ประชาไท | Prachatai3.info |
- เข้าปีใหม่เปิดตัว ‘ทีวีมลายู’ ชายแดนใต้
- รายงาน: การจ้างงานในเอเชีย-ดูตัวอย่างคนงานเนเธอร์แลนด์
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: คัดค้านทุบอาคารเก่าศาลยุติธรรม
- TDRI: คนไทยเอาข้าวที่ไหนมากิน
- รัฐบาลท้องถิ่นในรัฐฉานยินดีต้อนรับชาวไทใหญ่พลัดถิ่นกลับบ้าน
- สมานฉันท์แรงงานไทย: ประเมินผลงานรัฐบาลด้านแรงงานปี 2555
- ช่างภาพไทยพีบีเอส เบิกความ ไต่สวนการตาย 'ฟาบิโอ'
- เยือนเพื่อนบ้าน : ตลาดพญาตองซู สหภาพพม่า
เข้าปีใหม่เปิดตัว ‘ทีวีมลายู’ ชายแดนใต้ Posted: 28 Dec 2012 05:58 AM PST ศอ.บต.เปิดตัว ทีวีและวิทยุมลายู 3 มกราฯ 56 เชิญ สุรินทร์ พิศสุวรรณ ปาฐกถา "ภาษามลายูสู่อาเซียน" ตั้ง"จำรูญ เด่นอุดม" เป็นประธานกรรมการสถานี ให้เวลา 1 ปี สร้างเป็นสื่อของประชาชนชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2555 ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา ที่ประชุมคณะกรรมการสถานีวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจ่ายเสียงภาษามลายูได้กำหนดเปิดตัวสถานีวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจ่ายเสียงภาษามลายู ในวันที่ 3 มกราคม 2556 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รายงาน: การจ้างงานในเอเชีย-ดูตัวอย่างคนงานเนเธอร์แลนด์ Posted: 28 Dec 2012 05:42 AM PST ศูนย์การศึกษาแรงงานร่วมกับสำนักข่าวประชาไทจัดงานเสวนาเรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับการจ้างงานที่ดี (Decent Work of all)" เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ณ ห้องประชุม 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ตระหนักถึงภาวะทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการจ้างแรงงาน และระดมความคิดแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การจ้างแรงงานที่ดี ในช่วงเช้าเป็นการนำเสนอภาวะเศรษฐกิจที่มีผลต่อการจ้างแรงงาน และแนวทางในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดย ณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยอิสระด้านเศรษฐกิจและแรงงาน ส่วนในช่วงบ่ายเป็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากองค์กรแรงงานจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และสหภาพแรงงานไทย นำเสนอปัญหาการจ้างแรงงานที่ไม่เหมาะสม และแนวทางในการจัดตั้งสหภาพแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กลุ่มแรงงาน ณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล นักวิจัยอาวุโส ทีดีอาร์ไอ อธิบายว่า ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย เป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตสูง และสำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศมากว่า 30 ปี โดยเน้นการส่งออกไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว แต่เมื่อประเทศเหล่านั้นเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ประเทศไทยก็ส่งออกได้น้อยลง และเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งจะพบกับดักของการเป็นประเทศรายได้ระดับกลางซึ่งไม่สามารถพัฒนาให้ข้ามไปจากระดับนี้ได้ ซึ่งต้องพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้นสอดคล้องกับแต่ละอุตสาหกรรม และรวมถึงข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เช่น ความพยายามลดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น ณัฐวุฒิ เสนอว่า นอกจากเราต้องขยายตลาดมาเน้นที่แถบอาเซียน เพราะมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวมาก เราต้องมุ่งพัฒนาและสะสมเทคโนโลยีที่โปรกรีน คือ มีความสะอาดมากขึ้น สามารถใช้พลังงานอย่างได้คุ้มค่ามากขึ้น การเกิดเทคโนโลยีเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อนายจ้างโดยตรง ส่วนที่ได้รับประโยชน์มากขึ้นก็จะเป็นอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ชุดอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ ส่วนที่ได้รับผลกระทบในลบก็มี เช่น ถ้าความต้องการรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น นายจ้างที่ได้รับผลกระทบก็เป็นกลุ่มที่ผลิตกระปุกเกียร์ เพราะว่า รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช้กระปุกเกียร์ และเมื่อมันไม่ใช้น้ำมันแล้ว ก็จะกระทบกับกลุ่มที่ผลิตถังน้ำมันและหม้อน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ ในต่างประเทศมีการใช้ระบบสมองกลฝังตัวมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราลืมปิดเตาแก๊สที่บ้าน ก็ใช้โทรศัพท์มือถือสั่งการให้ปิดเตาแก๊สจากระยะทางไกลได้ หรือการปศุสัตว์ก็ก้าวหน้ามาก มีการฝังชิปไว้ที่หูของวัว เพื่อตรวจสอบดูว่า วัวแต่ละตัวเดินไปไหนบ้าง กินอะไรบ้าง มันพัฒนาไปไกลมาก ในอนาคตเราก็ทำได้ ถ้าเราให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาให้มากกว่านี้ เราลงทุนไปน้อยมากในด้านการวิจัย จึงไม่มีความรู้มากพอที่จะไปพัฒนาเทคโนโลยีได้ และก็ไม่ค่อยมีการติดตามผลลัพธ์ไปด้วยว่าเงินที่ลงทุนไปกับการวิจัยมันก่อให้เกิดอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาบ้าง ตัวชี้วัดตรงนี้คือสิทธิบัตร ถ้าเราคิดอะไรใหม่ๆ มาได้ก็ไปจดมาใหม่ อย่างตอนนี้ มาเลเซียเขาตั้งเป้าหมายให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเขาเน้นการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา หรือตัวอย่างที่มีให้เห็นแล้วคือเกาหลีใต้ ที่เน้นลงทุนในด้านการวิจัยมาหลายปี จนมีบริษัทระดับโลกอย่าง Samsung เกิดขึ้น ณัฐวุฒิ กล่าวต่ออีกว่า ในด้านของแรงงาน สิ่งที่จะกระทบกับแรงงานก็คือจำนวนแรงงานของจีนและอินเดียที่พร้อมจะกระโจนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมด้วยค่าจ้างราคาถูก เป็นจำนวนมาก มีผลโดยตรงต่อการแข่งขันของแรงงาน ส่วนในประเทศไทยเอง มีแนวโน้มที่ค่าแรงจะสูงขึ้นเรื่อยๆ การเพิ่มค่าแรงมากในครั้งเดียวอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และกดดันให้ต้องเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้สูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้ผลิตได้มากขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น ตรงนี้มันมีผลกระทบก็คือ อาจจะนำไปสู่การจ้างแรงงานที่ไม่เหมาะสมและแรงงานถูกกดดันจากนายจ้างมากขึ้น วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิจัยด้านแรงงาน กล่าวว่า ประเทศไทยและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียทุกประเทศมีความเติบโตทางเศรษฐกิจสูง แต่ในขณะเดียวกัน จากงานวิจัย "Precarious Work in Asia" ปี 2012 พบว่า ความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเอเชียทุกประเทศมาพร้อมกับการจ้างงานที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็น precarious work มากยิ่งขึ้น กล่าวคือเป็นงานที่ไม่มีความมั่นคง ไม่แน่นอน ไม่มีเสถียรภาพ และความเสี่ยงต่างๆ ถูกโอนไปอยู่กับคนงานเกือบทั้งหมด เช่น ถูกเลิกจ้างได้ง่าย ไม่ได้รับความคุ้มครองด้านสวัสดิการทางสังคม ฯลฯ เช่น ในประเทศไทย เมื่อเกิดน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว บริษัทข้ามชาติใหญ่ๆ เลือกเลิกจ้างคนงานที่ไม่ได้เป็นคนงานประจำครั้งละเป็นพันคนก่อน ฉัตรชัย ไพยเสน สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียล กล่าวว่า การจ้างงานที่ดี นอกจากจะมีค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีแล้ว ยังรวมไปถึงการที่ลูกจ้างรู้สึกรักในงานที่ทำและมีความผูกพันต่อนายจ้าง แต่ปัจจุบันรูปแบบการจ้างเปลี่ยนไป เพราะระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน เช่น ในอุตสาหกรรมการขนส่งแก๊ส คนงานส่วนใหญ่ทำงานโดยเฉลี่ยประมาณ 12 ชั่วโมงต่อวัน พอเลิกงานก็เหนื่อยและเพลียมาก ความผูกพันต่อนายจ้างก็ลดลง หลายแห่งนายจ้างอยู่ต่างประเทศ เกิดเจ็บตายขึ้นมาก็ไม่มีใครรับผิดชอบ และคนงานต้องรับผิดชอบกันเอง ฉัตรชัยกล่าวต่อไปในประเด็นการย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่มีแรงงานราคาถูกว่า ข้อกังวลที่ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตอะไรทำนองนี้มันไม่เกิดขึ้นหรอก มีแต่คนอยากจะมาลงทุนที่ประเทศไทย เพราะกฎหมายคุ้มครองแรงงานบ้านเราอ่อนแอเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือ เราต้องมีระบบสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งเพื่อเป็นปากเป็นเสียงของแรงงาน เยาวภา ดอนเส เครือข่ายเพื่อสิทธิคนงานไก่ ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารมีมูลค่าการส่งออกที่สูงมาก แต่มีจำนวนสหภาพแรงงานต่ำที่สุด การเรียกร้องสิทธิก็ทำได้ยาก อย่างโรงงานแช่แข็งไก่ก็มีปัญหา คนงานมีเวลาพักผ่อนน้อย ต้องเดินทางมาโรงงานก่อนเวลาเพื่อแต่งชุดฟอร์มป้องกันความเย็น ทำงานในอุณหภูมิประมาณ 10 องศาเซลเซียส ประกอบกับระยะเวลาการทำงานที่นานถึง 12 ชั่วโมง ทำให้สุขภาพคนงานย่ำแย่มาก จะเข้าห้องน้ำก็ลำบาก กว่าจะถอดชุดฟอร์มอีก แล้วก็มีเวลาให้แค่ 30 นาทีต่อวัน หลายคนก็เลือกที่จะไม่เข้าห้องน้ำ กลั้นปัสสาวะจนกลายเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นอกจากนี้ ยังเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แล้วพวกอุบัติเหตุเลือดตกยางออกก็เกิดขึ้นบ่อยมาก เพราะโดนบังคับในอยู่ในสภาพการทำงานที่เร่งรีบ ก็มีการหกล้ม มีดบาด เจ็บกันไปเป็นเรื่องธรรมดา คำผอง คำพิทูรย์ ตัวแทนคนงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บ จากสหภาพแรงงานประชาธิปไตย กล่าวว่า ในอุตสาหกรรมตัดเย็บ แม้ว่าเรามีสหภาพแรงงาน คนงานก็ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าที่ควรจะเป็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้างหรือเรื่องวันหยุดก็ตาม ถ้าเราไม่มีสหภาพแรงงานก็จะยิ่งแย่ไปใหญ่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานของจังหวัดก็ช่วยได้ไม่มากนัก เราจำเป็นต้องขยายสหภาพแรงงานไปเพื่อเป็นปากเป็นเสียงในการต่อรอง เรียกร้องสิทธิ ไม่ใช่แค่เพื่อแรงงานไทยเท่านั้น แต่เพื่อแรงงานคนอื่นที่เป็นแรงงานข้ามชาติอีกด้วย โดยเฉพาะให้คนงานข้ามชาติเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน เพื่อให้เขาได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่เสมอภาคมากกว่าที่เป็นอยู่ Andriette Nommensen เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสภาแรงงานเนเธอร์แลนด์ FNV (Federatie Nederlandse Vakbeweging) เล่าถึงประสบการณ์การรณรงค์จัดตั้งของสภาแรงงาน FNV ว่า ล่าสุดในการรณรงค์ประเด็นพนักงานทำความสะอาดทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการวางแผนงานและการศึกษาวิจัยเป็นอย่างดี มีเป้าหมายในการส่งเสริมการรวมกลุ่มและการทำข้อตกลงสภาพการจ้างเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานทำความสะอาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิงอพยพมาจากประเทศอื่น งานทำความสะอาดเป็นงานที่มีค่าจ้างต่ำ คนงานทำงานยาวนานชั่วโมง โดยปราศจากการยอมรับจากสังคมว่าเป็นงานที่มีคุณค่า สภาแรงงาน FNV วางแผนเริ่มต้นการรณรงค์ด้วยเรื่องชีวิตการทำงานของคนงานทำความสะอาดเพื่อให้สังคมเข้าใจและสนับสนุนการรวมกลุ่มยื่นข้อเรียกร้องของคนงานทำความสะอาดต่อบริษัทที่จ้างงาน นอกจากนี้ เพื่อให้ตัวคนงานทำความสะอาดเองมีส่วนร่วมในการรณรงค์อย่างแข็งขันเพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานของตัวเอง จุดเด่นของการรณรงค์ครั้งนี้ คือสังคมเนเธอร์แลนด์ให้การสนับสนุนการต่อสู้ของคนงานทำความสะอาด ในช่วงที่มีการนัดหยุดงานของคนงานทำความสะอาดทั่วประเทศ แม้ถนนหนทาง และสถานีรถไฟในประเทศเนเธอร์แลนด์จะเต็มไปด้วยขยะ แต่ประชาชนเข้าใจและบางส่วนเข้าร่วมการชุมนุมนัดหยุดงานของคนงานเหล่านี้ด้วย นอกจากนี้ องค์กรแรงงานให้การสนับสนุนแล้ว ศิลปินสาขาต่างๆ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ยังมาช่วยในการออกแบบการรณรงค์เพื่อสร้างความสนใจในวงกว้าง มีการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเผยแพร่การรณรงค์อย่างมีประสิทธิภาพ "การดึงศิลปินมาช่วยด้วยก็เป็นจุดดึงดูดให้สังคมหันมาสนใจประเด็นปัญหาของเราได้เหมือนกัน หรือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เช่น มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ของเสียเพื่อแสดงให้เห็นว่าในแต่ละวัน พนักงานทำความสะอาดต้องประสบกับอะไรบ้าง นอกจากนี้ก็ต้องประยุกต์โซเชียลมีเดียมาใช้ เพราะเป็นสื่อที่คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ง่าย" ทั้งนี้ Andriette อธิบายภาพรวมของด้านแรงงานในเนเธอร์แลนด์ว่า ประเทศเนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยในประเด็นแรงงานเป็นอย่างมาก เรื่องภาวะเศรษฐกิจ การเมืองที่ผลต่อการจ้างงานจะมีหน่วยงานต่างหาก ซึ่งถือเป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่วิจัยศึกษาเพื่อทำเป็นข้อเสนอต่อรัฐบาล และสหภาพแรงงานในเนเธอร์แลนด์ก็ทำงานกันอย่างจริงจัง มีการประชุมระดับภาค ระดับท้องถิ่น สิ่งสำคัญเมื่อมีการเจรจาคือเรายอมรับในบทบาทซึ่งกันและกัน ยอมรับว่า กลุ่มแรงงานได้ประสบปัญหาจริงๆ ยอมรับว่า รัฐบาลและนายจ้างก็มีหน้าที่รักษาสิทธิประโยชน์ของแรงงานด้วย ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการเจรจาคือข้อตกลงว่าด้วยสภาพการจ้างของคนงานทั้งอุตสาหกรรม (ไม่ใช่คนงานในแต่ละบริษัท) ซึ่งมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ที่ครอบคลุมทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่ใช่สมาชิกสหภาพแรงงาน ตรงนี้ก็แสดงให้เห็นว่าสหภาพแรงงานมีผลมากต่อการเจรจาเรียกร้องสิทธิของแรงงาน ในการจัดตั้งสหภาพแรงก็ต้องมีการศึกษาและวางยุทธศาสตร์ด้วย ที่เนเธอร์แลนด์จะมีนักจัดตั้งโดยเฉพาะ ทำหน้าที่เผยแพร่ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับแรงงาน ให้ความรู้และแนวทางต่างๆ เพื่อทำให้แรงงานคนอื่นเข้าใจปัญหาและเกิดความรู้สึกว่า ต้องเข้าร่วมสหภาพแรงงาน ต่อสู้พร้อมกับสหภาพแรงงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของตัวเขาเอง "สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้องทำให้สาธารณะเข้าใจด้วยว่า เรากำลังประสบปัญหาอะไร ไม่ใช่เพียงไม่พอใจแล้วนัดหยุดงาน สังคมก็อาจจะได้รับผลกระทบและหันมาประณามเรา แทนที่จะเห็นใจและให้การสนับสนุน แต่มันก็มีปัญหาที่เมื่อก่อนเวลาเราจะชี้ให้สังคมเห็นว่า เราเดือดร้อนอย่างไร เรามักยกประเด็นค่าจ้างขึ้นมาก่อน คนก็คิดว่าพวกแรงงานเอาแต่เรียกร้องค่าจ้าง แล้วก็รู้สึกเบื่อกับการเรียกร้องของแรงงาน เราต้องทำให้เขาเห็นด้วยว่าปัญหาของเราไม่ได้มีเฉพาะเรื่องค่าจ้าง แต่ยังมีเรื่องความมั่นคงในอาชีพ ปัญหาสุขภาพ รวมไปถึงการไม่ได้รับการยอมรับนับถือ โดนดูถูกดูแคลน เช่น กรณีพนักงานทำความสะอาด" Andriette กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: คัดค้านทุบอาคารเก่าศาลยุติธรรม Posted: 28 Dec 2012 05:39 AM PST อาคารเก่าศาลยุติธรรมที่ตั้งอยู่บริเวณริมคลองข้างสนามหลวงนั้น เป็นอาคารที่มีความหมายอย่างยิ่งทั้งในด้านความเป็นมาทางสถาปัตยกรรม และทางประวัติศาสตร์ แต่ในขณะนี้ ศาลฎีกาได้มีการดำเนินการให้รื้อถอนเพื่อจะสร้างอาคารหลังใหม่ทีสูงกว่าเดิม ท่ามกลางเสียงคัดค้านทั้งจากกรมศิลปากร และจากนักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมและด้านประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะผู้มีบทบาทสำคัญก็คือ ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งนี้ อาคารเก่าศาลยุติธรรมที่มีความสำคัญก็คือ อาคารหลัก ๓ หลังที่เรียงเป็นรูปตัววี ตามประวัติความเป็นมา อาคารศาลยุติธรรมกลุ่มนี้ ออกแบบโดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์(สาโรช สุขยางค์) สถาปนิกไทยที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น อาคารหลังแรกเริ่มสร้าง พ.ศ.๒๔๘๒ และทำพิธีเปิดเมื่อ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๔ หลังที่สองด้านคลองคูเมืองสร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๖ แต่อาคารหลังที่สามด้านสนามหลวง ยังไม่ได้สร้างเพราะเงื่อนไขสงครามโลก เพิ่งจะมาสร้างใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ ตามแบบแผนเดิมที่วางไว้แล้ว และสร้างเสร็จ พ.ศ.๒๕๐๖ แนวคิดการก่อสร้างกลุ่มอาคารศาลนั้นเป็นสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับกระแสของสถาปัตยกรรมช่วงก่อนสงครามโลก มีข้อมูลที่เปิดเผยว่า ต้นแบบของอาคารมาจากอาคารศาลสูงแห่งสหพันธรัฐสวิส ที่ตั้งอยู่ที่เมืองโลซานน์ ความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ก็คือ อาคารศาลยุติธรรมนี้เป็นกลุ่มอาคารที่สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ เนื่องจากการที่ประเทศไทยได้รับเอกราชทางการศาลคืนมาโดยสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ โดยการดำเนินการของคณะราษฎร หลังจากที่เคยเสียเอกราชทางการศาลให้กับประเทศมหาอำนาจตามเงื่อนไขสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตั้งแต่สนธิสัญญาบาวริงในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา และอาคารหลังแรกนั้น ได้สร้างเสาหน้าอาคาร ๖ ต้น ซึ่งสื่อแสดงสัญลักษณ์ถึงหลัก ๖ ประการของคณะราษฎรด้วย แต่ต่อมา เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ เกิดข้อเสนอให้รื้อถอนอาคารกลุ่มนี้ แล้วให้สร้างอาคารขึ้นใหม่ในที่เดิมด้วยรูปแบบใหม่คือ เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจในช่วงนั้น อีกทั้งยังมีเสียงคัดค้านว่าอาคารศาลฎีกามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูงเชิงการอนุรักษ์และการพัฒนาเมืองเก่า โครงการนี้จึงมิได้มีการดำเนินการ จนกระทั่งถึงสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ศาลฎีกาจึงได้รื้อฟื้นโครงการรื้อถอนอาคารเก่าของศาลขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อจะสร้างอาคารใหม่แบบไทยประยุกต์ และในที่สุด โตรงการนี้ได้รับการอนุมัติในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยงบประมาณ ๓,๗๐๐ ล้านบาทมาดำเนินการ ชาตรี ประกิตนนทการ ได้ทำจดหมายเผยแพร่ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม นี้ โดยเสนอคัดค้านการรื้ออาคารเก่าของศาล ด้วยเหตุผลดังนี้ ประเด็นแรก การที่ศาลจะสร้างอาคารใหม่ขึ้นแทนโดยเป็นอาคารสูง ๓๒ เมตร เป็นเรื่องที่ขาดความชอบธรรมในทางกฎหมายอย่างมาก เพราะกฎหมายเรื่องความสูงของอาคารที่บังคับในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ห้ามสร้างอาคารสูงเกิน ๑๖ เมตร และยังบังคับใช้อยู่ หน่วยงานอื่นต่างก็ปฏิบัติตาม เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องสร้างหอสมุดใหม่ลงไปใต้ดิน มหาวิทยาลัยศิลปากรก็คับแคบขยายไม่ได้ และสร้างตึกสูงไม่ได้ หน่วยราชการอื่นที่ต้องการการขยาย ก็ต้องย้ายออกไปอยู่นอกบริเวณเป็นส่วนใหญ่ แต่ศาลยุติธรรมเองกลับใช้วิธีการเลี่ยงกฎหมาย โดยการขออนุมัติเป็นกรณีพิเศษ ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑ ในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องการขอละเว้นกฎหมายโดยหน่วยงานที่ควรเป็นต้นแบบของการรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัด จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ประเด็นที่สอง คือเรื่องความเป็นโบราณสถานของกลุ่มอาคารศาลฎีกา จากการที่โฆษกศาลอ้างว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกามิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร แต่ความจริงอาคารกลุ่มนี้ มีลักษณะเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และได้รับการรับรองจากกรมศิลปากรแล้วตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ดังนั้น ห้ามมีการรื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากร ประเด็นที่สาม ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ก็ไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่า อาคารนั้นเสื่อมสภาพในระดับที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และจะเป็นอันตรายในระดับที่อาจจะมีการพังถล่มในวันข้างหน้า เพราะงานวิจัย ที่ทำโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐ ก็ไม่ได้สรุปไปในทิศทางที่แสดงให้เห็นเลยว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกาเสื่อมสภาพในระดับที่อาจจะพังถล่มโดยเร็ว และเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมแต่อย่างใด ประเด็นที่สี่ ว่าด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า การออกแบบอาคารศาลฎีกาใหม่ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยมากมายหลายท่าน ถูกระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไทย และสอดรับกับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง แต่ประเด็นสำคัญคือ การได้มาซึ่งอาคารใหม่นั้น ทำลายอาคารเดิมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลง และ มีความสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกแบบและหน้าตาอาคารจะสวยงามแค่ไหน ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ ชาตรีได้เสนอว่า การเก็บรักษาอาคารเก่าไว้ ไม่ได้หมายถึงการรักษาในลักษณะแช่แข็ง ห้ามทำอะไรเลย ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ และหลักการด้านการอนุรักษ์ที่ก้าวหน้าขึ้นในโลกปัจจุบัน สามารถที่จะทำการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การรื้อถอนและสร้างใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถใช้สอยพื้นที่ได้ดีกว่านั้น จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องอีกแล้ว จึงขอเรียกร้องให้ศาลพิจารณาระงับการรื้อถอนอาคารออกไปก่อน จนกว่าจะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ สำหรับ นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร ได้แถลงว่า กรมศิลปากรได้ส่งหนังสือไปถึงเลขานุการศาลยุติธรรมสำเนาถึงประธานศาลฎีกา ให้ยุติการรื้อถอนอาคารเก่าศาลยุติธรรมและศาลอาญากรุงเทพแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม และอธิบายว่า แม้อาคารทั้งสองหลังจะยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน แต่ก็ถือเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และควรค่าแก่การอนุรักษ์ หากศาลฎีกายังคงยืนยันเดินหน้ารื้อถอน กรมศิลปากรคงต้องหารือกับฝ่ายกฎหมายหาแนวทางดำเนินการต่อไป ปรากฏว่าในวันที่ ๒๓ ธันวาคม นายวิรัช ชินวินิจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ยืนยันว่า โครงการทั้งหมดก็เดินหน้าไปแล้ว ถ้าจะมาขอให้ชะลอการรื้อถอนตอนนี้คงไม่ได้ และยืนยันว่า ผู้พิพากษาที่ทำงานอยู่ที่ศาลฎีกาไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัยจากสภาพอาคารที่ทรุดโทรม ขณะที่กลุ่มอาคารในโครงการสร้างใหม่นี้ ศาลไม่ใช่ผู้ริเริ่มด้วยซ้ำ และการก่อสร้างอาคารศาลฎีกาใหม่ตามแบบความเห็นชอบที่กระทำในรูปคณะกรรมการฯ ก็ต้องเดินหน้าต่อไป เพราะการก่อสร้างอาคารยังคงความมุ่งหมาย ของความเป็นศาลฎีกาในการทำหน้าที่ประสิทธิประศาสตร์ความยุติธรรมให้กับประชาชน ศาลยุติธรรมไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และขอยืนยันอีกครั้งว่า ศาลไม่ได้ทำอะไรเองโดยพลการ ขณะที่คณะกรรมการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์เห็นว่า ศาลฎีกาไม่ควรอ้างเรื่องโครงสร้างอาคารเก่าจนบูรณะไม่ได้มาเป็นเหตุผลในการรื้อถอน เพราะมั่นใจว่าโครงสร้างอาคารทั้งสองหลัง ซึ่งใหม่กว่าอาคารกระทรวงกลาโหมถึง ๘๐ ปี ยังมั่นคงแข็งแรงและสามารถใช้งานได้ พร้อมทั้งแนะกรมศิลปากรแจ้งความจับผู้รับเหมาเพื่อชะลอการรื้อถอน ก่อนที่จะเสียสมบัติของชาติไป สรุปแล้ว กรณีนี้จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ประชาชนจะต้องจับตาพฤติกรรมของศาล ที่มุ่งจะทำลายอาคารเก่าอันทรงคุณค่า และไม่รับฟังข้อเสนอทักท้วง นี่ก็จะเป็นตัวอย่างแห่งความเสื่อมแห่งวิจารณญานของศาลอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งเราเห็นได้หลายกรณีแล้วในระยะ ๖ ปีที่ผ่านมานี้
เผยแพร่ครั้งแรกที่: โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ ๓๙๒ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 28 Dec 2012 03:17 AM PST
ข้าวเปลือกแพง ข้าวสารถูก ผลที่ตามมาคือ ราคาข้าวเปลือกในประเทศถีบตัวขึ้นสูงกว่าสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ไม่มีการจำนำ (ดูรูปที่ 1-ก) แต่สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ ราคาข้าวสารขายปลีกในประเทศกลับมีราคาถูก ทั้งๆ ที่ข้าวสารส่วนใหญ่นอนสงบนิ่งอยู่ในโกดังกลางของรัฐบาล ขณะที่คนไทยต้องกินข้าวทุกวันปีละไม่ต่ำกว่า 10.4 – 10.7 ล้านตัน (ข้อมูลการบริโภคและการใช้ทำพันธุ์ข้าวจากการสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา) รูปที่ 1-ข แสดงว่าราคาขายปลีกข้าวสารในช่วงเดือนตุลาคม 2555 เฉลี่ยเพียง กก.ละ 22.19 บาท ซึ่งถูกกว่าราคาข้าวสารในช่วงเดือน ตุลาคม 2553-กรกฎาคม 2554 (เฉลี่ย 22.17 บาท/กก.) ซึ่งเป็นยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ไม่มีการแทรกแซงราคาตลาด กลไกของรัฐในการจำนำข้าวและระบายข้าว ผลกระทบที่ชัดเจนจากการจำนำ คือ ปริมาณการส่งออกข้าวของภาคเอกชนลดลงเหลือเพียง 5.77 ล้านตันในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 เทียบกับ 9.63 ล้านตันของช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 เพราะราคาข้าวส่งออกของไทยแพงกว่าคู่แข่งมาก หลังจากถูกสื่อมวลชนกดดันเรื่องการระบายข้าวแบบ G-to-G อย่างต่อเนื่องในเดือนตุลาคม 2555 กระทรวงพาณิชย์จึงออกแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับปริมาณการระบายข้าวในสต๊อคของรัฐบาล 5 วิธี ดังนี้ การตรวจสอบข้อมูลการระบายข้าวของรัฐบาลประสบปัญหาความยากลำบาก ทั้งๆ ที่ข้าวทั้งหมดที่อยู่ในมือรัฐบาลเป็นข้าวของประชาชน เพราะใช้เงินภาษีของประชาชน แต่รัฐกลับปิดบังข้อมูลสต๊อคข้าว ข้อมูลสัญญาการซื้อขายกับต่างประเทศ รวมทั้งไม่มีการเปิดเผยถึงวิธีการขายให้องค์กรหรือหน่วยงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศโดยอ้าง "ความลับทางการค้า" จากการสอบถามอนุกรรมการระบายข้าวบางท่าน ก็ไม่ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการได้มีการประชุมเรื่องการขออนุมัติซื้อขายข้าวของรัฐบาล ทราบเพียงแต่ว่าบริษัทเอกชนสามารถทำเรื่องขออนุมัติซื้อข้าวจากรัฐได้ แต่ดูเหมือนคณะอนุกรรมการจะไม่ได้มีบทบาทใดๆ ในการพิจารณาคำขอซื้อข้าวจากภาคเอกชนเลย กระบวนการทำงานในการจำนำข้าวทุกขั้นตอนถูกผูกขาดตัดตอนโดยกระทรวงพาณิชย์เพียงฝ่ายเดียว ประธานอนุกรรมการทุกชุด (ยกเว้นอนุกรรมการระดับจังหวัด) มีรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ข้อมูลการระบายข้าวที่โปร่งใสที่สุด คือ การประมูลข้าวรวม 5 ครั้ง (แต่เอกชนสามารถประมูลได้เพียง 3 ครั้ง) รวมเป็นข้าวจำนวน 0.3209 ล้านตัน (ดูรายละเอียดในตารางที่ 1) การระบายข้าววิธีที่สองคือ การขายข้าวให้องค์กรหรือหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อประโยชน์สาธารณะจำนวน 0.83 ล้านตัน ข้อมูลที่ปรากฏเป็นข่าวและตรวจสอบได้ ปรากฏว่าในปี 2554 รัฐขายข้าวทั้งสิ้น 3 ครั้ง เป็นจำนวน 0.13 ล้านตัน เท่านั้น และปี 2555 มีการขายข้าวให้กรมราชทัณฑ์ 2 หมื่นตัน (ดูตารางที่ 1) ผู้เชี่ยวชาญในวงการส่งออกข้าวไทยต่างยืนยันว่าไม่พบหลักฐานใดๆ ว่ารัฐมีการส่งออกข้าวแบบจีทูจีเลยในระหว่างปี 2555 สถิติการส่งออกข้าวไทยของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยที่พบการส่งออกข้าวจีทูจีครั้งสุดท้ายเป็นช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2554 รัฐบาลส่งออกข้าวรวม 2.68 แสนตัน เป็นการส่งออกไปยังบังกลาเทศ 2.18 แสนตัน และอินโดนีเซีย 0.5 แสนตัน ระหว่างเดือนกันยายน 2554 ถึง ตุลาคม 2555 ไม่ปรากฏว่ามีรายการส่งออกข้าวแบบจีทูจีเลย นอกจากนั้นผู้ส่งออกยังรายงานว่าหากรัฐมีการขายข้าวแบบจีทูจีเป็นจำนวนมากจริง จะต้องมีเรือเข้ามารับข้าวจากท่าเรือ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เคยเห็นเรือรับข้าวเลย คำถามที่น่าสนใจ คือ ทำไมเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงต้องให้ข่าวที่เป็นเท็จว่ารัฐบาลไทยสามารถขายข้าวแบบจีทูจีได้ 7.328 ล้านตัน (แต่ในภายหลัง เอกสาร "รู้ลึก รู้จริง จำนำข้าว" กลับยอมรับว่าระหว่างมกราคม – กันยายน 2555 รัฐบาลขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ 1.46 ล้านตัน) อย่างไรก็ตาม หากเรายอมรับว่ารัฐบาลไทยขายข้าวให้รัฐบาลต่างชาติทางอ้อมผ่านบริษัทเอกชน เราก็สามารถตรวจสอบข้อมูลการส่งออกข้าวของรัฐจากส่วนต่างระหว่างปริมาณการส่งออกข้าวของภาคเอกชนที่รายงานโดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กับปริมาณการส่งออกข้าวของกรมศุลกากรที่เป็นตัวเลขทางราชการที่ต้อง "ถูกต้อง" เพราะใช้เป็นฐานสถิติการส่งออกนำเข้าของประเทศ ผลการตรวจสอบการส่งออกข้าวของรัฐบาลไทยพบว่าในช่วงเดือนกันยายน 2554-ตุลาคม 2555 ไทยมีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศ 3 ประเทศ เพียง 1.03-1.19 ล้านตัน ตัวเลขนี้รวมการส่งออกของภาคเอกชน (เพราะปริมาณส่งออกไปยังอินโดนีเซียและโกตติวัวร์มีมากกว่าที่รัฐบาลประกาศ) ขณะที่รัฐบาลประกาศว่าขายข้าวจีทูจีไปแล้ว 1.46 ล้านตัน ข้อเท็จจริงคือ มีข่าวชัดเจนว่ารัฐบาลอินโดนีเซียปฏิเสธไม่ซื้อข้าวครบ 3 แสนตันตามสัญญา เพราะปัญหาคุณภาพข้าว และหากสมมติว่าโกตติวัวร์ซื้อข้าวครบตามสัญญาจำนวน 2.9 แสนตัน และจีนซื้อข้าวผ่านบริษัทนายหน้าของไทย 1.9 แสนตัน รัฐบาลไทยก็ขายข้าวส่งออกได้เพียง 7.2 แสนตันไม่ใช่ 1.46 ล้านตันตามที่ปรากฏในเอกสาร "รู้ลึก รู้จริง จำนำข้าว" ข้อสรุป คือ ข้าวส่วนต่าง จำนวน 0.74 ล้านตัน (1.46 – 0.72) น่าจะเป็นข้าวที่บริษัทเอกชนที่ไม่สามารถขายให้รัฐบาลต่างประเทศนำมาขายต่อภายในประเทศ กลไกตลาดของบริษัทเอกชนที่ค้าขายกับรัฐ ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจก่อนว่าถ้าจะให้มีข้าวสารราคาถูกได้ รัฐก็จะต้องปล่อยข้าวสารออกจากโกดังกลางของรัฐเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าปริมาณการบริโภคของคนไทยในแต่ละเดือน แต่ขณะเดียวกันภาคเอกชนไทยก็ยังมีการส่งออกข้าวเป็นจำนวนพอสมควร ดังนั้น ในท้องตลาดจะต้องมีใครก็ตามที่มี "อำนาจเหนือรัฐบาล" สามารถออกคำสั่งให้มีการระบายข้าวสารออกจากโกดังกลางรัฐบาลทุกๆ วัน ทุกๆ เดือนในจำนวนที่ทำให้ร้านค้าข้าวสารทั่วประเทศและผู้ขายข้าวถุงมีข้าวขายบนหิ้งในราคาเดิมอยู่ตลอดเวลา คำถามคือ ตลอด 10 เดือนแรกของปี 2555 เราจะต้องระบายข้าวสารสู่ตลาดค้าปลีกในประเทศเป็นจำนวนเท่าไร คำตอบอยู่ในตารางที่ 1 หลักการคำนวณง่ายๆ คือ แต่ผลผลิตข้าวที่เหลืออยู่ในท้องตลาดมีน้อยมาก เพราะผลผลิตข้าวส่วนใหญ่ถูกขายให้โครงการจำนำ ในเดือนมกราคม ถึง ตุลาคม 2555 มีผลผลิตข้าวนาปีฤดู 2554/55 และผลผลิตนาปรังปี 2555 รวม 22.33 ล้านตันข้าวสาร ชาวนาขายข้าวให้โครงการจำนำ 10.55 ล้านตัน รัฐบาลจำหน่ายข้าวสู่ตลาดในประเทศเป็นจำนวน 0.384 ล้านตัน นอกจากนี้โรงสีในโครงการจำนำจะมีข้าวสารที่ได้รับเป็นค่าจ้างและผลกำไรจากการรับจ้างรัฐบาลประมาณ 0.676 ล้านตัน โดยรวมแล้วตลาดในประเทศจะมีข้าวสารเพียง 12.84 ล้านตัน ขณะที่คนไทยต้องบริโภคข้าวและต้องมีข้าวส่งออกรวม 14.4 -14.8 ล้านตัน ดังนั้นใน 10 เดือนแรกของปี 2555 รัฐบาลจะต้องระบายข้าวสารออกจากคลังรัฐบาลอีกอย่างน้อย 1.6-1.99 ล้านตัน จึงจะทำให้ราคาข้าวสารมีราคาเท่าเดิมได้ กระทรวงพาณิชย์ไม่เคยประกาศเป็นนโยบายต่อสาธารณะเลยว่ามีนโยบายการระบายข้าวจำนวนดังกล่าวอย่างไร แต่ในวงการพ่อค้าข้าว เป็นที่รู้กันว่าพ่อค้าที่ต้องการหาซื้อข้าวเพื่อส่งออก หรือขายในประเทศสามารถติดต่อ "นายหน้าผู้ทรงอิทธิพล" บางราย ก็จะหาซื้อข้าวจากคลังรัฐบาลได้ โดยจ่ายค่านายหน้าให้บริษัทดังกล่าว (ปัจจุบันมีบริษัทนายหน้าดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 3-4 รายตามคำอภิปรายของ ส.ส.วรงค์ เดชกิจวิกรม) นายหน้าจะติดต่อให้โรงสีในโครงการจำนำส่งมอบข้าวสารให้แก่ พ่อค้าส่งออก หรือ พ่อค้าข้าวในประเทศ ส่วนเรื่องการทำบัญชีข้าวในโกดังกลางของรัฐคงเป็นหน้าที่ของนายหน้า นอกจากคำยืนยันจากพ่อค้าบางรายแล้ว เพื่อนนักวิชาการท่านหนึ่งเคยส่งหลักฐานการที่โรงสีแห่งหนึ่งสามารถขอซื้อข้าวจากคลังรัฐบาล เพื่อนำข้าวสารไปขายในจังหวัดโดยจ่ายค่านายหน้าตันละ 500-3,000 บาทขึ้นกับชนิดข้าว เรื่องที่น่าประหลาดใจที่สุด คือ ระหว่างมกราคม-ตุลาคม 2555 ไทยสามารถส่งออกข้าวนึ่งได้ถึง 1.789 ล้านตัน โดยข้อเท็จจริงแล้วไทยจะต้องไม่มีการส่งออกข้าวนึ่งหรือ ถ้ามีการส่งออกก็จะอยู่ในระดับน้อยมาก เพราะชาวนาขายข้าวเปลือกส่วนใหญ่ให้โครงการจำนำ โดยเฉพาะในฤดูนาปรัง ข้าวเปลือกทุกเม็ดถูกขายให้รัฐบาลโครงการจำนำไม่มีหลักเกณฑ์การจ้างโรงสีให้ทำข้าวนึ่งเลย ดังนั้นหลังจากมีการจำนำข้าว โรงสีข้าวนึ่งจะไม่สามารถหาซื้อข้าวเปลือกมา "นึ่ง" ก่อนที่จะสีแปรสภาพเพื่อส่งออกได้ แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าไทยมีการการส่งออกข้าวนึ่งจำนวน 1.789 ล้านตัน ในเดือนมกราคม-ตุลาคม 2555 ตัวเลขส่งออกข้าวนึ่งจึงเป็นหลักฐานชัดเจนว่าผู้ส่งออกข้าวนึ่ง สามารถพึ่งพา "กลไกตลาด" ของบริษัทนายหน้าผู้ทรงอิทธิพลหาซื้อข้าวเปลือกจากโครงการจำนำได้ เหตุผลที่กลไกตลาดทำงานได้ดีในกรณีของข้าวนึ่ง (แต่ใช้การไม่ได้ในกรณีของการส่งออกข้าวขาว) เพราะการส่งออกข้าวนึ่งได้ราคาสูงกว่าการส่งออกข้าวขาวตันละ 30-50 เหรียญสหรัฐอเมริกา ส่วนต่างราคานี้ทำให้เกิด "ตลาดการค้าข้าวเปลือกในโครงการจำนำ" เพราะผู้ส่งออกข้าวนึ่งยินดีแบ่งผลกำไรบางส่วนให้แก่นายหน้าที่สามารถวิ่งเต้นให้โรงสีในโครงการจำนำ ส่งข้าวเปลือกให้แก่โรงสีข้าวนึ่ง แต่ระเบียบการจำนำของรัฐไม่ปรากฏว่ามีหลักเกณฑ์การว่าจ้างทำข้าวนึ่ง ถ้าเช่นนั้น "ผู้มีอำนาจ" คนใดเล่าที่สามารถสั่งให้โรงสีขนข้าวเปลือกจากโครงการจำนำไปยังโรงสีข้าวนึ่งของผู้ส่งออก ข้าวเปลือกที่ถูกโยกออกจากโครงการจำนำมาสู่โรงสีข้าวนึ่งมีจำนวน 3.6 ล้านตัน นี่ไม่ใช่การทุจริตแบบเล็กๆ น้อยๆ นะครับ เมื่อมีการขนข้าวสารจากโกดังกลางของรัฐไปยังพ่อค้าข้าวสารขายส่ง (หรือขนข้าวเปลือกจากโรงสีในโครงการจำนำไปยังโรงสีข้าวนึ่งของผู้ส่งออก) บริษัทนายหน้าดังกล่าวจะจัดการโยกย้ายข้าวเก่าจากโกดังกลางของรัฐเข้ามาใส่โกดังกลางแทน หรือจะใช้เพียงวิธีเปลี่ยน "บัญชีข้าว" ในโกดังกลาง นี่เป็นเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบตรวจสอบ และแถลงข้อเท็จจริงต่อประชาชนว่าในโกดังกลางมีข้าวอยู่จริงๆ เป็นจำนวนเท่าไร สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ คือ มีการเคลื่อนย้ายข้าวสารและข้าวเปลือกออกจากโครงการจำนำ ไม่ต่ำกว่า 3.4-3.8 ล้านตัน ไปให้พ่อค้าในประเทศและพ่อค้าส่งออก โดยอาศัยกลไกตลาดที่แอบอิงกับผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาล นี่คือการโจรกรรมข้าวและเงินภาษีประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การจำนำข้าว แต่ที่สำคัญพอๆ กัน คือ เงินค่าขายข้าวอยู่ที่ไหน หากใช้ตัวเลขปริมาณการบริโภคและการส่งออกข้าวในตารางที่ 1 ข้างต้น ก็แปลว่ารัฐได้อาศัยกลไกตลาดของบริษัทเอกชนโยกย้ายข้าวออกมาขายในตลาดเพิ่มเติมจากจำนวนที่แจ้งแก่ประชาชนเป็นจำนวน 3.4 – 3.8 ล้านตัน คิดเป็นเงินอีก 56,100-62,700 ล้านบาท (3.4 x 16,500 บาท ถึง 3.8 x 16,500 บาทต่อตัน) ในเดือนตุลาคม 2555 รัฐบาลส่งเงินค่าขายข้าวคืนกระทรวงการคลังเพียง 3 หมื่นล้านบาท เงินจำนวนนี้สอดคล้องกับยอดขายข้าวของรัฐ (1.863 ล้านตัน) ตามที่ระบุในเอกสาร "รู้ลึก รู้จริง จำนำข้าว" เงินที่เหลืออีก 56,000 – 62,000 ล้านบาทอยู่ที่ไหนครับ คำถามต่อมา คือ การให้บริษัทนายหน้าเป็นตัวแทนในการจำหน่ายข้าว บริษัทเอกชนได้ค่านายหน้าไปไม่ต่ำกว่า 7,600 – 11,000 ล้านบาท (ตันละ 2,000 – 3,000 บาท x 3.8 ล้านตัน) บริษัทเหล่านี้เสียภาษีเงินได้หรือไม่ และเงินนายหน้านี้ตกในมือผู้มีอำนาจคนใด คำถามสุดท้าย คือ รัฐบาลขาดทุนเท่าไรครับ อย่าบอกว่าการขายข้าวแบบนี้ รัฐบาลไม่สามารถประกาศราคาขายได้นะครับ เพราะนี่เป็นการขายข้าวในประเทศครับ หรือถ้าเป็นการส่งออก ก็เป็นการขายข้าวให้บริษัทเอกชนไปส่งออกอีกทอดหนึ่ง ประชาชนเป็นเจ้าของข้าวนะครับ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปิดบังข้อมูลเหล่านี้ โปรดระวังข้อหาร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบนะครับ
หมายเหตุ :
ที่มา: ราคาข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมาคมโรงสีข้าวไทย และ สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.
[1] กระทรวงพาณิชย์คืนเงินค่าขายข้าวแก่กระทรวงการคลัง 4.1 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินค่าจำหน่ายข้าวจากโครงการจำนำข้าวก่อนปี 2554 ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเกือบ 3 หมื่นล้านบาทเป็นรายได้จากการจำหน่ายข้าวในโครงการจำนำปี 2554-2555 (หรือ 1.863 ล้านตัน x 16,500 บาทต่อตัน) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รัฐบาลท้องถิ่นในรัฐฉานยินดีต้อนรับชาวไทใหญ่พลัดถิ่นกลับบ้าน Posted: 28 Dec 2012 03:12 AM PST เจ้าอ่องเมียต นายกรัฐมนตรีประจำรัฐบาลท้องถิ่ มีรายงานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา เจ้าอ่องเมียต นายกรัฐมนตรีประจำรัฐบาลท้องถิ่ "หากพวกเขาเดินทางกลับมาเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มหนึ่งเป็น 70 – 80 ครอบครัว พวกเขาสามารถที่จะตัดสินใจว่าต้ เจ้าอ่องเมียต กล่าวว่า ชาวไทใหญ่พลัดถิ่นที่ต้องการเดิ ด้านนางคำเอ ระบุ สามารถแบ่งผู้พลัดถิ่นชาวไทใหญ่ ทั้งนี้ มีประชากรชาวไทใหญ่ระหว่าง 5 แสน - 1 ล้านคนที่ตัดสินใจหันหลังให้รั และมีการอพยพอีกระลอกระหว่างปี 2539 - 2541 ตรงกับในยุคที่รัฐบาลทหารพม่
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สมานฉันท์แรงงานไทย: ประเมินผลงานรัฐบาลด้านแรงงานปี 2555 Posted: 27 Dec 2012 10:39 PM PST "ดูเหมือนคืบหน้าแต่ยังเป็นแบบแก้ผ้าเอาหน้ารอด-ซุกปัญหาใต้พรม"
ภาพโดยรวมของการแก้ปัญหาด้านแรงงานของรัฐบาลในรอบปี 2555 ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าการแก้ปัญหาเชิงนโยบายของกระทรวงแรงงานในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานให้กับแรงงานกลุ่มต่างๆ ในการเข้าถึงการคุ้มครองสิทธิและบริการมีหลายด้านที่มีความก้าวหน้าไปอย่างเห็นได้ชัด
แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาลงไปในรายละเอียดของการแก้ปัญหาให้กับแรงงานกลุ่มต่างๆ แล้ว ยังต้องบอกว่าส่วนใหญ่ไม่มีความคืบหน้านัก ปัญหาของแรงงานกลุ่มต่างๆ จำนวนมากยังไม่ได้รับการสะสาง มาตรการแก้ไขที่ดำเนินไปเป็นไปในลักษณะ "แก้ผ้าเอาหน้ารอด" และยังคง "ซุกปัญหาไว้ใต้พรม" เสียเป็นส่วนใหญ่ ข้อเรียกร้องของฝ่ายแรงงานจำนวนมากยังคงถูกเพิกเฉยไม่ได้รับการพิจารณา ต่อไปนี้เป็นการประเมินการดำเนินงานของรัฐบาลต่อแรงงานกลุ่มต่างๆ
กลุ่มแรงงานในระบบ ผลงานเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศที่ดำเนินการอย่างจริงจังโดยรัฐบาลในรอบปีที่ผ่านมานับว่าเป็นเรื่องโดนใจคนงานในระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานไร้ฝีมือหลายล้านคนซึ่งค่าจ้างอ้างอิงอยู่กับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สิ่งที่น่ากังวลคือ รัฐบาลยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการติดตามและช่วยเหลือแรงงานจำนวนหนึ่งที่อาจถูกเลิกจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานประกอบการเอสเอ็มอีหรือสถานประกอบการที่ใช้แรงงานเข้มข้น อีกทั้งรัฐยังไม่มีมาตรการในการตรึงราคาสินค้า และค่าครองชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะทำให้ค่าจ้างที่ได้รับการปรับเพิ่มขึ้นมาส่งผลให้คนงานมีคุณภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สิ่งที่น่ากังวลอีกประการก็คือมาตรการเยียวยากับฝ่ายผู้ประกอบการที่รัฐประกาศออกมาอาจส่งผลระยะยาวต่อผู้ใช้แรงงาน ที่สำคัญคือการให้นายจ้างลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ที่จะส่งผลต่อความมั่นคงของกองทุนนี้ซึ่งถือเป็นหลักประกันสำคัญสุดของแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบยังมีข้อจำกัดอย่างมากในการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมที่มีอยู่อย่างจำกัดมาก โดยเฉพาะการใช้สิทธิในฐานะผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องช่องทางการจ่ายเงินสมทบที่ต้องไปจ่ายที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ทำให้แรงงานนอกระบบที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลต้องประสบปัญหาในการเดินทาง สิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ แม้ว่าจะมีทางออกโดยการจ่ายผ่านร้านสะดวกซื้อหรือเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-11 แต่ช่องทางนี้ก็เหมาะกับกลุ่มแรงงานนอกระบบที่อยู่ตัวอำเภอหรือเมืองใหญ่เท่านั้น หรือการจ่ายโดยการหักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร ธกส. หรือธนาคารออมสิน ผู้ประกันตนก็ต้องนำใบเสร็จรับเงินที่หน่วยบริการดังกล่าว ไปติดต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่หรือสาขาจังหวัดพร้อมสมุดนำส่งเงินสมทบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ประกันสังคมประทับตราในสมุดนำส่งเงินสมทบ เนื่องจากต้องใช้เป็นหลักฐานการยื่นเรื่องเมื่อมาขอใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ผ่านไปอีกหนึ่งปีที่รัฐบาลไม่ได้มีการออกกฎหมายลูกเพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ผู้รับงานไปทำที่บ้าน แรงงานข้ามชาติ รัฐบาลนี้ก็เหมือนกับรัฐบาลไทยอื่นๆ ที่ไม่เคยข้ามพ้น "อคติทางเชื้อชาติ" และการมองปัญหาแรงงานข้ามชาติโดยใช้กรอบ "ความมั่นคงแห่งชาติ" ทัศนคติดังกล่าวทำให้รัฐมองไม่เห็นคุณูปการของแรงงานข้ามชาติต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม ดังนั้นมาตรการที่ออกมาใช้กับแรงงานข้ามชาติจึงเป็นมาตรการเพื่อการควบคุมมิใช่มาตรการเพื่อการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติ การดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและปรับสถานะแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา ที่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานตามมติรัฐมนตรีให้เป็นแรงงานที่เข้าเมืองถูกกฎหมาย พบว่ากระทรวงแรงงานมีความมุ่งมั่นในการดำเนินการให้เสร็จสิ้นมาตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2555 แต่ก็พบว่ายังมีแรงงานข้ามชาติอีกนับล้านคนที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการดังกล่าว ทั้งนี้มีสาเหตุหลัก คือ แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารประจำตัวอะไรเลย รวมทั้งเอกสารที่แรงงานใช้ในการทำงานและนายจ้างที่จ้างงานอยู่จริงไม่ตรงกัน ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้แรงงานจำนวนไม่น้อยไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ และต้องกลายเป็นแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายในอนาคต ซึ่งกระทรวงแรงงานยังไม่มีมาตรการในการแก้ไขข้อจำกัดที่แรงงานกลุ่มนี้เผชิญ นอกจากนั้นแล้วยังพบต่ออีกว่าแรงงานข้ามชาติที่พิสูจน์สัญชาติผ่านแล้วจะต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม แต่ด้วยข้อจำกัดจากกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการเข้าถึงของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ และรวมทั้งระบบประกันสังคมประเทศไทยเป็นระบบสวัสดิการระยะยาวที่คุ้มครองในระหว่างการทำงานจนถึงวัยชราภาพ หรือหลังเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มที่เป็น "พลเมืองไทย" ที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรมากกว่า แต่สำหรับกลุ่มแรงงานข้ามชาติแล้ว ที่มีลักษณะจำเพาะของการจ้างงาน คือ อยู่อาศัยและทำงานได้เพียง 4 ปีเท่านั้น และจะต้องกลับไปประเทศต้นทาง จึงต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิและการใช้สิทธิตามกฎหมายประกันสังคม ทั้งกรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีว่างงาน กรณีชราภาพ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเงื่อนไขการเกิดสิทธิ หรือเงื่อนระยะเวลาในการรับสิทธิประโยชน์ หรือหลักเกณฑ์และวิธีการขอรับและจ่ายสิทธิประโยชน์ หรือการติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักงานประกันสังคมกับผู้ประกันตนและ/หรือผู้มีสิทธิของผู้ประกันตน กลุ่มแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ พบว่า แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศมักถูกบริษัทจัดหางาน นายหน้าเถื่อนหลอกลวงหรือเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงเกินความเป็นจริง หรือเรียกว่า "ค่าหัวคิว" กระทรวงแรงงานได้มีการสั่งระงับการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลในช่วงต้นปี 2555 และสั่งพักใบอนุญาตบริษัทจัดหางาน 37 แห่งชั่วคราว พร้อมกับสั่งให้กรมการจัดหางานแก้ไขระเบียบการเก็บค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้รัดกุม รวมทั้งเตรียมออกมาตรการจำแนกบริษัทจัดหางาน แต่ก็ยังพบว่ากฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ คือ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ยังมีช่องว่างที่ทำให้นายหน้า/สายสามารถหลอกลวงคนงานได้ง่ายขึ้นโดยที่กระทรวงแรงงานไม่สามารถเอาผิดได้ โดยเฉพาะในมาตรา 38 ที่ได้มีการเปิดช่องให้มีการเรียกเก็บเงินค่าบริการมากกว่าความเป็นจริง ผู้รับอนุญาตจัดหางานสามารถเรียกหรือรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากคนหางานได้ ยิ่งเมื่อคนหางานมีความต้องการไปทำงานมากเท่าใดก็จะเป็นช่องทางให้มีการเรียกเก็บค่าบริการและค่าใช้จ่ายสูงกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด กลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างรัฐ ในปีที่ผ่านมาอาจมีข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ ข้าราชการ ลูกจ้างรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจเฮ ได้รับการปรับค่าจ้าง แม้คนงานเหล่านั้นจะได้รับประโยชน์ แต่ก็เป็นไปในลักษณะ "ประชานิยม" หรือการ "หาเสียง" เสียมากกว่า ที่จะเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน รัฐไทยยังคงไม่ยอมรับในสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองของคนงานกลุ่มนี้ แม้รัฐวิสาหกิจจะมีกฎหมายรองรับสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง แต่ก็เป็นไปอย่างจำกัดและขัดกับหลักการในอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศซึ่งเป็นกติกาสากลอันเป็นที่ยอมรับปฏิบัติกันทั่วโลก กรณีตัวอย่างคือการเลิกจ้างผู้นำแรงงาน 13 คนของสหภาพแรงงานรถไฟ หนึ่งในนั้นเป็นผู้นำแรงงานระดับชาติที่มีบทบาทสำคัญเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเมื่อปี 2554 การเลิกจ้างดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยองค์กรระหว่างประเทศ แต่ผ่านมาหนึ่งปี รัฐบาลหาได้มีความพยายามที่ชัดเจนที่จะคืนความเป็นธรรมให้กับนักสหภาพแรงงานทั้ง 13 คน
(1) การผลักดันและสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ.... ฉบับที่นางสาว
(2) การผลักดันให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98 ที่พบว่ารัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ แม้ว่าทางกระทรวงได้มีการจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าว รวมทั้งการเคลื่อนไหวรณรงค์อย่างต่อเนื่องขององค์กรแรงงาน เพื่อผลักดันรัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวจัดตั้งองค์กร และเจรจาต่อรอง เพื่อสิทธิและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงาน (3) การผลักดันให้มีการร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ..... ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่ผู้ใช้แรงงานได้เข้าชื่อกันเสนอเพื่อประกาศใช้แทนพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งได้ใช้มานานและมีบทบัญญัติที่ขัดกับหลัการของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98 ที่ได้จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง มีการแทรกแซงการรวมตัวและเจรจาต่อรองโดยรัฐ ปราศจากความเป็นอิสระ คนงานไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ อันจะส่งผลให้การรวมตัวของคนงานยากขึ้น และทำให้พลังในการเจรจาต่อรองมีน้อยลง จึงถือเป็นการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ลง ขัดกับหลักการของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(4) การแก้ไขปัญหาของแรงงานที่ประสบวิกฤติอุทกภัยมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ให้ลุล่วง พบว่า แรงงานที่เป็นกำลังการผลิตส่วนสำคัญของภาคอุตสาหกรรมต่างได้รับความเดือดร้อนถ้วนหน้า สถานประกอบการต้องปิดตัวลง การหยุดงานเป็นเวลานาน ความไม่ชัดเจนของการจ่ายค่าจ้าง หรือแม้กระทั่งการเลิกจ้าง เหล่านี้เป็นปัญหาที่รุมเร้าแรงงานตลอดช่วงเวลาที่เกิดอุทกภัย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามหรือใช่ช่องว่างทางกฎหมาย เช่น การใช้มาตรา 75 ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กับลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม หรือในกรณีการไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนในการเปิดสถานประกอบการ ทำให้แรงงานไม่สามารถใช้สิทธิทดแทนการว่างงาน จาก พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ได้ หรือการเลิกจ้างแรงงาน การล้มสหภาพแรงงาน โดยอ้างเหตุจากวิกฤติอุทกภัย นี้ไม่นับว่ามีการเลิกจ้างแรงงานกลุ่มเหมาช่วง เหมาค่าแรงเป็นกลุ่มแรกๆ เพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่กระทรวงแรงงานก็กลับไม่มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าว (5) การควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น ในทุกครั้งที่มีการประกาศปรับค่าจ้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นของภาคข้าราชการหรือเอกชน สิ่งที่ตามมาเสมอคือการขอปรับขึ้นราคาสินค้าที่ผู้ประกอบการอ้างว่ารับภาระการขาดทุนไม่ไหว ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไป ที่ต้องมีค่าครองชีพที่สูงขึ้น ขณะที่ค่าจ้างเพิ่มเพียงน้อยนิดนั้นกลับไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่ปรับราคาขึ้นไป นั่นก็ทำให้การปรับขึ้นค่าจ้างไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแต่กลับเพิ่มภาระในค่าครองชีพที่สูงขึ้น และรัฐบาลก็ไม่มีมาตรการรองรับที่ชัดเจนในการควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็น เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น ดังนั้น กระบวนการลดทอนความเหลื่อมล้ำและหยุดยั้งความอยุติธรรมที่ถั่งโถมสู่ผู้ใช้แรงงานทุกกลุ่ม จึงมิใช่เพียงการขึ้นอัตราค่าจ้างหรือเข้าถึงสวัสดิการเท่านั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐต้องปรับเปลี่ยนหรือยุตินโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่นายจ้าง ต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างและระบบแรงงานด้วยการสร้างความคุ้มครองทางสังคมและความมั่นคงของแรงงาน ทั้งในด้านของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่ม การเจรจาต่อรอง การยึดหลักการทำงานที่มีคุณค่า (decent work) มาเป็นหลักการสำคัญในการกำหนดนโยบาย กฎหมาย แผนงาน และมาตรการต่างๆ ของรัฐ เหล่านี้จึงจะสามารถสร้างความเป็นธรรมขึ้นในสังคมไทยได้จริง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ช่างภาพไทยพีบีเอส เบิกความ ไต่สวนการตาย 'ฟาบิโอ' Posted: 27 Dec 2012 09:56 PM PST มาลิต คำนัน ผู้บันทึกภาพในเหตุการณ์ ระบุก่อนช่างภาพชาวอิตาลีถูกยิง มีผู้ชุมนุมบางส่วนตะโกนว่ามีสไนเปอร์และระเบิด น้องสาวฟาบิโอ พอใจที่คดีคืบหน้า คิดว่าพี่ชายอาจเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ 27 ธ.ค.53 ข่าวสด รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพ คดีที่พนักงานอัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรการเสียชีวิตของนายฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพชาวอิตาลี เพื่อทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 โดยนายฟาบิโอถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) บริเวณแยกศาลาแดงถึงราชประสงค์ พนักงานอัยการนำตัวนายมาลิต คำนัน ช่างภาพสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เบิกความสรุปว่าได้รับมอบหมายให้เข้าไปทำข่าวการชุมนุม โดยเข้าไปอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. ต่อมาเวลา 06.00 น. วันที่ 19 พ.ค. ทีมข่าวจะเดินทางมาเปลี่ยน แต่ไม่สามารถเข้ามาได้ เนื่องจากประกาศปิดถนน พยานจึงออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปอยู่แถวแยกสารสิน โดยมีนักข่าวต่างประเทศประมาณ 10 คนร่วมอยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย พยานและนักข่าวต่างประเทศคนอื่นๆ นั่งอยู่หลังบังเกอร์ที่ขวางถนนอยู่ ในขณะนั้นมีเสียงดังคล้ายประทัดตลอดเวลา มีผู้ชุมนุมบางส่วนตะโกนว่ามีสไนเปอร์และระเบิด แต่พยานไม่เห็น พยานเบิกความว่า ต่อมาไม่ทราบเวลาแน่ชัด มีเสียงคล้ายระเบิดดังขึ้นใกล้บังเกอร์ที่พยานนั่งอยู่ และมีรถกู้ภัยที่เพิ่งเข้ามาในบริเวณดังกล่าวถูกระเบิดได้รับความเสียหาย พยานจึงวิ่งไปบนถนนราชดำริมุ่งหน้าราชประสงค์ โดยมีกลุ่มนักข่าวต่างประเทศวิ่งตามไปด้วย เมื่อวิ่งไปได้สักระยะหันมาใช้กล้องบันทึกภาพเหตุการณ์ จึงเห็นนายฟาบิโอถูกยิงล้มลง และมีกลุ่มนักข่าวเข้าไปช่วย จากนั้นเห็นนายฟาบิโอถูกนำขึ้นรถจักรยานยนต์ออกไป ขณะนั้นพยานยังไม่ทราบว่าบุคคลดังกล่าวคือนายฟาบิโอ ก่อนจะมาทราบในภายหลังว่าคือนายฟาบิโอ โปเลงกี นายมาลิตเบิกความต่อว่า หลังจากนายฟาบิโอถูกยิงพยานยังอยู่ในที่เกิดเหตุอีกประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ โดยสถานการณ์หลังเกิดเหตุพยานยังได้ยินเสียงดังเป็นระยะ และมีผู้ชุมนุมตะโกนว่าเป็นเสียงปืน แต่พยานไม่เห็นเจ้าหน้าที่ในบริเวณดังกล่าวแต่อย่างใด และพยานมอบหลักฐานเป็นซีดีภาพเหตุการณ์ขณะหันไปถ่ายภาพนายฟาบิโอให้พนักงานสอบสวนไปแล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากการไต่สวนเสร็จสิ้น ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 25 ม.ค. นางอลิซาเบตต้า โปเลงกี น้องสาวนายฟาบิโอกล่าวหลังฟังการไต่สวนว่า พอใจที่คดีคืบหน้า หวังว่าการเสียชีวิตของพี่ชายจะได้รับความกระจ่าง เพื่อให้ความจริงคลี่คลายโดยเร็ว ส่วนตัวคิดว่าพี่ชายอาจเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ เพราะจากการดูภาพถ่ายและวิดีโอ รวมถึงพูดคุยกับพยานหลายคน ส่วนใหญ่มีทิศทางไปเช่นนั้น แต่ก็ต้องรอให้หลักฐานทุกอย่างกระจ่าง และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะตัดสิน ครอบครัวเราเพียงอยากให้ความจริงปรากฏ ไม่ได้ต้องการจะล้างแค้นหรือให้มีใครได้รับโทษถึงขั้นประหารชีวิต
วิดีโอคลิปรายงานเหตุการณ์โดยไทยพีบีเอส ที่นายมาลิตบันทึกไว้ โดยรายงานของไทยพีบีเอส(หรือทีวีไทย)ในวันเกิดเหตุ(19 พ.ค. 53) ระบุว่า มาลิต คำนัน ช่างภาพของทีวีไทยได้บันทึกภาพเหตุการณ์ไว้ บริเวณถนนราชดำริ ย่านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยรายงานด้วยว่าขณะที่ผู้สื่อข่าวปฏิบัติหน้าที่อยู่มีเสียงปืนดังขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนั้นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่นายมาลิตถ่ายได้ เป็นภาพนายฟาบิโอถูกยิงที่บริเวณหน้าอก รายงานระบุด้วยว่าจากการตรวจสอบเสียชีวิตแล้วโดยศพนำไปที่โรงพยาบาลตำรวจ รวมทั้งรายงานด้วยว่าจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าวิถีกระสุนนั้นมาจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
แผนที่บริเวณที่นายฟาบิโอถูกยิง(แยกราชดำริ) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เยือนเพื่อนบ้าน : ตลาดพญาตองซู สหภาพพม่า Posted: 27 Dec 2012 09:52 PM PST รายการพิเศษส่งท้ายปี 2555 จากประชาไท ขอนำเสนอภาพบรรยากาศส่วนเสี้ ตอนต่อไปติดตามชม เยือนเพื่อนบ้าน : จาการ์ต้า อินโดนีเซีย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น