โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กบฏซีเรียสร้างรถถังเอง-ใช้คอนโทรลเลอร์เครื่องเพลย์สเตชั่นบังคับปืน

Posted: 12 Dec 2012 11:12 AM PST

กลุ่มกบฏในซีเรียได้สร้างรถหุ้มเกราะ Sham II ขึ้นมาเองเพื่อต่อสู้กับกองกำลังรัฐบาลในสงครามกลางเมือง โดยติดตั้งคอนโทรลเลอร์จากเครื่องเกมเพลย์สเตชั่นไว้ใช้ควบคุมปืนกล 

ที่มาของวิดีโอ: Russia Today

รถถังประดิษฐ์ของฝ่ายต่อต้านในซีเรีย (ที่มาของภาพ: คัดลอกจาก Russia Today)

11 ธ.ค. 2012 - เว็บไซต์ TechNewsDaily รายงานว่ากลุ่มกบฏในซีเรียได้สร้างรถหุ้มเกราะที่มีการบังคับโดยใช้คอนโทรลเลอร์ของเครื่องเกมเพลย์สเตชั่นดัดแปลงมาเป็นตัวบังคับปืนกลของรถหุ้มเกราะ

ในเว็บไซต์มีภาพคนถือจอยคอนโทรลเลอร์เพลย์สเตชั่นที่มีโทรทัศน์จอแบนอยู่ข้างหน้าดูเหมือนกำลังเล่นเกมอยู่ แต่จริงๆ แล้วเขากำลังบังคับปืนกลที่ติดกับรถหุ้มเกราะที่สร้างขึ้นมาเองโดยวิศวกรของกลุ่มกบฏในซีเรีย

รถหุ้มเกราะคันดังกล่าวชื่อ Sham II มีเกราะเหล็กขึ้นสนิมหนาราว 2.5 เซนติเมตร สามารถป้องกันกระสุนปืนใหญ่ขนาด 23 มม. ได้ แต่ไม่สามารถกันกระสุนจากรถถังหรือเครื่องยิงจรวดอาร์พีจีได้

คนขับรถหุ้มเกราะสามารถควบคุมได้โดยดูจากภาพโทรทัศน์จอแบนภายใน โดยมีกล้องติดด้านหน้า 3 ตัว ด้านหลังอีก 1 ตัว ข้างๆ คนขับจะมีพลปืนคอยจับตาดูภาพโทรทัศน์อีกจอหนึ่งที่แสดงภาพจากกล้องที่ติดอยู่ที่ปืนกล

พลปืนสามารถใช้เครื่องบังคับของเพลย์สเตชั่นในการเคลื่อนปืนเพื่อเล็งไปยังเป้าหมายตามภาพที่ปรากฏจากกล้องได้ ซึ่งภาพจากกล้องดูคล้ายการเลียนแบบภาพมุมมองจากวีดิโอเกม

ผู้ออกแบบระบบควบคุมนี้คือมาห์มูด อะบัด สมาชิกกลุ่มกองกำลังกบฏอัล-อันซาร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย แหล่งข่าวไม่ได้ระบุว่ามาห์มูด อะบัด มีแรงบันดาลใจอะไรถึงได้ใช้คอนโทรลเลอร์ของเพลย์สเตชั่นในการบังคับปืนจริง แต่มันก็สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการทหารกับวีดิโอเกมส์ ซึ่งทั้งเกมส์ดังๆ และโปรแกรมจำลองการรบที่จริงจังต่างก็ใช้มุมมองจากหลังกระบอกปืน

TechNewsDaily เปิดเผยว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการนำเทคโนโลยีจากวีดิโอเกมส์ไปใช้เป็นเครื่องมือทางการทหาร แต่มีการนำคอนโทรลเลอร์ของวีดิโอเกมส์ไปใช้ควบคุมหุ่นยนต์และหุ่นบังคับระยะไกล (drone) ของกองทัพสหรัฐฯ อีกด้วย

และก่อนหน้านี้ก็เคยมีการประกอบสร้างยุทโธปกรณ์ขึ้นมาเองโดยกองกำลังของฝ่ายกบฏในลิเบีย ซึ่งสร้างหุ่นบังคับปืนกลขึ้น

 

เรียบเรียงจาก

Syrian Rebels Aim Armored Car's Gun With PS3 Controller, TechNewsDaily, 11-12-2012 http://www.technewsdaily.com/15879-syrian-rebels-gun-ps3.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สำนักข่าวอิศรา: ไขปม 'ครูใต้' ทำไมตกเป็นเป้าสังหาร แง้ม 'ช่องโหว่' มาตรการ รปภ.

Posted: 12 Dec 2012 10:34 AM PST

เหตุการณ์ลอบสังหารครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึง 3 รายในห้วงเวลาเพียง 12 วัน และยังมีเหตุวางเพลิงเผาโรงเรียนอีก 2 แห่ง ทำให้มาตรการ "รักษาชีวิตครู" ถูกหยิบยกขึ้นหารือและวิพากษ์วิจารณ์กันในระดับประเทศอีกครั้ง

22 พ.ย. ครูนันทนา แก้วจันทร์ อายุ 51 ปี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตคารถ ทำให้สมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สั่งปิดการเรียนการสอนโรงเรียนในระดับประถมศึกษาทั่ว จ.ปัตตานี รวม 332 แห่ง
 
3 ธ.ค. ครูฉัตรสุดา นิลสุวรรณ อายุ 32 ปี จากโรงเรียนบ้านตาโงะ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ถูกยิงเสียชีวิตขณะขี่รถจักรยานยนต์กลับบ้าน ทำให้โรงเรียน 21 แห่งใน อ.เจาะไอร้อง ปิดการเรียนการสอนชั่วคราว
 
4. ธ.ค. ครูธีระพล ชูส่งแสง อายุ 52 ปี จากโรงเรียนบ้านบอเกาะ หมู่ 2 ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส ทำให้สมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาสประกาศปิดการเรียนการสอนโรงเรียนประถมทั่วทั้งจังหวัดเป็นการชั่วคราว
ขณะเดียวกัน ช่วงเช้ามืดของวันที่ 29 พ.ย. และ 3 ธ.ค. โรงเรียนบ้านบางมะรวด และโรงเรียนบ้านท่าสู อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ถูกวางเพลิง ทำให้อาคารเรียนได้รับความเสียหาย
 
ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดคำถามถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยครูที่ต้องสังเวยชีวิตไปแล้ว 155 ราย บาดเจ็บ 151 ราย และการคุ้มครองโรงเรียนซึ่งถูกเผาไปแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ครั้ง ตลอดเกือบ 9 ปีของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 
 
"ทีมข่าวอิศรา" รวบรวมข้อมูลจากฝ่ายความมั่นคง แกนนำครู องค์กรภาคประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่ เพื่อไขปริศนา "ทำไมครูถูกฆ่า" และมาตรการดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รัฐมีช่องโหว่อย่างไร
   
ไขปริศนาทำไมต้องฆ่าครู
ก่อนจะวิเคราะห์มาตรการ รปภ. ต้องเริ่มจากการค้นหาคำตอบก่อนว่าเหตุใดครูถึงตกเป็นเป้าหมายของการทำลายชีวิต ซึ่งพอสรุปสาเหตุได้ดังนี้
 
1."ครู" ถือเป็นเป้าหมายบุคคล ซึ่งนอกจากจะเป็นเป้าหมายอ่อนแอ คือมีความเสี่ยงสูง เพราะต้องเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน และโรงเรียนกลับบ้านด้วยเส้นทางซ้ำๆ กันในเวลาเดียวกันทุกวัน ทั้งยังแทบไม่มีทางต่อสู้กับผู้ที่จ้องประทุษร้ายได้แล้ว ครูยังเป็นสัญลักษณ์การศึกษาของรัฐไทย การโจมตีเอาชีวิตครูจึงมีความหมายการปฏิเสธรัฐไทยของฝ่ายก่อความไม่สงบที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนได้อย่างชัดเจนและง่ายที่สุด
 
2.กว่า 90% ของครูที่ถูกลอบทำร้าย ถูกกระทำบนถนนระหว่างการเดินทางไปสอนหรือกลับบ้าน แต่แทบไม่เคยมีการบุกยิงครูที่บ้าน ทั้งๆ ที่ฝ่ายผู้ก่อการมีศักยภาพกระทำได้ สะท้อนให้เห็นว่าคนร้ายต้องการก่อเหตุเพื่อดิสเครดิตมาตรการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายความมั่นคง และเพื่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน (ข้าราชการครู กับฝ่ายความมั่นคง) เป็นหลัก
 
3.สังคมไทยเชิดชูครูในฐานะ "บุคลากรที่มีคุณค่า" มีความเสียสละ เปรียบดั่ง "เรือจ้าง" ที่แจวเรือพาลูกศิษย์ส่งถึงฝั่งคนแล้วคนเล่าโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ การลอบทำร้ายครูจึงเป็นเรื่องสะเทือนใจและกลายเป็นข่าวโด่งดังทุกครั้ง สมประโยชน์ของกลุ่มผู้ก่อเหตุที่ต้องการสร้างสถานการณ์ให้เป็นข่าวอยู่แล้ว ดังที่เคยมีคำกล่าวว่า "ยิงครู 1 ศพ สะเทือนทั้งสามจังหวัด และยังเขย่าไปถึงทำเนียบรัฐบาลด้วย"
 
ทั้งหมดสอดรับกับทฤษฎีการต่อสู้ของคนกลุ่มน้อยที่ใช้ยุทธวิธี "ก่อการร้าย" เนื่องจากไม่มีกองกำลังขนาดใหญ่พอที่จะรบกับกองกำลังของรัฐชาติได้ จึงต้องฉวยโอกาสใช้การก่อเหตุเล็กๆ แต่สามารถสร้างแรงกดดันไปถึงรัฐบาลของรัฐชาติ ด้วยหวังให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายต่อคนกลุ่มน้อย หรือยอมรับเงื่อนไขหรือข้อเรียกร้องในบริบทที่ตนเองต้องการ
 
รปภ.ครู 5 พันชุดต่อวัน
การ รปภ.ครู เป็นหนึ่งใน 10 เป้าหมายพิเศษของภารกิจรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินซึ่งฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้รับผิดชอบ โดย 10 เป้าหมายดังกล่าวประกอบด้วย ชุมชนเมือง ชุมชนไทยพุทธ วัด พระ โรงเรียน ครู เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า รถไฟ และเขื่อน
 
ปัจจุบันการ รปภ.ครูถือว่าใช้กำลังแบบเต็มพิกัดของหน่วยที่รับผิดชอบพื้นที่แต่ละพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา เพราะนอกจากจะมีชุด รปภ.ที่เดินทางไปพร้อมกับครูแล้ว ยังมีชุดลาดตระเวนล่วงหน้า ทั้งชุดลาดตระเวนเดินเท้าและใช้ยานพาหนะ กับมีชุด รปภ.บริเวณโรงเรียนช่วงก่อนและหลังจากที่คณะครูไปถึงโรงเรียนอีกด้วย
 
ข้อมูลจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ระบุว่า ในแต่ละวัน มีกำลังพลทั้งทหาร ตำรวจ ทหารพราน อาสารักษาดินแดน (อส.) และกองกำลังประจำถิ่น ปฏิบัติหน้าที่เป็น "ชุดคุ้มครองครู" มากถึง 5,000 ชุดต่อวัน โดยมีเป้าหมายการคุ้มครองครูทั้งสิ้นกว่า 2 หมื่นคน โรงเรียนกว่า 1,300 โรง
 
ผ่ามาตรการ รปภ.ครู
สำหรับมาตรการ รปภ.ครู เท่าที่ปฏิบัติกันมา สรุปได้ดังนี้
 
1.วางกำลัง 2 ระดับ คือ กำลังสำหรับตรวจตราเส้นทาง เฝ้าระวังตามจุดเสี่ยงหรือจุดล่อแหลมระหว่างจุดนัดพบครูกับโรงเรียน และกำลังที่จัดเป็นชุดปฏิบัติการติดตามครู ซึ่งจะเดินทางพร้อมกับครู
 
2.ชุด รปภ.ที่เป็นชุดติดตามครู จะมีทั้งที่ใช้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ มีกำลังพลพร้อมอาวุธครบมือ ขับประกบทั้งหน้าและหลังคณะครู ซึ่งในคณะก็มีทั้งครูที่ขับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือว่าจ้างรถสองแถวเพื่อเดินทางพร้อมกัน
 
3.กำลังพลชุดตรวจตราเส้นทาง มีหน้าที่เฝ้าระวังบุคคลต้องสงสัย คนแปลกหน้าที่อาจรอดักซุ่มยิง รวมทั้งวัตถุต้องสงสัยที่อาจเป็นระเบิดฝังไว้ใต้ผิวถนน หรือถูกวางไว้ริมถนน เสาป้ายสัญญาณจราจร หลักกิโลเมตร หรือตามศาลาที่พักริมทาง
 
4.จัดกำลังเป็นชุดเคลื่อนที่เร็วดูแลพื้นที่ข้างเคียงเส้นทางที่คณะครูใช้เดินทาง
 
ช่องโหว่ทางยุทธวิธี
ปัญหาที่ทำให้มาตรการ รปภ.ไม่ประสบความสำเร็จหรือมีช่องโหว่ให้คนร้ายก่อเหตุประทุษร้ายครูได้ แบ่งเป็น
 
1.ช่องโหว่โดยสภาพ ได้แก่ เส้นทางระหว่างบ้านครูกับจุดนัดพบเจ้าหน้าที่ชุด รปภ.ซึ่งมีหลายครั้งที่เกิดเหตุร้ายขึ้น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะให้เจ้าหน้าที่ไปรับครูจากบ้านของแต่ละคน วิธีการที่ใช้คือนัดพบกันในย่านชุมชนในตำบลหรืออำเภอนั้นๆ เมื่อครูมาครบจึงเดินทางไปพร้อมกัน ทำให้เส้นทางระหว่างบ้านครูแต่ละคนถึงจุดนัดพบกลายเป็น "ช่องโหว่" เพราะครูต้องเดินทางเพียงลำพัง แม้จะมีความพยายามจัดกำลังลาดตระเวนตามถนน แต่ก็ทำไม่ได้ครอบคลุมทุกสาย
นอกจากนั้น ทั้งจุดนัดพบและเส้นทางที่ใช้เดินทางไปโรงเรียนมักเป็นจุดเดียวกันและเส้นทางเดียวกันทุกวัน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล หลายโรงเรียนมีถนนเข้าถึงเพียงสายเดียว ทำให้ชุด รปภ.ไม่มีทางเลือกที่จะหลีกเลี่ยงหรือสับเปลี่ยนเส้นทางได้เลย
 
2.ช่องโหว่โดยพฤติกรรม ได้แก่ ครูบางพื้นที่ไม่ต้องการให้มีกำลังของฝ่ายความมั่นคงติดตาม จึงจับกลุ่มเดินทางกันเอง เพราะคิดว่าปลอดภัยกว่า แล้วให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง รปภ.ตามเส้นทางเท่านั้น 
ขณะเดียวกัน ยังมีครูอีกจำนวนหนึ่งที่ปฏิเสธการอยู่ในแผน รปภ. เพราะเป็นคนในพื้นที่ จึงค่อนข้างมั่นใจในความปลอดภัย และบางรายมีบ้านอยู่ใกล้โรงเรียนมาก แต่นั่นได้กลายเป็นช่องโหว่ เพราะมีครูในกลุ่มนี้หลายรายที่ถูกลอบยิง
 
3.ปัญหาเรื่องการสื่อสาร ที่ผ่านมาครูกับเจ้าหน้าที่ชุด รปภ.อาจติดต่อสื่อสารกันน้อยเกินไป โดยเฉพาะครูที่ต้องเดินทางนอกช่วงเวลา รปภ. เช่น มีธุระส่วนตัว หรือมีกิจกรรมเสริมที่โรงเรียน พฤติกรรมที่พบคือครูมักเกรงใจ ไม่ค่อยแจ้งให้เจ้าหน้าที่ชุด รปภ.ทราบ ขณะที่มีข้อมูลจากแกนนำครูบางรายระบุว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงสับเปลี่ยนกำลังบ่อยเกินไป ทำให้ครูไม่รู้จักและไม่รู้เบอร์โทรศัพท์ของชุด รปภ.
 
มาตรการเสริมและเยียวยา
จากสถิติที่ผ่านมาชี้ว่า ครูที่ถูกลอบทำร้ายเกือบทั้งหมดเดินทางคนเดียว หรืออยู่นอกแผน รปภ.ด้วยเหตุผลต่างๆ ตามที่กล่าวมา ด้วยเหตุนี้จึงมีมาตรการเสริมหลังเกิดวิกฤติสังหารครูเที่ยวล่าสุด ดังนี้
 
1.สร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ชุด รปภ.กับครู โดยบางพื้นที่ของ จ.นราธิวาส พยายามจัดชุด รปภ.ประกบครูแบบตัวต่อตัว เพื่อเพิ่มความมั่นใจ
 
2.ห้ามเดินทางคนเดียวนอกแผน รปภ.ทุกกรณี หากมีความจำเป็นให้แจ้งขอกำลังเสริม
 
3.บางจังหวัด เช่น ปัตตานี มีการเปิดสายด่วนถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อครูไม่มั่นใจในความปลอดภัย สามารถโทรศัพท์แจ้งได้ทันที
 
4.จัดตั้ง "ชุดคุ้มครองตำบล" ดึงชาวบ้านและชุมชนร่วมดูแลครู พร้อมเพิ่มบทบาทคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งมีทั้งผู้ปกครอง ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำศาสนาร่วมเป็นกรรมการ ให้ร่วมวางมาตรการเพื่อสวัสดิภาพครู
 
สำหรับข้อเรียกร้องของครูในแง่ของสวัสดิการและการเยียวยา ในฐานะที่ต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยและมีโอกาสตกเป็นเป้าหมายของความรุนแรงได้ทุกเมื่อ คือ
- เพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยจาก 2,500 บาท เป็น 3,500 บาท
- เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
- เพิ่มเงินเยียวยากรณีเสียชีวิตเป็น 4.3 ล้านบาท
- ลดเกณฑ์การปรับวิทยฐานะของครูชายแดนใต้
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทัศนะจากเวทีการนำเสนอ "การเจรจาสันติภาพระหว่างมุสลิมมลายูและรัฐไทย" ปัตตานี

Posted: 12 Dec 2012 10:15 AM PST

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ห้องประชุมใหญ่ตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี ได้มีการจัดเวทีสัมมนาในหัวข้อ การเจรจาสันติภาพระหว่างมุสลิมมลายู และรัฐไทย เพื่อให้มีการวิพากษ์วิจารณ์บทความ และเนื้อหาของรายงาน "การเจรจาสันติภาพระหว่างมุสลิมมลายูและรัฐไทย"โดยมี อ.อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) อ.ประสิทธ์ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และ นายเอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี เป็นผู้ดำเนินรายการ

การนำเสนอครั้งนี้เริ่มต้นที่คุณดอน ปาทาน ได้พูดคุยถึงที่มาที่ไปในการจัดทำรายงานชิ้นนี้ว่า  ในเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มีความเหมาะสม เร็วๆ นี้ พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีได้ออกมาประกาศว่า จะมีการพูดคุยกันกับขบวนการแบ่งแยกดินแดน ข้อสังเกตคือว่า ในการประกาศครั้งนี้จะใช้คำว่า พูดคุย ไม่ได้ใช้คำว่าเจรจา โดยมีการกล่าวถึง ศอ.บต. จะรับงานในการพูดคุยครั้งนี้  อย่างไรก็ตามในส่วนของข่าวการเจรจานี้ก็ได้หายไป ซึ่งข้อมูลในรายงานฉบับนี้คือ ข้อมูลที่เคยมีการรายงานมาบ้าง แต่ประเด็นก็คือ เรื่องเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่บ่อยมาก เลยไม่ได้รับความสนใจจากประชาชน และในเรื่องดังกล่าวนี้ไม่เคยได้รับการยอมรับจากทางรัฐบาล

ต่อมาได้นำเสนอถึงพัฒนาการของการพูดคุยระหว่างรัฐบาลกับขบวนการ ในยุคทศวรรษ 80 เริ่มมีการพูดคุยกันแต่เป็นหน้าที่ของทางทหาร อย่างไรก็ตามหลังจากนโยบาย "ใต้ร่มเย็น" เหตุการณ์ดูเหมือนกับว่าสงบ แต่หลังจากนั้นได้เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนขึ้น ซึ่งช่วงนั้นอยู่ในช่วงของทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประสานไปกับมหาธีร์ ของมาเลเซีย เพื่อที่จะพูดคุยกับกลุ่มขบวนการที่ลังกาวี ในครั้งนั้นก็มีผู้ใหญ่จากไทยไปร่วมพูดคุยกันหลายรอบ ได้มีข้อเสนอยื่นออกมาจากการพูดคุย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาในสมัยของสรยุทธ์ได้มีกระบวนการเจนีวา โดยมีกลุ่มองค์กรอิสระจากเจนีวาเข้ามาเป็นตัวกลางในการประสาน ปัญหาในการพูดคุยในครั้งนั้นคือ ตัวแทนของรัฐไทยคือ สมช. ได้พูดคุยเพียงแค่บางกลุ่มของพูโล ซึ่งตอนนั้นได้แยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ถึง 3 กลุ่ม

ในสมัยของสมัคร ได้มีการขอความช่วยเหลือจากประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ทางอินโดนีเซียได้ส่ง ยูซุฟ คาลล่า โดยฝ่ายไทยได้ส่ง พลโทขวัญชาติ กล้าหาญ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ไปเป็นตัวแทน ซึ่งเป็นการพูดคุยอย่างลับๆ ในยุคของอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ได้ดำเนินการต่อจากสิ่งที่สรยุทธิ์ได้ทำไว้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นเช่นเดิม คือ ไม่มีใครเข้ามาร่วมด้วย เพราะในกลุ่มขบวนการเองก็แตกออกมาหลายกลุ่ม ซึ่งไม่มีกลุ่มใดสามารถเชื่อมต่อกับผู้ก่อการ หรือ จูแวได้ ต่อมาในสมัยของยิ่งลักษณ์ ได้มอบหมายงานให้กับ ศอ.บต. โดยในการทำงานของศอ.บต. มีทวีเป็นผู้ดูแลนั้นได้ใช้พวกนักการเมืองท้องถิ่นในกลุ่มวาดะฮ์เก่า ไปพูดคุยกับขบวนการแต่ก็ไม่สำเร็จ

คุณดอนได้กล่าวสรุปทิ้งท้ายไว้ว่า เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสามจังหวัด เป็นการต่อรองระหว่างกลุ่มขบวนการกับรัฐไทยที่ได้ตกขอบไปแล้ว  ทั้งนี้ขบวนการไม่พร้อมที่จะเจรจากับรัฐไทยโดยตรง แต่เมื่อทุกอย่างลงตัวแล้ว ก็อาจจะมีการพูดคุยบ้าง

ต่อมาคุณประสิทธิ์ ได้นำเสนอถึงประเด็นในการสร้างสันติภาพ ใครก็ตามที่จะสร้างสงครามมันต้องมีเงื่อนไข ไม่มีเงื่อนไขทำไม่ได้ ถึงดันทุรังทำไปก็ไม่สำเร็จ สันติภาพก็เหมือนกัน ถ้าเงื่อนไขไม่มีดิ้นรนกันไปก็ไม่เกิดสันติภาพ สำหรับเงื่อนไขของสันติภาพในขณะนี้ ครั้งหนึ่งได้มีตัวแทนจากอาเจะห์ มินดาเนา มานั่งคุยกันที่ปัตตานี แม้จะได้เป็นเขตการปกครองพิเศษแล้ว ก็ต้องเผชิญอยู่กับกลุ่มอำนาจ กลุ่มผลประโยชน์ในพื้นที่ ปะทะกันด้วยอาวุธมีอยู่ตลอดเวลา การจัดระเบียบของสังคมก็ไม่ต่างจากสังคมเดิมก่อนหน้า ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาเจะห์และมินดาเนานั้น อาจจะเป็นบทเรียนให้กับปัตตานี กระบวนการสันติภาพ ในปัตตานีจะเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ว่าให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหยุดนิ่ง แล้วให้ฝ่ายหนึ่งศิโรราบ เช่น ถ้าจะแก้ปัญหาในเรื่องของความขัดแย้ง ความรุนแรงในภาคใต้นี้ ไม่ใช่ให้ขบวนการ BRN ขบวนการพูโล ยอมสยบนิ่งเงียบ โดยส่วนตัวแล้วไม่ให้ด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะว่า เสี่ยงต่อการให้ประโยชน์กับผู้นำ เช่นว่าเราไปนั่งเจรจากันลับๆ นี้ ผมเชื่อว่าคนที่มีอุดมการณ์ ต่อสู้มายาวนานเกือบร้อยปี แล้วก็พยายามที่จะสามารถจัดตั้งองค์กร จนมีองค์กรที่สลับซับซ้อนถึงขนาดนี้ และมีระบบข่าวกรองที่ดีขนาดนี้ จะเอาผลประโยชน์ส่วนตัวแล้วมายุติการต่อสู้ลงอย่างง่ายดาย ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้ ซึ่งรัฐคิดว่าต้องพยายามหาหมายเลข 1 หมายเลข 2 แล้วมานั่งคุยกัน มายื่นข้อเสนอต่างๆ ในส่วนของประโยชน์ส่วนบุคคล ซึ่งไม่มีทางประสบความสำเร็จ ผู้ที่จะมานั่งเจรจากับรัฐคือผู้ที่หมดน้ำยาแล้ว ซึ่งจะทำให้ไม่ได้รับการยอมรับ

คุณประสิทธิ์ได้นำเสนอถึงกระบวนการสันติภาพไว้ได้อย่างน่าสนใจคือ ให้กลุ่มประชาสังคมมารวมกันเป็นเครือข่าย แล้วถกกันให้ลงตัว แล้วนำเสนอความคิดมาจากข้างล่าง เพราะฉะนั้นเจตนารมณ์ของมวลชนด้านล่างสุดนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าใครที่สามารถจับเจตนารมณ์มวลชนจริงๆ ได้ในระดับฐานล่างเป็นแนวทางหลักในการต่อสู้นี้ ฝ่ายนั้นจะได้รับชัยชนะ ถ้าหากว่าเราทำไปตามความรู้สึกของกลุ่มเราเอง โดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของมวลชนฐานล่างสุด โอกาสที่จะชนะนอกจากไม่มีแล้ว ในอนาคตจะเจ็บตัวด้วย กระบวนการที่จะนำไปสู่สันติภาพต้องคำนึงถึงฐานล่างสุดเป็นสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้นการจัดเวทีดูเจตนารมณ์ของประชาชน การจัดกลุ่มเพื่อมาช่วยกันคิดหาทางออกเป็นทิศทางที่ถูกต้องในระยะยาว

ต่อมาอาจารย์อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวงได้วิพากษ์รายงานและนำเสนอถึงเหตุการณ์สำคัญของกระบวนการเจรจาเพื่อนำไปสู่สันติภาพว่า  การเจรจาคือเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่สันติภาพ จำเป็นที่จะต้องกระทำอย่างเป็นความลับ เพราะมันไม่สามารถที่จะทราบได้ว่า ผลในตอนสุดท้ายจะเป็นอย่างไร สำเร็จหรือไม่ หรือล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า

ต่อมาอาจารย์ได้กล่าวถึงเนื้อหาของรายงาน พร้อมกันนั้นได้เสนอความคิดเห็น โดยเริ่มต้นจากส่วนของบทนำ ในส่วนที่ว่า (แต่ควรจะบันทึกไว้ด้วยว่า เนื่องจากขบวนการนี้ไม่มีฝ่ายการเมืองมาคอยให้การยืนยันการโจมตีของพวกเขาแต่ละครั้ง ดังนั้นจึงบอกไม่ค่อยได้แน่ชัดว่าการกระทำครั้งใดเป็นของนักรบจูแว) ในหลายๆ ครั้งที่เกิดเหตุการณ์แต่ไม่มีการประกาศ แต่นี้เป็นเทคนิคลับ ลวง พราง ของกลุ่มขบวนการ ซึ่งบางเหตุการณ์ก็มีการประกาศ และบางเหตุการณ์ไม่ประกาศ เช่น กรณีของการหยุดวันศุกร์ ถ้าคุณไม่ได้ทำ ทำไมคุณไม่ประกาศ ซึ่งผ่านไปหลายวันถึงจะประกาศในเว็บไซต์ว่า กลุ่มจูแวไม่ได้ทำ แต่มันก็ทำให้เกิดความเสียหายและความรู้สึกของประชาชนมาก แต่ผู้ที่เสียหายหนักก็คือรัฐบาล เพราะว่าดูแลความปลอดภัยของประชาชนไม่ได้ ในสายบุรีมีการระเบิดและประกาศหยุดวันศุกร์ ในสายบุรีเต็มไปด้วยทหาร แต่ชาวบ้านต้องอาศัยอยู่ในบ้านของตัวเองโดยที่ไม่กล้าออกไปไหน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แม้จะมีทหารอยู่เต็มไปหมด แต่ไม่สามารถที่จะประกันความปลอดภัยได้

ต่อมาในส่วนของบทที่ 1 เป็นบทของมหาธีร์ โมฮัมหมัด และ กระบวนการสันติภาพลังกาวี ซึ่งในการเจรจาครั้งนั้น กลุ่มขบวนการเสมือนว่าถูกบังคับให้ไป ถ้าไม่ไปคุณออกเดินทางออกจากมาเลเซีย แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมีบัตรประชาชนเป็นชาวมาเลเซียก็ตาม แต่มาเลเซียก็รู้ว่าไม่ใช่เป็นมาเลเซียดั้งเดิม ดังนั้นผู้ที่เข้าร่วมพูดคุยกับมหาธีร์เป็นผู้ที่ถูกบังคับให้เข้าร่วม ซึ่งการพูดคุยหรือการเจรจาสันติภาพต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการยินยอมและมีความเท่าเทียม ความเสมอภาค บนศักดิ์ศรีความเป็นนักสู้กับนักสู้ด้วยกัน แต่ที่เกิดขึ้นนี้ฝ่ายหนึ่งสูง อีกฝ่ายหนึ่งต่ำ ซึ่งไม่ได้

ในบทที่ 4 ในยุคของอภิสิทธิ์ เท่าที่ทราบเป็นความจำยอมของอภิสิทธิ์ที่ไม่เห็นด้วยกับการเจรจา ซึ่งอภิสิทธิ์ได้กล่าวว่าถ้าคุณอยากจะทำก็ทำผมไม่ขัดขวาง ดังนั้นจึงมีการใช้บารมีของคนบางคนที่อยู่ในปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคประชาธิปัตย์ นำเสนอรายชื่อได้ 2-3 คน คนแรกที่เป็นฝ่ายการเมืองเป็นนักวิชาการ คนที่สองคนที่อยู่ในสายความมั่นคง คนที่สาม เป็นคนที่อยู่ในฝ่ายความมั่นคงและเป็นนักวิชาการ ซึ่งในการเจรจาครั้งนั้นได้มีนายทหารเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งในการเจรจาครั้งนี้ถือว่าเป็นการเจรจาที่มีความสมบูรณ์ที่สุดที่มีทั้งนักการเมือง นักวิชาการ ทหาร กลุ่มองค์กรต่างประเทศ และสำหรับกลุ่มขบวนการที่เข้าไปพูดคุยก็มีขบวนการพูโลและบีอาร์เอ็น ซึ่งมีข้อเสนอในการหยุดยิง

บทที่ 5 ยุคของยิ่งลักษณ์และทวี สอดส่อง ก่อนที่จะมีการพูดคุยครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ที่คุยกันในกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งครั้งนั้นก็มีทุกกลุ่มที่เข้าไปร่วมด้วย เพราะโดนบังคับโดนสันติบาลมาเลเซียชัดเจน และบีอาร์เอ็นระดับหนึ่งในสิบก็เข้าไปด้วย ซึ่งในครั้งนั้นไม่มีทักษิณ แต่ก่อนหน้าที่จะมีการพูดคุย มีนักการเมืองอาวุโสบ้านเราได้พูดคุยในมาเลเซีย ในการเจรจาในเดือนมีนาคม ซำซุดดิง คานไม่ได้เข้าร่วมในการเจรจาเพราะคิดว่าตัวเองจะถูกใช้เป็นเครื่องมือ ซำซุดดิง คาน เป็นหัวหน้าพูโลอีกกลุ่มหนึ่ง

ในการทำงานของยิ่งลักษณ์ โดยให้ทวีเป็นตัวหลักนี้ ถือว่าเป็นการทำงานที่มีความเสี่ยงมาก เป็นการเอายอดพีระมิด ยอดสูงสุดเป็นที่ตั้ง ถ้าเกิดว่าพัง ก็พังทั้งหมด ทำไมกระบวนการสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ค่อยเป็นค่อยไปต่างจากกรณีของอาเจะห์และติมอร์ เลสเต โดยในกรณีของการเคลื่อนไหวในติมอร์ เลสเต นักเคลื่อนไหวในติมอร์ เลสเต เคยเจอในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นักเคลื่อนไหวชาวติมอร์ในช่วงก่อนได้รับเอกราช 15 ปี ซึ่งมีกระบวนการที่จะนำไปสู่เอกราชโดยเดินทางไปวอชิงตัน ไปที่รัฐสภาอเมริกา เพื่อที่จะหาทางออกให้กับติมอร์ แต่ไม่เคยพบเห็นมากนักในกรณีของนักเคลื่อนไหวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะไปสู่นานาชาติเพื่อที่จะหาทางออกให้กับพวกเรา

ทั้งนี้ข้อเสนอจากการพูดคุยในเดือนมีนาคม ข้อสรุปจากการพูดคุยโดยสรุปคือ ข้อที่ 1 ปล่อยนักโทษการเมือง ข้อที่สองยกเลิกแบ็กลิสต์ ข้อที่สามยกเลิก พ.ร.ก. ข้อที่สี่ถอนทหารออกจากพื้นที่ ทุกข้อเสนอถูกยอมรับ ยกเว้นข้อที่สี่ที่ต้องใช้เวลานาน เมื่อการพูดคุยตกลงกันเรียบร้อย สัญญาว่า 1 เดือน จะให้คำตอบ แต่ผ่านไปสามถึงสี่เดือน ยังไม่ได้รับคำตอบ เพราะว่ารัฐไทยยังไม่เข้าใจในกระบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ แต่รัฐไทยเข้าใจมากกว่า ตามทัศนะของผู้บรรยาย

มีบทหนึ่งที่น่าสนใจ ตามหาสะแปอิง บาซอ น่าสนใจตรงที่ว่า ถ้าเจรจาหรือพูดคุย จะไปพูดคุยกับใคร ในมุมมองส่วนตัว ยิ่งท้าทายถ้าหากเราไม่รู้ว่าใครเป็นหัวหน้า จำเป็นต้องใช้วิทยปัญญาให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ไม่ใช้ปัญญา แล้วไปใช้แต่ปืนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มันจะเจอกันที่ไหน เพราะว่าปืนมาก็ปืนไป แรงบ้างไม่แรงบ้างเป็นเรื่องปกติ นี้คือสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นคิดว่าศักยภาพของขบวนการไม่ใช่ธรรมดา ไม่ใช่โจรกระจอก ไม่ใช่พวกว่างงาน แม้แต่หัวหน้ายังหาไม่เจอแต่เกิดเรื่องทุกวัน มันคืออะไร อันที่สองความเข้มแข็งของรัฐไทย จนทำให้กระบวนการสันติภาพเกิดขึ้นได้ยาก ฉะนั้นสัญญาณเชิงบวกจะต้องเกิดขึ้น สัญญาณเชิงบวกที่เกิดจากกลุ่มขบวนการมีอยู่ลางๆ ถึงแม้ว่าไม่ชัดทั้งหมดทุกกลุ่มแต่ก็ยังมีเป็นลางๆ จากกระบวนการสันติภาพ 4-5 ปีที่ผ่านมาว่า ยินดีที่จะมีการพูดคุยอย่างเสมอเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีของนักต่อสู้เพื่อปัตตานีและนักต่อสู้เพื่อรัฐไทย ต่อมาในส่วนของความไม่เข้าใจในกระบวนการพูดคุยและเจรจา ซึ่งตรงนี้ในส่วนของฐานล่างต้องทำความเข้าใจให้มากที่สุด เพื่อไปผลักดันแนวคิดทางการเมืองให้กับผู้ที่อยู่ทางด้านบนให้เข้าใจว่าพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีคนตายไปแล้วกว่า 5,000 คน

จาก 5 รัฐบาลที่ผ่านมาการพูดคุยถูกทำให้เป็นเรื่องลับ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครกล้าพูดถึง เป็นเรื่องของชนชั้นนำ และก็ยุติลงบนกลุ่มของชนชั้นนำ โดยที่ประชาชนทั่วไปไม่สามารถที่จะรับรู้ถึงข้อเสนอ หรือความเป็นไปในการพูดคุยของทั้งสองฝ่าย ซึ่งถือเป็นความล้มเหลว เนื่องด้วยการเจรจาไม่สามารถที่จะส่งผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดแล้ว ความรุนแรงที่สิ้นสุดบนโต๊ะเจรจา ยังคงเป็นความปรารถนาอันสูงสุดของผู้แสวงหาสันติภาพ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม' ความต่างที่เราจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน (1)

Posted: 12 Dec 2012 09:58 AM PST

อับดุรเราะฮหมาน  มูเก็ม พาเราเดินทางพูดคุยกับความต่างและความหลากหลายทางความเชื่อที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติแล้วนำย้อนกลับมามองความขัดแย้งในบ้านของเรา

*****

ผมเริ่มออกจากห้องพักแบกกระเป๋าไปยังเมืองอักรา ในช่วงเช้าตรู่ของวันหยุดสุดสัปดาห์ ผมใช้เวลาว่างไปทำธุระและพบเจอเพื่อนที่ผมรู้จักมักคุ้นคนหนึ่งในช่วงสมัยที่เราเรียนด้วยกันที่ R.B.S. COLLEGE ,BHIM RAO DR. AMBEDKAR UNIVERSITY เมืองอักรา SANJIVNEE เธอเป็นหญิงสาวชาวฮินดู เป็นเพื่อนร่วมห้องของผมและเป็นเพื่อนอินเดียคนเดียวที่ผมสนิท

ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านของเธอที่อยู่ไม่ไกลจากคิวรถประจำทางระหว่างรอรถกลับห้องพักที่เมืองอาลีกัร

 คำถามแรกที่หญิงสาวผู้นี้ถามผม ว่า "ทานอะไรได้บ้าง ?" ผมเริ่มเข้าใจคำถามเหล่านั้นดี เพราะเธอก็รู้ว่า "เราต่างไม่เหมือนกันในด้านหลักการศรัทธา" โลกเราดำรงท่ามกลางความหลากหลาย จึงไม่แปลกที่หญิงสาวผู้นั้น ถามผมและเพื่อนอีกสองสามคนที่ไปด้วยว่า "เราทานอะไรได้บ้าง ?" มันเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้เราได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีพลัง

เราไม่มีคำตอบอย่างอื่น นอกจาก "มังสวิรัติ" หรือ "อาหารเจ" เพราะเป็นทางเลือกที่ง่ายที่สุดสำหรับเราที่เป็นมุสลิมในการกินและเป็นเรื่องที่สะดวกที่สุดสำหรับครอบครัวฮินดูที่ไม่เคยเนื้อสัตว์ หรือ ที่เขามักเรียกกันจนเราติดปากว่า "Non-Vegetarian"

เราได้เจอกับครอบครัวที่เป็นชาวฮินดู ครอบครัวของหล่อนไม่เคยทานเนื้อสัตว์และมันก็เป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับเราที่จะไปทานเนื้อในชุมชนที่ไม่ใช่มุสลิม เพราะการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ทั้งหมดในมุมของอิสลาม นั่นก็หมายความว่า ต้องผ่าน "การเชือดตามหลักการอิสลาม"เท่านั้น มุสลิมอย่างเราจึงจะรับประทานได้ (ยกเว้นอาหารทะเล เช่น จำพวกปลา กุ้ง หมึก ไม่ต้องเชือด)

ขณะเรานั่งไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับครอบครัวของหญิงสาวผู้นี้ ทุกอย่างก็ลงเอยไปด้วยดี ญาติบางคนของหล่อนทำงานอยู่ในประเทศไทย บ้างก็เรียนหนังสือ และที่สำคัญกว่านั้น พี่ชายของหล่อนเคยไปทำงานที่ประเทศไทยมาแล้ว ระยะหนึ่ง จึงเป็นเรื่องง่าย ที่เราจะเข้าใจกัน หลังจากเราละหมาดมักริบในช่วงพลบค่ำแถบชุมชนบ้านฮินดู (หล่อนจัดสถานที่พิเศษไว้ให้มุสลิมอย่างเราได้ละหมาด แยกจากห้องที่เราทานข้าว เพราะหล่อนให้เหตุผลว่า ห้องนอนอาจไม่สะอาด และอาจรบกวนความรู้สึกของแขกอย่างเราในการให้บริการ)

เราเริ่มเดินทางออกจากบ้าน ทุกคนในบ้านเดินมาส่งที่คิวรถประจำทาง เราได้รับดอกไม้สีเหลืองคนละหนึ่งดอก มันคือ "ดอกดาวเรือง"[2] เหตุผลก็เพราะว่า "เพื่อให้พระเจ้าของหล่อน (ในศาสนาฮินดู)ได้คุ้มครองพวกเราในการเดินทาง"  เราหันมองหน้ากัน ด้วยความรู้สึกอึ้งและมึนงง แต่ในช่วงเวลานั้น "น้ำใจแห่งเพื่อนมนุษย์นับ เป็นสิ่งที่สำคัญและยิ่งใหญ่เสมอ"

ผมก็ยื่นมือไปรับและกล่าวขอบคุณ ในส่วนลึกผมก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจเล็กน้อย เพราะ"ดาวเรือง คือ สัญลักษณ์แห่งความเป็นฮินดู" ในขณะความเชื่อของเราคือ"อิสลาม"แต่ ในมุมมองและความรู้สึกช่วงนั้น "เราต่างเป็นมนุษย์และเพื่อนร่วมโลก"

"สิ่งที่หยิบยื่นมา ย่อมสำคัญและจริงใจเสมอจากสหาย" ผมจึงหยิบ แล้ว นึกในใจว่า"หยิบมาก่อน เพราะยังไงเราก็ไม่ได้ศรัทธาแบบนั้น" พอหยิบมาแล้ว ค่อยเอาเก็บไว้ที่ไหนสักแห่งหรือทิ้งหายไปก็ไม่เห็นจะแปลกหรือน่าเกลียด ทว่ามันจะ "น่าเกลียดและน่าสมเพศตัวเอง" มากกว่า หากการหยิบยื่นของมิตรสหายด้วยความหวังดี โดนตัดทอนด้วยความรู้สึกแห่ง "การชิงชังและการปฏิเสธ"

ผมคิดได้แค่เพียงว่า "เราเก็บความต่างไว้เพื่อเรียนรู้ เราเก็บความรู้สึกดีไว้เพื่อบอกความชัดเจนแห่งอิสลาม เราเก็บการให้เกียรติกันเพื่อดำรงไว้ซึ่งแบบฉบับอันดีงามแห่งอิสลาม เราปรนนิบัติต่อเพื่อนมนุษย์เสมือนสหายร่วมโลก เพราะทุกอย่าง ล้วนออกมาจากความหวังดีแห่งมิตรภาพ"

อาจจะน่าเป็นห่วงกว่า หาก "เรากลับทิ้งดอกไม้ดอกนั้นไง้ต่อหน้าเขาหรือเราปฏิเสธที่จะรับอาจทำให้เพื่อนร่วมโลกต้องลำบากใจ" เพราะเราไม่มีเวลาพอจะอธิบายอิสลามที่เราศรัทธาหรือสิ่งที่เราเชื่อให้เขาเห็นและรับรู้ ทว่า เราก็ไม่มีสิทธิจะทำร้ายความรู้สึกและความดีงามแห่งมิตรภาพด้วย  หากมันไม่ร้ายแรงถึงขั้นทำลาย "หลักการศรัทธา(อากีดะฮ์)แห่งอิสลาม"

ผมเริ่มปริยิ้มและดีใจที่หาทางออกในชั่วโมงเร่งด่วนแบบนั้นด้วยการหยิบดอกไม้มาด้วย ทว่า "การทิ้งดอกไม้ อาจหมายถึงการตัดมิตรภาพของพวกเรา"  ระหว่างรถเริ่มออกจากานชะลา ผมได้หวนคิดไปถึงสยามประเทศที่เรามักประสบปัญหาลักษณะนี้มามากต่อมาก และเรื่องราวแบบนี้ มันคือ "มิติแห่งความหลากหลาย" ที่ในอีกมุมหนึ่งเราไม่ได้จัดการอย่างลงตัว กระทั่ง มันกลายเป็น "เชื้อไฟแห่งคามชัง ความรุนแรงและการฆ่าฟันกันอย่างเลือดเย็น"

หลายต่อหลายครั้งที่สถานการณ์ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกอธิบายแห่งการไม่เข้าใจระหว่างกัน ไม่สนใจในความเป็น "พุทธ-มุสลิม" ไม่เปิดใจในความเป็น "รัฐไทย-กลุ่มขบวนการ" ไม่เรียนรู้ในความไม่เหมือนเรื่อง "ความเป็นมาลายู-ซีแย" (มุสลิมที่พูดมาลายูไม่ได้) ไม่คำนึงในความเป็นอิสลาม "สายใหม่-สายเก่า" กระทั่งเรา "ห้ำหั่นกัน"

"เมื่อความรุนแรงปรากฏกายในเงามืด "เรา" ต่างประสบชะตากรรมเดียวกัน"

จากข้อมูลของ "ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ชายแดนใต้" ที่ได้เขียน สคริปต์โดย "รอมฏอน ปันจอร์" และอำนวยการผลิตโดย "สภาประชาสังคมชายแดนใต้" ระบุว่า

จากมกราคม ๒๕๔๗ ถึง พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เกือบ ๘ ปี มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นทั้งสิ้น ๑๑,๓๓๒ เหตุการณ์ มีผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งสิ้น ๔,๙๘๔ ราย มีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งสิ้น ๘,๓๑๑ ราย 

เฉลี่ยแล้วในวันหนึ่ง ๆ มีผู้เสียชีวิต ๑.๗ คน หรือราว ๆ เกือบ ๒ คน / วัน  ในจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นมุสลิม ๕๙ เปอร์เซ็น หรือประมาณเกือบ ๓,๐๐๐ คน ผู้สูญเสียเป็นพุทธ ๓๘ เปอร์เซ็น หรือประมาณ เกือบ ๒,๐๐๐ คน

ในจำนวนผู้บาดเจ็บเป็นมุสลิม ๓๒ เปอร์เซ็น หรือประมาณ ๒,๖๐๐ กว่าคน  ในจำนวนผู้บาดเจ็บเป็นพุทธ ๖๐ เปอร์เซ็น หรือกว่า ๕,๐๐๐ คน ราษฏร – คนธรรมดาสามัญ ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงมากที่สุด หรือ ราว ๕๐ เปอร์เซ็นของเป้าโจมตี  ในขณะที่ทหารและตำรวจมีอยู่เพียง ๑๓ เปอร์เซ็น เด็กกำพร้า ๔,๗๐๐ คน หญิงหม้าย ๒,๒๐๐ คน 

ความจริงไทยมุสลิมกับไทยพุทธในสยามประเทศต่างก็มีบทเรียนไม่ต่างกัน นั่นก็คือ การเป็นชนกลุ่มน้อยของกันและกัน

ในสังคมสยามประเทศ มุสลิมคือ ชนกลุ่มน้อย  และในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไทยพุทธ คือ ชนกลุ่มน้อย  กระทั่ง สองอย่างนี้ คือ บทเรียนที่ต่างคนต่างได้เรียนรู้มาเท่ากันและสูญเสียมาไม่ต่างกัน ทว่าผลพวงแห่งความรุนแรงทั้งหมดเหล่านี้ กลายเป็นคำถามอย่างเดียวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ นั่นก็คือ ความไม่เหมือนระหว่างไทยพุทธ-ไทยมุสลิม

"เราจะอยู่ร่วมกันได้ไหม หากได้แล้ว ได้อย่างไร  (เมื่อทั้งสอง ต่างมีบทเรียนมาไม่ต่างกันและสูญเสียมาเกือบจะเท่ากัน) ?"

มีการย้ายถิ่นฐานทั้งภายในภูมิภาคและภายนอกภูมิภาคของชาวพุทธประมาณ  ๓๐เปอร์เซ็น  มีการย้ายถิ่นฐานทั้งภายในภูมิภาคและนอกภูมิภาคของมุสลิม ประมาณ ๑๐เปอร์เซ็น  "คดีความมั่นคง" ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ – ตุลาคม ๒๕๕๔ ทั้งสิ้น ๘,๑๙๘ คดี ในจำนวนนี้มีเพียง ๒๔ เปอร์เซ็น หรือเกือบ ๒,๐๐๐ คดี ที่รู้ตัวผู้ก่อการ 

คดีความมั่นคงตั้งแต่ ๒๕๔๗ - ตุลาคม ๒๕๕๔ ทั้งสิ้น ๘,๑๙๘ คดี ในจำนวนนี้จับกุมตัวได้ประมาณ ๑๗ เปอร์เซ็น ๑,๓๘๕ คดี เจ้าพนักงานสอบสวนส่งฟ้องเพียง ๒๐ เปอร์เซ็น หรือ ๑,๖๔๑ คดี  ศาลพิพากษาลงโทษในคดีความมั่นคงเพียง ๕๕ เปอร์เซ็น หรือประมาณ ๒๔๓ คน และคดียกฟ้อง ๔๕ เปอร์เซ็น หรือประมาณ ๒๔๑ คน

เราต่างผ่านอะไรมาเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นช่วง ๒๕๔๗ คดีปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ ๔ , คดีอุ้มหายทนายสมชาย นีละไพจิตร ,เหตุการณ์ยิงถล่มมัสยิดกรือเซะ,เหตุการณ์นองเลือดที่ ตากใบ,เหตุการณ์ปิดเมืองยะลา, เกิดกรณีอพยพของชาวไทยมุสลิมไปยังมาเลเซียประมาณ ๑๓๑ คน , สังหารครูประสาน ชูมาก,ทำร้ายครูจูหลิง,กราดยิงรถตู้ยะหา-บันนังสะตา,ฆ่าทหารที่ตันหยงลิมอ,ชุมนุมประท้วงที่มัสยิดกลางปัตตานี ,กรณีซ้อมทรมานนักศึกษายะลา อิสมาแอ เดะ, กรณียะผา กาเซ็งและอื่น ๆ อีกมากมาย

ความรุนแรงเดินไปสู่ขั้นวิกฤติภายใต้ ๖ นายกรัฐมนตรี ,๖ คน ผู้บัญชาการทหารบก, ๗ คน ของแม่ทัพภาคที่ ๔ , ๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, ใต้การทำงานของหลายหน่วยงานเจ้าภาพในการดับไฟใต้ ไม่ว่าจะเป็น กอ.รมน.ภาค ๔ /พตท./ศอบต./กอ.สสส.จชต./ศบ.ชต./ศชต. ผ่านการดำเนินงานของ กฎหมายพิเศษ/กฎอัยการศึก/พรบ.ความมั่นคง/พรก.ฉุกเฉิน

กองกำลังของรัฐทั้งทหารและตำรวจมากกว่า ๖๐,๐๐๐ นาย ใช้งบประมาณภาครัฐทั้งสิ้น๑๔๔,๐๐๐ ล้านบาท

เมื่อทั้งหมดนี้  "ไร้กระบวนการทำความเข้าใจ มันคือที่มาแห่งการตัดราก สะบั้นเหง้ากันเหมือนอย่างที่เห็น"

"อัสกัร อาลี แอนจิเนีย" (Asghar Ali Engineer) นักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาสังคมคนสำคัญของอินเดียได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจในวารสาร "The Nation and The World"ประจำเดือน เมษายน วันที่ ๑๖ ปี ๒๕๕๕ ในประเด็น "The Need For Inter-Religious Dialogue" ว่า

"โลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย มักสร้างให้มนุษย์อย่างเรามีกรอบความคิดและแนวทางกับขับเคลื่อนสังคมและการดำเนินชีวิตไปอย่างไม่หยุดยั้ง ผ่านความเป็น โลกาภิวัตน์ ความเป็นสากล ความเป็นประชาธิปไตย แม้กระทั่ง ความเป็นรัฐชาติ สิ่งเหล่านั้น มักเป็นเครื่องยืนยันถึงความสวยงามของโลก ทว่า ในมุมกลับกัน หากมนุษย์ไม่ได้ทำความเข้าใจหรือ ไดอะล็อก แน่นอน มันคือ ฉนวนแห่งสงครามกลางเมือง"[3]

 


[1] ปริญญาตรีการเมืองการปกครองคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี , ปริญญาโทวิชาเอกปรัชญาการเมืองอิสลาม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอาลีกัรมุสลิม,อินเดีย  ปัจจุบัน เป็นนักเดินทางและใช้ชีวิตด้วยการอ่านหนังสือ บทกวี การเขียนเรื่องสั้นลงนิตยสาร บทความเว็บไซต์ งานวิจัยและงานวิชาการตามโอกาสและวาระที่พบเห็นและเผชิญ เขียนเมื่อ 3-12-2012 ณ ห้องเช่าริมกุโบร์,อินเดีย

[2] ดอกไม้เพื่อบูชาเทพเจ้าของศาสนาฮินดู

[3] หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก The Nation and The World(The Fortnightly Newsmagazine), Asghar Ali Engineer ,"The Need For Inter-Religious Dialogue" ,April ; 16,Vol.19,489  P.18-19

 

 

 

ที่มา: Patani Forum

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โรงเรียนของรัฐควรเป็นเสมือนโรงเรียนของชุมชน

Posted: 12 Dec 2012 09:48 AM PST

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสฑูตมุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้ชมทุกท่าน

การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษยชาติ เพราะการศึกษาเปรียบเสมือนดวงประทีปส่องนำชีวิต เป็นประตูของความสำเร็จ และเป็นกุญแจแห่งอารยธรรม

สมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกาศปิดโรงเรียน และยื่นมติ 8 ข้อ ต่อนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2555 ทีปัตตานี

สำหรับการศึกษาชายแดนใต้นั้นในการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาในสถานการณ์ความไม่สงบที่กำลังยกระดับความรุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่นการเผาโรงเรียนของรัฐ  การสังหารครูหลายร้อยศพและล่าสุดกลางเดือน พฤศจิกายน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่ากำชำ  อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ก็เป็นรายล่าสุด จนทำให้ สมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกาศปิดโรงเรียน และยื่นมติ 8 ข้อ ต่อนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(จาก  http://news.ch7.com/detail/14335) ไม่เพียงแต่ครูโรงเรียนของรัฐเท่านั้นอุสตาซหรือครูสอนศาสนาก็ถูกสังหารและโดนจับหลายร้อยคนเช่นกัน

จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมใน เวทีวิพากษ์นโยบายสาธารณะ: การศึกษาชายแดนใต้ ณ ห้องประชุมสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยะลา  เมื่อวันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งจัดโดยสภาประชาสังคมชายแดนใต้  ได้อธิบายภาพรวมของการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ ว่า การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีพื้นฐานสามหลักคิดคือหรือสามองค์ประกอบคือ บูรณาการการศึกษา การศึกษาเพื่อศีลธรรมและการศึกษาเพื่อพหุวัฒนธรรม  (Integrational Education, Moral Character, and Multiculturalism)

ในกระบวนการศึกษา นั้นตั้งอยู่บนฐานแนวคิดดังกล่าว การศึกษาทั้งในปฐมวัย ระดับประถม และมัธยม ต้องทำให้เกิดการศึกษาทางศาสนา สามัญศึกษาและอาชีวะซึ่งเน้นทั้งความเข้มข้น ในทางการศึกษาทั้งทางด้านศีลธรรม และความเข้มข้นทางวิชาการทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์  (Intensive and Integrative Religious and Secular Educational Processes) เพื่อพัฒนาคนที่มีคุณธรรมตามคุณธรรมตามประเพณี และศาสนาและ มีความสามารถในการแข่งขันในการพัฒนา

เป้าหมายสูงสุดที่จะปรากฏในการศึกษาระดับอุดมศึกษาและสถาบันวิชาการชั้นสูงในจังหวัดชายแดนภาคใต้คือความเป็นเลิศในทางการวิจัยและองค์ความรู้ทางวิชาการ มีความเป็นสากลเพื่อรองรับประชาคมนานาชาติ อาเซียนและมีคุณธรรม (Exellence, Metropolitan, and Moral Charaaters

ในตัวแบบกระบวนการการทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีกระบวนการย่อยๆที่รองรับทั้งสามระดับ คือปฐมวัย   การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวะศึกษา และในระดับสูงคือการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย ทุกระดับจะเชื่อต่อกันเพื่อนำไปสู่การพัฒนา การศึกษาในสถานการณ์ความขัดแย้ง แผนกลยุทธ์ แผนงาน โครงการจะสร้างขึ้นบนพื้นฐาน กระบวนการดังกล่าว

จากถอดบทเรียนเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันดังกล่าวยังพบว่าการจัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ปรับปรนเข้ากับยุคโลกาภิวัตรและสามารถเปิดประสู่ประชาคมอาเซี่ยนอย่างเท่าทันโดยควรมีนโยบายการพัฒนานโยบายสาธารณะดังนี้

1. ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง มุ่งให้คนทุกคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง  ตลอดชีพ และมีคุณภาพทั้งด้านวิชาสามัญ วิชาชีพ และศาสนา ทั้งในระบบ  นอกระบบ และตามอัธยาศัยพร้อมทั้งสอดคล้องกับวิถีชุมชน มีความรู้ความสามารถ และสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารกันได้อย่างถูกต้องชัดเจน มีความรู้ภาษามลายูกลาง  ท้องถิ่น   ภาษาอังกฤษเพื่อสู่ประชาคมอาเซี่ยน และหากเป็นไปได้มีความรู้ภาษาภาษาจีนกลาง เพื่อการสื่อสาร ติดต่อและเจรจาธุรกิจ มีความสามารถในการประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมบนพื้นฐานของศาสนาที่ถูกต้อง โดยสำรวจข้อมูลและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนเป็นรายบุคคล และจัดทำแผนงาน โครงการรองรับในทุกระดับและประเภทของการศึกษา ในขณะเดียวกันมีการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโดยเฉพาะกรรมการสถานศึกษาระดับรากหญ้าให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ในการจัดการตนเองในการจัดการศึกษาของชุมชน โดยสภาประชาสังคมควรจัดเวทีการจจัดการตนเองด้านการศึกษา 

2. ใช้ตำบลเป็นพื้นที่เป้าหมาย มุ่งให้เกิดการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันในตำบล ทั้งหน่วยงานและบุคลากรของรัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทุกภาคส่วน โดยสำรวจทรัพยากรทางการศึกษา จัดทำแผนการศึกษาที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬาระดับตำบล และจัดให้มีคณะพัฒนาการศึกษาประสานงานการศึกษาระดับตำบลที่เชื่อมโยงทุกมิติ โดยมีสถาบันอุดมศึกษา วิทยาลัยชุมชน และสถาบันอาชีวศึกษาเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ

3. การพัฒนาสถานศึกษาของรัฐ ควรทำให้โรงเรียนของรัฐเป็นเสมือนโรงเรียนของชุมชนโดยให้ความสำคัญกับคณะกรรมการสถานศึกษาและเป็นฐานการฟื้นฟูระบบโรงเรียนแบบพหุศาสนิกให้มีความพร้อมด้วยคุณภาพทางการศึกษาทุกด้านโดยเฉพาะด้านวิชาการแต่สามารถนำหลักศาสนามาบูรณาการกับวิถีชีวิตและอยู่ร่วมกับต่างศาสนิกได้  อันเนื่องมาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามโดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษานักเรียนทั้งหมดเป็นมุสลิมทำให้การแยกตัวของสังคมมากขึ้นในขณะที่โรงเรียนของรัฐมิได้สนองการเรียนรู้ตามวิถีที่ชุมชนต้องการดังนั้นหากโรงเรียนของรัฐเองจะต้องปรับหลักสูตรการเรียนให้สนองความต้องการของชุมชนด้วยเพราะในแง่วิชาการโรงเรียนเอกชนปัจจุบันไม่ได้น้อยหน้าโรงเรียนของรัฐถึงแม้งบประมาณการจัดการศึกษาของรัฐจะมากกว่า ในขณะเดียวกันควรส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาของรัฐกับชุมชน  มัสยิด เช่นชุมชนใดต้องการจัดการเรียนศาสนาระดับตาดีกา  เรียนอัลกุรอาน ซึ่งมีสถานที่ไม่พอ สามารถใช้อาคารเรียนของโรงเรียนที่ว่างในตอนเย็นและเสาร์-อาทิตย์จัดการศึกษาและสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาเทียบโอนในวิชาศาสนาของโรงเรียนได้เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีและสามารถประหยัดงบประมาณของรัฐและชุมชนได้มาก

หากโรงเรียนเป็นของชุมชนอย่างแท้จริงปัญหาการเผาโรงเรียนจะน้อยลงหรือไม่มีอย่างเช่นสถาบันปอเนาะหรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ไม่เคยได้ยินว่าสถานศึกษาเหล่านนั้นถูกเผา  และครูก็จะเป็นครูของชุมชนซึ่งชุมชนจะช่วยเป็นเกราะกำบังให้  ส่วนมาตราการการรักษาความปลอดภัยทางทหารก็ไม่จำเป็นในที่สุด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ออกทางประชาธิปไตย

Posted: 12 Dec 2012 09:33 AM PST

ไหนๆ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ประกาศแล้วว่า พร้อมจะต่อสู้คดีสลายการชุมนุมที่มีประชาชนตายจากเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมาย แม้ศาลจะตัดสินประหารชีวิตก็พร้อมยอมรับ และท้าทายว่าคุณทักษิณก็ต้องไม่หนีกฎหมายด้วย

แต่ถ้าสมมติว่า ฝ่ายตรงข้ามทำรัฐประหารรัฐบาลอภิสิทธิ์ แล้วตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งดำเนินการเอาผิดคดีสั่งฆ่าประชาชนกับคุณอภิสิทธิ์ เป็นไปได้ที่คุณอภิสิทธิ์ พรรคประชาธิปัตย์ และบรรดาประชาชนที่สนับสนุนจะไม่ยอมรับการดำเนินคดีเช่นนั้น เพราะเห็นว่ารัฐประหารคือการล้มระบอบประชาธิปไตย ทำลายระบบนิติรัฐ การดำเนินการเอาผิดจากรัฐประหารย่อมไม่มีความชอบธรรม

ฉะนั้น คุณทักษิณ พรรคเพื่อไทย และบรรดาผู้สนับสนุนก็อาจจะคิดแบบเดียวกับคุณอภิสิทธิ์ในเรื่องสมมติดังกล่าว เขาจึงหนีกฎหมายที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ปัญหาในเวลานี้คือ ถ้าจะดำเนินคดีกับคุณอภิสิทธิ์ เขาก็จะอ้างได้ว่าทำไมถึงทำกับเขาเท่านั้น แต่ปล่อยคุณทักษิณลอยนวล ในขณะเดียวกันถ้าอีกฝ่ายจะเรียกร้องให้เอาคุณทักษิณมาลงโทษตามที่ศาลตัดสินไปแล้ว ฝ่ายคุณทักษิณก็จะอ้างได้อยู่นั่นแหละว่า ยอมรับไม่ได้เพราะเขาถูกทำรัฐประหาร และถูกดำเนินการเอาผิดโดยไม่ชอบด้วยหลักนิติรัฐ นิติธรรม ในที่สุดก็จะอ้างกันไปกันมาแบบนี้ไม่สิ้นสุด ไม่พบทางออกที่ยุติด้วยหลักการได้

ทางออกที่ยุติด้วยหลักการ จึงต้อง "ออกทางประชาธิปไตย" ต้องยึดประชาธิปไตยเป็นตัวตั้ง นั่นคือทำให้คุณทักษิณได้รับสิทธิต่อสู้ทางกฎหมายใน "มาตรฐานเดียว" กับคุณอภิสิทธิ์ คือสิทธิในการพิสูจน์ตนเองตามกระบวนการยุติธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ให้เอาคดีต่างๆ ของคุณทักษิณเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเลย ไม่ว่าเรื่องใดๆ รวมทั้งเรื่องกรือเซะ ตากใบ ฆ่าตัดตอนยาเสพติดตามที่กล่าวหากัน

วิธีออกทางประชาธิปไตยในกรณีนี้ ตรงไปตรงมาเลยควรกลับไปหาข้อเสนอของนิติราษฎร์เรื่องให้ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร" โดยให้ถือว่ารัฐประหาร 19 กันยาเป็นโมฆะ การดำเนินการเอาผิดคุณทักษิณด้วยกระบวนการสืบเนื่องจากรัฐประหารก็เป็นโมฆะด้วย แล้วให้ยกคดีความเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในมาตรฐานเดียวกับคุณอภิสิทธิ์ คุณทักษิณและคุณอภิสิทธิ์จึงจะมีความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย

ในขณะเดียวกันก็ให้ดำเนินคดี (ที่มีการแจ้งความไปแล้ว) กับแกนนำเหลือง-แดงในมาตรฐานเดียวกัน ส่วนชาวบ้านธรรมดาที่ทำผิดกฎหมายด้วยเหตุจูงใจทางการเมืองก็ให้นิรโทษกรรมพวกเขาเสีย

แต่การออกทางประชาธิปไตยด้วยการทำให้ทุกฝ่ายเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมายเพียงเท่านี้ยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบสังคมการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ด้วย นั่นคือต้องปฏิรูปรัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวกับสถานะ อำนาจ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยสากลด้วย

วิธีดำเนินการอาจทำได้ด้วยการปรับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศขึ้นมาใหม่ ให้มีคุณหมอประเวศ วะสี คุณอานันท์ ปันยารชุน อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการฝ่ายเสื้อเหลือง เสื้อแดง ฝ่ายเป็นกลาง เป็นคณะกรรมการทำ "พิมพ์เขียวปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยสากล" โดยเฉพาะ จากนั้นก็ให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ ผลออกมาอย่างไรทุกฝ่ายต้องยอมรับ

ทุกวันนี้สังคมถูกตรึงอยู่กับความขัดแย้งแตกแยก แต่ละฝ่ายต่างเล่มเกมยื้อกันไปยื้อกันมาทำให้ปัญหาสลับซับซ้อน จนมองไม่เป็นทางออก ทั้งที่ทางออกตามหลักการนั้นมีอยู่ คือต้องออกทางประชาธิปไตย ด้วยการทำทุกอย่างให้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย

สรุป ที่เสนอมานี่ก็ไม่คิดว่าใครเขาจะเอาด้วยในตอนนี้หรอกครับ แต่ผมก็จนด้วยเกล้าจริงๆ ว่าเราจะออกจากปัญหาความขัดแย้งทางไหน หากไม่ออกทางประชาธิปไตย!

 

 

 

ยูนิเซฟเรียกร้องให้ยุติรุนแรงต่อเด็กในชายแดนภาคใต้

Posted: 12 Dec 2012 09:25 AM PST

12 ธันวาคม 2555 กรุงเทพฯ  เจ้าหน้าที่องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) เรียกร้องให้ยุติการกระทำรุนแรงต่อเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในทันที หลังทารกหญิงวัย 11 เดือนเป็นหนึ่งในบรรดาผู้เสียชีวิตห้ารายจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ณ ร้านขายน้ำชาแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

พิชัย ราชภัณฑารี ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย ประณามการสังหารครั้งนี้ว่าเป็น "การกระทำที่น่าเศร้าสลดใจ ไร้เหตุผล และไม่สามารถยอมรับได้" ทั้งยังเรียกร้องให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย "ร่วมกันทำทุกวิถีทางที่จะหยุดยั้งการกระทำรุนแรงและทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งหลายเหล่านั้น"

ทารกเพศหญิง อินฟานี สาเมาะ ถูกสังหารขณะกลุ่มชายใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิงเข้าใส่ร้านน้ำชาในอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสเมื่อตอนสายของวันอังคารที่ผ่านมา ทั้งนี้ เด็กกว่า 50 คนถูกสังหาร และกว่า 340 คนได้รับบาดเจ็บนับตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 โดยมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงรวมทั้งหมดแล้วกว่า 5,000 คน

เมื่อปลายเดือนตุลาคมของปีนี้ เด็กชายวัย 11 ขวบคนหนึ่งถูกสังหารพร้อมพ่อในรถกระบะระหว่างถูกลอบทำร้ายโดยกลุ่มชายติดอาวุธที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

"ทุกครั้งที่มีเด็กถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บ ทุกครั้งที่เด็กสูญเสียพ่อแม่หรือญาติพี่น้อง และทุกครั้งที่โรงเรียนและครูของพวกเขาถูกโจมตี เด็กๆในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้นเท่านั้น" ราชภัณฑารีกล่าว "การยุติความรุนแรงทั้งหมดเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าสิทธิของเด็กทุกคนที่อยู่ในภาคใต้ได้รับความคุ้มครองและเอาใจใส่อย่างสมบูรณ์เต็มที่"

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูนิเซฟเรียกร้องให้ยุติรุนแรงต่อเด็กในชายแดนภาคใต้

Posted: 12 Dec 2012 09:24 AM PST

12 ธันวาคม 2555 กรุงเทพฯ  เจ้าหน้าที่องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) เรียกร้องให้ยุติการกระทำรุนแรงต่อเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในทันที หลังทารกหญิงวัย 11 เดือนเป็นหนึ่งในบรรดาผู้เสียชีวิตห้ารายจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ณ ร้านขายน้ำชาแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

พิชัย ราชภัณฑารี ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย ประณามการสังหารครั้งนี้ว่าเป็น "การกระทำที่น่าเศร้าสลดใจ ไร้เหตุผล และไม่สามารถยอมรับได้" ทั้งยังเรียกร้องให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย "ร่วมกันทำทุกวิถีทางที่จะหยุดยั้งการกระทำรุนแรงและทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งหลายเหล่านั้น"

ทารกเพศหญิง อินฟานี สาเมาะ ถูกสังหารขณะกลุ่มชายใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิงเข้าใส่ร้านน้ำชาในอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสเมื่อตอนสายของวันอังคารที่ผ่านมา ทั้งนี้ เด็กกว่า 50 คนถูกสังหาร และกว่า 340 คนได้รับบาดเจ็บนับตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 โดยมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงรวมทั้งหมดแล้วกว่า 5,000 คน

เมื่อปลายเดือนตุลาคมของปีนี้ เด็กชายวัย 11 ขวบคนหนึ่งถูกสังหารพร้อมพ่อในรถกระบะระหว่างถูกลอบทำร้ายโดยกลุ่มชายติดอาวุธที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

"ทุกครั้งที่มีเด็กถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บ ทุกครั้งที่เด็กสูญเสียพ่อแม่หรือญาติพี่น้อง และทุกครั้งที่โรงเรียนและครูของพวกเขาถูกโจมตี เด็กๆในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้นเท่านั้น" ราชภัณฑารีกล่าว "การยุติความรุนแรงทั้งหมดเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าสิทธิของเด็กทุกคนที่อยู่ในภาคใต้ได้รับความคุ้มครองและเอาใจใส่อย่างสมบูรณ์เต็มที่"

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูนิเซฟเรียกร้องให้ยุติรุนแรงต่อเด็กในชายแดนภาคใต้

Posted: 12 Dec 2012 09:23 AM PST

12 ธันวาคม 2555 กรุงเทพฯ  เจ้าหน้าที่องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) เรียกร้องให้ยุติการกระทำรุนแรงต่อเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในทันที หลังทารกหญิงวัย 11 เดือนเป็นหนึ่งในบรรดาผู้เสียชีวิตห้ารายจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ณ ร้านขายน้ำชาแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

พิชัย ราชภัณฑารี ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย ประณามการสังหารครั้งนี้ว่าเป็น "การกระทำที่น่าเศร้าสลดใจ ไร้เหตุผล และไม่สามารถยอมรับได้" ทั้งยังเรียกร้องให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย "ร่วมกันทำทุกวิถีทางที่จะหยุดยั้งการกระทำรุนแรงและทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งหลายเหล่านั้น"

ทารกเพศหญิง อินฟานี สาเมาะ ถูกสังหารขณะกลุ่มชายใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิงเข้าใส่ร้านน้ำชาในอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสเมื่อตอนสายของวันอังคารที่ผ่านมา ทั้งนี้ เด็กกว่า 50 คนถูกสังหาร และกว่า 340 คนได้รับบาดเจ็บนับตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 โดยมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงรวมทั้งหมดแล้วกว่า 5,000 คน

เมื่อปลายเดือนตุลาคมของปีนี้ เด็กชายวัย 11 ขวบคนหนึ่งถูกสังหารพร้อมพ่อในรถกระบะระหว่างถูกลอบทำร้ายโดยกลุ่มชายติดอาวุธที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

"ทุกครั้งที่มีเด็กถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บ ทุกครั้งที่เด็กสูญเสียพ่อแม่หรือญาติพี่น้อง และทุกครั้งที่โรงเรียนและครูของพวกเขาถูกโจมตี เด็กๆในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้นเท่านั้น" ราชภัณฑารีกล่าว "การยุติความรุนแรงทั้งหมดเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าสิทธิของเด็กทุกคนที่อยู่ในภาคใต้ได้รับความคุ้มครองและเอาใจใส่อย่างสมบูรณ์เต็มที่"

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ขุนทุนอู' เยือนเมืองลา หวังเป็นกาวใจเชื่อมสัมพันธ์กองกำลังในรัฐฉาน

Posted: 12 Dec 2012 06:07 AM PST

ขุนทุนอู ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตยและคณะ ได้เดินทางเยือนเมืองลา เขตปกครองของกองกำลังเมืองลา ทางภาคตะวันออกของรัฐฉานตั้งแต่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา การเยือนเมืองลาในครั้งนี้ ขุนทุนอูหวังเป็นกาวใจเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มติดอาวุธที่เคลื่อนไหวอยู่ในรัฐฉาน

มีรายงานว่า ขุนทุนอู ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตย (Shan National League for Democracy – SNLD) และคณะอีก 7 - 8 คน ได้เดินทางเยือนเมืองลา เขตปกครองของกองกำลังเมืองลา( NDAA) ทางภาคตะวันออกของรัฐฉานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะเยือนเมืองลา ในช่วงเช้าของวันเดียวกัน ขุนทุนอูได้เป็นประธานเปิดสำนักงานสาขาพรรค SNLD ประจำเมืองเชียงตุง ขณะที่การเยือนเมืองลาในครั้งนี้ ขุนทุนอูหวังเป็นกาวใจเชื่อมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นระหว่างกลุ่มติดอาวุธที่เคลื่อนไหวอยู่ในรัฐฉาน

การเยือนเมืองลา ซึ่งเป็นเขตปกครองของกองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย หรือ กองกำลังเมืองลา (National Democratic Alliance Army – NDAA) ของขุนทุนอูเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา เกิดขึ้นมาจากหลังการประชุมใหญ่ของชาวไทใหญ่ที่จัดขึ้นที่กรุงย่างกุ้ง ระหว่างวันที่ 26 – 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่ทำให้พรรค SNLD มีแนวคิดที่จะพบปะกับทุกกลุ่มที่เคลื่อนไหวอยู่ในรัฐฉาน

แหล่งข่าวรายงานว่า ขุนทุนอูหวังเป็นตัวกลางเชื่อมสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างกลุ่มติดอาวุธในรัฐฉาน 4 กลุ่ม อันได้แก่สภากอบกู้รัฐฉาน / กองทัพรัฐฉาน (RCSS/SSA) กองทัพรัฐฉาน "เหนือ" (Shan State Army - SSA) กองกำลังเมืองลา NDAA และกองทัพว้า (United Wa State Army-UWSA) ป๋างซาง  และหวังจะเปิดโอกาสให้ทั้ง 4 กลุ่มได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกัน

มีรายงานว่า การเยือนเมืองลาครั้งนี้ยังต้องการที่จะอธิบายให้ทางกลุ่มเมืองลาเข้าใจถึงท่าทีทางการเมืองและการทำงานของทางพรรค SNLD เช่นเดียวกับทางกองกำลังเมืองลาที่ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับพรรค SNLD ซึ่งการเยือนครั้งนี้ ขุนทุนอูและคณะ ซึ่งประกอบไปด้วยลูกพรรค SNLD และตัวแทนจากสภากอบกู้รัฐฉาน / กองทัพรัฐฉาน (RCSS/SSA) ได้เข้าพบปะกับเจ้าจายลืน ผู้นำกองกำลังเมืองลา โดยขุนทุนอูได้เยือนเมืองลาเป็นเวลา 3 วัน

อย่างไรก็ตาม แผนการเยือนเมืองป๋างซาง เขตปกครองของว้าต้องล้มเลิก เนื่องจากทางว้า UWSA ได้ติดต่อกลับมาหาทางคณะของทุนทุนอูว่า ยังไม่พร้อมที่จะให้การต้อนรับการมาเยือนของขุนทุนอู หากมาเยือนเขตปกครองว้าในฐานะผู้นำพรรคหรือองค์กร แต่ระบุ ขุนทุนอูสามารถเยือนเขตว้าได้ หากเป็นการเยือนแบบส่วนตัว

ขณะที่ขุนทุนอูเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ได้รับการยอมรับจากชาวไทใหญ่ เคยถูกจับและถูกรัฐบาลทหารพม่าตั้งข้อหาสมคบพรรคการเมืองนอกกฎหมายและบ่อนทำลายชื่อเสียงประเทศ โดยถูกกุมขังอยู่เป็นเวลาเกือบ 8 ปี ก่อนที่ะจะได้รับการปล่อยตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา หลังได้รับการปล่อยตัว ก็หวนกลับคืนสู่เส้นทางการเมืองและยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองและทำงานเพื่อประชาชนชาวไทใหญ่อย่างต่อเนื่อง

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ทักษิณ' ส่งทนายแจ้งความ 'เสธ.อ้าย-ส.ส.ปชป.' หมิ่นประมาท

Posted: 12 Dec 2012 05:25 AM PST

ทนายทักษิณ เข้าแจ้งความกับ สน.ดุสิต เอาผิด 'เสธ.อ้าย - วิฑูรย์ ส.ส.ปชป.' ในข้อหาหมิ่นประมาท จากกรณีเปิดคลิปอ้างเสียงทักษิณหมิ่นเบื้องสูงเผยแพร่ในการชุมนุมและอภิปรายพาดพิงเส้นทางเงิน

วันนี้(12 ธ.ค.55) ที่สถานีตำรวจนครบาลดุสิต นายวรวิชญ์ หล้าแหล่ง ผู้รับมอบอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางมายื่นเอกสารจ่าหน้าซองถึงผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลดุสิต เพื่อแจ้งความร้องทุกข์ในการดำเนินคดี 2 เรื่อง โดยซองแรก แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับ "เสธ.อ้าย" พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) พร้อมกับพวก ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 24 พ.ย.55 ในเวลากลางวัน บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ได้มีกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม และภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันชุมนุมทางการเมือง โดยได้ร่วมกันปราศรัย ระหว่างการปราศรัยมีบางช่วงบางตอนได้มีการเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนที่ร่วมฟังการปราศรัยให้ฟังคลิปเสียงจาบจ้วง แล้วหลังจากนั้นได้นำรูปที่มีคลิปของบุคคลอื่น และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะเสียงประกอบภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นคลิปเสียงดังกล่าว

ส่วนซองที่สอง ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี กับนายวิฑูรย์ นามบุตร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พ.ย.55 ที่อาคารรัฐสภา ถ.อู่ทองใน เขตดุสิต กทม. ในช่วงที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และพล.อ.สุกำพล สุวรรณฑัต ซึ่งในการอภิปรายดังกล่าว ได้มีการกล่าวพาดพิงถึงเส้นทางการเงินไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพำนักอยู่ที่ประเทศดูไบ จึงทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เสียหาย

นายวรวิชญ์ กล่าวว่า ได้รับมอบให้มาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งทางพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ก็ได้รับเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าว และจะนำมาพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 

(เรียบเรียงจาก คมชัดลึกออนไลน์ และ เดลินิวส์ เว็บ)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิตยสารอิระวดี วางขายในพม่าเป็นครั้งแรก

Posted: 12 Dec 2012 01:38 AM PST

นิตยสารอิะรวดี เปิดตัวและวางขายในพม่าเป็นครั้งแรก ปรากฏว่า ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมากและเป็นนิตยสารขายดีตามแผงหนังสือ โดยการเปิดตัวใหม่ที่พม่าครั้งนี้ นับเป็นการเปิดตัวนิตยสารอิระวดีอย่างถูกกฏหมายเป็นครั้งแรกในพม่า ขณะที่ก่อนหน้านี้ ในยุครัฐบาลทหาร นิตยสารอิระวดีและเว็บไซต์อิรวดีเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับประชาชนในพม่า

ทั้งนี้ เนื้อหาในนิตยสารอิระวดี (Irrawaddy) ประกอบด้วยข่าว บทความ บทวิเคราะห์ทางการเมืองรวมทั้งทั้งสิ้น 60 หน้า หลายคนติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวในพม่าผ่านทางนิตยสารอิระวดี วินติน หนึ่งในอดีตนักโทษทางการเมืองและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรรคเอ็นแอลดี ซึ่งถูกกุมขังอยู่ในคุกเป็นเวลา 19 ปีเปิดเผยว่า เขาเองเคยอ่านนิตยสารอิรวดีตอนที่ถูกกุมขังอยู่ในคุกโดยการแอบนำนิตยสารเข้าไปอย่างผิดกฏหมาย นายวินตินระบุ นิตยสารอิรวดีได้ทำหน้าที่ได้อย่างดีตลอดเวลาที่ผ่านมา

"สื่อพม่าส่วนใหญ่ถูกเข้มงวด ดังนั้นจึงมีนิตยสารอิรวดีที่ผมสามารถติดตามข่าวสารข้อมูล เนื่องจากเป็นนิตยสารที่กล้าวิจารณ์และวิเคราะห์ให้เห็นว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในพม่า" นายวินตินกล่าว

ขณะที่ตีฮา ซอ บรรณาธิการสำนักข่าว the Open News journal กล่าวว่า การกลับมาตีพิมพ์อีกครั้งของนิตยสารอิรวดีและเผยแพร่ในพม่าจะช่วยทำให้สื่อในพม่ามีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นด้วย โดยยังกล่าว เป็นเรื่องที่ดี ที่หากนิตยสารอิรวดีสามารถรักษาคุณภาพ โดยยังกล่าวว่า คอลัมน์โปรดที่เขาให้ความสนใจคือคอลัมน์การ์ตูนของหาญเล นักวาดการ์ตูนชาวไทใหญ่ รวมถึงคอลัมน์สารคดีพิเศษและบทความ

นิตยสารอิรวดีก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 โดยตีพิมพ์เป็นนิตยสารรายเดือนจนกระทั่งถึงปี 2553 ได้ตีพิมพ์เป็นนิตยสารรายสามเดือนเป็นเวลา 1 ปี และต่อมา เน้นหันมาให้ความสนใจเผยแพร่ข่าวสารและบทความทางเว็บไซต์มากกว่า

จ่อ สว่า โม บรรณาธิการด้านภาษาอังกฤษของนิตยสารอิรวดีกล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นที่จะได้เห็นผู้อ่านในพม่าได้อ่านนิตยสารอิรวดีอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ถือเป็นการทดสอบเสรีภาพสื่อในพม่า โดยจ่อ สว่า โม ยังระบุ ทางอิรวดีจะยังคงนำเสนอเรื่องที่เป็นความจริง ประเด็นอ่อนไหวหรือการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นสำคัญที่เห็นว่ามีความสำคัญต่อประชาชนในพม่า

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'หมอชนบท' ติงนโยบายแช่แข็งงบ สปสช. 3 ปี ทำระบบสาธารณสุขเสียหาย

Posted: 11 Dec 2012 10:40 PM PST

หมอชนบทเคลื่อนไหวเตรียมข้อมูลผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลไม่เพิ่มงบเหมาจ่ายระบบบัตรทอง 3 ปี แต่กลับเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้ รพ.ในพื้นที่ จะทำให้ระบบบริการสาธารณสุขและระบบหลักประกันสุขภาพของไทยที่เคยเข้มแข็ง เสียหายครั้งใหญ่ นัดเข้าชี้แจง รมว.สาธารณสุข แต่ถูกปฏิเสธการเข้าพบ

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ  นักวิชาการในเครือข่ายหมอ รพ.ชุมชน และผู้อำนวยการ รพ.จะนะ จ.สงขลา กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายแช่แข็งงบเหมาจ่ายรายหัว สปสช.เป็นเวลา 3 ปี ว่าจะทำให้ รพ.ของรัฐในชนบทหยุดการพัฒนาเพราะประสบปัญหารายรับลดลงรายจ่ายเพิ่มขึ้น คุณภาพการให้บริการแย่ลง ส่งผลให้คนพอมีเงินหนีไปใช้บริการ รพ.เอกชน ที่มีข่าวกลุ่มนายทุนกว้านซื้อไว้ทำกำไรในตลาดหุ้น เป็นนโยบายที่กระทบต่อชีวิตของผู้ป่วย  เรียกร้องให้ รมว. สาธารณสุขทบทวนนโยบายใหม่ก่อนที่จะเกิดความเสียหายจนแก้ไม่ได้

นพ.สุภัทร  กล่าวว่า ระบบสุขภาพไทยที่มีกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนระบบนั้น ถูกรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร โดยการแนะนำของกุนซือการเมือง แช่แข็งอย่างเงียบๆ ด้วยการไม่เพิ่มงบในระบบหลักประกันสุขภาพเป็นเวลา 3 ปี ทั้งๆ ที่ รพ.ของรัฐในพื้นที่มีรายจ่ายเพิ่ม เงินเดือนเพิ่ม ภาระผู้ป่วยก็เพิ่มขึ้นด้วย ในขณะที่รัฐบาลแช่แข็งงบประมาณระบบสุขภาพภาครัฐนั้น รัฐบาลกลับมีนโยบายส่งเสริมการเติบโตของภาคเอกชนภายใต้นโยบายเมดิคอลฮับ หวังดึงดูดชาวต่างชาติระดับวีไอพีเข้ามารักษาในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งกำลังส่งผลต่อการเกิดสมองไหลออกจากภาครัฐตามมา และนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบหลักตกกับประชาชน เมื่อคุณภาพบริการในโรงพยาบาลของรัฐลดลง บริการยังคงแออัด สถานพยาบาลดูซอมซ่อไม่ได้รับการพัฒนา คนชั้นกลางที่พอมีเงินก็เบื่อหน่ายและหันไปใช้บริการจากโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้นทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปีจะถดถอยกลายเป็นระบบอนาถา

"หรือนี่คือเบื้องหลังความคิดที่แท้จริงของรัฐบาลที่มีนายทุนโรงพยาบาลเอกชนอยู่เบื้องหลัง และหากคุณภาพของโรงพยาบาลด้อยลงไปบ้างใน 3 ปีนี้ ขอประชาชนอย่ามาโทษโรงพยาบาล แต่ให้รู้ว่า ต้นเหตุเพราะรัฐบาลแช่แข็งระบบสาธารณสุขไทย" นพ.สุภัทรกล่าว

นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทเปิดเผยว่า แพทย์และนักวิชาการที่ปฏิบัติงานให้บริการประชาชนอยู่ในพื้นที่ชนบทมีความวิตกห่วงใยถึงความเสียหายที่เกิดจากนโยบายเพิ่มรายจ่ายแต่แช่แข็งงบเหมาจ่ายรายหัวและงบลงทุนครุภัณฑ์ทางการแพทย์ตามโครงการเงินกู้ไทยเข้มแข็ง (DPL) ของรัฐบาล เพราะขณะนี้เริ่มมี รพ.หลายแห่งที่ประสบปัญหาทางการเงิน และขาดแคลนเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็น รพ.บางแห่งไม่มีเครื่องปั่นไฟฟ้าสำรองใช้ เพราะเครื่องเดิมหมดอายุใช้งานไม่ได้ และทางชมรมได้ติดตามรวบรวมข้อมูลความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับระบบบริการสาธารณสุขและระบบหลักประกันสุขภาพของไทย เพื่อขอเข้าพบ นพ.ประดิษฐ์  สินธวณรงค์  รมว.สาธารณสุข เมื่อต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาเพราะเห็นว่าเป็น รมว.ใหม่ เป็นความหวังที่จะทบทวนนโยบายใหม่ แต่ทุกคนผิดหวังที่ รมว.สาธารณสุขปฏิเสธไม่มีเวลาให้กับหมอที่ทำงานอยู่ในชนบทเข้าพบ 

"พวกเราไม่เข้าใจว่าทีเรื่องความเสียหายที่กำลังจะเกิดขึ้นกับระบบบริการกระทบกับผู้ป่วยโดยตรง รมว.สาธารณสุขกลับไม่มีเวลา แต่สนใจจะให้ตั้งรองเลขาธิการ สปสช.เพิ่มจากคนภายนอกให้ได้เพื่อดูแลการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และบอกในหลายเวทีว่าจะยุบกองทุนย่อยของ สปสช. ที่เป็นเครื่องมือสำคัญทำให้ผู้ป่วยโรคค่าใช้จ่ายสูง เช่น มะเร็ง ไตวาย เอดส์ โรคหัวใจเข้าถึงบริการได้ ทุกคนกำลังเป็นห่วงถึงความเสียหายที่จะเกิดกับระบบบริการสาธารณสุขของไทยและติดตามว่าเป็นเรื่องทุจริตเชิงนโยบาย เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจเอกชนหรือไม่" อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภัควดี วีระภาสพงษ์

Posted: 11 Dec 2012 10:09 PM PST

"ใครจะว่าอย่างไร จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตามแต่ แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ถ้าดำเนินคดีอภิสิทธิ์กรณีคนตายในการสลายการชุมนุมเดือนเมษา-พฤษภา 53 แล้ว ก็ควรดำเนินคดีทักษิณกรณีคนตายในการสลายการชุมนุมที่กรือเซะและตากใบในปี 2547 ด้วย"

11 ธ.ค.55, โพสต์สถานะบนเฟซบุ๊กส่วนตัว

เกาหลีเหนือประกาศว่าประสบความสำเร็จในการส่งจรวดปล่อยดาวเทียม

Posted: 11 Dec 2012 09:38 PM PST

สื่อทางการเกาหลีเหนือระบุการปล่อยจรวดอึนฮา-3 ประสบความสำเร็จ และสามารถส่งดาวเทียมขึ้นสู่กวางเมียงซง-3 ขึ้นสู่อวกาศ โดยยืนยันว่าเป็นดาวเทียมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ขณะที่ทั้งเกาหลีใต้-สหรัฐอเมริกามองว่าเป็นความพยายามทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกล โดย รมว.ต่างประเทศเกาหลีใต้แนะให้ไปพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แทนการพัฒนาขีปนาวุธและนิวเคลียร์

แฟ้มภาพศูนย์ควบคุม และฐานปล่อยจรวดโซแฮ เมืองโชซาน จังหวัดปยองอันเหนือ ของเกาหลีเหนือ ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อเดือนเมษายนเคยให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศเข้าไปเยี่ยมชม อย่างไรก็ตามการปล่อยจรวดในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ก่อนที่จะมีการปล่อยจรวดอีกครั้งในวันนี้ (ที่มา: KCNA)

แฟ้มภาพฐานปล่อยจรวดโซแฮ เมืองโชซาน จังหวัดปยองอันเหนือ ในเกาหลีเหนือ ในภาพเป็นการติดตั้งจรวดอึนฮา-3 (กาแลกซี่-3) สำหรับปล่อยดาวเทียมกวางเมียงซง-3 (ดาวจรัสแสง-3) เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการปล่อยจรวดในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ (ที่มา: KCNA)

 

วันนี้ (12 ธ.ค.) เมื่อเวลา 9.51 น. ตามเวลาเกาหลี (7.49 น. ตามเวลาในประเทศไทย) สำนักข่าวยอนฮัป ของเกาหลีใต้รายงานว่ามีการยิงจรวดจากฐานปล่อยจรวดในเกาหลีเหนือ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางการเกาหลีเหนือระบุว่า จรวดดังกล่าวเป็นจรวดสำหรับส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ แต่หลายชาติระบุว่าการปล่อยจรวดดังกล่าวเป็นการพัฒนาจรวดมิสไซล์พิสัยไกล

ต่อมาช่วงสายวันนี้ สำนักข่าวกลางเกาหลี (KCNA) ของทางการเกาหลีเหนือ ประกาศว่าวันนี้ ดาวเทียมกวางเมียงซง-3 (ดาวจรัสแสง-3) รุ่นที่ 2 ประสบความสำเร็จในการปล่อยจากศูนย์อวกาศโซแฮ เมืองโชซาน จังหวัดปยองอันเหนือ โดยใช้จรวดอึนฮา-3 (กาแลกซี่-3) ขนส่งดาวเทียมดังกล่าว สำนักข่าวกลางเกาหลี รายงานด้วยว่า ดาวเทียมได้เข้าสู่วงโคจรแล้ว

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. โฆษกของคณะกรรมการเทคโนโลยีอวกาศเกาหลี ของเกาหลีเหนือ ได้เผยแพร่แถลงการณ์ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรกำลังเร่งตรวจสอบถึงการเตรียมปล่อยจรวดกวางเมียงซง-3 รุ่นที่ 2 และดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งอยู่ในขั้นเตรียมการขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตามมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นในโมดูลเครื่องยนต์ของจรวด ทำให้มีการตัดสินใจเลื่อนการปล่อยจรวดออกไปจนถึงวันที่ 29 ธ.ค. แต่ในวันนี้ก็มีการตัดสินใจปล่อยจรวดดังกล่าว

ทั้งนี้ทางการเกาหลีใต้ได้ประณามการปล่อยจรวดของเกาหลีเหนืออย่างรุนแรง โดยสำนักข่าวยอนฮัป รายงานว่า ภายหลังการประชุมฉุกเฉินของสภาความมั่นคงแห่งชาติ นายคิม ซุง ฮวาน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ ได้อ่านแถลงการณ์ของรัฐบาลตอนหนึ่งกล่าวว่า "การปล่อยจรวดครั้งนี้ เป็นการละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เป็นการคุกคามต่อสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลีและโลก" พร้อมเรียกร้องให้เกาหลีเหนือรับผิดชอบ

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ขู่ด้วยว่าเกาหลีเหนือ "จะถูกโดดเดี่ยว" ในอนาคตจากประชาคมนานาชาติ และเรียกร้องให้ประเทศที่แร้นแค้นใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แทนที่จะเอามาใช้กับโครงการพัฒนาจรวดมิสไซล์และนิวเคลียร์

ทั้งนี้เกาหลีเหนือยืนยันว่ามีสิทธิในการใช้พื้นที่อวกาศอย่างสันติ และการปล่อยจรวดเป็นไปเพื่อส่งดาวเทียมทางด้านวิทยาศาสตร์ขึ้นสู่วงโคจร โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนเมษายน เกาหลีเหนือพยายามปล่อยจรวดอึนฮา-3 เพื่อส่งดาวเทียมกวางเมียงซง-3 รุ่น 1 ขึ้นสู่วงโคจรเช่นกันแต่ไม่ประสบความสำเร็จ (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

การปล่อยจรวดดังกล่าวถูกเฝ้าจับตามองจากทั้งเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยยอนฮัป รายงานว่า รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ คิม กวาน จิน ใช้คำว่า "การยิงจรวดพิสัยไกล" ของเกาหลีเหนือ ประสบความสำเร็จในการปลดชิ้นส่วนจรวดท่อนที่หนึ่งและท่อนที่สอง โดยทั้งเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกากำลังตรวจสอบว่าจรวดของเกาหลีเหนือเข้าสู่วงโคจรหรือไม่

ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า ศูนย์บัญชาการป้องกันอวกาศภาคพื้นอเมริกาเหนือ ของสหรัฐอเมริกา ออกแถลงการณ์ระบุว่ามีหลักฐานเบื้องต้นบ่งชี้ว่าจรวดมิสไซล์ดังกล่าวได้ส่งวัตถุซึ่งปราฏอยู่ในวงโคจรแล้ว นอกจากนี้สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาก็เตือนว่าเกาหลีเหนือจะต้องเผชิญ "ผลลัพธ์" ของการละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ อย่างไรก็ตามในแถลงการณ์ไม่ได้ระบุว่าการปล่อยจรวดของเกาหลีเหนือประสบความสำเร็จหรือไม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น