โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com

Link to ประชาไท

คืนวันพุธปลดอาวุธ คสช. iLaw X Prachatai | EP6 คำสั่ง คสช. กับนโยบายทวงคืนผืนป่า

Posted: 01 Aug 2018 09:30 AM PDT

รายการ "คืนวันพุธปลดอาวุธ คสช." โดย iLaw X Prachatai สัปดาห์นี้พูดคุยผลกระทบจากคำสั่ง คสช. ที่ 64 และ 66/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับ 4/2558 ซึ่งเป็นคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบายทวงคืนผืนป่า ในทางปฏิบัติส่งผลให้ประชาชนที่อยู่กับป่าถูกขับไล่ออกจากถิ่นที่อยู่ของตัวเอง ต้องย้ายที่ทำกิน และเปลี่ยนวิถีชีวิตไปอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ในกระบวนการนำชาวบ้านออกจากที่อยู่ที่ทำกินยังนำทหารและฝ่ายความมั่นคงเข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติการซึ่งส่งผลการปฏิบัติการมีความตึงเครียดและมีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง

สำหรับแขกรับเชิญในวันนี้คือคุณ ไพฑูรย์ สร้อยสด สมาชิกสมัชชาคนจนและผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าพื้นที่บ้านเก้าบาตร จ.บุรีรัมย์

ร่วมเป็นหนึ่งใน 10,000 รายชื่อเพื่อปลดอาวุธ คสช. ได้ที่ https://ilaw.or.th/10000sign

รับชมย้อนหลัง "คืนวันพุธปลดอาวุธ คสช."

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เลือกผู้ตรวจการเลือกตั้ง 77 จังหวัดแล้ว ไม่รอ กกต. ชุดใหม่ ชี้ก่อนไปต้องทำงานให้คุ้มเงินหลวง

Posted: 01 Aug 2018 07:12 AM PDT

กกต. ชุดปัจจุบันกังวลทำงานไม่คุ้มเงินหลวง คัดเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้ง 77 จังหวัดเสร็จแล้ว ไม่รอ กกต. ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ หวั่นทำช้าอาจกระทบเลือกตั้งเพราะมีกระบวนการขั้นตอนอีกมาก ขณะที่ อดีต กกต. เคยชี้ผู้สมัครส่วนใหญ่ผู้ที่เกษียญอายุจากสำนักงาน กกต. และคนที่รู้จักใกล้ชิดกับ 4 กกต. ชุดปัจุบัน

1 ส.ค. 2561 มติชนออนไลน์ ระบุถึงการให้สัมภาษณ์ของ ศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. คนปัจจุบัน ซึ่งเผยถึงผลการประชุมของ กกต. เมื่อวันที่ 31 ก.ค. ว่า ที่ประชุม กกต. ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้งทั้ง 77 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งการพิจารณาใช้เวลาคัดเลือกนาน เพราะต้องดูหลายเรื่อง เช่น มีประสบการณ์ผ่านงานเลือกตั้งมาหรือไม่  เนื่อกงจากต้องไปควบคุมการทำงานของกรรมการประจำหน่วย และหากพบว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ก็ต้องมีการรายงานให้กับ กกต. ทราบ ยืนยันว่าไมได้เร่งพิจารณา แม้ตอนนี้กำลังจะมี กกต. ชุดใหม่เข้าทำหน้าที่ แต่เห็นว่าถ้าจะมีการเลือกตั้งในต้นปีหน้า หากรอให้ กกต. ชุดใหม่มาคัดเลือกอาจจะดำเนินการไม่ทัน เนื่องจากตามกระบวนการ เมื่อได้รายชื่อมาจะต้องมีการส่งไปยังจังหวัด เพื่อปิดประกาศราบชื่อ เปิดโอกาสให้มีการคัดค้าน ถ้าพบว่ามีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสม เช่นไม่เป็นกลาง ฝักใฝ่การเมือง มีคดี ต้องโทษที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้ง ต้องมีการคัดเลือกใหม่ และก็ต้องมีการจัดการอบรม ให้ความรู้เพื่อความเข้าใจ เรื่องข้อกฎหมาย และการปฏิบัติต่างๆ ไม่อยากให้มองว่า เร่งพิจารณาเพราะต้องวางคนของตนเอง เพราพคนจะเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้งต้องสมัครผ่านจัดหวัดต่างๆ และต้องเป็นคนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้นๆ

"เราไม่สามารถจะมีคนของตัวเองที่มีภูมิลำเนาใน 77 จังหวัดได้ ในความคิดเราต้องทำให้ดี เราจะทำไม่ดีไปเพื่ออะไร ก่อนจะพ้นจากหน้าที่เราต้องทำความดี ไม่ใช่เราเลิกจากตรงนี้แล้ว สุดท้ายต้องไปอยู่ในที่จำกัด เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด อย่าคิดว่าเขาปลดเราแล้ว เราก็นั่งกินเงินหลวงฟรีไปวันๆ มันไม่ใช่เรื่อง ต้องทำงานคุ้มค่า อันไหนเป็นประโยชน์บ้านเมืองเราก็ต้องทำ" ศุภชัย กล่าว

สำหรับการประชุม ได้มีการพิจารณาเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้งทั้ง 77 จังหวัด จากบัญชีราบชื่อที่แต่ละจังหวัดคัดเลือกส่งมาจังหวัดละ 16 คน เพื่อให้ กกต. พิจารณาเลือกให้เหลือจังหวัดละ 8 คน รวมทั้งทั้งหมดมี 616 คน โดยการพิจารณาของ กกต. เป็นการลงคะแนนลับ ขั้นที่เหลือต่อจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะจัดทำบัญชีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อส่งไปยังสำนักงาน กกต. ประจำจังหวัดทั้ง 77 แห่ง เพื่อประกาสเป็นเวลา 15 วัน ให้ประชาชนได้รับทราบ และสามารถให้ข้อมูลเพิ่ม หากพบว่าผู้ที่รับการคัดเลือกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หากมีการคัดค้าน กกต. จะดำเนินการคัดเลือกใหม่ แต่หากไม่มีการคัดค้าน กกต. จะประกาศขึ้นทะเบียนเป็นเวลา 5 ปี ให้บุคคลทั้งหมดเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้ง

เมื่อถึงช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้ง กกต.จะแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดด้วยการจับฉลาก โดยแบ่งเป็น หนึ่ง ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด หรือ "คนในพื้นที่" จำนวน  2 คน และสอง ผู้ที่ไม่มีภูมิลำเนาในจังหวัด หรือ "คนนอกพื้นที่" ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง "คนในพื้นที่" ได้ ให้กกต.แต่งตั้ง "คนนอกพื้นที่" แทนได้ โดย กกต.จะต้องมีคำสั่งแต่งตั้งเสร็จไม่ช้ากว่า 10 วัน แต่ไม่เร็วกว่า 30 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งมีผลใช้บังคับ และทำหน้าที่จนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้ง โดยจะมีระยะเวลาทำงานประมาณ 60 วัน ได้รับค่าตอบแทน 5 หมื่นบาทต่อเดือน เบี้ยเลี้ยงวันละ 400 บาท ค่าที่พัก 1500 บาท และค่าพาหนะ 1000 บาทต่อวัน

อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกดังกล่าวถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสม เพราะ กกต. ชุด ปัจจุบัน ทราบดีอยู่แล้วว่าจะมี กกต. ชุดใหม่เข้ามาทำงาน รวมทั้งก่อนหน้านี้ กกต. ได้วางแนวทางไว้ว่าจะดำเนินการเพียงแค่ขั้นตอนของการเปิดรับสมัครเท่านั้น ส่วนการคัดเลือกให้เป็นหน้าที่ของ กกต. ชุดใหม่ ขณะเดียวกันมีรายงานว่าผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เกษียญอายุจากสำนักงาน กกต. และบางคนเป็นผู้ตรวจที่กำลังจะเกษียณอายุ รวมทั้งบุคคลที่รู้จักใกล้ชิดกับ กกต. ทั้ง 4 คน

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานด้ยว่า กลไกการเลือกตั้งที่มีผู้ตรวจการเลือกตั้งเพิ่มเข้ามานี้จะทำงบค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งจากเดิมในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 3000 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นเป็น 5800 ล้านบาท โดยผู้ตรวจการเลือกตั้งนี้จะทำหน้าที่แทน กกต. จังหวัดที่ได้ยกเลิกไป จาการประกาศใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 โดยมีเจตนารมย์เพื่อแก้ปัญหาความสัมพันธ์ส่วนตัวที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างกกต.จังหวัดกับนักการเมืองท้องถิ่น บนฐานคิดที่ว่าผู้ตรวจการเลือกตั้งซึ่งเป็นคนนอกพื้นที่จะช่วยปราบปรามการทุจริตเลือกตั้งและทำให้เกิดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรรมได้ แต่อย่างไรก็ตาม สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. เคยให้สัมภาษณ์กับ ไทยรัฐออนไลน์ ว่า คุณสมบัติที่วางไว้สำหรับผู้ตรวจการเลือกตั้งนั้น สุดท้ายแล้วจะทำให้ได้ผู้ตรวจการเลือกตั้งที่เป็นอดีตข้าราชการเข้ามาทำหน้าที่ เพราะการเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้งนั้นเรียกร้องเวลาทำงานเต็มเวลาตลอด 60 วัน จึงทำให้บุคคลที่ทำงานอยู่ในภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ถูกเรียกครั้งที่ 11 'คสช.' แจ้งความ 'พิชัย' ผิด พ.ร.บ.คอมฯ ย้ำ 'เพื่อไทย' เป็น รบ. แก้ ก.ม.นี้แน่

Posted: 01 Aug 2018 06:45 AM PDT

พิชัย นริพทะพันธุ์ ถูกเรียกครั้งที่ 11 หลัง คสช. โดย พ.อ. บุรินทร์ เจ้าเก่า ฟ้องข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จฯ คาดปมโพสต์นิตยสาร TIME ปกประยุทธ์ พร้อมระบุถูกสั่งแบน พิชัยย้ำนโยบายเพื่อไทยต้องแก้ไข พ.ร.บ คอมฯ ไม่ให้ใช้กลั่นแกล้งทางการเมือง

1 ส.ค.2561 เมื่อเวลา 8.40 น. ที่ผ่านา เฟสบุ๊กแฟนเพจ 'Pichai Naripthaphan' ของ พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย โพสต์ภาพหมายเรียกตัวผู้ถูกกล่าวหา พร้อมข้อความว่า พิชัย กล่าวว่า วันนี้ได้รับหมายเรียกจาก กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 26 ก.ค. 2561 ให้ไปรายงานตัวที่ กก. 3 บก. ปอท. ในวันที่ 2 ส.ค.นี้ เวลา 10:00 น. โดยผู้กล่าวหาคือ คสช. โดย พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ผู้รับมอบอำนาจ ซึ่งกล่าวหาว่า "นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน"

พิชัย ได้ถูกเรียกตัวเป็นครั้งที่ 11 แล้ว โดยเป็นการเรียกปรับทัศนคติ 8 ครั้ง และ หมายเรียกตำรวจอีก 3 ครั้ง ซึ่งนับเป็นผู้ที่ถูกเรียกตัวมากที่สุด โดยครั้งที่ 7 ถูกเรียกไปคุมตัว 7 วัน และโดนคลุมหัวปิดตาทั้งไปและกลับ

พิชัย กล่าวด้วยว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดว่าโดนกล่าวหาในเรื่องใด เพราะทุกเรื่องที่ได้เสนอต่อสาธารณะ เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้มาโดยตลอด ซึ่งเชื่อว่าประชาชนสามารถใช้วิจารณญาณตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่ผมนำเสนอนั้นถูกต้องหรือไม่ และไม่เข้าใจว่า ขณะนี้กำลังจะมีการเลือกตั้งอยู่แล้ว เหตุใดจึงยังใช้วิธีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยอาศัย พ.ร.บ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ซึ่งหากพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล จะมีนโยบายที่จะต้องแก้ไข พ.ร.บ คอมพิวเตอร์นี้ เพื่อไม่ให้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชน อีกทั้งปรับปรุงแก้ไขให้เป็นสากลในทุกด้าน ซึ่งน่าจะช่วยแก้ปัญหาการลงทุนภาคเอกชนที่หายไปด้วย ทั้งนี้ผมได้มอบให้ ทนายความ นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ประสานงานกับ บก. ปอท. ในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า พิชัย มีชื่อและปรากฏภาพไปร่วมงานฉลองวันเกิด กับ อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่กรุงลอนดอน จึงเป็นสาเหตุให้ถูกหมายเรียกในคราวนี้ใช่หรือไม่ ซึ่งหลังจากกลับมาจากรุงลอนดอน นายพิชัยได้นำเสนอแนวคิดของนโยบายเศรษฐกิจแบบใหม่ ที่หวังว่าจะโดนใจประชาชนและจะสร้างความนิยมให้กับพรรคเพื่อไทยได้อย่างมาก จนมาถูกหมายเรียกนี้

คาดปมโพสต์ปกนิตยสาร TIME

ขณะที่ ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า จากการตรวจสอบแหล่งข่าว บก.ปอท.แจ้งว่า พิชัยถูกดำเนินคดีข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14(2)นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

จากกรณีโพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว Pichai Naripthaphan เมื่อ 25 มิ.ย.2561 เวลา 07.48 น. เป็นภาพปกนิตยสาร TIME ฉบับหน้าปก พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีข้อความภาษาไทย"สั่งแบนแล้ว !!! ห้ามจำหน่ายในประเทศไทย"  โดยข้อความดังกล่าวบิดเบือน ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

‘สัตว์ประหลาด’ เมื่อบทหนังรางวัลคานส์ของ ‘เจ้ย’ จะขอระดมทุนทำหนังสือ

Posted: 01 Aug 2018 04:35 AM PDT

บทหนัง 'สัตว์ประหลาด' จะขอระดมทุนเพื่อทำเป็นหนังสือโดย 'FILMVIRUS' ชวนคุยกับ บ.ก. 'วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา' เล่าถึงหนังสือที่จะฉายทุกรายละเอียดเบื้องหลังหนังร่วมด้วยลูกเล่นจากงานเขียนล้อเคียงกับบริบทในยุคนั้น ที่เขาเห็นว่า"สำหรับเรามันเป็นหนังที่เหมือนฝันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง การได้มองเห็นภาพร่างของความฝัน มันเลยงดงามมาก"

ในยุค 90's สมัยที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตและไม่มีเทศกาลหนังมากมายอย่างทุกวันนี้ 'FILMVIRUS' คือชื่องานฉายหนังและนามปากกาของ สน- สนธยา ทรัพย์เย็น ผู้เขียนคอลัมน์เกี่ยวกับหนังและวิดีโอ และจัดฉายหนังที่ดวงกมลฟิล์มเฮาส์ ซีคอนสแควร์ ซึ่งหนังส่วนใหญ่ได้มาจากสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันเกอเธ่ สมาคมฝรั่งเศส หรือมาจากการขอเป็นการส่วนตัวบ้าง นำมาฉายแลกเปลี่ยนกัน สนยังทำหนังสือ FILMVIRUS 1, 2 และ BOOKVIRUS 1, 2 ซึ่งเป็นการเขียนเอง พิมพ์เอง ขายเองที่แท้ และแม้ว่าหนังสือจะขายยากมาก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นให้คนอื่นๆ มาเจอกัน รุ่นต่อมาที่รับช่วงการฉายหนังต่อคือ ไผ่-กัลปพฤกษ์ เมื่อไผ่ไปเรียนต่อ ก็เป็นรุ่นของ ชาย-วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (Filmsick) บิ๊ก-ปฐมพงศ์ มานะกิจสมบูรณ์ จิตร-จิตร โพธิ์แก้ว และต่อมาคือ ตี้-ชญาณิน เตียงพิทยากร ทุกคนรวมตัวกันแบบหลวมๆ ไม่ได้เป็นองค์กร แค่ดูหนังจบแล้วไปนั่งกินข้าวกันฟุ้งฝันกันเรื่องหนัง แล้วค่อยๆ ลามต่อยอดกันไปเรื่อยๆ เท่าที่มีแรงกายแรงทรัพย์สินส่วนตัว

FILMVIRUS ปัจจุบันยังคงจัดฉายหนัง (ฟรี) อย่างต่อเนื่องในนาม 'FILMVIRUS WILDTYPE' และเคยทำหนังสือกับเจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล มาแล้วเรื่อง 'สัตว์วิกาล' อันเป็นหนังสือที่รวบรวมมุมมองในการทำงานและบันทึกความคิดของเจ้ย รวมทั้งคำนิยมของอาจารย์ เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson) และบทความจากนักเขียนรับเชิญซึ่งเข้ามาช่วยขยายภาพในรายละเอียดเพื่อให้ใกล้ชิดกับความคิดของเจ้ยได้ยิ่งขึ้น

ปีนี้ FILMVIRUS ได้วางแผนตีพิมพ์ 'บทภาพยนตร์' เรื่อง 'สัตว์ประหลาด' ของเจ้ย-อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่ได้รางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมืองคานส์ในปี 2547 อันเป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องความรักสามัญธรรมดาของนายทหารหนุ่มกับหนุ่มชาวบ้านในแบบกึ่งจริงกึ่งฝันผนวกเข้ากับตำนานท้องถิ่น หลายคนประทับใจ หลายคนไม่เข้าใจ หลายคนตีความโยงทั้งเรื่องการเมือง เพศ อำนาจ สันชาตญาณดิบ คนชายขอบ ฯลฯ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหนังของเจ้ยเต็มไปด้วยความพิศวงงวยงงที่น่าค้นหาและทำความเข้าใจ และความยากของการทำหนังสือก็เพิ่มขึ้นอีกสเต็ปเมื่อได้รับโจทย์จากเจ้ยว่า "ต้องไม่พิมพ์บทภาพยนตร์เล่มนี้ออกมาเฉยๆ แต่จะต้องล้อเล่นกับความเป็นบทภาพยนตร์ของมัน"

ประชาไทสัมภาษณ์ ชาย-วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา นักเขียนและนักวิจารณ์หนังในนาม 'Filmsick' และบรรณาธิการของหนังสือใหม่เล่มนี้ เล่าถึงกระบวนการทำงาน และความโดดเด่นของหนังสือที่เขาบอกว่า "ทุกอย่างที่เห็นในหนังถูกเขียนขึ้นมาแล้ว ผ่านการคิดอย่างละเอียด" ความน่าสนใจจึงอยู่ที่ทุกการขยับตัวของนักแสดง พร็อบ ฉาก หรือเสียง มีวิธีคิดอย่างละเอียดอยู่เบื้องหลัง ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะเปิดเผยความคิดเหล่านี้ รวมทั้งผนวกลูกเล่นของงานเขียนเข้าไปด้วย

วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา

จุดเริ่มต้นของโปรเจคต์นี้?

จุดเริ่มต้นของโปรเจคต์นี้เกิดจากพี่สนอยากตีพิมพ์บทหนัง เพราะมองว่าบทหนังเป็นสิ่งที่ศึกษาได้ และประเทศไทยเราก็มีคนที่สมควรได้รับการศึกษาที่สุดอยู่ในมือ สำหรับพี่สนมันจึงเป็นเรื่องที่สมควรทำมาก แต่ไม่เห็นมีใครทำ เลยอยากลองทำดู แรกเริ่มแค่อยากเอาตัวบทมาตีพิมพ์เฉยๆ ซึ่งพี่สนรู้จักพี่เจ้ยเป็นการส่วนตัวก็เลยลองถามดู จากนั้นพี่เจ้ยก็ให้ไอเดียเพิ่มเติมมา จากการที่คิดง่ายๆ ว่าเอาบทมาพิมพ์เราก็ได้บทที่มีลายมือ มีโน้ตละเอียดยิบมาแล้วเราต้องเล่นกับมันมากกว่าที่เราคิด

ทำไมต้องเป็นบทภาพยนตร์เรื่องนี้จากบรรดาหนังทั้งหมด?

จริงๆ ตอนแรกพี่สนอยากพิมพ์บทหนังเรื่องไหนก็ได้ของพี่เจ้ย แต่พอพี่สนชวนเรามาช่วยแล้วถามเราว่าเรื่องไหนดี เราก็ฟันธงลงไปเลยว่า 'สัตว์ประหลาด' เพราะเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบที่สุดตลอดกาล สัตว์ประหลาดเป็นหนังสำคัญ ไม่ใช่แค่เพราะมันได้คานส์ แต่สำหรับเรามันเป็นหนังที่ประหลาดที่สุด เหมือนฝันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง การได้มองเห็นภาพร่างของความฝัน มันเลยงดงามมาก

กว่าจะเป็นเล่มนี้ผ่านอะไรมาบ้าง อยากให้เล่ากระบวนการทำงาน ปัญหา อุปสรรค เมื่อได้รับโจทย์ว่า "ต้องไม่พิมพ์บทภาพยนตร์เล่มนี้ออกมาเฉยๆ แต่จะต้องล้อเล่นกับความเป็นบทภาพยนตร์ของมัน"?

อย่างที่บอกไปว่าพี่เจ้ยอยากให้ล้อเล่นกับความเป็นบทภาพยนตร์ของมัน พี่เจ้ยบอกว่าถ้าพิมพ์เฉยๆไม่ให้พิมพ์ มันต้องมีลูกเล่นอะไรนิดหน่อย เป็นโจทย์ที่เราต้องคิดว่าจะเล่นอะไรกับมันบ้าง เราคิดว่าหนังเรื่องนี้ออกฉายในช่วงปี 2004 และสิ่งที่เราทำคือเอาชิ้นส่วนความเป็นวรรณกรรมของหนังที่เฉลิมฉลองความเป็นภาพยนตร์ โดยเล่าเรื่องภาพสามัญของคนสามัญ เราเลยอยากเฉลิมฉลองการอ่านของคนสามัญธรรมดา ในฐานะวรรณกรรมจากภาพ ลูกเล่นทั้งหลายของหนังสือจึงเป็นการค้นหาว่าในช่วงปลายยุค 90's ถึงต้น 2000's คนสามัญ คนต่างจังหวัด อย่างโต้ง เก่ง ป้าสำเริง หนุ่มโรงน้ำแข็ง สาวบนรถสองแถว (ตัวละครจากหนังเรื่องสัตว์ประหลาด) อ่านอะไรกัน แล้วคิดลูกเล่นขึ้น เขียนแฟนฟิคขึ้น ขยายงานภาพและงานเขียนจากสิ่งพิมพ์ของยุคสมัยนั้นขึ้นมา

ทีนี้เราก็หาทีมมาช่วยวาดช่วยเขียน มีทั้งเขียนเองทั้งได้งานมาจากนักเขียนอย่าง 'ภู กระดาษ' หรือ 'ชาญชนะ หอมทรัพย์' ได้งานภาพมาจากนักวาดหลายๆ ท่านที่เราอยากอุบไว้ก่อน ทั้งหมดจะถูกแทรกลงไปเพื่อตัดขาดผู้อ่านออกจากตัวบทหนังเป็นระยะ แนบเข้าไปกับตัวบทดั้งเดิม เหมือนเป็นภาคต่อ ภาคขยาย เป็นทั้งเรื่องนอกบทและเรื่องในบท

ถ้าถามว่าปัญหาอุปสรรคคืออะไร อุปสรรคสำคัญที่ตอนนี้ก็ยังมีคือความกลัว และปัญหาคือเงิน เราไม่มีเงิน ไม่มีประสบการณ์ มีแต่ความคิด เราทำทุกอย่างแบบยังไม่แน่ใจว่าจะออกมาดีไหม แล้วจะมีเงินพิมพ์ออกมาหรือเปล่า ต้องขอบคุณกราฟฟิกดีไซน์อย่าง เป็ด-ภาคภูมิ ลมูลพันธ์ ที่ทำให้ทุกอย่างออกมาน่ามั่นใจมากๆ แล้วยังช่วยคิดหาทางว่าจะทำยังไงให้มันออกมาได้ ความกลัวและอุปสรรคนี่แหละที่ทำให้เราต้องออกมาระดมทุน เราอยากให้มันออกมาดีที่สุด ให้สมกับที่พี่เจ้ยให้โอกาส แต่มันยากมากที่เราจะทำเอง แม้เราจะเชื่อว่าทำได้ แต่เราต้องการความช่วยเหลือ

ความโดดเด่นของหนังสือเล่มนี้?

ถ้าตัดพวกลูกเล่นออกไป ลำพังแค่การอ่านว่าบทนึ้พี่เจ้ยทำให้เห็นเป็นภาพได้อย่างไรก็คุ้มค่าแล้ว มันระบุกระบวนการคิดโดยละเอียด ตอนเราอ่านบทครั้งแรก เราขนลุกมากๆ เพราะทุกรายละเอียดถูกวางไว้ละเอียดมาก เราจะเห็นว่าทุกอย่างที่เห็นในหนังมันถูกเขียนขึ้นมาแล้ว มันผ่านการคิดอย่างละเอียด แม้หนังที่ออกมาจะต่างไปจากบท แต่เราก็จะได้เห็นส่วนที่หายไป และส่วนที่เติมเข้ามา สำหรับเรามันเป็นคัมภีร์เลย

งานที่ออกมาตรงกับที่คิดไว้เลยไหม?

ตอนนี้งานยังไม่เสร็จสมบูรณ์แบบจับต้องได้ ประกอบเข้าเล่มอะไรแบบนี้ แต่จากการขอความช่วยเหลือจากนักเขียนนักวาด เราตื่นเต้นกับงานที่ได้รับกลับมามากๆ เราคิดว่ามันผ่านการตีความที่น่าตื่นเต้นจริงๆ ดีไซน์ของเป็ดก็น่าตื่นเต้นสุดๆ

ทำงานกับเจ้ยเป็นยังไงบ้าง?

พี่เจ้ยเป็นคนละเอียด เราอาจจะไม่ได้ประสานกับพี่เจ้ยแบบทุกขั้นตอน กระบวนการคือเราก็ทำของเราไป แล้วส่งเมลล์อัพเดตอย่างละเอียดเป็นระยะ ซึ่งอัพเดตแต่ละครั้งก็พยายามอธิบายให้ละเอียดที่สุด

จากที่ทราบมาใช้งบประมาณสูงมาก?

จะเรียกว่าสูงไหม เราว่าถ้าคนทำหนังสือจริงๆ มาเห็นก็คงไม่ได้คิดว่ามันสูงมากนะ แต่เราทำแบบคนไม่เงินเลย ก็พยายามจะกดงบให้ได้มากที่สุดแต่ก็อยากให้คนทำงานได้ค่าแรงที่เหมาะควรด้วยนั่นแหละ มันก็เลยอาจเกิดเรื่องที่กลัวมากๆ คือหนังสือแพง ซึ่งเราก็พยายามเท่าที่เราทำได้แล้ว

คาดหวังจากการระดมทุนมากน้อยเท่าไหร่?

อยากได้มากเท่าที่มากได้ (หัวเราะ) ถ้าได้ไม่พอยังไม่รู้ว่าจะทำไงเหมือนกัน อย่างน้อยก็ให้เท่ากับต้นทุนนั่นแหละ

รายละเอียดในการระดมทุน ผ่านช่องทางไหนบ้าง?

ตอนนี้ขอให้รอช่วงวันที่ 6-9 กันยายนที่เราจะเปิดตัวที่งาน Bangkok Art Book Fair ซึ่งจัดโดย Bangkok City City Gallery เราคิดว่าอะไรต่อมิอะไรน่าจะชัดขึ้นในตอนนั้น และตอนนี้มีเพจเฟซบุ๊ค Tropical Malady : the book

เรื่องอื่นที่อยากประชาสัมพันธ์ของ FILMVIRUS?

ปีนี้ FILMVIRUS ยังเหลืองานฉายหนังอีกโปรแกรมเดียว แล้วก็จะมาเริ่มกันใหม่ปีหน้า ใครสะดวกก็ตามงานของพวกเราได้ที่เพจ Kafe Lumiere ซึ่งเป็นเพจหลักที่ใช้ในการแจ้งข่าว และแน่นอนทุกโปรแกรมชมฟรีเหมือนเดิม

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ทางการอินเดียบีบชนกลุ่มน้อยเบงกาลีพิสูจน์สัญชาติ สี่ล้านคนหวั่นถูกเนรเทศ

Posted: 01 Aug 2018 04:01 AM PDT

กรมทะเบียนราษฎร์อินเดียให้ประชาชนรัฐอัสสัมหลายล้านพิสูจน์สัญชาติว่าเข้ามาตั้งรกรากในอินเดียก่อนบังกลาเทศประกาศอิสรภาพหนึ่งวัน หลายฝ่ายกังวลว่ารัฐบาลปัจจุบันที่มีฐานเสียงเป็นชาวฮินดูกำลังอ้างเหตุกวาดล้างชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์อย่างชาวเบงกาลีที่เป็นมุสลิมหรือไม่

ธงชาติอินเดีย (ที่มา: pixabay/Pexels)

31 ก.ค. 2561 หน่วยงานทะเบียนราษฎร์ของทางการอินเดีย (NRC) เผยแพร่รายชื่อที่อาจจะทำให้ประชากรราว 4 ล้านคนในรัฐอัสสัมที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศถูกตัดสถานะพลเมืองอินเดีย

หน่วยงานทางการให้ประชาชนที่อยู่ในรายชื่อพิสูจน์ตัวเองว่าพวกเขาเข้ามาอยู่ในอินเดียตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. 2514 หรืออีกนัยหนึ่งคือหนึ่งวันก่อนที่บังกลาเทศจะประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากปากีสถาน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการคัดแยกชาวบังกลาเทศผู้อพยพเข้าเมือง "อย่างผิดกฎหมาย" แต่ก็ทำให้เกิดความกลัวว่าแนวปฏิบัติเช่นนี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือล่าแม่มดต่อชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธ์ในรัฐอัสสัม

เจ้าหน้าที่รัฐบาลอินเดียกล่าวว่าจะไม่มีการส่งตัวคนที่เป็นผู้อพยพเข้าเมือง "อย่างผิดกฎหมาย" ออกนอกประเทศโดยทันทีเพราะเกรงว่าจะเกิดความรุนแรง แต่จะมีกระบวนการให้ทุกคนอุทธรณ์ได้ ซึ่งบีบีซีก็รายงานว่าเป็นกระบวนการที่กินเวลายาวนานที่ครอบครัวหลายล้านครอบครัวอาจต้องตกอยู่ในสภาพกลับไม่ได้ไปไม่ถึงในช่วงที่รอคอยการตัดสินใจสุดท้ายว่าสถานะทางกฎหมายของพวกเขาจะเป็นอย่างไร

ในช่วงที่บังกลาเทศประกาศอิสรภาพจากปากีสถานนั้นเกิดสงครามยาวนานจนถึงช่วงเดือน ธ.ค. ในปีเดียวกัน ประชาชนหลายล้านคนอพยพหนีไปที่ประเทศอินเดียซึ่งอยู่ใกล้เคียง และผู้ลี้ภัยจำนวนมากก็ลงหลักปักฐานอยู่ที่รัฐอัสสัม

ภายใต้สนธิสัญญาอัสสัมที่มีการลงนามรับรองจากนายกรัฐมนตรี ราจีฟ คานธี ของอินเดียเมื่อปี 2528 ระบุว่าคนที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเข้ามาในรัฐอัสสัมก่อนวันที่ 24 มี.ค. 2514 จะถูกตัดสิทธิ์จากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและถูกขับไล่เนื่องจากไม่ได้เป็นพลเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในตอนนั้นมีคน 32 ล้านคนที่ส่งเอกสารให้ทะเบียนราษฎร์เพื่อพิสูจน์ตัวเองแต่ก็มีจำนวน 4 ล้านคนที่ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อ

สิ่งที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้ทำให้ชาวเชื้อสายเบงกาลีจำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในอัสสัมกลัวว่าจะถูกเนรเทศหมู่ นั่นรวมถึงแม้แต่กับคนที่เข้ามาในอินเดียก่อนปี 2517 ด้วย หนึ่งในผู้ที่กังวลเรื่องนี้คือ ฮาสิตัน นิสซา ครูอายุ 47 ปีผู้ที่ใช้ชีวิตวัยเด็กและเติบโต ทำงาน แต่งงานมีลูก ในอินเดีย ครอบครัวของเธอเข้ามาในอินเดียก่อนปี 2517 แต่ก็ยังกังวลว่าเธอจะถูกปลดสัญชาติ ถูกริบกรรมสิทธิที่ดินและสิทธิพลเมืองต่างๆ อย่างสิทธิในการเลือกตั้งและเสรีภาพอื่นๆ

ทั้งนี้ นักกิจกรรมก็มองว่ามาตรการดังกล่าวเป็นการพยายามเอาใจกลุ่มชาตินิยมฮินดูและกลุ่มหัวแข็งในอัสสัมโดยการกำจัดชาวเชื้อสายเบงกาลีอย่างฮาสิตัน ที่สถานะในเอกสารมีความคลุมเครือแต่ก็เป็นผู้อาศัยแถบแม่น้ำพรหมบุตรที่ย้ายถิ่นฐานไปมาในช่วงฤดูน้ำขึ้น รัฐบาลอินเดียมักจะอ้างว่ามีชาวบังกลาเทศแฝงตัวอยู่ในชาวเบงกาลีและใช้เอกสารปลอมในการอาศัยอยู่ แต่นาซรูล อาลี อาห์เหม็ด นักกิจกรรมเบงกาลีก็พูดถึงเรื่องนี้ว่ารัฐบาลอินเดียแค่พยายามรวมหัวกันก่อเรื่องเลวร้ายต่อชาวเบงกาลีซึ่งเป็นชาวมุสลิม และเป็นที่น่ากังวลว่าพวกเขาอาจจะประสบความเลวร้ายแบบเดียวกับชาวโรฮิงญาในพม่า

นักข่าวบีบีซีประจำภูมิภาครายงานว่า หลังจากที่มีองค์กรสิทธิมนุษยชนแสดงความกังวลในเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์ของอินเดียก็แถลงว่า ตามกฎหมายแล้วพวกเขาจะพิจารณาสัญชาติโดยไม่แบ่งแยกศาสนาหรือการใช้ภาษา แต่ทว่าทางนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี เองกลับเป็นคนที่เลือกปฏิบัติโดยเอื้อประโยชน์ต่อผู้อพยพจากบังกลาเทศที่นับถือศาสนาฮินดูมากกว่า โดยบอกว่าเป็นกลุ่มคนที่อินเดียควรจะรับไว้และเคยเรียกผู้อพยพกลุ่มอื่นๆ ว่า เป็น "ผู้แทรกซึม" นอกจากนี้ พรรคบีเจพีซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของอินเดียยังได้พิจารณาจะออกกฎหมายส่งเสริมผู้อพยพที่นับถือศาสนาฮินดูด้วย

นักข่าวบีบีซียังวิเคราะห์ว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นการพยายามเรียกร้องเสียงสนับสนุนจากกลุ่มชาวฮินดูที่เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของพรรคบีเจพีช่วงก่อนการเลือกตั้ง

นอกจากนี้ยังมีความกังวลในเรื่องการใช้โวหารของรัฐบาลอินเดียที่ดูเป็นการส่งเสริมให้เกิดการล่าแม่มด เช่น ตัวแทนจากกลุ่มชื่อองค์กรสหพันธ์ 'นักศึกษาทั่วอัสสัม' ที่ยุยงปลุกปั่นให้เกิดการขับไล่ผู้อพยพจากบังกลาเทศมาเป็นเวลานานแล้ว โดยพวกเขากล่าวอ้างว่า "พวกต่างชาติผิดกฎหมายจะรุกล้ำสับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจ" ของพวกเขา ขณะที่เพลงโปรโมทของหน่วยงานทะเบียนราษฎร์อินเดียก็มีเนื้อเพลงแบบชาตินิยมสุดโต่งที่มีใจความว่า "สัญญาณการปฏิวัติใหม่เพื่อกำจัดต่างด้าวศัตรู" ล้วนเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง

นิสซาบอกว่าโวหารพวกนี้เป็นเรื่องจริงจังสำหรับเธอ เธอโต้ตอบว่า "พวกเราไม่เคยทำอันตรายอะไรชาวฮินดูเลย พวกเราสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติเคียงข้างกันไปได้" แต่นิสซาก็กลัวว่าอาจจะมีข่าวร้ายในเร็วๆ นี้

เรียบเรียงจาก

Assam register: Four million risk losing India citizenship, BBC, Jul 39, 2018

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ปัตตานี: ทหารพรานบุกอุ้มนักสิทธิ์ อ้าง กม.พิเศษ

Posted: 01 Aug 2018 03:13 AM PDT

ทหารพรานไม่ทราบสังกัดบุกเข้าทำการจับกุมชายชาวไทยมุสลิมจำนวน 5 คน แต่เช้ามืด โดยไม่แจ้งสาเหตุหรือข้อหาอ้างใช้กฎหมายพิเศษ พบ 2 ใน 5 เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยถูกจับกุมตัวมาแล้ว ซึ่งพบว่ามีการบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจหลังได้รับการปล่อยตัว 

1 ส.ค. 2561 เมื่อเวลาประมาณ 04.30 น. ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารพรานไม่ทราบสังกัดและจำนวน ได้เข้าทำการรปิดล้อมที่พักและจับกุมตัวประชาชนชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จำนวน 5 ราย โดยแบ่งเป็นพื้นที่อำเภอสายบุรี จำนวน 4 รายและอำเภอไม้แก่น 1 ราย โดยทั้ง 4 ราย ที่มีภูมิลำเนา อำเภอสายบุรี ได้ส่งต่อไปยัง สภ.สายบุรี  เมือเวลา 06.30 น.ก่อนที่จะส่งต่อไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ส่วนอีกรายซึ่งถูกควบคุมตัวที่อำเภอไม้แก่น ถูกส่งตัวไปยังค่ายจุฬาภรณ์ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาสเมื่อเวลา 08.30 น. 

การเข้าทำการปิดล้อมจับกุมชาวไทยมุสลิมดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้อ้างว่าใช้กฎหมายพิเศษในการควบคุมตัว ไม่มีการแจ้งเหตุผลให้ทราบว่าเป็นการจับกุมจากเหตุหรือข้อหาใด 


บูรฮาน บือราเฮง

ผู้ถูกจับกุมตัว 2 ราย ทำงานอยู่ องค์กรเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD) ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบด้วย นอกจากนั้นพวกเขาทั้งสองเคยถูกควบคุมตัวมาแล้วครั้งหนึ่ง ทำให้ยังคง้ได้รับผลกระทบทางด้านสภาพจิตใจที่ยังคงต้องได้รับการฟืนฟูเยียวยา แต่กลับต้องมาถูกควบคุมตัวซ้ำอีกครั้ง

นายบูรฮาน บือราเฮง อายุ 32 ปี เลขาฯ เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD)  1 ในผู้ถูกจับกุม มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังซึ่งมีใบรับรองแพทย์ยืนยันหลังการถูกควบคุมตัวโดยกฎหมายพิเศษครั้งแรก 

เพื่อนของบูรฮานกล่าวว่า "กฎหมายพิเศษที่ทางเจ้าหน้าที่อ้างถึงมี 2 ตัว ตัวแรกคือกฎอัยการศึก ตัวที่สอง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทุกครั้งในพื้นที่จะใช้ว่า ปฏิบัติตามกฎหมายพิเศษ จะปิดล้อม จับกุม เมื่อไหร่ เวลาไหนก็ได้"

เธอกล่าวต่อว่า "จากสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ ไม่มีการแจ้งสาเหตุการจับกุม สร้างข้อสงสัย และสร้างคำถามกับเครือญาติ ครอบครัว และเพื่อน ของผู้ถูกจับกุม ตลอดจนมีการตั้งคำถาม ถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้กฎหมายพิเศษว่าการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีความชอบธรรมหรือไม่ และที่ผ่านมายังไม่เคยมีองค์กรอิสระใดที่สามารถตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้ จึงเป็นปัญหาคาใจของประชาชนในพื้นที่ ที่ไม่เคยได้รับความกระจ่างในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างเสมอมา 

สำหรับอีก 4 รายทางครอบครัวไม่ต้องการให้เปิดเผยชื่อ เนื่องจากเกรงปัญหาด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยทั้งในส่วนของผู้ถูกจับกุมตัวและครอบครัวเอง 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กสทช. เผยคนใช้งานดาต้าผ่านมือถือเพิ่มถึง 16.95% แต่ใช้ด้วยเสียงลดลง 13%

Posted: 01 Aug 2018 02:25 AM PDT

เลขาธิการ กสทช. เผยไตรมาส 1 ปี 61 ปริมาณการใช้งานโทรศัพท์ด้วยเสียงโดยตรงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 60 ถึง 13% แค่ใช้งานดาต้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นถึง 16.95% ชี้อาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้งานที่เปลี่ยนเป็นโทรหากันผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แทน

1 ส.ค.2561 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) รายงานว่า ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงาน กสทช. พบว่า ไตรมาส 1 ปี 2561 ปริมาณการใช้งานโทรศัพท์ด้วยเสียงโดยตรงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2560 ถึง 13% โดยไตรมาส 4 ปี 2560 มีปริมาณการโทรอยู่ที่ 8,900 ล้านนาที ขณะที่ไตรมาส 1 ปี 2561 มีปริมาณการโทรอยู่ที่ 7,700 ล้านนาที เมื่อดูข้อมูลปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ไตรมาส 1 ปี 2561 พบว่าเพิ่มขึ้น จากไตรมาส 4 ปี 2560 ถึง 16.95% โดยเพิ่มจาก 1,033,022 เทราไบต์ เป็น 1,208,046 เทราไบต์ แสดงให้เห็นว่าคนไทยเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานจากที่โทรหากันด้วยเสียงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยตรง เป็นการโทรหากันผ่านอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยแอปพลิเคชัน อาทิ Line WhatsApp skype Messenger KakaoTalk หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ แทน 

ทั้งนี้ จากการสำรวจของสำนักงาน กสทช. พบว่า การโทรศัพท์ด้วยเสียงผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่จะใช้ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต ดังนี้ Line ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 0.67 MB ต่อนาที WhatsApp ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 1.52MB ต่อนาที skype ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 1.64 MB  ต่อนาที Messenger ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 0.67 MB ต่อนาที KakaoTalk ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 0.6 MB ต่อนาที Tango ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 1.1 MB ต่อนาที Hangouts ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 0.68 MB ต่อนาที และ Viber ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 1.01 MB ต่อนาที

ส่วนการโทรในรูปแบบวิดีโอคอลผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่จะใช้ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต ดังนี้ Line ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 2.72 MB ต่อนาที WhatsApp ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 4.89 MB  ต่อนาที skype ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 10.01 MB ต่อนาที Messenger ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 5.29 MB ต่อนาที KakaoTalk ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 3.41 MB ต่อนาที Tango ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 4.72 MB ต่อนาที Hangouts ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 36.58 MB ต่อนาที และ Viber ใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ต 40.52 MB ต่อนาที

"ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการใช้งานดาต้าผ่านโทรศัพท์ที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทย สวนทางกับการโทรหากันโดยตรงด้วยเสียงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ลดลง อาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นการโทรหากันผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แทน เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน" ฐากร กล่าว

หมายเหตุ ข้อมูลนี้ใช้หน่วย 1,000 กิกะไบต์ = 1 เทราไบต์ และ 1,000 เทราไบต์ = 1 เพตะไบต์

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

รอบโลกแรงงานกรกฎาคม 2018

Posted: 01 Aug 2018 12:38 AM PDT

HTC ประกาศปลดพนักงานสายงานการผลิตในไต้หวัน 1,500 คน

HTC ประกาศปลดพนักงานสายงานการผลิตในไต้หวัน 1,500 คน พร้อมปรับโครงสร้างธุรกิจอีกครั้ง เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากขึ้น โดยบริษัทจะร่วมกับสำนักแรงงานเพื่อช่วยเหลือพนักงานที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด การปลดพนักงานและการปรับโครงสร้างธุรกิจของ HTC ในปีนี้ เกิดขึ้นเป็นรอบที่ 2 นับตั้งแต่เดือนก.พ. 2018 โดยครั้งนั้นเป็นการปลดพนักงานในสหรัฐฯ

ที่มา: engadget.com, 2/7/2018

กฎหมายลดเวลาการทำงานเหลือ 52 ชั่วโมง/สัปดาห์ ในเกาหลีใต้บังคับใช้แล้ว

เมื่อต้นเดือน ก.ค. 2018 บริษัทต่างๆ ในเกาหลีใต้ต่างปรับตารางเวลาการทำงาน เพื่อตอบรับกฎหมายลดชั่วโมงการทำงานจาก 68 เป็น 52 ชั่วโมง/สัปดาห์ แต่จากการรายงานของ BusinessKorea ที่ทำการสำรวจบริษัท 351 แห่ง พบว่าบริษัทกว่า 39.2% แทบไม่ได้เตรียมการเพื่อตอบรับกฎหมายลดชั่วโมงการทำงาน 22.9% ไม่ได้เตรียมการเลย ขณะที่บริษัทราว 27.1% เตรียมการในระดับหนึ่ง และ 10.8% เตรียมการอย่างดี

ที่มา: BusinessKorea, 3/7/2018

โรงงานพลุเม็กซิโกระเบิดเสียชีวิต 24 คน บาดเจ็บ 49 คน

เกิดเหตุระเบิดในโกดังโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟแห่งหนึ่ง ทางตอนเหนือของกรุงเม็กซิโกซิตี้ มีผู้เสียชีวิตรวม 24 คน ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าหน้าที่ดับเพลิง 4 คน และตำรวจ 4 คน ส่วนตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บอยู่ที่ 49 คน ผู้อำนวยการสำนักงานคุ้มครองพลเรือนเม็กซิโกเผยว่าเจ้าหน้าที่กำลังเร่งสอบสวนหาสาเหตุของการระเบิดครั้งนี้ หลังเกิดเหตุทางการได้สั่งระงับการขายพลุในพื้นที่ และทบทวนใบอนุญาตผลิตของโรงงานหลายแห่ง

ที่มา: tvnz.co.nz, 6/7/2018

ฝนตกหนักจากพายุ 'พระพิรุณ' กระทบภาคธุรกิจญี่ปุ่น

ภาวะฝนตกหนักดังกล่าวเกิดจากพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ' ซึ่งได้พัดกระหน่ำญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. 2018 ได้ส่งผลกระทบต่อ 11 จังหวัดในญี่ปุ่น โดยสร้างความเสียหายต่อถนนหลายสาย ขณะที่เกิดน้ำท่วมหนัก และทำให้ต้องมีการระงับการให้บริการรถไฟ 37 เส้นทาง รวมทั้งภาคธุรกิจในญี่ปุ่นยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกหนักและน้ำท่วมในประเทศ โดยบริษัท Mazda Motor และ Daihatsu Motor ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ขนาดเล็กในเครือ Toyota Motor ประกาศระงับการผลิตที่โรงงานในจังหวัดเกียวโต ฮิโรชิมา และยามากุชิ เพื่อรับรองความปลอดภัยของพนักงาน ท่ามกลางความไม่แน่นอนต่อการขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์

ที่มา: asia.nikkei.com, 9/7/2018

บริษัทน้ำมันนอร์เวย์ร่วมมือกับสหภาพแรงงานในกานา

Aker Energy แห่งนอรเวย์ ที่เพิ่งซื้อใบอนุญาตการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสำหรับแหลมทาโนในประเทศกานาจาก Hess Corporation ในต้นปีนี้ จะทำการร่วมมือกับบรรดาสหภาพแรงงานเพื่อสิทธิของแรงงานและเสรีภาพในการจัดตั้งสมาคม การหาสมาชิก และการเจรจาทางสังคม โดยจะทำงานร่วมกับแรงงานเพื่อบรรลุความต้องการร่วมกัน

ในการประชุมเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ผ่านมา Aker Energy ได้ลงนามในข้อตกลงกรอบการดำเนินงานระดับโลก (GFA) กับอินดัสทรีออลที่ต้องการให้มีการทำงานร่วมกับสหภาพแรงงานกานาในรูปแบบเดียวกันกับการทำงานร่วมกับสหภาพแรงงานในประเทศนอร์เวย์

ที่มา: industriall-union.org, 13/7/2018

พนักงาน 'Amazon' ในยุโรปรวมตัวประท้วงบริษัทจ้างงานไม่เป็นธรรม

พนักงาน Amazon ในยุโรปประท้วงบริษัทที่จ้างงานอย่างไม่เป็นธรรม ในช่วงเทศกาลลดราคาครั้งสำคัญประจำปีของอะเมซอน หรือ 'Prime Day' โดยที่เยอรมนี โปแลนด์ และสเปน พนักงานประจำโกดังเก็บของประกาศวอล์คเอาท์การทำงานเพื่อต่อรองให้มีสัญญาจ้างงานที่มีเงื่อนไขเป็นธรรมมากขึ้น ทั้งนี้บริษัท Amazon เยอรมนี ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากแค่บริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

ที่มา: BBC, 17/7/2018

ความตกลงบังคลาเทศ-อนุญาโตตุลาการประกาศปิดเคสอย่างเป็นทางการ

ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (PCA) ได้ประกาศให้การดำเนินการกับบริษัทแบรนด์แฟชั่นข้ามชาติ 2 แห่ง ภายใต้ความตกลงบังคลาเทศ ตามข้อบังคับอัคคีภัยและความปลอดภัยของอาคารเป็นอันสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ การแถลงครั้งนี้นำโดยสหภาพนานาชาติของอินดัสทรีออลและ UNI โดยแบรนด์ดังกล่าวได้ปฏิบัติตามข้อตกลงทั้งหมดรวมถึงการจ่ายเงินมากกว่า 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพื่อแก้ไขสภาพที่ไม่ปลอดภัยในโรงงานในบังคลาเทศ ซึ่งกรณีดังกล่าวนับเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำข้อบังคับที่มีผลผูกพันตามกฎหมายมาบังคับให้บริษัทรับผิดชอบต่อความปลอดภัยในที่ทำงาน

ข้อบังคับดังกล่าวครอบคลุมคนงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้ากว่า 2.5 ล้านคนในบังคลาเทศ โดยได้รับการริเริ่มโดยอินดัสทรีออลและ UNI ในปี 2013 ภายหลังเหตุการณ์ที่รานาพลาซ่าซึ่งคร่าชีวิตแรงงานกว่า 1,100 คน และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน

ที่มา: industriall-union.org, 18/7/2018

National Grid กีดกันพนักงานและปฏิเสธการเข้าถึงประกันสุขภาพ

National Grid บรรษัทข้ามชาติผู้จำหน่ายไฟฟ้าและก๊าซสัญชาติอังกฤษได้กีดกันการเข้าทำงานของสมาชิกกว่า 1,200 คน ของสหภาพแรงงานในรัฐแมสซาชูเซตส์และปฏิเสธการให้เข้าถึงประกันสุขภาพของคนงาน ภายหลังการเจรจาในวันที่ 25 มิ.ย. 2018 ประสบความล้มเหลว โดยบริษัทได้นำแรงงานเหมาช่วงเข้ามาทำงานแทนซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากการทำงานก๊าซต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ National Grid จะเพิ่งได้รับผลประโยชน์จากการลดภาษีของทรัมป์และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้บริโภค แต่ดูเหมือนบริษัทจะมีความมุ่งมั่นในการลดต้นทุนโดยลดผลประโยชน์ของลูกจ้าง

ที่มา: industriall-union.org, 19/7/2018

อินเดียยอมรับคำร้องของสหภาพแรงงานให้นั่งในเวลางานได้

สภาปกครองส่วนท้องถิ่นของรัฐเกรละ ทางใต้ของอินเดีย ยอมรับคำร้องของสหภาพแรงงานหญิง 'อัมธุ' ที่รวมตัวกันเดินขบวนเรียกร้องในหลายพื้นที่ของรัฐเกรละเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2018 ที่ผ่านมา เพื่อให้รัฐบาลปรับแก้กฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงานให้ครอบคลุมถึง 'สิทธิที่จะนั่ง' ของพนักงานหญิงในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าทั่วรัฐ รวมถึงสิทธิที่จะพัก-เข้าห้องน้ำ และใช้ลิฟต์ในอาคารที่ทำงาน

ทั้งนี้ในอินเดียพนักงานหญิงจำนวนมากไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องน้ำระหว่างเข้ากะ ทำให้ผู้หญิงหลายคนเลือกจะดื่มน้ำปริมาณน้อยในแต่ละวัน หรือไม่ดื่มเลย เพื่อจะได้ไม่ต้องเข้าห้องน้ำ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย

ที่มา: BBC, 23/7/2018

เหมืองหยกในพม่าถล่มมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 27 คน

เหตุดินถล่มหลังจากฝนตกหนักที่เหมืองหยกในรัฐคะฉิ่นของพม่า ฝังกลบผู้เคราะห์ร้ายอย่างน้อย 27 คนเสียชีวิต ทั้งนี้ธุรกิจเหมืองหยกซึ่งเป็นแหล่งทำเงินของพม่าที่รัฐคะฉิ่นในพื้นที่ห่างไกล มักประสบภัยพิบัติรุนแรงหลายครั้ง และผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่มักมาจากชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีฐานะยากจน

ที่มา: Radio Free Asia, 25/7/2018

นิวซีแลนด์ผ่านร่างกฎหมายอนุญาตให้เหยื่อความรุนแรงในครอบครัวสามารถลางานได้

นิวซีแลนด์ผ่านร่างกฎหมายอนุญาตให้เหยื่อความรุนแรงในครอบครัวสามารถลางานได้ 10 วัน โดยแยกออกมาจากวันลาพักร้อนและลาป่วย แต่ได้รับค่าจ้างตามเดิม เพื่อให้ผู้ถูกกระทำไปดำเนินเรื่องหย่าร้างกับคู่สมรส หาบ้านพักใหม่ และปกป้องตัวเองกับลูกจากผู้ใช้ความรุนแรง โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในเดือน เม.ย. 2019

ที่มา: usnews.com, 27/7/2018

นศ.ต่างชาติมีโอกาสอยู่ในอเมริกาเพื่อทำงานลดลง หลังสหรัฐฯคุมเข้มนโยบายผู้อพยพ

นโยบายผู้อพยพที่เข้มงวดของสหรัฐฯ ในช่วงปีที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบกับผู้อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ที่ตกเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อแรงงานต่างชาติในระดับปัญญาชน ให้เข้ามาทำงานในอเมริกาลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการส่งเสริมศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหรัฐฯในอนาคตอันใกล้ด้วย สัญญาณหนึ่ง เห็นได้จากการศึกษาของ Pew Research ที่เปิดเผยว่า มีนักศึกษาต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวในสหรัฐฯ ที่เรียกว่า Optional Practical Training หรือ OPT เมื่อปี 2017 อยู่ที่ 276,500 คน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากปี 2016 ที่มีผู้ได้รับใบอนุญาต OPT นี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34

Optional Practical Training คือใบอนุญาตทำงาน ที่สหรัฐฯออกให้กับนักศึกษาต่างชาติ ในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่านั้น ให้มีโอกาสทำงานในสหรัฐฯได้ เป็นเวลา 1 ปีหลังจากจบการศึกษาในสหรัฐฯ ข้อมูลจาก Pew Research ระบุว่า ในปี 2017 นักศึกษาเกือบทุกประเทศที่ทำการสำรวจ ได้รับใบอนุญาต OPT เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2016 อย่างอินเดียที่เคยได้รับอนุมัติถึงร้อยละ 71 ในปี 2016 กลับเพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 20 ในปี 2017 ไทยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 กลับลดลงร้อยละ 8 ในปี 2017 และจีนที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 มาในปี 2017 กลับเพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 1 ทั้งนี้ Pew Research มองว่า การยื่นขอและได้รับใบอนุญาติ OPT ที่ลดลงในช่วงปี 2017 ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายผู้อพยพที่เข้มงวดขึ้น รวมทั้งนโยบาย Buy American, Hire American

ที่มา: VOA, 27/7/2018

 

 

 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ผี ศิลปะ งานวิจัย สิ่งที่ยังต้องถามแม่ว่ามีจริงหรือเปล่า 1

Posted: 31 Jul 2018 06:55 PM PDT

เป็นเรื่องเศร้าเรื่องเดียวกันของแวดวงศิลปะและวิชาการแถวนี้ บางทีเราก็ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนของสังคม คุณเป็นศิลปินที่คิดเผื่อผู้ชมเอาไว้เพียบพร้อมว่าเขาจะได้อะไร จะรู้สึกอะไรจากงานของคุณบ้าง แต่แล้วก็ไม่มีผู้ชมทั่วไป และมันยังเหงาขึ้นไปอีกเมื่อนักวิจารณ์ที่เขียนถึงงานคุณ มีแต่เพื่อนของคุณ คุณเป็นนักวิชาการ คิดแล้วคิดอีกในช่วงข้อเสนอแนะเพื่อที่จะให้สมกับที่ตัวเองเลือกทำงานทางความคิด ให้คุ้มที่สังคมจ่ายให้คุณมาคิด แต่คุณพบว่าไม่มีคนอ่าน หรือคนเอาไปทำก็ไม่ได้สนใจรายละเอียดของคุณแต่อย่างใด ทำไปทำมานานเข้า คุณเริ่มนึกถึงน้ำเสียงของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา แว่วอยู่ในหัวว่า "สิ้นเดือนรับตัง แดกข้าว" คุณไม่ได้สูญเสียความเชื่ออะไรลงไป แต่คุณเหนื่อย หากบังเอิญคุณข้องแวะอยู่กับทั้งสองแวดวงดังกล่าว คุณอาจรับรู้ได้ถึงความเหนื่อยที่คล้ายกันอย่างประหลาด จากคนหลายๆ คนที่ไม่เคยรู้จักกันเลย

ผมจะปรับทุกข์ต่อด้วยการเล่าให้ฟังก่อนว่าผมไปเจออะไรมา แล้วหลังจากนั้นจะค่อยๆ อธิบายว่าศิลปะกับงานวิจัยประเทศนี้เป็นเหมือนผีได้อย่างไรในเงื่อนไขที่เกี่ยวพันกัน และเราจะคิดถึงมันอย่างไร

นักวิชาการรุ่นเล็กด้วยกันเข้าใจดีว่าในขณะที่ยังไม่มีปริญญาหรือเส้นสายมากพอ และถ้าไม่ได้ร่ำรวยพอจะรอปริญญาเฉยๆ (ผมใช้คำว่ารอ) มีอะไรเข้ามาให้ทำก็ต้องทำ เมื่อวานนี้ผมรับงานไปเป็นเสมียนจดบันทึกการประชุม และพบว่าตัวเองกำลังจดผลผลิตของนโยบายที่มาจากข้อเสนอในงานวิจัยของตัวเอง โดยที่คนในห้องประชุมก็ไม่มีใครทราบว่าผมเองที่คือคนที่เคยถือเค้กอยู่ในข้อเสนอเหล่านั้น ผมเอง ที่เสนอสิ่งเหล่านั้นไปแล้วพวกเขาเข้าใจผิด

ข้อเสนอแรกคือการสร้างหน่วยวิจัยทางวัฒนธรรมเยาวชนทั่วประเทศ ผมเขียนเอาไว้เมื่อราวสองปีที่แล้ว ก่อนที่นโยบายทรงนี้ของแหล่งทุนจะออกมา ผมเองมีโอกาสเสนอตรงกับผู้อำนวยการในแหล่งทุนนั้นทั้งสองคน คนหนึ่งในขณะที่ยังเป็นผู้อำนวยการอยู่ และอีกคนหนึ่งในขณะที่กำลังจะเป็น งานต้นฉบับที่หลายท่านมักไม่ทราบว่ามันมีอยู่ เพราะได้ดูเพียง Power Point คืองานชิ้นนี้ที่ชื่อ วิพากษ์และเสนอทิศทางการสนับสนุนของแหล่งทุนที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนไทยผ่านการวิจัยเชิงวัฒนธรรม ซึ่งบันทึกข้อเสนอเอาไว้โดยละเอียดว่าที่มาของปัญหาแหล่งทุนคืออะไร และเหตุใดจึงต้องวิจัยวัฒนธรรมเยาวชนเพิ่มเติม ข้อเสนอที่สำคัญที่สุดในนั้นคือไม่ได้เสนอให้อาจารย์ทั้งหลายรุมเข้าไปวิจัย แต่เสนอให้เยาวชนวิจัยตัวเองอย่างไม่จำกัดรูปแบบ ผมเองเสนอเอาไว้ว่า ผู้ใหญ่ไม่สามารถเข้าใจเยาวชนได้ในแบบที่เขาเป็น (อย่างที่ผมเองตอนนี้ก็เริ่มไม่เข้าใจแล้ว และถอยออกมาหลังจากข้อเสนอนี้) สิ่งที่ต้องทำคือปล่อยให้เขาพูดถึงตัวเอง สบายใจพอที่จะพูดออกมาเองได้ว่าจะเอาอะไร และผู้ใหญ่คิดถึงความต้องการของเขาในขณะที่ให้ข้อมูลกับเขาเกี่ยวกับโลกใบนี้ที่ผู้ใหญ่รู้จักมาก่อน ทีนี้ปัญหาที่ตามมาเมื่อการวิจัยที่เยาวชนวิจัยตัวเองโดยไม่มีรูปแบบเกิดขึ้นก็คือ เราจะสามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างไรในเมื่อมันไม่มีการจัดรูปแบบ นำมาสู่ข้อเสนอถัดมา ซึ่งก็กำลังกลายเป็นนโยบายของแหล่งทุนที่ทำงานเกี่ยวกับเยาวชนอีกเช่นกัน คือ

ข้อเสนอที่สอง การสร้างฐานข้อมูลที่จะจัดการกับข้อมูลเหล่านั้น โดยวิธีการที่ผมเขียนเอาไว้ในประชาไทนี้เอง ซึ่งมักถูกเรียกว่า Big Data ช่วงที่ผมนำข้อเสนอนี้ไปทำงานเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการก็มักมีคนเข้าใจว่าผมกำลังเสนอ Big Data โดยทั่วไป ซึ่งก็อาจเป็นเช่นนั้น แต่ผมเสนอโดยมีรายละเอียดที่มากกว่านั้น จึงไม่นิยมเรียกมันว่า Big Data ด้วยตัวเอง เขียนเอาไว้ในข้อเขียนชิ้นนี้ การสานสะพานระหว่างข้อมูลกับมนุษย์: ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลประชากรโดยประชาชน ซึ่งใจความของมันเสนอการจัดข้อมูลที่เป็นมนุษย์มากๆ หรือไม่มีระบบ ให้สามารถประเมินหรือประมวลเพื่อสร้างนโยบายตอบรับสนับสนุนได้

งานทั้งสองชิ้นนี้ผมแลกเปลี่ยนในเวทีของ UNFPA หนึ่งครั้ง โดยพูดถึงทั้งสองงานพร้อมๆ กัน หนึ่งในผู้เล่นสำคัญที่สุดที่จะกำหนดนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนอยู่ในนั้นด้วยกันเกือบทั้งหมด (แน่นอนว่าที่ประชุมที่ผมไปเป็นเสมียน รับนโยบายมาจากคนเหล่านี้) ในงานประชุมนี้เมื่อปลายปีที่แล้ว มีบันทึกไว้ใน รายงานประชากรไทย พ.ศ. 2561: การลงทุนกับเยาวชน และกำชับเอาไว้ตามที่มีบันทึกการประชุมว่า การวิจัยต้องเป็นของเยาวชนเอง ไม่จำกัดรูปแบบ ส่วนหน้าที่ของผู้ใหญ่คือการลงทุนกับการสร้างฐานข้อมูลเพื่อจัดการกับข้อมูล ผมยังเสนอเอาไว้ชัดเจนอีกด้วยว่า ให้งบวิจัยไปก็ไม่คุ้ม เป็นการลงทุนที่ไม่ทัน เพราะวัฒนธรรมวิ่งเร็วมากในช่วงปีหลัง ให้เอางบส่วนนั้นมาพัฒนาฐานข้อมูล และเริ่มการ "entitle" หรือมอบสิทธิอำนาจอย่างเป็นทางการให้เยาวชนวิจัยตนเอง งานทุกชิ้นของผมเชื่อว่าเขาวิจัยตนเองได้ ผมเขียนข้อเสนอเหล่านี้ทั้งหมดเมื่อมีอายุ 19-21 ปี คนที่ทำแบบเดียวกันกับผมได้มีเยอะแยะ หากตัดความขึงขังในรูปแบบงานวิจัยออกไป ผมพูดอยู่บ่อยครั้งว่างานของผม บางทีก็มีบทบาทแค่การแปลภาษาจากภาษาเด็กให้กลายเป็นภาษาผู้ใหญ่ เพื่อขึงขังให้ผู้ใหญ่ยอมรับฟังเท่านั้น

กลับมาที่ผมในบทบาทเสมียน ผมพบว่าข้อเสนอของผมที่ตกทอดลงไปในที่ประชุมนั้นเหลืออยู่เพียงสองประเด็นสั้นๆ เท่านั้น หนึ่ง จัดตั้งศูนย์วิจัยเยาวชนทั่วประเทศ สิ่งที่หายไปคือ วิจัยวัฒนธรรม และอีกสิ่งที่หายไปคือการวิจัยโดยเยาวชนเอง สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือความเป็นสถาบันของคำว่าศูนย์ ซึ่งหมายความว่าเขาก็จะวิจัยว่าทำอย่างไรให้เด็กสูบบุหรี่น้อยลง ไม่ได้สนใจว่า ROV ส่งอิทธิพลต่อวัฒนธรรมเยาวชนอย่างไร และจะใช้มันสื่อสารกับเยาวชนได้อย่างไร เมื่อมันเป็นศูนย์ เยาวชนก็เป็นวัตถุวิจัย ไม่ใช่ผู้วิจัย และอีกประเด็นสำคัญก็คือ เขาคงเข้าใจกันไปว่านี่คือการเปิดโอกาสให้อาจารย์ต่างๆ เข้ามาวิจัย ด่า สั่งสอน ยัดเยียดแบบสอบถามให้เด็กและเยาวชนอีกเช่นเคย และไม่ได้มีใครพูดถึงการสนับสนุนทุนลงไปให้เยาวชนวิจัยตัวเองอีกต่อไป น่าจะไม่แม้แต่จินตนาการว่ามันเป็นไปได้ ทุกคนคืออาจารย์ และจะวิจัยกันโดยรูปแบบเดิม ทำทุกอย่างเหมือนเดิม ส่วนผมเองที่สร้างข้อเสนอนี้ขึ้นมา วางพนันว่าถ้ายังทำตามนี้ต่อไป จะไม่มีอะไรดีขึ้น นอกจากชีวิตของอาจารย์ที่ขอทุนวิจัยได้ แล้วไปเกณฑ์เด็กมาทำวิจัย

ความเชื่อว่าเยาวชนหรือวัยรุ่นเป็นเพียงเด็ก เป็นเพียง junior ฝังลึกอย่างมากที่สุดจนแม้แต่คนที่พูดว่าตัวเองเปิดกว้าง รับฟัง และอยากสนับสนุนมากกว่าชี้นำเยาวชน ก็ไม่สามารถมองเห็นสิ่งเหล่านี้ว่าเขาเองไม่สามารถไว้ใจให้เยาวชนทำงานในบทบาทนำ หรือ active ได้ (ขออนุญาตข้ามเรื่องที่ว่า ทำไมเยาวชนบางส่วนทำไม่ได้ไปก่อน เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะพูดถึงในวาระนี้ หลายท่านคงทราบว่าภาระของเยาวชนตั้งแต่ในคาบเรียนยาวไปจนถึงการสอบเข้าต่างๆ มันมากมายเพียงใด ใครจะมาบ้านั่งวิจัยเรื่องที่ตัวเองสนใจเหมือนผมที่ทิ้งการเรียนไปตั้งแต่ ม.ปลาย คนบ้าเราไม่นับ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าทุกคนไม่มีศักยภาพพอที่จะทำได้ เพียงแต่ประเทศนี้อนุญาตให้คนบ้าที่ยอมขูดรีดตนเองเท่านั้นได้ทำ)

ประเด็นที่สอง Big Data เขาคุยกันว่ามีนโยบายจะจัดทำ Big Data ไม่มีใครเข้าใจว่ามันมีขึ้นมาเพื่ออะไร และไม่มีใครเข้าใจว่ามันล้อกับการตั้งหน่วยวิจัยทั่วประเทศอย่างไร คนในที่ประชุมบ่นอุบว่ามันต้องอัพเดทตลอดเวลา ซึ่งเขาตามแจกแบบสอบถามไม่ทัน แต่ประเด็นของผมคือพวกเขาไม่ใช่คนที่จะต้องแจกแบบสอบถามอีกต่อไป พวกเขามีหน้าที่นั่งอ่านและตีความข้อมูล กับบอกเด็กและเยาวชนว่าสามารถส่งข้อมูลเข้ามาบนฐานข้อมูลเหล่านั้นได้ เรื่อง Big Data ก็ตกไป เพราะทุกคนตกลงกันว่าทำไม่ทัน และไม่เข้าใจว่ามันมีอยู่ทำไม เพราะเขาไม่เข้าใจตั้งแต่ข้อเสนอแรกว่าจะมีหน่วยวิจัยวัฒนธรรมทั่วประเทศไปทำไม  

ที่ผมเจ็บช้ำที่สุดคือ ยังมีคนในที่ประชุมที่พูดอีกว่า เด็กและเยาวชนสมัยนี้มันไว เราไม่รู้จะตามมันทันได้อย่างไร ซึ่งคำถามนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลยหลังจากที่เขาผ่านตานโยบายทั้งสองนโยบายมาล้ว คือหน่วยวิจัยเยาวชนโดยเยาวชนเอง และการจัดการข้อมูลเหล่านั้นโดยฐานข้อมูลที่ผู้ใหญ่ออกแบบ สรุปแล้วก็คือ ทุกอย่างที่ผมเสนอไปถูกเข้าใจผิดหมดจนจะไม่แก้ปัญหาอะไร และไม่มีใครรู้สึกด้วยซ้ำว่าจะเริ่มเข้าใจกันระหว่างวัฒนธรรมต่างวัยได้อย่างไร ที่สุดแล้วมันยังเผยให้เห็นว่า ทุกคนก็ไม่ทราบอยู่ดีว่าจะทำในสิ่งที่ตนเองทำอยู่ไปเพื่ออะไร นอกจากงบวิจัยและตำแหน่งที่จะทำให้เงินเดือนเพิ่มขึ้นมา

ผมลงพนันอีกครั้งว่า จะไม่มีอะไรดีขึ้น

ผมรู้สึกเหมือนถูกจับมานั่งมัด จับหัวให้มองลูกของตัวเองถูกฉีกทึ้งอยู่ตรงหน้า แล้วคนฉีกก็เอาไปแบ่งกันกิน ลูกผมตาย พูดไม่ได้อีกต่อไป ตลอดระยะเวลาที่เป็นเสมียน ผมรู้สึกเหมือนถูกจับมาทำโทษที่ไม่ได้อยู่ทำงานด้านการพัฒนาต่อ ผมนั่งเงียบและจดมันลงไปทุกอย่าง ไม่ได้ยกมือเถียง ไม่ได้แสดงความคิดเห็น ปีนี้ผมเหนื่อยเกินกว่าจะเถียงกับใครแล้วไม่ได้ผลอะไรอีกต่อไป

หลังจากนั้นผมก็มานั่งคิดกับตัวเองว่า ทำไมเขาไม่อ่านงานวิจัยกันด้วยตัวเอง หรือทำไมสายงานไม่ป้อนงานวิจัยหรือข้อเสนอให้กันอ่าน หรืออันที่จริงแล้วมีใครเคยอ่านสิ่งที่ผมเขียนหรือไม่ หรือฟังแต่ที่ผมพูดเพียงอย่างเดียว หรือที่คนอื่นเอางานเหล่านั้นไปพูดเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าอ่านก็จะเห็นว่าที่กำลังทำกันอยู่นี้จะพากลับไปสู่ความล้มเหลวเหมือนเคย คือผู้ใหญ่ไม่เข้าใจเด็ก สร้างนโยบายออกมาให้เด็กเกลียด สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ก็คืองานเด็กและเยาวชนที่เละเทะเท่าเดิม แต่มีจำนวนมากขึ้น หรือว่าเขาอ่านมาอย่างดีแล้ว แต่ก็รู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้จนตัดให้เหลือแต่ส่วนที่ทำได้อยู่ดี

งานวิจัยที่แม้จะเข้าไปถึงส่วนนโยบายแล้ว ทำไมมีอยู่ก็เหมือนไม่มี และทำไมถึงแปลงร่างกลายเป็นสิ่งอื่นได้อย่างสุดโต่งขนาดนี้ ผมพยายามนึกว่ามันเกิดจากอะไร ขณะที่ออกไปสูบบุหรี่และคุยกับเยาวชนที่เข้ามาร่วมโครงการโดยไม่ได้รู้มาก่อนว่าเขาจะถูกพามาทำอะไร เขาบอกผมที่เราเพิ่งรู้จักกันจากการยืมไฟแช็กตรงนั้นว่า เขาเกลียดงานวันนี้ อยากจะเถียง อยากจะกลับบ้านตั้งแต่วันแรก แต่เกรงใจ เขาพูดว่าตัวเองรู้มากกว่าที่วิทยากรมาสอนแล้ว คนจัดงานไม่ให้เวลาเขาพักหรือพูดคุยกันเอง ทำเหมือนเขาไม่เคยทำอะไรมาก่อน ทั้งที่เขาคิดว่าเขาเคยไปนอนกับชาวบ้านและแก้ไขปัญหามาได้แล้วมากกว่าผู้จัดซะอีก แต่กลับถูกผู้จัดทำเหมือนเขาไม่เคยทำอะไรมาเลย และมาสอนเขียนโครงการให้ขายได้เฉยๆ ซึ่งเขาตระหนักดีว่าโครงการที่ขายได้เหล่านี้ ไม่ช่วยอะไร เมื่อถามว่าทำไมไม่บอกไปตรงๆ ภายในงาน เขาบอกว่าไม่มีโอกาสและไม่มีช่องที่เปิดให้เขาได้พูดเลย เขาบอกให้ผมฟังว่าช่วงที่พวกเขาไปรวมตัวกันเยอะๆ ในห้องน้ำและผมเดินสวนเข้าไปเห็น คือเขาเข้าไปปรึกษากันว่าจะขบถต่องานที่เขาไม่ชอบมากๆ งานนี้อย่างไรดี แต่แล้วก็ต้องยกเลิกความคิดเหล่านั้นไป เพราะเกรงใจผู้ใหญ่ ในทางกลับกัน ผมยังไม่เห็นผู้ใหญ่คนไหนเกรงใจพวกเขาเลย เขาบอกว่าเขาต้องวงแตกเพราะคนที่เข้าไปไล่เขาออกมาจากห้องน้ำให้เข้าไปร่วมงานต่อคิดว่าพวกเขาแค่กำลังเถลไถลไปเรื่อย

ช่างมีวุฒิภาวะมากเหลือเกิน ในที่ที่ไม่มีใครมีวุฒิภาวะกับพวกเขาเลย

แล้วผมทำอะไรบ้าง? ผมไม่ทำอะไรเลย ผมไปเพื่อเป็นเสมียน รับเงิน แล้วกลับบ้าน

นั่นทำให้ผมนึกถึงรูปแบบองค์กรและโครงสร้างการเสนอโครงการต่างๆ ที่ไม่เคยอนุญาตให้ความจริงทำงาน ความจริงทำงานกับเราได้น้อยเหลือเกินเมื่อมีไมโครโฟนจ่ออยู่ที่ปากและความเป็นทางการเข้ามาเล่นงาน ความจริงทำงานเพียงบนโต๊ะอาหาร ห้องน้ำ หรือที่พักสูบบุหรี่ ต่อให้เราเข้าไปพบความจริงมามากขนาดไหนก็ตาม เราจะพบว่าเราไม่สามารถเขียนมันลงไปในฟอร์มของโครงการได้ ไม่สามารถระบุตัวชี้วัดได้แม้จะเห็นอยู่ตรงหน้าว่าอะไรที่แก้ปัญหาได้จริงๆ สุดท้ายทุกคนก็เหนื่อยและลงเอยกับการจัดอบรม ศึกษาดูงาน สานพลังเครือข่าย ทำให้มันจบๆ ไปอย่างว่างเปล่า และไม่เคยกล้าย้อนกลับมามองในสายตาคนนอกว่า ยังไม่มีอะไรดีขึ้นเลย ในขณะที่เรื่องยากไม่มีใครสนใจและเข้าใจ การทำเรื่องง่ายที่เข้าใจได้ง่ายๆ กลับขายได้ตลอดเวลา ดังนั้นทุกคนจึงมุ่งหน้าไปที่การเขียนโครงการเพื่อขาย รวมทั้งงานประชุมครั้งนี้ที่ผมไปเป็นเสมียนมาก็ด้วย เขาตั้งใจจะสอนเพียงการเขียนโครงการเพื่อให้แหล่งทุนอนุมัติเท่านั้น

ในบรรยากาศแบบนี้ คุณจะอ่านงานวิจัยหรือจริงใจกับปัญหาไปเพื่ออะไร ในเมื่อเขียนความจริงลงไปแล้วมันกลับกลายเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงไม่ได้ในระบบ? และคุณจะอ่านหรือทำความเข้าใจงานโดยละเอียดไปเพื่ออะไร เมื่อมีเพียง Power Point กับอินโฟกราฟฟิกสวยๆ ที่นำมาขายงานกับคุณ คุณก็คิดไปเองว่าตัวเองเข้าใจมันอย่างละเอียดแล้วได้ และเมื่ออ่านไป รับรู้ถึงความจริงไป คุณก็ใส่มันลงไปในโครงการหรือตัวชี้วัดไม่ได้อยู่ดี และดังนั้นเมื่อคุณหลวมตัวมาทำงานพัฒนาสังคมจนไม่มีประวัติไปทำงานอย่างอื่นได้แล้ว คุณก็ยังต้องทำมันต่อไปทั้งที่รู้อยู่ว่าจะไม่มีอะไรดีขึ้น และปลอบใจตัวเองด้วยคำชมเล็กน้อยจากเด็กบางคนที่เกรงใจคุณ แล้วคุณก็อาจคิดได้ว่า ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ทุกอย่างก็ราบรื่นดี คนที่มีปัญหาคือคนที่มีอคติ

นอกจากงานวิจัยของผมเองที่ตอนนี้ผมต้องยอมรับว่าผลของมันล้มเหลวไปแล้ว ผมยังคิดถึงงานวิจัยโดยอาจารย์อีกหลายชิ้นที่กำลังจะคลอดตามมา พวกมันก็จะล้มเหลวตามกันไปอีก จะไม่มีนโยบายที่เข้าอกเข้าใจวัฒนธรรมเยาวชนต่อไปอีก จะมีงานวิจัยที่วิจัยจบแล้วไม่ตอบปัญหาของสังคมต่อไปอีก ไม่แม้แต่จะถูกหยิบขึ้นมาอ่านอีกครั้ง งานเหล่านี้เคยมีใครกล้าหาญมากพอหรือไม่ที่จะวิจัยความล้มเหลวของพวกมัน งานเหล่านี้ที่จำนวนไม่น้อยมีที่มาเป็นภาษี ที่สังคมมอบให้นักวิชาการเอาไปคิดเพื่อกลับมาแก้ปัญหาสังคม (โดยที่สังคมก็ไม่มีโอกาสตัดสินใจเอง แต่ถูกตัดสินใจแทนด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ) เป็นอาชีพที่สังคมให้เงินเรามานั่งคิดอย่างเดียวเพื่อแก้ปัญหาให้เขา ผมอยากทราบว่ามีใครอายบ้างหรือไม่ที่งานของตัวเองไม่ได้แก้ปัญหาอะไร ผมอาย

แหล่งทุนวิจัยกล้าวิจัยความล้มเหลวของตัวเองหรือไม่?

ผมไม่อยากจะโทษว่าอาจารย์เหล่านี้เป็นมารร้าย นี่เป็นธรรมชาติของสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นจากบรรยากาศทางวิชาการที่เป็นอยู่ คือเงินเดือนอาจารย์มันไม่พอกินพอใช้ รวมทั้งยังมีเวลากับภาระงานล้นพ้น แต่ก็ต้องทำวิจัยเพิ่มเพื่อเลี้ยงตัวเอง และก้าวหน้าในอาชีพ เมื่อยื่นขอทุนวิจัย อาจารย์จะพบว่าใส่ความจริงลงไปไม่ได้ หรือทำได้ยากลำบากเหลือเกิน งานวิจัยประเทศนี้ไม่มีงานที่ออกมาไม่ตรงสมมติฐาน การวิจัยทุกอย่างวิจัยในสิ่งที่รู้อยู่แล้ว เพราะความจริงใส่ลงไปไม่ได้ มันจะไม่ตรงกับที่เขียนขอในโครงการ จู่ๆ คุณจะเลี้ยวไปทำอย่างอื่นไม่ได้ทั้งๆ ที่คุณเห็นอยู่ตำตาว่าต้องทำมันเพื่อแก้ปัญหา ในขณะที่ถ้าจะต้องทำให้ได้ มันก็ต้องลงแรงมากเหลือคุ้มเพื่อที่จะสู้กับข้อจำกัดต่างๆ และซ้ำร้ายต่อให้ทำออกมาได้ดีมาก อาจารย์ก็ยังมั่นใจได้เลยว่าจะไม่มีใครอ่านงานของเขาอย่างละเอียด คนไทยไม่อ่านงานกันเองละเอียดเหมือนอ่านงานปรัชญาฝรั่ง ข้อสรุปที่เกิดขึ้นกลายเป็นภาวะรู้ทั้งรู้ว่าทำลงไปก็ไม่ช่วยอะไร แต่ก็ยังคงต้องทำ เหมือนกับที่ผมไม่ได้อยากรับงานเสมียน แต่ก็ต้องรับ

ลองนึกว่าเราอยู่ในประเทศที่ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์เท่านี้ ประกันชีวิตไม่มี ดอกเบี้ยบ้านแพง การศึกษาไม่ฟรี เราจะมีทางเลือกสักกี่ทางกัน หากวันหนึ่งอาชีพอาจารย์เองมั่นคงกว่าทุกวันนี้ รัฐมีสวัสดิการมากขึ้น สามารถทำหน้าที่หลักได้โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม งานวิจัยอาจกลายเป็นงานของคนที่ "อิน" จริงๆ และสู้กับหัวข้อวิจัยของตัวเองจริงๆ ไม่ต้องมานั่งวิจัยเป็นพิธีกรรม วิจัยรักษาหน้ากันไปวันๆ เช่นทุกวันนี้ และไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเครือข่ายของอาจารย์ที่รักษามิตรภาพกันเองเอาไว้เพื่อที่จะให้เครือข่ายของตัวเองได้เติบโต คนขอทุนวิจัยควรจะน้อยลง คุณภาพของงานควรจะมากขึ้น และเราทุกคนก็จะมีเวลาอ่านมันในสภาพของรัฐที่มีทั้งเวลาว่าง ความตึงเครียดในหน้าที่การงานน้อย และสวัสดิการ ที่สุดแล้วในประเทศนี้ ถึงจะมีงานวิจัยที่ดีอยู่แล้ว งานก็ไม่สามารถทำงานได้ หากไม่เปลี่ยนโครงสร้างซึ่งต้องทำผ่านอำนาจบริหาร อำนาจทางการเมือง

ไม่รู้พูดแบบนี้จะทำร้ายอนาคตของตัวเองหรือเปล่า แต่ผมเสนออย่างประชดประชันเล็กน้อยว่าภารกิจเดียวของหน่วยทุนที่เกี่ยวกับการวิจัยในประเทศนี้ ตอนนี้ มีอยู่ภารกิจเดียว คือวิจัยว่าทำยังไงให้งานวิจัยทำงานได้เสียที ทำยังไงให้ข้อเสนอที่ผ่านการครุ่นคิดเข้าไปถึงการสร้างความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง หรือแก้ปัญหา หลังจากนั้นค่อยไปทำประเด็นอื่น ทำอย่างไรดีให้งานวิจัยในประเทศนี้มีอยู่จริง ไม่ใช่สิ่งที่มีไว้ตกแต่งสิ่งที่ใครสักคนอยากจะทำเพื่อที่จะบอกกับสังคมว่า กูวิจัยมาแล้ว

การจะแก้ปัญหาเหล่านี้คงพึ่งพาอำนาจระดับท้องถิ่นหรือการรวมพลัง หรือ NGO ได้ยาก ที่สุดแล้วมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการอำนาจ กลายเป็นว่าหากปัญหาของคุณอยู่ในแวดวงใดแวดวงหนึ่งและอยากจะแก้ไขมันอย่างถึงที่สุด คุณจะพบว่าคุณอาจต้องคิดถึงการไขว่คว้าอำนาจทางการเมือง คุณแก้เรื่องของคุณไม่ได้เพราะปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ตัวคุณเพียงอย่างเดียว ซึ่งที่สุดแล้วต้นทุนชีวิตคุณเองหรือผมเองก็ไม่มากพอ แรงของพวกเราก็เช่นกัน

พรรคอนาคตใหม่หรอ? ผมไม่แน่ใจ ด้วยความสัตย์จริง ผมยังไม่เห็นว่าจะมีอะไรที่จะทำให้ผมเชื่อใจได้

ในสภาวะกึ่งมีกึ่งไม่มี กึ่งจริงกึ่งไม่จริงเช่นนี้ คงพอจะพูดกลับไปที่หัวข้อบทความได้แล้วว่าทำไมงานวิจัยในประเทศนี้จึงคล้ายผี ทุกคนพูดถึงมัน บางคนเคยเจอ บางคนไม่เคยเจอ และอิทธิพลของมันก็ยากที่จะพูดถึง เราทุกคนคงเห็นตรงกันว่าผีบางตัวอาจมีอิทธิพลมากกว่างานวิจัยสายสังคมศาสตร์บางชิ้นหรือทุกชิ้น ในประเทศนี้ บางคนเคยเจอผี แต่หลายคนไม่เคยเจองานวิจัย อย่างสมาชิกในที่ประชุมวันนั้น ผมคิดว่าพวกเขาก็ไม่เคยเจองานของผมเลยทั้งที่กำลังทำงานบนฐานที่ผมมีส่วนสร้างอยู่ สำหรับผม เหมือนพวกเขากำลังทำงานกับผี

สิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นในโลกของศิลปะร่วมสมัย หลังจากผมอกหักอย่างรุนแรงจากโลกของงานพัฒนาสังคมแล้ว ผมกะจะกลับเข้าไปซบอกพักพิงอยู่กับโลกของศิลปะ แต่แล้วก็ไม่พ้นการต้องพบปัญหาคล้ายๆ กันที่เกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

คุณทำละครหนึ่งเรื่องในประเทศนี้ คุณไม่ได้กำลังต่อสู้กับประเด็นที่คุณพูดถึงเพียงอย่างเดียว แต่คุณกำลังต่อสู้อย่างเหน็ดเหนื่อยกับสภาวะไม่มีผู้ชมและไม่มีตลาดศิลปะที่แท้จริง ทุกคนรู้ว่าอะไรคือภาพวาด แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะไปดูงานศิลปะได้ที่ไหนนอกจากหอศิลป์กรุงเทพ ดูทำไม เสพมันอย่างไร (ตอนมัธยมผมจำได้ว่าเราได้เห็นตัวอย่างศิลปะจากเครื่องถ่ายเอกสารกันทั้งสิ้น) ไม่มีใครมีเวลาและเงินมากพอจะมาดูคุณ (แต่เดินห้างได้) คุณทำละครเรื่องหนึ่ง คุณวาดภาพขึ้นมาชิ้นหนึ่ง จัดนิทรรศการสักนิทรรศการหนึ่ง ประเด็นของคุณยอดเยี่ยมล่ะอย่างน้อย และทุกครั้งที่คุณพบว่าไม่มีผู้ชม คุณกำลังต่อสู้กับความล้มเหลวของประเทศไทยทั้งประเทศ ผมไม่ได้โทษใครว่าไม่มีรสนิยม แต่แม้แต่ผมเองก็ไม่อยากจะไปดู เพราะผมเป็นคนทั่วไปในประเทศนี้ และคนทั่วไปในประเทศนี้จำเป็นจะต้องไม่อยากไปดู ผมจะเขียนถึงในบทถัดไป

 (บทที่สองจะพูดถึงศิลปะ เน้นที่ศิลปะร่วมสมัยกับละครโรงเล็ก ซึ่งความเศร้าของมันเกี่ยวข้องกันกับสิ่งที่ผมเขียนในบทนี้)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ถ่ายติดผี

ภาพ: https://www.youtube.com/watch?v=pfgd9RIxJsI

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น