ประชาไท | Prachatai3.info |
- คำต่อคำสัมภาษณ์ 'อภิสิทธิ์' ใน 'บีบีซี': พ้อ-ไม่แฟร์ที่หาว่า "สั่งใช้กระสุนจริง" เท่ากับ "ฆ่าคน"
- เสวนาที่ Book Re:public: "สิทธิทางเพศและขบวนการเคลื่อนไหว" โดยอัญชนา และคำ ผกา
- ศาลยกคำร้อง 'ทรูมูฟ' ขอไม่จ่ายค่าปรับ กสทช. วันละแสน
- ศาสวัต บุญศรี: เสี้ยมคนฆ่ากันคือพันธกิจหลักของฉัน
- 'สสส.' แถลงร่วมองค์สิทธิระหว่างประเทศ ต้องปล่อยตัว 'สมยศ' ทันที
- วิธีเอาชนะทักษิณ
- ภาคประชาสังคมกับขบวนการเอกราชปาตานี : จุดร่วมและจุดต่าง
- อนุรักษ์กับทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย โดย ศศิน เฉลิมลาภ กับข้อโต้แย้งของ Book Re:public
- ลัดทำมะนูน
- เสวนา “เซ็นเซอร์ และสัญลักษณ์ในงานวรรณกรรม”
- ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น
- สลาวอย ชิเชคกับบทวิพากษ์ลัทธิคลั่ง(พระ)เจ้า
- อภิสิทธิ์ปฏิเสธไม่เคยเซ็นสั่งการ-ไม่เคยเป็นกรรมการ ศอฉ.
คำต่อคำสัมภาษณ์ 'อภิสิทธิ์' ใน 'บีบีซี': พ้อ-ไม่แฟร์ที่หาว่า "สั่งใช้กระสุนจริง" เท่ากับ "ฆ่าคน" Posted: 10 Dec 2012 09:46 AM PST แจงบทบาทช่วงสลายการชุมนุมปี 53 ไม่ยอมตอบหลังเจอพิธีกรจี้ถามว่าเสียใจที่สั่งใช้กระสุนจริงหรือไม่ แต่เลี่ยงตอบไปว่าเสียใจที่มีคนตาย ระบุยังไม่เชื่อว่าการเสียชีวิตคนส่วนใหญ่มาจากทหาร แต่มาจากกลุ่มติดอาวุธในที่ชุมนุม ยกตัวอย่างประเทศอื่นหากมีผู้เสียชีวิตในระหว่างชุมนุม นายกฯ ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ ในขณะที่กล่าวจะยอมรับผลการตัดสินหากศาลว่าผิดจริง
ที่มาของภาพ: คัดลอกจาก BBC World News เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 55 รายการ BBC World News ทางสถานีโทรทัศน์บีบีซีของอังกฤษ ได้เผยแพร่การสัมภาษณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อเรื่องการสั่งฟ้องและการมีส่วนรับผิดชอบในคดีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมที่มีสาเหตุจากเจ้าหน้าที่รัฐในระหว่างการสลายการชุมนุมเดือนพ.ค. 53 โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การใช้กำลังทหารและการใช้กระสุนจริงในระหว่างการสลายการชุมนุมเป็นเรื่องที่จำเป็น เนื่องจากมีกลุ่มติดอาวุธอยู่ในพื้นที่ชุมนุม หรือชายชุดดำ ซึ่งยิงใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และผู้ชุมนุม และยังกล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตราว 20 คน ที่สรุปได้แล้วว่า เสียชีวิตจากกลุ่มติดอาวุธภายในผู้ชุมนุม ผู้ดำเนินรายการ มิชาล ฮุสเซน ถามแย้งว่า แต่รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์ที่ทำการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้ว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เสียชีวิตมาจากทหาร และถามอดีตนายกฯ ว่า ยอมรับหรือไม่ว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ทหาร นายอภิสิทธิ์ตอบว่า จาก 20 คดีที่ได้ทำการสอบสวนไป มีเพียงสองคดีเท่านั้นที่เสียชีวิตจากกระสุนปืนของทหาร นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ต้องไม่ลืมว่า ผู้ชุมนุมได้ปล้นปืนของทหารไปด้วย ต่อคำถามของผู้ดำเนินรายการว่า นายอภิสิทธิ์ยอมรับหรือไม่ว่าตนมีส่วนรับผิดชอบในการเสียชีวิตบางส่วน เขาตอบว่า ไม่ เพราะการตั้งข้อกล่าวหาต่อตนเองในตอนนี้ มาจากคดีการเสียชีวิตของคนที่ไม่ใช่ผู้ชุมนุมด้วยซ้ำ (คดีพัน คำกอง คนขับรถแท็กซี่) แต่เป็นเพียงผู้เห็นเหตุการณ์ที่บังเอิญออกมาดูและโชคร้ายถูกยิงเสียชีวิต เขากล่าวยอมรับว่า ตนเป็นผู้สั่งใช้กระสุนปืนจริง แต่มิได้รู้สึกเสียใจต่อการออกคำสั่งดังกล่าว เพราะเป็นวิธีที่จะสามารถจัดการกับกลุ่มผู้ที่ติดอาวุธได้ และกล่าวว่า เหตุการณ์เมื่อปี 53 เป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงจริง แต่หากไม่มีกลุ่มชายชุดดำที่มีอาวุธและยิงตำรวจ ทหารและประชาชน ความรุนแรงและความเสียหายดังกล่าวก็คงจะไม่เกิดขึ้น อดีตนายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลนี้ (รัฐบาลอภิสิทธิ์) เป็นรัฐบาลแรกที่อนุญาตให้ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ อัยการ และศาลเข้าสืบสวนสอบสวน ตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว เขากล่าวว่า ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ตนก็จะยอมรับโทษนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นโทษประหารชีวิต และขอเรียกร้องแบบเดียวกันต่อนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และสมาชิกในรัฐบาลนี้ ให้ทำแบบเดียวกันด้วย อนึ่ง กรณีที่นายอภิสิทธิ์กล่าวอ้างถึง รายงานของ คอป. ที่ระบุว่า "มีราว 20 กรณีที่ผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำของฝ่ายผู้ประท้วง ซึ่งมีอาวุธ " ตามที่ คอป. โดยนายสมชาย หอมลออ แถลงเมื่อวันที่ 17 ก.ย. ระบุมีเพียง 9 กรณี เท่านั้น และ คอป.ก็ยังมิได้ระบุว่าเป็นการกระทำของผู้ชุมนุม เพียงระบุว่าเป็นการกระทำของชายชุดดำ ที่ คอป.ระบุว่า หลายคนใกล้ชิด เสธ.แดง การ์ด นปช. รู้เห็นเป็นใจ แต่ไม่มีหลักฐานโยงถึงแกนนำ(ดู http://prachatai.com/journal/2012/09/42697) 0000 บทสัมภาษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในรายการ BBC World News (ถอดความและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดยประชาไท) อภิสิทธิ์: ผมคิดว่าทุกคนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น และเราก็เป็นฝ่ายตั้งกระบวนการยุติธรรมขึ้นมาเพื่อมาสอบสวนการตายของผู้ชุมนุม และนั่นก็นำมาสู่การรับผิดชอบ มิชาล: ซึ่งนั่นก็รวมถึงตัวคุณด้วย เพราะคุณคือผู้ที่อยู่ในตำแหน่งขณะที่ประชาชน 90 คน เสียชีวิตจากการประท้วง อภิสิทธิ์: ถูกต้องครับ เราได้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง รวมถึงคณะตำรวจ และกลไกในกระบวนการยุติธรรมซึ่งต้องดำเนินการ แต่ว่าข้อกล่าวหาผมนั้นเกินเลยไป มิชาล: ทำไมข้อกล่าวหาจึงเกินเลยไป ในเมื่อคุณคือคนที่อยู่ในอำนาจขณะที่มีการใช้กำลังสลายพื้นที่การชุมนุม อภิสิทธิ์: แต่ถ้าคุณจำได้ สถานการณ์ขณะนั้นคือมีประชาชนยึดพื้นที่ใจกลางเมือง และมีประชาชนที่ติดอาวุธ พวกเขามีการปาระเบิด และปาเข้าใส่ประชาชน เราไม่ได้แม้แต่เข้าไปสลายการชุมนุม แต่เราเพียงแค่ตั้งด่านตรวจเช็ค และก็มีการต่อสู้กันบนถนน และโชคร้ายที่มีประชาชนเสียชีวิต มิชาล: แต่ว่าผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็เสียชีวิตจากการยิงของทหาร อภิสิทธิ์: ไม่ใช่แบบนั้น มิชาล: แต่ฮิวแมนไรท์วอชท์ ได้ทำรายงานสืบสวนสอบสวนอย่างละเอียดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2553 และรายงานก็ระบุว่าเกือบทุกคนที่ตายนั้นถูกทหารยิง อภิสิทธิ์: รายงานที่ละเอียดที่สุดนั้นทำโดย คอป. และมีราว 20 กรณีที่ผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำของฝ่ายผู้ประท้วง ซึ่งมีอาวุธ มิชาล: แต่นั่นคือจำนวนน้อย เรากำลังพูดถึงความตาย 90 กรณี คุณควรจะยอมรับว่าการตายส่วนใหญ่นั้นเกิดจากกองทัพไม่ใช่หรือ? อภิสิทธิ์: ไม่ครับ ไม่ เพราะว่า เรามีการสอบสวนอยู่ราว 20 กรณี และเพียงแค่ 2 กรณีเท่านั้นที่มีการสรุปว่าเป็นการตายจากการถุกกระสุนปืนซึ่งใช้ในกองทัพ แต่คุณก็ควรจะต้องจำด้วยว่าผู้ชุมนุมได้ขโมยอาวุธจากกองทัพไป และในการจะกล่าวหาที่เจาะจงเช่นนี้ คุณต้องรู้เกี่ยวข้อหาที่ถูกแจ้งไว้เสียก่อน มิชาล: แต่คุณก็ยอมรับใช่ไหมว่าคุณต้องรับผิดชอบต่อการตายในบางกรณี คุณยอมรับไหม? อภิสิทธิ์: ไม่ครับ การแจ้งข้อหาต่อผมในขณะนี้ คือการเสียชีวิตของคนที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมเลยด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มีรถตู้คันหนึ่งพยายามฝ่าแนวกั้นของทหาร จากนั้นจึงมีการยิงขึ้น ผู้ตายนั้นเพียงแต่ออกมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วก็โชคร้ายที่เขาถูกยิง มิชาล: อันนี้เป็นคดีแรกที่มีการสรุปว่า.... อภิสิทธิ์: ใช่ แต่ถ้าจะพูดว่ารัฐบาลเป็นผู้สั่งทหารให้ฆ่าประชาชนก็ไม่ได้ตรงตามสิ่งที่เกิดขึ้นทีเดียว มิชาล: แต่คุณอนุญาตให้ใช้กระสุนจริง อภิสิทธิ์: เราอนุญาตให้ใช้กระสุนจริง มิชาล: คุณเสียใจต่อการตัดสินใจดังกล่าวหรือไม่ อภิสิทธิ์: แต่ถ้าอย่างนั้นคุณจะสู้กับกลุ่มคนที่ติดอาวุธได้ยังไงล่ะ มิชาล: ฉะนั้นคุณก็ไม่เสียใจต่อการใช้กระสุนจริง? อภิสิทธิ์: ผมเสียใจที่มีผู้เสียชีวิต แต่ก็มีคำสั่งก็ชัดเจนว่าพวกเขาควรใช้กระสุนจริงอย่างไรภายใต้สถานการณ์แบบไหน คำสั่งซึ่งออกโดยรองนายกรัฐมนตรี (สุเทพ เทือกสุบรรณ) นั้น ประการแรกเพื่อป้องกันตัวเอง เพื่อป้องกันการเสียชีวิตของประชาชนคนอื่น และพวกเขาต้องใช้อย่างระมัดระวังสูงสุด และถ้ามีความเป็นไปได้ที่จะต้องใช้อาวุธต่อคนเหล่านี้ที่บางครั้งก็ปะปนอยู่กับฝูงชน ... พวกเขาก็ควรหลีกเลี่ยง และถ้าการใช้คำสั่งนี้แปลว่าพวกเราสั่งให้มีการฆ่าคน ผมคิดว่าไม่แฟร์ มิชาล: โอเค คุณ... อภิสิทธิ์: ขอให้ผมพูดนะครับ ผมได้เข้าร่วมการประชุมหลายครั้งทั่วโลก กรณีการประชุมกลุ่มประเทศ G-20 ก็มีบางคนเสียชีวิตเพราะเจ้าหน้าที่พยายามปฏิบัติหน้าที่ของตน และก็ต้องมีการสอบสวน การมีผู้เสียชีวิตควรถูกตัดสินหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมาย แต่ไม่มีที่ไหนที่นายกรัฐมนตรีจะต้องมารับผิดชอบกับปฏิบัติการใดๆ ก็ตาม มิชาล: แต่ท่านนายกฯ คะ นี่คือเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดที่ประเทศของคุณได้พบในช่วงหลายสิบปีมานี้ เรื่องที่เรากำลังพูดกันมันค่อนข้างใหญ่ และนี่เป็นปัญหาในยุคที่คุณอยู่ในอำนาจ อภิสิทธิ์: เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่เรามีการประท้วงโดยมีประชาชนที่มีอาวุธเข้าร่วม หากนี่เป็นการประท้วงโดยสันติ ภายใต้รัฐธรรมนูญ และถูกกฎหมาย สิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้าพวกเขาไม่มีชายชุดดำ ซึ่งมีอาวุธ ยิงตำรวจ ยิงประชาชน ยิงทหาร ก็จะไม่มีการสูญเสียเกิดขึ้น มิชาล: คุณรู้สึกอย่างไร ที่กรณีเหล่านี้กำลังจะกำหนดความทรงจำเกี่ยวกับช่วงที่คุณดำรงตำแหน่ง และคิดว่าผู้คนจะจดจำคุณในช่วงเวลาที่อยู่ในอำนาจอย่างไร อภิสิทธิ์: ผมไม่คิดว่าเป็นปัญหาอะไรนะครับ ผมคิดว่าประชาชนรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นในปี 2552 และ 2553 และสิ่งที่แตกต่างก็คือ ในฐานะรัฐบาล เราเป็นรัฐบาลแรกที่อนุญาตให้ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และอัยการ และศาลทำงานในเรื่องนี้ และผมยอมรับไม่ว่าคำตัดสินจะออกมาอย่างไร แม้แต่จะเป็นคำตัดสินประหาร ผมก็จะยอมรับ และผมก็ขอให้อดีตนายกรัฐมนตรีและสมาชิกในรัฐบาลชุดนี้ให้พวกเขาปฏิบัติตามเช่นเดียวกัน เพราะพวกเขาก็มักจะหาทางออกกฎหมายนิรโทษกรรมพวกเขาเองเสมอ ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ผมถามอยู่เสมอ ผมต้องการถูกฟ้องร้อง ผมจะต่อสู้ ผมจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในศาล และไม่ว่าเหตุผลใดก็ตามที่มีคำพิพากษาว่าผมผิด ผมก็จะยอมรับมัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เสวนาที่ Book Re:public: "สิทธิทางเพศและขบวนการเคลื่อนไหว" โดยอัญชนา และคำ ผกา Posted: 10 Dec 2012 08:55 AM PST กิจกรรมห้องเรียนประชาธิปไตยที่ Book Re:public จัดเสวนาเรื่องสิทธิทางเพศและขบวนการเคลื่อนไหวด้านเพศสภาพ ผู้อภิปรายประกอบด้วย อัญชนา สุวรรณานนท์ หนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งอัญจารี กลุ่มทำงานเพื่อขจัดอคติเรื่องหญิงรักหญิง และกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน และ คำ ผกา หรือลักขณา ปันวิชัย นักเขียนและพิธีกรรายการคิดเล่นเห็นต่าง และดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ ร้านหนังสือ Book Re:public เวทีห้องเรียนประชาธิปไตยมีการเสวนาในหัวข้อ "สิทธิทางเพศและขบวนการเคลื่อนไหว" มี อัญชนา สุวรรณานนท์ จากกลุ่มอัญจารี หนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งอัญจารี ซึ่งก่อตั้งในปี 2529 เพื่อทำงานขจัดอคติเรื่องหญิงรักหญิง และกลุ่มคนรักเพศเดียวกันไม่ให้ถูกกีดกันสิทธิขั้นพื้นฐาน และ คำ ผกา หรือลักขณา ปันวิชัย นักเขียน และนักจัดรายการ คิดเล่นเห็นต่าง ดีว่าส์ คาเฟ่จาก Voice TV มาร่วมแลกเปลี่ยน การเสวนาเริ่มต้นโดย ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี จากร้านหนังสือ Book Re:public ตั้งโจทย์ในสามประเด็นในการแลกเปลี่ยนเสวนา 1.ตกลงเรื่องเพศ หรือเพศสภาวะเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ ทำไมสังคมไทยจึงจับไปอยู่ในกรอบศีลธรรม 2.ขบวนการเรื่องสิทธิผุ้หญิง กับขบวนการหญิงรักหญิงมันต่างกันอย่างไร หรือเป็นอุปสรรคต่อกันหรือไม่ 3.เรื่องเพศมันเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยอย่างไร อัญชนา ธรรมชาติไม่ได้มีแค่หญิง-ชาย สู้เพื่อเพศที่หลากหลาย ความเข้าใจเรื่องเพศเป็นเรื่องพื้นฐานที่ว่าทำไมต้องมีอัญจารี ภาพนี้ (ดูภาพ)
เป็นความพยายามในการอธิบายว่าเพศมันคืออะไร อันดับแรกคือเรื่องสรีระที่เกิดมา เรื่อง gender ความเข้าใจเรื่องเพศของคนส่วนใหญ่มันจะมีแค่หญิงกับชาย ปิ๊ กับจู๋ เป็นเฉพาะสรีระ เรามองข้ามกันไปว่าในความเป็นจริงแล้ว มีคนที่ไม่มีคุณสมบัติพร้อมที่ทางการแพทย์และสังคมว่าเป็นชาย หรือหญิงด้วย เพศมีหลายแบบมาก เช่นเพศก้ำกึ่ง นอกจากนี้ยังมีอัตลักษณ์ทางเพศ หมายถึงที่เจ้าตัวรู้สึกว่าตัวเองเป็นหญิง หรือชาย และยังคนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องการระบุเพศ ที่เรียกว่าเควียร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแบ่งเพศจากอากัปกริยา หรือเสื้อผ้าที่เลือกใส่ เช่น ออกเป็นหญิง หรือเป็นชายที่เรียกว่า gender expressionหรือบางส่วนมีวิถีทางเพศ หรือรสนิยมแบบใด เป็น sexual orientation มีสองแบบคือชอบเพศตรงข้าม หรือชอบเพศเดียวกัน บางกลุ่มก็หญิงก็ได้ ชายก็ได้ (ดูภาพ)
เราดูแล้วก็จะเห็นว่าเพศมีหลากหลายมาก บางส่วนก็ดูแมน แต่จริงๆ ข้างในอาจไม่ใช่ อัตลักษณ์เขาอาจเป็นผู้หญิง อัตลักษณ์เป็นสิ่งที่เจ้าตัวเลือกเอง คนทุกคนมีสิ่งแหล่านี้อยู่แล้ว จะทำให้เราเห็นว่าคนชอบต่างเพศ ก็มีคนชอบเพศเดียวกันด้วย และนอกจากนี้ยังมีลักษณะเปลี่ยนไปมาในช่วงชีวิตของคนด้วย ถ้าพูดถึงเรื่องเพศ มักจะมีการกรอบของสังคม สถาบันสังคมต่างๆ จะเข้ามากำหนด และที่ยากมากคือคนในสังคมถูกกรอบทางสังคมและถูกกรอกความเชื่อเหล่านี้มา และมักจะมองว่าธรรมชาติมีแค่สองเพศ เป็นหญิงหรือชายตามเพศที่เกิดมา หญิงกับชายต้องคู่กัน เป็นครอบครัว ฉะนั้นคู่แบบอื่นไม่ได้รับการยอมรับ แต่กรอบดังกล่าวทำให้คนคนนั้นรู้สึกสับสนอย่างมาก ตั้งแต่เคลื่อนไหวเรื่องนี้เรื่องที่คนกลัดกลุ้มมาก และมีความทุกข์คือพ่อแม่ไม่เข้าใจ โรงเรียนไม่เข้าใจ แม้ปัจจุบันจะดีขึ้นมาก แต่ก็ยังมีคนกลัดกลุ้ม คนทำงานแล้วไม่สามารถเลือกอัตลักษณ์ทางเพศ ขาดโอกาสในการทำงาน สถานะครอบครัว และมีลูก เมื่อปีที่แล้วมีข่าวแม่ของดี้จ้างคนไปฆ่าทอม ก็ยังปรากฏอยู่ มีข่าวทอมน้อยใจที่แม่กีดกัน ข่าวหลายข่าวที่เป็นเรื่องความคาดหวังของสังคม มีแรงกระทบจากสังคมมีตั้งแต่เบาะๆ ไปถึงสั่งฆ่า ในหลักสูตรการศึกษาก็ยังมีหนังสือที่มีเนื้อหา คือการห้ามคบกับคนที่มีเพศหลากหลายด้วย องค์การอนามัยโลกเคยจัดเรื่องคนรักเพศเดียวกัน เป็นปัญหาสุขภาพจิต แต่ปัจจุบันก็ยกเลิกไปแล้ว แค่ในสังคมไทยก็ยังมีคนคิดแบบนี้อยู่ ในต่างประเทศมีหลายองค์กรที่ยกเลิกเรื่องคนรักเพศเดียวกันไปบ้างแล้ว แต่บ้านเรายังมีเรื่องนี้อยู่ก็เลยพยายามผลักดันเพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ งานที่กลุ่มอัญจารีทำจึงมีการผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขออก จม.มาว่าคนรักเพศเดียวกันไม่ใช่คนโรคจิต นอกจากนี้ยังมีกระทรวงกลาโหมระบุว่ากระเทยเป็นโรคจิตถาวร ทำให้กลุ่มไปฟ้องกระทรวงกลาโหมให้ยกเลิกการระบุว่าผู้ชายที่เป็นหญิงเป็นโรคจิตถาวร ซึ่งเราก็ต้องติดตามต่อไป ในเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมีการผลักดันให้เคารพในเรื่องเพศด้วย ดังนั้นถ้าเราจะฟ้องร้อง หรือเรียกร้องสิทธิก็สามารถจะอ้างเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญได้ กรณีเหตุการณ์ที่เชียงใหม่ที่มีกลุ่มคนเสื้อแดงมาคัดค้านไม่ให้เกย์ออกมาเคลื่อนไหวเมื่อสองปีที่แล้ว เหตุการณ์ที่ต่อต้านการออกมาเรียกร้อง เป็นสิ่งที่พวกเรากลัวกันมาก นอกจากนี้เรายังมีการเรียกร้องเรื่องการรับรองเรื่องชีวิตคู่ทางกฏหมายด้วย ล่าสุดก็คือกรณีของ ซีเอ็ดบุ๊คส์ที่ห้ามไม่รับจำหน่ายหนังสือที่มีเรื่องของหญิงรักหญิง ชายรักชาย ทางกลุ่มก็เคลื่อนไหวเรื่องนี้ด้วยในการล่าชื่อไม่เห็นด้วย และจะไม่ซื้อหนังสือจากร้านซีเอ็ด ตอนนี้บริษัทก็รีบร้อนออกมาแก้ตัว ก็ดีใจว่าประเทศก็เริ่มก้าวหน้ามากขึ้น เพราะอาจมีแรงกดดันจากสังคม
ปิ่นแก้ว การเป็นผู้หญิงเป็นเพศที่อยู่ในกล่องอยู่แล้ว แต่การเป็นผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงด้วยกันมันยิ่งอยู่ในกล่องซ้อนกล่อง การที่สังคมคุกคามเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนตัวมากๆ เราจึงต้องมองว่าสังคมว่ามันเป็นเพราะอะไร จึงคุกคามและไม่เข้าใจเพศที่หลากหลาย
คำ ผกา จุดกำเนิดการต่อสู้สิทธิสตรี สู้เพื่อความเป็นมนุษย์ อยากจะพูดถึงเรื่องขบวนการสตรีนิยมก่อน ก่อนที่จะตอบคำถามเรื่องการเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยอย่างไร ขบวนการเคลื่อนไหวของอุดมการณ์สตรีนิยมเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตก คลื่นลูกแรกของสตรีนิยมคือการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งอย่างเท่าเทียมระหว่างหญิงชายในทศวรรษที่ 1840-1850 และกว่าที่ผู้หญิงจะมีสิทธิเลือกตั้งก็คือต้นศตวรรษที่ 20 คือการขอเป็นมนุษย์ คลื่นลูกที่สองในสตรีนิยมเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1960 ที่นอกจากจะต่อสู้เพื่อความเสมอภาคของผู้หญิงกับผู้ชายแล้ว ยังเน้นไปที่การปลดปล่อยผู้หญิง นั่นคือตัวผู้หญิงเองต้องไม่อยู่ภายใต้กรอบความคิดที่ถือเอาผู้ชายเป็นศูนย์กลางความถูกต้อง เช่น แนวคิดที่เห็นว่ากิจกรรมที่เป็นสาธารณะเท่านั้นที่เป็นการเมือง กลุ่มสตรีนิยมจึงผลิตแนวคิดเรื่อง "เรื่องส่วนตัวเป็นเรื่องการเมือง" ออกมาเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ทางอำนาจ ทวิลักษณ์ชาย-หญิง คือ violent of hierarchy คลื่นลูกที่สาม เกิดทฤษฎีของเพศที่หลากหลายมากขึ้น เช่น เควียร์ มองว่ารองเท้าส้นสูงจะเอ็มพาวเวอร์ผู้หญิงได้อย่างไร การที่ผู้หญิงแก้ผ้า ไม่ได้ถูกกระทำ ผู้หญิงขายบริการก็ไม่ได้ถูกกระทำ ผู้หญิงจะเลือกเอง เป็นตัวกำหนดความปรารถนา วิถีทางเพศของตัวเอง แต่ก็มีอีกสายหนึ่งที่แยกออกไปเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น แนวคิดเรื่อง mother แต่ก็ถูกวิจารณ์ความเหนือธรรมชาติมากไปหน่อย เป็นต้น สตรีนิยมเกิดขึ้นในยุโรป มีการเรียกร้องให้ผู้หญิงมีความเป็นมนุษย์เท่าๆ กับผู้ชาย หมุดหมายแรกของขบวนการสตรีนิยม หนังสือชื่อ A Vindication of the Right of Woman (บทพิสูจน์แห่งสตรี) ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1792 (กรุงรัตนโกสินทร์สถาปนาปี 1782 ) โดยนักเขียนชาวอังกฤษ คือแมรี่ โวลสโตนครัฟท์ อุดมการณ์สตรีนิยมถือเป็นผลพวงของการปฏิวัติฝรั่งเศส นั่นคือเป็นการยืนยันในสิทธิ และความเสมอภาคกับผู้ชาย เมื่อมีสองสิ่งนี้ ผู้หญิงจึงเป็นมนุษย์ที่มีอิสรภาพเช่นเดียวกับผู้ชายตามอุดมคติของการปฏิวัติฝรั่งเศส ระบอบปิตาธิปไตย ทำให้ผู้หญิงต้องพึ่งพาผู้ชาย จะเห็นว่าขบวนการเคลื่อนไหวสตรีนิยมเมื่อเริ่มต้นก็เป็นการเมืองแล้ว สิ่งที่นักสตรีนิยมพูดถึงมากคือระบบปิตาธิปไตย ระบบปิตาธิปไตยเกิดขึ้นจากอะไร ระบอบนี้มาจากระบอบคิดดั้งเดิมของตะวันตกที่สร้างภาพให้ผู้หญิงเป็นเพียงสัตว์โลกชนิดหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มีอารมณ์แต่ปราศจากเหตุผล ใช้ความสังหรณ์ใจเป็นหลักนำทางชีวิต มันก็เกิดขึ้นในรัฐ รัฐนิยามว่าผู้หญิงเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง การมีอยู่ของผู้หญิง มีลักษณะต้องไปพึ่งพากับสิ่งอื่นๆ จึงจะเป็นตัวตนขึ้นมาได้ จะเห็นได้จากการสร้างภาพผู้หญิงในงานวรรณกรรมตะวันตก ความเป็น passive ไม่มีเสรีภาพ เรื่องผู้หญิงเป็นเรื่องในบ้าน เป็นเรื่องจำเพาะส่วนบุคคล หายไปจากพื้นที่สาธารณะของสังคม ตกอยู่ในความมืด และเป็นด้านชั่วร้ายของชีวิต เป็นอีฟ ซึ่งหมายถึงโง่เขลา เป็นต้น เช่นงานของอริสโตเติลก็จะบอกว่าจิตวิญญาณที่ทรงเหตุผลนั้นไม่ทำงานในเด็ก และผู้หญิง งานของเซ็นต์ออกัสติน บอกว่ามีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่เป็นฉายาของพระผู้เป็นเจ้า ผู้หญิงเป็นได้แค่บางส่วน เพราะฉายานั้นผูกพันกับเหตุผล ส่วนรุสโซบอกว่าผู้หญิงควรได้รับการศึกษาอบรม มิใช่เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แต่เพื่อสร้างความพึงพอใจและเติมเต็มความสมบูรณ์ให้ผู้ชาย
สำนักสตรีนิยมตะวันตกสู้อะไร สตรีนิยมสายเสรีนิยม ถือเอาความคิดเรื่องความเสมอภาคเป็นหลัก เน้นเรื่องการแก้ไขกม. และการเลือกตั้ง การทำงาน ทรัพย์สิน และสวัสดิการ เป็นต้น สตรีนิยมสายสังคมนิยม หรือมาร์กซิสต์ สำนักนี้ไม่เชื่อว่าความเสมอภาคเป็นไปได้จริง และเป็นเพียงภาพลวงตาของพวกกฎุมพี เพราะสังคมทุนนิยมจะต้องมีผู้กดขี่กับผู้ถูกกดขี่ เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ความเสมอภาคอย่างแท้จริงแก่สมาชิกในสังคม เบื้องหลังแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาพอันสวยหรู เต็มไปด้วยความแตกต่างในปัจจัยการผลิต ทรัพย์สิน รายได้ อำนาจทางการเมือง ฐานะทางสังคมและความแตกต่างทางเพศสภาพของบุคคล ความเสมอภาคที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิวัติสังคมนำไปสู่สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์เท่านั้น สิ่งที่ต้องปลดแอกคือ ปลดแอกผู้หญิงจากการเป็นสมาชิกคนหนึ่งของกำลังผลิตของระบบเศรษฐกิจ การคลอดลูก การสืบเผ่าพันธุ์ การเลี้ยงดูเด็ก เป็นสิ่งบำเรอทางเพศ สตรีนิยมสายแรดิคัล (Radical Feminism) กลุ่มนี้ไม่เน้นความเสมอภาค เพราะเห็นว่าผู้หญิงเหนือกว่าผู้ชายอยู่แล้วตามธรรมชาติ เกิดขึ้นในในทศวรรษที่ 1970 สตรีนิยมกลุ่มนี้อ้างว่าเพราะผู้หญิงตั้งท้อง มีลูกได้ ผู้หญิงจึงเหนือกว่าผู้ชาย และผู้หญิงยังเหนือกว่าผู้ชายในด้านศีลธรรมด้วย ดังนั้นกลุ่มนี้ก็จะให้ความสำคัญกับผู้หญิงในแง่ให้คุณค่าความเป็นแม่ เชิดชูระบบคุณค่าเอกลักษณ์ความเป็นหญิง เป็นต้น ก็มีแนวโน้มจะเป็นเลสเบี้ยน สำนักสตรีนิยมไทย กับการสร้างความเป็นชาติ สิ่งที่น่าสนใจคือสตรีนิยมมันเกี่ยวข้องกับสังคมไทยอย่างไร ก่อนที่จะมาดูของไทย การสร้างเพศของพลเมืองเป็นผลผลิตของสังคมสมัยใหม่อย่างไร ความเป็นหญิง เป็นชายมันไม่เคยมีขึ้นมาก่อนอย่างไร นอกจากผู้หญิงจะเป็นฉายาของความมืดและความชั่วร้ายอย่างไร ขอให้นึกถึงแฟชั่นในราชสำนักฝรั่งเศสในสมัยพระมารีอังตัวแนต เราจะเห็นผู้ชายใส่ส้นสูง ใส่ผ้าลูกไม้ ผูกโบว์ นั่นแปลว่าความเป็นหญิงและความเป็นชายของรัฐของสังคมก่อนสมัยใหม่กับรัฐปัจจุบัน นั้นมีความเป็นหญิงหรือชายที่ไม่เหมือนกันเลย ก่อนหน้าที่รัฐจะสถาปนาอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ความเป็นหญิงชายเป็นสิ่งที่ตายตัวเหมือนในปัจจุบัน มันเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เชื่อว่ามันมีอยู่มาก่อนพร้อมๆ กับการกำเนิดของโลกใบนี้ นั่นก็หมายความว่าครอบครัวแบบที่เรารู้จักทุกวันนี้ก็ไม่ใช่ครอบครัวแบบที่เคยเกิดมาก่อน ก่อนที่จะมีรัฐชาติสมัยใหม่มีลักษณะของครอบครัวที่หลากหลาย เช่น ครอบครัวมีผู้หญิงเพื่อผลิตลูก สิ่งที่จะพูดคือการสร้างรัฐ อีกด้านหนึ่งนั้นต้องสร้างเพศให้ชัดเจนขึ้น เพราะรัฐสมัยใหม่คือการสร้างพลเมือง หน่วยพลเมืองเป็นเครื่องมือในการฟอร์มรัฐสมัยใหม่ขึ้นมา แต่รัฐสมัยใหม่ก็มีกระบวนการที่ทำให้ครอบครัวไม่เป็นการเมือง ทำให้คนที่เกิดในรัฐสมัยใหม่จึงเกิดมาพร้อมกับความเชื่อว่าครอบครัวไม่ได้เป็นการเมือง เกิดเป็นผู้ชายก็ต้องชอบผู้หญิง ทำให้คนเชื่อว่าการเป็นการครอบครัว มีครอบครัวที่อบอุ่น มีความโรแมนติกแบบนี้ ซึ่งกระบวนการต่อสู้ของขบวนการเกย์แบบไทยก็ยังอยู่ในกรอบนี้ รับเอาความคิดรัฐสมัยอยู่ ดังนั้นจึงเห็นการเคลื่อนไหวเพื่อจะแต่งงาน และมีครอบครัวอบอุ่นก็ยังอยู่ในกรอบนี้ รัฐไทย ชาติไทยเกิดขึ้นท่ามกลางบริบทอะไรบ้าง สำนึกประชาธิปไตยที่มีมาพร้อมกับการเรียกร้องสิทธิสตรีในยุคแรกของไทย เริ่มมีงานวรรณกรรมของศรีบูรพา กุหลาบ สายประดิษฐ์ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อต้านระบบศักดินา ระบบผัวเดียว หลายเมีย มีการเรียกร้องผู้หญิงเรียนหนังสือ มีโอกาสการทำงานแบบผู้ชาย เป็นสตรีนิยมแบบคลื่นลูกที่หนึ่ง คือเรียกร้องการเป็นคนเหมือนผู้ชาย เพราะฉะนั้นเฟมินิสต์ยุคแรกคือเทียนวรรณ กุหลาย สายประดิษฐ์ มีการเรียกร้องให้ยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เรียกร้องความรักแบบลูกผู้ชายแบบศรีบูรพา เป็นรักที่ข้ามชนชั้น การต่อสู้การปฏิวัติ 2475 เกิดขึ้น คุณค่าถูกทำลายไปเมื่อมีการรัฐประหารปี 2490 คุณค่าที่ 2475 ทำลายลงไปคือการระบอบศักดินา เครื่องแต่งกาย ทรงผมหญิง หรือชาย ระบบผัวเดียวหลายเมีย สถาปัตยกรรมที่เน้นระดับชั้นต่ำสูง รัฐสมัยใหม่ได้สร้างการแบ่งเพศที่ชัดเจน สิ่งที่เกิดขึ้นมาคือการแต่งกายแบบตะวันตก เลิกเปลือยอก มีมารยาทแบบสากล หนังสือสมบัติผู้ดี เป็นมารยาทของชนชั้นกลาง เป็นสิ่งที่ประชาธิปไตยกำลังสร้างขึ้นกับคนป่าเถื่อนแบบไทย แต่อย่างไรก็ตามสังคมไทยก็ยังมีความลักลั่น จอดรถไม่เป็นที่เป็นทาง แต่งตัวไม่ถูกต้องตามกาละเทศะ นี่คือสิ่งที่ 2475 ทำไม่สำเร็จ และถูกตัดทอนไปอีกในปี 2490นั่นเอง การยกสถานะสตรีของไทยเป็นกระบวนของการพัฒนาประชาธิปไตย การปฏิเสธระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในที่สุด บางด้านนักสตรีนิยมรู้สึกว่าการสร้างรัฐชาติ และการแบ่งเพศหญิงกับชายมันเป็นการแบ่งแยก ทำให้ไม่มีพื้นที่ให้กลุ่มเกย์ คุณค่าของครอบครัวเดี่ยว เช่น การให้คุณค่าความเป็นเมีย และแม่มากเกินไป อันนี้เป็นสิ่งที่ประชาธิปไตยในยุคเริ่มต้นสร้างขึ้นมา แต่ก็ยังไม่สำเร็จ นอกจากจะไม่สำเร็จแล้วยังไม่ได้ลงหลักปักฐาน ตอนหลังก็โดนด่ามากขึ้นจากนักสตรีนิยมบางกลุ่มว่าเพราะไปรับแนวคิดจากตะวันตกเข้ามากลับกลายเป็นช่องว่างให้กับคนที่ไม่ยอมรับเอาแนวคิดนี้ไม่เห็นด้วยกับพวกเฟมินิสต์ แล้วก็จะไปอ้างเอาประเด็นเรื่องผู้หญิงไทยก่อนมีรัฐสมัยใหม่ว่ามีอำนาจมากกว่าผู้ชาย เป็นต้น และการที่ผู้ชายไทยมีเมียหลายคนไม่ใช่การกดขี่ผู้หญิง ความลักลั่นที่เกิดขึ้นเมื่อสังคมไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือว่าผู้ชายไทยแต่งงานแล้ว ผู้ชายไทยมักจะรู้สึกว่าได้เขาแล้ว ต้องเห็นเขาเป็นเมีย มันก็มาเถียงกันว่าคอนเซปท์ไทยโบราณ กับคอนเซ็ปท์ของรัฐสมัยใหม่ที่แบ่งแยกกันชัดเจน นอกจากนี้ยังมีความลักลั่นอีกอย่างเช่น เวลาเถียงกันว่า เรื่องเด็กวัยรุ่นไทยแต่งตัวโป๊ คนบางส่วนบอกว่าแต่งตัวโป๊ก็เหมือนผู้หญิงสมัยโบราณก็เปลือยอก แต่บางส่วนก็บอกว่าการแต่งตัวโป๊ทำลายคุณค่าวัฒนธรรมไทย แต่ในความคิดของตัวเองคิดว่ามันผิดทั้งคู่ เพราะเราไม่สามารถเอาการแต่งตัวโป๊ของเด็กไปเปรียบเทียบกับการเปลือยอกของผู้หญิงไทยสมัยโบราณ เพราะผู้หญิงไทยเปลือยอกมันไม่ใช่ว่าเขาโป๊หรือไม่โป๊ มันเปรียบเทียบแบบผิดฝาผิดตัวมาก ในขบวนการสตรีนิยมในไทยมีกี่แบบ ก็มีแบบนักสังคมสงเคราะห์ เช่นมูลนิธิปวีณา สตรีนิยมนักกฎหมาย เช่น ไม่ส่งเสริมความรุนแรงภายในครอบครัว ปกป้องผู้หญิง เพิ่มสัดส่วนของผู้หญิงในรัฐสภา มีสตรีนิยมแบบอนุรักษ์นิยมไทยแบบคุณระเบียบรัตน์ เพราะเชื่อว่านี่คือคุณค่าของผู้หญิงแบบเลอค่าอมตะ สตรีนิยมแบบอัญจารีที่ยกเลิกการแบ่งแยกเรื่องเพศ แต่ทั้งหมดเป็นการต่อสู้ที่เรารับเอาแนวคิดของตะวันตกเข้ามา เวลาเข้ามาต่อต้าน คือสตรีนิยมเป็นความฟุ่มเฟือย ประเทศยังจนอยู่ ปัญหาสิทธิสตรีไม่ใช่ปัญหาคอขาดบาดตาย ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เพราะประวัติศาสตร์การเมืองไทย ไม่เคยอยู่ในฐานะที่เป็นอาณานิคม ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม ทำให้สิ่งที่หายไปจากเมืองไทยคือไม่มีนักสตรีนิยมที่สู้เพื่อผิวสี หรือสตรีนิยมในระดับรากหญ้า ถ้าจะมีการต่อสู้ของสตรีในท้องถิ่นก็ไปผูกติดกับการอนุรักษ์ท้องถิ่น คุณค่าความเป็นไทย ฟ้อนเล็บ ใส่ชุดพื้นเมือง เป็นต้น คำถามคือว่าสิ่งเหล่านี้อธิบายการต่อสู้เรื่องเพศที่มาพร้อมกับความเป็นประชาธิปไตยอย่างไร หันมาดูเรื่องกรณีคนเสื้อแดงต่อต้านการต่อสู้ของกลุ่มเกย์ ทั้งๆ ที่การต่อสู้ประชาธิปไตยมันควรจะยอมรับการต่อสู้ของเกย์ได้ มันกลายเป็นว่าการต่อสู้ประชาธิปไตยยังมีลักษณะของความเป็นชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมไทย ซึ่งก็จะต้องเป็นคำถามคนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยว่าเราจะผลักดันคุณค่าประชาธิปไตยนี้อย่างไร กลับมาดูคนที่ต่อสู้เรื่องเพศ ก็ไม่เอาเสื้อแดงมาก เชิดชูสถาบัน ความเป็นประเพณีนิยม แล้วคุณจะต่อสู้เรื่องการแต่งงานของคนเพศเดียวกันได้อย่างไร การที่ประเทศไทยตกอยู่ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าเราไม่เคยตกเป็นอาณานิคม จึงมีผลต่อการต่อสู้เรื่องสตรีนิยมในไทยไม่ได้เป็นขบวนเดียวกันกับการต่อสู้เรื่องเอกราช เราจึงมีนักสตรีนิยมที่ไม่ใช่เป็นผู้หญิงรากหญ้า เราจึงมีนักสตรีนิยมที่เป็นอีลิทเป็นส่วนใหญ่ นักสตรีนิยมที่มีแนวหลังอาณานิคม ที่เห็นคือคุณจิตรา คชเดช ก็เห็นว่าเป็นการต่อสู้เรื่องประชาธิปไตย สิทธิแรงงาน
อัญชนา ทำไมจึงเลือกการแต่งงานในการเคลื่อนไหว ย้อนกลับไปเรื่อง สิทธิไม่ใช่เรื่องของผู้ชาย ผู้หญิงความจริงแล้วเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคน การแบ่งพื้นที่ต่างๆ ในสังคมควรจะหมดไป เป็นเรื่องที่เราต้องไปให้ถึง ในประเด็นเรื่องแต่งงาน เป็นเรื่องของสองระดับ ในแง่ของการเข้าถึงสิทธิตรงนี้ ถ้าจะให้ลึกจริงๆ สำหรับคนที่จะเลือกเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่ใช่กรอบแต่งงานแบบปัจจุบันซึ่งเป็นแนวแบบตะวันตก ในเรื่องที่ว่าคู่นั้นต้องเป็นสองคน มีความรักต่อกัน สิ่งที่กลุ่มเรียกร้องคือ ให้เป็นแบบผู้ชายกับผู้ชาย ผู้หญิงกับผู้หญิงได้มั้ย แต่การต่อสู้ที่ไปจากกรอบของตะวันตกนั้นยังไปไม่ถึง คณะกรรมาธิการรัฐสภากำลังร่าง คือการเป็นชีวิตคู่ไม่จำกัดว่าสองคนนั้นเป็นเพศไหน คนที่เป็นชีวิตคู่มีเงื่อนไขว่าต้องมีสถานการณ์เข้าและออกจากการเป็นชีวิตคู่ที่เท่ากันทั้งสองฝ่าย เช่นเงื่อนไขการหย่า ผู้ชายใช้เงื่อนไขว่าผู้หญิงมีชู้สามารหย่าได้ แต่ถ้าผู้ชายมีชู้ ผู้หญิงกลับหย่าไม่ได้ แต่ทั้งหมดเป็นการจัดแจงเรื่องครอบครัวในแบบเดิมๆ แต่ทั้งหมดก็จะเห็นว่ารัฐเป็นคนกะเกณฑ์เรื่องชีวิตครอบครัวอยู่ดี แต่ถ้าเราไม่ไห้รัฐเข้ามายุ่ง เราจะป้องกันปัญหาที่พ่อแม่เข้ามากีดกันลูกที่รักเพศเดียวกันได้หรือไม่ เพราะเรายังไม่สามารถเปลี่ยนสังคมได้ทั้งหมด เรายังไม่ได้เติมเรื่องการวิเคราะห์ทางชนชั้นที่เป็นอุปสรรคในการวิเคราะห์เรื่องเพศด้วย ดังนั้นเราก็จะเห็นว่าคนที่ทำงานเรื่องสิทธิสตรีจึงเป็นชนชั้นกลาง เพราะประโยชน์ที่เขาได้รับ ทำอะไรได้ แต่เรื่องความหลากหลายทางเพศก็เป็นตัวลดทอน กลับมาเรื่องการแต่งงาน อันดับแรกต้องอธิบายมาพูดในฐานะของคนคนหนึ่ง เป็นองค์กรหนึ่ง เวลาที่เราเห็นข้อเรียกร้อง มาจากคนที่ไม่ได้เป็นนักกิจกรรม ข้อเรียกร้องของกลุ่มเป็นลักษณะมาจากชุมชน เขาถ่ายทอดความเดือดร้อนมาจากความต้องการของเขา ในกลุ่มไม่มีอุดมการณ์เดียวกัน ไม่ใช่การตัดสินใจแบบรวมศูนย์ เราเป็นขบวนการที่ขาดทรัพยากร ขาดเงื่อนไขที่จะเรียนรู้ร่วมกันมีน้อย นี่คือสถานการณ์ของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ส่วนเรื่องแต่งงาน บางคนก็ต้องการเรื่องสิทธิทางกม. เพราะบางคนก็เจอปัญหาในชีวิตคู่มาแล้วจึงอยากแต่งงานให้การองรับทางกฎหมาย เช่น เรื่องการประกันชีวิต กู้เงินเพื่อซื้อบ้านร่วมกัน เขาเจอปัญหาในการดำเนินชีวิตคู่แบบคนธรรมดา ไม่ได้เป็นลักษณะแบบนักกิจกรรม นอกจากนี้เราก็อาจคิดว่าเรามีจุดอ่อน การแต่งงานเป็นก้าวข้ามอุปสรรคขั้นสูงมากสำหรับกลุ่มนี้ การทำพิธีเล็กๆ เหมือนก้อปปี้การแต่งงานชายหญิง แต่มันก็เป็นอีกมุมหนึ่งของการต่อสู้ และก้าวข้ามอุปสรรค ในขณะนี้ยังไม่เปลี่ยน และจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร ตลอดที่ทำกิจกรรมนี้ ได้รับฟังความเดือดร้อนของคนเหล่านี้มาก บางคู่แค่ไม่ปฏิเสธตัวเอง ไม่ใช่คนผิดปกติ หลายคนยอมรับตัวเองไม่ได้ บางคนไม่รังเกียจตัวเอง การแต่งงานที่มองว่าเป็นมรดกของอาณานิคม แต่ก็มีความหมายสำหรับคนเหล่านี้มาก การทำงานกับคนเหล่านี้ ก็เป็นการเปิดพื้นที่ เคยลาออกจากกลุ่มแล้ว แต่พอคนเดือดร้อนก็กลับมาทำงานใหม่
คำ ผกา เสนอสู้เพื่อสิทธิทางเพศ ต้องออกจากความไทย เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน ตอนนี้เราเข้าตรงกันว่าปัญหาสิทธิผู้หญิงน่าจะจบไปแล้วเมื่อทศวรรษ 60 แต่ควรจะไปให้ความสำคัญกับอำนาจที่กำกับอุดมการณ์ อำนาจนี้ไม่ได้ทำงานเฉพาะผู้หญิง ผู้ชายเท่านั้น แต่ทำงานกับครอบครัว สถาบันต่างๆ ด้วย ดังนั้นมันจึงกลายเป็นแรงดันกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมไปถึงผู้หญิงที่เป็นดอกทองด้วย มันกลายเป็นบทลงโทษทางจิตใจ และอุดมการณ์ นี่คือสิ่งที่เราอยากจะบอกว่าเราต่อสู้ในภาษาเดิม ก็เหมือนคนพิการที่ต่อสู้เพื่อสิทธิคนพิการ เราต้องเปลี่ยนภาษาก่อน เราต้องการสิ่งที่เป็นตัวของเราเอง ดังนั้นการต่อสู้ทางอุดมการณ์จึงเป็นส่วนสำคัญ ไม่ใช่การต่อสู้เพียงแค่ขอให้แค่การยกเว้น น่าสงสาร น่าเห็นใจ เราไม่ไต้องการแค่นั้น ดังนั้นอนาคตของการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ใหม่ คือต้องออกจากความเป็นไทยในทุกมิติ เลิกคิดได้แล้ว เราก้าวเข้าสู่ความเท่าเทียมกันของมนุษย์ เราไม่ต้องแคร์ว่าการต่อสู้ของเรามันเป็นไทยหรือไม่ไทย เราต้องต่อสู้โดยยกเอาเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้ามาแทน เราจะต้องทบทวนขบวนการสตรีนิยมของไทยด้วยว่าจะเดินไปสูทางไหน กลุ่มเกย์ กลุ่มเลสเบี้ยนต้องไปร่วมเคลื่อนไหวเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่นการต่อสู้เรื่องรัฐฆราวาสด้วย การท้าทายเรื่องการเผด็จการ ถ้าคุณแต่งงานได้แล้วรัฐเป็นเผด็จการจะแฮปปี้หรือไม่ เป็นต้น
อัญชนา สู้เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับคนที่ไม่มีโอกาสข้ามาผลักดันสังคม ในกลุ่มที่เคลื่อนไหวด้วยกัน มันก็คิดไม่เหมือนกัน แต่สังคมอาจจะออกมาเป็นภาพรวม บางกลุ่มก็ทำเรื่องสุขภาพ ป้องกันเอดส์ บางคนก็ทำงานช่วยเหลือสงเคราะห์ บางคนก็ทำงานเพราะเป็นงานอาชีพแบบเอ็นจีโอ ดังนั้นจึงเป็นลูกผสม ไม่มีกระบวนการที่จะทำให้กระบวนนี้มาแลกเปลี่ยน และมาสรุปบทเรียนร่วมกัน ในส่วนตัว สิ่งที่อยากจะเห็นคืออยากจะเห็นคนที่เดือดร้อนมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสังคม ที่กดเขาอยู่ กลุ่มคนที่เดือดร้อนมีพลัง และกำหนดทิศทางต่อไป ไม่ได้เป็นรูปแบบที่ว่ารากหญ้ามีส่วนร่วม เราจะปรับอย่างไร พี่กลับมาใหม่เพื่อจะเปิดพื้นที่ใหม่เรื่องสิทธิทางเพศ มีมุมมองเรื่อง gender ไม่ได้มีเป้าระยะไกล อยากให้มีการเปิดพื้นที่ให้กับคนทีไม่มีโอกาสในการผลักดันสังคมเข้ามามากขึ้น จริงๆ แล้วกลุ่มหลากหลายทางเพศไม่ได้ต่อสู้เฉพาะเรื่องสิทธิเรื่องการแต่งงาน เราไม่ได้เลือกประเด็นนี้ แต่กลุ่มหลากหลายทางเพศเขาเลือกประเด็นนี้ในการเคลื่อนไหว แต่เราไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เราคิดว่าเรื่องการถูกทำร้าย การถูกไม่เข้าใจ นั้นสำคัญกว่า
ปิ่นแก้ว รูปธรรม-อุดมการณ์ต้องก้าวไปด้วยกัน การมองเรื่องสิทธิสตรี สิทธิทางเพศจากคนที่เป็นนักเคลื่อนไหวอย่างคุณอัญชนา กับคุณคำ ผกาจะเห็นว่ามันสามารถcomplement กันได้ คืออัญจารีก็ต้องทำงานกับคนที่มีความเดือดร้อน อาจไม่มีเวลามากพอในการคิดอะไรในเชิงนามธรรม หรืออุดมการณ์ ดังนั้นสิ่งที่คุณคำ ผกาพยายามกระตุ้นคือการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาไปสู่การเคลื่อนไหวในเชิงอุดมการณ์ ในขณะเดียวกันการฟัง กับคนที่คลื่นสตรีนิยมเป็นสามคลื่น เหมือนที่คำผกาพูด คลื่นของสตรีนิยมติดอยู่ในข้อแรก ขณะที่กลุ่มอัญจารีพูดทำให้เข้าใจสามัญชนที่เป็นเกย์ เป็นเลสเบี้ยนว่าเขาไม่ได้มีอุดมคติ โจทย์ที่เขาอยากเห็นสังคมไปทางไหนมันอาจไม่มี เราอยากเห็นสังคมเปลี่ยนกฎหมาย มันยังไปไม่ถึง ดังนั้นเราจึงเห็นว่ามันจำเป็นที่จะต้องมีสององค์ประกอบนี้. ดูภาพบรรยากาศการเสวนาเพิ่มเติมได้ที่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ศาลยกคำร้อง 'ทรูมูฟ' ขอไม่จ่ายค่าปรับ กสทช. วันละแสน Posted: 10 Dec 2012 08:34 AM PST ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำขอบริษัท ทรูมูฟ ไม่ทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครองของ กสทช.ที่ห้ามผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า นพ.ประวิทย์ ชี้ผู้ให้บริการมือถือทุกค่ายควรเร่งจ่ายค่าปรับ-ยุติการทำผิดกฎหมาย ลั่นยุค 3G ต้องไม่กำหนดระยะเวลาใช้บริการมือถือแบบเติมเงิน (10 ธ.ค.55) นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยว่า เมื่อประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้มีการพิพากษาในคดีที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเลขาธิการ กสทช. และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จากกรณีที่เลขาธิการ กสทช. มีคำสั่งกำหนดห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมกำหนดเวลาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้า (pre-paid) และสั่งปรับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนในอัตราวันละ 100,000 บาท เพื่อขอให้ศาลกำหนดมาตรการและวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยศาลพิจาณาเห็นว่า คำสั่งของ เลขาธิการ กสทช.ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย คือข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 และเมื่อผู้ฟ้องคดียังคงมีการกำหนดเงื่อนไขการให้บริการในลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด คำสั่งกำหนดค่าปรับทางปกครองของเลขาธิการ กสทช. จึงเป็นมาตรการบังคับเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติตาม ซึ่งมีการใช้มาตรการลงโทษดังกล่าวกับผู้ประกอบการรายอื่นด้วย ดังนั้นหากมีการทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าวตามที่ฟ้องก็จะก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม อันจะเป็นปัญหาและอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐหรือแก่บริการสาธารณะ นพ.ประวิทย์ กล่าวต่อว่า คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังชี้ด้วยว่า ข้อกำหนดตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 นั้นไม่ใช่บทบังคับในลักษณะเด็ดขาด หากแต่มีข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถกำหนดระยะเวลาได้โดยขอรับความเห็นชอบเป็นการล่วงหน้าจาก กทช. หรือ กทค. ในปัจจุบัน ส่วนในประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า การไม่กำหนดระยะเวลาการใช้บริการทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องรับภาระต้นทุนในการให้บริการเป็นจำนวนมาก ศาลเห็นว่า แต่ในเมื่อผู้ฟ้องคดียังมีการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ฟ้องคดีก็ย่อมได้รับประโยชน์จากเงินที่เหลืออยู่ของผู้ใช้บริการเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการใช้งาน "จากคำสั่งของศาลปกครองนั้นจะเห็นได้ว่า ศาลเข้าใจในประเด็นปัญหาในเรื่องของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้าและการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นผมจึงอยากเรียกร้องให้ผู้ประกอบกิจการมือถือประเภทพรีเพดให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย อันจะส่งผลเป็นการให้ความยุติธรรมต่อผู้บริโภคด้วย โดยสมควรยกเลิกการกำหนดระยะเวลาเร่งใช้บริการโดยเร็ว และเร่งจ่ายค่าปรับทางปกครองตามคำสั่งของสำนักงาน กสทช. ด้วย ซึ่งหากผู้ประกอบการยังละเลย ก็เป็นหน้าที่ของเลขาธิการ กสทช. ที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นผล" นพ.ประวิทย์ ระบุว่า สำหรับการให้บริการในระบบ 3G นั้น เป็นที่ชัดเจนว่าจะต้องไม่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้งานอีกต่อไป ทั้งนี้ตามที่มีกฎหมายห้ามไว้ "เนื่องจาก 3G เป็นบริการใหม่ที่ไม่เคยมีสัญญาบริการระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ใช้บริการมาก่อน และประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม ก็มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 แล้ว ดังนั้นจึงไม่อาจอ้างเรื่องข้อสัญญาเก่าเช่นเดียวกับบริการระบบ 2G ปัจจุบัน ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ กทค. จะต้องกำกับดูแลให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดต่อไป รวมทั้งอยากฝากไปยังผู้ใช้บริการให้ทราบสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายนี้ด้วย เพื่อจะไม่ถูกเอาเปรียบอย่างไม่สมควร" นพ.ประวิทย์กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ศาสวัต บุญศรี: เสี้ยมคนฆ่ากันคือพันธกิจหลักของฉัน Posted: 10 Dec 2012 07:19 AM PST สื่อมวลชนไทยหลายแขนง ณ เวลานี้ ดูแล้วรู้สึกว่าว่างมากเป็นพิเศษ วัน ๆ ก็คอยสอดส่องดูว่าศัตรูฝ่ายตรงข้ามอุดมการณ์ทำอะไรไม่เข้าตาบ้าง จ้องจับผิดไปเสียทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ ระดับ "ภาพคัฟเวอร์โฟโต้" หรือเรื่องใหญ่อย่างทักษิณออกทีวี ต้นสัปดาห์ เพจของหนังสือพิมพ์แนวหน้าจัดการครอปภาพหน้าจอ เพจเฟซบุ๊คของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมวางเปรียบเทียบกัน คำบรรยายใต้ภาพสรุปใจความได้ว่า เนื่องจากวันคล้ายวันพระราชสมภพ ทำไมเพจนางสาวยิ่งลักษณ์ถึงไม่ยอมเปลี่ยนภาพคัฟเวอร์โฟโต้เป็นการถวายพระพรในหลวง ต่างจากของนายอภิสิทธิ์ที่รู้งาน นี่ย่อมแสดงลึก ๆ ว่านางสาวยิ่งลักษณ์ไม่จงรักภักดีหรือเปล่า เหตุการณ์ที่สองเกิดขึ้นกับเพจเนชั่น ชาแนล สืบเนื่องจากบทกลอนอาเศียรวาทของมติชนที่มีการตีความว่าส่อไปในทางแง่ลบ เนชั่น ชาแนลจัดการนำคำพูดของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล มาเสนอพร้อมภาพบทกลอนชวนให้เข้าใจได้ว่า ดร.สมเกียรติออกมาวิจารณ์กลอนบทนี้ แต่แล้วเกิดมีผู้จับผิดได้ว่าข้อความที่เนชั่น ชาแนลใช้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์เมื่อเดือนตุลาคมโดยผู้จัดการออนไลน์ แถมที่สำคัญ ตัว ดร.สมเกียรติเองก็แทบไม่ได้กล่าวถึงกลอนบทนี้โดยตรงในแฟซบุ๊คของตน สรุปความได้ว่า เนชั่น ชาแนลจัดการก๊อปปี้ข้อความจากผู้จัดการแล้วตัดแปะประหนึ่ง ดร.สมเกียรติพูดอีกที โดยที่เจ้าตัวไม่ได้รู้แม้แต่น้อย เหตุการณ์นี้สร้างความไม่พอใจให้กับนักข่าวอาวุโสในเนชั่นเอง จนท้ายที่สุดทางเพจต้องทำการลบและแสดงความขอโทษต่อการกระทำ และล่าสุด หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับเช้าวันรัฐธรรมนูญจัดการพาดหัวรับการออกทีวีของ พตท.ทักษิณ ทางช่อง 11 เมื่อคืนวันที่ 9 ธันวาคม ด้วยประโยคที่ว่า "อัปรีย์ถ่ายสดแม้ว" สร้างความสะใจและฟินให้แก่แฟนคลับของไทยโพสต์เป็นอันมาก เพียงอาทิตย์เดียวเกิดเหตุการณ์ชวนตะลึงถึงสามเรื่อง น่าสนใจว่าเดี๋ยวนี้จรรยาบรรณสื่ออยู่ที่ไหนกัน คนเป็นสื่อทุกคนต่างล้วนถูกพร่ำสอนมาตั้งแต่เป็นนักเรียน หรือถึงไม่จบตรงสาย เจ้านายและรุ่นพี่ก็น่าจะสอน ครูบาอาจารย์มักหยิบเอาตำราของเดนิส แมคเควลมาสาธยายให้ฟังว่าหน้าที่ของสื่อมีอะไรบ้าง จรรยาบรรณควรเป็นอย่างไร และหนึ่งในข้อที่ต้องจำคือ สื่อจะต้องเป็นผู้ประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นในสังคม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยช่วงปีสองปีที่ผ่านมา รอยร้าวนั้นดูไม่ค่อยได้รับความสนใจทำหน้าที่ประสานกันสักเท่าไหร่ เห็นมีแต่จะยิ่งทำให้รอยร้าวแตกทลายมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ที่เราพบเจอได้บ่อยคือการจ้องจับผิดเรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่น่าจะเป็นเรื่อง แต่เล็งเห็นผลได้ว่าถ้านำมาเสนอย่อมเพิ่มความไม่พอใจและความจงเกลียดจงชัง แฟนคลับที่เข้ามาอ่านก็ยิ่งพากันกระหน่ำด่าโดยไร้เหตุผลและหยาบคาย พร้อมกับเชิดชูว่านี่คือสิ่งที่ "สื่อตัวจริง" ต้องทำ การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล หน่วยงานรัฐ ฯลฯ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามตนไม่ใช่เรื่องผิด แถมเป็นเรื่องที่ต้องกระทำด้วย ทว่าการตรวจสอบไม่ได้แปลว่าต้องมานั่งจับผิดเรื่องเล็กกระจิ๋วหลิวที่คนค่อนประเทศเขาก็งงว่ามันผิดตรงไหน แต่ว่า ๆ ไปแท้ที่จริงแล้ว สื่อเหล่านี้ไม่ได้ต้องการตรวจสอบการทำงานใด ๆ ของฝ่ายตรงข้ามหรอก พวกเขาเพียงแต่อยากขย้ำและกระทืบเสียให้จมดิน จะมีอะไรดีกว่าการเอะอะหาเรื่องด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็คอยนำเสนออยู่เรื่อย ๆ ผลิตซ้ำเข้าไปให้แฟนคลับได้เสพ พวกเขารู้อยู่แล้วว่าแฟนคลับส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และไม่ต้องการเหตุผลใด ๆ พวกเขาเล็งเห็นผลแต่แรกว่ายิ่งเสี้ยมคนให้เกลียดฝ่ายตรงข้ามเท่าไหร่ ยิ่งทำให้มีแฟนคลับเหนียวแน่นและพร้อมจะกระทืบผู้เห็นต่างในโลกไซเบอร์ได้ทุกเมื่อ สิ่งที่น่าหวั่นใจคือสื่อเหล่านี้จะรู้ตัวเองหรือเปล่าว่าสิ่งที่ตนทำไม่ใช่เรื่องที่สมควรและถูกต้อง บทเรียนในอดีตทั้งในและนอกประเทศต่างล้วนเป็นอุธาหรณ์สอนใจให้ดูว่าการที่สื่อมวลชนเสี้ยมให้คนเกลียดกันมากยิ่งขึ้น ๆ ผลมันจะเป็นอย่างไร ดูท่าคงไม่ได้เรียนรู้จากอดีตเลยแม้แต่น้อย อยากรู้เหมือนกันว่าเวลาพูดถึงวิทยุยานเกราะหรือหนังสือพิมพ์ดาวสยาม พวกเขาจะรู้สึกในแง่ไหน คงสมาทานแนวคิดและเชิดชูให้เป็นสื่อมวลชนต้นแบบก็เป็นได้ ท้ายที่สุดไม่ว่าสื่อมวลชนค่ายนั้นจะถืออุดมการณ์การเมืองฝ่ายไหนอย่างไร อยากขอวิงวอน เลิกเสี้ยมมวลชนตนเองให้ยิ่งเกลียดฝ่ายตรงข้ามกันมากยิ่งขึ้น ๆ คิดให้มาก คิดให้ถี่ถ้วนก่อนจะเสนอะไรออกไป ตัวสื่อเดิมอาจจะไม่ค่อยมีปัญหาเพราะต้องผ่านการกลั่นกรองหลายชั้น (แต่ก็ไม่แน่ ไทยโพสต์แสดงให้เห็นแล้ว) แต่สื่อใหม่ โดยเฉพาะเพจเฟซบุ๊คที่แอดมินฯ สามารถโพสต์อะไรก็ได้ จนดูเหมือนไม่มีการควบคุมจากตัว บก.ใหญ่ ตรงนี้อาจหลุดเรื่องเสี้ยมออกมาโดยไม่ผ่านการกรองก่อน มิฉะนั้นแล้ว ถ้ายังเสี้ยมกันหนักเข้า ๆ ทั้งสองฝ่าย ประเทศเราคงลงเอยด้วยการฆ่ากันแบบ Battle Royale เป็นแน่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'สสส.' แถลงร่วมองค์สิทธิระหว่างประเทศ ต้องปล่อยตัว 'สมยศ' ทันที Posted: 10 Dec 2012 04:52 AM PST
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน แถลงร่วมกับองค์กรสิทธิระหว่างประเทศ ย้ำการควบคุมตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุขขัดกับมาตรฐานสากล ชี้การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่ทำได้ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ
The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders Union for Civil Liberty (UCL) แถลงการณ์ร่วม ประเทศไทย: คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติแถลงว่าการควบคุมตัวนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ปารีส เจนีวา และกรุงเทพ, วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555 FIDH และ OMCT ในการทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมด้วยสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน ในประเทศไทย ยินดีคณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD) ที่ระบุว่าการควบคุมตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ นายสมยศ ถูกควบคุมตัวมากว่า 20 เดือนแล้วตั้งแต่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน ปีพ.ศ. 2554 หลังจากที่เขาเริ่มการรณรงค์ที่จะรวบรวมรายชื่อ 10,000 รายชื่อเพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คำขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้รับการปฎิเสธมาโดยตลอดโดยศาลยุติธรรม นายสมยศถูกต้องข้อหาอาญาเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 เพียงเพราะว่าเขาอนุญาตให้มีบทความสองบทความของผู้เขียนอีกคนหนึ่งที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ในวารสารชื่อ "เสียงทักษิณ" ซึ่งโดยปกติการพิจารณาคดีในศาลจะเป็นการพิจารณาคดีลับกรณีเกี่ยวกับข้อความที่ระบุว่าเป็นความผิดอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ไม่โปร่งใส นายแดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน ประเทศไทย ได้กล่าวว่า นายสมยศเป็นสมาชิกขององค์กรสิทธิมนุษยชนและเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกในทางการพูดได้รับผลกระทบจากกฎหมายเข้มงวดที่เป็นการละเมิดสิทธิฯ นอกจากเสียงสะท้อนจากประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน อดีตเพื่อนร่วมงาน นายโคทม อารยา ปัจจุบันเป็นอาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า"ผมรู้จักสมยศตั้งแต่ตอนที่เราทำงานที่ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน เขามีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อพัฒนาสภาพของผู้แรงงาน ต่อมาได้ทำงานในด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพทางการเมืองให้กับแรงงงานไทยด้วย เขามีประวัติการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย แรงจูงใจทางการเมืองใดใดไม่ควรนำเขาต้องถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับคดีหมิ่นฯ " รวมทั้งอดีตประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชนอีกท่านหนึ่ง นายจตุรงค์ บุญญรัตนสมบูรณ์ ได้กล่าวว่า "นายสมยศมักจะทำงานร่วมกับคนงานทั้งในเวลาที่สุขและทุกข์ เขาทำงานอุทิศตนเพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน เขายืนหยัดในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย เชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตย และไม่เห็นด้วยกับเผด็จการและรัฐประหาร นายสมยศเป็นที่ยอมรับในกลุ่มคนงานในขณะที่เขาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิแรงงานให้กับสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน" วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะทำงานขององค์กรสหประชาติว่าด้วยการควบคุมตัวไม่ชอบ ได้ส่งจดเหมายอย่างเป็นทางการถึงประเทศไทยเพื่อเรียกร้องและตั้งคำถามเกี่ยวกับการควบคุมตัวนายสมยศ รัฐบาลได้ตอบจดหมายเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน กล่าวว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเป็นกฎหมายที่มีความชอบธรรมและและเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ และอธิบายด้วยว่า การกระทำความผิดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นการคุกคามความมั่นคงและบูรณาการแห่งรัฐ เสี่ยงต่อการดำรงอยู่ของรัฐไทย แต่ก็ไม่ได้ให้หลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นจริงตามข้ออ้างถึงความชอบธรรมในการกล่าวหานายสมยศ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD) พร้อมด้วยผู้แทนพิเศษว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ระบุว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไทย ทำให้การถกเถียงกันเรื่องสำคัญที่เป็นความสนใจของสาธารณะกลายเป็นสิ่งต้องห้าม ดังนั้นจึงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก" สิทธิเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองภายใต้มาตรา 19 ขออนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน "ประเทศไทยใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการคุกคามทางกฎหมาย รวมทั้งการควบคุมตัวนายสมยศ และบุคคลอื่นๆ ที่ใช้สิทธิในการแสดงออกทางความคิดเห็นของพวกเขา ทั้งๆ ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและมีภาระหน้าที่ในการเคารพและคุ้มครองเสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น" ประธาน FIDH กล่าวเสริม คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD) ระบุว่า การรณรงค์ให้มีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการตีพิมพ์บทความที่วิพากษณ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์นั้น เป็นการกระทำที่ต้องได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศตามข้อบทมาตรา 19 ขออนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คณะทำงานฯ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ และให้ชดเชยค่าเสียหายแก่นายสมยศด้วย คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD) ได้ส่งจดหมายจากองค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับกรณีคดีอาญาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในหลายครั้ง รวมถึงเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ผู้แทนพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน นาง Margaret Sekaggya และผู้รายงานพิเศษว่าด้วยเรื่องสิทธิในการแสดงออกทางความคิดเห็น นาย Frank La Rue ได้ส่งหนังสือร้องเรียนเร่งด่วน มายังประเทศไทย เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ถูกดำเนินคดีอาญา รวมทั้งกรณีนายสมยศด้วย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 นาย Frank La Rue เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขกฎหมายพรบ.ความผิดอาญาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 ในกฎหมายอาญาของไทย โดยระบุว่า "กฎหมายดังกล่าวเป็นข้อหาที่กว้างและไม่ชัดเจน รวมทั้งมีบทลงโทษที่หนัก ไม่ได้สัดส่วนกับความจำเป็นในการปกป้องสถาบันกษัตริย์และความมั่นคงแห่งรัฐ" ในเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2554 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้แสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD) และผู้แทนพิเศษทั้งสามประเด็นได้ส่งข้อร้องเรียนเร่งด่วนอีกครั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2554 เพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับการปฎิบัติต่อนายสมยศระหว่างการควบคุมตัวและ ความสอดคล้องของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เดือนตุลาคม ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำตัดสินว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปีพ.ศ. 2550 นายสมยศจะต้องขึ้นศาลอาญาอีกครั้งในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำสั่งนี้ เลขาธิการของ OMCT นาย Gerald Staberock กล่าวว่า " เราขอยืนยันอีกครั้งว่าเราเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ โดยทันที จากการถูกควบคุมตัวและจากการใช้กระบวนการทางศาลในการคุกคามเขา เราขอให้ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติ องค์กรพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งสถานทูตประเทศต่าง ๆ ประจำประเทศไทยได้เรียกร้องต่อเจ้าหน้าที่ไทยเกี่ยวกับการควบคุมตัวนายสมยศ และจัดให้มีผู้สังเกตการณ์คดีในการพิจารณาคดีของนายสมยศที่จะถึงนี้ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 "
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 10 Dec 2012 04:52 AM PST สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โพสต์สองสเตตัสซ้อน แนะนำวิธีง่ายๆในการเอาชนะทักษิณโดยไม่ต้องทำลายระบอบประชาธิปไตยให้กับพันธมิตร, เสื้อหลากสี, องค์การพิทักษสยาม ( อพส.) ประชาธิปัตย์ ฯลฯ *************************************** ถ้าผมเป็นศัตรูทักษิณ (อย่าง พันธมิตร, เสื้อหลากสี, อพส. ประชาธิปัตย์ ฯลฯ) นะ *****************************
ที่มา: สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ภาคประชาสังคมกับขบวนการเอกราชปาตานี : จุดร่วมและจุดต่าง Posted: 10 Dec 2012 04:46 AM PST การต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมและการรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และศาสนานั้นเรียกได้ว่าเป็นประเด็นในหัวใจของชาวมลายูมุสลิมเกือบทุกคนที่ใส่ใจในความเป็นไปของสังคมการเมืองในชายแดนภาคใต้ บางคนมีจุดร่วมกับขบวนการเอกราชปาตานีในเรื่องเหล่านี้แต่ไม่เห็นด้วยกับการจับอาวุธขึ้นต่อสู้ และพวกเขาได้เลือกที่จะเคลื่อนไหวในระบบและบนหนทางสันติวิธี คนเหล่านี้อยู่ในภาคส่วนที่เรียกกันว่าภาคประชาสังคมซึ่งได้เติบโตขึ้นอย่างมากภายหลังความรุนแรงปะทุขึ้นในปี 2547 DSJ สนทนากับนักเคลื่อนไหวในภาคประชาสังคมซึ่งทำงานในประเด็นที่หลากหลาย เพื่อให้พวกเขาสะท้อนการทำงานในบริบทที่อยู่ท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐกับขบวนการและสะท้อนถึงขบวนการจากมุมที่พวกเขายืนอยู่ นักต่อสู้เรื่องสิทธิ & ประชาธิปไตย นักเคลื่อนไหวหนุ่มที่ทำงานรณรงค์เรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้กล่าวว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาคประชาสังคมได้ลงไปทำงานในหมู่บ้านมากขึ้น ซึ่งในแง่หนึ่งก็แสดงว่าขบวนการ "เห็นชอบ" หรือไม่ขัดขวางการเคลื่อนไหวของพวกเขา เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่ขบวนการซึ่งเขาเชื่อว่า "เข้มแข็งมาก" จะไม่รู้เห็น "เขา [ขบวนการ] จะทำอะไรก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้" เขากล่าว นักเคลื่อนไหวผู้นี้สะท้อนว่าแม้ขบวนการจะไม่ได้โจมตีการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมโดยตรงแต่ก็มีการตั้งคำถามในทำนองว่าพวกเขาไป "จับมือ" หรือ "ปรองดอง" กับรัฐซึ่งขบวนการมองว่าเป็นศัตรูหรือไม่ เขาเล่าว่าในวงพูดคุยในระดับหมู่บ้านมีการพูดเปรียบเปรยว่าทำไมเคลื่อนไหวแล้วไม่โดนจับและไม่ได้ถูกปราบปรามจากฝ่ายรัฐ แล้วจะเป็นนักต่อสู้ที่แท้จริงได้อย่างไร ชายหนุ่มผู้นี้ซึ่งเคยเป็นอดีตแกนนำนักศึกษามาก่อนกล่าวว่าขบวนการไม่เชื่อในการต่อสู้ด้วยสันติวิธีเพราะคิดว่าจะต้องสู้ด้วยหนทางปฏิวัติเท่านั้น ถ้าหากว่าไม่มีกองกำลังก็ไม่สามารถที่จะต่อกรหรือมีอำนาจต่อรองกับรัฐไทยได้ เขามองว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการนั้นใช้ความรู้สึกมากกว่าความรู้ในการปลุกให้คนลุกขึ้นสู้ และสิ่งที่ขบวนการยังคงตอบไม่ได้คือ "จะชนะได้อย่างไร" เขามองว่าขบวนการนั้น "คลอดออกมาเป็นการทหาร" และยังคงมีกองกำลังที่เข้มแข็งมาก ในขณะที่ฝ่ายการเมืองนั้นมีพัฒนาการตามมาทีหลัง ซึ่งฝ่ายทหารยังคงมีอำนาจและอิทธิพลอยู่สูง "ในบางมัสยิดที่มวลชนเข้มแข็ง มีการยืนถือปืนในการกล่าวคุตบะห์ วันศุกร์ [การบรรยายทางศาสนาหลังการละหมาดใหญ่วันศุกร์]" เขาระบุ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทนำของฝ่ายกองกำลัง นักเคลื่อนไหวผู้นี้อธิบายว่ากรอบคิดในการต่อสู้ของเขานั้นแตกต่างจากขบวนการ "ขบวนการคุมสภาพมวลชนด้วยคำอธิบายทางศาสนา ใช้ความเชื่อในการขับเคลื่อน เมื่อขบวนการเป็นนักรบทางศาสนา หากว่าเขา [ชาวมลายูมุสลิม] ไม่สนับสนุนก็จะบาป" เขาอธิบาย แต่ว่าในบทบาทของนักเคลื่อนไหวในภาคประชาสังคม เขาคิดว่ามุสลิมไม่จำเป็นต้องสู้ด้วยวิถีทางเดียว คนที่มาจากเบ้าหลอมจากการศึกษาในตะวันออกกลางจะเน้นหนักในเรื่องศาสนา แต่ว่าถ้าเป็นคนมลายูมุสลิมที่ไปศึกษาต่อในที่อื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย กรุงเทพฯ ก็อาจจะต่อสู้บนฐานคิดอื่นๆ เช่น หลักการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ สิทธิในการจัดการตนเอง (Right to Self-Determination) เขาเห็นว่าการใช้สันติวิธีในการต่อสู้นั้นไม่ได้หมายถึงการยอมจำนน การสู้ด้วยสันติวิธีนั้นต้องสามารถที่จะนำไปสู่เป้าหมายในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมด้วย "เราต้องยืนยันว่าเราทำงานให้กับประชาชนและทำให้เกิดพื้นที่ทางการเมือง" เขากล่าว และระบุว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาจะต้องอธิบายกับขบวนการซึ่งพร้อมที่จะใช้ความรุนแรงกับพวกเขาได้ตลอดเวลา นักขับเคลื่อนเรื่องกระจายอำนาจ นักเคลื่อนไหวอีกคนหนึ่งเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนเรื่องการกระจายอำนาจในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ยอมรับว่าการรณรงค์ของพวกเขาก็ถูกมองด้วยสายตาเคลือบแคลงสงสัยจากฝ่ายขบวนการบางส่วนเช่นกัน เขาระบุว่ามีการกล่าวหาว่าพวกเขานั้นเป็น "opportunists" (พวกฉวยโอกาส) และมีการวิจารณ์ว่าการขับเคลื่อนเรื่องกระจายอำนาจนี้เป็นเทคนิคของพวกซีแย (สยาม) ที่จะขัดขวางการต่อสู้เพื่อเอกราชของปาตานี นักรณรงค์เรื่องกระจายอำนาจผู้นี้บอกว่าการโต้เถียงกันนั้นเกิดขึ้น การวิพากษ์วิจารณ์ก็มีความเข้มข้นซึ่งบางส่วนก็ปรากฏให้เห็นในโลกออนไลน์ แต่ว่าไม่ได้มีการข่มขู่ทำร้าย เขาเล่าว่ามีบุคคลนิรนามโทรศัพท์มาถึงเขาเพื่ออธิบายว่าการกระจายอำนาจนั้นไม่สอดคล้องกับหลักฟิกซ์(กฎหมายอิสลาม) อย่างไร เขาอธิบายว่าข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการเคลื่อนไหวของเขากับขบวนการคือ การขับเคลื่อนของเขานั้นมีฐานมาจากความคิดประชาธิปไตยซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มนุษย์เป็นผู้กำหนด ในขณะที่การต่อสู้ของขบวนการนั้นมาจากฐานคิดทางศาสนาซึ่งมาจากพระเจ้า เขาเห็นด้วยกับทัศนะของขบวนการว่าปาตานีเป็นดินแดนที่ถูกสยามรุกรานและแผ่นดินแถบนี้เป็น ดารุลฮัรบีและขบวนการ "มีสิทธิที่จะต่อสู้" ซึ่งรวมถึงการต่อสู้ด้วยอาวุธด้วย แต่เขาก็วิจารณ์ว่าขบวนการมีลักษณะที่เป็น "fanatic" (สุดโต่ง) เขาไม่เห็นด้วยกับการโจมตีคนไทยพุทธที่ไม่เกี่ยวข้องในการต่อสู้ ซึ่งบางทัศนะจากคนในขบวนการสะท้อนว่าคนไทยพุทธถูกนิยามว่าเป็นกาฟิรฮัรบี [ผู้ปฏิเสธอิสลามที่อยู่ในดินแดนแห่งสงคราม] จึงมีความชอบธรรมที่จะโจมตีได้ เขาตั้งคำถามเรื่องเป้าหมายในการมุ่งไปสู่เอกราชของขบวนการด้วยเช่นกัน ประเด็นแรก เขาวิพากษ์ว่าขบวนการจะขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้อย่างไร ยังไม่มีความชัดเจน และสอง เป้าหมายดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องกับบริบททางการเมืองในโลกยุคปัจจุบันที่ความสำคัญของรัฐชาติกำลังลดน้อยถอยลงหรือไม่ และประการสุดท้าย หากได้เอกราช ดินแดนแถบนี้จะมีการปกครองอย่างไร ใครจะขึ้นมามีอำนาจและจะมีความเป็นธรรมในการปกครองหรือไม่ "คนที่อยากได้ merdeka ก็อยากจะได้อำนาจเพื่อจัดการสังคมตามอุดมคติของตัวเอง ... แต่ถ้ามลายูปกครองแล้วกดขี่กันเอง เราก็ไม่ยอม ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เรากังวล" เขากล่าว เขาคิดว่าการเคลื่อนไหวในเรื่องกระจายอำนาจนั้นเป็นการต่อสู้ในระบบที่ผ่านช่องทางซึ่งรัฐธรรมนูญไทยนั้นเปิดโอกาสให้ ซึ่งหากว่าการขับเคลื่อนมีพลวัตรมากขึ้น ก็จะเป็นสิ่งที่ "ตอบโจทย์" ในสิ่งที่ขบวนการเรียกร้องได้ด้วยเช่นกัน เสียงจากผู้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรง ในท่ามกลางห่ากระสุน มีผู้คนบาดเจ็บ ล้มตาย ถูกจับ ถูกคุมขัง ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นผู้บริสุทธิ์หรือเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งด้วยอาวุธนี้ก็ตาม นางโซรยา จามจุรี หัวหน้าโครงการผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพและความมั่นคงในชายแดนใต้และนักวิชาการสำนักส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เริ่มทำงานกับกลุ่มผู้หญิงเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้มาตั้งแต่ปี 2547 เธอสะท้อนการทำงานของกลุ่มผู้หญิงว่า "ที่ผ่านมาเราก็ไม่เคยได้รับ feedback [เสียงสะท้อน] ในด้านที่เป็นลบจากทั้งสองฝ่าย [รัฐและขบวนการ] ดูเหมือนว่าทั้งสองฝ่ายจะเข้าใจและรับได้กับงานที่ผู้หญิงทำ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าคนที่สื่อสารเรื่องนี้เป็นเหยื่อโดยตรงที่เป็นผู้ถูกกระทำ ... ถ้าเป็นเหยื่อ ก็มีแนวโน้มที่จะได้รับความเห็นอกเห็นใจและเข้าอกเข้าใจ แม้ว่าจะไปกระทบกระทั่งเขาด้วย มันก็จะมีความรู้สึกตรงนี้ต่อเหยื่อ มันจะต่างจากคนที่ไม่ได้รับผลกระทบเป็นคนขับเคลื่อนหรือสื่อสารเรื่องนี้" โซรยากล่าว เธออธิบายว่ากลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคมต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นว่าพวกเขาเป็นคนกลางๆ จริงๆ ที่ไม่ได้มีผลประโยชน์แอบแฝงในการเรียกร้องให้ยุติความรุนแรง ในกลุ่มก็มีทั้งพุทธและมุสลิม ซึ่งพวกเขาต้องการที่จะสื่อสารให้เห็นว่าความรุนแรงนั้นกระทบกับทุกฝ่าย งานของเธอมีสองส่วนหลักๆ คือ งานด้านเยียวยากับการส่งเสริมให้ผู้หญิงสื่อสารและแสดงความคิด งานด้านเยียวยานั้นเป็นงานที่เธอคิดว่าทั้งฝ่ายรัฐและขบวนการเองยอมรับ เพราะเป็นงานด้านมนุษยธรรมที่เป็นบวกต่อทุกๆ ฝ่าย ส่วนงานส่งเสริมให้ผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงสื่อสารและแสดงความคิดเห็นนั้น เป็นงานที่เธอเรียกว่าเป็น "การยกระดับ" การรณรงค์ ซึ่งเธอก็เคยได้รับคำเตือนว่างานในลักษณะนี้อาจจะไปกระทบกับฝ่ายที่กำลังต่อสู้กันอยู่ได้ "มันเหมือนกับเราไปบอกเขา [ขบวนการ] ให้ยุติการใช้ความรุนแรงเพื่อที่จะยุติผลกระทบที่ผู้หญิงต้องแบกรับ ในอีกด้านเหมือนกับว่าเราก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง แล้วก็ไปบอกให้เขายุติ ในขณะที่ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ของเขา มันก็เหมือนกับว่าให้เขาหยุดใช้เครื่องมืออันนั้น ซึ่งมองอีกด้านมันก็ไปกระทบกับขบวนการ" เธอกล่าว แต่โซรยาบอกว่าการสื่อสารนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นการยกระดับการเยียวยาให้ไปสู่การสร้างสันติภาพ ซึ่งเธอไม่อาจที่จะทำแต่เฉพาะการเยียวยาเหยื่ออย่างเดียวได้อีกต่อไป เพราะมิฉะนั้นการเยียวยาก็จะไม่สิ้นสุด "เราต้องพูด ไม่งั้นก็จะมี actor [ผู้เล่น] แค่สองฝ่าย ระหว่างคนที่ต้องการเอกราชและคนที่ให้เอกราชไม่ได้ แล้วเหยื่อไปไหน เราก็ต้องส่งสารไปให้เขาฉุกคิด" เธอกล่าว เธอกล่าวว่าในช่วงวันสตรีสากลและวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ในเดือนมีนาคม 2555 ที่ผ่านมา ทางกลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคมได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการ "จำกัดขอบเขตและเป้าหมายการใช้อาวุธ โดยไม่กระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์หรือพลเรือน และยุติการก่อเหตุที่ใช้วัตถุระเบิดซึ่งนำไปสู่การสังหารและทำลายล้างชีวิตประชาชน โดยไม่เลือกเพศ เลือกวัย" ซึ่งเธอเห็นว่าเป็นข้อเรียกร้องที่อาจจะเป็นจริงได้มากกว่าที่จะขอให้หยุดใช้ความรุนแรงโดยสิ้นเชิงในขณะนี้ เธอคิดว่าข้อเรียกร้องนี้จะทำให้ขบวนการมีความชอบธรรมมากขึ้นด้วย หากทำได้ การเป็นคนกลางที่ต้องทำงานช่วยเหลือชาวบ้านทำให้กลุ่มของเธอจะต้องประสานงานกับภาครัฐซึ่งการวางตัวในสถานการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน "มันก็เป็นศาสตร์และศิลป์ที่เราจะต้องวางตัวแค่ไหนอย่างไรกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ แม้ว่าเราจะต้องปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่เพื่อให้เราช่วยเหลือชาวบ้านได้ ในขณะเดียวกัน มันก็ต้องมีระยะห่างระหว่างเรากับเจ้าหน้าที่อยู่ ไม่ให้เราถูกเข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกับเจ้าหน้าที่ แต่ว่าเราไปหาเจ้าหน้าที่เพราะว่าเราต้องการช่วยเหลือประชาชน มันยากนะ มันไม่ใช่ง่ายเลย มันยาก อยู่อย่างไร โดยเฉพาะคนที่เป็นแกนนำชาวบ้าน" เธอกล่าว ในประสบการณ์ทำงานของเธอ เธอเห็นปัญหาเรื่องช่องว่างระหว่างชาวบ้านกับรัฐมาก โดยเฉพาะชาวบ้านที่ใกล้ชิดหรือเป็นสมาชิกของขบวนการ "เขาห่าง เขาไม่รู้จัก ไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์มาก่อนในชีวิต ตอนมีปฏิสัมพันธ์ก็คือโดนจับ....เขาจะมองว่าตัวเอง ต้อยต่ำไร้ค่า เหมือนกับเป็นหมาจรจัด" เธอกล่าว และเน้นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างให้เกิดบทสนทนาระหว่างรัฐกับประชาชนให้มากๆ นอกจากนี้ เธอยังพยายามที่จะสื่อสารผ่านรายงานวิทยุภาคภาษามลายูซึ่งเป็นโครงการใหม่หลังจากได้เริ่มทำรายการวิทยุภาคภาษาไทยไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยกลุ่มของเธอต้องการสื่อสารว่าในการต่อสู้นั้นมันมีทางออกที่จะสู้อย่างสันติวิธี โดยไม่ยอมจำนนอย่างไรบ้าง นี่ก็เป็นเสียงสะท้อนจากมุมของภาคประชาสังคมที่มีความคิดร่วมบางอย่างกับขบวนการเอกราชปาตานี แต่ก็มีข้อแย้งและข้อวิพากษ์ต่อวิธิคิดและรูปแบบการต่อสู้ของขบวนการเช่นกัน หมายเหตุ รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช เป็นอดีตนักวิเคราะห์ของ International Crisis Group ปัจจุบัน เธอกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทด้านทฤษฎีการจัดการความขัดแย้งที่ King's College London และเป็นที่ปรึกษาของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ การจัดทำรายงานพิเศษเรื่อง "ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี" ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ติดตามอ่านตอนที่ 7 "ปัจฉิมบท : สันติภาพที่ปลายอุโมงค์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร" ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย ได้ในวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2555 อ่านย้อนหลังรายงานพิเศษชุด "ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี" ตอน 1 สายธารแห่งประวัติศาสตร์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
อนุรักษ์กับทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย โดย ศศิน เฉลิมลาภ กับข้อโต้แย้งของ Book Re:public Posted: 10 Dec 2012 04:29 AM PST จากเวทีเสวนา"ห้องเรียนประชาธิปไตยเรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาในระบอบประชาธิปไตย" เมื่อวันที่24 พ.ย.ที่ผ่านมาโดยร้าน Book Re:public โดยมี"ศศิน เฉลิมลาภ" และ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" เป็นวิทยากรได้เกิดกรณีวิวาทะที่น่าสนใจระหว่างนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนักธุรกิจรุ่นใหม่โดยเฉพาะในประเด็นการเมืองและความเท่าเทียมซึ่งประชาไทได้รายงานไปแล้ว ต่อมาศศินได้เขียนบทความที่มีความต่อเนื่องจากการเสวนาดังกล่าวข้างต้นลงใน นสพ.มติชน และทางร้านBook Re:public ได้เขียนแย้งกับศศินในเฟซบุ๊ค ประชาไทเห็นว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจ จึงได้รวบรวมมานำเสนอ โดยทั่วๆ ไป ผมไม่ค่อยได้ศึกษาเรื่องการเมืองในเชิงแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ลึกซึ้งอะไรมากนัก อาจจะเนื่องเพราะพื้นฐานที่เรียนมาทางวิทยาศาสตร์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 10 Dec 2012 12:55 AM PST | |
เสวนา “เซ็นเซอร์ และสัญลักษณ์ในงานวรรณกรรม” Posted: 10 Dec 2012 12:45 AM PST เสวนาที่ Book Re:public โดยเก่งกิจ กิติเรียงลาภ, จิรัฎฐ์ ประเสริฐทรัพย์, นิวัติ พุทธประวาท เริ่มตั้งแต่กรณีอาเศียรวาท ที่สะท้อนว่าสังคมไทยเริ่มไม่สามารถเขียนในขนบอื่น เทียนวรรณ ศรีบูรพา และเสรีภาพของนักเขียน จนถึงการใช้สัญลักษณ์ในโลกวรรณกรรม 9 ธ.ค.55 เวลา 15.00 น.ร้าน Book Re:public จังหวัดเชียงใหม่ จัดเสวนาในหัวข้อ "เซ็นเซอร์ และสัญลักษณ์ในงานวรรณกรรม" โดยมีวิทยากรคือ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ นักวิชาการอิสระ, จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ นักเขียน และ นิวัติ พุทธประสาท นักเขียนและเจ้าของสำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม ดำเนินรายการโดย อรรถวุฒิ บุญยวง และ นฆ ปักษนาวิน สังคมที่มีข้อจำกัดของการเขียน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กล่าวถึงกรณีบทอาเศียรวาท ของหนังสือพิมพ์มติชน น่าสนใจว่าทำไมมติชนถึงถูกอ่านเยอะ ไม่ว่าอ่านในรูปแบบไหนก็ตาม และลักษณะของบทอาเศียรวาทเป็นอย่างไร ทำไมมติชนถึงโดนด่า ถ้าเราดูลักษณะบทอาเศียรวาทที่สังคมไทยยอมรับได้ว่าถูกต้อง แทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คือคุณไม่สามารถเขียนในขนบหรือรูปแบบอื่น แล้วเราก็ไม่อ่าน เพราะมันก็ซ้ำๆ อยู่ทุกปี บทอาเศียรวาทในสังคมไทยมีลักษณะที่ต้องพูดอะไรแบบตรงไปตรงมามาก เป็นบทกวีที่ไม่ต้องการการตีความ ทุกคนอ่านแล้วรู้ว่าเป็นการยกย่อง งานเขียนจำนวนมากที่ถูกแบนในโลกนี้ เช่น Animal Farm (งานเขียนวรรณกรมการเมืองของจอร์จ ออร์เวล ผู้เขียน 1984) ถูกแบนในสังคมคอมมิวนิสต์ แต่ไม่ถูกแบนในสังคมไทย จริงๆ แล้วถ้าเรามองข้ามบริบท สังคมไทยเราก็อยู่ในโลกที่เป็น Animal Farm แบบหนึ่ง เรากำลังอยู่ในสังคมที่เราจำกัดการเขียนให้มีขนบหรือรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงอย่างมากในเรื่องต่างๆ มีลำดับชั้นของการเขียน ในแง่ของพื้นที่ บทอาเศียรวาทจะต้องอยู่ในหน้า 1 จุดที่สูงสุดของหนังสือพิมพ์ และอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการยกย่อง มีรูปแบบการเขียนที่ตายตัว ในสังคมไทยการยกย่องบุคคลพิเศษต้องอยู่ในพื้นที่เฉพาะบางอย่างที่ถูกจำกัดว่าจะต้องเขียนอย่างไรด้วย และในแง่ของเวลา ถ้าเขียนบทยกย่องในหลวงในช่วงเวลาอื่น นอกจากวันที่ 5 ธ.ค. อาจจะต้องไม่ต้องเขียนในภาษาพิเศษเท่าวันที่ 5 ธ.ค.ก็ได้ มันไม่เปิดให้เกิดการตีความหรือพลิกแพลงรูปแบบของการเขียน โดยทั่วไปเราเข้าใจว่าการเขียน ผู้เขียนก็เขียนไป ผู้ตีความมีสิทธิ์จะตีความไป ผู้เขียนก็มีเสรีภาพที่จะเขียน แต่ในสังคมไทยปัจจุบัน เราไม่สามารถที่จะเขียนในสิ่งที่ต้องการจะเขียน เรื่องบางเรื่องเราถูกควบคุมให้เขียนในเฉพาะรูปแบบ คำพูด และเนื้อหาที่เขาต้องการให้เขียน ถ้าคุณเอาบทยกย่องในหลวงมาไว้ท้ายของหนังสือพิมพ์ ก็อาจจะถูกด่าได้ สรุปแล้ว เรากำลังอยู่ในพื้นที่และเวลาที่มันบังคับขนบและวิธีใช้คำของการเขียนให้คุณเขียนในเรื่องบางเรื่อง และให้คุณเขียนในรูปแบบอื่นๆ ไม่ได้ เกราะคุ้มกันของงานเขียนวิชาการและวรรณกรรม ในประเด็นที่สอง เก่งกิจเสนอว่าเรื่องการเขียนงานทางวิชาการ เมื่อเปรียบเทียบกับงานวรรณกรรมหรือบทกวี สำหรับงานวิชาการเราต้องเขียนทุกอย่างให้ชัดเจน มีระบบการนำเสนอ มีการอ้างอิง มีขนบของมันที่เป็นหลักสากล งานวิชาการต้องการความชัดเจน ตรงไปตรงมา และไม่คลุมเครือ สามารถอ้างอิงกลับไปที่แหล่งที่มาว่าคุณเอามาจากไหน ใครพูด พูดเมื่อไร และการอ้างอิงนี้เป็นเกราะป้องกันนักวิชาการจากการโดนด่าหรือโดนฟ้อง แต่ลักษณะของงานเขียนทางวรรณกรรม สิ่งที่เป็นเกราะคุ้มครองก็คือการไม่ได้บอกว่ามันพูดเรื่องจริง (Reality) ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ไหนอย่างไร เรากำลังบอกว่าเราเขียนเรื่องสมมติ ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับความเป็นจริงก็ได้ แต่เราอาจจะพูดถึงความจริงผ่านเรื่องสมมติที่เราสร้างขึ้นมา เกราะคุ้มครองของงานวรรณกรรมคือเราไม่ได้กำลังพูดถึงคนชื่อนี้จริงๆ เป็นบุคคลที่เราสมมติขึ้นมา งานเขียนทางวรรณกรรมจึงเปิดพื้นที่สำหรับการตีความมากกว่างานเขียนทางวิชาการ ต้องการให้ผู้อ่านมีจินตนาการ มีความคิดความรู้สึกกับงานเขียนได้มากกว่างานวิชาการ แต่ไม่ได้หมายความว่างานเขียนทางวิชาการกับวรรณกรรมจะมีความสามารถในการพูดความจริงที่ต่างกัน เพียงแต่มันมีวิธีการพูดความจริงที่ไม่เหมือนกัน และมีเกราะคุ้มครองการเขียนที่แตกต่างกัน ในสังคมเผด็จการ อย่าง Animal Farm งานเขียนวิชาการจำนวนมากไม่สามารถเอาความเป็นจริงมาเล่าความจริงได้ทั้งหมด คุณเขียนไม่ได้ว่าใครฆ่าในหลวงรัชกาลที่ 8 เครื่องมือที่สำคัญในสังคมแบบ Animal Farm สามารถใช้งานวรรณกรรมหรืองานศิลปะมาเติมเต็มสิ่งที่ไม่สามารถพูดถึงได้ งานวรรณกรรมสามารถพูดถึงความจริง (truth) ได้มากกว่างานวิชาการจำนวนมาก ประเด็นหนึ่งที่อาจารย์สมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล) และอาจารย์ชูศักดิ์ (ภัทรกุลวณิชย์) พูดในงานเสวนารักเอย คือ ในสังคมที่มีลักษณะเผด็จการมันมีเพดานของเรื่องที่เราพูดอะไรได้และไม่ได้ ในสารคดีของอ้ายเหว่ยเหว่ย เขาบอกว่าเขาพยายามจะทำในสิ่งที่รัฐบาลจีนอนุญาตให้ทำเท่าที่จะทำได้ แต่เขาจะทำในจุดที่มากที่สุดเท่าที่เขาจะอนุญาตให้ทำ แล้วค่อยๆ เขยิบขึ้นไป อันนี่เป็นสิ่งที่อาจารย์สมศักดิ์พยายามจะทำตลอด คือพยายามจะที่บอกว่าคุณสามารถพูดถึงสถาบันกษัตริย์ได้ พูดอย่างตรงไปตรงมา โดยที่ทำให้มันไม่ผิดกฎหมาย สามารถแสดงงานศิลปะที่พูดถึงความจริงบางอย่างได้โดยไม่ผิดกฎหมาย หน้าที่ของเราคือทำให้เพดานนี้มันขยับขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าเรามองว่าหน้าที่งานเขียนคือการพูดความจริง การพยายามพูดความจริงคือการพยายามพูดถึงสิ่งที่เราพูดได้ และไม่ได้ไปพร้อมๆ กัน
ความตึงเครียดกับเครื่องมือในการพูดความจริง ประเด็นที่สาม เก่งกิจกล่าวถึงคำถามว่าความจริงคืออะไร และเสนอว่าความจริงมีลักษณะอยู่สองอย่าง หนึ่ง คือมีลักษณะที่ตึงเครียด (tension) โดยอะไรที่เราพูดอย่างสบายๆ พูดอย่างเป็นปกติ มันมักจะไม่เป็นความจริง แต่เมื่อไรที่เรากำลังทะเลาะกับชาวบ้าน แสดงว่าเรากำลังเริ่มพูดความจริงมากขึ้น ในแง่นี้ความจริงคือสภาวะที่มันมี tension อยู่ และจะนำไปสู่ความขัดแย้งบางประการอยู่แล้ว สอง คือความจริงพูดถึงพื้นที่ระหว่างอะไรบางอย่าง (in-between) ความจริงคือการลัดเลาะระหว่างรอยแยกของพื้นที่ที่เราพูดได้และไม่ได้ สิ่งที่เราพูดได้อย่างชัดเจนในสังคมปัจจุบัน เช่น คนไทย 60 ล้านคนรักในหลวง อันนี้พูดได้ แต่ถ้าเราตั้งคำถามว่าทำไมเป็นอย่างนั้น เกิดอะไรขึ้นบ้างในประวัติศาสตร์การเมืองไทย อันนี้เรากำลังขยับไปที่เพดานหรือตะเข็บที่แบ่งระหว่างสิ่งที่พูดได้และไม่ได้ ตัวอย่างของสิ่งที่เราพูดไม่ได้ และอาจจะคิดไม่ได้ด้วยซ้ำ เช่น กรรมเป็นคนกำหนดเรา พระพุทธเจ้าบอกว่ามีสิ่งที่ห้ามคิดสี่อย่าง เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้จริงไหม หรือการเข้าฌานเป็นอย่างไร ไม่สามารถทำได้ หรือพระเจ้ามีจริงไหม ในแง่สิ่งที่พูดไม่ได้และคิดไม่ได้อย่างสุดโต่งจึงเป็นภาวะเหนือธรรมชาติ แต่ความจริงไม่ได้อยู่ในสภาวะเหนือธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องของพระเจ้า และความจริงก็ไม่ได้อยู่ในชีวิตประจำวันที่เรามักจะตอแหลมากกว่า ความจริงคือการพยายามพูดถึงสิ่งที่อยู่ระหว่างสิ่งที่พูดได้และไม่ได้ ในทางปรัชญาการเมือง ความจริงพูดได้หลายวิธีการ Alain Badiou บอกว่าพูดความจริงได้ 4 วิธีหรือ 4 เครื่องมือ หนึ่งคือการเมือง พูดความจริงผ่านการเมือง การเมืองในมุมฝ่ายซ้ายคือเรื่องของความขัดแย้ง เรื่องของ tension การบอกว่าสังคมไทยสามัคคี ไม่มีความขัดแย้ง คือกำลังพูดโกหก การเมืองทำหน้าที่บางอย่างในการพูดความจริง วิธีที่สองคือความรัก ความรักเป็นเครื่องมือในการพูดความจริงแบบหนึ่ง ทำหน้าที่ในการพูดว่าคุณกับผมมีความแตกต่างกัน แต่คุณกับผมจะอยู่ร่วมกันอย่างไร เราจะแชร์และเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่การยอมรับความแตกต่างระหว่างกันได้อย่างไร ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวสมบูรณ์ ความรักพูดถึงความจริงที่มันมี tension ระหว่างคนสองคนขึ้นไป วิธีที่สามคือศิลปะ และวิธีที่สี่คือวิทยาศาสตร์ (science) เช่น ตัวอย่างว่าวันที่ 21 ธ.ค.นี้ที่มีทำนายว่าโลกจะแตก ทัศนะที่กลัวโลกแตกมันเป็นทัศนะที่เชื่อว่าโลกธรรมชาติดำเนินไปอย่างราบเรียบ แต่จริงๆ โลกธรรมชาติไม่ใช่แบบนั้น พายุ แผ่นดินไหว การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ก็คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ โลกธรรมชาติเต็มไปด้วย tension หน้าที่ของ science คือการพูดถึงความจริงในโลกธรรมชาติ ว่ามันมี tension อย่างไรบ้าง ไม่ใช่บอกว่าธรรมชาติส่วนงาม ดังนั้น tension คือหัวใจของโลกธรรมชาติ หน้าที่ของความจริงในสี่มิตินี้ จึงคือการพูดถึงสิ่งที่เป็น tension สิ่งที่ขัดแย้งหรือกำลังเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่พูดถึงสิ่งที่เป็นนิรันดร์ หรือสิ่งที่เป็นชีวิตประจำวันโดยทั่วไป
เสรีภาพและความเสมอภาคที่จะวิพากษ์วิจารณ์ ประเด็นสุดท้าย เก่งกิจเสนอเรื่องความคิดเรื่องเสรีภาพ (freedom) ในงานของไฮเดอเกอร์ (Martin Heidegger) หนังสือเรื่อง Being and Time พยายามบอกว่าทำไมเราถึงต้องวิพากษ์สิ่งที่เรียกว่า Being และทำไมคำว่า Critique ถึงสำคัญที่สุดสำหรับโลกสมัยใหม่ สปิริตสำคัญของสังคมสมัยใหม่ (Modernity) คือเราสามารถตั้งคำถามสิ่งที่มันมีอยู่ทุกอย่างในโลกได้ ว่ามันจริงหรือไม่ แต่ใน Modernity การวิจารณ์วางบนฐาน (ground) อะไรบางอย่างเสมอ สิ่งที่เป็นฐานสำคัญของ Modernity คือความคิดแบบเสรีนิยม ซึ่งวางอยู่บนการแยกระหว่างพื้นที่สองอย่างคือ private และ public โดยหัวใจของ private คือการมีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ในโลกสมัยใหม่ เชื่อว่าปัจเจกบุคคลมีความสามารถในการ critique ได้หมด และการ critique เริ่มต้นจากเรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล เช่น การที่คุณอานันท์พูดกับฑูตสหรัฐฯ เรื่องการสืบสันตติวงศ์ แต่ถ้าเป็นตนพูดเรื่องนี้อาจจะโดน 112 ไปแล้ว แต่เป็นคุณอานันท์หรือพลเอกสิทธิพูดกลับไม่โดน เสรีภาพในการ critique จึงวางอยู่บนสเกลหรือความใหญ่น้อยของทรัพย์สินที่เราถือครองอยู่ ลักษณะสำคัญของโลกสมัยใหม่อันหนึ่งคือการวางเสรีภาพอยู่บนเรื่อง property ทำให้อำนาจการวิจารณ์ของปัจเจกบุคคลมันไม่เท่ากัน พื้นอันที่สองคือ public ทั้งพื้นที่ส่วนตัวและสาธารณะเป็นพื้นที่ซึ่งรัฐเป็นตัวกำหนดผ่านการรับรอง ผ่านกฎหมาย พื้นที่ของการวิพากษ์วิจารณ์ก็ถูก legalize โดยรัฐ รัฐเป็นคนกำหนดขอบเขตของการ critique ของเรา ในโลกสมัยใหม่ ความคิดเสรีนิยมคือการแบ่งแยกพื้นที่สองอันออกจากกัน แต่ดำรงอยู่ด้วยกัน และจำกัดการวิพากษ์วิจารณ์ให้ขึ้นกับ property ที่คนถือครอง พื้นที้อันที่สาม คือ common ที่ liberal ไม่ยอมรับ พื้นที่แบบนี้ให้คุณค่ากับการตั้งคำถามกับฐานของเสรีนิยม โต้เรื่องอำนาจของการ critique ที่ไม่เท่ากันใน liberalism ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล พวกนี้จะตั้งคำถามว่าอำนาจในการวิจารณ์ของคุณเท่ากันไหม ทำให้ equality เป็นฐานของการรับรอง freedom ในโลกเสรีนิยม เสรีภาพถูกรองรับโดยฐานเรื่อง private แต่ความคิดแบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ เห็นว่าถ้าเริ่มแบบนั้น อำนาจของการ critique จะไม่เท่ากัน แต่ต้องเริ่มว่าความเสมอภาคในสังคมคืออะไร นิยามให้ได้ก่อน การวิพากษ์วิจารณ์ถึงจะมีอำนาจที่เท่ากัน "ในสังคมไทย ผมคิดว่าไม่มีพวกที่เป็น liberalism อยู่ในสังคมไทย เวลาที่เราพูดถึง critique ใน liberalism นั้น เมื่อคุณวิจารณ์คนอื่นได้ แต่คนอื่นก็สามารถวิจารณ์คุณได้เช่นเดียวกัน" เก่งกิจสรุปว่าทำไมประเด็นการพูดถึงเรื่องเสรีภาพ การเขียน และการวิจารณ์นี้ถึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสังคมไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ช่วงเปลี่ยนผ่านหมายความว่าเราก็ต้อง transform ตัวเราเองด้วย เพราะเราเกิดและเติบโตในสังคมที่เป็น conservative เราจะวิจารณ์สังคมที่เป็น conservative ได้ ก็ต่อเมื่อตัวเราก็ต้อง transform ตัวเราเอง ให้เป็น liberalism เพื่อที่จะวิจารณ์ และพร้อมที่จะถูกวิจารณ์ด้วยได้ ดังนั้น หน้าที่ของเราที่พยายามพูดถึงความจริงและเสรีภาพ คือการบอกว่าเราต้องมีอำนาจเท่ากันในการ critique
เสรีภาพในการพูดผ่านงานเขียน นิวัติ พุทธประสาท กล่าวว่า ในสังคมวงกว้างเราไม่สามารถพูดบางอย่างได้จริง ในอดีตทำให้เราเห็นว่าคนที่พยายามพูดอะไรบางอย่างจะถูกลงโทษ เช่น เทียนวรรณ หรือศรีบูรพาก็ต้องลี้ภัยไปอยู่ประเทศจีน การลงโทษเป็นการสร้างความกลัวให้เราอยู่ตลอดเวลา มันจึงกลายสิ่งที่สั่งสมมาในสังคมว่า เราพูดอย่างนี้ไม่ได้ ในตอนเด็กเราจะถูกให้รู้เลยว่าอะไรที่ควรพูด อะไรที่พูดไม่ได้ ทั้งที่บางเรื่องเป็นสิ่งที่เราสงสัย นักเขียนในอดีตหลายคนค่อนข้างที่จะทำงานอย่างยากลำบาก "ปัจจุบันนักเขียนบางคนบอกว่า เรามีเสรีภาพมากที่สุดแล้ว มากกว่าหลายๆประเทศ ก็มีทั้งจริงและไม่จริง บางเรื่องเราก็พูดได้จริงอย่างในยุคนี้ การวิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่เหมือนเมื่อก่อน สมัยศรีบูรพาถ้าวิจารณ์นักการเมือง โดนจับติดคุกแน่นอน นักการเมืองสามารถถูกวิจารณ์ได้อย่างถึงที่สุด ไม่มีขีดจำกัดอีกต่อไปแล้ว" "แต่บางเรื่องเราก็ไม่สามารถพูดได้จริงอย่างงานของนักเขียนบางเรื่อง ก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเขียนได้ ถ้าเขียนไปก็คงไม่รอด"
การเขียน(พูด)เชิงสัญลักษณ์ = เสรีภาพ? "สิ่งที่นักเขียนทำได้คือนำเสนอผ่านสัญลักษณ์และการตีความ ปัญหาของการที่เราใช้สัญลักษณ์และการตีความ มันก็เป็นปัญหาหนึ่งเหมือนกันเพราะว่าเมื่อเราใช้สัญลักษณ์ขึ้นมาแล้ว พอไปสู่คนอ่านมันไปได้กว้างไกลมาก สามารถตีความได้หลากหลายมุมมอง งานของนักเขียนยิ่งมีความเป็นนามธรรมมากเท่าไหร่ก็ยิ่งถูกตีความได้กว้างไกลมากเท่านั้น" นิวัติ กล่าว นิวัติกล่าวอีกว่า แม้แต่พระราชดำรัสของในหลวง ทุกคนก็ได้ยิน แต่ว่าเวลาใครนำสัญลักษณ์ไปใช้ ก็จะตีความให้เข้ากับผลประโยชน์ของตน ฉะนั้นงานเขียนที่มีความจริงปนอยู่ และคนอ่านต้องอาศัยการตีความ คนอ่านก็ต้องมีพื้นฐานในเรื่องนั้นถึงจะตีความออก เพราะบางครั้งนักเขียนก็เลือกเซ็นเซอร์ตัวเองเพื่อกลบร่องรอยบางอย่างที่ไม่ควรจะเห็น แต่ว่าสุดท้ายแล้วเราก็เลือกที่จะพูดความจริงบางอย่างที่เป็นสัญญลักษณ์ไป ส่วนใครมองไม่เห็นหรือจะตีความเป็นอย่างอื่น แต่มันได้ส่งผ่านเรื่องราวออกไป บทกวีของมติชนถ้าเราอ่านดูจะพบว่าเป็นการใช้คำที่ง่ายๆ ธรรมดา ซึ่งเหมือนบทกวีส่วนใหญ่จะใช้คำบาลีสันสกฤต ซึ่งเป็นศัพท์แสงสูง คนอ่านไม่ค่อยรู้เรื่องว่าพูดถึงอะไรบ้าง แต่พอมันง่ายก็ถูกตีความได้ง่ายและหลากหลายทิศทาง ฝ่ายไหนอ่าน มันก็จะมีบริบทการอ่านอยู่ด้วย คนอ่านแต่ละคนอาจจะตึความไม่เหมือนกัน จะบอกว่าเป็นเรื่องสนุกก็ได้ คนอ่านบางทีไปไกลกว่าคนเขียนด้วยซ้ำ แต่การคิดไปได้ไกลแล้วไปล่าแม่มด อันนั้นมันก็เกินเลยไป ฉะนั้น ในแง่ของความ คิดการใช้สัญลักษณ์และการตีความ มันไม่อันตราย มันสามารถคิดไปได้ไกล แต่การคิดจนนำมาสู่อันตราย ก็ต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามกับสังคมที่เราอยู่ เมื่อใดที่เราใช้สัญลักษณ์แล้วเรายังไม่ถูกจับ (หรืออาจจะเป็นเพราะอ่านสัญลักษณ์ไม่ออก การใช้สัญลักษณ์ห่วย) ตนถือว่ามันยังใช้ได้ผลอยู่ แต่ก็เชื่อว่าเมื่ออ่านแล้วก็คงเกิดความรู้สึกบางอย่างจนเกิดคำถาม มันเป็นความสำเร็จของสัญลักษณ์ จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ กล่าวว่า เราอยู่ในสังคมที่ถูกออกแบบไว้หมดแล้ว จนเรารู้สึกชินชาไปกับมัน เราอยู่ในสังคมที่เราโตมากับความรัก ความภักดี ความสามัคคีกัน มันไปไกลกว่า Hyper-royalism จนกลายเป็น Magical-royalism จนกระทั่งกฎหมาย 112 ไม่จำเป็นอีกต่อไป ถึงไม่มีกฎหมายนี้ คุณก็ไม่กล้าพูดอยู่ดี เพราะตัวละครอื่นในสังคมก็พร้อมจะทำลายเรา หลายงาน นักเขียนใช้สัญลักษณ์ในการเซ็นเซอร์ เราเลือกที่จะพูดทุกอย่างแต่ไม่พูดบางอย่าง มันเหมือนเป็นการเซ็นเซอร์แต่นั้นคือสัญลักษณ์แบบหนึ่งที่เราต้องการจะสื่อ เช่น เราอาจจะพูดทุกอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่มันก็คือความต้องการสื่อแบบนั้น ซึ่งในแง่งานวรรณกรรมเป็นแบบนั้น ซึ่งหลายคนก็บอกว่า นี่คือเสรีภาพในการเขียนได้ แต่ตนไม่คิดว่ามันเป็นเสรีภาพ แต่มันเป็นการสร้างโลกขึ้นมาใหม่เพื่อพูดถึงสิ่งนั้น และนั้นอาจจะเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของงานวรรณกรรมเพราะการพูดอะไรที่ตรงไปหมดเลยมันอาจจะน่าเบื่อก็ได้ "สัญลักษณ์ในโลกวรรณกรรมมันทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนอ่านกับคนเขียน เป็น Dialogue (บทสนทนา) ที่มันต่อเนื่องไม่หยุด มันลื่นไหล และสามารถตีความได้มาก" อย่างบทกวีล่าสุดของมติชน รวมทั้งสเตตัสง่ายๆของทราย เจริญปุระ ที่พูดถึงกาแฟ พอมันถูกบริบทเข้ามาสวมทับ มันกลายเป็นเกิดอคติต่อสัญลักษณ์ ซึ่งบางทีมันอาจไม่มีสัญลักษณ์ตั้งแต่ต้น อาจจะเป็นแค่การบ่น แต่อคติก็ได้สร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาแล้ว จนกระทั่งเกิดการตีความที่หลากหลาย "แต่ถ้าไม่ติดเรื่องการเมือง ผมยังคิดว่าสัญลักษณ์มันสนุก มันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมิติทางการอ่าน" สัญลักษณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ เป็นมันเป็นส่วนของงานสร้างสรรค์ทุกงาน ไม่ใช่เพียงแค่งานเขียนหรืองานภาพยนตร์ งานวิชาการก็ต้องมี เพราะสัญลักษณ์มันอยู่รอบตัวเรา มันเป็นไวยากรณ์หนึ่งไปแล้ว ถ้าไม่มีสัญลักษณ์ งานสร้างสรรค์หรืองานวรรณกรรมอาจจะไม่เกิดเลยก็ได้ ถ้าประเทศเป็นยูโทเปีย จะมีวรรณกรรมแบบไหนก็ยังจินตนาการไม่ออก จะมีสัญลักษณ์หรือไม่ ถ้ามี มีแบบไหน เก่งกิจ กล่าวเสริมว่า เราอยู่ใน symbolic order ระเบียบทางสัญลักษณ์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถพูดถึงสิ่งๆ หนึ่งโดยไปแตะ กับตัวมันเองได้โดยตรง เราต้องพูดผ่านภาษาอะไรบางอย่าง ในแง่หนึ่งมันเป็นเรื่องปกติที่เราจะพูดเปรียบเปรย เพราะนั้นในแง่นี้งานเขียนทางวิชาการก็ต้องใช้สัญลักษณ์ เปรียบเปรยอยู่ตลอดเวลา เราไม่สามารถสื่อสารโดยปราศจากสัญลักษณ์ได้
ศิลปะ-วรรณกรรม กบฏและภักดีต่ออะไร ต่อคำถามว่างานศิลปะหรือวรรณกรมควรจะกบฏต่ออะไร และภักดีต่ออะไร จิรัฏฐ์ กล่าวว่า มันเป็นสันดานของคนสร้างงาน เราไม่ได้ภักดีต่ออะไร คือคนที่ทำงานศิลปะมันมีความขบถโดยสันดานอยู่แล้ว ไม่ใช่เฉพาะนักอ่าน หรือนักเขียน แต่คนทั่วไปที่สนใจงานสร้างสรรค์ เพราะงานสร้างสรรค์ ไม่เคยภักดีต่ออะไรเลย ไม่เคยนอบน้อมหรือสงบเสงี่ยมกับอะไร เราต้องทำอะไรที่ฉีกออกไป ต้องตั้งคำถามใหม่ๆ เพื่อสร้างอิทธิพลทางความคิดใหม่ นักเขียนไม่ใช่นักสังคมสงเคราะห์ หรือนักเคลื่อนไหวทางสังคม นักการเมือง นักวิชาการ พื้นที่ของมันคือการสร้างอิทธิพลของเราเอง ขายหนังสือของเราเอง เปิดพื้นที่ให้เราพูดกับคนของเราเอง นิวัติ กล่าวว่า มันอาจตอบได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราเขียนงานเพื่ออะไร เราอาจจะบอกว่าเพื่อเสรีภาพ หรือสังคมที่ดี เด็ดหัวคนโกง แต่ที่จริงแล้วเราภักดีต่อการตอบสนองทางความคิด ที่ตัวเองคิดว่าสังคม ควรจะเป็นแบบนั้น ไม่ควรจะเป็นแบบนี้ อย่างที่เราเห็นอยู่ว่ามีอุดมการณ์อยู่ในสังคมหลายรูปแบบ เราเลือกอุดมการณ์แบบที่เราไม่ชอบเพื่อตั้งคำถามกับมัน เพื่อสร้างสังคมอีกอันหนึ่งขึ้นมา เก่งกิจ กล่าวว่านักเขียนมักคิดว่าตนเองมีเสรีภาพแล้ว แต่เราต้องตั้งคำถามว่า เราอยู่บนฐานของอะไร เพดานที่มีอยู่มันบังคับให้พูดพูดอะไรได้หรือไม่ได้ ส่วนนักเขียนจะพูดถึงสังคมหรือไม่ หรือพูดเรื่องอะไร เป็นสิทธิเสรีภาพของนักเขียน แต่สิ่งที่เราเผชิญและเป็นปัญหา คือเมื่อเราจะพูดความจริงแล้ว เรากลับพูดไม่ได้ต่างหาก
คุณค่าเชิงนามธรรมบางอย่างในงานวรรณกรรม-วิชาการ กับภาพสะท้อนสังคม ในช่วงหนึ่งของการเสวนาผู้ดำเนินรายการได้ถามว่า การเรียกร้องคุณค่าเชิงนามธรรมบางอย่างในงานวรรณกรรม-วิชาการ ในยุคปัจจุบัน เช่น งานวิชาการจะต้องพูดเรื่องความปรองดอง งานวรรณกรรมต้องพูดถึงสิ่งดีงาม ฯลฯ มันกำลังบอกอะไรเรา นิวัติ กล่าวว่า มีงานหลายแบบอย่างงานข้าราชการที่ต้องพูดเรื่องปรองดอง สามัคคี ความจงรักภัคดี เป็นสิ่งที่เรารู้กันอยู่ สิ่งเหล่านี้มันไปในวงกว้าง เช่น เป็นหัวข้อให้นักเรียนทำรายงานหรือจัดนิทรรศการ องค์กรปกครองท้องถิ่นจัดงาน ฯลฯ ซึ่งมันเป็นการสื่อสารไปทางเดียว และทุกวันนี้มันก็มีปัญหา และปัญหาที่เราพูดถึงกันตอนต้นมันก็เริ่มจากเรื่องพวกนี้ ตั้งแต่วัยเด็ก ในงานวรรณกรรม คุณค่าเชิงนามธรรมเหล่านี้จะมาในรูปของรางวัลต่างๆ เช่น รางวัลพานแว่นฟ้า รางวัลซีไรท์ รางวัลสัปดาห์หนังสือ ฯลฯ เพราะเขาจะคัดกรองวรรณกรรมผ่านรูปแบบที่เขาคิดว่าควรจะเป็นแบบนั้น สิ่งที่รางวัลเหล่านี้ให้ก็มีส่วนหนึ่งที่ตอบสนองกับคนกลุ่มใหญ่ ทุกรางวัลมีจุดมุ่งหมายของมันอยู่ โดยเฉพาะในยุคนี้ไม่ได้ยกย่องนักเขียนเรื่องความสร้างสรรค์ จิรัฏฐ์ มองว่า เรื่องนี้เป็นเพียงเกมส์ๆหนึ่ง เป็นเงื่อนไขที่มีอยู่ทุกสังคมโลก เพราะเป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐในการจัดระเบียบสังคม ศีลธรรม หรืออะไรก็แล้วแต่ ให้มันเป็นไปตามที่รัฐต้องการ คือ คนที่คิดอย่างนี้ ไม่ได้มองงานวรรณกรรมเป็นเรื่องของศิลปะ มองเพียงแค่เป็นเครื่องมือหนึ่ง เพราะงานวรรณกรรมที่ดีควรสะท้อนมุมมองที่หลากหลาย และมันไม่จำเป็นต้องว่าพออ่านจบแล้วไปทำดี ไปช่วยโลก ไปปลูกต้นไม้กันเถอะ แม้จะถือว่างานเหล่านี้จะจัดว่าเป็นงานวรรณกรรม แต่ให้คุณค่าเพียงแค่การจัดระเบียบเท่านั้น ถ้าสังคมที่เป็นเสรีจริงๆ เปิดโอกาสให้คนได้คิดจริงๆ การรณรงค์ในเรื่องเหล่านี้จะมีไม่มาก เก่งกิจ กล่าวว่า งานเขียนจำนวนมากไม่ได้มีความงดงามในแง่ของการใช้คำทั้งหมด บางครั้งก็เขียนด้วยภาษาพื้นฐาน อย่างงานทางวิชาการหลายชิ้น ภาษาก็ห่วยแตก ฉะนั้นมันจึงขึ้นอยู่กับเนื้อหา (content) ด้วยว่ามีหรือเปล่า ถ้าสมัยก่อนจะใช้คำว่า "งดงามในคำ" กับ "งดงามในความ" บางงานงดงามในคำ แต่เนื้อหาไม่มีอะไรเลย บางงานงดงามในความ ซึ่งอันนี้อาจจะอยู่ในเรื่องงานวรรณกรรม แต่ถ้างานวิชาการต้องเขียนอะไรที่ชัดเจนในความ คำเป็นอย่างไรไม่สน ขอให้อ่านรู้เรื่อง แต่ปัญหา คือว่าเราจะประเมินงานแต่ละอย่างอย่างไร ก็ต้องกลับมาที่สังคมว่าเรากำลังอยู่ในบริบทแบบไหน เราอาจต้องประเมินผ่านบริบท คุณค่าการวิจารณ์งานวรรณกรรม-งานวิชาการ เก่งกิจ เห็นว่า เราอยู่ในสังคม เราต้องมี Dialogue (บทสนทนา) กันเสมอ และบทสนทนามันทำให้เกิดสิ่งใหม่อยู่แล้ว ถ้าเรามองว่าคุณค่าของการวิจารณ์ เป็นคุณค่าที่สำคัญ เราก็จะรู้สึกว่าการวิจารณ์ทำให้เราคิดอะไรใหม่ๆ ได้ เช่น เมื่อมีคนด่าแม่ตน ตนก็ไปว่าอะไรไม่ได้ เพียงแต่ตนอาจโต้ตอบโดยการด่าแม่กลับ นั้นมันก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะวิพากษ์วิจารณ์กันแบบไหน ถ้าคิดเพียงแค่ว่าอย่าด่ากันเลย อันนี้มันดูตลก ในสังคมที่มีบทสนทนากันได้ "ผมคิดว่าตอนนี้สิ่งที่เราต้องด่ากันมากที่สุด คือเสื้อแดง เพราะคุณบอกว่าคุณจะสร้างสังคมใหม่ แต่คุณไม่มีการ transform (เปลี่ยนผ่าน) ตัวเองให้ก้าวหน้าทันทัดเทียมกับสิ่งที่คุณคาดหวัง คุณก็ไปล่าแม่มดเหมือนกัน รังเกียจการโดนด่าเหมือนกัน คนที่ควรโดนด่ามากที่สุด คือพวกปัญญาชนเสื้อแดง ไม่ใช่พวกเสื้อเหลือง เพราะพวกนี้อยู่ในยุคของพวกเขาอยู่แล้ว ฉะนั้นยิ่งเราต้องการให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ยิ่งเราต้องการพัฒนาไปข้างหน้าเรายิ่งต้องเถียง วิพากษ์กันมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ มันถึงจะเกิดสิ่งใหม่" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 10 Dec 2012 12:23 AM PST | |
สลาวอย ชิเชคกับบทวิพากษ์ลัทธิคลั่ง(พระ)เจ้า Posted: 09 Dec 2012 05:33 PM PST สลาวอย ชิเชค (Slavoj Zizek) เป็นนักทฤษฎีวิพากษ์ที่มักจะกลับหัวกลับหางโลกทัศน์ที่มีอยู่เดิมของพวกเรา ชิเชคมักมีความเห็นแสบๆคันๆเกี่ยวกับสังคมปัจจุบันที่ทำให้เราหัวเราะและร้องไห้ในเวลาเดียวกัน เพราะด้านหนึ่งสิ่งที่เขาพูดมันก็จริงแสนจริง แถมยังแทงใจดำจนเราอดขำไม่ได้ แต่อีกด้านหนึ่งโลกในมุมมองของชิเชคมันช่างดูน่าเศร้าและโหดร้าย เพราะดูเหมือนว่าชิเชคจะไม่พอใจกับทางแก้ปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันเอาซะเลย ยกตัวอย่างเช่น ชิเชคบ่นว่าเขาเบื่อระอากับการรณรงค์ยัดเยียดภาพเด็กแอฟริกันผอมแห้ง เสื้อผ้าขาดวิ่นของพวกบริษัทข้ามชาติเช่น สตาร์บัค ที่ทำตัวรักมนุษย์โลกโดยชักชวนให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าของตนและชี้แจงว่ารายได้ส่วนหนึ่งจะบริจาคให้ผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้ ชิเชคประณามว่าแคมเปญรักเพื่อนมนุษย์ดังกล่าวมิได้ให้ประโยชน์อะไรมากไปกว่าการทำให้นักบริโภคผู้มีอันจะกินรู้สึกดีกับตัวเองในฐานะผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบและจริยธรรม ยิ่งไปกว่านั้น การบริจาคด้วยวิธีนี้ยังเป็นการช่วยรักษาระยะห่างระหว่างผู้บริจาคและผู้รับ กล่าวคือ ขณะที่เรานั่งกินกาแฟอยู่ในห้องแอร์ในซีกโลกหนึ่ง เราก็สามารถมีส่วนทำให้คนยากจนอีกฟากโลกหนึ่งมีชีวิตที่ดีขึ้นได้โดยที่เราไม่ต้องไปปฏิสัมพันธ์กับพวกเขา การช่วยเหลือวิธีนี้ยังเป็นการมาตรการเบื้องต้นที่ป้องกันมิให้พวกคนที่อยู่ไกลๆมาก่อกวนหรือระรานเรา[1] หากชิเชคไม่พอใจกับการแก้ปัญหาความยากจนโดยการบริจาคของผู้บริโภคผู้ใจบุญ เขาก็ยิ่งต่อต้านการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยหลักความอดทนอดกลั้นซึ่งกันและกัน (tolerance) หรือการเปิดรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (multiculturalism)[2] ชิเชคให้เหตุผลง่ายๆก็คือ หลักการปรองดองข้างต้นมิได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันของสังคมเลย ชิเชคท้าให้เราลองไปค้นหาคำว่า tolerance ในคำปราศรัยทางการเมืองของมาร์ติน ลูเธอร์ คิงส์ นักเคลื่อนไหวสิทธิของคนแอฟริกันอเมริกัน "แทนที่เราจะเจอคำว่า tolerance มันกลับถูกแทนที่ด้วยคำว่า ไม่ความเท่าเทียมกัน (inequality)หรือการกดขี่(exploitation)" ไม่ต้องสงสัยว่าในปัจจุบัน การที่ประเด็นปัญหาทางการเมืองต่างๆถูกลดทอนให้เป็นเพียงแต่เรื่องของการไม่อดทนต่อความแตกต่างเป็นการบิดเบือนความเข้าใจที่มีเรามีต่อปัญหาในแง่ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีอำนาจ ชิเชคยังชี้ให้เห็นว่า มันคงเป็นเรื่องตลกหากปัญหาเรื่องความรุนแรงและความไม่เท่าเทียมกันทางเพศจะถูกแก้โดยมีผู้เสนอว่า ต่อจากนี้ขอให้ผู้หญิงและผู้ชายมีความอดทนอดกลั้นซึ่งกันและกันมากขึ้น[3] จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าชิเชคมักจะมุ่งวิพากษ์วิจารณ์สังคมโลกเสรีนิยมตะวันตก (ถึงแม้ว่าจะสองประเด็นข้างต้นจะเกี่ยวข้องกับสังคมไทยไม่มากก็น้อย) อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมีโอกาสได้ฟังการบรรยายของเขาที่มหาวิทยาลัยชิคาโกเมื่อปี 2006 ชิเชคได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ กลุ่มศาสนาสุดโต่ง (fundamentalism) ในที่นี้ ชิเชคอ้างอิงถึงกลุ่มคริสต์และมุสลิมหัวรุนแรงที่มักปลุกเร้าคนในลัทธิตัวเองด้วยคำผรุสวาท และดูถูกเหยียดหยามคนที่คิดต่าง บางทีก็ระดมให้คนในลัทธิไปทำร้ายร่างกายคนที่คิดต่าง ชิเชคได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปรากฎการณ์คลั่งพระเจ้าจนเสียสติไว้ดังนี้[4]
ชิเชคบอกว่าก่อนอื่นเราต้องรู้จักที่จะแยกแยะระหว่างพวกคลั่งแท้และคลั่งเทียม (true and fake fundamentalism) ชิเชคอธิบายว่า พวกคลั่งศาสนาอย่างแท้จริง (พวกคลั่งแท้) มักคิดว่าตัวเองได้ค้นพบสัจธรรมวิถีแห่งความสุขแล้ว คนพวกนี้มักเมินเฉยกับคนที่คิดต่างจากตน ด้วยความที่เขาเชื่ออย่างบริสุทธ์ใจว่านี่คือแนวทางชีวิตที่เขาจะอุทิศให้ เขาจึงไม่รู้สึกหวั่นไหวหรือขุ่นเคืองเมื่อเขาเผชิญหน้ากับคนที่คิดต่างจากเขา ตัวอย่างของพวกคลั่งแท้ในความคิดของชิเชคก็คือ พระทิเบต หรือชุมชนคนอามิชในอเมริกา ในทางตรงกันข้าม กลุ่มคลั่งเทียมมักถูกบดบังด้วยความโกรธแค้นและความริษยา (resentment and envy) ชิเชคชี้ให้เห็นว่าเมื่อยามพวกคลั่งเทียมเผชิญหน้ากับคนเห็นต่าง พวกเขามักตอบโต้ด้วยการด่าประณาม และความรุนแรงซึ่งจะแตกต่างจากพวกคลั่งแท้ที่มักจะไม่ตอบโต้
ชิเชคอธิบายต่อว่า เหตุผลเบื้องหลังการนิยมความรุนแรง อันเกิดจากความโกรธแค้นและริษยาของพวกคลั่งเทียมก็คือ แท้จริงแล้วพวกเขาไม่เคยเชื่อมั่นในสิ่งที่พวกเขายึดถือเลยต่างหาก "ปัญหาของคนพวกนี้ ไม่ใช่เรื่องที่พวกเขาชอบไปประกาศศักดาว่าข้าเหนือกว่าใคร หรือข้าอยากจะปกป้องรักษาอัตลักษณ์อันเก่าแก่ หากแต่ปัญหาของพวกเขาก็คือ การที่พวกเขาแอบคิดอยู่เสมอว่าพวกเขาด้อยกว่าพวกคนที่คิดต่าง (but they themselves secretly feel inferior.)" อีกนัยหนึ่ง ความเชื่อของพวกเขาช่างเปราะบางดั่งผ้าริ้วที่ฉีกขาดง่ายเมื่อโดนคมดาบล้อเลียนของพวกนอกรีต ปมด้อยของคนเหล่านี้จึงมักปะทุขึ้นมาเป็นความรุนแรง อาจกล่าวได้ว่าชิเชคกลับหัวกลับหางมุมมองที่เรามีต่อกลุ่มคลั่งสุดโต่ง แทนที่พวกเขาจะเป็นกลุ่มคนที่เชื่อมั่นในแนวทางของตัวเองอย่างสุดขั้ว ชิเชคกลับบอกว่า "what they really lack is the conviction of their own superiority (สิ่งที่คนเหล่านี้ขาดก็คือ ความศรัทธาในความเหนือกว่าของตัวเอง)" เอาเข้าจริงๆ พวกคลั่งเทียมพวกนี้ได้รับเอาบรรทัดฐานของคนที่คิดต่างจากเขาไปเป็นเกณฑ์วัดความเชื่อของเขาเอง พวกเขารำคาญโกรธเคือง แต่ในขณะเดียวกันก็ "ตื่นเต้นอัศจรรย์ใจ" เมื่อพบเห็นวิถีบาปของพวกนอกรีต (they are deeply bothered…and "fascinated" by the sinful life of the non-believers.) กล่าวสั้นๆก็คือ บรรทัดฐานของพวกนอกรีตนี้ทำให้พวกพวกคลั่งเทียมรู้สึกมีปมด้อย และนี่คือสาเหตุทำให้พวกคลั่งเทียมไม่มีความสุขตลอดเวลา
ชิเชคตบท้ายด้วยข้อวิพากษ์ที่เขามีต่อกลุ่มคลั่งเทียมว่า สาเหตุหลักที่กลุ่มหัวรุนแรงพวกนี้เป็นพวกของเทียมก็เพราะ วันๆพวกคลั่งเทียมเอาแต่หมกมุ่นกับการหาวิธีทำลายศัตรู จนไม่มีเวลาปฏิบัติตัวภายใต้แนวทางที่ตนอ้างว่ายึดถือ ด้วยเหตุนี้ ความสุขของพวกคลั่งเทียมจึงเป็นความสุขเชิงลบ (negative enjoyment) ชิเชคขยายความต่อว่า นี่คือความสุขที่ไม่ได้เกิดจากสภาวะไร้ทุกข์ของตัวเอง (our own well-being) หากแต่เป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากการเห็นความทุกข์ของคนอื่น (the misfortune of the others) ชิเชคยังตั้งข้อสังเกตว่า คนที่ชั่วช้า (evil person) อันที่จริงไม่ใช่คนที่เห็นแก่ตัว หรือพวกเอาตัวเป็นใหญ่ (Egoist) เพราะคนพวกนี้มักใช้เวลาส่วนใหญ่คิดถึงแต่ตัวเอง พวกเขายุ่งเกินกว่าจะมีเวลาไปสอดส่องจับผิดคนอื่น และทำให้คนอื่นเดือดร้อน เพราะฉะนั้น คนที่ชั่วช้าก็คือพวกคลั่งเทียมที่มักไปหมกมุ่นกับคนคิดต่าง คนนอกรีต จนลืมนึกถึงความเชื่อของตัวเอง หากเรามองด้วยตรรกะแบบชิเชค เราอาจสามารถทำความเข้าใจความรุนแรง ความหยาบคายไร้สติที่พวกคลั่งมีต่อคนที่คิดต่างได้ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็น การสรรหาวิธีทำร้ายศัตรูต่างๆนานาจนสุดท้ายมาลงเอยด้วยการคิดราดกาแฟร้อน การดิ้นพล่านอย่างโกรธแค้นกับแค่ซุ้มขายของเล็กๆของคนที่เขาเชื่อว่าเป็นพวกนอกรีต (ถ้าสิ่งที่พวกเขาเชื่อมั่นมันยิ่งใหญ่ อัศจรรย์จริง เหตุไฉนจึงอ่อนไหวนักกับเรื่องพรรค์นี้) การพารานอยด์กับบทกลอนสี่ห้าบรรทัด หรือไปติดตามสเตตัสชีวิตประจำวันของnon-believerตัวพ่อตัวแม่บางคน โดยสรุปก็คือ พวกคลั่ง(พระ)เจ้าที่นิยมความรุนแรงและหมกมุ่นกับการจับผิดคนคิดต่างนั้นเป็นพวกคลั่งเทียม พวกเขามักไม่รู้จริงๆว่าแก่นสารของสิ่งที่ตัวเองเชื่อคืออะไรหรือไม่ก็แอบคิดอยู่ลึกๆว่าตัวเองนั้นด้อยกว่า พวกเขายุ่งแต่จะหาวิธีทำร้ายคนคิดต่าง แต่จริงๆแล้วก็แอบสนใจไปด้วย ผู้เขียนขอจบบทความสั้นๆนี้ด้วยความเห็นของชิเชคที่ว่า One can feel that in fighting the sinful other, they are fighting their own temptation. [1] ดูชิเชคให้ความเห็นต่อทุนนิยมซึ่งเปิดรับแนวคิดรักเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=yzcfsq1_bt8 (เริ่มวิพากษ์สตาร์บั๊ค 3.20) [2] ดูความเห็นของชิเชคต่อ tolerance ได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=gsm1kBnM68w [3] หากผู้อ่านต้องการรู้จักแนวคิดหลักๆของชิเชค (ภาษาไทย) โปรดดู สรวิศ ชัยนาม, จากการปฏิวัติ ถึง โลกาภิวัตน์ :ความรู้เบื้องต้นการเมืองโลกสู่โลกภาพยนตร์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์, 2555) [4] เป็นที่น่าเสียดายที่ไฟล์เสียงของเขาได้ถูกลบไปแล้ว หัวข้อการบรรยายของเขาคือ "The Ignorance of Chicken, or, Who Believes What Today?" – April 12th, 2006 แต่ผู้ที่สนใจในหัวข้อดังกล่าวสามารถฟังชิเชควิพากษ์fundamentalismได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=_GXPffEWS8g
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
อภิสิทธิ์ปฏิเสธไม่เคยเซ็นสั่งการ-ไม่เคยเป็นกรรมการ ศอฉ. Posted: 09 Dec 2012 01:48 PM PST อภิสิทธิ์ระบุไม่เคยเป็นกรรมการ ศอฉ. และไม่เคยเซ็นคำสั่งใดๆ ใน ศอฉ. ทั้งสิ้น แต่ยังยันพร้อมสู้ตามกระบวนการยุติธรรม และเข้ารับทราบข้อหาวันที่ 13 ธ.ค.แน่นอน วอนผู้ที่จะไปให้กำลังใจอยู่ในความสงบเรียบร้อย ตามที่มีข่าวนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน กรณีการตายของผู้ร่วมชุมนุมทางการเมือง เมื่อเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม 2553 แถลงว่าผลการประชุมของคณะพนักงานสอบสวนมีมติร่วมกันให้ดำเนินการแจ้งข้อหากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบสูงสุดของ ศอฉ.และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศอฉ.ว่า "ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 83, 84 และ 288 นั้น (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) ล่าสุดหนังสือพิมพ์ข่าวสด เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. รายงานคำให้สัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กรณีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุกรรมการ ศอฉ. ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบกรณีการเสียชีวิตของประชาชน 99 ศพ เพราะมีกฎหมายคุ้มครองกรรมการว่า นายธาริตทราบดีว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร หากอ้างข้อกฎหมายดังกล่าว เหตุใดนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ผอ.ศอฉ. รวมถึงตน ซึ่งไม่มีตำแหน่งใน ศอฉ. และไม่ได้ลงนามคำสั่ง กลับถูกตั้งข้อกล่าวหา ดังนั้นนายธาริตควรพูดความจริงให้ครบ เพราะจะทำให้ประชาชนสับสนและเข้าใจผิด หากนายธาริตต้องการเอาผิดกับตนและนาย สุเทพ ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเช่นกัน รวมถึงการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง ซึ่งข้อเท็จจริงนายพัน ไม่ได้อยู่ในรถตู้ แต่วิ่งมาดูเหตุการณ์ในพื้นที่ควบคุม ซึ่งเป็นพื้นที่ห้ามเข้า นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ยืนยันว่า ตนและนายสุเทพ ให้ความร่วมมือโดยให้ข้อมูลตามข้อเท็จจริงกับดีเอสไอมาตลอด และยินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอน ส่วนรายละเอียดของข้อกล่าวหาและแนวทางการต่อสู้คดี ขณะนี้ยังสรุปไม่ได้ เพราะต้องไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 13 ธ.ค. ก่อน จึงจะพิจารณาว่าการดำเนินของดีเอสไอเป็นไปตามกรอบกฎหมายหรือไม่ เพราะแม้ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ จะระบุว่าไม่ได้ก้าวก่าย แทรกแซงการทำงานของดีเอสไอ แต่ตนเชื่อว่าดีเอสไอตั้งธงอยู่แล้ว เมื่อถามว่าในการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาจากดีเอสไอ ในวันที่ 13 ธ.ค. นี้ อาจมีมวลชนที่สนับสนุนไปให้กำลังใจ จะเกิดความวุ่นวายหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ขอให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย กระทำการภายใต้กฎหมาย ก็จะไม่เป็นปัญหา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น