โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com

Link to ประชาไท

2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว (!SPOILER ALERT!)

Posted: 13 Sep 2018 09:56 AM PDT

 

"... ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ..."

"ประชารัฐ" กลายเป็นคำที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เกิดความสงบเรียบร้อย เกิดความสามัคคี และสร้างการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง นอกจากนี้ท่านยังบอกขยายความว่าเป็นการร่วมมือกันในเชิงสร้างสรรค์ สร้างพลังทำความดีในประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตนเอง หรือข้าราชการ แต่เพื่อประชาชน ไม่ใช่การหาเสียง แต่ถือว่าเป็นสัญญาระหว่างรัฐกับประชาชน ในการแก้ไขความผิดพลาดในอดีต

มีการแบ่งยุทธศาสตร์ย่อยได้แก่ หนึ่ง รัฐมีหน้าที่อำนวยความสะดวก สนับสนุน เปิดช่องทางให้ประชาชนและเอกชน มีส่วนร่วมตามแนวทางประชาธิปไตย และสอง คือมีการทำงานร่วมกันระหว่า่งรัฐและเจ้าหน้าที่เพือ่การพัฒนา อาศัย "เครือข่ายประชารัฐ" เพื่อพัฒนาประเทศ สิทธิและสวัสดิการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ถ้าจะสรุปให้ง่าย หัวใจหลักคือ ให้มีส่วนร่วมระหว่างรัฐและประชาชน และมองว่าการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศจะไม่สำเร็จ หากขาดความร่วมมือระหว่างรัฐ และประชาชน

ยุทธศาสตร์นี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเชื่อมั่นให้รัฐบาลที่มาโดยผิดกฎหมาย ผศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์ กล่าวว่านโยบายประชารัฐเป็นนโยบายที่ประชันขันแข่งกับประชานิยม มีการนำภาคธุรกิจเอกชนมาเป็นส่วนขับเคลื่อนที่แทบจะควบคุมรัฐ กลุ่มทุนขยายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น แทนที่จะสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนที่มีอยู่แล้ว ซ้ำเติมประชาชนในฐานะแรงงานกรผลิต ดึงทรัพยากรออกจาชุมชน กลายเป็นการสร้างโครงสร้างทางสังคมที่เป็นอันตราย 

เห็นได้ชัดจากการจับมือกับเอกชนรายใหญ่ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเข้าหุ้นบริษัทประชารัฐรักสามัคคี โครงการที่โด่งดังคือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน ที่นักวิจารณ์หลายท่านมองว่าเป็นการทำลายระบบประกันสุขภาพ ตราหน้าและตอกย้ำสถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนระหว่างคนรวยและคนจนที่ถีบห่างออกจากกันเรื่อยๆ ในปัจจุบัน

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด บอกว่าสิ่งที่รัฐบาลควรจะทำแต่ไม่ได้ทำคือ การออกพ.ร.บ. วิสาหกิจชุมชน ซึ่งทำให้ประชาชนทุกคนเข้าร่วมกระบวนการได้อย่างเท่าเทียม แต่ตอนนี้กลายเป็นว่าใครอยากเข้าวิสาหกิจชุมชน ก็ต้องมาร่วมกับรัฐภายใต้นโยบายประชารัฐ ผลที่เกิดขึ้นคือปริมาณคนจนในไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ความเหลื่อมล้ำมากขึ้นเกือบสองเท่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลอ้างว่าจีดีพีขึ้นแต่ก็อาจสรุปได้ว่าทั้งคนจนและคนรวยมีเงินมากขึ้น แต่รายได้คนรวยกลับมากกว่า

แนวคิดประชาสังคม (Civil Society) มีนิยามสรุปโดยรวมได้ว่าเป็นการรวมตัวกัน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยไม่ถูกบังคับ ไม่ได้มีการผูกพันธ์กันก่อนหน้า ตัวอย่างเช่นการต่อสู้เพื่อปากท้อง ไปจนถึงกิจกรรมการกุศล อาจจะเรียกได้ว่าแนวคิดนี้เองถูกเอาไปฉวยใช้เพื่อความชอบธรรมของรัฐบาล เพราะสุดท้ายแล้วกิจกรรมการรวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิจำนวนมากกลับถูกจำกัดริดรอน

ในขณะที่กิจรรมที่เสริมภาพการรวมพลังประชาชนเพื่อประเทศชาติอันเป็นที่รักยิ่ง อย่างกิจกรรม "ก้าวคนละก้าว" กลับได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาล ดังที่แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นว่าโครงการนี้เป็นตัวอย่างของแนวทางประชารัฐ ที่ประชาชนได้มาร่วมวางแผนพัฒนาและสนับสนุนโรงพยาบาล อย่างในภาพยนตร์ก็จะเห็นภาพทหารยืนบนรถที่กำลังแล่นและต้องก้มหัวให้กับป้ายโครงการ หรือทหารที่มายืนเป็นการ์ดให้กันประชาชนข้างทางที่มาให้กำลังใจพี่ตูน

ในตอนหนึ่งของสารคดีที่เราชอบมากเพราะทำให้เราได้เห็นทัศนคติของพี่ตูนต่อโครงการนี้ พูดไว้ประมาณว่าให้ออกมาลงมือ เช่นเดียวกับเนื้อความที่ภาพยนตร์สื่อว่าให้ลุกขึ้นมาทำ เชื่อมั่นใจตนเอง เหมือนกับพี่ตูนที่กล้าเลือกฝันและกล้าลงมือ คิดอะไรให้ทำเลย (ผู้จัดการและคนรอบตัวพี่ตูนบอกว่าพี่ตูนเป็นคนจำพวกที่อยากทำอะไรก็จะทำเลย ทำให้ได้ ไม่ยอมแพ้ ร้องเพลงคีย์สูงก็ต้องให้ได้) ดีกว่านั่งถกเถียงกันไม่ได้ทำอะไรสักอย่าง พี่ตูนไม่ได้ปฏิเสธว่าการวิ่งอาจไม่ใช่การแก้ปัญหา โดยพลันเราก็เกิดคำถามว่าจริงหรือไม่ที่การออกมาวิ่งรับเงินบริจาค ดีกว่าการถกเถียงกัน

โครงการวิ่งของพี่ตูนที่ถูกจัดมาแล้วสามครั้ง ครั้งแรกให้โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครั้งที่สองเพื่อสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา โรงพยาบาลศิริราช ครั้งที่สามให้ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ รวมถึงสารคดี 2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว ที่ก็หักรายได้ให้กับอาคารอาคารนวมินทรบพิตร ที่มีคำโปรยว่าเป็นอาคารสุดท้ายที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานชื่อให้ โดยทุกครั้งจะมีการอ้างว่าโรงพยาบาลขาดแคลนงบประมาณ

งบประมาณแผ่นดินปี 2561 กระทรวงศึกษาธิการได้รับ 5.1 แสนล้านบาท กระทรวงกลาโหม 3.55 แสนล้านบาท ส่วนกระทรวงสาธารณสุขได้รับ 1.26 แสนล้านบาท องค์การอนามัยโลกชี้ว่างบประมาณสาธารณสุขในประเทศกำลังพัฒนาอยู่ราวๆ 6% แต่ของไทยได้เพียง 4.6% ของจีดีพี

สวัสดิการข้าราชการได้ค่าใช้จ่ายต่อหัวสูงถึงราว 14,820 บาทต่อคน ขณะที่ระบบบัตรทองในปี 2561 ค่าใช้จ่ายต่อหัวราว 3,109.87 บาทต่อคนเท่านั้น มีการวิจารณ์ว่าสวัสดิการข้าราชการมีการบริหารใช้เงินอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทำกำไรจากบริษัทยาข้ามชาติผ่านใช้ยานอกบัญชีอย่างสะดวกง่ายดาย ซึ่งต่างจากสิทธิสามสิบบาทที่ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินจากราชวิทยาลัย

สิทธิสามสิบบาทที่ถูกมองว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลจากมุมมองของแพทย์กลุ่มอนุรักษ์นิยมเช่นเดียวกับแนวคิดของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาจากรัฐธรรมนูญปี 60 ที่ตัดคำว่า"เสมอกัน" ในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ออก รัฐมองคนไม่เท่ากัน ไม่จำเป็นต้องดูแลคนทุกคน ใครพอดูแลตัวเองได้ก็ต้องดูแลตัวเอง ผ่านโครงการบัตรอนาถา นอกจากนี้ในผนปฏิรูปประเทศยังระบุให้ประชาชนร่วมรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายตามกำลังความสามารถในการจ่าย ซึ่งจริงๆแล้ว ประชาชนก็จะอยู่ในสถานะร่วมจ่ายจากการเก็บภาษีประเภทต่างๆอยู่แล้ว แต่ก็มีการเสนอให้การร่วมจ่าย ณ จุดบริการ 30-50% จากประชาชนที่ไม่ใช่ "ผู้ยากไร้"

อย่างชัดเจนว่ารัฐไทยมีท่าทีตัดพันธะต่อพลเมืองด้านสาธารณสุขไปแล้ว มีให้เท่านี้ ที่เหลืออยากได้ก็ไปหากันเอง วิ่งรับบริจาคกันเอง แถมยังจะเพิ่มภาษี เรากำลังจะกลับไปในยุคที่รัฐจะไม่จัดหาบริการพื้นฐานด้านสุขภาพ (และอื่นๆ) ที่ประชาชนพึงได้ 

การสรรเสริญยกยอพี่ตูนดังเทพผู้มาปัดเป่า ตัวอย่างของศูนย์รวมใจคนไทยทั้งชาติ ในขณะที่พี่ตูนบอกว่าตนเองไม่ต้องการชื่อเสียงเหล่านั้น? (มีพาร์ทเล่าความฝันที่ตนเองอยากกลับไปเป็นนักดนตรีธรรมดาๆ ร้องตามผับ แต่สุดท้ายก็บอกว่าเบื่อชีวิตที่ไม่มีคนไม่รู้จัก) การพยายามบอกให้คนลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อเป็นประโยชน์กับชาติไทย ให้เชื่อในความฝัน (life coach) ใต้กระแสเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) ที่รัฐบาลเปิดพื้นที่อิสระให้ทุนใหญ่ที่เกื้อหนุนกับชนชั้นนำ ทำลายระบบประกันสุขภาพ ในยุคสมัยนี้จะมีสักกี่ความฝันที่ทำได้หากไม่มีทุนใหญ่สนับสนุน 

ดังนั้นแล้วการวิ่งของพี่ตูน อาจยิ่งเป็นการตอกย้ำภาพของประชาชนที่ต้องช่วยเหลือกันเองโดยมีผู้นำคือฝ่ายภาคประชาชนคือตูนและทีมงานผู้เป็นชนชั้นกลางที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐและเอกชนที่ต่างหยิบฉวยโอกาสในการสร้างผลกำไรและความชอบธรรมของตนเอง

ยิ่งน่าเศร้าไปกว่านั้นที่การตอกย้ำครั้งนี้ (กว่าสามครั้งหากนับตามจำนวนการจัดวิ่ง) ถูกโหมกระพือด้วยบรรยากาศแบบโรแมนติกของน้ำจิตน้ำใจคนในชาติ 

นี่จึงอาจกล่าวได้ว่า 2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว เป็นภาพฉายของเหล่าผู้ถูกกดบังคับอย่างแท้จริงตามแนวคิดสปีวัคที่ขยับขยายจากกรัมชี่อีกที

เพราะพวกเขาต้องไม่รู้ตัวเลยว่าตนเองกำลังถูกกดบังคับอยู่

ปล. "ประชารัฐ" กำลังถูกใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองโดยกลุ่มนายทุนขอนแก่นกว่าสิบบริษัท ร่วมกับ ม. ขอนแก่น และเทศบาล ภายใต้ชื่อ "Khon Kaen Smart City"

อ้างอิง
- อานันท์ เกียรติสารพิภพ 2560 ยุทธศาสตร์ประชารัฐ รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย
- รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ 2561 จีดีพี ดัชนีที่ไม่ได้วัดความเป็นอยู่ที่ดี
- SARA BAD ประชารัฐคืออะไร 2560 เพื่อคนไทยหรือเพื่อนายทุน??? 
- ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ ปรากฏการณ์ตูน บอดี้สแลม กับประชาสังคมไทยในยุค 4.0 2560 
- สุเจน กรรพฤทธิ์ 2560 "อ่าน" การ "วิ่ง" ของ ตูน บอดี้แสลม
- นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์ 2561 ชีวิตยามเกษียณ 2 : รักษาฟรี ไม่แน่ว่าจะมีตอนเราแก่
- NATT HONGDILOKKUL 2018 Thailand's Universal Health Coverage under the Coup d'état: Is a Coinsurance Raise Good?
- กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล 2561 ตามรอยเส้นทางบ่อนทำลาย 30 บาทรักษาทุกโรค เมื่อสุขภาพคน 48 ล้านคนคือภาระ
- ธนัชชนม์ ธนาธิป-ปริพัฒน์ 2013 ทบทวนความเป็นผู้ถูกกดบังคับ : ความไม่รู้ว่าถูกทุนกดบังคับ

ภาพจาก: กรมทหารราบที่ ๕ ค่ายเสนาณรงค์

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

คนนับล้านชุมนุมวันชาติกาตาลัน เรียกร้องเอกราชสาธารณรัฐแม้ปีที่แล้วจบไม่สวย

Posted: 13 Sep 2018 08:04 AM PDT

กระแสแยกแคว้นกาตาลุญญาเป็นเอกราชจากสเปนยังมาเรื่อยๆ ในงานวันชาติของแคว้นยังมีผู้ชุมนุมนับล้านในเมืองหลวงแคว้นอย่างบาร์เซโลนาเพื่อเรียกร้องเอกราชและให้ผู้นำการเรียกร้องเมื่อปีที่แล้วได้รับการปล่อยตัว ในขณะที่พรรคการเมือง ผู้แทนประชาชนต่างสงวนท่าทีเรื่องแยกตัว เพราะประชากรในแคว้นแทบจะเห็นไม่ตรงกันแบบครึ่งต่อครึ่ง

ธง ลา เอสเตลาดา ของแคว้นกาตาลุญญา ที่มาภาพจาก commons.wikimedia.org

เมื่อ 11 ก.ย. 2561 ประชาชนราวหนึ่งล้านคนรวมตัวกันที่เมืองบาร์เซโลนา แคว้นกาตาลุญญา เพื่อเรียกร้องให้แคว้นกาตาลุญญาเป็นอิสระจากสเปนอีกครั้ง รวมถึงให้มีการปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองที่เคยถูกจับกุมตัว เมื่อราว 1 ปีที่แล้วที่พวกเขาฝืนคำสั่งรัฐบาลกลางจัดให้มีการลงประชามติเรื่องดังกล่าว นำไปสู่การประกาศเอกราชฝ่ายเดียวจนรัฐบาลกลางสเปนต้องใช้อำนาจปกครองทางตรงและสั่งยุบรัฐบาลท้องถิ่น เหตุการณ์ครั้งนั้นถือเป็นวิกฤตทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย

งานวันชาติที่ชาวกาตาลันเรียกว่าเดียดา (Diada) เป็นวันที่มีการรำลึกถึงการสูญเสียเอกราชของบาร์เซโลนาให้กับสเปนตั้งแต่ปี 2257 ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เดียดากลายเป็นวันที่ชาวกาตาลุญญาผู้สนับสนุนการแยกตัวเป็นอิสระใช้เป็นวันชุมนุมเพื่อแสดงพลังของตัวเอง

เดอะการ์เดียนรายงานว่า ประเด็นเรื่องการแยกตัวเป็นอิสระยังคงเป็นเรื่องที่ผู้คนในพื้นที่เห็นไม่ตรงกัน มีผลโพลล์ระบุว่าจำนวนคนที่เห็นด้วยกับการแยกตัวเป็นอิสระกับคนที่ไม่เห็นด้วยแทบจะมีปริมาณเท่ากัน ทั้งนี้ จำนวนผู้มาลงคะแนนเสียงประชามติเรื่องการแยกตัวเมื่อปีที่แล้วมีจำนวน 2.26 ล้านคน ถือเป็นร้อยละ 42 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด โดยร้อยละ 90 ของผู้ออกเสียงมีความเห็นสนับสนุนการแยกตัวจากสเปน

ในการชุมนุมปีล่าสุดนี้ ผู้จัดงานระบุว่ามีประชาชน 460,000 คนลงทะเบียนเข้าร่วมชุมนุมเดินขบวน ขณะที่ตำรวจเมืองบาร์เซโลนาประเมินว่ามีผู้ชุมนุมราว 1 ล้านคน ซึ่งแทบจะเท่ากับปริมาณผู้ชุมนุมในปีที่แล้ว

มีผู้ชุมนุมคับคั่งเต็มถนนเลนกว้างระยะทาง 4 ไมล์ (ราว 6.4 กม.) มีผู้ชุมนุมพากันโบกธงและสวมเสื้อยืดที่มีคำขวัญว่า "พวกเรากำลังสร้างสาธารณรัฐกาตาลัน" มีผู้คนเปล่งคำขวัญว่า "ท้องถนนจะเป็นของพวกเราตลอดไป" และ "เป็นอิสระ" พวกเขาเดินขบวนเกาะกลุ่มกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ แทนที่จะแยกส่วนออกไปตามที่ต่างๆ ตามท้องถนน

พอตกเย็นในเวลา 17.14 น. ซึ่งเป็นตัวเลขจำนวนเดียวกับปีคริสตศักราชที่กาตาลุญญาถูกยึดครอง ผู้ประท้วงก็พากันสงบนิ่งชั่วคราวก่อนจะส่งเสียงคำรามดังจากจุดเริ่มของถนนไปยังจุดสุดท้ายคล้ายเป็นเสียงแสดงการพังลงของกำแพง เสียงนี้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการที่ทางการกลางของสเปนใช้อำนาจปกครองกาตาลุญญาโดยตรงเป็นเวลาหลายเดือนหลังพวกเขาประกาศอิสรภาพในเดือน ต.ค. 2560

ในแง่จุดยืนของพรรคการเมืองในกาตาลุญญานั้นดูเหมือนจะสะท้อนสภาพการแบ่งแยกของสังคมกาตาลุญญาด้วยเช่นกัน สองพรรคการเมืองใหญ่ที่มีจุดยืนต่อต้านการแยกตัวเป็นอิสระคว่ำบาตรพิธีวางพวงหรีดให้อนุสาวรีย์ของราฟาเอล คาซาโนวา วีรบุรุษผู้ปกป้องบาร์เซโลนาก่อนจะถูกสเปนยึดครอง พรรคสังคมนิยมกาตาลุญญาก็ถอนตัวจากงานวันเดียดาเป็นครั้งแรกโดยบอกว่าการฉลองวันนี้จะเป็นการทำให้ประชากรกาตาลุญญาครึ่งหนึ่งแปลกแยกออกไป

อดา โคเลา นายกเทศมนตรีของเมืองบาร์เซโลนาเข้าร่วมพิธีวางพวงหรีดแต่บอกว่าจะไม่เข้าร่วมการเดินขบวนเรียกร้องอิสรภาพเพราะเธอจะกลายเป็นตัวแทนของประชากรครึ่งหนึ่งเท่านั้น โคเลาบอกอีกว่ามันเป็นหน้าที่ของนายกเทศมนตรีที่จะแสวงหาฉันทามติร่วมกัน

ขณะที่ประธานาธิบดีกาตาลุญญาคนปัจจุบัน ควิม ทอร์รา กล่าวก่อนถึงวันเดียดาว่าจะผลักดันแผนการเรียกร้องอิสรภาพต่อไปเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของรัฐบาล คาร์เลส ปุกเดมอนต์ ผู้นำคนก่อนหน้านี้ผู้ถูกปลดจากตำแหน่งหลังทำประชามติแยกตัวเป็นอิสระแบบไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลกลาง แถมยังลงนามประกาศเอกราชกาตาลุญญาต่อจากนั้น ในตอนนี้ปุกเดมอนด์และนักการเมืองหลายคนจำต้องเนรเทศตัวเองออกจากพื้นที่ ขณะที่นักการเมืองคนอื่นๆ ถูกสั่งจำคุกและรอการไต่สวนดำเนินคดีว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลักดันให้กาตาลุญญาเป็นอิสระจากสเปนหรือไม่

ทอร์รากล่าวว่า "นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของอิสรภาพชาวกาตาลันเท่านั้น มันเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในสเปน"

กลุ่มเรียกร้องการแยกตัวเป็นอิสระให้คำมั่นว่าจะดำเนินการประท้วงและขับเคลื่อนมวลชนต่อไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงที่มีการไต่สวนดำเนินคดีกับนักการเมืองที่ถูกจับกุม แต่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็มีความขัดแย้งในหมู่พรรคการเมืองผู้สนับสนุนการแยกตัวเป็นอิสระเอง

ปาโบล ซีมอน นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคาร์ลอสที่ 3 วิเคราะห์ว่าการเคลื่อนไหวด้วยฐานคิดแบบ "ต่อต้านขัดขืน" จะไม่ส่งผลดีต่อขบวนการแยกตัวเป็นอิสระเอง แต่จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดปฏิบัติการแบบฝ่ายเดียวและสร้างความแปลกแยกให้กับกลุ่มสายกลาง ปัญหาของฝ่ายแยกตัวเป็นอิสระยังมีอีกประการหนึงคือการขาดแนวทางโรดแมปเมื่อไม่มีเหล่าผู้นำการเคลื่อนไหวอาจจะทำให้ขบวนการเกิดการชะงักงันได้

ด้านโอรีโอล ฆุนเกราส หัวหน้าพรรคฝ่ายซ้ายของสาธารณรัฐกาตาลันที่เคยเป็นรองประธานาธิบดีของแคว้นกาตาลุญญาในสมัยของปุกเดมอนด์ ผู้ที่ปัจจุบันอยู่ในเรือนจำมาตั้งแต่เดือน พ.ย. ปีที่แล้วได้เตือนว่าเส้นทางสู่เอกราชไม่มีทางลัด

"คุณต้องมีความกล้าหาญในการพูดออกมาอย่างชัดเจนถ้าคุณต้องการจะเดินไปข้างหน้า" เขากล่าวกับช่องกาตาลันทีวีเมื่อวันจันทร์ "คุณต้องยอมรับว่าเราอยู่ตรงไหน และที่ไหนที่เราอยากไปอยู่ คุณต้องเริ่มก่อร่างสร้างใหม่จากตรงนั้นและเรียนรู้ความผิดพลาดที่เคยทำมา"

เรียบเรียงจาก

A million attend rally in Barcelona to call for Catalan independence, The Guardian, Sep. 11, 2018

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

โวย 'ประยุทธ์' ไม่รู้จริง 'รักษาฟรี-ดูแลสุขภาพ' คนละเรื่องกัน ชี้ไม่มีใครอยากป่วย

Posted: 13 Sep 2018 06:52 AM PDT

'กรรณิการ์ กก.หลักประกันสุขภาพฯ สัดส่วนภาค ปชช.' สวน 'พล.อ.ประยุทธ์' ระบุไม่รู้จริง 'รักษาฟรี-ดูแลสุขภาพ' คนละเรื่องกัน ชี้ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่มีใครอยากป่วย ขอใช้สิทธินอน รพ. ขณะที่งานวิจัยระบุชัด ประชาชนเข้ารับบริการรักษา เหตุมีความจำเป็น พร้อมเปิดตัวเลขเปรียบเทียบสวัสดิการภาระประเทศ ข้าราชการใช้งบสูงกว่าประชาชนนับแสนล้าน ดูแล ขรก.และครอบครัว ราว 6 ล้านคน   

 กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสัดส่วนภาคประชาชน (ซ้ายมือ)

13 ก.ย.2561 จากกรณีเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธานพิธีในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานก.พ.และหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสนับสนุนกลไกการปฎิบัติงานในโครงการเชิงยุทธศาสตร์/โครงการสำคัญระดับประเทศ พร้อมร่วมเป็นสักขีพยานและแสดงปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "หนึ่งองศาขยับ ปรับเปลี่ยนประเทศไทย : กำลังคนคุณภาพกับการปฏิรูปประเทศเชิงบูรณาการ" โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า วันนี้คนมักจะเป็นโรค ความดันสูง เบาหวาน มะเร็ง สมองเสื่อม แต่ทุกคนบอกสบาย ช่างมัน ไม่ต้องออกกำลังกาย เดี๋ยวไปรักษาฟรี พอไม่ได้คุณภาพด่าคนรักษา ซึ่งเราต้องเข้าใจบริบททั้งหมดด้วยว่าเกิดอะไรขึ้น เรื่องการรักษาพยาบาล รัฐบาลนี้ทำเพิ่มเติม ไม่ได้ทำตามเดิมทั้งหมด งบประมาณก็ปรับขึ้น อยากให้ช่วยกันอธิบายตรงนี้ด้วย ว่าในวันนี้เราทำให้ดีขึ้นแค่ไหน เราไม่ได้เลิก แต่ปัญหาก็มีบ้าง ซึ่งของเดิมมีปัญหาทั้งเรื่องงบประมาณและคุณภาพเยอะ ถ้าเข้าใจบริบทเหล่านี้ก็คุยต่อได้อย่ารู้เพียงหลักการวิชาการอย่างเดียว

วานนี้ (12 ก.ย.61) กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า ตั้งแต่รัฐบาล คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ไม่ใช่ปรากฎการณ์แรกที่ พล.อ.ประยุทธ์ พูดถึงประชาชนในแง่ลบ ทั้งยังสะท้อนถึงความไม่เข้าใจต่อหลักการของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มองว่าเป็นระบบที่สร้างภาระให้กับรัฐบาล ทั้งเป็นต้นเหตุทำให้ประชาชนละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยและเข้ารับบริการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ทั้งที่แนวคิดดังกล่าวไม่เป็นข้อเท็จจริง ดร.ณัฏฐ์ หงษ์ดิลกกุล นักศึกษาปริญญาเอก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยไซมอน เฟรเซอร์ ประเทศแคนาดา ล่าสุดยังได้โพส์เฟสบุ๊คระบุว่า การที่นายกรัฐมนตรีอธิบายแบบนั้น ในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพเป็นเพียงกรณีย่อยของปัญหา Moral Hazard ซึ่งมีงานวิจัยจัดทำโดย ดร.วรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้ติดตามครัวเรือนเดิมเป็นระยะเวลา 20 ปี จนกระทั่งมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนแล้วว่า การรักษาฟรีจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ได้ทำให้คนดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น และน่าจะรวมถึงการไม่ใส่ใจต่อการดูแลสุขภาพตนเองตามที่นายกรัฐมนตรีระบุ

ดูงานวิจัย ของ วรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์ของ  https://spiral.imperial.ac.uk/bitstream/10044/1/11200/4/Ghislandi%202013-03.pdf

ขณะเดียวกันในมุมมองตรงกันข้าม การที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาและบริการสุขภาพเพิ่มขึ้นได้ ทำให้ประชาชนที่มีแนวโน้มเจ็บป่วยได้พบแพทย์ และได้รับข้อมูลคำเตือนที่เป็นการสนับสนุนให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ทำให้เกิดการปรับพฤติกรรมต่างๆ เพื่อลดโรคได้ เช่น ลดการสูบบุหรี่ ลดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การแนะนำให้ออกกำลังกาย เป็นต้น   

"วันนี้แม้ว่าประชาชนจะมีระบบหลักประกันสุขภาพรองรับทำให้เข้าถึงรักษาพยาบาลในยามที่เจ็บป่วยแล้ว แต่เชื่อว่าไม่ได้เป็นปัจจัยส่งผลให้ประชาชนลดความใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองลง เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมอยากมีสุขภาพที่ดีด้วยเหตุผลที่แตกต่างเพื่อดำเนินชีวิต เช่น การมีสุขภาพที่ดีเพื่อดูแลครอบครัวและคนที่รัก การมีสุขภาพที่ดีเพื่อให้สามารถทำตามเป้าหมายชีวิตที่ตั้งไว้ได้ การมีสุขภาพที่ดีเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นต้น ดังนั้นเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนและการที่รัฐบาลมีระบบบริการรักษาฟรีให้กับประชาชนจึงเป็นคนละเรื่องกัน และเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากใช้สิทธินี้ เพื่อที่จะได้นอนป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล หรืออยากเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไปตลอดชีวิต ดังนั้นการที่นายกรัฐมนตรีระบุว่า "วันนี้คนมักจะเป็นโรค ความดันสูง เบาหวาน มะเร็ง สมองเสื่อม แต่ทุกคนบอกสบาย ช่างมัน ไม่ต้องออกกำลังกาย เดี๋ยวไปรักษาฟรี" จึงเป็นคำพูดที่ไม่เข้าท่า"    

กรรณิการ์ กล่าวว่า ส่วนที่มีการระบุถึงการเข้ารับบริการของประชาชนว่าเกินความจำเป็นนั้น จากงานวิจัย "โครงการความจำเป็นในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลจากมุมมองของผู้ป่วยและแพทย์" จัดทำโดย นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว และคณะ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยระบบสุขภาพและการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้ศึกษาและสัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่ระบุว่ามารับบริการเนื่องจากมีความจำเป็น มีเพียงร้อยละ 0.6 เท่านั้นที่ไม่จำเป็น เพียงแต่ระดับความจำเป็นในมุมมองของผู้ป่วยและแพทย์จะมีความแตกต่างกัน โดยผู้ป่วยจะประเมินความจำเป็นสูงกว่าแพทย์ ดังนั้นจึงควรสร้างความตระหนักรู้ในการดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นและประเมินตนเองถึงอาการที่ควรมาพบแพทย์ ซึ่งจะทำให้ข้อขัดแย้งนี้ลดลงได้ นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้มีการสำรวจข้อเสนอร่วมจ่าย โดยพบว่าการร่วมจ่าย ณ จุดบริการจะลดการเข้ารับบริการของกลุ่มผู้ป่วยที่มีเศรษฐานะต่ำ และจะส่งผลลดการเข้ารับบริการทั้งกลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นและไม่จำเป็นต้องเข้ารับบริการ

กรรณิการ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้หากนายกรัฐมนตรีหงุดหงิดกับงบประมาณด้านสวัสดิการสังคมของประชาชนนั้น อยากให้ดูในส่วนงบประมาณด้านสวัสดิการของข้าราชการบ้าง จากการสืบค้นข้อมูลโดย ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 พบว่า ในส่วนของประชาชนมีรายจ่ายงบประมาณดังนี้ 1.กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดูแลรักษาประชาชน 49 ล้านคน งบประมาณ 134,269 ล้านบาท 2.กองทุนประกันสังคม รัฐบาลสมทบเข้ากองทุนทั้งในส่วนของสุขภาพและชราภาพ ให้กับผู้ประกันตน 14.5 ล้านคน งบประมาณ 47,011 ล้านบาท และ 3.เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จำนวนราว 9 ล้านคน งบประมาณ 72,469 ล้านบาท รวมดูแลประชาชนทั้งหมดราว 53.5 ล้านคน งบประมาณราว 249,359 ล้านบาท

ส่วนของข้าราชการมีรายจ่ายงบประมาณ ดังนี้ 1.กองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการ ดูแลข้าราชการและครอบครัวราว 6 ล้านคน งบประมาณ 70,000 ล้านบาท แม้ว่ากองทุนบัตรทองใช้งบประมาณมากว่า 1 เท่า แต่มีจำนวนผู้ได้รับประโยชน์มากกว่าระบบสวัสดิการข้าราชการถึง 8 เท่า 2.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มีผู้ได้รับประโยชน์ 1 ล้านคน ใช้งบประมาณ 54,845 ล้านบาท และ 3.เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญข้าราชการ ที่เป็นข้าราชการบำนาญ 7 แสนคน" ใช้งบประมาณ 223,762 ล้านบาท เมื่อรวมฝั่งข้าราชการ มีผู้ได้รับประโยชน์รวมครอบครัวราว 6 ล้านคน ใช้ประมาณ 348,607 ล้านบาท มากกว่าฝั่งประชาชนเกือบ 1 แสนล้านบาท เมื่อนำงบปะมาณสวัสดิการทั้งในส่วนประชาชนและข้าราชการรวมกัน จะเท่ากับ 597,966 ล้านบาท โดยงบสวัสดิการข้าราชการจะเท่ากับ ร้อยละ 58 ของงบประมาณสวัสดิการทั้งหมด เมื่อดูจำนวนผู้ได้รับประโยชน์ มีจำนวนไม่ถึงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนงบประมาณสวัสดิการของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 42 เท่านั้น ทั้งที่มีจำนวนผู้ที่ใช้บริการมากกว่าถึงเกือบ 9 เท่า ซึ่งตัวเลขนี้คงชี้ให้เห็นถึงภาระงบประมาณสวัสดิการได้เป็นอย่างดี

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ดีเบตโซตัส | อนาคตใหม่ค้าน ภูมิใจไทย-ประชาธิปัตย์-เพื่อไทยเชื่อยังพัฒนาได้

Posted: 13 Sep 2018 06:20 AM PDT

ในเวทีอภิปรายสาธารณะ "โซตัสกับการพัฒนาสังคมไทย สร้างชาติหรือถ่วงความเจริญ?" ช่วงตอบคำถามสำคัญเรื่องหนุนค้านโซตัส โดยพรรณิการ์ วานิช ตัวแทนจากพรรคอนาคตใหม่ คัดค้านโซตัสและการรับน้องโดยเห็นว่าผลลัพธ์จากระบบโซตัสไม่เป็นประชาธิปไตย

สาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ อดีต ส.ส. จังหวัดสุรินทร์ พรรคภูมิใจไทยเสนอว่ากิจกรรมรับน้องที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลไม่ควรทำ กิจกรรมแก้ไขได้ด้วยการคุยกันในคณะระหว่างนักศึกษาปี 1 ถึง 4 แต่จะยกเลิกกิจกรรมไปเลยคงไม่ใช่

นพ.คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ หรือหมอเอ้ก ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ยังเชื่อว่าโซตัสเป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น โดยย้ำว่ารับน้องต้องเป็นไปโดยสมัครใจ ไม่ละเมิด ไม่ตีตราคนที่ไม่เข้าร่วม

ด้านตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทยเสนอคล้ายกับ นพ.คณวัฒน์ คือรับน้องต้องสมัครใจ ไม่ละเมิด และรุ่นน้องมีสิทธิเดินออกจากการรับน้องได้ โดยเชื่อว่าสามารถปรับเปลี่ยนโซตัสให้เป็นไปตามยุคสมัยได้

สาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ พรรคภูมิใจไทย

ถ้าได้คุยกันในคณะ รุ่นพี่รุ่นน้อง พูดกันถึงเรื่องที่ทำกันก่อนว่า บางเรื่องมันผิด มันละเมิดสิทธิส่วนบุคคล มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แล้วจะปรับเปลี่ยนการรับน้องอย่างไร เพื่อให้มันมีประโยชน์ขึ้น กิจกรรมมันต้องมี

ถ้าถามผมในมหาวิทยาลัย ผมก็อยากให้มีกิจกรรมที่มันต้องทำร่วมกัน ได้สนุกสนานร่วมกัน คือจะไปยกเลิกเลย แล้วแบบไม่มีอะไรเลย มาแค่มหาวิทยาลัย เรียนจบแล้วกลับบ้าน มันไม่ใช่ ในมหาวิทยาลัยมันมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้เยอะแยะ ผมเป็นเด็กต่างจังหวัดเรียนจบมัธยมมา พอเข้ามหาวิทยาลัย เป็นอะไรที่ตื่นตาตื่นใจมาก เกรดปีหนึ่งนี่ร่วงระนาว ก็ในมหาวิทยาลัย เป็นสิ่งที่คนต้องเรียนรู้กิจกรรมที่ต้องทำร่วมกัน 

อย่างเรื่องที่ผมชอบตอนเข้ามหาวิทยาลัย ก่อนจะรับน้องก็มีการต้องหาเงินทุน โดยการขายสมุด ขายเสื้อ ซึ่งมันเป็นอะไรที่ผมมองว่า มันเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้รู้จักหาทุนเองในการทำกิจกรรม ไม่ได้ไปขอเงิน แต่สิ่งที่ไม่ดีก็ต้องปรับ ต้องคุยกันในคณะแล้วเขียนเป็นข้อบัญญัติก็ได้ แต่ละปีก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขกัน มาคุยกันในที่ประชุมของคณะว่าปี 1 ปี 2 ปี 3 ปี 4 ว่าจะตั้งคณะกรรมการกันอย่างไรก็ได้

นพ.คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ พรรคประชาธิปัตย์

สำหรับคำถามที่ผมไปคิดมาเนาะ ว่าการรับน้อง หรือกิจกรรมในมหาวิทยาลัย ทำอย่างไรให้มันดีขึ้นกว่าเดิมในปัจจุบัน ผมคิดว่ามันต้องมีสามอย่าง หนึ่งคือ ต้องเป็นไปโดยสมัครใจ ใครอยากมาก็มาใครไม่อยากมาก็ไม่มา อันที่สองก็ต้องไม่ละเมิด ไม่มีการทำร้ายร่างกาย หรือทำให้มีการสูญเสียเกิดขึ้นไม่ว่าทางร่างกาย หรือทางจิตใจก็แล้วแต่ สองอันนี้ผมว่ามันไม่ได้ยากมาก มันขึ้นอยู่กับต้นน้ำว่าจะจัดกันอย่างไร แต่เรื่องที่สามที่พูดไปแล้ว ผมว่ามันยากที่สุด สังคมเนี่ย ใครที่ไม่เข้าเพราะไม่ได้มีความคิดเดียวกัน ไม่ได้แบบเข้าร่วมกิจกรรมเดียวกัน คุณก็ต้องห้ามไปตีตราเขา อันนี้มันยากเพราะมันการเปลี่ยนความคิดคนหมู่มาก แล้วที่รุ่นพี่บางมหาวิทยาลัยคนออกแบบกิจกรรม อย่างห้องเชียร์ ไม่เข้าเนี่ย แถวนั้นต้องทำเพิ่มขึ้น ทำแทนคนที่ไม่อยู่ คนที่อยู่บนแถวนั้นก็ต้องมาคิด ไอ้คนที่ไม่อยู่ทำไมไม่มาว่ะ เห็นแก่ตัวฉิบหาย อันนี้คือการตีตราที่ผมบอก อันนี้ต้องไม่มี

คนในแถวนั้นนักศึกษาต้องคิด ไอ้รุ่นพี่เนี่ยทำไมมันคิดอย่างนี้ว่ะ เขาที่ไม่เข้ามาเป็นสิทธิของเขาที่เขาไม่อยากเข้า ทำไมคุณถึงพูดอย่างนี้ แล้วให้พวกผมมาทำเพิ่มได้อย่างไร มันต้องสร้างมายด์เซ็ตแบบนี้ให้เกิดขึ้น ผมก็ผ่านมาหลายปีแล้วจากรั้วมหาวิทยาลัยก็ต้องฝากที่พวกคุณที่จะต้องเปลี่ยนในส่วนนี้  
ความคิดของเด็กรุ่นใหม่ๆ มัธยมปลายที่เพิ่งจบเข้ามาในมหาวิทยาลัย มาเข้าสู่กิจกรรมรับน้องอะไรก็แล้วแต่ เขาต้องทำให้เขารู้ เหมือนจะ brain wash เลยนะ ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรจะเป็นในการรับน้อง

จากนั้น ภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ผู้ดำเนินรายการถามเพิ่มว่า "โซตัสเนี่ยเป็นอย่างก็ได้อย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อกี้บอกว่าอยู่ที่คนเอาไปใช้ แล้วเราจะทำอย่างไรไม่ให้คนตีความเอาไปใช้ในทางที่ผิด เหมือนผมจะชี้ให้เห็นภาพ เช่น บ้านเมืองมีระบบของมันดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าราได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง บ้านเมืองก็จะไปในทางที่ดี หรือเปล่าฮะ หรือเปล่าฮะ"

โดย นพ.คณวัฒน์ ชี้แจงว่า ผมเห็นด้วยกับประโยคนี้นะที่บอกว่า โซตัส มันเป็นคอนเซ็ปต์จะดี หรือไม่ดีก็ได้ ถามว่าจะต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไรในโซตัสไหม ก็ไม่ต้องเปลี่ยน ไม่ต้องสนใจมัน ทำไมคุณจะต้องสนใจในสิ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรับน้อง การรับน้องมันเป็นการแอบอ้างคำว่าโซตัสมาใช้ แล้วเอาไปใช้ในทางที่ผิด คุณเข้าใจผมนะ

โดยภานุวัฒน์ ถามเพิ่มว่า "เข้าใจครับ แต่เราจะหาวิธีป้องกันการตีความเพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิดอย่างไร เพื่อที่จะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร?"

นพ.คณวัฒน์ชี้แจงต่อว่า สำหรับผมนะ กิจกรรมรับน้องต้องมีสามอย่าง ถ้ารุ่นน้องเข้ามาต้องมาโดยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ

สองไม่มีการละเมิด ข้อที่สาม สังคมต้องไม่ตีตราหากเขาเลือกใช้สิทธิที่จะไม่เข้ามา ผมไม่เปลี่ยนแปลงนะ จุดยืนผมเหมือนเดิม จะให้ผมพูดเกี่ยวกับโซตัส ผมก็พูดเหมือนเดิมว่าผมไม่ยุ่งกับโซตัส เพราะมันเป็นอะไรที่แขวนไว้ คุณจะเอามาใช้แบบไหนได้ แต่ถ้าคุณเอามาใช้ในทางที่ผิด ก็มาเข้าหลักการสามข้อนี้ ถูกไหมฮะ ถ้าเกิดคุณเอาโซตัส แอบอ้างมาใช้ว่าเนี่ยคือ โซตัสนะ การรับน้องคุณต้องเข้าระบบโซตัส มันไม่เกี่ยว ต้องรักษาระบบ ไม่เกี่ยว มันต้องยึดหลักสามอย่างนี้ โซตัสมันเป็นคอนเซ็ปต์นะครับ ก็เหมือนทุนนิยม คุณว่าทุนนิยมมันผิดหรือถูกล่ะ

พรรณิการ์ วานิช พรรคอนาคตใหม่

หนึ่งนะคะ สำหรับช่อ โซตัส ไม่ใช่คอนเซ็ปต์ที่เป็นกลาง โซตัสเป็นคอนเซ็ปต์แบบนาซี เป็นคอนเซปต์ที่เป็นเผด็จการ เพราะฉะนั้น ตราบใดที่งาช้างไม่งอกออกจากปากสุนัข ประชาธิปไตยไม่งอกจากปลายกระบอกปืน ก็ไม่มีอะไรที่เป็นประชาธิปไตยงอกออกมาจากระบบโซตัส เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ถกเถียงกันได้ แต่เราคิดว่ามันเป็นแบบนี้

สอง ระบบโซตัส กับการรับน้องเป็นสิ่งเดียวกันไหม ใกล้เคียง คุณอย่าบอกว่ารับน้องเป็นคอนเซ็ปต์ที่สร้างสรรค์ได้ แค่คำว่ารับน้องมันก็ขึ้นอยู่กับโซตัสแล้วถูกไหม เพราะว่าถ้ามีคำว่าพี่ มีคำว่าน้อง มันคือโซตัส ถ้าคุณมีคำว่ารับน้องหมายความว่า มีวัฒนธรรมการแบ่งความสูงต่ำอะไรบางอย่างอยู่ พี่จะอยู่สูงกว่าน้อง ถ้าเกิดมันเป็นการรับเพื่อนใหม่ แนะนำที่ต่างๆ ในมหาวิทยาลัยให้รู้จัก ไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อันนั้นก็ไม่ต้องเรียกว่ารับน้อง เป็นกิจกรรมแนะนำมหาวิทยาลัย เป็นกิจกรรม Open House เป็นกิจกรรมอะไรต่างๆ ที่เป็นของคณะทั่วไป แต่ในคอนเซ็ปต์ของรับน้อง มันคือคอนเซ็ปต์ของโซตัส คือน้องเข้ามาน้องไม่รู้พี่รู้ พี่ใช้ความรู้นั้นเป็นภาษีที่เหนือกว่าเพื่อที่จะทำอะไรบางอย่างกับน้องได้ ฉะนั้นอย่างที่บอกเราเห็นต่างกันได้  แต่โดยความเห็นส่วนตัวที่ผ่านการรับน้องของคณะที่มีระบบโซตัสเข้มแข็งที่สุดในจุฬาฯ คณะหนึ่ง คือคณะรัฐศาสตร์  มันเป็นแบบนั้น ที่อื่นถ้าเป็นธรรมศาสตร์ มันอาจจะคอนเซ็ปต์ที่ดีงามเกิดขึ้นได้ อันนี้เราก็ไม่ทราบเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า โซตัสไม่ใช่คอนเซ็ปต์ที่เป็นกลาง แล้วก็ผลลัพธ์การันตีได้ว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย

ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส พรรคเพื่อไทย

ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัยควรจะออกกฎเลยว่า การเข้ารับน้องต้องเป็นการสมัครใจ และห้ามเป็นการบังคับ อันที่สองผมคิดว่าก่อนจะมีนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย โรงเรียน ภาคมัธยมศึกษา ควรจะมีการปลูกฝังเรื่องสิทธิ ประชาธิปไตย สิทธิของพลเมือง สิทธิที่เขารู้ว่าเขาสามารถที่จะ walk away เดินออกไปก็ได้ไม่จำเป็น หลายๆ คลาสที่ผมเข้าไปเรียนหนังสือ ผมก็เป็นรุ่นน้องพี่ช่อรัฐศาสตร์ จุฬาฯ แต่ว่าเรียนปริญญาโท ผมรู้สึกว่าอาจารย์พูดอะไรไม่ถูกใจ ผมก็เดินออกไปเลย ก็มันคือสิทธิของเรา เราไม่อยากฟัง หรือเรื่องที่เราฟังเป็นเรื่องที่เรารู้อยู่แล้วก็ได้ ผมคิดว่ามันไม่ได้โชว์การเป็นคนก้าวร้าว แต่ว่ามันเป็นสิทธิของเราถูกต้องไหมครับ

ผมว่าเราควรจะปลูกฝังเรื่องสิทธิของพลเมืองให้มากขึ้นในระดับโรงเรียน และก็ผมคิดว่าโซตัสในปัจจุบันนี้ หรือโซตัสที่ไม่ดีในปัจจุบันนี้ไม่ใช่เครื่องมือในการสร้างคนไปสู่ระบบประชาธิปไตย  มันเป็นการสั่ง ผมคิดว่ามันต้องมีการเปลี่ยนระบบโซตัสใหม่ จะมีหรือไม่มีก็เป็นเรื่องของแต่ละมหาวิทยาลัย แล้วแต่รุ่นพี่ที่จะคิด 

แต่คิดว่ามันจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโซตัสให้เป็นไปตามยุคสมัย ไม่ใช่ว่าเคยเป็นมาอย่างไรในยุค 2445 ตั้งแต่วชิราวุธ ตั้งแต่จุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ามาเนี่ย มันไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลงน้อย วิวัฒนาการมันแย่ลงไปด้วย ผมคิดว่าตรงนี้มันต้องปรับให้ตรงกับบริบทสังคม ควรทำให้มันสร้างสรรค์ เช่น กิจกรรมละลายพฤติกรรมระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง เนี่ยเป็นสิ่งที่ดีมาก มาถึงก็ระดมสมองกัน รุ่นพี่พารุ่นน้องไปดูมหาวิทยาลัย ไปดูว่าระบบมันเป็นยังไง ในคณะเรามีอะไรบ้างห้องน้ำอยู่ตรงไหน อะไรอยู่ยังไง ก็ดีหมด ทำกิจกรรม Team building กิจกรรมมีตั้งเยอะตั้งแยะ ไม่ต้องไปลูบไข่ที่เห็นออกข่าว มีตั้งเยอะแยะ แต่ว่าคุณจะต้องเลือกวิธีการที่มันเหมาะสมที่สุด เถื่อนไม่ใช่ดีที่สุด ไม่ใช่เท่ที่สุด

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เปิดมติเสียงข้างน้อย กสทช. ทำไมควรเยียวยาให้ DTAC

Posted: 13 Sep 2018 04:41 AM PDT

เปิดความเห็น ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. เสียงข้างน้อย ทำไม DTAC ควรเข้าสู่มาตรการเยียวยาลูกค้าที่ใช้บริการบนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ หลังสัมปทานสิ้นสุด

 

13 ก.ย.2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก NBTC Rights ว่า จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา มีมติด้วยเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 ไม่ให้ดีแทคเข้าสู่มาตรการเยียวยาลูกค้าที่ใช้บริการบนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ หลังสัมปทานสิ้นสุด โดยทาง ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้แถลงข่าวมติที่ประชุมภายหลังการประชุมทันที ซึ่งมีการอธิบายถึงเหตุผลต่างๆ ของที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้กล่าวถึงความเห็นที่แตกต่างแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ กสทช. เสียงข้างน้อย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน หนึ่งในผู้ลงมติแตกต่างได้จัดทำความเห็นของตนเอง เพื่อให้ทางสำนักงาน กสทช. ใส่ประกอบไว้ในรายการงานประชุมของ กสทช. นัดพิเศษครั้งที่ 5/2561 (วันที่ 12 กันยายน 2561) ต่อไป

สำหรับ ความเห็นของ ประวิทย์ ทาง NBTC Rights ระบุว่า สรุปได้ดังนี้

1.  การอ้างว่าเหตุที่ไม่ให้เข้าสู่มาตรการคุ้มครองเพราะมีการจัดประมูลล่วงหน้าแล้ว ถ้าเช่นนั้น ไม่ว่าเอกชนจะเข้าร่วมประมูลหรือไม่ก็ไม่สามารถเข้าสู่มาตรการคุ้มครองได้ แต่มติที่ประชุม กสทช. เดิมกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทฯ ต้องเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่จึงจะได้สิทธิเข้าสู่มาตรการคุ้มครองฯ ซึ่งมิใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการ จึงไม่เป็นไปตามประกาศที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง ตามมติเดิมนี้ย่อมแสดงว่า การจัดประมูลในตัวมันเองไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการตัดสิทธิไม่ให้เข้าสู่มาตรการคุ้มครอง

2. ยิ่งไปกว่านั้น การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ครั้งที่ผ่านมานี้ ไม่ตรงกับคลื่นที่ขอความคุ้มครอง กล่าวคือ แม้ว่าเอกชนจะชนะการประมูลก็ไม่สามารถนำคลื่นนี้ไปทดแทนคลื่นตามสัมปทานเดิมได้ การพิจารณาเรื่องนี้จึงต้องคำนึงถึงผู้ใช้บริการเดิมเป็นหลัก แม้จะอ้างว่าเอกชนสามารถทำสัญญา Roaming กับรายอื่นได้ แต่หากซิมดับ ทุกบริการก็สิ้นสุดลงทันที ส่วนการอ้างว่าหากชนะประมูลก็สามารถใช้คลื่นเดิมไปก่อนได้ ไม่เคยมีกฎหมายหรือมติที่ประชุมรองรับแต่อย่างใด

3. ประเด็นการเพิ่มภาระรับผิดชอบอุปกรณ์ป้องกันคลื่นรบกวนในการประมูลที่ผ่านมา ไม่เคยปรากฏในร่างประกาศประมูลมาก่อน สำนักงาน กสทช. เพิ่งเสนอเพิ่มภายหลังการรับฟังความเห็นสาธารณะ เมื่อปรากฏว่าไม่มีเอกชนรายใดเข้าร่วมประมูลด้วยเหตุว่าภาระดังกล่าวเป็นต้นทุนที่ไม่อาจคำนวณได้แน่ชัด จึงเสี่ยงต่อการประกอบธุรกิจ จึงรับฟังได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้การประมูลล้มเหลว และสมควรตัดภาระดังกล่าวออกแล้วจัดประมูลใหม่โดยเร็ว ซึ่งสำนักงานฯ รับว่าถ้าตัดเฉพาะเงื่อนไขนี้ สามารถจัดประมูลได้ในเดือนตุลาคม

4. ในประเด็นความเสียหายที่เกิดขึ้นหากไม่เห็นชอบมาตรการคุ้มครองนั้น เอกชนได้เสนอข้อเท็จจริงต่อศาลปกครองว่า มีผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุใช้บริการในต่างจังหวัด แต่ผู้จดทะเบียนเป็นบุตรที่ทำงานในกรุงเทพฯ ซึ่งผู้สูงอายุไม่สามารถดำเนินการโอนย้ายได้เอง ต้องรอบุตรเดินทางกลับต่างจังหวัดไปดำเนินการ หากซิมดับก็จะไม่สามารถสื่อสารขอความช่วยเหลือได้ ส่วนสำนักงาน กสทช. รายงานว่ามีกรณีซิมที่ใช้กับ Machine ซึ่งต้องเปลี่ยนที่ตัวอุปกรณ์ จึงไม่สามารถดำเนินการได้โดยเร็ว และจากข้อมูลพบว่า มีทั้งการใช้งานกับเครื่อง EDC ตามร้านค้า เครื่อง ATM เครื่องส่งข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของ กฟภ. ใช้กับเซ็นเซอร์น้ำตามสถานีตรวจสอบระดับน้ำของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งปัจจุบันเป็นช่วงมรสุม เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม จึงเห็นว่า หากไม่เข้าสู่มาตรการคุ้มครองฯ อาจกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนและบริการสาธารณะต่างๆ ตลอดจนอาจกระทบต่อการติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติ ส่วนการอ้างว่าศักยภาพโอนย้ายของระบบนั้นสูงถึง 60,000 เลขหมายต่อวัน ผู้ใช้บริการ 90,000 รายสามารถโอนย้ายได้ก่อนสิ้นสัมปทาน เป็นการคำนวณที่ไม่คำนึงถึงอุปสรรคในการโอนย้ายจริงในกรณีของผู้อยู่ต่างจังหวัดหรือผู้ที่ยากต่อการเข้าถึงการโอนย้าย รวมทั้งกรณี Machine

5. ทางออกในเรื่องนี้ เห็นว่าควรตัดเงื่อนไขการประมูลที่ก่อภาระต่อเอกชนเกินกว่าการประมูลครั้งก่อนออก และไม่ต้องขยายงวดชำระเงินเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ชนะประมูลเดิม แล้วเร่งจัดประมูลในเวลาไม่เกิน 1-2 เดือน ก็จะทำให้มาตรการคุ้มครองที่เอกชนขอสิ้นสุดลงตามกลไกปกติ ดังเช่นในอดีต เนื่องจากการไม่ให้เข้าสู่มาตรการคุ้มครองฯ นอกจากจะกระทบประโยชน์สาธารณะ ยังทำให้คลื่นความถี่ไม่ถูกใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม

ขณะทีเพจ กสทช. โพสต์ชี้แจงผู้ใช้โทรศัพท์มือถือดีแทคบนคลื่นความถี่ 850 MHz ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย.นี้ ให้รีบย้ายไปใช้บริการบนคลื่นความถี่อื่นในค่ายเดิมหรือโอนย้ายค่าย ไม่เช่นนั้นซิมจะดับ

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

วิษณุเผย สนช. สามารถเป็น ส.ว. ได้ กฎหมายไม่ห้าม

Posted: 13 Sep 2018 04:08 AM PDT

วิษณุ เครืองาม ระบุว่า ส.ว. 250 คน จะสรรหาเสร็จก่อนเลือกตั้ง ส.ส. 15 วัน เผย สนช. สามารถได้รับเลือกเป็น ส.ว. ต่อได้เพราะกฎหมายไม่ได้ห้าม ด้านเลขาธิการ กกต. เผยจะเร่งระเบียบกกต.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า

ภาพจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย

13 ก.ย. 2561 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันนี้ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งการรับสมัคร การแบ่งกลุ่ม เพื่อเลือกกันเอง เชื่อว่า กกต. น่าจะมีปฏิทินการดำเนินการไว้แล้ว

"ขอย้ำว่าจะต้องได้ ส.ว.ทั้งหมด 250 คน ภายใน 15 วันก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. และวันเลือกตั้งก็ยังคงเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ยังไม่มีการเปลี่ยนเป็นอื่น" วิษณุ กล่าว

วิษณุระบุว่า การสรรหา ส.ว. จะดำเนินการเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกให้ กกต. แบ่งกลุ่มเป็นสาขาอาชีพและสมัครเข้ามาคัดเลือกกันเอง และส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้เลือกในขั้นสุดท้ายให้เหลือ 50 คน จากนั้นอีก 200 คน คสช. จะกำหนดกฎเกณฑ์กติกาคัดเลือกต่อไป 

ส่วนพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. วิษณุกล่าวว่า ต้องรอเวลาอีก 90 วัน ซึ่งจะครบกำหนด วันที่ 10 ธ.ค. นี้ โดยภายในเวลา 90 วันนี้ พรรคการเมืองจะยังทำกิจกรรมอะไรไม่ได้ยกเว้นจะมี คำสั่ง คสช. ฉบับใหม่ที่จะคลายล็อกให้ โดยภายใน 90 วันนี้ 60 วันแรก ใช้สำหรับแบ่งเขตเลือกตั้ง ส่วน 30 วันหลัง ใช้สำหรับสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

วิษณุกล่าวว่า สำหรับคำสั่ง คสช. เพื่อคลายล็อกทางการเมือง น่าจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยคำสั่งได้เตรียมไว้แล้ว รอเวลาที่เหมาะสม หลังจากคลายล็อกแล้ว จะมีการหารือระหว่าง คสช.และพรรคการเมือง โดยหัวหน้า คสช. จะเป็นประธานเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในวันที่ 28 ก.ย. นี้ 

เมื่อถามว่า อายุของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีถึงเมื่อใด วิษณุกล่าวว่า สนช.จะสามารถทำงานต่อไปได้จนถึง 1 วัน ก่อนวันเปิดสภาผู้แทนราษฎร และสามารถได้รับเลือกเป็น ส.ว. ได้ เพราะไม่มีอะไรห้าม

ด้าน พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต. แถลงว่า จะเร่งพิจจารณาระเบียบกกต.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า เพราะ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. มีผลบังคับแล้ว

เลขาธิการกกต. กล่าวว่า เมื่อระเบียบกกต.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ประกาศใช้ กกต. จะประกาศให้ลงทะเบียนองค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้าคัดเลือกเป็น ส.ว. ซึ่งจะมี 2 ประเภท คือ 1.องค์กรที่มีกฎหมายจัดตั้ง และ2.องค์กรนิติบุคคล ที่ก่อตั้งมาไม่น้อยกว่า 3 ปี และดำเนินกิจการต่อเนื่อง ไม่แสวงหาผลกำไร โดยจะเปิดรับลงทะเบียนที่สำนักงาน กกต. จังหวัดทั่วประเทศ 

"ส่วนบุคคลทั่วไปที่จะลงสมัครสามารถยื่นสมัครได้ที่ว่าการอำเภอ โดยวันเวลาของการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน กกต. จะชี้แจงอีกครั้งหลังระเบียบ กกต. ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ประกาศใช้ สำหรับการคัดเลือก ส.ว. ในส่วนของ กกต. จะต้องคัดเลือกให้ได้ 200 คนและส่งให้คสช. 15 วันก่อนวันเลือกตั้งส.ส. เพื่อให้คสช. คัดเลือกให้เหลือ 50 รายชื่อและสำรองอีก 50 ชื่อ" พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าว

เลขาธิการกกต. กล่าวว่า ส่วนการเตรียมการเลือกตั้ง ส.ส. ขณะนี้ยังอยู่ในช่วง 90 วันของการรอการบังคับใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. โดยจะครบ 90 วันในวันที่ 10 ธ.ค. 2561 และจะเข้าสู่ระยะเวลาต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 150 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561 โดยวันสุดท้ายคือวันที่ 9 พ.ค. 2562 ซึ่งเมื่อคลายล็อคคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 กกต.จะใช้ช่วงเวลา 90 วันที่รอการบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้งให้เป็นประโยชน์ตามแนวทางของรัฐบาล โดยจะเร่งดำเนินการเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมือง นักการเมือง ประชาชนรวม 10 วัน คาดว่าจะใช้เวลาทั้งกระบวนการประมาณ 55-60 วัน เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นขั้นตอนสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่สามารถทำได้จนถึงวันก่อนรับสมัครเลือกตั้ง ถือว่าพรรคมีเวลามากกว่า 30 วันที่จะดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับไทม์ไลน์การสรรหา ส.ว. เดิม ตามที่เลขาธิการ กกต. ได้เปิดเผยก่อนหน้านี้ คือ

วันที่ 12 ต.ค. จะประกาศกำหนดวันลงทะเบียนองค์กร เพื่อเป็นองค์กรที่จะมีสิทธิเสนอชื่อผู้สมัคร ส.ว. และแจ้งให้สำนักงาน กกต.จังหวัดทราบ

วันที่ 22-31 ต.ค. สำนักงานกกต.จังหวัด รับลงทะเบียนองค์กร

วันที่ 16 พ.ย. คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและนายกรัฐมนตรี นำ พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือก ส.ว. ทูลเกล้าฯ

วันที่ 20 พ.ย. ประกาศรายชื่อองค์กรที่มีสิทธิแนะนำชื่อบุคคลเพื่อสมัครรับเลือกเป็น ส.ว. แยกเป็นรายกลุ่ม

วันที่ 30 พ.ย.คาดว่า พ.ร.ฎ ให้มีการเลือก ส.ว.มีผลใช้บังคับ

วันที่ 5 ธ.ค. กกต.ประกาศเกี่ยวกับวันเลือก วันรับสมัคร และสถานที่เลือก ซึ่งระดับอำเภอภายใน 20 วัน นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร ระดับจังหวัดภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกในระดับอำเภอ และระดับประเทศภายใน 10 วันนับแต่วันเลือกในระดับจังหวัด

เปิดรับสมัคร ส.ว. วันที่ 10-14 ธ.ค. ซึ่งเป็นการเปิดรับสมัครไม่เกิน 15 วันนับแต่วันที่มี พ.ร.ฎ.

วันที่ 30 ธ.ค. จะเป็นวันเลือก ส.ว. ในระดับอำเภอ

วันที่ 6 ม.ค. 62 เลือก ส.ว.ในระดับจังหวัด

วันที่ 16 ม.ค. เลือก ส.ว.ในระดับประเทศ

วันที่ 17-21 ม.ค. กกต. รอไว้ 5 วันตามที่กฎหมายกำหนด

และวันที่ 22 ม.ค. กกต.แจ้งรายชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1-10 ของแต่ละกลุ่ม แต่ละวิธีสมัคร รวม 200 คนให้คสช.คัดเลือกเป็นส.ว. 50 คน และคัดเลือกอีก 50 คน เป็นบัญชีสำรอง

เรียบเรียงจาก : สำนักข่าวไทย , มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

115 แรงงานข้ามชาติ รับ 8 ล้าน หลังศาลแรงงานภาค 6 สั่งไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

Posted: 13 Sep 2018 03:45 AM PDT

แรงงานข้ามชาติ 115 คน รับเงินจำนวน 8 ล้านบาท ภายหลังศาลแรงงานภาค 6 ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน กรณีพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินแก่ลูกจ้างกว่า 25 ล้านบาท 'มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา' เผยยังพบนายจ้างจำนวนมากจงใจเลี่ยงการจ่ายค่าแรงให้กับแรงานข้ามชาติให้เป็นไปตามกฎหมาย

แฟ้มภาพ เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน

13 ก.ย.2561 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา แจ้งว่าเมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์ จำนวน 115 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่สอด พี.เอ. จำกัด โดย สุภา จักรเจริญทรัพย์ และบริษัท หุ้น แบงค์ค็อก จำกัด โดย พรทิพย์ แซ่หุ้น กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท เข้ารับเงินที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,000,000 บาท ภายหลังจาก พนักงานตรวจแรงงาน จ.ตาก มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมา ให้นายจ้าง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด แม่สอดพีเอ และบริษัทหุ้นแบงค์ค็อก จำกัด จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาในวันเวลาทำงาน ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้กับแรงงานข้ามชาติของห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่สอด พี.เอ จำนวน 115 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,041,318.04 บาท (หรือประมาณ 64,000 ดอลล่าสหรัฐ)

สำหรับคดีนี้ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ระบุว่า สืบเนื่องจาก

  • วันที่ 27 ก.ย. 2560 แรงงานข้ามชาติจ้างจำนวน 115 คน ของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าซึ่งจดทะเบียนในชื่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด แม่สอด พี.เอ.  อ.แม่สอด จ.ตาก ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง (โดย สุภา จักรเจริญทรัพย์ หุ้นส่วนผู้จัดการ) ให้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน ซึ่งลูกจ้างได้เรียกร้องเป็นหนังสือโดยถูกต้องตามเงื่อนไขมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นายจ้างไม่ยินยอมตามข้อเรียกร้องและไม่ได้มีการดำเนินการเจรจาให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เป็นเหตุให้เกิดข้อพิพาทแรงงาน
  • หลังจากเกิดข้อพิพาทแล้ว ฝ่ายแรงงานผู้ยื่นข้อเรียกร้องจึงดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน และได้มีการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สองครั้งในช่วงเดือนตุลาคม 2560 แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ และในระหว่างนี้แม้แรงงานจะได้เข้าทำงานตามปกติแต่นายจ้างได้งดจ่ายงานให้กับแรงงานทำภายในโรงงาน กระทั่งวันที่ 18 ต.ค. 2560 นายจ้างปิดประกาศภายในโรงงานให้แรงงานที่พักอาศัยภายในโรงงานขนย้ายของออกจากโรงงาน เป็นเหตุให้ตัวแทนแรงงานเข้าแจ้งความดำเนินคดีอาญากับนายจ้าง ที่สภอ.แม่สอด เนื่องจากเห็นว่าการกระทำของนายจ้างขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ แม้ว่าจะมีการนัดเจรจากันอีกครั้งในเดือน พฤศจิกายน 2560 แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ และนายจ้างทำการปิดประกาศห้ามแรงงานเข้าภายในโรงงาน
  • วันที่ 10 พ.ย. 2560 ครบกำหนดการจ่ายเงินค่าจ้าง แต่นายจ้างไม่จ่าย และนายจ้างจงใจงดจ่ายงานแก่ลูกจ้าง ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ทำให้แรงงานข้ามชาติจำนวน 115 คน เข้ายื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดตาก (สาขาแม่สอด) เพื่อให้มีการคุ้มครองแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
  • 12 ม.ค. 2561 พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก ออกคำสั่งเลขที่ 1/2561 ให้แรงงานข้ามชาติจำนวน 115 คน มีสิทธิได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,041,318.04 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยนับแต่ผิดนัดแก่แรงงานข้ามชาติทั้ง 115 คน หากฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ไม่พอใจต่อคำสั่งดังกล่าว สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง
  • 22 ก.พ. 2561 บริษัทหุ้น แบงค์ค็อกได้ยื่นฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน พร้อมวาง เงินต่อศาลแรงงาน เป็นเงินทั้งสิ้น 20,041,318.04 บาท เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนในประเด็นที่บริษัทไม่ได้เป็นนายจ้าง และการจ้างงานเป็นการจ้างทำของกับบริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่สอด พีเอ ต่อมา พนักงานตรวจแรงงาน แก้ไขประเด็นยอดเงิน เป็นเหตุให้บริษัทหุ้นแบงค์ค็อก จำกัด ต้องวางเงินต่อศาลแรงงานเพิ่มอีกกว่า 5 ล้าน
  • 29 ก.ค. 2561 ศาลกำหนดให้มีการสืบพยาน ฝ่ายโจทก์ จำเลย และแรงงานข้ามชาติหรือผู้ร้องสอด ซึ่งมีทนายความ จากมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP Foundation) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) มูลนิธิแอ๊ดเวนตีสเพื่อการพัฒนาและบรรเทาทุกข์ (ADRA Thailand)เป็นผู้แทนในคดี โดยระหว่างที่มีการพิจารณาคดี ศาลแรงงานได้ทำการไกล่เกลี่ย ทำให้โจทก์และแรงงานหรือผู้ร้องสอดทั้ง 115 คน ตกลงรับเงิน 8 ล้านบาท และในส่วนที่เหลือ จะไปฟ้องบังคับเอากับห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่อด พีเอ ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ยังระบุว่าา ปัจจุบันแม้ว่ารัฐบาลไทยจะได้มีความพยายามจัดทำนโยบายการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้แรงงานข้ามชาติได้รับการคุ้มครองตามนโยบายและกฎหมายของรัฐ รวมทั้งค่าแรงที่เท่าเทียมกับแรงงานไทยตามมติของคณะกรรมการค่าแรงงานขั้นต่ำ แต่ก็พบว่ายังมีนายจ้างอีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังจงใจหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าแรงให้กับแรงานข้ามชาติให้เป็นไปตามกฎหมาย และการที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ของไทย ยังจำกัดสิทธิของแรงงานข้ามชาติในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน เป็นกรรมการหรืออนุกรรมการสหภาพแรงงาน  จึงทำให้แรงงานมักจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการในการได้รับการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน และการเจรจาต่อรองกับนายจ้าง

นอกจากนี้รัฐบาลไทย ได้มีแผนให้ภาคธุรกิจให้ความสำคัญต่อหลักการเคารพด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ผ่านการจัดการทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ตามหลักการสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principle on Business and Human Rights 2011 : UNGP) ดังนั้น รัฐบาลควรกำหนดให้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่ใช้แรงงานข้ามชาติเป็นกำลังหลักในการผลิต จัดทำรายงานการประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจ (human rights due diligence) เพื่อเป็นมาตรการในการป้องปรามการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานโดยมิชอบ โดยรายงานดังกล่าวจำเป็นต้องเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อสร้างความรับรู้และง่ายต่อการสอบทาน อีกทั้งยังเป็นการให้ความสำคัญต่อเรื่องเรื่องความโปร่งใส (transparency) และการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ตามหลักบรรษัทภิบาลอีกด้วย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ไทยติด 1 ใน 38 ประเทศ ‘น่าละอาย’ รายงาน UN กรณีคุกคามนักสิทธิฯ - ผู้เกี่ยวข้อง

Posted: 13 Sep 2018 03:36 AM PDT

ติดอันดับโลกอีกแล้วสำหรับไทย เมื่อรายงานของยูเอ็นประกาศรายชื่อ 38 ประเทศที่ทำพฤติกรรมน่าละอายต่อผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและผู้เกี่ยวข้อง ยกกรณี 'ไมตรี พี่ชัยภูมิ ป่าแส' 'ทนายจูน ศูนย์ทนายสิทธิฯ' กอ.รมน. ภาค 4 ฟ้อง 3 นักปกป้องสิทธิฯ กรณีทำรายงานซ้อมทรมาน และเหยื่อซ้อมทรมานแฉผ่านไทยพีบีเอส เลขาฯยูเอ็น เรียกร้องรัฐยุติคุกคามผู้ทำงานด้านสิทธิฯ สืบสวนอย่างจริงจัง มีมาตรการเยียวยา-ป้องกันการเกิดซ้ำ

25 พ.ค. 2557 กรุงเทพฯ (แฟ้มภาพ)

เมื่อ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เผยแพร่รายงานสำหรับการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น โดยประกาศรายชื่อประเทศจำนวน 38 ประเทศที่มีพฤติกรรมอันน่าละอายต่อผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นโดยทั้งน้ำมือของเจ้าหน้าที่รัฐและจากบุคคลหรือกลุ่มที่ไม่ใช่รัฐไม่ว่าจะด้วยวิธีการข่มขู่ คุกคาม สังหาร ทรมานและจับกุมตัวตามอำเภอใจ โดยประเทศไทยติดอยู่ใน 38 ประเทศดังกล่าวด้วย

รายงานดังกล่าวจัดทำโดย อันโตนิโอ กูเตร์เรซ เลขาธิการยูเอ็น ชี้แจงปัญหาของคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ร่วมมือ หรือเคยร่วมมือกับยูเอ็นในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมไปถึงผู้ติดต่อสื่อสารกับกลไกด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น ผู้ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายให้ติดต่อสื่อสารผ่านกลไกดังกล่าว และญาติของเหยื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและผู้ให้ความช่วยเหลือเหยื่อในด้านกฎหมาย เป็นข้อมูลที่เก็บมาตั้งแต่ 1 มฺ.ย. 2560 - 31 พ.ค. 2561

พี่ชายบุญธรรมของชัยภูมิ ป่าแส ถูกขู่ฆ่า

ภาพชายลึกลับมาถ่ายภาพบ้านไมตรี

กรณีของไทยที่ถูกกล่าวถึงในรายงานประกอบด้วย การขู่ฆ่าที่เกิดขึ้นกับไมตรี จำเริญสุขสกุล พี่ชายบุญธรรมของชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ที่ถูกทหารยิงเสียชีวิตที่ด่านรินหลวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อเดือนมี.ค. 2560 โดยทหารกล่าวหาว่าชัยภูมิมียาเสพติดในครอบครอง พยายามหลบหนีและต่อสู้ เมื่อไมตรีเข้าพบไมเคิล ฟรอสต์ ผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นในด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชนเมื่อเดือน พ.ค. 2560 และหลังการเข้าพบไมเคิลได้สองวัน ศาล จ.เชียงใหม่ได้ออกหมายค้นบ้านใน บ.กองผักปิ้งจำนวนเก้าหลัง หนึ่งในนั้นเป็นบ้านของไมตรีเพื่อค้นหายาเสพติด โดยน้าสาวของชัยภูมิ และน้องสะใภ้ของไมตรีถูกจับกุมและตั้งข้อหามียาเสพติดในครอบครอง ผู้ต้องหาทั้งสองทั้งสองไม่ได้รับสิทธิการเข้าถึงทนายความในขณะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวน ด้านไมตรีนั้น มีชายนิรนามขี่จักรยานยนต์มาดูบ้าน และเคยมีกระสุนปืนมาวางไว้หน้าบ้านของเขาด้วย

ทนายเผย เล็งขอสินไหมชดเชย 'นาหวะ จะอื่อ' หลังถูกคุมขังระหว่างดำเนินคดี 329 วัน
ศาลยกฟ้อง 'นาหว่ะ จะอือ' คดีเอี่ยวยาเสพติดเหตุวิสามัญ 'ชัยภูมิ ป่าแส'
ความคืบหน้า? คดีชัยภูมิ ป่าแส จนท.บุกค้นหมู่บ้าน รวบตัวญาติ อ้างเป็นผู้นำยาบ้าไปส่ง
เปิดภาพแล้ว! ชายลึกลับถ่ายภาพบ้านผู้อุปถัมภ์ ของ 'ชัยภูมิ ป่าแส'
1 ปี การตาย 'ชัยภูมิ ป่าแส' บทเรียน และความคิดถึงที่ไปไม่ถึงความยุติธรรม

ทนายจูน ถูก ตร.ฟ้องข้อหาซ่อนเร้นพยานหลักฐาน

ศิริกาญจน์ เจริญศิริ หรือทนายจูน

อีกกรณีคือเรื่องราวของศิริกาญจน์ เจริญศิริ หรือทนายจูน ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ถูกพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามสั่งฟ้องฐานซ่อนเร้นพยานหลักฐานและทราบคำสั่งเจ้าพนักงานแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามมาตรา 142 และมาตรา 368 ประมวลกฎหมายอาญา จากการทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในการคัดค้านการฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 14 นักกิจกรรมกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ต่อศาลทหาร และปฏิเสธไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจค้นรถยนต์เพื่อยึดเอาโทรศัพท์มือถือของลูกความ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่มีหมายค้นและปราศจากเหตุอันสมควรที่จะค้นรถ ในคืนวันที่ 26 ถึงเช้าวันที่ 27 มิ.ย. 2558

ยังพิจารณาอยู่ อัยการเลื่อน 'ทนายจูน' ฟังคำสั่งครั้งที่ 8 คดีซ่อนเร้นพยานหลักฐาน

โดนอีกคดี ตร.นัด 'ทนายจูน' รับทราบข้อหา 'แจ้งความเท็จ' กรณีค้นรถคดี 14 ประชาธิปไตยใหม่

โดนอีก ทนายความของศูนย์ทนายฯ ถูกออกหมายเรียกข้อหาชุมนุมตั้งแต่ 5 คน และ ม.116

3 นักปกป้องสิทธิฯ ถูก กอ.รมน.ฟ้องหลังแฉปมซ้อมทรมาน ชายแดนใต้

(จากซ้ายไปขวา) พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ, สมชาย หอมลออ และอัญชนา หีมมิหน๊ะ ผู้ทำรายงานเรื่องการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 

รายงานกล่าวถึงกรณีที่ก่องทัพฟ้องอัญชนา หีมมิหน๊ะ จากกลุ่มด้วยใจ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติและสมชาย หอมลออ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กรณีที่ทั้งสามจัดทำและเผยแพร่รายงาน "รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีฯ ในจังหวัดชายแดนใต้  ปี 2557 – 2558" ที่ได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนจากกองทุนอาสาสหประชาชาติเพื่อเหยื่อของการถูกซ้อมทรมาน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ฟ้องทั้งสามคนด้วยข้อหาหมิ่นประมาทและให้ข้อมูลเท็จบนอินเทอร์เน็ต เมื่อ 1 ก.ค. 2560 มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่เชื่อว่าเป็นทหารไปพบอัญชนาและเตือนไม่ให้โพสท์เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนบนโซเชียลมีเดีย ในส่วนคดีความนั้น กอ.รมน. ภาค 4 ได้ถอนฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทไปเมื่อเดือน พ.ย. 2560 และข้อกล่าวหาอื่นๆ นั้นอัยการศาล จ.ปัตตานีไม่สั่งฟ้อง

3 นักสิทธิฯ ขอความเป็นธรรมหลังพนักงานสอบสวนสั่งฟ้อง กรณีเปิดรายงานซ้อมทรมานในชายแดนใต้

กอ.รมน.ถอนฟ้อง 3 นักสิทธิ-ทำ MOU รายงานซ้อมทรมานต้องผ่านความเห็นชอบก่อน

อัยการสั่งไม่ฟ้อง 3 นักปกป้องสิทธิฯ ผู้ออกรายงานซ้อมทรมานชายแดนใต้

ในประเด็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีการปล่อยข้อมูลเพื่อใส่ร้ายป้ายสีผู้ทำงานด้านสิทธิฯ หลายคนรวมถึงพรเพ็ญ อัญชนา และอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) บนโลกออนไลน์ โดยกล่าวหาพวกเขาว่าสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนและการก่อความไม่สงบ รายงานยังได้ระบุว่า บล็อกออนไลน์ที่ชื่อ "Conditions in South Thailand" เริ่มทำลายความน่าเชื่อถือการปฏิบัติหน้าที่ของพรเพ็ญและอัญชนามาตั้งแต่ปี 2559 พรเพ็ญยังตกเป็นเหยื่อของการถูกขู่ฆ่าบนโลกออนไลน์อีกด้วย

เหยื่อซ้อมทรมาน ถูก กอ.รมน.ฟ้อง หลังเล่าประสบการณ์ผ่านไทยพีบีเอส

ภาพจากคลิปรายการนโยบาย By ประชาชน ซึ่ง อิสมาแอ เต๊ะ กล่าวไว้ในนาทีที่ 14.58 เป็นต้นไป https://youtu.be/JaNsOqR6AbA?t=898

นอกจากนั้นยังมีการดำเนินคดีกับอิสมาแอ เต๊ะ ประธานองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี เจ้าหน้าที่งานสืบสวนสอบสวนในพื้นที่จากการสนับสนุนของกองทุนอาสาเพื่อเหยื่อของการถูกซ้อมทรมานตั้งแต่ปี 2556 โดย กอ.รมน. ภาค 4 และ สภ.ปัตตานีฟ้องหมิ่นประมาทอิสมาแอ หลังสัมภาษณ์ผ่านโทรทัศน์ช่องไทยพีบีเอสเมื่อ 5 ก.พ. 2561 เกี่ยวกับประสบการณ์การถูกซ้อมทรมานเมื่อเขาอยู่ภายใต้การคุมขังโดยทหารที่ จ.ปัตตานีเมื่อปี 2549 ทั้งที่ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินเมื่อเดือน ต.ค. 2559 ว่าอิสมาแอถูกทำร้ายร่างกายขณะอยู่ภายใต้การคุมขังของทหารจากบันทึกทางการแพทย์ และให้กองทัพไทยชดเชยเยียวยาอิสมาแอก็ตาม

กอ.รมน.ภาค 4 ฟ้อง 'อิสมาแอ เต๊ะ' หลังแฉปมซ้อมทรมานผ่าน Thai PBS

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาจ่ายเงินทดแทน น.ศ. ยะลา หลังถูกจับกุมเกินกำหนด-ซ้อมทรมาน

เลขาฯยูเอ็น ร้องรัฐต้องหยุดคุกคามผู้ทำงานด้านสิทธิฯ - สืบสวนอย่างจริงจัง

อันโตนิโอให้ข้อเสนอแนะไว้ในรายงานว่ากรณีการข่มขู่และการตอบโต้ผู้ทำงานด้านสิทธิฯ ส่วนมากที่อยู่ในรายงานชุดนี้เกิดโดยน้ำมือของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือไม่ก็เป็นการกระทำที่รัฐไม่เอาโทษ เลขาธิการยูเอ็นได้ย้ำว่าการข่มขู่ ตอบโต้บุคคล หรือกลุ่มที่จะร่วมมือ หรือได้ร่วมมือกับยูเอ็นในด้านสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นเรื่องที่รับไม่ได้อย่างยิ่ง รัฐจะต้องหยุดยั้งการกระทำเหล่านั้นทั้งหมด การกระทำที่เกิดขึ้นจากฝ่ายที่ไม่ใช่รัฐนั้นจะต้องได้รับการจัดการอย่างจริงจัง ต้องสืบสวนกรณีการข่มขู่ ตอบโต้ที่มีทั้งหมด รวมถึงออกมาตรการชดเชย เยียวยาและการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ ทั้งนี้ การลงโทษบุคคลที่ร่วมมือกับสหประชาชาติถือเป็นการกระทำที่น่าอับอายที่ทุกคนต้องช่วยกันยุติ

นอกจากไทยแล้ว ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปรากฏอยู่ในรายงานได้แก่พม่าที่ถูกเพ่งเล็งกรณีกองทัพใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ และฟิลิปปินส์ ที่มีนักสิทธิฯ หลายคน รวมถึงตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ถูกตีตราว่าเป็นผู้ก่อการร้าย

รายนามของประเทศที่ถูกระบุในรายงานประกอบด้วยแอลจีเรีย บาห์เรน บุรุนดี แคเมอรูน จีน โคลอมเบีย คิวบา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูติ อียิปต์ อินเดีย อิหร่าน อิรัก ญี่ปุ่น เม็กซิโก โมรอกโก พม่า ปากีสถาน รวันดา ซาอุดิอารเบีย ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อุซเบกิสถาน เวเนซุเอลา กัวเตมาลา กีญานา ฮอนดูรัส ฮังการี อิสราเอล คีร์กิซสถาน มัลดีฟส์ มาลี ฟิลิปปินส์ สหพันธรัฐรัสเซีย ซูดานใต้ ตรินิแดดและโตเบโก ตุรกี และเติร์กเมนิสถาน

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สนช. ลงมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.การจัดประชารัฐสวัสดิการฯ ไร้เสียงค้าน

Posted: 13 Sep 2018 03:24 AM PDT

13 ก.ย. 2561 เว็บข่าวรัฐสภา และสำนักข่าวไทย รายงานว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม พ.ศ. .... ไว้พิจารณา ด้วยคะแนนเห็นด้วย 187 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 4  เสียง พร้อมกำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 7 วัน ระยะเวลาการดำเนินงาน 30 วัน

โดยวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ชี้แจงว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีสาระสำคัญในการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งจะมีการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลังเป็นรองประธาน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลางและผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ซึ่งประธานกรรมการจะแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ให้ปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงการคลังคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานไม่เกิน 2 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

วิสุทธิ์ กล่าวว่า คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม จะมีอำนาจและหน้าที่ในการเสนอนโยบาย หรือโครงการเกี่ยวกับประชารัฐสวัสดิการที่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนที่จำเป็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่พิจารณาการสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคม จัดให้มีฐานข้อมูลของประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐที่ถูกต้อง ประเมินผลการดำเนินงานในการจัดประชารัฐสวัสดิการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งก่อนรายงานผลการประเมินต่อคณะรัฐมนตรี ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุน แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ออกประกาศระเบียบหรือคำสั่ง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวยังกำหนดให้กระทรวงการคลังออกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยการออกและการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการฯ กำหนด

วิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ยังกำหนดให้จัดตั้งกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เพื่อใช้จ่ายในการจัดประชารัฐสวัสดิการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยกองทุนฯ จะประกอบด้วยจากการเงินโอนที่เกี่ยวเนื่องกับกองทุนฯ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลังตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2560 เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรจากงบประมาณรายจ่าย เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนฯ หรือที่กองทุนฯ ได้รับตามกฎหมายอื่น และดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนฯ ซึ่งไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน 

นายวิสุทธิ์ กล่าวด้วยว่า โดยเงินของกองทุนฯ จะใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ สนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานของเอกชน มูลนิธิ หรือองค์กรสาธารณะประโยชน์เพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะลำบาก ตลอดจนการดำเนินงานและบริหารกองทุนฯ ตามที่คณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบ ซึ่งเงินกองทุนฯ ให้ฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง ปีบัญชีของกองทุนฯ ให้เป็นไปตามปีงบประมาณ ให้สำนักงานจัดทำรายงานการเงินของกองทุนฯ ส่งผู้สอบบัญชีภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน โดยให้ผู้สอบบัญชีของกองทุนฯ ทำรายงานการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการฯ ภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้คณะกรรมการฯ นำส่งรายงานการเงินพร้อมด้วยรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อกระทรวงการคลังภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้สอบบัญชี พร้อมกันนี้ยังให้สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลังจัดให้มีระบบการตรวจสอบภายในเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยุบกองทุนฯ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ก็ให้ยุบกองทุนฯ โดยมีผล 30 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติออกมา ซึ่งหลังจากยุบกองทุนฯ แล้วให้ปลัดกระทรวงการคลังแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชี โดยเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือหลังจากการชำระบัญชีให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป

ขณะที่วัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช. ชื่นชมรัฐบาลที่ได้ออกกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อรองรับการดำเนินการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะเป็นการกำหนดให้ทุกรัฐบาลต่อจากนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมายฉบับนี้ต่อไป แต่ต้องการความชัดเจนระหว่างสิทธิ์ของผู้มีรายได้น้อยในกฎหมายนี้กับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ออกให้ผู้มีรายได้น้อยก่อนหน้านี้

ด้าน พล.อ.ดนัย มีชูเวท สมาชิก สนช.ที่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ ที่จัดสวัสดิการครอบคลุมการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณที่มีกฎหมายรองรับ และมีคณะกรรมการฯ ควบคุมดูแลด้วย แต่มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าผู้ที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน คือ กระทรวงมหาดไทย ดังนั้นจึงต้องการให้มีเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเรื่องทะเบียนราษฎร์ด้วย

 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: เฌอปรางกับเสรีภาพสนับสนุนอำนาจละเมิดเสรีภาพ

Posted: 13 Sep 2018 02:59 AM PDT

" ก็ขอให้กำลังใจน้องเฌอปราง อย่าไปยอมแพ้คนไม่ดี

คนไม่มีคุณธรรม ศีลธรรม อย่าไปยอมแพ้..."

 

ที่มา https://www.matichon.co.th/politics/news_1126466

 

กระแสดราม่าวิจารณ์เฌอปราง อารีย์กุล BNK48 และเหล่าดาราที่อาสาช่วยประชาสัมพันธ์นโยบายและผลงานของรัฐบาล คสช.ในรายการ "เดินหน้าประเทศไทย" ภายใต้อุดมการณ์ "สร้างประเทศไทยไปด้วยกัน" ยังลากยาวในโลกโซเชียล

ล่าสุด คุณประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ออกมาปกป้องเฌอปรางจากการวิจารณ์ของรังสิมันต์ โรม และยังมีบทความวิจารณ์ ตั้งคำถามต่อการวิจารณ์และด่าเฌอปราง ทำนองว่าฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยก็ไม่เคารพเสรีภาพและความเห็นต่าง

ผมเห็นว่ามีประเด็นปัญหาพื้นฐานทางความคิดและหลักการทางปฏิบัติบางประการ ที่ควรทำความเข้าใจให้ชัดเจน จึงขอแลกเปลี่ยนผ่านบทความนี้

ปัญหาแรก คำให้สัมภาษณ์ของคุณประยุทธ์ข้างบน คือการ "เบี่ยงเบนประเด็น" ที่ถกเถียงในโลกโซเชียล ให้กลายเป็นปัญหาเรื่อง "การทำดี คนดี คนไม่ดี" กลายเป็นว่าเฌอปรางและดาราที่มาช่วยงานรัฐบาล คสช.คือคนดี ที่กำลังทำความดีเพื่อชาติ ขณะที่ฝ่ายที่วิจารณ์กลายเป็นคนไม่ดี ไม่มีคุณธรรม ศีลธรรม

แต่ที่จริงแล้ว ปัญหานี้เป็น "ปัญหาเชิงหลักการ" คือปัญหาว่าการที่คนมีชื่อเสียง เป็นเซเลบ ไอดอล ของคนรุ่นใหม่ อาสาประชาสัมพันธ์นโยบาย ผลงาน และอุดมการณ์ของรัฐบาลจากรัฐประหารที่ล้มอำนาจ สิทธิ และเสรีภาพของประชาชนนั้น มี "ความชอบธรรม" หรือไม่ ซึ่งคำตอบย่อมชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วว่า ไม่ว่านักวิชาการ ปัญญาชน สื่อ ดารา นักร้อง หรือใครก็ตามที่สนับสนุนอำนาจดังกล่าว ย่อมไม่ชอบธรรม เพราะขัดกับความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย ที่ต้องมีจิตสำนึกเคารพและปกป้องสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตย

ปัญหาที่สอง ยิ่งตลกร้ายมากขึ้น เมื่อคุณประวิตรให้สัมภาษณ์ว่า "นายรังสิมันต์ โรมจะไปจำกัดสิทธิ์ น.ส.เฌอปรางได้อย่างไร เพราะเขาจะทำอะไรก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล" (ดู http://www.komchadluek.net/news/breaking-news/342951#.W5ZO5BZRoEs.facebook)

ประเด็นคือ การประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล คสช.ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล แต่เป็นเรื่องสาธารณะ และไม่ใช่เรื่องของ "สิทธิ" เพราะตามหลักสิทธินั้นถือว่า "การใช้สิทธิต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิคนอื่นด้วยเสมอ" แต่การประชาสัมพันธ์ผลงานให้รัฐบาล คสช. คือการสนับสนุนอำนาจที่ละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชน

พูดให้ชัดคือ การที่เฌอปราง (หรือใครก็ตาม) ร่วมงานกับรัฐบาลจากรัฐประหาร ย่อมมีความหมายเป็นการสนับสนุนอำนาจที่ละเมิดสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออกของประชาชน มันจึงไม่มีหลักสิทธิของสำนักปรัชญาเสรีนิยม หรือหลักสิทธิมนุษยชนข้อไหน หลักประชาธิปไตยที่ไหนในโลกที่กำหนดไว้ว่า "บุคคลมีสิทธิสนับสนุนอำนาจล้มล้างและ/หรือละเมิดสิทธิของประชาชน"

แท้จริงแล้ว หลักปรัชญาเสรีนิยมและคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ (เป็นต้น) กำหนดไว้ชัดเจนว่า "ประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการเปลี่ยนแปลงหรือล้มล้างรัฐบาลที่ละเมิดหลักสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคได้" ดังนั้นคำวิจารณ์ของรังสิมันต์ โรม จึงไม่ใช่เป็นการ "จำกัดสิทธิ์" ดังที่ประวิตรพูด แต่เป็นการปกป้องหลักการสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยจากการกระทำใดๆ ที่เป็นการละเมิดและ/หรือสนับสนุนอำนาจที่ละเมิดหลักการดังกล่าว

ปัญหาที่สาม คือปัญหาความอ่อนด้อยทางปัญญาของบรรดาคนมีการศึกษาที่แสดงออกว่าตนเองมีความรู้ ความเข้าใจถ่องแท้ในเรื่องการเมือง เสรีภาพ และประชาธิปไตย แต่ในการแสดงโวหารรอบรู้ถูก ผิด ควร ไม่ควรแทบทุกเรื่องนั้น กลับเป็นการแสดงออกบนพื้นฐานของความเข้าใจผิดเพี้ยนในหลักการพื้นฐานสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ เช่นในบทความชื่อ "Internet Bully!! เมื่อเฌอปราง BNK48 ถูกคุกคามทางอินเตอร์เน็ต" ผู้เขียนตั้งคำถาม วิจารณ์ฝ่ายเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยที่วิจารณ์ ด่าเฌอปรางไว้หลายเรื่อง ซึ่งการวิจารณ์ "คำด่า" บางคำก็มีเหตุผลที่ควรรับฟัง

แต่ที่เขียนว่า "สุดท้ายนี้ เสรีภาพ การแสดงออกทางประชาธิปไตยที่เรียกหากัน​ ควรต้องเคารพในเสรีภาพคนอื่นด้วยไม่ใช่หรือ?..." (ดู http://genonline.co/2018/09/06/internet-bully-bnk48/) ทำให้เกิดคำถามว่า ผู้เขียนบทความนั้นกำลังจะบอกว่า "บุคคลมีเสรีภาพที่จะสนับสนุนอำนาจที่ล้มล้างและ/หรือละเมิดหลักเสรีภาพ" เช่นนั้นหรือ
 

ขณะที่เหล่าดารา นักร้องออกมาแสดงความภาคภูมิใจ เป็นเกียรติ รู้สึกดีใจตื่นต้นที่ได้ร่วมงานกับรัฐบาลจากรัฐประหารที่ล้มล้างหลักเสรีภาพ แต่คุณกลับมาเรียกร้องให้ฝ่ายที่ถูกดำเนินคดีไม่รู้กี่คดี ติดคุกก็มาก หนีไปต่างประเทศก็มาก ครอบครัวพัง งานพังเพียงเพราะพวกเขาเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยอย่างสันติ คุณเรียกร้องให้คนที่ถูกกระทำจากอำนาจเผด็จการเคารพเสรีภาพของคนที่สนับสนุนเผด็จการที่ละเมิดหลักเสรีภาพเช่นนั้นหรือ เสรีภาพของคุณช่างไม่อยู่บนหลักการ "เสรีและเป็นธรรม" (free and fair) เอาเสียเลย

มันมีหลักเสรีภาพตามแนวคิดใดในโลกที่เสนอว่า "บุคคลมีเสรีภาพสนับสนุนอำนาจละเมิดเสรีภาพของตนเองและคนอื่น" (เพราะอำนาจรัฐบาล คสช.ละเมิดสิทธิ เสรีภาพทางการเมืองทั้งของเฌอปรางและประชาชนทุกคน) ในสังคมที่เจริญแล้วมีแต่เขาสอนเรื่อง "สิทธิพลเมือง" ว่า พลเมืองมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่อยุติธรรม (กฎหมายเผด็จการที่ขัดหลัก Rule of Law) และมีสิทธิเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือล้มรัฐบาลที่ละเมิดหลักสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยได้

พูดอีกอย่างว่า การใช้อิสรภาพหรือเสรีภาพจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพเสรีภาพและ/หรือส่งเสริมเสรีภาพของบุคคลอื่นด้วยเสมอ ดังโควทข้างล่างนี้

 

https://www.facebook.com/PoliticsKalaland/photos/a.435723619966170/876829902522204/?type=3&theater

อะไรคือเงื่อนไขของความขัดแย้งแบ่งฝ่ายของประชาชน? คำตอบก็คือ "ระบบที่ไม่เสรีและเป็นธรรม" ที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มอำนาจนอกระบบ กลายเป็นเงื่อนไขให้ฝ่ายหนึ่งเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตย และอีกฝ่ายยอมรับและสนับสนุนระบบที่ไม่เสรีและเป็นธรรมนั้นทั้งโดยตรงและโดยปริยาย ด้วยการอ้างสิทธิ เสรีภาพอย่างผิดเพี้ยน

ใช่ครับ ตามหลักเสรีภาพในการพูด การแสดงออก คุณมีสิทธิแสดงความเห็น ความคิด ความเชื่อ หรืออุดมการณ์ที่ขัดกับประชาธิปไตยได้ ตราบที่ไม่ก่ออันตรายแก่ทรัพย์สิน ชีวิต อิสรภาพของบุคคลอื่น แต่คุณไม่มีสิทธิหรือเสรีภาพสนับสนุนอำนาจที่ใช้กำลังล้มล้างสิทธิ เสรีภาพได้ เช่นคุณจะชุมนุมขวางการเลือกตั้ง สร้างเงื่อนไขหรือสบคบคิดให้เกิดรัฐประหาร เมื่อเกิดรัฐประหารแล้วก็เลี้ยงฉลองกันใหญ่ จากนั้นก็เชียร์ สนับสนุน เข้าร่วมงานกับรัฐบาลจากรัฐประหาร โดยอ้างว่านี่เป็น "การใช้สิทธิ เสรีภาพ"ไม่ได้ เพราะไม่มีหลักสิทธิ เสรีภาพที่ไหนกำหนดไว้ว่า การสนับสนุนอำนาจล้มล้างและ/หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของตนเองและคนอื่นถือเป็นเรื่องของการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ
 

สุดท้ายแล้ว การสร้างประชาธิปไตย ตั้งแต่ 2475 เป็นต้นมา ที่ต้องล้มลุกมาตลอด ก็ไม่ใช่เพียงเพราะเกิดรัฐประหารซ้ำซากเท่านั้น แต่ปัญหาที่สำคัญกว่าคือปัญหาเชิงความรู้ ความเข้าใจ หรือปัญหาเชิงความคิด จิตสำนึก และอุดมการณ์ ซึ่งไม่ใช่มาจากประชาชนที่ด้อยการศึกษาที่ถูกกล่าวหาหรือดูถูกมาตลอดว่าพวกเขาเป็นปัญหาของประชาธิปไตย เพราะเลือกนักการเมืองผิด หากแต่ปัญหาที่แท้จริงเกิดจากบรรดาผู้มีการศึกษาดีและเสียงดังในสังคม ที่เข้าใจผิดเพี้ยนเกี่ยวกับหลักการเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และประชาธิปไตย
 

หรือไม่ก็เป็นความจงใจบิดเบือนหรือคอรํรัปหลักการดังกล่าว ด้วยการสร้างตรรกะวิบัติหรือตรรกะป่วย เพื่อปกป้องความมั่นคงของสถานะ อำนาจ และผลประโยชน์ของพวกอภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในสังคม ดังที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งกว่าทศวรรษแห่งความขัดแย้ง ที่สังคมเราเผชิญกันมาและกำลังเผชิญอยู่ และยังไม่สามารถกำหนดวิถีทางประชาธิปไตยให้เป็นทางออกจากความขัดแย้งได้   

 

 

 

 

 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น