ประชาไท | Prachatai3.info |
- ครม.เห็นชอบกรอบเจรจา ‘FTA ไทย-อียู’ ด้าน ‘กสม.’ เตรียมประชุมค้าเสรีละเมิดสิทธิ!
- มหาวิทยาลัยในแคนาดา ปิ๊งไอเดียจัดห้อง “ตูบบำบัด” ขจัดความเครียดให้นักศึกษา
- AI ชวนสมาชิกทั่วโลกกดดันไทยดูแลครูใต้-วอนขบวนการหยุดใช้ความรุนแรง
- 'สุริยะใส' ร้องผู้ตรวจการฯ อุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง ตีความอำนาจ 'ประมูล 3G'
- ศาลนัดแล้ว!! 20 ธ.ค.นี้ ฟังคำสั่งไต่สวนคดี ‘ด.ช.อีซา’ เหยื่อกระสุน พ.ค.53
- กรณีศึกษา: ‘ชาวนา’ กับ ‘การรับจำนำข้าว’ ต้นทุนการผลิต และหนี้สินในมือเกษตรกร
- พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
- Spaun สมองเทียมที่เลียนแบบทั้งความสามารถและข้อบกพร่องของมนุษย์
- กสทช.เลื่อนเคาะราคาประมูล 'ทีวีดิจิตอล' ไป ก.พ.56
- รัฐบาลพม่าพบกองกำลังเมืองลาย้ำให้ยึดมั่น “รัฐธรรมนูญ 2008”
- มหาดไทยออกหลักเกณฑ์ใหม่ให้สัญชาติบุตรของบุคคลไม่มีสัญชาติไทย
- คณะแพทย์กราบบังคมทูลขอให้สมเด็จพระราชินีงดพระราชกิจ 5 ธ.ค.
- ชาวบ้านกรณีปัญหาเขตป่าฯ ทับที่ทำกิน ร่วม อปท.จัดงานเรียนรู้วิถีชุมชน
- ตุลาการอียิปต์บอยคอตต์การลงประชามติรธน.ใหม่
- ภรรยา 'สุรชัย แซ่ด่าน' ล่ารายชื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ นักโทษคดี 112
ครม.เห็นชอบกรอบเจรจา ‘FTA ไทย-อียู’ ด้าน ‘กสม.’ เตรียมประชุมค้าเสรีละเมิดสิทธิ! Posted: 04 Dec 2012 11:12 AM PST ครม.ส่ง 'โอฬาร' นำทีมเจรจา 'FTA ไทย-อียู' ยันการเจรจาข้อตกลงไม่ทำไทยเสียเปรียบ โดยเฉพาะเรื่องของสิทธิบัตรยา-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ด้านภาคประชาสังคมชี้ร่างกรอบเจรจาฯ ไม่มีข้อความป้องกันปัญหาข้อห่วงใย เตรียมใช้สิทธิตรวจสอบรัฐทุกช่องทาง วันนี้ (4 ธ.ค.55) นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้มีมติเห็นชอบร่างกรอบเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (FTA ไทย -ยุโรป) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยในระหว่างนี้ที่ประชุมฯ มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์หารือกับภาคเอกชนรวมทั้งเปิดรับความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่มีต่อการจัดทำ FTA ไทย-ยุโรป และมอบหมายให้นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการเจราจารายละเอียดต่างๆ กับสหภาพยุโรป จากนั้นให้นำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามมาตรา 190 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป รวมทั้ง ให้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ไปติดตามความคืบหน้าการเจรจา ซึ่งการเจรจาดังกล่าว ต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง โดยมีประเด็นที่เป็นห่วง 3 เรื่อง คือ การมีข้อผูกพันทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่อาจก่อให้เกิดการผูกขาดทางการเกษตรอย่างครบวงจร รวมถึงอุปสรรคต่อการใช้มาตรการสิทธิเหนือสิทธิบัตรยา และการเข้าถึงยาที่จำเป็นของประชาชน, การเปิดเสรีสินค้าแอลกอฮอล์และบุหรี่ ที่อาจส่งเสริมให้เกิดการบริโภคมากขึ้น และการสูญเสียฐานทรัพยากรของประเทศ รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ กรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป จะใช้ในการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งครอบคลุมความตกลงด้านการค้าสินค้า, การค้าบริการ, การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งการเจรจาอาจเจรจาแยกเป็นรายฉบับ รวมทั้งภาคผนวกและเอกสารแนบท้ายที่จะมีการเจรจาเพิ่มเติมในภายหน้า สำหรับสาระสำคัญของกรอบการเจรจาจะครอบคลุม 17 ประเด็น ได้แก่ 1.การค้าสินค้า 2.พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 3.กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 4.มาตรการเยียวยาทางการค้า 5.มาตรการปกป้องด้านดุลการซำระเงิน 6.มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 7.อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า 8.การค้าบริการ 9.การลงทุน 10.การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ 11.ทรัพย์สินทางปัญญา 12.การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 13.ความโปร่งใส 14.การแข่งขัน 15.การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 16.ความร่วมมือ และ 17.เรื่องอื่นๆ ก.พาณิชย์ หวัง 'FTA ไทย-ยุโรป' แก้ปัญหาถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ด้านกระทรวงพาณิชย์ได้ให้เหตุผลว่า การเสนอเรื่องนี้เข้ามาถือว่า มีความจำเป็น เพราะการจัดทำข้อตกลงนี้ มีความจำเป็นที่ช่วยสร้างโอกาสแก่ไทยในการเป็นศูนย์กลางของอียู ด้านการค้าและการลงทุนในอาเซียน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และภาคบริการ รวมทั้งยังจะช่วยแก้ปัญหาการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่ไทยจะถูกตัดสิทธิจีเอสพีของสหภาพยุโรปทั้งหมดในปี 58 ด้วย รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า การเจรจาข้อตกลง ยังเป็นไปตามแนวทางเดิม และไม่ทำให้ไทยเสียเปรียบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องของสิทธิบัตรยา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งฝ่ายไทยจะไม่ทำตามคำขอของฝ่ายอียู หากเห็นว่าข้อตกลงเรื่องดังกล่าวทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบ ภาคประชาสังคมระบุ เตรียมใช้สิทธิตรวจสอบรัฐทุกช่องทาง ขณะที่ กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ระบุว่า การที่ ครม.วันนี้อนุมัติร่างกรอบเจรจาฯ โดยไม่มีหลักการหรือข้อความใดๆ ที่จะป้องกันปัญหาข้อห่วงใยของภาคประชาสังคม ทั้งเรื่องการเข้าถึงยาที่จะได้รับผลกระทบจากเนื้อหาที่เป็นทริปส์พลัส การเปิดเสรีสินค้าและบริการ และการลงทุนที่เกี่ยวข้อกับสินค้าทำลายสุขภาพ อาทิ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ทำให้ภาคประชาสังคมต้องใช้สิทธิในการตรวจสอบการดำเนินนโยบายของรัฐทุกช่องทางเท่าที่กฎหมายและรัฐธรรมนูญจะอำนวย อีกทั้งระบุด้วยว่า ในวันที่ 11 ธ.ค.55 เวลา 13.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะจัดประชุมกรณีที่เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเจรจา FTA ไทย-ยุโรปด้วย ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.55 ตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคม 15 องค์กร ชุมนุมที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผ่านทาง นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รมว.สธ. เรียกร้องให้รัฐบาลให้คำมั่นสัญญาที่จะระบุในกรอบเจรจาฯ อย่างชัดเจน FTA ไทย-ยุโรป ต้องไม่กระทบต่อระบบหลักประกันสุขภาพและการกำหนดนโยบายสาธารณะ เนื่องจากกรอบดังกล่าว ยังไม่เคยเปิดเผยและยังไม่เคยถูกนำมารับฟังความคิดเห็นสาธารณะว่า เนื้อความในจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ภาคประชาสังคมฯดังกล่าว มีข้อเสนอดังนี้ 1.ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์) รักษาคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้เมื่อวันที่ 22 พ.ย.55 ว่าจะเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปอย่างชัดเจนถึงการป้องกันผลกระทบจากการเจรจา FTA ต่อระบบสุขภาพและสาธารณสุขของไทย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี 2.ให้กำหนดไว้ในกรอบการเจรจา FTA ไทย-ยุโรป อย่างชัดเจนว่า ไม่รับข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่าความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือ ทริปส์พลัส ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 โดยผลการเจรจาใดๆที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ที่ไทยปฏิบัติอยู่ถือเป็นเรื่องยอมรับไม่ได้ และควรระบุหลักการสำคัญลงไปในกรอบเจรจาว่า การเจรจาความตกลงนี้จะต้องไม่กระทบต่อระบบหลักประกันสุขภาพ และต้องไม่กระทบกับการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านสาธารณสุข สังคมและการคุ้มครองผู้บริโภค 3.เนื่องด้วย FTA ไทย-ยุโรป เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่จะส่งผลกระทบทั้งต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้านสังคม และกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศอย่างกว้างขวาง จึงขอให้รัฐบาลดำเนินตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด และขอให้การเจรจา FTA ไทย-ยุโรป ที่จะมีขึ้นรอผลจากการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่จะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 เพื่อประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ เครือข่ายและองค์กรที่ร่วมยื่นจดหมายถึงนายกฯ ดังกล่าว ประกอบไปด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค, คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเภสัชชนบท, กลุ่มศึกษาปัญหายา, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, มูลนิธิสุขภาพไทย, มูลนิธิชีวิตไท และ กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มหาวิทยาลัยในแคนาดา ปิ๊งไอเดียจัดห้อง “ตูบบำบัด” ขจัดความเครียดให้นักศึกษา Posted: 04 Dec 2012 08:55 AM PST
ปลายภาคการศึกษานั้นอาจเป็นช่วงเวลาหนักๆ สำหรับนักศึกษา ซึ่งต้องรับมือกับทั้งงานที่อาจารย์สั่งและการสอบที่จะมาถึง ผสมไปกับการอดหลับอดนอน การกิน-ดื่มที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งหมดนี้ก็เป็นหนทางอันง่ายดายที่นำไปสู่ภาวะเครียด ฮัฟติงตันโพสต์รายงานว่าแม้วิธีคลายเครียดจะมีอยู่หลากหลาย แต่มหาวิทยาลัยดาลฮูซี่ (Dalhousie University) ก็เลือกใช้วิธีหนึ่ง นั่นก็คือ สุนัข ดาลฮูซี่ มหาวิทยาลัยแห่งเมืองฮาลิแฟกซ์ แคนาดา ได้จัดห้องเจ้าตูบเอาไว้ในช่วงวันที่ 4-6 ธันวาคม เพื่อช่วยนักศึกษาในการจัดการกับความเครียดจากการสอบและรายงานที่เพิ่งผ่านพ้นไปในช่วงมิดเทอม สุนัขที่เข้ามาช่วยบำบัดความเครียดให้กับนึกศึกษานี้มาจากองค์กรการกุศลทีชื่อว่า "อุ้งเท้าบำบัดแห่งแคนาดา" (Therapeutic Paws Of Canada) จากการรายงานของฮัฟติงตันโพสต์ มหาวิทยาลัยดาลฮูซี่ไม่ใช่แห่งแรกที่มีห้องเจ้าตูบบำบัดไว้บริการนักศึกษา ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยออตตาวา ก็ได้นำร่องไปก่อนแล้วเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยสุนัขอาสาบำบัดความเครียดในครั้งนั้นได้แก่ ทุนดรา สุนัขคอลลี่ลูกผสม วัย 8 ขวบ ลูกสุนัขพันธุ์ คอลลี่ ภาพจากวิกิพีเดีย สำหรับสุนัขพันธุ์คอลลี่นั้นเป็นสุนัขที่มีสายพันธุ์เก่าแก่ มีลักษณะเฉลียวฉลาด อ่อนโยน ปรับตัวง่ายและชอบสุงสิงกับคน
เรียบเรียงจาก Puppy Room At Dalhousie: University Brings In Dogs For Stress Therapy
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
AI ชวนสมาชิกทั่วโลกกดดันไทยดูแลครูใต้-วอนขบวนการหยุดใช้ความรุนแรง Posted: 04 Dec 2012 06:58 AM PST แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ AI สำนักงานใหญ่ในลอนดอน เรียกร้องสมาชิกกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก ส่งจดหมายกดดันรัฐบาลไทยให้ดู แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International : AI) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระดับโลก ที่มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้เรียกร้องให้สมาชิกที่มีอยู่ ข้อเรียกร้องดังกล่าว ออกมาในรูปเอกสารเลขที่ UA: 340/12 Index: ASA 39/004/2012 Thailand ระบุให้สมาชิกเขียนจดหมาย ชื่อเรื่องว่า URGENT ACTION : ครูและนักเรียนตกเป็นเป้ "ครูอย่างน้อย 4 คนถูกฆ่าสังหารและอีกสองคนได้รั เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ครูในพื้ แอมเนสตี้ฯ ระบุว่า ตั้งแต่เกิดเหตุไม่สงบตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา โรงเรียนของรัฐและครูของรั แอมเนสตี้ฯ ขอให้สมาชิกทั่วโลกเขี 1.ให้รัฐจัดให้มีมาตรการที่มี 2.รัฐต้องทำให้แน่ใจว่า ผู้กระทำความผิดจะต้องถูกดำเนิ 3.แม้เจ้าหน้าที่รั นางสาวปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย เปิดเผยว่า Urgent Actionเป็นกิจกรรมรณรงค์ขององค์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'สุริยะใส' ร้องผู้ตรวจการฯ อุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง ตีความอำนาจ 'ประมูล 3G' Posted: 04 Dec 2012 05:18 AM PST 'สุริยะใส' ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ยื่นหนังสือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน อุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลาง ตีความอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจฯ กรณีปมประมูลคลื่น 3G ขณะ 'ดีเอสไอ' เผยผลสอบ ยัน 'กสทช.' ประมูล 3G โปร่งใส ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า วันที่ 4 ธ.ค. ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน เดินทางยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายรักษเกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และโฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้อุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุด โดยนายสุริยะใสกล่าวว่า จากคำสั่งศาลปกครอง เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา เห็นว่ายังมีความคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย รวมทั้งการตีความกฎหมายมีอยู่หลายประการ สมควรที่ผู้ตรวจการฯ จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุด อีกทั้งทางกลุ่มกรีนมีเหตุผลที่ผู้ตรวจการฯ จะยื่นอุทธรณ์ เพื่อเป็นการประกอบการพิจารณาของผู้ตรวจการฯ 3 ข้อ ดังนี้ 1.คำสั่งศาลปกครองกลางดังกล่าวกระทบต่ออำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการฯ ซึ่งมีผลเป็นการจำกัดอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการฯ ทั้งนี้ เป็นการตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอันมิใช่อำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง 2.สำนักงาน กสทช. มิได้มีฐานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ในหมวด 11 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แต่มีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองที่เป็นอิสระ และ 3.เมื่อพิจารณาคำสั่งศาลปกครองแล้ว เห็นว่ามีนัยสำคัญควรที่จะต้องตรวจสอบ นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า การดำเนินการหลังจากนี้ควรที่จะรอมติของผู้ตรวจการฯ ก่อนว่า จะมีการอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุดหรือไม่ ตนเชื่อว่าน่าจะมีอุทธรณ์คดี เพื่อเป็นข้อยุติที่เป็นบรรทัดฐานกับทุกฝ่าย เพราะคำสั่งศาลปกครองทำให้เกิดข้อพิพาทใหม่ ไม่ใช่เรื่อง 3G แต่เป็นเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญไปแล้วก็ควรหาข้อยุติ และข้อพิพาทเรื่อง 3G ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา ยังไม่มีการไต่สวนการประมูลว่ามีการฮั้วประมูล มีการแข่งขันที่เป็นธรรม ใครเป็นผู้เสียหาย ใครจะมีสิทธิ์ฟ้อง กสทช.ต้องหาข้อยุติประเด็นนี้ ดังนั้น กทค. จะมาลักไก่ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เพราะพอออกไปแล้ว ศาลปกครองสูงสุดเห็นไปอีกทาง แล้วไต่สวนพบความผิดปกติการประมูลก็จะมีปัญหา ความเสียหายจะเกิดมาก เราเตรียมแนวทางต่อสู้ 3 แนวทาง 1.อุทธรณ์ไปแล้วศาลปกครองสูงสุดยืนตามศาลปกครองกลาง ผู้ตรวจฯ ก็คงไปทางศาลรัฐธรรมนูญต่อว่า อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจฯ มีขนาดไหน และหากประตูปิดอีก ตนจะมีการอุทธรณ์ใหม่ ไปยังศาลปกครองสูงสุด เพราะครั้งที่แล้วไม่ได้อุทธรณ์ เนื่องจากศาลบอกให้มาร้องผู้ตรวจฯ แต่หากชี้ว่า ผู้ตรวจฯ ไม่มีอำนาจ ตนจะอุทธรณ์ต่อ 2.หามูลนิธิที่ทำงานการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคมายื่นฟ้อง 3.ต้องเร่ง ปปช.ไต่สวนพิจารณาคดี
'ดีเอสไอ' การันตี 'กสทช.' ประมูล 3G โปร่งใส วันเดียวกัน เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่า ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยผลการตรวจสอบการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ (3G) ตามที่ กสทช. ทำหนังสือขอให้ดีเอสไอตรวจสอบและดีเอสไอได้ขอให้ กสทช. ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูล ตลอดจนผลการประมูลประกอบการตรวจสอบแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ โดยวิธีประมูลตามประกาศ กสทช. ดังกล่าวเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 45 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการคมนาคม 2553 ซึ่งกำหนดให้ กสทช.มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตและจะต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด นายธาริต กล่าวต่อว่า ในขั้นตอนการกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ กสทช. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด มีผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะเข้ามาประมูลได้ 20 ราย โดยมีผู้มารับแบบคำขอรับใบอนุญาตและลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการประชุมชี้แจงการกรอกแบบคำขอรับใบอนุญาต 17 ราย และมายื่นคำขอรับใบอนุญาต 4 ราย ผ่านคุณสมบัติที่มีสิทธิเข้าเสนอราคาได้ 3 ราย และจากการเสนอราคาปรากฏว่าได้มีการแข่งขันในการเสนอราคาทั้งหมด 7 รอบ และราคาที่ได้ไม่ต่ำกว่าราคาตั้งต้นที่มูลค่า 4,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าคลื่นความถี่จำนวน 6,440 ล้านบาท นายธาริต กล่าวอีกว่า กสทช.ยังมีการแบ่งวิธีการประมูลคลื่นความถี่ออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่ และขั้นตอนการกำหนดย่านความถี่ โดยการประมูลชุดคลื่นความถี่ เป็นการเปิดประมูลชุดคลื่นความถี่ที่จะให้อนุญาตพร้อมกันและดำเนินการประมูลหลายรอบ โดยราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังนั้น ย่อมเห็นได้ว่าการประมูลได้มีการแข่งขันราคากันจริง ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) ซึ่งหลังจากนี้ดีเอสไอจะทำหนังสือแจ้งผลตรวจสอบไปยัง กสทช.ต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลนัดแล้ว!! 20 ธ.ค.นี้ ฟังคำสั่งไต่สวนคดี ‘ด.ช.อีซา’ เหยื่อกระสุน พ.ค.53 Posted: 04 Dec 2012 05:04 AM PST ไต่สวนการตาย ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ นัดสุดท้าย พนักงานสอบสวนคดีเบิกความ ชี้เหตุการณ์เดียวกับกรณี "พัน คำกอง" ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเป็นการเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ทหาร ทนายขอให้ศาลนำพยานหลักฐานจากคดีดังกล่าวมาใช้ในการพิจารณา 4 ธ.ค. 55 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 804 ศาลนัดไต่สวนชันสูตรศพ คดีเลขที่ อช.3/2555 ในคดีที่พนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 8 สำนักงานอัยการสูงสุด ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือ "อีซา" อายุ 12 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืนความเร็วสูงที่หลังทะลุเข้าช่องท้องทำให้เลือดออกมากในช่องท้อง เมื่อวันที่ 15 พ.ค. เวลาหลังเที่ยงคืน ที่บริเวณใต้แอร์พอร์ตลิงค์ ปาก ซ.หมอเหล็ง หน้าโรงภาพยนตร์ โอเอ ถนนราชปรารภ ช่วงที่มีการกระชับวงล้อมผู้ชุมนุมเสื้อแดงโดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้เสียชีวิต ยืนยันว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกับ 'พัน คำกอง' ที่ศาลได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา ว่าเป็นการเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ทหาร โดยในวันนี้เป็นการไต่สวนนัดสุดท้าย และศาลได้นัดฟังคำสั่ง 20 ธ.ค.นี้ พ.ต.ท.บรรยง แดงมั่นคง พนักงานสอบสวน สน.พญาไท ในฐานะพนักงานสอบสวนคดี เบิกความว่า ช่วงเดือน มี.ค. 53 กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) มีการจัดการชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน ก่อนจะย้ายการชุมนุมมาที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ในเวลาต่อมา โดยเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 53 รัฐบาลในขณะนั้นมีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมการชุมนุมของ นปช. ต่อมาวันที่ 13 พ.ค. 53 รัฐบาลได้ประกาศห้ามมีการเข้า-ออกถนนหลายสายในกรุงเทพ รวมถึงบริเวณ ถ.ราชปรารภ ตั้งแต่แยกประตูน้ำถึงแยกมักกะสัน วันที่ 14 พ.ค. 53 ทหารได้ปฏิบัติการณ์กระชับพื้นที่เพื่อขอคืนพื้นที่บริเวณ ถ.ราชปรารภ โดยทหารได้ตั้งกองบัญชาการที่สถานีแอร์พอร์ตลิงค์ มีการนำลวดหนามมาขึงใต้สถานีแอร์พอร์ตลิงค์ และแยกมักกะสัน และยังมีทหารจำนวนหนึ่งยืนรักษาการณ์ด้วย ส่งผลให้บุคคลและรถยนต์ไม่สามารถเข้า-ออกบริเวณดังกล่าวได้ พนักงานสอบสวนคดี เบิกความอธิบายภาพจากกล้องวิดีโอของ คมสันติ ทองมาก ช่างภาพสำนักข่าวเนชั่นทีวี แสดงให้เห็นว่า รถตู้ที่ขับโดยนายสมร ใหมทอง มาจากทางด้านประตูน้ำมามุ่งหน้าทางดินแดง และเมื่อมีเสียงปืนดังขึ้นรถตู้คันดังกล่าวจึงได้หยุดลง นอกจากนี้ยังมีภาพที่ทหารนำเปลสนามเข้าไปหามคนขับรถตู้คันดังกล่าวออกมาไว้ที่หน้าโรงภาพยนตร์โอเอ ก่อนที่จะนำคนขับรถตู้คันดังกล่าวขึ้นรถ GMC โดยในรถ GMC ยังมี ด.ช.คุณากรณ์ ผู้ตายในคดีนี้ ซึ่งถูกยิงจากด้านหลังทะลุออกมาที่หน้าท้อง และขณะนั้นยังมีชีวิตอยู่ด้วย โดยต่อมามีรถของมูลนิธิมารับ ด.ช.คุณากรณ์ และคนขับรถตู้ไปส่งที่โรงพยาบาลพญาไท 1 ขณะที่รถ GMC นำ พัน คำกอง ไปส่งที่โรงพยาบาลพญาไท 1 ในภายหลัง จากการชันสูตรพลิกศพของ พัน คำกอง พบกระสุน .223 ซึ่งเป็นกระสุนที่ใช้กับปืน M16 อยู่ในศพ นอกจากนี้ยังพบกระสุนชนิดเดียวกันในร่างกายของคนขับรถตู้คันดังกล่าวด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ตรวจสอบรถตู้คันดังกล่าว แต่ได้ถ่ายภาพและส่งภาพถ่ายดังกล่าวให้กองพิสูจน์หลักฐาน และทราบมาว่า ทหารมีการใช้ปืน M16 จำนวน 40 กระบอกในบริเวณดังกล่าว แต่ได้ส่งปืน M16 จำนวนกว่า 30 กระบอกมาให้ตำรวจตรวจสอบ ซึ่งไม่พบปืน M16 กระบอกใดมีรอยกระสุนตรงกันกับกระสุนที่อยู่ในร่างนายสมรหรือนายพันแต่อย่างใด พ.ต.ท.บรรยง เบิกความต่อว่าจากคำให้การในชั้นสอบสวนของตำรวจ อเนก ชาติโกฎิ รปภ.คอนโดมิเนียมไอดีโอ ได้ให้การว่า ตนเองได้ยินเสียงปืนจึงได้วิ่งออกดู และพบศพของ พัน คำกอง นอกจากนี้คมสันติได้ให้การสอดคล้องกันว่า ได้ยินเสียงปืน และเสียงประกาศจากเจ้าหน้าที่ห้ามเข้าพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย หลังการชุมนุม กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) ได้ประกาศให้คดีการเสียชีวิตจากเหตุการณ์เดือน เม.ย.-พ.ค.53 ทั้งหมดเป็นคดีพิเศษ ในตอนแรกเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่คิดว่า การเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากรณ์ เกิดจากเจ้าหน้าที่ ศอฉ. จึงได้ส่งสำนวนดังกล่าวพร้อมแสดงความเห็นต่อ DSI แต่ DSI เชื่อว่า การเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากรณ์ เกิดจากเจ้าหน้าที่ ศอฉ. จึงได้ส่งสำนวนกลับมาให้ตำรวจทำการสอบสวนใหม่อีกครั้ง โดยมีอัยการเข้าร่วมการสอบสวนด้วย โชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้เสียชีวิตได้ชี้ให้ศาลเห็นด้วยว่า ในวันดังกล่าว ทหารได้ใช้บริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงค์เป็นกองบัญชาการ และมีการปิดล้อมบริเวณที่เกิดเหตุอย่างแน่นหนา มีการตั้งบังเกอร์ทั้ง 2 ฝั่งของถนน ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถเข้า-ออกบริเวณดังกล่าวได้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังมีการปิดป้ายในบริเวณดังกล่าวว่า "เขตใช้กระสุนจริง" อีกด้วย ด.ช.คุณากรณ์ เสียชีวิตจากการถูกกระสุนปืนความเร็วสูงจากปืน M16 ยิงจากด้านหลังทะลุออกมาด้านหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่ใกล้กับจุดเกิดเหตุของ พัน คำกอง ดังนั้นเพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาคดีนี้ ทนายจึงขอให้ศาลนำพยานหลักฐานจากคดีของ พัน คำกอง มาใช้ในการพิจารณาด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กรณีศึกษา: ‘ชาวนา’ กับ ‘การรับจำนำข้าว’ ต้นทุนการผลิต และหนี้สินในมือเกษตรกร Posted: 04 Dec 2012 03:57 AM PST รอบหลายเดือนที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน "การรับจำนำข้าว" ถือเป็นประเด็นนโยบายสาธารณะ นโยบายหนึ่งที่สร้างปรากฏการณ์และปลุกกระแสความสนใจทางสังคมและสื่ออย่างต่อเนื่อง ทั้งชื่นชม สนับสนุน ทักท้วง ให้แง่คิด และวิพากษ์วิจารณ์ โดยลักษณะของข้อมูลที่มีการนำเสนอก็มีแง่มุมรายละเอียดเกือบจะสมบูรณ์และรอบด้าน อย่างไรก็ตาม ยังมีบางส่วนของข้อมูลที่ยังขาดหายและมีการนำเสนอสู่การรับรู้ที่น้อยมาก คือเรื่องข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระดับพื้นที่ โดยเฉพาะในประเด็นเปรียบเทียบเชิงตัวเลขก่อนและหลังโครงการรับจำนำข้าว จากคำถามสำคัญคือ เกษตรกรได้รับผลประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ทั้งในด้านกระบวนการ ต้นทุน รายได้จากการทำนา รวมไปถึงความอยู่รอดของครัวเรือนชาวนาในภาพรวม กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (Local Action Links) จึงลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยการพูดคุยกับชาวนาสมาชิกสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) ใน จ.สุพรรณบุรี 3 กรณี คือ ชาวนารายย่อย ชาวนาขนาดกลาง และชาวนาที่ไม่เข้าร่วมโครงการรับจำนำ เพื่อนำข้อมูลบางแง่มุมที่ดูเหมือนว่าจะขาดหายไปมานำเสนอ กรณีตัวอย่างชีวิตชาวนาภาคกลางบ้านตาลลูกอ่อน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.เจดีย์ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก มีประชากรอยู่อาศัยประมาณ 82 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่ (70 หลังคาเรือน) ประกอบอาชีพทำนา อาชีพรอง คือ ปลูกอ้อย เลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ด และรับจ้างทั่วไป สภาพพื้นที่นาข้าวเป็นพื้นที่ราบต่ำ โดยพื้นที่เขต อ.อู่ทองถือเป็นพื้นที่รับน้ำของ จ.สุพรรณบุรี เส้นทางน้ำจะไหลไปสู่ จ.นครปฐม แม่น้ำท่าจีน จ.อยุธยา มีน้ำท่วมขังตามฤดูกาลประมาณเดือนตุลาคม ถึงธันวาคมของทุกปี ดังนั้นโดยปกติแล้วชาวนาในเขตนี้จะทำนาได้ปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ปัญหาล่าสุดเมื่อปี 2551 และ 2553 เกิดปัญหาแมลงเพลี้ยกระโดดระบาดในนาข้าว สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตข้าวในพื้นที่จำนวนมาก สำหรับค่าเฉลี่ยของการถือครองที่ดินของเกษตรกร คือ 10-20 ไร่ต่อครอบครัว และเกือบครึ่งหนึ่งของชาวนาในพื้นที่เช่าที่นาผู้อื่นเพื่อทำการผลิตเพิ่มเติม ภาวะหนี้สินทั้งในและนอกระบบ ที่เกิดจากการลงทุนการผลิต ค่าเล่าเรียนลูก และค่าใช้จ่ายในครอบครัว เฉลี่ย 200,000 บาทต่อครอบครัว สูงสุด 600,000 บาท 1.กรณี นางสุวรรณ บุญรอด : ชาวนารายย่อย ระยะปรับเปลี่ยน
นางสุวรรณ บุญรอด อายุ 52 ปี มีสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 3 คน สมาชิกครอบครัวที่อยู่ในอาชีพทำนาและเกษตรกรคือตัวเธอเองและสามี ส่วนลูกชายกำลังศึกษาอยู่ด้านช่างซ่อมบำรุงที่ จ.ชลบุรี มีพื้นที่ทำนาทั้งหมด 6 ไร่ ซึ่งทั้งหมดได้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว โดยมีที่นาของหลานสาวมาฝากตนเองเข้าร่วมโครงการอีก 5 ไร่ รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 11 ไร่ นอกเหนือจากการทำนานางสุวรรณ มีพื้นที่ปลูกอ้อยอยู่ต่างอำเภออีก 15 ไร่ และมีอาชีพรับจ้างทั่วไปในช่วงว่างจากการทำนา ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว 1. หลังจากไถหว่านข้าวแล้วประมาณ 1 อาทิตย์ ชาวนาแต่ละรายที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว ต้องนำหลักฐานได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน เอกสารแบบฟอร์มขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร เอกสารการเป็นสมาชิก ธกส. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกสารแบบฟอร์มสมัครเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว และรูปถ่ายเจ้าของที่นากับเจ้าหน้าที่เกษตรกรตำบล ยืนชี้จุดแปลงนาข้าวที่ทำการหว่านไถแล้วในทุกๆ แปลง โดยนำเอกสารทั้งหมดยื่นให้กับผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รวบรวมส่งให้กับเกษตรอำเภอ และส่งให้เกษตรจังหวัด 2. จากนั้นทางเกษตรจังหวัดจะออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และออกใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2554/55 มาให้ โดยปกติจะออกให้ภายใน 15 วัน 3. สำหรับโควตาการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวในเขต อ.อู่ทอง จะจำกัดผลผลิตที่รับซื้อจากการคาดการณ์ผลผลิตในรอบที่ผ่านมาของเกษตรกรแต่ละราย โดยเฉลี่ยประมาณ 740-800 กก.ต่อไร่ 4. เมื่อวันที่ 10 ก.ย.55 นำผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวเข้าร่วมโครงการ จำนวน 4.5 ตัน วัดความชื้น ได้ 26% และสิ่งเจือปน โรงสีตีราคาให้ 12,400 บาท ต่อตัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 55,800 บาท โดยโรงสีออกใบรับรอง (ใบประทวน) ให้ 5. นำใบประทวนไปยื่นกับ ธกส. และธกส.จะออกบัตรคิวให้ ซึ่งในรอบจำนำที่แล้ว (ม.ค.-พ.ค.55) ปกติจะได้รับเงินภายใน 1 อาทิตย์ แต่ผ่านมาเกือบ 2 เดือน รอบนี้ยังไม่ได้รับเงิน เมื่อสอบถามทางเจ้าหน้าที่ ธกส.แจ้งว่าเงินรอบนี้หมดแล้ว และยังไม่ลงมาจากส่วนกลาง นางสุวรรณ กล่าวว่า สำหรับปัญหาที่เกิดจากการได้รับเงินจำนำข้าวล่าช้า ทำให้จำเป็นต้องกู้ยืมเงินนอกระบบจากคนในหมู่บ้าน กว่า 28,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน เพื่อมาเป็นค่าเล่าเรียนลูก ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายในครอบครัว ในส่วนของหนี้สินค่าปุ๋ยและค่ายาได้ผลัดไว้ก่อน ซึ่งทางเถ้าแก่ คิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือน ต้นทุนการผลิตข้าวเปรียบเทียบ
จากตารางต้นทุนการผลิตข้าว เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการจำนำข้าว ในปี 2554 ก่อนโครงการฯ มีต้นทุนการผลิต 5,385 บาทต่อไร่ หลังมีโครงการฯ มีต้นทุนการผลิต 5,814 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 429 บาท ประมาณร้อยละ 7 โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ค่าปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง ในส่วนของรายได้เปรียบเทียบ ปี 2554 มีรายได้จากการขายข้าวตันละ 10,000 บาทและได้เพิ่มจากรัฐ อีก 700 บาท รวมเป็น 10,700 บาท คิดเป็นรายได้รวม 48,150 บาท และในปี 2555 มีรายได้จากการขายข้าวในโครงการรับจำนำ 12,400 บาท ได้รายได้ 55,800 บาท มีรายได้เพิ่มจากปีที่ผ่านมา 7,650 บาท ในส่วนของกำไรสุทธิ หักต้นทุนการผลิตแล้ว ปี 2554 กำไรสุทธิ 15,840 บาท ปี 2555 กำไรสุทธิ 20,916 บาท เพิ่มขึ้น 5,076 บาท "มาตรการช่วยเหลือจากรัฐทั้งจำนำ และประกันราคามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ควรจะเอาจุดดี มาปรับแก้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ สำหรับประกันราคา เราได้เงินสด ค่าปุ๋ย ค่ายา เราจะได้เลย แต่เราได้เงินไม่เยอะ เพราะเขาให้ตามราคาตลาด ประกัน ปี 54 ได้เงินสด 10,000 บาท และเงินเพิ่ม 700 บาท สำหรับจำนำ ปี 55 ได้ 12,400 บาท ได้เงินเยอะ แต่ถ้าได้ช้าก็ต้องแบกรับดอกเบี้ยหนี้สินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น และต้องเสี่ยง ถ้าเกิดปัญหาผลผลิตข้าวเสียหาย" นางสุวรรณกล่าวแสดงความเห็นต่อโครงการรับจำนำข้าว รายละเอียดภาระดอกเบี้ยที่นางสุวรรณ ต้องแบกรับ ได้แก่ - ดอกเบี้ยค่ายาและค่าปุ๋ย 4,500 บาท ร้อยละ 5 ต่อเดือน จากวันผลิต 5 เดือน 625 บาท - ดอกเบี้ย ธกส. 55,000 บาท ร้อยละ 12 ต่อปี ปีละ 6,600 บาท - ดอกเบี้ยหนี้สินกองทุนเงินล้าน 20,000 บาท ร้อยละ 5 ต่อปี 1,000 บาท - ดอกเบี้ยหนี้นอกระบบ 100,000 บาท ร้อยละ 3 ต่อเดือน เดือนละ 3,000 บาท ปีละ 36,000 บาท ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ค่าไฟฟ้า 250 บาท ค่าเล่าเรียนลูก 3,000 บาท ค่าฌาปนกิจ 1,000 บาท ค่าฌาปนกิจ ธกส. 500 บาท ค่ากับข้าว (เก็บข้าวไว้กินเอง) 3,000 บาท ค่าใช้จ่ายทั่วไป 3,000 บาท ค่างานบุญ 500 บาท รวมค่าใช้จ่ายในครอบครัว 11,250 บาทต่อเดือน นอกเหนือจากรายได้ในการทำนา ยังมีรายได้เสริมจากการรับจ้าง 3,000 บาทต่อเดือน มีรายได้จากแปลงอ้อย 50,000 บาทต่อรอบ ปลูก 3 รอบต่อปี 150,000 บาท 2. กรณีนายอรุณ ทรงหมู่ : ชาวนาขนาดกลาง มีปัจจัยการผลิตบางส่วนเป็นของตนเองนายอรุณ ทรงหมู่ มีสมาชิกในครอบครัว 3 คน พ่อ แม่ และลูก มีพื้นที่นาทั้งหมด 30 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นชาวนาขนาดกลางในหมู่บ้าน เพราะมีเพียง 3-4 รายที่มีนาจำนวนมากเท่านี้ เข้าโครงการรับจำนำในปี 2555 ทั้ง 2 รอบ คือรอบแรกเดือน ม.ค.2555 ซึ่งรัฐจะจำกัดปริมาณรับจำนำไม่เกิน 25 ตัน แต่รอบที่สองเดือน เม.ย.2555 รัฐจำกัดผลผลิตไร่ละ 750 กก.ต่อไร่ นอกเหนือจากทำนาแล้วอรุณ ยังลงทุนซื้อรถไถของตนเองเพื่อรับจ้างไถให้กับชาวนาในพื้นที่อีกด้วย ต้นทุนการผลิตข้าวเปรียบเทียบ
ต้นทุนการผลิตต่อไร่ในปี 2554 และปี 2555 จำนวน 4,149 บาท และ 4,259 บาท แตกต่างกันเล็กน้อยเพียง 110 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในปี 2554 ที่เข้าร่วมประกันราคาข้าว ขายให้โรงสีได้ 8,000 บาทต่อตัน และได้เงินส่วนต่างจำนวน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท ส่วนในปีนี้ที่ได้เข้าร่วมโครงการทั้งสองครั้ง และได้ราคาข้าวเพิ่มขึ้น 11,200 บาท (ความชื้น 29%) คือเพิ่มขึ้น 1,200 บาท และไม่ได้ประสบปัญหาได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวล่าช้า เนื่องจากมีรถไถนาเป็นของตนเอง และได้ทำการวิดน้ำเพื่อทำนาได้เร็วกว่าคนอื่น 20 วัน จึงเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำออกขายได้เป็นรายแรกๆ ของหมู่บ้าน นายอุดม มีกำไรสุทธิจากการขายข้าวทั้งหมด 30 ไร่ ในปีที่แล้ว 175,530 บาท และในปีเข้าร่วมโครงการ 208,230 บาท โดยมีกำไรเพิ่มขึ้น 32,700 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายรายเดือนในครอบครัว ประมาณ 10,000 บาท มีหนี้สินกับ ธกส. 120,000 บาท หนี้สินกองทุนหมู่บ้าน 20,000 บาท และหนี้นอกระบบอีก 60,000 บาท รวมทั้งหมด 200,000 บาท 3. กรณี นางกนกพร ดิษฐกรจันทร์ : ชาวนาที่ลดต้นทุนแล้ว และไม่เข้าร่วมโครงการนางกนกพร ดิษฐกรจันทร์ มีสมาชิกครอบครัวทั้งหมด 4 คน ตนเอง แม่ และลูก อีก 2 คน มีพื้นที่นาจำนวน 2 แปลง แปลงที่ 1 อยู่ในหมู่บ้านที่ทำนาปรัง 9 ไร่ และ แปลงที่ 2 อยู่นอกพื้นที่ ซึ่งเป็นนาปีอาศัยน้ำฝน ที่ จ.กาญจนบุรี 7 ไร่ กนกพร เป็นชาวนาหัวก้าวหน้าที่ปรับเปลี่ยนจากการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง มาสู่การทำนาอินทรีย์ เมื่อ 3 ปีที่ผ่าน โดยใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ ผลิตสารไล่แมลงจากวัตถุดิบธรรมชาติเอง แรงสนับสนุนสำคัญได้จากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) ในส่วนของผลผลิตข้าวในปีนี้ 2555 ก็ไม่ได้เข้าร่วมโครงการจำนำของรัฐ เนื่องจากตั้งแต่ ปี 2547 หันมารวมกลุ่มชาวนาในพื้นที่ เพื่อสีข้าวไว้กินและขายเอง ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 74 คน จาก 3 อำเภอใน จ.สุพรรณบุรี ได้แก่ อ.อู่ทอง อ.เมือง และ อ.สองพี่น้อง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการซื้อวัสดุอุปกรณ์จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรายย่อย ในปี 2555 ต้นทุนการผลิตข้าวเปรียบเทียบ
เนื่องจาก 3 ปีที่ผ่านมา กนกพร ทำนาแบบลดต้นทุน เลิกใช้สารเคมี หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นทุนการทำนาจึงมีแค่ 2,052 บาทต่อไร่ ซึ่งจะต่ำกว่าการทำนาแบบใช้สารเคมีมากกว่าครึ่ง ในปี 2554 กนกพรได้นำพื้นที่นาปรัง 9 ไร่ เข้าร่วมโครงการประกันราคา ขายข้าวให้โรงสีได้เงิน 7,850 บาท และได้เงินประกันราคา 1,248 บาท รวมเป็นเงิน 9,098 บาทุ รวมผลผลิต 6.5 ตัน ได้รายได้ 59,137 บาท แต่ปี 2555 ไม่ได้เข้าร่วมโครงการของรัฐ เนื่องจากมีโรงสีของกลุ่ม ได้แปรรูปผลผลิตข้าวเปลือกเป็นข้าวสารจำหน่ายเอง โดยข้าวเปลือก 1 ตัน สีเป็นข้าวสารได้ 600 กก. ราคาข้าวสาร 27 บาทต่อกก. คิดเป็นเงิน 16,200 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 105,300 บาท คิดเป็นกำไรสุทธิ ที่หักต้นทุนการผลิตแล้ว 86,832 บาท นอกจากนี้ทางกลุ่มยังได้ปลายข้าว ข้าวหัก แกลบ รำ เอาไว้ขายเพื่อนำเงินมาหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในโรงสีอีกด้วย แกลบกระสอบละ 5 บาท ปลายข้าวและรำ 10 บาทต่อกก. โดยข้าวเปลือก 1 ตัน จะได้รายได้จากการขายผลพลอยได้เหล่านี้อีก 102 บาท บทสรุปจากทั้ง 3 กรณีตัวอย่างของชาวนารายย่อยในภาคกลางข้างต้น แม้ว่าอาจจะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่น้อยนิด ไม่อาจถือได้ว่าเป็นตัวแทนของชาวนารายย่อยในภาคกลาง หรือทั่วประเทศ แต่ก็ได้ให้ภาพตัวอย่างหนึ่งของชีวิตชาวนาไทยที่ลำพังรายได้จากการทำนาอย่างเดียวไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวให้อยู่รอดได้ และยังมีชาวนาและเกษตรกรรายย่อยจำนวนมากที่ได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่หรือเข้าไม่ถึงนโยบายการสนับสนุนจากรัฐทั้งในอดีตและปัจจุบัน ชีวิตของชาวนารายย่อยยังตกอยู่ในชะตากรรมของความเสี่ยง หากชาวนายังไม่ทบทวนและปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของตนเอง รวมถึงนโยบายรัฐยังไม่ทบทวนแก้ไขให้ตรงจุด แนวโน้มชาวนาก็จะจมอยู่กับวังวนของปัญหาหนี้สิน การสูญเสียที่ดินทำกิน และความล้มเหลวทางเศรษฐกิจในอนาคตมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา1. ปัญหาส่วนหนึ่งที่เกษตรกรรายย่อยขาดทุน เพราะต้นทุนการผลิตทำนาสูง เนื่องจากยังใช้ปุ๋ยและยาเคมีที่มีราคาแพง รัฐต้องควบคุมการนำเข้าสารเคมี และดูแลเรื่องราคาสารเคมีให้เป็นธรรม และที่สำคัญเกษตรกรต้องลดต้นทุนการผลิตของตัวเองให้ได้ 2. รัฐควรดูแลปัญหาที่ดินของเกษตรกรที่ อยู่ใน ธกส. ธนาคาร และสถาบันการเงินต่างๆ มีที่ดินเกษตรกรจำนวนมากที่หลุดมือ เพราะต้องนำที่ดินไปขายใช้หนี้สิน หรือบางส่วนต้องแบ่งขายไป มีที่ดินทำกินไม่พอกิน 3. รัฐควรสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และหนี้สินเกษตรกร ไม่ควรเก็บดอกเบี้ยเกินร้อยละ 3-4 ต่อปี 4. รัฐควรสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมีที่ดินเป็นของตนเอง และควบคุมค่าเช่าที่นา ที่เพิ่มขึ้นตามราคาข้าว ปัจจุบัน 2,300 บาทต่อรอบต่อไร่ 5. นโยบายการช่วยเหลือชาวนา ควรมีโครงการสนับสนุนทั้งปัญหาราคาข้าว การประกันราคาร่วมด้วย เพื่อรองรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ และผลผลิตเสียหาย และเงินที่ได้ไม่ควรล่าช้า เพราะเกษตรกรต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว และดอกเบี้ยเงินกู้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 04 Dec 2012 03:02 AM PST | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Spaun สมองเทียมที่เลียนแบบทั้งความสามารถและข้อบกพร่องของมนุษย์ Posted: 04 Dec 2012 02:48 AM PST นักวิทยาศาสตร์ ม.วอเตอร์ลู แคนาดา สร้างซอฟท์แวร์จำลองการทำงานสมองมนุษย์ด้วยเซลล์ประสาทเทียม 2.5 ล้านเซลล์ชื่อ Spaun ซึ่งมีความสามารถในการโต้ตอบ คิดเลข แต่ก็ทำพลาดหรือมีควมลังเลแบบมนุษย์จริงอยู่ เหมาะกับการพัฒนาเพื่อทดสอบด้านสุขภาวะและการพัฒนาระบบหุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ เมื่อปลายเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา วารสารวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้นำเสนอเรื่องที่ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ประเทศแคนาดา ได้สร้างซอฟท์แวร์จำลองสมองของมนุษย์ขึ้นมาในชื่อว่า Spaun ซึ่งทำจากเซลล์ประสาทเทียม 2.5 ล้านเซลล์ (เทียบกับสมองของคน 100 พันล้านเซลล์) มีทั้งความสามารถและข้อบกพร่องแบบเดียวกับสมองของมนุษย์ คริส อิไลสมิทธ์ วิศวกรและนักประสาทวิทยา จากม.วอเตอร์ลู กล่าวว่า Spaun สามารถเล่นเกมที่มีรูปแบบง่ายๆ วาดในสิ่งที่เห็น และคิดเลขในใจได้เล็กน้อย แต่สิ่งที่ทำให้เขาแปลกใจไม่ใช่ความสามารถของสมองนี้ แต่เป็นการที่มันทำผิดพลาดได้เหมือนมนุษย์ เมื่อถามคำถาม Spaun มันจะหยุดอยู่ชั่วครู่หนึ่งในเวลาเช่นเดียวกับที่คนหยุดก่อนจะให้คำตอบ เมื่อให้ Spaun จดจำรายการตัวเลข มันจะเริ่มตอบตะกุกตะกักเมื่อให้รายการตัวเลขยาวเกินไป และ Spaun ก็สามารถจดจำตัวเลขตั้งแต่ช่วงต้นและช่วงท้ายได้มากกว่าตัวเลขช่วงกลาง เช่นเดียวกับมนุษย์เรา อิไลสมิทธ์ กล่าวว่าสมองจำลองนี้มีรายละเอียดพฤติกรรมในแบบของมนุษย์ แม้ว่ามันจะไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับสมองของมนุษย์ แต่ก็สามารถทำอะไรหลายอย่างในแบบที่มนุษย์ทำได้ ทีมนักประสาทวิทยาจากวอเตอร์ลูบอกว่า Spaun เป็นแบบจำลองสมองชิ้นแรกที่ทั้งสามารถทำงานและมีลักษณะพฤติกรรม พวกเขาต้องการใช้มันในการศึกษาการทำงานของสมองมนุษย์ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ยังสามารถใช้การกระตุ้นเฉพาะส่วนเพื่อตรวจหาความผิดปกติทางสมองหรือทดสอบการใช้ยาทางจิตเวทย์ด้วย Spaun ได้ Spaun ถูกโปรแกรมมาให้โต้ตอบคำขอ 8 อย่าง เช่น การบอกว่ามันมองเห็นอะไร, จดจำตัวเลขที่ถูกเขียนด้วยลายมือต่างกัน, ตอบคำถามเกี่ยวกับรายการตัวเลขและทำตามแบบหลังจากเห็นตัวอย่างแล้ว อิไลสมิทธ์บอกอีกว่าความสามารถเหล่านี้แสดงให้เห็นทักษะหลากหลายที่สมองมนุษย์สามารถทำได้ และช่วยให้นักวิทยาศาสตร์นำไปพัฒนาความยืดหยุ่นให้กับหุ่นยนต์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ได้ เนื่องจากระบบปัญญาประดิษฐ์ในตอนนี้มีแค่ความสามารถเฉพาะอย่างแต่ไม่สามารถสับเปลี่ยนการทำไปทำอย่างอื่นได้ และจากการที่ Spaun มีการเลียนแบบให้ใกล้เคียงโครงสร้างเซลล์สมองของคนอย่างมาก ทำให้สามารถใช้ศึกษาในเรื่องสุขภาพแทนการใช้คนจริงซึ่งเป็นเรื่องผิดศีลธรรม โดยล่าสุดอิไลสมิทธ์ได้ทำการทดลองกำจัดเซลล์ของ Spaun ในระดับเดียวกับการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทในสมองคนจริงเมื่ออายุมากขึ้น เพื่อดูว่าการตายของเซลล์กระทบต่อการทดสอลสติปัญญาหรือความสามารถหรือไม่ อิไลสมิทธ์บอกว่าการทดลองกับ Spaun เป็นเพียงก้าวแรกของการทดลองในระยะยาว สมองของมนุษย์จริงยังคงซับซ้อนกว่าแบบจำลอง และหากนักวิทยาศาสตร์ยังคงพัฒนาแบบจำลองสมองไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นช่องทางที่ดีในการศึกษาด้านสุขภาวะได้ Spaun ทำงานด้วยระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของม.วอเตอร์ลู มันต้องใช้พลังในการประมวลผลสุงมากในการทำงานเล็กๆ น้อยๆ และคอมพิวเตอร์ก็ใช้เวลาทำงานสองชั่วโมงในการจำลอง Spaun หนึ่งวินาที ดังนั้นงานลำดับต่อไปของนักวิจัยคือการพัฒนาฮาร์ดแวร์เพื่อให้แบบจำลองทำงานได้รวดเร็วแบบเรียลไทม์ อิไลสมิทธ์บอกว่าในอนาคต Spaun อาจถูกนำไปใช้สร้างเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยจากการที่มันมีข้อบกพร่องในแบบมนุษย์ เพราะการที่มันมีลักษณะความจำในแบบที่คนเราคุ้นเคย จะทำให้คนเราปฏิสัมพันธ์กับมันได้อย่างเป็นธรรมชาติกว่า
Artificial Brain Mimics Human Abilities and Flaws, TechNewsDaily, 29-11-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กสทช.เลื่อนเคาะราคาประมูล 'ทีวีดิจิตอล' ไป ก.พ.56 Posted: 04 Dec 2012 02:43 AM PST ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวถึงความคืบหน้าการออกหลักเกณ์การประมูลทีวีดิจิตอลว่า ขณะนี้ ยังไม่สามารถระบุราคาตั้งต้นการประมูลช่องรายการของทีวีดิจิตอลช่องบริการธุรกิจได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างให้คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) จัดทำมาให้ โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนช่วงเดือน ก.พ.2556 จากกำหนดเดิม ธ.ค.2555 จากนั้นจะให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการจัดสรรช่องบริการในหมวดชุมชนในช่วงปลายปี 2555 และจัดสรรช่องรายการในหมวดบริการสาธารณะ ในเดือน ม.ค.2556 การเปิดประมูลช่องบริการในหมวดธุรกิจช่วงเดือน มี.ค.- เม.ย.2556 ทั้งนี้ จำนวนช่องประกอบด้วย ช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง บริการชุมชน 12 ช่อง รวมทั้งช่องบริการธุรกิจที่ให้เผยแพร่รายการเป็นการทั่วไปแบบปกติ 20 ช่อง และในแบบความคมชัดคุณภาพสูงรายการคมชัดสูง หรือไฮเดฟิเนชั่น 4 ช่อง ประธาน กสท. กล่าวต่อว่า วานนี้ (3 ธ.ค.) กสท. จัดทำบันทึกความเข้าใจ เรื่องความร่วมมือในการทดลองระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ระหว่างสำนักงาน กสทช. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง 9) และกรมประชาสัมพันธ์ (ช่อง 11) เพื่อการทดลองอุปกรณ์โครงข่ายระบบวิทยุโทรทัศน์ร่วมกัน โดยมุ่งหวังว่า ความรู้ที่ได้จากการทดลองจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา การใช้ หรือการให้บริการระบบวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล การใช้โครงข่ายร่วมกัน และการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลต่อไป ทั้งนี้ กสทช. ได้ประกาศใช้แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (ปี2555-2559) เมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา โดยกำหนดยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล และได้ออกประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวข้องหลายฉบับรวมทั้ง ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราว เนื่องจากคลื่นความถี่วิทยุเป็นทรัพยากรที่จำกัด จึงมีความจำเป็นต้องให้เกิดการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อประโยชน์ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณในระบบดิจิตอล จึงจำเป็นต้องทดลองอุปกรณ์โครงข่าย ระบบวิทยุกระจายเสียง และระบบวิทยุโทรทัศน์ร่วมกัน สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งมีวัตถุประสงค์และขอบเขตความร่วมมือดังต่อไปนี้ 1.การดำเนินการทดลองอุปกรณ์ระบบการรับส่งสัญญาณฯ ในระบบดิจิตอล 2.การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบการรับส่งสัญญาณฯ ในระบบดิจิตอล 3.การสนับสนุน และส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล 4.การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับประโยชน์ของการรับส่งสัญญาณฯ ในระบบดิจิตอล โดยเริ่มนำร่อง 2 พื้นที่ คือ 1.กรุงเทพฯ และ 2.เชียงใหม่ มีกรอบระยะเวลาทดลอง 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค.2556
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐบาลพม่าพบกองกำลังเมืองลาย้ำให้ยึดมั่น “รัฐธรรมนูญ 2008” Posted: 04 Dec 2012 02:30 AM PST ผู้นำระดับสูงในรัฐบาลและกองทัพของพม่าเยือนเขตปกครองกองกำลังเมืองลา NDAA แย้มให้สิทธิทำธุรกิจไม้-เหมืองแร่ ทั้งมอบเงินให้กว่า 60 ล้านจั๊ต ขณะที่ย้ำให้ NDAA ยึดมั่นข้อตกลงและรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แหล่งข่าวชายแดนจีน-รัฐฉานแจ้งว่า เมื่อวานนี้ (3 ธ.ค.) ผู้นำระดับสูงในรัฐบาลและกองทัพของพม่าเดินทางเยือนเขตพื้นที่ปกครองพิเศษที่ 4 กองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย หรือ กองกำลังเมืองลา NDAA ในภาคตะวันออกรัฐฉาน โดยคณะผู้นำพม่าเดินทางไปกับเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ ลงจอดที่เมืองลา เมืองหลวงของ NDAA เมื่อเวลา 12.00 น. มีคณะผู้นำของ NDAA คอยให้การต้อนรับ
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มหาดไทยออกหลักเกณฑ์ใหม่ให้สัญชาติบุตรของบุคคลไม่มีสัญชาติไทย Posted: 04 Dec 2012 01:21 AM PST รมว.มหาดไทยออกประกาศให้บุตรของผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป ครอบคลุมคนไทยพลัดถิ่น จนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ 14 กลุ่ม คนไร้รากเหง้าซึ่งเกิดเมืองไทย อยู่มานาน เรียนหนังสือไทย ประกอบอาชีพสุจริต และให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะแก่บุตรของบุคคลต่างด้าวที่มีผลงาน และสาขาที่ขาดแคลน หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง "การสั่งให้บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป และการให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย" โดยมีหลักเกณฑ์ให้สัญชาติ 4 กลุ่มได้แก่ หนึ่ง บุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยและอาศัยอยู่เป็นเวลานานที่มีเชื้อสายไทยและเกิดในประเทศไทย ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวรในประเทศไทยไว้แล้ว รวม 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงประเทศกัมพูชาที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง 15 พฤศจิกายน 2520 2.กลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง 9 มีนาคม 2519 และ 3.กลุ่มชาวลาวภูเขาอพยพ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและมีเอกสารแสดงตน (เข้ามาถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2538) โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป สอง บุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยและอาศัยอยู่มานานที่มิได้มีเชื้อสายไทย และเกิดในประเทศไทย ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวรในประเทศไทยไว้แล้ว รวม 14 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มชาวเขา 9 เผ่า 2.กลุ่มบุคคลบนพื้นที่สูงและชุมชนพื้นที่สูงที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง 3 ตุลาคม 2528 3.กลุ่มอดีตทหารจีนคณะชาติ 4.กลุ่มจีนฮ่ออพยพพลเรือน 5.กลุ่มจีนฮ่ออิสระ 6.กลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า 7.กลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า 8.กลุ่มชาวเวียดนามอพยพ 9.กลุ่มชาวลาวอพยพ 10.กลุ่มเนปาลอพยพ 11.กลุ่มอดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา 12.กลุ่มไทยลื้อ 13.กลุ่มม้งถ้ำกระบอกที่ทำประโยชน์ และ 14.กลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวกัมพูชา ทั้งนี้ เฉพาะผู้ที่ได้รับการสำรวจ จัดทำทะเบียนประวัติและมีเอกสารแสดงตน (เข้ามาถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2538) โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป (หลักเกณฑ์นี้ไม่ครอบคลุมกลุ่มบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ประเภทที่อาศัยอยู่มานานซึ่งสำรวจภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2552) สาม บุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรไทยและถูกบุพการีทอดทิ้งหรือไม่ปรากฏบิดาและมารดา (คนไร้รากเหง้า) ครอบคลุมเฉพาะผู้ที่ได้รับการสำรวจ จัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตน ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 (บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน กลุ่มคนไร้รากเหง้า) ซึ่งได้รับการสำรวจในระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2552 ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป สี่ บุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรไทยที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ โดยบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ต้องมาแสดงตัวให้ทางราชการพิจารณาพร้อมหลักฐานการทำคุณประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย ที่มีคุณประโยชน์และผลงานด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การกีฬา และสาขาที่ขาดแคลน ห้า กรณีบุตรของคนต่างด้าว กลุ่มเด็กและบุคคลทั้งที่กำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาและจบการศึกษาแล้ว แต่ไมมีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ครอบคลุมเฉพาะผู้ที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตนในกลุ่มชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ได้สำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ถึงปี พ.ศ. 2542 และสำรวจเพิ่มเติมตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 (บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน กลุ่มเด็กนักเรียนในสถานศึกษา) ซึ่งได้รับการสำรวจในระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2552 หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ให้ยื่นคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทย หากไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว ให้นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณากำหนดสถานะภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราม พ.ศ. 2548 ตามสถานะของบิดาและมารดา โดยรายละเอียดของประกาศกระทรวงมหาดไทยมีดังแนบท้ายนี้ และสำหรับรายละเอียดของประกาศทั้งหมดและแบบคำร้องสามารถดาวโหลดได้ที่นี่ 000 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การสั่งให้บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป และการให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงได้มีคำสั่งให้บุคคลซึ่งมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป หรือได้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย ดังนี้ ข้อ 1 บุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยและอาศัยอยู่เป็นเวลานานที่มีเชื้อสายไทยและเกิดในประเทศไทย ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวรในประเทศไทยไว้แล้ว รวม 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงประเทศกัมพูชาที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง 15 พฤศจิกายน 2520 2.กลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง 9 มีนาคม 2519 และ 3.กลุ่มชาวลาวภูเขาอพยพ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและมีเอกสารแสดงตน (เข้ามาถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2538) โดยสำนักบริหารการทะเบียน ปกรมการปกครอง ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป (หลักเกณฑ์นี้ไม่ครอบคลุมกลุ่มบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ประเภทที่อาศัยอยู่มานานซึ่งสำรวจภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2552) ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ (1) ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น (2) เป็นบุคคลที่เกิดและมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่อง โดยมีชื่ออยู่ในเอกสารทะเบียนราษฎร และมีเอกสารทางราชการที่แสดงว่าเกิดในประเทศไทย (3) ได้รับการศึกษาตามหลักสูตรที่ทางราชการไทยกำหนดหรือสามารถพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ ยกเว้นกรณีเด็กที่อายุต่ำกว่าเจ็ดปี (4) มีความประพฤติดี ไม่เคยรับโทษคดีอาญา เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ กรณีได้รับโทษในคดีอาญาต้องพ้นโทษมาแล้วอย่างน้อยห้าปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง (5) ประกอบอาชีพสุจริต ยกเว้นพระภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาอื่นๆ ซึ่งต้องปฏิบัติกิจมาไม่น้อยกว่าห้าปี หรือผู้ยื่นคำร้องที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และไม่ได้ประกอบอาชีพ และ (6) ไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ
ข้อ 2 บุตรของบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยและอาศัยอยู่มานานที่มิได้มีเชื้อสายไทย และเกิดในประเทศไทย ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวรในประเทศไทยไว้แล้ว รวม 14 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มชาวเขา 9 เผ่า 2.กลุ่มบุคคลบนพื้นที่สูงและชุมชนพื้นที่สูงที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง 3 ตุลาคม 2528 3.กลุ่มอดีตทหารจีนคณะชาติ 4.กลุ่มจีนฮ่ออพยพพลเรือน 5.กลุ่มจีนฮ่ออิสระ 6.กลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า 7.กลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า 8.กลุ่มชาวเวียดนามอพยพ 9.กลุ่มชาวลาวอพยพ 10.กลุ่มเนปาลอพยพ 11.กลุ่มอดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา 12.กลุ่มไทยลื้อ 13.กลุ่มม้งถ้ำกระบอกที่ทำประโยชน์ และ 14.กลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวกัมพูชา ทั้งนี้ เฉพาะผู้ที่ได้รับการสำรวจ จัดทำทะเบียนประวัติและมีเอกสารแสดงตน (เข้ามาถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2538) โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป (หลักเกณฑ์นี้ไม่ครอบคลุมกลุ่มบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ประเภทที่อาศัยอยู่มานานซึ่งสำรวจภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2552) ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ (1) ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น (2) เกิดและมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่อง โดยต้องมีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนราษฎร หรือมีเอกสารทางราชการที่แสดงว่าเกิดในราชอาณาจักรไทย (3) สามารถพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจได้ ยกเว้นกรณีเด็กอายุต่ำกว่าเจ็ดปี (4) ต้องมีความจงรักภักดีต่อประเทศไทย และเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (5) มีความประพฤติดี ไม่เคยได้รับโทษคดีอาญา เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ กรณีได้รับโทษในคดีอาญาต้องพ้นโทษมาแล้วอย่างน้อยห้าปีนับถึงวันที่ยื่นคำร้อง (6) ประกอบอาชีพสุจริต ยกเว้นพระภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาอื่นๆ ซึ่งต้องปฏิบัติกิจมาไม่น้อยกว่าห้าปี หรือผู้ยื่นคำร้องที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และไม่ได้ประกอบอาชีพ และ (7) ไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ
ข้อ 3 บุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรไทยและถูกบุพการีทอดทิ้งหรือไม่ปรากฏบิดาและมารดา (คนไร้รากเหง้า) ครอบคลุมเฉพาะผู้ที่ได้รับการสำรวจ จัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตน ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 (บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน กลุ่มคนไร้รากเหง้า) ซึ่งได้รับการสำรวจในระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2552 ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (1) เกิดและอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลาอย่างน้อยสิบปี โดยต้องมีสูติบัตรหรือหนังสือรับรองการเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด หรือมีหนังสือรับรองความเป็นคนไร้รากเหง้าจากหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนที่จดทะเบียนตามกฎหมาย หรือสถานสงเคราะห์ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2) มีชื่ออยู่ในเอกสารทะเบียนราษฎรและเอกสารที่ทางราชการกำหนด เฉพาะที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียน ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งได้รับการสำรวจในระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2552 และ (3) มีความประพฤติดี และไม่เคยรับโทษคดีอาญา เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ
ข้อ 4 บุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรไทยที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ โดยบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ต้องมาแสดงตัวให้ทางราชการพิจารณาพร้อมหลักฐานการทำคุณประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ (1) ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น (2) เกิดและมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อยสิบปี โดยมีชื่ออยู่ในเอกสารทะเบียนราษฎรหรือมีเอกสารทางราชการที่แสดงว่าเกิดในประเทศไทย (3) มีความจงรักภักดีต่อราชอาณาจักรไทย และเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (4) มีความประพฤติดีและไม่เคยได้รับโทษคดีอาญา เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ กรณีได้รับโทษคดีอาญาต้องพ้นโทษมาแล้วอย่างน้อยห้าปี (5) ประกอบอาชีพสุจริต (6) ไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และ (7) เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศ โดยมีผลงานหรือความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยมีหน่วยงานราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรมที่เกี่ยวข้องรับรองคุณประโยชน์และผลงานในสาขาต่างๆ ดังนี้ (ก) การศึกษา (ข) ศิลปวัฒนธรรม (ค) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ง) การกีฬา (จ) สาขาที่ขาดแคลน หรือสาขาอื่น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นสมควร
ข้อ 5 กรณีบุตรของคนต่างด้าว กลุ่มเด็กและบุคคลทั้งที่กำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาและจบการศึกษาแล้ว แต่ไมมีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ครอบคลุมเฉพาะผู้ที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตนในกลุ่มชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ได้สำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ถึงปี พ.ศ. 2542 และสำรวจเพิ่มเติมตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 (บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน กลุ่มเด็กนักเรียนในสถานศึกษา) ซึ่งได้รับการสำรวจในระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2552 หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ให้ยื่นคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทย หากไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว ให้นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณากำหนดสถานะภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราม พ.ศ. 2548 ตามสถานะของบิดาและมารดา ทั้งนี้ ให้ผู้ที่มีความประสงค์จะได้รับสัญชาติไทยตามประกาศนี้ ให้ยื่นคำร้องตามแบบและขั้นตอนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 6 เมื่อบุคคลใดได้รับสัญชาติไทยแล้ว ภายหลังปรากฏว่าการได้มาซึ่งสัญชาติไทย ไม่เป็นไปตามลักษณะหรือเงื่อนไขตาม (1) หรือ (2) ของข้อ 1 ถึงข้อ 4 แล้วแต่กรณี หรือบุคคลดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติให้หน่วยงานรับผิดชอบถอนสัญชาติไทยบุคคลนั้นตามกฎหมาย
ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555 นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะแพทย์กราบบังคมทูลขอให้สมเด็จพระราชินีงดพระราชกิจ 5 ธ.ค. Posted: 04 Dec 2012 12:57 AM PST แถลงการณ์สำนักพระราชวังฉบับที่ 12 คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาระบุหากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธี อาจจะต้องทรงฝืนกำลังพระวรกายเป็นอันมาก เนื่องจากทรงพระประชวรอยู่เป็นเวลาหลายเดือน แม้จะทรงทำกายภาพบำบัดด้วยการทรงพระดำเนินเป็นประจำ แต่พระพลานามัยก็ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ จึงกราบบังคมทูลขอให้ทรงงดพระราชกิจ วันนี้ (4 ธ.ค.) เว็บไซต์สำนักพระราชวัง เผยแพร่แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระประชวรขณะประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 12 มีรายละเอียดดังนี้ แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระประชวรขณะประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 12 วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้รายงานว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระอาการทั่วไปดี ทรงพระดำเนิน ตลอดจนเคลื่อนไหวพระวรกายได้เกือบปกติ แต่ยังมีพระพลานามัยไม่สมบูรณ์เต็มที่ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันพุธที่ 5 ธันวาคม ศกนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า แม้พระราชพิธีนี้จะเป็นพระราชพิธีสำคัญ แต่ก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร กอรปกับเป็นพระราชพิธีเดียวที่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ต้องทรงยืนตั้งแต่ต้นจนเสร็จพิธี เว้นแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์เดียว ที่ประทับบนพระราชอาสน์ ดังนั้น หากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีนี้ อาจจะต้องทรงฝืนกำลังพระวรกายเป็นอันมาก เนื่องจากทรงพระประชวรอยู่เป็นเวลาหลายเดือน แม้จะทรงทำกายภาพบำบัดด้วยการทรงพระดำเนินเป็นประจำ แต่พระพลานามัยก็ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ การเสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีนี้เป็นครั้งแรกอาจทำให้ทรงอ่อนเพลีย และต้องทรงฟื้นฟูพระวรกายอีกเนิ่นนานก็เป็นได้ คณะแพทย์จึงกราบบังคมทูลขอให้ทรงงดพระราชกิจครั้งนี้ และต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ คณะแพทย์ได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยแล้ว จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน สำนักพระราชวัง 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2555 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชาวบ้านกรณีปัญหาเขตป่าฯ ทับที่ทำกิน ร่วม อปท.จัดงานเรียนรู้วิถีชุมชน Posted: 04 Dec 2012 12:54 AM PST "มหกรรมเรียนรู้วิถีชุมชน ฟื้นฟูผืนป่า รักษาผืนน้ำปกป้องผืนดินป่าอีสานตะวันตก" ณ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ด้วยความร่วมมือจากเครือข่ายองค์กรชาวบ้าน ภาครัฐ และ อปท.เพื่อผสานความเข้าใจในวิถีการอนุรักษ์ของคนอยู่กับป่า จากรอยแผลกว่า 30 ปี ของปัญหาการประกาศเขตป่าฯ ทับที่ทำกิน มาถึงความร่วมมือระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ ด้วยการเปิดประตูผืนป่าอีสานตะวันตกสู่เส้นทางเรียนรู้นิเวศวัฒนธรรมภูผาแดง ปัจจุบัน 'งานมหกรรมเรียนรู้วิถีชุมชน ฟื้นฟูผืนป่า รักษาผืนน้ำปกป้องผืนดินป่าอีสานตะวันตก' ด้วยความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างภาครัฐต่อชุมชน ได้เชื่อมความเข้าใจในวิถีการอนุรักษ์และการดำเนินชีวิตของคนอยู่กับป่า เมื่อวันที่ 1 – 2 ธ.ค.55 เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูผาแดง และศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูนิเวศ วัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) จัดงาน "มหกรรมเรียนรู้วิถีชุมชน ฟื้นฟูผืนป่า รักษาผืนน้ำปกป้องผืนดินป่าอีสานตะวันตก" ณ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว โดยมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมสนับสนุน อาทิ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูผาแดง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว องค์การบริหารส่วนตำบลลานบ่า องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านติ้ว โรงพยาบาลชุมชนบ้านห้วยระหงส์ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนในพื้นที่เข้าร่วม เช่น โรงเรียนบ้านวังยาว โรงเรียนบ้านปากดุก เป็นต้น อรนุช ผลภิญโญ ผู้ประสานงานศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูนิเวศวัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์ ชี้ถึงวัตถุประสงค์การจัดงานในครั้งนี้ ว่า เพื่อเป็นการรณรงค์ให้หน่วยงานต่างๆ ได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งเป็นการเชื่อมร้อยให้เกิดความเข้าใจในวิถีของคนที่อยู่กับป่าในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแต่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บุกรุกป่า เนื่องด้วยบริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์โดยเฉพาะเขตผืนป่าอีสานตะวันตกซึ่งเป็นต้นน้ำสายเลือดสำคัญของภาคอีสาน ดังเช่นลำน้ำเซินซึ่งเป็นต้นน้ำสายสำคัญของลำน้ำชี ด้วยความสมบูรณ์ ที่หลากหลายไปด้วยพันธ์พืช พันธ์สัตว์ ทำให้รัฐประกาศเป็นพื้นที่ทั้งอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทับที่ทำกินและต้องอพยพคนในชุมชนออกจากพื้นที่ กลายเป็นปัญหาพิพาทขัดแย้งระหว่างรัฐและชุมชนดั้งเดิม นับจากปี 2542 ต่อเนื่องมาถึงการใช้กำลังเข้ามาจับกุม ดำเนินคดีกับชาวบ้าน ที่อาศัยมาก่อนการประกาศเขตป่า เมื่อปี 2548 กิจกรรมในงานยังมีการจัดเสวนา "วิถีชุมชนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน" โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ชาวบ้าน นักวิชาการ องค์กรภาคประชาชน เข้าร่วมเป็นวิทยากรเพื่อร่วมสร้างความเข้าใจ ผ่านการแลกเปลี่ยนซึ่งกัน และเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป อาทิ นายประยงค์ ดอกลำไยผู้ช่วยผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ นายปราโมทย์ ผลภิญโญ ผู้อำนวยการเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน นายวิสูตร อยู่คง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษกลุ่มงานวิชาการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 9 อุบลราชธานี ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธีมหาวิทยาลัยมหิดล และนายหนูเกณ จันทาสี ผู้ประสานงานโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าดงลาน รวมทั้งตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตป่า อรนุช กล่าวด้วยว่า ภายในงานนอกจากมีวงเสนาดังกล่าวแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมตลอดทั้งวัน ทั้งการประกวดทำอาหาร ประกวดวาดภาพ เรียงความ โดยฝีมือของนักเรียนที่เข้าร่วมงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อวิถีชีวิตชุมชนรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ต่อความงดงามทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มากไปกว่านั้นยังมีทริปท่องเที่ยวพิเศษกับมัคคุเทศก์น้อย ตามเส้นทางนิเวศวัฒนธรรมภูผาแดง เพื่อศึกษาถึงความเป็นอยู่ของชุมชนกับป่าที่ได้ร่วมกันอนุรักษ์ไว้ ต่อเนื่องจากโครงการก่อนหน้านี้ที่ทางชุมชนได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐเปิดโปรแกรม "เปิดประตูสู่ผืนป่าอีสานตะวันตก สู่เส้นทางเรียนรู้นิเวศวัฒนธรรมภูผาแดง" เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.54 ณ เชิงสะพานห้วยตอง ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงสานต่อให้เกิดความต่อเนื่องจึงได้มหกรรมเรียนรู้วิถีชุมชน ฟื้นฟูผืนป่า ขึ้นมาอีกครั้ง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตุลาการอียิปต์บอยคอตต์การลงประชามติรธน.ใหม่ Posted: 03 Dec 2012 11:15 PM PST สมาคมผู้พิพากษาของอียิปต์บอยคอตต์ไม่ยอมทำหน้าที่ควบคุมดูแลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของอียิปต์จากความขัดแย้งระหว่างปธน.และฝายตุลาการ ขณะที่ผู้ชุมนุมทั้งฝ่ายหนุนและฝ่ายต้านปธน. ยังคงต่างฝ่ายต่างปักหลักชุมนุม
อาห์เม็ด อัล-ซินด์ ประธานสมาคมฯ แถลงผ่านสำนักข่าว MENA ของอียิปต์ว่า เจ้าหน้าที่ตุลาการทั้งหมดและสมาคมผู้พิพากษาของอียิปต์นอกเมืองหลวงจะไม่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และขอบอยคอตต์ร่างรธน.ดังกล่าว อัลจาซีร่ารายงานว่า หลังจากที่โมฮาเม็ด มอร์ซี ได้รับสำเนาเอกสารร่าง รธน. เขาก็เร่งประกาศวันลงประชามติเป็นวันที่ 15 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ โดยเมื่อคืนวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา มอร์ซีได้ออกมากล่าวเรียกร้องให้ประชาชนมาร่วมลงประชามติ ก่อนหน้านี้เมื่อวันอาทิตย์ (2) ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญสูงสุดของอียิปต์ (Supreme Constitutional Court) มีกำหนดการประชุมหารือเรื่องการยุบสภาสูงและสภาร่างรธน. ที่เพิ่งผ่านร่างรธน.ฉบับล่าสุด แต่ก็ถูกบังคับให้เลื่อนการประชุมหลังจากที่มีกลุ่มผู้ประท้วงสนับสนุน ปธน. มอร์ซีชุมนุมอยู่นอกที่ทำการศาล ศาลอียิปต์แถลงข่าวต่อกรณีดังกล่าวว่า พวกเขารู้สึกเจ็บปวดและเสียใจอย่างลึกซึ้ง จากวิธีการ 'ลอบสังหารเชิงจิตวิทยา' ที่นำมาใช้กับตุลาการของพวกเขา โดยพวกเขากล่าวโทษกลุ่มผู้ชุมนุมสนับสนุนปธน.มอร์ซี ว่าเป็นเหตุทำให้ต้องเลื่อนการประชุมหารือ อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่าราวยา ราเกห์ รายงานจากกรุงไคโรว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับการคุ้มครองจากการประกาศกฤษฏีกาของประธานาธิบดี แต่ในขณะเดียวกันสภาร่างรธน. เองก็เร่งลงมติผ่านร่างรธน.ภายในเวลาเพียง 17 ชม. และมีผลให้ต้องยุบสภาร่างฯ หลังจากพวกเขาผ่านร่างรธน. แล้ว ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านปธน.มอร์ซี ก็ออกมาปักหลักชุมนุมที่จัตุรัสทาห์รีร์ เนื่องจากไม่พอใจที่มอร์ซีประกาศกฤษฎีกาให้การคุ้มครองและให้อำนาจแก่ตนเอง รวมถึงไม่พอใจที่ร่างรธน.ฉบับล่าสุดที่ถูกมองว่ามีวาระเกื้อหนุนต่อกลุ่มภราดรภาพมุสลิมซึ่งมอร์ซีเคยเป็นสมาชิกมาก่อน
Egypt judges reject role in constitution vote, Aljazeera, 03-12-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภรรยา 'สุรชัย แซ่ด่าน' ล่ารายชื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ นักโทษคดี 112 Posted: 03 Dec 2012 09:46 PM PST
2 ธ.ค.55 ที่บริเวณบาทวิถี หน้าศาลอาญา รัชดา กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลได้จัดกิจกรรมบาทวิถีเสวนาเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ในประเด็นเรื่องนักโทษการเมืองนั้น ในอาทิตย์นี้นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) ผู้ต้องโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 ได้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมทั้งรณรงค์ล่ารายชื่อเพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับนายสุรชัยและผู้ต้องโทษในคดีเดียวกันที่คดีเด็ดขาดแล้ว โดยยืนยันว่าการกระทำความผิดของคนเหล่านี้เกิดจากความสับสนทางความคิดที่เป็นผลมาจากสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันมีการแบ่งฝ่ายแตกแยกอย่างรุนแรง และผู้กระทำผิดได้รู้สึกสำนึกเสียใจต่อการกระทำแล้ว โดยนายสุรชัยเป็นผู้ต้องโทษเด็ดขาดคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 รวมโทษจำคุก 12 ปี 6 เดือน (5 คดี คดีละ 2 ปี 6 เดือน) และได้รับการลดโทษจาก พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2555 จึงเหลือโทษจำคุก 10 ปี 9 เดือน
นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ นางปราณี เปิดเผยถึงการรณรงค์ล่ารายชื่อว่า กิจกรรมนี้เป็นความต้องการของนักโทษคดี ม.112 และคุณสุรชัยด้วย โดยตนได้เริ่มล่ารายชื่อมาตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยตอนนี้ยังได้รายชื่อมาเพียงร้อยกว่าชื่อ เพราะได้ส่งแบบฟอร์มล่ารายชื่อไปหลายที่แล้ว แต่ยังไม่ได้กลับคืน โดยตั้งเป้าไว้ประมาณ 500 ชื่อ แล้วจึงส่งไปยังสำนักพระราชวังในครั้งแรกก่อนประมาณต้นปีหน้า จากนั้นจะดำเนินการล่ารายชื่อเพื่อส่งไปเป็นระยะๆ สำหรับผู้ที่สนใจร่วมลงชื่อนั้น นางปราณี กล่าวว่าสามารถร่วมลงชื่อได้โดยการถ่ายแบบฟอร์มล่ารายชื่อ(ดูล้อมกรอบด้านล่าง) พร้อมลงชื้อแล้วส่งมาตามที่อยู่ "คุณปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ 57/107 ม.2 ซ.จุฬาเกษม 12 ถ.งามวงศ์วาน ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000" หรือมาเจอกับตนที่กิจกรรมของปฏิญญาหน้าศาลทุกบ่ายวันอาทิตย์
ฎีการ้องทุกข์ดังกล่าว :
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น