โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

จรัล ดิษฐาภิชัย: การเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม ชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตย

Posted: 04 Jul 2011 01:47 PM PDT

การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2511 ผ่านไปด้วยดี ประชาชนไทยไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างคึกคัก มีจำนวนมากถึง 74 เปอร์เช็นต์ และผลของการเลือกตั้งไปเป็นตามความคาดหมาย พรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้งจำนวน 265 คน เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นับเป็นเสียงข้างมากอย่างสัมบูรณ์ (absolute majority)

ผลของการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนเจตนารมณ์ทั่วไปของประชาชนคนไทยที่ต้องการให้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย อันเป็นสิทธิกำหนดใจตนเอง (right to self determination) ของพลเมืองไทย และสะท้อนความก้าวหน้าทางสังคมการเมืองที่ยอมรับผู้นำสตรี และที่สำคัญ แสดงว่าประชาชนไทยไม่ต้องการฝ่ายเผด็จการ ไม่ต้องการอำมาตยาธิปไตย โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ที่มือเปื้อนเลือดจากการสังหารหมู่เมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปีที่แล้ว มีคนเสียชีวิต 91 ค น บาดเจ็บเกือบ 2000 คน พรรคนี้จึงได้รับเลือกตั้งเพียง 160 คน

ก่อนและหลังการเลือกตั้ง ผู้คนทั้งหลายวิตกกังวลว่า แม้พรรคเพื่อไทยจะได้เสียงข้างมาก แต่จัดตั้งรัฐบาลลำบาก หากตั้งรัฐบาลได้ ก็บริหารประเทศไม่นาน จะมีฝ่ายจงรักภักดี อำมาตยาธิปไตย อาทิ ขบวนการต่อต้านทักษิณ พันธมิตรเสื้อเหลือง สื่อมวลชน คนชั้นกลางและกองทัพ ฯลฯ คอยต่อต้าน เป็นอุปสรรคขัดขวาง

ทว่า เมื่อผลเลือกตั้งออกมาดังกล่าว และพรรคเพื่อไทยเชิญชวนพรรคอื่นอีก 4 พรรคมาร่วม ซึ่งแสดงถึงความใจกว้างทางการเมือง และแนวทางสามัคคีปรองดอง ทำให้ให้รัฐบาลมีเสียงในสภาจำนวนมากยิ่งขึ้น เพิ่มความชอบธรรมทางการเมือง การจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยคงจะราบรื่น

อย่างไรก็ตาม วิกฤติทางการเมืองที่ดำรงอยู่มากว่า5 ปี และฝ่ายที่ไม่เชื่อระบอบประชาธิปไตย ดูถูกพรรคและนักการเมือง ไม่เอาการเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสูงและชนชั้นกลางบน คงไม่ยอมรับและเคารพการตัดสินใจของประชาชนส่วนใหญ่ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ย่อมจะไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ทางการเมืองจากการเลือกตั้งทั่วไป พวกเขาจะเตรียมผนึกกำลังและเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทุกวิถีทาง สันติและรุนแรง เปิดเผยและลับ กระทั่งเรียกร้องรัฐประหาร

ดังนั้น ข้าพเจ้าขอเรียกร้องประชาคมโลกให้สนใจติดตามสถานการณ์ในประเทศไทย เฉพาะหน้า ขอให้สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การผูกขาดความจริงทางการเมืองของชนชั้นกลางบางกลุ่ม

Posted: 04 Jul 2011 01:33 PM PDT

วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการห้ำหั่นกันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ มากมายหลายพรรคราวกับเป็นการแข่งขันกีฬาก็มิปาน แต่ทว่าพรรคที่น่าจับตามองทั้งสองพรรคก็คงไม่พ้นพรรคการเมืองพรรคใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์

หลังจากเวลา 15.00 นาฬิกาของวันที่ 3 กรกฎาคมนั้น ผลการเลือกตั้งไม่เป็นทางการได้บ่งชี้ถึงคะแนนนำละลิ่วของพรรคเพื่อไทยที่มีต่อพรรคคู่แข่งอย่างประชาธิปัตย์ แน่นอนกองเชียร์ของพรรคประชาธิปัตย์รวมทั้ง “กองแช่งพรรคเพื่อไทย” ซึ่งส่วนมากมีฐานะเป็นชนชั้นกลางของสังคมได้แสดงอากัปกิริยาอันบ่งบอกถึงความไม่พอใจเป็นอย่างมากต่อผลการเลือกตั้ง ซึ่งหลายๆคนได้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นช่องทางในการระบายความรู้สึกและความคิดเห็นต่างๆนาๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุคหรือว่าเว็บบอร์ดการเมืองต่างๆ

ตัวอย่างของอาการผิดหวังที่ผู้เขียนพบเห็นได้แก่:

“Rip Thailand”—ประเทศไทยจงไปสู่สุคติ

“Thailand= Fucked up”—ประเทศไทย=เน่าเฟะแล้ว

“Goodbye Democracy…Hello Corruption”—ลาก่อนประชาธิปไตย...สวัสดีความเสื่อมทราม

“ไว้อาลัยประเทศไทย”

“ทำไมคนอีสานถึงมากำหนดชะตาของประเทศไทยได้ด้วย” (หลังจากนั้นก็มีคนมาตอบว่า) “เพราะคนไทยมีพวกโง่มากกว่าฉลาด และคนฉลาดยอมเป็นขี้ข้าคนโง่ คงมีประเทศเดียวในโลกนี้”

จากการตั้งข้อสังเกตของผู้เขียน การแสดงออกของกลุ่มคนเหล่านี้บ่งบอกวิธีคิดของกลุ่มชนชั้นกลางบางกลุ่มของสังคมไทยที่ได้กล่าวถึง ห้าประโยคข้างต้นซึ่งผู้เขียนยกมานั้น เหล่าชนชั้นกลางดังกล่าวผู้ทรงภูมิปัญญาอธิบายชัยชนะของพรรคเพื่อไทยราวกับจะฉุดกระชากลากถูประเทศไทยลงเหวอันมีแต่ความฉิบหายรออยู่ กล่าวคือคนกลุ่มนี้มองโลกทางสังคมว่ามีความจริงเพียงหนึ่งเดียวนั้นเอง และความจริงดังกล่าวในการรับรู้ของชนชั้นกลางเหล่านั้นก็มิใช่อื่นใดหากแต่พรรคเพื่อไทยนั้นคือกล่องแพนโดร่า ความหายนะและอาเพศที่จะอุบัติขึ้น ล้วนแล้วแต่มีบ่อเกิดมาจากชัยชนะของพรรคเพื่อไทย

เมื่อกลุ่มคนกลุ่มนี้ชี้ชัดฟันธงไปถึงความจริงเพียงหนึ่งเดียวอันอุบัติขึ้นในโลกของสังคมนั้น ก็เป็นเหตุให้ลดทอดตัวเลือกเหลือเพียงแค่ “เชื่อแบบเรา=ถูก” และ “เชื่อแบบเขา=ผิด โง่ และเลว” วิธีคิดดังกล่าวนั้น นักคิดอย่าง ไมเคิล ชาพิโร (Michael J. Shapiro) เรียกขานว่า “การเมืองแห่งการปิดประตู” (politics of closure) กล่าวคือเป็นวิธีคิดซึ่งบีบบังคับให้ผู้คนมองเห็นความเป็นจริงอยู่เพียงแค่อย่างเดียว โดยการแบ่งโลกออกเป็นเพียงแค่ “เรา” และ “เขา” เท่านั้น  

อันที่จริงแล้ว โลกของสังคมนั้นปราศจากความนิ่ง (Non-static) หากแต่มีการผันผวน เปลี่ยนแปลง และเคลื่อนย้าย อยู่เป็นนิจ ดังนั้นเมื่อโลกของสังคมปราศจากความนิ่ง นั่นก็หมายความว่าโลกนี้ปราศจากความจริงทางสังคมเพียงหนึ่งเดียว (Truth) เนื่องมาจากว่านักสังคมศาสตร์ไม่สามารถที่จะจับต้องสิ่งที่ผันผวนรวนเรอยู่ตลอดเวลาซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถคิดค้นทฤษฎีครอบจักรวาลซึ่งสามารถอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างเฉกเช่นเดียวกันกับทฤษฎีของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้ ดังที่ คาร์ล ปอบเปอร์ (Karl Popper) ได้เขียนวิพากษ์วิจารณ์นักวิชาการมาร์กซิสต์ในการพยายามรับญาณวิทยาของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาใช้ ซึ่งนักวิชาการมาร์กซิสต์เหล่านั้นพยายามหากฎครอบจักรวาลซึ่งนำมาสู่การปฏิวัติชนชั้นนั่นเอง โดยที่ข้อถกเถียงของปอบเปอร์นั้นก็คือ โลกทางสังคมมีความแตกต่างจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสองประการ ประการแรกซึ่งได้กล่าวไปแล้วนั่นก็คือทางด้านความนิ่ง (Stationary—คำที่ปอบเปอร์เลือกใช้) ประการที่สองก็คือ ในโลกทางสังคมนั้นแบบแผน (Patterns) ต่างๆมิได้เกิดขึ้นอย่างซ้ำไปซ้ำมาในแบบเดียวกัน (Repetitiveness) ดังที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ต่างๆตามธรรมชาติ โดยปอบเปอร์ได้ยกตัวอย่างการคาดคะเนการเกิดของจันทรุปราคา (ดู Karl Popper, “Prediction and Prophecy in the Social Sciences”, http://keidahl.terranhost.com/Fall/HIS3104/Popper%20Prediction%20and%20Prophecy.pdf)

จากเหตุผลที่ผู้เขียนได้สาธยายข้างต้น เป็นเหตุให้คิดได้ว่าไม่มีความจริงเพียงหนึ่งเดียวในโลกทางสังคม (truths) ดังที่ชนชั้นกลางบางกลุ่มได้แสดงออกหลังจากที่ได้รับรู้ผลการเลือกตั้ง หากแต่ความเห็นที่ชนชั้นกลางดังกล่าวมีต่อชัยชนะของพรรคเพื่อไทยนั้นเป็นเพียงความเห็นธรรมดาเพียงความเห็นหนึ่งเท่านั้น หาได้มีความวิเศษวิโสอันหรือญาณในการหยั่งรู้อนาคตอย่างใดทั้งสิ้น

จะเห็นได้ว่า ความพยายามของชนชั้นกลางบางกลุ่มในการผูกขาดความจริงนั้น ได้ล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง ครั้งหนึ่งก็เมื่อครั้งก่อนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ย้อนกลับไปก่อนที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 นั้น ชนชั้นกลางกลุ่มดังกล่าวมีความคิดที่ว่าถ้าหากนายอภิสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วไซร้ ปัญหาการทุจริตโกงกินและความวุ่นวายทางการเมืองต่างๆ จะอันตรธานหายไปราวกับใช้เวทมนตร์ แม้กระทั่งประธานองคมนตรีอย่างพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ยังเคยชมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะว่าเป็นคนหนุ่มและจะแก้ไขปัญหาต่างๆของประเทศชาติได้ (http://www.chaoprayanews.com/2009/08/25/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%8A%E0%B8%A1-%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87/)

แต่ทว่าเมื่อนายอภิสิทธิ์ได้เข้ามาบริหารประเทศในฐานะนายกรัฐมนตรี ปัญหาทุจริตโกงกินกลับมิได้อันตรธานหายไปดั่งที่ชนชั้นกลางบางกลุ่มได้คาดหวังไว้ ดังที่จะเห็นได้จากการทุจริตนมโรงเรียนในช่วงที่นายอภิสิทธ์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่นาน ส่วนปัญหาทางด้านความวุ่นวายทางการเมือง ก็มิได้หายไป แต่ที่แย่กว่านั้น ในช่วงที่นายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น วิกฤตการณ์และความขัดแย้งทางการเมืองกลับมิได้ถูกแก้ปัญหา ที่ร้ายไปกว่านั้น ยังมีการใช้กำลังทหารอย่างรุนแรงในการปราบกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงในปีพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อีกด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เป็นผลให้กลุ่มชนชั้นกลางผู้ให้ความเห็นอันสูงส่งต่อการดำรงตำแหน่งของนายอภิสิทธิ์นั้นกลับลำ ซึ่งนำไปสู่การชุมนุมประท้วงต่อต้านนายอภิสิทธิ์อย่างดุเด็ดเผ็ดร้อน อย่างที่เห็นได้จากนาย สนธิ ลิ้มทองกุล และนายประพันธ์ คูณมี ผู้เคยให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์เป็นอย่างดี ยกย่องรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ว่า “เลวกว่าทุกรัฐบาลตั้งแต่ประเทศไทยมีมา” (http://mgr.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000030316)

จากสิ่งที่ได้กล่าวมา ผู้เขียนได้เกิดคำถามขึ้นในใจว่า คนชั้นกลางเหล่านี้ ผู้ซึ่งเที่ยวโพนทะนาด่าผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยว่าเป็นคน “โง่” นั้น จากประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วง 3-4 ปี ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายมายืดยาวนั้น เป็นเหตุให้ผู้เขียนตั้งคำถามกับตัวเองว่าแท้จริงแล้วกลุ่มใดกันแน่ที่ “โง่”

ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวมาทั้งหมด มิได้เพียงแค่วิจารณ์ “กองแช่งพรรคเพื่อไทย” หากแต่มีจุดประสงค์ที่จะวิจารณ์ผู้ที่ลดทอนตัวเลือกต่างๆ จนเหลือเพียงความเป็น “เขา” กับ “เรา”

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วาดะห์รับสภาพเสียงมุสลิมแตก ปชป.โวนโยบายเข้าตาคน 3 จังหวัด

Posted: 04 Jul 2011 01:01 PM PDT

อดีตวาดะห์รับสภาพเสียงมุสลิมแตก ประชาธิปัตย์โวนโยบายเข้าตาคนชายแดนใต้ ยึด 9 จาก 11 ที่นั่ง ฝากรัฐบาลใหม่อย่ารื้อ ศอ.บต.

นายนัจมุดดิน อูมา ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) นราธิวาส เขต 3 พรรคมาตุภูมิ อดีตนักการเมืองกลุ่มวาดะห์ กล่าวว่า เหตุที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งครั้งนี้ มาจากการแย่งชิงฐานเสียงคนมุสลิมของผู้สมัครจากพรรคต่างๆ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถกวาดที่นั่งไปเกือบหมดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะมีชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นฐานเสียงหลักและเสียงไม่แตก

นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคมาตุภูมิ อดีตนักการเมืองกลุ่มวาดะห์ กล่าวว่า เหตุที่พรรคมาตุภูมิได้รับเลือกตั้งจากเขต 3 ปัตตานีเพียงคนเดียว และจากระบบบัญชีรายชื่ออีกหนึ่งที่นั่ง เชื่อว่า เพราะประชาชนยังไม่เชื่อมั่นในนโยบายของพรรคมาตุภูมิ เนื่องจากเป็นพรรคใหม่

นายอารีเพ็ญ เปิดเผยว่า การเตรียมตัวที่ดีของพรรคคู่แข่ง มีงบประมาณมากพอและมีอิทธิพลเหนือข้าราชการในพื้นที่ จึงทำให้พรรคคู่แข่งชนะเลือกตั้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกือบทุกเขต

นายนิมุคตาร์ วาบา ผู้สมัคร ส.ส.เขต 3 จังหวัดปัตตานี พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า เหตุที่ตนแพ้เลือกตั้งเพราะเกิดความแปรพรวนขึ้นก่อนการเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคการเมืองพรรคใหญ่ ยุติการหาเสียงก่อนการเลือกตั้งไม่กี่วัน ทำให้เกิดการไหลของคะแนนไปยังพรรคการเมืองอื่น  ซึ่งเขตนี้พรรคมาตุภูมิชนะเลือกตั้ง

นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สาเหตุที่พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึง 9 เขต จาก 11 เขตเลือกตั้ง เนื่องจากในรอบ 2 ปี รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้แก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการขับเคลื่อนนโยบายหลายประการ โดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยออกพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 โดยมีผลบังคับใช้ เมื่อต้นปี 2554 ที่ผ่านมา

นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า รวมทั้งการขับเคลื่อนนโยบายที่ไม่ก่อให้เกิดความไม่ธรรมในพื้นที่ เช่น การให้อำนาจเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สั่งย้ายเจ้าหน้าที่รัฐที่รังแกประชาชนในพื้นที่ได้ทันที ส่งผลให้ที่ผ่านมาเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีคำสั่งย้ายตำรวจออกนอกพื้นที่แล้ว 9 นาย

นายนิพนธ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยังได้แก้ปัญหาปากท้องของคนในพื้นที่ได้หลายอย่าง เช่น การยกระดับราคาผลผลิตทางการเกษตร ทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมัน การวางปะการังเทียมในพื้นที่ชายฝั่ง ช่วยให้ชาวประมงจับสัตว์น้ำได้มากขึ้น ทางด้านการศึกษา รัฐบาลประชาธิปัตย์ได้ยกระดับอิสลามศึกษาในพื้นที่ เช่น ตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันการศึกษาปอเนาะ และเยาวชนในพื้นที่ ได้รับประโยชน์โดยตรง

นายนิพนธ์ กล่าวว่า ที่สำคัญคือประชาชนเชื่อว่าขณะนี้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น เห็นได้จาก 3 เมืองใหญ่ๆ คือ อำเภอสุไหงโก–ลก จังหวัดนราธิวาส เมืองเบตง จังหวัดยะลา และเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

“ในรอบหลายปีที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่เคยเปิดเวทีปราศรัยหาเสียงจนถึงกลางคืน แต่ครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์เปิดเวทีปราศรัยหาเสียงที่อำเภอสุไหงโก–ลก อำเภอสุคีรินริน จังหวัดนราธิวาสเลิกเกือบเที่ยงคืน แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” นายนิพนธ์ กล่าว

นายนิพนธ์ กล่าวอีกว่า อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง คือนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของคนในพื้นที่ ลงมาช่วยลูกพรรคหาเสียงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเต็มที่

นายนิพนธ์ เปิดเผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ตนเป็นผู้แลผู้สมัครในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและยะลา ส่วนพื้นที่จังหวัดปัตตานี ช่วยกันดูแลหลายคน โดยเฉพาะนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค

นายนิพนธ์ กล่าวว่า ส่วนในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ตนเห็นว่า โครงสร้างการเมืองการปกครองเดิมดีอยู่แล้ว คือ มีศอ.บต.เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ หวังว่ารัฐบาลใหม่คงจะไม่รื้อโครงสร้างนี้ออกไป

“ที่สำคัญฝากรัฐบาลใหม่ให้ศึกษาบทเรียนจากความผิดพลาดในอดีต มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วย และแม้ว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่มี ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยอยู่ รัฐบาลก็ต้องให้ความสำคัญและดูแลการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษด้วย” นายนิพนธ์ กล่าว

นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.ประชาธิปัตย์ สมัยที่ 5 เปิดเผยว่า สาเหตุที่พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งถึง 9 ที่นั่ง จาก 11 ที่นั่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะชาวบ้านถูกใจนโยบายการแก้ปัญหาความไม่สงบของพรรคประชาธิปัตย์ และเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบได้ดีที่สุด ประชาชนจึงอยากให้ได้ ส.ส.ที่เป็นฝ่ายรัฐบาล

“สาเหตุที่คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เทคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ เพราะอยากให้คนในพื้นที่ได้เป็นรัฐมนตรีมาดูแลการแก้ปัญหาชายแดนใต้” นายเจะอามิง กล่าว

นายเจะอามิง กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะฝ่ายค้านพร้อมจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ปัญหาความไม่สงบอย่างเต็มที่ ฝากรัฐบาลใหม่ว่า อย่ากลัวเสียหน้าที่จะขอความร่วมมือจาก ส.ส.ฝ่ายค้านในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาส่วนรวมของชาติ

นายอันวาร์ สาและ ส.ส.เขต 1 จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สาเหตุที่ชาวบ้านเท่คะแนนให้ตนมาจากสร้างผลงานของพรรคในฐานะรัฐบาล และพรรคประชาธิปัตย์ได้เปิดปราศรัยช่วยตนหาเสียง โดยนำเสนอผลงานของพรรคที่ประชาชนชอบใจ เช่น เงินช่วยเหลือคนชรา 500 บาท เรียนฟรี 15 ปี สินเชื่อไมโครไฟแนนช์

นายอันวาร์ กล่าวอีกว่า ตนพร้อมที่จะทำหน้าฝ่ายค้านที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและคอยผลักดันการทำงานของรัฐบาลที่ได้สัญญาไว้การประชาชน

บัตรเสียในชายแดนใต้
นายอนิรุทธ ขะหมิมะ หัวหน้างานจัดการการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า จังหวัดนราธิวาสมีบัตรเสียโดยแบ่งตามบัญชีรายชื่อจำนวน 22,587 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6 ของบัตรเลือกตั้งบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด และบัตรเสียแบบแบ่งเขต 31,271 ใบ คิดเป็นร้อยละ 8 ของบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตทั้งหมด

นายอนิรุทธ เปิดเผยอีกว่า เขตที่มีบัตรเสียมากที่สุดคือเขต 1 มีบัตรเสียแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 5,067 ใบคิดเป็นร้อยละ 5 บัตรเสียแบบแบ่งเขตจำนวน 8,525 ใบคิดเป็นร้อยละ 9

นายอนิรุทธ เปิดเผยต่อไปว่า ลักษณะของบัตรเสียส่วนใหญ่ คือ กากบาทในช่องที่ไม่มีผู้สมัคร นอกจานั้นผู้ใช้สิทธิไม่ได้ทำเครื่องหมายใดๆไว้ในบัตร ทำเครื่องหมายมากกว่าหนึ่งเครื่องหมาย และกากบาททับหมายเลข

นายธีรวัฒน์ ละเอียด ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า จากการสำรวจของอาสาพลเมืองประชาธิปไตยถึงจำนวนบัตรเสียในวันเลือกตั้งพบว่า เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งก่อน เมื่อปี 2550

นายธีรวัฒน์ เปิดเผยว่า สาเหตุหลักที่ทำให้บัตรเสีย น่าจะมาจากความสับสนเกี่ยวกับการกาบัตรทั้งสองใบ คือ บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อและบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต โดยเฉพาะบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตที่มีช่องและแถวเยอะ ทำให้เข้าใจยากและเกิดความสับสน จนอาจทำให้ลงคะแนนผิดช่องได้

“บัตรเสียในกรณีนี้ส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากผู้สูงอายุ ผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ หรือผู้ที่ไม่ได้สังเกตหมายเลขอย่างตั้งใจ บางกรณีอาสาสมัครพบด้วยตนเอง เมื่อเข้าไปสอนวิธีการกากบาทให้ผู้สูงอายุรายหนึ่ง ยิ่งสอนมาก ก็ยิ่งเพิ่มความสับสนให้แก่ผู้สูงอายุ” นายธีรวัฒน์ กล่าว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘นิรโทษกรรม’ กับสังคมที่มีวุฒิภาวะในการเคารพหลักการ

Posted: 04 Jul 2011 12:53 PM PDT

การขาดวุฒิภาวะในการเคารพหลักการนำสังคมเรามาสู่ปัญหาขัดแย้งที่แก้ยากยิ่ง ตัวอย่างของการขาดวุฒิภาวะดังกล่าว เช่น ข้อเรียกร้องที่ว่าหากรัฐบาลที่ประชาชนเลือกคอร์รัปชัน ให้ทหารทำรัฐประหารได้

ข้อเสนอดังกล่าวนี้ไม่มีวุฒิภาวะในการเคารพหลักการในความหมายว่า 1) คุณกำลังใช้วิธีที่ผิดจัดการกับการกระทำที่ผิด เพราะคอร์รัปชันผิดกฎหมาย แต่รัฐประหารล้มระบบกฎหมาย คือฉีกรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการใช้วิธีที่ผิดมากกว่าแก้ความผิดน้อยกว่า 2) การกระทำผิดกฎหมายทุกย่าง จะต้องแก้ด้วยการใช้กฎหมายให้ถูกต้องตาม “หลักนิติธรรม” คือการนำความผิดนั้นๆ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระและเป็นกลาง แต่การเอาผิดโดยรัฐประหารถือว่าไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐและนินิติธรรม เพราะนิติรัฐถูกล้มไปโดยการทำรัฐประหาร และกระบวนการเอาผิดโดยกลไกรัฐประหารก็ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม เพราะไม่เป็นอิสระและเป็นกลาง

อีกตัวอย่างของการขาดวุฒิภาวะในการเคารพหลักการคือ พรรคประชาธิปัตย์มักอ้าง “หลักการ” เสมอ แต่เมื่อฝ่ายตรงข้ามเสนอให้ต่อสู้กันในเวทีการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 กลับบอยคอตการเลือกตั้ง และเมื่อการเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ ฝ่ายตรงข้ามเรียกร้องให้ต่อสู้บนเวทีเลือกตั้งอีก กลับเสนอมาตรา 7 เมื่อเกิดรัฐประหาร 19 กันยา พรรคนี้บอกว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร แต่กลับตั้งรัฐบาลในค่ายทหารภายใต้การสนับสนุนโดยเครือข่ายรัฐประหาร และเพื่อรักษาอำนาจของตนและเครือข่ายก็ยอมที่จะใช้ “กระสุนจริง”สลาย “การชุมนุมทางการเมืองของประชาชน” จนบาดเจ็บร่วม 2,000 ตาย 93 ศพ

พูดอีกอย่างว่า พรรคการเมืองพรรคนี้โจมตีความไม่ซื่อสัตย์ในความหมายของการทุจริตคอร์รัปชัน แต่พวกเขากลับ “ไม่ซื่อสัตย์ต่อหลักการ” หรือไร้วุฒิภาวะในการเคารพหลักการ

บอยคอตเลือกตั้ง เสนอ ม. 7 ปฏิเสธรัฐประหาร แต่ยอมตั้งรัฐบาลโดยการสนับสนุนของเครือข่ายรัฐประหารและการฉกสมาชิกพรรคตรงข้ามมาร่วมรัฐบาลกับตนเอง เป็นต้น คือตัวอย่างของความ “ไม่ซื่อสัตย์ต่อหลักการ” ผลการเลือกตั้ง 3 ก.ค.ที่ผ่านมาคือข้อบ่งชี้ว่าหลอกประชาชนไม่สำเร็จอีกแล้ว

แต่ทั้งที่รู้ว่าตัวเองหลอกไม่สำเร็จ ก็ยังหลอกประชาชนต่อไปว่า “จะไม่ยอมให้ใครมาทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรม โดยการนิรโทษกรรมให้คนๆ เดียว” ไม่ต้องใช้สติปัญญาระดับอ๊อกฟอร์ด ใครๆ ก็เข้าใจได้ว่า เมื่อคุณบอกว่ารัฐประหารผิด แต่กลับยืนยันกว่ากระบวนการเอาผิดโดยกลไกรัฐประหารเป็นไปตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม นี่มันขัดแย้งในตัวเองอย่างยิ่ง

เปรียบเทียบกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ถูกยกฟ้องคดียุบพรรคโดยศาลไม่พิจารณาข้อเท็จจริงว่า ได้ทำผิดหรือไม่ เพราะ “กระบวนการผิด” คือ นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการผิดขั้นตอนนั้น ถือว่าชอบด้วยกฎมายแล้ว แม้สมมติว่าจำเลยทำผิดจริง แต่กระบวนการเอาผิดไม่ถูกต้องก็ต้องยกผลประโยชน์ให้จำเลย

แต่การกล่าวหารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งว่า ทุจริตคอร์รัปชันแล้วทำรัฐประหารและใช้กลไกรัฐประหารเอาผิดนั้น มันยิ่งกว่าการทำผิดขั้นตอนของกฎหมายอย่างเทียบกันไม่ได้ เพราะมันล้มระบบนิติรัฐด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญแล้วเป็นโจทย์เอง ใช้กลไกที่ตัวเองกำหนดขึ้นเอาผิดฝ่ายตรงข้าม อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นไปตามหลักนิติรัฐและนิติธรรมได้อย่างไร

เป็นเรื่องประหลาดมากที่ฝ่ายต้านนิรโทษกรรมคุณทักษิณ และคุณทักษิณกับพรรคเพื่อไทยเองต่างพูดทำนองเดียวกันว่า “การนิรโทษกรรมทักษิณเป็นการทำเพื่อคนๆ เดียว” คูณอภิสิทธิ์จะไม่ยอมให้ใครทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรมเพื่อคนๆ เดียว ฝ่ายคุณทักษิณก็บอกว่าจะไม่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อช่วยตัวเขาเพียงเดียว

ถามว่า ถ้าคนๆ หนึ่งถูกอผิดทางกฎหมายโดยมิชอบ หากเราช่วยเหลือคนๆ นั้นจากการเอาผิดโดยมิชอบนั้น ถือว่าเป็นการช่วยคนๆ เดียวหรือครับ เช่น เราช่วยเหลือนักโทษคนหนึ่งที่ถูกจับเป็นแพะให้พ้นคุกและได้ค่าชดเชยที่ยุติธรรม หมายความว่าเราช่วยคนๆ เดียว หรือเรากำลังรักษาบรรทัดฐานของสังคมเพื่อปกป้องคนทุกคนที่อาจถูกกระทำอย่างอยุติธรรมเช่นนั้น?

ถามว่า หากสังคมนี้ยอมรับการนิรโทษกรรมแก่นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่ถูกทำรัฐประหารและถูกดำเนินคดีโดยกลไกรัฐประหาร มันเป็นการช่วยเหลือนักการเมืองคนนั้นเพียงคนเดียว หรือว่ามันเป็นการปกป้องคนทุกคนว่า หากใครก็ตามถูกกล่าวหา หรือทำผิดจริงเขาควรมีสิทธิ์ได้พิสูจน์ตนเองตามกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติรัฐ นิติธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตย?

อย่าว่าแต่ถูกทำรัฐประหารเลยครับ สมมติวันนี้รัฐบาลเพื่อไทยออกแถลงการณ์กล่าวหาว่า “คุณอภิสิทธิ์เป็นฆาตกร 91 ศพ” แล้วตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งที่ประกอบด้วยคนจำนวนหนึ่งที่เคยวิจารณ์คุณอภิสิทธิ์ว่าเป็นฆาตกร 91 ศพ มาดำเนินการสอบสวนเอาผิด สังคมเราก็ควรต่อต้านการกระทำเช่นนี้ เพราะนี่มันผิดหลักนิติธรรม เนื่องจากกระบวนการเอาผิดมันไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระและเป็นกลาง

คำถามคือ หากเรายอมรับกระบวนการแบบนี้ไม่ได้ แม้จะเป็นกระบวนการของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ตาม แต่ทำไมเราจึงยอมรับกระบวนการเอาผิดโดยรัฐประหารที่ทำกับคุณทักษิณได้?

การยอมรับการะบวนการเอาผิดกับคุณทักษิณโดยรัฐประหาร บวกกับการยอมรับการนิรโทษกรรมตนเองของฝ่ายทำรัฐประหาร เท่ากับการยอมรับว่ารัฐประหารเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม แต่การยอมรับการนิรโทษกรรมแก่คนที่ถูกเอาผิดโดยรัฐประหารคือการปฏิเสธว่า รัฐประหารไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม

การยอมรับหรือการปฏิเสธเรื่องดังกล่าวนี้เป็นสิ่งท้าทาย “วุฒิภาวะในการเคารพหลักการ” ของสังคมไทยอย่างยิ่ง เรามีบทเรียนแล้วว่า “ความไม่ซื่อสัตย์ต่อหลักการ” หรือการขาดวุฒิภาวะเคารพหลักการของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เรียกร้องรัฐประหาร และของพรรคการเมืองบางพรรคทำให้สังคมเดินมาสู่รัฐประหารจนเกิดความแตกแยกและสูญเสียมหาศาล

เรากำลังอยู่ในประเทศที่พร้อมอภัยแก่ฝ่ายทำรัฐประหารได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งคนพวกนี้ฆ่านักศึกษาและประชาชนมาครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ประเทศเดียวกันนี้กลับเอาเป็นเอาตายกับนักการเมืองที่ถูกเอาผิดโดยรัฐประหาร คนที่เป็นนักการเมืองมาตั้ง 20 ปี อย่างคุณอภิสิทธิ์และพรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดในประเทศอย่างประชาธิปัตย์กลับออกมาปกป้องกระบวนการเอาผิดโดยรัฐประหารว่า เป็นไปตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม การนิรโทษกรรมเป็นการ “ทำลายหลักของประเทศ”

ความรู้สึกส่วนตัวท้ายบทความ
ที่ผมเขียนซ้ำๆ ในเรื่องนี้  คงไม่มีใครสรุปว่า ผมกำลังเขียนเพื่อช่วยคนๆ เดียวอีกนะครับ ผมไม่สนว่าจะเป็นคุณทักษิณ อภิสิทธิ์ หรือสุเทพ ฯลฯ ผมคิดว่าในฐานะประชาชนคนหนึ่งเราควรซื่อสัตย์ต่อหลักการและปกป้องหลักการ เราเห็นสื่อ นักวิชาการที่มีชื่อเสียง มีบารมีทั้งหลายเอาแต่วิเคราะห์ “เกมการเมือง” ของฝ่ายต่างๆ แต่มีเพียงส่วนน้อยที่ถกเถียงกันเรื่อง “หลักการ” อย่างลงลึก (เช่น อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กลุ่มนิติราษฎร์ ฯลฯ)

อันที่จริงผมเองก็เคยผิดพลาดอย่างรุนแรงที่เขียนบทความชื่อ “ผีที่ไหนจะจงรักภักดี: วาทกรรมส่งท้ายปีเก่าที่ควรวิจารณ์” ลงในเว็บไซต์ผู้จัดการเมื่อปี 2548 จนถูก อ.สมศักดิ์ วิจารณ์ว่า เป็นสิ่งที่นักวิชาการไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะนั่นเป็น “การใช้สถาบันกษัตริย์เป็นฐานในการวิจารณ์นักการเมือง” ตอนนั้นผมยังไม่เก็ตเพราะผมบริสุทธิ์ใจว่าผมไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้น แต่เมื่อดูเนื้อหาอย่างตรงไปตรงมามันมีความหมายตามที่ถูกวิจารณ์อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ (แต่ตอนนั้นผมเถียง อ.สมศักดิ์ยาว เพราะโมโหที่แกด่าผมแรง)

ผมจึงถือโอกาสนี้ “ขอโทษ” ต่อท่านผู้อ่านที่บังเอิญได้อ่านบทความนั้น และขอขอบคุณอาจารย์สมศักดิ์ที่เตือนผม “อย่างแรง” และจะว่าไปแล้ว บทความนี้ก็คือการขยายความไอเดียเรื่อง due process อันเป็นข้อถกเถียงของ อ.สมศักดิ์ ท้ายบทความชื่อ “นิรโทษกรรมทักษิณเท่ากับยกเลิกรัฐประหาร?” (http://www.prachatai.com/journal/2010/01/27301) นั่นเอง

โดยส่วนตัว ผมอยากเห็นสื่อ นักวิชาการบ้านเราแทนที่จะวิเคราะห์วิจารณ์เฉพาะวาทกรรมของตัวละครทางการเมือง หรือเกมการเมืองของฝ่ายต่างๆ เป็นรายวัน ควรจะเพิ่มการวิเคราะห์วิจารณ์ความถูก-ผิดตาม “หลักการ” ให้มากขึ้น เพื่อให้สังคมมีความชัดเจนในหลักการ และพัฒนาวุฒิภาวะในการเคารพหลักการมากขึ้น

สังคมที่มีวุฒิภาวะในการเคารพหลักการเท่านั้น จึงจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องนิรโทษกรรมและปรองดองให้เป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไขการความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่บาดเจ็บล้มตาย เงื่อนไขการปฏิรูปกองทัพ และปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับสถานะ อำนาจ บทบาทของสถาบันกษัตริย์และองคมนตรี ที่คำตอบสุดท้ายคือ การเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่ทุกสถาบันต้องอยู่ภายใต้หลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาคอย่างแท้จริง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หรือควรลาออกเพราะความผิดพลาดที่ใหญ่กว่านี้?

Posted: 04 Jul 2011 12:41 PM PDT

การลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะด้วยเหตุผลที่ว่า ทำให้พรรคได้ที่นั่งน้อยลงกว่าเดิม  ...จะว่าเป็นเรื่องเล็ก ก็เล็ก แต่จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ ก็ใหญ่

ที่เป็นเรื่องเล็กเพราะว่า เลือกตั้งปี 2550  ภายใต้การนำของคุณอภิสิทธิ์  ปชป.เคยแพ้พลังประชาชน. มาแล้ว แพ้อีกไม่เห็นเป็นไร  แม่ยกยังนิยม รัก และอุ้มชูกว่าเดิมด้วยซ้ำ

จะว่าเรื่องใหญ่ ก็ใหญ่ในแง่ที่ว่า มีโอกาสบริหารประเทศแบบเทพอุ้มสมและมีตัวช่วยขนาดนี้ ครองสื่ออย่างเบ็ดเสร็จ แก้รัฐธรรมนูญตามความได้เปรียบของพรรค ฯลฯ แต่ยังเอาชนะไม่ได้ ย่อมต้องเกิดคำถาม

อันที่จริงเหตุผลที่ว่านำพรรคพ่ายแพ้สองครั้งนั้น ยังไม่น่าจะถือว่ามีน้ำหนักมากพอสำหรับการลาออก  ....ไหนๆ จะลาออกทั้งที่ควรจะทบทวนความพ่ายแพ้ให้ได้บทเรียนมากกว่านี้  

ถ้าเป็นผม ผมคงลาออกเพราะหมดสิ้นความนับถือตัวเองมากกว่าเหตุเพราะเลือกตั้งแพ้  ซึ่งอาจจะมีคำถามตามมาว่า เหตุอันใดเล่าที่ทำให้ผู้นำแห่งพรรค ปชป. ควรจะหมดสิ้นความนับถือตัวเอง?

โดยส่วนตัว ผมเห็นว่า ประเด็นที่คุณอภิสิทธิ์ควรจะทบทวนอย่างมากภายใต้การลาออก คือ การขาดหายไปของความเป็นวิญญูชน ดังจะได้อธิบาย

1. กับคนอื่นบอกให้ "สู้ด้วยตนเอง"  แต่กับตัวเองใช้ "สองรุมหนึ่ง"
ทุกฝ่ายลุ้นกับการเลือกตั้งเพราะรู้ว่า พท. มีโอกาสเดียวที่จะชนะ นั่นคือต้องชนะเกินครึ่ง   ส่วน  ปชป. แสดงท่าที่อย่างเปิดเผยว่า "ใครรวมเสียงได้เกินครึ่งก่อนย่อมมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาล"   นั่นคือพวกเขาไม่เคยปฏิเสธว่าจะใช้สองรุมหนึ่ง (ร่วมกับพรรคคุณเนวิน)  และทางเลือกนี้เท่ากับยอมรับอยู่ลึกๆ ด้วยว่า "อำนาจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้" พร้อมจะเข้ามาโอบอุ้มอย่างที่เคยทำ 

แน่นอน  การรวมเสียงข้างมากให้ได้ไม่ผิดรัฐธรรมนูญ และการให้พรรคอันดับหนึ่งตั้งรัฐบาลก่อนเป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติ ไม่ใช่กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์  ... ดังนั้น จึงไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดรัฐธรรมนูญ แต่ประเด็นคือ ขาดความละอายที่ไปท้าสู้แบบ "สองรุมหนึ่ง"

ที่สำคัญกว่านั้นยังขาดความละอายกับการกำหนดโจทย์ที่ยากกว่าให้คู่ต่อสู้ (เกินครึ่งของ 500 เท่านั้น) ส่วนตัวเองใช้โจทย์ง่ายกว่า (รวมกับพรรคอันดับสามแล้วได้มากกว่าหรือใกล้เคียง) 

ความน่าตระหนกอยู่ที่ว่า ฝ่ายที่อ้างว่าเป็นคนดี ช่างไม่กระดากและไม่รู้สึกฝืนใจใดๆ เลยกับการป่าวประกาศได้อย่างหน้าตาเฉยว่าจะใช้ "สองรุมหนึ่ง" !!!

อันที่จริง มิสู้รวมพรรคกันไปเลยดีว่าไหม ...จริงอยู่แม่ยก ปชป. รับไม่ได้แน่ๆ (เกลียดตัวกินไข่) แต่ในแง่ความถูกทำนองคลองธรรม จะได้ภาพลักษณ์ที่ดีกว่านี้ว่าสู้กันอย่างแฟร์ๆ ระหว่างสองพรรค

2. ได้บัญชีรายชื่อ (Party List) ไม่ถึงครึ่ง ไม่มีความชอบธรรมในการนิรโทษกรรม
ข้อสังเกต คือ พท. ประกาศจะอิงผลการทำงานของคณะ อ.คณิต ณ ณคร เพื่อเป็นฐานในกระบวนการปรองดอง  จนบัดนี้ยังไม่เคยมีข้อมูลจากฝั่ง พท. ว่าจะใช้จำนวนที่ได้บัญชีรายชื่อไปใช้รองรับความชอบธรรมในเรื่องนี้ (ซึ่งผมไม่เชื่อว่า พท. จะเอาจำนวน ส.ส.ในบัญชีรายชื่อมาอ้างเป็นมติมหาชนด้วยซ้ำ เพราะผลที่ได้จะไม่ยั่งยืน ..ถ้าทำคือไม่ฉลาด) 

แต่ที่คุณอภิสิทธิ์แถลงเหมือนวางระเบิดทิ้งไว้ในครั้งนี้ กลับเปิดช่องให้ต้องถามกลับไปว่า  ถ้าจริงใจ (sincere) จริงๆ กับ หลักการที่ว่า สัดส่วนที่นั่งปาร์ตี้ลิสต์  คือตัวกำหนดความชอบธรรมในการ set agenda ใดๆ  ....แล้วจะอธิบายอย่างไรกับความพ่ายแพ้ในระบบปาร์ตี้ลิสต์ของตัวเอง?

เพราะตั้งแต่มีระบบปาร์ตี้ลิสต์มา  ปชป. ไม่เคยได้จำนวนที่นั่งมากกว่าฝ่ายตรงข้ามเลย (ไม่ว่าจะในรูปของ ทรท.  พปช.  หรือ พท.) ได้น้อยกว่าทุกครั้ง   แม้ครั้งล่าสุด พท. จะได้ไม่ถึงครึ่ง แต่ก็ได้ไปราวๆ 61 ที่นั่ง (ถ้าได้ 63 คือเกินครึ่ง) 

ซึ่งทำให้ย้อนกลับมาถามได้ว่า สมัย ปชป. เป็นรัฐบาล  มักจะอ้างตลอดว่า รัฐบาลตนมาด้วยสภาชุดเดียวกันกับรัฐบาล สมัคร-สมชาย  อ้าง majority ในสภา  แต่ไม่เคยสักครั้งจะพาดพิงถึงความพ่ายแพ้ของตัวเองในระบบปาร์ตี้ลิสต์

ครั้งนี้ พอศัตรูชนะกลับออกมาบอกว่าปาร์ตี้ลิสต์ไม่ถึงครึ่ง อย่าผลักดันเรื่องนั้นเรื่องนี้ (โดยที่อีกฝ่ายยังไม่ได้บอกด้วยซ้ำว่าจะทำ) ....แล้วการที่ฝ่ายตนบริหารประเทศมาสองปี กลับได้ปาร์ตี้ลิสต์แค่ 44 ในหนนี้  มันไม่เท่ากับว่า การ set agenda ใดๆ ที่ผ่านมาทั้งหมดขาดความชอบธรรมไปด้วยหรือ?  

เช่น กรณีเรื่องใหญ่ขนาดที่ไปประกาศถอนตัวจากภาคีมรดกโลกนี่เป็น agenda ที่ ปชป. ควรจะได้ปาร์ตี้ลิสต์เกินครึ่งด้วยใช่ไหม ถึงจะอ้าง majority (เสียงข้างมาก) ของชาติได้? ถึงจะชอบธรรม?  เราเถียงได้ไหมว่า ห้ามถอนตัวจากภาคีเพราะ ปชป. ได้ปาร์ตี้ลิสต์ไม่ถึงครึ่ง?

......

ไล่เรียงดูสภาวะ "สองมาตรฐาน" ทั้งสามกรณี (ด้วยภาษาพูดง่ายๆ)

1. แกสู้โดยลำพัง / ฉันสู้แบบ สองรุมหนึ่ง
2. แกต้อง 250 ขึ้นเท่านั้นจึงจะเป็น majority / ฉันและเพื่อนรวมกันขอ 250 หรือแค่ใกล้เคียง แล้วจะไปรวบรวมรายย่อยอื่นๆ มาเป็น majority
3. ปาร์ตี้ลิสต์แกต้องเกินครึ่งเท่านั้น ถึงจะมีความชอบธรรม / ฉันแพ้ปาร์ตี้ลิสต์ติดกันสามครั้ง ไม่ใช่ประเด็น  

ทั้งหมดข้างต้นคือปัญหาในกรณีของ "ความเป็นธรรมในเกมการเมือง" หรือ "ความเป็นธรรมในการแข่งขันทางการเมือง" ล้วนๆ ซึ่งถูกบั่นทอนอย่างโจ่งแจ้งจนเห็นได้ชั  ชัดชนิดที่ว่ายังไม่ต้องนำการถกเถียงในเรื่อง ใครเผา ใครฆ่า ใครบิดเบือน ใครปกปิด ใครล้มเจ้า ใครอ้างเจ้า  ใครโกงกว่า ใครพายเรือให้โจรนั่ง  ฯลฯ  มาปะปนเลยด้วยซ้ำ !!!  

เรื่องอื่นๆ ในกรณีหลัง อาจเถียงกันได้เพราะเป็นเรื่องผลการทำงาน  แต่การกำหนดเกมอย่างอยุติธรรม  ให้ศัตรูเจองานหินกว่าตั้งแต่เริ่มลงสนาม  ไม่แข่งขันแบบที่ควรจะเป็น  แถมสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบขนาดนี้  ....นี่ต่างหากคือความควรรับผิดชอบที่ควรแสดงออกด้วยการลาออก

เพราะถ้าลองนำเกณฑ์ทั้งสามข้อที่แอบบีบบังคับ พท. มาบังคับใช้กับ ปชป. แทน  ปชป. ย่อมไม่สามารถทำได้แม้แต่ข้อเดียว นี่คือการใช้กติกาอย่างไร้สมมาตร

ที่จริงแล้ว หากได้สู้กันอย่างยุติธรรมภายใต้กติกาเดียวกันแล้วเกิดพ่ายแพ้ เชื่อว่าคนดูยังชื่นชมว่าเป็นการสู้เต็มที่อย่างขาวสะอาด   ...ถ้าเกมมันแฟร์ การพ่ายแพ้ไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย

ความผิดพลาดแท้จริงที่คุณอภิสิทธิ์ควรรับผิดชอบต่อพรรค คือการละทิ้งความเป็นวิญญูชนและหลักการแข่งขันอันเที่ยงธรรม  เพราะคุณลักษณะอย่างหนึ่งของวิญญูชน คือเมื่อกำหนดเกณฑ์ทางศีลธรรมต่างๆ กับผู้อื่นอย่างเข้มงวด ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้มงวดกับตนเองด้วย !!!

ไม่ใช่ลดมาตรฐานความเป็นธรรมในเกมการแข่งขันของฝ่ายตัวเองอย่างน่าละอาย แต่กับฝ่ายตรงข้ามกลับกำหนดเกณฑ์ไว้สูงลิบ  (...แล้วยังแพ้เขา)

หากสร้างเกณฑ์ทางศีลธรรมหรือกติกาอันเข้มงวดมาบังคับใช้กับผู้อื่น แต่กับตนเองกลับย่อหย่อนในทุกเรื่องราว ย่อมมีแต่จะทำให้คนหวนคิดว่า ฉายา "ดีแต่พูด" และ "สองมาตรฐาน" นั้น มิใช่ได้มาด้วยโชคช่วยจริงๆ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ธาริต” ไม่หวั่นถูกย้าย ยัน 19 แกนนำ นปช.ขึ้นศาลคดีหมิ่น 7 ก.ค.ไม่เลื่อน

Posted: 04 Jul 2011 12:28 PM PDT

       
4 ก.ค.54 เว็บไซต์ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายพร้อมได้เป็นแกนนำจัด ตั้งรัฐบาลใหม่ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งข้าราชการระดับ 10 ตามกระแสผู้นำรัฐบาลนั้นว่า ตนไม่ได้รู้สึกหวั่นไหวแต่อย่างใด ซึ่งในฐานะข้าราชการประจำมีหน้าที่ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ แต่หากจะต้องถูกคำสั่งย้ายออกจากตำแหน่ง ก็ถือว่าเป็นอำนาจของรัฐบาลที่สามารถโยกย้ายข้าราชการประจำได้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตนได้ปฏิบัติตามหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย ไม่ได้มีอคติกับใคร ดังนั้นหากจะถูกย้ายก็น้อมรับ

อธิบดีดีเอสไอกล่าวอีกว่า ในวันที่ 7 ก.ค.ที่จะถึงนี้ แกนนำ นปช.ทั้ง 19 คน ผู้ต้องหาในคดีล้มเจ้า ก็จะมารับทราบข้อกล่าวหาตามกำหนด ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการเดิม ส่วนคดีที่ค้างคาอยู่ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับการเมือง โดยเฉพาะเรื่องที่ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ และนายแก้วสรร อติโพธิ ยื่นเรื่องให้ตรวจสอบกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้การเท็จในคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หากยังอยู่ในตำแหน่งก็จะดำเนินการต่อไปตามหน้าที่ แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในตำแหน่งอธิบดีดีเอสไอ ตนไม่ทราบว่าคนใหม่จะทำต่อหรือไม่
       
ทั้งนี้ สำหรับแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกดีเอสไอออกหมายเรียกดำเนินคดีฐานหมิ่นเบื้องสูงรวม 19 คน ประกอบด้วย

1.นายจตุพร พรหมพันธุ์ (บัญชีรายชื่ออันดับ 8 รอ กกต.ชี้มูล กรณีไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง)2.นพ.เหวง โตจิราการ ได้เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย 3.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย 4.นายก่อแก้ว พิกุลทอง ได้เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย 5.นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ 6.นายการุณ โหสกุล ได้เป็น ส.ส.เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทย 7. นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ได้เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย

8.นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท ได้เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย 9.นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ 10.นายชินวัฒน์ หาบุญพาด 11.นายวิเชียร ขาวขำ ได้เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย 12.นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือแรมโบ้อีสาน 13.นายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา 14. นายนิสิต สินธุไพร 15.จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ 16.นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ 17.นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ 18.นายสมชาย หรือพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ 19.นายพายัพ ปั้นเกตุ ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย

อย่างไรก็ตาม มีเพียงนายจตุพร และนายนิสิต ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ 2 คน ซึ่งทางพนักงานสอบสวนดีเอสไอจะเดินทางไปแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวให้ทราบถึงใน เรือนจำต่อไป

โดยคดีนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.มอบอำนาจให้ พ.อ.จีรพล หลงประดิษฐ์ นายทหารพระธรรมนูญจากสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก กองทัพบก เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ เมื่อวันที่ 12 เม.ย.54 เพื่อให้ดำเนินคดีต่อนายจตุพร พรหมพันธุ์, นายวิเชียร ขาวขำ, นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ในความผิดฐาน ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีแกนนำ นปช.ทั้ง 3 คน ปราศรัยด้วยถ้อยคำที่เข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงบนเวที นปช.บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 เม.ย.54 และครั้งแรก พนักงานสอบสวนดีเอสไอ ได้นัดให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด เข้ารับทราบข้อกล่าวหา เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.54 แต่ทนายความ นปช.ได้ขอเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 7 ก.ค.54

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พท.รัฐบาล แต่ชวดเก้าอี้ ส.ส.ใต้ จับตา ศอ.บต.อวสานหรือไม่

Posted: 04 Jul 2011 12:18 PM PDT

ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการของการเลือก ส.ส. ในพื้นที่ด้ามขวาน เป็นไปตามที่พรรคประชาธิปัตย์วางไว้ และกวาดไป 9 ที่นั่ง แต่ไม่เป็นดั่งที่พรรคเพื่อไทยวาดไว้แต่อย่างใด ไม่มีเก้าอี้ ส.ส.ให้นั่งสำหรับพรรคเพื่อไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ มีแต่ มาตุภูมิ และภูมิใจไทย ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 

การเลือกตั้ง 3 ก.ค. 54 เป็นการเลือกตั้งที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิและให้ความสนใจมาก สังเกตได้จากตามสถานีขนส่งฯมีผู้คนเดินทางกลับเป็นจำนวนมาก ด่านชายแดนมาเลเซียเองก็พบกระแสความสนใจนี้ ดังจะเห็นได้จากคนไทยที่ไปทำงานเดินทางกลับเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง

หลังจากปิดหีบไปในเวลา 15.00 น. Exit Poll ของแต่ละสำนักต่างรายงานผลออกมาผ่านหน้าจอโทรทัศน์ ผู้คนลุ้นระทึกว่าใครจากพรรคใดจะได้นั่งเก้าอี้นายก สำหรับคนในพื้นที่ชายแดนใต้  ต่างรอคอยการนับคะแนนของ ส.ส. ในเขตของตนว่าคนที่ตนเชียร์ จะได้เป็น ส.ส. หรือไม่

มาดูผลคะแนนยังไม่เป็นทางการจาก กกต. ว่าในแต่ละพื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใครจากพรรคใดได้นั่งเก้าอี้ ส.ส. ในสภาครั้งนี้บ้าง

เริ่มที่จังหวัดปัตตานีเขตเลือกตั้งที่ 1
หมายเลข 1              นาย อดิลัน อาลีอิสเฮาะ    3,216 คะแนน
หมายเลข 7              นาย อดินันท์ สาและ           369 คะแนน
หมายเลข 10            นาย อันวาร์ สาและ            24,787 คะแนน
หมายเลข 16            นาย อรุณ เบ็ญจลักษณ์     19,939 คะแนน
หมายเลข 21            นาย มูฮำมัดปาเรซ โลหะสัณห์          1,548 คะแนน
หมายเลข 26            นาย สนิท นาแว   13,220 คะแนน
หมายเลข 34            นาย แวอุเซ็ง แวอาลี           108 คะแนน

เขตเลือกตั้งที่ 2
หมายเลข 1              นาย ศรัทธา แวอาลี            2,786 คะแนน
หมายเลข 7              นาย มูฮำมัด หะยีแวฮามะ  1,636 คะแนน
หมายเลข 10            นาย อิสมาแอล เบญอิบรอฮีม           37,264 คะแนน
หมายเลข 12            นาย ถวัลย์ศักดิ์ ประสิทธิ์นุ้ย              82 คะแนน
หมายเลข 16            นาย ทวิท สิงห์ปลอด          1,830 คะแนน
หมายเลข 19            นาย เติม แก้วละเอียด        180 คะแนน
หมายเลข 26            นาย มูฮำมัดอารีฟีน จะปะกิยา         19,837 คะแนน
หมายเลข 34            นาย สายัณห์ พรหมดำ       152 คะแนน

เขตเลือกตั้งที่ เขต 3
หมายเลข 1              นาย สมมารถ เจ๊ะนา          2,567 คะแนน
หมายเลข 7              นาย อาลี มะนูปา               272 คะแนน
หมายเลข 10            นาย อับดุลรามัน มะยูโซะ  17,278 คะแนน
หมายเลข 16            นาย นิมุคตาร์ วาบา           20,905 คะแนน
หมายเลข 26            นาย อนุมัติ ซูสารอ              22,880 คะแนน
หมายเลข 34            นาย ปรีชา จันทร                 28 คะแนน

เขตเลือกตั้งที่ เขต 4
หมายเลข 1              นาย สุดิน ภูยุทธานนท์        2,019 คะแนน
หมายเลข 2              พันตำรวจโท เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง     438 คะแนน
หมายเลข 7              นาย รุสดี แวบือซา              948 คะแนน
หมายเลข 8              นาย มะดารี มาแจ               46 คะแนน
หมายเลข 10            นาย ซาตา อาแวกือจิ         16,033 คะแนน
หมายเลข 16            นาย สมมุติ เบ็ญจลักษณ์   17,158 คะแนน
หมายเลข 21            นาย ฮัมกา การี                  269 คะแนน
หมายเลข 26            นาย มุข สุไลมาน              15,936 คะแนน
หมายเลข 34            นาย มูหามัด หะยีหามะ      59 คะแนน

สรุปว่า เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์  นาย อันวาร์ สาและ ด้วยคะแนน 24,787 คะแนน
เขต 2 นาย พรรคประชาธิปัตย์ อิสมาแอล เบญอิบรอฮีม ได้ไป   37,264 คะแนน
เขต 3 พรรคมาตุภูมิ   นาย อนุมัติ ซูสารอ 22,880 คะแนน
เขต 4  พรรคภูมิใจไทย   นาย สมมุติ เบ็ญจลักษณ์  17,158 คะแนน

จำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด          422,241 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ                318,472 คน
ไม่ประสงค์ลงคะแนน            9,983 บัตร
บัตรเสีย                                  25,526 บัตร

ในส่วนจังหวัดยะลา เขตเลือกตั้งที่ 1
หมายเลข 1              นาย อีรฟาน สุหลง              7,881 คะแนน
หมายเลข 7              นาย อับดุลกอริม เจะแซ     767 คะแนน
หมายเลข 8              นาง วราภรณ์ ภู่เกลี๊ยะ       32 คะแนน
หมายเลข 10            นาย ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ           29,197 คะแนน
หมายเลข 26            นาย วิสันต์ เข็มเพ็ชร์           1,986 คะแนน
หมายเลข 34            นาย อดิศร อาลีลาเต๊ะ       119 คะแนน
หมายเลข 39            นาย ประสิทธิ์ ทองใส          285 คะแนน              

เขตเลือกตั้งที่ 2
หมายเลข 1              นาย ซูการ์โน มะทา             23,542 คะแนน
หมายเลข 7              นาย ชานนท์ เจะหะมะ        4,919 คะแนน
หมายเลข 10            นาย อับดุลการิม เด็งระกีนา              23,838 คะแนน
หมายเลข 21            นาย อาซือมี อิตูวา              1,276 คะแนน
หมายเลข 26            นาย มาหะมะอามิน มูน๊ะ   10,381 คะแนน
หมายเลข 34            นาย การิม เปะอะรอมิง      91 คะแนน

เขตเลือกตั้งที่ เขต 3
หมายเลข 1              นาย บูราฮานูดิน อุเซ็ง        17,833 คะแนน
หมายเลข 7              นาย มะสือดี สะแลแม        660 คะแนน
หมายเลข 8              นาย ซอลาฮุดดีน ยาญา     128 คะแนน
หมายเลข 10            นาย ณรงค์ ดูดิง  30,103 คะแนน
หมายเลข 21            นาย ซาบรี แดเมาะ             4,019 คะแนน
หมายเลข 26            ว่าที่ร้อยตรี อับดุลฮาฟิซ หิเล             8,845 คะแนน
หมายเลข 34            นาย ชาดาฎ์ มะเซ็ง             50 คะแนน 

เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ได้นั่งเก้ากี้ส.ส. นาย ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ได้ไป  29,197 คะแนน
เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์  นาย อับดุลการิม เด็งระกีนา   23,838 คะแนน
เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์  นาย ณรงค์ ดูดิง       30,103 คะแนน

จำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด 314,816 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ 225,810 คน
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 11,260 บัตร
บัตรเสีย 20,181 บัตร

และจังหวัดนราธิวาสในเขตเลือกตั้งที่ 1
หมายเลข 1              นาย ภูวเดช เจ๊ะฮูเซ็ง           2,895 คะแนน
หมายเลข 7              นาย อาซาฮา ลูและ            645 คะแนน
หมายเลข 10            นาย กูอาเซ็ม กูจินามิง        35,530 คะแนน
หมายเลข 21            นาย สหรัฐ มุณีรัตน์             14,755 คะแนน
หมายเลข 26            นาย ไพศาล ตอยิบ             23,194 คะแนน
หมายเลข 34            นาย มูดอ ลาเตะ 90 คะแนน

เขตเลือกตั้งที่ 2
หมายเลข 1              นาย ดาโต๊ะสุธิพันธ์ ศรีริกานนท์        5,086 คะแนน
หมายเลข 7              นาย อุสมาน ดาโอ๊ะ            1,842 คะแนน
หมายเลข 10            นาย สุรเชษฐ์ แวอาแซ        25,037 คะแนน
หมายเลข 16            นาย ฮัมดัน อาแซ                20,392 คะแนน
หมายเลข 21            นาย แวอันวา แวยะปา       8,893 คะแนน
หมายเลข 26            นาย สมรรถ วาหลง            12,302 คะแนน
หมายเลข 34            นาย รอนิง อาแซ 25 คะแนน

เขตเลือกตั้งที่ เขต 3
หมายเลข 1              นาย ยูโซ๊ะ แวยูโซ๊ะ              4,071 คะแนน
หมายเลข 7              นาย มุคตาร์ กีละ                8,049 คะแนน
หมายเลข 10            นาย รำรี มามะ    24,704 คะแนน
หมายเลข 16            นาย นิคม จันทพงค์             1,051 คะแนน
หมายเลข 21            นาย นิอาริส เจตาภิวัฒน์    22,802 คะแนน
หมายเลข 26            นาย นัจมุดดีน อูมา             20,970 คะแนน

เขตเลือกตั้งที่ เขต 4
หมายเลข 1              นาย เตาฟิก สะมะแอ         3,337 คะแนน
หมายเลข 7              นาย มุคตาร์ ซีกะจิ              2,470 คะแนน
หมายเลข 10            นาย เจะอามิง โตะตาหยง  28,204 คะแนน
หมายเลข 16            นาย อดุลย์ สาฮีบาตู          3,066 คะแนน
หมายเลข 21            นาย วัชระ ยาวอหะซัน       26,371 คะแนน
หมายเลข 26            นาย กมลศักดิ์ สีวาเมาะ    27,117 คะแนน
หมายเลข 34            นาย อาแซ โต๊ะราแม           532 คะแนน

เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์  นาย กูอาเซ็ม กูจินามิง             35,530 คะแนน
เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์  นาย สุรเชษฐ์ แวอาแซ             25,037 คะแนน
เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์  นาย รำรี มามะ                         24,704 คะแนน
เขต 4 พรรคประชาธิปัตย์  นาย เจะอามิง โตะตาหยง       28,204 คะแนน

จำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด 480,186 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ 368,093 คน
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 9,429 บัตร
บัตรเสีย 30,209 บัตร

 ความน่าสนใจอยู่ที่ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเก้าอี้ 11 ที่นั่งในสภา แต่พรรคประชาธิปัตย์กวาดไปถึง 9 ที่นั่ง แบ่งให้มาตุภูมิและภูมิใจไทยอีกพรรคละ 1 ที่นั่ง นโยบายและการทำงานที่รัฐบาลชุดที่แล้วที่นำโดยประชาธิปัตย์ปูพื้นไว้ในพื้นที่ชายแดนใต้จะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพื่อไทยเคยลั่นวาจาว่า จะยุบ ศอ.บต. แล้วขายฝันแก่คนชายแดนในเรื่อง “มหานครปัตตานี” แต่การทำงานกลับไม่มีคนของตนมาดูแล เพื่อไทยจะหน้าต่อไปอย่างไร

และ ส.ส.ที่มาจากประชาธิปัตย์อีก 9 ท่านเอง จะทำหน้าที่ของฝ่ายค้านอย่างไรให้เกิดผลต่อประชาชนในพื้นที่สมกับที่ได้รับเลือกจากคนในพื้นที่ เหตุการณ์ร้านแรงที่เกิดปะทุขึ้นในสมัยที่พรรคไทยรักไทยที่นำโดยคนชื่อ “ทักษิณ” จะหวนกลับหรือไม่ เพราะอย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในสมัยทักษิณ คนในพื้นที่ก็ยังคงจำได้ว่าเป็นฝีมือของรัฐบาลทักษิณ

ส่วนบัตรเสียในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดอยู่ที่   75,916  ใบ
ไม่ประสงค์ลงคะแนน  30,672  ใบ
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  1,217,243  คน
ในจำนวนประชากรผู้ออกมาใช้สิทธิ 912,375  คน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: คนตาย... แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เคยตาย

Posted: 04 Jul 2011 12:07 PM PDT

 

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ)

หมายเหตุ - ถอดความและเรียบเรียงจากวงแลกเปลี่ยน “การขับเคลื่อนประเด็นพลังงานทางเลือก เพื่อสื่อสารกับสาธารณะ” ในเวทีเสวนาน้อง-พี่อีสานใต้ ซึ่งจัดโดย มูลนิธิชุมชนอีสาน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ณ ศูนย์สมุนไพรตะบัลไพร มูลนิธิพิพิธประชานาถ วิทยากรหลักได้แก่ วิจิตรา ชูสกุล รองผู้จัดการและผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนา มูลนิธิพัฒนาอีสาน

 

วิจิตรา ชูสกุล

 

จากกระแสนิวเคลียร์ที่กำลังมาแรงตามคำโฆษณาว่าเป็นพลังงานทางเลือก เป็นพลังงานสะอาด เป็นพลังงานที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และประเทศไทยจะเลือกนิวเคลียร์มาเป็นพลังงานอันหนึ่ง แต่หลังจากที่โรงไฟฟ้าที่ฟูจิมะประเทศญี่ปุ่นระเบิดไป กระแสนิวเคลียร์ก็ดาวน์ลง เพราะทุกคนตื่นเต้นและตื่นกลัวกับเรื่องนิวเคลียร์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเรื่องนี้จะหายไปจากเมืองไทย อาจมีการหยั่งเชิงกันอยู่ ช่วงนี้เป็นช่วงประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้คนเห็นด้วยกับเรื่องนิวเคลียร์ 

 

คนตาย แต่กระแสนิวเคลียร์ไม่เคยตาย

ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติประมาณ 70% ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เรากำลังมองว่า หากก๊าซธรรมชาติที่กำลังหมดจากประเทศไทย จะต้องไปเอาพลังงานทดแทนมาจากที่ไหน ในแง่พลังงานไฟฟ้าที่เป็นฐานใหญ่ของประเทศ มันไม่มีทางเลือกอื่น มันจะต้องหานิวเคลียร์ เพราะสิ่งที่เขาโฆษณาประชาสัมพันธ์ คือ  หนึ่ง.เราต้องคิดถึงเรื่องความมั่นคงทางไฟฟ้า สอง.นิวเคลียร์น่าจะเป็นทางเลือก เพราะมีราคาถูก 

การเลือกเพราะคิดว่ามันราคาถูก เป็นการมองแค่ต้นทุนของตัวเชื้อเพลิง แต่ด้วยกระบวนการทั้งหมด มันมีต้นทุนด้านอื่นด้วย ส่วนที่มองว่า เราต้องมีพลังงานไฟฟ้าฐาน หมายถึงพลังงานที่ต้องเดินเครื่องตลอดเวลา ที่ผ่านมาเราเดินเครื่องตลอดด้วยก๊าซธรรมชาติ ลักษณะเดียวกันก็เดินเครื่องด้วยน้ำมันจากดีเซล คือขุดถ่านหินตลอดเวลาเช่นกัน แต่อย่างเขื่อน มันไม่ได้ปั่นกระแสไฟฟ้าตลอดเวลา ส่วนโรงไฟฟ้าที่ใช้ฐานเผาไหม้ มันจะเดินเครื่องตลอดเวลา เขาก็มองว่า นิวเคลียร์จะต้องเป็นพลังงานตัวใหญ่ที่ผลิตได้พันกว่าเมกะวัตต์ ฝ่ายอยากได้นิวเคลียร์จึงโหมประชาสัมพันธ์ว่า ทำอย่างไรที่เราจะมีความมั่นคงทางด้านพลังงานเกิดขึ้น และนิวเคลียร์น่าจะเป็นทางเลือกให้ประชาชนได้ใช้ทรัพยากรเต็มที่ ในการจะทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า 

ส่วนกระแสที่เห็นว่านิวเคลียร์ไม่ควรเกิดขึ้น หรือกระแสไม่เอานิวเคลียร์ อย่างประเทศเดนมาร์ค ก็มีขบวนการที่ต่อต้านไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เลย ประเทศเยอรมันตอนนี้ หากเมื่อไหร่โรงไฟฟ้าปัจจุบันที่เขาเดินเครื่องอยู่หมดอายุลง ก็ไม่มีนโยบายที่จะสร้างโรงไฟฟ้าอีกต่อไป หลายประเทศมีกระแสคัดค้านเรื่องนี้ชัดเจน เพราะสิ่งที่เขากังวลใจก็คือ กากกัมมันตภาพรังสี 

หากยังคิดไม่ออกว่าจะจัดการกากกัมมันตภาพรังสีอย่างไร ไม่สมควรมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะมันอยู่เป็นล้านปี และต้องอยู่ในน้ำตลอด เพื่อไม่ให้มันร้อน และหากจะไปสู่สภาพที่เสถียรก็ใช้เวลานานมาก มันจึงสร้างปัญหา เราใช้ๆๆ แต่ว่ากากที่เหลือจะจัดการกับมันอย่างไร อันตรายมันสูงมาก ตรงนี้จึงเป็นโจทย์สำคัญ 

ส่วนจังหวัดที่จะเป็นแหล่งสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามแผน คือ อุบลราชธานี นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี ตราด และชุมพร 

ผลิตไฟเยอะๆ ผลิตเพื่อใคร?

เวลาเราพูดถึงเรื่องนิวเคลียร์ เราไม่สามารถพูดถึงเรื่องเดี่ยวๆ ได้ แต่เราต้องพูดเชื่อมโยงไปถึงการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ณ ตอนนี้ เรามีแผนการผลิตไฟฟ้าเป็นโจทย์สำคัญในประเทศ พูดถึงเรื่องปริมาณการใช้ไฟของประเทศไทย พูดถึงความต้องการที่เพียงพอที่จะสามารถทำให้เรามีพลังงานไฟฟ้าใช้ได้ 

โดยปกติเวลาผลิตไฟ เขาจะผลิตไฟสำรองไว้ในปริมาณมากสุด 15 เปอร์เซ็นต์ หากเราใช้ 100 เราจะต้องผลิตประมาณ 115 หากเกิดสถานการณ์ที่มีคนใช้ไฟมากกว่าเดิม จะได้ดึงไฟสำรองมาใช้ได้ทัน แต่ปัจจุบันกำลังการผลิตของไทยมีสูงถึง 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ พอมองในแง่อนาคตของการใช้ไฟ ในแผนเราต้องสร้างโรงไฟฟ้า 5 โรง และอีก 10-20 ปีข้างหน้า ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเกิดขึ้น กำลังการผลิตก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เขาก็จะพยากรณ์ว่าเราจะใช้ไฟฟ้าเท่าไหร่ ดูตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจดี เราก็จะใช้ไฟมากขึ้น ประมาณ 60,000 เมกะวัตต์  แต่เราดูเศรษฐกิจมันโตขึ้น มันไม่ได้โตรวดเดียว มันมีช่วงตกต่ำด้วย ข้อเท็จจริงมันจึงสวนทางกับการพยากรณ์ว่าเราต้องใช้ไฟมากขึ้น จึงต้องหาแหล่งพลังงานมาผลิตเพิ่มขึ้น ในแผนบอกต้องเอาถ่านหินมา ถ่านหินก็ถูกโฆษณาว่า สามารถทำให้สะอาดได้แล้ว เอานิวเคลียร์เพราะสามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้ตลอด เอาสารพัดที่จะคิด ซื้อไฟจากลาว ซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่า มันมีการพูดถึงแหล่งพลังงานที่จะเอามาผลิตเพื่อเติมตรงนี้ 

โจทย์คือว่า ผลิตเยอะๆ ผลิตให้ใคร ไฟที่ผลิตทั้งหมดอย่างเขื่อน ๓ เขื่อน สิรินธร อุบลรัตน์ ปากมูล 3 เขื่อน ยังไม่พอสำหรับใช้ในห้างมาบุญครองเลย จึงเป็นคำถามว่า เราผลิตไฟเยอะๆ เพื่อใคร และชุดของการพัฒนาประเทศ กระแสไฟที่เอาไปใช้มีขนาดไหน? 88 เปอร์เซ็นต์ในภาคครัวเรือนใช้ไฟ 21 เปอร์เซ็นต์ อุตสาหกรรมและภาคธุรกิจขนาดใหญ่ใช้ไฟถึง 43 เปอร์เซ็นต์ โจทย์คือ ผลิตไฟเยอะๆ ใครจะเป็นคนรับภาระเรื่องค่าไฟฟ้า เพราะไฟฟ้าใช้แล้วหมดไป จ่ายแล้วจ่ายเลย ภาระที่จะตามมาอย่างค่า FT หรือค่าของพลังงานที่มาใช้สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า คือ ภาระของผู้บริโภค

“อุบลราชธานี” พื้นที่เป้าหมาย

เรื่องนี้จึงกลายเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงกับพี่น้องจังหวัดต่างๆ ที่มีนโยบายจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าจะสร้างได้ ตรงนั้นต้องมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพราะต้องใช้น้ำในการหล่อเย็น หากสร้างตรงพื้นที่ชายทะเลไม่ได้ เพราะพี่น้องภาคใต้ค่อนข้างเข้มแข็ง ก็อาจจะมามองดูที่ภาคอีสาน ซึ่งจุดที่เชื่อมโยงทั้งเรื่องเขื่อนเรื่องน้ำได้มากที่สุดก็อาจจะเป็น “อุบลราชธานี” ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการซื้อขายซึ่งกันและกันต่อเนื่อง พี่น้องอุบลฯ ก็ก่อการที่จะไม่เอาเรื่องนี้ 

นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องระบบพลังงานที่เราพูดถึง ไม่ใช่แค่นิวเคลียร์เท่านั้น มันยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่องสิทธิของพี่น้องที่อยู่ในพื้นที่ว่า เขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง      

เรื่องนิวเคลีย โจทย์ของเราคือว่า ใครใช้ทรัพยากรมาก คนนั้นก็อาจจะต้องคิดมากกว่านี้ ไม่ใช่พูดแต่ว่าเราต้องสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ แล้วเราต้องเสียสละอยู่ตลอดเวลา มาถึงตอนนี้ด้วยกระแสที่พูดถึงพลังงานฟอสซิลข้างล่างที่มันจะหมดไป คือมันลดน้อยลง ปตท.ก็พยายามสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อหาแหล่งทรัพยากรที่จะเอามาใช้ และบอกว่าเมืองไทยเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย 

ผลประโยชน์ทับซ้อน วงจรลูกโซ่

เชื่อมโยงมาถึงโจทย์อีกตัวที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าของเราเป็นระบบรวมศูนย์ไม่ใช่ใครผลิตได้ก็ใช้เอง ที่ผ่านมา กฟฝ.เป็นจุดใหญ่ ก็วางแผนเราจะใช้ไฟเท่าไหร่ เราจะหาแหล่งพลังงานมาจากไหน สร้างโรงไฟฟ้ากี่โรง เขื่อนเท่าไหร่ มีการปรับในเชิงนโยบายมาเป็นระยะ และเรื่องการผลิตกระแสโรงไฟฟ้าก็กระจายไปสู่มือกลุ่มคนต่างๆ ทั้งรายใหญ่ รายเล็ก เราจะพบว่า กฟฝ.ก็แปลงร่างของตัวเองส่วนหนึ่งไปเป็นบริษัทต่างๆ ที่เป็นผู้ผลิตไฟ เพื่อป้อนให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งทำหน้าที่รับซื้อไฟ เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชน 

ผู้ผลิตรายเล็กถึงรายเล็กมาก ก็พยายามช่วงชิงเพื่อผลิตกระแสไฟ ไปเข้าโครงการนั้น โครงการนี้ สุดท้ายไปเข้าแผนแม่บทโลกร้อนอีกที ในแง่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) ใครได้ประโยชน์มาก เรื่องนี้เป็นการลงทุน ใครมีทุนมาก มีศักยภาพมาก คือ คนที่มีกำลังผลิตไฟป้อน ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นกลุ่มเดียวกัน กลุ่มนี้ก็ไปเชื่อมต่อกับบรรดาผู้บริหารกระทรวงพลังงานอีกทีหนึ่ง กุมกันมาเป็นทอดๆ กินกันเป็นช่วงๆ

แล้วไฟขนาดเล็กถึงเล็กมาก ส่วนใหญ่นำไปสู่การสร้างไฟฟ้าพลังงานทางเลือกมากขึ้น พลังงานทางเลือกที่เราพูดถึง ซึ่งเราไม่ค่อยได้เลือก นายทุนเป็นผู้เลือก เป็นการกระจายผู้ประมูลที่ต้องการผลิตไฟ คนที่มีกำลังการผลิตน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เขาพูดว่าพลังงานฟอสซิลมันจะหมดไป แล้วสร้างผลกระทบภาวะโลกร้อนเยอะ ฉะนั้นเราต้องผลิตกระแสไฟที่มาจากพลังงานสะอาด มาจากพลังงานชีวมวล มาจากพลังงานลม พลังงานแสงแดด คนพวกนี้ เป็นพวกรู้ข่าวสารข้อมูล มีทุนเพียงพอ ไปประมูลมา บางบริษัทไปสมัครในนามหลายบริษัท เพื่อเป็นผู้จะขายไฟ ผลิตไฟ นอกจากนั้นยังได้เงินอุดหนุนที่จะรับซื้อไฟอีกต่างหาก เช่น ผลิตด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ต้นทุน 3 บาท ขายได้ 8 บาท มันมีแต่ได้กับได้ และโครงการผลิตประเภทนี้ยังไปลด CO2 อีกต่างหาก ก็เอาไปขาย ไปทำเรื่องคาร์บอนเครดิตอีก ก็ได้ 2เด้งต่อกันมา  
 


 

ทางเลือกที่เราไม่ได้เลือก

โจทย์เรื่องพลังงานตอนนี้เราไม่ไว้ใจพลังงานสักอย่างเดียว ทางเลือกที่พูดถึงเรื่องพลังงานชีวมวล พลังงานสะอาด จะสะอาดแค่ไหนก็ตกอยู่กับทุนที่เป็นเจ้าของกิจการของบริษัท และหากจะจัดการไม่ดี คนเล็กคนน้อยก็ได้รับผลกระทบ 

ทำไมโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 9.9 เมกะวัตน์จึงเกิดขึ้นเต็มไปหมด เพราะไม่ต้องทำ EIA (การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม) อาจศึกษาสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นก็ทำได้ จึงเกิดโรงไฟฟ้าแบบนี้เยอะมากหลายร้อยโรง แต่บทเรียนที่พบเจอคือ บริษัทจัดการไม่ดี ผลกระทบที่ตามมาคือ ฝุ่น กระแสตรงนี้เลยกลายเป็นกระแสคัดค้านในพื้นที่ที่มีโครงการ มันเกิดจากการไม้ไว้วางใจ เพราะบริษัทที่จะสร้างไม่เปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใสด้วย กระบวนการก่อสร้างก็ไม่ได้ทำความเข้าใจกับพี่น้องด้วย

ทางเลือกอันเป็นทางรอด   

ถ้าอย่างนั้นเราจะเลือกพลังงานอะไรที่มันมีอยู่ในปัจจุบัน มีสิ่งที่เราต้องคิด อันแรกคือ ถ้าจะจัดการในเรื่องนี้ต้องเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน หมายถึง ประหยัดการใช้ด้วย และประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ทำอย่างไรให้มันผลิตก็ผลิตได้เต็มที่ หรือประหยัดก็ประหยัดได้เต็มที่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มันต้องการเรื่องเวลาที่เกิดขึ้น ประสิทธิภาพที่มันเกิดขึ้น เพื่อย่นระยะเวลา เพื่อจัดการค่าพยากรณ์ของมันไม่ได้สูงเกินที่เราต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ขึ้นมาอีก 

ถามว่ามันจะหนีพ้นไหม การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาอีก หากเดินหน้าด้วยแนวคิดชุดเดิม กระแสเดิม  ก็ต้องสู้กัน เหมือนประเด็นอื่นๆ ที่สู้อยู่ เพราะเป็นอำนาจของทุนที่เข้ามา และเป็นเรื่องสิทธิของพี่น้องประชาชนที่เข้ามา หลายพื้นที่ พี่น้องไม่เอาแน่นอนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเราก็เชียร์ที่จะไม่เอานิวเคลียร์ เราไม่จำเป็นต้องเสี่ยง เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานของเรามาเก็บกากกัมมันตภาพรังสี และก็ไม่รู้ว่าความปลอดภัยของตนเองจะอยู่ตรงไหนบนโลกใบนี้ อันนี้เป็นโจทย์ที่อาจจะต้องพิจารณาอยู่ด้วยเหมือนกัน หรือโรงฟ้าอื่นๆ  ไม่ว่าเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล แสงแดด แสงอาทิตย์ พลังงานทางเลือก ณ ตอนนี้ เราจะบอกว่ามันดีกว่าถ่านหิน แต่ไม่ต้องไปไว้ใจมัน เพราะทุกอย่างมีข้ออ่อนของมันอยู่ หากจัดการไม่ดี ก็มีผลกระทบทั้งสิ้น แต่ว่ามันอาจจะเป็นทางเลือกที่ส่งผลต่อมลภาวะน้อย 

อย่างพลังงานลม ก็เห็นด้วย แต่พี่น้องในบางพื้นที่อาจพบว่า เสียงกังหันดังอยู่ตลอดเวลา ก็ต้องจัดการเรื่องนี้ให้ได้ มันไม่ได้ชี้วัดว่าพลังงานเลือกมันสะอาด 100 เปอร์เซ็นต์ไม่มีอะไร ๑๐๐เปอร์เซ็นต์เลย เราต้องดูว่ามันมีผลกระทบอย่างอื่นไหม 

อย่างแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำด้วยแคดเมี่ยม หากแผงแตกและทำปฏิกิริยากับน้ำฝน ก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน บางประเทศเลิกใช้เทคโยโลยีนี้แล้ว บางเรื่องเราไม่รู้เพราะเรามักจะซื้อของต่อจากประเทศอื่น เพราะราคาถูก เราเป็นผู้ตกอยู่ในชะตากรรมนั้น 

ส่วนโรงไฟฟ้าชีวมวล หากจัดการไม่ดีก็มีฝุ่น หากจัดการเทคโนโลยีดี ก็ดี ต้องคิดให้มาก บางทีเทคโนโลยีต่างๆ ที่โฆษณา ก็เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทำ แต่คนที่เจอผลกระทบจริงๆ คือชาวบ้านคนเล็กคนน้อย  


พยากรณ์ฐานการใช้ไฟ เพื่อสร้างโรงไฟฟ้า 

สิ่งที่เราพยายามรณรงค์ในประเด็นเรื่องไฟฟ้า คือการปรับฐานแผนกำลังผลิตไฟฟ้า เพราะการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่ผ่านมา พยากรณ์สูงเกินจริง มันทำให้เราต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าของเราไม่ได้สูงขนาดนั้น มันจึงต้องปรับเปลี่ยนเรื่องการพยากรณ์การใช้ไฟของประเทศไทยใหม่ เราไม่จำเป็นต้องมีไฟมากถึง ๖ หมื่นเมกะวัตน์ มีพลังงานสำรองถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญคือมันกลายเป็นภาระผู้บริโภค เราจึงผลักดัน แผนผลิตไฟฟ้าทางเลือก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไข จากแต่ก่อนมีนโยบายจะสร้างโรงไฟฟ้า 8 โรง แต่ภาคประชาชนเคลื่อนไหว ทำให้เขาปรับแผนเหลือ 5 โรง แต่ไม่ยอมเลิกเรื่องนิวเคลียร์

ในภาคพลังงาน สิ่งที่พยายามรณรงค์คือว่า ถ้าเราไม่เอานิวเคลียร์มันต้องไปเชื่อมโยงเพื่อเสนอว่า ในแผนผลิตไฟฟ้าไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในแผน ซึ่งกระแสอันนั้นจะขับเคลื่อนได้ต้องเป็นกระแสประชาชนอย่างเดียว เพราะกระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขาก็จะบอกว่า มันคือความมั่นคงทางด้านพลังงาน และที่สำคัญคือ เขาเป็นผู้ขายไฟ ใครจะซื้อไฟกับเขามากที่สุด คือภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เขาจึงต้องทำขายให้มากเพื่อเก็งกำไร จึงเป็นโจทย์ว่า ทำอย่างไรแผนตัวนี้จะพลิกได้ ในเครือข่ายพลังงานจึงพยายามผลักดันให้เกิดกระแสที่ประชาชนไม่เอานิวเคลียร์ เกิดขึ้น 

เนื่องจากนิวเคลียร์ไม่ได้อยู่โดดๆ แต่มันมาเชื่อมกับแผนผลิตไฟฟ้า และแผนผลิตไฟฟ้าถ้าไปเชื่อมโยงกับแผนแม่บทโลกร้อนที่สำนักนโยบายและแผน ของกระทรวงทรัพยากรพูดถึง แล้วไปเชื่อมโยงกับกระแสของโลกที่พูดถึงการลดโลกร้อน แต่การลดโลกร้อนเขาไม่ได้เน้นลดภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ทั้งที่คนส่วนนี้ใช้ไฟมากถึง 43 เปอร์เซ็นต์ ต้องเป็นผู้มีส่วนสำคัญที่ต้องเป็นผู้ลดด้วย ไม่ใช่บังคับให้ประชาชนคนธรรมดาใช้ถุงผ้าอยู่อย่างเดียว 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใจ อึ๊งภากรณ์: ประชาชนปฏิเสธเผด็จการมือเปื้อนเลือดอย่างชัดเจน

Posted: 04 Jul 2011 12:01 PM PDT

การเลือกตั้งครั้งนี้พิสูจน์อย่างเถียงไม่ได้เลยว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่มีวุฒิภาวะและอุดมการณ์ประชาธิปไตย เพียงพอที่จะปฏิเสธเผด็จการมือเปื้อนเลือดของอำมาตย์ และสิ่งที่น่ามหัศจรรย์คือ มันเป็นชัยชนะของพรรคเพื่อไทยภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะฝ่ายอำมาตย์ปิดกั้นสื่อและกลั่นแกล้งสร้างอุปสรรค์ให้กับเพื่อไทยและคนเสื้อแดงมาตลอด

แต่คำถามสำคัญหลังการเลือกตั้งคือ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะมีวุฒิภาวะและอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่เท่าเทียมกับประชาชนผู้เลือกหรือไม่ และจะเดินหน้าพัฒนาสิทธิเสรีภาพกับประชาธิปไตย หรือจะประนีประนอมแบบสกปรกกับฝ่ายเผด็จการ

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้พิสูจน์ว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ก่อตั้งในค่ายทหารหลังการยุบพรรคพลังประชาชน ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่เลย และประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนขบวนการเสื้อแดงมาตลอด มันพิสูจน์อีกว่าพวกชนชั้นกลาง สื่อมวลชน เอ็นจีโอเหลือง และพวกพันธมิตรฯ โกหกเวลาพยายามแสวงหาความชอบธรรมกับการทำรัฐประหาร 19 กันยา ภายใต้อคติหลอกลวงว่า “มีการโกงการเลือกตั้งในอดีตโดยไทยรักไทย” หรือ “ประชาชนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงข้อมูลและไม่เข้าใจประชาธิปไตย” สรุปแล้ว พวกที่สนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยา สนับสนุนพันธมิตรฯ สนับสนุนการปราบปรามคนเสื้อแดง หรือสนับสนุนการฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญปี 2540 ล้วนแต่เป็นคนส่วนน้อยที่โกหกบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับสังคมไทย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนชั้นสูง ซึ่งตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับผลประโยชน์ของประชาชนคนจน

นอกจากนี้ การเลือกตั้งพิสูจน์ว่าประชาชนปฏิเสธพวกนายพลเผด็จการอย่างประยุทธ์ จันทร์โอชา อนุพงษ์ เผ่าจินดา หรือสนธิ บุณยรัตกลิน ที่แทรกแซงการเมือง ทำลายประชาธิปไตย และเข่นฆ่าคนเสื้อแดง ดังนั้นมันถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะต้องมาทบทวนบทบาทของกองทัพ และปลดนายพลที่แทรกแซงการเมืองออกจากตำแหน่ง

รัฐบาลของอภิสิทธิ์ที่พึ่งแพ้การเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่เคยชนะการเลือกตั้งเลย แต่แย่กว่านั้น ผลงานของรัฐบาลนี้มีแต่สิ่งเลวร้ายคือ ปกปิดข้อมูลและเซ็นเซอร์สื่ออย่างรุนแรง เพิ่มจำนวนนักโทษการเมืองในคดี 112 อย่างสุดขั้ว เข่นฆ่าประชาชนผู้รักประชาธิปไตยเกือบ 90 ศพด้วยทหารสไนเปอร์ และสร้างความตึงเครียดที่ชายแดนเขมรจนเกิดการยิงกันอย่างไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิง สรุปแล้วรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ลากสังคมไทยให้ถอยหลังลงคลองอย่างเดียว และโกหกเพื่อหลอกลวงประชาชนไทยและชาวโลกอีกด้วย.... แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกหลอกแต่อย่างใด

การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญในการกู้ประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพกลับมา...

อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งอย่างเดียวแก้วิกฤตไทยไม่ได้ และที่สำคัญคือ การแก้วิกฤตจะไม่สำเร็จถ้ามีการ “ปรองดอง” หรือ “ประนีประนอม” กับฝ่ายเผด็จการ เพราะภาระสำคัญของชาวประชาธิปไตย คือการสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ผ่านการรื้อถอนพิษภัยของเผด็จการทั้งหมด ในเรื่องนี้ผมไม่ได้เสนอให้ “แก้แค้น” ใคร แต่เราต้องไม่ปล่อยให้คนที่กระทำความผิดลอยนวล และปล่อยให้มีการละเมิดเสรีภาพเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ดังนั้นภาระเร่งด่วนของชาวประชาธิปไตยคือ

1. ต้องปล่อยนักโทษการเมืองทุกคนทันที และการยกเลิกคดีการเมือง อันนี้รวมถึงการปล่อยนักโทษเสื้อแดงในทุกจังหวัด และนักโทษคดี 112 อีกด้วย

2. ต้องปลด ผบ.ทบ. ประยุทธ์ ออกจากตำแหน่ง ในฐานะที่แทรกแซงการเมืองในช่วงหาเสียง และในฐานะที่ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านนโยบายของพรรคเพื่อไทย เพราะ ผบ.ทบ. ต้องไม่มีอำนาจพิเศษ ต้องรับใช้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว ตามกติกาประชาธิปไตยสากล

3. ต้องนำนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ นายประยุทธ์ และนายอนุพงษ์ ขึ้นศาลในคดีฆ่าประชาชนที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์

4. ต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 50 ของทหาร และนำรัฐธรรมนูญปี 40 กลับมาใช้ชั่วคราว ก่อนที่จะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้

5. ต้องยกเลิกการเซ็นเซอร์สื่อมวลชน อินเตอร์เน็ด และวิทยุชุมชนทันที เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน

6. ต้องยกเลิกกฏหมาย 112 และ พรบ. คอมพิวเตอร์ เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก

และในระยะยาว สังคมไทยจะต้องเริ่มกระบวนการปฏิรูปกองทัพอย่างถอนรากถอนโคน เพื่อลดงบประมาณทหาร นำกองทัพออกจากสื่อ และลดบทบาทกองทัพในการแทรกแซงการเมือง นอกจากนี้ต้องทบทวนและปฏิรูประบบยุติธรรมที่มีปัญหาสองมาตรฐานมาตลอด และต้องมีการพัฒนาสังคมไทยสู่รัฐสวัสดิการในรูปแบบ “ถ้วนหน้า-ครบวงจร-ผ่านการเก็บภาษีจากคนรวย” เพื่อเพิ่มความเท่าเทียมและความเป็นธรรมทางสังคม

สิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องชี้วัดความจริงใจและอุดมการณ์ประชาธิปไตยของรัฐบาลใหม่ เพราะแค่การหมุนนาฬิกากลับไปก่อนรัฐประหาร 19 กันยา และการ “ลืม” อาชญากรรมของฝ่ายอำมาตย์ จะต้องถือว่าเป็นความล้มเหลว

ภาระทั้งหมดอันสำคัญเหล่านี้ เราคงเดาได้ว่าพรรคเพื่อไทยคงจะไม่มีเจตตนาในการผลักดันหรือกระทำแต่อย่างใด ดังนั้นขบวนการเสื้อแดงจะต้องรวมตัวกันและเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เพื่อกดดัน หรือ “ช่วย” ให้รัฐบาลกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เสื้อแดงสำคัญอย่างยิ่งในช่วงนี้ เพราะเราจะต้องไม่ปล่อยให้คนเสื้อแดงที่เสียสละและออกมาสู้เพื่อประชาธิปไตยโดนทอดทิ้งหรือถูกหักหลัง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้นำหญิงบนเส้นทางการเมือง สีสัน, อำนาจ และคราบน้ำตา

Posted: 04 Jul 2011 10:56 AM PDT

การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีการเสนอชื่อผู้หญิงเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ชวนให้เปรียบเทียบกับการเมืองในหลายๆประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะบ้านใกล้เรือนเคียงของไทยในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียใต้ที่มีหรือเคยมีผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งบริหารสูงสุดของประเทศ

เฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้ มีผู้นำหญิงทั้งในอดีตและปัจจุบันในเวทีการเมืองยุคใหม่ที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่ 4 คน คือ นางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี (อินโดนีเซีย) นางกลอเรีย อาร์โรโย่ (ฟิลิปปินส์) นางคอราซอน อาคีโน (ฟิลิปปินส์) และนางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่า

ถัดออกไปอีกนิด ประเทศในเอเซียใต้ มี นางสิริมาโว บันดารานัยเก (Sirimavo Bandaranaike) นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลก เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศศรีลังกาอยู่ถึงสามสมัย และบุตรสาวของเธอ คือนางจันทริกา กุมาราตุหงา (Chandrika Kumaratunga) เดินตามรอยบนถนนการเมืองจนได้เป็นประธานาธิบดีแห่งศรีลังกา, ที่ประเทศอินเดีย มี นางอินทิรา คานธี (Indira Gandhi) อดีตนายกรัฐมนตรีสองสมัย และนางประติภา เทวีสิงห์ ปาฏีล (President Pratibha Patil) ประธานาธิบดีอินเดียคนปัจจุบัน, ที่ประเทศบังคลาเทศ มี อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงสองคน คือ นางคาลิดา เซีย (Khaleda Zia) และนางชีค ฮาซินา วาเจ็ด (Sheikh Hasina Wajed) และที่ปากีสถาน มี อดีตนายกรัฐมนตรีหญิง คือ นางเบนาซีร์ บุตโต (Benazir Bhutto)

น่าสนใจที่ปฐมบทแห่งการก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองของผู้นำหญิงเหล่านี้มีที่มาแทบไม่แตกต่างกัน แม้ว่าพวกเธอส่วนใหญ่มาจากครอบครัวของอดีตนักการเมืองคนสำคัญของประเทศ แต่แทบไม่มีใครสักคนที่เตรียมชีวิตมาสู่เส้นทางสายเดียวกันนี้ หากล้วนแล้วแต่เป็นอุบัติเหตุทางการเมือง และเคราะห์กรรมของชายอันเป็นที่รักที่นำพาพวกเธอเข้ามาต่อสู้โรมรันอยู่บนถนนการเมือง

ผู้นำหญิงเหล่านี้ นำสีสัน ความเปลี่ยนแปลง และความหวังมาสู่การเมืองในประเทศของเธอ หลายคนก้าวลงจากเวทีการเมืองอย่างสง่างาม ขณะที่บางคนก้าวลงจากตำแหน่งไปพร้อมกับเสียงถอนหายใจเฮือกใหญ่ของประชาชน

 

ต่อไปนี้คือเรื่องราว ภูมิหลังฉบับย่อของผู้นำหญิงบางคนบนถนนสายการเมืองที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองในภูมิภาคและประวัติศาสตร์การเมืองโลก

 

นางสิริมาโว บันดารานัยเก : นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลก

นางสิริมาโว บันดารานัยเก : นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลก

“หญิงม่ายเจ้าน้ำตา”

ภริยาม่ายของอดีตนายกรัฐมนตรีโซโลมอน บันดารานัยเก ( Solomon Bandaranaike) แห่งซีลอนที่ถูกลอบสังหารเมื่อปี พ.ศ.2502

เธอมาจากตระกูลขุนนางที่มั่งคั่งและเป็นเจ้าที่ดินจำนวนมากของประเทศซีลอน ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนคอนแวนต์ในกรุงโคลัมโบ เมืองหลวงของประเทศ สิริมาโวเริ่มมีชีวิตเกี่ยวข้องบนถนนการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 เมื่อแต่งงานกับนายโซโลมอน นักกฎหมายหนุ่มผู้ก่อตั้งพรรค Sri Lankan Freedom Party เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2499

ภายหลังที่สามีถูกลอบสังหาร นางสิริมาโว ภริยาม่ายวัย 44 ปี หลั่งน้ำตาประกาศตัวเข้าสู่เส้นทางการเมืองเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของสามีในการขับเคลื่อนนโยบายสังคมนิยม เธอขึ้นสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อจากสามี บ่อยครั้งที่เธอหลั่งน้ำตาหาเสียงจนนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามตั้งฉายาให้เธอว่า “หญิงม่ายเจ้าน้ำตา” เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2503 ชื่อของนางสิริมาโวถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองโลกในฐานะนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลก

แต่เพียงไม่ถึงปีหลังชนะการเลือกตั้งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศ นางสิริมาโวประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อควบคุมการประท้วงของชนชาติกลุ่มน้อยชาวทมิฬที่ใช้อารยะขัดขืนต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ประกาศให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการแทนภาษาสิงหล

ปี พ.ศ. 2507 นายกรัฐมนตรีสิริมาโวพ่ายแพ้ในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และในการเลือกตั้งหลังจากนั้น

แต่ในการเลือกตั้งสมัยต่อมา ปี พ.ศ. 2513 นางสิริมาโวสามารถกลับเข้าสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่งโดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายซึ่งเป็นพรรคพันธมิตรกับเธอและชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น

ปี พ.ศ. 2515 นายกรัฐมนตรีสิริมาโวประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศซีลอนเป็นสาธารณรัฐศรีลังกา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่านางสิริมาโวจะได้รับการสนับสนุนจากนานาประเทศ แต่ในประเทศนั้นความนิยมในตัวของเธอเริ่มลดลงเพราะปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่หยุดชะงักรวมทั้งข้อกล่าวหาเรื่องทุจริตคอรัปชั่น

ปี พ.ศ. 2523 เธอถูกรัฐสภาขับจากตำแหน่งด้วยข้อกล่าวหาว่าใช้อำนาจโดยฉ้อฉล และถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลาเจ็ดปี

นางสิริมาโวกลับเข้าสู่อำนาจอีกครั้งในปี พ.ศ. 2537 เมื่อบุตรสาวของเธอ คือ นางจันทริกา กุมาราตุหงา ชนะเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งศรีลังกา

ประธานาธิบดีจันทริกาลงนามแต่งตั้งมารดาเป็นนายกรัฐมนตรีของศรีลังกาเป็นสมัยที่สาม

นางสิริมาโวตัดสินใจละจากเวทีการเมืองในเดือนสิงหาคม 2543 เมื่ออายุได้ 84 ปี ปิดตำนานสี่ทศวรรษบนเส้นทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลก

นั่นคือสีสันของการเมืองศรีลังกาภายใต้ยุคของผู้นำหญิงจากตระกูลบันดารานัยเกที่สืบทอดครอบครองการเมืองของประเทศมาเกือบครึ่งศตวรรษ

 

นางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี : ประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซีย

นางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี : ประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซีย

“ลูกไม้ที่หล่นไกลต้น”

นางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี วัย 54 ปี ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศอินโดนีเซียในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ร้อนระอุไปด้วยปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มศาสนา การทุจริตคอรัปชั่น และปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้า

นางเมกาวาตี ธิดาของอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน วีรบุรุษในดวงใจของชาวอินโดนีเซีย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2490 ในขณะที่บิดาอยู่ในอำนาจแล้ว เธอจึงถูกเลี้ยงดูในสังคมหรูหราเช่นเดียวกับบุตรธิดาของครอบครัวผู้นำประเทศทั่วๆไป แต่เธอไม่ได้สนใจการเมืองเลย เมกาวาตีรักธรรมชาติ ชอบการทำสวน เธอจึงเลือกเรียนคณะเกษตรศาสตร์ แต่ต้องออกกลางคันเมื่อบิดาถูกยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2510 เมกาวาตีกลับเข้าสู่มหาวิทยาลัยอีกครั้งหลังจากบิดาถึงแก่อสัญกรรมในอีกสองปีต่อมา ครั้งนี้เธอเลือกเรียนสาขาจิตวิทยา แต่ก็ลาออกกลางคันอีก

ด้านชีวิตครอบครัว สามีคนแรกของเธอประสบอุบัติเหตุเครื่อบินตกเสียชีวิต เธอแต่งงานครั้งที่สองกับนักการทูตชาวอียิปต์ แต่การแต่งงานครั้งนี้ถูกประกาศให้เป็นโมฆะ เมกาวาตีแต่งงานครั้งที่สามในปี พ.ศ.2516 มีบุตรธิดารวม 3 คน

นางเมกาวาตีก้าวเข้าสู่เวทีการเมืองในปี พ.ศ.2530 ด้วยแรงผลักดันจากกลุ่มการเมืองต่างๆที่ต้องการให้เธอเข้ามาเป็นสัญญลักษณ์ในการต่อต้านประธานาธิบดีซูฮาร์โต ในฐานะของบุตรสาวของวีรบุรุษแห่งชาติ เมกาวาตีกลายเป็นศูนย์รวมความหวังของชาวอินโดนีเซีย

ประธานาธิบดีซูฮาร์โตพยายามที่จะกำจัดเธอให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค Indonesian Democratic Party of Struggle (PDIP) แต่ชื่อเสียงเกียรติภูมิของบิดาคือกำแพงอันแข็งแกร่งที่คุ้มกันเธอไว้ และเมื่อพรรค PDIP ของเธอถูกผู้สนับสนุนประธานาธิบดีซูฮาร์โตลอบโจมตีจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ นางเมกาวาตียิ่งได้รับความเห็นใจและการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากชาวอินโดนีเซีย

พรรคของนางเมกาวาตีชนะการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2542 แต่เธอกลับต้องเผชิญกับขวากหนามบนเส้นทางการเมืองเรื่องเพศสภาพ เมื่อสมาชิกรัฐสภาลงคะแนนโหวตให้ อับดุลรามาน วาฮิด (Abdurrahman Wahid) ผู้นำศาสนาและเป็นหัวหน้าพรรค National Awakening Party (PKB) ซึ่งเป็นพรรคที่ได้รับคะแนนเลือกตั้งเป็นอันดับรอง เป็นประธานาธิบดี โดยผู้ชนะเลือกตั้งอย่างนางเมกาวาตีต้องไปรับตำแหน่งรองประธานาธิบดีแทน จนกระทั่งนายวาฮิดถูกปลดจากตำแหน่งด้วยปัญหาสุขภาพ การไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงาน และข้อกล่าวหาคอรัปชั่น นางเมกาวาตีในฐานะรองประธานาธิบดีจึงได้ขึ้นแทนที่ตำแน่งประธานาธิบดี

อย่างไรก็ตาม บทบาททางการเมืองของนางเมกาวาตีในตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น นอกจากเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองแล้ว บทบาทด้านอื่นๆของเธอทั้งเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการทุจริตคอรัปชั่น และการจัดการกับความขัดแย้งทางศาสนา ไม่ได้สร้างความประทับใจให้กับประชาชนตามที่คาดหวังไว้

จากก้าวแรกบนเส้นทางการเมืองที่ประชาชนอ้าแขนโอบอุ้มพร้อมกับความคาดหวัง นางเมกาวาตีก้าวลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีไปพร้อมกับข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าเธอเป็น “ลูกไม้ที่หล่นไกลต้น”ของประธานาธิบดีซูการ์โน วีรบุรุษแห่งชาติของอินโดนีเซีย

ปี 2547 นางเมกาวาตีลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกเป็นวาระที่สอง แต่พ่ายแพ้ให้กับนายซูซิโล บัมบัง ยุทธโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอินโดนีเซีย

 

นางคอราซอน อาคีโน : ประธานาธิบดีหญิงคนแรกแห่งประเทศฟิลิปินส์

นางคอราซอน อาคีโน : ประธานาธิบดีหญิงคนแรกแห่งประเทศฟิลิปินส์

“แม่บ้านธรรมดา”

นางมาเรีย คอราซอน อาคีโน วัย 53 ปี สาบานตนเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 11 แห่งประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

ผู้หญิงที่เรียกตัวเองว่า "แม่บ้านธรรมดา" ตัดสินใจเดินสู่เส้นทางการเมืองด้วยเสียงเรียกร้องจากประชาชนที่สนับสนุนสามีของเธอ คือ วุฒิสมาชิกเบนิโญ อาคีโน (Benigno Aquino, Jr.) ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองของประธานาธิบดีเฟอร์ดินาน มาร์กอส เขาถูกลอบสังหารเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2526

คอราซอน อาคีโน หรือที่ชาวฟิลิปปินส์เรียกกันสั้นๆว่า "คอรี่" ไม่ได้มีภูมิหลังทางครอบครัวดั้งเดิมในฐานะที่เป็นทายาทของอดีตผู้นำทางการเมือง แต่เธอเกิดในครอบครัวที่มีฐานะดี ได้รับการศึกษาจาก Saint Scholastica's College ในกรุงมะนิลา เธอชอบเรียนคณิตศาสตร์และทำคะแนนได้ยอดเยี่ยมในวิชานี้ บิดาของเธอส่งเธอไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาในช่วงที่ประเทศฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับภาวะยุ่งยากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ชีวิตของคอรี่ถูกนำเข้ามาเกี่ยวพันกับการเมืองเมื่อเธอพบรักและแต่งงานกับ Benigno Aquino, Jr. หรือที่ชาวฟิลิปปินส์นิยมเรียกสั้นๆว่า “นีนอย” (Ninoy) ผู้เป็นนักการเมืองดาวเด่นแห่งฟิลิปินส์ในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม นอกจากทำหน้าที่รับรองแขกตามความจำเป็นในฐานะภรรยานักการเมืองแล้ว คอรี่ไม่เคยกระตือรือร้นหรือสนใจที่จะช่วยสามีทำงานทางการเมืองเลย เธอเลือกที่จะทำหน้าที่แม่บ้านดูแลสามี และเลี้ยงดูบุตรธิดา เมื่อนีนอยต้องเผชิญเคราะห์กรรมทางการเมือง ถูกจับกุมคุมขังภายใต้กฎอัยการศึกของประธานาธิบดีมาร์กอส คอรี่ก็ยังเลือกที่ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย และเก็บตัวอยู่อย่างเงียบๆอยู่กับลูกๆของเธอ

ปี 2523 จากการแทรกแซงของสหรัฐอเมริกา ทำให้ ประธานาธิบดีมาร์กอสต้องยอมปล่อยตัววุฒิสมาชิกนีนอย และยอมให้ครอบครัวอาคีโนเดินทางออกนอกประเทศ คอรีและครอบครัวไปลี้ภัยการเมืองอยู่ที่บอสตัน ซึ่งคอรี่บอกว่าเป็นช่วงเวลาที่เธอมีความสุขมากที่สุด

เดือนสิงหาคม 2526 นีนอยตัดสินใจเดินทางกลับฟิลิปปินส์โดยลำพัง เขาถูกลอบสังหารขณะลงจากเครื่องบินที่สนามบินกรุงมะนิลา คอรี่เดินทางกลับมาจัดพิธีศพสามีซึ่งมีประชาชนฟิลิปปินส์มาร่วมไว้อาลัยกว่าสองล้านคน หลังพิธีศพของสามี ประชาชนกว่าหนึ่งล้านคนร่วมกันลงชื่อเรียกร้องให้เธอลงสมัครรับเลือกตั้ง

นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ผลักดันให้นางคอราซอน อาคีโน เข้าสู่การเมือง

ชัยชนะอย่างถล่มทลายของคอราซอน อาคีโน มาพร้อมกับจุดจบทางการเมืองของประธานาธิบดีมาร์กอส และการสิ้นสุดของกฎอัยการศึกที่มีการประกาศใช้ในประเทศมานานถึงสองทศวรรษ

คอราซอน อาคีโน สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2529 และอยู่ในวาระจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2535 เธอกลายเป็นหนึ่งในผู้นำหญิง 100 คนที่ถูกอ้างถึงในหนังสือ “100 Women Who Shaped World History” เขียนโดย Gail Meyer Rolka และยังได้รับเลือกโดยนิตยสารไทม์ ให้เป็นหนึ่งใน 20 ผู้ทรงอิทธิพลแห่งเอเซีย ศตวรรษที่ 20

 

นางเบนาซีร์ บุตโต: นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของปากีสถาน

นางเบนาซีร์ บุตโต: นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของปากีสถาน

“นายกรัฐมนตรีหญิงที่อายุน้อยที่สุด”

นางเบนาซีร์ บุตโต สาบานตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งปากีสถานเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ขณะที่มีอายุเพียง 35 ปี

เธอเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2496 เป็นบุตรสาวของ Mr. Zulfikar Ali Bhutto อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งปากีสถาน และหัวหน้าพรรคประชาชนปากีสถาน (Pakistan Peoples Party -PPP)

เบนาซีร์ บุตโตเติบโตมาในสังคมชนชั้นสูงของประเทศ ได้รับการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนคอนแวนต์ในเมืองหลวงการาจี และถูกส่งไปศึกษาต่อที่สหรัฐฯตั้งแต่อายุ 16 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Radcliffe College, Harvard University จากนั้นได้ย้ายไปศึกษาต่อในสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่ Lady Margaret Hall, Oxford

ปี พ.ศ. 2520 รัฐบาลภายใต้การบริหารของบิดาถูกรัฐประหารยึดอำนาจ และต่อมาบิดาของเธอถูกผู้นำคณะรัฐประหารสั่งสังหารด้วยการการแขวนคอในปี พ.ศ. 2522 เบนาซีร์ บุตโต และมารดาถูกจับกุมคุมขังซ้ำแล้วซ้ำอีก รวมเวลาทั้งหมดที่ถูกจองจำรวมทั้งถูกกักบริเวณนานถึง 7 ปี หลังถูกปล่อยตัว เธอต้องไปใช้ชีวิตลี้ภัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และถูกขอร้องให้รับตำแหน่งผู้นำพรรคประชาชนปากีสถาน (PPP) ต่อจากมารดาของเธอ

ท่ามกลางกระแสกดดันของประชาคมนานาชาติ ทำให้ในที่สุด รัฐบาลคณะรัฐประหารแห่งปากีสถานจำต้องประกาศจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในประเทศ เบนาซีร์ บุตโต ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาชนปากีสถาน ซึ่งลี้ภัยอยู่ได้รับการเสนอชื่อให้ชิงตำแหน่งเดียวกับที่บิดาของเธอเคยชนะการเลือกตั้ง และพรรคประชาชนปากีสถาน ชนะการเลือกตั้ง แม้ไม่ได้เสียงข้างมากแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดพอจะตั้งรัฐบาลพรรคเดี่ยวได้ แต่ก็ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม

แต่ชีวิตบนเส้นทางการเมืองของเบนาซีร์ บุตโต ไม่ได้หมดจดงดงาม เธอถูกกล่าวหาว่าทุจริต คอรัปชั่น จนเป็นเหตุให้เธอต้องหลุดจากตำแหน่งในปี 2533 ซึ่งเธอได้ตอบโต้ข้อกล่าวหาว่าเป็นประเด็นโจมตีทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เบนาซีร์ บุตโตได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาบริหารประเทศเป็นสมัยที่ 2 ในระหว่างปี 2536-2539 รัฐบาลของเธอถูกโค่นล้มอีกเป็นครั้งที่สอง และเธอต้องหนีไปใช้ชีวิตลี้ภัยในเมืองดูไบและกรุงลอนดอน

ระหว่างปี 2542-2551 รัฐบาลของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม ได้ฟ้องร้องเธอด้วยข้อหาทุจริต คอรัปชั่น หลายคดี แต่ไม่เคยมีการพิจารณาคดีเกิดขึ้น จนกระทั่งมีการถอนฟ้องในปี 2551 เมื่อพรรคประชาชนปากีสถานขึ้นสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง

เบนาซีร์ บุตโตใช้ชีวิตลี้ภัยในเมืองดูไบ และกรุงลอนดอน อยู่นานถึงแปดปี ก่อนที่ตัดสินใจกลับมาบ้านเกิดในวันที่ 18 ตุลาคม 2007 เพื่อร่วมรณงค์หาเสียงเลือกตั้งกับพรรคประชาชนปากีสถาน

เธอถูกลอบสังหารเมือวันที่ 27 ธันวาคม 2550

 

นางออง ซาน ซูจี: ผู้นำพรรคฝ่ายค้านแห่งพม่า

นางออง ซาน ซูจี: ผู้นำพรรคฝ่ายค้านแห่งพม่า

“สัญญลักษณ์แห่งประชาธิปไตย”

ปีเดียวกับที่เบนาซีร์ บุตโต สาบานตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกแห่งปากีสถาน นางออง ซาน ซูจี ในวัย 43 ปี เดินทางกลับบ้านเกิดที่พม่าเพื่อมาพยาบาลมารดาที่กำลังป่วยหนัก

ออง ซาน ซูจี เป็นบุตรสาวของนายพล ออง ซาน ผู้นำที่ต่อสู้เพื่อเอกราชและเอกภาพแห่งสหภาพพม่า ซูจีจึงได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาในแบบฉบับของชนชั้นสูงของประเทศเช่นเดียวกับ เบนาซีร์ บุตโต

ภายหลังที่บิดาถูกลอบสังหาร มารดาของซูจีได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทูตพม่าประจำประเทศอินเดีย ซูจีถูกส่งเข้ารับการศึกษาที่ Lady Shri Ram College ในกรุงนิวเดลลี ก่อนที่จะถูกส่งไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่ St. Hugh’s College, Oxford University หลังจบการศึกษา เธอสมัครเข้าทำงานที่องค์การสหประชาชาติในกรุงนิวยอร์ค หลังแต่งงาน เธอติดตามสามีไปทำงานที่ภูฐาน และย้ายกลับมาพำนักที่ลอนดอนเมื่อสามีได้งานสอนที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด

ก่อนที่ซูจีจะเดินทางกลับพม่าเพื่อมาพยาบาลมารดานั้น เธอกำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเกี่ยวกับวรรณคดีพม่า ที่ London School of Oriental and African Studies

ในการให้สัมภาษณ์นิตยาสาร Varity Fair ฉบับเดือนตุลาคม 2538 ซูจีสารภาพว่า “ตอนที่ดิฉันเดินทางกลับมาพม่าเมื่อ พ.ศ.2531 เพื่อมาพยาบาลคุณแม่นั้น ดิฉันวางแผนไว้ว่าจะมาริเริ่มทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดในนามของคุณพ่อด้วย เรื่องการเมืองไม่ได้อยู่ในความสนใจของดิฉันเลย แต่ประชาชนในประเทศของดิฉันกำลังเรียกร้องประชาธิปไตย และในฐานะลูกสาวของพ่อ (นายพล ออง ซาน) ดิฉันรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ดิฉันต้องเข้าร่วมด้วย”

ออง ซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แต่ถูกรัฐบาลเผด็จการทหารปล้นชัยชนะไปต่อหน้าสายตาประชาคมโลก ทั้งยังกลั่นแกล้ง จำกัดอิสรภาพ และกีดกันเธอเข้าสู่เส้นทางการเมืองมาโดยตลอด หากยิ่งถูกกลั่นแกลง เธอก็ยิ่งกลายเป็นศูนย์รวมความหวังต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประชาชนชาวพม่า

ถึงวันนี้ ออง ซาน ซูจี มิได้เป็นเพียงสัญญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า แต่นามของเธอถูกกล่าวถึงในฐานะสัญญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่โดดเด่นในภูมิภาคนี้

..................................................

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ป่วนกระแส โดย บุญชิต ฟักมี: ควันหลงเลือกตั้ง

Posted: 04 Jul 2011 10:19 AM PDT

บุญชิต ฟักมี

 

มาตรการเลือกตั้งสำหรับประเทศที่คิดว่าพลเมืองคิดไม่เป็น

ห้ามขายเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ หลังหกโมงเย็นของวันก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเที่ยงคืนของวันเลือกตั้ง ห้ามทวีตหรือเฟซบุ๊คชมเชียร์ผู้สมัครรัเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง หลังเวลาหกโมงเย็นวันก่อนวันเลือกตั้งไปจนถึงเวลาปิดหีบ

ข้อห้ามของ กกต. ที่เราๆท่านๆ คงจำได้ขึ้นใจแล้ว ข้อห้ามที่ทำให้เราต้องตุนขนซื้อเหล้าเบียร์กันตั้งแต่เที่ยงของวันที่สอง หรือต้องรีบปิดวอลบนเฟซบุ๊กหนีกันก่อนหกโมงเย็น

ได้ยินว่าร้านขายยาบางที่ คนจะไปซื้อแอลกอฮอล์ล้างแผลก็ไม่กล้าขายให้ - กลัวใครอุตริเอาไปผสมเหล้ากินแล้วเภสัชกรต้องมีธุระไปติดคุก

ไม่เป็นไรครับ เราเข้าใจว่า ท่านผู้ร่างกฎหมายหรือตีความกฎหมายเขาปรารถนาดี เขาคงกลัวว่า ถ้าให้ซื้อเหล้าตอนเย็นหลังวันเลือกตั้งได้ คนอาจจะกินเหล้าเมาเละไปฟื้นอีกทีห้าโมงเย็นวันเลือกตั้ง จะอดไปใช้สิทธิกัน หรือไม่ก็ กลัวว่า ถ้าปล่อยให้มีการทวิตหรือโพสต์ข้อความเชียร์ผู้สมัครรับเลือกตั้งในเวลาวิกาล อาจจะเกิดคุณไสยมนต์ดำ ทำให้คนที่ตั้งใจจะเลือกเบอร์ใดเบอร์หนึ่งไว้แล้วเกิดไขว้เขว เห็นข้อความทวิตหรือบนวอลเฟซบุ๊คแล้ว โอ้ กูข้าตาสว่าง เปลี่ยนใจมันกลางทางเสียอย่างนั้น

บางคนเขาบอกว่า – เอ๊ เอ็งนี่พูดจาไปเรื่อย เขามีไว้เพื่อป้องกันการจัดเลี้ยงหาเสียงโว้ย

ครับ ก็ว่ากันไป เอ้า เชื่อก็ได้ แต่จริงๆ งานเลี้ยงไม่ต้องมีเหล้าก็จัดได้ ไม่ใช่เหรอครับ หรือจะซื้อเสียง เราจะจัดเลี้ยงเอิกเกริกรอคุณพ่อ กกต. มาสอยไปหรือไร

ถ้าอย่างนั้นไม่ห้ามออกจากบ้าน หรือห้ามพบปะกันเกิน 3 คน ไปเสียเลยละครับ ตรงประเด็นกว่าไหม

เอาเถอะครับ ไหนๆก็ไหนๆ ถ้าเผื่อเขาคิดว่า ประชาชนพลเมืองภายใต้บังคับกฎหมายนั้น สามารถถูกชักจูงกันได้ง่าย ถูกหลอกกันได้ง่ายๆ เรามาช่วยเขาร่างข้อห้ามช่วงเลือกตั้งกันดีกว่า ว่า พฤติกรรมใดไหนอื่นอีก ที่พลเมืองโง่ๆ ไม่ควรจะทำ เพราะอาจจะส่งผลให้การเลือกตั้งไม่ยุติธรรม

เริ่มจาก เย็นวันก่อนวันเลือกตั้ง ถึง ก่อนปิดหีบ ห้ามมิให้เปิดไฟหรือประดับไฟที่มีสีใดสีหนึ่งที่ประกอบอยู่ในตราสัญลักษณ์หรือโลโก้พรรคการเมือง

ก็ไม่มากอะไรฮะ แดง น้ำเงิน เขียว เหลือง ชมพู ม่วง ฟ้า คราม ฯลฯ เพราะถ้าไม่ห้ามไว้เช่นนี้ ต่อให้ห้ามหาเสียง ห้ามโพสต์ลงอินเตอร์เน็ต ก็อาจจะมีรายการลักไก่ กระพริบไฟแวบๆ เป็นสีเพื่อเชียร์คนที่รักพรรคที่ชอบได้

ไอ้ที่ลำบากหน่อย เห็นจะเป็นสัญญาณไฟจราจร ในวันก่อนวันเลือกตั้งถึงวันเลือกตั้ง สงสัยต้องเอาฟิล์มดำมาปิด ให้เป็นไฟจราจรเวอร์ชั่นขาวดำไปพลางๆ เลือกตั้งเสร็จค่อยแกะออก

และทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรห้ามผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จาม ฉี่ ตด หัวเราะ ในรัศมีห้าเมตรจากหน่วยเลือกตั้งด้วย – เพราะบางคนอาจจะตดเพื่อบอกใบ้ให้เลือกเบอร์ แปด หรือแกล้งจาม เสียงดัง ฮ้าาาา ชิ้ว หรือหัวเราะ ฮ่าๆๆ บอกใบ้ให้เลือกเบอร์ห้า หรือแกล้งฉี่เสียงดังเป็น เบอร์ ฉี่... อ้อ ข้าวเหนียวนึ่ง ก็ห้ามเอามาขายแถวนั้น เดี๋ยวพ่อค้าแม่ค้าจะเนียน ยิ่งบางสำเนียง ออกเสียง นึ่ง เป็น หนึ่งอีก

จะกลายเป็นหาเสียงกันหน้าหน่วยเนียนๆไป

..................................................

 

แพนด้าผู้น่าสงสาร

เรื่องเล็กๆ ที่ออกจะสะเทือนใจคนรักสัตว์อยู่พอสมควร คือ การที่คุณโสภณ ดำนุ้ย ผู้สมัคร ส.ส. พรรค ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่สร้างความฮือฮาด้วยการถ่ายรูปปักป้ายหาเสียงคู่กับแพนด้าน้อย “หลินปิง”

แพนด้าน้อยที่เคยเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวไทย ที่เฝ้าติดตามตั้งแต่เกิด โต ขนงอก กินไผ่ ถึงขนาดต้องมีการวัดปริมาณขี้ในแต่ละวัน และถึงกับเป็นข่าวลงหนังสือพิมพ์หากวันไหนไม่ได้ขี้ เรียกว่า หลินปิงเป็นศูนย์รวมความรักของคนไทยจนเล่นเอา ช้าง เสือ จระเข้ น้อยใจไปเพนต์ลายแพนด้ากันเป็นแถบๆ

เมื่อผู้สมัครท่านนี้ เอาไม้ตายอย่าง แพนด้าผู้เป็นที่รักยิ่งนี้มาอุ้มโฆษณาลงป้ายหาเสียงว่า “เลือกเรานะ แล้วเราจะอุ้มแพนด้าอยู่อย่างนี้ตลอดไป”

เช่นนี้ เขาน่าจะได้คะแนนเสียงจากผู้รักแพนด้า (ที่อนุมานได้ว่าน่าจะอยู่ท่วมท้นล้นประเทศไทยเหมือนกระแสฟีเวอร์ตอนนั้น) ใช่ไหมครับ อย่าว่าแต่ลงเลือกตั้ง ส.ส. เขตเล็กๆเลยครับ นายกก็ลงได้ คนรักแพนด้ามีเป็นล้านๆ

แต่เมื่อเช้าผมเปิดเวบ กกต. เช็คคะแนนน้าแกดู เพราะตรวจรายชื่อพรรคที่ได้ที่นั่งในกรุงเทพฯแล้วไม่เห็น ก็พบว่าน้าแก...

ได้คะแนนไป 407 คะแนนเท่านั้น ห่างจากผู้ที่ได้รับเลือกตั้งในเขตนั้นที่ได้ประมาณ 38,000 คะแนน อยู่ประมาณ … เกือบๆร้อยเท่า เท่านั้นเอง

ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ไปได้ ! ทำไมอุ้มแพนด้าแล้วยังแพ้รูดขนาดนี้ คนไทยไม่รักแพนด้ากันแล้วหรือไร ? แพนด้าที่เคยเป็นที่รักของเรา หรือเราไปรักตัวอะไรแทนแล้วก็ไม่รู้

รับไม่ได้จริงๆ – บรรดาแพนด้าแฟนคลับกล่าวทั้งน้ำตา แต่เมื่อผมถามว่า แล้วน้องเลือกน้าแกหรือเปล่า – เปล่าค่ะหนูโนโหวต ไม่ให้สัตว์เข้าสภา แป่ววว !!!

น่าจะเป็นบทเรียนสำหรับผู้ชอบอุ้มโน่นชูนี่ ว่า อย่าหาเสียงสุ่ม 4 สุ่ม 5 แบบนี้ นอกจากท่านจะเสียหมาเองแล้ว สิ่งที่ท่านอุ้มอยู่ก็จะเสียเซลฟ์ไปด้วย เหมือนน้องแพนด้าหลินปิงนี่แหละครับ

..................................................

 

ว่าด้วยการศึกษาและวิจารณญาณ

หลังจากผลเอ็กซิทโพล (ปัจจุบันอาจจะเรียกว่า “เก็กซิมโพล” ไปแล้วก็ได้) ออกมา เสียงกระหึ่มไปทั่วเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ คือ เสียงร่ำไห้ของบรรดากลุ่มมนุษย์ผู้มีการศึกษาและจริยญญาณชั้นพิเศษ (Special League of Intellectual and Morality – SLIM หรือเรียกสั้นๆว่า “สลิ่ม”) จากนั้นเสียงร่ำไห้ก็เงียบลงเปลี่ยนเป็นเสียงเฮฮากันบ้าง หลังจากพิสูจน์ได้ว่า เอ็กซิสโพลได้กลายร่างเป็นเก็กซิมโพลไปดังกล่าว

แต่เมื่อปรากฎชัดเจนในภายหลังว่า ไอ้ที่ว่าแพ้ถล่มทลายน่ะ ไม่ถล่มทลาย แต่ก็แพ้จริงแพ้ยับใช่ย่อยไม่ต้องลุ้นอีกเหมือนกัน คราวนี้เสียงร่ำไห้เปลี่ยนเป็นเสียงบ่นก่นด่าดังกระหึ่มไปทั่ว ว่า เสียงส่วนใหญ่ไม่มีการศึกษาพาชาติล่มจมบ้าง ฝันร้ายของประเทศไร้อนาคตบ้าง ประเทศที่ให้กรรมกรปกครองบัณฑิตบ้าง คนส่วนใหญ่ (นอกจากพวกกูและคนที่เลือกเหมือนกู) ไม่มีจริยธรรมประจำใจ สนใจผลประโยชน์ตัวเองมากกว่าชาติบ้าง

ก็ว่ากันไป

นึกถึงที่เพื่อนบางคนเคยเล่าให้ฟังว่า เวลาไปฟังคนพวกนี้ ด่าคนเสื้อแดงบ้าง ด่าคนชอบพรรคเพื่อไทย หรือคนรักทักษิณบ้าง ประโยคประจำที่ถ้าไม่พูดแล้วอาจขี้ไม่ออก คือ “คนพวกเนี้ยๆๆ มันโง่ มันไม่มีการศึกษา เลยไม่มีวิจารณญาณพอรู้ว่าอะไรเป็นอะไร”

แต่พอถูกโต้แย้งไปด้วยข้อมูล ยกเอกสาร หรือบทความยากๆ ยาวๆ ภาษาไทยบ้าง ภาษาอังกฤษบ้าง ทฤษฎีการเมืองนี่นั่นโน่นบ้าง

มนุษย์พิเศษพวกนี้ก็ย้อนกลับมาว่า “อ๋อ พวกเธอน่ะมันเรียนมาก ไปเรียนสูงไป ไปเรียนกับฝรั่ง ไม่รู้บริบทแบบไทยๆ”

เล่นเอาคนเถียงแทบจะไปซดสลิ่มสักพันลิตรให้วายปราณ – ตกลงว่า เรียนน้อยก็สำราก รู้มากก็เหน็บแนม – นี่แหละครับ สเปเชียล ลีก ออฟ อินเทลเล็กชวล แอนด์ มอรัลลิตี้ - สลิ่ม !!!

เหมือนกับพวกชอบดรามาภัยพิบัติญี่ปุ่นนั่นแหละครับ โอ้ย คนญี่ปุ่นนี่เขาดี มีวินัย เข้าแถวรับความช่วยเหลือกันอย่างพร้อมเพรียงไม่แย่งกัน อีกกี่ชาติคนไทย (โง่ๆ ไร้การศึกษา – ความหมายให้เข้าใจกันเอง) จะทำได้อย่างนั้น แล้วจะพูดอะไรถึงประชาธิปไตย

แต่อิคนพูดนั่นแหละครับ พอขึ้นรถไฟฟ้าได้ปุ๊บ คว้าไอแพดขึ้นมาปั๊บ พิงเสาปิ๊บ รูดเล่นปรื้ดๆ

ใครเบียดเข้ามาใกล้รัศมี หรือมาขอจับเสา แม่ค้อนด้วยแหนะ ใครขอเบียดเพื่อเข้าไปยืนข้างในๆตัวรถ ก็พบสลิ่มอีกจำพวก ยืนถ่างขายืนดูทีวีอย่างสบายใจ

ไม่เห็นมีใครเอาอย่างคนญี่ปุ่น ที่เข้ารถไฟได้ต้องเบียดเข้าไปให้สุดๆ เบียดจนน้ำแตกลูกไหลกันเลย – อืม มีการศึกษา อารยะกันจริงๆ

ถ้าไทยยังไม่ถอนตัวออกจากมรดกโลกนี่จะขอจดทะเบียน “สลิ่ม” เป็นมรดกโลกที่น่าทึ่งที่สุดกันเลยทีเดียว

..................................................

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สื่อนอกมองการเลือกตั้งไทย ยังแคลงใจ ทหารจะเข้ามาแทรกแซงหรือไม่

Posted: 04 Jul 2011 10:06 AM PDT

4 ก.ค. 54 – หลังจากที่ผลการเลือกตั้งปี 2554 ออกมาเป็นที่ชัดเจน ว่าพรรคเพื่อไทยชนะอย่างขาดลอยและสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้นั้น สื่อนอกที่จับตามองการเลือกตั้งได้วิเคราะห์และตั้งคำถามต่อการเมืองไทยหลังจากนี้ ว่าจะสามารถนำซึ่งประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพได้หรือไม่ และกองทัพจะมีท่าทีอย่างไรต่อผลที่ออกมา

หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล ได้วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทยหลังการเลือกตั้งว่า หลังจากที่พรรคเพื่อไทยสามารถตั้งรัฐบาลได้แล้ว ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าทหารจะเข้ามาแทรกแซงการเมืองไทยหรือไม่ โดยเฉพาะถ้าหากมีการชูเรื่องนิรโทษกรรมอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร เช่นเดียวกับสำนักข่าวบีบีซี ที่มองว่า ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า ประเทศไทยจะสามารถเริ่มต้นใหม่ และออกจากวงจรอุบาทว์และนองเลือดได้สำเร็จหรือไม่ และชี้ว่า การกลับมาของทักษิณ น่าจะเป็นเรื่องที่เหล่าผู้นำกองทัพซึ่งเคยได้ทำรัฐประหารขับไล่อดีตนายกฯ ผู้นี้ไปนั้น ยอมรับไม่ได้แน่นอน

นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ก็ยังได้ระบุว่า ข่าวลือการรัฐประหารยังคงมีอยู่ทั่วไป และกองทัพก็ยังคงถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ถึงแม้ว่ากองทัพอาจจะประสบความยากลำบากที่จะทำรัฐประหารอย่างเปิดเผย แต่ทางชนชั้นนำไทยอาจจะใช้ตุลาการศาลเพื่อยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง ดังที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ทำมาแล้วสองครั้งก่อนหน้านี้ และได้ตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่า ชนชั้นนำจะมีท่าทีต่อผลการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างไร

บทความข้างต้นยังได้วิเคราะห์ด้วยว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและประชาชนอย่างชัดเจน กล่าวคือ นอกจากประชาชนจะเลือกผู้แทนโดยดูจากตัวบุคคลแล้ว ยังตัดสินใจจากนโยบายต่างๆ ของแต่ล่ะพรรคในการบริหารประเทศ ทำให้สิทธิทางการเมืองในการต่อรองของประชาชนมีความสำคัญอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งต่างจากเดิมที่ความสัมพันธ์ของประชาชนและนักการเมืองเป็นไปตามระบบอุปถัมภ์ดั้งเดิม

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังเห็นได้จากการที่นโยบาย “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ถูกนำมาใช้หาเสียงโดยพรรคใดๆ เลยในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยไฟแนนเชียลไทมส์ได้มองปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า ชาวบ้านในชนบทเห็นแล้วว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่พร่ำเพ้อหาอดีต และได้รับประโยชน์จากนโยบายของทักษิณที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรมและส่งเสริมโลกาภิวัฒน์มากกว่า พรรคการเมืองทั้งเพื่อไทย และประชาธิปัตย์ จึงได้หันมาหาเสียงด้วยนโยบายต่างๆ ที่สอดรับกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและโลกาภิวัฒน์

ไฟแนนเชียลไทมส์ได้ยกคำพูดของฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ “เป็นคำตัดสินที่ยิ่งใหญ่สำหรับเราในฐานะประเทศชาติ คะแนนโหวตที่เทให้เพื่อไทยนั้นไม่ได้เกี่ยวกับทักษิณเพียงอย่างเดียว แต่มันหมายถึงการแทรกแซงและบิดเบือนที่เกิดขึ้นในระยะห้าปีที่ผ่านมา ถ้าประชาชนชื่นชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เขาคงจะไม่เลือกให้เพื่อไทยหรอก”

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เจ้าชายวิลเลี่ยม-เคต เสด็จเยือนแคนาดา ผงะ เจอฝ่ายนิยมสาธารณรัฐไล่ประท้วง

Posted: 04 Jul 2011 09:56 AM PDT

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (2 มิ.ย.) ในระหว่างที่เจ้าชายวิลเลี่ยมและเจ้าหญิงเคตแห่งอังกฤษได้เสด็จเยือนโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดควิเบก ในฐานะการเยี่ยมเยียนแคนาดาอย่างเป็นทางการนั้น ปรากฏว่ามีกลุ่มผู้ประท้วงจาก Canada Network of Resistance ซึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมแคนาดาที่ต่อต้านสถาบันฯ จำนวนสามสิบกว่าคนตะโกนโห่ไล่ พร้อมชูป้ายประท้วง

การประท้วงดังกล่าวเป็นไปอย่างสงบ โดยตำรวจสามารถควบคุมการประท้วงดังกล่าวไว้ได้ ต่อมา ทั้งสองพระองค์ได้เดินทางต่อไปยังสถาบันการทำอาหารและการโรงแรม Institut de Tourisme et D'Hotellerie du Quebec ในเมืองเดียวกัน และถูกเผชิญหน้ากับการประท้วงจากกลุ่มผู้ชุมนุมนิยมสาธารณรัฐอีกราว 150 คน โดยกลุ่มผู้ประท้วงได้ชูป้ายที่มีข้อความ “ปรสิต กลับบ้านไปซะ” และ “อาชญากรสงคราม”

แม็กซิม ลาปอร์ต แกนนำจากกลุ่มต่อต้านดังกล่าว ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพีว่า สถาบันกษัตริย์มิได้เป็นตัวแทนของเมืองควิเบก และไม่มีความชอบธรรม เนื่องจากจังหวัดควิเบกไม่เคยยอมรับรัฐธรรมนูญของแคนาดา และยังกล่าวถึงทริปดังกล่าวของราชวงศ์ว่า เป็น “ปฏิบัติการการสร้างชาติ” ที่ใช้เงินภาษีจากประชาชน

ในขณะเดียวกัน ทางฝ่ายชาวแคนาดาที่ยินดีกับการมาเยือนของสมาชิกราชวงศ์อังกฤษ ที่มีจำนวนมากกว่าฝ่ายที่ต่อต้านถึงสิบเท่า ให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะต่อต้านการมาเยือนของเจ้าหญิงและเจ้าชาย และมีรายงานว่า คนส่วนใหญ่ในแคนาดาตื่นเต้นกับการมาเยือนของเจ้าชายวิลเลี่ยมและเจ้าหญิงเคต ในฐานะคนดังหรือดารา มากกว่าในฐานะราชวงศ์ของอังกฤษ

ทั้งนี้ ประเทศแคนาดา มีสถานะเป็นรัฐในเครือจักรภพ และมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมีราชินีอลิซาเบ็ธที่สองแห่งอังกฤษเป็นประมุขสูงสุด อย่างไรก็ตาม การสำรวจความนิยมของของสถาบันกษัตริย์ในแคนาดาในปี 2552 ได้บ่งชี้ว่าประชาชนชาวแคนาดารู้สึกเฉยๆ ไปจนถึงปรปักษ์แบบอ่อนต่อการมีสถาบันกษัตริย์

การสำรวจที่จัดทำขึ้นโดยกลุ่ม “Canadian Friends of the Royal Family” เผยว่า ประชาชนแคนาดากว่า 60% มองว่าการมีสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องที่ล้าสมัย โดยเฉพาะในจังหวัดควิเบกซึ่งคนจำนวนเกือบ 80 % เห็นว่าควรยกเลิกและเปลี่ยนให้เป็นระบอบสาธารณรัฐ นอกจากนี้ ในปี 2553 จากการสำรวจเผยว่า ประชาชนแคนาดากว่า 50% สนับสนุนให้มีการเปิดการถกเถียงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เปลี่ยนประมุขจากกษัตริย์ เป็นประมุขที่มาจากการเลือกตั้ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใจ อึ๊งภากรณ์

Posted: 04 Jul 2011 09:09 AM PDT

เสื้อแดงสำคัญอย่างยิ่งในช่วงนี้ เพราะเราจะต้องไม่ปล่อยให้คนเสื้อแดงที่เสียสละและออกมาสู้เพื่อประชาธิปไตย โดนทอดทิ้งหรือหักหลัง

4 ก.ค. 2554, ไทยอีนิวส์

เพ็ญ ภัคตะ: ประวัติศาสตร์กับนักการเมือง

Posted: 04 Jul 2011 04:58 AM PDT

ฝันของนักประวัติศาสตร์ทั่วทั้งโลก ก็คืออยากเห็นนักการเมืองหรือผู้ปกครองบ้านเมืองสักคนหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับด้านประวัติศาสตร์บ้าง แม้เพียงน้อยนิดก็ยังดี มิอาจกล้าฝันลมๆ แล้งๆ ถึงขั้นให้นักการเมืองทุกคนต้องมาศึกษาเรียนรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของชาติบ้านเมืองในระดับเจาะลึกอย่างละเอียดดังที่นักประวัติศาสตร์มืออาชีพเขาทำกันหรอก คือแค่เหลือบหางตาปรายมามองวงการนี้บ้างนิดๆ หน่อยๆ ก็ยังดี อย่างน้อยที่สุด ก็ช่วยสร้างความอุ่นใจให้แก่ประชาชนตาดำๆ ว่าเรายังมีผู้นำบ้านเมืองที่เข้าใจ “ราก” ของบรรพบุรุษ ยังพอรู้ว่าศิลปวัฒนธรรมสมัยไหนเป็นสมัยไหน สร้างความเชื่อมั่นได้ว่าคงไม่พาเราหลงเข้ารกเข้าพงแบบไร้ทิศผิดทาง

โชคดีอะไรเช่นนี้ที่นักการเมืองระดับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดลำพูนท่านหนึ่ง มีความรอบรู้ในประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้งชนิดหาตัวจับได้ยาก และใช่แค่เพียงเฉพาะประวัติศาสตร์ของลำพูนหรือภาคเหนือเท่านั้น แต่ยังก้าวล่วงไปถึงประวัติศาสตร์ชาติไทยทุกภาค ประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ ประวัติศาสตร์เอเชีย และท้ายที่สุดคือประวัติศาสตร์โลก

ยังมิทันต้องเอ่ยนามของนักการเมืองท่านนี้ เชื่อว่าชาวลำพูนทุกท่านได้แต่ร้องอ๋อ ในใจ เพราะกิตติศัพท์ของนักการเมืองหนึ่งเดียวผู้นี้โดดเด่นมาโดยตลอด ในฐานะนักพูดผู้รอบรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นล้านนา ท่านมีมนตราสามารถสะกดคนฟังให้เคลิบเคลิ้มจนอยู่หมัด ไปพูดให้ใครฟังที่ไหนก็มีแต่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเปิดประเด็นใหม่ๆ ไม่ซ้ำซาก คอยสะกิดสะเกาให้ผู้ฟังได้หูผึ่งตะลึงงันกับข้อมูลที่ชวนให้อัศจรรย์ใจอยู่เสมอ แต่ทว่าทุกถ้อยคำนั้นแฝงนัยะหรือมูลเหตุที่น่าเชื่อถืออยู่ไม่มากก็น้อย ผิดบ้างถูกบ้างเราไม่ว่ากัน ดีกว่าคนที่ไม่รู้อะไรเอาเสียเลย จนหลายครั้งเราเกิดความฉงนงงงวยว่าท่านไปได้ข้อมูลแปลกๆ เหล่านั้นมาจากที่ไหน

ใช่แล้วค่ะ ท่านผู้นี้เป็นใครอื่นใดไปมิได้นอกเสียจาก ท่าน สส.สงวน พงษ์มณี หลายต่อหลายครั้งที่ สส. สงวน ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในรายการเสวนาปริทัศน์ พรมแดนแห่งความรู้  ที่พิพิธภัณฑ์ได้จัดขึ้น อาทิ หัวข้อ “ไตโยนมาจากไหน” "แม่ปิงเปลี่ยนสาย ล่มสลายเวียงกุมกาม" หรือการร่วมสำรวจแหล่งโบราณคดีค้นพบใหม่ด้วยกันหลายหนที่เวียงเกาะกลาง ทุกครั้งที่ได้คุยกับ สส.สงวน บรรยากาศการเสวนามักจะเต็มไปด้วยรสชาดและมีสีสันมากมายทุกครั้ง 

"ดร.เพ็ญทราบไหมว่า เมืองที่คนลัวะคนเม็งสร้าง จะมีคำขึ้นต้นว่า "ละ" "หละ" หรือ "ระ" นับแต่ หละปูน ระมิงค์ ระมาด ละกอน (ลำปาง) ละโว้ เรื่อยไปจนถึง ระแงะ ส่วนเมืองที่กลุ่มคนไท(ย) สร้าง จะใช้คำว่า "เชียง" หรือ "เจียง" เชียงรุ่ง เชียงตุง เชียงของ เซียงไฮ้ เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงราย"

ดิฉันไม่เคยลืมเลือน การตั้งข้อสังเกตอันลุ่มลึกนี้ของ สส.สงวนเลย และยังแอบหยิบเอาไปใช้บรรยายต่อให้ลูกศิษย์ลูกหา และนักท่องเที่ยวฟังบ่อยๆ อีกความเห็นหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในตำราเล่มใด ทว่าก้อนสมองของ สส.สงวนได้ฝังชิฟองค์ความรู้นี้ไว้ก็คือ

"ดร.เพ็ญลองคิดดูสิครับว่า ล้านนากับอยุธยา เป็นคนไท สายเลือดเดียวกัน แต่กลับชอบตีกันบ่อย บ่อยกว่าที่ล้านนาจะถูกพม่าตีเสียอีก เป็นเพราะอะไรรู้ไหมครับ เหตุก็เพราะว่า พื้นฐานการนับถือศาสนาของชาวล้านนานั้น มีรากมาจาก "พุทธ-ผี" เหมือนกับพวกพม่า แต่อยุธยา สุโขทัย มีรากจาก "พุทธ-พราหมณ์" ดังนั้นต่อให้สายเลือดไทยเหมือนกัน แต่คนล้านนาไม่เคยวางใจไทยอยุธยาเลย กลับรู้สึกอบอุ่นใกล้ชิดกับพวกม่านมากกว่า  ทั้งๆ ที่พูดกันคนละภาษา"

เรื่องนี้มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด น่า่สนใจเหลือเกิน "พุทธ-ผี" กับ "พุทธ-พราหมณ์" แรงขับเคลื่อนให้เกิดสงครามและการทะเลาะไม่รู้จบระหว่างคนล้านนากับคนกรุงศรีอยุธยาสยามประเทศ  จวบจนปรัตยุบัน ปฏิเสธได้ล่ะหรือว่าส่วนหนึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องลัทธิความเชื่อที่แตกต่าง

เส้นทางชีวิตของ สส.สงวน พงษ์มณี นั้นน่าสนใจยิ่ง ท่านบอกว่าจริงๆ แล้วท่านเป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด แต่สมัยนี้จุดที่ท่านเกิดถูกตัดแบ่งกลายไปเป็นอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่เสียแล้ว เนื่องจากแม่น้ำปิงเปลี่ยนทางเดิน อย่างไรก็ดีท่านเติบโตและคลุกคลีมากับเหล่าตุ๊เจ้าที่คณะสะดือเมืองในวัดพระธาตุหริภุญชัย

เริ่มสนใจประวัติศาสตร์อย่างจริงจังก็เมื่อไปเป็นทหารที่เวียดนามตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่สนับสนุนสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็น บรรยากาศระส่ำระสายใกล้สิ้นชาติของชาวเวียดนามช่วงนั้นนั่นเองได้จุดประกายให้ท่านเริ่มต้นตั้งคำถามกับตัวเองถึงรากและที่มาที่ไปของคนไทย โดยมองภาพวิกฤติเวียดนามเป็นอุทาหรณ์

หลังจากนั้นเมื่อกลับมาประเทศไทย ชีวิตท่านได้พลิกผันอีกระลอกในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา  2516 – 6  ตุลา  2519  ท่านได้เข้าป่าร่วมกับขบวนการนิสิตนักศึกษาเพื่อเรียกร้องหาเสรีภาพ ใช้ชีวิตเร่ร่อนกลางป่าเขา ระหกระเหินเดินทางไกลไปสู่ต้นธารแม่น้ำโขงและเชิงผาหิมพานต์ จากระยะทางตลอดดินแดนล้านนาจนถึงประเทศภูฐาน ท่านได้เก็บตกเรื่องราวชีวิตเบี้ยใบ้รายทางของมนุษยชาติไว้มากมายหลายร้อยเล่มเกวียน แม้ยังไม่เคยเขียนหนังสืออย่างเป็นจริงเป็นจังเพื่อบันทึกความทรงจำ แต่ดูเหมือนว่าประสบการณ์ในวัยหนุ่มเหล่านั้นคือขุมทรัพ์อันล้ำค่าที่ท่านสามารถนำมาบอกเล่าได้ไม่รู้เบื่อและไม่เคยหมดสิ้น

ดิฉันเขียนถึงท่านครั้งนี้ เพราะรู้สึกดีใจที่ประเทศไทยมีนักการเมืองที่เป็นนักอ่าน นักคิด นักค้นคว้า เรื่องราวทางวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม มิใช่ในดีกรีธรรมดาเสียด้วย แต่ท่านลุ่มหลงในระดับถึงขั้นเสพติด

คนลำพูนและคนไทยทั้งประเทศ เคยดึงขุมทรัพย์ที่ท่านมีอยู่อย่างมหาศาลมาใช้ให้เป็นประโยชน์สมภูมิบ้างแล้วหรือยัง ฤๅมองเพียงแค่ว่าท่านเป็น สส.คนหนึ่ง ซึ่งควรทำหน้าที่พัฒนาบ้านเมืองไป ไม่ต้องเข้ามามีบทบาทยุ่งเกี่ยวกับด้านประวัติศาสตร์ อันเป็นภาระโดยตรงของนักประวัติศาสตร์ หากใครยังคิดเช่นนี้ดิฉันคิดว่าเราได้ประเมินศักยภาพของท่านผิดไป ในฐานะนักการเมืองนั้นดิฉันไม่ทราบหรอกว่าท่านโดดเด่นในด้านใดบ้าง และเคยฝากผลงานอะไรให้แก่มหาชน แต่ในสายตาของนักวิชาการทางโบราณคดีแล้ว ท่านคือปูชนียบุคคลที่คนลำพูนควรรู้จักดึงท่านมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านประวัติศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

อย่าลืมว่าทุกวันนี้ ศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งขายได้ จึงเกิดกระบวนการ “วัฒนธรรมจัดตั้ง” ขึ้นมามากมายทั่วทุกหัวระแหง และหากนักการเมืองหรือผู้ปกครองบ้านเมืองไม่รู้จักและเข้าไม่ถึงประวัติศาสตร์ที่แท้จริงในท้องถิ่นตน แยกแยะไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร กระแสโลกาภิวัฒน์หรือ “ศิลปวัฒนธรรมฉบับแปลกปลอม” ที่ถูกสร้างขึ้นจากคนที่ไม่รู้จริงก็จักแผ่ซ่านกระจายผุดพรายเป็นดอกเห็ด

นี่แหละ คือคำตอบว่าทำไมดิฉันจึงใฝ่ฝันที่จะเห็นนักการเมืองสนใจประวัติศาสตร์

"รอให้ผมว่างๆ หลังวางมือจากการเมือง ผมจะช่วยด็อกเตอร์เพ็ญเรียบเรียงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลำพูน เชื่อว่าสะเทือนทั้งวงการแน่ เพราะมันเป็นประวัติศาสตร์นอกกระแส!!!`"

ตอนนี้ดิฉันว่างและพร้อมจะเรียบเรียงประวัติศาสตร์หน้านั้นแล้วล่ะค่ะ ว่าแต่ว่าท่าน สส. เมื่อไหร่ท่านจะว่างล่ะคะ?

* อนึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้จังหวัดที่มียอดผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด คือ จ.ลำพูน โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตคิดเป็นร้อยละ 88.61 ส่วนผลการเลือกตั้ง (อย่างไม่เป็นทางการ) เขต 1 จังหวัดลำพูน อันดับ 1 หมายเลข 1 นายสงวน พงษ์มณี พรรค เพื่อไทย 89,324 คะแนน , อันดับ 2 หมายเลข 10 นายสมานฉันท์ ชมพูเทพ พรรคประชาธิปัตย์ 30,945 คะแนน , อันดับ 3 หมายเลข 2 นาย ณัฎฐ์พัชร์ อำนาจประชา พรรค ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 5,318 คะแนน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น