โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เยาวชนไทยใหญ่ในรัฐฉานตั้งเครือข่ายสานความร่วมมือ – ปราบยาเสพติด

Posted: 26 Dec 2012 09:59 AM PST

เยาวชนไทยใหญ่ในรัฐฉานรวมตัวตั้งกลุ่มเครือข่ายประสานงาน เพื่อพัฒนากลุ่มเยาวชนและช่วยเหลืองานสังคม ขณะเดียวกันมีการรวมตัวตั้งกลุ่มปราบปรามยาเสพติดที่กำลังแพร่ระบาดหนักในพื้นที่

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ที่ผ่านมา เยาวชนไทยใหญ่ในรัฐฉานภาคเหนือทั้งชายและหญิงจากหลายเมือง อาทิ เมืองสู้ เมืองหนอง  เมืองเกซี  เมืองน้ำเลา  เมืองก๋าว และบ้านไฮ รวมกว่า 170 คน นัดจัดประชุมกันที่บ้านไฮ ที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ของกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSPP/SSA โดยร่วมกันก่อตั้งกลุ่มคณะกรรมการเครือข่ายประสานงานเยาวชนรัฐฉาน (Shan State Youth Network Committee – SSYNC)

การก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายเยาวชนไทยใหญ่นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถเยาวชนและช่วยเหลืองานสังคม รวมถึงเพื่อเป็นกลุ่มเครือข่ายประสานงานในกลุ่มเยาวชนในรัฐฉาน โดยขณะนี้ทางกลุ่มเครือข่ายมีสมาชิกเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแล้ว 65 คน และในเดือนหน้าทางกลุ่มมีกำหนดจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อวางกรอบระเบียบและวางแผนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ขณะเดียวกัน มีรายงานอีกว่า เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มเยาวชนในตำบลเมืองวี เขตเมืองน้ำคำ รัฐฉานภาคเหนือ รวมกว่า 300 คน นัดหารือกันเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดที่กำลังระบาดหนักในพื้นที่ ซึ่งทำให้มีเยาวชนเสพติดกันจำนวนมาก โดยมีการเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพม่าเข้าร่วมรับฟังด้วย

เยาวชนคนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมในการหารือเปิดเผยว่า กลุ่มเยาวชนได้มีมติร่วมกันว่า จะทำการต่อต้านและปราบยาเสพติด โดยที่กำหนดแผนไว้ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ให้ความรู้ถึงพิษภัยยาเสพติด ขั้นตอนที่ 2 ว่ากล่าวตักเตือนผู้เกี่ยวข้อง และขั้นตอนที่ 3 จับกุมส่งให้เจ้าหน้าที่รัฐลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งหลังจากได้มีมติร่วมกันทางกลุ่มได้เริ่มลงมือปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. เป็นต้นมา โดยมีการออกประกาศถึงแผนการทำงานของเยาวชนตามพื้นท่ต่างๆ

สำหรับกลุ่มเยาวชนตำบลเมืองวี  ก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการเสพ การค้ายาเสพติดในพื้นที่ เนื่องจากเห็นว่าในพื้นที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดและส่งให้มีเยาวชนหันไปพึ่งพายาเสพติดกันเป็นจำนวนมาก เริ่มแรกทางกลุ่มมีสมาชิกเพียง 60 คน ต่อมาได้มีเยาวชนที่สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิกแล้วรวมกว่า 300 คน

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

MIO: ความรู้เรื่องเพศสภาวะ กับก้าวย่างของสื่อในเอเชียแปซิฟิก

Posted: 26 Dec 2012 08:24 AM PST

รายงานจากการอบรม "Media Sensitization for Gender Equality and Women's Empowerment" ซึ่งจัดโดยยูเอ็น วูแมน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งแม้ในศตวรรษที่ 21 ความเท่าเทียมทางเพศอาจปรากฏขึ้นในหลายพื้นที่ของโลก ทว่า การสร้างภาพ stereotype ให้กับชายและหญิง ก็ยังมีอยู่

ที่มา: MEGAN KAMERICK'S TED TALK ON WOMEN IN MEDIA


ภาพบรรลือโลก ครั้งที่ผู้นำสูงสุดของสหรัฐ สั่งการให้มีการยิงถล่มฐานของ บิน ลาเดน เมื่อปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของยิวสายเคร่งครัด (Orthodox Judaism) ซึ่งตีพิมพ์ในบรูคลิน นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา กลับหายไปจากภาพนั้น

คำอธิบายที่ง่ายที่สุดจากผู้บริหารหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็คือ "เราไม่เคยนำเสนอภาพผู้หญิงในสื่อของเรามาก่อน" !!.....นี่คือภาพตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้นในทั่วทุกมุมโลก เมื่อผู้หญิงถูกทำให้หายไปจากหน้าสื่อ ไม่ว่าจะโดยภาพ หรือเสียง

"เอเชียแปซิฟิก ก็เช่นเดียวกับภูมิภาคอื่นๆ ที่ความไม่เท่าเทียมทางเพศนั้นมีอยู่ทั้งในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม" โรแบร์ต้า คลาร์ก ผู้อำนวยการ ยูเอ็น วูแมน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวตอนหนึ่งของการเปิดอบรม "Media Sensitization for Gender Equality and Women's Empowerment" ซึ่งจัดโดยยูเอ็น วูแมน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระหว่างวันที่ 12-14 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่กรุงเทพฯ

แม้จะก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แล้ว ความเท่าเทียมทางเพศอาจปรากฏขึ้นในหลายพื้นที่ของโลก ทว่า การสร้างภาพ stereotype ให้กับชายและหญิง ก็ยังมีอยู่ ความไม่เท่าเทียมในด้านค่าจ้างระหว่างชาย-หญิงก็ยังปรากฏให้เห็น ความรุนแรงกับผู้หญิงก็ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่นั่งของ ส.ส. หญิงในสภา ก็ยังมีน้อยกว่าส.ส. ชาย โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิกบางประเทศ ตัวเลขของผู้หญิงที่อยู่ในสภานั้นเป็นศูนย์

ผู้อำนวยการ ยูเอ็น วูแมน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุว่า การจัดอบรมดังกล่าวก็เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นเพศสภาวะให้กับสื่อมวลชน เพื่อให้เกิดความตระหนักและนำไปใช้ในการทำหน้าที่สื่อ

"เพราะสื่อคือสถาบันที่ทรงอิทธิพลในการสร้างทัศนะโดยผ่านเนื้อหา และการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่แทนเพศสภาพทั้งชายและหญิง"

อ่านเนื้อหาทั้งหมดได้จาก เว็บไซต์มีเดียอินไซด์เอาท์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อียิปต์รับรัฐธรรมนูญใหม่ หลังประกาศผลอย่างเป็นทางการ

Posted: 26 Dec 2012 06:30 AM PST

หลังการลงประชามติ 2 รอบ คณะกรรมการการเลือกตั้งของอียิปต์ก็ประกาศผลลงประชามติอย่างเป็นทางการด้วยคะแนนโหวตเห็นชอบร้อยละ 63.8 แม้ว่าฝ่ายต่อต้านจะอ้างว่ามีความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ก็ยังไม่มีแผนประท้วงใดๆ

เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2012 คณะกรรมการการเลือกตั้งของอียิปต์ได้ประกาศผลการลงคะแนนประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยผลโหวตปรากฏว่าประชาชนชาวอียิปต์ให้การรับรองร่างรัฐธรรมนูญด้วยคะแนนโหวตรับรองร้อยละ 63.8 จากการรวมคะแนนโหวตทั้งสองรอบ

ก่อนหน้านี้อียิปต์ได้เปิดให้มีการลงคะแนนประชามติร่างรัฐธรรมนูญในรอบแรกวันที่ 15 ธ.ค. และรอบที่สองในวันที่ 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยมีผู้มาใช้สิทธิทั้งหมดร้อยละ 32.9 จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนน 52 ล้านคน

แต่เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ได้กล่าวหาว่ามีการโกงการลงคะแนนและขอให้มีการสอบสวน โดยก่อนหน้านี้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้กล่าวหาว่ารัฐธรรมนูญใหม่สนับสนุนให้มีการใช้กฏหมายศาสนาอิสลามในอียิปต์

ทางด้านคณะกรรมการการเลือกตั้งของอียิปต์ ซามีร์ อาบู อัล-มาตติ กล่าวในที่ประชุมแถลงข่าวว่า พวกเขากำลังสอบสวนอย่างจริงจังเกี่ยวกับเรื่องที่ถูกร้องเรียนเข้ามา

หลังการลงประชามติเสร็จสิ้นลงก็มีความคาดหวังว่า ปธน.โมฮาเม็ด มอร์ซี ของอียิปต์จะจัดให้มีการเลือกตั้งส.ส. ภายในอีกสองเดือนข้างหน้า ซึ่งในขณะนี้อำนาจบริหารได้ถูกย้ายจากประธานาธิบดีไปสู่สภาสูง

รวมถึงการประกาศกฤษฎีกาทั้งหมดนับตั้งแต่การปฏิวัติโค่นล้มอดีตผู้นำ ฮอสนี มูบารัค ในเดือน ก.พ. 2011 ก็ถูกทำให้เป็นโมฆะและไม่ส่งผลใดๆ นับตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นกฤษฎีกาจากปธน.มอร์ซี หรือจากสภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ซึ่งปกครองอียิปต์ 16 เดือนหลังจากปฏิวัติ

นอกจากนี้แล้วยังต้องมีการโยกย้ายตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศาลฎีกา จากการที่เจ้าหน้าที่ลาออกไป 9 คน


กกต.กังวลเรื่องข้อกล่าวหาเรื่อง ไม่มีการตรวจสอบอย่างถูกต้องจากฝ่ายตุลาการ

ราวยา ราเกห์ ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตรวจสอบข้อร้องเรียนทุกประเภทที่มาจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและผู้สังเกตการณ์อิสระ ซึ่งเป็นการลบล้างข้อกล่าวหาทั้งมวล โดยข้อกล่าวหาหรือข้อกังวลเรื่องที่ว่าสถานีเลือกตั้งไม่มีการตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งที่คณะกรรมการต้องการชี้แจงมากที่สุด

"พวกเราได้ยินคณะกรรมการการเลือกตั้งกล่าวว่า พวกเขารู้สึกไม่พอใจอย่างลึกซึ้งต่อข้อกล่าวหานี้ จนถึงขนาดว่าพวกเขาเต็มใจเปิดเผยชื่อ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อและข้อมูลของตุลาการทุกคนที่ประจำอยู่ตามสถานีเลือกตั้งที่ถูกกล่าวหา" ราเกห์กล่าว

ทางด้านฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซึ่งไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กล่าวว่าพวกเขายังไม่มีแผนการประท้วงต่อต้านผลการประชามติในครั้งนี้ แต่ทางโฆษกก็กล่าวแสดงความเห็นว่าจำนวนการลงคะแนนโหวตในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการข้อร้องเรียนของพวกเขาไม่ได้ถูกนำไปพิจารณา

แม้จะมีความไม่พอใจจากบางฝ่ายในประเด็นเรื่องการจำกัดสิทธิ์ แต่ทางประธานาธิบดีมอร์ซี ก็บอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ความคุ้มครองอย่างพอเหมาะกับคนกลุ่มน้อย และการรับรัฐธรรมนูญจำเป็นต่อการยุติความโกลาหลทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาตลอด 2 ปี ซึ่งได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศอียิปต์ทรุดถอยลง

ผู้นำศาสนาของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม โมฮาเม็ด บาดี กล่าวแสดงความยินดีผ่านทวิตเตอร์ หลังผลการลงประขามติออกมาแล้ว "ยินดีด้วยกับประชาชนชาวอียิปต์ในการรับร้องรัฐธรรมนูญฉบับของการปฏิวัติอียิปต์ พวกเรามาร่วมสร้างประเทศของพวกเราด้วยกันใหม่....ทั้งชายและหญิง ทั้งชาวมุสลิมและคริสเตียน"

 

เรียบเรียงจาก

Egypt approves disputed draft constitution, Aljazeera, 25-12-2012

Egypt opposition alleges referendum 'fraud', Aljazeera, 24-12-2012
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปัญหาตรรกะการเปรียบเปรย: กรณีนิ้วทั้ง 5/ สังคมเหมือนร่างกาย/ สื่อคือหมาเฝ้าบ้าน

Posted: 26 Dec 2012 05:33 AM PST

 


คนเรา 'นิ้วทั้งห้ายังไม่เท่ากัน' เลย แล้วจะไปเรียกร้องหาความเสมอภาคเท่าเทียมไปทำไม?

'สังคมเปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์' หากแต่ละคนรู้หน้าที่ ปฏิบัติดั่งอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่ทำงานสอดคล้องกัน สังคมก็ไม่มีปัญหา

สื่อมวลชนคือ 'หมาเฝ้าบ้าน' ผู้รับใช้สังคมที่เป็นเจ้าของหมา

     เหล่านี้คือคำเปรียบเปรยที่ดูมี 'เหตุผล' น่าเชื่อถือ แต่เอาเข้าจริง มีปัญหาทางตรรกะ เพราะการเปรียบเปรยนั้นมักไม่สามารถเทียบลักษณะของของสองสิ่งที่เปรียบเทียบคู่กันได้อย่างสมบูรณ์ แถมหลายครั้งการเปรียบเปรยก็มีขึ้นเพื่อบิดเบือนปิดบังความจริง

      ขอเริ่มโดยการยกตัวอย่างเรื่องนิ้วทั้งห้าที่ไม่เท่ากัน และการเปรียบสังคมเหมือนร่างกายมนุษย์ ที่มักถูกใช้ในการตอกย้ำในความไม่เสมอภาคของมนุษย์ และการแบ่งชนชั้น บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาและเป็นธรรมชาติ –ปัญหาคือสังคมมีความหลากหลายและเคลื่อนไหวทางชนชั้นตลอดเวลา บางคนเกิดมาจน แต่มีสมองและขยัน หาเงิน ไขว่ขว้าเรียนรู้จนพอมีฐานะ และลูกหลานกลายเป็นชนชั้นกลางหรือสูงได้ (social mobility) เพราะฉะนั้นสถานะมิได้หยุดนิ่ง ชนชั้นล่างไม่จำเป็นต้องยอมรับในสภาพที่ตนเกิดมา ต่างจากนิ้วคนทั้งห้าที่ไม่เท่ากันและจะไม่มีวันเท่ากัน

       การเปรียบว่าสังคมเสมือนนิ้วทั้งห้า หรือสังคมเสมือนร่างกายมนุษย์จึงมิได้ตอบคำถามที่ว่า ทำไมบางคนถึงต้องตกเป็นนิ้วก้อยหรือเป็นเท้าไปตลอดชีวิต ในขณะที่บางคนเป็นมันสมอง แทนที่จะเป็นมือเป็นตีน หรือเป็นนิ้วชี้คอยสั่งการผู้อื่นให้ทำตามและรับใช้

      คำเปรียบเปรยทั้งสองจึงมิเพียงแต่คลาดเคลื่อน มีปัญหาทางตรรกะ มิได้สะท้อนความเป็นจริง หากยังตอกย้ำให้ผู้คนยอมรับความไม่เสมอภาค และความเหนือกว่าและได้เปรียบทางชนชั้น ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้คนควรยอมรับโดยไม่ขัดขืน

      กรณีการเปรียบเทียบสื่อกระแสหลักเป็นหมาเฝ้าบ้าน ก็เป็นอีกหนึ่งของการเปรียบเปรยที่มีปัญหาทางตรรกะ เพราะมันตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า เจ้าของสื่อหรือหมาเฝ้าบ้าน คือประชาชนทั้งสังคมที่เลี้ยงดูหมา (สื่อ)

      เอาเข้าจริง ผู้ที่เข้าใจเรื่องโครงสร้างและรายได้ของสื่อกระแสหลักทุกวันนี้รู้ดีว่า สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ที่แท้คือบรรษัทสื่อ ซึ่งจำนวนมากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณา –หาได้มาจากการขายหนังสือพิมพ์ตามแผง หรือผู้ชมและผู้ฟังวิทยุทีวีไม่ และเอาเข้าจริง สื่อนั่นแหละที่เอาผู้ชมผู้อ่านผู้ฟัง ไป 'ขาย' ให้กับบริษัทโฆษณา และบริษัทผู้ลงโฆษณา แถมยังต้องเกรงใจบริษัทที่เป็นสปอนเซอร์ที่ลงโฆษณารายใหญ่ๆ

      ไม่มีหมาเฝ้าบ้านจริงๆ ที่ไหน เอา 'เจ้าของ' ของมันไปเร่ขายหรอกครับ สื่อกระแสหลักจึงมิใช่หมาเฝ้าบ้านอย่างแท้จริง

      ในหนังสือ 'สื่อเสรีมีจริงหรือ: บทเรียนประชาธิปไตยและวัฒนธรรมสื่อไทย' (พิมพ์โดยสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง 2545)  ซึ่งเขียนโดยผู้เขียน หน้า 47-48 เขียนไว้ว่า การเปรียบเทียบเช่นนี้ 'เป็นการสร้างมายาให้สังคมหลงคิดว่าสื่อเป็นเพียงหมาเฝ้าบ้านที่ไร้พิษภัย'

      'ก่อนอื่นต้องตระหนักว่า "หมาเฝ้าบ้าน" มันห่วงเรื่องกิน (กำไร) มากพอๆ หรือมากกว่าการเห่าเตือนเจ้านายของมัน (สังคม) หมาเฝ้าบ้านหลายตัวรวยมีสมบัติเป็นธุรกิจร้อยล้านพันล้าน…หมาเฝ้าบ้านชอบประจบขออาหาร เลียเจ้านายบางกลุ่มอย่างออกหน้าออกตา ซึ่งมักเป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ ที่ลงโฆษณาและสปอนเซอร์ ปุจฉาจึงมีว่า แท้จริงแล้ว คนกลุ่มไหนกันแน่ที่เป็นเจ้านาย คนจน คนธรรมดา หรือคนรวยและบรรษัทที่ลงโฆษณา ประเด็นถัดมาคือ หมาตัวนี้ชอบเห่าพร่ำเพรื่อเป็นวรรคเป็นเวร เพราะมันเห่าออกมาเป็นสินค้าหากำไรได้ บ่อยครั้งมันมิได้เห่าเตือนอะไร หากเห่าเพื่อขายโฆษณาและตัวมันเอง

      'หมาบางตัวเห่าโฆษณาว่าสามารถเสนอผลเลือกตั้งได้เร็วกว่าหมาตัวอื่น ทำอย่างกับว่าการเมืองไทยจะพลิกโฉม หากรู้ผลการเลือกตั้งเร็วขึ้น 3 นาที

      'หลายตัวเห่าจนกลายเป็นการพากย์มวย เป็นละครน้ำเน่า นักการเมือง นักเลือกตั้ง กลายเป็นดารา จึงไม่แปลกที่นักข่าวนิวซีแลนด์ผู้หนึ่งจะกล่าวว่า ข่าวมันก็เป็นเพียงการ "บันเทิง" ดีๆนี่เอง'

      เช่นนี้แล้ว สื่อกระแสหลักจึงมิใช่ หมาเฝ้าบ้านของสังคมอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด ซึ่งสื่อเองจำนวนมิน้อยก็ต้องการให้เข้าใจผิดเช่นนั้น เพราะมันทำให้สื่อดูดี น่าเชื่อถือ และนี่คืออีกหนึ่งของการเปรียบเปรยที่มีปัญหาทางตรรกะ และบิดเบือนความเป็นจริง ซึ่งดูเสมือนจะกลายเป็นบทบาทหลักของคำเปรียบเปรียหลายๆ อย่าง และเราไม่มีวันรู้เท่าทัน หากเราไม่พยายามตั้งข้อสงสัยและวิเคราะห์คำเปรียบเปรยเหล่านั้นอย่างจริงจังและเป็นเหตุเป็นผลอย่างแท้จริง

     
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

DSI ลงมติแจ้งข้อหาเพิ่ม "อภิสิทธิ์-สุเทพ" พยายามฆ่าคนขับรถตู้ ปี 53

Posted: 26 Dec 2012 04:29 AM PST

อธิบดี ดีเอสไอ เผย เตรียมประชุมลงมติแจ้งข้อหาเพิ่ม "อภิสิทธิ์-สุเทพ" พยายามฆ่ารถตู้ ปี 53 ในวันที่ 27 ธ.ค. นี้ ยังไม่รวม "ด.ช.อีซา" รอสำนวนคดี ด้านทนาย นปช.เตรียมนำผู้บาดเจ็บร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนวันเดียวกัน

26 ธ.ค.55 สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. รายงาน  นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ กล่าวถึงความคืบหน้า การเรียกประชุมพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาลงมติแจ้งข้อกล่าวหากับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กรณีการสลายการชุมนุม จนมีได้รับผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ว่า หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเลื่อนลงมติแจ้งข้อหาพยายามฆ่าและทำร้ายร่างกายเพิ่ม กรณีเจ้าหน้าที่ยิงรถ เป็นเหตุให้ นายสมร ไหมทอง คนขับรถ ได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งเป็นเหตุต่อเนื่องกับคดี นายพัน คำกอง เนื่องจากอัยการติดธุระ ก็ได้มีการนัดประชุมเพื่อพิจารณาในเรื่องนี้อีกครั้ง ในวันที่ 27 ธ.ค. นี้ ที่ดีเอสไอ เวลา 14.00 น. ส่วนจะมีการลงมติหรือไม่อย่างไร ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะต้องรอให้ครบทั้ง 3 ฝ่าย และมีการลงมติก่อน ซึ่งจะมีการพิจารณาเพียงคดีเดียว ยังไม่รวมกับคดี  "อีซา" หรือ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ อายุ 12 ปี ที่เสียชีวิตในการชุมนุม และศาลเพิ่งมีคำตัดสินว่า เสียชีวิตเนื่องจากกระสุนของเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกัน เนื่องจากสำนวนคดีดังกล่าว ยังไม่ส่งมายังดีเอสไอ 

ที่มาภาพ : ศูนย์สารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดำเนินการแจ้งข้อหากับนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ในข้อหา "ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล"ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 83, 84 และ 288 โดยอาศัยพยานหลักฐานจากกรณีที่ศาลยุติธรรมได้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ในคดีการไต่สวนเหตุการตายของนายพัน คำกอง ว่า "การตายของ นายพัน เกิดจากถูกกระสุนปืนของทหารที่เข้าปฏิบัติการตามคำสั่งของ ศอฉ."

ทนาย นปช. เตรียมนำผู้บาดเจ็บเหตุสลายการชุมนุม ปี 53 ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน

ข่าวสดรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผบ.สำนักคดีการเงินการธนาคาร ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการกลางดีเอสไอ กล่าวว่า ในวันที่ 27 ธ.ค. ทราบว่านายคารม พลพรกลาง ทนายความของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะนำผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 ชุดแรกเข้ามาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อกล่าวโทษเพิ่มเติมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีตผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในข้อหาพยายามฆ่าและทำร้ายร่างกาย

พ.ต.ท.วรรณพงษ์กล่าวต่อว่า ทางดีเอสไอได้เตรียมสถานที่สอบปากคำผู้บาดเจ็บกลุ่มดังกล่าวแล้ว และเตรียมพนักงานสอบสวนเพื่อสอบปากคำผู้เสียหายไว้พร้อมเช่นกัน จากนั้นช่วงบ่ายวันเดียวกัน จะประชุมคณะพนักงานสอบสวน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย อัยการ ตำรวจ และดีเอสไอ โดยมีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน เป็นประธานการประชุม และพล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผบช.น. ในฐานะรองหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน เข้าร่วมด้วย เพื่อหารือเกี่ยวกับการพิจารณาสำนวนคดีพยายามฆ่านายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้ที่ได้รับบาดเจ็บในเหตุ การณ์เจ้าหน้าที่ถล่มรถตู้บริเวณถนนราชปรารภ เมื่อกลางดึกวันที่ 14 พ.ค.2553

นายคารม พลพรกลาง(ที่มาแฟ้มภาพประชาไท)

ด้านนายคารมกล่าวว่า ในวันที่ 27 ธ.ค. เวลา 10.30 น. จะนำประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บชุดแรก จำนวน 15 ราย จากจำนวนผู้บาดเจ็บทั้งสิ้นกว่า 2,000 ราย ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมม็อบเสื้อแดงเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 เข้าร้องทุกข์ต่อนายธาริต พร้อมทั้งนำหลักฐานเป็นใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันชัดเจนว่าถูกกระสุนปืนของเจ้าหน้าที่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มกับนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ฐานพยายามฆ่าและความผิดฐานทำร้ายร่างกายต่อไป ซึ่งความผิดฐานพยายามฆ่าต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ส่วนของโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15-20 ปี ส่วนความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

"ยังมีประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายม็อบเมื่อปี 2553 ติดต่อขอความช่วยเหลือเรื่องกฎหมาย รวมทั้งกรณีดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพอย่างต่อเนื่อง และมีหลายรายแจ้งความประสงค์ว่าต้องการจะเดินทางแจ้งความต่อดีเอสไอ ก็แนะนำให้ผู้ที่แจ้งความประสงค์รวบรวมหลักฐานใบรับรองแพทย์ไว้ และจะพาเข้าพบดีเอสไอเป็นชุดที่ 2 หลังผ่านปีใหม่แล้ว คาดว่าชุดที่ 2 นี้จะมีผู้บาดเจ็บนับร้อยรายเข้าร้องทุกข์กับ ดีเอสไอ" ทนายความนปช.กล่าว

สำหรับผู้บาดเจ็บทั้ง 15 คน ประกอบด้วย นายบดินทร์ วัชโรบล, นายอิทธิกร ตันหยง, นายสันติพงษ์ อินจันทร์, นายปรีชา สุกใส, นายสมร ไหมทอง, นายณรงค์ศักดิ์ สิงห์แม, นายเสกสิทธิ์ ช้างทอง, นางสมภาร พุทธจักร, นายภัศพล ไชยพงษ์, นายกฤติพจน์ บัวดี, นายณัฐพล ทองคุณ, นายธงชัย เหวียน, นายไพโรจน์ ไชยพรหม, นายวิโรจน์ โกสถา, และนายศุภ วัชช์ ปันจันตา

นายบดินทร์ หนึ่งในผู้บาดเจ็บ กล่าวว่า ถูกยิงเข้าที่ท้อง 1 นัด เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 10 เม.ย.2553 ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ ทุกวันนี้กระสุนยังค้างอยู่ในร่างกาย ส่วนนายไพโรจน์ ผู้บาดเจ็บอีกรายกล่าวว่า ถูกยิงเข้าที่ท้องกับขา 2 นัด บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ถนนวิภาวดีรังสิต

ขณะที่นายเสกสิทธิ์กล่าวว่า ถูกยิง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 ถูกยิงเข้าที่ขา 2 นัด บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ส่วนครั้งที่ 2 ถูกยิงที่กลางหน้าผาก ทำให้ตาบอดทั้ง 2 ข้าง ที่หน้าพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 โดยในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ จะนำใบรับรองผลการตรวจของแพทย์ และผลเอกซเรย์ไปมอบให้ดีเอสไอด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรพิทักษ์สยาม แจ้งความ "พล.อ.ชัยสิทธิ์" จัดมวยหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

Posted: 26 Dec 2012 03:51 AM PST

รักษาการประธานองค์การพิทักษ์สยาม เข้าแจ้งความกองปราบฯ ต่อ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดศึกมวยไทยที่มาเก๊า ในข้อหาหมิ่นเบื้องสูง ม.112 , 59 และ 83 ชี้ถ้วยรางวัลพระราชทานฯ ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักพระราชวัง

26 ธ.ค. 55 – ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า เวลา 13.00 น. ที่กองปราบปราม พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ รักษาการประธานองค์การพิทักษ์สยาม และนายไทกร พลสุวรรณ แนวร่วมองค์การพิทักษ์สยาม พร้อมทนายความ เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.เกรียงไกร ขวัญไตรรัตน์ พงส. กก.1 บก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดี พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร พ.ต.ท.กุลธน ประจวบเหมาะ กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดศึกมวยไทย ในข้อหาหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 , 59 และ83 หลังทั้งหมดร่วมกันจัดศึกมวยไทย วอริเออร์(Muay Thai Warriors)ที่คาสิโนแห่งหนึ่งในเขตปกครองพิเศษมาเก๊า เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่ถ้วยรางวัลที่ระบุว่าเป็นถ้วยพระราชทานฯนั้นไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักพระราชวัง          

นายไทกร กล่าวว่า กลุ่มบุคคลที่จัดงานครั้งนี้ทราบก่อนการจัดงานแล้วว่าไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักพระราชวังแต่ก็ยังจัดให้มีการมอบถ้วยรางวัลอีก ทั้งๆที่สามารถจัดการแข่งขันโดยไม่ต้องมอบถ้วยรางวัลก็ได้ และในการจัดงานดังกล่าวก็มีการถ่ายทอดสดซึ่งจะมีผลประโยชน์จากการโฆษณาเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นอกจากกลุ่มผู้จัดแล้วก็เห็นว่ายังมีผู้ที่เข้าข่ายร่วมกระทำความผิดอีกหลายคน เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นางศันสนีย์ นาคพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์ รายงานถึงการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ โดย พ.ต.ท.เกรียงไกรกล่าวว่า เบื้องต้นได้สอบปากคำผู้ร้องทุกข์และนำเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบ ก่อนเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการต่อไป

ทั้งนี้ภายหลังจากที่มีการจัดศึกมวยไทย วอริเออร์ที่คาสิโนแห่งหนึ่งในเขตปกครองพิเศษมาเก๊า เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมา ASTVผู้จัดการออนไลน์  ได้รายงานด้วยว่า สำนักราชเลขาธิการได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะประธานจัดงานศึกมวยไทยวอร์ริเออร์สปีที่ 2 เทิดไท้องค์ราชัน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา ที่เขตปกครองพิเศษมาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) ช่อง 11 หรือเอ็นบีที เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยแจ้งให้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ขอพระราชทานอภัยโทษ เนื่องจาก พล.อ.ชัยสิทธิ์ใช้ถ้วยพระราชทานศึกมวยไทยวอร์ริเออร์สฯ โดยไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาต

ในวันเดียวกันนั้น(14 ธ.ค.) พล.อ.ชัยสิทธิ์ได้ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าผิดพลาดกรณีถ้วยพระราชทาน โดยได้ทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษไปยังสำนักพระราชวังแล้ว อีกทั้งยอมรับว่าเป็นเรื่องมิบังควร โดยอ้างว่าเป็นความผิดพลาดในขั้นตอนทำเรื่องขอพระราชทานถ้วยรางวัล พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องว่าอย่านำเรื่องนี้ไปขยายหรือขุดคุ้ย และเรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวบนเวทีออกอากาศทางช่อง 11 และมอบถ้วยรางวัล

นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังกล่าวอีกว่า การจัดการแข่งขันมวยดังกล่าวไม่ได้เป็นการจัดเพื่อชิงถ้วยพระราชทาน แต่ทาง พ.ต.ท.กุลธน ประจวบเหมาะ เลขาธิการการจัดการแข่งขัน พูดให้เกิดความคลาดเคลื่อนจนเกิดความเข้าใจผิด

วิดีโอคลิปขณะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวเปิด Muay Thai Warriors

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาสังคมกัมพูชาสะกิดผู้นำอาเซียน "เขาอาจลืมหลักการที่ว่า อาเซียนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง"

Posted: 26 Dec 2012 01:30 AM PST

"การประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน/ภาคประชาชนอาเซียน" (ASEAN Civil Society Conference/ASEAN Peoples' Forum 2012) หรือ ACSC/APF เวทีคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่จัดโดยองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคมในกัมพูชาและหลายประเทศในอาเซียนซึ่งจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้สิ้นสุดลงแล้ว ท่ามกลางการรบกวนโดยเจ้าหน้าที่กัมพูชา โดยผู้จัดงานต้องย้ายที่จัดงานสองครั้ง (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ทั้งนี้นอกจากการประชุม ACSC/APF ก็มีการประชุมของ "สมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน" หรือ "(ASEAN Grassroots People's Assembly - AGPA)" ซึ่งก็ถูกรบกวนจากเจ้าหน้าที่เช่นกัน แต่สุดท้ายก็สามารถจัดการชุมนุมและยื่นข้อเรียกร้องที่หน้ารัฐสภากัมพูชาได้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกัมพูชาให้สลายตัวทันทีที่ยื่นข้อเรียกร้องเสร็จ (ข่าวที่เกี่ยวข้อง [1] และ [2]

โดยภายหลังการจัดเวทีดังกล่าว ประชาไทมีโอกาสสัมภาษณ์ คุณ Sok Sam Oeun ทนายด้านความสิทธิมนุษยชน และผู้อำนวยการบริหาร Cambodian Defenders Project และประธานคณะกรรมการจัดเวทีประชาสังคมอาเซียน ACSC/APF ซึ่งจัดที่พนมเปญ โดยเป็นการสัมภาษณ์สั้นๆ ถึงสถานการณ์ของเวทีภาคประชาสังคมในกัมพูชา รวมถึงข้อห่วงกังวลในเรื่องสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ผู้มีอำนาจอาจลืมหลักการที่ว่า "อาเซียนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง"

โดย Sok Sam Oeun กล่าวว่า สิ่งที่น่ากังวลจากการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียนที่ผ่านมา มีสามเรื่อง เรื่องแรกคือ เสรีภาพในการรวมตัวสมาคม ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะกลุ่มของเขาต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงานมาแล้ว 2 ครั้ง เพราะถูกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรบกวน

"สิ่งนี้แปลว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าใจอย่างแจ้งชัดในเรื่องเสรีภาพการรวมตัวสมาคม และความสำคัญของการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน และเขาอาจจะลืมหลักการของอาเซียนที่เขามักจะพูดว่าอาเซียนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง"

"ดังนั้น ถ้าพวกเขาคิด หรือต้องการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง เขาต้องอนุญาตให้ประชาชนมีโอกาสได้พูด ให้มีโอกาสได้สนทนากับรัฐบาล"

ส่วนเรื่องที่สอง ก็คือ การที่ผู้นำอาเซียนลงนามรับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน "เรากังวล เพราะว่าปฏิญญานี้มีมาตรฐานที่ต่ำสำหรับหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราเอามาเทียบกับรัฐธรรมนูญของกัมพูชา สิ่งนี้แย่กว่ารัฐธรรมนูญกัมพูชามาก ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุให้เรากังวลว่า ภายหลังการลงนามรับรอง ทุกประเทศอาจใช้ปฏิญญานี้ แทนสิ่งที่พวกเขาไปลงนามอนุสัญญาไว้กับสหประชาชาติ เพราะหลายประเทศ เช่น กัมพูชา ก็ลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกลไกด้านสิทธิมนุษยชนหลายอนุสัญญา"

เรื่องสุดท้ายที่คุณ Sok Sam Oeun กังวล แม้ไม่ได้เกิดขึ้นกับกลุ่มของเขาก็คือ มีการที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลไปจับคนที่ชูป้าย "SOS" ขอความช่วยเหลือ  จากบารัก โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

"สำหรับผมเรื่องนี้เป็นเรื่องในทางปฏิบัติของเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งผมกังวลว่า ประชาชนอาเซียนยังคงมีไม่พอ สำหรับเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก

"ผมคิดว่าจะดีกว่านี้ ถ้าทุกประเทศในอาเซียน ต้องการให้อาเซียนเป็นประชาคมที่ประชาชนเป็นศูนย์กลางแท้จริง ต้องอนุญาตให้ประชาชนของตนมีเสรีภาพในการรวมตัว เสรีภาพในการสมาคม และเสรีภาพในการแสดงออก"

 

ช่องทางบรรเทา เมื่ออาเซียนมีปฏิญญาสิทธิมนุษยชนประเภทต่ำกว่ามาตรฐาน

ทั้งนี้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 ที่พนมเปญ ผู้นำชาติในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้ลงนามในปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน โดยนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ยกย่องการลงนามดังกล่าวว่าเป็นหลักไมล์สำคัญของภูมิภาค และเชื่อว่าการลงนามดังกล่าวเป็นพัฒนาการขั้นใหญ่ และปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนดังกล่าวจะถูกใช้เฝ้าสังเกต มาตรการปฏิบัติ มาตรการป้องกัน มาตรการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของกลุ่มประเทศอาเซียน

อย่างไรก็ตามปฏิญญาดังกล่าวถูกวิจารณ์ว่ายังไม่มีมาตรการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เพียงพอ และจะทำให้แต่ละประเทศมีข้ออ้างในการละเลยมากกว่าที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยฟิล โรเบิร์ตสัน จากองค์กรฮิวแมนไรท์ ว็อทซ์ ซึ่งมีสำนักงานที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกากล่าวว่า "คุณไม่สามารถที่จะมีข้อยกเว้นระดับชาติและระดับภูมิภาค" และว่า "คุณไม่สามารถเริ่มต้นยกตัวอย่างที่กินความกว้างขวางอย่างคำว่าศีลธรรมสาธารณะ จนสิทธิเหล่านี้ไม่สามารถบังคับใช้ได้ สิ่งที่พวกเขาทำก็คือ พวกเขาได้สร้างช่องโหว่เอาไว้แต่แรก จากนั้นพวกเขาก็พยายามประดับตกแต่งรอบๆ ช่องโหว่นั้น"

ทั้งนี้ในมาตรา 8 ของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ระบุตอนหนึ่งว่า การใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะถูกจำกัดก็ด้วยกฎหมายเท่านั้น ในวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้อื่น และด้วยความจำเป็นต่อความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ สาธารณสุข ความปลอดภัยสาธารณะ ศีลธรรมสาธารณะ อย่างเช่นสวัสดิการทั่วไปของประชาชนในสังคมประชาธิปไตย

นอกจากนี้ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนยังถูกวิจารณ์ด้วยว่าไม่มีเนื้อหาคุ้มครองผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBT โดยไม่มีการรับรองถ้อยคำดังกล่าวในตัวปฏิญญา (ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ต่อเรื่องปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนดังกล่าว Sok Sam Ouen มีข้อเสนอว่า "เราเรียกร้องไปยังรัฐบาล แม้ว่าจะมีการลงนามในปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนไปแล้ว สำหรับแต่ละประเทศจะต้องเคารพในกลไกระหว่างประเทศใดๆ ที่พวกเขาได้ลงนามไว้กับสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน หรืออย่าง  ICCPR (กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง) และอื่นๆ"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ+ภาพ: คนกรุงเทพฯ 10 คน มีเฟซบุ๊ก 15 แอคเคาน์?!

Posted: 25 Dec 2012 11:49 PM PST

ภาพเปรียบเทียบปริมาณผู้ใช้เฟซบุ๊กต่อจำนวนประชากร ในปี 2012 (2555) ในทวีปต่างๆ รวมถึงประเทศไทยและกรุงเทพฯ
 


คลิกเพื่อชมภาพขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

อ้างอิง
http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/
http://www.wikipedia.org

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผลโหวต 10 แฟนเพจเฟซบุ๊ก ปี 2012

Posted: 25 Dec 2012 11:33 PM PST

แฟนเพจแห่งปีจากการโหวตกับประชาไท ประกอบด้วย เพจ VRZO, 9Gag in Thai(9GAG in Thai), Drama-addict, สมรัก พรรคเพื่อเก้ง, โหดสัส V2, เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัด, Dora GAG, ออกพญาหงส์ทอง, วิรศากดิ์ นิลกาด และช้างเป็นสัตว์กินเลือด

ภาพโดยเพจ เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัด

หลังจากที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Prachatai ได้ตั้งกระทู้ "ร่วมเสนอและ Vote 10 เพจแห่งปี 2012" เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.55  เวลา 16:50 น. โดยเปิดให้ผู้ร่วมโหวตเสนอและโหวตเพจที่ตัวเองคิดว่าสมควรได้รับเลือกและได้เป็นเพจแห่งปี อย่างไรก็ตามระบบการโหวตจำกัดตัวเลือกได้เพียง 100 ตัวเลือก แต่มีผู้เสนอตัวเลือกมามากกว่า 100 เพจ ดังนั้นทางผู้จัดการโหวตจึงได้มีการถอดตัวเลือกที่มีการโหวตน้อยสุดจำนวนหนึ่งออกเป็นระยะโดยมีการแจ้งล่วงหน้าก่อนถอดทุกครั้ง

จนกระทั่งปิดการโหวต เมื่อเวลา 23.59 น. วันที่ 25 ธ.ค.55 ผลคือมีจำนวนการโหวต 371,272 โหวต จำนวน user ที่กดติดตามการโหวต 4,358 user จำนวนการแสดงความเห็น 6,792 ความเห็น จำนวน user ที่กดถูกใจ 7,705 user

ผลที่ได้จากการโหวตถือว่าทั้ง 10 เพจเป็นเพจแห่งปี 2012 ประกอบด้วย

เพจ  VRZO จำนวน 54,278 โหวต เป็นเพจประเภทรายการทีวี ที่มี User กดถูกใจ 1,083,499 user โดยมีการโพสต์วีดีโอรายการ "VRZO" ซึ่งเป็นรายการบันเทิงที่เผยแพร่ทาง Youtube และโทรทัศน์ โดยมีพิธีกรหลักคือ ปลื้ม สุรบถ หลีกภัย และทับทิม มัลลิกา จงวัฒนา พร้อมกับเพื่อนในทีมอีกประมาณ 5 คน  เปิดตัวครั้งแรก ธ.ค.53 โดยจะคอยสัมภาษณ์คน 100 คน ในแต่ละหัวข้อที่วัยรุ่นสนใจ พร้อมกับมุขขอสามคำ ในการนิยามความเห็นด้วย สำหรับแฟนเพจยังมีการโพสต์ภาพกิจกรรมของทีมพิธีกรและสื่อสารกับแฟนเพจด้วย อีกทั้งจากการจัดอันดับของ socialbakers.com ขณะนี้ยังเป็นแบรนที่โตเป็นอันดับ 5 ของบรรดาแบรนที่ใช้ช่องทางนี้ในการประชาสัมพันธ์ในไทยอีกด้วย

เพจ 9Gag in Thai จำนวน 43963 โหวต เป็นเพจที่มี User กดถูกใจ  26,417 user รวมด้วยเพจ 9GAG in Thai ที่มีจำนวน 6037 โหวต และเป็นเพจที่มีขนาด User กดถูกใจ 977,232 user เนื่องด้วยทั้ง 2 เพจมีลักษณะเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ขนาด และในตอนต้นเพจ 9GAG in Thai มีการเชิญชวนให้แฟนเพจเข้ามากดถูกใจแต่เพจตัวเองยังไม่ถูกใส่แท็กเข้ามาในตัวเลือก ด้วยความคลุมเครือนี้จึงไม่สามารถแยกการเลือก 2 เพจนี้ออกจากกัน จึงได้ให้ทั้ง 2 เพจได้เหมือนกันโดยถือเอาคะแนนสูงสุดของทั้ง 2 ตัวเลือกเป็นเกณฑ์และไม่มีการนำคะแนนมารวมกัน สำหรับเพจนี้เป็นเพจประเภทชุมนุม เสียดสีเหน็บแนมล้อเลียนสังคม เป็นการแปลแก๊กจากเมืองนอกโดยมาจากเว็บ 9GAG.com เป็นส่วนใหญ่รวมถึงเพจ/เว็บไซต์อื่นๆ และรวมมุกจากแฟนเพจ

เพจ Drama-addict กับภาพที่พูดถึงการโหวต

เพจ Drama-addict จำนวน 27,890 โหวต เพจประเภท สื่อ/ข่าว/การเผยแพร่ ที่มี User กดถูกใจ  148,722 user นอกจากจะเป็นเพจที่ประชาสัมพันธ์เรื่องราวการถกเถียงของคนในสังคม ทั้งจากเว็บบอร์ด เฟซบุ๊ก ที่ถูกเรียบเรียงเป็นเรื่องราวโดยเว็บไซต์ drama-addict.com ยังมีการสื่อสารทั้งโพสต์ข่าว วีดีโอคลิปหรือภาพ หรือสถานที่ๆ อาจจะเกิดดราม่าในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทัศนะต่อสถานการณ์ทางสังคมและการเมือง ในบุคลิคของแอดมินที่ใช้นามแฝงว่า "จ่าพิชิต ขจัดพาลชน"

เพจ สมรัก พรรคเพื่อเก้ง จำนวน 20,639 โหวต เป็นเพจที่มี User กดถูกใจ  57,739 user โดยเพจสมรัก ย้ายเพจไปบ้านใหม่(สมรัก พรรคเพื่อเก้ง.)ไปเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมาและมียอดกดถูกใจ 25,738 user เพจสมรัก เป็นเพจแนวตั้งคำถามหรือเสียดสีสังคม จิกกัดคนดังต่างๆ ประชดประชัน สร้างรอยยิ้มและความสะใจในหมู่ผู้อ่าน และผลงานของเขาเคยถูกนำไปโพสต์ในเว็บพันทิปจนเป็นกระทู้แนะนำในหลายห้องดัง ตัวอย่างผลงานของเขาที่เว็บไซต์แนวหน้าเอาไปเขียนถึง(คลิก) กรณีที่ "แมคโดนัลด์" ติดป้ายประกาศ ขอความร่วมมือไม่ให้มีการติวหนังสือ หรือ ทำกิจกรรมการประชุมใดๆ ภายในร้านแมคโดนัลด์

แอดมินเพจเคยให้สัมภาษณ์กับมติชนรายวันเมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า "ผมจะเล่นความเชื่่อเยอะ" ด้วยแนวการเขียนเสียดสีและอำๆไปด้วย โดยเขาอธิบายว่าที่เลือกทำอย่างนั้น เป็นเพราะมั่นใจว่าถ้าบอกแบบตรงๆ คนมักไม่เชื่อ อีกทั้งลึกๆ แล้วสิ่งที่เขาอยากบอกยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จำพวก "ความเชื่อ" 

เพจ โหดสัส V2 จำนวน 20,624 โหวต เป็นเพจประเภทชุมชน ที่มีขนาด User กดถูกใจ  106,925 user ตั้งขึ้นเดือน พ.ย.54 เป็นเพจล้อเลียนและโพสต์สิ่งที่คนทั่วไปในโซเชียลมีเดียไม่โพสต์หรือไม่นำเสนอ ซึ่งเป็นด้านลบที่ไม่ใช่สิ่งที่สังคมคาดหวังว่าจะดู แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ส่วนใหญ่เป็นการโพสต์ภาพ เช่น ภาพ ขี้ โดยเฉพาะการระดมแฟนเพจไปโพสต์หรือปาขี้ใส่เพจที่ขัดแย้งกับตน รวมทั้งการโพสต์ภาพเสียดสีความเชื่อที่ศักดิ์สิทธิในสังคม ศาสนา ซึ่งทีมแอ็ดมินเพจโหดสัสเคยให้สัมภาษณ์กับมติชนออนไลน์ เมื่อ มี.ค.ที่ผ่านมาถึงเพจเขาว่า "เวลาไปเห็นอะไรที่ รุนแรงเสียดสี หยาบช้า แล้วอุทานออกมว่า โหดสัส นั่นแหละที่มาของเพจผม คือการไปพบเห็นอะไรที่แม่งโหด จนมึงต้องอุทานออกมาว่า โหดสัส" ทั้งนี้เพจโหดสัส ได้ตั้งเพจใหม่ชื่อ "โหดสัส V2" เมื่อ ก.ค.55 โดยที่เพจเดิมมีคนกด like กว่า 1.4 แสน like และยังเปิดไว้เช่นเดิม แต่ไม่มีการโพสต์ต่อหลังมีการเปิดเพจใหม่คือเพจโพดสัส V2  นอกจากนี้ มีกรณีแอ็ดมิน โหดสัส 001 ประกาศในทางสาธารณะว่าแยกทางกับทีมโหดสัสอื่นๆ โดยไปตั้งเพจตัวเองใหม่ชื่อ "ไม่โหดสัส 001"

เพจ เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัด จำนวน 18,769 โหวต เป็นเพจประเภทศิลปิน ที่มี User กดถูกใจ  223,404 user เป็นเพจที่ล้อเลียนเสียดสีสังคม โดยใช้เทคนิคการตัดต่อภาพกราฟฟิกที่สวนงาม บวกอารมณ์ขัน โดยเขาอธิบายตัวเองว่า "ทำกราฟฟิคภาพตัดต่อ เสียดสีสังคม แขวะการเมือง ล้อหนัง ล้อละคร เพื่อสร้างความฮาในสังคมที่วุ่นวาย คลายเครียดแต่ดราม่าพอประมาณ"

เพจ Dora GAG จำนวน 16,261 โหวต เป็นเพจประเภทหนังสือ ที่มี User กดถูกใจ 121,233 user เป็นการนำเสนอแก๊กเหน็บแนมเสียดสีล้อเลียนต่างๆ โดยมีลักษณะเอกลักษณ์คือใช้ภาพการ์ตูนน่ารักและเซ็กซี่นำเสนอ เขาอธิบายว่าเป็นเพจ "มุกตลก การ์ตูนแปล ภาพขำ ๆ หื่น ๆ"

เพจ ออกพญาหงส์ทอง จำนวน 15,263 โหวต เป็นเพจที่มี User กดถูกใจ 167,541 user เป็นเพจที่มีลักษณะเด่น เป็นการใช้ภาษาแบบในหนังนเรศวร และมีภาพโปรไฟล์เป็น "พระเจ้าบุเรงนอง" จากภาพยนตร์ดังกล่าว นำเสนอมุมมองเรื่องราวทางสังคม การเมือง ผ่านภาษาที่เป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง ที่มีอารมณ์ขันและการเสียดสี โดยเพจที่มีการล้อเลียนภาษาในรอบปีนั้นยังมีเพจที่น่าสนใจอย่าง เพจ ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์ เพจ ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย หรือ หนังสือเพี้ยน ป.1 ด้วย

เพจ วิรศากดิ์ นิลกาด กับป้ายรณรงค์หาเสียงในเฟซบุ๊ก

เพจ วิรศากดิ์ นิลกาด จำนวน 13,395 โหวต มี User กดถูกใจ 63,647 user เป็นเพจที่ล้อเลียนบุคลิคการพูดและพากย์บอลของนักพากย์ชื่อดังอย่าง วีรศักดิ์ นิลกลัด ที่มีสไตล์และศัพท์ที่ใช้เป็นของตัวเอง โดยเฉพาะการพูดที่ยังไงก็ไม่มีวันผิด นอกจากนี้เพจยังมีการล้อเลียนสถานการณ์ทางสังคม และที่สำคัญคือการล้อเลียนแฟนฟุตบอลทีมต่างๆ อีกด้วย สร้างอารมณ์เคืองแบบขำๆ แหม่

แอดมินเพจนี้ ใช้นามแฝงว่า "บอสหยอย"  ให้สัมภาษณ์กับธีรภัทร รัญตะเสวี และเผยแพร่ทาง goal.com อธิบายถึงเพจที่ตัวเองดูแลอยู่ว่า "เรียนตามตรงว่าเพจของเราเป็นเพจเพื่อความบันเทิง ผมเข้าใจว่าหลายๆ ครั้งมีการกล่าวนำไปพาดพิงใครต่อใคร แต่สำหรับเราแล้ว เรื่องฟุตบอล เป็นความสุขเรียบๆ ง่ายๆ ที่เราพูดกันได้ในทุกๆ วันครับ ความตลกของทีมโน้นที่ชอบแขวะทีมนี้, ทีมนั้นที่ชอบด่าทีมนี้ มันเหมือนเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่ง ในความคิดของผมนะ คือเรามองเรื่องฟุตบอลให้เป็นเรื่องตลก ไม่อยากให้แฟนบอลเครียดจนเกินไปครับ โดยอาศัยความน่ารักอันเป็นเอกลักษณ์ของไอดอลเราเอามาผสมผสาน พิมพ์อะไรไปแฟนคลับก็จะได้อารมณ์หมั่นไส้เล็กๆ มันสนุกตรงนี้ครับ"

เพจ ช้างเป็นสัตว์กินเลือด จำนวน 9,894 โหวต เป็นเพจประเภทให้ความบันเทิง ที่มี User กดถูกใจ 49,781 user เป็นเพจบันเทิงที่นำเสนอข้อมูลล้อเลียนความเป็นวิชาการ เอาช้างมาล้อเลียน โดยเฉพาะวาทะกรรมอย่าง "ถุงมือช้าง" ที่ทำให้ช้างเป็นสัตว์ที่ลึกลับซับซ้อนมีอิทธิพลต่อการเป็นไปในสังคมและมนุษยชาติ มีทั้งการโพสต์ภาพกราฟิก ข้อความต่างๆ รวมทั้งยังมีเกมส์ออนไลน์ ด้วย จนกระทั่งมีคนมาโต้แย้งเกิดเป็นดราม่า จนจ่าพิชิต แห่งดราม่า ได้นำมาเขียน ใน "ช้างกินเลือด!!"

ยังมีแฟนเพจที่มีการถูกโหวตจำนวนมากแต่หลุดอันดับไป เช่น เพจ เรารักในหลวง เพจ สมาคมนิยมเดก 11รด >< เพจ วิวาทะ เพจ ศาสดา เพจ คิดว่าดีก็ทำต่อไป เพจ SpokeDark TV เพจ Jod 8riew เพจ มุมต่าง และเพจ เหี้ยดิสคัฟเวอรี่ เป็นต้น

จากการที่มีการร่วมแสดงความคิดเห็นถึง 6,792 ความเห็น ที่มีทั้งการเสนอชื่อเพจเพื่อเข้ารับการโหวต การวิพากษ์วิจารณ์ความแท้-เทียม กรณีเพจ 9GAG in Thai กับ 9Gag in Thai และที่สำคัญคือกรณีเพจ VRZO ที่มีแฟนเพจของ VRZO เข้ามาแสดงความสนับสนุนเพจตัวเอง ในขณะที่มีอีกฝ่ายแย้งถึงคุณสมบัติของเพจ VRZO ว่าเป็นเพียงเพจประชาสัมพันธ์รายการ ส่งผลให้เกิดวิวาทะดราม่า จะกระทั้งแอดมินเพจ VRZO แถลงไม่ร่วมกิจกรรม และจ่าพิชิต ขจัดพาลชน แอดมินเพจ Drama-addict ได้นำเรื่องราวดังกล่าวไปเขียนเป็นเรื่องราวตามแนวถนัดของของเขา ในชื่อ "ติ่งแย่รังแกฉัน!!" อย่างไรก็ตามการประกาศถอนไม่เข้าร่วมกิจกรรมของแอดมินเพจ VRZO นั้นมีผลเพียงดุลยพินิจหรือการตัดสินใจของผู้โหวตเพจ VRZO เท่านั้น ตราบใดที่ยังมีคนเลือกเพจดังกล่าวอยู่ย่อมไม่อาจถอนออกได้ เพราะการโหวตครั้งนี้ทั้งการเสนอชื่อและการเลือกเป็นไปโดยแฟนเพจหรือผู้เลือก

และในระหว่าง 15 วันของการเปิดโหวตนั้น จะสังเกตได้ว่าเพจที่ได้คะแนนนำ นอกจากจะเป็นเพจที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว ยังเป็นเพจที่มีความเคลื่อนไหวเชิญชวนให้แฟนเพจมาร่วมโหวตด้วย เช่น เพจ โหดสัส V2 เริ่มต้นด้วยการประกาศแจกของให้ผู้โหวตว่า "เหมือนเดิมสัส ใครโหวตเพจกู กูจะเลือกมา 1 ผู้โชคดีเอาเสื้อเพจกูไปสัส" เช่นเดียวกับเพจ ศาสดา ที่ประกาศเชิญชวนด้วยการแจกของเช่นกันว่า "..ใครโหวตให้ผม ผมจะสุ่มรางวัล แจกกิ๊ฟต์เซ็ตศาสดา ประกอบไปด้วย หนังสือ ลายเซ็นต์ ถุงผ้า และถุงยางครับ 3 รางวัลเท่านั้น โหวตๆๆๆๆๆๆ"

เพจ สมรัก พรรคเพื่อเก้ง กับข้อความเชิญชวนให้แฟนเพจเข้ามาร่วมโหวตในสไตล์ของตนเองว่า "โหวตโลด ตามสบาย เลือกเพจที่คุณชอบ ไม่ต้องห่วงผม อ้อผมรักคุณทุกคนมากนะ มากจริงๆ(มองหน้าแล้วกระพริบตาถี่ๆ)" เพจ ออกพญาหงส์ทอง "มาตรแม้นผลคะแนนกูจักตามอยู่หลายอันดับ หากแต่กูมิเกรงกลัวดอก ในคืนวันหมาหอน กูจักไปเคาะประตูเรือนแจกเบี้ยอัฐเสียเอง" เพจ วิรศากดิ์ นิลกาด "รักลุง ชอบลุง เกลียดลุง โหวตลุงด้วยนะครับ อันนี้โพลอีกเจ้านึง แหม่ ขยันสร้างกันจริงๆ"

เพจ VRZO ก็มีการโพสต์เชิญชวน ทั้งในเพจเครือข่าย เช่นเพจ TubTim และเพจหลักคือเพจ VRZO  โดยโพสต์ว่า "ทางประชาไทจัดโหวต"10เพจแห่งปีของไทย" และมีคนเสนอแฟนเพจVRZOไปด้วย!" ถ้ายังไงฝากเข้าไปโหวตให้VRZOกันด้วยนะคร้าบ!!!.." เพจ 9GAG in Thai กล่าวว่า "ร่วมกันโหวตให้ 9GAG in Thai เป็นเพจแห่งปีได้ที่นี่เลยครับผม ^^" เพจ เฮ้ย! นี่มันตัดต่อชัด ชัด ที่โพสต์ว่า "เข้าๆไปโหวตกันหน่อยนะเว้ยเฮ้ย!" นอกจากนี้เพจนี้ยังมีการตัดต่อภาพล่อเลียนเพจนำในเริ่มแรกด้วย (ดูภาพที่อ้างอิงด้านบน)

โดยในการโพสต์รณรงค์เชิญชวนให้แฟนเพจมาร่วมโหวตมักจะสะท้อนลักษณะเด่นหรือบุคลิคเฉพาะของแต่ละเพจ อย่างกรณี เพจ วิวาทะ ที่มีการพยายามโควทคำพูดของเพจต่างๆ เกี่ยวกับการโหวตมาเพื่อเสนอให้มีการเข้าไปโหวตเพจตัวเอง เพจ Drama-addict (15 ธ.ค.55)ที่มีการกล่าวหลังจากมีดราม่าเกี่ยวกับการโหวตด้วยว่า

"ผลโหวตได้สองหมื่นกว่า จ่าพอใจแระ ที่เหลือคือตักตวงดราม่า กั่กๆๆๆๆๆๆ"

หรือเพจ โหดสัส V2 ที่มีกิจกรรมการเชิญชวนให้แฟนเพจถ่ายภาพตัวเองในมุมแปลกๆ หรือเซ็กซี่ พร้อมข้อความ "โหวตโหดสัส V2" และเพจได้นำมาโพสต์เพื่อเรียกให้คนเข้าไปโหวต รวมทั้งการระดมแฟนเพจไปโพสต์ภาพอุจาระหรือศัพท์เฉพาะว่า "ปาขี้" ในเพจที่มีคะแนนนำตัวเองอยู่ เช่นเพจ VRZO เพจ 9Gag in Thai เพจ Drama-addict และเพจ สมรัก พรรคเพื่อเก้ง เป็นต้น

ภาพแมวโหดสัสสะสมสัญญาลักษณ์ของเพจที่ได้เข้าไปปาขี้

ทั้งนี้ในปัจจุบัน เฟซบุ๊กโดยเฉพาะในรูปแบบแฟนเพจในไทยมีการเติบโตอย่างมากทั้งในเชิงการค้า การเมืองและสังคม มีการหยิบเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้มาใช้ ล่าสุดข้อมูลจาก zocialrank.com ประเทศไทยมีแฟนเพจประมาณ 3 แสนเพจ เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิ้งห้างที่ 3 อย่างฟิลิปปินส์ ที่มีเพียง 2 หมื่นกว่าเพจเท่านั้น

ในระดับโลกกรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองที่มี user มากที่สุดในโลกอีกด้วยคือ 12,797,500 user

ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์เหล่าแอดมินเพจแห่งปีและบทวิเคราะห์การ Vote เพจแห่งปีและสถานการณ์เฟซบุ๊กปีหน้าได้ทางประชาไทเร็วๆนี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทามาดะ โยชิฟูมิ: อนาคตญี่ปุ่นหลังเลือกตั้งและรัฐบาลชินโซะ อาเบะ

Posted: 25 Dec 2012 11:09 PM PST

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ทามาดะ โยชิฟูมิ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต มาบรรยายหัวข้อ "อนาคตญี่ปุ่นกับผลการเลือกตั้งครั้งใหม่" โดยวงเสวนานี้จัดที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย นิสิตวิชาการเมืองการปกครองญี่ปุ่น

นายชินโซะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรี 1 สมัย และว่าที่นายกรัฐมนตรีจากพรรค LDP (ที่มา: วิกิพีเดีย)

นายโยชิฮิโกะ โนดะ อดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรค DJP (ที่มา: วิกิพีเดีย)

ทั้งนี้ญี่ปุ่นเพิ่งจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือ LDP ชนะการเลือกตั้งได้ ส.ส. 294 ที่นั่ง จากทั้งหมด 480 ที่นั่ง ทำให้ได้เป็นรัฐบาล ขณะที่พรรครัฐบาลเดิมคือพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น หรือ DJP ได้ ส.ส.เพียง 57 ที่นั่ง จากที่เคยได้ 230 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2009

โดยว่าที่นายกรัฐมนตรีจากพรรค LDP ก็คือนายชินโซะ อาเบะ (Shinzo Abe) ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 57 ของญี่ปุ่นต่อจากนายจุนอิชิโร่ โคอิซูมิ แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี ระหว่างปี 2549-2550 ก็ขอลาออกเพราะมีปัญหาเรื่องคะแนนนิยมและสุขภาพ

อาจารย์ทามาดะ กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้พรรครัฐบาลคือพรรค DPJ ไม่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ก็คือ เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ดีขึ้น นโยบายที่เคยหาเสียงว่าไว้ก็ไม่สามารถดำเนินได้ นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแย่ลง โดยรัฐบาลพรรค DPJ มีปัญหากับสหรัฐอเมริกา จีน และเกาหลีใต้ นอกจากนี้มีเหตุแผ่นดินไหวและอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำให้ถูกวิจารณ์ และสังคมญี่ปุ่นมีคนสูงอายุมากขึ้น คนในวัยทำงานน้อยลง โดยปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ ยังไม่มีทางออก ขณะที่เมื่อรัฐบาลยังไม่มีสตางค์ ก็ตัดสินใจว่าจะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมเป็นร้อยละ 5 จะขึ้นเป็นร้อยละ 7 และร้อยละ 10 ดังนั้นเมื่อไม่มีผลงานอะไร พอขึ้นภาษีก็ทำให้ประชาชนไม่ชอบ

นอกจากนี้เมื่อประชาชนไม่นิยมพรรค DPJ แล้ว ส.ส.ที่มีฐานะไม่มั่นคงในพรรค ก็ขอลาออกจากพรรค ไปอยู่พรรคใหม่ ทำให้มีหลายพรรคมากขึ้น เมื่อถึงเวลาที่มีการเลือกตั้ง ที่สุดท้ายประชาชนตัดสินใจเลือก LDP ไม่ใช่เพราะชอบ LDP แต่ว่ายังดีกว่าพรรค DPJ และไม่มีทางเลือก ดังนั้นเมื่อต้องเลือกพรรคหนึ่งก็เลยต้องเลือก LDP ทำให้พรรค LDP ชนะอย่างมาก

ทั้งนี้การคลังรัฐบาล การเลือกตั้งรอบนี้มีคนออกมาเลือกตั้งน้อยมากคือประมาณร้อยละ 59 โดยมีสี่เรื่องที่สำคัญที่เป็นตัวแปรสำคัญของการเลือกตั้งได้แก่ นโยบายการคลังรัฐบาล นโยบายประกันสังคมที่ต้องการงบประมาณมาก เศรษฐกิจไม่พัฒนา ราคาสินค้าโดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำมาหลายปี ประเด็นเรื่องจะหยุดการใช้นิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไม่ รวมทั้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจให้กองกำลังป้องกันตนเอง

ตอนหนึ่งอาจารย์ทามาดะกล่าวด้วยว่า ความท้าทายต่อไปของญี่ปุ่นก็คือสังคมคนชรา ที่ประชากรวัยทำงานมีแนวโน้มว่าจะน้อยกว่าประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งต่อไปในอนาคตรัฐบาลจะต้องเพิ่มภาระด้านการรักษาพยาบาลให้กับผู้สูงอายุ และรัฐบาลมีทางเลือกไม่กี่อย่าง คือจะขึ้นภาษีหรือจะลดภาระการดูแลคนชรา

นอกจากนี้แนวโน้มหลังการเลือกตั้ง อาจจะต้องจับตานโยบายด้านความมั่นคงของรัฐบาลชินโซะ อาเบะ ซึ่งแน่ชัดว่าจะไม่มีการย้ายฐานทัพสหรัฐอเมริกาซึ่งมีกำลังพล 50,000 นาย ออกจากโอกินาว่า ก่อนหน้านี้มีความเห็นของคนที่เกาะโอกินาว่าต้องการให้ย้ายฐานทัพของสหรัฐอเมริกาออกจากเกาะ แต่สหรัฐอเมริกาก็ไม่ยอม โดยฐานทัพของทหารสหรัฐบริเวณดังกล่าวเป็นจุดที่ดูแลความมั่นคงบริเวณคาบสมุทรเกาหลี และจีน

ต่อประเด็นที่ว่ารัฐบาลของชินโซะ อาเบะจะไปในทิศทางไหนนั้น ตอนท้ายของการเสวนา อาจารย์ทามาดะให้ข้อสังเกตว่าถ้าเขาถูกกดดันมากๆ สงสัยจะลาออก หรือลาออกโดยให้เหตุผลว่าป่วย จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้หรือไม่ ถ้าแก้ได้ก็ดีมาก แต่ไม่แน่ใจว่าจะแก้ได้แค่ไหน โดยปัจจุบันธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นก็บอกให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงเรื่องนโยบายดอกเบี้ย เมื่อกู้เงินมาก หนี้สินมาก สุดท้ายจะจบอย่างไรไม่แน่ใจ 

นอกจากนี้ชินโซะ อาเบะ ก็ให้ความสนใจเรื่องทหาร เคยบอกว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยน "กองกำลังป้องกันตนเอง" ของญี่ปุ่นเป็น "กองทัพแห่งชาติ" นอกจากนี้มีแนวโน้มว่ารัฐบาลใหม่จะมีปัญหากับจีน เกาหลี และจะเน้นความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกามากขึ้น เป็นลูกน้องที่ดี คือตอนนี้ก็ดีแล้ว ต่อไปก็ดีขึ้นอีก ทำอะไรก็ตามคำสั่งสหรัฐอเมริกามากขึ้น

ที่น่าจับตาอีกก็คือปีหน้า จะมีการเลือกตั้งวุฒิสภาญี่ปุ่น ต้องดูว่าพรรค LDP จะได้ที่นั่งแค่ไหน แต่ที่ผ่านมาในญี่ปุ่น พรรคที่แพ้การเลือกตั้ง ส.ส. จะชนะการเลือกตั้ง ส.ว. เพราะคนญี่ปุ่นไม่นิยมเลือกพรรคการเมืองเดียวทั้งสองสภา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม” ความต่างที่เราจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน ( จบ )

Posted: 25 Dec 2012 07:50 PM PST

 

 

จากข้อมูลที่ชัดเจนที่สุดที่ได้นำเสนอให้กับสังคมได้เห็นความเป็นไป พอที่จะทำให้เราเข้าใจและสร้าง "เบ้าสำนึก" ได้ไม่ต่างกัน

นั่นก็คือ "เราต้องทำอะไรสักอย่าง" ด้วยการเริ่มต้น  เราต้องลุกขึ้นมาเรียนรู้และศึกษาอย่างจริงจังผ่าน "ความต่างที่เราต้องอยู่ร่วมกัน" ด้วย "ความต่าง"ที่เราให้มันกลายเป็นชนวนทั้งหมดของปัญหาที่กำลังหมุนแรงเหวี่ยงด้วยการสะบั้นและกร่อนความผูกพันสังคมของเราให้พังลงอย่างไม่มีชิ้นดี "ความไม่เหมือน"ที่เราต้องคลุกคลีและพึ่งพาอาศัยกัน "ความไม่ใช่"ที่เราต้องยอมรับและหยิบยื่น "ความไม่ลงตัว"ที่เราต้องหาทางออกและหาทางไปเพื่อสู่ทางรอด "ความไม่เข้าใจ"กลายเป็นกำแพงที่เราต้องทำลายและเปิดพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนกัน

เพราะเอาเข้าจริงเราต้องอยู่ด้วยกันอย่างฉันท์มิตรตาม "พันธะสัญญาว่าด้วยสันติแห่งศาสนา"

องค์ดาไล ลามะ นักคิดผู้ทรงอิทธิพลชาวธิเบตได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า  "เมื่อคนรุ่นใหม่เติบโตมาท่ามกลางศตวรรษแห่งความรุนแรงของยุคสมัย ก้าวต่อไปของพวกเขาในสังคมจะเป็นอย่างไร เมื่อพวกเขาโตมาผ่านภาพมายาคติแห่งความเกลียดชัง การทำร้าย การเข่นฆ่าและการนองเลือด"

 ในนามมุสลิมต้องทำความเข้าใจ หลักการศาสนาผ่านประวัติที่อิสลามเคยนำเสนอ สุดยอดแห่งบาทวิถีอิสลามนั่นก็คือ แบบฉบับแห่ง "ศาสดามูฮัมหมัด" และสหายแห่งศาสนาอย่าง "อาบูบักร" (คอลีฟะห์คนแรกที่ปกครองอิสลามหลังจากท่านศาสดาได้เสียชีวิต) ในการอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมโลกว่าแบบไหน? และอย่างไร ? แบบฉบับที่ดีที่สุดในนามแห่งความเป็นพุทธ ไม่มีใครปฏิเสธหนทางแห่ง "พระพุทธเจ้า" และแนวทางของผู้ติดตามอย่าง "พระอานนท์พระพุทธอนุชา" ซึ่งได้นำวิถีแห่งต้นแบบให้พุทธศาสนิกชนได้อย่างทรงพลัง

ทั้งหมดคือ "พินัยกรรมนัยยะและสัญญาณเตือน" ล้วนทิ้งไว้เป็นแบบฉบับให้กับผู้คนร่วมโลกได้ยึดถืออย่างจริงจังทั้งสิ้น

ที่สำคัญกว่านั้น เมื่อศึกษาอย่างละเอียดถึงแกนก็นำสิ่งเหล่านั้นมาปรับใช้และทำความเข้าใจสังคมที่เป็นไปในโลกแห่งความต่างที่เราต่างอาศัยร่วมกัน เพราะประวัติศาสตร์ไม่ได้ทำหน้าอธิบายเพียงว่า "เกิดอะไรขึ้น? ใครเป็นอะไร? ที่ไหน? อย่างไร?" แต่หน้าที่หลักของประวัติศาสตร์ที่เราศึกษา นั่นก็คือ การนำมาเป็นแกนและกรอบแห่งวิถีชีวิตเพื่อปรนนิบัติและหยิบยื่นให้เพื่อนร่วมโลก

            หาไม่แล้วเราต่างกลายเป็น"ท่านผู้ชม" ที่มีส่วนใน"การกำหนดเร็ตติ้ง"ชีวิตคนให้ตายวันละ ๒ คนต่อหน้าต่อตาอย่าง "ชาชิน"

ในการรายงานของ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ได้สรุปได้อย่างน่าสะพรึ่งกลัว ตัวเลขความรุนแรงจากสถิติความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างวันที่ ๑ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ระบุว่า "ผู้เสียชีวิตมีประมาณ ๖๕ ราย ไทยมุสิลม ๓๕ ราย ไทยพุทธ ๓๐ ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ ๗๗ ราย ไทยมุสลิม ๔๐ ราย ไทยพุทธ ๓๖ ราย ไม่ระบุ ๑ ราย "[2] จากตัวเลขชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนในเดือนตุลาคม ว่า "เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นที่มาของการสูญเสียและบาดเจ็บจำนวน ๑๔๒ ราย และส่งผลกระทบต่อต่อราษฎรถึง ๗๕ ราย (เสียชีวิต ๓๙ รายและบาดเจ็บ ๓๖ ราย)

เหตุการณ์ในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า "ราษฎรคือผู้ได้รับความเสียหายมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด"

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ได้สรุป ตัวเลขความรุนแรงจากสถิติความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างวันที่ ๑ – ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ระบุว่า "ผู้เสียชีวิต ๓๑ ราย ไทยมุสลิม ๒๒ ราย ไทยพุทธ ๙ รายและผู้บาดเจ็บ ๑๐๔ ราย ไทยมุสลิม ๒๕ ราย ไทยพุทธ ๗๘ ราย ไม่ระบุ ๑ ราย"[3]

ตัวเลขได้ชี้ให้เราเข้าใจอีกว่า ในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) "จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บทั้งหมดนั้น จากจำนวน  ๒๗๗ ราย ไทยมุสลิมประมาณ ๑๒๒ ราย และไทยพุทธประมาณ ๑๕๔ ราย  เราสามารถมองให้ละเอียดได้อีกว่า "จำนวนผู้บาดเจ็บทั้งหมดในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) จำนวน ๑๘๑ ราย ไทยมุสลิม ๖๕ ราย ,ไทยพุทธ ๑๑๔ รายและไม่ระบุศาสนา ๒ ราย ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) จำนวน  ๙๖ ราย ไทยมุสลิม ๕๗ ราย และไทยพุทธจำนวน ๓๙ ราย"

ไม่ว่าด้วยเหตุและผลใด เรา(ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม) ต้องมองกับอย่างตรงไปตรงมาและไม่หลบตา ว่า  "เราคือเหยื่อแห่งความรุนแรง เราคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง พลังแห่งการขับเคลื่อนสันติภาพก็ต้องเกิดขึ้นจากเรา"

 หมดเวลาแล้ว ที่เราจะมอบความหวังและอนาคตไว้กับชนชั้นนำหรือผู้ปกครอง แม้คนเหล่านั้น "จะอ้างความเป็นตัวแทนในนามพุทธศาสนา" เพื่อช่วงชิงพื้นที่เข้ามามีอำนาจในคราบของ ครู นายทหาร องค์การของรัฐ หรืออะไรก็แล้วแต่ (เพราะอำนาจรัฐและตัวแทนที่เขามี ในความเป็นจริง ก็ไม่สามารถปกป้องให้เราปลอดภัยจากความเสี่ยงที่เรากำลังหลีกหนีอยู่ได้)

ในมุมกลับกัน ในนามแห่งความเป็นมุสลิม เราไม่ควรหวัง แม้กระทั่ง "หวังแบบสมถะ"และฝันอะไรในนาม นักการเมืองที่เป็นมุสลิม ผ่านคะแนนเสียงข้างมากในแต่ละยุคสมัย ทั้งระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด กระทั่งประเทศ เพราะคนเหล่านี้โดยมากไม่ต่างจาก "ผู้หากิน ผู้เห็นแก่ตัวและผู้กอบโกย" ผ่านชีวิตคน ทว่าเราต้องสังเวยชีวิตให้กับการลองถูกลองผิดของนโยบายให้กับคนเหล่านี้

ที่สำคัญกว่านั้นกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ได้รับความเสียหาย จาการรายงานของ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) นั่นก็คือ "จากจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวน ๑๓๕ ราย ตัวเลขได้ชี้ให้เห็นว่า ราษฎรมีจำนวนสูงถึง ๗๑ ราย เสียชีวิตประมาณ ๑๙ รายและบาดเจ็บประมาณ  ๕๒ ราย  ตัวเลขเหล่านี้ พยายามบอกว่า ผลกระทบของความรุนแรง นั่นก็คือ "ประชาชนธรรมดาในพื้นที่ (ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้"

ในขณะเดียวกัน ตัวเลขของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตซึ่งเป็นราษฎรในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) ประมาณ ๑๔๖ ราย ราษฎรเสียชีวิต ๕๘ ราย และบาดเจ็บ ๘๘ ราย  จำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นราษฎรในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) จากจำนวนผู้เสียชีวิต ๙๖ ราย ราษฎรได้เสียชีวิตมากถึง ๕๘ ราย  จำนวนผู้บาดเจ็บที่เป็นราษฎรในรอบ ๒ เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๕) จำนวนผู้บาดเจ็บ ๑๘๑ ราย ราษฎรกลายเป็นยอดผู้บาดเจ็บสูงถึง  ๘๘ ราย 

เพราะเอาเข้าจริง "เราต่างก็เข้าใจและมีบทเรียนมาไม่ต่างกัน" คือ คนเหล่านี้ ไม่ได้หวังการเรียกร้องเพื่อสันติภาพและปลดแอกเราจากการเป็นเหยื่อแห่งการฆ่าฟันรายวันแต่อย่างใด  "สำนึกเหล่านี้" มองอย่างตรงไปตรงมา นั่นก็คือ เราต่างให้โอกาสคนเหล่านั้น (ตามที่เขาขอ) มากพอ หวังมามากมายและบอบช้ำมาเกินทน เจ็บมาพอ ๆ กัน ไม่ใช่พวกเขาไม่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลง แต่พวกเขาก็ได้ประโยชน์จากสถานการณ์ในลักษณะแบบนี้(ความรุนแรงเชิงคุณภาพ ; ความรุนแรงที่ยืดเยื้อเรื้อรังและเข้มขันยิ่งขึ้น)[4] มากพอ ๆ กัน !!! แล้วเรายังแลกคนที่เรารักวันละ ๒ คน กับการลองผิดถูกไปอีกนานเท่าไหร่ ?

ทั้งนี้ ก็ไม่ควรหวังอะไรทั้งนั้นกับกระบวนการแก้ปัญหาที่มาจาก "ผู้นำมุสลิม" ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นและรากแห่งหลักการศาสนาอิสลาม  ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในคราบ "นักการศาสนา"ผ่าน "การอ้างหลักการอิสลาม" เพื่อผลประโยชน์บางอย่างที่เรารู้กันและที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ ผู้นำเหล่านี้มักได้รับการเลือกตั้งจากคะแนนเสียงข้างมาก (ระบบคะแนนเสียงข้างมากเลือกผู้นำกำลังตีตลาดระบบศาสนาอิสลามโดยไม่มีใครตระหนักถึงผลและสิ่งที่เลวร้ายแห่งความเป็นพรรคพวกและความแตกแยกที่กำลังตามมา)

จำไว้อย่างหนึ่ง เมาลานาซัลมาน แห่งนัดวาตุลอุลามะ (Allama Syed Salman Al-Husaini  Al-Nadwi) สถาบันการศึกษาศาสนานัดวา เมืองลักเนาว์ (Lucknow) ประเทศอินเดียได้ตอกเสาเข็มนักศึกษาอย่างมั่นคงและกล่าวเตือนไว้ในการเรียกร้องผู้คนสู่หนทางแห่งอิสลามว่า

"ศาสนาและเรื่องราวทั้งหมดที่เกี่ยวโยงกับรากเหง้าแห่งอิสลามจะไม่ทำให้คนในสังคมเอาเปรียบกันหรือเป็นชนวนให้สังคมขัดแย้งและแตกแยกกันอย่างที่เห็น แม้เราได้ทำบางอย่างในนามศาสนาก็เหอะ ! ยกตัวบทอัลกุรอ่านหรือชี้แนะจากอัลฮาดิษก็แล้วแต่ ทว่าสิ่งนั้นยังทำให้สังคมยังล้มเลิกบุพการี แบ่งฝักแบ่งฝ่าย  ด่าทอต่อกัน และออกมาห้ำหั่นกันอย่างเลือดเย็น"

"จงระวัง ! โปรดจำไว้ ! พวกท่านทั้งหลายโปรดจำไว้ว่า ! พวกท่านกำลังเดินผิดทาง (อันตรายแห่งผู้ใช้อิสลามแล้วเดินผิดทาง น่าเป็นห่วงกว่าผู้เดินผิดทางโดยไร้หลักการศาสนา) สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ศาสนาและอุดมคติแห่งอิสลามแต่อย่างใด เพราะพื้นและรากแห่งศาสนาจะมีพลังในการรองรับคนไม่เหมือนอยู่กันได้ เป็นหลักการให้คนที่ต่างกันให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นสัญญาณให้ศาสนิกแต่ละศาสนารักใคร่กันและไปมาหาสู่กันอย่างปกติสุข เป็นโมเดลในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและไม่รังแกกันระหว่างเพื่อนร่วมโลก นอกจากนี้ แม้อ้างอิสลาม ก็ไม่ใช่อิสลาม"

ไม่ว่าด้วยความโหดร้ายของโลกหมุนไปแบบไหน เปลี่ยนไปอย่างไร ใครตายไปเท่าไหร่และบาดเจ็บไปขนาดไหน สิ่งนี้คือ บทเรียนและสัญญาณเตือน ว่าเราต้องหาทางออกร่วมกันเพราะสันติภาพที่แท้จริงเกิดจาก "คนข้างใน" อย่างเรา (ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม)

ไม่ต่างจากมุมมองของนักวิชาการอินเดีย  อัสกัร อาลี แอนจิเนีย (Asghar Ali Engineer) ได้นำเสนอใน "The Need For Inter-Religious Dialogue" อย่างตรงประเด็น กระชับ และชัดเจนที่สุดผ่านประสบการณ์แบบนี้ ใต้ฐานแห่งความขัดแย้งฮินดู-มุสลิม ว่า

"ในโลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย การดำเนินการในการไดอาล็อคก็เพื่อปลดพันธะบางอย่าง รวมทั้งการเข้าใจผิดระหว่างกัน เมื่อโลกมาในคราบของ "3 Ds" นั่นก็หมายความว่า "Democracy" ทำให้โลกเกิดการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และระบอบประชาธิปไตยนำไปสู่ความเป็น "Diversity" และความหลากหลายต้องนำโลกไปสู่การ "Dialogue" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้"

กระบวนการไดอะล็อก จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ  ประการแรก         ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงสร้างของศาสนา ,นักวิชาการที่มีความเข้าใจในประเด็นอย่างลึกซึ้ง,นักเขียนที่นำเสนอมุมมองให้กับสังคม

ประการที่สอง      ใช้ความเป็นเพื่อนมนุษย์เรียนรู้ระหว่างกัน นำความรู้มาแลกเปลี่ยนกันค่อนข้างจะดีกว่าการโต้แย้งในประเด็นที่เราขาดพื้นฐาน เพราะการไดอะล็อกจะสร้างความกระจ่างให้กับเรา

ประการที่สาม      ต้องนำเสนอจากรากฐานแห่งความเชื่อตามหลักการที่ตัวเองมีแล้วอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ  ถึงการกระทำที่ถูกต้องหรือที่ศาสนาได้สอนไว้อย่างชัดเจน เพราะประเด็นสงสัย อาจส่งผลต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นตามมาเสมอ

ประการที่สี่ จะต้องให้เกียรติและอดทนระหว่างกัน และต้องตั้งใจฟังอย่างถี่ถ้วนแบบใส่ใจและทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างจริงใจ เมื่อมีการพยายามอธิบายให้เข้าใจเพื่อให้กระจ่างในข้อสงสัย ผู้มีส่วนร่วมอย่าพยายามเงียบ ทว่า จะต้องแลกเปลี่ยน ซักถามและนำเสนอแนะอย่างมีทักษะ เพราะโดยมากของการเงียบมักทำลายแนวคิดแห่งการ "ไดอะล็อก" เพราะขจัดความต่างด้วยการแลกเปลี่ยนกัน

โดยผลการไดอะล็อก จะนำไปสู่สิ่งเหล่านี้   ประการแรก          เพื่อนำเสนอสิ่งที่เราเข้าใจและการไม่ปฏิเสธความแตกต่างหรือความเชื่อที่ไม่เหมือนของผู้อื่น และพยายามหาทางออกร่วมกัน

ประการที่สอง      ตระหนักไว้เสมอว่า การไดอะล็อก ไม่ใช่การเกิดขึ้นของการปรับเปลี่ยนแนวความคิดได้โดยกะทันหัน  ทว่า มันคือ ก้าวแรกในการเข้าใจคนที่ไม่เหมือนที่ต้องอยู่ร่วมโลกกับเรา

ประการที่สาม      การจัดการที่มีพลังและวิเศษนั้น จะทำให้เข้าใจและเรียนรู้ความต่างแห่งความเชื่อและหลักการศรัทธา ในแต่ละคนที่อยู่ร่วมโลกกับเรา[5]

ในประเทศอินเดีย เกิดการไดอาล็อคกันค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะในโลกแห่งความต่างที่มักเหยียดแน่นและคับเมือง ไม่ต่างจากที่ผมได้นำเสนอไปแล้ว ก่อนหน้านี้ ใน "ความต่างบนความสูง ๓,๕๒๐ เมตร"[6]  ผลแห่งความต่างอาจ "สร้างกระบวนการจัดการ"อย่างลงตัวแสดงออกมาในรูปแบบของการศึกษา สถาบันการศึกษา ในศูนย์อิสลามศึกษาDarul Musannifin ที่ Azamgarh  หรือที่เรารู้จักกันในนาม "Allamah Shibly Academy" ในหนังสือ "Majma-Ul- Bahrayn" (Co-Mingling of two Oceans)นับเป็นหนังสือเล่มสำคัญในการไดอะล็อกระหว่างฮินดู-อิสลามหรือแม้แต่ป้ายจราจรบนท้องถนนในย่านนิวเดลี (New Delhi) หรือเมืองอื่น ๆ ที่ได้ให้ "พื้นที่" กับทุกชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ได้อย่างเท่าเทียมและเห็นชัด

ภาพเล็ก ๆ เหล่านั้น อาจเป็นส่วนหนึ่งจาก "การตกผลึกของสังคม" (ที่ตายกันมามากกว่าล้านคน )ผ่านป้ายจราจรผ่นเดียวที่เขียนภาษาประมาณ ๓ – ๔ ภาษา เช่นอังกฤษ ฮินดี อุรดู ปัญจาบี หรืออื่น ๆ ตามพื้นที่ท้องถิ่น  เพราะ "อังกฤษ" คือ ภาษาตัวแทนแห่งยุคสมัยที่ใช้กันมากกว่าครึ่งประเทศและการเป็นอาณานิคมของชาวอินเดีย"ฮินดี" คือ ภาษาของศาสนาฮินดูที่มีผู้นับถือมากอันดับหนึ่งของอินเดียและโดยมากใช้ในนิวเดลี รัฐอุตราปราเดสและรัฐมาดราปราเดส "อุรดู"คือภาษาของมุสลิมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายของพลเมืองในชุมชนมุสลิมเกือบทั่วประเทศอินเดีย "ปัญจาบี" คือ ภาษาของบรรดาชาติพันธุ์แห่งชาวซิกห์และนักธุรกิจของอินเดียที่ใช้ในเมืองปัญจาบ[7]

 หรือภาษาในพื้นที่อื่น ๆ ที่ปรากฏไปในแต่ละรัฐและหัวเมือง อย่างคานาดา (รัฐกานาตากา)  ตาลุกุ (รัฐอันดาราปราเดส) แคชมีรี (แคชเมียร์) ลัดดากี (เมืองลัดดาก) เบงกาลี (แถบเบงกอล)  ภาษาทมิฬ (รัฐทมิฬนาดู)  มาลายาลัม (เกเรล่า) ภาษา กองกานี (เมืองทะเลแบบกัววา)  มาราตี  (มาฮารัชตา) ภาษาโอรีสา (เมืองโอริสา) อารียานี  (อารียานา) คุชราตี (คุชราช) ซินดี  (ราจาสถาน)

สิ่งนี้อาจ "เปลือยเปล่าและไม่มีอะไรเลยด้วยซ้ำ" หากมองอย่างผิวเผินหรือผ่านแว่นของประเทศที่ไม่เคยยอมรับความไม่เหมือนอย่างจริงจังแบบประเทศไทย  แต่เมื่อใช้สายตาแห่งการจัดการความขัดแย้ง สิ่งนี้คือ "ผลพวงแห่งการตกผลึกความต่าง" และมันแสดงออกมาอย่างที่เห็น ประเทศไทยอาจไม่ชาชินและไม่ชินชากับตัวเลขชีวิต"พลเมืองที่ต้องสูญเสีย" ดังกล่าวเพราะความต่างเหล่านี้

จึงไม่แปลก ปัตตานีไม่เคยมี "หลักสูตรสอนภาษาถิ่นแบบยาวี"(บังคับให้เป็นวิชาพื้นฐานในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยของรัฐที่ทุกคนต้องเรียน)ให้กับคนจากต่างพื้นที่หรือในพื้นที่เองไม่ว่าพุทธหรือมุสลิม อย่างน้อยคือ "การเริ่มต้นผ่านมิติวัฒนธรรมที่ต่างกันอย่างทรงพลัง"

 "สังคมภาพใหญ่แห่งความเป็นไทยอาจกลัวว่า วิธีการเหล่านี้เป็นการเปิดพื้นความเป็นภูธรที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างความต่างที่เป็นซีแย-นายู ได้พูดคุยกันมากกว่าเดิมระหว่างความไม่เหมือนไทยมุสลิม-ไทยพุทธ หรืออีกนัยยะหนึ่งเป็นการยอมรับประวัติศาสตร์แห่งความต่างที่ดำเนินอยู่และเป็นไป อาจรวมไปถึงความเป็นเอกภาพของสังคมไทยที่ "ทุกคนต้องเหมือนกัน" ชะตากรรมของประเทศแห่งความเป็นรัฐอธิปไตยสำคัญกว่าชีวิตพลเมืองที่ต้องสังเวยให้ความต่าง หากพื้นที่เหล่านี้เปิดขึ้นมา คนในสังคมแห่งความต่างได้เรียนรู้กันมากกว่าเดิม เมื่อถึงตอนนั้น อาจยากแก่การปกครองและควบคุม"

ในทางกลับกัน ชาวจีนในปัตตานีโดยเฉพาะโรงเรียนเทศบาลเมืองปัตตานี ได้กำหนดวิชาภาษาจีนให้กับนักเรียนทุกคนได้เรียน ฟัง พูด อ่านและเขียนอยู่ในหลักสูตรการศึกษา เพราะอะไร ? ทำไม ? ตลกไหม ! (คนตายวันละ ๒ คน สังคมต้องหาทางออกเพื่อสิ่งนี้ ไม่ใช่ปรับหลักสูตรเพื่อรองรับกระแส "แฟชั่นอาเซี่ยน" อย่างที่เรากำลังคิดและทำกัน เพราะมันไกลเกินวิถีแห่งเรา)

เพราะจุดจบแห่งความต่าง สำหรับอิสลาม นั่นก็คือ พระเจ้าจะทดสอบว่า "เราสามารถขจัดความไม่เหมือนเหล่านั้นด้วยวิธีไหน ระหว่างอิสลามที่เชื่อมร้อยสันติภาพและการปกป้องให้เกียรติผู้อื่นหรือ การใช่ราคะมาตัดสิน จนเกิดการนองเลือด"

พระเจ้าแค่สร้างความต่างมาเพื่อให้เราได้เรียนรู้ระหว่างกัน "พระเจ้าสร้างมาแค่นั้นจริง ๆ"

                ผมได้มีโอกาสเดินทางไปในหมู่บ้านฮินดูย่านเมืองอักราอีกรอบ หลังเวลาผ่านไปกว่า ๕ เดือนเต็ม ผมยังเจอกับ Sanjivnee , Divi , Dipika ผู้เป็นพี่สาวของ Sanjivnee และ Kori หลานสาวอีกคนที่เดินทางมาจากเมืองมาตูรา (Mathura) คนทั้งหมดเหล่านี้ยังแบ่งปันรอยยิ้มให้กับผมและเพื่อนพร้อมขนมเล็กน้อยเพื่อต้อนรับขณะที่ผมแวะไปเยี่ยมและพูดคุย กระทั่งขอห้องละหมาดเหมือนวันก่อน

นี่คือ ส่วนที่วิเศษสุดในการเดินทางของช่วงวัยของผมบนท้องถนนแห่งความแตกต่างและช่างไม่เหมือนเอาเสียเลย 

                "ผมมาจากพื้นหมู่บ้านแห่งความต่าง ผืนแผ่นดินแห่งความไม่เหมือน ผมมียี่ห้อที่เพิ่งติดให้ผมหลังจากผมเกิดมาจากท้องมุสลิม ฮินดู คริสต์ พุทธ หรือยิว ก่อนหน้านี้ที่มาของผมและของคุณต่างก็เหมือนกันคือ น้ำอสุจิ ก้อนเลือดและก้อนเนื้อ โลกของเราช่างไม่เหลื่อมล้ำกันนั่นก็คือ ครรภ์ของแม่ อาหารที่เราต่างพอประทัง ก็คือ หยดเลือดผ่านสายสะดือ แต่เมื่อเรามียี่ห้อ เราต่างลืมแผ่นดินที่เราเคยย่ำกันมาแต่แรกเกิดจนหมดสิ้น เราจึงใช้หยดเลือดมารดรินหยิบยื่นให้กัน"

ผมนั่งนึกตลอดทางกลับเมืองอาลีกัร ขณะรถบัสวิ่งผ่านสายหมอกที่ย้อมผืนฟ้าฝ่าลมหนาวแห่งฤดูกาล

-ด้วยความเคารพและขอบคุณที่กรุณาติดตามอ่าน จนจบบทสุดท้าย-

 


[1] ปริญญาตรีการเมืองการปกครองคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี , ปริญญาโทวิชาเอกปรัชญาการเมืองอิสลาม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอาลีกัรมุสลิม,อินเดีย  ปัจจุบัน เป็นนักเดินทางและใช้ชีวิตด้วยการอ่านหนังสือ บทกวี การเขียนเรื่องสั้นลงนิตยสาร บทความเว็บไซต์ งานวิจัยและงานวิชาการตามโอกาสและวาระที่พบเห็นและเผชิญ เขียนเมื่อ 3-12-2012 ณ ห้องเช่าริมกุโบร์,อินเดีย

[2] อ่านเพิ่มเติมได้ใน http://www.deepsouthwatch.org/node/3671

[3]  อ่านเพิ่มเติมได้ใน http://www.deepsouthwatch.org/node/3742

[4] ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี, (บทวิเคราะห์) " 9 เดือน ของปีที่ 9 ; ในสถานการณ์ความรุนแรงอันยอกย้อน กระบวนการสันติภาพปาตานียังคงด้าวเดินไปข้างหน้า",ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ; ปัตตานี, 2 พฤศจิกายน 2522, หน้า 1 หรือ http://www.deepsouthwatch.org/node/3670

[5] หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก The Nation and The World(The Fortnightly Newsmagazine), Asghar Ali Engineer ,"The Need For Inter-Religious Dialogue" ,April ; 16,Vol.19,489  P.18-19

[6] อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม, "ความต่างบนความสูง ๓,๕๒๐ เมตร", ปัตตานีฟอรัม,๒๕๕๕ (๑๑ สิงหาคม) หรือใน  http://www.pataniforum.com/news_detail.php?news_id=68&fb_source=message  หรือ อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม "ไดอาล็อกบนลาดักห์: ความต่างบนความสูง3,250เมตร", นิตยสารนิสาวาไรตี้ (ประจำเดือน 11 ปี ปีที่ 13 ฉบับที่ 132), 2555 ,หน้า  ๔๒-๔๗ หรือใน  http://prachatai.com/journal/2012/08/42019    

[7] หาข้อมูลเพิ่มเติมใน อับดุเราะฮหมาน มูเก็ม, "ชาวซิกห์กับแผ่นดินประติมากรรมสู่ "Homeland",ปัตตานีฟอรัม,๒๕๕๕(๓ กรกฎาคม) หรือในhttp://www.pataniforum.com/news_detail.php?news_id=59

 

 

ที่มา: PATANI  FORUM

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลือกตั้งผู้ว่าฯ: กรุงเทพมหานคร กับ เชียงใหม่มหานคร

Posted: 25 Dec 2012 09:25 AM PST

ท่ามกลางกระแสข่าวที่แพร่สะพัดไปทั่วประเทศถึงข่าวคราวการเตรียมการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของพรรคการเมืองใหญ่ที่จะมาถึงในต้นปี 2556 นี้ ได้สร้างความสนใจขึ้นอย่างมากมายให้แก่ประชาชนคนไทยที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและคนที่อยู่นอกกรุงเทพมหานคร(ผมไม่ใช้คำว่า "คนต่างจังหวัด"เพราะคนกรุงเทพก็คือ "คนต่างจังหวัด"ของคนจังหวัดอื่นเช่นกัน)

ประเด็นที่นอกเหนือจากที่ว่าพรรคใดจะส่งใครเข้าสมัคร ใครมีคะแนนจากการสำรวจความคิดเห็นว่ามีคะแนนเหนือใคร ฯลฯ แต่มีประเด็นหนึ่งที่สื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลักหรือสื่ออื่นใดไม่กล่าวถึงเลย ทั้งๆที่ผู้คนในจังหวัดอื่นนอกกรุงเทพมหานครมีคำถามค้างคาใจอยู่ตลอดมาว่า "ทำไมคนกรุงเทพเลือกผู้ว่าฯของตนเองได้ แล้วคนจังหวัดอื่นทำไมเลือกผู้ว่าฯของตนเองไม่ได้" ประหนึ่งว่าเขาเหล่านั้นเป็นพลเมืองชั้นสองของประเทศนี้

คำอธิบายที่ออกมาจากไม่ว่าจากภาครัฐหรือนักวิชาการตกยุคต่างพร่ำบอกว่าหากให้คนจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครเลือกผู้ว่าฯแล้วจะเกิดความวุ่นวาย กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รัฐไทยเป็นรัฐเดี่ยว นักเลงครองเมือง รู้อยู่แล้วว่าตระกูลไหนจะได้เป็นหากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ซื้อสิทธิขายเสียง เตะหมูเข้าปากหมา ทุจริตคอรัปชันจะเพิ่มขึ้น รายได้ไม่เพียงพอ ฯลฯ ประเด็นที่ตอกย้ำอยู่เสมอเป็นสูตรสำเร็จก็คือ "ประชาชนยังไม่พร้อม"

ผมเคยถูกเชิญให้ไปชี้แจงเรื่องแนวความคิด ร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครต่อคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างคณะกรรมาธิการปกครองและคณะกรรมาธิการทหารของวุฒิสภา ซึ่งประกอบไปด้วยอดีตข้าราชการเกษียณอายุหลายคน หลายคนเป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผมก็ให้เหตุผลแก้ข้อสงสัยข้างต้น(สามารถหาอ่านได้จาก "มายาคติและข้อสงสัยในการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค" http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1663)

ที่ประชุมกรรมาธิการส่วนใหญ่รับฟังและให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ พร้อมทั้งเชื่อว่าร่าง พรบ.ดังกล่าวเป็นวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทยที่กำลังจะก้าวไปข้างหน้า แต่ก็มีบางคนที่ยังฝังใจและหลงภาพในอดีตเก่าๆว่าประชาชนยังไม่พร้อม เมื่อผมยกตัวอย่างเปรียบเทียบการปกครองของญี่ปุ่นที่เป็นรัฐเดี่ยวเหมือนไทย มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษเหมือนกัน เป็นชาวเอเชียเหมือนกัน ที่สำคัญก็คือสมัยรัชกาลที่ 5 ความเจริญของไทยกับญี่ปุ่นไกล้เคียงกัน รถไฟเข้ามาพร้อมๆกัน(แต่เดี่ยวนี้ญี่ปุ่นมีชินกันเซนแล้ว) แต่ญี่ปุ่นก็ไม่มีราชการส่วนภูมิภาค มีเพียงราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ กรรมาธิการนายหนึ่งบอกว่า "ไม่ได้หรอก คนไทยไม่เหมือนคนญี่ปุ่น" เพียงเท่านั้นผมก็ไม่รู้จะอธิบายเพิ่มเติมอะไรอีกเพราะคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ดูถูกประชาชนของเขาได้

หากเรากลับมาพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างกรุงเทพกับจังหวัดอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชียงใหม่แล้ว ผมไม่เห็นว่าคนกรุงเทพกับคนเชียงใหม่จะมีความแตกต่างกันแต่อย่างใด มิหนำซ้ำเชียงใหม่มีอายุตั้ง 716 ปีแล้ว แต่กรุงเทพอายุเพียง 230 ปีเท่านั้นเอง จิตสำนึกทางการเมืองเมื่อเปรียบเทียบเชิงตัวเลขกันแล้วก็สูงกว่าตั้งมากมาย เดี๋ยวนี้ในตลาดร้านค้าไม่ว่าจะเป็นกาดหลวง กาดพะยอมหรือแม้แต่กาดอมก๋อย รถสามล้อ แท็กซี่ สองแถว ตุ๊กๆ เขาไม่คุยกันแล้วเรื่องละครน้ำเน่า แต่เขาคุยกันในเรื่องการเมือง และเป็นการเมืองลึกๆที่สื่อกระแสหลักไม่กล้าลงเสียด้วยซ้ำไป

พูดถึงคุณวุฒิทางการศึกษาเฉลี่ยก็ไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่ ซึ่งในเรื่องคุณวุฒิการศึกษานี้จริงๆแล้วผมไม่เคยเชื่อว่าจะเป็นส่วนสัมพันธ์กับจิตสำนึกหรือความตื่นตัวทางการเมืองแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากอินเดียที่ประชาชนมีอัตราการไม่รู้หนังสือสูงกว่าไทยเราตั้งมากมาย แต่อินเดียไม่เคยมีการปฏิวัติรัฐประหารแต่อย่างใด มิหนำซ้ำระบบการเมืองฝังรากตั้งแต่ระดับชาติลงมาถึงสถานศึกษาลงไปจนถึงชุมชนรากหญ้า

แต่ที่แน่ๆในสถาบันการศึกษาของไทยที่มีผู้คนมีคุณวุฒิการศึกษาสูงเหล่านั้นพบว่าสถิติการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งต่ำกว่าภายนอกรั้วมหาวิทยาลัยเสียด้วยซ้ำไป และระบบการบริหารงานในมหาวิทยาลัยเหล่านั้นไม่ได้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยเลย จากสถิติคดีที่การฟ้องร้องกันที่ศาลปกครองพบว่าอัตราการฟ้องร้องกันระหว่างบุคคลากรของมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นการสรรหาผู้บริหาร การประเมินผลงาน ฯลฯ อยู่ในอันดับต้นๆ และถ้อยคำที่พิพาทฟ้องร้องกันนั้นแทบไม่น่าเชื่อว่าเป็นการทะเลาะกันของปัญญาชนชั้นสูงเสียด้วยซ้ำไป

ที่น่าเศร้าไปกว่าในบางมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชารัฐศาสตร์ถึงกับมีการถกกันภายในว่าหากประเทศไทยเรายกเลิกราชการส่วนภูมิภาคไปแล้ว บัณฑิตที่จบไปก็หมดโอกาสที่จะไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ เป็นได้ก็เพียงปลัดเทศบาลหรือปลัด อบต. เท่านั้น ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าใช้สมองส่วนไหนคิด เพราะการปกครองท้องถิ่นนั้นคือหัวใจหลักของวิชาการเมืองการปกครองหรือวิชารัฐศาสตร์เสียด้วยซ้ำไป แต่ก็ไม่น่าแปลกอะไรนักเพราะคณะรัฐศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยของไทยก็ใช้ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงมหาดไทยคือ "ตราสิงห์"เป็นตราประจำคณะกันทั้งนั้นแล้วไปใส่สีเพิ่มเป็น สิงห์ดำ(จุฬา) สิงห์แดง(ธรรมศาสตร์) สิงห์ขาว(มช.) สิงห์ทอง(ราม) สิงห์เขียว(เกษตรศาสตร์) สิงห์ไพร (แม่โจ้) ฯลฯ ซึ่งว่ากันตามจริงแล้วผู้ที่จะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอก็ไม่ได้รับเฉพาะผู้ที่จบรัฐศาสตร์เท่านั้น นิติศาสตร์หรือศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารก็เป็นได้

ว่ากันตามจริงแล้วหลายคนกลัวที่จะได้คนขี้เหร่มาเป็นผู้ว่าที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งกรุงเทพมหานครก็มีผู้สมัครขี้เหร่ๆมาแล้วหลายต่อหลายคนแต่ก็ไม่เคยได้รับการเลือกตั้ง คนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาผมก็ไม่เห็นว่าจะมีใครขี้เหร่สักคนเดียว เช่น คุณสมัคร คุณอภิรักษ์ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ฯลฯ ส่วนจะชอบใจไม่ชอบใจก็เป็นเรื่องรสนิยมทางการเมืองของแต่ละบุคคล และผมก็เชื่อว่าในจังหวัดอื่นก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกันเพราะเขาเลือกตั้งคนที่จะไปเป็นผู้นำเขากับมือเขาเอง มิใช่อยู่ที่การชี้นิ้วของคนไม่กี่คนดังเช่นที่ผ่านๆมา

ถึงเวลาแล้วล่ะครับที่ไทยเราจะต้องก้าวไปข้างหน้า ฟิลิปปินส์ อินโด เขาเลือกตั้งผู้ว่ามาตั้งนานแล้ว ไทยเรายังมัวแต่ล้าหลังอยู่ อย่าว่าแต่การเป็นผู้นำอาเซียนเลยครับ ขอให้หนีบ๊วยของอาเซียนให้ได้เสียก่อนเถอะ

 

 

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 26 ธันวาคม 2555

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น