โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงระบุการปะทะ 13 ก.พ. เผยจุดอ่อนสถานการณ์ชายแดนใต้

Posted: 18 Feb 2013 01:00 PM PST

แอนโทนี เดวิส วิเคราะห์ด้านความมั่นคงระบุปฏิบัติการล้มเหลวเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ของกลุ่มก่อความไม่สงบในภาคใต้ ถือเป็น 'การพลิกกลับทางยุทธศาสตร์' ผลจากการเติบโตของวงจรการข่าวฝ่ายรัฐ และการไม่มองถึงปฏิกริยาสะท้อนกลับจากปฏิบัติการสร้างความหวาดกลัวของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบ ขณะเดียวกันการปะทะกันโดยตรงทั้งสองฝ่ายถือเป็นการยกระดับความขัดแย้งและย้ำถึงปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาว

สำนักข่าวเอเชียไทม์ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ของแอนโทนี เดวิส นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากหน่วยงาน IHS Jane's เรื่องเหตุการณ์ปะทะที่ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีเนื้อหาระบุว่าเป็นเวลานานเกือบทศวรรษแล้วที่เหตุการณ์ความไม่สงบโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ของประเทศไทย มักจะเป็นกรณีที่ฝ่ายทหารถูกลอบโจมตี, ลอบทำร้าย และถูกทำให้เสียเกียรติ แต่เหตุการณ์ปะทะในวันที่ 13 ก.พ. ทั้งสองฝ่ายสลับบทบาทกัน โดยที่กลุ่มทหารนาวิกโยธินและกองหนุนจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษได้ปฏิบัติการตอบโต้ฝ่ายก่อการซึ่งเป็นการโต้ตอบกลับที่สร้างความเสียหายต่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

เหตุดังกล่าวส่งผลให้ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 16 ราย รวมถึงแกนนำใหญ่ของกลุ่ม และมีอาวุธที่ถูกยึดมาได้ในจำนวนใกล้เคียงกัน ถือเป็นการตีแตกฝ่ายก่อการในทางจิตวิทยาและทางยุทธศาสตร์ในพื้นที่

แต่อย่างไรก็ตาม บทความดังกล่าวระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็กลับย้ำถึงปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาวจากการต้องเผชิญหน้ากับปฏิบัติการของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนมลายูมุสลิมที่จะเป็นตัวกำหนดสภาพการณ์ความขัดแย้งในอนาคต

โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 13 ก.พ. เริ่มจากการที่ฝ่ายก่อการวางแผนบุกฐานยุทโธปกรณ์ปืนไรเฟิลของหน่วยนาวิกโยธินไทยที่ตำบลบาเระเหนือ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยที่กลุ่มผู้ก่อเหตุราว 50-60 ราย แต่งกายเลียนแบบทหารสวมชุดเกราะกันกระสุน ซึ่งถือเป็นการโจมตีในสเกลใหญ่ต่อฐานหน่วยความมั่นคงโดยมุ่งไปที่การยึดอาวุธ

นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงระบุว่าการโจมตีครั้งล่าสุดมีความคล้ายคลึงกับปฏิบัติการ "มะรือโบ โมเดล" ในปี 2011 และ 2012 ที่ฝ่ายผู้ก่อการแบ่งออกเป็นสามทีม สองทีมโจมตีจะมีทีมหนึ่งออกไปปฏิบัติการหลอกล่อและจากนั้นทีมโจมตีหลักจึงเข้าโจมตีจากอีกด้าน ขณะที่ทีมที่สามจะตัดถนน ล้มต้นไม้ วางตะปูเรือใบและระเบิดแสวงเครื่อง  เพื่อป้องกันไม่ให้กำลังเสริมเข้ามาที่ฐานได้

โดย  "มะรือโบ โมเดล" ที่กล่าวถึงนี้อ้างอิงถึงปฏิบัติการจู่โจมที่ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อเย็นวันที่ 19 ม.ค. 2011 ในปฏิบัติการของผู้ก่อการครั้งนั้น กลุ่มผู้ก่อการที่วางกำลังมาอย่างดี 40 ราย เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการพระองค์ดำ สังกัด ร้อย ร.15121 ฝ่ายผู้ก่อการได้สังหารทหาร 4 นาย ทำให้บาดเจ็บอีก 6 นาย และได้ยึดอาวุธปืนกลไปราว 50 กระบอก

อย่างไรก็ตามในเหตุการณ์ครั้งล่าสุดฝ่ายลาดตระเวณได้วางกำลังแน่นหนาล้อมฝ่ายผู้ก่อการทำให้สถานการณ์ถูกควบคุมไว้ได้ โดย พันเอก ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน. ประจำพื้นที่ภาคใต้กล่าวว่าเขาได้รับรายงานจากชาวบ้านในพื้นที่และอดีตผู้ก่อการที่หนีออกมาเพราะไม่ชอบใช้ความรุนแรง แต่ทางหน่วยงานทหารในพื้นที่บอกว่าข้อมูลปฏิบัติการในครั้งนี้ทราบมาจากเอกสารและภาพสเก็ตซ์ที่ยึดมาได้จากจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ถูกสังหารในวันที่ 9 ก.พ.

"มีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายทหารจะได้ข้อมูลมาจากวงในของกลุ่มก่อการซึ่งเป็นข้อมูลหายาก เพราะไม่เพียงแค่นาวิกโยธินจะรู้ถึงแหล่งเกิดเหตุ แต่ยังรู้วันปฏิบัติการด้วย จึงเป็นไปได้ว่ากลุ่มวงในของผู้ก่อการจะเป็นแหล่งข้อมูลในกรณีนี้"

บทความระบุว่า ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายเริ่มเปิดฉากยิงก่อน แต่เมื่อมีการต่อสู้เกิดขึ้นแล้วทีมจู่โจมหลักของฝ่ายผู้ก่อการก็ได้บุกผ่านสวนยางพาราไปยังหน้าฐานทัพจนมีการยิงต่อสู้กับนาวิกโยธินและหน่วยรบพิเศษ 'ซีล' ที่หลบอยู่หลังกระสอบทราย ขณะที่กลุ่มที่สองซ่อนอยู่หลังอาคารชั้นเดียวห่างออกไปจากฐานทัพ 100 เมตร

ขณะเดียวกัน กองทัพก็ได้เตรียมพร้อมโดยการวางกับดักระเบิด M-18 เคลย์มอร์ ไว้รอบๆ มีกองกำลังอยู่ทั้งภายในและภายนอกฐานทัพ รวมแล้วราวๆ 110 นาย พวกเขาติดกล้องมองกลางคืน (Night-vision Googles) แม้ว่าทางหน้าฐานทัพจะมีแสงส่องอยู่เป็นบางคราวก็ตาม หลังจากที่มีการยิงต่อสู้กันราว 20 นาที ก็เริ่มเกิดการชุลมุน กลุ่มนักรบของฝ่ายก่อการส่วนใหญ่พากันหนีไปกับรถกระบะที่รออยู่สามคัน ทิ้งรถกระบะคันที่เต็มไปด้วยรอยกระสุนและรถจักรยานยนต์อีก 2 คันไว้ ฝ่ายทหารพบอาวุธปืนกลจำพวก M-16 และอาก้า 13 กระบอกตกอยู่รอบฐานทัพ

การพลิกกลับทางยุทธศาสตร์

แอนโทนี เดวิสวิเคราะห์ว่าความสูญเสียของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในครั้งนี้ถือเป็นการพลิกกลับทางยุทธศาสตร์ที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สถานการณ์แบ่งแยกดินแดนเกิดขึ้นในช่วง ม.ค. 2004 ที่ผ่านมา แม้ว่าในเหตุการณ์โจมตีฐานกองกำลังที่ ยะลา กับที่ปัตตานี ในวันที่ 28 เม.ย. 2004 รวมถึงเหตุมัสยิดกรือเซะในวันถัดมาจะมีผู้เสียชีวิต 101 ราย แต่สถานการณ์ในตอนนี้ก็ต่างจากในตอนนั้น มีหลักฐานแน่นหนาว่าผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนจำนวนหนึ่งมองการเสียชีวิตในปี 2004 ว่าเป็นสิ่งที่จะใช้ในการเรียกร้องความเห็นใจจากประชาชนได้

"กลุ่มผู้เสียชีวิตในปี 2004 ไม่มีอาวุธที่มีประสิทธิภาพนัก หลายคนมีแค่มีดมาเชตต์ (Machete) และจากการทำพิธีกรรมทางศาสนาช่วงคืนก่อนหน้าทำให้หลายคนบุกโจมตีเต็มกำลังเนื่องจากคิดว่าพวกเขายิงไม่เข้าหรือไม่มีใครมองเห็น ที่สำคัญคือผู้จัดตั้งการจู่โจมเชิงพิธีกรรมคือ ยูซุฟ ระยาลอง หรือที่รู้จักกันในนาม อุชตาด โซ ไม่ได้ร่วมบุกเข้าโจมตีในปฏิบัติการกันชนแลกกระสุนในครั้งนี้และยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในปัจจุบัน"

"เหตุการณ์ที่บาเจาะถือเป็นโชคดีของกองทัพและเป็นภาวะสะดุดของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน เป็นความพ่ายแพ้เชิงยุทธศาสตร์ในสงครามยืดเยื้อที่มีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมองจากมุมนี้แล้วอย่างน้อยเหตุการณ์ที่บาเจาะก็แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในตัวเองมากเกินไปของกลุ่มการเคลื่อนไหวใต้ดินที่วางใจในยุทธศาสตร์ที่ตนตั้งไว้ และรู้สึกว่าสงครามกำลังดำเนินไปตามที่พวกเขาคิด"

แอนโทนี เดวิสวิเคราะห์ว่ามีอีกเรื่องที่น่ากล่าวถึงคือเหตุการณ์เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2012 ผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่เดียวกันได้ใช้ยุทธการ "มะรือโบ โมเดล" ในการจู่โจมฐานกองกำลังหน่วยนาวิกโยธินอีกแห่งหนึ่งในบาเซาะ โดยสามารถผ่านด่านคุ้นกันและทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 11 ราย แต่หน่วยนาวิกโยธินไทยน่าจะเป็นหน่วยที่มีความเชี่ยวชาญที่สุดในพื้นที่และได้เรียนรู้จากการถูกโจมตีในครั้งนี้ การบุกเข้าจู่โจมฐานนาวิกโยธินในพื้นที่เดียวกันถือเป็นความบ้าระห่ำภายใต้สถานการณ์ที่ดีที่สุด

"อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเหตุการณ์ในวันที่ 13 ก.พ. ในฐานะพลวัตของการต่อสู้แบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ เหตุการณ์ที่บาเซาะเป็นการปะทะกันระหว่างกลุ่มที่มีความขัดแย้งสองกลุ่มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถือเป็นการยกระดับสถานการณ์ความขัดแย้ง กล่าวสั้นๆ คือ มันเป็นการนองเลือดที่ควรจะเกิดขึ้นในจุดหนึ่งและมีทีท่าจะเกิดขึ้นอีก

"มีปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นช่วงปลาย 2011 คือการที่ฝ่ายผู้ก่อการมีความพยายามยกระดับปฏิบัติการทางทหารด้วยการพัฒนากองกำลังกึ่งประจำการที่มีอาวุธดีๆ มีการฝึกอย่างดี และเริ่มสวมชุดเลียนแบบทหารมากขึ้น กระบวนการนี้รวมถึงการจัดกำลังกองเล็ก 6-7 คน ในชื่อ อาร์เคเค (มาจาก Runda Kumpulan Kecil ในภาษามาเลย์) เอาไปรวมเป็นกองกำลัง 12 คน (regu) และ 36 คน (platong) เป็นทีมระดับมากกว่า 100 คน (kompi) และมักจะปฏิบัติการในพื้นที่ระดับตำบล

"พวกเขามักจะออกปฏิบัติการในระดับกองกำลัง 10-20 คน หรือบางครั้งก็ในระดับ 36 คนหรือมากกว่า ในการปฏิบัติการแบบ "มะรือโบ โมเดล" พัฒนาการตรงนี้เป็นไปตามแบบร่างที่เสนอโดยนักยุทธศาสตร์ของขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (Barisan Revolusi Nasional หรือ BRN) ที่มีบทบาทนำในการวางกรอบ วางแผน และจัดตั้งขอบข่ายงานด้านการเมืองการทหารสำหรับการปฏิวัติในครั้งนี้"

แอนโทนีระบุว่า ตามความเข้าใจของหน่วยข่าวกรองกองทัพไทยนั้นคิดว่าหน่วย BRN เป็นองค์กรที่รับอิทธิพลแนวคิดเรื่อง 'สงครามประชาชน' มาจากทฤษฎีเหมาอิสท์ อย่างไรก็ตามในแง่โมเดลการทหารตามทฤษฎีเหมาแบบคลาสสิกแล้ว การพัฒนาหน่วยรบแบบกองโจรในพื้นที่มาจนถึงการจัดตั้งกองกำลังผู้ก่อการในพื้นที่จะเป็นไปโดยคู่ขนานกับการสร้าง 'อาณาเขตที่ถูกปลดปล่อย' ที่เหล่านี้คือพื้นที่ซึ่งหน่วยผู้ก่อการได้จัดตั้งการควบคุมทางการเมืองต่อประชาชนในพื้นที่ได้ระดับหนึ่งและสามารถสกัดกั้นไม่ให้ติดต่อกับหน่วยงานรัฐได้โดยง่าย ทำให้เกิดพื้นที่สำหรับฝ่ายก่อการขยายตัวและจู่โจมในวงกว้างขึ้นได้

"แต่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทย กลุ่มแบ่งแยกดินแดนยังไม่สามารถสร้าง 'อาณาเขตที่ถูกปลดปล่อย' ได้ ตลอด 9 ปีของความขัดแย้งกลุ่มผู้ก่อการดูจะติดอยู่กับภาวะตีบตันในเชิงยุทธศาสตร์ จากความพยายามพัฒนากลุ่มก่อการที่ใหญ่ขึ้น เข้มแข็งขึ้น ขณะเดียวกันก็ให้หน่วยทหารทั่วไปเป็นทีมลับๆ ของ RKK ที่แฝงตัวลงไปอยู่กับชุมชนในพื้นที่หรือในหมู่บ้านที่หน่วยงานรัฐยังสามารถเดินทางลงไปอย่างค่อนข้างสะดวก" แอนโทนีวิเคราะห์

ไม่มีปฏิบัติการปลดปล่อย

นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงระบุว่า สถานการณ์เช่นนี้มีอยู่สองสาเหตุ สาเหตุแรกมีหลักอยู่ที่ปัญหาในเชิงปฏิบัติเรื่องการตั้ง 'อาณาเขตที่ถูกปลดปล่อย' ในพื้นที่สู้รบเล็กๆ ของจังหวัดชายแดนที่มีถนนตัดผ่านและมีการวางกองกำลังรักษาความสงบในวงกว้าง

สาเหตุที่สองคือ ยุทธวิธีของ BRN ดูเหมือนจะอาศัยโมเดลระดับหมู่บ้านในเชิงอุดมการณ์เพื่อเป็นข้อได้เปรียบในการต่อสู้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมีพื้นฐานมาจากปฏิกิริยาต่อการแบ่งแยกดินแดนที่ไม่สำเร็จในช่วงปี 1970s-1980s เมื่อกลุ่มผู้ก่อการกลุ่มอื่นๆ อย่าง ปูโล (PULO) และ BRN Congress พยายามสร้างกลุ่มก่อการในพื้นที่ภูเขาและป่าทางตอนใต้ซึ่งเป็นการตัดขาดตัวเองออกจากกลุ่มประชาชนทั่วไป

อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ที่ปราศจาก 'อาณาเขตที่ถูกปลดปล่อย' ปฏิบัติการที่ต้องใช้กองกำลังขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับการรวบรวมกำลัง RKK จากหมู่บ้านที่ถูกควบคุมโดย 'คอมมานโด' ซึ่งถูกฝึกมาอย่างดีจากอำเภออื่นๆ ที่สำคัญคือเหตุการณ์ในวันที่ 13 ก.พ. กองกำลังฝ่ายต่อต้านมีมาจากทั้งสามจังหวัดที่เกิดความขัดแย้งคือ ปัตตานี, นราธิวาส และยะลา นักรบส่วนใหญ่มาจากอำเภอบาเจาะ และอำเภอข้างเคียงคือรือเสาะ ขณะเดียวกันก็มีกำลังคนจากอำเภอรามัญ จังหวัดยะลา และจากอำเภอไทรบุรี, อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

จากการรวมตัว วางแผนและกระจายกำลังจำนวนมากในลักษณะนี้เป็นการสร้างความเสี่ยงอย่างมากต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติการ นักรบส่วนใหญ่มาจากชุมชนหมู่บ้านที่เสี่ยงต่อการมีสายรัฐบาลแฝงอยู่ พวกเขาต้องเดินทางไปจุดรวมพลซึ่งต้องผ่านจุดตรวจของหน่วยรักษาความสงบจำนวนมากรวมถึงต้องผ่านหมู่บ้านอื่นๆ ด้วย อาวุธและกระสุนต้องหาเอาจากแหล่งซุกซ่อน ลำเลียงและแจกจ่ายก่อนเริ่มปฏิบัติการ แม้ว่าพวกเขาจะมีความเสี่ยงมากขนาดนี้แต่ก็เป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่ความผิดพลาดจากปฏิบัติการไม่ได้เกิดตั้งแต่ก่อนหน้านี้

ขณะที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนใต้ดินต้องเผชิญกับภาวะตีบตันว่าจะยกระดับสงครามได้อย่างไรโดยไม่ต้องมีพื้นที่ 'อาณาเขตที่ถูกปลดปล่อย' พวกเขายังได้รับผลกระทบจากทิศทางสำคัญของการยกระดับความขัดแย้งจากการที่ฝ่ายกองทัพพยายามควบคุมสถานการณ์ด้วยการทำลายหรือทำให้กลุ่มผู้ก่อการเสียกระบวนในฐานการจัดตั้งระดับหมู่บ้านด้วย ในช่วงปีที่ผ่านมาเราจะได้เห็นการบุกจู่โจมเพิ่มขึ้นจากกองกำลังผสมประกอบด้วยทหาร, ตำรวจ หน่วยลาดตระเวณซึ่งเป็นกองกำลังเสริม และกลุ่มพลเรือนอาสารักษาดินแดน

"มีเรื่องที่ไม่ค่อยได้รับการรายงานจากสื่อ คือปฏิบัติการด่วนซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงในการจู่โจมแหล่งกบดาน หมู่บ้าน หรือเมือง ที่ต้องสงสัย รวมถึงกระท่อม, ที่พักชั่วคราว และแหล่งซุกซ่อนอาวุธในสวนยางพาราและในป่าที่มักจะอยู่ใกล้กับหมู่บ้าน ปฏิบัติการเหล่านี้มักจะทำให้เกิดการยิงต่อสู้กันและมีการสูญเสียเกิดขึ้น ส่วนมากจะมีการจับกุมและการไต่สวนซึ่งทำให้วงจรการข่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้นทีละน้อย"

แอนโทนีระบุว่าไม่ว่าข้อมูลรั่วไหลเรื่องการลอบโจมตีที่บาเจาะจะมาจากชาวบ้าน เอกสารที่ยึดได้ หรือเค้นคอเอาจากคนของฝ่ายผู้ก่อการ สิ่งสำคัญก็คือข้อมูลนี้มาจากวงจรการข่าวที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของฝ่ายรัฐ ในส่วนของฝ่ายผู้ก่อการเองก็มีความพยายามต่อต้านทิศทางแบบนี้ด้วยการเจาะจงเป้าหมายสังหารให้เป็นผู้ที่เป็นหรือต้องสงสัยว่าเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่รัฐบาล และการสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในวงกว้าง แต่การที่พวกเขาไม่รับรู้ถึงแรงสะท้อนกลับทางการเมืองและการทหารในช่วงปลาย ทำให้ยุทธวิธีของพวกเขาดูจะยังไม่เพียงพอที่จะพลิกสถานการณ์

"มีความเป็นไปได้ที่การเสียชีวิตในบาเจาะครั้งล่าสุดจะกระตุ้นให้เกิดการเกณฑ์คนเข้าไปอยู่ฝ่ายผู้ก่อการสำเร็จอีกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับหตุการณ์กรือเซะและตากใบในปี 2004 พวกเขาอาจยุยงให้เกิดการโต้ตอบต่อความรุนแรงอย่างโกรธแค้นในช่วงอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อจากนี้ แต่ทั้งหมดนี้จะไม่ได้ให้คำตอบใดๆ ต่อภาวะตีบตันที่เกิดขึ้นในแง่ที่ว่ากลุ่มผู้ก่อการจะนำความขัดแย้งนี้ไปในทิศทางใด

"เมื่อไม่มีคำตอบในเรื่องนี้ กลุ่มผู้ก่อการชาวมลายูในประเทศไทยอาจต้องประสบชะตากรรมเดียวกับกลุ่มมุสลิมแบ่งแยกดินแดนในแคว้นแคชเมียร์ แม้ว่าจะมีประชาชนให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมากแต่การก่อการจะเริ่มเสื่อมถอยลงจากความผิดพลาดทางยุทธวิธี จากความอ่อนล้าจากภาวะสงครามและจากการดำรงอยู่ของกองกำลังฝ่ายความมั่นคงที่ไร้ความปราณี" นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงทิ้งท้ายในบทความ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชีวิตเบื้องหลัง 16 ศพบาเจาะ เผยมูลเหตุจูงใจจับอาวุธสู้

Posted: 18 Feb 2013 11:37 AM PST

เหตุชายฉกรรจ์กว่า 50 กว่าคน บุกโจมตีฐานทหารนาวิกโยธินที่บ้านยือลอ ต.บาเระเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ที่นำมาสู่การเสียชีวิต 16 คน เมื่อกลางดึกวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 เรียกความสนใจจากสังคมไทยให้คนสนใจปัญหาชายแดนใต้ได้มากที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง

อะไรเป็นเหตุจูงใจให้กลุ่มคนเหล่านั้น รวมตัวกันเป็นกลุ่มจับอาวุธขึ้นก่อการในครั้งนี้ ที่ถูกเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อเอกราชของดินแดน โดยผู้เสียชีวิตหลายคนมีหมายจับติดตัวหลายคดี เคยก่อเหตุมาแล้วอย่างโชกโชน ต่อไปนี้เป็นภาพเบื้องหลังชีวิตส่วนหนึ่งที่ฉายผ่านญาติและผู้ใกล้ชิดของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 3 ราย ได้แก่นายสะบือรี โดตะเซะ นายฮาเซ็ม บือราเฮง และนายมะรอโซ จันทราวดี

0 0 0


นางสือเมาะห์ มะเก๊ะ 
แม่ของนายสะบือรี โดตะเซะ มองดูภาพถ่ายลูกชายที่มีอยู่ภาพเดียวภายในบ้าน 
ซึ่งเป็นภาพถ่ายเอกสารภาพเดียวที่เจ้าหน้าที่ติดไว้ที่ดรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
เพื่อให้ญาติดูและยืนยันตัวบุคคล

สะบือรี โดตะเซะ : ไม่ทันได้เป็นบัณฑิต พ่อแม่ไม่ทันภูมิใจ
นายสะบือรี โดตะเซะ อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 146/6 หมู่ที่ 2 ต.ตะโล๊ะหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา เป็นหนึ่งใน 16 ผู้เสียชีวิตจากเหตุโจมตีฐานปฏิบัติการทางทหาร กองร้อยปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินที่ 32 บ้านยือลอ ต.บาเระเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อกลางดึกวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556

หากผ่านพ้นวันนั้นไปโดยที่เขาไม่เป็นอันตรายใดๆ สะบือรีก็จะได้เป็นบัณฑิตจากรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในอีกไม่กี่วัน เขายังเหลือสอบวิชาสุดท้ายในสาขาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรเท่านั้น

นางสือเมาะห์ มะเกะ อายุ 50 ปี แม่ของนายนายสะบือรี เล่าว่า ไม่อยากจะเชื่อเลยว่าลูกชายจะเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ เพราะไม่มีสิ่งบ่งบอกใดๆเลยว่า ลูกชายเป็นสมาชิกขบวนการติดอาวุธ ถ้ารู้มาก่อนก็ต้องห้ามแน่นอน ไม่มีพ่อแม่คนไหนที่อยากให้ลูกของตนเองจบชีวิตแบบนี้ แต่ก็ไม่ได้โกรธเขาที่ไม่ได้บอก

นางสือเมาะห์ บอกว่า ไม่ใช่แค่ตนเองเท่านั้นที่ไม่อยากเชื่อ แม้แต่อาจารย์หรือเพื่อนๆของ "อาแบ" ก็ยังไม่เชื่อ เพราะเขานิสัยดีและเรียนเก่ง เวลากลับบ้านก็ไม่เคยออกไปเที่ยวเตร่ไหน มีแต่ออกไปเล่นฟุตบอลเท่านั้น แม่สั่งห้ามเพราะกลัวไปเสพติดน้ำกระท่อม เขาเชื่อฟังและไม่สูบบุหรี่

อาแบ หรือคำเรียกแทนชื่อของนายสะบือรี หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่เขาก็ใช้เวลาอยู่ที่บ้านน้อยมาก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่บ้านเช่าในตัวเมืองยะลาตั้งแต่เข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจนจบศาสนาชั้น 7 และสามัญชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้วเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

นางสือเมาะห์ เล่าอีกว่า ก่อนเกิดเหตุไม่นาน อาแบเคยบอกแม่ว่า อีกไม่วันจะเรียนจบแล้วและมีคนอยากให้ไปทำงานด้วยแล้ว "แม่ไม่ต้องส่งเสียผมอีกต่อไป และผมก็จะส่งเสียน้องให้เรียนสูงๆ เอง แม่ไม่ต้องทำงานหนักอีกต่อไป ไม่ต้องออกไปกรีดยางตอนตี่สามตี่สี่อีก"

คนในหมู่บ้านรักอาแบ เพราะนิสัยดี ไม่หยิ่งยโส เวลาเจอใครก็จะทักทาย ในพิธีศพอาแบชาวบ้านหลายคนก็ร้องไห้ไปด้วย ก่อนเสียชีวิตอาแบมาขอเงินจากแม่ บอกว่าจะไปเข้าค่าย แม่ก็ให้เงินไป นั่นคือครั้งสุดท้ายที่ได้คุยกัน

แม่รู้ว่าอาแบเสียชีวิตเวลาประมาณ 9 โมงเช้า กว่าจะรับศพกลับมาได้ก็ตกเย็นแล้ว ไม่เห็นบาดแผลที่ศพและมีสภาพเหมือนคนนอนหลับ ซึ่งศพของอาแบชาวบ้านได้ช่วยกันอาบน้ำศพและละหมาดศพอย่างคนปกติทั่วไป

อาแบ ทำให้แม่มีกำลังใจมาก เพราะเป็นความหวังของครอบครัว แต่หลังจากอาแบเสียชีวิต สถานการณ์เปลี่ยนไปคนละด้าน ตอนนี้แม่เหมือนคนหมดแรง ไม่มีกำลังใจสู้กินไม่ได้นอนไม่หลับ และความดันโลหิตขึ้นสูง

นางสือเมาะห์ เล่าด้วยว่า โชคร้ายยังมีมากกว่านั้น เพราะในวันที่อาแบเสียชีวิต มีเจ้าหน้าที่มาที่บ้าน นายอาสรี พ่อของอาแบเห็นเจ้าหน้าที่ก็วิ่งหนี เจ้าหน้าที่ก็ตามจับคิดว่าเป็นคนร้าย แล้วก็พบว่าพ่อของอาแบเป็นชาวอินโดนีเซีย เข้ามาอยู่อย่างผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวไป

"วันตายของลูกแต่พ่อไม่ได้เห็นหน้าศพลูก และไม่ได้ส่งศพของลูกชายไปยังฝังที่กูโบร์ (สุสานมุสลิม) ทั้งๆที่เป็นวาระสุดท้ายที่พ่อจะเจอลูกแท้ๆ มันน่าเสียใจมาก"

นางสือเมาะห์ เล่าว่า พ่อของอาแบมาอยู่ที่นี่มากกว่า 20 ปีแล้ว เจอกับแม่ตอนไปทำงานที่มาเลเซีย แล้วตามแม่มาอยู่ที่นี่ ที่แรกเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย พอนานเข้าหนังสือเดินทางก็หมดอายุและไม่ได้ต่ออายุ ขณะนี้พ่อถูกควบคุมตัวที่สำนักงานตรวจคนเข้ามาเมือง จังหวัดปัตตานี

นางบูงอ ปาระอิน อายุ 75 ปี ซึ่งเป็นเพื่อน บอกว่าเสียดายที่อาแบต้องจบชีวิตอย่างนี้ เป็นเด็กดีในหมู่บ้าน และเป็นที่ชื่นชอบของคนในบ้าน โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งคนดีอัลลอฮจะเอาก่อน

นางบูงอ ปาระอิน อายุ 75 ปี ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน บอกว่า เสียดายที่อาแบต้องจบชีวิตอย่างนี้ เขาเป็นเด็กดีในหมู่บ้าน เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ แต่คนดีอัลลอฮมักจะไม่ให้มีชีวิตยืนยาว

 


นางปรัชญา เบ็ญเจ๊ะมูดอ
นางปรัชญา เบ็ญเจ๊ะมูดอ ภรรยาของนายฮาเซ็ม บือราเฮง หนึ่งในผู้เสียชีวิต 16 คน 
ในมือมีคัมภีร์อัลกุรอานที่สามีใช้อ่านเป็นประจำ

ฮาเซ็ม บือราเฮง : ผู้นำวัยรุ่นในหมู่บ้าน
นายฮาเซ็ม บือราเฮง อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 49/2 หมู่ที่ 2 ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งในหมู่บ้านของเขามีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เดียวกันนี้ถึง 3 ราย ฮาเซ็มเรียนจบศาสนาชั้น 7 และสามัญชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

นางปรัชญา เบ็นเจะมูดอ ภรรยานายฮาเซ็ม มีลูก 3 คน เล่าถึงนิสัยของฮาเซ็มว่า เป็นคนดี ชอบเล่นบอล มีทีมฟุตบอลของตัวเองในหมู่บ้าน ตระเวนเข้าร่วมแข็งขันทั่วทั้ง 3 จังหวัด ช่วงหลบหนี มักจะเตือนเยาวชนในหมู่บ้านไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับเสพยาเสพติด และไม่ให้สวมกางเกงขาสั้นเวลาเล่นฟุตบอล เนื่องจากเผยให้เห็นอวัยวะพึงสงวนตามหลักศาสนาอิสลาม คือตั้งแต่หัวเข่าขึ้นไปสำหรับผู้ชาย ซึ่งวัยรุนในหมู่บ้านก็เชื่อฟัง

หลังจากเสียชีวิต เกรงว่าอาจทำให้ยาเสพติดระบาด เพราะไม่มีใครคอยตักเตือนและไม่มีคนที่สามารถควบคุมเยาวชนได้ ฮาเซ็มชอบอ่านคัมภีร์อัลกุรอานเป็นประจำ จึงมีคำภีร์อัลกุรอานติดตัวตลอด

สาเหตุที่ฮาเซ็มเข้าร่วมขบวนการ เนื่องจากเขาเป็นคนหนึ่งที่เข้าร่วมชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ เมื่อปี 2547 เมื่อกลับมาอยู่บ้านก็ถูกเจ้าหน้าที่รัฐเรียกให้ไปอบรมเป็นเวลา 2 เดือน แต่ฮาเซ็มไม่อยากไป แต่พ่อของเขาอยากให้ไป เพราะกลัวจะมีปัญหาในภายหลัง สุดท้ายฮาเซ็มก็ไปเข้าอบรม

เมื่อกลับมาอยู่บ้าน มีเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ปิดล้อมตรวจค้นในหมู่บ้าน และได้ควบคุมตัวชาวบ้านหลาย แต่ฮาเซ็มไม่ได้อยู่บ้านในช่วงนั้น จึงไม่ถูกควบคุมตัวไปด้วย แต่ก็เขาก็มีชื่ออยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่เจ้าหน้าที่ต้องการควบคุมตัวอยู่ด้วย ทำให้ฮาเซ็มรู้สึกกลัว จึงหลบหนี จนกระทั่งต่อมาก็มีหมายจับตัวเขาออกมา

จากนั้นมีเจ้าหน้าที่มาเยี่ยมที่บ้านเพื่อขอให้ฮาเซ็มออกมามอบตัว แต่ฮาเซ็มไม่ยอมมอบตัว พร้อมกับบอกว่า ไม่เคยเห็นเหตุการณ์ที่แสนจะทรมานเท่าเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ตากใบ ที่มีการจับมัดมือชาวบ้านแล้วโยนใส่ในรถ ทำให้เขาไม่อยากมอบตัว

 


มะรอโซ จันทรวดี
ภาพถ่ายของนายมะรอโซ จันทรวดี กับนางรุสนี แมเลาะ ภรรยา หลังจากแต่งงานใหม่ๆ
จากนั้นมะรอโซต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ แต่ก็ยังได้ทำหน้าที่สามี พ่อและเพื่อนบ้าน

มะรอโซ จันทราวดี : ตากใบคือมูลเหตุจับอาวุธสู้
มะรอโซ จันทราวดี ถูกระบุว่าเป็นแกนนำก่อความไม่สงบคนสำคัญและเป็นหัวหน้าที่มในการปฏิบัติการครั้งนี้ เขาเป็นบุคคลตามหมายจับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) 18 หมาย และหมายจับตามพระกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 3 หมาย และมีค่าหัวถึง 2,000,000 บาท

มะรอโซ อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 162 หมู่ที่ 7 ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เกิดวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525 ปัจจุบันมีลูก 2 คน คนแรกอายุ 6 ปี คนที่ 2 อายุเพียง 17 เดือน มะรอโซเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และจบวิชาศาสนาชั้น 7 จากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอบาเจาะ มะรอโซมีพี่น้อง 6 คน เขาเป็นคนที่ 2

นางรุสนี แมเลาะ อายุ 25 ปี ภรรยาของมะรอโซ เล่าว่า เหตุที่มะรอโซตัดสินใจเข้าร่วมขบวนการจับอาวุธขึ้นมาต่อสู้กับรัฐ เพราะเขาเป็นคนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ตอนนั้น มะรอโซถูกควบคุมตัวไปพร้อมๆกับชาวบ้านคนอื่นๆ โดยถูกเจ้าหน้าที่มัดมือไพล่หลังแล้วนำตัวขึ้นรถบรรทุก เพื่อนำไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

หลังจากถูกปล่อยตัวกลับบ้านไม่นาน ก็เกิดเหตุระเบิดเจ้าหน้าที่ทหารใกล้ๆ หมู่บ้าน เมื่อปี 2548 มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตหลายนาย เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ตำรวจออกหมายจับมะรอโซ ซึ่งในช่วงแรกๆ เขาอยากออกมามอบตัวด้วย

แต่ในช่วงนั้น เพื่อนๆ ของมะรอโซที่ถูกเจ้าหน้าที่จับตัวไปด้วยหลายคนถูกซ้อมทรมาน บางคนถูกจำคุกถึง 5 ปี บางคนศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิต รุสนีบอกว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้มะรอโซไม่อยากออกมามอบตัว

อีกทั้ง ยิ่งนานวันเข้า ก็ยิ่งมีคดีติดตัวเยอะขึ้น ซึ่งมะรอโซบอกว่า มอบตัวก็ตาย ไม่มอบตัวก็ตาย และยินดีที่จะใช้ชีวิตอย่างหลบๆซ่อนๆ อย่างน้อยก็มีโอกาสกลับบ้าน เจอหน้าตาญาติพี่น้องและคนในครอบครัวมากกว่า

ชีวิตรักมะรอโซ ชีวิตที่ต้องหลบๆซ่อนๆ
รุสนี เล่าว่า ตนเองได้แต่งงานกับมะรอโซในช่วงเดือนเมษายน ปี 2549 ซึ่งตอนนั้น มะรอโซต้องอยู่แบบหลบๆซ่อนๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว แต่ก่อนแต่งงานมะรอโซเคยถามตนว่า รับได้หรือเปล่ากับสิ่งที่เขาเป็นอยู่ ตนก็ตอบว่า รับได้เสมอไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา

ในช่วงที่ต้องหลบๆซ่อนๆ การพบกันก็ต้องเป็นแบบหลบๆซ่อนๆด้วย เจอกันตามป่าบ้าง ใต้ต้นไม้บ้าง ในบ้านญาติบ้าง มีครั้งหนึ่งที่เขาหลบอยู่ในบ้านญาติ เจ้าหน้าเข้าไปตรวจค้นแต่ไม่เจอ ตอนหลังเจ้าหน้าที่ก็บอว่ามะรอโซมีคาถาอาคมบ้าง

ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่แวะเวียนมาที่บ้านเป็นประจำ มาขอให้ตนบอกกับมะรอโซให้ออกมามอบตัว บางครั้งเจ้าหน้าที่ก็ขู่ว่า ถ้าไม่ออกมามอบตัวก็จะเตรียมกูโบร์(สุสาน)ไว้ให้ ตนก็เล่าให้มะรอโซฟัง มะรอโซก็ให้บอกเจ้าหน้าที่ว่า ใครๆก็ต้องไปกูโบร์อยู่แล้ว อยู่ที่อัลลอฮที่จะให้ไปช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง

เมื่อไม่มีมะรอโซแล้ว ก็รู้สึกว่าตัวเองขาดที่พึ่ง เพราะตอนเขาอยู่ชาวบ้านจะให้ความเคารพและเกรงใจเรา จนบางครั้งมะรอโซก็พูดกับตนว่า เป็นเพราะฉันใช่ไหมที่ทำให้ชาวบ้านเกรงใจเธอ

นางรุสนี เล่าด้วยว่า มะรอโซให้ความสำคัญเรื่องการเรียนของลูกๆ เขาพูดเสมอว่า อยากตนสนับสนุนให้ลูกเรียนหนังสือสูงๆ เท่าที่จะส่งเสียได้

เมื่อเดือนธันวาคม 2554 ในช่วงของวันพ่อแห่งชาติ ทางโรงเรียนทำกิจกรรมด้วย ครูให้นักเรียนบอกชื่อของพ่อและแม่ในชั้นเรียน พอถึงคิวลูกของตน ครูก็ข้าม ไม่อยากให้ลูกบอกชื่อพ่อ ทั้งๆ ดูจากอาการของลูกแล้ว เหมือนลูกอยากจะบอกชื่อพ่อชื่อแม่ให้เพื่อนๆ ฟัง

ตนก็เอาเรื่องนี้ไปเล่าให้มะรอโซฟัง  มะรอโซก็บอกว่า ขอให้ครูสอนหนังสือลูกของเขาเหมือนกับสอนลูกคนอื่นๆ ไม่ต้องดูแลเป็นพิเศษอะไร เขาบอกว่า ครูสอนไม่ต้องกลัว ให้ครูสอนเหมือนสอนนักเรียนตามปกติ ซึ่งครูบางคนก็เป็นครูไทยพุทธและเป็นครูที่เคยสอนเขาด้วย ตนก็เอาเรื่องนี้ไปเล่าให้ครูฟัง

นางรุสนี เล่าว่า เวลาประมาณ 04.00 น. ของคืนที่เกิดเหตุ มีเจ้าหน้าที่ทหารคนหนึ่งโทรมา ซึ่งแปลกใจมากทำไมเจ้าหน้าที่โทรศัพท์มาตอนนั้น เมื่อรับสาย เจ้าหน้าที่ก็เล่าว่าเกิดเหตุการณ์โจมตีฐานทหาร คิดว่ามะรอโซน่าจะเสียชีวิตในที่เกิดเหตุแต่ยังไม่ชัดเจน ขอให้ตนเช็คข่าวเองด้วย ตนจึงโทรไปหามะรอโซแต่ไม่รับสาย จากนั้นตนเปิดดูข่าวในโทรทัศน์ซึ่งเสนอข่าวเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ยังไม่สามารถระบุรายชื่อผู้เสียชีวิตได้ จนกระทั่ง 06.00 น. ทหารคนเดิมจึงโทรมายืนยัน

ส่วนนางเจ๊ะมะ เล่าว่า มะรอโซกลับมาที่บ้านครั้งสุดท้ายช่วงค่ำของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 เห็นสีหน้ามะรอโซแปลกกว่าปกติ เขาเงียบไม่พูดอะไรมาก ตนคิดในใจน่าจะถึงเวลาของเขาแล้ว ก่อนที่เขาจะจากไปเขาเข้าไปในบ้านญาติๆที่อยู่ใกล้ๆกัน แล้วจับมือให้สลามทุกคน และขอให้ทุกคนให้อภัยซึ่งกันและกัน

นามสกุล "จันทราวดี"
นางเจ๊ะมะ เจ๊ะนิ อายุ 53 ปี แม่ของมะรอโซ เล่าว่า มะรอโซเป็นคนขยันทำหากิน แม้ตอนที่ต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ เขายังรับจ้างกรีดยางพาราของชาวบ้านถึง 3 เจ้า เพื่อส่งเงินมาสร้างบ้านของตัวเอง เพื่อให้ลูกเมียได้อยู่อาศัยเป็นส่วนตัว แทนที่จะอาศัยอยู่กับครอบครัวแม่ยาย

"บ้านเขาสร้างเสร็จแล้ว และมีการทำพิธีละหมาดฮายัดขึ้นบ้านใหม่พร้อมๆ กับวันที่นำศพของเขากลับมายังบ้านหลังใหม่" นอกจากนี้ มะรอโซยังส่งเสียน้องชายที่กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศซูดานด้วย

นางเจ๊ะมะ เล่าว่า มะรอโซชอบช่วยเหลือสังคม เวลาชาวบ้านขอความช่วยเหลืออะไรเขาไม่เคยปฏิเสธ เขาช่วยชาวบ้านด้วยความบริสุทธิ์ใจเสมอ ลักษณะพิเศษของมะรอโซ คือสามารถเป็นตัวกลางในการประสานงานให้คนที่ทะเลาะกลับคืนดีได้ จึงทำให้เขาเป็นคนที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างสูง และชาวบ้านเชื่อฟังในสิ่งที่เขาพูด ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่

ทำไมมะรอโซ จึงมีนามสกุล "จันทราวดี" นางเจ๊ะมะ เล่าว่า ที่มาของนามสกุลนี้ว่า มาจากปู่ของเขาที่เป็นคนอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แต่งงานกับย่า ซึ่งเป็นคนนราธิวาส ทั้งคู่อาศัยอยู่ที่อำเภอท่าศาลา โดยปู่เป็นกำนันในสมัยนั้น จนกระทั่งได้ลูก ซึ่งเป็นพ่อของมะรอโซ

เมื่อปู่เสียชีวิตขณะที่พ่อของมะรอโซมีอายุเพียง 14 ปี ย่าก็พาลูกกลับมาอยู่ที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ด้วยเหตุนี้ทำให้มะรอโซ มีนามสกุลจันทรวดี ซึ่งเป็นนามสกุลดังในอำเภอท่าศาลาและหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

นางเจ๊ะมะ เจ๊ะนิ อายุ 53 ปี แม่ของมะรอโซ เล่าว่า มะรอโซเป็นคนขยันทำหากิน แม้ตอนที่ต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ เขายังรับจ้างกรีดยางพาราของชาวบ้านถึง 3 เจ้า เพื่อส่งเงินมาสร้างบ้านของตัวเอง เพื่อให้ลูกเมียได้อยู่อาศัยเป็นส่วนตัว แทนที่จะอาศัยอยู่กับครอบครัวแม่ยาย

"บ้านเขาสร้างเสร็จแล้ว และมีการทำพิธีละหมาดฮายัดขึ้นบ้านใหม่พร้อมๆ กับวันที่นำศพของเขากลับมายังบ้านหลังใหม่" นอกจากนี้ มะรอโซยังส่งเสียน้องชายที่กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศซูดานด้วย

นางเจ๊ะมะ เล่าว่า มะรอโซชอบช่วยเหลือสังคม เวลาชาวบ้านขอความช่วยเหลืออะไรเขาไม่เคยปฏิเสธ เขาช่วยชาวบ้านด้วยความบริสุทธิ์ใจเสมอ ลักษณะพิเศษของมะรอโซ คือสามารถเป็นตัวกลางในการประสานงานให้คนที่ทะเลาะกลับคืนดีได้ จึงทำให้เขาเป็นคนที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างสูง และชาวบ้านเชื่อฟังในสิ่งที่เขาพูด ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่

ทำไมมะรอโซ จึงมีนามสกุล "จันทราวดี" นางเจ๊ะมะ เล่าว่า ที่มาของนามสกุลนี้ว่า มาจากปู่ของเขาที่เป็นคนอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แต่งงานกับย่า ซึ่งเป็นคนนราธิวาส ทั้งคู่อาศัยอยู่ที่อำเภอท่าศาลา โดยปู่เป็นกำนันในสมัยนั้น จนกระทั่งได้ลูก ซึ่งเป็นพ่อของมะรอโซ

เมื่อปู่เสียชีวิตขณะที่พ่อของมะรอโซมีอายุเพียง 14 ปี ย่าก็พาลูกกลับมาอยู่ที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ด้วยเหตุนี้ทำให้มะรอโซ มีนามสกุลจันทรวดี ซึ่งเป็นนามสกุลดังในอำเภอท่าศาลาและหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แม่ทัพ 4 เรียกร้องหันหน้าคุยกันเพื่อสันติภาพ เผยปืนมะรอโซถูกใช้ก่อเหตุ 35 คดี

Posted: 18 Feb 2013 11:15 AM PST

แม่ทัพภาค 4 แถลง เหตุโจมตีฐานทหารบาเจาะ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องป้องกันตัว หน่วยความมั่นคงเปิดแผนยุทธการ 4563 บุกเขาบูโดไล่ล่ากลุ่มโจมตีฐาน ล่าสุดเชิญตัวผู้ต้องสงสัย 10 คน

เมื่อเวลา 13. 00 น.วันที่ 18 ธันวามคม 2556 ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่องการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง กอ.รมน.ภาค 4 สน. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) และกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ในการแก้ปัญหาตามยุทธศาสตร์พระราชทาน คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อให้งานเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน

โดยได้ดำเนินยุทธศาสตร์หลักๆ 5 ด้าน คือ การรักษาความปลอดภัย การแก้ไขปัญหาภัยแทรกซ้อน การพัฒนาคุณภาพชีวิต และโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างความเป็นธรรม การดำเนินการในเรื่องสิทธิมนุษยชน และที่สำคัญคือ การสร้างสภาวะแวดล้อมที่จะให้พวกเราออกจากความขัดแย้ง โดยกำลังตำรวจ ทหารที่ลงมาในพื้นที่ขณะนี้ ก็มาเพื่อควบคุมสถานการณ์ ป้องปรามไม่ให้เหตุร้ายขยายตัว สิ่งที่ดำเนินการคือการสร้างความเข้าใจเพื่อเป็นพื้นฐานในการสื่อสารซึ่งกันและกัน

พล.ท.อุดมชัย กล่าวว่า มีหลายฝ่ายมองว่า เจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ แต่ตนมองว่าเหตุการณ์คนร้าย 50 คนบุกโจมตีจมตีฐานทหารบ้านยือลอ ต.บาเระเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ถ้าไม่โต้ตอบ เหตุการณ์แบบนี้ก็น่าจะเกิดซ้ำอีกเช่นอดีตที่ผ่านมา เป็นการกระทำที่โหดเหี้ยม ที่ทางอิสลามก็ได้สอนคนทั้งโลกว่า การทำร้ายศพนั้นผิดหลักศาสนา แต่ก็ยังมีกลุ่มคนเหล่านี้ที่อ้างตัวว่าเป็นนักรบญีฮาดกระทำเช่นนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องป้องกันตัว

กรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดปัตตานี วันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่นมา โดยทั่วไปในพื้นที่ก็ยังมีลักษณะของสงคราม ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ยังไม่สามารถยุติเหตุการณ์ได้ ก็ยังคงเกิดเหตุโจมตีกัน ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จะใช้การมีส่วนร่วมในการเข้าปิดล้อมตรวจค้น มีการเชิญผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนเข้าร่วม ซึ่งหลายเหตุการณ์ก็ออกมาเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ถ้าหลักฐานไม่เพียงพอก็มีการปล่อยตัวไป สรุปได้ว่า พื้นที่ยังคงมีเงื่อนไขในการต่อสู้กันอยู่ ก็ยังมีความเชื่อมโยง แต่ทางรัฐเลือกที่จะใช้หลักของกฎหมาย หลักของสิทธิมนุษยชนในการดำเนินการ

พล.ท.อุดมชัย กล่าวอีกว่า สำหรับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรพระราชบัญญัติการรักษาความไม่สงบภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคง) หากศึกษาให้ดี พ.ร.บ.นี้จะนำไปสู่ มาตรา 21 คือ การให้อภัยกัน ซึ่งอยากให้ศึกษาแนวทาง ตนเองประเมินสถานการณ์ล่าสุดว่า ในเมื่อรัฐยึดถือแนวทางสิทธิมนุษยชน ส่วนฝ่ายตรงข้ามต้องการสร้างสงคราม ให้คล้ายว่าเป็นสงครามศาสนา แม้แต่การทำร้ายผู้บริสุทธิ์ก็ยังทำ ตนมองว่าคงจะมาถึงจุดสุดท้ายของสงครามมากกว่า ฉะนั้น กลุ่มคนเหล่านี้จะพยายามใช้ความรุนแรงเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเค้ายังคงมีอยู่ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่เกิดความเบื่อหน่ายกับสถานการณ์แล้ว

"กรณีกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพนั้น ตนอยากจะบอกว่า เวลาเราจะพูดคุยกับใคร ถ้าเรามีอำนาจเราก็จะสามารถต่อรองได้ แต่เหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตนมองว่ารัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขมายาวนาน เราได้เปรียบในเรื่องงานมวลชน เดิมฝ่ายตรงข้ามอาจจะได้เปรียบ แต่เมื่อความจริงใจ และความตั้งใจในการแก้ปัญหาของภาครัฐ จึงทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบ การพูดคุยไม่ใช่การเจรจา เพราะจะเจรจาไม่ได้ แต่กระบวนการรัฐศาสตร์เปิดเอาไว้ในสภาวะเกื้อกูล ให้ออกจากความขัดแย้งได้ สามารถกระทำควบคู่ไปกับนโยบายภาครัฐ ในการพัฒนาพื้นที่ได้ เมื่อถามตนว่าการเจรจาทำหรือไม่ ก็คงจะตอบว่าไม่ได้ทำ แต่ทำกระบวนการสร้างสภาวะเกื้อกูลให้สามารถออกจากความขัดแย้งนั้น มีการทำอยู่ในทุกระดับ รวมทั้งการเยียวยา" แม่ทัพภาค 4 กล่าว

ภายหลังการแถลงข่าว พล.ต.ต.สุชาติ ธีระสวัสดิ์รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศชต.)เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบคนร้ายที่เสียชีวิต พบว่า คนร้ายมีหมายจับของทางการอย่างน้อย 12 คน และจากการตรวจสอบขยายผลอาวุธปืนที่ยึดได้นั้น มีหลักฐานยืนยันที่ตรงกันว่า มีการใช้ก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่จำนวนหลายคดี โดยอาวุธปืนส่วนใหญ่ที่ยึดได้จากกลุ่มคนร้ายจะเป็นอาวุธปืนของทางราชการ เป็นของเจ้าหน้าที่ที่ถูกคนร้ายก่อเหตุ และขโมยไป

"โดยเฉพาะอาวุธปืนของ นายมะรอโซ จันทรวดี แกนนำคนสำคัญที่เสียชีวิตในการเหตุดังกล่าว พบว่า มีการใช้ก่อเหตุมากถึง 35 คดี ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็เร่งขยายผลในการตรวจสอบหลักฐานอย่างอื่น เพื่อติดตามจับกุมตัวคนร้ายที่เหลือ และยังหลบหนีอยู่ในขณะนี้"

วันเดียวกัน หน่วยความมั่นคงได้เปิดใช้แผนยุทธการ 4563 เพื่อเร่งตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายเขตรอยต่อ อ.ไม่แก่น อ.สายบุรี อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี กับ อ.รามัน จ.ยะลา และ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เพื่อกดดันและจับกุมกลุ่มก่อเหตุโจมตีฐานทหารที่บ้านยือลอ โดยปรับแผนการปฏิบัติให้มีการกระชับพื้นที่เป้าหมาย เขตรอยต่อให้แคบลง เพื่อง่ายต่อการเข้ากดดัน จับกุม โดยมีหน่วยกำลังประจำพื้นที่ทั้งทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง เข้ามาช่วยเหลือในการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และการลาดตระเวนควบคู่ไปกับการกดดันไล่ล่ากลุ่มคนร้ายที่หลบหนีอยู่ตามป่าเขา โดยเฉพาะบนเทือกเขาบูโด ซึ่งได้รับรายงานว่าบางส่วนลงมากบดานอยู่ในบ้านของสมาชิกแนวร่วม

แผนยุทธการ 4563 สามารถเชิญตัวผู้ต้องสงสัยส่งไปควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึก ที่กรมทหารพรานที่ 41 ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา จนขณะนี้รวมแล้วกว่า 10 ราย และได้ทำการเก็บลายนิ้วมือ ดีเอ็นเอ ไว้เทียบเคียงกับวัตถุพยานที่พบจากที่เกิดเหตุ โดยคาดว่าจะสามารถรู้ผลได้ในช่วงอาทิตย์นี้

ส่วนผู้ที่ถูกควบคุมตัวส่วนใหญ่ พบว่าเป็นผู้ที่มีภูมิลำเลาอยู่ในพื้นที่ อ.ไม้แก่น อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี อ.บาเจาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส รวมทั้ง อ.รามัน จ.ยะลา และผลการซักถามพบว่า บางรายมีความเชื่อมโยง และเป็นแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบ แต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผยข้อมูล ผลการซักถาม ว่าจะมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โจมตีฐานปฏิบัติการณ์หมวดปืนเล็กที่ 2 ฉก.นราธิวาส 32 ด้วยหรือไม่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

4 ผู้ถูกยิงในเหตุการณ์ ‘พลทหารณรงค์ฤทธิ์’ เบิกความกระสุนจากฝั่งทหาร

Posted: 18 Feb 2013 09:05 AM PST

ไต่สวนการตายพลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ ซึ่งถูกยิงเสียชีวิต 28 เม.ย.53 ในเหตุการณ์ระงับการปะทะทหารกับ นปช. ที่ ถ.วิภาวดีฯ 4 พยานผู้ถูกยิงในเหตุการณ์แวดล้อม เบิกความกระสุนที่ตนถูกยิงมาจากฝั่งทหาร นัดไต่สวนต่อ 21 ก.พ.นี้

15 ก.พ.56 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 811 ศาลอาญา รัชดา ศาลนัดไต่สวนชันสูตรพลิกศพ คดีหมายเลขดำที่ อช.4/2555 ซึ่งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 5 สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของพลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ (ได้รับเลื่อนยศเป็น ร้อยตรี หลังเสียชีวิต) ขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ชุดลาดตระเวนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อระงับเหตุการณ์การปะทะกันของตำรวจ ทหาร กับผู้ชุมนุม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ที่บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เขตบางเขน ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 28 เม.ย.53

ในนัดนี้มีผู้ถูกยิงด้วยกระสุนได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์  4 รายเข้าเบิกความ ประกอบด้วย น.ส.ระจิตร จันทะมั่น อายุ  37 ปี คนงานโรงงานย่านอุดมสุข ถูกยิงที่หน้าแข้งขวา นายวสุรัตน์ ประมวล อายุ 41 ปี  ลูกจ้างประจำ ผู้ช่วยช่าง สำนักงานระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร นายพร้อม ดาทอง อายุ 31 ปี ถูกยิงที่มือ และ นายวิชาญ วางตาล อายุ 62 ปี อาชีพขับรถแท็กซี่ ถูกยิงที่หน้าอกขวา และไหล่ขวา  

ทั้งนี้ การไต่สวนชันสูตรพลิกศพของ ร.ต.ณรงค์ฤทธิ์ จะมีขึ้นอีกในวันที่ 21,22 ก.พ. , 14, 15, 21, 22 มี.ค.,  9, 10, 11, 18, 19 เม.ย.56

ระจิตร จันทะมั่น  เบิกความว่า พยานเข้ามาทำงานในโรงงานย่านอุดมสุข ก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 ปี เป็นพนักงานเขียนใบเสร็จรับเงิน โดยคนรักของพยานมักติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่ม นปช. แล้วจึงชักชวนมาดูการชุมนุมที่ราชประสงค์และผ่านฟ้า พยานจึงได้เข้าร่วมชุมนุม 10 กว่าวันก่อนเกิดเหตุ

ในวันเกิดเหตุ 28 เมษา 53 พยานอยู่ที่ราชประสงค์ก่อน ตอน 10 โมงเช้า มีการประกาศว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมที่บริเวณตลาดไทถูกทหารทำร้าย จึงมี นปช.จากตลาดไท ชวนกันไปเยี่ยมผู้ที่ถูกทหารทำร้าย โดยมีการจัดรถยนต์หลายคันไปเยี่ยม พยานจึงร่วมเดินทางไปด้วย จุดเกิดเหตุคือ ถนนวิภาวดีรังสิต ฝั่งขาออก มุ่งหน้าไปตลาดไท โดยในตอนแรกมีเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจผู้ชุมนุม จากนั้นพยานได้รับแจ้งจากผู้ชุมนุมที่เดินทางไปก่อนหน้าว่าไม่สามารถไปต่อได้แล้ว เนื่องจากมีทหารสกัด พยานจึงลงจากรถตรงบริเวณปั๊มแก๊สร้างและหยุดพักบริเวณนั้น โดยพวกที่ร่วมชุมนุมก็ได้เข้าไปด้วย พยานเห็นทหารนำลวดหนามกันไว้และถือโล่ด้วย ถนนวิภาวดีฯ ฝั่งขาเข้าก็มีทหารยืนอยู่ด้วย สำหรับทหารที่อยู่อีกฝั่งถนนไม่ได้สังเกตว่าถือปืนอยู่หรือไม่

ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งที่มาด้วยกันตัดสินใจอยู่บริเวณปั๊มไม่เคลื่อนต่อ แต่พยานและผู้ร่วมชุมนุมส่วนหนึ่งพยายามเดินไปด้านหน้าโดยหมอบไปด้วย เมื่อเดินไปสักพักก็มีทหารยิงมาตลอดเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เคลื่อนไปด้านหน้า โดยยิงสวนมาเป็นชุด พยานยืนยันว่าเห็นทหารใช้อาวุธปืนยิงโดยเป็นลักษณะของการยิงสกัดไม่ให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนที่ แต่ไม่ทราบว่าทหารใช้อาวุธปืนชนิดใด พยานพยายามเดินต่อไปข้างหน้าจนกระทั่งห่างจากปั๊มประมาณ  100 เมตร ก็ถูกยิงที่ขาขวาบริเวณหน้าแข้ง ไม่ทราบว่าใครยิงแต่รู้ว่ายิงมาจากฝั่งทหาร เพราะขณะนั้นพยานหันหน้าไปทางแนวทหาร และกระสุนมาตามแนวนั้ นอกจากนี้พยานยังเห็นผู้ชายถูกกระสุนยิงที่ท้อง มีเลือดไหลและมีรอยไหม้ แต่ไม่ทะลุ เข้าใจว่าเป็นกระสุนยาง

ระจิตร เบิกความต่อว่า ขณะที่ถูกยิงนั้นมีฝนตกหนัก ผู้ชุมนุมที่เห็นเหตุการณ์พยายามเรียกให้ผู้ขับจักรยานยนต์ผ่านทางเข้ามารับตัวพยานไปโรงพยาบาล แต่ไม่สามารถเข้ามาได้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้เข้า แต่ในที่สุดก็สามารถนำตัวพยานส่งรถพยาบาลของ รพ.ภูมิพล ได้ในเวลาเกือบ 1 ทุ่ม เนื่องจากต้องใช้เวลาในการโทรติดต่อนานมาก  แพทย์ได้เอ็กซเรย์และพาเข้าห้องผ่าตัดเอากระสุนออก และได้นำหัวกระสุนมาให้พยานดูด้วย ลักษณะเป็นลูกตะกั่วกลมๆ น่าจะเป็นกระสุนลูกซองลูกปราย พยานพยายามขอกระสุนจากแพทย์เพื่อนำไปแจ้งความ แต่แพทย์แจ้งว่าอยู่ในเหตุการณ์แบบนี้ให้ไม่ได้

หลังเกิดเหตุ น.ส.ระจิตร ได้รับการช่วยเหลือจากบ้านราชวิถี สำนักพระราชวัง และองค์กรอื่นๆ รวมแล้วประมาณ 70,000 บาท และเคยให้การกับพนักงานสอบสวน สน.พญาไท พนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษเกี่ยวกับคดีนี้ด้วย  แต่พยานไม่ได้เห็นเหตุการณ์

วสุรัตน์ ประมวล ลูกจ้างประจำของสำนักงานระบายน้ำ กรุงเทพฯ  เบิกความว่า พยานถูกยิงวันที่ 28 เม.ย.53 เวลาประมาณ 15.00 น. ก่อนถูกยิงตั้งใจจะไปซื้อที่อยู่อาศัยที่รังสิต จึงขับจักรยานยนตร์มุ่งหน้าไปทางถนนวิภาวดีรังสิต ขาออก เมื่อถึงบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ในประมาณ 15.00 น. พบว่ามีการเดินขบวนของ นปช. แต่ก็ยังสามารถสัญจรได้อยู่ เมื่อเห็นกลุ่มทหารตั้งแนวสกัดชุมนุมเสื้อแดงที่จะมุ่งหน้าไปทางรังสิต  พยานได้หยุดตรงปั๊มแก็สและได้ยินเสียงปืนดังขึ้นโดยไม่ทราบทิศทาง  ทำให้ขบวนรถของ นปช. ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ พยานลงไปหลบที่ปั๊มแก็สเนื่องจากเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยและย้ายไปหลบที่ปากทางเข้าหมู่บ้านแห่งหนึ่งต่อ ระหว่างนั้นได้ยินเสียงปืนเป็นระยะหลายนัดต่อเนื่อง มาจากฝั่งทหาร หลังจากนั้นพยานรู้สึกว่าลำตัวเหมือนโดนของแข็งกระทบจนหงายหลังล้มลง และพยายามยืนขึ้นแต่ไม่สามารถยืนได้ มีเลือดไหลออกมาบริเวณหัวเข่าจึงดึงกางเกงดูและพบว่าถูกยิง ขณะถูกยิงนั้นกำลังเดินเรียบไปทางประตูเหล็ก วิถีกระสุนน่าจะมาจากฝั่งด้านหน้าที่มีทหารที่อยู่ห่างไปประมาณ 100-150 เมตรโดยทหารถือปืนยาวที่มีลักษณะแบนทุกคน พยานถูกยิงเวลาประมาณ 15.00 น. ขณะนั้นฝนยังไม่ตกแต่ลมกรรโชกแรง

วสุรัตน์เบิกความต่อว่า เห็นทหารถือปืนอยู่ด้านหน้า แต่ไม่ได้เห็นตอนยิง รู้ตัวอีกทีก็ล้มแล้ว อย่างไรก็ตาม เหตุที่รู้ว่ากระสุนมาจากทางทหารเนื่องจากตัวพยานกระเด็นไปด้านหลัง หลังถูกยิงพยานไม่เห็นกลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธ นอกจากนี้แพทย์โรงพยาบาลภูมิพลที่เขาเข้ารักษาตัวให้ความเห็นเมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า กระสุนที่ยิงเป็นกระสุนลูกปราย สำหรับผู้ตายกรณีนี้พยานไม่เห็นขณะถูกยิง และไม่ทราบหรือรู้ว่าเขาตาย แต่ทราบข่าวในวันรุ่งขึ้น นอกจากนี้พยานยังได้รับการเยียวยาจาก สำนักพระราชวังเป็นเงิน  6,000 บาท จากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ  60,000 บาท และได้แจ้งความไว้กับ สน.ดอนเมืองแล้ว

ส่วนพยานที่ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์อีก 2 ปากคือ นายพร้อม ดาทอง อายุ 31 ปี และนายวิชาญ วางตาล  อายุ 62 ปี  นั้น ข่าวสดออนไลน์  รายงานว่า นายพร้อม ดาทอง เบิกความสรุปว่า วันที่ 28 เม.ย.53 เวลาประมาณ 11.00 น. เดินทางไปสนามกีฬาธูปะเตมีย์ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เพื่อดูสนามสอบนายทหารชั้นสัญญาบัตร จากนั้นขับขี่รถจักรยานยนต์กลับบ้านโดยใช้เส้นทาง ถ.วิภาวดี รังสิต ขาออก เมื่อมาถึงอนุสรณ์สถานเห็นกลุ่มเสื้อแดงชุมนุมอยู่จำนวนมาก จึงจอดรถจักรยานยนต์ดู สักพักคนเสื้อแดงทยอยถอยหลังและได้ยินเสียงปืน และเห็นปลอกกระสุนปืนลูกซองหล่นอยู่หน้าผู้ชุมนุมเสื้อแดง มีหนึ่งในผู้ชุมนุมบอกว่า เป็นกระสุนยาง ต่อมามีผู้ชุมนุมล้มลงและมีเลือดไหลบริเวณท้อง ได้เข้าไปช่วยเหลือลากมาหลบกระสุนบริเวณตอม่อ ส่วนพยานถูกยิงข้อมือซ้ายทะลุ ช่วงหลบกระสุนเห็นทหารถือปืนออกจากข้างทาง แต่ไม่รู้ว่าใครยิง หลังเกิดเหตุได้เงินเยียวยาจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประมาณ 700,000 บาท จึงไม่คิดดำเนินคดีทางอาญาและแพ่งกับผู้ก่อเหตุ

ส่วนนายวิชาญ วางตาล เบิกความว่า วันเกิดเหตุเวลา 14.00 น. ขับรถแท็กซี่จากบ้านย่านคูคตไปที่อู่ย่านรัชดาฯ ใช้เส้นทาง ถ.วิภาวดีฯ เลนคู่ขนาน ขาเข้า ผ่านอนุสรณ์สถาน เจอกลุ่มเสื้อแดงเต็มช่องทางทั้งขาเข้า-ขาออก จึงลงจากรถมาดูเหตุการณ์เห็นคนเสื้อแดงปาก้อนหิน หนังสติ๊ก ไม้ ใส่กลุ่มทหาร บางคนโยนผักผลไม้มาจากโทลล์เวย์ จากนั้นทหารยิงปืนรัวเป็นชุด ขณะที่ฟ้ามืดครึ้ม ฝนตกหนักด้วย จึงวิ่งไปหลบหลังเสาโทลล์เวย์โดยหน้าอกซ้ายแนบเสาไว้ฝั่งเดียว หันหน้าไปทางทหาร มีกระสุนยิงมาโดนหน้าอกขวา และไหล่ขวา เข้าใจว่ากระสุนจากกลุ่มทหาร

นายวิชาญ วางตาล เบิกความอีกว่า หลังถูกยิงตนล้มลงมีคนช่วยนำส่งรถพยาบาล แพทย์วินิจฉัยว่ากระสุนทะลุปอด ส่วนกระสุนที่เข้าไหล่ขวาทำให้กระดูกแตกและฝังในใกล้เส้นประสาท แพทย์ไม่สามารถผ่าตัดออกมาได้ หากผ่าตัดอาจทำให้แขนใช้การไม่ได้ ไม่เห็นเหตุการณ์พลทหารณรงค์ฤทธิ์ถูกยิง คดีนี้หากหาคนยิงได้ก็ไม่คิดดำเนินคดีอาญาและแพ่งกับผู้ก่อเหตุ เนื่องจากได้รับเงินเยียวยาสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมกันเกือบ 7 แสนบาท และคดีล่วงเลยมานานกว่า 2 ปีแล้ว

นายวิชาญ ได้เปิดเผยกับผู้สื่อภายหลังการเบิกความด้วยว่า เขาไม่ได้ร่วมชุมนุมกับ นปช. แต่กลับถูกยิงด้วย หลังถูกยิงไม่สามารถทำงานได้ถึง 3 เดือน และปัจจุบันก็ยังทำงานไม่สะดวกเนื่องจากกระสุนที่ฝังอยู่ที่หัวไหล่ยังขัดอยู่ นอกจากนี้ หลังการเบิกความ น.ส.ระจิตร  และนายวสุรัตน์  เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวด้วยว่า ทั้งคู่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลนี้ ทั้งๆ ที่พยายามติดตามความคืบหน้าหลายครั้งแล้ว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 12 - 18 ก.พ. 2556

Posted: 18 Feb 2013 08:25 AM PST

ศาลสั่งให้แกนนำสหภาพจีเอ็ม 13 คน ออกนอกพื้นที่บริษัท

บริษัทเจนเนอรัลฯ ตั้งโต๊ะเจรจาล้มเหลว แกนนำ และพนักงานไม่ยอมเจรจาและรับเงื่อนไข พร้อมประณามชายชุดดำ ล็อกตัวนักข่าว แย่งกล้อง บังคับลบภาพ และสร้างความหวาดกลัว ทำลายขวัญพนักงาน ด้านแกนนำสหภาพแรงงาน 13 คน ศาลสั่งห้ามเข้าพื้นที่ของบริษัทฯ พนักงานนับพันคนรวมพลังเปลี่ยนกะกลางวัน กลางคืนชุมนุม เตรียมเสบียงอาหารต่อสู้ม้วนเดียวจบ
      
จากกรณีที่ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีความขัดแย้งกับพนักงานในเรื่องที่มีการกำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของ พนักงานสายการผลิต ให้บรรจุวันเสาร์ ซึ่งเป็นหยุดของพนักงาน และเป็นวันที่ได้โอที ให้เป็นวันทำงานตามปกติ ซึ่งบริษัทฯ และสหภาพแรงงานไม่สามารถตกลงกันได้ จนเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 บริษัทฯ ได้มีคำสั่งให้พนักงานสมาชิกสหภาพแรงงานหยุดงาน ทำให้พนักงานฝ่ายผลิต รวมกับสมาชิกสหภาพแรงงานต้องหยุดงาน ทั้งนี้ ทำให้พนักงานได้ทยอยกันมาสมัครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานมากขึ้น และพร้อมที่จะร่วมการต่อสู้เรียกร้องสิทธิ         
      
ล่าสุด วันนี้ (12 ก.พ.56) บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขออำนาจให้ศาลจังหวัดระยองสั่ง ตามคดีหมายเลขดำที่ 217/2556 ให้ นายสุริยา โพธิ์ชัยเลิศ นายอัศวุฒิ สินทวี นายชัยวัฒน์ วงษ์สุวรรณ์ นายสุชาติ เป็นวงศ์ นายอนุรักษ์ สุพร นายธวัชชัย เชยพร นายธีรศักดิ์ กองก่อ นายบำเพ็ญ บุญเสริฐ นายรังสรรค์ วงศ์ศรีแก้ว น.ส.จีรนันท์ อ่อนฤทธิ์ นางสุมามาลย์ สอนสี น.ส.นิภา เพียรทำดี น.ส.ทองม้วน ทองลาด ไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ของบริษัทฯ อย่างเด็ดขาด        
      
นายสุริยา โพธิ์ชัยเลิศ ประธานสหภาพแรงงานของบริษัทฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้พวกตนพร้อมคณะรวม 13 คน ไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่ของบริษัทฯ ได้ แต่ก็มีการประสานการปฏิบัติการตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงในการรวมคนจำนวนมาก โดยปราศจากอาวุธ และสุรา อีกทั้งให้ทุกคนอยู่อย่างสงบ ไม่มีการตอบโต้เจ้าหน้าที่ หรือชายชุดดำที่ทางบริษัทฯ ได้ว่าจ้างมาเพื่อข่มขวัญพนักงานที่ร่วมชุมนุมจำนวนมาก ซึ่งจากการชุมชุมครั้งนี้ บริษัทฯ ได้ประกาศหยุดงานสายงานการผลิตต่อเนื่องถึง 3 วัน โดยจ่ายค่าแรงให้แก่พนักงานที่ไม่เป็นธรรม จ่ายค่าแรงให้แต่เพียงพนักงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานเท่า นั้น        
      
ในวันนี้ทางบริษัทฯ ได้ส่งตัวแทนมาตั้งโต๊ะเจรจากับสหภาพแรงงาน โดยมีตัวแทนของการนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์น ซีบอร์ด แรงงานจังหวัดระยอง และตัวแทนสหภาพแรงงาน โดยทางบริษัทฯ ได้ขอให้ยุติการชุมนุมก่อนจึงจะมีการเจรจากัน แต่ทางสหภาพไม่ยอมรับกติกานี้ และได้มีการพูดถึงชายชุดดำหลายสิบคนที่มีอาวุธประจำกายเข้ามาสร้างความหวาด กลัวนั้น ทางบริษัทฯ ยอมรับว่ามีจริง โดยบริษัทฯ รักษาความปลอดภัยเป็นว่าจ้างมา โดยมีคนมีสีอยู่ด้วย        
      
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้พนักงานจำนวนมากได้เดินทางเข้ามาร่วมการชุมนุมตลอดเวลา พร้อมมีผู้บริหารภายในบริษัทฯ เอง นำเงิน และเสบียงแอบมาช่วยผู้ชุมนุมจำนวนมาก ซึ่งภายในคืนนี้ (12 ก.พ.) มีข่าวว่าจะมีการสลายการชุมนุมด้วยการใช้รถน้ำฉีด ทำให้พนักงานที่หยุดงานทยอยกันเข้ามาเป็นกำแพงมนุษย์ พร้อมที่จะต่อสู้ถ้าทางบริษัทฯ กระทำความรุนแรงต่อพนักงานก่อน และพร้อมจะปักหลักต่อสู้จนถึงที่สุด อีกทั้งมีการเพิ่มระดับการต่อสู้ การป้องกันการสลายม็อบ เพราะศาลได้สั่งห้ามบุคคลใด หรือกลุ่มใดเข้ารื้อ ทำลายสถานที่ชุมนุมในยามวิกาล        
      
ด้านนายวีโจ้ วาร์จี ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ สื่อสารผลิตภัณฑ์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า สหภาพแรงงาน และสมาชิกฯ ได้มีการบุกรุก และเข้าครอบครองพื้นที่ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ โดยปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลจังหวัดระยองที่สั่งให้กลุ่มสหภาพออก จากพื้นที่ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ        
      
พร้อมกันนี้ ทางบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอยืนยันว่า ทางเราไม่ได้มีการพกพาอาวุธแต่อย่างใด โดยมีหลักฐานทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว สำหรับชายชุดดำที่ปรากฏในข่าวเป็นหนึ่งในทีมงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทฯ โดยได้อยู่ประจำพื้นที่เพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่ทั้งสองฝ่าย         
      
อย่างไรก็ตาม ในการตั้งโต๊ะเจรจาในวันนี้ ทางบริษัทฯ พร้อมที่จะเจรจาและรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย แต่ทางสหภาพแรงงานไม่ยอมส่งตัวแทนมาเจรจา ส่วนวันหยุดงานนั้น ทางบริษัทยังไม่ยืนยันเพราะยังไม่ทราบอนาคตว่าการเจรจา หรือเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร คงต้องขอดูเหตุการณ์วันต่อวันไปก่อน

ส่วนเรื่องการกระทำที่ไม่ดีต่อสื่อมวลชนนั้น ทางบริษัทฯ ต้องขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์ชุลมุนจึงไม่ทราบว่าใครเป็นใคร และขอยืนยันว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก          

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 12-2-2556)

จี้ ก.แรงงานแจงเร่งแก้พ.ร.บ.ประกันสังคม เพิ่มสิทธิผู้ประกันตน ห่วงรื้อทั้งฉบับใช้เวลานาน ผู้ประกันตนเดือดร้อน

นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม เป็นประธานการประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..)พ.ศ....โดยได้มีนายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และนายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการร่วมชี้แจงให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว

นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนทางกระทรวงฯก็ต้องเร่งดำเนินการ เพราะหากรอปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมทั้งฉบับในคราวเดียวอาจใช้เวลานาน 2 ปี ก็ไม่แน่ชัดว่าจะแล้วเสร็จ ดังนั้นความจำเป็นของผู้ประกันตนจึงต้องมาก่อน เพราะการแก้ไขกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนบางกรณีจึงต้องเร่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงในบางมาตรา หากจะแก้ไขกฎหมายทั้งหมดคงไม่ทันการณ์

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า โดยหลักการยังเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในรายละเอียดอาจจะมีจุดอ่อนอยู่บ้าง ซึ่งคิดว่ายังมีเวลาได้หารือกันต่อไป แต่ตรงจุดนี้จำเป็นต้องเดินหน้าต่อ เนื่องจากประเด็นเรื่องประกันสังคมนั้นส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากถึง 11 ล้านคน และยังไม่มีใครตอบได้ว่ารูปแบบใดจึงจะดีที่สุด จึงจำเป็นต้องเดินหน้าต่อ แต่ถ้าทำแล้วเกิดความเสี่ยงก็ไม่ทำ เพราะเราเอาเงินคนอื่นมาลงทุน ในจุดเริ่มต้นตรงนี้จึงพยายามจะทำอะไรให้เสี่ยงน้อยที่สุดเพื่อประโยชน์ของ ผู้ประกันตนและประชาชนทุกคน ทั้งนี้หากพิจารณาในหลักการตามที่ประชุมให้ข้อสังเกตุไว้ยังไม่ได้เห็นว่ามี ขัดแย้งกันทั้งหมด ยังมีความเห็นตรงกันกันว่าอยากให้ผู้มีรายได้มีส่วนร่วมจ่าย โดยกระทรวงแรงงานจะรับไปพัฒนาต่อ นอกจากนี้กระทรวงฯก็กำลังขยายสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา39 เพื่อพัฒนาระบบประกันสังคมให้ดีขึ้น สำหรับแนวทางการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน นั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบนโยบายให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทัน สมัย ยิ่งขึ้น หากคปก.มีข้อเสนอที่ดีสามารถเสนอมาได้และทางเรายินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติม

นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการ สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ประเด็นสำคัญในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม คือ การปรับปรุงแก้ไขเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน เช่น การขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างส่วนราชการ รวมถึงลูกจ้างองค์กรท้องถิ่น การแก้ไขประเด็นมาตรา 40 ในบทนิยามให้ครอบคลุมถึงแรงงานที่ไม่อยู่ในสถานประกอบการ เรื่องบำนาญชราภาพ เรื่องการประสบภัยพิบัติของผู้ประกันตน กรณีลูกจ้างหรือผู้ประกันตนเสียชีวิตและไม่มีทายาทพี่น้องสามารถรับผล ประโยชน์แทนได้ การเปลี่ยนนิยามเรื่องทุพพลภาพให้ครอบคลุมการสูญเสียอวัยวะ นอกจากนั้น ยังแก้ไขเรื่องการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ และยังขยายเรื่องสิทธิในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนจากหนึ่งปีเป็นสองปี หากเกินสองปี เลขาธิการฯมีอำนาจขยายให้ได้หากมีเหตุผล นอกจากนี้ ยังระบุให้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับไม่อยู่ในการบังคับคดีของเจ้าหนี้ด้วย ด้านการบริหารได้เพิ่มคุณสมบัติคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อให้คณะกรรมการบริหารงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แก้ไขส่วนเงื่อนไขการเสียสิทธิ เนื่องจากเรื่องหลักๆ ที่เร่งด่วน คือเจ็บป่วยและเสียชีวิต

นายโกวิท กล่าวว่า ประเด็นตามมาตรา 55 เราได้ปรึกษากับกฤษฎีกาแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะกลุ่มผู้ได้รับความคุ้มครองจะหมดในอีกห้าถึงหกปี ส่วนนิยามการว่างงาน ที่มีสาเหตุมาจากการลาออกที่ถูกบังคับ ซึ่งมีปัญหาการตีความในทางกฎหมายว่าเป็นการลาออกนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การเลิกจ้างโดยการลาออก เจตนารมณ์ในการเลิกจ้างคือ ไม่ประสงค์จะทำงาน ซึ่งเห็นว่าควรคุ้มครองผู้ประกันตนส่วนนี้ด้วย ทั้งนี้ ต้องมีการตรวจสอบเป็นกรณีไป โดยในทางปฏิบัติให้กรมสวัสดิการฯ เข้ามาดูแล และพิจารณา ว่าเข้ากรณีถูกบีบบังคับให้ลาออกหรือลาออกโดยความสมัครใจแท้จริง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขร่างพ.ร.บ.ในส่วนนี้ก็ยังต้องไปว่ากันในชั้นกรรมาธิการอีกครั้ง หนึ่ง ว่าจะมีการปรับแก้อย่างไร

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จากการศึกษาการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมอาจจะเป็นแนวคิดในการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าก่อน แต่การดำเนินการแก้ไขปัญหาตามงานวิจัยที่มีอาจมีข้อจำกัดหลายประการเช่น สภาวะสังคม เป็นต้น ขณะที่ประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานที่ถูกจัดส่งไปต่างประเทศ ได้มีการพูดคุยกันตลอด เช่น อิสราเอล ไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งสำนักงานประกันสังคมก็ไม่ได้ปล่อยผ่านไปแต่อย่างใด ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลง(MUO) ของประเทศไทยกับประเทศนั้นๆด้วย

"ปัญหาเรื่องการลงทุน ที่สำนักงานบริหารการลงทุน สามารถไปลงทุนในภาคเอกชน ซึ่งอาจจะทำให้รัฐกลายเป็นรัฐวิสาหกิจหากถือหุ้นเกิน 50%นั้น ปัญหานี้ก็น่าเป็นห่วง แต่การลงทุนจะต้องศึกษาให้รอบด้านก่อนการลงทุนจริง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทำนองนี้ที่อาจจะเกิดขึ้น และจะหารือกับกลต.ในประเด็นดังกล่าว" นายจีรศักดิ์ กล่าว

ดร.วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม กล่าวว่า มีข้อสังเกต 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1. บทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" นั้น ยังไม่ครอบคลุมของลูกจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน กรณีที่นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดาและประกอบธุรกิจซึ่งมิได้มีลักษณะเพื่อหากำไร ควรระบุให้คุ้มครองด้วยด้วย 2. เงินสมทบตามมาตรา 55 ยังมีความไม่เสมอภาคปรากฏอยู่ เนื่องจากลูกจ้างที่เข้ามาก่อนที่จะมีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.นี้ได้ประโยชน์ เพียงกลุ่มเดียว 3. เรื่องการว่างงานนั้น ไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้รอครบ 7 วันจึงจะมีสิทธิรับเงินทดแทน เนื่องจากความเดือดร้อนเกิดขึ้นทันทีนับแต่ว่างงานแล้ว และไม่ได้คำนึงถึงภาระของผู้ว่างงานว่าได้รับความเดือดร้อนมากน้อยเพียงใด

(สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย, 13-2-2556)

จี้ ก.แรงงานแจงเร่งแก้พ.ร.บ.ประกันสังคม เพิ่มสิทธิผู้ประกันตน ห่วงรื้อทั้งฉบับใช้เวลานาน ผู้ประกันตนเดือดร้อน

นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม เป็นประธานการประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..)พ.ศ....โดยได้มีนายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และนายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการร่วมชี้แจงให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว

นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนทางกระทรวงฯก็ต้องเร่งดำเนินการ เพราะหากรอปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมทั้งฉบับในคราวเดียวอาจใช้เวลานาน 2 ปี ก็ไม่แน่ชัดว่าจะแล้วเสร็จ ดังนั้นความจำเป็นของผู้ประกันตนจึงต้องมาก่อน เพราะการแก้ไขกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนบางกรณีจึงต้องเร่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงในบางมาตรา หากจะแก้ไขกฎหมายทั้งหมดคงไม่ทันการณ์

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า โดยหลักการยังเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในรายละเอียดอาจจะมีจุดอ่อนอยู่บ้าง ซึ่งคิดว่ายังมีเวลาได้หารือกันต่อไป แต่ตรงจุดนี้จำเป็นต้องเดินหน้าต่อ เนื่องจากประเด็นเรื่องประกันสังคมนั้นส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากถึง 11 ล้านคน และยังไม่มีใครตอบได้ว่ารูปแบบใดจึงจะดีที่สุด จึงจำเป็นต้องเดินหน้าต่อ แต่ถ้าทำแล้วเกิดความเสี่ยงก็ไม่ทำ เพราะเราเอาเงินคนอื่นมาลงทุน ในจุดเริ่มต้นตรงนี้จึงพยายามจะทำอะไรให้เสี่ยงน้อยที่สุดเพื่อประโยชน์ของ ผู้ประกันตนและประชาชนทุกคน ทั้งนี้หากพิจารณาในหลักการตามที่ประชุมให้ข้อสังเกตุไว้ยังไม่ได้เห็นว่ามี ขัดแย้งกันทั้งหมด ยังมีความเห็นตรงกันกันว่าอยากให้ผู้มีรายได้มีส่วนร่วมจ่าย โดยกระทรวงแรงงานจะรับไปพัฒนาต่อ นอกจากนี้กระทรวงฯก็กำลังขยายสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา39 เพื่อพัฒนาระบบประกันสังคมให้ดีขึ้น สำหรับแนวทางการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน นั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบนโยบายให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทัน สมัย ยิ่งขึ้น หากคปก.มีข้อเสนอที่ดีสามารถเสนอมาได้และทางเรายินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติม

นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการ สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ประเด็นสำคัญในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม คือ การปรับปรุงแก้ไขเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน เช่น การขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างส่วนราชการ รวมถึงลูกจ้างองค์กรท้องถิ่น การแก้ไขประเด็นมาตรา 40 ในบทนิยามให้ครอบคลุมถึงแรงงานที่ไม่อยู่ในสถานประกอบการ เรื่องบำนาญชราภาพ เรื่องการประสบภัยพิบัติของผู้ประกันตน กรณีลูกจ้างหรือผู้ประกันตนเสียชีวิตและไม่มีทายาทพี่น้องสามารถรับผล ประโยชน์แทนได้ การเปลี่ยนนิยามเรื่องทุพพลภาพให้ครอบคลุมการสูญเสียอวัยวะ นอกจากนั้น ยังแก้ไขเรื่องการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ และยังขยายเรื่องสิทธิในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนจากหนึ่งปีเป็นสองปี หากเกินสองปี เลขาธิการฯมีอำนาจขยายให้ได้หากมีเหตุผล นอกจากนี้ ยังระบุให้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับไม่อยู่ในการบังคับคดีของเจ้าหนี้ด้วย ด้านการบริหารได้เพิ่มคุณสมบัติคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อให้คณะกรรมการบริหารงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แก้ไขส่วนเงื่อนไขการเสียสิทธิ เนื่องจากเรื่องหลักๆ ที่เร่งด่วน คือเจ็บป่วยและเสียชีวิต

นายโกวิท กล่าวว่า ประเด็นตามมาตรา 55 เราได้ปรึกษากับกฤษฎีกาแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะกลุ่มผู้ได้รับความคุ้มครองจะหมดในอีกห้าถึงหกปี ส่วนนิยามการว่างงาน ที่มีสาเหตุมาจากการลาออกที่ถูกบังคับ ซึ่งมีปัญหาการตีความในทางกฎหมายว่าเป็นการลาออกนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การเลิกจ้างโดยการลาออก เจตนารมณ์ในการเลิกจ้างคือ ไม่ประสงค์จะทำงาน ซึ่งเห็นว่าควรคุ้มครองผู้ประกันตนส่วนนี้ด้วย ทั้งนี้ ต้องมีการตรวจสอบเป็นกรณีไป โดยในทางปฏิบัติให้กรมสวัสดิการฯ เข้ามาดูแล และพิจารณา ว่าเข้ากรณีถูกบีบบังคับให้ลาออกหรือลาออกโดยความสมัครใจแท้จริง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขร่างพ.ร.บ.ในส่วนนี้ก็ยังต้องไปว่ากันในชั้นกรรมาธิการอีกครั้ง หนึ่ง ว่าจะมีการปรับแก้อย่างไร

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จากการศึกษาการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมอาจจะเป็นแนวคิดในการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าก่อน แต่การดำเนินการแก้ไขปัญหาตามงานวิจัยที่มีอาจมีข้อจำกัดหลายประการเช่น สภาวะสังคม เป็นต้น ขณะที่ประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานที่ถูกจัดส่งไปต่างประเทศ ได้มีการพูดคุยกันตลอด เช่น อิสราเอล ไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งสำนักงานประกันสังคมก็ไม่ได้ปล่อยผ่านไปแต่อย่างใด ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลง(MUO) ของประเทศไทยกับประเทศนั้นๆด้วย

"ปัญหาเรื่องการลงทุน ที่สำนักงานบริหารการลงทุน สามารถไปลงทุนในภาคเอกชน ซึ่งอาจจะทำให้รัฐกลายเป็นรัฐวิสาหกิจหากถือหุ้นเกิน 50%นั้น ปัญหานี้ก็น่าเป็นห่วง แต่การลงทุนจะต้องศึกษาให้รอบด้านก่อนการลงทุนจริง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทำนองนี้ที่อาจจะเกิดขึ้น และจะหารือกับกลต.ในประเด็นดังกล่าว" นายจีรศักดิ์ กล่าว

ดร.วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม กล่าวว่า มีข้อสังเกต 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1. บทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" นั้น ยังไม่ครอบคลุมของลูกจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน กรณีที่นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดาและประกอบธุรกิจซึ่งมิได้มีลักษณะเพื่อหากำไร ควรระบุให้คุ้มครองด้วยด้วย 2. เงินสมทบตามมาตรา 55 ยังมีความไม่เสมอภาคปรากฏอยู่ เนื่องจากลูกจ้างที่เข้ามาก่อนที่จะมีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.นี้ได้ประโยชน์ เพียงกลุ่มเดียว 3. เรื่องการว่างงานนั้น ไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้รอครบ 7 วันจึงจะมีสิทธิรับเงินทดแทน เนื่องจากความเดือดร้อนเกิดขึ้นทันทีนับแต่ว่างงานแล้ว และไม่ได้คำนึงถึงภาระของผู้ว่างงานว่าได้รับความเดือดร้อนมากน้อยเพียงใด

(สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย, 13-2-2556)

ก.แรงงานเตรียมถกคกก.ระดับชาติ เล็งขยายความคุ้มครองสู่กลุ่มแรงงานนอกระบบ

นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน โดย กสร.มีนโยบายขยายความคุ้มครองแรงงานไปยังแรงงานนอกระบบ ในหลายๆ ด้าน เพื่อให้มีหลักประกันเช่นเดียวกัน หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกับแรงงานในระบบ เพราะแรงงานทั้ง 2 แบบนี้ มีความแตกต่างกันอยู่ในด้านความชัดเจน หรือสถานภาพความเป็นนายจ้างกับลูกจ้างที่แรงงานในระบบจะมีความชัดเจนกว่า

อธิบดี กสร. กล่าวต่อไปว่า กรอบของการขยายความคุ้มครองแรงงานนอกระบบนั้น มีเรื่องหลักๆ 3 ด้าน คือ?1) เงื่อนไขของสัญญาจ้าง ระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง ต้องมีความเป็นธรรม เพราะที่ผ่านมาฝ่ายว่าจ้างมักจะเป็นคนออกแบบเงื่อนไขเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นจึงต้องหาหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบกัน

2) ความเป็นธรรมด้านรายได้ ซึ่ง กสร.กำลังศึกษาอยู่ว่างานแต่ละประเภทควรจะได้รับค่าจ้างเป็นเงินเท่าไหร่ ขณะที่แรงงานในระบบมีกฎหมายคุ้มครองขณะนี้ให้มีจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทแล้ว และ 3)ความมั่นคงในชีวิตโดยมองไปที่หลักประกันสัขภาพ และด้านต่างๆ เช่นเดียวกับกองทุนประกันสังคมของแรงงานในระบบ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเจ็บป่วย ชราภาพ ทุพพลภาพ เสียชีวิต เป็นต้น

นายปกรณ์กล่าวด้วยว่า แนวนโยบายดังกล่าวนี้กำลังอยู่ในขบวนการทำงาน ซึ่งมีคณะทำงานระดับชาติ คือ คณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติซึ่งมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานตามมติครม.ที่เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้เมื่อวัน ที่ 21 ส.ค. 2555 โดยมีกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องถึง 9 กระทรวง หน่วยงานย่อยๆ อีกกว่า 20 หน่วยงาน ตลอดจนภาคีเครือข่ายภาคประชาชน และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ มาทำงานร่วมกัน โดยมีกระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลัก และมีกำหนดประชุมคณะกรรมการในวันที่ 14 ก.พ. 2556 นี้

ด้านนายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการด้านสิทธิแรงงาน มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่า การจัดระบบในเรื่องนี้ ค่อนข้างมีความซับซ้อนมากกว่าแรงงานแบบในระบบ ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานในระบบมีนายจ้างที่ชัดเจน มีรายได้ และสถานที่ทำงานชัดเจน แต่แรงงานนอกระบบมีปัจจัยอื่นๆที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วยในการจัดการให้ ความคุ้มครองด้านต่างๆ เช่น ปัญหาของรายได้ที่ไม่สม่ำเสมอเหมือนกับแรงงานในระบบ เช่นปกติจะทำไร่ แต่บางวันไปรับจ้างก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านปัจจัยการผลิต ปัญหาด้านการตลาด และปัญหาหนี้สิน

นายบัณฑิตย์กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา มีองค์กรที่บุกเบิกด้านนี้มาหลายปี แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เพราะปัญหามีความซับซ้อน อีกทั้งแต่ละพื้นที่ มีสภาพปัญหาที่แตกต่างกัน

สำหรับอาชีพอิสระ ที่เป็นแรงงานนอกระบบในแต่ละจังหวัดนั้น มีความแตกต่างกันไป โดยคณะทำงานจะเสนอให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพในแต่ละพื้นที่ เพื่อทำงานและเก็บรวบรวมข้อมูลนำเสนอคณะกรรมการระดับชาติ โดยขณะนี้มีจังหวัดนำร่องที่ทำการตั้งกลุ่มอาชีพของแรงงานนอกระบบแล้วจำนวน 13 จังหวัด

แบ่งเป็นภาคเหนือ 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงรายลำพูน น่าน พะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัดคือ ขอนแก่น สกลนคร ภาคกลาง 3 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ราชบุรี และภาคใต้ 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง

"แรงงานในระบบกับนอกระบบมีความแตกต่างกัน เช่น การจ่ายเงินสมทบต่างๆ ต้องเป็นไปแบบสมัครใจ และต้องมีความต่อเนื่อง จึงต้องสนับสนุนให้เครือข่ายบอกกับแรงงานนอกระบบให้เข้าใจและเข้ามาสู่ระบบ การจัดการนี้ให้มากที่สุด ต่างจากแรงงานในระบบที่ถึงเวลาก็หักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกสิ้น เดือนได้เลย" นักวิชาการแรงงานกล่าว

สำหรับอาชีพอิสระของแรงงานนอกระบบที่เห็นค่อนข้างชัดเจนในกรุงเทพมหานคร คือ กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่รถตู้ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รับจ้างตัดเสื้อผ้า คนค้าขายหาบเร่แผงลอย คนเก็บขยะ ของเก่า แต่จังหวัดอื่นๆ ก็มีอาชีพที่แตกต่างกันไป ซึ่งกลุ่มอาชีพที่ตั้งขึ้นใน 13 จังหวัดนำร่องดังกล่าว จะต้องช่วยกันนำเสนอข้อมูลต่างๆ ให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาวางแผนต่อไป

ต้องรอดูต่อไปว่ากระทรวงแรงงานจะดำเนินการเรื่องนี้ได้สำเร็จเมื่อไหร่ ส่วนคนที่ได้ประโยชน์คือผู้ใช้แรงงานทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในระบบสถานประกอบการ

(แนวหน้า, 13-2-2556)

สหภาพการท่าเรือขู่หยุดงานล่วงเวลา 15 ก.พ.

นายจเร หมีดนุ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ สหภาพฯ นัดประชุมวิสามัญสหภาพแรงงานฯ ในวาระที่ค้างอยู่จากการประชุมวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้พนักงานกทท. ในส่วนของพนักงานขนส่งขนถ่ายเรือ และพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเรือเข้า-ออก หลายร้อยคนยกเลิกการทำงานล่วงเวลาในวันดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานขนถ่าย และนำเรือเข้าออกมีปัญหาล่าช้า

สาเหตุที่สหภาพฯ ยกเลิกทำงานล่วงเวลา เนื่องจากมีผู้บริหารบางคน ไม่ดำเนินการตามมติคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ที่ให้กทท.ประนีประนอมการฟ้องร้องเรียกเงินชดเชยค่าล่วงเวลาจากพนักงาน อย่างไรก็ตาม สหภาพฯ อาจยกเลิกการประชุมดังกล่าวหากกระทรวงคมนาคมมีแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งจะมีการแจ้งมายังสหภาพฯ ในวันที่ 14 ก.พ. นี้

"คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากกรรมการ กทท. และตัวแทนจากพนักงานได้ประชุมร่วมกันในวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา มีมติร่วมกันให้ประนีประนอมฟ้องร้องพนักงาน แต่เมื่อปฏิบัติจริง ยังมีผู้บริหารกทท.บางคน มีพฤติกรรมคัดค้านมติดังกล่าว โดยให้ดำเนินการการฟ้องร้องให้ถึงที่สุด ซึ่งขัดกับหลักการ จึงเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ต้องเรียกประชุมวิสามัญในวาระที่เหลืออีกครั้ง เชื่อว่าจะทำให้การให้บริการมีปัญหาบ้าง เพราะพนักงานที่มาส่วนใหญ่ เป็นพนักงานระดับปฏิบัติงานบริเวณท่าเรือ แต่สหภาพฯ ก็ได้โทรศัพท์ไปแจ้งเอเย่นต์เรือหลายแห่งแล้วว่า จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ทางเอเย่นต์ก็บอกว่า รับทราบ ส่วนต่อไปจะมีการแนวทางการเรียกร้องอะไรหรือไม่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับผลการประชุมวันที่ 15 ก.พ. นี้"นายจเร กล่าว

ด้านเรือตรีวิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวว่า การที่สหภาพฯจะจัดประชุมวิสามัญสามารถดำเนินการได้ และต้องแจ้งกำหนดเวลา และสถานที่ประชุมมายังฝ่ายบริหารด้วย ส่วนเรื่องการยกเลิกทำงานล่วงเวลานั้น พนักงานมีสิทธิที่จะทำงานล่วงเวลาหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารมั่นใจว่าการประชุมของสหภาพฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการในท่าเรือกรุงเทพ

"พนักงานท่าเรือมีประมาณ 3,800 คน เป็นสมาชิกสหภาพฯ ประมาณ 1,400 คน และมีสมาชิกสหภาพฯบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกทำงานล่วงเวลา ดังนั้นการที่จะมีพนักงานบางส่วนยกเลิกทำงานล่วงเวลา ก็เชื่อว่าจะมีพนักงานอีกส่วนที่พร้อมทำงานแทน ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการแน่นอน"เรือตรีวิโรจน์ กล่าว

(กรุงเทพธุรกิจ, 13-2-2556)

ความต้องการแรงงานเดือน ม.ค. วูบ 19% ทั้งหมวดพนักงานขาย ธุรการ และช่างฝีมือ

กรมการจัดหางาน เปิดเผยรายงานสถานการณ์การว่างงาน การเลิกจ้าง และความต้องการแรงงาน ประจำเดือน ม.ค. พบว่า มีสถานประกอบการแจ้งตำแหน่งงานว่างมายังกรมการจัดหางาน 1.1 แสนอัตรา ลดลง 2.69 หมื่นอัตรา หรือ 19.57% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2555

หมวดอาชีพที่มีความต้องการแรงงานลดลง ได้แก่ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด ลดจาก 2.5 หมื่นอัตรา เหลือ 1.5 หมื่นอัตรา หรือ 40.73% ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน จาก 1 หมื่นอัตรา เหลือ 7,182 อัตรา หรือ 34.46%

ความต้องการแรงงานผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ ลดลงจาก 1.1 หมื่นอัตรา เหลือ 7,426 อัตรา หรือลดลง 32.72% อาชีพงานพื้นฐาน จาก 5.3 หมื่นอัตรา เหลือ 4.5 หมื่นอัตรา ลดลง 15.58% และเสมียนเจ้าหน้าที่ จาก 1.7 หมื่นอัตรา เหลือ 1.5 หมื่นอัตรา ลดลง 7.31%

กรมการจัดหางานวิเคราะห์ว่า ผู้ว่างงานเดือน ม.ค. จะอยู่ราวๆ 3.5 แสนคน หรือ 0.9% เพิ่มขึ้น 1.5 แสนคน จากเดือน ธ.ค. 2555 เนื่องจากโครงสร้างการมีงานทำของแรงงานยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งช่วงต้นปีเป็นช่วงนอกฤดูกาลเกษตร ทำให้มีผู้ว่างงานจากภาคเกษตรเพิ่มขึ้น

(โพสต์ทูเดย์, 14-2-2556)

รมว.แรงงานเผยลูกจ้างตกงานจากการปรับค่าแรง 300 บาทแล้ว 495 คน

กรุงเทพฯ14 ก.พ. - รมว.แรงงาน เผยตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้มีลูกจ้างตกงานจากผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทแล้ว 495 คน

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์การเลิกจ้าง เนื่องจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันนี้ (14 ก.พ.) พบว่า มีสถานประกอบการเลิกจ้าง 41 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 1,874 คน ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท 495 คน นอกจากนี้ มีสถานประกอบการเสี่ยงเลิกจ้างเพิ่มอีก 24 แห่ง รวมลูกจ้าง 3,901 คน

ส่วนตัวเลขจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 จนถึงวันนี้ มีแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนว่างงาน เพื่อขอสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานแล้วกว่า 52,000 คน ส่วนใหญ่เป็นการลาออกเอง มีเพียงกว่า 4,000 คนเท่านั้นที่ถูกเลิกจ้าง ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนงวดสุดท้าย เป็นเวลา 6 เดือน ส่วนผู้ที่ลาออกเองจะได้รับในอัตราร้อยละ 30 เป็นเวลา 3 เดือน

(สำนักข่าวไทย, 14-2-2556)

บริษัท GM ไม่สนสหภาพฯ เดินหน้าเปิดเดินเครื่องผลิตรถยนต์

เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 56 ที่ผ่านมา ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่าหลังบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิต ให้บรรจุวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดของพนักงาน และเป็นวันที่ได้โอที ให้เป็นวันทำงานตามปกติ แต่สหภาพแรงงานฯ ไม่เห็นด้วย และไม่สามารถตกลงกันได้
      
จนเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 บริษัทฯ ได้มีคำสั่งให้พนักงานสมาชิกสหภาพแรงงานหยุดงาน พร้อมขออำนาจศาลห้าม 13 แกนนำสหภาพฯ เข้ามาในพื้นที่ของบริษัทฯ อย่างเด็ดขาด ทำให้พนักงานในเครื่อสภาพ และพนักงานอื่นๆ ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงได้ทยอยกันมาสมัครเข้าร่วมอยู่ในสภาพแรงงานเพิ่มขึ้น และพร้อมที่จะเดินหน้าเรียกร้องสิทธิ โดยไม่ขอเข้าไปทำงานนั้น โดยมีการนัดเจรจาโต๊ะกลมกันวันนี้เพื่อหาข้อยุติ
      
ล่าสุดวันนี้ (14 ก.พ.56 ) นายวีโจ้ วาร์จีส ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ สื่อสารผลิตภัณฑ์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า วันนี้ ทางบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ได้เริ่มดำเนินการผลิตที่ศูนย์การผลิต จังหวัดระยอง อีกครั้งในวันนี้ หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว มีการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพฯ โดยนับตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา จีเอ็ม ได้ประเมินความปลอดภัยและสวัสดิภาพของพนักงานและทรัพย์สินของบริษัท เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับมาเริ่มต้นการผลิตอีกครั้ง
      
ในระหว่างนี้ เจนเนอรัล มอเตอร์ส ยังคงเดินหน้าส่งมอบยานยนต์ให้แก่ผู้แทนจำหน่ายของเราเพื่อรองรับการสั่งจอง ของลูกค้าตามกำหนดการปกติ โดยทางบริษัทฯ มีความมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบรถให้ตรงตามกรอบเวลาที่วางไว้ และสอดคล้องกับแผนกำหนดการส่งมอบรถของเรา

โดยใน วันนี้ พนักงานประมาณ 3,100 คน ได้เข้ามารายงานตัว เพื่อทำงานตามปกติที่ศูนย์การผลิต จังหวัดระยอง บริษัทฯ และพนักงานเริ่มปฏิบัติงานอีกครั้งภายใต้ความปลอดภัยและความมุ่งมั่นในการ รักษามาตรฐานคุณภาพสูงสุดของจีเอ็ม ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ และการส่งมอบรถให้แก่ลูกค้าตรงตามเวลาที่กำหนด
      
ด้านสหภาพฯ นั้นทางบริษัท หวังว่าจะสามารถเริ่มการเจรจาตามกฎหมายและเป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องกับ สหภาพฯ ได้อีกครั้งในพรุ่งนี้ คือ วันที่ 15 ก.พ.2556 เพื่อหาข้อตกลงและผลสำเร็จร่วมกันกับสหภาพฯ อย่างมีเหตุผลและเป็นธรรมในทุกประเด็น เนื่องจากวันนี้ที่มีการนัดเจรจากันนั้น ยังไม่สามารถตกลงกันได้
      
ด้านนายสุริยา โพธิ์ชัยเลิศ ประธานสหภาพแรงงานฯ ฯ กล่าวว่า วันนี้บริษัทฯ ได้นำหมายศาล จังหวัดชลบุรี มาปิดไว้บริเวณที่ประท้วงของพนักงาน แต่หมายนี้ไม่มีผู้ใดเซ็นต์รับทราบแต่อย่างใด เพราะมีการขออำนาจศาลให้สั่งไม่ให้แกนนำ สหภาพฯเพิ่ม อีก 2 คน เข้าพื้นที่บริษัทฯ รวมทั้งหมดเป็น 15 คน และเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท
      
ถึงแม้ว่าทางบริษัทฯ เปิดโอกาสให้พนักงานที่ต้องการเข้าไปทำงานลงชื่อในวัน วาเลนไทน์ ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะสมาชิกสหภาพแรงงานยังยืนยันไม่ยอมรับระเบียบปฏิบัติใหม่ จึงไม่มีใครเข้าไปลงชื่อเพื่อทำงาน และยืนยันว่าจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด เพราะศาลสั่งเพียง 15 คน ที่ไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ของบริษัท ฯ พนักงานคนอื่น ๆ อีกประมาณ 2, 000 คน ก็ยังสามารถผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่ในเวลากลางวัน ประมาณ 1,200 คน กลางคืนประมาณ 800 คน
      
ในวันที่ 15 ก.พ. 56 ทางแกนนำทั้ง 15 คน ต้องเดินทางไปศาล แต่บริษัทฯก็ขอ การนัดเจรจากับแกนนำ ทั้งที่รู้ว่าต้องไปศาล เพื่อจะเป็นข้ออ้างตลอดว่าแกนนำสหภาพไม่ยอมยอมมาเจรจา เท่ากับสร้างความกดดันให้แกนนำ และสมาชิกอย่างมาก ถ้าบริษัทฯมีความจริงใจ ยอมรับกติกาต่อกัน ก็จะไม่มีปัญหายืดเยื้อมาถึงทุกวันนี้ ทางบริษัทฯจะเสียหายอย่างมาก ในเรื่องของความเชื่อถือ ถึงแม้ว่าวันนี้ จะเปิดทำงานสายการผลิตเป็นวันแรกก็ตาม แต่ก็ทำได้เพียงกลางวันเท่านั้น กะกลางคืนไม่มีพนักงานทำงาน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 14-2-2556)

เบรกหนังสือสั่งการจ่ายโบนัส "กฤษฎีกา"ชี้ไม่มีผลทางกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 แจ้งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย ว่าผลการพิจารณาการจ่ายเงินโบนัสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า อปท.ยังไม่มีระเบียบรองรับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้ อปท.จ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษ อปท.จึงไม่อาจตั้งจ่ายได้นั้น จากการตรวจสอบสาระสำคัญในการวินิจฉัยดังกล่าวพบว่า หากกระทรวงมหาดไทยเห็นสมควรให้ อปท.จ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษได้ กระทรวงมหาดไทยต้องออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยเพื่อกำหนดให้เงินประโยชน์ตอบ แทนอื่นสำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษเป็นรายจ่ายของ อปท.โดยในการออกระเบียบดังกล่าวกระทรวงมหาดไทยสามารถกำหนดเงื่อนไขไว้ได้ตาม ที่เห็นสมควร เช่น การกำหนดห้ามนำเงินสะสมมาจ่ายเป็นเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับพนักงานส่วน ท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษ และเมื่อกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (กถ.) และคณะกรรมการอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นฯ จึงจะเป็นผู้กำหนดวิธีการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับพนักงานส่วนท้อง ถิ่นเป็นกรณีพิเศษ และเมื่อกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบดังกล่าวแล้วจะให้มีผลใช้บังคับย้อนหลัง หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับความจำเป็นซึ่งกระทรวงมหาดไทยต้องเป็นผู้พิจารณา

 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกายังตั้งข้อสังเกตเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของกระทรวง มหาดไทยว่า โดยที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ในมาตรา 282 ว่า "การกำกับดูแล อปท.ต้องทำเท่าที่จำเป็นและมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบของ อปท. ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ..." ดังนั้น การดำเนินการต่างๆ กระทรวงมหาดไทยจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ในเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องออกเป็นระเบียบ กระทรวงมหาดไทยจำเป็นต้องออกเป็นระเบียบจะอาศัยแต่เพียงอำนาจในฐานะที่เป็น ผู้กำกับดูแลเพื่อออกหนังสือสั่งการให้ อปท.ปฏิบัติตามมิได้ เพราะหนังสือสั่งการไม่มีผลทางกฎหมาย ผูกพันหรือคุ้มครอง อปท.ในการปฏิบัติตามหนังสือสั่งการนั้น

(มติชน, 14-2-2556)

เร่งแก้ กม.เพิ่มสิทธิ์ให้แก่ผู้ประกันตน

ผู้สื่อข่าวรายงานมาว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้มีการประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ....ซึ่งมีนางสุนี  ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม เป็นประธานการประชุม โดยมีนายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และนายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการร่วมชี้แจงให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว

นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนทางกระทรวงฯก็ต้องเร่งดำเนินการ เพราะหากรอปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมทั้งฉบับในคราวเดียวอาจใช้เวลานาน 2 ปี ก็ไม่แน่ชัดว่าจะแล้วเสร็จ ดังนั้นความจำเป็นของผู้ประกันตนจึงต้องมาก่อน เพราะการแก้ไขกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนบางกรณีจึงต้องเร่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงในบางมาตรา หากจะแก้ไขกฎหมายทั้งหมดคงไม่ทันการณ์

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า โดยหลักการยังเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในรายละเอียดอาจจะมีจุดอ่อนอยู่บ้าง ซึ่งคิดว่ายังมีเวลาได้หารือกันต่อไป แต่ตรงจุดนี้จำเป็นต้องเดินหน้าต่อ เนื่องจากประเด็นเรื่องประกันสังคมนั้นส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากถึง 11 ล้านคน และยังไม่มีใครตอบได้ว่ารูปแบบใดจึงจะดีที่สุด จึงจำเป็นต้องเดินหน้าต่อ  แต่ถ้าทำแล้วเกิดความเสี่ยงก็ไม่ทำ เพราะเราเอาเงินคนอื่นมาลงทุน ในจุดเริ่มต้นตรงนี้จึงพยายามจะทำอะไรให้เสี่ยงน้อยที่สุดเพื่อประโยชน์ของ ผู้ประกันตนและประชาชนทุกคน ทั้งนี้หากพิจารณาในหลักการตามที่ประชุมให้ข้อสังเกตุไว้ยังไม่ได้เห็นว่ามี ขัดแย้งกันทั้งหมด ยังมีความเห็นตรงกันกันว่าอยากให้ผู้มีรายได้มีส่วนร่วมจ่าย โดยกระทรวงแรงงานจะรับไปพัฒนาต่อ นอกจากนี้กระทรวงฯก็กำลังขยายสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา39 เพื่อพัฒนาระบบประกันสังคมให้ดีขึ้น สำหรับแนวทางการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน นั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบนโยบายให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทัน สมัย ยิ่งขึ้น หากคปก.มีข้อเสนอที่ดีสามารถเสนอมาได้และทางเรายินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติม

นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการ สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ประเด็นสำคัญในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม คือ การปรับปรุงแก้ไขเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน เช่น การขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างส่วนราชการ รวมถึงลูกจ้างองค์กรท้องถิ่น การแก้ไขประเด็นมาตรา 40 ในบทนิยามให้ครอบคลุมถึงแรงงานที่ไม่อยู่ในสถานประกอบการ เรื่องบำนาญชราภาพ เรื่องการประสบภัยพิบัติของผู้ประกันตน  กรณีลูกจ้างหรือผู้ประกันตนเสียชีวิตและไม่มีทายาทพี่น้องสามารถรับผล ประโยชน์แทนได้ การเปลี่ยนนิยามเรื่องทุพพลภาพให้ครอบคลุมการสูญเสียอวัยวะ นอกจากนั้น ยังแก้ไขเรื่องการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ และยังขยายเรื่องสิทธิในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนจากหนึ่งปีเป็นสองปี หากเกินสองปี เลขาธิการฯมีอำนาจขยายให้ได้หากมีเหตุผล นอกจากนี้ ยังระบุให้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับไม่อยู่ในการบังคับคดีของเจ้าหนี้ด้วย ด้านการบริหารได้เพิ่มคุณสมบัติคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อให้คณะกรรมการบริหารงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แก้ไขส่วนเงื่อนไขการเสียสิทธิ เนื่องจากเรื่องหลักๆ ที่เร่งด่วน คือเจ็บป่วยและเสียชีวิต

นายโกวิท กล่าวว่า  ประเด็นตามมาตรา 55 เราได้ปรึกษากับกฤษฎีกาแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะกลุ่มผู้ได้รับความคุ้มครองจะหมดในอีกห้าถึงหกปี ส่วนนิยามการว่างงาน ที่มีสาเหตุมาจากการลาออกที่ถูกบังคับ ซึ่งมีปัญหาการตีความในทางกฎหมายว่าเป็นการลาออกนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การเลิกจ้างโดยการลาออก เจตนารมณ์ในการเลิกจ้างคือ ไม่ประสงค์จะทำงาน ซึ่งเห็นว่าควรคุ้มครองผู้ประกันตนส่วนนี้ด้วย ทั้งนี้  ต้องมีการตรวจสอบเป็นกรณีไป โดยในทางปฏิบัติให้กรมสวัสดิการฯ เข้ามาดูแล และพิจารณา ว่าเข้ากรณีถูกบีบบังคับให้ลาออกหรือลาออกโดยความสมัครใจแท้จริง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขร่างพ.ร.บ.ในส่วนนี้ก็ยังต้องไปว่ากันในชั้นกรรมาธิการอีกครั้ง หนึ่ง ว่าจะมีการปรับแก้อย่างไร

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จากการศึกษาการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมอาจจะเป็นแนวคิดในการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าก่อน แต่การดำเนินการแก้ไขปัญหาตามงานวิจัยที่มีอาจมีข้อจำกัดหลายประการเช่น สภาวะสังคม เป็นต้น  ขณะที่ประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานที่ถูกจัดส่งไปต่างประเทศ ได้มีการพูดคุยกันตลอด เช่น อิสราเอล ไต้หวัน  เป็นต้น ซึ่งสำนักงานประกันสังคมก็ไม่ได้ปล่อยผ่านไปแต่อย่างใด ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลง(MUO) ของประเทศไทยกับประเทศนั้นๆด้วย

"ปัญหาเรื่องการลงทุน ที่สำนักงานบริหารการลงทุน สามารถไปลงทุนในภาคเอกชน ซึ่งอาจจะทำให้รัฐกลายเป็นรัฐวิสาหกิจหากถือหุ้นเกิน 50%นั้น ปัญหานี้ก็น่าเป็นห่วง แต่การลงทุนจะต้องศึกษาให้รอบด้านก่อนการลงทุนจริง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทำนองนี้ที่อาจจะเกิดขึ้น และจะหารือกับกลต.ในประเด็นดังกล่าว" นายจีรศักดิ์ กล่าว
 
ดร.วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม กล่าวว่า มีข้อสังเกต  3 ประเด็นสำคัญ คือ 1. บทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" นั้น ยังไม่ครอบคลุมของลูกจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน กรณีที่นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดาและประกอบธุรกิจซึ่งมิได้มีลักษณะเพื่อหากำไร ควรระบุให้คุ้มครองด้วยด้วย 2. เงินสมทบตามมาตรา 55 ยังมีความไม่เสมอภาคปรากฏอยู่ เนื่องจากลูกจ้างที่เข้ามาก่อนที่จะมีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.นี้ได้ประโยชน์ เพียงกลุ่มเดียว 3. เรื่องการว่างงานนั้น ไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้รอครบ 7 วันจึงจะมีสิทธิรับเงินทดแทน เนื่องจากความเดือดร้อนเกิดขึ้นทันทีนับแต่ว่างงานแล้ว และไม่ได้คำนึงถึงภาระของผู้ว่างงานว่าได้รับความเดือดร้อนมากน้อยเพียงใด

(เดลินิวส์, 17-2-2556)

"อภิสิทธิ์" แนะรัฐบาลเร่งหามาตรการแก้ปัญหาผลกระทบค่าแรง 300 บาท

17 ก.พ. 56 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรรคประชาธิปัตย์จัดเวทีเสวนาสาธารณะเปิดหูเปิดตาประชาชนเรื่องค่าแรง 300 บาท ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของแรงงาน ผู้ประกอบการและคนไทย ณ ลานพระแม่ธรณี

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ได้พยายามผลักดันพัฒนาทักษะของแรงงานเพื่อให้มี รายได้มากขึ้น และพรรคการเมืองคู่แข่งได้นำกรณีนี้มาเป็นนโยบายหาเสียง แต่เป็นการปรับรายได้แบบมีเงื่อนไข ส่งผลกระทบตามมามากมาย เช่น การหลบเลี่ยงกฎหมาย มีแรงงานถูกเลิกจ้าง ทั้งนี้ รัฐบาลจะมองสถานการณ์เฉพาะหน้าไม่ได้ แต่ต้องมองถึงอนาคต สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องคือ เมื่อเกิดผลกระทบ รัฐบาลมีหน้าที่หามาตรการรองรับและแก้ปัญหา ขณะเดียวกันต้องพิจารณาว่าในอนาคตเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงควรเป็นเรื่องที่ ทางการเมืองเป็นผู้กำหนดอีกหรือไม่

ด้านนางวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานท์ฉันแรงงานไทย กล่าวว่า นโยบาย 300 บาทของรัฐบาลกำลังมีปัญหากระทบกับแรงงาน ทั้งเรื่องไม่ได้ค่าแรงตามที่รัฐกำหนดจริง ปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับค่าแรง รวมถึงปัญหาแรงงานถูกเลิกจ้าง เพราะผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับภาระได้จึงปิดกิจการ ปัญหาเหล่านี้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องหามาตรการที่ชัดเจนมารองรับและให้การช่วย เหลือทั้งในเบื้องต้นและระยะยาว นอกจากนี้รัฐบาลต้องเร่งหามาตรการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและเพิ่มมาตรการ ช่วยเหลือให้ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานไทยดีขึ้น และมีรายได้เพียงพอเลี้ยงดูครอบครัว

(สำนักข่าวไทย, 17-2-2556)

"เผดิมชัย"ปัดโรงงานโอ่งราชบุรีปิดตัว ไม่เกี่ยวขึ้นค่าจ้าง 300 บาท

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่โรงงานผลิตโอ่งใน จ.ราชบุรี ต้องปิดกิจการ เนื่องจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานแรงงานจังหวัดราชบุรีว่า โรงงานทำโอ่งได้หยุดกิจการชั่วคราวทั้งหมด 2 แห่ง มีแรงงานจำนวน 7 คน โดยสาเหตุที่หยุดกิจการไม่ได้เกิดจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท แต่เป็นเพราะโรงงานไม่มียอดสั่งซื้อ (ออเดอร์) สินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งตลาดภายในประเทศมีจำนวนจำกัด และค่าวัตถุดิบมีราคาแพง ทำให้บริษัทขาดทุนจึงต้องปิดกิจการ ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงงานโอ่งใน จ.ราชบุรี มี 31 แห่ง มีแรงงานประมาณ 500 กว่าคน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าและกะเหรี่ยง ทำให้การแข่งขันสูง เพราะโรงงานที่ปิดตัวไปเป็นโรงงานขนาดเล็ก ไม่สามารถแข่งขันกับโรงงานขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ ยังมีโรงงานโอ่งที่หยุดกิจการชั่วคราว 2 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม จำนวน 1 แห่ง มีลูกจ้าง 10 คน และมีโรงงานที่มีแนวโน้มที่จะหยุดกิจการในเดือนมีนาคม จำนวน 1 แห่ง มีลูกจ้าง 6 คน

นายเผดิมชัยกล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่แรงงานจังหวัดทั่วประเทศประสานขอข้อมูลจาก พาณิชย์จังหวัดที่มีสถานประกอบการไปยื่นจดทะเบียนเปิดกิจการ เพื่อเป็นการรายงานข้อมูลที่รอบด้าน ให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยในส่วนการแก้ปัญหาโรงงานโอ่งขนาดเล็กนั้นมองว่า เมื่อไม่มีออเดอร์เข้ามา ทางโรงงานควรร่วมกับสถานประกอบการขนาดใหญ่ในการรับงาน เพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้

(มติชนออนไลน์, 18-2-2556)

ผ.อ.การท่าเรือยื่นใบลาออกแล้ว หลังโดนสหภาพฯท่าเรือประท้วงขับไล่

วันที่ 18 ก.พ. ที่ประชุมคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นประธานในที่ประชุมเพื่อหารือกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่ง ประเทศไทย ชุมนุมประท้วงขับไล่ เรือตรีวิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือ

โดยสหภาพแรงงานการท่าเรือฯได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้อำนวยการการท่าเรือลา ออกหลังจากที่เกิดปัญหาบริหารงานผิดพลาด ใช้อำนาจในทางที่มิชอบ ทำให้เกิดความขัดแย้งในองค์กร

ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการหารือ เรือตรีวิโรจน์ จงชาณสิทโธ ได้ตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่งโดยมีพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง มีมติเห็นชอบกับการลาออกและมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป

พร้อมแต่งตั้ง ร.อ.อิทธิชัย สุพรรณกุล รองผู้อำนวยการ สายบริหารทรัพยากรบุคคลและการเงิน ทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการการท่าเรือ

ทั้งนี้หลังจากเสร็จสิ้นการหารือและเรือตรีวิโรจน์ได้ลาออกตามคำเรียกร้อง สหภาพแรงงานก็กลับเข้าทำงานตามปกติ

(สปริงนิวส์, 18-2-2556)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘คปอ.’ เปิดศูนย์ศึกษา กม.–'เอ็นจีโออีสาน' จัดเวทียกร่าง กม.3 ฉบับ หวังกระจายที่ดินเป็นธรรม

Posted: 18 Feb 2013 07:45 AM PST

ภาคประชาชนอีสาน ระดมความคิด ยกร่างกฎหมายภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า-ธนาคารที่ดิน-สิทธิการจัดการที่ดินและทรัพยากร หวังการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรม ด้าน คปอ.เปิดศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน

 
องค์กรภาคประชาชน ภาคอีสาน อาทิ คณะกรรมการองค์กรชาวบ้านแก้ไขที่ดินภาคอีสาน (คอปอ.) กลุ่มคัดค้านเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน) สำนักงานปฏิรูปเพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม (สปร.) สมัชชาคนจน (สคจ.) และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ร่วมกับ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดเวทีสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง 'ภาคประชาชนกับข้อเสนอประกอบการยกร่างกฎหมาย 3 ฉบับ เพื่อการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรม' เมื่อวันที่ 16 – 17 ก.พ.56 ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ขามเรียง)
 
สืบเนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินในในสังคมไทย จากการศึกษาของมูลนิธิสถาบันที่ดิน พบว่า ที่ดินที่มีการครอบครองโดยประชาชนทั่วไป 120 ล้านไร่ มากกว่าร้อยละ 90 ของที่ดินกระจุกตัวในมือคนเพียงร้อยละ 10 หรือประมาณ 6 ล้านคน ขณะที่ประมาณร้อยละ 10 ของที่ดิน ถือครองโดยคนจำนวนร้อยละ 90
 
ปัญหาดังกล่าวข้างต้น มีความพยายามแก้ไขของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันข้อเสนอในการปฏิรูปที่ดินโดยประชาชน ตั้งแต่ สมัยสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (สทช.) เมื่อปี พ.ศ. 2517 มาจนจนถึงการต่อสู้ของสมัชชาคนจน เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และ ขปส.อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน สังคมไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายเพื่อนำไปสู่การกระจายการถือครองที่ดิน
 
ดังนั้น ขบวนการประชาชน องค์กรประชาสังคม นักวิชาการ จึงได้จัดกิจกรรมระดมความคิดเห็นจากเครือข่ายทั่วประเทศ เพื่อรณรงค์ ผลักดันร่างกฎหมาย 3 ฉบับ ประกอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน และ พ.ร.บ.สิทธิการจัดการที่ดินและทรัพยากร โดยก่อนหน้านี้ในภาคเหนือได้มีการจัดเวทีเช่นเดียวกันนี้ไปแล้ว
                                                    
นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง 'ความไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม' ในวันที่ 2 ของการสัมมนา ถึงเหตุที่ไทยคนจนมากมายว่า เป็นเพราะปัญหาเรื่องการแย่งชิงทรัพยากร เป็นความจริงที่ข่มขืน และเป็นความจริงที่ต้องมาร่วมกันคิด ร่วมกันต่อสู้ในความไม่เป็นธรรม ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ถือเป็นความไม่เท่ากัน ระหว่างคนจนเรื่องคนรวย
 
 
 
เปิดศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน
 
จากนั้น นายแพทย์นิรันดร์ ร่วมกับ รศ.สีดา สอนศรี คณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสารคาม เป็นประธานพิธีเปิดศูนย์ศึกษาและพัฒนากฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน (ศกส.) โดยการดำเนินงานของ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)
 
ด้านนายสมนึก ตุ้มสุภาพ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนากฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงที่มาของการเปิดตัวศูนย์ดังกล่าวว่า มาจากสภาพปัญหาคดีความที่เกิดขึ้น โดยส่วนมากจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งในสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรของประชาชนและชุมชน ซึ่งคดีส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนจนที่ถูกข้อพิพาทในเรื่องที่ดินทำกิน และนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านคดีความที่เกิดขึ้น
 
ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เล่าต่อไปว่า จากสถิติที่ชาวบ้านถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น จึงได้เกิดการรวมตัวของนักกฎหมายเพื่อจัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้นมา นอกจากจะเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายให้กับผู้ถูกละเมิดสิทธิ์แล้ว ในการนี้ยังจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพผู้นำ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ในการเข้ามาร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ ให้เกิดความเข้าใจถึงปัญหาคดีความและความไม่ยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรม
 
 
"เมื่อชาวบ้านเหล่านั้นได้เข้ามาร่วมศึกษาจนเกิดกระบวนการความเข้าใจแล้ว ยังสามารถพัฒนาคุณภาพไปสู่การเป็นอาสาสมัครของเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน และร่วมกันรณรงค์เพื่อนำไปสู่การผลักดันนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนสู่สาธารณะ ให้เกิดความเป็นธรรมโดยทั่วถึงกันต่อไป" นายสมนึกกล่าว
 
นายสมนึก กล่าวด้วยว่า ในส่วนของที่ปรึกษานั้น จะประกอบไปด้วย ดร.อลงกรณ์ อรรคแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสมภพ โชติวงษ์ ทนายความ และ ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยจะมีนายปราโมทย์ ผลภิญโญ เป็นผู้ประสานงาน มีทีมทนายประจำศูนย์ฯ อาทิ ทนายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา ทนายถนอมศักดิ์ ระวาดชัย ทนายไสว มาลัย เป็นต้น
 
สำหรับสถานที่เปิดศูนย์นั้นจะเป็นในส่วนของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำพุปางวัว ต.คอนสาร อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสม.เล็งส่งเรื่องราชทัณฑ์ ย้าย 3 ผู้ต้องขัง 112 คดีไม่ถึงที่สุดมาเรือนจำหลักสี่

Posted: 18 Feb 2013 06:27 AM PST

 

18 ก.พ.56 ที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมี นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนเป็นประธาน ได้เชิญตัวแทนจากกรมราชทัณฑ์ คือ นายกิตติพัฒน์ เดชะพหุล ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ รักษาการ ผอ.ทัณฑปฏิบัติ เพื่อสอบถามเรื่องการย้ายผู้ต้องขังในคดีความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ไปยังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ รวมทั้งขอทราบผลความคืบหน้าในการพักโทษ การขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษกลุ่มนี้ หลังจากทางญาติผู้ต้องขังได้เข้าร้องเรียนเรื่องดังกล่าวว่าได้รับการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากเห็นว่าผู้ต้องขังเหล่านี้ก็จัดเป็นนักโทษการเมืองด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ในการประชุมมีอดีตผู้ต้องขังและกลุ่มญาติผู้ต้องขังเข้าร่วมด้วย อาทิ นายสุชาติ นาคบางไทร อดีตผู้ต้องขัง ม.112, นายสุรภักดิ์ อดีตผู้ต้องขัง ม.112, นายเอกชัย ผู้ต้องหาคดี 112 ที่ได้รับการประกันตัว

ตัวแทนจากกรมราชทัณฑ์ ระบุว่า อำนาจในการย้ายนักโทษไปเรือนจำชั่วคราวหลักสี่นั้นเป็นอำนาจของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ซึ่งที่ผ่านมาได้ย้ายผู้ต้องขังคดีการเมือง เหตุสืบเนื่องจากการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 จากเรือนจำจังหวัดต่างๆ มารวมกันที่เรือนจำหลักสี่แล้ว แต่ยังคงเหลือผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 อีกราว 6 คน ที่อยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง เนื่องจากข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า นักโทษคดี 112 เป็นนักโทษการเมืองจึงไม่มีการย้ายไปเรือนจำหลักสี่ ต่อมาวันที่ 23 ม.ค.55 ทางกรมราชทัณฑ์ได้ทำหนังสือสอบถามไปยัง คอป.ในเรื่องนี้อีกครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด

ตัวแทนจากราชทัณฑ์ระบุด้วยว่า หากทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสรุปความคิดเห็นในเรื่องนี้ส่งให้ทางราชทัณฑ์ ก็จะมีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ในเบื้องต้นคาดว่าผู้ที่จะสามารถย้ายไปเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ได้จะต้องเป็นผู้ต้องขังที่โทษยังไม่ถึงที่สุด ได้แก่ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 11 ปี ไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ , นายยุทธภูมิ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังที่ถูกพี่ชายแจ้งจับ คดีอยู่ในชั้นศาลและสืบพยานนัดแรกในเดือนส.ค.นี้, นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้ต้องขังหญิงที่ถูกศาลพิพากษาจำคุก 15 ปี ตั้งแต่ปี 2554 ส่วนที่เหลืออีก 3 ราย คือ นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ จำคุก 12 ปี 6 เดือน , นายธันย์ฐวุฒิ (สงวนนามสกลุ) จำคุก 13 ปี และนายวันชัย (สงวนนามสกุล) จำคุก 15 ปี นั้นถือเป็นนักโทษเด็ดขาดที่คดีถึงที่สุดแล้ว และทั้งสามอยู่ระหว่างขอพระราชทานอภัยโทษ

นายกิตติพัฒน์ ให้ข้อมูลด้วยว่าผู้ต้องโทษตามมาตรา 112 บางส่วนอยู่ระหว่างการทูลเกล้าถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ โดยที่คำขอของนายสุรชัยเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ส่วนอีก 2 ราย ขณะนี้เรื่องอยู่ที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

นายจอน อึ๊งภากรณ์ และนายศราวุฒิ ประทุมราช อนุกรรมการฯ ได้สอบถามประเด็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะได้รับการประกันตัวว่า หากยังมีการคุมขังผู้ต้องหาโดยไม่ให้ประกันตัวในระหว่างการพิจารณาคดี ก็ควรที่จะมีการแยกขังผู้ต้องหาในสถานที่ต่างหาก ไม่ใช่เรือนจำเสมือนเป็นนักโทษ ซึ่งผู้แทนจากกรมราชทัณฑ์ยอมรับว่า การคุมขังผู้ต้องหาระหว่างการพิจารณานั้น อาจใช้เวลานานถึง 3 ปี กว่าศาลจะมีคำพิพากษา จึงมีแนวความคิดที่จะเอาคนออกจากคุกก่อนกำหนด ในรายของนักโทษที่มีความผิดเพียงเล็กน้อย เมื่อรับโทษครบเงื่อนไขที่สามารถพักโทษได้ กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการคืนตัวสู่สังคมก่อนครบกำหนดโทษปีละประมาณ 40,000 คน คาดว่าในวันที่ 16 เมษายนนี้ จะได้ปล่อยตัวออกก่อนอีกจำนวนหนึ่ง แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสังคมโดยส่วนรวมด้วย

นายสุชาติ นายสุรภักดิ์ และผู้ร่วมประชุมได้เล่าประสบการณ์ตรงที่ได้พบในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และกรณีการให้ผู้ต้องหา/ผู้ถูกคุมขังทายชื่อให้ถูกต้องจึงจะอนุญาตให้เยี่ยมนางสาวดารณี ได้ตามเงื่อนไขของทัณฑสถานหญิงกลางและเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ของราชทัณฑ์ปฏิบัติต่อนักโทษในฐานะมนุษย์ด้วย

นอกจากนี้ผู้ร่วมประชุมที่เป็นญาติผู้ต้องหามาตรา 112ได้เรียกร้องต่อคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองให้พิจารณาการนิรโทษกรรมผู้ต้องหาคดีการเมืองทั้งหมด ซึ่ง นพ.นิรันดร์ได้สรุปผลการประชุมในวันนี้ว่า คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองจะมีหนังสือสรุปความเห็นของที่ประชุม เพื่อแจ้งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ให้พิจารณาย้ายผู้ต้องหาในคดีตามมาตรา 112 ทั้ง 3 ราย คือ นายสมยศ นายยุทธภูมิและนางสาวดารณี ไปเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ รวมทั้งประเด็นสิทธิในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั้งหมดในเรือนจำที่ได้รับงบประมาณต่อหัวเพียงคนละ 133 บาทต่อคนต่อปี ครอบคลุมเพียง 180,000 คน ทั้งที่มีผู้ต้องขังและนักโทษอยู่ถึง 245,000 คนและเงื่อนไขการเข้าเยี่ยมนักโทษหญิงที่น่าจะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา และในปีนี้ คณะอนุกรรมการฯ จะจัดทำรายงานผลศึกษาปัญหานักโทษทางการเมืองในประเทศไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ธรณี ฤทธีธรรมรงค์

Posted: 18 Feb 2013 05:44 AM PST

"จะประสานเอาที่ทหารมาเป็นของประชาชน แล้วบอกกับทหารว่าคุณสำนึกไหมว่า มันมาจากภาษีประชาชนแล้วคุณก็ล้อมรั้วแข็งแรงมีทหารมายืนเฝ้าห้ามเข้าๆ ไม่ได้"

ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

อวัตถุศึกษากับอธิป: แนวโน้มกฎหมายสอดส่องอินเทอร์เน็ตในรัสเซีย ไอซ์แลนด์ สหรัฐ ฯลฯ

Posted: 18 Feb 2013 05:43 AM PST

ประมวลข่าวสารลิขสิทธิ์กับ 'อธิป จิตตฤกษ์' นำเสนอเรื่องกม.สอดส่องเน็ตที่อาจเริ่มนำมาใช้ในหลายประเทศ, ม.ฮาร์วาร์ดคาดอุตสาหกรรมการศึกษาจะถูกสั่นคลอนโดยสื่อออนไลน์, การเคลื่อนไหวทางสังคมที่ผสานโลกออนไลน์-ออฟไลน์

 

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก

 

 

11-02-2013

รายงานจากกลุ่มอุตสาหกรรมดนตรีอังกฤษเล่นกับสถิติเพื่อที่จะชี้ว่าพวก "โหลดเพลง" แบบเถื่อนมีการจับจ่ายกับงานดนตรีถูกต้องตามลิขสิทธิ์มากกว่าพวกที่ไม่ทำสำเนาเถื่อน

รายงานชี้ว่าผู้ที่โหลดเพลงอย่างถูกต้องตามกฎหมายมียอดการจับจ่าย 33.43 ปอนด์ต่อปี ในขณะที่พวกโหลดเพลงแบบเถื่อนในภาพรวมมียอดการจับจ่าย 26.64 ปอนด์ต่อปี

อย่างไรก็ดี ในบรรดานักโหลดเพลงเถื่อน สามารถแยกได้เป็นนักโหลดเพลงที่ไม่เคยจ่ายเงินสักปอนด์เดียวซื้องานดนตรีในปีๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นคนกลุ่มเล็กกว่านักโหลดเพลงเถื่อนที่ยังซื้องานดนตรีถูกต้องตามลิขสิทธิ์ด้วย พวกนี้มีประมาณเกินครึ่งของนักโหลดเพลงเถื่อนทั้งหมด และคนกลุ่มนี้มีมียอดการจับจ่าย 48.26 ปอนด์ต่อปี ซึ่งมากกว่าคนที่ไม่ดาวน์โหลดเพลงแบบเถื่อนเลยด้วยซ้ำ

กล่าวโดยสรุปคือนักโหลดเพลงเถื่อนที่จ่ายเงินซื้องานดนตรีก็เป็นผู้บริโภคงานดนตรีที่จริงจังกว่าคนที่ไม่โหลดเพลงเถื่อนเลยนั่นเอง

News Source:  http://torrentfreak.com/music-pirates-are-cheapskates-some-of-them-130210/  , http://www.techdirt.com/articles/20130210/15563721940/lies-damn-lies-statistics-how-bpi-cherry-picks-its-averages-to-pretend-file-sharers-spend-less.shtml

 

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ ยืนยันว่าการตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่รัฐไม่ถือว่าเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ทางกระทรวงฯ ยังยืนยันอีกว่าการตรวจค้นที่ว่านี้สามารถทำได้ในรัศมี 100 ไมล์จากชายแดนได้โดยไม่ต้องใช้หมายค้น

นี่หมายความว่า ณ เมืองดีทรอยต์ (ที่ห่างจากชายแดนสหรัฐ/แคนาดาไม่ถึง 100 ไมล์) เจ้าหน้าที่สามารถจะทำการค้นคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต มือถือ ฯลฯ ได้โดยไม่ต้องใช้หมายค้นใดๆ ทั้งสิ้น

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130208/17415621927/homeland-security-not-searching-your-laptop-doesnt-benefit-your-civil-liberties-so-we-can-do-it.shtml

 

12-02-2013

แคลิฟอร์เนียออกกฎหมายว่า Private Policy ของพวกบริการต่างๆ ต้องเขียนด้วยถ้อยคำกระชับและยาวไม่เกิน 100 คำ

อย่างไรก็ดีการบังคับให้เขียน Private Policy ของบริการตั้งๆ ให้สั้นๆ แบบนี้ก็ดูจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหา Private Policy ยาวเกินไป ผู้ใช้บริการไม่อ่านดังที่เป็นอยู่อย่างเดียว แต่จะเปิดช่องว่างให้ Private Policy ใช้ถ้อยคำกว้างๆ ที่จะทำให้มีปัญหาได้ภายหลังเช่นเดียวกัน

และที่ตลกที่สุดคือกฎหมายนี่มีความยาว 336 คำ

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130209/02174421930/proposed-law-privacy-policies-must-be-less-than-100-words-says-336-word-bill.shtml

 

13-02-2013

รัฐบาลสหรัฐหนุนศาลสูงให้ยืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีแชร์ไฟล์ หรือยืนยันว่าว่าค่าเสียหาย 9,250 ต่อการโหลดและแชร์เพลงๆ หนึ่งนี่เป็นมูลค่าที่ถูกต้องแล้ว ไม่ได้ละเมิดรัฐธรรมนูญดังที่ทนายฝ่ายจำเลยกล่าวอ้าง

อนึ่ง คดี RIAA vs. Thomas นี่เป็นคดีแชร์ไฟล์คดีแรกในอเมริกา (และน่าจะในโลก) ที่เรื่องได้ดำเนินไปถึงศาลสูง การฟ้องร้องคดีแชร์ไฟล์ส่วนใหญ่ (ที่มักจะเป็นการแชร์เพลงหรือหนัง) จะไปจบที่การที่จำเลยจ่ายค่ายอมความ ดังนี้มาตรฐานค่าเสียหายการแชร์ไฟล์ของคดีนี้จึงสำคัญเพราะจะเป็นมาตรฐานต่อไป

คดีนี้ดำเนินมากกว่าครึ่งทศวรรษแล้ว และคนที่โดนฟ้องทั้งหมดก็มีราว 35,000 รายด้วยกัน และ Thomas ก็แทบจะเป็นคนเดียวที่สู้คดีมาถึงระดับนี้ และการต่อสู้ในช่วงหลังๆ ก็จะเป็นเรื่องของค่าเสียหายที่เหมาะสมแก่การแชร์เพลงซึ่งปริมาณค่าเสียหายก็แกว่งไปมาตลอดการพิจารณาคดี

News Source:  http://torrentfreak.com/u-s-govt-harsh-punishments-needed-to-deter-music-pirates-130212/, http://www.techdirt.com/articles/20130212/17460521956/obama-administration-once-again-says-222000-sharing-24-songs-is-perfectly-reasonable.shtml , http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130211government 

 

ประธานของนิตยสาร Heart ชี้ว่า e-reader ขนาดเล็กเช่น iPad Mini และ Nook ทำให้ยอดการสมัครสมาชิกอ่าน e-Magazine ในหมู่ผู้หญิงสูงขึ้น

News Source:  http://paidcontent.org/2013/02/12/women-finally-embracing-online-magazine-thanks-to-7-inch-screens-hearst-president/

 

14-02-2013

กลุ่มต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ฟินแลนด์ทำการ "ก็อปปี้" โค้ดของเว็บ The Pirate Bay ในการรณรงค์ต่อต้านละเมิดลิขสิทธิ์

ซึ่งทาง The Pirate Bay ก็ยืนยันว่าจะฟ้องเช่นกัน

ทั้งนี้กลุ่มต้อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ของฟินแลนด์นาม CIAPC นี้ก็เป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มที่ให้ตำรวจบุกเข้ายึดแล็ปท็อปลายหมีพูห์ของเด็กวัย 9 ขวบซึ่งเป็นข่าวไปทั่วโลก

และการ "ก็อปปี้" เว็บ The Pirate Bay นี้ก็เกิดขึ้นในภาวะที่ศาลฟินแลนด์สั่งให้บรรดา ISP บล็อคเว็บ The Pirate Bay แล้วด้วย ซึ่งไม่กี่วันที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์ก็เพิ่งยืนคำตัดสินศาลชั้นต้นให้การบล็อคดำรงต่อไป

News Source:  http://torrentfreak.com/anti-piracy-group-rips-off-pirate-bay-website-faces-lawsuit-130213/, http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130211piratebay

 

Clay Christensen ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจของ Harvard ทำนายว่าอุตสาหกรรมการศึกษาจะถูกสั่นคลอนอย่างจริงจังโดยสื่อการศึกษาออนไลน์ต่างๆในเวลาไม่เกิน 5 ปีแน่นอน

ทั้งนี้ Christensen ทำนายเพิ่มอีกว่าระบบมหาวิทยาลัยที่ยังเหลือรอดอยู่หลังจากการเปลี่ยนแปลง จะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นหลักสูตรแบบผสม โดยบางวิชาให้นักศึกษาไปเรียนกับบรรดาแหล่งการศึกษาออนไลน์ต่างๆ และบางวิชาทางมหาวิทยาลัยก็สอนเอง

ซึ่งขณะนี้ทาง Harvard Business School ก็เลิกสอนบัญชีแล้วเนื่องจากมีผู้ให้บริการหลักสูตรออนไลน์ที่ดีเยี่ยมมากๆ แบบที่ทาง Harvard Business School สู้ไม่ได้

News Source:  http://gigaom.com/2013/02/13/clay-christensen-first-the-media-gets-disrupted-then-comes-the-education-industry/

 

15-02-2013

เนเธอร์แลนด์ยืนยันว่าฐานข้อมูลและงานอันไม่มีความเป็นต้นแบบต่างๆ ไม่มีลิขสิทธิ์ ส่วนยุโรปในภาครวมว่าฐานข้อมูลมีลิขสิทธิ์

ที่น่าสังเกตคือฐานข้อมูลนั้นไม่นับว่ามีลิขสิทธิ์ในอเมริกา แต่กลับมีลิขสิทธิ์ในยุโรป อย่างไรก็ดีในขณะเดียวกันในยุโรปการซื้อขาย "โปรแกรมมือสอง" ก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่การกระทำเดียวกับกลับมีแนวโน้มว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในสายตาของศาลอเมริกัน

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130213/02492421960/dutch-government-realizes-that-non-original-works-dont-deserve-copyright.shtml , http://www.techdirt.com/articles/20130211/08050521945/europes-database-right-could-throttle-open-data-moves-there.shtml

 

รัสเซียให้กฏหมายอินเทอร์เน็ตใหม่ระงับการแสดงความเห็นผู้วิจารณ์รัฐบาล

อนึ่ง กฏหมายนี้ผ่านขึ้นมาภายใต้เจตจำนงว่าจะเป็นกฎหมายคุ้มครองเด็กจากบรรดาข้อมูลอันตรายบนอินเทอร์เน็ต และมันก็มีกลไกที่จะทำให้รัฐสามารถบล็อคเว็บไซต์ต่างๆ ได้โดยสะดวกไม่ว่าจะเกี่ยวอะไรกับเด็กหรือไม่

ซึ่งดูจะไม่ใช่การเซ็นเซอร์การแสดงออกทางการเมืองแรกในโลกที่อ้าง "การคุ้มครองเด็ก"

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130211/02523121943/russia-uses-new-internet-censorship-bill-to-silence-prominent-reporters-who-criticized-government.shtml

 

แคนาดาหยุดการพิจารณากฎหมายสอดส่องอินเทอร์เน็ต C-30 ส่วนอเมริกานำกฎหมายสอดส่องอินเทอร์เน็ต CISPA กลับมาพิจารณา

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130213/10591421965/another-victory-public-speaking-up-canada-drops-digital-spying-bill-now.shtml, https://www.eff.org/deeplinks/2013/02/cispa-privacy-invading-cybersecurity-spying-bill-back-congress

 

Rick Falkvinge เตรียมออกหนังสือเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนปฏิบัติการเคลื่อนไหวทางสังคมออนไลน์และออฟไลน์ประสานกัน

หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า Swarmwise และ Falkvinge ใช้คอนเซ็ปต์ Swarm เพื่อสื่อถึงกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบที่เป็นเครือข่ายหลวมๆ ที่มีจุดร่วมและวิธีการร่วมกัน แชร์ข้อมูลในทุกระดับร่วมกัน ประสานงานกันอย่างรวดเร็วผ่านอินเทอร์เน็ต และแบ่งงานมหาศาลของ "องค์กร" ทำแบบอาสาสมัคร

ทั้งนี้ Swarm ต่างจากองค์กรทางการเมืองแบบเก่าที่มีลำดับชั้นในองค์กรและการดำเนินการตามระเบียบที่เคร่งครัด มีลำดับชั้นการเปิดเผยข้อมูลกับคนระดับต่างๆ ไม่เท่ากันทำให้เกิดความไม่โปร่งใส และต่างจากการรวมตัวอย่าง Anonymous และ Occupy ที่ไม่มีทั้งเป้าหมายและวิธีการร่วมกันที่ชัดเจน

สามารถอ่านบทแรกของหนังสือเล่มนี้ได้ในเว็บไซต์ของ Falkvinge (ตามลิงค์ด้านล่าง)

News Source:  http://falkvinge.net/2013/02/14/swarmwise-the-tactical-manual-to-changing-the-world-chapter-one/

 

16-02-2013

ผู้ดูแลมรดกของ Arthur Conan Doyle ถูกนักวิชาการที่ต้องการตีพิมพ์ "แฟนฟิค" Sherlock Holmes ฟ้องเพื่อให้ศาลพิสูจน์ว่า Sherlock Holmes เป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ

ทั้งนี้ ทางผู้ดูแลมรดกนั้นเรียกร้องค่าลิขสิทธิ์จากนักวิชาการดังกล่าวในการทำหนังสือรวมเรื่องสั้นต่างๆ ที่ใช้ตัวละคร Sherlock Holmes และไปล็อบบี้พวกสำนักพิมพ์ว่าถ้าไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์จะฟ้อง ส่งผลให้สำนักพิมพ์ไม่ยอมพิมพ์
นักวิชาการดังกล่าวจึงฟ้องผู้ดูแลมรดกเพื่อให้ศาลประกาศชัดเจนว่าหนังสือเขาไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะ Sherlock Holmes เป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะไปเรียบร้อยแล้ว
อนึ่ง ในทางเทคนิคแล้วหนังสือของ Arthur Conan Doyle นั้นมีทั้งที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะและที่ยังไม่หมดลิขสิทธิ์ และคดีนี้ก็เป็นไปเพื่อพิสูจน์ว่า "ตัวละคร" Sherlock Holmes และตัวละครหลักต่างๆ นั้นถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะที่ใครจะนำไปแต่งเป็นเรื่องไม่ก็ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ใครทั้งนั้น

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130215/15093722002/arthur-conan-doyle-estate-sued-to-show-that-sherlock-holmes-is-public-domain.shtml, http://free-sherlock.com/2013/02/14/free-sherlock/

 

รายงานเพื่อการอนุรักษ์งานบันทึกเสียงแห่งชาติของสหรัฐรายงานว่า งานบันทึกเสียงในหอจดหมายเหตุจำนวนกว่า 6 ล้านชิ้นกำลังเน่าเปื่อยผุพังไปขณะนี้ เนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาตให้ห้องสมุดทำสำเนางานบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์แม้ว่าจะทำไปเพื่อเหตุผลในการเก็บรักษาก็ตาม

รายงานชี้เพิ่มอีกว่า "งานบันทึกเสียงจำนวนมากก่อนปี 1972 จะเน่าเปื่อยผุพันก่อนปี 2067 อันเป็นปีที่งานเหล่านี้จะกลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ"

News Source:  http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130215archives

 

17-02-2013

หนังโป๊ "ล้อเลียน" The Fifty Shades of Grey ถูกฟ้องโดยสตูดิโอที่เตรียมจะทำหนังเรื่องนี้

Universal Studios LLC และ Fifty Shades Ltd ผู้ร่วมกันสร้างหนังจากหนังสือชื่อดัง The Fifty Shades of Grey ฟ้อง Smash Pictures Inc. ที่ทำหนังโป๊ Fifty Shades of Grey: A XXX Adaptation ออกมา ฐานละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า

ทั้งนี้ในแง่การละเมิดลิขสิทธิ์หนังโป๊ดังกล่าวอาจได้คุ้มครองการละเมิดลิขสิทธิ์ในฐานะ "การล้อเลียน" ในฐานะที่เป็นคำวิจารณ์ทางการเมืองอันได้รับการคุ้มครองใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของศาล

News Source:  http://www.jdsupra.com/legalnews/need-a-last-minute-valentines-day-gift-13269/

 

ศาลออสเตรเลียตัดสินว่ายีนส์นั้นนำมาจดสิทธิบัตรได้ (ถ้าแยกออกมาจากร่างกายมนุษย์แล้ว)

ทั้งนี้ศาลสูงสุดของอเมริกาก็กำลังจะตัดสินว่ายีนส์ตัวเดียวกันนี้สามารถนำมาจดสิทธิบัตรได้หรือไม่เช่นกัน

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130215/03274221993/australian-court-says-genes-are-patentable.shtml

 

ไอซ์แลนด์จะสร้างระบบเซ็นเซอร์ระดับเดียวกับจีนเพื่อแบนสื่อลามกบนอินเทอร์เน็ต

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ไอซ์แลนด์ก็ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่สนับสนุนอินเทอร์เน็ตเสรีมาโดยตลอด และวิธีการป้องกันสื่อลามกแบบนี้โดยทั่วไปก็มักจะไม่ได้ผล เพราะคนก็จะหาทางอื่นในการเข้าถึงได้อยู่ดี และการสร้างเครื่องมือแบบนี้ให้กับรัฐก็ดูจะสร้างความเสี่ยงให้กับเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ตอย่างไม่จำเป็น

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130214/02240921968/iceland-going-protecting-free-speech-online-to-setting-up-their-own-great-firewall.shtml

 

ศาลอเมริกายกฟ้องกรณีฐานข้อมูลกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์ "คำฟ้อง"

กล่าวคือศาลกำลังยืนยันว่าการใช้คำฟ้องที่ปรากฎแก่สาธารณะนั้นแม้ว่าจะเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างการเอามาใส่ฐานข้อมูลที่เก็บค่าใช้บริการ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธ์ของเหล่าทนายผู้เขียนคำฟ้องเหล่านี้

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130212/11063821953/judge-dumps-lawsuit-claiming-copyright-infringement-over-legal-filings.shtml

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แถลงการณ์ข้อห่วงกังวลของชาวปาตานีและเครือข่าย ต่อการโจมตี 13 กุมภาพันธ์

Posted: 18 Feb 2013 03:21 AM PST

มูลนิธิศักยภาพชุมชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม ออกแถลงการณ์ ข้อห่วงกังวลของชาวปาตานีและเครือข่าย ต่อการโจมตี ฉก 32 นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556เรียกร้องสองฝ่ายยุติความรุนแรง

 

แถลงการณ์ดังกล่าวแสดงความเสียใจและเห็นใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียโดยได้แสดงความกังวลต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น และเรีัยกร้องต่อเจ้าหน้ารัฐและผู้ก่อความไม่สงบ 4 ประการได้แก้ เรียกร้องให้ทั้งฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบและฝ่ายเจ้าหน้าที่ยุติความรุนแรง ตั้งคณะสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เร่งดำเนินการการสอบสวนผู้ที่ถูกจับกุม 3 คนและนำตัวส่งศาลโดยเร็ว ไม่ต้องรอ 30 วันเพื่อหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดในขบวนการสอบสวน และเพื่อลดเงื่อนไขความรุนแรงจากอีกฝ่าย และขอให้รัฐทบทวนนโยบายและปฏิบัติการทั้งหมดใหม่อย่างรอบคอบ เพื่อทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและนำทางไปสู่สันติภาพในปาตานี

 

รายละเอียดแถลงการณ์มีดังนี้

 

  
 

แถลงการณ์

ข้อห่วงกังวลของชาวปาตานีและเครือข่าย

ต่อการโจมตี ฉก. ๓๒ นราธิวาส

เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

 
การบุกโจมตี ฉก ๓๒  นราธิวาส เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ นำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตของนักรบประชาชน ๑๖ ชีวิตและถูกจับกุมอีก ๓ คน เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนที่สนับสนุนสันติภาพของพี่น้องชาวปาตานีสลดใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขอแสดงความเสียใจและเห็นใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียและขอแสดงความกังวลต่อความรุนแรงในปาตานีดังต่อไปนี้
 
๑  การตั้งใจบุกโจมตี ฉก ๓๒ นราธิวาสของนักรบประชาชนครั้งนี้เป็นการสะท้อนถึงความคับแค้นใจของชาวปาตานีต่อการดำเนินนโยบายของรัฐไทยต่อปาตานี จึงขอให้รัฐไทยได้ทบทวนนโยบายและปฏิบัติการทั้งหมดใหม่อย่างรอบคอบ เพื่อทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและนำทางไปสู่สันติภาพในปาตานี
 
๒ ขอให้ทั้งสองฝ่ายยุติความรุนแรงโดยทันที และให้มีการจัดตั้งคณะสำรวจข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่ายเพื่อจัดทำรายงานข้อเท็จจริงและเสนอทางออกต่อรัฐบาลและสาธารณะให้เข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริง
 
๓ ขอให้รัฐเร่งดำเนินการการสอบสวนผู้ที่ถูกจับกุม ๓ คนและนำตัวส่งศาลโดยเร็ว ไม่ต้องรอ ๓๐ วันทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดในขบวนการสอบสวน และเพื่อลดเงื่อนไขความรุนแรงจากอีกฝ่าย
 
๔ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยมีท่าทีที่ชัดเจนต่อการสร้างสันติภาพในปาตานี 
  
 
มูลนิธิศักยภาพชุมชน
สถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ  ( Deep Peace )
สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย
เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความ จังหวัดชายแดนใต้
สำนักสื่อวาร์ตานี ( Wartani )
เครือข่ายบัณฑิตอาสา จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กระทรวงศึกษาของลาว ระงับขยายวิทยาลัยเพื่อกวดขันคุณภาพการศึกษา

Posted: 18 Feb 2013 03:00 AM PST

ตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2015  กระทรวงศึกษาธิการและกีฬาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะไม่อนุญาตให้มีการขยายวิทยาลัยขึ้นเพิ่มอีก และไม่อนุญาตให้บรรดาวิทยาลัยใดๆ เพิ่มหลักสูตรการเรียนใหม่โดยเด็ดขาด เพื่อจะได้กวดขันปรับปรุงคุณภาพของวิทยาลัยทั้งของภาครัฐและเอกชน หลังจากเห็นว่าการศึกษาลาวยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ได้น้นย้ำให้กระทรวงศึกษาเร่งปรับปรุงคุณภาพมหาวิทยาลัยของรัฐ 5 แห่ง ตามแผนปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติระยะที่ 2 เพื่อยกคุณภาพให้เทียบเท่าภูมิภาคและสากลทีละก้าว
 
ท่าน ดร. กองสี แสงมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ได้ให้สัมภาษณ์ต่อนักข่าวหนังสือพิมพ์ลาวพัดทะนา ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติระยะที่ 2 (2011-2015) โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาขั้นสูง และแผนปฏรุปการอาชีวศึกษาว่า ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงปี 2015 กระทรวงศึกษาจะไม่อนุญาตให้มีการขยายวิทยาลัยเพิ่ม และไม่อนุญาตให้บรรดามหาวิทยาลัย และวิทยาลัยใดๆ ในทั่วประเทศเพิ่มหลักสูตรการศึกษาขึ้นใหม่ เนื่องจากว่ากระทรวงศึกษาจะได้ตรวจตราควบคุมคุณภาพของบรรดามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเหล่านี้ ตามมาตรฐานที่กระทรวงศึกษาวางเป้าหมายไว้ว่า บรรดาวิทยาลัยโรงเรียนเทคนิกวิชาชีพ หรือวิชาชีพแบบผสมของรัฐและเอกชนในระยะปฏิรูป ไม่อนุญาตให้เปิดการสอนหลักสูตรใหม่ทั้งภาคปกติและระบบต่อเนื่องถึงปริญญาตรีหรือสูงกว่านั้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งจะอนุญาตให้เปิดการสอนตั้งแต่ระดับชั้นสูงลงมาเท่านั้น สถาบันใดหากได้รับอนุญาตให้เปิดการสอนระดับปริญญาตรีหรือระดับสูงกว่านั้นที่มีนักศึกษากำลังเรียนอยู่ ก็จะอนุญาตให้ทำการเรียนการสอนไปจนสำเร็จหลักสูตรการศึกษา 
 
ในระยะเวลาที่ให้สถาบันระดับวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชนระงับการเปิดสอนหลักสูตรใหม่นั้นก็จะมอบหมายให้กรมวิชาการและศูนย์ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงและองค์การ และสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนตรวจตราและประเมินความพร้อมด้านต่างๆ ของแต่ละสถาบัน โดยอิงตามข้อตกลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ฉบับเลขที่ 941/สสก.สปค. ลงวันที่ 8 เมษายน 2011 ว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้มาตรฐานอาชีวศึกษา ถ้าสถาบันใดไม่ได้มาตรฐานตามการประกันคุณภาพที่กระทรวงศึกษาธิการและกีฬากำหนดไว้ ให้เร่งปรับปรุงแก้ไขในระยะการปรับปรุงนี้ ถ้าสถาบันใดมิได้มีการปรับปรุงแก้ไข ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี หรือมิได้พัฒนาสถาบันของตนให้เป็นไปตามมาตรฐานประกันคุรภาพการศึกษาแห่งชาติ ก็จะไม่พิจารณาให้ทำการเรียนการสอนอีกต่อไป หรือยกเลิกใบอนุญาตทันที แม้ว่าจะเปิดการเรียนในระดับใดก็ตาม
 
ส่วนมหาวิทยาลัยของรัฐให้เร่งปรับปรุงและพัฒนา มหาวิทยาลัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยจำปาสัก มหาวิทยาลัยสุพานุวง มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต ที่ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพดีขึ้น อนุญาตให้มหาวิทยาลัยเหล่านี้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก พร้อมทั้งหลักสูตรเฉพาะทางเชี่ยวชาญขั้น I และเชี่ยวชาญขั้น II ในบางสาขาวิชาตามเงื่อนไข และความพร้อมของแต่ละมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งสามารถรองรับการเข้าเรียนระบบต่อเนื่องของพนักงานรัฐ เอกชน นักศึกษาที่เรียนจบจากวิทยาลัยของรัฐและเอกชนจากภายในและต่างประเทศ เข้าเรียนต่อในสาขาที่จบหลักสูตรมาก่อนแล้ว
 
 
 
แปลและเรียบเรียงจาก www.vientianemai.net
 
 
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
 
ปัจจุบันประเทศลาวได้ขยายสถาบันการศึกษาขั้นสูงเพิ่มเติมเพื่อรองรับการศึกษาของประชาชนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญและแรงงานมีการศึกษาในภาคการผลิตและบริการมากขึ้น แต่มาตรฐานการศึกษายังอยู่ในระดับต่ำ พบว่ามีการใช้เส้นสายและสินบนในการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นสูง ทำให้บุคลากรที่จบมาไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอจะปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
 
มหาวิทยาลัยของรัฐในลาว มีทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยจำปาสัก มหาวิทยาลัยสุพานุวง มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต ที่ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข รองรับประชากรนักเรียนได้ไม่เพียงพอ ทำให้อัตราการแข่งขันเข้าเรียนต่อสูง และเปิดช่องให้มีสถาบันการศึกษาเอกชน โดยนายทุนไทย ญี่ปุ่น จีนและเวียดนาม เข้ามาเปิดการเรียนการสอนจำนวนมาก และไม่สามารถกวดขันมาตรฐานการศึกษาได้ดีพอ
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คดีเหยื่อนายจ้างทารุณ เส้นแบ่งระหว่าง 'ตีแผ่' กับ 'ซ้ำเติม'

Posted: 18 Feb 2013 01:08 AM PST

ข่าวเด็กหญิงกะเหรี่ยงวัย 12 ปี ถูกทารุณและเลี้ยงดูเยี่ยงทาสจากนายจ้างสองสามีภรรยานานถึง 5 ปี ได้สร้างความหดหู่ให้แก่ผู้คนทั้งสังคมไทย ภาพพังผืดและแผลเป็นทั่วตัวของเด็กน้อยจากการถูกน้ำร้อนราด ถูกส่งต่อผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์อย่างรวดเร็ว พร้อมกับถ้อยคำประณาม สาปแช่งนายจ้าง จนสื่อมวลชนกระแสหลักทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ต่างให้ความสำคัญกับข่าวนี้ ให้เวลาและพื้นที่ข่าว นำเสนอภาพบาดแผลทั่วร่างของเด็กหญิงเคราะห์ร้ายอย่างละเอียด เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความโหดร้ายของนายจ้าง

การนำเสนอเหตุการณ์นี้เป็นข่าวใหญ่ระดับชาติ ได้สร้างความตื่นตัวให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดกำแพงเพชร ออกมาให้ความสำคัญ ร่วมจัดการแก้ปัญหานี้ ตั้งแต่การผ่าตัดรักษาบาดแผลตามร่างกาย ฟื้นฟูสภาพจิตใจ รวมทั้งคำสัญญาจากเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมที่จะดำเนินคดีกับนายจ้างสองสามีภรรยาด้วยข้อหาร้ายแรงจนถึงที่สุด

ทว่า ความพยายามของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ตั้งแต่ ตำรวจ หมอ หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็ก และครอบครัว จ.กำแพงเพชร ในการตีแผ่ความโหดร้ายของนายจ้างผ่านการแถลงข่าวกับสื่อมวลชน กลับสร้างความหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสิทธิ ความเป็นส่วนตัว และเกียรติภูมิของเด็กคนนั้น  แม้มีความตั้งใจดีในการปกปิดชื่อ และใบหน้าของเด็กขณะนำตัวเด็กมาแถลงข่าว

การพาเด็กหญิงวัย 12 ปีที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรงยาวนานถึง 5 ปี ออกมาถอดเสื้อผ้า จนเหลือแค่กางเกงชั้นใน โชว์บาดแผลให้ผู้สื่อข่าวถ่ายภาพหลายต่อหลายครั้ง  แม้ตัวเด็กจะถูกปิดบังใบหน้าด้วยหมวกก็ตาม ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการปฏิบัติต่อเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ และผลกระทบทางจิตใจของเด็ก จนล่าสุดมีข่าวออกมาจากนักจิตวิทยาที่ดูแลเด็กคนนี้ว่า ตัวเด็กเริ่มเบื่อหน่ายกับการต้องเปิดแผลให้ผู้มาเยือนคณะต่างๆ ได้ชม


เขาทำอย่างไรในอารยะประเทศ
กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ได้กำหนดหลักการสำคัญเกี่ยวกับการนำเสนอและรายงานข่าวที่เกี่ยวกับเด็กของสื่อมวลชนไว้ว่า เกียรติภูมิและสิทธิของเด็กต้องได้รับการปกป้องในทุกสถานการณ์ เด็กที่ตกเป็นข่าว มีสิทธิในความเป็นส่วนตัว และสิทธิที่จะปฏิเสธการสัมภาษณ์ใดๆ ของผู้สื่อข่าวที่เด็กไม่สมัครใจตอบ หรือ หลีกเลี่ยงคำถามที่อาจเป็นการซ้ำเติมทางจิตใจ

นอกจากนี้ ใน ข้อ 19 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก หรือ Convention on the Rights of the Child (CRC) แห่งสหประชาชาติ ที่ประเทศไทยได้ให้การรับรองทั้ง 42 ข้อ ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2535 ได้ระบุว่า รัฐควรคุ้มครองเด็กให้มีความปลอดภัยจากความรุนแรง การล่วงละเมิดทุกประเภท และการถูกทอดทิ้ง ส่วน ข้อ 39 ของอนุสัญญาฯ ชี้ว่า เด็กที่ถูกทำร้าย หรือ ถูกทอดทิ้งควรมีสิทธิที่จะได้รับการฟื้นฟูจิตใจเพื่อให้เกิดการเคารพตนเอง และคืนสู่สังคมได้


สิ่งที่ควรจะเป็นในประเทศไทย
สิ่งที่ควรเกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนที่สุดในเวลานี้ คือ การยุติการนำเด็กหญิงรายนี้ มาถอดเสื้อผ้าเปิดแผลในที่สาธารณะอีก ให้เด็กได้มีพื้นที่ส่วนตัว ได้รับการบำบัดทั้งทางกายและทางใจจากแพทย์และนักจิตวิทยา หลังจากนั้นแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีหมิ่นเหม่นี้อีก รัฐบาลไทยโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องสร้างกลไกการสอบสวน ช่วยเหลือ เยียวยา และคุ้มครองสิทธิแก่เด็กที่ต้องตกเป็นเหยื่อของการทำร้ายและทารุณกรรมทุกรูปแบบ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องไม่ซ้ำเติมเด็กที่ตกเหยื่อ โดยนำออกมาแถลงข่าวกับสื่อมวลชนอีก การถ่ายภาพนิ่ง หรือ ภาพเคลื่อนไหวของผู้เคราะห์ร้ายเพื่อเผยแพร่ข่าวแก่สื่อมวลชน  ควรทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ต้องเป็นสตรีในกรณีเหยื่อเป็นเด็กหญิง) และต้องได้รับความยินยอมจากเด็ก

ในส่วนของสื่อมวลชนนั้น การปิดบังหน้าตา และชื่อของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อในการรายงานข่าวนั้น เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของเด็ก แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงการดูแลผลกระทบทางจิตใจของเด็กที่ต้องอยู่ท่ามกลางผู้ใหญ่แปลกหน้ามากมาย องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน และองค์กรพัฒนาด้านเด็กในประเทศ และต่างประเทศ เช่น แพลน อินเตอร์เนชันแนล ควรหาร่วมมือกันพัฒนาแนวทางการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับเด็กที่เหมาะสมและสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พระชาย วรธัมโม: ทะเบียนสมรสนั้น...สำคัญไฉน?

Posted: 18 Feb 2013 12:42 AM PST

ขณะนี้กำลังมีการร่างกฎหมายการจดทะเบียนสมรสสำหรับคู่รักเพศเดียวกันขึ้นมาเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภารอวาระการโหวตคะแนนเสียงเพื่อออกเป็นกฎหมาย ภาษาทางการเรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า 'พระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต' เนื้อหาไม่ได้มีอะไรใหม่เพียงแต่เป็นการนำกฎหมายการจดทะเบียนสมรสชายหญิงที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้กับคู่สมรสชายกับชาย หญิงกับหญิง เป็นการเพิ่มชุดกฎหมายขึ้นเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของคู่รักเพศเดียวกันให้มีสิทธิเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศ 

บางคนสงสัยว่ากฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญอย่างไร ขั้นพื้นฐานเลยก็คือกฎหมายฉบับนี้ช่วยเหลือในกรณีที่คู่รักเพศเดียวกันไม่ว่าจะเป็นคู่รัก ชายกับชาย หรือคู่รัก หญิงกับหญิง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตลงไป ทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต่างช่วยสร้างสมกันมาระหว่างที่อยู่ด้วยกันจะตกเป็นของฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำให้ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่มีทรัพย์สินไว้ดำรงชีพ มีบ้านอยู่ต่อไป ไม่กลายเป็นคนไร้ทรัพย์หรือตกอับกลายเป็นคนไร้บ้าน

แต่ทุกวันนี้สิ่งที่คู่รักเพศเดียวกันที่ ชายกับชาย หรือ หญิงกับหญิง ต้องเผชิญก็คือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตลงไป ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จะกลายเป็นคนหลักลอยไปในทันทีเพราะทรัพย์สินของฝ่ายที่เสียชีวิตไปจะตกเป็นของญาติๆ  ในขณะที่ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จะกลายเป็นคนไร้บ้านไปในบัดดลเพราะทรัพย์สินที่ทั้งสองต่างร่วมสร้างกันมาไม่ถือว่าเป็น 'สินสมรส' เนื่องจากรัฐไทยไม่มีกฎหมายรองรับชีวิตคู่ของเพศเดียวกันมาตั้งแต่แรก ฉะนั้นอะไรที่ร่วมสร้างกันมาถือว่าเป็นสมบัติที่แยกความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของกันไป ไม่ได้เกี่ยวกันในความหมายของสินสมรส  ดังนั้นจึงมีคู่รักเพศเดียวกันหลายคู่ทีเดียวเมื่อฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตไปฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องถูกเชิญออกจากบ้านที่ตนเองเคยอยู่อาศัย เพราะบ้านหลังนั้นได้ตกเป็นสมบัติของญาติผู้ตายไปเรียบร้อยแล้ว

กฎหมายฉบับนี้ยังช่วยอีกหลายเรื่อง เช่น การทำนิติกรรมร่วมกันเพื่อกู้เงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกระทำได้เฉพาะสามีภริยาเท่านั้นแต่เมื่อมีกฎหมายฉบับนี้ออกมา การทำนิติกรรมร่วมกันในฐานะคู่รักเพศเดียวกันเพื่อกู้เงินซื้อบ้านหรือทำธุรกรรมใดๆ ก็จะไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป บ้านที่ซื้อก็จะกลายเป็นสองเจ้าของ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตไป อีกฝ่ายก็ยังมีสิทธิอยู่ต่อเพราะเป็นสินสมรสที่ร่วมกันสร้างขึ้นมา

นั่นเป็นประเด็นทางวัตถุภายนอกอันเป็นประเด็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พลเมืองทุกคนควรได้รับ แต่ผู้เขียนมองเห็นประเด็นอื่นๆ ที่อาจเป็นประโยชน์มากกว่านั้น


กฎหมายช่วยเรื่องพัฒนาการด้านใน
เพราะการเป็นคนรักเพศเดียวกันในสังคมไทยยังเป็นเรื่องประหลาด ตลกขบขันทำให้คนที่รักเพศเดียวกันจำนวนหนึ่งต้องหลบซ่อนตัวเองไม่สามารถเปิดเผยตัวเองได้ เพราะเมื่อใดที่เปิดเผยตัวว่าเป็นคนรักเพศเดียวกันก็จะถูกมองว่าเป็นตัวประหลาดหรือตัวตลก ไม่ได้รับการยอมรับ จึงทำให้พวกเขาบางคนไม่สามารถบอกกับสาธารณะได้ว่าตนเป็นคนรักเพศเดียวกัน เพราะหากเปิดเผยไปก็จะถูกล้อเลียนหรือไม่ได้รับการยอมรับ

การมีกฎหมายฉบับนี้ออกมาสนับสนุนอย่างน้อยน่าจะทำให้คนที่รักเพศเดียวกันมองเห็นมากขึ้นว่าตนเองไม่ใช่ตัวตลกของสังคมแต่เป็นบุคคลที่มีสิทธิตามกฎหมาย แต่กฎหมายฉบับนี้ก็อาจจะช่วยเหลือคนรักเพศเดียวกันที่มีคู่รักเท่านั้น หากเป็นคนรักเพศเดียวกันที่เป็นโสดก็อาจจะช่วยแค่ความรู้สึกว่าการเป็นคนรักเพศเดียวกันก็พอจะมีตัวตนในกฎหมายไทยอยู่บ้าง และดูเหมือนคนรักเพศเดียวกันที่เป็นโสดยังไม่มีกฎหมายตัวใดมาช่วยเหลือหรือสนับสนุนการดำเนินชีวิตแบบโสดๆ ของตน

นั่นคือพัฒนาการด้านในเรื่องความมั่นใจที่จะเกิดขึ้นกับคนรักเพศเดียวกัน เมื่อเทียบกับทางธรรม การบรรลุธรรมก็ต้องอาศัยความมั่นใจในตัวเองเช่นกัน "ศรัทธา" หรือ "ความมั่นใจในตัวเอง" จึงเป็นคุณธรรมข้อแรกในพละ 5  หากเรามีความมั่นใจในตัวเองว่าเราสามารถบรรลุธรรมได้ เมื่อนั้นความเข้าใจในธรรมที่ลึกซึ้งขึ้นก็จะเกิดตามมา เห็นได้ว่าความมั่นใจในตัวเองมีความสำคัญในโลกทั้งสองใบที่ซ้อนทับกันอยู่ ความมั่นใจในการเป็นอะไรในโลกของฆราวาสจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความมั่นใจในทางธรรม

ความมั่นใจตัวเองในทางโลกสนับสนุนให้คนๆ นั้นมีชีวิตอยู่ฉันใด ความมั่นใจในทางธรรมก็สนับสนุนให้คนๆ นั้นมีชีวิตในโลกทางธรรมที่เจริญเติบโตยิ่งขึ้นไปฉันนั้น เราไม่ควรมองว่าความมั่นใจในตัวเองของบุคคลไม่มีความสำคัญ ความมั่นใจในตัวเองเป็นคุณธรรมที่สนับสนุนให้บุคคลประสบความสำเร็จในทุกๆ เรื่อง

ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกันยายนของปี 2553 มีวัยรุ่นเกย์ฆ่าตัวตายในเดือนเดียวกันถึง 5 คน สาเหตุเพราะถูกเพื่อนในโรงเรียนนำความเป็นเกย์ของพวกเขามาล้อเลียนกลั่นแกล้งทำให้พวกเขารู้สึกอับอายไม่ภาคภูมิใจในตัวเองจนต้องปลิดชีวิตตัวเองในที่สุด เราคงเห็นแล้วว่าความภาคภูมิใจในตัวเองหรือความมั่นใจในตัวเองมีความสำคัญต่อบุคคลมากมายเพียงใด


ช่วยลดความรุนแรงเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องกรรม
แนวคิดเรื่องกรรมกับคนรักเพศเดียวกันเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่งที่ติดข้องอยู่ในวิธีคิดของชาวพุทธ มีคำพูดว่าเกิดมารักเพศเดียวกันเป็นกรรมให้ได้ยินบ่อยๆ ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสว่ารักเพศเดียวกันเป็นกรรมหรือเกิดเป็นกะเทยเป็นกรรม แต่เป็นการตีความกันเอาเองของสาวกรุ่นหลัง

แท้จริงแล้วความรู้สึกว่าเป็นกรรมเกิดจากสังคมขาดความเข้าใจที่ดีและขาดระบบการสนับสนุนด้านสาธารณะให้กับคนที่เกิดมาแตกต่าง คนที่เกิดมาแตกต่างจึงไม่ได้รับความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตแล้วพลอยคิดไปว่าเป็นกรรม หากคนที่แตกต่างในสังคมได้รับการสนับสนุนได้รับความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต หรือได้รับความเข้าใจที่ดีจากสังคมรอบข้าง ความรู้สึกว่าเป็นกรรมนั้นก็จะหายไป 

กรณีคนรักเพศเดียวกันก็เช่นเดียวกัน คนรักเพศเดียวกันไม่มีกฎหมายหรือการสนับสนุนด้านสาธารณะจากสังคมหรือภาครัฐ หากกฎหมายรับรองการสมรสของคู่รักเพศเดียวกันชนะการออกคะแนนเสียงในรัฐสภา อย่างน้อยความรู้สึกว่าเป็นกรรมของคนที่รักเพศเดียวกันก็อาจเจือจางลงไปบ้างเพราะการใช้ชีวิตคู่ได้รับการรับรองจากรัฐรวมทั้งความมั่นคงทางด้านสินสมรสก็ได้รับการคุ้มครอง เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ต้องให้บริการประชาชนก็มีมุมมองต่อคนรักเพศเดียวกันในทางที่ดีขึ้น มองเห็นคนรักเพศเดียวกันว่าเป็นมนุษย์ ปฏิบัติต่อคู่รักเพศเดียวกันที่มาขอจดทะเบียนสมรสอย่างให้เกียรติ เมื่อนั้นความรู้สึกว่ารักเพศเดียวกันเป็นกรรมก็อาจจะค่อยๆ หมดไปเพราะสังคมให้การยอมรับสนับสนุนมากขึ้น


โลกเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว
แท้จริงแล้วกฎหมายทะเบียนสมรสสำหรับคู่รักเพศเดียวกันไม่ได้ช่วยเหลือแค่คนสองคนเท่านั้นแต่ยังช่วยเหลือคนอื่นๆ ด้วย เช่น พ่อแม่ที่มีลูกรักเพศเดียวกันแต่เดิมอาจจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจรับไม่ได้ แต่เมื่อกฎหมายรับรองชีวิตคู่ของเพศเดียวกันถูกประกาศใช้ ความเข้าใจของพ่อแม่ย่อมพัฒนาไปสู่การยอมรับและเข้าใจลูกมากยิ่งขึ้น รวมถึงพี่ๆ น้องๆ หรือญาติๆ ของคู่รักเพศเดียวกันก็จะค่อยๆ เปลี่ยนทัศนคติเพราะมีกฎหมายออกมารองรับ

ในระดับโรงเรียนและสถาบันการศึกษา การรับรู้สำหรับครูอาจารย์และนักเรียนก็ย่อมเปลี่ยนไป มีการยอมรับและเข้าใจประเด็นคนรักเพศเดียวกันมากขึ้น ในระดับสังคมที่ใหญ่ออกไปเป็นหมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ประเทศ นักการเมือง ประชาชน ก็ย่อมต้องเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ เราไม่อาจพูดได้ว่ากฎหมายช่วยเหลือแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่กฎหมายได้ช่วยสร้างความเข้าใจให้กับคนอื่นๆ ในสังคม ทำให้โลกเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว

พัฒนาการความมั่นใจในตัวเองและความภาคภูมิใจในตัวเองของมนุษย์ทุกคนล้วนมีความสำคัญ ความรักเป็นสิ่งสวยงามไม่ว่าคู่รักนั้นจะเป็นเพศใด แต่สิ่งสำคัญกว่าอื่นใดก็คือความเข้าใจ การยอมรับ และการสนับสนุนจากสังคมรอบข้าง เพราะเราอยู่ในสังคมเดียวกัน ความเข้าใจในความแตกต่างจึงเป็นเรื่องจำเป็น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'จอน อึ๊งภากรณ์' จำเลยที่ 1 คดี 'ปีนสภา สนช.' เตรียมขึ้นเบิกความ 19 ก.พ.นี้

Posted: 18 Feb 2013 12:38 AM PST

ศาลอาญานัดสืบพยานจำเลยนัดแรก  ในคดีที่นักเคลื่อนไหว 10 คนเป็นจำเลยจากการปีนรั้วรัฐสภาเมื่อปี 2550 เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

ศาลอาญานัดสืบพยานจำเลยนัดแรก  ในคดีที่นักเคลื่อนไหว 10 คนเป็นจำเลยจากการปีนรั้วรัฐสภาเมื่อปี 2550 เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 9.00 น. ณ ห้อง 801 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นายจอน อึ๊งภากรณ์ จำเลยที่ 1 และนายไพโรจน์ พลเพชร จำเลยที่ 8 จะขึ้นเบิกความ เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงพร้อมชี้แจงเจตนา 
 
ทั้งนี้ นับแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ถึง 14 มีนาคม 2556 ทุกวัน  เว้นวันจันทร์ เป็นกำหนดการสืบพยานจำเลย ซึ่งคดีนี้มีจำเลยทั้งหมด 10 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิด้านต่างๆ เช่น นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน และเคยได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ  นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  ฯลฯ
 
เหตุคดีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2550 ประชาชนประมาณหนึ่งพันคนชุมนุมบริเวณหน้าอาคารรัฐสภา เพื่อขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมีที่มาจากการแต่งตั้งของคณะปฏิรูปการปกครองฯ (คมช.)  ยุติการเร่งพิจารณากฎหมายหลายสิบฉบับต่อวัน ขณะนั้นเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้งใหม่ราวสองสัปดาห์ กลุ่มผู้ชุมนุมเห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่มีความชอบธรรม และไม่สมควรเร่งผลักดันกฎหมายใดๆ อีกทั้งเนื้อหาของกฎหมายที่ถูกเร่งพิจารณาก็กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ สนช. ยังคงเดินหน้าการพิจารณากฎหมายต่อโดยไม่ฟังเสียงเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม  และปิดประตูรัฐสภา  การเจรจาสื่อสารเพื่อเสนอข้อเรียกร้องและสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงถูกปิดกั้นลงโดยสิ้นเชิง  ประชาชนไม่มีช่องทางอื่นใดจะดำเนินการได้จึงปีนรั้วรัฐสภาเข้าไปนั่งชุมนุมที่บริเวณหน้าห้องประชุมเพื่อรอให้ สนช.มารับฟังข้อเรียกร้อง
 
ประเด็นท้าทายสำหรับการสืบพยานจำเลยในคดีนี้คือทำอย่างไรให้กระบวนการยุติธรรมรับฟังถึงหลักการและคุณค่าที่จำเลยทั้งสิบยึดถือปฏิบัติ  อันเป็นเหตุผลที่มาของการปีนเข้าไปในรัฐสภาซึ่งเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบการรักษาความปลอดภัยของรัฐสภาและกฎหมายอาญา  ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชนอันเป็นหัวใจสำคัญในระบอบประชาธิปไตย
 
ร่างกฎหมายที่ผู้ชุมนุมคัดค้าน ได้แก่ ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ร่างกฎหมายป่าชุมชน ร่างกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรน้ำ ร่างกฎหมายการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ร่างกฎหมายว่าด้วยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ร่างกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ฯลฯ
 
คดีดังกล่าวศาลรับฟ้องเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 เป็นคดีดำหมายเลข อ.4383/2553 โดยโจทก์ฟ้องว่าผู้ชุมนุมละเมิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน) มาตรา 215 (มั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง) มาตรา 362,364 (ฐานบุกรุก) มาตรา 365 (บุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย)
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าว 'บีบีซี' เตรียมผละงาน 24 ชม. ประท้วงการ 'บังคับลาออก'

Posted: 17 Feb 2013 08:29 PM PST

สหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติระบุว่า บีบีซีมีแผนจะปลดพนักงานอีกราว 2,000 ตำแหน่ง โดยที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2547 ได้ปลดแล้วราว 7,000 ตำแหน่ง และแผนกที่คาดว่าจะถูกกระทบได้แก่ บีบีซี สก็อตแลนด์, ไฟว์ ไลฟ์, ดิ เอเชียน เน็ตเวิร์ค และ เวิร์ลด์ เซอร์วิซ 

 
18 ก.พ. 56 - ผู้สื่อข่าวบีบีซีเริ่มผละงาน 24 ชั่วโมง เมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันจันทร์ตามเวลาของอังกฤษ เพื่อประท้วงนโยบายการบังคับลาออกของบีบีซี คาดว่าอาจส่งผลกระทบต่อรายการโทรทัศน์และวิทยุบางส่วน 
 
ผู้สื่อข่าวบีบีซีที่ผละงาน ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติ (National Union of Journalists - NUJ) เตรียมตั้งแถวประท้วงบริเวณหน้าสำนักงานบีบีซีในเมืองต่างๆ ของอังกฤษ เช่น ลอนดอน คาร์ดิฟฟ์ กลาสโกลว์ และเบอร์มิงแฮม 
 
สหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติระบุว่า ตำแหน่งงานที่จะถูกปลด ได้แก่แผนกบีบีซี สก็อตแลนด์, ไฟว์ ไลฟ์, ดิ เอเชียน เน็ตเวิร์ค และ เวิร์ลด์ เซอร์วิซ 
 
มิเชล สตานิสตรีต เลขาธิการของสหภาพฯ กล่าวว่า สมาชิกของสหภาพที่อยู่ในบีบีซี ทำการประท้วงเพื่อปกป้องงานและงานวารสารศาสตร์ที่มีคุณภาพในที่ทำงาน และกล่าวว่า พวกเขาไม่พอใจในการตัดสินใจของผู้บริหารของบีบีซี ซึ่งบีบให้นักข่าวต้องลาออก และทำให้คุณภาพของรายการและงานข่าวต้องลดลง 
 
ด้านตัวแทนของบีบีซี ระบุว่า ผิดหวังที่สหภาพฯ ได้เลือกกระทำการเช่นนี้ และชี้ว่าบีบีซีกำลังเร่งดำเนินการเพื่อรับพนักงานกลับเข้าทำงานใหม่หากสามารถทำได้ และจะทำงานร่วมกับสหภาพเพื่อให้สมาชิกได้รับการสนับสนุนด้านการกลับเข้าทำงานใหม่ที่เหมาะสม 
 
ก่อนหน้านี้ สหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติได้ขอบีบีซีให้ขยายเวลาการลดตำแหน่งงานไปอีกหกเดือน เพื่อให้สามารถมีเวลาเจรจากับผู้อำนวยการคนใหม่ของบีบีซี 
 
ข้อมูลจากสหภาพฯ ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2547 บีบีซีได้ปลดพนักงานแล้วราว 7,000 ตำแหน่ง และในอนาคตมีแผนจะปลดอีกราว 2,000 ตามแผนการลดงบประมาณของบริษัท  
 
ที่มา: เรียบเรียงจาก BBC journalists stage 24-hour strike over compulsory redundancies
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น