โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com

Link to ประชาไท

'นคร มาฉิม' ทหาร มาเฉย หลัง ‘อียู’ เข้าพบเมื่อวานนี้

Posted: 07 Sep 2018 08:43 AM PDT

'นคร มาฉิม' อดีต ส.ส.ปชป. โดนทหารล้อมบ้านที่ จ.พิษณุโลก หลัง 'อียู' เข้าพบเพื่อรับคำชี้แจง 5 ข้อเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองช่วง 4 ปี รัฐประหารในไทย และเรียกร้องให้อียูดำเนินการตรวจสอบ เมื่อวานนี้

7 ก.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 17.01 น. นคร มาฉิม อดีต ส.ส.พิษณุโลก โพสต์ข้อความและรูปภาพทหารมาล้อมบ้านพักที่ จ.พิษณุโลก ผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวในลักษณะสาธารณะ พร้อมระบุด้วยว่า "ตอนนี้ กอ.รมน. และทหารจากมณฑลทหารบก ที่ 39 (มทบ.39) กองทัพภาค 3 นำโดยพ.อ.นพดล มาที่บ้านพักของผมครับ"

ภาพจากเฟสบุ๊ก นคร มาฉิม

ต่อมา ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ ต่อสายตรงไปยัง นคร มาฉิม 

"พี่ไม่ได้อยู่บ้าน คนที่บ้านตกใจกันมาก พวกเค้าไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แม่ก็แก่มากแล้วรู้สึกตกใจ ผมจึงต่อสายเข้าไปคุยกับทหาร และขอร้องให้เค้านำกำลังกลับไปก่อน โดยจะมีการนัดพูดคุยกันถึงรายละเอียดอีกทีวันพรุ่งนี้ ตอน 10 โมงเช้าที่บ้านพักผมเอง ใน อ.นครทัย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งทราบว่าจะมีเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงจากกองทัพภาคที่ 3 และทหาร กอ.รม.น. เข้าพูดคุยถึงสาเหตุที่มาบุกบ้านในวันนี้"นคร มาฉิม กล่าว

ขณะที่วานนี้ (6 ก.ย.61) นคร ได้เผยแพร่จดหมายที่ตนเองทำชี้แจงสหภาพยุโรป(อียู) ผานเฟสบุ๊กส่วนตัวในลักษณะสาธารณะ หลังเจ้าหน้าที่อียูเข้าพบในวันเดียวกัน โดยเนื้อหาในหนังสือ นคร ชี้แจง 5 ข้อเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองช่วง 4 ปี รัฐประหารในไทย และเรียกร้องให้อียูดำเนินการตรวจสอบประกอบด้วย 1. ติดตามและประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบในประเทศไทย 2. กดดันให้รัฐบาลเผด็จการทหารไทยเร่งจัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด 3.ส่งตัวแทนเข้าร่วมสังเกตุการณ์และตรวจสอบกระบวนการเลือกตั้งและนับผลการเลือกตั้งในประเทศไทยเป็นไปโดยเสรีและเป็นธรรม เพื่อให้ผลการเลือกตั้งสะท้อนเสียงที่แท้จริงของปวงชนชาวไทย

4.ระงับการให้ความร่วมมือและการเจรจาใดๆ กับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และรอจนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมก่อนเท่านั้น และ 5.กดดันให้มีการปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมดโดยเร็ว และหามาตรการใหม่ที่ทำให้กระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งของคนไทยทุกหมู่เหล่าได้อย่างแท้จริง

สำหรับ นคร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จ.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นประเด็นทางการเมืองหลังเมื่อปลาย ก.ค.ที่ผ่านมา เขาได้ออกมาโพสต์เฟสบุ๊กขอโทษ ทักษิณ ชินวัตร และ  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยร่วมให้มีการล้มรัฐบาลของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ทั้งยังเล่าถึงสารพัดวิธีในการกำจัดรัฐบาลของ ทักษิณ โดยอ้างถึง นักการเมือง กองทัพ ข้าราชการ และทุกสรรพกำลัง จนเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมเป็นวงกว้างด้วย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'มีชัย' เผย รธน. ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แต่ก็หวังว่า กรธ. ชุดนี้จะเป็นชุดสุดท้าย

Posted: 07 Sep 2018 07:20 AM PDT

แฟ้มภาพเว็บข่าวรัฐสภา 

7 ก.ย. 2561 สำนักข่าวไทย และ INNnews รายงานว่า มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวเปิดงานเลี้ยงขอบคุณสื่อมวลชน เนื่องในโอกาสใกล้หมดภารกิจการทำงาน โดยขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม โดยเฉพาะสื่อที่เป็นที่พึงให้กับประชาชน ในยามที่มีการบิดเบือน และหวังว่าวันข้างหน้าจะไม่มีเหตุอะไรที่จะต้องมี กรธ. อีก และหวังว่า กรธ. ชุดนี้จะเป็นชุดสุดท้าย พร้อมขอให้บ้านเมืองสงบสุข

"ที่ผมขึ้นมาพูดก่อนก็ไม่ได้เป็นไปตามที่วางไว้ เดิมจะให้สื่อพูดก่อนแล้วผมพูดหลังสุด แต่มันก็ไม่เป็นไปตามหวัง เหมือนกับรัฐธรรมนูญที่ร่าง ตั้งใจไว้อย่างแต่ออกมาอีกอย่าง" มีชัยกล่าว

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมว่า มีชัย นอกจากจะดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ยังดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ด้วย สำหรับรายชื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ประกอบด้วย

มีชัย ฤชุพันธ์ สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

สุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นรองประธานฯ คนที่ 1

อภิชาต สุขัคคานนท์ อดีตประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นรองประธานฯ คนที่ 2

อมร วาณิชวิวัฒน์  อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นโฆษก

นรชิต สิงหเสนี อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นโฆษก

กีระณา สุมาวงศ์ เนติบัณฑิต เป็นกรรมการ

จุรี วิจิตรวาทการ อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เป็นกรรมการ

ชาติชาย ณ เชียงใหม่ อดีตรองอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เป็นกรรมการ

เธียรชัย ณ นคร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นกรรมการ

ธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นกรรมการ

พลเอกนิวัต ศรีเพ็ญ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการ

ประพันธุ์ นัยโกวิท อดีตกรรมการการเลือกตั้ง เป็นกรรมการ

ภัทระ คำพิทักษ์ อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เป็นกรรมการ

ภุมรัตน์ ทักษาติพงษ์ อดีตผู้อำนวยการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นกรรมการ

พลตรีวิระ โรจนวาศ อดีตผู้อำนวยการสำนักพระธรรมนูญทหารบก เป็นกรรมการ

ศุภชัย ยาวะประภาษ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ

อุดม รัฐอมฤต อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นกรรมการ

อัชพร จารุจินดา กรรมการกฤษฎีกาและอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นกรรมการ

พลเอกอัฎฐพร เจริญพานิช อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการ

ปกรณ์ นิลประพันธ์  กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมกฤษฎีกา เป็นเลขานุการคนที่ 1

ธนาวัฒน์ สังข์ทอง กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมกฤษฎีกา เป็นเลขานุการคนที่ 2

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'ผบ.ทบ.' แจงย้าย 'หน่วยทหาร' ออกนอกกรุง เป็นแผนระยะยาว อาจมีทั้ง ยุบ-รวม-ย้าย

Posted: 07 Sep 2018 05:29 AM PDT

พล.อ.เฉลิมชัย ระบุแผนจัดระเบียบที่ตั้งหน่วยทหารให้สอดคล้องกับภารกิจในกลุ่มเดียวกัน และจะย้ายหน่วยบางหน่วยไปภายนอก เพื่อลดความคับคั่งในพื้นที่ เป็นแผนระยะยาว หน่วยตรงพื้นที่ใดที่ไม่มีความจำเป็นอาจทำเป็นปอดของกรุงเทพฯ เป็นสวนสาธารณะ

 

7 ก.ย.2561 จากกรณีเมื่อวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา ข่าวสดออนไลน์ รายงานข่าวว่า กองทัพบก โดยกรมยุทธการทหารบก (ยก.ทบ.) ได้ประชุมเตรียมความพร้อมจัดทำแผนรายการปรับโอนหน่วย และย้ายที่ตั้งหน่วยทหาร ซึ่งประชุมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดประชุมเมื่อวันที่ 28 ส.ค. และก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา สำหรับหน่วยที่จะถูกย้าย ส่วนใหญ่เป็นหน่วยยานเกราะระดับกองพัน กองร้อย จากกรุงเทพฯ จะย้ายออกจากพื้นที่ตั้งเดิมไปอยู่ที่ จังหวัดสระบุรี หรือจังหวัดลพบุรี นอกจากนั้นหากมีความจำเป็นจะย้าย หน่วยปืนไปอยู่ที่จังหวัดลพบุรี ตามแผนระยะที่ 2 ต่อไป ส่วนการการปรับโอนหน่วยนั้น จะยุบเลิกหน่วยงานของทหารราบบางหน่วยในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยให้โอนกำลังพลเฉพาะกำลังรบ รวมทั้งยุทโธปกรณ์ตามประเภทและความต้องการไปยังหน่วยรับโอนนั้น

ล่าสุดวันนี้ (7 ก.ย.61) สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก  (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงกรณีที่มีเอกสารราชการแจ้งการย้ายหน่วยทหารออกนอกพื้นที่ว่า ที่ผ่านมาได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทัพบก เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ ฯ มี พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เสนาธิการทหารบกเป็นประธาน มีคณะทำงานในการดำเนินการ 3 เรื่อง คือ เรื่องที่ 1 การจัดทำโครงสร้างของกองทัพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคต หน่วยใดที่มีความจำเป็นน้อยลง จะยุบหน่วย หรือปรับเปลี่ยน และหน่วยใดจำเป็นที่ต้องเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ หรือมียุทโธปกรณ์สมัยใหม่เข้ามาก็พิจารณาดำเนินการ เช่น ปัจจุบันเรื่องมีเครื่องบินไร้คนขับ หรือยูเอวี รวมถึงภารกิจที่เกี่ยวข้องกับโดรน แต่ไม่มีหน่วยรับผิดชอบ ก็ต้องไปพิจารณาการปรับโครงสร้างหน่วยเพื่อรับผิดชอบในระยะยาว

พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า เรื่องที่ 2 คือกำลังพลของกองทัพบก ซึ่งสถานภาพของกำลังพลในปัจจุบัน กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสอดรับกันหรือไม่ ทำอย่างไรถึงจะลดกำลังพลได้ เพราะขณะนี้ต้องใช้งบประมาณด้านกำลังพลประมาณ 40% เกือบ 50 % เรื่องที่ 3 คือการจัดระเบียบที่ตั้งหน่วยทหารให้สอดคล้องกับภารกิจที่ได้รับในกลุ่มเดียวกัน และจะมีการย้ายหน่วยบางหน่วยไปภายนอก เพื่อลดความคับคั่งในพื้นที่ ซึ่งการทำงานที่ผ่านมามีหน่วยที่มีรถยานเกราะ รถถังประจำการอยู่ เมื่อจะฝึกก็ต้องขนย้ายออกไปข้างนอกในพื้นที่ต่างจังหวัด เช่น สระบุรี ฯลฯ ซึ่งไม่สะดวก

"ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้น ถือเป็นแผนระยะยาว ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่การอนุมัติให้ดำเนินการได้ รวมถึงงบประมาณที่จะใช้ ซึ่งเรามีการแบ่งเป็นเฟส ทั้งสามเรื่อง ในส่วนของกองบัญชาการกองทัพบก ยังไม่ได้คิดว่าจะทำอะไร ก็เป็นที่ของกองทัพบกอยู่แล้ว  ก็ดูความเหมาะสมแต่ละพื้นที่ บางพื้นที่อาจจะสร้างที่พัก ปัจจุบันกำลังพลที่มีที่พักอยู่ในกรุงเทพฯ ก็จะมีปัญหา หรือบางที่อาจจะใช้เป็นพื้นที่ที่อยู่กันอย่างแออัด เช่นกองบัญชาการกองทัพบก ค่อนข้างแน่น ก็อาจจะมีบางหน่วยไปอยู่ข้างนอก หรือ หน่วยตรงพื้นที่ใดที่ไม่มีความจำเป็นอาจทำเป็นปอดของกรุงเทพฯ เป็นสวนสาธารณะ คณะกรรมการฯ จะไปหารือกันเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม" ผบ.ทบ.กล่าว  

ต่อกรณีคำถามที่ว่าจะกระทบกับครอบครัวของกำลังพลที่ต้องย้ายไปตั้งพื้นที่ใหม่หรือไม่นั้น พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า เราเป็นข้าราชการ ถ้ากองทัพ หรือ หน่วยราชการต้องย้ายที่ตั้งหน่วย ก็ต้องเป็นไปตามสภาพ แต่ผู้บังคับหน่วย หรือผู้รับผิดชอบ ขณะนั้นก็จะดูตามเหตุในการบรรเทาความเดือดร้อน จะมีห้วงเวลา มีขั้นตอนของแต่ละเรื่อง ตนเป็นทหารรับราชการอยู่ลพบุรี  24 ปี ย้ายบ้าน 15 ครั้ง เป็นการย้ายตามตำแหน่ง ซึ่งจะมีบ้านประจำตำแหน่งอยู่แล้ว แต่เมื่อย้ายภูมิลำเนาจะมีกระบวนการเข้ามาดูแล ทั้งการพิจารณาที่ตัวบุคคลว่าควรย้ายไปหรือไม่ เช่น อายุที่มากขึ้น ซึ่งอาจจะให้ย้ายไปอยู่หน่วยฝึกศึกษา ครอบครัวก็สามารถอยู่ในกรุงเทพฯ ต่อไปได้  ถือเป็นอีกหนึ่งมาตรการออกมารองรับ

"ที่สำคัญเราเป็นข้าราชการ จะมาอยู่ติดพื้นที่ไม่ได้ จะคิดว่าจะลงหลักปักฐาน ครอบครัวจะต้องอยู่ตรงนี้ คงไม่ได้ รวมถึงเมื่อหน่วยต้องย้าย เราก็ต้องย้าย แต่ถ้าเกิดความเดือดร้อน ผู้บังคับบัญชาก็จะดูตามความเหมาะสม มันมีกระบวนการอยู่ อย่าไปบอกว่าย้ายหน่วยแล้วจะเดือดร้อน จิตสำนึกคือเราต้องนึกว่าเราเป็นข้าราชการ  อีกทั้งผู้บังคับบัญชามีความเมตตาอยู่แล้วว่าจะช่วยเหลืออย่างไร ที่กองทัพบกของบประมาณมาสร้างแฟลตที่พักแถวนี้ เพื่อให้กำลังพลไม่เดือดร้อนในการเดินทาง พื้นที่มาทำให้เกิดประประโยชน์กับสังคม เราเป็นข้าราชการทหาร ซ้ายก็คือซ้าย ขวาก็คือขวา ปีนี้ต้องไปรับราชการสนาม หน้าที่คุณก็ต้องไป มันไม่มีเหตุผลต้องปฏิเสธ แต่ถ้าติดปัญหา ผู้บังคับบัญชาก็มีความเมตตาอาจขยายเวลาในการไป  ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายบุคคล แต่ในภาพรวมต้องเป็นไปตามนั้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ถ้าหน่วยได้รับการอนุมัติฯ ก็จะมีกรอบเวลาในการดำเนินการ ทุกคนก็จะมีโอกาสได้เตรียมตัว อย่าไปวิตกกังวลทุกอย่างเป็นไปตามกรอบ มีมาตรการดูแล" ผบ.ทบ.กล่าว  

ที่มา : ไทยโพสต์, ข่าวสดออนไลน์และไทยรัฐออนไลน์

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เครือข่ายผู้บริโภค 6 ภูมิภาคแถลงต้าน อย. แก้ไข พ.ร.บ.ยา พร้อมเปิด 13 ข้อเสนอ

Posted: 07 Sep 2018 05:09 AM PDT

เครือข่ายผู้บริโภค 6 ภูมิภาค แถลงข่าวต้าน พ.ร.บ.ยา ระบุเป็นฉบับทำร้ายประชาชน ชี้ อย.กำลังสร้างความแตกแยกให้กับวิชาชีพ ผู้บริโภคถูกจับเป็นตัวประกัน พร้อมเปิด 13 ข้อเสนอ

7 ก.ย.2561 วันนี้ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภค 6 ภูมิภาคแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนประเด็น อย. แก้ไข พ.ร.บ.ยา ระบุชัด แก้ไขกฎหมายทำร้ายประชาชน ถอยหลังเข้าคลอง ลดทอนการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างปัญหากับวิชาชีพ ก่อปัญหาใช้ยาเกินจำเป็น และเปิดช่องนายทุนแสวงหาประโยชน์

จุฑา สังขชาติ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ กล่าวว่า ปัญหาหลักของ พ.ร.บ.ยา ฉบับแก้ไขนี้คือมีการลดความเข้มข้นของการคุ้มครองผู้บริโภคและไม่ได้แก้ปัญหาที่มีต่อผู้บริโภคในหลายประการ ได้แก่ ไม่มีมาตรการเพิกถอนทะเบียนตำรับยาอัตโนมัติ ในตำรับยาที่เป็นอันตรายและถูกถอนทะเบียนในต่างประเทศหรือในบริษัทแม่แล้ว, เปิดโอกาสให้เภสัชกรไม่ต้องอยู่ประจำร้านยาตลอดเวลา ทำให้ส่งผลกระทบต่อการแพทย์ปฐมภูมิ และทำให้ปัญหาการแขวนป้ายรุนแรงเพิ่มยิ่งขึ้น รวมถึงการแขวนป้ายโดยวิชาชีพอื่นด้วย, ลดมาตรการการควบคุมการโฆษณาจากการขออนุญาตให้สามารถดำเนินการแค่เพียงการจดแจ้งได้ และขาดมาตรการควบคุมการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต ตลอดจน ไม่มีมาตรการใด ๆ ในการควบคุมการขายยาในสื่อใหม่ (ขายยาออนไลน์) ทั้งที่เป็นปัญหาที่รุนแรงที่สุดในปัจจุบันและจะยิ่งเป็นปัญหามากขึ้นในอนาคต

ปฏิวัติ เฉลิมชาติ ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน ให้ข้อมูลเพิ่มว่า นอกจากที่คุณจุฑา กล่าวมาแล้ว พ.ร.บ.ยาฉบับแก้ไขนี้ ยังขยายอายุทะเบียนตำรับยาจากร่างเดิม 5 ปี เป็น 7 ปี โดยที่ไม่มีกระบวนการทบทวนทะเบียนตำรับยา, เปิดโอกาสให้มีการดำเนินการส่งเสริมการขายยาผ่านผู้ประกอบวิชาชีพ (โดยเฉพาะเรื่องการแถมพก ชิงรางวัล ออกรางวัลหรือวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน จากผู้ประกอบวิชาชีพ ถือว่าไม่มีความผิด) ลดทอนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาในคลินิกเพราะเปิดให้วิชาชีพอื่นขายยาที่ถูกแบ่งประเภทอย่างไม่เป็นสากล, และไม่แก้ปัญหาเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุผลในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งทำให้เป็นปัญหา โรคเชื้อดื้อยา ที่สำคัญ, และเปิดช่องให้มีการจดแจ้งเภสัชชีววัตถุทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการควบคุมคุณภาพอย่างมาก

พวงทอง ว่องไว ผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวว่า พ.ร.บ.ยา ฉบับนี้ ขาดมาตรการการจัดการกับผู้ประกอบการที่กระทำความผิดซ้ำซาก เช่น การโฆษณาโอ้อวด หลอกลวง เป็นเท็จ ผิดกฎหมาย, ขาดกลไกและอำนาจหน้าที่ที่อนุญาตให้ อย. สามารถตรวจสอบและจัดการโครงการวิจัยทดลองยา ที่จะคุ้มครองอาสาสมัครในการวิจัยฯ หากเกิดความเสียหายหรือผิดพลาดร้ายแรง, ไม่มีมาตรการสนับสนุนการใช้ยาที่สมเหตุสมผล (การแบ่งประเภทยาออกเป็น 4 ประเภท (ตามมาตรา 4) จะส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล เกิดปัญหาการใช้ยาเกินความจำเป็น เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจยาทั้งในปัจจุบันและอนาคต), และทำให้เกิดการเข้าไม่ถึงยาจำเป็นเพราะราคาแพงเนื่องจากไม่มีช้อกำหนดที่จะต้องยื่นโครงสร้างราคาเมื่อขอขึ้นทะเบียนยา กับ ไม่มีคณะกรรมการยาที่มีอำนาจหน้าที่กำกับหรือควบคุม หรือออกมาตรการควบคุมราคายาได้ (ในขณะที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้เพียงห้ามจำหน่ายเกินราคาในฉลากข้างกล่อง รวมทั้งยังสามารถติดราคาข้างกล่องเท่าใดก็ได้)

สุภาวดี วิเวก ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันออก "จากปัญหาทั้งหลายที่ทั้งสามท่านกล่าวมา เครือข่ายผู้บริโภคมีข้อเสนอแก่ อย. ในการแก้ไข พ.ร.บ.ยา คือ ต้อง กำหนดให้มีกลไกเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่เป็นอันตรายโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการเพิกถอนทะเบียนตำรับยาในต่างประเทศหรือในบริษัทแม่, กำหนดให้ต้องมีเภสัชกรประจำอยู่ที่ร้านตลอดเวลาเปิดทำการ, การโฆษณายาจะต้องขออนุญาตจาก อย. ก่อน ซึ่งรวมถึงโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตและ social media ต่างๆ  หากพบว่าไม่ได้รับอนุญาต หรือทำผิดจากที่ได้รับอนุญาต ต้องถูกเพิกถอนทันที, ห้ามไม่ให้มีการโฆษณาและการส่งเสริมการขายที่กระทำผ่านผู้ประกอบวิชาชีพ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ, แก้ไขให้ทะเบียนตำรับยามีอายุ 5 ปีและต้องทบทวนทะเบียนตำรับยาก่อนต่ออายุ, อีกทั้งกำหนดให้การแบ่งประเภทยาเป็นไปตามหลักสากล (Prescription Only Medicines, Pharmacy Only Medicines และ Over-the-counter Medicines) และให้คงวิชาชีพที่จะจ่ายยาได้มีเพียงแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์เหมือนเดิม

สถาพร อารักษ์วทนะ นักวิชาการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค "พ.ร.บ.ยาที่แก้ไขนี้จะต้อง กำหนดให้การผลิตหรือผสมยาที่ใช้รักษาสัตว์ทั้งฟาร์มจะต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ก่อน, กำหนดให้มีการขออนุญาตสำหรับการผลิตและการนำเข้าเภสัชชีววัตถุ, ต้องกำหนดโทษทางปกครอง เพื่อระงับเหตุที่กระทำผิดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค, กำหนดให้ อย. มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลและตรวจสอบโครงการวิจัยทดลองยาในมนุษย์ เพื่อคุ้มครองอาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัย, กำหนดให้การแบ่งประเภทยาเป็นไปตามหลักสากล และให้คงวิชาชีพที่จะจ่ายยาได้มีเพียงแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์เหมือนเดิม, กำหนดให้ต้องยื่นโครงสร้างราคายาเมื่อขอขึ้นทะเบียนตำรับยา ตลอดจนกำหนดให้คณะกรรมการยามีอำนาจในการออกมาตรการควบคุมราคายา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและเพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็นของประชาชน"

บุญยืน ศิริธรรม นายกสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค "เรารู้มาว่า อย. กำลังจะเอา พ.ร.บ.ยาฉบับแก้ไขนี้เข้าสู่การพิจารณาของ ครม. จึงขอเตือน อย. ว่า อย่าเพิ่งเอาเข้า ครม. จนกว่าจะมีการแก้ไขให้มีสาระตามที่พวกเราได้เสนอไป ไม่เช่นนั้นจะถือว่า แก้ไขกฎหมายไม่คุ้มครองผู้บริโภค"

สำหรับ ข้อเสนอจากสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายผู้บริโภค 6 ภูมิภาค ต่อ ร่าง พ.ร.บ. ยา (ฉบับแก้ไข) มีรายละเอียดดังนี้

ข้อเสนอจากสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายผู้บริโภค 6 ภูมิภาค ต่อร่าง พ.ร.บ. ยา (ฉบับแก้ไข)

ประเด็นปัญหาในร่าง พ.ร.บ. ยา (ฉบับแก้ไข) ที่เสนอโดย อย.

ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับนี้อ้างหลักการและเหตุผลเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคแต่เนื้อหาในตัว พ.ร.บ. กลับลดความเข้มข้นของการคุ้มครองผู้บริโภคและไม่ได้แก้ปัญหาที่มีต่อผู้บริโภค

  1. ไม่มีมาตรการเพิกถอนทะเบียนตำรับยาอัตโนมัติ ในตำรับยาที่เป็นอันตรายและถูกถอนทะเบียนในต่างประเทศหรือในบริษัทแม่แล้ว (กลไกอัตโนมัติในการเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่เป็นอันตราย )
  2. เปิดโอกาสให้เภสัชกรไม่ต้องอยู่ประจำร้านยาตลอดเวลา ทำให้ส่งผลกระทบต่อการแพทย์ปฐมภูมิ (ร้านยาเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์ปฐมภูมิที่สำคัญ) และทำให้ปัญหาการแขวนป้ายรุนแรงเพิ่มยิ่งขึ้น รวมถึงการแขวนป้ายโดยวิชาชีพอื่นด้วย
  3. ลดมาตรการการควบคุมการโฆษณาจากการขออนุญาตให้สามารถดำเนินการแค่เพียงการจดแจ้งได้ และขาดมาตรการควบคุมการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต
  4. ไม่มีมาตรการใดๆ ในการควบคุมการขายยาในสื่อใหม่ (ขายยาออนไลน์) ทั้งที่เป็นปัญหาที่รุนแรงที่สุดในปัจจุบันและจะยิ่งเป็นปัญหามากขึ้นในอนาคต
  5. มีการขยายอายุทะเบียนตำรับยาจากร่างเดิม 5 ปี เป็น 7 ปี โดยที่ไม่มีกระบวนการทบทวนทะเบียนตำรับยา
  6. เปิดโอกาสให้มีการดำเนินการส่งเสริมการขายยาผ่านผู้ประกอบวิชาชีพในมาตรา 139 วรรค 2 โดยเฉพาะเรื่องการแถมพก ชิงรางวัล ออกรางวัลหรือวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน จากผู้ประกอบวิชาชีพ ถือว่าไม่มีความผิด
  7. ลดทอนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาในคลินิกเพราะเปิดให้วิชาชีพอื่นขายยาที่ถูกแบ่งประเภทอย่างไม่เป็นสากล (มาตรา 22 (5) และการแบ่งประเภทยาตามมาตรา 4 โดยเฉพาะยาสามัญประจำบ้านที่ถูกขยายนิยามอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมยาหลายประเภท)
  8. ไม่แก้ปัญหาเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุผลในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งทำให้เป็นปัญหา โรคเชื้อดื้อยา ที่สำคัญ
  9. เปิดช่องให้มีการจดแจ้งเภสัชชีววัตถุแม้ว่าจะเป็นวัตถุดิบแต่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน ต้องมีการควบคุมคุณภาพอย่างมาก และต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด แต่ใช้วิธีการจดแจ้งเท่านั้น (มาตรา 95)
  10. ขาดมาตรการการจัดการกับผู้ประกอบการที่กระทำความผิดซ้ำซาก เช่น การโฆษณาโอ้อวด หลอกลวง เป็นเท็จ ผิดกฎหมาย
  11. ขาดกลไกและอำนาจหน้าที่ที่อนุญาตให้ อย. สามารถตรวจสอบและจัดการโครงการวิจัยทดลองยา ที่จะคุ้มครองอาสาสมัครในการวิจัยฯ หากเกิดความเสียหายหรือผิดพลาดร้ายแรง

ด้านการใช้ยาที่สมเหตุสมผล 

ไม่มีมาตรการสนับสนุนการใช้ยาที่สมเหตุสมผล และการแบ่งประเภทยาออกเป็น 4 ประเภท (ตามมาตรา 4) จะส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล เกิดปัญหาการใช้ยาเกินความจำเป็น เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจยาทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ด้านการเข้าไม่ถึงยาจำเป็นเพราะราคาแพง

  1. ไม่มีช้อกำหนดที่จะต้องยื่นโครงสร้างราคาเมื่อขอขึ้นทะเบียนยา
  2. ไม่มีคณะกรรมการยาที่มีอำนาจหน้าที่กำกับหรือควบคุม หรือออกมาตรการควบคุมราคายาได้ ในขณะที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้เพียงห้ามจำหน่ายเกินราคาในฉลากข้างกล่อง รวมทั้งยังสามารถติดราคาข้างกล่องเท่าใดก็ได้

ข้อเสนอในการแก้ไข พ.ร.บ.ยา 

การคุ้มครองผู้บริโภค

  1. กำหนดให้มีกลไกเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่เป็นอันตรายโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการเพิกถอนทะเบียนตำรับยาในต่างประเทศหรือในบริษัทแม่
  2. กำหนดให้ต้องมีเภสัชกรประจำอยู่ที่ร้านตลอดเวลาเปิดทำการ (ยกเลิก ม.115 ในร่าง พรบ.ฯ ให้กลับไปใช้ ม.14 ของ พรบ ยา พ.ศ. 2510 "ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการต้องอยู่ประจำสถานที่ผลิตยา สถานที่ขายยา หรือสถานที่นำเข้า หรือสั่งยา เข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรได้เพียงแห่งเดียว") โดยจะต้องมีแต่ร้านขายยาประเภท ขย.1 เท่านั้น
  3. การโฆษณายาจะต้องขออนุญาตจาก อย. ก่อน ซึ่งรวมถึงโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตและ social media ต่างๆ  หากพบว่าไม่ได้รับอนุญาต หรือทำผิดจากที่ได้รับอนุญาต ต้องถูกเพิกถอนทันที
  4. ห้ามไม่ให้มีการโฆษณาและการส่งเสริมการขายที่กระทำผ่านผู้ประกอบวิชาชีพ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ
  5. แก้ไขให้ทะเบียนตำรับยามีอายุ 5 ปีและต้องทบทวนทะเบียนตำรับยาก่อนต่ออายุ
  6. กำหนดให้การแบ่งประเภทยาเป็นไปตามหลักสากล (Prescription Only Medicines, Pharmacy Only Medicines และ Over-the-counter Medicines) และให้คงวิชาชีพที่จะจ่ายยาได้มีเพียงแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์เหมือนเดิม
  7. กำหนดให้การผลิตหรือผสมยาที่ใช้รักษาสัตว์ทั้งฟาร์มจะต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ก่อน
  8. กำหนดให้มีการขออนุญาตสำหรับการผลิตและการนำเข้าเภสัชชีววัตถุ
  9. ต้องกำหนดโทษทางปกครอง เพื่อระงับเหตุที่กระทำผิดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค (ต้องมีการกระบวนการตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน จำกัดการประกอบการ เพิกถอนใบอนุญาต ปรับทางปกครอง)
  10. กำหนดให้ อย. มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลและตรวจสอบโครงการวิจัยทดลองยาในมนุษย์ เพื่อคุ้มครองอาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัย

การใช้ยาที่สมเหตุสมผล

  1. กำหนดให้การแบ่งประเภทยาเป็นไปตามหลักสากล (Prescription Only Medicines, Pharmacy Only Medicines และ Over-the-counter Medicines) และให้คงวิชาชีพที่จะจ่ายยาได้มีเพียงแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์เหมือนเดิม

การเข้าไม่ถึงยาเพราะราคาแพง

  1. กำหนดให้ต้องยื่นโครงสร้างราคายาเมื่อขอขึ้นทะเบียนตำรับยา (ม. 44 : ร่างฉบับก่อนหน้านี้มี ม.44 (11) โครงสร้างราคายา ให้นำกลับมาใส่ไว้ในร่าง พรบ. ฉบับนี้)
  2. กำหนดให้คณะกรรมการยามีอำนาจในการออกมาตรการควบคุมราคายา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและเพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็นของประชาชน
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

พระครูพิพิธสุตาทร : พระกับระบบหลักประกันสุขภาพ โจทย์ใหญ่ที่ยังต้องขับเคลื่อนอีกมาก

Posted: 07 Sep 2018 02:44 AM PDT

เผยงานสำรวจการรับรู้หน้าที่สิทธิของพระสงฆ์ โดยอาจารย์ จาก มจร. พบมีเพียง 33% จากพระเกือบพันรปที่รู้ว่าไทยมีระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล และส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าเป็นโครงการสงเคราะห์  80% ที่ไม่รู้จักสายด่วน 1330 และมีเพียง 7% ที่รู้จักกองทุนสุขภาพตำบล

พระครูพิพิธสุตาทร (บุญช่วย สิรินฺธโร) จากเครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม

7 ก.ย.2561 เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการระดับประเทศ ประจำปี 2561 ซึ่งในงานนี้ได้มีการปาฐกถาพิเศษโดย ดร.พระครูพิพิธสุตาทร (บุญช่วย สิรินฺธโร) จากเครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม อาจารย์ประจำบัณฑิตศึกษา มจร. วิทยาเขตเชียงใหม่ และกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในหัวข้อ "พระสงฆ์กับระบบหลักประกันสุขภาพ" เพื่อสะท้อนปัญหาด้านต่างๆของพระสงฆ์ในระบบหลักประกันสุขภาพ และแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์ในอนาคต

ดร.พระครูพิพิธสุตาทร กล่าวถึงภาพรวมการเข้าถึงบริการสุขภาพของพระสงฆ์และสามเณรว่า ประเทศไทยมีวัดกว่า 3.9 หมื่นแห่ง มีพระสงฆ์และสามเณรประมาณ 3.4 แสนรูป ซึ่งก่อนจะมีระบบหลักประกันสุขภาพนั้น พระสงฆ์รักษาฟรีในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ แต่พอหลังจากมี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 พระสงฆ์ก็รักษาฟรีเช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าต้องไปลงทะเบียนกับสถานพยาบาลก่อน ซึ่งในยุคนั้นพระสงฆ์ไม่มีบัตรประชาชน และในหนังสือสุทธิก็ยังไม่มีเลขประจำตัว 13 หลักอีก จึงเป็นที่มาของการเพิ่มเลข 13 หลักในหนังสือสุทธิในช่วงหลังจากนั้น

"จะเห็นว่าในแง่ความห่วงใยพระสงฆ์ว่าจะเข้าไม่ถึงระบบหลักประกันสุขภาพ พอเริ่มมี พ.ร.บ. ก็ห่วงใยแล้ว แต่ถึงปัจจุบันก็ยังดูเหมือนว่าการขับเคลื่อนเรื่องนี้ยังไม่คืบ จากเดิมที่รักษาในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศฟรี พอให้ขึ้นทะเบียนกับสถานพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งก็กลายเป็นจำกัดสิทธิของพระลงมา" ดร.พระครูพิพิธสุตาทร กล่าว

ขณะเดียวกัน ในประเด็นเรื่องการรับรู้และเข้าใจสิทธิการรักษาพยาบาลของพระสงฆ์ ก็กล่าวได้ว่าพระแทบไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพเลย เคยมีการสำรวจการรับรู้หน้าที่สิทธิของพระสงฆ์ โดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในกลุ่มตัวอย่าง 897 รูป พบว่ามีเพียง 33% ที่รู้ว่าประเทศไทยมีระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล และเมื่อถามว่าหลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิตามกฎหมายหรือโครงการสงเคราะห์ ส่วนใหญ่ตอบว่าเป็นโครงการสงเคราะห์ นอกจากนี้ ยังมีอีกกว่า 80% ที่ไม่รู้จักสายด่วน 1330 และมีเพียง 7% ที่รู้จักกองทุนสุขภาพตำบล สรุปคือพระสงฆ์มีความรู้เรื่องระบบหลักประกันสุขภาพน้อยมาก

ในส่วนการเข้ารับการรักษาพยาบาล พระบางรูปมีสวัสดิการข้าราชการเนื่องจากเป็นข้าราชการเกษียณแล้วมาบวช บางส่วนมีสิทธิประกันสังคมเพราะประกันตนไว้ตั้งแต่ก่อนบวช แต่ทั้ง 2 สิทธินี้มีสัดส่วนจำนวนน้อย ส่วนใหญ่ 84% เป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพ แต่ในจำนวนนี้ไปใช้สิทธิเพียง 32% เท่านั้น

"ในวัดจะมีการทำประกันชีวิตเยอะมากนะ ประกันสุขภาพของบริษัทเอกชน ส่วนใหญ่ท่านจะเมตตาซื้อเวลามีลูกศิษย์ที่เป็นนายหน้าประกันมาขอให้ช่วยทำยอด แต่รายละเอียดเป็นอย่างไรท่านไม่ได้สนใจหรอก ดังนั้นเวลาท่านต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ส่วนใหญ่ปรากฏว่าเลือกใช้สิทธิประกันของเอกชนและไปโรงพยาบาลเอกชน" ดร.พระครูพิพิธสุตาทร กล่าว

ในส่วนของปัญหาสุขภาพของพระสงฆ์นั้น พระครูพิพิธสุดาธร กล่าวว่ามีข้อจำกัดหลายเรื่อง เช่น เรื่องการรับรู้สิทธิดังที่กล่าวไปแล้ว เรื่องการย้ายสิทธิก็ไม่ต้องพูดถึงเพราะเมื่อไม่รู้สิทธิก็ไม่รู้จะย้ายอย่างไร เรื่องระบบฐานข้อมูลสงฆ์ก็ยังไม่เรียบร้อย การไปรับบริการที่สถานพยาบาลของรัฐ หากมีผู้รับบริการมากจนแออัดก็ไม่อยากไป กลัวจะหาที่นั่งไม่ได้ จึงเลือกไปรับบริการในโรงพยาบาลเอกชนแทน รวมทั้งบทบาทการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะ เช่น การเป็นกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลต่างๆ ก็ยังไม่มี

ประเด็นสำคัญอีกประการที่พระครูพิพิธสุดาธรอยากฝากให้ภาคีเครือข่ายช่วยกันคิดคือเรื่องการเข้าสู่สังคมสูงอายุของกลุ่มพระสงฆ์ ซึ่งจากประสบการณ์ส่วนตัวที่พบเจอมา กลุ่มสงฆ์น่าจะเข้าสู่ภาวะสังคมสูงอายุเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว บางวัดมีหลวงพ่ออายุ 70 จำวัดอยู่รูปเดียว ก็ประเด็นอีกว่าจะดูแลพระสงฆ์สูงอายุในวัดต่างๆ เหล่านี้อย่างไร เช่น การปรับปรุงห้องน้ำ การจัดการต่างๆ ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับ สปสช.โดยตรง แต่ถ้ามองดูภาพรวมทั้งหมดจะพบว่าการดูแลสุขภาพพระสงฆ์มีอะไรต้องทำอีกเยอะมาก

ทั้งนี้ ในส่วนการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพขององค์กรสงฆ์เอง ในปี 2560 ที่ผ่านมาได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ซึ่งแนวคิดสำคัญของธรรมนูญคือ "ทางธรรมนำทางโลก"ประเด็นคือในอดีตที่ผ่านมา การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพใดๆ เกี่ยวกับพระสงฆ์ ส่วนใหญ่หมอมีบทบาทนำ แต่ธรรมนูญนี้ให้พระลุกขึ้นมาตระหนักในสุขภาพตนเองและมีบทบาทนำ บอกได้ว่าเรื่องไหนสอดคล้องกับพระธรรมวินัย การขับเคลื่อนจะยึดหลักการนี้โดยมีกิจกรรมต่างๆ ใน 3 หมวดสำคัญคือ พระสงฆ์ดูแลพระสงฆ์ด้วยกันเอง มีการอบรมพระพระคิลานุปัฏฐากซึ่งเปรียบเสมือน อสม.ประจำวัด เรื่องชุมชนดูแลพระสงฆ์ และ เมื่อพระสงฆ์ที่มีสุขภาพดีก็กลับไปดูแลญาติโยม

ในส่วนของ สปสช.เอง ในธรรมนูญสุขภาพมีกล่าวถึงระบบหลักประกันสุขภาพอยู่ 2 ข้อ คือ ข้อ 18 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพึงจัดชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐานในระบบหลักประกันสุขภาพที่ดี ครอบคลุมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ควบคุมโรค การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ แก่พระสงฆ์ และ ข้อ 19 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึงสนับสนุนการทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้งบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ซึ่งอยากฝากประเด็นว่า สปสช. คงไม่ต้องรอให้ครบทุกพื้นที่ทั่วประเทศหรือทำให้ครบทั้ง 3 แสนรูป แต่คิดว่าในพื้นที่ที่มีความพร้อมจะเชื่อมโยงกับ สปสช. ก็สามารถทำงานขับเคลื่อนร่วมกันไปได้เลย ซึ่งปัจจุบันมีวัดที่นำร่องกว่า 20 แห่งทั่วประเทศอยู่แล้ว สามารถนำมาเป็นบทเรียนในการขยายงานช่วงต่อไปได้

"กิจกรรมที่ต้องขับเคลื่อนยังมีอีกเยอะ อย่างที่ จ.สุโขทัย เราอบรมพระคิลานุปัฏฐาก แล้วมอบหมายงานให้ท่านสำรวจพระในอำเภอตัวเอง ผลออกมาพบว่าพระไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน 207 รูป คิดเป็น 66% นี่เพิ่งไปสำรวจกันมา หรือที่ ต.จันเสน จ.นครสวรรค์ ก็มีธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ของตำบลด้วย ทางนายกองค์การบริหารส่วนตำบลก็บอกว่าถ้าเขียนไว้แบบนี้จะได้ไปจัดการเรื่องกองทุนให้ได้ นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีให้ทุกคนเห็นว่าถ้าหยิบจากธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ไปทำ ก็มีหลายฝ่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมได้ หรือที่ จ.เชียงราย พบว่าในพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยโดยใช้สารเคมี ผลตรวจเลือดของพระหลายรูปอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย ดังนั้นเรื่องการคัดกรองก็มีความจำเป็น และถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ชุมชนเป็นคนคิดมาตรการดูแลสุขภาพ เช่น อาจทำผักปลอดสารพิษในวัดแล้วขยายไปสู่ชุมชนก็ทำได้ ก็ค่อยๆ คิดว่าจะทำอะไรกันต่อไป หรือเรื่องบุหรี่ บางตำบลมีพระสูบบุหรี่ 40-50% จะทำอย่างไรถึงจะลดความเสี่ยงสุขภาพตรงนี้ จะเห็นได้ว่ายังมีประเด็นด้านสุขภาพของพระสงฆ์ที่ต้องทำกันอีกเยอะเลย" ดร.พระครูพิพิธสุตาทร กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย 'อยู่ด้วยกัน : โลก เทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นอื่น'

Posted: 07 Sep 2018 01:22 AM PDT

'สฤณี-อธิคม-เอียน แฮดดาว จากบีบีซี' อภิปราย 'สื่อ โลกเสมือน กับความเท่าเทียมในศตวรรษที่ 21' ขณะที่ 'วีรพร-โตมร-คงกฤช' ถกความเหงาจากมุมมองทางปรัชญา 
 

7 ก.ย.2561 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รายงานว่า คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับฝ่ายมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ สกว. จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 12 "อยู่ด้วยกัน : โลก เทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นอื่น" ระหว่างวันที่ 7 8 กันยายน 2561 ณ อาคารวชิรมงกุฎ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นพื้นที่ในการนำเสนอผลงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ของไทยสู่สาธารณะ และเปิดโอกาสให้นักวิชาการทุกระดับได้ร่วมพิจารณา ถกเถียง สนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาประเด็นวิจัยว่าด้วยการอยู่ด้วยกันในพื้นที่ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ และสร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง

ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานว่า สกว.เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนงานวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์ ด้วยตระหนักว่าการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างสมดุลและราบรื่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางปัญญาของมนุษย์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยปัจจุบันชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย สกว. พยายามพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยสายมนุษยศาสตร์ ให้ร่วมกันตั้งโจทย์วิจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับปัญหาสังคมร่วมสมัย เปิดเวทีวิชาการระดับชาติและนานาชาติสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อีกทั้งวิเคราะห์ ตรวจสอบ สร้างสรรค์แนวการวิเคราะห์และทฤษฎีใหม่ๆ ที่จะช่วยอธิบายและชี้แนวทางการเข้าใจปัญหาสังคมและโจทย์ทางวิชาการที่มีลักษณะสหสาขาวิชาและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

ศาสตรจารย์ เทเลอร์ คาร์แมน นักปรัชญาชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

"การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 นี้ ในหัวข้อ "อยู่ด้วยกัน : โลก เทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นอื่น" เป็นความพยายามครั้งสำคัญที่จะตอบคำถามว่า เราจะอยู่ด้วยกันอย่างไรท่ามกลางความแตกต่างของผู้คนในโลกที่หมุนเร็วยิ่งนี้ คำถามดังกล่าวเชื่อมโยงทั้งมิติทางสังคม ภาษา วัฒนธรรม จริยธรรม และการเมือง ซึ่งรวมเอาประเด็นความเท่าเทียมและความเป็นธรรมไว้ด้วย ประดิษฐกรรมใหม่ อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือหุ่นยนต์ ฯลฯ ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายมนุษยศาสตร์คงมิใช่แค่เพียงการตั้งคำถามเกี่ยวกับการเป็นอยู่ร่วมกันกับประดิษฐกรรมใหม่เหล่านี้ แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับสิ่งอื่น หรือคนอื่นในพื้นที่ที่มีความแตกต่างหลากหลายและเส้นแบ่งที่คลุมเครือในศตวรรษที่ 21"        สำหรับไฮไลท์ของเวทีในปีนี้ ศาสตรจารย์ เทเลอร์ คาร์แมน นักปรัชญาชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งมีผลงานชิ้นสำคัญได้แก่ หนังสือ Merleau-Ponty ที่ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ Routledge และหนังสือ Heidegger's Analytic: Interpretation, Discourse, and Authenticity in "Being and Time" ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในนักแสดงในภาพยนตร์สารคดีเชิงปรัชญาเรื่อง Being in the World ผลงานกำกับของ Tao Ruspoli ผู้กำกับชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาเลียน ที่แสดงถึงแนวคิดการดำรงอยู่ในโลกในชีวิตประจำวัน ได้ให้เกียรติปาฐกถานำหัวข้อ "Three Concepts of Community" ซึ่งพิจารณามโนทัศน์ว่าด้วยชุมชนในกรอบคิดของศาสตร์การตีความและปรากฏการณ์วิทยา โดยมี ผศ. ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคุ้นเคยกับปรัชญาภาคพื้นทวีปเป็นอย่างดี เป็นผู้นำถกและสรุปประเด็น สามารถนำพาผู้ฟังให้เข้าใจในประเด็นการศึกษา Subject และ Object

อภิปราย 'สื่อ โลกเสมือน กับความเท่าเทียมในศตวรรษที่ 21'

ขณะที่การอภิปรายหัวข้อ "สื่อ โลกเสมือน กับความเท่าเทียมในศตวรรษที่ 21" โดย สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักแปล และนักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ในยุคข้อมูลข่าวสารไหลเวียนจำนวนมาก ต้องแยกแยะความจริงกับความคิดเห็น พบว่าสื่อหลายค่ายจรรยาบรรณตกต่ำลงอย่างชัดเจน พื้นที่ในสื่อสังคมออนไลน์ทำข่าวอย่างมักง่าย หยิบสิ่งที่คุยกันมากระจายต่อ หรือลอกมาโดยไม่ตรวจสอบความถูกต้อง ขณะที่ประเทศยังตกอยู่ในห้วงความขัดแย้งทางการเมือง สื่อมีการแบ่งขั้วและเลือกข้าง ทำงานไม่เป็นมืออาชีพ ความสนใจบนไม้บรรทัดหรืออุดมการณ์ไม่เหมือนกัน

สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักแปล และนักวิชาการอิสระ

สื่อที่กำลังจะหายไปคือ สื่อที่ยังพยายามนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านและไม่บิดเบือน บางสื่อคิดว่าตัวเองควรมีบทบาทผลักดันข้างที่ตัวเองเลือก ปลุกระดมให้เกิดการเกลียดชัง หวังได้คะแนนนิยมจากคนที่เป็นฐานเสียง จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการหรือเครื่องมือทางการเมืองในการโฆษณาชวนเชื่อมากกว่ารายงานข้อเท็จจริง แต่หลายค่ายก็ใช้โอกาสจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เกิดความชัดเจนและมีเสน่ห์ โดยเรียบเรียงและประมวลผลข้อมูล ความคิดเห็นต่าง ๆ และสะท้อนออกมาเป็นเนื้อข่าว ทั้งนี้ ตนมองว่าการเสพสื่อสังคมออนไลน์สามารถสร้างความเท่าเทียมทางข้อมูลให้คนธรรมดาเข้าถึงได้ แต่ธรรมชาติของมนุษย์มักจะเข้าข้างสิ่งที่ตัวเองเชื่อและใช้อารมณ์ร่วมมากกว่าเหตุผล

อธิคม คุณาวุฒิ นักเขียนชื่อดัง

เช่นเดียวกับ อธิคม คุณาวุฒิ นักเขียนชื่อดัง ที่มองว่าสื่อปัจจุบันมักให้ความเห็นและใส่น้ำเสียงในข่าวมากกว่าการรายงานข่าวแบบเดิม แต่ในความเป็นจริงเราต้องไม่ลืมว่าสื่อเป็นธุรกิจแขนงหนึ่ง สุดท้ายแล้วองค์กรธุรกิจจะต้องตอบโจทย์เบื้องต้นให้ได้ นั่นคือ 'ความอยู่รอด' จึงจะเข้าใจได้ว่าเหตุใดสื่อจึงมีพฤติกรรมหลายอย่างที่เรารังเกียจ สิ่งที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้ คือ คลื่นความเปลี่ยนแปลงตลอดในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมามีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในพื้นที่ของสังคมไทยขึ้นมา 3 ลูกใหญ่ อย่างแรกคือการเปลี่ยนโฉมหน้าของการสื่อสาร การเผชิญหน้ากับความขัดแย้งทางการเมืองที่เปิดเปลือยให้เห็นว่าแต่ละคนมีจุดยืนและความคิดอ่านเช่นไร ซึ่งนำมาสู่คลื่นที่สำคัญที่สุดคือ สังคมไทยไม่ได้มีพื้นความคิดอ่านที่เป็นหลักการแม้แต่น้อย หากแต่ถกเถียงกันภายใต้ความเชื่อ ความศรัทธา ก่อให้คนทำสื่ออย่างเราทำงานยากลำบากมากขึ้น และต้องระมัดระวังท่วงทำนองท่าทีในการสื่อสารเพื่อรักษาคนฟังคนดูให้ยังอยู่กับเราจน ไม่กลายเป็นสื่อสุดขั้วจนไม่มีใครฟัง ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้สื่อล้าหลังมากเพราะไม่มีหลักคิด จุดยืน หรือใช้ความรู้ ความคิดเดิมในการอธิบายความขัดแย้ง แต่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขควรอยู่บนหลักความเสมอภาค การเคารพผู้อื่น

"ผมมองว่าสื่อเป็นผลผลิตทางสังคม ยกตัวอย่างเช่นการรายงานข่าวถ้ำหลวง ประเด็นที่คนพูดถึงกันน้อยท่ามกลางความพยายามในการทำงานของสื่อรุ่นใหม่และสื่อดิจิทัลจำนวนมาก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติระดับชาติ ความต้องการแรกคือ ความน่าเชื่อถือ เราจึงตรวจสอบจากสถานีข่าวที่น่าเชื่อถือที่สุด เพราะต้นทุนที่สำคัญที่สุดของสื่อ คือ "ความน่าเชื่อถือ" คนในสังคมให้บทเรียนในนาทีที่คนสามารถวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของสื่อ ทำให้สื่อต้องปรับตัวและสร้างมาตรฐาน อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือ ขนาดของทุน ส่งผลต่อการนำคนและเครื่องมือไปรายงานข่าว พื้นที่สื่อจึงมีทั้งความแตกต่างและเหลื่อมซ้อนกัน" อธิคม กล่าว

เอียน แฮดดาว จากสำนักข่าวบีบีซี

ขณะที่ เอียน แฮดดาว จากสำนักข่าวบีบีซี ระบุว่าสิ่งที่บีบีซีเน้นมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง คือ เสรีภาพในการพูด เพราะสิ่งที่จะตามมาคือการเชื่อมั่นในข้อมูลที่พูดมา ดังนั้นการมีเสรีภาพและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ได้ยินและกลั่นกรองจะกลายเป็นความจริง ปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า 40 ภาษา และอยู่บนหลักการของสิทธิมนุษยชน จึงทำให้ประเทศแถบเอเชียมีเสรีภาพด้านสื่อค่อนข้างดี แต่บีบีซีก็ถูกโจมตีว่าอ่อนไหวทางวัฒนธรรม "บีบีซีพยายามยึดมั่นในการเสนอข่าวที่เป็นความจริง ไม่ใช่เรื่องแต่ง ใช้เทคโนโลยีในการทำงานตรวจสอบข้อมูลในทุกวันให้เกิด 'ความโปร่งใส' มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ยังใช้ปัญญาประดิษฐ์ เอื้อให้สามารถเข้าใจ ตั้งคำถามได้ ให้คำอธิบายที่สามารถตีความได้"

วงถก 'ฉัน เธอ เขา เราต่างเหงาด้วยกัน'

นอกจากนี้ยังมีการเสวนาหัวข้อ "ฉัน เธอ เขา เราต่างเหงาด้วยกัน" โดย วีรพร นิติประภา, โตมร ศุขปรีชา และอาจารย์คงกฤช ไตรยวงค์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มาร่วมพูดถึงความเหงาจากมุมมองทางปรัชญา ซึ่งในแง่ประวัติของคำ 'lonely' ในภาษาอังกฤษปรากฏครั้งแรกในงานชื่อ Coriolanus ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ในความหมายของการอยู่ตามลำพัง แต่การระบุว่าความเหงาเกิดขึ้นในช่วงใดของประวัติศาสตร์ดูจะตอบได้ยากยิ่งกว่าอารมณ์ความรู้สึกอื่น ๆ อย่างความเบื่อที่เราพอจะบอกได้ว่าเป็นอาการของสมัยใหม่ คำว่า 'boredom' หรือความเบื่อปรากฏครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 18 ก่อนหน้านี้  'Langeweile' ในภาษาเยอรมันก็ไม่ได้ไม่ถึงความเบื่อ แต่หมายถึงเพียงช่วงเวลาที่ยาวนานเท่านั้น การสืบย้อนไปดูคำศัพท์พอจะระบุช่วงเวลาที่เป็นจุดกำเนิดความเบื่ออย่างที่เราเข้าใจ แต่ความเหงากลับไม่เป็นเช่นนั้น ดูเหมือนอารมณ์เหงาและญาติในเครือเดียวกันจะมีอายุนานกว่าอารมณ์อื่น ๆ

ความเหงาแตกต่างจากการอยู่คนเดียวลำพัง หรือ 'alone' ซึ่งมีนัยเชิงกายภาพและเชิงจำนวน แต่ไม่ได้หมายความว่าคนอยู่ลำพังจะเหงา และคนเหงาก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ตามลำพัง อย่างที่เรามักจะได้ยินกันว่า เหงาท่ามกลางผู้คนมากมาย ในอดีตการถูกผลักไสให้อยู่ตามลำพังหรือถูกโดดเดี่ยวถือเป็นบทลงโทษที่ฉกาจฉกรรจ์พอ ๆ กับโทษตาย เพราะยังความทุกข์ทนทั้งกายใจ นักปรัชญาพูดถึงความเหงาว่าอย่างไรบ้าง เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ นักปรัชญานามอุโฆษชาวอังกฤษ ได้เขียนไว้ในอัตชีวประวัติว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเหงา และความเหงาเองก็เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เราอยากสัมพันธ์กับคนอื่น ขณะที่ อดัม สมิธ นักเศรษฐศาสตร์และนักปรัชญาคนสำคัญ มองว่าการอยู่โดดเดี่ยวลำพังทำให้เราตัดสินหรือประเมินตัวเองผิดพลาด เนื่องจากเขาเห็นว่าคนเรารู้จักตัวเองผ่านการอยู่ร่วมกับคนอื่นนั่นเอง ส่วน เอ็ดมันด์ เบิร์ค เห็นว่าความเหงาเป็นความเจ็บปวดเกินประมาณ เพราะขัดแย้งกับเป้าหมายของชีวิตมนุษย์ และเดวิด ฮิวม์ นักปรัชญาชาวสก็อตมองว่าการที่พระหรือนักบวชยกย่องความโดดเดี่ยวนั้นถือว่าขัดแย้งกับธรรมชาติของคนอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนความโดดเดี่ยวจะมีนัยทางบวกมากกว่าความเหงา คริสเตียน การ์เฟอ นักปรัชญายุคแสงสว่างทางปัญญาชาวเยอรมันเขียนไว้ในหนังสือ Über Gesellschaft und Einsamkeit ว่าด้วยสังคมกับความโดดเดี่ยว คนเหงารู้สึกเจ็บปวด ส่วนความโดดเดี่ยวไม่อาจจะโยงกับอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ บางทีก็เป็นอารมณ์ด้านบวก นั่นคือความสงบ ด้านโยฮันน์ เก-ออร์ก ซิมเมอร์มัน เห็นว่าแม้ความโดดเดี่ยวจะมีคุณแต่คนเราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย ไม่น่าแปลกใจที่กวีและนักปรัชญาจำนวนไม่น้อยเห็นคุณค่าของสังคม ขณะเดียวกันก็เห็นว่าความโดดเดี่ยวทำให้เรามีอิสระและสามารถทุ่มเทกับการทำงานบางอย่างได้

ย้อนไปถึงยุคเรอเนสซองส์ เปตรากเขียนงานชื่อ De Vita Solitaria ชี้ให้เห็นว่าคนเราพึงหาที่สงบในชนบทเพื่อเลือกวิถีชีวิตตนเอง ในแง่นี้ความโดดเดี่ยวคืออิสรภาพจากผู้คน ถึงกระนั้นปราชญ์ผู้นี้ก็เห็นว่าความโดดเดี่ยวที่ปราศจากหนังสือก็คือทัณฑ์ทรมานดี ๆ นี่เอง ส่วนนักปรัชญาฝรั่งเศสอย่าง มิแชล เดอ มงตาญ เห็นว่าความโดดเดี่ยวเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะในเมือง ผู้เฒ่าควรอยู่ตามลำพังหลังจากวัยหนุ่มได้ทำเพื่อคนอื่นมามาก และควรให้เวลาว่างกับตัวเอง ไม่ใช่เกียรติยศชื่อเสียง

อาจกล่าวได้ว่า 'ความเหงาเป็นอาการของคนที่ไม่อาจจะสานความสัมพันธ์กับคนอื่นได้' ซึ่งเกิดขึ้นได้แม้ท่ามกลางฝูงชน ส่วนความโดดเดี่ยวไม่ได้ยึดโยงกับอารมณ์ใดเป็นการเฉพาะ บางครั้งก็นำมาซึ่งความสงบ แต่บ้างครั้งก็ทำให้เหงา เศร้า เจ็บ นอกจากนี้ความโดดเดี่ยวยังมีนัยของความเข้าใจตนเอง เนื่องจากมีเวลาให้กับการครุ่นคำนึง ขณะที่ความเหงาอาจจะนำไปสู่ความฟุ้งซ่าน และบางทีการพยายามหาวิธีคลายเหงากลับจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ยิ่งกว่าเดิม

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

‘กลุ่มสามมิตร’ ยอมรับพรรคพลังประชารัฐเป็นเบอร์หนึ่งในใจ เผยไม่ตั้งพรรคเองแน่นอน

Posted: 07 Sep 2018 12:55 AM PDT

สมศักดิ์ แกนนำกลุ่มสามมิตร เผยพรรคพลังประชารัฐเป็นเบอร์หนึ่งในใจ แต่ยังไม่ได้ตกกลงกับกลุ่มว่าจะเข้าร่วมพรรคหรือไม่ ด้านประวิตร ตอบคำถามสื่อมวลชนกรณี ภิรมย์ พลวิเศษ ขึ้นรถแห่ ขึ้นเวทีเปิดตัวผู้สมัครที่ชัยภูมิว่า เป็นหน้าที่ของ กกต. เข้าไปจัดการ ย้ำตอนนี้กลุ่มสามมิตร ยังไม่ใช่พรรคการเมือง

7 ก.ย. 2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่า สมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มสามมิตร กล่าวถึงกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุญาตให้พรรคพลังประชารัฐจัดประชุมใหญ่ หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค ที่ห้องฟีนิกซ์ เมืองทองธานี ในวันที่ 15 ก.ย. นี้ โดยกลุ่มสามมิตรจะไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ว่า ขณะนี้กลุ่มสามมิตรยังไม่ได้ตกลงกันว่าจะไปร่วมพรรคการเมืองใด ต้องคุยกันอย่างละเอียดภายในกลุ่มก่อน อย่างไรก็ตาม จะไม่ตั้งพรรคการเมืองเองแน่นอน 

"พรรคพลังประชารัฐถือเป็นตัวเลือกอับดับแรกที่น่าสนใจ แต่ต้องดูโครงสร้างและนโยบายหลักของพรรคด้วยว่าเข้ากับกลุ่มสามมิตรได้มากน้อยเพียงใด ส่วนขุมกำลังและความพร้อมของกลุ่มสามมิตรมีเต็มที่ และมีสมาชิก ผู้เชี่ยวชาญครอบคลุมหลาย ๆ ด้าน ซึ่งต้องรอดูกัน เชื่อว่าหลายพรรค หลายกลุ่มมีความพร้อมเช่นเดียวกับเรา" สมศักดิ์ กล่าว

สมศักดิ์ กล่าวว่า หากกลุ่มสามมิตรไปสังกัดพรรคการเมืองแล้ว การเคลื่อนไหวคงจะยากขึ้น แต่จะพยายามลงพื้นที่รับฟังปัญหาของประชาชนให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน  เพราะแนวทางของกลุ่มชัดเจนมาตั้งแต่ต้นคือการช่วยเหลือชาวบ้านและเกษตรกร

'กลุ่มสามมิตร' คือใคร? 'ประวิตร' ชี้หนุน 'ประยุทธ์' นั่งนายกก็เรื่องของเขา

ก่อนหน้าเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2561 ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า  ที่บ้านนาคานหัก จ.ชัยภูมิ ภิรมย์ พลวิเศษ หนึ่งในแกนนำกลุ่มสามมิตร ได้จัดเวทีเปิดตัวผู้สมัคร ซึ่งมีชาวบ้านราว 100 คนเข้าร่วมเวทีดังกล่าว โดยมีการขึ้นรถแห่ และปราศัย จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าการกระทำในลักษณะดังกล่าวจะเข้าข่ายการฝ่าฝืนกฎหมายพรรคการเมือง และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือไม่

ต่อเรื่องดังกล่าว โพสต์ทูเดย์ออนไลน์ รายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นหน้าที่ของ กกต. ในการกำกับดูแล และตอนนี้กลุ่มดังกล่าวก็ยังไม่สังกัดพรรคการเมือง และตนไม่ได้มีหน้าที่ที่จะต้องไปกำชับให้ กกต. เข้าไปตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ขณะที่ สมศักดิ์ เทพสุทิน ระบุว่า แม้เวลานี้กลุ่มสามมิตรจะถูกโจมตีเราก็พยายามทำใจและปล่อยวาง เพราะความเดือดร้อนของประชาชนจะมองเป็นเรื่องการเมืองไม่ได้ การมา รับฟังปัญหาชาวบ้านนั้น ไม่ได้มาหาเสียง หรือกระทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางการเมือง

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

อุทธรณ์ยืน 1 ใน ‘MBK39’ จำคุก 12 วัน - ‘หมอนิรันดร์’ ยัน ‘บก.ลายจุด’ ใช้สิทธิแสดงออกโดยสงบ

Posted: 07 Sep 2018 12:40 AM PDT

ความคืบหน้าคดีทางการเมืองรอบสัปดาห์ อุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น 1 ใน 'MBK39' จำคุก 12 วัน ปรับ 6 พัน 'หมอนิรันดร์' เบิกความคดี 'บก.ลายจุด' ม.116 ยันใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงออกโดยสงบสันติ ศาลปกครองสั่ง รฟท. จ่าย 3.1 ล้าน ชดเชยเลิกจ้าง 'ประภัสร์ จงสงวน'

สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด (แฟ้มภาพ ประชาไท)

7 ก.ย.2561 ความเคลื่อนไหวคดีทางการเมืองช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ นอกจากศาลอนุมัติหมายจับแอดมินเพจ CSI LA และผู้แชร์ข้อมูล รวม 13 คน ฐานกระทำผิดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือประชาชน และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ฯลฯ จากกรณีเพจ CSI LA ซึ่งมียอดผู้กดถูกใจเพจกว่า 8 แสน ได้โพสต์ข้อมูลและข่าวเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวสาวชาวอังกฤษระบุว่าถูกข่มขืนบนเกาะเต่า รวมทั้งวานนี้ (6 ส.ค.61) กรณีที่ทหารในเครื่องแบบและเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ เข้าควบคุมตัวหญิง 2 ราย จากเหตุที่มีเสื้อยืดสีดำติดโลโก้ลายขาวสลับแดง ส่งตัวกลับบ้านแล้ว 1 สั่งห้ามซื้อเสื้อเพิ่มและห้ามใส่อีก ส่วนอีกรายยังไม่ทราบที่คุมตัว (อ่านรายละเอียดตามลิงค์ด้านล่าง)

ความคืบหน้าคดีทางการเมืองอื่นๆ ในรอบสัปดาห์ มีดังนี้

อุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น 1 ใน 'MBK39' จำคุก 12 วัน ปรับ 6 พัน

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา เวลา 9.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 6 ชั้นสอง ศาลแขวงปทุมวัน เป็นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่ นพเก้า คงสุวรรณ ถูกฟ้องร้องในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติชุมนุมสาธารณะ และฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/58 โดยคดีนี้จำเลยถูกกล่าวหาว่าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่ลานหน้าห้างสรรพสินค้า MBK และเป็นหนึ่งในผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาร่วมกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ที่รู้จักกันในชื่อ "MBK39" โดยคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ

ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติชุมนุมสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 12 วัน และปรับ 6,000 บาท ศาลเห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ จึงลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 วัน และปรับ 3,000 บาท ขณะที่โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 1 ปี (อ่านเรื่องนี้ต่อที่ ศาลพิพากษา 2 จำเลย MBK39 จำคุก 12 วัน ปรับ 6พันบ. สารภาพลดกึ่งหนึ่ง โทษจำคุกรอลงอาญา 1 ปี)

สำหรับการอุทธรณ์ในวันนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่หนึ่งจำเลย กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 และฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ข้อที่ 12 แต่ไม่ปรากฏในคำบรรยายฟ้องว่าจำเลยมีสถานะเป็นผู้จัดการชุมนุมหรือเชิญชวนให้ผู้อื่นมาชุมนุม กรณีนี้จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด

ประเด็นที่สอง จำเลยขอให้ลดโทษเหลือเพียงรอการกำหนดโทษหรือปรับเพียงสถานเดียวนั้น ศาลอุทธรณ์ยืนยันตามคำพิพากษาชั้นต้น โดยไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข

สำหรับคดี 'MBK39' มีผู้ต้องหา 39 คน แบ่งเป็นกลุ่มแกนนำซึ่งถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ร่วมกับข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ จำนวน 9 คน และกลุ่มผู้ชุมนุมที่ถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ จำนวน 30 คน โดยมี 2 คนที่คดีพิพากษาแล้ว เนื่องจากจำเลยรับสารภาพ ได้แก่ นพพร นามเชียงใต้ และกรณีของนพเก้า คงสุวรรณ ที่เป็นนัดฟังคำพากษาอุทธรณ์ในวันนี้

'หมอนิรันดร์' เบิกความคดี 'บก.ลายจุด' 116 ยันใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงออกโดยสงบสันติ

3 ก.ย. 2561 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานด้วยว่า ศาลทหารนัดสืบพยานฝ่ายจำเลยในคดีที่ สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ถูกฟ้องด้วยข้อหา "ยุยงปลุกปั่น" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และข้อหานำข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2550 จากการโพสต์ชวนคนออกมาชูสามนิ้วต่อต้านการรัฐประหารของ คสช. พยานที่มาเบิกความในครั้งนี้คือ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยนชนแห่งชาติ (กสม.)

โดย นพ.นิรันดร์ เบิกความถึงการตรวจสอบกรณีของ สมบัติ ว่า ทาง กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากจำเลยที่ถูกควบคุมตัว เพราะฝ่าฝืนคำสั่งเรียกรายงานตัวของ คสช. และยังได้รับเรื่องร้องเรียนลักษณะดังกล่าวอีก จึงได้เข้าตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าว เป็นไปตามกรอบสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบจะเชิญทั้งฝ่ายจำเลย และเจ้าหน้าที่ คสช. เข้ามาให้ข้อมูลด้วย การตรวจสอบดังกล่าวเป็นในลักษณะการไต่สวนสาธารณะ นอกจากนั้นยังเข้าตรวจสอบสถานที่ควบคุมตัวทั้งในค่ายทหารและเรือนจำด้วย การตรวจสอบก็จะดูด้วยว่าการแสดงออกนั้น เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีการใช้อาวุธหรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงก็จะมีการตรวจสอบด้วยว่าเกิดการซ้อมทรมานหรือบังคับสูญหายหรือไม่ ที่ทำการตรวจสอบนี้ไม่ใช่เป็นการจับผิดเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เพื่อที่รัฐจะได้ดำเนินการได้อย่างสง่าผ่าเผย ยังมีการใช้กระบวนการยุติธรรม แม้ว่าจะเกิดกรณีที่มีการใช้อาวุธเกิดขึ้นก็ตาม

อดีต กสม. เบิกความว่า จากการตรวจสอบกรณีของจำเลยในคดีนี้ เห็นว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงออกโดยสงบสันติ ไม่ได้ใช้ความรุนแรง ปราศจากอาวุธ ถึงแม้ว่าจะต้องยอมรับรับเสียงข้างมาก แต่ก็ต้องคุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย

หลังสืบพยานปากนี้แล้วเสร็จ ศาลทหารได้นัดสืบพยานคดีต่อไปในวันที่ 3 ต.ค. 2561 เวลา 8.30 น.

อ่านรายละเอียดคำเบิกความ นพ.นิรันดร์ ได้ที่ เว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน http://www.tlhr2014.com/th/?p=8719

ศาลปกครองสั่ง รฟท. จ่าย 3.1 ล้าน ชดเชยเลิกจ้าง 'ประภัสร์ จงสงวน'

วันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท./ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้เงินให้แก่ ประภัสร์ จงสงวน (ผู้ฟ้องคดี) กรณีการเลิกจ้างเป็นผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อนครบกำหนดในสัญญาจ้าง 

เนื่องจากศาลฯเห็นว่า เมื่อสัญญาจ้างผู้ฟ้องคดีมีกำหนดเวลาจ้างตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2555 ถึงวันที่ 17 พ.ค. 2558 แต่สิ้นสุดลงก่อนครบกำหนดเวลาจ้าง โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า อีกทั้งการเลิกจ้างก็ไม่เข้าเหตุตามข้อ 5.3 ของข้อกำหนดในสัญญาที่กำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีสิทธิเลิกจ้างผู้ฟ้องคดีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

ดังนั้น รฟท.(ผู้ถูกฟ้องคดี) จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับอัตราจ้างเดือนสุดท้ายหนึ่งเดือน และรับผิดชดใช้เงินค่าตอบแทนเท่ากับค่าจ้างเดือนสุดท้ายของผู้ฟ้องคดีคูณด้วยระยะเวลา 6 เดือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 3,139,452.05 บาท (รวมดอกเบี้ย)

 

สำหรับ นัดหมายคดีเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพสัปดาห์นี้คดีอื่นๆ ที่ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สรุปไว้มีดังนี้ 

3 ก.ย. 2561 ที่ศาลทหารกรุงเทพ นัดสืบพยานคดีที่ประจักษ์ชัย (สงวนนามสกุล) ผู้ป่วยทางจิต ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการเขียนเรื่องร้องเรียนซึ่งมีเนื้อหาอันเกี่ยวข้องกับสถานบันพระมหากษัตริย์ฯ ยื่นต่อศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำนักนายกรัฐมนตรี

5 ก.ย. 2561 ที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 23 จังหวัดขอนแก่น ศาลนัดพร้อมเพื่อฟังคำสั่งรวมคดีและตรวจพยานหลักฐาน คดีจัดกิจกรรมพูดเพื่อเสรีภาพมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากกรณีเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2559  นักศึกษาได้จัดกิจกรรม "พูดเพื่อเสรีภาพ : รัฐธรรมนูญของคนอีสาน"ที่ ม.ขอนแก่น เพื่อวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ หลังเสร็จกิจกรรม ตำรวจได้ออกหมายเรียกให้เข้าทราบข้อกล่าว จำนวน 11 คน และมี 2 คน เป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนเท่านั้น

5 ก.ย. 2561 ที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 23 จ.ขอนแก่น นัดสืบพยานจำเลยคดีนักศึกษาดาวดิน จัดกิจกรรมครบรอบ 1 ปี รัฐประหาร ชูป้ายต้านรัฐประหาร (ไนซ์ ดาวดิน) จากกรณีที่นักศึกษาดาวดินถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558  จากการจัดกิจกรรมครบรอบ 1 ปี รัฐประหารที่จังหวัดขอนแก่นในวันที่ 22 พ.ค. 2558 แต่คดีนี้ไม่มีความคืบหน้าใดๆ กระทั่ง จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ถูกจับกุมในคดีประชามติภูเขียวและได้ประกันตัวในวันที่ 19 ส.ค. 2559 ตำรวจจากสภ.เมืองขอนแก่น ได้อายัดตัวและนำตัวส่งให้อัยการทหารยื่นฟ้องต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 23 กลางดึก

5 ก.ย. 2561 ที่ศาลทหารกรุงเทพ ศาลนัดถามคำให้การ คดีประชามติบางเสาธง (รังสิมันต์) จากกรณีขบวนการประชาธิปไตยใหม่แจกเอกสารรณรงค์ประชามติที่ตลาดการเคหะบางพลี จ.สมุทรปราการ

5 ก.ย. 2561 ที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 14 จังหวัดชลบุรี คดี 'บุปผา' (นามสมมติ) จำเลยถูกดำเนินคดีตามข้อหาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมฯ จำนวน 13 กรรม ผ่านการโพสเฟซบุ๊ก ในศาลทหารชลบุรี และพบว่าจำเลยเป็นผู้ป่วยจิตเภท คิดว่าตนเองเป็นพระสหายของราชวงศ์

อ่านรายละเอียดนัดหมายคดีทั้งเดือน ก.ย.นี้ ที่ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รวบรวมไว้ที่ http://www.tlhr2014.com/th/?p=8658

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สนช. ตั้งกรรมาธิการสอบประวัติ 7 ว่าที่กสม. คาดลงมติ 8-9 พ.ย. นี้

Posted: 06 Sep 2018 11:16 PM PDT

เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2561 ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีการพิจารณาตั้งคระกรรมการธิการ(กมธ.) ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ตามที่คณะกรรมการกรรหา กสม. ได้เสนอชื่อผู้ที่ผ่านการพิจารณา จำนวน 7 คน ได้แก่ 1.สมศรี หาญอนันทสุข ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ 2.ไพโรจน์ พลเพชร ประธานมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม, 3.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร นักวิชาการด้านบริหารสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 4.บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา 5. ปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม 6. พรประไพ กาญจนรินทร์ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ 7.สุรพงษ์ กองจันทึก กรรมการด้านนโยบายด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยฯ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

ย้อนดูความคิด 7 รายชื่อว่าที่ กสม. 4 NGOs 2 ข้าราชการ 1 อาจารย์มหา'ลัย

โดยการปฏิบัติหน้าที่ของ กมธ.ฯ ตรวจสอบประวัติ จำนวน 17 คนที่ สนช.ลงมติเห็นชอบนั้น มีเวลาทำหน้าที่ทั้งสิ้น 60วัน ก่อนจะส่งรายการตรวจสอบให้ สนช. พิจารณาและลงมติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบบุคคลที่ถูกเสนอชื่อดังกล่าว  โดยคาดว่า สนช. จะนัดพิจารณาลงมติ ในช่วงวันที่ 8 หรือ 9 พ.ย. นี้

ที่มาที่ไปของการสรรหาคณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นอีกหนึ่งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีมติเห็นร่วมกันในการพิจารณา พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ว่าให้มีการดำเนินการสรรหาคณะกรรมการใหม่ทั้งหมดหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ หรือที่เรียกกันว่าเซ็ตซีโร่ 

โดยเหตุของการเซ็ตรีโร่คือ ประธานกรธ. ชี้แจงว่า กสม.ไทยในสายตานานาชาติ ถูกลดเกรดลงตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากกระบวนการสรรหาไม่เปิดกว้าง ไม่มีกฎเกณฑ์ชัดเจน หรือเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมตามกติกาปารีส แม้ชุดปัจจุบันจะมีคุณสมบัติดีอย่างไร ก็ไม่มีวันพิจารณาเปลี่ยนไป เพราะมาจากกฎหมายเดิม ทางเดียวทำได้ คือ สรรหาใหม่ให้ถูกต้องตามกระบวนการ

สำหรับการลดเกรดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทยนั้น เป็นไปตามกระบวนการของ คณะกรรมการประสานงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (International Coordinating Committee on National Human Rights Institutions: ICC) ซึ่งมีบทบาทในการตรวจสอบและประเมินการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทั่วโลก โดยมีมติเสนอให้ลดระดับ กสม. ของไทย จากสถานะ A เป็น B เมื่อปี 2557 และประกาศลดระดับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2559 

ในรายงานเมื่อ ต.ค. 2557 ICC แสดงความกังวลเกี่ยวกับขั้นตอนการคัดเลือก กสม., การขาดการคุ้มกันและความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ และความล้มเหลวในการตอบสนองต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในบริบทที่ไทยอยู่ใต้การปกครองของทหาร ทั้งนี้ ICC ให้เวลา กสม. 12 เดือนในการแก้ไข อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ย. 2558 ICC เสนอให้ลดระดับ กสม. เป็น B หลังไม่มีการดำเนินการตามคำแนะนำของ ICC

สำหรับการได้สถานะ B จะส่งผลคือ

1) จะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือส่งเอกสารในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ รวมถึงการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (Universal Periodic Review) ในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่เกิดขึ้นในต้นปี 2559

2) สถานะของ กสม. คือ จะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ในการประชุมในระดับภูมิภาคและนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (เช่น การประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก - Asia Pacific Forum on National Human Rights Institutions)

3) จะไม่สามารถลงคะแนนเสียงในการประชุมของ ICC หรือสมัครเป็นคณะกรรมการ/อนุกรรมการของ ICC ได้

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น