โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

แรงงานพม่านัดหยุดงาน-ขอขึ้นค่าแรง 20 บาท

Posted: 11 Jul 2011 01:33 PM PDT

แรงงานพม่าที่บริษัทผลิตรองเท้าที่ชายแดน จ.กาญจนบุรี ตรงข้ามด่านเจดีย์สามองค์นัดหยุดงาน หลังข้อเรียกร้องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 20 บาท ไม่ได้รับการตอบสนอง ก่อนที่ฝ่ายผู้บริหารจะยอมรับข้อเสนอ ทำให้แรงงานทั้งหมดกลับเข้าทำงานแล้ว

เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมา คนงานทั้งหมดของโรงงานผลิตรองเท้าของบริษัท PTK มีแรงงานอยู่ทั้งหมดราว 3,000 คนในโรงงาน 3 แห่ง รวมถึงที่มาจากฝั่งชายแดนพม่า เพื่อเรียกร้องค่าจ้างขึ้นอีก 20 บาทต่อวัน

"พวกเราเจรจายอมรับข้อตกลงกันได้เมื่อตอน 8 โมงเช้าวันนี้" นายมาห์น เถียน (Mahn Thean) ผู้จัดการบริษัทกล่าวในฐานะตัวแทนของบริษัท PTK

โดยเมื่อวันที่ 8 ก.ค. แรงงานข้ามชาติชาวพม่ากว่า 400 คน ที่ประท้วงอยู่ที่ด่านเจดีย์สามองค์ได้ตกลงยกเลิกการประท้วงและกลับไปทำงานในวันถัดไป หลังจากที่นายจ้างชาวไทยยอมขึ้นเงินเดือนให้ตามข้อเรียกร้อง

ทั้งนี้การประท้วงเริ่มต้นเมื่อคนงานปฏิเสธกลับไปทำงานหลังพักเที่ยงเมื่อวันที่ 7 ก.ค. เพื่อทำการประท้วงที่บริษัทไม่ยอมรับข้อเรียกร้องของพวกเขา

"พวกเราเรียกร้องให้ขึ้นค่าแรงวันละ 20 บาท แต่พวกเขาบอกว่าจะขึ้นให้เราแค่ 10 บาท นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงหันกลับบ้าน" นายอ่อง ทุน (Aung Tun) หนึ่งในแรงงานที่ร่วมประท้วงกล่าว

แรงงานเหล่านี้ยังได้แสดงความไม่พอใจด้วยการเดินกลับไปยังชายแดนอีกฝั่งหนึ่งของพม่าแทนการกลับบ้านด้วยรถบัสของบริษัท โดยแรงงานที่หยุดงานประท้วงนั้นมีผู้อพยพชาวพม่ารายอื่นๆ ในเมืองเข้าร่วมประท้วงด้วย ทำให้มีแรงงานนัดหยุดงานมารวมตัวกันที่ด่านเจดีย์สามองค์รวมทั้งหมด 2,000 คน ประกาศว่าพวกเขาจะไม่กลับไปทำงานหากข้อตกลงยังไม่ได้รับการยอมรับ

แรงงานในโรงงานได้รับค่าจ้างราว 70 ถึง 115 บาท จากการทำงาน 10 ชั่วโมงต่อวัน โดยจ่ายตามประสบการณ์การทำงาน ซึ่งค่าจ้างเหล่านี้ถือว่าน้อยกว่าค่าจ้างเฉลี่ยของไทย ทำให้คนงานจำนวนมากรู้สึกว่าพวกเขาถูกเอาเปรียบ

สิ่งที่ยิ่งทำให้พวกเขาจำเป็นต้องออกมาเรียกร้องเนื่องจากความจริงที่ว่าค่าจ้างที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้พอเพียงต่อราคาสินค้าในปัจจุบันเลย แรงงานจำนวนมากบอกว่าพวกเขาไม่สามารถมีเงินพอส่งกลับบ้านได้เนื่องจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น

"ทุกอย่างแพงขึ้นหมด แต่ต่าแรงยังเท่าเดิม นี่คือเหตุผลว่าทำไมพวกเขาถึงหยุดงานประท้วง" นาย ลิด รอด (Nai Lyit Rot) ผู้นำชุมชนด่านเจดีย์สามองค์กล่าว

มีแรงงานผู้อพยพชาวพม่าอยู่ราว 5,000 รายในเขตพื้นที่ด่านเจดีย์สามองค์ แต่ละคนต่างก็มาจากเขตพื้นที่ต่างๆ ในประเทศพม่า เมืองนี้มีโรงงานอยู่กว่า 30 โรงงาน เป็นโรงงานผลิตถุงมือ, สิ่งทอ และรองเท้า

งานตามโรงงานจึงเป็นแหล่งงานหลักงานเมืองนี้ เนื่องจากการค้าขายระหว่างชายแดนแทบจะหยุดนิ่งเนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเมืองในเขตฝั่งพม่า

แหล่งข่าวในพื้นที่ระบุว่านักธุรกิจไทยจะไม่ทำการซื้อขายสินค้าในฝั่งชายแดนพม่าเนื่องจากการปะทะที่เกิดขึ้นในช่วงนี้โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. มีร้านค้าแห่งหนึ่งตกเป็นเป้าโจมตีเนื่องจากถูกสงสัยว่าให้การสนับสนุนกองทัพพม่า

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นคือสภาพภูมิอากาศ สินค้าส่วนใหญ่ถูกลำเลียงมาทางน้ำ ซึ่งมีความยากลำบากกว่าเดิมในช่วงฤดูฝน

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก

Strike Ends in Three Pagodas Pass, 08-07-2011, The Irrawaddy
http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=21659

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทักษิณเปิดใจ การเฉลิมฉลอง 5 ธันวา เป็นนิมิตหมายขั้นแรกในการปรองดอง

Posted: 11 Jul 2011 09:27 AM PDT

ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์บางกอกโพสต์ มองการร่วมกันถวายพระพรร่วมกันจากคนทุกฝ่าย เป็นขั้นแรกในการปรองดองและสร้างความไว้วางใจในสังคม

11 ก.ค.54 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ได้ตีพิมพ์คลิปการสัมภาษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่ประเทศบรูไน โดยทักษิณได้ให้สัมภาษณ์เรื่องการสร้างความปรองดอง และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ โดยอดีตนายกฯ ได้ย้ำถึง ความสำคัญของการเฉลิมฉลองวันที่ 5 ธันวาคม และการถวายพระพรแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะเป็นเป้าหมาย และเป็นขั้นตอนแรกที่จะนำไปสู่การสร้างความปรองดอง และความไว้วางใจในสังคม

“สิ่งที่มันเป็นความขัดแย้งมาห้าปี คงไม่สามารถแก้ไขได้ข้ามคืน แต่จุดเริ่มต้นมันต้องมี นั่นก็คือ รัฐบาลเองต้องเป็นผู้นำในการเรียกร้องการปรองดอง และสนับสนุนคณะกรรมการกลาง คอป. อย่างเต็มที่ แล้วรัฐบาลก็ต้องมีท่าทีของตัวเองที่ชัดเจนด้วยว่าจะต้องมีการปรองดอง ไม่ได้เกิดขัดแย้งใดๆ ไม่ใช่ว่า เอาคนที่ขัดแย้งกันไปปะทะกัน เรียกว่า ต้องขอร้องทุกฝ่าย ทุกองคาพยพ และที่สำคัญคือ ทุกฝ่ายต้องรู้จักให้อภัยกัน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก แล้วก็หันหน้ากันมาร่วมกันทำให้ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันที่สำคัญ จึงอยากให้ทุกฝ่ายลดละทิฐิที่มีต่อกัน แล้วมาพร้อมใจกัน ร่วมใจกัน ทำยังไงที่คนทุกสี ทุกความคิด ซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน มาถวายพระพรร่วมกัน เป็นการถวายพระทัยให้พระเจ้าอยู่หัว คือเราบังเอิญว่าเรามีวันสำคัญ เราก็เอาวันสำคัญนี้เป็นเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรกที่จะทำให้เกิดความปรองดอง และก้าวต่อไป ปีหน้าคือ 80 พรรษา สมเด็จ (พระราชินี) เราก็ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้นอีก การเริ่มต้นที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นรัฐบาลจะต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นที่ดี ให้กับสังคม ให้เกิดความไว้วางใจ”  อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร กล่าว

นอกจากนี้ ทักษิณ ยังกล่าวด้วยว่า จากความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา เขาให้อภัยทุกคน และไม่คิดจะแก้แค้นใคร แต่จะทำงานร่วมกันได้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และย้ำว่า จะไม่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา แต่จะเป็นส่วนหนึ่งของทางออก และย้ำส่งท้ายว่า ตนไม่จำเป็นต้องรีบกลับประเทศไทยแต่อย่างใด ถ้าหากว่าจะทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้ง

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
Govt 'must get moving': Thaksin urges all-out effort on reconciliation

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จับตาศาลโลก 18 กรกฎาคม: ความผิดพลาด เขตแดนไทย และ MOU ปี 2543 (ตอนที่ 1)

Posted: 11 Jul 2011 09:19 AM PDT

 
ภาพคณะตัวแทนฝ่ายไทย จากซ้ายไปขวา
ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรไทยประจำเนเธอร์แลนด์ ตัวแทน (agent) ฝ่ายไทย
นายอิทธิพร บุญประคอง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย รองตัวแทน (deputy agent) ฝ่ายไทย
พร้อมนายกษิต ภิรมย์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ภาพจากศาลโลก Courtesy of the ICJ.
 
 
 
หลายคนคงทราบแล้วว่าในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (“ศาลโลก”) จะอ่านคำสั่งกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ศาลจะสั่งหรือไม่สั่งตามที่กัมพูชาขอหรือไม่อย่างไร ต้องรอลุ้นกัน
 
แต่น้อยคนคงทราบว่าช่วงก่อนวันเลือกตั้งที่ผ่านพ้นมา  ศาลโลกได้ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (อย่างเงียบๆ) เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขคำแปลคำพูดของฝ่ายไทย ซึ่งศาลเคยแปลผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้
 
คำแปลฉบับเดิมที่ผิดพลาด
เมื่อวันที่ 29 - 30 พ.ค. 2554 ฝ่ายไทยได้ชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลโลกกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลมีคำสั่งระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505) และศาลได้บันทึกคำชี้แจงของฝ่ายไทยส่วนหนึ่งเป็นเอกสาร CR 2011/14 เป็นฉบับ uncorrected (คือยังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยคู่ความ)
 
ต่อมาช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2554 เจ้าหน้าที่ศาลโลกได้แปลเอกสาร CR 2011/14 ดังกล่าว ซึ่งในคำแปลหน้าที่ 4 ได้แปลคำพูดย่อหน้าที่ 10 ของนายวีรชัย พลาศรัย (ตัวแทนฝ่ายไทยซึ่งชี้แจงต่อศาลเป็นภาษาฝรั่งเศส) มาเป็นภาษาอังกฤษดังนี้:
 
“On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the boundary of the Temple area, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment...”
 
(เน้นคำโดยผู้เขียน, ทั้งนี้ “a sign marking the boundary of the Temple area” ถูกแปลจากคำภาษาฝรั่งเศสต้นฉบับของนายวีรชัยที่ว่า “…un panneau marquant la limite de la zone du temple…”, ดู http://bit.ly/n7fnFx และ http://bit.ly/qLpWUN)
 
คำแปลข้างต้นปรากฏอยู่ในบริบทที่ว่า เมื่อเดือนมิถุนายน 2505 ศาลโลกได้พิพากษาว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาและไทยต้องถอนกำลังทหารออกจาก “บริเวณใกล้เคียงตัวปราสาท” (vicinity) แต่เมื่อคำพิพากษาไม่ได้ระบุขอบเขตของบริเวณดังกล่าวไว้ คณะรัฐมนตรีไทยจึงได้กำหนด “เส้นปฏิบัติการ” เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2505 เพื่อให้ไทยสามารถปฏิบัติตามคำพิพากษา และจากนั้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2505 ไทยจึงเริ่มดำเนินการวางรั้วหลวดหนามรอบตัวปราสาทและตั้งป้ายเพื่อบ่งบอก “boundary” [ซึ่งอาจแปลว่า “เขตแดน” หรือ “ขอบเขต”] ของบริเวณปราสาทพระวิหาร ตาม “เส้นปฏิบัติการ” เพื่อให้เกิดความชัดเจน
 
ต่อมาคำแปลดังกล่าวได้ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับคำว่า “la limite” และ “boundary” ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้เขียนจำต้องให้ความเห็นทางกฎหมายในบทความเรื่อง “คำเตือนถึงอภิสิทธิ์: โปรดอย่าปล่อยให้ศาลโลกแปลคำผิด” (http://on.fb.me/mVaV6i) เพื่อเตือนรัฐบาลไทยว่าไม่ควรปล่อยให้ศาลใช้ถ้อยคำที่ไม่รัดกุมและอาจมีปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ
 
กล่าวคือ การที่ศาลนำคำว่า “la limite” ที่นายวีรชัยใช้มาแปลเป็น “boundary” นั้นสามารถทำให้ผู้อ่าน (ซึ่งอาจรวมไปถึงผู้พิพากษาในคดี) เข้าใจไทยผิด เพราะคำฝรั่งเศส “la limite” ที่นายวีรชัยกล่าวไปนั้นหมายถึง “ขอบเขต” หรือ “the limit” ของบริเวณปราสาทพระวิหาร แต่คำอังกฤษ “boundary” ที่ศาลนำมาใช้แปล แม้ทางหนึ่งอาจแปลว่า “ขอบเขต” ได้ แต่ก็สุ่มเสี่ยงต่อการถูกเข้าใจผิดว่าหมายถึง “เขตแดน” (ระหว่างไทยและกัมพูชา) บริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งกระทบต่อรูปคดีอย่างมากเพราะหากศาลนึกว่าไทยกำลังพูดถึง “เขตแดน” ก็เสมือนว่าไทยยอมรับว่าคำพิพากษา พ.ศ. 2505 ได้ตัดสินเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศไปแล้ว (ซึ่งผู้เขียนย้ำว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะคำพิพากษา พ.ศ. 2505 นั้นศาลเพียงตีความสนธิสัญญา และมิได้ลากเส้นเขตแดนแต่อย่างใด)
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2554 กระทรวงการต่างประเทศได้เผยแพร่คำแปลภาษาไทยในส่วนที่ตรงกับข้อความดังกล่าว โดยใช้คำว่า “ขอบเขต” แทนคำว่า “la limite” เช่นกัน (http://bit.ly/oVLzUz)
 
 
ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรไทยประจำเนเธอร์แลนด์ ตัวแทน (agent) ฝ่ายไทย
ภาพจากศาลโลก Courtesy of the ICJ.
 
ศาลโลกแก้ไขคำผิด
ล่าสุดช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2554 ศาลโลกได้ดำเนินการอย่างเงียบๆ เพื่อแก้ไขคำแปลเอกสาร CR 2011/14 ฉบับ uncorrected หน้าที่ 4 ให้ปรากฏเป็นคำแปลปัจจุบัน (ฉบับ uncorrected เช่นเดิม) ดังนี้:
 
“On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the limit of the Temple area, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment...”
 
(เน้นคำโดยผู้เขียน, นอกจากนี้ศาลยังได้แก้ไขถ้อยคำลักษณะเดียวกันในย่อหน้าที่ 11 คือเปลี่ยนคำว่า “boundary” มาเป็นคำว่า “limit” แทน, ดู http://bit.ly/pvX06d)
 
กล่าวคือ ศาลได้แก้ไขคำแปลคำชี้แจงของฝ่ายไทย จากเดิมที่ศาลใช้คำว่า “the boundary of the Temple area” มาเป็น “the limit of the Temple area” เพื่อเป็นการรับทราบจุดยืนของไทยอย่างชัดเจนว่า ไทยไม่ได้ยอมรับว่าคำพิพากษา พ.ศ. 2505 เป็นเรื่องการกำหนด “เขตแดน” (ระหว่างไทยและกัมพูชา) บริเวณปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด แนวรั้วรอบปราสาทจึงเป็นเพียง “ขอบเขต” เท่านั้น (ผู้สนใจประเด็นดังกล่าว ดูคำอธิบายได้ที่ http://on.fb.me/oq6cUZ)
 
ดังนั้น “เขตแดน” ที่แท้จริงระหว่างไทยและกัมพูชา ณ วันนี้คือเส้นหรือบริเวณใด จึงมิได้เกี่ยวข้องกับศาลโลก และย่อมไม่ใช่สิ่งที่ศาลจะตีความได้ แต่ “เขตแดน” เป็นเรื่องที่ต้องว่าไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 (ส่วนจะส่งผลดีต่อไทยหรือไม่นั้นเป็นอีกประเด็นที่สำคัญเช่นกัน)
 
แม้คำแปลดังกล่าวไม่มีผลผูกพันศาลโดยตรง แต่อย่างน้อย การที่ศาลให้เจ้าหน้าที่แก้ไขคำว่า “boundary” (เขตแดน) มาเป็น “limit” (ขอบเขต) นี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าศาลให้ความสำคัญกับประเด็นละเอียดอ่อนดังกล่าวที่ไทยต่อสู้ไว้ว่าคดีนี้มิใช่เรื่องเขตแดนดั่งที่กัมพูชาพยายามจะทำให้เป็น
 
คำชมถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์และกระทรวงการต่างประเทศ
ไม่ว่ารัฐบาลจะทราบเรื่องคำแปลที่ผิดพลาดนี้มาก่อนอยู่แล้ว หรือจะได้ทราบจากบทความของผู้เขียนนั้นคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่ากับประเด็นที่ว่ารัฐบาลต้องรับฟังเสียงของประชาชน และทันทีที่ผู้รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งได้แก่กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ทราบถึงความผิดพลาดดังกล่าว ก็ได้ดำเนินการประสานงานเพื่อให้ศาลแก้ไขคำแปลดังกล่าวให้ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันสมควรได้รับคำชมและกำลังใจจากประชาชนเช่นกัน
 
จริงอยู่ ที่ผ่านมาได้มีคำถามตลอดจนเสียงต่อว่าวิพากษ์วิจารณ์ต่อกระทรวงการต่างประเทศในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบคดีปราสาทพระวิหารโดยตรงอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบันทึกความเข้าใจ MOU พ.ศ. 2543 สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ มาจนถึงแถลงการณ์ร่วม (Joint Communiqué) พ.ศ. 2551 สมัยรัฐบาลพลังประชาชน จนถึงกรณีภาคีอนุสัญญามรดกโลก (ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังไม่ชัดว่าการถอนตัวมีผลหรือไม่ ผู้สนใจโปรดดู http://on.fb.me/lWBhHm)
 
แต่ในขณะเดียวกันการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศก็สมควรได้รับคำชื่นชมในบางเรื่องเช่นกัน นอกจากเรื่องคำแปลข้างต้นแล้ว ยังมีตัวอย่างอื่น อาทิ
 
- การใช้เทคโนโลยี twitter รายงานความเคลื่อนไหวของฝ่ายไทยที่ศาลโลก คล้ายการรายงานสด ช่วงวันที่ 29 – 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา (http://bit.ly/pGjO1M) แม้เจ้าหน้าที่อาจได้ย่อข้อความจากบทแถลงที่เตรียมไว้ก่อนแล้วและเป็นการเสนอข้อมูลข้างเดียวของฝ่ายไทยก็ตาม แต่อย่างน้อยประชาชนคนไทยก็สามารถติดตามข่าวสารได้รวดเร็วทันเหตุการณ์
 
- การใช้เทคโนโลยี facebook เผยแพร่รูปภาพการทำงานของคณะทำงานฝ่ายไทยที่ศาลโลก (http://on.fb.me/nSQlj5) แม้เจ้าหน้าที่อาจจะคัดมาเฉพาะภาพขณะทำงานเพียงไม่กี่รูปซึ่งไม่อาจถ่ายทอดเหตุการณ์จริงได้หมด แต่อย่างน้อยประชาชนก็ได้ทราบถึงบรรยากาศของการสู้คดีประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง
 
- การให้ข้อมูลประชาชนในลักษณะถาม-ตอบ หรือ ย่อสรุปข้อต่อสู้ที่ฝ่ายไทยได้แถลงต่อศาล (http://bit.ly/nJOt1Q) แม้เจ้าหน้าที่จะนำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียวโดยที่ไม่ได้สรุปข้อกล่าวหาและข้อต่อสู้ที่กัมพูชาอ้างในลักษณะเดียวกัน แต่ก็ถือว่าแปลและสรุปได้ดีในระดับหนึ่ง คือย่อคำแถลงของตัวแทนและทนายความฝ่ายไทยเป็นรายบุคคลและแยกเป็นประเด็น ทำให้ประชาชนผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเป็นภาษาไทยได้สะดวก
 
นอกจากนี้ ในฐานะผู้ที่เคยช่วยทำคดีในศาลโลกและศาลอื่นมาบ้าง ผู้เขียนมั่นใจว่ายังมีความดีของข้าราชการไทยผู้อดหลับอดนอนอีกหลายกรณีที่อาจมิได้เปิดเผยต่อประชาชน
 
ที่กล่าวมา มิได้หวังให้กระทรวงการต่างประเทศรู้สึกปลื้มอกปลื้มใจ แต่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อถึงความดังต่อไปนี้

1. ประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 56
คือสิทธิได้รับและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในความครอบครองของราชการ ยกเว้นมีความจำเป็นที่เปิดเผยไม่ได้ เช่น เรื่องความมั่นคง  ราชการทุกหน่วยงานต้องเคารพสิทธินี้ และหน่วยงานที่ดีย่อมต้องยึดมาตรฐานที่สูงกว่าพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (ซึ่งสมควรได้รับการแก้ไข)โดยเฉพาะการอาศัยเทคโนโลยีที่ประหยัดและรวดเร็ว ดังที่กระทรวงการต่างประเทศได้ทำเป็นตัวอย่าง
 
2. ข้าราชการมืออาชีพที่ทำงานฉับไวมีประสิทธิภาพและโปร่งใสต่อประชาชน มีได้อีกในประเทศไทย และประชาชนควรเรียกร้องให้ข้าราชการยึดมาตรฐานดังกล่าว มิใช่จำยอมว่า “เช้าชามเย็นชาม” คือเรื่องปกติ และไม่จำกัดเฉพาะข้าราชการประจำทั่วไปเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงข้าราชการหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น เข้าประชุมสภาตรงเวลาหรือไม่ หรือสละเวลามาพบปะประชาชนหลังวันเลือกตั้งมากน้อยแค่ไหน หรือข้าราชการในมหาวิทยาลัย เช่น สอนหนังสือ ตรวจข้อสอบและผลิตผลงานอย่างท่วงทันเหตุการณ์หรือไม่ หรือแม้แต่ข้าราชการตุลาการ ประชาชนผู้เป็นเจ้านายตัวจริงย่อมมีสิทธิถามว่า เหตุใดคดีความในศาลไทยจึงใช้เวลานานและคั่งค้างยืดเยื้อจำนวนมาก เป็นต้น
 
3. ในยามที่ประเทศชาติมีปัญหาต้องฝ่าฟันร่วมกัน การมองเห็นความดี กล่าวชม และให้กำลังใจกันในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ นั้นไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่าการต่อว่า ตักเตือน หรือติติงกันในเรื่องที่ใหญ่ และหากเราเพ่งเล็งทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การฝ่าฟันปัญหาร่วมกันย่อมเป็นไปโดยลำบาก
 
4. เมื่อผู้ใดทราบถึงความผิดพลาดของตน ไม่ว่าผู้นั้นจะสูงศักดิ์ดั่งศาลที่นานาชาติเคารพ หรือทรงอำนาจดั่งนักการเมืองที่ได้รับคะแนนท่วมท้นจากทั่วประเทศ หากผู้นั้นกล้าหาญที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและปรับปรุงแก้ไข ย่อมมิใช่เรื่องที่จะซ้ำเติมกัน แต่เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันสนับสนุนและชื่นชม
 
 
"มหาศาลาแห่งความยุติธรรม" (The Great Hall of Justice).
ภาพจากศาลโลก Courtesy of the ICJ.
 
จับตาศาลโลกวันที่ 18 ก.ค. !
นอกจากศาลโลกจะได้แก้ไขคำแปลผิดให้ถูกต้องแล้ว ล่าสุดศาลยังได้แจ้งว่าในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ ศาลจะอ่านคำสั่งกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งกัมพูชาขอไว้สามข้อ คือ
 
(1) สั่งให้ไทยถอนทหารออกไปจากดินแดนของกัมพูชา (territoire cambodgien) ในบริเวณปราสาทพระวิหาร
(2) สั่งห้ามไม่ให้ไทยดำเนินการทางทหารในบริเวณปราสาทพระวิหาร
(3) สั่งให้ไทยงดเว้นการกระทำที่อาจกระทบต่อสิทธิของกัมพูชาหรืออาจทำให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น
 
ผู้เขียนมิอาจล่วงรู้ผลของคำสั่งในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ได้ แต่อาจตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นดังนี้
 
1. จับตาเรื่อง “เขตแดน” ที่แฝงมาในคำขอของกัมพูชา
 
จากคำขอทั้งสามข้อข้างต้น คำขอข้อแรกมีนัยเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนชัดเจน คือ หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ย่อมแปลว่ามี “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา ในขณะที่คำขอสองข้อหลังแม้หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ก็มองได้ว่าไม่เกี่ยวกับเขตแดนโดยตรง เช่น อาจมองเป็นเรื่องการรักษาตัวปราสาทที่เป็นวัตถุแห่งคดี
 
ไม่ว่าวันที่ 18 ก.ค. นี้ศาลจะมีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่แบบใด สิ่งที่ควรจับตามองก็ คือ ศาลจะแสดงจุดยืนในเรื่องคำขอข้อแรกที่กล่าวถึง “เขตแดน” อย่างไร? ผู้เขียนมองว่าเป็นไปได้สามแนวทาง
 
- แนวแรก ศาลอาจปฏิเสธคำขอข้อแรกโดยสิ้นเชิง จะด้วยเหตุผลว่าศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเขตแดนหรือด้วยเหตุผลอื่นที่ฝ่ายไทยอ้าง เช่น ประเด็นเขตแดนในปัจจุบันต้องว่าไปตาม MOU พ.ศ. 2543 ฯลฯ ทั้งนี้ การที่ศาลได้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่แก้ไขคำแปลผิด จากคำว่า “boundary” (เขตแดน) มาเป็น “limit” (ขอบเขต) นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าศาลให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวที่ไทยต่อสู้ไว้
 
- แนวที่สอง ศาลอาจมีคำสั่งเป็นการทั่วไปตามที่กัมพูชาขอ โดยอาจสั่งโดยไม่อธิบายว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา คือ พื้นที่ใด ซึ่งแม้จะไม่ชัดเจน แต่ก็เป็นความคลุมเครือที่กัมพูชาอาจนำมาใช้อ้างต่อได้
 
- แนวที่สาม ซึ่งน่ากังวลที่สุดและไม่น่าจะเป็น คือ ศาลอาจอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือเอกสารบางอย่าง เช่น MOU พ.ศ. 2543 หรือ แผนที่ภาคผนวก 1 (ซึ่ง MOU ได้อ้างถึงโดยไม่เจาะจง) และกล่าวโดยตรงหรือโดยอ้อมในทำนองว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชาอาจเกี่ยวข้องกับเอกสารหรือแผนที่ดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นการตีความกฎหมายที่สุ่มเสี่ยงเรื่องเขตแดนดังที่มีผู้ห่วงใยได้เตือนเกี่ยวกับ MOU ตลอดมา
 
                                                                            (จบบทความตอนที่ 1)
 
 
 
บทความตอนต่อไป จะวิเคราะห์ว่าในวันที่ 18 ก.ค. ศาลโลกจะมีคำสั่งในแนวทางใดได้บ้าง? ประเด็น MOU พ.ศ. 2543 เกี่ยวพันกับคำสั่งอย่างไร? และหากสุดท้ายศาลมีคำสั่งตามที่กัมพูชาขอ ไทยจะมีช่องทางเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือไม่?
 
(โปรดติดตามตอนที่ 2)
 
---
สำหรับประเด็นที่ไทยได้ชี้แจงต่อศาลโลกไปเมื่อวันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2554 ดูรายละเอียดได้ที่
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สหภาพแรงงานเกาหลีใต้ประท้วงหน้าสถานฑูตไทย จี้ปล่อยตัว "สมยศ"

Posted: 11 Jul 2011 08:11 AM PDT

สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมโรงพยาบาล (KHMU) ของเกาหลีใต้ ประท้วงให้ปล่อยตัว "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" บริเวณด้านหน้าของสถานฑูตไทยในกรุงโซล

เกาหลีใต้ - สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมโรงพยาบาล (Korean Health & Medical Wokers' Union - KHMU) รายงานว่า ในวันนี้ (11 กรกฏาคม) นักสหภาพแรงงานได้เริ่มต้นการประท้วงให้ปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่บริเวณด้านหน้าของสถานฑูตไทยในกรุงโซล เป็นรูปแบบการยืนประท้วง 'คนเดียว' (one-man picketing) เป็นเวลา 2 ขั่วโมง โดยนักสหภาพแรงงานจากสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมโรงพยาบาล (Korean Health & Medical Wokers' Union - KHMU) ซึ่งเป็นสมาชิกของสภาแรงงานระดับชาติของประเทศเกาหลีใต้ (Korean Confederation of Trade Unions - KCTU)  และจะมีการประท้วงในรูปแบบเดียวกันนี้ ติดต่อกันจนถึงวันที่ 24 กรกฏาคม 2554 
 
ทั้งนี้ KHMU เป็นสหภาพแรงงานที่มีสมาชิกประมาณ 40,000 คนซึ่งทำงานในโรงพยาบาลมากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศเกาหลีใต้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เพ็ญ ภัคตะ: ราคาของคนจน

Posted: 11 Jul 2011 05:54 AM PDT

"อดข้าวดอกนะเจ้าชีวาวาย
ไม่ตายดอกเพราะอดสเน่หา"
แม้นข้าวหมดรสสวาทก็คลาดคลา
จำจากลาด้วยจนเหนียมจึงเจียมใจ

ยอมบากหน้าทิ้งนาไร่ไปเมืองหลวง
ร่างแทบร่วงทรวงแทบแหลกเลือดแทรกไหล
มือเท้าด้านหน้ากร้านดำเกินช้ำใด
ด้วยแรงใฝ่ฝันถึงใครหนึ่งรอ

เลือกไม่ได้ไร้สมองทักษะต่ำ
ฝืนใจกล้ำลำบากใดไม่ร้องขอ
ฟังปีศาจส่งเสียงจงเพียงพอ
แต่พวกล่อเฟอร์รารี่คันกี่ล้าน?

รัฐจะขึ้นค่าแรงเป็นสามร้อย
เขี่ยร่วงผล็อยร้อยห้าสิบหยิบสองหาร
อ้างเหมาะสมกับน้ำหน้าคนสามานย์
แค่แรงงานขั้นต่ำกรรมกร

แลกข้าวแกงสามมื้อพออิ่มหมี
กับห้องเช่าเล้ากุลีมีเสื่อหมอน
วันละหนึ่งร้อยเศษเฉดหัวนอน
แถมขอดค่อนแม้นเงินมากอาจเสียคน

ระเริงเหล้าเมาบุหรี่พี้ยาบ้า
พนันม้าบ้าหวยใต้ดินปล้น
ตามรอยพ่อสมถะประสาจน
เจ้าต้องทนชดใช้กรรมที่ทำมา (แต่ชาติปางไหนหรือ?)

แรงงานหนึ่งต้องส่งเสียอีกเมียลูก
ทั้งเสื้อผ้ายาหยูกล้วนซื้อหา
คนจนห้ามมีลูกห้ามสูบยา
แต่ราคาถุงยางถูกหรือไร

พวกคุณเลียเบี้ยเลี้ยงเดือนร่วมแสน
บินประชุมต่างแดนพกแฟนได้
คือน้ำเหงื่อแรงงานผลาญเงินใคร
ยังอ้างไม่อาจขยับปรับค่าแรง

หากไม่มีคนยากจนบนโลกนี้
เหล่าผู้ดีก็ไร้สิทธิ์คิดกำแหง
จึงกดขี่ธุลีดินเป็นฝุ่นแดง
ก่อกำแพงแบ่งชั้นชาติอมาตยา

ต้องอดข้าวอีกกี่มื้อจักยอมอด
หากมิหมดรสสนิทสิเนหา
ยังรอฝันวันหวานนะกานดา
วันหนึ่งคนคงเห็นค่าราคาเรา

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 3 - 9 ก.ค. 2554

Posted: 11 Jul 2011 05:37 AM PDT

ปลัด ก.แรงงาน ระบุ ผู้ประกันตนมาตรา 40 รูปแบบที่ 1 สามารถสมัครเข้ากองทุนการออมแห่งชาติได้

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) กล่าวถึงกรณีการสมัครเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ของผู้ประกันตนมาตรา 40 ว่า ผู้ประกันตนมาตรา 40 แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 (100) ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐบาลสมทบ 30 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิ์ประโยชน์ 3 กรณีคือ ทุพพลภาพ ชดเชยการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย และเสียชีวิต ส่วนรูปแบบที่ 2 (150) ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 100 บาท รัฐบาลสมทบช่วย 50 บาทต่อเดือนได้รับสิทธิ์ประโยชน์ 4 กรณี ตามรูปแบบที่ 1 โดยเพิ่มสิทธิ์เงินออมชราภาพ ทั้งนี้ จากการตรวจสอบ พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 และ พ.ร.บ.ประกันสังคม พบว่า ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในรูปแบบที่ 1 สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมฯ ได้ เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องของเงินออมชราภาพ จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.กองทุนการออมฯ ซึ่งห้ามไม่ให้ผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิประโยชน์เงินออมชราภาพจากกองทุน ประกันสังคมสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนมาตรา 40 ทั้งสองรูปแบบนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ชี้แจงแล้วว่า ผู้ประกันตนมาตรา 40 ยังคงใช้สิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ได้เช่นเดิม เนื่องจากสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 40 ทั้งสองรูปแบบไม่ครอบคลุมไปถึงสิทธิการรักษาพยาบาล

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 4-7-2554)

ลูกจ้างทวงถามปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทตามนโยบายหาเสียง

4 ก.ค.- นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมกรรมการแรงงานสมานฉันท์ (ครสท.) กล่าวถึงผู้ที่จะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ว่า ต้องการได้คนที่มีความรู้พื้นฐานและเข้าใจปัญหาด้านแรงงาน และเปิดโอกาสให้แรงงานเข้าพบและพูดคุยอย่างเปิดอก อีกทั้งสามารถประสานงานกับทุกฝ่ายทั้งราชการ นายจ้างและลูกจ้างไม่จำเป็นต้องมีความรู้ อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องการได้นักวิชาการเพราะเข้าไม่ถึงแรงงาน

สำหรับพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ควรรีบดำเนินการนโยบายด้านแรงงานให้เป็นรูปธรรม เช่น ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพราะประชาชนที่เทคะแนนให้นั้นต่างมีความหวังในนโยบายที่รัฐบาลหาเสียงไว้ หากไม่รีบทำ ประชาชนจะตั้งคำถามและเป็นแรงกดดันในการทำงานของรัฐบาลแน่นอน นอกจากนี้ ยังขอให้รัฐบาลนำนโยบายด้านแรงงานที่ใช้หาเสียงโดยเฉพาะเรื่องการปรับค่า จ้างไปเป็นนโยบายรัฐบาลที่ใช้แถลงต่อรัฐสภา เนื่องจากนโยบายช่วงหาเสียงเป็นนโยบายพรรค พท.เป็นพรรคเดียว แต่ถ้าเป็นนโยบายต่อรัฐสภา จะต้องผ่านความเห็นชอบจากพรรคร่วมด้วย

(สำนักข่าวไทย, 4-7-2554)

สมท. เตรียมทวงนโยบายด้านแรงงานกับ รมว.แรงงานคนใหม่

นายทวี เตชะธีราวัฒน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย (สมท.) กล่าวว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ และให้เงินเดือนเริ่มแก่คนที่จบปริญญาตรีรุ่นใหม่ 15,000 บาท ต่อเดือน ตามนโยบายของพรรคเพื่อไทย คิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสถานประกอบการต้องแบกภาระต้นทุนสูงขึ้น คงจะไม่เห็นด้วย ซึ่งดูจากการประชุมคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองค่าจ้างครั้งล่าสุด พบว่าตัวแทนนายจ้างทั้ง 5 คนก็ไม่ได้เข้าร่วม อย่างไรก็ตาม ทราบว่านายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้ประกาศว่าจะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ในวันที่ 1 มกราคม 2555 นั้น ถ้ารัฐบาลใหม่สามารถผลักดันค่าจ้างขั้นต่ำได้ 300 บาทต่อวัน ก็เป็นเรื่องที่ดี ซึ่งสมท.จะเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่เพื่อทวงถามในเรื่องนี้

ประธานสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรง งานแห่งประเทศไทย กล่าวอีกว่า อยากได้รัฐมนตรีที่เป็นอดีตข้าราชการกระทรวงแรงงาน เพราะจะเป็นคนที่มีความรู้ความเข้าใจด้านแรงงาน และไม่ต้องมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ ส่วนงานเร่งด่วนที่อยากให้รัฐบาทใหม่ทำ คือเรื่องปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าจ้างระดับปริญญาตรี พร้อมทั้งผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 เป็นต้น

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 4-7-2554)

บอร์ดค่าจ้างฯ เลื่อนถกปรับค่าจ้างรอหารือ รมว.แรงงานคนใหม่

4 ก.ค.- บอร์ดค่าจ้างฯ เลื่อนถกปรับค่าจ้างรอหารือ รมว.แรงงานคนใหม่ ขณะที่นักวิชาการเตือนปรับค่าจ้างก้าวกระโดดรวดเดียววันละ 300 บาท อาจส่งผลธุรกิจล้มละลาย แนะปรับโครงสร้างค่าจ้างทั้งระบบแทน

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างเพื่อหาข้อสรุปในการปรับขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำรอบใหม่ ที่เดิมมีกำหนดจะประชุมในวันที่ 6 กรกฎาคมนี้ว่าอาจจะต้องเลื่อนการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำออกไป เนื่องจากต้องรอการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ ว่าจะมีนโยบายในเรื่องดังกล่าวอย่างไร โดยเฉพาะนโยบายในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ของพรรคเพื่อไทย

รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ หากปรับในงวดเดียวจะเกิดผลกระทบต่อนายจ้าง และระบบเศรษฐกิจโดยรวมอย่างมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ธุรกิจล้มละลาย เกิดปัญหาการเลิกจ้าง ตลอดจนบริษัทต่างชาติไม่กล้าเข้ามาลงทุน รวมทั้งปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลใหม่จะต้องตามแก้ปัญหาเหล่านี้

รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า หากรัฐบาลใหม่จะปรับค่าจ้างให้ได้ตามนโยบายที่ประกาศไว้ ก็ไม่ควรปรับในอัตราที่เท่ากันทั่วประเทศ เพราะแต่ละพื้นที่มีต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพต่างกัน จึงควรปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเปอร์เซ็นต์และแบ่งเป็น 2 งวด จะมีผลกระทบน้อยกว่า และถ้าจะให้ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ เห็นว่าควรใช้วิธีปรับโครงสร้างค่าจ้างทั้งระบบ โดยไล่เรียงจากค่าจ้างขั้นต่ำไปสู่ค่าจ้างแรกเข้า และค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานตามลำดับ ซึ่งจะช่วยให้อัตราค่าจ้างเข้าสู่อัตราเดียวกันทั่วประเทศ

คนที่จะมานั่งเป็นรัฐมนตรีแรงงานคน ใหม่ควรเป็นนักเศรษฐศาสตร์แรงงาน ไม่ใช่นักสังคมแรงงาน และต้องมีความรู้ความเข้าใจ มีจิตวิญญาณเป็นนักแรงงาน ที่สำคัญจะต้องมองกระทรวงแรงงานในเชิงมิติเศรษฐกิจ ทำงานเป็นทีมและประสานเชื่อมโยงหน่วยงานด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อทำให้แรงงานเกือบ 40 ล้านคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ควรเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้ดีกว่านี้รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าว

(สำนักข่าวไทย, 4-7-2554)

อนุฯ ค่าจ้าง กทม.เสนอ 2 แนวทาง ขึ้นค่าจ้างกลางปี 7 บาท/รอขึ้นต้นปีหน้า

5 ก.ค. 54 - นางอำมร เชาวลิต ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการค่าจ้าง กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการค่าจ้างฯ มีมติเห็นชอบในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของกรุงเทพฯ ใน 2 แนวทาง แนวทางแรกคือ เสนอปรับขึ้นอีก 7 บาท จากเดิม 215 บาท เพิ่มเป็น 222 บาท ในช่วงเดือนตุลาคม ส่วนแนวทางที่สอง คือ ให้ปรับขึ้นค่าจ้างในช่วงเดือนมกราคม 2555 แต่ยังไม่สรุปตัวเลขว่าจะปรับขึ้นมากน้อยเพียงใด โดยให้นำข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงความสามารถในการจ่ายของฝ่ายนายจ้าง ณ ช่วงเวลาดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม มติดังกล่าวจะเสนอให้กับคณะอนุวิชาการและกลั่นกรองค่าจ้างกลางพิจารณา ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) พิจารณาสรุปในวันที่ 11 กรกฎาคมนี้

สำหรับกรณีที่ทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อ ไทย ออกมาระบุว่าจะต้องมีการแก้ไขระบบไตรภาคีค่าจ้าง เพื่อให้สามารถปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้ได้ถึงวันละ 300 บาทว่า หากจะมีการแก้ไขระบบไตรภาคีของคณะกรรมการค่าจ้างตามที่เป็นข่าวจริง ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) ก่อน ซึ่งต้องใช้เวลา 1- 2 ปี จึงจะสามารถทำได้ แต่เชื่อว่าฝ่ายนายจ้างคงไม่ยินยอมแน่

(สำนักข่าวไทย, 5-7-2554)

ติงรัฐบาลใหม่รื้อไตรภาคี เสี่ยงค่าจ้างถูกบิดเบือน

5 ก.ค.54- อาจารย์จุฬาฯเตือนรัฐบาลใหม่รื้อไร้ระบบไตรภาคี หวั่นค่าจ้างไม่สะท้อนความเป็นจริง เหตุขาดข้อมูล3ฝ่าย ด้านนายจ้างค้านยันระบบดีอยู่แล้ว ขณะที่นักวิชาการกระทรวงแรงงานชี้ต้องแก้กฎหมายอย่างน้อย 2ปี

ดร.อำมร เชาวลิต ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการค่าจ้าง กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีที่นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช แกนนำทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย(พท.)และแคนดีเดตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีแนวคิดแก้ไขระบบไตรภาคีค่าจ้างเพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่สามารถปรับค่าจ้าง ขั้นต่ำได้ถึง 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศว่า หากจะแก้ไขระบบไตรภาคีของคณะกรรมการค่าจ้างกลางที่มีตัวแทน 3 ฝ่ายทั้งภาครัฐ นายจ้างและลูกจ้าง ก็จะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข)ก่อน โดยตามขั้นตอนกระทรวงแรงงานจะต้องเป็นผู้เสนอแก้ไขต่อรัฐบาลใหม่ ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะมีคำสั่งลงมาอย่างไร ซึ่งขั้นตอนปกติของการแก้ไขกฎหมายทั่วไปต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี

นายปัณณพงศ์ อิทธิอรรถนนท์ กรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า การพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นไปตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานที่กำหนดให้การ ปรับขึ้นค่าจ้างต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการไตรภาคี อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลใหม่ต้องการปรับค่าจ้างขึ้นเป็น 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ก็ต้องเข้ามาพูดคุยด้วยเหตุผล เชื่อว่าคณะกรรมการทั้งฝ่ายยินดีรับฟัง แต่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่จะให้ใครมาเป็นรมว.แรงงานคนใหม่และมีนโยบายอย่าง ไร เพราะเป็นผู้ที่คุ้นเคยด้านแรงงานก็คงมีความเข้าใจในเรื่องการปรับค่าจ้าง ขั้นต่ำว่าหากปรับแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไรโดยเฉพาะผู้ประกอบ การขนาดกลางและขนาดเล็กก็ต้องทำให้อยู่ได้

รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ ผอ.ศูนย์พัฒนาแรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่รัฐบาลชุดใหม่เตรียมจะรื้อระบบไตรภาคีค่าจ้างกลางมีข้อดีตรงที่รัฐบาล สามารถปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำได้ตามความต้องการ ส่วนข้อเสียคือถ้าไม่มีระบบไตรภาคี หากมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแล้วไม่เป็นที่พอใจของลูกจ้าง ทางรัฐบาลก็จะไม่สามารถอ้างได้ว่าเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคี จะต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ

นอกจากนี้ รัฐบาลจะไม่มีแหล่งช่วยกลั่นกรองข้อมูลในการปรับขึ้นค่าจ้างให้สอดกับสภาพ ความเป็นจริง เช่น อัตราค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายของลูกจ้างด้วย ดังนั้น รัฐบาลจะต้องมั่นใจในข้อมูลของตนเอง อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ข้อมูลของรัฐบาลจะผิดพลาดได้ก็มีอยู่ เพราะไม่ได้มาจากแหล่งข้อมูลของนายจ้างและลูกจ้างโดยตรง

หากไม่มีระบบไตรภาคีแล้ว รัฐบาลก็สามารถปรับขึ้นค่าจ้างได้ตามความต้องการ ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะตามมาก็ขึ้นอยู่กับว่าจะปรับขึ้นค่าจ้างในอัตรา ที่สูงหรือต่ำ หากปรับค่าจ้างสูงมากก็จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจมาก อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าขณะนี้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่ไม่สูงเกินไป ยังสามารถทำได้เพราะต้นทุนของสถานประกอบการไม่ได้อยู่ที่ค่าจ้าง แต่อยู่ที่ค่าน้ำมัน ค่าวัตถุดิบซึ่งสถานประกอบการขนาดใหญ่จะไม่กระทบมากนักเพราะยังมีกำลังจ่าย ค่าจ้างได้ ส่วนกลุ่มธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากคือ กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีต้นทุนน้อย ดังนั้น รัฐบาลต้องเตรียมมาตรการดูแลธุรกิจกลุ่มนี้ด้วย รศ.ดร.แล กล่าว

(กรุงเทพธุรกิจ, 5-7-2554)

เอกชนต้านขึ้นค่าแรง 300 บาท-ทวงสัญญาแก้ไขไม่แก้แค้น

นายวิทูรย์ กมลนฤเมธ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยถึงปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมหรือกลุ่มผู้ประกอบการวิตกกังวลมากในขณะนี้ คือ กรณีนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ใช้หาเสียงจะเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมแบกภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว หากเพิ่มขึ้นจริง โรงงานผลิตภาคส่วนต่างๆก็ไม่สามารถอยู่ได้ ต้องปรับแผนการลงทุนใหม่ด้วยการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นที่ต้นทุนค่า แรงต่ำกว่า
 
ที่สำคัญการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เท่ากัน 300 บาท/วัน ในความเป็นจริงไม่มีประเทศใดในโลกเขาทำกัน ในข้อเท็จจริงการกำหนดอัตราค่าแรงนั้นต้องสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจค่าครอง ชีพของแต่ละท้องถิ่นหรือจังหวัดนั้นๆ ซึ่งแต่ละจังหวัดค่าครองชีพแตกต่างกัน จะกำหนดอัตราค่าแรงเท่ากันหมดไม่ได้
 
ยกตัวอย่างกรณีจังหวัดขอนแก่น ขณะนี้ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 169 บาทหากเพิ่มเป็น 300 บาท เท่ากับว่าปรับเพิ่มมากถึง 90% ไม่มีนายจ้างที่ไหนสามารถรับภาระได้ ทางออกระยะสั้นคือต้องปรับลดแรงงาน แล้วแรงงานที่ถูกให้ออกต้องตกงานทันที ระยะยาวไม่ต้องพูดถึงผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้แน่นอน เรื่องนี้ต้องมีการทบทวน ซึ่งทางกลุ่มผู้ประกอบการคงต้องมีการหารือกันเพื่อหาทางออกนายวิทูรย์กล่าว และว่า
 
ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงดังกล่าวนอกจากภาคอุตสาหกรรมจะล่มสลายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป ข้าราชการ พนักงานบริษัทเอกชนที่มีรายได้จากเงินเดือนประจำค่อนข้างคงที่เพราะต้อง เผชิญกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคาสินค้าทุกประเภทจะปรับตัวสูงขึ้นตามค่าแรงที่รัฐบาลกำหนด
 
อย่างไรก็ตาม นายวิทูรย์ แสดงความเห็นต่อว่า ประเด็นเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องทำเป็นสิ่งแรกคือการสร้างความปรองดองให้เกิด ขึ้นในชาติก่อน ที่ผ่านมามีการแบ่งขั้วแบ่งสี แตกแยกรุนแรง พรรคเพื่อไทยต้องทำตามที่ประกาศหาเสียงไว้ให้ได้ว่า จะเข้ามาแก้ไขไม่แก้แค้น อย่างน้อยหมู่บ้านเสื้อแดง หรือกลุ่มคนเสื้อแดงต้องสลาย หากแก้ปัญหาความแตกแยกไม่ได้ นโยบายอื่นๆก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีความมั่นคง ภาคธุรกิจก็ไม่เชื่อมั่น การลงทุนใหม่ๆก็ไม่เกิด
 
ที่สำคัญรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยต้องไม่ออกกฎหมาย นิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เด็ดขาด หากยังเดินหน้านิรโทษกรรม จะเกิดความขัดแย้งรอบใหม่ทันที และความขัดแย้งครั้งนี้จะรุนแรงกว่าอดีต การชุมนุมต่อต้านจากกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยจะเกิดขึ้น ประเทศชาติจะหาความสงบไม่ได้ ท้ายสุดรัฐบาลก็อยู่ไม่ได้

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 6-7-2554)

พนักงานเคเอฟซี ร้อง ครส. โดนเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) พร้อมด้วยอดีตพนักงานเคเอฟซี 3 คนได้มายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่าง บริษัทยัมเรสเทอรองตส์ อินเตอร์ เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของแบรนด์เคเอฟซี กับพนักงาน 3 คน ที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยนายชาลี กล่าวว่า ได้พาพนักงานทั้ง 3 คน ไปยื่นหนังสือต่อ ครส.ให้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกับเคเอฟซี เนื่องจากถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จากกรณีการออกมาเรียกร้องสวัสดิการจากบริษัท และจัดตั้งสหภาพแรงงานเคเอฟซี ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ได้ยื่นขอเจรจากับนายจ้าง 4 ครั้ง แต่มีการส่งตัวแทนมาเจรจาเพียงครั้งเดียว อีกทั้งยังกดดันให้พนักงานเคเอฟซีที่ร่วมลงชื่อขอจัดตั้งสหภาพแรงงาน 266 คน ถอนชื่อออก ซึ่งสะท้อนถึงการไม่เคารพต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ขณะเดียวกันกระบวนตามกฎหมายของรัฐและการทำงานของเจ้าหน้ารัฐล้มเหลว และหากการเรียกร้องครั้งนี้ไม่ได้ผล คสรท.จะเริ่มรณรงค์ให้คนไทยเลิกกินไก่เคเอฟซี และจะยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน

ด้านนางอภันตรี เจริญศักดิ์ อดีตผู้จัดการเขตเคเอฟซี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กล่าวว่า ทำงานนานกว่า 16 ปีแต่กลับถูกเลิกจ้างภายใน 1 ชั่วโมง ทั้งที่ไม่ได้ทำผิด เพียงแค่เรียกร้องสวัสดิการเพิ่ม ทั้งนี้ อยากให้นายจ้างเข้ามาพูดคุย เพราะต้องการกลับเข้าทำงาน อย่างไรก็ตาม หากภายใน 90 วัน ข้อพิพาทไม่ได้ข้อยุติ จะยื่นฟ้องศาลแรงงานต่อไป

 (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 6-7-2554)

เพื่อไทยลั่นปรับฐานเงินเดือน 15,000 บ.ตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้-ค่าแรง 300 บ.คาดเริ่มปี 2555

6 ก.ค.- เลขาธิการพรรคเพื่อไทยชี้แจงนโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท เพื่อมุ่งช่วยคนจนระดับรากหญ้า จากนี้เมืองไทยจะไม่มีค่าแรงถูกอีกต่อไป โดยจะเริ่มที่เงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ คาดเริ่มตุลาคมนี้ พร้อมยืนยันจะไม่รื้อระบบไตรภาคีแต่จะแก้การสรรหาที่มาของตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะทีมเศรษฐกิจของพรรคและอดีตปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวชี้แจงนโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ของพรรคหลังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากภาคเอกชนและนักวิชาการว่า เป็นนโยบายที่มุ่งพลิกฟื้นเศรษฐกิจ เพื่อทำให้คนจนและระดับล่างของสังคมหรือรากหญ้าสามารถลืมตาอ้าปากได้ ยืนยันจะให้เท่ากันทุกจังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของลูกจ้างที่เรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำควรจะอยู่ที่ 441 บาท ขณะที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ก็ระบุว่าค่าจ้างต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่สามารถเลี้ยงดูของแรงงานได้โดยรวม คู่สมรสและบุตร ดังนั้น แนวคิดพรรคจากนี้เมืองไทยจะไม่มีค่าแรงถูกอีกต่อไป โดยจะยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานและยุทธศาสตร์การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูง ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศในปี 2020

นายจารุพงศ์ กล่าวว่า ยืนยันจะไม่รื้อระบบไตรภาคีค่าจ้างถือว่าเป็นระบบที่ดีอยู่แล้ว เพราะทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแต่จะแก้กระบวนการสรรหาที่มาของตัวแทนไตรภาคีที่ยัง มีปัญหาตัวแทนฝ่ายลูกจ้างไม่สามารถส่งตัวแทนที่แท้จริงเข้ามาเป็นคณะกรรมการ ได้ เพราะติดขัดเรื่องสหภาพแรงงานที่มีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับสัดส่วนแรงงานทั้งประเทศ โดยจะเริ่มจากการปรับฐานเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจให้มีเงินเดือนไม่ ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท คาดจะเริ่มในเดือนตุลาคมนี้ ส่วนค่าจ้างขั้นต่ำจะเริ่มได้เมื่อได้ทำความเข้าใจกับภาคเอกชน รวมถึงหานโยบายสนับสนุนให้เอกชนมีกำลังในการขึ้นค่าจ้าง เช่น การลดภาษีนิติบุคคล ภาษีเครื่องจักร หาตลาดสินค้าส่งออกให้ คาดจะเริ่มได้ในเดือนมกราคม 2555

ส่วนกรณีหลายฝ่ายกังวลปัญหาค่าจ้าง จะส่งผลให้มีการย้ายฐานผลิตนั้น นายจารุพงศ์ กล่าวยืนยันว่าอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น หากจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิต ภาครัฐจะสนับสนุนให้เอกชนไปตั้งโรงงานในประเทศที่ค่าแรงถูกหรือตามแนวชายแดน แทน.

(สำนักข่าวไทย, 6-7-2554)

ค่าจ้างขั้นต่ำส่อแววเลื่อนอีกรอบ เผยรอ รมว.แรงงานใหม่เคาะตัวเลข

7 ก.ค. 54 – นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวถึงการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ว่า คณะกรรมการฯ จะประชุมกันในวันที่ 11 กรกฎาคมนี้ คงต้องขอให้ที่ประชุมพิจารณาว่า ควรจะรอฟังนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่หรือไม่ ก่อนที่จะพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด 38 จังหวัด ได้เสนอตัวเลขขอปรับค่าจ้างขั้นต่ำ อยู่ที่ระหว่าง 2-28 บาท จากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันอยู่ที่ 159-221 บาทต่อวัน ขณะที่จังหวัดที่เหลือไม่ขอปรับขึ้น

เรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศนั้น คงต้องรอฟังนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ก่อน ว่าจะมีนโยบายอย่างไร และมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ซึ่งในส่วนของกระทรวงแรงงานมีข้อมูลพร้อมอยู่แล้ว สามารถเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ได้ทันที ส่วนกรณีจะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม 2555 คงต้องมีการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ กันอีกครั้งนพ.สมเกียรติ กล่าว

(สำนักข่าวไทย, 7-7-2554)

26 แรงงานโร่แจ้งความถูกตุ๋นไปทำงานอิสราเอล

6 ก.ค. 54 - กลุ่มผู้เสียหายที่ถูกหลอกให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ 26 คน แจ้งความ พ.ต.ต.ปัญญา ไอยราคม สารวัตรเวรสอบสวน สภ.เมืองนนทบุรี สาขาย่อยรัตนาธิเบศร์ ว่าถูกนายเอกพล รัตนดำรงค์ เจ้าของบริษัทไทยโอเอเอ็นเตอร์ไพรส์จำกัด และนางวิลาวัณย์ จันทะวงษ์ หุ้นส่วนของบริษัทดังกล่าว หลอกเรียกเก็บเงินจากการรับสมัครคนงานเพื่อเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ จนกระทั่งมีผู้หลงเชื่อหลายรายนำเงินไปสมัคร แต่สุดท้ายเมื่อถึงกำหนดเดินทาง กลับถูกบริษัทดังกล่าวเบี้ยวและปิดบริษัทหนี ทำให้มีผู้ถูกหลอกเป็นจำนวนมาก โดยนางสาวสวัสดิ์ หาวิชา อายุ 30 ปี หนึ่งในผู้เสียหาย ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ก่อนหน้านี้ตนเองเคยไปสมัครหางานไว้กับกระทรวงแรงงานเพื่อเดินทางไปทำงาน ต่างประเทศ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ถูกกระทรวงแรงงานเรียกตัว จนกระทั่งต่อมาตนเองได้รับไปรษณียบัตรจากบริษัทไทยโอเอเอ็นเตอร์ไพรส์ว่า บริษัทดังกล่าวกำลังรับสมัครแรงงานไทยไปทำงานฟาร์มเห็ด ฟาร์มไก่ ที่ประเทศอิสราเอลและแคนาดา โดยผู้ที่สนใจหลังกรอกเอกสารครบและมีเงินเพียง 25,000 บาท ก็สามารถเดินทางไปทำงานต่างประเทศได้ทันที ตนเองที่กำลังมีความสนใจจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศจึงหลงเชื่อโทรศัพท์ ติดต่อกลับไปหาบริษัทดังกล่าว ที่เขียนไว้ในไปรษณียบัตร แล้วถูกเรียกให้เข้ามาคุยเรื่องสัญญา เอกสารที่บริษัท ตนเองจึงต้องเดินทางจากต่างจังหวัดเข้าที่บริษัทดังกล่าว

เมื่อมาถึงที่บริษัทดังกล่าว ก็พบว่าบริษัทดังกล่าวดูหน้าเชื่อถือ เพราะมีชาวต่างชาติเป็นฝรั่ง 2 คน และ ชาวอาหรับ 1 คน นั่งประชุมพูดคุยกันอยู่ โดยมีล่ามคนไทยช่วยแปลภาษาให้ และเมื่อตนสอบถามกับนายเอกพล เจ้าของบริษัทว่า บริษัทแห่งนี้เปิดถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ นายเอกพลบอกว่า ได้จดทะเบียนไว้กับกระทรวงแรงงานเรียบร้อยแล้ว สามารถตรวจสอบได้ ตนจึงเชื่อใจนำเงินสดที่กู้หนี้ยืมสินมา 8 หมื่นบาท ให้กับทางบริษัทเพื่อทำสัญญาในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยนายเอกพลบอกว่า เมื่อถึงเวลาวันที่ 4 กรกฏาคมจะมีรถตู้เดินทางไปรับมารวมกับคนอื่น ๆ ที่บริษัท ก่อนจะขึ้นเครื่องไปทำงานพร้อมกัน แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงวันเวลาเวลานัดหมายกลับไร้วี่แวว ด้วยความสงสัยจึงโทรเข้ามาที่บริษัทก็พบพนักงานของบริษัทคนหนึ่ง บอกให้เข้าที่บริษัทได้เลย แต่ตนมาถึงในวันที่ 5 ก็พบว่าบริษัทได้ปิดและขนย้ายข้าวของออกไปหมดแล้ว จึงรู้ตัวว่าถูกหลอกและมีคนถูกหลอกอีกรายคน จึงปรึกษากันและรวมตัวมาเข้าแจ้งความในวันนี้

ด้านนายสง โสดาวิชิต หนึ่งในแรงงานที่ถูกหลอก กล่าวว่า ตนเองนำเงินสดจำนวน 2.2 แสนบาทเข้ามาทำสัญญาเดินทางไปทำงานต่างประเทศกับบริษัทดังกล่าว เพราะเห็นว่าหากต้องทำเรื่องกู้ยืมเงินกับทางบริษัทเพื่อจะไปทำงาน จะต้องทำสัญญากู้ยืมและเสียเงินให้กับบริษัทเป็น 2.5 แสนบาท จึงรวบรวมเงินหยิบยืมญาติพี่น้องมาได้ 2.2 แสนบาท มาจ่ายเป็นค่าเดินทางไปทำงาน เพราะคิดว่าหากได้ไปทำงานที่อิสราเอลแล้ว จะมีเงินมาใช้คืนญาติพี่น้อง แต่สุดท้ายพอถึงวันนัดหมายที่จะเดินทางจากต่างจังหวัดเพื่อไปสนามบิน ก็ไม่สามารถติดต่อได้ จนกระทั่งเมื่อเข้ามาดูที่บริษัทด้วยตนเองก้พบว่าบริษัทดังกล่าวได้ปิดตัวไป แล้ว ส่วนชายฝรั่งกับชายชาวอาหรับที่พบในบริษัทนั้น น่าจะถูกหลอกมาจัดฉากสร่างความน่าเชื่อถือกับพวกตน มากกว่าที่จะเป็นตัวแทนบริษัทจากอิสราเอลจริง ๆ ทำให้พวกตนต้องตัดสินใจมาเข้าแจ้งความกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ช่วยติดตาม ผู้ต้องหาทั้งสองคนมาดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงต่อไป

(เนชั่นทันข่าว, 6-7-2554)

ปลัด ก.แรงงาน เตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ของบประมาณ 1,000 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนความปลอดภัยฯ

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน จะเสนอของบประมาณจากรัฐบาลใหม่ 1,000 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งกองทุนความปลอดภัยฯ ส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการทำงาน รองรับ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน พ.ศ.2554 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ก.ค.นี้ โดยจะมีการจัดตั้งสถาบันและกองทุนความปลอดภัยฯ ขึ้นภายใน 1 ปี ซึ่งหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตาม มีโทษเพิ่มขึ้นจากเดิมจำคุก 1 ปี ปรับ 2 แสนบาท เป็นจำคุก 2 ปี ปรับ 8 แสนบาท

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบว่า ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2553 จนถึงปัจจุบัน มีการดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำนวนทั้งสิ้น 655 คดี เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 12 ล้านบาท ในจำนวนนี้ เป็นคดีสถานประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย ในการทำงาน 91 คดี คิดเป็นร้อยละ 14.81 ของจำนวนคดีทั้งหมด โดยมีการจ่ายค่าปรับประมาณ 6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50 ของค่าปรับทั้งหมด โดยในปีนี้มีสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านความปลอดภัยในการทำงานระดับประเทศทั้งสิ้น 528 แห่ง

(ไอเอ็นเอ็น, 7-7-2554)

จัดหางานยโสฯ เตือนขายแรงงานสิงคโปร์

สำนักงานจัดหางานจังหวัดยโสธรเตือน ประชาชนที่จะเดินทางไปขายแรงงานที่ประเทศสิงคโปร์ ระวังถูกหลอก เพราะที่ผ่านสำนักงานแรงงานสิงคโปร์ได้รับการร้องเรียนจากแรงงานไทยแล้วโดย เฉพาะแรงงานร้านอาหาร

ยโสธร/ นายปรีชา อินทรชาธร จัดหางานจังหวัดยโสธร เปิดเผยว่า เนื่องจากสำนักงานแรงงานไทยในประเทศสิงคโปร์ ได้ประกาศเตือนคนไทยที่จะเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศสิงคโปร์โดยเฉพาะในสถาน เริงรมย์ ในตำแหน่งนักร้อง นักดนตรี ที่ไม่มีสัญญาถูกต้องผ่านทางกระทรวงแรงงาน ซึ่งพบว่ายังมีคนไทยเดินทางเข้ามาประกอบอาชีพดังกล่าว และได้รับปัญหาเรื่องรายได้โดยได้ค่าจ้างไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ นอกจากนั้นยังได้ถูกกำหนดให้ขายเครื่องดื่ม ดอกไม้ และถ้าหากทำยอดขายที่เขากำหนดไว้ไม่ได้ ก็จะถูกหักเงินค่าจ้าง

นายปรีชา ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนั้นแล้วถ้าหากลูกจ้างในสถานเริงรมย์ต้องการที่จะขอลากลับบ้านก่อน กำหนดก็ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ ซึ่งบางรายยอมจ่ายค่าเสียหายให้กับนายจ้าง และสถานเริงรมย์บางแห่งยังให้ลูกจ้างเซ็นรับเงินโดยไม่แจกแจงรายละเอียดว่า เป็นเงินเดือนหรือเงินค่าขายดอกไม้ ซึ่งที่ผ่านมาทางสำนักงานแรงงานไทยสิงคโปร์ได้รับร้องเรียนจากแรงงานไทยเป็น จำนวนมาก ดังนั้นตนจึงฝากเตือนแรงงานในจังหวัดยโสธรที่จะเดินทางไปทำงานที่ประเทศ สิงคโปร์ ขอให้เข้าไปทำงานให้ถูกขั้นตอนโดยผ่านทางกระทรวงแรงงาน เพื่อที่ป้องกันการถูกหลอกและเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง

(บ้านเมือง, 8-7-2554)

ขึ้นเงินป.ตรี 1.5 หมื่นป่วน-ใช้งบอื้อซ่า เอสเอ็มอีกระอักค่าแรง 300 บ.แบกต้นทุน 13%

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ตรวจสอบเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรีในส่วนที่ได้รับ เงินเดือนต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท พบว่าหากต้องขึ้นเงินเดือนเป็นเดือนละ 1.5 หมื่นบาท ตามนโยบายของพรรคเพื่อไทย (พท.) จะต้องใช้งบประมาณเพิ่มเดือนละ 1,000 ล้านบาท หรือทั้งปีต้องใช้เงิน 1.2 หมื่นล้านบาท และกรมบัญชีกลางได้ทำข้อสังเกตว่า การปรับขึ้นเงินเดือนของ พท.จะทำ ให้เกิดปัญหาโครงสร้างเงินเดือนในระบบราชการไม่เป็นธรรม และจะต้องมีการปรับขึ้นเงินเดือนทั้งโครงสร้าง ซึ่งจะส่งผลกับภาระงบประมาณที่สูงมาก

รายงานข่าวระบุว่า หากให้เงินเดือน 1.5 หมื่นบาท เฉพาะข้าราชการปริญญาตรีที่เข้าใหม่ ก็จะเกิดปัญหากับข้าราชการปริญญาตรีที่ทำงานอยู่ก่อนหน้าที่ได้เงินเริ่มต้น ประมาณ 1 หมื่นบาท เพราะหากไม่ปรับให้ปริญญาตรีที่ทำงานอยู่ก่อน ข้าราชการดังกล่าวต้องทำงานอีกอย่างน้อย 6-8 ปี ถึงจะได้เงินเดือน 1.5 หมื่นบาท นอกจากนี้ ในส่วนของข้าราชการปริญญาโท ที่ปัจจุบันเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 1.3 หมื่นบาท ก็จะได้รับต่ำกว่าเงินเดือนของปริญญาตรีเข้าใหม่ ดังนั้น หากจะปรับขึ้นเงินเดือนก็ต้องปรับขึ้นทั้งหมด ขณะที่ในส่วนของรัฐวิสาหกิจจะมีปัญหาเช่นเดียวกัน

รายงานข่าวระบุว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ศึกษาผลกระทบนโยบายของพรรคพท. โดยเฉพาะการปรับขึ้นเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท และการขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท จะส่งผลกระทบกับอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น จนกระทบกับเสถียรภาพของเศรษฐกิจมากน้อยขนาดไหน อย่างไรก็ตาม นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง จะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะเรื่องเงินเดือนและค่าจ้าง รวมถึงนโยบายเกี่ยวกับเกษตรกร ในวันที่ 8 ก.ค.นี้

รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ได้ศึกษาผลกระทบต่อการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท พบว่าโครงสร้างต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและเงินเดือนของเอสเอ็มอีคิดเป็น 16.2% ของต้นทุนปัจจัยการผลิตทั้งหมด ดังนั้น หากค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 1% จะส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพิ่มขึ้น 0.16% ซึ่งค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเฉลี่ยขณะนี้วันละ 175.8 บาท ดังนั้น นโยบายการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ จะส่งผลกระทบ ต่อภาคธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ เมื่อดูการจ้างงานเอสเอ็มอีพบว่ามีการจ้างงาน 10.5 ล้านคน จากจำนวน เอสเอ็มอี 2.9 ล้านรายการ ปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท จะต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 35.7-75.4% หรือต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพิ่มขึ้น 6.4-13%

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวว่า คณะกรรมการจะประชุมในวันที่ 11 ก.ค.นี้ แต่ยังไม่รู้ว่าจะมีวาระพิจารณาเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ หากมีวาระคงต้องให้ที่ประชุมพิจารณาว่าควรจะรอฟังนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศของ รมว.แรงงานคนใหม่หรือไม่ ก่อนที่จะพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ

(ข่าวสด, 8-7-2554)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แกนนำนปช. 19 คนขึ้นศาลคดีก่อการร้าย นัดสืบพยานโจทก์ปากแรก 1 มิ.ย. 55

Posted: 11 Jul 2011 04:36 AM PDT

แกนนำ นปช. วีระกานต์ มุสิกพงศ์ กับพวกรวม 19 คน ขึ้นศาลอาญาในคดีก่อการร้าย ศาลนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก 1 มิ.ย. 55

11 ก.ค. 54 – เวลา 10.00 ณ ศาลอาญา รัชดา มีการนัดสืบพยานโจทก์ในคดีพนักงานอัยการฝ่ายพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) รวม 19 คนในข้อหาก่อการร้าย จากการชุมนุมของกลุ่มนปช. ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 20 พฤษภาคม 2553 โดยอัยการโจทก์ได้แถลงต่อศาลขอนำสืบพยานจำนวน 369 ปาก แต่ศาลเห็นว่า พยานต่างๆ ซ้ำซ้อนกัน จึงให้โจทก์ตัดพยานให้เหลือเพียง 120-150 ปาก และเนื่องจากจำเลยบางส่วนเป็นส.ส. ศาลจึงเห็นควรให้นำสืบพยานก่อนช่วงปิดสมัยประชุมสภา โดยศาลได้นัดสืบพยานโจทก์ปากแรก ในวันที่ 1 มิถุนายน 2555 และจะนัดพร้อมคู่ความอีกครั้งเพื่อสืบพยานโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน 2555

ทั้งนี้ แกนนำที่เดินทางมาศาลประกอบด้วย นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์  นพ.เหวง โตจิราการ นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายขวัญชัย ไพรพนา นายประมวล ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายนิสิต สินธุไพร นายการุณ โหสกุล นายวรชัย เหมะ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการพิจารณาคดีในวันนี้ เป็นไปด้วยความคึกคัก เนื่องจากมีประชาชนเสื้อแดงมาร่วมฟังการพิจารณาจนเต็มห้องพิจารณา  โดยมีการแสดงความยินดีกับผู้ได้รับตำแหน่ง ส.ส. และมีบางส่วนที่เดินทางมาให้กำลังใจนายจตุพร และนายนิสิต  จำเลยที่ยังถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำและถูกเบิกตัวมาพิจารณาในวันนี้ด้วย

ที่มา: เรียบเรียงจาก มติชนออนไลน์, ATNN และสำนักงานกฎหมายราษฎรประสงค์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานผู้ต้องหาขายซีดีหมิ่น

Posted: 11 Jul 2011 04:29 AM PDT

ศาลเลื่อนนัดพร้อม เอกชัย หงส์กังวาน ผู้ต้องหาคดีหมิ่น ขายซีดีหมิ่น-วิกิลีกส์ เป็นวันที่ 19 ก.ค. 54 เหตุทนายจำเลยติดว่าความคดีอื่น

11 ก.ค. 54 - สืบเนื่องจากคดีนายเอกชัย หงส์กังวาน ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ถูกกล่าวหาว่าขายวีซีดีและเอกสารวิกิลีกส์เข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง และถูกจับกุมเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554 โดยศาลอนุญาตให้ประกันตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมานั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 ก.ค.) เวลา 9.00 น. ศาลอาญา รัชดา มีคำสั่งให้เลื่อนการนัดพร้อม และนัดตรวจพยานหลักฐาน ไปเป็นวันที่ 19 กันยายน 2554 โดยให้เหตุผลว่า ทนายความจำเลยติดว่าความในคดีอาญาอื่น (คดีก่อการร้ายเลขคดีดำที่ 2542/2553)

ทั้งนี้ นายเอกชัย หรือเอก หงส์กังวาน อายุ 35 ปี ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554 บริเวณอนุสาวรีย์ทหารอาสาข้างสนามหลวง โดยตำรวจทำการล่อซื้อวีซีดีที่เอกชัยขายแผ่นละ 20 บาท แล้วแจ้งข้อหาคดีหมิ่นเบื้องสูง และคดีจำหน่ายวีดิทัศน์โดยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน พร้อมด้วยของกลางเป็นวีซีดีกว่า 100 แผ่น เครื่องไรท์ซีดี 1 เครื่อง พร้อมด้วยเอกสารของวิกิลีกส์จำนวน 10 ฉบับ ในขณะนี้ เอกชัยได้รับการประกันตัวชั่วคราว โดยมีเงินสดจำนวน 500,000 บาท เป็นหลักทรัพย์ประกัน

 



 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"จำลอง" ยื่น กกต.ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ จี้เลือกตั้งใหม่

Posted: 11 Jul 2011 04:12 AM PDT

แกนนำพันธมิตรฯ เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต.ขอให้ระงับการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งวันพรุ่งนี้ออกไปก่อน พร้อมขอให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ชี้ บางพรรคการเมืองประกาศนโยบายผิดกฎหมายเข้าข่ายจูงใจ สัญญาว่าจะให้ จี้เร่งสอบสวนเอาผิด ขณะที่ “แซมดิน” ร้องคัดค้านการประกาศบัญชีรายชื่อเพื่อไทย

ASTV ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ 11 ก.ค. 54 เมื่อเวลา 15.00 น.ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) พร้อมด้วย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่ม พธม.เข้ายื่นคำร้องขอให้ กกต.ระงับการประกาศผลการเลือกตั้ง และประกาศให้บัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้พรรคการเมืองในแบบบัญชีรายชื่อ เป็นบัตรเสีย มิให้นับเป็นคะแนนในการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 3 ก.ค.
      
โดย พล.ต.จำลอง กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เป็นไปโดยสุจริต เพราะมีการทุจริตเลือกตั้งไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 72 ที่ระบุว่า รัฐมีหน้าที่อำนวยความสะดวกเลือกตั้ง แต่ตนและผู้เสียหายกว่า 2 ล้านคน เสียสิทธิเลือกตั้ง ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 ก.ค.ได้ เนื่องจากเคยลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2550 ดังนั้น หากในวันที่ 12 ก.ค.นี้ กกต.ยืนยันประกาศผลการเลือกตั้งตนจะไปยื่นฟ้อง กกต.ทั้งคณะต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และจะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาให้ดำเนินคดีกับ 5 กกต.ด้วย
      
ด้าน นายปานเทพ กล่าวว่า ตามมาตรา 110 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.พ.ศ.2550 กำหนดให้ กกต.หากเห็นว่า การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรม กกต.สามารถประกาศให้การลงคะแนนเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเป็นบัตรเสียทั้งหมดได้ เพื่อดำเนินการจัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบความผิดปกติของการเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ 4 ประการ ที่อาจนำทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ดังนี้ 1.กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เสียสิทธิเลือกตั้ง กว่า 2 ล้านคน เพราะไม่ได้แจ้งยกเลิกการลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดเมื่อปี 2550 เพราะ พล.ต.จำลอง เคยไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.โดยที่ไม่ต้องแจ้งยกเลิกการลงทะเบียน และการเลือกตั้งครั้งนี้เขตเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปแต่ก็ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ถือว่าเป็นสองมาตรฐาน
      
2.บัตรเลือกตั้งทั้ง 2 แบบมีจำนวนไม่เท่ากันเป็นจำนวนมาก 3.กรณี 5 พรรคการเมืองประกาศนโยบายในลักษณะสัญญาว่าจะให้ซึ่งถือเป็นการจูงใจให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่คิดเป็นเม็ดเงินเข้าข่ายกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง และ 4.การให้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีอิทธิพลและสั่งการในพรรคการเมือง เช่น ทักษิณคิดเพื่อไทยทำหรือพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และพรรคพลังชลที่ปล่อยให้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมาเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง โดยเหตุผลดังกล่าวกกต.ไม่ควรที่จะประกาศผลการเลือกตั้งส.ส. ซึ่งหากกกต.ยืนยันประกาศผลการเลือกตั้งก็อาจจะทำให้ซ้ำรอยการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย.2549 ได้
      
ขณะที่ ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ เลขาธิการพรรเพื่อฟ้าดิน มายื่นต่อ กกต.ในนามผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อฟ้าดิน ขอให้ กกต.งดการรับรองผลการเลือกตั้งบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และดำเนินการยุบพรรค ด้วยเหตุผล ว่า พรรคเพื่อไทยปล่อยให้ผู้มีความผิดอาญาโทษร้ายแรงเกี่ยวกับความมั่นคง การก่อการร้าย และความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เป็นผู้สมัครของพรรค มีการร่วมกับกลุ่ม นปช.เสื้อแดงปลุกระดมให้คนมาชุมนุมเพื่อกดดันให้ยุบสภา โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีและถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองโฟนอินเข้ามาเกี่ยวข้อง และ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นพี่ชาย นส.ยิ่งลักษณ์ และให้สัมภาษณ์ว่าเป็นโคลนนิ่งของตน ซึ่งสอดคล้องกับการหาเสียงที่ว่า “ทักษิณคิดเพื่อไทยทำ” แสดงถึงความเกี่ยวข้องทางการเมืองทั้งที่เป็นบุคคลที่ถูกตัดสิทธิ์
      
ร.ต.แซมดิน ยังกล่าวอีกว่าในกรณีการตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงราว 1,000 แห่ง โดยนายดอน ชัยนาปุน ผู้นำกลุ่มเสื้อแดงอุดรให้สัมภาษณ์ยอมรับกับสื่อต่างประเทศนั้น เกิดขึ้นระหว่างมีกฤษฎีกาการเลือกตั้ง ถือเป็นการใช้อิทธิพลควบคุมการหาเสียงล่วงหน้า นอกวิถีทางในการได้มาซึ่งอำนาจที่บรรญัตติไว้ตามรัฐธรรมนูญและขัด พ.ร.บ.พรรคการเมือง
      
โดยหนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้
      

       เรียน คณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้าพเจ้า พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ ๕ กรุงเทพมหานคร มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ ๕๘๐/๒ ซอยสงวนสุข ถนนพระราม ๕ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วยอันดับ ๑ ใคร่ขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติในมาตรา ๒๓๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเนื่องมาจากการดำเนินการจัดการเลือกตั้งที่ผิดพลาดและมีการกระทำอันทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปทั้งในระบบเขตเลือกตั้งและระบบบัญชีรายชื่อ เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๑๕๕๔ มิได้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม และเนื่องด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เสนอข่าวต่อสาธารณะว่าจะดำเนินการประกาศผลการเลือกตั้งภายในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ นี้ ข้าพเจ้าขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งระงับการประกาศผลการเลือกตั้งไว้ก่อนและดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นที่ยุติเสียก่อน และดำเนินการประกาศให้บัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้พรรคการเมืองในระบบบัญชีรายชื่อเป็นบัตรเสียมิให้นับเป็นคะแนนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ รวมทั้งคัดค้านการเลือกตั้งที่มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมและขอให้สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
      
       ๑.การบริการจัดการเลือกตั้งที่ผิดพลาดทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
       ๑.๑ การดำเนินการบริหารจัดการเลือกตั้งที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๗๒ วรรคสามของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้เป็นจำนวนมาก
      
       หากคณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๒ วรรคสาม ที่กำหนดหลักการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ประกอบกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๑พุทธศักราช ๒๕๕๔ ที่ได้แก้ไขที่ให้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และที่มา รวมทั้งกำหนดเขตเลือกตั้งใหม่ โดยแต่เดิมในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๔๘๐ คน มีที่มาจากการเลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้ง ๔๐๐ คน และการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ๘๐ คน และมีการแบ่งเขตให้ในระบบเขตเลือกตั้ง ได้ไม่เกินเขตละ ๓ คน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อให้แบ่งบัญชีรายชื่อเป็น ๘ บัญชี ในแต่ละพรรคและแบ่งเขตเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อออกเป็น ๘ เขตเลือกตั้ง ตามกลุ่มจังหวัดออกเป็น ๘ กลุ่มจังหวัดๆ ละ ๑๐คน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้เปลี่ยนแปลงหลักการดังกล่าวส่งผลต่อจำนวน สมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรและจำนวนเขตเลือกตั้ง โดยเปลี่ยนให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๕๐๐คน มีที่มาจากการเลือกตั้งระบบเขตเลือกตั้งจำนวน ๓๗๕ คน และจากการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน ๑๒๕ คน โดยมีการแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเลือกตั้ง ได้ ๑ คน ต่อเขต และในส่วนสมาชิกในระบบบัญชีรายชื่อได้ใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ส่งผลให้เขตเลือกตั้งในระบบใหม่มีจำนวนเขตเลือกตั้งในระบบเขตมากขึ้นและมีพื้นที่เล็กลง และเขตเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อใหญ่ขึ้นแต่เหลือเพียงเขตเดียว เท่ากับมีการเปลี่ยนเขตเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ใช้สิทธิในเขตเลือกตั้งเดิมอีกต่อไปโดยผลของการแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
      
       เมื่อการเลือกตั้งเป็นสิทธิทางการเมืองขั้นพื้นฐาน การตัดสิทธิเลือกตั้งหรือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แต่การวินิจฉัยของคณะกรรมการเลือกตั้งเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งดังกล่าว ที่วินิจฉัยตามมาตรา 97 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่วินิจฉัยว่าหากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ได้ไปลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งต้องกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ ที่ตนได้เคยขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตไว้ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ในวันการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ได้ การวินิจฉัยดังกล่าวของคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีลักษณะการเลือกปฏิบัติที่แตกต่างกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปกับการเลือกตั้งซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่างและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะขัดต่อหลักการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตาม มาตรา ๘๒ วรรคสามของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพราะหากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปนั้นต้องให้ประชาชนไปดำเนินการลงทะเบียนขอเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งก่อน รายชื่อจึงจะกลับเข้าไปอยู่ในเขตเลือกตั้งเดิมที่ตนมีสิทธิ แต่ส่วนการเลือกตั้งซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่างที่เกิดขึ้น เช่น ที่กรุงเทพมหานคร และในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ รายชื่อของผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตได้กลับเข้าไปอยู่ในเขตเลือกตั้งทันทีไม่ต้องมีการลงทะเบียนเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเกิดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปปรากฎว่า รายชื่อของบุคคลดังกล่าวต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตทันที ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาค เลือกปฏิบัติ และไม่สม่ำเสมอในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ขัดต่อหลักการที่องค์กรของรัฐทุกองค์กรยึดถือปฏิบัติตามมาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การวินิจฉัยดังกล่าวก่อให้เกิด “ผลประหลาด” ในทางกฎหมายที่บรรพตุลาการและนักนิติศาสตร์ยึดถือว่าต้องห้ามมิให้เกิดผลเช่นนั้น นอกจากนี้หากพิจารณาจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตและนอกราชอาณาจักรตามที่กล่าวมาข้างต้นที่คาดว่าจะไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะลงทะเบียนไปใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตในปี ๒๕๔๐ จำนวน ๒,๐๙๕,๔๑๐ คน และ ๘๐,๑๖๑ คน ตามลำดับ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องสืบสวน สอบสวน และวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีนี้เสียก่อน เพื่อตอบต่อประชาชนอย่างถูกต้องว่า มีจำนวนเท่าใดที่มีการขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิ เพราะหากไม่สามารถตอบต่อประชาชนได้ หรือหากปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีประชาชน จำนวน ๒,๑๗๕,๕๗๑ คน ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ จะส่งผลต่อคะแนนการเลือกตั้งที่มีผู้ลงทะเบียนในหลักหมื่นจนถึงหลักแสนคนในจังหวัดต่างๆ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๑ จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนมากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร ที่มีจำนวน ๙๐๓,๘๙๙ คน ซึ่งหากบุคคลเหล่านี้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะส่งผลต่อการเลือกตั้งในทุกเขตอย่างแน่นอนเพราะบางเขตเลือกตั้งมีคะแนนแตกต่างกันไม่มาก และหากพิจารณาถึงจังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนเกินหลักหมื่นขึ้นไป จะส่งผลกระทบต่อความสุจริตและเที่ยงธรรมในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
      
       1.2. จำนวนบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งกับบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไม่เท่ากันในหลายจังหวัดส่งผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
      
       ตามที่นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า เกิดปัญหากรณีบัตรเลือกตั้งมีจำนวนไม่เท่ากันระหว่างบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตกับแบบบัญชีรายชื่อที่แตกต่างกันไม่น้อยกว่า ๘๓,๒๒๒ ใบ โดยมีบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อมากกว่า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ เพราะจำนวนประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งไม่น่าจะแตกต่างกันมาก และมีผลถึง ๕-๖ จังหวัด สะท้อนถึงการการกระทำที่อาจไม่สุจริตที่ทำให้จำนวนบัตรเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อสูงขึ้นเพื่อหวังผลให้ได้รับการเลือกตั้งก็เป็นได้ ส่งผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและ จึงเป็นเรื่องที่คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดโดยพลัน
      
       ๒.พรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกาคม ๒๕๕๔ กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐
      
       นับแต่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปรากฏการกระทำของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทำการอันมีลักษณะ”สัญญาว่าจะให้” ตามมาตรา ๕๓ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้
      
       “มาตรา ๕๓ ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
      
       (๑) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่ผู้ใด
       (๒) ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม แก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด
       (๓) ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ
       (๔) เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด
       (๕) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด
       ความผิดตาม (๑) หรือ (๒) ให้ถือว่าเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจส่งเรื่องให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้
      
       เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา ๕๓(๑)และ (๒) แล้ว ปรากฎการกระทำความผิดในลักษณะ “สัญญาว่าจะให้” ในรูปแบบการกล่าวอ้างว่าเป็นนโยบายในลักษณะประชานิยม ซึ่งที่จริงแล้วการกระทำดังกล่าวไม่เข้าลักษณะของการกำหนดนโยบายแต่ประการใด แต่เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นการกระทำที่เข้าลักษณะ “สัญญาว่าจะให้” ด้วยเหตุผลว่า
      
       1.คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติ ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๔ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔วางหลักการเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของกระทรวงทบวงกรม อย่างต่อเนื่อง เช่น นโยบายปฏิรูปการศึกษา นโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ หรือนโยบาย ๖ คุณภาพ สามารถกระทำได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องระมัดระวังมิให้มีการกระทำใดที่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๘๑ ประกอบระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อการใดซึ่งส่งผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐
      
       มติดังกล่าวเป็นมติที่แสดงให้เห็นว่าถึงแม้นโยบายที่มีการกำหนดไว้แล้วและถูกนำมาปฏิบัติในระหว่างการเลือกตั้ง หากดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างไม่ระมัดระวังแล้วอาจส่งผลต่อการกระทำการในลักษณะที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ อันแสดงให้เห็นว่าหากการดำเนินการตามนโยบายอาจเข้าข่ายของการกระทำผิดในลักษณะ “สัญญาว่าจะให้” ได้
      
       2.การกำหนดนโยบายประชานิยมที่มีลักษณะเป็นการให้สิทธิหรือประโยชน์อันสามารถคำนวณได้ในรูปแบบของตัวเงินหรือทรัพย์สินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเฉพาะกลุ่ม โดยที่ไม่มีหลักการในทางวิชาการที่จะสนับสนุนว่าการดำเนินการดังกล่าวจะสามารถกระทำได้หรือสามารถเล็งเห็นได้ว่าการดำเนินการในเรื่องส่งผลกระทบตามความมั่นคงของชาติในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐอย่างร้ายแรง การกำหนดดังกล่าวไม่ใช่การกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินตามอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารตามกฎหมาย แต่เป็น “สัญญาว่าจะให้” อันเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐
      
       3.การกำหนดนโยบายประชานิยมที่มีลักษณะของการให้ประโยชน์อันสามารถคำนวณเป็นเงินได้ในรูปตัวเงินหรือทรัพย์สิน ในกิจการที่เอกชนดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีปัญหาในการแข่งขัน การผูกขาดหรือก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยให้ประโยชน์ในลักษณะสร้างความนิยมจากการให้ โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอในการเข้าไปดำเนินการในกิจการดังกล่าวและหวังเพียงให้เกิดความนิยมในระหว่างการเลือกตั้ง เป็นการนำงบประมาณของรัฐที่มาจากภาษีของประชาชนไปแจกจ่ายโดยไม่มีสะท้อนต่อประโยชน์ที่ได้รับอย่างคุ้มค่าของผู้เสียภาษีกับผู้รับประโยชน์จากนโยบายที่กำหนดดังกล่าว
      
       4.การกำหนดนโยบายประชานิยมที่เป็นการตั้งมูลค่าของตัวเงินหรือให้ผลประโยชน์อันสามารถคำนวณเป็นเงินหรือทรัพย์สินให้แก่ประชาชน โดยไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดถึงวิธีการดำเนินการว่าจะกระทำให้ได้ผลตามที่กำหนดหรือไม่
      
       เมื่อประมวลนโยบายที่มีการประกาศจะดำเนินการของพรรคการเมืองตามนโยบายที่ประกาศ และการประกาศในการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ แล้ว พบว่า มีพรรคการเมืองที่มีการประกาศนโยบายในลักษรที่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายในลักษณะ “สัญญาว่าจะให้” อันเป็นการจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะนนให้แก่พรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง ดังนี้
      
       (1)พรรคเพื่อไทย หมายเลข ๑
       - สร้างคอนโด และแฟล็ตให้คนรุ่นใหม่ หรือคนจากต่างจังหวัดที่ไม่มีที่อยู่ สามารถเช่าในราคาถูก เดินทางถูก ค่าเช่าประมาณเดือนละพันกว่าบาท
       - พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า ๕ แสนบาท อย่างน้อย ๓ ปี
       - คืนภาษีและเพิ่มค่าลดหย่อนให้กับผู้ซื้อบ้านหลังแรก โดยลดภาษีให้กับผู้ซื้อบ้านหลังแรก เช่นภาษีค่าโอน และยังเพิ่มค่าลดหย่อนเป็น ๕ แสนบาท
       - คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถคันแรก อย่างเช่น รถราคา ๕ แสนบาท จะได้คืนภาษี ๑ แสนบาท ราคาก็จะเหลือประมาณ ๔ แสนบาท โดยต้องถือครองรถคันนี้ไม่น้อยกว่า ๕ ปี จึงจะขายต่อได้ หากขายต่อภายใน ๕ ปีแรกจะไม่ได้รับคืนภาษี
       - ดำเนินการแจกแทบเล็ต พีซี ให้เด็กไปโรงเรียนทุกคน โดยซึ้อแทบเล็ตจากประเทศจีนหรืออินเดียราคาเพียง ๕-๖,๐๐๐ บาท และแจกเพียง ๘๐๐,๐๐๐ เครื่องสำหรับ ป. ๑ เท่านั้น
       - โครงการรับจำนำข้าวเปลือกตันละ ๑๕,๐๐๐ บาท และข้าวหอมมะลิตันละ ๒๐,๐๐๐ บาท
      
       (๒) พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน หมายเลข ๒
       - ดูกีฬานานาชาติ ถ่ายทอดตลอด ๒๔ ชั่วโมงฟรี
       - พัก ลด ปลดหนี้ให้เกษตรกรไทยกรณีที่เกษตรกรมีหนี้สินเกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ให้พักหนี้เงินต้นในส่วนที่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาทไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ ปี โดยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรฯ จะรับโอนหนี้สินเกษตรกรที่มีหนี้ไม่เกิน ๓๐๐๐๐๐ บาท ไว้ร้อยละ ๕๐ และส่วนที่เหลือให้เกษตรกรผ่อนชำระ ซึ่งหากชำระได้ตามกำหนดเวลา ส่วนที่กองทุนฟื้นฟูรับโอนหนี้เกษตรกรจะผ่อนชำระคืนให้กองทุนโดยไม่มีดอกเบี้ย - ขยายวงเงินสินเชื่อเพื่อเกษตรกรเป็น ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยให้เป็นวงเงินกับเกษตรกรรายละ ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นทุนสำหรับให้เกษตรกรนำไปซื้อปุ๋ยและสิ่งจำเป็นอื่นๆ ผ่าน
       ธ.ก.ส. - พืชพันธุ์ดีแจกฟรีเกษตรกรทั่วไทย พัฒนาสายพันธุ์พืชให้มีความแข็งแรง ทนทาน และจัดให้มีกล้าไม้อย่างเพียงพอพร้อมแจกฟรีให้กับเกษตรกรยากจนทั่วไทย
       - เริ่มทำงาน ๕ ปีแรก ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เริ่มต้นชีวิตการทำงานมีโอกาสออมเงินและตั้งหลักในชีวิต
       - แก้หนี้ทั้งในและนอกระบบให้แก่ผู้ใช้แรงงานไทย รัฐจะรับโอนหนี้สินที่ผู้ใช้แรงงานมีหนี้สินเกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ให้พักหนี้เงินต้นในส่วนที่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาทไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ ปี โดยจะจัดให้มีกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพแรงงาน ซึ่งกองทุนฯ จะรับโอนหนี้สินแรงงานที่มีหนี้ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ไว้ร้อยละ ๕๐ และส่วนที่เหลือให้แรงงานผ่อนชำระ ซึ่งหากชำระได้ตามกำหนดเวลา ส่วนที่กองทุนฟื้นฟูรับโอนหนี้แรงงานจะผ่อนชำระคืนให้กองทุนโดยไม่มีดอกเบี้ย
       - คูปองสุขภาพ ๕,๐๐๐ บาท โดยจัดทำคูปองเล่มละ ๕๐ ใบ ใบละ ๑๐๐ บาท แจกจ่ายให้กับผู้ที่ยังไม่อยู่ในระบบประกันสังคมเพื่อใช้เป็นแรงจูงใจให้แรงงานและเกษตรกรที่ยังไม่อยู่ในระบบใช้เป็นเงินสมทบสำหรับส่งเป็นเงินประกันสังคมรายเดือน โดยให้ผู้ประกันตนใหม่จ่ายสมทบอีก ๕๐ บาทต่อคูปอง ๑ ใบ
       - พัก ลด ปลดหนี้ครู ด้วยกองทุนครูพัฒนาชาติ รัฐจะรับโอนหนี้สินให้ครูที่มีหนี้สินเกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ให้พักหนี้เงินต้นในส่วนที่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาทไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ ปี โดยจะจัดเงินสมทบตั้งเป็นกองทุนครูพัฒนาชาติให้กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ซึ่งกองทุนฯ จะรับโอนหนี้สินครูที่มีหนี้ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ไว้ร้อยละ ๕๐ และส่วนที่เหลือให้ครูผ่อนชำระ ซึ่งหากชำระได้ตามกำหนดเวลา ส่วนที่กองทุนฯ รับโอนหนี้ ครูจะผ่อนชำระคืนให้กองทุนโดยไม่มีดอกเบี้ย - ปรับสถานะพยาบาลอัตราจ้างเป็นข้าราชการทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพให้แก่พยาบาล โดยทำการกำหนดอัตราข้าราชการใหม่เพื่อรองรับพนักงานพยาบาลที่สมัครใจจะโอนย้ายมาบรรจุเป็นข้าราชการประจำ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐๐,๐๐๐ อัตรา
       - เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ๒ เท่า จาก ๕๐๐ เป็น ๑,๐๐๐ บาท เนื่องจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดิมไม่สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น และเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหารได้ไม่น้อยกว่า วันละ ๓๐ บาท จึงเห็นควรให้มีการปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็น ๑,๐๐๐ บาท ต่อเดือน - เพิ่มเบี้ยยังชีพคนพิการ ๒ เท่า จาก ๕๐๐ เป็น ๑,๐๐๐ บาท เนื่องจากเบี้ยยังชีพคนพิการเดิมไม่สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน และเพื่อให้คนพิการสามารถมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหารได้ไม่น้อยกว่าวันละ ๓๐ บาท - ปรับอัตราค่าตอบแทนผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปรับอัตราเงินเดือน ค่าตอบแทน และ สวัสดิการ คณะผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐
       - ให้เบี้ยสวัสดิการให้กลุ่มคนทำงานอาสาเช่น อสม. อปพร. หมอดินอาสา เดือนละ ๑,๐๐๐ บาท - ให้ค่าตอบแทนปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปินพื้นบ้าน๑,๐๐๐ บาท/เดือน เพื่อส่งเสริมและรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเพิ่มเงินสนับสนุนในกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดและ ให้สวัสดิการค่าตอบแทนแก่ปราชญ์ชาวบ้านและศิลปินพื้นบ้านตำบลละ ๑ คนเป็นจำนวน ๑,๐๐๐ บาท/เดือน ตลอดชีพ เพื่อรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
      
       (๓) พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข ๓
       - เรียนฟรีถึงปริญญาตรีโดยสมัครใจ รักษาฟรีทุกโรคทุกที่ ลดหนี้เกษตรกร ส่งแรงงานฟรีไม่มีค่าหัว
      
       (๔) พรรครักประเทศไทย หมายเลข ๕
       - หากได้เป็น ส.ส.พร้อมประกาศนโยบายขยายเวลาชดใช้หนี้ กยศ.ออกไป ๕ ปี พร้อมลดดอกเบี้ยให้อีกด้วย
      
       (๕) พรรคพลังชล หมายเลข ๖
       - โครงการบัตรสมาร์ทคิด บัตรเครดิตสุขภาพเด็กแรกเกิดถึง ๕ ขวบ ฟรีวัคซีน ฟรีบริการสาธารณสุขมูลฐาน ในอนาคตเติมบริการอื่นๆ ได้
      
       (๖) พรรคดำรงไทย หมายเลข ๘
       - ประกันราคาข้าวเปลือกขั้นต่ำ ตันละ ๑๙,๐๐๐ บาท
      
       (๗) พรรคพลังมวลชน หมายเลข ๙
       - เงินยังชีพผู้สูงอายุ ๓,๐๐๐ บาท/เดือน, เงินชดเชยให้คนว่างงาน ๓,๐๐๐ บาท/เดือน, ค่าแรงขั้นต่ำ ๔๐๐ บาท/วัน - ข้าวเปลือกเกวียนละ ๑๖,๐๐๐ บาท
       - ให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นของตนเองอย่างน้อย ๑๕ ไร่
       - เพิ่มค่าตอบแทน อสม.
      
       (๘) พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข ๑๐ - ค่าไฟฟ้าฟรีไม่เกิน ๙๐ หน่วยต่อเดือน
       - เรียนฟรี ๑๕ ปี ตั้งแต่อนุบาลถึง ม.๖ ฟรีค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าชุดนักเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพ - รถเมล์ สะอาด รวดเร็ว ปลอดภัย บริการฟรีนักเรียน-คนพิการ-ผู้สูงอายุ
       - จัดโฉนดชุมชนให้เกษตรกรมีที่ทำกินอีก ๒๕๐,๐๐๐ คน บนที่ดินของรัฐ
      
       (๙) พรรคไทยพอเพียง หมายเลข ๑๑ - จัดให้มีการอบรมปรัชญา “ เศรษฐกิจพอเพียง ” เพื่อนำไปบริหารจัดการครอบครัว ทำมาค้าขาย และธุรกิจ ทั่วประเทศใช้เวลา ๕ วัน เมื่อผ่านการอบรมจะได้ค่าตอบแทนคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท - ผู้ผ่านการอบรมแล้วจะได้เงินทุนหมุนเวียนประกอบอาชีพโดยไม่มีดอกเบี้ยและผู้ค้ำประกัน กลุ่มละไม่เกิน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท เฉลี่ยรายละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท ทำธุรกิจ รายละ ๕ ล้านบาท
       - ปลดหนี้โดยรัฐบาลจะทำการซื้อหนี้ในและนอกระบบของประชาชนทั้งหมดแล้วให้ลูกหนี้มาใช้หนี้ให้กับรัฐบาลเพียงทางเดียว คนมีรายได้น้อยก็ให้พักชำระหนี้หรือประนอมหนี้ตามความเหมาะสม อายุครบ ๖๐ ปียกหนี้ให้ทั้งหมด
       - เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และคนพิการ ได้รับอย่างต่ำเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท
      
       (๑๐) พรรคไทยเป็นสุข หมายเลข ๑๓
       -ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง ๖ ปี เดือนละ ๑,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกินครอบครัวละ ๓ คน - ให้ค่าตอบแทนผู้สูงอายุจาก ๕๐๐ บาท เป็น ๓,๐๐๐ บาทต่อเดือน
      
       (๑๑) พรรคกิจสังคม หมายเลข ๑๔
       - เพิ่มรายได้ให้กลุ่ม อสม. จาก ๖๐๐ เป็น ๑,๐๐๐ บาท
      
       (๑๒) พรรคไทยเป็นไท หมายเลข ๑๕
       -ออกกฎหมายปลดหนี้ให้คนไทย หรือออกกฎหมายให้รัฐบาลเป็นผู้รับใช้หนี้แทนคนไทยทั้งประเทศ โดยการโอนหนี้ของคนไทยทุกคนให้ไปเป็นหนี้ของรัฐบาลคนละไม่เกิน ๕ แสนบาท เช่น หนี้ ธ.ก.ส. หนี้สหกรณ์การเกษตร, หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์, หนี้ธนาคารพาณิชย์, หนี้กองทุนหมู่บ้าน หนี้กองทุนกู้ยืมเรียน,หนี้บัตรเครดิต,หนี้ไฟแนนซ์,หนี้นอกระบบต่างๆ ฯลฯ
       - จัดตั้งกองทุนสนับสนุนอาชีพเกษตรกร จำนวน ๕ แสนล้านบาท เพื่อการจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรไว้บริการในสหกรณ์หมู่บ้าน เช่น รถไถนา รถเกี่ยวข้าว รถบรรทุกผลผลิตการเกษตร และ เป็นเงินทุนในการรวบรวมผลผลิต โกดังเก็บผลผลิต ลานตาก โรงงานปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์
       - จัดตั้งกองทุนสนับสนุนธุรกิจในประเทศ ให้บัณฑิตคนไทย และนักธุรกิจคนไทย สนับสนุนให้คนไทยเป็นเจ้าของกิจการ กู้ค้าขาย ปรับปรุงสินค้าและขยายกิจการ จำนวน ๑๐ แสนล้านบาท
       - จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการลงทุนต่างประเทศ ให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศเพื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ จำนวน ๑๐ แสนล้านบาท
       - คนไทยทุกคน ถ้าเกิดเจ็บป่วยรักษาฟรี คนพิการและคนชรามีเงินเดือนเลี้ยงชีพ เดือนละ ๑,๕๐๐ บาท ถ้าตายมีเงินทำศพรายละ ๒ หมื่นบาท และจัดรถยนต์ของมูลนิธิไว้บริการฟรีถึงหมู่บ้านเมื่อคนไทยเจ็บป่วย ตาย หรือมีภารกิจจำเป็นเร่งด่วน - ให้พ่อค้าและนักธุรกิจกู้ยืมเพื่อจัดซื้อผลผลิตจำนวน ๒ แสนล้านบาท
       - จัดสรรเงินกองทุนหมู่บ้านๆ ละ ๕ ล้านบาททุกปี ฟรีรัฐบาลไม่เรียกคืนและให้ดำเนินการดังนี้ เงินล้านที่ ๑ จัดทำสหกรณ์ร้านค้าชุมชนทุกหมู่บ้านประชาชนในหมู่บ้านให้ถือหุ้นเท่ากันทุกคน เงินล้านที่ ๒ และเงินล้านที่ ๓ จัดตั้งธนาคารหมู่บ้านให้ชาวบ้านกู้ยืมโดยปลอดดอกเบี้ยยกเว้นกู้ไปค้าขาย หรือชำระหนี้นายทุนเอกชน ต่าง ๆ ไปทำงานต่างประเทศ ผ่อนรถ ผ่อนบ้านให้เสียดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ ๓ บาทต่อปี เงินล้านที่ ๔ กำหนดให้ทุกหมู่บ้านสร้างยุ้งฉาง หรือไซโลไว้เก็บผลผลิตทางการเกษตร โรงสีข้าวและลานตาก และใช้เป็นงบพัฒนา ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โรงเรียน วัด ฯลฯ เงินล้านที่ ๕ จัดเป็นค่าใช้จ่ายเงินเงินเดือนพนักงาน ข้าราชการท้องถิ่น จ้างนักกฎหมาย เป็นทนายความประจำหมู่บ้าน ค่าอาหารของพระสงฆ์และนักบวช จ้างฝ่ายข้อมูล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ถ้าไม่พอให้ขอจากงบกลาง
       - แก้ไขสัญญาสัมปทานดาวเทียม โทรศัพท์บ้าน และมือถือ ให้คิดค่าบริการภายในประเทศได้ไม่เกินนาทีละ ๑ บาท - ออกกฎหมายกระจายงาน กระจายเงิน และกระจายอำนาจอย่างเป็นธรรม โดยแต่งตั้งตัวแทนพรรคระดับต่าง ๆ บรรจุเป็นข้าราชการการเมือง โดยมีอำนาจมีเงินเดือนประจำตำแหน่ง ดังนี้ ตัวแทนระดับจังหวัด หรือเขตเลือกตั้ง ได้เงินเดือน ๆ ละ ๑ แสนบาท ตัวแทนระดับอำเภอหรือประธานสาขาพรรคได้เงินเดือนๆ ละ ๕ หมื่นบาท ตัวแทนระดับตำบลหรือกรรมการสาขาได้เงินเดือนๆละ ๓ หมื่นบาท ตัวแทนระดับหมู่บ้านหรือสมาชิกผู้ก่อตั้งสาขาได้เงินเดือนๆละ ๑ หมื่นบาท ตัวแทนระดับคุ้มหรือหัวหน้ากลุ่ม ได้ค่าเงินเดือนๆละ ๕ พันบาท สมาชิกพรรคทั่วไป ได้ปลดหนี้ ไม่เกินคนละ ๕ แสนบาท และได้ค่าตอบแทนและสิทธิพิเศษตามนโยบายพรรคทุกข้อ - กู้เงินซื้อที่อยู่อาศัยได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย และกู้เงินลงทุนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑ บาทต่อปี ให้ใช้บุคคลค้ำประกันเงินกู้
      
       (๑๓) พรรคภูมิใจไทย หมายเลข ๑๖
       - ล้างหนี้กองทุนหมู่บ้านทั้งหมด แล้วมาเริ่มต้นบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกันใหม่เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ด้วยการเติมเงินงบประมาณเข้าไปอีก ๘ หมื่นล้านบาท จัดสรรให้กับทุกหมู่บ้าน - ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ๒% - กองทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ผ่าน อปท. จังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาทต่อปี
       - กองทุนประกันราคาสินค้าเกษตร ข้าวเปลือกตันละ ๒ หมื่นบาท เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมไปชั่วลูกชั่วหลาน โดยจะเสนอกฎหมายเพื่อให้มีการจัดตั้งเงินกองทุนไว้จำนวนมากพอต่อการประกันราคาสินค้าเกษตรกร ซึ่งจะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ว่าจะมีการคิดมาเปลี่ยนแปลงแนวทางนี้ไป
      
       (๑๔) พรรคชาติไทยพัฒนา หมายเลข ๒๑ - สนับสนุนเงินลงทุนปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร ฟรีดอกเบี้ย
       ๑ ปี วงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท - จัดตั้งกองทุนสวัสดิการเกษตรกร วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท
       - ประกันราคาข้าว ข้าวเปลือก ๑๕,๐๐๐ บาท ข้าวหอมมะลิ ๒๐,๐๐๐ บาท
       - ช่วยเหลือค่าเช่านา สำหรับผู้เช่านา ไร่ละ ๕๐๐ บาท
       - จัดงบประมาณ ปีละ ๔,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับโครงการอาหารกลางวันให้นักเรียนครบตามจำนวน - สนับสนุนค่าตอบแทน อาสาสมัครเกษตร อกม. – อสม. – อปพร. ประจำหมู่บ้าน คนละ ๑,๐๐๐ บาท ต่อเดือน - เพิ่มเงินสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้พิการ ๑,๐๐๐ บาท ต่อคนต่อเดือน
      
       การกระทำดังกล่าวถึงแม้จะเป็นการประกาศเป็นนโยบายและมีการดำเนินการโดยผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองทั่วประเทศ เป็นการกระทำขยายนโยบายที่เป็น “สัญญาว่าจะให้”ในทุกเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ และเรื่องดังกล่าวได้ปรากฏชัดต่อสาธารณชนอย่างกว้างและปรากฏต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังนั้นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จึงมีการกระทำโดยผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองอันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ อย่างกว้างและชัดแจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดโดยพลันตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้
      
       ๓. การกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐
      
       ตามที่มีการพิจารณาและพิพากษาให้มีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบรรดาหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองอันเนื่องมาจากการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา แต่ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีบุคคลซึ่งถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งบางคนหรือบางกลุ่ม กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา ๙๗ แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ ทั้งก่อนและในขณะที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔
      
       “มาตรา ๙๗ ในกรณีที่พรรคการเมืองต้องยุบเพราะเหตุอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนมาตรา ๔๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๘๒ หรือต้องยุบตามมาตรา ๙๔ ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป จะจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกไม่ได้ ทั้งนี้ ภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นต้องยุบไป”
      
       โดยกระทำการครอบงำในการบริหารและเชิดบุคคลให้เป็นตัวแทนอำพรางการกระทำของบุคคลดังกล่าว และแสดงออกอย่างโจ่งแจ้งในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมือง รวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการบริหารพรรคการเมืองและเข้าจัดตำแหน่งในทางการเมือง อาทิ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ที่แสดงออกในการเข้าครอบงำการบริหารพรรคเพื่อไทยเสมือนเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองดังกล่าว นายบรรหาร ศิลปอาชา แสดงออกในการเข้าครอบงำการบริหารพรรคชาติไทยพัฒนา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แสดงออกในการเข้าครอบงำพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน นายเนวิน ชิดชอบ เข้าครอบงำการบริหารพรรคภูมิใจไทย เป็นต้น
      
       ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงขอดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ และระเบียบคณะ
       กรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน สอบสวน และวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการดังต่อไปนี้
      
       1.ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งระงับการประกาศผลคะแนนการเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ไว้ก่อน จนกว่าจะมีการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดหรือวินิจฉัยการคัดค้านการเลือกตั้งแล้วเสร็จ
       2.ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดโดยพลัน ในการกระทำของผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ และดำเนินการยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าว
      
       3.ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดโดยพลัน ในการกระทำเข้ามาบริหารจัดการของผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองและยุบพรรคการเมืองที่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐
      
       4.ขอคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๘,๒๓๗ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐มาตรา ๕๓(๑),(๒),๑๓๗,๑๕๙,๑๑๐,๑๖๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐มาตรา ๔,๙๔(๑),(๒),(๓) และมาตรา ๑๑๖
       จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการโดยด่วน
      
       ขอแสดงความนับถือ
       ( พลตรี จำลอง ศรีเมือง)
       ผู้ร้อง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อดีตนักศึกษารามฯ ร้องศาลให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ

Posted: 11 Jul 2011 03:56 AM PDT

อดีตนักศึกษารามคำแหง 3 คนยื่นคำร้องศาลฎีกาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และคืนสิทธิทางการเมืองหลังเสียสิทธิ์เพราะการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต

วันนี้ (11 ก.ค. 54) สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า นายชุมพล สังข์ทอง อดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ ในฐานะทนายความ ได้นำอดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 3 คน จากอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นผู้เสียสิทธิ์ทางการเมือง ยื่นคำร้องต่อศาลฏีกา แผนกคดีเลือกตั้ง เนื่องจากไม่ได้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า เป็นเพราะความสับสน จากการประชาสัมพันธ์ของ กกต.ในการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต จึงเรียกร้องให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นโมฆะและคืนสิทธิ์ทางการเมืองให้ผู้เสียสิทธิ์ทั้ง 3 คน รวมถึงประชาชนที่เกิดปัญหาในลักษณะดังกล่าวประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ว่า จะมีผลออกมาอย่างไร

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ประเวศ-บุญชัย” และค่าแรง 300 บาท

Posted: 11 Jul 2011 02:08 AM PDT

ภายหลังจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศนโยบายการเข้าไปตรวจสอบโครงสร้างต้นทุนสินค้าของผู้ประกอบการ รวมทั้งการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาท เพื่อช่วยเหลือเรื่องปากท้องประชาชน ผู้ประกอบการหลาย ๆ ฝ่ายก็มีเสียงสะท้อนต่าง ๆ ตามมา รวมถึงสหพัฒน์ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่

"บุญชัย โชควัฒนา" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ แสดงทรรศนะถึงนโยบายดังกล่าวว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท รัฐไม่ควรดำเนินนโยบายเช่นนี้ หากทำจริง จะเป็นเรื่องที่เสียหายมาก ระบบจะพัง นักลงทุนจะหนีหายหมด เหมือนกับกรณีที่นักลงทุนจีนหนีมาลงทุนในตลาดไทย เพราะประเทศจีนมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ก่อนหน้านี้ นายประเวศ วะสี ปาฐกถาในงานประชุมประจำปีสภาพัฒน์ฯ ชี้นโยบายค่าแรงวันละ 300 บาททำไม่ได้ จะทำให้สินค้าไทยสู้ต่างประเทศไทยไม่ได้ แต่หากทำให้แรงงานมีที่พัก-อาหารพอเพียง แม้ได้ค่าจ้างวันละ 150 บาทเงินก็เหลือและแรงงานก็อยู่ได้ หากเชื่อมโยงผู้บริโภคในเมืองกับผู้ทำเกษตรยั่งยืนจะเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 

ทั้งบุญชัยและประเวศ ล้วนเป็นผู้สนับสนุนระบอบอำมาตยาธิปไตย มักวิพากษ์ทุนอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นทุนสามานต์ เช่นเดียวกับ ณรงค์ เพรชประเสริฐ เจ้าทฤษฎีแห่งสำนักนี้ และเสนอทางแก้ไขปัญหาไม่ได้ใช้หลักวิชาไม่ได้นำงานวิจัยมาแก้ไขปัญหาค่าจ้างแรงงานแต่อย่างใด ในทางกลับกันกับเสนอทางแก้เข้าข้างนายทุนที่เห็นแก่ตัวด้วยซ้ำไป

รากเหง้าทางความคิดของคนเหล่านี้ เป็นไปในทางวิธีคิดแบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง พอเพียงผสมผสานอยู่ในตัวมันเอง หรืออีกด้านหนึ่งให้ขูดรีดตนเองมากกว่าเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของคนจนของผู้ใช้แรงงาน มากกว่าแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างแห่งความเหลื่อมล้ำที่หลายครั้งคนเหล่านี้พูดถึงเพียงลมปากเท่านั้นเอง

ขณะที่นักเศรษฐศาตร์กระแสหลัก ก็เสนอให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตก่อน แล้วการกระจายรายได้จะตามมา ซึ่งไม่รู้เมื่อไหร่จะมาสักที เพราะเศรษฐกิจเติบโต แต่กลับไม่มีการกระจายรายได้ให้เห็น

จากการศึกษาของผู้ใช้แรงงานพบว่า ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของลูกจ้างต่อวัน ซึ่งประกอบด้วย ค่าพาหนะ , ค่าอาหาร เครื่องดื่ม , ยารักษาโรค มีค่าเฉลี่ยออกมาสูงถึง ๑๙๘ บาท ต่อวัน ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ซึ่งประกอบด้วย ค่าเช่าบ้าน ที่พัก , ค่าน้ำประปา กระแสไฟฟ้า , ค่ากิจกรรมทางสังคม , ค่าเลี้ยงดูครอบครัว , ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และค่าใช้จ่ายในการศึกษาเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยออกมาสูงถึง ๗,๘๐๐ บาท ต่อเดือน

คณะกรรมการค่าจ้างกลางหรือบอร์ดค่าจ้าง ได้สำรวจ แรงงานในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑลรายรอบ มีรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายตามอัตภาพ วันละ 6.8-11 บาท และไม่พอต่อรายจ่ายตามคุณภาพชีวิต วันละ 24-25 บาท ขณะที่โดยภาพรวมรายภาคนั้นแรงงานที่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางมีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายสูงที่สุด คือมีรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายตามอัตภาพ วันละ 32.67 บาท และไม่พอต่อรายจ่ายตามคุณภาพชีวิต วันละ 48.81 บาท

การสำรวจผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศกว่า 23,194 คน ช่วง 1 เม.ย. - 31 พ.ค. 2554 เฉลี่ยค่าใช้จ่ายรายเดือนของแต่ละคนนั้น ค่าอาหารอยู่ที่ 2,015 บาท, ค่าที่พัก 1,400 บาท, ค่าพาหนะ 649 บาท, ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 819 บาท ซึ่งว่ากันเฉพาะค่าใช้จ่ายหลักเหล่านี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด-สันทนาการ รวมแล้วก็เดือนละ 4,883 บาท
 
รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ ผอ.ศูนย์พัฒนาแรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่า... การสำรวจอัตราค่าครองชีพกับค่าใช้จ่ายของแรงงานในแต่ละครั้ง ผลออกมาก็ ’ไม่เคยพอกิน" ยิ่งถ้ามีหนี้สิน กู้เงินนอกระบบมาใช้ ยิ่งมีปัญหา แรงงานต้องทำโอที-ทำงานล่วงเวลา
 
"ต้องทำโอทีอย่างน้อยวันละ 2-4 ชั่วโมง เพื่อให้ได้เงินเพิ่ม การไม่พอกินทำให้เกิดปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัวตามมา คือไม่มีเวลากลับบ้านไปหาพ่อ-แม่ ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว ลูกเมีย หรือไม่มีเวลาไปเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะ ศักยภาพ เพื่อให้ได้ขึ้นค่าแรง ก็เลยต้องทำงานแบบย่ำอยู่กับที่ ไม่ได้ไปไหนไกล"
 
ดังนั้น กรณี ’ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท" ที่กำลังเป็นประเด็น ถึงขึ้นได้จริง ๆ "ก็ยังคง ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตอยู่ดี ซึ่งแต่ละวันลูกจ้างต้องจ่ายค่ารถไปทำงาน บางคนไป-กลับวันละหลายต่อ ไหนจะค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าสังคมต่าง ๆ บางคนมีลูกมีเมียต้องดูแล ยังไงก็ไม่มีทางพอแน่นอน"

ชีวิตที่เป็นจริงของผู้ใช้แรงงานมักต้องทำงานมากกว่าวันละแปดชั่วโมง ต้องทำโอที ต้องทำฮอลลิเดย์ ไม่มีวันหยุด ไม่มีเวลาพักผ่อน จึงไม่ได้นั่งสมาธิ จึงไม่ได้สนทนาธรรมกันที่โรงแรมหรู ต้องดิ้นรนเพื่อให้มีเงินพอที่ตนเองและครอบครัวมีชีวิตอยู่รอด ซึ่งแน่นอนว่า ประเวศ และบุญชัยมิได้ใช้ชีวิตดั่งผู้ใช้แรงงาน ผู้สร้างสรรพสิ่งให้โลกใบนี้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บริษัทศึกษาภัณฑ์ขอนแก่น นำร่องขึ้นค่าแรง 300 บาท

Posted: 11 Jul 2011 01:19 AM PDT

บริษัทแรกนำร่อง ขึ้นค่าแรง 300 บาท พนง.บริษัทศึกษาภัณฑ์มีเฮ เสี่ยสั่งลุยขึ้นค่าแรงทุกคนทุกตำแหน่งทั้ง แม่บ้าน, รปภ., คนงาน เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลใหม่ มั่นใจ นโยบายหาเสียง "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ" ดัน ศก.โดยรวมดีขึ้น

ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่าเมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 10 ก.ค นายประสม ประคุณสุขใจ ประธานกรรมการบริษัทศึกษาภัณฑ์ขอนแก่น จำกัด และบริษัทฯในเครือ แถลงข่าวขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้แก่พนักงานของบริษัท ศึกษาภัณฑ์ขอนแก่น จำกัด และบริษัทฯในเครือ รวม 8 แห่ง พนักงาน 300 คน โดยเปิดเผยว่า บริษัท ศึกษาภัณฑ์ขอนแก่น จำกัด และบริษัทฯในเครือได้เรียกประชุมกรรมการบริษัทฯเป็นการด่วนเมื่อวันที่ 4 ก.ค.หลังรู้ผลการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาสนับสนุน และสนองนโยบายรัฐบาลใหม่ในเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ ที่ประชุมมีมติตัดสินใจขึ้นค่าแรงทุกตำแหน่งงาน เช่น แม่บ้าน รปภ.แบกหาม ที่ไม่ต้องมีความรู้ได้ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท และปรับค่าแรงให้แก่พนักงานเก่าทุกแผนกทุกคน ขึ้นจากฐานเงินเดือนเดิม เริ่มต้นปรับคนละไม่น้อยกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ซึ่งบริษัทฯต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10.0-12.0 ล้านบาทต่อเดือน

ประสม กล่าวต่อว่า ในที่ประชุมบริษัทฯ ต่างมีเหตุผลตรงกันว่า ณ วันนี้สินค้ามีราคาสูงขึ้นมาก ค่าตอบแทนในปัจจุบันไม่น่าจะเพียงพอต่อผู้ใช้แรงงาน และยิ่งครอบครัวที่มีลูกแล้ว เงินที่ได้รับจะใช้ได้ไม่ถึง 20 วัน จะต้องหยิบยืมหรือกู้เงินนอกระบบ เป็นการสร้างปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคม บริษัทฯ จึงขอช่วยลดปัญหาเหล่านั้น และบริษัทฯยังมีความเชื่อมั่น และมั่นใจเป็น อย่างยิ่งว่า รัฐบาลใหม่พรรคเพื่อไทยภายใต้นโยบายรณรงค์หาเสียงทักษิณคิด เพื่อไทยทำ จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้นอย่างมาก พี่น้องประชาชนจะมีฐานะดี มีเงินจับจ่าย มีเงินเก็บ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างมากในเวลาอันใกล้นี้อย่างแน่นอน

"ที่แน่นอนที่สุดบริษัทฯ จะมียอดขายเพิ่มขึ้น และจะเป็นอื่นไปไม่ได้ที่ผลกระทบเหล่านั้นจะไม่ทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้นตามยอดขาย รัฐบาลใหม่ยังจะลดภาษีเงินได้ลงเหลือ 23%ในปี 2555 และลดภาษีเงินได้ลงเหลือเพียง 20% ในปี 2556 กำไรก็ได้เพิ่มมากขึ้น ภาษีเงินได้ก็จ่ายน้อยลง เพียงเท่านี้ก็มีความมั่นใจเสียยิ่งกว่ามั่นใจว่าต้องมีกำไรเพิ่มมากขึ้น มีเงินจ่ายเพิ่มให้พนักงานได้มีความสุข และทำให้มีขวัญกำลังใจเพิ่มขึ้น บริษัทศึกษาภัณฑ์ขอนแก่น จำกัด และบริษัทฯในเครือ จึงมีมติสนองนโยบายรัฐบาลใหม่ทันที โดยขึ้นป้ายทุกบริษัทฯในเครือประกาศให้รู้ทั่วกันว่า ศึกษาภัณฑ์ขอนแก่นและบริษัทฯในเครือสนองนโยบายรัฐบาลว่าที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จ่ายค่าแรงขั้นต่ำทุกตำแหน่งงาน 300 บาทต่อวันและมีผลทันทีในสิ้นเดือนก.ค.นี้เป็นต้นไป" ประสม กล่าว

ทั้งนี้จากการที่ผู้สื่อข่าวได้สอบถามกับพนักงานตามแผนกต่างๆ ล้วนแต่มีความพอใจและดีใจที่ทางบริษัทฯจะขึ้นค่าแรงให้ตามนโยบายของรัฐบาล.

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แรงงานกัมพูชาก่อจลาจล โรงงานเชือดไก่ที่ชลบุรี

Posted: 11 Jul 2011 01:04 AM PDT

แรงงานกัมพูชา ที่ บ.จีเอฟทีพี นิชิเร (ประเทศไทย) จำกัด ลุกฮือกว่า 1,000 คน หลังมีเหตุทะเลาะวิวาทกับคนไทย

ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่าเมื่อเวลา 21.00 น.คืนที่ผ่านมา (10 ก.ค.) พ.ต.ท.สิทธิพงษ์ เชื้อสวัสดิ์ รอง สวป.สภ.หนองใหญ่ เผยว่าได้รับแจ้งว่าเกิดเหตุจลาจลที่บริษัท จีเอฟทีพี นิชิเร (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี จึงได้เดินทางไปยังที่เกิดเหตุที่บริเวณอาคารที่พักพนักงานของบริษัท จีเอฟทีพี นิชิเร (ประเทศไทย) จำกัด มีทั้งหมด 9 อาคาร โดยมีพนักงานทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชาพักอยู่รวมกันกว่า 1,800 คน
      
จากการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่า เมื่อช่วงเย็นหลังจากคนงานชาวกัมพูชากับแรงงานไทย เลิกงานและกลับเข้าสู่อาคารที่พัก ได้เกิดทะเลาะวิวาท โดยชาวกัมพูชาถูกคนไทย 2 คนทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ชาวกัมพูชาไม่พอใจรวมตัวเป็นจำนวนมากเพื่อจะเอาเรื่องกับคนไทยทั้ง 2 คน ให้ได้ ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไปถึงได้เข้าเจรจากับชาวตัวแทนชาวกัมพูชาเพื่อทราบรายละเอียดทั้งหมด และสามารถจับกุมคนไทยทั้งสองที่ก่อเหตุได้เพื่อควบคุมตัวไปดำเนินคดีที่สถานีตำรวจ
      
ในระหว่างจะนำตัวคนไทยทั้ง 2 ไปนั้น กลุ่มชาวกัมพูชาได้ตรงเข้ามาเพื่อจะรุมทำร้ายคนไทย แต่เจ้าหน้าที่กันไว้ และรีบนำตัวคนไทยทั้งสองออกสู่ภายนอกอาคารโดยด่วน เพราะกลุ่มชาวกัมพูชาเริ่มก่อความรุนแรงโดยเข้าทุบรถเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงได้กันคนงานไทยออกมา ทำให้ฝ่ายแรงงานกัมพูชากว่า 1,000 คนออกมารวมตัวกัน ขว้างปาก้อนหินเข้าใส่แรงงานไทย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมกับตรงเข้ายึดรถสายตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 4 คัน และช่วยกันจับรถตำรวจหงายท้องทั้งหมด รวมทั้งขู่จะเผาโรงงาน และตึกนอนทั้ง 9 ตึก หากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่นำคู่กรณีที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทมาให้ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องหนีเอาตัวรอดมาตั้งหลักอยู่บริเวณหน้าโรงาน
      
หลังจากนั้นสถานการณ์เริ่มจะรุนแรง เนื่องจากชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่บนตึกได้ลงมารวมตัวกันเพิ่มมากขึ้น และเริ่มจะจุดไฟเผารถตำรวจ โดยเจาะถังน้ำมันรถให้ไหลนองพื้น เจ้าหน้าที่ตำรวจหนองใหญ่จึงขอกำลังตำรวจในพื้นที่ใกล้เคียงและจากภาค 2 กว่า 400 นายให้มาช่วยกันระงับเหตุเพราะหวั่นจะเกิดเหตุรุนแรง
      
ต่อมา พล.ต.ต.เธนตร์ พิณเมืองงาม ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย พ.ต.อ.ธีรพล จินดาหลวง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ได้เดินทางไปยังที่เกิดเหตุ และได้เข้าเจรจากับแกนนำชาวกัมพูชา ซึ่งมีการจรจากันหลายรอบ และใช้เวลาในการเจรจาหลายชั่วโมง จนกระทั่ง เวลา 02.30 น.ของวันนี้ (11 ก.ค.) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้ชาวไทยและชาวกัมพูชาที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องออกมารวมตัวกัน ที่หน้าบริษัท เพื่อคลี่คลายปัญหาให้จบโดยเร็ว
      
หลังการเจรจากลุ่มแกนนำชาวกัมพูชาเริ่มมีท่าทางอ่อนลง และพร้อมที่จะหยุดสร้างปัญหาดังกล่าว ทำให้เหตุการณ์เริ่มคลี่คลายขึ้น และพร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุเพื่อเก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ และดำเนินคดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เนื่องจากมีทรัพย์สินของทางราชการเสียหายเป็นจำนวนมาก
      
พล.ต.ต.เธนตร์กล่าวว่า ในเบื้องต้นจะต้องดำเนินการสอบสวนหาผู้กระทำผิดทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยจะต้องรวมรวมหลักฐานทั้งหมด เพื่อจับกุมผู้กระทำผิดดังกล่าว โดยเฉพาะชาวกัมพูชาที่ก่อเหตุสร้างความวุ่นวายในครั้งนี้ โดยทราบชื่อผู้กระทำผิดทั้งหมดแล้วประมาณ 5-6 คน อย่างไรก็ตาม จะต้องสืบหาผู้กระทำผิด ซึ่งอาจจะมีเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ เพราะเพียง 5-6 คนไม่สามารถจะสร้างสถานการณ์ความรุนแรงได้ขนาดนี้
      
นอกจากนั้น จะต้องเรียกเจ้าของบริษัทมาวางมาตรการป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอีก เพราะทราบว่ามีชาวกัมพูชามากกว่า 1,000 คน มาทำงานที่บริษัทดังกล่าว และอยู่รวมกัน โดยบริษัทได้สร้างอาคารที่พักให้อยู่ร่วมกัน ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เพราะมีเป็น 1,000 คน และหากเกิดปัญหาขึ้นอีกอาจจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ในครั้งนี้ถือว่าโชคดีที่การเจรจาเป็นผลสำเร็จ
      
อนึ่ง บริษัท จีเอฟพีที นิชิเร (ประเทศไทย) จํากัด เป็นผู้ผลิตไก่ครบวงจรรายใหญ่ ร่วมกับกลุ่มทุนญี่ปุ่น “นิชิเรฟู้ดส์ อิงค์” ทุ่มทุน 1,560 ล้านบาท ตั้งโรงงานแปรรูปเนื้อไก่และไก่ปรุงสุกที่จังหวัดชลบุรี กำลังผลิต 93,000 ตัน โดยก่อนหน้านี้เมื่อปลายปีที่แล้วได้เคยเกิดเหตุ แก๊สแอมโนเนียรั่วในส่วนห้องแช่แข็งของโรงงาน ทำให้มีคนงานล้มป่วยจำนวนมาก

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: เสื้อแดงรำลึก 15เดือน 10 เมษา/รณรงค์ปล่อยนักโทษการเมือง

Posted: 10 Jul 2011 11:53 PM PDT

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เสื้อแดงกว่า 300 นำโดย กลุ่มราษฎรและกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ชุมนุมปราศรัยทวงความยุติธรรมและรำลึก 15 เดือนเหตุการณ์ 10 เมษา พร้อมรณรงค์ให้มีการปล่อยนักโทษทางการเมือง 

 

วานนี้(10 ก.ค.54)เวลา 16.00 น. ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ราชดำเนิน ท่ามกลางสายฝนที่ตกมาอย่างหนัก คนเสื้อแดงกว่า 300 คน ซึ่งนำโดยกลุ่มราษฎรและกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ได้จัดชุมนุมปราศรัยทวงถามความยุติธรรมและรำลึก 1 ปี 3 เดือนเหตุการณ์การปราบปรามประชาชนเมื่อ 10 เมษ 53 พร้อมด้วยการเรียกร้องให้มีการปล่อยนักโทษทางการเมืองจากเหตุการการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดงทั้งหมด

แถลงการณ์เวทีราษฎร

จากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงใน ช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมานั้นมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ สูญหาย และโดนจับกุมคุมขังจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่มาของความบอบช้ำจนเป็นแผลฉกรรจ์ของสังคมไทยเรื่อยมาจนมาถึง ปัจจุบันนี้  

เป็นเวลาหนึ่งปีกว่าล่วงมาแล้วแต่กระบวนการยุติธรรมของ ประเทศไทยที่ใช้สัญลักษณ์ตราชั่งที่เที่ยงตรงก็ยังไม่สามารถหาตัวผู้สั่ง สังหารประชาชนมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมได้ มิหนำซ้ำยังกล่าวหาว่าวีรชน ผู้บาดเจ็บ ผู้สูญหาย และผู้ต้องโทษทั้งหลายคือผู้ก่อการร้ายบ้าง ผู้เผาบ้านเผาเมืองบ้าง คือผู้ไม่บริสุทธิ์บ้าง แล้วยังถูกซ้ำเติมจากสื่อในประเทศว่าคนเสื้อแดงคือผู้ก่อการร้าย ผู้ไม่บริสุทธิ์ ด้วยการกลัวในอำนาจรัฐ  ทำให้คนในสังคมไทยไม่ได้รับรู้ความจริงที่เกิดขึ้น ต่างก็กล่าวหาว่าวีรชน ผู้บาดเจ็บ ผู้ต้องโทษ และคนเสื้อแดงทั้งหลายคือผู้กอความไม่สงบในประเทศชาติ ถึงแม้ว่าจะมีภาพข่าวจากสื่อในประเทศบางสื่อ และสือต่างประเทศ ปรากฏให้เห็นชัดก็ตามว่ามีบุคคลที่ไม่ใช่พี่น้องประชาชนคือผู้ปฏิบัติการณ์ ในการฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมไม่ว่าจะเป็นที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ แต่ก็มิอาจสู้อำนาจรัฐที่พยายามให้ข้อมูลบิดเบือนได้

ในวันนี้ บรรยากาศการเลือกตั้งได้ผ่านพ้นไป เราได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากเสียงของประชาชน แต่การต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่วีรชน และเพื่อนเสื้อแดงยังไม่จบ  แม้ทุกฝ่ายจะพยายามนำบรรยากาศบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะของการปรองดอง และมีการนำเสนอให้เกิดการนิรโทษกรรมให้แก่ทุกฝ่ายก็ตาม  แต่หนทางหนึ่งซึ่งเรา”เวทีราษฎร” เห็นว่าจะนำไปสู่ความปรองดองได้ เราขอเรียกร้องให้

  1. รัฐบาลใหม่ได้จัดตั้งคณะกรรมการใหม่ในการสอบ สวนเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมษายน-พฤษภาคม 2553 โดยเอาคนกลาง รวมถึงหน่วยงานต่างประเทศ เข้ามาสอบสวนหาความจริง และนำข้อเท็จจริงทั้งหมดออกมาเปิดเผยต่อสาธารณะชน เพื่อเป็นการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่วีรชนและคนเสื้อแดง และนำพาผู้บงการสั่งฆ่า ผู้รับคำสั่งฆ่า ผู้ฆ่าประชาชนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยไม่ละเว้นว่าจะเป็นผู้ใด  และถ้าหากการนิรโทษกรรมจะเป็นแนวทางของการนำไปสู่ความเจริญของประเทศชาติ เรา”เวทีราษฎร”ก็จะไม่ขัดขวางอันใด แต่ขอให้เกิดขึ้นภายหลังข้อเรียกร้องทั้งปวง
  2. ให้หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องเร่งเยียวยาให้ครอบครัววีรชน ผู้บาดเจ็บ  อย่างเรงด่วนและให้ค่าตอบแทนในอัตราที่เหมาะสมกับการสูญเสีย/การเสียสละแก่ บุคคลที่มีคุณูปการทางระบอบประชาธิปไตย
  3. ปล่อย/ให้การประกันตัวแ ก่นักโทษทางการเมืองที่ถูกจับกุมตั้งแต่  19 กันยา 49 เรื่อยมาจนปัจจุบันเนื่องจากกฏหมายตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 เป็นกฏหมายจากคณะรัฐประหารซึ่งถือว่าเป็นเผด็จการและผิดไปจากหลัก ประชาธิปไตย

ตราบใดก็ตามที่เพื่อนวีรชน  เพื่อนผู้บาดเจ็บ เพื่อนผู้สูญหายและ เพื่อนผู้ถูกจับกุมคุมขัง ยังไม่มีโอกาสในการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม  เรา”เวทีราษฎร” จึงขอออกมาทำหน้าที่แทนพวกเขาเหล่านั้น ในการออกมาต่อสู้เพื่อ เรียกร้องความเป็นธรรม ความยุติธรรม ให้แก่วีรชนและเพื่อนเสื้อแดง “วีรชนคือผู้บริสุทธิ์ เพื่อนเราคือผู้บริสุทธิ์ คนเสื้อแดงคือผู้บริสุทธิ์”

 

                                                                                                 เวทีราษฎร

                                                                                          10 กรกฎาคม 2554

กิจกรรมดังกล่าวได้เริ่มตั้งแต่ 16.00 น. โดยมีการปราศรัยจากผู้ปราศรัย อาทิเช่น สมบัติ บุญงามอนงค์ วิภา ดาวมณี ทอม ดันดี อานนท์ นำภา และจิตรา คชเดช เป็นต้น สลับกับการอ่านแถลงประกาศจุดยืนของ เครือข่ายประชาคมในเว็บบอร์ดการเมือง การแสดงดนตรี การอ่านบทกวีและละครเวทีโดยกลุ่มประกายไฟการละคร ท่ามกลางสายฝนที่ตกมาอย่างหนักในช่วงเย็นจนถึงหัวค่ำ จนกระทั้งเวลา 20.00 น. โดยประมาณ ได้มีพิธีรำลึกเหตุการณ์ 10 เมษา โดยมีญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมด้วยผู้ชุมนุมร่วมกันจุดเทียนแดงและร้องเพลงนักสู้ธุลีดินพร้อมกัน หลังจากนั้นมีการวางดอกไม้บริเวณหน้าอนุเสาวรีย์ฯ และต่อด้วยการปราศรัยพร้อมด้วยดนตรีจนกระทั้งเวลา 23.00 น.โดยประมาณ จึงได้มีการยุติการชุมนุม

ทั้งนี้ นายนิธิวัฒน์ วรรณศิริ ตัวแทนกลุ่มราษฎรได้เปิดเผยว่าในวันที่ 19 ก.ค.ที่จะถึงนี้ จะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ในประเด็นนี้อีก โดยจะจัดเวทีปราศรัยที่บริเวณสีแยกราชประสงค์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: หลอน

Posted: 10 Jul 2011 07:03 PM PDT

 

 

ตัวปื้ม (บทสนทนาบ่รู้จบ)
 
1.
“มาหาหน่อย เมื่อคล้อยตะเว็นต่ำ ก่อนแลงลงมืดค่ำ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ”
“ไปหาบ่ได้ดอกอ้าย จะไปชุมนุม”
ลมร้อนเดือนมีนาคมโหมสะบัด
กระหน่ำสาดฝนเดือนมีนาคมซัด
เยือกหนาวเดือนมีนาคมอัดสะท้านสั่นทดทัว
 
2.
“ระแวดระวัง ฟากฝั่งยังมองเห็น หมู่เฮาเป็น ฝากความคิดฮอดถึงทุกคน”
“บ่แวะเข้ามาหาบ้างหรืออ้าย?”
“บ่”
ดอกมันปาอวลหอม
งัวควายไปไหนต่อไหนในทุ่งท่ามจรดเหนือใต้
ข้าวปลูกนาปรังเงื่องหงอยอยู่ยุ้งฉาง
น้ำเลี้ยงเขื่อนบ่เพียงพอ
คลองน้ำจึงแห้งกรัง
แหละข้าวปลูกจึงถูกงัดลงจากยุ้งฉางสู่ลานรับซื้อผลิตผล
กำเงินใบร้อยใบพันจนชุ่มเปียก
ปลาร้าปลาแดก แนวอยากแนวกิน ข้าวสารเตรียมพร้อม
ไปด้วยบ่ได้ก็ช่วยกันไป
เงินบาทเงินสิบเงินร้อยตามมีตามเกิด
โชคหมานคิดอ่านปลอดโปร่ง
ให้ชนะเดอ
 
3.
“กลับบ่ได้ดอกอ้าย จะให้คืนถอยหลังได้อย่างไร หมู่เฮาถูกยิงตายแล้ว”
“กลับออกมาก่อน ห้องหับหลับนอนยังรอท่า วันเวลา ให้รอคอยได้รักษาชีวิต”
“คงบ่ได้แล้วหละอ้าย เห็นคนตายลงต่อหน้า มือยังกำคันธงชาติคา”
“ระแวดระวัง ฟากฝั่งยังมองเห็น หมู่เฮาเป็น รักษาเนื้อรักษาตัว”
“แวะเข้ามาไหม?”
“บ่”
ลมร้อนเดือนเมษายนโหมสะบัด
กระหน่ำสาดฝนเดือนเมษายนซัด
เยือกหนาวเดือนเมษายนอัดสะท้านสั่นทดทัว
พวงพั้วดอกมันปาดกหนาบานสะพรั่ง
ยังอวลหอมบ่สร่างคลาย
ร่างกายสูงใหญ่ยืนแนวราบ
ทุกอย่างหยุดทำงานอวัยวะประกอบสร้าง
ทั้งหมู่บ้านเป็นเจ้าภาพตลอดสามคืน
กองฟอนไม้ป่าสงวนลุกไหม้
บ่มีอะไรให้วิตก
หากสุมรุมรุกเร้าให้ผ่าวยูท่างบ่เป็น
จึงขึ้นเข้าไปสมทบเท่าที่ทำได้
 
4.
“ถอนออกมา ลูกปืนบ่มีตาจะปลิดปลง ล้มตายลง สูญเปล่าบ่ได้อะไร”
“ปังปังปัง ปัง ปัง ปัง...”
“หลบออกไปบ่ได้ทุกซอกซอยตรึงกำลังแน่นหนา”
“ลองมองหา สอดส่ายตาตรวจสอบ แล้วลักลอบ หาหนทางออกมาสิ!”
“บ่มีดอกอ้ายถูกโอบล้อมมาทุกทางตีขนาบ”
“ลองหาดูก่อน อย่าเพิ่งถอนถอดใจ อาจมีที่ไป ซอกซอยว่างบ่มีกองกำลัง”
“จะลองดูเดออ้ายคันบ่ตายคงได้พบหน้า บอกอีพ่ออีแม่ด้วย”
ลมร้อนเดือนพฤษภาคมโหมสะบัด
กระหน่ำฝนเดือนพฤษภาคมสาดซัด
เยือกหนาวเดือนพฤษภาคมอัดสะท้านสั่นทดทัว
“มึงต้องหนี วันนี้เอาตัวรอดไว้ รอมื้อหน้าวันใหม่ ชัยชนะอยู่บ่ไกลให้ไปถึง”
“บ่ได้ดอกอ้าย มาปานนี้แล้ว บ่สู้วันนี้จะไปสู้วันไหน?”
“...”
 
5.
นองเนืองไหลคลุ้งคาวแดงพื้น
กุมขังตีตรวนล้วนจองจำ
งึมงำ
งึมงำ
งึมงำ
ตามยถากรรม
 
6.
“ไปสวนหรือเปล่า ดึกเช้าน้ำหมอกกลั้ว ยังได้ยินเสียงปืนรัว อลอัวอยู่ใช่ไหม?”
“บ่ลบเลือนดอกอ้าย ทำอย่างไรก็บ่หาย”
“รักษาเนื้อรักษาตัว ดีสั่วก็รอคอย คืนวันยังเคลื่อนคล้อย อยู่ดีมีแฮงเดอ”
“ครับอ้าย”
ลมร้อนเดือนมกราคมโหมสะบัด
กระหน่ำสาดฝนเดือนมกราคมซัด
เยือกหนาวเดือนมกราคมอัดสะท้านสั่นทดทัว
เขารอดมาได้หากหมู่เพื่อนล้มตายและบาดเจ็บถูกตีตรวน
หนึ่งเดือนฝันร้ายเร้ารุมกุมโคมบ่สร่างคลาย
ตัดสินใจลาออกจากงาน
คืนกลับบ้าน
ใจสลาย
เหม่อมองออกกว้างไป
เช้าวันใหม่ในวันนี้
บ่มีปรากฏเห็น
กลืนก้อนสะอื้นยืนหยัดยั้ง
มากินข้าวกินน้ำอาหารคาวหวานดูดยากินเหล้า
อยู่เต็มพาโจ้พาหวานเรียกหา
ในส่าลมอวล
 
7.
“ชาติหน้ามีจริงค่อยพบเจอร่วมทางกันใหม่”
“ยังคิดฮอดและยังเดินไป”
“บ่ถอย”
 

ภาพวาดโดย: จำปา วงศ์สง่า

ภาคผนวก (แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง)

8.

ล้มราบละลายลงตรงถนน
หวีดร้องอึงอลเสียงคนหวาด
แทรกซอนทุกอณูอากาศ
ทว่า..ก็มิอาจแผ่เผย
 
ยืนแนวราบลงตรงนั้น
กู่เงียบงันกั้นเยี่ยงเคย
ระงมก้องจึงสวดเอ่ย
ค่อยคลี่เฉลยความจริง
 
เพราะพริ้งเสียงปืนของทหาร
ทั้งคาวหวานบรบวนสิ่ง
ซ่านภาพฝันนั้นด่ำดิ่ง
อบอุ่นปลอดภัยยิ่งคุ้มครอง
 
ยังรู้สึกเช่นนั้นอยู่ใช่ไหม?
ใครและใครเคยได้โห่ร้อง
ท่ามคาวคลุ้งเลือดยังเจิ่งนอง
ล้วนทั้งผองยังคงตื้นตัน?
 
9.
แหละพวกเขาก็ยังอยู่ในคุก
ผุดนั่งลุกตรวนครวญสั่น
แสงสีเสียงเดือนตะวัน
แม้หลับฝันก็บ่เคยมี
 
จึงพี่น้องป้องปายปายก็ติดคุก
เสียงปลอบปลุกจุกล้นปรี่
ใต้เงื้อมหงำของคนดี
เช้าวันนี้จึงเคว้งคว้าง
 
แหละเวิ้งว้างท่ามกลางการฉลอง
ชัยชนะทั้งผองกล่าวอ้าง
ทว่าแลคลับคล้ายมืดมิดทุกทาง
กลิ่นเลือดแลดูจางลงนับวัน
 
10.
ตายและติดคุกเพื่อปลุกตื่น
เพื่อยันยืนคนเป็นคนจึงมีฝัน
เสียงยินเสียงใช่เงียบงัน
สิทธิขีดคั่นนั้นเลือกเอง
 
ยังคิดถึงพวกเขาอยู่ใช่ไหม?
เหล่าผู้ถมทางให้ได้ปลั่งเปล่ง
ให้ได้ร้องลำได้ทำเพลง
หรือก็จ้องข่มเหงบ่ต่างใด?
 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

1 ความคิดเห็น:

  1. ต้องการสินเชื่อที่รวดเร็ว? นี่คือสินเชื่อ Atlas! เพียงกรอกแบบฟอร์มและรับสถานะการอนุมัติสินเชื่อภายใน 30 นาที ทุกอย่างเกี่ยวกับสินเชื่ออย่างรวดเร็ว. info atlasloan83@gmail .com ส่งข้อความ whatsapp +1 (443) 345 9339

    ตอบลบ