ประชาไท | Prachatai3.info |
- ‘สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้’ ร้อง ปจช.เร่งสางปมความรุนแรงใน ‘พื้นที่โฉนดชุมชน’
- สงบนิ่งทั่วเกาหลีเหนือ ไว้อาลัย "คิม จอง อิล" จากไปครบ 1 ปี
- ภาคภูมิ แสงกนกกุล: การรับผิดชอบการรักษาของปัจเจกบุคคล
- “ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม” ความต่างที่เราจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน (2)
- ถล่มสองแถวนราฯ เหมารับส่งข้าราชการ ตาย 2 เจ็บ 5 รวมครู
- รายงาน: การเมืองเรื่อง กสม. เมื่อคนในขัดขากันด้วยข้อกล่าวหา “ฝักใฝ่เสื้อแดง”
- ศาลสั่งคดีที่ 3 ไต่สวนการตายเสื้อแดง ตายด้วยกระสุนจากกลุ่มทหาร
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 9 - 15 ธ.ค. 2555
- ‘สว.รสนา’ นำทีม ‘ผู้บริโภค’ เปิดครัวกลางสีลม ค้านขึ้นราคา ‘ก๊าซหุงต้ม’
- ร้องยกเลิกตรวจเก็บดีเอ็นเอชาวบ้านชายแดนใต้ทันที
- ย้อนอดีต ‘ใบตองแห้ง’ สัมภาษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- มองจำนำข้าวด้วยสามัญสำนึกชาวนา
- 25 ธ.ค.ตัดสินคดีโบรกเกอร์หนุ่มโพสต์ข่าวลือสถาบัน ทำหุ้นดิ่งปี52
- รวันดา : บนความเพิกเฉยของสหประชาชาติ (7)
- “มนุษย์” ใน cloud atlas
‘สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้’ ร้อง ปจช.เร่งสางปมความรุนแรงใน ‘พื้นที่โฉนดชุมชน’ Posted: 17 Dec 2012 10:03 AM PST เหตุยิงชาวบ้านพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนดับ 2 ศพยังระอุ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ร้องประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) ระงับความรุนแรง เร่งนำเข้าที่ประชุมสางปมปัญหา 24 ธ.ค.นี้ วันนี้ (17 ธ.ค.55) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) ขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาเพื่อระงับความรุนแรงที่จะเกิดแก่เกษตรกร โดยล่าสุดได้เกิดเหตุการณ์สมาชิก สกต.ในชุมชนคลองไทรพัฒนาซึ่งเป็นผู้หญิง 2 คนถูกคนร้ายซุ่มยิงด้วยอาวุธสงครามจนถึงแก่ชีวิต เมื่อวันที่ 19 พ.ย.55 ขณะขี่รถจักรยานยนต์เดินทางออกไปขายผักที่ตลาดตามกิจวัตรประจำวัน และก่อนหน้านี้ก็มีกรณียิงนายสมพร พัฒนภูมิ สมาชิกชุมชนบ้านคลองไทรพัฒนาเสียชีวิตในปี พ.ศ.2553 ซึ่งขณะนี้คดียังไม่มีความคืบหน้า ตามหนังสือของ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ระบุว่า เหตุที่มาของความขัดแย้งปมปัญหาที่ดินและการสูญเสียชีวิตของชาวบ้านในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำงานที่ล่าช้าในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และได้เรียกร้องต่อ ปจช.ให้เร่งดำเนินการดังนี้ 1.ให้บรรจุวาระการแก้ไขปัญหาความรุนแรงและปัญหาที่ดินทำกิน กรณีชุมชนคลองไทรพัฒนา เป็นวาระเร่งด่วนในการพิจารณาในที่ประชุม ปจช.ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 24 ธ.ค.55 2.ให้ ปจช.เร่งรัดดำเนินการในการปฏิรูปที่ดินตามแนวทางโฉนดชุมชนที่ค้างคาอยู่นาน นับแต่ เมื่อวันที่ 6 ต.ค.53 โดยกรณีชุมชนคลองไทรพัฒนานั้น ในระหว่างที่รอคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ บริษัท จิวกังจุ้ย จำกัดนั้น เบื้องต้นขอให้มีการทำบันทึกข้อตกระหว่าง ปจช. ส.ป.ก. และ ผู้แทน สกต.โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเตรียมส่งมอบที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินแปลงดังกล่าว จำนวน 1,051 ไร่ให้กับชุมชนคลองไทรพัฒนา (ในนามสหกรณ์การเกษตรฯ) และ 3.ขอให้เชิญ รองเลขาธิการ ส.ป.ก.เข้าร่วมการประชุมของ ปจช.ในวันในวันที่ 24 ธ.ค.55 ทั้งนี้ ชุมชนคลองไทรพัฒนา เป็นสมาชิกใน สกต.พื้นที่ชุมชนตั้งอยู่ในปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งที่ผ่านมาถูกบริษัทเอกชนเขาครอบครองทำประโยชน์ จากนั้นกลุ่มชาวบ้านได้ทำการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ ส.ป.ก.นำที่ดินมาจัดสรรให้เกษตรกรทำกิน ต่อมาในช่วงกลางปี พ.ศ.2553 สำนักงานคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่แล้วอนุมัติให้พื้นที่ชุมชนคลองไทรพัฒนาเป็นชุมชนในโครงการโฉนดชุมชนนำร่อง ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาการไร้ที่ดินของเกษตรกร รายละเอียดของหนังสือดังกล่าวระบุ ดังนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
สงบนิ่งทั่วเกาหลีเหนือ ไว้อาลัย "คิม จอง อิล" จากไปครบ 1 ปี Posted: 17 Dec 2012 09:06 AM PST เมื่อวานนี้ (17 ธ.ค.) สำนักข่าวกลางเกาหลี (KCNA) รายงานว่าในโอกาสครบรอบ 1 ปีการอสัญกรรมของคิม จอง อิล เลขาธิการกลางพรรคแรงงานเกาหลี ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ และผู้บัญชาการกองทัพประชาชนเกาหลี ชาวเกาหลีเหนือทุกสาขาอาชีพรวมทั้งนักเรียนทั่วประเทศได้มาวางช่อดอกไม้ที่อนุสาวรีย์คิม อิล ซุง และคิม จอง อิล และที่หน้ารูปถ่ายของผู้นำทั้งสอง และในเวลาเที่ยง มีการสงบนิ่งเป็นเวลา 3 นาที เพื่อไว้อาลัยให้กับ "คิม จอง อิล" โดยจุดสำคัญของการไว้อาลัยอยู่ที่ทำเนียบคัมซูซาน ในกรุงเปียงยาง ซึ่งเป็นสถานที่เก็บร่างของคิม จอง อิล และคิม อิล ซุง นอกจากนี้ทุกสถาบันการศึกษา โรงงาน สถานที่ก่อสร้าง หมู่บ้านในชนบท หมู่บ้านชาวประมง โรงเรียน ท้องถนน และอาหารบ้านเรือนทั่วประเทศได้มีการสงบนิ่งไว้อาลัยเพื่อรำลึกถึง "คิม จอง อิล" เช่นกัน นอกจากนี้ที่เปียงยางยังมีการจัดการแสดงดนตรี "คอนเสิร์ตประสานเสียงแด่สหาย คิม จอง อิล" ในข่าวระบุว่า "เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือของประชาชนเกาหลีที่มีต่อคิม จอง อิล" และเป็นการขอบคุณผู้นำคนใหม่ "คิม จอง อึน" ที่มา: เรียบเรียงจาก All People in DPRK Observe Three-Minute Silence for Kim Jong Il at Noon, KCNA, 17 Dec 2012 http://www.kcna.kp/userAction.do?action=videoindex&lang=eng&newsyear=2012&newsno=1205626 1st Anniversary of Kim Jong Il′s Demise Observed in DPRK, KCNA, 16 Dec 2012 http://www.kcna.kp/userAction.do?action=videoindex&lang=eng&newsyear=2012&newsno=1205626 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
ภาคภูมิ แสงกนกกุล: การรับผิดชอบการรักษาของปัจเจกบุคคล Posted: 17 Dec 2012 08:17 AM PST สิทธิการเข้าถึงการรักษาและสิทธิการมีสุขภาพดีเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่อุบัติขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และปัจจุบันเป็นที่ยอมรับสากล และปรากฏอยู่ในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์กรอนามัยโลก และ รัฐธรรมนูญในประเทศต่างๆรวมถึงประเทศไทย บุคคลมีสิทธิในการได้รับการรักษาไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ฐานะทางสังคมใดๆ ในทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขมีหลัก Horizontal equity คือบุคคลใดๆควรได้รับการรักษาที่เหมือนกันถ้ามีความจำเป็นในการรักษาที่เหมือนๆกัน การให้สิทธิปัจเจกบุคคลในการเข้าถึงการรักษาเป็นการเปลี่ยนความรับผิดชอบต่อความเจ็บป่วย ซึ่งจากอดีต นั้นปัจเจกบุคคลต้องรับผิดชอบความเจ็บป่วยโดยเต็มที่และสังคมไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ แต่การให้สิทธิเท่ากับว่าสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบความเจ็บป่วยของปัจเจกชนในบางส่วน ในฐานะที่มองว่าสุขภาพโดยรวมของสังคมเกิดจากการรวมกันของสุขภาพทุกคนในสังคม เมื่อสังคมเข้ามาร่วมรับผิดชอบต่อสุขภาพปัจเจกบุคคลแล้ว คำถามที่ตามมาคือ อะไรเป็นเส้นแบ่งระหว่างความรับผิดชอบที่ปัจเจกชนรับผิดชอบและอะไรเป็นความรับผิดชอบของสังคม ซึ่งเส้นแบ่งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตีความและไม่ตายตัว และโต้เถียงมาช้านานโดยหาข้อสรุปได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อในโลกความเป็นจริง ถึงสุขภาพมีความสำคัญไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ แต่ก็มีต้นทุนต้องเสีย และในระบบประกันสุขภาพของรัฐที่ใช้งบประมาณส่วนรวมของสังคมเพื่อรักษาสุขภาพของปัจเจกบุคคลประเด็นเรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มทุนจึงเป็นเรื่องที่นำมาพิจารณาและบางทีขัดแย้งกับความเท่าเทียมกันในการรักษา เคสที่โด่งดังที่สุดคือ อดีตตำนานนักฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเตด จอร์จ เบสต์ ซึ่งป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง และต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ เขารอคิวในการเปลี่ยนตับกับ National Health System (NHS) ถึงเก้าเดือน และภายหลังการผ่าตัดเบสต์ก็ยังไม่สามารถเลิกนิสัยดื่มจัด และเสียชีวิตภายในสามปีหลังการเปลี่ยนตับ[1] หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาวิจารณ์ถึงความสิ้นเปลืองของการรักษาที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมส่วนตัวของเบสต์ รัฐบาลต้องออกค่าใช้จ่ายการรักษา และอวัยวะให้กับคนที่มีแนวโน้มในการใช้ชีวิตแบบทำลายสุขภาพตนเอง การรักษาครั้งนี้เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ถ้านำอวัยวะที่มีค่าไปให้คนที่มีโอกาสมีชีวิตยืนยาวกว่าน่าจะเป็นการกระทำที่สมควรกว่า[2] [3] และเสนอให้มีการคัดกรองประวัติการดื่มเหล้าและปัจจัยเสี่ยงกับผู้ที่จะได้รับการเปลี่ยนอวัยวะ จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอคำนึงถึงหลักประสิทธิภาพแต่ได้ละเมิดหลักของความเท่าเทียมกันเช่นกัน และหมิ่นเหม่ต่อการเลือกปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตามปัจเจกบุคคลก็ควรรับผิดชอบต่อพฤติกรรมตนเองเช่นกัน เสรีภาพของปัจเจกบุคคลต้องมีราคาที่เสีย ใน Theory of Equal of Opportunity ได้แบ่งตัวแปรที่ส่งผลต่อการใช้บริการรักษาเป็นสองกลุ่มคือ circumstance variables คือตัวแปรที่เป็นสาเหตุจากสังคมซึ่งเหนือการควบคุมของปัจเจกชน และ effort variables ตัวแปรซึ่งเกิดจากการควบคุมของปัจเจกชน ผลที่เกิดจาก effort variables เป็นสิ่งที่ปัจเจกบุคคลต้องรับผิดชอบเองเพราะเกิดจากการตัดสินใจโดยเสรีของเขา เช่น การดื่มเหล้า ซึ่งการดื่มเหล้ามากๆมีโอกาสที่เกิดโรคต่างๆ เช่น ตับแข็ง เบาหวาน อุบัติเหตุ ฯลฯ โดยผู้บริโภคทราบถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ผู้บริโภคต้องรับผิดชอบคือ ต้องจ่ายค่ารักษาที่มากกว่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่มเหล้า แต่อย่างไรก็ตามคนที่ดื่มเหล้าทุกคนไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นมะเร็งตับ การเก็บค่ารักษาเต็มจำนวนกับผู้ดื่มเหล้าและเป็นมะเร็งตับจึงเป็นภาระสูงและไม่กระจายความเสี่ยงกับกลุ่มประชากรที่กินเหล้าด้วยกัน ทางออกของเรื่องนี้คือการเก็บภาษีบาปซึ่งมีข้อดีคือเก็บโดยตรงจากผู้บริโภคสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และผู้ที่กินมากกว่าก็ต้องรับผิดชอบมากกว่า พร้อมกระจายความเสี่ยงทางค่ารักษาไว้กับคนกินเหล้าด้วยกัน ดังนั้นในบางประเทศกองทุนที่มาจากภาษีเหล้าก็จะถูกสงวนใช้เพื่อประโยชน์เฉพาะกับกลุ่มประชากรที่กินเหล้า เช่นนำกองทุนเพื่อไปรักษาโรคเฉพาะที่เกิดจากการกินเหล้า โดยไม่มีการหักเปอร์เซนต์ไปใช้จ่ายกิจการสังคมอื่นๆ อย่างไรก็ตามทุกอย่างก็ไม่ตรงไปตรงมา Roemer ได้แย้งว่าการที่ปัจเจกบุคคลตัดสินใจบางกรณีก็ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม เช่น คนงานทำเหมืองสูบบุหรี่จัดกว่าพนักงานบริษัท แล้วหมายความว่าคนงานทำเหมืองต้องรับผิดชอบค่ารักษามากกว่าพนักงานบริษัทหรือ โดยที่สภาพสังคม การศึกษา สภาพความเครียดจากการทำงานของคนทำเหมืองแล้วทำให้โดยเฉลี่ยคนทำเหมืองต้องสูบบุหรี่มากกว่า Roemer แนะนำให้แยกอิทธิพลของสภาพแวดล้อมออกจากการตัดสินใจของปัจเจกบุคคลโดย แยกกลุ่มคนออกเป็นอาชีพ และเรียงลำดับตามปริมาณบุหรี่ที่สูบ เช่น สมมติโดยเฉลี่ยประชากรพนักงานบริษัทสูบบุหรี่วันละสองมวน ส่วนประชากรคนงานเหมืองสูบบุหรี่วันละสิบมวน แล้วพนักงานบริษัทที่สูบบุหรี่วันละสองมวนกับคนทำเหมืองที่สูบบุหรี่วันละสิบมวนต้องได้รับการรักษาที่เหมือนกันและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่เขียนในบทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอแนวความคิดของนักคิดบางคนเท่านั้น และไม่จำเป็นที่ต้องปฏิบัติตาม การอภิปรายขอบเขตการรับผิดชอบของปัจเจกชนเป็นเรื่องที่หาข้อสิ้นสุดไม่ได้ แต่โดยภาพรวมแล้วนักคิดทฤษฎีเพื่อความเท่าเทียมต่างให้คุณค่าสำคัญที่เหมือนๆกันคือ ปัจเจกบุคคลต้องมีเสรีภาพในการตัดสินใจ ในการใช้ชีวิต ถึงแม้ว่าวิถีชีวิตที่เขาตัดสินใจจะนำมาซึ่งอันตรายต่อสุขภาพเขาเอง สุดท้ายนี้ขอจบด้วย First Principle of Justice ของ John Rawls « each person is to have an equal right to the most extensive basic liberty compatible with a similar liberty for others »
[1] http://www.psychologytoday.com/blog/mouse-man/200902/do-alcoholics-deserve-liver-transplants [2] http://www.dailymail.co.uk/health/article-2060295/Some-alcoholics-shouldn-t-prove-sobriety-liver-transplant-say-experts.html [3] http://www.scotsman.com/news/uk/criticism-grows-of-best-liver-decision-1-655786
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
“ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม” ความต่างที่เราจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน (2) Posted: 17 Dec 2012 08:12 AM PST ที่ผ่านมา มุสลิมที่กลายเป็นประชากรส่วนน้อยของประเทศและมักตั้งคำถามเพียงด้านเดียวเสมอ นั่นก็คือ "คนไทยพุทธไม่เข้าใจในความเป็นมุสลิมอย่างเรา ?" ในนามของคำว่า "มุสลิม" การขบคิดลักษณะนี้ มักเป็นปัญหาตามมาเสมอ เพราะเป็นตรรกะที่มักจะคิดเอาตัวเอง "เป็นศูนย์กลาง" ในการโคจรแห่งความเป็นเพื่อนร่วมโลก ไม่ต่างกัน ในนามคำว่า "ไทยพุทธ" ก็จะต้องปรับทัศนคติเพื่อหาทางออกร่วมกัน อีกมุมหนึ่งที่มุสลิมอย่างเราต้องคิดนั่นก็คือ "มุสลิมอย่างที่เราเป็นเข้าใจความเป็นพุทธมากน้อยแค่ไหน ?" ด้วยเหตุนี้ มุสลิมก็ต้องศึกษาความเป็นพุทธที่เราต้องคลุกคลีด้วยในทุกวัน เพราะเราใช้ชีวิตร่วมกันและ "รากเหง้าของความเป็นเรา" มันสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น อย่างน้อยก็รากเหง้าของเรา (ทั้งไทยพุทธ-มุสลิม) มาจากสายตระกูลเดียวกันโดยมาก นั่นก็คือ "ลัทธิฮินดู-พราหมณ์และศาสนาพุทธ" (มหายาน) ใน อาณาจักรลังกาสุกะ ก่อนจะมาเป็น "อิสลาม" ใน อาณาจักรปาตานีดารุสลาม เอาเข้าจริง อิสลามก็เพิ่งเข้ามาในปัตตานียุคสมัยของ พญา ตู นักปา อินทิรา มหาวังสา แล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็น "อิสมาอีล ชาห์ ซิลลุลลอฮฺ ฟิลอาลัม" ปี ค.ศ.1457 เพราะก่อนหน้านี้ เราไม่ได้เป็นทั้งไทยมุสลิมและไทยพุทธอย่างที่เราเป็นกัน เอาเป็นว่า ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม มันคือ พื้นที่และบทเรียนที่เราต่างแสวงหามาพอ ๆ กัน และเราก็มีความสัมพันธ์มาเหมือนกัน เจ็บมาก็ไม่ต่างกัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงเป็นมิตรสหายกันตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายอย่างตัดขาดกันไม่ได้อย่างแน่นอน และมุมกลับกันของคนไทยพุทธ "ต้องศึกษาความเป็นอิสลาม" ด้วยคำถามที่ว่า"อิสลามคืออะไร ?" แล้วเริ่มกันหาคำตอบร่วมกัน ไม่ใช่ศึกษาและเข้าใจแค่เพียงว่า "อิสลามไม่กินหมู" อย่างเดียว เอาเข้าจริง บุคคลที่เราควรศึกษาวันนี้ ไม่ใช่ ยิว คริสต์ หรือ ฮินดู แต่สำหรับ คนไทย สิ่งที่เราควรศึกษาและเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ "พุทธ-อิสลาม" เพราะเราต่างก็คลุกคลีกับสิ่งเหล่านี้เป็นประจำ ชีวิตเราอยู่ท่ามกลางความเชื่อเหล่านี้ คนจำพวกนี้ และวางรกรากในพื้นที่แห่งความไม่เหมือนเหล่านี้ดำรงอยู่ ทว่าเมื่อเราไม่เข้าใจ มันคือ "ชะตากรรมแห่งความรุนแรง" ไม่ต่างจาก ผศ. ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี จากสำนักรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้เชี่ยวชาญปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนใต้ไว้อย่างน่าสนใจใน " 9 เดือน ของปีที่ 9 ; ในสถานการณ์ความรุนแรงอันยอกย้อน กระบวนการสันติภาพปาตานียังคงด้าวเดินไปข้างหน้า" ภายใต้นิยามที่ชื่อว่า "ความรุนแรงเชิงคุณภาพ ; ความรุนแรงที่ยืดเยื้อเรื้อรังและเข้มขันยิ่งขึ้น"[2] ผู้เชี่ยวชาญปัญหาความขัดแย้งชายแดนใต้ได้นำเสนอไว้อย่างน่าสนใจใต้นิยามสถานการณ์ชายแดนใต้ว่า "ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบันได้ก้าวย่างเข้าสู่ 105 เดือน (นับตั้งแต่มกราคม 2547 –กันยายน 2555) มีเหตุการณ์เกิดขึ้นรวมทั้งสิ้น 12,377 ครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมกัน14,890 ราย เสียชีวิตประมาณ 5,377 ราย ผู้บาดเจ็บประมาณ9,513 ราย" ข้อมูลที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ "เหตุการณ์ในเดือนมีนาคม 2555 ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตร่วมกันถึง 603 คน ในเดือนนี้ นับเป็นเดือนที่มีสถิติการบาดเจ็บบวกกับการตายในรายเดือนสูงสุดตั้งแต่ปี 2547 และในเดือนสิงหาคม 2555 มีเหตุการณ์ความไม่สงบถึง 380 เหตุการณ์ ในเดือนนี้มีสถิติความถี่ของการก่อความไม่สงบรายเดือนสูงสุดนับตั้งแต่มกราคม 2547" ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้แจงและตั้งประเด็นไว้อย่างน่าสนใจว่า "เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ มันไม่ใช่แค่เพียงการนับจำนวนตัวเลขอย่างตื้น ๆ อย่างธรรมดา ๆ ทว่าสิ่งนี้กลับเป็น ตัวเลขมีชีวิตและมีความสูญเสียอย่างคณานับอยู่เบื้องหลัง"[3] จากตัวเลขดังกล่าวพอที่จะบอกเรา (ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม) ได้ว่า "เราต้องทำอะไรสักอย่าง เพราะในแต่ละวันนับตั้งแต่เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น เราต้องสูญเสียคนที่เรารักหรือเพื่อนร่วมโลกอย่างน้อยวันละประมาณ ๒ คน" นี่คือความรุนแรงที่เราได้ก่อมันให้เกิดขึ้น ไม่ว่าด้วยเหคุผลที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยใดใดก็ตามที บ้างอาจจะเกี่ยวข้องกับความไม่ยุติธรรมตามการศึกษาของนักสิทธิมนุษยชน ส่วนหนึ่งเกิดจากเรื่องชาติพันธุ์และศาสนาจากการค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์ อาจจะมีเกิดจากพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ร่วมของกลุ่มคนที่ได้รับความไม่เท่าเทียมในสายตาของกองทัพปลดแอก คงไม่พ้นจากการกระจายรายได้ไม่ทั่วถึงผ่านมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ หรือเกิดจากการไร้วิถีของศาสนาและการหลุดลุ่ยของชีวิตใต้แบบแห่งศาสนาผ่านแนวคิดของนักการศาสนา ความรุนแรงและการก่อความไม่สงบของกลุ่มผู้ก่อการในสายตาของรัฐไทยและกองทัพ ความไม่ลงตัวของผลประโยชน์ของผู้แสวงหาอำนาจและกอบโกย เกิดจากการปกครองที่ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยใต้สายตานักการเมืองท้องถิ่น เกิดจากระบบการศึกษาที่กดขี่และไม่มีความชัดเจนผ่านแว่นขยายของนักการศึกษา อาจเกิดจากการแพร่หลายของยาเสพติดจากการสำรวจของงานสาธารณะสุข อาจเกิดจากการกดขี่ของรัฐบาลกับการเป็นมุสลิมชนกลุ่มน้อยในสายตาของนักเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสถานการณ์ เกิดจากระบบการจัดการคดีความมั่นคงไม่ทั่วถึงจากการสำรวจนักกฎหมาย ความไม่เท่าเทียมในสิทธิของพลเมืองในสายตาชาวบ้าน หรืออาจ เกิดจากการขัดแย้งและแย่งชิงตำแหน่งและหน้าที่การงานกันเองของ (นักการเมืองท้องถิ่น -นักการศาสนา) ที่เมืองชายแดนเพื่อกอบโกยผลประโยชน์และยกระดับการเป็นอยู่ของสายตระกูลให้ดีขึ้น ทว่า เมื่อเหตุการณ์ความรุนแรงเหล่านี้จบลง ความสูญเสียได้เกิดขึ้น ภายใต้รากเหง้าแห่งความเป็นพี่น้องร่วมสายเลือด (ต่างกันแค่ศาสนาไทยมุสลิม-ไทยพุทธ) เกือบจะทุกสถานการณ์ สิ่งหนึ่งที่ได้ยินตามมาและกลายเป็น บทสรุป คือ "ความเป็นไทยพุทธ-ความเป็นมุสลิม เพราะเราไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ ทุกคนต่างโยนความผิดมาให้กับความต่างเหล่านี้ว่าด้วยหลักความเชื่อ หลักการศรัทธาและวิถีปฏิบัติ จนกระทั่งกลายเป็น "แพะที่คอยรับบาปมากว่า 9 ปี" ปรากฏการณ์เหล่านี้ก็ได้ยืนยันถึงความต่างที่เราต้องเรียนรู้กันเพราะพระเจ้าสร้างมนุษย์มาด้วยความไม่เหมือนเพียงเพราะว่า "เพื่อทดสอบมนุษย์ว่า ในความไม่เหมือนเหล่านี้ มุสลิมที่ถืออัลกุรอ่านเป็นธรรมนูญ ยังดำเนินตามเจตนารมณ์แห่งความเป็นอิสลามได้หรือ ไม่ เพราะในความต่าง อิสลามก็จะไม่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมแตกแยกและวุ่นวาย" อัลกุรอ่านได้บอกอย่างชัดเจนว่า "และหากอัลเลาะฮ์ทรงประสงค์แล้ว แน่นอนก็ทรงทำให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติเดียวกัน แต่ทว่า เพื่อที่จะทรงทดสอบพวกเจ้าในสิ่งที่พระองค์ได้ประทานแก่พวกเจ้า" (5 ; 48) เพราะเป้าหมายแห่งความต่าง นั่นก็คือ การทำความเข้าใจกันและเรียนรู้ในความไม่เหมือนกัน "พระเจ้าให้เราไม่เหมือนกัน เพียงเพื่อทดสอบว่าเรา เอาอะไรมาจัดการความไม่เหมือน อารมณ์ใฝ่ต่ำ หรือ หลักการศาสนา" ในอัลกุรอ่านได้กล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนที่สุด "เราได้ให้คัมภีร์ลงมาแก่พวกเจ้าด้วยความจริง ในฐานะเป็นที่ยืนยันคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้ามันและเป็นที่ควบคุมคัมภีร์นั้น ดังนั้นเจ้าจงตัดสินระหว่างพวกเขา ด้วยสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานลงมาเถิด และจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขา โดยเขาออกจากความจริงที่มายังเจ้า สำหรับแต่ละประชาติในหมู่พวกเจ้านั้น เราได้ให้มีบทบัญญัติและแนวทางไว้" (๕ ; ๔๘) ในมุมของอิสลาม มักวางทุกอย่างไว้บนรากฐานแห่งอัลกุรอ่านเสมอ ด้วยคัมภีร์เหล่านั้น คือ ความกระจ่างที่สุดในการตัดสินปัญหาและความเป็นสังคมโลกที่มีคนไม่เหมือนเรา หรือ เราไม่เหมือนเขามักร่วมอยู่ด้วยเสมอ "โอ้มนุษย์ทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชายและเพศหญิงและเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่าและตระกูลเพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติในหมู่ของพวกเจ้า ณ ที่อัลเลาะฮ์นั้น คือ ผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า แท้จริงอัลเลาะฮ์นั้นเป็นผู้รู้รอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน" (49 ; 13) นี่คือส่วนหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ เมื่อ เราต่างประสบชะตากรรมเดียวกัน นั่นก็คือ การไดอะล็อก หรือ การหาทางออกร่วมกันด้วยการแลกเปลี่ยนระหว่าง เพราะ "ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม ในความต่างที่เราจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน" มันคือคำถามที่หนักอึ้งและเป็นภาระคนรุ่นใหม่อย่างเราต้องจัดการร่วมกัน หาไม่แล้ว สิ่งเหล่านี้ คือ "มรดกแห่งความรุนแรงและความเกลียดชังที่จะพรากเพื่อนร่วมโลกไปอย่างน่ากลัวและจะกลายเป็นของขวัญอันน่าสยองนำไปสู่คนในรุ่นใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้" กระทั่ง Asghar Ali Engineer ได้แลกเปลี่ยนใน "The Need For Inter-Religious Dialogue" ผ่านความจำเป็นที่สำคัญของการไดอะล็อกนั่นก็เพื่อ ประการแรก เพื่อเรียกร้องให้คนเข้ามาสนใจประเด็นแห่งความต่างเพราะการไม่ให้ความสำคัญมักจะนำไปสู่ปรากฏการณ์บางอย่างที่เกิดความรู้สึกถึง "การไม่ใส่ใจผู้อื่นรอบข้าง" ประการที่สอง นำไปสู่ความกระจ่างของความไม่เข้าใจในประเด็นต่าง ๆ เพราะโดยมาก ความไม่เหมือนที่อยู่ท่ามกลางความหลากหลายมักนำไปสู่การเข้าใจผิดเสมอ ๆ [4] "ขุดรื้อโคนต้นและรากเหง้า แล้วจะเข้าใจถึงดอกและใบแห่งเรา (ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม) เรียนรู้ผ่านกิ่งก้าน เกสรและเมล็ดผลที่มักฉายให้ประจักษ์ถึงสายพันธุ์แห่งเรา (ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม) ซึมซับถึงสายเลือดที่โยงใยและเชื่อมร้อยให้เข้ากันระหว่างเรา(ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม) กระทั่ง เรา (ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม) ต่างสำนึกเหมือนกันผ่านพันธุ์ไม้ต่างก็มีที่มาจากสายตระกูลเดียวกัน แม้ดอกและใบที่ชูช่อจะเปล่งออกมาหลากสีและต่างกลิ่นก็ตาม"
[1] ปริญญาตรีการเมืองการปกครองคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี , ปริญญาโทวิชาเอกปรัชญาการเมืองอิสลาม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอาลีกัรมุสลิม,อินเดีย ปัจจุบัน เป็นนักเดินทางและใช้ชีวิตด้วยการอ่านหนังสือ บทกวี การเขียนเรื่องสั้นลงนิตยสาร บทความเว็บไซต์ งานวิจัยและงานวิชาการตามโอกาสและวาระที่พบเห็นและเผชิญ เขียนเมื่อ 3-12-2012 ณ ห้องเช่าริมกุโบร์,อินเดีย [2] ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี, (บทวิเคราะห์) " 9 เดือน ของปีที่ 9 ; ในสถานการณ์ความรุนแรงอันยอกย้อน กระบวนการสันติภาพปาตานียังคงด้าวเดินไปข้างหน้า",ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ; ปัตตานี, 2 พฤศจิกายน 2522, หน้า 1 หรือ http://www.deepsouthwatch.org/node/3670 [3] ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี, (บทวิเคราะห์) " 9 เดือน ของปีที่ 9 ; ในสถานการณ์ความรุนแรงอันยอกย้อน กระบวนการสันติภาพปาตานียังคงด้าวเดินไปข้างหน้า",ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ; ปัตตานี, 2 พฤศจิกายน 2522, หน้า 4 หรือ http://www.deepsouthwatch.org/node/3670 [4] หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก The Nation and The World(The Fortnightly Newsmagazine), Asghar Ali Engineer ,"The Need For Inter-Religious Dialogue" ,April ; 16,Vol.19,489 P.18-19
เผยแพร่ครั้งแรกใน: PATANI FORUM
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
ถล่มสองแถวนราฯ เหมารับส่งข้าราชการ ตาย 2 เจ็บ 5 รวมครู Posted: 17 Dec 2012 08:01 AM PST คนร้ายแต่งชุดลายพราง ใช้อาวุธสงครามยิงถล่มสองแถวสายนราธิวาส – สุไหงโก-ลก เจ้าหน้าที่เทศบาลฯ เผยรู้ตัวแล้วมือฆ่าผอ.โรงเรียนท่ากำชำ เมื่อเวลา 16.50 น. วันที่ 17 ธันวาคม 2555 เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนแต่งกายชุดลายพรางคล้ายทหารบกใช้อาวุธสงครามกราดยิงใส่รถโดยสารประจำทาง (รถสองแถว) สายนราธิวาส - สุไหงปาดี - สุไหงโก - ลก ทำให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต 2 ราย และได้รับบาดเจ็บ 5 ราย เหตุเกิดบนถนนสาย 4056 บูเก๊ะตาโมง - ไอกูบู บ้านบูเก๊ะตาโมง หมู่ที่ 7 ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ส่วนปฏิบัติการและรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ศูนย์ปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) รายงานว่า ผู้เสียชีวิต คือ นางสาวเนาวรัตน์ ลีนิน เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสุไหงปาดี จ.นราธิวาส และนางปาตีเมาะ สาและ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสุไหงปาดีเช่นกัน ส่วนผู้บาดเจ็บซึ่งถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเจาะไอร้อง ได้แก่ นางเสาวณีย์ ลิ้มศิริวะนนท์ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลปะลุรู อ.สุไหงปาดี นางวีอัจฉรา หะยะมิน เจ้าหน้าที่ธุรการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ปะลุรู นายวัญซ์ หมวดดา เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลปะลุรู นางฉวีวรรณ์ อ่อนหวาน ข้าราชการครูโรงเรียนบ้านจือแร ต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี และนางจิตตรา มะดาอิน เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลปะลุรู ทั้งหมดถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ สอบสวนทราบว่า ขณะที่ทั้งหมดรวม 14 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่เทศบาลปะลุรู 5 คน เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสุไหงปาดี 3 คน, ข้าราชการครู 3 คน เจ้าหน้าที่ธุรการตำบลปะลุรู 1 คน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินสุไหงปาดี 1 คน และพนักขับรถ 1 คน เดินทางโดยสารมากับรถยนต์โดยสารคันดังกล่าว ยี่ห้ออีซูซุ ป้ายสีเหลือง ทะเบียน 10-0934 นราธิวาส ซึ่งรับจ้างเช่าเหมารับส่งข้าราชการดังกล่าวจากพื้นที่อ.เมือง ไปกลับ อ.สุไหงปาดีเป็นรายเดือน ระหว่างทางคนร้ายที่ซุ่มอยู่ในป่าข้างทางใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิงใส่ จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว คนขับจึงเร่งเครื่องหลบหนีและจอดรถขอความช่วยเหลือห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 1 กิโลเมตร หลังก่อเหตุคนร้ายได้โปรยตะปูเรือใบตามถนนสายดังกล่าว เพื่อป้องกันการติดตามหรือเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ก่อนหลบหนีไป สาเหตุเชื่อว่าเป็นการกระทาของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 48 (ฉก.ทพ.48) ร่วมกับตำรวจสถานีตำรวจภูธร (.สภ.)เจาะไอร้อง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อ.เจาะไอร้อง เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ และตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ตามเส้นทางตรวจค้นบุคคลและยานพาหนะต้องสงสัย นายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ขณะนี้รู้ตัวคนร้ายที่ก่อเหตุยิงนางนันทนา แก้วจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมาแล้ว 2 คน ซึ่งมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) อยู่แล้ว โดยเป็นคนในพื้นที่ ต.ท่ากำชำ อีกคนเป็นคนในพื้นที่ ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา ขณะนี้ตำรวจ กำลังรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อออกหมายจับ "ทางจังหวัดขอความร่วมมือจากชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยครู โดยในจังหวัดปัตตานีมีโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง 66 โรงจากทั้งหมด 332 โรงหรือคิดเป็นร้อยละ20" นายประมุข กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
รายงาน: การเมืองเรื่อง กสม. เมื่อคนในขัดขากันด้วยข้อกล่าวหา “ฝักใฝ่เสื้อแดง” Posted: 17 Dec 2012 07:14 AM PST จดหมายเปิดผนึก สะท้อนการเมืองภายในของกสม. ที่แสดงทัศนคติของคนทำงานในสำนักงานกสม. ต่อสิทธิทางการเมืองของประชาชน เมื่อกสม. รายหนึ่งถูกโจมตีว่าฝักใฝ่และเป็นใจให้คนเสื้อแดงรวมไปถึงการพยายายามแก้ป.อาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ สิ่งนี้อาจจะช่วยสะท้อนว่า เหตุใดการทำงานของกสม. จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เป็นนิจ ความวัวจากการมอบรางวัลสิทธิมนุษยชนดีเด่นประจำปียังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก เมื่อเอกสารจากรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ร่อนถึง ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ความว่า เจ้าหน้าที่กสม. ซึ่งใช้นามแฝง "เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ที่รักองค์กรและบ้านเมือง" ส่งจดหมายถึงนายวัชระ เพชรทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหา น.พ. นิรันดร์ พิทักษ์ วัชระ ว่าเป็น "เสื้อแดงตัวจริงในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ" (อ่านเอกสารจากไฟล์แนบท้ายข่าว) เนื้อหาจดหมายดังกล่าวระบุว่า น.พ.นิรันดร์ มีพฤติการณ์เชื่อมโยงกับกลุ่มนปช. หลายเรื่องดังนี้... "1 สนับสนุนให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่มีน.พ.นิรันดร์ เป็นประธาน ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำข้อเสนอปรับปรุงแก้ไข (เพิ่มเติม) ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง มีนายจอน อึ๊งภากรณ์ (พี่ชายของนายใจ อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) เป็นประธานคณะทำงาน โดยมีนักวิชาการในกลุ่มนิติราษฎร์ เช่น นางสาวสาวตรี สุขศรี เป็นหนึ่งในคณะทำงาน" "2 มีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มนิติราษฎร์ จนถึงขั้นเชิญมาอบรมปฐมนิเทศข้าราชการบรรจุใหม่และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ เมื่วันที่ 13-14 มกราคม โดยเฉพาะนายปิยบุตร แสงกนกกุล ซึ่งได้แสดงความเห็นจาบจ้วงล่วงละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักของคนไทยอย่างร้ายแรง" "3 นำพรรคพวกเข้ามาเป็นอนุกรรมการในคณะกรรมการที่ตนเองเป็นประธานอนุกรรมการทั้ง 4 คณะ เป็นการหาเงินให้พรรคพวกใช้ในการจ้างทำวิจัย จ้างเขียนรายงานผลการศึกษา จ้างเขียนผลการตรวจสอบ เบี้ยประชุม การลงพื้นที่จัดสัมมนา ผลงานที่ได้ไม่คุ้มค่าเงินงบประมาณหลายล้านบาทในแต่ละปี โดยวางแผนว่าเมื่อหมดวาระกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในปี 2558 จะลงสมัคร ส.ส. อุบลราชธานี จึงทำทุกวิถีทางที่จะเอาใจเครือข่ายตนเอง" "4 อยู่เบื้องหลังการที่นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของนางสาวกมนเกด อัคฮาด (น้องเกด) พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม ระหว่างเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553 และกลุ่มเสื้อแดง บุกเข้ามาที่ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 โดยยื่นข้อเรียกร้องให้ประธาน กสม. (ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์) ลาออกจากตำแหน่งประธาน กสม. แต่เพียงผู้เดียว (โดยไม่ไล่ กสม. ทั้งคณะ) ซึ่งนายแพทย์นิรันดร์ฯ เป็นผู้ประสานงานให้กับกลุ่มคนเสื้อแดง แต่สุดท้ายได้ออกมารับกลุ่มคนเสื้อแดงและให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในทำนองที่เป็นการเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น (เอกสาร 3)" "นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้รายงานผลการตรวจสอบกสารละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงมที่เกิดจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 ที่ดำเนินการเสร็จแล้วและเตรียมจะเปิดแถลงข่าวเมื่อปี 2554 ถูกระงับและมีรายงานรั่วออกไปภายนอก เพราะผลการตรวจสอบไม่ถูกใจกลุ่มคนเสื้อแดง "ปัจจุบัน นอกจากการไปพูดในที่ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงแล้ว ยังมีความสัมพันธ์หรือพยายามเข้าไปมีสัมพันธ์กับแกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดง หรือส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง จึงอาจเป็นไปได้ว่าจะกระทบต่อความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ "ข้าพเจ้าเห็นว่ากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรจะเป็นกลางทางการเมือง และไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด การกระทำของนายแพทย์นิรันดร์ฯ เป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่ไม่ให้ความเคารพสถาบันอันเป็นที่เคารพสูงสุด และเลือกอยู่ข้างกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างชัดเจน ทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องเสื่อมเสีย จึงขอส่งข้อมูลนี้มาเพื่อทราบและดำเนินการตามที่เห็นสมควร" จดหมายดังกล่าวลงวันที่ 17 ตุลาคม 2555 โดยมีเอกสารแนบท้ายเป็นข่าวและการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำข้อเสนอและปรับปรุงแก้ไข (เพิ่มเติม) ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง จดหมายฉบับดังกล่าว นอกจากสะท้อนความไม่เป็นเอกภาพในการทำงานของกรรมการสิทธิแล้ว ยังสะท้อนทัศนะคนทำงานในองค์กรอิสระของรัฐในการทำหน้าที่ตรวจสอบ ติดตาม และปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชน คำถามที่อาจจะสะท้อนได้เร็วๆ ประการหนึ่งคือ การเป็นคนเสื้อแดง นั้นเป็นความผิดฐานใดสำหรับคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในหน่วยงานที่ใช้งบประมาณจากภาษีของรัฐไปจำนวน 173 ล้านบาทต่อปี
อ้างอิง พระราชบัญญัติ งบประมาณรายจายประจำปี งบประมาณ ปี พ.ศ. 2555 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/015/1.PDF
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||||||||||||||||||
ศาลสั่งคดีที่ 3 ไต่สวนการตายเสื้อแดง ตายด้วยกระสุนจากกลุ่มทหาร Posted: 17 Dec 2012 06:53 AM PST ระบุกระสุน ขนาด .223 สังหาร "ชาติชาย ชาเหลา" คืน 13 พ.ค.53 ถูกยิงมาจากกลุ่มเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ด่านตรวจ ถ.พระราม 4 โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้กระทำ ส่งสำนวนกลับไปยังพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการต่อไป วันนี้(17 ธ.ค.55) เวลา 10.30 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้อ่านคำสั่งชันสูตรพลิกศพ การเสียชีวิตของนายชาติชาย ชาเหลา ตามคดีหมายเลขดำ ช.6/2555 ที่อัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพ การตายของ นายชาติชาย เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 53 เวลากลางคืน ในช่วงที่มีการกระชับพื้นที่การชุมนุมของ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นการตายที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อัยการจึงขอให้ศาลทำการไต่สวนและมีคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน ตายเมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 โดย ศาลได้มีคำสั่งว่า ผู้ตายคือนายชาติชาย ชาเหลา ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 53 เวลา 23.37 น. โดยเหตุและพฤติการณ์การตาย สืบเนื่องมาจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด ขนาด .223 (5.56 ม.ม.) เป็นเหตุให้สมองฉีกขาดร่วมกับกะโหลกศีรษะแตกอย่างมาก ซึ่งวิถีกระสุนปืนมาจากแนวด่านตรวจแข็งแรงของเจ้าพนักงาน ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบ ถ.พระราม 4 โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ ทั้งนี้ศาลยังได้พิเคราะห์ ถึงพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย ระบุข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. - 19 พ.ค.53 มีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งใช้ชื่อว่า กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ใหม่ แต่นายกปฏิเสธคำเรียกร้อง กลุ่ม นปช. จึงชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยมีการขยายพื้นที่การชุมนุมไปยังสี่แยกราชประสงค์ ถนนเพลินจิต ถนนพระราม 1 ถนนพระราม 4 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 เม.ย.53 รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าการชุมนุมทางการเมืองดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ จึงได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กทม.และอีกหลายพื้นที่ โดยนายกฯ ได้ออกคำสั่งที่ พิเศษ 1/2553 จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ(นายสเทพ เทือกสุบรรณ) และมีข้าราชการทหาร ตำรวจและพลเรือน เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ และคำสั่งพิเศษที่ 2/2553 แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงานหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และได้ออกข้อกำหนดโดยประกาศของ ศอฉ. ห้ามกระทำการต่างๆ เพื่อให้เจ้าพนักงานสามารถปฏิบัติหน้าที่แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ โดยระหว่างวันที่ 13 พ.ค.2553 เวลา 06.00 น. ถึงวันที่ 14 พ.ค.53 เวลา 06.00 น. ศอฉ.มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานซึ่งมีอาวุธประจำการ ได้แก่ ปืนเล็กยาวเอ็ม 16 ปืนเล็กสั้นเอ็ม 653 ปืนเล็กยาวแบบ 11(HK 33) ปืนลูกซองและปืนพก ออกไปตั้งด่านแข็งแรงบริเวณ ถนนพระราม 4 ซึ่งในวันที่ 13 พ.ค.53 เวลาประมาณ 21.00 น. ระหว่างเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ ผู้ตายกับพวกซึ่งเป็นผู้ชุมนุม นปช. ได้รวมตัวกัน ทยอยเคลื่อนที่เข้าหาด่านตรวจแข็งแรงของเจ้าพนักงาน และได้ยิงพลุและตะไลเข้าใส่เจ้าพนักงาน ส่วนผู้ตายถือกล้องถ่ายวิดีโอถ่ายภาพระหว่างเคลื่อนที่เข้าหาด่านตรวจแข็งแรงของเจ้าพนักงาน ระหว่างนั้นมีเสียงปืนดังขึ้นกระสุนปืนถูกผู้ตายที่ศีรษะทะลุด้านหลัง ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คำสั่งศาลระบุถึงปัญหาต้องวินิจฉัยมีเพียงว่า เหตุและพฤติการณ์แห่งการตายของผู้ตายเป็นอย่างไร โดยศาลเห็นว่าผู้ร้องมีประจักษ์พยาน(เจ้าหน้าที่กู้ชีพของวิชรพยาบาล)ยืนยันว่าว่าเห็นแสงที่เชื่อว่าเป็นกระสุนปืนมาจากแนวตั้งด่านของฝ่ายเจ้าพนักงาน ซึ่งพยานเป็นคนกลางไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด เชื่อว่าพยานเบิกความตามความจริงที่รู้เห็นมา เมื่อรับฟังประกอบความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญ เชื่อได้ว่าวิถีกระสุนมาจากทางแยกศาลาแดง แนวตั้งด่านตรวจแข็งแรงของเจ้าพนักงาน ทั้งปรากฏจากทางไต่สวนว่าจุดเกิดเหตุอยู่ใกล้บริษัทกฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด และอาคารอื้อจือเหลียง ถนนพระราม 4 ซึ่งบริเวณนั้นมีเพียงเจ้าพนักงาน ตั้งด่านตรวจแข็งแรงและเจ้าพนักงานมีอาวุธประจำกายได้แก่ ปืนเล็กยาวเอ็ม 16 ปืนเล็กสั้นเอ็ม 653 ปืนเล็กยาวแบบ 11(HK 33) ปืนลูกซองและปืนพก ดูแลพื้นที่ตามคำสั่ง ศอฉ. และด้านหลังแนวตั้งด่านตรวจแข็งแรงของเจ้าพนักงานเป็นบังเกอร์ ซึ่งบุคลภายนอกไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ยกเว้รถพยาบาลเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏจากการไต่สวนว่ามีบุคคลฝ่ายที่ 3 เข้ามาก่อเหตุใดๆ ทั้งกระสุนปืนขนาด .223 ที่ยิงมาถูกผู้ตายก็เป็นกระสุนปืนขนาด .223 ที่ยิงมาถูกผู้ตายก็เป็นกระสุนปืนขนาดเดียวกับกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนเล็กยาวเอ็ม 16 ปืนเล็กสั้นเอ็ม 653 ปืนเล็กยาวแบบ 11(HK 33) ซึ่งเจ้าพนักงานใช้ประจำการในการดูแลความสงบเรียบร้อยบริเวณที่เกิดเหตุ พฤติการณ์จึงเชื่อได้ว่ากระสุนดังกล่าวถูกยิงมาจากกลุ่มเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ด่านตรวจแข็งแรงดังกล่าว โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้กระทำ ศาลอ่านรายงานในวันนี้ด้วยว่าหลังจากศาลได้อ่านคำสั่งแล้ว ให้ส่งสำนวนการไต่สวนของศาลไปยังพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรค 11 ญาติและทนายญาตินายชาติชาย ชาเหลา ในวันนี้ได้มีภรรยา แม่และญาติของผู้ตายเข้าร่วมฟังคำสั่งด้วย และภายหลังศาลมีคำสั่งแล้ว นางพลอน ขบวนงาม มารดานายชาติชายผู้ตาย ได้ถือรูปผู้ตายมาพร้อมให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวด้วยว่า รู้สึกดีใจเมื่อทราบคำสั่งของศาล แต่ก็ยังโกรธจากที่ลูกชายตัวเองต้องเสียชีวิต อย่างไรก็ตามถึงตอนนี้ถือได้ว่าคดีเดินมาในแนวที่ถูกต้อง จากการได้ทราบสาเหตุการณ์ตาย โดยครอบครัวได้รับการเยียวยาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลแล้ว อย่างไรก็ตามการเสียลูกชายไปส่งผลกระทบต่อครอบครัวอย่างมากเพราะเขาจะช่วยครอบครัวด้วยการขับรถแท็กซี่ พี่สาวของนายชาติชาย กล่าวด้วยว่าตนเองยังรู้สึกโกรธอยู่เพราะน้องชายตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด แต่กลับต้องมาถูกทำร้าย อยากถามถึงคนที่ยิงน้องชายตัวเองว่าถ้าเกิดกับครอบครัวตัวเองบ้างจะรู้สึกอย่างไร แต่ก็ภูมิใจที่น้องตนเองจากคำตัดสินวันนี้ และยังมีคนติดตามสนใจการเสียชีวิตของน้องตัวเอง ถือว่าน้องตัวเองไม่ได้เสียชีวิตฟรี พี่สาวนายชาติชายยังกล่าวถึงน้อยชายตัวเองด้วยว่าเขาเป็นคนสู้ แม้เป็นเพียงคนขับรถแท็กซี่ ขนาดแท็กซี่เขาถูกยึดไปเขายังสู้จนตัวเขาตาย คิดว่าคนที่ต้องรับผิดชอบกรณีนี้เขาก็คงรู้อยู่แก่ใจ สำหรับคดีของนายชาติชาย ถือเป็นคดีที่ 3 ที่ศาลมีคำสั่งในการไต่สวนการเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากการสลายการ ชุมนุมของ นปช. ช่วง เมษา – พ.ค. 53 โดยก่อนหน้านั้น ศาลได้มีคำสั่งไปแล้ว 2 คดีคือคดีของนายพัน คำกอง และนายชาญณรงค์ พลศรีลา ว่าเกิดจากการ กระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะคดีนายพัน ดีเอสไอได้นำพยานหลักฐานจากคำสั่งไปแจ้งข้อหาต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีต ผอ.ศอฉ. ในข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล และหลังจากนี้ยังมีอีก 2 คดีที่ รอคำสั่งศาลคือ 20 ธ.ค.นี้ คดี ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือ "อีซา" อายุ 12 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืนความเร็วสูงที่หลังทะลุเข้าช่องท้องทำ ให้เลือดออกมากในช่องท้อง เมื่อวันที่ 15 พ.ค. เวลาหลังเที่ยงคืน ที่บริเวณใต้แอร์พอร์ตลิงค์ ปาก ซ.หมอเหล็ง หน้าโรงภาพยนตร์ โอเอ ถนนราชปรารภ ซึ่งนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้เสียชีวิต ยืนยันว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกับ นายพัน คำกอง และ 16 ม.ค.นี้ คดีของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ 71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้อง ด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 9 - 15 ธ.ค. 2555 Posted: 17 Dec 2012 03:49 AM PST
ก.แรงงานเตรียมตั้งศูนย์รองรับผลกระทบปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
กระทรวงแรงงานเตรียมแก้ กม. ขยายอายุการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40
พนักงานฟาร์อีสปั่นทอบุรีรัมย์หวั่นถูกลอยแพพิษค่าแรง 300 บาทหลังบริษัทบีบไปทำงานต่างสาขา
สาธารณสุขจ่อบรรจุลูกจ้าง
พนง.บริษัทไมเออร์ฯ เรียกร้องสวัสดิการ
เครือข่ายพยาบาลลูกจ้างฯพอใจ สธ.เร่งบรรจุเป็นข้าราชการ
เตรียมบรรจุลูกจ้างชั่วคราวกว่า 1 แสนคนเป็นพนง.สธ.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
‘สว.รสนา’ นำทีม ‘ผู้บริโภค’ เปิดครัวกลางสีลม ค้านขึ้นราคา ‘ก๊าซหุงต้ม’ Posted: 17 Dec 2012 02:25 AM PST 'สว.รสนา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมประชาชนในนามเครือข่ายธรรมาภิบาลด้านพลังงาน รวมตัวเคาะกระทะที่บริเวณหน้าตึกซีพี ถ.สีลม เพื่อแสดงสัญลักษณ์คัดค้านกระทรวงพลังงานที่พยายามจะปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) 17 ธ.ค.55 เวลา 10.00 – 13.00 น. นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและประชาชนกว่า 100 คน ในนามเครือข่ายธรรมาภิบาลด้านพลังงาน จักกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนกรณีการประกาศปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีในปี 2556 เดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป ต่อประชาชนที่สัญจรไปมาหน้าตึกซีพี ถนนสีลม นางสาวรสนา อธิบายถึงการปรับราคาก๊าซหุงต้มดังกล่าวว่า ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งค่าแรง 300 บาท ที่รัฐบาลประกาศขึ้นในต้นปี 2556 ก็จะไม่มีความหมายอีกต่อไป "ก๊าซ LPG ในประเทศจากโรงแยกก๊าซจะถูกเก็บไว้ให้ปิโตรเคมีใช้ ในราคาถูกกว่าตลาดโลก 40-50% คนกลุ่มน้อยจะรวยขึ้นจากทรัพยากรราคาถูกที่รัฐใช้อำนาจจัดสรรให้ ส่วนประชาชนถูกรัฐกำหนดให้ใช้ก๊าซ LPG นำเข้าจากต่างประเทศทั้ง 100% นำเข้าแค่ 22% แต่ให้ประชาชนใช้ในราคานำเข้าทั้ง 100% แล้วที่มีเองในบ้าน 55% จะเก็บไว้ให้ใครใช้ ถ้าไม่ใช่ปิโตรเคมี ราคาก๊าซหุงต้มที่รัฐบาลจะขึ้นราคาเดือนละ 50 สตางค์ ตั้งแต่เดือนมกราคม '56 เป็นต้นไป ฟังเผินๆ ก็ไม่เท่าไหร่ แต่ฟังดีๆ คือขึ้นราคากิโลกรัมละ 50 สตางค์ ก๊าซถังละ 15 กิโล เท่ากับขึ้นมาถังละ 7.50 บาทต่อเดือน พอครบปี ราคาจะเพิ่มขึ้นถังละ 100 บาท พอครบ 2 ปี ก็เพิ่มขึ้น 200 บาทต่อถัง กลายเป็นก๊าซหุงต้มถัง 15 กิโล จะ มีราคาถังละ 500 บาท ข้าวแกงจะราคาเท่าไหร่ เมื่อถึงตอนนั้น คนรวยไม่เดือดร้อนหรอก แต่คนจน จะอยู่กันยังไง นี่หรือคือการกระชากค่าครองชีพให้ประชาชน นี่หรือคือการปรับราคาพลังงานให้เป็นธรรมต่อประชาชน ค่าแรง 300 บาทเพิ่งจะได้ในปี 2556 แต่ก็ล้วงกระเป๋าคืนแล้วจากก๊าซหุงต้ม ถังละ 100 บาทในปี '56 พอปี '57 ก็ล้วงเพิ่ม 200 บาทต่อถัง ยังไม่รวมค่ารถ ค่าไฟ ค่าครองชีพที่ต้องพาเหรดขึ้นจนค่าแรง 300 บาทหมดความหมาย" สว.กทม.กล่าว นางสาวรสนากล่าวเพิ่มเติมว่า การที่รัฐบาลประกาศช่วยคนจนได้ใช้ก๊าซหุงต้มฟรีเดือนละ 6 กิโลกรัม แม่ค้าได้เดือนละ 105 กิโลกรัม ก็เป็นการบริหารที่ยุ่งยากมากเว้นแต่จะเอาไว้ให้แต่หัวคะแนนของตัวเอง และการช่วยคือเอาเงินหลวง เงินงบประมาณมาจ่าย แต่ธุรกิจพลังงานได้ไปเต็มๆ "ลองประมาณรายได้ที่บริษัทธุรกิจพลังงานจะได้จากการเพิ่มราคาดู ครัวเรือนใช้ก๊าซหุงต้ม 2.6 ล้านตันหรือ 2,600 ล้านกิโลกรัม ขึ้น 6 บาทต่อกิโลกรัม ปี '56 จะได้เงินเพิ่ม 15,600 ล้านบาท ยานยนตร์ใช้ 9 แสนตัน หรือ 900 ล้านกิโลกรัมขึ้นมา 6 บาท จะได้เงินเพิ่ม 5,400 ล้านบาท ส่วนอุตสาหกรรม SME ขึ้นมา 12 บาทใช้ปีละ 7 แสนตันหรือ 700 ล้านกิโลกรัม ก็จะได้เงินเพิ่ม 8,400 ล้านบาท ปี'56 จะได้รายได้เพิ่ม 15,600+5,400+8,400=29,400 บาท ภายใน1ปีได้รายได้เพิ่มเกือบ 30,000 ล้านบาท ถ้าประชาชนต้องใช้ทั้งก๊าซ และน้ำมันใน ราคาตลาดโลกทั้ง 100% ทั้งที่นำเข้าก๊าซ LPG แค่ 22% ก็ขอเสนอให้ยกเลิกสัมปทานปิโตรเลียมทั้งหมด แล้วนำเข้าทั้ง 100% จะดีไหม เราจะได้เก็บทรัพยากรเหล่านี้ให้ลูกหลานในอนาคตที่ฉลาดและไม่โกงไว้ใช้ต่อไป ดิฉันยินดีใช้ก๊าซราคาตลาดโลก เมื่อมีการนำเข้า 100% แต่ไม่ยอมใช้ก๊าซราคาตลาดโลภที่นำเข้าแค่ 22% แต่ให้จ่ายในราคา 100%" นางสาวรสนากล่าว ก่อนปิดการรณรงค์นางสาวรสนาได้กล่าวว่า เพื่อเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงเรื่องราคาก๊าซแอลพีจี อยากให้กระทรวงพลังงานเปิดเผยข้อมูลและนำข้อมูลมาดีเบสกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับการใช้ก๊าซแอลพีจีของประชาชนด้วย และในวันที่พฤหัสบดี 20 ธ.ค. 55 นี้จะมีการรณรงค์อีกครั้งบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า facebook มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดรณรงค์สวัสดีปีใหม่ ให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นราคา LPG ช่วยกันส่ง ส.ค.ส.นี้ถึงเพื่อนๆ รวมถึงเฟสบุ๊กนายกรัฐมนตรี รมต.พลังงาน และผู้บริหาร ปตท.ด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
ร้องยกเลิกตรวจเก็บดีเอ็นเอชาวบ้านชายแดนใต้ทันที Posted: 17 Dec 2012 01:42 AM PST องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ยุติการตรวจเก็ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2555 องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนได้ส่ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ที่อำเภอไม้แก่น เวลา 8.00น. ถึง 17.00 น. มีปฎิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหารไม่ทราบสังกัด แต่ทราบว่ามาจากค่ายอิงคยุทธฯ ได้ดำเนินเรียกตัวชายอายุตั้ รายงนระบุว่า เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งตั้งหน่ จากการสอบถามชาวบ้านรายหนึ่ง (ปกปิดชื่่อ) เขาเดินทางออกจากบ้านเวลา 9 โมงเช้าจะออกจากบ้านที่ ด้วยเหตุดังกล่าว หนังสือร้องเรียนระบุว่า เป็นการละเมิ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
ย้อนอดีต ‘ใบตองแห้ง’ สัมภาษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ Posted: 17 Dec 2012 12:38 AM PST บันทึกใบตองแห้งผมสัมภาษณ์อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงไทยโพสต์แทบลอยด์ ในช่วงที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เสร็จรอบแรก แล้วเปิดรับฟังความคิดเห็น ต้นฉบับนี้น่าเสียดายเพราะ 1-2 ปีต่อมา เว็บไซต์ไทยโพสต์โดนแฮกเกอร์เสื้อแดง (?) ถล่ม จนพังพินาศ ข้อมูลเก่า บทสัมภาษณ์เก่าๆ ที่อยู่ในเว็บพังหมด เหลือแต่ฉบับตีพิมพ์ ซึ่งต้องไปค้นหาในห้องสมุด แต่บังเอิญผมมีเก็บไว้ ยังจำได้ว่าครั้งนั้นสัมภาษณ์ที่รามาการ์เดน ชวนไม่เลี้ยงกาแฟ แต่อภิสิทธิ์เลี้ยงอาหารจีน ฮิฮิ คุยเสร็จพนักงานเสิร์ฟยังมาขอถ่ายภาพกับหัวหน้าพรรคสุดหล่อ พูดแล้วก็เสียดาย สัมภาษณ์กันตั้งหลายครั้ง ไม่เคยถ่ายภาพคู่กับอภิสิทธิ์ไปฝากเมียซักครั้ง ต้นฉบับที่เอามาลงให้ดูครั้งนี้ ไม่ได้แก้ไข ตัดทอน เปลี่ยนแปลงอะไร ทั้งพาดหัว การตั้งหัวข้อ หรือเนื้อหาที่หยิบมาโปรย เพียงวงเล็บให้เข้าใจว่า มาตราที่พูดถึงกันตอนนั้น ปัจจุบันคือมาตราอะไร ทบทวนปูมหลังหน่อยว่าในขณะนั้น ร่างแรกของรัฐธรรมนูญ 2550 ยังมีมาตรา 68 กำหนดให้มี "คณะกรรมการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ" ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะวิกฤติ เหตุการณ์คับขัน หรือเกิดสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่งในทางการเมือง ให้นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ประชุมร่วมกัน เพื่อพิจารณาหาทางป้องกันหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว" มาตราดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และถูกคัดค้านจนต้องตัดออก โดยอภิสิทธิ์ก็ไม่เห็นด้วย ร่างแรกของรัฐธรรมนูญ ตัวมาตราไม่ตรงกับฉบับที่ผ่านประชามติ มาตรา 309 ตอนนั้นคือมาตรา 299 ซึ่งอภิสิทธิ์ก็แสดงความเห็นไว้ว่า "ไม่จำเป็นต้องมี" บทสัมภาษณ์นี้ถ้าลบชื่อ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ออกไป คนอ่านอาจเข้าใจว่าเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยรายใดรายหนึ่ง เพราะไม่เห็นด้วยทั้ง ม.309 ทั้งวุฒิสรรหา การสรรหาองค์กรอิสระ แถมเสนอหลัก "ถ่วงดุล" ไม่ให้องค์กรอิสระมีอำนาจมาก ที่ใดมีอำนาจที่นั่นย่อมมีการแทรกแซง (ซึ่งผมยืมขี้ปากมาพูดบ่อยๆ) เปล่า-ผมไม่ได้ยกมาบลัฟฟ์อภิสิทธิ์ หรือยกมาด่าว่าโกหก พลิกลิ้น ตลบแตลง ฯลฯ ในฐานะคนที่นั่งคุยกันต่อหน้า ถามว่าอภิสิทธิ์พูดด้วยความจริงใจไหม ผมว่ามีความจริงใจเยอะทีเดียว อภิสิทธิ์มีความเป็นนักประชาธิปไตยอยู่ในตัวมาตั้งแต่ต้น แต่นั่นไม่ใช่อภิสิทธิ์ที่เป็นนายกฯ ใน 2 ปีต่อมา ซึ่งไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ตกอยู่ในวัฒนธรรมประชาธิปัตย์ที่ทำทุกอย่างเพื่อชัยชนะทางการเมือง การยกบทสัมภาษณ์นี้ขึ้นมาทบทวน ไม่ใช่แค่การ "ตอกหน้า" พรรคประชาธิปัตย์ ที่ยืนกรานไม่แก้ไม่แตะ แต่ลึกลงไปคือบทเรียนน่าเศร้า ของนักการเมืองที่ "เล่นการเมือง" แล้วไม่สามารถยืนหยัดความคิดเห็นของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมไม่เข้าใจเลยว่าอภิสิทธิ์เอาคดีความที่ตัวเองต้องข้อหา มาปลุกล้มประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ไง คนละเรื่องกันเลย 0 0 0 0 0 รัฐธรรมนูญแห่งความ 'หวาดระแวง'ไทยโพสต์แทบลอยด์ 29 เมษายน 2550
"คิดการเมืองแบบ 20 ปีที่แล้วไม่ได้ |
(ล้อมกรอบ) มองความจริง-ชนะใจตัวเองมองจากจุดนี้อย่าว่าแต่การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นหรือไม่เลย ความวุ่นวายที่เป็นอยู่ในเวลานี้ไม่มีใครการันตีได้ วิกฤติการเมืองรอบใหม่จะไม่เกิดขึ้นอีก "สิ่งสำคัญคือ คมช.กับรัฐบาลชนะใจตัวเอง และมองสังคมอย่างที่เป็นอยู่ ชนะใจตัวเองก็คือ ให้มั่นใจก่อนว่าถ้าทำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองแล้วไม่มีอะไรต้องห่วง ไม่ต้องไปคิดเรื่องจะมีวิธีการสืบทอดอำนาจอย่างไร หมดอำนาจเกษียณอายุไปแล้วจะมีปัญหาหรือไม่ ถ้าชนะใจตัวเองตรงนี้มันขจัดเงื่อนไขไปเยอะ เวลานี้คนก็ยังหวาดระแวง มีคนสามารถไปปลุกกระแสได้ง่ายว่าจะมีการสืบทอดอำนาจ เพราะรัฐบาล คมช.ไม่ชัดเจนที่จะบอกว่ายังไงผมก็ให้เป็นประชาธิปไตยอย่างนี้ มันต้องชนะใจตัวเอง อันที่ 2 คือ คมช.กับรัฐบาลมาจากแวดวงซึ่งคุ้นเคยกับยุคที่ราชการเป็นใหญ่ และก็ไปคิดว่าหมุนนาฬิกากลับไปอย่างนั้นได้ มันไม่ได้แล้ว" "การหยั่งรากของประชาธิปไตยลงไปมันหยั่งลงไปในใจคนพอสมควร ถึงแม้เขาอาจจะไม่สามารถออกมาพูดว่าเป็นเรื่องประชาธิปไตย แต่มันเป็นสิ่งที่หยั่งเข้าไปแล้ว เห็นง่ายๆ จากความนิยมของรัฐบาล ซึ่งไม่มาจากการเลือกตั้ง ยากมากแล้วเดี๋ยวนี้ ทั้งๆ ที่คนมองว่าคุณสุรยุทธ์เป็นดีมีคุณธรรม มีความตั้งใจดี ขยัน แต่รูปแบบของรัฐบาล ซึ่งมันไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ประชาชนเริ่มมีความรู้สึกว่าไม่ตอบสนอง ห่างเหิน เกาไม่ถูกที่คัน ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ มันจะมีอย่างนี้ตลอด ถามว่านี่คือเป็นเรื่องตัวบุคคล คุณสุรยุทธ์หรือเปล่า อาจจะเป็นส่วนหนึ่งก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ๆ นั่นคืออาการของคนที่เคยได้ประชาธิปไตย เขาเคยได้ประชาธิปไตยและเห็นว่าขณะนี้มันไม่ใช่ เพราะฉะนั้นรัฐบาลจะต้องทำความเข้าใจตรงนี้ ถ้าบอกว่าวุฒิสภาเลือกตั้งไม่ได้ เพราะไม่ไว้ใจว่าจะเลือกได้คนดี มันก็เริ่มพูดกันยากในแง่ของยุคสมัยปัจจุบัน" แต่ฝ่ายอำนาจเก่าก็กลัวทักษิณที่ความนิยมดูเหมือนจะไม่ลดลงสักเท่าใด "จะจัดการคุณทักษิณต้องไปจัดการตามกฎหมาย จัดการด้วยการบริหารให้ข้อเท็จจริงเป็นที่ปรากฏ" ถึงขั้นคิดกันว่าการเลือกตั้งก็ต้องหาพรรคนอมินี ที่พอจะประนีประนอมรับข้อตกลงกันได้ "คนที่มายอมเป็นนอมินีให้ คมช.ได้ ผมถามว่ารู้ได้อย่างไรว่ากลุ่มนี้จะไม่ยอมเป็นนอมินีให้ทักษิณ เพราะยังไงๆ คุณทักษิณก็มีเงินเยอะกว่า คมช. หรือถ้า คมช.มีเงินเท่าคุณทักษิณ คมช.ก็อยู่ไม่ได้แน่นอน เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่าอย่าไปคิดแบบนั้น เวลานี้ต้องสนับสนุนให้การเมืองโปร่งใส" โปร่งใสแล้วพรรคไทยรักไทยที่กลายพันธุ์เป็นพรรคนอมินีแล้วชนะ "แล้วคุณเอาอำนาจอะไรไปปฏิเสธประชาชน' แสดงว่าในส่วนประชาธิปัตย์รับได้ "ถ้าการเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมผมรับได้" มองไปถึงขนาดที่ว่าอาจจะสกัดฝ่ายทักษิณด้วยซ้ำ แต่เขายังเข้ามาได้ "ผมคิดว่ามันไม่เป็นอย่างนั้นหรอก คุณทักษิณสิ่งที่ประชาชนชอบอาจจะเป็นเรื่องความรวดเร็ว การพูดคุยปัญหากับประชาชน การให้ความหวัง ที่สำคัญก็คือมองว่าเมื่อพูดแล้วเขาเข้าไปทำ ดีไม่ดี สำเร็จไม่สำเร็จไม่เท่าไหร่นะ ถามว่าวันนี้คนไทยหายจนไหมจากนโยบายคุณทักษิณ ไม่ใช่ ดีไม่ดีหนี้กองเพิ่มขึ้นมาอีก แต่ว่าคนเขาชอบเพราะได้ทำ และก็ทำในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเขาด้วย และคนไม่ได้รับรู้ด้านลบเท่าที่ควร มันมาจากการบริหารข่าวสารข้อมูลของคุณทักษิณสร้างค่านิยม พูดทุกวันว่าสภาฯ เป็นเรื่องเหลวไหล ฝ่ายค้านมีแต่ขัดขวาง ไม่มีประโยชน์ จนคนก็คล้อยไปเยอะ แต่ถึงจุดหนึ่งคนก็รู้แล้วว่าพอมันไม่มีตัวคานเหมือนรถไม่มีเบรกมันก็ชนแหลก แล้ววันนี้แม้แต่คนที่ชอบคุณทักษิณก็ตั้งคำถามว่าคุณทักษิณยังอยู่ในฐานะที่จะมาสิ่งที่เคยทำได้อีกหรือเปล่า เขาก็รู้แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งที่คุณทักษิณได้ทำได้ก่อให้เกิดความแตกแยก ทำให้เกิดการต่อต้าน ถามว่าปีสุดท้ายที่คุณทักษิณอยู่ทำอะไรได้บ้าง คนก็เริ่มคิดนะ ไม่ใช่ไม่คิด เพราะฉะนั้นอย่าไปกลัวครับ" อาการกลัวทักษิณกลับมาถูกจับตามองว่า อาจจะมีการเจรจาหาทางออกด้วยการหาพรรคการเมืองใหม่ ปูทางให้เลือกตั้งเข้ามาประนีประนอมกับ คมช.ได้ โดยที่ทักษิณก็อยู่ต่างประเทศไปสักช่วงหนึ่ง นี่อาจจะเป็นวิธีแก้วิกฤติบ้านเมือง "เลื่อนวิกฤติไป แต่ว่าความเสียหายหลายอย่างที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามันลึกมาก ความแตกแยก ความกระทบกระเทือนต่อสถาบันหลักของชาติ ลึกมาก ใครที่ยังฝันว่าจะไปทำอย่างนั้นได้ แล้ววิกฤติจะหายไป คิดผิด และจะสร้างปัญหาให้กับอนาคตอย่างรุนแรง" แล้วถ้านายกฯ ชื่ออภิสิทธิ์ จะแก้ปัญหาความแตกแยกได้ไหม "ผมว่าได้ เพราะผมคิดว่าสิ่งที่ผมทำคือผมให้ความเป็นธรรมกับทุกคน ไม่สามารถทำให้คนทุกคนเห็นด้วยกันได้ แต่ว่าทุกคนมีที่ยืนมีสิทธิมีเสียง ผู้มีอำนาจต้องรับฟัง" แม้จะยังมีคนรักทักษิณอยู่อีกเยอะ "เขาก็มีสิทธิจะรักคุณทักษิณ อะไรที่เป็นสิ่งที่เขารักคุณทักษิณ และสิ่งที่มันเป็นประโยชน์ก็อย่าไปรังเกียจว่าเกี่ยวกับคุณทักษิณ กลัวอะไร สมมติเราพูดปัญหาประชานิยม มันผสมผสานกันอยู่ระหว่างสิ่งที่ไม่ดี คือความไม่ยั่งยืน ความไม่มีวินัย แต่มันต้องมีสิ่งดีๆ อยู่ มันตรงใจประชาชน ก็ต้องหยิบออกมาสิ 30 บาทจะเป็นรักษาฟรีหรืออะไรก็ตาม หลักก็คือคุณต้องสร้างหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนให้ได้ ก็เก็บเอาไว้ไม่เห็นแปลก ถ้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สำเร็จไม่สำเร็จก็แล้วแต่คนจะประเมิน แต่ความรู้สึกว่ามีการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนคุณก็เดินต่อไปสิ ไม่เห็นต้องกลัวอะไร จะใช้ชื่อโอท็อปก็ใช้ไปสิ แล้วบางเรื่องไม่ต้องไปเปลี่ยนชื่อหรอก ทำไปสักพักแล้วทำให้ดีกว่าคุณทักษิณนะ ชาวบ้านเห็นเองว่าที่จริงไม่ใช่ของคุณทักษิณหรอก ใครก็ทำได้หรือคนอื่นทำยังดีกว่าอีก ไปกลัวทำไม คนมีแต่เงินไปกลัวอะไร" ถึงอย่างไรทัศนะที่สะท้อนจากรัฐบาลนี้ก็คือ เป็นการกลับเข้าไปสู่ 'วงจรอุบาทว์' ของนักการเมือง "แล้วทำไมไม่คิดว่าวันหนึ่งประชาชนเขาบอกว่า การมีรัฐประหารจะเป็นการกลับเข้าสู่วงจรอุบาทว์ คืออย่าไปคิดอย่างนั้น การเมืองก็มีดีมีเลวเป็นธรรมดา ประชาธิปไตยไม่มีที่ไหนในโลกที่รับประกันได้ว่าเลือกแล้วได้คนดี แต่ประชาธิปไตยต้องมีหลักประกันว่าถ้าคนชั่วเข้ามาก็ทำชั่วได้ไม่มาก ชั่วได้ไม่นาน ต้องคิดอย่างนั้น และรัฐบาลเผด็จการก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเลวเสมอไป มีรัฐบาลที่ดีหลังการรัฐประหารก็มี แต่โดยธรรมชาติของการเมืองของมนุษย์มันไม่ใช่ระบบที่จะยั่งยืน มันอยู่ได้ชั่วคราว". |
(ล้อมกรอบ 2) จุดยืนพรรคการเมืองในการร่างรัฐธรรมนูญทุกครั้งนักการเมืองถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายเสมอ วิกฤติหนนี้นักการเมืองได้เรียนรู้อะไรกันบ้างไหม "ผมคิดว่าภาพที่ไม่ดีของนักการเมือง เราจะไปโทษคนอื่นมากก็ไม่ได้ นักการเมืองก็มีส่วนสำคัญทำให้ภาพมันเกิดขึ้น แต่ว่าปัญหาหลายอย่างที่ผมพูด ที่มันยังไม่มีใครมาเผชิญ เช่น ปัญหาเรื่องเงินกับการเมือง จัดระบบการใช้จ่ายเงินของนักการเมืองอย่างไร ป้องกันระบบอุปถัมภ์ไม่ให้เข้าไปแทรกซึมทั้งหมดอย่างไร มันต้องทำตรงนั้นให้ได้ แล้วการเมืองจะดีขึ้น สร้างภูมิคุ้มกันไว้เยอะๆ สำหรับองค์กรที่ต้องเป็นหลักในการตรวจสอบของสังคม เช่น สื่อ ข้าราชการสนองนโยบายแต่เป็นนโยบายการบริหาร ไม่ใช่สนองการเมือง สิทธิเสรีภาพในการเสนอความคิดที่แตกต่าง ถ้าตัวนี้มันอยู่ถึงคนมันเลวมันก็มีผลไม่มาก และพอเกิดสภาพอย่างนั้นขึ้นการเมืองจะค่อยๆ ดีขึ้น แล้วคนดีๆ ก็อยากจะเข้ามามากขึ้น คือมันต้องกลับวงจรให้ได้" ระบบเลือกตั้งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังไม่ได้แก้อะไรตรงนี้ นักการเมืองก็คงต้องใช้เงินในการเลือกตั้งเช่นเดิม "ไม่ได้แก้เลย ผมยังไม่เห็นมีมาตรการอะไรเลย ถามว่าทำไมเราไม่ไปดูบางประเทศเขาล่ะ ตอนหลังเขาเขียนเลยห้ามนักการเมืองบริจาค หรือว่าค่าใช้จ่ายใดที่มีผลในทางการเมือง ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งด้วย ก็เอาสิ" เราบอกว่าดูเหมือนนักการเมืองจะชอบด้วยซ้ำ เมื่อครั้งที่ กกต.ห้ามจัดงานสังสรรค์ "ถามว่าชาวบ้านรับได้ไหม ถ้าเป็นกฎหมายชาวบ้านก็รับได้ แค่นั้นเองไม่เห็นมีอะไรเลย มันก็แสดงให้เห็นว่ามีพื้นฐานการเคารพกติกาอยู่ สมมติว่าตอนที่มี กกต.ชาวบ้านมาขออันนี้ได้ไหม เราบอกผิดกฎหมาย เขาก็เข้าใจ จบ อย่าง 2 เม.ย.พอเลือกตั้งโมฆะปั๊บมาเลย ไม่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งแล้วนะ (หัวเราะ) เขาก็ว่าตามกติกา" ในฐานะที่ถูกยกให้เป็นสถาบันการเมืองแต่เวลานี้แม้ไทยรักไทยจะขาลงอย่างไร คะแนนความนิยมประชาธิปัตย์ก็ยังไม่กระเตื้อง แถมผลโพลล์บางสำนักยังต่ำกว่าทักษิณอีก "ผมดูการตั้งคำถาม ผมดูตัวเลขแล้วผมไม่ได้มีความกังวลใจ ธรรมชาติมากๆ อย่างโพลล์ที่ผมเห็นเขาทำ ที่บอกไทยรักไทยนำประชาธิปัตย์ เท่าไหร่ครับ 20:18 รวมกันแล้ว 38 ไม่ค่อยบอกอะไรเท่าไหร่ และสังคมก็ไม่ได้อยู่ในอารมณ์มาคิดเรื่องนี้ตอนนี้ ขณะนี้สังคมกังวลอยู่กับปัญหาเฉพาะหน้า และตัวเปรียบเทียบเขาก็มีแค่คุณสุรยุทธ์กับคุณทักษิณ พรรคการเมืองก็ดำเนินกิจกรรมไม่ได้ มันไม่เห็นน่าแปลกใจ หนังสือพิมพ์บางฉบับไม่ดูด้วยซ้ำว่าเวลาโพลล์ถามเขาถามแค่คุณสุรยุทธ์กับคุณทักษิณ คำถามมีอยู่ 2 ชื่อ ต่อให้เทวดาก็ไม่ชนะ เพราะมันต้องตอบว่าสุรยุทธ์หรือทักษิณ" แต่เปรียบเทียบหลายชื่อก็มี "และผมก็ชนะคุณทักษิณด้วย รามคำแหงมีอันเดียวที่เทียบ ผมก็ชนะคุณทักษิณ" แต่ก็เป็นช่วงที่ความนิยมทักษิณตกต่ำมากที่สุด "เวลานี้เราต้องเข้าใจว่า ประสบการณ์ของคนที่ผ่านมาตอนนี้ คนรักคุณทักษิณ คนไม่รักคุณทักษิณ ก็ยังเอาคุณทักษิณเป็นตัวตั้ง และเราก็มีปฏิวัติ เราก็มาเทียบรัฐบาลนี้กับรัฐบาลที่แล้ว มันต้องรอเวลาแข่งขันของการเสนอตัว ของการพูดถึงนโยบาย การมีโอกาสได้เริ่มสัมผัสกับประชาชน ผมถึงได้บอกว่าผมอยากให้ยกเลิกคำสั่ง คปค.ไม่ใช่เพราะว่าผมจะต้องเตรียมเลือกตั้ง แต่ว่าพรรคการเมืองจะได้เป็นพรรคการเมือง วันนี้พรรคการเมืองต้องมานั่งคิดและก็พูดว่าปีหน้าเศรษฐกิจก็ยังไม่ดี สังคมก็ยังแตกแยก ปัญหาพื้นฐานตรงนี้แต่ละคนคิดจะแก้ไขอย่างไร ภาคใต้จะว่าอย่างไร อันนี้คือหน้าที่พรรคการเมือง แต่เรากลับไป เฮ้ยไม่ต้อง พรรคการเมืองมีหน้าที่ไปแข่งเลือกตั้งอย่างเดียว รอก่อนยังไม่เลือกตั้ง ผิดหมด" "ผมก็ตั้งใจว่า ที่จริงก็เริ่มทำมาแล้ว ตอนนี้ก็ใช้วิธีเข้าหาวงการต่างๆ เพื่อประเมินปัญหา และก็หาคำตอบให้กับสังคม นี่คือหน้าที่หลักของนักการเมือง ก็ตั้งใจทำอันนี้ไป จะเห็นชัดขึ้นๆ แต่ว่าก็ยังทำได้ในวงจำกัดเพราะมีคำสั่งห้าม ยังทำเป็นระบบไม่ได้" หากมองข้ามช็อตไปเลยว่าประชาธิปัตย์อาจจะเป็นรัฐบาลปีเดียวหรือสองปี เพราะปัญหาที่จำเป็นต้องเผชิญวิกฤติเกินเยียวยา "เอาเป็นว่าใครมาเป็นก็แล้วแต่ ปัญหาเยอะ สิ่งที่เราควรจะคาดหวังก็คือว่าเราไม่สร้างวิกฤติใหม่ แต่เราจะปลด จะคลาย จะบริหารได้ถูกใจคน เดินไปข้างหน้าแค่ไหน มันก็ตอบไม่ได้ แต่ว่าถ้าเราสามารถจัดทุกอย่างเข้าสู่ระบบ ให้มันเดินต่อไปได้ ไม่มีวิกฤติ มันไม่สำคัญหรอกว่ารัฐบาลนั้นจะอยู่ปีเดียว สองปี หรือสี่ปี ถ้าประเทศเดินได้ก็พอ บางทีมันอาจจะเป็นว่าอยู่ได้ปีเดียว แต่ว่าถ้าเลือกตั้งอีกครั้งมันลงตัวมากขึ้นก็ได้ มันไม่ใช่เรื่องสำคัญ ถ้าย้อนกลับไป เพราะคุณทักษิณตั้งเอาไว้ว่าอยู่ 20 ปี เสียงข้างมากเด็ดขาด แล้วเป็นไง 377 เสียงอยู่แค่ปีเดียว ไม่แน่หรอก" แต่ความขัดแย้งของบ้านเมืองเวลานี้ประชาธิปัตย์อาจจะช่วยอะไรไม่ได้ "ผมยืนยันจุดยืนมาตลอด ตั้งแต่ปฏิวัติผมก็บอกเลยว่า เรื่องสิทธิคุณทักษิณในการกลับเข้าประเทศ ผมบอกว่าคุณทักษิณมีเรื่องคดีต่างๆ คุณทักษิณต้องไม่มีการกลั่นแกล้ง ผมก็สนับสนุนสิ่งที่คุณสุรยุทธ์หรือคุณสนธิพูดว่า ไม่ควรใช้วิธีพิเศษ ต้องจัดการไปตามกฎหมาย เพียงแต่ผมก็หงุดหงิดว่าการจัดการไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่ผมไม่เคยไปยุว่าเพราะฉะนั้นจะต้องเอาอำนาจพิเศษไปยึดทรัพย์ หรือต้องปฏิวัติซ้ำเพื่อเอาอำนาจเด็ดขาด ทุกอย่างมันอยู่ที่ว่าเราให้ความเป็นธรรมไหม" ถึงอย่างไรประชาธิปัตย์ก็ถูกมองว่าฉวยโอกาส ยืมมือรัฐประหาร "ไม่มีเลย หลังจากรัฐประหารพวกผมก็ไม่เคยไปทำอะไร นอกจากให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเวลาที่องค์กรตรวจสอบขอมา แต่ว่าพวกผมคือพวกที่ยืนสู้กับคุณทักษิณมาตลอด ยืนสู้ในวันที่คนที่ทำรัฐประหารบางคนอยู่ในระบอบทักษิณด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นผมไม่เคยคิดอะไร และในวันข้างหน้าที่ผมบอกว่าขณะที่เป็นไปได้ ที่บางส่วนบอกว่าคนในอำนาจปัจจุบันไปทำข้อตกลงกับคุณทักษิณ ประชาธิปัตย์ก็ไม่ทำ เพราะฉะนั้นมันไม่มีเรื่องที่ผมจะไปยืมมือใครทั้งนั้น และมั่นคงเลย ถ้าวันหนึ่งมีการสืบทอดอำนาจ อำนาจเก่าอำนาจใหม่ขณะนี้จับมือกันและไม่ถูกต้อง ประชาธิปัตย์ก็จะสู้ ไม่กลัวด้วย เพราะเรายืนเป็นตัวของเรามาตลอด" เราแซวว่าประชาธิปัตย์เจอข้อหาสุมไฟ "บอกมาสิว่ามีอะไรบ้างที่ประชาธิปัตย์พูดเรื่องคุณทักษิณ ระบอบทักษิณ แล้วพิสูจน์ได้ว่าไม่จริง ที่ผมอภิปรายมา 4 ปี มีอะไรบ้าง" ท่าทีของประชาธิปัตย์ (บางคน) ก็ดราม่าเสียจนถือว่าเป็นการข้ามคนล้ม "มันไม่ได้ช่วยอะไรประชาธิปัตย์ ที่จริงเวลานี้สิ่งที่พรรคต้องทำก็คือการมองไปข้างหน้า มองปัญหาของประเทศ ไม่มีประโยชน์อะไรที่ประชาธิปัตย์จะไปยุ่งกับคุณทักษิณตอนนี้ มีแต่ว่าวันนี้เราอยากจะบอกกับสังคมว่าคุณทักษิณผ่านพ้นไปแล้ว บ้านเมืองที่เป็นอยู่หลังคุณทักษิณความเสียหายต้องแก้ แต่บางเรื่องที่มันไม่ได้เสียหาย หรือมันมีความดีอยู่ก็ไม่ใช่ว่าจะไปรื้อทิ้ง นี่คือสิ่งที่เราอยากจะบอกกับประชาชน เพราะฉะนั้นไม่มีประโยชน์อะไรที่ผมจะต้องไปทะเลาะกับคุณทักษิณอีกต่อไปแล้ว ผมต้องการให้กระบวนการยุติธรรมให้ความเป็นธรรมกับคุณทักษิณและให้ความเป็นธรรมกับประเทศ อะไรผิดก็จัดการ ไม่ผิดก็ปล่อยไป จบ พวกผมมีหน้าที่ในการที่จะบอกกับประชาชนว่าจากนี้บ้านเมืองควรจะเดินไปอย่างไร คนที่จะมาแข่งขัน คุณบรรหาร คุณสมคิด คุณสมศักดิ์ เสธ.หนั่น หรือคุณเสนาะ คุณจาตุรนต์ มาพูดดีกว่าว่าวันข้างหน้าจะทำอะไร มันควรจะเป็นอย่างนั้น ผมก็บอกกับคนในพรรคอย่างนี้" "แม้แต่เรื่องรัฐธรรมนูญผมเองก็พยายามหลีกเลี่ยงจะไม่พูดในประเด็นที่เป็นปัญหาของนักการเมือง จำนวน ส.ส.เขตใหญ่เขตเล็ก ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ปาร์ตี้ลิสต์ คือเราก็มีความเห็นของเรา แต่ผมว่ามันไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายเท่ากับว่ารัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยโดยรวมไหม และถ้าเขาเห็นว่ามันจำเป็นต้องลดจำนวน ส.ส.แล้วมันดีกับประเทศ เราก็ไม่ขัดข้อง ที่จริงท่านหัวหน้าบัญญัติด้วยซ้ำเป็นคนพูดแต่แรกว่าน่าจะลดจำนวน ส.ส.ถามว่าจริงๆ เราเจ็บไหม เจ็บนะ หนักไหม หนัก เพราะต้องมานั่งพิจารณาว่าจะให้ใครลงไม่ลงเลือกตั้ง แต่ผมก็บอกเสมอว่าอย่างนี้เป็นปัญหานักการเมืองไม่ใช่ปัญหาประชาชน ก็ไม่เป็นไร เราก็แก้ไป ไม่มานั่งคิดได้เปรียบเสียเปรียบ คิดว่าระบบไหนดีกับประเทศ แข่งขันกันไป แต่ก็ให้แข่งขันอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม เราก็รับได้". |
มองจำนำข้าวด้วยสามัญสำนึกชาวนา
Posted: 17 Dec 2012 12:34 AM PST
25 ธ.ค.ตัดสินคดีโบรกเกอร์หนุ่มโพสต์ข่าวลือสถาบัน ทำหุ้นดิ่งปี52
Posted: 17 Dec 2012 12:05 AM PST
17 ธ.ค.55 ที่ศาลอาญา รัชดา ศาลนัดพร้อมคดีนายคธา (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาในคดีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีการโพสต์ข่าวอัปมงคลเกี่ยวข้องกับสถาบัน ในอินเตอร์เน็ตขณะตลาดหุ้นร่วงหนักเมื่อปี 2552โดยในวันนี้ศาลได้อ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้จำเลยฟังว่า ตามที่จำเลยได้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า มาตรา 14 (2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (3) หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
พร้อมกันนี้ศาลได้นัดฟังคำพิพากษาคดีนี้ในวันอังคารที่ 25 ธ.ค.นี้ เวลา 9.00 น.
ทั้งนี้ คธา เป็นเจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์หุ้นตกในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน ใช้นามแฝงว่า Wetdream จำนวน 2 กรรม โดยเว็บไซต์ศูนย์กฎหมายและคดีเสรีภาพ ของ iLaw ระบุถึงหนึ่งในข้อความที่ถูกฟ้องไว้ว่า "ตลาดหุ้นอาจจะสามารถทำนายปรากฏการณ์ของ XXX ครั้งนี้ได้ไม่แพ้แหล่งข่าวอื่นๆ ก็ได้"
เขาถูกจับกุมวันที่ 1 พ.ย.2552 และถูกตั้งข้อกล่าวหาว่ามีส่วนทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก มีความผิดตาม มาตรา 14(2) ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 คธาได้รับการประกันตัว แต่ถูกให้ออกจากงานในทันทีและตกงานอยู่จนปัจจุบัน
ในวันเดียวกับที่มีการจับกุมคธา เจ้าหน้าที่ตำรวจยังจับกุม น.ส.ธีรนันต์ (สงวนนามสกุล) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยธีรนันท์เป็นอดีตผู้บริหารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้แปลบทความของสำนักข่าวต่างประเทศ 'บลูมเบิร์ก' ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์หุ้นตกและนำมา โพสต์ลงในเว็บบอร์ดประชาไท ใช้นามแฝงว่า BBB อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้สัมภาษณ์ในช่วงนั้นด้วยว่า พนักงานสอบสวนได้ขอออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีข่าวลือทำให้หุ้นตกเพิ่มอีกประมาณ 3-4 คนด้วย โดยหนึ่งในผู้ต้องหาเป็นแพทย์จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
คดีของนายคธามีการสืบพยาน ในช่วงเดือน มิ.ย.และก.ค.ที่ผ่านมา โดยในระหว่างนั้น ทนายความจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอาญาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 14(2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 40(3) เพราะเป็นบทบัญญัติที่กำกวม เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจดุลพินิจได้อย่างไร้ขอบเขต ประชาชนอ่านแล้วไม่สามารถทราบได้ว่าการกระทำเช่นใดจึงผิดต่อกฎหมายโดยเฉพาะ ถ้อยคำว่า "ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน"
ต่อมาวันที่ 13 ก.ย.55 เว็บไซต์สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย โดยให้เหตุผลว่า มาตรา 14 (2) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นมุ่งคุ้มครองความมั่นคงประเทศ และความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งเป็นไปตามหลักนิติธรรม และการกำหนดความผิดทางอาญาแก่บุคคลตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ถูกต้อง และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (3) แล้ว คำโต้แย้งของจำเลยจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211
อ่านรายละเอียดการสืบพยานเบื้องต้นที่น่าสนใจได้ที่ http://prachatai.com/journal/2012/11/43892
รวันดา : บนความเพิกเฉยของสหประชาชาติ (7)
Posted: 17 Dec 2012 12:03 AM PST
Posted: 16 Dec 2012 11:55 PM PST
ภาพยนตร์เรื่อง cloud atlas มีความยาวเกือบสามชั่วโมง เนื้อหาครอบคลุมช่วงเวลานับแต่ปี ค.ศ. 1849 ถึงปี ค.ศ. 2321 ตัวละครหลักหลากหลายทั้งเผ่าพันธุ์ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ชาติกระทั่งสปีชี่ส์ สร้างจากนวนิยายขายดีที่ได้รางวัลและเชื่อว่าเป็นนิยายที่ไม่อาจสร้างเป็นภาพยนตร์ได้
ทีมงานผู้สร้างมีความจัดเจนทางเทคนิคและศิลปะภาพยนตร์จนทำให้เรื่องราวดังกล่าวมานี้ไม่ยากเกินกว่าที่จะทำความเข้าใจ แน่นอนว่าเจ้าของบทประพันธ์มีประเด็นสื่อถึงผู้อ่าน ผู้กำกับมีสาระจะส่งผ่าน แต่ข้อดีของศิลปะคือผู้เสพย์ก็มีโอกาสที่จะทำความเข้าใจเรื่องในแบบของตน
"มนุษย์" ผู้ถูกลิขิต
หลากชีวิตของมนุษย์นั้นถูกกำกับไว้ด้วยโครงสร้างนานาประการและมนุษย์นั้นแม้จะเรียนรู้จากอดีตแต่ก็ยากที่จะไม่เดินทับรอยอดีต ประวัติศาสตร์ของมนุษย์จึงไม่ว่างเว้นจากความรุนแรง ทั้งทางด้านกายภาพ ทางจิตวิญญาณและด้วยโครงสร้างทางสังคม
ช่วงเวลาในภาพยนตร์นับจากศตวรรษที่ 19 จนถึงศตวรรษที่ 24 แสดงให้เห็นว่าสังคมได้ตีตรามนุษย์เพื่อจัดลำดับว่าใครควร "เป็นอะไร" "อยู่ที่ไหน" และจะต้อง "ทำอะไร"
ภายใต้โครงสร้างนี้มนุษย์ชาติพันธุ์หนึ่งจึงกลายเป็นทาส อยู่ในสถานะต่ำกว่าและทำงานรับใช้คนขาว มนุษย์บางคนกลายเป็นคนวิปริตทางเพศ ถูกริบสิทธิแสดงความรัก มนุษย์จำนวนหนึ่งกลายเป็นคนชราที่หมดประโยชน์สมควรถูกขังรอวันตาย ชุมชนมนุษย์หลายชุมชนกลายเป็นเหยื่อของการพัฒนา มนุษย์ชนชั้นหนึ่งกลายเป็นส่วนเกินของสังคม ถูกใช้สอยแต่ไม่ได้ส่วนแบ่ง มนุษย์เผ่าหนึ่งกลายเป็นอนารยะชน
นี่คือภาพลักษณ์ประการหนึ่งของมนุษย์ในยุคทุนนิยมอุตสาหกรรมที่มนุษย์จะต้องถูกผนวกเข้ามาในสายการผลิตเพื่อผลิตอะไรบางอย่าง มนุษย์จำนวนหนึ่งต้องถูกกระทำถูกเอารัดเอาเปรียบในนามของความ "ถูกต้องเหมาะสม" ที่เปลี่ยนชื่อเปลี่ยนรูปตามยุคสมัยและใครที่ไม่สามารถ "ผลิต" ได้ ย่อมหมดความเป็นคน
มนุษย์สามารถเป็นอิสระจากโครงสร้างเหล่านี้ได้ไหม? อย่างไร?
"มนุษย์" ผู้เขียนประวัติศาสตร์
แม้ว่าโครงสร้างจะมีส่วนกำกับชีวิตมนุษย์อย่างมากแต่มนุษย์เองก็มีส่วนที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่กำกับชีวิตของตนเองด้วย และแน่นอนว่าราคาที่ต้องจ่ายสำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่น้อย
การเปลี่ยนแปลงเส้นทางชีวิตของตนเองจากทาสเป็นไทนั้นนอกจากอาศัยความกล้าหาญ ทักษะฝีมือแล้วยังต้องการเพื่อนแท้ ในบางสังคม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ราคาของความรักคือชีวิต เมื่อความชรามาเยือนการเปลี่ยนแปลงย่อมขับเคลื่อนด้วยปัญญามากกว่ากำลัง การต่อสู้เพื่อชุมชนอาจต้องการความอึดในการต่อสู้ แต่การต่อสู้เพื่อสังคมกลับต้องการขันติธรรม และเส้นทางสู่อารยะคือการเอาชนะใจตนเอง
การต่อสู้ให้พ้นจากโครงสร้างที่บังคับให้ผลิตก็คือการปฏิเสธที่จะผลิต/ปฏิเสธโครงสร้างการผลิต วิธีที่มนุษย์ในสังคมนำมาใช้ก็มีตั้งแต่ หนีจากนาย ตายจากโลก ป่วนองค์กร ปฏิเสธการพัฒนา ปฏิวัติ แต่สิ่งที่น่าสนใจในภาพยนตร์เรื่องนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มชนเผ่ากับสาวอารยะ Prescients ที่ถึงจุดหนึ่งทางออกของ "ล้าหลัง" และ "ก้าวหน้า" อยู่ที่การหลวมรวมกันมากกว่าแบ่งแยก แต่คำถามคือ เป็นไปได้หรือ? อย่างไร?
เมื่อมนุษย์จะเขียนประวัติศาสตร์ด้วยตนเอง เส้นทางที่รออยู่จึงไม่ใช่เส้นทางที่ราบรื่นแต่ในขณะเดียวกันก็เหมือนจะเป็นเส้นทางที่บางครั้งมนุษย์ก็ไม่ได้เลือกด้วยตนเอง
"มนุษย์" นิยาม?
นอกจากมนุษย์จะยกตนเหนือสัตว์ทั้งปวงแล้ว มนุษย์จำนวนมากยังจัดประเภทคนเหมือนกันด้วยว่าใครควรจะเป็น "มนุษย์"
คนดำ คนรักเพศเดียวกัน คนชรา คนจน คนประดิษฐ์ และคนหลังเขาล้วนเคยถูกและยังถูกจัดประเภทว่าไม่ใช่ "มนุษย์" อยู่เนือง ๆ ที่น่าสะเทือนใจคือ เหล่าคนที่ถูกจัดประเภทว่าไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็น "มนุษย์" นี่แหละ กลับเป็นวัตถุแห่งการตักตวงขูดรีดเอาประโยชน์โดยมนุษย์ผู้ถือตนว่าสูงส่งกว่า ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ไม่ถูกจัดเป็น "มนุษย์" เหล่านี้ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อความอยู่รอดของสังคมที่สร้างโครงสร้างกดขี่ทารุณพวกเขาเอง
ถึงที่สุดแล้ว "ความเป็นมนุษย์" ประเมินกันด้วยอะไร สีผิว? รสนิยมทางเพศ? วัย? ฐานะ? กำเนิด? การศึกษา?
นอกจากนี้ ใช่หรือไม่ว่าสังคมมนุษย์เดินผ่านช่วงเวลาของการผลิต = "คุณค่า" ความเป็นมนุษย์ มาเป็น การบริโภค = "คุณค่า" ความเป็นมนุษย์
ก่อนยุคโลกาวินาศ-Neo Seoul ผู้ถูกจัดเป็น "มนุษย์" คือ ผู้ที่มีความสามารถในการบริโภค และศาสนาแห่งการบริโภคได้จัดวางศีลธรรมไว้หลังผลกำไร
"มนุษย์" ในทัศนะของมนุษย์
เมื่อพิจารณาจากประเด็นที่ภาพยนตร์ฉายออกมาในเวลาเกือบสามชั่วโมงอาจทึกทักได้ว่าทีมผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้มีจุดยืนทางการเมืองแบบเสรีนิยมแต่ก็ยังคงความเชื่อในศีลธรรมแบ่งแยกดีชั่วถูกผิดชัดเจน
เป็นเสรีนิยมในแง่ความเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้วมนุษย์นั้นเท่ากันแม้จะแตกต่างด้วยผิวเพศวัยฐานะชาติกำเนิดและการศึกษา (ขอแต่ว่าให้มีความสามารถให้การผลิตและการบริโภค)
มีความเชื่อในศีลธรรมกรรมดีกรรมชั่วว่าผู้ประพฤติดีย่อมเกิดในสถานะที่สูงกว่าเดิมขึ้นเรื่อย ๆ และผู้กระทำบาปย่อมตกต่ำลง ความเจริญในชีวิตของตัวละครหลักในเรื่องนี้ที่มีวิญญาณเดิมในร่างและเพศที่หลากหลายจากศตวรรษแรกจนศตวรรษจบขึ้นอยู่กับผลกรรมที่กระทำในชาติที่แล้ว เช่น ตัวละครที่แสดงโดยฮัลล์ เบอร์รี่เริ่มต้นศตวรรษแรกด้วยการเป็นทาสแต่จบศตวรรษสุดท้ายด้วยการเป็นเสมือนเป็นพระผู้ไถ่สำหรับเผ่าพันธุ์ของเธอเอง
อย่างไรก็ตาม ในทางการเมือง การนำศีลธรรมที่ควรจะเป็นเรื่องส่วนตัวมากำกับการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมาปนกับจุดยืนแบบเสรีนิยมที่เน้นการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐแล้วอาจจะให้กำเนิดชุมชนการเมืองซึ่งพร้อมที่จะทำลายประชาธิปไตยเพื่อร้องหา "คนดี" มาปกครองบ้านเมืองได้
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าทำไม Neo-Seoul จึงล่มสลายและ Sonmi-451 จึงกลายเป็นเทพ
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น