โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

จี้ ‘อสมท.’ หยุด! โฆษณาชวนเชื่อ ‘แร่ใยหิน’ ไม่อันตราย

Posted: 27 Dec 2012 12:16 PM PST

เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทยร้อง อสมท.หยุดโฆษณาชวนเชื่อโดยทันที ระบุมติของสมัชชาสุขภาพฯ ชี้ชัด แร่ใยหินเป็นอันตราย ให้เลิกนำเข้า-ผลิต-จำหน่าย ขู่ไม่ทำตามเตรียมรณรงค์ให้คนเลิกฟังรายการ อสมท.เหตุไม่ได้นำคลื่นของรัฐมาทำประโยชน์สาธารณะ

 
 
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.55 เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย (T-BAN) ออกแถลงการณ์ขอให้ อสมท.หยุดการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินไม่อันตรายในทันที โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาพบสถานีวิทยุในเครือ อสมท.เช่น FM 95 MHz และ FM 100.5 MHz ได้มีการโฆษณาชวนเชื่อว่าแร่ใยหินไม่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นการโฆษณาที่ไม่นำข้อเท็จจริงทางวิชาการมาพิจารณาประกอบ และทำให้ประชาชนเข้าใจผิด เนื่องจากกรณีดังกล่าวได้มีมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติชี้ชัดว่าแร่ใยหินเป็นอันตราย ให้มีการยกเลิกการนำเข้า การผลิต และจำหน่ายแล้ว
 
เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทยมีข้อเรียกรอง 1.ให้ อสมท.หยุดการหยุดการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินโดยทันที 2.ชี้แจงต่อสาธารณะว่า ข้อความการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินไม่อันตรายเป็นการโฆษณาของบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยให้ อสมท.เปิดเผยชื่อบริษัทผู้ว่าจ้างโฆษณาดังกล่าว เพื่อมิให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นประกาศของ อสมท.หรือหน่วยงานราชการ
 
3.ให้ อสมท.สื่อสารให้สังคมทราบว่า สินค้าแร่ใยหินทุกชนิดต้องมีคำเตือนที่ประกาศโดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคบนฉลากในสินค้าที่มีแร่ใยหิน ซึ่งระบุว่าอาจเป็นอันตรายต่อมะเร็งและโรคปอด
 
ทั้งนี้ หากไม่มีการดำเนินการดังกล่าว เครือข่ายฯ จะได้เริ่มดำเนินการรณรงค์ต่อสาธารณชนให้เลิกรับฟังรายการต่างๆ ของ อสมท.เนื่องจากมิได้นำคลื่นของรัฐมาทำประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่กลับนำมาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการว่าจ้างเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสังคม
 
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 เม.ย.54 เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้ง ที่ 3 พ.ศ.2553 มติ 1 มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินในหลักการ ที่จะทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ภายในปี 2555 แต่ ขณะนี้ใกล้สิ้นปี พ.ศ.2555 แล้ว หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่มีมาตรการใดๆ เพื่อจะยกเลิก การนำเข้า การ ผลิต และการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย ตามช่วงเวลาที่กำหนด
 
แถลงการณ์ดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้
 
 
แถลงการณ์ของเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย (T-BAN)
ขอให้ อสมท. หยุดการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินไม่อันตราย โดยทันที
 
เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย เป็นการรวมตัวของเครือข่ายแรงงาน นักวิชาการ องค์กรเอกชน ภาคประชาชน มีความตระหนักว่าแร่ใยหินเป็นสารก่อมะเร็ง และมีผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานและสาธารณชน และปัจจุบันมีสารที่ใช้ทดแทนได้แล้ว และได้มีคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้ง ที่ 3 พ.ศ.2553 มติ 1 มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินในหลักการ ที่จะทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ภายในปี 2555 นับตั้งแต่มีมติดังกล่าว และขณะนี้ใกล้สิ้นปี พ.ศ.2555 แล้ว หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่มีมาตรการใดๆ เพื่อจะยกเลิก การนำเข้า การ ผลิต และการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย ตามช่วงเวลาที่กำหนด
 
โดยที่ในขณะนี้พบว่า สถานีวิทยุในเครือ อสมท.เช่น FM 95 MHz FM 100.5 MHz เป็นต้น ได้มีการโฆษณา ชวนเชื่อว่าแร่ใยหินไม่เป็นอันตราย (ข้อความตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) ซึ่งขัดกับมติ ครม.ดังกล่าว และละเมิดสิทธิผู้บริโภคโดยการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในสาระสำคัญจากรายการวิทยุในเครือ อสมท.ทั้งที่ อสมท. ได้สัมปทานคลื่นจากรัฐ แต่กลับไม่ทำประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งยังดำเนินการให้ข้อมูลที่สร้างความสับสนต่อประชาชน ประกอบกับ ข้อมูลดังกล่าวไม่สอดคล้องกันกับ คำเตือน ที่ประกาศโดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคบนฉลากในสินค้าที่มีแร่ใยหิน ที่ระบุว่า อาจเป็นอันตรายต่อมะเร็งและโรคปอด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้จะสร้างผลกระทบต่อผู้ใช้สินค้า
 
จึงขอเรียกรองให้ อสมท. ดำเนินการดังต่อไปนี้
 
1.      หยุดการหยุดการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินโดยทันที
 
2.      ชี้แจงต่อสาธารณะว่า ข้อความ การโฆษณาชวนเชื่อเรื่องแร่ใยหินไม่อันตรายเป็นการโฆษณา ของบริษัท ผู้ว่าจ้าง โดยให้ อสมท. เปิดเผยชื่อ บริษัท ผู้ว่าจ้างโฆษณา ดังกล่าว เพื่อมิให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า เป็นประกาศของ อสมท. หรือ หน่วยงานราชการ
 
3.      สื่อสารให้สังคมทราบว่า สินค้าแร่ใยหินทุกชนิดต้องมี  คำเตือน ที่ประกาศโดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค บนฉลากในสินค้าที่มีแร่ใยหิน ที่ระบุว่า  อาจเป็นอันตรายต่อมะเร็งและโรคปอดทั้งนี้ หากไม่มีการดำเนินการดังกล่าว เครือข่ายฯ จะได้เริ่มดำเนินการรณณงค์ต่อสาธารณชนให้ เลิกรับฟังรายการต่างๆ ของอสมท. เนื่องจากมิได้นำคลื่นของรัฐมาทำประโยชน์ต่อสาธารณะ  แต่กลับนำมาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการว่าจ้างเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสังคม
 
 
เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย
27 ธันวาคม 2555
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทนาย นปช. นำ 20 ผู้บาดเจ็บสลายการชุมนุมปี 53 กล่าวโทษ 'อภิสิทธิ์-สุเทพ' ข้อหาพยายามฆ่า

Posted: 27 Dec 2012 07:38 AM PST

ทนายคารม พลพรกลาง นำผู้เสียหายที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2553 จำนวน 20 คน พบ พนง.สอบสวน ร้องทุกข์กล่าวโทษ'อภิสิทธิ์-สุเทพ'ข้อหาพยายามฆ่า

27 ธ.ค.55 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงาน นายคารม พลพรกลาง ทนายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำผู้เสียหายที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2553 จำนวน 20 คน เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)และพวก ในข้อหาพยายามฆ่า มีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ มารอรับก่อนจะพาผู้เสียหายทั้งหมดขึ้นไปสอบปากคำทันที โดยได้มีการเตรียมห้องสอบสวนพร้อมพนักงานสอบสวนแยกสอบปากคำเป็นรายบุคคล

สำหรับผู้เสียหายที่เข้าสอบปากคำจำนวน 20 ราย ประกอบด้วย

1.นายบดินทร์ วัชรโรบล

2.นายอิทธิกร ตันหยง ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณถนนดินสอ

3.นายสันติพงษ์ อินทร์จันทร์ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณแยกคอกวัว

4.นายปรีชา สุกใส ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณศาลาแดง

5.นายสมร ไหมทอง ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส บริเวณราชปรารภ

6.นายณรงค์ศักดิ์ สิงห์แม ถูกยิงได้รับบาดเจ็บที่วัดปทุมวนาราม

7.นายเสกสิทธิ์ ช้างทอง ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณถนนพระราม 4

8.นายภัสพล ไชยพงษ์ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บบริเวณถนนพระราม 4

9.นายกฤตพจน์ บัวดี ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณสวนลุมพินี

10.นายณัฐพล ทองคุณ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณสวนลุมพินี

11.นายธงชัย เหงวียน ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณสวนลุมพินี

12.นายไพโรจน์ ไชยพรม ถูกยิงได้รับบาดเจ็บบริเวณอนุสรณ์สถาน

13.นายชาคริชานะ พาณิชย์ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณถนนราชปรารภ

14.นายวิโรจน์ โกสถา ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณอนุสรณ์สถาน

15.นายศุภวัชช์ ปันจันตา ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณสวนลุมพินี

16.นายคมกฤต นันทน์โชติ ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณอนุสรณ์สถาน

17.นายไสว ทองอ้ม

18.นายสนอง พานทอง ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง

19.นายสมัย กล้ารอด ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณอนุสรณ์สถาน และ

20.นายสมเจตน์ จุ๋ยจิตร ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณถนนดินสอ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุก 1 ปี "สมชาย ไพบูลย์"แกนนำ นปช. ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และก่อความไม่สงบในราชอาณาจักร

Posted: 27 Dec 2012 06:41 AM PST

ศาลอาญาสั่งจำคุก 1 ปี "สมชาย ไพบูลย์"แกนนำ" นปช."รุ่น2 คดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และร่วมกันก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร ไม่รอลงอาญา แต่ได้ประกันตัวด้วยเงินสด 1 แสน ระหว่างต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ คำพิพากษาระบุการชุมนุมปี 53 ไม่ได้เป็นไปโดยสงบสันติ

27 ธ.ค.55 ทีมข่าวอาชญากรรม ASTV ผู้จัดการออนไลน์ รายงาน ที่ห้องพิจารณา 803 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีดำ อ.2543/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมชาย ไพบูลย์ อายุ 43 ปี อดีต ส.ข.เขตบางบอน พรรคไทยรักไทย และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นจำเลยฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ ซึ่งเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, 215, 216 และร่วมกันชุมนุมฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 5, 9, 11, 18 ตามฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 53

ระบุความผิดสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 8-10 เม.ย. 53 ภายหลังที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง จำเลยกับพวกซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ร่วมกันชุมนุมและมั่วสุมที่เวทีผ่านฟ้าลีลาศ และเวทีราชประสงค์ โดยจำเลยกับพวกทราบคำสั่งเจ้าพนักงานแล้วยังขัดขืนคำสั่งของเจ้าหน้าที่ไม่เลิกการชุมนุม และยังใช้กำลังทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ โดยมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดไม่ทราบชนิดและขนาด มีด ดาบ ท่อนไม้ ท่อนเหล็ก หนังสติ๊กหลายชิ้นไม่ทราบจำนวนแน่ชัดเป็นอาวุธ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหาร ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมทั้งทรัพย์สินของทางราชการและประชาชนเสียหายเหตุเกิดที่แขวงตลาดยอด, แขวงวัดโสมนัส, แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร, แขวง-เขตดุสิต แขวงลุมพินี แขวง-เขตปทุมวัน กทม. จำเลยปฏิเสธ

โดยศาลพิเคราะห์คำเบิกความของพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 2 นาย พยานโจทก์ และคำถอดเทปการปราศรัยของจำเลยแล้วเห็นว่า จำเลยกับพวกได้ชุมนุมบริเวณ ตั้งแต่เดือน มี.ค. 53 ต่อต้านรัฐบาล ต่อมาได้มีการเคลื่อนขบวนไปชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ และระหว่างนั้นมีการนำเลือดไปเทที่หน้าทำเนียบรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ และหน้าบ้านนายอภิสิทธิ์ จนการจราจรติดขัดอย่างหนัก กระทั่งรัฐบาลได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินพื้นที่ร้ายแรงในเขต กทม.และปริมณฑล ห้ามชุมนุมตามสถานที่ต่างๆ แต่จำเลยกับพวกก็ยังคงร่วมชุมนุมฝ่าฝืนประกาศ และเมื่อทหารเพื่อขอคืนพื้นที่แยกคอกวัวเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 จำเลยได้ขึ้นปราศรัยขอให้ผู้ชุมนุมที่อยู่ตามจุดคอกวัว แยก จปร. สะพานมัฆวานรังสรรค์ ประจำแต่ละจุดไว้ และให้แบ่งกำลังส่วนหนึ่งไปยังบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และแยกคอกวัว ให้นำรถยนต์ไปจอดขวางไม่ให้ทหารเข้าพื้นที่ชุมนุม และยังพบลูกระเบิดในพื้นที่ ดังนั้นการการชุมนุมของจำเลยจึงไม่ได้เป็นไปโดยสงบสันติ ปราศจากอาวุธแบบอหิงสาตามที่จำเลยอ้าง ทั้งยึดทำลายรถถังใช้ด้ามธงขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานและใช้ด้ามธงแทงล้อรถของเจ้าพนักงาน

การกระทำของจำเลยจึงแสดงถึงเจตนาการขัดคำสั่ง ขัดขวางเจ้าหน้าที่ที่สั่งให้เลิกชุมนุม ซึ่งเจตนาปลุกระดมสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมให้เกิดความฮึกเหิมใช้กำลังต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เพื่อให้การชุมนุมยังคงอยู่ โดยไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตามที่จำเลยอ้าง พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทำผิดจริง พิพากษาฐานร่วมกันก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรและให้ประชาชนล่วงละเมิดต่อกฎหมาย ตามมาตรา 116 ซึ่งเป็นบทหนักสุด จำคุก 1 ปี พิเคราะห์แล้วเห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดีมีความร้ายแรง ส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมปะทะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต กรณีจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ

ภายหลังศาลมีคำพิพากษาแล้วนายสมชายได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 100,000 บาท ขอปล่อยชั่วคราว ระหว่างต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์

ก่อนหน้านั้นนายสมชาย ได้เคยถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวนานกว่า 8 เดือน ซึ่งเขาได้ถูกจับตัวที่หน้าบ้านเลขที่ 33 หมู่ 1 ต.ควนเกย อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 9 มิ.ย.53 ถูกควบคุมตัวร่วมกับแกนนำ นปช. คืออื่นๆ จนกระทั้งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 24 ก.พ.54 ด้วยหลักทรัพย์เป็นเงินสด 200,000 บาท

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสื้อแดงอุดรตายคาเรือนจำ

Posted: 27 Dec 2012 06:33 AM PST

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยืนยัน วันชัย รักสงวนศิลป์ ผู้ต้องขังเสื้อแดง คดีฝ่าฝีน พรก.ฉุกเฉินฯและเผาสถานที่ราชการ ที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษหลักสี่ได้เสียชีวิตลงจริง พรุ่งนี้ส่งนิติเวช รอผลชันสูตร

วันนี้ (27 ธันวาคม 2555) จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวการเสียชีวิตของนักโทษการเมืองในกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊ก ทางผู้สื่อข่าวประชาไทได้ติดต่อสอบถามไปยังกรมราชทัณฑ์   พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ซึ่งยืนยันข้อมูลว่า นายวันชัย รักสงวนศิลป์ ผู้ต้องขังคดีฝ่าฝีน พรก.ฉุกเฉินฯและเผาสถานที่ราชการ ที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษหลักสี่เสียชีวิตจริง  

อธิบดีกรมราชทัณฑ์กล่าวถึงเหตุแห่งการเสียชีวิตของ นายวันชัย ว่าในช่วงบ่ายของวันนี้หลังจากที่นายวันชัยเสร็จสิ้นจากการแข่งขันกีฬาก็เข้ามาพักนั่งดูเพื่อนผู้ต้องขังเล่นหมากรุก และต่อมานายวันชัยเดินเข้าไปล้างหน้าที่ห้องน้ำ เมื่อเดินออกจากห้องน้ำ นายวันชัยก็ล้มลงกับพื้น เพื่อนผู้ต้องขังจึงแจ้งกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ทางเจ้าหน้าที่จึงนำตัวนายวันชัยส่งยังทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แขวงลาดยาว จตุจักร

เมื่อถามถึงสาเหตุการเสียชีวิตนั้น  อธิบดีกรมราชทัณฑ์แจ้งกับประชาไทว่าทางกรมราชทัณฑ์ได้นำศพของนายวันชัยส่งให้ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ รพ.ตํารวจ กระทำการชันสูตร ในวันพรุ่งนี้ สำหรับเรื่องการแจ้งให้ญาติผู้ต้องขังได้รับทราบ พ.ต.อ.สุชาติกล่าวว่า คาดว่าทางเรือนจำติดต่อทางญาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา53 ( ศปช.) ได้ระบุว่า วันชัย รักสงวนศิลป์ ปัจจุบันอายุ 31ปี สถานะโสด มีอาชีพรับจ้างดายหญ้า เป็นชาว ต.หนองไผ่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ในวันเกิดเหตุ (19   พฤษภาคม 2555) วันชัย เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองเป็นครั้งแรก โดยเดินทางจากบ้านที่ อ.หนองหารมาชุมนุมบริเวณศาลากลาง จ.อุดรธานี ซึ่งอยู่ห่างจากที่พักอาศัยเป็นระยะทาง 35 กม. เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมที่บริเวณราชประสงค์

หลังเกิดเหตุการณ์เผาศาลากลาง วันชัยถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำการจับกุมและทำร้ายร่างกาย(เหยียบและใช้ท่อนไม้กระแทกที่แผ่นหลัง ) ก่อนที่จะถูกแจ้งความดำเนินคดี ในข้อหา ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์,บุกรุกสถานที่ราชการโดยมีอาวุธ,ทำให้เสียทรัพย์, ขัดขวาง เจ้าพนักงาน ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินฯ

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ยกฟ้องข้อหาทำให้เสียทรัพย์และขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่ลงโทษข้อหาวางเพลิงอาคารศาลากลางหลังเก่า โดยให้จำคุก รวม  20 ปี 6 ด. และให้จำเลยร่วมกันชดใช้  57.7 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย7.5% /ปี

นับจากวันที่ถูกจับกุม จนถึงวันที่เขาเสียชีวิตในเรือนจำ เป็นเวลา 2 ปี 7 เดือนเศษ วันชัยมีโอกาสได้รับสิทธิ์ในการประกันตัวในช่วงก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา เป็นเวลาเพียง 2 เดือนเศษ

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลรับฟ้องคดี "สนธิ ลิ้มทองกุล" และแกนนำฯ บุกทำเนียบ-สภา

Posted: 27 Dec 2012 02:20 AM PST

ศาลรับฟ้องคดีสนธิ ลิ้มทองกุลและแกนนำพันธมิตรฯ ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล 26 ส.ค. - 3 ธ.ค. 51 และคดีชุมนุมหน้ารัฐสภา 7 ต.ค. 51 เริ่มตรวจหลักฐานนัดแรก 2 เม.ย. 56

ตามที่ก่อนหน้านี้เมื่อ 20 ธ.ค. นายประยุทธ ป.สัตยารักษ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 เตรียมนัดหมายแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมายื่นฟ้องต่อศาลอาญา 3 สำนวน ประกอบด้วย 1. คดีที่นายสนธิและพวกรวม 20 คนชุมนุมที่รัฐสภาเมื่อวันที่ 5-7 ต.ค. 2551 2. คดีที่นายสนธิและกับพวกรวม 6 คนบุกเข้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 26-31 ส.ค. 2551 และ 3. คดีที่นายสนธิหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ หลังเลื่อนนัดมาแล้วหลายรอบนั้น (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) 

ต่อมาเมื่อถึงวันที่ 20 ธ.ค. น.ส.พวงทิพย์ บุญสนอง และนายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เข้าพบนายประยุทธ ป.สัตยารักษ์ เพื่อขอเลื่อนนัดการส่งตัวฟ้องศาลอาญา แต่อัยการไม่อนุญาตให้เลื่อนการส่งตัว พร้อมกับมีหนังสือแจ้งให้พนักงานสอบสวนไปดำเนินการนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดมาส่งฟ้องโดยด่วน ตามประมวลกฎหมาย ป.วิอาญา และออกหมายเรียกได้ หากขัดข้องขอศาลออกหมายจับต่อไปนั้น

ล่าสุดวันนี้ (27 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์ข่าวสด รายงานว่าศาลได้รับฟ้องแล้ว 2 คดี โดยคดีแรก พ.ต.ต.สุรพงษ์ สายวงศ์ อัยการฝ่ายคดีอาญา 10 ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ( พธม.) เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐาน ร่วมกันบุกรุกโดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์กรณีร่วมกันบุกรุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 , 91 , 358 , 362 และ 365 รายละเอียดคำฟ้องระบุด้วยว่าหลังเข้าไปยึดทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 26 ส.ค. 51 ได้แล้วจำเลยกับพวกได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยและระหว่างวันที่ 26 ส.ค. 51 - 3 ธ.ค. 51 ทั้งนี้ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้ง 4 ปฏิเสธ โดยคดีนี้ศาลได้ประทับรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.4925/2555 โดยศาลสอบคำให้การจำเลยทั้ง 4 แล้วทั้งหมดให้การปฏิเสธ ขณะที่ศาลนัดตรวจหลักฐาน ในวันที่ 29 เม.ย. 56 เวลา 09.00 น.

คดีต่อมาเป็นคดีที่อัยการยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นางมาลีรัตน์ แก้วก่า อดีต ส.ว.สกลนคร และอดีตแกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 2 นายประพันธ์ คูณมี อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช.) และอดีตแกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 2 เป็นจำเลยที่ 1- 5 ในความผิดฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนอันมิใช่การกระทำตามรัฐธรรมนูญเพื่อติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน หรือข่มขืนใจใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล และเป็นหัวหน้ามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยมีอาวุธร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปร่วมกันหน่วงเหนี่ยว กักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 , 91 , 116 , 215 , 216 , 309 และ 310 จากกรณีชุมนุมภายในทำเนียบรัฐบาลและหน้ารัฐสภาระหว่างวันที่ 5-7 ต.ค. 51 มีการตั้งเวทีปราศรัย และได้ยุยงปลุกปั่นให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้งประเทศไปรวมตัวปิดล้อมรัฐสภาไม่ให้ ส.ส.และ ส.ว.และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ร่วมประชุมสภา

โดยในชั้นสอบสวนจำเลยทั้ง 5 ให้การปฏิเสธ ส่วนโจทก์ได้ขอให้ศาลพิพากษานับโทษ นายสนธิ จำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีหมิ่นประมาท 4 สำนวนและ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อีก 1 สำนวนด้วย สำหรับคดีนี้โดยศาลประทับรับคำฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำ อ.4924/2555 ซึ่งศาลสอบคำให้การจำเลยแล้ว ทั้งหมดให้การปฏิเสธ  ศาลก็ได้นัดตรวจหลักฐานในวันที่ 29 เม.ย. 56 เวลา 13.30 น. สำหรับรายละเอียดคำฟ้องติดตามได้ที่หนังสือพิมพ์ข่าวสด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับจำคุก 34 ปี พธม.ขับกระบะชนตำรวจ 7 ต.ค. 51

Posted: 27 Dec 2012 01:51 AM PST

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับศาลชั้นต้นจำคุกตลอดชีวิต "ปรีชา ตรีจรูญ" กรณีขับรถกระบะชนตำรวจ 5 รายเมื่อเหตุสลายชุมนุมพันธมิตรฯ 7 ต.ค. 51 แต่ทางนำสืบเป็นประโยชน์ให้ลดโทษเหลือ 1 ใน 3 คงรับโทษจำคุก 34 ปี

จากคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายปรีชา ตรีจรูญ อายุ 52 ปี ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลย ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยไต่ตรองไว้ก่อน, มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย, ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ กรณีระหว่างการสลายการชุมนุมผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อ 7 ต.ค. 51 นายปรีชา ขับรถกระบะไล่ชนเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นายอย่างแรง จนล้มลงแล้วขับรถถอยหลังชนจนบาดเจ็บ โดยก่อนหน้านี้เมื่อสิงหาคมปี 53 ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี แต่เนื่องจากจำเลยต้องพิการตาบอด จึงสมควรให้กลับตัวเป็นคนดีให้รอลงอาญา 2 ปี และคุมประพฤตินั้น

ล่าสุด สถานีโทรทัศน์เอเชียอัพเดต รายงานว่า ประยุทธ ป.สัตยารักษ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 เปิดเผยว่า หลังคำพิพากษาศาลชั้นต้น อัยการได้ยื่นอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาและขอให้ศาลเพิ่มโทษ ซึ่งต่อมาวันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นว่า พฤติการณ์จำเลยเป็นการพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งได้กระทำการตามหน้าที่จึงพิพากษาให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ฐานมั่วสุมลงโทษจำคุก 1 ปี ทางนำสืบเป็นประโยชน์คงลดโทษ 1 ใน 3 คงรับโทษจำคุก 34 ปี

ทั้งนี้นายปรีชา เป็นผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุสลายการชุมนุม 7 ต.ค. 51 เช่นกัน โดยเคยให้สัมภาษณ์ว่าที่ทำไปเพราะรู้สึกโกรธที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาทำร้ายประชาชนและจากเหตุการณ์ดังกล่าวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสเช่นกัน เพราะถูกกระสุนยิงเข้าที่ตาข้างขวา ดั้งจมูกหัก นอนรักษาพยาบาลที่ รพ.รามาธิบดี นานประมาณ 2 เดือน ปัจจุบันพิการต้องใส่ดวงตาเทียม (ข่าวก่อนหน้านี้)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ+ภาพ: ไปดี-มาดี 2556

Posted: 27 Dec 2012 01:19 AM PST


คลิกเพื่อชมภาพขนาดใหญ่ขึ้น

 

 


อ้างอิง: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_songkran.jsp

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสรีนิยมใหม่ กับมหาวิทยาลัยจำกัด (มหาชน)

Posted: 26 Dec 2012 05:40 PM PST

ถ้าหากจะมีสถาบันใดในสังคมที่เป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสถาบันสุดท้ายที่ผู้คนนึกถึงเมื่อพูดถึงประชาธิปไตยแล้วนั่นคือมหาวิทยาลัย

ในอดีต ขบวนการนักศึกษา กลไกสำคัญในการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วโลกฟูมฟักอุดมการณ์ประชาธิปไตยจากในห้องเรียน เช่นในทศวรรษ 1950s ขบวนการนักศึกษาในสหรัฐอเมริกากลายเป็นกำลังสำคัญในการเรียกร้องสิทธิพลเมืองให้กับคนผิวสี รวมทั้งสิทธิสตรีและสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศ ขณะที่การรณรงค์ต่อต้านสงครามก่อตัวขึ้นจากภายในรั้วมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ส่วนในมหาวิทยาลัยไทย ปีกเสรีนิยมของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยก็เกิดขึ้น (และถูกทำลาย) ภายในมหาวิทยาลัย เช่น ธรรมศาสตร์

แต่การสุดสิ้นของสงครามเย็นและระบอบสังคมนิยมในรัสเซีย รวมถึงการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจในระดับโลกนับจากปลายทศวรรษ 1970s ทำให้บทบาทของมหาวิทยาลัยในสังคมตะวันตกเปลี่ยนแปลงไปมาก การปฏิรูปนโยบายสาธารณะที่นำโดยสหรัฐฯและอังกฤษ ที่มุ่งลดบทบาทของรัฐในฐานะผู้จัดหาบริการสาธารณะเช่น การศึกษาขั้นสูงทำให้มหาวิทยาลัยลดความเป็นสถาบันสาธารณะลงไปตามลำดับ ความสำคัญของมหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันหลักที่บ่มเพาะอุดมการณ์ด้านสิทธิ เสรีภาพและประชาธิปไตยจึงเกือบสูญหายไป มหาวิทยาลัยแทบกลายเป็นเพียงโรงงานป้อนวัตถุดิบให้กับระบบตลาด

นักวิชาการในตะวันตกเรียกแนวคิดเบื้องหลังการปฏิรูปนโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวว่า "เสรีนิยมใหม่"

ในบทความวิชาการ "การทำให้การศึกษาเป็นเสรีนิยมใหม่และมีลักษณะของระบบการจัดการ ในอังกฤษและเวลส์ กรณีการปรับโครงสร้างการศึกษาใหม่ (Neoliberalization and managerialization of 'education' in England and Wales - a case for reconstructing education)" ที่เผยแพร่ในวารสารนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาเชิงวิพากษ์ (Journal of Critical Education Policy Studies) นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอังกฤษ 3 แห่งร่วมกันวิจัยพบว่าการปฏิรูปการศึกษาในอังกฤษโดยการแปรรูปให้เป็นเอกชนและแข่งขันกันแบบระบบตลาดตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980sเปลี่ยนโฉมหน้าของสังคมอังกฤษ ในแง่ที่เปลี่ยนอัตลักษณ์ของคนจากพลเมือง (citizenship) ในระบบการเมืองประชาธิปไตยไปเป็นผู้บริโภคแทน

การเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากนี้เกิดจากการปฏิรูปการศึกษาบนฐานความเชื่อว่าตลาดมีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรเหนือกว่ากลไกอื่น (เช่นรัฐและชุมชน) และการบริหารจัดการแบบมืออาชีพในระบบตลาดให้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด

ในบริบทของสหรัฐฯ โซเฟีย แมคเคลนเนน (Sophia McClennen) ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาระหว่างประเทศของPenn State Universityสรุปในบทความที่ชื่อ "เสรีนิยมใหม่และวิกฤตของการอุทิศทางปัญญา (Neoliberalism and the Crisis of Intellectual Engagement)" ว่าการลดบทบาทปัญญาชนของอาจารย์มหาวิทยาลัยในอเมริกาส่วนสำคัญเกิดจากการรุกคืบของอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ ที่ทำให้เกิดความเชื่อว่าการศึกษาระดับสูงนั้นต้องตัดขาดจากการเมือง (de-politicization) หรือง่ายๆ คือ "เป็นกลางและไม่เลือกข้างทางการเมือง"

อาจารย์แมคเคลนเนนตั้งข้อสังเกตว่าภายหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน วงการวิชาการในสหรัฐฯ มัวแต่ตั้งคำถามเรื่องเสรีภาพทางวิชาการและการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนจนหลงลืมประเด็นที่สำคัญอย่างเช่น การลดการอุดหนุนการศึกษาโดยรัฐ หนี้ด้านการศึกษาของนักศึกษาและการทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยกลายเป็นเพียง "แรงงานภาคการศึกษา" ที่สำคัญ ต้องโทษความสำเร็จของฝ่ายขวาที่ทำให้สังคมเชื่อว่าระบบการศึกษาขั้นสูงควรจะเป็นเสมือนสินค้าเอกชน แทนที่จะเป็นสินค้าสาธารณะเช่นในอดีต

ในบทความดังกล่าว แมคเคลนเนนกล่าวว่า หากเราต้องการทำความเข้าใจการครอบงำเชิงอุดมการณ์หรือวัฒนธรรมของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ก็ให้ศึกษางานเขียนของนักวิชาการด้านการศึกษาและวัฒนธรรมคนสำคัญของสหรัฐฯ อย่างเฮนรี จิรูส์ (Henry Giroux) ที่ศึกษาผลกระทบของเสรีนิยมใหม่ต่อการศึกษาและมหาวิทยาลัยในอเมริกาอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ ในหนังสือ "ความน่าสะพรึงกลัวของเสรีนิยมใหม่ (The Terror of Neoliberalism)" ที่อธิบายว่าเสรีนิยมใหม่ทำลายประชาธิปไตยอย่างไรศาสตราจารย์จิรูส์กล่าวว่าอุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ทำให้ยากที่เราจะ (1) จินตนาการว่าปัจเจกและสังคมมีความสามารถในการรื้อฟื้นประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาได้อย่างไร หรือ (2) ยากที่จะเข้าใจเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองที่จำเป็นสำหรับการรักษาปริมณฑลสาธารณะในสเกลของโลก (global public sphere) ให้ดำรงอยู่ ในประเด็นหลังนี้ เขาได้เน้นถึงความสำคัญขององค์ประกอบสำคัญ 3 ประการได้แก่ สถาบัน พื้นที่และสินค้าสาธารณะในฐานะพื้นฐานสำหรับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย

คำว่า "สาธารณะ" ในที่นี้ ไม่ได้มีความหมายเพียวผิวเผินว่ารัฐเป็นเจ้าของอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป แต่หมายถึงสมบัติของทุกคน ไม่มีใคร (แม้กระทั่งรัฐ) สามารถอ้างสิทธิเหนือผู้อื่นและกีดกันผู้อื่นออกจากการใช้ประโยชน์ได้ ผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จึงสามารถเข้าถึงได้หากต้องการที่สำคัญ ยังมีนัยว่าไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะเป็นบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดหาให้

อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยในปัจจุบันกลับพัฒนาไปในทิศทางขององค์กรธุรกิจมากขึ้น เริ่มขยายสาขาและพัฒนาภาพลักษณ์หรือความถนัดเฉพาะด้านเพื่อหาตลาดและกลุ่มเป้าหมายของตนเอง ส่วนโครงสร้างภายในก็เน้นการบริหารจัดการที่มุ่งผลผลิตคือเป้าหมายตัวชี้วัด มากกว่าจะมุ่งให้บริการสาธารณะหรือตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนโดยรอบ ประการสำคัญมหาวิทยาลัยแทบไม่ต่างจากบริษัท เมื่อผู้บริหารเริ่มนำรูปแบบการจ้างงานแบบยืดหยุ่น เช่น สัญญาจ้างชั่วคราวมาใช้เพื่อช่วยลดต้นทุนและกดดันให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ในแง่หนึ่ง เราจึงกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยกลายเป็นภาพสะท้อนของความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานกับทุนในเศรษฐกิจจริงเพราะความสัมพันธ์ภายในองค์กร รวมถึงทำเลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยล้วนถูกกำหนดโดยความต้องการของทุนที่จะเคลื่อนย้ายไปหาแหล่งที่ให้กำไรสูงสุด 

หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในอเมริกาในปี 2007 และวิกฤตในยูโรโซนที่เรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน ผู้คนเริ่มมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยว ระบบการเมืองที่เป็นอิสระจากการตรวจสอบและปัญหาในสถาบันการศึกษาแจ่มชัดขึ้น และนี่คือเหตุผลเบื้องหลังที่มหาวิทยาลัยในตะวันตกกลับมาเป็น "พื้นที่แห่งความขัดแย้งและต่อสู้ดื้นรน (space of contest and struggle)" อีกครั้ง

 

 

ที่มา: คอลัมน์ ทัศนะวิจารณ์ กรุงเทพธุรกิจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น