โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com

Link to ประชาไท

เวเนซุเอลาในสื่อไทย : ดราม่า vs ความจริง (ภาค 2)

Posted: 31 Aug 2018 09:51 AM PDT

หลังการเผยแพร่บทความเรื่อง"เวเนซุเอลาในสื่อไทย : ดราม่า vs ความจริง" [1] มีผู้อ่านส่งดรามาเพิ่มเติมมาพร้อมคำถาม บางประเด็นมีประโยชน์ฉันจึงนำมาเรียบเรียงในบทความนี้

 

1. สหรัฐอเมริกามีบทบาทอย่างไร?

ดราม่า 1.1 : ไอ้กันมันวางยา ทำสงครามเศรษฐกิจ

ความจริง 1.1 : รัฐบาลชาเวซและรัฐบาลมาดุโรเลือกอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเอง

เอกวาดอร์ก็ส่งออกน้ำมันแต่ไม่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเหมือนเวเนซุเอลา นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของเวเนซุเอลาทำให้เกิดการเก็งกำไรใน"ตลาดมืด" ลุกลามจากตลาดเงินตราไปถึงตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ภาวะสินค้าขาดแคลน(แม้กระทั่งกระดาษชำระ)ทำให้พ่อค้าไปซื้อสินค้าที่ชายแดนโคลอมเบียแล้วนำมาขายต่อด้วยราคาที่สูงกว่าราคาสินค้าที่รัฐบาลกำหนด

ที่ตลาดชายแดนพ่อค้าจากเวเนซุเอลาที่ไม่มีเงินดอลลาร์ใช้เงินโบลิวาร์จ่ายแล้วได้เงินทอนเป็นเงินเปโซของโคลอมเบีย (คล้ายการที่คนไทยไปซื้อของที่ชายแดนลาวด้วยเงินบาทแล้วได้เงินทอนเป็นเงินกีบ) ส่วน"อัตราโบลิวาร์ต่อดอลลาร์"นั้นคำนวณด้วยการคูณ"อัตราโบลิวาร์ต่อเปโซ"ด้วย"อัตราเปโซต่อดอลลาร์" พ่อค้าชาวโคลอมเบียรับเงินโบลิวาร์ไปซื้ออะไร? สินค้าราคาถูกจากเวเนซุเอลาที่พ่อค้าโคลอมเบียต้องการคือน้ำมัน ยิ่งเงินทอนน้อยลงก็ยิ่งแปลว่าพ่อค้าชาวโคลอมเบียอยากได้เงินดอลลาร์มากกว่าเงินโบลิวาร์ เงินโบลิวาร์ก็ยิ่งอ่อนลง พ่อค้าชาวเวเนซุเอลาก็เอาไปขายต่อด้วยราคาสูงขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นภาวะอภิมหาเงินเฟ้อ รัฐบาลเวเนซุเอลาปิดชายแดนโคลอมเบียได้เพียงปีเดียวก็ต้องเปิดใหม่นื่องจากภาวะสินค้าขาดแคลน ชายแดนโคลอมเบียกลายเป็นช่องทางอพยพออกจากโคลอมเบียด้วย

คำว่า"ตลาดมืด"มีนัยยะลึกลับ แต่การให้หรือรับเงินดอลลาร์หลายแบบไม่ได้ลึกลับ สมมุติว่าคนเวเนซุเอลาที่ทำงานที่สหรัฐฯเดินทางไปเวเนซุเอลา ไม่เอาเงินโบลิวาร์ไปและให้พี่น้องออกค่าใช้จ่าย เมื่อพี่น้องมาสหรัฐฯก็ไม่เอาเงินดอลลาร์มาแล้วให้เขาออกค่าใช้จ่าย กรณีนี้ก็เป็น"ตลาดมืด" ถ้าเขาให้เงินดอลลาร์กับพี่น้องจะผิดกฎหมายเวเนซุเอลา แต่ยากที่รัฐบาลเวเนซุเอลาจะห้ามได้เพราะไม่สามารถบังคับให้ผู้โดยสารขาเข้าทุกคนเปลือยกายเพื่อตรวจหาเงินสด

นักเศรษฐศาสตร์นอกเวเนซุเอลาหลายคนเตือนแล้วว่ารัฐบาลควรเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน คนเตือนก็โดนเรียกว่า"พวกไอ้กัน" เว็บไซต์ที่เผยแพร่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดก็โดนเรียกว่า"พวกไอ้กัน"เช่นกัน รัฐบาลพยายามปิดเว็บไซต์ไปมากหมายหลายเว็บ เหลือเว็บสุดท้ายที่ปิดไม่ได้ เจ้าของเว็บเป็นอดีตทหารชาวเวเนซุเอลาที่ลี้ภัยมาสหรัฐฯ เป็นไปได้ไหมว่าผู้สนับสนุนเขาคือ"ไอ้กัน" [2]

ตราบใดที่ชายผู้นี้ไม่โดนข้อหาฟอกเงินเจ้าหน้าที่ก็ขอดูบัญชีโอนเงินไม่ได้ อาจเป็น"พวกไอ้กัน"ก็ได้ อาจเป็นเศรษฐีเวเนซุเอลาที่อยู่ในสหรัฐฯ มีเศรษฐีเวเนซุเอลาในสหรัฐฯมานานตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น นักเบสบอลเมเจอร์ลีก (ปัจจุบันมีเกือบ 100 คน) นักเบสบอลหลายคนเรียกร้องทางโซเชียลมีเดียให้สหประชาชาติแทรกแซงการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เวเนซุเอลา [3] หรืออาจเป็นเศรษฐีสัญชาติใดก็ได้ที่อยากได้บ่อน้ำมันที่เวเนซุเอลา ยากจะสรุปว่าใครสนับสนุน

 

ดราม่า 1.2 : ไอ้กันมันวางยา หลอกให้กู้จนหนี้ท่วมหัว

ความจริง 1.2 : ยังไม่มีหลักฐานว่าอดีตรัฐมนตรีคลังเวเนซุเอลาโดนเจ้าหนี้อเมริกันล่อลวง

เจ้าหนี้ต่างชาติมีทั้งสถาบันการเงินและบริษัทน้ำมันต่างชาติ มีสารพัดสัญชาติ อเมริกัน จีน รัสเซีย แคนาดา บราซิล ฯลฯ ส่วนเจ้าหนี้ในประเทศนั้นรัฐบาลเวเนซุเอลาขายพันธบัตรรัฐบาลสกุลเงินดอลลาร์ให้สถาบันการเงินและประชาชน ทำไมไม่ออกพันธบัตรสกุลเงินโบลิวาร์ขายในประเทศ? การเอาเงินสกุลดอลลาร์มาล่อก็คือการบอกประชาชนว่าเงินสกุลโบลิวาร์ไม่มั่นคงเท่าดอลลาร์

เป็นไปได้ว่าเจ้าหนี้ต่างชาติบางรายเชื้อเชิญให้รัฐบาลเวเนซุเอลากู้มากๆเพื่อล่อเข้า"กับดักหนี้" (Debt trap)เพราะอยากยึดทรัพย์สินในภายหลัง อาทิ หุ้นในบริษัทน้ำมันที่สหรัฐฯและยุโรป แท่นขุดเจาะน้ำมันและบ่อน้ำมันสำรองในเวเนซุเอลา แต่รัฐบาลเวเนซุเอลาเคยเผชิญวิกฤติหนี้สาธารณะในปี 2525 ไม่รู้จริงๆหรือว่าหนี้ระดับไหนไม่เกินกำลังการใช้หนี้? โดนหลอกอย่างไร้เดียงสามานานเกิน 10 ปีหรือ?

คนหนึ่งที่ควรรู้คำตอบคือชายชื่อ"อเลฮานโดร อันดราเด" (Alejandro Andrade) เขาเป็นอดีตรัฐมนตรีคลังคนหนึ่งของรัฐบาลชาเวซและออกนอกประเทศไปแล้ว สมาพันธ์สื่อมวลชนสืบสวนนานาชาติ (ICIJ) รายงานว่าเขาใช้บัญชีธนาคารที่สวิตเซอร์แลนด์ทำธุรกรรมในนามของรัฐบาล [4] หนังสือพิมพ์ไมอามี่เฮอร์ราลด์รายงานว่าเขาใช้ชีวิตอย่างมหาเศรษฐีกับครอบครัวที่มลรัฐฟลอริดาที่สหรัฐฯ และกำลังโดนสอบสวนด้วยข้อหาฟอกเงิน [5]

เป็นไปได้หรือไม่ว่าอดีตรัฐมนตรีคลังคนนี้หักหลังชาเวซและทำงานให้"ไอ้กัน"? การที่เขามีบ้านที่สหรัฐฯก็ไม่ได้หมายความว่าเขาใช้หนังสือเดินทางอเมริกัน เขาอาจมีหนังสือเดินทางชาติอื่นที่เข้าออกสหรํฐฯในระยะสั้นได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า ต้องติดตามต่อไปว่า"ไอ้กัน"จะเอาผิดเขาด้วยข้อหาฟอกเงินในอนาคตหรือไม่? ธนาคารที่สวิตเซอร์แลนด์จะโดนข้อหาฟอกเงินด้วยหรือไม่? "ไอ้สวิส"มีบทบาทอย่างไร?

สวิตเซอร์แลนด์ลอยตัวอยู่เหนือประเทศอื่นด้วยสถานะเป็นกลาง ทำให้ธนาคารสวิสได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายความลับทางการเงิน สวิตเซอร์แลนด์จึงกลายเป็นทางผ่านหรือปลายทางของเงินจากผู้มีอำนาจทั่วโลก สวิตเซอร์แลนด์ปฏิเสธไม่ร่วมเป็นสมาชิกสหประชาชาติตมาหลายทศวรรษ แต่ก็โดนกดดันจนยอมเป็นสมาชิกเมื่อ 16 ปีที่แล้ว หลังจากนั้นก็บังคับใช้กฎหมายฟอกเงินกับธนาคารสวิสได้ง่ายขึ้นจนธนาคารสวิสบางแห่งปิดกิจการไป

2. นโยบายประชานิยมคืออะไรกันแน่?

นโยบายประชานิยมคือนโยบายที่ทำให้ประชาชนชื่นชมจนเลือกนักการเมืองจากพรรคการเมืองที่นำเสนอนโยบายหรือดำเนินนโยบายแล้ว นโยบายประชานิยมมักโดนวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีผลเชิงบวกในระยะสั้นแต่มีผลเชิงลบในระยะยาว เช่น ไม่ยั่งยืนและอาจทำให้เกิดวิกฤตหนี้สาธารณะ ทำให้ประชาชนงอมืองอเท้า ฯลฯ ข้อวิจารณ์ดังกล่าวอาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ นโยบายประชานิยมอาจมีผลเชิงบวกในระยะยาวก็ได้หรือไม่มีผลระยะยาวก็ได้ ยกตัวอย่าง

ก) นโยบายสวัสดิการรักษาพยาบาลเป็นการรักษาสุขภาพและยกระดับคุณภาพแรงงาน เป็นการลงทุนที่นำไปสู่การเพิ่มผลผลิตในระยะยาว แนวคิดนี้สร้างความชอบธรรมให้สวัสดิการรักษาพยาบาลในประเทศต่างๆ

ข) นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ขี่จักรยานไปทำงาน [6] ถ้ารัฐมนตรีทุกคนและนายกรัฐมนตรีในอนาคตเลียนแบบก็จะช่วยลดงบประมาณด้านยานพาหนะในระยะยาว

ค) ผู้ชนะเลือกตั้งประธานาบดีเม็กซิโกขอลดเงินเดือนตัวเอง 60% [7] ถ้ารัฐมนตรีทุกคนและประธานาธิบดีในอนาคตเลียนแบบก็จะช่วยลดงบประมาณในระยะยาว

 

3. วิกฤตเวเนซุเอลาเป็นความล้มเหลวของสังคมนิยมหรือทุนนิยม?

วิกฤตเวเนซุเอลาเป็นความล้มเหลวของการผสมสังคมนิยมกับทุนนิยมด้วยสูตรของเวเนซุเอลา ประเทศต่างๆปัจจุบันผสมสังคมนิยมกับทุนนิยมด้วยสูตรต่างๆ สาระสำคัญอยู่ที่โครงสร้างกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน และกลไกการกระจายทรัพย์สินและแรงงาน

แม้แต่สหรัฐฯก็มีส่วนผสมที่เป็นสังคมนิยมไม่ได้เป็นทุนนิยม 100% เรียกกันสั้นๆว่าประเทศทุนนิยมหมายความว่ามีความเป็นทุนนิยมมากกว่าหลายประเทศ เอกชนที่สหรัฐฯไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ทุกอย่าง ยังมีทรัพย์สินของรัฐ อาทิ สนามบิน ท่าเรือ รถไฟฟ้า ทางด่วน โรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัย คอนโดมีเนียม สวนสาธารณะ สนามกอล์ฟ ป่าสงวน อุทยาน ฯลฯ คำว่า"ของรัฐ"อาจเป็นของเมือง ของมลรัฐ หรือของรัฐบาลกลางก็ได้ เพราะสหรัฐฯบริหารราชการแบบกระจายอำนาจ ยกตัวอย่าง สนามบินลอสแองเจลิสเป็นของเมืองลอสแองเจลิส สนามบินเจเอฟเคเป็นของเมืองนิวยอร์ค สนามบินโฮโนลูลูเป็นของมลรัฐฮาวาย สนามบินฐานทัพเป็นของรัฐบาลกลาง

ส่วนกลไกการกระจายทรัพย์สินและแรงงานในภาคเอกชนใช้กลไกตลาด แต่บางตลาดก็มีการควบคุมราคาและให้เงินอุดหนุน เช่น รัฐกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำ รัฐอุดหนุนเกษตรกรบางประเภท บางเขตมีการควบคุมค่าเช่าบ้านและให้เงินอุดหนุนค่าเช่าบ้าน คอนโดมีเนียมบางยูนิตในบางเมืองโดนควบคุมเพดานราคาเพื่อขายให้ผู้มีรายได้น้อย ฯลฯ ในภาครัฐใช้กลไกผสมระหว่างการกำหนดราคาโดยรัฐและกลไกตลาด ค่าแรงในภาครัฐมีทั้งแบบกำหนดเป็นขั้นและแบบต่อรองสัญญากันเป็นรายบุคคล

ไม่มีประเทศทุนนิยม 100% แล้วมีประเทศสังคมนิยม 100% ไหม? ที่จริงรัฐบาลเกาหลีเหนือและคิวบาอนุญาตให้มีกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินเอกชนบางอย่าง เกาหลีเหนือให้กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินแก่บริษัทเอกชนจากต่างชาติในเขตเศรษฐกิจพิเศษ [8] ภูฎานก็เช่นกัน [9] ส่วนคิวบาอนุญาตให้บางอาชีพมีรถยนต์ได้เช่น แพทย์และนักการทูต [10] ผู้อ่านบางคนอาจแย้งว่าในอนาคตจะมีสังคมนิยม 100% นั่นก็เป็นเรื่องของอนาคตและผู้อ่านก็มีสิทธิเชื่อเช่นนั้น

 

หมายเหตุ : ผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนทัศนะได้ที่ https://twitter.com/kandainthai

 

 อ้างอิง  [1] กานดา นาคน้อย (2018). เวเนซุเอลาในสื่อไทย : ดราม่า vs ความจริง, https://prachatai.com/journal/2018/08/78449  [2] Anatoly Kurmanaev (2016). Venezuela's nemesis is a hardware salesman at a home depot in Alabama, The Wall Street Journal.  https://www.wsj.com/articles/venezuelas-nemesis-is-a-screw-salesman-at-a-home-depot-in-alabama-1479672919  [3] Ted Berg (2017). Venezuelan MLB players speak out about country's humanitarian crisis, USA Today  https://ftw.usatoday.com/2017/05/mlb-players-venezuela-crisis-cervelli-miguel-cabrera-salvador-perez-speak-up  [4] International Consortium of Investigative Journalists (2015). Swiss Leaks: HSBC Files.  https://projects.icij.org/swiss-leaks/people/alejandro-andrade  [5] Jay Weaver and Antonio Maria Delgado (2018).  Ex-Venezuelan Treasurer close to Chavez is target of Florida money-laundering probe, Miami Herald. https://www.miamiherald.com/news/local/article207503694.html  [6] Henry Robertshaw (2017). Dutch PM forms new government; rides his bike to the palace to tell the King, Cycling Weekly.  https://www.cyclingweekly.com/news/latest-news/dutch-pm-forms-new-government-rides-his-bike-to-the-palace-to-tell-the-king-and-even-locks-it-up-355466  [7] Mattha Busby (2018). Incoming Mexican president takes 60% pay cut in governmenta austerity push, The Independent.  https://www.independent.co.uk/news/world/americas/mexico-president-elect-lopez-obrador-pay-cut-austerity-government-push-a8449186.html  [8] Eric Yong-Joong Lee (2003). The Special Economic Zones and North Korean Economic Reformation with a Viewpoint of International Law, Fordham International Law Journal  https://ir.lawnet.fordham.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1937&context=ilj   [9] Tshering Dorji (2015). Indian investors explore Bhutan's potential, Kuensel Online.  http://www.kuenselonline.com/indian-investors-explore-bhutans-potential/   [10] Polly Mosendz (2014). Cuba Finally Makes It Easier to Buy Cars, but No One Can Afford Them, The Atlantic.  https://www.theatlantic.com/business/archive/2014/07/cuban-law-finally-makes-it-easier-to-buy-cars-but-no-one-can-afford-them/373764/  
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เฌอปราง – ดร.ป๋วย – เผด็จการ และ ประชาธิปไตย

Posted: 31 Aug 2018 09:29 AM PDT

จริงๆ ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่าผมไม่ได้มีความตั้งใจจะเขียนกระทู้นี้ขึ้นมา แต่ตัดสินใจเขียนเพราะคิดว่าต้องรับผิดชอบต่อการเขียนกระทู้สั้นๆ ก่อนหน้า (ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการ 'บ่นลอยลม' มากกว่าจะเป็น 'กระทู้') ซึ่งเป็นการตั้งคำถามต่อกรณีที่คุณเฌอปรางถูกดึงตัวไปทำงานรับใช้รัฐบาลเผด็จการ ในรายการ "เดินหน้าประเทศไทย วัยทีน" (หรือดาราคนดังคนอื่นๆ ที่ไปทำงานรับใช้รัฐบาลเผด็จการ – แต่ในที่นี้ผมขอยกแค่กรณีของคุณเฌอปรางขึ้นมาเพราะเห็นว่าเป็นกรณีที่มีคนพูดถึงกันเยอะ) ซึ่งผมคิดว่ามันมีประเด็นที่สมควรต้องนำมาอภิปรายต่อเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกระทู้ก่อนหน้าที่ผมเขียนไว้เมื่อคืน

ในกระทู้นี้ผมเตรียมลำดับของการอภิปรายเอาไว้ทั้งหมด 3 ขั้นใหญ่ๆ ว่าด้วย "กรณีเปรียบเทียบคุณเฌอปราง กับ ดร.ป๋วย",  "ภาพความเป็นไอดอลนักประชาธิปไตยของคุณเฌอปราง", "ปัญหาของปัญญาชนประชาธิปไตยในการอภิปรายถึงกรณีของคุณเฌอปราง"

ผมขอเริ่มต้นด้วยหัวข้อแรกตามลำดับ อันที่จริงผมเห็นข้อเขียนในการ "ชู" คุณเฌอปรางขึ้นมามีสถานะเป็นตัวแทน เป็นไอดอล (Idol – ใจจริงผมอยากใช้คำแปลไทยโดยตรงมากกว่าคำทับศัพท์ที่แปลว่า "เทวรูป" หรือ "รูปบูชา" อะไรทำนองนี้ด้วยซ้ำในกรณีนี้) ของคนรุ่นใหม่ที่มีลักษณะ "ก้าวหน้า" หรือ "โอนเอียงมาทางฝ่ายประชาธิปไตย" มาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งภาพนี้ถูกชูและผลิตซ้ำต่อๆ กันมาในหมู่แฟนคลับของคุณเฌอปราง ที่เรียกว่า "โอตะ" ซึ่งการชูภาพอะไรแบบนี้เป็นเรื่องที่มีปัญหาแน่ๆ และส่งผลต่อปัญหาข้อถกเถียงที่มีอยู่ในปัจจุบันด้วย ซึ่งผมจะยกไปอภิปรายในลำดับถัดไป

ทีนี้กลับมามองเฉพาะกรณีของกระทู้ของผมเมื่อวานที่ผมเสนอเรื่อง "ความเหมือนของคุณเฌอปรางกับกรณี อ.ป๋วย ที่ไปรับใช้สฤษดิ์" ผมต้องยกเรื่องนี้มาอภิปรายอีกอย่างละเอียดเพราะเห็นว่าในความเป็นจริงแล้วมันมีทั้ง "ความเหมือน" และ "ความต่าง" ของทั้งสองกรณีอยู่ ผมขอเท้าความไปถึงกรณีของ อ.ป๋วย สั้นๆ นิดเดียว คือกรณีอ.ป๋วยเนี่ยเคยเข้าไปรับตำแหน่งข้าราชการในช่วงยุคที่สฤษดิ์ซึ่งเป็นเผด็จการกำลังครองอำนาจอยู่ รวมถึงในช่วงที่สฤษดิ์มีการออกคำสั่งให้ประหารชีวิตคุณครอง จันดาวงศ์ และ ทองพันธุ์ สุทธิมาศ โดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา 17 เนี่ย อ.ป๋วยก็เป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าร่วมการประชุมเพื่อลงมติให้มีการสั่งประหารชีวิตคนด้วย ยังไม่นับรวมเรื่องอื่นๆ ที่เกิดในระหว่างที่สฤษดิ์กำลังครองอำนาจและ อ.ป๋วย ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของรัฐบาลเผด็จการ ทีนี้กลับมาสู่เรื่องที่ผมเสนอว่ามันเป็น "ความเหมือน" และ "ความต่าง" ของกรณีคุณเฌอปราง กับ อ.ป๋วย ผมตามอ่านข้อเขียนถึงกรณีคุณเฌอปรางอยู่นานตั้งแต่เมื่อวานก่อน แล้วก็พยายามจับการอ้างเหตุผลโต้แย้ง (argument) อยู่นานพอสมควร (แต่แน่นอนว่าการตามอ่านนี้ยังไม่ครอบคลุมข้อเขียนทั้งหมดแน่ๆ ) แต่เรื่องหนึ่งที่มีการยกขึ้นมาเป็นเรื่องหลักคือการให้เหตุผลว่า คุณเฌอปรางไม่มีอำนาจมากพอที่จะปฏิเสธคำเชื้อเชิญ (คำสั่ง) ของเผด็จการได้ ซึ่งเป็นกรณีที่อาจจะคล้ายกันกับเรื่องการอ้างว่า อ.ป๋วย นั้นจำเป็นต้องกลับมาทำงานทดแทนเงินภาษีแผ่นดิน อะไรทำนองนั้น ประเด็นสำคัญคือผมไม่คิดว่าคุณเฌอปราง "ในทางส่วนตัว" แล้วไม่สามารถปฏิเสธได้ (กรุณาดูที่ผมเน้นย้ำคำว่า "ในทางส่วนตัว" เพราะมันมีปัญหาอื่นตามมาอีกที่ผมจะอภิปรายในส่วนท้ายสุดของกระทู้นี้) ในกรณีร่วมสมัยกันผมขอยกกรณีตัวอย่างของคุณสฤณี อาชวานันทกุล ที่ประกาศไม่ยอมรับตำแหน่งที่รัฐบาลเผด็จการยื่นให้ แล้วก็ไม่ได้มีผลเสียหายอะไรตามมา คือเรื่องนี้ในทางหนึ่งต้องบอกว่าเป็นบรรดาแฟนคลับของคุณเฌอปรางเองที่ "กลัว" ไปเองแล้วสร้างความหวาดกลัวซ้ำๆ ในการกดเพดานความคิดของตัวเองลง (เช่นเดียวกันกับที่มีการสร้างความเชื่อในเรื่องกรณี 112 ว่าห้ามเสนอหรือห้ามแตะต้องมาตรา 112 ในช่วงหลังนี้ – แต่เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ อ.สมศักดิ์อภิปรายเอาไว้นานแล้ว และไม่มีความเกี่ยวข้องในที่นี้เพราะฉะนั้นถือว่าตกไป) กรณีของคุณสฤณีเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างยิ่งว่า "ในทางส่วนตัว" คุณเฌอปรางสามารถปฏิเสธคำเชิญนี้ได้โดยไม่มีผลเสียอะไรต่อตัวเองเลยสักนิด การให้เหตุผลโต้แย้งว่าถ้าปฏิเสธคำสั่งรัฐบาลเผด็จการแล้วจะมีอันตราย "ในเรื่องเล็กน้อย" เท่านี้เป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงอย่างยิ่ง

อันที่จริงผมยกกรณีของ อ.ป๋วย มาเปรียบเทียบกับกรณี คุณเฌอปรางในที่นี้เป็นเพียงการเปรียบเทียบอย่างผิวเผินเท่านั้น แต่เป็นการเปรียบเทียบอย่างผิวเผินที่มีนัยสำคัญบางประการ คือในแง่หนึ่งผมคิดว่าเราต้องสามารถวิจารณ์ได้ว่าคนกลุ่มนี้ (ดารา, คนดัง, นักวิชาการ, อาจารย์, ฯลฯ) ไม่มีความจำเป็น และไม่ควรไปทำงานรับใช้รัฐบาลเผด็จการอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะยกเหตุผลอะไรมาอ้างก็ตาม เพราะไม่อย่างนั้นถ้าเรายกว่าคุณเฌอปรางต้องไปทำงานเพราะไม่สามารถปฏิเสธคำสั่งของเผด็จการได้ "ในทางส่วนตัว" ภายใต้มาตรฐานเดียวกันเนี่ยเราก็ไม่สามารถวิจารณ์ใครได้เลย วิจารณ์ สมาชิก สนช. ก็ไม่ได้ วิจารณ์ คณะรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ วิจารณ์เจ้าหน้าที่ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ก็ไม่ได้ เพราะเขาอ้างได้หมดแหละว่าปฏิเสธคำสั่งเผด็จการไม่ได้ ต้องจนใจทำตามคำสั่ง

อย่างไรก็ตามประเด็นของผมคือผมเสนอว่าเราต้องวิจารณ์คนเหล่านี้ได้ แต่ขณะเดียวกันผมไม่ได้เรียกร้องว่าต้องให้คนกลุ่มนี้ "แตกหัก" (break) กับรัฐบาลเผด็จการโดยตรง หรือออกมาเป็นแกนนำต่อต้านรัฐบาลอะไรทำนองนั้นในทันที ต้องละทิ้งหน้าที่การงานอะไรทำนองนั้นแน่ๆ ในสถานการณ์เช่นนี้ผมคงไม่คิดไปเรียกร้องให้ใครออกไปทำอะไรแบบนั้น (แต่ถ้าคุณเฌอปรางยินดีทำเองโดยส่วนตัว อันนี้ผมไม่ห้ามและพร้อมสนับสนุน แฮร่!)

ถัดมาคือปมปัญหาเรื่องที่สองที่ผมอยากอภิปรายต่อคือเรื่อง "ภาพความเป็นไอดอลนักประชาธิปไตยของคุณเฌอปราง" อย่างที่ผมอภิปรายไปก่อนหน้านี้ว่าเรื่องนี้มีปัญหาอย่างมาก และส่งผลต่อการอภิปรายกรณีที่คุณเฌอปรางไปทำงานรับใช้เผด็จการ ผมเข้าใจว่าคนในแวดวงปัญญาชน-นักกิจกรรมประชาธิปไตยจำนวนหนึ่งยกเรื่องคุณเฌอปรางหรือวง BNK ขึ้นมาในฐานะของ "ภาพตัวแทน" หรือ "สัญลักษณ์" บางอย่างที่ค่อนข้างโน้มเอียงมาหาเรื่องประชาธิปไตย อย่างกรณีของ อ.เจษฎา, คุณเนติวิทย์ หรือในระดับปัญญาชนทั่วๆ ไปที่เป็นฐานแฟนคลับของวงหรือคุณเฌอปรางเอง ก็มีการยกและผลิตซ้ำเรื่องนี้ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม จริงๆ กระทู้ของ คุณรักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ ที่เขียนเรื่องคุณเฌอปรางไว้ค่อนข้างน่าสนใจมาก

คือคุณรักษ์ชาติเสนอคำถามอย่างง่ายว่า "ทำไมเราต้องคาดหวังว่าคุณเฌอปรางจะเป็นฝ่ายประชาธิปไตย?" พูดอย่างจริงจังเลยว่าผมเห็นด้วยกับการตั้งคำถามนี้อย่างยิ่ง แต่ประเด็นถัดมาก็คือแล้วเราจะทำอย่างไรกับกรณีแบบนี้?

ผมขอย้อนกลับไปหากรณี อ.ป๋วย อีกสักนิด คือถ้าใครเคยอ่านหรือได้ฟังข้อวิจารณ์ของ อ.สมศักดิ์ ที่มีต่อ อ.ป๋วย จะเห็นว่า อ.สมศักดิ์ โจมตี "ความไม่คงเส้นคงวา" หรือ "ความไร้ความกล้าหาญทางศีลธรรม" ของ อ.ป๋วย ที่ไปทำงานรับใช้สฤษดิ์และไม่กล้ากระทั่งจะวิจารณ์รัฐบาลเผด็จการ ซึ่งการวิจารณ์นี้อยู่บนรากฐานของความคิดที่ว่า อ.ป๋วย เป็นนักเสรีนิยม (Liberal) กลับมาที่ ข้อเขียนของคุณรักษ์ชาติต่อกรณีคุณเฌอปราง คุณรักษ์ชาติเสนอในทิศทางคล้ายๆ กันว่า "การจะวิจารณ์คุณเฌอปรางเรื่องไปรับใช้เผด็จการควรจะต้องพิจารณาก่อนหรือไม่ว่าคนที่เราวิจารณ์เขามีจุดยืนแบบไหน" (ผมสรุปเนื้อหามาคร่าวๆ ประมาณนี้) อันที่จริงผมทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยไปพร้อมๆ กันในข้อเสนอนี้ ผมมีคำถามง่ายๆ ว่า อ.ป๋วย นี่เคยประกาศตัวเองว่าเป็นเสรีนิยมหรือเปล่า? อันนี้เป็นเรื่องสำคัญนะครับเพราะเท่าที่ผมทราบ อ.ป๋วย น่าจะไม่เคยประกาศโดยตรงด้วยซ้ำว่าแกเป็นเสรีนิยม โอเคในช่วงชีวิตของแกมีการเสนอเรื่องสิทธิ เสรีภาพ เกลียดคอมมิวนิสต์ อะไรทำนองนั้น แต่ถ้าเรายึดเรื่อง "การประกาศ" จุดยืนจริงๆ เนี่ย ไม่เฉพาะแค่ อ.ป๋วย หรือ คุณเฌอปราง เท่านั้นแต่ผมคิดว่าเราอาจจะไม่สามารถวิจารณ์ใครสักคนนึงได้เลยด้วยซ้ำ นี่เป็นสิ่งที่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนัก และผมคิดว่าเราสามารถวิจารณ์ใครสักคนนึงได้โดยไม่จำเป็นต้องรอจุดยืนของเขา – กรณี อ.ป๋วย ผมเข้าใจว่าเป็นคนแวดล้อม หรือลูกศิษย์ของแกเองที่ประกาศว่า อ.ป๋วย เป็นเสรีนิยม – เช่น อ.จอน อึ๊งภากรณ์ ที่ประกาศว่าจุดยืนของ อ.ป๋วย เป็นนักเสรีนิยมประชาธิปไตย

อันที่จริงปัญหาเรื่อง "ภาพแสดงตัวแทน" ที่ถูกสร้างขึ้นมานี้เป็นปัญหาใหญ่ ที่ส่งผลต่อความคลาดเคลื่อนในข้อถกเถียงไปอย่างมาก ในที่นี้ผมขอสรุปอย่างกระชับเพื่อจะไปต่อว่า คุณเฌอปรางอาจจะมีจุดยืนที่เป็น/หรือไม่เป็น ฝ่ายประชาธิปไตยก็ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถวิจารณ์คุณเฌอปราง (หรือคนอื่นๆ) อันเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนทางจุดยืนนี้ได้ ขณะเดียวกันการสร้างภาพแสดงตัวแทนแบบที่เป็นอยู่ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามท้ายที่สุดแล้วมันส่งผลโดยตรงต่อความเข้าใจที่เรามีต่อปัญหา

ถัดมาในประเด็นสุดท้ายที่ผมยกไว้ ซึ่งเข้าใจว่าเนื้อหาตอนนี้ค่อนข้างยาวมากแล้วดังนั้นผมจะพยายามอภิปรายอย่างกระชับที่สุด คือเรื่อง "ปัญหาของปัญญาชนประชาธิปไตยในการอภิปรายถึงกรณีของคุณเฌอปราง" อย่างที่บอกไปข้างต้นผมตามอ่านข้อถกเถียงเรื่องนี้อยู่สักพักตั้งแต่เมื่อวาน และขอสารภาพตามตรงว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายที่การอภิปรายโต้แย้งกันวนอยู่แค่เรื่อง "ตัวบุคคล" ของคุณเฌอปราง มีน้อยมากที่จะอภิปรายไปถึงปมปัญหาที่เป็นศูนย์กลางของเรื่องนี้ คือปัญหาเรื่อง "อำนาจเผด็จการ" และ "ระบบทุนนิยม" (เห็นคำนี้แล้วอย่าพึ่งเบื่อกันว่า จักรพลมันมาเสนอเรื่องทุนนิยมอีกแล้วนะครับ เพราะเรื่องนี้มีปัญหาและเป็นปัญหาจริงๆ ) เท่าที่สังเกตผมเห็นว่ามีไม่กี่คนที่ยกสองเรื่องนี้ขึ้นมาพูด และอย่างที่ผมกล่าวไปข้างต้นในหัวข้ออภิปรายแรกที่ผมเสนอว่า "ในทางส่วนตัว" แล้วคุณเฌอปรางสามารถปฏิเสธคำเชิญของเผด็จการได้ แต่ปัญหาที่ผมจะยกมาอภิปรายคือสถานะของคุณเฌอปรางไม่ได้เป็นแค่เรื่อง "ในทางส่วนตัว" อีกต่อไปแล้ว หรือหากจะพูดให้ถึงที่สุดคือ "คุณเฌอปรางอยู่ภายใต้สัญญาจ้างที่มีต่อบริษัทซึ่งทำให้คุณเฌอปรางไม่มีอำนาจในการตัดสินของตนเองอย่างแท้จริง" การตัดสินใจว่าจะตอบรับหรือปฏิเสธจึงไม่ใช่เรื่องของคุณเฌอปรางเพียงคนเดียวในทางส่วนตัวอีกต่อไป – ต้องอธิบายเพิ่มเติมอีกนิด ผมเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาในฐานะที่พยายาม "เข้าใจ" ต่อสถานะของคุณเฌอปราง และชี้ว่าปัญหาของเรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับทุน แต่ไม่ได้แปลว่าเราห้ามวิจารณ์คุณเฌอปราง

ปมปัญหาถัดมาที่ปัญญาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดถึงกันเท่าไหร่และเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างมากคือไม่มีการพูดถึงเรื่องที่รัฐนำเงินจำนวนมหาศาลมาผลิตรายการโฆษณาชวนเชื่อ อย่างรายการเดินหน้าประเทศไทย รายการเดินหน้าประเทศไทยวัยทีน ฯลฯ แล้วบังคับให้เราต้องดู ประเด็นนี้เป็นเรื่องใหญ่นะครับและพูดให้ถึงที่สุดแล้วกรณีคุณเฌอปรางหรือดาราคนอื่นๆ จะไม่เกิดขึ้นเลยด้วยซ้ำถ้ามันไม่มีรายการไร้สาระแบบนี้ขึ้นมาตั้งแต่แรก

น่าเสียดายที่ข้อถกเถียงจำนวนมากจำกัดวงอยู่แต่เรื่องของสิทธิ หรือความคิด หรือจุดยืน หรือเรื่องความเสี่ยงของคุณเฌอปราง (ที่ผมเสนอไปแล้วว่าในทางส่วนตัวคุณเฌอปรางสามารถปฏิเสธได้โดยไม่มีอันตรายเลยสักนิด) แต่มีน้อยมากๆ ที่จะย้อนกลับมาพูดกันเรื่องอำนาจรัฐที่พยายามแทรกตัวเองเข้ามาควบคุมและกล่อมเกลาประชาชนผ่านการบังคับเราให้ต้องดูรายการโฆษณาชวนเชื่อของเผด็จการ.

 

ปล. ผมขออธิบายเพิ่มเติมในกรณีเรื่องกระทู้ของคุณรักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ ที่ผมอาจจะเขียนนำเสนอโดยสรุปความเห็นของคุณรักษ์ชาติคลาดเคลื่อนไป คือคุณรักษ์ชาติเสนอว่าเราสามารถที่จะวิจารณ์คุณเฌอปราง หรือคนอื่นๆ ได้ และการอภิปรายของคุณรักษ์ชาตินั้นไม่ใช่การเสนอว่าเราห้ามวิจารณ์ตัวบุคคล แต่คุณรักษ์ชาติพยายามเสนอแง่มุมในการมองอีกบริบทหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในกระทู้นี้การสรุปของผมอาจจะทำให้ข้อความที่คุณรักษ์ชาติต้องการสื่อสารผิดเพี้ยนไป ผมจึงเขียน footnote นี้เพื่อขยายความเพิ่มเติมและยอมรับต่อข้อผิดพลาดในข้อเขียนนี้ของตัวเอง

 

อ้างอิง

ดูกระทู้สั้นๆ ที่ผมเขียนเรื่องคุณเฌอปรางกับอาจารย์ป๋วยได้ที่นี่ : https://www.facebook.com/gungun.okc/posts/1931990840156770?notif_id=1535468445112434&notif_t=feedback_reaction_generic

คำสัมภาษณ์บางส่วนเรื่องทัศนคติ มุมมองของสมาชิก BNK ต่อสังคมไทย - มีการพูดถึงเรื่องการเลือกตั้ง, ประชาธิปไตยอยู่บ้างแต่คนที่พูดไม่ใช่คุณเฌอปราง :https://gmlive.com/wild-life-election-hiv-social-issue-bnk48

กระทู้ของคุณรักษ์ชาติ ที่ผมอ้างถึงในกระทู้นี้ : https://www.facebook.com/ohkub/posts/10156809314178939

กรณีคุณสฤณี อาชวานันทกุล ปฏิเสธคำสั่งแต่งตั้งของ คสช. : https://www.matichon.co.th/politics/news_821123

ตัวอย่างบทสัมภาษณ์ของคุณเนติวิทย์ ที่มีการเอ่ยถึงชื่อคุณเฌอปราง ซึ่งผมอภิปรายว่าเป็นการสร้างภาพตัวแทนของความเป็นฝ่ายประชาธิปไตย โดยไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้นในหมู่แฟนคลับคุณเฌอปราง : https://thematter.co/.../power-relation-in-thai.../53626

ดูข่าวเรื่องคุณเฌอปรางถูกดึงตัวไปจัดรายการ 'เดินหน้าประเทศไทย วัยทีน' ได้ที่นี่ : https://voicetv.co.th/read/Hyhz8_MDQ

หมายเหตุ: แก้ไขเพิ่มเติมจาก Facebook Jakkapon Phonlaor

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

อนาคตความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ [บทสนทนาเรื่องอนาคตของคนในอดีต]

Posted: 31 Aug 2018 09:02 AM PDT

มูลนิธิเอเชียออกสมุดปกขาวว่าด้วยอนาคตความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ เนื่องในโอกาส 2 ศตวรรษแห่งสายสัมพันธ์ โดยการสัมภาษณ์ชนชั้นนำในภาคราชการ การเมืองและธุรกิจของทั้งสองฝ่ายจำนวน 50 คน เพื่อแสวงหาวิสัยทัศน์ว่าทั้งสองประเทศจะอยู่กันอย่างไรในอนาคต ซึ่งสรุปได้ 10 ข้อดังต่อไปนี้

1 เมื่อยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกเริ่มก่อรูปร่าง ไทยและสหรัฐควรจะทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ร่วม โดยให้นำเอาข้อกังวลของไทยและอาเซียนเข้ารวมพิจารณาด้วย ไทยควรจะให้ input กับยุทธศาสตร์นี้มากขึ้นทั้งในฐานะประธานอาเซียน (ปีหน้า) และในนามของประเทศไทยเอง

2 แม่น้ำโขงมีความสำคัญ ไม่ใช่แค่เรื่องการพัฒนาและเศรษฐกิจแต่ด้านความมั่นคงและภูมิรัฐศาสตร์ด้วย ทั้งสองฝ่ายควรจะทำงานร่วมกันเพื่อเปิดบทบาทสหรัฐมากขึ้นในอนุภูมิภาคนี้

3 สหรัฐควรเพิ่ม ODA เพื่อดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกและลุ่มแม่น้ำโขง (พูดง่ายๆจ่ายซะบ้าง จีนเขาเงินหนานะ)

4 ขยายการมีความร่วมทางการศึกษาและฝึกอบรมทางทหารกันมากขึ้น หลังจากไทยมีการเลือกตั้ง ทั้งนี้เพื่อความรับรู้ของทหารไทยเกี่ยวกับบทบาทของสหรัฐในภูมิภาคนี้และเข้าใจความห่วงกังวลของสหรัฐในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างทหารและพลเรือน

5 สนับสนุนบทบาทของไทยในฐานะประธานอาเซียน ปี 2019

6 ฝ่ายสหรัฐควรช่วยส่งเสริมให้ไทยได้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับการนำในกรุงวอชิงตันมากขึ้น ให้โอกาสแก่นักการทูตและเจ้าหน้าที่ของไทยเข้าไปเรียนรู้เรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์ของสหรัฐมากขึ้น ทั้งกับฝ่ายบริหารและคองเกรส

7 ส่งเสริมคุณค่าของสหรัฐในเรื่องประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ โดยตระหนักถึงความคิดของชนชั้นนำของไทยในเรื่องนี้ด้วยว่า พวกเขาโดยทั่วไปยอมรับว่า สหรัฐได้นำเอาคุณค่าของประชาธิปไตยและนิติรัฐใส่ลงในนโยบายต่างประเทศ แต่พวกเขาก็ต่อต้านแนวคิด one size fits all (ขนาดเดียวใส่ได้ทุกคน) ซึ่งพูดแต่เรื่องการเลือกตั้ง (อันเป็นสิ่งระคายหูของชนชั้นสูงของไทย—อันนี้ข้าพเจ้าเติมเอง) โดยละเลยความสำคัญและความลึกซึ้งของความสัมพันธ์ (ไม่รู้แปลว่าอะไร แต่เอาว่า ถ้าพูดเรื่องเลือกตั้งมากทำให้ความสัมพันธ์เสียหาย—คำถามคือความสัมพันธ์ของใครกับใครที่จะเสียหาย)

8 เทคโนโลยี่ดิจิตอลมีความสำคัญต่อความร่วมมือและความสัมพันธ์เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง ความมั่นคงด้านไซเบอร์ สื่อสังคม และนวตกรรม

9 ควรพิจารณาเปิดเจรจาการค้าเสรีกันใหม่ หลังจากที่หยุดชะงักมานาน

10 สหรัฐควรให้ทุนนักเรียนไทยมากขึ้นและเน้นอุษาคเนย์ศึกษามากขึ้นในสารบบการศึกษาของสหรัฐ

[ต่อไปนี้เป็นความเห็นของข้าพเจ้า]

Note: 1 สมุดปกขาวจัดทำขึ้นในสถานการณ์ที่กำลังเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในภูมิรัฐศาสตร์ของโลก เมื่อจีนมีอำนาจมากขึ้นในภูมิภาคและในโลก สหรัฐกำลังดำเนินยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก เพื่อถ่วงดุลกับความเปลี่ยนแปลงนั้น โดยที่รู้ดีว่าผู้นำไทยวิตกกังวลว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไรและจะอยู่อย่างไร

2 ผู้นำไทยที่ให้ inputs และมีการสนทนากับคนเขียนเอกสารชิ้นนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นนำกระแสหลักที่มีแนวคิดขวาอนุรักษ์นิยม (ส่วนใหญ่อายุมากแล้ว เห็นมีคนเดียวที่พอจะนับว่ามีความคิดตรงข้าม) ซึ่งมีแนวคิดเก่าที่คิดถึงแต่วันชื่นคืนสุขของความสัมพันธ์ไทยสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนามก่อนปี 1975 เท่านั้น บทสรุปในข้อ 3,7 และ 10 ยืนยันได้ว่าพวกเขาคิดว่าสหรัฐควรจะมีความสัมพันธ์กับไทยในแบบเก่า

ที่สำคัญ argument หรือข้อโต้แย้ง (ในหน้า 8 ) เรื่องการที่สหรัฐสมัยโอบามาต่อต้านรัฐประหารนั้น เป็นของชนชั้นสูงล้วนๆ ไม่มีสายไพร่ปนเลย แม้คนเขียนจะออกตัวว่าได้คุยกับคนที่ต้านรัฐประหารก็ตามและยอมรับว่าสหรัฐไม่อาจจะพูดถึงการเมืองไทยแบบ monolithic ได้อีกต่อไปแล้ว (หน้า 10) แต่ไม่นำพาพูดถึงและนำมาวิเคราะห์อย่างมีนัยสำคัญในรายงาน

3 สหรัฐรับรู้ถึงความแตกแยกทางการเมืองภายในของไทยดีแต่ไม่คิดจะนำประเด็นนี้มาพิจารณาอย่างจริงจังนัก ดูเหมือนจะยังเชื่อว่าที่สุดแล้วการเมืองแบบชนชั้นนำก็จะยังครอบงำสังคมไทยต่อไป
 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: Facebook Supalak Ganjanakhundee

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ใบตองแห้ง: รัฐมั่นคงถอยลงคลอง

Posted: 31 Aug 2018 08:54 AM PDT

มติชนเพิ่งสัมภาษณ์อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ วิพากษ์ 4 ปี คสช. การกระจายอำนาจถอยหลัง ย้อนยุคจาก 2560 กลับไปสู่ 2520 หรือยุคผู้ใหญ่ลี กลับไปสู่ยุคที่ มท.1 สั่งผู้ว่าฯ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นทอดๆ อปท.แทบไม่มีอำนาจ ไม่เหลือบทบาท ระบบราชการเป็นใหญ่ นั่งกางระเบียบกฎหมาย แก้ปัญหาแบบผักชีโรยหน้า ซุกไว้ใต้พรม เอาเข้าจริงแก้อะไรไม่ได้ ตั้งแต่ลอตเตอรี่ 80 บาทไปถึงวินรถตู้ การอัดฉีดงบประชารัฐแบบ "สมคิดสไตล์" ก็มุ่งใช้เงินให้เร็วที่สุด แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เห็นแต่ข่าวตลาดร้าง

เป็นบทสัมภาษณ์ที่น่าทึ่งมาก ไม่เพียงวิพากษ์ระบอบรวมศูนย์อำนาจได้ถึงแก่น มีรูปธรรม เป็นระบบ เปี่ยมหลักวิชา ฯลฯ หากยังฮือฮาเพราะท่านเป็นนักวิชาการที่ขึ้นเวที กปปส. ซึ่งยังทวงถามลุงกำนันว่า สนับสนุน คสช.เป็นรัฐบาลต่อได้อย่างไร เมื่อไม่ส่งเสริมการกระจายอำนาจ อันเป็นวาระสำคัญของม็อบนกหวีด

โอ๊ว เพิ่งรู้นะนี่ ว่าเวที กปปส.มีคนคิดเรื่องกระจายอำนาจจริงจัง ฟังตอนนั้นยังนึกว่าเป็นเรื่องโกหก ตลกร้าย เป็นไปได้อย่างไร ที่ม็อบชัตดาวน์กรุงเทพ ขัดขวางเลือกตั้ง เห็นคนไม่เท่ากัน กลับชูธงเรียกร้องเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด

กราบขออภัย ที่เข้าใจผิด มีคนคิดอย่างนี้จริงๆ ด้วย แต่ก็ยังงงงวยในตรรกะ ว่าคิดได้ไง ไม่เอาเลือกตั้งแต่ยังหวังกระจายอำนาจ ต่อให้ไร้เดียงสาขนาด ไม่คาดคิดว่าม็อบลุงกำนันจะนำไปสู่รัฐประหาร ก็ไม่รู้หรือไง ว่าเมื่อปลุกอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมสุดขั้วสุดโต่งขึ้นมาขนาดนั้น จะนำไปสู่อะไร

ใช่เลย พูดอีกด้าน ทักษิณ เพื่อไทย ก็ไม่สนใจกระจายอำนาจจริงจัง แต่ประชาธิปไตยเลือกตั้งยังเป็นพื้นฐานให้เรียกร้องผลักดันได้ ตรงข้ามกับรัฐประหารพลังอนุรักษ์นิยม ที่ฉวยโอกาสอ้างความสงบเรียบร้อย สถาปนารัฐแห่งความมั่นคง รวมศูนย์อำนาจ ฟื้นรัฐราชการเป็นใหญ่ เพื่อค้ำจุนโครงสร้างเดิมไว้

4 ปีที่ผ่านไป เราจึงเห็นรัฐเข้มแข็ง เพิ่มอำนาจไม่จำกัด ทหาร ตำรวจ ป่าไม้ กทม. ขนส่ง สรรพสามิต ฯลฯ ใช้อำนาจกับประชาชนอย่างเข้มงวด โดยอ้างกฎหมาย ควบคู่กับการออกบัตรสงเคราะห์ดูแล และอบรมสั่งสอนศีลธรรม

ซึ่งก็เป็นอย่างที่อาจารย์ท่านพูด รัฐราชการจะเป็นใหญ่ไปอีก 20 ปี ตามยุทธศาสตร์ชาติ เพราะทุกมิติของยุทธศาสตร์ ถูกสอดแทรกด้วยคำว่า "ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย" เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ประเทศย่ำเท้าอยู่กับที่

ธงชัย วินิจจะกูล ก็ชี้เช่นกันว่าประเทศไทยจะอยู่ในภาวะฐานของตัว L ไปอีกนาน เพราะสถาบันทางการเมือง กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ถูกทำลายจากวิกฤติ 12 ปี ขณะที่โลกเข้าสู่ยุคพลิกผัน คนรุ่นใหม่ต้องแข่งขัน เรากลับตกอยู่ใต้ระบอบคุณพ่อรู้ดี

แต่ธงชัยพูดก็จะหาว่าอคติ งั้นลองฟังนักวิชาการ กปปส.บ้างสิ โดยเฉพาะผู้ที่มุ่งมั่นไฟท์เรื่องกระจายอำนาจ แบบรัชดา ธนาดิเรก ที่คัดค้านการตั้งสำนักงานท้องถิ่นอำเภอ

ปรบมือให้นะครับ แต่ไม่รู้จะค้านได้ไหม ค้านเรื่องนี้สำเร็จก็ไม่รู้จะมีความหมายอะไร อ้อยเข้าปากช้างไปแล้ว รัฐรวมศูนย์อำนาจ ที่มุ่งปกปักความมั่นคง เสมือนยังอยู่ในยุคสงครามเย็น สถาปนาตัวเองเป็นปึกแผ่น นักการเมืองชนะเลือกตั้งก็ล้มไม่ได้ เว้นแต่จะเกิด Chaos วอดวายกันไปทุกฝ่าย

พิภพ ธงไชย ก็เพิ่งโพสต์เฟสบุ๊ค "วิกฤติการเมืองไทย นับหนึ่งใหม่หลังวันเลือกตั้ง" เสียดายสื่อเอาแต่จับประเด็น พิภพฟันธง! วิกฤติเกิดแน่เพราะทักษิณไม่ยอมแพ้ "พี่เปี๊ยก" โดนคนอีกฝ่ายด่าขรม

แหม่ เก็บความไม่หมด ไม่ดูตอนท้าย พิภพคร่ำครวญ สังคมทำสงครามกับทุนทักษิณ แต่ทุนยักษ์ใหญ่รายอื่นรวยได้รวยเอา ในยุคทหารครองเมือง ขณะที่คนจนยิ่งจนลง แล้ววิกฤติจะหมดไปได้อย่างไร

อ่านแล้วอดขำไม่ได้ พันธมิตรไล่ "ทุนสามานย์" สุดท้ายได้อะไร นอกจากได้ไล่ทักษิณ ก็ล้วนแต่ได้สิ่งที่คุณไม่ต้องการ กลัวทักษิณอำนาจนิยม ต้านทุนโลกาภิวัตน์ ถึงวันนี้ได้รัฐรวมศูนย์อำนาจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ สู่ไทยแลนด์ 4.0 กับทุนนิยมประชารัฐ

ก็บ่นไปเถอะครับ แต่ต่อต้านไม่ได้แล้ว มวลชนก็หายหมด คนชั้นกลางระดับบนคนมั่งมี ไม่สนเรื่องกระจายอำนาจ ไม่แย่แสความเหลื่อมล้ำ เห็นแต่หูผึ่ง เจ้าสัวจะสร้างเมืองใหม่ที่ฉะเชิงเทรา ไปเก็งกำไรกันดีกว่า

"ผีดิบกลับมาแล้ว" ไม่ใช่ผีทักษิณ แต่เป็นผีดิบรัฐราชการ กลับมาครองบ้านครองเมือง กลับมากางกฎระเบียบ ควบคุมทุกสิ่งอย่าง

ปลุกกันขึ้นมาเอง แล้วก็มาก่ายหน้าผาก ไม่รู้จะทำอย่างไร เอาน่ะ โทษทักษิณได้ก็ยังดี

 

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/hot-topics/news_1511185

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: มติชน: คุยกับ"วีระศักดิ์ เครือเทพ"การเมืองท้องถิ่น-กระจายอำนาจ 4ปีคสช. ก้าวหน้าVSถอยหลัง?
https://www.matichon.co.th/politics/special-interview/news_1105381

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กวีประชาไท: บทกวี 17 ปี แด่คนช่างฝันจรัล มโนเพ็ชร เพชรล้านนา

Posted: 31 Aug 2018 08:45 AM PDT

ดวงดอกไม้ราตรีประดับดาว
เดือนดับลับเหลี่ยมเขาคราวหลับฝัน
ดอยเสียดฟ้าหน้าหนาวคราวเหมันต์
"รางวัลแด่คนช่างฝัน" ยังมิจาง
สิบเจ็ด (17) ปี ไร้ตัวตนคนเขียนเพลง
เคยบรรเลงเสียงสวรรค์อันสรรค์สร้าง
จากหัวจิตหัวใจไม่บอบบาง
บนทางเดินมีขวากหนามไม่คร้ามกลัว
ดวงดอกไม้ร่วงลาไปเนิ่นนาน
แต่ความหวานยังตระการขับขานทั่ว
ดวงตะวันส่องแสงไม่มืดมัว
ทุกตนตัวอย่าหวาดกลัวมีรางวัล
สิบเจ็ด (17) ปี บทเพลงยังยลยิน
ให้คนฝันไม่สิ้นความใฝ่ฝัน
คอยอวยพรให้เธอสมดังหวังได้นิรันดร์
จาก จรัล มโนเพ็ชร เพชรล้านนา
 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กวีประชาไท: แด่ 28 ปี สืบ นาคะเสถียร

Posted: 31 Aug 2018 08:41 AM PDT

ปืนลั่นเช้าวันนั้นกลางพนา
เขาบอกลาสัตว์ป่าน่าใจหาย
เอาชีวันฉันแลกไปทั้งใจกาย
ต่อลมหายใจพวกนายก็แล้วกัน
ปืนลั่นเช้าวันนั้นมีความหมาย
ชีวาวายหาได้เพียงโศกศัลย์
เขาแลกเนื้อแลกหัวใจให้ชีวัน
หวังดำรงพงพันธุ์ไพรพนา
ปืนลั่นเช้าวันนั้นบั่นชีวิต
ยอมอุทิศจิตใจวาดหวังว่า
ผืนพงไพรที่รักเหนือชีวา
อยู่ต่อไปชั่วดินฟ้าแม้ข้าตาย
 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เวทีฟังความเห็นกฎ ศธ. ห้ามมั่วสุม-ชู้สาว เสนอ ปรับปรุง-กลับไปเริ่มฟังผู้มีส่วนได้เสีย

Posted: 31 Aug 2018 08:27 AM PDT

สหภาพนักเรียนนิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทยจัดเวทีรับฟังความเห็นกรณีร่างกฎกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นประเด็นดราม่าแรงช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา อาจารย์-นศ. ห่วง ใช้คำกำกวม ตีความได้ร้อยแปด เสนอให้ย้อนไปรับฟังความเห็นจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องก่อน ผู้แทนกระทรวงฯ ระบุ ตอนนี้ยังอยู่ขั้นร่าง จะบันทึกข้อเสนอของเวทีให้ผู้บริหารต่อ

ภาพบรรยากาศงานรับฟังความเห็น

31 ส.ค. 2561  สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นนักเรียนและนิสิตนักศึกษาต่อร่างกฎกระทรวงศึกษาธิการกำหนดความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนจากสภานิสิต มธ. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนจากสโมสรนักศึกษาคณะต่างๆ และองค์กรนักศึกษาร่วมให้ความคิดเห็น

เรื่องดังกล่าวสืบเนื่องจาก มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2561 ซึ่งมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 เกี่ยวกับลักษณะความประพฤติต้องห้ามของนักเรียนและนักศึกษา โดยกำหนดให้มีการแก้ไขดังนี้

1. กำหนดเพิ่มเติม "ห้ามการรวมกลุ่ม มั่วสุม" อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

2. แก้ไขลักษณะความประพฤติที่ห้ามกระทำเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวอันไม่เหมาะสมจากเดิมที่ห้ามเฉพาะการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ เป็นการห้ามไม่จำกัดสถานที่ โดยตัดคำว่า "ในที่สาธารณะ" ออก และกำหนดเพิ่มเติมห้ามกระทำการลามกอนาจารด้วย

3. แก้ไขลักษณะความประพฤติที่ห้ามกระทำเกี่ยวกับการออกนอกสถานที่พัก เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่มอันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น จากเดิมห้ามเฉพาะเวลากลางคืน เป็นการห้ามไม่จำกัดเวลา โดยตัดคำว่า "เวลากลางคืน" ออก

สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษา ค้านกฎกระทรวง ศธ. ระบุเสี่ยงต่อการเป็นเครื่องมือปิดกั้นเสรีภาพ

ฟังมุม นศ. หลัง ครม.แก้กฎกระทรวง ห้าม นร.- นศ. รวมกลุ่มขัดความสงบ ศีลธรรม-ชู้สาว-เที่ยวเตร่

ทัชภูมิ ทุมสวัสดิ์ สมาชิกสภานักศึกษา มธ. กล่าวว่า กฎกระทรวงดังกล่าวมีที่มาจาก พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก ด้วยตัว พ.ร.บ. เป็นกฎหมายอาญาเพราะมีบทกำหนดโทษ การบัญญัติกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เนื่องมาจากกฎหมายอาญาจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดเพราะมีการลงโทษในทางอาญา แม้จะบอกว่าออกกฎกระทรวงมาแล้วจะมีคู่มือแนวทางในการกำกับการปฏิบัติหน้าที่ แต่คู่มือนั้นสามารถนำไปใช้อ้างในศาลได้หรือไม่ 

ส่วนสำคัญคือ กฎที่ออกโดยรัฐมักไม่มีแนวปฏิบัติในการร้องเรียนหรือแย้งต่อดุลพินิจ กรณีกฎกระทรวงที่มีการใช้คำที่กว้างแบบนี้แต่ไม่ได้เขียนรองรับสิทธิของนักเรียนในการไม่เห็นด้วยแล้วโต้แย้งกลับ แปลว่ามีทางเดียวคือต้องเชื่อฟังและทำตาม การจับนักเรียนไปส่งที่โรงเรียนหรือบ้านเหมือนไม่ใช่การลงโทษแต่ทางเทคนิคคือการลงโทษทางสังคม เพราะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของเขาที่มีต่อคนรอบข้างเช่นเพื่อนและครู

ทัชภูมิกล่าวเพิ่มเติมว่า บทลงโทษมาตรา 85 พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กระบุว่า ถ้ามีผู้ช่วยเหลือ ยุยงให้เกิดการกระทำดังกล่าว บุคคลนั้นมีโทษทางอาญาจำคุกหรือปรับ ถ้าในกรณีที่ถูกใช้กับประเด็นทางการเมือง นอกจากเด็กจะโดนลงโทษแล้ว แต่ถ้าผู้ปกครอง ครู หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีการใช้ มาตรา 85 ยิ่งเป็นการสร้างความกลัวเชิงระบบที่ลามออกไปไกลมากกว่าตัวเด็ก ดังนั้น ถ้ากฎกระทรวงจะต้องออกมาแบบที่เป็นอยู่ตามร่างฯ ก็อยากให้เพิ่มเรื่องการโต้แย้งดุลพินิจเจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการควบคุมอย่างเดียวไม่มีการตอบสนองกลับมา การที่บอกว่านักเรียนนักศึกษาออกจากระบบการศึกษาจำนวนมากด้วยเหตุผลต่างๆ แต่จะไม่ให้พวกเขามีสิทธิใดๆ นอกจากปฏิบัติตามกฎกระทรวงนั้นตนไม่เห็นด้วย การโต้แย้งเพื่อสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามกฎกระทรวงที่อ้างว่าออกมาเพื่อคุ้มครองเด็กควรทำได้ ไม่เช่นนั้นการคุ้มครองก็ไม่มีอยู่จริง จะยังคงเป็นการตัดสินฝ่ายเดียวจากผู้ใหญ่โดยที่เด็กไม่ได้มีส่วนในการแสดงความเห็น แถมยังเป็นการตัดการใช้เหตุใช้ผลของเด็กออกไปด้วย การอนุญาตให้เด็กโต้แย้งจะเป็นการปิดช่องโหว่อันเกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคลและสถานที่ของการใช้กฏกระทรวงได้ 

ธนวัฒน์ วงศ์ไชย ประธานสภานิสิตจุฬาฯ แสดงความกังวลว่า กฎกระทรวงอ้างว่าออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเด็ก แต่ทำไมกฎกระทรวงกลายเป็นควบคุมเด็ก สองคำนี้ต่างกัน สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังทำคือหนักไปทางควบคุมเด็กมากเกินไปหรือเปล่า การแก้ไขรายละเอียดในกฎกระทรวงทั้งสามข้ออำนวยความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกับนักเรียน นักศึกษาหรือเปล่า เช่น การตัดคำว่ากลางคืนจากเที่ยวเตร่ แปลว่าการเที่ยวเตร่ทำไม่ได้ทุกเวลาใช่ไหม มีความกำกวม คำว่ารวมกลุ่ม มั่วสุม เป็นคำเดียวกับกฎหมายความมั่นคงของรัฐ การตัดคำว่าที่สาธารณะทิ้งจากท่อนพฤติกรรมเชิงชู้สาวก็มีปัญหา เช่น ถ้ามีเพื่อนสองคนเป็นแฟนกัน อยู่ในห้องนอนแล้วตนไปถ่ายรูปเขาจับมือกันออกมา อันนี้ถือว่าผิดกฎกระทรวงหรือเปล่า

นอกจากนั้น กฎกระทรวงนี้ได้โยนอำนาจการเอาผิดนักเรียน นักศึกษาไปให้สถานศึกษา แปลว่าครูในโรงเรียน มหาลัยเป็นผู้ตัดสิน ดุลพินิจจะต่างกันใช่ไหม และจะมั่นใจอย่างไรว่ากฎนี้จะไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือเอามาแกล้งกัน ธนวัฒน์ยกตัวอย่างกรณีสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์หรือจ่านิวที่ขึ้นรถไฟไปตรวจสอบทุจริตกรณีอุทยานราชภักดิ์ ถูกตีความเป็นภัยต่อความมั่นคง แต่ปณิดา ยศปัญญา (แบม) ที่เปิดโปงทุจริตกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ถูกตีความเป็นคุณงามความดีของประเทศชาติ การตีความการรวมกลุ่มยังไม่ตรงกันเลย แล้วครูที่ไม่มีความรู้ด้านกฎหมายจะตีความได้รัดกุมได้แบบนักกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้ แม้กฎกระทรวงนี้ยังเป็นร่าง ไม่มีผลบังคับใช้ แต่หอพักนิสิตจุฬาฯ ใช้กฎดังกล่าวเป็นข้ออ้างกำหนดเวลากลับหอพักของนิสิตแล้ว 

ธนวัฒน์ทิ้งท้ายว่า การรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำกฎกระทรวงต้องเปิดกว้างทั้งต่อนักเรียนและนักศึกษา กระบวนการรับฟังความเห็นต่อกฎกระทรวงที่ทำมานั้นไม่ได้มีส่วนร่วมจากนักเรียนและนักศึกษาอย่างเต็มที่ จึงมีความเห็นว่า การจัดทำแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวสมควรถูกยกเลิก ถ้าจะมีการแก้ไขก็ต้องตั้งกระบวนการแก้ไขใหม่โดยรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่ต้น มิใช่มีปัญหาแล้วมีการท้วงติงค่อยมาฉุกคิดว่าฉันต้องรับฟังความเห็น

เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ความเห็นว่า การเป็นผู้ดูแลต่างจากการเป็นผู้ควบคุมตรงเรื่องความเข้าใจในการใช้อำนาจ ผู้ดูแลควรพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่นิสิต นักศึกษาทำก่อน เมื่อใดก็ตามที่ไม่ได้ทำความเข้าใจ สิ่งที่จะเกิดต่อมาคือความกังวลใจ ผู้ดูแลหลายคนก็จะเริ่มใช้อำนาจเข้ามาแทรกแซง ยิ่งการใช้อำนาจแทรกแซงมีความคลุมเครือก็ยิ่งมีความไม่ชอบธรรม การออกกฎกระทรวงที่ไม่มีการทำความเข้าใจด้วยกันในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดความไม่สบายใจ ความคับข้องใจขึ้นได้

สำหรับร่างกฎกระทรวงฯ เมื่อตนเปิดดูเนื้อหาก็มีความไม่สบายใจเพิ่มเติม ในประเด็นที่มีการแก้ไขแล้วอาจยิ่งนำมาสู่ความคลุมเครือกันได้ เช่น การเปลี่ยนที่ห้ามรวมกลุ่ม อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ห่วงเป็นการส่วนตัว เพราะเคยมีนิสิต มก. เคยถูกกระทำเมื่อไปทำความสะอาดอนุสาวรีย์พิทักษ์ประชาธิปไตยก็ถูกเจ้าหน้าที่มองว่าเป็นการกระทำทางการเมือง ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย การเปลี่ยนเช่นนี้มีความคลุมเคือลและอาจนำไปสู่ความคับข้องใจ

เรื่องห้ามพฤติกรรมชู้สาวที่ไม่ได้จำกัดสถานที่ก็ต้องทำความเข้าใจกันเยอะว่าแล้วอะไรที่เราเรียกว่าพื้นที่ส่วนตัว อันไหนคือพื้นที่สาธารณะ ไปดูคู่มือการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่สง่เสริมความประพฤตินักเรียน (ตามกฎกระทรวงเดิม) มีนิยามเรื่องการชู้สาวแต่ก็ไม่ได้มีคำอธิบายเพิ่มเติมว่าแปลว่าอะไร การใช้ดุลพินิจจะใช้อย่างไร เมื่อไหร่ คู่มือนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 2548-2549 ก็สิบกว่าปีแล้ว น่าจะมีการนำมาถอดบทเรียน

เดชรัตกล่าวว่า ในวันที่สังคม เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เราไม่รู้ว่าโลกในอนาคตจะเป็นเหมือนวันที่พวกเราเป็นเด็กหรือไม่ การเป็นผู้ดูแลแล้วให้เด็ก เยาวชนตัดสินใจและเดินหน้าต่อไปเองก็เป็นเรื่องที่ควรจะทำและควรจะทำความเข้าใจกับการกระทำ ไม่ใช่ควบคุมและใช้อำนาจแทรกแซง

อาจารย์จาก มก. เสนอว่าควรเพิ่มเนื้อหาเรื่องการพิทักษ์สิทธิเด็กไว้ในคู่มือด้วย เช่น ไม่ควรเปิดเผยชื่อเด็กต่อสื่อมวลชน หรือไม่ให้ชื่อเด็กกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ใช้ได้สำหรับทุกวัย นอกจากนั้นยังเสนอว่าควรแก้ไขทุกถ้อยคำที่จะนำไปสู่การตีความขยายขอบเขตโดยไม่จำเป็นและหาคำที่ชัดเจนกว่าเดิม เช่น การกระทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยสามารถเปลี่ยนเป็นคำว่า การกระทำที่เตรียมก่อเหตุทะเลาะวิวาทได้ไหม ถ้าหากกังวลเรื่องเด็กแว้นหรือการทะเลาะวิวาทจะใช้คำว่าอะไร

สุทิน แก้วพนา

สุทิน แก้วพนา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีจำนวนเด็กในสังกัด 7 ล้านคน มีจำนวนหลายหมื่นที่ออกนอกระบบการศึกษาก่อนกำหนด โดยเฉพาะเด็กในกลุ่มเสี่ยงที่ถือเป็นเด็กที่หลุดออกนอกระบบแล้วก็ถือว่าขาดโอกาสทางการศึกษา ใน พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงเพื่อคุ้มครองเด็กให้สามารถอยู่ในระบบการศึกษาได้จนจบหลักสูตร โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยง

ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการยังระบุว่า กฎกระทรวงที่ร่างขึ้นมานั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ออกบนฐานปัญหาในการปฏิบัติงานในพื้นที่ เช่น ปัญหาโซเชียลมีเดีย หรือการรวมกลุ่มที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น เด็กแว้น เมื่อเกิดขึ้นก็มีตำรวจเข้าไปดูแล แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ตรงนั้นก็ต้องมีครูอยู่ด้วยเพื่อดึงเด็กกลับมา โดยสมมติฐานแล้วคิดว่าครูทุกคนมีความรู้ ผ่านการอบรมวิธีในการเข้าไปดูแลเมื่อกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงแล้วก็จะมีคู่มือ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติและตัวอย่างให้เห็นเพื่อเป็นแนวทางในการตีความ

ทั้งนี้ กฎกระทรวงที่ออกมาอาศัยอำนาจจำกัดอยู่ที่ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก มาตรา 64 ถ้าทำผิด พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กภายใต้มาตราอื่นจะไม่เกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการ ทางกระทรวงศึกษาธิการจำกัดขอบเขตในเรื่องเฉพาะในการดูแลนักเรียน นักศึกษาที่ต้องประพฤติตนตามระเบียบสถานศึกษาเท่านั้น

สุทินระบุทิ้งท้ายว่า ในส่วนข้อเสนอทั้งหมดของวงรับฟังความคิดเห็นวันนี้ ตนจะทำบันทึกเสนอปลัดและรัฐมนตรี จะออกมาอย่างไรก็อีกเรื่องหนึ่ง ส่วนเรื่องที่ควรจะรับฟังความเห็นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 (ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง....) คิดว่าน่าสนใจและเชื่อว่าจะมีการนำเสนอผู้บริหารระดับสูง ขณะนี้ร่างฯ อยู่ในขั้นตอนพิจารณากันอยู่ แต่จะออกมาในแนวทางไหนก็คงมีนักกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยกันดู

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ผู้ว่าฯ จ.ประจวบฯ 'ขอพระราชทานอภัยโทษ’ วัดตัด ‘ต้นไม้’ ร.9 ทรงปลูก ตั้ง กก.สอบ

Posted: 31 Aug 2018 06:22 AM PDT

ผู้ว่าฯ จ.ประจวบฯ ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงสำนักพระราชวัง เพื่อกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษ จากกรณีต้นศรีมหาโพธิ์ทรงปลูกถูกตัดโค่น พร้อมตั้ง กก.สอบ สำนักพุทธฯ เผยสอบย้อนหลังไม่พบหนังสือราชการแจ้งมอบที่ดินให้วัด กรมป่าไม้ เตรียมเพาะเนื้อเยื่อให้แตกตาเกิดต้นใหม่

 

ที่มาภาพ บ่ายโมง ตรงประเด็นภาพ

จากกรณีการตัดและถอนตอต้นศรีมหาโพธิ์ อายุกว่า 60 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกภายในวัดธรรมิการามวรวิหาร หรือ วัดเขาช่องกระจก ในเขตเทศบาลเมือง ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ 12 มิ.ย.2501 นั้น

วานนี้ (30 ส.ค.61) พัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงสำนักพระราชวัง เพื่อกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษ จากกรณีต้นศรีมหาโพธิ์ทรงปลูกถูกตัดโค่น และจังหวัดไม่ได้รายงานให้หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องรับทราบมาก่อนตามธรรมเนียมปฏิบัติ

นอกจากนั้นได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งเยียวยาฟื้นฟูสภาพต้นศรีมหาโพธิ์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ และจัดทำโครงสร้างเพื่อป้องกันลำต้นได้รับผลกระทบ รวมทั้งสั่งการให้ทุกหน่วยงานตรวจสอบต้นไม้ทรงปลูกในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งหมด เพื่อขึ้นทะเบียนและดูแลรักษาให้อยู่สภาพสมบูรณ์สมพระเกียรติ ทั้งนี้จังหวัดจะเร่งดำเนินการทุกด้าน เพื่อให้มีผลกระทบเกิดขึ้นน้อยที่สุด ส่วนซากกิ่งไม้ได้สั่งการให้เก็บไว้ในสถานที่ที่สมพระเกียรติแล้ว

"ช่วงกลางเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาได้เดินขึ้นเขาช่องกระจกเพื่อกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุโดยพบว่าต้นศรีมหาโพธิ์ทรงปลูก มีสภาพทรุดโทรม จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด แจ้งถึงทีมหมอต้นไม้ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจากกรมป่าไม้ ตรวจสอบพบว่าได้แจ้งเมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา ระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่เดินทางมาตรวจสอบ ก็ไม่คาดคิดว่าเจ้าอาวาสวัดจะตัดและขุดรากต้นโพธิ์ขึ้นมาทั้งหมด เชื่อว่าท่านอาจจะมองจากลักษณะภายนอก แต่เปลือกนอกยังมีสีเขียว ดังนั้นต้นไม้อาจจะยังไม่ตาย การกระทำดังกล่าวยอมรับว่าท่านไม่ได้ปรึกษาใคร ถ้าท่านบอกผมก่อนก็คงไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ไม่มีความเสียหายกระทบความรู้สึกของประชาชน" ผู้ว่าฯ จ.ประจวบฯ กล่าว

เพาะเนื้อเยื่อให้แตกตาเกิดต้นใหม่

ล่าสุดวันนี้ (31 ส.ค.61)  คงศักดิ์ มีแก้ว รักษาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยการจัดการป่าไม้ สำนักวิจัย กรมป่าไม้ เปิดเผยถึงการฟื้นฟูซากต้นศรีมหาโพธิ์ดังกล่าวว่า ขณะนี้ได้นำซากต้นศรีมหาโพธิ์ไปอนุบาลบริเวณหน้าศูนย์การเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถนนสวนสน–อ่าวน้อย เขตเทศบาลฯ โดยมีการประกอบพิธีบวงสรวงขอขมา จากนั้นจะนำลงดินที่เตรียมไว้พร้อมใช้ตาข่ายคลุม เพื่อรักษาความชื้น และทีมนักวิชาการจะนำเนื้อเยื่อเพาะบ่มและทำการรักษาเพื่อป้องกันเชื้อรา คาดหวังว่าจะมีการแตกตาขึ้นใหม่ และจะพัฒนาเป็นลำต้นใหม่ต่อไปในอนาคต เพราะยังมีเนื้อเยื่อบางส่วนคงอยู่ แม้จะเหลือน้อยมาก และคาดว่าใช้เวลา 2-3 เดือน จะเห็นความคืบหน้า

คงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับรากที่เหลือภายในดินบริเวณโคนต้นเดิม ทีมนักวิชาการจะดูแลอย่างดีเช่นกัน ส่วนต้นพันธุ์ขนาดเล็กที่งอกในซอกหินใกล้ต้นเดิมนั้น ได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทราบแล้วเพื่อขอดูแล จากนั้นจะทำมาสเตอร์ดีเอ็นเอของต้นแม่ เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับต้นพันธุ์ขนาดเล็กว่าเป็นต้นที่เกิดจากเมล็ดของต้นเดิมหรือไม่ ซึ่งต่อไปอาจพิจารณานำมาปลูกทดแทนต้นเดิม สำหรับต้นศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้มีความเสี่ยงกับภาวะทรุดโทรมน้อยมาก แต่บนยอดเขาช่องกระจกระบบรากถูกจำกัด ประกอบกับได้รับผลกระทบจากสภาวะภัยแล้งที่ผ่านมา แต่ล่าสุดพบว่าระบบรากสามารถพัฒนาได้ แม้จะเป็นความหวังน้อย แต่ทุกฝ่ายยังมีความหวังจากการใช้เทคโนโลยีทันสมัยทุกด้าน  ยืนยันว่าจะดูแลรักษาต้นไม้ต้นนี้อย่างเต็มความสามารถ

สำนักพุทธฯ เผยสอบย้อนหลังไม่พบหนังสือราชการแจ้งมอบที่ดินให้วัด

วิวัฒน์ วันกุมภา ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา (พศ.จ.) จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในฐานะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯเปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการฯยังไม่สามารถหาข้อสรุปว่ามีหน่วยงานรัฐใดเป็นผู้ดูแลพื้นที่ หรือมอบพื้นที่บนเขาช่องกระจกให้วัดธรรมิการามวรวิหาร พระอารามหลวง ในฐานะนิติบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ภูเขาที่มีความชันเกิน 35 องศา และจากการตรวจข้อมูลย้อนหลังไม่พบหนังสือราชการแจ้งมอบที่ดินให้วัดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด จึงขอเรียนว่าปัจจุบันที่ดินบนเขาช่องกระจกไม่ได้อยู่ในความครอบครองของวัด แต่จากการสอบถามพระราชสุทธิโมลี เจ้าคณะจังหวัดฝ่ายธรรมยุติ เจ้าอาวาสวัดยืนยันว่าเมื่อหลายปีก่อนมีอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดรายหนึ่งแจ้งด้วยวาจาให้วัดดูแลพื้นที่บนช่องกระจกเนื่องจากมีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและมีการก่อสร้างที่พักสงฆ์ ทั้งนี้หากมีหน่วยงานใดแจ้งความดำเนินคดีกับวัด หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่เขาช่องกระจกไม่จำเป็นต้องแจ้งให้สำนักงาน พศ.จ.ทราบล่วงหน้า และล่าสุดได้รายงานข้อเท็จจริงให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติทราบกรณีการตัดต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดธรรมิการามไม่ได้แจ้งให้ พศ.จ.ทราบล่วงหน้า

สวง สุดประเสริฐ หัวหน้าสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.จ.) จ.ประจวบฯกล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยังไม่พบเอกสารการครอบครองที่ดินเพื่อยืนยันว่ามีหน่วยงานใดอนุญาตให้วัดธรรมิกาารามใช้ที่ดินบนเขาช่องกระจก หลังจากที่ผ่านมาวัดได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวมานาน สำหรับการใช้งบประมาณปรับปรุงภูมิทัศน์บนยอดเขาช่องกระจกที่หลายฝ่ายมีความเห็นว่าอาจจะมีผลกระทบกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ ขอให้สอบถามจากสำนักงานโยธาธิการจังหวัดว่า ก่อนการใช้งบประมาณได้ขออนุญาตใช้พื้นที่จากหน่วยงานใดหรือไม่

ที่มา : สำนักข่าวไทย มติชนออนไลน์ บ้านเมืองและแนวหน้า

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

โอฬาร อ่องฬะ : ทวงคืนผืนป่า รัฐองค์รวมและการไล่คนออกจากที่ทำกิน

Posted: 31 Aug 2018 02:47 AM PDT

คุยกับ 'โอฬาร อ่องฬะ' วิจารณ์นโยบายทวงคืนผืนป่าของ คสช. ที่ใช้ทั้งไม้แข็งและไม้อ่อนผ่านแนวคิดรัฐองค์รวมของ อันโตนิโอ กรัมชี่ ความอ่อนไหวของชนชั้นกลางต่อทรัพยากรป่าไม้ และการลุกขึ้นต่อสู้-ต่อรองของชาวบ้าน

  • รัฐองค์รวมคือทฤษฎีที่ชี้ว่ารัฐใช้ทั้งอำนาจแข็ง (Hard Power) ผ่านกลไกรัฐที่เรียกว่า สังคมการเมือง (Political Society) และอำนาจอ่อน (Soft Power) ผ่าน ประชาสังคม (Civil Society)
  • นโยบายทวงคืนผืนป่ามีการผสมผสานทั้งไม้แข็งและไม้อ่อน ซึ่งสะท้อนผ่านคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557
  • ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าเรียนรู้เพื่อต่อสู้ ต่อรองกับอำนาจรัฐ

หลังการรัฐประหารไม่ถึงเดือน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 14 มิถุนายน 2557 ก็ออกคำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้ เป็นจุดตั้งต้นของนโยบายทวงคืนผืนป่า หลังจากนั้นเพียง 3 วันคือวันที่ 17 มิถุนายน 2557 คสช. ได้ออกคำสั่งอีกฉบับ คำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสําหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน เพื่อเพิ่มกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เข้าไปในนโยบายทวงคืนผืนป่า

และเพิ่มความเมตตาปราณีเข้าไปด้วยถ้อยคำว่า การดําเนินการใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทํากิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคําสั่งนี้มีผลบังคับใช้

ย้อนดูตัวเลขคดีปี 2552-2556 ที่กรมป่าไม้ดำเนินคดีกับชาวบ้านมีจำนวน 6,656 คดี แต่ปี 2557-2558 จำนวนคดีกลับสูงถึง 9,231 เช่นเดียวกับจำนวนคดีที่กรมอุทยานฟ้องชาวบ้าน ช่วงปี 2552-2556 มีจำนวนคดีประมาณ 5,000 คดี แต่ในช่วงปี 2557-2559 ตัวเลขกลับสูงถึงประมาณ 6,000 คดี

งานศึกษาของ โอฬาร อ่องฬะ นิสิตปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และอาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง รัฐองค์รวมกับการศึกษาเชิงวิพากษ์ของการจัดการทรัพยากรป่าไม้และที่ดินหลังพฤษภาคม 2557 ????

โอฬาร อ่องฬะ (ที่มาภาพ Boonyuen Wongsa-Nguan)

รัฐองค์รวม

ก่อนจะไปถึงตัวนโยบาย โอฬาร อธิบายคำว่า รัฐองค์รวม ว่ารัฐองค์รวมเป็นแนวคิดของ อันโตนิโอ กรัมชี่ (Antonio Gramsci) นักทฤษฎีการเมือง นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอิตาเลียนแนวมาร์กซิสม์และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี ที่พยายามศึกษาอำนาจนำหรือการช่วงชิงพื้นที่ทางความคิด ซึ่งถูกนำมาใช้วิเคราะห์วิพากษ์สังคมในช่วงหลังๆ บ่อยขึ้น

อันโตนิโอ กรัมชี่ (Antonio Gramsci)

"รัฐองค์รวมในทัศนะของกรัมชี่เป็นการพยายามทำความเข้าใจการทำงานของรัฐ ชี้ให้เห็นว่ารัฐไม่ได้ปฏิบัติการผ่านตัวรัฐเอง แต่มีกลไก มีอำนาจ ในการเชื่อมโยงกับกลไกรัฐเพื่อทำอะไรบางอย่าง ผมสนใจดูปฏิบัติการของมันว่ามันทำงานอย่างไร"

โอฬาร กล่าวต่อว่า ในมุมของกรัมชี่มีสิ่งที่เรียกว่า อำนาจแข็ง (Hard Power) เป็นกลไกรัฐที่เรียกว่า สังคมการเมือง หรือ Political Society อีกปีกคือ Civil Society หรือประชาสังคม แต่ไม่ใช่ประชาสังคมในความหมายที่รู้จักกันทั่วไปเวลานี้ แต่ประชาสังคมที่เกี่ยวกับการสร้างความยินยอมพร้อมใจ เป็นการใช้อำนาจอ่อน (Soft Power) ซึ่งเครื่องมือทั้งสองปีกนี้ กรัมชี่มองว่าทำงานร่วมกันเสมอ เพราะรัฐไม่สามารถใช้กลไกรัฐบีบบังคับประชาชนได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการกล่อมเกลา สร้างกรอบความคิดให้ประชาชนรู้สึกว่าสิ่งที่รัฐทำลงไปเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

"ผมพยายามกลับไปดูนโยบายกับปฏิบัติการแก้ไขปัญหาป่าไม้และที่ดิน ส่วนตัวทำงานเรื่องนี้ด้วย พยายามต่อสู้มายาวนานมาก ปัญหาก็ยังวนแบบเดิม เราจึงกลับไปตั้งคำถามกับมันใหม่ คำถามผมคือนโยบายและปฏิบัติการของรัฐเรื่องการจัดการป่าไม้และที่ดินในปัจจุบันมีเบื้องหลัง มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนต่างๆ ในการสร้างตัวแนวคิดกับตัวปฏิบัติการและนโยบายอย่างไรบ้าง"

ไม้แข็ง-ไม้อ่อน

"ผมพยายามใช้คำสั่ง 2 ตัวนี้ (คำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557) เป็นตัวมอง คำสั่งทั้งสองตัวนี้มีความต่างกันเล็กน้อย คำสั่งคสช. ที่ 64/2557 เป็นเรื่องการคุมกำลังคนการจัดการทรัพยากรใหม่ ผมเชื่อว่าส่วนหนึ่งตัวเจ้าหน้าที่ป่าไม้และทรัพยากรที่ใช้มันเยอะ จึงอยากควบคุมสิ่งเหล่านี้ไว้ จึงออกประกาศมาเพื่อดูการบุกรุกป่าทั้งหมดในสังคมไทยและใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการจับกุม

"ที่ออกมาลักษณะนี้ มีการคุยกันในเชิงวิชาการและในกลุ่มคนทำงานว่า ความชอบธรรมในการรัฐประหารต้องอาศัยคนชั้นกลางในเมืองพอสมควรให้รู้สึกว่าสิ่งที่รัฐทำนั้นจำเป็น ในเรื่องทรัพยากรก็เป็นดราม่า เป็นทัศนคติของคนในเมืองมานานแล้ว ชาวเขาทำลายป่า ชาวบ้านบุกรุกป่า นายทุนถือครองที่ดิน ทำให้รู้สึกว่าถ้ารัฐมีปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่เข้มข้น ใช้อำนาจลงไปทำงานแบบแข็งมาก"

ขณะที่คำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 มีเนื้อหาคำสั่งเหมือนกัน แต่ให้ยกเว้นผู้ยากไร้ จากเดิมที่หว่านแหหมดเพื่อให้ได้ผลงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ โอฬารกล่าวว่า ผลจากคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 ก่อให้เกิดแรงต่อต้านมาก จึงจำเป็นต้องออกคำสั่งนี้ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นอำนาจอ่อนคานทำให้รู้สึกว่าลดทอนความแข็งกร้าวของทหารลงไป

เกณฑ์ที่ใช้วัดว่าใครเป็นผู้ยากไร้ โอฬาร กล่าวว่า ใช้เกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน รายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์การถือครองที่ดินที่อยู่มาก่อนประกาศเขต โดยกลับไปใช้มติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 ที่นำไปสู่การถ่ายทำแผนที่ทางอากาศเสร็จสิ้นปี 2545 ดังนั้น คนที่ทำกินมาก่อนปี 2545 ถือว่าไม่บุกรุก อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านที่เข้าถือครองที่ดินหลังปี 2545 กลับเป็นคนส่วนใหญ่จึงต้องนำเกณฑ์ผู้มีรายได้น้อยเข้าไปจับอีกเกณฑ์หนึ่ง

"หลังปี 2557 เป็นต้นมารัฐใช้มาตรการไม้แข็งเยอะ การทำแผนแม่บททวงคืนพื้นที่ป่า วางแผนว่าแต่ละปีจะทวงคืนพื้นที่ป่ากี่ไร่ ปรากฏว่าส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชาวบ้าน มีที่นายทุนบางเล็กน้อย ความขัดแย้งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หลังปี 2558 ถึง 2559 นโยบายแข็งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีคดีเกิดขึ้นกับชาวบ้านหลายแสนคน"

เมื่อมีการเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีครั้งแรกก็มีการปรับนโยบายทวงคืนผืนป่ามาเป็นยุทธศาสตร์การพลิกฟื้นผืนป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการดึงหลายภาคส่วนเข้ามาเป็นกลไกแก้ไขปัญหา นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เป้าหมายที่มีพื้นที่ป่าไม้จำนวนมากอย่างเชียงใหม่ น่าน และแม่ฮ่องสอน แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นอีกเมื่อมีการนำเกณฑ์การกำหนดคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1 2 3 4 และ 5 ปี 2528 ซึ่งเป็นผลผลิตจากการเติบโตของแนวคิดอนุรักษ์ป่าไม้ในสังคมไทยหลังมีการปิดป่าสัมปทาน กลับมาใช้ โอฬาร กล่าวว่า

"พอนำเงื่อนไขนี้มาใช้จึงเกิดนโยบายเร่งด่วนขึ้นมาอีกนโยบายหนึ่งคือโครงการจัดสรรที่ทำกินให้ประชาชนที่ยากไร้ เป็นโครงการที่นำมาปัดฝุ่นใหม่ มีการไปสำรวจรังวัดที่ดินชาวบ้านที่การทำกินและใช้ประโยชน์ก่อนปี 2545 ถ้าอยู่ในพื้นที่กำหนดคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 3 4 5 เอามาซอยเป็นแปลงและจัดสรรให้ชาวบ้านเข้าไปทำกิน

"แต่ข้อมูลที่พบคือที่ดินทำกินก่อนปี 2545 ที่ชาวบ้านต้องได้ ในบางพื้นที่กลับไปอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 และ 2 นโยบายนี้จึงไม่สามารถเข้าไปจัดการได้ ที่สำคัญคือมันไปแยกขบวนการชาวบ้านออกจากกัน"

การก่อตัวของแนวคิดอนุรักษ์

การก่อตัวของแนวคิดอนุรักษ์ในไทย เกิดขึ้นหลังปี 2475 เมื่อกลุ่มชนชั้นนำสมาทานความคิดการอนุรักษ์ป่าจากต่างประเทศ มีการเกิดขึ้นของสมาคนนิยมไพร พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า แต่เวลานำมาใช้กลับไม่ได้มองความเป็นจริงในพื้นที่ว่าชุมชนและชาวบ้านมีการจัดการอย่างไร การเร่งประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์จึงเติบโตเร็วขึ้นหลังปี 2504 และมีพลังมากขึ้นจากการเคลื่อนไหวกรณีเขื่อนน้ำโจน การเสียชีวิตของสืบ นาคะเสถียร และการปิดสัมปทานไม้

"แต่รัฐไทยใช้ทรัพยากรช่วงที่ผ่านมามหาศาลมาก พอใช้เยอะถึงจุดหนึ่งก็เกิดกระแสการปกป้อง รัฐปู้ยี้ปู้ยำทรัพยากรแล้วก็ทิ้งชนบทไว้ ปัญหาคือรอยต่อระหว่างคนในเมืองกับคนในชนบทที่ใช้ทรัพยากรมันคนละเรื่องกัน คนเมืองมองว่าใช้มากไป ต้องปกป้อง ขณะที่ชาวบ้านที่ถูกแย่งไปต้องกลับไปใช้ฐานทรัพยากรเหล่านี้ รัฐหลังปี 2510 ก็ส่งเสริมการขยายตัวของพืชเชิงเดี่ยว ทำให้เห็นความขัดแย้งระหว่างการอนุรักษ์พื้นที่ป่ากับการส่งเสริมให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ"

ถามว่ารัฐมีส่วนในการกล่อมเกลาความคิดเรื่องการอนุรักษ์ต่อชนชั้นกลางอย่างไร โอฬาร กล่าวว่า

"ไม่ใช่ว่ารัฐไปทำให้เกิดหรือประชาสังคมในเมืองกระทำต่อรัฐ ประเด็นนี้ผมยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่ามันสัมพันธ์กันอย่างไร แต่ทุกครั้งที่รัฐพยายามทำอะไรที่กระทบต่อชาวบ้าน เช่น การจับชาวบ้านที่ไปบุกรุกป่า ปลูกข้าวโพด หาเห็ด คนชั้นกลางก็ไม่ออกมาตอบโต้กับสิ่งที่รัฐทำ แต่พอเป็นเรื่องเสือดำ เรื่องป่าแหว่ง คนชั้นกลางกลับลุกฮือขึ้นมาปกป้องทรัพยากร

"ถ้าจะอธิบายให้เห็นอำนาจอ่อนผ่านกลไกประชาสังคม ย้ำว่าไม่ใช่ประชาสังคมแบบที่เข้าใจในปัจจุบัน แต่คือกลไกลเชิงสถาบันที่คอยหล่อหลอมความคิดความเชื่อ เช่น สื่อ การศึกษา เป็นต้น การที่รัฐฉายภาพออกมาบ่อยๆ มันทำให้คนเชื่อว่าต้องแก้ไข ประกอบกับสถานการณ์โลกร้อน ภัยธรรมชาติ มันยิ่งตอกย้ำว่าต้องลุกขึ้นมาปกป้อง"

เรียนรู้เพื่อต่อสู้-ต่อรองกับรัฐ

โอฬารให้ข้อมูลอีกว่า หลังปี 2557 มาตรการกดดันให้ชาวบ้านต้องออกจากพื้นที่ทำกินรูปแบบหนึ่งคือการกีดกันไม่ให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการตัดถนนเข้าพื้นที่หรือไฟฟ้า เป็นต้น โดยอ้างว่าเป็นพื้นที่ป่า เขามองว่านี่เป็นการลิดรอนสิทธิความเป็นมนุษย์

อีกด้านหนึ่ง รัฐพยายามพัฒนานโยบายใหม่ๆ อย่างล่าสุดคือการเสนอ พ.ร.บ.ป่าชุมชน เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โอฬารเรียกว่าเป็นการ 'โชว์ออฟ' ของรัฐบาล เป็นการคลายตัวของแรงกดดัน เพราะใกล้เลือกตั้ง เหตุนี้นโยบายที่ทำให้เกิดผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ รัฐจำเป็นต้องผ่อนคลายลงเพื่อช่วงชิงพื้นที่การเมือง

อย่างไรก็ตาม โอฬารไม่ต้องการให้มองว่าชาวบ้านและชุมชนเป็นฝ่ายตั้งรับหรือเป็นเหยื่อของรัฐเพียงฝ่ายเดียว เขากล่าวว่ามีปฏิบัติการของชาวบ้านที่พยายามต่อสู้ ต่อรอง และสร้างทางออก เช่น บางพื้นที่ชาวบ้านขับเคลื่อนกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างกติกาการจัดการทรัพยากร บางพื้นเกษตรกรที่ต่อรองกับกลุ่มทุน กับคนกลางอย่างห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือการเข้าไปพัฒนาระบบการผลิตใหม่ๆ การทำตลาดรองรับกันเอง หรือการจัดทำข้อมูลทรัพยากร เป็นต้น

"ชาวบ้านไม่ได้งอมืองอเท้า พยายามคิดค้นวิธีการต่อสู้ ต่อรอง ถ้าดูปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงของการต่อสู้เคลื่อนไหวของชาวบ้านในการจัดการทรัพยากร ผมคิดว่าชาวบ้านก็ใช้พื้นที่แบบรัฐองค์รวมเยอะ เช่น ชาวบ้านก็ใช้กลไกอำนาจต่อสู้ ชุมนุม ประท้วง แข็งขืน และก็ใช้อำนาจอ่อนในการช่วงชิงพื้นที่ที่รัฐทำงานอยู่ เช่น เข้าไปเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ การใช้ข้อมูลแผนที่เพื่อเป็นเครื่องมือต่อสู้

"การต่อสู้ของชาวบ้านจึงไม่ได้เป็นเหมือนเมื่อก่อน เทคนิค วิธีการอธิบาย ทำให้เห็นพัฒนาการการเคลื่อนไหวมากขึ้น การลุกขึ้นมาสร้างพื้นที่การต่อสู้ ในงานก็พยายามชี้ให้เห็นว่าชาวบ้านควรออกจากคอมฟอร์ท โซนของตัวเองไปอยู่ในพื้นที่อำนาจบ้าง แต่การจะทำอย่างนี้ต้องมีฐานที่ค่อนข้างเข้มแข็งพอสมควร ไม่อย่างนั้นจะถูกกลืนหายเป็นผู้นำขาลอย"

โอฬาร กล่าวว่า หากมองจากปรากฏการณ์หมู่บ้านป่าแหว่ง ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบด้านป่าไม้และที่ดินเข้าร่วมกับขบวนการนี้ และพยายามชี้ให้เห็นว่าจริงๆ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะนโยบายของรัฐที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นความพยายามหนึ่งเพื่อเชื่อมกับคนชั้นกลางในเมือง

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'หมอประเวศ' แนะใช้ 8,000 ตำบลเป็นฐานพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

Posted: 31 Aug 2018 02:11 AM PDT

'หมอประเวศ' ร่วมปาฐกถาในเวทีประชุมวิชาการภาคประชาชนครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ "ยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย หัวใจการแพทย์ฉุกเฉิน"  แนะใช้ 8,000 ตำบลในประเทศไทยเป็นพื้นฐานพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ระบุไทยไม่สามารถแก้ปัญหาได้จากส่วนกลางเหตุจากอำนาจ การใช้กฎหมาย เรื่องเงินมายาคติและความฉ้อฉล ยกเคสช่วยหมูป่าเป็นโมเดลเสริมพลังท้องถิ่นฐานรากให้เข้มแข็งเพื่อการดูแลตนได้อย่างยั่งยืน ขณะที่รองเลขา สพฉ.ขานรับ พร้อมเปิดข้อมูล 4 โรคหลัก มะเร็ง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองเฉียบพลันและอุบัติเหตุบนท้องถนนทำคนไทยเสียชีวิตเยอะมากที่สุด เร่งอุดช่องโหว่เพื่อมาตรฐานในการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน

31 ส.ค.2561 ที่โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัสแวนด้าแกรนด์ ถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์กรภาคีเครือข่ายฃจัดเวทีประชุมวิชาการภาคประชาชนครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ "ยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย หัวใจการแพทย์ฉุกเฉิน"  โดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้กว่า 250 คน  ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เข้าร่วมเป็นประธานการจัดงานพร้อมทั้งกล่าวปาฐกถาในหัว "ตำบลปลอดภัย" อีกด้วย

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ กล่าวว่า ความไม่ปลอดภัยในประเทศไทยมีมากและมีมานานโดยเฉพาะอุบัติเหตุทางท้องถนนก็ทำให้คนบาดเจ็บ100,000 คนในทุกปี ซึ่งอุบัติเหตุทางท้องถนนทำให้เด็กเสียชีวิตในจำนวนที่เยอะมาก โดยประเทศอเมริกาที่เป็นประเทศที่ใหญ่มากๆ สถิติของเด็กเสียชีวิตจากอุบัติของประเทศเขาบนท้องถนนมีเพียงปีละ 11 คนแต่ของประเทศไทยเรามีเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นร้อยๆ คน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจกับเด็กๆจำนวนมากที่ต้องมาเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีการเสียชีวิตของเด็กๆ จากการจมน้ำอีกเป็นจำนวนมาก และประเทศเรายังมีการเสียชีวิตของคนไทยจากสาเหตุอื่นอีกมากไม่ว่าจะเป็นการปล้นจี้ ฆ่า ข่มขืน ซึ่งการแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้จากส่วนกลางไม่สามารถแก้ได้เพราะอยู่ไกล ซึ่งประเทศไทยเราเป็นประเทศที่รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศกล่าวว่า แต่เราจะเห็นว่ากรณีของการช่วยเหลือเด็กๆทีมหมูป่าที่ติดถ้ำจนสำเร็จได้นั้นไม่ได้เกิดส่วนกลางแต่เกิดจากการจัดการของคนในพื้นที่เพราะคนในพื้นที่เป็นคนที่เผชิญกับสถานการณ์จริง และเหตุการณ์การช่วยเหลือเด็กๆ ทีมหมูป่าติดถ้ำแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าคนไทยเป็นคนดี ทุกคนมีน้ำใจอยากช่วยเหลือและพร้อมสละประโยชน์ส่วนตนและก้าวข้ามการแบ่งแยกทุกชนิดซึ่งคนไทยเป็นคนดีเป็นคนมีน้ำใจแต่มีมายาคติที่ทำให้รู้สึกว่าคนไทยเป็นคนไม่ดี เนื้อแท้ของคนไทยพอเหตุการณ์เฉพาะหน้าเกิดขึ้นการเป็นคนดีจึงออกมาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ถ้าเราใช้ตรงนี้ช่วยกันพัฒนาประเทศไทยของเราในทุกหมู่บ้านทุกตำบล ทำจากข้างล่างเราจะช่วยกันสร้างประเทศไทยที่ปลอดภัยและจะเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลกคนไทยต้องร่วมมือกันดังนั้นจุดยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ความปลอดภัยเกิดขึ้นนั้นจึงอยู่ที่ตำบล เพราะตำบลในประเทศไทยมีกว่า 8,000 ตำบลและในแต่ละตำบลก็มีอยู่ประมาณ 10 หมู่บ้าน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตรงตำบลนั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์เพราะมีองค์กรของรัฐที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดคือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล และเป็นสถานที่ที่คนจะรวมตัวกันได้ ดังนั้นยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัยนั้น อบต. หมออนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นำชุมชนซึ่งสามารถรวมตัวกันแล้ววางเป้าหมายการทำงานของแต่ละตำบลให้ชัดเจนได้ว่าจะไม่มีการจี้ ฆ่า ปล้น ข่มขืน จะไม่มีเด็กจมน้ำตาย และจะไม่มีอุบัติภัยทางถนนและถ้ามีปัญหาฉุกเฉินในเรื่องของการแพทย์เราก็จะต้องมีอาสาสมัครที่ฝึกไว้ที่จะต้องช่วยชีวิตคนได้ เช่นกรณีของโรคหลอดเลือดสมองถ้าเราสามารถช่วยชีวิตได้เร็วก็สามารถรอดได้ ถ้าเรารวมตัวกันทำแบบนี้แล้วองค์กรอื่นก็ช่วยกันหนุนให้แต่ละตำบลให้เกิดความเข้มแข็งและปลอดภัยได้จริง เราก็จะเสนอให้มีสถาบันรับรองคุณภาพตำบลด้วย ซึ่งหากตำบลปลอดภัยจริงเราก็ประกาศรับรอง คิดว่ายุทธศาสตร์ตรงนี้เราน่าจะทำได้ถ้าเข้าใจและช่วยกัน

"อย่างที่ว่าให้บทบาทกับคนในพื้นที่คนข้างล่างคนที่สร้างพระเจดีย์จากฐาน ประเทศไทยต้องสร้างพระเจดีย์จากฐานสร้างจากยอดไม่ได้มันยากเพราะข้างบนมีทั้งเรื่องอำนาจเรื่องกฏหมายเรื่องเงิน มายาคติเรื่องความฉ้อฉล แต่ข้างล่างมันเป็นการอยู่ร่วมกันเราต้องให้ความสำคัญกับข้างล่างและให้กำลังใจกับคนข้างล่าง คนข้างล่างต้องเป็นคนมีเกียรติ ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่มีเกียรติประเทศก็จะไม่แข็งแรง ซึ่งระบบการศึกษาในประเทศเราทำให้คนส่วนน้อยมีเกียรติและทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีเกียรติเพราะไปให้ความสำคัญกับความรู้ในตำราที่คนทุกคนมีความรู้ในตัวจากประสบการณ์ชีวิต เราต้องเคารพความรู้ในตัวคนเราต้องให้เกียรติคนเหล่าเล็กคนน้อยประเทศเราถึงจะเกิดพลังแผ่นดินในการขับเคลื่อนต่อ" ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศกล่าว

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศกล่าวยังได้กล่าวถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินกับการหนุนเสริมในส่วนของตำบลปลอดภัยว่า เรื่องการแพทย์ฉุกเฉินนั้นเป็นเรื่องความเป็นความตายของคนที่เราต้องช่วยให้เร็วเพราะถ้าช้ามันจะไม่ทันการณ์ ซึ่งความเป็นความตายนั้นมันสื่อสารได้ง่ายเพราะคนเห็นภาพ ที่จริงปัญหานั้นมากกว่าเรื่องหมูป่าเยอะ เหมือนคนไทยทั้งประเทศติดอยู่ในถ้ำแต่คนไม่รู้ ทีนี้เราก็อาศัยเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินเป็นตัวนำไปสู่เรื่องอื่นทำให้องค์กรต่างๆ เข้ามาสนใจได้ง่ายและจะเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นได้ เราต้องมาช่วยกันขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพองค์กรวมร่วมกันทุกคนต้องมาช่วยกันและต้องเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนร่วมกัน

ด้านนพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติระบุว่า การประชุมการแพทย์ฉุกเฉินเครือข่ายภาคประชาชนระดับชาติ ครั้งนี้เป็นความร่วมมือของเครือข่ายภาคประชาชน ตำบลปลอดภัยเป็นมิติของพื้นที่แต่เป็นยุทธศาสตร์ของการขับเคลื่อนเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อที่จะให้ลดการเกิดภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินของคนไทย ซึ่งภาวะฉุกเฉินของคนไทยนั้นเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้ประชาชนเสียชีวิตและพิการที่เกิดมากขึ้นในแต่ละปี โดยปีพ.ศ. 2560 ที่ผ่านมาคนไทยเสียชีวิตมากถึง 460,000 ราย ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินจากสี่โรคหลัก คือ โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15-20 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด นอกจากนี้แล้วเรายังมีผู้พิการเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ปีละประมาณ 1 แสนคนด้วย ซึ่งในจำนวนผู้พิการที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผู้พิการแต่กำเนิดน้อยมากแต่เป็นผู้พิการที่เกิดจากอุบัติบนท้องถนนและโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่ทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตในจำนวนที่มากจนน่าตกใจหากว่าเราสามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงการป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉิน สามารถร่วมมือร่วมใจกันตั้งแต่ระดับประชาชนภาครัฐภาคเอกชนหนุนเสริมกันสร้างความปลอดภัยทั้งวัด โรงเรียน โรงงาน เส้นทาง  เทศกาล หรือการจัดประชุมทั้งหลายถ้าหากสิ่งต่างๆเหล่านี้มีความปลอดภัยเราจะลดการเสียชีวิตและการพิการของประชาชนได้ ในขณะเดียวกันเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้นทำอย่างไรประชาชนถึงจะมีความรู้ที่จะทำให้สามารถปฐมพยาบาลได้ กู้ชีพเบื้องต้นได้ สามารถใช้เครื่อง AED ได้และสามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินเป็น ซึ่งระหว่างที่รอรถพยาบาลมานั้นถ้าประชนมีความรู้ก็จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุลงได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการจัดประชุมในครั้งนี้ยังได้ตัวแทนจากหลากหลายหน่วยงานได้ร่วมกันวางยุทธศาสตร์เพื่อสร้างตำบลที่ปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของทุกคนร่วมกัน รวมถึงยังมีกิจกรรมและเวทีเสวนาวิชาการ และการจัดแสดงผลงานของต้นแบบตำบลปลอดภัยหลากหลายพื้นที่ร่วมด้วย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai