ประชาไท | Prachatai3.info |
- ‘คนสะเอียบ’ ร้อง กสม.ตรวจสอบ ‘เขื่อนแก่งเสือเต้น’ ละเมิดสิทธิชุมชน-รัฐธรรมนูญ
- "พงศพัศ" เสนอ 7 นโยบายจราจรไร้รอยต่อ "สุขุมพันธ์" ชูแก้จราจรครบวงจร "สั้น-กลาง-ยาว"
- 'ทอมสัน รอยเตอร์' เล็งปลดพนง.2,500 ตำแหน่งทั่วโลก
- ไต่สวนคดี “ลุงคิม” เหยื่อกระสุน 14 พ.ค.53 สิ้นสุด นัดฟังคำสั่ง 27 มี.ค.นี้
- เซอร์ไพรส์! พ่อพลทหารเหยื่อกระสุน 28 เม.ย.53 ถอนทนาย-ถอนการเป็นผู้ร้องร่วม
- เผยมูลเหตุจับอาวุธสู้ เปิดข้อมูลคดี 16 ศพ บุกฐานทหารบาเจาะ
- เสวนา 'การนิรโทษกรรมทางการเมือง' เสนอนิรโทษกรรมเพื่อมนุษยธรรม
- บริษัท GM ไม่สนสหภาพฯ เดินหน้าเปิดเดินเครื่องผลิตรถยนต์
- สื่อมาเลย์พร้อมใจตีข่าว 'BRN โจมตีฐานทหาร'
- เปิดใจนักรณรงค์ความหลากหลายทางเพศ: ทางวิบากสู่ทะเบียนสมรส
- ประสบการณ์ 'กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ' จากยุโรป
- ไม่มีใครชิงการนำ นปช. แต่เพราะถดถอยเอง
- กลุ่มหลากหลายทางเพศ รณรงค์ ขอ "ทุกเพศ" ได้จดทะเบียน รับวาเลนไทน์
- 40 องค์กรกิจกรรม 243 รายชื่อ แถลงค้านการผ่านร่าง พรบ.ม.เกษตรฯ ออกนอกระบบ
- เมื่อผู้หญิงทั่วโลกลุกขึ้น 'เต้น' เพื่อเรียกร้องยุติความรุนแรงต่อสตรี
‘คนสะเอียบ’ ร้อง กสม.ตรวจสอบ ‘เขื่อนแก่งเสือเต้น’ ละเมิดสิทธิชุมชน-รัฐธรรมนูญ Posted: 14 Feb 2013 12:15 PM PST คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ บุกยื่นหนังสือกรรมการสิทธิฯ จี้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิชุมชน และการละเมิดรัฐธรรมนูญ กรณี 'เขื่อนแก่งเสือเต้น-เขื่อนยมบน-เขื่อนยมล่าง' 14 ก.พ.56เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ห้องประชุม โรงแรมฮอริเดย์การ์เดน จ.เชียงใหม่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดสัมมนา โครงการเครือข่ายในการเฝ้าระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของเครือข่าย เรื่อง นโยบายการจัดการน้ำที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน จากนั้นตัวแทนชาวบ้าน ต.สะเอียบได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน ให้ กสม.ตรวจสอบการละเมิดสิทธิ กรณีโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น โครงการเขื่อนยมบน โครงการเขื่อนยมล่าง ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ นายแพทย์นิรันดร์ แสดงความเห็นต่อโครงการเขื่อนดังกล่าวว่า ทางกรรมการสิทธิฯ จะดำเนินการต่อไปในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิตามที่ชาวบ้าน ต.สะเอียบร้องเรียน และยังกล่าวว่า กรรมการสิทธิมนุษยชน รับเงินเดือนซึ่งเป็นภาษีของพี่น้องประชาชน ต้องทำงานแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน เป็นภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามรัฐธรรมนูญ ดร.วสันต์ จอมภักดี อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากรหลักในการสัมมนากล่าวถึงการจัดการแม่น้ำ คู คลองของภาคเหนือว่า ที่ผ่านมามีความผิดพลาด การถมริมฝั่งน้ำปิงในเมืองเชียงใหม่ ทำให้แม่น้ำแคบ ระบบนิเวศเปลี่ยนไป เป็นความไม่เข้าใจของหน่วยงานราชการเอง ที่มุ่งเน้นการพัฒนา เน้นความเจริญ ทำให้ระบบนิเวศเสียหาย "เราไม่ควรเร่งพัฒนาจนลืมภูมิปัญญาชาวบ้าน บรรพบุรุษของเรา พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของพวกเราอยู่กันมาได้มีระบบการจัดการน้ำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ บันทึกไว้ในตำรามังรายศาสตร์ แต่ระยะหลังเราให้พวกด็อกเตอร์มาจัดการน้ำ ระบบพังหมด แล้วลูกหลานเราจะอยู่กันได้อย่างไร งบเงินกู้ 3.5 แสนล้านจะทำให้ระบบนิเวศน์แม่น้ำพังหมด แถมยังเป็นภาระให้ลูกหลานเราเป็นหนี้สาธารณะไปอีกนานแสนนาน" ดร.วสันต์ กล่าว ด้านนายประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี ประธานกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบกล่าวว่า เงินกู้ 3.5 แสนล้าน ได้หมกเม็ดแผนการทำลายป่าไว้อย่างมหาศาล อาทิ เขื่อนแก่งเสือเต้นจะทำลายป่า 41,7501 ไร่ เขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ จะทำลายป่าอีก 13,000 ไร่ นอกจากนี้ ในแผนการจัดการน้ำยังมีเขื่อนที่จะต้องสร้างทั้งหมด 22 เขื่อน ป่าไม้และชุมชนจะต้องถูกกระทบอย่างมากแน่นอน อีกทั้งยังให้ต่างชาติมาประมูลงานอีก การมีส่วนร่วมของชาวบ้านและชุมชนก็ยังไม่มี "รัฐบาล และ กบอ.เดินหน้ากู้เงินมาทำลายป่าอย่างนี้ละเมิดสิทธิหรือไม่" นายประสิทธิพรตั้งคำถาม นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อน 4 หมู่บ้าน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า ตนเองและคณะกรรมการคัดค้านเขื่อนได้มายื่นหนังสือต่อนายแพทย์นิรันดร์ เพื่อให้กรรมการสิทธิฯ ได้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิกรณีโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น โครงการเขื่อนยมบน โครงการเขื่อนยมล่าง เพราะรัฐบาล กบอ.ไม่เคยมาชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริง แต่อย่างใด กลับนำโครงการเหล่านี้ไปบรรจุในแผนการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ข้ามขั้นตอนต่างๆ มากมาย ถือว่าไม่เป็นธรรมต่อชาวบ้าน จึงขอให้กรรมการสิทธิช่วยตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้หนังสือดังกล่าวมีเนื้อหา ดังนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
"พงศพัศ" เสนอ 7 นโยบายจราจรไร้รอยต่อ "สุขุมพันธ์" ชูแก้จราจรครบวงจร "สั้น-กลาง-ยาว" Posted: 14 Feb 2013 12:15 PM PST "สุขุมพันธ์ บริพัตร" งัดเพลงหาเสียงแปลงมาจาก "กังนัมสไตล์" "สุหฤท สยามวาลา" ชู 5 ข้อ "กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ผู้หญิงมีความสุข" "เสรีพิศุทธิ์" หยั่งเสียงจัดระเบียบทางเท้า ด้าน "โสภณ พรโชคชัย" ขอประชันวิสัยทัศน์ออนไลน์ หลังไม่ได้ขึ้นดีเบตที่จุฬา "สุขุมพันธุ์" ชูแก้นโยบายจรจาครบวงจร สั้น กลาง ยาว - โชว์เพลงหาเสียงแปลงจาก "กังนัมสไตล์" บรรยากาศหาเสียงการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. เมื่อวานนี้ (14 ก.พ.) นั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครหมายเลข 16 ได้โพสต์อัลบั้มภาพ "ภารกิจการลงพื้นที่หาเสียง วันที่ 14 ก.พ. 2556" ลงในเฟซบุคของตน ระบุข้อความว่า "ประชันวิสัยทัศน์ผู้ว่าฯกทม. ที่มรภ.สวนสุนันทา ชูนโยบายแก้ปัญหาการจราจรแบบครบวงจร แก้ปัญหาระยะสั้น กลาง ยาว เน้นต้องพัฒนาและส่งเสริมการใช้ขนส่งมวลชนสาธารณะเพิ่มจาก 40% เป็น 60% จึงจะบรรเทาปัญหาการจราจรได้ จากนั้นไปลงพื้นที่บ้านเด็กตาบอด ผู้พิการซ้ำซ้อน รามอินทรา 34 และนำเสนอนโยบายเปิดโรงเรียนกทม.ให้เด็กพิการที่ช่วยเหลือตัวเองได้ เรียนร่วมกับเด็กปกติ ช่วงบ่ายไปร่วมประชันวิสัยทัศน์ ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร ที่ modernnine TV รายการพิเศษ "เกาะติดศึกชิงผู้ว่าฯ กทม" ใครพลาดชมอ่านสรุปได้ในนี้ครับ http://storify.com/Sukhumbhandp/story-9 ช่วงค่ำพบปะพี่น้องและปราศรัย ณ ตลาดปัฐวิกรณ์ ซ.นวมินทร์ 72 เขตบึงกุ่ม และที่สุเหร่าแดง ซ.46 ถ.เสรีไทย เขตคันนายาว ขอบคุณทุกการต้อนรับครับ" โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึกรายงานด้วยว่าในระหว่างการเยี่ยมโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้เต้นท่าควบม้า และเปิดเพลงหาเสียงของพรรคที่ใช้ทำนองเพลง "กังนัมสไตล์" ด้วย
"พงศพัศ" เสนอนโยบายจราจรไร้รอยต่อ 7 ข้อ ขณะเดียวกัน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครหมายเลข 9 ได้โพสต์นโยบายจราจร 7 ข้อติดต่อกันในเฟซบุคของตน โดยระบุว่า "สู่เป้าหมายการลดเวลาเดินทางลง 30% ในชั่วโมงเร่งด่วน คืนเวลาให้ภาคธุรกิจและครอบครัว ผมขออาสาเป็นผู้เชื่อมประสานและแก้ไข วางยุทธศาสตร์ สร้างอนาคตกรุงเทพฯร่วมกับรัฐบาลเพื่อผลักดันโครงการต่างๆ ซึ่งจะทยอยนำเสนอทุกท่าน โปรดติดตามครับ" "โครงข่ายจราจรไร้รอยต่อ เรื่องที่ 1 ประสานกับรัฐบาล เพื่อผลักดันโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน - พัฒนาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า BTS กับรถไฟฟ้าสายสีเขียวของรัฐบาลตลอดแนวถนนราชพฤกษ์ช่วงบางหว้า รวมทั้งจุดเชื่อมต่อที่สถานีแบริ่งไปยังบางปู สมุทรปราการ ระยะทาง 11 กม. - รถไฟฟ้าขนาดเบา(Monorail/Light Rail) รอบศูนย์กลางคมนาคมพหลโยธิน บางซื่อ ถึง Energy Complex ระยะทาง 7 กม. นโยบายจราจรไร้รอยต่อ เรื่องที่ 2 ประสานงานกับรัฐบาลผลักดันตั๋วร่วม 1 ใบ ใช้ได้ทุกที่ สร้างมาตรฐานกลางของระบบบัตรโดยสารร่วม เพื่อความสะดวกในทุกเส้นทางด้วยตั๋วเพียงใบเดียว นโยบายจราจรไร้รอยต่อ เรื่องที่ 3 เชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน บูรณาการเพื่อยกระดับคุณภาพบริการของรถประจำทาง นโยบายจราจรไร้รอยต่อ เรื่องที่ 4 เชื่อมโยงและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจราจรให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น ด้วยการจัดตั้งศูนย์จราจรกรุงเทพมหานคร นโยบายจราจรไร้รอยต่อ เรื่องที่ 5 เติมเต็มระบบเสริมที่หลากหลาย รับ-ส่งคนกรุงเทพฯให้เข้าถึงรถไฟฟ้าอย่างสะดวก นโยบายจราจรไร้รอยต่อ เรื่องที่ 6 รวมพลังคนกรุงเทพฯ แก้ปัญหารถติดด้วยน้ำใจ และวินัยจราจร นโยบายจราจรไร้รอยต่อ เรื่องที่ 7 ฟื้นฟูรถรางท่องเที่ยว เสริมเสน่ห์ให้ย่านประวัติศาสตร์ พัฒนาระบบรถรางในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ (Tram Way) 12 สถานี ความยาว 7 กม. เชื่อมโยงการเดินทางสู่รถไฟฟ้า 3 สาย ได้แก่ สีส้ม สีม่วง และสีน้ำเงิน
"สุหฤท" ชู 5 ข้อ "กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ผู้หญิงมีความสุข" "เสรีพิศุทธิ์" หยั่งเสียงจัดระเบียบทางเท้า ขณะเดียวกัน นายสุหฤท สยามวาลา ผู้สมัครหมายเลข 17 ได้โพสต์แสดงนโนบาย "กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ผู้หญิงมีความสุข" 5 ข้อ โดยระบุว่า "หนึ่งในนโยบายที่อยากนำเสนอคือ กรุงเทพฯเป็นเมืองที่ผู้หญิงมีความสุขครับ สุข 1 ความปลอดภัย แสงสว่าง มีบริการสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะเช่น lady taxi ตามอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินผมทำได้แน่ๆ ทุกข้อครับยกเว้นข้อ 5 อย่างเดียวครับ เชื่อแบบเดิม เลือกแบบเดิม ได้กรุงเทพฯแบบเดิม สุหฤท สยามวาลา" ด้าน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส ผู้สมัครหมายเลข 11 ได้โพสต์สเตตัสในเฟซบุคของตน แสดงความเห็นเรื่องการขายของบนทางเท้าว่า "ผมเข้าใจมากครับ คนขายก็อยากขาย อยากมีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว คนเดินทางเท้าเองก็อยากเดินสบายไม่เกะกะ ผมเชื่อว่าถ้าเราจัดระเบียบดีๆ ให้คนขายได้มีที่ขายที่เป็นที่เป็นทางหรือจัดโซนให้ชิดด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะเป็นระเบียบมากขึ้น แล้วน้องๆ คิดยังไงกันบ้างครับ" @sereepisuth"
"โสภณ พรโชคชัย" ขอประชันวิสัยทัศน์ออนไลน์ หลังไม่ได้ขึ้นดีเบตที่จุฬา ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 14 ก.พ. ที่ผ่านมา นายโสภณ พรโชคชัย ผู้สมัครหมายเลข 4 ได้เผยแพร่บทความ "ลองดูวิสัยทัศน์พัฒนาเมืองของผม" หลังจากที่ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทยฯ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาสาธารณะ ประชันวิสัยทัศน์ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2556 (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) อย่างไรก็ตามผู้จัดงานไม่ได้เชิญนายโสภณขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ ทำให้ต่อมา นายโสภณซึ่งไปฟังการประชันวิสัยทัศน์ด้วย ได้เขียนบทความเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้ "เมื่อวานนี้ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาประชันวิสัยทัศน์ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในด้านผังเมือง บริหารมหานครและการใช้ทางเท้า ผมไม่ได้รับเชิญ ผมจึงติดต่อไปแต่เขาว่ามีหลายคนแล้วและอนุญาตให้ผมไปฟังเผื่อแสดงความเห็นด้วย แต่เมื่อผมไปถึงคนล้นห้องแทบไม่มีที่ยืนจึงต้องเดินทางกลับในภายหลัง ในฐานะที่ผมรู้เรื่องเมืองเป็นอย่างดี จบ ดร.ด้านนี้ และทำงานเกี่ยวข้องมาโดยตลอด ผมจึงขอแสดงวิสัยทัศน์ที่แตกต่างตรงนี้ครับ ลองเปรียบเทียบที่ผมตอบกับที่ท่านอื่นตอบ (http://prachatai.com/journal/2013/02/45274) ว่าต่างกันอย่างไรนะครับ คำถาม: มีแนวทางจัดการเมืองอย่างไร ระหว่างเขตเศรษฐกิจ เมืองเก่า สถานบันเทิง ฯลฯ เราต้องส่งเสริมและอำนวยความสะดวกต่อเขตเศรษฐกิจเพราะเป็นเขตที่สร้างรายได้และภาษีมาเลี้ยงดูประชาชนทั้งกรุงเทพมหานครและทั้งประเทศ ดังนั้นการอำนวยความสะดวกให้ประกอบการค้าเชื่อมโยงกับทั่วโลกได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ รูปธรรมก็คือระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น ส่วนเขตเมืองเก่าเป็นเขตอนุรักษ์ความเป็นไทย สถาบันหลัก และรักษารากเหง้าทางวัฒนธรรม ผมเสนอการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์เป็นไนท์บาซาร์ที่ใหญ่และดีที่สุดในโลก เนื่องจากกลางวันร้อนจัด แต่ไม่ใช่เพียงเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อม ยังมุ่งส่งเสริมการแสดงออกของเด็ก เยาวชน ศิลปิน ผู้สูงอายุ เป็นต้น ส่วนสถานบันเทิง ผมจะจัดโซนหรือบริเวณพิเศษให้อยู่ร่วมกัน โดยในบริเวณนี้มีการตรวจตราอาวุธและยาเสพติดอย่างเข้มงวด สถาบันบันเทิงต่าง ๆ จะย้ายเข้ามาอยู่แทบทั้งหมด เพราะไม่ต้องเสียค่าคุ้มครองเช่นที่เป็นอยู่ การรบกวนเพื่อนบ้าน ชุมชนและภาพบาดตาต่าง ๆ ก็จะหมดไป คำถาม : ในทางกฎหมาย อำนาจของ กทม. มีจำกัด เช่น รถเมล์ เป็นของคมนาคม ถนนบางสายเป็นของกรมทางหลวง ฯลฯ ท่านคิดว่าจำเป็นหรือไม่ ที่จะดึงอำนาจการบริหารจัดการมาจากรัฐบาลกลาง มีแนวทางอย่างไร ด้วยวิธีการใด บางท่านบอกว่าให้แก้ไขกฎหมายเพื่อให้ผู้ว่าฯ มีอำนาจมากขึ้น แต่การแก้ไขกฎหมายคงไม่ใช่หน้าที่ที่ทำได้สำเร็จของผู้ว่าฯ ผู้ว่าฯ ควรบริหารเรื่องใหญ่น้อยให้สำเร็จ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ เชื่อมั่นและให้ความร่วมมือให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ที่สำคัญต้องประสานต่อเนื่อง ไม่ถือตัวว่าได้รับเลือกตั้งมา ตัวอย่างหนึ่งก็คือรถประจำทาง ซึ่งทางราชการบริหารขาดทุนมาโดยตลอด ในขณะที่รถร่วมฯ ที่ทางราชการได้ค่าธรรมเนียม กลับมีกำไร แต่รถร่วมฯ บางสายก็มีคุณภาพต่ำ ดังนั้นประเด็นจึงอยู่ที่การจัดการและการทำงานที่โปร่งใส ซึ่งหากผู้ว่าฯ กทม. ทำได้ ก็ย่อมสามารถแสวงหาความร่วมมือกับทุกภาคส่วนได้ คำถาม: มีแนวทางในการสร้างความสมดุลในการใช้พื้นผิวทางเท้า ระหว่างหาบเร่แผงลอยกับคนเดินทางอย่างไร ปัจจุบันนี้ทางเท้ามีไว้ขายของ ถนนมีไว้เดินเสียแล้ว การขายของบนทางเท้าต้องเสียเงินแพง บางบริเวณสูงถึง 100-200 บาทต่อตารางเมตรต่อวัน เทียบได้กับการเช่าพื้นที่ห้างสรรพสินค้าหรูๆ เยี่ยงพารากอน หรือเอ็มโพเรียม แต่เงินไม่รู้ไปที่ไหน ถ้าผมเป็นผู้ว่าฯ จะลดค่าเช่าลงครึ่งหนึ่ง เพื่อผู้เช่าจะสามารถขายสินค้าและบริการในราคาที่ถูกลงต่อผู้ซื้อ แล้วนำเงินมาพัฒนาท้องถิ่น เก็บกวาดให้ดี ไม่ใช่ปล่อยระเกะกะกะเช่นทุกวันนี้ แต่ถึงที่สุดต้องจัดบริเวณค้าขายให้ดี พร้อมกับการสร้างนิสัยการซื้อ-ขายสินค้าที่ไม่รบกวนสังคม คำถาม: การมีส่วนร่วมคน กทม. มีอย่างจำกัด ในการออกบัญญัติ กทม.ทำได้ยาก ต้องเข้าชื่อไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น ต้องใช้เสียงถอดถอด 3 ใน 4 ของผู้มาใช้สิทธิ ประมาณ 2 ล้าน คำถามคือ ท่านมีท่าทีเชิงนโยบายที่จะขยายการมีส่วนร่วมในเรื่องนี้อย่างไร สิ่งแรกที่ผมจะทำก็คือการถ่ายทอดสดการทำงานของผู้ว่าฯ ยกเว้นเวลาอยู่บ้านหรือนั่งล้วงแคะแกะเกาในห้องทำงานส่วนตัว แต่การเจรจาพบปะกับผู้มาเยี่ยมเยียนใด ต้องเปิดเผยได้ยินกันโดยตลอด รวมทั้งจัดที่นั่งให้ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมานั่งสังเกตการณ์ทำงานหน้าห้องผู้ว่าฯ เพราะไม่มีวาระซ่อนเร้น นี่เป็นการมีส่วนร่วมขั้นแรก ส่วนที่สำคัญก็คือการให้ภาคประชาชนได้ตรวจสอบการทำงานของทั้งผู้ว่าฯ และข้าราชการ กทม. แต่ไม่ใช่การเล่นปาหี่ ภาคประชาชนนี้จะต้องมาจากการเลือกตั้งในแต่ละลำดับชั้น ไม่ใช่กลุ่มองค์กรที่อุปโลกน์กันขึ้นมา เมื่อมีการตรวจสอบจากประชาชนใกล้ชิด ก็ย่อมโปร่งใส เพราะ "ผีย่อมกลัวแสงสว่าง" คำถาม: เรื่องการจราจร การสร้างจุดจอดแท็กซี่ที่ผ่านมาน่าจะมีปัญหา ใช้งบประมาณไปมากมาย อาจไม่คุ้มค่า ไม่รู้เงินเข้ากระเป๋าใคร ควรสร้างจุดจอดวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างมากกว่าสร้างเพิงอยู่บนทางเท้า และควรประกันชีวิตมอเตอร์ไซค์รับจ้างและผู้โดยสาร รวมทั้งการตรวจสอบให้ดี เพื่อไม่ให้มีการรีดไถ ในการแก้ปัญหาจราจร เฉพาะหน้าต้องทำบัสเลนเฉพาะช่วงเช้าเย็น ใครฝ่าฝืนจับปรับหนัก แต่ไม่ทำบีอาร์ทีที่ใช้ช่องทางจราจร 2 ช่องตลอด 24 ชั่วโมงซึ่งไม่มีประโยชน์ อนาคตเมื่อสร้างรถไฟฟ้าแล้วจะต้องเลิกบีอาร์ที ส่วนที่มีรถไฟฟ้าแล้วก็สร้างรถไฟฟ้ามวลเข้าเข้าถึงพื้นที่ปิดล้อม รวมทั้งการส่งเสริมให้มีจักรยานยนต์ไฟฟ้าคันแรก และการใช้จักรยานเช่า 40,000 คัน 1,000 จุดเพื่อให้คนใจกลางเมืองขี่ไปทำงาน คำถาม: กทม.ใช้งบมากแก้ปัญหาปากท้องให้กทม. ซึ่งส่วนหนึ่งเอามาจากงบรวมทั้งประเทศ แล้วจังหวัดอื่นที่ประชาชนยากจนกว่าเขาจะคิดอย่างไร มีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร การพัฒนาใด ๆ นั้น ผู้ใช้ต้องเป็นผู้จ่าย ไม่ใช่ไปขอเงินหลวง ไม่ใช่ไปกู้เงินตะพึดตะพือ จะได้ไม่เอาเปรียบคนจน เมืองพิเศษ เช่น กทม. หรือพัทยา ต้องมีนโยบายเป็นสากล คือ นอกจากบริหารด้วยเงินตัวเองแล้ว ยังมีเงินสนับสนุนชาติ ไม่ใช่ยังไปขอเงินงบประมาณแผ่นดิน เช่นทุกวันนี้ 20% ของงบ กทม. มาจากเงินภาษีประชาชนทั่วประเทศ คำถาม: ผู้สมัครแต่ละท่านมีนโยบายอย่างไรในการสนับสนุนการอ่านของคนกรุงเทพฯ ทำอย่างไรให้ประชาชนได้อ่านหนังสือที่มีคุณภาพ ก่อนอื่นต้องส่งเสริมให้มีหนังสือที่มีคุณค่า และอ่านสนุก พร้อมกับเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของ โดยเริ่มต้นที่สถานีของ กทม. ก่อน การกระตุ้นต่อเนื่องที่ไม่ใช่แบบ "ไฟไหม้ฟาง" เป็นสิ่งจำเป็น คำถาม: เขตปทุมวันส่วนใหญ่เป็นที่ดินทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ถ้ามีการไล่รื้อ เมื่อเป็นผู้ว่าฯ จะดูแลชุมชุนอย่างไรให้อยู่คู่เมืองใหญ่ / จะมีแนวทางจัดการปัญหาขยะอย่างไร เพราะขยะไม่มาเก็บหลายวัน ต้องเจรจากับทรัพย์สินฯ สร้างแนวคิดการพัฒนาแบบ Land Sharing คือแบ่งส่วนหนึ่งให้ประชาชนอยู่อาศัย อีกส่วนหนึ่งให้ทรัพย์สินฯ ไปพัฒนาทางธุรกิจตามที่ต้องการ มีกรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่นที่ถนนพระรามที่ 4 เป็นต้น ส่วนเรื่องขยะนั้น นหัวใจในการบริหารขยะอยู่ที่การลดปริมาณขยะ การแยกขยะ และการกำจัดขยะที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษโดยใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสเพื่อให้เกิดความผาสุกในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งการสร้างรายได้จากขยะ คำถาม: พัฒนาอย่างไรให้ประชาชนกรุงเทพฯ พร้อมเข้าสู่ AEC ตามทันสิงคโปร์ ผมไปสำรวจนครต่าง ๆ มาทั่วอาเซียน ไปเป็นทำงานให้กับกระทรวงการคลังกัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย รวมทั้งองค์การสหประชาชาติและธนาคารโลก พบว่าหากเปิด AEC ไทยจะได้รับความสนใจในการลงทุนมากที่สุด เราต้องทำสัญญาและธุรกรรมต่าง ๆ ให้เป็นธรรม เพื่อความมั่นใจของนักลงทุนและคุ้มครองประโยชน์ของคนไทย ควรให้ผู้ประกอบการได้ "ติดอาวุธ" ทางปัญญาเพื่อแข่งขันกับต่างชาติได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'ทอมสัน รอยเตอร์' เล็งปลดพนง.2,500 ตำแหน่งทั่วโลก Posted: 14 Feb 2013 10:38 AM PST
บริษัท ทอมสัน รอยเตอร์ ผู้ให้บริการข้อมูลทางการเงินและรายงานข่าว เตรียมปลดพนักงาน 2,500 ตำแหน่งทั่วโลกในปีนี้ ซึ่งเป็นความพยายามลดค่าใช้จ่ายครั้งใหญ่ที่สุด โดยจิม สมิธ ซีอีโอของบริษัท แถลงเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า บริษัทเตรียมจะปรับลดตำแหน่งพนักงานในแผนกการเงินและความเสี่ยง ซึ่งทำเงินได้มากกว่าครึ่งของรายได้ทั้งหมด การปลดพนักงานครั้งนี้ คิดเป็นร้อยละ 4 ของกำลังแรงงานทั่วโลกจำนวน 60,000 ตำแหน่งของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้ระบุว่า จะเลิกจ้างในพื้นที่ใด "นี่ไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่าย แต่โครงสร้างค่าใช้จ่ายของเราต้องสนองต่อความต้องการของลูกค้า" สมิธกล่าว ทั้งนี้ บริษัทจะต้องจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้างราว 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสนี้ ขณะที่บางตำแหน่งจะถูกตัดออกในการลดจำนวนพนักงานครั้งนี้ มีราว 1,000 ตำแหน่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกบริการนิติบุคคล ที่จะถูกซื้อโดยแนสเด็ก ทอมสัน รอยเตอร์ รายงานผลกำไรของไตรมาสที่ 4 ปี 2555 เป็นเงิน 372 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังขาดทุนครั้งใหญ่ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แผนกการเงินและความเสี่ยง ซึ่งรับผิดชอบต่อรายได้ ร้อยละ 54 ของรายได้ทั้งหมด ต้องต่อสู้ดิ้นรนในช่วงปีหลังๆ มานี้ เนื่องจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไอคอน (Eikon) ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนายธนาคาร ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟัน และผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการเงิน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ไต่สวนคดี “ลุงคิม” เหยื่อกระสุน 14 พ.ค.53 สิ้นสุด นัดฟังคำสั่ง 27 มี.ค.นี้ Posted: 14 Feb 2013 10:18 AM PST ไต่สวนการเสียชีวิตนายฐานุทัศน์ เหยื่อกระสุน 14 พ.ค.53 ภรรยาและลูก เบิกความเชื่อถูกทหารยิง แพทย์ตรวจชันสูตรบาดแผลผู้ตายก่อนเสียชีวิต ระบุกระสุนส่งผลให้เป็นอัมพาต จนท.ตรวจหัวกระสุนในร่างผู้ตายระบุเป็นกระสุน .223 ที่ใช้กับ M653 และ M16 เปิดคลิปช่วงเกิดเหตุไม่พบการติด ADAPTER แพทย์รับรองการตายชี้สาเหตุเสียชีวิตจากอาการปอดอักเสบ นัดฟังคำสั่งวันที่ 27 มี.ค.นี้ 13 และ 14 ก.พ.56 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 504 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนชันสูตรพลิกศพ คดีเลขที่ ช.12/2555 ในคดีที่พนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของ นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง อายุ 55 ปี ที่ถูกยิงเข้าที่หลังด้านซ้าย กระสุนทะลุไขสันหลังและปอดขวา กระสุนไปฝังที่สะบักขวา บาดเจ็บสาหัสและเป็นอัมพาต เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ 12.00 - 13.00 น. ของวันที่ 14 พ.ค.53 บริเวณหน้าโรงรับจำนำน่ำเลี้ยง ถนนพระราม 4 บ่อนไก่ ช่วงที่มีการกระชับวงล้อมผู้ชุมนุมเสื้อแดงโดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากนั้นนายฐานุทัศน์ ได้เสียชีวิตในเวลาต่อมาเมื่อ 23 ก.พ. 55 เวลา 22.35 น. ที่ รพ.มเหสักข์ โดยในวันที่ 13 ก.พ. มีการสืบพยาน 4 ปาก ประกอบด้วย นางวรานิษฐ์ อัศวสิริมั่นคง ภรรยาผู้ตาย นายนนท์นริฐ อัศวสิริมั่นคง บุตรชายผู้ตาย(กับนางวรานิษฐ์) ซึ่งทั้งคู่อยู่กับผู้ตายก่อนถูกยิงไม่นาน นพ.อำนาจ กุสลานันท์ อายุ 68 ปี ข้าราชการบำนาญ แพทย์ที่ปรึกษานิติเวชศาสตร์ รพ.กล้วยน้ำไท และ รพ.มเหสักข์ ปัจจุบันเป็นแพทย์ทีปรึกษาประจำ รพ.ศิริราช ในฐานะผู้ตรวจชันสูตรบาดแผลผู้ตายก่อนเสียชีวิต และ พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ ยาคุ้มภัย อายุ 41 ปี รับราชการอยู่กลุ่มงานตรวจอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน กองพิสูจน์หลักฐานกลาง นางวรานิษฐ์ อัศวสิริมั่นคง ภรรยาผู้ตาย เบิกความว่า ในวันเกิดเหตุ เวลาประมาณ 11.00 น. เศษ พยาน สามี ลูกชาย และลูกสาว เดินทางออกจากบ้านที่ชุมชนบ่อนไก่ เพื่อไปห้างโลตัส พระราม 4 จึงพากันไปยืนรอรถโดยสารที่ป้ายรถประจำทาง บริเวณหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี ในระหว่างที่ยืนรอรถโดยสาร เห็นรถมีน้อยลง พยานหันไปทางด้านขวามือ บริเวณสะพานไทย-เบลเยียม เห็นทหารประมาณ 10 กว่าคน ยืนอยู่บริเวณเชิงสะพาน และถืออาวุธปืนยาว ห่างจากจุดที่พยานยืนอยู่ประมาณ 200 เมตร โดยในขณะนั้นสามี(ผู้ตาย)เดินดูล็อตเตอรี่อยู่หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ ห่างจากพยานประมาณ 3 เมตร สักพักได้ยินเสียงดังคล้ายระเบิด 1 ครั้ง ประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวต่างร้องตะโกนและวิ่งหนี พยานหันกลับไปดูที่สะพานไทย-เบลเยี่ยม เห็นทหารออกมายืนตั้งแถวหน้ากระดาน และถือปืนเล็งมาทาง ถ.พระราม 4 ที่พยานยืนอยู่ เพียงครู่เดียวก็ได้ยินเสียงปืนดังมาจากสะพานไทย - เบลเยียม มีลักษณะยิงเป็นชุดแล้วหยุด สามีจึงบอกให้พยานกับลูกไปหลบที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น แต่พยานกับลูกตกลงกันว่ากลับบ้านเลย นางวรานิษฐ์ เบิกความด้วยว่า ระหว่างที่วิ่งกลับบ้านนั้นพยานได้โทรศัพท์ติดต่อสามีเป็นระยะ แต่ไม่รับสาย เมื่อไปถึงบ้าน เวลาประมาณ 12.20 น. พี่สาวของสามีโทรศัพท์มาถามว่า อยู่กันครบหรือไม่ เพราะได้ข่าวว่ามีคนในชุมชนถูกยิง พยานจึงตอบไปว่าสามียังไม่กลับ หลังจากนั้นเวลาประมาณ 13.00 น. รพ.กล้วยน้ำไท โทร.มาแจ้งว่า สามีถูกยิงและเสียเลือดมาก พยานจึงเดินทางไปโรงพยาบาลพร้อมกับลูกๆ โดยแพทย์แจ้งว่าสามีถูกยิงด้วยอาวุธปืนเข้าที่กระดูกสันหลัง ทะลุไปฝังที่ปอดด้านขวา และพบกระสุนฝังอยู่ที่สะบักด้านขวา อาจพิการและเดินไม่ได้ไปตลอดชีวิต ซึ่งแพทย์ได้ทำการผ่าตัดกระสุนที่ปอดออก โดยสามีรักษาตัวอยู่ที่ รพ.กล้วยน้ำไทจนถึงวันที่ 4 มิ.ย. 53 และย้ายไปอยู่ที่ รพ.มเหสักข์ ขณะนั้นแพทย์ต้องระบายเลือดออกจากปอด สามีมีอาการขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยแพทย์แจ้งว่าเป็นอัมพาตช่วงล่างอย่างถาวร นางวรานิษฐ์ เบิกความต่อว่า หลังจากนั้นวันที่ 7 ก.ค. 53 จึงพาสามีกลับมารักษาตัวที่บ้าน กระทั่งต้นเดือน ต.ค. 54 สามีมีอาการเจ็บที่กระดูกต้นคอ จึงพาไปรักษาที่ รพ.มเหสักข์ แพทย์จึงทำการผ่าตัดบริเวณต้นคอ เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 54 โดยแจ้งว่า สามีกระดูกต้นคอเสื่อม เนื่องจากได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่ไขสันหลังจากการถูกยิง ทำให้เป็นอัมพาตทั้งตัว กล้ามเนื้อปอดไม่ทำงาน หายใจเองไม่ได้ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หลังผ่าตัดแล้ว จึงนำตัวสามีกลับบ้าน ต่อมาวันที่ 11 พ.ย. 54 สามีมีอาการหายใจติดขัด จึงพาไปที่โรงพยาบาลอีกครั้ง และในวันที่ 5 ธ.ค. 54 แพทย์ต้องทำการเจาะคอ เพื่อใส่เครื่องช่วยหายใจ และรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จนกระทั้งวันที่ 22 กพ 55 เวลา 22.20 น. จนท.รพ.แจ้งว่าสามีใกล้เสียชีวิตแล้ว ทำให้พยานช็อก และพอได้สติได้โทรไปสอบถาม พยาบาลได้บอกว่าสามีพึ่งหมดลมหายใจไปเมื่อ 2-3 นาที หลังจากนั้นพยานได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลจึงได้พบสามีเสียชีวิตจริง และได้นำศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัดหัวลำโพง 24 ก.พ. 55 โดยทางโรงพยาบาลได้ออกใบรับรองการตายระบุสาเหตุเสียชีวิตเนื่องจากปอดอักเสบ แต่พยานเห็นว่าสามีถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่และมีกระสุนค้างอยู่ที่ร่างกายจึงไปแจ้งความที่ สน.บางรัก กับ พ.ต.ท.สุรพล ล้วนประเสริฐ และมีการส่งศพไปชันสูตรที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อวันที่ 28 ก.พ.55 และแพทย์ลงความเห็นว่า ระบบการหายใจและโลหิตล้มเหลวร่วมกับมีหัวกระสุนปืนในร่าง สันนิฐานว่าเสียชีวิตจากมะเร็งลุกลาม จึงมีการแก้สาเหตุการเสียชีวิตใหม่ในใบมรณะบัตร นางวรานิษฐ์ เบิกความว่าในวันเกิดเหตุผู้ตายสวมเสื้อยืดคอปกสีเขียว กางเกงสีน้ำเงินเข้ม หลังจากนั้นอัยการได้นำภาพที่มีการถ่ายในมุมสูงมาให้ดู นางวรานิษฐ์ ได้ยืนยันต่อศาลว่าผู้ตายเป็นบุคคลเสื้อเขียวในภาพดังกล่าว นางวรานิษฐ์ ด้วยว่าไม่พบชายชุดดำหรือผู้ถืออาวุธปืนในที่ๆ พยานและผู้ตายอยู่ และไม่มีใครมาชุมนุม จากการสังเกตว่ารถวิ่งน้อยลงพอมองไปที่ สะพานไทย-เบลเยียม มีทหารยืนอยู่ คิดว่าเหตุที่ผู้ตายถูกยิงเนื่องจากทหารคิดว่าเป็นผู้ชุมนุม ประกอบกับขณะนั้นบริเวณป้ายรถเมล์มีคนอยู่มากด้วย ดังนั้นจึงเชื่อว่าทหารที่มาปฏิบัติหน้าที่สลายการชุมนุมผู้ชุมนุมที่บริเวณ ถ.พระราม 4 เป็นคนยิง ก่อนหน้านี้ได้เคยฟ้องแพ่ง ที่ศาลแพ่ง รัชดา เรียกค่าเสียหายต่อ ต่อ กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหมและกองทัพบกเป็นเงิน 1.7 ล้านบาท แต่ขณะนี้อัยการถอนฟ้อง เนื่องจากได้รับการชดใช้ที่ทาง รัฐบาลเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ตามเงื่อนไขของ กระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นเงิน 7 ล้านเศษ โดยมีเงื่อนไขต้องมีการถอนฟ้องดังกล่าว สำหรับคนที่ช่วยเหลือสามีขณะถูกยิงนั้น ภายหลังทราบว่าเป็นนายเอกสิทธิ์ วงศ์คำมา จากสามีบอกและนายเอกสิทธิ์ได้ไปเยี่ยมที่ รพ.กล้วยน้ำไท หลังจากนั้น อัยการได้นำภาพมุมสูง นางวรานิษฐ์ พิจารณา และยืนยันว่านายเอกสิทธิ์เป็นคนที่สะพายเป้ ในภาพ ผู้ตายคนสวมเสื้อเขียว ส่วนนายนายเอกสิทธิ์ คนเสื้อคลีมสะพานเป้(ที่มาภาพ m.vanguardia.com.mx) สำหรับช่วงที่สามีได้รับบาดเจ็บได้ไปแจ้งความที่ สน.ลุมพินี และได้ให้ปากคำเบื้องต้นด้วย วันที่ 26 มิ.ย.53 และมีการแจ้งความอีกทีวันที่ 29 มิ.ย. 53 หลังจากแจ้งความแล้ว ได้ไปทำแผนที่สังเขปและ พนักงานสอบสวนได้ลงไปสถานที่เกิดเหตุพยานได้ให้การกับพนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี และมีการสอบคำให้การสามีที่ รพ.มเหสักข์ ด้วย นางวรานิษฐ์ เบิกความต่อ ขณะรักษาตัวที่บ้าามีนางสาวอัจฉรา อิงคามระธรและนายอุเชนทร์ เชียงเสน ซึ่งเป็นอาสาสมัครของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) และได้มีการสัมภาษณ์ด้วย ซึ่งอัยการได้นำวิดีโอคลิปดังกล่าวส่งมอบเป็นหลักฐานต่อศาลด้วย นางวรานิษฐ์ เบิกความเพิ่มเติมว่าอาศัยอยู่บริเวณบ่อนไก่ประมาณ 10 ปี ในวันเกิดเหตุพยานไม่ทราบมาก่อนว่า เจ้าหน้าที่จะปฏิบัติการในพื้นที่ แต่ทราบว่ามีการชุมนุมของ นปช. ที่แยกศาลแดงและราชประสงค์ ก่อนเกิดเหตุผู้ตายมีการรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด ก.ย.52 และมีการฉายแสงและเคมีบำบัด ม.ค.-เม.ย. 53 โดยมีการรักษาครบมาโดยตลอด แล้วมีการติดตามผลให้หมอตรวจเป็นระยะ พอถูกยิงแล้วพิการเป็นอัมพาต นั้นให้พยาบาลในชุมชนบ่อนไก่ จากการขออนุเคราะห์ที่ศูนย์อนามัยชุมชนบ่อนไก่ เจาะเลือดแล้วมาส่งให้แพทย์ตรวจที่ รพ.จุฬาฯ ตามกำหนดที่หมอนัดทุกๆ 3 เดือน โดยไม่ได้นำตัวผู้ตายไปตรวจ ผลการตรวจทุกครั้งหมอระบุอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ได้อยู่ในระยะรุกราม นางวรานิษฐ์ เบิกในตอนท้ายด้วยว่า พยานทราบข่าวการไต่สวนการตายของนายพัน คำกอง โดยมีคำสั่งว่าเป็นการเสียชีวิตจากการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ และมีการการเบิกการใช้กำลังของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ด้วยเรื่องหลักการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ โดยน.อ.อนุดิษฐ์ ได้มีการตั้งศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์และให้ความช่วยเหลือประชาชน จากนั้นทนายญาติผู้เสียชีวิตได้มีการยื่นเอกสารปากคำของ น.อ.อนุดิษฐ์ ในคดีนายพัน คำกอง ให้ศาลด้วย วิดีโอคลิปขณะที่ผู้ตายถูกยิงบริเวณหน้าโรงรับจำนำน่ำเลี้ยง ถนนพระราม 4 บ่อนไก่
นพ.อำนาจ กุสลานันท์ อายุ 68 ปี ข้าราชการบำนาญ แพทย์ที่ปรึกษานิติเวชศาสตร์ รพ.กล้วยน้ำไท และ รพ.มเหสักข์ ปัจจุบันเป็นแพทย์ทีปรึกษาประจำ รพ.ศิริราช ในฐานะผู้ตรวจชันสูตรบาดแผลผู้ตายก่อนเสียชีวิต ทั้งที่ รพ.กล้วยน้ำไท และ รพ.มเหสักข์ เบิกความว่า ผู้ตายได้เข้ารับการรักษาที่ รพ.กล้วยน้ำไทตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.53 เบิกความว่า ตามผลการชันสูตรบาดแผล พบบาดแผลกระสุนปืนที่บริเวณหลัง ทะลุเข้ากระดูกสันหลังแลประสาทไขสันหลังได้รับบาดเจ็บทำให้อัมพาตที่ขา 2 ข้าง หลังจากผู้ตายได้รับการรักษาที่ รพ.กล้วยน้ำไทเป็นเวลา 22 วัน ได้ย้ายไปรับการรักษาต่อที่ รพ. มเหสักข์ต่อ โดยระยะเวลาที่รักษาที่แน่นอนยังประเมินไม่ได้ ขณะย้ายออกจาก รพ.กล้วยน้ำไท พยานได้ให้ความเห็นไว้ว่าผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บเป็นอัมพาตที่ขาทั้ง 2 ข้าง จนไม่สามารถช่วยตัวเองได้ นพ.อำนาจ เบิกความต่อว่าในวันเกิดเหตุช่วงนำตัวนายฐานุทัศน์ ส่ง รพ.กล้วยน้ำไท หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงทีจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากกระสุนปืนทะลุเข้าปอด และกระดูกไขสันหลังและประสาทไขสันหลัง พบกระสุนปืนฝังที่สะบักขวา จากบาดแผลกระสุนปืนที่บริเวณหลัง คณะแพทย์ได้ผ่าตัดกระสุนปืนออก และพบบาดแผลกระสุนปืนที่ปอดขวา กระดูไขสันหลังและประสาทไขสันหลังด้วย หลังจากถูกยิงเป็นอัมพาตที่ขาทั้ง 2 ข้างไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ การนอนนิ่งเป็นเวลานานก็มีโอกาสที่จะเกิดแผลกดทับ และกรณีนี้ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับที่บริเวณก้นกบ ซึ่งเมื่อเกิดแผลแล้วสามารถเกิดการติดเชื้อซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ถึงแก่ความตาย โดยผู้ตายมีการอักเสบติดเชื้อที่บริเวณก้นกบด้วย สำหรับพยานเป็นหมอมีตำแหน่งเป็นแพทย์ที่ปรึกษานิติเวชศาสตร์ ทั้ง รพ.กล้วยน้ำไทและ รพ.มเหสักข์ กรณีนี้มีหน้าที่เพียงตรวจชันสูตรบาดแผล ส่วนการรักษานั้นเป็นคณะแพทย์ให้การรักษาอีกที โดยบาดแผลที่ชันสูตรนั้นเป็นบาดแผลจากกระสุนปืนเท่านั้น แต่ไม่ได้ตรวจสาเหตุการเสียชีวิต นพ.อำนาจ เบิกความว่า พยานทราบว่าผู้ตายได้รับการรักษาต่อที่ รพ.มเหสักข์ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จากประวัติการรักษา สาเหตุการตายที่มีการระบุว่าปอดอักเสบ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของการมีอาการปอดอักเสบนั้นมี 2 สาเหตุ คือหนึ่งกระสุตทะลุเข้าปอดหรือสองการที่คนไขนอนนิ่งอยู่เวลานานก็มีผลทำให้เกิดปอดอักเสบได้เช่นกัน
นายนนท์นริฐ อัศวสิริมั่นคง อายุ 20 ปี บุตรชายผู้ตาย(กับนางวรานิษฐ์) เบิกความว่าวันที่ 14 พ.ค.53 ตนเอง น้องสาว มารดาและบิดา(ผู้ตาย) ได้ตั้งใจจะเดินทางไปห้างโลตัส พระราม 4 จึงออกจากบ้าน ไปรอรถเมล์ที่บริเวณป้ายรถเมล์ใกล้ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นและใกล้โรงรับจำนำ รวมทั้งบริเวณนั้นใกล้ธนาคารไทยพาณิชย์ จากนั้นได้ยินเสียงคลายระเบิดดังขึ้น 1 ครั้ง มารดาพยานได้พาน้องสาวและพยานหลบบริเวณโรงรับจำนำใกล้เคียงนั้นเป็นเวลาประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นได้เดินมารวมกับบิดาที่บริเวณป้ายรถเมล์ โดยในจังหวะที่มีเสียงดังนั้นคนที่อยู่บริเวณที่พยานอยู่ได้วิ่งอลหม่าน พยานได้มองไปทางเชิงสะพานไทย-เบลเยียม พบทหารแต่งชุดในเครื่องแบบยืนอยู่ จังหวะนั้นมีเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะจึงได้หลบ ซึ่งเสียงปืนนั้นดังมาจากสะพานไทย-เบลเยียม หลังจากนั้นมารดาของพยานจึงได้บอกให้พยานและน้องสาวกลับบ้าน นายนนท์นริฐ เบิกความต่อว่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้านนั้น บิดาไม่ได้กลับมาด้วย มารดาพยานได้พยายามโทรศัพท์หาบิดาตลอด แต่ไม่มีใครรับสาย เมื่อถึงบ้านป้าได้โทรศัพท์หามารดาของพยาน ถามด้วยว่าอยู่กันครบหรือไม่ เพราะป้าได้ข่าวว่ามีคนในบ่อนไก่ถูกยิง และหลังจากนั้นทางโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ได้โทรศัพท์มาที่มารดา แจ้งว่าบิดาหรือนายฐานุทัศน์ถูกยิง พยานได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลเมื่อไปถึงได้รับแจ้งว่าบิดาของพยานอาจจะเป็นอัมพาตที่ขา นายนนท์นริฐ เบิกความด้วยว่าไม่เห็นว่าใครเป็นคนลงมือยิงบิดา ส่วนป้ายรถเมล์ที่พบยานอยู่นั้นห่างจาอสะพานไทย-เบลเยียมประมาณ 200 เมตร ขณะเกิดเหตุบิดาสวมเสื้อโปโลสีเขียว กางเกงสีเทาดำ คิดว่าเป็นทการยิงบิดาพยานเพราะว่าช่วงนั้นทหารมากระชับพื้นที่จัดการการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมขณะนั้น โดยในที่เกิดเหตุขณะนั้นไม่พบกลุ่มคนแต่งกายชุดดำในกลุ่มประชาชน ก่อนเกิดเหตุบิดาก็ไม่เคยมีศตรูอะไรที่จะมาทำร้ายชีวิต
พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ ยาคุ้มภัย อายุ 41 ปี รับราชการอยู่กลุ่มงานตรวจอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน กองพิสูจน์หลักฐานกลาง เบิกความว่า หัวกระสุนที่ได้จากการผ่าศพผู้ตายซึ่งได้มีการส่งมาให้ตรวจนั้นเป็นกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 (5.56 ม.ม.) ซึ่งสามารถใช้กับปืนเล็กยาว M653 ได้ สำหรับอาวุธปืนเล็กยาว M653 สามารถปรับเปลี่ยนลำกล้องโดยใช้ปืนเล็กกลขนาดเดียวกันได้ เช่น M16 ซึ่ง M16 มีกลากหลาย เช่น M16 A1 หรือ M16 A2 เป็นต้น สำหรับกระสุนซ้อมรบหรือลูกแบงค์(Blank) โดยปกติสากลทั่วไปที่ใช้กันในกรณียิงต่อเนื่องจะต้องใช้ ADAPTER ครอบอยู่บริเวณปลายลำกล้องปืน หน้าที่ของ ADAPTER เพื่อให้มีการคัดปลอกกระสุนออกมาและสามารถบรรจุกระสุนเข้าไปใหม่ ทำให้สามารถยิงได้ต่อเนื่อง สำหรับลูกแบงค์นั้นเป็นกระสุนที่ไม่มีหัว จะเป็นกระสุนปืนที่มีดินปืนส่งกระสุนบรรจุในตัวกระสุน และปลายกระสุนปืนจะเป็นจีบที่ปิดเอาไว้ ดังนั้นเวลายิงจะมีเสียงดังออกไป ตัว ADAPTER จะครอบปลายลำกล้องปืนเพื่อไม่ให้พลังงานหรือแรงขับเวลายิงแล้วพุ่งออกไปหมด จึงทำให้ลูกเลื่อนของปืนวิ่งถอยหลังและสามารถดึงปลอกกระสุนออกมาเป็นการคัดปลอกกระสุน และเมื่อลูกเลื่อนตีกลับเข้าตำแหน่งเดิมก็จะดันให้ลูกแบงค์เข้าสู่รังเพลิงอีกนัด ดังนั้น ADAPTER จึงทำให้ระบบการทำงานสมดุลครบวงจร หากไม่มี ADAPTER ก็สามารถยิงลูกแบงค์ได้ แต่จะยิงได้ครั้งละ 1 นัด โดยถ้าต้องการยิงในนัดต่อไปต้องใช้มือดึงคันรั้งลูกเลื่อนถอยหลังก่อน เพื่อทำการคัดปลอกกระสุนออกจากรังเพลิง และเมื่อปล่อยให้ลูกเลื่อนตีกลับไปในตำแหน่งเดิมก็จะเป็นการบรรจุกระสุนนัดต่อไปที่ช่องรังเพลิง อัยการได้มีการเปิดวิดีโอคลิปในเหตุการณ์เพื่อให้พยานพิจารณาว่ามีการใช้ ADAPTER หรือไม่ โดย พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ ยืนยันว่าในวิดีโอคลิปมีเจ้าหน้าที่ทหารถือปืน M16 ที่ไม่ใช้ ADAPTER แต่จากการดูวิดีโอคลิปไม่สามารถบอกได้ว่าใช้กระสุนจริงหรือลูกยางหรือลูกแบงค์ พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ เบิกความว่าอาวุธปืนกลขนาด .223 นั้น ถ้าในทางสากลทั่วไปมีระยะหวังผลอยู่ที่ 300-400 เมตร แต่ถ้าเลยจากระยะหวังผลแล้วบางช่วงบางจังหวะก็ยังสามารถทำลายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน สำหรับกระสุนลูกแบงค์และลูกจางนั้นไม่มีเจตนาทำอันตรายถึงแก่ชีวิต อย่างลูกแบงค์ก็ส่งเสียงสร้างจังหวะในการซ้อม ส่วนกระสุนยางมุ่งเน้นไปที่การปราบการจลาจล
สำหรับวันที่ 14 ก.พ. นั้น ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายชุมนุมเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) รายงานว่ามีการสืบพยาน 2 ปากสุดท้าย ประกอบด้วย พ.ต.ท.สาธิต ภักดี พนักงานสอบสวน สน.ราษฎร์บูรณะ และ นพ.ปิยะ ปรีดียานนท์ แพทย์ประจำโรงพยาบาลมเหสักข์ พ.ต.ท.สาธิต ภักดี เบิกความว่าเดิมเขารับราชการอยู่ที่ สน.บางรักตั้งแต่ปี 2540- ธ.ค. 2555 มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้นในพื้นที่บางรัก แล้วจึงได้ย้ายไป สน.ราษฎร์บูรณะ 6 ธ.ค. 55 ซึ่งในช่วงที่ยังรับราชการที่สน.บางรักอยู่นั้น ปลายเดือน ก.พ.55 นางวรานิษฐ์ อัศวสิริมั่นคงได้เข้าแจ้งความที่ สน.บางรัก กับ พ.ต.ท.สุรพล ล้วนประเสริฐ แจ้งความว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 เวลา 12.20-13.06 น. นายฐานุทัศน์ได้ถูกกระสุนปืนจากเจ้าหน้าที่ทหารยิง โดยวันเกิดเหตุ เวลาประมาณเที่ยงเศษ นายฐานุทัศน์ นางวรานิษฐ์และลูกทั้งสองคนออกจากบ้านเพื่อที่จะไปห้างโลตัส พระราม 4 จึงได้ออกไปรอรถประจำทางที่ป้ายรถหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี ซึ่งใกล้ๆ กันนั้นมีโรงรับจำนำและร้านเซเว่นเอเลฟเวนอยู่ด้วย พวกเธอรอรถอยู่สักพักไม่เห็นว่ามีรถประจำทางมาเธอจึงชะโงกมองไปทางสะพานไทย-เบลเยี่ยม เห็นมีทหารอยู่บริเวณสะพาน เธอจึงคิดว่าที่รถไม่มาก็เนื่องมาจากมีทหารปิดถนนอยู่ จากนั้นได้มีเสียงปืนดังขึ้น นายฐานุทัศน์จึงให้นางวรานิษฐ์และลูกๆ หลบเข้าเซเว่นเอเลฟเว่น แต่เธอคิดว่ากลับเข้าบ้านเลยจะดีกว่าจึงได้บอกลูกๆ ให้กลับเข้าบ้านเลย เมื่อกลับถึงบ้านเวลาประมาณ 13.00 น. เศษ ทางโรงพยาบาลกล้วยน้ำไทได้โทรศัพท์มาแจ้งว่านายฐานุทัศน์ถูกยิง หลังจากทำการรักษาที่โรงพยาบาลโรงพยาบาลกล้วยน้ำไทจึงได้ย้ายไปโรงพยาบาลมเหสักข์ นายฐานุทัศน์ได้เสียชีวิตในวันที่ 23 ก.พ.55 เวลา 22.00 น.เศษ ศพของนายฐานุทัศน์ได้ถูกส่งไปที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิต แพทย์ได้ระบุสาเหตุการเสียชีวิตว่าระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจล้มเหลว และพบหัวกระสุน พ.ต.ท.สุรพลจึงได้เสนอไปทางบก.น. 6 ทางบก.น.6 ได้มีคำสั่ง 45/55 แต่งตั้งพนักงานสอบสวนเพื่อทำการสืบสวนสอบสวนในคดีนี้ซึ่งมีเขาเป็นหนึ่งในนั้น หัวกระสุนที่พบในศพได้นำส่งกองพิสูจน์หลักฐาน ผลการพิสูจน์พบว่าเป็นหัวกระสุนขนาด .223(5.56 มม.) พ.ต.ท.สาธิต เบิกความว่าตัวเองเป็นพนักงานสอบสวนคดี ช.34/2553 นายบุญมี เริ่มสุข ซึ่งถูกยิงวันที่ 14 พ.ค.53 เวลา 16.00 น. จึงได้มีการอ้างพยานจากสำนวนการสอบสวนนายบุญมีเข้ามาในคดีของนายฐานุทัศน์ด้วยซึ่งทางพนักงานสอบสวนได้ลงความเห็นในกรณีการเสียชีวิตของนายบุญมีว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหาร พ.ต.ท.สาธิต เบิกความสรุปถึงการสอบสวนคดีนี้ว่า เมื่อวันที่ 12 มี.ค.53 กลุ่ม นปช.ได้มีการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้า ถนนราชดำเนิน เพื่อเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา วันที่ 3 เม.ย. ได้มีผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งแยกไปตั้งเวทีที่แยกราชประสงค์ วันที่ 7 เม.ย.53 นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้มีการออกคำสั่งพิเศษที่ 1/53 ตั้งศอฉ. และออกคำสั่งพิเศษที่ 2/53 แต่งตั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. และ ศอฉ.ได้ออกคำสั่ง 1/2553 ให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาปฏิบัติงานที่ ศอฉ. วันที่ 10 เม.ย.53 ศอฉ. ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ทหารให้ขอคืนพื้นที่ ได้เกิดการผลักดันและปะทะกันเกิดขึ้น มีประชาชนถูกยิงบาดเจ็บและเสียชีวิต ส่วนทหารได้ถูกระเบิดเสียชีวิต 14 เม.ย.53 ผู้ชุมนุมได้ย้ายการชุมนุมไปที่แยกราชประสงค์เพียงแห่งเดียว 26 เม.ย. มีคำสั่งเจ้าหน้าที่ตั้งด่านแข็งแรงรอบราชประสงค์ 14 พ.ค. เวลา 11.00 น. ศอฉ.ได้มีคำสั่งทางวิทยุ ให้เข้าขอคืนพื้นที่ถนนพระราม 4 ตั้งแต่แยกวิทยุมุ่งไปทางทางด่วนพระราม 4 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของกองพันทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ ซึ่งอยู่ในการบังคับบัญชาของผู้บังคับกองพัน พ.อ.เพชรพนม โพธิ์ชัย โดยเริ่มผลักดันผู้ชุมนุมในช่วงเที่ยง จากแยกวิทยุไปทางทิศทางด่วนพระราม 4 มาจนถึงปั๊มปตท. หน้าซอยปลูกจิต ซึ่งในช่วงนั้นยังไม่มีการชุมนุม ร้านค้ายังคงเปิดค้าขายตามปกติ จนช่วงเที่ยงเศษๆ ถึงมีผู้ชุมนุมมาเพิ่มขึ้นบริเวณใต้สะพานลอยหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ ทางฝ่ายทหารได้มีการตั้งแถวหน้ากระดาน ใช้ปืนยิงทั้งยิงขึ้นฟ้าและเล็งใส่ผู้ชุมนุม โดยใช้ทั้งปืน M653 และปืนลูกซอง ซึ่งปืน M653 เป็นปืนที่ใช้กระสุนขนาด .223 เป็นปืน M16 รุ่นหนึ่ง ในขณะที่ทหารปฏิบัติการอยู่นั้น มีพยานนักข่าวชื่อนายอนิรุทธิ์ ชวางกูรเดินตามหลังทหารเพื่อถ่ายวิดีโอ นายอุเชนทร์ เชียงเสน ซึ่งอาศัยอยู่ที่คอนโดในบริเวณนั้นซึ่งได้ถ่ายภาพเจ้าหน้าที่ทหารขณะกำลังทำการผลักดันผู้ชุมนุม และเขายังได้ไปสัมภาษณ์นายฐานุทัศน์ที่บ้านพร้อมกับ น.ส.อัจฉรา อิงคามระธร และได้ถ่ายวิดีโอการสัมภาษณ์ไว้ จากการสัมภาษณ์ได้ความว่า ตอนที่นายฐานุทัศน์อยู่ในที่เกิดเหตุนั้น ได้มีเสียงปืนดังขึ้นเขาจึงหันหลังวิ่งหนีจากนั้นเขาก็หน้ามืดไป และได้มีพยานคนหนึ่งเข้าไปช่วยอุ้มนายฐานุทัศน์ไปขึ้นรถตู้เพื่อส่งโรงพยาบาลคือนายเอกสิทธิ์ วงศ์คำมา โดนนายเอกสิทธิ์ได้ให้การว่า ตอน 9.00 น. ได้ไปทำงานตกแต่งบ้านหลังหนึ่งในสาทร ซอย 1 แต่เนื่องจากมีการชุมนุมเจ้าของบ้านจึงให้เขากลับ เขาจึงเดินออกมาจนถึงบ่อนไก่และได้พบนายฐานุทัศน์ถูกยิงเขาจึงได้ช่วย จากการตรวจสถานที่เกิดเหตุของ พ.ต.ท.วัชรัศมิ์ เฉลิมสุขสันต์ พบรอยกระสุน 61 รอย มีทิศทางจากแยกวิทยุไปทางทางด่วนพระราม 4 ซึ่งมีรอยที่เกิดจากกระสุนขนาด .223(5.56 ม.ม.) รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นกระสุนขนาดเดียวกับที่พบในศพของนายฐานุทัศน์ มีรอยกระสุนไม่ทราบขนาดจำนวน 2 รอย มีทิศทางสวนกันคือจากทางด้านทางด่วนพระราม 4 ไปทางแยวิทยุ จากการตรวจสอบเฉพาะจุดที่นายฐานุทัศน์ถูกยิงพบรอยกระสุน 15 รอย มีรอยกระสุนที่เกิดจากกระสุนขนาด .223 อยู่ด้วย โดยมีทิศทางจากแยกวิทยุไปทิศทางทางด่วนพระราม 4 พนักงานสอบสวนได้รับปืน M653 จำนวน 40 กระบอกจากทางฝ่ายทหารเพื่อทำการตรวจสอบเปรียบเทียบกับหัวกระสุนของกลางที่พบในศพของนายฐานุทัศน์ ผลการตรวจพบว่าหัวกระสุนของกลางไม่ตรงกับปืนกระบอกใดเลย ส่วนสาเหตุอาจเนื่องมาจาก 1. ปืนที่ฝ่ายทหารนำมาให้ตรวจสอบเป็นปืนที่ทหารเลือกนำมาให้เองหลังเกิดเหตุการณ์เป็นเวลาปีเศษ ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนลำกล้องไปแล้ว 2. ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าปืนที่นำมาส่งตรวจนั้นเป็นปืนกระบิกเดียวกับที่ใช้ในการปฏิบัติการในวันเกิดเหตุ 3. หลังมีการยิงไปแล้วปืนก็ถูกทำความสะอาดไปแล้ว ทำให้รอยบนหัวกระสุนที่ยิงเปรียบเทียบไม่ตรงกับหัวกระสุนของกลาง จากการสอบสวนไม่พบว่าในวันเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ทหารถูกยิงและไม่มีพยานคนใดพบเห็นผู้ชุมนุมมีอาวุธปืน พบเพียงหนังสติ๊ก พลุ ตะไล และจากการสืบสวนสอบสวนในการเสียชีวิตของนายบุญมี มีการสอบปากคำ พ.อ.เพชรพนม ซึ่งได้ให้การว่าในการปฏิบัติการมีการใช้กระสุนซ้อมรบและกระสุนยางเท่านั้น แต่คำให้การแย้งกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุซึ่งพบร่องรอยกระสุนจริงจากทางด้านแยกวิทยุไปทางด่วนพระราม 4 พ.ต.ท.สาธิต ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในทั้ง 2 คดี จึงได้นำสำนวนสอบสวนเอกสารพยานหลักฐานจากคดีของนายบุญมีมาไว้ในสำนวนคดีนายฐานุทัศน์ด้วย โดยปกติในการสืบสวนจะมีการประสานงานกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารโดยทางผู้บังคับบัญชาในกองบัญชาการตำรวจนครบาลจะทำหนังสือแจ้งกับทางฝ่ายผู้บังคับบัญชาทางฝ่ายทหารเพื่อมาให้ปากคำในการสอบสวน แต่ในการสืบสวนคดีนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารมาให้ปากคำ และไม่ทราบว่าผู้บังคับบัญชาได้มีการทำหนังสือแจ้งไปหรือไม่
พยานปากสุดท้ายของการไต่สวน น.พ. ปิยะ ปรีดียานนท์ เบิกความว่า ได้ทำการรักษานายฐานุทัศน์ราวเดือนพฤศจิกายน 54 ซึ่งมารับการรักษาด้วยมีอาการไข้ ไอ เหนื่อยและซึมลง ซึ่งจากเวชระเบียนลงประวัติว่าเขาได้ถูกยิงที่ทรวงอก และเข้าโรงพยาบาล 2 ครั้ง ก่อนที่เขาจะได้ทำการรักษา ซึ่งเขาไม่ได้เป็นผู้ตรวจรักษา ซึ่งครั้งแรกประมาณเดือน มิ.ย.53 และอีกครั้งเดือนต.ค. 54 โดยในครั้งแรกเป็นการถูกยิงมีเลือดออกในช่องอก และมีการกดทับเส้นประสาท ทำให้ร่างกายครึ่งร่างเป็นอัมพาต ซึ่งการเป็นอัมพาตเกิดจากการที่ไขสันหลังช่วงระดับอกได้รับบาดเจ็บ ครั้งที่ 2 เดือนต.ค. 54 มีอาการปอดอักเสบ และแขน 2 ข้างอ่อนแรง ในการรักษามีการตรวจร่างกายและ X-ray และเมื่อตรวจเพิ่มพบว่ากระดูกคอมีเลือดออกกดทับไขสันหลังซึ่งอยู่ในระดับคอเพิ่มด้วย แพทย์ได้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอาเลือดออกที่กดทับออก แต่ผลการรักษายังคงมีอาการอ่อนแรงอยู่ จากนั้นได้กลับบ้านไป 2 สัปดาห์ และกลับมาอีกครั้งด้วยอาการไข้ ไอและเหนื่อย เนื่องจากปอดอักเสบ โดยพบจากการตรวจร่างกายและ X-RAY ที่ปอด ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ได้ทำการรักษาได้มีการติดเชื้อที่ปอดตลอดการรักษา ซึ่งปอดอักเสบก็คือการที่ปอดมีการติดเชื้อ ซึ่งก่อนที่นายฐานุทัศน์จะมารักษาครั้งหลังสุดได้มีการรักษาอาการที่โรงพยาบาลกลางก่อนในช่วงวันที่ 12-19 พ.ย. ซึ่งได้มีการใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ก่อนและน้ำในปอดแล้ว จึงถูกพามารักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลมเหสักข์ วันที่รับมานั้นมาด้วยปอดอักเสบ และมีโรคเก่าคือกระดูกคอทับเส้นประสาททำให้แขนขาอ่อนแรง แต่ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับการที่ไขสันหลังช่วงอกได้รับบาดเจ็บอย่างไร เนื่องจากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ที่ทำการผ่าตัดก็ไม่ได้ลงบันทึกสาเหตุที่มีเลือดออกมากดทับเส้นประสาทที่ไขสันหลังระดับคอไว้ในเวชระเบียนด้วย ซึ่งการที่ไขสันหลังระดับคอมีการกดทับทำให้กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจอ่อนแรงเพราะเส้นประสาทไขสันหลังระดับคอเป็นตัวควบคุมกล้ามเนื้อกระบังลม การกดทับทำให้ไม่มีการสั่งงานและทำให้กระบังลมไม่ทำงาน ก่อนที่นายฐานุทัศน์จะเสียชีวิตได้มีการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อปอดอักเสบ และใส่เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งมีช่วงการติดเชื้อในปอดมีอาการดีขึ้นจึงได้ลองให้หายใจด้วยตนเองไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่มีอาการเหนื่อยเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งพิสูจน์จากการที่นายฐานุทัศน์ไม่สามารถหายใจได้เองจากการนำเลือดมาตรวจแล้วพบว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มาก นอกจากอาการต่างๆ ที่กล่าวมามีเพียงอาการซึมเศร้าด้วยเท่านั้น สาเหตุการเสียชีวิตของนายฐานุทัศน์คือปอดอักเสบจากการที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงซึ่งเกิดจากกระดูกไขสันหลังระดับคอถูกดทับ และพยานเป็นผู้ออกหนังสือรับรองการตายว่าเสียชีวิตจากปอดอักเสบ และพยานได้อธิบายเพิ่มเติมถึงการที่ผลการชันสูตรลงว่าเสียชีวิตจากระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจล้มเหลวว่า ส่วนระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว คือหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลวจะมีอาการชีพจรลดลงหัวใจล้มเหลว ซึ่งอาจจะเกิดจากโรคหัวใจหรือในอวัยวะอื่นอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นอาการปกติก่อนตาย ปอดอักเสบนั้นเป็นโรคซึ่งหากเป็นมากๆ ก็จะมีภาวะหายใจล้มเหลว ซึ่งผู้ป่วยปอดอักเสบมี 10 % ที่เสียชีวิต เมื่อเสียชีวิตระบบไหลเวียนโลหิตก็ต้องล้มเหลว ในกรณีนี้ปอดอักเสบเป็นเหตุให้ระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจล้มเหลวจึงเป็นสาเหตุแท้จริงที่ทำให้นายฐานุทัศน์เสียชีวิต ปอดอักเสบเป็นโรคทั่วไปที่คนอายุมากและภูมิต้านทานต่ำเป็น แต่ในกรณีนี้การเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้เป็นปอดอักเสบ นายฐานุทัศน์มีโรคประจำตัวคือมะเร็งท่อน้ำดีอยู่ก่อนแล้ว ตั้งแต่ มิ.ย. 52 ซึ่งรับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ซึ่งจะมีอาการดีซ่าน ทางโรงพยาบาลจึงได้มีการใส่ลวดเพื่อขยายท่อน้ำดีเพื่อบรรเทาอาการ ทางโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้ส่งตัวให้โรงพยาบาลมเหสักข์ทำการ X-RAY พบว่ามีเซลล์มะเร็งลงเหลือในตับซึ่งทางโรงพยาบาลจุฬาฯ ก็ได้ทราบผลการ X-RAY นี้ด้วย ซึ่งการลุกลามของมะเร็งนั้นสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีการลุกลามแน่นอนแต่คาดเดาไม่ได้ว่าเมื่อไหร่ ซึ่งบางรายอยู่ได้เป็นปีหรือหลายปีแล้วแต่สภาพคนไข้ ซึ่งมะเร็งในท่อน้ำดีอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือลุกลามไปอวัวะสำคัญอื่นๆ ให้อวัยวะหยุดทำงาน แต่ในรายนี้ไม่ใช่สาเหตุทำให้เสียชีวิตและการตรวจศพแม้จะพบมะเร็งในตับแต่ไม่ได้มีภาวะตับวายจากมะเร็ง ไม่มีอาการดีซ่าน และไม่พบมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ น.พ. ปิยะ เบิกความต่อว่า ในกรณีทั่วไปหากไขสันหลังช่วงอกมีการกดทับก็จะทำให้ร่างกายส่วนต่ำกว่าลงไปเป็นอัมพาต และหากไขสันหลังระดับคอมีการกดทับก็จะทำให้แขนและกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรงและยังทำให้ช่วงต่ำลงไปกว่านั้นอ่อนแรงด้วยเช่นกันเนื่องจากสัญญาณจากสมองจะลงไปตามเส้นประสาทไขสันหลัง แต่การที่ไขสันหลังช่วงอกมีการกดทับก็อาจจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อทรวงอกทำให้หายใจลำบากได้เช่นกัน แต่ในกรณีนี้เมื่อดูประวัติการรักษาที่มีการบาดเจ็บที่ไขสันหลังช่วงอกไม่ได้ส่งผลต่อการหายใจเนื่องจากมีการหายใจได้ตามปกติมาตลอดก่อนที่จะมีการกดทับที่ไขสันหลังระดับคอ น.พ. ปิยะ มีสันนิษฐานว่ามีปัญหาการหายใจตั้งแต่ช่วงที่มีอาการแขน 2 ข้างอ่อนแรงและมีเลือดออกที่คอแล้ว หลังจากสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ศาลได้นัดแถลงปิดคดี 1 มี.ค.56 และนัดฟังคำสั่งวันที่ 27 มี.ค.56 นี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เซอร์ไพรส์! พ่อพลทหารเหยื่อกระสุน 28 เม.ย.53 ถอนทนาย-ถอนการเป็นผู้ร้องร่วม Posted: 14 Feb 2013 09:47 AM PST
14 ก.พ. 56 ศาลอาญา รัชดาภิเษก เวลา 9.40 น. ศาลนัดไต่สวนชันสูตรพลิกศพ คดีหมายเลขดำที่ อช.4/2555 ซึ่งอัยการร้องขอให้ศาลไต่ ก่อนการไต่สวน ธวัชชัย สาละ บิดาของผู้เสียชีวิตได้ยื่นคำร้ ธวัชชัย บิดาพลทหารณรงค์ฤทธิ์ให้การว่า ตนเองมีอาชีพทำนา บ้านอยู่ใน อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เสี ธวัชชัยเบิกความต่อว่า วันที่ 28 เม.ย. 53 เวลาประมาณ 15.00-16.00 น. ขณะที่ตนเองยู่ในบ้านพัก วรรณาพร ชุมเสนา น้องสาวของภรรยาโทรศั นอกจากนี้ครอบครัวของตนเองยั ต่อมาทหารนำศพของบุ นายชัยพร คำทองทิพย์ เบิกความว่า มีอาชีพรับจ้างทั่วไป บ้านอยู่ใน อ.ยางคำ จ.ขอนแก่น วันที่ 28 เม.ย. 53 ทำงานเป็นช่างเชื่ เวลา 11.00 น. ขบวนผู้ชุมนุมเดินทางมาทาง ถ.วิภาวดีรังสิต ฝั่งขาออก เมื่อนั่งรถกระบะมาถึงปั้ ต่อมามีการตะโกนด่าทอจากทั้ง 2 ฝ่าย ฝั่งผู้ชุมนุมมีการยิงหนังสติ๊ก และขว้างปาสิ่งของ เช่น ขวดน้ำพลาสติก และก้อนหินใส่ตำรวจ-ทหาร ต่อมาตนก็ได้ยินเสียงปื ผู้ชุมนุมบางคนถูกยิงที่ไหล่ และแขนจนเป็นรอยช้ำ จึงเข้าใจว่าผู้ชุมนุมถูกยิงด้วยกระสุนยาง ต่อมาทหารเริ่มกระจายกำลังเพื่ ช่วงบ่ายมีผู้หญิงถูกยิงที่ขาซ้ เขาระบุด้วยว่า ต่อมาได้รับเงินเยี หลังการไต่สวนช่วงเช้าเสร็จสิ้น นายธวั ช่วงบ่ายพยานอีกคนหนึ่งขึ้นเบิกความ คือ นายไพโรจน์ ไชยพรม ให้การว่า ปัจจุบันว่างงาน บ้านอยู่ใน อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม ก่อนวันที่ 28 เม.ย. 53 ทำงานเป็นลูกจ้างในร้านข้ ต่อมามีผู้ชุมนุมถูกยิงที่ เขากล่าวว่า เมื่อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งในห้ พีระ ลิ้มเจริญ ทนายความผู้ร้องร่วมที่ถู ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เผยมูลเหตุจับอาวุธสู้ เปิดข้อมูลคดี 16 ศพ บุกฐานทหารบาเจาะ Posted: 14 Feb 2013 09:34 AM PST ญาติเผยมูลเหตุผู้ตายจับอาวุธสู้ จับรถต้องสงสัยพบคราบเลือด ค้นหลังฐานทหารพบอุปกรณ์ประกอบระเบิด ใบปลิวว่อนบาเจาะขู่เอาคืน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 ตำรวจสถานีตำรวจภูธรรือเสาะ จ.นราธิวาส ไล่จับกุมรถกระบะต้องยี่ห้อโตโยต้า ไทเกอร์ แค็บ สีน้ำตาล ทะเบียน บฉ 5999 ปัตตานี ในเขตเทศบาลตำบลรือเสาะ ซึ่งสงสัยว่าจะเป็นรถคันเดียวกับที่มีกลุ่มก่อความไม่สงบใช้ก่อเหตุโจมตีฐานปฏิบัติการทางทหาร กองร้อยปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินที่ 32 บ้านยือลอ ต.บาเระเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อกลางดึกวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา พร้อมกับควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่นั่งมาในรถคันดังกล่าว 3 คน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่พบคราบเลือดจำนวนหนึ่งติดอยู่ที่ตัวรถ จึงเชิญตัวผู้ต้องสงสัยทั้ง 3 คนมาสอบสวน พร้อมนำรถกระบะมาตรวจพิสูจน์ โดยเก็บคราบลายนิ้วมือแฝง ดีเอ็นเอ และคราบเลือดที่ติดอยู่ข้างประตูรถยนต์กระบะไปตรวจสอบตามหลักวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ในพื้นที่อำเภอบาเจาะ ได้มีกลุ่มชายฉกรรจ์โปรยใบปลิวที่เขียนข้อความภาษาไทยระบุว่า จะทำการตอบโต้ทุกรูปแบบด้วยกำลังความพร้อมทางอาวุธ กำลังทรัพย์และทุกมวลชน ซึ่งใบปลิวดังกล่าวมีการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างเว็บไซต์เฟสบุ๊กไปอย่างแพร่หลาย เช่นเดียวกับมีการจัดทำคลิปวิดีโอเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตกลุ่มนี้ในเชิงการสรรเสริญสดุดีเผยแพร่ในเว็บไซด์ด้วย น.อ.สมเกียรติ ผลประยูร ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ค่ายจุฬาภรณ์ จังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ในช่วงมาตรการขอความร่วมมือประชาชน 6 ตำบลในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส และอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ห้ามออกจากบ้านและเคหสถานตั้งแต่เวลา 18.00 น.ของวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ถึง 06.00 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อไล่ล่ากลุ่มก่อเหตุที่เหลือนั้น เจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยเพิ่มเติมในพื้นที่ดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 น.ท.ธรรมนูณ วรรณณา ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาสที่ 32 ได้นำกำลังเข้าตรวจสอบพื้นที่ด้านหลังฐานปฏิบัติการทางทหาร กองร้อยปืนเล็กที่ 2 บ้านยือลอ พบเพียงรอยเลือดซึ่งคาดว่าเป็นของกลุ่มก่อเหตุที่ได้รับบาดเจ็บ และยังพบฐานปฏิบัติการย่อยของกลุ่มก่อเหตุ พร้อมกับถังแก๊ซปิคนิค 2 ถัง กระสุนปืนและอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนหนึ่ง ญาติเผยเหตุไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงจับอาวุธสู้ "แต่สิ่งที่ตนไม่ค่อยพอใจคือทำไมรัฐต้องไปข่มขู่คุกคามลูกชายคนอื่นๆของผมด้วย ทั้งที่พวกเขาไม่ได้ทำผิด เป็นคนทำมาหากินและเรียนหนังสือ ทำไมไม่ได้ตามหาคนที่ทำผิด ผมมีลูกชาย 5 คนรวมกับคนที่ตาย ซึ่งเจ้าหน้าที่มาขอให้บอกลูกชายให้มอบตัวตลอด ผมก็เลยไม่บอก" นายยา เปิดเผยด้วยว่า ลูกชายคนนี้เคยถูกดำเนินคดีชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสเมื่อปี 2547 ซึ่งมีการถอนฟ้องในเวลาต่อมา การตกเป็นผู้ต้องหาในคดีตากใบนั้นทำให้ลูกชายเห็นว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะไม่ได้ไปร่วมชุมนุม เพียงแต่ไปดูเหตุการณ์เท่านั้น แต่ก็ถูกจับดำเนินคดี ซึ่งกลายเป็นชนวนให้ลูกชายคนนี้ ไม่ชอบเจ้าหน้าที่รัฐและหันไปจับอาวุธต่อสู้ ส่วนลูกชายของตนก็ถูกจับโยนใส่รถทหารในเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ตากใบด้วย แต่หล่นจากรถเนื่องจากคนแน่น ทำให้ไม่ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ดังกล่าว นางปรัชญา เจะมูดอ ชาวบ้านตันหยง ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ภรรยาของหนึ่งผู้เสียชีวิตจากเหตุดังกล่าว กล่าวว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่มาที่บ้านตลอดเพื่อขอให้บอกสามีให้ออกมามอบตัว แต่สามีไม่มอบตัว และต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อน จนกระทั่งเสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว เปิดข้อมูลคดี หมายจับ 16 ศพ 1.นายมะรอโซ จันทรวดี อายุ 31 ปี ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ มีหมายจับ ป.วิอาญา 18 หมาย หมาย ฉฉ. 3 หมาย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เสวนา 'การนิรโทษกรรมทางการเมือง' เสนอนิรโทษกรรมเพื่อมนุษยธรรม Posted: 14 Feb 2013 09:15 AM PST 14 ก.พ.56 เวลา 13.00 น. ห้อง PSB 1011 คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์ และมูลนิธิสถาบันประชาธิปไตย ได้จัดเสวนาในหัวข้อ "การนิรโทษกรรมทางการเมือง" โดยมีวิทยากรคือ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ, ผศ.ชาตรี เรืองเดชณรงค์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำเนินรายการโดย อ.ดร.มาลินี คุ้มสุภา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ความหมายของการนิรโทษกรรม การอภัยโทษ และการล้างมลทิน ความหมายของกฎหมายนิรโทษกรรม พูดง่ายๆ ก็คือที่ทำกันไป ลืมมันเถอะ ที่มีการทะเลาะกัน มีการยึดสนามบิน ไปชุมนุมที่ราชประสงค์ ลืมมันได้ไหม ถ้าจะเอาเป็นเอาตายว่าใครผิดใครถูก กระบวนการพิสูจน์ความผิดก็ยังใช้เวลาอีก คนที่อยู่ในคุกแล้วไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว นิรโทษกรรมคือการบอกว่าไม่ดำเนินพิจารณาคดี รัฐจะไม่พิสูจน์ความผิดอีก เท่ากับว่าคนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ก็เป็นอันว่าเจ๊ากันไป ต้องปล่อยตัวคนที่ถูกคุมขัง และถือว่าคนเหล่านี้ไม่มีความผิด สิทธิ์ต่างๆ เช่น สิทธิในการรับราชการ สิทธิในการเล่นการเมือง ก็ยังคงมีอยู่ โดยถือว่าเขาไม่ได้กระทำความผิดมาก่อนเลย กรณีถ้าเป็นกฎหมายอภัยโทษ ใช้ในกรณีที่ศาลพิพากษาไปแล้ว แล้วจึงมาอภัยโทษ ถ้าหากได้รับโทษอยู่ในระหว่างการคุมขัง ถ้าได้รับอภัยโทษ ก็ถือว่าคนเหล่านั้นเคยทำผิดและเคยทำโทษ โดยที่สิทธิต่างๆ จะไม่มี ยกเว้นว่าจะไปออกเป็นพระราชบัญญัติล้างมลทินอีกทีหนึ่ง ส่วนพระราชบัญญัติล้างมลทิน เป็นกฎหมายที่ถือว่าคนที่ได้รับโทษไปแล้ว หรือไม่ได้รับโทษก็ตาม ถ้ามีกฎหมายออกมา ถือว่าสิ่งที่เคยผิดก็ล้างมลทินไปเลย สิทธิต่างๆ ที่เคยมี ก็จะกลับมา ทั้งสามอันนี้เป็นเครื่องมือเหมือนกัน วัตถุประสงค์ของมันเอามาใช้ลดความขัดแย้ง แต่จะลดได้มากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับขอบเขตเนื้อหาของมัน การนิรโทษกรรมจะมีขอบเขตเนื้อหาแค่ไหน ไปนิรโทษกรรมในเหตุการณ์ไหน จะรวมการกระทำไหน หรือตัวผู้กระทำความผิดจะแบ่งแยกแยะว่าเป็นใครบ้าง หรือลักษณะของความผิด้วย ว่าจะเฉพาะที่เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองหรือเปล่า หรือไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วยหรือไม่ เช่น การคอรัปชั่น ผลของกฎหมายนิรโทษกรรม ถ้าออกมาก็คือเลิกแล้วต่อกัน ไม่ต้องพิสูจน์ความผิดอีก ผลในทางกฎหมายคือความผิดที่ถือเป็นความผิดอาญาก็ยกเว้นไป ในทางแพ่งก็จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันไม่ได้ หรือการรับผิดในทางปกครองก็จะถูกยกเว้นด้วยเหมือนกัน ถ้าระบุไว้ ข้อถกเถียงว่าการนิรโทษมันควรจะออกเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ถ้าออกเป็น พ.ร.ก.มันมีเงื่อนไขเดียวคือเรื่องของกฎหมายต้องฉุกเฉิน ต้องมีเหตุผลเรื่องความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศ ปัญหาตอนนี้คือจะมีเหตุผลพอไหมที่จะออกเป็น พ.ร.ก. และถ้าออกแล้วไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ ก็จะมีผลกระทบและความเสี่ยงทางการเมืองพอสมควร ตนจึงสนับสนุนให้ออกเป็นพ.ร.บ.มากกว่า แต่พ.ร.บ.ก็จะมีห้วงเวลาในการเสนอ จึงมีเรื่องการต่อรอง มีแรงผลักพอสมควรกว่าจะออกมาได้ ภาพรวมของคดีการเมืองและความจำเป็นต้องนิรโทษกรรม จากตัวเลขนี้พันกว่าคนที่ถูกฟ้อง เขาได้รับโทษไปแล้ว และจำนวนมากก็มีการยกฟ้อง มีการขังฟรี ขังเกินไป ตนได้เขียนบทความโต้แย้งข้อเสนอที่ให้นิรโทษกรรมคนที่ถูกคดีจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ดู พวงทอง ภวัครพันธุ์: ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ต้องโทษฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน) แต่คนเหล่านี้รับโทษจนเสร็จแล้ว ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน แน่นอนว่าต้องนิรโทษกรรมให้ แต่ก็ยังพอรอกันได้ เพราะคนเหล่านี้ยืนอยู่นอกคุกแล้ว เหตุที่ต้องนิรโทษกรรมให้ เพราะโทษที่มันติดตัวไปอยู่ มันจะส่งผลไปถึงอาชีพการงานในอนาคตของเขา จึงจำเป็นต้องมีการล้มลางมลทินให้คนเหล่านี้ พวงทองกล่าวถึงกรณีตัวอย่างที่ฝ่ายที่ต่อต้านนิรโทษกรรม มักจะอ้างเรื่องการนิรโทษกรรมคือการช่วย "พวกเผาบ้านเผาเมือง" และอ้างว่าเป็นเรื่องที่ "พวกมากลากไป" "กดหมู่เหนือกฎหมาย" แต่ในขณะนี้ เมื่อคดีความเรื่องนี้คลี่คลายออกมา มันชี้ว่าเรื่องนี้มีปัญหามาก เช่น กรณีเซ็นทรัลเวิร์ด จากคำเบิกความของพยานในคดีซึ่งเป็นเลขาธิการสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย ข้อหา "เผาบ้านเผาเมือง" อาจเปลี่ยนจากคนเสื้อแดง เป็นชายในชุดพรางกายแทนก็ได้ รวมถึงหลักฐานที่อ่อนมาก แต่ก็ยังมีการส่งฟ้องคดีมาได้ด้วย (ดูในบทความข้างต้น) หรือกรณีเผาศาลากลางในต่างจังหวัด พบว่าประชาชนจำนวนมากถูกกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและตกเป็นจำเลย เพียงเพราะมีภาพถ่ายอยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมเท่านั้น หลายรายศาลยกฟ้อง แต่ติดคุกเป็นปี โดยไม่มีประกันตัวและไม่มีการเยียวยา กรณีคนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมคุมขังอื่น ๆ จำนวนมากถูกยัดข้อหาว่ากำลังจะไปร่วมชุมนุม ทั้งๆ ที่ไม่ได้เข้าไปในวันชุมนุม และมีการซ้อมทรมานในระหว่างจับกุม ผลจากการถูกจับกุม ทำให้ครอบครัวของเขาต้องหาหลักทรัพย์ไปประกัน ด้วยเงินกู้นอกระบบ บางรายสูญเสียทรัพย์สิน เช่น บ้านและที่ดิน แต่ก็ไม่ได้ประกันตัว หรือบางกรณีที่อัยการไม่ส่งฟ้อง แต่ถูกควบคุมตัวหลายเดือน กรณีแบบนี้รัฐไม่จ่ายเงินชดเชยให้ เพราะยังไม่ตกเป็นจำเลย รวมทั้งปัญหาการประกันตัว ในคดีที่ยังไม่เด็ดขาด แม้จำเลยจะได้รับความช่วยเหลือเงินประกันจากกองทุนยุติธรรม แต่ศาลก็ไม่ให้ประกันตัว ฉะนั้นคนเหล่านี้ แม้จะพ้นโทษไปแล้ว ก็สมควรมีกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อลบล้างความผิดของเขาจากประวัติ ในกรณีที่รัฐสมควรจ่ายค่าเยียวยา รัฐก็ต้องเยียวยาชดใช้ให้พวกเขา พวงทองสรุปว่า สภาพที่กระบวนการยุติธรรมปกติไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนที่ต่อต้านอำนาจอนุรักษ์นิยม ที่ปฏิเสธการเมืองในระบอบการเลือกตั้งได้ ฉะนั้นการเรียกร้องให้นิรโทษกรรม จึงไม่ใช่เรื่องของการช่วยคนผิดให้กลายเป็นถูก ไม่ใช่ "พวกมากลากไป" แต่มันมีปัญหาของความไม่ชอบธรรมในสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด อีกทั้งแรงจูงใจของการกระทำของคนเสื้อแดงที่มาร่วมชุมนุม เป็นเหตุผลทางการเมือง ไม่ใช่เหตุผลเพื่อก่ออาชญากรรม พวกเขาเข้าร่วมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลในขณะนั้นยุบสภาแล้วเลือกตั้ง หากจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงใด ที่เป็นผลของการบันดาลโทสะในช่วงเวลาวิกฤตนั้น สังคมต้องคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย และในทางกลับกัน ต้องมองการใช้ความรุนแรงของรัฐ ที่ต้องการปราบปรามคนเสื้อแดง ในฐานะปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้จากผู้ชุมนุมด้วย หัวใจการนิรโทษกรรม คือการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า คนที่คิดว่าการออกนิรโทษกรรมจะเป็นต้นเหตุหรือทางที่จะนำมาซึ่งความปรองดองในสังคม ตนคิดว่าเป็นความคิดที่ผิด เพราะแม้แต่บอกว่า เอานะเราเลิกแล้วต่อกัน แค่นี้ยังทะเลาะกันเลย เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้ ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างเสื้อสี ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างคนต่างวัย ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างประชาธิปัตย์กับคุณทักษิณ มันลึกลงไปกว่านั้นมาก ทั้งชีวิตไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะได้เห็นสิ่งนี้ คือได้เห็นสิ่งที่เรียกว่า อาญาสิทธิ์ในสังคมไทย ไม่ว่าอาญาสิทธิ์ทางการเมือง อาญาสิทธิ์ทางวัฒนธรรม อาญาสิทธิ์ด้านตุลาการ ถูกตั้งคำถามตัวใหญ่หมด เวลานี้เราบอกว่า เรานับถือจุดนั้นจุดนี้ สถาบันนั้นสถาบันนี้ องค์กรนั้นองค์กรนี้ จะมีเพื่อนคุณบอกว่าไม่นับถือเสมอ ดังนั้นถ้าเราคิดว่าจะออกการนิรโทษกรรมเพียงเพื่อลดความขัดแย้ง ตนคิดว่าไม่เป็นผล เพราะความขัดแย้งมันลึกกว่าจะแก้ได้โดยนิรโทษกรรม นิธิอธิบายว่า การนิรโทษกรรมคือเครื่องมือของรัฐในการแก้ปัญหาต่างๆ นานา หนึ่งในนั้นคือปัญหาการเมือง และไม่ใช่การเมืองก็มี Amnesty หรือการให้อภัย เป็นเครื่องมือนี้ใช้กันเป็นปกติในทุกรัฐเลย เช่น ในสหรัฐมีคนลักลอบเข้าเมืองจำนวนมาก มีการวิจัยว่า ถ้าอนุญาตให้คนเหล่านี้คนหนึ่งประกอบอาชีพในสหรัฐจะทำเงินให้ปีละ 5 พันเหรียญ โดยเสียภาษี แต่ถ้าคนๆ นี้ยังเป็นผู้ลักลอบเข้าเมืองอยู่ สหรัฐจะต้องเสียเงินปีละ 3 พันเหรียญเพื่อไล่จับ สิ่งที่สหรัฐเลือกคือ ให้นิรโทษกรรมถ้าคุณมีคุณสมบัติสองสามอย่าง ก็น่าจะให้เป็นคนอเมริกันสักที หรือในเมืองไทยก็มีการให้นิรโทษกรรมแก่ปืนเถื่อน หรือการนิรโทษแก่ผู้ติดยาเสพติด เพราะยังไงมันก็ปราบไม่ได้ กฎหมายนิรโทษกรรมจึงมีขึ้นเพื่อให้มันปฏิบัติได้ (Practicality) น่าจะมีประโยชน์กับส่วนรวมมากกว่า แต่ก็จะมีคนมาบอกว่า แบบนี้คนก็จะไม่เคารพกฎหมาย จึงไม่ควรนิรโทษกรรมเพราะกลัวจะเสียศีลธรรม แต่คนเหล่านี้ไม่เคยถามกลับว่า รัฐบาลที่ออกกฎหมายเหล่านี้มันมีศีลธรรมหรือเปล่า ตนเห็นว่า Practicality เป็นหัวใจของการออกนิรโทษกรรม อะไรที่เรารู้สึกว่าทางนี้ดีกว่า มันจะผิดหลักการอะไรไปบ้าง ก็ต้องยอมรับ เพราะมนุษย์เราอยู่ใต้หลักการส่วนหนึ่ง แล้วก็มีชีวิตที่ดำเนินไปอย่างปกติพอสมควรส่วนหนึ่งด้วย ในกรณีนี้เมืองไทย เพื่อประนีประนอมจะออกนิรโทษกรรม ให้มาแบ่งกันว่า การกระทำที่เกิดขึ้นในทางการเมือง กับการกระทำที่เป็นอาชญากรรม อะไรทีเป็นการเมืองก็นิรโทษกรรมไป เป็นอาชญากรรมก็ไม่ได้ แต่พอคิดแล้วระหว่างการเมืองกับอาชญากรรมแยกกันลำบากมาก เช่น กรณีเซ็นทรัลเวิร์ดอย่างที่ อ.พวงทองกล่าวไป หรือกรณีมาตรา 112 ช่วงหลังรัฐประหาร ถามว่ามันมีความเข้าใจผิดในหมู่คนจำนวนหนึ่งว่าพระเจ้าอยู่หัวอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารหรือไม่ เหตุดังนั้นก็จึงมีคนไม่พอใจรัฐประหาร และไปโจมตีพระเจ้าอยู่หัว ถามว่าอันนี้การเมืองหรืออาชญากรรม หรือในช่วงวิกฤติทางการเมือง ก็มีคนเอากฎหมายฉบับนี้มาใช้ปราบปรามศัตรูทางการเมือง จะแยก 112 กับการเมือง จึงไม่รู้จะแยกกันตรงไหน นั่นคือเหตุผลสำคัญที่กฎหมายนิรโทษกรรมที่มันออกมายาก เพราะจะออกให้มันมีผลจริงๆ มันกระทบต่อโครงสร้างที่มีมาแต่ก่อน พูดง่ายๆ คืออำนาจอนุรักษ์นิยมทั้งหลาย จะถูกกระทบจากการชี้ว่า ใครควรจะได้รับนิรโทษกรรมบ้าง จะนับคนที่โดน 112 ไหม มันกระทบอำนาจอาญาสิทธิ์มากกว่าเรื่องนิรโทษกรรมทักษิณเสียอีก มันจึงเป็นการตั้งคำถามตัวใหญ่ๆ ต่ออำนาจที่เรียกว่าอาญาสิทธิ์ ตนเห็นว่าหลักการที่จะใช้ในการออกนิรโทษกรรม คือความทุกข์ยากของคน (Human Suffering) ดูกรณีทั้งหมดที่เกิดขึ้น ว่ามันเกิดความทุกข์ยากแก่ใครบ้าง พยายามนิรโทษกรรมแก่คนเหล่านี้ หัวใจสำคัญของการนิรโทษกรรมไม่ใช่เพื่อการปรองดอง แต่เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่ อาจมีคำถามว่า ถ้าตนปล้นแบงค์แล้วถูกจับ ลูกเมียตนก็ทุกข์ยากด้วย ซึ่งไม่ใช่ เพราะต้องพิจารณาภายใต้สภาวะการเมืองอันหนึ่ง ไม่ใช่การก่ออาชญากรรมปกติธรรมดา ไม่ว่าจะต้องคดี 112 ต้องคดีเผาบ้านเผาเมือง ต้องคดีชุมนุม ทั้งหมดเหล่านี้เขาได้รับความทุกข์ยากมากพอแล้ว แม้แต่คนที่หลบหนีอยู่ก็ทุกข์ยาก ซึ่งน่าจะช่วยให้เขาพ้นความทุกข์เสียที เป็นการนิรโทษกรรมเพื่อมนุษยธรรม อันนี้ควรจะเป็นหัวใจของการนิรโทษกรรม ซึ่งไม่ค่อยถูกพูดถึง แต่ไปพูดถึงเรื่องการปรองดอง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหากับการออกกฎหมายฉบับนี้ด้วยซ้ำ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
บริษัท GM ไม่สนสหภาพฯ เดินหน้าเปิดเดินเครื่องผลิตรถยนต์ Posted: 14 Feb 2013 09:06 AM PST เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 56 ที่ผ่านมา ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่าหลังบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิต ให้บรรจุวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดของพนักงาน และเป็นวันที่ได้โอที ให้เป็นวันทำงานตามปกติ แต่สหภาพแรงงานฯ ไม่เห็นด้วย และไม่สามารถตกลงกันได้ จนเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 บริษัทฯ ได้มีคำสั่งให้พนักงานสมาชิกสหภาพแรงงานหยุดงาน พร้อมขออำนาจศาลห้าม 13 แกนนำสหภาพฯ เข้ามาในพื้นที่ของบริษัทฯ อย่างเด็ดขาด ทำให้พนักงานในเครื่อสภาพ และพนักงานอื่นๆ ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงได้ทยอยกันมาสมัครเข้าร่วมอยู่ในสภาพแรงงานเพิ่มขึ้น และพร้อมที่จะเดินหน้าเรียกร้องสิทธิ โดยไม่ขอเข้าไปทำงานนั้น โดยมีการนัดเจรจาโต๊ะกลมกันวันนี้เพื่อหาข้อยุติ ล่าสุดวันนี้ (14 ก.พ.56 ) นายวีโจ้ วาร์จีส ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ สื่อสารผลิตภัณฑ์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า วันนี้ ทางบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ได้เริ่มดำเนินการผลิตที่ศูนย์การผลิต จังหวัดระยอง อีกครั้งในวันนี้ หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว มีการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพฯ โดยนับตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา จีเอ็ม ได้ประเมินความปลอดภัยและสวัสดิภาพของพนักงานและทรัพย์สินของบริษัท เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับมาเริ่มต้นการผลิตอีกครั้ง ในระหว่างนี้ เจนเนอรัล มอเตอร์ส ยังคงเดินหน้าส่งมอบยานยนต์ให้แก่ผู้แทนจำหน่ายของเราเพื่อรองรับการสั่งจองของลูกค้าตามกำหนดการปกติ โดยทางบริษัทฯ มีความมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบรถให้ตรงตามกรอบเวลาที่วางไว้ และสอดคล้องกับแผนกำหนดการส่งมอบรถของเรา โดยใน วันนี้ พนักงานประมาณ 3,100 คน ได้เข้ามารายงานตัว เพื่อทำงานตามปกติที่ศูนย์การผลิต จังหวัดระยอง บริษัทฯ และพนักงานเริ่มปฏิบัติงานอีกครั้งภายใต้ความปลอดภัยและความมุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานคุณภาพสูงสุดของจีเอ็ม ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ และการส่งมอบรถให้แก่ลูกค้าตรงตามเวลาที่กำหนด ด้านสหภาพฯ นั้นทางบริษัท หวังว่าจะสามารถเริ่มการเจรจาตามกฎหมายและเป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องกับสหภาพฯ ได้อีกครั้งในพรุ่งนี้ คือ วันที่ 15 ก.พ.2556 เพื่อหาข้อตกลงและผลสำเร็จร่วมกันกับสหภาพฯ อย่างมีเหตุผลและเป็นธรรมในทุกประเด็น เนื่องจากวันนี้ที่มีการนัดเจรจากันนั้น ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ด้านนายสุริยา โพธิ์ชัยเลิศ ประธานสหภาพแรงงานฯ ฯ กล่าวว่า วันนี้บริษัทฯ ได้นำหมายศาล จังหวัดชลบุรี มาปิดไว้บริเวณที่ประท้วงของพนักงาน แต่หมายนี้ไม่มีผู้ใดเซ็นต์รับทราบแต่อย่างใด เพราะมีการขออำนาจศาลให้สั่งไม่ให้แกนนำ สหภาพฯเพิ่ม อีก 2 คน เข้าพื้นที่บริษัทฯ รวมทั้งหมดเป็น 15 คน และเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ถึงแม้ว่าทางบริษัทฯ เปิดโอกาสให้พนักงานที่ต้องการเข้าไปทำงานลงชื่อในวัน วาเลนไทน์ ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะสมาชิกสหภาพแรงงานยังยืนยันไม่ยอมรับระเบียบปฏิบัติใหม่ จึงไม่มีใครเข้าไปลงชื่อเพื่อทำงาน และยืนยันว่าจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด เพราะศาลสั่งเพียง 15 คน ที่ไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ของบริษัท ฯ พนักงานคนอื่น ๆ อีกประมาณ 2, 000 คน ก็ยังสามารถผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่ในเวลากลางวัน ประมาณ 1,200 คน กลางคืนประมาณ 800 คน ในวันที่ 15 ก.พ. 56 ทางแกนนำทั้ง 15 คน ต้องเดินทางไปศาล แต่บริษัทฯก็ขอ การนัดเจรจากับแกนนำ ทั้งที่รู้ว่าต้องไปศาล เพื่อจะเป็นข้ออ้างตลอดว่าแกนนำสหภาพไม่ยอมยอมมาเจรจา เท่ากับสร้างความกดดันให้แกนนำ และสมาชิกอย่างมาก ถ้าบริษัทฯมีความจริงใจ ยอมรับกติกาต่อกัน ก็จะไม่มีปัญหายืดเยื้อมาถึงทุกวันนี้ ทางบริษัทฯจะเสียหายอย่างมาก ในเรื่องของความเชื่อถือ ถึงแม้ว่าวันนี้ จะเปิดทำงานสายการผลิตเป็นวันแรกก็ตาม แต่ก็ทำได้เพียงกลางวันเท่านั้น กะกลางคืนไม่มีพนักงานทำงาน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สื่อมาเลย์พร้อมใจตีข่าว 'BRN โจมตีฐานทหาร' Posted: 14 Feb 2013 08:51 AM PST สื่อมาเลย์พร้อมใจตีข่าว กลุ่มก่อความไม่สงบเสียชีวิต 17 คนจากความผิดพลาดในการโจมตีฐานทหารในจังหวัดนราธิวาส โดยพร้อมใจนำเสนอว่า เป็นปฏิบัติการของขบวนการ BRN ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักข่าวในประเทศมาเลเซียเกือบทุกสำนัก ต่างนำเสนอข่าวเหตุการณ์กลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยบุกโจมตีฐานทหารในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 17 คน โดยต่างพาดหัวไปในทำนองเดียวกันว่า "สังหารกลุ่มกบฏตาย 17 คน" ทั้งสำนักข่าวเบอร์รีตาฮารียัน, อูตุซันมาเลเซีย, ซีนารฮารียันและสื่ออื่นๆ อีกหลายสำนัก ทั้งนี้ เนื้อหาข่าวระบุตรงกันว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมดเป็นสมาชิกของกลุ่มกองกำลังของขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ตามคำให้สัมภาษณ์ของ น.อ.สมเกียรติ ผลประยูร นายทหารในพื้นที่ ในเนื้อหายังระบุว่า จำนวนกำลังพลของขบวนการบีอาร์เอ็นที่มีอาวุธสงครามครบมือกว่า 50 คน พยายามบุกเข้าโจมตีฐานทหารเรือ แต่เกิดความผิดพลาด เนื่องจากทางกองกำลังทหารเรือรู้ข่าวล่วงหน้าแล้วว่า จะมีการโจมตีฐานทหารในพื้นที่เกิดขึ้น จึงวางแผนจัดกำลังคอมมานโดจำนวน 60 นาย ตั้งรับและพร้อมตอบโต้ จนสามารถสังหารกลุ่มกองกำลังของขบวนการก่อความไม่สงบจำนวน 17 คน ส่วนความสูญเสียฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารยังไม่สามารถรู้ได้ ในเนื้อข่าวยังระบุด้วยว่า ปฏิบัติการดังกล่าวสามารถปลิดชีพ นายมะรอโซ จันทรวดี แกนนำกองกำลังกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่มีรางวัลนำจับถึง 2,000,000 บาท
ที่มา :
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เปิดใจนักรณรงค์ความหลากหลายทางเพศ: ทางวิบากสู่ทะเบียนสมรส Posted: 14 Feb 2013 08:51 AM PST ในวันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งความรัก ซึ่งตรงกับวันที่ 14 ก.พ.ของทุกปี เขตบางรัก มักจัดกิจกรรมจดทะเบียนสมรสหมู่แก่คู่รักชาย-หญิง ในปีนี้ กลุ่มองค์กรรณรงค์ด้านสิทธิทางเพศสภาพหลายแห่ง ซึ่งรวมตัวกันภายใต้ชื่อเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีกับคู่รักหญิงชาย พร้อมรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญของการได้มาซึ่งสิทธิในการจดทะเบียนสมรสของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็น หญิงรักหญิง ชายรักชาย หรือกลุ่มคนข้ามเพศ ประวิตร โรจนพฤกษ์ สัมภาษณ์ "ชุมาพร แต่งเกลี้ยง" เจ้าหน้าที่โครงการประชาธิปไตย มูลนิธิศักยภาพชุมชนและนักเคลื่อนไหว กลุ่มอัญจารี ว่าด้วยการจัดกิจกรรมรณรงค์ อุปสรรคที่พบเจอ ตลอดจนก้าวต่อๆ ไปของการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ
ใบจดทะเบียนสมรสไม่ได้มีความหมายมากกว่าความรักก็จริง แต่ว่ามันก็เป็นหลักประกันให้กับคู่ชีวิต ว่าเขาสามารถดูแลกันได้ยามป่วยไข้ แต่ปัจจุบันถ้าหากคู่สมรสหญิง-หญิงป่วยไข้ก็ไม่สามารถดูแลกันได้ เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส หมอไม่อนุญาตให้อีกคนหนึ่งเซ็นในกรณีสำคัญ ทั้งที่เขามีชีวิตอยู่กันนาน หรือในเรื่องของการประกันชีวิตก็ไม่สามารถประกันชีวิตให้กันได้ ไม่สามารถจะรับบุตรบุญธรรมได้ ตัวนี้ยังมีช่องว่างมีมาก ที่เราต้องผลักดันเคลื่อนไหวต่อไป มองว่าอุปสรรคหลักของการผลักดันเรื่องนี้คืออะไร ทัศนคติของนักการเมือง สังคม หรือกลุ่มไหน การหาพื้นที่ ปัญหาอยู่ที่ไหน จริงๆ สื่อเสนอเรื่องเพศสภาพ แต่เป็นแบบสเตอริโอไทป์หรือเปล่า
มีความเชื่อกันว่าไทยค่อนข้างเปิดเรื่องกระเทย เกย์ หรือความหลากหลายทางเพศสภาพ ตรงนี้สะท้อนความเป็นจริงแค่ไหน ทั้งในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเอเชียด้วยกัน ในอเมริกามีนักการเมืองที่เปิดตัวว่ามีความหลากหลายทางเพศสภาพแล้วลงสมัครรับเลือกตั้ง คิดว่ามีความจำเป็นไหมที่ประเทศไทยจะมีแบบเดียวกัน ได้วางกรอบเวลาเพื่อการสู้เพื่อสิทธิทางกฎหมายไว้ไหม ตั้งเป้าไว้กี่ปี ประเด็นแรกคือ กฎหมายคู่ชีวิตหรือรับรองคู่ชีวิต สองคือ การไม่เลือกปฏิบัติ ตอนนี้เรากำลังรวมทีมกันไม่เฉพาะเครือข่ายหลากหลายทางเพศ มีเครือข่ายแรงงาน คนพิการ กลุ่มแรงงานข้ามชาติ เด็กที่ยังไม่ได้รับสัญชาติ เป็นกฎหมายเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติตามหลักการที่รับจากยูเอ็น อีกฉบับที่ต้องผลักดันร่วมกันเพราะกฎหมายแต่งงานฉบับเดียวยังไม่เพียงพอ นั่นคือ กฎหมายรับรองอัตลักษณ์บุคคล แม้กระทั่งคนที่จะเลือกว่าจะเป็น นาง นางสาว หรืออื่นๆ ตอนนี้ยังไม่มีสิทธิที่จะเลือก เปลี่ยนได้ ถ้ากฎหมายสามตัวนี้คลอดออกมา หมายความว่ามันสามารถล้อแล้วก็ทำงานร่วมกันได้ การมีกฎหมายคู่ชีวิตเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เรามีสิทธิหรือมีสิทธิเท่าเทียมคนอื่น แต่การมีกฎหมายรับรองทุกส่วนจะทำให้เรามีสิทธิเท่าเทียมกัน กรอบของเวลา เป็นเรื่องของพลังที่เราผลักไปมากกว่า และต้องขอให้สภาและ ส.ส. ตระหนักถึงความสำคัญของเรา และเร่งผลักดันด้านกฎหมาย แต่อย่างที่บอกไปว่ากฎหมาย ถ้ากฎหมายเข้าไปในสภาแล้วเรายังถูกตีตราเช่นต้องได้รับการตรวจโรคก่อน หรือเช็คก่อนว่าอยู่ร่วมกันมากี่เดือนกี่ปี ตรงนี้ก็ไม่มีความเท่าเทียมตามหลักสิทธิมนุษยชน เพราะฉะนั้นตัวกฎหมายที่เข้าไปในสภาก็ต้องล้อไปหลักสิทธิมนุษยชน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ประสบการณ์ 'กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ' จากยุโรป Posted: 14 Feb 2013 06:04 AM PST สหภาพยุโรป จัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้กฎหมายหมิ่นฯ จากยุโรป โดยมีผู้พิพากษาจากเดนมาร์ก และอัยการจากเสปนที่เคยพิจารณาคดีหมิ่นฯ เข้าร่วม ชี้หลักเสรีภาพการแสดงออกต้องมาก่อนเนื่องจากเป็นรากฐานของเสรีภาพทุกชนิด
หลังจากคำตัดสินลงโทษนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บ.ก. นิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน เป็นเวลา 10 ปี เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการตีพิมพ์บทความสองบทความที่หมิ่นเบื้องสูงในนิตยสาร หนึ่งสัปดาห์ถัดมา สหภาพยุโรป ก็ได้จัดงานสัมมนาเรื่องเสรีภาพการแสดงออก และการปรองดอง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นต่างๆ อาทิ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เสรีภาพสื่อ และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีนักวิชาการ นักกฎหมาย ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมราว 100 คน โดยเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 56 มีวงเสวนาในหัวข้อ "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ - การใช้ ความท้าทาย และนัยสำคัญ" มีผู้พิพากษาจากเดนมาร์ก นายปีเตอร์ มอร์ค ธอมเสน ซึ่งเป็นเคยพิพากษาหลักในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเดนมาร์ก นายออกุสติน ไฮดัลโก จากสำนักงานอัยการสูงสุดของสเปน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้กฎหมายนี้ในยุโรป รวมถึงจอน อึ๊งภากรณ์ อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายออกุสติน ไฮดัลโก กล่าวว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือการดำรงอยู่ระหว่างการปะทะกันของเสรีภาพการแสดงออก และสิทธิในการเชิดชูและให้การพิทักษ์เป็นพิเศษแด่สถาบันกษัตริย์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาสมดุลที่เหมาะสมระหว่างสองอย่าง เขากล่าวว่า รัฐธรรมนูญของสเปน นอกจากจะวางรากฐานเรื่องระบอบการปกครองคือรัฐสภาที่มีกษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ยังกำหนดให้เสรีภาพ และความหลากหลายทางการเมือง มีคุณค่าสูงสุดในรัฐสเปน รวมถึงเรื่องเสรีภาพในทางอุดมการณ์ นอกจากนี้ ต้องตีความตามคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมืองเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกด้วย อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญของสเปน ก็ได้ระบุไว้ว่า เสรีภาพการแสดงออกก็ไม่ใช่ว่ามีขีดจำกัด โดยตามกฎหมาย ไม่อนุญาตให้มีการดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการใช้คำพูดที่เหยียดหยาม หากแต่อนุญาตให้ใช้คำพูดที่น่ารำคาญ (annoying) หรือเจ็บช้ำน้ำใจ (hurtful) ได้ ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ทั้งนี้ บทลงโทษตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสเปน กำหนดให้ผู้ที่ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์หรือรัชทายาท ถูกจำคุกระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี หากเป็นการดูหมิ่นร้ายแรง และ 6 เดือนถึง 12 เดือนหากเป็นการดูหมิ่นที่ไม่ร้ายแรง อัยการอาวุโสของสเปน กล่าวว่า มาตรา 490 ของประมวลกฎหมายอาญา ระบุด้วยว่า บทลงโทษต่อการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ จะรุนแรงขึ้น หากว่าพระองค์อยู่ในขณะที่ทรงงานหรือปฏิบัติในหน้าที่ แต่หากมีการดูหมิ่นประมาทต่อองค์กษัตริย์หรือรัชทายาทที่ไม่ได้ทรงปฏิบัติงาน จะลดบทลงโทษเป็นเพียงการปรับเท่านั้น เนื่องจากศาลสูงสุดสเปนเห็นว่ากฎหมายหมิ่นฯ มีไว้เพื่อพิทักษ์เกียรติและศักดิ์ศรีประมุขของรัฐ และเพื่อการรักษาอำนาจและหน้าที่ของรัฐที่เหมาะสม ไฮดัลโกกล่าวถึงกรณีการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญสเปนในปี 1990 ที่กลายมาเป็นหลักชี้วัดขอบเขตของการกระทำผิดตามกฎหมายหมิ่นฯ และเสรีภาพในการแสดงออก โดยศาลรัฐธรรมนูญได้กลับคำตัดสินของศาลฎีกาเมื่อปี 1987 ที่เอาผิดนักหนังสือพิมพ์ที่เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ว่ามีความคล้ายคลึงกับเผด็จการสมัยฟรังโก ศาลรัฐธรรมนูญระบุในกรณีดังกล่าวว่า สิทธิในการแสดงออกในความคิดและความเชื่อนั้นอยู่เหนือสิทธิในการเชิดชู โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความคิดเห็นที่เกี่ยวกับสาธารณะในทางสังคมเรื่องการเมือง และยิ่งหากเป็นบุคคลที่มีหน้าที่สาธารณะ หรือเกี่ยวข้องกับความจำเป็นของสาธารณะ ก็ย่อมมีความเสี่ยงในการถูกกระทบจากความคิดเห็นหรือข้อมูลจากสาธารณะได้ "นั่นเป็นเพราะว่าเสรีภาพในการแสดงออก เป็นวิธีที่แสดงออกถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้ นั่นคือ เสรีภาพในอุดมการณ์ หรือมาตรา 16 ในรัฐธรรมนูญสเปน และหากว่าไม่มีเสรีภาพทางอุดมการณ์ คุณค่าของระบบกฎหมายซึ่งเป็นพื้นฐานของนิติรัฐในทางสังคมและการเมือง ก็จะไม่มีประสิทธิผลใดๆ" ไฮดัลโกกล่าว เดนมาร์ค: เสรีภาพการแสดงออกถือว่าเป็น "ออกซิเจน" ของสิทธิทั้งหมด นายปีเตอร์ มอร์ค ธอมเสน ผู้พิพากษาจากเดนมาร์ก กล่าวถึงความคล้ายคลึงของเดนมาร์คและไทย ทั้งการมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขของรัฐ เป็นประมุขของศาสนา และการที่กฎหมายหมิ่นฯ ถูกบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญหมวดความมั่นคงของรัฐและการก่อการร้าย นอกจากนี้ ประชาชนเดนมาร์คก็ยังมีความรู้สึกที่เป็น "เอกลักษณ์" ต่อราชินีของตนเอง เช่นเดียวกับคนไทยต่อสถาบันกษัตริย์ของตนเอง อย่างไรก็ตาม บทลงโทษของกฎหมายหมิ่นฯ กำหนดไว้เป็นการจำคุกสูงสุด 4 ปีเท่านั้น และไม่มีบทลงโทษขั้นต่ำ และปัจจุบันการใช้กฎหมายนี้ในเดนมาร์ค ก็แทบจะไม่มีแล้ว โดยตั้งแต่ปี 1933 เป็นต้นมา เดนมาร์คได้ยกเลิกการเอาผิดคำพูด (statements) ที่หมิ่นประมาท และเอาผิดเพียงการกระทำ (action) ที่มุ่งจะทำให้เกิดภัยต่อกษัตริย์เท่านั้น เขากล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว ผู้พิพากษาที่ดี ควรใช้สามัญสำนึกในการตัดสินและพิจารณาคดี ว่าตุลาการต้องการที่จะควบคุมการกระทำของพลเมืองแบบใด และควรต้องเข้าใจจุดประสงค์ของกฎหมาย มิใช่ตีความจากที่มาของกฎหมาย และตีความตามตัวอักษรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผู้พิพากษาจากเดนมาร์คกล่าวถึงคดีความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเดนมาร์คเมื่อเร็วๆ นี้ ที่นักเคลื่อนไหวจากกลุ่มกรีนพีซได้บุกเข้าไประหว่างงานเลี้ยงอาหารค่ำของพระราชินีในปี 2009 เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำประเทศต่างๆ ร่วมมือกันแก้ปัญหาเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง จากนั้นในปี 2011 นักเคลื่อนไหวทั้งหมด 11 คน ได้ถูกตั้งข้อหาบุกรุก และหมิ่นประมาทพระราชินี นายธอมเสน ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคณะผู้พิพากษาคดีดังกล่าว ชี้ว่า กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ในเดนมาร์คมิได้ถูกใช้มานานมากแล้ว เนื่องจากว่าเสรีภาพในการแสดงออกถือเป็นสิทธิหลักในเดนมาร์ค "มันเป็นเสรีภาพที่เป็นฐานของเสรีภาพอื่นๆ ถือเป็นอ็อกซิเจนของเสรีภาพทั้งมวล และเสรีภาพในการแสดงออกนับเป็นสิ่งสำคัญในการท้าทายความคิดของระเบียบเดิม" เขากล่าว คณะผู้พิพากษา ได้พิจารณาว่า เนื่องจากการกระทำที่มุ่งประทุษร้ายราชินี ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม พบว่าการกระทำของนักเคลื่อนไหวกรีนพีซ มิได้มุ่งก่อภัยอันตรายต่อราชินี เพราะบุกเข้าไปในงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อต้องการจะส่งข้อความทางการเมืองเท่านั้น แต่มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชินีแต่อย่างใด อัยการจึงยกฟ้องข้อหาดังกล่าว เขากล่าวต่อว่า เป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาที่จะทำให้ข้อกำกวมทางกฎหมายเป็นเรื่องที่ชัดเจน เนื่องจากเขาได้ยินมาว่า ประชาชนที่นี่ยังสับสนและมีความไม่ชัดเจนว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่โดยตามหลักการแล้ว ควรจะเป็นหน้าที่ของศาลที่ทำให้สิ่งต่างๆ ชัดเจนกว่านี้ "มันน่าจะมีการจำกัดความการใช้หรือตีความกฎหมายที่ดีกว่านี้ อย่างบางกรณีที่มีชาวต่างชาติพ่นข้อความที่งี่เง่าลงไปบนพระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่ห้ว ก็ต้องถามว่าข้อความดังกล่าวเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติได้หรือไม่...ผมคิดว่าไม่ควรไปเอาข้อความดังกล่าวมาคิดอย่างจริงจัง" ธอมเสนกล่าว โดยสรุป เขาเสนอว่า ควรให้ตุลาการค่อยๆ พิจารณาลดจำนวนการดำเนินคดีในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพลงไป และศาลควรจะต้องกำหนดแนวทางที่ชัดเจนออกมา ว่าสิ่งใดถือเป็นอาชญากรรมและอะไรบ้างที่ถือว่าไม่ใช่ จอน อึ๊งภากรณ์ กล่าวว่า ในประเทศไทยนั้น เป็นเรื่องยากที่จะตำหนิสถาบันโดยที่ไม่พูดชมไปด้วยพร้อมกัน เนื่องจากมีบรรยากาศของโฆษณาชวนเชื่อเต็มไปหมดทั้งในโทรทัศน์และวิทยุ นอกจากนี้ ศาลไทยก็ยังถือว่าเป็นผู้ปกป้องสถาบันมาก แต่มิได้มองตนเองว่าเป็นผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชนทั่วไป มีการตีความตามตัวอักษร และไม่มีมุมมองที่ก้าวหน้า ทำให้ตีความกฎหมายไปในทางที่แย่ที่สุด เขากล่าวว่า หลังจากการศึกษาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้สรุปออกมาเป็นข้อเสนอแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคือ ให้กำหนดบทลงโทษสูงสุดเป็น 7 ปี โดยไม่มีโทษขั้นต่ำ และ หากว่าการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวข้องกับเรื่องประโยชน์สาธารณะและเป็นไปด้วยความตั้งใจที่ดี ก็จะเป็นข้อยกเว้นจากการเอาผิด นอกจากนี้ ยังเสนอให้ผู้มีสิทธิกล่าวหาฟ้องร้องเป็นสำนักพระราชเลขาธิการเท่านั้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ไม่มีใครชิงการนำ นปช. แต่เพราะถดถอยเอง Posted: 14 Feb 2013 05:17 AM PST บทความ "ความขัดแย้งภายในหมู่ประชาชนและหลักการแก้ปัญหา" ของ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ได้สะท้อนความกังวลต่อบทบาทการนำของ นปช. ต่อมวลชนเสื้อแดง โดยชี้ว่ามีความพยายามช่วงชิงการนำด้วยการโจมตี บิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อใส่ร้ายป้ายสี นปช. อ.ธิดา อาจจะคิดว่าเป็นเพราะข่าวสารผิดพลาด และมีความพยายามช่วงชิงการนำ แต่บทบาทการนำได้ถดถอยมาก่อนหน้านี้นานพอสมควร ความถดถอยในบทบาทการนำ แค่ภายหลังการปราบปรามการชุมนุมที่ราชประสงค์ ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 แกนนำของ นปช. ถูกจับกุม ทำให้การเคลื่อนไหวโดย นปช. ขาดหายไป ขณะที่ สมบัติ บุญงามอนงค์และมวลชนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง รวมถึงเสื้อแดงกลุ่มย่อยบางส่วน ยังคงเคลื่อนไหวท้าทาย พรก.ฉุกเฉิน จนถึงจุดสูงสุดในวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ที่มาร่วมชุมนุมหลายหมื่นคน การเคลื่อนไหวส่งผลมวลชนเสื้อแดงและเสื้อแดงกลุ่มย่อยมีประสบการณ์มากขึ้น มีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น ในวันที่ 10 ตุลาคม 2553 เสื้อแดงภาคตะวันตก จัดขบวนรถยนต์ประมาณ 30 คัน รวมกับเสื้อแดงใน กทม.และพื้นที่ใกล้เคียง มีรถยนต์ประมาณ 100 คัน เดินทางราชประสงค์ไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ขณะเดียวกัน นปช. ยังคงไม่มีการเคลื่อนไหว กว่าที่ นปช. จะเคลื่อนไหวก็เป็นช่วงหลังจาก รัฐบาลอภิสิทธิ์ ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเดือนธันวาคม 2553 ถึงแม้ว่า การเคลื่อนไหวในช่วงเวลานี้ จะไม่มีผลต่อการยอมรับการนำของ นปช. แต่เสื้อแดงกลุ่มย่อมมีการยกระดับความสามารถในการเคลื่อนไหว ส่งผลต่อความมั่นใจในการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ต่อมา การรณรงค์รวบรวมรายชื่อแก้ไขมาตรา 112 นำโดย ครก. ขณะที่ พท. ขัดขวางการเคลื่อนไหว ครั้น นปช. ไม่สนับสนุนการเคลื่อนไหวและยังขัดขวาง แต่ไม่แสดงโดยตรงเหมือน พท. เช่น การให้สัมภาษณ์ของ จตุพร พรหมพันธ์ ที่กล่าวโดยนัยว่า มีความพยายามหาข้ออ้างล้มรัฐบาล จากการเคลื่อนไหวแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งสร้างความหวั่นไหวให้กับเสื้อแดง แต่การเคลื่อนไหวไม่ได้หยุดลง เสื้อแดงกลุ่มย่อยได้เข้าร่วมอย่างคึกคักในระดับทั่วประเทศสามารถรวบรวมรายชื่อได้ประมาณ 40,000 รายชื่อ การขัดขวางการแก้ไข มาตรา 112 ของ พท. ได้ทำลายความเชื่อมั่นของเสื้อแดงที่กระตือรือร้นในเรื่องความตั้งใจของ พท. และ นปช. ในการสร้างประชาธิปไตยสมบูรณ์ ขจัดอำนาจของอำมาตยาธิปไตย นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการลดระดับการยอมรับการนำของ นปช. ในเสื้อแดงย่อย ปริญญาโบนันซ่า 1) ให้รัฐสภาโหวดผ่านวาระ 3 เพื่อลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2) ให้รัฐบาลประกาศรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกรณีการปราบปรามประชาชนในวันที่ 10 เมษายน – พฤษภาคม 2553 3) การออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับประชาชนในคดีอาญาทั้งหลาย อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองทุกสีเสื้อ ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่า นปช. จะอ้างเป็นภารกิจสำคัญ แต่เสื้อแดงรู้ว่า ถ้า พท. ไม่สนับสนุน การผลักดันของ นปช. ก็ไม่มีวันเป็นจริง ประเด็น การรับรองศาลอาญาระหว่างประเทศ เฉพาะกรณีการปราบปรามประชาชนในวันที่ 10 เมษายน – พฤษภาคม 2553 ในขณะที่ศาลอาญาได้ตัดสินคดีในทิศทางที่เสื้อแดงยอมรับได้ การพิจารณาในทิศทางเป็นไปได้ยากที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะมาแทรกแซง แต่ถ้า นปช. ยังยืนยันในเรื่องนี้ ควรปรับเป็นการให้สัตยาบัน รับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันการปราบปรามการชุมนุมของประชาชนในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นมากกว่า ประเด็น การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องดีเหมาะสม แต่ในขณะที่ประกาศก็ไม่มีรูปธรรม ไม่มีตัวร่างกฎหมาย และที่สำคัญคือ ช้าเกินไป การช่วยเหลือนักโทษการเมืองน้อยและช้าเกินไป ในช่วงการอดอาหารประท้วงเรียกร้องให้ประกันตัวนักโทษการเมือง เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ในคิวอดอาหารของ ดร.สุดา รังกุพันธ์ นายแพทย์เหวง ได้มาเยี่ยม ผมได้ถือโอกาสถามว่า เมื่อไร นปช. จะเสนอร่าง พรบ.นิรโทษกรรมเสื้อแดงในกรณีเผาศาลากลางและ 112 นายแพทย์เหวงตอบว่า ร่างให้เฉพาะคนเหล่านี้ทำไม่ได้ ผมบอกว่า ถ้าผมสามารถร่างได้มาเสนอจะรับไปดำเนินการต่อ นายแพทย์เหวงตอบว่าได้ ถึงแม้ว่า ผมจะไม่สามารถเสนอร่างได้ แต่ข่าวสารได้ไปถึง นปช. แต่กว่าจะมีข้อเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมได้ก็ใช้เวลานานประมาณ 10 เดือน ใน "ปฏิญญาโบนันซ่า" เดือนธันวาคม 2555 แต่ที่มาข้อเรียกร้องกฎหมายนิรโทษกรรมนั้นก็ไม่ได้มาจากข้อเสนอของผม แต่เข้าใจว่ามาจากความกดดันของมวลชนเสื้อแดง เมื่อมีการสั่งถอนประกัน ก่อแก้ว พิกุลทอง ซึ่งแกนนำ นปช.คนที่สองที่ต้องเข้าเรือนจำหลักสี่ แกนนำ นปช.ที่มาเยี่ยม ก่อแก้ว ต้องเผชิญคำถามจากกับมวลชนเสื้อแดงที่มาเยี่ยมนักโทษการเมือง ว่าทำไมประกันแต่แกนนำ สิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้ เป็นเพราะแกนนำ นปช. ไม่มีใครแม้แต่คนเดียวจะเยี่ยมนักโทษเหล่านี้แม้แต่ครั้งเดียวตลอดระยะ 2 ปีกว่า ไม่มีการดูแลครอบครัวของบุคคลเหล่านี้แม้แต่น้อย การรวมตัวของเสื้อแดงในวันที่ 29 ม.ค. นำโดย ดร.สุดา เกิดขึ้นเพราะเสื้อแดงกลุ่มย่อยและมวลชนไม่มีความมั่นใจต่อความมุ่งมั่นของ นปช. ในการผลักดันการนิรโทษกรรม ถ้าย้อนกลับไปที่การรวบรวมความจริงของเหตุการณ์ พฤษภาคม 2553 คนเสื้อแดงได้ให้ข้อมูลจำนวนมากกับ พท. และ นปช. แต่ นปช. ไม่ได้แสดงตัวเป็นแนวหน้าในการผลักดันและเปิดเผยเรื่องนี้ เพียงแต่ส่งโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ซึ่งทนายผู้นี้ได้เสนอใช้ช่องทางผิดกับอภิสิทธิ์ ผ่านศาลอาญาระหว่างประเทศ ในการเผยแพร่ความจริงของเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 กลุ่มที่มีบทบาทก็เป็นเสื้อแดงกลุ่มย่อย และ ศปช. ในที่สุด ศปช. ที่ดำเนินงานด้วยงบประมาณจำกัดนี้ สามารถรวบรวมและจัดทำเอกสารที่ส่งผลสะเทือนอย่างมาก ในขณะที่ นปช. และ พท. ไม่สามารถทำได้ทั้งที่มีทรัพยากรมากกว่า การปรับตัวเพื่อฟื้นฟูการนำ นปช. ควรจะปรับตัวเพื่อฟื้นฟูช่วงชิงการนำกลับให้ยิ่งใหญ่เหมือนเดิม ประการแรก ต้องมองเสื้อแดงว่ามีพลวัตร มีขีดความสามารถในการเคลื่อนไหวด้วยตัวเองมากขึ้น ดังนั้นการสั่งการโดยหวังว่าจะเชื่อฟังโดยดีเหมือนในอดีตคงไม่มีอีกแล้ว ประการที่สอง "ต้องเดินแนวทางมวลชน" ควรเลิกทำตัวเป็นอำมาตย์แดง เหินห่างมวลชน ไม่ฟังเสียงมวลชน ประการที่สาม นปช. ต้องยืนยันในจุดยืนเคียงข้างมวลชนเสื้อแดงมากขึ้น ดูแลเอาใจใส่ผู้ได้รับผลกระทบ ไปพร้อมกับจุดยืนประชาธิปไตยต่อต้านอำมาตย์ ประการที่สี่ ควรสร้างการเชื่อมโยงกับเสื้อแดงกลุ่มย่อยบนพื้นฐานของหลักการประชาธิปไตย ไม่ควรคิดว่าองค์กรเหล่านี้ต้องขึ้นต่อ ตลอดเวลาที่ผ่านมาฝ่าย นปช. ไม่มีประสิทธิภาพในการสร้างองค์กรรวบรวมเสื้อแดงที่กระจัดกระจายให้เป็นเอกภาพระดับสูง ทั้งที่มีปัจจัยเอื้ออำนวยและทรัพยากร เมื่อถึงเวลานี้ควรลดทิฐิส่วนตัวว่า ทุกคนต้องขึ้นต่อแกนนำ นปช. ถึงแม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันจะเงียบสงบ พท. สามารถรักษาอำนาจมานานพอสมควร แต่ความเงียบสงบนี้อาจจะเป็นทะเลสงบก่อนพายุใหญ่จะมา ดังนั้น เรามีความต้องการองค์กรนำอย่าง นปช. ในสถานการณ์ที่คนเรือนแสนอาจจะต้องออกมาสู่ท้องถนนอีกครั้งหนึ่ง เพราะองค์กรนำไร้ประสิทธิภาพ ยังดีกว่ามวลชนออกมาแบบอนาธิปไตยที่การสูญเสียจะมากมายมหาศาล
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กลุ่มหลากหลายทางเพศ รณรงค์ ขอ "ทุกเพศ" ได้จดทะเบียน รับวาเลนไทน์ Posted: 14 Feb 2013 05:06 AM PST
(14 ก.พ.56) กลุ่มเครือข่ายความหลากหลายทางเพศหลายสิบคน เดินทางไปยังอาคารบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานจดทะเบียนสมรสหมู่ ภายใต้ชื่องาน "รัก ณ บางรัก เคียงคู่ สู่ฝัน ในวันใหม่" ที่สำนักงานเขตบางรัก ร่วมกับหลายหน่วยงานจัดขึ้น เพื่อรณรงค์การจดทะเบียนสมรสของคนทุกเพศ และร่วมแสดงความยินดีกับคู่หญิงชายที่ได้จดทะเบียนในวันนี้ อัญชนา สุวรรณานนท์ ผู้อำนวยการมูลนิธิอัญจารี กล่าวว่า อยากมีส่วนในการเข้าร่วมการจดทะเบียนหมู่ของเขตบางรัก เพราะยังมีคู่อีกมากมายที่อาจจะยังไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายไทย ซึ่งกำหนดไว้แค่ว่าเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้นจึงจะสมรสได้ แต่จริงๆ แล้วคู่ในประเทศไทยมีมากมายไม่ว่าจะอัตลักษณ์แบบไหน ไม่ว่าคนที่รักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ คู่เหล่านี้ตอนนี้ยังไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ ทำให้ขาดการคุ้มครองจากกฎหมายที่จะกำหนดให้ต่างมีหน้าที่ในการดูแลกันและกัน หรือในเวลามีเหตุวิกฤตในชีวิต อย่างอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยหนัก โชคร้ายกว่านั้นถึงกับมีการตาย เราไม่สามารถไปจัดการคู่ของเราในฐานะคู่สมรสได้ เราจะเป็นเพียงเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งทำให้หลายคู่ทุกข์ใจอย่างมาก สอง การได้รับสวัสดิการต่างๆ ในฐานะคู่สมรส ซึ่งจะทำให้การใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน สะดวกและมั่นคงมากขึ้น ไม่ว่าประกันสังคม การทำประกันชีวิต การขอกู้เงินร่วม "คู่สมรสคู่ชายหญิงได้อะไรเราก็อยากได้อย่างนั้นเช่นกัน เราก็ไม่ได้ต่างกันในเนื้อหาของความรัก การเอาใจใส่" อัญชนากล่าว นอกจากนี้ ในการรณรงค์ ยังมีรุ่งทิวา ตังคโนภาส และ ภัลลวี จงตั้งสัจธรรม คู่รักเพศเดียวกัน สวมชุดแต่งงานเดินทางมาขอจดทะเบียนด้วย แต่ไม่สามารถจดได้ เนื่องจากตามกฎหมาย บุคคลที่จะจดทะเบียนสมรสต้องเป็นชายกับหญิงเท่านั้น รุ่งทิวา ตังคโนภาส กล่าวว่า คบกับคนรักมาเก้าปีย่างปีที่สิบ ใช้ชีวิตคู่กันมานานแล้ว หากได้จดทะเบียน จะทำให้สบายใจด้านทรัพย์สินที่ร่วมกันสร้างมา เพราะจะทำประกันชีวิต ก็ไม่สามารถยกทรัพย์สินให้กันได้ เวลาอีกฝ่ายเจ็บป่วยหรือผ่าตัด หมอก็ไม่ยอมให้ตนเองเซ็น ต้องให้ญาติเป็นคนเซ็นเหมือนเขากลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง นอกจากนี้ หากได้จดทะเบียนก็อยากจะไปทำกิ๊ฟท์ด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
40 องค์กรกิจกรรม 243 รายชื่อ แถลงค้านการผ่านร่าง พรบ.ม.เกษตรฯ ออกนอกระบบ Posted: 14 Feb 2013 04:46 AM PST แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ และ 40 องค์กรกิจกรรม พร้อมด้วย 243 รายชื่อ นักศึกษา-ประชาชน แถลงค้านการผ่านร่าง พรบ.ม.เกษตรฯ ออกนอกระบบ พร้อมด้วยบุกสภา แก้ผ้า ร้องเลื่อนพิจารณา ร่างฯ ดังกล่าว ด้าน "อธิการมก."ยันม.นอกระบบทำตามขั้นตอน เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ และ 40 องค์กรกิจกรรม พร้อมด้วย 243 รายชื่อ นิสิต นักศึกษาและ ประชาชน ออกแถลงการณคัดค้านการผ่านร่างพระราชบัญญัตินำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ ภายใต้สโลแกน "การศึกษาต้องเป็นรัฐสวัสดิการ เด็กไทยต้องมีโอกาสได้เล่าเรียนอย่างเท่าเทียมหยุดแปรรูปการศึกษา หยุดม.นอกระบบ" เนื่องจากในวันดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการส่งร่างดังกล่าวเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเพื่อรับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติในวาระแรก ทั้งนี้แถลงการณ์ฉบับดังกล่าวประกอบด้วยข้อเรียกร้อง 5 ข้อ ดังนี้ 1. ขอให้สภาผู้แทนราษฎรเลื่อนการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. .... ออกไปก่อน และให้ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกลับมาให้ประชาคมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทบทวนและมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. ขอให้รัฐบาลทำหนังสือถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอให้เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ ให้เป็นที่รับรู้ต่อนิสิตและประชาคมเกษตรศาสตร์อย่างเต็มที่และทั่วถึง 3. ขอแสดงจุดยืนในการร่วมคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ ร่วมกับแนวร่วมนิสิตคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ และขอแสดงจุดยืนในการคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยอื่นๆ ออกนอกระบบราชการ การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบนั้น ไม่ใช่คำตอบของระบบการศึกษา ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาทางการศึกษาแต่อย่างใด กลับเป็นการซ้ำเติมปัญหา และสร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้ยิ่งห่างไกลกว่าเดิม ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้คณะบุคคลบางกลุ่มเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในมหาวิทยาลัย โดยขาดระบบในการตรวจสอบถ่วงดุล 4. ขอเสนอให้รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการดำเนินการสรุปบทเรียน ข้อดี-ข้อเสีย และผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร พนักงานมหาวิทยาลัยตลอดจนพี่น้องประชาชน ภายหลังจากการที่ได้มีการนำมหาวิทยาลัยหลายแห่งออกนอกระบบ ในยุคเผด็จการคมช. เมื่อปีพ.ศ. 2551 การนำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ออกนอกระบบเมื่อ ปีพ.ศ. 2541 และการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 5. ขอสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งมีเสรีภาพทางวิชาการ ภายใต้การอุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาล ขอให้มีการกำหนดว่า "การศึกษาเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้ประชาชนเข้าถึงอย่างเทียม ฟรีตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาตรี รวมทั้งระบบการศึกษาทางเลือกอื่นๆ" ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการประกันโอกาสทางการศึกษาของประชาชน ภาพโดย คุณากร เมืองเดช นศ.บุกสภา แก้ผ้า ร้องเลื่อนพิจารณา 'ร่าง พ.ร.บ.ม.นอกระบบ' ในวันเดียวกัน เวลาประมาณ 10.30 น. แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบ และกลุ่มนักศึกษาอีกกว่า 50 คน จากหลากหลายสถาบัน รวมกลุ่มกันหน้ารัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือขอให้สภาผู้แทนราษฎรเลื่อนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพื่อให้มีการทบทวนเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว และขอให้นิสิตนักศึกษาของแต่ละสถาบันมีส่วนร่วมในการร่าง พ.ร.บ. ของมหาวิทยาลัยของตน โดยมีนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นผู้มารับหนังสือ ทั้งนี้ นอกจากการยื่นหนังสือแล้ว กลุ่มนักศึกษายังถอดเสื้อผ้าประท้วง โดยมีป้ายข้อความคัดค้าน ม.นอกระบบพันรอบตัวด้วย เพื่อสื่อว่า ม.นอกระบบทำให้ประชาชนหมดเนื้อหมดตัว พร้อมตะโกนว่า "ไม่มีตังค์เรียนแล้ว ค่าเทอมแพง" ด้านนายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาล สัญญากับผู้ยื่นหนังสือว่าจะขอให้สภาฯ เลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว กลุ่มนักศึกษาจึงยุติการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา ภาพขณะยื่นหนังสือค้านการผ่านร่าง พรบ.ดังกล่าว "อธิการมก."ยันม.นอกระบบทำตามขั้นตอน ทั้งนี้ คมชัดลึกออนไลน์ รายงานด้วยว่า รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามกระบวนการจนกระทั่ง ร่าง พรบ.มก. พ.ศ...ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งหาร่าง พรบ.มก.พ.ศ... มีปัญหาจริงสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็จะไม่เสนอไปยัง ศธ.เพื่อเสนอเข้าที่ประชุม ครม.แน่นอน อย่างไรก็ตาม กรณีที่แนวร่วมนิสิตนักศึกษาฯ ซึ่งออกมาคัดค้านครั้งนี้ระบุว่า ร่าง พรบ.มก. พ.ศ.. ไม่ผ่านประชาคมนักศึกษา มก.ก่อนนั้น ยืนยันว่ามหาวิทยาลัยดำเนินการทุกขั้นตอนแล้ว และก่อนหน้าที่ประชาคมนักศึกษาเคยขอให้ไปชี้แจงเรื่องดังกล่าว มหาวิทยาลัยก็ได้ไปชี้แจงแล้วเช่นกัน ขณะเดียวกัน ก็ได้รายงานการดำเนินการทุกอย่างต่อสภา มก.รวมถึงนายกสภา มก.รับทราบด้วย จากนี้ก็เป็นขั้นตอนในการพิจารณาร่าง พรบ.มก. พ.ศ...ในที่ประชุมสภาฯ "นักศึกษาเคยขอให้เราไปชี้แจงก็ได้ชี้แจงไปแล้ว ทุกครั้งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยก็ได้พยายามทำความเข้าใจและชี้แจงมาตลอด ซึ่งผมเข้าใจดีว่าการจะทำอะไรก็ตามไม่มีทางที่จะมีคนเห็นด้วย 100% ต้องมีบางส่วนไม่เห็นด้วยแต่ต้องดูด้วยว่าจำนวนคนที่ไม่เห็นด้วยจำนวนเท่าไร แต่ผมก็ยืนยันทำทุกอย่างถูกต้องแล้วถ้าผิดพลาดอะไร สกอ.ก็จะต้องส่งมาแก้ไขแต่แรก ส่วนการที่มีนักศึกษาออกมาคัดค้านก็เข้าใจดี ไม่เป็นไรเพราะทุกคนมีสิทธิ์ที่จะแสดงออก แสดงความคิดเห็นได้"อธิการ มก.กล่าว
แถลงการณ์คัดค้านการผ่านร่างพระราชบัญญัตินำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เมื่อผู้หญิงทั่วโลกลุกขึ้น 'เต้น' เพื่อเรียกร้องยุติความรุนแรงต่อสตรี Posted: 14 Feb 2013 04:26 AM PST ในวันรณรงค์สากลเพื่อยุติความรุนแรงต่อสตรี ผู้หญิงทั่วโลกจากฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียถึงซานฟรานซิสโก ได้ลุกขึ้นเต้น เพื่อรณรงค์ "One Billion Rising" บอกโลกว่าผู้หญิงนับล้านจะไม่ยอมทนกับการถูกกระทำอีกต่อไป
14 ก.พ. 56 - ผู้หญิงทั่วโลกได้รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรี ด้วยการรวมกลุ่มและลุกขึ้นเต้นในวันวาเลนไทน์เพื่อเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ภายใต้แคมเปญ One Billion Rising ที่ริเริ่มโดยนักเขียนบทละครและนักเคลื่อนไหวสิทธิสตรี อีฟ เอนส์เลอร์ ซึ่งเขียนบทละครชื่อดัง "The Vagina Monologue" โดยมีกลุ่มผู้หญิงทั่วโลกในหลายประเทศได้เข้าร่วมในการรณรงค์ครั้งนี้ จากสถิติของสหประชาชาติเผยว่า ผู้หญิง 1 ใน 3 คนเคยประสบความรุนแรงในช่วงชีวิต และกว่าครึ่งของผู้หญิงทั้งหมดเคยถูกทำร้ายร่างกายจากแฟนหรือสามี ในอเมริกา มีสถิติว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั้งหมดถูกฆาตกรรมโดยแฟนหรือสามี ส่วนในแอฟริกาใต้ มีสถิติว่าผู้หญิงถูกฆาตกรรมทุกๆ 6 ชั่วโมงโดยแฟนหรือสามี นอกจากนี้ มีรายงานว่า ราวร้อยละ 40-50 ของสตรีในยุโรป ถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน ส่วนในสหรัฐอเมริกา มีเด็กผู้หญิงวัย 12-16 ปี ถึงร้อยละ 83 ถูกล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียน การรณรงค์ One Billion Rising มีแผนจะดำเนินการใน 192 ประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ โดยที่ผ่านมา มีการรณรงค์แล้วในฮ่องกง ซานฟรานซิสโก อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ แคมเปญ One Billion Rising ที่ซานฟรานซิสโก การเต้นรณรงค์ของเด็กนักเรียนในกรุงเดห์ลี การเต้นรณรงค์ของกลุ่มคนงานชายฟิลิปปินส์ในฮ่องกง จากองค์กร Migrante การเต้นรณรงค์ของคนงานโรงงานหญิง Cavite ในฟิลิปปินส์ การเต้นรณรงค์ในบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย การเต้นรณรงค์ของคนงานหญิงชาวฟิลิปปินส์ในฮ่องกงของกลุ่ม Migrante-HK, Gabriela HK และอื่นๆ การรณรงค์ของนักเรียนสตรีในโรงเรียนมัธยม Josefa Jara Martinez ในฟิลิปปินส์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น