ประชาไท | Prachatai3.info |
- TCIJ: ปิด ‘พิพิธภัณฑ์เด็ก’ ยาว ติดล็อก แฉ 8 ปี กทม.ไม่เคยหนุน
- พรุ่งนี้!!! ศาลนัดฟังคำสั่งไต่สวนการตาย ‘ด.ช.อีซา’ เหยื่อกระสุน พ.ค.53 คดีที่ 4
- รวันดา: บนความเพิกเฉยของสหประชาชาติ (7)
- สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์: แลกเปลี่ยนกับเกษียร เตชะพีระ ต่อบทบาทของทีดีอาร์ไอ
- มาดูหนังโป๊กัน
- (บอกว่า) ซิมฟรี แต่....แถม ค่าบริการ
- นักข่าวตะวันออกกลาง NBC หนีจากการถูกจับเป็นตัวประกันในซีเรีย
- ปัญญา สุรกำจรโรจน์
- คนทำงาน: มองการประท้วงเรียกร้องของ ‘กำนันผู้-ใหญ่บ้าน’ ในมุมมอง ‘สวัสดิการ’ คนทำงานภาครัฐ
- ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐชี้ ลูกจ้างรายได้ต่ำติดหนี้นอกระบบบาน
- ศาลอ่านคำวินิจฉัยศาลรธน.คดี'สมยศ' - 23 ม.ค.พิพากษา
- ศาสวัต บุญศรี: ผู้ประกาศข่าวชื่อดังกับการแสดงทัศนะผ่านเฟซบุ๊ก
- ห้าปีแห่งการต่อสู้: แบเดาะ สะมาแอ
- สมานฉันท์แรงงานไทย ค้านขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี
- คีตาภิวันท์-ปรัชญัญชลี : รำลึกการจากไปของ"ราวีร์ ชังการ์"
TCIJ: ปิด ‘พิพิธภัณฑ์เด็ก’ ยาว ติดล็อก แฉ 8 ปี กทม.ไม่เคยหนุน Posted: 19 Dec 2012 09:40 AM PST
ปิดพิพิธภัณฑ์เด็ก3ปียังไม่เปิด แม้แต่ผู้รับเหมายังหาไม่ได้ เผยเปิดบริการ8ปี กทม.ไม่เคยสนับสนุน ปล่อยให้หาเงินเองสุดท้ายไปต่อไม่ได้ ตอนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องรูปแบบการบริหาร กังวลว่าต่อให้ปรับปรุงเสร็จก็อาจเปิดไม่ได้อีกเพราะไม่มีผู้บริหาร ซ้ำติดล็อกระเบียบราชการและราคากลางไม่สอดคล้องกับการบริหารแหล่งเรียนรู้ ลดคุณภาพพิพิธภัณฑ์เด็ก เพราะไม่ใช่แค่สิ่งปลูกสร้าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศปิดปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็ก เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2553 ซึ่งตรงกับวันเด็ก พร้อมกับกล่าวว่า จะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันเด็กปี 2554 แต่เมื่อวันเด็กปี 2554 ผ่านไป พิพิธภัณฑ์เด็กที่พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กรอคอยก็ยังคงปิดตัวต่อไป โดยไม่มีวี่แววของการปรับปรุงใด ๆ ต่อมา มีป้ายนำมาติดที่รั้วของพิพิธภัณฑ์เด็ก บริเวณฝั่งตรงข้ามกับตลาดนัดซันเดย์ว่า จะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2555 แต่ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยเดิม เพราะเกือบสิ้นปี 2555 แล้ว พิพิธภัณฑ์เด็กก็ยังปิดตัวชนิดไม่รู้วันเปิด
ในเฟซบุ๊คของกองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร มีเด็กและเยาวชนบางคนเข้าไปสอบถาม เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 ว่า พิพิธภัณฑ์เด็กจะเปิดเมื่อใด เจ้าหน้าที่ของกองการท่องเที่ยว กทม. เข้ามาตอบว่า 'คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในเดือน กุมภาพันธ์ 2556' ซึ่งตรงกับที่ นายมานิต เตชอภิโชค ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร เคยระบุว่า หากเป็นไปตามแผนคาดว่า พิพิธภัณฑ์เด็กจะเปิดให้บริการได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
อย่างไรก็ตามโพลล์สำรวจความพอใจของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อการบริหารงานตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ 2555 ครั้งที่ 2 จัดทำโดยศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบุว่า ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจค่อนข้างมาก ซึ่งความพึงพอใจของคนกรุงเทพฯ ในโครงการด้านการศึกษา 5 ลำดับแรก ประเด็นการจัดศูนย์เรียนรู้นอกห้องเรียนที่พิพิธภัณฑ์เด็ก คือส่วนหนึ่งของความพึงพอใจ ที่อยู่ในลำดับที่ 4 ทั้งที่พิพิธภัณฑ์เด็กปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน
ความล่าช้า คือภาพสะท้อนความไร้ประสิทธิภาพบางประการ ของระบบระเบียบราชการหรือไม่ คือความไม่เข้าใจต่อการจัดการการเรียนรู้ของกทม. หรือไม่ และมีความไม่ชอบมาพากลอะไรซุกซ่อนอยู่หรือไม่
พิพิธภัณฑ์เด็ก ต้นแบบการเรียนรู้สุดล้ำในอดีต
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เด็กในกรุงเทพฯ มีอยู่ 2 แห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เขตจตุจักร บนพื้นที่ 7 ไร่ ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ 4 หลัง มีพื้นที่ให้บริการรวมกันถึง 9,000 ตารางเมตร และพื้นที่นอกอาคารอีก 3,000 ตารางเมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 2544 ส่วนแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ มีพื้นที่ภายในอาคาร 9,779.78 ตารางเมตร พื้นที่ภายนอกอาคารและพื้นที่ต่อเนื่อง 4,242.14 ตารางเมตร และสระน้ำข้างอาคารอีก 4,451.16 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 18,473.08 ตารางเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2550 แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการ
พิพิธภัณฑ์เด็กแห่งแรกเกิดจากแนวคิดที่ต้องการสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก แนวคิดข้างต้นค่อย ๆ ฟูมฟักก่อตัวเป็นพิพิธภัณฑ์เด็กในที่สุด ภายใต้แนวทางการเรียนรู้แบบยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ผ่านชุดนิทรรศการอันหลากหลายและสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) ของเด็กๆ เอง จนพิพิธภัณฑ์เด็กเป็นต้นแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับเด็กวัย 1-12 ปี แห่งแรกของประเทศไทยและยังเป็นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต้องกล่าวว่าเป็นความล้ำหน้าอย่างมากในยุคนั้น
ในด้านการดูแลพิพิธภัณฑ์เด็กตั้งแต่ปี 2544 กระทั่งปิดตัว กทม. โอนสิทธิให้อยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เด็ก โดยทางมูลนิธิฯ ได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทรักลูกเป็นผู้บริหารจัดการอีกทอดหนึ่ง
เทคโนโลยี-การเรียนรู้ไปเร็ว ต้องปรับปรุงเพื่อต่อชีวิต
การปิดปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กจำเป็นหรือไม่ หากมองในแง่การจัดการความรู้ และการจัดการพิพิธภัณฑ์นับว่าจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม้ว่ารูปแบบการเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์เด็ก จะตอบโจทย์การเรียนรู้ของเด็กและมีความทันสมัยเพียงใด แต่เมื่อเปิดมา 8 ปี สิ่งที่เคยทันสมัยก็กลายเป็นล้าสมัย เพราะวงจรปกติของพิพิธภัณฑ์นั้น เพียง 3 ปีก็ต้องพัฒนาปรับปรุงใหม่ เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ยังคงความมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ เนื่องจากเนื้อหา สภาพแวดล้อม สภาพการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงเสนอ กทม. ให้ปิดปรับปรุง (Renovate)
หากนับอายุของพิพิธภัณฑ์เด็กถึงปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ไปมาก เด็กในปัจจุบันไม่ได้เรียนรู้จากหนังสือ แต่รับสื่อจากอุปกรณ์สื่อสาร เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน การเรียนรู้ของเด็กจึงก้าวหน้าไปเร็วมาก ประเด็นคือเมื่อความรู้เปลี่ยนไปมาก รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์จึงต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยขึ้นให้สอดคล้องกับปัจจุบัน
นอกจากนี้ กลุ่มเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์เด็กคือ กลุ่มเด็กอายุ 1-12 ปี ดังนั้นเด็กที่มาใช้บริการพิพิธภัณฑ์เด็กตั้งแต่ยุคแรก ๆ ถึงตอนนี้บางคนก็เป็นผู้ใหญ่แล้ว ส่วนเด็กที่เพิ่งเกิดก็มีวิธีการเรียนรู้ที่ต่างออกไป การเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอให้สอดคล้องย่อมเป็นสิ่งจำเป็น
8 ปี กทม.ไม่เคยสนับสนุนเงิน ปล่อยพิพิธภัณฑ์หาเงินเองจนไปไม่รอด
อย่างไรก็ตาม นอกจากต้องทำการปรับปรุงตัวอาคารและชุดนิทรรศการแล้ว ส่วนหนึ่งที่ทำให้พิพิธภัณฑ์เด็กต้องปิดตัวชั่วคราว เนื่องจากตลอด 8 ปีที่พิพิธภัณฑ์เด็กเปิดให้บริการ ไม่เคยได้รับการอุดหนุนงบประมาณจาก กทม. แต่อย่างใด
แหล่งข่าวคนหนึ่งกล่าวว่า ตลอด 8 ปีของพิพิธภัณฑ์เด็ก ทาง กทม. ไม่เคยสนับสนุนงบประมาณใด ๆ ให้เลย จึงเท่ากับบีบให้พิพิธภัณฑ์เด็ก ต้องหาผู้สนับสนุนให้เพียงพอด้วยตนเอง รวมถึงการขายบัตรเพื่อเข้าชมนิทรรศการพิเศษต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เงินส่วนนี้ไม่เคยเพียงพอ เนื่องจากการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติต้องใช้วัสดุอุปกรณ์จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งไม่มีทางหาแหล่งเงินสนับสนุนจากภาคเอกชนได้เพียงพอ
"สปอนเซอร์ที่ทางพิพิธภัณฑ์เด็กหามาได้ ก็มาจากภาคเอกชนล้วน ๆ ไม่มีจากรัฐ คนที่ทำธุรกิจจะมองออกว่า ฝั่งรายได้ได้อะไรบ้าง แต่ในฝั่งค่าใช้จ่ายคงที่มันหนัก ถ้ารองรับเด็กก็จะมีวัสดุสิ้นเปลือง ค่าบำรุงรักษา ค่าน้ำ ค่าไฟสูงมาก จึงมีการเสนอให้ทบทวนเรื่องการบริหารใหม่ เพราะการให้เอกชนบริหารโดยไม่ได้รับการอุดหนุนเลยย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ตอนนี้ก็เข้าปีที่ 3 แล้วในการหาคอนเซ็ปต์และแนวทาง" แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวในกทม.กล่าวตรงกันว่า ที่ผ่านมาทางกทม. ไม่ได้สนับสนุนเงินให้แก่พิพิธภัณฑ์เด็กจริง เนื่องจากติดขัดในข้อสัญญา จนเป็นเหตุให้เอกชนที่เข้าไปบริหารจัดการต้องถอนตัวออกไป
ปิด 3 ปี รูปแบบการบริหารจัดการยังไม่ได้ข้อสรุป
ล่าสุดนายมานิตระบุว่า ทั้งนี้รูปแบบการดำเนินการพิพิธภัณฑ์เด็ก จะไม่ทำรูปแบบเดิมที่เป็นมูลนิธิ แต่จะให้บริษัทเอกชนมาบริหารจัดการ เนื่องจากกทม. ไม่สามารถบริหารเองได้ เพราะขาดความเชี่ยวชาญด้านเด็กและเยาวชน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ
แต่แหล่งข่าวใน กทม. ระบุว่า ขณะนี้เรื่องแนวทางบริหารยังไม่ได้ข้อสรุป เพียงแต่ส่งเรื่องขึ้นไปให้คณะผู้บริหารพิจารณา ยังคงต้องรออีกระยะหนึ่ง ซึ่งหากได้ข้อยุติว่าจะให้เอกชนเข้ามาบริหารก็ยังต้องผ่านกระบวนการต่ออีกว่า กทม. จะให้เงินอุดหนุนปีละเท่าใด และต้องทำทีโออาร์ (ข้อกำหนดและขอบเขตการจ้าง-Terms of Reference: TOR) เพื่อให้เอกชนเข้าแข่งขันอีก
"คณะทำงานกำลังขอความเห็นชอบ เรื่องการจ้างเอกชนเข้ามาบริหารจัดการ แต่อยู่ที่ผู้ใหญ่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ต้องเสนอความเห็นไปที่ผู้บริหารก่อน เชื่อว่าผู้บริหารคงอยากเห็นการจัดการแนวใหม่ด้วย เรื่องต้องเข้าสู่ปลัดกทม.ก่อน และเสนอเข้าที่ประชุมผู้บริหาร แต่เป็นแนวคิดที่คณะทำงานเห็นตรงกันว่า กทม. ไม่ควรบริหารเอง ควรจะจ้างเอกชน ส่วนเรื่องงบสนับสนุนยังไม่มีการประเมินว่า งบประมาณที่จะสนับสนุนคือเท่าไหร่ เพราะต้องดูหลายเรื่อง คณะทำงานมองกันว่า ไม่ควรมีการเก็บเงิน ถ้าไม่เก็บ กทม. ต้องอุดหนุนอย่างเดียว แต่ถ้าให้เก็บเงินอาจจะเป็นการเลี้ยงตัวเองในระดับหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด แต่เงินที่จะอุดหนุนต้องมีเรื่องเงินเดือนของบุคลากร ค่าบำรุงรักษา แต่ขณะนี้ที่มีอยู่คือเรื่องการจ้างรักษาความปลอดภัยและการรักษาความสะอาด" แหล่งข่าวในกทม.กล่าว
หมายความว่า หากแนวทางบริหารยังไม่ได้ข้อยุติ ต่อให้การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กแล้วเสร็จ ก็อาจจะไม่สามารถเปิดให้บริการได้อยู่ดี เนื่องจากไม่มีผู้บริหารจัดการ
แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านั้น มีการเสนอแนวคิดเรื่องรูปแบบการบริหารผ่านทางคณะกรรมการของมูลนิธิฯ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงด้านตัวบุคคล ตามวาระทางการเมือง และการโยกย้ายข้าราชการ ทำให้เกิดปัญหาความต่อเนื่องของคนที่รับนโยบายหรือขับเคลื่อนต่อ ประการที่ 2 การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ยังเป็นเรื่องใหม่ และยากต่อการทำความเข้าใจ เนื่องจากไม่มีโมเดลมาก่อน ตัวพิพิธภัณฑ์เด็กเองก็ถือเป็นโมเดลแรก ๆ ของเมืองไทย ทำให้ไม่มีต้นแบบการบริหารจัดการที่จะนำมาใช้
"ต่อให้ผู้บริหารเข้ามาดูเองก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ เพราะมันซับซ้อน จึงไม่เกิดการผลักดันเต็มที่ แม้แต่ปัจจุบันนี้ ความเข้าใจและการเปลี่ยนกรอบคิดตรงนี้ก็ยังไม่เป็นที่รับรู้หรือชัดเจนขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว
ติดล็อกราคากลาง หวั่นคุณภาพตก
รูปแบบการบริหารจัดการที่ไม่ได้ข้อยุติไม่ใช่ต้นเหตุเดียวของปัญหาความล่าช้า ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น การติดกรอบคิดของกทม.คืออุปสรรคประการหนึ่ง และยิ่งกลายเป็นอุปสรรคมากยิ่งขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับกฎระเบียบราคากลางของทางราชการ ซึ่งไม่สอดคล้องและไม่เอื้อต่อการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กอย่างยิ่ง ทั้งอาจทำให้การปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑ์เด็กมีคุณภาพต่ำกว่า หรือไม่เป็นไปตามแบบที่วางเอาไว้
ประเด็นสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจคือ พิพิธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้ไม่ใช่แค่สิ่งปลูกสร้างเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันหรืออาจจะมากกว่า คือตัวองค์ความรู้และนิทรรศการ
"มันติดกรอบคิด คือพิพิธภัณฑ์เด็กได้แบบของตัวนิทรรศการและกายภาพเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องเข้าใจว่ามันไม่ใช่งานก่อสร้างแล้วก็หาผู้รับจ้าง กายภาพคือการก่อสร้าง แต่ยังหมายถึง การเอาแบบมาตีความ นิทรรศการคือการเอาแนวคิดของชุดนิทรรศการมาแปลงเป็นเครื่องเล่น เขาอาจจะออกแบบวัสดุให้เล่นแบบนี้ ๆ แบบมันควรจะเป็นแบบนี้ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องการก่อสร้าง มันต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง อย่างในต่างประเทศ เวลาทำชุดเรียนรู้ เขาต้องเอาไปทดสอบกับเด็ก ถึงบอกว่ามันติดกรอบคิด เพราะถ้าไม่เข้าใจเรื่องนี้ก็จะตีความว่าเป็นแบบก่อสร้าง พอสร้างแล้วมันใช้ไม่ได้ ซึ่งมีกรณีตัวอย่างอยู่แล้ว" แหล่งข่าวอธิบาย
จากการตรวจสอบพบว่า แบบที่มีการทำออกมานั้น กำหนดงบประมาณไว้ที่ 120 ล้านบาท ปรากฏว่า เมื่อผ่านการคิดราคากลางงบประมาณลดเหลือเพียง 70 ล้านบาท ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการอีอ็อคชั่นแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าตัวเลขนี้จะลดลงอีกหรือไม่ ปัญหาอยู่ที่ว่า หากเป็นการก่อสร้างอาคารทั่วไป งบประมาณที่ลดลงอาจไม่ใช่อุปสรรคมากนัก แต่กับพิพิธภัณฑ์กลับกลายเป็นคนละเรื่อง เพราะมีรายละเอียดที่บางครั้งไม่สามารถลดทอนได้ เพราะการลดทอนอาจหมายถึงคุณภาพของตัวพิพิธภัณฑ์
"การจัดจ้าง การหาผู้รับเหมาก่อสร้าง มันจึงต้องไม่ใช่การหาแบบอีออคชั่น แต่ต้องมีวิธีหาซัพพลายเออร์หรือผู้เชี่ยวชาญที่สอดคล้อง วิธีการจ้างต้องเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถทำได้ เพราะขัดกับระเบียบของ ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ที่เป็นหน่วยงานดูแลเรื่องนี้โดยตรง แต่ ป.ป.ช. เขาก็มีวิธีจัดซื้อจัดจ้างพิเศษ แต่ข้าราชการเขากลัว ดังนั้นถ้าเงินเกิน 2 ล้านบาท ต้องทำอีออคชั่น ซึ่งมันเป็นรูปแบบของการคิดที่ตายตัวมาก จึงไม่สอดคล้องกับงาน"
"ส่วนงานที่เข้ามารับผิดชอบงบต้องเป็นส่วนงานที่เข้าใจเรื่องนี้ ถ้าตั้งแต่หัวไม่เข้าใจ งานก็ออกมาไม่ได้ การหาผู้รับจ้างก็เป็นเรื่องยากสำหรับเขา กระบวนการเรียนรู้ของสังคมไทยพอใช้กรอบราชการมันติดล็อกหมด อย่างการทำนิทรรศการชุดหนึ่ง ราคากลางของราชการบางทีมันต่ำจนไม่สามารถมีความคิดสร้างสรรค์ได้ แบบที่ออกแบบมาก็จะถูกย้อน เพื่อให้ไปสู่ราคากลาง ที่เป็นตัวทำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์อะไรได้ ก็ต้องเปลี่ยน สมมติมูลค่าการสร้างสรรค์งานที่มีการประมาณการไว้สำหรับการหาผู้รับจ้าง เมื่อเทียบกับราคากลางแล้ว ปรากฏว่ามันสูงกว่าราคากลางมาก แต่ก็ต้องใช้ราคากลาง พอไปหาเอกชนรับจ้างก็สร้างไม่ได้ มันก็วนอยู่อย่างนี้" แหล่งข่าวกล่าว
จากปัญหาข้อติดขัดเรื่องระเบียบอันซับซ้อน ราคากลาง และกรอบคิดของผู้บริหาร กทม. คำกล่าวของนายมานิตที่พูดไว้เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2555 ว่า พิพิธภัณฑ์เด็กจะสามารถเปิดได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าจึงไม่สามารถเป็นไปได้ เพราะถึงตอนนี้กทม. ยังไม่สามารถหาตัวผู้รับจ้างได้ด้วยซ้ำ ดูเหมือนว่าการเปิดพิพิธภัณฑ์เด็กคงจะต้องถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด
ที่มา: http://www.tcijthai.com/
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
พรุ่งนี้!!! ศาลนัดฟังคำสั่งไต่สวนการตาย ‘ด.ช.อีซา’ เหยื่อกระสุน พ.ค.53 คดีที่ 4 Posted: 19 Dec 2012 06:03 AM PST 9.00 น. 20 ธ.ค.นี้ ศาลอาญารัชดานัดฟังคำสั่งไต่สวนการตาย "อีชา" เด็กกำพร้าวัย 12 ปี เหยื่อกระสุน 15 พ.ค.53 ช่วงกระชับวงล้อมเสื้อแดง ของ ศอฉ. ทนายญาติเชื่อคำสั่งเหมือนคดี "พัน คำกอง" เนื่องจากเหตุการณ์และพยานหลักฐานชุดเดียว ในวันพรุ่งนี้ (20 ธ.ค.55) เวลา 09.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลอาญา รัชดา ศาลได้นัดฟังคำสั่งคดีเลขที่ อช. 3/2555 ในคดีที่พนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 8 สำนักงานอัยการสูงสุด ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือ "อีซา" อายุ 12 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืนความเร็วสูงที่หลังทะลุเข้าช่องท้องทำให้เลือดออกมากในช่องท้อง เมื่อวันที่ 15 พ.ค. เวลาหลังเทียงคืน ที่บริเวณใต้แอร์พอร์ตลิงค์ ปาก ซ.หมอเหล็ง หน้าโรงภาพยนตร์ โอเอ ถนนราชปรารภ ช่วงที่มีการกระชับวงล้อมผู้ชุมนุมเสื้อแดงโดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งการไต่สวนและคำสั่งดังกล่าวเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 เพื่อแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน ตายเมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย เกี่ยวกับการไต่สวนการเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากการสลายการ ชุมนุมของ นปช. ช่วง เมษา – พ.ค. 53 นั้น ศาลได้มีคำสั่งว่าเป็นการเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารมาแล้ว 3 คดี คือ คดีนายพัน คำกอง คดี นายชาญณรงค์ พลศรีลา และล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.ที่ผ่านมาคือคดีนายชาติชาย ชาเหลา โดยเฉพาะคดีนายพัน ดีเอสไอได้นำพยานหลักฐานจากคำสั่งไปแจ้งข้อหาต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีต ผอ.ศอฉ. ในข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลด้วย รวมทั้งในวันที่ 16 ม.ค.ที่จะถึงนี้ ศาลก็ได้นัดฟังคำสั่งในคดีของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ 71 ปี อีกเช่นกัน ซึ่งนายบุญมีถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้อง ด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 โดยนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้เสียชีวิต ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวด้วยว่าการเสียชีวิตของ ด.ช.อีชา นี้ เป็นเหตุการณ์เดียวกับ 'พัน คำกอง' ที่ศาลได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา ว่าเป็นการเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ทหาร โดยใช้พยานหลักฐานชุดเดียวกัน จึงเชื่อได้ว่าคำสั่งน่าจะออกมาในลักษณะเดียวกัน และจากการเบิกความของประจักษ์พยานที่ผ่านมาโดยเฉพาะนายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้ที่ถูกทหารยิงสกัดจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งเป็นพยานในคดีนายพันด้วยนั้น ได้เบิกความในคดีนี้ว่าขณะเกิดเหตุขณะตนขับรถตู่มาแล้วถูกระดมยิง โดยไม่ได้ยินการประกาศเตือนห้ามไม่ให้ขับเข้ามาของเจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่บริเวณนั้น จึงได้รับบาดเจ็บและเป็นกระสุนขนาด .223(5.56 มม.) ซึ่งเป็นกระสุนชนิดเดียวกับที่อยู่ในร่างนายพัน และตามคำสั่งของศาลในคดีนายพันเอง ศาลก็ระบุว่าด้วยพยานหลักฐานทั้งหมดชี้ว่านายพันถูกกระสุนปืนขนาด .223 จากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่ร่วมกันยิงไปยังรถตู้ที่วิ่งเข้ามายังพื้นที่หวงห้ามแล้วกระสุนไปโดนผู้ตายที่ออกมาดูเหตุการณ์ สภาพรถตู้นายสมร หลังถูกระดมยิง นายโชคชัย ได้กล่าวกับ มติชนออนไลน์ ด้วยว่า หากศาลมีคำสั่งว่าการเสียชีวิตของน้องอีซา เกิดจากฝีมือของเจ้าหน้าที่จริง ก็จะสรุปสำนวนส่งไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป อย่างไรก็ตามในวันพรุ่งนี้ นายสมศักดิ์ วันแอเลาะห์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง องค์กรสงเคราะห์ มุสลิมนานาชาติ ซึ่งเป็นผู้ปกครองของน้องอีซา จะเดินทางมาร่วมฟังคำสั่งของศาลด้วย ซึ่งก่อนเสียชีวิต ด.ช.อีชา อาศัยอยู่บ้านอัซซัยยิดะฮ นะฟีซะฮ ซัมสุ ซึ่งเป็นบ้านสงเคราะห์และฝึกฝนวิชาชีพเด็กกำพร้า
เนชั่นทีวีรายงานขณะเกิดเหตุ เด็กถูกลูกหลงตาย จากรายงานข่าวของ ธนานุช สงวนศักดิ์ ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 15 พ.ค.53 ได้รายงานสดจากที่เกิดเหตุผ่านรายการเก็บตกเนชั่น ว่า "มีการประกาศเตือนแล้ว มีการยิงด้วยกระสุนยางแล้ว แต่ว่าคุณสมร (คนขับรถตู้) ก็ยังขับมา ดิฉันอยู่ตรงนั้นตรงที่เกิดเหตุจริง (คนขับรถตู้) ก็ฝ่าฝืนขับเข้ามาชนตรงรั้วลวดหนาม ก็เลยมีการระดมยิงกันเข้าไป คุณสมร ไหมทอง ก็เลยได้รับบาดเจ็บ แต่นอกจากคุณสมรแล้ว ตรงนี้ยังมีเด็กอีก 1 คน ซึ่งไม่ทราบชื่อเสียชีวิตด้วย (ด.ช.คุณากร) เพราะถูกลูกหลง เด็กคนนี้จะมานอนเล่นแถวบังเกอร์ของทหาร ช่วงแรกทหารก็มีการไล่ให้กลับไปบ้าน แต่ก็ไม่กลับ พอดีมีการระดมยิงเข้าไปเด็กคนนี้ก็เลยเสียชีวิตด้วย นอกจากเด็กคนนี้แล้วยังมี คุณพัน คำกอง เสียชีวิตด้วย" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
รวันดา: บนความเพิกเฉยของสหประชาชาติ (7) Posted: 19 Dec 2012 05:42 AM PST วิกฤตซ้ำซากในการกลับมาของผู้ลี้ภัย ดังนั้นเพื่อที่จะกำจัดความหวาดกลัวเหล่านี้และเพื่อที่จะช่วยให้ผู้ลี้ภัยรู้สึกปลอดภัยขึ้น การสร้างสถานีวิทยุแห่งใหม่ จึงจำเป็นเพื่อการกระจายเสียงบอกข้อมูลข่าวสารปัจจุบันที่ถูกต้องและเป็นไปในทางบวก รายงานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่ได้รับการต้อนรับให้กลับบ้านโดยไม่ได้รับอันตราย ซึ่งการรายงานข่าวเหล่านี้ไดนำเสนอข่าวเกี่ยวกับระบบยุติธรรมของรวันดา สิทธิมนุษยชน และโครงการทั้งหลายที่กำลังพัฒนา เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้อพยพว่าจะได้รับความปลอดภัย นอกจากนั้นยังเสนอแนวทางในการอ้างสิทธิและการคืนสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ถูกยึดครองไปกลับคืนหากกลับไป เป็นต้น พนักงานขององค์กรเอกชน (NGO) หลายคนในโกมาขาดข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของรวันดา หลงเชื่อไปกับข่าวโคมลอยด้วย จึงเป็นปัญหาและอุปสรรคอย่างมากในการนำผู้ลี้ภัยกลับรวันดา ดังนั้นเมื่อเดือนตุลาคม 1995 UNHCR ในโกมาได้ร่วมงานกับสถานีวิทยุอกาทาเชีย ( Agatashya) ในแซร์ที่ได้ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อกระจายเสียงส่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความเป็นไปของการแก้ไขปัญหาในรวันดา USCR ก็ได้จัดหาข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่องค์กรเอกชนเหล่านี้เพื่อที่ว่าบุคคลากรเหล่านั้นสามารถเป็นผู้ช่วยเหลือและขจัดเรื่องร้ายและข่าวโคมลอยที่สร้างขึ้นมาให้หมดไป สหประชาชาติได้ใช้ยุทธการหลายอย่างในการโน้มน้าวผู้ลี้ภัยให้กลับบ้าน และเพื่อที่จะกระตุ้นให้มีการอพยพ UNHCR พยายามที่จะทำให้ความเป็นอยู่ในแคมป์ผู้ลี้ภัยย่ำแย่ลง โดยปิดกั้นสิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ร้านอาหารและบาร์ เพื่อที่จะซ่อมแซมแคมป์ พร้อมทั้งยังขอร้องให้องค์กรเอกชนหยุดสร้างห้องน้ำ โรงเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างอื่นด้วย UNHCR ยังห้ามไม่ให้ผู้ลี้ภัยสร้างบ้านและทำธุรกิจนอกแคมป์และขัดขวางไม่ให้ได้รับงานในโกมา สกัดกั้นไม่ให้เข้าไปในพื้นที่เมือง เป็นต้น แต่ยังไม่เป็นผลมากนัก ประธานาธิบดีคนใหม่ของรวันดา พาสเตอร์ บิสิมังกู (Pasteur Bizimungu) กล่าวสุนทรพจน์เมื่อปี 1995 โดยกล่าวว่ารัฐบาลจะต้อนรับผู้ลี้ภัยกลับบ้าน และรัฐบาลจะทำทุกวิถีทางเพื่อนำผู้ลี้ภัยกลับรวันดา ความพยายามทั้งหลายจะไม่ถูกปิดกั้นและเพื่อทำให้แน่ใจว่าชาวรวันดาทุกคนจะพบกับความสุข รื่นรมย์กับสิทธิของการเป็นพลเมืองอย่างเท่าเทียมกัน และทุกคนจะได้รับการปกป้องจากรัฐบาลรวันดาอย่างเสมอภาคกัน อย่างไรก็ตามการอพยพของผู้ลี้ภัยนั้นรวันดาไม่อาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้เดียว และเป็นที่แน่ชัดว่ารวันดานั้นต้องการความช่วยเหลือจากผู้นำในภูมิภาคเดียวกันเพื่อเร่งรัดกระบวนการอพยพผู้ลี้ภัย อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา จิมมี คาร์เตอร์ ( Jimmy Carter ) ได้พบผู้นำจากเบอรันดี รวันดา แซร์และอูกันดาที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เมื่อวันที่19 พฤศจิกายน 1995 สถานที่พวกเขาได้ร่วมลงนามในข้อตกลงเพื่ออพยพชาวรันดาจากแคมป์ในแซร์และแทนเซเนีย แต่หนึ่งในอุปสรรคใหญ่ที่สุดที่ทุกฝ่ายค้นพบก็คือการที่ทั้งชาวฮูตูกับชาวตุ๊ดซี่ เคืองแค้น เหินห่างต่อกันมานานจนไม่อาจไว้วางใจกัน เกรงว่าต่างฝ่ายต่างถูกจัดการด้วยความรุนแรงดั่งที่ผ่านมา การลงนามในข้อตกลงการอพยพจึงไม่ค่อยมีผลเท่าใดนัก ทำให้ผู้นำทั้งหลายเห็นร่วมกันว่าการทำให้ผู้ลี้ภัยอพยพกลับนั้นทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันหาช่องทางให้ผู้ลี้ภัยเชื่อมั่นในความปลอดภัย และต้องนำผู้ลี้ภัยกลับบ้านให้เรียบร้อยโดยไม่ให้มีความรุนแรงเกิดขึ้นอีก ในข้อตกลงดังกล่าวรัฐบาลรวันดาทำให้ทุกฝ่ายแน่ใจว่าจะไม่มีผู้ลี้ภัยคนใดได้รับอันตรายระหว่างที่อพยพกลับเข้าประเทศ รัฐบาลยังกล่าวเพิ่มเติมว่าจะทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยได้คืนสิทธิในทรัพย์สินกลับมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถูกยึดและถูกครอบครองไปโดยชาวตุ๊ดซี่ในรวันดาและผู้ลี้ภัยชาวรวันดาที่กลับเข้ามาในประเทศก่อนแล้ว ข้อตกลงยังให้ความสำคัญกับแผนการให้อพยพผู้ลี้ภัยจำนวนมากคือตั้งเป้าหมายไว้ถึง 1 หมื่นคนต่อวัน การตัดสินใจที่จะนำผู้ลี้ภัยกลับ เกิดขึ้นก่อนแผนการอพยพที่แซร์ เพียง 1 เดือน ประธานาธิบดีโมบูทู เซซี เซโก ( Mobutu Sese Seko ) ของแซร์ได้ประกาศเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 1995 ว่าเขาจะเริ่มปิดแคมป์และจะบังคับให้ผู้ลี้ภัยชาวรวันดาในแซร์กลับรวันดาโดยเร็ว องค์กรเอกชน (NGO) เกรงว่าการกดดันโดยกองกำลังแซร์จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง การสังหารและความวุ่นวายตามมาอีก และเชื่อว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการนำผู้ลี้ภัยกลับบ้านคือด้วยการช่วยเหลือและจัดการของรัฐบาลแอฟริกันตะวันออกร่วมกับองค์การสหประชาชาติ (UN) ปัญหาและอุปสรรคในการอพยพผู้ลี้ภัย กองกำลังชาวฮูตูยังคงขู่ขวัญอย่างต่อเนื่องและทำร้ายชาวตุ๊ดซี่และผู้สนับสนุนรัฐบาลรวันดาจากกองทัพของตนภายในแคมป์ผู้ลี้ภัย โดยเชื่อว่าชาวฮูจะสามารถกลับเข้ามาในประเทศได้จากการโค่นล้มรัฐบาลชาวตุ๊ดซี่ และกลับเข้ามามีอำนาจเพื่อกำจัดชาวตุ๊ดซี่ออกไปอีก จากการเฝ้าสังเกตการณ์ของนักรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่าพันเอก เธโอเนสเต้ บากาซอรา (Theoneste BaGasora ) นายทหารของรัฐบาลรวันดาที่ถูกขับไล่ออกไปอ้างว่ากลุ่มคนของเขาวางแผนจะเข้าร่วมสงครามกับชาวฮูตูด้วย ซึ่งสงครามคงจะยืดเยื้อยาวนานและอาจเต็มไปด้วยผู้เสียชีวิตจำนวนมากจนกว่าชนกลุ่มน้อยชาวตุ๊ดซี่จะหมดสิ้นและถูกขับไล่ออกจากประเทศรวันดา อย่างไรก็ตามทัศนคตินี้เพียงแต่สะท้อนความเห็นของประชาชนและผู้นำชาวฮูตูบางคนบางกลุ่มเท่านั้น ไม่ใช่ว่าผู้นำชาวฮูตูหรือพลเมืองคนอื่นจะเห็นเช่นนี้ด้วยเพราะคนอื่นๆยังเชื่อว่าชาวฮูตูคงจะพ่ายแพ้ในการรบครั้งอื่นๆ และหลายคนต้องการกลับมาอย่างสงบเพื่อก่อตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยสนับสนุนรัฐบาลที่แบ่งปันอำนาจกันซึ่งเป็นรัฐบาลของคนส่วนใหญ่ซึ่งก็คือชาวฮูตูเป็นผู้ปกครอง อุปสรรคที่สำคัญที่สุดที่ยังคงมีอยู่ก็คือความหวาดกลัวของผู้ลี้ภัยที่จะกลับเข้าประเทศ เพื่อที่ทำให้แน่ใจและปกป้องผู้ลี้ภัย ระหว่างการอพยพ จิมมี คาร์เตอร์ และผู้นำแอฟริกันอีกสี่คน จากเบอรันดี รวันดา แซร์และอูกันดา ได้เรียกร้องให้กองกำลัง UNAMIRII ยังคงอยู่ในรวันดาต่อไป และสหประชาชาติยังให้องค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนกว่า 100 องค์กรเฝ้าจับตามองความเคลื่อนไหวทั่วประเทศเพื่อที่จะตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนจะได้แน่ใจว่ามีความสงบสุขเกิดขึ้นในหมู่ชาวฮูตูและชาวตุ๊ดซี่ จริงๆนอกจากนั้นองค์กรเหล่านี้ยังทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรวันดาในปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ประเทศและองค์กรอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป ก็ได้ส่งองค์กรสิทธิมนุษยชนมาตรวจสอบรวันดาเช่นเดียวกัน ความคิดเห็นส่วนใหญ่ของผู้ลี้ภัยผู้ที่กลับเข้าประเทศอย่างปลอดภัย เห็นว่าผู้ลี้ภัยทั้งหมดควรอพยพกลับเข้ามา หลังจากนั้นจึงมีเรื่องเล่าหลายอย่างเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยซึ่งกลับมาโดยไม่ได้รับอันตราย และได้รับการต้อนรับจากชุมชนทั้งชาวฮูตูและชาวตุ๊ดซี่ เป็นอย่างดี แต่การอพยพกลับประเทศได้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ โดยเฉพาะการตั้งถิ่นฐานใหม่ และเพื่อที่จะทำให้ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการอพยพบรรเทาลง USCR แนะนำว่ารัฐบาลรวันดาควรหาทางแก้ปัญหาเรื่องการตั้งถิ่นฐานของชาวรวันดาใหม่เช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยสงครามกลางเมืองอื่นๆที่กำลังกลับเข้าประเทศไปพร้อมๆกัน ผู้ลี้ภัยชาวรวันดานำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในแซร์ ในทางตรงกันข้ามสถานการณ์ผู้ลี้ภัยก็ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในบางกรณีแก่เจ้าหน้าที่และทหารของแซร์ ผู้ซึ่งได้เงินจากการที่มีผู้ลี้ภัยและมีองค์กรช่วยเหลือในประเทศ รวมทั้งการเรียกรับสินบน บางครั้งเจ้าหน้าที่ของแซร์ ได้ยึดรถยนต์ขององค์กรเอกชนอยู่เนืองๆโดยเหตุผลเพียงเล็กน้อยหรือบางครั้งก็ไม่มีเหตุผล หลังจากที่สินบนได้จ่ายไปแล้ว เจ้าหน้าที่สนามบินแซร์ก็ยังเรียกเก็บภาษีจากการที่เครื่องบินที่เข้าออกเพื่อขนยารักษาโรคและอุปกรณ์ช่วยชีวิตทั้งหลาย ผู้ลี้ภัยรวันดา กับความขัดแย้งทางด้านชาติพันธุ์ในแซร์ กองทหารรวันดา กังวลเกี่ยวกับชาวฮูตูหัวรุนแรงสมาชิกกองกำลังชาวฮูตูในแคมป์ผู้ลี้ภัยที่ได้ระดมพลติดอาวุธ และฝึกซ้อมอย่างลับๆ กองทหารรวันดาจึงได้ส่งกองกำลังข้ามดินแดนเข้าไปในแคมป์ผู้ลี้ภัยในแซร์เพื่อที่จะขับไล่เคลื่อนย้ายสมาชิกกองกำลังชาวฮูตูออกไป ความขัดแย้งครั้งนี้อีกครั้งที่เป็นการต่อสู้ระหว่างชาวฮูตูและชาวตุ๊ดซี่ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติของยึดอำนาจในแซร์ เหตุการณ์เหล่านี้ยิ่งเน้นย้ำถึงผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างชาวฮูตูและชาวตุ๊ดซี่ในแอฟริกากลาง ด้วยการที่ชาวฮูตูและชาวตุ๊ดซี่อาศัยอยู่ในเบอรันดี แซร์ แทนเซเนีย และอูกันดา อย่างหลากหลายการต่อสู้ในพื้นที่หนึ่งมีผลกระทบต่ออีกประเทศหนึ่งแม้อยู่ในพื้นที่อื่น ซึ่งก็ยิ่งเป็นเชื้อให้ความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ขยายผลยาวนานขึ้นไปอีก สถานการณ์ผู้ลี้ภัยในแซร์เริ่มย่ำแย่มากขึ้น เมื่อลอว์เรน คาบิลา (Laurent Kabila ) ของแซร์เริ่มก่อกบฏขึ้นในเดือนตุลาคม 1996 โดยมีจุดมุ่งหมายเริ่มต้นเพื่อกำจัดผู้ลี้ภัยชาวรวันดาในแซร์ ให้หมดไป คาลิบาได้ก่อตั้งกองทัพขึ้นมา ที่เรียกว่า "พันธมิตรกองกำลังประชาธิปไตยเพื่ออิสรภาพแห่งคองโก-แซร์" (The Alliance of Democratic Forces for the Liberation of Congo-Zaire) ซึ่งเป็นศูนย์รวมชาวแซร์ที่เป็นชาวตุ๊ดซี่ไว้จำนวนมาก รัฐบาลรวันดาปฏิเสธการเกี่ยวข้องใดๆต่อการกระทำของกลุ่มดังกล่าว แต่ต่อมาปรากฏว่ากองกำลังชาวแซร์ได้รับการสนับสนุนทางทหารและเสบียงจากรวันดา เพราะหลังจากการเกิดกบฏเพียง 9 เดือน รองประธานาธิบดีรวันดาและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม พอล คากาเม ( Paul Kagame ) ยอมรับว่ารัฐบาลรวันดาได้วางแผนและมุ่งก่อให้เกิดการกบฏในแซร์ โดยหวังว่าจะนำมาซึ่งการสิ้นสุดของปัญหาผู้ลี้ภัยเท่านั้น แต่ท้ายที่สุดแล้วการก่อกบฏ ของลอว์เรน คาบิลา (Laurent Kabila ) นี้ได้ขยายตัวเติบโตขึ้นจนกลายเป็นกบฏเพื่อชาติ ต้องการจะโค่นล้มขับไล่ประธานาธิบดีโมบูทู เซซี เซโก ( Mobutu Sese Seko ) ตามมา ลอว์เรน คาลิบา (Laurent Kabila ) ต้องการขับไล่ผู้ลี้ภัยชาวรวันดาออกจากแซร์ เพระเชื่อว่ากองกำลังชาวฮูตูในแคมป์ผู้ลี้ภัยได้อาวุธจากรัฐบาลแซร์ เพื่อช่วยประธานาธิบดีโมบูทู (Mobutu) ให้คงอำนาจต่อไป นอกจากนั้นกองกำลังก็ยังเกี่ยวข้องกับการทำร้ายชาวแซร์ที่เป็นชาวตุ๊ดซี่อีกด้วย ความขัดแย้งขยายตัวกลายเป็นการสู้รบกันระหว่างผู้สนับสนุนลอว์เรน คาบิลา (Laurent Kabila ) กับผู้สนับสนุนโมบูทู (Mobutu) ซึ่งรวมถึงกองกำลังชาวฮูตูด้วย คาบิลา กล่าวว่าหากผู้ลี้ภัยชาวรวันดาไม่ออกไปจากแซร์ เขาจะใช้กองกำลังบังคับให้ออกไป เมื่อเดือนตุลาคม 1996 กองกำลังคาบิลาโดยการช่วยเหลือจากประชนในหมู่บ้านของแซร์ซึ่งต้องการกำจัดผู้ลี้ภัยได้โจมตีแคมป์ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแซร์ ระหว่างที่มีการโจมตี มีผู้ลี้ภัยชาวฮูตูไม่ต่ำกว่า 1 แสนคนได้หลบหนีไปอยู่ในป่าของแซร์และเทือกเขาเพราะไม่ต้องการถูกส่งตัวกลับประเทศ กองกำลังของคาบิลาตามผู้ลี้ภัยเข้าไปทั้งในป่าและเทือกเขา และได้สังหารผู้ลี้ภัยชาวรวันดาไปหลายพันคน ประชาชนเกือบ 1 แสนคนสูญหายไปอย่างไร้ร่องลอยไม่สามารถมีใครตอบได้ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร ต่อมาประมาณเดือนพฤศจิกายน คาบิลาสั่งให้หยุดยิงและยอมให้ผู้ลี้ภัยกลับเข้าประเทศ แต่ขณะที่ผู้ลี้ภัยเริ่มจะอพยพกลับกองกำลังของคาบิลาได้ยกขบวนไปที่ แคมป์มูกันกา (Mugunga) ที่โกมา (Goma) เพื่อสังหารสมาชิกกองกำลังชาวฮูตู การกระทำดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดความโกลาหลและเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับมาของผู้ลี้ภัยในรวันดาอย่างมหาศาล โดยเมื่อ 17 พฤศจิกายน ชาวรวันดาเกือบ 2 แสน 5 หมื่นคนอพยพกลับเข้ารวันดาโดยใช้เวลาเพียง 4 วัน นับเป็นการอพยพที่มีผู้อพยพมากที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุด ผู้ลี้ภัยบางคนถูกกองกำลังของแซร์ใช้ปืนจ่อหัวบังคับให้กลับบ้าน แต่บางคนก็มีความสุขดีที่ได้กลับบ้านเพื่อจะได้พ้นจากเงื้อมมือของกองกำลังชาวฮูตู ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน อย่างไรก็ตามปัญหาผู้ลี้ภัยก็กลายเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้แซร์เปลี่ยนผู้ปกครองเพราะหลังจากนั้น ในที่สุดลอว์เรน คาบิลา (Laurent Kabila ) ก็โค่นล้มขับไล่ประธานาธิบดีโมบูทู (Mobutu) ได้สำเร็จและตั้งชื่อแซร์ใหม่เป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก" (Democratic Republic of the Congo, DRC) เมื่อเดือนพฤษภาคม 1997 ประธานาธิบดีพาสเตอร์ บิสิมังกู (Pasteur Bizimungu) ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เดินทางมาที่ชายแดนรวันดาและกล่าวประกาศผ่านทางโทรโข่งขนาดใหญ่ต้อนรับการกลับมาของผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งการปิดแคมป์และการกลับมาของผู้ลี้ภัย นั่นหมายถึงกองกำลังชาวฮูตูจะไม่สามารถใช้แคมป์เป็นฐานที่มั่นเพื่อที่จะเตรียมการสู้รบกับรัฐบาลอีกต่อไป หลังจากนั้นอีกหนึ่งเดือนต่อมาผู้ลี้ภัยอีกจำนวน 5 แสนคนจากแทนเซเนียได้เดินทางกลับเข้ามาในรวันดา ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ก็ถูกบังคับโดยรัฐบาลแทนเซเนียเช่นกัน จนเมื่อถึงต้นปี 1997 ผู้ลี้ภัยจำนวน 1ล้าน 3 แสนคนได้กลับเข้าประเทศรวันดา ความรุนแรงที่มากขึ้น กบฏชาวฮูตูมักจะโจมตีและฆ่ากองกำลังเพื่อชาติรวันดา (RPA) พลเมืองชาวตุ๊ดซี่และชาวฮูตูที่พวกเขากลัวว่าจะให้เห็นใจรัฐบาลรวันดา ทั้งนี้เมื่อเดือนธันวาคม 1997 กองกำลังชาวฮูตูได้สังหารผู้ลี้ภัยชาวตุ๊ดซี่ 3 ร้อยคนในแคมป์มูเดนดี (Mudende) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรวันดา การโจมตีส่วนใหญ่ไม่มีมูลเหตุจูงใจทางการทหาร แต่เป็นการกระทำอันเนื่องมาจากความเคียดแค้นต่อเนื่องจากการใช้ความรุนแรงเมื่อปี 1994 ที่มีสาเหตุจากชาติพันธุ์ ส่งผลให้กบฏชาวฮูตูและกองกำลังเพื่อชาติรวันดา (RPA) ยังพยายามที่จะสร้างความขัดแย้งกันอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดมา นอกจากนั้นกองกำลังเพื่อชาติรวันดา (RPA) เองยังไม่ลดละเรื่องความรุนแรง เพราะได้ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์และยังก่อความรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชนหลายอย่าง ทั้งได้สังหารประชาชนชาวฮูตูจำนวนมาก ตลอดปี 1997 ทั้งได้ลักพาตัว ทรมาน และ สังหารพลเมืองที่ไม่มีอาวุธหลายพันคนในปี 1998 ซึ่งจากข้อมูลขององค์กรนิรโทษกรรมสากล พบว่าพลเมืองถูกสังหารโดยกองกำลังเพื่อชาติรวันดา (RPA) เมื่อปี 1997 จำนวนมากกว่าจำนวนที่ถูกฆ่าโดยกบฏชาวฮูตู ซึ่งความรุนแรงมักจะเกิดขึ้นในระหว่างการลาดตระเวนตรวจสอบความปลอดภัยของกองกำลังเพื่อชาติรวันดา (RPA) ส่วนในช่วงเวลาอื่นการสังหารได้กระทำลงเนื่องจากเหตุผลทางการเมืองหรือไม่ก็มาจากความแค้น การทำร้าย การสังหาร หลายครั้งที่ถูกปกปิดไม่ให้ประชาชนรับทราบ รวมทั้งถูกปิดบังซ่อนเร้นโดยกองกำลังของรัฐบาล.....
หมายเหตุ: บทความแบ่งเป็น 10 ตอน โดยแปลสรุปจาก World in conflict. Rawanda : country torn apart. และนำมาเรียบเรียงใหม่เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น อ้างอิง : Bodnarchuk, Kari. World in conflict. Rawanda : country torn apart . Manufactured in the United States of America. By Lerner Publications Company เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์: แลกเปลี่ยนกับเกษียร เตชะพีระ ต่อบทบาทของทีดีอาร์ไอ Posted: 19 Dec 2012 05:04 AM PST อาจารย์เกษียร เตชะพีระ ได้เขียนบทความเรื่อง "ปัญหาของขวาไทยในปัจจุบัน" ตีพิมพ์ในมติชนรายวัน วันที่ 7 ธันวาคม 2555 และเรื่อง "กระบวนการกำหนดนโยบายของไทย - ที่มา ที่เป็นและที่ไป" ตีพิมพ์ในมติชนรายวัน วันที่ 14 ธันวาคม 2555 บทความทั้งสองมีเนื้อหาคล้ หนึ่ง ทีดีอาร์ไอเป็นพวกที่เชื่ สอง ทีดีอาร์ไอ ขยายบทบาทเชิงผลักดันหรือต่อต้ ในฐานะผู้บริหารของทีดีอาร์ไอ ผมใคร่ขอแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ ประการที่หนึ่ง ผมเห็นว่า การเอาฉลาก "ขวา" หรือ "ซ้าย" ไปแปะใส่บุคคลหรือองค์กรหนึ่งๆ แทนที่จะถกเถียงกันเรื่องประเด็ ในความเห็นของผม การเหมาเอาว่าทีดีอาร์ไอเป็น "ฝ่ายขวา" เป็นเรื่องที่ออกจะแปลกอยู่ เพราะในฐานะองค์กรทางวิชาการ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลั อันที่จริง ที่ผ่านมา นักวิจัยของเราหลายคนได้ ผมเชื่อว่า การถกเถียงทางวิชาการอย่างมีคุ ประการที่สอง ผมไม่เห็นว่า การวิจัยและการดำเนินการต่างๆ ของทีดีอาร์ไอในปัจจุบัน จะทำให้ระบบในการกำหนดนโยบายปั่ นอกจากนี้ ทีดีอาร์ไอไม่มีแนวทางที่จะฟ้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
Posted: 19 Dec 2012 04:54 AM PST หลายวันมานี้ มักนั่งครุ่นคิดอยู่ตลอดว่า ในโลกนี้มักมีอะไรที่แปลกๆอยู่เสมอ ในสังคมนี้บางครั้งแล้วก็มีอะไรให้เราชวนคิดมากทีเดียว ระเบียบ กฎเกณฑ์ อุดมคติ มักจะเดินมาด้วยกันเสมอ สรุปรวมความคิดจึงกล่าวได้ว่า เอาเข้าจริงแล้วเราอยู่ในโลกของความจริงหรือเพียงว่า อยู่ในโลกของอุดมคติกันแน่ ซึ่งคำตอบที่มีต่อตัวเองก็น่าจะบอกได้ว่า "มันอยู่ในโลกของอุดมคติชัดๆ" มีบางอย่างที่ทำให้ครุ่นคิดตลอดว่า ครั้นกล่าวว่า "มนุษย์นั้นไซร้มักละเมิดอะไรบางอย่างอยู่ตลอดเวลา" ก็ยิ่งทำให้ผู้เขียนมานั่งคิดมากกว่าเดิมว่าแล้วอะไรจะเป็นตัวอย่างได้ดีต่อกรอบคิดเหล่านี้ คิดไปคิดมาก็นึกถึงตัวเองนี่แหละที่อะไรเล่าที่เรามักจะละเมิดอยู่ตลอดเวลาเวลาเด็ก ทันใดนั้นความคิดก็หยุดลงตรงที่ "หนังโป๊" หนังโป๊ หนังเอ็กซ์ การ์ตูนผู้ใหญ่ และอื่นๆ หลากหลายคำที่ใช้เรียกกัน ผู้เขียนลองนึกภาพว่าตั้งแต่เกิดมาสิ่งเหล่านี้มันอยู่คู่กับมนุษย์มานานแสนนาน ไม่ต้องอะไรมากดูขนาดผู้เขียนเองหากมองย้อนแล้วไม่ว่านานแค่ไหนคนก็ยังนิยมหนังโป๊ มากกว่า นิยมการใส่กางเกงขาม้าเป็นแน่ เพราะอย่างน้อยหนังโป๊ก็ไม่มีวันตกยุคเฉกเช่นเดียวกับ กางเกงขาม้าเป็นแน่ ไม่เชื่อคุณลองถามตัวเองดูซิ ? จากความรู้อันน้อยนิดของผู้เขียนก็อยากจะลองเปิดมุมมองดูซิว่า เหตุใดเราจึงนิยมหนังโป๊ เพราะทั้งที่ความเป็นจริงมันคือ การแสดง และเหตุใดเล่าในสังคมไทยหนังโป๊จึงมีการถ่ายทำที่ห่วยแตกมาก ทั้งด้านเทคนิค และเนื้อหา เมื่อเทียบกับ ต่างประเทศ เหตุใดเล่า ดาราหนังโป๊ไทย จึงมีสถานะทางสังคมที่ต่างจากดาราหนังโป๊ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา เป็นต้น ประเด็นแรก ขอกล่าวถึงว่าเพราะเหตุใดคนเราจึงสนใจที่จะดูหนังโป๊มาก ทั้งที่ในความเป็นจริงมันคือการแสดงเท่านั้น ทั้งๆที่รู้ว่าเป็นการแสดงแต่เราก็ยังสนใจมัน ผมขอยกแนวความคิดของ โรล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) ในหนังสือเรื่อง "มายาคติ" มาอธิบายความซึ่งอาจจะมีบางอย่างที่สามารถนำมาอธิบายได้ โรล็องด์ บาร์ตส์ ได้กล่าวถึงมายาคติที่เกี่ยวกับมวยปล้ำไว้อย่างน่าสนใจก็คือ เกี่ยวกับเรื่อง ความลับของมนุษย์ มนุษย์นั้นมักจะเป็นผู้ที่มีอะไรในใจอยู่ตลอดเวลาดังคำกล่าวที่ว่า รู้หน้าไม่รู้ใจ ตามภาษาคนไทย ดังนั้นสิ่งที่มวยปล้ำแสดงก็คือ การตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์นั่นเองที่มักจะอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เป็นความลับอยู่เสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า "โชคดีที่มีบุญได้เห็น" ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วมันก็คงไม่ต่างอะไรกับ "การดีใจที่ได้เห็นสิ่งที่เป็นความลับ" นั่นเอง สิ่งที่ โรล็องด์ บาร์ตส์ กล่าวก็คือ บนเวทีมวยปล้ำเราจะรู้ถึงความเคลื่อนไหวทุกสิ่งทุกอย่างของทุกคนบนเวที ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธรรมะ ฝ่ายอธรรม กรรมการ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งนี้มันจึงเป็นสิ่งที่ตอบสนองได้ดีต่อมนุษย์ เพราะอย่างน้อยคุณก็ได้เห็นว่า ใครจะทำอะไรใคร ฝ่ายอธรรมบนเวทีกำลังจะทำอะไร ซึ่งเอาเข้าจริงก็เหมือนกับว่า อย่างน้อยที่สุดคุณก็เห็นซึ่งๆหน้าต่อการกระทำของทุกคนบนเวที มากกว่าที่คุณเจอในชีวิตจริงคือ "การแทงข้างหลัง" หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มันไม่มีความลับบนเวทีมวยปล้ำ ในการนี้ผู้เขียนขอกล่าวย้อนมาถึง หนังโป๊ ซึ่งการอธิบายก็คงใช้หลักเดียวกับเรื่องมวยปล้ำก็คงได้ กล่าวคือ ในสังคมมักบอกเสมอว่า การร่วมเพศ เป็นสิ่งที่เป็นส่วนตัวมากการกระทำก็ต้องอยู่ในที่ที่มิดชิด เช่น คุณคงไม่กล้าที่จะร่วมเพศกันกลางถนนเป็นแน่ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเรื่องเหล่านี้เป็นความลับ สิ่งที่มันสอดรับกับมนุษย์ก็คือว่า กูอยากรู้ ดังนั้นการแอบดูจึงเป็นสิ่งที่ตามมา เช่นเดียวกับการละเมิดของสองคนผู้เป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ตามความคิดทางคริสต์ศาสนา หนังโป๊ก็เช่นเดียวกันในเมื่อความเป็นจริงการร่วมเพศเป็นสิ่งที่เป็นความลับ หนังโป๊ก็จึงเกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อความอยากรู้ของผู้คนทั่วไป อย่างน้อยๆ ก็ทำให้เรารู้ว่าในความลับของการร่วมเพศในชีวิตจริงเป็นอย่างไร และมันจึงถูกแสดงให้เราเห็นในหนังโป๊นั่นเอง จากที่กล่าวไปนั่นคือองค์รวมของการมองหนังโป๊ในสายตาผู้เขียน หากมองถึงรายละเอียดมาอีกนิดก็อาจกล่าวได้ว่า ครั้นเราสนองความอยากรู้อยากเห็นด้วยการดูหนังโป๊แล้วเราสนองต่อเรื่องอะไรบ้างในรายละเอียด ดังจะยกตัวอย่างคร่าวๆดังนี้ เช่น สนองต่อท่วงท่า เป็นสิ่งที่มนุษย์อยากรู้ว่าในความเป็นจริงแล้วการร่วมเพศนั้นมันมีท่วงท่าเป็นอย่างไร มากน้อยแค่ไหน นางเอกสวยๆจะมีท่าทางเป็นเยี่ยงไร เพราะในความเป็นจริงเมื่อผู้ชายส่วนมากเห็นผู้หญิงสวยๆก็มักจะเกิดการจินตนาการ คงไม่ต้องบอกนะว่าเรื่องอะไร ดังนั้นก็จึงสนองต่อประเด็นต่อมาว่า เอาเข้าจริงแล้วคนส่วนมาก (ขอย้ำว่าคนส่วนมาก) ทำไมจึงชอบดูหนังโป๊ที่นางเอกสวยๆ เพราะในชีวิตจริงคุณก็ชอบที่จะมองผู้หญิงสวยๆอยู่แล้ว เช่น ดารา เป็นต้น (ขอย้ำว่าสิ่งที่กล่าวไปขอเน้นในเรื่องของหนังโป๊ชายหญิง ที่ส่วนใหญ่ผู้ชายเกินร้อยละ 90 เคยดู) ประการต่อมา เป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้ยินจากอาจารย์ของผู้เขียนท่านหนึ่งไม่ขอเอ่ยนาม อาจารย์ท่านกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า ที่ผู้ชายชอบดูหนังโป๊เพราะคุณรู้ว่าภรรยาที่บ้านคุณไม่สามารถทำเช่นเดียวกับหนังโป๊ได้เป็นแน่ ก็จริงของแกนะ เพราะถ้าทำได้เฉกเช่นเดียวกันก็คงไม่จำเป็นที่จะต้องดูมัน เพราะมันคงเป็นเรื่องปกติ แต่เป็นเพราะว่าไม่สามารถทำแบบหนังโป๊ได้ก็จึงต้องดูเพราะอย่างน้อยมันก็เป็นเรื่องที่ไม่ปกติ จากที่กล่าวไปเป็นมุมมองของผู้เขียนที่มีต่อหนังโป๊ ว่ามีเหตุผลอะไรที่เราต้องดูกัน ในประการต่อมาก็มีคนถามผู้เขียนมาอีกว่า แล้วทำไมในบ้านเราหนังโป้เมื่อเทียบคุณภาพกับต่างประเทศจึงด้อยกว่ามาก ทั้งในเรื่องของ นางเอก เรื่องของบท เรื่องของเทคนิคการถ่ายทำ ซึ่งผู้เขียนใช้เวลาคิดอยู่นานจนกระทั่งไปสะดุดอยู่สองสามเรื่องนั่นก็คือ เรื่องเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ เรื่องชนชั้นทางสังคม และหนังการ์ตูนโป๊เล่มละบาท เมื่อกล่าวว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธดังนั้น จารีตประเพณี ศีลธรรม เป็นคำที่ตามมา ดังนั้นเมื่อคุณอยู่ในสังคมที่มีศีลธรรมการกระทำอะไรที่เป็นการบัดสีบัดเถลิงจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้นใครผู้ใดที่จะเข้ามาสู่วงการนี้ก็จะกลายเป็นผู้เสื่อมทรามทันทีไม่ว่าคุณเป็นใครก็ตาม ผลกระทบที่ตามมาก็คือ แม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่จะชอบหนังโป๊มากแค่ไหนก็ตามก็ไม่สามารถต้านทานพลังอำนาจแห่งศีลธรรมไปได้เป็นแน่ ไม่เชื่อคุณลองตะโกนว่า "กูชอบดูหนังโป๊" ต่อหน้าเพื่อนๆในที่ทำงานดูซิแล้วคุณก็จะรู้ ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนั้นการที่จะสร้างอุตสาหกรรมหนังโป๊ให้มีความก้าวหน้าจึงถูกขัดไว้ด้วยระบบศีลธรรมอันฝังรากลึก การเข้ามาของดารา ผู้กำกับ ผู้จัดและอื่นๆ จึงมีเงื่อนไขอื่นที่ทำให้เขาต้องเข้ามามากกว่าการที่จะเข้ามาพัฒนาคุณภาพของหนัง เงื่อนไขที่ว่าก็คือ ความยากจน เป็นต้น การเข้ามาสู่วงการในสังคมไทยมันจึงเกิดจากความยากจนของคนแสดงมากกว่าเรื่องอื่นๆ สิ่งที่ผู้เขียนมองในประการต่อมา คือ เรื่องชนชั้นทางสังคม และหนังการ์ตูนโป๊เล่มละบาท หากย้อนไปในยุคหนึ่ง หนังสือแนวบันทึกรัก (จากผู้อ่าน) เป็นที่นิยมมาก ควบคู่ไปกับ หนังสือการ์ตูนโป๊เรื่องละบาท ถามว่าผู้เขียนได้อะไรจากสิ่งที่เห็น หากเราสังเกตให้ดีจะพบว่าเนื้อเรื่องส่วนใหญ่ของการ์ตูนเหล่านี้จะเป็นไปในแนวของ "กระท่อมในชนบท" มากกว่าในแนว "คนในเมือง" หากอยากให้เห็นภาพก็ให้นึกถึงการ์ตูนญี่ปุ่นที่เน้นเรื่องของโรงเรียน ที่ทำงาน และอื่นๆ โดยไม่ได้มองว่าสิ่งเหล่านี้จะจำกัดอยู่ที่ใครชนชั้นใด ซึ่งเป็นมุมมองที่ต่างกันอย่างมาก ผู้เขียนคิดว่าก็อาจเกิดจากปัญหาด้านศีลธรรมที่ได้กล่าวไปข้างต้น อีกประการหนึ่งผู้เขียนมองว่า สังคมพยายามโยนเรื่องเหล่านี้ให้กับอีกชนชั้นหนึ่งในสังคมมากกว่า สังคมเมืองหรือชนชั้นกลางพยายามมองว่าเรื่องเหล่านี้มันเป็นเรื่องของคนชนชั้นที่ต่ำกว่าไม่ใช่วิสัยของชนชั้นกลาง ปัญญาชนคนเมือง ซึ่งมักผูกติดความคิดตนเองอยู่กับศีลธรรมอันดีเสมอ ดังนั้นภาพที่ออกมาจึงเป็นไปในลักษณะของ "กระท่อมในชนบท" เป็นส่วนมาก หากเปรียบก็เช่นเดียวกับดาราหนังโป๊ผู้โด่งดังของไทยคนหนึ่ง คือ คุณ น. แม้ว่าคุณจะโด่งดังมากเพียงใดแต่สังคมก็ไม่ได้วางคุณในตำแหน่งที่เป็นซุปเปอร์สตาร์เฉกเช่นเดียวกับ โซระ อาโออิ หรือ มิยาบิ เป็นแน่ แต่สถานะของคุณก็เป็นได้แค่นางเอกหนังโป๊คนหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าคุณจะพยายามทำอะไรที่เข้าสู่ศีลธรรมมากขึ้นแต่เชื่อเถอะสังคมได้ตัดสินคุณไปแล้วว่า "คุณก็เป็นนางเองหนังโป๊" วันยังค่ำ ดังนั้นเอาเข้าจริงสังคมของหนังโป๊ได้ถูกกีดกันออกจากสังคมของคนชั้นกลางไปสู่สังคมของชนชั้นล่าง แม้ในความเป็นจริงเชื่อเถอะว่า คนที่เรียกตนเองว่าชนชั้นกลางก็ต้องดูสิ่งเหล่านี้เป็นอาจิณ และก็เป็นเช่นเดียวกันว่า เมื่อหนังโป๊ไทยมันเป็นของชนชั้นล่าง ดังนั้น "กูก็ต้องหาสิ่งที่เป็นของชนชั้นกู" นั่นก็คือ ดูของต่างชาติดีมีคลาสกว่าเยอะ ในที่นี้ผมกำลังจะพูดถึง สุนทรียะ นั่นเอง เมื่อหนังโป๊ถูกผลักสู่ชนชั้นล่าง อะไรเล่าจะทำให้ชนชั้นกลางต่างไปจากพวกอื่น ผู้เขียนได้ข้อคิดเห็นเรื่องนี้มาจากเพื่อนนักเขียนท่านหนึ่ง โดยเขากล่าวว่า ชนชั้นกลางก็มักจะหาข้อต่างที่ทำให้เขาเหนือกว่าโดยเขาบอกว่า ชนชั้นกลางมักใช้คำว่า "ศิลปะ" เข้ามาช่วยเพื่อแสดงถึงคลาสของตนเองที่เหนือกว่าผู้อื่น ดังเช่นเราจะเห็นว่า การเดินไปดูหนัง เรื่อง น้ำตาลแดง ผู้หญิงห้าบาป จันดารา เป็นต้น เหล่านี้ไม่ต้องแอบไปดู ไม่ต้องไปหาดีวีดีตามแถวคลองถมมาดู คุณสามารถเดินไปที่โรงภาพยนตร์ได้อย่างสง่าผ่าเผย มากกว่าการเดินไปโรงหนังอมรพันธ์แถวเกษตรเป็นไหนๆ เพราะคุณต้องเข้าใจว่าสังคมเรามองศิลปะเป็นสิ่งซึ่งสูงกว่าปกติ คำว่า "ศิลปะ" ได้บดบัง "ศีลธรรม" ไปทั้งหมดและนั่นเองทำให้ชนชั้นกลางเองเลือกที่จะบอกว่าตนเองมีศิลปะมากกว่าชนชั้นอื่นนั่นเอง การดูหนังโป๊ของชนชั้นกลางจึงเป็นการสถาปนาศิลปะมาเป็นของตนเอง ซึ่งหากมองลึกๆไม่ว่าจะเป็นการดูหนังเรื่อง น้ำตาลแดง ผู้หญิงห้าบาป จันดารา หรือ คนกินผัว ของน้อง น. สุดท้ายแล้วสิ่งที่คุณอยากดูก็คงหนีไม่พ้นฉากวาบหวิวหรือการร่วมเพศเป็นแน่ อย่างที่บอกว่า นี่เป็นมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนจากความรู้ที่ผู้เขียนพึงจะมีเท่านั้น สิ่งที่เขียนเป็นการชอบส่วนตัวของผู้เขียนต่อการตั้งคำถามต่อเรื่องต่างๆ ของสังคมก็เท่านั้น แต่แน่ล่ะว่าสิ่งหนึ่งที่ผมไม่ได้โกหกหรือคิดไปเองก็คือ "คุณเป็นคนหนึ่งที่เคยละเมิดศีลธรรมโดยการแอบดูหนังโป๊" เป็นแน่ ไม่เชื่อลองถามตัวเองดูซิ คุณว่ามั๊ย?
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
(บอกว่า) ซิมฟรี แต่....แถม ค่าบริการ Posted: 19 Dec 2012 04:44 AM PST ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค จำนวนหลายรายอย่างต่อเนื่อง กรณีประสบปัญหาได้รับซิมการ์ดแจกฟรีจากตัวแทนจำหน่ายของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามสถานที่ต่าง ๆ อาทิ ห้างสรรพสินค้า งานแสดงสินค้า สะพานลอย ป้ายรถเมล์ โดยจะเชิญชวนให้รับซิมการ์ดฟรี หากไม่เปิดใช้งานก็จะไม่มีค่าใช้จ่าย และขอถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไว้เพื่อเป็นหลักฐานการรับซิมการ์ด ผู้ร้องเรียนเชื่อในข้อมูลดังกล่าว จึงยอมมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อจะรับซิมการ์ดที่แจกฟรี โดยมิได้มีเจตนาที่จะทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับบริษัทแต่อย่างใด ต่อมา บริษัทผู้ให้บริการมีการเรียกเก็บค่าใช้บริการจากผู้ที่ได้รับซิมการ์ดแจกฟรี เนื่องจากเป็นโทรศัพท์ที่เคลื่อนที่แบบจดทะเบียนรายเดือน ทั้งนี้ ผู้ร้องเรียนมิได้มีการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวแต่อย่างใด ปัญหาดังกล่าว "แก้ไขได้ง่ายนิดเดียว" ด้วยตัวของคุณเอง ทางศูนย์ฯ จึงได้นำเคล็ดลับดีๆ มาฝากผู้บริโภคที่ยึดคติ "ร้องทุกข์หนึ่งครั้ง ดีกว่าพร่ำบ่นพันครั้ง" รับรองว่าได้ผลแน่นอน... เทคนิค ปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อถูกเรียกเก็บค่าบริการจากซิมฟรี 2. สัญญาใช้บริการโทรคมนาคมระหว่างผู้ใช้บริการกับกับผู้บริโภคจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาเสนอ สนองถูกต้องตรงกัน แต่จากข้อเท็จจริงผู้ร้องเรียนมิได้มีเจตนาที่จะทำสัญญาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับบริษัทแต่อย่างใด การมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ตัวแทนจำหน่ายของบริษัทนั้นก็เพื่อที่จะใช้เป็นหลักฐานประกอบการรับซิมการ์ดแจกฟรี ตามที่ตัวแทนจำหน่ายของบริษัทแจ้งแก่ผู้ร้องเรียน ดังนั้น จึงไม่เกิดสัญญาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการรายเดือนขึ้นระหว่าง บริษัทผู้ให้บริการและผู้ร้องเรียน 3. หากผู้ร้องเรียนไม่เคยนำซิมการ์ดมาใช้งาน (Call Detail) ต้องให้บริษัทผู้ให้บริการตรวจสอบหากพบว่า ผู้ร้องเรียนไม่มีประวัติการใช้งาน (Call Detail) โทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญ สามารถยืนยันว่าผู้ร้องเรียนมิได้มีเจตนาที่จะเข้าทำสัญญาใช้บริการโทรคมนาคมกับบริษัทผู้ให้บริการ แนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง 2. โทรศัพท์แจ้งยกเลิกบริการ ที่ศูนย์บริการของซิมฟรีนั้น หรือส่งอีเมลล์ ไปยังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของซิมนั้น เช่น voc@truecorp.co.th // complain@dtac.co.th //complaint_center@ais.co.th 3. โทรศัพท์ร้องเรียน ไปที่ 1200 สายด่วน กสทช. หรือร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หมายเลขโทรศัพท์ 02-248-3737 หรือ อีเมลล์ complaint@consumerthai.org ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
นักข่าวตะวันออกกลาง NBC หนีจากการถูกจับเป็นตัวประกันในซีเรีย Posted: 19 Dec 2012 03:43 AM PST ริชาร์ด เองเกล และผู้ร่วมงานหลายสิบคนลักลอบเข้าไปทำข่าวความขัดแย้งในซีเรีย แต่ก็ถูกจับเป็นตัวประกันโดยทหารฝ่ายรัฐบาลเป็นเวลา 5 วัน ก่อนจะสามารถหลบหนีออกมาได้โดยความช่วยเหลือของฝ่ายกบฏ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายกำลังปะทะกัน เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. ริชาร์ด เองเกล ผู้อำนวยการฝ่ายข่าวต่างประเทศของ NBC ที่ได้เข้าไปทำข่าวความขัดแย้งในซีเรีย สามารถหลบหนีจากการถูกจับเป็นตัวประกันโดยกลุ่มทหารของรัฐบาลบาชาร์ อัล อัสซาด ออกมาได้พร้อมกับผู้ร่วมงานอีกหลายคน หลังถูกจับตัวไปเป็นเวลา 5 วัน ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 13 ธ.ค. ริชาร์ด และผู้ร่วมงานถูกกองกำลังติดอาวุธหลายสิบคนจับตัวไว้ได้จากการที่พวกเขาเข้าไปทำข่าวความขัดแย้งในซีเรีย ซึ่งปกติแล้วรัฐบาลซีเรียห้ามผู้สื่อข่าวต่างประเทศเข้าไป หรือบางส่วนที่ได้รับอนุญาตจะถูกทางการซีเรียควบคุมอย่างเข้มงวด แต่มีผู้สื่อข่าวหลายคนลักลอบเข้าไปโดยมีคนจากกลุ่มกบฏคอยนำทาง ริชาร์ดเล่าว่า ในขณะที่เขาถูกจับกุมตัวมีกบฏที่นำทางให้เขาอย่างน้อยหนึ่งรายถูกสังหารโดยทันที ส่วนตัวเขาและผู้ร่วมงานถูกจับมัดข้อมือและผูกตาไม่ให้มองเห็น ริชาร์ดบอกอีกว่าฝ่ายทหารที่จับตัวเขาไม่ได้ทำการทุบตีหรือทรมาน แต่มีการใช้วิธีการทรมานทางจิตวิทยา เช่นการขู่ฆ่า การใช้ปืนจี้อยู่ตลอดเวลา การให้เลือกว่าจะให้ฆ่าใครก่อน และเมื่อปฏิเสธก็มีการแกล้งยิงหลอกๆ ทหารที่จับตัวพวกเขาไปเล่าว่าพวกเขาต้องการแลกเปลี่ยนตัวประกันคือพวกเขากับชาวอิหร่าน 4 คน และชาวเลบานอน 2 คนที่ถูกกลุ่มกบฏจับตัวไป ริชาร์ดเล่าถึงการหลบหนีว่า ในขณะที่กลุ่มผู้จับพวกเขาเป็นตัวประกันกำลังลำเลียงพวกเขามาในรถตู้ขนาดเล็กก็ได้ขับไปเจอกับด่านตรวจของฝ่ายกบฏ จากนั้นจึงมีการยิงต่อสู้กัน หลังจากนั้นฝ่ายกบฏก็ได้ตัวพวกเขาขณะที่กำลังพยายามหลบหนีออกจากรถ และช่วยนำตัวพวกเขาข้ามฝั่งไปยังตุรกี ก่อนหน้าที่จะถูกจับกุม ริชาร์ด เองเกล ได้รายงานข่าวสถานการณ์จากเมืองอเล็ปโปผ่านเทปบันทึกโทรทัศน์ซึ่งแพร่ภาพเมื่อวันพฤหัสฯ (13) ที่ผ่านมา ริชาร์ดเล่าว่าพวกเขาใช้วิธีการรายงานข่าวโดยการข้ามแดนไปมาระหว่างตุรกีกับซีเรียด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย แต่ก็ถูกจับเป็นตัวประกันขณะกำลังพยายามข้ามแดนไปยังตุรกีในวันที่ 13 ธ.ค. ในช่วงที่พวกเขาถูกจับกุม ทางสำนักข่าว NBC ได้เรียกร้องไม่ให้สื่ออื่นๆ นำเสนอในเรื่องนี้เนื่องจากเหตุผลเรื่องความปลอดภัยของนักข่าวที่หายตัวไป NBC บอกอีกว่าหลังจากที่พวกเขาจาดการติดต่อไปก็ไม่มีกลุ่มใดออกมาอ้างความรับผิดชอบ ไม่มีการติดต่อจากผู้จับเป็นตัวประกัน หรือการอ้างข้อเรียกร้องในการจับเป็นตัวประกันใดๆ ริชาร์ดเคยทำงานเป็นผู้สื่อข่าวอิสระในช่วงสงครามอิรักปี 2003 เขามีความสามารถในการพูดและอ่านภาษาอาหรับ ก่อนที่จะเข้าไปเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศฝ่ายตะวันออกกลางของ NBC News เรียบเรียงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Richard_Engel (เข้าดูเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2012)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
Posted: 19 Dec 2012 02:27 AM PST | |||||
คนทำงาน: มองการประท้วงเรียกร้องของ ‘กำนันผู้-ใหญ่บ้าน’ ในมุมมอง ‘สวัสดิการ’ คนทำงานภาครัฐ Posted: 19 Dec 2012 02:20 AM PST ลองมามองเรื่องการประท้วงของกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านในมิติเรื่องเศรษฐกิจ ค่าตอบแทนและความมั่นคงของคนทำงานภาครัฐ นอกเหนือจากเรื่อง "อำนาจการเมือง?" แบบ "หนังหรือละครไทย" ที่ยึดติดกับภาพ "ผู้มีบารมี" มากเกินไป
ภาพการชุมนุมของกำนันผู้ใหญ่บ้านจากทั่วประเทศเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา (แฟ้มภาพประชาไท) เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมากำนันผู้ใหญ่บ้านจากทั่วประเทศนับหมื่นคนจากทั่วประเทศ ได้ออกมาชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อ คัดค้านร่างพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฉบับใหม่ ที่มีการกำหนดให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนและดำรงตำแหน่ง วาระ 5 ปี จากเดิมให้อยู่จนถึงเกษียณอายุ 60 ปี ซึ่งหากเราตามข่าวความเคลื่อนไหวในเรื่องกำนันผู้ใหญ่บ้านมาอย่างต่อเนื่อง จะพบว่าไม่ใช่แค่เรื่องการปรับเปลี่ยนวาระการดำรงตำแหน่งเท่านั้น ที่พวกเขาออกมาเรียกร้อง โดยในปีที่แล้ว (พ.ศ.2554) มีการผลักดันเรื่องการเพิ่มเงินเดือนตอบแทน ต่อเนื่องมาจากหลังจากปี พ.ศ.2551 ที่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้กำนันผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งได้ถึง 60 ปี อีกครั้งหนึ่ง วันนี้เราลองมามองเรื่องการประท้วงของกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านในมิติเรื่องเศรษฐกิจ ค่าตอบแทนและความมั่นคงของคนทำงานภาครัฐกันดู …
ประวัติศาสตร์ "กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน"พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 นั้นถูกประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2440 อันเป็นต้นฉบับแรกที่ว่าด้วยการจัดการเรื่องผู้ใหญ่บ้านและกำนันครั้งแรกในสังคมไทย ซึ่งเป็นระยะเวลา 115 ปีมาแล้ว ทั้งนี้เราต้องเข้าใจช่วงประวัติศาสตร์ที่สำคัญในช่วงนั้น นั่นก็คือความสำเร็จในการรวมศูนย์อำนาจของรัชกาลที่ 5 คือจำกัดอำนาจเจ้าเมืองและขุนนางแบบเดิมออกไป หลังจากความสำเร็จของการปฏิรูปการปกครอง (Governance Reform) ในส่วนกลางเมื่อปี พ.ศ. 2435 จากนั้นกลไกของส่วนกลางเองก็ได้คืบคลานเข้าไปสู่ต่างจังหวัด โดยมีกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ผ่านเข้าไปจัดตั้งระบบอำนาจใหม่ ซึ่งทำให้เจ้าเมืองที่สืบทอดอำนาจกันแบบในสมัยโบราณ ถูกแทนที่ด้วยคนจากส่วนกลางเพื่อสร้างความภักดีให้กับกรุงเทพฯ และองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขส่วนกลาง โดยในกลไกระดับหมู่บ้านนั้น พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ต่อยอดมาจากการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2435 (ออกมาหลังการปฏิรูปการปกครองเป็นระยะเวลา 5 ปี) โดยกฎหมายฉบับนี้ได้เข้าไปจัดการถึงระดับรากของหมู่บ้าน คือเปลี่ยนตัวผู้นำชุมชน ให้ภักดีต่อกรุงเทพฯ มากที่สุด โดยการตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านขึ้นมา ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นผู้นำชุมชนทั้งในทางวัฒนธรรม ประเพณี หรือจารีตต่างๆ ในหลายท้องที่ที่มีอำนาจบารมีในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ อิสาน หรือใต้ ต่างก็มีการเรียกชื่อที่ต่างกันไป แต่ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ได้เข้ามาจัดระบบใหม่ ให้เรียกว่า 'ผู้ใหญ่บ้าน' และ 'กำนัน' โดยกฎหมายฉบับนี้ให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้ชาวบ้านเข้ามาชุมนุมกันเพื่อเลือกผู้ใหญ่บ้าน ที่น่าสนใจคืออายุของคนที่สามารถเป็นผู้ใหญ่บ้านนั้นมีเพียง 21 ปี ซึ่งอาจตั้งข้อสังเกตุคร่าวๆ ตรงนี้ได้ว่า คนที่มีอายุมากๆ นั้นมักจะติดอยู่กับโลเก่า ส่วนคนที่มีอายุน้อยนั้นอาจจะมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกใหม่ได้ ซึ่งการเลือกผู้ใหญ่บ้านตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ให้นายอำเภอเป็นประธาน และวิธีการลงคะแนนสามารถใช้ทั้งวิธีเปิดเผย หรือใช้วิะกระซิบเพื่อลงคะแนนลับได้ทั้งสองวิธี ทั้งนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธำรงศักดิ์มองว่ารัชกาลที่ 5 ได้ใช้วิธีการเลือกตั้งเข้ามากระชับอำนาจ คือยอมให้มีการเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน แต่ก็ยอมเพียงในระดับท้องถิ่นแบบนี้เท่านั้น และใน พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ฉบับนี้ก็ไม่ได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง ซึ่งเข้าใจได้ว่าอาจจะให้อยู่ในตำแหน่งตลอดชีพ ทั้งนี้ในร้อยกว่าปีที่ผ่านมานี้เราใช้ฐานของ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ตลอดมา และใน พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ก็ใช้ฐานคำต่างๆ ของ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 เพียงแต่ปรับปรุงให้ดูรัดกุมขึ้น ซึ่งกฏหมายฉบับนี้ก็กลายเป็นฐานสืบต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถึงแม้จะมีการแก้ไขต่างๆ (12 ครั้ง) ส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงการแก้ไขเรื่องวรรค หรือถ้อยคำตามกาลเวลา โดยการแก้ไข พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ครั้งที่สำคัญๆ ได้แก่ พ.ศ. 2510 การเพิ่มตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในยุคสงครามเย็นและการอ้างภัยเรื่องคอมมิวนิสต์ เหตุผลในการแก้ไขครั้งนี้ คือ กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่า หน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้ายภายในเขตหมู่บ้าน เป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้ใหญ่บ้าน แต่ในปัจจุบันผู้ใหญ่บ้านยังมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติในด้านอื่น ๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่มีตามกฎหมายอย่างกว้างขวางและผู้ใหญ่บ้านก็มีแต่เพียงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเท่านั้นที่มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านในกิจการต่าง ๆ ตามที่ผู้ใหญ่บ้านจะมอบหมายให้ ผู้ใหญ่บ้านยังไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้ายโดยตรง จึงทำให้การปฏิบัติหน้าที่ในด้านรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้ายยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงเห็นสมควรกำหนดให้มี "ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้าย และเพื่อให้เห็นความแตกต่างกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านปัจจุบัน จึงได้เปลี่ยนชื่อผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองโดยให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านร่วมกันพิจารณาคัดเลือกได้ไม่เกิน 5 คน พ.ศ. 2535 กำหนดวาระกำนันผู้ใหญ่บ้าน เหตุผลในการแก้ไขครั้งนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไว้ว่า ต้องมีอายุตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ ซึ่งมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนานที่สุด ถึงสามสิบห้าปี ประกอบกับการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรกำหนดระยะเวลาการอยู่ในตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านเป็นวาระ คราวละห้าปี และกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มขึ้นอีก จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ โดยการแก้ไขครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ การแก้ไขครั้งนั้นได้กำหนดให้กำนันผู้ใหญ่บ้านมีวาระ 5 ปี จากที่เป็นได้ถึงอายุ 60 ปี (ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬก็ได้มีแนวคิดที่จะลดทอนอำนาจของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน) พ.ศ. 2542 กำหนดวาระผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เหตุผลในการแก้ไขครั้งนี้ คือ เนื่องจากการใช้สิทธิเลือกตั้งบุคคลให้ทำหน้าที่แทนราษฎรควรมีหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๐๕ บัญญัติให้ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ ซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว สมควรแก้ไขอายุของผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญด้วย และโดยที่การกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้มีสิทธิจะได้รับคัดเลือกเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนการออกจากตำแหน่งของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ และกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิยังบัญญัติไว้ไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งยังไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบต้องออกจากตำแหน่งเมื่อผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านที่เข้ารับตำแหน่งใหม่สามารถคัดเลือกตัวบุคคลมาร่วมปฏิบัติงานในท้องที่ในฐานะผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้ตามความต้องการแก่การบริหารและการปกครองท้องที่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พ.ศ.2551 ย้อนกลับไปให้กำนันผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งได้ถึง 60 ปี เหตุผลในการแก้ไขครั้งนี้ คือ เนื่องด้วยปัจจุบันได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปโดยรวดเร็ว คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ แต่โดยที่กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และบทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ยังมิได้มีการปรับปรุงให้เหมาะสมทำให้การปฏิบัติงานของกำนันและผู้ใหญ่บ้านไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประกอบกับอำนาจหน้าที่ยังมีความซ้ำซ้อนกับภารกิจและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมควรที่จะได้มีการปรับปรุงกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่ง ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และบทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ อนึ่งการแก้ไขครั้งนี้มีผลสืบเนื่องจากเหตุการทางการเมืองก็คือการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 โดยการแก้ไขเริ่มในช่วงปี พ.ศ. 2550 ที่รัฐบาลจากคณะรัฐประหารมีความพยายามดึงอำนาจต่างๆ กลับมาสู่มือข้าราชการประจำเพื่อสนับสนุนพลังอนุรักษ์นิยมอีกครั้ง พ.ศ. 2552 'ห้ามมิให้ยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน' เหตุผลในการแก้ไขครั้งนี้ คือ โดยที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นบุคคลในพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับราษฎรในการปฏิบัติงานตามกฎหมายและแนวนโยบายของรัฐ เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชการบริหารส่วนภูมิภาคมีบทบาทอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในการเป็นผู้ประสานงานระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมและจัดการระงับปัญหาความขัดแย้งในท้องที่ และยังมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ตัวแทนของราษฎรเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ ความเดือดร้อนของราษฎรเพื่อนำเสนอต่อส่วนราชการ เพื่อให้คงมีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในทุกตำบล หมู่บ้านต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ อนึ่งในการแก้ไขครั้งนี้ เกิดในช่วงที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2552 เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น มีการแก้มาตราสั้นๆ อันหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการระบุไว้ว่า 'ห้ามมิให้ยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน' ซึ่งถึงแม้พรรคประชาธิปัตย์จะอยู่ในปีกของการที่จะลดทอนอำนาจของกำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่การขึ้นมาเป็นรัฐบาลครั้งล่าสุดของพรรคประชาธิปัตย์นั้นอยุ่ภายใต้พลังของฝ่ายอนุรักษ์นิยม จึงต้องเติมท่อนนี้เข้าไป
ลักษณะงาน-ค่าตอบแทนลักษณะงาน (อำนาจและหน้าที่) ของกำนันผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านนั้น มีลักษณะ "ครอบจักรวาล" ทั้งนี้มีการมองว่าบางงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านนั้นซ้อนทับกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณูปโภคต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่าในหลายพื้นที่ของประเทศ ระบบการใช้กำนันผู้ใหญ่บ้าน ยังคงเป็น 'ฟันเฟือง' พื้นฐานในการบริการด้านสาธารณะภายในท้องที่ มากกว่าสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (ที่มีความเป็นนักการเมืองมากกว่าพนักงานของรัฐ) หรือเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณูปโภคต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ก็มักจะมีการแปรผันไปเรื่องจำนวนและประสิทธิภาพตาม "ขนาด" และ "การจัดเก็บรายได้" ของท้องที่นั้นๆ
รวมถึงเรื่องรายได้ที่ปัจจุบัน กำนันมีเงินเดือน 10,000 บาท ต่อเดือน ผู้ใหญ่บ้าน 8,000 บาท ต่อเดือน แพทย์ประจำตำบลและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 5,000 บาท ต่อเดือน โดยในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมานี้พึ่งมีการปรับฐานเงินเดือนกำนันผู้ใหญ่บ้านเพียง 3 ครั้งเท่านั้น คือในปี พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 ดังที่ได้กล่าวไปตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่ากระแสการขอเพิ่มค่าแรงนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่หลังจากที่ในปี พ.ศ.2551 ที่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้กำนันผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งได้ถึง 60 ปี อีกครั้งหนึ่ง และมีการเรียกร้องให้เพิ่มค่าแรงครั้งล่าสุดคือในปี พ.ศ. 2554 โดยเรียกร้องให้ขยับค่าแรงกำนันจาก 10,000 บาท เป็น 15,000 บาท และผู้ใหญ่บ้านจาก 8,000 บาท เป็น 10,000 บาท แน่นอนว่าภาพของ "กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน" อาจจะติดเรื่องของ "ผู้มีอิทธิพล" ในสังคมไทย แต่กระนั้นเมื่อเราพิจารณาถึงเรื่องการเป็นตัวจักรหนึ่งของงานด้านบริการประชาชนแล้ว ความมั่นคงและรายได้ในการทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน (รวมถึงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) สามารถปฏิบัติหน้าที่ของพวกเขาได้อย่างเต็มกำลัง มากกว่าการมุ่งสู่การเป็น "ผู้มีอิทธิพล" เพื่อหารายได้จาก "บารมี" ดั่งเช่นในอดีต และที่สำคัญ สังคมไทยก็ไม่ได้เป็น "หนังหรือละครไทย" ที่ "ผู้มีบารมี" ไม่กี่คนในชุมชน จะสามารถชี้เป็นชี้ตายใครได้ เราก้าวข้ามยุคมืดแบบนั้นมาแล้ว. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐชี้ ลูกจ้างรายได้ต่ำติดหนี้นอกระบบบาน Posted: 19 Dec 2012 02:15 AM PST นักเศรษฐศาสตร์ชี้ลูกจ้างรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน เป็นหนี้นอกระบบอื้อ เงินไม่พอใช้แถมต้องส่งเสียครอบครัว ยอมจ่ายดอกโหด 8-10% ต่อเดือน เสนอรัฐขายพันธบัตรหนุนธนาคารออกเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้กู้รายย่อย
กรุงเทพธุรกิจ รายงานการเสวนา เรื่อง "วิกฤติหนี้นอกระบบ - ทางออกของสังคมไทย?" จัดโดยกระทรวงยุติธรรม โดย รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรบรรยายว่า ปัจจุบันปัญหาหนี้นอกระบบเปลี่ยนจากปัญหาที่เคยแพร่หลายในชนบทและในภาคเกษตรกรรมมาเป็นปัญหาของผู้ที่มีรายได้ประจำในสังคมเมืองโดยเฉพาะแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ จากตัวเลขของผู้ที่รับค่าจ้างในรูปแบบเงินเดือนประมาณ 17 ล้านคนในปัจจุบัน มีจำนวน 14 ล้านคนที่ทำงานกับภาคเอกชน และมีกว่า 8-9 ล้านคน ที่มีรายได้ประจำเพียง 8,000-9,000 บาทต่อเดือน รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และเลี้ยงครอบครัวดังนั้นหากในเดือนใดที่ไม่มีรายได้จากการทำงานล่วงเวลา (เงินโอที) คนกลุ่มนี้ก็จะต้องกู้เงินนอกระบบ โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้จากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 8-10 ต่อเดือน รศ.ดร.ณรงค์ กล่าวว่า หนี้นอกระบบที่กำลังคุกคามภาคแรงงาน ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทยพึ่งพาการผลิตในภาคอุตสาหกรรมคิดเป็น 88-90 % ของจีดีพี ขณะที่การผลิตในภาคเกษตรคิดเป็น 10 -12 % ของจีดีพีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีหลายรัฐบาลที่มุ่งแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในภาคชนบท โดยใช้วิธีให้เงินสินเชื่อผ่านกองทุนต่างๆเพื่อให้เป็นสินเชื่อภายในชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) กองทุนเอสเอ็มแอล เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 15 กองทุน ที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งปัจจุบันมีแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรเพียง 8 ล้านคน ทำให้ภาคเกษตรมีปัญหาหนี้นอกระบบลดลง แต่ในทางตรงกันข้ามหนี้นอกระบบในกลุ่มแรงงานภาคอุตสาหกรรมกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อภาคการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว "ขณะนี้ต้องเข้าใจว่าหนี้นอกระบบเป็นปัญหาที่เข้ามาคุกคามสังคมเมืองมากขึ้น หากไปแถวโรงงานอุตสาหกรรม เช่น สมุทรปราการ ปราจีนบุรี จะเห็นโฆษณา ใบปลิวเรื่องเงินด่วนเป็นจำนวนมาก ขณะที่แรงงานเหล่านี้ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงเงินทุน ที่ผ่านมารัฐบาลช่วยเหลือสินเชื่อให้กับนายจ้างและผู้ประกอบการเท่านั้นแต่ลืมเรื่องการให้เงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือแรงงานซึ่งเป็นกำลังสำคัญของภาคอุตสาหกรรมเช่นกัน"รศ.ดร.ณรงค์ กล่าว เขากล่าวว่า สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้กับผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ตนเสนอว่ารัฐบาลควรจะมีการออกพันธบัตรวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสินปล่อยกู้รายย่อยตามความจำเป็นให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยมีเงื่อนไขว่าคนที่จะกู้จะต้องฝากประจำ 10% ของมูลค่าเงินที่กู้ โดยอาจให้เจ้าของกิจการเป็นผู้หักเงิน ณ ที่จ่ายคืนธนาคารพร้อมเงินฝากประจำ จากนั้นภายใน 3 ปี จะมีเงินทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท จากเงินฝากประจำของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเงินทุนจำนวนนั้นจะสามารถนำมาจัดตั้งธนาคารเพื่อแรงงานซึ่งเป็นธนาคารที่จะเข้ามาดูแลเรื่องการปล่อยเงิน
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
ศาลอ่านคำวินิจฉัยศาลรธน.คดี'สมยศ' - 23 ม.ค.พิพากษา Posted: 19 Dec 2012 01:14 AM PST ศาลอ่านคำวินิจฉัยศาลรธน. ระบุม. 112 ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญด้านการคุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกและหลักนิติธรรม เนื่องจากพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของชาติที่เคารพสักการะ ระบุโทษ 3-15 ปีเหมาะสมแล้วตามกฎหมาย 19 ธ.ค. 55 - ที่ศาลอาญารัชดา ห้อง 701 ผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยจากกรณีการยื่นคำร้องของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักเคลื่อนไหวสิทธิแรงงานและแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย และนายเอกชัย (สงวนนามสกุล) ในฐานะจำเลยกม.อาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยื่นคำโต้แย้งแก่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าม. 112 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยมีผู้สังเกตการณ์จากองค์กรสิทธิระหว่างประเทศ สถานทูต นักวิชาการ เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล สุธาชัย ยิ้่มประเสริฐ ปิยบุตร แสงกนกกุล เดินทางเข้าร่วมรับฟัง รวมกว่า 100 คน ทำให้ต่อมาต้องย้ายไปห้องพิจารณาคดีที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
หมายเหตุ: สามารถดาวน์โหลดเอกสารคำวินิจฉัยฉบับเต็มได้ที่ด้านล่าง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | |||||
ศาสวัต บุญศรี: ผู้ประกาศข่าวชื่อดังกับการแสดงทัศนะผ่านเฟซบุ๊ก Posted: 19 Dec 2012 12:30 AM PST ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่วัฒนธรรมการเล่าข่าวทางทีวีได้รับความนิยม นักข่าวทางหน้าจอทีวีได้เปลี่ยนสถานะจากผู้อ่านข่าว คอยรายงานสถานการณ์สิ่งที่เกิดขึ้น มาสู่ผู้แสดงความคิดเห็น ผสมผสานระหว่างการรายงานและวิเคราะห์วิจารณ์ไปในตัว เดิมทีสื่อมวลชนสายทีวีไม่ได้มีพื้นที่สื่อมากมายให้แสดงความคิดเห็นส่วนตัว ด้วยเหตุผลเรื่องเวลาในสื่อทีวีที่มีอยู่อย่างจำกัดประกอบกับรูปแบบในการนำเสนอเนื้อหาที่เน้นการรายงานข่าว ซึ่งตามหลักการต้องห้ามแสดงความคิดเห็นลงไป ต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่นักข่าวสามารถวิเคราะห์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นผ่านบทความซึ่งถูกกำหนดพื้นที่ไว้เผื่อไว้อยู่แล้ว เมื่อผู้ประกาศทางทีวีสามารถแสดงความคิดเห็นในข่าวได้ ผู้ชมจำนวนไม่น้อยจึงรับชมไปพร้อมๆ กับซึมซับเอาความคิด ทัศนคติ ต่อประเด็นๆ ต่างของผู้ประกาศเหล่านั้นไปด้วย ทุกวันนี้เราเห็นได้หลายปรากฏการณ์ที่รายการเล่าข่าวและตัวผู้ประกาศมีบทบาทสำคัญในการกำหนดวาระความสำคัญของสังคม และที่สำคัญคือผู้ชมไม่น้อยคิดว่าความคิดทัศนคติที่ถูกพูดถ่ายสื่อออกมานั้นคือสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ว่ากันกลายๆ ผู้ประกาศทางทีวีมีสถานะเป็น Opinion Leader ที่ผู้ชมพร้อมเงี่ยหูรับฟังความคิดเห็น พอมีเฟซบุ๊กด้วยแล้ว ผู้ประกาศข่าวหลายคนสร้างเว็บแฟนเพจขึ้นมาเพื่อแสดงความคิดเห็นส่วนตัวโดยเฉพาะ แต่ละเพจนั้นมีผู้เข้าไปติดตามเป็นจำนวนมาก มีสเตตัสใหม่ๆ เมื่อใด มียอดกดไลค์หลักพัน คนร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นร้อยๆ หลายครั้งการพูดในทีวีไม่สามารถพูดได้เต็มปาก ต่างจากการพิมพ์ผ่านเฟซบุ๊กที่เป็นอิสระ ถึงไหนถึงกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หลายๆ ครั้งการแสดงความคิดเห็นมักไม่ได้ไตร่ตรองตรรกะให้ถ้วนถี่ คิดอยากจะโพสต์อะไรก็โพสต์ ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์ตามมาในแง่ความไม่สมเหตุสมผลไม่น้อย ล่าสุด ผู้ประกาศชื่อดังท่านหนึ่งโพสต์ถึงที่มาของแสลงคำว่า "จุงเบย" ว่าเกิดจากตัวอักษรในมือถือใกล้กัน เลยกดพลาดไปโดน พร้อมกับบอกว่าการพิมพ์ผิดได้รับความนิยม เลยเข้าใจได้ว่าทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญให้นักโทษพ้นผิด (ข้อความเต็มๆ ว่าดังนี้ "เพิ่งรู้นะ คำว่า "จุงเบย" ที่มาจาก "จังเลย" มาจากแป้นพิมพ์สระอุ อยู่ใกล้กับไม้หันอากาศ และ บ อยู่ใกล้กับ ล แค่เนี้ย?? การพิมพ์ผิดกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยม สามารถใช้ได้ มิน่าล่ะ..นักโทษที่ยังไม่ได้ชดใช้ความผิด..แล้วพยายามแก้รัฐธรรมนูญ ล้มกฎหมายแม่มันซะเลย ตัวเองจะได้กลายเป็นคนบริสุทธิ์..สบายจุงเบยเนอะ") หากมาดูกันที่เนื้อสาร อะไรคือตรรกะของสเตตัสนี้ เชื่อมโยงกันได้อย่างไร การเอาเรื่องการพิมพ์ผิดมาเกี่ยวข้องกับการแก้รัฐธรรมนูญมันคือเรื่องเดียวกันหรือ แม้โลกนี้จะมีทฤษฎี chaos ที่กล่าวว่าทุกสิ่งเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ทุกสิ่งบนโลกล้วนเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ทว่าลำพังเรื่องพิมพ์ บ. กับ ล. ลิงแล้วคิดอย่างไรก็นึกไม่ออกว่าเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร แถมคำว่า "มิน่าล่ะ" นี่ช่างน่าสงสัยว่าทำหน้าที่สื่อความใดในประโยค แน่นอนว่าเฟซบุ๊กเป็นที่ที่ใครก็สามารถโพสต์อะไรก็ได้ (และก็ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลตรรกะใดๆ ด้วย) ทว่าในฐานะที่ผู้ประกาศข่าวได้ยกสถานะตัวเองกลายเป็นบุคคลสาธารณะที่มีผู้ติดตามความคิดเห็นอยู่เสมอ การโพสต์อะไรย่อมต้องครุ่นคิดให้ดี มิฉะนั้นแล้วอารมณ์อยากเพียงแค่กระแนะกระแหนจะกลายเป็นหนามแหลมคมย้อนกลับมาทิ่มแทงให้เจ็บช้ำในภายหลัง ลำพังกระแนะกระแหนด้วยแค่ต้องการให้แฟนคลับมากดไลค์และพิมพ์ด่า "คนที่คุณก็รู้ว่าใคร" ต่อยอดไปเรื่อยๆ โดยไม่สนว่าเรื่องที่พิมพ์จะจริงจะเท็จ จะใช้ตรรกะเหตุผลดีอย่างไร ท้ายที่สุดก็ได้แค่ความสะใจชั่วครั้งชั่วคราว สวนทางกับเครดิตที่เคยมีก็เริ่มจางหายเพราะคนสงสัยในความคิดและการใช้เหตุผล (ซึ่งสำคัญมากๆ สำหรับผู้ที่เป็น Opinion Leader) แต่ก็เอาเถอะ จะใช้อย่างไรก็สิทธิ์ของแต่ละคน วันข้างหน้าที่เครดิตหาย พูดอะไรไม่มีใครเชื่อ บทบาทของความเป็นสื่อมวลชนเริ่มสั่นคลอน ก็น่าคิดว่าจะยังทำงานในวงการสื่อต่อไปได้อีกหรือเปล่าหนอ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
ห้าปีแห่งการต่อสู้: แบเดาะ สะมาแอ Posted: 19 Dec 2012 12:22 AM PST
เรื่องราวของนางแบเดาะ สะมาแอ หญิงวัย 54 ปี ฐานะยากจน อยู่ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา มีอาชีพกรีดยาง ซึ่งเปลี่ยนตัวเองจากผู้หญิงที่แทบไม่เคยออกจากหมู่บ้าน ออกเดินทางไปยังที่ต่างๆ เพื่อติดตามความคืบหน้าเรื่องการตายของลูกชาย วันที่ 21 กรกฎาคม 2550 ณ มุมอับ ชายแดนใต้ สังคมชายขอบของประเทศไทย ชีวิตอีกชีวิตหนึ่งต้องจากไปก่อนเวลาอันควร "ผู้ตายคือนายอัสฮารี สะมาแอ ตายขณะอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 เหตุที่ตายเนื่องจากสมองช้ำ พฤติการณ์ที่ตายคือ ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัว และมีการทำร้ายร่างกายผู้ตาย เป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับบาดเจ็บ ถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร โรงพยาบาลปัตตานี และโรงพยาบาลศูนย์ยะลา แล้วถึงแก่ความตาย" คำสั่งศาลจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2555 ปิดฉากห้าปีของการต่อสู้เรียกร้องเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ว่า อัสฮารี สะมาแอ เสียชีวิตเพราะอะไร อัสฮารี สะมาแอ ถูกควบคุมตัว วันที่ 21 กรกฎาคม 2550 ที่บ้านจาเราะซือโปะ อำเภอกรงปีนัง จังหวัดยะลา พร้อมกับบุคคลอีกเก้าคน โดยเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองในพื้นที่ การเข้าปิดล้อมแบบจู่โจมของเจ้าหน้าที่ เพราะมีคนแจ้งเบาะแสว่าที่กระท่อมหลังนั้นมีการซุกซ่อนอาวุธปืนและระเบิด ผู้ที่ถูกจับกุมในครั้งนั้นคนหนึ่ง เล่าเหตุการณ์ที่ถูกจับกุมตอนนั้นว่า "ประมาณสิบเอ็ดโมง เห็นรถตำรวจมาจอดอยู่หน้ากระท่อม แล้วก็ได้ยินเสียงปืน ผมก็วิ่งหนี แล้วก็โดนจับ เขาเอามือผมไขว้หลัง ใส่กุญแจมือ แล้วพามานั่งที่กระท่อม ถามว่าปืนทิ้งที่ไหน ผมก็บอกว่าไม่รู้ ไม่มี พอไม่รู้นั่นแหละ กระทืบเลย ประมาณสามชั่วโมงได้" คนอื่น ๆ ที่เหลือก็ระบมเหมือนกันรวมทั้งอัสฮารีที่ถูกจับเป็นคนสุดท้าย "ผมได้ยินเสียงเหมือนคนกำลังจะตาย หายใจแรง ผมนึกว่าเค้าตายแล้ว " หลังจากเจ้าหน้าที่จับกุมตัวได้ทั้งหมด ก็พาไปที่สถานีตำรวจกรงปีนัง จากปากคำของเจ้าหน้าที่ที่ให้การกับศาลและหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน อัสฮารีมีอาการสลึมสะลือไม่รู้สึกตัวตั้งแต่นั้น อัสฮารีและกลุ่มคนที่ถูกจับถูกนำส่งไปที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร แต่ด้วยสภาพร่างกายที่บอบช้ำและไม่รู้สึกตัว เจ้าหน้าที่จึงส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร ซึ่งรักษาไม่ไหวต้องส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลจังหวัดปัตตานี โรงพยาบาลปัตตานีส่งตัวไปเอกซเรย์สมองที่โรงพยาบาลสิโรรสก่อนจะถูกส่งไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา อัสฮารีเสียชีวิตลงที่นั่นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 "สภาพเหมือนศพที่ถูกซ้อมทรมาน ถูกต่อย ถูกเหยียบ ศพมีรอยแผลช้ำเป็นสีน้ำเงิน" นางแบเดาะ สะมาแอ มารดาอัสฮารี เล่าว่า "วันนั้นมีคนโทรมาบอกว่า ลูกเสียชีวิต ให้ไปรับศพที่โรงพยาบาลปัตตานี ไปหาที่โรงพยาบาลปัตตานีก็ไม่พบ ถามหมอที่โรงพยาบาลเขาบอกว่า ลูกไปอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ไปถึงโรงพยาบาลศูนย์ยะลา พบลูกอยู่ที่ห้องเย็นแล้ว สภาพเหมือนศพที่ถูกซ้อมทรมาน ถูกต่อย ถูกเหยียบ ศพมีรอยแผลช้ำเป็นสีน้ำเงิน รู้สึกเศร้าใจทั้งครอบครัว เพราะอะไรถึงได้ตายแบบนี้ ทำให้ทุกข์ใจ เศร้าใจ" การตายที่ไม่ปกติ บวกกับการที่ช่วงเวลานั้นในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้มีปัญหาร้องเรียนเรื่องการซ้อมทรมานสูง ทำให้มีนักรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ทำงานกับหลายๆกรณีในพื้นที่ยื่นมือเข้าช่วยนางแบเดาะด้วย ในจำนวนนี้มีอับดุลอาซิส ตาเดอินทร์ จากสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทยที่เป็นคนแรก ๆ ที่ได้เห็นสภาพศพ "พอเห็นศพ เราสงสัยทันทีเลยว่าคงโดยซ้อมจนสมองบวม หลังจากฝังศพอัสฮารี เราบอกแม่เขาถึงขั้นตอนต่างๆ ว่าหากถูกซ้อมทรมานจนตายต้องทำอย่างไร เรื่องสิทธิมนุษยชนถูกละเมิดอย่างไร เรื่องหน่วยทหารหน่วยไหนเราก็ต้องทำเรื่องราว" อับดุลอาซิสเป็นคนหนึ่งที่เข้าช่วยเหลือครอบครัวอัสฮารีในเรื่องของการร้องขอความเป็นธรรม หลังจากนั้นครอบครัวของอัสฮารี จึงเดินหน้าเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับการตายของลูกชาย ควบคู่กันไปกับการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้น ว่าทำร้ายร่างกายอัสฮารีขณะเข้าจับกุมจนเป็นเหตุให้บาดเจ็บและเสียชีวิตต่อมา โดยมีมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ประจำจังหวัดยะลาและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมซึ่งเป็นองค์กรด้านกฎหมายจากกรุงเทพมหานคร ดูแลช่วยเหลือในของคดี และสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ดูแลเรื่องการเรียกร้องการเยียวยา แต่กว่าจะได้มาซึ่งคำสั่งศาลที่ว่า การตายของอัสฮารีเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ก็ต้องใช้เวลาในการต่อสู้เรียกร้องนานห้าปี นางแบเดาะ สะมาแอ หญิงวัย 54 ปี ฐานะลำบากยากจน อยู่ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา มีอาชีพกรีดยาง มีลูกทั้งหมด 9 คน อัสฮารีลูกชายคนโต เรียนอยู่ที่สถาบันราชภัฏยะลา และเป็นความหวังของครอบครัว ว่าจะได้ช่วยกันดูแลส่งเสียน้องๆ เรียนหนังสือสูงๆ แต่ช่วงเกิดเหตุไปทำงานรับจ้างที่หาดใหญ่ นางแบเดาะ เล่าถึงลูกชายว่า "เขาเป็นเด็กดี อยู่บ้านก็อัธยาศัยดี โรงเรียนปิดเสาร์-อาทิตย์ ก็กลับมาช่วยแม่กรีดยาง อยู่บ้านก็ไม่เคยไปมีเรื่องทะเลาะกับใคร ถึงเวลาละหมาดก็ไปมัสยิด ชอบอ่านอัลกุรอาน ไม่ไปเที่ยวเตร่" "อัสฮารี เคยบอกแม่ว่า ถ้าเขาเรียนจบ เขาจะเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เพราะได้เงินเดือนเยอะ เขาจะทำบ้านให้แม่ และจะช่วยส่งน้องๆ เรียนให้จบ" จากสภาพชุมชนที่นางแบเดาะอาศัยอยู่ มีเด็กวัยรุ่นหลายคนไม่ได้เรียนหนังสือ หลายคนไม่มีงานทำ หลายคนติดยาเสพติด ทำให้นางแบเดาะคิดเสมอว่า ลูกต้องเรียนหนังสือ เพื่อให้พ้นจากสภาพเหล่านั้น "พยายามให้ลูกเรียน บอกว่าลูกต้องเป็นคนดี ไม่ต้องเกเร ไม่มีเงินก็ต้องเรียน" ด้วยความที่เชื่ออย่างสนิทใจว่า อัสฮารีลูกชายของตัวเองเป็นคนดี ไม่ทำผิดคิดร้ายใคร "ก็แค่อยากจะรู้ความจริงเท่านั้นเอง เราทำอะไรไม่ได้ พระเจ้าเท่านั้นเป็นคนตัดสินใจ ก็แค่อยากจะรู้จริง ๆ ความจริงไปที่ศาลเค้าก็บอกแบบโน้นแบบนี้ ลูกนี้ลื่นแบบนั้น น้ำตาก็เต็มตา แต่ก็ไม่ออกมา มันอยู่ในตา ก็รู้หมดว่าตำรวจ ทหารเป็นคนจับตัวไป แล้วก็ไปซ้อมแบบนั้น แบบนั้น" นางแบเดาะเดินทางไปเรียกร้องขอความเป็นธรรมและความช่วยเหลือจนแทบจะทุกหน่วยงานเท่าที่นึกกันได้ ทั้งที่ไปเอง และที่มีคนพาไป "ก๊ะ พยายามไปที่โน่นที่นี่ แล้วแต่เขาบอก เพื่ออยากให้ความจริงมันปรากฏ ว่าคดีของลูกไปถึงไหนแล้ว ออกจากบ้านไปคนเดียว ในเรื่องความกลัวนั้น มันหมดแล้ว มันกลายเป็นความกล้า พอเกิดเรื่องมันต้องพยายาม ไปกับรถโดยสารบ้าง บางทีขับมอเตอร์ไซด์ไปยะลาคนเดียว คิดว่า เราไม่ได้อยู่คนเดียว มีพระเจ้าคอยคุ้มครองเราอยู่" อิสมาแอ สาและ ประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นอีกคนหนึ่งที่รับรู้เรื่องราวของครอบครัวนี้และเข้ามาช่วยเหลือตั้งแต่ต้นด้วยการพาไปยังสถานที่ต่างๆ "ก็ไม่ใช่ทุกหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ ไปขอเยียวยา เขาก็บอกว่าไม่ได้ คุณไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ เราก็ต้องใช้วิธีการอื่น เช่น ไปพบผู้ว่าฯ บ้าง พาไปเจอกับกระทรวงยุติธรรมที่กรุงเทพก็หลายครั้ง ไปเจอกรรมการสิทธิ์ก็หลายครั้ง กว่าจะมาถึงวันนี้ได้มันหนักมาก ช่วงแรก ๆ ทำเรื่องขอความเป็นธรรมอย่างเดียว แต่ละเรื่องแทบจะไม่มีความคืบหน้า ไม่มีความก้าวหน้าเลย" จากผู้หญิงที่แทบไม่เคยออกจากหมู่บ้าน ต้องออกเดินทางไปยังที่ต่างๆ แม้แต่ในตัวจังหวัดยะลา สำหรับคนที่ไม่ค่อยได้เดินทางเข้าตัวจังหวัดอย่างแบเดาะ การไปติดตามความคืบหน้าเรื่องการตายของลูกชายกับทนายอาดิลัน อาลีฮิสเฮาะ ที่มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดยะลา ก็นับว่าต้องใช้ความพยายามอย่างมาก "ในตัวเมืองยะลา ก๊ะไม่รู้เลยว่าสถานที่ อยู่ตรงไหน บอกว่าให้รอที่โน่นที่นี่ ก๊ะไม่รู้จักชื่อ ไปไม่ถูก ทางก็ไม่รู้ว่าจะไปยังไง แรก ๆ ทนายอาดิลันโทรให้ไปหา ก็ไปหาที่ศูนย์ ก๊ะก็ไป ไปหาจนเจอ แบลันก็โทรถามว่าอยู่ไหนตอนนี้ ก็ไปจนเจอ ก็ไปจนได้ไปตามประสาก๊ะ แต่ไม่ใช่ก๊ะคนเดียว เพราะมีพระเจ้าคอยคุ้มครองก๊ะอยู่ คอยช่วยเหลือก๊ะ ให้เจอคนนั้น คนนี้ ก๊ะยึดตรงนั้นแหละ" นี่คือกลุ่มคนที่คอยช่วยเหลือแบเดาะตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ช่วงแรกๆ และเธอก็ไว้วางใจจนกลายเป็นความผูกพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอิสมาแอ ที่แบเดาะเห็นเป็นตัวแทนของลูกชาย "โทรไปหาตลอด โทรถามเรื่องคดีของลูก ที่ไปขอความเป็นธรรมที่ศาลากลาง ก๊ะไม่รู้ว่าเค้าช่วยได้หรือไม่ได้ แบแอก็บอกว่าพวกนั้นช่วยไม่ได้เพราะไม่เข้าในหลักเกณฑ์ จากนั้นก็เงียบ แล้วก็โทรไปใหม่ โทรไปบ่อย อยากให้สบายใจ ได้ระบายออกไป ถ้าเงียบมันจะลำบาก คิดอยู่คนเดียว คิดถึงลูก คิดถึงมาก ๆ ไม่ได้คิดน้อย ๆ คิดถึงจริง ๆ เวลาผ่านไปสองปีถึงได้ทำงานได้" ตลอดห้าปีที่ผ่านมา อิสมาแอจึงต้องรับโทรศัพท์เพื่อตอบคำถามเรื่องความคืบหน้าหรือไม่คืบหน้าของคดีนี้โดยตลอด หนึ่งปีผ่านไป ไม่มีอะไรคืบหน้า ทั้งเรื่องคดีและการเยียวยา "ก๊ะก็ท้อเหมือนกัน ไม่อยากจะไปแล้ว เค้าชวนไปที่ไหน ที่ไหนก็รู้สึกว่าขี้เกียจ เบื่อจะไปแล้ว แล้วพวกเค้าชวนอีก แล้วก็บอกกับตัวเองว่า ไม่ได้ต้องไป ก๊ะต้องสู้" ที่สำคัญคือการต่อสู้กับตัวเอง จากคนที่พูด ฟัง ภาษาไทยแทบไม่ได้ เพราะใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นหลัก ก็ต้องฝึกพูดภาษาไทยให้คล่อง ต้องหัดขี่มอเตอร์ไซค์ หัดขับรถยนต์ เพื่อให้ง่ายต่อการเดินทางไปหาความจริงเรื่องลูก อิสมาแอเป็นผู้หนึ่งที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและความพยายามที่เกิดขึ้น "ก็ยอมรับว่าก๊ะ จากการที่พูดภาษาไทยไม่ได้ ณ วันนี้สามารถเข้าใจภาษาไทย จากการไม่รู้จักคนเลย เป็นชาวบ้านโดด ๆ ทำอยู่แต่ในบ้าน ดูแลลูก แต่ ณ เวลานี้ ก๊ะเองต้องเปลี่ยนบทบาท จากคนทำงานอยู่ในบ้านอย่างเดียวต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งตามหาความยุติธรรมให้กับลูก นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่ผมเห็นชัด " "ให้แม่ติดตามเรื่อง เพราะปลอดภัยมากกว่า" ขณะที่แบเดาะออกนอกบ้าน เดินหน้าเรียกร้องหาความเป็นธรรมและการเยียวยาจากหน่วยงานรัฐ อับดุลวาฮับ พ่อของอัสฮารีรับหน้าที่ดูแลบ้านและลูกๆ เขาไม่ออกไปเดินเรื่องกับภรรยาแต่อย่างใด " ผู้หญิงปลอดภัยมากกว่าผู้ชาย ที่เค้าจะสงสัยอะไรมันก็มีน้อยหน่อย ในส่วนติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ให้แม่เค้าเป็นคนทำ เพราะจะปลอดภัยมากกว่าผม ปลอดภัยมากกว่าผู้ชาย เพราะว่าผู้ชายถ้าเค้าทำอะไร คนก็มองแล้ว และแม่เขาทำอะไรจะรอบคอบกว่า ถ้าผู้ชายรู้บ้างไม่รู้บ้างไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นผู้หญิงต้องรู้ให้หมด อย่างนี้แหละที่ส่งแม่ไปตามเรื่องคดีของอัสฮารี แม่เขาไปพบใคร ไปแบบไหน เขาก็จะกลับมาเล่าให้ฟัง" การเดินทางออกไปติดตามความคืบหน้าของคดี ทำให้นางแบเดาะ รู้จักคนมากขึ้น โดยเฉพาะทีมทนายความจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมที่มาจากกรุงเทพ นางแบเดาะ เล่าว่า ตอนแรกก็กล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะเดินหน้าเรื่องคดี "ทนายที่กรุงเทพก็มาเอาชื่อของก๊ะ ว่าจะช่วยเหลือในเรื่องของลูก เค้าถามว่า ก๊ะจะแจ้งความ จะฟ้องศาลไหม ก๊ะบอกว่าก๊ะไม่เอา ก๊ะกลัว ก๊ะไม่รู้อะไร ทนายก็บอกไม่เป็นไร เราแค่อยากจะรู้ความจริง จากนั้นก๊ะก็บอกไม่เอา ๆ ก๊ะกลัว แล้วก๊ะก็ถามเค้าว่าถ้าเราฟ้องศาลขึ้นมา ท้ายที่สุดแล้ว เค้าเอาความกับก๊ะไหม ทนายบอกว่าไม่เป็นไร ไปเหอะ เราฟ้องเพื่อจะเรียกร้องค่าเสียหาย ก๊ะก็ฟ้องตามที่ทนายบอก " คดีนี้ มีทีมทนายเข้ามามีบทบาทหลายคน ทั้งทนายความจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม และทนายความจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม คุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ์ ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เล่าให้ฟังถึงการตัดสินใจส่งทีมทนายความมาดูแลคดีนี้ "เป็นที่ชัดเจนเรื่องว่ามันเป็นความต้องการของญาติ แล้วเราก็อยากให้เป็นคดีตัวอย่างด้วย เพื่อผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการยุติธรรม" อติวัณณ์ ชูช่วย ทนายความจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมเป็นอีกคนหนึ่ง ที่แบเดาะให้ความไว้วางใจปรึกษาหารือทั้งในเรื่องคดีและความเป็นอยู่ส่วนตัวตลอดจนระบายความกลัดกลุ้มบ้างในยามที่ต้องการจนกลายเป็นคนสนิทไปในช่วงนั้น "แกไปที่ไหน แกก็ผิดหวัง แกก็กลัวว่า แกจะไม่ได้รับอะไรอีกเลย เหมือนแกหมดอะไรแล้วประมาณนั้น จริงๆ ม๊ะ มีอาการถึงขนาดแกเคยโทรมา ตี 4 แกตื่นมาละหมาดแล้วแกเกิดภาวะที่แกรู้สึกว่า กระบวนการทุกอย่างทำร้ายแกซ้ำซาก แกโทร แกบอกว่าม๊ะไม่ไหวแล้ว" "เราก็พยายามช่วย แม้ไม่ใช่หน้าที่ของทนายหรอก แต่ว่าถ้าช่วยได้ก็ช่วย คือภาษาก็ไม่ค่อยถนัดกัน แกก็พูดมลายู ในขณะที่เราพูดไม่ได้เลย ฟังไม่ได้เลย ศาสนาก็ไม่เหมือนกัน เราไม่รู้ว่าในทางศาสนาของเค้า คือศาสนาอิสลาม เค้ามีคำว่าสมาธิมั๊ย ในขณะที่เราเป็นพุทธ เราก็รู้จักแต่คำว่าสมาธินั่นแหละ ที่จะดึงภาวะบางอย่างของมนุษย์ที่กำลังร้อนรน ให้มันเย็นลง แล้วก็อยู่กับตัวเองให้ได้ แล้วก็คลี่คลาย ถ้าผู้หญิงแก่ๆ คนนี้ ไม่มีสติสตัง ที่จะมาอยู่กระบวนการยุติธรรมได้ เรื่องนี้ก็จบ คนที่ทำผิด ก็ไม่ต้องรับโทษ ไม่ต้องรับอะไร เพราะว่าจะไปหวังเอากับใคร" 3 ปีของการต่อสู้กันในชั้นศาลเรื่องไต่สวนการตาย ในที่สุดวันที่ 28 มิถุนายน 2555 ศาลจังหวัดยะลามีคำสั่งจากผลการพิจารณาออกมาว่า อัสฮารี สะมาแอ ตายเนื่องจากสมองช้ำ พฤติการณ์ที่ตายคือ ผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัว และมีการทำร้ายร่างกายผู้ตาย เป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับบาดเจ็บแล้วถึงแก่ความตาย ความรู้สึกของนางแบเดาะ ณ เวลานั้น "ก็ได้รู้ว่าเจ้าหน้าที่เป็นคนทำ ลูกตายจากการทำของเจ้าหน้าที่ พอตัดสินแบบนั้น ก๊ะก็รู้สึกเบาอกหน่อย โล่งอก ที่พวกเค้าทำลูกเราแล้วไม่ยอมรับ ทั้งๆ ที่ดูสภาพลูกเรา ก๊ะก็จะบอกว่าเค้าล้มธรรมดาเป็นไปไม่ได้" ทนายอาดิลัน ที่ทำคดีด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดหลายปี และร่วมช่วยในคดีนี้ให้ความเห็นว่า "คดีของลูกชายก๊ะแบเดาะนั้น ไม่ได้มีผลเฉพาะตัวของลูกชายก๊ะแบเดาะคนเดียว เป็นผลต่อคนอื่นอีกมากมายใน 3 จังหวัดนี้" สำหรับทีมทนายความ เส้นทางของแบเดาะจึงไม่ใช่การต่อสู้ของผู้หญิงคนหนึ่งเท่านั้น แต่มันคือตัวอย่างของการต่อสู้ของคนที่ไม่ยอมจำนนต่อความโชคร้าย และน่าจะเป็นแบบอย่างให้กับคนอีกจำนวนมากที่ประสบปัญหาคล้ายกัน พวกเขาหวังว่าเรื่องราวของเธอจะบอกให้สังคมได้รับรู้ว่า การจะให้เกิดความยุติธรรมขึ้นได้นั้น คนที่ต้องการความยุติธรรมจำเป็นต้องลุกขึ้นต่อสู้ และสู้อย่างถูกหนทางดังในกรณีของแบเดาะ สะมาแอนั่นเอง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
สมานฉันท์แรงงานไทย ค้านขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี Posted: 18 Dec 2012 11:54 PM PST คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ชี้ขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีเมื่อใด ค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับขึ้นเป็น 300 บาทจะหมดความหมายทันที แนะ รบ.ทบทวนการแบ่งสัดส่วนการใช้ก๊าซแอลพีจีใหม่
(19 ธ.ค.55) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ออกแถลงการณ์เรื่อง "ค่าก๊าซแพง ค่าแรงขึ้น แรงงานตายผ่อนส่ง" เพื่อคัดค้านการขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี โดยให้เหตุผล 3 ข้อ ได้แก่ (1) จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานโดยตรง ระบุว่า ในปี 2554 ประเทศไทยมีการใช้ก๊าซแอลพีจีทั้งประเทศรวมจำนวน 6.9 ล้านตัน ใน 4 กลุ่ม คือ ภาคครัวเรือน (ก๊าซหุงต้ม) เป็นภาคที่ใช้มากที่สุดคือ 2.6 ล้านตัน (39%) รองมาเป็นภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (วัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) 2.4 ล้านตัน (35%) ภาคยานยนต์ (เชื้อเพลิงรถยนต์) 0.9 ล้านตัน (13%) และภาคอุตสาหกรรม (เชื้อเพลิงอุตสาหกรรม) 0.7 ล้านตัน (10%) ทั้งนี้พบว่าราคาก๊าซแอลพีจีที่หน้าโรงกลั่น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2555 มีราคาเท่ากันคือ 10.26 บาทต่อกิโลกรัม แต่กระทรวงพลังงานกลับมีการขายก๊าซให้กับกลุ่มผู้ใช้ในราคาที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ภาคครัวเรือน 18.13 บาท ภาคยานยนต์ 21.38 บาท และภาคอุตสาหกรรม (ที่ไม่รวมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) 30.13 บาท แต่ภาคปิโตรเคมีที่มีสัดส่วนการใช้ค่อนข้างสูงเป็นลำดับ 2 กลับได้ใช้ก๊าซในราคาที่ถูกมาก คือ 16.20 บาทเท่านั้น ซึ่งถูกกว่ากลุ่มผู้ใช้กลุ่มอื่นๆ ทั้งสิ้น (2) ประเทศไทยผลิตก๊าซแอลพีจีได้โดยตรงจำนวน 5.5 ล้านตัน และมีการนำเข้าอีก 1.4 ล้านตัน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทที่ทำอุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั้งหมดเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยใช้ก๊าซแอลพีจี ถึง 2.1 ล้านตัน/ปี ดังนั้นจนเป็นเหตุให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศ ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้วประเทศไทยมีโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 (มาบตาพุด จ.ระยอง) ซึ่งเป็นโรงแยกก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่กลับไม่มีการขายก๊าซที่แหล่งผลิตแห่งนี้ให้กับภาคครัวเรือน/ยานยนต์/อุตสาหกรรม แต่เป็นการขายให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.) เพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ภาคการผลิตอื่นๆ ต้องซื้อก๊าซที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศแทน มีข้อมูลแสดงชัดเจนว่า ในช่วงปี 2551-2554 ผู้ใช้น้ำมันต้องแบกรับภาระของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีประมาณ 23,300 ล้านบาท ในขณะที่ประชาชนใช้ก๊าซแอลพีจีเพื่อความจำเป็นในการดำเนินชีวิต (หุงหาอาหารและขนส่ง) แต่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกลับใช้ก๊าซแอลพีจีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในกิจการของตัวเอง (3) นโยบายนี้เป็นการผลักภาระให้กับประชาชน แต่กลับไปช่วยเหลือกลุ่มทุนหรือกลุ่มอุตสาหกรรม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||
คีตาภิวันท์-ปรัชญัญชลี : รำลึกการจากไปของ"ราวีร์ ชังการ์" Posted: 18 Dec 2012 05:34 PM PST
คีตาภิวันท์สรรค์ ปรัชญัญชลีสรวม
เบิกเนตรมนัสวาง สว่างหมายมโนรวม สายกลางมิตึงหลวม เชลงกล่อมนรากร
อ้าองค์อติเทพ ประทับแท่นปรรจถรณ์ เชิญไท้นรินทร ทุกอัมพรสดับฟัง
เสียงพิณสวรรค์แว่ว ผสานแผ่วพลังหวัง ร่ายเวทยาวัง- เวงนิมิตฤทธิยา
ดั่งสายชลาสินธุ์ ชโลมสุทธคงคา ร่ำดื่มมุรธา อมตารสาหวาน
มาแต่มัธยม- ประเทศพรหมชมพูพนานต์ แดนโพ้นหิมพานต์ ผิขับขานคีตาญชลี
พิณซ่านสะท้านสรวง สะท้อนทรวงสะเทือนศรี โหมโรงมโหรี กวีกลั่นกมลกรอง
ดับร้อน ณ โลกเข็ญ วยุเย็นยะเยือกครอง กรีดสายและกรายสอง กรกสานติ์กำราบกลี
สงครามกระหน่ำยุทธ์ ก็พลันหยุดเพราะดนตรี ราวี-ระวีวีร์ คุรุเทพแห่งคีตา.
เขียนเมื่อได้ชมคอนเสิร์ต "ราวี ชังการ์" ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย /มกราคม 2540 เพื่อสร้างบรรยากาศให้มีความเป็น "ภารตะ" จึงเลือกใช้กาพย์ยานี 11 ในลีลากระตุกแบบอินทรวิเชียรฉันท์
พิมพ์ครั้งแรก "ฐานสัปดาหวิจารณ์" 2540
รวมเล่มในหนังสือกวีนิพนธ์ "เหนือฝั่งมหานที" โดย "เพ็ญ ภัคตะ" ปี 2544 สนพ.มติชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น