โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ถกปัญหา ‘โรงแป้งมันน้ำพอง’ วุ่น ชาวบ้านล้ม! คก.ตรวจสอบการรับฟังความคิดเห็น

Posted: 02 Feb 2013 10:39 AM PST

กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว ขอนแก่น รื้อคณะกรรมการตรวจสอบกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ชี้หน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ครบองค์ประกอบ เตรียมถกใหม่อีกครั้ง 13 ก.พ.นี้

 
 
เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2556 เวลา 14.00 น.ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น จำนวนกว่า 20 คน เข้าประชุมร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่นเพื่อเจรจาหาทางออกกรณีคัดค้านการอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานแป้งมันสำปะหลังของบริษัท ขอนแก่นสตาร์ชจำกัด ในพื้นที่บ้านหนองหารจาง ต.ลำน้ำพอง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
 
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมาผู้ว่าราชจังหวัดขอนแก่นได้สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อมาตรวจสอบตามข้อเรียกร้องของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาวที่เดินขบวนมาชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น เพื่อคัดค้านการตั้งโรงงานดังกล่าว ด้วยเหตุว่าอาจเกิดปัญหาด้านมลพิษ และจะเกิดการแย่งใช้น้ำจากห้วยเสือเต้น ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ชาวบ้านใช้ในการเกษตร จึงเกรงว่าอาจทำให้ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก โดยกลุ่มอนุรักษ์ฯ ได้เข้าเจรจาและยื่นหนังสือให้กับผู้ว่าฯ
 
ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวระบุข้อเรียกร้อง 3 ข้อคือ 1.ให้ตรวจสอบกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ขอนแก่นสตาร์ช จำกัด 2.ให้ตรวจสอบการที่ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย สำนักชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน อนุญาตให้โรงงานแป้งมันใช้น้ำจากกระบวนการผลิตจากห้วยเสือเต้น ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ และ 3.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นลงตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวทีเริ่มขึ้นโดยนายวินัย สิทธิมณฑล รองผู้ว่าฯ ในประธานคณะกรรมการตรวจสอบกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กล่าวเปิดเวทีชี้แจงเหตุผลและความเป็นมาของการประชุมในครั้งนี้ โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้เข้าร่วมเต็มห้องประชุม
 
นายบุญช่วย โสสีทา ประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว กล่าวในที่ประชุมว่า ขอให้ยกเลิกคณะกรรมการฯ ชุดที่กำลังประชุมอยู่นี้ พร้อมให้เหตุว่าคณะกรรมชุดดังกล่าวนี้ มีองค์ประกอบจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องไม่ครบถ้วน และชี้แจงว่าในคณะกรรมการชุดนี้ ต้องมีตัวแทนจากกรมชลประทานและให้มีตัวแทนจากสำนักงานสิ่งแวดล้อม 10 ร่วมอยู่ในชุดนี้ด้วย เพราะโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย สำนักชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน ไม่มีอำนาจอนุญาตให้โรงงานแป้งมันใช้น้ำในกระบวนการผลิตจากห้วยเสือเต้น
 
นายบุญช่วย กล่าวด้วยว่า ห้วยเสือเต้นเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติและมีมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำต้องปฏิบัติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พ.ย.52 เรื่อง ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ส.ค.43 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ส่วนสำนักงานสิ่งแวดล้อม 10 นั้นเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง
 
การเจราโต้ตอบกันจากทั้งสองฝ่ายเป็นเวลากว่า 15 นาที จึงได้ข้อสรุป จากนายวินัย ประธานในเวที โดยมีคำสั่งว่าให้ยกเลิกคณะกรรมการชุดดังกล่าว และให้มีการตั้งคณะกรรมการฯ ชุดใหม่โดยมี ตัวแทนจากกรมชลประทานและตัวแทนจากสำนักสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมอยู่ด้วย
 
 
 
จากนั้นที่ประชุมได้มีการเจรจา เพื่อหาวาระการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนชุดใหม่ อีกครั้งในวันที่ 13 ก.พ.56 เวลา 13.00 น. 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน ประณามการไล่รื้อ-ขับไล่คนไร้บ้านตรอกสาเก

Posted: 02 Feb 2013 08:47 AM PST

เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 56 ที่ผ่านมาสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนออกแถลงการณ์ประณามคำสั่งของ นายจุลนพ นุชนารถ ผู้อำนวยการเขตพระนคร กรณีไล่รื้อและขับไล่คนไร้ที่อยู่บริเวณตรอกสาเก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
แถลงการณ์ประณามคำสั่งของ นายจุลนพ นุชนารถ ผู้อำนวยการเขตพระนคร กรณีไล่รื้อและขับไล่คนไร้ที่อยู่บริเวณตรอกสาเก
 
สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธารณประโยชน์)
 
เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 เวลาก่อนเที่ยง มีกองกำลังจ้าหน้าที่เทศกิจและเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร อ้างว่ามาจากสำนักงานเขตพระนคร โดยคำสั่งการการนำของ นายจุลนพ นุชนารถ ผู้อำนวยการเขตพระนคร ที่เพิ่งย้ายมารับตำแหน่งใหม่เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยอ้างว่ามีผู้ร้องเรียน ซึ่งต่อมาทราบชื่อภายหลังว่า "อารี นักดนตรี" อดีตศิลปินเพลงและนักแต่งเพลงอาวุโส ซึ่งมีบ้านพักอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เป็นผู้ร้องเรียนเข้าไป 
 
นายจุลนพ นุชนารถ ในฐานะหัวหน้าเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ ยังมิได้มีมาตรการเจรจาหรือมาตรการใดใดรองรับกรณีขับไล่และไล่รื้อดังกล่าว ประกอบกับในบริเวณดังกล่าวมีหญิงชราชาวไทยอย่างน้อง 2 คน ที่มีภูมิลำเนาและเกิดเติบโตพักอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ป่วยหนักนอนพักรักษาตัวอยู่ในบริเวณใกล้เคียง 
 
การลงพื้นที่พร้อมด้วยกองกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจและเจ้าพนักงานของสำนักงานเขตพระนครจำนวนมาก ก่อให้เกิดความหวาดกลัวส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยอย่างรุนแรง อีกทั้งการดำเนินการโดยข้ามขันตอนของการเจรจาต่อรอง ตลอดจนการไม่มีมาตรการใดใดในการรองรับและเยียวยาให้แก่ผู้ที่อาศัยหลับนอนในพื้นที่ดังกล่าว เป็นการกระทำผิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 54 และ มาตรา 55 
 
สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน(องค์กรสาธารณประโยชน์) ขอประนามการกระทำดังกล่าว และขอเรียกร้องให้ยุติการดำเนินการใดใด จนกว่าจะมีการเจรจาโดยเปิดเผย โดยมีตัวแทนจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนสื่อมวลชน และต้องมีการแสดงมาตรการเยียวยาที่ชัดเจนและเป็นธรรมให้แก่ผู้เดือดร้อน จนเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเสียก่อน
 
 ประกาศมา ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556
 
สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธาณประโยชน์)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวสะเอียบชูป้ายไม่ต้อนรับ "ปลอดประสพ" ค้านสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

Posted: 02 Feb 2013 08:27 AM PST

ชาวสะเอียบกว่าร้อยคน ชูป้ายไล่ปลอดประสพออกไป และทำพิธีพรมน้ำมนต์ไล่วิญญาณปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ค้านสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2 ก.พ. 56 - จากการที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย กบอ. ได้เดินทางมายังจังหวัดแพร่ เพื่อมอบนโยบายการจัดการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟ จังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียง ที่ห้องประชุม ชั้น 2 ศาลากลาง ในเวลา 15.00 น.
 
ขณะที่ชาวบ้านสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ได้ทราบข่าวการมาของนายปลอดประสพ และเกรงว่านายปลอดประสพ จะแอบเข้าไปสำรวจดูจุดสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) ตามแผนงานที่ กบอ.และนายปลอดประสพได้เสนอให้ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาให้บริษัทข้ามชาติทั้ง 24 บริษัท มาทำการประมูลในวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ที่จะถึงนี้
 
นายวิชัย รักษาพล ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อนบ้านดอนชัย หมู่ที่ 1 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า "พวกเราทราบข่าวว่านายปลอดประสพ จะมาเมืองแพร่ เราจึงมาเตรียมการขับไล่ ดวงวิญญาณของนายปลอดประศพให้ออกไปไกลๆ อย่าได้มากินป่าสักทองของคนไทยทั้งชาติเลย พี่น้องชาวสะเอียบได้ร่วมกันเผานายปลอดประสพไปแล้วเมื่อปีที่แล้ว วันนี้ทราบข่าวว่านายปลอดประสพจะมาเมืองแพร่เราจึงมาเตรียมการขับไล่ดวงวิญญาณของนายปลอดประสพให้ไปไกลๆ" นายวิชัยกล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายปลอดประสพ มีแผนที่จะเข้าไปดูจุดหัวงานที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และ เขื่อนยมล่าง ที่อยู่ไม่ห่างกัน แต่ได้รับรายงานว่าชาวบ้านสะเอียบได้ไปปิดล้อมพื้นที่ไว้หมดแล้ว จึงทำให้คณะของนายปลอดประสพ ยกเลิกแผนงานที่จะเข้าไปดูจุดสร้างเขื่อน ดังกล่าว
 
นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อน 4 หมู่บ้าน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า "ชาวบ้านต้องการมาแสดงจุดยืนให้เห็นว่า เราไม่ต้องการเขื่อนแก่งเสือเต้น รวมทั้งเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง เพราะกระทบกับป่าสักทองกว่า 24,000 ไร่ และต้องอพยพชาวสะเอียบอีกกว่าพันครอบครัว พวกเรากว่า 5,000 คนต้องเดือดร้อง และอยากให้รัฐบาลใช้แนวทางการจัดการลำน้ำสาขาทั้ง 77 ลำน้ำสาขาของแม่น้ำยม ซึ่งจะกักเก็บน้ำได้มากกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้น ถึง 3 เท่า ไม่กระทบต่อชุมชน และกระทบต่อป่าไม้ธรรมชาติน้อยมาก เพราะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็ก ซึ่งกระจายอยู่ทั่วลุ่มน้ำยม และจะยืดหยุ่นต่อการรับน้ำฝนที่ตกกระจายทั่วทั้งลุ่มน้ำ หากเป็นเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง ก็จะรับน้ำได้เพียง 11-12 ลำน้ำสาขาเท่านั้น อีก 65-66 ลำน้ำสาขาของแม่น้ำยมก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วม ในลุ่มน้ำยมได้อยู่ดี" นายสมมิ่ง กล่าว
 
ชาวบ้านสะเอียบได้กระจายกันอยู่ 4 จุด ทั้งจุดหัวงานเขื่อนแก่งเสือเต้น จุดหัวงานเขื่อนยมล่าง (สวนป่าแม่แฮด) จุดทางเข้าหล่มด้ง ซึ่งเป็นเส้นทางที่มาจาก อ.งาว  จ.ลำปาง และจุดแก่งเสือเต้น ที่ที่มีลานจอดเฮลิค็อปเตอร์ โดยใช้โทรศัพท์สื่อสานกัน อีกทั้งมีมอเตอร์ไซต์ และรถปิ๊คอับ คอยวิ่งประสานงานกันตอลดเวลา เพราะแต่ละจุดห่างกันถึง 5-10 กิโลเมตร และได้นำกล่องกระดาษมาเขียนเป็นป้ายขับไล่นายปลอดประสพ อาทิ "ปอดปะศพออกไป" "ไอ้ปลอดกูไม่กลัวมึง" "ปลอดปะสพ นักทำลายป่า ค้าเสือ" "ปอดปะศพ นรกสำหรับแวดล้อม" เป็นต้น
 
ด้านนายวุฒิชัย ศรีคำภา แกนนำกลุ่มเยาวชนตะกอนยม ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนลูกหลานชาวสะเอียบ ได้กล่าวว่า "พวกเราลูกหลานชาวบ้านสะเอียบเห็นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย เดือดร้อนจากภัยเขื่อน เราก็ไม่นิ่งนอนใจ ผมได้ประสานลูกหลานชาวสะเอียบผ่าทางเครือข่าย Facebook ที่พวกเราตั้งกันขึ้นมา เพื่อมาช่วยพ่อแม่ปู่ย่าตายายของพวกเราในการต่อต้านเขื่อน ที่เป็นภัยคุกคามชุมชนสะเอียบของเรามาช้านาน เราช่วยกันเตรียมกล่องกระดาษและปากกาเมจิกมาช่วยกันเขียนป้ายขับไล่วิญญาณนายปลอดประสพ ที่เข้ามาคุกคามป่าสักทอง เข้ามาคุกคามชุมชนของพวกเรา" นายวุฒิชัย กล่าว
 
เวลาประมาณ 14.22 น. ได้มีฮีลีค็อบเติอร์ บินผ่านบริเวณหัวงานเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่ชาวบ้านสะเอียบ เฝ้าเวนยามอยู่ ชาวบ้านต่างออกมาชูป้ายเพื่อบอกกล่าวถึงการแสดงการคัดค้านเขื่อน และจากการตรวจสอบพบว่าเป็น ฮ.ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติที่บินสำรวจไฟป่า 
 
ชาวบ้านสะเอียบได้จัดเวรยามทั้ง 4 จุด จนถึงเวลา 15.30 น. จึงได้ทำพิธีพรมน้ำมนต์ขับไล่ดวงวิญญาณนายปลอดประสพ และแยกย้ายกลับชุมชนไป หลังจากได้รับการประสานงานว่านายปลอดประสพได้ร่วมประชุมกับส่วนราชการที่ห้องประชุม ชั้น 2 ศาลากลาง จ.แพร่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักศึกษากลุ่ม “เสรีธรรมศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย” และ “ประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน”

Posted: 02 Feb 2013 08:13 AM PST

"FREE SOMYOT"

ชาวสะเอียบยื่นหนังสือค้านการสร้างเขื่อน ถึงนายก-บริษัทข้ามชาติ

Posted: 02 Feb 2013 08:04 AM PST

 
 
 
 
 
 
เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 56 ที่ผ่านมาตัวแทนชาวบ้าน คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ประมาณ 40 คน นำโดยนายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อน 4 หมู่บ้าน ได้ยื่นหนังสือคัดค้านแผนการทำลายป่าโดยการสร้างเขื่อน ถึง นายกรัฐมนตรี และ 24 บริษัทข้ามชาติ และอีก 1 ฉบับ ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ที่ศาลากลาง จ.แพร่ โดยมีนายสมนึก เพชรรัตน์ ป้องกันจังหวัดแพร่เป็นผู้รับหนังสือ โดย มี พันตำรวจเอกบัญญัติ เนตรสุวรรณ ผู้กำกับการสถานีตำรวจ จังหวัดแพร่ และสื่อมวลชนเป็นพยาน
 
โดยมีนิติกร นส.รัชนีวรรณ ปิ่นใจ ลงนาม เลขรับ 780 วันที่ 1 ก.พ. 2556 เวลา 12.40 น.
 
โดยรายละเอียดของหนังสือมีดังต่อไปนี้..
 
ศูนย์ประสานงานชุมชน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ 54120
1  กุมภาพันธ์  2556 
 
เรื่อง ขอให้ยุติแผนการทำลายป่าโดยการสร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) และเขื่อนแม่วงก์
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ 24 บริษัทข้ามชาติ
 
จากการที่รัฐบาลได้เร่ขายแผนการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ให้กับ 24 บริษัทข้ามชาติ ซึ่งในแผนการจัดการน้ำดังกล่าว ได้หมกเม็ดการทำลายป่าไว้ในนั้นด้วย อาทิ แผนการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ จะทำลายป่า 41,750 ไร่ แผนการสร้างเขื่อนยมบน และเขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) จ.แพร่ ซึ่งก็คือเขื่อนแก่งเสือเต้นแยกออกเป็น 2 เขื่อน ก็จะทำลายป่าไม่น้อยไปกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้น และแผนการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ก็จะทำลายป่า 13,000 ไร่ 
 
แผนการจัดการน้ำดังกล่าว ได้หมกเม็ดการทำลายป่าไว้อย่างมหาศาล อันจะนำไปสู่ปัญหาอุทกภัย และภัยพิบัติ ตามมาอย่างรุนแรงขึ้น ดั่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าปัจจุบันปัญหาโลกร้อนคุกคามโลกอย่างต่อเนื่อง จึงควรยุติการทำลายป่าซึ่งเหลืออยู่น้อยมากแล้ว
 
คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน 4 หมู่บ้าน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ จึงขอเรียกร้องให้ รัฐบาล และ 24 บริษัทข้ามชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาการทำลายป่าและปัญหาโลกร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยกลุ่มราษฎรรักป่าขอเสนอให้รัฐบาลและ 24 บริษัทข้ามชาติ ได้ยุติแผนการทำลายป่า ยกเลิกแผนการสร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ เขื่อนยมบน และเขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) จ.แพร่ และเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ เป็นต้น
 
หากยังผลักดันการทำลายป่าต่อไป รัฐบาล ก็จะถูกตราหน้าว่าเป็น รัฐบาลนรกสำหรับสิ่งแวดล้อม และ 24 บริษัทข้ามชาติ ก็ต้องถูกตราหน้าว่าเป็นบริษัท ทำลายป่า ธุรกิจของบริษัทของท่านก็จะถูกประณามและถูกตราหน้าว่าเป็นบริษัทนรกสำหรับสิ่งแวดล้อม เช่นกัน
 
คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน 4 หมู่บ้าน ขอเสนอเหตุผลที่ไม่สมควรสร้างเขื่อน และขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง โดยไม่ต้องสร้างเขื่อน ดังต่อไปนี้
เหตุผล 8 ประการที่ไม่สมควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
 
1. ผลการศึกษาของ องค์การอาหารและการเกษตรโลก (FAO.) ด้วยเหตุผลเรื่องการป้องกันน้ำท่วม เขื่อนแก่งเสือเต้น สามารถ เยียวยาปัญหาน้ำท่วมได้ เพียง 8 เปอร์เซ็นต์ 
 
2. ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (TDRI.) ด้วยเหตุผลทาง เศรษฐศาสตร์ ได้ข้อสรุปว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นไม่คุ้มทุน 
 
3. ผลการศึกษาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา ที่มีข้อสรุปว่าหากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะกระทบต่อระบบนิเวศน์ของอุทยาน แห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก หากเก็บผืนป่าที่จะถูกน้ำท่วมไว้จะมีมูลค่าต่อระบบนิเวศน์ และชุมชนอย่างมาก 
 
4. การศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลทางด้าน ป่าไม้ สัตว์ป่า ที่มีข้อสรุปว่า พื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นทั้งอุทยานแห่งชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งป่าสักทองธรรมชาติ ผืนเดียวที่เหลืออยู่ ดังนั้น ควรเก็บรักษาไว้ เพื่ออนาคตของประชาชนไทยทั้งประเทศ 
 
5. ผลการศึกษาของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยเหตุผลในการจัดการน้ำ ยังมีทางออก และทางเลือกอื่น ๆ อีกหลายวิธีการ ที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น 
 
6. ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เสนอ 19 แผนงานการจัดการน้ำแบบบูรณาการ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม ได้อย่างเป็นระบบทั้งลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น 
 
7. ผลการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี ได้ชี้ชักว่า บริเวณที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ตั้งอยู่แนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก คือ รอยเลื่อนแพร่ ซึ่งยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเสี่ยงอย่างมากที่จะสร้างเขื่อนใกล้กับรอยเลื่อนของเปลือกโลก เสมือนหนึ่งเป็นการวางระเบิดบนหลังคาบ้านของคนเมืองแพร่
 
8. ผลการศึกษาของโครงการพัฒนายุทธศาสตร์ทางเลือกนโยบายการจัดการลุ่มน้ำยม (SEA) ชี้ให้เห็นว่ามีทางเลือกมากมายในการจัดการน้ำ ในลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เช่น การทำทางเบี่ยงน้ำเลี่ยงเมือง การทำแก้มลิง การพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น
 
แนวทางแก้ไขปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม 12 ข้อ
 
1.ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ รักษาป่าที่เหลืออยู่ ป้องกันการบุกรุกป่า ให้ป่าซับน้ำไว้เป็นเขื่อนถาวรและยั้งยืน และทำหน้าที่เก็บคาร์บอลช่วยลดโลกร้อน รวมทั้งฟอกอากาศให้ออกซิเจนแก่มวลมนุษยชาติ
 
2.รักษาและพัฒนาป่าชุมชน ทุกชุมชนควรมีป่าชุมชน ไว้ใช้สอย เก็บเห็ด ผัก หน่อไม้ สมุนไพร เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของชุมชน รักษาป่าอนุรักษ์ โดยเฉพาะป่าอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต้องรักษาไว้อย่างเข้มงวด ห้ามมิให้พัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่กระทบต่อป่าและสัตว์ป่า เช่น โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง ที่ผ่าใจกลางอุทยานแห่งชาติแม่ยม รวมทั้งเขื่อนแม่วงก์ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นต้น 
 
3.ปลูกต้นไม้เพิ่ม โดยเฉพาะในเมือง สร้างพื้นที่สีเขียวให้กับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค และ ประเทศชาติ ทุกคน ทุกชุมชน ช่วยกันทำได้ ช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย ยุติการตัดถางป่าเพื่อปลูกต้นไม้สร้างภาพไปวันๆ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ ควรปล่อยให้ป่าได้ฟื้นสภาพเอง ซึ่งจะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากกว่า 
 
4.พัฒนาระบบภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนไหนรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อตัวเองและเพื่อชุมชนอื่น ควรได้รับการสนับสนุน ชุมชนใดไม่มีศักยภาพในการรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ควรให้การสนับสนุน เป็นชุมชนพี่น้องหนุนช่วยกัน
 
5.ฟื้นฟูระบบเหมืองฝาย พัฒนาฝายดักตะกอน ฝายชะลอน้ำ ฝายกักเก็บน้ำ ให้ทั่วทุกพื้นที่ที่มีศักยภาพ
 
6.เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำตามลำน้ำสาขา พัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็ก ทั้ง 77 ลำน้ำสาขา ของแม่น้ำยม ซึ่งจะกักเก็บน้ำได้มากกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นถึง 3 เท่า
 
7.ทำแหล่งรับน้ำหลากไว้ทุกชุมชน โดยกรมทรัพยากรน้ำได้สำรวจไว้แล้ว 395 แหล่ง เก็บน้ำได้มากกว่า 1,500 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งเก็บน้ำได้เพียง 1,175 ล้าน ลูกบาศก์เมตร แต่ใช้งบเพียง 4,000 กว่าล้านบาท น้อยกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นถึง 3 เท่า
8.พัฒนาโครงการ หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งแหล่งน้ำ หนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งน้ำ ทั่วทั้งลุ่มน้ำยม
 
9.สนับสนุนการจัดการน้ำระดับครัวเรือน และระดับชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้แก่ ฝายต้นน้ำ ฝายทดน้ำ ฝายกักเก็บน้ำ ขุดบ่อ หรือ สระน้ำในไร่นา รวมทั้งอนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบเหมืองฝายที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น จะสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้าน และชุมชน อย่างเป็นจริง และใช้งบประมาณน้อยกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
 
10.กระจายอำนาจและงบประมาณให้กับชุมชนท้องถิ่น ในการวางแผนระบบการจัดการน้ำโดยชุมชน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและระบบการจัดการน้ำของชุมชนท้องถิ่น และให้สิทธิและอำนาจการจัดการน้ำแก่ชุมชนท้องถิ่น โดยมีกฎหมายรองรับ
 
11.ทบทวนนโยบายการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ และส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอายุสั้น และเลือกปลูกพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อลดการบุกรุกพื้นที่ป่า และลดปริมาณการใช้น้ำในการทำเกษตรกรรมนอกฤดู
 
12.ส่งเสริมระบบการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับภูมิสังคม สนับสนุนโฉนดชุมชน สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน ยุติการขับไล่ชุมชนออกจากป่า สนับสนุนชุมชนที่อยู่กับป่า ให้รักษาป่า รักษาต้นน้ำ รวมทั้งจัดการผังเมืองให้สอดคล้องกับธรรมชาติและภูมิสังคม
 
คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน 4 หมู่บ้าน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาล และ 24 บริษัทข้ามชาติ จะได้ตระหนักในปัญหาการทำลายป่า อันจะนำไปสู่ปัญหาโลกร้อน และยุติการผลักดันแผนหมกเม็ดการทำลายป่า ยุติการประมูล สัมปทานโครงการทำลายป่า ดังกล่าว และหันมาใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชน และแนวทาง 12 ประการในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง
 
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพฯ อีเลคโทรลักซ์-มอลลิเก้ ร้องทูตสวีเดน-เพื่อไทย แก้ปัญหาเลิกจ้าง

Posted: 02 Feb 2013 02:58 AM PST

 สหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ - มอลลิเก้ 50 คน ร้องทูตสวีเดนสร้างมาตรการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานประกอบการและเคารพสิทธิสหภาพแรงงานในบริษัทสวีเดนที่ดำเนินธุรกิจไทย หลังคนงานอีเลคโทรลักซ์ถูกเลิกจ้าง 129 คน พร้อมวอนเพื่อไทยเข้าช่วย

การชุมนุมของสหภาพอีเลคโทรลักซ์และมอลลิเก้หน้าสถานทูตสวีเดน

1 ก.พ.56 เวลา 10.00 น. ที่สถานทูตสวีเดน ประจำประเทศไทย อาคารแปซิฟิก เพลส 1 ใกล้สถานีรถไฟฟ้านานา  สหภาพแรงงาน อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย และสหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลท์แคร์ ประมาณ 50 คน ชุมชุมเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องต่อถึงรัฐบาลสวีเดนผ่านเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย ให้เข้ามาตรวจสอบการเลิกจ้างและการละเมิดสิทธิแรงงานของ 2 บริษัทนี้ซึ่งเป็นบริษัทของนายทุนชาวสวีเดน โดยมีนายแอนเดรียส แมกนุสสัน เลขานุการโทฝ่ายการเมืองมารับหนังสือ พร้อมรับปากจะส่งหนังสือนี้ถึงรัฐบาลสวีเดน

หนังสือดังกล่าวระบุว่า พวกเราขอร้องเรียนปัญหาพฤติกรรมการละเมิดทางด้านแรงงานที่ไม่อาจยอมรับได้ของบริษัทสวีเดนที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยทั้งบริษัทอีเลคโทรลักซ์และบริษัทมอลลิเก้เฮลท์แคร์ บริษัทสวีเดนทั้ง 2 ได้พยายามที่จะล้มล้างสหภาพแรงงานโดยการเลิกจ้างสมาชิกและคณะกรรมการสหภาพแรงงาน รวมถึงผู้แทนการเจรจา และบริษัทปฏิเสธที่จะเข้าร่วมเจรจากับสหภาพแรงงานเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง

ในหนังสือได้กล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมว่า บริษัทอีเลคโทรลักซ์เป็นบริษัทขนาดใหญ่ในโลกอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเดือน ม.ค.56 เลิกจ้างสมาชิกและคณะกรรมการสหภาพแรงงาน รวมถึงผู้แทนเจรจาจำนวนทั้งหมด 129 คน ส่วนบริษัทมอลลิเก้เฮลท์แคร์ เมื่อเดือน ก.ย.54 เลิกจ้างสมาชิกและกรรมการสหภาพแรงงาน รวมถึงผู้แทนเจรจาทั้งหมด 22 คน บริษัทปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ให้บริษัทรับนักสหภาพแรงงานกลับเข้าทำงาน โดยนำเรื่องเข้าสู่ศาลเพื่อฟ้องล้มคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โดยที่บริษัทรู้ดีว่าคนงานไม่มีความสามารถทางการเงินในระหว่างสู้คดีอยู่ในศาล

"สวีเดนเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านสังคมประชาธิปไตยและการเคารพสิทธิสหภาพแรงงาน ปัญหาการละเมิดโดยบริษัทสวีเดนในประเทศไทย ทำให้ประเทศสวีเดนเสื่อมเสียชื่อเสียงในฐานะแม่แบบประชาธิปไตยและสมาชิกขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD)" หนังสือเรียกร้องของทั้ง 2 สหภาพฯ ระบุ พร้อมทั้งร้องขอให้สถานทูตสวีเดนแจ้งข่าวดังกล่าวนี้ไปถึงรัฐบาลสวีเดนเพื่อเข้ามาตรวจสอบ และสร้างมาตรการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานประกอบการและเคารพสิทธิสหภาพแรงงานในบริษัทสวีเดนที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย รวมถึงร้องขอให้สถานทูตเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาโดยเร็วอีกด้วย

นายพินิจ ทวีสุข ตัวแทนพรรคเพื่อไทยรับหนังสือร้องเรียน

หลังจากนั้น เวลาประมาณ 12.00 น. กลุ่มคนงานทั้ง 2 สหภาพฯ ได้เดินทางไปชุมนุมที่หน้าสำนักงานใหญ่พรรคเพื่อไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เพื่อยื่นหนังสือขอให้ทางพรรคเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการถูกเลิกจ้างและละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยได้ส่งตัวแทนคือนายพินิจ ทวีสุข ที่ปรึกษากฎหมายของพรรคออกมารับหนังสือ พร้อมรับปากจะช่วยทำเรื่องร้องเรียนส่งถึงกระทรวงแรงงานอีกทาง

ทั้งนี้สหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ ได้ชุมนุมที่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ริมคลองเปรมประชากรหน้าทำเนียบรัฐบาลต่อเนื่องเป็นเวลา 9 วัน นับตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค.เป็นต้นมา

ภาพบรรยากาศ :

บริเวณหน้าสถานทูตสวีเดน ประจำประเทศไทย

บริเวณหน้าสำนักงานใหญ่พรรคเพื่อไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักกิจกรรมสังคมในสื่อใหม่ กับ สายลับในโลกข้อมูลข่าวสาร

Posted: 02 Feb 2013 01:30 AM PST

 

การสื่อสารเป็นการต่อสู้ทางความคิดที่สามารถผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ประหยัดเลือดเนื้อได้กว่าการใช้กำลังเข้าประหัตประหารกัน และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่มั่นคงกว่าเนื่องจากเข้าไปอยู่ในความคิดหรืออาจฝังลงสู่จิตใต้สำนึกในลักษณะของความนิยมชมชอบหรืออารมณ์ร่วมอย่างรุนแรงต่อเรื่องนั้นๆ   

สื่อใหม่เป็นช่องทางในการทำกิจกรรมทางสังคมในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน อินเทอร์เน็ต และสัญญาณโทรคมนาคม กลายเป็นเครื่องมือและสนามหลักในการทำกิจกรรม แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษามนุษย์ ดังสุภาษิตที่ว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" อย่างมิต้องสงสัย   และอาจจะดียิ่งขึ้นเมื่อใช้กับคนไทยๆ

อย่างไรก็ดีการใช้สื่อใหม่ก็มีข้อดีที่ประหยัดต้นทุนในการลงมือลงแรง ผู้ใช้สามารถแสดงความเห็นหรือส่งผ่านข้อมูลกิจกรรมต่างๆได้ง่ายและไม่เสียค่าใช้จ่ายจิปาถะ   การสื่อสารและเผยแพร่ความคิดและความรู้สึกสำนึกร่วมเกิดขึ้นรวดเร็วและสามารถส่งผ่าน ผลิตซ้ำได้ในเวลาไม่นาน    ความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุต่างๆน้อยลง   และด้วยความสามารถในการถ่ายทอดเหตุการณ์แบบทันทีทันใดได้ตลอดเวลาก็ลดความยุ่งยากให้กับชีวิตประจำวันของแต่ละคนที่มีภาระและเงื่อนไขไม่เหมือนกันได้   นักกิจกรรมไม่มีอัตลักษณ์ตายตัวสามารถเคลื่อนย้าย เปลี่ยนหน้ากากไปในหลายกิจกรรม ต่างความจำเป็นและคิดค้นรูปแบบให้เหมาะกับวาระและเป้าหมายเฉพาะเจาะจงได้

อย่างไรก็ดีสื่อใหม่ก็เรียกร้องให้นักกิจกรรมต้องใช้เวลา ความคิด และความรู้สึกร่วมไปกับประเด็นที่ตนจุดประเด็นขึ้นตลอดเวลาและต้องเกาะติดสถานการณ์เพื่อให้เกิดการถกเถียง หรือแสดงออกซึ่ง "ถูกที่ถูกเวลา" เป็นอย่างมาก   ทั้งนี้นักกิจกรรมอาจต้องมีความเข้าใจต่อระบบการสื่อสารของสื่อใหม่ที่ถูกออกแบบให้กักเก็บข้อมูลของผู้ใช้ไว้ในที่ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมผู้ใช้ การลบทุกอย่างออกจากเครื่องหรือบัญชีการใช้ ไม่ได้ทำให้ข้อมูลหายไป กลับกันได้ทำให้สำเนาของเราหายไป แต่ข้อมูลไปอยู่กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือแม้กระทั่งรัฐอยู่แล้ว   การทำกิจกรรมในสื่อใหม่ที่มีลักษณะแบบสื่อผสมต้องการความสามารถทางคอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบให้เหมาะกับลักษณะงานต่างๆ แม้ปัจจุบัน เฟซบุ๊ก ได้ทำให้ง่ายขึ้น แต่เมื่อใดที่ต้องการป้อมปราการของตนก็ต้องสร้างเว็บไซต์ของตน   กิจกรรมดังกล่าวต้องใช้งบประมาณทั้งในลักษณะการสร้าง การควบคุมให้กิจกรรมเดินไป และการแก้ไขปัญหาต่างๆ   และสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความสามารถเชิงศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ที่ดึงความสนใจให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจและรับรู้ได้ง่ายและซาบซึ้งตรึงใจ

ผลสำเร็จของกิจกรรมทางสังคมโดยใช้สื่อใหม่ อาจวัดได้จากความสัมพันธ์และผลสะเทือนระหว่างโลก ออนไลน์ กับ ออฟไลน์   ดังเช่น การใช้สื่อเรียกคนในโลกออนไลน์มาทำกิจกรรมในโลกจริง หรือกิจกรรมในโลกจริงถูกนำไปเผยแพร่อย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ แล้วอาจเกิดปรากฏการณ์เผยแพร่ความคิด ถกเถียง และสร้างกิจกรรมต่อเนื่อง ต่อยอดออกไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบ จนบางครั้งหาที่มาและต้นตอไม่เจอ   แต่จริงๆแล้วสามารถสืบย้อนได้ซึ่งเป็นประโยชน์ในเชิงการศึกษาประวัติศาสตร์การต่อสู้เคลื่อนไหวเพื่อถอดบทเรียน หาแนวทางในการทำงานอื่นๆ ที่มีหน้างานต่างกันไป

 

ด้วยคุณประโยชน์และเงื่อนไขทั้งหลายทำให้เกิดความพยายามในการเข้ามาจัดการกับสื่อใหม่และข้อมูลที่ไหลเวียนอยู่ในรูปแบบต่างๆ อาทิ

1)    การใช้เทคโนโลยี โดยอาศัยคนเขียนโปรแกรมกำหนดว่าจะปิดกั้น ติดตาม หรือเก็บข้อมูลใดบ้าง   โดย

2)    ทุนนิยมและการภาคเอกชนมีบทบาทหลัก โดยตลาดเป็นตัวชี้ว่าบรรษัทจะปฏิบัติตัวอย่างไรตามความนิยมและการตอบสนองของลูกค้าผู้ใช้บริการ เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัวของเฟซบุค  

3)    รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทั้งหลายโดยเฉพาะในช่วงที่ประกาศภาวะฉุกเฉินที่อำนาจในการกำกับเกิดจากกฎหมายและการประกาศใช้ของรัฐบาลนั้นๆ   

4)    รัฐกำกับโดยให้ชุมชนออนไลน์ทำตามกรอบ เช่น การให้นโยบายและขอความร่วมมือไปยังผู้ดูแลเว็บข่าว บอร์ด

5)    ปล่อยให้ชุมชนออนไลน์ปกครองกันเอง มีกติกาของตนเอง และบังคับกติกาด้วยการแบน ลบ หรือปิดกั้น

 

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ความร่วมมือระหว่างรัฐกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตและโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะนักกิจกรรม              ในหลายกรณีพบว่า กูเกิ้ล(บริการทั้งหลายมิใช่เพียงเสิร์ชเอนจิ้น)   สื่อเครือข่ายทางสังคม เช่น เฟซบุค หรือเว็บไซต์ชื่อดังจำนวนมาก ได้ทำการเก็บสะสมข้อมูล   แบ่งปันข้อมูล   และขุดค้นฐานข้อมูล   ร่วมกับหน่วยงานรัฐ   กลายเป็นฐานข้อมูลของบุคคลจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังมีเทคนิคอันแสนแยบคายในสร้างฐานข้อมูลของประชาชน ที่ไม่ต้องพึ่งการเซ็นเซอร์ความเห็นอันสุดแสนล้าหลังและสร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์องค์กรรัฐและเอกชน   ไม่ว่าจะเป็น

-          การยั่วยวนหรือเปิดสวรรค์ของผู้นิยมข้อมูลแบบสุดขั้วแล้วใช้โปรแกรมตามบุคคลที่เข้ามาใช้ต่อไปจนถึงตัวบุคคลนั้น ดังกรณีเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน

-          การทำให้ชนชั้นกลางเพลิดเพลินกับสื่อบันเทิงทั้งหลายซึ่งส่งต่อได้ง่าย เช่น ได้เวลาทีวี ผลิต เผยแพร่ซ้ำในเน็ต

-          การทำให้ชนชั้นกลางอิ่มเอมไปกับเรื่องเล่าของยายไฮและโรงงานปลากระป๋อง จนไม่อยากจะลุกมาสู้อะไรต่อ

-          สร้างสื่อดราม่าด้วยงบประมาณรัฐ ที่มุ่งปลุกระดมความรักชาติ ซึ่งหน่วยงานรัฐ กับ กอ.รมน. ให้การสนับสนุน

-          การทำมาหากินขององค์กรต่างๆเพื่อปลุกเร้าและแสดงออกถึงความนิยมเจ้าและรักชาติอย่างออกนอกหน้า (Commercializing Ultra-royalism) ผ่านมิวสิควีดีโอ สารคดี และการโฆษณาเสริมภาพลักษณ์   จนทำให้การแสดงความคิดเห็นวิจารณ์องค์กรเหล่านั้นโดนกดทับไปด้วยภาพลักษณ์ที่จงรักภักดีและน้อมนำฯ

-          รัฐจัดให้มีบริการที่ฟรีเพื่อทำให้ประชากรเข้าใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น ประชาชนเข้ามาสร้างฐานข้อมูลเองมากขึ้น

-          ฐานข้อมูลกลายเป็นสินค้าของบรรษัทเพราะสามารถนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์เพื่ออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดได้ และสามารถตกลงกับรัฐเพื่อแบ่งปันจัดเป็นข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของรัฐและรายชื่อเฝ้าระวังของฝ่ายความมั่นคง

-          การชะลอโครงการเพิ่มความเร็วสัญญาณโทรคมนาคม และสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ เพื่อชะลอการอัพโหลดและสร้างข้อมูลที่หลากหลายจากการผลิตสื่อของผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และแย่งช่องทาง

-          การขยายความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือต่อการกระทำของนักเขียนคนอื่น   เท่ากับ   สร้างบรรทัดฐานในการรับผิดของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และผู้ควบคุมเว็บไซต์ จนทำให้ระวังมากและบีบช่องทางกิจกรรมแคบลง

 

โทษทางอาญาของหมวดว่าด้วยความมั่นคงแห่งรัฐ ควรปรับใช้กับการกระทำที่รุนแรง และมีกระบวนการพิสูจน์ที่แน่นหนา และหลักฐานที่หนักแน่น   และผลกระทบมีลักษณะนามธรรม และกระทบรัฐในภาพใหญ่ ถ้าจะเป็นความผิดควรพิสูจน์ว่ากระทบต่อการรับรู้ของสาธารณะในลักษณะสร้างความตื่นตระหนกได้ หากทำในพื้นที่ส่วนตัว หรือวงแคบ ไม่ควรเป็นความผิด เพราะฉะนั้น เรื่องไม่จริงจังในพื้นที่ก้ำกึ่งว่าจะเป็นส่วนตัวหรือส่วนสาธารณะ ควรยกประโยชน์ให้ผู้กล่าวหา

ต่างจากการกระทำอาญาเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นในลักษณะปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชัง Hate Speech มีลักษณะสร้างความเกลียดหรือเจตนาให้เกิดขึ้นทันที และมีผลในชีวิตประจำวันอย่างเป็นรูปธรรมและแพร่หลาย และโทษไม่ได้หนักเมื่อเทียบกับความผิดต่อความมั่นคง   ควรแล้วหรือไม่ที่จะนำหลักความรับผิดอย่างเด็ดขาด Strict Liability มาใช้โดยไม่ต้องสร้างภาระในการนำสืบและพิสูจน์เจตนา เพื่อทำให้เกิดการควบคุมตนเองของผู้พยายามเผยแพร่ความเกลียดชังในสังคมให้มากขึ้น

นักกิจกรรมและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายก็เสมือนคนที่ติดอยู่ในกล้องโดยไม่รู้ตัว พอรู้ตัวแล้ววิ่งหลบออกไปจากกล้องก็ไม่ทันเสียแล้ว เพราะได้ถูกบันทึกข้อมูล และเผยแพร่ต่อไปไม่รู้จบ   ดังนั้นการต่อสู้ในสื่อใหม่ที่มีการกักเก็บข้อมูลมหาศาลและสามารถนำผลิตและใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จบ   จึงต้องสู้เพื่อไม่ให้สิ่งที่ไม่ได้เจตนาหรือเรื่องผ่อนคลาย หรือระบายความอึดอัดต่อรัฐและโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมของสังคม แต่ไม่ได้เหยียดหยามเกลียดชังใครหรือกลุ่มใดเป็นการเจาะจง   กลายเป็นเรื่องจริงจังและต้องรับผิดชอบทางกฎหมายไปเสียหมด   มากกว่าการต่อสู้ว่าไม่ควรกักเก็บข้อมูล   เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหลายออกแบบมาโดยกองทัพสหรัฐอเมริกาเพื่อจัดเก็บและรื้อฟื้นข้อมูลได้แม้โลกจะถูกถล่มราบไปด้วยสงครามนิวเคลียร์แล้วก็ตาม

บทความนี้มิได้ให้ข้อมูลเพื่อสร้างความกลัวเพราะโดยสภาพนักกิจกรรมก็ไม่มีความกลัวในการกระทำที่แสดงออกมาอยู่แล้ว แต่ให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรู้ว่าสื่อใหม่เป็นเทคโนโลยีที่เก็บสะสมข้อมูลอยู่ และได้สะสมมานานแล้ว หากเราจะสะดุดและหยุดการเคลื่อนไหวไปก็เท่านั้น    แนวทางการเคลื่อนไหว น่าจะเป็นการสู้ต่อให้ข้อมูลเหล่านั้นไม่อาจนำมาปรักปรำให้ต้องรับผิดตามกฎหมายเสียมากกว่า   และสู้เพื่อให้เราเข้าถึงข้อมูล เพื่อตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ ใคร/หน่วยงาน/องค์กรใดเก็บไว้   เก็บไว้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่   นานเท่าไหร่   และเราต้องได้รับแจ้งเมื่อใครเอาไปใช้เพื่อให้เราชี้แจงแก้ไขข้อมูลได้

 

 

 

ฮิวแมนไรท์วอท์ชรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรายปีของประเทศไทย

Posted: 02 Feb 2013 01:03 AM PST

ระบุรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อ 2554 ยังคงไม่ได้แก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงของประเทศไทย รวมถึงการยังไม่ได้เอาผิดกับผู้ที่รับผิดชอบต่อความรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2010 การละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก และการละเมิดสิทธิของผู้ลี้ภัย และแรงงานต่างด้าว

 
2 ก.พ. 56 - เว็บไซต์ hrw.org เผยแพร่รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประเทศไทย โดยมีรายละเอียดังต่อไปนี้
 
ประเทศไทย
 
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ยังคงไม่ได้แก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงของประเทศไทย รวมถึงการยังไม่ได้เอาผิดกับผู้ที่รับผิดชอบต่อความรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2010 การละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก และการละเมิดสิทธิของผู้ลี้ภัย และแรงงานต่างด้าว
 
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ยังคงไม่ได้แก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงของประเทศไทย รวมถึงการยังไม่ได้เอาผิดกับผู้ที่รับผิดชอบต่อความรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2010 การละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก และการละเมิดสิทธิของผู้ลี้ภัย และแรงงานต่างด้าว
 
การเอาผิดกับผู้ที่รับผิดชอบต่อความรุนแรงทางการเมือง
 
มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 90 คน และบาดเจ็บอีกมากกว่า 2,000 คนระหว่างการเผชิญหน้ากันทางการเมืองอย่างรุนแรงในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นผลจากการใช้กำลังอย่างไม่จำเป็น และเกินกว่าเหตุโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาล และการโจมตีโดยกลุ่มติดอาวุธที่ปฏิบัติการคู่กันไปกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เสื้อแดง" 
 
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2555 คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เสนอรายงานฉบับสุดท้ายที่กล่าวหาทั้งสองฝ่ายในเหตุรุนแรงเมื่อปี 2553 และชี้ว่า กองกำลังฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิต และการบาดเจ็บส่วนใหญ่ คอป. เรียกร้องรัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ให้ "ดำเนินการต่อการละเมิดกฎหมายของทุกฝ่าย โดยอาศัยกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะต้องเป็นธรรม เสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ"
 
ผลการไต่สวนสาเหตุการเสียชีวิตโดยศาลอาญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2555 พบว่า พัน คำกอง แนวร่วม นปช. ถูกยิงเสียชีวิตโดยทหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟแอร์พอร์ทลิงค์เมื่อคืนวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนรัฐบาลจะถูกกดดันโดยผู้บัญชาการทหารบก พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ให้ประกาศนโยบายว่า ทหารควรจะถูกกันไว้เป็นพยานในกระบวนการสอบสวน และได้รับความคุ้มครองจากการถูกดำเนินคดี
 
ขณะเดียวกัน สถานะของการสอบสวนเกี่ยวกับอาชญากรรมที่มีการกล่าวหาว่าเกิดจากการกระทำของ "กองกำลังชุดดำ" ที่เชื่อมโยงกับ นปช. ก็ยังไม่มีความชัดเจน บุคคลจำนวนมากที่ถูกกล่าวหาว่ารับผิดชอบต่อการใช้ความรุนแรงต่อทหาร ตำรวจ และกลุ่มต่อต้าน นปช. ได้รับการประกันตัว และเชื่อกันว่า บุคคลเหล่านี้จะไม่ถูกดำเนินคดี แกนนำ และแนวร่วม นปช. รวมทั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งในรัฐบาล และในรัฐสภา ปฏิเสธผลการศึกษาของ คอป. และยืนยันว่า ไม่มีกลุ่มติดอาวุธในการชุมนุมของ นปช. เมื่อปี 2553
 
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ดำเนินการเยียวยาให้กับทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงเมื่อปี 2553 อย่างไรก็ตาม เหยื่อ และครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากเกรงว่า เงินเยียวยาถูกเสนอมาเพื่อที่จะแลกกันกับการสอบสวนอย่างสมบูรณ์ และการรับพันธะในการนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ร่างพระราชบัญญัติการปรองดองแห่งชาติที่เสนอสู่รัฐสภาโดยสมาชิกพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2555มีข้อเสนอที่จะให้มีการนิรโทษกรรมอย่างกว้างขวางแก่กลุ่มการเมืองทุกฝ่าย นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และสมาชิกของกองกำลังฝ่ายความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับเหตุรุนแรงเมื่อปี 2553
 
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ตำรวจใช้แก๊สน้ำตา โล่ และกระบองผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลขององค์การพิทักษ์สยาม ซึ่งบุกเข้าใส่แนวของตำรวจ และขับรถบรรทุกฝ่าเครื่องกีดขวาง การปะทะกันดังกล่าวทำให้ผู้ชุมนุมอย่างน้อย 52 คน และตำรวจอย่างน้อย 29 คนได้รับบาดเจ็บ
 
เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพของสื่อมวลชน
 
ผลการศึกษาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพบว่า จำนวนการจำกุม และการพิพากษาลงโทษในความผิดฐานหมิ่นสถาบันกษัตริย์ลดจำนวนลงอย่างมากนับตั้งแต่ที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2554 ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2555ศาลอาญากรุงเทพฯ พิพากษายกฟ้องสุรภักดิ์ ภูไชยแสง แนวร่วมเสื้อแดง ในข้อหาหมิ่นสถาบันกษัตริย์ โดยระบุว่า อัยการไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของสุรภักดิ์ถูกใช้ในการโพสต์ข้อความที่ถือว่าหมิ่นสถาบันกษัตริย์บนเฟซบุ๊ค อนึ่ง กรณีของสุรภักดิ์ ซึ่งถูกจับกุมเมื่อเดือนกันยายน 2554 เป็นคดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์คดีแรกภายใต้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์
 
อย่างไรก็ตาม ทางการไทยยังคงใช้กฏหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นสถาบันกษัตริย์ภายใต้มาตรา 112 ของประมวลกฏหมายอาญา และพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในการปราบปราม และดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกมองว่าวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ 
 
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาว่า การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก และการลงโทษในกรณีการกระทำความผิดฐานหมิ่นสถาบันกษัตริย์นั้นไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ
 
นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 ทางการไทยได้ปิดกั้นเว็บเพจที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นสถาบันกษัตริย์ไปแล้วมากกว่า 5,000 หน้า
 
ผู้ที่ถูกตั้งข้อหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นสถาบันกษัตริย์มักจะถูกปฏิเสธไม่ให้ประกันตัว และต้องถูกคุมขังไว้นานหลายเดือนเพื่อรอการพิจาณาคดีในชั้นศาล โดยผลการดำเนินคดีส่วนใหญ่มักจะลงเอยด้วยการลงโทษอย่างรุนแรง อำพล ตั้งนพคุณ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในเรือนจำเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555ภายหลังจากที่ถูกพิพากษาให้จำคุก 20 ปี เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เพราะส่งข้อความเอสเอ็มเอสที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันกษัตริย์สี่ข้อความเมื่อปี 2553
 
การดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นสถาบันกษัตริย์ยังมุ่งเป้าไปที่ "คนกลาง" ในการสื่อสาร ส่งผลทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างกว้างขวางในการพูดคุยอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 จีรานุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการของสื่อออนไลน์ประชาไท ถูกศาลอาญากรุงเทพฯ พิพากษาจำคุกหนึ่งปี โดยให้รอลงอาญาโทษจำคุกไว้ จากข้อความที่บุคคลอื่นโพสต์ไว้บนกระดานสนทนาของประชาไท สมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งเป็นนักกิจกรรมด้านแรงงาน และบรรณาธิการนิตยสารถูกจับกุมเมื่อเดือนเมษายน 2554 และดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นสถาบันกษัตริย์ เนื่องจากบทความที่เขียนโดยบุคคลอื่นในนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณที่เขาเป็นบรรณาธิการ เขาถูกปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวแปดครั้งระหว่างรอการพิจารณาคดีในชั้นศาล รวมทั้งถูกตีตรวน และนำตัวไปขึ้นศาลเพื่อสืบพยานโจทย์ในสี่จังหวัด ทั้งที่พยานเหล่านั้นอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ อนึ่ง ขณะที่เขียนรายงานประจำปีนี้ คดีของสมยศมีกำหนดนัดพิพากษาวันที่ 19 ธันวาคม 2555  
 
รองนายกรัฐมนตรีเฉลิม อยู่บำรุง และผู้นำกองทัพออกมาเตือนอย่างเปิดเผยหลายครั้งไม่ให้นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ และกลุ่มการเมืองต่างๆ ทำการเรียกร้องให้ปฏิรูปกฏหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นสถาบันกษัตริย์
 
ความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในเครือข่ายของขบวนการบีอาร์เอ็น-โคออร์ดิเนตยังคงโจมตีพลเรือนในปี 2555 ด้วยการวางระเบิด ซุ่มโจมตีจากข้างทาง กราดยิงจากบนรถยนต์ และลอบสังหาร
 
มีผู้เสียชีวิตที่เป็นพลเรือนอย่างน้อยร้อยละ 90 ของจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,000 คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ผู้ก่อความไม่สงบใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือข่มขู่ และขับไล่ชาวไทยพุทธให้ออกจากจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งทำลายความน่าเชื่อถือของทางการไทยที่ไม่สามารถคุ้มครองประชาชน และควบคุมชาวมลายูมุสลิมให้อยู่ภายใต้การควบคุมของพวกตน
 
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ริเริ่มการใช้กองทุนของรัฐบาลมาเยียวยาให้กับชาวมลายูมุสลิมที่เป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กองกำลังฝ่ายความมั่นคงแทบจะไม่ถูกลงโทษจากกรณีการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม การทรมาน การบังคับให้สูญหาย และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ
 
องค์การสิทธิมนุษยชนในพื้นที่รายงานการหายตัวไปของนาสือลัน ปิที่อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2555 ภายหลังจากที่เขาถูกเจ้าหน้าที่กองกำลังฝ่ายความมั่นคงสองคนบังคับให้ขึ้นรถกระบะแล้วขับออกไป
 
ภายหลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัคของประเทศมาเลเซียกดดันผู้นำพลัดถิ่นของขบวนการแบ่งแยกดินแดนให้มาเจรจากับเจ้าหน้าที่ไทย ผู้ก่อความไม่สงบได้ตอบโต้ด้วยการใช้คาร์บอมบ์โจมตีเขตธุรกิจในจังหวัดยะลา และสงขลา เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ทำให้พลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 16 คน และบาดเจ็บอีกมากกว่า 400 คน 
 
ผู้ก่อความไม่สงบยังคงเผาโรงเรียนรัฐบาล และโจมตีครู ซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวแทนอุดมการณ์ของรัฐไทยพุทธ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ผู้ก่อความไม่สงบยิงนันทนา แก้วจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่ากำชำ จังหวัดปัตตานี เสียชีวิต นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ผู้ก่อความไม่สงบสังหารครูโรงเรียนรัฐบาลไปแล้ว 154 คน นอกจากนี้ ผู้ก่อความไม่สงบได้รับเอาเด็กจากโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามมาเข้าร่วมในการต่อสู้ด้วยอาวุธ และทำหน้าที่เสริมอื่นๆ เช่น โปรยใบปลิวเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดน รวมทั้งยังใช้โรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามบางแห่งเป็นสถานที่ประกอบระเบิด
 
เพื่อตอบสนองต่อความกังวลจากภายในประเทศ และภายนอกประเทศ แม่ทัพภาคที่ 4 พลโทอุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์สั่งให้หน่วยความมั่นคงต่างๆ ยุติการตั้งค่ายในโรงเรียนของรัฐบาล
 
ในปี 2555 ผู้ก่อความไม่สงบยอมรับว่า วางทุ่นระเบิดสังหารบุคคลไว้ใน หรือใกล้ๆ สวนยางพาราที่เป็นของชาวไทยพุทธเพื่อบังคับให้ชาวไทยพุทธยอมละทิ้งกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว  
 
นโยบายต่อต้านยาเสพติด
 
ขณะที่ให้สัญญาว่าจะเคารพสิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรมในการดำเนินนโยบายต่อต้านยาเสพติด รัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ยังคงปฏิเสธว่า ไม่มีเจ้าหน้าของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรมมากกว่า 2,800 รายที่เกิดขึ้นระหว่างการทำ "สงครามต่อต้านยาเสพติด" ของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ เมื่อปี 2546 
 
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2555 คณะกรรมาธิการการตำรวจของรัฐสภาพบว่า ตำรวจหน่วยต่อต้านยาเสพติดจังหวัดสกลนครใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุในกรณียิงไพโรจน์ แสงฤทธิ์เสียชีวิต และยังยัดยาบ้าไว้ในศพเขา
 
ภายหลังการไต่สวนที่กินเวลานานเจ็ดปี ศาลอาญากรุงเทพฯตัดสินเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ว่า ตำรวจห้านายจากจังหวัดกาฬสินธุ์มีความผิดในคดีฆาตกรรมเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง โดยเป็นคดีแรกที่มีคำพิพากษาจากกรณีการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรมมากกว่า 20 รายที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2546 ถึง 2548 ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งตำรวจกลุ่มนี้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ศาลให้ตำรวจที่ถูกตัดสินว่ากระทำความผิดได้รับการประกันตัวออกไประหว่างขั้นตอนการอุทธรณ์คดี ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของพยาน   
 
เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน 2555 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ได้ส่งตัวผู้ใช้ยาเสพติดมากกว่า 500,000 คนเข้าสู่ศูนย์บำบัด ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการโดยกองทัพ และกระทรวงมหาดไทย โดยขั้นตอนที่เรียกว่าการบำบัดนั้นอาศัยวิธีการออกกำลังกายแบบทหาร ผู้ติดยาที่ถูกคุมขังในเรือนจำก่อนจะถูกส่งตัวไปรับการบังคับบำบัดนั้นแทบจะไม่ได้รับ หรือไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์จากอาการลงแดง
 
ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
 
นับตั้งแต่ปี 2554 มีนักสิ่งแวดล้อม และผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนมากกว่า 20 คนถูกสังหารในประเทศไทย การสอบสวนคดีเหล่านี้มักประสบปัญหาจากการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของตำรวจ ความล้มเหลวของกระทรวงยุติธรรมในการคุ้มครองพยาน และการที่การเมืองเข้ามาแทรกแซงความพยายามที่จะบังคับใช้กฏหมาย
 
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนชาวมลายูมุสลิม ตลอดจนผู้ช่วยทนายความ และนักศึกษาที่ทำกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน มักถูกหน่วยงานด้านความมั่นคงบันทึกข้อมูลไว้ว่า "เห็นอกเห็นใจผู้ก่อความไม่สงบ" และมักถูกติดตามสอดแนม ถูกจับกุมโดยพลการ และถูกคุมขัง 
 
ผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่พักพิง และแรงงานต่างด้าว
 
ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาผู้ลี้ภัย ปี 2494 และไม่มีกฏหมายภายในประเทศที่ยอมรับสถานะผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่พักพิง และผู้ลี้ภัยที่ถูกจับกุมมักโดนคุมขังเป็นเวลานานจนกว่าจะได้รับอนุมัติให้ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม หรือยินยอมถูกเนรเทศโดยออกค่าใช้จ่ายเอง
 
ประธานาธิบดีเต็ง เส่งของประเทศพม่า เรียกร้องให้ชาวพม่าพลัดถิ่นเดินทางกลับประเทศภายหลังจากที่รัฐบาลลงนามในข้อตกลงหยุดยิงเบื้องต้นกับกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด แต่จนถึงขณะนี้ยังมีอุปสรรคอยู่อย่างมาก ซึ่งรวมถึงการขาดข้อตกลงทางการเมืองที่ชัดเจน ปัญหาการเก็บกู้ทุ่นระเบิด และการที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ชายแดนในฝั่งประเทศพม่า นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ยืนยันต่อสาธารณะว่า จะไม่มีการบังคับส่งกลับผู้ลี้ภัยมากกว่า 140,000 คนที่อาศัยอยู่ในค่ายตามแนวชายแดนไทย-พม่า ไม่ว่าสถานการณ๋ในประเทศพม่าจะดูเหมือนมีพัฒนาการในทางบวกเพียงใดก็ตาม
 
ทางการไทยยังคงดำเนินนโยบายสกัดกั้น และผลักดันเรือที่บรรทุกชาวโรฮิงญามุสลิมจากประเทศพม่า และประเทศบังคลาเทศ ถึงแม้จะมีการกล่าวหาว่า การดำเนินการดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนเมิ่อปี 2551 และ2552 ก็ตาม
 
ในปี 2555 กฎหมายแรงงานของประเทศไทยให้ความคุ้มครองเพียงเล็กน้อยแก่แรงงานต่างด้าว กระบวนการขึ้นทะเบียน และตรวจสอบสัญชาติแรงงานต่างด้าวทำให้แรงงานต่างด้าวมีเอกสารรับรองสถานภาพตามกฏหมาย แต่เอกสารดังกล่าวแทบจะไม่ได้ช่วยแก้ไขการที่นายจ้างสามารถละเมิดสิทธิของแรงงานต่างด้าวได้โดยไม่ต้องรับผิด แรงงานต่างด้าวยังคงมีความเสี่ยวอย่างมากต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบ การถูกท้ายร้ายร่างกาย การถูกกระทำรุนแรงทางเพศ และการค้ามนุษย์ ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ชายมักจะถูกนำตัวไปทำงานบนเรือประมง  
 
เมื่อเดือนตุลาคม 2555 เจ้าของโรงงาน และเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นห้ามไม่ให้แรงงานต่างด้าวนับพันคนที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดินทางออกไปหางานทำนอกพื้นที่ ทั้งๆ ที่เป็นสิทธิของแรงงานต่างด้าวตามเอกสารใบอนุญาตทำงาน
 
ภายหลังจากที่ได้รับคำวิจารณ์จากภายในประเทศ และภายนอกประเทศอย่างรุนแรง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผดิมชัย สะสมทรัพย์ ยอมยกเลิกแผนการที่จะส่งตัวแรงงานต่างด้าวที่ตั้งครรภ์สามถึงสี่เดือนกลับประเทศ
 
ตัวแสดงระหว่างประเทศที่สำคัญ
 
สหประชาชาติ สหภาพยุโรป ตลอดจนประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และประเทศนอร์เวย์ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อกระบวนการสร้างความปรองดองทางการเมือง และการปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในปี 2555 โดยเรียกร้องให้รัฐบาล และฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้งกันในทางการเมืองหันหน้ามาพูดคุยกัน และยับยั้งการที่จะใช้กำลังต่อกัน เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555 ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นาวิ พิลเลย์ เรียกร้องให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คอป. โดยลงโทษผู้ที่รับผิดชอบต่อความรุนแรงเมื่อปี 2553 และจัดให้มีการปฏิรูปด้านต่างๆ ตามที่ คอป. ระบุไว้
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักกิจกรรมจุฬา-ธรรมศาสตร์ สวมหน้ากาก “สมยศ” โผล่พาเหรดร่วมงานบอลประเพณี

Posted: 01 Feb 2013 11:55 PM PST

 

2 ก.พ.56 เวลาประมาณ 10.00 น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กลุ่มนักศึกษาในนาม "เสรีธรรมศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย" และ "ประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน" ใส่หน้ากาก "สมยศ" ร่วมเดินขบวนจากจุฬาฯ ไปยังสนามศุภชลาศัยร่วมกับนิสิตจุฬาฯ จำนวนหลายร้อยคนเนื่องจากวันนี้เป็นแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ประจำปี

นักศึกษาแทบทั้งหมดสวมเสื้อเชียร์ที่ชมพู ขณะที่กลุ่มนักศึกษาทั้งสองกลุ่มราว 10 กว่าคนที่แทรกตัวไปเดินร่วมด้วยนั้นรวมเสื้อสีดำเขียนคำว่า "FREE SOMYOT" ใส่หน้ากากรูปนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสารการเมืองและจำเลยในคดีมาตรา 112 ที่เพิ่งถูกตัดสินโทษจำคุกไป 10 ปี เมื่อเร็วๆ นี้ (คลิ๊กอ่านรายละเอียด) โดยระหว่างเดินร่วมขบวนไปนั้น กลุ่มกิจกรรมดังกล่าวได้แจกแถลงการณ์และปราศรัยเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก และเรียกร้องให้คนรุ่นใหม่เข้าร่วมกันรณรงค์การปล่อยนักโทษการเมือง

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามความคิดเห็นของนิสิตจุฬาฯ ที่อยู่ในขบวนดังกล่าว ส่วนหนึ่งระบุว่า การทำกิจกรรมเช่นนี้เป็นสิทธิเสรีภาพที่จะทำได้ และที่ผ่านมาไม่เคยรู้จักหรือได้ยินเรื่องนายสมยศมาก่อน บางส่วนระบุว่าเคยได้ยินเรื่องนายสมยศมาบ้างจากในข่าว ขณะที่บางส่วนแสดงการคัดค้านอย่างรุนแรงด้วยการตะโกนว่า "ไปอยู่ประเทศอื่นซะ" พร้อมระบุว่าไม่ควรนำเรื่องนี้มายุ่งเกี่ยวกับฟุตบอลประเพณี

ในช่วงที่นักศึกษาในชุดดำเดินขบวนร่วมกับขบวนนิสิตจุฬาฯ เพื่อไปที่สนามศุภชลาศัย ได้มีความพยายามกีดกันกลุ่มนักศึกษาที่เดินรณรงค์ออกไปจากขบวน โดยสต๊าฟของงานฟุตบอลประเพณีระบุว่าไม่ได้แจ้งความประสงค์ในการร่วมขบวนมาก่อน และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาพูดคุย อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักศึกษาในชุดดำก็สามารถเดินไปตามขบวนได้จนถึงสนามศุภชลาศัย แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เดินเข้าไปข้างในสนามร่วมกับขบวนของนิสิตจุฬาฯ  

ต่อมาในเวลาราว 15.30 น. ได้มีการกางป้ายผ้าขนาดยาว 6x15 เมตร บริเวณอัฒจรรย์ภายในสนามศุภชลาศัย มีข้อความว่า "Free Somyot" แต่กางได้ราว 1 นาที กลุ่มนักศึกษาที่รณรงค์ก็ต้องเก็บป้ายดังกล่าว เนื่องจากถูกผู้ชมคนหนึ่ง ราว 45 ปี สวมเสื้อเชียร์ฟุตบอลสีชมพูกระชากป้ายผ้าลง พร้อมทั้งต่อว่าว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม จากนั้นกิจกรรมของกลุ่มนศ.ดังกล่าวก็สิ้นสุดลง 


ที่มาภาพ: วอยซ์ทีวี

ทั้งนี้ นายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข ลูกชายนายสมยศ ซึ่งเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้เข้าร่วมการณรงค์ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งกิจกรรมลักษณะนี้ถือเป็นครั้งที่สองแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้มีนักศึกษาใส่หน้ากาก "สมยศ" ไปร่วมถ่ายรูปในงานพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)

แถลงการณ์ของกลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้

 

แถลงการณ์กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) และกลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน (CCP)

 

เรียน ประชาชนผู้รักความยุติธรรมทุกท่าน

เรื่อง การตัดสินจำคุกนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และกรณีนักโทษทางการเมืองอื่นๆ

 

เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา ศาลอาญาได้พิพากษาจำคุก นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมสังคมและอดีตบรรณาธิการ เป็นเวลารวม 10 ปี ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กรณีนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมในระบบยุติธรรมหลายประการ ตั้งแต่การที่นายสมยศถูกปฏิบัติเยี่ยงนักโทษอุกฉกรรจ์ ก่อนที่จะมีคำพิพากษา และการที่ไม่ได้รับแม้แต่สิทธิในการประกันตัวอันเป็นสิทธิพื้นฐานที่ผู้ต้องหาพึงมีตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ บรรทัดฐานจากคำพิพากษาดังกล่าวยังส่งผลเป็นการจำกัดเสรีภาพของสื่อไทยอย่างเป็นวงกว้าง และถึงแม้สังคมนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศจะแสดงจุดยืนที่มีความเป็นห่วงต่อประเด็นเสรีภาพในสังคมไทย แต่สื่อกระแสหลักของไทยรวมถึงวงวิชาการและสังคมไทยโดยรวมทั้งหมดก็แทบไม่มีการนำเสนอข้อมูลหรือแสดงความสนใจต่อประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด ราวกับความอยุติธรรมเช่นนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติแล้วในสังคมนี้

กรณีของคุณสมยศเป็นเพียงแค่หนึ่งในตัวอย่างของการใช้กฎหมายมาตรา 112 อย่างไม่เป็นธรรมเท่านั้น ความไม่เป็นธรรมยังคงเกิดขึ้นกับนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เราในฐานะนิสิตนักศึกษาผู้รักความเป็นธรรม จึงร่วมกันแสดงจุดยืนต่อความไม่เป็นธรรมดังกล่าว ออกมาเป็นข้อเรียกร้อง ดังต่อไปนี้

1. ให้รัฐบาลพิจารณาประเด็นเรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างจริงจังในทุกมิติเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งทางการเมือง

2. ในทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม ให้เกิดความโปร่งใส โดยคำนึงถึงสิทธิอันพึงได้รับของผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษ เช่นสิทธิในการได้รับการประกันตัว

3. ให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม และให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับความไม่เป็นธรรมได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือร่วมเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิอันพึงมีต่อผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี

Posted: 01 Feb 2013 11:51 PM PST

"เรื่องที่ว่าทำไมไม่ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องนี้ไม่ได้หยิบยกมา เพราะยังมีความสับสนว่าอะไรเป็นสื่อ ไม่เป็นสื่อ ยังถกเถียงกันภายในสมาคมอยู่ แต่ได้คุยเบื้องต้นว่า สิ่งที่เราต้องพิทักษ์คือสื่อที่นำเสนอรอบด้าน แต่ถ้าสื่อใดจะมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองของกลุ่มทางการเมือง เราก็ไม่สามารถคุ้มครองได้"

30 ม.ค.56, ประธานสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตอบคำถามกรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข

KNU รำลึก 64 ปีการปฏิวัติกะเหรี่ยง - ระบุหยุดยิงไม่ได้แปลว่ายอมแพ้

Posted: 01 Feb 2013 10:33 PM PST

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. นี้ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union - KNU) ได้จัดงานรำลึกครบรอบ 64 ปีวันปฏิวัติกะเหรี่ยง ขึ้นที่ฐานบัญชาการกองพลน้อยที่ 7 กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Liberation Army - KNLA) ชายแดนรัฐกะเหรี่ยง ฝั่งพม่า ตรงข้ามบ้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ทั้งนี้มีประชาชนชาวกะเหรี่ยงทั้งจากฝั่งรัฐกะเหรี่ยงและฝั่งไทยเข้าร่วมงานจำนวนมาก ซึ่งในงานดังกล่าวมีการสวนสนามของทหารกะเหรี่ยงและการแสดงจากเยาวชนชาวกะเหรี่ยงด้วย

สำหรับวันปฏิวัติกะเหรี่ยง ถือเป็นวันที่รำลึกถึงการที่ชาวกะเหรี่ยงจับอาวุธต่อต้านรัฐบาลพม่าเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2492 หรือเมื่อ 64 ปีก่อน โดยที่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU และรัฐบาลพม่านำโดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เพิ่งตกลงหยุดยิงกันได้เมื่อ 12 มกราคมปี 2555 อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายกำลังอยู่ระหว่างเจรจาสันติภาพ และยังตกกับรัฐบาลพม่าไม่ได้ในเรื่องเขตปกครองตนเอง และการหยุดยิงถาวร

 

วิดีโอจากงานรำลึกครบรอบ 64 ปีวันปฏิวัติกะเหรี่ยง เมื่อ 31 มกราคม 2556 (รับชมแบบ HD คลิกที่นี่)

ประชาชนชาวกะเหรี่ยงเข้าร่วมงานพิธีวันปฏิวัติกะเหรี่ยง เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ผ่านมา บัญชาการกองพลน้อยที่ 7 กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Liberation Army - KNLA) รัฐกะเหรี่ยง ฝั่งตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

ประชาชนชาวกะเหรี่ยงเข้าร่วมงานพิธีวันปฏิวัติกะเหรี่ยง เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ผ่านมา โดยในภาพยังมีอดีตทหารกะเหรี่ยง DKBA ซึ่งเปลี่ยนสถานะเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน หรือ BGF แต่งเครื่องแบบทหาร BGF หมวกเบเร่ต์เขียว อาร์มรูปธงชาติพม่า เข้าร่วมงานพิธีด้วย ทั้งนี้สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ซึ่งหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าเมื่อปีที่แล้ว ถือว่าทหารกะเหรี่ยงทุกกลุ่มเป็นมิตรต่อกัน โดยทหารกะเหรี่ยงที่เป็นกองกำลัง BGF สามารถมาร่วมงานที่ KNU จัดได้

พล.อ.มูตู เซ พอ ประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ซึ่งเพิ่งได้รับเลือกหลังการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU เมื่อปลายเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา

ทหารกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง KNLA ระหว่างพิธีสวนสนาม

พล.อ.ซอ จอห์นนี่ ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) เดินตรวจแถวทหารสวนสนาม ในงานพิธีครบรอบวันปฏิวัติกะเหรี่ยงปีที่ 64 เมื่อ 31 มกราคมที่ผ่านมา

การแสดงจากเยาวชนชาวกะเหรี่ยง ในงานพิธีครบรอบวันปฏิวัติกะเหรี่ยงปีที่ 64 เมื่อ 31 มกราคม

 

 

ประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ยืนยันเจรจาหยุดยิงไม่ใช่การยอมแพ้

โดยพิธีในวันนี้ ยังมีอดีตทหารกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (Democratic Karen Buddhist Army - DKBA) กลุ่มของ พล.ต.ซอ ชิต ตู่ ที่แปรสภาพเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (Border Guard Force - BGF) ภายใต้รัฐบาลพม่าตั้งแต่ปี 2554 ได้มาร่วมพิธีที่จัดโดยทหาร KNU/KNLA ด้วย โดยนายทหารกะเหรี่ยง KNU กล่าวว่าหลังจากมีข้อตกลงหยุดยิง ถือว่าทหารกะเหรี่ยงทุกกลุ่มเป็นเพื่อนกันแล้ว ดังนั้นจึงมีทหารกะเหรี่ยงจากหน่วย BGF มาร่วมงาน

ทั้งนี้ผู้กล่าวสุนทรพจน์ในงานคือ พล.อ.มูตู เซ พอ (Mutu Say Poe) ประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ขณะที่ พล.อ.ซอ จอห์นนี่ (Saw Johnny) ผู้บัญชาการสูงสุด กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง เป็นประธานในพิธีสวนสนาม และตรวจแถวทหาร

โดย สำนักข่าว Karen News รายงานคำกล่าวสุนทรพจน์ของ พล.อ.มูตู เซ พอ ซึ่งระบุว่า จาก 64 ปีของการต่อสู้ของชาวกะเหรี่ยง ผู้นำ ทหาร และประชาชนจำนวนมาก ได้สละชีวิต อวัยวะ เลือด และเนื้อ รวมไปทั้งสละทรัพย์สินทั้งหลายอันนับไม่ถ้วน และยังเตือนด้วยว่า การต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพม่านั้นยังไม่สิ้นสุด แม้จะมีการลงนามหยุดยิง "แม้ว่าจะมีขบวนการต่อสู้อันยาวนาน และมีการเสียสละใหญ่หลวง แต่ประชาชนชาวกะเหรี่ยงยังไม่บรรลุถึงข้อเรียกร้องที่ต้องมีหลักประกันสมบูรณ์สำหรับพวกเขา"

เขากล่าวว่า แม้ว่าสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU จะเข้าสู่การเจรจาหยุดยิง แต่การปฏิวัตินั้นยังไม่สิ้นสุด "การเจรจาและหยุดยิง ไม่ได้แปลว่า ยอมแพ้" เขากล่าว "สถานการณ์หยุดยิงขณะนี้คือความพยายามหนึ่งเพื่อการเข้าไปสู่เวทีเจรจาทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบัน พวกเรายังคงอยู่ในบริบทของการปฏิวัติลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธ" เขายังกล่าวด้วยว่า สำหรับชาวกะเหรี่ยงจะต้องออกด้วยวิถีทางการเมืองที่ยั่งยืนเพื่อแก้ความขัดแย้ง ด้วยการเจรจากับกองทัพพม่า

นอกจากนี้เขายังเรียกร้องให้มีแนวร่วมที่เป็นเอกภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อเป็นหลักประกันว่าสิทธิของชนกลุ่มน้อยจะได้รับการเคารพในอนาคต "ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์มีความสำคัญยิ่งต่อทางออกซึ่งที่ยอมรับกันได้ของปัญหาทางการเมืองหลัก ซึ่งปัญหาการเมืองดังกล่าวเป็นสาเหตุของสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในพม่า

ปัจจุบัน รัฐบาลพม่าชุดปัจจุบันได้ทาบทามองค์กรของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้หยุดยิงเพื่อที่จะได้มีการเจรจากัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสถาปนาสันติภาพขึ้นในประเทศ อย่างไรก็ตาม การเจรจาหยุดยิงจะยังไม่เป็นทางออกที่ถาวร จนกระทั่งแนวทางปฏิบัติสำหรับการหยุดยิงจะได้รับการนำไปปฏิบัติจากทหารทั้งสองฝ่าย "และอย่างที่พวกเรายังไม่สามารถบรรลุถึงการแก้ไขปัญหาทางการเมืองอันน่าพึงพอใจ สันติภาพก็ยังไม่อาจบรรลุได้"

ในการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU เขายังให้กำลังใจประชาชนชาวกะเหรี่ยงในการดำเนินการต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพ "ข้าพเจ้าใคร่ขอวิงวอนต่อประชาชนชาวกะเหรี่ยงทั้งมวลให้มีจิตใจรักชาติเพื่อความเจริญและความก้าวหน้า ในฐานะที่เป็นประชาชน ขอให้ภูมิใจในรากเหง้าของเรา ขอให้ทำงานเพื่อเอกภาพและมีความเข้าใจกันในหมู่ประชาชนกะเหรี่ยง" เขากล่าว

 

ความยุ่งยากภายในของ KNU

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้เมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน พล.อ.มูตู เซ พอ เคยถูกคณะกรรมการกลางของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุด กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) เนื่องจากละเมิดข้อบังคับของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ในการเปิดสำนักงานประสานงานของสหภาพกะเหรี่ยง KNU ที่เมืองผาอัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกลาง ชุดที่มีนางซิปโปร่า เส่ง เลขาธิการกลางของ KNU และต่อมาปลายเดือนธันวาคม พล.อ.มูตู เซ พอ ได้รับเลือกตั้งใน ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ให้กลับมาเป็นประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ส่วนนางซิปโปร่า เส่ง (Zipporah Sein) ได้รับเลือกเป็นรองประธาน และคเว ทู วิน (Kwe Htoo Win) ขึ้นเป็นเลขาธิการกลางแทน

ส่วน พล.อ.ซอ จอห์นนี่ เดิมมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลน้อยที่ 7 กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง KNLA ต่อมาในการประชุมสมัชชาใหญ่ของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ได้รับเลือกเป็นผู้บัญชาการสูงสุด กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง KNLA ปีกทางการทหารของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU

โดยคณะกรรมการกลางสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ชุดก่อนที่มีนางซิปโปร่า เส่ง เป็นเลขาธิการกลาง ถูกวิจารณ์ว่าไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลพม่า เนื่องจากมีความรอบคอบและระมัดระวังเกินไปในการเจรจา ขณะที่ขั้วของ พล.อ.มูตู เซ พอ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอบโลกแรงงานมกราคม 2556

Posted: 01 Feb 2013 10:29 PM PST

กัมพูชารณรงค์แรงงานกลับมาทำงานในประเทศ
 
5 ม.ค. 55 -ก.แรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงานกัมพูชา ได้ประกาศแผนรณรงค์ให้แรงงานในประเทศหันมาสนใจทำงานในประเทศมากกว่าไปค้าแรงงานต่างแดน
 
หลังจากที่ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่นิยมเดินทางไปค้าแรงงานในต่างแดน เช่น เกาหลี ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และต้องพบกับการเอาเปรียบแรงงานในหลายรูปแบบ ทั้งจากนายจ้างและนายหน้าหางานเอกชนเถื่อน สาเหตุเพราะค่าจ้างแรงงานในต่างแดนสูงกว่าในประเทศมาก หลายคนจึงต้องกู้หนี้ยืมสิน เพื่อใช้ในการเดินทางไปต่างประเทศและเตรียมตัวสำหรับการไปทำงานในด่างแดนทั้งด้านภาษาและการทำหนังสือเดินทาง และนับวันปัญหาที่แรงงานชาวกัมพูชาในต่างแดนประสบมีแต่จะมากขึ้น
 
รัฐบาลจึงวางแผนรณรงค์ให้แรงงานเหล่านั้นเดินทางกลับมาทำงานในบ้านเกิดเมืองนอน และยุติการส่งเสริมการค้าแรงงานในต่างแดนอย่างสิ้นเชิง โดยในปีนี้รัฐบาลจะจัดหาระบบประกันสุขภาพให้แก่แรงงานที่สมัครใจเดินทางกลับมาทำงานในประเทศ และลงทะเบียนกับทางการอย่างเต็มที่
 
 
นักเศรษฐศาสตร์คาดวิกฤตแรงงานสหรัฐอาจยืดเยื้อนานถึงปี 2564
 
5 ม.ค. 55 - นางเฮดี เชียร์ฮอล์ซ นักเศรษศาสตร์แห่งสถาบันนโยบายเศรษฐกิจกล่าวว่า วิกฤตแรงงานสหรัฐอาจจะยืดเยื้อนานถึงอีกใน 9 ปีข้างหน้า หากอัตราการขยายตัวของการจ้างงานยังอยู่ในระดับปัจจุบัน
 
สถิติอัตราว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติสหรัฐยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขปรับทบทวนในเดือนที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 155,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยที่ 153,000 ตำแหน่งในช่วง 11 เดือนแรกของปี
 
"อัตราการขยายตัวของการจ้างงานในเดือนธันวาคมจะยังไม่สามารถอุดช่องว่างในตลาดแรงงานได้ไปจนถึงปี 2564" นางเชียร์ฮอล์ซกล่าว
 
นางเชียร์ฮอล์ซระบุว่า อันที่จริง เศรษฐกิจสหรัฐมีช่องว่างตำแหน่งงาน 9 ล้านตำแหน่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ว่างลงนับตั้งแต่ช่วงเศรษฐกิจถดถอยในปี 2550 ผนวกกับตำแหน่งงานที่ควรจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของแรงงาน แต่ไม่มีการขยายตัวในช่วงดังกล่าว
 
วิกฤตแรงงานซึ่งคาดว่าจะยุติลงในปี 2564 ส่งผลให้อัตราว่างงานทำสถิติอยู่ในระดับสูงเป็นเวลา 14 ปีติดต่อกัน ขณะที่สถานการณ์การจ้างงานในเดือนธันวาคมทำสถิติอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูงเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันนับตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2550 และนานกว่า 3 ปีติดต่อกันนับตั้งแต่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในปี 2552
 
การว่างงานอย่างยาวนาน ซึ่งหมายถึงผู้ที่ตกงานติดต่อกันนานกว่า 27 สัปดาห์ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยประชาชนเกือบ 3 ล้านคนเป็นผู้ว่างงานติดต่อกันยาวนาน และสิ่งที่แย่ไปกว่านั้นก็คือยิ่งว่างงานนานขึ้นก็ยิ่งหางานได้ยากขึ้น เนื่องจากนายจ้างเชื่อว่า ทักษะต่างๆอาจจะสูญเสียไปหากไม่ได้ใช้ติดต่อกันทุกๆวัน
 
แต่อย่างไรก็ดี นายเบอร์นาร์ด บูมอห์ล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของอีโคโนมิค เอาท์ลุค กรุ๊ป และแขกรับเชิญประจำในรายการ Nightly Business Report ของสถานีโทรทัศน์พีบีเอสระบุว่า มาตรวัดเศรษฐกิจต่างๆบ่งชี้ว่าสหรัฐกำลังเดินมาถูกทางแล้ว นับตั้งแต่ตลาดที่อยู่อาศัยไปจนถึงความแข็งแกร่งของภาคธนาคารและสินเชื่อผู้บริโภค
 
นายบูมอห์ลคาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวในปีนี้ หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐได้ผ่าทางตันปัญหางบประมาณค่าใช้จ่าย
 
"บริษัทที่มีเงินสดสำรองจำนวนมากยังคงรอนำเงินไปลงทุน" เขากล่าว พร้อมกับเสริมว่า บริษัทต่างๆจะเริ่มจ้างพนักงานเพิ่มหลังมีความชัดเจนเกี่ยวกับการปรับลดงบประมาณค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและประเด็นอื่นๆด้านการคลังอันเนื่องมาจากความขัดแย้งในรัฐสภา สำนักข่าวซินหัวรายงาน
 
สหภาพแรงงานอินเดียเตรียมหยุดงานประท้วงครั้งใหญ่ ก.พ. นี้
 
6 ม.ค. 55 - เว็บไซต์ http://pd.cpim.org รายงานว่าสหภาพแรงงานอินเดียนำโดยสหภาพแรงงานคนทำงานภาครัฐ (Central Public Sector Undertakings - CPSU) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สมาชิกออกมาหยุดงานประท้วงครั้งใหญ่ในวันที่ 20 - 21 ก.พ. 56 นี้ 
 
ทั้งนี้ตัวแทนของสหภาพแรงงานเอกชนจากเกือบทุกอุตสาหกรรมและสหภาพแรงงานภาครัฐ อาทิ CITU, AITUC, HMS INTUC, BMS, LPF และ  CITU รวมทั้งสหภาพแรงงานอิสระหลายแห่ง ได้มติร่วมกันในการจัดประชุมที่ New Delhi และ Chennai เมื่อเดือนกันยายนและธันวาคมเมือปีที่แล้ว (2012)
 
โดยในแถลงการณ์ "NEO-LIBERALISM WITH A VENGEANCE" นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปรัฐวิสากิจของรัฐไปเป็นของบรรษัทและการจ้างงานแบบเหมาช่วงกำลังเป็นสิ่งอันตรายต่อคนงาน และได้เรียกร้องให้คนงานออกมาร่วมแสดงพลังในวันที่ 20 - 21 ก.พ. 56 นี้ 
 
ด้านคนงานท่าเรือใหญ่ 13 แห่งในอินเดียก็เตรียมเข้าร่วมการนัดหยุดงานครั้งใหญ่นี้ด้วยเช่นกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย 'ต้านการแปรรูปและต้านการใช้แรงงานจ้างเหมาช่วง'
 
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 56 ที่ผ่านมา thehindubusinessline.com รายงานว่าคนงานใน 13 ท่าเรือหลักของอินเดียจะเข้าร่วมการนัดหยุดงานทั่วประเทศครั้งใหญ่ในวันที่ 20 - 21 ก.พ. 56 นี้ด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการคัดค้านการแปรรูปท่าเรือหลักไปเป็นของเอกชน รวมทั้งการเรียกร้องสิทธิให้คนงานจ้างเหมาช่วงเป็นคนงานประจำ 
 
ทั้งนี้มติดังกล่าวออกมาภายหลังจากการที่ผู้นำสหภาพแรงงานท่าเรือหลายแห่ง ได้เข้าพบปะหารือกันที่เมือง Chennai เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ม.ค. ที่ผ่านมา และจะมีการแจ้งล่วงหน้ารวมทั้งออกแถลงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ก.พ. 56 อีกครั้ง
 
 
แรงงานจากประเทศวิกฤตยูโรโซนไหลทะลักเข้าเยอรมนี
 
7 ก.ค. 56 - วิกฤตหนี้สินและการบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่แสนเข้มงวดตลอดจนอัตราการว่างงานที่สูงลิ่วในหลายประเทศสมาชิกกลุ่มยูโรโซน หรือกลุ่ม 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินตราสกุลหลัก ส่งผลให้ประชาชนจากสเปน กรีซ โปรตุเกส และอิตาลี ไหลทะลักเข้าไปหางานทำในเยอรมนีเป็นจำนวนมากในปี 2012 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เป็นข้อมูลจากหน่วยงานด้านแรงงานของรัฐบาลเบอร์ลิน
       
รายงานซึ่งอ้างข้อมูลจากสำนักการจ้างงานแห่งเยอรมนี (Bundesagentur für Arbeit - BA) ที่มีการเผยแพร่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาระบุว่า จำนวนแรงงานจากประเทศที่ประสบวิกฤต อย่างสเปน กรีซ โปรตุเกส และอิตาลีที่ได้รับการว่าจ้างโดยบริษัทของเยอรมนีได้เพิ่มสูงขึ้น 7.6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2012หรือเพิ่มมากกว่าเมื่อปี 2011ราว 33,000 คน
       
ข้อมูลของทางการเยอรมนียังพบว่า การเพิ่มจำนวนขึ้นของแรงงานจาก 4 ชาติดังกล่าวที่ 7.6 เปอร์เซ็นต์นั้นดังกล่าว มีมากกว่า อัตราการสร้างงาน(rate of job creation)ในเยอรมนี ซึ่งยังคงเติบโตเพียงแค่ระดับ 1.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นในปีที่ผ่านมา
       
ขณะเดียวกันเมื่อแยกพิจารณาตามเชื้อชาติจะพบว่า จำนวนชาวสเปนที่เข้ามาเสี่ยงโชคในตลาดแรงงานของเยอรมนีซึ่งเป็นชาติที่เศรษฐกิจใหญ่สุดของยูโรโซนในปี 2012 มีกว่า 49,400 คนหรือเพิ่มขึ้น 15.8 เปอร์เซ็นต์จากปี 2011 ส่วนแรงงานจากกรีซที่เข้ามาทำงานในเยอรมนีล่าสุดมีกว่า 123,300 คนหรือเพิ่มขึ้น 10.8 เปอร์เซ็นต์
       
นอกจากนั้น ยังมีรายงานว่า พบปรากฏการณ์ไหลทะลักของผู้ว่างงานจากยุโรปตะวันออกเข้ามายังเยอรมนีเป็นจำนวนมากเช่นกันในปี 2012 โดยจำนวนของแรงงานจากสาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย โปแลนด์ ฮังการี ลัตเวีย ลิธัวเนีย และเอสโทเนียได้เพิ่มขึ้นกว่า 88,000 คน หรือ 31 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2011
 
เกาหลีใต้ ส่อเค้าเจอวิกฤตขาดแคลนแรงงาน คนหนุ่มสาวลดลง ตัวเลขผู้สูงอายุพุ่ง
 
8 ก.ค. 56 - รัฐบาลเกาหลีใต้ เปิดเผยเมื่อวานนี้ (7 ม.ค.) ว่า ประชากรวัยหนุ่มสาวในเกาหลีใต้อาจลดลงครึ่งหนึ่งภายในปี 47 ข้างหน้า อันเนื่องมาจากอัตราการเกิดที่ต่ำมาก
 
ข้อมูลประชากรจากกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวของเกาหลีใต้ ระบุว่า ปี 2523 เป็นช่วงที่เกาหลีใต้มีเยาวชนอายุระหว่าง 9-24 ปีมากที่สุด คือ ราวๆ 14 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 36.8% ของพลเมืองทั้งประเทศ แต่นับแต่นั้นมาคนหนุ่มสาวแดนกิมจิก็ลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือเพียง 10.2 ล้านคนในปี 2555 หรือประมาณ 20.4% ของประชากรทั้งประเทศ
 
จากแนวโน้มในปัจจุบัน กระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัว คาดว่า คนหนุ่มสาวของเกาหลีใต้จะยังลดลงเรื่อยๆ จาก 9.6 ล้านคนในปี 2558 ไปเป็น 7.1 ล้านคนในปี 2573 และ 5.9 ล้านคนในปี 2593 จนกระทั่งเหลือเพียง 5 ล้านคนในปี 2603
 
นโยบายส่งเสริมการวางแผนครอบครัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกาหลีใต้ ซึ่งมีพลเมืองราว 50 ล้านคนต้องเจอปัญหาคนที่อยู่ในวัยชราพุ่งสูงขึ้น งบประมาณด้านสวัสดิการสังคมที่รัฐต้องแบกรับ
 
สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 เกาหลีใต้จะมีประชากรวัย 60 ปีขึ้นไปถึง 39%
 
อัตราการเจริญพันธุ์ ซึ่งหมายถึงจำนวนบุตรที่สตรีในเกาหลีใต้ให้กำเนิดตลอดชีวิต อยู่ที่ราวๆ 1.01 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก 1.71 ที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้สำรวจไว้
 
อย่างไรก็ดี แม้เกาหลีใต้ จะได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ ที่บริษัทในประเทศได้ไปสร้างชื่อในฐานะบริษัทยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศ เช่น ซัมซุง อิเล็คทรอนิคส์ และฮุนได มอเตอร์ จนทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับ 29 ของโลก และมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของเอเชีย โดยวัดจากตัวเลข GDP แต่กลับพบว่า ปัญหาการว่างงานกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อปลายปีที่แล้ว มีนักศึกษาหลายแสนคนออกมาประท้วงที่หางานทำไม่ได้ ขณะที่ความเหลื่อมล้ำด้านเพศ และความไม่เท่าเทียมในสังคมก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน
 
เวียดนามวางแผนส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศ 90,000 คนในปีนี้
 
9 ม.ค. 56 - สำนักข่าวซินหัวของทางการจีน รายงานอ้างกระทรวงแรงงาน ทหารผ่านศึก และสวัสดิการสังคมของเวียดนาม ว่า เวียดนามวางแผนส่งแรงงาน 90,000 คนไปทำงานในต่างประเทศในปีนี้ โดยจะส่งแรงงานไปยังเกาหลีใต้ มาเลเซีย รัสเซีย และไต้หวัน เป็นหลัก
 
เวียดนามส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ 80,000 คน เมื่อปีที่แล้ว โดยร้อยละ 70 อยู่ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และมาเลเซีย เกาหลีใต้มีตลาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาค จ้างแรงงานเวียดนามกว่า 10,000 คน แต่นับตั้งแต่เดือน ส.ค.ปีที่แล้ว เกาหลีใต้เข้มงวดเรื่องการว่าจ้างแรงงานเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากมีแรงงานที่อยู่เกินกำหนดโดยผิดกฎหมายจำนวนมาก กระทรวงแรงงานเวียดนาม จึงได้กำหนดให้แรงงานจำเป็นต้องวางเงินมัดจำก่อนออกนอกประเทศ รวมถึงตั้งข้อกำหนดอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และคาดว่าจะสามารถส่งแรงงานไปเกาหลีใต้ได้ 12,000-15,000 คน ในปีนี้
 
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานเวียดนาม ยังวางแผนส่งแรงงาน 5,000 คนไปยังลิเบียในปีนี้ด้วย หลังจากในปี 2554 เวียดนามได้เรียกตัวแรงงานกว่า 10,000 คนในลิเบียกลับประเทศ เนื่องจากเกิดวิกฤติทางการเมืองในลิเบีย ส่วนในตลาดใหม่ๆ เช่น ไซปรัส แองโกลา แอลจีเรีย และรัฐฮาวาย มีแรงงานเวียดนามอยู่เพียงร้อยละ 3.1
 
ข้อมูลของคณะกรรมการคุ้มครองแรงงานชาวเวียดนามในต่างประเทศ ระบุว่า นับจนถึงสิ้นปี 2555 มีชาวเวียดนามราว 4 ล้านคน เดินทางไปเรียน ทำงาน หรืออาศัยอยู่ใน 101 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ โดย 400,000 คน เป็นแรงงานชั่วคราว และมีชาวเวียดนามในต่างประเทศส่งเงินกลับไปยังบ้านเกิดของพวกเขาในปี 2555 ราว 10,000-11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ขณะที่ปีก่อนๆ เพิ่มโดยเฉลี่ยร้อยละ 10-15
 
 
เกาหลีใต้เผย 1 ใน 3 ของผู้ใช้แรงงานต่างชาติอยู่เกินกำหนดวีซ่า
 
13 ม.ค. 56 – กระทรวงยุติธรรมเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า กว่า 1 ใน 3 ของผู้ใช้แรงงานต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเกาหลีใต้ตามระเบียบอนุญาตการทำงานมักอยู่เกินกำหนดวีซ่า
 
สถิติเกาหลีใต้ ระบุว่า แรงงานต่างชาติ 15,804 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 37.3 ของจำนวน 42,379 คน ในระบบอี-9 สำหรับแรงงานที่ไม่ใช่สายอาชีพ กลับอยู่เกินกำหนดวีซ่ามาตั้งแต่ในช่วง 10 เดือนแรกของปีที่แล้ว และไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศตามที่กำหนดไว้  ทั้งนี้เกาหลีใต้มีระบบวีซ่าสำหรับอนุญาตเข้าทำงานในประเทศเมื่อปี 2547 ซึ่งแรงงานจาก 15 ประเทศได้รับอนุญาตให้ทำงานในเกาหลีใต้เป็นระยะเวลา 3 ปีภายใต้ระบบวีซ่าอี-9  ซึ่งหลังจากกำหนดเวลา 3 ปีสิ้นสุดลง  ผู้ถือวีซ่าจะต้องเดินทางกลับประเทศเพื่อต่อวีซ่าใหม่อีก 2 ปี  
 
กระทรวงยุติธรรมระบุว่า  จำนวนแรงงานต่างชาติที่วีซ่าอี-9 หมดอายุลงเพิ่ม 8,620 คน เป็น 53,252 คนเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งจำนวนที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 67.9 ของตัวเลขการขยายตัวของชาวต่างชาติที่พำนักโดยผิดกฎหมายทั้งหมดเมื่อปีที่แล้ว  ทั้งนี้ผู้ใช้แรงงานต่างชาติส่วนใหญ่เมื่อปีที่แล้วมาจากกัมพูชามากที่สุดถึง 2,117 คน ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 คิดเป็นร้อยละ 19.3 ของจำนวนชาวต่างชาติหน้าใหม่ทั้งหมด 10,962 คน จาก 15 ประเทศ รองลงมาคือชาวเวียดนาม จำนวน 1,937 คน อินโดนีเซีย 1,047 คน ไทย 945 คนและพม่า 859 คน
 
คนขับรถนักเรียนที่นิวยอร์กนัดผละงานประท้วง
 
17 ม.ค. 56 - วันนี้การเดินทางไปโรงเรียนของเด็กๆ ในนครนิวยอร์กเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากคนขับรถโรงเรียนกว่า 8,000 คน ผละงานประท้วง
 
การผละงานประท้วงของบรรดาคนขับรถรับส่งนักเรียนในนครนิวยอร์กกว่า 8,800 คน ส่งผลให้ นักเรียนกว่า 150,000 คน ต้องเดินทางไปโรงเรียนเองอย่างยากลำบาก แม้ทางการนครนิวยอร์กจะเตรียมพร้อม ด้วยการเพิ่มบริการรถไฟใต้ดินฟรีสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง ที่พาบุตรหลานไปโรงเรียน นอกจากนี้ ทางโรงเรียนยังอนุญาตให้นักเรียนมาสายได้ การผละงานประท้วงของบรรดาคนขับรถรับส่งนักเรียนในนครนิวยอร์ก มีขึ้นเนื่องจากเกรงว่าจะตกงานหลังทางการนครนิวยอร์กเตรียมทำสัญญาว่าจ้างรถโรงเรียนฉบับใหม่ที่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้เป็นจำนวนมาก
 
รบ.บราซิลจ่ายเงินเดือนแรงงาน ค่าดูหนัง-ฟังเพลงอัดฉีด ศก.
 
17 ม.ค. 56 - บราซิลแถลงเมื่อวันพฤหัสบดี(17) มีแผนแจกเงินแรงงานคนละ50เรียลต่อเดือน(ราว 754 บาท) สำหรับค่าใช้จ่ายทางวัฒนธรรม อาทิดูหนัง ฟังเพลง ซื้อหนังสือหรือเที่ยวชมพิพิธภันฑ์ ส่วนหนึ่งในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ
       
"ในชาติพัฒนาแล้วทุกประเทศ วัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในทางเศรษฐกิจ" มาร์ธา ซูพลิซี รัฐมนตรีวัฒนธรรมบราซิล ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐ
       
ระหว่างการสัมภาษณ์เธอยังย้อนให้เห็นว่าสมัยอดีตประธานาธิบดีผู้ได้รับความนิยมอย่าง ลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ก็มีโครงการสนับสนุนครอบครัวรายได้น้อย โดยการให้เงิน ช่วยเหลือแก่ครอบครัวยากจนเพื่อสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันหรือ "Bolsa Familia"
       
"ตอนนี้เรากำลังป้อนอาหารทางใจ แล้วทำไมคนจนถึงต้องถูกกีดกันจากการเข้าถึงวัฒนธรรมด้วยล่ะ" รัฐมนตรีหญิงรายนี้กล่าว
 
คาดปีนี้ทั่วโลกจะมีคนตกงาน 202 ล้านคน
 
22 ม.ค. 56 - องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) เปิดเผยว่า ปีที่แล้วมีคนว่างงานเพิ่มขึ้น 4 ล้านคน รวมเป็น 197 ล้านคน ส่วนปีนี้คาดว่าจะมีคนว่างงานเพิ่มขึ้น 5 ล้านคน รวมเป็น 202 ล้านคน
 
ไอแอลโอ เผยว่า วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อน ทำให้ขณะนี้ทั่วโลกมีคนว่างงานเพิ่มขึ้น 28 ล้านคนจากปี 2550 ซึ่งเป็นปีก่อนเกิดวิกฤติ ปีที่มีคนว่างงานมากเป็นประวัติการณ์คือปี 2552 เป็นปีที่วิกฤติรุนแรงที่สุด มีคนว่างงานมากถึง 199 ล้านคน แต่คาดว่าจะถูกลบสถิติในปีนี้ เพราะปีนี้น่าจะมีคนว่างงานไม่ต่ำกว่า 202 ล้านคน จากนั้นจะเพิ่มขึ้นอีก 3 ล้านคนในปี 2557 และจะเพิ่มเป็น 210.6 ล้านคนในปี 2560
 
ไอแอลโอ ชี้ว่า การไม่ประสานนโยบายการเงินกับการคลังเป็นสาเหตุให้วิกฤติเศรษฐกิจส่งผลรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะเมื่อความต้องการบริโภคซบเซา จะกระทบต่อการจ้างงาน สถานการณ์ยิ่งเลวลงเมื่อหลายประเทศดำเนินมาตรการตัดลดค่าใช้จ่ายด้วยการเลิกจ้างและลดค่าจ้าง คนหนุ่มสาวเป็นกลุ่มที่ถูกกระทบหนักที่สุด ปัจจุบันทั่วโลกมีคนอายุ 15-24 ปีว่างงานมากถึง 73.8 ล้านคน คาดว่าสัดส่วนคนหนุ่มสาวว่างงานจะเพิ่มจากร้อยละ 12.6 เมื่อปีก่อนเป็นร้อยละ 12.9 ภายในปี 2560
 
สมาคมผู้ผลิตสิ่งทอกัมพูชามีมติเห็นชอบที่จะปรับเพิ่มค่าแรงของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ
 
22 ม.ค. 56 - สมาคมผู้ผลิตสิ่งทอกัมพูชา (GMAC) มีมติเห็นชอบที่จะปรับเพิ่มค่าแรงของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ และรองเท้าของประเทศ หลังการประชุมวานนี้ (21) ที่มีรัฐมนตรีกระทรวงกิจการสังคม รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ประธาน GMAC และตัวแทนจากสหภาพแรงงานต่างๆ ในกัมพูชาเข้าร่วมหารือกัน
       
รายงานระบุว่า การประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการที่จะหารือปรับเพิ่มค่าแรงให้แก่แรงงาน และสหภาพแรงงานทุกแห่งควรประชุมกันเพื่อตั้งข้อเสนอที่เป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงาน เพื่อนำไปเจรจาต่อรองกับบรรดานายจ้าง โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) จะเป็นผู้ประสานงานในส่วนนี้
       
ตามข่าวแถลงระบุว่า ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะหารือกันอีกครั้งในวันที่ 26 ก.พ. เพื่อตัดสินใจการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ
       
การเจรจาการปรับเพิ่มค่าแรงมีขึ้นหลังสหภาพแรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลกระตุ้นบรรดาผู้ผลิตปรับเพิ่มค่าแรงให้แก่แรงงานตั้งแต่ปี 2556
       
"ปัจจุบัน ค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานอยู่ที่ 61 ดอลลาร์ นับว่าเป็นอัตราค่าแรงที่ต่ำเมื่อเทียบกับราคาอาหาร และน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกระทบสภาพความเป็นอยู่ของแรงงาน" นายเจีย มุนี ประธานสหภาพแรงงานเสรี ที่เป็นสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชากล่าว
       
"เพื่อช่วยเหลือผ่อนคลายความยากลำบากของแรงงาน ผมประสงค์ที่จะร้องขอต่อประธาน GMAC ให้หารือ และปรับเพิ่มค่าแรงขึ้นต่ำให้แก่แรงงานเป็น 120 ดอลลาร์ต่อเดือน" นายเจียมุนีกล่าว
       
อุตสากรรมสิ่งทอนับเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศที่ใหญ่ที่สุด มีโรงงานอยู่ในภาคส่วนนี้มากกว่า 3,000 แห่ง มีการจ้างงานประมาณ 335,400 ตำแหน่ง โดยร้อยละ 91 ของแรงงานเป็นเพศหญิง
       
รายงานของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาระบุว่า เสื้อผ้า และสินค้าที่เกี่ยวกับสิ่งทอที่ส่งออกไปยังต่างประเทศทำรายได้ให้แก่ประเทศ 4,600 ล้านดอลลาร์เมื่อปีก่อน ขยายตัวขึ้นร้อยละ 8 เทียบปีต่อปี โดยมีสหรัฐฯ และประเทศในยุโรปเป็นตลาดผู้ซื้อหลัก รองลงมาคือ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน.
 
องค์การนักบิน พนักงานต้อนรับ และให้บริการบนเครื่องบินของยุโรป ประท้วงกฎระเบียบใหม่ของอียู
 
22 ม.ค. 56 - นักบินและพนักงานต้อนรับและให้บริการบนเครื่องบินของยุโรป จัดการชุมนุมขึ้นที่หลายสนามบิน พร้อมยื่นข้อเรียกร้องคัดค้านกฎระเบียบการบินใหม่ของอียู ที่บังคับให้พวกเขาต้องบินเกินจำนวนชั่วโมงที่กำหนด และมีทีท่าว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร
 
เยิร์ก ฮันด์แวร์ก นักบินที่ร่วมประท้วง ที่สนามบินแฟรงค์เฟิร์ทของเยอรมัน ซึ่งมีนักบินและพนักงานต้อนรับ และให้บริการบนเครื่องบิน ประมาณ 300 คน มาชุมนุม กล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องหน้าที่เที่ยวบินใหม่ไม่ปลอดภัย และมีความสุ่มเสี่ยงอย่างมากพราะมีเนื้อหาให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสายการบินมาก่อนความปลอดภัย
 
กลุ่มผู้ประท้วงอ้างว่า นักบินอาจจะถูกข้อร้องให้บินเกินกว่า 12 ชั่วโมง แม้จะมีคำกล่าวอ้างของนักวิทยาศาสตร์ว่าความเหนื่อยล้าของนักบินจะเกิดขึ้นหลังการบินนาน 10 ชั่วโมง
 
คริสโต้ฟ แวร์เลอเย นักบินที่สนามบินกรุงบรัสเซลส์ของเบลเยี่ยม กล่าวว่า การศึกษาทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่านักบินซึ่งเหนื่อยอ่อนจะมีพฤติกรรมแบบเดียวกับนักบินที่เมา
 
ผู้โดยสารที่สนามบินชาร์ลเดอโกลล์ในกรุงปารีส ของฝรั่งเศส ได้รับแผ่นพับจากนักบินที่ชุมนุมที่เขียนว่า สิ่งนี้อันตรายดังนั้นจึงไม่ควรอนุญาต
 
สมาคมสายการบินยุโรปหรือ AEA โต้แย้งว่าข้อเสนอปัจจุบันของสำนักงานการบินและความปลอดภัยยุโรป หรือ EASA จะทำให้แน่ใจว่าอียู.เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีกฎการบินที่เข้มงวดที่สุดในโลก โดยอ้างว่ากฎใหม่เหล่านี้ยึดหลักการวิเคราะห์ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ 50 ชิ้น และการปรึกษาหารือกับองค์การเที่ยวบินและองค์กรพนักงานต้อนรับและให้บริการบนเครื่องบิน ตลอดจนสายการบินต่างๆ อย่างกว้างขวาง คาดว่ากฎระเบียบใหม่ของอียู.จะมีผลบังคับใช้ปลายปีนี้
 
ตำรวจกรีซบุกสลายการประท้วงพนง.รถไฟใต้ดินเอเธนส์
 
25 ม.ค. 56 - ตำรวจรายงานว่า บุกสลายกลุ่มผู้ประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดที่สถานีรถไฟใต้ดินของกรุงเอเธนส์ เมื่อเวลาประมาณ 04.00 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย โดยมีผู้ประท้วง 3 คน ถูกควบคุมตัวเป็นการชั่วคราว หลังกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงอย่างสงบมาเป็นวันที่ 9
 
รัฐบาลใช้การประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อขู่จับกุมผู้ชุมนุม หากยังไม่ยอมกลับไปทำงาน อย่างไรก็ดี ยังไม่แน่ชัดว่าจู่โจมครั้งนี้จะทำให้ระบบการขนส่งสาธารณะกลับมาเป็นปกติหรือไม่ ทางการกรีซระบุว่า ผู้ประท้วงละเมิดคำสั่งศาลที่ประกาศให้การผละงานของพนักงานสถานีรถไฟใต้ดินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของกรีซ และเมื่อวานนี้ได้มีคำสั่งให้เข้าสลายการชุมนุมซึ่งส่งผลให้การจราจรในกรุงเอเธนส์กลายเป็นอัมพาตนานกว่า 1 สัปดาห์
 
ด้านสหภาพแรงงานออกมาตอบโต้ด้วยการเรียกร้องให้การขนส่งทั่วไปหยุดให้บริการในวันนี้ โดยในวันนี้ กลุ่มสหภาพพนักงานขับรถเมล์และพนักงานขับรถไฟได้เข้าร่วมการชุมนุมด้วยหลายร้อยคน บริเวณด้านนอกสถานีรถไฟใต้ดิน หลังจากตำรวจเข้าสลาย และปิดล้อมพื้นที่เพื่อป้องกันการเข้ามาสมทบของผู้ชุมนุม
 
รัฐบาลได้นำกฎหมายการเคลื่อนย้ายพลเรือนเข้ามาใช้จัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งนี่นับเป็นครั้งที่เก้าที่มีการนำมาตรการเช่นนี้มาใช้ นับตั้งแต่การล่มสลายของรัฐบาลเผด็จการเมื่อปี 1974
 
พนักงานสถานีรถไฟใต้ดินคัดค้านแผนของรัฐบาลในการลดเงินเดือนของพวกเขา 25% เพื่อให้เท่ากับเงินเดือนในภาครัฐ อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปที่ติดมากับโครงการเงินกู้อียู
 
 
ที่มาเรียบเรียงจาก: ประชาไท, สำนักข่าวไทย, ASTV ผู้จัดการออนไลน์, กรุงเทพธุรกิจ, มติชนออนไลน์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TDRI ชี้ 15,000 บาทเพิ่มเหลื่อมล้ำ อาชีพข้าราชการดีกว่าลูกจ้างเอกชน

Posted: 01 Feb 2013 09:19 PM PST

ผลวิจัยทีดีอาร์ไอระบุข้าราชการไม่ได้มีรายได้ต่ำกว่าลูกจ้างเอกชนเสมอไป แต่อาชีพข้าราชการมีรายได้ตลอดชีวิตเฉลี่ยดีกว่าลูกจ้างภาคเอกชนในทุกระดับการศึกษา นโยบาย ป.ตรี 15000 บาท จะยิ่งเพิ่มช่องว่างของรายข้าราชการกับภาคเอกชนในระดับปฏิบัติการ  

 
2 ก.พ. 56 - การปรับฐานเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทต่อเดือน น่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงดุลภาพในตลาดแรงงาน ภาระเงินงบประมาณของรัฐ และระดับการบริโภคของประชาชน โครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้ค่าแรงไม่น้อยกว่า 300บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนที่มีผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยภายใต้การอุดหนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)การศึกษาในส่วนนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนในภาคราชการ ทำการศึกษาโดย ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ และนายชยดล ล้อมทอง นักวิจัยทีดีอาร์ไอ เน้นพิจารณารายได้ตลอดชีวิตของลูกจ้างราชการเปรียบเทียบลูกจ้างเอกชน และภาระเงินงบประมาณของรัฐในอนาคต ซึ่งจะมีผลต่อฐานะการคลังและความมั่นคงทางการคลังในระยะยาว 
 
การศึกษารายได้ตลอดชีวิตของข้าราชการและลูกจ้างเอกชน ซึ่งการคำนวณรายได้ตลอดชีวิตของข้าราชการและลูกจ้างเอกชน โดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรไตรมาส 3 ทั้งหมด 31 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2523 ถึง พ.ศ.2553 เลือกติดตามดูรายได้ตลอดชีวิตข้าราชการและลูกจ้างเอกชนที่อายุ 25-34 ปี ในพ.ศ.2523 และคำนวณรายได้เฉลี่ย(รวมโบนัส ค่าล่วงเวลา ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า และอื่น ๆ ) ของคนกลุ่มนี้ จำแนกตามระดับการศึกษา 3 ระดับ คือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี และจำแนกตามการอยู่อาศัยคือ นอกเขตและในเขตกรุงเทพฯ จากนั้นได้ติดตามลูกจ้างและข้าราชการกลุ่มนี้ทุกปี และคำนวณค่าเฉลี่ยของรายได้ทุกปี จนกระทั่งคนกลุ่มนี้อายุ 55-64 ปีในปี พ.ศ.2553
 
ผลการศึกษาพบว่า การเป็นข้าราชการและอยู่นอกเขตกรุงเทพฯจะมีรายได้ตลอดชีวิตค่อนข้างดีกว่าการเป็นลูกจ้างเอกชน โดยเฉพาะผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรี การเป็นลูกจ้างเอกชนจะมีรายได้ที่ผันผวน(เป็นความเสี่ยง)แม้ดูเหมือนว่าผู้ที่จบการศึกษาสูงกว่า ป.ตรีจะมีรายได้ดีในบางช่วงก็ตาม โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี รายได้ของลูกจ้างเอกชนจะตกแรงมาก ในขณะที่รายได้ของข้าราชการจะไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ สำหรับข้าราชการที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯจะมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าลูกจ้างเอกชนโดยเฉพาะเมื่อมีการศึกษาตั้งแต่ ป.ตรีขึ้นไป แต่ความผันผวนของรายได้ของข้าราชการก็มักจะต่ำกว่า ดังนั้น โดยเฉลี่ยแล้วข้าราชการไม่ได้มีรายได้ต่ำกว่าลูกจ้างเอกชนเสมอไปตามที่เข้าใจกัน แต่จะมีข้าราชการที่มีการศึกษาสูงซึ่งน่าจะมีโอกาสที่ดีที่จะได้รับค่าตอบแทนที่สูงถ้าได้ทำงานในภาคเอกชน ซึ่งข้าราชการในกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ดี การศึกษานี้ไม่สามารถรวมข้อมูลเกี่ยวกับเบี้ยประชุม รายได้จากการสอนพิเศษหรือทำวิจัย หรือเบี้ยอื่นๆ ที่ข้าราชการได้รับ ซึ่งเงินรายได้จำนวนนี้อาจจะมีจำนวนไม่น้อย
 
นอกจากนี้มูลค่าของสวัสดิการที่ข้าราชการได้รับมีประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่ารายได้ตลอดชีวิต ในขณะที่สวัสดิการสำหรับลูกจ้างเอกชนนั้นมีมูลค่าไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบรายได้รวมสวัสดิการที่เป็นมูลค่าปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าข้าราชการมีรายได้ตลอดชีวิตสูงกว่าลูกจ้างเอกชนในทุก ๆ ระดับการศึกษา ทั้งในเขตกรุงเทพฯและนอกกรุงเทพฯ แต่เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้มูลค่า ณ ราคา ปี พ.ศ.2550 จะเห็นว่าข้าราชการที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีมักได้รับรายได้ตลอดชีพสูงกว่าลูกจ้างเอกชน
 
ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าการทำงานในเขตกรุงเทพฯจะให้มูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีวิตสูงขึ้นกว่าการทำงานในจังหวัดอื่น ๆ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา แต่อย่างไรก็ดี ผู้มีระดับการศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรีที่ทำงานให้แก่ภาครัฐก็ยังมีมูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีพสูงกว่าการทำงานให้ภาคเอกชนเพราะมูลค่าของสวัสดิการนั้นสูงกว่ากันมาก รวมทั้งผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีและทำงานในบริษัทเอกชนจะมีมูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีวิต ณ เวลาที่เริ่มต้นชีวิตทำงานสูงกว่าผู้ที่มีคุณสมบัติเดียวกันแต่ทำงานในภาครัฐ
 
 
นอกจากนี้ การเปรียบเทียบโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ สรุปได้ว่า ข้าราชการได้รับรายได้น้อยกว่าเอกชนเฉพาะกลุ่มอาชีพผู้บริหารหรือข้าราชการที่ทำงานในกรุงเทพเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนน้อยของข้าราชการทั่วประเทศ สำหรับกลุ่มอาชีพอื่น ๆ แล้ว ข้าราชการมีรายได้มากกว่าลูกจ้างเอกชน และความแตกต่างของรายได้เห็นได้ชัดเจนในกรณีที่ข้าราชการทำงานในภูมิภาค ดังนั้น การขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและต่ำกว่า น่าจะยิ่งทำให้ความแตกต่างของรายได้ระหว่างภาครัฐและเอกชนในภูมิภาคต่าง ๆ สูงขึ้นไปอีก 
 
 
สำหรับภาระเงินงบประมาณที่เกิดจากข้าราชการบรรจุใหม่จะน้อยกว่าภาระเงินงบประมาณที่จะเกิดจากการปรับฐานเงินเดือนให้แก่ข้าราชการเก่า เพราะทุกคนจะได้รับการปรับฐานเงินเดือนชดเชยขึ้นเพื่อไม่ให้น้อยกว่าข้าราชการที่เข้าใหม่ และจำนวนข้าราชการเข้าใหม่จะมีจำนวนน้อยตามนโยบายการลดจำนวนข้าราชการ 
 
การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การปรับฐานเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีจะมีผลทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้ตลอดชีพระหว่างข้าราชการและลูกจ้างเอกชนยิ่งสูงมากขึ้น ในขณะที่รายได้ตลอดชีพของข้าราชการที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปนั้นยังน้อยกว่าภาคเอกชน นับว่าเป็นการแก้ปัญหาโครงสร้างบุคลากรราชการที่ไม่ถูกจุด ในอนาคตนั้นจำนวนข้าราชการจะลดลงและเน้นให้ข้าราชการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ การปรับฐานเงินเดือนจึงควรมุ่งเน้นไปยังตำแหน่งงานที่มีความรับผิดชอบสูง ส่วนจำนวนข้าราชการระดับใช้ความรู้หรือทักษะน้อยนั้นต้องลดจำนวนลง งานหลายประเภทควรให้ภาคเอกชนรับไปทำ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปัญหา การใช้และตีความกฎหมายอาญามาตรา 112

Posted: 01 Feb 2013 08:49 PM PST

 
กล่าวได้ว่า มาตรา๑๑๒ ได้ถูกนำไปบัญญัติไว้ใน ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร[1] เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม (นายกรัฐมนตรี)ได้ตรา "ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙" เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ การจัดหมวดหมู่เช่นนี้ ทำให้ความผิดดังกล่าวเป็นคดีอาญาแผ่นดินที่ใครก็ตามสามารถนำเรื่องที่มีการกล่าวหรือโฆษณาด้วยประการใดก็ตามไปแจ้งความ ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้กระทำ แม้ข้อกล่าวหานั้นจะมีมูลหรือไม่ก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจมักเร่งดำเนินการสอบสวนและควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหา และรีบดำเนินคดีต่อศาล โดยไม่ยอมให้มีการประกันตัว อ้างเหตุเป็นคดีร้ายแรง เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เกรงผู้ต้องหาจะหลบหนี เช่น กรณีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ วอยส์ ออฟ ทักษิณ และนักสหภาพแรงงาน ที่เพิ่งถูกพิพากษาจำคุกไปเมื่อเร็วๆนี้ กรณีนายอำพล หรืออากง ที่ถูกจำคุก ๒๐ ปี และเสียชีวิตในเรือนจำ นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นายธัญฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล บุคคลเหล่านี้ ไม่ได้รับการประกันตัว นับแต่ถูกจับกุม
 
การจัด มาตรา ๑๑๒ ไว้ในหมวดความั่นคงแห่งราชอาณาจักร ทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้และการตีความการบังคับมาโดยตลอด ทั้งๆที่ในคำอธิบายของอาจารย์ผู้สอนกฎหมาย วิชากฎหมายอาญาภายหลังการจัดทำประมวลกฎหมายอาญา ตั้งแต่ปี ๒๔๙๙ นั้น อธิบายว่า ความผิดฐานตามมาตรา ๑๑๒ นั้นมีองค์ประกอบความผิดเช่นเดียวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายบุคคลธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๒๖ ซึ่ง หมายถึง การใส่ความบุคคลตามมาตรา ๑๑๒ ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลตามมาตรา ๑๑๒ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง แม้คำพูดดังกล่าวจะจริงหรือเท็จก็ตาม ถ้าพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เสียหาย ก็ถือว่าหมิ่นประมาทแล้วตามมาตรานี้ได้  "ดูหมิ่น" มีความหมายเช่นเดียวกับการกระทำในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามมาตรา ๑๓๖ หรือตามนัยแห่งการกระทำในความผิดฐานดูหมิ่นบุคคลธรรมดาตามมาตรา ๓๙๓  
 
ปัญหาการตีความมาตรา ๑๑๒
 
ประการแรก ตีความโดยอ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่บัญญัติไว้ว่า       
" องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ " นั้น
 
ควรมีความหมาย ที่อธิบายแยกกัน ดังนี้
 
ความหมายที่แท้จริงของ "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะ
ละเมิดมิได้"[2]
 
ในประเพณีการเมืองการปกครองของไทย นับแต่ปี ๒๔๗๕ ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น มีความหมายโดยปริยายว่าบุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ รวมทั้งพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ด้วย แต่สังคมไทยยังให้การเคารพยกย่องพระมหากษัตริย์ เพราะทรงเป็นประมุขของปวงชนชาวไทย
 
ในประเทศไทยบุคคลทุกคนย่อมมีฐานะเสมอกัน ยกเว้นพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์จะเสด็จไปที่ใดๆทางราชการต้องจัดให้มีการเคารพเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเป็นหน้าที่ของราษฎรที่จะต้องทำความเคารพดุจกัน การไม่เคารพพระมหากษัตริย์หรือเพลงสรรเสริญพระบารมี ไม่มีโทษตามกฎหมาย แต่เป็นโทษทางสังคมที่จะถูกตำหนิติเตียนจากสังคม ฯลฯ
 
เพื่อให้ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ กฎหมายได้คุ้มครองพระมหากษัตริย์สูงกว่าบุคคลธรรมดา เช่นการประทุษร้ายต่อพระมหากษัตริย์ จะถูกลงโทษตามกฎหมายอาญาหนักกว่ากระทำต่อบุคคลธรรมดา
 
ในทางปฏิบัติเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ให้เป็นที่เคารพสักการะ รัฐไทยโดยสภาผู้แทนราษฎรได้ถวายเงินรายปีให้แก่พระมหากษัตริย์เป็นจำนวนสูงกว่าเงินเดือนข้าราชการทั่วไป
 
นอกจากนี้การที่มีการเขียนบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะนั้น ย่อมมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์จะต้องอยู่เหนือการเมือง ต้องเป็นกลางทางการเมือง ไม่เข้าข้างพรรคการเมืองฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดและจะต้องไม่ทรงปรึกษาหารือกับนักการเมืองใดๆ นอกจากคณะองคมนตรีและคณะรัฐมนตรี
 
หากมีพระราชประสงค์จะพบกับพรรคการเมืองหรือนักการเมืองผู้ใด ต้องขอให้รัฐบาลจัดถวาย และควรมีพระราชดำรัสต่อหน้ารัฐมนตรีเพื่อแสดงความเป็นกลาง
 
ในประเทศนั้นมีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ไม่เป็นพรรคพวกของพรรคการเมือง ทั้งนี้เพราะพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของราษฎรทุกคน ทั้งคนทั่วไปที่สนับสนุนนักการเมืองฝ่ายค้านหรือสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล และไม่ว่าแต่ละคนจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือไม่หรือ ฝักใฝ่การเมืองแบบใด ซึ่งโดยนัยนี้จะต้องถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกป้องรัฐธรรมนูญ โดยจะเห็นได้จากประเพณีทางการเมืองที่เมื่อมีการกระทำสำคัญของรัฐ เช่นการยุบสภา การเปิดหรือ ปิดสมัยประชุมสภาผู้แทน ราษฎร ต้องมีพระบรมราชโองการที่มีการทรงลงพระปรมาภิไธย หรือ ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติใดก่อนการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ต้องมีการลงพระปรมาภิไธยเสมอ ซึ่งกรณีเหล่านี้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาแต่อดีต ถ้าหากมีการกระทำที่ไม่ ถูกต้องตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ย่อมไม่ทรงประทานพระปรมาภิไธย อันจะทำให้การกระทำนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้ เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระราชอำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ โดยพระราชทานกลับคืนมาให้รัฐสภาพิจารณาใหม่ เนื่องจากในร่างดังกล่าวมีถ้อยคำและรายละเอียดเนื้อหาที่บกพร่องถึง ๑๓ จุด ได้แก่ การใช้ถ้อยคำและข้อความผิด อ้างมาตราเชื่อมโยงผิด เป็นต้น ส่งผลให้ร่างดังกล่าวต้องตกไป นอกจากกฎหมายฉบับนี้แล้ว ยังมีร่าง พ.ร.บ.เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ที่ได้ทรงยับยั้งร่างกฎหมายไว้ในคราวเดียวกัน เนื่องจากมีการระบุลักษณะของเหรียญผิดพลาด[3]
 
นอกจากนี้ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย ยังได้อธิบายไว้ว่า คำว่า "ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นั้น[4]  อาจพิจารณาได้ ๓ ทาง คือ ในทางรัฐธรรมนูญ ในทางอาญา และในทางแพ่ง
 
ในทางรัฐธรรมนูญ หมายถึงใครจะตำหนิติเตียนพระมหากษัตริย์ในทางรัฐธรรมนูญไม่ได้ การอภิปรายถึงพระมหากษัตริย์ในทางเสื่อมเสียพระเกียรติ ประธานรัฐสภา ต้องไม่ยอมให้เกิดขึ้น หรือ ญัตติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประเทศไทยเป็นสาธารณรัฐ ย่อมทำไม่ได้ หรือพระราชดำรัสในวาระต่างๆของพระมหากษัตริย์ที่กระทำในนามของรัฐบาลหรือรัฐมนตรี เช่น การเปิดประชุมรัฐสภา นั้น สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่ต้องวิจารณ์ว่าเป็นการกระทำของคณะรัฐมนตรีที่ไม่ถวายคำแนะนำในพระราชดำรัสนั้น หรือไม่ถวายคำแนะนำในการดำเนินนโยบายหรือโครงการตามที่ปรากฏในพระราชดำรัสนั้นๆ
 
สำหรับในทางอาญา และในทางแพ่ง เจ้าพนักงานจะจับกุมพระมหากษัตริย์ไม่ได้ เพราะศาลย่อมไม่รับฟ้องขอให้พระมหากษัตริย์เป็นจำเลย ไม่ว่าจะได้ทรงกระทำผิดทางอาญาในฐานะที่ยังดำรงตำแหน่งกษัตริย์หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญก็จริง แต่อยู่นอกกฎหมายธรรมดา ถ้ากล่าวถึงกฎหมายย่อมไม่ใช้บังคับแก่องค์พระมหากษัตริย์ หรือในทางแพ่งก็เช่นเดียวกันจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ว่าไม่ทรงชำระหนี้ หรือเรียกร้องให้พระมหากษัตริย์ชำระหนี้ตามสัญญาย่อมไม่ได้
 
แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะฟ้องร้องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ได้ เพราะเป็นการฟ้องร้องนิติบุคคล หรือหากเป็นการฟ้องร้องทรัพย์สินส่วนพระองค์ก็สามารถฟ้องผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ได้      
 
ส่วนบทบัญญัติที่ว่า "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ " นั้น มาจากพัฒนาการทางการเมืองของอังกฤษเป็นผลให้พระมหากษัตริย์ถูกจำกัดพระราชอำนาจ ทั้งในการตรากฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน จนในที่สุดได้พัฒนาไปสู่การ "ทรงอยู่ เหนือการเมือง" และ "ไม่ทรงรับผิดชอบทางการเมือง" ทรงทำหน้าที่เป็นประมุขอย่างเดียว โดยกิจกรรมทางการเมืองจะทรงทำตามบทบัญญัติกฎหมาย และจารีตประเพณี โดยมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อันเป็นผลให้องค์พระประมุขทรงพ้นจากความรับผิดเพราะผู้รับสนองพระบรมราชโองการต้องเป็นผู้รับผิดชอบแทน พระมหากษัตริย์จึงกลายเป็นสถาบันที่ผู้ใดจะละเมิดหรือว่ากล่าวฟ้องร้องไม่ได้ (the King can do no wrong)
 
ประเทศไทยได้นำระบบรัฐสภาแบบอังกฤษมาปรับใช้ จึงนำหลักการดังกล่าวมาบัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ ว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" โดยสิ่งใดที่พระมหากษัตริย์ทรงกระทำจะต้องมีผู้รับผิดชอบ ซึ่งมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐            มาตรา ๑๙๕ ว่า "บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ บทกฎหมายที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพลัน"[5]
 
ดังนั้นในทางหลักกฎหมาย ต้องตีความว่า บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘ ที่ว่า
"องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้"
 "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ " เป็นบทบัญญัติเพื่อถวายพระเกียรติและยกย่องพระมหากษัตริย์ ตามหลัก the King can do no wrong ซึ่งถือว่าพระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดใดๆเพราะ มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญแทนพระมหากษัตริย์
           
ประการที่สอง การตีความมาตรา ๑๑๒
 
หลักการตีความกฎหมายอาญาของประเทศไทยนั้น นักนิติศาสตร์ต่างถือว่า การตีความโดยขยายความ เป็นวิธีการที่ต้องห้าม ซึ่งการตีความโดยเคร่งครัดตามถ้อยความของตัวบท สามารถกระทำได้โดยมีเหตุผลว่า กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น ถูกจับกุม คุมขัง เป็นการละเมิดต่อสิทธิในชีวิตและร่างกาย รัฐจะดำเนินการอย่างไรต่อประชาชนย่อมมีข้อจำกัด
 
แต่ในทางปฏิบัติกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เหมือนกฎหมายแห่งความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้การตีความกฎหมายเป็นการตีความอย่างกว้างเพื่อเอาผิดกับผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อแสดงความจงรักภักดีของผู้ดำเนินคดี การกระทำหลายอย่างถูกตีความว่าเป็นความผิดตามมาตรา ๑๑๒ เช่น การไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี[6] การตีความว่าพระบรมมหาราชวังหมายความรวมถึงพระมหากษัตริย์ด้วย[7] กรณีคำพิพากษาลงโทษจำคุกนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข เมื่อเร็วๆนี้ การวิพากษ์วิจารณ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่มิใช่บุคคลภายใต้องค์ประกอบความผิดของมาตรา ๑๑๒ ก็ถูกดำเนินคดี เป็นต้น ทำให้การตีความคำว่าหมิ่นประมาทและดูหมิ่น เป็นไปอย่างกว้างและไม่มีขอบเขต ไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตอันเป็นสิทธิของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อมีการตีความใช้มาตรานี้ ร่วมกับความเข้าใจผิดของข้อความที่ว่า " องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" แล้วการตีความมาตรานี้ยิ่งมีความกว้างขวาง ไม่เคร่งครัดตามแบบการตีความการใช้กฎหมายอาญาในความผิดฐานอื่น
 
ดังนั้นหากประชาชนที่มีความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือบุคคลากรใน
กระบวนการยุติธรรมที่อ้างว่าปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ในนามของพระมหากษัตริย์ ต้องการแสดงความจงรักภักดีในทางที่ถูกต้อง จะต้องไม่ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ กล่าวโทษผู้อื่นที่กล่าวพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ ส่วนราชการในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะศาลต้องไม่ตีความใช้ มาตรา ๑๑๒ อย่างกว้างขวาง โดยการนำการตีความตามมาตรา ๘ ของรัฐธรรมนูญมาใช้อย่างเข้าใจความหมายของมาตรานี้ดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีการบังคับให้เคารพ สักการะไว้ในกฎหมายแต่อย่างใด
 
 

[1] ประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๒  ความผิดลักษณะ ๑ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หมวด ๑ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มาตรา ๑๐๗-มาตรา ๑๑๒  
[2]    เรียบเรียงจาก หนังสือ คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ และ ธรรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕ ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย จัดพิมพ์โดย หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน สำนักพิมพ์วิญญูชน หน้า ๑๕- ๒๔
[3] จากเว็บไซต์สถาบันนโยบายศึกษา http://www.fpps.or.th/news.php?detail=n๑076353807.news
[4] อ้างแล้ว หน้า ๑๗ -๑๘
[5] จากเว็บไซต์ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/
[6] คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๙๔/๒๕๒๑ ขณะเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี จำเลยได้กล่าวถ้อยคำว่า "เฮ้ยเปิดเพลงอะไรโว้ยฟังไม่รู้เรื่องและจำเลยมิได้ยืนตรงเช่นประชาชนคนอื่น การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
 
[7] คำพิพากษาฎีกา ที่ ๒๓๕๔/๒๕๓๑ นายวีระ มุสิกพงศ์ จำเลย ศาลฎีกา เห็นว่าข้อความที่จำเลยกล่าวว่า"ทำไมถ้าเลือกเกิดได้ก็เลือกเกิดมันใจกลางพระบรมมหาราชวังนั่นออกมาเป็นพระองค์วีระซะก็หมดเรื่อง" เป็นข้อความที่จาบจ้วงล่วงเกินองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมราชวงศ์ คือ พระบรมราชินีนาถและพระบรมโอรสาธิราชด้วย เพราะพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีนาถและองค์รัชทายาท พิพากษาให้ลงโทษจำคุกกระทงละ ๒ ปี รวม ๒ กระทง เป็นจำคุก ๔ ปี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออกแถลงจี้บริษัทอีเลคโทรลักซ์รับกลับคนงาน

Posted: 01 Feb 2013 07:37 PM PST

 
2 ก.พ. 56 - กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออกที่มีสมาชิก 50 กว่าสหภาพแรงงาน ออกแถลงการณ์จี้บริษัทอีเลคโทรลักซ์รับคนงานที่ถูกเลิกจ้างกลับคงสวัสดิการ,สิทธิประโยชน์และการเจรจาต่อรองของคนงานไว้ พร้อมทั้งหยุดการกระทำที่ละเมิดสิทธิสหภาพแรงงาน
 
โดยเนื้อหาของแถลงการณ์ทั้งหมดมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ...
 
 
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556
 
เรียน เพื่อนพี่น้องผู้ใช้แรงงาน, ประชาชนและสื่อมวลชนที่รักทุกท่าน
 
กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 272/142 หมู่ 6 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เป็นองค์กรที่เป็นการรวมกลุ่มกันของสหภาพแรงงานในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ได้มีการรวมตัวกันมาเป็นเวลามากกว่า 3 ปี มีสมาชิกเป็นผู้ใช้แรงงานมากกว่าสองหมื่นคนโดยมีสหภาพแรงงานฯ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 50 สหภาพแรงงานซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของลูกจ้าง เป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารและให้การศึกษาด้านการบริหารงานขององค์กรของผู้ใช้แรงงาน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องผู้ใช้แรงงานและสังคม
 
กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออกมีความเป็นห่วงอย่างยิ่งในกรณี ที่มีการเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการและสมาชิกของสหภาพแรงงาน อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำนวน 129 คน เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2556 เป็นต้นมา ตลอดระยะเวลาในหลายปีที่ผ่านมาลูกจ้างได้ให้ร่วมมือกับทางบริษัทฯ ในการที่จะทำให้บริษัทฯ ได้มีผลกำไรอย่างสูงสุด ถึงแม้ว่าพนักงานต้องปฏิบัติงานด้วยความเหน็ดเหนื่อยอย่างเต็มความสามารถ พนักงานทุกคนก็ยังเต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียรเพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมายตามที่บริษัทฯ ต้องการ บริษัทฯ ได้มีการจ้างในระบบเหมาค่าแรงเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการลดต้นทุน เพื่อให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลงซึ่งเป็นการจ้างงานที่เอาเปรียบผู้ใช้แรงงานเป็นอย่างยิ่ง ทำให้พนักงานขาดความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ไม่เป็นธรรมเป็นการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานเหมาค่าแรงซึ่งเขาเหล่านี้ก็มีชีวิตและ "มีค่าความเป็นคนไม่ได้แตกต่างจากที่ผู้บริหารเป็น" รวมถึงพนักงานประจำที่ทำงานมานานร่วม 10 ปี หลายคนยังมีเงินเดือนยังอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำของค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบัน จากเหตุการณ์เหล่านี้ สหภาพแรงงาน อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จึงเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับสมาชิกและพนักงานเหมาค่าแรงทุกคน โดยการปรับค่าจ้างในสัดส่วนที่เหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพและปรับบรรจุพนักงานเหมาค่าแรงให้เป็นพนักงานประจำเพื่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิตและครอบครัว
 
ดังนั้นกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ซึ่งมีสหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกเสมือนหนึ่งผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน จึงเรียนมายังบริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด ได้โปรดพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับกรรมการและสมาชิกสหภาพแรงงานฯทุกคน และขอให้บริษัทฯ หาข้อยุติการละเมิดสิทธิแรงงานโดยด่วน
 
จากปัญหาต่างการเลิกจ้างกรรมการและสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ที่กล่าวมาข้างต้นโดยมีผลการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2556 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่านายจ้างมีเจตนาที่จะละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ในมาตรา 64 "มาตรา ๖๔ "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น" และสิทธิของพนักงานในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานฯ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของลูกสามารถกระทำได้ตามความมาตรา 77 และมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิ์ในการก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ อนุสัญญาหลักฉบับที่ 87 และ 98 ในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม การที่บริษัทฯ เลิกจ้างลูกจ้างในกรณีดังกล่าวนี้ จึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 อีกทั้งยังเป็นการกระทำที่ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วย "OECD Guideline re freedom of association and collective bargaining and UN Global Compact "Human Rights"
 
ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมของลูกจ้างทั้งหมด และเพื่อประโยชน์แก่องค์กรของลูกจ้างที่จัดตั้งมาเพื่อประโยชน์ของพนักงานบริษัทฯ ทุกคนมีสิทธิ์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน จึงขอเรียกร้องให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายดังต่อไปนี้
 
1. ให้บริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด รับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวทั้งหมดเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างและสวัสดิการที่ได้รับขณะเลิกจ้าง โดยให้ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการ
 
2. ห้ามมิให้บริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด ขัดขวางการดำเนินงานของสหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
 
ดังนั้น กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก จึงขอร้องเรียนมายังท่านให้ดำเนินการช่วยเหลือให้สมาชิกสหภาพแรงงานฯ ได้รับความเป็นธรรมและให้นายจ้างเคารพกฏหมายและยุติพฤติกรรมที่เป็นการละเมิดกฏหมายเพื่อไม่ให้พนักงานได้รับความเดือดร้อนและเป็นการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์อันดีในระบบทวิภาคีที่ยั่งยืนตลอดไป
 
จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์จากท่าน
 
กรรมกรจงรวมกันเข้า
นายบุญยืน สุขใหม่
ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น