โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สัมภาษณ์ วรดุลย์ ตุลารักษ์ ก่อนค่าแรง 300 ทั้งแผ่นดิน(1 ม.ค.นี้)

Posted: 29 Dec 2012 10:06 AM PST

นับตั้งแต่พรรคเพื่อไทยได้ชูนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ ในช่วงเลือกตั้งปีที่แล้ว ได้สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง โดยพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงหาเสียงและหลังจากพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ออกมากล่าวว่านโยบายนี่จะทำให้คนตกงาน[1] แต่หลังจากนั้นในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภานายอภิสิทธิ์[2] ก็ได้ลุกขึ้นอภิปรายทวงนโยบายนี้ โดยอ้างว่า "ท่านได้สร้างความคาดหวังไว้แล้ว ท่านต้องทำ และ ทำทันทีอย่างที่ได้ประกาศไว้" และล่าสุด(29 ธ.ค.)นายอภิสิทธิ์[3]  ก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกระบบการดูชดเชยอุตสหกรรมที่ตกอยู่ภายใต้ความเสียงจากนโยบายนี้  และยังมองว่ารัฐดำเนินการไปน้อยและไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบที่แตกต่างด้วย

อย่างไรก็ตามการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศก็เข้าใกล้ความจริงมากแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการขึ้นใน 7 จังหวัดนำร่อง และเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมาก็ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วว่าให้จังหวัดที่เหลือมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ในวันที่ 1 ม.ค.56 นี้ จึงยิ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในส่วนที่สนับสนุนและคัดค้าน โดยเฉพาะบรรดาภาคธุรกิจที่ออกมาขู่ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตปิดโรงงาน เป็นต้น แน่นอนว่านโยบายที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท นี้ไม่ได้เป็นเพียงการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำที่ก้าวกระโดดเท่านั้น ยังหมายรวมถึงการขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ ที่จากเดิมมีการแบ่งโซนค่าจ้าง สิ่งนี้จะคาดการณ์ได้ว่าย่อมส่งผลต่อโครงสร้างตลาดแรงงานและระบบเศรษฐกิจในอนาคตอย่างแน่นอน ดังนั้น ก่อนจะถึงวัน ดี-เดย์ 1 ม.ค.นี้ ทางประชาไท จึงได้สัมภาษณ์คุณวรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยด้านเศรษฐกิจและแรงงาน เพื่อพิจารณ์นโยบายนี้ และมองไปข้างหน้าประเทศไทยหลัง 300 บาททั้งแผ่นดินว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร

วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยด้านเศรษฐกิจและแรงงาน

ประชาไท : เราจะเห็นภาคธุรกิจและภาครัฐที่ออกมามีบทบาทในการถกเถียงประเด็นเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศที่จะมีการขึ้นในวันที่ 1 ม.ค.นี้ ในมุมมองของคุณวรดุลย์ ประเทศไทยหลังขึ้นค่าแรงจะมีผลกระทบอย่างไร

วรดุลย์ ตุลารักษ์ : ก่อนอื่น ประเทศไทยเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วและประสบผลสำเร็จมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปีที่แล้ว ธนาคารโลกขยับให้เป็นประเทศเศรษฐกิจระดับกลางช่วงบน ( upper-middle income) จากประเทศเศรษฐกิจระดับกลางต่ำ (lower-middle income)  ถ้าดู GDP per capita ผลผลิตมวลรวมประชาชาติต่อหัว คือเอาจีดีพีหารด้วยจำนวนประชากร จะอยู่ที่ประมาณ 5000 เหรียญสหรัฐต่อปี ส่วนรายได้ประชาชาติต่อหัวหรือ GNI ประมาณ 4500 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แต่ความสำเร็จทางเศรษฐกิจไม่ได้กระจายไปยังคนงานอย่างที่ควรจะเป็น เช่น คนงานจำนวนมากทำงานเป็น 10 ปีไม่มีความก้าวหน้ายังกินแค่ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ รายได้ยังต่ำกว่ารายได้ประชาชาติต่อหัว ทำงานมา 10 ปีถูกเลิกจ้างไปก็มีเยอะ   

คราวนี้ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ก่อนพูดถึงผลกระทบ เราควรตั้งต้นการคิดจากฐานว่า ในโลกของการแข่งขัน ธุรกิจต้องปรับตัวในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไปเร็ว การขึ้นค่าจ้างก็เป็นหนึ่งในสิ่งแวดล้อมใหม่ด้วย และเราควรจะมาพูดถึงหลักการกันก่อนว่าในการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นประกอบด้วย

ประเด็นที่ 1 การขึ้นค่าจ้างเพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพของกำลังแรงงานกว่า 30 ล้านคน ที่เป็นคนงานในโรงงาน แรงงานนอกระบบ หรือคนที่กำลังออกจากภาคเกษตรเข้ามาในอุตสาหกรรม ประเด็นที่ 2 คือ การบังคับใช้ไปทั่วประเทศในอัตราเดียวกัน อันนี้เป็นหลักการที่ดีหรือไม่

สำหรับประเด็นเรื่องการขึ้นค่าจ้าง หากมองในแง่คนงานจำนวนมากที่อยู่ในสังคมเดียวกับเราได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาททำงานวันละ 8 ชั่วโมง 40 ชั่วโมงต่ออาทิย์ก็จะได้ เดือนละ 6000 บาท ต่ำกว่ารายได้ประชาชาติต่อหัว 4 เท่า ทีนี้คนเงินเดือน 6000 บาท ถ้าทำทุกวันไม่มีวันหยุดตลอดทั้งเดือนก็จะได้ 9000 บาท ชีวิตคนจำนวนมากที่อยู่ได้นั้นก็ไม่ใช่เพียงตัวเองยังรวมถึง ลูก เมีย ครอบครัวด้วย แล้วถามว่า 300 บาทมันมากเกินไปหรือไม่ ผมคิดว่าคนๆหนึ่งก็ไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้โดยเงินเดือนเท่านี้ และสามารถที่จะหยุดเสาร์-อาทิตย์ พักผ่อน อยู่กับครอบครัว ศึกษาหาความรู้ เหมือนคนอื่นๆที่ควรจะเป็น มันจึงเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตของกำลังแรงงานของเรา ตอนนี้ ชีวิตคนงานไม่ได้อยู่ได้ด้วยค่าจ้างอย่างเดียว เมื่อค่าจ้างต่ำ คนงานต้องอยู่ได้ด้วยรายได้อื่นๆ ที่ต้องขูดรีดกำลังและเวลาของตัวเองไป เช่น การทำโอทีจนเกินกำลัง เท่าที่ทราบ หลายบริษัท คนงานทำงานอาทิตย์นึง 60-70 ชั่วโมงก็มี  โดยที่ต้องทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว ไม่มีเวลาศึกษาหาความรู้อ่านหนังสือหรือสันทนาการอื่นๆ ถามว่า สังคมจะพัฒนาไปได้อย่างมีคุณภาพหรือไม่

ดังนั้นเวลาจะพูดถึงผลกระทบนั้นจึงต้องมาพูดที่หลักการก่อนว่ามันถูกต้องหรือไม่ และในประเด็นที่ 2 การขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นหลักการที่ถูกต้อง หากเราประยุกต์เอาหลักการไม่เลือกปฏิบัติที่อยู่ในอนุสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับแรงงาน เช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO  หรือไกด์ไลน์ของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว OECD ที่ใช้กับบรรษัทข้ามชาติที่มาลงทุนในประเทศอื่นๆ เราก็ต้องมีดีเบทกันว่าทำไมคนงานลำพูนทำงานบริษัทเดียวกับที่สมุทรปราการ ที่ลำพูนได้ 165 บาท ที่สมุทรปราการ 215 บาท คนงานที่ทำการผลิตเหมือนกัน ทำไมได้รับค่าแรงที่ต่างกัน ซึ่งอันนี้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติสำหรับคนที่อยู่ต่างพื้นที่กันหรือไม่ทั้งๆที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน

แล้วถ้าการแบ่งโซนก็มีการยกเรื่องเพราะค่าครองชีพในแต่ละพื้นที่ต่างกัน

ยกตัวอย่างอาหารที่กำหนดความเป็นอยู่พื้นฐานขั้นต่ำสุดของคน หากมีการโต้แย้งเรื่องที่ว่าลำพูนค่าครองชีพต่ำกว่ากรุงเทพ เราจำเป็นที่จะลงไปดูในรายละเอียดว่า เป็นค่าครองชีพในเรื่องอะไร และอะไรเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของคนงานแต่ละคน หนังสือ เครื่องกีฬา จำเป็นหรือไม่  ผมคิดว่าข้าวสารในลำพูน กับกรุงเทพ ราคาไม่ได้ต่างกันมาก รวมทั้งสินค้าบางประเภทที่ลำพูนก็อาจจะสูงกว่าที่กรุงเทพด้วยซ้ำ ต้องแยกแยะว่าสินค้าที่คนงานต้องบริโภคคืออะไรและที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคืออะไร ดังนั้นการยกเรื่องความแตกต่างในค่าครองชีพอาจไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงเสมอไป เพราะมันเป็นการคำนวณรวมๆ

สำหรับการขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ ก็เป็นความเป็นธรรมอย่างหนึ่งทำให้คนงานไม่ได้สงสัยต่อนโยบายของรัฐว่า ทำไมการเป็นคนลำพูนจึงได้ค่าแรงที่ต่ำกว่า ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งสังคมหากให้คนเกิดคำถามถึงความแตกต่างขึ้นเรื่อยๆ ผลที่ไม่ใช่ในทางเศรษฐกิจ แต่ในทางความรู้สึกของคนที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกันก็จะเป็นผลร้าย ซึ่งไม่ใช่ที่ตัวเงินมากกว่าด้วยซ้ำ บางนโยบายไม่ใช่เพียงแค่ตัวเงิน แต่เป็นเรื่องการปฏิบัติอย่างเสมอภาค

ดังนั้นการขึ้นค่าแรงในทางการเมืองจึงมีความสำคัญ เพราะการเมืองในระบบประชาธิปไตยต้องให้ทุกคนรู้สึกถึงความเท่าเทียมกันได้มากที่สุด อย่างน้อยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ เพราะการถูกเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะในสังคมไทยก็มีปัญหาเรื่อยมา เช่น เรื่อง 2 มาตรฐาน  ดังนั้นประเด็นนี้จึงเป็นการพัฒนาประเทศเพื่อให้คนในสังคมมีความรู้สึกร่วมที่เสมอภาคกันก่อนที่จะไปถึงเรื่องอื่นๆ

บางท่านที่บอกว่า นโยบายค่าแรง 300 บาทนั้นไม่ควรเป็นเรื่องการเมือง ควรเป็นเรื่องเศรษฐกิจ แต่ผมกลับคิดว่ามันต้องเป็นเรื่องการเมือง เพราะเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ใช้สิทธิใช้เสียงในสังคมประชาธิปไตยมีความรู้สึกที่เสมอภาคกัน แล้วจึงค่อยๆ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในภาพรวมกันต่อไป ดังนั้นผลที่ไม่ใช่ตัวเงิน กลับมีความสำคัญกว่า หากเราจะพัฒนาประเทศที่ให้มีความเป็นประชาธิปไตยในทางการเมือง และในทางเศรษฐกิจก็เป็นประชาธิปไตยด้วย

อย่างคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ออกมาบอกว่านโยบายนี้เป็นไปไม่ได้ ควรจะปล่อยให้เป็นค่าแรงแบบลอยตัวมากกว่า หรือภาคธุรกิจก็บอกว่าจะมีการย้ายฐานการผลิต คิดว่าจริงหรือไม่

เรื่องนี้ ควรมีการไปถามคนที่ได้รับค่าแรงต่ำกว่า 300 บาทซึ่งเป็นคนจำนวนมากในสังคม และมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับนโยบายนี้ว่า เขาต้องการได้รับการค่าแรงขึ้นหรือไม่ โครงสร้างรายรับรายจ่ายในปัจจุบันของเขาเป็นอย่างไร ถ้าสังคมเราเป็นประชาธิปไตยก็ต้องไม่ชี้นำด้วยความเห็นของเทคโนแครต นักธุรกิจ และชนชั้นนำ เพียงอย่างเดียว ถ้าเป็นนักวิจัย หรือสำนักงานสถิติแห่งชาติ ก็ควรทำการสำรวจรวมรวมข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของคนที่ได้ค่าแรงต่ำกว่า 300 บาทมาก่อน แล้วถึงนำมาเป็นส่วนในการวิเคราะห์ผลกระทบที่พูดกันถึงจะมีความน่าเชื่อถือ เราจะตอบคำถามเรื่องผลกระทบได้โดยไม่คาดเดามากนัก

สำหรับการย้ายฐานการผลิตก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งมาจากหลายปัจจัย เช่น ลักษณะของอุตสาหกรรม ตลาดส่งออก ระบบโลจิสติก ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า สิ่งทอ มีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศพัฒนาแล้วมายังประเทศกำลังพัฒนา นอกจากแรงจูงใจด้านค่าแรงแล้ว บริษัทข้ามชาติหลายแห่งเลือกลงทุนในประเทศที่มีแรงจูงใจสูงกว่าในเรื่องอื่นๆ อย่างกฎหมายแรงงานที่ไม่ดีต่อลูกจ้างมากนัก หรือ ยกเว้นการคุ้มครองไว้โซนเศรษฐกิจพิเศษ เช่น บังคลาเทศ ในโซนเศรษฐกิจพิเศษค่าแรงสูงกว่าโซนอื่น แต่ห้ามตั้งสหภาพแรงงาน เป็นต้น หรือ หลังน้ำท่วม หรือในช่วงกลางๆ 1980 บริษัทญี่ปุ่นก็แห่มาลงทุนในไทยเรื่องหลัก ไม่ใช่เรื่องค่าแรงถูก แต่เป็นอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเยนที่สูงเกินจริงก้ต้องหาฐานการผลิตใหม่เพื่อส่งออก ก้เป็นช่วงที่การลงทุนโดยตรงต่างประเทศสูงสุด ตั้งแต่ 1960 เป็นต้นมา

ที่กังวลกันว่าบริษัทต่างๆ จะย้ายฐานการผลิต โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ ของญี่ปุ่น เช่น บริษัทผลิตรถยนต์ โตโยต้าเข้ามาลงทุนตั้งแต่ปี 1960 ตอนนี้ก็ยังอยู่ ไม่ได้ย้ายฐานการผลิตไปไหน ขยายโรงงานเพิ่มด้วยซ้ำ แล้วค่าแรงของคนงานในอุตสาหกรรมนี้ก็สูงพอสมควรเทียบกับค่าจ้างขั้นต่ำ โบนัสปีนี้คนงานก็ได้หลายเดือน  

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการย้ายฐานการผลิตคือวิธีคิดในการบริหารงานของบริษัทนั้นๆ ถึงค่าแรงต่ำก็ย้ายได้อยู่ดี แต่ก่อนหลายบริษัทเข้ามาลงทุนในไทยเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่กำแพงภาษีต่ำกว่าส่งออกจากประเทศตัวเอง ดังนั้นการย้ายฐานการผลิตมีเหตุผลหรือปัจจัยหลายอย่าง

แล้วจากนโยบายนี้จะก่อให้เกิดการเร่งการย้ายฐานการผลิตอย่างที่สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ออกมาบอกหรือไม่

ตัวอย่างล่าสุดที่อินโดนีเซีย มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดมากกว่าไทยคือประมาณ 45 เปอร์เซนต์ นักเศรษฐศาสตร์บอกว่า การลงทุนจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นอีก เพราะจีดีพีเราโต 6 เปอร์เซนต์ ประธานาธิบดี บัมบัง บอกว่า อินโดนีเซียหมดยุคของแรงงานราคาถูกแล้ว  นักเศรษฐศาสตร์จาก HSBC ก็ออกมาพูดว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศต่างๆ ในเอเซียตอนนี้ ไม่มีผลกระทบด้านลบกับจำนวนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เงินเฟ้อไม่เพิ่ม การจ้างงานก็ไม่ลดลง    

การย้ายฐานการผลิตที่พูดกันขึ้นอยู่ขึ้นกับแนวคิดในการบริหารบริษัทของตัวเอง ถ้าเขาคิดว่าอยู่ในไทยแล้วมีความได้เปรียบในทางธุรกิจเขาก็จะอยู่ต่อ โดยภาพรวม เรื่องย้ายฐานการผลิตมักจะเป็นคำขู่มาเสมอเวลาจะมีการขึ้นค่าจ้าง เกิดขึ้นมานานแล้ว บางทีการย้ายฐานการผลิตอาจไม่ใช่เรื่องการขึ้นค่าจ้างเป็นหลัก แต่เป็นปัจจัยเรื่องการมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง เช่น กรณีอย่างไทรอัมพ์ฯ ที่จะมีการย้ายไปที่นครสวรรค์ คือย้ายฐานการผลิตไปในเขตที่ไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งในประเทศตะวันตกก็เกิดเรื่องเหล่านี้เหมือนกัน การย้ายฐานการผลิตหนีการมีสหภาพแรงงาน ซึ่งนอกจากเรื่องค่าจ้างหรือเรื่องอื่นๆ ที่เป็นตัวเงินแล้ว สหภาพแรงงานไม่ได้ต่อรองเรื่องค่าแรงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องการตัดสินใจร่วมกัน ในเรื่องที่ไม่ใช่ตัวเงินด้วย มันเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างพนักงานกับฝ่ายบริหาร สหภาพสามารถคุยกับผู้บริหารในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ตัวเงิน เช่น การลงโทษทางวินัย เป็นต้น อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น สหภาพแรงงานบริษัทฮุนได มอร์เตอร์ ยื่นข้อเรียกร้องกับฝ่ายบริหารจนทำเป็นข้อตกลงสองฝ่ายว่าหากจะย้ายฐานการผลิตต้องปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงาน และแจ้งล่วงหน้าระยะเวลาที่นานพอสมควรก่อน เป็นต้น

ประเทศไทยที่มีการกล่าวว่าเป็นประเทศที่เป็นอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น ดังนั้นการขึ้นค่าแรงจึงส่งผลกระทบมาก ใช่หรือไม่

งานวิจัยบางของนักวิชาการในมหาลัยดังของสหรัฐปีที่แล้ว เช่น เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำในร้านอาหารของรัฐต่างๆ ก็ชี้ว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่มีผลให้การจ้างงานลดลง บางชิ้นบอกว่าทำให้จ้างงานเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ   ส่วนของไทยก็มีงานวิจัยหลายชิ้น เช่น งานวิจัยเมื่อปีที่แล้วของแบงค์ชาติไทยเอง ที่บอกว่า ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน ผลิตภาพของแรงงานไทยเพิ่มที่สูงขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของค่าแรง ช่องว่างถ่างออกมากขึ้น หมายความว่าคนงานต้องผลิตสินค้าจำนวนมากขึ้นในขณะที่ค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นน้อย

และในความเป็นจริงอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกก็เป็นอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ยานยนต์ อิเลคทรอนิกส์ ปิโตรคนงงานได้ค่าแรงเกิน 300 บาทไปแล้ว  ดังนั้น 300 บาทจึงเป็นขั้นต่ำจริงๆ ไม่ใช่พูดกันเหมือนว่าเป็นค่าจ้างขั้นสูงสุด

รวมถึงการแบ่งโซนค่าแรงที่ผ่านมาที่ค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่ต่างกัน ทำไมถึงให้ค่าของคนงานต่างกัน  

เรื่องการกำหนดโซนค่าแรงนั้น อาจเพื่อให้เกิดการกระจายการความเจริญ ซึ่งในหลายประเทศก่อให้เกิดปัญหามากกว่า โดยเฉพาะกับคนงาน เช่นในประเทศเอเชียหลายประเทศที่เรียกชื่อ  Export Processing Zones : EPZs ก็เป็นการกำหนดโซนให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เช่น ลดภาษี รวมถึงการไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดีในแง่ของความเจริญ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการแบ่งโซนค่าแรงนั้นก่อให้เกิดผลเสียกับคนงานมากกว่า เพราะคนงานผลิตสินค้าเดียวกันจากบริษัทข้ามชาติบริษัทเดียวกัน แต่ได้ค่าแรงที่ต่างกัน

ข้อกังวลในเรื่องผลกระทบระยะสั้น จากการขึ้นค่าแรง 300 บาท ทั่วประเทศ เช่น การย้ายการผลิตมาในโซนที่มีสาธารณูปโภคหรือโลจิสติกส์ (logistics)ที่ดีกว่านำไปสู่การกระจุกตัว คิดว่าจะมีปัญหาหรือไม่และควรมีมาตรการป้องกันอย่างไร

ในยุคใหม่ตั้งแต่มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ขึ้นมา เรื่องค่าจ้างเป็นแรงดึงดูดในการลงทุนน้อยกว่าโลจิสติกส์ จึงไม่แปลกใจที่บริษัทจะมาลงทุนใกล้กับท่าเรือ ยอมค่าแรงสูงเพื่อให้ใกล้ท่าเรือมากกว่า ปัจจุบันมีบริษัทข้ามชาติ มาลงทุนทำโกดังเป็นแวร์เฮ้าส์อย่างเดียว เพื่อที่จะเอาของมาเก็บเพื่อที่จะกระจายอย่างเดียว การพัฒนาอุตสาหกรรมก็จะมีแนวโน้มในการกระจุกตัว ถ้ากลัวเรื่องกระจุกตัว ก็ต้องแก้ที่ทำระบบสาธารณุปโภคและโลจิสติกส์ให้กระจายออกไปในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้นดีขึ้น

และกรณีที่ก่อให้เกิดการกระจุกตัวของการพัฒนาที่เกิดเมืองโตเดี่ยวจะส่งผลทางการเมืองในความรู้สึกความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำหรือไม่

การพูดถึงระบบโลจิสติกส์มีหลายแบบ ซึ่งอาจไม่เฉพาะใกล้ท่าเรือก็ได้ เช่น ใกล้ประเทศลาว กัมพูชา ก็สร้างการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม (Cluster) ในพื้นที่ก็ได้ ปัญหาคือนโยบายอุตสาหกรรมต้องชัดเจนว่าสินค้าอะไร จะไปขายอะไรที่ไหน ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นอย่างไร บริเวณที่ติดชายแดนอินโดจีน คนก็ไปลงทุนไม่จำเป็นต้องติดท่าเรือ ตัวอย่างเช่น ล่าสุดในอุบล ก็มีบริษัทจากจีนเริ่มเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานขนาดใหญ่ผลิตไบโอดีเซลจากมันสัมปะหลัง

การที่คนงานมีค่าแรงหรือเงินในกระเป๋ามากขึ้นจะมีผลดีกับทุนในท้องถิ่นหรือไม่

อันนี้เป็นเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์ก็พูดกันโดยปกติ เมื่อคนงานมีกำลังซื้อมากขึ้น เงินก็หมุนได้หลายรอบมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะโตขึ้น

อีกเรื่องหนึ่งคือ ประเทศที่ค่าแรงต่ำจะไม่สามารรถเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)ได้ เพราะหากได้ค่าแรงต่ำสิ่งที่ต้องทำคือการทำล่วงเวลาหรือโอที บางโรงงานในไทยทำวันละ 16 ชม. หยุดวันอาทิตย์วันเดียว เหมือนคนงานอังกฤษเมื่อร้อยปีก่อนทำให้ไม่มีเวลาที่จะทำอย่างอื่น คิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาหาความรู้ก็ สังคมก็ไม่สามารถเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้

ส่วนเรื่อง SMEs ที่จะได้รับผลกระทบนั้น ในสหรัฐอเมริกาเขาจะมีการให้แต้มต่อ เช่น การให้แต้มต่อในการจัดซื้อจัดจ้างในรัฐนั้นๆ หรือให้รัฐเลือกซื้อในบริษัทขนาดเล็กก่อน ซึ่งหลักการค่าแรงนั้นถูกแล้ว จึงขึ้นอยู่กับแต้มต่อที่รัฐต่อให้ แต่ก็ต้องแยกให้ออกว่าบริษัทไหนเป็น SMEs โดยที่ไม่ได้ให้ครอบคลุมไปถึงบริษัทขนาดใหญ่ด้วย

เรื่องค่าจ้างหรือรายได้ไปสัมพันธ์กับเรื่องชั่วโมงการทำงาน ถ้าเราพูดถึงค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ก็หมายถึง 8 ชั่วโมงการทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องการรณรงค์ของแรงงานสากลมาอย่างยาวนานแล้ว ที่พูดถึงระบบ 8-8-8 คือ 8 ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงพักผ่อนและ 8 ชั่วโมงศึกษาเรียนรู้ แต่หากขึ้นค่าแรง 300 บาท แต่ต้องทำงานเกิน 8 ชั่วโมงก็เป็นผลเสีย แม้กฎหมายจะระบุที่ 8 ชม. แต่จะมีโอที

กรณีที่เป็น SMEs ที่รับเหมาช่วงจากบริษัทใหญ่มาทำ จะมีปัญหาเรื่องการต่อรองราคาจากต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้นหรือไม่

ผลกระทบต่อ SMEs นั้นรัฐบาลมีวิธีช่วยได้ ดังนั้นในประเด็นหลักการว่าควรดำเนินนโยบายนี้ รัฐบาลก็จะมีการดำเนินนโยบายสนับสนุนได้มากมาย ส่วนเรื่องการเกรงว่าธุรกิจจะมากระจุกตัวใกล้ท่าเรือหรือที่ๆระบบโลจิสติกส์ดีนั้น รัฐบาลก็สามารถมีมาตรการอื่นในการรองรับได้อีก เช่น การสนับสนุนและหาตลาดให้อุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น

หากหลักการการขึ้นค่าแรง 300 บาทมันถูกต้องแล้ว ที่เหลือเครื่องมือต่างๆของรัฐบาลก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องออกมารองรับ

เรื่องค่าจ้างที่เทียบกับผลิตภาพในการผลิตมีสัดส่วนที่ต่ำในขณะนี้เพราะเหตุใด

ค่าจ้างไทยถูกแช่แข็งในหลายๆเรื่อง เพราะค่าจ้างไม่ได้ขึ้นโดยอัตโนมัติตามอัตราเงินเฟ้อ แต่ค่าจ้างที่เกินขั้นต่ำแล้ว หากไม่มีสหภาพแรงงานก็แล้วแต่นายจ้างปราณีขึ้นมาเอง ดังนั้นการที่ช่องว่าระหว่างค่าจ้างกับผลิตภาพการผลิตที่ห่างเป็นผลมาจากอำนาจการต่อรองของคนงานต่ำ

การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำคือการประกันไว้ว่าอันนี้ต่ำสุดแล้วที่สังคมจะรับได้ ทุกวันนี้เราเถียงกันเรื่องค่าแรงขั้นต่ำราวกับว่าเป็นค่าแรงขั้นสูง จริงๆมันเป็นการประกันว่ามนุษย์คนหนึ่งจะอาศัยอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ แต่ถึงจะมีค่าจ้าง 300 บาท ก็ไม่ได้หมายความว่าคนงานจะอยู่ในสังคมเราได้อย่างมีคุณภาพได้ เพราะ 300 บาท ทำงาน 20 วัน ได้เงินเดือนๆละ 6,000 บาทเอง หากมีลูกก็ไม่สามารถอยู่ได้

สิ่งที่สำคัญที่สุดระบบการจ้างงาน ก้าวแรกคือให้คนได้ขั้นต่ำไปก่อน ก้าวที่สองก็ต้องมีรูปแบบการจ้างงานที่ดีขึ้นมั่นคงขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น การจ้างแบบไม่มั่นคง จ้างผ่านบริษัทเหมาช่วง subcontract ซึ่งจะเลิกจ้างเมื่อไหร่ก็ได้ การจ้างแบบรายวัน การจ้างแบบปีต่อปี ทำให้ไม่มีความมั่นคงแน่นอน และที่แย่ที่สุดก็คือต้นทุนภาระการผลิตถูกผลักไปที่คนงาน เมื่อการจ้างงานไม่มีความมั่นคง ระบบประกันสุขภาพที่บริษัทเคยซื้อประกันอุบัติเหตุให้ก็ตกอยู่กับภาระของคนงาน และยังตกอยู่กับภาระของรัฐ และผู้เสียภาษีอย่างเราด้วย หากถูกเลิกจ้าง

โดยสรุปแล้วค่าแรงขั้นต่ำเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ไม่เพียงพอ เพราะหากได้ค่าจ้าง 300 บาท แต่ไม่มีหลักประกันว่าจะถูกเลิกจ้างในวันไหน ในระบบการจ้างงานที่ยืดหยุ่นนี่ ดังนั้นรัฐควรจะมีก้าวที่ 2 ต่อไปคือส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานที่มั่นคงขึ้น โดยเครื่องมือของรัฐบาล มีหลายอย่าง เช่น การออกกฎระเบียบมาอย่างบริษัทนายหน้าที่พาคนงานมาทำงานอย่างเดียวอาจจะให้มีการลงทะเบียน หรือการใช้มาตรการการลดภาษีเพื่อจูงใจ ให้มีการจ้างงานประจำ แทนที่จะจ้างงานชั่วคราว

บางประเทศไม่มีค่าแรงขั้นต่ำ เนื่องจากขึ้นอยู่กับการต่อรองของสหภาพแรงงานกับบริษัท เช่นในสวีเดน 70-80 % ของกำลังแรงงานเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ดังนั้นค่าแรงก็อยู่ภายใต้ข้อตกลงสภาพการจ้าง แต่ในที่นี้ค่าแรง 300 บาท อย่างน้อยในมุมมองของคนงานก็เป็นการประกันขั้นต่ำ แต่ชีวิตเขาก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีขึ้นถ้าไม่มีการประกันเรื่องอื่น เช่น การประกันการรวมกลุ่ม รัฐบาลจะไม่แทรกแซง กระทรวงแรงงานจะเอื้ออำนวยให้เกิดการรวมกลุ่ม

สำหรับการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานมีความสำคัญในแง่ของการตัดสินใจร่วมกันระหว่างฝ่ายลบริหารกับสหภาพแรงงาน เช่น เรื่องค่าจ้าง สวัสดิการ วันลาวันหยุด และหลายๆเรื่อง นโยบายหรือกฎระเบียบที่มีผลกระทบต่อคนงาน เป็นต้น ซึ่งในหลายประเทศข้อตกลงสภาพการจ้างมีหลายประเภทหลายหมวดหมู่เต็มไปหมด ซึ่งเป็นหมวดหมู่ที่ไม่เป็นตัวเงินก็มี เช่นการพูดถึงการปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานหากจะมีการย้ายฐานการผลิต

นโยบายต่างๆ จะมีคนค้านอยู่แล้ว แต่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคมมากน้อยนี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ และการพัฒนาอุตสาหกรรมในแง่เทคโนโลยีมากขึ้น ทำงานเสี่ยงอันตรายน้อยลง ดังนั้นการขึ้นค่าแรงขึ้น 300 บาท มันจะผลักอุตสาหกรรมให้พัฒนาขึ้น

ส่วนเรื่องการย้ายฐานการผลิตนั้น แรงจูงใจในการย้ายไม่ใช่เรื่องค่าจ้างเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องกำแพงภาษี วัตถุดิบที่มีในประเทศนั้นๆ ด้วย ดังนั้นข้ออ้างจะมีเสมอ แม้จะมีบริษัทปิดหรือย้ายจริงเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่อาจจะมีแผนเตรียมย้ายอยู่แล้ว แล้วใช้ข้ออ้างนี้ ซึ่งเป็นคำขู่หรือคำพูดทางการเมืองเพื่อต่อรอง เพื่อให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือ จึงเป็นเรื่องการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ

ในส่วนของแรงงานหรือขบวนการแรงงานเองจะต้องเตรียมตัวอย่างไร เช่น 7 จังหวัดนำร่องที่ผ่านมาที่มีการไม่จ่ายเป็นตัวเงินบ้าง จะรับมืออย่างไร

เท่าที่ทราบอย่างกรณีแม่บ้านทำความสะอากในหลายบริษัท การขึ้นค่าแรง 300 บาท นายจ้างก็ลดสวัสดิการเรื่องค่าเช่าบ้านเดือนละ 1,000 บาท เลี่ยงไปลดสวัสดิการเรื่องอื่น และเกิดขึ้นจริง ซึ่งถ้าเกิดขึ้นก็เท่ากับว่าการขึ้นค่าจ้าง 300 บาทจะไม่กระทบต่อต้นทุนของนายจ้างเลย เพราะว่าต้นทุนของนายจ้างไม่ได้มีแค่ค่าจ้าง ยังมีเรื่องของค่าสวัสดิการอื่นๆ แต่อันนี้ไม่สามารถทำได้กับบริษัทที่มีข้อตกลงสภาพการจ้างได้ เพราะการจะปรับลดก็จะต้องผ่านข้อตกลงสภาพการจ้าง ดังนั้นสหภาพแรงงานจึงควรมามองตรงนี้ว่า จะทำอย่างไรให้ 300 บาท เป็นก้าวแรกที่ทำให้คนงานสามารถรวมตัวเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้มากขึ้น เพื่อที่จะมาคุยกันเรื่องค่าจ้างสวัสดิการที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และนำมาเป็นประเด็นที่จะให้การศึกากับคนงานทั่วไปท่ไม่รู้จักสหภาพแรงงาน หรือไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันเข้มแข็งขึ้น อย่างที่พูดไปแล้ว เมื่อเดือนตุลาคมคนงานอินโดนีเซียนัดหยุดงานและร่วมชุมนุมกันกว่า 2 ล้านคน ประเด็นที่เรียกร้องคือให้มีการจ้างงานที่มั่นคงขึ้น และสหภาพแรงงานยังนำประเด็นค่าจ้างขั้นต่ำ  ประเด็นการประกันสุขภาพที่ดีขึ้นกับประชาชนทุกคนไม่เฉพาะคนงาน มาเรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายออกมา

----------

เชิงอรรถ

[1]ดู มาร์คฟันธงขึ้นเดือนคนตกงานเพิ่ม 14 กรกฎาคม 2554 http://www.posttoday.com/การเมือง/99677/มาร์คฟันธงขึ้นเดือนคนตกงานเพิ่ม

[2] ดู "อภิสิทธิ์" ทวงสัญญารัฐบาล "ทำทันที" ค่าจ้าง 300 บาท-ป.ตรี 1.5 หมื่นบ. http://news.thaipbs.or.th/lite/content/อภิสิทธิ์-ทวงสัญญารัฐบาล-ทำทันที-ค่าจ้าง-300-บาท-ปตรี-15-หมื่นบ

[3] ดู ไทยรัฐออนไลน์, 'มาร์ค'รับ ห่วงการเมือง-เศรษฐกิจปีหน้าวิกฤติ แนะ ปชช.ยึดหลักพอเพียง http://www.thairath.co.th/content/pol/315883

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เตรียมนำศพผู้ต้องขังเสื้อแดงกลับบ้าน แม่วอนรัฐบาลช่วยนักโทษการเมือง

Posted: 29 Dec 2012 09:48 AM PST

 

30 ธ.ค.55 ที่วัดสาครสุ่นประชาสรรค์ ย่านลาดพร้าว คนเสื้อแดงเป็นเจ้าภาพงานสวดอภิธรรมศพ นายวันชัย รักสงวนศิลป์ ผู้ต้องชังคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำหลักสี่ และเสียชีวิตในเรือนจำเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยในวันพรุ่งนี้จะมีการเคลื่อนศพไปสวดอภิธรรมต่อที่ภูมิลำเนาจังหวัดอุดรธานี

ก่อนหน้าจะมีการตั้งศพที่วัน เวลาประมาณ 13.30 น.คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งได้เดินทางพร้อมด้วยนางทองมา เที่ยงอวน มารดาของผู้เสียชีวิตไปร่วมรองรับศพนายวันชัยซึ่งตรวจพิสูจน์อยู่ที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เบื้องต้น น.พ.สลักธรรม โตจิราการ ซึ่งเข้าร่วมผ่าชันสูตรศพนายวันชัยด้วย ได้แจ้งว่า เบื้องต้นมีแผลถลอกตามแขนขาเล็กน้อยและมีรอยฟกช้ำที่ศอกซ้าย เข้าได้กับประวัติการเล่นกีฬา ไม่มีรอยช้ำตามลำตัวหรือศีรษะ ไม่มีเลือดออกที่สมองและอวัยวะภายในอื่นๆ มีเพียงเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน การตรวจชิ้นเนื้อของหลอดเลือดหัวใจเพื่อหาสาเหตุของเส้นเลือดหัวใจอุดตันว่าอุดตันเฉียบพลันหรือตีบมาก่อนแล้วและมากำเริบใหม่ ส่วนเรื่องสารพิษในอาหาร เลือดและปัสสาวะต้องรอผลอีก1-2 วันเป็นอย่างน้อย

นางทองมา มารดาของวันชัย กล่าวทั้งน้ำตาว่า รู้สึกเสียใจที่สุดกับเหตุการณ์นี้ แม้ไม่ติดใจเอาความ แต่อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือนักโทษการเมืองให้ได้รับการประกันตัว หรือให้ได้ปล่อยออกมา ไม่ควรต้องถูกขังอย่างไม่รู้ชะตากรรม

"หวังอยากได้ลูกชายได้ออกมา แต่ตอนนี้ได้แต่ร่างไม่มีวิญญาณ ไม่อยากให้มีแบบนี้อีกแล้ว" นางทองมากล่าวและว่า จะนำศพกลับไปประกอบพิธีกรรมที่จังหวัดอุดรฯ และยังไม่เป็นแน่นอนว่าจะตั้งสวดกี่วัน และจะจัดพิธีฌาปนกิจศพเมื่อไร

 

นางทองมา มารดาของนายวันชัย
 

นางทองมากล่าวด้วยว่า วันชัยเป็นลูกชายคนเดียวในจำนวนลูก 3 คน และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการหารายได้เลี้ยงครอบครัว เขาจบการศึกษาชั้น ป.6 มีอาชีพรับจ้าดายหญ้า และรับจ้างทั่วไป วันเกิดเหตุเขาดายหญ้าอยู่ที่สถานีตำรวจ ส่วนเธอรับจ้างเกี่ยวข้าวอยู่ในนา ทราบเรื่องอีกทีก็ตอนลูกชายโดนจับและถูกคุมขัง จากนั้นผ่านไปกว่า 1 ปีจึงได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 16 ส.ค.54 ก่อนศาลจะพิพากษาในวันที่ 28 ต.ค.54 ให้จำคุก 20 ปี 6 เดือน พร้อมด้วยจำเลยคนอื่นๆ อีก 4 คน ซึ่งมีโทษลดหลั่นกันไป

นางทองมากล่าวอีกว่า สำหรับตนเองนั้นได้เปลี่ยนอาชีพมาเป็นกรรมกรก่อสร้าง เดินทางไปทำงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับลูกสาวได้ค่าจ้างคนละ 200 บาทต่อวัน และสามารถเดินทางมาเยี่ยมวันชัยได้เพียงเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งล่าสุดวันชัยยังพูดคุยปกติ แม้จะมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง เขายังบอกให้แม่สบายใจเพราะอยู่ที่นี่มีเพื่อน และเจ้าหน้าที่ก็น่ารัก

ขณะที่คนเสื้อแดงที่ร่วมในงานสวดอภิธรรมรายหนึ่งระบุว่า นำอาหารกลางวันไปเลี้ยงผู้ต้องขังทุกสัปดาห์ เจอวันชัยเป็นประจำ บุคลิกเป็นคนร่าเริง ขี้เล่น และมีน้ำใจ เขาจะลงมาหิ้วอาหารขึ้นไปให้เพื่อนๆ เสมอ และในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนเสียชีวิต เขาบ่นว่ามีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยสะดวก ส่วนการเสียชีวิตนั้นเกิดขึ้นหลังจากทางเรือนจำจัดการแข่งขันกีฬาส่งท้ายปีซึ่งนายวันชัยก็ได้ร่วมเล่นกีฬาด้วย มีลักษณะปกติดี แต่หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันไม่นานจู่ๆ วันชัยก็ล้มลงหมดสติ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลราชทัณฑ์

ด้านเว็บไซต์มติชน รายงานว่า นายสรสิทธิ์ จงเจริญ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ กล่าวถึงผลการชันสูตรศพนายวันชัยว่า สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากระบบการหายใจและไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย ล่าสุดทางญาติไม่ได้ติดใจและจะนำศพกลับไปทำพิธีตามปกติ สำหรับผู้ต้องขังที่เสียชีวิตก่อนหน้านี้แม้จะมีสภาพร่างกายภายนอกดูแข็งแรง แต่ทราบจากมารดาผู้เสียชีวิตว่าก่อนหน้านี้ลูกชายเคยบอกว่ามีอาการแน่นหน้าอก มารดาจึงแนะนำให้แจ้งผู้คุมแต่ผู้เสียชีวิตไม่ได้บอกถึงอาการที่เป็น 

ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ กล่าวต่อว่า หลังการเสียชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำทำให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์สั่งกำชับให้ ดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังอย่างใกล้ชิด โดยในส่วนของเรือนจำชั่วคราวหลักสี่จะมีพยาบาลเข้าไปตรวจร่างกายให้ผู้ต้องขังทุกคนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ผู้ต้องขังที่ต้องโทษคดีที่เกี่ยวข้องทางการเมืองถือเป็นกลุ่มผู้ต้องขังที่ต้องระมัดระวังเรื่องความเครียดเป็นพิเศษ เพราะเท่าที่พบผู้ต้องขังกลุ่มนี้มักมีอาการเครียดเรื่องคดีและเป็นกังวลเรื่องที่ไม่ได้รับการประกันตัว ทั้งที่ผู้ต้องขังคดีเดียวกันหลายรายได้รับการประกันตัวออกไปแล้ว โดยบางรายต้องให้จิตแพทย์เข้าไปพูดคุยเพื่อบำบัดอาการ 

สำหรับเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ขณะนี้มีผู้ต้องขังทั้งสิ้น 21 คน ในจำนวนนี้เป็นหญิง 1 คน

ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา53 ( ศปช.) ระบุด้วยว่า ในระหว่างเกิดเหตุการณ์เผาศาลากลาง วันชัยถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำการจับกุมและทำร้ายร่างกายโดยการเหยียบและใช้ท่อนไม้กระแทกที่แผ่นหลัง ก่อนที่จะถูกแจ้งความดำเนินคดี ในข้อหา ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกสถานที่ราชการโดยมีอาวุธ,ทำให้เสียทรัพย์, ขัดขวาง เจ้าพนักงาน ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินฯ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ยกฟ้องข้อหาทำให้เสียทรัพย์และขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่ลงโทษข้อหาวางเพลิงอาคารศาลากลางหลังเก่า โดยให้จำคุก รวม  20 ปี 6 ด. และให้จำเลยร่วมกันชดใช้  57.7 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย7.5% /ปี
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สดศรี' ยันทำประชามติต้องยึดมาตรา 9

Posted: 29 Dec 2012 08:17 AM PST

นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง เผย กกต.พร้อมจัดทำประชามติ ยันไม่ขัดแย้งรัฐธรรมนูญ  ต้องยึดมาตรา 9 ให้การออกเสียงได้ข้อยุติ

29 ธ.ค. 55 - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานว่านางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีหลายแนวทางก่อนที่จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะตัดสินใจ หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ก็สามารถทำได้ เพราะเมื่อปี 53 รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 เป็นรายมาตรามาแล้ว โดยที่ไม่ต้องทำประชามติ แต่หากจะทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ขึ้นยกร่าง รัฐบาลต้องมีความชัดเจนในเรื่องประเด็นการทำประชามติ เพื่อไม่ให้สุ่มเสี่ยงต่อการถูกโต้แย้ง
         
ส่วนที่รัฐบาลมองว่ากฎหมายการทำประชามติ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 นั้น ตนมองว่า ไม่ขัด เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2552 โดยวินิจฉัยว่าร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติฯ ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ทั้งนี้มองว่าการทำประชามติ เพื่อให้การออกเสียงที่จะมีข้อยุติได้ ควรให้ยึดตามมาตรา 9 ของพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติฯ
         
นางสดศรี กล่าวต่อว่า กกต. มีความพร้อมที่จะจัดทำประชามติ หากรัฐบาลประกาศให้มีการออกเสียงประชามติเมื่อใด ขั้นตอนการทำงานของ กกต. ก็ต้องออกระเบียบของกกต. เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติฯ ในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินงาน

ทั้งนี้ กกต. ไม่มีข้อกังวลและอุปสรรคต่อการทำประชามติ เพราะเป็นเพียงหน่วยธุรกิจที่ทำหน้าที่จัดทำประชามติ คงมีแต่รัฐบาลที่อาจจะกังวลได้ว่า จำนวนเสียงของผู้ออกมาใช้สิทธิจะครบตามที่ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติฯ กำหนดไว้หรือไม่

อย่างไรก็ตามการทำประชามติจะได้ผลหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับประชาชนออกมาใช้สิทธิและเห็นชอบตามจำนวนเสียงที่กฎหมายกำหนด ก็จะช่วยให้รัฐบาลสามารถเดินหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญได้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเผยเข้าใจ และไม่เอาเรื่องเสื้อแดงนำศพมาประท้วงหน้าศาล

Posted: 29 Dec 2012 08:09 AM PST

ทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ระบุไม่เอาเรื่องเสื้อแดงนำศพมาประท้วงหน้าศาล เข้าใจความรู้สึกของกลุ่มเสื้อแดงว่ากำลังเสียใจ

29 ธ.ค. 55 - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่ามีกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 50 คน ได้นำศพนายวันชัย รักสงวนศิลป์ อายุ 30 ปี จำเลยคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯและเผาสถานที่ราชการ ที่ศาลจังหวัดอุดรธานี พิพากษาลงโทษจำคุก 20 ปี 6 เดือน และถูกส่งมาคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ และเสียชีวิตระหว่างถูกคุมขัง ขึ้นรถยนต์ตู้ มาจอดประท้วงหน้าศาลอาญา พร้อมมีการใช้รถกระบะติดตั้งเครื่องขยายเสียงมาจอดปราศรัยนั้o
 
นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวว่า ทราบเพียงว่าผู้ตายเป็นจำเลยที่ศาลจังหวัดอุดรธานี พิพากษาลงโทษ แล้วถูกส่งตัวมาคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ เข้าใจว่าเสียชีวิตประมาณวันที่ 27 ธันวาคม ที่ผ่านมา ไม่ทราบว่าเสียชีวิตด้วยเหตุใด โดยผู้ตายไม่ได้เป็นจำเลยของศาลอาญาโดยตรง ซึ่งเมื่อวานที่ผ่านมา (28 ธ.ค.) ตอนเช้า ก็มีการนำผ้าดำมาติดบริเวณรั้วศาลอาญา จึงสั่งให้รื้อออก เพราะเป็นการกระทำที่เลยเถิดกว่าที่ควร การนำศพมาตั้งหน้าศาลอาญาชักจะไปกันใหญ่
 
เนื่องจากจำเลยไม่ได้เป็นจำเลยที่ศาลอาญา ไม่เหมือนกรณีของ อากง (นายอำพล ตั้งนพคุณ จำเลยคดีหมิ่นเบื้องสูง ซึ่งเสียชีวิตในเรือนจำ) ส่วนจะมีการดำเนินการกับกลุ่มคนที่มาปราศรัยและนำศพมาประท้วงหรือไม่นั้น จริง ๆ ศาลก็ไม่อยากจะใช้อำนาจศาล ก็พอเข้าใจความรู้สึกของกลุ่มพวกจำเลยว่ากำลังเสียใจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: ตอบข้อวิจารณ์ในบทความ “เผด็จการธรรมวินัย”

Posted: 29 Dec 2012 07:54 AM PST

'สุรพศ ทวีศักดิ์' เขียนโต้บทความ "เผด็จการธรรมวินัย" ของ 'วิจักษณ์ พานิช' ยืนยัน "วิธีแก้ปัญหาที่ผมเห็นว่าที่ดีที่สุดเวลานี้ คือ "ระบบต้องทำงาน" มีมูลไม่มีมูลต้องตอบผ่านระบบที่ทำงานอย่างโปร่งใส มิเช่นนั้นก็จะไม่เกิดผลดีแก่ใครเลย กลายเป็นปัญหาทำนอง "คู่กรณี" หรือไม่ก็เป็นเรื่องเล่าแบบ "มารไม่มาบารมีไม่เกิด" หรือไม่ก็เป็นเรื่องของถ้าเป็น "พระดี" ก็ไม่ต้องตรวจสอบ"

 
ในบทความเชื่อ "เผด็จการธรรมวินัย" วิจักษณ์ พานิช ยกข้อความที่ถกเถียงกันในเฟซบุ๊กมาว่า
 
"อยากชวนคณะสงฆ์เป็นอิสระจากรัฐ เพื่อให้ชาวพุทธกลุ่มต่างๆ มีอิสระตรวจสอบกันเอง และต้องการยืนยันว่าถ้าคณะสงฆ์ยังขึ้นต่อรัฐก็ต้องอ้างอิงกรอบพระธรรมวินัยในการจำกัดอำนาจ ตรวจสอบบทบาทของมหาเถรและสังฆะภายใต้ระบบนี้อยู่ครับ"     -- สุรพศ ทวีศักดิ์
 
 
"ธรรมวินัยมันมีบางอย่างที่ชัดเจน ไม่ต้องตีความ มีบางอย่างที่ต้องตีความ มีหลักฐานบันทึกเทียบเคียงความสอดคล้องได้ อย่างส่วนที่เป็นวินัยสงฆ์นี่ชัดเจนเหมือนกฎหมายเลยว่าทำอย่างนี้ผิด อย่างนั้นถูก มันถึงเป็นหลักความประพฤติที่ตรวจสอบเห็นตรงกันได้  ...ธรรมวินัยไม่ได้อิงมหาเถร ไม่ได้อิงสมบูรณาฯ เพราะธรรมวินัยเถรวาทที่อ้างอิงกันอยู่คือธรรมวินัยที่สืบเนื่องมาจากการสังคายนาครั้งที่ 1 มีมาก่อนสมบูรณาไทยเป็นพันๆ ปี ธรรมวินัยจึงเป็นกรอบอ้างอิงหลักเสมอ เพราะธรรมวินัยไม่เกี่ยวกับอำนาจรัฐ แต่เป็น "ระบบสังฆะเถรวาท" ที่เป็นอิสระจากรัฐมาแต่ก่อน"      -- สุรพศ ทวีศักดิ์
 
"หลักธรรมวินัยของพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลักสากลที่ชาวพุทธเถรวาททั่วโลกต่างยึดถือร่วมกัน ไม่ต่างจากที่สังคมประชาธิปไตยยึดหลักประชาธิปไตยหรอก"   -- สุรพศ ทวีศักดิ์
 
แล้ววิจักษณ์ก็วิจารณ์ โดยสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
 
1) จากข้อความทั้งหมดข้างต้น ตรรกะที่ผิดพลาดของอ.สุรพศ เกิดขึ้นจากการที่ อ.สุรพศไม่กล้าวิพากษ์หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร แต่กลับดีเฟนด์การใช้หลักธรรมวินัยแบบมหาเถรในฐานะกฏเกณฑ์สูงสุดของพุทธเถรวาท (สากล? เทียบเท่าหลักประชาธิปไตย?) โดยอ้างว่าคณะสงฆ์สามารถตรวจสอบได้โดยโปร่งใส ไม่มี 112 
 
จะเห็นได้ว่าวิจักษณ์จงใจนิยามสิ่งที่ผมเรียกว่า "ธรรมวินัยเถรวาท"  ว่า "หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร" ซึ่งหลักธรรมวินัยแบบมหาเถรที่วิจักขณ์ใช้คงหมายถึง "หลักธรรมวินัยที่อิงอยู่กับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อิงอยู่กับมหาเถร" แต่ข้อความข้างต้นเป็นข้อความที่ผมโพสต์โต้แย้งหลักธรรมวินัยในความหมายที่วิจักษณ์เรียกว่า ""หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร" นั่นเอง
 
ฉะนั้น ข้อวิจารณ์ต่างๆ ของวิจักขณ์จึงเป็นการเอาความหมายของธรรมวินัยที่ตนเองเรียกว่า ""หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร" ไปแทนที่สิ่งที่ผมเรียกว่า "ธรรมวินัยเถรวาท"  เสมือนว่าความหมายที่ตนนำมาวิจารณ์นั้นเป็นความหมายตรงตามที่ผมสื่อออกมาจริงๆ ซึ่งไม่ใช่
 
ยิ่งกว่านั้น วิจักขณ์ยังบอกว่าผมไม่กล้าวิพากษ์ "หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร" ถามว่าใครกันที่วิพากษ์หลักธรรมวินัยแบบมหาเถรที่อิงระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากกว่า เพราะสำหรับผมหลักธรรมวินัยที่ว่านี้หมายถึง "การตีความหลักธรรมวินัยสนับสนุนอุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์" ผมอยากให้ลองกลับไปอ่านบทความหลายชิ้นของผมว่า ผม "ไม่กล้าวิพากษ์" หลักธรรมวินัยในความหมายดังกล่าวนี้จริงหรือไม่
 
ฉะนั้น ถ้ายึดหลักการที่วิจักขณ์มักอ้างเสมอว่า "ธรรมวินัยเป็นเรื่องของการตีความที่มีบริบท" ผมก็ยืนยันว่าผมตีความ "ธรรมวินัยแบบมหาเถร" ต่างจาก "ธรรมวินัยแบบเถรวาท" ที่มีอยู่ก่อนซึ่งมีความหมายสำคัญต่างจากธรรมวินัยที่ถูกตีความสนับสนุนอุดมการณ์สมบูรณาฯแบบมหาเถร
 
ข้อความที่ยกมานั้น ผมบอกชัดเจนว่า ธรรมวินัยไม่ได้อิงมหาเถร ไม่ได้อิงสมบูรณาฯ เพราะธรรมวินัยเถรวาทที่อ้างอิงกันอยู่คือธรรมวินัยที่สืบเนื่องมาจากการสังคายนาครั้งที่ 1 มีมาก่อนสมบูรณาไทยเป็นพันๆ ปี ธรรมวินัยจึงเป็นกรอบอ้างอิงหลักเสมอ เพราะธรรมวินัยไม่เกี่ยวกับอำนาจรัฐ แต่เป็น "ระบบสังฆะเถรวาท" ที่เป็นอิสระจากรัฐมาแต่ก่อน  ซึ่งหมายความว่า แม้ไม่มีมหาเถร ระบบสมบูรณาฯไทย ธรรมวินัยเถรวาทก็มีอยู่ก่อนแล้ว ระบบสมบูรณาฯ และมหาเถรต่างหากที่เอาธรรมวินัยเถรวาทที่มีอยู่ก่อนมาใช้ตีความในแบบที่เราเห็นว่าเป็นปัญหาอยู่
 
ทีนี้ถ้าเราจะวิจารณ์ว่าระบบสมบูรณาฯ มหาเถรใช้ธรรมวินัยถูกหรือผิดอย่างไรก็ต้องไปดู "ธรรมวินัยเถรวาท" ที่มีอยู่ก่อนเพื่อนำมาเป็น "หลักอ้างอิง"
 
เช่น เราจะ "รู้" ได้ว่าระบบสมบูรณาฯอ้างหลักธรรมพุทธสร้าง "ทฤษฎีอเนกนิกรสโมสรสมมติ" ที่ยกให้สถาบันกษัตริย์ศักดิ์สิทธิ์เหนือการตรวจสอบนั้นผิดหรือถูก ก็ต้องไปดูหลักการนี้ในอัคคัญญสูตรว่า พุทธศาสนาว่าไว้แบบนั้นจริงหรือไม่ เมื่อไม่จริงทฤษฎีนี้ก็ผิด เป็นต้น
 
ฉะนั้น ถามว่าถ้าเราไม่อ้างอิง "ธรรมวินัยเถรวาท" ที่มีอยู่ก่อนมาเป็นหลักในการวิพากษ์ตรวจสอบ "ธรรมวินัยแบบมหาเถร" (หรือที่วิจักขณ์เรียกชื่ออีกว่า "ธรรมวินัยแบบรัฐ") เราจะอ้างอิงหลักอะไร?
 
2) คำถามของผมคือ ตั้งแต่มีมหาเถรสมาคมเป็นต้นมา เราสามารถตรวจสอบอะไรพระได้บ้าง? หรือพระในคณะสงฆ์ (ใน scale ใหญ่) สามารถตรวจสอบอะไรกันเองได้บ้าง? พระใช้หลักธรรมวินัยในการตรวจสอบกัน แล้วช่วยให้สังฆะมีวัตรปฏิบัติที่งดงามและสร้างสรรค์ขึ้นได้จริงหรือไม่? การตรวจสอบที่อาจารย์สุรพศบอกว่าทำได้ทุกเรื่อง เอาเข้าใจจริงทำอะไรได้บ้าง นอกจากการจับผิดพระมีเซ็กซ์
 
ก็เพราะเราไม่ยอมอ้างอิงธรรมวินัยเถรวาทในความหมายที่ผมว่ามาตรวจสอบธรรมวินัยที่ตีความแบบมหาเถร แบบสมบูรณาฯ ไงครับ มันจึงเป็นปัญหาอย่างวิจักขณ์ว่ามา
 
3) สมมติฐานของผม คือ ในโครงสร้างแบบที่เป็นอยู่ จริงๆ แล้วพระตรวจสอบไม่ได้ครับ และพระก็ไม่ได้ใช้ธรรมวินัยตรวจสอบกันและกันด้วย สิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็คือการไล่ปรับอาบัติปาราชิก หรือพูดง่ายๆ คือ จับพระมีเซ็กซ์เท่านั้นที่ตรวจสอบได้ นอกนั้นดิ้นได้หมด สิ่งที่อ.สุรพศ เขียนมาทั้งหมด ก็เพื่อ Validate ข้อเรียกร้องกรณีให้มหาเถรใช้หลักธรรมวินัยตรวจสอบอธิการ มหาจุฬาฯ มีเซ็กซ์เท่านั้น  
 
ธรรมวินัยแบบรัฐทุกวันนี้ยึดโยงอยู่กับอุดมการณ์ของรัฐแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และอุดมการณ์นี้คือชุดอุดมการณ์ที่ใช้ตีความธรรมวินัยแบบเถรสมาคม พระสงฆ์มีอำนาจล้นฟ้า แล้วยังมีหลักธรรมวินัยที่ตีความเข้าข้างตัวเองเป็นหลักสูงสุด ตัดสินโดยองค์กรสงฆ์ที่ปกครองตัวเอง มีการตีความแบบเฉพาะของตัวเอง และไม่มีภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบอะไรต่อสังคมประชาธิปไตยเลย  ตราบใดที่ยังประพฤติพรหมจรรย์ (ที่ถูกตีความเหลือแค่ไม่มีเซ็กซ์) พระสงฆ์ทำอะไรก็ได้ ไม่ผิด
 
คำตอบย่อหน้าแรก คือคำว่า "ตรวจสอบไม่ได้" ต้องหมายถึง "ระบบไม่เปิดให้ตรวจสอบได้" เช่นเราตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ไม่ได้ เพราะระบบหรือกฎหมายห้ามตรวจสอบ แต่โดย "ข้อเท็จจริง" แล้วระบบมหาเถรไม่มีกฎหมายห้ามตรวจสอบ แม้แต่การหมิ่นประมาทสมเด็จพระสังฆราชก็มีความผิดเท่ากับหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา
 
สมมติ (ย้ำ "สมมติ") ว่า พระ ก.เห็นประธานกรรมการมหาเถรยักยอกเงินวัด มีหลักฐานชัดเจน พระ ก.ก็สามารถยื่นเรื่องให้หน่วยงานรับผิดชอบของบ้านเมืองตรวจสอบเอาผิดทางกฎหมายได้เลย และยื่นเรื่องให้คณะสงฆ์เอาผิดทางวินัยสงฆ์ได้เลย หรือให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนช่วยตรวจสอบก็ได้ ยิ่งกว่านั้นเรายังเสนอให้ยกเลิกระบบมหาเถร ยกเลิกสมณศักดิ์ได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด และที่จริงแล้วเราก็เห็นการวิจารณ์ตรวจสอบสถาบันสงฆ์ผ่านหน้าสื่ออยู่บ่อยๆ
 
ฉะนั้น ที่วิจักขณ์ว่า "พระสงฆ์มีอำนาจล้นฟ้า" นั้น ทำไมเราด่าพระได้ทุกวัน พระมี "อำนาจตามกฎหมาย" มาจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเราหรือ (การใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวให้ผู้มีอำนาจบีบบางคน นั่นไม่ถูกต้อง และไม่ได้ใช้ "กฎหมาย" เพราะไม่มีกฎหมายให้ให้อำนาจมหาเถรปิดปากเราได้) ส่วนที่ตรวจสอบไปแล้วจับได้แค่พระมีเซ็กส์ นั่นเป็นปัญหาเรื่อง "ประสิทธิภาพ" ในการตรวจสอบ การไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอไม่ได้แปลว่าหมด "ความชอบธรรม" อย่างสิ้นเชิง เหมือนระบบกฎหมายให้สิทธิตรวจสอบนักการเมือง ข้าราชการ ฯลฯได้ แต่ยังไม่สามรถเอาผิดนักการเมือง ข้าราชการ ฯลฯ ที่โกงเก่งๆได้ ไม่ได้หมายความว่าระบบไม่ชอบธรรม
 
คำตอบย่อหน้าที่สอง ต้องใช้หลักธรรมวินัยเถรวาทในความหมายที่ยังไม่ถูกตีความรับใช้อุดมการณ์สมบูรณาฯและมหาเถรมาตรวจสอบธรรมวินัยที่ถูกตีความไปแบบนั้นครับ เช่น เวลา อ.สุลักษณ์วิจารณ์ว่าการตีความพุทธสนับสนุนอุดมการณ์สมบูรณาฯผิดอย่างไร ท่านก็ต้องอ้างอิงหลักการที่ถูกต้องมาวิจารณ์ตรวจสอบ เป็นต้น
 
4) เมื่อธรรมวินัยถูกอ้างอย่างไร้บริบท ราวกับกฏหมายอันศักดิ์สิทธิ์สูงสุดโดยตัวมันเอง เป็น "สากล" เป็น "กติกากลาง" ที่ชาวพุทธต้องยอมรับอย่างไม่อาจตั้งคำถามหรือตีความได้  ธรรมวินัยก็กลายเป็นอำนาจนิยมธรรมวินัย เผด็จการธรรมวินัย เป็นสีลัพพตปรามาส (ความเชื่อว่าการถือศีลจะทำให้คนบริสุทธิ์) ซึ่งถือเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ไม่ต่างจากอันตรายที่เกิดขึ้นเวลาธรรมะถูกเทศนา ถูกสั่งสอน ถูกอ้างถึงอย่างไร้การคำนึงถึงบริบทเลย
 
ที่จริงผมพูดแค่ว่า เป็น "สากล" เป็น "กติกากลาง" ที่เติมเข้ามาเองว่า "...ราวกฏหมายอันศักดิ์สิทธิ์สูงสุดโดยตัวมันเองที่ชาวพุทธต้องยอมรับอย่างไม่อาจตั้งคำถามหรือตีความได้" ไม่ใช่ความหมายที่ผมต้องการสื่อแต่อย่างใด
 
จริงๆแล้ว เวลาเราพูดเกี่ยวกับ "สากล" หรือ "กติกากลาง" ไม่จำเป็นต้องหมายถึงอะไรที่ "ศักดิ์สิทธิ์" และ "แตะต้องไม่ได้" แต่อย่างใด ตรงกันข้ามเวลาที่เราพูดถึงอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์ แตะต้องไม่ได้เรามักจะหมายถึงสิ่งที่ "ไม่สากล" และ "ไม่ใช่กติกากลาง" เวลาที่นักปรัชญาเช่นค้านท์เสนอ "หลักจริยธรรมสากล" เขาก็ไม่เคยบอกว่าหลักสากลแตะต้องไม่ได้ แย้งไม่ได้ หรือกติกากลางอย่างสิทธิมนุษยชน หลักการประชาธิปไตยก็ไม่ได้มีความหมายในเชิงศักดิ์สิทธิ์ แตะไม่ได้ใดๆ
 
ยิ่งกว่านั้น "สากล" หรือ "กติกากลาง" ในบางเรื่องมันก็มีบริบทเฉพาะหรือ Local ของมันอยู่ เช่น เมื่อผมพูดถึงวินัยสงฆ์เถรวาทที่เป็นสากล-กติกากลาง ผมหมายถึง ความเป็นสากลในรูปของข้อตกลงร่วมกันใน Local ประเภทหนึ่ง คือประเภท "ระบบสังฆะเถรวาท" ไม่ใช่สังฆะทุกระบบในพุทธศาสนา หรือไม่เกี่ยวกับระบบสังคมการเมืองทางโลก ฉะนั้น สากล กติกากลาง จึงไม่จำเป็นต้องมีความหมายว่าศักดิ์สิทธิ์ แตะไม่ได้ เป็นเผด็จการแต่อย่างใด แต่หมายความแค่ว่าใช้กับสมาชิกแห่งสังฆะอย่างเสมอภาค หรือสังฆะเสมอภาคภายใต้ธรรมวินัย ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่สองมาตรฐาน
 
ประเด็นความเป็นสากล-กติกากลางใน Local ประเภท "ระบบสังฆะเถรวาท" ผมคิดว่าสำคัญมาก เพราะเป็นรากฐานของ "วัฒนธรรมเคารพหลักการ"
 
ทำไมเราเห็นตำรวจไปจับพระสึกบ่อยๆ ทั้งที่พระดื่มเหล้าต้องอาบัติปาจิตตีย์ยังไม่ขาดความเป็นพระ เพราะสังคมเรามองว่าพระดื่มเหล้าเป็น "พระเลว" ไงครับ ฉะนั้น สำหรับพระเลว คนเลว เราขจัดเขาด้วยวิธีไหนก็ได้ ทำเกินขอบเขตของหลักการธรรมวินัยได้ นักการเมืองเลวก็ทำรัฐประหารได้ ส่วนอำมาตย์ดีแล้วเราไม่ต้องตรวจสอบ พระอวดอุตตริหมิ่นเหม่ต่ออาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นพระ เราก็ไม่ตรวจสอบ เพระเชื่อว่าท่านเป็นพระดี เป็นอรหันต์ เป็นผู้วิเศษ
 
ฉะนั้น การที่สังฆะและชาวพุทธไทยไม่ยึดถือธรรมวินัยในฐานะเป็น "หลักการสากล-กติกากลาง" ที่ใช้กับสมาชิกแห่งสังฆะอย่างเสมอภาคต่างหากครับ ที่มันกลายเป็นรากฐานของการสร้าง "วัฒนธรรมบูชาคนดี-ผู้วิเศษเหนือหลักการ-เหนือการตรวจสอบ" จนหยั่งรากลึกในบ้านเรา
 
ผมไม่ปฏิเสธว่า "หลักธรรมวินัยแบบมหาเถร" สร้างปัญหาแบบที่วิจักขณ์ว่ามาทั้งหมด แต่สำหรับผมมันต้องแก้ด้วยการยืนยัน "หลักธรรมวินัยเถรวาทในความหมายที่ผมอธิปรายมา" และผมเชื่อว่ามันยังจำเป็นต้องนำมาใช้ตรวจสอบได้ แม้ศาสนายังไม่เป็นอิสระจากรัฐ
 
5) ข้อสรุปของผมคือ การตีความหลักธรรมวินัยแบบรัฐเช่นนี้แหละครับที่เป็นปัญหา และการอ้างความเป็น absolute truth ของหลักธรรมวินัยเพื่อให้คณะสงฆ์ของรัฐใช้อ้างกันเอง ตรวจสอบกันเองนี้แหละที่เป็นปัญหา  มันทำให้สงฆ์เป็นอภิสิทธิ์ชนตรวจสอบอะไรไม่ได้ พูดอะไรไม่เคยผิด ทำอะไรไม่เคยผิด ยกเว้นถูกจับได้ว่ามีเซ็กซ์  เมื่ออาจารย์สุรพศไม่กล้าวิพากษ์หลักธรรมวินัยแบบรัฐ แต่กลับอ้างว่าแม้ศาสนาจะไม่แยกจากรัฐ คณะสงฆ์ภายใต้มหาเถรก็มีสิทธิ์จะใช้ธรรมวินัยตรวจสอบกันเองตามหลักเสรีภาพทางศาสนา ข้อคิดเห็นของอ.สุรพศ ก็ยิ่งไปเสริมอำนาจผูกขาดการตีความธรรมวินัยแบบมหาเถร ผลักผู้ที่เห็นต่างจากการอ้างธรรมวินัยแบบนี้ให้เป็นอื่น และที่น่าเศร้าที่สุด คือ มันขัดแย้งโดยตรงกับหลักการพื้นฐานของกระบวนการแยกศาสนาออกจากรัฐ (secularization) อันเป็นข้อเสนอสูงสุดที่จะช่วยแก้ไขปัญหาคาราคาซังของสถานะอันไม่เป็นประชาธิปไตยของพุทธศาสนาในปัจจุบัน 
 
ความจริงวิจักขณ์ก็น่าจะรู้ว่า ข้อเสนอของผมกว้างกว่า "...เพื่อให้คณะสงฆ์ของรัฐใช้อ้างกันเอง ตรวจสอบกันเองนี้แหละที่เป็นปัญหา..." เพราะวิจักขณ์ก็รู้ว่าผมสนับสนุนทั้งการออกมาตรวจสอบ ตั้งคำถามกันเองแบบหลวงพี่ไพศาลทำ แบบให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบอย่างกรณี อ.สุลักษณ์และสื่อมวลชน สาธารณชน (ดังที่อธิบายแล้วว่า "ระบบเปิดให้วิจารณ์ได้ตรวจสอบได้" ข้างต้น)
 
ข้อเท็จจริงของระบบมหาเถรที่วิจักขณ์ไม่พูดถึงเลยคือ สถานะขององค์กรมหาเถรนั้นเป็นสถานะที่ได้มาโดย "กฎหมายของรัฐ" แต่สถานะโดยกฎหมายนั้นถูกระบุว่า "ต้องอยู่ใต้ธรรมวินัย" หมายความว่า กฎหมายปกครองสงฆ์กำหนดว่า มหาเถรจะออกคำสั่ง กฎ ระเบียบใดๆ ขัดแย้งกับธรรมวินัยไม่ได้ (ในความเป็นจริงเป็นไปตามนี้หรือไม่ ก็ต้องอ้างหลักธรรมวินัยมาตรวจสอบ) โดยความหมายนี้ธรรมวินัยจึงเป็นกรอบ "จำกัดอำนาจ" ตามกฎหมายที่รัฐให้ ไม่ใช่เป็นฐานอำนาจเผด็จการที่ทำให้ "มหาเถรตรวจสอบไม่ได้" แต่อย่างใด
 
แล้วความเป็นเผด็จการของมหาเถรอยู่ตรงไหน? คำตอบคือ อยู่ที่โครงสร้างองค์กรมหาเถรตามกฎหมายปกครองสงฆ์ปัจจุบันที่ไม่ยึดโยงอยู่กับสังฆะโดยรวมและชาวพุทธทั้งหมด เพราะองค์กรมหาเถรไม่ได้มาจาก "การเลือกตั้ง" แต่มาจากการแต่งตั้งตามอาวุโสทางสมณศักดิ์ เปรียบเทียบก็เหมือนองค์กรกองทัพที่คนจะขึ้นมาเป็น 5 เสือ ทบ.ก็ไต่เต้ามาตามอาวุโสทางชั้นยศ และตำแหน่งบริหารอะไรประมาณนี้
 
ลักษณะเผด็จการของมหาเถรดังกล่าวนี้ มีปัญหาในแง่ที่พระสงฆ์ผู้ใต้ปกครองอาจไม่กล้าอ้างอิงหลักธรรมวินัยตรวจสอบองค์กรมหาเถร คล้ายๆกับผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงานทหารหรือหน่วยงานอื่นๆไม่กล้าตรวจสอบผู้บังคับบัญชา เพราะกลัวอำนาจ ไม่ปลอดภัย หรืออะไรก็แล้วแต่ ทว่า "ไม่มีกฎหมายห้ามตรวจสอบ" และมหาเถรก็ไม่สามารถอ้างหลักธรรมวินัยเพื่อใช้อำนาจเผด็จการกับพระ หรือห้ามประชาชนทั่วไปตรวจสอบได้
 
6) ส่วนข้อความของผมที่วิจักษณ์เน้นตัวหนาว่า"ธรรมวินัยมันมีบางอย่างที่ชัดเจน ไม่ต้องตีความ มีบางอย่างที่ต้องตีความ มีหลักฐานบันทึกเทียบเคียงความสอดคล้องได้ อย่างส่วนที่เป็นวินัยสงฆ์นี่ชัดเจนเหมือนกฎหมายเลยว่าทำอย่างนี้ผิด อย่างนั้นถูก มันถึงเป็นหลักความประพฤติที่ตรวจสอบเห็นตรงกันได้  ...
 
คำว่า "ชัดเจนเหมือนกฎหมาย" ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ให้เอาธรรมวินัยไปใช้เทียบเท่ากฎหมาย เช่นไปจับคนเข้าคุกเป็นต้น แต่ข้อเท็จจริงคือธรรมวินัยส่วนที่เป็นวินัยสงฆ์จะมีการระบุไว้ชัดเจนว่าทำอะไรแล้วจะต้องรับผิดอย่างไร เช่น "ภิกษุฆ่ามนุษย์ให้ตาย = การกระทำ" "ต้องอาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นพระ =การับผิดหรือรับผิดชอบต่อการกระทำ" เป็นต้น จะเห็นว่าโทษทางวินัยตามตัวอย่างนี้ไม่อาจ "เทียบเท่า" โทษทางกฎหมายเลย ฆ่าคนตายต้องติดคุก แต่ทางวินัยสงฆ์แค่ให้สละสมณเพศ
 
และเมื่อว่าโดยทั่วไปแล้ว การรับผิดชอบทางวินัยสงฆ์เป็นเรื่องที่แทบจะไม่มีความรุนแรงอะไรเลยเมื่อเทียบกับโทษทางกฎหมาย แต่เป็นเป็นเรื่องที่พระสงฆ์ที่เป็นปัจเจกต้องมี Accountability ต่อระบบสังฆะ และระบบสังฆะต้องมี Accountability ต่อสังคมโดยรวมเท่านั้นเอง หรือพูดอีกอย่างว่าเป็นเรื่องของการเคารพและซื่อสัตย์ต่อ "หลักการ" ซึ่งแม้แต่สังคมอย่างโลกย์ๆ ก็ยังต้องมี
 
7) ส่วนประเด็นว่า ธรรมวินัยเป็น absolute truth หรือไม่ หรือว่าเป็นเรื่องของ "การตีความล้วนๆ" อันนี้เป็นประเด็นที่เถียงกันได้ ผมคิดว่าหลักธรรมวินัยส่วนที่เป็นธรรมะนั้น พุทธศาสนามีธรรมะส่วนที่เรียกวา "ปรมัตถธรรม" ความหมายง่ายๆคือ "ความจริงตามที่มันเป็น" คือไม่ขึ้นต่อการตีความของเรา เช่นความเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) ตามกฎไตรลักษณ์ สุญญตาเป็นต้น
 
เราจะเรียกสิ่งพวกนี้เป็น absolute truth หรือไม่ก็แล้วแต่จะเรียกหรือไม่เรียก แต่ถ้าเป็น absolute truth ในความหมายว่า "แตะไม่ได้" วิจารณ์ไม่ได้นั้นในพุทธศาสนาไม่มี ทุกเรื่องวิจารณ์ได้ คุณจะบอกว่าพุทธะสอนผิดก็ได้ ไม่มีการเอาผิดทางกฎหมายได้ แต่ถ้ามีชาวพุทธบางคนออกมาเถียงคุณ หรือด่าคุณ มันก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะประชาธิปไตยมันต้องเถียงกันได้ ด่ากันได้มิใช่หรือ
 
ในเรื่อง "การตีความ" นั้น ว่าโดยทั่วไปแล้วก็ต้องมีหลักการหรือข้อมูลอะไรบางอย่างที่ยอมรับร่วมกันว่า "ถูกต้อง" ว่า "จริง" เป็นหลักเทียบเคียงอยู่ก่อน เราถึงจะบอกตัวเองได้ว่า เราตีความใกล้เคียงหรือไม่ ถูกหรือผิด หรือมีการตีความต่างกันหลายๆ มุมก็จะเทียบได้ว่าใครตีความถูกหรือผิด เป็นต้น ทีนี้ "อะไร" ที่ยอมรับร่วมกันว่าถูกต้อง หรือจริงที่นำมาเป็นหลักสำหรับเทียบเคียงนั้น absolute truth หรือไม่ ผมไม่ทราบ แต่ถ้าไม่มีหลักเทียบเคียงเลยแล้วถือว่า "แล้วแต่ใครจะตีความ" (จริงๆถ้าแบบนี้ไม่น่าจะเรียกว่า "ตีความ" น่าจะเป็นเรื่องที่ "คิดเอาเอง" มากกว่า) ก็จะมีปัญหาว่าถ้าเรายึดถือหลักการ "แล้วแต่ใครจะตีความอย่าง extreme" ไปเลย เราก็ไม่มีเหตุผลที่จะไปวิจารณ์ว่า "หลักธรรมแบบมหาเถร" ผิด หรือมีปัญหา เพราะแล้วแต่ท่านจะตีความ!
 
สรุปคือ ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของวิจักขณ์เรื่อง "ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ" และความคิดหลักที่เราทำงานงานร่วมกัน ก็คือต้องการให้พุทธศาสนามีประโยชน์แก่ราษฎรในแง่มุมต่างๆตามที่วิจักษณ์เสนอไว้ในท้ายบทความ
 
แต่ผมคิดว่า "เหตุผลหลัก" ของการทำให้ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ หรือการเปลี่ยนเป็น secular state นั้น คือเหตุผลเพื่อต้องการให้รัฐเป็นอิสระจากการกำกับของอุดมการณ์ทางศาสนา ให้รัฐเป็นกลางทางศาสนา ไม่ใช่เหตุผลเรื่อง "ความชอบธรรม" ในการ "อ้างหลักธรรมวินัยตรวจสอบสังฆะ" โดยตรง เพราะความชอบธรรมในการอ้างหลักธรรมวินัยตรวจสอบสังฆะอยู่ที่การอธิบายได้ว่า สามารถดำเนินการตรวจสอบตามกระบวนการที่ถูกต้อง (เทียบเคียงกับ due process ทางระบบยุติธรรม) ตามที่ระบุไว้ในพุทธบัญญัติหรือไม่ พุทธศาสนาเถรวาทตั้งแต่ยุคพุทธกาลเป็นต้นมาก็ไม่เคยอยู่ใน secular state
 
พูดอย่างถึงที่สุดเหตุผลในการต่อสู้ให้เกิด secular state ไม่ใช่ต้องเป็น secular state เพื่อ "ความชอบธรรม" ในการที่องค์กรทางศาสนาต่างๆจะอ้างอิงหลักการ กติกาของตนเองตรวจสอบกัน ประวัติศาสตร์การเกิด secular state ไม่ได้อ้างเหตุผลนี้ เขาไม่สนใจหรอกว่าศาสนาต่างๆ จะตรวจสอบอย่างไร เขาต้องการ "ความชอบธรรม" ของรัฐที่ต้องเป็นอิสระจากอำนาจศาสนจักร ไม่ให้มีการใช้อุดมการณ์ศาสนามาชี้นำนโยบายสาธารณะของรัฐ และรัฐก็ไม่ต้องแทรกแซง หรืออุปถัมภ์ศาสนาใดๆ ส่วนศาสนาเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล คุณจะอยู่กันอย่างไรก็อยู่ไป ไม่เกี่ยวกับรัฐ
 
และผมก็ไม่แน่ใจว่า เคยมีกลุ่มศาสนิกของศาสนาใดๆ เรียกร้อง secular state เพื่อ "ความชอบธรรม" ในการอ้างหลักการ กติกาของศาสนาตนตรวจสอบกันเอง หรือเรียกร้อง secular state เพื่อ "ความชอบธรรมทางศาสนา" (ซึ่งมันเป็นเรื่องแปลกมากที่จะเรียกร้องให้จัด "รูปรัฐ" เพื่อ "ความชอบธรรมทางศาสนา" ใดๆ) 
อย่างไรก็ตาม อยากตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ตอนที่ผมเสนอให้ใช้ธรรมวินัยตรวจสอบการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อการอวดอุตตริมนุสธรรมของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายนั้น ผมถูกกล่าวหาว่า ไม่ควรมาพูดเรื่อง "ประชาธิปไตยสากล" เลย เพราะข้อเสนอของผมไม่ต่างอะไรกับเสนอให้ใช้ ม.112 กับคนอื่น ทั้งที่ก็รู้ๆ อยู่ว่า ระบบมหาเถรสมาคม "ยึดโยง" อยู่กับอำนาจจารีตที่ถูกอ้างอิงให้ใช้ ม.112 กับผมนั่นเอง
 
แต่ครั้นเมื่อเราถกเถียงกันทาง fb เรื่องการทำให้ "ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ" ผมเสนอว่า จะทำให้ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐได้จริง ต้อง "ปลดล็อก" ประเด็นสถาบันให้ได้ก่อน คือต้องแก้กติกาเกี่ยวกับสถานะ อำนาจ ของสถาบันให้เป็นประชาธิปไตยก่อน secular state จึงจะเป็นไปได้ แต่อาจารย์ท่านนั้น (อ.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ) กลับแย้งว่า "ไม่เกี่ยวกันเลย" (คิดว่า อ.เก่งกิจอาจจะมีเหตุผลของตนเองอยู่ เพียงแต่ผมยังไม่ทราบ ยังไม่เห็นรายละเอียดพอที่จะเข้าใจ)
 
ส่วนเรื่องที่ผมสนับสนุนให้นำกรณี อ.สุลักษณ์ร้องเรียนเข้าสู่ "กระบวนการตรวจสอบ" ก็ไม่ใช่ด้วยเจตนาอยากให้เอาเป็นเอาตายกับท่านที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด เพราะผมก็ยังไม่ปักใจเชื่อว่าจริงหรือไม่
 
แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า อ.สุลักษณ์นำเรื่องดังกล่าวเผยแพร่ผ่านสื่อ และนำไปพูดในที่ต่างๆ แทบทุกเวทีที่เอ่ยถึงปัญหาในวงการพุทธศาสนาบ้านเรามาเป็นปีๆ ผมว่ามันเสียหายแก่ท่านที่ถูกกล่าวหามากในฐานะท่านเป็นพระที่มีตำแหน่งบริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นกรรมการมหาเถร มีบทบาทด้านพุทธศาสนาระดับนานาชาติ
 
ฉะนั้น วิธีแก้ปัญหาที่ผมเห็นว่าที่ดีที่สุดเวลานี้ คือ "ระบบต้องทำงาน" มีมูลไม่มีมูลต้องตอบผ่านระบบที่ทำงานอย่างโปร่งใส มิเช่นนั้นก็จะไม่เกิดผลดีแก่ใครเลย กลายเป็นปัญหาทำนอง "คู่กรณี"  หรือไม่ก็เป็นเรื่องเล่าแบบ "มารไม่มาบารมีไม่เกิด" หรือไม่ก็เป็นเรื่องของถ้าเป็น "พระดี" ก็ไม่ต้องตรวจสอบ ฯลฯ
 
ระบบสังฆะก็จะยังคงเป็นระบบส่งเสริม "วัฒนธรรมคนดี/พระดีเหนือการตรวจสอบ" ต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รู้เท่าทันภัยพิบัติ: เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นบนพื้นที่ความขัดแย้ง

Posted: 29 Dec 2012 07:20 AM PST

สังคมในยามสงบ และมีความเข้มแข็ง เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติสักครั้ง การจัดการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือก็กระทำได้อย่างทุกลักทุเลและยากลำบาก

การจัดการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือจะยิ่งยากขึ้นหลายเท่าเมื่อเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นในสังคมที่มีความขัดแย้งอยู่เดิม

ความขัดแย้งอย่างกรณีในอะเจห์[1] ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้นักสิทธิมนุษยชน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรให้ความช่วยเหลืออย่างกาชาดสากล ต้องปวดเศียรเวียนเกล้าและไม่รู้จะจัดการอย่างไร เมื่อทั้งภัยพิบัติจากธรรมชาติและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์อย่าง 'ความขัดแย้ง' เกิดขึ้นบนพื้นที่เดียวกัน

Zeccola (2011) พบว่า ในอะเจห์องค์กรให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุยชน มีความยากลำบากในการจำแนกระหว่างผู้ที่ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่าง 'สึนามิ' กับ เหตุการณ์ 'ความขัดแย้ง'ที่เกิดขึ้นมานานกว่า 30 ปี

ภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างสึนามิ ถือเป็น 'ความบริสุทธิ์' ที่ผู้ประสบเคราะห์ต้องได้รับความช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน แต่ผู้ประสบภัยพิบัติจำนวนหนึ่ง (มาก) ถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งด้านการเมือง ซึ่งอย่างหลังกลายเป็นกุญแจสำคัญ ทำให้ความช่วยเหลือนั้นดำเนินไปด้วยความทุลักทุเล โดยเฉพาะความช่วยเหลือจากรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชนจากต่างประเทศ ที่มีองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติการ จะตกอยู่ท่ามกลางการถูกจับจ้องว่า ความช่วยเหลือนั้นจะถูกแปลความหมายอย่างไร  ถ้าหากการปฏิบัติการถูกมองว่าไม่เหมาะสมและถูกเกี่ยวโยงเข้ากับความขัดแย้งด้านการเมือง อาจทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับรัฐบาลอินโดนีเซีย

แต่ประเด็นสำคัญคือในสภาวะการณ์เช่นนี้ คือ การจะแยกให้ความช่วยเหลือทำได้ยาก เพราะเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างความขัดแย้งด้านการเมืองและพื้นที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สิ่งที่เกิดขึ้นในอะเจห์คือ องค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ให้ความสำคัญน้อยมากกับประเด็นด้านการเมือง และไม่ได้แยกระหว่างผู้ที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติกับผู้ที่ประสบภัยทางการเมืองออกจากกัน จึงทำให้มีปัญหากับแหล่งทุนซึ่งส่วนมากเป็นรัฐบาลจากต่างประเทศ

ในขณะที่รัฐบาลจากต่างประเทศซึ่งเป็นผู้บริจาคด้านการเงินและสิ่งของต่างๆ (โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติ) เกรงว่าจะเกิดปัญหากับรัฐบาลอินโดนีเซีย จึงปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอย่างเด็ดขาด

ผลที่ตามมาคือ การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติจึงเป็นไปด้วยความยากลำบากและขาดประสิทธิภาพ

Zeccola ยังพบว่า เว้นแต่องค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่บางองค์กร ที่ยอมลดจุดยืนบางอย่าง ทำงานร่วมกับองค์กรของรัฐบาลในพื้นที่ จึงทำให้การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติสามารถดำเนินการได้บ้าง พร้อมกับเสนอว่า ผู้บริจาคควรยึดจุดยืนในการให้เน้นให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน โดยที่ทั้งผู้บริจาคและองค์กรพัฒนาเอกชนน่าจะยืดหยุ่นและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมด้านการเมือง ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี

โดยสรุปผู้เขียนพบว่า หากเปรียบเทียบการฟื้นฟูภัยพิบัติสึนามิระหว่างอะเจห์ในประเทศอินโดนีเซียและภาคใต้ของประเทศไทย ด้วยประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ความขัดแย้งด้านการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อะเจห์ฟื้นฟูได้ช้าและยากกว่าเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ภัยพิบัติทางธรรมชาติเริ่มเกิดบ่อยครั้งขึ้นในหลายพื้นที่ในแต่ละประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ในขณะที่ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยก็ยังคงมีอยู่ เช่น กรณีความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลือง-เสื้อแดง และความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ในอนาคตข้างหน้า หากเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ขึ้น สังคมไทยจะรับมืออย่างไรกับสถานการณ์เช่นนี้




[1] อะเจห์เกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และมีความขัดแย้งก่อนหน้านั้นเกือบ 30 ปี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เกร็ดข่าว: ใครๆ ก็มีกล้อง ในกล้องมีใคร?!

Posted: 29 Dec 2012 02:24 AM PST

นิตยสารไทม์ไฮไลท์ปรากฏการณ์แสนธรรมดาที่กำลังเพิ่มมากขึ้น โดยรวมภาพที่มีช่างภาพสมัครเล่นและอาชีพปรากฏในเหตุการณ์ต่างๆ รอบปี 2012

โดยไทม์ระบุว่า ไม่นานนี้ ภาพจากงานศพของคิม จอง อิล อดีตผู้นำเกาหลีเหนือ ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (KCNA) ก่อให้เกิดข้อถกเถียงจากการตัดต่อภาพ โดยมีการโฟโต้ช้อปเอาบรรดาช่างภาพที่ไปรอถ่ายภาพออก นัยว่าเพื่อความสวยงามของภาพ

แต่มายุคนี้ที่ดูเหมือนว่า ทุกสถานการณ์จะถูกบันทึกลงบนภาพถ่ายจากทุกมุมกล้องที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะในปีนี้มีรูปที่ถูกถ่ายทั้งสิ้นราว 380,000 ล้านใบ นั่นทำให้ไม่เฉพาะเกาหลีเหนือ ที่พยายามจะกันช่างภาพออกจากภาพของตัวเอง

ช่างภาพคนอื่นๆ มักปรากฏตัวในภาพข่าวซึ่งถ่ายโดยช่างภาพอีกคนอยู่บ่อยครั้ง กล้องเป็นแผงตั้งรอถ่ายเหล่าเซเล็ปและบุคคลสาธารณะ มือถือถ่ายรูปได้ถูกชูขึ้นถ่าย ภาพของคนถ่ายเหล่านี้ติดเข้าไปทั้งในฉากหน้าและฉากหลังของทั้งภาพ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งภาพแบบมืออาชีพและภาพแบบแคนดิต

บางครั้ง ช่างภาพก็จงใจให้ช่างภาพคนอื่นๆ เป็นตัวแบบของรูปเสียเลย แต่ภาพที่ยากที่สุดคงเป็นภาพที่จะไม่มีช่างภาพคนไหนอยู่เลยในเฟรมภาพ ไม่ว่าในความหมายทางตรงหรือทางอ้อม

ด้านหนึ่ง ไทม์บอกว่า ทุกคนล้วนต้องการบันทึกความจริงในรูปแบบของตัวเอง แต่ก็กลับกลายเป็นว่าพวกเขาวุ่นอยู่แต่กับกล้อง ทำให้อาจจะพลาดประสบการณ์จริงในชั่วขณะหนึ่งไปได้ง่ายๆ

ในคอนเสิร์ตเมื่อเร็วๆ นี้ของแจ็ค ไวท์ มือกีต้าร์ได้ขอให้ผู้ชมหยุดความพยายามที่จะถ่ายภาพ โดยอธิบายว่าเพื่อให้ผู้ชมได้รับชมคอนเสิร์ตด้วยตาของพวกเขาเอง ไม่ใช่ดูการแสดงทั้งหมดผ่านจอเล็กๆ ในมือ ทั้งนี้ พวกเขาจะมีภาพการแสดงที่ถูกถ่ายโดยมืออาชีพ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทางเว็บไซต์หลังการแสดงจบด้วย

ในยุคที่เต็มไปด้วยโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้และกล้องดิจิตอลราคาไม่แพงได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ของการถ่ายภาพไปอย่างมหาศาล ไทม์ได้รวบรวมปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เอาไว้


ชมภาพได้ที่ http://lightbox.time.com/2012/12/27/a-year-of-photographers-in-the-picture

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล

Posted: 29 Dec 2012 01:21 AM PST

"ถ้าจะเป็นทีวีสาธารณะ จะพูดถึงเรื่องการเข้าถึงข้อมูลถ้วนหน้า ก็น่าจะคิดถึงเวลาที่หลากหลายของคนทำงานด้วยนะครับ มีคนจำนวนมากในสังคมสมัยนี้ ที่กว่าจะเลิกงานก็หลังเที่ยงคืน จะให้ดูทีวีตอนไหน หรือ ThaiPBS จะเป็นเฉพาะทีวีของ "คนปกติ" เข้างานแปดโมงเลิกงานสี่โมง สองทุ่มถึงบ้าน ครอบครัวอุดมคติตามแบบเรียนมากๆ"

28 ธ.ค.55, ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ตกล่าวถึงกรณี ThaiPBS ปรับผังปิดสถานีเวลา 02:00-05:00 โดยอ้างเพื่อเป็นแบบอย่างให้คนในสังคม

นักวิชาการชี้รัฐเปิดช่อง ชุมชนร่วมสร้างสันติภาพชายแดนใต้

Posted: 28 Dec 2012 08:00 PM PST

เสวนาชุมชนศรัทธาปัตตานีคึกคัก นักวิชาการสันติศึกษาชี้แม้ความรุนแรงจะยืดเยื้อเรื้อรัง แต่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงเมื่อรัฐเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายมุ่งสร้าง บรรยากาศการพูดคุยเจรจาเพื่อสันติภาพ


เมื่อวันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมา เครือข่ายชุมชนศรัทธา "กัมปงตักวา" จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับ มูลนิธิชุมชนไท กทม. องค์การแอคชั่นเอด (ประเทศไทย) จัดการเสวนาผู้นำชุมชนศรัทธากับกระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ ณ หอประชุมสำนักอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาจากทั้งสามจังหวัดมาร่วมงานกว่า 300 คน

การเสวนาครั้งนี้มุ่งที่องค์ประกอบสำคัญของชุมชนคือผู้นำ 4 เสาหลักของชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้นำศาสนา อบต. และแกนนำธรรมชาติ) เพื่อเสริมสร้างมุมมองและโลกทัศน์ที่กว้างไกลและในอีกด้านหนึ่งด้วยความปรารถนาที่จะให้ทุกภาคส่วนมาช่วยกันสนับสนุนพื้นที่ชุมชนได้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาแก้ปัญหาของชุมชนโดยชุมชนให้สามารถยืนได้ด้วยลำแข็งของตนเองสู่การแก้ปัญหาและร่วมสร้างกระบวนการสันติภาพจากพื้นที่ฐานของชุมชนสู่สันติภาพชายแดนใต้

ในการเสวนาครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ ในหัวข้อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ โดย อ.ซากีย์ พิทักษ์คุมพล อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มอ.หาดใหญ่ และเวทีเสวนาเรื่อง ผู้นำชุมชนศรัทธากับกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ ในช่วงเช้า และการเสวนาเรื่องปัญหาที่ดินกับการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ในช่วงบ่าย โดยมีวิทยากรทั้งนักวิชาการ ผู้นำชุมชนและนักกิจกรรมทางสังคมร่วมนำเสนอปัญหาต่อที่ประชุม

อ.ซากีย์ พิทักษ์คุมพล กล่าวในการบรรยายพิเศษว่า จากการติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้จนถึงวันนี้กล่าวได้ว่าสถานการณ์ที่เข้าสู่วงจรที่เรียกว่าเป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากสถิติที่เกิดความรุนแรงเป็นจำนวนกว่า 12,377 ครั้ง มุผู้เสียชีวิตกว่า 5,377 คน และบาดเจ็บกว่า 9,513 คน ในสถานการณ์ที่จะครบรอบ 10 ปีในปีหน้า

"สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าการแก้ปัญหาที่ผ่านมาไม่สามารถตอบโจทย์ได้อย่างที่ควรจะเป็น ในตอนแรกคนที่เกี่ยวข้องบอกว่าสามารถควบคุมความรุนแรงและความขัดแย้งได้ แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่าความขัดแย้งเป็นตัวควบคุมเรา" อ.ซากีย์ กล่าว

ทั้งนี้ อ.ซากีย์ยังกล่าวอีกว่าในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ขณะนี้พบว่าทางรัฐบาลได้มีกองกำลังทั้งทหาร ตำรวจ และกองกำลังที่หนุนเสริมเช่น อส.ในพื้นที่ 3 จังหวัดและ 4 อำเภอของสงขลาจำนวนกว่า 60,000 คน และยังมีกองกำลังกึ่งอาชีพเช่น ชรบ. อรบ. อีกจำนวนกว่า 80,000 คน

นักวิชาการจากสถาบันสันติศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ในโมเดลการวิเคราะห์ความขัดแย้งชนิดที่ยืดยื้อเรื้อรังพบว่าเงื่อนไขหนึ่งทำนำไปสู่สถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากลักษณะของชุมชนที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีชาติพันธุ์หนึ่งมีอิทธิพลเหนือชาติพันธุ์หนึ่ง ทำให้ความขัดแย้งไม่สามารถแก้ได้ด้วยการใช้กฎหมายหรือด้วยแนวทางความมั่นคง

อีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งคือ ความต้องการพื้นฐานของชุมชนไม่ได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ความต้องการด้านอัตลักษณ์อันเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานที่ถูกพรากโดยคนอื่นหรือโดยรัฐจะเป็นชนวนไปสู่ความขัดแย้งชนิดเรื้อรังได้ ซึ่งต้องเอาเงื่อนไขนี้ไปทาบกับชุมชนชายแดนใต้ว่าวันนี้ความต้องการพื้นฐานของชุมชนได้รับการตอบสนองแล้วหรือยัง

อย่างไรก็ตาม อาจารย์จาก มอ.หาดใหญ่กล่าวในการบรรยายว่าในขณะนี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่มาจากรัฐที่เรียกได้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นการเปลี่ยนแปลงจากรากฐานที่จะสามารถแก้ปัญหาได้นั่นคือ นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2555-2557 โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและครอบคลุมทั้งหน่วยงานรัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

"โดยเฉพาะนโยบายในข้อ 8 ที่บอกว่ารัฐต้องการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพูดคุยในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและการให้หลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐกำลังสร้างบรรยากาศการพูดคุย การเจรจาเพื่อสันติภาพ ที่นี้จะทำอย่างไรให้เขาได้ยิน อันนี้แหละที่ต้องใช้ฐานของชุมชนศรัทธา ทำอย่างไรให้ชุมชนสามารถถักทอเครือข่ายกันมากขึ้นกับเครือข่ายอื่นๆ สร้างพื้นที่ใหม่โดยไม่สูญเสียพื้นที่ของตนเอง และเป็นการเกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์และยืดหยุ่น" อ.ซากีย์ กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : safety net จำเป็นต่อกระบวนการสันติภาพปาตานี

Posted: 28 Dec 2012 07:52 PM PST

 

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้สัมภาษณ์ ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส  อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อส้นติภาพเบอร์คอพแห่งเยอรมันนี และปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโส สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ผู้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้าง "พื้นที่กลาง" ในการพูดคุยระหว่าง "คนใน" และการสร้าง "Insider Mediator" (ตัวกลางที่เป็นคนใน) เพื่อแสวงหาข้อเสนอร่วมของคนทุกศาสนาและชาติพันธุ์ในพื้นที่เพื่อสร้างแผนที่ในการเดินทางไปสู่สันติภาพ

ทั้งนี้ในช่วงปีครึ่งที่ผ่านมา ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส ได้ร่วมมือกับนักวิชาการจาก 5 สถาบันทั่วประเทศรวมทั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งจากวิทยาเขตปัตตานีและหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมจัดเวทีสันติภาพของคนใน (IPP - Insider peacebuilding platform) ในการวิเคราะห์ร่วมกันว่าความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้คืออะไร โดยได้ทำบทวิเคราะห์ร่วมซึ่งจะเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไปเพื่อที่จะสร้างแผนที่ไปสู่สันติภาพ

DSJ ได้พูดคุยกับนักวิชาการอาวุโสชาวเยอรมันผู้ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานเรื่องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในหลายประเทศซึ่งจะอธิบายแนวคิดของเขาเกี่ยวกับบทบาทของ "คนใน" ในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกับบริบทในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในประเด็นเรื่องตาข่ายนิรภัย (safety net) ที่เขานำเสนอต่อภาคประชาสังคมในเวที IPP

DSJ : อะไรคือความหมายของตาข่ายนิรภัย (safety net) ที่คุณนำเสนอต่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ และมีความสำคัญอย่างไรในกระบวนการสันติภาพ

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : กระบวนการสันติภาพเป็นเรื่องที่เปราะบาง แตกหักง่ายและยากที่จะแก้ไขหรือประกอบขึ้นใหม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีตาข่ายนิรภัยรองรับที่มาจากประชาชน จากนักวิชาการที่มีศักยภาพ กระบวนการสันติภาพจึงเน้นว่าจะเป็นการดีที่จะมีตาข่ายนิรภัย (safety net) ที่เป็นการรวมตัวกันของประชาชนจากหลายๆ ฝ่ายที่สามารถพูดคุยเรื่องการสร้างสันติภาพทั้งในระดับที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ตาข่ายนิรภัย (safety net) จะมีสองระดับคือ ชั้นที่เป็นทางการก็คือตัวแทนของทั้งสองฝ่ายพูดคุยกัน ทั้งในระดับการพูดคุย (Dialogue) หรือการเจรจา (negotiate) และมีตาข่ายนิรภัยระดับล่างลงมาคือ ประชาชนที่ไม่ใช่ตัวแทนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นทางการ แต่เป็นผู้แสดงตนว่าต้องการกระบวนการสันติภาพ และพูดคุยเรื่องในเดียวกันกับกลุ่มที่เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการ ซึ่งกลุ่มนี้ต้องคิดและเตรียมการว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากกลุ่มที่พูดคุยเป็นทางการล้มเหลว ซึ่งคนเหล่านี้จะช่วยก่อร่างความคิด วิธีการ หรือวางเป้าหมายเพื่อที่กระบวนการสันติภาพที่เป็นทางการล้มเหลวสามารถกลับคืนมา นี่คือเนื้อหาของตาข่ายนิรภัย (safety net)

มีหลายหนทางที่ตาข่ายนิรภัย (safety net) จะเกิดขึ้นหรือก่อร่างขึ้นได้ อย่างง่ายๆ  ก็คือ เกิดจากกลุ่มประชาชนที่รู้จักคุ้นเคยกันและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสองฝ่าย (รัฐและขบวนการ) ที่มีการพูดคุยกันและร่วมกันคิดว่าจะสื่อความคิดหรือข้อเสนออะไรบ้างไปสู่กลุ่มตัวแทนที่เป็นทางการ หรืออาจจะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เช่น เมื่อตัวแทนที่เป็นทางการของแต่ละฝ่ายประสงค์ให้ประชาชนจัดตั้งกลุ่มถาวรเป็นคณะในการให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาวิกฤติที่จะเกิดขึ้น เพราะไม่เคยมีกระบวนการสันติภาพที่ไม่มีวิกฤติ

คือมีทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่ตัวแทนการเจรจาต้องการให้ประชาชนพัฒนาศักยภาพที่จะช่วยเหลือในสถานการณ์ที่แตกหักหรือเกิดความขัดแย้งรุนแรง

DSJ : ในสถานการณ์ของความขัดแย้งในชายแดนใต้คุณพอจะมองเห็นปรากฏการณ์ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการก่อรูปของตาข่ายนิรภัย (safety net) อย่างไรบ้าง

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : ผมเชื่อว่ามีประชาชนส่วนหนึ่งที่มีการพูดคุยกับทั้งสองฝ่าย ทั้งที่เป็นฝ่ายพลเรือนและที่มาจากกองทัพ แต่เราไม่รู้ว่าเป็นใคร คนเหล่านี้ส่วนหนึ่งต่อไปอาจจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัวแทนการเจรจาที่เป็นทางการ ซึ่งพวกเขารู้จักฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างดี พวกเขาสามารถแสดงบทบาทตาข่ายนิรภัย (safety net) ได้ในภายหลัง ซึ่งนี่เป็นตัวเลือกแรก

ตัวเลือกที่สองคือประชาชนอย่างเช่นคุณ (ชี้มายังผู้สัมภาษณ์) และคนอื่นๆ ที่อยู่ในภาคประชาสังคม สื่อมวลชนและอื่นๆ หรือกลุ่มคนที่มีส่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและพวกเขากำลังคิดว่าจะสนับสนุนกระบวนการสันติภาพในอนาคตได้อย่างไร โดยทำความเข้าใจกับผู้คนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย BRN PULO หรือ ญูแว และอีกด้านหนึ่งคือผู้คนที่มีสัมพันธ์กับฝ่ายราชการพลเรือนหรือฝ่ายทหารไทย ซึ่งพวกเขาสามารถผลิตความคิดดีๆ ที่จะให้กระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อไปได้ ผมคิดว่ามีตัวอย่างเช่น ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ที่สามารถเล่นบทบาทนี้ สื่อที่ติดต่ออยู่กับศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ก็สามารถเล่นบทบาทนี้

ผมโดยส่วนตัวกำลังคิดทำโครงการสร้างศูนย์ข้อมูลสันติภาพ (peace resources center) ที่มีแห่งหนึ่งที่ชายแดนใต้กับอีกที่หนึ่งคือที่กรุงเทพ ซึ่งจะเป็นที่ที่จะให้คนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้พบปะและสามารถผลิตไอเดียความคิดว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการสันติภาพสามารถเดินหน้าได้ด้วยก้าวเล็กๆ และคนที่เฝ้าดูเหตุการณ์ความขัดแย้งที่อื่นๆ ที่คล้ายกันและกำลังศึกษาเรื่องเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนที่เห็นอกเห็นใจทั้งฝ่ายขบวนการของคนมลายูและเห็นใจฝ่ายรัฐไทยที่พวกเขาจะสามารถช่วยกันสร้างแนวคิดใหม่ๆ

ในส่วนของผมคิดว่าในการสร้างศูนย์ข้อมูลสันติภาพอาจจะประสานกับมหาวิทยาลัยหนึ่งหรือสองแห่งหรือกับองค์กรประชาสังคมที่สามารถดำเนินการอย่างอิสระ ซึ่งต้องเตรียมการตั้งแต่ตอนนี้ เป็นจังหวะก้าวที่ดีและเดินถูกทางเพราะบรรยากาศทางการเมืองเป็นช่วงที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีทีท่าว่าจะมีการเจรจาอย่างเป็นทางการ ผมยังไม่เห็นว่าจะมีกระบวนการการเจรจาทั้งจากฝ่ายรัฐไทยและฝ่ายขบวนการ ซึ่งแน่นอนว่าทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นไม่ตรงกันที่จะมีการเจรจา แต่ละฝ่ายไม่มีความพร้อมในการเจรจา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเห็นที่แตกต่างกันว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคต

DSJ : ศูนย์ข้อมูลสันติภาพจะมีภารกิจอย่างไรบ้าง

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : ศูนย์ข้อมูลสันติภาพ (peace resources center) คือความคิดริเริ่มที่จะนำผู้คนมาร่วมทำงานอย่างต่อเนื่องใน 3 เรื่อง คือ เรื่องแรกต้องคิดว่าอะไรคือก้าวย่างที่ดีในการสร้างความเชื่อมั่น สร้างความเชื่อใจ และแนวคิดที่ดีให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่สาธารณะ (common space) ที่ผู้คนสามารถพบปะกับคนอื่นๆ ที่มีภูมิหลังต่างกัน

เรื่องที่สองคือ ผมคิดว่าจะเป็นการดีที่จะมีสถานที่ที่เป็นฐานความรู้ อาจจะเป็นห้องสมุด เว็บไซต์ หรือข้อมูลดิจิตอลที่เป็นการสรุปบทเรียนจากอาเจะห์ จากมินดาเนา แอฟริกาใต้ ไอร์แลนด์เหนือ เพื่อให้ทุกคนที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้สามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาอย่างง่ายๆ

เรื่องที่สาม สำหรับผมในการริเริ่มของศูนย์ข้อมูลสันติภาพ (peace resources center) จะสามารถผลิตข้อเสนอเชิงนโยบายย่อยๆ ที่เป็นแนวคิดหรือข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการสันติภาพสามารถเดินหน้าได้ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับทั้งความเห็นสาธารณะและระบอบการเมืองของประเทศไทยโดยเห็นร่วมกันว่ามีความเป็นไปได้ ทำได้จริง เป็นกระบวนการสันติภาพที่เป็นก้าวเล็กๆ ที่เป็นจริงได้

เมื่อดำเนินการแล้วจะต้องได้รับความสนใจจากสาธารณะ มีการนำเสนอโดยสื่อมวลชน เพราะว่ากระทำโดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่มีการรวมตัวกันอย่างดี เป็นที่รู้จักและมาจากแอคติวิสต์หลายๆ ฝ่ายทั้งจากคนมาเลย์มุสลิม คนไทยพุทธ คนไทยเชื้อสายจีนที่ร่วมกันคิดและร่วมกันร่างข้อเสนอนี้ จะเป็นเหมือนสายน้ำของการเคลื่อนไหวด้านบวก (the stream of positive activities)

ตัวอย่างในเรื่องเรื่องนี้ เราจะเห็นพัฒนาการของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ที่ก่อนหน้านี้จะมีชื่อเสียงเพราะการทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ความรุนแรง แต่วันนี้เราต้องการรายงานเกี่ยวกับสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดหรือไอเดียเรื่องสันติภาพ ซึ่งสำหรับผมนี้คือองค์ประกอบที่เป็นธรรมชาติที่ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้จะต้องทำต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคต จากการวัดค่าความรุนแรงมาสู่การวัดค่าสันติภาพและสร้างแนวคิดเรื่องสันติภาพ

DSJ : มีตัวอย่างของการจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรในลักษณะศูนย์ข้อมูลสันติภาพในประเทศอื่นๆ

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ตั้งศูนย์สันติภาพ (peace center) โดยรัฐบาลและโดยกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าร่วมกันคิดในการตั้งสถาบันของพวกเขาเอง ในมินดาเนามี OPAC หรือสำนักงานคณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีเพื่อกระบวนการสันติภาพที่เป็นคณะทำงานในส่วนของรัฐบาลและมีคณะทำงานสันติภาพในส่วนของ MILF และในอีกหลายๆ ประเทศที่มีความขัดแย้งทั่วโลก ในขณะนี้มีการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า การสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสันติภาพ (establishing infrastructure for peace) เช่น ในกาน่า ในเคนย่า ได้มีการก่อตั้งกลุ่มที่จะทำหน้าที่สร้างระบบเตือนภัยตั้งแต่เนิ่นๆ ที่อาจจะเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ขึ้นจากผลการเลือกตั้งซึ่งประชาชนจะช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้น ซึ่งการริเริ่มเล็กๆ เหล่าผมคิดว่าสำคัญและช่วยได้มาก

DSJ : พูดถึงตาข่ายนิรภัย (safety net) ดูเหมือนว่าจะเป็นกลุ่มคนที่สนับสนุนกระบวนการสันติภาพ แล้วชุมชนหรือประชาชนทั่วไปหรือชาวบ้านคนธรรมดาจะสามารถเป็นตาข่ายนิรภัยในความหมายนี้หรือไม่

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : ในที่นี้เราสามารถพูดได้ว่ากระบวนการสันติภาพทั้งหมดเป็นตาข่ายนิรภัย (safety net) แต่เมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นที่ใดที่หนึ่งและเมื่อประชาชนขับเคลื่อนตัวเองออกมาเพื่อป้องกันความรุนแรง ไม่ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะมาจากฝ่ายไหนก็ตาม อย่างเช่นในไนโรบี และในเคนย่าที่เกิดความรุนแรงหลังการเลือกตั้ง มีประชาชนลุกขึ้นเคลื่อนไหว มีนักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพเป็นพันคนลุกขึ้นมาประท้วงการก่อเหตุร้าย นั่นคือตาข่ายนิรภัยเช่นกัน

DSJ : เมื่อดูความเป็นจริงในกรณีปัตตานีซึ่งมีองค์กรภาคประชาสังคมอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ องค์กรประชาชนต่างๆ แต่ดูเหมือนว่ากิจกรรมต่างๆ ที่กลุ่มคนเหล่ากระทำอยู่ไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ (peace movement)

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : ผมเข้าใจสถานการณ์การริเริ่มกระบวนการสันติภาพในปาตานี ซึ่งขณะนี้กระบวนการ IPP กำลังเดินหน้าไปสู่แนวคิดนี้ แต่ผมเห็นด้วยกับคุณที่ว่ากระบวนการนี้ยังไม่แข็งแรงพอ เราต้องการมากกว่านี้ ต้องการบางอย่างที่มีลักษณะเป็นสถาบัน ผมหวังว่าการมีศูนย์ข้อมูลสันติภาพจะสามารถช่วยให้กระบวนการสันติภาพเข้มแข็งขึ้นได้ แต่ตอนนี้ยังอ่อนแอมาก ยังเป็นก้าวเล็กมากๆ ยังเร็วไปที่จะบอกว่านี่เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพเพราะสังคมยังมีการแบ่งแยกอยู่มากและไม่มีการเสริมพลังให้กันและกัน

ผมคิดว่าเมื่อประชาชนได้รับผลกระทบจากความรุนแรงมากขึ้น และหากเขาได้เข้าไปเป็นตัวแสดงในกระบวนการสันติภาพ เขาจะเป็นตาข่ายนิรภัยที่ดีมากๆ ที่คุณจะได้เห็น อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ในไคโร เมื่อประชาชนกลับไปยังจัตุรัสทาห์รีร์เพื่อก่อการประท้วง นั่นคือตาข่ายนิรภัย (safety net) ชนิดหนึ่งที่ผู้คนไปแสดงเจตจำนงว่าไม่ต้องการระบบเผด็จการอีกต่อไป พวกเขาต้องการประชาธิปไตย

สำหรับกระบวนการสันติภาพที่แท้จริงสำหรับที่นี่ในอีก 2-5 ปีข้างหน้า ในความเข้าใจของผมจะมีตาข่ายนิรภัย (safety net) เกิดขึ้นจริงได้ก็ต่อเมื่อ อย่างเช่นเมื่อเกิดความรุนแรงไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คุณแสดงการต่อต้านความรุนแรงจากทั้งสองฝ่าย คุณมีการประท้วงใหญ่ (big rally) ที่มัสยิดกลางที่ปัตตานี มันจะเป็นการส่งสัญญาณที่แข็งแกร่ง ลองจินตนาการว่าทุกๆ เย็นวันจันทร์ประชาชนมารวมตัวกันที่มัสยิดกลางปัตตานีและบอกว่าเราต้องการหยุดความรุนแรงจากทั้งสองฝ่าย ประชาชนมารวมตัวทุกๆ เย็นวันจันทร์เป็นเวลา 3 เดือน เป็นกลุ่มใหญ่ที่เริ่มต้นจาก 20 คน กลายเป็น 200 คน กลายเป็น 2,000 คน หรือกลายเป็น 20,000 คน ผมเชื่อมั่นว่าเมื่อมีคน 20,000 คนมารวมตัวกันหลายๆ ครั้งในเย็นวันจันทร์มันจะขึ้นหน้าหนึ่งของนิวยอร์กไทม์ และเมื่อนั้นส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอะไรสักอย่างแน่นอน นี่คือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตก เพราะประชาชนในเยอรมันตะวันออกมารวมตัวทุกวันจันทร์เวลาหกโมงเย็น รวมตัวกันประท้วงและบอกว่า เราคือประชาชนหนึ่งเดียว (we are one people) เริ่มจาก 20  คน เป็น 30 40 50 คนต่อมาเป็น 20,000 คน และกลายเป็น 200,000 คน หลังจากระบบเดิมทั้งระบบล้มลง นี่คือเรื่องจริงๆ แต่คุณต้องมีความหนักแน่นและให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นใจอำนาจที่จะมีการเปลี่ยนแปลง

DSJ : ในกรณีของปัตตานี คุณคิดว่าใครควรจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมลักษณะนี้

ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส : คุณน่าจะรู้ดีกว่าผม (หัวเราะ) ผมคิดว่าควรจะเป็นขบวนการของเยาวชนที่จะสามารถทำได้ เป็นผู้ที่จะบอกว่าพวกเราพอแล้วกับความรุนแรง และเราไม่เชื่อในรัฐไทยและก็ไม่เชื่อในขบวนการด้วย และเป็นขบวนการเยาวชนที่ยึดถือสาสน์ชัดเจนว่าเราต้องการจัดการตนเอง (self determination) และจัดการตัวเองอย่างมีสันติภาพ ซึ่งอันนี้จะเป็นพลังที่แข็งแกร่งมาก เพราะขณะนี้กระบวนการการจัดการตนเองถูกดิสเครดิตด้วยความรุนแรงที่เป็นอยู่ หากคุณมีการเคลื่อนไหวการจัดการตัวเองที่ไร้ความรุนแรงก็จะเป็นสิ่งที่ต่างออกไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น