โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

6 พยานเบิกความ คดี “ลุงคิม” เหยื่อกระสุน พ.ค.53 เปิดคลิปขณะถูกยิง

Posted: 11 Feb 2013 10:15 AM PST

ไต่สวนการตาย "ลุงคิม" เหยื่อกระสุน 14 พ.ค.53 พยานเปิดคลิปขณะผู้ตายถูกยิงล้ม ประจักษ์พยานผู้อุ้มผู้ตายออกจากจุดเกิดเหตุเชื่อทหารยิง ช่างภาพช่อง 7 ยันทหารยิง M16 ใส่ผู้ชุมนุมแต่ไม่ทราบว่ากระสุนจริงหรือไม่ แพทย์สูตรพลิกศพพบหัวกระสุนปืนตะกั่วหุ้มทองแดง 1 ชิ้น ในร่างจุดที่ไม่มีอวัยวะสำคัญ

7 และ 8 ก.พ.56 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 504 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนชันสูตรพลิกศพ คดีเลขที่ ช.12/2555  ในคดีที่พนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของ นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง อายุ 55 ปี ที่ถูกยิงเข้าที่หลังด้านซ้าย กระสุนทะลุไขสันหลังและปอดขวา กระสุนไปฝังที่สะบักขวา บาดเจ็บสาหัสและเป็นอัมพาต เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ 12.00 - 13.00 น. ของวันที่ 14 พ.ค.53 บริเวณหน้าโรงรับจำนำน่ำเลี้ยง ถนนพระราม 4 บ่อนไก่ ช่วงที่มีการกระชับวงล้อมผู้ชุมนุมเสื้อแดงโดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากนั้นนายฐานุทัศน์ ได้เสียชีวิตในเวลาต่อมาเมื่อ 23 ก.พ. 55 เวลา 22.35 น. ที่ รพ.มเหสักข์

โดยทั้ง 2 วันมีพยานเข้าเบิกความจำนวน 6 ปาก ประกอบด้วย นายอุเชนทร์ เชียงเสน นักศึกษา ปริญญาโท สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะพยานแวดล้อม นางสาวอัจฉรา อิงคามระธร อาสาสมัครของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) นายเอกสิทธิ์ วงศ์คำมา อาชีพช่างทาสี ในฐานะประจักษ์พยานในเหตุการณ์ นายอนิรุทธ์ ชวางกูร  ช่างภาพสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7 สี)  พ.ต.ต.นพ.เอกสิทธิ์ หงส์แก้ว กลุ่มงานนิติพยาธิ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ในฐานะแพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพ และนายธนพร วงษณรัตน์ อาชีพเกษตรกร ในฐานะพยานแวดล้อม

 

หากหลบเข้าไปด้านในถือว่าท่านเป็นผู้ไม่ประสงค์ดี

นายอุเชนทร์ เชียงเสน เบิกความว่า พยานได้พักอาศัยอยู่ที่ชั้น 30 อาคารลุมพินีพาร์ควิว คอนโดมิเนียม ติดถนนพระราม 4 เยื้องกับสนามมวยลุมพินี  ในวันเกิดเหตุ 14 พฤษภาคม 2553 เวลาประมาณ 12.00 น. พยานได้ยินเสียงปืนด้านหน้าอาคาร (ถ.พระราม 4) และเสียงเอะอะโวยวาย จึงได้หยิบกล้องถ่ายรูปออกมาที่ระเบียงห้องพัก (ด้าน ถ.พระราม 4) มองลงไปหน้าอาคารและบนถนน เห็นทหารพร้อมอาวุธปืน จึงได้ถ่ายรูปบันทึกเอาไว้

หลังจากนั้นประมาณ 5 นาที พยานได้ยินเสียงประกาศผ่านโทรโข่งของทหาร พร้อมเล็งอาวุธมายังพยานว่า "ผู้พักอาศัย ให้หลบเข้าไปด้านใน ไม่อย่างนั้นจะถือว่าท่านเป็นผู้ไม่ประสงค์ดี" จึงรู้สึกกลัวและหลบเข้าไปในห้องพัก แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นและเก็บบันทึกภาพไว้ จากนั้นเขาลงไปด้านล่างหน้าอาคาร ตรงถนนพระราม 4  พบเจ้าหน้าที่ทหารพร้อมอาวุธปืนประมาณ 40 -50 คน ยืนเป็นแถวอยู่บนถนนพระราม 4 และอีกประมาณ 20-30 คน อยู่บนสะพานไทย-เบลเยี่ยม จึงได้ถ่ายภาพไว้

จากนั้นทหารที่อยู่บนถนนพระราม 4 ได้เดินมุ่งหน้าไปทางฝั่งคลองเตย และยิงอาวุธปืนใส่ประชาชนที่กระจายอยู่บริเวณปั้ม ปตท. และใต้สะพานลอยบ่อนไก่ (ใกล้ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี) และเห็นกลุ่มควันออกจากกระบอกปืนของทหารด้วย โดยพยานได้เดินถ่ายรูปตามหลังทหารมาถึงบริเวณปั้ม ปตท. เมื่อเคลียร์พื้นที่เสร็จแล้ว คือ ประชาชนวิ่งกระจัดกระจายออกไป ทหารจึงถอยมาตั้งฐานบริเวณด้านหน้าอาคารลุมพินีพาร์ควิว

ในระหว่างนั้นพยาน ไม่ทราบว่ามีประชาชนผู้ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ เพราะพยานถ่ายรูปอยู่ด้านหลังทหาร ขณะที่ฝั่งประชาชนได้มียิงหนังสติ๊กและจุดพลุตะไลเข้าใส่กลุ่มเจ้าหน้าที่ทหารเพื่อตอบโต้เท่านั้น  เมื่อถูกซักว่า อาวุธที่ทหารใช้นั้นเป็นอาวุธชนิดใด พยานเบิกความว่า เป็นอาวุธเอ็ม 16 และปืนลูกซองยาว ที่ระบุได้เนื่องจากเคยเห็นมาบ้างจากรูปในอินเตอร์เน็ตและนิตยสารต่างๆ ดังปรากในรูปซึ่งได้มอบรูปทั้งหมดให้กับพนักงานสอบสวนแล้ว          

หลังจากเหตุการณ์พยานได้เป็นอาสาสมัครของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 หรือ ศปช. ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หลังจากเหตุการณ์ พยานซึ่งเป็นอาสาสมัครร่วมกับนางสาวอัจฉรา อิงคามระธร ได้ทราบข่าวว่ามีผู้บาดเจ็บ ซึ่งทราบชื่อในภายหลังว่า คือ นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง ได้รับบาดเจ็บและนอนรักษาตัวอยู่ที่แฟลตบ่อนไก่ จึงได้เดินทางไปเยี่ยมและถ่ายคลิปวีดีโอสัมภาษณ์ไว้ในวันที่ 21 กุมภาพันธุ์ 2554 และได้มอบให้กับพนักงานสอบสวน

โดยนายฐานุทัศน์ เล่าให้ฟังว่า เวลาประมาณ 12.00 น. เศษ ตนได้ยืนอยู่ที่ป้ายรถประจำทางบ่อนไก่ (ใกล้สะพานลอย และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี) เห็นทหารยิงแก็สน้ำตามา และหลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น จึงหันหลังวิ่งหนี และล้มคว่ำลงหน้ากระแทกพื้น  และยังได้เล่าให้ฟังว่า หลังจากถูกยิงแล้วได้มีชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง อุ้มไปขึ้นรถตู้ตำรวจเพื่อนำส่งโรงพยาบาล

นอกจากนั้น ทนายจาก ศปช. ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากภรรยาผู้เสียชีวิต ได้ซักพยานเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ พยานได้เบิกความว่า พยานทราบว่าการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2553 โดยมีพื้นการชุมนุมมาถึงบริเวณหน้าโรงพยาบาลจุฬาฯ ตรงแยกศาลาแดง ต่อมาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2553 มีทหารและตำรวจเข้ามาตั้งอยู่บนถนนสีลม ฝั่งตรงกันข้าม และในอีกวันถัดมาผู้ชุมนุมก็ได้ตั้งรั้วเครื่องกีดขวางบริเวณแยกศาลาแดง แต่ก่อนเหตุการณ์ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 การเดินทาง สัญจรไปมาสามารถทำได้ตามปกติ และมีเพียงด่านตรวจตำรวจที่หน้าตึกอื้อจือเหลียงในตอนกลางคืนเท่านั้น

สำหรับพื้นที่หน้าอาคารที่พักของพยาน ตรงถนนพระราม 4 และแถวบ่อนไก่ ไม่ได้เป็นพื้นที่ชุมนุม มีรถยนต์วิ่งผ่าน และประชาชนที่อยู่บริเวณนั้นก็ใช้ชีวิตกันอย่างปกติ ในวันเกิดเหตุ 14 พฤษภาคม 2553 เวลาตอนเช้า พยานตื่น 9.00 น. เศษ ได้ยินเสียงปืนประปรายดังมาเป็นระยะจากด้านสวนลุมพินี แต่ไม่สามารถมองเห็นเหตุการณ์ได้ ส่วนบริเวณถนนพระราม 4 หน้าอาคารที่พัก ยังมีผู้คนและยานพาหนะสัญจรไปมาได้ แต่มีจำนวนน้อย ก่อนเกิดเหตุประชาชนแถวนั้นก็ยังใช้ชีวิตแบบปกติ

พยานเบิกความเพิ่มว่า จากรูปถ่ายจากบนอาคารนั้น ในช่วงเกิดเหตุ เวลาประมาณ 12.00 น.  มีประชาชนซึ่งเข้าใจว่าส่วนหนึ่งเป็นผู้ชุมนุมหลบมาหนีทหารมาจากแยกวิทยุ และไปจับกลุ่มที่บริเวณปั้ม ปตท.และบริเวณสะพานลอยบ่อนไก่

สาเหตุที่พยานกล้าที่จะเดินถ่ายรูปหลังแนวทหาร เพราะว่า มีเพียงการยิงหนังสติ๊กมาตกที่พื้นประปรายเท่านั้นในช่วงแรกที่พยานได้ลงจากอาคาร จึงเห็นว่าไม่มีอันตรายร้ายแรง ทำให้พยานและนักข่าวคนอื่นๆ กล้าที่จะเดินถ่ายรูปตามหลังแนวทหารขณะปฏิบัติการได้ และไม่เห็นทหารได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิง

 ภาพบางส่วนที่ใช้ในการไต่สวนฯ ถ่ายโดยนายอุเชนทร์ :

เปิดวิดีโอคลิปขณะผู้ตายถูกยิง

นางสาวอัจฉรา อิงคามระธร เบิกความว่า พยานเป็นอาสาสมัครของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) โดยพยานมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์ ในเดือนมิถุนายน 2553  เธอทราบว่านายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง ถูกยิงได้รับบาดเจ็บเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 53 บริเวณบ่อนไก่ พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมเหสักข์ พยานจึงไปสอบถามอาการบาดเจ็บขณะนั้น ต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 54 พยานและนายอุเชนทร์ เชียงเสน ได้ไปสัมภาษณ์นายฐานุทัศน์และภรรยาคือนางวรานิษฐ์ อัศวสิริมั่นคง ที่บ้านเพื่อเก็บข้อมูลวันที่เกิดเหตุถูกยิงจนได้รับบาดเจ็บ พร้อมทั้งได้บันทึกเป็นวิดีโอเทปความยาวประมาณ 50 นาที ซึ่งได้มอบให้กับพนักงานสอบสวนไปแล้วนั้น

ในวิดีโอคลิปนายฐานุทัศน์ได้เล่าว่า วันเกิดเหตุประมาณ 12.00 น.เศษ ผู้ตายอยู่บริเวณป้ายรถโดยสารประจำทาง  หน้าร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่นเอเลฟเวนใกล้ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี ได้เห็นทหารยิงแก็สน้ำตามา แต่ลมพัดกลับไปทำให้ทหารหยุดยิง สักพักมีเสียงปืนผู้ตายจึงบอกให้ภรรยาและบุตรหลบเข้าไปที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นก่อนที่ผู้ตายจะตามเข้าไปแต่ล้มลงหน้ากระแทกพื้นเสียก่อนเพราะถูกกระสุนเข้าด้านหลัง ต่อมามีคนมาช่วยพาผู้ตายขึ้นรถตู้สีขาวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อนำส่งโรงพยาบาล

นอกจากนี้พยานได้มอบคลิปวิดีโอเหตุการณ์ ซึ่งเป็นภาพถ่ายมุมสูงจากอาคารลุมพินีทาวเวอร์  โดยคลิปมีความยาวประมาณ  5 นาที 10 วินาที ในคลิปวิดีโอดังกล่าว ปรากฏภาพนายฐานุทัศน์สวมเสื้อสีเขียว กางเกงสีน้ำเงินกรมท่าขณะที่มีประชาชนช่วยกันนำร่างขึ้นรถตู้สีขาวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งวิดีโอดังกล่าวพยานได้มาจากอินเตอร์เน็ต จึงมอบให้กับพนักงานสอบสวนด้วย

วิดีโอคลิปขณะที่ผู้ตายถูกยิง

พยานอุ้มผู้ตายขึ้นจากพื้นเชื่อทหารเป็นคนยิง

นายเอกสิทธิ์ วงศ์คำมา เบิกความว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 53 ก่อนเกิดเหตุการณ์ ในเวลาประมาณ 9.00 น. เขาทำงานทาสีบ้านของนายสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ ในสาทร ซอย 1 แยกวิทยุ  แล้วใน เวลา 11.00 น. เจ้าของบ้านได้แจ้งให้เขากลับบ้านเนื่องจากมีทหารเคลื่อนกำลังมาที่สะพานไทย-เบลเยี่ยม เขาจึงออกมาทางสาทร ซอย 1 โดยเดินไปตามบาทวิถีจนถึงสี่แยกวิทยุ แล้วเขาได้ข้ามไปฝั่งสนามมวยลุมพินีแล้วเดินโดยมุ่งหน้าไปทางคลองเตยเพื่อกลับบ้าน ระหว่างที่เดินอยู่นั้นเขาเห็นทหารราว 20 นาย บนถนนพระราม 4 เชิงสะพานไทย-เบลเยี่ยม โดยมี 4-5 คน นั่งประทับปืนเล็งปืนมาทางเขา และมีอีก 10 คนยืนอยู่ โดยทหารทั้งหมดนี้มีปืนยาวทุกคน และมีอีก 4-5 นายอยู่ที่มุมตึกใกล้กับสถานี MRT ลุมพินีด้วย เขาเดินผ่านปั๊มปตท. บ่อนไก่ และเดินผ่านซอยปลูกจิตซึ่งอยู่ใกล้กับปั๊ม และหยุดเดินที่ป้ายรถประจำทางซึ่งอยู่ด้นหน้าของธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี โดยในบริเวณนั้นมีสะพานลอยคนข้ามและเซเว่นเอเลฟเวนอยู่ใกล้ๆ ด้วย

เวลาประมาณ 11.30 น. เห็นประชาชนและกลุ่มจักรยานยนต์อยู่ใต้สะพานลอยคนข้ามราว 30-40 คน มุงดูทหารที่อยู่บริเวณสะพานไทย-เบลเยี่ยม จุดที่เขาอยู่นั้นห่างจากสะพานราว 300-400 เมตร ขณะอยู่บริเวณนั้นเขาได้เห็นรถดับเพลิงสีแดงขับออกมาจากซอยปลูกจิตและจอดอยู่บนถนนพระราม 4 โดยหน้ารถหันไปทางแยกวิทยุ  จากนั้นได้มีเสียงรถจักรยานยนต์ล้มลง 1-2 คัน เขาจึงหันมองเห็นคนกำลังพยุงรถขึ้น และได้เห็นนายฐานุทัศน์ล้มคว่ำลงกับพื้นถนนพระราม 4 บนช่องทางจราจรที่ 2 นับจากบาทวิถีห่างจากตัวเขาไปราว 10 เมตรเวลาในขณะนั้นราว 12.00 น. เศษ เขาจึงได้เข้าไปช่วยแต่เขาไม่ทราบว่าถูกอะไร ขณะช่วยเหลือเขาเห็นเลือดไหลออกจากปากหยดลงบนพื้นถนนฟันหน้าของนายฐานุทัศน์หัก 1 ซี่ และเห็นรูบนเสื้อกลางหลังและมีเลือดออกมาด้วย  เขาได้เรียกคนในบริเวณนั้นให้เข้ามาช่วยกันอุ้มออกไป  เขาได้พานายฐานุทัศน์ไปขึ้นรถตู้สีขาวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เขาทราบจากที่ข้างรถมีตราสำนักงานตำรวจแห่งชาติติดอยู่และบนรถยังมีเจ้าหน้าที่ใส่เสื้อยืดคอกลมสีขาว กางเกงสีกากี ราว 10 คน เพื่อให้ไปส่งโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท

นายเอกสิทธิ์ คิดว่านายฐานุทัศน์ถูกยิงจากทหารเนื่องจากมีทหารกระชับพื้นที่อยู่ในบริเวณนั้น  ในวันนั้นนายฐานุทัศน์ใส่เสื้อสีเขียว แต่จำกางเกงกับรองเท้าไม่ได้  ส่วนตัวเขาใส่เสื้อยืดสีครีม กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ สะพายเป้ลายทหาร ขณะเกิดเหตุการณ์เขาเห็นเพียงนายฐานุทัศน์ได้รับบาดเจ็บคนเดียว  และได้ยินเสียงปืนดังเป้นระยะจากทหารที่อยู่บริเวณสะพานไทย-เบลเยี่ยมก่อนที่นายฐานุทัศน์จะถูกยิง 

ช่วงทนายซักถามได้ถามรายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงเช้าได้ความว่า วันนั้นนายเอกสิทธิ์นั่งรถประจำทางไปทำงานที่สาทร ซอย 1 ในเวลา 8.00 น. โดยนั่งรถไปทางถนนพระราม 4 โดยมาจากทางด้านคลองเตยมุ่งหน้าไปทางศาลาแดง แล้วลงรถที่ย่านบ่อนไก่แล้วเดินต่อจากบ่อนไก่ไปเข้าสาทร ซอย 1 ซึ่งในตอนนั้นรถยังผ่านไปมาได้ จากนั้นทนายได้ถามต่อถึงหลังจากเขาเลิกงานขณะที่เขาเลิกงานออกมาแล้วเดินจากสาทรซอย 1 ไปทางบ่อนไก่สภาพเป็นอย่างไร เขาบอกว่าเห็นทหารอยู่ที่มุมตึกเยื้องสนามมวยลุมพินี เวลานั้นร้านค้ายังค้าขายกันตามปกติ ยังมีคนเดินตามทางเดียวกับเขาไปทางบ่อนไก่ด้วยเช่นกัน แต่รถที่ขับมาตามถนนมุ่งหน้าไปทางศาลาแดงนั้นไปต่อไม่ได้แล้วเพราะมีแนวทหารขวางถนนอยู่  ส่วนจำนวนทหารเขาไม่ได้สังเกตมากนัก แต่เขาเห็นทหารราว 20 คน อยู่ตามมุมตึก 4-5 คน และอยู่บนถนนราว 15 คน

ในขณะที่เขาเดินอยู่นั้นเมื่อเดินมาถึงหน้าสนามมวยลุมพินี ฝั่งตรงกันข้ามบริเวณซอยงามดูพลี เขาเห็นมีคนกำลังใช้หนังสติ๊กยิงไปทางทหารตอนนั้นเขายังไม่เห็นว่ามีอาวุธอย่างอื่น และเมื่อเขาเดินไปถึงสะพานลอยหน้าปากซอยปลูกจิต เขาเห็นคนเดิมกำลังเอาขวดน้ำมันปาไปทางทหารที่อยู่บริเวณสะพานไทย-เบลเยี่ยมได้ เพราะไปได้ไกลแค่ประมาณ 10 เมตร  ซึ่งไปไม่ถึงทหารและไม่สามารถทำอันตรายได้ เพราะเมื่อตกถึงพื้นก็เป็นเพียงเปลวไฟขึ้นมาวูบหนึ่ง และคนๆ นั้นก็อยู่ห่างจากจุดที่นายฐานุทัศน์ถูกยิงมาก

ตอนที่เขาอยู่ที่สะพานลอยคนข้ามในขณะนั้นเขาได้หันหน้าไปทางทหารเห็นทหารยืนเรียงแถวหน้ากระดานอยู่แต่ไม่เคลื่อนที่ เมื่อมีเสียงรถล้มเขาหันหลังกลับเห็นคนพยุงรถและเห็นนายฐานุทัศน์ล้มอยู่ ก่อนที่เขาจะเห็นายฐานุทัศน์ล้มเขาได้ยินเสียงปืนจากทิศที่ทหารอยู่เท่านั้น ส่วนประชาชนที่อยู่ใกล้กันกับเขาไม่เห็นว่ามีปืนนายฐานุทัศน์เองก็ไม่มี  หลังพานายฐานุทัศน์ไปส่งที่รถเขาไม่ได้ขึ้นรถไปด้วยเนื่องจากรถไม่มีที่ให้ขึ้นแล้ว จากนั้นเขาจึงได้เดินทางกลับบ้านโดยเดินต่อไปทางคลองเตย

 

ช่างภาพช่อง 7 ยันทหารยิง M16 ใส่ผู้ชุมนุมแต่ไม่ทราบว่ากระสุนจริงหรือไม่

นายอนิรุทธ์ ชวางกูร เบิกความว่าเขาได้รับมอบหมายให้เข้าไปทำข่าวในที่ชุมนุมตั้งแต่วันที่ 11-19 พ.ค. 53 โดยมีผู้ช่วยคือนายวัชรินทร์ แก่นเดียว คอบขับรถและส่งเทปกลับสถานีและนักข่าวหญิงอีกคนซึ่งเขาจำชื่อไม่ได้ และในวันที่ 14 เขาอยู่ในพื้นที่ถนนพระราม 4 ตั้งแต่เที่ยงจนราวสองทุ่ม ในระหว่างนี้เขาได้เห็นคนเจ็บหลายคนเนื่องจากเห็นมีรถพยาบาลและกู้ภัยเข้าออกพื้นที่ เขาคาดว่าคนเจ็บเกิดจากการถูกกระสุนปืนยิง

ในช่วงเหตุการณ์เขาอยู่ฝั่งทหารเห็นมีทหาราว 30 นาย บริเวณสนามมวยลุมพินี และมีทหารอยู่อีกฟากถนนอีกราว 30-40 นาย เช่นกัน ส่วนทางด้านผู้ชุมนุมอยู่ห่างออกไปทางบ่อนไก่ซึ่งห่างจากสนามมวยลุมพินีราว 100 เมตร ใกล้กับปั๊มน้ำมัน ปากซอยปลูกจิตมีผู้ชุมนุมอยู่เป็นจำนวนมาก  ทางฝ่ายทหารได้มีการยิงปืน M16 ยิงไปทางผู้ชุมนุม แต่เขาไม่ทราบว่าเป็นกระสุนจริงหรือกระสุนซ้อม และมีการใช้แก๊สน้ำตาด้วย ทางด้านผู้ชุมนุมได้ยิงพลุ ตะไล ในการตอบโต้กลับไป

ทหารได้ตั้งแถวเดินจากสะพานไทย-เบลเยี่ยมเข้าหาผู้ชุมนุมที่อยู่ทางด้านบ่อนไก่ตั้งแต่ช่วงเที่ยง 14.00 น. จึงได้เริ่มปฏิบัติการกระชับพื้นที่ ระหว่างนี้มีคนได้รับบาดเจ็บแต่เขาไม่ได้เห็นกับตาแต่เขาดูจากการที่มีรถพยาบาลและกู้ภัยพเข้าออกถนนพระราม 4  ทางด้านผู้ชุมนุมก็ได้ถอยจากบริเวณสนามมวยลุมพินีไปที่ซอยปลูกจิต ทหารจะมาถึงแค่สนามมวยลุมพินีและจับกุมผู้ชุมนุมที่เข้าใกล้ทหารได้ราว 10-20 คน แล้วใช้สายรัดมัดมือไพล่หลังเอาไว้  ผู้ชุมนุมได้ถอยไปจนถึงซอยปลูกจิตซึ่งตรงนั้นมีร้านชื่ออะไรเขาจำไม่ได้เขาจำได้เพียงมีคำว่า "ระเบียง" อยู่ในชื่อด้วย ซึ่งได้มีเสียงระเบิดดังขึ้นที่บริเวณนั้น แต่ในขณะเดียวกันในจุดที่เขาอยู่คือบริเวณสนามมวยลุมพินีมีคนตะโกนสั่งว่า "ใช้กระสุนจริงแล้ว" ซึ่งในจุดที่เขาอยู่นั้นมีกลุ่มทหารอยู่ใกล้ๆ ด้วย แต่เขาไม่ทราบว่าใครพูด

ในตอนค่ำเขาทราบว่าคนชื่อฐานุทัศน์ถูกยิงที่บริเวณสะพานลอยแถวบ่อนไก่จากคนที่อยู่ในบริเวณนั้น และเวลาราว 18.00-19.00 น. ได้มีระเบิดมาตกทางด้านขวามือของเขาซึ่งในขณะนั้นเขาได้หันหน้าไปทางบ่อนไก่ โดยตกห่างจากเขาราว 10 เมตร ทำให้ถูกเศษหินที่แตกจากการระเบิดทำให้ได้รับบาดเจ็บที่ฝ่ามือและหัวเข่า เขาทราบว่าเป็น M79 จากทหารที่เตือนให้หลบจากนั้นเขาจึงไปแจ้งความที่ สน.ลุมพินีแล้วจึงไปรักษาการบาดเจ็บที่โรงพยาบาลพญาไท 2

ทนายถามว่าเขาเข้าพื้นที่ตั้งแต่เวลาใดและอยู่จุดในเขาได้ตอบว่า ตั้งแต่ 10 โมงเช้า แล้วเขาได้ไปขอเจ้าของร้านเสริมสวยที่อยู่หน้าสนามมวยลุมพินี ฝั่งตรงกันข้ามกับภัตตาคารจันทร์เพ็ญ ขึ้นไปบนอาคารเพื่อจะถ่ายภาพมุมกว้างโดยขึ้นไปด้วยกันหมดทั้ง 3 คน  ในขณะนั้นทหารอยู่บริเวณเชิงสะพานไทย-เบลเยี่ยม ราว 1 กองร้อยโดยมีอาวุธปืน M16 ปืนลูกซอง และโล่ หลังจากนั้นเขาลงจากตึกโดยปีนต้นไม้ลงเพราะเจ้าของได้ออกจากพื้นที่ไปก่อนแล้ว เมื่อลงมาแล้วจึงไปทางสนามมวยลุมพินี หลังแนวทหาร ตัวเขาไม่มีเกราะกันกระสุน มีปลอกแขนสีเขียว

ในช่วงเกิดเหตุมีคนบอกกับเขาว่ามีทหารอยู่บนตึกให้ระวัง โดยตึกดังกล่าวอยู่ฝั่งเดียวกับภัตตาคารจันทร์เพ็ญเขาได้ใช้กล้องหันไปแต่มองไม่เห็น

ทนายได้ถามถึงกล้องที่เขาใช้ว่าเป็นกล้องชนิด รุ่นอะไรและสามารถซูมภาพได้มากน้อยแค่ไหนเขาตอบว่ากล้องที่ใช้เป็นกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหว ซูเปอร์เบต้าสามารถซูมภาพได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 200 เมตร และทนายได้ถามกับเขาว่ารู้จักปืน M653 หรือไม่ เขาตอบปฏิเสธว่าไม่รู้จัก จากนั้นทนายถามคำถามสุดท้ายว่าในวันที่ 14 ร้านค้าในพื้นที่ยังเปิดให้บริการปกติหรือไม่ เขาบอกว่ายังเปิดตามปกติ

 

แพทย์สูตรพลิกศพพบหัวกระสุนปืนตะกั่วหุ้มทองแดง 1 ชิ้น ในร่างจุดที่ไม่มีอวัยวะสำคัญ

พ.ต.ต.นพ.เอกสิทธิ์ หงส์แก้ว เบิกความว่าเขาเป็นแพทย์ สบ.2 กลุ่มงานพยาธิวิทยามีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพหาสาเหตุการตายที่พนักงานสอบสวนส่งศพให้ตรวจ และในวันที่ 27 ก.พ. 55 เวลา 23.45 น. พนักงานสอบสวน สน.บางรัก ได้ส่งศพนายฐานุทัศน์ให้ตรวจ วันรุ่งขึ้นเวลา 10.30 น. จึงได้ทำการตรวจ แต่ก่อนตรวจเขาไม่ทราบว่าได้เสียชีวิตเป็นเวลากี่วันแล้ว

จากนั้นเขาได้อ่านรายงานการตรวจศพสรุปได้ความว่า สภาพศพภายนอก พบบาดแผลเป็นลักษณะแนวเส้นโค้งบริเวณหน้าท้องด้านขวาส่วนบน  ที่บริเวณสะบักด้านขวามีแผลลักษณะแนวเส้นตรง  ที่ขากรรไกรล่างด้านขวามีแผลเป็นลักษณะแนวเส้นตรง และใต้สะบักซ้ายมีแผลเป็นรูปร่างค่อนข้างกลม  และพบแผลกดทับ  สภาพศพภายในที่บริเวณอกกระดูกซี่โครงด้านขวาซี่ที่ 4-5 หักทางด้านหลัง  ปอดขวามีเนื้อเยื่อพังผืดยึดติดผิวปอดกับเยื่อหุ้มผนังช่องอก เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจแขนงซ้ายมีผนังหนาร่วมกับหลอดเลือดมีลักษณะตีบแคบลง 50 % และพบหัวกระสุนปืนตะกั่วหุ้มทองแดง จำนวน 1 ชิ้น ฝังอยู่ใต้สะบักด้านขวาค่อนมาทางด้านนอก พบหย่อมกลุ่มเซลล์อักเสบแทรกในเนื้อปอด ตับพบก้อนเนื้อมะเร็งแทรกในเนื้อตับ สาเหตุการตาย ระบบไหลเวียนโลหิตและการหายใจล้มเหลว สันนิษฐานจากมะเร็งระยะลุกลาม ร่วมกับพบหัวกระสุนปืนบริเวณสะบักด้านขวา และมีการพบยารักษาสภาพศพในร่างกายตามอวัยวะภายในจุดต่างๆ และอวัยวะบางส่วนเริ่มมีการเน่า

แผลเป็นค่อนข้างกลมที่อยู่ใต้สะบักซ้ายไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดจากอะไร และยืนยันไม่ได้ว่าเกิดจากกระสุนหรือไม่ ส่วนแผลกดทับสภาพเป็นแผลเรื้อรังตรงตำแหน่งส่วนนูนของกระดูกซึ่งสัมผัสกับที่นอน อาจเกิดจากการกดทับกับที่นอน แผลกดทับสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ และการติดเชื้อทำให้เสียชีวิตได้ แต่เพียงแค่แผลกดทับอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ แต่ในกรณีของนายฐานุทัศน์นั้นมีสาเหตุอื่นที่มาจากสภาพผู้ป่วยเนื่องจากพบว่ามีมะเร็งที่ตับอาจเป็นเหตุให้การติดเชื้อรุนแรงมากขึ้น  การติดเชื้อที่ทำให้ถึงแก้ชีวิตจะต้องเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือด

ยารักษาสภาพศพที่ตรวจพบในร่างกายส่งผลต่อการตรวจในบางเรื่อง เพราะหากจะมีผลจะส่งผลต่อการตรวจหาสารเคมีหรือการตรวจปัสสาวะจะทำให้ตรวจไม่ได้เพราะเกิดการปนเปื้อน แต่ในกรณีนี้น้ำยารักษาสภาพศพไม่ส่งผลต่อการตรวจศพของนายฐานุทัศน์ อวัยวะบางส่วนที่เริ่มเน่าไม่มีผลต่อการตรวจเช่นกัน ไม่พบบาดแผลภายนอก  การตรวจภายในไม่พบสิ่งผิดปกติที่ศีรษะและคอที่อกมีซี่โครงที่ 4-5 หักทางด้นหลังการหักจะต้องแรงมากระทำแต่บอกไม่ได้ว่าแรงเพียงใด  แต่ในรายนี้บอกไม่ได้แล้วว่าหักเมื่อใดเนื่องจากหักก่อนมีการตรวจศพนานแล้ว ปอดขวามีเยื่อพังผืดติดอยู่กับเยื่อพนังช่องอก เนื่องจากมีการอักเสบมาก่อนหน้านี้ อาจเกิดจากการติดเชื้อหรืออักเสบถ้าเป็นมากสามารถทำให้เสียชีวิตได้ ในรายนี้มีภาวะมะเร็งตับอาจเป็นเหตุสนับสนุนให้เสียชีวิตเร็วขึ้น ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีร่องรอยเคยได้รับการผ่าตัด  ไม่สามารถยืนยันได้อีกว่ามีส่วนใดมีบาดแผลที่เกิดจากกระสุนปืน ในความเห็นของเขาร่างกายส่วนที่เสียหายมากจนทำให้เสียชีวิตคือมะเร็งที่ตับ แต่มะเร็งที่ตับเป็นมะเร็งที่ลุกลามมาจากส่วนอื่น แต่ตรวจไม่พบว่าลุกลามมาจากส่วนอวัยวะใดหรืออาจจะเป็นเพราะว่ามะเร็งได้ถูกรักษาไปก่อนแล้วทำให้ตรวจไม่พบ  นอกจากนี้ยังพบหัวกระสุนปืนตะกั่วหุ้มทองแดงที่สะบักขวา

เขามีความเห็นว่านายฐานุทัศน์เสียชีวิตจากมะเร็งระยะลุกลามระบบโลหิตและหายใจล้มเหลวและพบหัวกระสุน ส่วนกระสุนที่พบในร่างกายสามารถอยู่ได้ตลอดไปและอยู่ในจุดที่ไม่มีอวัยวะสำคัญถ้าสามารถเอาออกได้ก็เอาออก แต่ถ้าเกิดอันตรายก็ไม่เอาออก แต่จุดที่พบไม่มีอวัยวะสำคัญจึงไม่จำเป็นต้องเอาออก และเขาคิดว่าแพทย์ที่ทำการรักษาเห็นว่าไม่เอาออกเนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายมากกว่า และเขาเบิกความต่ออีกว่าแม้ว่าผู้ตายคนนี้ไม่ถูกยิงเหตุตายก็ยังอาจจะตายจากเหตุเดียวกันนี้

ทนายได้ถามเขาว่าเคยดูผลการตรวจรักษาก่อนหน้าที่นายฐานุทัศน์เสียชีวิตหรือไม่เขาตอบว่าไม่เคยและไม่ทราบสภาพก่อนหน้าที่เขาจะทำการตรวจ และเขาตรวจศพจากสภาพตามที่เห็นไม่ได้ใช้ผลการตรวจอื่นๆ ประกอบ ทนายได้ถามต่อว่าแผลเป็นที่ตรวจพบนั้นเกิดขึ้นมานานแค่ไหน เขาตอบว่าแผลเป็นที่ตรวจพบนั้นเป็นแผลที่เกิดก่อนการตรวจ 7 วันแน่นอน แต่นานแค่ไหนเขาไม่ทราบ ส่วนแผลกดทับนั้นเขาก็ไม่ทราบเช่นกันว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่เกิดก่อนเสียชีวิตแน่นอน

ส่วนกระดูกซี่โครงซี่ที่ 4-5 ที่หักนั้นไม่เกี่ยวกับการเป็นอัมพาตแต่จากการตรวจศพเมื่อตรวจแล้วเขาไม่ทราบว่านายฐานุทัศน์เป็นอัมพาต  การตีบตันของเส้นเลือดที่เกิดจากผนังหลอดเลือดที่หนาสามารถทำให้เสียชีวิตได้แต่จากการตรวจศพที่พบว่าตีบแคบลง 50 % คาดว่าจะไม่ส่งผลต่อเลือดที่ส่งไปเลี้ยงหัวใจทำให้ถึงแก่ชีวิต ส่วนการที่ไม่สามารถหาอวัยวะต้นทางของมะเร็งที่ตับเจอนั้นอาจะเป็นเพราะว่าได้รับการรักษาไปแล้วหรือตรวจไม่พบเนื่องจากมะเร็งมีขนาดเล็กจนหาไม่พบ

ที่ปอดพบเซลล์อักเสบเป็นจำนวนมากแทรกในเนื้อปอดเนื่องจากการติดเชื้อมนปอดแต่ไม่ทราบว่าติดเชื้อจากอะไรซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ ในการติดเชื้อนั้นอาจจะเกิดจากสาเหตุประกอบอื่นๆ นอกจากมะเร็งที่พบอาจเกิดจากการเป็นอัมพาตเป็นเวลานานก็ได้แต่ในรายนี้เขาคิดว่าอาจจะเกิดจากมะเร็งมากกว่า

 

นายธนพร วงษณรัตน์ เบิกความว่าเขาเป็นการ์ด นปช. คอยดูแลผู้ชุมนุม ในวันที่ 14 พ.ค. 53 เขาอยู่ในที่ชุมนุมตั้งแต่ 5.00 – 11.00 น. แล้วกลับไปที่โรงแรมทุ่งมหาเมฆ ในซอยงามดูพลีจากนั้นได้ออกมาชุมนุมอีกในเวลา 13.00-15.00 น.  เมื่อเขากลับออกมาชุมนุมอีกครั้งมีผู้ชุมนุมเล่าให้เขาฟังว่ามีคนถูกยิงที่สะพานลอยตรงบ่อนไก่ พระราม 4 ในเวลาประมาณ 12.00 – 13.00 น. เขาทราบในภายหลังว่าคนที่ถูกยิงนั้นชื่อนายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง

เวลาประมาณ 14.00 น. ตอนที่เขาอยู่ที่ปากซอยงามดูพลีเขาเห็นทหารราว 200-300 นาย แต่งกายชุดลายพราง ผ้าพันคอสีฟ้า มีโล่และปืนยาว หันหน้ามาทางบ่อนไก่และได้ทำการยิงอยู่หน้าสนามมวยลุมพินีโดยทหารเดินมาจากทางสะพานไทย-เบลเยี่ยม ทางผู้ชุมนุมและประชาชน 200-300 คน อยู่ห่างจากแนวทหารราว 100 เมตร หลังจากนั้นเวลาประมาณ 15.00 - 16.00 น.เขาได้เห็นนายบุญมี เริ่มสุขถูกยิงอยู่ข้างตู้โทรศัพท์หน้าซอยปลูกจิตใกล้ปั๊มน้ำมัน ปตท. ซึ่งตอนที่เขาเห็นนั้นได้มีเสียงปืนดังขึ้นและเขาได้เห็นว่าทหารได้มีการยิงโดยเล็งปืนมาทางผู้ชุมนุม เขาได้หันไปดูทางปั๊ม ปตท. เขาได้เห็นายบุญมีล้มอยู่ เห็นแล้วเขาจึงได้วิ่งข้ามจากฝั่งซอยงามดูพลีไปฝั่งปั๊ม ปตท. และได้พานายบุญมีเข้าไปในร้านกาแฟของปั๊มน้ำมันจากนั้นได้มีจักรยานยนต์มารับตัวไปส่งโรงพยาบาล  เขาได้บอกอีกว่าจุดที่นายฐานุทัศน์และนายบุญมีถูกยิงนั้นห่างกันราว 40 เมตร ซึ่งตรงจุดนั้นจะมีสะพานลอยคนข้ามอยู่จุดที่นายฐานุทัศน์ถูกยิงจะอยู่เลยสะพานออกไป

อาวุธที่ทหารใช้มีปืนM16 ทาร์โว่ ปืนลูกซอง และแก๊สน้ำตา และเขาคิดว่ากระสุนที่ทหารใช้เป็นกระสุนจริงเพราะถ้าเป็นกระสุนยางก็ไม่น่าจะทะลุเสื้อผ้าได้ และเขาเคยเป็นทหารกองร้อยลาดตระเวนระยะไกล กองพลทหารราบที่ 6 จ.ร้อยเอ็ด เขาไม่เห็นชายชุดดำหรือว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธนอกจากนำยางมาจากร้านยาง

ทนายถามถึงเหตุการณ์ก่อนที่เขาจะกลับเข้าโรงแรมว่าทหารอยู่บริเวณใด เขาได้ตอบว่าตอนนั้นทหารอยู่ที่สะพานไทย-เบลเยี่ยม ตั้งแถวปิดฝั่งสาทรไม่ให้คนมารวมที่บ่อนไก่ ทหารได้มีการยิงด้วย ตอนราว 7 โมงหนึ่งรอบ 9 โมงหนึ่งรอบ เห็นเล็งไปทางที่คนอยู่ ทนายได้ถามถึงว่าในวันนั้นคนในบริเวณนั้นมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างเขาตอบว่า ในเวลานั้นคนยังคงใช้ชีวิตตามปกติทั่วไปอยู่

จากนั้นทนายได้ถามถึงเหตุการณ์ตอนบ่ายหลังเขาออกจากโรงแรมกลับมาชุมนุม เขาตอบว่า ทหารได้ขยับแนวเข้ามาใกล้มากขึ้นโดยอยู่ตรงบริเวณสนามมวยลุมพินีซึ่งอยู่ห่างจากจุดที่เขาอยู่ราว 200 เมตร และถามว่าเห็นมีการใช้ปืน M653 หรือไม่เขาบอกว่าเห็น

ภายหลังการไต่สวนเสร็จสิ้น ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไป วันที่ 12 ก.พ. เวลา 09.00 น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จี้ กสทช.ออกเกณฑ์จัดการลูกค้าทรูมูฟ 17 ล้านราย ก่อนหมดสัมปทาน ก.ย.นี้

Posted: 11 Feb 2013 10:06 AM PST

กรณีสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด  และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในเดือน ก.ย.56 และจากนั้น กสทช.จะต้องนำมาจัดสรรใหม่

(11 ก.พ.56) เดือนเด่น นิคมบริรักษ์  ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)ในฐานะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม และ อนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กสทช. กล่าวในการแถลงข่าวเรื่อง "กรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ต สิ่งที่ผู้บริโภคต้องรับมือ และแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคที่ควรจะเป็น" ว่า ขณะที่ กสทช.ออกมา ยืนยันแล้วว่า ผู้ที่ถือครองคลื่นต้องคืนให้ กสทช. เพื่อนำมาประมูล แต่ยังไม่มีใครออกมาชี้แจงว่าจะเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 16 ก.ย. นี้ และจะทำอย่างไรกับลูกค้าประมาณ 17 ล้านรายของทรูในปัจจุบัน

เดือนเด่น กล่าวว่า คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม มีข้อเสนอว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการ ได้แก่  1.กสทช.ต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าการให้บริการของทั้งสองบริษัทจะสิ้นสุดลงภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 2.กสทช.ต้องมีมาตรการโอนย้ายลูกค้าที่ต้องการรักษาเลขหมายเดิม (number portability) โดยให้ผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถของบริการโอนย้ายเลขหมาย ปัจจุบันอยู่ที่ 4,000 เลขหมายต่อวันจะโอนย้ายทั้งหมดต้องใช้เวลาสิบกว่าปี ถ้าเพิ่มเป็น 40,000 รายก็ยังต้องใช้เวลา 425 วัน ทั้งนี้ เท่าที่ทราบคือความสามารถจะเพิ่มได้ 60,000-100,000 เลขหมายต่อวัน หรือกระทั่งถึง 300,000 ซึ่งผู้ประกอบการต้องพร้อมจะลงทุน ต้องทำให้แน่นอนว่าจะทำได้ทัน

3. ผู้ประกอบการต้องตรวจสอบรายชื่อผู้ใช้บริการที่ไม่ได้ลงทะเบียนทาง SMS เพื่อให้ทราบเจตจำนงในการย้ายเครือข่าย 4.แพคเกจที่ผูกพันหลังสิ้นสุดสัญญา เช่น ขายมือถือพ่วงแพคเกจเป็นเวลาสองปี มีสองทางเลือก คือ หนึ่ง ผู้ประกอบการต้องปรับแพคเกจ เพราะไม่มีสิทธิประกอบการต่อ จากนั้นต้องคิดว่าจะชดเชยผู้บริโภคอย่างไร หรือ สอง กสทช. ต้องออกเกณฑ์ว่าผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้ามา จะรับช่วงต่อไปอย่างไรกับแพคเกจที่ยังไม่หมดอายุ

5.กสทช.ต้องออกประกาศหลักการในการโอนย้ายผู้ใช้บริการ (Migration rules) อย่างเร่งด่วน ซึ่งจะกำหนดแผนงานในการดำเนินการของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะ "จอดำ" ขึ้นในวันที่ 16 ก.ย.56 โดยที่ผู้บริโภคต้องใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง แม้ยังไม่ย้ายก็ต้องใช้ได้ โดยคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ได้เสนอร่างหลักเกณฑ์ไปแล้ว

โดยแผนดังกล่าวต้องระบุ 1) หลักการในการโอนย้ายผู้ใช้บริการที่ไม่เลือกปฏิบัติ 2) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง 3) แผนการรองรับการโอนย้ายที่มีขั้นตอนและระยะเวลาที่ชัดเจน เช่น ประกาศกำหนดวันที่ผู้ประกอบการจะหยุดให้บริการ วันที่ต้องแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ 4) วิธีดำเนินการสำหรับลูกค้าที่ไม่ได้แจ้งว่าย้ายหรือไม่ 5) การจัดการกับเงินคงค้างในระบบ และ 6) แนวทางในการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากการโอนย้าย โดยผู้ประกอบการต้องตั้งหน่วยดูแลข้อพิพาท

เดือนเด่น กล่าวว่า คณะอนุฯ มองว่า หลักการที่สำคัญคือ ผู้บริโภค 17 ล้านรายต้องมีสิทธิที่จะเลือกว่าจะย้ายไปค่ายไหน ดังนั้น ต้องมีการแจ้งให้ทราบและตอบกลับมา ทั้งนี้ จะมีกลุ่มคนที่ไม่เลือก ไม่ตอบ หรือติดต่อไม่ได้  เพราะมีผู้บริโภคจำนวนมากที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เหล่านี้เป็นภาระที่ กสทช.ต้องบังคับให้ผู้ประกอบการหาตัวจริงมาให้ได้

เดือนเด่น กล่าวว่า กรณีมีผู้ใช้บริการที่ไม่ได้แจ้งความประสงค์ ในสัญญาเขียนไว้ชัดเจนว่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้ว ให้ กสท เป็นผู้ดูแลผู้บริโภคต่อไป เนื่องจากขณะที่ร่าง คิดว่าทุกอย่างจะกลับคืนไป กสท ในฐานะรัฐวิสาหกิจ แต่ตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว คำถามคือจะทำอย่างไร เมื่อ กสท มีโครงข่ายแต่ไม่มีคลื่น มีสองซิเนริโอ คือ หนึ่ง หากเปิดประมูลทัน ถ้าเป็นรายเดิมคือทรูก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเป็นรายใหม่ ซึ่งอาจยังสร้างโครงข่าย (roll out) ไม่ทัน อาจให้เจ้าของคลื่นที่ประมูลได้ไปเจรจากับ กสท ขอเช่าโครงข่าย เพื่อให้บริการต่อไป

แบบที่สอง ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมีข้อจำกัดทางด้านกฎหมายอย่างไร คือ หาก กสท ยืนยันว่าจะเป็นผู้ให้บริการต่อเนื่อง ซึ่งก็มีข่าวออกมาว่า กสทช.อาจจะยืดระยะเวลาช่วงเปลี่ยนผ่าน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องถามว่า กสท จะเอาคลื่นที่ไหนมาใช้ เพราะคลื่น 1800 กฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า ต้องคืนแล้วนำมาประมูล อนุฯ เสนอว่า กสทช. และ กสท อาจเจรจากับดีแทค เพื่อนำคลื่น 1800 จำนวน 25 MHz ที่ดีแทคถือครองแต่ไม่ได้ใช้ มาใช้ชั่วคราวก่อน

เดือนเด่น กล่าวด้วยว่า จากการสอบถามผู้ประกอบการว่าเหตุใดจึงยังไม่แจ้งผู้บริโภคหรือปรับแพคเกจ ได้คำตอบว่า เพราะ กสทช.ยังไม่มีออกมาบอกว่าหลังวันที่ 16 ก.ย.แล้วจะหารายได้ต่อหรือไม่ จึงยังไม่แจ้งผู้ใช้บริการ เนื่องจากกลัวว่าอาจทำลายรายได้ของ กสท ซึ่งจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย ดังนั้น กสทช.ในฐานะองค์กรกำกับดูแล ต้องฟันธงได้แล้ว ไม่เช่นนั้นเอกชนจะไม่ทำอะไรเช่นกัน

สารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวเสริมว่า บทเรียนก่อนหน้านี้กรณีฮัทช์ จะเห็นว่ามีเงินคงค้างของผู้ใช้บริการฮัทช์ ทำให้ผู้บริโภคลำบากมาก เพราะฉะนั้น อยากให้กระบวนการจัดการมีความรวดเร็ว เป็นธรรมกับผู้บริโภคด้วย คณะอนุฯ เคยเสนอเรื่องนี้ไปตั้งแต่เมื่อ ส.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งขณะนั้นยังมีระยะเวลาดำเนินการมากกว่า 1 ปี ปัญหาอาจจะคลี่คลายลง อยากให้ กสทช.ช่วยเร่งรัด และเชื่อว่าผู้ประกอบการเองก็อยากเห็นความชัดเจนเรื่องนี้ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: เสียงสะท้อนเมื่อ มธ.ออกนอกระบบ - ทำความเข้าใจ "ม.นอกระบบ 101"

Posted: 11 Feb 2013 09:32 AM PST

 

จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำหนดให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ หรือเรียกง่ายๆ ว่า นำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกนอกระบบราชการ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทำให้เกิดเสียงคัดค้านจากประชาคมนักศึกษาส่วนหนึ่ง

เราจะพาไปฟังเสียงสะท้อนจาก "นนทรัตน์ สุวรรณพงศ์" ตัวแทนนักศึกษาธรรมศาสตร์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มแนวร่วมนักศึกษาธรรมศาสตร์จับตามหาวิทยาลัยนอกระบบ พร้อมทำความเข้าใจในรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับ ม.นอกระบบ กับ "ปกรณ์ อารีกุล" นักศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวประเด็นความเป็นธรรมทางการศึกษา

นนทรัตน์ จากธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เรื่องการออกนอกระบบของธรรมศาสตร์ มีการดำเนินการกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 แล้ว จนมาวันที่ 13 ธันวาคม 2555 มีข่าวเกี่ยวกับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในส่วนของธรรมศาสตร์มีการยืนยันจากอธิการบดีว่า "พร้อมออกนอกระบบ และได้ส่งเอกสารเร่งรัดไปยังรัฐบาลตั้งแต่ปี 54 แล้ว" แต่แทบจะไม่มีนักศึกษาคนใดรู้เลยว่าอธิการบดีได้ดำเนินการเรื่องเหล่านี้ไว้ นักศึกษารุ่นปัจจุบันไม่รู้ข้อมูลอะไรเลยแม้แต่น้อย เมื่อข่าวนี้ออกมาก็มีการตั้งแฟนเพจขึ้นมาชื่อ ธรรมศาสตร์ออกนอกระบบ ถามนักศึกษาหรือยัง? เพื่อทวงถามถึงการมีส่วนร่วมและการรับรู้ของนักศึกษา เนื่องจากเรามีความกังวลในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการขึ้นค่าหน่วยกิต คุณภาพการศึกษา สวัสดิการ รวมไปถึงเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม

 

รูปภาพจาก : ธรรมศาสตร์ออกนอกระบบ ถามนักศึกษาหรือยัง?

 

นักศึกษาธรรมศาสตร์เล่าต่อว่า อธิการบดีได้กล่าวในทำนองว่า "อย่างน้อยๆ ก็สามสี่ปีกว่าจะออกนอกระบบ เดี๋ยวพวกคุณก็จบกันไปแล้ว แปลกนะที่เห็นนักศึกษาสนใจเรื่องนี้ ปกติก็ไม่ค่อยเห็นจะสนใจอะไรกัน" เรามองว่ามันก็จริงส่วนหนึ่งที่ว่านักศึกษาไม่ค่อยจะสนใจอะไรนอกจากตัวเอง แต่ต้องไม่ลืมว่าประเด็นนี้มันส่งผลกระทบกับตัวนักศึกษาโดยตรง นักศึกษาส่วนใหญ่ที่ได้ฟังก็ไม่พอใจกับคำพูดนี้เท่าไหร่

เมื่อย้อนกลับไปดูจะพบว่า ทั้ง ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนปัจจุบัน ก็กล่าวเหมือนกันว่า "จะไม่ขึ้นค่าเทอม" นนทรัตน์ตั้งข้อสงสัยในเรื่องนี้โดยเชื่อมโยงกับส่วนต่างงบประมาณและความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการหารายได้

"ภาระทางการเงินจะไม่มาตกอยู่กับนักศึกษาจริงหรอ" เขากล่าวและว่า สุดท้ายก็พบว่าจะมีการขึ้นค่าน้ำค่าไฟ เปลี่ยนโรงอาหารเป็นแบบศูนย์ธุรกิจ คือตามแผนงานจะมีร้านอาหารเอกชนมาร่วมลงทุน จะปรับ "หอใน" เป็นห้องพักรายวัน ซึ่งหอในก็เป็นหอคุณภาพไม่ดีแต่ราคาแพงอยู่แล้ว แต่ก็จะเปลี่ยนเป็นหอในที่ราคาถูกที่สุดเป็นห้องพักรายวัน อนุมานได้ว่าเพราะจะทำกำไรได้มากขึ้นกว่าเดิม

"ง่ายๆ คือ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควรในการออกนอกระบบ ไม่มีอะไรมารองรับในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และก็ไม่มีหลักประกันใดๆ ให้กับนักศึกษาว่า การออกนอกระบบจะทำให้หลายๆ อย่างดีขึ้น เพราะไม่มีวี่แววของการพัฒนาไปในทางที่ดีเลย ทั้งในด้านสวัสดิการและบริการ" นนทรัตน์กล่าว

ตัวแทนนักศึกษาธรรมศาสตร์ได้กล่าวปิดท้ายว่า บางครั้งก็สับสนกับประโยค "ธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน" ว่าตกลงเราเป็นประชาชนหรือเปล่า ทำไมไม่ฟังเสียงเราเลย สิ่งที่เราต้องการคือให้มีทบทวนร่าง พ.ร.บ ให้รอบคอบและยืนยันถึงประโยชน์ที่ประชาคมโดยเฉพาะนักศึกษาจะได้รับ และต้องเป็นธรรมที่สุด ไม่เช่นนั้นบ่อน้ำที่บำบัดความกระหายและความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชนที่โฆษณาหนักหนา คงเป็นได้เพียงโฆษณาเรียกลูกค้า

 

รูปภาพจาก : ธรรมศาสตร์ออกนอกระบบ ถามนักศึกษาหรือยัง?

 

ไม่ใช่เพียงคำบ่นลอยๆ ตัวแทนนักศึกษา มธ. ยังชี้ชวนให้พิจารณาในส่วนของร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งพบว่ายังมีปัญหาอยู่หลายประการ เช่น หลักการประเมินการปฏิบัติงานของอธิการบดี ซึ่งได้กำหนดไว้ใน มาตรา 56 ของ ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า "ให้สภามหาวิทยาลัยจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของอธิการบดี" ซึ่งไม่เคยบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ฉบับเก่า โดย มาตรา 56 กำหนดให้หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติการเป็นไปหลักเกณฑ์ของข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยมีประกาศเกี่ยวกับ "หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิลผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร" โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติการของอธิการบดี ประกอบด้วยบุคคล 7 คน ซึ่ง 3 คนเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน เป็นประธานกรรมการ หากย้อนดูถึงที่มาของกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จะพบว่ากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงวุฒิเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับการสรรหาให้มาดำรงตำแหน่งโดย "คณะกรรมการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ" มีอธิการบดีเป็นประธานคณะกรรมการ

หมายความว่า ในแง่ของตรวจสอบหรือประเมินผลจะไม่มีความสมเหตุสมผลแต่อย่างใด เพราะผู้ที่มาประเมินผลการปฏิบัติงานของอธิการบดีเป็นบุคคลที่ได้รับการสรรหาให้มาดำรงตำแหน่งโดยคณะกรรมการที่มีอธิการบดีเองนั่งไปประธานการสรรหา

หากไม่มีการแก้ไข "กฎหมายลูก" ในส่วนนี้แล้ว ก็ไม่อาจจะบรรลุเจตนารมณ์อันแท้จริงของ มาตรา 56 ที่ว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบอธิการบดีได้เลย ตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ

 

"ประมาทนิดเดียวอาจโดนลักไก่ได้" เขากล่าวทิ้งท้าย

 

มหาวิทยาลัยนอกระบบ 101 กับ "ปกรณ์ อารีกุล"

 

คลิปของ ปกรณ์ หรือ "แมน" ที่ถ่ายทำเรื่อง "ม.นอกระบบ" โดยเลียนแบบไสตล์ "แอล โอรส"

แก๊งค์วัยรุ่นที่กำลังโด่งดังในโซเชียลมีเดีย

 

ความรู้เบื้องต้นเรื่อง ม.นอกระบบ

ปกรณ์ อารีกุล กล่าวว่า การออกนอกระบบราชการของมหาวิทยาลัยจะมีผลเมื่อมีกฎหมายมารองรับ คือมีการร่าง พ.ร.บ. ของมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่ ฐานะของการอยู่นอกหรือในระบบราชการ จะถูกระบุไว้ใน พ.ร.บ. ในส่วนที่ว่า "มหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธการงบประมาณและกฎหมายอื่น" เมื่อมหาวิทยาลัยไม่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบต่างๆ ดังที่กล่าวมา สภามหาวิทยาลัยจึงสามารถดูแลบริหารงานได้อย่างอิสระ ซึ่งรวมไปการกำหนดอัตราค่าธรรมต่างๆ โดยยึดมติของที่ประชุมกรรมสภามหาวิทยาลัย

เวลาสภามหาวิทยาลัยต้องการกำหนดระเบียบต่างๆ ก็จะนำระเบียบฉบับนั้นไปผ่านที่ประชุมสภาของมหาวิทยาลัย และเมื่อสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจอิสระอย่างเต็มที่แล้ว การพิจารณาก็ทำเพียงยึดมติเสียงข้างมากในที่ประชุม ระเบียบทุกระเบียบก็สามารถออกมาได้ เช่น ในระเบียบว่าด้วยการเก็บเงินค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา จะระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรานั้นๆ แห่ง พ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความว่า สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัยอำนาจและหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง ออกข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานการเงิน การพัสดุและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย

 

ค่าเทอมจะแพงขึ้น ?

ปกรณ์ กล่าวว่า ในการจัดการศึกษาในแต่ละหลักสูตรก็จะมีต้นทุนอยู่ในการจัดการศึกษาอยู่ แต่เดิมถ้ายังอยู่ในระบบราชการ การจัดการศึกษาในแต่ละหลักสูตรจะได้รับทุนอุดหนุนส่วนหนึ่งมาจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยจะเป็นการอุดหนุนรายหัว คำนวณจากจำนวนนักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยนั้นๆ คูณกับเงินที่รัฐจะให้ต่อหัว แล้วมหาลัยก็จะเอาเงินตรงนี้มาอุดหนุนนักศึกษา โดยนักศึกษาอาจต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาเพียง 50% จากต้นทุนจริงในการจัดการศึกษา หรืออาจจ่ายเพียง 20% ในคณะที่มีต้นทุนการจัดการศึกษาแพง แต่รัฐให้การอุดหนุนเป็นพิเศษ เช่น แพทยศาสตร์ พยาบาล และเมื่อมหาวิทยาลัยยังเป็นส่วนราชการอยู่ ก็จะไม่สามารถนำเงินอุดหนุนรายหัวไปใช้อย่างอื่นนอกเหนือจากนั้นได้

แต่หากมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว มหาวิทยาลัยก็ยังได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐอยู่ แต่ไม่ใช่ในลักษณะของเงินอุดหนุนรายหัว แต่เป็นการจ่ายตามแผนโครงการที่มหาลัยเสนอไปในแต่ละปี ทำให้นักศึกษาทุกคนจะมีต้นทุนที่ 0 บาทเท่ากันหมด ไม่มีเงินสนับสนุนรายหัวจากรัฐ หมายความว่า ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบค่าเรียน 100 %

 

ที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นบ้าง ?

 

 

จากรายงานของ ThaiPublica พบว่า ค่าเทอมของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณลาดกระบังในปีการศึกษา 2546-2549 มีการจัดเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาคปกติและภาคพิเศษ ภาคปกติจะเสียค่าเทอมซึ่งคำนวณจาก ค่าบำรุงมหาวิทยาลัยประมาณ 2,000 บาท รวมกับค่าลงทะเบียนหน่วยกิตละ 150 บาท และเงินอุดหนุนคณะที่ต้องจ่ายคนละประมาณ 5,000 บาท หากลงทะเบียน 21 หน่วยกิต จะได้ค่าเทอมที่ต้องจ่าย คือ 10,150 บาท ส่วนภาคพิเศษจะเสียค่าเทอมแบบเหมาจ่าย ซึ่งแพงกว่าภาคปกติประมาณเท่าตัว

แต่สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนในปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมา จะจ่ายค่าเทอมแบบเหมาจ่ายทั้งหมด โดยไม่มีการแบ่งเป็นภาคปกติหรือภาคพิเศษแต่อย่างใด โดยราคาเหมาจ่ายเริ่มต้นที่ 14,000 บาทต่อเทอม และสูงสุดที่ 25,000 บาทต่อเทอม (ออกนอกระบบปี พ.ศ.2551) ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่าค่าเทอมแบบเหมาจ่ายในยุค "ลาดกระบังนอกระบบ" แพงกว่าค่าเทอมช่วงปี พ.ศ. 2546-2549 เป็นอย่างมาก

เขากล่าวด้วยว่า หากต้นทุนเพิ่ม สภามหาวิทยาลัยก็อาจขึ้นค่าเทอมได้ทันที โดยใช้วิธีขึ้นค่าเทอมในหลักสูตรใหม่ๆ หรือค่อยๆ ปรับขึ้นทีละคณะ ทีละภาควิชา สภามหาวิทยาลัยจะไม่ออกระเบียบมาทีเดียว เพราะนักศึกษาจะค้านแน่นอน และหากศึกษาจากข้อมูลสถิติของมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้ว จะพบว่า หลายมหาวิทยาลัยมีการรับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมีเท่าเดิม พื้นที่เท่าเดิม ก็ต้องตั้งคำถามว่า มันสมดุลกันหรือเปล่าระหว่างทรัพยากรที่มีอยู่กับจำนวนผู้ใช้ทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น

 

 

แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น

ปกรณ์ กล่าวว่า เมื่อมหาวิทยาลัยทุกแห่งออกนอกระบบราชการหมด แนวโน้มของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา จะเป็นลักษณะที่ผู้เรียนจะต้องออกค่าใช้จ่ายของตัวเอง รัฐบาลก็จะค่อยๆ ลดภาระในการอุดหนุนลง ในมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพในการแปลงสินทรัพย์ของมหาวิทยาลัยเป็นทุน ก็อาจจะสามารถนำเงินตรงนั้นมาอุดหนุนการศึกษาได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพในแต่ละมหาวิทยาลัยในส่วนนี้ก็มีไม่เท่ากัน

ในเชิงหลักการนี่เป็นการสู้กันระหว่างแนวคิดเสรีนิยมกับรัฐสวัสดิการ คือ เสรีนิยม เอาระบบการศึกษาไปผูกโยงกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ให้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนดราคาของการศึกษา และการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะทางของปัจเจก ปัจเจกก็ควรที่จะรับผิดชอบต้นทุนของตัวเอง และมองว่าเมื่อคนยิ่งมีการศึกษา ก็จะยิ่งเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ ซึ่งมันผูกโยงกับค่าจ้างที่สูงขึ้น รัฐจึงไม่มีเหตุผลที่จะเอางบประมาณไปอุดหนุนคนเหล่านี้ เพราะถ้าคุณเป็นแรงงานที่มีฝีมือ แม้จะจ่ายต้องค่าเทอมแพงเท่าไหร่ แต่นายทุนหรือกลไกตลาดก็จะให้ค่าจ้างคุณกลับมาเอง ซึ่งฟังดูดี

แต่สถานการณ์ตอนนี้กลายเป็นว่ามหาวิทยาลัยบางแห่งที่มีคุณภาพน้อย นักศึกษากลับต้องจ่ายค่าเทอมแพงกว่ามหาวิทยาลัยบางแห่งที่มีคุณภาพดีกว่า คณะรัฐศาสตร์หลายแห่งค่าเทอมแพงกว่าที่ จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ กล่าวได้ว่ามีภาวะการจ่ายต้นทุนที่เกินจริงและไม่ยึดโยงกับคุณภาพ และวันหนึ่งระบบแบบนี้จะทำให้การศึกษาเป็นสิ่งที่ซื้อหากันได้ หมายความว่ามีเงินก็สามารถซื้อที่นั่งเข้าไปเรียนได้ ชื่อสถาบันเป็นเหมือนแบรนด์สินค้า แต่เราไม่เห็นด้วย เราคิดว่าการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นสิ่งที่รัฐควรจะจัดเป็นสวัสดิการให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม อยากเรียนต้องได้เรียน ไม่ใช่สอบติดแต่ไม่มีเงิน จึงเรียนไม่ได้หรือต้องไปกูเงินมาเรียน

 

แนวทางการดำเนินการ

เราก็ไม่ได้ฟันธงว่ามหาวิทยาลัยนอกระบบจะมีแต่ข้อเสียอย่างเดียว โดยหลักการแล้วจะออกนอกระบบก็ได้ จะบริหารจัดการแบบอิสระก็ได้ แต่ต้องออกแบบระบบให้มีกลไกการตรวจสอบในมหาลัย ไม่ใช่ปล่อยให้อำนาจในการบริหารทั้งหมดอยู่ที่ผู้บริหารและสภามหาลัย

นอกจากเรื่องกลไกการตรวจสอบ กลไกถ่วงดุลอำนาจในมหาลัยแล้ว ตุ้นทุนในการจัดการศึกษาจะต้องไม่ผลักภาระไปให้ผู้เรียนมากเกินไป อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะเป็นแบบเดิม คือผู้เรียนอาจจ่ายเพียง 50% จากต้นทุนจริง หรือให้ก้าวหน้าที่สุด ในภาคปกติ รัฐให้เรียนฟรีจนจบปริญญาตรีเลย รัฐอุดหนุน 100% เลย ส่วนภาคพิเศษหรือภาคสมทบก็ตามแต่มหาลัยไหนจะเปิดขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่ให้กับคนที่มีเงิน แล้วเอาส่วนต่างตรงนี้มาอุดหนุนพัฒนามหาวิทยาลัย อันนี้ก็ไม่ว่ากัน แต่ว่าภาคปกติควรมีที่นั่งไว้รับประกันว่าลูกหลาน คนยากคนจนจะได้เรียน หากสอบติดแล้ว

ทั้งนี้ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาระบุว่า สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยมี 172 แห่ง แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 15 แห่ง มหาวิทยาลัยของรัฐ 65 แห่ง  มหาวิทยาลัยเอกชน 40 แห่ง สถาบัน 9 แห่ง วิทยาลัยเอกชน 22 แห่ง วิทยาลัยชุมชน 21

โดยมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ หรืออกนอกระบบแล้ว 15 แห่งประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยทักษิณ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยพะเยา, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อวัตถุศึกษากับอธิป: เมื่อศาลยุโรปตัดสิน 'สิทธิการแสดงออก' อยู่เหนือ 'ลิขสิทธิ์'

Posted: 11 Feb 2013 07:12 AM PST

ติดตามข่าวสารทรัพย์สินทางปัญญารายสัปดาห์กับ 'อธิป จิตตฤกษ์' นำเสนอเรื่องลิขสิทธิ์การบ้านในอเมริกา, ลิขสิทธิ์ไม่นับเป็นสิทธิมนุษยชนในยุโรป, สารคดี The Pirate Bayฯลฯ

 

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก

 

06-02-2013

โรงเรียนรัฐในอเมริกาเริ่มมีแผนให้นักเรียนเซ็นมอบลิขสิทธิ์ "การบ้าน" ของตนให้โรงเรียนแล้ว

ซึ่งทางโรงเรียนก็มีแผนจะให้ครูเซ็นมอบ "ลิขสิทธิ์" แผนการเรียนการสอนต่างๆ ของครูในทำนองเดียวกัน

ทางโรงเรียนอ้างว่านี่จะเป็นสิ่งที่คล้ายกับ "ข้อตกลงการแบ่งปันงาน" ในระบบมหาวิทยาลัยที่ทุกๆ ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ นักศึกษา และมหาวิทยาลัยได้ประโยชน์ และการเอาลิขสิทธิ์งานของครูมาเป็นของโรงเรียนก็ไม่ใช่สิ่งที่ประหลาดอะไร เพราะงานที่ครูทำในเวลาทำงานก็ควรจะมีลิขสิทธิ์เป็นของโรงเรียน ไม่ได้ต่างจากที่ลิขสิทธิ์งานในเวลางานของพนักงานบริษัทที่เป็นของบริษัท

ส่วนฝั่งผู้วิจารณ์ก็กล่าวว่านี้เป็นการเอาเปรียบเด็กนักเรียน และกังขาว่าระบบทั้งหมดรับใช้เป้าประสงค์ของระบบลิขสิทธิ์ทั้งหมดซึ่งก็คือ "การเรียนรู้" แค่ไหน

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130204/02074521874/copyright-insanity-school-policy-requires-students-hand-over-copyright-all-work.shtml , http://www.washingtonpost.com/local/education/prince-georges-considers-copyright-policy-that-takes-ownership-of-students-work/2013/02/02/dc592dea-6b08-11e2-ada3-d86a4806d5ee_story.html

 

Oxford Union Society ให้ Julian Assange เอาฉากหลังการปราศรัยการวิดีโอลิงค์ที่เป็นรูปทหารอเมริกันยิงนักข่าวและพลเมืองในอิรักลง โดยอ้างว่าไม่ต้องการละเมิดลิขสิทธิ์

ทั้งนี้รูปดังกล่าวคือรูปที่ปรากฎในคลิปวีดีโอของรัฐบาลสหรัฐที่ Wikleaks ปล่อยออกมา และตามกฎหมายลิขสิทธิ์อเมริกันแล้วงานของรัฐในลักษณะดังกล่าวถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะ หรืองานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ดังนั้นการกระทำของ Oxford Union Society ในครั้งนี้จึงเป็นการอ้างกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างผิดๆ เพื่อการเซ็นเซอร์

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130204/01405321873/collateral-censorship-oxford-union-replaces-assange-speech-backdrop-citing-copyright-concerns.shtml

 

รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มใส่ไฟล์ปลอมที่เนื้อหาเป็นคำเตือนละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ชื่อไฟล์เป็นอย่างอื่นเข้าไปในเครื่อข่ายแชร์ไฟล์แล้ว

ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารเจ้าของโครงการบอกว่านี่เป็นเพียงแค่โครงการทดสอบเท่านั้น แต่ถ้ามันทำให้อัตราการแชร์ไฟล์ลดลงโครงการก็จะดำเนินต่อไป

News Source:  http://torrentfreak.com/japanese-government-plants-anti-piracy-warnings-inside-fake-downloads-130205/ , http://www.techdirt.com/articles/20130204/16045221880/japanese-government-to-start-seeding-p2p-networks-with-faux-files-containing-copyright-warnings.shtml

 

 

นักการเมืองจากรัฐอริโซน่าพยายามจะผลักกฎหมายที่จะส่งให้การสร้าง "แอคเคานท์ล้อเลียน" มีโทษจำคุก 1 ปีครึ่ง

ทั้งนี้กฎหมายที่คือกฎหมายที่จะยกระดับการปลอมเป็นคนอื่นในโลกออนไลน์เป็นคดีอุกฉกรรจ์ ว่ากันว่าแรงจูงใจในการผลักดันกฎหมายนี้ก็คือการที่นักการเมืองคนดังกล่าวโดนตั้งแอคเคานท์ล้อเลียนนั่นเอง

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130205/08220021887/arizona-politician-parodied-fake-twitter-accounts-pushes-bill-to-make-online-impersonation-felony.shtml

 

07-02-2013

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปชี้แล้วว่าความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านการแสดงออก

อย่างไรก็ดีนี่ก็ไม่ได้หมายความว่าการละเมิดลิขสิทธิ์มันจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ศาลต้องชี้ให้ได้ว่าการตัดสินว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ผิดนั้นมันจำเป็นต่อสังคมประชาธิปไตยอย่างไร

กล่าวคือนี่เป็นการรับประกันในภูมิภาคยุโรปว่าเมื่อสิทธิในการแสดงออกปะทะกับลิขสิทธิ์ สิทธิในการแสดงออกถือว่าเป็นสิทธิ์ที่เหนือกว่า

อย่างไรก็ดี ความแตกต่างของกฎหมายในหลายๆ ประเทศก็จะทำให้คดีในทำนองนี้ต่างไปในรายละเอียดเช่นกัน

News Source:  http://falkvinge.net/2013/02/07/court-of-human-rights-convictions-for-file-sharing-violates-human-rights/, http://www.techdirt.com/articles/20130201/09191921851/european-court-human-rights-no-copyright-does-not-automatically-trump-freedom-expression.shtml

 

08-02-2013

iTransmission 3 โปรแกรมบิททอร์เรนต์สำหรับ iPad และ iPhone ที่เจลเบรคแล้วออกมาแล้ว

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ Apple เคยปล่อยให้โปรแกรมบิททอร์เรนของ utorrent หลุดมาให้ดาวน์โหลดใน App store แล้วก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนกันยายาน 2012 ก่อนจะเอาโปรแกรมดังกล่าวจะถูกเอาออกจากสารบบอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โปรแกรม utorrent นั้นมีให้ใช้สอยสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏบัติการเรียบร้อยแล้วในปัจจุบัน

News Source:  http://torrentfreak.com/annoy-apple-with-a-torrent-client-for-your-jailbroken-iphone-or-ipad-130207/

 

ตัวเลขจากค่ายเพลงฝรั่งเศสชี้ว่ายอดผู้เข้าเว็บ P2P ลดลงร้อยละ 35% จากปี 2009-2012 แต่ตัวเลขก็เปิดเผยเช่นกันว่ายอดยอดงานดนตรีโดยรวมลดลง 22% จากปี 2009-2012

ทั้งนี้ก็ มีการอธิบายว่ายอดการเข้าเว็บ P2P ลดลงก็เพราะการปรากฎขึ้นของหน่วยงานปราบ P2P เถื่อนของรัฐอย่าง HATOPI นั่นเอง แต่การไม่ได้เพิ่มขึ้นของยอดขายงานดนตรี ก็ดูจะไม่ได้ช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับงานประมาณของหน่วยงาน HATOPI ที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นการใช้ภาษีที่ประชาชนจ่าย 12 ล้านยูโร (ประมาณ 48 ล้านบาท) ต่อปีมาเพื่อสอดส่องการใช้อินเทอร์เน็ตประชาชน

News Source:  http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130206p2pfrance, http://torrentfreak.com/three-strikes-anti-piracy-budget-too-expensive-to-justify-says-minister-120603/

 

สมาคมอุตสาหกรรมดนตรีไอร์แลนด์ถูกจับได้ว่าใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน แล้วโดนคอมเมนต์วิจารณ์มากใน Facebook เลยปิด Facebook หนี

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130207/03194721907/icelands-mpaa-pirates-software-tries-to-defend-itself-facebook-runs-away.shtml

 

สารคดีเกี่ยวกับคดีเว็บทอร์เรนต์ชื่อก้องโลก The Pirate Bay พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้ว

สารคดี TPB AFK หรือชื่อเต็มๆว่า The Pirate Bay Away From Keyboard พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้วผ่านทางเว็บ The Pirate Bay

อนึ่ง สารคดีเรื่องนี้ตามติด 3 ผู้ก่อตั้ง The Pirate Bay ที่ผ่านการต่อสู้คดีของ The Pirate Bay มาจนจบที่ตอนศาลสวีเดนตัดสินว่าทั้ง 3 มีความผิดในปีที่แล้ว

เลือกดาวน์โหลดภาพยนต์ในรูปแบบไฟล์ต่างๆ ผ่านทอร์เรนต์ได้ที่ https://thepiratebay.se/user/SimonKlose/

News Source:  http://torrentfreak.com/tpb-afk-watch-and-download-the-pirate-bay-documentary-now-130208/

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิชาการ : อัตตาเพื่อประชาชน?

Posted: 11 Feb 2013 06:33 AM PST

 
เกริ่นนำ
 
แน่นอน นักวิชาการ ไม่ใช่อริยบุคคล ฉะนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้กลไกทางจิตวิทยาปกป้องตนเองว่า "ใครๆก็มีข้อบกพร่องอยู่ทั้งนั้น" เพราะนั่นเป็นเรื่องจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และไม่เห็นประโยชน์จะอภิปรายด้วย เพราะสิ่งที่จะอภิปราย คือ การใช้โอกาสทางสติปัญญาเพื่อประชาชนตามอัตภาพต่างหาก ถึงแม้ว่า นักวิชาการจะไม่ใช่นักรบ แต่สำหรับสังคมที่ขาดเสรีภาพแล้ว หูตาที่กว้างไกลของนักวิชาการอาจช่วยปลดปล่อยประชาชนได้ในระดับสงคราม อย่างน้อยที่สุด สำหรับบางสังคม นักวิชาการมีอภิสิทธิ์บางอย่าง เช่น ความเป็นครู ความเป็นชนชั้นกลางถึงสูงที่ได้รับโอกาสทางการศึกษา 
 
ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของนักวิชาการมักถูกอ้างอิงเสมอ ไม่ว่าจะเป็น คำพูด หรือ งานเขียน ฉะนั้น เราอาจยอมรับว่า นักวิชาการยังมีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชนในสังคมไม่มากก็น้อย แต่นั่นเอง กว่าจะเป็นนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ ก็คงต้องฝ่าฟันอะไรมาไม่มากก็น้อย เหตุนี้ การหล่อหลอมในสังคมที่มีแรงเสียดทานสูงและเสรีภาพต่ำ เช่น สังคมไทย อาจทำให้เราได้นักวิชาการที่แข็งแกร่งแบบบิดๆเบี้ยวๆ ตามแรงบีบของสังคมในขณะที่เป็นนักศึกษาอยู่ อย่างไรก็ตาม ประชาชนย่อมคาดหวังว่า นักวิชาการจะไม่ทิ้งประชาชน  ปัญหาคือบางครั้งอัตตาของนักวิชาการแต่ละคนอาจสูงเกินกว่าที่จะร่วมงานกับประชาชน หรือ เพื่อนนักวิชาการด้วยกันได้ นั่นทำให้ ขบวนการประชาชนไม่อาจสู้กับอำนาจที่กดขี่พวกเขาได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเสียที 
 
 
เนื้อหา
 
ต้องยอมรับว่า "พ่อค้า" ทำงานเป็นเครือข่ายได้ดีกว่า "นักวิชาการ" หลายเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาดทางเศรษฐกิจ หรือ การสนับสนุนในภาครัฐให้ทุจริตเชิงนโยบาย และกลุ่มที่เก่งกาจไปกว่านั้น คือ  "ขุนนางอำมาตย์" ซึ่ง ทำงานเป็นเครือข่ายได้ดีกว่า "พ่อค้า" เพราะควบทั้งอาชีพพ่อค้าและอำมาตย์  กลายเป็นว่า ชนชั้นสองกลุ่มนี้ได้สร้างเครือข่ายขนาดใหญ่และครอบคลุมทุกพื้นที่ ยังไม่รวมถึงการสถาปนาความจริงอีก (ทั้งที่อาจจะไม่จริงก็ได้) ขณะที่ เครือข่ายนักวิชาการล้วนอ่อนแอในสังคมที่ผูกขาดด้วยพ่อค้าและอำมาตย์ เพราะก้าวไม่ข้ามอัตตาของตนเอง ที่สุดแล้ว เพื่อนนักวิชาการบางส่วนก็โน้มเอียงเข้ากับแหล่งทุนขนาดใหญ่นี้ บางคนก็ถูกหลอกใช้เพราะไปหลงเชื่อการสถาปนาความจริงดังกล่าว บางคนก็เรียกร้องให้ผู้อื่นเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงแต่ตนเองไม่ ดูเหมือนว่า นักวิชาการจะมีพลังเพียงเท่านี้
 
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่า นักวิชาการทุกๆ ความเชี่ยวชาญจะต้องมาเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องการเมืองไปเสียหมด กระนั้นก็ดี นักวิชาการสามารถสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อนำประชาชนให้พร้อมต่อการปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพอย่างรอบด้านได้ เป็นต้น ถ้าพูดถึงเรื่องการวางผังเมืองที่ไม่มีชนชั้นสูงมาคอยกำหนดตามผลประโยชน์ของตัวแล้ว นักวิชาการด้านผังเมือง (ภูมิศาสตร์) ดูจะมีบทบาทสำคัญ ในทำนองเดียวกัน ถ้าพูดถึงเรื่องการเจรจาในระดับมวลชน หรือ การควบคุมฝูงชน นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ดูจะมีบทบาทสำคัญ ฉะนั้น นักวิชาการทุกคนมีตำแหน่งแห่งที่ของตน 
 
ที่จริงในพื้นที่หลังสมัยใหม่ (Post-modern) คำว่า "นักวิชาการ" ไม่ได้มีพลังมากนักเหมือนยุคสมัยใหม่ (Modern) เพราะว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี อาจทำให้ใครคนหนึ่ง เป็นนักวิชาการ หรือ ดูเหมือนนักวิชาการ ได้ ฉะนั้น จากรอยต่อแห่งยุคสมัยดังกล่าว โลกจึงได้รู้จัก ใครหลายคนที่เป็นมากกว่านักวิชาการ เช่น นักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีที่มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ตนสนใจอย่างหนาแน่น ทั้งที่ นักเคลื่อนไหวคนนั้นอาจไม่ได้จบการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องเลยแม้แต่น้อย ถ้าพูดให้ชัดเจนกว่านั้น คือ พื้นที่ในศตวรรษที่ 21 เป็น พื้นที่ภายหลังยุคหลังสมัยใหม่ (Post-postmodern) ซึ่งรอยต่อแห่งยุคสมัยนี้จะช่วยกระตุ้นให้การเรียนรู้ของมนุษย์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และในบางเรื่องทุกคนสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพานักวิชาการเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว
 
สำหรับประเทศกำลังพัฒนา? อย่างไทย ความเชี่ยวชาญของนักวิชาการมีความคาบเกี่ยวกัน (Intersection) ในหลายพื้นที่ความคิด บางคนอาจเป็นลูกศิษย์ (Disciple of discipline) ของมโนทัศน์แบบก่อนสมัยใหม่ (Pre-modernism) บางคนอาจเป็นลูกศิษย์ของมโนทัศน์แบบสมัยใหม่ (Modernism) บางคนอาจเป็นลูกศิษย์ของมโนทัศน์แบบหลังสมัยใหม่ (Post-modernism) บางคนอาจเปลี่ยนแปลงความเป็นลูกศิษย์ไปอย่างมีพลวัตแบบหลังยุคหลังสมัยใหม่ (Post-postmodernism) กระนั้นก็ดี นักวิชาการไม่ใช่คอมพิวเตอร์ (คณิตกรณ์) ฉะนั้น อารมณ์ความรู้สึก ปมทางจิตวิทยา และอัตตาจึงเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งโลกส่วนตัวที่ซับซ้อนแบบนั้นบางทีประชาชนก็เข้าไม่ถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนที่เข้าถึงความรู้เช่นเดียวกัน  ปัญหาคือ เพื่อเป้าหมายร่วมอะไรเป็นยุทธวิธีสู่ความสำเร็จ
 
เป็นที่ยอมรับว่า "วิธีข้าฯมาคนเดียว" ไม่เคยประสบผลสำเร็จในระยะยาว บ่อยครั้ง วิธีดังกล่าวเมื่อใช้กับอำนาจรัฐก็ประสบความสำเร็จในระยะสั้นๆ เพราะบ่อยครั้งเกิดจากการที่รัฐเกรงใจแค่ตัวบุคคล เช่น คานธี (Gandhi) เห็นได้ชัดแล้วว่า แม้ คานธี จะมีวิสัยทัศน์ก้าวหน้าล้ำสมัยเพียงใด แต่หลักสัตยาเคราะห์ (satyagraha) ก็ไม่ได้งอกงามมากพอในประเทศอินเดีย ไม่ใช่ว่า คานธี ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ต้องยอมรับว่า คานธี เป็นตัวแบบที่สุดโต่งเกินไป ซึ่งประชาชนไม่อาจจะปฏิบัติตามหลักการที่ คานธี วางไว้ได้ สุดท้ายแล้ว แนวทางนี้จึงเลื่อนไหวไปตามกาลเวลาของประเทศอินเดียและที่จริงของประเทศปากีสถานด้วย ฉะนั้น "วิธีข้าฯมาคนเดียว" อาจให้ผลสำเร็จในลักษณะที่วูบวาบ หวือหวา เท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนหรือถอนรากถอนโคน เฉพาะอย่างยิ่ง กับปัญหาที่มีการวางเครือข่ายอย่างชาญฉลาด
 
คำว่า "คนไทยทำงานร่วมกันไม่เป็น" อาจเป็นภาพสะท้อนที่บางเบาของวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนายที่ฝังแน่นอยู่ในสายเลือด เพราะต้องมี "ฉัน" (Self) ที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรม และต้องมีการยกย่องให้เกียรติ "ฉัน" (Self) และเป็น"ฉัน" (Self) ที่จะเรียกร้องให้ใครทำอะไรก็ได้ตามใจฉัน ซึ่งถ้า"ฉัน" (Self) ไม่ได้รับการปฏิบัติที่ได้ดั่งใจ "ฉัน" (Self) จะประณามใครก็ตามที่ขัดใจ"ฉัน" (Self)  แต่เพื่อประสานประโยชน์ไว้ ทุกคนอาจจำเป็นต้องอดทนกับท่าทีแบบนี้ เพราะใครคนนั้นอาจมีผลประโยชน์กับกลุ่มมากพอ ที่จริง น่าตั้งคำถามว่า ถ้ามีนิสัยแบบนี้แล้วไม่มีประโยชน์ หรือทำให้กลุ่มเสียประโยชน์ อะไรจะเป็นสิ่งที่กลุ่มจะตัดสินใจ? 
 
สำหรับประชาชนส่วนใหญ่ แน่นอนว่า พวกเขามีโอกาสน้อยที่จะเข้าถึงการเนื้อหางานวิจัยระดับลึก ที่เต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือ (ทฤษฎี) มากมาย และแน่นอนอีกว่า พวกเขาจำเป็นต้องสะสมประสบการณ์อีกมากเพื่ออ่านหรือทำความเข้าใจให้เท่าทัน กับบรรดานักวิชาการที่คลุกคลีเรื่องนี้มาโดยตลอด ฉะนั้น คงไม่ผิดอะไรที่ประชาชนส่วนใหญ่จะฝากความหวังไว้กับนักวิชาการ โดยไม่สนว่าเขาเหล่านั้นจะมีนิสัยแบบใดก็ตาม แต่ ปัญหาคือบรรดานักวิชาการที่ประชาชนฝากความหวังไว้ เพราะเขาจะตัดสินใจอย่างไรกับการช่วยเหลือประชาชน?
 
การตัดสินใจมีได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิให้ในฐานะแกนนำ หรือจะเป็น การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน หรือจะเป็นงานเบื้องหลังแบบการทำงานวิจัยในประเด็นที่แหลมคม เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหว ฉะนั้น ตราบใดที่บรรดานักวิชาการยังวนเวียนอยู่กับความเป็น "ฉัน" (Self) มากเกินไป นั่นอาจทำให้เสียเวลาในอันที่จะทำอะไรต่อมิอะไรเพื่อประชาชนอย่างที่ตั้งใจ และจะกลายเป็นหลักฐานมัดตัวเองชิ้นสำคัญ ในกรณีที่นักวิชาการเหล่านั้นอ้างว่า "ทำเพื่อประชาชน" เพราะจริงๆ ทำเพื่อสนองอัตตาหรือปมของตนเอง
 
 
สรุป
 
การย้อนมาพิจารณาเรื่องอัตตาในระดับปัจเจกบุคคลของนักวิชาการ ในฐานะปัจจัยที่หน่วงเหนี่ยวต่อการเคลื่อนไหวเพื่อประชาชนให้เกิดความล่าช้าอาจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในสังคมไทยนักวิชาการยังมีอิทธิพลต่อการชี้นำและนำความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมอย่างยั่งยืนได้มากกว่าประชาชน แม้ว่าทุกวันนี้ ความเข้มแข็งของเครือข่ายนักวิชาการจะถูกรัศมีของพ่อค้าและขุนนางอำมาตย์บดบังเสียจนไม่มีที่ยืนในฐานะที่เรียกตนเองว่า "ปัญญาชน" ก็ตาม แต่คงไม่สายเกินไปนัก ถ้าบรรดานักวิชาการรวมถึงประชาชนที่คาดหวังกับนักวิชาการด้วย จะหันมาพิจารณาตนเอง รู้จักตนเอง และพึ่งพาตนเอง ในอันที่จะแก้ไขเยียวยาปัญหาเบื้องลึกของตนเองเพื่อเป้าหมายของตนเอง เพื่อจะได้ใช้สติปัญญาที่หลายคนสรรเสริญ ช่วยเหลือผู้ที่กำลังตกทุกข์ได้ยากอย่างทันท่วงที โดยที่ไม่ต้องให้มีคำว่า "สายเกินไป" เพราะความเป็น "ฉัน" (Self) ขัดขวางอยู่แท้ๆ 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 5-11 ก.พ. 2556

Posted: 11 Feb 2013 06:02 AM PST

 

สปส.เล็งแก้หลักเกณฑ์ เก็บเงินสมทบแบบใหม่

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงแรงงาน นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตนได้เรียกผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม (สปส.) มาสอบถามถึงระเบียบในการเรียกเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ ประกันตน เนื่องจากพบว่า การเก็บเงินสมทบในปัจจุบัน ไม่ได้มีการแยกเงินเดือนกับสวัสดิการออกจากกัน เพื่อคำนวณเงินสมทบ ซึ่งส่งผลให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องส่งเงินสมทบสูงกว่าอัตราที่กำหนดของอัตราเงินเดือน เช่น เงินเดือน 13,000 บาท นายจ้างจ่ายสวัสดิการเพิ่มอีก 2,000 บาท สปส.ก็นำรายได้ทั้ง 2 ส่วนมารวมกันเพื่อคำนวณอัตราเงินสมทบ ส่งผลให้ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบอัตราร้อยละ 5 อยู่ที่ 750 บาทต่อเดือน แต่หากคิดเฉพาะเงินเดือน 13,000 บาท ผู้ประกันตนจะส่งเงินสมทบลดลง 100 บาท คือจ่าย 650 บาทต่อเดือน

นายสง่ากล่าวว่า ที่ผ่านมาศาลแรงงานกลางได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ ว่า เงินเดือนกับสวัสดิการเป็นคนละส่วนกัน ไม่สามารถนำมาคำนวณอัตราเงินสมทบได้ ดังนั้น จึงมองว่าไม่เป็นธรรมกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งได้แนะนำให้ผู้บริหาร สปส.ไปปรับปรุงวิธีการเก็บเงินสมทบใหม่ แต่หากเกรงว่าจะขัดกับระเบียบ ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ก็ควรมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ในการเก็บเงินสมทบใหม่ เพื่อความเป็นธรรมกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

(ประชาชาติธุรกิจ, 5-2-2556)

 

นายจ้างไม่เชื่อตัวเลขเลิกจ้างจากการปรับค่าแรง 300 บาท มีเพียง 1,400 คน

6 ก.พ. 56 - กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง ไม่เชื่อข้อมูลการถูกเลิกจ้างจากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ของ ก.แรงงาน ที่มีเพียง 1,400 คน อ้างยังมีสถานประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับประกัน สังคมอีกจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบ วอนรัฐตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่าง

นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ว่า ที่ประชุมได้หารือผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างใน 70 จังหวัด โดยกรรมการฝ่ายนายจ้างยังต้องการให้รัฐบาลตั้งกองทุนจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง ค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ยังไม่สามารถเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือ 15 มาตรการของรัฐบาล เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินกู้เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี

ขณะเดียวกัน เห็นว่าข้อมูลการเลิกจ้างของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ที่ระบุว่า ในช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท ใน 70 จังหวัด มีสถานประกอบการ 13 แห่ง เลิกจ้างแรงงานกว่า 1,400 คน ยังไม่ใช่ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากในการหารือกันของภาคธุรกิจ มีข้อมูลว่าแรงงานโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก แต่บางส่วนไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ทำให้ไม่มีข้อมูลการเลิกจ้างในส่วนนี้

ทั้งนี้ ตนเองได้แจ้งต่อที่ประชุมไปว่า รัฐบาลได้ชี้แจงชัดเจนแล้วว่าไม่สามารถจัดตั้งกองทุนจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง ค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้นได้ โดยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

ขณะเดียวกัน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้จัดโครงการแรงงานสัญจรขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้ โดยจะลงพื้นที่ไปยังจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแบบก้าวกระโดด เช่น พะเยา ลำปาง น่าน ศรีสะเกษ เพื่อรวบรวมข้อมูลผลกระทบและความต้องการความช่วยเหลือของสถานประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี มาเสนอรัฐบาลแก้ปัญหา

(สำนักข่าวไทย, 6-2-2556)

 

รัฐบาลยกเครื่องรักษาพยาบาล ขรก.ท้องถิ่น 15 หน่วยได้รับสิทธิ์

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อให้บุคคลผู้มีสิทธิ์ตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของพนักงาน ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 ใช้สิทธิ์รับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 หรือ "โครงการป่วยไข้ไม่ล้มละลาย" ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล

โดยมอบหมายให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข ลงนามร่วมกับ 15 หน่วยงาน อาทิ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมราชการส่วนตำบลและเทศบาล สมาคมข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมลูกจ้างประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมข้าราชการและพนักงานท้องถิ่นแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ปลัดเทศบาลแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ ในการพัฒนาให้เกิดความคุ้มครองความมั่นคงสิทธิด้านการรักษาพยาบาลของข้า ราชการ-พนักงานส่วนท้องถิ่น และเห็นชอบในหลักการให้ข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น ได้รับสิทธิ์เช่นเดียวกับสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและสามารถเข้าถึง การรักษาได้

(บ้านเมือง, 7-2-2556)

 

รมว.แรงงาน สั่งเฝ้าระวังสถานประกอบการเสี่ยงเลิกจ้างจากค่าแรง 300 บาท รวม 33 แห่ง

7 ก.พ. 56 - รมว.แรงงาน สั่งเฝ้าระวังสถานประกอบการอีก 33 แห่ง เสี่ยงเลิกจ้าง หลังที่ผ่านมามีลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพราะการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทแล้ว 483 คน

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยข้อมูลของศูนย์สนับสนุนผู้ประกอบการ พร้อมจ่ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2556 มีสถานประกอบการเลิกจ้างลูกจ้าง 35 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 1,881 คน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 19 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้น 617 คน สถานประกอบการที่เลิกจ้างจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท มี 18 แห่ง เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 7 แห่ง เป็นการเลิกจ้างบางส่วน 483 คน เพิ่มขึ้น 48 คน และสถานประกอบการเลิกจ้างจากผลกระทบอื่น อาทิ วิกฤติเศรษฐกิจยุโรปมี 17 แห่ง เพิ่มขึ้น 8 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 1,398 คน ลูกจ้างเพิ่มขึ้น 800 คน แบ่งเป็นสถานประกอบการที่ปิดกิจการ 4 แห่ง เพิ่มขึ้น 1 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 524 คน เพิ่มขึ้น 338 คน และสถานประกอบการเลิกจ้างบางส่วน 13 แห่ง เพิ่มขึ้น 7 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้างรวม 874 คน เพิ่มขึ้นจากกลางเดือน 229 คน

นอกจากนี้ยังพบสถานประกอบการที่มีแนวโน้มเลิกจ้างอีก 33 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 4,915 คน ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป แปรรูปอาหาร และผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ในพื้นที่ภาคกลางมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีผู้ใช้แรงงานไปขึ้นทะเบียนว่างงานกับกรมการจัดหางานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-6 กุมภาพันธ์ จำนวน 3,557 คน และตั้งแต่วันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ 2556 มีลูกจ้างโทรเข้าสายด่วนกระทรวงแรงงาน หมายเลข  1506 จำนวน 20 สาย เพื่อสอบถามเรื่องค่าจ้าง ส่วนใหญ่ร้องเรียนเรื่องที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่ให้สวัสดิการและค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) นายจ้างไม่ปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาท และเรื่องสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหากถูกเลิกจ้างด้วย

(สำนักข่าวไทย, 7-2-2556)

 

พนง.เจนเนอรัลมอเตอร์ 5,000 คน ประท้วงบริษัท ออกระเบียบให้ทำงานวันเสาร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พนักงานบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบร์อด อ.ปลวกแดง หรือ เชฟโรเลต นำโดยนายสุริยา โพธิ์ชัยเลิศ แกนนำสหภาพแรงงานบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และพนักงานจำนวน 5,000 คน ออกมาประท้วงแสดงความไม่พอใจบริษัท เนื่องจากประกาศใช้ระเบียบปฏิบัติใหม่ ให้พนักงานทุกคนมาทำงานวันเสาร์ โดยถือว่าเป็นวันทำงานตามปกติ และจะไม่ได้ค่าแรงค่าโอที 2 แรง ถึงแม้ว่าทางบริษัทจะมีข้อเสนอในเรื่องของการจ่ายเงินโบนัส ค่าปลอบขวัญและสวัสดิการต่างๆ ชดเชย แต่พนักงานคิดว่าไม่คุ้มค่ากับการดำเนินชีวิตประจำวันเหมือนที่ผ่านมา โดยมีนายสมนึก นามตระกูลชล ผู้จัดการฝ่ายบุคคล บริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยจำนวน 30 คน คอยสังเกตการณ์อยู่รอบโรงงาน

นายสุริยากล่าวว่า สาเหตุที่พนักงานจำนวน 5,000 คน ออกมาประท้วงเรียกร้องให้บริษัทใช้ระเบียบปฏิบัติเหมือนเดิม เพราะในปัจจุบันพนักงานส่วนมากใช้วันหยุดเสาร์อาทิตย์ไปสมัครเรียนต่อ และเป็นการเรียนเทียบโอน เพื่อนำวุฒิไปปรับวิทยฐานะในตำแหน่งหน้าที่การงาน สร้างสมประสบการณ์ และที่สำคัญในเรื่องของครอบครัวที่มีความสำคัญมาก ถึงแม้จะมีค่าตอบแทนสูงเพียงใด แต่คุณภาพชีวิตเกิดความแตกแยก ครอบครัวขาดความอบอุ่น ไม่มีเวลาดูแลลูกและพ่อแม่ ครอบครัวจะดำเนินชีวิตอย่างไม่มีความสุข พนักงานจึงต้องการให้บริษัทใช้ระเบียบปฏิบัติเหมือนเดิม จ่ายค่าแรง มีค่าโอที เหมือนเดิม อย่าบีบบังคับให้ต้องปฏิบัติ เนื่องจากคุณภาพชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนไม่มีภาระอะไรก็ทำโอทีได้ บางคนมีภารกิจ ก็ไม่ต้องทำ ถือว่ายุติธรรมแล้วและไม่จำเป็นต้องนำระเบียบใหม่มาบังคับใช้อีก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ผู้สื่อข่าวกำลังบันทึกภาพข่าวเหตุการณ์พนักงานรวมตัวประท้วงอยู่นั้น นายอุกฤษ ศรีวิรัช ผอ.แผนกความปลอดภัยของบริษัท พร้อมเจ้าหน้าที่ รปภ.จำนวน 5 คน เข้ามารุมล้อมกระชากกล้องและพูดจาข่มขู่ห้ามถ่ายภาพ จนได้รับบาดเจ็บบริเวณแขนและบังคับให้ลบภาพข่าวออก อ้างว่าเป็นทรัพย์สินของทางบริษัท ก่อนที่นักข่าวจะยอมลบภาพบางส่วนออกเจ้าหน้าที่ รปภ.จึงยอมปล่อยตัว

(มติชนออนไลน์, 8-2-2556)

 

ผลสำรวจซีอีโอเดือนม.ค.ค่าแรง 300 ต้นทุนพุ่ง

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สำรวจความคิดเห็นผู้บริหาร CEO SENTIMENT INDEX ประจำเดือนม.ค.-ก.พ. 2556 จำนวน 418 คน ระหว่างวันที่ 29 ม.ค.-4 ก.พ. 2556 เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ ผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ตลอดจนการปรับตัว พบว่า ผลกระทบจากค่าแรง ผู้บริหารส่วนใหญ่ 63.7% ระบุว่าส่งผลให้ต้นทุนธุรกิจเพิ่มขึ้น ขณะที่ 22.4% ระบุว่าต้นทุนการทำธุรกิจยังไม่เปลี่ยนแปลง และ 13.9% ระบุว่าต้นทุนลดลง ส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นค่าแรง 10.3% ขณะที่ต้นทุนรวมการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น 5.1%

สำหรับแนวทางการปรับตัวของธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานเป็นวิธีที่เลือกใช้มากที่สุด 63.9% รองลงมาลดต้นทุนผลิตส่วนที่ไม่ใช่ค่าแรง 61.4% ขึ้นราคาสินค้าอยู่ที่ 44.1% นำเครื่องจักรมาใช้แทนพนักงานบางส่วน 39.5% และอีก 38.6% ลดงบด้านการลงทุนระยะยาว

ผลการสำรวจยังพบว่า ปัจจัยสำคัญ 5 อันดับแรกที่มีผลต่อการทำธุรกิจไตรมาสที่ 1 คือ ภาวะเศรษฐกิจของโลก (3.7 คะแนน) ภาวะเศรษฐกิจไทย (3.6 คะแนน) ต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น (3.6 คะแนน) ต้นทุนค่าขนส่งและพลังงาน (3.5 คะแนน) และการแข็งขึ้นของเงินบาทซึ่งสูงเท่ากับต้นทุนวัตถุดิบ (3.4 คะแนน)

ส่วนดัชนีด้านเศรษฐกิจเดือนม.ค. มีค่าเท่ากับ 39 จุด สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจโดยรวมเดือนม.ค. ที่ผ่านมา ดีกว่าเดือนธ.ค. 2555 แต่เมื่อพิจารณาถึงการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจเดือนก.พ. และเดือนมี.ค. นี้ พบว่าดัชนีมีค่าลดลงเป็น 22 จุด และ 16 จุดตามลำดับ สะท้อนให้เห็นถึงการลดลงของความเชื่อมั่นโดยรวมของผู้บริหาร ปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจลดลง คือ อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในไตรมาสสุดท้ายติดลบ การไหลเข้ามาของเงินจนทำให้บาทแข็งค่าส่งผลต่อความสามารถการแข่งขันของ ประเทศ และผลจากค่าแรง 300 บาท

สำหรับดัชนีด้านการทำธุรกิจมี 4 ด้าน คือ ดัชนีด้านรายได้ ดัชนีด้านต้นทุน ดัชนีด้านการจ้างงานและดัชนีด้านสภาพคล่องนั้น ดัชนีด้านรายได้เดือนม.ค. ที่ผ่านมา มีค่าเป็นบวก 13 จุด สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสร้างรายได้มากเมื่อเทียบกับ เดือนธ.ค. ที่ผ่านมา ส่วนการคาดการณ์รายได้ช่วงเดือนก.พ.-มี.ค. มีทิศทางที่สอดคล้องกัน

ดัชนีด้านต้นทุนอยู่ในระดับ 35 จุดในเดือนม.ค. สะท้อนให้เห็นผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่มีต่อต้นทุนธุรกิจ แม้การคาดการณ์ดัชนีต้นทุนในช่วงเดือนก.พ.และเดือนมี.ค. จะมีค่าลดลง ยังคงมีค่าเป็นบวก แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

การเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงของรายได้และการเพิ่มขึ้นของต้นทุน ส่งผลให้ดัชนีสภาพคล่องลดลงจากระดับ 26 จุด ในเดือนม.ค. เป็น 21 จุด และ 8 จุด ในเดือนก.พ.และเดือนมี.ค. ตามลำดับ การลดลงของสภาพคล่องจะเพิ่มความเสี่ยงการทำธุรกิจ การตัดสินใจเลื่อนการจ้างงานเพิ่ม ทำให้ดัชนีการจ้างงานที่มีค่า 25 จุดในเดือนม.ค. มีค่าลดลงเป็น 15 จุด และ 11 จุด ในเดือนก.พ. และเดือนมี.ค. ตามลำดับ

"ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าค่าแรง 300 บาท เงินบาทที่แข็งค่า และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อธุรกิจไทยไตรมาสที่ 1 ปีนี้ แม้ว่าค่าดัชนีหลายตัวเป็นบวก แต่การที่แนวโน้มดัชนีเหล่านี้มีค่าลดลง เป็นตัวสะท้อนการคาดการณ์ของผู้บริหารว่าช่วงเวลาที่เหลือไตรมาสที่ 1 เป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายที่ธุรกิจต้องหาทางรับมือให้ได้"

(กรุงเทพธุรกิจ, 11-2-2556)

 

SMEชงสอท.ขอรัฐลดประกันสังคม- ลดภาษีบำรุงท้องถิ่น

วงหารือผู้ประกอบภาคใต้ ต่อวิกฤตค่าแรง 300 บาท เห็นควรให้สอท.เป็นหัวหอกเสนอรัฐช้วยผู้ประกอบการด้วยการลดเก็บเงินประกัน สังคม 1 เปอร์เซ็นต์ ควบคู่กับการลดภาษีบำรุงท้องที่้ลงครึ่งหนึ่ง ทั้งยังควรเปิดกว้างด้านซอฟท์โลนด้วยการเปิดทางให้ สภาอุตฯ หอการค้า ร่วมเป็นคณะกรรมการกลั่นกรอง

นายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( สอท. ) เปิดเผยว่า ในการร่วมประชุมกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ( เอสเอ็มอี) ในภาคใต้ เพื่อรับทราบถึงปัญหาจากนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และทางออกในการนำเสนอแนวทางไปยังรัฐบาลขอรับการช่วยเหลือ ที่ประชุมมีข้อสรุปที่จะเสนอผ่านสภาอุตสาหกรรมฯ ไปยังรัฐบาลคือ ขอให้รัฐลดการเก็บเงินประกันสังคมในฝ่ายจ้างเหลือเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับในพื้น 3 จังหวัดภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ยและ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ให้ลดภาษีบำรุงท้องที่ลงครึ่งหนึ่ง และสนับสนุนในเรื่องของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟท์โลน โดยให้ธนาคารลดเงื่อนไขในการอนุมัติ โดยมีสภาอุตสาหกรรมฯ หอการค้า ร่วมเป็นคณะกรรมในการกลั่นกรอง ทั้งนี้การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทำให้ผู้ประกอบการล้วนได้รับผลบกระทบอย่างรุนแรง จึงอยากให้รัฐบาลได้พิจารณาเรื่องนี้

"ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบคือ ผู้ประกอบการต่างเห็นว่า การปรับค่าแรงเป็นการปรับที่รวดเร็วและก้าวกระโดด ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กปรับตัวไม่ทัน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจทั้งในปีที่ผ่านมาและปีนี้ไม่เอื้อ ที่จะให้ผู้ประกอบการมีความพร้อม จะเห็นว่านับคั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ใต้ ได้ปิดรับพนักงานเพิ่ม เพราะไม่ต้องการเป็นภาะในเรื่องของต้นทุนจากการจ่ายค่าแรง อย่างไรก็ตามหลังจากเข้าาสู่กลางปี อาจจะมีการปลดพนักงานออก หากไม่สามารถแบกรับปัญหาอีกต่อไปได้ " นายทวี กล่าว

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ หัวหน้าสำนักงาน แรงงานจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ภาวะการทำงานของประชากรไตรมาส 3/2555 (ก.ค.-ก.ย.55) พบว่า นครราชสีมามีผู้อยู่ในกำลังแรงแรงงาน 1,617,705 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 72.6 ของประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป และเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงานงานกว่า 600,000 คน โดยประชากรผู้มีงานทำจำนวน 1,603,168 คน ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมงจำนวน 598,211 คน คิดเป็นร้อยละ 37.3 รองลงมาคือ การผลิต จำนวน 288,859 คน คิดเป็นร้อยละ 18 การขายส่ง ขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และขอใช้ในครัวเรือนจำนวน 243,780 คน คิดเป็นร้อยละ 15.2

ทั้งนี้พบว่านครราชสีมามีอัตราการว่างงานในช่วงไตรมาส 3/2555 ทั้งสิ้น 14,537 คน เป็นชาย 8,337 คน และ หญิงจำนวน 6,199 คน แต่ภายหลังมีการปรับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาท ทั่วประเทศ พบว่า โรงงานหลายแห่งมีการปลดพนักงานซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมตัวเลข โดยมีผู้มาขึ้นทะเบียนประกันการว่างงานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด นครราชสีมาในปี 2556 เดือนละกว่า 1,000 คน อย่างไรก็ตามพบว่าโรงงานบางแห่งเลือกที่จะไม่ปลดพนักงานแต่ได้มีการพัฒนา ฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพมากขึ้นโดยส่วนราชการ ก็ได้เข้าไปช่วยเหลือในการพัฒนาฝีมือแรงงานและเร่งประชาสัมพันธ์ 15 มาตรการของรัฐบาลที่ให้การช่วยเหลือเพื่อให้นายจ้างอยู่ได้ ในภาวะการแข่งขันทางธุรกิจและการปรับค่าแรงขั้นต่ำ

สำหรับการจดทะเบียนใหม่ ช่วงไตรมาส 3 /2555 จำนวน 23 แห่ง โดยอุตสาหกรรมการผลิต จดทะเบียนมากสุดจำนวน 13 แห่ง จ้างคนงาน 209 คน เงินลงทุน 315.32 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งหมด 580,550,000 บาท สำหรับโรงงานที่เลิกกิจการในไตรมาสนี้มีจำนวน 22 แห่ง สาเหตุการเลิกกิจการอยู่ระหว่างการสำรวจเช่นกัน

(เนชั่นทันข่าว, 11-2-2556)

 

สหภาพ GM ปักหลักประท้วงต่อเนื่อง

สหภาพแรงงาน GM ยังปักหลักประท้วงแสดงความไม่พอใจที่ทางบริษัทฯ ได้มีการประกาศใช้ระเบียบปฏิบัติให้โดยให้พนักงานทุกคนมาทำงานวันเสาร์ทุกคน โดยถือว่าเป็นวันทำการปกติ และจะไม่มีการเบิกจ่ายค่าแรงเพิ่มได้เพียง 1 แรงเท่านั้น

11 ก.พ. 56 - ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่าพนักงานของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด อ.ปลวกแดง จ.ระยอง หรือเชฟโรเลต ยังคงปักหลัก ประท้วงแสดงความไม่พอใจที่ทางบริษัทฯ ได้มีการประกาศใช้ระเบียบปฏิบัติให้โดยให้พนักงานทุกคนมาทำงานวันเสาร์ทุกคน โดยถือว่าเป็นวันทำการปกติ และจะไม่มีการเบิกจ่ายค่าแรงเพิ่มได้เพียง 1 แรงเท่านั้น ถึงแม้ว่าทางบริษัทฯ จะมีข้อเสนอในเรื่องของการจ่ายโบนัส ค่าปลอบขวัญ และสวัสดิการต่างๆ ให้เพื่อชดเชย แต่พนักงานได้มาคิดแล้วไม่คุ้มค่ากับการดำเนินชีวิตประจำวันเหมือนที่ผ่านมา
      
สาเหตุที่พนักงานออกมาประท้วงเรียกร้องให้บริษัทฯ ใช้ระเบียบปฏิบัติเดิมก็เพราะในปัจจุบัน พนักงานส่วนมากใช้วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ไปสมัครเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และเป็นการเรียนเทียบโอน เพื่อนำวุฒิไปปรับวิทยฐานะในตำแหน่งการทำงาน สร้างสมประสบการณ์ให้ดีกว่าปกติ และที่สำคัญในเรื่องของครอบครัวที่มีความสำคัญมาก ถึงแม้จะมีค่าตอบแทนสูงเพียงใด แต่คุณภาพชีวิต ความแตกแยก ครอบครัวขาดความอบอุ่น ไม่มีเวลาดูแลลูก พ่อ แม่ และครอบครัว ก็จะดำเนินชีวิตอย่างไม่มีความสุข
      
นายสุริยา โพธิ์ชัยเลิศ ประธานสหภาพแรงงาน กล่าวว่า พนักงานจำนวนมากได้ปักหลักพักแรม กางเต็นท์อยู่บริเวณหน้าบริษัทฯ มาตั้งแต่วันศุกร์ เนื่องจากพวกเราไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนดใหม่ของทางบริษัทฯ จากนั้น กลางดึกของวันที่ 9 ก.พ.56 นายอุฤกษ์ ศรีวิรัช ผุ้จัดการฝ่ายรักษาความปลอดภัยได้นำกำลังชายชุดดำ ประมาณ 30 คนมาล้อมสถานที่ชุมนุม โดยมีชายชุดดำมีอาวุธปืนมาด้วย ทำให้ผู้หญิงตกใจ ขวัญผวา หวาดกลัวอย่างมาก และยังพบว่าได้มีอาวุธแปลกปลอมเข้ามาวางไว้ในสถานที่ชุมนุม เพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงในการประท้วงครั้งนี้ด้วย โดยในขณะนี้ทางสหภาพแรงงานได้มีการเตรียมกำลังในการต่อสู้ ป้องกันการสลายม็อบ ถ้ามีการสลายอาจเกิดความรุนแรงอย่างแน่นอน

ด้านนายวีโจ้ วาร์จี ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ สื่อสารผลิตภัณฑ์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยถึงความคืบหน้าการเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานจีเอ็ม ประเทศไทย ว่า นับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2556 คณะผู้บริหารของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีการเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานจีเอ็ม ประเทศไทย เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันด้านข้อกำหนดและเงื่อนไขการว่าจ้างงานใหม่แทนที่ข้อ ตกลงเดิมที่ใช้มา 2 ปี ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ที่ศูนย์การผลิตในจังหวัดระยอง หนึ่งในเป้าหมายคือ การยกระดับกระบวนการผลิตซึ่งจะสร้างศักยภาพการแข่งขันของศูนย์การผลิตจีเอ็ม ในประเทศไทย
      
นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้พนักงานได้มีชีวิตส่วนตัว และชีวิตการงานที่สมดุลกัน โดยใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานน้อยลง และได้รับสวัสดิการต่างๆ เพิ่มขึ้น จีเอ็ม เชื่อว่า การปรับแผนการผลิตจะช่วยรักษามาตรฐานคุณภาพสูงไว้ รวมถึงยกระดับกระบวนการผลิต และประสิทธิภาพของศูนย์การผลิตได้
      
อย่างไรก็ตาม ระหว่างการเจรจาไกล่เกลี่ยรอบแรกโดยมีพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจากสำนัก งานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองเป็นคนกลางเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทางสหภาพฯ ประกาศทันทีว่าจะดำเนินการนัดหยุดงานต่อบริษัทฯ และนัดหยุดงานวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สมาชิกสหภาพประกอบด้วยสมาชิกราว 1,400 คน จากพนักงานระดับปฏิบัติการของศูนย์การผลิตจีเอ็ม จังหวัดระยองทั้งหมดประมาณ 5,000 คน
      
นายวีโจ้ กล่าวต่อว่า ระหว่างการเจรจา จีเอ็ม ไม่ได้ยื่นข้อเสนออื่นใดที่นอกเหนือไปจากรูปแบบการทำงานของบริษัทผู้ผลิต ชั้นนำอื่นๆ ในประเทศไทยที่ทำกัน และพร้อมที่จะหาข้อยุติที่เป็นธรรม มีเหตุผล และเกิดประโยชน์ร่วมกันกับสหภาพแรงงานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อ ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะกับพนักงานของบริษัทฯ บริษัทฯ ยังไม่ได้มีการประกาศ หรือดำเนินการใช้เงื่อนไขการทำงานใหม่เพียงฝ่ายเดียว
      
ทั้งนี้ ในการเพิ่มการทำงานวันเสาร์ ก็ไม่ได้เป็นการบังคับว่าทุกคนจะต้องมาทำงานวันเสาร์ แล้วแต่ความสมัครใจ เพียงแต่อยากให้เหมือนสากลบริษัทชั้นนำเขาปฏิบัติกัน ซึ่งทางบริษัทพร้อมจะดูแลพนักงานของบริษัทอย่างดีอยู่แล้ว และไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลาทำงานที่จะทำให้พนักงานต้องมี ชั่วโมงการทำงานในแต่ละสัปดาห์มากขึ้น หรือทำงานในวันเสาร์เพิ่มขึ้นเทียบจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแต่อย่างใด รูปแบบการทำงานจะมีความคล้ายคลึงกับบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ส่วนใหญ่ในประเทศ ไทย ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับบริษัทฯ ในการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันไว้
      
สำหรับเรื่องของการไปขอหมายศาลคุ้มครองพื้นที่ของบริษัท เนื่องจากทางบริษัทต้องการปกป้องและรักษาความปลอดภัยของพนักงานทุกคน และทรัพย์สินขององค์กร แต่ที่ผ่านมาได้มีการบุกรุก และเข้าครอบครองพื้นที่ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยนับตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา แกนนำสหภาพฯ และสมาชิกบางคนได้ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลจังหวัดระยองที่สั่งให้ กลุ่มสหภาพออกจากพื้นที่ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ
      
ดังนั้น เพื่อให้คำสั่งศาลมีอำนาจสูงสุด และให้สถานการณ์เป็นไปอย่างสงบปลอดภัยสำหรับทุกฝ่าย จีเอ็ม จึงตัดสินใจหยุดสายการผลิตจนถึงวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 และหวังว่าทางสหภาพฯ จะกลับมาเข้าสู่การเจรจาที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้โดยเร็ว เพื่อหาข้อตกลงใหม่ร่วมกันด้วยความเป็นธรรม และมีเหตุผลในทุกประเด็น

 (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 11-2-2556)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

GM แถลงหยุดผลิตตอบโต้สหภาพ หวังคืนสู่การเจรจา

Posted: 11 Feb 2013 05:43 AM PST

11 กุมภาพันธ์ 2556 บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ออกแถลงการณ์หยุดผลิตแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หลังสหภาพนักหยุดงาน ออกแถลงการณ์ หวังจะหวนคืนสู่การเจรจาที่ชอบด้วยกฎหมายและมีระเบียบกับสหภาพฯ ได้โดยเร็ว เพื่อหาข้อตกลงใหม่ร่วมกันด้วยความเป็นธรรมและมีเหตุผลในทุกประเด็น 

ความคืบหน้าการนัดหยุดงานของสหภาพแรงงานจีเอ็ม ประเทศไทย ล่าสุด บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ออกแถลงการณ์ชี้แจงความคืบหน้าการเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานจีเอ็ม ประเทศไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

0 0 0

ความคืบหน้าการเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานจีเอ็ม ประเทศไทย 

นับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2556 คณะผู้บริหารของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีการเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานจีเอ็ม ประเทศไทย เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันด้านข้อกำหนดและเงื่อนไขการว่าจ้างงานใหม่แทนที่ข้อตกลงเดิมที่ใช้มาสองปี ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ที่ศูนย์การผลิตในจังหวัดระยอง หนึ่งในเป้าหมายคือการยกระดับกระบวนการผลิตซึ่งจะสร้างศักยภาพการแข่งขันของศูนย์การผลิตจีเอ็ม ในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้พนักงานได้มีชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงานที่สมดุลกัน โดยใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานน้อยลงและได้รับสวัสดิการต่างๆ เพิ่มขึ้น จีเอ็มเชื่อว่า การปรับแผนการผลิตจะช่วยรักษามาตรฐานคุณภาพสูงไว้ รวมถึงยกระดับกระบวนการผลิตและประสิทธิภาพของศูนย์การผลิตได้

อย่างไรก็ตาม ระหว่างการเจรจาไกล่เกลี่ยรอบแรกโดยมีพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองเป็นคนกลางเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ทางสหภาพฯ ประกาศทันทีว่าจะดำเนินการนัดหยุดงานต่อบริษัทฯ และการนัดหยุดงานได้เริ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สมาชิกสหภาพประกอบด้วยสมาชิกราว 1,400 คนจากพนักงานระดับปฏิบัติการของศูนย์การผลิตจีเอ็ม จังหวัดระยองทั้งหมดประมาณ 5,000 คน

ระหว่างการเจรจา จีเอ็ม ไม่ได้ยื่นข้อเสนออื่นใดที่นอกเหนือไปจากรูปแบบการทำงานของบริษัทผู้ผลิตชั้นนำอื่นๆ ในประเทศไทยที่ทำกัน นอกจากนี้ จีเอ็ม ยังยึดมั่นที่จะแสวงหาข้อยุติที่เป็นธรรม มีเหตุผล และเกิดประโยชน์ร่วมกันกับสหภาพแรงงานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อประโยชน์แก่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะกับพนักงานของบริษัทฯ  บริษัทฯ ยังไม่ได้มีการประกาศหรือดำเนินการใช้เงื่อนไขการทำงานใหม่เพียงฝ่ายเดียวเหมือนกับที่มีรายงานข่าวออกไป ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่ได้มองหาการเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลาทำงานที่จะทำให้พนักงานต้องมีชั่วโมงการทำงานในแต่ละสัปดาห์มากขึ้น หรือทำงานในวันเสาร์เพิ่มขึ้นเทียบจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแต่อย่างใด รูปแบบการทำงานจะมีความคลายคลึงกับบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยซึ่งมีความจำเป็นสำหรับบริษัทฯ ในการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันไว้ บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นทีจะหารือในทุกประเด็นกับสหภาพฯ เพื่อแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับพนักงานและบริษัทฯ

ความสำคัญสูงสุดของเจนเนอรัล มอเตอร์ส ที่เรายึดถือมาโดยตลอด คือการปกป้องและรักษาความปลอดภัยของพนักงานทุกคนและทรัพย์สินขององค์กร แต่กระนั้น สหภาพฯ ซึ่งเริ่มการนัดหยุดงานในวันศุกร์ ได้มีการบุกรุกและเข้าครอบครองพื้นที่ที่ทรัพย์สินของบริษัทฯ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยนับตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา แกนนำสหภาพฯ และสมาชิกบางคนได้ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลจังหวัดระยองที่สั่งให้กลุ่มสหภาพออกจากพื้นที่ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ ดังนั้นเพื่อให้คำสั่งศาลมีอำนาจสูงสุดและให้สถานการณ์เป็นไปอย่างสงบปลอดภัยสำหรับทุกฝ่าย จีเอ็ม จึงตัดสินใจหยุดสายการผลิตจนถึงวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556

บริษัทฯ หวังว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตโดยเร็ว พร้อมด้วยพนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วมการนัดหยุดงานได้เข้าทำงาน และยังคงมุ่งเน้นสูงสุดที่ความปลอดภัยของพนักงานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์  

เจนเนอรัล มอเตอร์ส หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะหวนคืนสู่การเจรจาที่ชอบด้วยกฎหมายและมีระเบียบกับสหภาพฯ ได้โดยเร็ว เพื่อหาข้อตกลงใหม่ร่วมกันด้วยความเป็นธรรมและมีเหตุผลในทุกประเด็น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพ GM ปักหลักประท้วงต่อเนื่อง

Posted: 11 Feb 2013 05:36 AM PST

 

สหภาพแรงงาน GM ยังปักหลักประท้วงแสดงความไม่พอใจที่ทางบริษัทฯ ได้มีการประกาศใช้ระเบียบปฏิบัติให้โดยให้พนักงานทุกคนมาทำงานวันเสาร์ทุกคน โดยถือว่าเป็นวันทำการปกติ และจะไม่มีการเบิกจ่ายค่าแรงเพิ่มได้เพียง 1 แรงเท่านั้น

 
11 ก.พ. 56 - ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่าพนักงานของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด อ.ปลวกแดง จ.ระยอง หรือเชฟโรเลต ยังคงปักหลัก ประท้วงแสดงความไม่พอใจที่ทางบริษัทฯ ได้มีการประกาศใช้ระเบียบปฏิบัติให้โดยให้พนักงานทุกคนมาทำงานวันเสาร์ทุกคน โดยถือว่าเป็นวันทำการปกติ และจะไม่มีการเบิกจ่ายค่าแรงเพิ่มได้เพียง 1 แรงเท่านั้น ถึงแม้ว่าทางบริษัทฯ จะมีข้อเสนอในเรื่องของการจ่ายโบนัส ค่าปลอบขวัญ และสวัสดิการต่างๆ ให้เพื่อชดเชย แต่พนักงานได้มาคิดแล้วไม่คุ้มค่ากับการดำเนินชีวิตประจำวันเหมือนที่ผ่านมา
       
สาเหตุที่พนักงานออกมาประท้วงเรียกร้องให้บริษัทฯ ใช้ระเบียบปฏิบัติเดิมก็เพราะในปัจจุบัน พนักงานส่วนมากใช้วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ไปสมัครเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และเป็นการเรียนเทียบโอน เพื่อนำวุฒิไปปรับวิทยฐานะในตำแหน่งการทำงาน สร้างสมประสบการณ์ให้ดีกว่าปกติ และที่สำคัญในเรื่องของครอบครัวที่มีความสำคัญมาก ถึงแม้จะมีค่าตอบแทนสูงเพียงใด แต่คุณภาพชีวิต ความแตกแยก ครอบครัวขาดความอบอุ่น ไม่มีเวลาดูแลลูก พ่อ แม่ และครอบครัว ก็จะดำเนินชีวิตอย่างไม่มีความสุข
       
นายสุริยา โพธิ์ชัยเลิศ ประธานสหภาพแรงงาน กล่าวว่า พนักงานจำนวนมากได้ปักหลักพักแรม กางเต็นท์อยู่บริเวณหน้าบริษัทฯ มาตั้งแต่วันศุกร์ เนื่องจากพวกเราไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนดใหม่ของทางบริษัทฯ จากนั้น กลางดึกของวันที่ 9 ก.พ.56 นายอุฤกษ์ ศรีวิรัช ผุ้จัดการฝ่ายรักษาความปลอดภัยได้นำกำลังชายชุดดำ ประมาณ 30 คนมาล้อมสถานที่ชุมนุม โดยมีชายชุดดำมีอาวุธปืนมาด้วย ทำให้ผู้หญิงตกใจ ขวัญผวา หวาดกลัวอย่างมาก และยังพบว่าได้มีอาวุธแปลกปลอมเข้ามาวางไว้ในสถานที่ชุมนุม เพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงในการประท้วงครั้งนี้ด้วย โดยในขณะนี้ทางสหภาพแรงงานได้มีการเตรียมกำลังในการต่อสู้ ป้องกันการสลายม็อบ ถ้ามีการสลายอาจเกิดความรุนแรงอย่างแน่นอน
 
ด้านนายวีโจ้ วาร์จี ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ สื่อสารผลิตภัณฑ์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยถึงความคืบหน้าการเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานจีเอ็ม ประเทศไทย ว่า นับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2556 คณะผู้บริหารของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีการเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานจีเอ็ม ประเทศไทย เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันด้านข้อกำหนดและเงื่อนไขการว่าจ้างงานใหม่แทนที่ข้อตกลงเดิมที่ใช้มา 2 ปี ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ที่ศูนย์การผลิตในจังหวัดระยอง หนึ่งในเป้าหมายคือ การยกระดับกระบวนการผลิตซึ่งจะสร้างศักยภาพการแข่งขันของศูนย์การผลิตจีเอ็มในประเทศไทย
       
นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้พนักงานได้มีชีวิตส่วนตัว และชีวิตการงานที่สมดุลกัน โดยใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานน้อยลง และได้รับสวัสดิการต่างๆ เพิ่มขึ้น จีเอ็ม เชื่อว่า การปรับแผนการผลิตจะช่วยรักษามาตรฐานคุณภาพสูงไว้ รวมถึงยกระดับกระบวนการผลิต และประสิทธิภาพของศูนย์การผลิตได้
       
อย่างไรก็ตาม ระหว่างการเจรจาไกล่เกลี่ยรอบแรกโดยมีพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองเป็นคนกลางเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทางสหภาพฯ ประกาศทันทีว่าจะดำเนินการนัดหยุดงานต่อบริษัทฯ และนัดหยุดงานวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สมาชิกสหภาพประกอบด้วยสมาชิกราว 1,400 คน จากพนักงานระดับปฏิบัติการของศูนย์การผลิตจีเอ็ม จังหวัดระยองทั้งหมดประมาณ 5,000 คน
       
นายวีโจ้ กล่าวต่อว่า ระหว่างการเจรจา จีเอ็ม ไม่ได้ยื่นข้อเสนออื่นใดที่นอกเหนือไปจากรูปแบบการทำงานของบริษัทผู้ผลิตชั้นนำอื่นๆ ในประเทศไทยที่ทำกัน และพร้อมที่จะหาข้อยุติที่เป็นธรรม มีเหตุผล และเกิดประโยชน์ร่วมกันกับสหภาพแรงงานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อประโยชน์แก่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะกับพนักงานของบริษัทฯ บริษัทฯ ยังไม่ได้มีการประกาศ หรือดำเนินการใช้เงื่อนไขการทำงานใหม่เพียงฝ่ายเดียว 
       
ทั้งนี้ ในการเพิ่มการทำงานวันเสาร์ ก็ไม่ได้เป็นการบังคับว่าทุกคนจะต้องมาทำงานวันเสาร์ แล้วแต่ความสมัครใจ เพียงแต่อยากให้เหมือนสากลบริษัทชั้นนำเขาปฏิบัติกัน ซึ่งทางบริษัทพร้อมจะดูแลพนักงานของบริษัทอย่างดีอยู่แล้ว และไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลาทำงานที่จะทำให้พนักงานต้องมีชั่วโมงการทำงานในแต่ละสัปดาห์มากขึ้น หรือทำงานในวันเสาร์เพิ่มขึ้นเทียบจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแต่อย่างใด รูปแบบการทำงานจะมีความคล้ายคลึงกับบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับบริษัทฯ ในการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันไว้
       
สำหรับเรื่องของการไปขอหมายศาลคุ้มครองพื้นที่ของบริษัท เนื่องจากทางบริษัทต้องการปกป้องและรักษาความปลอดภัยของพนักงานทุกคน และทรัพย์สินขององค์กร แต่ที่ผ่านมาได้มีการบุกรุก และเข้าครอบครองพื้นที่ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยนับตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา แกนนำสหภาพฯ และสมาชิกบางคนได้ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลจังหวัดระยองที่สั่งให้กลุ่มสหภาพออกจากพื้นที่ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ
       
ดังนั้น เพื่อให้คำสั่งศาลมีอำนาจสูงสุด และให้สถานการณ์เป็นไปอย่างสงบปลอดภัยสำหรับทุกฝ่าย จีเอ็ม จึงตัดสินใจหยุดสายการผลิตจนถึงวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 และหวังว่าทางสหภาพฯ จะกลับมาเข้าสู่การเจรจาที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้โดยเร็ว เพื่อหาข้อตกลงใหม่ร่วมกันด้วยความเป็นธรรม และมีเหตุผลในทุกประเด็น
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำนาน "การทูตปิงปอง" เชื่อมสหรัฐ-จีนเสียชีวิตแล้ว

Posted: 11 Feb 2013 05:24 AM PST

"จวงเจ๋อต้ง" แชมป์โลกประเภทปิงปองติดต่อกัน 3 สมัยของจีน และผู้สร้างตำนาน "การทูตปิงปอง" ฟื้นสัมพันธ์จีน-สหรัฐอเมริกาอันเลื่องชื่อ ได้เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 73 ปี หลังป่วยด้วยโรคมะเร็ง

จวงเจ๋อต้ง (หันหน้า) แชมป์โลกเทเบิลเทนนิส 3 สมัย ผู้สร้างตำนาน "การทูตปิงปอง" (ที่มา: CNTV)

จวงเจ๋อต้ง แชมป์โลกเทเบิลเทนนิส ถ่ายรูปคู่กับโจว เอินไหล นายกรัฐมนตรีจีน (ที่มา: CNTV)

นายจวงเจ๋อต้ง (Zhuang Ze Dong) แชมป์โลกเทเบิลเทนนิสหรือปิงปอง ประเภทชายเดี่ยว 3 สมัยติดต่อกันคนแรกของจีน และผู้สร้างตำนาน "การทูตปิงปอง จีน-อเมริกัน" เป็นที่รู้จักทั่วโลก หลังจากที่ต่อสู้กับมะเร็งร้ายมานาน ได้เสียชีวิตเมื่อเวลา 17.06 น. ของวันที่ 10 ก.พ. ที่กรุงปักกิ่ง ด้วยวัย 73 ปี

จวงเจ๋อต้ง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2483 และเริ่มเล่นปิงปองตั้งแต่อายุ 14 โดยจวงเจ๋อต้งเป็นแชมป์โลกเทเบิลเทนนิสประเภทชายเดียวสามครั้ง ในระหว่างปี พ.ศ. 2504 ถึง 2509 ในปี พ.ศ. 2514 จวงเจ๋อต้งและนักกีฬาปิงปองของจีนเดินทางไปแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 31 ที่นาโกยา ประเทศญี่ปุ่น โดยนักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสหรัฐอเมริกา เกล็น โควาน ได้ขึ้นไปยังรถบัสของนักกีฬาจีน และจ้วงเจ๋อต้งได้ทักทายเขาและมอบภาพวาดภูเขาหวงซาน ซึ่งวาดลงบนผ้าไหม ให้เป็นของที่ระลึก นับเป็นจุดเริ่มต้นของ "การทูตปิงปอง"

โดยอีก 10 เดือนต่อมาหลังการพบกันระหว่างนักกีฬาเทเบิลเทนนิสจีนและสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ได้เยือนจีนในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2515 และอีกสองเดือนต่อมา จวงเจ๋อต้งและคณะนักกีฬาเทเบิลเทนนิสจีนได้เดินไปสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 18 ถึง 30 เมษายน อันเป็นส่วนหนึ่งของกำหนดการเยือนสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก และเปรู รวมเวลาสิ้น 18 วัน ซึ่งกรณี "การทูตปิงปอง" ดังกล่าวได้นำไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2522

ทั้งนี้นายจวงเจ๋อต้ง เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการกีฬาแห่งชาติ ช่วงใกล้สิ้นสุดยุคปฎิวัติวัฒนธรรม เขาแต่งงาน 2 ครั้ง ภรรยาคนแรกคือ เป้าฮุ่ยเฉียว นักเปียโนแห่งวงดนตรีของศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภรรยาคนที่สองเป็นชาวญี่ปุ่นเกิดในจีนชื่อ Sasaki Atsuko

ที่มา: เรียงเรียงจาก สเตตัสของคุณสงวน คุ้มรุ่งโรจน์ และ http://en.wikipedia.org/wiki/Zhuang_Zedong

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.ดันกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ เสนอตั้งสมัชชาสื่อฯทำหน้าที่ตรวจสอบ

Posted: 11 Feb 2013 04:51 AM PST

11 กุมภาพันธ์ 2556 - นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อสังเกตต่อร่างกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ร่างพ.ร.บ.กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ... และ  ร่างพ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ พ.ศ.... เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร

โดยร่างกฎหมายฉบับแรก คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้ศึกษาและพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อฯ ทั้ง 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ฉบับคณะรัฐมนตรี 2.ฉบับนางผุสดี ตามไท กับคณะ 3.ฉบับนางสุนทรี ชัยวิรัตนะ กับคณะ และ4.ฉบับนางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 12,046 คน จากการศึกษา คปก.ได้ตั้งข้อสังเกตแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งเห็นว่า วัตถุประสงค์ของกองทุนควรครอบคลุมปัจจัยในการพัฒนาและเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย การผลิตและการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ของสังคม การพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เท่าทันสื่อของเด็ก เยาวชนและประชาชน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับ ด้านที่มาของเงินในกองทุนฯ เห็นควรให้จัดสรรเงินแก่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ โดยกำหนดสัดส่วนที่แน่นอนของเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเป็นประจำทุกปี เพื่อความมั่นคงและต่อเนื่องของการดำเนินการตามภารกิจของกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คปก.มีความเห็นว่าแนวทางการตรากฎหมายโดยการกำหนดให้กิจการขององค์กรตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรนั้นๆ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายกองทุนเงินทดแทนนั้นจะทำให้องค์กรต่างๆตามกฎหมายนั้นไม่อยู่ในมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมาย จึงไม่ควรบัญญัติไว้ในลักษณะดังกล่าว และอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญอีกด้วย

2. คปก.เห็นด้วยกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรมการกองทุนฯ ในการออกข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้คำนึงถึงการสร้างความยั่งยืนให้กับผู้รับการสนับสนุนและความเท่าเทียมเป็นธรรมของการเข้าถึงการสนับสนุนจากกองทุนของคนด้อยโอกาสในกลุ่มต่างๆ

กรณีรองประธานกรรมการกองทุนฯ คปก.พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า คณะกรรมการกองทุนฯจะเป็นองค์กรที่กำหนดนโยบายหลักเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นอกจากการมีองค์ประกอบให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นรองประธาน คปก.เห็นด้วยกับการเสนอให้มีรองประธานอีกตำแหน่งหนึ่งที่มาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกองทุนฯ

 3.การกำหนดให้มีกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่ชัดเจน คปก.เห็นควรให้มีสมัชชาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ และสภาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (มาตรา 33 ถึง มาตรา 39) เพื่อเป็นกลไกเสนอนโยบายในการจัดทำข้อเสนอและนโยบาย รวมทั้งทำหน้าที่ตรวจสอบเกี่ยวกับงานสื่อต่าง ๆ ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญที่ให้คนทั่วไปตรวจสอบการบริหารงานของกองทุน การมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสนอแนะต่อทิศทางการบริหารจัดการและการดำเนินงานของกองทุน อย่างไรก็ตาม  รูปแบบการทำงานของสมัชชาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ฯ และสภาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ไม่ควรมีความซับซ้อนและควรให้คณะกรรมการกองทุนฯ นำรายงานและข้อเสนอที่ได้จากการจัดสมัชชาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติประจำปีมาพิจารณาในการให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปี แผนการเงินและงบประมาณประจำปีของกองทุนด้วย

วันเดียวกัน นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ยังได้ลงนามในหนังสือ เรื่อง ร่างพ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ พ.ศ. .... เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้พิจารณาเร่งรัดการตราร่างพ.ร.บ.นี้ โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและยกร่างกฎหมายฉบับใหม่ขึ้นอีก เพื่อเป็นหลักประกันในด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาและเป็นไปตามแผนการตรากฎหมายที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล

เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา 67 วรรคสอง ประกอบกับคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ได้มีหนังสือที่ กป.อพช 014/2555 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2555 ถึง ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เรื่อง การเข้าชื่อเสนอกฎหมายภาคประชาชนร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พ.ศ. .... เพื่อให้คปก.พิจารณาให้ความเห็นต่อร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่ง คปก.ศึกษาแล้ว เห็นว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้รับการพิจารณาเพื่อตราเป็นกฎหมายมานานกว่า 15 ปี อันถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลในการอนุญาตหรืออนุมัติโครงการของผู้ประกอบการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการลงทุนและภาคอุตสาหกรรมตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากไม่มีมาตรการในการคุ้มครองเพียงพอที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพของประชาชนอย่างรุนแรงได้

อนึ่ง การพิจารณาร่างพ.ร.บ.นี้มีการดำเนินการจากหลายภาคส่วนมาโดยลำดับ กล่าวคือ

1.ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 22 และวุฒิสภามีมติรับร่างพ.ร.บ. ต่อมาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร แต่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันไม่ได้เสนอให้รับรองร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าว เพื่อให้ได้รับการพิจารณาต่อจึงเป็นอันตกไป

2.เป็นกฎหมายสำคัญที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา ซึ่งปรากฏในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ข้อ 5.3 ว่าด้วยการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเร่งรัดการควบคุมมลพิษ นอกจากนี้ ยังเป็นกฎหมายที่อยู่ในแผนการตรากฎหมายที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 2555 ถึง 2558 หรือแผนนิติบัญญัติของคณะรัฐมนตรีด้วย

3.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 14 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุมพิจารณาร่างพ.ร.บ.นี้ ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานยกร่างพ.ร.บ.ได้มีมติให้คงเนื้อหาเดิมที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้วและมีการแก้ไขจำนวน 6 มาตรา ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ฯ ต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 แต่ต่อมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 ให้พิจารณาทบทวนแนวทางของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะ 7) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 11,219 คน ได้ร่วมกันเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และสภาผู้แทนราษฎรได้ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้คำรับรองของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 142 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากเป็น การเสนอร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงิน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่าย ร.ร.ขนาดเล็ก ค้านนโยบายเรียนร่วม เรียนรวม

Posted: 11 Feb 2013 04:29 AM PST

11 กุมภาพันธ์ 2556 เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ภูมิภาค และสภาการศึกษาทางเลือก พร้อมด้วยสมาชิกกลุ่มการศึกษาทางเลือก 400 องค์กร ทำจดหมายเปิดผนึกถึง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ขอคัดค้านนโยบาย เรียนร่วม เรียนรวม อันจะนำมาซึ่งการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระบุขัดรัฐธรรมนูญ และไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาโครงการ เรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการยุติการดำเนินนโยบาย และการสั่งการให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเรียนร่วม เรียนรวม อันจะนำมาซึ่งการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ให้กระทรวงศึกษาธิการแสวงหาแนวทางอันหลากหลาย และให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างตัวแทนกระทรวงศึกษาธิการ ตัวแทนเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ภูมิภาค องค์กรชุมชน และภาคประชาสังคมต่างๆ มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กโดยการบริหารจัดการแนวใหม่ แบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

0 0 0

จดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง

ขอคัดค้านนโยบาย เรียนร่วม เรียนรวม 
อันจะนำมาซึ่งการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก

 

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินนโยบายยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่ง

1. นโยบายดังกล่าวมีการดำเนินงานที่อาจขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 ส่วนที่8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา ม.49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย กล่าวคือ กระทรวงศึกษาธิการโดยเขตพื้นที่การศึกษาได้ปล่อยปละละเลยการบริหารโรงเรียนจนทำให้เกิดสภาพโรงเรียนขนาดเล็กจากนั้นก็ใช้การนำเด็กเดินทางไปเรียนร่วม เรียนรวม กับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งในที่สุดจะเกิดการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กทำให้ประชาชนไม่ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ คือ ลูกหลานของพวกเขาต้องย้ายไปยังโรงเรียนใหม่ที่ห่างไกลบ้าน ต้องเดินทางไปโรงเรียนโดยเสี่ยงภัยต่อระยะทางไกล และภยันตรายระหว่างทาง หรือในกรณีที่นักเรียนต้องย้ายไปอยู่หอพักแทนที่การอยู่ร่วมกับครอบครัวก็เท่ากับบั่นทอนความสัมพันธ์ของครอบครัว ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญม.80ที่ระบุให้รัฐดำเนินนโยบายทางการศึกษาเพื่อคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยการส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดู และพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัว ยิ่งไปกว่านั้นผลกระทบของสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอาทิ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้นอีกด้วย

2. นโยบายดังกล่าวมีการดำเนินงานที่อาจละเลยและไม่นำไปสู่การปฏิบัติหน้าที่ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 57, 58 ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาโครงการของรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพหรือกระทบต่อส่วนได้เสียของประชาชน ทั้งยังอาจขัดต่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 ม.29 ที่ระบุให้แนวทางการจัดการศึกษามุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาร่วมมือกับครอบครัว องค์กรหรือชุมชนเพื่อความเข้มแข้งของชุมชนด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน ม.38 ที่กำหนดให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาของภาคประชาสังคม ม.39 ในเรื่องการกระจายอำนาจทางการศึกษา และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550 ซึ่งมีหลักการสำคัญประการหนึ่งระบุว่า การกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษานั้นให้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ กล่าวคือกระทรวงศึกษาธิการ สพฐ. และคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเน้นการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งสะท้อนการผูกขาดรวมศูนย์อำนาจ และการสั่งการ มากกว่าการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคประชาสังคม ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินการของเขตพื้นที่การศึกษายังขาดกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน และผู้มีส่วนได้เสีย 

ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายดังกล่าวยังขัดแย้งกับข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2560) ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการที่เสนอให้ลดบทบาทของรัฐในการจัดการศึกษาเป็นหลัก มาเป็นผู้กำกับนโยบาย แผน มาตรฐานการศึกษา นิเทศและติดตามประเมินผลการบริหารจัดการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาต้นแบบที่ดีและส่งเสริมสนับสนุน ยกย่องและขยายผล เพื่อให้การจัดการศึกษาและเรียนรู้มีคุณภาพมาตรฐานและสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน ภาคเอกชน และทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษาและเรียนรู้ให้มากขึ้น การดำเนินงานใดที่ตามมาของกระทรวงทบวงกรมต่างๆจึงไม่สมควรขัดแย้งกับข้อเสนอดังกล่าว

 ดังนั้น สภาการศึกษาทางเลือกจึงขอเรียกร้องต่อกระทรวงศึกษาธิการ

1. ให้กระทรวงศึกษาธิการยุติการดำเนินนโยบาย และการสั่งการให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเรียนร่วม เรียนรวม อันจะนำมาซึ่งการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก

2. ให้กระทรวงศึกษาธิการแสวงหาแนวทางอันหลากหลายในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก โดยระดมทรัพยากรทุกภาคส่วน ทดแทนการเรียนร่วม เรียนรวมอันจะนำมาซึ่งการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมตามมามากมาย

3. ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างตัวแทนกระทรวงศึกษาธิการ ตัวแทนเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ภูมิภาค องค์กรชุมชน และภาคประชาสังคมต่างๆ มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กโดยการบริหารจัดการแนวใหม่ แบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

ข้อเสนอดังกล่าวนี้ เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ภูมิภาค สภาการศึกษาทางเลือกเห็นว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นที่กระทรวงศึกษาฯสามารถดำเนินการในแนวทางที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552 -2560) โดยเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก สภาการศึกษาทางเลือกพร้อมที่จะร่วมแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างเต็มกำลัง

เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก 4 ภูมิภาค
สภาการศึกษาทางเลือก พร้อมด้วยสมาชิกกลุ่มการศึกษาทางเลือก 400 องค์กร

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พระสันตะปาปาเบเนดิกส์ที่ 16

Posted: 11 Feb 2013 04:23 AM PST

"ความแข็งแรงทางกายและใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ความแข็งแรงที่ลดถอยลงนั้นทำให้ข้าพเจ้าตระหนักถึงข้อจำกัดด้านความสามารถที่จะตอบสนองต่อความไว้วางใจจากสำนักวาติกัน"

ทรงกล่าวกับพระคาดินัล และทรงลาออกจากตำแหน่งพระสันตปาปาซึ่งจะมีผลในวันที่ 28 ก.พ. นี้

'เอไอ' แถลงวันต่อต้าน 'ทหารเด็ก' เรียกร้องคุมการเคลื่อนย้ายอาวุธ

Posted: 11 Feb 2013 04:04 AM PST

11 กุมภาพันธ์ 2556 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ เรื่อง การใช้ทหารเด็กและการผลักดันสนธิสัญญาการค้าอาวุธ เนื่องในวันต่อต้านการใช้ทหารเด็ก ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เผยมี 20 ประเทศที่ระบบการควบคุมการเคลื่อนย้ายอาวุธระหว่างประเทศที่อ่อนแอ ส่งผลให้ในประเทศเหล่านี้ยังมีการเกณฑ์และการใช้เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงอายุน้อยกว่า 18 ปีเพื่อเป็นทหารทำการรบในสงคราม ทั้งในฝ่ายติดอาวุธต่อต้านรัฐบาล และบางกรณีก็รวมถึงทหารของฝ่ายรัฐบาลเองด้ว

โดยไบรอัน วูด (Brian Wood) ผู้จัดการแผนกควบคุมอาวุธของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า จากการทำวิจัยภาคสนามในประเทศมาลีเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำให้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพบถึงความสยดสยองจากการใช้ทหารเด็ก เด็กเหล่านี้ได้ถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมรบในสงครามในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ทำหน้าที่สนับสนุนทั้งฝ่ายทหารของรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธ บางครั้งก็ทำงานอยู่ในแนวหน้า

"สนธิสัญญาซื้อขายอาวุธต้องกำหนดให้รัฐบาลป้องกันการเคลื่อนย้ายอาวุธที่อาจมีการนำไปใช้ก่อความรุนแรงต่อเด็ก รวมทั้งให้มีหลักการเพื่อป้องกันไม่ให้อาวุธเหล่านี้เคลื่อนย้ายไปสู่การครอบครองทั้งกองกำลังของรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง แต่ร่างฉบับปัจจุบันของสนธิสัญญาฉบับนี้ยังไม่เข้มงวดมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง" ผู้จัดการแผนกควบคุมอาวุธของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว 

ทั้งนี้ในถลงการณ์ยังได้ระบุข้อเรียกร้องว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกำลังกดดันให้มีการอุดช่องว่างเหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างเนื้อหาของสนธิสัญญาซื้อขายอาวุธกำหนดให้รัฐภาคีต้องป้องกันการเคลื่อนย้ายอาวุธในกรณีที่เชื่อว่าเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายและความรุนแรงกับเด็ก โดยเฉพาะการห้ามการเกณฑ์และการใช้ทหารเด็ก

0 0 0    

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แถลงการณ์
11 กุมภาพันธ์ 2556

การซื้อขายอาวุธระดับโลกส่งเสริมการใช้ทหารเด็ก

                การยุติการใช้ทหารเด็กในสงครามความขัดแย้ง เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญหลายประการที่รัฐต่าง ๆ จะต้องรับรองสนธิสัญญาซื้อขายอาวุธ (Arms Trade Treaty - ATT) ที่มีเนื้อหาเข้มงวด แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในโอกาสวันยุติการใช้ทหารเด็ก(International Day against the Use of Child Soldiers) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์

                ที่ประเทศมาลีและอีกเกือบ 20 ประเทศ ระบบการควบคุมการเคลื่อนย้ายอาวุธระหว่างประเทศที่อ่อนแอ ส่งผลให้ในประเทศเหล่านี้ยังมีการเกณฑ์และการใช้เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงอายุน้อยกว่า 18 ปีเพื่อเป็นทหารทำการรบในสงคราม ทั้งในฝ่ายติดอาวุธต่อต้านรัฐบาล และบางกรณีก็รวมถึงทหารของฝ่ายรัฐบาลเองด้วย

                ในระหว่างที่จะมีการเจรจารอบสุดท้ายเกี่ยวกับสนธิสัญญาซื้อขายอาวุธที่องค์การสหประชาชาติในเดือนหน้า แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลยังคงเรียกร้องให้ทุกรัฐให้ความเห็นชอบต่อร่างสนธิสัญญาที่มีเนื้อหาเข้มงวด เพื่อให้เกิดระเบียบที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ

                "จากการทำวิจัยภาคสนามในประเทศมาลีเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำให้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพบอีกครั้งถึงความสยดสยองจากการใช้ทหารเด็ก เด็กเหล่านี้ได้ถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมรบในสงครามในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ทำหน้าที่สนับสนุนทั้งฝ่ายทหารของรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธ บางครั้งก็ทำงานอยู่ในแนวหน้า" ไบรอัน วูด (Brian Wood) ผู้จัดการแผนกควบคุมอาวุธของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว 

                "สนธิสัญญาซื้อขายอาวุธต้องกำหนดให้รัฐบาลป้องกันการเคลื่อนย้ายอาวุธที่อาจมีการนำไปใช้ก่อความรุนแรงต่อเด็ก รวมทั้งให้มีหลักการเพื่อป้องกันไม่ให้อาวุธเหล่านี้เคลื่อนย้ายไปสู่การครอบครองทั้งกองกำลังของรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง แต่ร่างฉบับปัจจุบันของสนธิสัญญาฉบับนี้ยังไม่เข้มงวดมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง"

                รัฐส่วนใหญ่ในโลกต่อต้านการเกณฑ์และการใช้เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ของทั้งกองทัพของรัฐบาลหรือกลุ่มติดอาวุธเนื่องจากการที่ต้องเข้าไปสู้รบทำให้พวกเขาไม่มีโอกาสใช้ชีวิตแบบวัยเด็ก ทำให้อาจได้รับอันตรายร้ายแรง และได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางกายและใจ

                นอกจากโศกนาฏกรรมของการที่เด็กเหล่านี้ต้องกลายเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนเองแล้ว ทหารเด็กหลายคนยังถูกสังหาร ถูกทำร้ายจนพิการ หรือตกเป็นเหยื่อการข่มขืนและความรุนแรงทางเพศอื่น ๆ


สถานการณ์การใช้ทหารเด็กในปัจจุบัน
                นับแต่เดือนมกราคม 2554 มีรายงานข่าวว่ามีการใช้ทหารเด็กในอย่างน้อย 19 ประเทศ ทั้งนี้ตามรายงานของพันธมิตรองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อยุติการใช้ทหารเด็ก หรือ Child Soldiers International ซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นสมาชิกด้วย

                ในบรรดาประเทศเหล่านี้ได้แก่ มาลี ซึ่งในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาตัวแทนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้สัมภาษณ์ประจักษ์พยาน รวมทั้งตัวเด็ก ๆ ที่ถูกเกณฑ์เป็นทหารให้กับกลุ่มติดอาวุธมุสลิม ที่อยู่ระหว่างการสู้รบกับกองกำลังรัฐบาลมาลีและรัฐบาลฝรั่งเศสทางตอนเหนือของประเทศ 
                ที่เมืองเดียบาลี (Diabaly) ประมาณ 400 กม.ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบามาโก (Bamako) เมืองหลวงของมาลีมีผู้ให้ข้อมูลหลายคนรวมทั้งตัวรองนายกเทศมนตรีที่ระบุว่า พวกเขาเห็นเด็กอายุระหว่าง 10-17 ปีร่วมสู้รบให้กับกลุ่มติดอาวุธมุสลิม  
                "เด็กเหล่านี้ต้องแบกปืนยาว มีอยู่คนหนึ่งตัวเล็กมาก และต้องแบกปืนลากไปกับพื้นในบางครั้ง" ประจักษ์พยานคนหนึ่งกล่าว 
                ด้านใต้ลงมาที่เมืองซีกัว (Ségou) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้พบกับทหารเด็กสองคนที่ถูกจับตัวมา หนึ่งในสองคนแสดงอาการทางจิต

                เพื่อนของเขาซึ่งมีอายุ 16 ปีบอกว่า พวกเขาถูกจับและส่งตัวให้กับทางการมาลี หลังจากทหารกองทัพฝรั่งเศสและมาลีเข้ายึดครองกรุงเดียบาลีได้อีกครั้งเมื่อปลายเดือนมกราคม

                เขาเล่าให้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลฟังเกี่ยวกับการเกณฑ์บังคับและการฝึกให้เป็นทหารสำหรับกลุ่มติดอาวุธมุสลิม

                "ผมเคยเรียนหนังสือกับนักเรียนคนอื่นอีก 23 คน เรามีครูสอนคัมภีร์อัลกุรอ่าน เมื่อสองเดือนที่แล้ว หลานชายของคุณครูขายพวกเราให้กับกลุ่มติดอาวุธมุสลิม พวกเราพร้อมกับเด็กอายุน้อยคนอื่นอีก 14 คนต้องแบกอาวุธปืน ในตอนแรก พวกเขาขอให้ผมช่วยงานในครัว เราต้องทำกับข้าวในโบสถ์ของชาวคริสต์ที่ถูกกลุ่มมุสลิมยึดครอง ทหารฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทุบตีเรา (โดยใช้เข็มขัดยาง) ในระหว่างการเรียนคัมภีร์อัลกุรอ่าน เพราะว่า......พวกเขาต้องการให้เราอ่านออกเสียงภาษาอาหรับเหมือนพวกเขา

                "พวกเขาฝึกให้เรายิง โดยเล็งเป้าที่หัวใจหรือเท้า ก่อนการสู้รบจริง เราต้องกินข้าวผสมกับแป้งสีขาว และมีน้ำซอสที่มีแป้งสีแดง พวกเขายังฉีดยาเราด้วย ผมโดนฉีดสามเข็ม หลังจากฉีดยาและกินข้าวที่ผสมด้วยแป้งเหล่านี้ ผมรู้สึกตัวเองมีพละกำลังมาก ผมพร้อมที่จะทำทุกอย่างเพื่อรับใช้เจ้านายของผม ผมรู้สึกว่าศัตรูเป็นเหมือนกับสุนัข ในหัวผมมีแต่ความคิดที่จะยิงพวกเขาให้ตาย"

                เด็กชายคนนี้เล่าให้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลฟังว่า ทหารเด็กสี่คนถูกสังหารในระหว่างการสู้รบเพื่อยึดครองกรุงเดียบาลีจากการครอบครองของกลุ่มติดอาวุธมุสลิม โดยกองกำลังของรัฐบาลมาลีและฝรั่งเศสสามารถยึดครองกรุงเดียบาลีได้เมื่อประมาณวันที่20 และ 21 มกราคม

                หน่วยงานเรามีพยานหลักฐานว่ากลุ่มทหารบ้านที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมาลีเอง ก็มีส่วนร่วมในการใช้ทหารเด็กก่อนหน้านี้ แต่ในปัจจุบันไม่มีข้อมูลว่ากลุ่มทหารบ้านเหล่านี้ใช้ทหารเด็กสู้รบในแนวหน้า 
                ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังสามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้หรือการกล่าวหาว่ามีการใช้ทหารเด็กในประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ อย่างเช่น สาธารณรัฐแอฟริกากลางชาด, ไอเวอร์รีโค้สต์, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกศรีลังกาโซมาเลีย, และ เยเมน 
 

สนธิสัญญาซื้อขายอาวุธจะช่วยแก้ปัญหาทหารเด็กอย่างไร 
                ประเทศต่าง ๆ ประมาณ 150 ประเทศรวมทั้งมาลี เห็นชอบต่อข้อห้ามการใช้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีในการขัดกันด้วยอาวุธ ประเทศเหล่านี้ได้ลงนามในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child) โดยการเกณฑ์และการใช้ทหารเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีในสงครามที่สู้รบอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม

                เนื้อหาของสนธิสัญญาซื้อขายอาวุธที่เข้มงวดมากขึ้น จะส่งผลให้ยุติการเกณฑ์และบังคับใช้ทหารเด็ก ทั้งนี้โดยการหยุดยั้งการเคลื่อนย้ายอาวุธที่ถูกใช้เพื่อละเมิดสิทธิมนุษยชนไปสู่การครอบครองทั้งของรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธ

                ร่างฉบับปัจจุบันของสนธิสัญญาซื้อขายอาวุธมีเนื้อหาการควบคุมที่ค่อนข้างอ่อนแอ ในแง่การป้องกันการเคลื่อนย้ายอาวุธให้กับรัฐหรือกลุ่มที่มีการใช้ทหารเด็ก เนื้อหาฉบับร่างที่กำหนดให้ปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอาจไม่เป็นผล เนื่องจากในสนธิสัญญากำหนดกรอบป้องกันความรุนแรงต่อเด็ก โดยเพียงแต่บังคับให้รัฐ "พิจารณาใช้มาตรการเท่าที่เป็นไปได้" และหลักการเพื่อป้องกันการส่งถ่ายอาวุธยังคงอ่อนแอ อย่างเช่นไม่ครอบคลุมถึงอาวุธปืนและเครื่องกระสุนอื่น ๆ

                แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกำลังกดดันให้มีการอุดช่องว่างเหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างเนื้อหาของสนธิสัญญาซื้อขายอาวุธกำหนดให้รัฐภาคีต้องป้องกันการเคลื่อนย้ายอาวุธในกรณีที่เชื่อว่าเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายและความรุนแรงกับเด็ก โดยเฉพาะการห้ามการเกณฑ์และการใช้ทหารเด็ก

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรณีพรรคขวาจัดอินเดียแจกมีดให้ผู้หญิงคุ้มครองตัวเอง และข้อถกเถียงเรื่อง "ตำรวจศีลธรรม"

Posted: 11 Feb 2013 03:56 AM PST

หลังจากกรณีหญิงอายุ 23 ปี ถูกรุมข่มขืนในอินเดียเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว ชาวอินเดียก็มีความตื่นตัวและมีการประท้วงเรียกร้องให้มีการจัดการเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้หญิงมากกว่านี้ ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มทางการเมืองกลุ่มหนึ่งใช้วิธีแจกมีดให้ผู้หญิงใช้เป็นอาวุธ

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2013 สำนักข่าว BBC ได้นำเสนอรายงานเรื่องกลุ่มนักกิจกรรมของพรรคการเมืองฝ่ายขวาจัด 'ชีฟ เซนา' แก้ปัญหาความปลอดภัยของผู้หญิงในอินเดียด้วยการแจกมีด โดยได้กล่าวถึงที่มาของพรรค พวกเขาติดอย่างไรถึงใช้วิธีการแจกมีด และประชาชนชาวอินเดียคิดเห็นอย่างไร

เหตุเกิดเมื่อปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาเมื่อมีการแจกมีด 21,000 เล่ม ให้กับกลุ่มชนชั้นกลางในนครมุมไบ ซึ่งมีผู้หญิงหลายพันคนเข้าแถวรอรับ หลายคนในนั้นได้แต่งกายในชุดซาลวาร์ กามีซ (shalwar kameezes) เพื่อเตรียมเดินขบวนเฉลิมฉลอง บาล ทักเกอเร ผู้ก่อตั้งพรรค 'ชีพ เสนา'

 

บทบาทการคุ้มครองสตรีของพรรคฝ่ายขวาและข้อถกเถียงเรื่อง 'ตำรวจศีลธรรม'

BBC เปิดเผยว่าพรรคชีพ เสนา จัดตั้งโดย บาล ทักเกอเร ผู้ที่เคยเป็นนักเขียนการ์ตูนล้อเลียนการเมืองมาก่อน และพรรคการเมืองนี้ก็มีส่วนในการผลักดันเรื่องสิทธิของชุมชนชาวมหาราษฏรี ที่อพยพมาจากทางตอนใต้ของอินเดีย ซึ่งแม้พรรคการเมืองนี้จะเป็นที่รู้จักส่วนน้อยนอกเมืองมุมไบ แต่ก็เป็นพรรคที่มีอำนาจมากในเมืองหลักด้านเศรษฐกิจของอินเดีย

พรรคชีพ เสนา เป็นกลุ่มฝ่ายขวาสายทหารที่ชื่นชอบประท้วงหยุดงานใหญ่แบบที่เรียกว่า  "เบินดฮ์" (Bandh) ในอินเดีย รวมถึงการใช้ความรุนแรง พวกเขาเคยได้รับเสียงข้างมากจนได้ปกครองรัฐมหาราษฏระในอินเดียมาในปี 1995 และเมื่อเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญจากกรณีการรุมข่มขืนในเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว (2012) พวกเขาก็หันมาสนใจประเด็นที่ถูกนำเสนอตามหน้าสื่อของอินเดียอย่างเรื่องสิทธิสตรี

ผู้สื่อข่าวอเล็ก เพรสตัน ของ BBC ได้สัมภาษณ์เด็กนักเรียนหญิงบนรถประจำทางซึ่งเดินทางจากเชนไนมายังมุมไบ เธอบอกว่าเธอไม่ชอบพรรคชีพ เสนา ในแง่การเมือง แต่ก็บอกว่า 'กองกำลังตำรวจศีลธรรม' ของพรรคนี้ทำให้ชีวิตของผู้หญิงในมุมไบดีขึ้น

BBC เปิดเผยว่าอัตราการล่วงละเมืดทางเพศในมุมไบมีน้อยกว่าเมืองใหญ่เมืองอื่นๆ ในอินเดีย และแม้ว่าในพรรคจะมีพวกหัวรั้นและพวกชอบใช้กำลัง แต่พรรคชีพ เสนา ก็มีประวัติดีในแง่การพยายามส่งเสริมผู้แทนที่เป็นสตรี เป็นผู้กล่าวต่อต้านวัฒนธรรมสตี (วัฒนธรรมเป่าหญิงม่ายทั้งเป็นพร้อมกับสามีที่เสียชีวิต) และต่อต้านการบังคับแต่งงาน

อเล็ก เพรสตัน ยังได้สัมภาษณ์ไวยบัพ ปุราณดาเร นักข่าวการเมืองผู้ติดตามบันทึกชีวิตของทักเกอเร เมื่อถามเรื่องบทบาทการคุ้มครองสตรีในเมืองปุราณดาเรก็บอกว่าพรรคชีพ เสนา กำลังเผชิญภาวะวิกฤติด้านตัวตน หลังจากที่พรรคสูญเสียอำนาจในปี 1999 พวกเขาก็พยายามหาประเด็นต่างๆ มาชู

"แล้วก็เกิดเหตุการข่มขืนบนรถประจำทางขึ้น ผู้คนก็หันมาสนใจเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้หญิง มีการประท้วงอยู่มาก และมีความรู้สึกว่ารัฐบาลยังคงทำอะไรได้ไม่มากพอ พรรคชีพ เสนา เลยคิดจะฉวยโอกาสในเรื่องนี้" ปุราณดาเรกล่าว

และเมื่อถามว่า 'กองกำลังตำรวจศีลธรรม' เข้าทำร้ายผู้หญิงที่สวมประโปรงสั้นและคู่รักที่เดินจับมือถือแขนกันจริงหรือไม่ ปุราณดาเรก็บอกว่า เป็นเรื่องจริงอยู่ส่วนหนึ่ง แต่พวกเขาก็ไม่ได้เป็นแค่อันธพาลโหดเหี้ยม

ปุราณดาเรเล่าอีกว่าชุมชนมหาราษฏรีมีผู้หญิงที่เข้มแข็งและมีใจรักอิสระ ในครอบครัวของชาวมหาราษฏรีมีผู้หญิงเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องต่างๆ และพรรคชีพ เสนา ก็ค้องทำงานเอาใจพวกเธอ

 

'การเรียกร้องความสนใจ เพื่อชี้ให้เห็นประเด็น'

ผู้สื่อข่าว BBC ยังได้มีโอกาสพูดคุยกับ ชเวตา ปารูคาร์ นักการเมืองดาวรุ่งของพรรคชีพ เสนา เธอบอกว่าการแจกมีดเป็นการ "การเรียกร้องความสนใจ เพื่อชี้ให้เห้นประเด็น"

ในช่องโทรทัศน์ของอินเดียเย็นวันที่มีการแจกมีด ผู้นำท้องถิ่นของพรรคก็พยายามกล่าวปกป้องการติดอาวุธให้กับสตรีในเมืองโดยอ้างว่า "บาล ทักเกอเร เคยบอกว่าผู้หญิงควรพกมีดในกระเป๋ามากกว่าลิปสติก" และกล่าวอีกว่า หากรัฐบาลไม่สามารถสร้างความปลอดภัยให้กับผู้หญิงได้พวกเราจึงต้องแจกจ่ายมีดเพื่อให้เสริมกำลังให้กับพวกเธอเอง

มีดที่แจกให้กับผู้หญิงในกลางเมืองมุมไบมีรูปห้อยอยู่ที่ปลายด้ามจับ เป็นรูปของบาล ทักเกอเร กำลังยิ้ม

 

เรียบเรียงจาก

Shiv Sena knives: At the sharp end of Indian politics, BBC, 10-02-2013 http://www.bbc.co.uk/news/magazine-21384169

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: เสรีภาพกับความจริงในสังคม ‘อปกติ’

Posted: 11 Feb 2013 03:49 AM PST

บทความ 'มนุษยภาพ' ของกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ 'ศรีบูรพา' ปัญญาชนฝ่ายก้าวหน้า นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความยุติธรรม ยังมีเนื้อหาสาระที่สื่อมวลชน นักวิชาการ หรือชาวพุทธปัจจุบันพึงไตร่ตรอง

ความจริงและความซื่อตรงจะต้องไปด้วยกันเสมอ ความซื่อตรงคือความจริง และความจริงก็คือความซื่อตรง...ถ้าเราไม่สู้หน้ากับความจริงนั่นแปลว่า เราได้หันหน้าเข้าหาความหลอกลวงหรือความโกหกตอแหล...แม้ในทางพุทธศาสนาก็สอนให้มนุษย์สู้หน้ากับความจริง ให้เชื่อด้วยมีใจศรัทธา มิใช่ให้เชื่อด้วยความงมงาย หรือหลอกลวง หรือข่มขี่บังคับ การโกหกตอแหลนั่นเทียวที่เป็นบ่อเกิดของความปั่นป่วนจลาจล และนำความเดือดร้อนมาสู่มนุษยชาติ...

นี่เป็นข้อเขียนเมื่อร่วม 80 ปีมาแล้ว แต่ ณ ปัจจุบันเรายังไม่อาจข้ามพ้นยุคสมัยที่สื่อมวลชน ปัญญาชน นักวิชาการต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง คำสอนของพุทธศาสนาตามนัยอริยสัจที่ว่า "จะแก้ปัญหาใดๆได้ต้องรู้กระจ่างในความจริงของปัญหา และสาเหตุของปัญหานั้นๆก่อน" ก็ไม่อาจนำมาปรับใช้กับการแก้ปัญหาสังคมการเมืองตามที่เป็นอยู่จริงได้เลย ตราบที่เราไม่มีเสรีภาพที่จะพูดความจริง ตราบที่สังคมยังมองความเห็นต่างเป็นความผิดบาป และยังยอมรับการมี 'นักโทษทางความคิด'

ความคิดที่ก้าวหน้าทั้งปวงในโลกนี้ต่างสรรเสริญเสรีภาพและความจริง การใช้อำนาจเผด็จการใดๆปิดกั้นเสรีภาพเป็นการไม่ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ หรือกดความเป็นมนุษย์ให้ต่ำลง ดังที่จอห์น สจ๊วต มิลล์ เขียนไว้ว่า

"ระบบอำนาจเด็ดขาดที่เลว ยังดีกว่าระบบอำนาจเด็ดขาดที่ดี เพราะระบบอำนาจเด็จขาดย่อมทำให้ (ประชาชน) ต่ำต้อยเสมอ และถ้าหากระบบนี้มีเมตตาธรรมแล้ว ประชาชนก็มักที่จะยอมรับเอาความต่ำต้อยของตนเข้าไว้" (ฮาร์มอน,เอ็ม.เจ.ความคิดทางการเมืองจากเปลโตถึงปัจจุบัน แปลโดยเสน่ห์ จามริก 2555, 537)

นี่หมายความว่า แม้ระบบเผด็จการจะอ้างเมตตาธรรมหรือคุณธรรมความดีใดๆ แต่เนื้อหาของความเป็นเผด็จการ คือการบีบบังคับหรือครอบงำทางความคิดให้ประชาชนยอมรับความต่ำต้อยของตนเอง ประชาชนไม่มีโอกาสพัฒนาศักยภาพทางปัญญาของตนเองในการแสวงหาความจริง หรือมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคมให้ก้าวหน้าได้ เพราะไม่มีเสรีภาพแสดงความคิดเห็น

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมีความสำคัญอย่างไร มิลล์เขียนไว้ใน On Liberty อย่างน่าคิดว่า "ถ้าในบรรดามนุษยชาติทั้งหมด มีเพียงคนเดียวที่มีความคิดเห็นตรงข้ามกับคนทั้งหมด มนุษย์ทั้งหมดก็ไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะปิดปากคนเพียงคนเดียวนั้นได้มากไปว่าที่เขาคนเดียวนั้นจะมีเหตุผลอันสมควรที่จะปิดปากคนทั้งหมดได้ หากเขาผู้นั้นมีอำนาจ"

ทำไมมิลล์จึงคิดเช่นนั้น ก็เพราะว่าการปิดปากความคิดเห็นหนึ่งย่อมเท่ากับเป็นการปล้นมนุษยชาติ ถ้าหากความคิดเห็นนั้นถูกต้อง ย่อมสูญเสียโอกาสที่คนทั้งหมดจะได้รู้ แต่หากความคิดเห็นนั้นผิดคนทั่วไปก็ยังสูญเสียโอกาสที่จะได้เห็นความจริงที่เชื่ออยู่เดิมชัดเจนขึ้น มีชีวิตชีวาขึ้น ความเห็นต่างแม้เพียงความเห็นเดียวก็มีค่าต่อการเปลี่ยนความเห็นผิดของคนทั้งหมดให้ถูกต้องได้ และหากความเห็นต่างนั้นผิดก็ยังมีประโยชน์อยู่ดี เพราะเท่ากับความเชื่อหลักของสังคมได้ถูกท้าทายและปกป้องความถูกต้องของตัวมันเองอย่างมีชีวิตชีวา ฉะนั้น จึงไม่ควรปิดปากความเห็นต่างไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ตราบที่ความเห็นต่างนั้นไม่ละเมิดเสรีภาพในชีวิตร่างกายของคนอื่นๆ

แต่ขณะที่วิคตอเรีย นูแลนด์ โฆษกรัฐบาลสหรัฐกล่าวถึงกรณีการตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขว่า "แน่นอนว่าไม่มีใครควรถูกจำคุกจากการแสดงความคิดเห็นอย่างสันติ และเราได้กระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในทางส่วนตัวและสาธารณะให้ทางการไทยรับรองว่าการแสดงออกไม่ใช่อาชญากรรม และพิทักษ์เสรีภาพในการแสดงออกตามพันธะกรณีของไทยในทางสากล" (ประชาไท) ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อมรา พงศาพิชญ์ กลับออกมาพูดอย่างไม่รู้สึกรู้สากับการมีนักโทษทางความคิดในประเทศนี้ว่า "สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการชุมนุม ประเทศเรามีเหลือเฟือจนทะเลาะกันเอง แต่บางประเทศยังไม่มี" (ประชาไท)

สังคมไทยที่มักอ้างศีลธรรมของพุทธศาสนาเข้าไปอธิบาย ตัดสินการกระทำ การแสดงออกของปัจเจกบุคคล ตลอดถึงอ้างในทางสังคมการเมืองเพื่อตัดสินว่านักการเมืองเป็นเทวทัต เป็นชูชก เป็นเปรต เดรัจฉาน ฯลฯ แต่เชิดชูเจ้าสูงส่งไร้ที่ตินั้น เป็นสังคมที่ไม่มีศีลธรรมตามหลักพุทธศาสนาเลย เพราะ 'ศีล' แปลว่า 'ปกติ' การใช้อคติด่านักการเมืองเลวแต่ชูเจ้าดีอย่างเดียวเป็นเรื่อง 'อปกติ' การมีนักโทษทางความคิดเป็นเรื่อง 'อปกติ'

ที่ซับซ้อนกว่านั้นคือ ความไม่รู้สึกรู้สาต่ออคติทางศีลธรรม หรือการใช้ 'สองมาตรฐานทางศีลธรรม' ระหว่างนักการเมืองกับเจ้า และการมีนักโทษทางความคิด นี่คือภาวะอปกติซ้อนอปกติ หมายถึงความไร้ศีลธรรมซ้อนความไร้ศีลธรรมเป็นชั้นๆ ในภาวะเช่นนี้คนเล็กคนน้อยคือเหยื่อ แค่นับจากกุหลาบ สายประดิษฐ์ มาถึงบัดนี้เหยื่อที่ติดคุก หนีออกนอกประเทศ ถูกฆ่าตายมีจำนวนนับไม่ถ้วนแล้วไม่ใช่หรือ

แล้วเราก็เทศนากันต่อไปทั้งพระสงฆ์ นักวิชาการพุทธศาสนา ผู้รู้สารพัด ว่า เมืองไทยนี้ดี มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา ศาสนาแห่งการแสวงหาสัจจะ เสรีภาพ ความยุติธรรม ศาสนาที่สอนให้คนไทยมีเมตตาธรรม เสียสละ มองสรรพสัตว์เป็นเพื่อนร่วมทุกข์

ที่ผมเขียนแบบนี้เหมือนเรียกร้องกับพระ กับนักวิชาการพุทธมากไป แต่ที่จริงผมคิดว่ามันเป็น 'สามัญสำนึก' มากกว่า บ้านเมืองผิดปกติมากขนาดนี้ ชาวบ้านธรรมดาๆ ที่เขาไม่เคยอวดอ้างคุณค่าสูงส่งของพุทธศาสนาดังพระและนักวิชาการพุทธ เขายัง 'ตื่นรู้' มองเห็นความผิดปกติอย่างยิ่งในบ้านเมืองนี้ แต่พระสงฆ์นักวิชาการพุทธใหญ่ๆ กลับเงียบกริบอย่าง 'ผิดปกติ' มาก แถมยังแสดงโวหารทำนองว่าคนที่ออกมาพูดเรื่องนี้มากๆ นั้นคือพวกอยากดัง

ไม่ละอายต่อจิตวิญญาณแบบศรีบูรพาบ้างหรือครับ!

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น