โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สหภาพคนทำงาน ตปท. เสนอ ก.แรงงานจัดส่งคนงานแทนบริษัทเอกชน

Posted: 01 Dec 2012 10:13 AM PST

 
เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 55 ที่ผ่านมาเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจได้รายงานว่าที่กระทรวงแรงงาน นายโพชฌงค์วัฒน์ ชื่นตา ผู้ใช้แรงงานที่เดินทางไปเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน ได้ร้องเรียนต่อสื่อมวลชนประจำกระทรวงแรงงานว่า ตนและแรงงานไทยประมาณ 60 คน ได้เดินทางไปเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม -19 กันยายน 2555 ผ่านบริษัท เค.เค.วาย. บิสซิเนส กรุ๊ป จำกัด และทำสัญญาจ้าง เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาณ 75,000 บาท เป็นเงินที่กู้มาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ต้องเสียค่าวีซ่า 2 ประเภท คือ วีซ่าในการเดินทางไปทำงานและวีซ่าท่องเที่ยวอีก 2,000 บาท ทั้งหมดไม่มีใบเสร็จหลังจากการจ่ายเงิน เพื่อแจกแจงรายละเอียดว่าเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง 
 
"เมื่อได้เดินทางไปทำงาน บริษัทไม่จ่ายค่าจ้างให้แรงงานแต่อย่างใดตลอดระยะเวลาที่ทำงานเก็บผลไม้อยู่ที่สวีเดน ต้องรอจนกลับมาถึงประเทศไทยถึงได้เงินค่าจ้าง อยากให้กระทรวงแรงงานช่วยแก้ปัญหาเรื่องสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากในการเก็บผลไม้ป่าที่สวีเดน เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานที่จะเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าครั้งต่อไปถูกเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานอีก" นายโพชฌงค์วัฒน์กล่าว
 
หลังจากนั้นนายโพชฌงค์วัฒน์และเพื่อนแรงงานได้เข้าพบนายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อเล่าถึงข้อเท็จจริงและให้ตรวจสอบพฤติกรรมของบริษัท เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง นายสง่ากล่าวว่า ได้มอบหมายให้นายสมบัติ นิเวศรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ปัญหาจากการไปเก็บผลไม้ป่าในครั้งนี้มีน้อยมาก มีเพียงแรงงานบางส่วนเท่านั้นที่เกิดปัญหา ทั้งนี้ หากพบว่าบริษัทใดเอาเปรียบแรงงาน ในปีหน้าจะไม่อนุญาตให้จัดส่งแรงงานไปเก็บผลไม้ป่าอีก ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคมนี้จะประสานกับสถานทูตประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ เพื่อหารือเรื่องการส่งแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ป่า ได้แก่ การลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร และการดูแลเรื่องสวัสดิการต่างๆ ให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น
 
 
สหภาพคนทำงาน ตปท. ร้องกระทรวงแรงงานจัดส่งคนงานแทนบริษัทเอกชน
 
 
 
 
นอกจากนี้สหภาพคนทำงานต่างประเทศเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการไปทางานที่ต่างประเทศได้ทำจดหมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คุณธีระ วงศ์สมุทร โดยมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
 
1. ขอให้ท่านนำการเจรจา (โดยมีตัวแทนของคนงานทีเสียหายร่วมเจรจาด้วย) กับอุตสาหกรรมเบอร์รี่ และรัฐบาลของสวีเดนและฟินแลนด์และรัฐบาลของทั้งสองประเทศ เพื่อให้มีการจ่ายค่าเสียหายให้กับคนงานไทยที่เสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เสียหายจากฤดูกาลในปี 2555
 
2. ขอให้กระทรวงแรงงานหยุดให้การอุดหนุนให้บริษัทเอกชนและตัวแทนนายหน้าชาวไทย ขนแรงงานไทยมาเป็นแรงงานทาสที่ต่างประเทศเพื่อแลกกับค่าหัวคิวและรายได้เพียงเล็กน้อย และของคนกลุ่มน้อย บนความทุกข์ยากของเกษตรกรไทยจำนวนหลายพันคนทุกปี
 
3. ขอให้กระทรวงแรงงานหยุดค้ำประกันเงินกู้ ธกส. ให้กับบริษัทนายหน้าและอุตสาหกรรมเบอร์รี่ และหยุดทำตัวเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนไทยมาเก็บเบอร์รี่ โดยที่ไม่เข้าใจสภาพปัญหาและความยากลำบากอย่างถ่องแท้
 
4. กระทรวงฯ ควรจะต้องหยุดยั้งขบวนการหลอกลวงค้าแรงงานไทยต่างประเทศ ซึ่งกรณีเก็บเบอร์รี่ ให้ภาพสะท้อนที่ชัดเจนของแรงงานไทยในต่างแดนที่มีชีวิตราวกับแรงงานทาส ไม่ได้ทำงานอย่างมีคุณค่า ไม่ได้รับการเคารพในสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน และเผชิญกับความยากลำบากในการทางาน ที่ต้องลงทุนกันคนละ 160,000 บาท (ครึ่งหนึ่งเป็นเงินที่ขนออกไปจากประเทศ) โดยไม่ได้มีเงินเหลือกลับบ้านอย่างคุ้มค่า เป็นการลงทุนที่สูงเกินไป และเกษตรกรคนงานเก็บเบอร์รี่ (และครอบครัว) เป็นผู้แบกรับความเสียหายแต่เพียงฝ่ายเดียว
 
5. กระทรวงแรงงานต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เรื่องการส่งเสริมการไปทางานต่างประเทศผ่านบริษัทเอกชน และยุติการให้อนุญาตบริษัทจัดหางานเอกชนดำเนินการจัดส่งแรงงาน เพราะไม่มีบริษัทจัดส่งแรงงานใดเลยมีศักยภาพในการจ่ายค่าเสียหายเลยแม้แต่บริษัทเดียว ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานเอง ก็ไม่สามารถควบคุม และหยุดยั้งกลยุทธการหลอกลวงคนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่สามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือคนงานได้ทันท่วงทีกรณีเกิดปัญหา
 
6. ขอเรียกร้องอีกครั้งว่า ถึงเวลาแล้ว ที่กระทรวงแรงงาน ต้องรับหน้าที่พัฒนากลไก และทำตัวเป็นหน่วยงานประสานงานและจัดส่งคนไปทางานต่างประเทศให้กับผู้แสวงหางานชาวไทยเอง ซึ่งขณะนี้กระทรวงทำหน้าที่นี้ได้เพียง 5% เท่านั้น ของแรงงานที่ออกไปทางานต่างประเทศที่ต้องผ่านกระทรวงฯ
 
เอ็นจีโอทำคลิปวีดีโอป้องกันปัญหาการค้าแรงงานไทย
 
ด้านโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย คลิปวิดีโอสำหรับรณรงค์ป้องกันปัญหาการค้าแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศและเสรีภาพในกา­รรวมกลุ่มของแรงงานในชุมชน โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 24 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2555

Posted: 01 Dec 2012 09:48 AM PST

 

โอทีเกินเงินเดือน เร่งผลิตรถยนต์มือเป็นระวิง! เล็งปั้นแรงงานเพิ่ม

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ค่ายรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องเพิ่มเวลาการทำงาน ทั้งเพิ่มกะผลิตและเวลาการทำงาน หรือโอที ส่งผลให้พนักงานมีความสุขจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น เพราะบางรายมีรายได้จากค่าโอทีมากกว่าเงินเดือนประจำ เช่น มีเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือน แต่มีค่าโอทีเพิ่มอีก 20,000 บาท เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ประกอบการได้เพิ่มกะเวลาทำงาน แต่ลูกค้าก็ต้องรอรถยนต์บางรุ่นนานถึง 8-9 เดือน เนื่องจากไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ทันต่อความต้องการลูกค้าได้ ขณะเดียวกันกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ระหว่างเจรจากับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงานในการพัฒนาแรงงานใหม่ 200,000-250,000 คน มารองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในปี 2560 ที่ค่ายรถยนต์ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ 3 ล้านคัน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกติดอันดับ 1 ใน 10 อย่างถาวร เบื้องต้นโรงงานผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วน ได้นำเด็กที่จบการศึกษา ปวช. และกำลังศึกษาต่อระดับ ปวส. มาทำงานโดยให้เงินเดือนเฉลี่ย 14,000-15,000 บาท โดยสามารถไปเรียนหนังสือได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนฝีมือแรงงานได้ระดับหนึ่ง

"ขณะนี้ทุกฝ่ายช่วยกันแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทั้งบริษัทแม่ในญี่ปุ่น ภาครัฐ และเอกชนไทย โดยปัจจุบันมีแรงงานในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนกว่า 500,000 คน และปี 2560 ต้องเพิ่มเป็น 800,000 คน เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ปีละ 3 ล้านคัน หากไม่สามารถเพิ่มแรงงานได้ในอนาคตจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของ อุตสาหกรรม"

สำหรับยอดการผลิตรถยนต์เดือน พ.ย.นี้ คาดว่าจะผลิตรถยนต์ได้ 240,000-250,000 คัน และเดือน ธ.ค. จะผลิตได้ 190,000-200,000 คัน จากช่วง 10 เดือนของปี 55 (ม.ค.-ต.ค.) ผลิตรถยนต์ได้แล้ว 1.975 ล้านคัน หากรวมกับ 2 เดือนที่เหลือที่ผลิตได้รวม 440,000-450,000 คัน จะรวมกัน 2.3-2.4 ล้านคันแน่นอน ทั้งนี้ ไทยสามารถผลิตรถยนต์ติดอันดับ 1 ใน 10 เรียบร้อยแล้ว โดยแซงหน้าฝรั่งเศส, สเปน, อิหร่าน, รัสเซีย แล้ว โดยปี 54 ไทยยังเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 14 ของโลก.

(ไทยรัฐ, 26-11-2555)

 

แตะ 450 บาทแล้ว ! ค่าแรงเกี่ยวข้าวอีสาน ยังหาแรงงานไม่ได้

นายคมสัน หินอ่อน อายุ 46 ปี บ้านเลขที่ 193 หมู่ 3 ต.โนนหนามแท่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ กล่าวถึงค่าแรงเกี่ยวข้าวปีนี้ว่า ค่าแรงพุ่งสูงเป็น 2-3 เท่าตัวจากในช่วงแรก 300 บาท ขณะนี้ขยับไปที่ 400-450 บาทแล้ว และยังหาแรงงานเกี่ยวข้าวลำบากเพราะชาวนาต่างเร่งรีบเก็บเกี่ยวและเมล็ดข้าว สุกไล่เลี่ยกัน ในขณะที่ความนิยมในการใช้รถเกี่ยวข้าวยังน้อย เนื่องจากเกษตรกรมองว่ามีความสูญเสียจากเมล็ดข้าวร่วงสูง และยังต้องการเก็บฟางข้าวไว้เพื่อเลี้ยงสัตว์ ซึ่งหากจ้างรถเกี่ยวข้าวจะไม่ได้ฟางข้าว จึงถือได้ว่าค่าแรงเกี่ยวข้าวปีนี้พุ่งสูงในรอบ 30 ปีก็ว่าได้

ที่ จ.ตราด นายลพ นากแสง อายุ 62 ปี อยู่บ้านเลขที่ 17 หมู่ 3 ต.หนองโสน อ.เมือง จ.ตราด ได้นำสื่อมวลชนไปสำรวจแปลงนาข้าวของตนเองและของเพื่อนบ้านที่ได้รับความเสีย หายจากฝนตกหนักลงมาในพื้นที่ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จนทำให้ต้นข้าวที่รอการเก็บเกี่ยวล้มและจมอยู่ในน้ำได้รับความเสียหายเป็น อาณาบริเวณกว้างกว่า 2,000 ไร่

นายลพกล่าวว่า ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกษตรกรต้องเร่งเก็บเกี่ยวข้าวอย่างเร่งด่วน โดยมีการว่าจ้างให้เอกชนที่มีเครื่องเกี่ยวข้าวมาเร่งเก็บเกี่ยว แม้ข้าวเปลือกจะเปียกชื้นก็ต้องรีบนำไปขายให้กับเอกชนที่มารับซื้อ หรือบางรายก็นำไปเข้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ซึ่งผลผลิตที่ได้จากเดิมที่เคยได้ 500-600 กิโลกรัม/ไร่ ขณะนี้เหลือเพียง 400 กิโลกรัม/ไร่เท่านั้น เมื่อนำไปขายจะได้ราคา 10,000-11,000 บาท/ตัน จากที่เคยขายได้ตันละ 13,000 บาท เพราะปัญหาความชื้น

(มติชนออนไลน์, 26-11-2555)

 

ก.แรงงานรุกตั้งศูนย์ฝีมือแรงงานนิคมฯ รับค่าแรง 300 บาท

ก.แรงงานบุกพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานรับค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ เน้นความสามารถรอบด้านตรงตามที่สถานประกอบการต้องการ เล็งจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมตามนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มความสะดวกแรงงานไทย
      
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กพร.มีแผนพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อรองรับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทที่เริ่มมีผลบังคับใช้ครอบคลุมทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยการพัฒนาแรงงานจะมุ่งเน้นทั้งทักษะฝีมือและคุณลักษณะที่ดีในการทำงาน เช่น ความขยัน ความอดทน การมีวินัย ซึ่งจะทำในเชิงรุกด้วยการให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศฝจ.) ลงพื้นที่ไปสำรวจว่าสถานประกอบการต่างๆ มีความต้องการพัฒนาแรงงานในด้านใดบ้าง อีกทั้งเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและจัด ทำหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อให้การฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานสอดคล้องกับความต้องการของสถาน ประกอบการ
      
นายนครกล่าวอีกว่า กพร.ได้ประสานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อดำเนินการจัดตั้งศูนย์ ฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานขึ้นภายในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้สถานประกอบการมาแจ้งความต้องการฝึกอบรมแรงงานและคอยประสานความร่วม มือในการฝึกอบรม ซึ่งจะจัดฝึกอบรมภายในนิคมฯ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แรงงานและสถานประกอบการ
      
"กพร.จะร่วมมือกับภาคธุรกิจและสถานประกอบการในการพัฒนาฝีมือให้แก่แรง งานที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการต่างๆ และให้ สพภ.และ ศฝจ.จัดฝึกอบรมแรงงานภายในศูนย์ดังกล่าว โดยจะเปิดรับเด็กที่จบ ม.3 และ ม.6 ที่ยังไม่มีงานทำ รวมถึงผู้ที่มีวุฒิ ปวช.และ ปวส.ในสาขาช่างต่างๆ ซึ่งต้องการพัฒนาทักษะฝีมือ เพื่อป้อนแรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงานแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน" อธิบดี กพร.กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 27-11-2555)

 

รมว.แรงงาน เชื่อ ส.อ.ท.ขัดแย้ง ไม่เกี่ยวค่าแรง 300

เมื่อวันที่ 27 พ.ย. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีความขัดแย่งภายในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จนทำให้มีการสั่งปลดนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล พ้นจากตำแหน่งประธาน ส.อ.ท.และแต่งตั้งนายสันติ วิลาสศักดา ดำรงตำแหน่งแทนว่า เรื่องดังกล่าวไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เนื่องจากอำนาจในการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วย นายจ้าง ลูกจ้าง และกระทรวงแรงงาน อีกทั้งที่ผ่านมานายพยุงศักดิ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต่อรองกับรัฐบาล หรือเข้ามาหารือกับกระทรวงแรงงานเพื่อขอให้ชะลอการปรับค่าจ้าง รวมถึงเสนอมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจ มีเพียงนายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธาน ส.อ.ท.สายแรงงาน และนายธนิต โสรัตน์ รองประธาน ส.อ.ท. สายงานเศรษฐกิจโลจิสติกส์เท่านั้น เชื่อว่าการความขัดแย้งครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการออกมาตรการช่วยเหลือ ภาคธุรกิจ

ส่วนความคืบหน้าในการส่งรายชื่อตัวแทนจาก ส.อ.ท.เข้ามาเป็นคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย เพื่อทำหน้าที่ติดตามปัญหาและผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง ขณะนี้ ส.อ.ท.ยังไม่มีการส่งรายชื่อตัวแทนเข้ามา แต่ทางกระทรวงแรงงานจะทำงานไปล่วงหน้า โดยวันที่ 8 ธันวาคมนี้ จะเรียกหัวหน้าหน่วยงานของกระทรวงแรงงานทั่วประเทศเข้ามาประชุมเพื่อชี้แจง นโยบายในการลงพื้นที่หาข้อมูลผลกระทบของภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอี เพื่อหามาตรการในการช่วยเหลือต่อไป.

(ไทยรัฐ, 27-11-2555)

 

จ้างงานเดือน พ.ย.ลดวูบ 20%

กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัด|หางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยรายงาน สถานการณ์การว่างงาน การเลิกจ้าง และความต้องการแรงงานประจำเดือน พ.ย.ระบุว่า ในเดือนนี้มีสถานประกอบการแจ้งตำแหน่งงานว่างมายังกรมการจัดหางาน 1.21 แสนอัตรา ลดลง 2.9 หมื่นอัตรา หรือ 19.37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบความต้องการแรงงานตามหมวดอาชีพ พบว่า หมวดอาชีพที่ความต้องการลดลงมากสุดคือ ผู้ปฏิบัติงานใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ ลดลงจาก 1.44 |หมื่นคน เหลือ 8,140 คน หรือ -43.56% รองลงมาผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและประมงจาก 453 คนเหลือ 286 คน หรือ -36.87%

ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ จาก 5,463 คน เหลือ 4,097 คน หรือ -25% อาชีพงานพื้นฐานจาก 6.6 หมื่นคน เหลือ 4.9 หมื่นคน หรือ -24.96% พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาดจาก 2.19 หมื่นคน เหลือ 1.89 หมื่นคน หรือ -13.64% และเสมียนเจ้าหน้าที่จาก 1.62 หมื่นคน เหลือ 1.46 หมื่นคน หรือ -9.87%

ขณะเดียวกัน หากนับตามจำนวนความต้องการที่ลดลง หมวดอาชีพงานพื้นฐานมีจำนวนความต้องการลดลงมากที่สุด 1.65 หมื่นคน รองลงมาคือ ผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ ลดลง 6,283 คน และพนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด ลดลง 2,999 คน

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาอัตราการว่างงานโดยรวม ตัวเลขล่าสุดเดือน พ.ย. ยังคงที่ 2.4 แสนคน ลดลงจากเดือน ต.ค. 1 หมื่นคน แต่สัดส่วนอัตรายังอยู่ที่ 0.6% ของกำลังแรงงานทั้งหมด ในจำนวนผู้ว่างงานนี้แบ่งเป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.2 แสนคน และผู้ที่เคยทำงานมาก่อน 1.2 แสนคน ทำงานอยู่ในภาคการผลิตมากที่สุด 0.55 แสนคน รองลงมาอยู่ในภาคการ บริการและการค้า 0.5 แสนคน และภาคเกษตรกรรม 0.15 แสนคน ตามลำดับ

นอกจากนี้ ตัวเลขผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณี|ว่างงาน เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มี 4.42 หมื่นคน เพิ่มขึ้น 2,204 คน หรือ 5.24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมาพบว่าเพิ่มขึ้น 4,496 คน หรือ 11.3%

ขณะที่นายอธิภูมิ กำธรวรรินทร์ เจ้าของโรงงานมีศิลป์เซรามิค อ.เมือง จ.ลำปาง เปิดเผยว่า อุตสากรรมเซรามิกเตรียมปรับลดแรงงานก่อนจะมีการขึ้นค่าแรง 300 บาท ในวันที่ 1 ม.ค. 2556 ประมาณ 20–30% และมีแผนจะนำเครื่องจักรมาทดแทน

(โพสต์ทูเดย์, 27-11-2555)

 

แรงงานโร่ร้อง ถูกเอาเปรียบ เก็บผลเบอร์รี่ที่สวีเดน

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ที่กระทรวงแรงงาน นายโพชฌงค์วัฒน์ ชื่นตา ผู้ใช้แรงงานที่เดินทางไปเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน ได้ร้องเรียนต่อสื่อมวลชนประจำกระทรวงแรงงานว่า ตนและแรงงานไทยประมาณ 60 คน ได้เดินทางไปเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม -19 กันยายน 2555 ผ่านบริษัท เค.เค.วาย. บิสซิเนส กรุ๊ป จำกัด และทำสัญญาจ้าง เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาณ 75,000 บาท เป็นเงินที่กู้มาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ต้องเสียค่าวีซ่า 2 ประเภท คือ วีซ่าในการเดินทางไปทำงานและวีซ่าท่องเที่ยวอีก 2,000 บาท ทั้งหมดไม่มีใบเสร็จหลังจากการจ่ายเงิน เพื่อแจกแจงรายละเอียดว่าเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

"เมื่อได้เดินทางไปทำงาน บริษัทไม่จ่ายค่าจ้างให้แรงงานแต่อย่างใดตลอดระยะเวลาที่ทำงานเก็บผลไม้อยู่ ที่สวีเดน ต้องรอจนกลับมาถึงประเทศไทยถึงได้เงินค่าจ้าง อยากให้กระทรวงแรงงานช่วยแก้ปัญหาเรื่องสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสภาพความ เป็นอยู่ที่ลำบากในการเก็บผลไม้ป่าที่สวีเดน เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานที่จะเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าครั้งต่อไปถูกเอารัดเอา เปรียบจากบริษัทที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานอีก" นายโพชฌงค์วัฒน์กล่าว

หลังจากนั้นนายโพชฌงค์วัฒน์และเพื่อนแรงงานได้เข้าพบนายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อเล่าถึงข้อเท็จจริงและให้ตรวจสอบพฤติกรรมของบริษัท เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง นายสง่ากล่าวว่า ได้มอบหมายให้นายสมบัติ นิเวศรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ปัญหาจากการไปเก็บผลไม้ป่าในครั้งนี้มีน้อยมาก มีเพียงแรงงานบางส่วนเท่านั้นที่เกิดปัญหา ทั้งนี้ หากพบว่าบริษัทใดเอาเปรียบแรงงาน ในปีหน้าจะไม่อนุญาตให้จัดส่งแรงงานไปเก็บผลไม้ป่าอีก ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคมนี้จะประสานกับสถานทูตประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ เพื่อหารือเรื่องการส่งแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ป่า ได้แก่ การลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร และการดูแลเรื่องสวัสดิการต่างๆ ให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น

(ประชาชาติธุรกิจ, 29-11-2555)

 

ประกาศแล้ว ! 300 บาท ทั่วประเทศ 1 มกราคม 56 เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา

มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕  ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่  ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๗)
 
ประกาศดังกล่าวระบุว่า  ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง
ที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ และมีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อใช้บังคับแก่นายจ้างและ ลูกจ้างทุกคน
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๙ (๓) และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการค่าจ้างจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
 
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ ข้อ ๒๓ ข้อ ๒๔ ข้อ ๒๕ ข้อ ๒๖ ข้อ ๒๗ ข้อ ๒๘ ข้อ ๒๙ ข้อ ๓๐ ข้อ ๓๑ และข้อ ๓๒ ของประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๕๔
 
 
ข้อ ๒ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยบาท ในท้องที่จังหวัดกระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครนายก นครพนม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ พะเยา มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยะลา ยโสธร ร้อยเอ็ด ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อุดรธานี อุทัยธานี อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
 
 
ข้อ ๓ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
 
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง

(มติชนออนไลน์, 30-11-2555)

 

นายกฯ ขอให้ผู้ประกอบการดูแลสวัสดิการให้ผู้แรงงาน

 30 พ.ย.- นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี 2555 ระบุต้องการให้ผู้ประกอบการมีความแข็งแรง รับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขณะเดียวกัน ขอให้ผู้ประกอบการดูแลสวัสดิการให้กับผู้ใช้แรงงานด้วย

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในโอกาสเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2555  ว่า รางวัลดังกล่าวนอกจากเป็นประกาศเกียรติคุณยกย่องว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จ แล้ว ยังเป็นเครื่องยืนยันว่า บริษัทได้รับความภาคภูมิใจ จากการมุ่งมั่นทำงานด้วยความวิริยะ พัฒนาการบริหารจัดการด้านต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยิ่ง

"ดิฉันอยากเห็นผู้ประกอบการทุกรายมีความแข็งแรง สามารถต่อยอดเข้าไปสู่การแข่งขัน เพื่อรองรับการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และแข่งขันในเวทีโลก เพราะเศรษฐกิจของประเทศจะแข็งแรงไม่ได้ ถ้าผู้ประกอบการไม่แข็งแรงด้วย" นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมประเทศ นอกจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพแล้ว ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย พร้อมกันนี้ขอฝากผู้ประกอบการดูแลพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ให้ได้ยกระดับคุณภาพชีวิต และจัดสวัสดิการให้คนทำงานได้อย่างมีความสุขเพราะเมื่อทำให้มีความสุขแล้ว จะเกิดความรักองค์กรซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรและทำให้ผลผลิตมี คุณภาพยิ่งขึ้น

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบรางวัลให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับ รางวัลอุตสาหกรรม จำนวน 30 บริษัท โดย บริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม

(สำนักข่าวไทย, 30-11-2555)

 

พนักงานการท่าเรือร้องถูกปลดจากสหภาพ

(30พ.ย.) ร.ต.ต.เสฏฐวุฒิ คู่นพคุณ ร้อยเวร สน.ท่าเรือ  ได้รับการร้องทุกข์เพื่อลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานจาก นายอนันต์ รัตนพันธ์ หัวหน้ากลุ่มพลังสร้างสรรค์พนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย พร้อมพนักงานการท่าเรือประมาณ 100 คน หลังพบว่าพวกตนไม่มีรายชื่อในการลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการสหภาพแรงงานรัฐ วิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่มีการเลือกตั้งกันในวันนี้

โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่ง ประเทศไทย อ้างว่าพวกตนทั้ง 166 คนถูกปลดพ้นสภาพสมาชิกจากที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. 2554 ที่จังหวัดระนอง ในมติลงความเห็นว่าพวกตนกระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อสหภาพแรงงานฯ แต่ตนได้นำหนังสือ ด่วนที่สุดจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ รง. 0509/010530 เรื่องขอให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้คณะกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่า เรือแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามคำวินิจฉัย  หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยนายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย คืนสิทธิให้สมาชิกเพื่อให้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเพื่อลงมติเลือกตั้ง กรรมการ แต่ไม่เป็นผลจึงเดินทางมาร้องทุกข์ไว้ก่อน

(เดลินิวส์, 30-11-2555)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แดงลำปางแจ้งจับ 'อานนท์ แสนน่าน' ฉ้อโกง 1 ล้าน

Posted: 01 Dec 2012 08:05 AM PST

เสื้อแดงลำปางแจ้งจับ  'อานนท์ แสนน่าน' เลขานุการสมาพันธ์หมู่บ้านเสื้อแดงแห่งประเทศไทย ฉ้อโกง 1 ล้านบาท ระบุลงทุนทำโครงการ SML ด้าน สจ.มหาสารคามร้อง ปชป. อ้างขบวนการเสื้อแดงโกงงบ SML

 
เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 55 ที่ผ่านมา เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานว่านายศักดิ์ชาย ฟูแสง อยู่บ้านเลขที่ 106 ม. 3 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา ซึ่งมีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ ร.ต.ท.วิจารณ์ คำอ่อง พนักงานสอบสวน สภ.เมืองลำปาง เพื่อให้ติดตาม และดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกงกับ นายอานนท์ แสนน่าน ชาว จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเสื้อแดง โดยปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นเลขานุการสมาพันธ์หมู่บ้านเสื้อแดงแห่งประเทศไทย และเป็นแกนนำคนเสื้อแดงใน จ.อุดรธานี 
 
นายศักดิ์ชาย กล่าวว่า ได้รู้จักกับนายอานนท์ เมื่อครั้งเคลื่อนไหวในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา เนื่องจาก นายศักดิ์ชาย เป็นสมาชิกคนเสื้อแดงในภาคเหนือ จากนั้น  นายอานนท์ ได้กล่าวอ้างว่า เป็นคนสนิทของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีต สส.ชื่อดังใน จ.เชียงราย พร้อมยังอ้างว่างสนิทสนมกับรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีหลายท่าน โดยเฉพาะ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลัง จึงได้ชักชวนให้ นายศักดิ์ชาย ซึ่งเป็นผู้รับเหมา ได้ลงทุนทำโครงการ SML ใน จ.ลำปาง แต่ขอนำเงิน 3 ล้านบาท เพื่อนำไปลงทุน เป็นค่าดำเนินการเบื้องต้น
 
อย่างไรก็ตามไม่มีเงินมากพอ และหลงเชื่อในคำชักชวน จึงได้นำเงินส่วนตัวที่มี และเงินที่ไปกู้หนี้ยืมสิ้นมาได้ 1 ล้านบาท โอนเงินจากธนาคารใน จ.ลำปาง ไปให้บัญชีธนาคารของ นายอานนท์ เมื่อเดือนพ.ย. 2554 ปรากฏว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีวี่แววที่จะมีการเริ่มโครงการดังกล่าว และที่ผ่านมา ได้พยายามติดต่อกับ นายอานนท์ หลายครั้ง แต่ก็ถูกบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด ว่า จะมีการทำโครงการ SML ใน จ.ลำปาง อย่างแน่นอน กระทั่งปัจจุบันนี้ ไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย นายศักดิ์ชาย จึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ พร้อมแนบเอกสารการโอนเงิน 1 ล้านบาท ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เป็นหลักฐาน
 
ด้านร.ต.ท.วิจารณ์  พนักงานสอบสวน สภ.เมืองลำปาง  กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะได้รับเรื่องไว้ แต่จะต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ก่อน โดยเฉพาะการโอนเงินเข้าบัญชีผู้ถูกกล่าวหา หากเป็นไปตาม ที่ผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ในครั้งนี้ ก็จะเรียกตัวผู้ถูกกล่าวหา มารับทราบข้อกล่าวหาในคดีฉ้อโกงผู้อื่นต่อไป
 
สจ.มหาสารคามร้อง ปชป. อ้างขบวนการเสื้อแดงโกงงบ SML
 
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 55 เว็บไซต์เนชั่นทันข่าวรายงานว่านายธนา ปักกาโร สมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) นาดูร จ.มหาสารคาม ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตโครงการเอ็สเอ็มแอล ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผ่านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธานส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายธนา กล่าวว่า มีกระบวนการเสื้อแดงแอบอ้างว่า งบประมาณในโครงการเอสเอ็มแอล เป็นเงินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ใช่เป็นงบประมาณจากภาครัฐ และและมีการนำเสนอเงินให้กับกรรรมการหมู่บ้านที่มีสิทธิเบิกจ่ายเงิน 3 คน จำนวน 5,000-10,000 บาทแลกกับการไปเบิกเงิน แต่สิ่งของที่ได้กลับมาจะไม่ตรงกับที่ชาวบ้านต้องการ เช่นกรณีนี้ชาวบ้านต้องการถนนแต่กลับมีการนำปุ๋ยชีวภาพและเครื่องเสียงไปแจกแทน และยังมีการถ่ายเอกสารการทำประชาคมปลอมลายเซ็นเบิกจ่ายด้วย ซึ่งมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 11 หมู่บ้าน เกิดความเสียหายแล้ว 3.3 ล้านบาท ซึ่งตนได้ร้องเรียนตั้งแต่ระดับอำเภอไปจนถึงจังหวัดและ ส.ส.ในพื้นที่ คือ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รมช.เกษตรฯ แต่เรื่องก็เงียบ ทั้งที่สำนักงานกองกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตรวจสอบแล้วพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง จึงมีการสั่งระงับแจกจ่ายเงินที่เหลือทั้งหมด 200 กว่าล้านบาท เรื่องนี้ทำเป็นขบวนการมีลูกชายของนักการเมืองใหญ่อดีตส.ส.อุดรธานี เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย นอกจากนี้ยังมีนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วิทยาศาสตร์ ขณะดำรงตำแหน่งรมต.ประจำสำนักนายกฯ เปลี่ยนแปลงระเบียบการเบิกจ่ายเปิดช่องให้คนเหล่านี้เซ็นเบิกจ่าย หากินได้โดยง่ายขึ้น 
 
นายธนา กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบพบว่า ปุ๋ยชีวภาพที่นำมาแจกไม่ได้มาตรฐานและกำหนดราคา 500 บาทต่อถุงซึ่งสูงเกินความเป็นจริงที่ต้นทุนไม่เกิน 200 บาท เช่นเดียวกับเครื่องเสียงจากจีนแดงที่ไม่มีคุณภาพ บางหมู่บ้านแค่เปิดเครื่องก็ไหม้แล้ว เท่ากับว่าโครงการนี้มีการทุจริตแบบแบ่งโซนทางภาคอีสาน ซึ่งจังหวัดที่มีปัญหามากคือ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ และมหาสารคาม เชื่อว่าแพร่ระบาดไปทั่ว และที่แรกที่เกิดปัญหาคือ จ. แพร่ ที่นายวรวัจน์ เป็นส.ส.อยู่ หากเปรียบเทียบจากสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตน เท่ากับว่ามีการทุจริตถึง 50 % ซึ่งคนใหญ่จะเป็นคนเสื้อแดง ถ้าจังหวัดอื่นประสบปัญหาแบบนี้ทั่วประเทศก็จะทำให้งบเอสเอ็มแอล 20,520 ล้านบาท รั่วไหลไปกับการทุจริตและความเดือดร้อนของชาวบ้านถึง 50 %ของเงินงบประมาณทั้งหมดที่เป็นภาษีของประชาชน
 
ด้านนายองอาจ กล่าวว่า หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเรื่องร้องเรียนทำนองเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีกรณีนี้ที่มีหลักฐานชัดเจน พรรคจะรวบรวมทุกเรื่องที่ร้องมายังพรรคประชาธิปัตย์ ไปยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) ตรวจสอบในสัปดาห์หน้า
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บึ้มนาวิกฯ ดับ 1 เจ็บ 5 ส่ง อส.รุ่น 3 เสริมเขี้ยวดูแลรถไฟ

Posted: 01 Dec 2012 07:34 AM PST

 

บึ้มนาวิกโยธินไม้แก่น ดับ 1 เจ็บ 5 ขณะไปเยี่ยมชุดรักษาความปลอดภัยโรงเรียน เผยเป็นระเบิดแสวงเครื่องหนัก 15 กิโล ส่งอส. ตำรวจและเจ้าหน้าที่รถไฟรุ่น 3 รวม 54 นาย ผ่านหลักสูตรเสริมเขี้ยวเล็บดูแลขบวนรถสายใต้

 

อส.รถไฟ 
(ภาพจาก ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กอ.รมน. ภาค 4 สน.)
 
เมื่อเวลา 20.30 น. วันที่ 30 ธันวาคม2555 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 สน.) รายงานว่า เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดชุดปฏิบัติการลาดตระเวนกองร้อยปืนเล็กที่ 4 (ชป.ลว.ร้อย.ปล.ที่ 4) หน่วยเฉพาะกิจปัตตานีที่ 26 (ฉก.ปัตตานี 26) บนถนนบ้านดอนทราย หมู่ที่ 5 ต.ดอนทราย อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี แรงระเบิดทำให้ทหารนาวิกโยธินเสียชีวิต 1 นาย ได้แก่ จ.อ.สายเพ็ชร จันทร์กระจ่าง บาดเจ็บ 5 นาย ได้แก่ 1.จ.อ.อัมพร อุทัยชีวะ 2.พลทหารเสกสรร อ่อนตาแสง บาดเจ็บสาหัส 3.พลฯธนชัย สุปะมะนัย 4.พลทหารประคอง โสภา 5.พลทหารดูรีวัน เจ๊ะมามะ บาดเจ็บเล็กน้อย
 
สอบสวนทราบว่า ขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าว จำนวน 6 นาย ขับรถยนต์กระบะยี่ห้อโตโยต้า วีโก้ ติดเกราะด้านข้าง 1 คัน และขับขี่รถจักรยานยนต์ 2 คัน เพื่อไปตรวจเยี่ยมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่รักษาความปลอดภัยโรงเรียนบ้านดอนทราย ระหว่างทางคนร้ายไม่ทราบจำนวน ซุ่มอยู่บริเวณป่าข้างทางได้จุดชนวนระเบิดขึ้น แรงระเบิดถูกรถยนต์กระบะส่งผลนาวิกโยธินเสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว
 
น.ท.มนตรี โตประเสริฐ ผู้บังคับหน่วย ฉก.ปัตตานี 26 เปิดเผยว่า ระเบิดที่คนร้ายใช้เป็นระเบิดแสวงเครื่องน้ำหนัก 15 กิโลกรัม บรรจุในถังดับเพลิง ส่วนผู้ที่บาดเจ็บสาหัส 2 ราย ได้แก่ จ.อ.อัมพรกับพลทหารเสกสรร เจ้าหน้าที่ได้ส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
 
ต่อมาเวลา 11.00 น. วันที่ 1 ธันวาคม 2555 ที่วัดโคกเคียน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นประธานในพิธีวางพวงหรีดเคารพศพ และรดน้ำศพ จ.อ.สายเพ็ชร ที่เสียชีวิตจากเหตุดังกล่าว พร้อมมอบเหรียญบางระจันและประกาศนียบัตรเพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล พร้อมทั้งได้มอบเงินช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้น และเงินกองทุน "ภาคเอกชนร่วมน้ำใจ ช่วยทหารจังหวัดชายแดนภาคใต้" ให้ทายาท
 
เช่นเดียวกับเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มอบเงินเยียวยาของจังหวัดนราธิวาสให้ทายาทด้วย โดยญาติจะนำศพกลับไปประกอบพิธีทางศาสนา ณ มูลนิธิบำเพ็ญบุญ หมู่ที่ 10 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร โดยจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพวันที่ 8 ธันวาคม 2555 ณ วัดปิยะวัฒนาราม ต.ละแม
 
เวลา 15.00 น.วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 ที่กองร้อยอาสารักษาดินแดน (อส.)จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา พล.ท.สกล ชื่นตระกูล รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เป็นประธานมอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกหน่วยรักษาความปลอดภัยขบวนรถไฟ ประจำปี 2555 รุ่นที่ 3 โดยมีผู้เข้ารับการฝึกจากหน่วยรักษาดินแดน, เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟและเจ้าพนักงานรถไฟ จำนวน 54 นาย
 
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กอ.รมน. ภาค 4 สน. รายงานว่า การฝึกอบรมครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้หน่วยทั้ง 3 หน่วยที่รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยขบวนรถไฟ มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถประสานการปฏิบัติกับหน่วยข้างเคียงหรือหน่วยเหนือได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที ทั้งมีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์, รู้นโยบาย, รู้ยุทธวิธีฝ่ายตรงข้าม, รู้เทคนิคการปฏิบัติของฝ่ายเรา, รู้ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถป้องกันตนเองและป้องกันขบวนรถไฟรวมทั้งประชาชน ผู้ที่มาใช้บริการรถไฟเป็นพาหนะในการเดินทางให้มีความปลอดภัย
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วันเอดส์โลก ผู้ติดเชื้อ HIV ร้องหยุดละเมิดสิทธิและเลือกปฏิบัติ

Posted: 01 Dec 2012 04:43 AM PST

 
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ร่วมกับคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) จัดกิจกรรมรณรงค์ "มีเอชไอวีก็เรียนได้ ทำงานได้" หยุดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี เริ่มที่เรา...เราทำได้ ที่สถานีขนส่งหมอชิต เนื่องในวันเอดส์โลก
 
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ เรียกร้องทุกภาคส่วนให้หยุดละเมิดสิทธิ หยุดการตีตรา และเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อฯ ให้เป็นศูนย์ โดยขอให้ 1.หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนทุกแห่งต้องไม่บังคับตรวจเลือดเอชไอวีทั้งก่อนและระหว่างการทำงาน 2.สถาบันการศึกษาทุกแห่งต้องไม่ใช้เหตุผลของการมีเชื้อเอชไอวีมาลิดรอนสิทธิด้านการศึกษา และต้องไม่บังคับตรวจเลือดเอชไอวีไม่ว่าในกรณีใดทั้งสิ้น 3. รัฐบาลต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในการป้องกันการรับและถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ใช่ผลักภาระให้กับผู้ติดเชื้อฯ เพียงลำพัง รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์
 
ประธานเครือข่ายฯ กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง โดยจัดตั้งหรือส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ที่ต้องการ "ลดให้เป็นศูนย์" ทั้งในด้านการตีตราเลือกปฏิบัติ การรักษา และการป้องกัน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างรอบด้าน ซึ่งมาตรการเร่งด่วนคือ การจัดบริการเพื่อลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดที่รอบด้าน และขยายการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีในระบบประกันสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ 
 
 "การบังคับตรวจเลือดเอชไอวี เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งจากการสำรวจข้อมูล ผู้ติดเชื้อฯ ร้อยละ 47.21 เคยถูกละเมิดสิทธิในฐานะที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 26.18 เคยถูกปฏิเสธการจ้างงาน และร้อยละ 32.19 เคยสูญเสียงานและรายได้เนื่องจากการติดเชื้อฯ โดยที่เหตุการณ์การละเมิดสิทธิแบบนี้ยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง" ประธานเครือข่ายฯ กล่าว
 
..................
แถลงการณ์
หยุดการตีตราและเลือกปฎิบัติต่อผู้มีเชื้อเอชไอวี เริ่มที่เรา ..เราทำได้
1 ธันวาคม วันเอดส์โลก 
 
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย และคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ ขอประกาศเจตนารมณ์ เนื่องในวันเอดส์โลก วันที่ 1 ธันวาคม  2555  "การมีเชื้อเอชไอวีในร่างกายไม่ได้ทำให้คนๆหนึ่งสูญเสียศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ ขอเรียกร้องทุกภาคส่วนหยุดการละเมิดสิทธิ หยุดการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี" 
 
ในขณะที่การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้ผู้ติดเชื้อฯมีสุขภาพที่แข็งแรง มีชีวิตยืนยาวได้ จนสามารถกล่าวได้ว่า "เอดส์รักษาได้" แต่กระนั้นก็ตาม ยังมีการรังเกียจตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อฯ เกิดขึ้น โดยได้แอบแฝงอยู่ในหลายรูปแบบ อันเป็นผลมาจากความเชื่อที่ว่า "ผู้ติดเชื้อฯไม่แข็งแรง" "ผู้ติดเชื้อฯ คือกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม" รวมไปถึงความเข้าใจผิดว่า "เอชไอวีสามารถติดต่อกันได้ง่ายๆจากการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกัน" 
 
แม้สถานการณ์การรังเกียจในชุมชนจะลดหายไปบ้างแล้ว แต่กลับมีการตีตราที่แปรรูปแฝงอยู่ในหลายรูปแบบ ในทุกกลุ่มคน ทุกระดับการศึกษา ทุกเพศ ทุกวัย เช่น การที่มหาวิทยาลัยบางแห่ง มีนโยบายบังคับตรวจเลือดนักศึกษา เพื่อกีดกันไม่ให้นักศึกษาที่มีเชื้อเอชไอวีเรียนในบางคณะ รวมถึงสถานที่ทำงาน, บริษัทเอกชนบางแห่ง มีนโยบายบังคับตรวจเลือดก่อนรับเข้าทำงาน หากติดเชื้อฯ ก็จะไม่รับเข้าทำงาน เป็นต้น ทั้งนี้ นโยบายการบังคับตรวจเลือดเอชไอวี ไม่เพียงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่ออนาคตและชีวิตของคน ที่ถูกจำกัดสิทธิเรื่องเรียน และการทำงาน 
 
จากผลของการทำวิจัยเรื่องดัชนีการตีตราต่อผู้ติดเชื้อฯ โดยเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย ในปี 2553 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ติดเชื้อฯ 233 รายพบว่า กว่าร้อยละ 26.18 เคยถูกปฏิเสธการจ้างงานด้วยเหตุผลเรื่องการติดเชื้อเอชไอวี และร้อยละ 32.19 เคยสูญเสียงานและรายได้เนื่องจากการติดเชื้อฯ และกว่าร้อยละ 47.21 เคยถูกละเมิดสิทธิในฐานะที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น แม้ว่างานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นผลจากงานวิจัยที่ดำเนินการในช่วงปี 2553 แต่กลับพบว่ากรณีการละเมิดสิทธิยังคงดำรงอยู่และมีให้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง
 
ดังนั้นเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ และเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ จึงขอประกาศเจตนารมณ์เนื่องในวันเอดส์โลก ภายใต้ยุทธศาสตร์เอดส์แห่งชาติที่ประกาศว่า "ต้องลดจำนวนผู้ติดเชื้อฯรายใหม่ ต้องลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ และต้องลดอัตราการเสียชีวิตด้วยเอดส์ลงจนเป็นศูนย์" (Getting to Zero) ดังนี้
 
1. ทุกหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ต้องไม่มีการบังคับตรวจเลือดเอชไอวีทั้งก่อนและระหว่างการทำงาน 
2. ทุกสถาบันด้านการศึกษา ต้องไม่ใช้เหตุแห่งการมีเชื้อเอชไอวี มาลิดรอนสิทธิด้านการศึกษา และต้องไม่มีการบังคับตรวจเลือดเอชไอวีไม่ว่าในกรณีใดทั้งสิ้น
3. รัฐบาลต้องดำเนินการให้เกิดการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจใหม่ต่อการป้องกันการรับ-ถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ใช่ผลักภาระการป้องกันให้กับผู้ติดเชื้อฯเพียงลำพัง รวมทั้งการส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์
4. รัฐบาลต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง รวมทั้งต้องมีการจัดตั้งหรือส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ที่ต้องการ "ลดให้เป็นศูนย์" ทั้งในด้านการตีตราเลือกปฏิบัติ ด้านการรักษา และการป้องกัน โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างรอบด้าน ซึ่งมาตรการเร่งด่วนคือ การจัดบริการเพื่อลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดที่รอบด้าน (Comprehensive Harm Reduction) เป็นไปตามมาตรฐานสากล และการขยายการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีในระบบประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติ 
 
"มีเอชไอวีก็เรียนได้ ทำงานได้"
 
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนสะเอียบ สืบชะตาป่าสักทอง สาบแช่งผู้ผลักดันเขื่อนแก่งเสือเต้น

Posted: 01 Dec 2012 04:24 AM PST

 
เช้าวันนี้ (1 ธันวาคม 2555) เมื่อเวลา 09.00 น. ชาวบ้าน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ นับพันคน ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดพิธี สืบชะตาป่าสักทอง เพื่อปกป้อง รักษา ป่าสักทองกว่า 24,000 ไร่ ซึ่งที่ผ่านมากว่า 20 ปี ชาวบ้านก็ได้ร่วมกันจัดพิธีบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำมาอย่างต่อเนื่อง
 
 
 
 
 
 
 
จากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลได้มีการผลักดันเขื่อนแก่งเสือเต้น ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเหตุผลเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมและบรรเทาอุทกภัย ในเขตลุ่มน้ำยม ขณะที่ชาวบ้าน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กว่า 1,000 ครอบครัว ประมาณ 5,000 คน จาก 4 หมู่บ้าน จะต้องอพยพโยกย้ายออกจากพื้นที่ที่จะเป็นอ่างเก็บน้ำของเขื่อนแก่งเสือเต้น
 
โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ที่จะตั้งขวางกั้นลำน้ำยม ในเขต อ.สอง จ.แพร่ สูง 72 เมตร กักเก็บน้ำได้ 1,175 ล้าน ลบม. อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งเสือเต้นกินพื้นที่ 41,750 ไร่ ใจกลางอุทยานแห่งชาติแม่ยม จ.แพร่ ไปจนถึง อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสักทองธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์กว่า 24,000 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ป่าเบญจพรรณและที่ทำกินของชาวบ้าน ต.สะเอียบ 4 หมู่บ้าน และที่ทำกินของ ชาวบ้าน อ.เชียงม่วน อีก 11 หมู่บ้าน
 
การสืบชะตาป่าสักทองในครั้งนี้ก็เป็นกิจกรรมรณรงค์พิทักษ์ป่าสักทอง โดย กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า และ คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน 4 หมู่บ้าน รวมทั้ง ราษฎร ต.สะเอียบ ได้ร่วมกันจัดพิธีกรรมนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ในการปกป้องรักษาป่าสักทองผืนนี้ไว้ให้ลูกหลาน และคนไทยทั้งชาติ
 
นายวิชัย รักษาพล ชาวบ้านบ้านดอนชัย หมู่ 1 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ผู้ประสานงานกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า เผยว่า "พวกเราชาวสะเอียบ ได้ร่วมแรงร่วมใจ ปกป้องรักษาป่าสักทองผืนนี้มายาวนานกว่า 20 ปี นับแต่มีโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นมา เราก็หวั่นว่าป่าสักทองผืนนี้จะถูกทำลาย เราจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องป่าสักทองไว้ให้ได้ การสืบชะตาป่าสักทองในครั้งนี้ก็เป็นการนำเอาประเพณีทางศาสนามาเป็น กุศโลบายในการร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน ให้มีพลังในการปกป้องรักษาป่าสักทองผืนนี้สืบต่อไป" วิชัยกล่าว
 
ขณะที่พระสงฆ์ 9 รูป ได้ประกอบพิธีกรรมสืบชะตาป่าสักทอง อันเป็นความเชื่อของชาวบ้านท้องถิ่นภาคเหนือ ชาวบ้านนับพันคนก็ได้ร่วมกันถือสายศิลที่ขึงเต็มผืนป่า ส่งแรงใจอธิฐานให้ป่าสักทองอยู่รอดสืบไป เป็นมรดกให้คนรุ่นหลังได้สานต่อเจตนารมณ์ในการพิทักษ์รักษาป่าสักทองผืนนี้ให้ยาวนานตลอดไป ท่านพระครูวิจิตร ซึ่งเดินทางมาจากสุโขทัย ท่านเป็นคณะกรรมการลุ่มน้ำยม ได้เทศให้ชาวบ้านที่มาเข้าร่วม ได้เห็นความสำคัญของป่า การรักษาป่าต้านน้ำ ท่านยังกล่าวถึงพึ่น้องชาวสุโขทัยที่ต้องการเขื่อนว่า เขาว่าป่าสักทองไม่มีแล้ว ท่านก็ถามว่ารู้ได้อย่างไร เคยไปเห็นกับตาหรือไม่ ชาวสุโขทัยก็บอกว่าไม่เคยไปดูแต่เขาบอกมา ท่านจึงอยากให้ทั้งพี่น้องสะเอียบ และพี่น้องสุโขทัย ร่วมใจกันรักษาป่าร่วมกัน ส่วนปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งนั้น ท่านพระครูวิจิตได้เสนอให้รัฐทำโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งน้ำ รวมทั้งทำแก้มลิงให้ทั่วทั้งลุ่มน้ำยม จะแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าเขื่อนขนาดใหญ่
 
นางสุดารัตน์ ไชยมงคล ผู้ใหญ่บ้านบ้านดอนชัย ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า "ชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้านได้ร่วมกันสานต่อประเพณีนี้มากว่า 20 ปีแล้ว ต้องถือว่าเป็นประเพณีของชาวสะเอียบไปแล้ว เราต้องการให้สังคมได้ตระหนักและรับรู้ความสำคัญของป่า นอกจากจะให้อ็อกซิเจนกับมนุษย์แล้ว ป่ายังเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของชาวบ้านอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ผัก เห็ด หน่อไม้ สมุนไพร ฯลฯ ชาวบ้านสามารถหาได้โดยไม่ต้องใช้เงินไปซื้อ ทำให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ เห็นความสำคัญของป่า และร่วมกันรักษามาอย่างต่อเนื่อง" ผู้ใหญ่สุดารัตน์ กล่าว
 
ส่วนปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งนั้น ชาวสะเอียบได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา 12 ข้อ โดยหนึ่งในนั้นระบุถึงการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็ก ตามลำน้ำสาขาของแม่น้ำยม ทั้ง 77 ลำน้ำสาขา ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้มากกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้น ถึง 3 เท่า อีกทั้งกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีแผนงานในการสร้างแก้มลิง 395 แหล่ง กักเก็บและระบายน้ำได้ถึง 1,500 ล้าน ลบม. ชาวสะเอียบ จึงเห็นว่ารัฐบาลไร้เหตุผล ยังดึงดันที่จะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง ซึ่งทำลายป่า ทำลายทรัพยากร และกระทบต่อชุมชนอย่างมหาศาล อีกทั้งยังผลาญงบประมาณแผ่นดินอีกด้วย
 
กำนันเส็ง ขวัญยืน บ้านดอนชัยสักทอง หมู่ 9 กำนันตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า "หากรัฐบาลฟังเสียงประชาชนบ้าง ป่านนี้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม คงจะคืบหน้าไปบ้างแล้ว แต่นี่ไม่ฟังจะดันทุรังสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง ให้ได้ ปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไขสักที เราเสนอให้สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็ก ทั้ง 77 ลำน้ำสาขา หากดำเนินการป่านนี้คงใกล้เสร็จแล้ว เพราะอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็ก ไม่ต้องทำอีไอเอ สามารถลงมือสร้างได้เลย กรมชลก็มีพื้นที่ที่จะสร้างอยู่แล้ว 20 กว่าลำน้ำสาขา หากรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาจริง ควรจะผลักดันแนวทางนี้ ชาวบ้านไม่เดือดร้อน ป่าไม้ก็ไม่ถูกทำลาย เพราะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็ก หากสร้างได้สัก 70 อ่าง เฉลี่ยอ่างละ 50 ล้าน ลบม. ก็จะกักเก็บน้ำได้ถึง 3,500 ล้าน ลบม. ซึ่งมากกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นถึง 3 เท่า" กำนันเส็ง ขวัญยืน กล่าว
 
หลังจากเสร็จพิธีกรรมทางศาสนา ตัวแทนชาวบ้าน ต.สะเอียบ ได้อ่านคำประกาศเจตนารมณ์ในการปกป้อง รักษา ป่าสักทอง สืบต่อไป
 
นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ชาวบ้านบ้านดอนชัยสักทอง หมู่ 9 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อน 4 หมู่บ้าน กล่าวว่า "พวกเราชาวสะเอียบพร้อมยืนหยัดที่จะสานต่อเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษของพวกเรา ดั่งคำกล่าวของอุ๊ยปิง ที่กล่าวไว้ว่า เอาระเบิดมาทิ้งให้พวกเราตายให้หมด ขนศพพวกเราไปทิ้ง แล้วค่อยสร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้น วันนี้ ผมในฐานะคนรุ่นใหม่ ได้รับมอบหมายจากพี่น้องชาวสะเอียกว่า 1,000 ครอบครัว ให้เป็นประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อน 4 หมู่บ้าน ของตำบลสะเอียบ ผมและคณะกรรมการอีก 169 คน ก็จะสู้ ยืนหยัดปกป้องแผ่นดินเกิดของพวกเราสืบต่อไป เราขอสาปแช่งให้คนที่คิดทำลายป่าสักทอง คิดที่จะทำร้ายชุมชนของพวกเรา ขอให้มีอันเป็นไป เหมือนดั่งนายกสมัคร รองนายกมนตรี รัฐมนตรียิ่งพันธ์ สว.สมพร และรองนายกสนั่น ที่กำลังจะตามไป คนเหล่านี้คือผู้ผลักดันโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น และวันนี้กรรมได้ตามทั้นพวกเขาแล้ว" นายสมมิ่ง กล่าว
 
พิธีสืบชะตาป่าสักทอง คงเป็นอีกด้านหนึ่งที่สะท้อนความคิดเห็นของชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น และ โครงการเขื่อนยมบน โครงการเขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) ซึ่งก็คือ การแบ่งเขื่อนแก่งเสือเต้นออกเป็น 2 ตอน 2 เขื่อน กระทบต่อป่าสักทอง และที่ทำกินของชาวสะเอียบ เหลือไว้เพียงชุมชน ที่ไม่มีที่ทำกิน ชาวสะเอียบ จึงมีมติให้คัดค้านเขื่อนทั้ง 3 โครงการนี้ ไปพร้อมๆ กัน และนี่คือกุศโลบายอันแยบยลของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมกว่า 200 ปี ในการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ป่าสักทองปกป้องแผ่นดินเกิดของชาวสะเอียบ ชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งท่ามกลางขุนเขา
 
...............
 
คำประกาศสืบชะตาป่าสักทอง
 
ยืนหยัดต่อสู้ ปกป้อง รักษา ป่าสักทอง และแผ่นดินเกิด
1 ธันวาคม 2555 ณ ป่าสักทอง ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่
 
ป่าสักทองแห่งนี้ บรรพบุรุษเราเหลือไว้ให้  เกิดมาเราก็เห็น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายายเรา ได้ใช้ประโยชน์ตามสมควร ตามอัตภาพ วันนี้ จังหวัดอุตรดิตถ์มี สัณญลักษณ์ เป็นต้นสักทอง แต่ไม่มีป่าสักทองแล้ว จังหวัดเชียงใหม่ 700 ปี ป่าดอยสุเทพด้านล่างลงมากรายเป็นเมือง เป็นตึกราบ้านช่องหมดแล้ว ภาคอีสานตำนานบ้านเชีย 4,000 ปี ดงพญาเย็น กรายเป็นดงพญาไฟ ป่าหมด  แต่ที่แห่งนี้ สะเอียบ หรือ สา-เอียบ ชุมชนกว่า 200 ปี บรรพบุรุษเราเหลือป่าสักทองไว้ให้ 24,000 ไร่ เป็นผืนป่าสักทองธรรมชาติผืนใหญ่ที่เหลืออยู่ของคนไทยทั้งชาติ และมวลมนุษยชาติ
 
มาบัดนี้ โครงการพัฒนาของรัฐ นามโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น โครงการเขื่อนยมบน โครงการเขื่อนยมล่าง กำลังจะทำลายป่าสักทอง จะทำลายชุมชนของพวกเรา ที่ผ่านมาพวกเราจบ ป 4  เราต่อสู้คัดค้านมา 20 กว่าปี วันนี้ลูกหลานเราจบปริญญาตรี จบปริญญาโท เรียนปริญญาเอกกันหมดแล้ว เรามีเครื่องไม้เครื่องมือ มีเทคโนโลยี  มี จีพีเอส บอกให้เรารู้ว่า เขื่อนแก่งเสือเต้น น้ำจะท่วมจากถนนหน้าวัดบ้านเราขึ้นไปอีก 18 เมตร เขื่อนสูง 72 เมตร ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนแม่ยม แตกมาคงตายกันทั้งเมืองแพร่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก
 
ส่วนเขื่อนยมล่าง หรือเขื่อนแม่น้ำยม  น้ำในเขื่อนจะมาตึกสะพานแม่สะกึ๋น น้ำจะท่วมที่ทำกินพวกเราเกือบทั้งหมด ผืนนา โรงสุรากลั่นชุมชน ท่วมหมด เหลือแต่บ้านเราจะทำมาหากินอย่างไร ป่าสักทองก็จะหมดไปเพราะพวกจันไรตัดไม้สวมตอ  อีกทั้งเขื่อนยมล่างตั้งอยู่บนรอยเลื่อนแพร่ และรอยเลื่อนแม่ยม สูงกว่า 50 เมตร แตกมาคงตายทั้งเมืองสอง เมืองแพร่ ไปจนถึงสุโขทัย   พี่น้องเมืองงาว จังหวัดลำปาง ก็จะถูกน้ำท่วมด้วยเช่นกัน
ส่วนเขื่อนยมบน อยู่เหนือบ้านเราไป 2 กิโลเมตร ทับรอยเลื่อนแม่ยมเต็มๆ แตกมาคงไม่ตายแค่คนสะเอียบ คงตายกันทั้งอำเภอสอง ตายกันทั้งเมืองแพร่ อีกทั้งยังท่วมที่ทำกินพี่น้องเชียงม่วน จ.พะเยา อีก 11 หมู่บ้าน
 
พวกเราชาวสะเอียบ ได้เสนอทางออก แนวทางแก้ไขปัญหา 12 ข้อ มาโดยตลอด ทำไมไม่ทำ หรืองบประมาณมันน้อย กลัวไม่ได้เงินทอนหรืออย่างไร ท่านนายก ท่านรัฐมนตรีทั้งหลาย  ท่านมีอำนาจชั่วคราว จงอย่าเหิมเกริม อย่าหลงอำนาจ หากท่านใช้อำนาจในทางไม่ถูกไม่ควร ไม่เป็นธรรม ท่านจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ท่านทำ ไม่ใช่แค่ท่าน แต่ทั้งครอบครัว วงตระกูลของท่านจะต้องรับกรรมไปด้วย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Il Deserto Rosso (Red Desert): อับจนหนทาง นาวาอับปาง สิทธิสตรีถูกทิ้งขว้าง กลาง “ทะเลทรายสีแดง”

Posted: 01 Dec 2012 04:00 AM PST

เพื่อพักสมอง—หลีกหนีวาทกรรมทางเพศที่แสนจะอื้อฉาวทั้งในและนอกสภาอภิปราย โดยเฉพาะในสภาอันมีชายคนหนึ่งฝันว่านอนกับผู้หญิงคนนี้ ชายอีกคนหนึ่งฝันว่าผู้นำหญิงไป "เล่นหูเล่นตาเล่นท่า" กับผู้นำชายต่างประเทศคนนั้น เป็นต้น

เพื่อเลิกถอนใจนับครั้งไม่ถ้วนเมื่อได้ยินคุณนายใหญ่และตัวละครผู้หญิงอื่นๆ ในละครเรื่อง กี่เพ้า พูดว่าเกิดเป็นหญิงนั้นแสนลำบาก ต้องจัดการแย่งความรักจากสามีที่ "ยามรัก… แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล" วรรคทองที่ตัดตอนมาจาก พระอภัยมณี ของสุนทรภู่ 

และ

เพื่อล้างตาจากที่ได้เห็นฉากที่วีกิจข่มขืนมุตตา/มุนินทร์ อันนำมาซึ่งการทดสอบความบางของเยื่อพรหมจรรย์และความหนาของเยื่อความอดทนแห่งความเป็นสุดยอดสตรีไทย (ถูกข่มขืนแล้วยังอะมิโนโอเค ลุกขึ้นมาให้อภัยฝ่ายชายได้ตามแบบฉบับยอดมนุษย์เพศหญิง ใจสีขาวผุดผ่อง ไม่ "ดำ… แต่ดูดี" เช่น จิตใจของคุณกะละแมร์) อันนำมาซึ่งเยื่อความกระจ่างเรื่องตัวตนที่แท้จริงของเงาพี่ที่แม้จะแค้นแรงกว่าคนน้อง แต่กลับเป็นสาวเวอร์จิ้นที่ถูก "เปิดซิง"

อีกทั้ง เพื่อต้านทานแรง(งี่)เง่าของโครงเรื่องที่กำหนดให้บทลงโทษที่รุนแรงที่สุดที่ผอ. ได้รับคือการมีลูกผู้หญิงที่ยินยอมถูกเปิดซิงและท้องกับผู้ชายก่อนแต่งงาน และการมีลูกผู้ชายที่เป็นเกย์ (แต่ไม่ท้องกับผู้หญิง) ในละครเรื่อง แรงเงา และโบนัสที่ว่าวาทกรรมทั้งหมดแบคอัพด้วยปรัชญาพุทธแบบป๊อปปูลาร์อันว่าด้วยเรื่องกรรมที่ว่า เกิดเป็นหญิงนั้นเป็นกรรม มีลูกเป็นเกย์ก็เป็นกรรมของพ่อแม่ที่ส่งผ่านมายังลูก ที่หญิงโดนข่มขืนก็เป็นเรื่องกรรม อะไรก็เป็นกรรมไปหมด หากปรัชญาจอมปลอมนี้ถูกฝังอยู่ในหัวมนุษย์ทุกเพศทุกชนชั้นในประเทศนี้ ก็ไม่ต้องแปลกใจที่ใครจะไม่รู้สึกรู้สมอะไรเมื่อสิทธิสตรีถูกทิ้งขว้างกลางทะเลทราย มีการข่มขืนกันเป็นว่าเล่น หญิงหมกมุ่นทาครีมฟอกผิวอย่างสนุกสนาน ส.ส. ชายฝันว่านอนกับส.ส. หญิงก็คงเป็นเรื่องกรรมของส.ส. หญิงด้วยสินะ ทำไมโลกนี้มันช่างเข้าใจง่ายดายเสียเหลือเกิน (หากจะมีคนมองว่าเป็นเกมการเมือง พรรคของฝ่ายตรงข้ามเคยทำ "กรรม" ไม่ดีมาก่อนในอดีต หรือพูดแบบบ้านๆ ว่าส.ส. จ่า-อยาก-ดัง คนนี้มันก็ทำตัวบ้านๆ สมฐานะของมันแล้ว ผู้เขียนจะบอกว่าคิดอย่างนี้แหละ สิทธิสตรีมันถึงถูกขว้างทิ้งกลางดินกลางทรายหรือถูกตีความแบบมั่วๆ ซั่วๆ การต่อสู้อันยาวนานเพื่อและของผู้หญิงในประวัติศาสตร์โลกนั้นชี้ให้เห็นว่า The Personal is always the Political การต่อสู้ทางการเมืองที่ตั้งบนฐานวาทกรรมกดขี่สิทธิสตรี ไม่ว่าจะสังกัดพรรคใด ก็ไม่ควรค่าที่จะให้อภัยทั้งนั้น) เมื่อไหร่เราจะลุกขึ้นมาตั้งคำถามว่า อะไรคือ "ผิดเพศ" เป็นเกย์ มันผิดด้วยหรือ ท้องก่อนแต่ง ทำแท้ง มันเป็นเรื่องหนักหนาเพียงพอที่จะส่งผู้หญิงลงนรกทั้งเป็นด้วยหรือ การ "ใจแตก" และ "เสียตัว" ของผู้หญิงมันหนักหัวของใคร การที่ตัวละครผู้หญิงเอ่ยเอื้อนวจีออกมาว่า "ไม่มีใครอยากเสียคนตั้งแต่เริ่มเป็นนางสาว…ไม่มีใครอยากเกิดมาผิดเพศหรอก" นั้นมันมิใช่บทพูดที่ไร้ความคิดที่สุดแล้วหรือ นักคิดที่ชื่อ Jacques Derrida กล่าวไว้ว่าภาษาเป็น Pharmakon (รากที่มาของคำว่า Pharmacology) คือเป็นได้ทั้งยาพิษและยารักษา ภาษามันเป็นเยี่ยงนี้ ความหมายวิ่งไปมาระหว่างขั้วคู่ตรงข้าม différance เช่น ดี-เลว ถูกเพศ-ผิดเพศ โสเภณี-นางฟ้าในเรือน คำต่างๆ ความหมายไม่หยุดนิ่ง แถมไม่พ้นวาทกรรมอำนาจ คำว่า "เสียพรหมจรรย์" ที่มักใช้แปะป้ายประณามผู้หญิง และคำว่า "ผิดเพศ" ที่ใช้เป็นคำด่า นั้นมักใช้เพื่อสนองวาทกรรมเหยียดเพศทั้งสิ้น โดยที่คนพูดอาจทั้งรู้และไม่รู้ตัว เรามักกลืนยาพิษของความไม่รู้ และมักมองไม่เห็นหรือเลือกที่จะไม่คิด ไม่มองว่าภาษา -การใช้ภาษา- เป็นการเล่นของวาทกรรมอำนาจทั้งนั้น บทลงโทษที่ร้ายที่สุดของครอบครัวผอ.ไม่ใช่การมีลูกสาวที่ "เสียสาว" (อันเป็นอีกคำหนึ่งที่สร้างขึ้นมาจรรโลงความไม่เท่าเทียมทางเพศและปิตาธิปไตย เพราะผู้ชายมีเสียหนุ่มเสียชายเสียหายที่ไหน) และไม่ใช่การมีลูกชายที่ผิดเพศหรอก แต่โทษหนักที่สุดคือการรับความคิดเหยียดเพศมาเต็มๆ โดยที่ไม่รู้ตัวต่างหาก

ที่พูดมายืดยาวก็เพื่อจะเล่าว่า เมื่อวานนี้ผู้เขียน ด้วยสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ได้ตัดสินใจชวนเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีกสองคนเดินไปตึกใหม่ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อไปดูหนังอิตาเลียนเรื่อง Il Deserto Rosso (แปลเป็นไทยคือ "ทะเลทรายสีแดง") อันมีเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับกางเกงในชายยี่ห้อ Rosso แต่ก็ใกล้เคียง เพราะมันเป็นเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งที่รู้สึกหลงทางสับสนในสังคมสมัยใหม่ที่เจ้า(ของ)โลกเพศชายนั้นยังถือครองอำนาจเบ็ดเสร็จ กุมทั้งเป้า(หมาย)ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโรงงานที่พยายามสร้างให้สูงใหญ่ทิ่มแทงทะลุเยื่อขาวแห่งท้องฟ้า (แต่ผลิตอะไรไม่ผลิต ผลิตแต่ก๊าซพิษสีเหลือง—เหมือนฉี่สุนัขที่ร่ำๆ จะเป็นนิ่ว—ของความไม่เท่าเทียมทางเพศ) และแปรสภาพพื้นที่ภูมิทัศน์ของธรรมชาติและเมืองเล็กให้กลายเป็นเมืองร้างหรือโรงงานขนาดใหญ่ และกุมทั้งเป้าความ(หมาย)ของคุณค่าสตรี ทำให้สตรีไร้คุณค่าความหมายเมื่อเธอเลือกจะแยกตัวออกจากระบบภาษาชายเป็นใหญ่ไปเป็นเอกเทศ

Il Deserto Rosso ซึ่งฉายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1964 เป็นคันฉ่องสะท้อนประเทศอิตาลีในช่วงทศวรรษที่ 60 สมัยนั้นเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของอิตาลีบูม ประชาชนย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าเมือง—จากภาคใต้ขึ้นมาภาคเหนือ—มากเป็นประวัติการณ์ จนทำให้ประเทศเกษตรกรรมอย่างอิตาลี กลายร่างเป็นประเทศอุตสาหกรรมในชั่วพริบตา เหมือนหมาป่าหน้าท้องซิกซ์แพคและแวมไพร์หน้าซีดใน ทไวไลท์ ที่แปลงร่างสำเร็จก่อนหนังตาของเราจะกระทบขอบตาเสียอีก ผู้กำกับของหนังเรื่อง ทะเลทรายสีแดง คือ Michelangelo Antonioni ซึ่งเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1912 ตายเมื่อปี ค.ศ. 2007 (อาจารย์สอนภาษาอิตาเลียนที่เมื่อวานเข้ามาเปิดวีซีดีให้ดูก่อนหายตัวไปอย่างลึกลับพอๆ กับสิ่งมีชีวิตในทไวไลท์ บอกว่ากิจกรรมนี้ส่วนหนึ่งของเทศกาลภาษาอิตาเลียน และที่ฉายหนังของผู้กำกับคนนี้ก็เพราะปีนี้จะเป็นปีที่ครบรอบร้อยปีชาตกาลของเขานั่นเอง) Michelangelo Antonioni นั้นนับว่าเป็นผู้ที่บุกเบิกการทำหนังที่เรียกว่า "ภาพยนตร์แห่งโอกาสความเป็นไปได้" (cinema of possibilities) ที่ท้าทายขนบการถ่ายหนังแนวสัจจนิยม หรือหนังที่มีการเล่าเรื่องแบนๆ โครงเรื่องเป็นขั้นตอนเส้นตรง ตัวละครแบนราบไร้มิติ เขาท้าทายขนบนี้โดยการหลีกวาทกรรมหลัก เค้าโครงเรื่องหลัก เข้าไปในกระแสสำนึกของตัวละครที่มีมิติชวนพิศวง คือชวนให้ผู้ชมท้าทายเยื่อบางๆ ที่กั้นโลกความเป็นจริงและโลกแห่งความฝัน

เปิดเรื่องมา ฉากคือเมือง Ravenna ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี เราเห็น Giuliana หญิงสาวตัวเอกของเรื่องและลูกชายเล็กๆ ชื่อ Valerio กำลังเดินมุ่งหน้าไปยังโรงงานปิโตรเคมีของ Ugo ผู้เป็นสามี เธอสวมเสื้อโค้ทสีเขียวสดตัดฉากสีเทาหม่นของโรงงานที่ปล่อยเปลวเพลิงออกมาจากปล่องเจ้าโลก จะเห็นว่าทั้งชื่อเรื่องและการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ เน้นเล่นสีอย่างมาก ถนนและตึกนั้นทาสีพาสเทลตัดกับเสื้อผ้าตัวละครสีสด ทั้งนี้เพราะ ทะเลทรายสีแดง เป็นหนังเรื่องแรกของ Antonioni ที่ใช้ฟิล์มสี สีสันต่างๆ นั้นเป็นตัวไฮไลท์สภาพบ้านเมืองของอิตาลีที่กำลังฟื้นตัวหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ในโรงงาน ผู้ชายสองคนกำลังคุยกันเรื่องงานท่ามกลางเสียงอึกทึกครึกโครมของเครื่องจักรในโรงงาน Corrado Zeller มาเยี่ยม Ugo เพื่อหาแรงงานคนที่จะไปทำงานโรงงานอุตสาหกรรมที่ Patagonia ส่วนที่เป็นของประเทศอาร์เจนตินา (อีกส่วนเป็นของชิลี) อันเป็นภูมิภาคที่ว่ากันว่ามีความสวยงามและหลากหลายทางภูมิศาสตร์ ที่ผู้เขียนคิดว่าสำคัญคือ ภูมิภาค Patagonia นี้ได้มีชื่อจารึกในประวัติศาสตร์ครั้งแรกในปีค.ศ. 1520 ในบันทึกการเดินทางของนักเดินเรือสำรวจชาวโปรตุเกส Ferdinand Magellan (เกิดปีค.ศ. 1480 ตายปี ค.ศ. 1521) ที่ออกเดินทางสำรวจเส้นทางที่จะมุ่งหน้าไปยังหมู่เกาะเครื่องเทศ หรือ หมู่เกาะโมลุกกะ ในประเทศอินโดนีเซีย โดยเลือกที่จะเดินเรือไปทางทิศตะวันตก ออกจากโปรตุเกสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เลียบอเมริกาใต้ ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แทนการมุ่งหน้าออกจากยุโรปไปทางทิศตะวันออกข้ามแหลมกู๊ดโฮป Magellan ไปจบชีวิตอยู่ที่เกาะ Mactan ที่ฟิลิปปินส์ เพราะไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายใน พยายามจะไปเปลี่ยนศาสนาเจ้าครองเกาะคือ Datu Lapu-Lapu จนถูกบรรดานักรบของผู้ครองเกาะฆ่าตายในสงคราม ที่ผู้เขียนว่าเกร็ดทางประวัติศาสตร์นี้สำคัญก็เพราะ ทะเลทรายสีแดง ใช้เรือขนสินค้าเป็นภาพลักษณ์และสัญลักษณ์แทนการดำรงชีวิตในโลกสมัยใหม่ อีกทั้งเน้นแนวคิดเรื่องการเดินทางและการหลงทาง ผู้เขียนจะวกกลับมาประเด็นเรื่องเรือและกระแสสำนึกตัวละครในภายหลัง

นอกจากเรื่องงานแล้ว ผู้ชายสองคนก็ยังคุยกันเรื่องผู้หญิงอีกด้วย โดย Ugo ได้เล่าให้เพื่อนฟังว่า Giuliana ผู้เป็นภรรยานั้นเพิ่งผ่านอุบัติเหตุรถยนต์มาสดๆ ร้อนๆ และแม้กายจะรอดปลอดภัยดี แต่จิตของเธอนั้นไม่ปกตินัก พอ Corrado พบ Giuliana เขาก็ถึงบางอ้อ รู้ทันทีว่า Ugo พูดถูก เธอดูหน้าตาเบลอๆ สับสนงุนงงยิ่งนัก บางเวลาก็เพ้อ เห้นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น บางเวลาก็พูดจาพอรู้เรื่อง แต่ยิ่งไปกว่านั้น เขาดันมาปิ๊งผู้หญิงคนนี้

เมื่อทั้งคู่สนิทสนมกันมากขึ้น เขาก็ได้ล่วงรู้ว่าแท้จริงแล้ว Giuliana ไม่ได้ประสบอุบัติเหตุอะไรหรอก แต่เธอได้พยายามฆ่าตัวตายต่างหาก เหตุผลน่ะหรือ? Giuliana เองไม่ได้เล่ารายละเอียดอย่างตรงไปตรงมา แต่ใช้วิธีการเล่าเรื่องซ้อนเรื่อง คือเธอเล่าว่าตอนไปนอนโรงพยาบาลเนี่ย เธอไปพบกับหญิงสาวคนหนึ่งที่เล่าให้ฟังอีกต่อหนึ่งว่าหมอแนะนำให้หัดรักใครสักคนและอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสามี ลูกชาย อาชีพการงาน หรือสุนัขเลี้ยง หญิงสาวผู้นั้นบอกว่าเธอรู้สึกว่าพื้นดินที่เธอกำลังยืนกำลังเดินอยู่นั้นยวบยุบหายไป ทำให้รู้สึกเหมือนลื่นหล่นลงไปในห้วงสมุทร รู้สึกเหมือนกำลังจะจมน้ำ แน่นอน ไม่ต้องเดา เราๆ ท่านๆ ก็คงถึงบางอ้อว่าจริงๆ แล้ว Giuliana กำลังพูดถึงตัวเอง และพูดถึงชะตากรรมของผู้หญิงทั่วโลก ปิตาธิปไตยนานนับศตวรรษได้ทำให้โลกและแม้แต่ผู้หญิงด้วยกันชินชารับแนวคิดที่ว่าความเป็น อยู่ คือ หรือตัวตนของผู้หญิงนั้นถูกบัญญัตินิยามบนฐานของสามีและลูกเป็นหลัก นอกเหนือจากความรักในตัวสามีและลูกแล้ว การงานอาชีพก็เป็นตัวนิยามตัวตนของผู้หญิง (แต่เป็นอันดับรองนะ เมื่อดูจากการจัดลำดับของหมอนิรนามในหนัง) แน่นอนผู้หญิงตั้งแต่กำเนิดอารยธรรมมนุษย์ชาติใช่ว่าจะไม่มีอาชีพการงานเลย โสเภณีเป็นอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดไม่ใช่หรือ อาชีพแต่งงานตั้งท้อง ดูแลลูกและสามี ทำกับข้าวและทำงานบ้านแม้ไม่ใช่งานที่ quantify ออกมาเป็นเม็ดหน่วยเม็ดเงินตอบแทนหรือมีที่ยืนในสังคม แต่มันก็เป็นอาชีพไม่ใช่หรือ ในช่วงสงครามโลก แรงงานหญิงได้ก้าวเข้ามาเสริมแรงงานชายที่ขาดหายเพราะไปรบกันหมด พวกผู้หญิงในอดีตก็ได้ลิ้มรสเสรีภาพและสถานะมนุษย์เงินเดือนจากประสบการณ์ทำงานหาเงินนอกบ้านเป็นครั้งแรก แต่กระนั้นพวกเธอก็ถูกเฉดหัวส่งกลับบ้านช่วงหลังสงคราม เมื่อพวกผู้ชายแบบสภาพลากสังขารกลับจากศึกสงคราม ทุกวันนี้ผู้หญิงทั้งที่มีงานนอกบ้านเป็นทุนเดิมก็มักต้องก้มหน้าก้มตาทำงานในบ้านไปเรื่อย ขาดตกบกพร่องมิได้ เพราะหากขาดตกอะไรไปอย่างนพนภา ก็จะถูกตีตราว่าไร้ประสิทธิภาพ สมแล้วที่สามีไปมีบ้านเล็กบ้านน้อย สมแล้วที่มีลูกที่ท้องก่อนแต่ง สมแล้วที่มีลูกเป็นเกย์ หรือเหมือนนางเอกหลายๆ เรื่องที่ละครเวทีแห่งสังคมไทยชี้ชวนให้เราพูดว่าสมแล้วที่โดนข่มขืน สมแล้วที่โดนพูดจาแทะโลมในที่สาธารณะถ่ายทอดสดทั่วประเทศ เป็นต้น ตามแบบฉบับละครไทยในศตวรรษที่ 21 ที่สะท้อนสังคมที่ล้าหลังทางปัญญา ค่านิยมมืดดำ…ที่ดูยังไงก็ดูไม่ดี…แบบที่คุณกะละแมร์จะต้องร้องอี๋ ครีมฟอกผิวพอกความขาวอะไรบนโลกใบนี้ก็แก้ไม่ได้

ขอวกกลับมาเรื่องเรือสักนิด หากจะมองว่าตัวละครหลักใน ทะเลทรายสีแดง เทียบได้กับนาวาล่องสมุทร คือจะมองว่าเหมือนเรือล่าปลาวาฬอย่างในเรื่องโมบี ดิกของ เฮอร์มัน เมลวิลล์ (เกิดปีค.ศ. 1819 ตายปี ค.ศ. 1891) ที่ออกตามล่าความหมายของการมีชีวิต เราจะเห็นว่า Corrado เชื่อว่าความหมายนั้นมันหาได้จากการไม่อยู่กับที่ ตัวเขาเองเป็นเรือที่ล่องไปมาในมหาสมุทรแห่งความเปลี่ยนแปลง เขาไม่พอใจที่อยู่ที่นี่ (here) หรือที่นั่น (there) แต่มีความสุขที่ได้เดินทางระหว่างที่นี่และที่นั่นร่ำไป จุดหมายไม่สำคัญ ในขณะที่ Giuliana ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในลำเรือของจิตใจที่แตกเป็นเสี่ยงๆ บอกว่าความหมายมันจะอยู่ที่ไหนได้เล่าในเมื่อตัวเราเองยังไม่รู้เลยว่าจะพุ่งสายตาไปที่ใด ไม่รู้จะโฟกัสอะไร ("I can't look at the sea for long or I lose interest in what's happening on land" – "ฉันมองทะเลนานๆ ไม่ได้ ไม่งั้นฉันจะไม่ใส่ใจสนใจเหตุการณ์ที่กำลังเกิดบนบก") เธอเปรียบเสมือนเรือที่ไร้ ไจโรสโคป (Gyroscope) อันเป็นอุปกรณ์ที่ Ugo อธิบายให้ลูกชายคือ Valerio ฟัง (ในฉากพ่อลูกเล่นของเล่นด้วยกัน โดยมีแม่คอยดูอยู่ห่างๆ) ว่าเป็นอุปกรณ์ล้อหมุนเร็วบรรจุในกรอบที่หมุนได้เรื่อยๆ อาศัยแรงเฉื่อยของล้อ มีโมเมนตัมที่รักษาสมดุล ทำให้อุปกรณ์นี้แม้เอียงไปมาก็ไม่ล้ม อุปกรณ์นี้มักใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเรือใหญ่ เพื่อพยุงประคองไม่ให้เรือจม ผู้เขียนวิเคราะห์ว่าเพราะ Giuliana ถูกริบ ไจโรสโคป จากนาวาของความเป็นแม่และเมีย เพราะความเชื่อของเธอถูกสั่นคลอน ทำให้คิดสงสัยว่าทำไมเธอถึงอยู่อย่างไร้สุขในสังคมขนบชายเป็นใหญ่ เมื่อขาด ไจโรสโคปของความหน้ามืดตามัว จรรโลงอำนาจนำ ก็ทำให้เธอเสียสมดุลครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่แปลกที่เธอรู้สึกแปลกแยกและโดดเดี่ยว และแม้จะแสวงหาความรักและความเข้าใจจาก Corrado ถึงขั้นมีสัมพันธ์ทางกายด้วยกัน แต่สุดท้ายมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร

จะช่วยอะไรได้เล่า? ในเมื่อผู้หญิงเป็นระบบสัญญะที่พังมาตั้งแต่ต้น มันยากที่จะเยียวยาด้วยความอนุเคราะห์ของการคิดแบบปิตาธิปไตย อันสะท้อนในความคิดของ Corrado ที่ว่าเขาสามารถซ่อมผู้หญิงคนนี้ได้หากเขาพาเธอขึ้นเตียง (ซิกมันด์ ฟรอยด์คงเห็นดีเห็นงาม รีบวิ่งมาปูเตียงให้ทันที เพราะเชื่อว่าผู้หญิงอิจฉาผู้ชายเพราะผู้ชายมี –และเป็น- เจ้าโลก) แนวคิดชายเป็นใหญ่ทั้งหมดนี้ถูกท้าทายใน ทะเลทรายสีแดง ทั้งสิ้น

ฉากที่ Giuliana ค้นพบข้อความจริงที่ว่า Valerio ลูกชาย แกล้งทำเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ เพื่อเรียกร้องความสนใจแม่ ทำให้ Giuliana รู้สึกโดดเดี่ยวไปใหญ่ แม่หลายคนที่มีลูกไม่ได้ดั่งใจคงคิดว่าทำไมหนอทำไม ฉันอุตส่าห์เสียสละร่างกายอุทิศเวลาและพลังงานให้ลูก ใยลูกจึงไม่รักดีและมาหักหัวอกหัวใจของฉัน ไม่แปลกที่ Giuliana รู้สึกงุนงงสับสน อับจนหนทาง จนต้องร่อนเร่เข้าไปยังบริเวณท่าเรือ ที่นั่นเธอได้พบกับคนเรือชาวต่างชาติ (หากฟังไม่ผิด คนเรือนั้นพูดภาษาตุรกี) พยายามสื่อสารกันในระดับภาษาก็ฟังกันไม่รู้เรื่อง ฉากนี้เป็นฉากที่งดงาม เพราะแสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตของคนสมัยใหม่ที่คุยกันไม่รู้เรื่อง (แม้จะพูดภาษาเดียวกันก็เถอะ) เมื่อยืนอยู่ตรงหน้าคนเรือ Giuliana ก็เริ่มร่าย Soliloquy บทพูดรำพึงรำพันคนเดียว ที่สรุปใจความได้ว่า "We are all separate" (เราทุกคนล้วนแตกแยกแตกต่าง)

หนังที่ Antonioni สร้างนั้น ขึ้นชื่อว่าดูยากดูเย็นชวนเคลิ้มหลับ เรื่อง ทะเลทรายสีแดง นี้ ผู้เขียนก็ว่าจริงในบางจังหวะโอกาส โดยเฉพาะเมื่อหน้าท้องตึงจากการรับประทานหมูทอดตลาดนัดจุฬาฯ ในปริมาณเบาๆ คือสองขีดบวกข้าวเหนียวสองถุง แต่เมื่อพินิจดูดีๆ โปรเจคของผู้กำกับที่หากมีชีวิตอยู่ก็จะมีอายุครบศตวรรษในปีนี้นั้น มีโปรเจคพุ่งชนอันเดียวกันกับโปรเจคของพวกนักเขียนวรรณกรรม Modernism ชาวอังกฤษ อเมริกัน และนักคิดภาคพื้นทวีปยุโรปในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หลายคน ไม่ว่าจะเป็น เจมส์ จอยซ์ (ค.ศ. 1882-ค.ศ. 1941) และเพื่อนผู้เป็นสหชาติคือ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ (ค.ศ. 1882-ค.ศ. 1941) ต่างเป็นนักเขียนผู้สำรวจกระแสสำนึกของมวลมนุษย์และเปิดโปงความล้มเหลวของระบบภาษาอันเป็นสัญญะสื่ออำนาจและสังคมที่ไม่เท่าเทียมในสังคมสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ที.เอส. เอลเลียต (ค.ศ. 1888-ค.ศ. 1965) ที่มองว่าโลกสมัยใหม่นั้นเป็นทะเลทรายที่แห้งผากเพราะสงครามโลกได้ทำให้บ่อน้ำทิพย์อารยธรรมนั้นแห้งเหือดหดหายไป หรือมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (ค.ศ. 1889-ค.ศ. 1976) ที่สนใจประเด็นเดียวกับ Corrado ผู้เฝ้าถามตัวเองตลอดทั้งเรื่อง อะไรคือ "คือ" (What is "is"?) อะไรคือการมีตัวตน อะไรคือวิถีและวิธีการที่เราพึงจะใช้ชีวิตบนโลกนี้ เป็นต้น แล้วโปรเจคของคนพวกนี้ก็ยังส่งเสียงร้องเหมือนเสียงผู้หญิงนิรนามในหนังเรื่อง ทะเลทรายสีแดง ที่ตามมาหลอกหลอนพวกเราที่อาศัยและเร่ร่อนกลางทะเลทรายสีแดงแห่งศตวรรษที่ 21

"We are all separate" (เราทุกคนล้วนแตกแยกแตกต่าง) เป็นคำพูดที่หลุดมาจากปากของผู้หญิงที่ตัวตนและห้วงคำนึงแตกเป็นเสี่ยงๆ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะเลิกลุกขึ้นมาจับ คัด แยกชิ้นส่วนความแตกต่างของอัตลักษณ์หญิงแต่ละคนราวแยกขยะ เลิกเอามันมาใส่ถุงมัดรวมเป็นกลุ่มก้อน เลิกเอาถุงมาวางรวมกันในโกดังของเรือสินค้าเพื่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัทที่ชื่อว่าอำนาจความไม่เป็นธรรมในวาทกรรมเรื่องเพศ? ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะตั้งคำถามความคิดเรื่องเพศที่แพร่สะพัดในสื่อทั้งสื่อบันเทิงและการเมือง และร่วมกันทำลาย ไจโรสโคปจอมปลอม ของ status quo สังคม หากประชาธิปไตยตั้งอยู่บนฐานของความเท่าเทียมกันในฐานะมนุษย์ สิทธิสตรีไม่ควรมาเป็นที่สองรองการเมือง สิทธิสตรีคือการเมือง ความเสมอภาคทางเพศคือประชาธิปไตย

บางทีเราอาจต้องเผาเรือแห่งอำนาจนำ เอาดินไปถมทะเลแห่งอคติ และเมื่อทะเลกลายเป็นทะเลทราย ก็หวนกลับไปกู้ซากสิทธิสตรีที่จนถึงทุกวันนี้ยังคงรอคอยให้เราทำความเข้าใจมันอย่างแจ่มแจ้งและจริงจัง

คุณเริ่มแล้วหรือยัง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บางมุมรัฐมนตรีใหม่ VS บางคำถามชวนคิด ?

Posted: 01 Dec 2012 03:39 AM PST

 

ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 เข้าบริหารงานนับแต่โปรดเกล้า 28 ตค.ที่ผ่านมา ถึงวันนี้ เดือนกว่าแล้ว เวลาผ่านไปรวดเร็ว
 
รู้สึกว่า เหมือนเราเพิ่งพูดถึงท่านนายกรัฐมนตรี ว่าจะปรับ ครม.เอาใครเข้า ใครออกบ้างเมื่อนี่เอง เผลอแป๊บเดียว ผ่านไปเดือนกว่า 
 
เวลาไม่เคยรอใคร
 
นี่ก็จะสิ้นปี ขึ้นปีใหม่ 2556 อีกแล้ว  
 
บรรดารัฐมนตรีทุกท่าน จึงต้องเร่งสปีดเดินหน้าผลงาน แข่งเวลา แข่งกับตนเอง 
 
เวลามีเท่ากัน แต่ได้(ผลงาน)ไม่เท่ากัน จะทำอย่างไร อันนี้น่าคิด การบริหารเป็นศิลป์ ผู้เขียนมักพูดเสมอเวลาไปบรรยายที่ไหน เรียนตำราบริหารมาเล่มเดียวกัน แต่นั่งบริหารจริง สำเร็จต่างกัน ส่วนหนึ่งอยู่ที่ฝีมือ 
 
และยังมี "ส่วนอื่นๆ"อีก ?!
 
มิเพียงผลงานที่ได้ไม่เท่ากัน ยังไม่เท่ากันในเรื่องการเป็นที่รู้จักรัฐมนตรีแต่ละท่านนั้นๆ คุ้นชื่อ คุ้นหู และเป็นที่กล่าวขานถึงของสังคม ประชาชน เพราะอะไร มุมนี้ก็น่าคิด
 
คำว่า "ส่วนอื่นๆ" จึงหมายถึง ชั้นเชิง ลีลา ความพลิ้ว ลูกล่อลูกชน การทำตัวเป็นข่าว ฯลฯ ซึ่งตรงนั้น(ครม.)เป็นอะไรที่สุดๆแล้ว ทุกกระบวนท่า เรียกว่า ครบเครื่อง ครบวงจร 
 
คนที่บริหารการเมืองได้ จึงไม่ธรรมดา
 
การริเริ่มนโยบายใดๆ ว่ายากแล้ว 
 
การนำไปปฏิบัติให้ไหลรื่น ยากกว่า เนื่องเพราะต้องฝ่าทั้งปัญหา ความต้องการ ผลกระทบ ผลประโยชน์ของกลุ่มประชาชนต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง 
 
ทั้งพอใจ และไม่พอใจ ใครเป็นรัฐมนตรีบริหารนโยบาย ก็ต้องอธิบายชี้แจงกันไป มีรุก มีถอย มียืด มีหยุ่นตามสภาพการณ์ที่เป็นไป    
 
ตั้งเป้า 100 ได้จริง 80 ก็ OKแล้ว ให้ใกล้เคียงเป้าหมายมากที่สุด ใกล้เคียงมากเท่าไร สำเร็จเท่านั้น
 
ถ้าได้ 100 ยิ่งดี เป็นไปตามเป้า 
 
เกิน 100 ถือว่าทะลุเป้า มีโอกาส แต่อาจเป็นไปได้ยาก
 
กว่าจะขับเคลื่อนนโยบาย ออกมาเป็นผลงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้สังคมชื่นชม กล่าวขานถึง จึงไม่ง่าย ขึ้นชื่อว่างานการเมือง มิใช่แค่ที่เห็น เป็นโอกาสและความท้าทายไม่น้อย โดยเฉพาะรัฐมนตรีใหม่ เพิ่งดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ที่จะต้องเร่งสร้างผลงาน ขณะเดียวกัน ทำอย่างไรให้เป็นที่รู้จักของสังคมอีกด้วย
 
เป็นอื่นไปไม่ได้ ต้องใช้การประชาสัมพันธ์ (PR) ใส่เข้าไปในการบริหาร
 
มิเช่นนั้น ดีไม่ดี อาจเกิดกระแสรัฐมนตรีโลกลืมขึ้นใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ก็เป็นไปได้    
 
อาจจัดเจนกับงานก่อนหน้า แต่กับงานการเมือง เข้ามาบริหารกระทรวง จะเล่นบทบาท ลีลาในการนำ จัดเจนอย่างไร จึงจะ "เอาอยู่"  
 
ถ้าเอาอยู่ ก็กระเพื่อมผลงานรัฐบาล
 
เอาไม่อยู่ ก็กระทบผลงานรัฐบาล
 
อย่าลืมว่า รัฐมนตรีใหม่ ถือเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนรัฐมนตรีทั้งหมดใน ครม.ทีเดียว  
 
แต่เชื่อว่า เดือนเศษที่ผ่านมา ท่านรัฐมนตรีใหม่คงมองการทำงาน และเห็นแล้วว่า ได้ผลของงานอย่างไร พอใจหรือไม่ ประการใด ทำอะไรไปแล้วบ้าง อะไรยังค้างอยู่ อะไรยังไม่ได้ทำ และจะทำอะไรต่อไป 
 
แน่นอนว่า ทุกท่านย่อมพอใจในผลงานเดือนเศษๆ ของตนเองไม่มากก็น้อย  
 
แม้จะพอใจการทำงาน ก็ยังมีบางมุมรัฐมนตรีใหม่ กับบางคำถามชวนคิด?! ซึ่งน่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานการบริหารการเมืองร่วมกัน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กระทรวง ดังนี้
 
ประการแรก  แม้เดือนกว่าๆที่ผ่านไป จะได้ผลพอใจการทำงาน ก็ต้องดูว่า งานที่ทำเป็นประโยชน์ใหญ่ VS ประโยชน์เล็กให้แก่ประชาชน ถ้าเป็นประโยชน์เล็กๆ เหมือนเบี้ยหัวแตก กระจัดกระจายไร้พลัง ควรใช้สูตร "เล็กๆไม่ ใหญ่ๆทำ" จะดีหรือไม่ ประการใด 
 
ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหญ่ เฉกเช่นอดีตรัฐมนตรีปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เคยทำผลงานจัดระเบียบสังคมไว้โด่งดัง กระเพื่อมไปทั่วทั้งประเทศ ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครองชื่นชม รู้จัก"รัฐมนตรีไม้บรรทัด" เป็นใครจำได้ ไม่มีลืม ส่วนประโยชน์เล็กๆ ให้ข้าราชการประจำทำไป
 
ประการที่ 2  แม้จะพอใจการทำงานที่ผ่านมา ก็ต้องดูว่า ทำในบทบาท creative VS routine ในฐานะรัฐมนตรีใหม่ หรือเจ้ากระทรวง คงจะต้องคิดริเริ่มงาน ออกแบบโครงการใหม่ๆที่ทำแล้วส่งผลลัพธ์ใหม่ๆ หรือสร้างความสำเร็จใหม่ๆชนิดไม่มีใครเคยทำมาก่อน
 
หากทำได้ เป็นโอกาสแจ้งเกิด 
 
ขอยกตัวอย่าง ถ้าไม่โครงการธงฟ้า จะมีโครงการ วิธีการใหม่ๆ อะไรอีกมั๊ยที่จะมาแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชนที่ดีกว่า เห็นผลกว่า 
 
โครงการร้านค้าถูกใจ จัดว่าใหม่ แต่เอาเข้าจริงไม่เวิร์คเท่าที่ควร ปัญหาเยอะ จะพัฒนาแตกไลน์ ต่อยอดอย่างไรให้ได้เสียงตอบรับ และพึงพอใจจากประชาชนผู้บริโภค หากทำได้ จะเป็นผลงาน ครม.ยิ่งลักษณ์ 3ให้สังคมได้ชื่นชม กล่าวขานถึง  
 
รูทีนให้ข้าราชการประจำว่าไป 
 
อยู่ที่ผู้นำกระทรวงยุคใหม่ จะพิจารณา
 
ฝ่ายการเมืองมีหน้าที่มานำกระทรวง หากไม่นำ ไม่พิจารณา แล้วยังเผลอไปแย่งงานปลัดกระทรวงมาทำ สังคมจะพึ่งใคร
 
บางท่าน อดีตรัฐมนตรี หมดวาระไปแล้ว สังคมยังนึกไม่ออกว่า เคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงใด เนื่องเพราะขณะดำรงตำแหน่งไม่ได้แจ้งเกิดผลงานอะไรใหม่ๆให้สังคม อาจแจ้งเกิด แต่ไม่แรงพอ ซึ่งน่าเสียดายโอกาสไม่น้อย  
 
ประการที่ 3  ผลงานที่ทำมีความโดดเด่น VS ราบเรียบ ก็ต้องดูว่า มุ่งทำผลงานให้โดดเด่น เด่นทั้งงาน เด่นทั้งการรับรู้ของสังคม หรือทำงานไปเรื่อยๆเรียบๆอยู่เบื้องหลัง โดยไม่สนใจใคร ไม่สนใจสื่อ ไม่จำเป็นต้องPR บอกกล่าวใคร เพราะไม่ต้องการโดดเด่น เพียงขอทำงานเงียบๆให้ประชาชน ก็พอใจแล้ว หรืออย่างไร
 
มีมุมมองชวนคิด : 1) มุ่งทำงาน มีผลของงานออกมาโดดเด่นในตัวผลงานเอง โดยไม่ต้องประชาสัมพันธ์ ให้คนรู้เอง หรืออย่างไร 2) ผลงานโดดเด่นด้วย ใช้ประชาสัมพันธ์ด้วย และสื่อหนุนนำด้วย ดีมั๊ย 3) ผลของงานไม่เท่าไร ตีปี๊บเก่ง เล่นพีอาร์เป็น เอามั๊ย  4) ผลของงานไม่โดดเด่น พีอาร์เอาไม่อยู่ ไม่มีใครรับรู้ สื่ออาจหนุนนำ หรือไม่หนุนนำ จะทำอย่างไร 
 
ผลงานไม่โดดเด่น เท่ากับไม่เข้าตา  
 
ไม่เข้าตา ก็ไม่เห็นฝีมือ 
 
เมื่อไม่เห็นฝีมือ อาจนำไปสู่การปรับ ครม.รอบใหม่ ?! 
 
อยู่ที่มุมรัฐมนตรีใหม่ จะพิจารณา
 
ประการที่ 4  ที่ผ่านมามีผลงานได้ลงข่าวหน้าหนึ่ง VS หน้าในของหนังสือพิมพ์ ลงหน้าหนึ่งก็เตะตาประชาชน เตะตา ครม.ด้วย ได้ลงแค่คอลัมน์เล็กๆที่อยู่หน้าใน ก็ถอยห่างไปนิด 
 
ได้ลงหลายฉบับ VS ฉบับเดียว ลงหลายฉบับ ข่าวสารผลงาน(มีโอกาส)เข้าถึง ครอบคลุมประชาชนเป้าหมาย ลงฉบับเดียว แปลว่า ผลงานไม่เป็นที่โฟกัสของสื่อเท่าที่ควร ก็ต้องดูว่า ทำไมสื่อไม่สนใจ ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ขออนุญาตไม่กล่าวในที่นี้
 
ทำอย่างไรให้ผลงานได้ลงหน้า 1 และลงหลายฉบับ รองลงมาหากไม่ได้ ก็ให้ได้ลงหน้า 1 บางฉบับหรืออย่างน้อย ได้ลงหน้าในหลายๆฉบับ จะดีหรือไม่ ประการใด ต้องถามรัฐมนตรีใหม่ ต้องการขนาดไหน อย่างไร
 
ประการที่ 5  ปิ๊งไอเดียที่จะแก้ปัญหา กำหนดความต้องการที่จะทำนั่นทำนี่บ่อยๆ VS นานๆที เป็นผู้นำกระทรวง ควรต้องนำความคิดความต้องการอยู่เสมอๆ เป็นระยะๆ และไม่ควรช้า เพราะจะไม่ทันปัญหาซึ่งเกิดขึ้นทุกวัน 
 
นานๆ ปิ๊งไอเดียที ระวังประชาชนจำไม่ได้ว่า กระทรวงมีรัฐมนตรีใหม่ชื่ออะไร ก็เป็นไปได้ เพราะผลงานไม่แรงพอ  
 
ประการที่ 6  ได้ประชุมข้าราชการระดับสูงของกระทรวง (ปลัดกระทรวง อธิบดี) สร้างความรู้จักคุ้นเคย เป็นกันเอง สร้างมิตรไมตรีอันดี เพื่อหาความร่วมมือในการทำงานตั้งแต่วันแรกที่เข้ากระทรวง หรือในเวลาอันรวดเร็วหรือไม่ 
 
มุ่งสร้างความศรัทธา มิใช่สร้างความขัดแย้ง 
 
การมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างรัฐมนตรีกับปลัดกระทรวง อธิบดี ถือเป็นคู่หู รู้ใจในการทำงาน รื่นไหลแค่ไหนอยู่ตรงนี้ การเป็นผู้นำยุคใหม่ ต้องนำด้วยศรัทธา 
 
เชื่อว่ารัฐมนตรีทุกท่านไม่พลาดในประการนี้ แต่จะพลาดในประการที่ 7 
 
ประการที่ 7  สื่อสารกับข้าราชการกระทรวง ในฐานะกลไกรัฐบ้างหรือไม่ ข้าราชการทุกคน คือ กำลังสำคัญในการทำผลงานให้รัฐมนตรีใหม่ หรือถือว่าเป็นหน้าที่ ต้องทำอยู่แล้ว ไม่ต้องสื่อสาร โดยเฉพาะสื่อสารกับข้าราชการระดับ 1-6 (บ้าง)  
 
หลังจากรัฐมนตรี มอบนโยบายปลัดกระทรวง ปลัดมอบอธิบดี และอธิบดีมอบรอง, รองมอบ ผอ.กอง, ผอ.กองมอบหัวหน้าฝ่าย, หัวหน้าฝ่ายมอบลูกน้อง ซี 1-6  
 
ซี 1-6 ไม่รู้จะไปมอบใคร เป็นผู้ปฏิบัติ ลงมือทำ เสร็จแล้วได้ผลสำเร็จในงานอย่างไร ยังต้องรายงานเบื้องบน เป็นทอดๆขึ้นไปกระทั่งถึงรัฐมนตรี
 
เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐมนตรีใหม่ควรลงมาสัมผัสสัมพันธ์ข้าราชการ ซี 1-6  อาจจัดประชุมพบปะ เสวนารับฟังปัญหา ความต้องการ ความเป็นอยู่ของเขาบ้าง หรือไม่ ประการใด ผู้ปฏิบัติมีอะไรขาดเหลือ เครื่องไม้เครื่องมือ งบประมาณมีพอใช้มั๊ย รวมไปถึงสวัสดิการ ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ 
 
ถือเป็นการฉีกแนวทางบริหารกระทรวงยุคใหม่ ใครไม่ทำ ตนทำ หากเห็นว่ามันใช่ ไม่เห็นผิดกติกาตรงไหนที่เจ้ากระทรวง จะสื่อสารกับระดับล่าง มองข้ามกันเองมากกว่า 
 
มิใช่ใช้งานอย่างเดียว ไม่เคยเหลียวแล ส่งเสริมความก้าวหน้า สื่อสารกับซี1-6 ได้ ก็ได้ใจ ครองใจ แม้มิใช่บทบาท อยู่ที่กุศโลบายการบริหารของใครก็ของใคร ไม่ควรมองว่า เป็นหน้าที่ปลัดกระทรวง อธิบดีจัดไป 
 
วันใดรัฐมนตรีใหม่จัดเต็ม เชิญประชุมพบปะเสวนาข้าราชการซี 1-6 ทั้งหมดของกระทรวง วันนั้นเป็นเซอร์ไพรส์ทางบริหารอีกมิติ
 
อยู่ที่มุมรัฐมนตรีใหม่จะพิจารณา     
 
ประการที่ 8 ได้เชิญพบโฆษกกระทรวง ทีมงานประชาสัมพันธ์ของกระทรวง ในเวลาอันรวดเร็ว หรือไม่ เพื่อให้ทิศทาง เป้าหมายในการทำประชาสัมพันธ์กระทรวงคู่ไปกับการบริหารงานของรัฐมนตรี ต้องการให้เน้น PR อย่างไร จะได้ปฏิบัติถูกต้อง ตรงจุด จะให้เน้น PR นโยบาย ผลงาน อย่างไร แค่จัดไป จัดเต็ม หรือต้องการจัดหนัก
 
นอกจาก PR นโยบาย ผลงาน ให้เน้นPRตัวบุคคล(รัฐมนตรี)ด้วย หรือไม่ ประการใด จะได้ออกแบบงาน PR กระทรวง ให้สอดคล้องกับความต้องการของรัฐมนตรี
 
มีบางมุมชวนคิด ก็คือ หากเป็นไปได้ รัฐมนตรีควรถามไถ่ทีมประชาสัมพันธ์กระทรวง(บ้าง)  ขาดเหลืออะไรบ้าง อุปกรณ์ เครื่องมือ งบประมาณ มิใช่ใช้งานอย่างเดียว ควรมุ่งสร้างพลังจูงใจ และให้กำลังใจในการทำงานแก่ข้าราชการ PR บ้าง เช่นเดียวกับประการที่ 7
 
ฉีกแนวบริหารอย่างยิ่ง หากรัฐมนตรีใหม่จะเชิญพบทีมงานประชาสัมพันธ์ของกรม(ทุกกรม) และทีมงานประชาสัมพันธ์รัฐวิสาหกิจในสังกัด นโยบายการบริหารงานของรัฐมนตรี ก็คือ กรม รัฐวิสาหกิจ เอาไปทำ นั่นเอง เล่น PR ทุกระนาบมิติมีแต่ได้ มิเพียงข่าวสารผลงานกระทรวงเข้าถึงประชาชนได้ไม่มีหลุด ยังสร้างการเป็นที่รู้จักให้รัฐมนตรี และเป็นที่กล่าวขานถึงของสังคม ประชาชนอีกด้วย   
 
ประการที่ 9  ใช้การนำด้วยอำนาจให้น้อยลง หรือให้น้อยที่สุด หรือเท่าที่จำเป็น และหันไปใช้การนำด้วยศรัทธาให้มากขึ้น จะดีหรือไม่ ประการใด กลวิธีสร้างศรัทธา VS อำนาจ กลวิธีใดจะยั่งยืน และเป็นรัฐมนตรีในดวงใจข้าราชการกว่ากัน? 
 
ประการที่ 10  ได้ทักทาย พบปะพูดคุยกับผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงในวันแรกที่เข้ารับหน้าที่ หรือในเวลาอันรวดเร็วหรือไม่ หยิบยื่นมิตรไมตรีให้ผู้สื่อข่าว สร้างความเป็นกันเอง ไม่ต้องรอให้ผู้สื่อข่าวขอเข้าสัมภาษณ์ก่อนถึงจะทักทาย พบปะพูดคุยกัน ชิงรู้จักผู้สื่อข่าวก่อนบ้างดีมั๊ย ได้ลงหน้า 1 หรือหน้าในก็อยู่ที่นี่ ตรงนี้ ถือเป็นศิลปะผู้นำ 
 
ประการที่ 11  เมื่อไปราชการต่างจังหวัด ที่ผ่านมาได้ถามหา หรือเชิญพบประชาสัมพันธ์จังหวัดนั้นๆ รวมถึงผู้สื่อข่าวท้องถิ่นบ้างหรือไม่ เพื่อสร้างมิตรไมตรี สัมผัสสัมพันธ์ในการทำข่าวภารกิจครั้งนั้นๆ เพราะการบริหารนโยบายกระทรวง ก็พาดผ่านลงไปที่ต่างจังหวัดทั้งนั้น ทั้งที่รู้ว่า PR นั้นดีมีแต่ได้ แต่มักลืม ละเลย หรือมองข้าม นึกขึ้นได้อีกทีต่อเมื่อมีปัญหา หรืออย่างไร? 
 
อ้างไม่มีเวลา อ้างได้ แต่อ้างแล้ว จะแข่งเวลา เพื่อสร้างผลงาน และสร้างการเป็นที่รู้จักรัฐมนตรีได้หรือไม่  
 
หากไม่ฉวยใช้โอกาสและจังหวะเวลาที่เหมาะสม !!
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทัศนะจากเวที "การเจรจาสันติภาพระหว่างมุสลิมมลายูและรัฐไทย"

Posted: 01 Dec 2012 03:11 AM PST

ท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้รอบใหม่ได้ปะทุขึ้นมานับตั้งแต่  บุกปล้นปืนและฆ่าทหารจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บ้านปิเหล็งใต้ ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2547 ซึ่งถึงวันนี้ก็ล่วงเลยมาเป็นเวลาเกือบ 9 ปีแล้ว เหตุการณ์ความรุนแรงก็ยังคงดำเนินขึ้นอยู่อย่างเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีสัญญาณว่าจะยุติลงเมื่อใด อย่างไรก็ตามความพยายามในการหาข้อยุติ เพื่อหาปูทางไปสู่สันติภาพระหว่างรัฐไทยและขบวนการที่เคลื่อนไหวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เกิดขึ้นอยู่เป็นครั้งคราว แต่ทุกครั้งจบด้วยความล้มเหลว ทางปาตานี ฟอรั่มจึงถือโอกาสนี้ในการนำเสนอ ที่มาที่ไป และประเด็นสำคัญบางประเด็นที่เกี่ยวกับการเจรจาสันติภาพที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา ในรายงานที่มีชื่อว่า "การเจรจาสันติภาพระหว่างมุสลิมมลายูและรัฐไทย"[1]

รายงานพิเศษฉบับนี้เปิดเผยถึงชุดบทสนทนาอย่างลับๆ ระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทย และผู้นำในการแบ่งแยกดินแดนที่ปฏิบัติการมาอย่างยาวนานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้นำอภิปรายในครั้งนี้ได้แก่ ดอน ปาทาน (ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศปาตานี ฟอรั่ม) ซากีย์ พิทักษ์คุมพล (นักวิชาการประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่) และนายปกรณ์ พึ่งเนตร (ผู้สื่อข่าวอาวุโสจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)

เวทีนำเสนอครั้งนี้เริ่มต้นด้วยกับคุณดอน ปาทาน นำเสนอถึงแรงจูงใจในการศึกษาเรื่องการพูดคุยสันติภาพว่า เรื่องดังกล่าวนี้ไม่ได้อยู่ในพื้นที่สาธารณะ แต่สิ่งที่ได้นำเสนอลงไปในรายงานพิเศษนั้นก็ไม่ได้เป็นเนื้อหาที่ลับมาก โดยเนื้อหาที่ได้มาก็นำมาเน้นประเด็นที่สำคัญและนำเสนอลงไป และได้ศึกษาว่าทำไมข้อเสนอถึงได้ล้มเหลว และทำไมรัฐบาลต้องอดทนกับเรื่องนี้ต่อไป

ต่อมาคุณดอนได้กล่าวถึง พัฒนาการของการพูดคุยสันภาพภายใต้รัฐบาลต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 90 ได้เริ่มมีการพูดคุยระหว่างรัฐไทยและกลุ่มขบวนการ อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นภาระหน้าที่ของทางทหาร แต่อยู่ในลักษณะของการหาข่าว ไม่ได้มีผลกระทบกับการบริหารจัดการของทางรัฐบาล รายละเอียดที่ได้มาก็ถูกนำมาเสนอให้กับคนนายพลในกองทัพ

แต่ในยุคของหลัง 90 ในโครงการ "ใต้ร่มเย็น" เหตุการณ์ก็เริ่มที่คลี่คลายลง ทางรัฐบาลไทยก็เลยคิดว่าเราประสบความสำเร็จในการจัดการความขัดแย้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เพียงแค่เหตุการณ์ความรุนแรงเท่านั้นที่หยุดไป แต่จิตวิญญาณของอิสรภาพยังคงเกิดขึ้นในหมู่ของขบวนการ

แต่ภายหลังจากเหตุการณ์ปล้นปืนเกิดขึ้น ทำให้รัฐบาลตระหนักแล้วว่า มีกลุ่มขบวนการรุ่นใหม่เกิดขึ้นจริงๆ การเจรจารอบใหม่จึงถือเกิดขึ้น โดยในรัฐบาลทักษิณได้มอบหมายให้ สมช. ได้มีการคุยกันที่เกาะลังกาวี โดยมีนายกมหาธีร์ ของมาเลเซียเป็นตัวเชื่อม ซึ่งไทยก็มีอานันท์ ปันยารชุนไปเป็นผู้รับข้อเสนอ แต่ก็ล้มเหลว

ในช่วงเวลาของการเจรจาสันติภาพฝ่ายไทยล้มเหลวในการเข้าเจรจากับกลุ่ม บีอาร์เอ็น คอร์ดิเนต ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มสำคัญในการเคลื่อนไหวปัจจุบัน เพราะว่าฝ่ายไทยถูกมองว่า "ไม่มีความจริงใจ" ในการเจรจาอย่างแท้จริง เพราะแม้แต่เจ้าของเรื่องที่จะดูแลอย่างจริงจังในไทยก็ไม่มี ซึ่งต่างจากกรณีของฟิลิปปินส์ที่จะมอบหมายในรัฐมนตรีในทำเนียบรัฐบาลเป็นเจ้าของเรื่อง ซึ่งในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่ได้มีการกล่าวถึงคำว่า "การต่อรอง" ในการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐไทยกับขบวนการ

ต่อมาคุณปกรณ์ พึ่งเนตร ได้นำเสนอถึงการเจรจาได้ถูกปิดลับมาโดยตลอด และไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐไทย ในสมัยของรัฐบาลสมัคร ได้มีรูปการเจรจามาลงในสื่อ แต่รัฐบาลไม่ได้ออกมายอมรับเลย ทำให้สื่อไทยไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับการเจรจา ส่วนใหญ่แล้วก็นำมาจากสื่อต่างประเทศ

จากนั้นได้นำเสนอบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเจรจาจากทางรัฐไทย และสามารถให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวได้เช่น พลเอก ไวพจน์ ศรีนวล ท่านได้เล่าว่า ในส่วนของเอกสารที่มีการลงนามสันติภาพและแนวทางในการพัฒนาภาคใต้ที่เคยได้จัดทำขึ้นในช่วงของการเจรจาสันติภาพที่ลังกาวี ได้มายื่นให้กับคุณชิดชัย แต่แล้วก็หายไป

อีก 1 คนที่น่าสนใจคือ พล.ต.ท. ตรีทศ รณฤทธิวิชัย อดีตผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสันติบาล ได้เล่าเรื่องการเจรจาในยุคอภิสิทธิ์กระทั่งนำไปสู่การทดลองการหยุดยิง แต่หลังจากนั้นอภิสิทธิ์ได้มาเจอกับปัญหาม็อบเสื้อแดง ทำให้ได้ละเลยเรื่องภาคใต้ไป

บทสรุปจากผู้ที่อยู่ในวงของการเจรจาได้กล่าวกันเป็นเสียงเดียวว่า "มันล้มเหลว"

หากรัฐบาลไม่มีความมุ่งมั่นก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเจรจา ซึ่งพลเอก ไวพจน์ ได้กล่าว่าหากให้คนที่ไม่มีอำนาจในการตัดสินไปคุยก็ไม่สามารถที่จะสำเร็จได้ ปัญหาของทางรัฐบาลไม่เคยยอมรับการพูดคุย เพราะกลัวว่าจะยอมรับการเป็นรัฐใหม่ หากมีการพูดคุยเกิดขึ้นจะเกิดการยกระดับ และนำไปสู่การลงประชามติ ทางรัฐบาลจึงทำให้สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นการก่ออาชญากรรม แล้วก็มีการส่งทหารลงไปกดสถานการณ์ไว้ และหากมีการยอมรับการเจรจามากถึงว่าเรากำลังจะแพ้ ถ้าได้เปรียบอยู่แล้วจะเจรจาทำไม ซึ่งตอนนี้ทั้งสองฝ่ายคิดว่า ต่างฝ่ายต่างได้เปรียบกันอยู่

สุดท้ายอาจารย์ซากี ได้พูดถึงรายงานพิเศษฉบับนี้ว่า เป็นงานชิ้นแรกๆ ที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับการเจรจาการพูดคุยระหว่างรัฐไทยไทยและขบวนการมลายูมุสลิม ซึ่งถือเป็น "ความกล้าหาญทางจริยธรรม" หลายต่อหลายครั้งที่มีความพยายามที่จะพูดคุย และในหลายครั้งเรื่องเหล่านี้จะถูกกดไว้อยู่หลังม่านของปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ เมื่อพูดถึงการเจรจาแล้ว ความคิดของคนไทยคือ เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะนำไปสู่รัฐอิสระลองตรวจสอบกันดูได้ในอินเตอร์เน็ต เว็บข่าว อันนี้เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่การเจรจา ในส่วนของข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ มาเลเซียพยายามทำเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องลับอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถนำมาอยู่บนพื้นดินได้ หากสังคมไทยยังอยู่ในสภาวะเช่นนี้

 

 




[1] สามารถอ่านรายงานชิ้นนี้ได้ที่http://www.pataniforum.com/document_detail.php?document_id=11

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐบาลพม่าและกองกำลังว้า เตรียมพบเจรจาเรื่องสันติภาพอีกรอบ

Posted: 01 Dec 2012 12:28 AM PST

คณะเจรจาสันติภาพรัฐบาลพม่าเตรียมเดินทางไปพบกองทัพสหรัฐว้า UWSA (United Wa State Army) เพื่อหารือเรื่องสันติภาพอีกรอบในเร็วๆ นี้

แหล่งข่าวคนใกล้ชิดเจ้าหน้าที่ระดับสูงกองทัพสหรัฐว้า UWSA เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลพม่าแจ้งว่า อูอ่องมิน รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดี และรองคณะทำงานสันติภาพรัฐบาลพม่า พร้อมด้วยคณะจะเดินทางไปเขตปกครองพิเศษกองกำลังว้า UWSA ในภาคตะวันออกรัฐฉาน โดยกำหนดไว้ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ เพื่อจะพบเจรจากันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพซึ่งจะเป็นการพบหารือกันระดับสภาพครั้งที่ 3 แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าคณะเจรจาสันติภาพพม่าจะไปตามที่แจ้งหรือไม่

ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าและกองกำลังว้า UWSA ได้พบเจรจาเรื่องสันติภาพร่วมกันแล้วสามครั้ง นับตั้งแต่ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ประกาศสร้างสันติภาพประเทศ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 54 สองฝ่ายเจรจาตกลงหยุดยิงระหว่างกัน ครั้งที่สองเมื่อ 1 ต.ค. 54 เป็นการพบเจรจากันระดับสหภาพครั้งที่ 1 ซึ่งเห็นชอบไม่แยกจากสหภาพ ครั้งที่สามเมื่อ 26 ธ.ค. 54 เจรจากันระดับสหภาพครั้งที่ 2 ซึ่งรัฐบาลพม่าขอให้กองกำลังว้า UWSA ตั้งพรรคการเมืองเข้าร่วมการเลือกตั้ง โดยทางฝ่าย UWSAขอรับเรื่องไปพิจารณา

มีรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กองกำลังว้า UWSA และกองทัพพม่ามีการพบหารือกันที่เมืองต้างยาน รัฐฉานภาคเหนือ ฝ่ายพม่านำโดยแม่ทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เมืองล่าเสี้ยว) สองฝ่ายหารือกันเกี่ยวกับการนำเข้าออกสินค้าในเขตปกครองว้า ซึ่งกองทัพพม่าได้ผ่อนปรนการนำเข้าออกสินค้าในเขตว้า โดยอนุญาตให้กองกำลังว้าลำเลียงสินค้าผ่านพื้นที่ในรัฐฉานโดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจากกองทัพพม่าเช่นที่ผ่านมา

สำหรับกองทัพสหรัฐว้า UWSA ก่อตั้งขึ้นหลังแยกตัวออกจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่า CPB - Communist Party of Burma เมื่อปี 2532 และเจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าโดยได้รับสิทธิปกครองตนเอง เรียกเขตปกครองที่ 2 ปัจจุบันกองทัพสหรัฐว้า UWSA มีกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่เมืองปางซาง รัฐฉานภาคตะวันออก มีนายเปาโหย่วเฉียง เป็นผู้นำสูงสุด กองทัพว้า UWSA มีกำลังพลไม่ต่ำกว่า 20,000 นาย เคลื่อนไหวอยู่ในภาคตะวันออกของรัฐฉานและตามแนวชายแดนไทยด้านจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ช่วงปี 2550-2553 กองกำลังว้า UWSA ถูกรัฐบาลพม่ากดดันแปรสภาพเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF และถูกกำหนดเป็นกลุ่มนอกกฎหมาย ส่งผลให้สองฝ่ายเกิดการเผชิญหน้ากัน กระทั่งประธานาธิบดีเต็งเส่ง ประกาศสร้างสันติภาพ สองฝ่ายจึงได้เจรจาหยุดยิงกันอีกครั้ง

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จีนส่งสัญญาณแก้ปัญหาทะเลจีนใต้เอง ไม่ต้องให้อาเซียนช่วย

Posted: 30 Nov 2012 09:53 PM PST

นายเฉิน เป่าเซิง รองอธิการบดี สถาบันการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระบุ จีนไม่ได้เป็นผู้จุดชนวนความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ส่งสัญญาณไม่ต้องการอาเซียนร่วมแก้ปัญหา พร้อมย้ำจีนสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง

วันที่ 1 ธ.ค. 2555 ที่ห้องรัตนโกสินทร์ โรงแรมเดอะสุโกศล สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ พรรคคอมมิวนิสต์จีนแห่งประเทศจีน, มูลนิธิสถาบันสราญรมย์, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติร่วมกับสถาบันศึกษาความมั่นคงนานาชาติ ร่วมจัดการเสวนา "มังกรพลิกกาย...ท่วงท่าใหม่ที่ไทยควรรู้"

โดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานมูลนิธิสถาบันสราญรมย์เปิดงาน โดยระบุว่าจีนน่าจะมองไทยเป็นตัวอย่างความสัมพันธ์ของอาเซียนเพราะเป็นความสัมพันธ์ที่มีทุกมิติ รวมภาคประชาชนไว้อย่างแน่นแฟ้น มีการไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง จีนคงต้องการนำอาเซียนเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในภูมิภาคนี้ อาจจะนำไปสู่ความความขัดแย้งกันได้ เช่น กรณีทะเลจีนใต้ ซึ่งต้องเร่งเปลี่ยนความขัดแย้งนั้นเป็นความร่วมมือให้เร็วที่สุด โดยดร.สุรเกียรติ์เห็นว่า ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอาจจะคลี่คลายได้โดยใช้ "เพื่อน" หรือกลุ่มประเทศที่เป็นมิตรกับคู่ขัดแย้งในการร่วมแก้ปัญหา

"วิธีการแบบนี้ในเอเชีย เพื่อนจะช่วยทำให้ในที่สุดแล้วเพื่อนอีกสองฝ่ายสามารถกลับมาพูดกันได้ แต่ประเด็นสำคัญคือต้องทำการโดยไม่เป็นข่าว ไม่เช่นนั้นจะเกิดการตึงเครียด ทำให้เกิดความแข็งของประเด็นในการเจรจา การมีเพื่อนมาช่วยในลักษณะนี้ไม่ถือเป็นการแทรกแซง เป็นการหารือเพื่อคลายความตึงเครียด"

โดยดร. สุรเกียรติ์ระบุถึงคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย-APRC ซึ่งตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมาที่กรุงเทพฯ โดยหวังว่าจะเป็นรูปแบบเพื่อนที่ช่วยให้มีการเสวนาเพื่อสันติภาพเกิดขึ้นได้ โดยถือว่ายังเป็นการหารือทวิภาคี เพียงแต่มีผู้ช่วยเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม นายเฉิน เป่าเซิง รองอธิการบดี สถาบันการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระบุว่าสำหรับปัญหาทะเลจีนใต้และเพื่อนบ้านนั้น ไม่ใช่จีนที่ก่อปัญหาก่อน

"ในประวัติศาสตร์จีนห้าพันปีที่ผ่านมาเรามีนโยบายที่ชัดเจน เราใช้น่านทะเลเป็นประโยชน์แสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง เป็นการเต้นรำคู่เมื่อเขามาเหยียบเท้าคุณ คุณก็ต้องถอย ก็เป็นการเต้นระบำคู่ ไม่มีอะไรพิสดาร กรณีเตี้ยวหวี เป็นปัญหาเป็นปัญหาเชิงประวัติศาสตร์ แต่ญี่ปุ่นไปจัดการฝ่ายเดียว เรามีหลักการไม่เปลี่ยนแปลงคือเอาข้อโต้แย้งวางไว้ก่อน แต่ร่วมกันพัฒนา ก็ใช้วิธีเจรจา สร้างสมดุล ไม่มีเจตนาไปใช้กำลังแก้ปัญหา แต่เราก็มีความตั้งใจเหนียวแน่นที่จะรักษาอธิปไตยของจีน"

นายเฉิน เป่าเซิง  กล่าวด้วยว่าปัญหาทะเลจีนใต้ จริงๆ มีปัญหาตั้งแต่มีนาคม 2554  และมีบางประเทศยึดผลประโยชน์ในทะเลจีนใต้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัว ทั้งนี้ จีนไม่อยากให้ปัญหาทะเลจีนใต้เป็นปัญหาที่ซับซ้อน และอยากแก้ไขปัญหาเฉพาะระหว่างคู่กรณี และเป็นปัญหาทวิภาคี ไม่อยากนำปัญหาสู่เวทีภูมิภาคหรืออาเซียน

"ทุกประเทศคงมีปัญหาภายในอยู่แล้ว เหมือนนิยายจีนเรื่องความลับในหอแดงที่กล่าวว่า ครอบครัวใหญ่ก็มีปัญหาของครอบครัวใหญ่ ครอบครัวเล็กก็มีปัญหาของครอบครัวเล็ก ครอบครัวที่มีความสุขก็มีปัญหา ครอบครัวที่มีทุกข์ก็มีปัญหา จีนไม่เห็นด้วยกับการโอนปัญหาเหล่านี้ไปให้ประเทศอื่น จีนจะแก้ปัญหานี้ด้วยตัวเอง" รองอธิการบดี สถาบันการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนกล่าวย้ำ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์ ชี้ความนิยมยิ่งลักษณ์เพื่อไทยยังห่างอภิสิทธิ์ ปชป.มั่นใจรัฐบาลครบเทอม

Posted: 30 Nov 2012 06:17 PM PST

เผยผลโพลล์"จาก ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ถึงอภิปรายไม่ไว้วางใจ คะแนนนิยมนายกฯ เป็นอย่างไร"จากผู้ตอบ1,120 ทั่วประเทศ

ผลสำรวจเรื่อง 

"จาก ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ถึงอภิปรายไม่ไว้วางใจ คะแนนนิยมนายกฯ เป็นอย่างไร"

 

ความนิยม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังนำนายอภิสิทธิ์ 51.2% ต่อ 33.1%

เช่นเดียวกับความนิยมพรรคเพื่อไทยที่ยังนำพรรคประชาธิปัตย์ 48.8% ต่อ 34.8% 

นอกจากนี้ ประชาชน 61.0%  เชื่อรัฐบาลของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ จะทำงานครบวาระ 4 ปี

 

                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,120 คน ในหัวข้อ "จาก ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ถึงอภิปรายไม่ไว้วางใจ คะแนนนิยมนายกฯ เป็นอย่างไร" พบว่า

 

                คะแนนนิยม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจปรับลดลงเป็นร้อยละ 48.7 จากร้อยละ 52.6 เมื่อเทียบกับช่วงที่มีการแต่งตั้ง ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 32.8 เป็นร้อยละ 33.7 อย่างไรก็ดี  เมื่อพิจารณาในภาพรวม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังมีคะแนนนิยมที่สูงกว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ร้อยละ 51.2 ต่อ 33.1  นอกจากนี้คะแนนนิยมของ     น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังสูงกว่าการสำรวจในช่วงวิกฤติน้ำท่วมปี 54 ที่คะแนนนิยมขณะนั้นเท่ากับ          ร้อยละ 47.0

 

                ด้านคะแนนนิยมพรรคการเมืองในระบบบัญชีรายชื่อ (Party List) พบว่าพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยมเท่ากับร้อยละ 48.8 สูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคะแนนนิยมร้อยละ 34.8 ส่วนคะแนนนิยมพรรคการเมืองในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งพบว่ามีสัดส่วนในลักษณะเดียวกับระบบบัญชีรายชื่อ คือ พรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยมเท่ากับร้อยละ 46.7 สูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคะแนนนิยมร้อยละ 33.4 

 

                สุดท้ายเมื่อถามว่า "ณ วันนี้  ท่านคาดว่ารัฐบาลของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ จะทำงานครบวาระหรือไม่"  พบว่าประชาชนส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 61.0 คาดว่ารัฐบาลของ .. ยิ่งลักษณ์ จะทำงานครบวาระ 4 ปี  รองลงมาร้อยละ 11.8 คาดว่าจะทำงานได้มากกว่า 2 ปีแต่ไม่ถึง 3 ปี   และร้อยละ 7.9 คาดว่าจะทำงานได้มากกว่า 3 ปีแต่ไม่ครบ 4 ปี  

 

 

                รายละเอียดต่อไปนี้

1. ข้อคำถาม "หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง  ท่านจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง

น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร    กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"               

 

 

ช่วง 1

จะสนับสนุน
(ร้อยละ)

ช่วง 2

จะสนับสนุน
(ร้อยละ)

รวม

จะสนับสนุน
(ร้อยละ)

..ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร             

52.6

48.7

51.2

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 

32.8

33.7

33.1

คนอื่น/ไม่แน่ใจ/ไม่รู้

14.6

17.6

15.7

หมายเหตุ : - ช่วง 1 หมายถึงรวบรวมข้อมูลช่วงแต่งตั้ง ครม.ยิ่งลักษณ์ 3

                  - ช่วง 2 หมายถึงรวบรวมข้อมูลช่วงอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล

                  - น.ส.ยิ่งลักษณ์ คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 47.0 จากการสำรวจในช่วงวิกฤติน้ำท่วมปี 54 (เก็บข้อมูลช่วง 22 - 24 พฤศจิกายน 2554)

 

2. ข้อคำถาม "หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง  ท่านจะเลือกพรรคใดในระบบบัญชีรายชื่อและระบบแบ่งเขต"

 

จะเลือกพรรค...

ค่าร้อยละ

ระบบบัญชีรายชื่อ

ระบบแบ่งเขต

พรรคเพื่อไทย

48.8

46.7

พรรคประชาธิปัตย์

34.8

33.4

พรรคชาติไทยพัฒนา 

0.8

1.8

พรรคภูมิใจไทย

1.0

1.4

พรรคพลังชล      

0.4

0.7

พรรครักประเทศไทย

1.6

1.7

พรรคอื่นๆ

0.4

0.5

ไม่แน่ใจ/ไม่รู้

12.2

13.8

 

 

 

  3. ข้อคำถาม "ณ วันนี้  ท่านคาดว่ารัฐบาลของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ฯ จะทำงานครบวาระหรือไม่"         

 

ร้อยละ 61.0

คาดว่าจะทำงานครบวาระ 4 ปี

ร้อยละ 7.9

คาดว่าจะทำงานได้มากกว่า 3 ปี   แต่ไม่ครบ 4 ปี       

ร้อยละ 11.8

คาดว่าจะทำงานได้มากกว่า 2 ปี   แต่ไม่ถึง 3 ปี         

ร้อยละ  2.1

คาดว่าจะทำงานได้น้อยกว่า 2 ปี  

ร้อยละ 17.2

ไม่แน่ใจ/ไม่รู้

 

รายละเอียดในการสำรวจ

 

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

  1. เพื่อทราบความนิยมของประชาชนระหว่างนายกรัฐมนตรีและผู้นำฝ่ายค้าน
  2. เพื่อทราบความนิยมในพรรคการเมืองต่างๆ ของประชาชน
  3. เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่ออายุรัฐบาลของ นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ 

 ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

 ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ± 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

 

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ด้วยแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล  :  30 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2555 และ 28 – 30 พฤศจิกายน 2555

    

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ        : 1 ธันวาคม 2555

ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

 

 

จำนวน (คน)

ร้อยละ

เพศ

 

 

                ชาย

565

50.4

                หญิง

555

49.6

รวม

1,120

100.0

อายุ

 

 

                18-30ปี

316

28.3

                31-40 ปี

284

25.4

                41-50 ปี

278

24.8

                51-60 ปี

177

15.8

                60 ปีขึ้นไป

65

5.7

รวม

1,120

100.0

การศึกษา

 

 

                ต่ำกว่าปริญญาตรี

810

72.4

                ปริญญาตรี

267

23.8

                สูงกว่าปริญญาตรี

43

3.8

รวม

1,120

100.0

อาชีพ

 

 

                ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ

113

10.1

                พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน

208

18.6

                ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว

231

20.6

                เกษตรกร/ประมง

135

12.1

                รับจ้างทั่วไป

189

16.9

                พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ

101

9.0

                นักศึกษา

69

6.2

                อื่นๆ อาทิ  อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น

74

6.5

รวม

1,120

100.0

 

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  โทร. 02-350-3500 ต่อ 1770, 1776

E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th      Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th

Twitter :  http://twitter.com/bangkok_poll

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตใหม่ของญี่ปุ่นปี ค.ศ. 2020

Posted: 30 Nov 2012 02:10 PM PST

 

ในทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นได้ยอมรับว่ายุทธศาสตร์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในทศวรรษที่ผ่านไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ทศวรรษที่สูญหาย" หรือ The Lost Decade หรือบ้างเรียกต่อเนื่อง 20 ปีเป็น The Lost Two Decades ซึ่งรวมทศวรรษ 1990s และ 2000s

ปัจจัยสำคัญที่ทางญี่ปุ่นเองได้วิเคราะห์กันว่าเป็นสาเหตุ คือ การขาดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน การขาดภาวะความเป็นผู้นำทางการเมือง และแนวทางการพึ่งพาภาครัฐร่วมกับการใช้พื้นฐานทางกลไกตลาดไม่ประสบความสำเร็จ  

ในปี ค.ศ. 2010 กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม (Ministry of International Trade and Industry, MITI) ได้เสนอยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตใหม่ (New Growth Strategy) โดยเน้นแนวทางการเติบโตโดยใช้อุปสงค์นำ (Demand-Led Growth) หรืออธิบายง่ายๆ ได้ว่า ที่ใดมีอุปสงค์หรือความต้องการสินค้าและบริการ  ญี่ปุ่นจะมุ่งสร้างสรรค์สินค้าและบริการเพื่อไปตอบสนองอุปสงค์หรือความต้องการที่นั่น

จากการประมาณของ MITI คาดว่ามีอุปสงค์มากกว่า 100 ล้านล้านเยน (38 ล้านล้านบาท) ในอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม สุขภาพและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คน ที่ญี่ปุ่นต้องการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและบริการนี้

 

การเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตของญี่ปุ่น

ที่มา http://www.kantei.go.jp/

เป้าหมายหลักของประเทศตามยุทศาสตร์การเจริญเติบโตใหม่ซึ่งกระทรวง MITI มีบทบาทหลักในการผลักดันและบังคับใช้ในทศวรรษหน้ามี 3 ประการคือ

·         เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความเข้มแข็ง (Strong Economy)

·         การคลังมีความมั่นคง (Robust Public Finances) และ

·         ระบบประกันสังคมมีความเข้มแข็ง (Strong Social Security System)

โดยเน้นยุทธศาสตร์ใน 7 ในกลุ่มสาขาที่สำคัญ คือ

1.     ยุทธศาสตร์ว่าด้วยนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Innovation)

2.     ยุทธศาสตร์ว่าด้วยนวัตกรรมที่เกี่ยวกับชีวิตและสุขภาพ (Life Innovation)

3.     ยุทธศาสตร์เอเชีย (Asia)

4.     ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว (Tourism-oriented nation and local revitalization)

5.     ยุทธศาสตร์ว่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology IT oriented nation)

6.     ยุทธศาสตร์การจ้างงานและทรัพยากรมนุษย์ (Employment and Human Resources)

7.     ยุทธศาสตร์ภาคการเงิน (Financial Sector)

 

ยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตใหม่ของญี่ปุ่นปีค.ศ. 2020

ที่มา: MITI, Japan


ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่มีความสำคัญกับประเทศไทยทั้งในด้านการเป็นผู้ลงทุนรายสำคัญ ตลาดส่งออกและนำเข้าอันดับต้นๆ และเป็นนักท่องเที่ยวที่รายใหญ่ที่สุดของไทย การเข้าใจสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นในทศวรรษหน้าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินยุทธศาสตร์ของประเทศไทย

ยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตใหม่ของญี่ปุ่น 7 เสาหลัก ได้แก่

1. ยุทธศาสตร์ว่าด้วยนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Innovation) ประกอบด้วย 3 โครงการยุทธศาสตร์แห่งชาติ คือ

·         ยุทธศาสตร์การใช้ระบบ Feed-In Tariff System โดยขยายขอบเขตการซื้อพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานหมุนเวียนผ่านระบบ Feed-In Tariff System เพื่อขยายตลาดพลังงานหมุนเวียนในญี่ปุ่น  

·         ยุทธศาสตร์การริเริ่มโครงการเมืองอนาคต (FutureCity Initiative) ผ่านการมุ่งเน้นลงทุนเมืองอนาคตชั้นนำของโลกโดยใช้เทคโนโลยีอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวง MITI ได้เสนอร่างกฎหมายการส่งเสริมเมืองอนาคต (FutureCity Promotion Act) จัดตั้งความร่วมมือภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนโครงการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสร้างระบบสำหรับคัดเลือกภูมิภาคที่มีแนวคิดนวัตกรรมสำหรับอนาคต เป็นต้น 

·         ยุทธศาสตร์แผนการใช้ประโยชน์จากป่าไม้และการฟื้นคืนป่า (Forest and Forestry Revitalization Plan) เพื่อให้เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของท้องถิ่นและการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ

2. ยุทธศาสตร์ว่าด้วยนวัตกรรมที่เกี่ยวกับชีวิตและสุขภาพ (Life Innovation) ประกอบด้วย 2 โครงการยุทธศาสตร์แห่งชาติ

·         โครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคัดเลือกสถาบันการแพทย์เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้การรักษาสุขภาพแนวใหม่โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยที่เผชิญกับโรคที่รักษาได้ยากและแก้ไขปัญหาความล่าช้าของการนำยาและเครื่องมือทางการแพทย์ออกสู่ตลาด

·         โครงการยุทธศาตร์การสร้างการยอมรับของผู้ใช้บริการสุขภาพจากต่างชาติ โดยสร้างชื่อเสียงให้ญี่ปุ่นเป็นแหล่งบริการสุขภาพระดับสูงและการวินิจฉัยทางการแพทย์ในเอเชีย

3. ยุทธศาสตร์เอเชีย (Asia) ประกอบด้วย 5 โครงการยุทธศาสตร์แห่งชาติ คือ

·         ยุทธศาสตร์ส่งออกระบบและโครงสร้างพื้นฐาน โดยวางตำแหน่งของญี่ปุ่นให้เป็นผู้เล่นรายสำคัญในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานของโลกผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์โครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นมากในเอเชียและในภูมิภาคอื่นโดยผนวกรวมเทคโนโลยีชั้นนำและประสบการณ์ของญี่ปุ่นทั้งในด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และความปลอดภัยและความมั่นคง 

·         ยุทธศาสตร์การลดอัตราภาษีนิติบุคคลและการส่งเสริมให้ญี่ปุ่นเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของเอเชียเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและรักษาตลาดการจ้างงานภายในประเทศ โดยเชิญชวนให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงในญี่ปุ่น 

·         ยุทธศาสตร์การดึงดูดผู้มีทักษะสูงพิเศษและเพิ่มการยอมรับแรงงานทักษะสูง ตลอดจนการส่งหนุ่มสาวญี่ปุ่นออกไปเรียนต่างประเทศและยอมรับนักศึกษาต่างชาติจำนวนมากเพื่อเข้ามาศึกษาและฝึกอบรมในญี่ปุ่น 

·         ยุทธศาสตร์สำหรับการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา โดยเน้นการเป็นผู้ตั้งมาตรฐานสินค้าใน 7 กลุ่มที่สำคัญ ได้แก่ การรักษาทางการแพทย์ น้ำ ยานยนต์รุ่นใหม่ รถไฟ การบริหารจัดการพลังงาน สื่อและเนื้อหา และหุ่นยนต์ นอกจากนั้นยังเน้นการส่งออกสินค้าและบริการที่เรียกว่า "Cool Japan" ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพของญี่ปุ่น เช่น เนื้อหา แฟชั่น อาหาร วัฒนธรรม ประเพณี และเพลง

·         ยุทธศาสตร์การเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจผ่านการทำเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก (FTAAP) โดยสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างสถาบันภายในอย่างบูรณาการ

4. ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว (Tourism-Oriented Nation and Local Revitalization) ประกอบด้วย

·         ยุทธศาสตร์การตั้งระบบเขตพิเศษครบวงจร (Comprehensive Special Zone System) โดยคัดเลือกและมุ่งเน้นในพื้นที่ที่มีศักยภาพในสาขาที่มีความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและส่งเสริมนโยบายเปิดน่านฟ้าเสรีอย่างเต็มที่ (Full Open Skies)

·         ยุทธศาสตร์โครงการเพิ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติถึง 30 ล้านคนโดยทำให้กระบวนการขอวีซ่าที่ให้กับชาวจีนง่ายลง และการสนับสนุนการท่องเที่ยวในวันหยุดยาว

·         ยุทธศาสตร์การเพิ่มที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงบ้านให้อยู่อาศัยสะดวกสบายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ

·         ยุทธศาสตร์การเปิดสิ่งอำนวยความสะดวกของภาครัฐให้กับภาคเอกชนและส่งเสริมโครงการที่ใช้ทุนของภาคเอกชน

5. ยุทธศาสตร์ว่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology IT Oriented Nation) ประกอบด้วย

·         ยุทธศาสตร์การศึกษาชั้นนำระดับสูงและระบบอื่นๆ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ โดยพัฒนาสิ่งแวดล้อมแรงจูงใจที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมโดยสร้างศูนย์วิจัยและการศึกษามากกว่า 100 แห่งให้อยู่ในรายชื่อ 50 อันดับแรกในสาขาเฉพาะต่างๆ 

·         ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และยุทธศาสตร์การลงทุนในการวิจัยและพัฒนาให้ถึงระดับร้อยละ 4 ของ GDP

6. ยุทธศาสตร์การจ้างงานและทรัพยากรมนุษย์ (Employment and Human Resources) ประกอบด้วย

·        ยุทธศาสตร์การบูรณาการโรงเรียนอนุบาลและสถานรับเลี้ยงเด็กบนหลักการที่ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของครอบครัว ชุมชนและสังคม และการจัดตั้งกระทรวงเด็กและครอบครัว (Ministry of Children and Families)

·       ยุทธศาสตร์การริเริ่มระบบการให้คะแนนอาชีพโดยเฉพาะสำหรับอาชีวศึกษา (Career Grading System) และระบบสนับสนุนส่วนบุคคล (Personal Support System) 

·      ยุทธศาสตร์กรอบแนวคิดใหม่สำหรับบริการสาธารณะ (New Concept of Public Service) โดยเพิ่มบทบาทให้กับทุกคนในสังคมในการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่น

7. ยุทธศาสตร์ภาคการเงิน (Financial Sector) โดยยุทธศาสตร์หลักคือการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์บูรณาการกับการเงินและการค้าโภคภัณฑ์ (Integrated Exchange Handling Securities, Financing and Commodities)

บทสรุป

ในปัจจุบัน ประเทศไทยเริ่มวางยุทธศาสตร์บูรณาการในระยะ 10-15 ปี โดยมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ใน 3 เสาหลัก คือ ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) การเติบโตแบบทั่วถึง (Inclusive Growth) และการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth) ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ทิศทางยุทธศาสตร์ใหญ่ของไทยได้บูรณาการทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับทิศทางใหญ่ของโลกและยุทธศาสตร์ของประเทศที่สำคัญ ประเด็นท้าทายที่สำคัญคือการผลักดันและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและจริงจัง เพื่อไม่ให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลาง  เข้าสู่ The Lost Decade หรือ The Lost Two Decades ทั้งที่ยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นการย้ำอยู่กับที่หรืออาจถอยหลังเข้าคลองหากมีแต่วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่ดีเลิศแต่ขาดการปฏิบัติที่แท้จริง

ความสามารถในการปรับตัว ความเป็นมืออาชีพและความสามารถในการทำให้งานสำเร็จเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องยอมที่จะอดเปรี้ยวไว้กินหวาน หลีกเลี่ยง Short-term gain, Long-term Loss ถ้าโชคดีและทำงานหนักพอ เราอาจจะสามารถก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปได้ แต่บทเรียนที่เราได้เรียนรู้จากญี่ปุ่น เป็นบทเรียนที่เตือนใจเราว่าแม้เราจะสามารถก้าวเข้าสู่ประเทศรายได้สูงหรือประเทศชั้นนำได้ เราก็ยังมีความท้าทายใหม่ๆ สำหรับประเทศให้เผชิญอีก และญี่ปุ่นได้สอนเราผ่านแนวคิดประจำชาติอย่างเช่นแนวคิดไคเซ็น (Kaizen) ว่าหัวใจสำคัญคือ การมีหลักคิดในการดำเนินชีวิตหรือจิตสำนึกว่าจะต้องทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นตลอดเวลา (แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม) เพื่อมุ่งสู่คุณภาพที่สูงขึ้น ดังที่ญี่ปุ่นกำลังพยายามผลักดัน New Growth Strategy ในทุกวันนี้

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น