โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com

Link to ประชาไท

ใจ อึ๊งภากรณ์: วิกฤตขยะพลาสติกรกโลก

Posted: 23 Sep 2018 09:04 AM PDT

ทุกๆ ปีมีการผลิตพลาสติกเท่ากับน้ำหนักมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ และคาดว่าในปี 2050 จะมีพลาสติกในทะเลมากกว่าปลา นักวิจัยบางคนเสนออีกว่าคนที่กินอาหารทะเลเป็นประจำจะกลืนเศษพลาสติกเล็กๆ จากปลาหมื่นกว่าชิ้น ซึ่งเรายังไม่ทราบว่าจะมีผลอะไรต่อสุขภาพ


ปลาวาฬกลืนพลาสติกจนตาย

ปัญหาขยะพลาสติกได้กลายเป็นวิกฤตสำหรับสิ่งแวดล้อมและความอยู่ดีกินดีของมนุษย์และสัตว์โดยทั่วไป ทั้งนี้เพราะผลผลิตพลาสติกใช้เวลาเป็นศตวรรษก่อนที่มันจะเน่าเปื่อย และเพราะการผลิตพลาสติกในรอบ 50 ปี เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

เมื่อสมัยผมเป็นเด็ก น้ำอัดลมมักจะขายในขวดแก้วที่ดื่มแล้วส่งกลับไปที่โรงงานเพื่อใช้ต่อไปอีกหลายครั้ง แต่ในยุคนี้ทุกวินาทีโรงงานอุตสาหกรรมของโลกผลิตขวดพลาสติก 16,000 ขวด และบริษัทโคคาโคลาบริษัทเดียวผลิตขวดพลาสติกหนึ่งแสนล้านขวดต่อปี เพราะการผลิตขวดพลาสติกเพื่อใช้ครั้งเดียวถูกกว่าการใช้ขวดแก้วที่ต้องนำไปล้าง

เมื่อสมัยผมเป็นเด็ก เวลาเราจะซื้ออาหารที่ขายกันหน้าปากซอยไปกินที่บ้าน เราจะใช้ปิ่นโตที่ยกไปที่ร้านแล้วให้เขาเติมอาหารลงไป แต่ในยุคนี้เราจะซื้ออาหารในถุงพลาสติกแทน และถุงพลาสติกเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาขยะเช่นกัน

การค้นพบวิธีผลิตพลาสติกผูกพันกับการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันอย่างใกล้ชิด เพราะพลาสติกเป็นผลผลิตจากการกลั่นน้ำมัน การขยายตัวของการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และมีทั้งคุณและโทษต่อสังคม ในด้านประโยชน์การผลิตพลาสติกในรูปแบบต่างๆ ทำให้สามารถพัฒนาเทคโนโลจีทางการแพทย์ได้ และเป็นวัตถุที่มีประโยชน์ในเครื่องมือไฟฟ้า ฯลฯ อย่างไรก็ตามการขยายตัวของการผลิตขวด หลอด และถุงพลาสติกชนิดที่ใช้แล้วทิ้ง กลายเป็นวิกฤตสำหรับเราในยุคนี้

กระแสต่อต้านขยะพลาสติกทำให้บริษัทใหญ่และรัฐบาลในบางประเทศปรับตัว เช่นในหลายประเทศของยุโรปมีการพยายามยกเลิกการให้ถุงพลาสติกในร้านค้า หรือลดปริมาณการขายกาแฟในถ้วยพลาสติกเป็นต้น บางแห่งมีการเก็บขยะพลาสติกไปรีไซเคิลหรือไปแปรรูปผ่านการหลอมและใช้ใหม่ แต่ในความเป็นจริง บริษัทใหญ่ใช้พลาสติกที่มาจากการรีไซเคิลแค่ 6.6% ของการผลิตเท่านั้น เพราะการผลิตขวดพลาสติกใหม่ราคาถูกกว่าการรีไชเคิล ยิ่งกว่านั้นราคาขยะพลาสติกตกต่ำลงจนไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัทต่างๆ ที่จะขนไปรีไซเคิล ดังนั้นมีการนำไปฝังดินหรือทิ้งในทะเลแทน

เรื่องเงินเรื่องทองเป็นหัวใจของเรื่อง เพราะในระบบทุนนิยม รูปแบบการผลิตทุกอย่างถูกกำหนดจากปริมาณกำไรที่กลุ่มทุนจะได้ ถ้าการผลิตถุงหรือขวดพลาสติกสร้างกำไรมากกว่าการลดพลาสติก กลุ่มทุนจะทำต่อไปไม่ว่าจะสร้างปัญหาอะไรให้กับชาวโลก

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: https://turnleftthai.wordpress.com/2018/09/23

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

50 Shades of เสื้อเหลือง | หมายเหตุประเพทไทย #228

Posted: 23 Sep 2018 06:05 AM PDT

ในวาระครบรอบ 12 ปีรัฐประหาร 19 กันยา 49 คำ ผกา และชานันท์ ยอดหงษ์ ชวนอ่านบทความของกนกรัตน์ เลิศชูสกุล "50 shades of yellow: how conservatism overwhelmed liberalism in the anti-Thaksin movement" ที่นำเสนอในเว็บไซต์นิวมันดาลา เผยให้เห็นองค์ประกอบหลากหลายของมวลชนใน "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" หรือ "คนเสื้อเหลือง" ที่ไม่เพียงประกอบด้วยชนชั้นกลางที่ไม่ค่อยติดตามข่าวสารและมีส่วนร่วมทางการเมืองมาก่อน และพลังกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ถูกปลุกชีพขึ้นมาใหม่แล้ว ยังมีกลุ่มสนับสนุนแนวทางเสรีนิยมมาเข้าร่วมด้วย

ทั้งนี้แม้กลุ่มสนับสนุนเสรีนิยมในพันธมิตรฯ จะมีจุดยืนหลายประการที่สนับสนุนประเด็นก้าวหน้าทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่อต้านทุนผูกขาด-เสรีนิยมใหม่ ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ อย่างไรก็ตามด้วยจุดยืน "ไม่เอาทักษิณ" ก็ทำให้ปีกเสรีนิยมในพันธมิตรฯ เลือกที่จะสนับสนุนทุกวิถีทางรวมทั้งการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อขจัดระบอบทักษิณออกจากการเมืองไทย และด้วยคำว่า "ทักษิณ" ก็คงยากที่จะทำให้มวลชนทั้งสองฝ่ายจะหันมาบรรจบกันทางความคิดในระยะเวลาอันใกล้นี้

หมายเหตุประเพทไทยย้อนหลัง

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
เฟสบุ๊ค 
https://www.facebook.com/maihetpraphetthai 
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

นักการเมืองมาเลเซียเรียกร้องรื้อคดีประหารคนแจกจ่ายกัญชาเพื่อการแพทย์

Posted: 23 Sep 2018 01:59 AM PDT

นักการเมืองมาเลเซียหลายคนรวมถึง รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีมหาธีร โมฮัมหมัด เริ่มเรียกร้องให้มีการพิจารณาคดีคนที่ถูกตัดสินประหารชีวิตเพราะแจกจ่ายกัญชาเพื่อการแพทย์อีกครั้ง หลังจากเมื่อปลายเดือนที่แล้ว 'มูฮัมหมัด ลุคแมน' ถูกตัดสินประหารชีวิตเพราะมีกัญชาไว้ในครอบครองและแจกจ่ายสารสกัดรวมถึงน้ำมันกัญชาที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข


มูฮัมหมัด ลุคแมน (ภาพจาก SEA GANJA MOVEMENT)

ลิววุยเคียง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียกล่าวสนับสนุนข้อเรียกร้องของนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมหมัด ที่เรียกร้องให้มีการพิจารณาคดีของชายที่ถูกตัดสินโทษประหารเนื่องจากทำการผลิต ครอบครอง และกระจายต่อน้ำมันที่สกัดจากกัญชา

"ผมเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีว่าพวกเราควรจะพิจารณาคดีนี้ใหม่อีกครั้ง" ลิววุยเคียงกล่าว

"ผมมั่นใจว่าหลักนิติธรรมจะชนะในคดีเฉพาะนี้ และเขาจะได้รับการพิสูจน์ว่าไม่มีความผิดถ้าหากเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีโทษประหารนี้" ลิววุยเคียงกล่าว

กรณีที่กล่าวถึงกรณีของมูฮัมหมัด ลุคแมน ผู้ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตเพราะมีน้ำมันกัญชาไว้ในครอบครอง 3.1 ลิตร มีกัญชอัดแท่งในครอบครอง 279 กรัม และสสารที่มีส่วนประกอบของเตตระไฮโดรแคนนาบินอย (THC) ซึ่งเป็นสารสกัดจากกัญชา 1.4 กิโลกรัม ลุคแมนถูกจับกุมพร้อมภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์เมื่อเดือน ธ.ค. 2558 โดยถึงแม้ว่าภรรยาเขาจะได้รับการปล่อยตัวโดยทันที แต่ลุคแมนก็ถูกสั่งตัดสินประหารชีวิตในวันที่ 30 ส.ค. ที่ผ่านมาโดยศาลสูงในชาห์อาลัม

ตั้งแต่การตัดสินในครั้งนั้นเป็นต้นมาทำให้คดีนี้กลายเป็นที่พูดถึงในระดับไวรัลบนโซเชียลมีเดียจนทำให้มีการล่ารายชื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวลุคแมนตามมา

ฟาร์ฮาน มารุฟ ทนายความของลุคแมนกล่าวว่าลุคแมนไม่ได้มีเจตนาที่จะส่งเสริมให้มียาเสพติดมากขึ้นในพื้นที่สาธารณะ เขาเพียงแค่ต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อาการป่วยของพวกเขาอาจจะรักษาได้ด้วยสารสกัด THC

ในช่วงกลางสัปดาห์ที่แล้วเมื่อมีผู้ถามถึงกรณีโทรประหารชีวิตต่อลุตแมน มหาธีร์ กล่าวว่าคดีนี้ควรนำมาพิจารณาอีกครั้ง

อย่างไรก็ตามนูร์ ฮิชัม อับดุลเลาะห์ อธิบดีกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียกล่าวเน้นย้ำว่าไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ว่าน้ำมันจากกัญชาสามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ การนำมาใช้จึงควรจะอนุญาตให้บุคลากรที่มีคุณสมบัตินำมาใช้เพื่อการวิจัยภายใต้การรับรองของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ดซุลกิฟลี อาห์หมัด เคยบอกว่าทางคณะรัฐมนตรีเคยหารือกันในเรื่องนี้แล้วแต่ไม่สามารถบรรลุมติใดๆ ได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพิจารณาเรื่องโทษประหารลุคแมนในอนาคต

ขณะเดียวกัน นูรูห์ อิซซาห์ อันวาร์ ส.ส. จากเปอร์มาตังปาอูห์ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อสภาอัยการเมื่อวันที่ 19 ก.ย. ที่ผ่านมาขอให้มีการลดโทษให้กับลุคแมน โดยที่นูรูห์ อิซซาห์ เคยบอกว่าจะเรียกร้องให้การใช้น้ำมันกัญชาเพื่อการแพทย์ไม่ผิดกฎหมายด้วย

เรียบเรียงจาก

Law minister backs PM on reviewing medical marijuana case, Malaysiakini, 21-09-2018 https://www.malaysiakini.com/news/444015

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'รวมพลังประชาชาติไทย' ระบุคำสั่งคลายล็อคทำพรรคใหม่เสียเปรียบ

Posted: 23 Sep 2018 12:47 AM PDT

'รวมพลังประชาชาติไทย' ชี้คำสั่งคลายล็อค ทำพรรคใหม่เสียเปรียบ ย้ำจุดยืนพร้อมร่วมงานกับพรรคฝ่ายรัฐบาลไม่ขอเป็นฝ่ายค้าน ด้านรองเลขาธิการ 'ภูมิใจไทย' ระบุ 'บุญจง วงศ์ไตรรัตน์' ออกจากพรรคตั้งแต่ปี 2557 ประกาศกับชาวบ้านว่าจะไปอยู่ 'พลังประชารัฐ' เตรียมเปิดตัวปลายเดือน ก.ย. นี้ 'อลงกรณ์' เผยนัดหารือแกนนำ 'ประชาธิปัตย์' คุยเรื่องอนาคตพรรค 25 ก.ย. นี้

23 ก.ย. 2561 หม่อมราชวงศ์จตุมงคล โสนกุล ว่าที่หัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของพรรค หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งคลายล็อกให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรม ว่าพรรคเห็นว่า จะทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้เปรียบทางการเมืองแต่ทางพรรคก็ยังจะเดินหน้ารับฟังปัญหาของประชาชน ซึ่งขณะนี้แกนนำพรรคได้ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาและจะนำเอาปัญหา มารวบรวมและกลั่นกรองนำมาเป็นนโยบายของพรรค ขณะเดียวกัน ระหว่างลงพื้นที่จะมีการประชาสัมพันธ์แจกใบแสดงเจตจำนงเข้าเป็นสมาชิกพรรคด้วยความสมัครใจ พร้อมยืนยันสิ่งที่พรรคดำนินการไม่ใช่การหาเสียง ตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์

ด้านนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ว่าที่เลขาธิการพรรค ยอมรับว่าหากการเลือกตั้งเป็นไปตามโรดแมปคือ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ทางพรรคจะต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะขณะนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่อนุมัติให้พรรคเป็นพรรคการเมืองอย่างถูกต้อง ซึ่งหากนับระยะเวลาแล้วเหลืออีกเพียงไม่กี่เดือน ทั้งนี้หาก กกต. อนุมัติเรื่องดังกล่าว ทางพรรคจะจัดประชุมใหญ่ครั้งแรก เพื่อคัดเลือกกรรมการบริหารพรรค แต่ยืนยันว่าทางพรรคจะทำทุกอย่างที่ถูกต้องให้เป็นไปตามกติกา ขณะเดียวกันยังคงยืนยันว่า พรรคพร้อมร่วมงานกับพรรคฝ่ายรัฐบาล และจะไม่ขอเป็นฝ่ายค้าน

'บุญจง' ออก 'ภูมิใจไทย' ไป 'พลังประชารัฐ'

นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทยได้ประกาศกับชาวบ้านว่าจะไปอยู่พรรคพลังประชารัฐ โดยเตรียมเปิดตัวปลายเดือนกันยายนนี้ว่า นายบุญจง ได้ออกจากพรรคภูมิใจไทยไปตั้งแต่ช่วงที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี  ยุบสภาและตอนเลือกตั้ง ส.ส.ในปี 2557 ก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกันจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นการทิ้งพรรคภูมิใจไทยไปตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

'อลงกรณ์' เผยนัดหารือแกนนำประชาธิปัตย์คุยเรื่องอนาคตพรรค 25 ก.ย. นี้

ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงกรณีนายสุรบถ หลีกภัย หรือ ปลื้ม บุตรชาย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ว่า เป็นสัญญานที่ดีของพรรคประชาธิปัตย์เปรียบเสมือนคลื่นลูกใหม่และเชื่อว่าจะมีคนรุ่นใหม่เข้ามามากขึ้นยิ่งถ้ามีการปฏิรูปพรรคอย่างต่อเนื่องจริงจัง โดยพรรคประชาธิปัตย์ต้องปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการสร้างองค์กรให้ทันสมัยสู่ยุคดิจิทัลเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ในพรรคเช่นกรณีกลุ่มโมเมนตั้มพลังคนรุ่นใหม่ของพรรคเลเบอร์อังกฤษ

นายอลงกรณ์ยังเปิดเผยด้วยว่าวันที่ 25 ก.ย. 2561 ช่วงเช้าได้นัดหมายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัต์ เพื่อหารือเรื่องอนาคตพรรคและกติกาไพรมารีและช่วงบ่ายจะมีการประชุมกับแกนนำสมาชิกพรรคเกี่ยวกับกฎเหล็ก 5 ข้อและการเลือกหัวหน้าพรรค

"การหยั่งเสียงไพรมารีควรเปิดกว้างให้สมาชิกที่ลงทะเบียนก่อนและหลังเดือน เม.ย. 2561 ซึ่งมีไม่น้อยกว่า 2.9 ล้านคน มีสิทธิ์ลงคะแนนแบบวันแมนวันโหวตโดยให้มีการดีเบต 2 ครั้งและถ้าผู้สมัครคนใดได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่งให้ถือเป็นเด็ดขาดเพราะพรรคเป็นของสมาชิกทุกคนโดยที่ประชุมใหญ่พรรคทำหน้าที่รับรองหัวหน้าพรรคคนใหม่ไม่ใช่แค่บอกว่าให้คำนึงถึงผลการหยั่งเสียงไพรมารีเท่านั้นจะพิจารณาหรือไม่ก็ได้มิฉะนั้นไพรมารีที่ท่านหัวหน้าพรรคริเริ่มและเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับพรรคประชาธิปัตย์และทุกพรรคการเมืองจะกลายเป็นเพียงพิธีกรรมที่ไร้ความหมาย" นายอลงกรณ์ กล่าว

ที่มาข่าวเรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย [1] [2] [3]

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

นักเศรษฐศาสตร์ประเมินรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจ 10.970 ล้านล้านบาท

Posted: 22 Sep 2018 11:55 PM PDT

อดีตกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะประเมินอนาคตเศรษฐกิจการเมืองไทยและผลกระทบจากการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ในโอกาสครบรอบ 12 ปี ความเสียหายทางเศรษฐกิจ โอกาสทางเศรษฐกิจ การลงทุน การค้า และโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจะอยู่ที่ประมาณ 10.970 ล้านล้านบาท เทียบเท่ากับ 3.65 เท่าของเม็ดเงินงบประมาณปี 2562 เม็ดเงินดังกล่าวหากไม่เสียหายไปจากผลกระทบของการรัฐประหารและวิกฤตการณ์ทางการเมืองย่อมสามารถนำมาใช้พัฒนาประเทศได้โดยไม่ต้องเก็บภาษีไม่ต้องก่อหนี้สาธารณะเป็นเวลา 3.65 ปี อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยในช่วง 12 ปีที่ผ่านลดต่ำลงและต่ำกว่า 4% โดยส่วนใหญ่


ที่มาภาพประกอบ: James Gagen (CC BY-NC 2.0)

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงผลกระทบจากรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ในโอกาสครบรอบ 12 ปีและประเมินอนาคตเศรษฐกิจการเมืองไทย ว่า 12 ปีหลังการรัฐประหาร 2549 ประเทศไทยได้สูญเสียโอกาสในการก้าวข้ามพ้นประเทศรายได้ระดับปานกลางสู่ประเทศพัฒนาแล้วเนื่องจากเราติดกับดักในวิกฤตการณ์ทางการเมืองและการรัฐประหารสองครั้งในทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น "ทศวรรษแห่งความถดถอยและสูญเสียโอกาส" รัฐประหารปี 2549 ได้รับการพิสูจน์แล้วว่านอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองแล้วยังทำให้ปัญหาความขัดแย้งทรุดหนักมากกว่าเดิมในระยะต่อมา หลังจากรัฐประหารปี 2549 เพียง 8 ปีก็เกิดรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งในปี 2557 รัฐประหารปี 2549 เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ได้ทำลายภาพพจน์ของประเทศในฐานะประเทศที่มีประชาธิปไตยก้าวหน้าที่สุดในอาเซียน เป็นการเปิดประตูให้กับการใช้กำลังในการทำลายระบบนิติรัฐและกติกาสูงสุดอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ประเทศได้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยพร้อมทั้งหลักการนายกรัฐมนตรีต้องมาจากประชาชนหลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 และการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 

12 ปีหลังการรัฐประหาร ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรี 6 คน มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้งทำให้ไม่สามารถปฏิรูปเศรษฐกิจและแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจได้มากนัก การมีรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ควบคุมอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่มุ่งปฏิรูปการเมืองให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ ความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ในยุครัฐบาลสมัคร ต่อมาจนถึง รัฐบาลสมชาย รัฐบาลอภิสิทธิ์ จนกระทั่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำงานด้านนโยบายระยะยาวให้กับประเทศได้ ขณะที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีความล้าหลังและมีเนื้อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 เสียอีก จึงไม่อาจคาดหวังได้ว่าหลังการเลือกตั้งต้นปี 2562 แล้ว ประเทศไทยจะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่มีความเข้มแข็งมั่นคง อย่างไรก็ตาม หากประชาชนช่วยกันแสดงเจตนารมณ์ผ่านการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเป็นเอกภาพและสามารถจัดตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่มีเสถียรภาพ โอกาสในการผลักดันให้ประเทศก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วในทศวรรษหน้าย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้  
 
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวอีกว่า รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารสองรัฐบาลในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา จะสนองตอบกลุ่มที่สนับสนุนการรัฐประหารมากกว่าประชาชนโดยรวม จึงพบว่างบประมาณทหารจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในยุครัฐบาลรัฐประหาร โดยรัฐบาลประยุทธ์มีการจัดสรรงบประมาณให้กระทรวงกลาโหมสูงกว่ารัฐบาลสุรยุทธ์อย่างมากแม้นจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารเหมือนกัน นอกจากนี้รัฐบาล คสช. ยังก่อหนี้ผูกพันในงบประมาณแผ่นดินไปจนถึงปี 2565 นอกจากนี้งานวิจัยจำนวนมากยังบ่งชี้ว่าระบอบประชาธิปไตยจะมีการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา สาธารณสุข สูงกว่าระบอบเผด็จการและสามารถรับมือวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าด้วย
 
แม้นการรัฐประหารหลายครั้งในประเทศไทยจะไม่มีการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อในช่วงการก่อรัฐประหาร แต่มักจะนำมาสู่ความรุนแรงนองเลือดในภายหลัง เช่น การรัฐประหารปี 2549 เป็นผลต่อเนื่องทำให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองและนำมาสู่การปรามปรามผู้ชุมนุมในปี 2552 และ 2553 การรัฐประหารปี 2534 ทำให้ต่อมาเกิดเหตุการณ์เดือนพฤษภาปี 2535 ต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งซึ่งเป็นแกนนำของคณะรัฐประหาร รสช. เป็นต้น แม้นการรัฐประหารปี 2557 จะไม่มีความรุนแรงนองเลือดแต่หลังการรัฐประหารได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและมีประชาชนถูกดำเนินคดีและคุมขังจำนวนมากอย่างไม่เป็นธรรม หากมีการสืบทอดอำนาจโดยไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้งในปี 2562 จะเกิดความเสี่ยงในการเกิดการเผชิญหน้าและความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ได้ และ เราจะอยู่ในระบอบกึ่งประชาธิปไตยภายใต้การสืบทอดอำนาจของ คสช. หากกองทัพถอยออกจากการเมืองและมีความเป็นทหารอาชีพ ไม่เข้าแทรกแซงด้วยการก่อรัฐประหารอีก ปล่อยให้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมืองในอนาคตถูกแก้ไขโดยกลไกรัฐสภาและกระบวนการทางกฎหมาย ระบอบประชาธิปไตยย่อมมีความมั่นคงและเป็นรากฐานสำคัญต่อความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน 

ความเสียหายทางเศรษฐกิจ โอกาสทางการลงทุน การชะงักงันของกิจกรรมและธุรกรรมทางเศรษฐกิจการค้า ย้อนกลับไปที่ข้อมูลในอดีต ตอนรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ตลาดหุ้นเปิดทำการซื้อขายวันแรกหลังรัฐประหาร (21 ก.ย. 2549) ปรับตัวลงไปแรงที่สุด 29.56 คิดเป็น 4.2% ช่วงเปิดตลาดแต่ช่วงใกล้ปิดตลาดดัชนีกระเตื้องขึ้นจึงปรับตัวลงไปเพียง 1.42% เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจขณะนั้นยังแข็งแรงอยู่ ตอนรัฐประหาร 23 ก.พ. 2534 ในวันถัดมาหลังรัฐประหารดัชนีปรับลงแรง 57.4 จุดหรือ 7.25% หากตั้งสมมุติฐานว่าไม่มีการรัฐประหารสองครั้งและไม่มีวิกฤตการณ์ทางการเมืองรุนแรงในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 5% ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมารวมทั้งสมมติให้ปัจจัยอื่นๆคงที่เมื่อเทียบกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเราจะสามารถประมาณการเบื้องต้นความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการรัฐประหารได้ 

แม้นรัฐประหารจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นก็ตาม การรัฐประหารและการฉีกรัฐธรรมนูญก่อให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองอันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นต่อการลงทุนและการบริโภค ความเสียหายทางเศรษฐกิจ โอกาสทางเศรษฐกิจ การลงทุน การค้า และโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจะอยู่ที่ประมาณ 10.970 ล้านล้านบาท เทียบเท่ากับ 3.65 เท่าของเม็ดเงินงบประมาณปี 2562 และเม็ดเงินดังกล่าวหากไม่เสียหายไปจากผลกระทบของการรัฐประหารประเทศและวิกฤตการณ์ทางการเมืองย่อมสามารถนำมาใช้พัฒนาประเทศได้โดยไม่ต้องเก็บภาษีไม่ต้องก่อหนี้สาธารณะเป็นเวลา 3.65 ปี 

ก่อนการรัฐประหารปี 2549 อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับสูงในปี 2545 อยู่ที่ 6.1% ในปี 2546 อยู่ที่ 7.2% ในปี 2547 อยู่ที่ 6.3% โดยเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลงเล็กน้อยในปี 2548 มาอยู่ที่ 4.2% หลังจากเริ่มเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาหลังจากการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ลดต่ำลงและต่ำกว่า 4% โดยส่วนใหญ่ยกเว้นในปี 2550, 2553 และ 2556 นอกจากนี้ การลงทุนจากต่างประเทศ การช่วยเหลือจากต่างประเทศ และการเจรจาเพื่อทำข้อตกลงทางการค้าเกิดสภาวะชะงักงันหลังการรัฐประหารทั้งสองครั้ง (ปี 2549 และปี 2557) และปรับดีขึ้นหลังประเทศกลับคืนสู่รัฐบาลเลือกตั้ง 

นายอนุสรณ์ กล่าวอีกว่าหากเปรียบเทียบผลกระทบทางเศรษฐกิจของรัฐประหารปี 2549 กับ รัฐประหารปี 2557 จะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากรัฐประหารปี 2549 เกิดขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจดีกว่า ขณะที่ความขัดแย้งและวิกฤตการณ์ทางการเมืองปี 2557 ก็มีความซับซ้อนมากกว่า ในอนาคตขอให้ติดตามพลวัตของผลพวงของรัฐประหารปี 2557 พลวัตของการสืบทอดอำนาจของ คสช หลังการเลือกตั้งและการต่อต้านการสืบทอดอำนาจว่าจะมีพัฒนาการอย่างไรต่อไปหลังการเลือกตั้ง หากการจัดการเลือกตั้งมีความเสรีและเป็นธรรมเป็นไปตามมาตรฐานสากล กระบวนการเปลี่ยนผ่านอำนาจจะเป็นไปอย่างสันติและเป็นไปตามความต้องการของประชาชนจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศในอนาคต  
 
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ เสริมอีกว่าระบอบประชาธิปไตยทำให้ระบบตลาดทำงานได้ดีและสร้างธรรมาภิบาลได้ดีกว่าระบอบเผด็จการ งานวิจัยของ Barro (1996) ใช้แบบจำลองการขยายตัวทางเศรษฐกิจ วิเคราะห์ผลกระทบของระบอบประชาธิปไตยโดยใช้ตัวแปรเสรีภาพทางการเมืองต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจระหว่างปี ค.ศ. 1960-1990 ของ 100 กว่าประเทศ ได้ข้อสรุปว่าตัวแปรประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์เป็นบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเมื่อควบคุมผลของตัวแปรกับตัวแปรอื่นแต่ความสัมพันธ์ไม่เป็นเส้นตรง นอกจากนี้ งานวิจัยของ Plumper and Martin (2003) ระดับความเป็นประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อการขยายตัวของรายได้ต่อหัว และ การใช้จ่ายรัฐบาลจะมีผลต่อการขยายตัวสูงกว่าประเทศที่มีการพัฒนาประชาธิปไตยต่ำ งานวิจัยช่วยอธิบายว่าทำไมรัฐบาล คสช. อัดฉีดงบประมาณการใช้จ่ายจำนวนมากเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแต่มีผลกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจน้อยกว่าที่ควรจะเป็น งานวิจัยของ Lee (2005) ทดสอบความสัมพันธ์ของการใช้จ่ายของรัฐ ความเป็นประชาธิปไตย กับการกระจายรายได้โดยประมาณการสมการเศรษฐมิติจากข้อมูลจาก 64 ประเทศพบว่าความเป็นประชาธิปไตยและการใช้จ่ายของรัฐมีปฏิสัมพันธ์กันในการส่งผลต่อความเท่าเทียมกันของรายได้ภายในประเทศ ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทำให้การกระจายรายได้ดีขึ้น ส่วนประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย การเพิ่มขนาดของรัฐนำไปสู่การกระจายได้ที่แย่ลง  

นอกจากนี้งานวิจัยของพงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยุทธนา เศรษฐปราโมทย์ อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่อง "ผลกระทบทางเศรษฐกิจของความไม่แน่นอนทางการเมืองไทย" ว่าตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคนอกเหนือไปจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวม ได้แก่ การลงทุนและการบริโภค พบข้อมูลดังนี้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่มาจากการชุมนุมขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นทำให้การลงทุนปรับตัวหดลง -1.8% อย่างไรก็ตาม ผลจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในด้านอื่นๆ (กฎอัยการศึก, การรัฐประหาร และเลือกตั้ง) มีผลในขนาดที่น้อยกว่า ขณะที่ "ความผันผวนของการลงทุน" จะขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางการเมืองด้านการชุมนุมขัดแย้ง การตอบสนองของการบริโภคต่อความไม่แน่นอนทางเมือง พบว่ารุนแรงน้อยกว่าผลต่อการลงทุนภาคเอกชน โดยผลกระทบที่เห็นชัดเจนที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของระดับความขัดแย้งจากการชุมนุมและด้านการเลือกตั้งที่จะส่งผลต่อการบริโภคภาคเอกชนลดลง -0.3% โดยผลกระทบจะมีผลต่อเนื่องประมาณ 2-4 ไตรมาสก่อนที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ ลดลงหลัง 1 ปี ความไม่แน่นอนทางการเมืองในภาพรวม และในดัชนีย่อย มีผลเชิงลบต่ออัตราการเติบโตของระดับผลผลิตตามศักยภาพของไทยในเกือบทุกกรณี ยกเว้นเพียงผลของความไม่แน่นอนด้านการชุมนุมขัดแย้งที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์มวลรวมแยกตามรายสาขาการผลิต พบว่า การโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ และการบริการขนส่ง เป็น 3 สาขาที่มีการตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของความไม่แน่นอนทางการเมืองโดยรวมที่ชัดเจน

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ยังได้กล่าวอ้างงานวิจัยสำคัญต่างๆเพิ่มเติมเพื่อชี้ให้เห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวมากกว่าโดยเฉพาะมิติทางด้านความเป็นธรรมและการกระจายรายได้ เช่น Barro (1996), Glasure, Lee and Norris (1999), Plumper and Martin (2003), Doucouliagos and Ulubasoglu (2008), Rodrik and Wacziarg (2005) เป็นต้น แสดงถึงความสัมพันธ์ของระดับประชาธิปไตย การใช้กฎอัยการศึกษาและการจำกัดเสรีภาพ (การปกครองแบบรวมอำนาจ) กับ การพัฒนาเศรษฐกิจ พบข้อสรุปจากงานวิจัยสำคัญๆ สอดคล้องกันว่า ในระยะยาว ระบอบประชาธิปไตยทำให้เสถียรภาพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นมากกว่าระบอบอำนาจนิยมหลายเท่าตัวเพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนและเสรีภาพในการประกอบการ เสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกทำให้เกิดนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์

นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศที่มีประชาธิปไตยในระดับสูง ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจจะสูงขึ้น ความเหลื่อมล้ำลดลง เสถียรภาพของสังคมสูงกว่า ความแตกแยกต่ำกว่า สถาบันต่างๆมีความเข้มแข็งและธนาคารกลางมีความเป็นอิสระมากกว่า การเป็นประชาธิปไตยมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านสี่ช่องทางคือ ทุนกายภาพดีกว่า ทุนมนุษย์สูงกว่า ทุนทางสังคมและการเมืองมากกว่าระบอบอำนาจนิยม (Persson and Tabellini 2006) นอกจากนี้ระบอบประชาธิปไตยยังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าระบอบอำนาจนิยม (Rodrik 2007)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

องค์กรครูระบุ ขรก. 80% มีเงินเดือนระดับปฏิบัติการ เกษียณได้เงินบำนาญน้อย

Posted: 22 Sep 2018 09:44 PM PDT

นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทยระบุข้าราชการไทย 80% มีเงินเดือนระดับปฏิบัติการส่วนน้อยที่จะได้ชำนาญการพิเศษขึ้นไป เงินบำนาญมีตั้งแต่ระดับน้อยถึงมาก ข้าราชการที่มีบำนาญน้อยจึงลำบาก และมีหนี้สินเป็นส่วนใหญ่ ชี้ยังไม่เคยสำรวจปัญหาของผู้เกษียณแล้วจะรู้ปัญหาที่แท้จริงของข้าราชการเกษียณได้อย่างไร


ที่ภาพจาก: iLaw (ไอลอว์)

เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่านายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เปิดเผยว่าตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางให้ข่าวทำนองไม่เห็นด้วยกรณีที่สหพันธ์ข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทยเสนอให้มีการปรับขึ้นเงินบำเหน็จเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ โดยอธิบดีกรมบัญชีกลางเห็นว่าข้าราชการบำนาญไม่ได้ทำงาน แต่ได้เงินมากกว่าคนจนเยอะ แล้วจะเรียกร้องให้มีการเพิ่มเงินบำนาญไปทำไมนั้นว่าเรื่องนี้มีข้าราชการทั่วประเทศรับไม่ได้กับที่อธิบดีกรมบัญชีกลางให้ข่าวอย่างนี้ เป็นการให้ข่าวที่ขาดการสำรวจศึกษาและการวิจัยที่แท้จริง อธิบดีกรมบัญชีกลางไม่เคยเกษียณและยังไม่เคยสำรวจปัญหาของผู้เกษียณอีกแล้วจะรู้ปัญหาที่แท้จริงของข้าราชการที่เกษียณไปแล้วได้อย่างไร

'กรมบัญชีกลาง' แจง 'ขรก.' เรียกบำนาญเพิ่ม เกินที่รัฐค้ำประกัน
ขรก.เกษียณเสนอ สนช. แก้กฎหมายเพิ่มเงินบำนาญ ชี้เป็นคนจนรุ่นใหม่เหลือเงินแค่ 2 หมื่นต่อเดือน
ชีวิตยามเกษียณ 1: แก่ง่ายตายยาก เราไม่ลำบากด้วยบำนาญประกันสังคม?

"การนำข้าราชการที่เล่าเรียนจนจบปริญญาตรี ปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยพ่อแม่ลงทุนทรัพย์ลงแรง และขยันหมั่นเพียรจนสามารถสอบผ่านคัดเลือกเข้ามาเป็นข้าราชการได้ ท่านนำค่าตอบแทนมาเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้เล่าเรียน อย่างท่านอธิบดีกรมบัญชีกลาง ได้รับเงินเดือนบวกค่าเงินประจำตำแหน่ง แต่ละเดือนท่านได้รายรับน่าจะถึงแสนบาท โดยถ้าเกษียณ จะได้เงินบำนาญประมาณ 80,000 บาท ท่านไม่เดือดร้อนแน่นอน ในทางตรงกันข้ามท่านทราบหรือไม่ว่า มีข้าราชการส่วนน้อยที่ได้ขึ้นเป็นตำแหน่งอธิบดีและมีเงินเดือนเป็นแสน ส่วนใหญ่ข้าราชการไทย ร้อยละ 80 มีเงินเดือนระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ส่วนน้อยที่จะได้ชำนาญการพิเศษขึ้นไป โดยเฉพาะข้าราชการพยาบาล ไปตันกันที่ระดับเพียงชำนาญการเท่านั้น โรงพยาบาลหนึ่งๆ มีชำนาญพิเศษเพียงหัวหน้าตึกเท่านั้น ท่านควรลงพื้นที่ไปหาข้อมูลสุ่มตัวอย่างข้าราชการทั่วประเทศตามตำบล อำเภอ จังหวัดต่างๆ ในภูมิภาคบ้าง" นายรัชชัยย์กล่าว

นายรัชชัยย์กล่าวต่อว่า ยกตัวอย่าง 1.ผู้เกษียณศึกษาเล่าเรียนจนจบปริญญาแล้วสอบคัดเลือกได้เป็นข้าราชการ ทำงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ ไม่ทำการคอร์รัปชั่น ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างมีอุดมการณ์มีมากถึงกว่าร้อยละ 90 ทั้งร่วมพัฒนาประเทศชาติจนมีเอกราช และเคียงบ่าเคียงไหล่นานาประเทศ เขาทำงานทุ่มเทมาตลอดชีวิต 30-40 ปี จนเกษียณ จนหมดโอกาสที่จะไปทำอาชีพอื่น เพราะรัฐสั่งการให้เขาเสียสละทุ่มเทเวลาให้กับทางราชการจนหมดเวลาที่จะไปทำอาชีพอื่น ตรงนี้รัฐต้องดูแลครอบครัวผู้เกษียณ และให้ขวัญกำลังใจ 2.ข้าราชการมีหลายระดับ ตั้งแต่เงินเดือนน้อยถึงเงินเดือนมาก ทำให้เงินบำนาญมีตั้งแต่ระดับน้อยถึงมาก แต่เงินใช้ซื้ออาหารกิน ซื้อบ้าน ซื้อยา ซื้อเครื่องอุปโภค ฯลฯ แม่ค้าคิดราคาเท่ากับคนอื่นๆ ทำให้ข้าราชการที่มีบำนาญน้อยจึงลำบาก และมีหนี้สินเป็นส่วนใหญ่ 3.ควรเทียบดัชนีค่าของเงิน โดยสมัยก่อนกับสมัยนี้ต่างกัน เช่น ปี 2521 จบปริญญาตรี ได้เงินเดือนบรรจุ 1,750 บาท ราคาทองคำในขณะนั้น บาทละ 4,000 บาท ต้องใช้เงินเดือนกี่เดือนถึงซื้อได้ ปัจจุบันปี 2561 ปริญญาตรี ได้เงินเดือนบรรจุถึงเดือนละ 15,000 บาท ราคาทองขณะนี้ 18,500 บาท สรุปแล้วคนสมัยก่อนจะซื้อทองคำ ต้องใช้เวลาเก็บเงินถึง 2.2 เดือน คนสมัยนี้ใช้เวลาเก็บเงินเพียง 1.2 เดือนก็ได้ทอง 1 บาทแล้ว สรุปแล้ว คนสมัยนี้จบปริญญาตรี ได้เงินมากกว่าคนสมัยก่อนมาก โดยใช้ดัชนีราคาทองคำ เป็นค่ากลางเปรียบเทียบค่าครองชีพ จะได้มาตรฐานกลาง

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'นิด้าโพล' ระบุคนอยากได้ 'ประยุทธ์' เป็นนายกอันดับ 1 'ธนาธร' ขึ้นอันดับ 3

Posted: 22 Sep 2018 08:49 PM PDT

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ครั้งที่ 4) พบ 'ประยุทธ์' ได้ความนิยม 29.66% 'สุดารัตน์' 17.51% 'ธนาธร' 13.83% และ 'อภิสิทธิ์' 10.71%

23 ก.ย. 2561 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (ครั้งที่ 4)" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 18 กันยายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง ด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0   

จากการสำรวจเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้เข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.63 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคใหม่ ๆ เพราะ อยากเห็นคนใหม่ ๆ นโยบายใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ เข้ามาบริหารและพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า เบื่อการบริหารงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า ร้อยละ 37.49 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคเก่า เพราะ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ชอบการบริหารงานแบบเก่า ๆ บริหารงานดีอยู่แล้ว การทำงานมีระบบ เคยเห็นผลงานมาแล้ว มั่นใจในผลงาน รู้จัก คุ้นเคยกับประชาชนเป็นอย่างดี มีความเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าพรรคการเมืองพรรคใหม่ และร้อยละ 0.88 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านบุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (10 อันดับแรก) พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 29.66 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 17.51 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 13.83 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่) อันดับ 4 ร้อยละ 10.71 ระบุว่าเป็น  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 5 ร้อยละ 5.28 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย) และพล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ (รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย) ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 7 ร้อยละ 4.64 ระบุว่าเป็น นายชวน  หลีกภัย (อดีตนายกรัฐมนตรี) อันดับ 8 ร้อยละ 1.92 ระบุว่าเป็น หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (หัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 1.76 ระบุว่าเป็น นายวิษณุ เครืองาม (รองนายกรัฐมนตรี) อันดับ 10 ร้อยละ 1.52 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (ว่าที่หัวหน้าพรรคประชาชาติ) และอันดับ 11 ร้อยละ 1.44 ระบุว่าเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รองนายกรัฐมนตรี) และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) ในสัดส่วนที่เท่ากัน

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล (10 อันดับแรก) พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 28.78 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 20.62 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 3 ร้อยละ 19.58  ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 4 ร้อยละ 15.51 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 5 ร้อยละ 4.16 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย  อันดับ 6 ร้อยละ 2.56 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ อันดับ 7 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น พรรครวมพลังประชาชาติไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.44 ระบุว่าเป็น พรรคพลังชาติไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.12 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา และอันดับ 10 ร้อยละ 0.96 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชนปฏิรูป   

ส่วนปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า ประชาชน  ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.80 ระบุว่า เป็นบุคคลที่มีผลงานประจักษ์ ทำประโยชน์ในพื้นที่หรือต่อประเทศไทย รองลงมา ร้อยละ 22.54 ระบุว่า ชอบพรรค/นโยบายของพรรค ที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 12.07 ระบุว่า ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว (เช่น บุคลิก หน้าตา ท่าทาง มีแนวคิดคล้ายตนเอง เป็นคนบ้านเดียวกัน เป็นต้น) ร้อยละ 10.15 ระบุว่า ต้องการได้ ส.ส. หน้าใหม่ ร้อยละ 2.32 ระบุว่า ต้องการได้นายกรัฐมนตรี ตามมติของพรรคที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เป็นอดีต ส.ส. หรือ นักการเมืองในพื้นที่ หรือ เป็นญาตินักการเมืองเดิมในพื้นที่ ร้อยละ 0.80 ระบุว่า ผู้สมัครสังกัดพรรคที่จะได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 0.16 ระบุว่า ผู้สมัครสังกัดพรรคที่อยู่ตรงข้ามกับพรรคที่ตนเองไม่ชอบ และร้อยละ 0.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ  

สำหรับปัญหาที่อยากให้นายกคนต่อไปเข้ามาแก้ไขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.81 ระบุว่า ปัญหาปากท้องและหนี้สินของประชาชน รองลงมา ร้อยละ 25.42 ระบุว่า ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ร้อยละ 11.67 ระบุว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ ผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 6.07 ระบุว่า ปัญหาการควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 5.91 ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ ร้อยละ 3.60 ระบุว่า ปัญหาการว่างงานและแรงงานนอกระบบ ร้อยละ 2.08 ระบุว่า ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยในปัจจุบัน ร้อยละ 0.88 ระบุว่า ปัญหาด้านสุขภาพการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองความเสี่ยงของผู้บริโภค ร้อยละ 2.16 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาด้านการคมนาคม ปัญหาด้านราคาน้ำมัน ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย และระบบงานราชการ และร้อยละ 0.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.76 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น เพราะ ยังไม่มีความพร้อม ไม่ชัดเจนในหลาย ๆ เรื่อง สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งเลยทำให้ขาดความเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 45.16 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ เป็นไปตามโรดแมปที่รัฐบาลวางไว้ และเชื่อมั่นในความสามารถและความพร้อมของรัฐบาล และร้อยละ 2.08 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

16 ปี สปสช.หนุนสร้างกลไก 'คุ้มครองสิทธิ' ดูแลประชาชนเข้าถึงสิทธิบัตรทอง

Posted: 22 Sep 2018 08:35 PM PDT

ประธานอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิฯ เผย 16 ปี สปสช.เน้นงานคุ้มครองสิทธิ สร้างกลไกรับเรื่องร้องเรียน พร้อมแก้ไขปัญหาอุปสรรค ทั้งสายด่วน สปสช. 1330 ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ดูแลประชาชนเข้าถึงสิทธิบัตรทอง พร้อมปรับปรุงและพัฒนาระบบต่อเนื่อง 

23 ก.ย. 2561 นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วม ภายใต้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ 'บัตรทอง' โดย สปสช. ตลอด 16 ปีที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญต่องานคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วมมาอย่างต่เนื่อง เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิเข้าถึงการรักษาและบริการสาธารณสุขได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ควบคู่กับการพัฒนาระบบและสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้อย่างชัดเจน จากแต่เดิมเป็นเพียงการสงเคราะห์และช่วยเหลือ ทั้งยังเป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ในมาตรา 5 ที่ระบุไว้ว่าบุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนด

ทั้งนี้ในการบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ด้วยเป็นระบบควบคุมค่าใช้จ่ายที่ใช้วิธีเหมาจ่ายรายหัวเช่นเดียวกับระบบประกันสังคม แม้ว่าจะเป็นระบบที่ดีและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ แต่ในการบริหารซึ่งดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการ จำเป็นต้องมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเพื่อถ่วงดุลและให้เกิดการคุ้มครองสิทธิประชาชน ดังนั้นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) จึงมีองค์ประกอบดังนี้ 1.ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธาน 2.ตัวแทนวิชาชีพด้านการแพทย์ 3.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ 4.ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 5.ผู้แทนภาคประชาชน โดยเป็นโครงสร้างเดียวกับคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน

นพ.วิชัย กล่าวว่าภายใต้การดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการดูแลประชาชนผู้มีสิทธิอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีการพัฒนากลไกต่างๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เริ่มตั้งแต่การจัดตั้งสายด่วน สปสช. 1330 บริการตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่ง นพ.สงวน นิติยารัมภ์พงษ์ ผู้ก่อตั้งและเลขาธิการ สปสช.คนแรกได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเป็นช่องทางรับเรื่องร้องเรียนและรับฟังความเห็นต่างๆ ทั้งจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทำให้ให้สามารถช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาได้โดยเร็ว โดยข้อมูลที่ได้รับเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากลไกต่างๆ ที่เป็นช่องทางในการคุ้มครองสิทธิเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการดูแลประชาชนผู้มีสิทธิยิ่งขึ้น อาทิ ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50 (5) ซึ่งกลไกเหล่านี้ได้มีการกำกับและติดตามโดยอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วม

"ด้วยกลไกลการคุ้มครองสิทธิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้ดำเนินการมาตลอดระยะเวลา 16 ปี ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิการรักษาและบริการสาธารณสุขที่จำเป็นแล้ว ยังนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จนสามารถสร้างครอบคลุมการดูแลผู้ป่วย ทั้งโรคเรื้อรังและโรคค่าใช้จ่ายสูง อาทิ โรคหัวใจ ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง เป็นต้น จนเป็นหลักประกันด้านสุขภาพให้กับประชาชน ไม่ต้องสิ้นเนื้อประดาตัวจากค่าใช้จ่ายในการรักษาอย่างในอดีตที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังคงมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หากมีข้อสงสัยให้สอบถามสายด่วน สปสช. 1330" ประธานอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วม กล่าว

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 17-23 ก.ย. 2561

Posted: 22 Sep 2018 08:26 PM PDT

คนพิการร้อง กสม.จี้สอบสมาคม-มูลนิธิฯ โกงเงิน อมเงินค่าจ้างฝึกอบรม ทำรัฐเสียหายกว่า 1,500 ล้าน/โรงงานมะพร้าวส่งออกลอยแพ 180 คนงาน/สนช.อดีต ขรก.ครู หนุนขึ้นบำนาญ ชี้วิธีคำนวณใช้มาตั้งแต่ปี 2494 ไม่ทันสมัย/กยศ. แจงแผนปี 2562 เตรียมงบ 3 หมื่นล้านบาท ปล่อยกู้อุ้มนักเรียน-นักศึกษา 6 แสนคน/กรมบัญชีกลางโต้กลับ ขรก. เรียกบำนาญเพิ่ม เผยได้มากกว่าผู้ใช้แรงงานเสียอีก/ประธานสภาองค์การลูกจ้างระบุ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ เพิ่มวันลาคลอดอีก 8 วัน ในการไปฝากครรภ์ด้วยและได้ค่าจ้าง

โรงงานมะพร้าวส่งออกลอยแพ 180 คนงาน

เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2561 นางศิริรัตน์ ข้นสังข์ อายุ 32 ปี พร้อมด้วย นางสาวนิสา เอี่ยมสะอาดและผู้ใช้แรงงานประมาณ 180 คน ที่ได้รับความเดือดร้อนหลังจาก ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโรงงานมะพร้าวปิดกิจการ ทำให้พนักงานตกงาน และอ้างว่าไม่ได้รับเงินชดเชยได้เดินทางเข้าที่พบ ร.ต.อ.เดช ประเสริฐศักดิ์ รองสารวัตรสอบสวน สภ.บางสะพาน เพื่อให้เรียกผู้ประกอบการโรงงานเจรจากับผู้ใช้แรงงานที่ได้รับความเดือดค้อน

นางสาวนิสา เอี่ยมสะอาด ตัวแทนแรงงาน กล่าวว่า ตนเป็นพนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวเพื่อการส่งออก โดยซื้อมะพร้าวผลสดผลิตเป็นเนื้อมะพร้าว น้ำมะพร้าว ที่ผ่านมาโรงงานประสบภาวะขาดสภาพคล่อง เนื่องจากลูกค้าในตลาดยุโรป และอเมริกาสั่งยกเลิกการซื้อสินค้า โรงงานจึงประกาศปิดตัวเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา โดยช่วงแรกผู้ประกอบการโรงงาน ยืนยันกับคนงานกว่า 180 ราย สัญญาว่าจะจ่ายค่าแรงให้เพียง 75 เปอร์เซ็นต์ ล่าสุดยังไม่ได้จ่ายตามข้อตกลง และคนงานทั้งหมดไม่สามารถเจรจากับผู้ประกอบการได้ จึงเข้าพนักงานสอบสวนเพื่อให้เรียกเจ้าของโรงงานรับผิดชอบจ่ายคาแรงที่ตกค้าง

ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานพร้อมประสานกับผู้รับผิดชอบโรงงาน โดยนัดเจรจาในวันที่ 24 กันยายนนี้ โดยผู้ใช้แรงงานระบุว่า หากเจรจาแล้วไม่มีความคืบหน้า จะเดินทางไปร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวในระดับจังหวัด เพื่อขอความเป็นธรรมต่อไป

ที่มา: มติชนออนไลน์, 22/9/2561

ขรก.บำนาญ ก.สาธารณสุข เสนอกรมบัญชีกลาง เพิ่มวงเงินบำเหน็จดำรงชีพ ช่วยข้าราชการเกษียณ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่าจริงๆ กรณีข้าราชการที่เงินบำนาญไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพนั้น มีจริงในกลุ่มของข้าราชการรุ่นเก่าอายุ 80 ปี เพราะได้รับเงินเดือนน้อยมาก เพราะเงินข้าราชการมาเพิ่มขึ้นช่วงหลังๆ แต่ในกลุ่มที่ได้รับเงินบำนาญน้อยอายุ 80 ปีนั้น จริงๆ ก็ไม่เสมอไป ส่วนใหญ่จะเป็นในข้าราชการชั้นผู้น้อย แต่ข้าราชการตำแหน่งสูงๆ ก็ได้รับกันเยอะ  อย่างไรก็ตามตนมีข้อเสนอคือ ควรจะนำเงินบำเหน็จตกทอดทายาทมาแบ่งให้กับข้าราชการเกษียณ โดยนำมาจัดสรรเพิ่มเติมให้กับเงินบำเหน็จดำรงชีพให้สูงขึ้นจะดีกว่าหรือไม่ ซึ่งอยากเสนอให้กรมบัญชีการทำตรงนี้น่าจะดีกว่า

"จริงๆ เดิมทีเงินบำเหน็จตกทอดทายาทจะให้กรณี ข้าราชการบำนาญเสียชีวิต ยกตัวอย่าง หากเงินเดือน 20,000 บาท ก็นำไปคูณกับจำนวนปีที่ทำงานราชการ เช่นทำมา 35 ปี ก็จะได้เงินประมาณ 700,000 บาท ซึ่งในอดีตเงินบำเหน็จตกทอดให้ทายาทตรงนี้ จะให้ทั้งหมด แต่มาหลายปีมีการปรับแก้เพิ่มเติม โดยแบ่งส่วนหนึ่งไม่เกิน 4 แสนเป็นเงินบำเหน็จดำรงชีพ แต่ไม่ได้ให้ก้อนเดียวจะแบ่งเป็น 2 งวด ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเพิ่มเงินบำเหน็จดำรงชีพมากขึ้น เพราะการแบ่งให้เงินตกทอดไปให้ทายาทนั้น ทั้งๆ ที่ข้าราชการยังมีส่วนที่เดือดร้อนในการดำรงชีพ ยิ่งเงินเดือนน้อยๆ ก็น่าเห็นใจ ก็ควรนำมาให้พวกเขาใช้จะดีกว่า" พญ.เชิดชู กล่าว

ที่มา: มติชนออนไลน์, 22/9/2561

สนช.อดีต ขรก.ครู หนุนขึ้นบำนาญ ชี้วิธีคำนวณใช้มาตั้งแต่ปี 2494 ไม่ทันสมัย

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่านายตวง อันทะไชย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการพลเรือนและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีสหพันธ์ข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทยกว่า 30 คน นำโดยนายชัยวัฒน์ อุดอิ่นแก้ว เลขาธิการฯ เดินทางเข้ายื่นหนังสือ ต่อนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่สอง เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.บำเหน็จบำบาญ ขอให้ สนช.สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณา เพื่อทำให้ข้าราชการบำนาญมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีข้าราชบำนาญสังกัดทุกประเทศ ได้รับความเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่เงินบำนาญเท่าเดิมว่าค่อนข้างเห็นด้วยในการปรับแก้บำเหน็จบำนาญ เพราะบุคคลเหล่านี้ทำประโยชน์ให้ประเทศ ควรให้ขวัญกำลังใจ แต่กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับการเงิน สนช. มีหน้าที่สนับสนุนไม่สามารถเสนอเองได้ และเป็นอำนาจรัฐบาลที่สามารถออกกฎหมายนี้ได้

"วิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญตาม พ.ร.บ.บําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ล่าสมัยเกินไป เพราะบังคับใช้มากว่า 50-60 ปี ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ควรจะปรับปรุง แก้ไขวิธีการคำนวณให้สอดคล้องกับฐานค่าครองชีพในปัจจุบันอีกด้วย" นายตวง กล่าว

ที่มา: มติชนออนไลน์, 21/9/2561

กยศ. แจงแผนปี 2562 เตรียมงบ 3 หมื่นล้านบาท ปล่อยกู้อุ้มนักเรียน-นักศึกษา 6 แสนคน

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า  ในปี 2562 กยศ. เตรียมงบให้กู้ 3 หมื่นล้านบาทแก่นักเรียน นักศึกษาใหม่และเก่าคาดว่ารองรับได้ 6 แสนคน โดย 2 ปีที่ผ่านมา กยศ. ใช้เงินของตัวเอง ไม่ได้ขอเงินงบประมาณในการปล่อยกู้ให้นักเรียน นักศึกษาแล้ว

นอกจากนี้ ผลจากการเร่งประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกให้ชำระหนี้ คาดว่าในปี 2562 จะมียอดชำระหนี้เพิ่มมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท จากในปี 2561 ที่คาดว่าจะมียอดชำระหนี้ 2.6 หมื่นล้านบาท สำหรับมาตรการหักบัญชีเงินเดือน ซึ่งเริ่มแล้วกับข้าราชการกรมบัญชีกลาง และจะทยอยเริ่มกับข้าราชการและหน่วยงานที่มีบัญชีเดือนผ่านกรมบัญชีกลาง ขณะที่การหักบัญชีเงินเดือนของลูกจ้างบริษัทเอกชนที่อยู่ในระบบหักเงินเดือนซึ่งมีอยู่ราว 1 ล้านราย ในองค์กรนายจ้างกว่า 1 แสนบริษัท จะทยอยทำข้อตกลงโดยจะเริ่มโครงการองค์กรต้นแบบในปีหน้าทำร่วมกับธนาคาร บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงรัฐวิสาหกิจต่างๆ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงจะสามารถดึงลูกหนี้ในบริษัทเอกชนเข้าระบบหักเงินเดือนได้หมด

รวมทั้งได้ประสานกับหน่วยงานที่ครอบครองเลขหมายโทรศัพท์ เพื่อขอเบอร์โทรศัพท์ ในการติดตามทวงหนี้ทางโทรศัพท์ และจดหมาย  โดยที่ผ่านมา กยศ. มีลูกหนี้ทั้งระบบ 4 ล้านราย แยกเป็นลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างชำระหนี้ 3 ล้านราย ซึ่งในจำนวนนี้มี 2 ล้านรายที่ชำระหนี้ไม่สม่ำเสมอ และลูกหนี้ ที่มีคดีอยู่ในชั้นศาล 1.12 ล้านคดี และในปี 2561  กยศ.ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีกับผู้กู้ที่ผิดนัดชำระหนี้ประมาณ 1.2 แสนราย ซึ่งมีการติดต่อขอประนีประนอมมากกว่า 80%

นายชัยณรงค์ กล่าวถึงกรณีครูวิภา บานเย็น ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยน้อย ต.แม่ลาด อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร ได้ค้ำประกันให้นักเรียนที่ยืมเงิน กยศ. 60 ราย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีคนนำเงินมาบริจาคช่วยเหลือทำให้ ครูวิภา นำเงินมาชำระหนี้คืน กยศ.แทนลูกศิษย์เรียบร้อยแล้ว และผลจากกรณีดังกล่าวทำให้ กยศ. เตรียมทบทวนเรื่องการค้ำประกันลูกหนี้ กยศ.ใหม่ ซึ่งปัจจุบันในจำนวนลูกหนี้ กยศ. 2.5 ล้านราย มีครูที่เป็นผู้ค้ำประกัน 0.17% หรือประมาณ 4 พันราย

ที่มา: ไทยโพสต์, 21/9/2561

กรมบัญชีกลางโต้กลับ ขรก. เรียกบำนาญเพิ่ม เผยได้มากกว่าผู้ใช้แรงงานเสียอีก

จากกรณีสหพันธ์ข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทย  โดยนายชัยวัฒน์ อุดอิ่นแก้ว เลขาธิการฯ เดินทางเข้ายื่นหนังสือ ต่อนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่สอง เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ โดย ขอให้ สนช.สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณา เพื่อทำให้ข้าราชการบำนาญมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีเข้าราชบำนาญสังกัดทุกประเทศ จำนวน 654,634 คน ได้รับความเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่เงินบำนาญเท่าเดิม ทำให้รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย  โดยข้าราชการบำนาญถือเป็นคนจนรุ่นใหม่ ได้เงินบำนาญเดือนละ 20,000 บาท หักค่าใช้จ่ายอื่น เหลือ 18,000 บาทต่อเดือน ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพนั้น

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2561 น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่ามีการขอเรื่องแก้ไขบำนาญให้สูงขึ้น ซึ่งในการปรับบำนาญนั้นมีการประกันไว้ว่าต้องได้รับเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำ 9,000 บาทต่อเดือน ดังนั้น คนที่ได้รับบำนาญ 2 หมื่นบาทต่อเดือน ถือว่าเกินว่าที่รัฐบาลประกันไว้แล้ว และเกินกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งคงต้องถามกลับไปว่า ทำไมคนที่ใช้แรงงานและได้รับค่าแรงขั้นต่ำเพียง 9,000 บาทต่อเดือนถึงพอกิน และต้องถามว่าเขามาขออะไร เพราะคนที่ได้รับบำนาญคือคนที่ไม่ได้ทำงานแล้ว ซึ่งคนที่ทำงานบางคนยังได้เงินน้อยกว่าที่เขาได้รับ

"การที่จะมาบอกว่าได้รับเงิน 2 หมื่นบาทต่อเดือนไม่พอใช้เหตุผลคืออะไร คนยากจนกว่าเขาได้รับเงินน้อยกว่านี้อีกมากทำไมเขาอยู่ได้ คนได้เงิน 2 หมื่นบาทนำเงินไปใช้อะไรกันบ้าง กิจกรรมไม่ต้องไปทำกันเยอะซิ และตรงนี้ถือเป็นเรื่องการใช้ชีวิต ทุกคนต้องบริหารจัดการชีวิตของตนเองคงไม่มีข้อแนะนำอะไร" น.ส.สุทธิรัตน์กล่าว

น.ส.สุทธิรัตน์กล่าวต่อว่า ถ้าขึ้นบำนาญต้องขึ้นเงินเดือนข้าราชการ โดยขณะนี้เงินเดือนข้าราชการที่เป็นกลุ่มคนทำงานยังไม่ได้มีการพูดถึงเลย คนรับบำนาญจะมาพูดถึงเรื่องนี้ได้อย่างไร เพราะปกติต้องขึ้นเงินเดือนข้าราชการก่อนจึงจะขึ้นเงินบำนาญ เนื่องจากเป็นเรื่องผูกติดกันไว้ แต่จะมาขอขึ้นบำนาญก่อนแบบนี้เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ที่มา: มติชนออนไลน์, 21/9/2561

ประธานสภาองค์การลูกจ้างระบุ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ เพิ่มวันลาคลอดอีก 8 วัน ในการไปฝากครรภ์ด้วยและได้ค่าจ้าง

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะทำงานร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่...) พ.ศ. ... กล่าวถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติรับหลักการร่าง พงร.บ.ฉบับดังกล่าว ว่า หลังจากนี้จะมีการประชุมนัดแรกวันที่ 24 ก.ย.นี้ ซึ่งความคืบหน้าดังกล่าว ถือป็นสัญญาณที่ดี เพราะจากขั้นตอนทำให้แน่ชัดว่า กฎหมายจะประกาศใช้ทันในรัฐบาลชุดนี้ และจะเป็นผลงานที่ทำให้ลูกจ้าง 9.78 ล้านคน ได้ประโยชน์ ซึ่งตนรู้สึกพึงพอใจมาก เพราะถือเป็นครั้งแรกที่ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มจำนวนมาก

นายมนัส กล่าวว่า สิทธิประโยชน์ของกฎหมายฉบับใหม่ หลักๆ คือ ได้รับอัตราค่าชดเชยกรณีนายจ้างเลิกจ้างมากขึ้น เดิมกำหนดอยู่ 5 อัตรา คือ 1. ลูกจ้างทำงานต่อเนื่องครบ 120 วัน ได้ค่าชดเชย 30 วัน 2. ลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน 3. ลูกจ้างทำงานต่อเนื่อง 6 ปี ได้ค่าชดเชย 180 วัน 4. ลูกจ้างทำงานต่อเนื่อง 8 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน และ 5. ลูกจ้างทำงานต่อเนื่อง 10 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน แต่กฎหมายฉบับใหม่ได้เพิ่มอัตราที่ 6 คือ หากทำงานต่อเนื่องครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน นอกจากนี้ ยังมีลากิจที่จำเป็นต้องได้ค่าจ้าง 3 วันทำการ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้เลย

"หากกฎหมายประกาศใช้ และมีการฝ่าฝืนก็จะมีโทษทางอาญาทั้งจำทั้งปรับ เพราะเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานพื้นฐาน จำคุก 1 ปี ปรับขึ้นอยู่กับมาตรา เฉลี่ย 1 แสนบาท แต่จริงๆ ไม่ค่อยขึ้นโทษอาญา จะเป็นปรับมากกว่า อีกทั้งกรณีการถูกย้ายงาน ย้ายสาขา แต่ลูกจ้างไม่ยอม จะขอลาออก นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยด้วยเช่นกัน และยังมีสิทธิอื่นๆ สำหรับลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ ลาคลอดเดิมได้ 90 วัน แต่ของใหม่เพิ่มมาอีก 8 วัน ในการไปฝากครรภ์ด้วยและได้ค่าจ้าง ซึ่งเป็นไปตามอนุสัญญาไอแอลโอฉบับที่ 100 เรื่องค่าตอบแทนหญิงชายต้องเทียมกัน" นายมนัส กล่าว

ที่มา: MGR Online, 21/9/2561

สนช.มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ไว้พิจารณา

20 ก.ย. 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ไว้พิจารณาด้วยคะแนนเห็นด้วย 177 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 5 เสียง กำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 7 วัน ระยะเวลาการดำเนินงาน 30 วัน

โดยพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้บังคับมาเป็นเวลานานทำให้บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการเพื่อให้ความคุ้มครองลูกจ้าง สมควรแก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดให้การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรได้โดยให้ถือเป็นวันลาเพื่อคลอดบุตร เพิ่มอัตราค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบยี่สิบปีขึ้นไป กำหนดให้ย้ายสถานประกอบกิจการ ให้รวมทั้งการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่ หรือสถานที่อื่นของนายจ้าง และแก้ไขให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราเท่ากันทั้งลูกจ้างชายและหญิงในงานที่มีค่าเท่าเทียมกันเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ด้านสมาชิกที่อภิปราย ได้ตั้งข้อสังเกตในกรณีการเพิ่มวันลาคลอดจากไม่เกิด 90 เป็นไม่เกิน 98 วัน และกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสามวันทำงานน้อยไปหรือไม่ พร้อมมองว่า การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ครั้งนี้ ครอบคลุมกับความสอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับต่างๆ แล้วหรือไม่ ซึ่งหากสามารถแก้ไขให้สอดคล้องได้ก็จะเป็นผลดีและเกิดประโยชน์กับลูกจ้างอย่างมาก  ขณะที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชี้แจงเพิ่มเติมว่า การปรับวันลาคลอดและลาเพื่อกิจธุระจำเป็น ได้พิจารณาปรับเพิ่มตามหลักสากล ทั้งนี้พร้อมนำข้อสังเกตทุกประเด็นหารือในชั้นกรรมาธิการอีกครั้ง

ที่มา: สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา, 20/9/2561

สหพันธ์ข้าราชการบำนาญเกษียณบุกสภา! ชงร่าง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ ชี้เงิน 2 หมื่นต่อเดือนไม่พอใช้

20 ก.ย. 2561 ที่รัฐสภา สหพันธ์ข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทย กว่า 30 คน นำโดย นายชัยวัฒน์ อุตอิ่นแก้ว เลขาธิการฯ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ

โดยนายชัยวัฒน์กล่าวว่าขอให้ สนช.สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณา เพื่อทำให้ข้าราชการบำนาญมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีเข้าราชบำนาญสังกัดทุกประเทศ จำนวน 654,634 คน ได้รับความเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่เงินบำนาญเท่าเดิม ทำให้รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย เป็นไปตามสภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ หากข้าราชการบำนาญมีรายได้เพิ่มขึ้นก็จะนำเงินไปใช้จ่าย ส่งผลให้เศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลดีขึ้น

"ข้าราชการบำนาญถือเป็นคนจนรุ่นใหม่ ได้เงินบำนาญเดือนละ 20,000 บาท หักค่าใช้จ่ายอื่น เหลือ 18,000 บาทต่อเดือน ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อข้าราชปัจจุบันอีก 2 ล้านคน แล้วคนไทยรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบข้าราชการ ทำงานเพื่อประเทศชาติ" นายชัยวัฒน์ กล่าว

ด้าน นายพีระศักดิ์ กล่าวว่า โดยหลักการค่อนข้างเห็นด้วย กับผู้ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติ แต่กฎหมายฉบับนี้เข้าข่ายกฎหมายการเงิน ต้องให้รัฐบาลเห็นชอบก่อนเสนอ สนช.เสนอเองไม่ได้ จึงขอประสานหาช่องทางให้ประยื่นต่อรัฐบาล ส่วน สนช.จะให้ กมธ.พิจารณาศึกษารายละเอียดควบคู่กันไป

ที่มา: แนวหน้า, 20/9/2561

เสนอตั้งกองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย

รศ.ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค รองเลขาธิการ ศูนย์ประสานงานสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือ CHES เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) มีมติเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ ทบทวนให้มีกองทุนเพื่อพัฒนา การอุดมศึกษาใน พ.ร.บ.การอุดมศึกษานั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีและควรที่จะกำหนดให้มีกองทุนสวัสดิการ สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเพิ่มเติมในร่างดังกล่าวด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในการกำกับด้านงบประมาณให้กับสถาบันอุดมศึกษาในด้านสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล การศึกษาเล่าเรียนบุตร และค่าที่พัก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ขวัญกำลังใจ ความมั่นคงและความศรัทธาในวิชาชีพของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศกลับคืนมา ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญมากและต้องชี้แจงต่อกระทรวงการคลังให้เข้าใจ ถึงเหตุผลและความจำเป็นการทบทวนกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวมทั้งกองทุนสวัสดิการสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยทั่วประเทศด้วย

"พนักงานมหาวิทยาลัยทั่วประเทศมีกว่าแสนคน สามารถเอื้อต่อการบริหารจัดการในรูปแบบของกองทุนได้ โดยการกำหนดรูปแบบการให้สวัสดิการต่างๆ เพราะปัจจุบันพนักงานมหาวิทยาลัยได้จ่ายเงินให้กับระบบประกันสังคมอยู่แล้ว ดังนั้นควรมีการนำเงินดังกล่าวมาปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการใหม่ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบ การให้สวัสดิการด้านสุขภาพจากการทำประกันสังคมมาใช้สิทธิประกันสุขภาพของสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อลดความซ้ำซ้อนในด้านสิทธิประกันสุขภาพขั้นต่ำที่พึงมีพึงได้จากสวัสดิการของรัฐปกติ และสามารถนำเงินกองทุนสวัสดิการฯไปซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมจากภาคเอกชน ที่ สปสช.ยังไม่สามารถจ่ายได้ เป็นต้น" รศ.ดร.พัทธนันท์กล่าว

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์, 20/9/2561

สั่งตั้งกรรมการสอบโกงเงินคนพิการรู้ผลใน 15 วัน

จากกรณีที่ นายปรีดา ลิ้มนนทกุล ประธานเครือข่ายพิทักษ์สิทธิคนพิการ ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้ตรวจสอบการทุจริตเงินคนพิการ โดยพบว่าตัวเลขการจ้างงานไม่ตรงกับสิทธิของคนพิการจริง และการจ่ายค่าตอบแทนการฝึกอบรมให้กับคนพิการไม่ตรงกับความจริง ซึ่งสร้างความเสียหายถึง 1,500 ล้านบาทต่อปี

เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2561 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงว่า สำหรับการร้องเรียนตามข่าวนั้น พบว่ามีภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 4 ส่วนคือ คนพิการ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เครือข่ายพิทักษ์สิทธิคนพิการ ภาครัฐ เพื่อให้ข้อเท็จจริงปรากฏ กระทรวงแรงงานได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องขึ้น โดยมีรองปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน โดยให้เห็นผลภายใน 15 วัน ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2552 ที่กระทรวงแรงงานได้ส่งเสริมการมีงานทำให้กับคนพิการนั้น พบว่า ยังไม่เคยได้รับการร้องเรียนเรื่องการทุจริตเงินคนพิการแต่อย่างใด

พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานมีภารกิจที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการมีงานทำให้คนพิการ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คือ

1. จัดหางานให้คนพิการมีงานทำตามมาตรา 33 คือ สถานประกอบการต้องรับคนพิการเข้าทำงานสัดส่วน 1:100 คน หากเกิน 50 คน ต้องรับเพิ่มอีก 1 คน โดยรูปแบบการให้บริการ คือ ขึ้นทะเบียนคนพิการที่ประสงค์จะทำงานกับนายจ้าง ที่สำนักงานจัดหางานหรือทางเว็บไซต์ www.doe.go.th/smartjob ประสานนายจ้าง/สถานประกอบการเพื่อรับแจ้งตำแหน่งงานว่างและแจ้งขอใช้สิทธิตามมาตรา 33 จับคู่ตำแหน่งงานว่างกับคนพิการให้มีความเหมาะสมกับ ส่งตัวคนพิการไปพบนายจ้างเพื่อสัมภาษณ์งาน ติดตามและประเมินผลการบรรจุงาน ซึ่งในปีงบประมาณ 2561 ตั้งแต่ตุลาคม 2560 – สิงหาคม 2561 มีคนพิการขึ้นทะเบียนหางานกับกรมการจัดหางาน จำนวน 1,979 คน และบรรจุงาน จำนวน 1,565 คน

2.การส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามมาตรา 34 นายจ้าง/สถานประกอบการ ที่มีหน้าที่ต้องจ้างคนพิการ แต่ไม่จ้างหรือจ้างไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด ต้องส่งเงินเข้าโดยตรงที่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งในปี 2561 มีนายจ้าง/สถานประกอบการส่งเงินเข้ากองทุนฯ จำนวน 14,623 คน คิดเป็น 22.49 % จำนวน 109,500 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งในส่วนนี้กระทรวงแรงงานไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

3.ส่งเสริมการมีงานทำให้คนพิการ ตามมาตรา 35 กรมการจัดหางาน โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่เป็นหน่วยงานรับแจ้งการขอให้สิทธิและขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการ โดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ โดยมีการดำเนินงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ซึ่งได้รับแจ้งการให้สิทธิจากนายจ้าง/สถานประกอบการแล้วจะดำเนินการตรวจสอบ ดังนี้ 1) สิทธิที่ให้แก่คนพิการครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบฯ หรือไม่ 2) มูลค่าของสิทธิที่ให้แก่คนพิการเป็นไปตามที่กำหนดไว้ระเบียบหรือไม่ 3) คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการสามารถรับสิทธิที่นายจ้าง/สถานประกอบการให้ได้หรือไม่ เมื่อตรวจสอบครบถ้วนแล้ว จึงอนุญาตให้นายจ้าง/สถานประกอบการ ให้สิทธิแก่คนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการตามที่แจ้ง จากนั้น สำนักงานจัดหางานจังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ จะส่งสำเนาเอกสารในการให้สิทธิแก่คนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการทั้งหมด ไปยัง สำนักงานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อติดตามและตรวจสอบสิทธิประโยชน์ของคนพิการต่อไป

ที่มา: ไบรท์ทีวี, 19/9/2561

คนไทยวัยแรงงาน ต้องการพัฒนาขีดความสามารถด้านอาหารโภชนาการมากที่สุด

นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลการสำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร พ.ศ. 2561 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 56.16 ล้านคน เป็นผู้ต้องการพัฒนาขีดความสามารถ 4.76 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 8.5 ของประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป

เมื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองระหว่างชายกับหญิง พบว่าหญิงต้องการพัฒนาตนเองมากกว่าชาย โดยหญิงต้องการพัฒนาขีดความสามารถ 2.46 ล้านคน ส่วนชายต้องการพัฒนาขีดความสามารถ 2.30 ล้านคน

หากพิจารณาตามรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถร้อยละ 15.3 ภาคเหนือร้อยละ 8.6 ภาคใต้ร้อยละ 8.4 ภาคกลางร้อยละ 4.5 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 3.7 ตามลำดับ

อีกทั้งยังพบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความต้องการพัฒนาขีดความสามารถหรือสนใจเข้ารับการเรียนรู้ 4.76 ล้านคน โดยต้องการที่จะพัฒนาขีดความสามารถด้านอาหารและโภชนาการมากที่สุด 6.21 แสนคน ด้านการเพาะปลูกและขยายพันธุ์พืช 5.83 แสนคน เสริมสวย 4.12 แสนคน ช่างยนต์และการบำรุงรักษา 3.67 แสนคน ตัดเย็บเสื้อผ้า 3.29 แสนคน ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3.22 แสนคน ช่างกลโรงงาน 2.09 แสนคน ช่างก่อสร้าง 1.52 แสนคน การบัญชี การเงิน การธนาคาร 1.49 แสนคน การเลี้ยงสัตว์และการขยายพันธุ์สัตว์ 1.42 แสนคน ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในหลักสูตรด้านอื่นๆ ตามลำดับ

ที่มา: VoiceTV, 19/9/2561

เครือข่ายประมง ค้านร่างกฎหมายแรงงานบังคับ

กระทรวงแรงงานจัดประชุมเปิดรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 5  เพื่อประกอบพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและขจัดการใช้แรงงานบังคับ พ.ศ. ...ที่กระทรวงแรงงาน แต่การประชุมเริ่มไปได้ไม่นานก็ต้องยุติลง  หลังผู้ประกอบการประมงกว่า 700 คน จาก 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล  รวมตัวคัดค้านการพิจารณากลางคัน  เพราะไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติป้องกันและขจัดการใช้แรงงานบังคับ พ.ศ. .... บางมาตราเอื้อประโยชน์ให้กับลูกจ้าง จนกระทบนายจ้าง

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ในฐานะนายกสมาคมประมงสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบ การประมง เคยคัดค้านกฎหมายฉบับนี้เพราะมีบางมาตราไม่เห็นด้วยแต่วันนี้กระทรวงแรงงานก็ยังหยิบหยกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง ทำให้ผู้ประกอบการประมงทั่วประเทศไม่พอใจที่ไม่รับฟังเสียงสะท้อนของพวกเขา ซึ่งหากกฎหมายบังคับใช้ ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อนายจ้างในกิจการประมงแต่ยังทำให้นายจ้างในกิจการอื่นๆทั่วประเทศได้รับความเดือดร้อนด้วย เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ เน้นให้ความคุ้มครองกับลูกจ้าง โดยเฉพาะในมาตรา6 (1)ที่ระบุว่า หากนายจ้างครอบครองเอกสารสำคัญใดๆของลูกจ้าง ทำให้เสียประโยชน์ ถือว่ามีความผิด ถือว่าไม่เหมาะสม เพราะหากนายจ้างเก็บเอกสารให้เพราะกลัวสูญหาย หรือเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่เมื่อถูกตรวจสอบ แต่เมื่อลูกจ้างไม่พอใจ กล่าวหาว่าถูกยึดเอกสารเพื่อให้ทำงานต่อ นายจ้างก็ถือว่ามีความผิด ถูกดำเนินคดีทันที   

ไม่ต่างจากมาตรา 6 (4) ที่ระบุว่า หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ่าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดตามที่สัญญาจ้างกำหนด ถือว่ามีความผิดอาจกระทบนายจ้างรายเล็กอย่างผู้ประกอบการ SME พ่อค้าแม่ค้าที่รายได้แต่ละเดือนไม่แน่นอนบางครั้งต้องเลื่อนจ่ายเงินเดือนออกไปเพราะมีความจำเป็น หากกฎหมายบังคับใช้ อาจเป็นช่องว่างที่เอื้อต่อลูกจ้างที่ไม่พอใจ ก็ไปร้องเรียนต่อรัฐ เข้าข่ายแรงงานบังคับ นายจ้างถูกจับดำเนินคดี 

นายมงคล กล่าวต่อว่า มาตรา6(5) ก็เช่นกัน ที่ระบุว่า นายจ้างต้องจัดเวลาพัก ให้ลูกจ้าง ตนมองว่างานแต่ประเภทมีลัษณะการทำงานไม่เหมือนกัน อย่างประมงเวลาพักไม่แน่นอน เมื่อออกเรือแล้วหาปลามาได้จำนวนมาก ลูกจ้างอาจต้องทำงานต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ปลาเน่าเสียหาย หากลูกจ้างไม่อยากทำแล้วไปร้องเรียน นายจ้างก็มีความผิด ต้องรับโทษและโทษที่ได้รับก็สูงเพิ่มเป็น 2 เท่าจากเดิม 5 ปีเป็น 10 ปี และเป็นคดีอาญาที่ยอมความกันไม่ได้ แม้นายจ้างจะยินยอมจ่ายค่าชดเชยให้แล้วก็ตาม  ซึ่งตนมองว่ามันรุนแรงเกินไป  ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

'กฎหมายฉบับนี้ยังให้อำนาจหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่รัฐอย่างเต็มที่ออกตรวจได้ค้นได้เต็มที่ อาจเป็นช่องว่างที่เจ้าหน้าที่อาศัยช่องว่างนี้ในการเรียกรับผลประโยชน์จากนายจ้าง ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ กระทรวงแรงงานควรแก้ไขในมาตราที่เป็นปัญหา การดูแลสิทธิแรงงาน กลุ่มนายจ้างไม่ได้คัดข้อง แต่กฎหมายเอื้อประโยชน์ทั้ง2 ฝ่าย ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เพราะการประกอบอาชีพ ทั้ง 2 ฝ่ายต้องเดินไปด้วยด้วย ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ อันไหนที่ไม่ดีบกพร่องต้องปรับให้เข้าที่ เพราะนายจ้างดีๆมีอีกมากกว่านายจ้างไม่ดี' นายมงคล กล่าว  และว่า  หากกระทรวงแรงงาน ไม่มีการแก้ไขตามที่เรียกร้อง เครือข่ายนายจ้างกว่า 50,000คน ทั่วประเทศจะรวมตัวบุกไปที่สภา เพื่อประท้วงไม่ยอมรับกฎหมายฉบับนี้เด็ดขาด

ด้านนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในเบื้องต้นรับหลักการไว้พิจารณา โดยจะรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อให้กฏหมายบังคับใช้ เป็นกลางมากที่สุด ไม่กระทบฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว อย่างรอบด้าน และนำมาประกอบการพิจารณา ตามกระบวนการของกฏหมาย ซึ่งนายจ้าง ผู้ประกอบการ จากหลายประเภทกิจการ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคประมง หากมีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างไร กระทรวงแรงงานจะรวบรวมความคิดเห็นนำเสนอตามขั้นตอนต่อไป

ที่มา: สำนักข่าวไทย, 19/9/2561

คนพิการร้อง กสม.จี้สอบสมาคม-มูลนิธิฯ โกงเงิน อมเงินค่าจ้างฝึกอบรม ทำรัฐเสียหายกว่า 1,500 ล้าน

นายปรีดา ลิ้มนนทกุล ประธานเครือข่ายพิทักษ์สิทธิคนพิการ เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผ่านนายอัญญะรัฐ เอ่งฉ้วน ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิและปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมกับคนพิการ โดยนายปรีดา กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำสามารถพึ่งพาตัวเองได้ไม่เป็นภาระแก่สังคมจึงมี พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 โดย มาตรา 33 กำหนดว่าให้สถานประกอบการที่มีการจ้างงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปต้องจ้างคนพิการ 1 คน หากสถานประกอบการใดไม่สะดวกจะจ้างงานคนพิการมาตรา 35 ก็กำหนดให้จ่ายเงินสมทบเพื่อเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแทนในอัตรา 109,500 ต่อคนต่อปีตามสัดส่วนที่ต้องจ้างจริง จากการตรวจสอบพบว่าคนพิการได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมตามมาตรา 33 ระบุตัวเลขคนพิการถูกจ้างงานจำนวน 25,000 คน แต่มีการทำงานจริงแค่ 20,000 คน ส่วนที่เหลืออีก 5,000 คน นอนอยู่กับบ้านเฉยๆ ไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิได้รับสวัสดิการการจ้างงานเดือนละ 9,500 บาท จึงถูกสมาคมคนพิการและมูลนิธิช่วยเหลือคนพิการต่างๆหักหัวคิวโดยจ่ายให้คนพิการเพียงเดือนละ 500 - 3,000 บาท ทั้งนี้ประมาณการว่าความเสียหายที่เกิดจากมาตรา 33 ประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี

นายปรีดา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในมาตรา 35 ที่กำหนดให้สถานบริการที่ไม่ประสงค์จะจ้างานคนพิการโดยให้จ่ายเงินค่าจ้างสมทบให้กับกองทุนฯ เป็นช่องทางทำให้เกิดการคอร์รัปชั่น 1,000 ล้านบาทต่อปี โดยช่องทางนี้สมาคมและมูลนิธิต่างๆ จะเป็นผู้รวบรวมรายชื่อคนพิการจากจังหวัดต่างๆ ส่งไปยังกรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพื่อเสนอโครงการจัดอบรมฝึกอาชีพให้กับคนพิการ ซึ่งช่องทางดังกล่าวทำให้เกิดมีนายใหญ่เข้ามาทุจริตทั้งค่าจ้างวิทยากรและเงินในการจัดฝึกอบรมเช่น ตั้งเบิกค่าวิทยากร 300,000 บาท จ่ายจริง 30,000 บาท หรือโครงการอบรม 6 เดือน ดำเนินการจริงแค่ 3 เดือน บางจังหวัดข้าราชการระดับผู้อำนวยการสำนักงาน ขอหัวคิวคนพิการหัวละ 9,500 ต่อคนต่อปี แลกกับการอนุมัติจัดฝึกอบรมทุกโครงการ โดยทั้งหมดทำกันเป็นขบวนการ

"การทุจริตเงินคนพิการจาก มาตรา 33 และ 35 สร้างความเสียหายถึง 1,500 ล้านบาทต่อปี คนพิการที่ผ่านการฝึกอบรมอาชีพต้องได้รับเงิน 109,500 บาท ต่อคนต่อปี แต่คนพิการไม่รู้สิทธิของตัวเอง เพราะคนพิการที่มีศึกษาระดับปวช.-ปริญญาเอกมีไม่ถึง 30,000 คน การทุจริตดังกล่าวจึงมีความเสียหายมากกว่าการโกงเงินคนจน เพราะตัวเลขคนพิการทั่วประเทศมากกว่า 1.9 ล้านคน เงินกองทุนส่งเสริมคนพิการจึงมีมากถึง 6,000 ล้านบาทต่อปี โดยที่ผ่านมาผมพยายามจะต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมจนถูกข่มขู่คุกคามหลายรูปแบบ คนพิการที่เคยร่วมต่อสู้ด้วยกันมาก็ถูกอุ้มขึ้นรถตู้ไปเจรจาให้รับเงิน 20,000 แลกกับการเซ็นยินยอมไม่ดำเนินคดี จึงเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปสนับสนุนหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ" นายปรีดา กล่าวและว่าก่อนหน้านี้ได้เดินทางไปยื่นเรื่องที่ทำเนียบรัฐบาลมาแล้ว และอยากให้นายกรัฐมนตรีตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบโดยไม่มี 2 หน่วยงานคือกรมการจัดหางาน กับ พม. มาร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งทางเครือข่ายพร้อมให้ข้อมูลโดยสามารถระบุรายชื่อนายใหญ่ในแต่ละขั้นตอนได้ทั้งหมด

ที่มา: MGR Online, 17/9/2561

แนะนายจ้างจัดสวัสดิการนอกเหนือกฎหมายในรูปแบบการออมให้ลูกจ้าง สร้างหลักประกันพร้อมก้าวสู่สังคมสูงวัย

นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร.ได้ส่งเสริมให้นายจ้าง สถานประกอบกิจการจัดสวัสดิการเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับลูกจ้างในการก้าวสู่สังคมสูงวัย ทั้งนี้ข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ บ่งชี้ว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอนาคต สำหรับรูปแบบของสวัสดิการที่ได้ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการดำเนินการ ได้แก่ การจัดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น การจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี การจัดตั้งชมรมสุขภาพ  เป็นต้น การจัดสวัสดิการด้านเศรษฐกิจได้ส่งเสริมในเรื่องของการจัดทำบัญชีครัวเรือน การสร้างวินัยการออม รวมไปถึงการสร้างกลไกด้านการออมด้วยการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินสะสมไว้ใช้หลังเกษียณอายุ และในกรณีมีความจำเป็นสามารถกู้ยืมได้โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกันและเสียดอกเบี้ยต่ำซึ่งจะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบให้กับลูกจ้างอีกทางหนึ่งด้วย

อธิบดี กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดสวัสดิการเพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่สังคมสูงวัย จะช่วยให้ลูกจ้างสามารถพึ่งพิงตนเองได้ทั้งในเชิงสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม นายจ้าง สถานประกอบกิจการที่สนใจ สอบถามได้ที่กองสวัสดิการแรงงาน โทรศัพท์ 0 2246 6774 หรือ 0 2246 0383

ที่มา: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, 17/9/2561

เมียนมาจัดงานวันต่อต้านการค้ามนุษย์ แรงงานพม่ากว่า 100 ร้องถูกหลอกในไทย

เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2561 ที่สนามข้างกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา ตรงข้ามบ้านริมเมย ตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก แรงงานจังหวัดเมียวดี ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดงานวันต่อต้านการค้านุษย์ขึ้นมา โดยมีนายอูโซ หลุ่ย ผู้ว่าราชการจังหวัดเมียวดี เป็นประธาน และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าส่วนราชการ แรงงานเมียนมา พร้อมนักศึกษา นักเรียน กว่า 1,000 คน ไปร่วมงาน ในงานมีการบรรยายให้ความรู้กฏหมายแรงงาน การรู้เท่าทันเรื่องการค้ามนุษย์ ขั้นตอนการไปขายแรงงานในต่างประเทศ ซึ่งได้ความสนใจจากแรงงานเมียนมา และบริษัทเอกชน มาก

นายตายี หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว ให้สัมภาษณ์ ที่จังหวัดเมียวดี ว่าการค้ามนุษย์ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยแรงงานเมียนมาถูกหลอกโดยนายหน้า ซึ่งมีแรงงานถูกหลอกไปต่างประเทศเช่น ที่ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆเป็นต้น จึงขอให้แรงงานเมียนมาต้องระมัดระมัดระวัง

นอกจากนี้ มีแรงงานเมียนมา 100 คน ที่เดินทางไปขายแรงงานในประเทศไทย ถูกหลอกโดยถือหนังสือเดินทางของประเทศเมียนมา แต่เมื่อถึงชายแดน จ.ตาก ฉวยโอกาสลักลอบเข้าเมืองผ่านชายแดนแม่สอด ข้ามพื้นที่ไปทำวีซ่า ที่ จ.สมุทรสาคร ซึ่งแทนที่จะเข้ามาทำวีซ่าที่ชายแดนตาก ทำให้ไม่มีข้อมูลในระบบการเข้าเมืองของไทย และยังผิดกฏหมาย จึงถูกจับ และส่งกลับไปด้าน จ.ตาก ซึ่งแรงงานเมียนมา 100 คนนี้ เสียเงินให้นายหน้า 7,000 บาท โดยนายหน้าหัก 2,000 บาท ให้เจ้าหน้าที่ 5,000 บาท ในการตีตราวีซ่าเข้าเมือง

นางมะขิ่น แรงงานเมียนมา ที่ไปร่วมงานกล่าวว่า อยากให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันดูแลปัญหาการค้ามนุษย์ และแรงงานเมียนมาถูกหลอกลวงด้วย เพราะปัญหาการค้ามนุษย์ยังมีอยู่

ที่มา: มติชนออนไลน์, 17/9/2561

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น