพจ CSI LA1. 26/06/2018 เด็กสาวชาวอังกฤษถูกมอมยาเเละถูกข่มขืนเเละหนีเดินทางออกจากเกาะเต่าไปเกาะพะงัน (The girl found out the someone spiked her drink and raped her. She left Koh Tao to Koh Phangan) 2. 27/06/2018 "ตัดสินใจเข้าเเจ้งความกับตำรวจสภ.เกาะพงันว่าโดนข่มขืนเเต่ตำรวจไม่รับเเจ้งเพราะไม่ใช่พื้นที่ตัวเอง เเต่ลงบันทึกประจำวันรับเเจ้งของหาย (The girl decided to report rape case to the Koh Phangan police but the office refused to record the rape case citing that it's out of their jurisdiction. The office only filed missing property report. )" 3. 02/07/2018 "เหยื่อเดินทางกลับอังกฤษเเละบอกคุณเเม่เธอว่าถูกข่มขืน คุณเเม่เธอได้ติดต่อตำรวจอังกฤษชื่อ Kevin Brown (The girl left Thailand to UK and reported the alleged incident to the UK police) 4. 03/07/2018 "คุณเเม่ติดต่อกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย กับคุณ Brian Lesley (The Girl Mom Contacted the UK consulate and spook to Mr. Brian Lesley) 5. 04/07/2018 เพื่อนชายกลับไปเกาะเต่าเพื่อจะหาหลักฐานกล้องวงจรปิดที่ร้าน Fishbowl เเต่ถูกบอกว่ากล้องไม่ทำงานทุกอย่างถูกลบไปเเล้ว ( Martin went back to Koh Tao and report the rape to the local police and check CCTV camera at Leo Bar) 6. 12/07/2018 คุณเเม่ติดต่อตำรวจท่องเที่ยว เเละรายงานว่าลูกสาวเธอถูกข่มขืนเเต่ตำรวจไทยไม่ยอมรับเเจ้งความ (Sarah Contacted Thai Tourist Police that her daughter got rape but Koh Phangan police refused to file a report) 7. 15/07/2018 "ตำรวจท่องเที่ยวตอบกลับมา ขอให้คุณเเม่ส่งหลักฐานไปให้ตำรวจท่องเที่ยว (Tourist Police responded and asked for evidence to be sent to Thailand) 8. 31/07/2018 คุณเเม่ติดต่อท่านทูตอังกฤษประจำประเทศไทยเเละเล่าเรื่องของเธอให้เขาฟัง (Sarah contacted the UK ambassador inThailand.) 9. 1/08/2018 "ได้รับการตอบกลับของท่านทูตอังกฤษ Brian Davidson (The Girl Mom Contacted the UK consulate and spook to Mr. Brian Lesley) 10. 21/08/2018 "หนังสือพิมพ์ Daily Mail ได้นำเสนอออกมาเป็นข่าว สำหรับเฟสบุ๊กแฟนเพจ 'CSI LA' เป็นที่รู้จักในวงกว้างหลังการนำเสนอเรื่องราวถูกฆาตกรรมบริเวณหาดทรายรี บนเกาะเต่าเมื่อ ก.ย. 2557 โดยผู้ต้องหาคือ แรงงานชาวเมียนมา 2 คน หรือกรณีเปรียบเทียบราคานาฬิกาหรู ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
'หมอสุวิทย์' ชี้เก็บเงินผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 10-20% กระทบคนจน-วิจัยชี้ชัดทำให้ใช้บริการน้อยลง Posted: 04 Sep 2018 05:50 AM PDT Submitted on Tue, 2018-09-04 19:50 กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชี้ แนวคิดให้ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองร่วมจ่าย 10-20% ประหยัดเงินแค่หลักพันล้านแต่ส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยทำให้มารับบริการน้อยลง ย้ำถ้าจะเก็บจริงต้องเก็บเหมือนกันทุกกองทุนและต้องหาวิธีแก้ไขผลกระทบด้วย นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สัดส่วนภาคประชาชน 4 ก.ย.2561 นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สัดส่วนภาคประชาชน ให้ความเห็นกรณีที่มีข่าวว่ากระทรวงการคลังมีแนวคิดลดสิทธิประชาชนที่ใช้สิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง โดยคนที่มีรายได้เกิน 100,00 บาท/ปี สิทธิในบัตรทองควรลดลง เช่น อาจจ่ายเอง 10-20% ส่วนอีก 80-90% ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้จ่าย ส่วนคนจนผู้มีรายได้น้อยกว่า 100,000 บาท/ปีซึ่งมีอยู่ 11.4 ล้านคน ยังคงสิทธิเดิมไว้ โดย นพ.สุวิทย์ ระบุว่า วิธีการจ่ายดังกล่าวเป็นวิธีการที่ดีน้อยที่สุด ที่มาข่าว ไทยรัฐออนไลน์, 3 ก.ย.2561, ตีกันร่ำรวยมั่วนิ่มใช้สิทธิ รวบ 26 สวัสดิการแจกเงินเข้าบัตรคนจน นพ.สุวิทย์ อธิบายว่า ประเด็นแรก การมองระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่เพียงมองในเชิงว่าเป็นสิทธิของประชาชนอย่างเดียว แต่ยังพิสูจน์แล้วว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชี้ว่าการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพ 100 บาท จะได้ได้ผลตอบแทน 20 บาท เพราะมีผลที่ได้รับไม่เพียงแค่สุขภาพประชาชน แต่มีผลได้ในเชิงเศรษฐกิจด้วย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยา เครื่องมือแพทย์ โลจิสติกส์ ฯลฯ ที่สำคัญคือธนาคารโลกประเมินแล้วพบว่าการที่ไทยลงทุนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนที่ได้ประโยชน์คือคนที่มีรายได้ระดับล่างสุด 20% มีอำนาจซื้อมากขึ้นทุกปีเพราะไม่ต้องเก็บเงินไว้สำหรับสุขภาพ สามารถเก็บเงินไว้ใช้จ่ายสิ่งของจำเป็นอื่นๆมากขึ้น นอกจากคุณภาพชีวิตดีขึ้นยังทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน ขณะที่ประเทศที่ไม่มีระบบหลักประกันสุขภาพ อำนาจการซื้อของคนที่มีรายได้ต่ำสุด 20% ลดลงเรื่อยๆ "ดังนั้นข้อแรก ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกจากเป็นสิทธิแล้วยังเป็นการลงทุนด้วย งบประมาณต่างๆที่ใช้ไป ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย ไม่ควรมองเป็นภาระงบประมาณ แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าได้ทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ" นพ.สุวิทย์ กล่าว ประเด็นต่อมาคือ เมื่อมองเป็นการลงทุน ก็เป็นคำถามว่าประชาชนควรร่วมลงทุนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการร่วมลงทุนหรือร่วมจ่ายมี 2 ประเภทคือ จ่ายก่อนป่วย และจ่ายหลังป่วย "การจ่ายก่อนป่วยก็คือเบี้ยประกัน ขณะนี้มีเพียงประกันสังคมเท่านั้นที่มีเบี้ยประกัน บัตรทองและสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการไม่มี ถ้าจะมีเบี้ยประกันกับบัตรทอง ก็ควรมีเบี้ยประกันสำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการด้วย ถ้าให้บัตรทองจ่ายแต่ข้าราชการไม่ต้องจ่าย ก็จะเกิดความไม่เป็นธรรม และต้องจ่ายอย่างเป็นธรรม ใครรายได้มากก็จ่ายมาก ใครรายได้น้อยก็จ่ายน้อย นี่เป็นหลักการความเสมอภาค ถ้าทำก็ทำให้เหมือนๆกัน"นพ.สุวิทย์ กล่าว ส่วนการจ่ายหลังป่วย ก็มีการจ่าย 3 แบบ 1. Co-payment หรือเรียกว่าค่าเหยียบแผ่นดิน (Co-payment) เข้าไปใช้บริการก็ต้องจ่ายทันที การจ่ายแบบนี้มีเฉพาะบัตรทอง ส่วนระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการกับประกันสังคมไม่มีค่าเหยียบแผ่นดิน 2.Deductible หรือจ่ายขั้นต่ำก่อนประกันจ่าย เช่น ค่ารักษา 1,000 บาท ถ้ารักษาไม่เกิน 1,000 ก็จ่ายเต็มตามจำนวนเงินจ่ายจริง แต่ถ้าค่ารักษา 1,500 บาท ก็จ่ายที่เพดาน 1,000 บาท อีก 500 ประกันจ่าย เป็นต้น ขณะนี้ยังกองทุนสุขภาพในเมืองไทยยังไม่มีการจ่ายแบบนี้ 3. Co-insurance หรือร่วมประกัน ซึ่งเป็นข่าวในขณะนี้ เช่น ค่ารักษาพยาบาล 100 บาท ประกันจ่าย 90 บาท ผู้ป่วยจ่าย 10 บาท ระบบนี้ดีน้อยที่สุด การวิจัยทั่วโลกรวมทั้งงานวิจัยในประเทศไทยซึ่งตีพิมพ์เมื่อเร็วๆนี้โดยอาจารย์ อุดมศักดิ์ โง้วศิริ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่าการร่วมจ่ายแบบนี้ทำให้คนใช้บริการน้อยลง โดยที่คนจนหรือคนที่มีรายได้ต่ำจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ที่สำคัญคือการไปรับบริการที่น้อยลง เกิดทั้งกับบริการที่จำเป็นและไม่จำเป็น หรือพูดง่ายๆว่ายอมป่วยอยู่บ้านแม้ว่ามีความจำเป็นต้องใช้บริการ "เรื่องนี้ไม่ได้เป็นข่าวที่มีแถลงการณ์หรือยืนยันอย่างเป็นทางการจากกรมบัญชีกลาง เราก็ว่ากันไปตามข่าวและข้อมูลเชิงวิชาการ สมมุติถ้าจะทำกับบัตรทอง ปัจจุบันรัฐใช้งบประมาณปีละ 180,000 ล้านบาทกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถ้าจะให้ร่วมจ่าย 10% อย่างมากสุดก็ได้ 18,000 ล้านบาท แต่เมื่อไม่เห็บจากคนจนซึ่งขั้นทะเบียนไว้ประมาณ 10 ล้านคนจากจำนวนผู้ใช้สิทธิบัตรทอง 45 ล้านคน ก็หักออกไปอีก 25-30% เงิน 18,000 ล้านบาท ก็เหลือประมาณ 10,000 ล้านบาท และยังมีอีกส่วนที่มีสิทธิแต่ไม่ใช้สิทธิ เช่น ไปใช้บริการหน่วยบริการที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วควักเงินจ่ายเอง เมื่อหักลบออกไปอีก รวมๆแล้วก็จะประหยัดงบประมาณได้ไม่มาก ประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท" นพ.สุวิทย์ กล่าว อย่างไรก็ดี การประหยัดงบประมาณไปได้หลักพันล้านแต่มีผลกระทบทำให้คนระดับล่างเช่น คนที่ไม่มีบัตรคนจน ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่ไปใช้บริการทั้งๆที่มีความจำเป็น แบบนี้จะเหมาะสมหรือไม่ และจะมีการแก้ไขผลกระทบอย่างไร นอกจากนี้ ถ้าจะเก็บ 10% จากบัตรทอง ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจะเก็บ 10% เหมือนกันหรือไม่ "เพราะฉะนั้นหลักการง่ายๆ คือถ้าจะเก็บก็ต้องเก็บให้ทั่วถึง ทำให้เหมือนกันทั้ง 3 กองทุนและหาทางปกป้องคนยากคนจนให้ได้ ถ้าทำได้ มันก็น่าจะรับการยอมรับ และถ้าจะทำจริงๆ กรมบัญชีกลางควรจะเก็บจากสวัสดิการข้าราชการก่อน เพราะเป็นสิทธิที่กรมบัญชีกลางบริหาร ส่วนประกันสังคมต้องให้กระทรวงแรงงานพิจารณา ขณะที่บัตรทองก็เป็นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณา แต่ละระบบมีคนรับผิดชอบอยู่" นพ.สุวิทย์ กล่าว ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
จับตา 'ร่าง กม.ขจัดใช้แรงงานบังคับ' เผยกลโกงนายจ้างสร้างภาระหนี้บังคับลูกจ้างไร้ทางเลือก Posted: 04 Sep 2018 03:43 AM PDT Submitted on Tue, 2018-09-04 17:43 เวทีอภิปรายจับตาร่าง พ.ร.บ.ป้ 4 ก.ย.2561 วันนี้ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้ Phil Robertson รองผู้อำนวยการสำนักงานเอเซีย Human Rights Watch "ถือเป็นเรื่องดีที่ในที่สุดรั รองผู้อำนวยการสำนักงานเอเซีย Human Rights Watch ระบุด้วยว่า กฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นสิ่ ปราชญ์ เกิดไพโรจน์ ผู้จัดการด้านสิทธิมนุษยชน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด ปราชญ์ เกิดไพโรจน์ ผู้จัดการด้านสิทธิมนุษยชน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ในส่วนของ บ.ไทยยูเนี่ยน ให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยื ทั้งนี้นโยบาย SeaChange ของเรา หลักๆ คือการ จ้างงานอย่างเป็นธรรม พนักงานสามารถร้องเรียน และพูดคุยกับนายจ้างได้ โดยตรง พร้อมกันนี้ยังให้ความรู้เกี่ ผู้จัดการด้านสิทธิมนุษยชน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด ระบุด้วยว่า อย่างไรก็ตามการสร้างความเปลี่ สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ "ยกตัวอย่าง ลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุข หรือ แม้แต่พยาบาลเอง เขาทำงานหนักแต่ค่าตอบแทนน้อย หรือ พนักงานรถจักร ของการรถไฟ คนขับรถเครน ในท่าเรือ คนเหล่านี้ไม่มีห้องน้ำที่จะเข้ สาวิทย์ กล่าวด้วยว่า แรงงานนอกระบบอย่าง แรงงานก่อสร้าง แรงงานปะมง เสี่ยงถูกละเมิดจากการจ้ สาวิทย์ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าส่วนใหญ่ ณิชกานต์ อุสายพันธ์ นักกฎหมายด้านการคุ้ ขณะที่ ณิชกานต์ อุสายพันธ์ นักกฎหมายด้านการคุ้ ณิชกานต์ กล่าวว่า ในการทำงาน พบกรณีแรงงานถูกบังคับเกิดขึ้ นอกจากนี้ยังพบในรูปแบบเดียวกั "คิดว่าแรงงานบังคับเกิดขึ้นได้ ณิชกานต์ กล่าวด้วยว่า การจ้างงานในลูกจ้างงานบ้าน หรือ อาชีพ แม่บ้าน ที่ผ่านมา มักถูกละเมิดสิธิแรงงาน ทั้งเรื่องการทำงาน โดยไม่ได้รับเงินเดือน ยังมีการจำกัดพื้นที่ การเสมือนการกักบริเวณเพื่อให้ ณิชกานต์ ยังกล่าวถึงข้อเสนอแนะในการพิ "รัฐบาลร่าง พ.ร.บ.นี้ขึ้นเพื่ออุ ทั้งนี้เครือข่ายองค์กรที่ ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
ตามรอยเส้นทางบ่อนทำลาย 30 บาทรักษาทุกโรค เมื่อสุขภาพคน 48 ล้านคนคือภาระ Posted: 04 Sep 2018 03:35 AM PDT Submitted on Tue, 2018-09-04 17:35 ตามรอยเส้นทางการบ่อนทำลายระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หัวหน้า คสช. บอก 30 บาทเป็นภาระประเทศ แต่งบกลาโหม 5 ปีกว่า 1 ล้าน ซื้ออาวุธ 85,000 ล้านไม่เคยถูกมองเป็นภาระ รัฐธรรมนูญปี 2560-บัตรคนจน-แผนปฏิรูปประเทศปูทางสู่รัฐสังคมสงเคราะห์ กระทรวงการคลังเผยท่าทีลดสิทธิ ให้ประชาชนร่วมจ่าย
แนวคิดการสร้างระบบสวัสดิการสุขภาพที่ดูแลประชาชนทุกคนของ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ที่ถูกนำไปสู่การปฏิบัติโดยทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทย ผลักดันเป็น พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ถูกบ่อนเซาะอย่างเป็นระบบต่อเนื่องมาหลายปี และเพราะมันเกิดขึ้นในสมัยทักษิณ 'สิทธิการเข้าถึงบริการสุขภาพ' จึงถูกแปะป้ายเป็น 'ประชานิยม' ย้อนคำพูดประยุทธ์ หลักประกันสุขภาพของคน 48 ล้านคือภาระหากย้อนไปดูคำพูดและแนวคิดของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่กล่าวถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค 1 กรกฎาคม 2558 "ที่ผ่านมางบประมาณสาธารณสุขมีไม่พอเพราะไปทำโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนได้รับประโยชน์ และเป็นประชานิยม แต่อยากถามว่ามีความพร้อมหรือไม่ ประเทศไทยพร้อมหรือยัง อีก 190 กว่าประเทศยังไม่เห็นมีใครทำโครงการแบบนี้เป็นการบิดเบือนในเกือบจะทุกเรื่อง จึงเป็นภาระในวันนี้" 28 ธันวาคม 2558 "ในส่วนของงบประมาณกระทรวงสาธารณสุขมากที่สุด มีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นโครงการที่สุดยอด แต่รายได้ไม่มี" 5 มกราคม 2559 "โครงการ 30 บาทก็ยกเลิกไปเอามาจ่ายค่ายาง ค่าข้าว ให้มันชดเชยไป เพราะผมมีเงินเท่านี้ แต่ตอนนี้ก็กำลังสร้างความเข้มแข็ง" 6 มีนาคม 2561 พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า "จากการตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่าในหลายประเทศที่มีการเพิ่มงบประมาณในเรื่องหลักประกันสุขภาพอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ตอนนี้เจ๊งไปแล้ว หลายประเทศจึงเปลี่ยนแปลงเป็นการสนับสนุนเฉพาะบางกลุ่ม บางโรค นายกฯจึงฝากเป็นข้อมูลให้ทุกคนช่วยกันศึกษา เพราะรายได้ของรัฐไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย อัตราภาษีที่เคยเก็บได้ ทั้งจากบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากเดิม แล้วอย่างนี้ประเทศจะมีงบประมาณไปทำอย่างอื่นได้หรือไม่ นายกฯขอให้ทุกคนไปคิดวิธีแบ่งเบาภาระของชาติ เพราะถ้าคิดว่าทุกอย่างต้องได้อย่างสมบูรณ์แบบ เหมือนที่ประเทศอื่นเขาทำ ก็ต้องดูว่าต่างประเทศเขาเก็บภาษีเท่าไหร่กัน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่จะขึ้นภาษี" เห็นได้ว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดูแลประชาชนเกือบ 50 ล้านคนเป็นภาระที่รัฐบาลไม่ต้องการถือไว้ในมือ และสื่อสารต่อเนื่องในทำนองว่าจะทำให้ประเทศล้มละลาย รธน.60 ตัดคำว่า 'เสมอกัน' เปิดช่องรัฐสังคมสงเคราะห์ในที่สุด สิ่งที่พลเอกประยุทธ์ส่งสัญญาณมาตลอดก็ปรากฎเป็นรูปรอยอีกครั้งในรัฐธรรมนูญปี 2560 ในมาตรา 47 ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แม้ว่าเนื้อหาจะคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 52 และรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 51 ซึ่งระบุถึงสิทธิการได้รับการรักษาพยาบาลจากรัฐ แต่นัยคำที่หายไปคือคำว่า 'เสมอกัน' โดยรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 52 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิ 'เสมอกัน' ในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 51 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิ 'เสมอกัน' ในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน ก่อนจะมีการลงประชามติวันที่ 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 47 ในรัฐธรรมนูญปี 2560 ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ากำลังเปิดช่องให้การรักษาพยาบาลย้อนกลับไปอยู่บนฐานการสังคมสงเคราะห์ แทนที่จะยืนอยู่บนฐานของสิทธิเช่นเดิม 'ประชาไท' เคยสัมภาษณ์ กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสัดส่วนภาคประชาชน อะไรคือภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เธอตอบว่า "การที่รัฐมองคนไม่เท่ากัน รัฐมองว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องถ้วนหน้า ไม่จำเป็นต้องดูแลทุกคน คนที่พอดูแลตัวเองได้ก็ดูแลตัวเอง แต่เขาไม่เข้าใจคำว่ารัฐสวัสดิการ ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเข้ามาใช้ในระบบพร้อมๆ กัน ตอนที่คุณยังสุขภาพดี เงินที่เป็นค่าหัวของคุณมันดูแลคนอื่นได้ มันต้องการการ pool ทรัพยากร เมื่อรัฐมองคนไม่เท่ากันและเพื่อให้ตรงนโยบายรัฐก็จะดูแลแค่คนจน ทำให้คนถูกตีตราว่าเป็นคนจน ขณะที่เดิมระบบหลักประกันฯ ทำให้คนเสมอหน้ากันและไม่ถูกทำให้เป็นบัตรอนาถา" อ่านข่าวประกอบ กรรณิการ์ กิจติเวชกุล: ภัยคุกคามที่สุดต่อระบบหลักประกันฯ คือการที่รัฐมองคนไม่เท่ากัน ยกเลิกจ่าย 30 บาทผู้ถือบัตรคนจน แบ่งแยกคน-สังคมสงเคราะห์ชัดขึ้นหลังจากนั้น โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐก็เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรอบแรกวันที่ 15 กรกฎาคม-15 สิงหาคม 2559 หรือที่ถูกเรียนว่าการลงทะเบียนคนจน ถึงปัจจุบันมียอดผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจนประมาณ 11.4 ล้านคน โครงการดังกล่าวถูกตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นจุดตั้งต้นของการคัดแยก 'คนจน' หรือ 'ผู้ยากไร้' ออกมา เพื่อนำคนกลุ่มนี้เข้ารับการ 'ให้' หรือ 'สงเคราะห์' จากรัฐ ขณะที่ก็ถูกวิจารณ์ด้วยว่าเป็นตีตราคนจนด้วยแนวคิดสังคมสงเคราะห์แบบเก่า ที่มองพลเมืองไม่เท่าเทียมกัน และแล้ววันที่ 7 สิงหาคม 2560 คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบนโยบายที่กระทรวงการคลังเสนอมา โดยให้ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นบุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายสำหรับสินค้าและบริการอื่นๆ ที่จำเป็น แต่ในความเป็นจริง ประชาชนที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ว่ายากดีมีจนหากไม่ต้องการจ่าย 30 บาท ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายอยู่แล้ว ข้อเสนอของกระทรวงการคลังจึงถูกวิจารณ์ว่าขาดข้อมูลและไม่เข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือในความเป็นจริงแล้ว รู้ แต่เป็นการขยับอย่างเป็นระบบ ทีละส่วนๆ เพื่อแยกประชาชนเฉพาะกลุ่มผู้ยากไร้ออกมา แผนปฏิรูปประเทศยันต้องมีร่วมจ่าย-ก.คลังเผยท่าทีลดสิทธิบัตรทองนอกจากนี้ ในแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 ในหัวข้อระบบหลักประกันสุขภาพ เป้าหมายระยะ 20 ปี มีการระบุไว้ว่า "และมีการร่วมรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายตามกำลังความสามารถในการจ่าย" และในหัวข้อเรื่อง ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการ ก็ระบุอีกว่า "กรณีที่กำหนดให้มีระบบร่วมรับผิดชอบจ่ายเมื่อป่วย สำหรับกรณีชุดสิทธิประโยชน์หลักต้องกำหนดเพดานร่วมจ่ายต่อปี (Annual ceiling) เพื่อลดภาระ กรณีผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง..." เหล่านี้เป็นการส่งสัญญาณว่า การร่วมจ่ายต้องเกิดขึ้นตามแผนปฏิรูปประเทศ ซึ่งขัดกับหลักการของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ถือว่าทุกคนได้ร่วมจ่ายผ่านภาษีไปแล้ว ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างเสมอภาคและไม่มีการแบ่งแยก ท่าทีล่าสุดของกระทรวงการคลัง มีข่าวว่ากระทรวงการคลังมีแนวคิดลดให้สิทธิประชาชนที่ถือบัตรทอง โดยคนจนที่มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปีที่มีอยู่ 11.4 ล้านคน ยังคงสิทธิของบัตรทองไว้ ส่วนคนที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อปี สิทธิในบัตรทองก็ควรลดลง หากมีฐานะดี เช่น จ่ายเองร้อยละ 10 บัตรทองจ่ายให้ร้อยละ 90 หรือจ่ายเงินเองร้อยละ 20 บัตรทองจ่ายให้ร้อยละ 80 เป็นต้น ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระเงินงบประมาณไปปีลนับแสนล้านบาท งบกองทัพไม่เคยเป็นภาระของประเทศประเด็นที่ชวนตั้งคำถามคือ ทุกครั้งที่รัฐบาลบอกว่าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดูแลคน 48 ล้านคนเป็นภาระงบประมาณของประเทศและจำเป็นต้องลดลง งบประมาณของกระทรวงกลาโหมกลับเพิ่มขึ้นทุกปีและไม่เคยเป็นภาระของประเทศ ปี 2558-2562 กระทรวงกลาโหมได้รับงบประมาณ 192,000 ล้านบาท, 206,000 ล้านบาท, 213,500 ล้านบาท, 222,000 ล้านบาท และ 227,671 ล้านบาทตามลำดับ รวม 5 ปี คสช. จัดสรรงบประมาณให้กระทรวงกลาโหมเป็นเงินถึง 1,061,171 ล้านบาท และมีการซื้ออาวุธให้ทั้ง 3 เหล่าทัพไปมากกว่า 85,000 ล้านบาท ณัฏฐ์ หงส์ดิลกกุล Post Doctoral Fellow in Asia Health Policy จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งทำการศึกษาโครงการ 30 บาทกับการร่วมจ่าย เคยกล่าวกับ 'ประชาไท' ว่า "ในความเห็นผม การร่วมจ่ายตอนนี้ยังไม่จำเป็น เพราะตอนนี้ยังจ่ายพอ คือมีคนพูดว่าโรงพยาบาลขาดทุน ก็ต้องไปดูว่าขาดทุนเพราะอะไร จะแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าร่วมจ่ายแล้วโรงพยาบาลจะหายขาดทุนจริงหรือเปล่า เราก็ยังไม่รู้ แต่ถ้ารัฐบาลจ่ายเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลก็หายขาดทุนได้เหมือนกัน โดยตัดค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่จำเป็นออก" อีกทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังสามารถเพิ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ขึ้นกับถกเถียงและต่อสู้ว่างบประมาณด้านใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น อ่านข่าวประกอบ ณัฏฐ์ หงส์ดิลกกุล: ร่วมจ่ายแบบ Co-Insurance เสี่ยงทำผู้ป่วยล้มละลายจากการรักษา คำถามที่สังคมต้องช่วยกันตอบคืองบประมาณด้านสวัสดิการสุขภาพซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน จำเป็นน้อยกว่างบประมาณกองทัพและการจัดซื้ออาวุธหรือไม่ ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
ทนายเผย ศาลทหารปล่อย 'แหวน' ชั่วคราว-ห้ามออกนอกประเทศ ถูกขังทั้งสิ้น 3 ปี 5 เดือน Posted: 04 Sep 2018 03:10 AM PDT Submitted on Tue, 2018-09-04 17:10 ทนายเผย ศาลทหารมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว-ห้ามออกนอกประเทศ 'แหวน' พยาน 6 ศพวัดปทุมฯ ระหว่างพิจารณาคดีด้วยเหตุผลว่าหลักประกันน่าเชื่อถือ จำเลยมาตามนัดตลอด หลังถูกกักขังระหว่างพิจารณาคดี ม.112 - ก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร ยาวนานถึง 3 ปี 5 เดือน เจ้าหน้าที่นำตัวณัฏฐธิดา มีวังปลา หรือแหวน กลับไปทัณฑสถานหญิงกลาง เมื่อเวลาประมาณ 11.25 น. หลังสืบพยานโจทก์เสร็จ ต่อมาศาลทหารอนุญาติให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยจะปล่อยตัวเย็นนี้ทัณฑสถานหญิงกลาง เรือนจำคลองเปรม (ที่มาภาพ: Banrasdr Photo) 4 ก.ย. 2561 มีการโพสต์บนเฟซบุ๊กของวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) และทนายความของณัฎฐธิดา "แหวน" มีวังปลา อดีตพยาบาลอาสาในเหตุการณ์คนเสื้อแดงถูกสลายการชุมนุมเมื่อเดือน พ.ค. 2553 ระบุว่าศาลทหารกรุงเทพมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดีให้แก่แหวนแล้ว โดยมีใจความดังนี้ #ข่าวด่วน!,ข่าวดี! เมื่อเวลา 13:38 น.ศาลทหารกรุงเทพ มีคำสั่งปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณา นางสาวณัฏฐธิดา มีวังปลา หรือ แหวน แล้ว ทั้งนี้ ตุลาการศาลทหาร ทั้งสองคดี มีคำสั่ง ดังนี้ 1. คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ม.112) จำนวน 400,000 บาท พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้โจทก์คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวก็ตาม เห็นว่าหลักประกันที่ผู้ขอประกันนำมายื่นต่อศาลเชื่อถือได้ จึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า หากจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว จะไม่หลบหนีจึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล ตีราคาประกัน 400,000 บาท 2. คดีก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจรฯ จำนวน 500,000 บาท พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้โจทก์คัดค้านว่าคดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี แต่ศาลได้เคยอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยตามสัญญาประกัน ฉบับลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2560 จำเลยได้มาศาลตามกำหนดนัดและไม่ได้หลบหนี ประกอบกับหลักประกันน่าเชื่อถือ จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ห้ามจำเลยที่ 3 ออกนอกราชอาณาจักร. #สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) ในฐานะทนายความผู้รับผิดชอบคดี ขอแสดงความยินดีกับอิสรภาพของแหวน และขอขอบคุณพี่น้องผองเพื่อน ทุกกำลังใจ ทุกความช่วยเหลือที่ได้ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนเพื่อเป็นหลักประกัน และทุกแรงใจที่รักความยุติธรรม มา ณ โอกาสนี้.
ณัฎฐธิดา "แหวน" มีวังปลา อดีตพยาบาลอาสา เป็นพยานปากสำคัญที่จะเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐและผู้บังคับบัญชาในคดีสังหาร 6 ศพที่วัดปทุมวนารามจากการสั่งการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 เนื่องจากเป็นพยาบาลอาสาอยู่ในเต๊นท์เดียวกับผู้ตาย โดยอยู่ห่างจากกมนเกด อัคฮาด หนึ่งในผู้เสียชีวิตเพียง 5 เมตร แต่ได้ถูกจับกุมและถูกแจ้งข้อหาร้ายแรงในคดีก่อการร้ายและ 112 แหวนถูกคุมขังมานานกว่าสามปี โดยที่ผ่านมาศาลเคยมีคำสั่งให้ประกันตัวแล้วหนึ่งครั้งในคดีก่อการร้าย แต่แหวนกลับต้องโดนอายัดตัวต่อในคดี 112 ซึ่งมีการออกหมายจับไว้ ตั้งแต่ 19 มี.ค. 2558 เบื้องต้นทราบว่า พฤติการณ์ที่อ้างการกระทำความผิดจากการโพสต์ข้อความในแอพพลิเคชั่น LINE เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2558 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อยู่ภายหลังจากถูกควบคุมตัวโดยทหารแล้ว ตั้งแต่ 11 มี.ค. 2558 คำถามคือเป็นการโพสต์ข้อความโดยผู้ใด เมื่อพยานตกเป็นเหยื่อ: ระดมเงินเก้าแสนประกัน"แหวน" พยานคดี 6 ศพ วัดปทุม เลื่อนสืบพยานปากแรกออกไปอีก หลัง 'แหวน วัดปทุม' ติดคุกมาแล้ว 3 ปี 4 เดือน ทนายเผยหลักฐานเอาผิดแหวน ภาพถ่ายหน้าจอโทรศัพท์แผ่นเดียว คาดอีก 2 ปี ตัดสิน ณัฎฐธิดาถูกกักขังระหว่างพิจารณาคดีเป็นเวลาถึง 3 ปี 5 เดือน โดยไม่ได้รับการประกันตัว โดยถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางมาตั้งแต่ 17 มี.ค. 2558 ด้านอัยการศาลทหารส่งฟ้องไปแล้วเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2558 โดยแจ้งข้อหาก่อการร้าย อั้งยี่ซ่องโจร ใช้และครอบครองอาวุธสงครามโดยไม่ได้รับอนุญาต พยายามฆ่า นอกจากนี้ยังถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อมโยงว่าเธออยู่ในระหว่างเส้นทางการโอนเงินในการจ้างวานการปาระเบิดมือชนิด RGD5 ใส่ลานจอดรถศาลอาญารัชดา เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2558 สำหรับกรณีปาระเบิดศาลที่แหวนเป็นหนึ่งใน 14 จำเลย ปัจจุบันมีผู้ต้องขังอยู่ในเรือนจำอีกทั้งหมด 6 คน คือ นายมหาหิน ขุนทอง นายยุทธนา เย็นภิญโญ นายสุรพล เอี่ยมสุวรรณ นายชาญวิทย์ จริยานุกูล นายวสุ เอี่ยมลออ และ นางสุภาพร มิตรอารักษ์ ทั้งนี้นายชาญวิทย์ นายสุรพล นายวสุ และ นางสุภาพร ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเนื่องจากมีฐานะยากจนและคดีมีวงเงินประกันสูงถึง 500,000 บาท - 1,000,000 บาท ภาพของแหวนขณะทำการปฐมพยาบาล อัฐชัย ชุมจันทร์ หนึ่งในผู้เสียชีวิตบริเวณวัดปทุมฯ ขณะที่คนขวาสุดสวมชุดปอเต็กตึ๊งคือมงคล เข็มทอง คนที่ยืนด้านหลังของแหวนคืออัครเดช ขันแก้ว อาสาพยาบาล ต่อมาทั้งคู่ถูกยิงเสียชีวิต รวมอยู่ใน 6 ศพวัดปทุมฯ เช่นกัน ในส่วนของคดีความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ศาลได้สั่งให้เป็นการพิจารณาคดีลับ โดยให้เหตุผลว่าเป็นคดีที่มีความที่มีความอ่อนไหวเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ หากมีการเผยแพร่ออกไปอาจทำให้เกิดความเสื่อมเสีย ขณะที่ทนายความคือวิญญัติ ชาติมนตรีได้แย้งไปว่า ข้อความในไลน์ที่ได้ถูกนำมาเป็นข้อกล่าวหานั้นมีเพียงแค่ข้อความเดียว ไม่ได้นำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อสถาบัน แต่ศาลก็ยังยืนยันให้พิจารณาลับโดยอ้างว่าเป็นเรื่องของความมั่นคง ทั้งนี้ นักการเมืองและผู้นำทหารที่มีโอกาสในการถูกเอาผิดกรณีสั่งการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 มีอาทิเช่นอภิสิทธิ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศอฉ.เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์และรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รองหัวหน้าและประธานคณะที่ปรึกษาคณะรัฐประหาร คสช. พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ในช่วงเหตุการณ์ และรัฐมนตรีมหาดไทยในรัฐบาล คสช.ในปัจจุบัน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รอง ผบ.ทบ.ในช่วงเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา 2553 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐประหาร คสช. และนายกรัฐมนตรี ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
ไฟไหม้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติบราซิลอายุ 200 ปีวอด จุดคลื่นจวกรัฐบาลตัดงบวิทย์-การศึกษา Posted: 03 Sep 2018 11:14 PM PDT Submitted on Tue, 2018-09-04 13:14 หลักฐาน ร่องรอยประวัติศาสตร์ต่างๆ ของชนพื้นเมืองและความทรงจำ 200 ปีถูกเผาเป็นเถ้าถ่านจากเพลิงไหม้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติในริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล รอง ผอ. พิพิธภัณฑ์จวกรัฐบาลเหตุตัดงบ ขาดเงินซ่อมบำรุง ฝ่ายดับเพลิงสำทับ ไม่มีน้ำในก๊อกดับเพลิงใกล้ๆ ชาวบราซิลบางคนถือว่าเป็นภาพแทนหายนะประเทศหลังการ 'รัฐประหารเย็น' ของรัฐบาลฝ่ายขวา ภาพเพลิงไหม้พิพิธภัณฑ์ (ที่มา: wikipedia) เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบราซิลอายุ 200 ปีในริโอเดอจาเนโร เมื่อช่วงเย็นวันที่ 3 ก.ย. 2561 ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลฝ่ายขวาที่ได้อำนาจมาจากการ "รัฐประหาร" ว่าไม่มีการดูแลรักษาสถานที่ให้ดีพอ หากมีระบบการเตือนภัยที่ดีกว่านี้ก็อาจจะสามารถปกป้องพิพิธภัณฑ์ไว้ได้ ทั้งยังมีการวิจารณ์นโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาลที่ลดงบประมาณด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ลง ลูอิซ ดูอาร์เต รองผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อช่องโทรทัศน์ของบราซิล 'ทีวีโกลโบ' ว่าเหตุเพลิงไหม้พิพิธภัณฑ์ครั้งนี้ถือเป็น "หายนะที่ไม่อาจรับได้ มันทำให้มรดก 200 ปีของประเทศ 200 ปีของความทรงจำ 200 ปีของวิทยาศาสตร์ 200 ปี ของวัฒนธรรม ของการศึกษา" ต้องสูญเสียไป ดูอาร์เตเป็นหนึ่งในคนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในเรื่องนี้ โดยบอกว่าทางการบราซิลล้มเหลวในการสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ ทำให้พิพิธภัณฑ์ขาดการซ่อมบำรุง ดูอาร์เตบอกว่าพวกเขาต่อสู้เรียกร้องในหลายรัฐบาลเพื่อให้ได้ทรัพยากรมากพอมาปกปักษ์รักษามรดกด้านต่างๆ เหล่านี้ แต่ในตอนนี้สิ่งที่พวกเขาปกป้องมันได้ถูกทำลายไปแล้วโดยสิ้นเชิง สื่อเดอะการ์เดียนรายงานว่ารัฐบาลของประธานาธิบดี มิเชล เทเมร์ ผู้มาจากการโค่นล้มรัฐบาลก่อนหน้านี้มีส่วนตัดสินใจตัดงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา ตัวเทเมร์เองโพสต์ทวิตเตอร์ระบุถึงการสูญเสียครั้งนี้ว่าประเมินค่าไม่ได้ สื่อคอมมอนดรีมส์ระบุว่าเทเมร์เข้าสู่ตำแหน่งหลังจากที่กลุ่มฝ่ายขวาในบราซิลทำการ "รัฐประหารเย็น" ด้วบการรวมหัวถอดถอนประธานาธิบดีคนก่อนหน้านี้คือดิลมา รุสเซฟฟ์ ถึงแม้วในตอนนี้ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากอะไรแต่ก็มีข้อวิจารณ์ตามมาหลากหลายไม่ว่าจะเป็นคำวิจารณ์เรื่องการที่รัฐบาลปล่อยให้พิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งมหาวิทยาลัยของรัฐบาลกลางอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ในที่เกิดเหตุมีกลุ่มชนพื้นเมืองหลายคนที่มารวมตัวกันวิพากษ์วิจารณ์กรณีวัตถุมีค่าของชนพื้นเมืองซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ถูกเผาทำลายไปด้วยเพราะไม่มีงบประมาณซ่อมบำรุงหัวก๊อกน้ำดับเพลิง แต่กลับมีงบประมาณประกาศว่าพร้อมจะสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่ หัวหน้างานดับเพลิงของริโอเดอจาเนโรก็สะท้อนถึงปัญหานี้เช่นเดียวกันว่านักดับเพลิงไม่มีน้ำมากพอในตอนแรกเพราะหัวก็อกน้ำดับเพลิงที่อยู่ใกล้ๆ กันสองก๊อกไม่มีน้ำอยู่เลย ทำให้ต้องใช้รถบรรทุกน้ำจากทะเลสาบใกล้ๆ มาใช้ นอกจากนี้อาคารพิพิธภัณฑ์ยังเป็นอาคารเก่าที่เต็มไปด้วยของติดไฟง่ายจำนวนมาก ป้ายของผู้ร่วมชุมนุมประท้วงหน้าพิพิธภัณฑ์หลังเหตุเพลิงไหม้ ใจความว่า ประวัติศาสตร์ 200 ปี วัตถุ 20 ล้านชิ้นกลายเป็นเถ้าถ่าน (ที่มา: wikipedia) มีชาวบราซิลบางคนมองว่าเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่นี้เป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบกลายๆ ถึงสภาพย่ำแย่ของประเทศในตอนนี้ที่กำลังประสบปัญหาอาชญากรรมความรุนแรงสูงมากและสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่ทำให้ประชาชน 12 ล้านคนไม่มีงานทำ "ไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของบราซิลเท่านั้นที่ไหม้ไปกับกองเพลิง" เคธี วัตสัน ผู้สื่อข่าวบีบีซีภูมิภาคข่าวอเมริกาใต้ระบุในรายงานจากริโอเดอจาเนโร "หลายคนมองเรื่องนี้เป็นอุปลักษณ์เปรียบเทียบได้กับเมืองนี้และประเทศนี้ทั้งประเทศ" เรียบเรียงจาก As Brazil Mourns, Government Neglect and Austerity Blamed for 'Unbearable Catastrophe' of National Museum Fire, Common Dreams , Sep. 3, 2018 Brazil museum fire: Funding cuts blamed as icon is gutted, BBC, Sep. 3, 2018 Brazil museum fire: 'incalculable' loss as 200-year-old Rio institution gutted, The Guardian, Sep. 3, 2018 ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
Thailand Unsettled EP.1 | พวงทอง ภวัครพันธุ์: ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ‘ประชาธิปไตย’ หลังเลือกตั้ง Posted: 03 Sep 2018 10:53 PM PDT Submitted on Tue, 2018-09-04 12:53 ซีรีส์บทสัมภาษณ์ 'Thailand Unsettled' ชุดนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างประชาไทและ New Mandala ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยวิทยาลัยเอเชียและแปซิฟิก Coral Bell มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เพื่อวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมไทยหลังการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560
โดยตอนแรกนี้ เราจะเริ่มกันที่ พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ศึกษาบทบาทของกองทัพและ กอ.รมน. ต่อการเมืองไทย จะมาอธิบายและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งเธอออกตัวเป็นเรื่องยากที่จะประเมินได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พวงทองค่อนข้างมั่นใจคือบทบาทของกองทัพและ กอ.รมน. ในการควบคุมและบ่อนเซาะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะยังคงดำเนินต่อไป และที่มั่นใจยิ่งกว่าคือระบอบการปกครองของไทยภายหลังการเลือกตั้ง ไม่ใช่ระบอบที่เรียกว่า 'ประชาธิปไตย' แน่นอน ติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับแปลภาษาอังกฤษได้ที่ New Mandala
เพราะภาคประชาสังคมที่อ่อนแอกับคำถามที่ค้างคาใจผู้คนในสังคมไทยที่ว่า เหตุใดคณะรัฐประหารชุดนี้จึงอยู่ได้นานกว่าการรัฐประหาร 2 ครั้งก่อน (ปี 2534 และปี 2549) พวงทองยังคงยืนยันในคำตอบเดิมที่เคยอธิบาย การอยู่นานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นดอกผลจากความอ่อนแอของภาคประชาชนและการแตกแยกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน ทำให้ประชาชนในแต่ละฝ่ายสามารถถูกระดมขึ้นมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองของอีกฝ่ายได้ง่าย โดยภาคประชาชนในที่นี้ พวงทองหมายถึงเอ็นจีโอ นักสิทธิมนุษยชน และโดยเฉพาะสื่อมวลชน ซึ่งไม่ว่า คสช. จะทำอะไรที่เป็นปัญหา ก็จะยังเห็นสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งให้การสนับสนุนและปกป้องตลอดเวลา มวลชนที่ติดตามสื่อนั้นๆ ก็จะถูกโน้มน้าวให้สนับสนุนรัฐบาลทหารด้วย อีกด้านหนึ่งนักการเมืองก็มีส่วนปลุกปั่นให้เกิดสถานการณ์รัฐประหารด้วย ภาวะเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ถ้าย้อนกลับไปดูกรณี 14 ตุลาคม 2516 กรณีพฤษภาคม 2535 ภาคประชาชน พรรคการเมือง สื่อมวลชน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการต่อต้านทหาร แต่สิ่งที่เห็นตอนนี้คือฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังมีสื่อมวลชนคอยสนับสนุน สร้างความชอบธรรมให้ตลอดเวลา "ข้อสำคัญคือเอ็นจีโอหรือภาคประชาสังคมกลุ่มใหญ่ที่สุดในสังคมไทย กลุ่มตระกูล ส. คุณจะเห็นคนอย่างหมอประเวศ วะสี ยังไปร่วมโครงการประชารัฐ ไทยนิยม นี่คือภาคประชาสังคมที่ใหญ่มากๆ ก็ยังให้การสนับสนุนและเป็นส่วนสำคัญที่สร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลทหารอยู่ ขณะนี้เรามีรัฐบาลทหารที่ห่วยที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย แต่ถ้าประชาชนอ่อนแอก็ยากที่จะต่อต้านและทำให้เขาลงจากอำนาจได้ "กรณี คสช. ดิฉันคิดว่าเขาวางแผนมาอย่างดีตั้งแต่วันที่ประกาศกฎอัยการศึก สยบการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงทุกจุด ทุกจังหวัด ทันทีที่ประกาศรัฐประหาร ดิฉันคิดว่ามีทหารเคลื่อนเข้าไปในหมู่บ้านสยบคนเสื้อแดง คนเสื้อแดงที่ถนนอักษะก็ถูกสยบหมด ผู้นำก็ถูกคุมตัวไว้หมด เขามีบทเรียนว่าจะทำอย่างไรให้ขบวนการเสื้อแดงไม่สามารถก่อตัวขึ้นมาได้อีก เพราะเขาเริ่มเห็นแล้วว่าถ้าปล่อยให้มีการรวมตัวกัน อันตรายสำหรับพวกเขา พวกเขาพยายามวางพื้นฐานที่จะเป็นโครงสร้างทางอำนาจของเขา ที่จะทำให้เขามีอำนาจอยู่ได้ยาวนาน และถึงแม้ว่าหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า ต่อให้เราไม่มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากกองทัพ แต่อำนาจที่เขาสถาปนาผ่านกลไกทางรัฐธรรมนูญทั้งหลายก็จะยังอยู่ที่จะทำให้เขามีอำนาจอยู่ได้" การเลือกตั้งในพม่า-มาเลเซีย มีบริบทแตกต่างจากไทยเหลียวออกไปดูประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตกและทางใต้ที่ใช้การเลือกตั้งผลักดันทหารและพรรคการเมืองที่ครองอำนาจยาวนานออกจากอำนาจ หากนำปรากฏการณ์นี้มาจับกับสังคมไทยจะช่วยขยายภาพการเมืองไทยหรือไม่ พวงทองเห็นว่าปรากฏการณ์ที่ประชาชนไทยจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้เกิดรัฐประหารและต่อต้านการเลือกตั้งมีความแตกต่างจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในมาเลเซียและพม่า "ต้องเข้าใจว่าการเมืองของสามประเทศนี้มีประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน ในกรณีพม่าเห็นชัดเจนว่ารัฐบาลทหารอยู่มายาวนาน ก่อนที่จะเปิดให้มีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลพลเรือนในปี 2554 ก็มีการลุกฮือประท้วงของประชาชนอยู่หลายครั้ง มันชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่ในพม่าไม่ต้องการรัฐบาลทหารอีกแล้ว หลังจากอยู่ภายใต้รัฐบาลทหารมาตั้งแต่ปี 1962 หรือปี 2505 เขาเห็นเลยว่ามันมีแต่ความล้มเหลว ทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง ไม่สามารถแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยได้ ขณะที่ของเราไม่ใช่ เราสลับกันระหว่างการเป็นรัฐบาลทหารกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง "กรณีมาเลเซีย สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการที่คนหันไปเลือกพรรคฝ่ายค้านเดิมที่นำโดยมหาเธร์ โมฮัมหมัด เพราะคนทนไม่ไหวแล้วกับการคอร์รัปชั่นของพรรคอัมโน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของนาจิบ ราซัก แต่ถามว่าเขารังเกียจการเป็นผู้นำของอัมโนในฐานะพรรคที่เป็นตัวแทนคนมาเลย์หรือไม่ ดิฉันไม่ค่อยแน่ใจ เพราะจริงๆ มหาเธร์เป็นตัวแทนที่คนมาเลย์สนับสนุนมาตลอด แต่ปฏิกิริยาที่มีต่ออัมโนเป็นเรื่องการคอร์รัปชั่น แล้วเขาก็อยู่กับอัมโนมาตั้งแต่ก่อนที่มาเลเซียจะได้รับเอกราชที่สมบูรณ์จากอังกฤษด้วยซ้ำไป อัมโนเป็นพรรคที่เป็นรัฐบาลมาอย่างน้อยตั้งแต่ปี 1957 แล้วยิ่งนับวันอัมโนก็ไม่ดีขึ้น แม้ว่าผลการเลือกตั้งก่อนหน้านี้ก็อยู่ในภาวะที่ถดถอยมาโดยตลอด แต่ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถสรุปบทเรียนได้ นี่จึงถือเป็นการให้บทเรียนกับกลุ่มการเมืองสองกลุ่มคือในพม่าและมาเลเซียที่บริหารประเทศมายาวนาน แล้วก็ไม่สนใจความรู้สึกและความต้องการของประชาชน" ในกรณีไทย พวงทองแสดงทัศนะว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นเพราะประชาชนหมดศรัทธากับระบอบการเมืองแบบรัฐสภาและนักการเมือง ซึ่งมีสาเหตุ 2 ประการ หนึ่งคือตัวนักการเมืองที่ไม่อินังขังขอบกับการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากภาคประชาชนและปัญหาคอร์รัปชั่น และสองคือในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีกระบวนการทำลายความชอบธรรมของระบบการเมืองแบบรัฐสภา ที่มองว่าผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่มีคุณภาพ ซึ่งหลายๆ อย่างเป็นการสร้างของกลุ่มที่ต้องการเข้ามาควบคุมระบบการเมือง Military Guarded Authoritarianismประเด็นต่อมาคือหลังการเลือกตั้งที่ (อาจ) จะเกิดขึ้นในต้นปีหน้า จะเรียกระบอบการปกครองของไทยว่าอะไร พวงทองกล่าวถึงแนคิดของประจักษ์ ก้องกีรติ ผู้นิยามระบอบที่เป็นอยู่นี้ว่า Military Guided Authoritarianism ระบอบอำนาจนิยมที่มีทหารเป็นผู้นำ แต่พวงทองเสนอคำว่า Military Guarded Authoritarianism หมายถึงจากการที่ทหารเป็นผู้สั่งหันซ้ายหันขวา เมื่อเป็นระบบ Guardian ทหารอาจไม่สามารถชี้นิ้วได้ทุกอย่าง กล่าวคือถ้าหลังเลือกตั้ง ทหารไม่สามารถส่งคนของตัวเองเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แต่เป็นผู้นำพลเรือนที่เป็นที่ยอมรับของทหาร กองทัพจะไม่สามารถควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ ข้อสำคัญคือเมื่อเข้าสู่ระบบรัฐสภา อำนาจของทหารที่คิดว่าจะคุมนักการเมืองได้เบ็ดเสร็จจะเบาลง อำนาจต่อรองของนักการเมืองจะมากขึ้น ดังนั้น ถ้าเป็นรัฐบาลพลเรือนหลังการเลือกตั้งก็น่าจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า Military Guarded Authoritarianism ซึ่งทหารจะปกป้องระบอบนี้ อำนาจในการรัฐประหารจะยังอยู่กับกองทัพ ยังได้ในสิ่งที่ต้องการ เพียงแต่จะไม่ง่ายอย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้ "แต่ไม่มีทางและไม่สามารถเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยได้เลยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560" ความน่าจะเป็นหลังเลือกตั้งถามว่าดีลการเมืองระหว่างทหารและนักการเมืองจะประสบความสำเร็จหรือไม่ พวงทองประเมินว่าจากการเลือกตั้งสองสามครั้งหลัง พรรคของทักษิณ ชินวัตรก็ยังกลับมาได้อีก อันเป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลทักษิณในอดีตที่ผูกใจคนได้นาน จะเห็นว่าชาวบ้านเลือกเพราะนโยบายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน ดังนั้น สิ่งที่ คสช. ร่วมมือกับพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อซื้อใจชาวบ้านด้วยโครงการทางเศรษฐกิจ มันคือการอัดฉีดเงินเข้าสู่ท้องถิ่นด้วยเงินของรัฐบาล "ถามว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ดิฉันคิดว่ามันไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ เมื่อไปถามชาวบ้านที่มีประสบการณ์จากโครงการประชารัฐ คูปองรายเดือน 300 บาท ชาวบ้านที่ดิฉันไปเจอบ่นทุกคนว่าคนที่ได้ประโยชน์คือบริษัทใหญ่ ชาวบ้านก็เห็นว่าในที่สุดแล้วคนที่กินรวบคือบริษัทใหญ่ๆ ที่เข้าไปร่วมมือกับ คสช. ตัวเขาเองบอกว่าไม่ได้ช่วยอะไรเขาสักเท่าไหร่ 300 บาท ยังผูกใจคนไม่ได้ แต่แน่นอนว่าพรรคการเมืองที่ คสช. ไปลงทุนช่วยเหลือ ต้องชอบแน่ เพราะเขาไม่ต้องลงทุนอะไร แต่กลับมีโครงการเหล่านี้ไปช่วยหาเสียง "ดิฉันคิดว่าเสียงของเพื่อไทยคงลดลง แต่คงไม่ถึงขนาดว่าจะทำให้เพื่อไทยพ่ายแพ้เป็นพรรคเสียงส่วนน้อย แล้วถ้าผลออกมาว่าเพื่อไทยยังชนะอยู่ ดิฉันคิดว่าสิ่งที่นักวิชาการ คนชั้นกลาง ที่ต่อต้านคนเสื้อแดง ดูถูกคนต่างจังหวัด ต้องเปลี่ยนทัศนะเสียทีว่าคนเหล่านี้ยอมแลกเสียงตัวเองเพื่อผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ สิ่งที่ คสช. พยายามทำผ่านโครงการประชารัฐก็หวังซื้อเสียงเล็กๆ น้อยๆ แต่ถ้าเขายังไม่เลือก แสดงว่าเขาเห็นว่านโยบายระดับชาติสำคัญกว่าโครงการเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณอัดฉีดเข้าไปในหมู่บ้าน" บทบาทของ กอ.รมน. หลังเลือกตั้งย้อนกลับมาที่งานศึกษาของพวงทองในประเด็นบทบาทของ กอ.รมน. ซึ่งจะยังมีอยู่แน่นอนหลังการเลือกตั้ง มันเป็นผลจาก พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ที่ออกในสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ทำให้ กอ.รมน. ดำรงอยู่เป็นองค์กรถาวรที่มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติรองรับ และยังทำให้กลไก กอ.รมน. หรือกลไกของกองทัพยังมีอำนาจเข้าไปใช้ประโยชน์จากหน่วยราชการทั้งหมดได้ โดยเฉพาะในภาวะฉุกเฉิน กอ.รมน. มีอำนาจสั่งการ ประสานงาน หน่วยราชการทั้งหมดได้ด้วยการอ้างว่าเป็นความมั่นคงภายใน ซึ่งมีการตีความที่กว้างมากจนไม่มีขอบเขต ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ภารกิจของ กอ.รมน. มีอยู่ 4 ประการหลักๆ 1.กดปราบควบคุมและสยบการเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชนฝ่ายตรงข้าม 2.จัดตั้งระดมมวลชนของตนเองขึ้นผ่านกลไกการอบรม การศึกษา วิทยุ สื่อมวลชน ทั้งกลุ่มอนุรักษนิยมและแม้กระทั่งมวลชนอิสระ 3.การเข้าไปมีบทบาทในการควบคุมชีวิตทางการเมืองของประชาชนในทุกระดับ ทั้งในเมืองและชนบท "รัฐไทยไม่เชื่อการปล่อยให้ประชาชนเป็นพลเมืองอิสระ แต่มองว่าประชาชนต้องเป็นพลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเจตนารมย์หรืออุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐ" 4.การให้อำนาจทหารเหนือหน่วยงานราชการทั้งหลาย "กอ.รมน. ได้รับงบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรงและเพิ่มขึ้นทุกปี นี่คือมรดกที่สำคัญของกองทัพที่จะทิ้งให้อยู่กับสังคมไทยในระยะยาว ฉะนั้น ถ้าจะปฏิรูปกองทัพ คุณหลีกเลี่ยงที่จะไม่พิจารณาบทบาทของ กอ.รมน. ไม่ได้ ซึ่งบทบาทของมันแทรกซึมไปทุกหน่วยงานราชการ "สรุปคือหลังการเลือกตั้งกองทัพและชนชั้นนำจารีตนิยมสามารถใช้กลไก กอ.รมน. ในการบ่อนเซาะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ ทั้งในแง่การโน้มน้าวระดมมวลชนออกมาต่อต้านหรือในทางอุดมการณ์" ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
กูเกิลดูเดิลเสนอ 'แม่ประยูร' ราชินีลำตัดไทยผู้ฟื้นเพลงพื้นบ้านให้กลับมามีชีวิต Posted: 03 Sep 2018 10:24 PM PDT Submitted on Tue, 2018-09-04 12:24 ใต้ทิวแถวต้นปาล์ม ประยูร ยมเยี่ยมและคู่ร้องเพลงของเธอขับขานลำนำโต้ตอบกันไปมาด้วยเนื้อเพลงขี้เล่นของเพลงไทยพื้นบ้าน นี่คือภาพของกูเกิลดูเดิล ซึ่งเป็นภาพลูกเล่นหน้าเพจเว็บไซต์กูเกิลในวันที่ 30 ส.ค. ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของประยูร หรือ "แม่ประยูร" เพื่อเป็นการยกย่องในฐานะราชินีลำตัด ภาพของกูเกิลดูเดิลเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2561 (ที่มา: Youtube/Doodle Special Logos) สื่อเดอะไทม์รายงานถึงเรื่องกูเกิลดูเดิลในวันนี้โดยนำเสนอรายละเอียดชีวิตของประยูรในฐานะ "ผู้ฟื้นฟูสไตล์เพลงพื้นบ้านของไทย" ที่เรียกว่าลำตัด ประยูรเริ่มต้นร้องลำตัดตั้งแต่อายุได้ 15 ปี ก่อนที่จะเริ่มโด่งดังในอีกหลายปีถัดมาหลังจากที่เทปคาสเซตต์ของเธอเผยแพร่ออกไปทั่วประเทศ ประยูรเกิดเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2476 ที่จังหวัดนนทบุรี หลังจากเธอแสดงลำตัดครั้งแรกก็เข้าร่วมกับคณะลำตัดแม่จำรูญซึ่งมีชื่อเสียงมากในยุคนั้นจนได้พบกับ "หวังเต๊ะ" (หวังดี นิมา) ศิลปินลำตัดชื่อดังอีกคนหนึ่ง กลายเป็นคู่ประชันลำตัดกันบ่อยๆ จนกระทั่งแต่งงาน มีลูก และหย่าขาดกัน แต่ก็ยังคงแสดงร่วมกันตลอดมา แม่ประยูรได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติของไทยในปี 2537
ลำตัดประชัน แม่ประยูร หวังเต๊ะ (ที่มา: Youtube/ อาทิตย์ รักษา) สื่อสัญชาติอเมริกันยังนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับลำตัดว่าเป็นแนวเพลงที่มีการร้องแก้กันโต้ตอบกันไปมา มักจะเน้นการด้นสดเนื้อร้องที่มีอารมณ์ขีนประกอบไปกับเครื่องดนตรีที่มักจะใช้กลองรำมะนา ในยุคสมัยนั้นลำตัดเกือบจะเป็นการแสดงที่ตายไปแล้ว จนกระทั่งแม่ประยูรเป็นผู้กลับเข้ามาฟื้นฟูชีวิตให้ ผู้คนจดจำเธอด้วยเนื้อหาที่ชาญฉลาดและการใช้คำแบบ "สองแง่สองง่าม" นอกจากนี้เพลงลำตัดของเธอยังได้รับการเผยแพร่ไปสู่นานาชาติและใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยด้วย ประยูรเสียชีวิตเมื่อปี 2553 ด้วยโรคหัวใจกำเริบ ขณะมีอายุได้ 77 ปี สื่อไทม์ระบุว่าถึงแม้เธอจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่มรดกการเป็นผู้อนุรักษ์เพลงไทยที่มีความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมยังคงดำเนินต่อไป เรียบเรียงจาก What to Know About Thai Folk Musician Prayoon Yomyiam, Time, Aug. 30, 2018 ข้อมูลเพิ่มเติมจาก ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
Posted: 03 Sep 2018 06:18 PM PDT Submitted on Tue, 2018-09-04 08:18 จะนิยามรัฐไทยว่าอะไรดี "อำนาจที่ผูกขาดความรุนแรงอันถูกกฎหมายไว้แต่ผู้เดียว" อย่างที่ Max Weber เสนอกระนั้นหรือ อาจารย์ Tyrell Haberkorn บอกว่าไม่ใช่หรอก รัฐไทยคืออำนาจที่ใช้ความรุนแรงอันผิดกฎหมาย แล้วก็ลอยนวลตลอดมาตั้งแต่ 2475 ถึงปัจจุบันต่างหาก (In Plain Sight: Impunity and Human Rights in Thailand) ท่านรู้ดีว่า พูดอย่างนี้ก็เท่ากับกำลังพูดว่าการลอยนวลเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบสร้างรัฐไทย (state formation) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ รัฐนั้นประกอบสร้างขึ้นจากกลุ่มคนและสถาบันอะไรบ้าง และสัมพันธ์เชื่อมโยงเชิงอำนาจต่อกันอย่างไร การลอยนวลเป็นสถาบันสำคัญที่เชื่อมโยงอำนาจหลักๆ ให้ดำรงอยู่ในนามของรัฐไทยได้นั่นเอง ผมจึงขอเรียกรัฐไทยว่า "รัฐลอยนวล" ซึ่งทำให้แตกต่างจาก "รัฐพันลึก", "รัฐราชการ", "รัฐอำนาจนิยม", "รัฐทุนนิยม" ฯลฯ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ Haberkorn ด้วยว่า "รัฐลอยนวล" นั้น ไม่ได้เป็นลักษณะที่จำกัดอยู่ที่รัฐไทยเพียงรัฐเดียว แต่ยังเป็นลักษณะของรัฐอื่นอีกหลายรัฐทั่วโลก (โดยเฉพาะรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ความรุนแรงที่ผิดกฎหมายทั้งหลายนั้น ล้วนทำขึ้นในนามของรัฐ อัศวินตำรวจที่ไปรัดคอนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามคณะรัฐประหารจนตาย แล้วโยนทิ้งแม่น้ำนั้น อาจไม่รู้จักนักการเมืองคนนั้นเป็นส่วนตัวด้วยซ้ำ แต่เพื่อรักษาอำนาจของคณะรัฐประหารซึ่งแม้ว่าไร้ความชอบธรรมตามกฎหมาย แต่ก็ยึดอำนาจรัฐมาได้แล้ว และคือรัฐนั้นเองจึงจำเป็นต้องทำตาม "หน้าที่" ดังนั้น เมื่อทำแล้วจึงลอยนวล ที่น่าสนใจก็คือไม่ได้ลอยนวลเฉพาะในระหว่าง 10 ปีที่คณะรัฐประหารยังมีอำนาจอยู่เท่านั้น แม้หลังจากนั้นเมื่อสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แย่งอำนาจของเผ่า ศรียานนท์ และ จอมพล ป.พิบูลสงคราม มาได้แล้ว คดีละเมิดประชาชนของคณะรัฐประหารทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมทรมาน, อุ้มหาย, สังหารโหด, หรือจับกุมคุมขังโดยไม่ส่งฟ้องศาล ฯลฯ ผู้กระทำก็ล้วน "ลอยนวล" ทั้งสิ้น อาจมีการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์กันสักวันสองวัน หรือสัปดาห์สองสัปดาห์ แล้วในที่สุดคณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อสืบสวนสอบสวน ก็จะส่งรายงานไปเข้าลิ้นชักของผู้ใหญ่ ถ้ารายงานนั้นเผยแพร่ได้ก็เป็นการสรุปว่า น่าเสียดายโว้ย ทำอะไรไม่ได้เสียแล้ว บางกรณีคณะกรรมการสอบเสร็จแล้ว รัฐบาลกลับบอกว่าเปิดเผยไม่ได้ก็มี เช่นกรณีทหารตำรวจและอาสาสมัครรักษาดินแดนเผาหมู่บ้านนาทราย จังหวัดหนองคาย ราบเป็นหน้ากลอง ชาวบ้านสูญเสียทรัพย์สินทั้งหมด และที่สำคัญคือข้าวซึ่งเพิ่งเก็บเกี่ยวได้ไม่นาน มีคนเสียชีวิตอีกสามคนด้วยเหตุใดก็ไม่ทราบ ทั้งๆ ที่ช่วงซึ่งเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐละเมิดกฎหมาย ถูกเปิดขึ้นมาโดยองค์กรนักศึกษาองค์กรหนึ่งในช่วงหลัง 14 ตุลา ในที่สุดรัฐบาล "ประชาธิปไตย" ทั้งหมดในช่วงสามปีนั้น ก็ตัดสินว่าเรื่องนี้ต้องปล่อยให้ "ลอยนวล" ไปดีกว่า ส่วนการเยียวยาช่วยเหลือเหยื่อก็ยอมรับและทำไปเท่าที่จะทำได้ "ลอยนวล" ในรัฐไทยจึงไม่ใช่เครื่องมือสำหรับรักษาอำนาจเผด็จการ เพราะยังมีอีกหลายกรณีที่รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ก็ช่วยรักษาการ "ลอยนวล" ไว้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการประกอบสร้างรัฐไทย ม.17 ซึ่งเป็นเครื่องมือให้สฤษดิ์-ถนอม-ประภาสละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างลอยนวลตลอดเวลานั้น ถูกรักษาไว้ในรัฐธรรมนูญและธรรมนูญสืบมาอีกนาน หลายคนคงไม่ทันนึกว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 ซึ่งเป็นฐานอำนาจทางกฎหมายของนายกฯเกรียงศักดิ์, เปรม, และชาติชาย ก็มี ม.200 ซึ่งให้อำนาจนายกฯ เหมือน ม.17 ของสฤษดิ์เช่นกัน และตลอดเวลานั้นเรามีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญไม่ขาด อำนาจของ คสช.ในการจับคนชูสามนิ้ว, กินแซนด์วิช, อ่านหนังสือ, และคนที่ คสช.ไม่ไว้วางใจไปเก็บไว้ 7 วันหรือนานกว่านั้น มาจาก พ.ร.บ.กฎอัยการศึกซึ่งออกครั้งแรกตั้งแต่ ร.6 และได้ผ่านรัฐบาล "ประชาธิปไตย" มาไม่รู้จะกี่รัฐบาลแล้ว โดยไม่ถูกแก้ไขเพื่อประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชนเลย อีกทั้งการใช้อำนาจจากกฎหมายนี้เพื่อละเมิดสิทธิของประชาชนอย่างเกินหรือผิดกฎหมาย ก็ไม่เคยถูกนำมาไต่สวนลงโทษ ผู้ละเมิดทุกคนก็ยัง "ลอยนวล" มาโดยสวัสดิภาพ เพราะต่างก็ทำในนามของรัฐทั้งสิ้น (การจับกุมกับการคุกคามเป็นคนละเรื่อง กฎหมายอนุญาตให้จับกุม แต่ไม่อนุญาตให้ทรมานหรือคุกคามครอบครัว) ประเทศไทยไม่ได้ทรงอำนาจยิ่งใหญ่เหมือนเยอรมนีภายใต้ฮิตเลอร์, จีนคอมมิวนิสต์, หรือสหภาพโซเวียต เราจึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องแต่งหน้าให้พอไปวัดไปวาได้เบื้องหน้าสหประชาชาติ, มหาอำนาจตะวันตก, และกระแสสิทธิมนุษยชน ซึ่งกระจายไปทั่วโลกนับตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา รวมทั้งแรงกดดันที่ไม่แรงนักของคนภายในเองด้วย จะรักษาอำนาจขององค์ประกอบของรัฐท่ามกลางบรรยากาศแห่งสิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษยชนของโลกอย่างไร โดยไม่กระทบต่อหน้าที่แต่งไว้แล้วนี้ ก็ "ลอยนวล" สิครับ กฎหมายและแบบปฏิบัติที่เทียบได้กับ "นานาอารยประเทศ" ไทยก็มีไม่ต่างกัน แต่จะบังคับใช้กับใครและอย่างไร เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตรงการบังคับใช้นี่แหละ ที่ต้องทำอย่าง "ลอยนวล" เพื่อรักษาการประกอบสร้างรัฐเอาไว้ให้คงเดิม รัฐลอยนวลคือรัฐที่ต้องรักษาให้หน้าสวยไว้ แต่ตัวกลวง จึงต้องเอาชุดไทยสวมทับไว้ (บางคนชอบพูดว่า ต้องเขียนรัฐธรรมนูญให้เป็นแบบไทยๆ คือจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจตามความเป็นจริงของสังคมไทย ผมฟังแล้วก็อดคิดไม่ได้ทุกทีว่า "มึงไม่กล้าหรอก") หลักการลอยนวลของรัฐนั้น ต้องทำในนามของรัฐหรือประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ด้วยเหตุดังนั้นชาตินิยมจึงมีความสำคัญอย่างมากในรัฐไทย แต่ต้องเป็นชาตินิยมที่ทำให้เกิดการลอยนวลได้สะดวก ไม่ใช่ชาตินิยมที่ปล่อยให้ประชาชนเป็นใหญ่ นี่เป็นข้อบังคับที่ดูไม่น่าจะยากอะไรของรัฐลอยนวล เพราะรัฐเป็นผู้ให้ความหมายแก่สิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษยชนเอง อย่าลืมว่าไทยเป็นหนึ่งใน 48 ประเทศทั่วโลก ที่ลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์กรสหประชาชาติเป็นกลุ่มแรก จนเรามีวันฉลองสิทธิมนุษยชนทุกปีมาตั้งแต่ พ.ศ.2492 แต่จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีก็อธิบายว่า คอมมิวนิสต์คือผู้ทำลายสิทธิมนุษยชน ฉะนั้น เราจึงต้องต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ทุกวิถีทาง เพื่อรักษารัฐไทยเอาไว้ให้เป็นผู้อำนวยสิทธิมนุษยชนต่อไป แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะองค์ประกอบของการประกอบสร้างรัฐไทยไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีคนหน้าใหม่โผล่เข้ามาในความสัมพันธ์เชิงอำนาจอยู่เรื่อยๆ หลังนโยบายพัฒนาของสฤษดิ์ กลุ่มทุนขยายตัวจากลูกกะจ๊อกของนักการเมืองมาเป็นกลุ่มอิสระในตัวเอง กลุ่มทุนเล่นเกม "ลอยนวล" ได้เก่งไม่แพ้กลุ่มอื่น เขาสามารถละเมิดสิทธิสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชนได้อย่างลอยนวลเสมอมา เพราะการกดขี่เอารัดเอาเปรียบประชาชนของเขา ทำไปเพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของรัฐ การปล่อยน้ำเสียลงทางน้ำสาธารณะจึงทำในนามของรัฐ ไม่ต่างจากการจับคอมมิวนิสต์ไปเผาในถังแดง ปัญหามาอยู่ที่ว่า นับวันกลุ่มทุนมักใช้หลักการ "ลอยนวล" เพื่อประโยชน์ส่วนตัวอย่างโจ่งแจ้งเกินไป เช่น ขับรถชนตำรวจแล้วลากไปร้อยเมตร, อารมณ์เสียจึงขับเบนซ์ชนคนรอรถเมล์, หรือล่าเสือดำ ฯลฯ ไม่มีทางจะอ้างประโยชน์ของรัฐได้เลย แม้กระนั้นก็มีทีท่าว่าจะอาศัยหลักการ "ลอยนวล" หลุดรอดจากความผิดไปได้ โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร สร้างความอึดอัดให้แก่องค์ประกอบสร้างส่วนอื่นของรัฐโดยไม่จำเป็น รัฐลอยนวลจึงถูกอำนาจในองค์ประกอบสร้างของรัฐเองบ่อนทำลายลงไปมากขึ้น และบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เรื่องนี้ไม่จำกัดแต่เฉพาะในกลุ่มทุน แต่ซับซ้อนมากขึ้นจนแยกระหว่างคนที่ควรลอยนวลและไม่ควรลอยนวลได้ยาก ผมจะยกตัวอย่างกรณีสังหารหมู่ใน พ.ศ.2553 ในภายหน้า โดยไม่ต้องอธิบายให้มากความ ก็เห็นนะครับว่า รัฐลอยนวลแบ่งคนออกเป็นสองประเภท คือคนที่อยู่ในองค์ประกอบสร้างของรัฐ กับประชาชนทั่วไป ซึ่งสมัยก่อนไม่ได้จัดองค์กรเป็นกลุ่มก้อนนัก จึงยากที่จะเผยอขึ้นไปเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสร้างของรัฐ แต่ปัจจุบัน รู้จักการจัดองค์กรดีขึ้น แม้กระนั้นก็ยังไม่พอจะแทรกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบสร้างของรัฐได้อย่างมั่นคงนัก ในสภาวะเช่นนี้แหละ ที่รัฐดำรงอำนาจอยู่ได้ด้วยการ "ลอยนวล" และโดยไม่อธิบายให้มากความเหมือนกัน กลไกรัฐทุกส่วนย่อมถูกใช้กับคนสองกลุ่มนี้แตกต่างกัน ตราบเท่าที่คนกลุ่มข้างบนสามารถอ้างได้ว่ากระทำในนามของรัฐ การกระทำของเขาก็ลอยนวลได้เสมอ ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดๆ ในขณะที่คนกลุ่มข้างล่างย่อมเป็นไปตรงกันข้าม และเป็นเหยื่อของการกระทำของคนข้างบน ผมขอย้ำว่ากลไกรัฐทุกส่วนจริงๆ ไม่มีส่วนไหนหรอกที่ถือว่า "พึ่งได้" เพราะทุกส่วนล้วนมีบทบาทในการรักษาให้รัฐลอยนวลต่อไปได้ทั้งนั้น ผมคิดว่า รัฐลอยนวลใช้เป็นตัวแบบในการอธิบายรัฐไทยได้ดีกว่ารัฐพันลึก เพราะรัฐพันลึกใช้ได้ดีกับรัฐที่องค์ประกอบสร้างของรัฐอยู่ตัวมานานพอสมควรแล้ว รัฐธรรมนูญ, กฎหมาย, แบบปฏิบัติประชาธิปไตย ล้วนลงตัวแล้ว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ "หน้าสวย" ของรัฐพันลึกมีผลลงมาถึงร่างกายซึ่งไม่กลวงด้วย จะรักษาอภิสิทธิ์ขององค์ประกอบสร้างของรัฐอย่างไรได้นอกจากดำดิ่งลงไปที่ก้นบึ้งเพื่อให้มองไม่เห็น สร้างรัฐที่คุมอำนาจสูงสุดไว้ข้างล่างเป็นรัฐพันลึก นั่นคือเหตุผลที่หลังการอภิปรายเรื่องรัฐพันลึกไทย ผู้ฟังบางคนจึงอุทานว่านั่นมันรัฐพันตื้นนี่หว่า กล่าวคือมองเห็นได้ถนัดตาทั้งนั้น ผิดกับรัฐลอยนวล ที่การลอยนวลนั้นมักทำกันอย่างโจ่งแจ้ง กลไกรัฐทุกส่วนต่างออกมาประสานสอดรับการลอยนวลนั้นอย่างไม่ปิดบังอำพรางใดๆ (จนบางครั้งทำให้ประชาชนหน้าชาไปเลย) อาจารย์ Haberkorn อธิบายว่าเพื่อเป็น "บทเรียน" (pedagogical) ซึ่งก็คงใช่บางส่วน แต่ผมคิดว่าที่สำคัญกว่าก็เพราะมันเป็นวิถีปกติของการประกอบสร้างรัฐลอยนวลต่างหาก รัฐลอยนวลก็ต้องลอยนวลให้เห็นสิครับ ไม่อย่างนั้นรัฐจะมีอำนาจอยู่ได้อย่างไร การสังหารหมู่ประชาชนในเมษายน-พฤษภาคม 2553 กระทำกันกลางเมือง ซ้ำแทบจะมีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ ปรากฏการณ์อย่างนี้ไม่ได้เกิดในรัฐลอยนวลไทยเป็นครั้งแรก แต่เกิดมาหลายครั้งแล้ว หากทว่าทุกครั้งก็จะรีบออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาทันที กฎหมายลอยนวลเช่นนี้ดำรงความศักดิ์สิทธิ์มาได้แม้ภายใต้รัฐบาล "ประชาธิปไตย" ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ประชาธิปไตยหรือเผด็จการไม่เกี่ยว แต่รัฐต้องรักษาหลักการลอยนวลไว้ต่างหาก ด้วยเหตุใดก็ตามที่ทำให้รัฐบาลซึ่งสั่งการสังหารหมู่ไม่ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นผลให้รัฐบาลนั้นตกที่นั่งลำบาก เท่าๆ กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หลังจากนั้นก็ตกที่นั่งลำบากเหมือนกัน เพราะทุกฝ่ายที่เข้าถึงอำนาจรัฐได้ย่อมรู้ดีว่า เรื่องนี้ต้องลอยนวล เพราะหากไม่ลอยนวลความสัมพันธ์เชิงอำนาจขององค์ประกอบสร้างของรัฐจะสั่นคลอนไปทุกส่วน และความเป็นรัฐลอยนวลก็จะไม่มั่นคงอีกต่อไป แค่นักการเมืองสองสามคนที่จะต้องติดคุกนั้นเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้านักการเมืองติดคุกเพราะเรื่องนี้ได้ ทหารอีกจำนวนมากที่ปฏิบัติการสังหารหมู่ในครั้งนั้นก็ต้องติดคุกด้วย คราวนี้เรื่องเริ่มจะไม่เล็กเสียแล้ว ไม่ใช่เพราะนักการเมืองหรือทหารติดคุกไม่ได้ แต่ทั้งนักการเมืองและทหารต่างอ้างว่าการสังหารหมู่ในวันนั้น เป็นการกระทำเพื่อปกป้องรัฐ (ทำในนามของรัฐ) ให้ไม่ต้องจำนนต่ออันธพาลทางการเมือง ตรงตามหลักการลอยนวลของรัฐทุกอย่าง หากการกระทำของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในกลไกของรัฐ ทั้งกระทำในนามของรัฐด้วย จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อกฎหมายและประชาชน รัฐลอยนวลก็พังลงทั้งหมด ในขณะที่คดีดำเนินไปอย่างย้อนยอก สร้างความอึดอัดแก่กลไกของรัฐทุกส่วน ก็เกิดการรัฐประหารของกองทัพขึ้น ผู้เข้ามามีส่วนแบ่งอำนาจ (อย่างออกหน้า) ทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด ต่างมีส่วนต้องรับผิดชอบมากหรือน้อยกับการสังหารหมู่ทั้งสิ้น และในภาวะไม่ปกตินี้ คดีก็ถูกนำไปสู่ภาวะลอยนวลจนได้ แม้อย่างอุจาดไปบ้าง แต่ดังที่กล่าวแล้วว่า ลอยนวลกลางแดดหรือความอุจาดเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของรัฐลอยนวล กรณีสังหารหมู่ 2553 นั้นน่าสนใจเป็นพิเศษ แม้ในที่สุดลงเอยที่การลอยนวลเหมือนเคย แต่ย้อนกลับไปไล่ดูตั้งแต่ต้นก่อนที่จะถึงจุดลอยนวล จะเห็นความแตกต่างจากการละเมิดประชาชนที่ผ่านมาแล้วทั้งหมด มันไม่เรียบง่ายเหมือนแถลงการณ์ฉบับเดียวจากกระทรวงมหาดไทย หรือทำเนียบรัฐบาล แล้วก็ลอยนวลได้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ผมคิดว่าเพราะมันสะท้อนพลวัตภายในของรัฐลอยนวล คือความเปลี่ยนแปลงบางอย่างในการประกอบสร้างของรัฐไทย และทำให้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีอยู่เดิมไม่อาจดำรงอยู่อย่างตายตัวเช่นนั้นได้ และด้วยเหตุดังนั้นองค์ประกอบสร้างหลายส่วนจึงขยับขยายอำนาจของตนไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ก่อนที่รัฐลอยนวลจะถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบไปมากกว่านี้
ที่มา: www.matichon.co.th/article/news_1112676
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น