ประชาไท | Prachatai3.info |
- 21 ก.พ.56 ฟังคำสั่งไต่สวนการตาย จนท.เขาดิน เหยื่อ 10 เมษา
- รวันดา: ความโหดร้ายบนคราบน้ำตาของมนุษยชาติ (10)
- ไต่สวนการตาย 4 ศพหนองจิก พยานชี้การยิงเกิดหลังผู้ตายตะโกนแจ้งเจ้าหน้าที่
- รายงาน: ภาวนาเพื่อ 'สมบัด สมพอน' NGO ลาวผู้ 'ถูกบังคับให้หายตัว'
- รื้อ ทุบ ทำลายแบบ “ข้าพเจ้าเป็นรอยะลิสต์”
- TDRI : จับจังหวะแรงงานไทยขาขึ้น เรียนรู้ รอด ในปี 2556
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 16 - 22 ธ.ค. 2555
- เออิจิ มูราชิมา: กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์สยาม
21 ก.พ.56 ฟังคำสั่งไต่สวนการตาย จนท.เขาดิน เหยื่อ 10 เมษา Posted: 24 Dec 2012 06:46 AM PST ศาลอาญานัดฟังคำสั่งไต่สวนการตาย 'มานะ อาจราญ' ลูกจ้างสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตคืนวันที่ 10 เม.ย.53 แล้ว 21 ก.พ.56 นี้
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. ที่ห้องพิจารณาคดี 808 ศาลอาญา รัชดา ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพ คดีหมายเลขดำที่ อช.8/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรการเสียชีวิตของนายมานะ อาจราญ ลูกจ้างของสวนสัตว์ดุสิตแผนก บำรุงรักษา ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตเมื่อกลางดึกของวันที่ 10 เม.ย. 53 บริเวณสวนสัตว์ดุสิต แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กทม. ภายหลังการสลายการชุมนุมในช่วงค่ำบริเวณแยกคอกวัวและถนนดินสอสงบลง ทั้งนี้ ลานจอดรถของสวนสัตว์ดุสิตเป็นจุดพักของเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหลายกองร้อย โดยวันนี้เป็นการไต่สวนนัดสุดท้าย มีพยานทั้งสิ้น 5 ปาก หลังเสร็จการไต่สวน ศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ 21 ก.พ.56 เวลา 09.00 น. สำหรับคดีนี้ไม่มีการแต่งตั้งทนายความ และไม่มีญาติผู้ตายร่วมสังเกตการณ์คดี พยานปากแรก ส.อ.ศักดิ์อนันต์ ผุยโสภา ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกที่ 2 ประจำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา เบิกความว่า เมื่อปี 2553 ได้รับคำสั่งให้มาควบคุมการชุมนุมของกลุ่ม นปช. โดยมีกองกำลัง 120 นาย มีอาวุธคือ โล่ กระบอง และเสื้อเกราะ ไม่มีอาวุธปืน ในวันเกิดเหตุ เวลาประมาณ 22 นาฬิกาเศษ ขณะที่กำลังพลพักอยู่ที่ใต้อาคารจอดรถสวนสัตว์ดุสิต หลังจากรักษาการที่หน้าประตูสวนสัตว์ดุสิต เพื่อป้องกันไม่ให้รถของผู้ชุมนุมผ่านเข้าไปบริเวณถนนอู่ทองใน มีเสียงปืนดังขึ้นประมาณ 2 นัด บริเวณด้านนอกรั้วรัฐสภา จากนั้น ทหารที่พักอยู่ด้านนอกก็วิ่งกรูผ่านประตูสวนสัตว์เข้ามา ราว 400-500 นาย โดยตนเองได้ใช้ไม้งัดสังกะสีที่ปิดซ่อมอยู่ เพื่อเปิดทางให้ทหารวิ่งไปด้านหลัง ทั้งนี้ นอกจากทหารแล้วจะมีผู้อื่นด้วยหรือไม่ ไม่ได้สังเกต ส.อ.ศักดิ์อนันต์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวเองนั้น วิ่งผ่านช่องเก็บตั๋ว และพลัดตกลงในบ่อน้ำ โดยระหว่างวิ่งทางจากอาคารจอดรถผ่านที่ขายตั๋วจนถึงบ่อน้ำ ไม่ได้ยินเสียงอะไรนอกจากเสียงปืนจากทางหน้าสวนสัตว์แต่ไม่รู้ว่ามาจากทิศใด โดยขณะที่อยู่ในบ่อน้ำ ราว 20 นาทีนั้นไม่ได้ยินเสียงปืนแต่อย่างใด จากนั้น ได้หาวิธีขึ้นจากบ่อ โดยได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ตชด. ช่วยขึ้นจากบ่ออีกด้านหนึ่ง และพักอยู่กับเจ้าหน้าที่ ตชด.ในสวนสัตว์ จนมีเจ้าหน้าที่จาก สน.ดุสิต มารับตัวไปส่งที่จุดรวมพลใต้อาคารจอดรถ นอกจากนี้เขายังระบุว่า ก่อนหน้านั้นระหว่างเข้าเวร เคยมีกลุ่ม นปช. 4-5 คน ขับรถมาแวะต่อว่าด้วย พ.ต.อ.ณัฎฐ์ บูรณศิริ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สตช. เบิกความว่า เมื่อเวลา 0.40 น. ได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต ให้ร่วมตรวจสถานที่เกิดเหตุคดีฆาตกรรมในสวนสัตว์ จึงเดินทางตรวจที่เกิดเหตุด้วยตัวเอง โดยไปถึงสวนสัตว์เวลาประมาณ 1.30น. โดยศพนายมานะ มีบาดแผลถูกยิงที่ศีรษะด้วยกระสุนปืนจากด้านหลังทะลุไปด้านหน้า บนทางเดินมุ่งหน้าไปทางสวนสัตว์ห่างจากศพ ประมาณ 20 เมตร พบปลอกกระสุน .223 จำนวน 2 ปลอกตกอยู่ ใกล้ปลอกกระสุนพบโล่ปราบจลาจล กระบอง และเสื้อสีเขียวระบุชื่อ "บารมี ชีพไธสง" โดยของกลางทั้งหมดได้ส่งให้พนักงานสอบสวนเพื่อตรวจสอบต่อไป พ.ต.อ.สุพจน์ เผ่าถนอม ผู้อำนวยการกองสรรพาวุธ 2 สตช. เบิกความว่า พนักงานสอบสวนได้ขอให้ตนเองให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธและกระสุนปืน โดยให้ข้อมูลว่ากระสุนขนาด 5.56 มม. หรือ .223 ใช้ได้กับปืน M16 HK33 ซึ่งทั้งทหารและตำรวจมี และใช้ได้กับทราโว่ ซึ่งมีแต่ทหารเท่านั้นที่มีใช้ ส่วนอาก้านั้นใช้ไม่ได้ เมื่อยิงปืนแล้ว หัวกระสุนจะปรากฏรอยสันเกลียว ส่วนที่ปลอกกระสุน จะปรากฏรอยขอคัดปลอก บริเวณด้านข้างปลอกและรอยเข็มแทงชนวน ที่ท้ายปลอกและริมปลอก ปืนแต่ละกระบอกเมื่อยิงจะปรากฏร่องรอยไม่เหมือนกัน ทำให้ตรวจได้ว่ามาจากปืนกระบอกใด โดยปืนแต่ละชนิดสามารถแยกชิ้นส่วนหลักและสับเปลี่ยนกันได้ ซึ่งจะทำให้การพิสูจน์เทียบหัวและปลอกกระสุนเปลี่ยนไปด้วย เพราะร่องรอยเปลี่ยน พ.ต.ท.มานิต เกษมศิริ รอง ผกก.สน.ดุสิต ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในคดีนี้ เบิกความว่า ปลอกกระสุน M16 ที่พบนั้นห่างจากจุดพบศพประมาณ 25 เมตร บนทางเท้า โดยหลังตรวจที่เกิดเหตุ ชันสูตรศพ และสอบปากคำพยานบุคคลแล้ว เห็นว่าเป็นการตายโดยผิดธรรมชาติ อันเป็นความผิดอาญา โดยยังไม่ทราบว่าฝ่ายไหนเป็นผู้กระทำ ต่อมาหลังกรมสอบสวนคดีพิเศษส่งสำนวนชันสูตรกลับมาที่ สน.ดุสิต โดยมีความเห็นว่านายมานะตายจากการกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยอ้างว่าปฏิบัติตามหน้าที่ ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้น ซึ่งตนเป็นหนึ่งในนั้นด้วย มีการขออาวุธปืนจากกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 ซึ่งมีการเบิกจ่ายปืน M16 จำนวน 29 กระบอกมาใช้ในช่วงดังกล่าว เพื่อตรวจเทียบกับปลอกกระสุนของกลาง แต่พบว่าปลอกกระสุนไม่ได้มาจากปืนทั้ง 29 กระบอก ทั้งนี้ ในช่วงดังกล่าว ทหารแจ้งว่าอาวุธปืนที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ถูกแย่งปืนไป โดยได้แจ้งความไว้ด้วย แต่ภายหลังก็ตรวจยึดคืนได้จากสถานที่ชุมนุมของ นปช. อย่างไรก็ตาม หลังตรวจสอบเพิ่มเติม คณะทำงานได้ทำสำนวนใหม่ว่า เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เห็นควรส่งให้อัยการยื่นต่อศาลเพื่อไต่สวนต่อไป สำหรับคดีมานะ อาจราญ เป็นรายที่ 6 ที่มีการไต่สวนเสร็จสิ้น โดยก่อนหน้านี้ มี 4 รายที่ศาลมีคำสั่งว่าเป็นการเสียชีวิตจากการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ได้แก่ พัน คำกอง, ชาญณรงค์ พลศรีลา, ชาติชาย ชาเหลา และ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และในวันที่ 16 ม.ค.2556 ศาลนัดฟังคำสั่งไต่สวนการตายของบุญมี เริ่มสุข ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รวันดา: ความโหดร้ายบนคราบน้ำตาของมนุษยชาติ (10) Posted: 24 Dec 2012 05:43 AM PST รวันดา กลับสู่สภาวะปกติ แต่สิ่งที่ย้ำเตือนให้ทุกคนระลึกถึงสงครามกลางเมืองยังคงมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง เพราะถนนและอาคารหลายแห่งในคิกาลีมีร่องรอยของหลุม บ้านเรือนทั้งในคิกาลีและทั่วประเทศอยู่ในสภาพซากปรักหักพัง บ้างก็ถูกระเบิดจนไม่เหลือซาก ขณะที่บางหลังก็ไร้หลังคา บางหลังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เด็กๆซึ่งอยู่ในชั้นประถมและมัธยมก็กลับไปเรียนหนังสือตามปกติ หนึ่งในบทเรียนแรกๆที่ครูได้สอนก็คือจะทำอย่างไรที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายจากกับดักระเบิดที่มีอยู่ทั่วประเทศ ครูยังต้องมีหน้าที่ดูแลปลอบขวัญนักเรียนที่ได้พบเห็นเหตุการณ์ร้ายแรงจากสงคราม เช่น เห็นเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวถูกทรมานหรือถูกสังหาร ซึ่งภาพเหล่านี้เป็นสิ่งชั่วร้ายที่มาหลอกหลอนทำให้เด็กๆชาวรวันดาทุกข์ทรมานยิ่งนัก มหาวิทยาลัยของรัฐเพียงแห่งเดียวของรวันดา คือ Université Nationale du Rwanda ตั้งอยู่ที่บูแทร์ และ รูเฮนเจรี ก็ได้เปิดการเรียนการสอนขึ้นใหม่ หนังสือพิมพ์ของประเทศซึ่งหยุดพิมพ์ระยะหนึ่งในช่วงสงครามก็กลับมาพิมพ์เผยแพร่อีกครั้ง สถานีวิทยุซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลที่เคยถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อ ข่าวโคมลอย ในช่วงสงครามกลางเมืองเพื่อทำลายล้างอีกฝ่ายหนึ่ง กลับมาแพร่กระจายเสียงเสนอข่าวสารแบบปกติเพื่อส่วนรวม ช่วยกระจายข่าวทุกชั่วโมงกระตุ้นให้ผู้ลี้ภัยอพยพกลับมายังรวันดา อีกครั้ง ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณของความหวังก็ตามรวันดาก็ยังคงมีเส้นทางอันยาวไกลที่จะก้าวต่อไป แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามตั้งใจที่จะปรับปรุงโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจและระบบพื้นฐานของประเทศ แต่รัฐบาลยังคงครอบครองหัวข้อข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง การต่อสู้ทางชนเผ่าและการเมืองก็ยังคงดำเนินต่อไป นอกเหนือจากนั้นพลเมืองชาวรวันดา ทั้งชาวฮูตูและชาวตุ๊ดซี่ก็ทุกข์ทนกับความขมขื่นซึ่งเกิดขึ้นในปี 1994 เพราะต่างสูญเสียสมาชิกในครอบครัว สูญเสียเพื่อนบ้านรวมทั้งทรัพย์สิน บางคนดำรงมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัวเนื่องจากความรุนแรงได้กระทำขึ้นโดยเพื่อนและเพื่อนบ้าน และคนในครอบครัวของตน เมื่อผู้ลี้ภัยอพยพกลับมายังประเทศเหยื่อของเหตุการณ์ความรุนแรงก็ถูกขอร้องให้ทุกคนให้อภัยบุคคลที่เคยทำร้ายและพยายามจะทำร้ายตน ต่างฝ่ายต่างเพ่งมองกันอย่างสงสัยและไม่ไว้ใจต่อกัน ตั้งแต่สงครามกลางเมืองยุติลงปัญหาสำคัญสองประการที่รัฐบาลรวันดาต้องดำเนินการ นั่นคือการลงโทษผู้เกี่ยวข้องในการบงการฆ่าและผู้ทำการฆ่าประชาชนที่เกิดขึ้นในปี 1994 และการอพยพผู้ลี้ภัยจำนวนประมาณ 2 ล้านคนซึ่งอพยพหนีจากประเทศไปเมื่อกลุ่มแนวหน้าผู้รักชาติรวันดา (Rwandan Patriotic Front-RPF) ได้รับชัยชนะให้กลับมาอย่างปลอดภัย ซึ่งภารกิจหลักทั้งสองประการนี้ รัฐบาลรวันดาจะต้องหาทางที่จะรักษาดุลยภาพระหว่างความโกรธแค้นของชาวตุ๊ดซี่ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย กับความหวาดกลัวและความต้องการให้เกิดความยุติธรรมของชาวฮูตูซึ่งเป็นชนหมู่มาก สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ท้าทายและเป็นปัญหาอันยาวนานซึ่งต้องมีการวางแผนและแนวทางในการเจรจาอย่างจริงจัง สิทธิเหนือทรัพย์สิน ในระหว่างการตั้งถิ่นฐานใหม่นั้นหลายคนได้ยึดบ้านและร้านค้าของชาวฮูตู ที่หลบหนีทหารกลุ่มแนวหน้าผู้รักชาติรวันดา RPF ในกรุงคิกาลี ส่งผลให้ร้านค้า ธุรกิจและบ้านเรือน ส่วนใหญ่ มีเจ้าของใหม่ เป็นชาวตุ๊ดซี่ การกระทำเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกเมื่อผู้ลี้ภัยชาวฮูตู ผู้เป็นส่วนหนึ่งของการหนีจากสงครามกลางเมืองเมื่อปี 1994 เริ่มกลับเข้ามาในประเทศ เมื่อปลายปี 1996 พวกเขาพบว่าทรัพย์สินของของตนถูกชาวตุ๊ซี่ ชาวบานยารวันดาหรือไม่ก็ทหาร RPA หรือประชาชนที่ไม่ยอมลี้ภัยในระหว่างสงคราม ได้ครอบครองและยึดเอาไปแล้ว และไม่ยินยอมคืนทรัพย์สินเหล่านั้นให้กับเจ้าของเดิม แม้ภายใต้กฎหมายรวันดา เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิทวงทรัพย์สินของตนคืนภายในเวลา 10 ปี แต่เมื่อผู้ลี้ภัยจำนวนมากอพยพกลับบ้านได้พยายามอ้างสิทธิในทรัพย์สินของตน เจ้าของคนใหม่ก็มักจะเรียกเจ้าหน้าที่ของรัฐมาจับกุมโดยอ้างว่าผู้อพยพที่กลับมามีส่วนร่วมในการเหตุการณ์สังหารหมู่เมื่อปี 1994 คนเหล่านั้นจึงถูกจับบ้าง ถูกจำคุกบ้าง และบางครั้งก็ถูกฆ่า ด้วยความกลัวผู้อพยพชาวฮูตูส่วนใหญ่ไม่อยากเสี่ยงต่อการเจรจาเหนือทรัพย์สินของตน ต้องจากบ้านเรือนของตนที่ถูกครอบครองโดยเจ้าของคนใหม่ รัฐบาลรวันดาได้พยายามที่จะบรรเทาสถานการณ์นี้โดยให้ผู้ครอบครองคืนเจ้าของเดิม และหาพื้นที่ใหม่ให้แก่ชาวบานยารวันดาเพื่อตั้งถิ่นฐาน เรียกว่า "สถานที่ตั้งถิ่นฐานใหม่" ซึ่งรวมพื้นที่ที่เคยเป็นอุทยานแห่งชาติอคาเกร่าอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรวันดา เมืองบยุมบา ทางตอนเหนือ เขตคิบังโกในทางตะวันออกเฉียงใต้ของรวันดา และภูมิภาคระหว่างจิเซนยีและรูเฮนเจรี ในตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนสหประชาชาติเองก็ได้พยายามช่วยเหลือรัฐบาลรวันดารวันดา ผ่านนักสิทธิมนุษยชนในรวันดา (Human Rights Field Operation in Rwanda - HRFOR) ในการพยายามที่จะให้ประชาชนได้กลับบ้านของตนให้มากที่สุด โดยต้องแน่ใจว่าสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของผู้ลี้ภัยจะไม่ถูกละเมิดในระหว่างการเดินทางกลับไม่ว่าในขั้นตอนใด บทบาทขององค์กรเอกชน การทำหน้าที่ของ NGO ได้ส่งผลอย่างสำคัญต่อชุมชนที่พวกเขาช่วยเหลือ ปัญหาด้านสุขภาพในรวันดาหนึ่งปีหลังจากสงครามยุติคือการขาดแคลนบุคลากรทางแพทย์ หมอชาวรวันดาและพยาบาลหลายคนยังคงอาศัยอยู่ในแคมป์ผู้ลี้ภัยนอกประเทศ ดังนั้นจึงยังไม่มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพที่จะเปิดและบริหารสถานพยาบาลได้ นักเรียนแพทย์ได้รับการฝึกฝนเพื่อเข้ามาเติมเต็มในตำแหน่งดังกล่าว แต่ก็ยังไม่มีประสบการณ์เพียงพอ ความต้องการบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์จึงมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว NGOได้ใช้เวลาหนึ่งปีในการดูแลเหยื่อจากบาดแผลสงคราม จากโรคร้ายอื่นๆ หลังจากนั้นผู้อพยพและประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในรวันดาเริ่มมีสุขภาพดีขึ้น นอกจากนั้นอาสาสมัครจากทั่วโลกได้นำมาเครื่องมือที่มีค่าและทักษะความเชี่ยวชาญสู่ชุมชนชาวรวันดา ตลอดทั่วประเทศ และได้ทำงานร่วมกับบุคลากรท้องถิ่นเพื่อจะช่วยเหลือให้จัดตั้งคลินิกขึ้นอีกครั้ง ในครั้งนี้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยเพื่อที่พวกเขาจะได้รู้คุณค่าของตัวเอง ที่คลินิก มูเดนดี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรวันดาบุคลากรของ องค์กร Adventist Development and Relieve Agency( ADRA ) เริ่มที่จะขอร้องให้คนไข้จ่าย 100 ฟรังรวันดาเพื่อเข้ารับการรักษา สิ่งนี้จะช่วยทำให้ประชาชนกลับมาคุ้นเคยกับการจับจ่ายใช้สอยอีกครั้ง สถานเลี้ยงเด็กกำพร้ามีส่วนสำคัญเช่นกัน เด็กๆชาวรวันดาได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลและการดูแลรักษาสุขภาพฟัน ทั้งยังได้รับเสื้อผ้าบริจาค อาหารและที่พัก ได้ เรียนศิลปะ เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเคินยารวันดาอีกด้วย เด็กๆยังมีงานให้ทำหลายอย่าง เช่น ทำงานในโรงครัวและทำความสะอาด การทำงานอื่นๆ สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าจะสอนให้เด็กรู้จักรับผิดชอบตนเองและตระหนักถึงความพอเพียง เด็กๆที่ สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ADRA ในโกมาได้ทำงานและทำโครงการต่างๆ เมื่อมีกิจกรรมให้ทำ เริ่มมีความคิดเห็นในสิ่งที่ทำ นดายิซาบา ชอง วิทคลิฟ ( Ndayisaba Jean Witcliff )ผู้ช่วยผู้จัดการแคมป์ได้กล่าวไว้เมื่อปี 1994 ว่า"ทุกคนไม่ว่าตัวใหญ่หรือเล็กจะต้องทำงานที่นี่ หากคุณไม่มีเงิน คุณก็จะต้องทำงาน ฉันไม่ให้อะไรฟรีๆหรอก" ระบบนี้ทำให้สิ่งที่เด็กๆได้รับมีคุณค่ารู้สึกถึงความพึงพอใจ ทำให้มีศักดิ์ศรีของการเป็นคน NGO และองค์กรช่วยเหลืออื่นที่ทำงานในรวันดาและประเทศเพื่อนบ้านของรวันดายังได้จัดทำโครงการรวมเด็กที่ถูกทอดทิ้งให้ได้พบกับสมาชิกครอบครัวที่รอดชีวิต บางครั้งเด็กๆที่โตกว่าและผู้ใหญ่ยังต้องหาสมาชิกครอบครัวของตนด้วยตัวเอง หาก NGO ไม่สามารถหาสมาชิกที่รอดชีวิตได้ก็จะพยายามที่หาบ้านใหม่ให้แก่เด็กๆซึ่งมีอายุตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 18 ปี ถึงแม้ว่าองค์กรเอกชนจะประสบความสำเร็จในการหาครอบครัวของเด็กให้มาเจอกัน ก็ยังมีเด็กกำพร้าจำนวนมาก สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าคาโกนิ (Gakoni )ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของคิกาลี 70 ไมล์ ได้รับเด็กกำพร้าจำนวน 166 คน ไว้ในบ้าน 14 หลังซึ่งทำด้วยอิฐกับโคลน บ้านแต่ละหลังมีลักษณะเป็นครอบครัวคือเด็กๆและแม่คอยดูแล ดอกเตอร์รันจัน คูลาเซเคเร่ (Ranjan Kulasekere )ซึ่งทำงานใน Adventist Development and Relief Agency กล่าวว่า "พวกเราให้ทั้งเด็กชายและหญิงทั้งโตและเล็กอาศัยอยู่ด้วยกันเพื่อที่จะทำให้รู้สึกเหมือนเป็นครอบครัวจริงๆ" " พวกเขาทานข้าวด้วยกัน สวดมนต์ด้วยกันและเก็บกวาดบ้านด้วยกัน" เวลา 9.30 น. เด็กๆก็จะทานอาหารเช้า ซักเสื้อผ้าและทำความสะอาดบ้าน จากนั้นก็จะออกไปเรียนหนังสือซึ่งเด็กๆก็จะมีกะเวลาของตน เด็กที่เล็กสุดจะเข้าเตรียมตัวในสถานก่อนวัยเรียน เด็กที่โตกว่าก็จะเข้าเรียนในโรงเรียนประถมจะได้เรียนรู้ในการอ่าน การเขียน เลขและฝรั่งเศส เด็กๆทุกคนที่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ต้องไปเรียนที่โรงเรียนประถม ซึ่งมีเพียงบางคนเท่านั้นที่ผ่านการสอบวัดผลจึงจะได้ไปเรียนต่อมัธยม ส่วนที่ไม่ผ่านก็จะหันไปเรียนวิชาชีพ เช่น การเรียงอิฐ ก่อสร้าง บางคนก็เรียนเกษตรกรรม สำหรับคนที่สุขภาพแข็งแรงเพียงพอก็จะทำงานในโครงการเกษตรกรรม เด็กๆได้ปลูกผักและผลไม้เพื่อเอามาเป็นอาหารด้วยตัวเอง หลังทานอาหารค่ำเด็กก็จะช่วยแม่(ผู้ดูแล) และผู้ช่วยเหลือคนอื่นทำความสะอาด จากนั้นก็จะร่วมกันสวดมนต์และร้องเพลง ทุกคนจะเข้านอนก่อนเวลาสองทุ่มครึ่ง ความพยายามของคนในท้องถิ่น Woman Net เป็นองค์กรของผู้หญิงชาวรวันดาซึ่งช่วยเหลือโดยการให้คำปรึกษาเหยื่อของการข่มขืน ดูเทริมเบเร่ หนึ่งในองค์กรสตรีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่ช่วยเหลือสตรีโดยการให้กู้ยืมเพื่อทำธุรกิจ ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ฝึกฝนทักษะ ซ่อมแซมบ้านและให้คำปรึกษาอื่นๆ นอกจากนั้น เซราฟีน บิซิมังกู สตรีหมายเลขหนึ่งของรวันดา ได้ช่วยเหลือสตรีที่สามีเสียชีวิตและเด็กๆที่สูญเสียครอบครัว รวมทั้งได้ร่วมกับ NGO นานาชาติสร้างบ้านจำนวน 250 หลังให้แก่ประชาชน และเดินหน้าโครงการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างต่างๆ เพื่อหวังว่าท้ายที่สุดแล้วภารกิจเหล่านี้จะกลับไปสู่คนชาวรวันดาผู้ซึ่งจะต้องจัดการและสร้างประเทศของตนขึ้นมาอีกครั้ง เผื่อว่าหลังจากนั้นประเทศจะพบกับหนทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวฮูตูและชาวตุ๊ดซี่ต่อไป ซึ่งหลายๆฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่าแม้กระบวนการสร้างประเทศจะเริ่มขึ้นแล้ว แต่โชคร้ายที่ไม่มีหนทางแก้ปัญหาใดๆที่ง่ายเลยสำหรับชาวรวันดา เพราะหนทางในการเยียวยาประเทศนั้นเต็มไปด้วยร่องรอยของการฉีกขาดและแตกสลาย…….
หมายเหตุ: *บทความแบ่งเป็น 10 ตอน โดยแปลสรุปจาก World in conflict. Rawanda : country torn apart. และนำมาเรียบเรียงใหม่เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น อ้างอิง : Bodnarchuk, Kari. World in conflict. Rawanda : country torn apart . Manufactured in the United States of America. By Lerner Publications Company
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไต่สวนการตาย 4 ศพหนองจิก พยานชี้การยิงเกิดหลังผู้ตายตะโกนแจ้งเจ้าหน้าที่ Posted: 24 Dec 2012 05:30 AM PST เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2555 ศาลจังหวัดปัตตานี นัดไต่สวนคดีชันสูตรพลิกศพคดี พนักงานอัยการได้นำพยานซึ่งเป็ พยานทั้งสองคนดังกล่าว ได้เบิกความในทำนองเดียวกันว่า พยานและชาวบ้านรวมทั้งหมด 9 คน ได้ขึ้นรถกระบะเพื่ สำหรับเหตุของคดีนี้ เจ้าหน้าที่ทหารพราน กองร้อยทหารพรานที่ 4302 บ้านน้ำดำ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อ้างว่าได้นำกำลังติดตามคนร้าย และตั้งจุดสกัดกั้นบริเวณทางเบี่ยงจากถนนสี่เลนส์ เข้าบ้านหมู่ที่ 1 ตำบลปุโละปุโย พบรถยนต์กระบะของชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ทหารพรานได้สกัดกั้ เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2555 พนักงานอัยการจังหวัดปัตตานีผู้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รายงาน: ภาวนาเพื่อ 'สมบัด สมพอน' NGO ลาวผู้ 'ถูกบังคับให้หายตัว' Posted: 24 Dec 2012 05:13 AM PST แรงกดดันต่อรัฐบาลลาวเพิ่มขึ้ การเรียกร้องเพื่อการปล่อยตั ต่อเนื่องจากจดหมายแสดงความห่ ท่ามกลางกระแสความกดดั ในงานดังกล่าว นายสมชาย หอมละออ นักกฏหมายอาวุโส และประธานมูลนิธิผสานวั สำหรับ นายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ผู้สื่อข่าวอาวุโสของหนังสือพิ นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการต่ ผู้อภิปรายท่านสุดท้าย อาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักคิดและนักเขียนอาวุโสของไทย กล่าวถึงสมบัดในฐานะ "บุคคลที่วิเศษ และต้องการจะทำเพื่อประเทศของตั 0 0 0
คณะทำงานไทยกรณีสมบัด สมพอน ขอเชิญเข้าร่วม "ภาวนาเพื่อสมบัด สมพอน" และการเดินทางเข้ายื่นหนังสือกั วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555 8.00-9.00 น. ณ อุโบสถ วัดทองนพคุณ เขตคลองสาน - ร่วมฟังการกล่าวในหัวข้อ "คุณูปการของสมบัด สมพอน ต่อการศึกษาทางเลือก และงานพัฒนา" โดย อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ - การอ่านสาสน์จาก เยาวชนลุ่มแม่น้ำโขง - การภาวนาเพื่อ สมบัด สมพอน นำโดย พระไพศาล วิสาโล 10.30 น. คณะจะเดินทางเข้ายื่นหนังสื
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รื้อ ทุบ ทำลายแบบ “ข้าพเจ้าเป็นรอยะลิสต์” Posted: 24 Dec 2012 03:01 AM PST
"ในยุค 50 ปีที่แล้วมานี้ [หมายถึงยุคคณะราษฎร พ.ศ. 2475-2490 - ผู้เขียน] ได้มีการสร้างตึกรามที่น่าเกลียดน่ากลัวเอาไว้ใน กทม. อีกมากพอสมควร เพราะฉะนั้น เมื่อเริ่มทุบทิ้งอะไรกันขึ้นแล้ว เราก็ควรจะรู้สึกมันมือ เที่ยวทุบตึกอื่นๆ ที่อยู่ผิดที่ผิดทาง และมีสถาปัตยกรรมอันไม่กลมกลืนกับสถาปัตยกรรมของกรุงเทพฯ" (คึกฤทธิ์ ปราโมช, ซอยสวนพลู, สยามรัฐรายวัน, 17 สิงหาคม 2532) ความปรารถนาของคึกฤทธิ์ดูจะค่อยๆ กลายเป็นความจริงขึ้นมาทุกวัน เพราะนอกจากโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยจะถูกทุบทิ้งไปในปี 2532 แล้ว การ "ทุบทิ้งอย่างมันมือ" สำหรับตึกอื่นๆ ที่ "อยู่ผิดที่ผิดทาง" ก็เกิดขึ้นอีกในรูปของแผนการรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่ตั้งอยู่ใกล้ท้องสนามหลวง เป็นการรื้อทิ้งเพื่อสร้างกลุ่มอาคารใหม่แบบที่มี "ความเป็นไทย" ขึ้น โดยแบบอาคารใหม่ที่แสดงความเป็นไทยตามแบบฉบับสถาปัตยกรรมประเภทแสดงความเป็นไทยนั้นก็ทำอย่างง่ายๆ ด้วยการใส่ "หลังคาจั่ว" นั่นเอง หลังคาจั่ว ลวดลายและองค์ประกอบในสถาปัตยกรรมแบบประเพณีที่อยู่ในแบบอาคารใหม่เป็นเครื่องแสดง "ฐานานุศักดิ์ในสถาปัตยกรรม" (ดูหนังสือเกี่ยวกับศิลปะ สถาปัตยกรรมสมัยคณะราษฎรของชาตรี ประกิตนนทการ) ชี้ให้เห็นว่าเป็นอาคารของชนชั้นสูง ยิ่งมีลวดลายวิจิตรบรรจงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นของชนชั้นสูงขึ้นเท่านั้น สถาปัตยกรรมสมัยคณะราษฎรได้ตัดทอนฐานานุศักดิ์ในสถาปัตยกรรมออกไปเพื่อนำเสนอความคิดเรื่องความเท่าเทียมโดยหันไปหารูปแบบสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายและมีหลังคาตัด กระบวนการรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกาเพื่อแทนที่ด้วยอาคารใหม่ (ที่มีลักษณะแบบเก่า) ที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจึงเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่คึกฤทธิ์อธิบายว่าเป็น "[การ]ทำให้กรุงเทพมหานคร ราชธานีของเรานี้เป็นนครเห็นคนที่มีปัญญา รู้จักรักสวยรักงาม และมีสุนทรีย์ในการสร้างสรรค์ เพื่อแสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่า เมืองไทยเรานั้นมีความเจริญและมีวัฒนธรรมอันสูงส่งมาเป็นเวลาช้านานแล้ว" (เล่มเดิม) อะไรคือสาเหตุที่ทำให้อาคารเหล่านี้ผิดที่ผิดทางและควรถูกทุบทิ้ง? จุดร่วมระหว่างโรงภาพยนตร์เฉลิมไทยและกลุ่มอาคารศาลฎีกาคือการเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยคณะราษฎรและใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ (Modern architecture) ในสายตาของคึกฤทธิ์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ล้วนน่าเกลียดและไร้รสนิยม ดังที่ได้เคยกล่าวถึงศิลปกรรมในยุคนี้เอาไว้ว่า "...ทีนี้สำหรับศิลปกรรมของไทยหลัง 2475 นั้น ถ้าจะพูดกันตามตรง พูดกันด้วยความรักชาติตามสมควร ก็จะต้องบอกว่าเป็นยุคของศิลปกรรมที่เสื่อมโทรมที่สุด คือ ไม่มีศิลปกรรมไทยเกิดขึ้นในยุคนี้... ผู้นำปฏิวัติก็เท่ากับนักเรียนนอก กลับมาจากฝรั่งเศส รสนิยมในทางศิลปะอะไรของท่านเหล่านั้นอยู่แค่คาเฟ่ริมถนนที่กรุงปารีส ภาพที่เห็นสวยงามก็ภาพโป๊..." (คึกฤทธิ์ ปราโมช, "ปาฐกถานำ ศิลปกรรมสมัยใหม่" ใน บันทึกการสัมมนาศิลปกรรมหลัง 2475, กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2528) ศิลปกรรมของคณะราษฎรนั้น "ไม่ไทย" เอาเสียเลย ซ้ำยัง "ไม่มีรสนิยม" อีกด้วย ไม่เหมาะกับกรุงเทพมหานครของเราเลยแม้แต่นิดเดียว ในเมื่อมัน "ไม่ไทย" ก็ไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม จริงอยู่ว่าข้อเขียนของคึกฤทธิ์เพียงลำพังคงไม่เพียงพอที่จะให้ใครตัดสินใจทุบตึก และก็คงไม่มีใครเอาข้อเขียนของคึกฤทธิ์มากางดูก่อนเป็นแน่ ทว่า มุมมองเกี่ยวกับความเป็นไทยและศิลปะคณะราษฎรในฐานะสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในข้อเขียนของคึกฤทธิ์ และในวาทกรรมว่าด้วยความเป็นไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นคืนกลับของพลังอนุรักษ์นิยม/กษัตริย์นิยมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระลอกตั้งแต่หลัง 2490 เป็นต้นมาต่างหากที่เป็นกรอบในการเลือกว่าอะไรไทย ไม่ไทย และอะไรต้องขจัดทิ้งเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นไทย การเมืองของความเป็นไทยจึงสัมพันธ์กับการช่วงชิงกันทางอุดมการณ์ทางการเมืองโดยรวม และแน่นอนว่างานศิลปะ ตลอดจนสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นของรัฐหรือได้รับความสนับสนุนจากรัฐก็อยู่ในวงจรนี้ด้วย สิ่งที่จะกำหนดว่าศิลปกรรมชิ้นไหนมีความเป็นไทยหรือไม่ก็อยู่ที่ตรงนี้เอง
หมายเหตุ - กลุ่มอาคารศาลฎีกาเป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี 2482 ที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการที่ประเทศไทยได้รับเอกราชทางการศาลในปี 2481 นับเป็นเวลา 83 ปีหลังจากที่เสียไปในการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในปี 2398 - กลุ่มอาคารศาลฎีกาสร้างขึ้นด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern architecture) ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะอย่างหนึ่งที่พบในนวัตกรรมด้านงานสถาปัตยกรรมในสมัยคณะราษฎร การหันไปหาความเรียบง่ายของรูปแบบสมัยใหม่ของสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในยุคนี้เป็นภาพตัวแทนของอุดมการณ์เรื่องความเท่าเทียมกันภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
TDRI : จับจังหวะแรงงานไทยขาขึ้น เรียนรู้ รอด ในปี 2556 Posted: 24 Dec 2012 01:45 AM PST ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย สรุปไฮไลท์แรงงานไทยในปี 2555 และโอกาสและความท้าทายในปี2556 ระบุเป็นช่วงแรงงานไทยขาขึ้นเกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ของโครงสร้างตลาดแรงงานไทยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ก่อผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทั้งผู้ประกอบการและตัวแรงงาน พร้อมโอกาสที่ยังมีมาต่อเนื่องจากแรงกดดันตลาดแรงงานเสรีในประชาคมอาเซียน ทั้งนายจ้างลูกจ้างจึงต้องปรับตัว เรียนรู้ จึงอยู่รอด ที่สำคัญทำให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักเศรษฐกิจแรงงานราคาถูก สู่การใช้แรงงานที่มีความรู้ความสามารถมากขึ้น ไฮไลท์แรงงานไทยในปี 2555 : โอกาสที่มาแบบไม่ตั้งตัว ในภาพรวมด้านจำนวนแรงงาน แนวโน้มการจ้างงานยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงการฟื้นตัวจากผลกระทบน้ำท่วมปลายปี 2554 แต่ความตึงตัวของแรงงานไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลง เนื่องจากบางสาขาการผลิตที่ฟื้นตัวมาแล้วแต่ก็ยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สาขาการก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานแบบเข้มข้น เช่น สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ ตัดเย็บกระเป๋า รองเท้า ฯลฯ ซึ่งมีภาวะการเข้าออกสูง จึงมีความต้องการแรงงานต่อเนื่อง และยังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ขณะที่ผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างตามนโยบายค่าจ้าง 300 บาทของรัฐบาลรอบแรกเมื่อเดือนเมษายน ดึงดูดให้มีคนเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่ว่างงานอยู่แล้วปรับตัวเองมาสู่ตลาดแรงงาน ทำให้สถานการณ์ตึงตัวของตลาดแรงงานผ่อนคลายลงเล็กน้อย แต่หากดูในเชิงคุณภาพ ความขาดแคลนในเชิงคุณภาพยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสมรรถนะและทัศนคติของแรงงานบางอย่างที่สืบเนื่องมาจากระบบการศึกษา แรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานยังมีปัญหาเรื่องพื้นฐานความรู้ทางการศึกษา เป็นภาระของผู้ประกอบการในการจัดฝึกอบรมเพิ่มเติมให้ ขณะที่แรงงานในสายอาชีวศึกษาเกิดความต้องการสูงขึ้นมาก ซึ่งมีลักษณะพิเศษต่างจากปีก่อน ๆ คือมีภาพของการปรับเปลี่ยนในการใช้ขบวนการปรับปรุงการผลิตที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้น 2 ช่วง ช่างแรกเมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทรอบแรก ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ปรับตัว ปรับขบวนการใช้แรงงานระหว่างปี มีการเพิ่มผลิตภาพมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ตัวเลขที่ยืนยันประเด็นนี้จากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงานคือผลิตภาพแรงงานที่สูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเพิ่มสูงถึง 8% ต่างจากในอดีตที่ผลิตภาพแรงงานจะอยู่ในระดับ 3-4% มาโดยตลอด ดังนั้นผลจากภาวะช็อคขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ทำให้ผลิตภาพแรงงานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเป็นเท่าตัว และมีการปรับประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากเพื่อปรับตัวให้อยู่รอด โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงช่วงที่สอง คือ หลังจากน้ำท่วมใหญ่และค่อย ๆ ฟื้นตัวมาในปลายปีนี้ (ปลายปี 54 ต่อเนื่องถึงปี 55 ) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ทำให้มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งเกิดจากมีการทบยอดคำสั่งซื้อในช่วงเกิดภาวะน้ำท่วมมาเร่งผลิตในต้นปี 55 ทำให้เกิดความต้องการแรงงานมากผิดปกติโดยเฉพาะสายวิชาชีพ อีกส่วนหนึ่งคือมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานสายช่างเพื่อไปดูแลอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนมาใช้ ทำให้มีความต้องการแรงงานสายวิชาชีพเพิ่มมากขึ้นเปลี่ยนแปลงจากแนวโน้มเดิมที่เคยมีมาในอดีต ปรากฏเด่นชัดในสายยานยนต์ ที่รับเพิ่มนับหมื่นคน โดยสรุปภาพรวมของสถานการณ์แรงานในปี 2555 ก็คือ ปริมาณแรงงาน ผลกระทบจากน้ำท่วมส่วนหนึ่งทำให้การคลายตัวของความตึงตัวของตลาดแรงงานมีอยู่บ้างเป็นการชั่วคราว แต่พอหลังเริ่มต้นปี 2555 ภาคธุรกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวกลับมาผลิตเพิ่มได้เต็ม 70-80% ส่วนแรงงานที่หลุดออกไปจากระบบก็มีไม่มากนัก ปี 55 จึงเป็นโอกาสที่มาแบบไม่ตั้งตัวและเกินคาดของแรงงานไทย เกิดการยกระดับครั้งใหญ่ ปรับตัวและพัฒนาในทิศทางดีขึ้น แรงงานไทยปี 2556 : โอกาสและความท้าทาย ก้าวสู่ปี 2556 สิ่งที่ยังน่าวิตก คืออัตราการว่างงานของผู้มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากนโยบายปรับอัตราเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท แม้จะบังคับใช้ในภาคราชการแต่มีผลกระทบกับตลาดแรงงานภาคเอกชนที่ผู้ประกอบการขนาดกลางลงมาไม่สามารถจ้างแรงงานระดับป.ตรีขึ้นไปได้มากนัก แต่เน้นการใช้คนเดิมมากกว่าการจ้างคนใหม่ ขณะที่ในภาคราชการจะมีผู้จบการศึกษาปริญญาบัตรทั้งคนเก่าและผู้จบใหม่จะแข่งขันกันเข้าเป็นข้าราชการ ซึ่งก็รับได้จำนวนไม่มาก ดังนั้นโอกาสการมีงานทำของแรงงานปริญญาบัตรจึงไม่สดใสนัก ขณะที่ในกลุ่มผู้จบใหม่ก็มีต้นทุนในการศึกษาต่อระดับสูงกว่าป.ตรีแพงมากตั้งแต่หลักหลายแสนบาทจนถึงหลักล้านบาท สำหรับอุตสาหกรรมบางสาขาที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าว นับจากวันที่ 14 ธันวาคม 2555 เป็นต้นไปมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการใช้แรงงานต่างด้าวครั้งใหญ่ โดยไม่เปิดให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวเพิ่มอีกต่อไป โดยให้แรงงานเก่าที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วและยังมีการจ้างงานอยู่ เมื่อหมดสัญญาก็จะต้องกลับออกไปก่อน หากประสงค์จะทำงานค่อยยื่นขอกลับเข้ามาอย่างถูกต้อง การดำเนินการเช่นนี้แม้จะทำให้ต้นทุนนายจ้างสูงขึ้น แต่ก็แลกมากับระบบน้ำดีที่มีจำนวนมากขึ้นคือระบบการจ้างงานที่มีความโปร่งใสและสามารถบังคับใช้กฎหมายและการคุ้มครองแรงงานได้ดีกว่าเดิม ทั้งเรื่องค่าจ้างสวัสดิการต่าง ๆ และสิ่งที่นโยบายเร่งรัดกว่าเดิมคือการนำเข้าแรงงานแบบจีทูทีจากบางประเทศในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งค่าจ้างแรงงานยังต่ำกว่าไทย เพื่อมาทดแทนแรงงานที่ขาด คนเก่าที่ผิดกฎหมายและถูกผลักดันกลับออกไป เป็นความท้าทายของผู้ประกอบการที่ต้องใช้ความสามารถในการบริหารจัดการคนมากกว่าเดิม หากคิดว่าต้นทุนการนำคนเข้ามาทำงานแพงขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะต้องคิดปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตโดยการใช้แรงงานต่างด้าวน้อยลงใช้แรงงานไทยมากขึ้น ฉะนั้นอุตสาหกรรมทั้งหลายจึงจำเป็นต้องหาทางที่จะเพิ่มผลิตภาพแรงงานอย่างไม่มีทางเลี่ยง อีกทั้งกระแสการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีก็กดดันให้มีการปรับตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งผลิตภาพแรงงานจะเป็นปัจจัยสำคัญ นอกจากนี้สิ่งที่ทุกสถานประกอบการต้องเจอแน่เมื่อเข้าสู่เดือนมกราคม 2556 คือการปรับค่าจ้างขึ้นต่ำวันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ข้อเสนอคือในช่วงที่จะไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างต่อไปอีก 2 ปี (2557-2558) รัฐบาลควรมีมาตรการเข้าไปช่วยในการปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะเอสเอ็มอี เพื่อให้ปรับตัวอยู่รอดได้ สำหรับคนที่ไม่ไหวก็ควรให้ความรู้เพื่อตั้งตัวเปลี่ยนธุรกิจใหม่ได้ สร้างโอกาสเป็นเถ้าแก่ให้มากขึ้น นอกจากนี้นโยบายสร้างงานขนาดใหญ่ควรเน้นการให้คนไทยเข้ามาทำงานให้มากที่สุด หากจะมีมาตรการช่วยเหลือด้วยการลดการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามที่ภาคธุรกิจเรียกร้องก็ไม่ควรลดเกิน 2% และมีกำหนดระยะเวลาชัดเจนเฉพาะในช่วง2ปีที่ไม่มีการปรับค่าจ้าง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับกรณีชราภาพซึ่งเงินออมของผู้กันตนในระยะยาว ในส่วนของกลุ่มแรงงานนอกระบบ เป็นเรื่องใหญ่ที่ควรต้องมีการดูแลติดตาม สิ่งที่ต้องทำมากขึ้นคือ การให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงทางรายได้และสิทธิความคุ้มครองต่าง ๆ ที่แรงงานนอกระบบยังด้อยสิทธิอยู่มาก รวมถึงการดูแลติดตามการใช้แรงงานเด็กที่ต้องทำให้ไม่มีการใช้แรงงานเด็กในสภาพเลวร้ายเกิดขึ้น ทอล์คออฟเดอะทาวน์ ค่าจ้าง 300 และ 15,000 จุดเปลี่ยนแรงงานไทย การที่รัฐบาลมีนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทและเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ทำให้ประเด็นเรื่องแรงงานมีการพูดถึงมาตลอดในช่วงปี 2555 เป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์เรื่องหนึ่ง และจะยังคงต่อเนื่องไปถึงปี 2556 เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผลกระทบสูง นับว่าเป็นครั้งหนึ่งในรอบเกิน 10 ปีที่มีผลกระทบกับแรงงานเยอะมาก มีการรื้อโครงสร้างตลาดแรงงานก่อผลกระทบกว้างขวางในสังคมและทำให้เรื่องแรงงานเป็นที่สนใจในสังคม ทำให้ภาคแรงงานมีความเข้มแข็งขึ้น ซึ่งภาพรวมในแง่สมรรถนะแรงงานไทยดีขึ้น และในช่วงปีที่ผ่านมาเริ่มมีการปรับตัวไปสู่การใช้แรงงานที่มีสมรรถนะดีขึ้นโดยเฉพาะ ในธุรกิจขนาดใหญ่มีการใช้แรงงานความรู้สูงเพิ่มมากขึ้น หากมองด้วยแว่นเศรษฐศาสตร์ความท้าทายของแรงงานไทยอยู่ที่ทิศทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งพัฒนามาถึงจุดเปลี่ยนที่จะต้องขยับหนีจากการใช้ฐานเทคโนโลยีต่ำ ประสิทธิภาพต่ำ สมรรถนะต่ำ ค่าจ้างแรงงานต่ำ ออกจากกับดักมาสู่ความท้าทายใหม่ ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ทุกรูปแบบ เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันในตลาดเสรีที่ไม่ใช่แค่ในประเทศอีกต่อไป จึงเป็นอีกจังหวะก้าวของแรงงานไทย โดยเฉพาะแรงงานรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีจะสามารถก้าวมาเป็นผู้ประกอบการได้มากขึ้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 16 - 22 ธ.ค. 2555 Posted: 24 Dec 2012 01:38 AM PST ลูกจ้างรายได้ต่ำกว่าหมื่นติดหนี้นอกระบบบาน
ชมรมพนักงานราชการครูผู้สอนแห่งประเทศไทย ร้อง รมว.ศึกษา พิจารณา บรรจุเป็นข้าราชการครู
บอรด์ สปส.ยืนยันลดส่งเงินสมทบรองรับปรับขึ้นค่าแรง 300 ร้อยละ 1
พนักงานบริษัทไมเออร์ แหลมฉบัง ยุติการชุมนุม หลังการเจรจาประสบผลสำเร็จ
ระงับส่งแรงงานไทยไปไต้หวันชั่วคราวตั้งแต่ 24 ธ.ค.-ปรับปรุงสัญญาจ้าง
คกก.สมานฉันท์แรงงานไทยค้านขึ้นราคาแอลพีจี
กลุ่มผู้นำแรงงาน ทีโอที จี้ผู้ตรวจการแผ่นดินอุทธรณ์ เพิกถอนประมูลคลื่น 3 จี
ไต้หวันขอแรงงานเพิ่ม
สหภาพ ธ.กรุงเทพ ประท้วงขอเพิ่มโบนัส
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เออิจิ มูราชิมา: กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์สยาม Posted: 24 Dec 2012 12:37 AM PST เสวนาหนังสือ ที่ "Book Re:public" โดย "เออิจิ มูราชิมา" พาย้อนอดีตเล่าถึงกำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์ในสยามผ่านเอกสารประวัติศาสตร์ 22 ธ.ค.55 เวลา 16.30 น. ร้าน Book Re:public จังหวัดเชียงใหม่ จัดเสวนาหนังสือ (Book Talk) ในหัวข้อ "กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์สยาม" โดยมีวิทยากรคือ เออิจิ มูราชิมา (Eiji Murashima) ศาสตราจารย์ด้านเอเชียแปซิฟิกศึกษา จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และดำเนินรายการโดยเวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เออิจิ มูราชิมา (ซ้าย) และเวียงรัฐ เนติโพธิ์ (ขวา) เวียงรัฐ เนติโพธิ์ เกริ่นนำว่ามูราชิมาศึกษาเรื่องไทยศึกษามา 3-4 ทศวรรษแล้ว โดยสนใจด้านประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ เรื่องของคนจีน ซึ่งเชื่อมโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคก๊กมินตั๋ง ชาวจีนสยาม สนใจการปฏิวัติสยาม 2475 และเรื่องชาตินิยม หนังสือ "กำเนิดพรรคคอมมิวนิสต์สยาม (พ.ศ.2473-2479)" ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน (แปลโดยโฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์) สำคัญในฐานะที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่หลีกเลี่ยงการทำความรู้จักพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ได้ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยน่าจะท้าทายรัฐไทยอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องอุดมการณ์รัฐ ความมั่นคงแห่งชาติ และเรื่องความจงรักภักดี พรรคคอมมิวนิสต์มีสถานะทางประวัติศาสตร์ในเรื่องเหล่านี้มากทีเดียว และงานชิ้นนี้ของมูราชิมายังเป็นแรงบันดาลใจ ว่าการถกเถียงทำความเข้าใจการเมืองไทย นอกจากใช้เหตุผลแล้ว ยังต้องใช้ข้อมูล ที่ผ่านการศึกษาอย่างจริงจัง นอกจากนั้น การศึกษาเรื่องไทยศึกษาในญี่ปุ่นพัฒนาไปอย่างก้าวหน้า มีการถกเถียงในด้านต่างๆ มากมาย แต่เรามักจะไม่ได้เชื่อมกัน หรือมักจะเชื่อมกับโลกของไทยศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษมากกว่า จะเชื่อมกับญี่ปุ่น ด้วยอุปสรรคทางภาษา การตีพิมพ์งานแปลหลายชิ้นของมูราชิมาน่าจะเป็นเหมือนสะพานเชื่อมโยงโลกสองโลกของการศึกษาไทยศึกษาเข้าด้วยกัน โดยสรุปในหนังสือจะแบ่งเป็น 6 บท แต่ละบทจะศึกษาประเด็นในช่วงต่างๆ โดยใช้เอกสารจำนวนมาก เช่น บทแรกจะศึกษาเพื่อระบุให้ได้ว่าวันที่ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม บทต่อมาก็ชี้ว่าสมาชิกไม่มีชาวสยามเลย มีชาวจีนเป็นหลัก ต่อมาก็มีชาวเวียดนามมากขึ้น และชาวสยามเข้ามาในการประชุมครั้งที่ 3 และเล่าถึงการประชุมสมัชชาพรรคแต่ละครั้ง เออิจิ มูราชิมา กล่าวถึงเหตุผลที่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ไทย มีสองสาเหตุ คือ หนึ่ง ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ไทยน่าสนใจมากกว่าอ่านนิยาย เนื่องจากตนได้อ่านเอกสารที่หอจดหมายเหตุก็ดี เอกสารที่ญี่ปุ่น ไต้หวัน หรืออังกฤษ รายงานของทูต ซึ่งเขียนเรื่องสยามหลายอย่าง ทำให้รู้สึกสนใจ สองคือ เมื่อเขียนหนังสือเรื่องการเมืองจีนสยาม: ค.ศ. 1924-1941 ในปี 2539 หลังจากนั้นก็ได้พบอาจารย์ปรีดี เกษมทรัพย์ และอาจารย์เกษม ศิริสัมพันธ์ อาจารย์เกษมได้ชมหนังสือเล่มนั้น และตนก็ดีใจมาก จึงอยากจะทำงานต่อ ถ้าเขียนประวัติศาสตร์ไทยในประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยอ่าน ไม่ค่อยสนใจ จึงดีใจมากที่คนไทยสนใจผลงาน มูราชิมาเล่าถึงเบื้องหลังการศึกษาว่า ตนใช้เวลาอยู่เมืองไทยทั้งหมด 12 ปีครึ่ง โดยใช้เวลา 6 ปีครึ่งอยู่ต่อเนื่องระยะยาว อีก 6 ปีครึ่งตนไปๆ มาๆ อาจจะอาทิตย์เดียวหรืออยู่หนึ่งเดือน โดยในระยะเวลาทั้งหมดนี้ ประมาณ 10% ตนไปสัมภาษณ์ และไปเที่ยวต่างจังหวัด โดยได้ไปทุกจังหวัดในประเทศไทย เวลาอีก 20% ใช้เวลาเก็บหนังสือที่ร้านหนังสือเก่า ทุกเสาร์อาทิตย์อยู่ที่ร้านหนังสือเก่า ตั้งแต่สนามหลวงมาจตุจักร ช่วง 2520 หนังสือยังขายที่ริมถนนค่อนข้างเยอะ ราคาก็ถูกมาก ก็ได้หนังสือเก่ามามากพอสมควร เช่น "แสดงกิจจานุกิจ" ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ซึ่งซื้อได้ราคา 50-60 บาทเท่านั้นเอง หรือหนังสือวชิรญาณวิเศษ หรือหนังสือของเทียนวรรณ รุ่นนั้นตนก็มีครบหมด แต่ช่วงหลังร้านหนังสือเก่าก็มีน้อยลง ราคาก็แพงขึ้นไปเยอะ มีการขโมยหนังสือจากห้องสมุดมาขาย ร้านหนังสือก็ย้ายเข้าไปอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า และเก็บค่าเช่าแพง ผู้ขายหลายคนก็ยุติการขาย จึงเป็นคำถามที่น่าสนใจว่าทำไมช่วงสมัย 2520 ร้านหนังสือเก่าถึงเยอะ และน้อยลงไปในปัจจุบัน ส่วนเวลาอีก 60-70% ตนใช้อ่านหนังสือพิมพ์และหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติ และอ่านเอกสารที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ มูราชิมาตั้งข้อสังเกตว่าถ้าเปรียบเทียบกับ 30 ปีก่อน หนังสือพิมพ์รุ่นเก่าจะหายไปเยอะมาก ในช่วง 2523-24 มีคนทำไมโครฟิล์มไว้เยอะมากที่หอสมุดแห่งชาติ แล้วไมโครฟิล์มนั้นก็เสียเพราะควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ ต้นฉบับก็เสียหายเยอะ ให้บริการไม่ได้แล้ว ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย ในเมืองไทย หนังสือพิมพ์ภาษาจีนฉบับแรกมีมาตั้งแต่ปี 1904 (พ.ศ.2447) แต่เมืองไทยเก็บหนังสือจีนนี้ตั้งแต่ 1917 (พ.ศ.2460) ตอนนี้ตนก็ไม่มั่นใจว่ายังเก็บไว้อยู่หรือไม่ เพราะมีโครงการที่จะทำดิจิตอล ซึ่งมีการไปทำลายหนังสือพิมพ์เสียหายด้วย แล้วดิจิตอลจริงๆ ทนได้ยาวนานที่สุดก็อาจจะ 30 ปี แล้วยิ่งเป็นตัวหนังสือจีน คนที่ถ่ายก็ไม่รู้เรื่องว่าที่ไหน หรือวันไหน เลยปะปนกันไปหมด เมืองไทยจึงกำลังจะทำลายเอกสารที่สำคัญไปมาก โดยหนังสือพิมพ์จีนที่อ้างอิงไว้ในหนังสือ ตนก็ถ่ายรูปไว้พอสมควร โดยเฉพาะเกี่ยวกับสังคมชาวจีนในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะรักษาไว้ได้กี่ปี มูราชิมากล่าวถึงการศึกษาเรื่องวันก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สยาม ว่าก่อนหน้านั้นก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นวันใด แต่จากการศึกษาเอกสารของฝ่ายเวียดนามและฝ่ายจีน และจากการสัมภาษณ์ธง แจ่มศรี ก็ตรงกันว่าเป็นวันที่ 20 เมษายน 2473 ก่อนหน้านั้นมีสายเวียดนาม และสายจีนซึ่งสังกัดพรรคคอมมิวนิสต์ทะเลใต้ ซึ่งอยู่ที่สิงคโปร์ สองฝ่ายตกลงกันโดยคำแนะนำของโฮจิมินต์ ซึ่งมาจากสากลที่สาม (องค์กรคอมมิวนิสต์สากลที่ 3 หรือคอมมิวนิสต์สากล ทำหน้าที่ประสานงานคอมมิวนิสต์ทั่วโลก) ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 สายเวียดนาม ได้ยุติกิจกรรม เพราะเกือบทั้งหมดถูกจับ หลังจากนั้นมีแค่สายจีนที่มีบทบาท และเน้นการต่อต้านญี่ปุ่น ในหนังสือเล่มนี้ตนได้เขียนเรื่องความเป็นมาของพรรคคอมมิวนิสต์สยามตั้งแต่ต้นถึงอีก 6 ปีต่อมา มูราชิมากล่าวถึงที่มาของข้อมูลว่าได้มาจากเอกสาร RGASPI ซึ่งเป็นหอจดหมายเหตุของสากลที่สาม ที่มอสโก ซึ่งมีรายงานที่พรรคคอมมิวนิสต์สยาม ส่งไปที่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ซึ่งก็คือเวียดนาม สมัยนั้นถูกปราบปราม จึงต้องไปตั้งศูนย์กลางที่มาเก๊า เอกสารก็เดินผ่านมาทางนี้เข้ามอสโก ซึ่งมีเอกสารการประชุมสมัชชาครั้งที่สามและสี่ ส่วนการประชุมครั้งที่สองได้จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเอง ซึ่งทางอังกฤษดักไว้ได้ และแปลให้รัฐบาลไทย เข้าใจว่าสมัยนั้นแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอาณานิคมยังดีอยู่พอสมควร ช่วงนั้นฝรั่งเศส อังกฤษ และดัชท์ให้ข้อมูลกับรัฐบาลไทย เอกสารข้อตกลงพรรคคอมมิวนิสต์สยามกับอินโดจีน จึงมีเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุ แหล่งข้อมูลสำคัญเรื่องคอมมิวนิสต์อีกแหล่งหนึ่งคือหนังสือพิมพ์จีน ซึ่งจะรายงานละเอียดกว่าหนังสือพิมพ์ไทยมาก เช่น เหตุการณ์ 18 เมษายน 2479 ที่ผู้นำคอมมิวนิสต์สยาม เกือบทั้งหมดถูกจับ รวมทั้งสวัสดิ์ ผิวขาว ที่เป็นผู้บริหารพรรคคอมมิวนิสต์สยามที่เป็นคนไทยคนแรก ก็มีข่าวในหนังสือพิมพ์ไทย แต่ไม่มากนัก จนช่วงขึ้นศาล ก็ไม่มีข่าวอีก แต่หนังสือพิมพ์จีนเขาสนใจติดตามและรายงาน คุณภาพจะดีกว่าหนังสือพิมพ์ไทยในแง่ข่าวเกี่ยวกับการเมือง มูราชิมากล่าวว่าข้อมูลอีกส่วนมาจากการสัมภาษณ์ เหตุที่ตนสนใจคอมมิวนิสต์ตั้งแต่เริ่มทำไทยศึกษา เพราะช่วงปี 2518 สมัยนั้นมีข่าวเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์เยอะมาก เมื่อมาอยู่ไทยยาวๆ ครั้งแรกในปี 2523 ตนได้ไปสัมภาษณ์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร และอุดม ศรีสุวรรณ รวมถึงอีกหลายคน เช่น ดำริห์ เรืองสุธรรม ซึ่งตอนหลังอยู่ที่บ้านพักคนชราที่กรุงเทพฯ ตนได้ไปหาหลายครั้งและได้บันทึกเทปทั้งหมดไว้ แต่ยังไม่ได้ใช้จนปัจจุบัน รวมถึงคำบอกเล่าของธง แจ่งศรี ส่วนใหญ่ตรงกับเอกสาร จึงน่าจะเชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังใช้เอกสารภาษาจีน และภาษาเวียดนาม ซึ่งออกมาในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มูราชิมากล่าวต่อว่าในหนังสือเล่มนี้ยังไม่ชัดเจน ในปกหลังซึ่งบรรณาธิการอ้างอิงมาว่าจะเขียนประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์ในสยามจะชัดเจนหรือละเอียดกว่านี้ไม่ได้ จนกว่าเอกสารในหอจดหมายเหตุของพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศจีนจะถูกเปิดเผยออกมา ซึ่งไม่ทราบว่าเมื่อไร โดยกลุ่มชาวจีนที่ทำการปฏิวัติภายในประเทศ ในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ทุกแห่งจะมีกรรมการเขียนประวัติของสมาชิก ทำกิจกรรมอะไร มีประโยชน์ต่อการปฏิวัติอย่างไร หนังสือเหล่านี้ออกมาเยอะมาก แต่เอกสารหรือหนังสือหลายอย่างไม่เปิดเผย เพราะฝ่ายจีนก็กลัวว่าอาจจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ ถ้าเอกสารพวกนี้ดูได้ เราก็รู้ได้ว่าความสัมพันธ์ฝ่ายเวียดนามกับฝ่ายจีนเป็นอย่างไร ใครเป็นเลขาธิการ เขารายงานเข้าพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างไร มูราชิมากล่าวถึงงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ว่ากำลังอ่านเอกสารที่หอจดหมายเหตุทูตของญี่ปุ่น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทยกับญี่ปุ่น ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 คนญี่ปุ่นที่เข้ามาเมืองไทยช่วง 1890 กว่าๆ หลายคนก็เขียนรายงาน บทความในวารสารหรือหนังสือพิมพ์ เช่น ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ หรือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ก็ได้เขียนเรื่องสภาพทาสที่เมืองไทยพอสมควร อีกเรื่องหนึ่ง คือรัชกาลที่ 5 สนใจญี่ปุ่นมาก ก่อนที่ท่านจะยุโรป 1890 ท่านคิดว่าจะไปญี่ปุ่นก่อน โดยมีเอกสารหลายชิ้นที่แสดงว่าท่านต้องการไปญี่ปุ่น แต่ที่ปรึกษาทั่วไปก็ไม่เห็นด้วยให้ไป จึงต้องยุโรปก่อน และเมื่อกลับมา ก็ยังมีปัญหาไม่ได้ไป เพราะญี่ปุ่นอาจจะไม่ต้องการเท่ารัชกาลที่ 5 จนรัชกาลที่ 6 ได้ไปญี่ปุ่นในปี 1912 ในช่วงท้าย นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งร่วมฟังการเสวนา ตั้งคำถามว่าตั้งแต่ช่วง 1930 ที่เต็มไปด้วยคนจีน และเวียดนาม ที่ทำงานกับกลุ่มกรรมกร คำถามคือผู้นำที่เป็นไทยที่รู้สึกว่าอยากเปลี่ยนประเทศไทย ตามตำราที่พูดกันในภาษาไทยจะบอกว่าพวกนี้ถูกครอบงำโดยจีน เวียดนาม คิดถึงประโยชน์ของจีนและเวียดนามมากกว่าจะเปลี่ยนประเทศไทย แต่ความคิดเรื่องเปลี่ยนประเทศไทยด้วยคอมมิวนิสต์ แทรกเข้ามาได้อย่างไรในช่วงนั้น มูราชิมาเห็นว่าเท่าที่อ่านดูเอกสาร นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์สยาม ต้องการปฏิวัติที่สยาม ทั้งที่เป็นคนเวียดนามหรือจีน เขาต้องการให้คนจีนและเวียดนามเรียนหนังสือไทย เข้าโรงเรียนไทย บางทีก็เข้าเป็นทหารด้วย ทำให้คนไทยสนใจลัทธิมาร์กซ์และพรรค แต่ทำเท่าไรคนไทยก็ไม่สนใจ ไม่เข้าใจลัทธิคอมมิวนิสต์ ก็พยายามระดมคนเชื้อสายไทย แต่ก็ไม่สำเร็จ โดยฝ่ายเวียดนามจะสำเร็จมากกว่าฝ่ายจีน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศจีนเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว และรัฐบาลไทยปราบปรามรุนแรง ลูกจีนยังถือว่าตัวเองเป็นจีนอยู่ ไม่ใช่ไทย สมัยหลังสงครามเริ่มมีคนไทยที่เรียนที่ธรรมศาสตร์ ที่มาจากชนบทอีสาน เริ่มเข้าไปเป็นสมาชิกพรรค แต่ตอนนั้นสมาชิกส่วนใหญ่เป็นพวกจีน แต่ปัญญาชนที่เป็นไทยเริ่มมาเป็นผู้นำ จึงมีความไม่พอใจกันหลายอย่าง นิธิถามต่อว่าช่วงเกิดพรรคคอมมิวนิสต์สยาม ในงานเรื่องการเมืองของจีนสยาม ได้พูดถึงการทำงานของพรรคก๊กมินตั๋งในไทย ซึ่งมีอิทธิพลสูง ฉะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์ในเมืองไทยช่วงนั้น ในหมู่คนจีนด้วยกันเอง มันต้องเผชิญกับพลังทางการเมืองของก๊กมินตั๋งสูงมากใช่หรือไม่ มูราชิมาตอบว่าใช่ และเท่าที่อ่านหนังสือพิมพ์จีน ชาวจีนเองก็ไม่ได้นิยมก๊กมินตั๋ง ในช่วงก่อนการปฏิวัติ 1911 ชาวจีนส่วนใหญ่ยังนิยมรัฐบาลแมนจู คนที่ต่อต้านก๊กมินตั๋งยังมีอยู่พอสมควร แต่หลังจากก๊กมินตั๋งได้อำนาจแล้ว ชาวจีนส่วนใหญ่ก็เป็นฝ่ายก๊กมินตั๋ง ช่วงนั้นคอมมิวนิสต์กับก๊กมินตั๋งเป็นพันธมิตรกันระยะสั้น ความคิดของคอมมิวนิสต์จึงเข้ามาถึงถึงปัญญาชนชาวจีนในประเทศไทย ปัญญาชนนิยมลัทธิมาร์กซ์อยู่พอสมควร แม้ก๊กมินตั๋งจะเป็นกระแสหลักในหมู่คนจีนอพยพก็ตาม พวงทอง ภวัครพันธุ์ ถามว่าในการเคลื่อนไหวของคนเวียดนามในคอมมิวนิสต์สยาม มีปัจจัยสำคัญคือความภักดีกับคอมมิวนิสต์สากล จึงสงสัยว่าองค์กรคอมมิวนิสต์สากลนี้คือสายโซเวียหรือเปล่า และทำให้เกิดปัญหาทำให้ไม่สามารถทำงานกับสายจีนได้หรือไม่ มูราชิมาตอบว่าไม่ เพราะสมัยนั้นแม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็จงรักภักดีต่อองค์กรสากลที่สาม สมัยนั้นถือว่าคอมมิวนิสต์ไม่มีประเทศ ทุกคนเป็นสมาชิกสากลที่สามเหมือนกัน แต่จริงๆ อาจจะมีเรื่องเชื้อชาติอยู่ แต่ตอนนั้นยังไม่เด่นชัด และศักดิ์ศรีของสากลที่สามจะสูงมาก ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ถามถึงคนไทยในพรรคคอมมิวนิสต์สยามว่าเป็นกลุ่มคนที่เป็นปัญญาชนมาแล้วแต่แรก หรือเป็นกรรมกรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมา มูราชิมาเห็นว่าคอมมิวนิสต์รุ่นแรก คนที่ทำงานในพรรค ส่วนใหญ่มีการศึกษาดีพอสมควร สมัยนั้นคนที่เรียนระดับมัธยมก็สูงแล้ว คนที่เขียนประวัติจริงๆ ก็เป็นคนที่มีการศึกษา เขาเข้าไปพรรคไม่ใช่เรื่องภาวะเศรษฐกิจไม่ดี หรือถูกบังคับ แต่นิยมอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์มากกว่า ในตอนท้าย นิธิตั้งข้อสังเกตว่ามีการพูดกันว่าคนไทยยากที่จะเข้าใจคอมมิวนิสต์ แต่ตนกลับรู้สึกกลับกันว่าคอมมิวนิสต์ ยากจะเข้าใจคนไทย คือเมื่อไรพรรคคอมมิวนิสต์ ถึงจะพูดอะไรที่กระทบใจคนไทยได้ คอมมิวนิสต์ในประเทศไทยเวลาพูดอะไรที มันไม่ใช่ตัวปัญหา คืออุดมการณ์คอมมิวนิสต์มันคงจะสามารถพูดกับใครก็ได้ ถ้าคุณรู้ว่าจะพูดตรงไหนให้กระทบใจเขา จนกระทั่งถึงสมัยหลัง ที่พูดถึงเรื่องกึ่งเมืองขึ้น คนไทยก็ไม่ได้รู้สึกแบบเวียดนาม ไม่ได้รู้สึกว่าอเมริกันเป็นอาณานิคม มันมายิ่งเยอะยิ่งดี ไม่ค่อยกระทบใจคนไทยเท่าไร จนกระทั่งหลังระยะหลังค่อนข้างมาก ที่สังคมไทยมีความไม่เสมอภาคชัดเจนมากขึ้นๆ ตรงนั้นที่การอธิบายเรื่องชนชั้นเริ่มกระทบใจมากขึ้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น