ประชาไท | Prachatai3.info |
- มองการเมืองเรื่อง ‘เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย’ และ ‘กิน-ขี้-ปี้-นอน’ ผ่านตรรกะสังสรรค์
- พม่าให้สิทธิเสรีภาพในการเดินทางให้กับชาวมุสลิมโรฮิงยาแล้ว
- กวีซีไรต์ไม่เขียนมลายู คนชายแดนใต้ไม่อ่าน
- ‘สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านฯ’หวั่น โรงเหล็กต้นน้ำทำอ่าวปัตตานีพัง
- 3 พันพยาบาลชายแดนใต้ กับหลากหลายปัญหาที่ต้องเผชิญ
- ประชาไทบันเทิง ทงบังชิงกิ เดอะซีรีส์5: แล้วศิลปินไอดอลอันดับหนึ่งของเอเชียก็ได้แก่ วงทงบังชิงกิ
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ยก 1"
- "สรรเสริญ" แจง ผบ.ทบ. มีจิตใจโอบอ้อมอารี-รับฟังความคิดเห็น
- "กษิต ภิรมย์" แจงไม่มีนโยบายสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า
- กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" – "ใต้" โจมตีทหารพม่าในรัฐฉาน
- คปท.จี้เพื่อไทยแก้ปัญหาพื้นที่ให้ประชาชน รับปากไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
- รุจ ธนรักษ์: ความเห็นต่อกรณีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
- ช่วยกันทำลายอคติเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำในสังคมไทย
- TCIJ: เจาะ 10 บ.ไทย-ต่างชาติค้า “โบอิ้ง-เฮลิคอปเตอร์” ให้กองทัพอากาศ
- ดักคอราชการ อย่าฉวยช่วงสุญญากาศการเมือง ยกร่าง กม.สถาบันความปลอดภัย
มองการเมืองเรื่อง ‘เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย’ และ ‘กิน-ขี้-ปี้-นอน’ ผ่านตรรกะสังสรรค์ Posted: 29 Jul 2011 10:12 AM PDT ภาวะแห่งการ ‘เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย’ หรือกิริยา ‘กิน-ขี้-ปี้-นอน’ ล้วนเป็นเรื่องพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ แต่เมื่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม ส่งผลให้การตีความหรือให้คุณค่า รวมถึงการนิยามความหมายแตกต่างกันไปตามแต่วิธีคิดและการมองโลกของแต่ละบุคคล ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้จัดนิทรรศการศิลปะขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้คนในสังคมเล็กๆ ได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับการเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-กิน-ขี้-ปี้-นอน โดยหวังว่าการวิเคราะห์และตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ของมนุษย์ในแต่ละแง่มุม จะนำไปสู่การ ‘เรียนรู้ตัวตน’ และ ‘ผู้คนรอบข้าง’ ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล นิทรรศการศิลปะ ‘ตรรกะสังสรรค์’ หรือ Dialogic เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 ก.ค.2554 ที่ผ่านมา ที่ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ปทุมวัน โดยมีผู้คนจากหลากหลายแวดวงเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและตีความการเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-กิน-ขี้-ปี้-นอน โดยยึดโยงกับผลงานวรรณกรรมของ ‘เสถียรโกเศศ’ หรือ ‘พระยาอนุมานราชธน’ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปัญญาชนคนสำคัญคนหนึ่งของสังคมไทยตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ด้าน ‘กิตติพล สรัคคานนท์’ ซึ่งเป็นภัณฑารักษ์ให้กับนิทรรศการตรรกะสังสรรค์ กล่าวโดยสรุปว่า “เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-กิน-ขี้-ปี้-นอน” เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ วัตถุประสงค์หลักของการจัดนิทรรศการ ‘ตรรกะสังสรรค์’ จึงเป็นความพยายามนำเสนอเรื่องพื้นฐานของมนุษย์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อที่จะนำเราไปสู่การรู้จักคนอื่นและการรู้จักตัวเอง “หัวข้อ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-กิน-ขี้-ปี้-นอน ถ้าเรามองแบบแยกส่วน เราอาจจะมองว่านี่เป็นเรื่องของปัจเจก อันนี้เป็นเรื่องของกลุ่ม ของสังคม หรือเป็นลักษณะอัตวิสัยกับภาวะวิสัย แต่สำหรับผม ผมมองชีวิตในฐานะที่มันไม่ใช่กระบวนการที่โดดเดี่ยว เกิดแก่เจ็บตาย กินขี้ปี้นอน มันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญ เพราะฉะนั้นถ้าถามผม ตรรกะสังสรรค์เป็นสิ่งที่เราพยายามจะนำเสนอ เพื่อนำเราไปสู่การรู้จักคนอื่น เพื่อที่จะรู้จักตัวเอง” “การยอมรับคนอื่นอาจจะเป็นประโยชน์ใช้สอยของการรู้จักคนอื่น แต่มันมีส่วนที่เป็นประโยชน์กับสังคมที่เป็นอยู่ เพราะสังคมที่ไม่รู้จักการยอมรับหรือเคารพความคิดเห็นของคนอื่น หรือความแตกต่าง ตรงนี้ต่างหากที่เป็นเรื่องที่อันตราย” “ถ้าเราไม่แลกเปลี่ยน เราไม่ถกเถียง เราไม่ทะเลาะกัน ผมคิดว่าเราก็จะใช้แต่กำลัง เราก็จะใช้แต่อำนาจ แล้วก็จะห้ามไม่ให้คนพูด ห้ามไม่ให้คนตั้งคำถาม ซึ่งสิ่งนี้มันเป็นเรื่องที่ผมคิดว่าเราเห็นอยู่ในปัจจุบัน เราเห็นอยู่ในหลายๆ พื้นที่ เห็นอยู่ในหลายๆ วาระโอกาส มันถึงต้องมีคนชี้นำ มีคนส่วนหนึ่งที่คอยบอกว่าเราควรจะทำอะไร และเมื่อถึงจุดจุดหนึ่งมันก็กลับไปสู่อีกด้าน คือการให้เรารู้จักตั้งคำถามกับตัวเอง ให้เราตั้งคำถามกับคนอื่น รวมถึงให้เราตั้งคำถามกับหลักการของตัวเราเองด้วย”
ผลงานในห้วข้อแรก คือ ‘เกิด’ ถูกสะท้อนผ่านมุมมองของ ‘ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา’ บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์ นำเสนอเรื่องราวชีวิตของ ‘ล้อม เพ็งแก้ว’ นักวิชาการคนสำคัญของไทยซึ่งศึกษาและสร้างสรรค์วรรณกรรมจำนวนมากที่เชื่อมโยงประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยเข้าด้วยกัน และภิญโญได้นำเสนอวิธีคิดของคนไทยในชุมชนท้องถิ่นที่มีต่อการเกิด ซึ่งถูกผูกโยงกับประเพณีเก่าแก่ตามความเชื่อในเชิงวัฒนธรรมและสังคมวิทยาอันแตกต่างจากการเกิดซึ่งถูกนิยามในเชิงวิทยาศาสตร์ดังที่ได้ปรากฎในสังคมไทยสมัยใหม่ งานแสดงหัวข้อถัดมา คือ ‘แก่’ เป็นผลงานออกแบบกราฟิกของ ‘ประชา สุวีรานนท์’ นักออกแบบกราฟิกซึ่งมีผลงานด้านการสื่อสารโฆษณาจำนวนมาก และเป็นผู้ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาเรขศิลป์ เมื่อปี 2553 นำเสนอ ‘ความแก่’ ในความหมายของการเสื่อมถอยในด้านต่างๆ ของมนุษย์ ไม่เว้นแม้แต่ ‘ความคิด’ ที่เก่าแก่และมีรากฐานมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ยังคงหมุนเวียนอยู่ในสังคมปัจจุบันได้ประดุจว่าเป็นของใหม่ เพราะเป็นความคิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์บางประการในปัจจุบัน ประชาได้นำแนวคิดเชิงอุดมคติของ ‘ไตรภูมิพระร่วง’ มาถ่ายทอดในรูปแบบงานกราฟิก โดยมีเนื้อหายั่วล้อและเสียดสีวิธีคิดที่แทรกอยู่ในไตรภูมิพระร่วงกับการรณรงค์เรื่องการมองโลกในแง่บวก หรือ Positive Thinking ของสังคมไทยในยุคไม่กี่ปีหลังๆ ซึ่งเขาระบุว่าแนวคิด Positive Thinking เป็นกระแสใหญ่ในสังคมไทยช่วง 5 ปีหลัง ทั้งยังแพร่กระจายอยู่ในวัฒนธรรมป๊อบทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่การรักษาเยียวยาอาการต่างๆ แต่กระแสพลังบวกส่งผลต่อสังคมอย่างมากเมื่อมันถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้าน ‘การเมือง’ “งานของผมไม่ใช่ art มันคืองานเล่าเรื่อง มีตัวละคร มีการเสียดสี และต้องการพูดถึงกระแส positive thinking ที่ถูกนำมาใช้ทางการเมือง หลังเหตุการปราบปรามในเดือนเมษาฯ และพฤษภาฯ ปีที่แล้ว มันชัดเจนถึงขนาดว่ามีการทำหนังโฆษณาในนามของรัฐบาล ถ้าเข้าใจไม่ผิดใช้ชื่อว่า ‘เปลี่ยนประเทศไทย’ ทีมที่ทำก็ใช้ชื่อว่า ‘เครือข่ายพลังบวก’ ผมก็เลยใช้วิธีการที่ตรงไปตรงมาคือการเสียดสีกันไปเลยตรงๆ ว่าเรากำลังล้อเลียนผ่านไตรภูมิฯ โดยมีเหตุผลว่า positive thinking ใช้ในการกล่อมเกลาสังคม และไตรภูมิฯ ก็ใช้ในการกล่อมเกลาคนและสังคมมาตั้งแต่ยุคโบราณ มันก็น่าจะ match กันได้”
ด้าน ‘สุรสีห์ กุศลวงศ์’ ศิลปินด้านทัศนศิลป์ของไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังในต่างประเทศ นำเสนอผลงานในหัวข้อ ‘เจ็บ’ โดยใช้รูปแบบศิลปะการจัดวางเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์กว่า 4 ตันวางกองอยู่ในห้องจัดนิทรรศการ และเปิดให้ผู้เข้าชมผลงานมีส่วนร่วมในการตามหา ‘สร้อยทอง’ ซึ่งถูกซุกซ่อนในกองเส้นใยมหึมา และนำเสนอแนวคิดเรื่องการค้นหาด้านดีของความเจ็บปวดของมนุษย์ผ่านทางบทสนทนาของตัวละครสมมติ คือ ‘เบบี้โกลด์’ และ ‘ผี’ เพื่อยืนยันว่ามนุษย์ไม่อาจหนีพ้นจากความเจ็บปวด และสิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการตระหนักรู้ว่าจะผ่านพ้นภาวะแห่งความเจ็บปวดไปได้อย่างไร ส่วนผลงานในหัวข้อ ‘ตาย’ เป็นความร่วมมือกันระหว่าง ‘ภัทรดา อนุมานราชธน’ อาจารย์พิเศษด้านการแสดงของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เป็นทายาทของพระยาอนุมานราชธน และ ‘มิลลี่ ยัง’ อนิเมเตอร์อิสระ โดยภัทรดาได้จัดวางผลงานในรูปแบบเขาวงกตประดับดอกบัว ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นทางชีวิตมนุษย์ที่ต้องมุ่งหน้าสู่ความตายกันทุกคน และมิลลี่ใช้ภาพเคลื่อนไหวแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนผ่านจากภาวะหนึ่งไปสู่อีกภาวะหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ซึ่งอาจรวมไปถึงการกลับชาติมาเกิดอีกครั้ง ขณะที่ ‘มหาสมุทร บุณยรักษ์’ และ ‘เศรษฐวัตร อุทธา’ ศิลปินอิสระ รวมตัวกันทำงานสื่อผสมในหัวข้อ ‘กิน’ ผ่านหนังสั้นประกอบบทเพลง โดยมหาสมุทรเป็นผู้แต่งเพลงและแสดงนำ ขณะที่เศรษฐวัตรรับหน้าที่เป็นผู้กำกับ และการสะท้อนแนวคิดเรื่อง ‘กิน’ ผ่านผลงานของศิลปินรุ่นใหม่เป็นการชี้ให้เห็นว่าการกินมีหลากหลายระดับ ทั้งการกินเพื่อให้อิ่มท้อง ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึง ‘การเสพ’ สรรพสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เพื่อตอบสนองความต้องการเชิงนามธรรมอื่นๆ ของมนุษย์ ซึ่งมีทั้งความแปลกแยก ความผิดหวัง หรือความโหยหา
ด้าน ‘ตุล ไวฑูรเกียรติ’ นักดนตรีและนักร้องนำวงอพาร์ทเมนท์คุณป้า ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักแต่งเพลงที่ใช้ภาษาคล้ายคลึงบทกวี แสดงผลงานในหัวข้อ ‘ขี้’ และจัดตั้ง ‘สถานีถ่ายอารมณ์’ อันเป็นพื้นที่เปิดให้ผู้เข้าชมงานได้เข้ามาอ่านหนังสือซึ่งเป็นสมบัติส่วนตัวของเขา ทั้งยังเปรียบเทียบว่าผลงานทางวรรณกรรมและทางดนตรีที่เขาเป็นผู้สร้าง ไม่ต่างจาก ‘ขี้’ ซึ่งเป็นผลจากข้อมูลข่าวสารหรืองานวรรณกรรมที่เสพเข้าไป ก่อนจะผ่านการกลั่นกรอง และ ‘ขับถ่าย’ ออกมาเป็นผลงานแต่ละชิ้น และพื้นที่จัดแสดงงานของตุลเปิดโอกาสให้ผู้ชมนิทรรศการมีส่วนร่วมด้วยการแลกเปลี่ยนหนังสือ รวมถึงเขียนและอ่านบทกวีร่วมกันแบบสดๆ ด้วย ขณะที่ ‘ธัญสก พันสิทธิวรกุล’ ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ นำเสนอผลงานในหัวข้อ ‘ปี้’ ซึ่งมีทั้งการแสดงภาพถ่ายผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่เป็นผลจากการสั่งสลายการชุมนุมของรัฐบาลในปี 2553 ที่ผ่านมา และวิดีโออินสตอลเลชั่นชื่อว่า ‘จูบอันเป็นนิรันดร์’ ซึ่งเป็นการฉายภาพเคลื่อนไหวของชาย 2 คนจูบกันท่ามกลางทุ่งหญ้า และธัญสกกล่าวว่าได้รับแรงบันดาลใจในการสื่อสารผลงานชิ้นนี้จากอนุสาวรีย์ในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึง ‘ชาวเกย์’ ซึ่งถูกสังหารหมู่ในสมัยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และกองทัพนาซีครองเมือง ด้วยเหตุนี้ การสื่อความหมายถึงการ ‘ปี้’ ในผลงาน ‘จูบอันเป็นนิรันดร์’ ของธัญสกจึงถูกขยายความเพิ่มเติมว่าหมายถึง ‘ความป่นปี้’ ก็ได้เช่นเดียวกัน เพราะการที่ชาวเกย์ในเยอรมนีเมื่อครั้งอดีตตกเป็นเป้าหมายในการเข่นฆ่า แสดงให้เห็นว่ารสนิยมทางเพศหรือสิทธิในการ ‘ปี้’ ของคนกลุ่มหนึ่ง ถูกทำให้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองและกลายเป็นเรื่องต้องห้าม จนนำไปสู่การออกคำสั่งกวาดล้างชาวเกย์ออกไปจากสังคมอย่างเลือดเย็น และธัญสกนำเสนอผลงานนี้ในตรรกะสังสรรค์เพื่อไว้อาลัยต่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเดือน เม.ย.และ พ.ค.ปีที่แล้ว รวมถึงตั้งคำถามว่าขณะที่สังคมเยอรมนีสร้างอนุสาวรีย์เพื่อรำลึกว่าพวกเขาเคยทำอะไรไว้บ้างในอดีต แต่สังคม ‘บ้านเรา’ กลับบอกให้ปรองดองและบอกให้ลืม
ขณะที่หัวข้อสุดท้าย ‘นอน’ เป็นผลงานของ ‘สิงห์ อินทรชูโต’ สถาปนิกเจ้าของตำแหน่ง ผศ.ดร.และหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกแบบเตียง 2 เตียง ทำด้วยวัสดุแตกต่างกัน โดยเตียงแรกทำจากเหล็ก ปูทับด้วยที่นอนนุ่มๆ สีขาวสะอาดตา ขณะที่อีกเตียงทำจากเหล็กหลากสีซึ่งไม่สามารถลงไปนอนได้อย่างสะดวกสบายตามความหมายของเตียงที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ คำบรรยายผลงานของ ผศ.ดร.สิงห์ ซึ่งจัดแสดงพร้อมกับเตียงทั้ง 2 แบบระบุว่าเตียงเป็นสิ่งประดิษซ์ซึ่งไม่ได้มีไว้แค่นอน แต่การสั่นคลอนของเตียงส่งผลต่อการหลับ และส่งผลกระทบถึงการร่วมเรียงเคียงหมอนหรือ ‘ครองเรือน’ อาจถึงขึ้น ‘เตียงหัก’ สะท้อนให้เห็นว่าการนอนและเตียงเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวโยงกับประเด็นทางครอบครัวในสังคมไทย อย่างแนบแน่น และสมาชิกของบางครอบครัวอาจต้องหมั่นสำรวจและซ่อมแซม ‘เตียง’ ให้มีสภาพดีพอที่จะรองรับชีวิตและความสัมพันธ์ รวมถึง ‘กิจการภายใน’ ของแต่ละบ้าน ส่วนบทส่งท้ายของนิทรรศการที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ บทความของ ‘อนรรฆ พิทักษ์ธานิน’ ซึ่งถูกนำมารวบรวมไว้ในสูจิบัตรของงาน เพื่ออธิบายว่า ‘ตรรกะสังสรรค์’ คือ แนวคิด หรือหนทางของความเป็นไปได้ในการนำเอามุมมองทางปรัชญา การเมือง ศาสนา ศิลปะ สังคม เรื่องเพศ ฯลฯ ไปจนถึงการแสดงออกผ่านสื่อกลางต่างๆ มาผสานรวมกันในพื้นที่และเวลาหนึ่งๆ ทว่า ตรรกะสังสรรค์แตกต่างจากกระบวนการคัดสรรนิยม (Eclecticism) ที่หมายถึงแนวความคิดที่นำเอาฐานคติ และทฤษฎีความรู้หลากหลายมาผสมรวมกัน ตรงที่ตรรกะสังสรรค์ให้ความสำคัญกับเสียงสนทนา หรือการโต้ตอบระหว่างกระบวนทัศน์ อุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งใกล้เคียงกับความคิดทฤษฎีเรื่อง Dialogic หรือ Dialogism อันเป็นศัพท์สำคัญที่พัฒนามาจากแนวคิดในเรื่องภาษาและวรรณกรรมของนักปรัชญา-นักวรรณคดีศึกษาชาวรัสเซีย ผู้มีนามว่า ‘มิคาอิล บัคติน’ (Mikhail Bakhtin) หรือคล้ายคลึงกับฐานคิดในเรื่อง ‘พื้นที่สาธารณะ’ ของ ‘ฮันส์ ยือร์เกน ฮาร์แบมัส’ (Hans-Jorgen Habermas) นักปรัชญา-นักสังคมวิทยา ซึ่งเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของวิวัฒนาการทางสังคมและเกี่ยวโยงกับการกำเนิดแนวคิดในเรื่อง ‘ประชาธิปไตย’ ในโลกสมัยใหม่ หมายเหตุ : นิทรรศการ ‘ตรรกะสังสรรค์’ จัดแสดงที่ชั้น 8 ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกปทุมวัน ตั้งแต่ 21 กรกฏาคม - 25 กันยายน 2554 โทรศัพท์ 0-2214 – 6630 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
พม่าให้สิทธิเสรีภาพในการเดินทางให้กับชาวมุสลิมโรฮิงยาแล้ว Posted: 29 Jul 2011 09:52 AM PDT มีรายงานว่าสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของพม่าได้อนุญาตให้ชาวมุสลิมโรฮิงยาใน 5เมืองใหญ่ของรัฐอาระกัน ทางภาคตะวันตกของพม่าสามารถเดินทางออกนอกพื้นที่ได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตจากทางการท้องถิ่นเหมือนเช่นในอดีตแต่ชาวโรฮิงยาจะต้องพกบัตรประชาชนติดตัวไปด้วยทุกครั้งระหว่างที่เดินทางไปในพื้นที่อื่น คำสั่งดังกล่าวมีขึ้นหลังผ่านพ้นการเลือกตั้งไปแล้ว 9เดือน โดยคำสั่งนี้เป็นผลมาจากนโยบายที่พรรคสหภาพเพื่อเอกภาพและการพัฒนา(UnionSolidarity and Development Party) ของรัฐบาลเคยใช้รณรงค์หาเสียงว่าจะผ่อนปรนกฏหมายที่จำกัดและกดขี่ต่อชาวโรฮิงยามาเป็นระยะเวลานาน ด้านชายคนหนึ่งกล่าวว่า “เรารู้สึกดีใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เราต้องดิ้นรนเพื่อให้เข้าถึงการรักษาพยาบาล การหาเงินเลี้ยงชีพ ด้านสังคมและเพื่อให้เข้าถึงการศึกษามาเป็นเวลาประมาณ20 ปี เรารู้สึกดีใจที่รัฐบาลเห็นอกเห็นใจต่อความทุกข์ยากของเรายอมรับเราในฐานะพลเมืองของประเทศพม่าและปกป้องสิทธิของเรา นี่เป็นสิ่งสำคัญ และเราต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีเราจะไม่ยอมสูญเสียสิทธินี้อีกครั้ง” เขากล่าว ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ชาวมุสลิมโรฮิงยาถูกกดขี่ข่มเหงจากรัฐบาลพม่ามาเป็นระยะเวลานานโดยเฉพาะการไม่ได้รับสถานะทางกฏหมายใดๆจากรัฐบาล ทำให้ชาวโรฮิงยายังคงเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ชาวโรฮิงยาเป็นจำนวนมากตัดสินใจอพยพไปอยู่บังกลาเทศและประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ขณะที่รัฐบาลพม่าอ้างว่ามีประชากรที่เป็นชาวมุสลิมโรฮิงยาอยู่ในประเทศอยู่ราวแค่คิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นอย่างไรก็ตามกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐชี้ว่า ตัวเลขน่าจะสูงกว่านั้น ด้านกลุ่มเพื่อสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มได้ออกมาเตือนว่ารัฐบาลพม่าพยายามกำจัดชาวโรฮิงยาให้ออกไปจากประเทศโดยการทำให้ชาวมุสลิมโรฮิงยาได้รับความลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวันเช่นห้ามหนุ่มสาวแต่งงานก่อนได้รับอนุญาตห้ามซ่อมแซมหรือสร้างสุเหร่าหากไม่ได้รับอนุญาตจากทางการเป็นต้น จึงทำให้ขณะนี้ชาวโรฮิงยาจำนวน 4แสนคนต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ ซึ่งสถานการณ์ความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาเหล่านี้ก็ไม่แตกต่างจากที่เป็นอยู่ในพม่าเนื่องจากผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีสถานะทางกฏหมายเช่นกันเช่นเดียวกับที่ความเป็นอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยมีสภาพเลวร้ายนอกจากนี้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยายังมักถูกชาวบ้านท้องถิ่นในบังกลาเทศโจมตีอยู่บ่อยครั้ง DVB/สาละวินโพสต์ 29 ก.ค.2554 แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.orgเฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpostทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กวีซีไรต์ไม่เขียนมลายู คนชายแดนใต้ไม่อ่าน Posted: 29 Jul 2011 09:49 AM PDT ซะการีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์ปี 2553 พูดเรื่องวรรณกรรมในงานเรื่อง “วรรณกรรมใต้-มลายู-ไทย : สถานะและบทบาทนักเขียนท้องถิ่นภาคใต้บนเส้นทางพัฒนาการของวรรณกรรมหลัง 14 ตุลาคม 2516” ซะการีย์ยา อมตยา เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2554 ที่ห้องประชุมวิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี กองทุนวรรณกรรมไทย-มลายู- โครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, ภาควิชาภาษาไทย ม.อ.ปัตตานี, วารสารรูสสะมีแล, ซีพีออลล์, และไทยแอร์ เอเชียจัดสัมมนาระดับชาติ เรื่อง “วรรณกรรมใต้-มลายู-ไทย : สถานะและบทบาทนักเขียนท้องถิ่นภาคใต้บนเส้นทางพัฒนาการของวรรณกรรมหลัง 14 ตุลาคม 2516” นายซะการีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์ปี 2553 กล่าวในการสัมมนาว่า เป็นไปได้ยากมาที่จะให้คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เขียนกวีเป็นภาษามลายู เพราะคนในพื้นที่อ่านหนังสือน้อย ยิ่งเป็นบทกวีก็ยังอ่านขึ้นลงไปอีก เพราะภาษากวีเป็นภาษาที่เข้าใจยาก แม้แต่ในระดับชาติคนก็ยังอ่านบทกวีน้อยด้วย นายซะการีย์ยา กล่าวต่อไปว่า จึงเป็นเรื่องยากที่ตนจะเขียนบทกวีหรืองานวรรณกรรมด้วยภาษามลายูออกมา เพราะเขียนแล้วก็ไม่มีคนอ่าน จึงไม่รู้จะเขียนไปทำอะไร เขียนไปก็เปล่าประโยชน์ นายซะการีย์ยา กล่าวอีกว่า โดยปกติคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ค่อยอ่านหนังสืออยู่แล้ว ยิ่งเป็นวรรณกรรมภาษามลายูก็ยิ่งไม่อ่าน เพราะการเขียนวรรณกรรมเป็นการใช้ภาษาที่ยากกว่าภาษาโดยทั่วไป นายซะการีย์ยา กล่าวต่อไปว่า นอกจากนั้น ปัจจุบันนี้ คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้ภาษาภาษามลายูผสมกับภาษาอื่นๆ จึงทำให้การใช้ภาษามลายูเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แม้เยาวชนรุนใหม่จะพูดภาษามลายูได้ แต่อ่านและเขียนไม่ได้แล้ว นายซะการีย์ยา กล่าวว่า ดังนั้น จึงควรวางรากฐานการศึกษาภาษามลายูและคำภีร์อัลกุรอ่าน ของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เน้นการเรียนคัมภีร์อัลกุรอ่าน ตั้งแต่ระดับโรงเรียนตาดีกา(โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามระดับพื้นฐาน) ให้เข้าใจคัมภีร์อัลกุรอ่านและภาษามลายูอย่างลึกซึ้ง เพื่อปูทางสำหรับการเป็นนักกวีภาษามลายูในอนาคต นายมนตรี ศรียงค์ กวีซีไรต์ปี 2550 กล่าวว่า ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีนักเขียนวรรณกรรมอยู่น้อยมาก จึงไม่ค่อยมีวรรณกรรมหรือบทกวีที่สะท้อนปัญหาต่างๆของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นำเสนอออกมาต่อสาธารณชน ทำให้คนนอกพื้นที่ไม่รู้ปัญหาที่แท้จริงของคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านบทกวีหรืองานวรรณกรรม ทั้งที่คนในพื้นที่สามารถสะท้อนปัญหาออกมาได้ดีกว่านักเขียนวรรณกรรมจากนอกพื้นที่ เพราะคนในพื้นที่จะรู้บริบทหรือวัฒนธรรมในพื้นที่ได้กว่านอกพื้นที่ “ในการประกวดรางวัลพานแว่นฟ้า ซึ่งเป็นการประกวดงานวรรณกรรมเกี่ยวกับการเมือง นักเขียนที่ส่งผลงานเข้าประกวดส่วนใหญ่ มักจะเขียนงานที่เกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งเรื่องสั้น บทกวีและนวนิยาย แต่นักเขียนเหล่านั้นไม่รู้ปัญหาชายแดนใต้อย่างลึกซึ้ง เพียงแต่นำข้อมูลจากข่าวมาเป็นฐานในการเขียนงาน ทำให้งานเขียนที่ออกมาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร แทนที่ผลงานที่ออกมาจะช่วยสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ที่ดีต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับกลายเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้มากขึ้น นายมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีนักเขียนวรรณกรรมเพียง 5 คน เช่น นันท์ บางนรา นายซะการีย์ยา อมตยา เป็นต้น ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ มีนักเขียนวรรณกรรมเข้าร่วมหลายคน เช่น นายเจน สงสมพันธ์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย นายหะมินิง สานอ นายซะการีย์ยา อมตยา นายอับดุลรอยะ ปาแนมานา นายพิเชฐ แสงทอง นายจรูญ หยูทอง นายสถาพร ศรีสัจจัง นายมนตรี ศรียงค์ ผศ.ธัญญา สังขพันธานนท์ ฯลฯ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
‘สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านฯ’หวั่น โรงเหล็กต้นน้ำทำอ่าวปัตตานีพัง Posted: 29 Jul 2011 09:33 AM PDT เลขาธิการสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ หวั่นอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ลงพื้นที่ หวั่นผุดโรงเหล็กต้นน้ำ ทำลายสิ่งแวดล้อมอ่าวปัตตานี ส่งผลกระทบชาวประมงพื้นบ้าน ดักคออุตสาหกรรมฮาลาล เป็นใบเบิกทางนำอุตสาหกรรมหนักลงปะนาเระ เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 28 กรกฎาคม 2554 ที่อิบนู คอนดูน วิทยาลัยอิสลามศึกษา (ตึกเก่า) คณะกรรมการการเมืองภาคพลเมืองภาคใต้จังหวัดปัตตานี สถาบันพัฒนาการเมือง ได้จัดเวทีระดมความเห็นจากประชาชนจังหวัดปัตตานี จัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดปัตตานี เสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ ในเดือนตุลาคม 2554 นายสะมะแอ เจะมูดอ เลขาธิการสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ กล่าวต่อที่ประชุมว่า ตนไม่ต้องการให้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหรรมอาหารฮาลาลมากจนเกินไป เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โดยเฉพาะผลกระทบกับชายฝั่งทะเล ประเด็นที่ตนเป็นห่วงคือ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จะเป็นโครงการปะหน้า หลังจากนั้นจะมีโครงการขนาดใหญ่อีกหลายโครงการตามมา โดยเฉพาะโรงเหล็กต้นน้ำที่มีแผนจะมาสร้างโรงงานที่ชายฝั่งทะเลอำเภอปะนาเราะ จังหวัดปัตตานี ถ้าหากเกิดโรงเหล็กขึ้นมาจริงๆ จะสร้างความเสียหายอย่างหนักกับชาวประมงพื้นบ้านทุกฝ่ายควรสนับสนุนเฉพาะโครงการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น นางย๊ะ อาลี ประธานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี กล่าวต่อที่ประชุมว่า ต้องการให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีศูนย์สื่อมวลชนที่ในพื้นที่ เพื่อนำเสนอข่าวที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภายใต้ ให้คนภายนอกได้รับรู้ข่าวสารในพื้นที่อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นตนยังต้องการให้รัฐบาล จัดอบรมนักจัดรายการวิทยุชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ความสำคัญกับภาษามลายูกลางและภาษาไทย นายอิสมาอีล เบญจสมิทธิ์ ประธานศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม กล่าวต่อประชุมว่า ตนต้องการให้มีศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นสถาบันการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสถานที่หลายแห่งที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ผมอยากให้รัฐบาลสนับสนุนอาคาร สถานที่ และสาธารณูปโภคต่างๆ แก่สถาบันปอเนาะ ส่วนเงินเดือนของครูผู้สอนยังไม่มีความจำเป็น เพราะครูสอนศาสนาไม่ได้สอนเพราะต้องการเงินเดือน นอกจากนี้ ผมยังต้องการให้สื่อทุกประเภท ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ ใช้ภาษามลายูกลางในการสื่อสาร เพราะภาษามลายูกลางเป็นภาษามาตรฐานของโลกมลายู และยังต้องการให้มีหนังสือพิมพ์ฉบับภาษามลายู เขียนด้วยอักษรยาวี เพื่อรองรับบัณฑิตที่จบด้านภาษามลายูได้มีงานทำ” นายอิสมาอีล กล่าว นายแวอูมา แวดอเลาะ กำนันตำบลตันหยงลูโละ กล่าวต่อที่ประชุมว่า ต้องการให้สนับสนุนการเลี้ยงหอยแครงในอ่าวปัตตานี เพราะหอยแครงปัตตานีมีชื่อเสียง สำหรับการจัดสรรพื้นที่เลี้ยงหอยแครง ให้ชุมชนเป็นผู้จัดการให้เกิดความยุติธรรม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
3 พันพยาบาลชายแดนใต้ กับหลากหลายปัญหาที่ต้องเผชิญ Posted: 29 Jul 2011 09:24 AM PDT ท่ามกลางควันไฟ เสียงปืน สะเก็ดระเบิด เสียงร้องครวญครางของผู้บาดเจ็บที่ยังมีลมหายใจ และเศษซากอวัยวะที่กระจายเกลื่อนกล่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นหมอ หรือพยาบาล ที่มีปริมาณไม่เพียงพอรับมือผู้บาดเจ็บเบื้องต้น จากสถานการณ์ร้ายก็ตามมา หนึ่ง ปริมาณหมอและพยาบาล ซึ่งปกติก็ขาดแคลนอยู่แล้ว ต้องรับมือกับผู้บาดเจ็บล้มตายที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น สอง ในท่ามกลางความรุนแรง หมอและพยาบาลเริ่มทยอยขอย้ายออกจากพื้นที่ สาม ขณะที่หมอและพยาบาลจากพื้นที่อื่นๆ ก็ไม่พร้อมที่ย้ายเข้ามาทำงานในพื้นที่แห่งความรุนแรงนี้ นั่นคือ สาเหตุหลักๆ ของปัญหาขาดแคลนหมอและพยาบาล ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในห้วงที่สถานการณ์ความรุนแรงโหมกระหน่ำ ทั้งหมด เป็นถ้อยอธิบายสั้นๆ จาก “นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ” รองประธานชมรมแพทย์ชนบท ซึ่งมีอีกฐานะเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา โรงพยาบาลที่ถูกจัดให้อยู่ในพื้นที่เคลื่อนไหวของขบวนการก่อความรุนแรง นี่คือ ที่มาของโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน ป้อนให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น 3 พันพยาบาล ที่รับมาจากคนในพื้นที่ ด้วยหมายว่าคนเหล่านี้จะไม่ดิ้นรนขอย้ายออกจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปอยู่ที่อื่น เป็นโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน ที่ถูกผลักดันมาจากกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2550 ในสมัย “นายแพทย์มงคล ณ สงขลา” นั่งแป้นเป็นรัฐมนตรีว่าการ ในยุคที่ “พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์” เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน ด้วยการรับเด็กจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปฝากเรียนยังสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่เปิดคณะพยาบาลศาสตร์ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ในที่สุด พยาบาลภายใต้โครงการนี้ก็จบออกมาปฏิบัติงานในพื้นที่แห่งความรุนแรง ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อต้นปี 2554 ท่ามกลางสารพัดปัญหาที่ยืนรอรับนักศึกษาพยาบาลจบใหม่กลุ่มนี้ นางสาวมัสยา เด็ง เป็นหนึ่งในพยาบาลจากโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน ที่จบการศึกษามาจากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า ซึ่งบัดนี้กลับมาเป็นพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล (รพ.สต.) เธอทราบข่าวการรับสมัครเรียนพยาบาล 3 พันตำแหน่ง ในปีการศึกษา 2550 จากสื่อโทรทัศน์ เป็นข่าวที่ได้รับขณะที่เธอเรียนอยู่ชั้นปี 3 สาขานวัตกรรมการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เธอตัดสินใจลองสมัครเรียนพยาบาลในโครงการนี้เล่นๆ ถึงสอบติดก็ไม่คิดไม่เรียน ทว่า เมื่อสอบได้เธอกลับเปลี่ยนความคิด ตั้งใจจะพักการเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ลองไปเรียนพยาบาลดูก่อน จากนั้นเธอก็ไปรายงานตัวเป็นนักศึกษาพยาบาล โดยเลือกลงทะเบียนเรียนที่วิทยาลัยพยาบาลจังหวัดยะลา แต่จำนวนนักศึกษาที่รับจากโครงการนี้เต็ม จึงเลือกไปเรียนที่วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรีแทน ทำไม เธอถึงตัดสินใจทิ้งการเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งที่ใกล้จะจบเต็มที ด้วยเพราะเรียนมาถึงชั้นปีที่ 3 แล้ว หนึ่งในแรงจูงใจที่นำมาสู่การตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตนักศึกษารอบใหม่ก็คือ สิทธิพิเศษที่นักศึกษาจากโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน จะได้รับ นั่นคือ ทุนการศึกษา 30,000 บาทต่อปีการศึกษา หรือเทอมละกว่า 5,000 บาท พร้อมชุดนักศึกษา, ค่าอาหาร 1,800 บาทต่อคนต่อเดือน รวมไปถึงค่าหอ ค่าซักผ้า และชุดสูทพยาบาลฟรี จะมีที่ต้องจ่ายเองก็เฉพาะค่าใช้จ่ายส่วนตัวเท่านั้น ที่สำคัญก็คือ เรียนจบแล้วมีงานพยาบาลวิชาชีพ รออยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา นั่นหมายถึงเธอมีงานทำแน่นอน เมื่อประกอบกับเธอเป็นความหวังของทางบ้าน ที่ต้องการความมั่นคงจากการเป็นพยาบาลของเธอ อันเนื่องจากเธอจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในอีกไม่นานวันข้างหน้า จึงไม่ยากสำหรับเธอ ในการตัดสินใจทิ้งการเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อ 4 ปีก่อนหน้านี้ เธอบอกว่า การบริหารหรือการจัดการงบประมาณที่ต้องเอามาดูแลนักศึกษาในโครงการนั้น แต่ละวิทยาลัยมีวิธีการจัดการไม่เหมือนกัน บางวิทยาลัยจะหักค่าอาหารจากงบประมาณที่ได้มา ขณะที่บางแห่งจ่ายให้นักศึกษาโดยตรง แล้วให้นักศึกษาบริหารจัดการเงินด้วยตัวเอง นักศึกษาที่จบมาทั้งหมด จะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งมีวิชาที่ต้องสอบ 8 วิชา เปิดสอบปีละ 3 ครั้ง ต้องสอบให้ผ่านภายใน 3 ปี หากเกิน 3 ปี ก็จะหมดสิทธิ์สอบใบประกาศนียบัตรวิชาชีพทันที ถ้าสอบผ่านจะได้ตำแหน่ง “พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ” ถ้าหากสอบไม่ผ่านก็จะได้ตำแหน่ง “พยาบาลเทคนิค” “มาตรฐานพยาบาลวัดกันที่ใบประกอบวิชาชีพ” เป็นถ้อยคำที่หล่นออกจากเรียวปากของ “นางสาวมัสยา เด็ง” จุดเด่นอีกอย่างของโครงการนี้คือ เมื่อเรียนจบมาแล้วก็แล้ว ผู้เรียนจะเลือกลงตำแหน่งที่ไหนก็ได้ โดยทางสำนักงานสาธารณสุขแต่ละจังหวัด จะประกาศตำแหน่งว่างของพยาบาลในแต่ละอำเภอ ถ้าจำนวนผู้เลือกมีมากกว่าอัตราตำแหน่งว่าง จะใช้วิธีหยิบฉลากว่า ใครจะได้ลงในพื้นที่ที่เลือกไว้ ถ้าหยิบฉลากพลาด ก็ต้องเลือกอำเภออื่นๆ ต่อไป เพื่อนร่วมรุ่นของ “นางสาวมัสยา เด็ง” ที่ยังเรียนไม่จบก็มี ในจำนวนนี้มีทั้งลาคลอด ซึ่งวิทยาลัยที่เธอเรียนอนุญาตให้ลาคลอดได้ 1 ปี บางคนต้องเรียนซ้ำชั้นปี 1 เพราะเกรดไม่ถึง ส่วนกรณีเกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.00 จะไม่มีการรีไทร์ แต่จะส่งไปเรียนสาธารณสุข 2 ปี กลุ่มนี้จบมาแล้ว ต้องทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ 4 ปี ถึงจะย้ายออกนอกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ “นางสาวมัสยา เด็ง” เล่าถึงลักษณะงานที่ได้รับมอบหมายจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแลว่า มีแผนลงชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง หมุนเวียนกันไปในแต่ละหมู่บ้าน โดยจะให้บริการตรวจโรค รักษาโรคทั่วไป ฉีดวัคซีน วัดความดัน และเจาะคัดกรองเบาหวาน ล่าสุดเจ้าหน้าที่และพยาบาลจากหน่วยงานของ “นางสาวมัสยส เด็ง” ประกอบด้วย พยาบาล 2 คน จากโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 1 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน, บัณฑิตอาสา 1 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อีก 3–4 คน ได้ออกพื้นที่ให้บริการชาวบ้านหมู่ที่ 6 ตำบลรูสะมิแล การลงชุมชนครั้งนี้ ได้ฉีดวัคซีนให้กับเด็ก 9 คน โดยมีผู้มารับการตรวจโรค รักษาโรคทั่วไป วัดความดัน เจาะคัดกรองเบาหวาน 37 คน “ตั้งแต่ลงชุมชนมากว่า 5 ครั้ง ชาวบ้านให้การต้อนรับดี โดยมีอสม.เป็นผู้ประสานงานระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชน การลงไปให้บริการในชุมชน จะมีผู้มารับบริการมากกว่าให้บริการที่โรงพยาบาล สาเหตุอาจจะเป็นเพราะตำบลรูสะมิแล อยู่ใกล้โรงพยาบาลปัตตานีมากกว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล” เป็นความเห็นของพยาบาลวิชาชีพใหม่หมาดนาม “นางสาวมัสยา เด็ง” ถึงแม้ภาพที่ออกมา เยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ แถมยังแก้ปัญหาขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์ได้ในระดับหนึ่ง ทว่า ปัญหาที่เกิดจากโครงการนี้ก็มีอยู่ไม่น้อย “นางสาวนัสรีซา มามะ” พยาบาลเทคนิค โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต คือหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน เนื่องเพราะพลันที่โครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน เกิดขึ้นมาก็ไม่มีตำแหน่งงานพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เหลือให้เธอได้มีโอกาสทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ เนื่องจากทุกตำแหน่งที่ว่างจะตกเป็นของพยาบาลในโครงการผลิตพยาบาล 3 ทั้งสิ้น ส่งผลให้ผู้ที่เรียนจบพยาบาลนอกโครงการนี้ ต้องไปเป็นพยาบาลนอกพื้นที่ “นางสาวนัสรีซา มามะ” เพิ่งเรียนจบจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ทางบ้านต้องการให้บรรจุเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ แต่ไม่มีตำแหน่งว่างเหลือให้เธอ เพราะทางโรงพยาบาลฯ เพิ่งบรรจุพยาบาลจากโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน แทนอัตราที่ว่าง เพื่อนร่วมรุ่นของ “นางสาวนัสรีซา มามะ” ที่จบพร้อมกัน 106 คน ต่างกระจัดกระจายออกไปทำงานพยาบาลในโรงพยาบาลนอกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปจนถึงอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นี่คือที่มาของความรู้สึกจากพยาบาลนอกโครงว่า “ไม่ได้รับความไม่เป็นธรรม” จากการที่รัฐให้สิทธิกับพยาบาลจากโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน ให้ได้รับการบรรจุก่อน “นางสาวนัสรีซา มามะ” ยังหวังว่า ในอนาคตจะมีการเพิ่มอัตราตำแหน่งพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าอัตราที่เพิ่มมีจำนวนมากพอที่จะรับพยาบาลจากนอกโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคนได้ เธอจะกลับไปเป็นพยาบาลที่บ้านเกิด ก่อนหน้านี้ เธอเคยไปสมัครเป็นพยาบาล ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่ที่นั่นห้ามพยาบาลมุสลิมสวมฮิญาบตามหลักศาสนาอิสลาม เธอจึงต้องเดินทางไปสมัครเป็นพยาบาล ในโรงพยาบาลที่ไม่ได้ห้ามสวมฮิญาบไกลถึงจังหวัดภูเก็ต สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล อันเป็นโรงพยาบาลที่ “นางสาวมัสยา เด็ง” เริ่มต้นชีวิตการทำงาน มีพยาบาลจากโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน ถูกส่งมาทำงานที่นี่ 3 คน “นางแวคอตีเยาะ เปามะ” รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล บอกว่า ทั้ง 3 คน อยู่ในช่วงทดลองงาน 6 เดือน ยังไม่สามารถประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลจากโครงการนี้ได้ ก่อนหน้านี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล มีเจ้าหน้าที่ให้บริการประมาณ 10 คน แยกเป็น ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ 1 คน พยาบาล 4 คน นักวิชาการ 1 คน เจ้าพนักงานสาธารณสุข 3 คน และอื่นๆ อีก 2 คน ซึ่งไม่พอต่อการให้บริการประชาชนในตำบลรูสะมิแล ที่มีประมาณ 17,000 คน ทำให้บริการประชนได้ไม่เต็มที่ เมื่อได้พยาบาลวิชาชีพจากโครงการดังกล่าวมาเพิ่ม ก็สามารถแบ่งเบาภาระต่างๆ ในโรงพยาบาลได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานธุรการหรืองานบริการ ทั้งหมดเป็นข้อมูลจาก “นางแวคอตีเยาะ เปามะ” ที่มองว่า โครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน เป็นโครงการที่ดี เพียงแต่รัฐให้สิทธิได้รับการบรรจุก่อนพยาบาลส่วนอื่นมากเกินไป “น่าจะค่อยๆ บรรจุปีละ 100–200 คน เพราะการให้สิทธิได้รับการบรรจุก่อน ทำให้วิชาชีพสุขภาพอื่นๆ ได้รับผลกระทบไปด้วย ดิฉันเห็นใจพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในโรงพยาบาลอยู่ก่อนแล้ว บางคนทำงานรอบรรจุอยู่ 2–3 ปี บางคนทำงานนานถึง 10 ปี ก็ยังไม่ได้บรรจุ แต่พยาบาลในโครงการนี้ได้รับการบรรจุเลย น่าจะให้สิทธิพยาบาลที่ทำงานอยู่แล้วได้บรรจุก่อน” นี่คือ ความเห็นของ “นางแวคอตีเยาะ เปามะ” พยาบาลผู้มาก่อน นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
“นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ” บอกกับ “โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้” ว่า ถึงวันนี้พยาบาลที่จบมาทั้งหมด ยังไม่ได้รับการบรรจุ เนื่องจากอัตราตำแหน่งว่างยังไม่ครบ 3,000 ตำแหน่ง ต้องเอาตำแหน่งจากทั่วประเทศมาให้ เพื่อจะได้บรรจุพร้อมกันทั้งหมด เพราะหากไม่บรรจุพร้อมกัน อาจเกิดความไม่เป็นธรรมจากการบรรจุ “นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ” ยังบอกอีกว่า อันที่จริงชาวบ้านต้องการให้หมอเข้าไปอยู่ในสถานีอนามัย ที่ปัจจุบันยกระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่หมอมีไม่มากพอ ประกอบกับในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การเอาหมอไปอยู่ในตำบลไม่คุ้ม เพราะการผลิตหมอใช้งบประมาณสูงมาก ถึงกระนั้น ในความเห็นของ “นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ” การเอาพยาบาลไปอยู่ที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพก็ถือได้ว่า เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การสาธารณสุขของประเทศนี้ ที่ลงลึกถึงระดับตำบล “ความเชื่อที่ว่าไม่สมควรเอาพยาบาล ไปประจำอยู่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากวิชาชีพพยาบาลเรียนมาหลากหลายทาง ทำได้หลายอย่าง หากพยาบาลทำคลอดไม่เป็น หรือเย็บแผลไม่เก่ง ถือว่าให้อภัยได้ เพราะอยู่ที่ประสบการณ์ในการปฏิบัติและการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การเติมพยาบาลลงไปที่อนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเยอะๆ นอกจากช่วยให้คนไข้พึ่งพาโรงพยาบาลหลักน้อยลงแล้ว ยังทำให้การดูแลสุขภาพของคนในชุมชนดีขึ้น” เป็นความเห็นของรองประธานชมรมแพทย์ชนบทนาม “นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ” เป็นความเห็นที่ตามมาด้วยตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจน เช่น คนไข้เป็นหวัด โรคเบาหวาน โรคความดัน ต้องมาต่อแถวยาวเพื่อรอรับยาที่โรงพยาบาลในอำเภอหรือจังหวัด ถ้าหากกระจายการให้บริการไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ก็จะทำให้คนไข้ได้รับความสะดวกมากขึ้น เพราะที่นั่นพยาบาลมีสิทธิสั่งจ่ายยา แต่ต้องมีกระบวนการให้ความรู้ หรือวางระบบให้มีมาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาลหลัก อีกข้อมูลจาก “นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ” ที่น่าสนใจก็คือ หากไม่นับรวมกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแล้ว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่เดียวในประเทศไทย ที่มีพยาบาลเต็มทุกอนามัย ที่ปัจจุบันเรียกว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และถ้าหากการบรรจุพยาบาลทั้ง 3,000 อัตรา ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพ รัฐบาลอาจจะแก้ปัญหาด้วยการขยายอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยใช้งบประมาณแผ่นดินส่วนอื่นมาจัดจ้าง “ทุกจังหวัดของประเทศไทยควรเป็นเหมือน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นถ้อยเน้นย้ำจาก “นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ” ถึงกระนั้น “นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ” ยังคงมองว่า คุณภาพในการให้บริการของบุคลากร ก็เป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดการทำงานของพยาบาลจากโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคน “ก็มีพี่ๆ พยาบาลบางคนดูถูกพยาบาลจากโครงการผลิตพยาบาล 3 พันคนว่า ไม่ได้คุณภาพ ขณะเดียวกันก็ได้ยินพี่พยาบาลภาคปกติบ่นว่า ทำงานมา 2–3 ปี แล้ว ยังไม่ทันได้รับการบรรจุ ก็มีพยาบาลจากโครงการนี้ มาแย่งอัตราตำแหน่งที่ว่างไปเสียอีก” เป็นอีกหนึ่งคำบอกเล่าของ “นางสาวมัสยา เด็ง” พยาบาลสาวป้ายแดงจากโครงการผลิตพยาบาล 3 คน อันเป็นคำบอกเล่า ที่ทุกฝ่ายนอกจากไม่ควรมองข้ามแล้ว ยังต้องช่วยกันเร่งแก้ไขให้ปัญหาเหล่านี้คลี่คลายโดยเร็ว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ประชาไทบันเทิง ทงบังชิงกิ เดอะซีรีส์5: แล้วศิลปินไอดอลอันดับหนึ่งของเอเชียก็ได้แก่ วงทงบังชิงกิ Posted: 29 Jul 2011 08:40 AM PDT และแล้ว ศิลปินไอดอลอันดับหนึ่งของเอเชียก็ได้แก่ วงทงบังชิงกิ ในที่สุด พวกเขาก็ได้เข้าไปเล่นคอนเสิร์ตที่บุโดกัน สถานที่จัดคอนเสิร์ตที่มีมนต์ขลังที่สุดของญี่ปุ่น ในวงการเพลงญี่ปุ่น พวกเขาถึือว่า การได้เล่นที่บุโดกันนั้น เป็นความสุดยอดของชีวิต แสดงถึงว่า ได้รับการยอมรับที่นี่ที่ญี่ปุ่นแล้ว อัลบั้มที่สองของทงบังชิงกิ หรือโทโฮชิงกิ ได้เล่นที่นี่ กับคอนเสิร์ตที่ชื่อว่า “Five in the Black” ถ้าใครได้เห็นตอนเปิดคอนเสิร์ต Five in the Black จะหลงรักอย่างที่หลิ่มหลีหลงรัก เพราะเขาจินตนาการว่า เขาอยู่ในบาร์หรือผับ โอ้ย หลิ่มหลีดูคอนเสิร์ตนี้มากกว่า สิบรอบแล้วค่ะ ชอบมากๆ ท่าเต้นแต่ละท่าก็ทำให้กรี๊ด แล้ววันสุดท้ายของคอนเสิร์ตที่บุโดกัน พวกเขาได้ประกาศว่า เพลงLoving You ได้ไต่ชาร์ตเพลงฮิตที่ดูจากยอดขาย Oricon chart ได้มาอยู่ในอันดับสองของสัปดาห์ ซึ่งเป็นครั้งแรกของพวกเขาที่ได้ไต่มาถึงระดับนี้ได้ แล้วยิ่งมาได้เห็นน้องๆเหล่าเทพของเรา เขาเหน็ดเหนื่อย แล้วได้ร้องเพลง Proud of You แล้วมิกกี้ ยูชอน ร้องไห้ออกมา ตามด้วย จุนซู หลิ่มหลีถึงกับน้ำตาไหลพรากๆ ไม่ยอมหยุดเลยค่ะ ซึ้ง อิน ไม่ต้องไปทำอะไรเลย ถ้าเปิดคอนเสิร์ตนี้มาดู ข้าวปลาไม่ต้องกิน น้ำท่าไม่ต้องอาบเลย และคอนเสิร์ตนี้แหละ ที่ทำให้หลิ่มหลีมีความมุ่งมั่นที่จะไปดูคอนเสิร์ตของพวกเขาที่ญี่ปุ่น ทำไมต้องที่ญี่ปุ่น ??? ก็เพราะว่า ในตอนนั้น คอนเสิร์ตที่เล่นที่เกาหลีใต้นั้น มันจะเป็น Asia Tour Concert ค่ะ ซึ่งเรารอพวกเขามาเล่นให้เราดูได้ที่เมืองไทยด้วยProductionตามแบบแผนของเกาหลีเลย แต่..คอนญี่ปุ่น เพลงญี่ปุ่น พวกเขาไม่มาเล่นด้วย Production จากญี่ปุ่นเลย ทำให้เราไม่มีโอกาสได้ดูแน่นอนน่ะค่ะ แย่เนอะ หลังจากนั้นอีกไม่นาน เพลงPurple Line ของโทโอชิงกิภาคญี่ปุ่นก็ได้ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาร์ตเพลงของญี่ปุ่นที่นักร้องต่างประเทศได้เข้าถึงอันดับหนึ่งของชาร์ตเพลงญี่ปุ่น ไม่ใช่ง่ายนะคะ อาจจะไม่ใช่คนแรกแต่หลังจากนั้น เพลงต่างๆมากมายของเหล่าเทพก็ทำสถิติทะลุชาร์ตจนนับไม่ทันเลยทีเดียว แล้วก็ตามมาด้วยอัลบั้มที่สามของญี่ปุ่น ที่ชื่อ T ในอัลบั้มนี้มีเพลงเพราะๆเยอะมาก ที่หลิ่มหลีชอบก็ Together, Song for You, Loving You, Darkness Eye แล้วก็ตามมาด้วยข่าวการทัวร์คอนเสริท์ของพวกเขารอบประเทศญี่ปุ่น กว่า สิบเก้ารอบ อ่ะน่ามันต้องมีสักรอบที่ให้หลิ่มหลีได้ไปดูหน่อยสิ ยากมากค่ะ การจะซื้อบัตรคอนเสิร์ตในประเทศญี่ปุ่น คุณต้องเป็น Resident ของญี่ปุ่น เพราะบัตรจะส่งให้ภายในประเทศเท่านั้น เท่ากับว่า คุณจะต้องมีเพื่อนอยู่ในญี่ปุ่น อีกอย่างคือ มีการเปิดขายบัตรให้แฟนคลับ Big East ก่อนด้วย ซึ่งการเป็นสมาชิ Big East ก็ต้องเป็น Resident อีก หมดไปอีกทาง ในเกาหลี แฟนคลับของทงบังชิงกิ ชื่อ แคสสิโอเปีย ที่หลิ่มหลีเคยเล่าให้ฟังไงคะ ส่วนแฟนคลับของเหล่าเทพในญี่ปุ่น จะเรียกตัวเองว่า Big East ค่ะ สัญลักษณ์สีแดงเหมือนกันทั้งหมดนะคะ ส่วนแฟนคลับชาวไทยจะตามเกาหลีมากกว่าค่ะ จะเรียกตัวเองว่า แคสสิโอเปียไทยแลนด์ค่ะ แล้วเราจะทำยังไงให้ได้ตั๋ว ใช่ค่ะ เราต้องให้คนที่ญี่ปุ่นซื้อให้ ถ้าเขาหาได้นี่ก็ไม่ยากเลย ซื้อตาม 7-11หรือ Lawson อะไรพวกนี้ได้ ส่วนบัตร จะเป็นบัตรนั่งหมด ไม่ว่าจะอยู่ภาคพื้นอารีน่า หรืออยู่บนสแตนท์ ก็ราคาจะเท่ากันหมด แล้วใช้วิธีแรนดอมเอา ซื้อได้ทีละหนึ่งใบหรือสองใบค่ะ แรนดอมเป็นคู่ๆ ใครซื้อเดี่ยวก็ได้เดี่ยวไปค่ะ อีกทางที่หลิ่มหลีจะหาได้ก็คือ ทาง Auction ใน Yahoo Japanค่ะ ซึ่งก็ต้องมีเพื่อนอยู่ในญี่ปุ่น ยุ่งยากมากค่ะ หลิ่มหลีได้บัตรยังไงหรอคะ พอดีคนที่เขาซื้อไว้เป็นคนไทยที่มีน้องอยู่ญี่ปุ่นคะ เขาซื้อบัตรมาแล้ว แรนดอมมา ได้ที่นั่งไม่ดีเท่าไร เขาไปซื้ออีกครั้งเพื่อให้ได้ที่ที่ดีกว่าค่ะ แล้วเอาอันเก่ามาขาย หลิ่มหลีก็เลยซื้อต่อจากเขา ไม่แพงเท่าไร บัตรราคา 7000 เยน เขาขายต่อที่ 4000 บาทไทย หลิ่มหลีก็ดีใจค่ะ ราคาบัตรไม่ได้แพงอะไรมาก แถมคนขายก็กลายมาเป็นเพื่อนกันไปซะอีก ได้ไปดูคอนด้วยกัน ไปเจอกันที่โน่น ที่ญี่ปุ่น เมืองอะไรหรอคะ เมืองที่หลิ่มหลีไปดูคอนเสิร์ต T คือเมือง Sendai ค่ะ เป็นเมืองใหญ่ที่เพิ่งเกิดสึนามิไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมานะค่ะ คอนเสิร์ตครั้งที่หลิ่มหลีไปดู คือ ทัวร์คอนครั้งที่สามของเขาค่ะ ณ จุดๆนี้คอนเสิร์ตฮอลล์ทั้งหลายที่เคยๆเล่นมานั้นเล็กเกิดไปเสียแล้ว คอนเสิร์ตครั้งนี้จะจัดในสถานที่ระดับArenaล้วนๆ จึงเรียกคอนเสิร์ตนี้ว่า Arena Tour แน่นอน สถานที่เล่นสุดท้ายของพวกเขาไม่ได้เป็นที่บุโดกันเหมือนเดิม เพราะบุโดกันเล็กไปแล้ว เขาได้เล่นในระดับอารีน่า คือที่ ไซตาม่ะ ซึ่งบรรจุคนดูได้กว่าสามหมื่นคนต่อรอบ แต่หลิ่มหลีไปดูที่เซนไดแทน เพราะที่นี่จุคนได้น้อย เราจะได้ใกล้ชิด ได้เห็นเหล่าเทพใกล้ๆ คิกๆๆๆ ดีใจค่ะ นอกจากหลิ่มหลีจะได้ไปดูน้องๆเหล่าเทพสมใจอยากแล้ว หลิ่มหลียังได้ประสบการณ์การดูคอนเสิร์ตของคนญี่ปุ่นมาเป็นอย่างดีด้วยค่ะ หนึ่ง พวกเขาทำทุกอย่างด้วยการเข้าแถว ไม่มีแซงคิว ไม่มีแตกแถว ไม่ว่าจะเป็นการขายของหรือการกิน หรือการเดินเข้าไปในอารีน่า น่าทึ่งมากค่ะ เทียบกับเมืองไทยแล้ว คิวของพวกเขายาวกว่ามาก แต่การเคลื่อนขบวนแถวของเขาก็เร็วมากด้วยค่ะ บอกให้รู้ถึงประสิทธิภาพของแถวและการทำงานของสต๊าฟของพวกเขากัน สอง วัฒนธรรมการดูคอนเสิร์ตของพวกเขา พอไฟดับ ศิลปินเตรียมเล่น พวกเขาทุกคนลุกขึ้นยืนดูคอนค่ะ ใช่ค่ะ พวกเขาได้บัตรนั่งกันหมดทุกคน ที่ญี่ปุ่นไม่มีตั๋วยืน แต่เมื่อคอนเริ่มพวกเขาไม่มีใครนั่งเลยตลอดการแสดง ขนาดช่วงพักของศิลปินแล้วให้เหล่าแดนส์เซอร์มาเล่นฆ่าเวลา พวกเขาก็ยังยืนเลย หลิ่มหลีนับถือมากๆเลยค่ะ เพราะนี่คือการให้เกียรติกับศิลปินทุกคนที่อยู่บนเวที แฮ่ หลิ่มหลีแก่แล้ว แอบนั่งบ้างไรบ้าง อ่ะนะ ใครจะไปยืนไหว โห สามชั่วโมงกว่า ไม่นับที่ยืนเข้าคิวซื้อของอีก อะไรอีก สาม พวกเขาซึ้อแต่ของแท้ขิงจริงค่ะ ของชำร่วยหน้างานคอนเสิร์ตขายดีมากๆ และพวกเขาอุดหนุนกันเกือบทุกคนเลยค่ะ สี่ ยากูซ่า คุณลุงขายตั๋วผี หน้าตาเหมือนยากูซ่าเลยค่ะ มีจริงด้วยค่ะ หลิ่มหลีเห็นกับตา ห้า หลิ่ิมหลีเจอคนไทยที่ดูห้าหกรอบ เหมือนคนญี่ปุ่นเลยค่ะ หลิ่มหลีนั่งคุยกับคนญี่ปุ่น รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง แต่ก็ได้ใจความว่า ทุกเสาร์อาทิตย์ ถ้าเขาไม่ติดอะไร เขาก็เดินทางไปต่างเมืองเพื่อติดตามดูคอนเสิร์ตศิลปินที่พวกเขาชอบไปเรื่อยๆค่ะ อย่างคนที่หลิ่มหลีได้คุยด้วยเป็นคนจากแถบชิบะ เขาก็ดูที่โตเกียว โยโกฮาม่า โกเบ โอซาก้า และเซนได แถมยังจะไปดู Encore ที่ไซตาม่ะด้วยนะคะ โห สุโค่ยมากเลยค่ะ โอ้ย คุยไปถึงประสบการณ์ของตัวเอง ลืมไปเลยว่าคุยเรื่องทงบังชิงกิอยู่ ค่ะ ปีนี้เป็นปีที่พวกเขาสามารถเรียกตัวเองได้แล้วว่า เป็นศิลปินญี่ปุ่น และไอดอลแห่งเอเชีย ด้วยสถิติสมาชิกแบบ Official Fanclub กว่าแปดแสนคน ที่เยอะที่สุดในโลกได้ลงกินเนสบุ๊คเรคอดด้วยค่ะ น่าปลื้มไหมคะ เด็กๆเทพๆของหลิ่มหลีและเหล่าแคสสิโอเปีย เราได้เห็นพวกเขาเติบโต เจริญก้าวหน้า จริงอยู่เราอาจรับรู้ถึงข่าวสารของพวกเขาในแง่ลบบ้าง แต่ใครบ้างละจะถูกต้องไปซะหมด ทุกคนมีดี มีเลว มีบกพร่อง พร้อมแก้ไข หลิ่มหลีได้สังเกตุเห็นพวกเขาที่เดินทางอยู่ตลอดเวลา ไหนจะไปกลับเกาหลี ญี่ปุ่น ไหนจะไปจีน ไหนจะมาไทย ไหนจะไปยุโรป บราซิล ต่างประเทศโน้น ประเทศนี้ ล้วนแล้วแต่ไปทำงาน ได้รับทราบถึงอาการป่วยของสมาชิก ได้รับรู้ความสำเร็จของพวกเขา ล้วนแล้วแต่ทำให้เรารักพวกเขามากขึ้น โอ้ย ซึ้งเนอะ กับความสามารถที่เพิ่มพูดขึ้นของพวกเขา การก้าวกระโดดของพวกเขาก็ยิ่งเต็มไปด้วยการรักษามาตรฐานในการทำงาน หลิ่มหลีบอกได้เลยว่า ทีมงานทั้งสองประเทศของพวกเขาเก่งมาก ความเหนียวแน่นในความรักของแคสสิโอเปียและบิ๊กอีสต์ที่มีต่อเหล่าเทพของพวกเราก็เป็นสิ่งที่น่านับถือ ก้าวย่าง ณ จุดนี้ คือจุดสูงสุดในชีวิตของพวกเขาแล้วหรือยังนะ ไม่ว่าใครก็บอกไม่ได้ ว่า จุดสูงสุดอยู่ตรงไหน แม้แต่พวกเขา แม้แต่พวกเรา เพราะการก้าวยังดำเนินต่อไป และ ต่อไปอีกนานแสนนาน อยู่ที่พวกเขายังเดินไหม และพวกเรายังตามมองเขาหรือไม่ เวลาเท่านั้นที่จะบอกได้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ยก 1" Posted: 29 Jul 2011 08:24 AM PDT |
"สรรเสริญ" แจง ผบ.ทบ. มีจิตใจโอบอ้อมอารี-รับฟังความคิดเห็น Posted: 29 Jul 2011 07:57 AM PDT โฆษกกองทัพบกชี้แจงกรณีท่าทีการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าเพราะเป็นห่วงว่าข่าวสารจะคลาดเคลื่อน ยัน ผบ.ทบ.ให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงและพยายามตอบคำถามสื่อทุกคำถาม เผยขณะนี้ ผบ.ทบ. ได้สั่งการไปยังหน่วยแพทย์ต่าง ๆ ในสังกัดกองทัพบกดูแลขวัญกำลังใจและสุขภาพของผู้บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุ ฮ. ตก สำนักข่าวไทย รายงานวันนี้ (29 ก.ค.) ว่า พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ชี้แจงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) แสดงอารมณ์ไม่พอใจสื่อมวลชนในการชี้แจงเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่มีการเชื่อมโยงกับการทุจริตจัดซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ โดย พ.อ.สรรเสริญ ชี้แจงว่า ผบ.ทบ.แสดงความเป็นห่วงใน 2 เรื่อง คือ หนึ่ง เรื่องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความจริงต่าง ๆ ต่อประชาชน และเป็นห่วงต่อข้อคิดเห็นทั้งหลาย โดยเฉพาะที่มีการมองว่า ท่านไม่ยอมรับข้อมูลข้อเท็จจริง แต่ความจริงท่านให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมด และต้องการสื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริง เพราะเป็นห่วงว่าข่าวสารที่ออกมาอาจจะคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ซึ่งสื่อจะสังเกตได้ว่า ผบ.ทบ.พยายามตอบคำถามสื่อมวลชนทุกคำถาม “ผบ.ทบ.ไม่ได้มีอารมณ์ในการชี้แจงข้อเท็จจริง แต่ ผบ.ทบ.ให้ความสำคัญกับประชาชนเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ผบ.ทบ.เป็นคนรับฟังข้อมูลข่าวสารจากทุกฝ่าย และในฐานะที่ ผบ.ทบ.เป็นหัวหน้าหน่วยของกองทัพบก เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่ส่งผลเสียต่อกองทัพ ท่านก็จำเป็นต้องออกมาชี้แจง เพื่อให้เกิดความถูกต้องและชัดเจน ซึ่งท่านให้ความสำคัญและเป็นห่วง หากประชาชนได้รับข้อมูลที่เป็นเท็จ จะทำให้กองทัพได้รับความเสียหาย แม้บุคลิกของ ผบ.ทบ.ดูเหมือนเป็นคนเด็ดเดี่ยว เฉียบขาด แต่ทหารทุกคนรู้ว่า โดยพื้นฐานจิตใจโอบอ้อมอารี รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา และเป็นห่วงลูกน้องทุกคนอย่างที่สุด” โฆษกกองทัพบกกล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
"กษิต ภิรมย์" แจงไม่มีนโยบายสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า Posted: 29 Jul 2011 07:36 AM PDT "กษิต ภิรมย์" เผยเตรียมส่ง "ไตรรงค์ สุวรรณคีรี" ไปดูงานเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เพื่อส่งเสริมการลงทุนในพม่า ยันไม่มีนโยบายสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธในพม่า ไม่ต้องการให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใช้ประเทศไทยเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง พร้อมเรียกร้องให้พม่าและชนกลุ่มน้อยยุติการสู้รบแล้วกลับสู่โต๊ะเจรจา สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ รายงานวันนี้ (29 ก.ค.) ว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จะเดินทางไปพม่ากลางสัปดาห์หน้า ว่า การเดินทางครั้งนี้เพื่อศึกษาดูงานที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการลงทุนในพม่าเท่านั้น ส่วนกรณีที่พม่ายังปิดด่านที่แม่สอด ก็เพราะทางการพม่าเกรงว่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปพม่าจะแฝงด้วยยุทธปัจจัย ที่ทำให้เกิดเหตุความไม่สงบในกรุงย่างกุ้ง และเหตุปะทะกับชนกลุ่มน้อย โดย นายกษิต ยืนยันว่า ในช่วงที่ผ่านมาของรัฐบาลนี้ได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงและความปลอดภัยตาม แนวชายแดน ไม่มีนโยบายสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธในพม่า รวมถึงไม่ต้องการให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใช้ประเทศไทยเพื่อเคลื่อนไหวทางการ เมือง นายกษิต กล่าวอีกว่า ต้องการเห็นรัฐบาลพม่าและชนกลุ่มน้อยวางอาวุธ ยุติการสู้รบแล้วกลับสู่โต๊ะเจรจา ซึ่งตนเองคาดว่าชนกลุ่มน้อยอาจไม่พอใจบทบัญญัติทางกฎหมายบางข้อของพม่า แต่เชื่อว่าหากทุกฝ่ายมีเจตนารมณ์ร่วมแก้ไขปัญหาด้วยกันก็สามารถพูดคุยกัน ได้ ขณะเดียวกันตนเองได้พูดคุยกับรัฐบาลพม่าขอให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองและเปิดให้มีการเคลื่อนไหวตามวิถีทางประชาธิปไตย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" – "ใต้" โจมตีทหารพม่าในรัฐฉาน Posted: 29 Jul 2011 03:53 AM PDT กองกำลังไทใหญ่ SSA เหนือ-ใต้ซุ่มโจมตีทหารพม่าในรั พ.ต.จายละ โฆษกกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSA/SSPP กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ทหารกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSA/SSPP สังกัดกองพลน้อยที่ 36 นำโดยพ.ต.จายยวย ได้ทำการซุ่มโจมตีทหารพม่ากองพั พ.ต.จายละ เผยว่า ขณะนี้ในพื้นที่โดยรอบบ้านไฮ ที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ของ SSA/SSPP มีกำลังทหารพม่าถูกส่งเข้ ขณะเดียวกันมีรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา ทหารกองทัพรัฐฉาน SSA/RCSS หรือ กองกำลังไทใหญ่ "ใต้" กลุ่มพล.ท.เจ้ายอดศึก ได้ซุ่มโจมตีขบวนรถบรรทุ พ.ต.หลาวแสง โฆษกกองทัพรัฐฉาน SSA/RCSS เปิดเผยว่า เมืองหนองเป็นพื้นที่เคลื่ ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
คปท.จี้เพื่อไทยแก้ปัญหาพื้นที่ให้ประชาชน รับปากไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Posted: 29 Jul 2011 02:42 AM PDT เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจี้พรรคเพื่อไทยเร่งแก้ปัญหาให้กับประชาชน ด้าน "ปลอดประสพ" รับปากยุติสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พร้อมร่างนโยบาย “ปฏิวัติสีฟ้า” กันนายทุนรุกพื้นที่ชาวบ้าน-ทำทะเลให้สะอาด 29 ก.ค. 54 - โพสต์ทูเดย์รายงานว่าเมื่อเวลา 12.00 น. ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เครือข่ายชุมชนชายฝั่งพังงา-ภูเก็ต และเครือข่ายต้นน้ำและปลายน้ำนครศรีธรรมราช ได้เดินทางเข้ายื่นข้อเสนอในการกระจายถือครองที่ดินที่เป็นธรรมด้วยการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการที่ดินทั้งระบบ ต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้รับเรื่องแทน โดยนายบุญ แซ่จุง ตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศ กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่จัดทำเรื่องโฉนดชุมชนให้ชัดเจน โดยผลักดันให้เป็นร่าง พ.ร.บ. รวมถึงให้เร่งแก้ไขกรณีที่ชาวบ้านถูกดำเนินคดีในการรุกที่ของรัฐ และหวังว่าภาครัฐจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายด้านต่างๆ ด้านนายดนัย ยาดี ตัวแทนเครือข่ายชุมชนชายฝั่งพังงา-ภูเก็ต กล่าวว่า อยากให้พรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ประสานเจ้าหน้าที่ที่ดินและกรมป่าไม้ ในการกำหนดที่ดินของรัฐให้ชัดเจนเพื่อลดปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ขณะที่นายศรายุทธ บุญชูช่วย ตัวแทนเครือข่ายต้นน้ำและปลายน้ำนครศรีธรรมราช กล่าวว่าทางกลุ่มเป็นกังวลกับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เพราะจะมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงปัตตานี ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ จัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชน ก่อนพิจารณาเดินหน้าโครงการดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ นายปลอดประสพ กล่าวว่า นโยบายที่ดีก่อนหน้านี้ก็ยังยืนยันจะคงไว้ และพัฒนาให้ดีกว่าเดิม ซึ่งมั่นใจว่าพรรคมีความสามารถ ส่วนข้อกังวลเกี่ยวกับการดำเนินคดีกับผู้บุกรุกที่ดินของรัฐนั้น ตนมองว่าไม่ควรจะจบที่คุกเสมอไป แต่ควรจะทำความเข้าใจกับประชาชนมากกว่าใช้อำนาจตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าเรื่องเกี่ยวกับที่ดิน พรรคได้มีการร่างนโยบาย หรือเรียกว่า “ปฏิวัติสีฟ้า” เพื่อเตรียมแถลงต่อสภาแล้ว เพื่อทำให้ทะเลสะอาด และอุดมสมบูรณ์อย่างจริงจัง นอกจากนี้ การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนนั้น ตนเห็นว่าเป็นพื้นที่สำคัญที่ชาวประมงพื้นบ้าน ดังนั้น ในการดำเนินการใดๆจำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อนดำเนินการ การกำหนดแนวรุกป่า ยืนยันว่าได้ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในสมัยพรรคไทยรักไทย แต่ก็ต้องชะงักไว้ ส่วนโครงการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ตนขอยืนยันว่าจะยุติการก่อสร้าง เนื่องจากเห็นว่าเป็นอันตรายต่อประเทศ และเชื่อว่าจะมีวิธีการผลิติไฟฟ้าทางอื่นที่ปลอดภัยกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า การจัดตั้งธนาคารที่ดินด้วยงบประมาณแสนล้านบาท จะมีวิธีการหาเงินมาจากไหน นายปลอดประสพ กล่าวว่า ตนไม่คิดว่าจะหาเงินมาจากไหน ใช้ยอดจำนวนเท่าไหร่ แต่จะสนับสนุนในการตั้งธนาคารที่ดิน เพื่อเชื่อมโยงในการจัดสรรที่ดินให้กับประชาชน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รุจ ธนรักษ์: ความเห็นต่อกรณีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท Posted: 29 Jul 2011 02:17 AM PDT ก่อนอื่น ต้องออกตัวก่อนว่าตั้งใจเขียนโน้ตชิ้นนี้ขึ้นด้วยจุดประสงค์สองข้อ ข้อแรก – ต้องการบันทึกความเห็นของตนเองต่อกรณีนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่มีข้อมูลใดๆมาสนับสนุนทั้งสิ้น และข้อสอง – ต้องการชี้ให้เห็น "ข้อเท็จจริง" ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ด้วยหวังให้การถกเถียงเกี่ยวกับนโยบายนี้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และอุดมปัญญา … กว่าที่เป็นอยู่ เพราะด้วยความที่มันเป็นเรื่องคาบเกี่ยวระหว่าง "เศรษฐศาสตร์" กับ "การเมือง" ทำให้ดีเบตเรื่องนี้ดูเหมือนจะเปรอะไปด้วย "ความเห็น" ทั้งในเชิงการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งหากจะมองโลกในแง่ดี สภาวะเถียงกัน "เปรอะ" เช่นนี้น่าจะทำให้นักเรียนเศรษฐศาสตร์ได้มองเห็น "ภาพกว้าง" กันเสียทีว่าเส้นแบ่งระหว่างเศรษฐศาสตร์กับการเมืองมันบางมากๆ เพราะขณะที่เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องของนโยบายการจัดการทรัพยากร การเมืองก็คือเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์จากทรัพยากรในสังคม ดังนั้น นโยบายเศรษฐกิจใดๆ จึงไม่ได้ลอยออกมาจากรังปลวกพร้อมสมการซับซ้อนอย่างไม่มีที่มาที่ไป มันล้วนเกิดขึ้นโดยมีรากฐานทางการเมืองทั้งนั้น เข้าเรื่อง ประเทศไทยควรขึ้นค่าแรงหรือไม่ ? และควรเป็น 300 บาทไหม ? เอาแค่ประเด็นนี้ประเด็นเดียวก็จะมีข้อมูลมากมายมหาศาลมาถกเถียงกันว่าควรหรือไม่ควร ถ้าขึ้นแล้วใครจะได้ ใครจะเสีย ฯลฯ ในความเห็นผม – ผมว่าคำถามนี้ "ไม่จำเป็น" ต้องตอบในทางเศรษฐศาสตร์ เพราะมันเป็นคำถามเชิงการเมือง และคำตอบก็ควรตอบในเชิงการเมือง อุปมาเหมือนถามว่า ประเทศไทยควรระบบประกันสังคมหรือไม่ มันไม่จำเป็นต้องมานั่งวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียต่อระบบเศรษฐกิจกันให้ยุ่งยาก สิ่งที่ต้องทำคือให้พรรคการเมืองมีนโยบายด้านนี้ เอามากางให้ประชาชนเลือก ประชาชนอยากได้อะไร ประชาชนก็จะเลือก ประชาชนเลือกอย่างไร มันก็ควรจะเป็นทิศทางของประเทศ เพราะอำนาจปกครองประเทศ (ควร) เป็นของประชาชน ทีนี้ถ้ามองจากมุมของ "การเมือง" เราต้องไม่ลืมว่านโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นของ "ทุกพรรค" (อย่างน้อยก็ทั้งเพื่อไทย และ ประชาธิปัตย์) เพื่อไทย บอกว่า 300 บาท ขณะที่ ประชาธิปัตย์บอกว่าขึ้น 25% นั่นแปลว่า ไม่ว่าวันนี้ผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร เราก็จะมีรัฐบาลที่มีพันธะสัญญาที่จะต้อง "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" ทั้งนั้น และในเมื่อมันคือนโยบายของทุกพรรค ก็แปลว่าเสียงของประชาชนไทยต้องการให้แก้ปัญหาเรื่องนี้ ประเด็นจึงไม่ควรอยู่ที่ว่าควรขึ้นหรือไม่ แต่ควรอยู่ที่ว่าพรรคการเมืองที่ได้เป็นรัฐบาลจะทำตามสัญญาไหม จะทำได้จริงไหม และจะทำอย่างไร – เพราะประชาชนไทยเลือกแล้วว่าอยากได้คนมาทำเรื่องนี้ให้เป็นจริง ถ้าสุดท้ายทำไม่ได้ มันก็เป็นเรื่องทาง "การเมือง" ที่ประชาชนกับพรรคการเมืองในประเทศต้องบริหารจัดการกันไป หรือถ้าทำแล้วเศรษฐกิจพังพินาศ มันก็กลับไปเป็นประเด็นทาง "การเมือง" อีกอยู่ดี คำถามถัดไปคือ แล้วควรเป็น 300 บาทหรือไม่ ทำไมไม่เป็น 250 บาท หรือทำไมไม่เป็น 500 บาทไปเลย เช่นกัน เราสามารถสร้างบทวิเคราะห์ได้มากมายไม่รู้จบพร้อมสถิติตัวเลข สมการ ข้อมูล ทฤษฏี อีกนับไม่ถ้วน เพื่อช่วยสนับสนุนข้อถกเถียงของเราว่ามันควรเป็น 300 บาทหรือไม่ แต่นั่นมันควรเกิดขึ้นก่อนเลือกตั้ง ไม่ใช่มานั่งกดดันพรรคการเมือง "หลัง" เลือกตั้งไม่ให้ทำตามนโยบายที่ตนเองไม่ชอบ เพราะพรรคการเมืองมีพันธะสัญญาที่จะต้อง "ทำตามนโยบาย" ที่ได้หาเสียงไว้ "โดยหลักการ" หากพรรคการเมืองมีการจัดทำนโยบายอย่างเป็นระบบแบบแผน เขาย่อมนำเสนอ "ตัวเลขที่เหมาะสม" ขึ้นเป็นนโยบายของพวกเขา – ผมไม่อาจล่วงรู้ได้ว่า เพื่อไทย เสนอตัวเลขนี้ขึ้นมาอย่างมีหลักคิดหรือไม่ บางทีเขาอาจคิดขึ้นมามั่วๆกลางวงกาแฟในห้องประชุม เช่นเดียวกับที่ผมก็ไม่รู้หรอกว่า 25% ของประชาธิปัตย์คิดขึ้นมาอย่างไร ณ วันนี้ – สิ่งที่เราทุกคนรู้ร่วมกันคือ เพื่อไทย มีพันธะผูกพันที่จะต้องทำ 300 บาท ให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งหากเพื่อไทยนั่งเทียนตัวเลขนี้มาโดยไม่มีข้อมูลไม่มีการศึกษามาก่อน มันย่อมเกิดขึ้นไม่ได้จริง หรือเกิดขึ้นจริงแต่มีผลกระทบอื่นตามพ่วงมาด้วย (ซึ่งจะอภิปรายต่อด้านล่าง) ซึ่งสุดท้ายก็จะเป็นตัวพรรคเพื่อไทยเองนั่นแหละที่ต้อง "รับผิดชอบ" กับผลลัพธ์ทางการเมืองของตนต่อไป ผมคิดว่านี่คือหลักการที่สำคัญ เพราะการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย สร้างการแข่งขันระหว่างพรรคการเมือง สร้างนโยบายประเทศที่ประชาชนเป็นผู้เลือก และสร้าง "ความรับผิดชอบทางการเมือง" ให้เกิดขึ้นจริงนั้น เป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนที่สุดของเมืองไทยในวันนี้ สำคัญมากกว่าระบบเศรษฐกิจ หรือตัวเลข GDP แน่ๆ สรุป – เราไม่จำเป็นต้องมองเรื่อง 300 บาทในเชิงเศรษฐกิจเลย เพราะในทางการเมือง มันคือเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว ประชาชนเลือกไปแล้ว พรรคการเมืองมีพันธะแล้วว่าต้องทำให้ได้จริง มันไม่จำเป็นต้องเถียงแล้วว่าควรทำหรือไม่ หรือควรทำแค่ไหน – ในเมื่อพรรคการเมืองทุกพรรคประกาศนโยบายขึ้นค่าแรงกันทั้งนั้น เราควรปล่อยให้พรรคการเมืองทำตามสัญญาของพวกเขา สังคมมีหน้าที่ตรวจสอบว่ามันทำได้จริงไหม แล้วมีผลกระทบอย่างไร แล้วรัฐบาล "บริหารจัดการ" ผลกระทบเหล่านั้นอย่างไร สุดท้ายถ้าพวกเขาทำไม่ได้ หรือทำได้ไม่ดี ก็เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องตัดสินอนาคตการเมืองของพวกเขาด้วยตัวประชาชนเอง การสร้าง "ความรับผิดชอบทางการเมือง" เป็นเรื่องเร่งด่วนอันดับต้นๆของประเทศที่ไม่มีใครต้องรับผิดชอบอะไรสักอย่างมานานนับสิบปี และที่สำคัญที่สุดคือ หลักการทั้งหมดนี้คือเงื่อนไขที่สำคัญของการจะกล่าวอ้างว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ประเด็นถัดไป – นโยบายนี้กระทบใครบ้าง ? ผมควรพูดก่อนว่า "นโยบายใดๆ" ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมล้วนส่งผลกระทบต่อคนบางกลุ่มในสังคมทั้งนั้น บางกลุ่มอาจได้ผลบวก บางกลุ่มอาจได้ผลลบ มันเป็นเรื่องธรรมดา ประเด็นจึงควรอยู่ที่ว่ารัฐบาล (ผู้มีหน้าที่บริหารสังคม) จะทำอย่างไรให้คนที่ควรได้ผลบวก ได้บวกจริงๆ และทำอย่างไรให้คนที่จะได้ผลลบ ไม่ลบมากเกินไป หรือไม่มีทางเลือกที่จะบรรเทาผลลบเหล่านั้น ก่อนจะถกเถียงประเด็นนี้อย่างอุดมปัญญาได้ เราควรพิจารณากันให้ "ชัด" เสียก่อนว่าใครบ้างที่จะได้ผลกระทบจากนโยบายนี้ ผลกระทบด้านบวก – แน่นอนคือกลุ่มผู้ใช้แรงงาน "ขั้นต่ำ" ที่มีทักษะน้อยหรือไม่มีทักษะ หรือพูดง่ายๆคือผู้ใช้แรงงานจริงๆที่ไม่มีความรู้เสริมอื่นใดเลย ตัวอย่างเช่น พนักงานเสิร์ฟอาหาร กับพนักงานรับออร์เดอร์ ล้วนใช้แรงงานทั้งคู่ แต่อย่างแรกใช้ทักษะต่ำกว่าอย่างหลัง ดังจะเห็นได้จากร้านอาหารในไทยส่วนมาก มีพนักงานเสิร์ฟกับพนักงานรับออร์เดอร์ แยกกันชัดเจนเป็นคนทีม ซึ่งก็เดาได้ว่าค่าแรงของทั้งสองทีมจะแตกต่างกัน พูดถึงประเด็นนี้จะ เห็นได้ว่า หากไม่เอาประชานิยมเป็นที่ตั้ง แล้วมองนโยบายในระยะยาวเป็นหลัก รัฐมีหน้าที่ส่งเสริม "ทักษะ" แรงงานของคนในประเทศ เช่น พัฒนาระบบอาชีวะศึกษาให้ดีกว่านี้ คนจะได้เอาแรงงานมาใช้แบบมีทักษะมากขึ้น สร้าง "มูลค่าเพิ่ม" ของแรงงานตนเองให้มากขึ้น ประเทศก็จะมีคนที่ต้องรับค่าแรง "ขั้นต่ำ" น้อยลง จนมันไม่จำเป็นต้องเป็นประเด็นใหญ่โตทางการเมืองอีกต่อไป นอกจากนั้น เราต้องไม่ลืมด้วยว่ายังมีกลุ่ม "แรงงานนอกระบบ" ที่ไม่ได้รับผลกระทบด้านดีของนโยบายนี้ ตัวอย่างเช่น คนขับรถสิบล้อ ชาวนา มอเตอร์ไซค์รับจ้าง พ่อค้าหมูปิ้ง แม่ค้าส้มตำรถเข็น คนขายพวงมาลัย หรือกระทั่งคนขายบริการทางเพศ แรงงานนอกระบบเหล่านี้จะไม่ได้รับอานิสงน์จากนโยบาย 300 บาทโดยตรง ในขณะที่พวกเขาต้องร่วมแบกรับผลกระทบของมัน (เงินเฟ้อ) โดยที่รายได้ของพวกเขาไม่ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะอภิปรายต่อไป ผลกระทบด้านลบ – แน่นอนว่าคือนายจ้าง แต่สิ่งที่ต้องดูให้ละเอียดมากขึ้นคือนายจ้างที่ว่านี้คือใครบ้าง กลุ่มไหน มีทั้งหมดกี่กลุ่ม มีจำนวนแค่ไหน ฯลฯ เราต้องไม่ลืมว่า "นายจ้าง" ที่จะได้รับผลกระทบหนักจริงๆนั้นคือนายจ้างที่พึ่งพาแรงงานสูงมาก (ต้นทุน 80% คือค่าแรง) แถมยังพึ่งพาแรงงาน "ไร้ทักษะ" อีกด้วย (เพราะมันคือค่าแรงขั้นต่ำ) ยกตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตรถยนต์ คงไม่สามารถใช้แรงงาน "ไร้ทักษะ" ได้สักเท่าไหร่ อย่างน้อยก็ต้องมีคนงานที่มีทักษะบ้าง ซึ่งแปลว่าค่าจ้างก็ย่อมสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำบ้างตามกลไกตลาด ดังนั้นโรงงานรถยนต์จึงไม่ควรจะกระทบ หรืออย่างน้อยก็ไม่กระทบหนักหนาสาหัส ดังนั้นในระดับอุตสาหกรรม เราจำเป็นต้องรู้ว่าอุตสาหกรรมไหนบ้างที่พึ่งพาแรงงานมาก (Labor Intensive) ซึ่งดูได้จากต้นทุนการผลิตว่ามีแรงงานเป็นสัดส่วนมากน้อยแค่ไหน พวกเขาผลิตอะไร เติบโตอย่างไรในแต่ละปี ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้คือสิ่งที่ "สภาอุตสาหกรรม" ควรแจกแจงให้สังคมได้รับทราบ มากกว่าการออกมาทำหน้าที่ปกป้องกลุ่มทุนของตนเอง จากนั้นคำถามที่สังคมควรช่วยกันคิดก็คือ – เราจะสนับสนุนอุตสาหกรรม "เก่า" ที่ต้องพึ่งพา "แรงงานไร้ทักษะ" กันอีกนานแค่ไหน และมันมีผลดีอย่างไรต่อประเทศบ้างกับการสนับสนุนธุรกิจเหล่านี้ โดยส่วนตัว ผมไม่มีความเห็นกับประเด็นนี้ เพราะผมไม่เคยเห็นข้อมูลจริงๆเสียทีว่าประเทศไทยมีธุรกิจที่ต้องพึ่งพาแรง งานไร้ทักษะมากน้อยแค่ไหน คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ต่อ GDP แล้วก็ไม่เคยเห็นหน่วยงานไหนออกมาให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบเลยสักครั้ง สมมติง่ายๆว่าประเทศไทยมีแรงงานไร้ทักษะ 100 คน
แต่สิ่งที่ตอบได้แน่นอนคือ ไม่ว่าเราจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ นโยบายในระยะยาวก็ควรเน้นการพัฒนาฝีมือแรงงาน และลดการสนับสนุนอุตสาหกรรมโบราณเหล่านั้นเสียที สุดท้าย ผมคิดว่าอุตสาหกรรมทั้งหลายยังไม่น่าเป็นห่วงเท่ากลุ่ม SME ขนาดกลางและเล็ก เพราะอย่างน้อยนายทุนอุตสากรรมทั้งหลายก็มี "สายป่านยาว" กว่าผู้ประกอบการขนาดเล็กมาก ภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นน่าจะส่งผลหนักต่อผู้ประกอบการ SME ทั้งหลายมากกว่า ต่อให้สัดส่วนต้นทุนค่าแรงของ SME ไม่มาก (เช่น อาจเป็นเพียง 40% ของรายจ่ายทั้งหมด) แต่การขึ้นค่าแรงอย่างฉับพลัน ก็กระทบต้นทุนของพวกเขาอย่างหนักได้ นอกจากนั้น ทุกวันนี้ แม้ค่าแรงจะยังไม่มาก เราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า SME ไทยมีปัญหากับการหาแรงงานไทยมาทำงาน เพราะไม่มีแรงงานไทยคนไหนอยากทำงาน "ไร้ทักษะ" ถ้าเขามีทางเลือกที่ดีกว่าในการไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม เราจึงเห็นได้บ่อยๆว่า SME ไทยทุกวันนี้ล้วนใช้บริการแรงงานต่างด้าวเสียมาก ซึ่งการขึ้นค่าแรงของแรงงาน "ในระบบ" ก็จะยิ่งทำให้ SME ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานหนักขึ้น ในแง่ของนโยบายประเทศระยะยาว ธุรกิจ SME คือกลุ่มที่ควรจะได้รับการส่งเสริมมากกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คนที่เป็น "แรงงานไร้ทักษะ" ในวันนี้ ย่อมอยากเป็นเจ้าของ SME ในวันหน้า (วันนี้ล้างจานในร้านส้มตำ พรุ่งนี้ย่อมอยากมีร้านส้มตำเป็นของตนเองบ้าง) เราจึงไม่อาจปล่อยให้ SME เดือดร้อนหนักได้โดยไม่ทำอะไรเลย เพราะมันเท่ากับการ "ปิด" โอกาสเติบโตของ "แรงงานไร้ทักษะ" ที่เรา "อยากช่วยเหลือ" พวกเขาอยู่ดี สรุป 1. คนที่ได้ผลดีจากนโยบายนี้มีเฉพาะแรงงานในระบบ ยังมีคน "ระดับล่าง" อีกหลายกลุ่มที่พวกเขาไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากนโยบายนี้ 2. นายจ้างที่น่าเป็นห่วงจริงๆน่าจะเป็นกลุ่ม SME เพราะสายป่านสั้นกว่านายทุนใหญ่ และมีปัญหาขาดแคลนแรงงานอยู่เสมอ 3. สังคมไทยควรมีตัวเลขที่ชัดเจนได้แล้วว่าอุตสาหกรรมของเราเป็นอย่างไร และควรมีแผนที่ชัดเจนได้แล้วว่าจะเอาอย่างไรกันต่อไปในรุ่นลูกหลาน 4. SME ต้องได้รับการดูแล เพราะมันคือฐานธุรกิจที่สำคัญต่ออนาคตโครงสร้างเศรษฐกิจไทยมากกว่าทุนยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย หากรัฐประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว ระบบเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ? อันนี้ตอบง่าย เพราะต้องบอกว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นใหม่หรือประเด็นใหญ่โตอะไรในทาง เศรษฐศาสตร์ หัวข้อเรื่อง "นโยบายค่าแรง" เป็นเรื่องที่นักเรียนเศรษฐศาสตร์ ป.ตรี ทุกคนต้องเรียนกันตั้งแต่คาบแรกๆ มีทฤษฏีและการศึกษาพร้อมข้อมูลภาคสนามมากมาย จากทั่วทุกมุมโลกให้เราได้ถกเถียงกัน "ข้อเท็จจริง" ที่ผ่านการศึกษาพิสูจน์มาแล้วยาวนานบอกเราว่า – หากไม่มีใครทำอะไรเลย หรือไม่มีปรากฏการณ์พิเศษใดๆในระบบเศรษฐกิจ – สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาแน่นอนหลังการประกาศขึ้นค่าแรงคือ 1. อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 2. เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น อธิบายง่ายๆได้ว่า การขึ้นค่าแรงในระยะสั้น (ขึ้นแบบฉับพลัน) ทักษะคนงานจะมีเท่าเดิมไม่ได้เพิ่มตามไปด้วย เมื่อวานเคยทำงานได้ 10 ชิ้น พรุ่งนี้ก็ทำงานได้ 10 ชิ้นเหมือนเดิมแต่ได้ค่าแรงมากขึ้น ผลก็คือนายจ้างอาจต้องไล่คนออกเพื่อควบคุมต้นทุน หรือ ต่อให้นายจ้างไม่ไล่คนออก การรับคนเพิ่มก็จะทำได้ยากขึ้น คนที่ทำงานอยู่เดิมก็จะต้องทำงานหนักขึ้น งานหายากขึ้น คนตกงานเพิ่มขึ้น หรือกรณีเงินเฟ้อ ก็อธิบายได้ง่ายๆว่าในเมื่อต้นทุนค่าแรงสูงขึ้น โรงงานก็ต้องขึ้นราคาสินค้าเพื่อให้ได้กำไรเท่าเดิม หรือ ต่อให้โรงงานไม่ขึ้นราคาสินค้า ค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้น ก็จะทำให้ "ค่าเสียโอกาส" ของคนอีกหลายกลุ่มเพิ่มขึ้น เพราะ "ค่าแรง" ก็คือ "ราคา" อย่างนึง แถมเป็นราคาต่ำที่สุดที่เป็น benchmark ของเศรษฐกิจทั้งระบบ ราคาค่าก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดจะเพิ่มขึ้น คนจะผ่อนบ้านยากขึ้น ซื้อบ้านยากขึ้น ค่าเช่าห้องแถวแพงขึ้น อสังหาริมทรัพย์ที่แพงขึ้นก็จะดันให้ทุกอย่างแพงขึ้นตามไปด้วย แรงงานภาคอื่นๆก็อาจถูก "ดูด" เข้าไปภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น (ถ้ายังมีงานให้ทำ) เพราะค่าแรงอาจจะสูงกว่ารับจ้างตัดอ้อย สุดท้ายอ้อยก็อาจราคาแพงขึ้นเพราะขาดแคลนแรงงาน ฯลฯ อธิบายง่ายๆด้วยนิทาน : สมชาย ทำงานโรงงาน ได้เงินวันละ 150 บาท ซื้อส้มตำกินทุกวัน
นั่นคือต่อให้นายทุนไม่เพิ่มราคาสินค้าเลย ระบบเศรษฐกิจก็จะมีปัญหาเรื่องคนว่างงาน และเงินเฟ้อตามมาแน่นอน ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า รัฐบาลจะ "บริหารจัดการ" เงินเฟ้อ ให้มันกระจายไปอย่างไร กระจายไปตรงไหนบ้าง ส่วนไหนเฟ้อมาก ส่วนไหนเฟ้อน้อย ระยะสั้นเป็นยังไง ระยะยาวเป็นยังไง สรุป – ถ้าไม่ทำอะไรเลย ขึ้นค่าแรงเฉยๆ ผลกระทบที่ตามมาแน่นอนคือ คนจะตกงานมากขึ้น และเงินจะเฟ้อมากขึ้น รัฐบาลควรทำอะไร ? การจะออกนโยบายใดๆ มีประเด็นที่ควรพิจารณาให้รอบคอบ 3 เรื่อง 1. ออกนโยบายมาแล้วทำให้เกิดขึ้นได้จริง บังคับใช้ได้จริง 2. ผู้ที่จะได้ผลดีจากนโยบาย – ได้ผลดีจริงๆ 3. ผู้ที่จะได้ผลเสีย – ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ไม่ให้หนักหนาสาหัสเกินไปนัก ประเด็นแรก – ในแง่กฏหมายค่าแรงขั้นต่ำ ถ้ารัฐบาลจะทำจริงๆก็คงทำได้ แต่รัฐบาลต้องดูบริบทในเชิงการเมืองและเศรษฐกิจด้วยว่าออกกฏหมายอย่างไรจะทำ ให้มันเกิดขึ้นได้จริงๆ แบบแรกคือ "บังคับ" ซึ่งนั่นหมายถึงต้องคิดถึงความเหมาะสม กระบวนการ และต้องคิดยาวไปถึงการบังคับใช้กฏหมาย แบบสองคือ "จูงใจ" ซึ่งเป็นวิธีที่ "ศิวิไลซ์" กว่า ในการออกกติกามา "จูงใจ" ตลาดให้ทำตามนโยบายของตนเอง เช่น ผู้ประกอบการที่ให้ค่าแรง 300 บาท อาจได้สิทธิในการลดภาษี เป็นต้น ประเด็นที่สอง – ทำอย่างไรให้แรงงานได้ผลดีจากนโยบายนี้จริงๆ – อันนี้คือประเด็นที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุด เรารู้แล้วว่าถ้าไม่ทำอะไรเลย การประกาศขึ้นค่าแรงจะทำให้เกิดเงินเฟ้อและอัตราว่างงานเพิ่มขึ้น เรื่องอัตราว่างงาน – การขึ้นค่าแรงจะช่วยคนที่มีงานทำอยู่แล้ว แต่คนที่ไม่มีงานทำก็จะหางานยากขึ้นไปอีก หรือในบางครอบครัว แทนที่พ่อแม่ลูกจะมีงานทำทั้งสามคน ก็อาจมีงานทำแค่คนเดียว รายรับต่อคนอาจเพิ่มขึ้น แต่รายรับโดยรวมก็อาจได้น้อยกว่า เรื่องเงินเฟ้อ – อันนี้คือเรื่องใหญ่และยากที่สุด สมมติว่าพรรคเพื่อไทยประกาศขึ้นค่าแรงแบบ "ค่อยเป็นค่อยไป" ก็จะมีความเป็นไปได้สูงมากที่เงินเฟ้อจะค่อยๆทำให้ค่าแรงที่เพิ่มนั้นไร้ค่า ตัวอย่างเช่น วันนี้สมชายได้ค่าแรง 100 บาท สิ้นปีสมชายได้เพิ่มอีก 30 บาท (30%) แต่เงินเฟ้อก็อาจเพิ่มขึ้นอีก 30% ซึ่งสุดท้ายสมชายก็ซื้อส้มตำกินได้วันละหนึ่งมื้อเหมือนเดิม นอกจากนั้น ต้องไม่ลืมว่ายังมี "แรงงานนอกระบบ" อีกจำนวนมากที่เขาไม่ได้ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายรัฐบาล แต่เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแปลว่ารายได้ของเขาลดลง (เงินเท่าเดิม ของแพงขึ้น) แล้วรัฐบาลจะไปช่วยเหลือพวกเขาอย่างไร เพราะถ้าไม่ทำอะไร พวกเขาก็ต้อง "ขึ้นราคา" สินค้า/บริการของพวกเขา ซึ่งก็จะยิ่งไปซ้ำเติมสภาวะเงินเฟ้อเข้าไปอีก ถ้าเราควบคุมเงินเฟ้อไม่ได้ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็จะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง เพราะเท่ากับว่าผู้ใช้แรงงานจะไม่ได้ค่าแรงเพิ่มเลย เคยส้มตำวันละหนึ่งจานอย่างไร ก็ได้กินส้มตำวันละหนึ่งจานเท่านั้น เพราะส้มตำแพงขึ้น ประเด็นที่สาม – รัฐบาลต้องศึกษาให้ชัดว่านายจ้างกลุ่มไหนกระทบบ้าง กระทบมากหรือน้อยแค่ไหน แล้วจะมีอะไรช่วยเหลือพวกเขาบ้างตามความเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่ยังต้องพึ่งพาแรงงานอยู่สูง เพราะต้องไม่ลืมว่า SME คืออนาคตที่ "แรงงาน" จะ "พึ่งพา" ลืมตาอ้าปากได้มากกว่าภาคอุตสาหกรรม สรุปว่า สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือการออกนโยบายเป็น "แพ็จเกจ" ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุดคือการบริหารจัดการเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน และการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ถ้ารัฐบาลไม่สามารถจัดการเรื่องเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานได้ นโยบาย 300 บาทก็จะเป็นได้แค่ประชานิยมที่ไม่ได้ช่วยแรงงานอย่างแท้จริง เพราะสุดท้ายแล้วเงินเฟ้อก็จะกัดกินค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ดี ส่งท้าย - ถ้าเราถอดสีของการเมืองออกไปก่อน เราก็จะถกเถียงประเด็นค่าแรงขั้นต่ำได้รอบด้านครบถ้วนมากขึ้นอีกเยอะ - อย่าไปกลัวว่านายทุนจะตาย ช่วงต้มยำกุ้งเราก็เห็นมาแล้วว่านายทุนทุกคน "พกฟูก" กันทั้งนั้น นอกจากนั้น การตายของนายทุนหมายถึงการปิดโรงงานที่ขาดทุน แล้วก็เอาทุนไปลงทุนทำธุรกิจอย่างอื่นได้ภายในเวลาข้ามคืน - ในโลกทุกวันนี้ ทุกคนต้อง "ปรับตัว" ตามให้ทันด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน นายทุน พรรคการเมือง หรือเทวดาฟ้าดินที่ไหน เพราะกับปรับตัวคือหัวใจที่สำคัญที่สุดของการอยู่รอด - เราปฏิเสธไม่ได้ว่าอย่างไรก็ตาม ค่าแรงขั้นต่ำควรเพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ตัวเลขเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน ในเชิงมนุษยธรรม หรือในเชิงฉันทามติในทางการเมือง ประเด็นมันควรอยู่ที่ว่าทำอย่างไรจึงจะทำได้สำเร็จอย่างแท้จริง - เราไม่สามารถดูเพียง "ค่าแรง" ได้ แต่ต้องดูค่าแรงเทียบกับเงินเฟ้อด้วย เช่น ถ้าค่าแรงเพิ่มขึ้น 50% แต่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 30% ก็เท่ากับว่าค่าแรงเพิ่มจริงๆเพียง 20% - การทำเรื่องนี้ให้สำเร็จต้องอาศัยนโยบาย "ครบชุด" ซึ่งจะต้องบริหารจัดการเรื่องอัตราว่างงาน และเงินเฟ้อ ให้ได้ - พรรคเพื่อไทยยังไม่ได้เป็นรัฐบาล เรายังไม่ได้ฟังอะไรอย่างเป็นทางการจากพวกเขา - ต่อให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง วันนี้เราก็ต้องนั่งเถียงกันเรื่อง 25% อยู่ดี - นโยบายค่าแรงเป็นเรื่องปลายเหตุและระยะสั้น เพราะเมื่อเงินเฟ้อปรับตัวตามมาเมื่อไหร่ ค่าแรงที่เพิ่มก็เท่ากับไม่ได้เพิ่มอีกต่อไป - สรุปอีกครั้งว่าแม้มันเป็นเรื่องควรทำ แต่มันทำได้ยากมากโดยเฉพาะเรื่องการควบคุมเงินเฟ้อ ทางแก้ปัญหาเรื่องแรงงานอย่างถาวรคือการมุ่งเพิ่มทักษะของคนในประเทศในระยะ ยาว มุ่งทำให้มีคนที่ต้องอยู่ในระดับ "ค่าแรงขั้นต่ำ" ให้น้อยที่สุด - ขอให้ดูตัวอย่างประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายที่เขาไม่ต้องมาเถียงกันเรื่องค่า แรงขั้นต่ำเท่าไหร่นัก เพราะคนในประเทศมีทักษะสูงมากพอจะได้ค่าแรงเหนือระดับราคาขั้นต่ำ สังเกตได้ว่า พวกเขาจะมีปัญหาขาดแคลนแรงงานขั้นต่ำจนต้อง "นำเข้า" จากต่างประเทศเสียด้วยซ้ำ เพราะประชาชนในประเทศเขาแทบจะไม่มีใครต้องมาทำงานแบบไร้ทักษะอีกต่อไป
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ช่วยกันทำลายอคติเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำในสังคมไทย Posted: 29 Jul 2011 02:10 AM PDT เป็นเรื่องดีที่การหาเสียงของพรรคใหญ่อย่างเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ ทำให้เกิดบรรยากาศตื่นตัวและความสนใจของผู้คนที่จะถกเถียงและหาความรู้เกี่ยวกับผลดีและผลเสียของนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ได้รับความสนใจในวงกว้างตอนนี้ คือ การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ถึงแม้พื้นที่ส่วนใหญ่ของสื่อจะถูกฝ่ายทุนช่วงชิงไป และทำให้เราได้ยินและได้อ่านความคิดเห็นในทางคัดค้านนโยบายนี้เป็นส่วนใหญ่ก็ตาม ตราบใดก็ตามที่ผู้คนจำนวนมากยังเชื่ออย่างสนิทใจว่าค่าจ้างค่าแรง ซึ่งเป็นผลตอบแทนของการทำงานของคนควรที่จะปล่อยให้ถูกกำหนดจากสิ่งนามธรรมที่เรียกว่า "กลไกตลาด" ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยากว่าทำไมวิวาทะเกี่ยวกับนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในขณะนี้ จึงเต็มไปด้วยข้อโต้แย้งทางเทคนิคที่ไร้มนุษยธรรม ไม่ว่าจะเป็นความกังวลเรื่อง "ความสามารถในการแข่งขัน" ของผู้ประกอบการหรือเรื่องเงินเฟ้อของพวกมนุษย์เงินเดือน โดยแทบจะไม่มีใครสนใจประเด็นเรื่องสิทธิทางสังคมและความจำเป็นที่จะต้องสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานให้กับคนงานเลย ทั้งที่เราทุกคนก็ทราบดี (โดยไม่ต้องมีความรู้เศรษฐศาสตร์แม้แต่น้อย) ว่า ระดับค่าจ้างขั้นต่ำที่เป็นอยู่นั้นไม่สะท้อนระดับค่าครองชีพที่เป็นจริงในชีวิตประจำวันแต่อย่างใด และที่คนงานไทยจำนวนมากมีรายได้พอกระเสือกกระสนไปแต่ละเดือน ก็ด้วยการทำงานล่วงเวลาเพื่อให้ได้รายได้เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง จนทำให้จำนวนชั่วโมงทำงานของคนงานในโรงงานเฉลี่ยต่อวันนั้นอยู่ในระดับที่สูงมากจนน่าตกใจ ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ "มุมมองบ้านสามย่าน" หน้าทัศนะวิจารณ์ น.ส.พ. กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2554 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
TCIJ: เจาะ 10 บ.ไทย-ต่างชาติค้า “โบอิ้ง-เฮลิคอปเตอร์” ให้กองทัพอากาศ Posted: 29 Jul 2011 12:35 AM PDT เจาะลึก 10 บริษัทไทย-ต่างชาติ คู่ค้าจัดหาอะไหล่เครื่องบิน-เฮลิคอปเตอร์กับกองทัพอากาศ หลังเหตุการณ์ระทึก ! ฮ.HU-1H จอดฉุกเฉินกลางทุ่งนา จ.อุดรฯ นอกจากกรณีเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกตก 3 ครั้งในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วัน จากครั้งแรก เฮลิคอปเตอร์แบบ HU-1H หรือ “ฮิวอี้” ครั้งที่สองเฮลิคอปเตอร์แบบแบล็คฮอล์กที่แก่งกระจาน เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นเฮลิคอปเตอร์แบบ เบลล์ 212 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ทั้ง 3 เหตุการณ์ทำให้กองทัพสูญเสียกำลังพลไปถึง 17 นาย ล่าสุดเกิดเหตุการณ์ เฮลิคอปเตอร์แบบฮิวอี้ของกองทัพอากาศ ลง จอดฉุกเฉินกลางทุ่งนา ใน จ.อุดรธานี เนื่องจากเครื่องวัดรอบเครื่องยนต์ไม่ทำงาน เมื่อเจ้าหน้าที่นำอะไหล่มาเปลี่ยนก็ใช้งานได้ปกติ ท่ามกลางเหตุการณ์ดังกล่าว คำถามที่เกิดขึ้น คือ นอกจากบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (กองทุนสวัสดิการกองทัพอากาศถือหุ้น 48.99% สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถือหุ้น 50.99%ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท) ผูกขาดจัดหาอะไหล่ซ่อมแซมเครื่องบินและอื่นๆให้กองทัพอากาศ วงเงินถึง 3,167 ล้านบาทในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ( 2551-25553) มีบริษัทต่างชาติอื่นเป็นคู่ค้าหรือไม่? ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (TCIJ) เจาะข้อมูลมานำเสนอดังนี้ 1.บริษัท AERO TECHNOLOGYประเทศสหรัฐอเมริกา จัดหาอะไหล่และอุปกรณ์เฮลิคอปเตอร์ อะไหล่ซ่อมบำรุงเครื่องวิทยุไมโครเวฟ MDR-2205 วงเงิน 9.8 ล้านบาท ได้แก่ อุปกรณ์สำหรับใช้เป็นอะไหล่หมุนเวียนให้กับ ฮ.6ข,ฮ.6ค และ ฮ.6ง วงเงิน 1,350,856 บาท (17 มี.ค. 2551) ,อุปกรณ์ สำหรับใช้เป็นอะไหล่หมุนเวียนจำนวน 2รายการ วงเงิน 2,081,208 บาท (24 มิ.ย. 2551) ,อะไหล่ซ่อมบำรุงเครื่องวิทยุไมโครเวฟ MDR-2205 วงเงิน 3,965,625 บาท (11 พ.ย. 2551) ,อุปกรณ์ ของ บ.ล.11ค (BOEING 737) วงเงิน 2,451,723 บาท (28 ม.ค. 2552) 2. บริษัท aero partners LTD.สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนเหนืออะไหล่ซ่อม PROPELLER P/Nฯเครื่องบินลำเลียงราคา 8 ล้านบาท (29 มิ.ย. 2552) 3.บริษัท FERNAU AVIONICS LIMITEDสหราช อาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ เครื่องช่วยเดินอากาศทาแคนภาคพื้นพร้อมติดตั้ง โดยกรมสื่อสารทหารอากาศ 45.2 ล้านบาท (19 ส.ค. 2551) 4.บริษัท SAAB AB (PULB)SABB MICROWAVE SYSTEMSประเทศ สวีเดน RECEIVER MODULEจำนวน1EA11,617,304 บาท (11 มิ.ย. 2551) และ MMI COMPUTER จำนวน2EA4,555,840 บาท (8 ธ.ค. 2551) รวม 16.1 ล้านบาท โดยกรมสื่อสารทหารอากาศ 5.บริษัท Nera Telecommunication Ltd.,จากประเทศสิงคโปร์ เป็นผู้ขาย อุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมให้กองทัพอากาศ3 ครั้ง 89.1 ล้าน บาท ได้แก่ อุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมพร้อมการติดตั้ง วงเงิน 35,561,376 บาท (15 ส.ค. 2551) ,อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบโทรคมนาคม เพื่อสนับสนุนภารกิจการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ใต้ 13,639,766 บาท (19 ส.ค. 2551) ,อุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคม พร้อมการติดตั้งจำนวน 1 ระบบ 39,938,400 บาท (19 มิ.ย. 2552) 6.บริษัท TADIRAN COMMUNITION LTDรัฐอิสราเอลเป็นผู้ขาย วิทยุสื่อสารป้องกันฐานบินพร้อมระบบ 23.2 ล้านบาท (19 ส.ค. 2551) 7. บริษัท Elbit Systems Ltd.รัฐอิสราเอล ผู้ขายอะไหล่ซ่อมบำรุงระบบควบคุมการยิง 2 ครั้ง 11.2 ล้านบาท ได้แก่ ซื้ออะไหล่ซ่อมบำรุงระบบควบคุมการยิง บ.ขฝ.1วงเงิน 6,122,952 บาท (17 ก.ย. 2551) และ ซื้ออะไหล่ซ่อมบำรุงในโครงการปรับปรุง บ.ข.18 ข/ค(F-5MOD) วงเงิน 5,167,800 บาท (18 ก.ย. 2551) 8.บริษัท yield CO.LTD ประเทศญี่ปุ่นEMERGENCY LOCATOR TRANSMITTER(ELT) 6.7 ล้าน บาท โดยกรมสื่อสารทหารอากาศ(25 ส.ค. 2551) 9.บริษัท ROHDE&SCHWARZ INTERNATIONAL GmbHสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี วิทยุพื้นดิน-อากาศจำนวน11ชุด 39.9 ล้านบาท โดยกรมสื่อสารทหารอากาศ (10 ก.ย. 2551) เพราะฉะนั้น ถ้ารวม บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ด้วยเท่ากับมีบริษัทนิติบุคคลสัญชาติไทยและต่างชาติอย่างน้อย10 บริษัทที่เป็นคู่ค้าอะไหล่เครื่องบิน เครื่องมือ อุปกรณ์สื่อสาร ให้กองทัพอากาศ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ดักคอราชการ อย่าฉวยช่วงสุญญากาศการเมือง ยกร่าง กม.สถาบันความปลอดภัย Posted: 29 Jul 2011 12:00 AM PDT คนงานร้อง ก.แรงงาน ชะลอยกร่างกฏหมายการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ไว้ก่อนจนกว่าจะมีเจ้ากระทรวงคนใหม่มาบริหาร ดักคอราชการอย่าใช้ช่วงสุญญากาศทางการเมือง ยกร่างกฏหมายเอง หนังสือดังกล่าว ระบุข้อเรียกร้องให้กระทรวงแรงงาน ชะลอการร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากในการร่างกฎหมาย มีข้อโต้แย้งที่สำคัญในเรื่องความเป็นอิสระของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ตลอดจนวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และที่มาของคณะกรรมการสถาบันฯ ควรเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากกฎหมายฉบับดังกล่าว รวมถึงให้ทบทวนโครงสร้างของคณะอนุกรรมการยกร่าง เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง "...เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งที่ข้าราชการประจำ ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้รับฉันทามติจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จะอาศัยช่องว่างสุญญากาศแห่งอำนาจ รวบรัดดำเนินการยกร่างกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ข้ออ้างเรื่องระยะเวลาที่จำกัด ก็ไม่อาจรับฟังได้ เนื่องจากยังมีระยะเวลาอีกหนึ่งปีก่อนการประกาศใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว" หนังสือดังกล่าวระบุ รวมถึงเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานดำเนินการชะลอการยกร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวไว้ จนกว่าจะมีการหารือร่วมกับรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป ด้านนายนคร ศิลปอาชา รองปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นผู้รับหนังสือแทนปลัดกระทรวง กล่าวว่า จะพิจารณาสัดส่วนโครงสร้างของคณะกรรมการเสียใหม่ รวมถึงจะชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวไว้ก่อนจนกว่ารัฐมนตรีใหม่จะมาด้วย
//////// ที่พิเศษ ๔ / ๒๕๕๔ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เรื่อง ขอคัดค้านการพิจารณายกร่างกฎหมายการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามที่ สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมัชชาคนจน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ร่วมกับ กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เครือแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการแรงงานข้ามชาติ และเครือข่ายผู้นำแรงงานในพื้นที่อุตสาหกรรม นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาชน ได้ยื่นหนังสือต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และต่อมา ฯพณฯ ได้กรุณาเชิญตัวแทนเข้าพบเพื่อหารือ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ในประเด็นเรื่อง การพิจารณายกร่างกฎหมายการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคณะอนุกรรมการยกร่างฯชุดที่กระทรวงแรงงานแต่งตั้ง สาระสำคัญของการหารือสรุปได้ว่า ๑. ให้กระทรวงแรงงาน ชะลอการร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากในการร่างกฎหมาย มีข้อโต้แย้งที่สำคัญในเรื่องความเป็นอิสระของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ตลอดจนวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และที่มาของคณะกรรมการสถาบันฯ ควรเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากกฎหมายฉบับดังกล่าว ๒. ให้มีการทบทวนโครงสร้างของคณะอนุกรรมการยกร่าง เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ๓. ฯพณฯ รมต.กระทรวงแรงงานเห็นว่า ควรได้มีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะมีกระบวนการในการยกร่างกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตาม ได้มีการดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงสร้างคณะอนุกรรมการฯ ตามคำสั่งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ ๓๙/๒๕๕๔ เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างกฏหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ โดย นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านประกันความมั่นคงในการทำงาน ประธานกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งต่อมา ได้มีการจัดประชุมคณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมายฯในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยกะทันหัน การดำเนินการดังกล่าว เป็นการดำเนินการที่ภาคประชาชนไม่เคยรับรู้มาก่อน และไม่เป็นไปตามความเห็นร่วมของที่ประชุมหารือในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ กฎหมายการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสวัสดิภาพ ความปลอดภัย ของผู้ใช้แรงงาน ทั้งในระบบและนอกระบบกว่ายี่สิบล้านคน กฎหมายดังกล่าว เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านสวัสดิการของรัฐบาล ที่กำลังจะถูกจัดตั้งขึ้นในเร็ววันนี้ สมควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งกำลังจะเริ่มเข้ามาบริหารจัดการ จักต้องรับรู้และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้น จึงเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งที่ข้าราชการประจำ ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้รับฉันทามติจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จะอาศัยช่องว่างสุญญากาศแห่งอำนาจ รวบรัดดำเนินการยกร่างกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ข้ออ้างเรื่องระยะเวลาที่จำกัด ก็ไม่อาจรับฟังได้ เนื่องจากยังมีระยะเวลาอีกหนึ่งปีก่อนการประกาศใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ภาคประชาชนที่ประกอบด้วยสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมัชชาคนจน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ร่วมกับ กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เครือแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการแรงงานข้ามชาติ และเครือข่ายผู้นำแรงงานในพื้นที่อุตสาหกรรม นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาชน จึงขอคัดค้านการยกร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่กำลังดำเนินการโดยกระทรวงแรงงานในปัจจุบัน และขอให้ ฯพณฯ ดำเนินการชะลอการยกร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวไว้ จนกว่าจะมีการหารือร่วมกับรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป ขอแสดงความนับถือ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น