โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เต็ง เส่ง-ยิ่งลักษณ์เยือนทวาย ทั้ง 2 ฝ่ายคาดเปิดเฟสแรกปี 57

Posted: 18 Dec 2012 11:29 AM PST

"ยิ่งลักษณ์" เยือนพม่า เต็ง เส่ง" พาชมที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ด้านคณะกรรมการไทย-พม่ากำหนดเปิดนิคมอุตสาหกรรมเบาในปี 57 ส่วนโครงการทั้งหมดซึ่งรวมถึงเขตนิคมอุตสาหกรรมหนักจะเสร็จในปี 63 ขณะที่ตัวแทนชุมชนในทวายกังวลผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร้องเรียนว่าไม่ต้องการย้ายออกจากชุมชน แต่ จนท.ไม่อนุญาตให้เข้าพบเต็ง เส่ง

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย และเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า ชมผังจำลองโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ระหว่างนายกรัฐมนตรีเยือนสถานที่ก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ที่เมืองทวาย ทางตอนใต้ของพม่าเมื่อ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: เฟซบุค Yingluck Shinawatra)

 

เมื่อวานนี้ (17 ธ.ค.) สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนพม่าเพื่อหารือกับประธานาธิบดีเต็ง เส่งของพม่า และเยี่ยมชมพื้นที่โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย มีการหารือถึงแนวทางความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการของกลไกคณะกรรมการร่วมไทย – พม่า เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้พม่าเป็นเจ้าภาพในการประชุมคณะกรรมการระดับประสานงานและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 สาขา ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง ด้านอุตสาหกรรมเฉพาะด้านและการพัฒนาธุรกิจ ด้านพลังงาน ด้านการพัฒนาชุมชน ด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และด้านการเงิน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555 โดยจัดไปแล้วที่กรุงเนปิดอว์ โดยนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี และนายนายเอ มิ้นท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพม่า เป็นประธานการประชุมร่วมกัน ซึ่งในการประชุมดังกล่าว นายจุลพงศ์ โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่ประธานร่วมฝ่ายไทย ในการประชุมคณะอนุกรรมการร่วมไทย-พม่าฯ สาขาการพัฒนาชุมชน

โดยฝ่ายไทยได้เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่รัฐบาลพม่า ซึ่งแบ่งเป็นแผนงานระยะเร่งด่วนที่จะดำเนินการในพื้นที่ที่อยู่อาศัยใหม่ที่จัดสรรให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน ได้แก่ การจัดทำแปลงสาธิตเพื่อสอนให้ชาวพม่ารู้จักการทำการเกษตรแบบครบวงจรเพื่อการดำรงชีพ การสนับสนุนการเรียนรู้การจัดสวัสดิการชุมชนต่าง ๆ และการฝึกอบรมทักษะฝีมือแรงงานให้ประชาชน และแผนงานระยะกลาง ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตรอาชีวศึกษา (ปวช.) และการปรับปรุงโรงพยาบาลทวาย ซึ่งฝ่ายพม่าแสดงความยินดีรับความช่วยเหลือทางวิชาการดังกล่าว และเห็นพ้องดำเนินการภายหลังการโยกย้ายประชาชนเข้าพื้นที่ใหม่แล้ว

ขณะที่ภารกิจในการเยือนของยิ่งลักษณ์ประกอบไปด้วย การเข้าเยี่ยมคาราวะและหารือกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เยี่ยมชมความคืบหน้าในพื้นที่โครงการ และการเยี่ยมโรงเรียนและสถานีอนามัยในพื้นที่ทวาย เพื่อมอบอุปกรณ์การเรียนและการกีฬาให้แก่โรงเรียน และมอบอุปกรณ์การแพทย์ขั้นพื้นฐานแก่สถานีอนามัย

ด้าน ทิน หม่อง วิน ประธานฝ่ายสนับสนุนโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ให้สัมภาษณ์อิระวดีว่า ผู้นำทั้งสองประเทศได้หารือกันในเรื่องโครงการอุตสาหกรรมสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และมีการบินชมพื้นที่ก่อสร้างโครงการ นอกจากนี้ยังมีการเยี่ยมพื้นที่สำหรับสร้างนิคมอุตสาหกรรมทวายด้วย โดยทิน หม่อง วิน ระบุว่าโครงการดังกล่าวจะเริ่มทันทีที่ชาวบ้านในพื้นที่โยกย้ายไปยังหมู่บ้านแห่งใหม่

ข้อมูลจากอิระวดีระบุว่า ทั้งนี้เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2551 ไทยและพม่าลงนามในข้อตกลงความร่วมมือที่จะพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายและเขตเศรษฐกิจพิเศษ หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายได้หานักลงทุนสำหรับโครงการดังกล่าว โดยทิน หม่อน วิน ระบุว่า จากการประชุมของคณะกรรมการระดับประสานงานและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 สาขา กำหนดไว้ว่าเฟสแรกของเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมเบามีกำหนดที่จะเปิดโครงการภายในปี 2557 ส่วนโครงการทั้งหมดซึ่งรวมถึงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เขตนิคมอุตสาหกรรมหนักจะสมบูรณ์ภายในปี 2563

ทั้งนี้โครงการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษต้องเผชิญความยากลำบากในการหาผู้ลงทุน นอกจากนี้ยังต้องเผชิญฝ่ายคัดค้านในท้องถิ่นซึ่งกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

เล ลวิน จากสมาคมพัฒนาทวาย กล่าวกับอิระวดีว่าในระหว่างการเยือนทวายของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ทางกลุ่มไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบกับประธานาธิบดีเพื่อบอกให้รู้ว่าพวกเขาไม่เต็มใจที่จะย้ายออกจากหมู่บ้าน นอกจากนี้พวกเขายังคัดค้านการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน โรงงานเคมี รวมถึงอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ 

ล่าสุดจากการรายงานของกรุงเทพธุรกิจ ซึ่งอ้างคำให้สัมภาษณ์ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่เปิดเผยผลการหารือระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ และประธานาธิบดีเต็ง เส่งว่า ทางการพม่าขอปรับลดพื้นที่โครงการเหลือประมาณ 150 ตร.กม. จากเดิมที่ตกลงไว้ที่ 204.5 ตร.กม. โดยทางการไทยยังสงวนท่าทีต่อข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันยังอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดโครงการ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูทูบ สรุป 10 คลิปแห่งปีที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด

Posted: 18 Dec 2012 10:26 AM PST

เว็บยูทูบทำคลิปลิปซิงก์เพลงกังนัมสไตล์และ Call Me Maybe สรุปเทรนด์คลิปวิดีโอปี 2012 ที่กำลังจะผ่านไป โดยมีนักร้องเกาหลีใต้ ไซ ซึ่งเพลงของเขา มีคนดูมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในยูทูบ พร้อมบรรดาคนดังในยูทูบร่วมแสดงด้วย

 

 

โดยคลิปวิดีโอที่มีผู้ชมมากที่สุดในปี 2012 จำนวน 10 อันดับแรกได้แก่

อันดับหนึ่ง PSY - GANGNAM STYLE (강남스타일) M/V   เพลงกังนัมสไตล์ของไซ (Psy) นักร้องชาวเกาหลีใต้ ซึ่งมียอดผู้ชมสูงถึง 971,518,818 ครั้ง และกลายเป็นวิดีโอที่มีคนดูมากที่สุดตลอดกาลในเวลาเพียง 6 เดือน

อันดับสองได้แก่ Somebody That I Used to Know - Walk off the Earth (Gotye - Cover)  วิดีโอคัฟเวอร์เพลง Somebody That I Used To Know ของโกทีเย (Gotye) โดยวง Walk off the Earth จากแคนาดา โดยมีการใช้นักดนตรี 5 คนในการเล่นกีต้าร์ 1 ตัว

อันดับสาม ได้แก่ KONY 2012  สารคดีขนาดยาว 30 นาทีที่มีคนแชร์ต่อมากที่สุดในโลก วิดีโอนี้จัดทำโดยกลุ่ม Invisible Children ซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงและมีผู้ให้ความสนใจชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน

อันดับสี่ ได้แก่  "Call Me Maybe" by Carly Rae Jepsen - Feat. Justin Bieber, Selena, Ashley Tisdale & MORE!  คลิปลิปซิงก์เพลง Call Me Maybe ของคาร์ลี เรย์ เจพเซ่น โดยจัสติน บีเบอร์ เซเลนา โกเมซ และเพื่อนๆ ซึ่งทำให้เพลงนี้กลายเป็นเพลงฮิตเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา

อันดับห้า ได้แก่ Barack Obama vs Mitt Romney. Epic Rap Battles Of History Season 2.  คลิปเพลงแร็พล้อเลียนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2012 ระหว่างบารัก โอบามาและมิต รอมนีย์

อันดับหก ได้แก่ A DRAMATIC SURPRISE ON A QUIET SQUARE  คลิปโฆษณาจาก TNT ช่องทีวีของเบลเยียม โดยทีมงานวางปุ่มแดงกลางจัตุรัสเมืองเฟลมิช รอให้คนมากดและเกิดฉากแอคชั่นขึ้นมากมาย

อันดับเจ็ด ได้แก่ WHY YOU ASKING ALL THEM QUESTIONS? .. #FCHW   คลิปของเอ็มมานูเอล ฮัดสัน ร่วมกับ Spoken Reasons คนดังบนยูทูบ ร้องเพลงแร็พบ่นเรื่องที่แฟนสาวมักจะถามอยู่ตลอด เช่นว่า ไปไหน กับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ จริงเหรอ?

อันดับแปด Dubstep Violin- Lindsey Stirling- Crystallize  คลิปของ ลินเซย์ สเตอริง นักไวโอลินชาวอเมริกัน ซึ่งแสดงไวโอลิน บวกกับการเต้น dubstep ท่ามกลางภูเขาน้ำแข็ง

อันดับเก้า Facebook Parenting: For the troubled teen. คลิปที่ชายคนหนึ่งทำเพื่อแก้แค้นลูกสาว โดยหลังจากอ่านข้อความของลูกสาววัย 15 ปี ซึ่งโพสต์บ่นเรื่องงานบ้านที่เธอต้องทำและความยุ่งยากที่พ่อแม่สร้างให้กับชีวิตของเธอบนเฟซบุ๊ก แต่บล็อคไม่ให้เขาเห็น ชายคนดังกล่าวก็ยิงแล็บท็อปของเธอด้วย ปืน .45

อันดับสิบ Felix Baumgartner's supersonic freefall from 128k' - Mission Highlights  คลิปที่เครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดงส่งฟิลิกซ์ บามการ์ทเนอร์ ดิ่งมาจากชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ ที่สูงกว่า 39,045 เมตร

 




ที่มา: http://www.youtube.com/user/theyearinreview

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อนุสนธิ: แรงเงาในแรงเงา

Posted: 18 Dec 2012 08:43 AM PST

1

ผมนึกทบทวนหลายครั้งว่าจะเขียนเรื่องนี้ดีหรือไม่ เพราะว่ามีคนออกมาแสดงความคิดความเห็นอย่างหลากหลายแล้วในมิติต่างๆ อย่างกว้างขวาง และด้วยวิสัย "นักเรียนประวัติศาสตร์" ที่รอให้ฝุ่นผงจางหายแล้วค่อยกลับมาครุ่นคิด (แม้อาจได้คำตอบที่ไม่ดีนัก) และน่าจะเป็นละครแห่งปีก็ว่าได้แม้ว่าผมจะดูบ้างไม่ดูบ้าง เพราะเย็นมามักนั่งคลุกอยู่ไหนสักที่โดยไม่แจ้งก็ตาม (ในที่นี้ผมจะไม่พูดถึงเรื่องย่อ หรือบุคลิกของตัวละครใดๆ ทั้งสิ้น เพราะอนุมานว่าผู้อ่านทราบดีกว่าผู้เขียน)  แต่โลกผ่าน FB ก็คลาคล่ำไปด้วยวลีเด็ดของ "แรงเงา" เช่น "นกไนติ่งเกว" "ผอ. ย่อมาจากอะไร ผัวธัญญา ผัวคนอื่น..." "นานแค่ไหนผมก็รอได้ครับ เพราะ....ผมวางมัดจำไว้แล้ว" "สิ่งที่เห็น...และสิ่งที่เป็น...อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกัน..." "ความรักที่แท้จริงคือการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน" "ผมเป็นคนแรกของคุณ....ฉันขอโทษทีนะคะชั้นไม่ได้นับว่าคนเป็นคนที่เท่าไหร่" (คำคมกระแทกใจในละครแรงเงา 2555)

 

ที่มา: คำคมกระแทกใจในละครแรงเงา 2555

2

เอาละครับทั้งหมดทั้งมวลที่ผมยกออกมาข้างต้นเพื่อจะบอกว่า ละครเรื่องนี้มันอัศจรรย์ยิ่งกว่าอะไรทั้งสิ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา สำหรับผมความน่าอัศจรรย์ คือ ทำไมละครเรื่องนี้ถึงเข้าไปอยู่ในหัวจิตหัวใจคนไทย ได้อย่างล้นเหลือขนาดนั้น ในฐานะคนดูบ้างไม่ได้ดูบ้าง ขอลองตอบสัก 6 ประการ

ประการแรก ผมคิดว่าแรงเงานี้ มันคือ "เงา" ของสังคมไทย (1) ที่สะท้อนให้เห็นโครงสร้างอำนาจที่ลักลั่น ที่แต่ละคนมีอำนาจไม่เท่ากัน  ผ่านตัวแสดงหญิง/ชาย ชาย/หญิง/เกย์/กระเทย ผู้มีศีลธรรม(ดวงตาเห็นธรรม)/ผู้อยู่ในโลกีย  นายทุน/ขุนนางเก่า มาเฟีย/ข้าราชการ ซึ่งมันซับซ้อนในแง่ที่มันเลื่อนไหลถ่ายเทได้  (2) แต่โครงสร้างฐานะทำให้คนเข้าถึงทรัพยากร และอำนาจแตกต่างกัน เช่น ความเป็นเพศที่ 3 ที่ถูกขับเน้นในละครเรื่องนี้ กลับมีสถานะของ "ชายขอบ" ที่เป็น "ตัวตลก" (Joker) หรือคนที่ถูกลดถอนให้เหลือแต่ความหมกมุ่นแต่ในเรื่อง "เพศ" และ "เรื่องของชาวบ้าน" หรือแม้แต่ผู้หญิงก็ถูกทำให้เป็น "เครื่องเล่น"(มุนิน) และสยบยอม เป็นต้น

 (3) ความเป็น "พหุลักษณ์" นี้มันเป็น "สมัยใหม่" ที่ "อัตลักษณ์" ของคน กลุ่ม มีความแปรเปลี่ยน บิดพลิ้ว เลื่อนไหลได้ตามบริบท เอาอย่างบางครั้งก็เป็นสามี วันดีคืนดีเป็นภรรยา อย่าง ผ.อ. เจนภพ บางที่ก็เป็นสามีของมุตา บางทีก็เป็นสามีของนพนภา เป็นเชื้อสายขุนนาง มีภรรยาเป็นแม่ค้า (นายทุน) มีลูกที่เป็นทั้งเกย์ และผู้หญิงที่รักหมดใจ ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ผมว่าตัว ผ.อ. เจนภพ นี้มีความหลากหลายโลดแล่นที่สุดในแง่ที่ความเป็น "พหุลักษณ์" (4) "เงา" ของสังคมชายเป็นใหญ่ที่อย่างไร สังคมไทยก็ยังสลัดไม่หลุดพ้น ดังวลีที่ว่า "ผู้ชายมีหลายเมียเรียก "เมียน้อย" ผู้หญิงมีหลายชายเรียก "มีชู้"" แม้ว่าในปัจจุบันผู้หญิงจะมีการศึกษา หน้าที่การงาน และเป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่สถานะของผู้หญิงไทยก็เสมือนว่าจะ "ด้อย" กว่าชายในหลายมิติ

ประการที่สอง โครงเรื่องหรือตัวละครในตอนกลาง ถึงปลาย เป็นการ "กลับหัวกลับหาง" หรือ "ปฏิวัติ" เพราะแสดงให้เห็นถึงความไม่ "สยบยอม" ต่ออำนาจของมุนิน ซึ่งสัมพันธ์กับบริบทของสังคมไทย ที่มีการลุกขึ้นมาของ "ไพร่"  รวมถึงการ "เปลี่ยน" อำนาจหญิง/ชาย ที่สร้าง "อำนาจ" ของผู้หญิงผ่าน "ความงาม" "มายา" และ "การทำงาน"  เช่น มุนินเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ที่มีการศึกษาสูง มีหน้าที่การงานที่มั่นคง และสามารถเลี้ยงตนเองได้ ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาผู้ชาย ทำให้มี "อำนาจ" และ "อิสระ" ในตัวเองสูง ไม่ต้องอยู่ในมายาภาพชายเป็นใหญ่ในสังคมไทย และที่สำคัญคือ การสร้าง "จริต" ข้างต้นไปกันได้อย่างพอดิบพอดีกับ "บริบท" ของคนไทยที่ลุกขึ้นต่อต้าน ขัดขืนในสังคมไทย

ประการที่สาม "ความลักลั่น" "พร่ามัว" ของละครแรงเงา (1) ที่เสมือนว่าต่อต้าน ขัดขืน ยืนทรนง ต่อวัฒนธรรมไทยอย่างถึงรากถึงโคน อย่างที่ไม่ค่อยมีหนัง หรือละครไทยก่อนหน้านี้กล้าทำ (ผมเห็นมี 2 เรื่องก่อนหน้านี้ คือ แผ่นดินของเรา และดอกส้มสีทอง) แต่ในท้ายที่สุด (2) "วัฒนธรรมไทย" และ "วัฒนธรรมพุทธ" นี้ช่างมีอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างน่าพิศวง มุนินอโหสิกรรมให้นพนภา ผ.อ. และ ฯลฯ นพนภา  ผ.อ. ได้รับผลแห่งกรรมที่ก่อไว้ ครอบครัวคืนดี จบแบบมีสกุลมาก (3) แม้ว่าคนทำผิดกฎหมายอย่างนพนภา ก็ไม่ต้องชดใช้กรรม ผู้มีอิทธิพล นายทุน ต่างหลุดพ้น หลุดรอดกฎหมาย อย่างดาดเดื่อนในสังคมไทย ซึ่งก็เข้ากันได้ดีกับสังคมไทย ที่ "คุกมีไว้ขังคนจนเท่านั้น" อาทิ "มุนินทร์เอาพวงหรีดไปเยี่ยมนพนภา แต่เมื่อเห็นสภาพนพนภาก็เปลี่ยนใจเอาพวงหรีดทิ้งไป แต่เนตรนภิศเห็นเข้ารีบเอาพวงหรีดมาวางใหม่ นพนภาเห็นเข้าอาการยิ่งทรุดลงไปอีก มุนินทร์มีธุระเข้าโรงแรมกับเจ้านาย วีกิจสะกดรอยตามไปและยิ่งเข้าใจผิด จากนั้นก็เห็นมุนินทร์กับอินทีเรียดีไซน์เนอร์เก๊กแมนจึงยิ่งเข้าใจผิดอีก และเข้าไปต่อว่า มุนินทร์โกรธแต่กลับรับสมอ้าง วีกิจเข้าลวนลามเธอ เกิดการตบจูบ ด้วยความรักที่ทั้งคู่มีต่อกัน ทำให้ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กัน" (เรื่องย่อละครแรงเงา 2555) "...เจนภพเสียใจมาก เขาไปบอกนพนภาเล่าเรื่องทั้งหมด เรื่องมุตตาท้อง ฆ่าตัวตาย การแก้แค้นของมุนินทร์ นพนภาได้สติขออโหสิกรรม ทุกคนเดินทางไปงานศพ ขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน วีกิจบอกรักมุนินทร์ขอคืนดี แต่มุนินทร์คิดว่าเป็นแค่ความรับผิดชอบเธอปฏิเสธ มุนินทร์เจอจดหมายขออโหสิกรรมของมุตตาต่อเธอ มุนินทร์ร้องไห้ เพราะมุตตาผู้โง่เขลากลับรู้จักคำนี้ก่อนเธอนานนัก" (เรื่องย่อละครแรงเงา 2555)

 

ที่มา: คำคมกระแทกใจในละครแรงเงา 2555

ประการที่สี่  "อำนาจ" มันกระจายไปตามที่ต่างๆ ไม่มีใครกำหนดทิศทางของอำนาจได้ (ดูเพิ่มใน อานันท์  กาญจนพันธุ์ 2552; รัตนา โตสกุล 2548) ในเรื่องนี้เราจะเห็นว่าตัวละครต่างสร้างอำนาจ หรือบุคลิกของอำนาจได้อย่างหลากหลาย เช่น ผ.อ.เจนภพ สร้างอำนาจจากการเป็นข้าราชการ และผู้บังคับบัญชา สามี พ่อ   มุตา/มุนิน/นก สร้างอำนาจของความเป็นผู้หญิงผ่านมายาสาไถ (ที่มีทั้งดีและไม่ดี) นพนภา (ในความคิดผมถือว่าเป็นตัวละครที่มีสีสันที่สุดอีกตัวหนึ่ง) ที่สร้างอำนาจผ่านความเป็นผู้หญิง เมีย ทุน(เงิน) อำนาจเถื่อน อาทิใช้นักเลงทำร้ายทำลายคู่แข่ง เส้น (นามสกุล/และความเป็นข้าราชการของสามี/การรู้จักเส้นสาย) ในการกำจัด ทำลายคู่แข่ง (มุนิน/มุตา/นก ฯลฯ) "อำนาจ" จึงกระจายไปตาพื้นที่ต่างๆ แล้วแต่ใครจะฉวยใช้ และสร้างพื้นที่ของอำนาจได้มากกว่ากัน

ซึ่งที่สำคัญคือ ในปัจจุบันใครที่คิดว่าผูกขาด "อำนาจ" ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ผูกขาดการนิยาม หรือให้ความหมาย "ความจริง" แบบคนมา "อวย" อย่างมืดฟ้ามัวดินอาจจะคิดผิดแล้วละครับ เพราะ "โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว"

 

ที่มา: คำคมกระแทกใจในละครแรงเงา 2555

ประการที่ห้า ละครไทยมิได้สะท้อนชีวิตจริงของตัวละคร แต่สะท้อนให้เห็นอุดมคติบางอย่างที่เป็นความคาดหวัง ความใฝ่ฝันร่วมกันของคนในสังคมไทย (นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2551) (1) สุดท้าย "ศีลธรรม" "จรรยา" "ความสงบสุข" จะกลับสู่สังคมไทยถ้าเรา "อภัย" "อโหสิกรรม" (2) ความแค้น ให้เก็บไว้และปล่อยมันไปกับสายลม (3)  ความผิดอย่าได้ขุดคุ้ย ปล่อยให้เป็นไปตามกรรม กาลเวลาจะลงทัณฑ์เขาเหล่านั้น "สิ่งที่เห็น...และสิ่งที่เป็น...อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกัน..." "กฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ" "ความรักที่แท้จริงคือการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน" "ฉันรู้แล้วว่าเวรต้องจบด้วยการไม่จองเวร" "กฎข้อแรกของการที่เราจะไม่ทุกข์เลยก็คือ กรรมอะไรก็แล้วแต่ที่จะทำให้เกิดทุกข์ เราก็ไม่ทำ" (คำคมกระแทกใจในละครแรงเงา 2555) เหมือนท่าน ว. วชิรเมธี กำลังโลดแล่นในละครอยู่เลยครับ (4) ผมคิดว่าตัวละครหลายตัวเป็นบุคลาธิษฐานของสังคมไทย เช่น เจนภพที่เป็นผู้ชายเจ้าเสน่ห์ มากเล่ห์หลายเหลี่ยม เจ้าชู้ มีอำนาจ มีเงิน ซึ่งผมคิดว่าผู้ชายไทยหลายๆ คนก็อยากเป็นเหมือน ผ.อ. หรือตัวของของวีกิจ ก็เป็นผู้ชายในฝันของสาวไทย ที่ทั้งหล่อ รวย ดี (แบบซื่อๆ) มุนิน เองก็ถอนรากถอนโคนความเป็นหญิงไทย (แม้ท้ายที่สุดจะจบแบบเซื่องๆ แบบไทยๆ ก็ตาม)

ประการสุดท้าย ผู้เขียนบท/ ผู้กำกับ/ เข้าใจ "เมืองไทยนี้ดี" อย่างถึงรากเพราะสามารถลดทอนปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม หรือพูดง่ายคือ ปัญหาเชิงโครงสร้าง ให้เหลือเพียงปัญหาเชิงศีลธรรม  คือ ปัญหาที่เกิดจากคนบางคนขาดศีลธรรม ไม่มีคุณธรรมเป็นปัญหาของปัจเจก เป็นความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมักได้ ตะกละของตัวบุคคล เศรษฐกิจ สังคมไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการกระทำ หรือพูดง่ายๆ ว่า "ดี/เลวโดยกำเนิด" "เมืองไทยนี้จึงดี" และสงบ (ดู สายชล สัตยานุรักษ์ 2550)

ละเลยเงื่อนไขที่ผลักให้ "เขา" ทำนั้นว่าเกิดจากอะไร นำมาสู่การ "ตีตราทางศีลธรรม" แต่ว่าศีลธรรมอันนั้นใครเป็นผู้กำหนด และกำหนดด้วยวัตถุประสงค์ใด เมืองไทยนี้ดีมักละทิ้ง ลดทอน มองข้าม ซึ่งบางครั้งได้กลายเป็นปัญหาต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง นำมาสู่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างทำอย่างไรก็แก้ไม่ได้ในปัจจุบัน และเราก็สามารถโยนอะไรต่อมิอะไรให้นักการเมืองเป็น "แพะ" ได้อย่างสบายอารมณ์

ท้ายที่สุดผมไม่สรุปว่า "อะไรเป็นอะไร" แต่ที่แน่ๆ สังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้วและไม่มีทางหวนคืน มุตาอาจมีตัวตน แต่คนอย่างนก/มุนิน/ต่อ/ก้อง "...เป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว และไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้ เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลาที่จะสร้างปีศาจเหล่านี้ให้มากขึ้นทุกที ท่านคิดจะทำลายปีศาจตัวนี้ ในคืนวันนี้ต่อหน้าสมาคมชั้นสูงเช่นนี้ แต่ไม่มีทางจะเป็นไปได้… เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา ท่านอาจจะเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ไดบ้างสิ่งบางอย่างชั่วครั้ง ชั่วคราว แต่ท่านไม่สามารถจะรักษาทุกสิ่งทุกอย่างไว้ได้ตลอดไป" (ฟ้าเดียวกัน 2555) "ปีศาจ" ตัวนี้ได้ "ตื่น" และจะเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย และไม่จบแบบ "แรงเงา" อย่างแน่แท้ (แต่ผมก็เดาไม่ออกว่าจะเป็นแบบไหน อาจเหมือนพฤษภาคม 2553 หรือ 2535 หรือ 6 ตุลาคม 2519 หรือ 14 ตุลาคม 2516 ก็เป็นได้ ฯลฯ) 

 

เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม
คำคมกระแทกใจในละครแรงเงา.  [ออนไลน์].  https://www.facebook.com/pages/สืบค้นวันที่ 12/12/2012

ชัยพงษ์ สำเนียง.  วัฒนธรรมเกาหลีแบบไทยๆ.  [ออนไลน์].   http://prachatai.com/m/journal/31884 สืบค้นวันที่ 12/12/2012

นิธิ เอียวศรีวงศ์.  อุดมคติในละครทีวีไทย. มติชนรายสัปดาห์ประจำวันที่ 10-16 กันยายน 2553 ปีที่ 30 ฉบับที่ 1568, หน้า 25-26. สืบค้นจาก http://serichon.org/board/index.php?topic=35948.0 สืบค้นวันที่ 12/12/2012

ฟ้าเดียวกัน.  [ออนไลน์].  ปีศาจแห่งกาลเวลา (บทบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกันปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –ธันวาคม 2555).  http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44081.  สืบค้นวันที่    12/12/2012

รัตนา โตสกุล.  (2548).  มโนทัศน์เรื่องอำนาจ = The concept of power.  กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

เรื่องย่อละคร แรงเงา.  [ออนไลน์].  http://drama.kapook.com/view47325.html.  สืบค้นวันที่    12/12/2012

สายชล  สัตยานุรักษ์.  (2550).  คึกฤทธิ์กับประดิษฐกรรม "ความเป็นไทย เล่ม 1, 2. กรุงเทพฯ: มติชน.

อานันท์ กาญจนพันธุ์.  คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ : จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา.  เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2552.

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: แด่ ว.วชิรเมธี ‘ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชนดีเด่น’

Posted: 18 Dec 2012 08:25 AM PST

 

ภาพจาก http://www.facebook.com/prachatai

 

ภาพข้างบน คืออีกหนึ่งในปฏิกิริยาต่อข่าวที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีมติมอบรางวัล 'ผู้อุทิศตนด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น' แก่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ภาพดังกล่าวสะท้อนความแจ่มชัดในการรับรู้ของสาธารณะว่า ผู้คนรับรู้กันอย่างกว้างขวางว่า ว.วชิรเมธี คือเจ้าของวาทกรรม 'ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน' แต่แทบจะไม่ได้รับรู้กันเลยว่า ว.วชิเรเมธีได้ทำอะไรบ้างที่เป็นการ 'ปกป้องสิทธิมนุษยชน'

หรือหาก ว.วชิรเมธี เคยทำอะไรบ้างเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน แต่การที่ท่านทวิตเตอร์ข้อความ "ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าฆ่าคน" ในคืนวันที่ 9 เมษายน 2553 ก่อนเหตุการณ์นองเลือดที่สี่แยกคอกวัวเพียง 1 วัน ข้อความนี้ที่ออกสู่สาธารณะในสถานการณ์เช่นนั้น ย่อมเป็น 'ตราประทับ' ว่า ว.วชิรเมธีไม่คู่ควรกับรางวัล 'ผู้อุทิศตนด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น' เพราะท่านไม่เคยออกมาขอโทษประชาชนในความผิดพลาดนี้เลยด้วยซ้ำ อีกทั้งในช่วงการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เพิ่งผ่านพ้น ท่านยังออกมาตอกย้ำว่า "กฎหมายบ้านเมืองต้องศักดิ์สิทธิ์" อันเป็นการสอดรับกับแนวทางของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ต้องสลายการชุมนุมด้วย 'กระสุนจริง' เพื่อรักษากฎหมาย

ที่สำคัญชื่อ 'ว.วชิรเมธี' ก็ได้ถูกจดจำในประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนไปแล้วว่า ท่านไม่ใช่ผู้ปกป้องสิทธิของประชาชนที่สละชีวิตเลือดเนื้อต่อสู้กับเผด็จการอำมาตยาธิปไตย ท่านจึงไม่ได้ปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เช่นเดียวกับกิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 6 ตุลา 19

คำแก้ตัวของกิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ ที่ว่า "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป หมายถึงฆ่าลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ใช่ฆ่าคนที่เป็นคอมมิวนิสต์" นั้น ย่อมฟังไม่ขึ้น เพราะนี่เป็นคำแก้ตัวในภายหลังจากที่ก่อนหน้านั้นตนเคยพูดต่อสาธารณะไปแล้วว่า "ฆ่าคนที่ทำลายชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้บุญมากกว่าบาปเหมือนฆ่าปลาแกงใส่บาตรถวายพระ"

เช่นเดียวกันคำแก้ตัวของ ว.วชิรเมธี ทำนองว่าที่พูดประโยค "ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าฆ่าคน ไม่ได้มีเจตนาสนับสนุนความรุนแรง แต่ต้องการกระตุกผู้คนให้รู้คุณค่าของเวลา" ก็ย่อมฟังไม่ขึ้น เพราะท่านพูดคำนี้ออกมาในสถานการณ์ความขัดแย้งที่สื่อเสื้อเหลืองและสื่อหลักกำลังโหมประโคมภาพความรุนแรงของเสื้อแดง และรัฐบาลอภิสิทธิ์กำลังเตรียมสรรพกำลังเพื่อจัดการกับการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดง ปี 2553

แม้สมมติว่า ว.วชิเมธี ไม่ได้มีเจตนาสนับสนุนความรุนแรงดังที่กล่าวจริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโดยเจตนาเช่นนั้นจะทำให้การกระทำนั้นไม่ใช่เป็นความผิดพลาดและไม่ควรขอโทษประชาชน เพราะ 'เจตนา' ของท่านไม่สามารถควบคุม 'ความหมาย' ของวาทกรรทประดิษฐ์ที่ตนเองเสนอออกไปในท่ามกลางสถานการณ์ที่พระควรจะเตือนสติมากกว่าจะไปพูดอะไรที่หมิ่นเหม่ต่อการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงกว่าเดิม

ปัญหาของ ว.วชิรเมธี (หรือพระสงฆ์และชาวพุทธส่วนมาก) คือการคิดว่าที่ตนเองออกมาแสดงทัศนะทางการเมือง วิจารณ์การเมือง หรือกระทั่งออกมาชุมนุมทางการเมืองล้วนแต่เป็นการกระทำจาก 'เจตนาดี' เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม หรือเพื่อชาติบ้านเมืองทั้งสิ้น ทว่าเจตนาดีดังกล่าวย่อมไม่อาจถือเป็นข้ออ้างที่ชอบธรรมในการปฏิเสธความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่ได้กระทำลงไปได้

ความผิดพลาดของ ว.วชิรเมธี ที่เห็นได้ชัดในช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา เช่น

1) การแสดงออกชัดแจ้งถึงความเป็นผู้มี 'สองมาตรฐานทางจริยธรรม' โดย ว.วชิรเมธี แสดงความเห็นผ่านข้อเขียน ผ่านสื่ออย่างสม่ำเสมอว่า นักการเมืองไร้จริยธรรม ทุจริตคอรัปชัน แม้ว่านี่จะเป็นความเห็นที่พระแสดงออกได้เพื่อเตือนสตินักการเมือง

แต่หากพระเห็นว่า 'ความไร้จริยธรรม' หรือการทุจริตของชนชั้นปกครองเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง พระก็ต้องรู้ว่าชนชั้นปกครองไม่ได้มีเฉพาะนักการเมืองเท่านั้น ฉะนั้น การที่พระตำหนิเฉพาะคนระดับนักการเมืองลงมาว่าไร้จริยธรรม หรือ 'ทุนนักการเมือง' เป็นทุนสามานย์ แต่ไม่เคยตั้งคำถาม ไม่เคยวิจารณ์ 'ทุนอำมาตย์' ว่าไร้จริยธรรม ทุจริตคอร์รัปชันหรือไม่ ซ้ำยังยกย่องความสูงส่งทางศีลธรรมของฝ่ายอำมาตย์ และพยายามหาเหตุผลมาอธิบายว่า การทำรัฐประหารของฝ่ายอำมาตย์เป็นความชอบธรรม เพราะต้นเหตุมาจากนักการเมืองโกง มันจึงเป็นไปตามเหตุปัจจัยแห่ง 'กฎอิทัปปัจจยตา' เป็นต้น

นี่คือ 'สองมาตรฐานทางจริยธรรม' ของ ว.วชิรเมธี และยังแสดงออกถึงการขาด 'ความกล้าหาญทางจริยธรรม' อย่างที่ตนเองชอบสอนชาวบ้านอีกด้วย

2) บทบาทการวิจารณ์นักการเมืองว่าไร้จริยธรรมแต่ละเลยที่จะพูดถึงปัญหาจริยธรรมของระบบอำมาตย์ และซ้ำยังการอวยอำมาตย์ว่าสูงส่งสมบูรณ์พร้อมทางจริยธรรมอย่างไร้ที่ติ นอกจากจะแสดงให้เห็นถึง 'สองมาตรฐานทางจริยธรรม' ดังกล่าว ยังเป็นการสนับความเข้มแข็งของโครงสร้างอำนาจที่กดทับ และเป็นอุปสรรคของการพัฒนาประชาธิปไตยอีกด้วย

อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าว (ในการเสวนาที่ The Reading Room เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.นี้) ว่า "ประชาธิปไตยมันต้องสร้างกติกากลางที่ free and fair กับทุกคนให้ได้ก่อน จากนั้นประชาธิปไตยมันจะนำไปสู่ทุนนิยม รัฐสวัสดิการ หรือสังคมนิยมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่"

บทบาทของ ว.วชิรเมธี (พระสงฆ์ส่วนมากและสันติอโศก) ที่มี 'สองมาตรฐานทางจริยธรรม' และทำตัวเป็นกระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อทางจริยธรรมแก่ระบบอำมาตย์ คือบทบาทที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้าง 'กติกากลางที่ free and fair กับทุกคน' จึงเป็นบทบาทที่ขัดขวางความเป็นประชาธิปไตยในระดับรากฐาน

เมื่อประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนเป็นเนื้อเดียวกัน บทบาททั้ง 1) และ 2) ของ ว.วชิรเมธี จึงไม่ใช่บทบาทของ 'ผู้อุทิศตนด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น' แต่อย่างใด

แต่ผมก็ไม่แปลกใจว่า ทำไมกรรมการสิทธิฯชุดนี้จึงมีมติมอบรางวัลดังกล่าว แก่ ว.วชิรเมธี เพราะอย่างที่สังคมประจักษ์กันชัดแจ้งว่า กรรมการสิทธิฯ ชุดนี้ก็ไม่สนับสนุนหรือ 'เคารพ' การต่อสู้ของประชาชนเพื่อสร้าง 'กติกากลางที่ free and fair กับทุกคน' หรือสร้างกติกาประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนขึ้นในประเทศนี้อย่างจริงจังอยู่แล้ว!

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เยอรมนีสั่ง 'เฟซบุ๊ค' ยกเลิกนโยบายระบุชื่อจริง

Posted: 18 Dec 2012 08:16 AM PST

หน่วยงานคุ้มครองข้อมูลของรัฐชเลสวิก-โฮลชไตน์ ประเทศเยอรมนี ออกคำสั่งเรียกร้องให้เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ก 'เฟซบุ๊ค' ยกเลิกนโยบายให้ผู้ใช้ระบุชื่อจริง เนื่องจากขัดกับกฏหมายการคุ้มครองข้อมูลของเยอรมนี

18 ธ.ค. 2012 - หน่วยงานคุ้มครองข้อมูลของประเทศเยอรมนีสั่งให้เฟซบุ๊คยกเลิกนโยบายที่ต้องให้ผู้ใช้ระบุชื่อจริง โดยให้เหตุผลว่านโยบายดังกล่าวละเมิดกฏหมายของเยอรมนีที่ให้สิทธิ์แก่ประชาชนในการใช้นามแฝงในอินเตอร์เน็ต

ทางหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลของเยอรมนีได้ออกคำสั่งเรียกร้องให้เฟซบุ๊คอนุญาตให้มีการใช้ชื่อปลอมโดยทันที

ธีโล ไวเชิร์ท ประธานหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลประจำรัฐชเลสวิก-โฮลชไตน์ กล่าวในแถลงการณ์ว่า มันเป็นเรื่องยอมรับไม่ได้ที่ผู้ให้บริการช่องทางข้อมูลอย่างเฟซบุ๊คละเมิดกฏหมายการคุ้มครองข้อมูลของเยอรมนีอย่างไม่มีการท้วงติงใดๆ และไม่มีท่าทีว่าจะจบสิ้น

ไวเชิร์ท บอกอีกว่าการใช้นามแฝงในเฟซบุ๊คเป็นสิ่งที่มีเหตุผลสมควร และทำให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้โดยไม่ค้องเกรงกลัวต่อผลกระทบอันไม่พึงประสงค์ เขาบอกอีกว่าเฟซบุ๊คมีนโยบายให้คนใช้ชื่อจริงมายาวนาน แต่ไม่ได้ทำอะไรซึ่งเป็นการปกป้องผู้ใช้จากการกล่าวล่วงเกินหรือช่วยยับยั้งการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวบุคคล

หน่วยงานคุ้มครองข้อมูลประจำรัฐชเลสวิก-โฮลชไตน์ กล่าวว่าหากการเรียกร้องต่อเฟซบุ๊คเป็นผลสำเร็จ หน่วยงานคุ้มครองข้อมูลในส่วนอื่นๆ ของประเทศเยอรมนีก็อาจจะนำแนวทางนี้ไปใช้ โดยที่เฟซบุ๊คมีเวลาอีกสองสัปดาห์ในการคัดค้านคำประกาศในศาลของเยอรมนี

ทางด้านโฆษกของเฟซบุ๊คบอกว่า คำสั่งของหน่วยงานของเยอรมนีเป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์ สิ้นเปลืองภาษีของยาวเยอรมัน และพวกเขาจะต่อสู้อย่างแข็งขัน นอกจากนี้ยังยืนยันว่านโยบายระบุชื่อจริงเป็นไปตามกฏการคุ้มครองข้อมูลของยุโรป


เรียบเรียงจาก

Germany orders changes to Facebook real name policy, BBC, 18-12-2012


German privacy regulator orders Facebook to end its real name policy, ITworld, 17-12-2012
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปัจฉิมบท: สันติภาพที่ปลายอุโมงค์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

Posted: 18 Dec 2012 08:12 AM PST

DSJ ได้นำเสนอรายงานความยาว 6 ตอนเพื่ออธิบายที่มาที่ไป ความคิดและการปฏิบัติการของขบวนการเอกราชปาตานี รวมถึงได้สะท้อนสิ่งที่ภาคส่วนอื่นๆ มองขบวนการ โดยมุ่งหวังว่าความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้จะนำไปสู่การวางนโยบายต่อการแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีทิศทาง มีเอกภาพและตรงประเด็นมากขึ้น  
 
ในบทสรุป  ทาง DSJ ทดลองประมวลข้อเสนอทางนโยบาย 6 เรื่องฝากให้ผู้กำหนดนโยบายได้พิจารณา
 
ประการแรก ความเห็นของหลายฝ่ายที่ DSJ ไปสัมภาษณ์มองตรงกันว่าเรื่องการพูดคุยกับขบวนการเอกราชปาตานีเป็นเรื่องสำคัญในการยุติความรุนแรง ที่ผ่านมา แม้จะมีความพยายามจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศในการเชื่อมประสานการพูดคุยระหว่างรัฐกับขบวนการ  แต่ความไม่มีเสถียรภาพของการเมืองไทยได้เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การดำเนินการในเรื่องนี้ต้องสะดุดอยู่ตลอดเวลา  เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล ทิศทางการดำเนินการในเรื่องนี้ก็ถูกเปลี่ยนไปด้วย 
 
เอกภาพระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการดำเนินการเรื่องการพูดคุยก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ ในขณะนี้ดูเหมือนจะมีพัฒนาการไปในทิศทางบวกมากขึ้น  หลังจากที่สมช. ได้จัดทำ "นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557"  ตามพรบ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555  ที่ผ่านมา วัตถุประสงค์หนึ่งในนโยบายนี้ระบุว่ารัฐมีหน้าที่ "สร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพูดคุยในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและการให้หลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ"  ซึ่งต่อมาทางกอ.รมน. และศอ.บต. ได้นำนโยบายนี้ไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายการทำงานในระดับปฏิบัติการ
 
ประการที่สอง  การส่งเสริมในเรื่องการดำรงรักษาอัตลักษณ์และวิถีวัฒนธรรมของคนมลายูมุสลิมจะช่วยลดเงื่อนไขในการต่อสู้กับรัฐ  และเป็นการลดความรู้สึกหวาดระแวงและเกลียดชังรัฐ  สิ่งสำคัญอยู่ที่การปรับวิธีคิดของรัฐต่อเรื่องนี้ให้สามารถยอมรับได้ว่าการอนุญาตให้คนกลุ่มน้อยดำรงรักษาภาษา วัฒนธรรมและศาสนาของตนเองซึ่งแม้แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในชาติ ไม่ได้กระทบต่อความมั่นคงของชาติแต่อย่างใด  รัฐสามารถดำเนินการผ่านโครงการที่เป็นรูปธรรม  เช่น ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษามลายูในโรงเรียนของรัฐ   การอนุญาตให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาทำงานในพื้นที่  
 
ประการที่สาม  ทุกฝ่ายควรจะร่วมกันสร้างพื้นที่การถกเถียงทางการเมืองอย่างสันติวิธีให้เป็นเวทีการต่อรองทางอำนาจที่มีความหมาย   หากทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับพื้นที่นี้ก็จะส่งผลให้ความชอบธรรมของการต่อสู้ด้วยอาวุธลดลง    พื้นที่นี้ควรเปิดกว้างให้มีการอภิปรายถกเถียงได้ในทุกๆ เรื่อง แม้กระทั่งเรื่องเอกราช  ตราบใดที่ยังคงเป็นการเคลื่อนไหวอย่างสันติวิธี
 
ประการที่สี่  รัฐควรจะให้ผู้นำศาสนาในปอเนาะและสถาบันศาสนาในท้องถิ่นเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้  ควรเปิดให้มีการพูดคุยในประเด็นที่อึดอัดคับข้องใจของชาวมลายูมุสลิม  รวมถึงให้มีการถกเถียงถึงการตีความหลักการศาสนาอิสลามในประเด็นต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน  
 
ประการที่ห้า รัฐควรจะให้น้ำหนักในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งระบบ ทั้งภาครัฐและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมากขึ้น โดยมุ่งทำให้การเรียนการสอนมีมาตรฐานและทำให้เกิดสมดุลระหว่างการศึกษาวิชาสามัญและศาสนาซึ่งเป็นความต้องการของชาวมลายูมุสลิมในพื้นที่  กระทรวงศึกษาธิการควรมีบทบาทนำอย่างจริงจังในเรื่องนี้ โดยอาจจะให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อยกร่างโมเดลการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบในจังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยในกระบวนการนี้ควรจะพยายามให้ผู้นำและประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมให้มากที่สุด  และไม่ควรเป็นนโยบายที่ถูกกำหนดมาจากข้าราชการจากส่วนกลาง
 
ประการที่หก  รัฐควรจะส่งเสริมการการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม  ข้อมูลในการทำรายงานพิเศษชุดนี้ชี้ให้เห็นว่าคนที่เข้าร่วมขบวนการจำนวนหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐและคนต่างศาสนาน้อย  ความไม่รู้จักทำให้เกิดความหวาดระแวง  กระทั่งความเกลียดชัง สายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนต่างศาสนาจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนในชายแดนภาคใต้  
 
สุดท้าย  DSJ อยากจะฝากคำถามบางประการไปยังขบวนการเอกราชปาตานี  เราอยากจะเห็นขบวนการทบทวนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการต่อสู้   เราตั้งคำถามว่าข้อเรียกร้องเรื่องเอกราชจะเป็นประโยชน์มากน้อยเพียงใดต่อคนปาตานีในบริบทโลกยุคโลกาภิวัตน์และขบวนการจะเดินไปสู่เป้าหมายทางการเมืองนั้นด้วยวิถีทางใด  การเลือกใช้วิถีความรุนแรงในการต่อสู้ ที่แม้จะมีความพยายามเลือกและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผู้บริสุทธิ์ที่ต้องสูญเสียในความขัดแย้งนี้จำนวนมาก  การใช้ยุทธวิธีทางการทหารเช่นนี้ต่อไป จะเป็นการลดความชอบธรรมในสายตาของผู้ที่เห็นด้วยหรือเห็นอกเห็นใจต่อเป้าหมายทางการเมืองของขบวนการหรือไม่ การเดินหน้าด้วยการทหาร โดยไม่ปรากฏถึงความก้าวหน้าในทางการเมืองอย่างชัดเจนและท่ามกลางความสูญเสียที่ไม่จบสิ้น  ทำให้เกิดคำถามว่าในที่สุดขบวนการต้องการจะสร้างสังคมประเภทใดในพื้นที่ที่เคยเป็นอาณาจักรปาตานีแห่งนี้ การพูดคุยกับรัฐไทยน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแสวงหาทางออกของความขัดแย้งนี้ร่วมกัน
 
 
 
หมายเหตุ รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช  เป็นอดีตนักวิเคราะห์ของ International Crisis Group    ปัจจุบัน เธอกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทด้านทฤษฎีการจัดการความขัดแย้งที่ King's College London และเป็นที่ปรึกษาของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้  การจัดทำรายงานพิเศษเรื่อง "ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี" ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
 
 
อ่านย้อนหลังรายงานพิเศษชุด "ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคชวนประกวดสปอตโทรทัศน์ชิงเงินแสน

Posted: 18 Dec 2012 07:49 AM PST

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประกวดสปอตโทรทัศน์ หัวข้อ "ให้ความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคเดี๋ยวนี้ Consumer Justice Now" หวังให้ข้อมูลกับผู้บริโภคได้รู้สิทธิ์และผลักดัน กม.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

โดยการประกวดครั้งนี้นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า ขอชวนนิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ร่วมประกวดสปอตโทรทัศน์ ความยาว 30 วินาที และ 60 วินาที

"การจัดประกวดครั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไป ตื่นตัวการใช้สิทธิผู้บริโภค เพราะปัจจุบันแม้จะมีหน่วยงาน และกฎหมายในการดูแลสิทธิผู้บริโภคหลายฉบับ แต่ปัญหาเดิมๆ ทั้งถูกหลอกถูกโกง  ซื้อของใช้บริการแล้วไม่ได้ดั่งโฆษณา ถูกหลอกถูกต้มจนเปื่อย การออกมาใช้สิทธิแต่ละครั้งก็ต้องไปหน่วยงานนั้น หน่วยงานนี้

รัฐธรรมนูญเห็นช่องโหว่ตรงนี้ จึงกำหนดไว้ในมาตรา 61 ว่าให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ เป็นความหวังของผู้บริโภคไทย ถึงแม้รัฐธรรมนูญจะเขียนไว้ แต่ก็ต้องมีการออกกฎหมายมารองรับด้วย ที่ผ่านมาประชาชนมากกว่า 1 หมื่นคนได้ช่วยกันลงชื่อเพื่อเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา  ตอนนี้ ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค  อยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.นักการเมือง  เสียงส่วนใหญ่ยังไม่ยอมยกขึ้นมาพิจารณา และบางส่วนต้องการรื้อกฎหมายทั้งฉบับและไม่ให้ตรวจสอบภาคธุรกิจเอกชน   ไม่ให้เปิดเผยชื่อสินค้าที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค   โดยอ้างว่าหากไม่แก้ไขตามความเห็นกฎหมายอาจไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา  การจัดประกวดสปอตโทรทัศน์น่าจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้คนทั่วไปได้เห็นความสำคัญถึงการมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค" เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าว

สำหรับขึ้นตอนการจัดประกวดครั้งนี้ มีเงือนไขการส่งประกวดดังนี้
- พบปะ พูดคุยเพื่อเตรียมเนื้อหา วันที่ 12 มกราคม 2556 ณ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
- ส่งเค้าโครง และ Story board ภายในวันที่ 21 มกราคม 2556 (คัดเลือก 20 ทีม พร้อมเงินรางวัลในการจัดทำสปอตโฆษณา จำนวน 5,000 บาท)
- ส่งสปอตโฆษณา ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 จำนวน 2 ชิ้น ความยาวไม่เกิน 30 วินาทีและ 60 วินาที
- ประกาศรางวัลสปอตยอดเยี่ยมวันที่ 15 มีนาคม 2556 วันสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumers' Right Day)
- หมดเขตรับสมัคร 5 มกราคม 2556

รางวัลสำหรับผู้เข้าประกวด  เงินรางวัลที่ 1 :50,000 บาท  เงินรางวัลที่ 2 : 30,000 บาท  และเงินรางวัลที่ 3 : 10,000 บาท 

การสมัครนั้น  Download ใบสมัครทาง www.consumerthai.org   ส่งใบสมัครมาทางไปรษณีย์ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ประกวดสปอตโทรทัศน์) เลขที่ 4/2 ซอยวัฒนโยธิน แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400 หรือแฟกซ์ใบสมัครมาที่ 02-2483733  หรือสมัครผ่านอีเมล์ supatra.nuch@gmail.com

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม นางสาวสุพัตรา  จันทร์เรือง  โทรศัทพ์ สอบถามรายละเอียด โทร. 08-7554-6730 Email -supatra.nuch@gmail.com , www.facebook.com/fconsumerthai และ www.consumerthai.org

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘เจ้าของรางวัลแมกไซไซ’ หายตัวกลางกรุงเวียงจันทน์ เอ็นจีโอไทย-เทศร้องรัฐบาลลาวสืบหาตัว

Posted: 18 Dec 2012 06:41 AM PST

เอ็นจีโอไทยและระหว่างประเทศกว่า 60 องค์กร ร่วมลงนามในจดหมายส่งถึงรัฐบาลลาว พร้อมสำเนาถึงเลขาธิการอาเซียน สถานกงสุลและสถานทูตนานาชาติ ร้องตามหา'นายสมบัด สมพอน' นักพัฒนาอาวุโสของลาว เจ้าของรางวัลแมกไซไซ หายตัวลึกลับ

 
วันนี้ (18 ธ.ค.55) คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป. อพช.) พร้อมด้วยเครือข่ายภาคประชาสังคมไทยและระหว่างประเทศกว่า 60 องค์กร ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกส่งถึง รัฐมนตรีว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงภายใน รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคง เจ้าแขวงกำแพงนครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กรณีการหายตัวไปของ นายสมบัด สมพอน (Sombath Somphone) นักพัฒนาอาวุโสของลาว เจ้าของรางวัลแมกไซไซ ปี พ.ศ.2548

อีกทั้งมีการสำเนาถึง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน สถานกงสุล และสถานทูต ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดเนเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลี สวีเดน ไทย และสหรัฐอเมริกา ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
 
จากเหตุการณ์ที่ นายสมบัด หายตัวไป ระหว่างการขับรถกลับบ้านพักในกรุงเวียงจันทน์ ในช่วงระหว่าง 17.00-18.00 น.ของวันเสาร์ที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา และหลังจากมีการติดตามสถานการณ์แล้วไม่ปรากฏความเคลื่อนไหวใดๆ ภาคประชาสังคมจึงมีการจัดทำจดหมายเปิดผนึก เพื่อสนับสนุนให้มีการสืบค้นหาตัวนายสมบัดโดยเร็วที่สุด
 
นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์ได้มีการประสานไปทางภรรยาของนายสมบัด ทราบว่าเธอได้ยื่นหนังสือสอบถามไปยังผู้ใหญ่ในรัฐบาลลาวแล้ว และได้รับการยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมบัด เมื่อรัฐบาลลาวได้ยืนยันแล้วเช่นนี้ ทางเครือข่ายภาคประชาสังคมไทยจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลร่วมสืบค้นหาตัวนายสมบัดให้ได้โดยเร็ว
 
นอกจากนั้น การจัดทำจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแจ้งให้รัฐบาลลาวได้รู้ว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่เครือข่ายภาคประชาสังคมในภูมิภาคนี้ให้ความสนใจจับตามองและต้องการเห็นความคืบหน้า ซึ่งนอกจากจดหมายเปิดผนึกของเครือข่ายภาคประชาสังคมไทยแล้ว ขณะนี้ยังมีการจัดทำจดหมายในกรณีเดียวกันนี้ซึ่งเป็นการล่ารายชื่อจากองค์กรประชาสังคม องค์กรสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอีกฉบับหนึ่งด้วย
 
นางสุนทรี กล่าวด้วยว่าการหายตัวไปของนายสมบัดได้สร้างความหวั่นวิตกให้เกิดขึ้นต่อองค์กรภาคประชาสังคมในวงกว้าง เนื่องจากนายสมบัดถือเป็นนักพัฒนาอาวุโสซึ่งเป็นที่รู้จักของหลายองค์กรทั้งในไทยและภูมิภาค เคยร่วมงานกับหลายๆ องค์กร และที่ผ่านมาการจัดกิจกรรมของภาคประชาชนใน สปป.ลาวก็มีนายสมบัดช่วยเหลือเป็นผู้อำนวยการให้ เช่นล่าสุดในการจัดประชุมของภาคประชาชน (Asia-Europe Peoples Forum: AEPF) คู่ขนานกับการประชุม ASEM หรือ Asia-Europe Meeting ครั้งที่ 9 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมาก็มีนายสมบัติเป็นกำลังสำคัญในการจัดงาน
 
ส่วนประเด็นที่อาจเป็นมูลเหตุการหายตัวไปของนายสมบัดนั้น นางสุนทรีกล่าวว่าในส่วนของภาคประชาสังคมก็มีการตั้งคำถามกันในหลายประเด็น เช่นแนวคิดต่อการพัฒนาเป็นต้น ทั้งนี้ โดยในส่วนภรรยาของนายสมบัดเองก็ยืนยันว่าสามีไม่มีความขัดแย้งในประเด็นส่วนตัวอื่นๆ อย่างไรก็ตามภาคประชาสังคมไทยจะติดตามเรื่องนี้ต่อไป เพราะกรณีที่เกิดขึ้นถือเป็นการคุกคามสิทธิมนุษยชนต่อผู้ที่ทำงานเพื่อสังคมด้วย
 
ในจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวระบุข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลาวดำเนินมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับการหายตัวไปของ นายสมบัด โดยองค์กรภาคประชาสังคม และนักวิชาการซึ่งร่วมลงชื่อจะรอรับข้อมูลความพยายามในการเร่งรัดสืบค้นติดตามการหายตัวไป เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทางที่ดี
 
"พวกเราหวังว่าท่านสมบัดยังคงปลอดภัยและสามารถกลับมาสานต่อภารกิจที่ยังคั่งค้าง ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมและเป็นกำลังใจให้กับคนที่ร่วมทำงานในภารกิจเดียวกันนี้เท่านั้น แต่เพื่อผู้คนที่ต้องการสร้างโลกนี้ให้ดีขึ้นสำหรับพวกเราทุกคน" เนื้อความในจดหมายตอนหนึ่งระบุ
 
 
นอกจากนั้น การหายตัวไปของนายสมบัดยังได้สร้างกระแสความเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ โดยมีการเผยแพร่และส่งต่อภาพของเขารวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาษาลาว ผ่านทางเฟซบุ๊ก ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.55 โดยบุคคลที่ใช้ชื่อว่า Xaysomphone Phaypadith ซึ่งล่าสุด (เวลา 19.30 น.วันที่ 18 ธ.ค.55) มีการแชร์ดังกล่าว1,647 ครั้ง
 
ทั้งนี้ นายสมบัด เป็นผู้ก่อตั้งองค์กร Participatory Development Training Centre (PADECT) และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้บุกเบิกและอุทิศตนให้กับงานพัฒนาสังคมในประเทศลาว โดยเฉพาะงานด้านการศึกษา มาเป็นเวลายาวนานหลายทศวรรษจนได้รับรางวัล "รามอนแมกไซไซ" ปี 2005 (พ.ศ.2548) ด้านบริการชุมชน ปีเดียวกับ จอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับรางวัลในด้านบริการภาครัฐด้วย
 
ผู้สื่อข่ายรายงานว่าจนถึงขณะนี้การหายตัวของนายสมบัด ยังไม่ทราบถึงสาเหตุและผู้ที่กระทำการอย่างแน่ชัด
 
จดหมายเปิดผนึกดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้
 
 
 
 
 
18 ธันวาคม 2555
 
เรียน:
 
รัฐมนตรีว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี
ประธานสภาแห่งชาติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงภายใน
รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคง
เจ้าแขวงกำแพงนครเวียงจันทน์
กำแพงนครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 
สำเนาถึง:
 
ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน
สถานกงศุล และสถานทูต ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมันนี อินเดีย อินโดเนเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลี สวีเดน ไทย และสหรัฐอเมริกา ณ กรุงเวียงจันทน์
 
 
เรื่อง ขอให้สืบสวนเรื่องการหายตัวไปของ ท่านสมบัด สมพอน โดยด่วนที่สุด
 
เมื่อวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา เราได้รับแจ้งถึงการหายตัวไปของท่านสมบัด สมพอน ผู้ก่อตั้ง 'ศูนย์ฝึกอบรมฮ่วมพัฒนา' (Participatory Development Training Centre [PADECT]) ผู้เป็นเจ้าของรางวัล 'รามอนแมกไซไซ' ปี 2548 ซึ่งเป็นนักคิดอาวุโสที่ได้รับความเคารพอย่างยิ่งในฐานะผู้ทำงานช่วยเหลือด้านการพัฒนาสังคมมาโดยตลอด การหายตัวไปของท่านสมบัด สมพอน เกิดขึ้นเมื่อตอนเย็นของวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม กลางนครเวียงจันทน์ ขณะกำลังขับรถจากที่ทำงานเพื่อกลับบ้าน ผู้คนที่รู้จักท่านสมบัด ที่อยู่ในประเทศไทยต่างตกใจและห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของท่านสมบัดในทันทีที่ได้รับทราบข่าว
 
ประชาชนในสังคมไทย อาเซียน และนานาประเทศ ต่างตระหนักรับรู้ถึงบทบาทของท่านสมบัด ในฐานะผู้บุกเบิกและอุทิศตนให้กับงานพัฒนาสังคมในประเทศลาว ความมุมานะที่ทุ่มเทให้กับการยกระดับด้านการศึกษาเพื่อผู้คนมานับทศวรรษ ซึ่งเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงกับประชาชนมากมายในประเทศของท่าน รางวัลรามอนแมกไซไซด้านบริการชุมชนที่ท่านได้รับนั้นเป็นเครื่องพิสูจน์คุณค่าและอิทธิพลอันสำคัญถึงผลงานของท่านที่มีต่อประชาชนในประเทศผู้ต้องการโอกาสทางการพัฒนาและการศึกษา ยิ่งไปกว่านั้น ความตั้งใจจริงในการทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนในประเทศของท่านเอง เป็นสิ่งที่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับหลายๆ คนในนอกประเทศเช่นพวกเรา
 
ดังนั้น พวกเรา องค์กรภาคประชาสังคม และนักวิชาการในประเทศไทย ขอเรียกร้องให้รัฐบาลลาวดำเนินมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับการหายตัวไปของท่านสมบัด พวกเรารอรับฟังความถึงความพยายามในการเร่งรัดสืบค้นติดตามการหายตัวไป เพื่อให้แน่ใจว่า ทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทางที่ดี
 
ท้ายที่สุดนี้ พวกเราหวังว่าท่านสมบัดยังคงปลอดภัยและสามารถกลับมาสานต่อภารกิจที่ยังคั่งค้าง ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมและเป็นกำลังใจให้กับคนที่ร่วมทำงานในภารกิจเดียวกันนี้เท่านั้น แต่เพื่อผู้คนที่ต้องการสร้างโลกนี้ให้ดีขึ้นสำหรับพวกเราทุกคน
 
ด้วยความนับถือ
 
กลุ่มรักษ์เขาชะเมา
กลุ่มรักษ์เชียงคาน
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
กลุ่มศึกษาปัญหายา
กลุ่มศึกษาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นธรรม
กลุ่มสื่อเสียงคนอีสาน (ISAN voice)
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (PMove)
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน
คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม
คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
เครือข่ายคนไทยไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จังหวัดสุรินทร์
เครือข่ายปฎิรูปที่ดินภาคเหนือ
เครือข่ายประชาชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง
เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชัวมวล อุบลราชธานี
เครือข่ายผู้หญิงอีสาน
เครือข่ายพลังงานยั่งยืน จังหวัดสุรินทร์
เครือข่ายพลังงานยั่งยืนจังหวัดสุรินทร์
เครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่น อุบลราชธานี
เครือข่ายสลัมชุมชน
โครงการทามมูล
โครงการทามมูล
โครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต
พรศิริ ชีวะวัฒนานุวงศ์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
มูลนิธิเกษตรยั่งยืน
มูลนิธิชีววิถี (Biothai)
มูลนิธิชุมชนอีสาน
มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)
มูลนิธิพัฒนาภาคชุมชน
มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน
มูลนิธิพัฒนาอีสาน (NET)
มูลนิธิพัฒนาอีสาน/งานพลังงานและสิ่งแวดล้อม
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
มูลนิธิเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์
เครือข่ายผู้หญิงปกป้องสิทธิที่ดินทำกิน จ.เพชรบูรณ์
ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติธรรม
ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์
เครือข่ายผู้หญิงปกป้องสิทธิที่ทดินทำกิน จ.เพชรบูรณ์
ศูนย์ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนภาคอีสาน
สถาบันการจัดการทางสังคม
สถาบันบ่มเพาะจิตสู่การแปรเปลี่ยนสังคม
สภาการศึกษาทางเลือกไทย
สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูน
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
สำนักข่าวประชาธรรม
โฮงเฮียนสืบสาน
ASEAN WATCH- Thailand
International Network of Engaged Buddhists (INEB)
School for Wellbeing Studies and Research
ThaiDhhra
Thai-Water Partnership
The Collaboration for the Young Generation in Mekong Region
The Creative Youth Group
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพแรงงานใน จ.ลำพูน เสนอมาตรการป้องกันนโยบายค่าจ้าง 300 บาทถูกบิดเบือน

Posted: 18 Dec 2012 04:17 AM PST

ประธานสหภาพแรงงาน 2 แห่งที่ จ.ลำพูน เสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการตรวจสอบนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท มีมาตรการป้องกันไม่ให้นายจ้างนำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง หรือลดสวัสดิการเดิม และให้รัฐบาลมีนโยบายปรับค่าจ้างตามส่วนต่างให้กับคนงานที่มีอายุการทำงานมานานด้วย

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. นายวิสิษฐ์ ยาสมุทร ประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ และนายชัชวาล  แก้วหน่อ ประธานสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "สนับสนุนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทและข้อเสนอเพื่อไม่ให้ถูกบิดเบือนและมีประสิทธิภาพ" โดยยื่นต่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผ่านอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

โดยตอนหนึ่งระบุว่า "การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทครั้งนี้ ทางผู้ใช้แรงงานพร้อมสนับสนุนในการมีส่วนร่วมเพื่อให้นโยบายมีผลในทางปฏิบัติ มีความเป็นธรรม ไม่ถูกบิดเบือน และมีประสิทธิภาพ จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้" โดยมีข้อเสนอ 5 ข้อได้แก่

1. ขอให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบติดตามตรวจสอบนโยบายเพื่อให้มีผลทางปฏิบัติ ไม่ถูกบิดเบือนจากกลุ่มทุน  และมีประสิทธิภาพ  โดยคณะกรรมการประกอบด้วย  ตัวแทนรัฐบาล  หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง  นักวิชาการ  สื่อมวลชน  สหภาพแรงงาน ตัวแทนผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วม ทั้งระดับชาติและในแต่ละเขตพื้นที่แต่ละจังหวัด

2.ขอให้รัฐบาลยืนยันทำตามนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยต้องไม่นำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง และต้องมีมาตรการที่เข้มงวดกับบริษัทไม่ให้นำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง หรือตัดลด สวัสดิการเดิมของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายแรงงานมาตราที่ 5

3.ขอให้รัฐบาลเพิ่มนโยบาย ปรับค่าจ้างตามส่วนต่างให้กับคนงานเก่าที่มีอายุการทำงานมานานทุกคนที่มีค่าจ้างมากกว่า 300 บาทอยู่แล้ว   เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับคนงานส่วนนี้ด้วย

4.ขอให้รัฐบาลช่วยคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาเกินความจำเป็น และจะทำให้ผู้ใช้แรงงานไม่ได้ประโยชน์จากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำอย่างแท้จริงตามเจตนารมย์ของรัฐบาล

5.รัฐบาลควรมีการปรับค่าจ้างขึ้นอีก ไม่ใช่ปรับครั้งนี้แล้ว ก็หยุดไปอีกหลายปี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานมากขึ้น  เนื่องเพราะแท้จริงแล้วค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทก็ยังไม่พอค่าครองชีพของผู้ใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงงานต้องทำงานงานมากกว่า 8 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีชีวิตอยู่รอดและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนเช่นกลุ่มคนอื่นๆ ในสังคมไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมเด็จพระเทพฯ ประทับโรงพยาบาลจุฬาฯ

Posted: 18 Dec 2012 03:38 AM PST

คณะแพทย์ได้ถวายการผ่าตัดนำกลุ่มหินปูนออกจากพระอุระ และขอพระราชทานให้ประทับพักฟื้นพระวรกาย ณ โรงพยาบาล และกราบบังคมทูลให้ทรงงดพระราชกิจสักระยะหนึ่ง

วันนี้ (18 ธ.ค.) สำนักพระราชวังได้เผยแพร่แถลงการณ์เรื่อง "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย" มีรายละเอียดดังนี้

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง

เรื่อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงตรวจพระวรกายประจำปี ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แพทย์ผู้ถวายการตรวจ ได้ตรวจพบกลุ่มหินปูนที่พระอุระ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานถวายการรักษาด้วยการผ่าตัด

ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2555 และในวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2555 คณะแพทย์ได้ถวายการผ่าตัดนำกลุ่มหินปูนออกจากพระอุระเป็นที่เรียบร้อย ภายหลังการผ่าตัด ทรงรู้สึกพระองค์ดี อุณหภูมิพระวรกายปรกติ ผลการตรวจทางพยาธิวิทยา ไม่พบเนื้อร้าย คณะแพทย์ได้ขอพระราชทานให้ประทับพักฟื้นพระวรกาย ณ โรงพยาบาล และกราบบังคมทูลให้ทรงงดพระราชกิจสักระยะหนึ่ง

จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

สำนักพระราชวัง
18 ธันวาคม พุทธศักราช 2555

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตุลาการผู้แถลงคดีให้ ‘ยกฟ้อง’ คดีเพิกถอน ‘ใบอนุญาตโรงไฟฟ้า’ ชี้ EIA แก้ปัญหาแล้ว! รอลุ้นคำพิพากษาต่อ

Posted: 18 Dec 2012 02:36 AM PST

ศาลปกครองกลางพิจารณาคดีฟ้องเพิกถอนใบอนุญาตโรงไฟฟ้าหนองแซง ชาวบ้านยันข้อมูลพื้นที่เหมาะกับการทำเกษตร ด้านตุลาการผู้แถลงคดีให้ยกฟ้อง ชี้ใบอนุญาตฯ ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการป้องกันผลกระทบต่างๆ ระบุไว้ชัดใน EIA แล้ว

 
 
 
วานนี้ (17 ธ.ค.55) เวลา 14.00 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 8 ศาลปกครอง ศาลปกครองกลางนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีที่ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมฟ้องเพิกถอนใบอนุญาตโรงไฟฟ้าหนองแซงของ บริษัท เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด ในพื้นที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี ก่อนมีคำพิพากษาต่อไป
 
คดีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 21 ก.ย.53 ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม อ.หนองแซง จ.สระบุรี และ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ประมาณ 50 คน นำโดย นายตี๋ ตรัยรัตนแสงมณี เดินทางเข้ายื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (คชก.) ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่ออกให้บริษัท เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด และมติของ คชก.ที่มีความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการโรงไฟฟ้าหนองแซงของบริษัทดังกล่าว
 
ในการพิจารณาคดี นายตี๋ ตรัยรัตนแสงมณี ตัวแทนชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ แถลงด้วยวาจาต่อศาลปกครอง ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ ระบบนิเวศซึ่งมีความเหมาะสมต่อการทำการเกษตร และกระบวนการในการออกใบอนุญาตที่ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนที่เกิดขึ้นแล้วจากการที่เริ่มมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหนองแซงในพื้นที่
 
จากนั้น ทนายความจากโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) ผู้รับมอบอำนาจ ได้แถลงด้วยวาจาชี้แจงถึงประเด็นสำคัญในการสู้คดี คือ รายงาน EIA ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยไม่ได้นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดทำร่างผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีซึ่งระบุความเหมาะสมของพื้นที่ อ.หนองแซง ให้เป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม และไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำป่าสัก เมื่อนำ EIA ที่ไม่ครบถ้วนมาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้า ใบอนุญาตนั้นจึงไม่ชอบไปด้วยกฎหมาย อีกทั้งยังขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ออกตามความของ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 เพราะเป็นการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานไฟฟ้าในทำเลที่ตั้งที่ไม่เหมาะสม
 
ต่อมา เป็นการแถลงข้อเท็จจริงของตัวแทน บริษัท เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด เกี่ยวกับข้อต่อสู้ในคดี
 
ในวันเดียวกันนี้ ตุลาการผู้แถลงคดีได้อ่านคำวินิจฉัยของตนต่อตุลาการเจ้าของคดีโดยมีความเห็นให้พิพากษายกฟ้อง เนื่องจากใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผลโดยสรุปว่า คชก.ได้มีการประชุมพิจารณา EIA ถึง 3 ครั้งก่อนที่จะมีการอนุมัติ EIA และกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ทำความเห็นส่งถึง กกพ.แล้วว่าการออกใบอนุญาตไม่ขัดต่อต่อกฎกระทรวงฉบับที่ 2 และพื้นที่ตั้งโครงการยังไม่มีการประกาศผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี
 
อีกทั้งโครงการดังกล่าวไม่เข้าข่ายโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 คือ มีขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวมตั้งแต่ 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าหนองแซงมีกำลังการผลิต 1,600 เมกะวัตต์ ไม่จำเป็นต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย
 
ส่วนการป้องกันผลกระทบต่างๆ ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนใน EIA ซึ่งบริษัท เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย จำกัด ต้องมีการดำเนินการตามนั้นอยู่แล้ว ส่วนประชาชนสามารถตรวจสอบน้ำที่เกรงว่าจะเกิดมลพิษจากการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าได้ตลอดเวลา และหากเกิดความสูญเสียก็จะมีการชดเชยให้ ส่วนที่ระบุว่าอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำนั้นทางบริษัทฯ ได้สร้างบ่อกักเก็บน้ำไว้แล้ว และหากเกิดการขาดแคลนน้ำ กรมชลประทานก็สามารถสั่งหยุดการปล่อยน้ำได้ทันที
 
ด้านมนทนา ดวงประภา ทนายความโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) กล่าวว่า กระบวนการต่อจากนี้ชาวบ้านจะต้องรอฟังผลการพิพากษาคดีต่อไป โดยยังไม่ทราบกำหนดเวลาแน่ชัด ซึ่งศาลปกครองอาจมีคำพิพากษาตามตุลาการผู้แถลงคดีก็จะทำให้โครงการโรงไฟฟ้าเดินหน้าต่อไปได้ อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในพื้นที่โครงการขณะนี้ได้มีการปรับพื้นที่และลงเสาเข็มโครงการแล้ว
 
ทั้งนี้ หากศาลปกครองกลางมีคำสั่งตามคำฟ้องก็จะมีผลให้บริษัทฯ ต้องหยุดการดำเนินการในพื้นที่ แต่บริษัทก็สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดและขอคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งจะทำให้การดำเนินการต่างๆ เดินหน้าต่อไปได้ แต่บริษัทก็จะต้องแบกรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตโรงไฟฟ้าหนองแซง
 
อนึ่ง เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้เหตุผลว่า 1.ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้มีโอกาสเข้าโต้แย้งและชี้แจงเหตุแห่งความไม่ถูกต้องเหมาะสมของโครงการ 2.อาศัยมติเห็นชอบ EIA ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นฐานในการออกใบอนุญาต 3.ออกใบอนุญาตในทำเลที่ตั้งที่ไม่เหมาะสมต่อการประกอบกิจการโรงงานไฟฟ้า เพราะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย อันขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ออกตามความของ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535
 
4.ออกใบอนุญาตโดยสอบถามความเห็นและพิจารณาความเห็นจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพียงหน่วยงานเดียว โดยไม่มีการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือความเห็นจากหน่วยงานรัฐอื่นๆ ให้เพียงพอ และ 5.ออกใบอนุญาตไปโดยขัดกับหลักความได้สัดส่วน เพราะเป็นมาตรการที่ไม่จำเป็น และเป็นมาตรการที่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประชาชน ชุมชนและประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ที่เอกชนรายเดียวได้รับ
 
และขอให้เพิกถอนมติของ คชก.ที่เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการโรงไฟฟ้าหนองแซงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอาศัยฐานข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพราะ 1.EIA ไม่ได้นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดทำร่างผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี ที่กำหนดให้พื้นที่ อ.หนองแซง ซึ่งรวมถึงที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าเป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมและมีข้อกำหนดห้ามสร้างโรงไฟฟ้า อีกทั้ง ไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมของพื้นที่ตั้งโครงการ
 
2.ไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำป่าสัก ทั้งนี้ เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรม ระบุว่า บริษัทเจ้าของโครงการก็ทราบถึงการจัดทำร่างผังเมืองรวมจังหวัดดังกล่าว เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีตัวแทนบริษัทเข้าร่วมในเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีด้วย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนการตาย ‘อากง’ หมอพยาบาลเบิกความ-ภรรยาหวังพัฒนาระบบดูแลนักโทษ

Posted: 18 Dec 2012 01:43 AM PST

17 ธ.ค.ที่ผ่านมามีการไต่สวนการตายนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง ผู้ต้องขังคดีหมิ่นสถาบันที่เสียชีวิตในเรือนจำเมื่อวันที่ 8 พ.ค.55 ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์

17 ธ.ค.55 ที่ศาลอาญา รัชดา มีการไต่สวนการเสียชีวิตของ นายอำพล ตั้งนพกุล หรือ "อากง" วัย 61 ปี ผู้ต้องขังคดีหมิ่นสถาบันซึ่งเสียชีวิตที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์เมื่อวันที่ 8 พ.ค.55 ที่ผ่านมา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150  เพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน ตายเมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ตายคืออะไร โดยการไต่สวนครั้งนี้มีหัวหน้าพยาบาลและแพทย์เจ้าของไข้ จากโรงพยาบาลราชทัณฑ์มาเบิกความ ส่วนนัดไต่สวนครั้งต่อไป จะมีขึ้นในวันที่ 23-24 เมษายน 2556

รสมาลิน ตั้งนพกุล ภรรยานายอำพล มาศาลด้วย โดยนั่งรออยู่ภายนอกห้องพิจารณาคดีเนื่องจากเธอเป็นพยานที่จะต้องเบิกความในครั้งหน้า เธอกล่าวว่า อันที่จริงแล้วโดยส่วนตัวไม่ติดใจเอาความอะไร เพราะไม่สามารถเรียกร้องสามีคืนมาได้แล้ว แต่ที่ต้องการให้มีการไต่สวนและสืบสวนเรื่องนี้ก็เพราะอยากให้ได้เห็นจุดบกพร่องที่มีอยู่ในระบบการรักษาพยาบาลนักโทษ และให้กรณีของอากงได้เป็นกรณีตัวอย่างที่จะทำให้มีการพัฒนาให้ดีขึ้น

"พวกนักโทษเขาป่วยก็ดูแลเขาหน่อย กว่าเขาจะกระเสือกกระสนให้มีการส่งตัวมาโรงพยาบาลได้ก็แสนลำบาก เขาขาดอิสรภาพแล้ว อย่าเพิ่งให้เขาต้องขาดใจด้วยเลย" รสมาลิน กล่าว

รัชนี หาญสมสกุล หัวหน้าพยาบาลจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เบิกความต่อศาลว่า อำพลถูกส่งตัวมายังโรงพยาบาลราชทัณฑ์ในวันศุกร์ที่ 4 พ.ค. เวลาประมาณ  15.30 น. ซึ่งเป็นเวลาปิดห้องขังพอดี โดยมีการส่งประวัติเบื้องต้นมาด้วยว่าคนไข้มีอาการปวดท้อง ท้องอืด เขาถูกส่งมาที่ชั้น 5 ซึ่งมี 40 เตียง แต่แบ่งพื้นที่โซนพิเศษ 10 เตียงที่จะอยู่ใกล้ลูกกรงเพื่อที่ผู้ป่วยหนักจะได้อยู่ในสายตาของพยาบาล และอำพลก็นอนรักษาตัวในส่วนนี้

ทั้งนี้ การเข้าไปตรวจเยี่ยมผู้ป่วย พยาบาลจะเข้าได้เฉพาะเมื่อมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้าไปด้วยเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ และในเวลาที่กำหนดเท่านั้น หลังจากนั้นจะปิดห้องซึ่งเป็นลูกกรง แต่พยาบาลเวรก็ยังสามารถมองเห็นผู้ป่วยในโซน 10 เตียงได้ค่อนข้างชัดเจน

รัชนี กล่าวว่า หลังจากถูกส่งมาในวันศุกร์เย็น จากนั้นก็ติดวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ และวันจันทร์ซึ่งเป็นวันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคล ซึ่งเจ้าหน้าที่จะไม่มาทำงาน มีเพียงพยาบาลเวรชาย 1 คน ดูแลผู้ป่วยทั้งตึก

โรงพยาบาลราชทัณฑ์เป็นโรงพยาบาลที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยจาก 7 เรือนจำ มี 8 ชั้น มีผู้ป่วยอยู่ในชั้น 4-8 เฉพาะชั้น 5 ซึ่งรับกรณีป่วยหนัก มีผู้ป่วย 65-70 คน และเต็มตลอด มีพยาบาลประจำชั้น 5 จำนวน 6 คน ทั้งโรงพยาบาลมีพยาบาลประมาณ 50 คน แพทย์ 10 กว่าคน  และเภสัชกร 1 คน

รัชนี กล่าวต่อว่า วันอังคารที่ 8 พ.ค. มาทำงานที่โรงพยาบาลในเวลา 8.30 น. จากนั้นประมาณ 9.10 น. มีพยาบาลวิ่งมาแจ้งว่า คนไข้เสียชีวิต หลังจากตอนเช้ามีการเจาะเลือดเพื่อเตรียมไปตรวจแล้ว นอกจากนี้รายละเอียดที่ได้รับแจ้งด้วยคือ คนไข้อาเจียนออกมาและหยุดหายใจ จึงมีทีมผู้ช่วยเข้าไปทำการปั๊มหัวใจและย้ายเตียงคนไข้มายังจุดที่มีสายออกซิเจนช่วยหายใจและมีการดูดเสมหะ แต่ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ จึงโทรแจ้งแพทย์เจ้าของไข้ ทั้งนี้ รัชนีกล่าวด้วยว่าก่อนหน้านี้คนไข้ยังเดินเองได้และรับประทานอาหารได้ สังเกตจากที่อาเจียนออกมาเป็นข้าวต้ม

รัชนี กล่าวด้วยว่า ที่โรงพยาบาลไม่มีแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งและไม่มีเครื่องมือต่างๆ และการส่งตัวไปรักษายังสถาบันมะเร็งหรือโรงพยาบาลข้างนอกไม่สามารถกระทำได้ในวันหยุด และผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจส่งตัวก็มีเพียงผู้อำนวยการโรงพยาบาลเท่านั้น

นพ.กิตติบูลย์ เตชะพรอนันต์ แพทย์เจ้าของไข้นายอำพล เบิกความว่า เป็นศัลยแพทย์ที่ รพ.ราชทัณฑ์มา 13 ปี วันที่ 4 พ.ค.อยู่ที่แผนกผู้ป่วยนอกทำหน้าที่คัดกรองผู้ป่วยที่ถูกส่งมา นายอำพลถูส่งตัวมาในเวลาประมาณ 10.30-11.00 น. โดยไม่มีแฟ้มประวัติการรักษาส่งมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพด้วยแต่อย่างใด แต่ผู้ป่วยก็ได้แจ้งด้วยตนเองว่าแน่นท้อง ท้องโตขึ้น จึงได้ทำการตรวจเช็คเบื้องต้น สันนิษฐานว่ามีอาการตับโต ซึ่งเป็นไปได้สูงที่จะมีการแพร่กระจายของมะเร็ง เบื้องต้นจึงให้ยาขับปัสสาวะเพื่อขับน้ำออกจากร่างกาย ให้ยาแก้ปวดลดไข้ และสั่งให้ส่งชั้น 5 เพื่อดูอาการและให้มีการเจาะเลือดในวันถัดไป เพราะการเจาะเลือดจะทำในช่วงเช้า แต่อำพลมาถึงเลยเวลา จะสามารถเจาะเลือดส่งตรวจได้อีกครั้งในวันทำการคือวันอังคารที่ 8 พ.ค.

ทั้งนี้ นพ.กิตติบูลย์ระบุด้วยว่าก่อนหน้านี้ผู้บัญชาการเรือนจำได้โทรประสานผู้อำนวยการโรงพยาบาลก่อนแล้วว่าจะมีการส่งตัวผู้ป่วยรายนี้มาให้ช่วยรับไว้รักษาโรค

นพ.กิตติบูลย์ กล่าวต่อว่า ในวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ และจันทร์นั้น ตนเข้ามาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ทุกวันเนื่องจากต้องมาดูแลคนไข้ผ่าตัด นอกจากนี้ตนยังไปเยี่ยมนายอำพลที่ชั้น 5 ด้วยแม้จะเข้าเยี่ยมถึงเตียงไม่ได้เนื่องจากเป็นวันหยุดแต่ก็ได้สอบถามกันผ่านลูกกรง ในวันเสาร์นายอำพลสามารถเดินมาบอกอาการกับตนได้โดยแจ้งว่าอาการแน่นท้องทุเลาลงแล้ว แต่ท้องยังโตมากอยู่ ส่วนวันอาทิตย์ ไม่ได้เดินออกมา แต่นั่งบนเตียงแล้วแจ้งอาการผ่าน "ผู้ช่วยเหลือ" ซึ่งเป็นนักโทษด้วยกันที่โรงพยาบาลให้มาช่วยงาน โดยอำพลแจ้งว่าอาเจียน 1 ครั้ง ส่วนวันอาทิตย์ตนได้สั่งน้ำเกลือแบบชงให้คนไข้ และผู้ช่วยเหลือได้ไปสอบถามอาการอีกครั้งแล้วแจ้งว่า อาการอาเจียนหยุดแล้ว จึงให้การรักษาแบบเดิม เพราะต้องรอผลตรวจเลือดและเอ็กซเรย์ช่องท้องในลำดับต่อไป

นพ.กิตติบูลย์ กล่าวอีกว่า ต่อมาวันอังคาร เมื่อตนมาทำงานได้เข้าไปหารือภารกิจกับผู้อำนวยการ จากนั้นเวลา 9 โมงกว่าได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าคนไข้เสียชีวิต จึงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ช่วยชีวิตในเบื้องต้นก่อนที่ตนจะลงไป แต่หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็แจ้งมาอีกว่าอธิบดีกรมราชทัณฑ์จะเข้ามาเยี่ยมคนไข้รายนี้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจึงแจ้งให้ตนไปรับอธิบดี จากนั้นได้รับรายงานจากทีมงานว่า ได้พยายามช่วยชีวิตเบื้องต้นแล้ว ผ่านไป 15-20 นาทีก็ยังวัดสัญญาชีพจรไม่ได้  

นพ.ยังระบุอีกว่า เขาเคยเป็นแพทย์ประจำเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้และเคยเจอนายอำพลครั้งหนึ่งเมื่อแรกรับ เพราะต้องมีการคัดกรองผู้ป่วยที่เพิ่งเข้ามาเรือนจำ และทราบจากการบอกเล่าของนายอำพลว่าเคยเป็นมะเร็งในช่องปาก ในครั้งนั้นได้บอกให้ผู้ต้องขังแจ้งญาติให้นำประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิมมาด้วยเพื่อดูว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปหรือไม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนการตาย จนท.เขาดิน: 'อดีตพลทหาร'ให้การเห็นชายเสื้อขาวยิงขึ้นฟ้า

Posted: 18 Dec 2012 12:09 AM PST


เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ห้องพิจารณาคดี 808 ศาลอาญา รัชดา ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพ คดีหมายเลขดำที่ อช.8/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรการเสียชีวิตของนายมานะ อาจราญ ลูกจ้างของสวนสัตว์ดุสิตแผนก บำรุงรักษา ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตเมื่อกลางดึกของวันที่ 10 เม.ย. 53 บริเวณสวนสัตว์ดุสิต แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กทม. ภายหลังการสลายการชุมนุมในช่วงค่ำบริเวณแยกคอกวัวและถนนดินสอสงบลง ทั้งนี้ ลานจอดรถของสวนสัตว์ดุสิตเป็นจุดพักของเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหลายกองร้อย

พยานวันนี้มี 6 ปาก ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความเห็นเรื่องอาวุธ นายทหารที่นำกองกำลังมาควบคุมการชุมนุมและพลทหารอีก 2 นาย เจ้าหน้าที่จากกองพิสูจน์หลักฐานกลาง และพนักงานสอบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

พยานปากแรก พล.ต.ท.อัมพร จารุจินดา อดีตผู้บัญชาการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ และที่ปรึกษาดีเอสไอ ซึ่งเป็นผู้ให้ความเห็นแก่ดีเอสไอ โดยดูจากรายงานชันสูตรพลิกศพ เบิกความว่า จากบาดแผลของผู้ตายน่าจะเกิดจากอาวุธร้ายแรง โดยน่าจะเป็นกระสุนขนาด .223 (5.56 มม.) ซึ่งเป็นกระสุนที่ใช้ได้กับอาวุธปืน M16 ปืนทราโว่ HK33 หรือ AK ซึ่งผลิตเพื่อใช้กับกระสุนขนาด .223

ทั้งนี้ การที่กระสุนขนาด 5.56 x 45 มม. แต่บาดแผลทางเข้ามีขนาด 4 มิลลิเมตร เพราะตัวกระสุนมีปลายแหลมเรียว ส่วนที่โตที่สุดเท่านั้นที่มีขนาด 5.56 มม. โดยเมื่อยิงออก หัวกระสุนจะหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง ดันจนหนังตึง แล้วไชเข้า เมื่อเข้าไปแล้ว หนังจะหดตัว ทำให้ดูเหมือนทางเข้าเล็กกว่าขนาดกระสุน ขณะที่เศษกระสุนที่พบในศีรษะนั้นไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามาจากปืนกระบอกใด เพราะมีขนาดเล็กมาก 

รท.จักรพันธ์ ตัณฑสมบูรณ์ เบิกความว่า เมื่อปี 53 รับราชการเป็นผู้บังคับหมวดกองร้อยทหารปืนใหญ่ อยู่ที่กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่สอง ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา โดยได้รับคำสั่งให้นำกำลัง 150 นาย มาควบคุมการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่กรุงเทพฯ โดยมีอาวุธที่นำมาด้วยคือโล่และกระบอง ต่อมา 9 เม.ย.53 วันก่อนเกิดเหตุ ได้นำกำลังไปควบคุมการชุมนุมที่สถานีดาวเทียมไทยคม ลาดหลุมแก้ว โดยผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้เบิกอาวุธปืน M16A1 จำนวน 29 กระบอกไปด้วย โดยทหารชั้นประทวน ประเภทนายสิบจะเป็นผู้ใช้ ตัวพยานนั้นมีปืนพก 11 มม.
 
จากนั้นเย็นวันที่ 10 เม.ย.53 เวลา 19-22.00น. ได้รับคำสั่งให้เข้าเวรเพื่อไม่ให้รถของประชาชนและผู้ชุมนุมเข้ามาที่ถนนอู่ทองใน แต่ให้รถออกได้ ต่อมา นำกำลังพลได้พักบริเวณอาคารจอดรถของสวนสัตว์ดุสิต หลังพักได้ 15 นาที ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 1 นัดจากฝั่งสภา กำลังพลที่อยู่ด้านหน้าประตูวิ่งเข้ามาด้านในที่จอดรถบอกว่า "มันมาแล้ว" ทำให้กำลังพลที่พักอยู่วิ่งไปหลบทางด้านหลัง ระหว่างนั้น ได้ยินเสียงปืนเป็นระยะ ไม่ทราบทิศทาง แต่แยกได้ว่าเป็นเสียงปืนเล็ก ไม่ใช่ปืนกล

รท.จักรพันธ์ กล่าวว่า จากนั้นตนได้วิ่งไปด้านหลังของลานจอดรถเพื่อเรียกให้คนในสังกัดมารวมตัวที่ชั้นสองของลานจอดรถ ระหว่างนั้นมืดมาก ต้องประชิดตัวเพื่อบอก ทั้งหมดอยู่ในท่าหมอบอยู่ด้านซ้ายของซุ้มขายของ ทั้งนี้ ไม่มีการยิงตอบโต้เพราะเจ้าหน้าที่ที่มีปืนจะยิงเมื่อได้รับอนุญาตเท่านั้น โดยนอกจากกองร้อยของตนแล้วก็มีกองอื่นที่เข้ามาพักพร้อมกัน แต่จะมีกองอื่นในสวนสัตว์ก่อนหน้านั้นไหมไม่ทราบ

เมื่อกลับมาตรวจเช็คกำลังพลและอุปกรณ์ มีเพียงสิบเอกรังสรร โฮชิน ที่มาช้า ส่วนอาวุธ พบว่าโล่และกระบองหายไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเช้าวันที่ 11 เม.ย.ได้กลับมาบางส่วน ขณะที่อาวุธปืนและกระสุนอยู่ครบและไม่มีการใช้ ต่อมาตอนเช้าได้ตรวจที่เกิดเหตุ พบว่าจากจุดเกิดเหตุจะมองไม่เห็นซุ้มที่ทหารหมอบอยู่ เพราะมีต้นไม้บัง

อดีตพลทหารนพพล ป้ายนอก เบิกความว่า เคยรับราชการทหารประจำกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ค่ายสุรนารี เมื่อปี 52-54 ช่วงเกิดเหตุ ได้รับคำสั่งให้มาควบคุมการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่กรุงเทพฯ โดยมีผู้บังคับบัญชาคือ รท.จักรพันธ์  ในคืนเกิดเหตุ ขณะที่พักที่ใต้ลานจอดรถ เวลาประมาณ 23.00น. ได้ยินเสียงปืน 1 นัด และมีทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ วิ่งเข้ามา ตนเองได้หยิบเสื้อฝึกและชุดเกราะวิ่งไปทางด้านหลัง ต่อมา เสื้อฝึก (ซึ่งเป็นของพลทหารบารมี ชีพไธสง ที่ตนหยิบผิดมา) ไปเกี่ยวกับเก้าอี้จึงทิ้งไว้ และเมื่อไปถึงริมสระน้ำก็ใส่ชุดเกราะ จากนั้น หันไปดูที่ลานบริเวณที่ขายตั๋ว ซึ่งมีไฟส่องสว่าง เห็นชายคนหนึ่งเดินมาจากรถมอเตอร์ไซค์ซึ่งขี่มาจากด้านขวามือที่ตนหมอบอยู่ ชายคนดังกล่าวสวมเสื้อสีขาว กางเกงยีนส์สีฟ้า ตรงมาทางที่ขายตั๋ว พร้อมพูดว่ามึงจะออกมา ไม่ออกมา ไม่ออกมากูจะยิง ซึ่งไม่ทราบว่าพูดกับใคร พอพูดจบชายคนดังกล่าวก็ยิงปืนพกสั้นสีเงินเฉียงขึ้นฟ้า 3 นัด ตนเห็นท่าไม่ดี จึงถอยลงสระ จากนั้นก็ไม่เห็นชายคนนั้นอีก เพราะปูนที่ขอบสระบังไว้ แช่น้ำอยู่เกือบชั่วโมงจึงมีทหารจากกองพันอื่นมาเรียกให้ขึ้นไป ทั้งนี้ เช้าวันต่อมา กลับมาดูก็ไม่พบเสื้อฝึกตัวดังกล่าว และได้ทราบว่ามีผู้ถูกยิงเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม จากจุดที่ซ่อนตัวอยู่มองไม่เห็นจุดที่มีผู้เสียชีวิต เพราะมีต้นไม้ และกำแพงกรงเก้งหม้อบังอยู่

อดีตพลทหารบารมี ชีพไธสง เบิกความว่า เคยรับราชการทหารประจำกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ค่ายสุรนารี เมื่อปี 52-54 ช่วงเกิดเหตุ ได้รับคำสั่งให้มาควบคุมการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่กรุงเทพฯ โดยมีผู้บังคับบัญชาคือ รท.จักรพันธ์ ในวันเกิดเหตุ หลังมีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด ตนได้วิ่งไปหลบที่ลานจอดรถชั้นสอง พร้อมโล่และกระบอง โดยขณะนั้นมีตำรวจสองนายและทหารจากหน่วยอื่นและหน่วยของตนหลบอยู่ด้วย ต่อมาเมื่อมีการรวมตัวเพื่อเช็คยอดคนและอาวุธ ปรากฏว่ากระบองของตนหายไปตอนไหนไม่รู้ โดยก่อนหน้านั้นพกไว้ที่เอว ทั้งนี้ หลังเกิดเหตุ ดีเอสไอเคยมาสอบที่กองพัน เนื่องจากพบเสื้อลายพรางชุดฝึกมีชื่อของตนตกอยู่ในที่เกิดเหตุ ซึ่งได้ให้การว่าเป็นเสื้อที่นายนพพลหยิบผิดไป

พ.ต.ท.ธำรงศักดิ์ บุญมาก จากกองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เบิกความว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.53 ดีเอสไอได้ส่งของกลางมาที่กองพิสูจน์หลักฐานกลาง เป็นปลอกกระสุนปืนเล็กกล .223 (5.56 มม.) 2 ปลอก โดยผลพบว่า เป็นปลอกกระสุนที่ใช้แล้ว โดยเป็นเครื่องกระสุนปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เป็นปลอกชนิด .223 ยิงจากปืนเล็กกล .223 และเป็นแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ต่อมา 31 ม.ค.54 กองบังคับกลางตำรวจนครบาล 1 นำส่งปืนเล็กกล M16 ขนาด .223 จำนวน 10 กระบอก เพื่อพิสูจน์ว่าปลอกกระสุน 2 ปลอกนั้นยิงมาจากปืนเหล่านั้นหรือไม่ ซึ่งพบว่าไม่ได้มาจากปืนเหล่านั้น

พ.ต.ท.สราวุธ บุญศิริโยธิน พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ เบิกความว่า ตนเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรณีที่นายมานะ อาจราญ ถึงแก่ความตาย โดยจากการสอบสวนเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติตามหน้าที่ จึงได้ทำสำนวนส่งให้ตำรวจนครบาลดุสิต ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150

พ.ต.ท.สราวุธ กล่าวว่า จากการสอบสวนได้ความว่า คืนเกิดเหตุ เวลาประมาณ 23.00-23.30น. ขณะทหารหลายร้อยนาย ซึ่งบางส่วนพักใต้อาคารจอดรถสวนสัตว์ บางส่วนกั้นรถอยู่ที่ถนนอู่ทองใน มีรถกระบะสีเข้ม วิ่งจากแยกอู่ทองในผ่านสวนสัตว์ ไปที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ครู่หนึ่งแล่นกลับมาชะลอตรงข้ามประตูทางเข้าสวนสัตว์ หน้ารัฐสภา จากนั้นมีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด ทหารแตกตื่นวิ่งเข้าสวนสัตว์ โดยบางรายมีปืน M16 บ้างมีโล่ มีกระบอง จากนั้นเสียงปืนยังดังขึ้นเป็นระยะๆ จากหน้าประตูทางเข้าสวนสัตว์ เป็นเวลาเดียวกับที่นายมานะซึ่งเข้าเวรดูแลเต่ายักษ์ถึงเวลาออกเวร โดยนายบุญมี แก้วไทรท้วม บอกให้นายมานะไปตอกบัตรออกเวรที่ตู้รักษาการถนนพระราม 5 โดยนายบุญมีให้การว่าออกไปได้ครู่หนึ่ง ก็มีเสียงปืนดังขึ้น 2 นัด เมื่อออกไปดูพบนายมานะนอนคว่ำหน้าเลือดนองพื้น จึงวิ่งมาทางบ่อน้ำเพื่อตามคนมาช่วย โดยตะโกนว่า ช่วยด้วยๆ หลานถูกยิง จากนั้น มีทหารบอกว่า หยุดๆ อยากตายหรือไง ต่อมา ได้ย้อนกลับไปโทรแจ้งผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ตอนที่วิ่งออกมานั้นเจอทหารหมอบอยู่จำนวนมาก ทั้งนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนไปที่เกิดเหตุ พบปลอกกระสุน M16 จำนวน 2 ปลอก บริเวณทางเดินบ่อเต่า โล่ปราบจลาจล 2 อัน กระบอง 3 อัน และเสื้อสีเขียว ระบุชื่อ บารมี ชีพไธสง 1 ตัว

โดยจากการร่วมกับนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจสอบวิถีกระสุน พบรอยกระสุนปืนที่ต้นหมากเขียวและใบวาสนา ซึ่งมีความสูงในระดับเดียวกับความสูงของศีรษะผู้ตาย เมื่อลองลากดูพบว่าเป็นแนวเดียวกันไปถึงบริเวณที่พบปลอกกระสุนและบริเวณที่ทหารหมอบอยู่ จากวิถีกระสุนคาดว่าเป็นการยิงในท่ายืน ทั้งนี้ จะยิงจากระยะไกลไม่ได้ เพราะมีซุ้มใหญ่และต้นไม้บัง ทั้งนี้ วันดังกล่าว ไม่มีรายงานว่ามีบุคคลตกค้างในสวนสัตว์  นอกจากนี้ นิติวิทยาศาสตร์ทำหนังสือแจ้งว่า จากเศษกระสุนที่พบในศีรษะผู้ตายไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นกระสุนขนาดใดและมาจากอาวุธปืนใดเพราะเศษกระสุนเสื่อมสภาพมาก

อนึ่ง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้ไม่มีการแต่งตั้งทนายความ และไม่มีญาติผู้ตายร่วมสังเกตการณ์คดี โดยนายมาโนช อาจราญ บิดาของนายมานะ เคยขึ้นเบิกความเมื่อวันที่ 13 ก.ย. ระบุว่า ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มและไม่ติดใจดำเนินคดีต่อ และที่ผ่านมาได้รับเงินเยียวยาแล้ว (อ่านรายละเอียดที่นี่)

สำหรับกรณีนายมานะ อาจราญ จะมีการไต่สวนนัดสุดท้าย ในวันที่ 24 ธ.ค. 55 โดยยังเหลือพยานอีก 5 ปาก

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อานดี้ โฮลล์: ข้อกังวลหลังเส้นตายกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติ

Posted: 17 Dec 2012 11:52 PM PST

ประชาไทสัมภาษณ์อานดี้ โฮลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานย้ายถิ่น สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กรณีที่นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก็ออกมายืนยันว่าหลังจากนี้จะไม่ขยายเวลาการพิสูจน์สัญชาติแรงงาน และจะดำเนินการขั้นตอนผลักดันแรงงานที่ไม่ได้พิสูจน์สัญชาติกลับประเทศ

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมาเป็นวันสุดท้ายของการพิสูจน์สัญชาติแรงงานจากประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา โดยข้อมูลจากกรมการจัดหางานในเดือนพฤศจิกายนพบว่า มีแรงงานต่างชาติที่จะต้องเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ จำนวน 8 แสน 6 หมื่นคน มีการพิสูจน์สัญชาติไปแล้วประมาณ 5 แสน 3 หมื่นคน

อย่างไรก็ตามหลังเส้นตายวันที่ 14 ธันวาคม ก็ยังมีแรงงานหลายแสนคนที่ไม่สามารถรับการพิสูจน์สัญชาติได้ทันเวลาที่กำหนด และยังมีแรงงานต่างชาติที่อยู่นอกระบบอีกนับล้านคนที่ไม่มีเอกสาร

โดยล่าสุด เมียว อ่อง ผู้อำนวยการกรมแรงงาน กระทรวงแรงงานพม่า ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทม์ว่าเขาวางแผนจะเดินทางมาเจรจากับฝ่ายไทย และหวังว่ารัฐบาลไทยจะเปิดศูนย์พิสูจน์สัญชาติอีกครั้งและให้แรงงานได้เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติต่อไป

ในการให้สัมภาษณ์ประชาไท อานดี้ โฮลล์ กล่าวว่า นโยบายของกระทรวงแรงงานที่จะไม่ขยายเวลาพิสูจน์สัญชาติให้กับแรงงานข้ามชาติ จะกระทบกับทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายแรงงานในเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องความมั่นคงของประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการขาดแคลนแรงงาน เพราะฉะนั้นมาตรการนี้จะไม่ส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของมนุษย์

โดยผลกระทบทันที่เกิดขึ้นหลังประกาศของรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานว่าจะใช้นโยบายผลักดันแรงงานที่ไม่มีเอกสารกลับ จะทำให้ตำรวจหรือคนที่บังคับใช้กฎหมายไปจับแรงงานที่ไม่มีเอกสาร โดยจะเป็นการจับแบบอายัดตัว และมักเกิดการรีดไถเงิน เมื่อมีเงินมาให้ก็จะปล่อยตัวแรงงาน ส่วนคนที่จะถูกส่งกลับประเทศจริงๆ คือคนที่ไม่มีเงินมาประกันตัว

นอกจากนี้หากส่งกลับแรงงานไปแล้ว จะจะกลับเข้ามาทำงานใหม่ตามช่องทางการนำเข้าแรงงาน แรงงานต่างชาติที่จะมาทำงานจะต้องเสียค่าใช้จ่ายราว 18,000 - 21,000 บาท ซึ่งถ้าแรงงานก็ไม่มีเงินก็ต้องไปยืมจากคนอื่น และทำให้ต้องเป็นหนี้ และต้องทำงานจนกว่าจะใช้หนี้หมด

ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานย้ายถิ่นกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมากระบวนการพิสูจน์สัญชาติเพื่อออกหนังสือเดินทางเป็นนโยบายที่ดีและเขาสนับสนุน แต่จนถึงทุกวันนี้นโยบายล้มเหลวเพราะยังมีการรีดไถ และมีการเก็บค่าใช้จ่ายพิสูจน์สัญชาติสูงเกินไป และมีกรณีที่แรงงานได้หนังสือเดินทางปลอม จึงทำให้ยังคงต้องทำงานในประเทศอย่างผิดกฎหมาย โดยการทุจริต การมีเงินใต้โต๊ะ ทำให้การจดทะเบียน และกระบวนการการพิสูจน์สัญชาติ เป็นไปด้วยความล่าช้า แพง และไม่มีความโปร่งใส

อานดี้ โฮลล์ มีข้อเสนอทิ้งท้ายว่า "รัฐบาลไทยต้องมีนโยบายที่ทำให้ทุกคนที่อยู่ในประเทศอย่างผิดกฎหมายกลายเป็นคนที่อยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการออกหนังสือเดินทางให้ทุกคน ต้องเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านพม่า ลาว กัมพูชา ทำให้เจ้าหน้าที่ของประเทศนั้นๆ มาในประเทศเพื่อออกหนังสือเดินทาง ไม่ต้องมีการจดทะเบียนหรือพิสูจน์สัญชาติอะไรก็ต้องมีการออกหนังสือเดินทางทันที ถ้าจะมีการส่งแรงงานกลับประเทศ ก็ต้องทำอย่างจริงจัง ไม่ใช่จับแล้วเอามารีดไถ รัฐบาลต้องมีนโยบายระยะยาวเรื่องการย้ายถิ่น ที่เคารพสิทธิมนุษยชน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงประเทศ ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยต้องการแรงงานข้ามชาติประมาณ 5-10% ของตลาดแรงงาน ประเทศไทยต้องยอมรับในจุดนี้ว่าขาดแคลนแรงงาน และต้องวางแผนระยะยาวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ดำเนินอยู่"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'กสม.' ไต่สวน 'รองผบ.ตร.' กรณีละเมิดสิทธิการสลายชุมนุมม็อบ 'เสธ.อ้าย'

Posted: 17 Dec 2012 11:04 PM PST

 

กิตติศักดิ์ ปรกติ อนุกรรมการสิทธิการเมือง ชี้ตำรวจไม่จำเป็นต้องปิดถนนหากไม่มีเหตุฉุกเฉิน แสดงความกังวลต่อการใช้ดุลยพินิจเจ้าหน้าที่ในการประกาศใช้พรบ. ความมั่นคง ในขณะที่ 'แม่น้องเกด' พร้อมญาติผู้เสียชีวิตเม.ย.-พ.ค. 53 บุกมอบรางวัล 'พิทักษ์ผู้กดขี่ดีเด่น' แก่คณะกรรมการสิทธิฯ

 

17 ธ.ค. 55 ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ มีการจัดการประชุมเพื่อหาข้อเท็จจริงในกรณีความรุนแรงในเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มสยามพิทักษ์ นำโดยบุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีพล.ต.อ. วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผบ.ตร. และพล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูต และคณะ เป็นผู้แทนจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเข้าพบคณะอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อชี้แจงการใช้กำลังของรัฐในการสลายการชุมนุมในการชุมนุมของกลุ่มสยามพิทักษ์ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 55 บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีแกนนำและสมาชิกกลุ่มสยามพิทักษ์เข้าร่วมฟังด้วย อาทิ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แซมดิน เลิศบุศย์ บวร ยสินทร เป็นต้น 
 
ผศ.ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และอาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้ซักถามข้อเท็จจริงและตั้งข้อสังเกตถึงมาตรการการปิดถนนเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 55 ว่า เหตุใดตำรวจจึงมีประกาศให้ปิดถนนบริเวณถนนศรีอยุธยาในคืนวันที่ 23 พ.ย. รวมถึงการปิดถนนในบริเวณรอบๆ พื้นที่การชุมนุม ทั้งๆ ที่มิได้มีเหตุฉุกเฉินใดปรากฎชัดเจน โดยอ้างถึงมาตรฐานสากลที่ใช้ในต่างประเทศว่า ถึงแม้ว่าการชุมนุมจะมีการข่มขู่ว่าเป็นไปเพื่อก่อการร้าย แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่สามารถทำการปิดถนนได้ เพราะถือว่าเป็นมาตรการที่จงใจแปลกแยกและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรทำได้เพียงแค่การดูแลรักษาความปลอดภัยและตรวจตราเท่านั้น 
 

ผศ.ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ ซักถามผู้แทนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวกับ
เหตุการณ์ความรุนแรงในการชุมนุมของกลุ่มสยามพิทักษ์
 
พล.ต.อ. วรพงษ์ ซิวปรีชา ได้ชี้แจงว่า มาตรการการปิดถนนเป็นไปตามการเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัย และการควบคุมพื้นที่บริเวณใกล้ที่ชุมนุม เพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดฝันเช่นการถูกปาระเบิด หรือการเข้ายึดสถานที่ราชการ เป็นต้น นอกจากนี้ เป็นเพราะแกนนำได้ประกาศว่า จะแช่แข็งประเทศไทย และล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตำรวจจึงต้องรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ทำให้กลุ่มพิทักษ์สยามที่เข้าฟังการไต่สวนโห่ร้องแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างมาก และในภายหลัง แกนนำกลุ่มพิทักษ์สยามกล่าวว่า ต้องการเพียงขับไล่นักการเมืองเท่านั้น มิได้ต้องล้มล้างระบอบการปกครองแต่อย่างใด
 
พล.ต.อ. วรพงษ์ ซิวปรีชา ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ทางตำรวจอนุญาตให้ใช้เพียงโล่ กระบอง และแก๊สน้ำตาเข้าใช้ควบคุมฝูงชนเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำอาวุธอื่นๆ เข้าไปเลย ทั้งนี้ ได้จัดเตรียมหน่วยพยาบาลร่วมกับกระทรวงสาธารณะสุขเพื่อดูแลผู้บาดเจ็บอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ที่ถูกจับกุมจากการบุกรุกของตำรวจก็นำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อการรักษาทันที เมื่ออาการดีขึ้นจึงค่อยนำไปสอบปากคำที่สถานีตำรวจ 
 
ทั้งนี้ ได้กล่าวถึงจำนวนผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวด้วยว่า มียอดผู้บาดเจ็บจากฝ่ายผู้ชุมนุมทั้งหมด 48 คน จากบาดแผลฟกช้ำ และแก๊สน้ำตา ในขณะที่ฝั่งตำรวจมียอดผู้บาดเจ็บทั้งหมด 94 คน จากการปะทะระหว่างตำรวจและผู้ชุมนุม
 
รองผู้บัญชาการตำรวจ ได้อธิบายถึงความจำเป็นในการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อควบคุมฝูงชนว่า เป็นเพราะในช่วงเช้าของวันที่ 24 พ.ย. ตำรวจได้ทำการปิดกั้นถนนบางส่วนเพื่อรักษาความปลอดภัย แต่ผู้ชุมนุมได้พยายามบุกข้ามแนวกั้นเหล็ก ลวดหนาม และแท่งคอนกรีต โดยมีการตัดลวดหนาม และนำรถขับรถชนทับขาตำรวจจนได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ ยังยืนยันว่า การใช้แก๊สน้ำตาเป็นเครื่องมือควบคุมมวลชนที่รุนแรงน้อยที่สุด อันตรายน้อยกว่าการใช้น้ำฉีดเนื่องจากมีแรงดัน ซึ่งเป็นหลักที่ยึดตามการอบรมมาจากสหประชาชาติ เขายังย้ำด้วยว่า ก่อนการปาแก๊สน้ำตา ได้ประกาศเตือนฝูงชนแล้วหลายครั้ง
 
ด้านนพ. ตุลย์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการใช้แก๊สน้ำตา เพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุซ้ำรอยเหมือนวันที่ 7 ต.ค. 51 ซึ่งผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเสียชีวิตจากระเบิดแก๊สน้ำตา และอาจนำไปสู่ความรุนแรงรูปแบบอื่นๆ ต่อไป 
 
 
ด้านจอน อึ๊งภากรณ์ อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง ได้ชี้ว่า ในความเป็นจริง การใช้พรบ. ความมั่นคง อาจสร้างปัญหามากกว่าเป็นการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเปิดโอกาสให้เกิดการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐในการประกาศใช้ ก็ทำให้เกิดความคลุมเครือและเสี่ยงต่อการนำไปใช้ในทางที่ผิด 
 
แม่น้องเกด พร้อมญาติผู้เสียชีวิตบุก 'กสม.' มอบรางวัล 'หน่วยงานพิทักษ์ผู้กดขี่ดีเด่น'
 
ในวันเดียวกัน ราวเวลา 11.30 น. กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเม.ย. -พ.ค. 53 นำโดยพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของกมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่เสียชีวิตบริเวณวัดปทุมวนาราม วันที่ 19 พ.ค. 53 ได้เดินทางมายังอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรตืฯ เพื่อมอบรางวัล "หน่วยงานพิทักษ์ผู้กดขี่ดีเด่น" ให้แก่ตัวแทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อทวงถามความเป็นธรรมต่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 และรายงานความคืบหน้าจากกรรมการสิทธิ ที่ล่วงเลยกำหนดเผยแพร่แล้วกว่า 1 ปี 
 
 
นอกจากนี้ ยังได้ถือป้ายแสดงการคัดค้านการมอบรางวัลผู้อุทิศตนดีเด่นประจำปีโดยคณะกรรมการสิทธิฯ ให้แก่พญ. พรทิพย์ โรจนสุนันท์ และพระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี) เนื่องจากมองว่าทั้งสองมิได้มีบทบาทสนับสนุนสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด โดยนางพะเยาว์ อัคฮาด กล่าวว่า พญ.พรทิพย์กลับสนับสนุนการทำลายหลักฐานทางนิติเวชศาสตร์ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อปี 53 ซึ่งขัดขวางกระบวนการค้นหาความจริง ส่วนพระมหาวุฒิชัย หรือ ว.วชิรเมธี ก็มีบทบาทที่กล่าวคำสอนไปในทางยั่วยุให้เกิดความเกลียดชังและฆ่ากันมากกว่า เช่นคำกล่าวที่ว่า "ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน" จึงไม่เห็นด้วยกับการมอบรางวัลสิทธิมนุษยชนดีเด่น และต้องการมอบ "โลงจำปาทอง" "หม้อแม่นาค" และ "ลูกฟัก" ให้แก่ ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิฯ พญ. พรทิพย์ โรจนสุนันท์ และนพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน ตามลำดับ 
 
อย่างไรก็ตาม นพ. นิรันดร์ และศ.อมรา มิได้ลงมาพบตามคำเชิญ นายวีรวิทย์ วีรวรวิทย์ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน จึงได้เข้ามารับเรื่องแทน และกล่าวว่า รายงานของคณะกรรมการสิทธิฯ ว่าด้วยการสลายการชุมนุมปี 2553 จะเร่งทำออกมาให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีข้อมูลและผู้เสียชีวิตที่เยอะ จึงต้องการใช้เวลาประมวลข้อมูลอย่างละเอียด ทั้งนี้ ในวันนี้ คณะกรรมการสิทธิฯ ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองสิทธิมนุษยชนประจำปี ภายใต้หัวข้อ "เมื่อถูกละเมิดสิทธิ ความจริงต้องปรากฎ" โดยมีองค์กรสิทธิต่างๆ เข้าร่วมด้วย 
 
 
นางพะเยาว์ อัคฮาดยังกล่าวว่า ที่มาเยือนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในครั้งนี้ เนื่องจากต้องการทวงถามความชัดเจนเรื่องอำนาจของคณะกรรมการสิทธิฯ ในการเรียกไต่สวนเพื่อการค้นหาความจริง โดยหลังจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 ตนก็ได้เรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิฯ ดำเนินการค้นหาความจริงที่เกี่ยวข้อง แต่อมรา พงศาพิชญ์ เคยชี้แจงว่าคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่มีอำนาจดังกล่าว แต่ในกรณีการสลายชุมนุมของกลุ่มพิทักษ์สยาม คณะกรรมการสิทธิกลับดำเนินการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงโดยทันที ทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นต้น  
 
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น