ประชาไท | Prachatai3.info |
- เกิดเหตุระเบิดสถานที่ราชการนอร์เวย์ ตามด้วยบุกยิงค่ายยุวชน
- ร้องอาเซียนจับตารัฐบาลพม่าสั่งทหารข่มขืนหญิงชนกลุ่มน้อย
- คนเชียงดาวโวยเมื่อรัฐผุดโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน (ตอน 1)
- นักสหภาพแรงงานเกาหลีชุมนุมหน้าสถานทูตไทย จี้ปล่อยตัว “สมยศ”
- "ณัฐวุฒิ" ขอบคุณ กกต.รับรอง 6 นปช. ยันไม่เคลื่อนมวลชนกดดัน
- อดีต กก.สิทธิฯชี้กระบวนการยุติธรรมลักลั่น ชาวบ้านค้าน “เหมืองหินผาจันได” ติดคุก
- แหล่งข่าวเผย ครอบครัวขิ่นยุ้นต์ลำบากอย่างหนัก
- กรุงเทพโพลล์เผย นักเศรษฐศาสตร์ห่วงนโยบายเพื่อไทย 14 โครงการ
- อมรา พงศาพิชญ์
- เตรียมจัดงาน 3 ปีขัง ‘ดา ตอร์ปิโด’ - ชูป้าย ‘ปล่อย สมยศ’ ลุ้นอัยการสั่งไม่ฟ้อง
- กรุงเทพธุรกิจ: สมเด็จพระบรมฯ รับสั่ง'ไม่ต้องวางเงินประกัน'โบอิ้ง737
- จดหมายถึงว่าที่ นรม.หญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว
- นักเรียนกกตูมยื่นหนังสือไล่ ผอ.มาตรฐานการศึกษาต่ำ ไม่โปร่งใส พกปืน
- กสม.'ขอโทษ'รายงานสลายชุมนุมรั่ว-ช้า รับปากแถลงทุกเดือน 'แม่น้องเกด'บุกทวง
- รายงาน: หยาดเหงื่อแรงงานผู้ก่นสร้าง อยู่เหนือข้ออ้างกฎหมายที่อยุติธรรม
เกิดเหตุระเบิดสถานที่ราชการนอร์เวย์ ตามด้วยบุกยิงค่ายยุวชน Posted: 22 Jul 2011 02:44 PM PDT เกิดเหตุสะเทือนขวัญ 2 ครั้งซ้อนในนอร์เวย์ สถานที่ราชการรวมถึงทำเนียบนายกฯ ถูกวางระเบิดเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ตามด้วยมีคนสวมชุดตำรวจเข้าไปกระหน่ำยิงเยาวชนในค่ายยุวชนพรรคแรงงาน (AUF) กลุ่มยุวชนสังคมนิยมนานาชาติออกแถลงการณ์แสดงความเห็นใจผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์และประณามผู้ก่อเหตุ 22 ก.ค. 2554 ในช่วงบ่ายของประเทศนอร์เวย์เกิ ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่นอร์เวย์ "จากที่สถานการณ์เลวร้ายอยู่แล้ โดยขระที่ความกลัวเข้าครอบงำหรุ การโจมตีนี้เป็นส่วนหนึ่ แม้ว่าตำรวจจะไม่ได้เชื่ วิลล์ แมคคานท์นักวิเคราะห์จาก C.N.A. สถาบันวิจัยเรื่องการก่อการร้ ทางด้านผุ้นำชาวมุสลิมในนอร์ ขณะเดียวกัน กลุ่มสหพันธ์ยุวชนสังคมนิ "พวกเราแสดงความเป็นห่วงกลุ่ นอกจากนี้กลุ่มยุวชนสังคมนิยมทั อย่างไรก็ตามทางตำรวจของนอร์ ผู้เห็นเหตุการณ์ในค่ายยุวชนกล่ ด้านสมาชิกพรรคแรงงานที่ ตำรวจบอกว่าเหตุระเบิดเกิดขึ้ ที่มา Tragedy at AUF Summercamp in Norway, IUSY
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ร้องอาเซียนจับตารัฐบาลพม่าสั่งทหารข่มขืนหญิงชนกลุ่มน้อย Posted: 22 Jul 2011 02:40 PM PDT 22 ก.ค. 54 - กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (AIPMC) ร้อง อาเซียนจับตารัฐบาลพม่าสั่งทหารข่มขืนหญิงชนกลุ่มน้อย เสนอปัดคำขอพม่าขึ้นเป็นประธานอาเซียน-ตัด ท่อน้ำเลี้ยงเผด็จการ AIPMC กังวล อย่างยิ่งต่อการข่มเหงประชาชนหลังจากกองทัพของรัฐบาลพม่าบุกโจมตี กองกำลัง ชนกลุ่มน้อยในรัฐฉาน และรัฐคะฉิ่น โดยเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่สั่งให้ทหารผู้น้อย ทารุณกรรมทางเพศ รวมไปถึงการรุมข่มขืนเด็กและผู้หญิงชนกลุ่มน้อยอย่างโหดร้ายทารุณ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า สถานการณ์สู้รบทาง เหนือ และฝั่งตะวันตกของพม่าเลวร้ายลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปของพม่าในปีที่ผ่านมา กองทัพของรัฐบาลพม่าฉีกข้อตกลงหยุดยิงที่มีระยะเวลายาวนานกับกอง กำลังชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม เช่น กองทัพรัฐฉานเหนือ (SSA-N) และ กองทัพอิสระคะฉิ่น (KIA) ทำให้ประชาชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่อสู้และใกล้เคียง ต้องประสบความยากลำบาก องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานในพื้นที่รัฐฉานรายงานว่ามีการปะทะกัน ระหว่างกองทัพพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อยถึง 65 ครั้งในรัฐฉานในระยะเวลาเพียง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาและขณะนี้มีประชากรที่ละทิ้งถิ่นฐานเพื่อหนีภัย การสู้รบอยู่ในรัฐฉานจำนวนหลายพันคน รายงานจากสมาคมสตรีคะฉิ่นแห่งประเทศไทยชี้ว่ามีผู้ลี้ภัยมากกว่า 16,000 คนต้องอพยพข้ามไปประเทศจีนเพื่อหนี ภัยการสู้รบที่กำลังลุกลามอย่างรวดเร็วในสิบเมืองของรัฐคะฉิ่น ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีรายงานจากแหล่งข่าวในพื้นที่ว่าทหารพม่าทำการทารุณกรรมทางเพศ ต่อเด็กและผู้หญิงอย่างเป็นระบบในทั้งรัฐฉานและรัฐกะเหรี่ยง การสู้รบที่ยืดเยื้อมีความเกี่ยวเนื่องอย่างแนบ แน่นกับการ แสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลพม่าในเขตปกครองของชนกลุ่ม น้อยซึ่งมี ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เช่น โครงการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินและอิระวดี และโครงการท่อส่งแก๊สและน้ำมันข้ามชาติผ่านพื้นที่ตอน เหนือของรัฐฉาน ซึ่งรัฐบาลพม่าต้องทำการกำจัดกองกำลังฝ่ายต่อต้านและยึดพื้นที่ เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการเหล่านั้น นอกจากนี้พม่าไม่มีนโยบายจัดการกับผลกระทบจากบรรดาโครงการปอกลอก ทั้งหลายที่มีต่อประชาชนในท้องถิ่น แต่กลับนำโครงการเหล่านี้มาเป็นข้ออ้างในการควบคุมชนกลุ่มน้อยและ กำจัดกองกำลังชนกลุ่มน้อย แทนที่จะหาหนทางแก้ไขปัญหาทางการเมืองในประเทศ โครงการเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่าง รุนแรงโดยทหารพม่าต่อชนกลุ่มน้อย เช่นการบังคับใช้แรงงาน การยึดที่ดิน ทรมาน ฆาตกรรม และข่มขืน รวมไปถึงการไหลบ่าของผู้อพยพเข้าในประเทศไทยและจีน “มีเพียงผู้ นำกองทัพพม่า และพวกพ้องทางธุรกิจของพวกเขาที่ได้ประโยชน์จากโครงการที่สร้าง จาก ชีวิต เลือดเนื้อ และหยาดน้ำตาของประชาชน” นาย ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รักษาการสมาชิกรัฐสภาไทยและที่ปรึกษาอาวุโสของ AIPMC กล่าว การสู้รบในปัจจุบัน เป็น สถานการณ์การเมืองที่นับว่ารุนแรงที่สุดในพม่า หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา พม่ายังไม่มีความก้าวหน้าทางการเมืองที่สำคัญเลย จำนวนนักโทษการเมืองในประเทศยังคงอยู่ที่มากกว่า 2,000 คน AIPMC ได้ ติดตาม สถานการณ์ชายแดนของพม่าอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลานาน และมีความกังวลอย่างยิ่งต่อความขัดแย้งทางการเมืองและการสู้รบ หลังการเลือกตั้ง “เรา ขอเรียกร้องให้กองทัพของรัฐบาลพม่าหยุดละเมิดสิทธิ์ หยุดใช้การข่มขืนอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นอาวุธข่มเหงผู้หญิงกลุ่ม ชาติพันธุ์ โดยทันที และให้กองทัพเจรจาสงบศึกกับกองกำลังติดอาวุธโดยเร็ว” นางเอวา คุซุมา ซันดาริ สมาชิกรัฐสภาอินโดนีเซียและ ประธาน AIPMC กล่าว “อาเซียนต้อง เผชิญ หน้ากับความท้าทายในการรับผิดชอบที่จะปกป้องประชาชนชาวพม่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและสหประชาชาติจำเป็นต้องร่วมหารือกัน เพื่อยุติวิฤติการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า และผลกระทบที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคนี้โดยรวม ประชาคมโลกต้องกดดันให้อาเซียนจัดการประชุมดังกล่าวโดยด่วน” นางเอวาย้ำ คณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย สิทธิมนุษยนชน (AICHR) ต้องติดตามกรณีการข่มขืนในพม่า อย่างใกล้ชิด อาเซียนและประเทศสมาชิกต้องปฏิเสธคำขอขึ้นเป็นประธานอาเซียนของ พม่าในปี พ.ศ. 2558 นี้ จนกว่าพม่าจะมีมาตรการหยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศอย่าง จริงจัง ประเทศสมาชิกอาเซียนจำเป็นต้องให้ความสนใจข้อเรียกร้องของนายโท มัส โอเจย์ ควินตานา ผู้จัดทำรายงานพิเศษ ให้แก่สห ประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในพม่า ให้ตั้งคณะกรรมการไต่สวนของสหประชาชาติ (COI) เพื่อ สอบสวนอาชญากรรมที่เกิด ขึ้นในพม่า ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนุบสนุนจากนาง ออง ซาน ซูจี และรัฐบาลของ 16 ประเทศในโลก นอกจากนี้ประเทศไทยและประเทศที่เข้าไปลงทุนในพม่าต้อง ทบทวนการลงทุน ในพม่าเพื่อตัดเส้นทางการเงินที่หล่อเลี้ยงกลุ่มอำนาจเผด็จการที่ โหดเหี้ยม ของพม่า สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คนเชียงดาวโวยเมื่อรัฐผุดโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน (ตอน 1) Posted: 22 Jul 2011 02:35 PM PDT ชาวบ้านเชียงดาวโวยรัฐแอบงุบงิบเดินหน้าโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน หวั่นส่งผลกระทบคนในพื้นที่ ทำลายผืนป่าต้นน้ำและชั้น 1A พร้อมตั้งข้อสังเกตความไม่ชอบมาพากลของโครงการ
เป็นที่รับรู้ว่า พื้นที่อำเภอเชียงดาวนั้นเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง แม่น้ำสำคัญสายหนึ่งของประเทศไทย ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนตามลุ่มน้ำกันมาช้านาน อีกทั้งพื้นที่แถบนี้ยังถือเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งด้วย
แต่จู่ๆ ไม่นานมานี้ ได้มีเจ้าหน้าที่เข้ามาทำการสำรวจในพื้นที่รอบๆ ลำน้ำแม่ปิงตอนบน บริเวณบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้สร้างความสงสัยต่อชาวบ้านในพื้นที่ ว่าเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้เข้ามาทำไมและหวังผลประโยชน์อะไรหรือไม่ ในขณะที่เริ่มมีกระแสข่าวหนาหูขึ้นทุกที ว่ารัฐกำลังจะสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน
กระทั่ง ชาวบ้านสืบทราบมาว่า ข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นความจริง จึงพากันหวาดวิตก เมื่อรู้ว่า รัฐโดยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน ซึ่งมีขนาดความจุอ่างเก็บน้ำระดับเก็บกักประมาณ 550 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างระดับน้ำสูงสุด ประมาณ1,500 ไร่ ตัวเขื่อนสูงประมาณ 62.0 เมตร ยาวประมาณ 500เมตร พอรู้ว่าขนาดความจุของการเก็บกักน้ำขนาดนี้ ยิ่งทำให้ชาวบ้านตกใจ ว่านี่มันไม่ใช่อ่างเก็บน้ำ แต่มันคือเขื่อน!! หลังจากนั้น ชาวบ้านโป่งอางต่างพากันประชุมหารือกันอย่างเคร่งเครียด ก่อนมีมติร่วมกันออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงในพื้นที่ชุมชนของตนเอง เพราะทุกคนเชื่อแน่นอนว่า หากมีการสร้างขึ้นจริง จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและทำลายพื้นที่ป่าในเนื้อที่มหาศาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนี่คือที่มาของโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากแล้ว เขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน กรมชลฯอ้างสาเหตุต้องสร้างด้วยวลีเด็ด ‘เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง’ จากเอกสารประกอบโครงการ ของกรมชลประทาน ระบุถึงที่มาของแนวคิดของโครงการนี้ เกิดขึ้นหลังจากเกิดภาวะน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี 2548 โดย กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ โดยให้สำนักนโยบายและแผน ว่าจ้าง 3 บริษัทในการดำเนินการ ได้แก่ บริษัทพีแอนด์ ซี แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัทพิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด และบริษัทธารา คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งชาวบ้านพอสรุปเหตุผลของการสร้างเอาไว้ดังนี้ 1.กรมชลประทาน มองว่า ที่ผ่านมาแม่น้ำปิงได้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งอย่างหนัก 2.กรมชลประทาน มองว่า ลุ่มน้ำแม่ปิงนั้นเกิดปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน และเคยประสบปัญหาน้ำท่วมในเขตชุมชนหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2538 และปี พ.ศ. 2548 เกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงดาว ตัวเมืองเชียงใหม่ 3.กรมชลประทาน มองว่า การเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2548 ที่ผ่านมานั้น ได้ก่อเกิดผลเสียหายต่อทรัพย์สินราชการ ภาคเอกชน และราษฎร สร้างความหายด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาการแก้ไขปัญหาปัญหาน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน และเข้ามาทำการศึกษา ความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำในเขตลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน ตามการศึกษาแผนการพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมโครงการฯดังกล่าว จึงนำมาสู่การศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน ซึ่งทางกรมชลประทานมองว่า เป็นแหล่งน้ำที่มีศักยภาพในระดับลุ่มน้ำ (ศักยภาพในที่นี้หมายถึง สร้างโครงการแหล่งน้ำขนาดกลาง ซึ่งมองว่า มีความจุเพียงพอกับการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน) ผุดโครงการอ่าง (เขื่อน)เก็บน้ำแม่ปิงตอนบน จากการศึกษาเบื้องต้น โดยสำนักชลประทานที่ 1 ร่วมกับสำนักบริหารโครงการ จึงดันโครงการขึ้นมา โดยมี ที่ตั้งโครงการฯ ตั้งอยู่ ม. 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยระบุขนาด /ความจุ ของอ่างเก็บน้ำที่มีความจุอ่างเก็บน้ำระดับเก็บกักประมาณ 550 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างระดับน้ำสูงสุด ประมาณ 1,500 ไร่ และตัวเขื่อนสูงประมาณ 62.0 เมตร ยาวประมาณ 500เมตร ข้อมูลโครงการระบุชัดเจนว่า พื้นที่โครงการนั้น ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแดง (เดิมชื่ออุทยานแห่งชาติเชียงดาว) เขตป่าอนุรักษ์ ที่เรียกว่า พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 A (สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญ) ข้อมูลโครงการระบุชัดเจนว่า ระยะทางการสร้างเขื่อนห่างจากหมู่บ้านเพียง 1 กม. ชาวบ้านในพื้นที่สรุปข้อสังเกตเบื้องต้น สร้างเขื่อนทำไมและเพื่อใคร?! -เหตุผลและที่มาของโครงการฯ นั้นเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาในเขตเมืองเป็นหลัก โดยเฉพาะหากเกิดโครงการฯนี้ขึ้นมา จะนำไปสู่การลดปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และจะทำให้รายได้ เศรษฐกิจ จากการท่องเที่ยวดีขึ้น(มาก) ในขณะที่คนในพื้นที่กลับไม่ได้เอ่ยถึงและไม่ได้ให้ความสนใจว่าจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด?! -ผู้รับประโยชน์โครงการฯอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงท้ายน้ำ -ความจุของอ่าง ความสูง และความยาว ตามเอกสาร หากตรวจสอบข้อมูลจากกรณีการสร้างเขื่อนพื้นที่อื่นๆ เช่น แก่งเสือเต้น เมืองคอง ห้วยไคร้ (เวียงแหง) พบว่า ล้วนเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งสิ้น แต่กรมชลประทานมักระบุไว้ในเอกสารว่าเป็น อ่างเก็บน้ำ เหมือนการพรางตัว หลอกชาวบ้านไม่ให้หวั่นวิตกหรือออกมาคัดค้านหรือไม่?! -การใช้ชื่อเรียก ในเอกสารประกอบการประชุม 3 ครั้งที่ผ่านมา บางคำในเอกสารใช้เรียกว่า “อ่าง” บางคำเรียกว่า “เขื่อน” ซึ่งยิ่งสร้างความสับสน ความไม่ชอบมาพากลของโครงการนี้มากยิ่งขึ้น -การก่อสร้างดำเนินการในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ลุ่มน้ำชั้น 1A ซึ่งถือว่าเป็นสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญ ฉะนั้น การดำเนินการใดๆ ต้องศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับวันที่ 16 มิ.ย.2552 และประกาศลงในราชกิจจานุบกษา วันที่ 31 สิงหาคม 2552 และ มติครม.วันที่ 1 สิงหาคม 2543 ก็ระบุชัดเจนว่า โครงการฯที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติและระดับนานาชาติ นี่คือสิ่งที่ชาวบ้านคนในพื้นที่กำลังวิตกกังวล และตั้งข้อสังเกต ตั้งคำถามกับรัฐ โดยกรมชลประทาน ที่ยังคงเดินหน้าจะสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน ที่เชียงดาว!!
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักสหภาพแรงงานเกาหลีชุมนุมหน้าสถานทูตไทย จี้ปล่อยตัว “สมยศ” Posted: 22 Jul 2011 10:22 AM PDT นักสหภาพแรงงานกลุ่ม KHIS (Korean House of International Solidarity) พร้อมด้วยตัวแทนจากสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมโรงพยาบาล (KHMU) และ สมาพันธ์แรงงานสิ่งทอและเคมีภัณฑ์เกาหลี(KCTF). ได้จัดแถลงข่าวและชุมนุมหน้าสถานทูตไทย ประจำกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลและศาลไทยปล่อยตัวโดยให้สิทธิในการประกันตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ภาพนักสหภาพแรงงานเกาหลีชุมนุมและยื่นแถลงการณ์ต่อสถานทูตไทย ประจำกรุงโซล วันนี้(22 ก.ค.) นักสหภาพแรงงานกลุ่ม KHIS (Korean House of International Solidarity) พร้อมด้วยตัวแทนจากสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมโรงพยาบาล (KHMU) และ สมาพันธ์แรงงานสิ่งทอและเคมีภัณฑ์เกาหลี(KCTF). ได้จัดแถลงข่าวและชุมนุมหน้าสถานทูตไทย ประจำกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลและศาลไทยปล่อยตัวโดยให้สิทธิในการประกันตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงาน และบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณและเรดพาวเวอร์ซึ่งได้ถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับกุมเมื่อ 30 เม.ย.ที่ผ่านมาในหมายจับตามข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และถูกควบคุมตัวที่เรือนจำกลางคลองเปรมจนถึงปัจจุบันโดยไม่ได้รับการประกันตัว โดย นา ฮยอน-ปิล์ (Na Hyun-pil) จาก KHIS และ ฮัน ยง อัน(Han Yong-un) รองประธานสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมโรงพยาบาล เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ต่อสื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 และหยุดคุกคามขบวนการแรงงานและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย หลังจากนั้น ฮัน ยง อัน เป็นตัวแทนยื่นแถลงการณ์ให้กับตัวแทนจากสถานทูตไทย ด้านองค์กรรณรงเพื่อเสื้อผ้าสะอาดปราศจากการกดขี่แรงงาน หรือ Clean Clothes Campaign ได้เผยแพร่วีดีโอคลิปรณรงค์เรียกร้องให้มีการปล่อยตัว สมยศฯ วานนี้(21 ก.ค.) นอกจากนั้นยังมีการเผยแพร่คริปสัมภาษณ์ความเห็นของแต่ละคนเกี่ยวกับการเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวสมยศฯ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง : เตรียมจัดงาน 3 ปีขัง ‘ดา ตอร์ปิโด’ - ชูป้าย ‘ปล่อย สมยศ’ ลุ้นอัยการสั่งไม่ฟ้อง นักสหภาพแรงงานเกาหลี ‘ยืนเดี่ยว’ จี้ปล่อย ‘สมยศ’ ต่อ หลังหยุดเข้าพรรษา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
"ณัฐวุฒิ" ขอบคุณ กกต.รับรอง 6 นปช. ยันไม่เคลื่อนมวลชนกดดัน Posted: 22 Jul 2011 09:38 AM PDT 22 ก.ค. 54 - เนชั่นทันข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 15.10 น. ที่รร.มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำนปช. กล่าวถึงกรณีที่กกต.ประกาศรับรองสถานภาพส.ส.แกนนำนปช.บางส่วน และยังแขวนไว้บางส่วน ว่า คงจะไม่มีมาตรการกดดันใดๆ เพราะเราเคารพในกรอบเวลา และอำนาจของกกต. ยืนยันว่าไม่มีความคิดจะเคลื่อนมวลชนไปกดดันต่อต้านกกต. สิ่งที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่าตนจะนำคนไปเคลื่อนไหวกดดันกกต.นั้น ได้พูดมาตลอดว่าไม่มี ดังนั้นจึงอยากฝากไปถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ออกมาพูดทุกวันว่า ชีวิตของพวกตนนั้นแตกต่างกัน นายอภิสิทธิ์เป็นเด็กมีเส้น ชีวิตปูด้วยกลีบกุหลาบ ย่อมไม่มีวันเข้าใจพวกตนที่ต้องต่อสู้กับแรงกดดันทุกวิถีทาง ต่อสู้กับการถูกกล่าวหาและแรงเสียดทานทุกรูปแบบ แต่เชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจ โดยที่ตนออกมาพูดก่อนหน้านี้ เพราะเห็นว่ารายชื่อที่ถูกแขวน หลายคนไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหาแม้แต่น้อย จึงออกมาประกาศข้อเท็จจริงให้สังคมทราบ และเพื่อให้กกต.นำไปประกอบการพิจารณา วันนี้เมื่อให้การรับรองส.ส.ไปหลายคนก็ขอขอบคุณ ส่วนที่ยังเหลืออยู่นั้นก็ขอให้ท่านใช้วิจารณญาณของท่านต่อไป นายณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า สำหรับข้อกล่าวหาของตนว่าไปใส่ร้ายป้ายสีฝ่ายตรงข้ามนั้น ตลอดการรณรงค์หาเสียงก็อยู่ในสายตาของสื่อมวลชน ตนเพียงตอบโต้ทางการเมืองเพื่ออธิบาย ชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ ดังนั้นจึงไม่รู้สึกกังวลอะไร ส่วนกรณีขอนายจตุพร พรหมพันธุ์ ทราบว่าอนุกรรมการของกกต.ได้แจ้งข้อกล่าวหา หรือข้อร้องเรียนต่อตัวนายจตุพร ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ซึ่งเราพร้อมให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง แต่คงต้องสุดแล้วแต่กกต.ด้วยว่าจะให้ตนไปชี้แจงหรือไม่อย่างไร เมื่อถามว่า หากเลยกรอบเวลา 30 วัน แล้วยังไม่ประกาศรับรองแกนนำนปช.ที่เหลือจะมีมาตรการอย่างไร นายณัฐวุฒิตอบว่า ฝ่ายกฎหมายของพรรคจะเป็นผู้พิจารณา ข้อมูลหลักฐานทั้งหมดที่มีเราก็ส่งไปให้อนุกรรมการกกต.เรียบร้อยแล้ว หากให้ไปชี้แจงเพิ่มก็ยินดี เมื่อถามว่า อารมณ์มวลชนคนเสื้อแดงเป็นอย่างไร ดูเหมือนยังเดือดดาลอยู่ นายณัฐวุฒิตอบว่า เป็นเรื่องที่ยากลำบาก วันนี้ตนต้องทำหน้าที่ดูแลความรู้สึกของประชาชน ขอให้เข้าใจด้วยว่าตนทำอย่างดีที่สุดเพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ วันนี้ได้สื่อสารกับพี่น้องผ่านวิถีทางต่างๆ มากมาย เพื่อขอให้ทุกคนสงบนิ่ง นี่คือสิ่งที่ทำอยู่และไม่มีเปลี่ยนแปลง แต่ประชาชนที่เอาใจช่วยพวกเรารู้สึกเป็นห่วงและตึงเครียดก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่มีเหตุผล เพราะการต่อสู้ที่ผ่านมามันทำให้แต่ละฝ่ายไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน แต่ยืนยันว่าคนเสื้อแดงมีเหตุผล และเชื่อมั่นในพลังของประชาชนที่ตัดสินใจในการเลือกตั้งที่ผ่านมา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
อดีต กก.สิทธิฯชี้กระบวนการยุติธรรมลักลั่น ชาวบ้านค้าน “เหมืองหินผาจันได” ติดคุก Posted: 22 Jul 2011 09:19 AM PDT “สุนีย์ ไชยรส” ชี้ปัญหากระบวนการยุติธรรมกรณีการต่อสู้ของชุมชนค้านเหมืองหินผาจันได ชาวบ้านถูกตัดสินจำคุกไม่รอลงอาญาข้อหาวางเพลิงเล็กๆ แต่ที่ถูกยิงตาย 4 และคดีขอเพิกถอนประทานบัตรโครงการละเมิดสิทธิชุมชนยังไม่คืบ โยนหินถามรัฐบาลใหม่จะช่วยหรือไม่ นางสุนีย์ ไชยรส อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยกับศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน ว่ากรณีดังกล่าวเป็นการต่อสู้ของชาวบ้าน ครูและพระสงฆ์ ที่ร่วมกันปกป้องทรัพยากรท้องถิ่น สะท้อนการกระทำกลุ่มทุนที่เอาเปรียบ ปิดบังข้อเท็จจริงและใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือสกัดการต่อสู้ของ ชาวบ้านที่มือเปล่า ไม่มีค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี นางสุนีย์ ยังกล่าวว่า ผลการตัดสินของศาลฎีกาทำเห็นได้ชัดว่า ศาลปกครองกับศาลอาญาแยกส่วนกัน โดยก่อนหน้านี้ศาลปกครองชั้นกลางได้ตัดสินให้ชาวบ้านชนะคดีที่ยื่นฟ้องขอ เพิกถอนประทานบัตรโครงการ โดยให้มีการคุ้มครองชั่วคราว ห้ามระเบิดหินในบริเวณดังกล่าว “ศาลอาญาตัดสินโดยไม่มองถึงสิทธิชุมชนใน การต่อสู้ การมีจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นตามเจตนารมณ์ของศาลปกครองเลย ขาดการเชื่อมร้อยกันอย่างเห็นได้ชัด ขณะนี้ชาวบ้านต่างภาวนาให้ศาลปกครองสูงสุด ตัดสินโดยเห็นแก่ความรักในทรัพยากรท้องถิ่นของชุมชน” นางสุนีย์กล่าว อดีตกรรมการสิทธิฯ กล่าวต่อว่านอกจากความหวังในคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ยังมีอีกหนึ่งความหวังคือรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะช่วยชาวบ้านหรือไม่ โดยการเพิกถอนการประทานบัตร ซึ่งสามารถทำได้โดยกำหนดเป็นนโยบายรัฐบาล ไม่ต้องรอคำตัดสินของศาลปกครอง “รัฐบาลอาจหยิบยกเอานโยบายเหมือง แร่ นโยบายการเลือกพื้นที่ประทานบัตร นโยบายการประกาศแหล่งหินอุตสาหกรรม และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ขึ้นมาทบทวนใหม่อีกครั้ง ตลอดจนรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งความขัดแย้งระหว่างโครงการเหล่านี้กับชุมชน ยังมีอยู่ทั่วประเทศ แต่กฎหมายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนยังอ่อนแอ” นางสุนีย์กล่าว ทั้งนี้ความขัดแย้งจากโครงการดังกล่าว เริ่มมาตั้งแต่ปี 2536 ที่มีการสำรวจพื้นที่บริเวณภูผาจันได ภูผาฮวก และภูผาน้ำลอด ในเขต ต.ดงมะไฟ เพื่อขอประทานบัตรตามโครงการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อ อุตสาหกรรมก่อสร้าง ชาวบ้านในพื้นที่ได้รวมกลุ่มคัดค้าน ต่อมาแกนนำชาวบ้าน 2 คน ถูกยิงเสียชีวิต ปลายปี 2541 กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศให้แหล่งหินเขาภูผาจันไดเป็นแหล่งหินอุตสาหกรรม และวันที่ 20 ม.ค. 2542 มีประกาศเรื่องการขอประทานบัตร ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคัดค้านภายใน 20 วัน หนังสือคัดค้านลงวันที่ 27 ม.ค. 42 แต่ทางราชการอ้างว่าไม่มีการคัดค้าน จึงอนุญาตให้ดำเนินการต่อ จากนั้นกำนันทองม้วน คำแจ่ม และเพื่อน แกนนำกลุ่มคัดค้านถูกยิงเสียชีวิต กลุ่มผู้คัดค้านได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชนวุฒิสภา (สว.) ว่าการออกประทานบัตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประชาชน จะได้รับความเดือดร้อนจากฝุ่น และเสียง ทำลายแหล่งต้นน้ำลำธาร และแหล่งโบราณคดี ทั้งยังไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาพิจารณ์ จึงฟ้องร้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลเพิกถอนประทานบัตร ต่อมามีเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่ประทานบัตร กลุ่มทุนฟ้องกลับชาวบ้านทันที 12 คน ในคดีวางเพลิงทั้งที่จุดเกิดเหตุเป็นเพียงเพิงพักเล็กๆ และยังไม่ได้ปลูกสร้างอะไร ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ให้จำคุก 6 คน ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา ล่าสุดศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 54 ให้จำคุก 1 ปี ไม่รอลงอาญาชาวบ้าน 2 คน อีก 4 คน ยกฟ้อง ขณะที่ 2 ปีแล้วยังไม่มีความคืบหน้าของศาลปกครองสูงสุดกรณีชาวบ้านร้องขอเพิกถอน ประทานบัตร .
ที่มาข่าว: ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
แหล่งข่าวเผย ครอบครัวขิ่นยุ้นต์ลำบากอย่างหนัก Posted: 22 Jul 2011 09:03 AM PDT แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่พม่ารายงานว่า ครอบครัวของพลเอกขิ่นยุ้นต์กำลังประสบกับปัญหาการเงินอย่างหนัก มีรายงานว่าด้วยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา พลเอกขิ่นยุ้นต์ อดีตรัฐมนตรีของพม่าและขณะนี้ถูกกักบริเวณได้ร้องขอให้นายพลตานฉ่วยและนายพลหม่องเอผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆต่อสมาชิกในครอบครัวของเขา และร้องขออนุญาตให้ครอบครัวของเขาสามารพทำธุรกิจเลี้ยงชีพได้ ตามรายงานระบุว่า ขิ่นยุ้นต์ได้ร้องขอผ่านทางกระทรวงกิจการภายในพม่า โดยขอให้รัฐบาลเนปีดอว์พิจารณาการรักษาพยาบาลลูกชายทั้งสองคนของเขา นายเย หน่าย วิน และพันโทซอ หน่าย อู รวมทั้งลูกเขยของเขา นายทินทุต ซึ่งทั้งสามคนถูกกุมขังอยู่ในคุกตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2547 ด้วย โดยขิ่นยุ้นต์ได้ลงชื่อในคำร้องดังกล่าวว่า ในฐานะอดีตเพื่อนร่วมงานและเพื่อนสนิท ทั้งนี้ พลเอกขิ่นยุ้นต์ยังกล่าวว่าตนอายุจะครบ 70 ปีแล้ว และมีสุขภาพทรุดลงเรื่อยๆ โดยยังกล่าวว่า เขาหมดเวลาไปกับการปฏิบัติธรรม ดังนั้นจึงอยากมีชีวิตครอบครัวที่สงบสุขในวันสุดท้ายของชีวิต ด้านแหล่งข่าวรายงานว่า ครอบครัวของอดีตรัฐมนตรีผู้นี้กำลังประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก ถึงขั้นแทบไม่มีเงินส่งหลานไปเรียนหนังสือ และต้องเพาะกล้วยไม้จากบ้านไปขายที่ตลาด แต่เงินที่ได้จากการขายกล้วยไม้ก็ยังไม่พอกับค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ซึ่งทำให้กระทรวงกิจการภายในพม่า ต้องออกค่าใช้จ่ายบางส่วนให้กับครอบครัวของขิ่นยุ้นต์ ด้านนายตานเหย่น อดีตนักโทษการเมืองและผู้อำนวยการพรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Force) และยังเป็นพี่ชายของนางขิ่น วิน ฉ่วย ภรรยาของพลเอกขิ่นยุ้นต์กล่าวว่า เขาไม่ทราบเกี่ยวกับครอบครัวของพลเอกขิ่นยุ้นต์และน้องสาวของเขานานแล้ว นับตั้งแต่ความคิดเห็นทางการเมืองของพวกเขาแตกต่างกัน แต่ยอมรับกับสำนักข่าวอิรวดีว่า นางขิ่น วิน ฉ่วยนั้นปลูกกล้วยไม้เป็นงานอดิเรก อย่างไรก็ตามเขาเปิดเผยว่า นางขิ่น วิน ฉ่วยได้ถูกสั่งห้ามจากทางการไม่ให้ไปเยี่ยมมารดาวัย 96 ของเธอนับตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2547แล้วเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ หลังพลเอกขิ่นยุ้นต์ถูกบังคับให้ลงจากอำนาจในข้อหาทุจริต ทรัพย์สินของเขาและลูกชายทั้งหมดได้ถูกทางการยึดไว้ เช่นเดียวกับคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดของเขาก็ถูกสั่งจำคุก ขณะที่เมื่อเดือนพฤศจิกายนของปีที่แล้ว มีคลิปวิดีโอของพลเอกขิ่นยุ้นและภรรยาถูกนำตัวไปยังบ้านพักในเรือนจำอิ่นเส่งถูกเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต โดยในคลิปวิดีโอดังกล่าว ขิ่นยุ้นต์ได้บอกกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไปเชิญเขามาจากบ้านว่า เขาต้องตัดผมเองนับตั้งแต่ถูกกุมขัง ขณะที่ผู้สังเกตการณ์เชื่อว่า พลเอกขิ่นยุ้นต์อาจได้รับการปล่อยตัวในเร็วๆนี้ เนื่องจากเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองซึ่งเคยทำงานให้กับขิ่นยุ้นต์หลายคนได้รับการปล่อยตัวแล้ว ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาเรื่องมนุษยธรรมมากกว่าเรื่องอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในเนปีดอว์กลับเปิดเผยว่า เป็นไปได้ยากที่ขิ่นยุ้นต์และครอบครัวจะได้รับการปล่อยตัวในเร็วๆนี้ เนื่องจากผู้นำรัฐบาลพม่าเคยหารือกันถึงความเป็นไปได้ที่จะปล่อยตัวขิ่นยุ้นต์ก่อนหน้าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการเสนอจากนายพลหม่องเอ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากนายพลตานฉ่วยในที่สุด แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กรุงเทพโพลล์เผย นักเศรษฐศาสตร์ห่วงนโยบายเพื่อไทย 14 โครงการ Posted: 22 Jul 2011 08:50 AM PDT นักเศรษฐศาสตร์รู้สึกเป็นห่วงและต้องการให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยคิดให้รอบคอบใน 14 โครงการจาก 26 โครงการ พร้อมเสนอ 8 ประเด็นที่รัฐบาลต้องคำนึง 22 ก.ค. 54 - เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับรัฐบาลชุดใหม่ในการดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน การสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำเดือนนี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “นโยบายที่หาเสียงไว้ของรัฐบาลชุดใหม่ กับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เป็นห่วง” โดยสำรวจความคิดเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 26 แห่ง จำนวน 62 คน พบว่า จากนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ 26 นโยบาย มีถึง 14 นโยบายที่ นักเศรษฐศาสตร์รู้สึกเป็นห่วงและอยากให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยคิดให้รอบคอบก่อนดำเนินการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับปากท้องของประชาชนโดยตรง ตรงข้ามกับนโยบายโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่นว่าเป็นนโยบายที่ดีและต้องการให้เดินหน้าอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ นโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่รู้สึกเป็นห่วงและต้องการให้คิดให้รอบคอบก่อนดำเนินการมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ภายใน 90 วัน (ร้อยละ 93.5) ส่วนนโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่นว่าดีและต้องการให้เดินหน้าอย่างเต็มที่ 3 ลำดับแรก คือ นโยบายจัดให้มีศูนย์ฝึกในอาชีวศึกษาทุกแห่ง (ร้อยละ 93.5) สำหรับข้อคิดเห็นในการดำเนินนโยบายทั้ง 26 นโยบาย มีดังนี้ 1. นักเศรษฐศาสตร์มีความเป็นห่วงว่าจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
Posted: 22 Jul 2011 08:36 AM PDT | |
เตรียมจัดงาน 3 ปีขัง ‘ดา ตอร์ปิโด’ - ชูป้าย ‘ปล่อย สมยศ’ ลุ้นอัยการสั่งไม่ฟ้อง Posted: 22 Jul 2011 07:08 AM PDT 22 ก.ค.54 ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง นายกิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล พี่ชายของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้ต้องขังคดีหมิ่นสถาบัน ตามมาตรา 112 ซึ่งถูกคุมขังมาครบ 3 ปีในวันนี้ ได้เข้าเยี่ยมน้องสาวพร้อมด้วย สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายหลังการเข้าเยี่ยม สุดาให้สัมภาษณ์ว่า การเยี่ยมนักโทษคดีหมิ่น เป็นสิ่งเบื้องต้นที่เราควรจะผลักดันในสังคม เพื่อให้ผู้คนได้มีโอกาสเข้ามาพูดคุยกับบรรดานักโทษการเมือง ทำให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้อง ได้เห็นความเป็นมนุษย์และวิธีคิดของพวกเขา และหลุดพ้นจากความกลัว เนื่องจากหลายคนไม่มาเยี่ยมเพราะกลัวจะถูกทางการเก็บข้อมูล กล่าวหาเชื่อมโยงอยู่ในขบวนการเดียวกับนักโทษทางการเมืองเหล่านี้ “ความกลัวเหล่านี้เกิดจากความไม่เชื่อถือในกระบวนการยุติธรรมของไทย อย่างไรก็ตาม เราต้องใช้ความกล้าหาญ และเราต้องยืนยันว่าเราไม่ได้ทำผิด การมาเยี่ยมเป็นการกระทำเพื่อมนุษยธรรม” สุดากล่าวและว่า คดีในทางการเมืองนั้นควรเน้นที่สิทธิการประกันตัวออกไปต่อสู้คดี โดยเฉพาะกับบรรดาคนยากจนหรือคนไม่มีสถานะทางสังคม ที่ผ่านมาผู้ต้องหาคดี 112 ที่มีสถานะทางสังคม เช่น ส.ศิวรักษ์ หรือผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท จะได้ประกันตัวแต่กับอีกหลายคนกลับไม่ได้ประกันตัว โดยกระบวนการยุติธรรมอ้างว่าจะหลบหนี ทั้งที่จริงแล้วพวกเขาไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี เพียงแต่เป็นข้ออ้างในการหยุดการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพวกเขาเท่านั้น สุดายังกล่าวถึงความคาดหวังกับรัฐบาลใหม่ต่อเรื่องนี้คือ หวังว่าอย่างน้อยที่สุดรัฐจะต้องเปิดให้มีการถกเถียงพูดคุยเรื่องนี้ในสังคมมากขึ้น จะได้เกิดการหาทางออกร่วมกัน ไม่ใช่อยู่ในวัฏจักรแห่งความหวาดกลัว เมื่อถามถึงทางออกเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรม สุดากล่าวว่า เรื่องนี้มีรายละเอียดเยอะ และทำได้หลายแบบ หลายระดับ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับสังคมโดยรวมคือการค้นหาความจริง ขณะที่คนที่อยู่ในเรือนจำก็มีความน่าเห็นใจและมีสิทธิเต็มที่ที่จะนำเสนอเรื่องนิรโทษกรรม แต่โดยส่วนตัวคิดว่าควรเน้นที่การผลักดันสิทธิในการประกันตัวซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานมากกว่า นายกิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล พี่ชายของดารณีระบุว่า น้องสาวฝากความหวังกับรัฐบาลใหม่ว่าจะมีการนิรโทษกรรม เพื่อปล่อยนักโทษทางการเมืองทั้งหมด โดยยืนยันว่าในเรื่องความสูญเป็นสิ่งต้องสะสางความจริงและมีการลงโทษแต่สามารถทำได้หลากหลายทางในหลายช่วงเวลา และน้องสาวเสนอความเห็นเช่นนี้บนพื้นฐานที่ว่าแม้ว่าตนเองจะเป็นผู้เสียชีวิตแทนการถูกจำคุกก็ตาม นอกจากนี้ดารณียังฝากข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปเรือนจำ โดยเฉพาะเรือนจำหญิงที่ไม่มีความเท่าเทียมกับเรือนจำอื่นๆ ทั้งมีกฎระเบียบที่เคร่งครัดกว่า ทำให้ละเมิดสิทธิหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การจำกัดการเข้าเยี่ยม รวมทั้งสภาพความแออัดเนื่องจากคนยากจนมักไม่สามารถเข้าถึงการประกันตัวได้ บางรายติดคุก 5-6 ปีกว่าที่ศาลฎีกาจะตัดสินยกฟ้องในท้ายที่สุด ทั้งนี้ กลุ่มกิจกรรมหลายกลุ่มได้ร่วมกันจัดงาน “112 : ถึงเวลาคืนความเป็นธรรมให้ผู้ถูกกล่าวหา และ 3 ปี เหยื่ออธรรม ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล” ในวันพรุ่งนี้ (23 ก.ค.) ดูรายละเอียดได้ที่ http://prachatai.com/activity/2011/07/36126
นักกิจกรรม-แรงงาน ชูป้าย “ปล่อยสมยศ” ลุ้นได้ปล่อยตัว/ประกันตัว 25 ก.ค.
ตัวแทนผู้จัดกิจกรรมระบุว่า เหตุที่มีการนัดรวมตัวถือป้ายครั้งนี้ เนื่องจากคดีนายสมยศจะครบกำหนดฝากขัง 7 ผลัดในวันจันทร์ที่ 25 ก.ค.นี้ ซึ่งหลายคนลุ้นกันว่าหากอัยการไม่สั่งฟ้องก็จะต้องมีการปล่อยตัวนายสมยศ หรือหากมีการสั่งฟ้องกันตามกระบวนการก็ควรให้มีการประกันตัวนายสมยศออกมาสู้คดี ตามหลักสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองโดยทั่วไป เพราะเชื่อมั่นว่าไม่มีใครคิดจะหลบหนีตามการกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการถือป้ายครั้งนี้ ยังมีการนำหนังสือต่างๆ มาวางประกอบด้วยเนื่องจากนักกิจกรรมจากหลายประเทศในยุโรปส่งหนังสือมาให้นายสมยศที่เรือนจำเพื่อนำเข้าห้องสมุดเรือนจำ หลังจากทราบข่าวว่านายสมยศทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์ แต่หนังสือทั้งหมดถูกทางเรือนจำตีกลับ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กรุงเทพธุรกิจ: สมเด็จพระบรมฯ รับสั่ง'ไม่ต้องวางเงินประกัน'โบอิ้ง737 Posted: 22 Jul 2011 04:57 AM PDT พระบรมฯ รับสั่งไม่ต้องวางเงินประกันศาลเยอรมัน20ล้านยูโร แลกเครื่องบินกลับ อัยการสูงสุด เผยมั่นใจเอากลับได้ คาดคดีจบสิงหาคมนี้ เวลา 15.30 น.ที่สำนักงานอัยการสูงสุด นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด แถลงความคืบหน้าการถอนอายัดเครื่องบินพระราชพาหนะ โบอิ้ง 737 จากประเทศเยอรมัน ว่า ข้อมูลหลักฐานที่อัยการเสนอต่อศาลเยอรมันยืนยันว่าเครื่องบินเป็นทรัพย์สินของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ไม่ใช่ของกองทัพไทย จะมายัดเยียดว่าเป็นของกองทัพอากาศได้อย่างไร เมื่อบัญชีรายชื่อเครื่องบินของกองทัพอากาศก็ไม่มีเครื่องบินลำนี้อยู่ในบัญชีตั้งแต่เดือนส.ค. 2007 จึงมั่นใจว่าจะสามารถนำเครื่องบินกลับมาได้ โดยไม่ต้องเสียเงินค่ามัดจำแม้แต่บาทเดียว อย่างไรก็ดีสำหรับเงินประกันที่ศาลเยอรมันมีคำสั่งอายัดเครื่องบินจริงๆ ตามข้อกฎหมายแพ่งประเทศเยอรมันนั้น ทรัพย์ที่ถูกอายัดและไม่มีคำสั่งเพิกถอน เราสามารถใช้หนังสือค้ำประกันจากธนาคารไปค้ำประกันโดยไม่ต้องวางเงินสด 20 ล้านยูโร เสียค่าธรรมเนียมเพียง 1-2 เปอร์เซ็นต์ของวงเงิน นายจุลสิงห์ กล่าวต่อว่า เหตุผลที่ศาลเยอรมันสั่งอายัดเครื่องบินไว้ชั่วคราวเป็นเพราะมีข้อมูลจากเวปไซต์เอกชนที่ไหนก็ไม่รู้ ระบุว่ากองทัพอากาศยังมีเครื่องบินลำนี้อยู่ แต่เรามีเวปไซต์อย่างเป็นทางการของไทยที่ยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ดังนั้นวันนี้หากพูดถึงพยานหลักฐานที่มีอยู่ ยืนยันว่าเครื่องบินเป็นของสมเด็จพระบรมฯร้อยเปอร์เซ็นต์ เพียงแต่ต้องรอกระบวนการพิจารณาของศาลเยอรมัน ส่วนการพิจารณาคดีนั้นอัยการร้องขอให้ศาลเร่งพิจารณาคดีเร็วขึ้น ให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ส.ค. ส่วนขั้นตอนการพิจารณาไต่สวนพยานทั้งสองฝ่ายภายใน 1 วัน ซึ่งฝ่ายไทย ได้เสนอบัญชีพยานต่อศาลเยอรมันไปแล้วจำนวน 3 คน อาทิ เจ้าหน้ากองทัพอากาศ ซึ่งเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์การถวายเครื่องบินโบอิ้ง และเจ้าหน้าที่กรมการบินพลเรือน ที่รู้เรื่องการจดกรรมสิทธิ์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐาน เป็นภาพถ่ายเครื่องบินเมื่อครั้งที่ยังอยู่ในบัญชีกองทัพอากาศ พร้อมทั้งใบทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์ ซึ่งหลังจากนี้จะต้องรอฟังว่าศาลจะกำหนดฟังคดีเมื่อใด โดยฝ่ายอัยการได้ประสานขอให้เร่งรัดพิจารณาคดีให้เสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนายจุลสิงห์ กล่าวอีกว่า อัยการพิจารณาแล้วจะต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ เพราะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเฉพาะหน้าของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยตนเป็นผู้ดูแลเอง ผู้สื่อข่าวถามว่าอัยการเตรียมดำเนินการฟ้องกลับใครบ้างหรือไม่ นายจุลสิงห์ กล่าวว่า มีแน่นอนใน 2 ประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการยึดอายัดเครื่องบินผิดลำ และเรื่องเนื้อหาในคดี ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดตั้งทีมงานขึ้นมาทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ ตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ส่วนจะดำเนินการฟ้องร้องใครบ้างคงจะเปิดเผยให้ทราบอีกครั้ง แต่ในส่วนของบริษัทวอลเตอร์ บาว ฟ้องให้รัฐบาลไทยชำระเงินตามคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการนั้น ยืนยันว่าคดียังไม่จบ จะมาบอกว่ารัฐบาลไทยดื้อแพ่งไม่จ่ายเงินไม่ได้ โดยเตรียมจะยื่นอุทธรณ์ในช่วงปลายเดือนนี้ ถ้าถึงที่สุดแล้วหากจะแพ้คดีหลักเราก็ต้องยอมจ่าย เราเป็นประเทศไทย มีอยู่ในแผนที่ ไม่สามารถหนีออกไปนอกโลกได้ "สมเด็จพระบรมฯทรงรับรู้ความรู้สึกของคนไทย และอยากให้คนไทยเข้าใจว่าพระองค์ท่านไม่ได้ทำอะไรผิดกฎการบิน ทรงทำถูกต้องทุกอย่าง ซึ่งท่านไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลยกับคดีที่รัฐบาลไทยกับบริษัทวอลเตอร์ บาว มีคดีความต่อกัน โดยอัยการได้ถวายรายงานกับคดีความให้ท่านทราบแล้ว ซึ่งคดียังไม่จบ รอยื่นอุทธรณ์อยู่ ส่วนเครื่องบินระหว่างนี้ยังจอดอยู่ที่ประเทศเยอรมัน ซึ่งพระองค์ท่านมีพระราชวินิจฉัยว่าไม่ต้องวางเงินประกัน แต่รัฐบาลไทยก็พร้อมที่จะเอาเงินวางเพื่อจะนำเครื่องบินออกมาเพื่อถวายให้ท่านทรงใช้งาน แต่พระองค์ท่านไม่ประสงค์ให้นำเงินของรัฐบาลไทยไปวาง" อัยการสูงสุด กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงข่าว นายจุลสิงห์ อัยการสูงสุด ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยว่า ตามที่บริษัท Walter Bau AG ซึ่งมีคดีพิพาทอนุญาโตตุลาการกับราชอาณาจักรไทย ได้ร้องเรียนให้ศาลกรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี มีคำสั่งอายัดชั่วคราวเครื่องบิน Boeing 737-400 ซึ่งเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ที่จอดอยู่ ณ สนามบินแห่งมิวนิค โดยศาลดังกล่าวได้ออกหมายอายัดเครื่องบินชั่วคราวให้ตามที่บริษัท Walter Bau AG ร้องขอ เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 54 โดยเชื่อตามที่นาย Schneider ผู้บริหารจัดการทรัพย์สินของบริษัท Walter Bau AG กล่าวอ้างแต่เพียงฝ่ายเดียว ว่าเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นของรัฐบาลไทย โดยหยิบยกข้ออ้างต่างๆหลายประการที่คลาดเคลื่อนและไม่เป็นความจริงสำนักงานอัยการสูงสุดทราบเรื่องการอายัดเครื่องบินดังกล่าวในช่วงเช้าวันที่ 13 ก.ค. 54 สำนักงานอัยการสูงสุดพร้อมคณะทำงานประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศ และกรมการบินพลเรือนได้ปรึกษาหารือร่วมกันโดยทันที และต่อมาได้เดินทางไปยังเมืองมิวนิค ในคืนเดียวกันนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดและคณะทำงานได้ทำการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว และนำเรียนต่อศาลแห่งเมืองแลนด์ชู๊ต ซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้ยกเลิกการอายัดเครื่องบินโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้คณะทำงานได้ให้ทนายความชาวเยอรมันยื่นคำร้องพร้อมเอกสารสนับสนุนคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 54 และยื่นคำร้องเพิ่มเติมพร้อมเอกสารอีกครั้งในวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้แก่ 1. เครื่องหมายตราครุฑสีแดงบนพื้นที่สีน้ำเงินเข้ม ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ที่ใช้ได้เฉพาะสมเด็จพระบรมฯ 2. เครื่องหมายธงชาติที่มีลักษณะเป็นรูปวงกลม 3. หมายเลข “90401” 4.คำว่า “Royal Fight” ที่ปรากฎบนเครื่องบิน5. ข้อมูลของเครื่องบินที่ปรากฎใน Private Website ที่จัดทำโดยนายไมเคิล ฟาเดอร์ ไม่ถูกต้อง ขาดความน่าเชื่อถือ และไม่ตรงกับข้อมูลที่ปรากฎในเวปไซต์ของกองทัพอากาศไทย 6. เครื่องบินลำนี้มีข้อความว่า “ฑีปังกรรัศมีโชติ” ซึ่งเป็นพระนามของพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมฯ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทรัพย์สินส่วนพระองค์ 7. เครื่องหมาย “HS-CMV” ที่ปรากฎบนตัวเครื่องบิน ยืนยันได้ว่าเครื่องบินลำนี้เป็นเครื่องบินพลเรือน โดยคำว่า HS หมายถึง เครื่องบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยกับกรมการบินพลเรือนตามที่กำหนดไว้ใน ICAO ส่วนคำว่า CMV หมายถึงพระนามย่อของสมเด็จพระบรมฯเป็นภาษาอังกฤษ และ 8. ใบสำคัญจดทะเบียนเครื่องบินลำนี้ว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของสมเด็จพระบรมฯ ออกให้โดยกรมการบินพลเรือน และหนังสือรับรองการเป็นเจ้าของเครื่องบินลำนี้ลงนามโดยอธิบดีกรมการบินพลเรือน เมื่อศาลแห่งเมืองแลนด์ชู๊ได้พิจารณาพยานหลักฐานต่างๆแล้ว จึงมีคำสั่งในเบื้องต้นสรุปได้ว่า จากเอกสารต่างๆและหนังสือรับรองข้อเท็จจริงแสดงได้ว่าเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นของสมเด็จพระบรมฯ โดยถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามการตัดสินดังกล่าวเกิดจากการตรวจสอบหลักฐานเอกสารเพียงอย่างเดียว และคู่ความฝ่ายตรงข้ามได้คัดค้านพยานหลักฐานต่างๆของฝ่ายไทย ศาลจึงมีคำสั่งให้ถอนอายัด โดยมีเงื่อนไขให้วางหลักประกันมูลค่า 20 ล้านยูโร จนกว่าจะมีคำพิพากษาเมื่อคดีเสร็จสิ้น ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ฝ่ายไทยได้ประชุมหารือกันแล้วเห็นว่า ยังไม่ควรวางหลักประกันดังกล่าวมา เพื่อรอให้ศาลพิจารณาและสืบพยานให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียว ซึ่งคาดว่ากระบวนการสืบพยานในชั้นศาลจะมีขึ้นประมาณปลายเดือนสิงหาคม 54 ส่วนเรื่องการดำเนินคดีกับบริษัท Walter Bau AG นาย Schneider ซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์สินบริษัทฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องนั้น อยู่ในระหว่างการพิจารณาและดำเนินการของสำนักงานอัยการสูงสุด และคณะทำงานซึ่งมีกระบวนการที่จะต้องดำเนินการต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
จดหมายถึงว่าที่ นรม.หญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว Posted: 22 Jul 2011 04:33 AM PDT
จดหมายถึงว่าที่ นรม. หญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว: ว่าด้วย “อาเซียน” และสงครามกับสันติภาพไทย-กัมพูชา จดหมายถึงว่าที่ นรม. หญิง A Letter to a Woman Premier from Nai Cherng
ถึง ว่าที่ นรม. หญิง (ผ่านกัลยาณมิตร และสื่อมวลชน) (1) เนื่องในโอกาสที่จะถึง “วันแม่แห่งชาติ” ปีนี้ และเนื่องในโอกาสที่ ฯพณฯ จะเป็นสตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่ง นรม. ของ “สยามประเทศไทย” ผมขอส่งความปรารถนาดีเนื่องในวันแห่ง “ความรักอันยิ่งใหญ่” ขอ “สันติภาพ” จงบังเกิดมีต่อพี่น้องร่วมชาติของเรา กับมนุษย์ “ข้ามพรมแดน” ใน “ประชาคมอาเซียน” อุษาคเนย์ (2) ต่อสถานการณ์การเมือง (ที่) เป็นพิษ และสภาพที่เสี่ยงต่อ “สงครามที่คนอื่น (อาจ) ก่อ” ขึ้นได้นั้น ผมหวังว่า ฯพณฯ ว่าที่ นรม. จะใช้ทั้งแรงกายแรงใจ สติปัญญา รวมทั้งความเป็น “หญิง” ความเป็น “แม่” และความเป็น “ภริยา” ในการบริหารบ้านเมืองเพื่อประโยชน์สุขของประชามหาชนในชาติของเรา และเพื่อสันติสุขของมนุษย์ “ข้ามพรมแดน” ใน “ประชาคมอาเซียน” อุษาคเนย์ (3) ผมมีข้อเสนอ ดังต่อไปนี้ ก. โปรดให้ความสำคัญต่อ “อาเซียน” ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศและการทูตของไทย ข. โปรดสร้างสัมพันธไมตรี กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกัมพูชา ลาว และพม่า ค. โปรดไปเยี่ยมเยียน และสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมเป็นหลัก โดยไปเยือนประเทศอาเซียนที่เคยมี หรือกำลังจะมีผู้นำระดับชาติที่เป็นสตรี ง. โปรดไปเยือนสถานที่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เช่น บรมพุทโธ (Borobudur) มัสยิดอีสติกัล (Istigal) หรือโบสถ์บาร๊อคฟิลิปปิน (Philippine Baroque Church) นาขั้นบันไดบานาเว (Banawe Rice Terraces) มหาเจดีย์ชเวดากอง (Shwe Dagon) พุกาม (Pagan) ตลอดจนปราสาทวัดพู (Vat Phou) ปราสาทนครวัด-นครธม (Angkor) ปราสาทจามปาหมี่เซิน (Myson) และ/หรือเมืองประวัติศาสตร์ เช่น เว้ (Hue) มะละกา (Melaka) และปีนัง (Pinang) (4) อนึ่ง ผมมีข้อเสนอเฉพาะกิจกับกัมพูชา ดังนี้ คือโปรด “เปลี่ยนเขตปลอดทหาร เป็นเขตสันติภาพถาวร” (Turn the Demilitarized into a permanent Peace Zone) ตามแนวทางทั้งสองนี้ คือ ก. บทกวีประทับใจของสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ว่า "ปราสาทพระวิหารสันติภาพ ทาบปราสาทสวรรค์สโมสร ศรีอุษาคเนย์นิรันดร ประชากรหรรษาประชาคม" ข. คำสั่งของ ศาลโลก กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่กำหนดให้มี “เขตปลอดทหาร” หรือ demilitarized zone รอบๆ ตัวปราสาท ทั้งในเขตแดนของไทย และของกัมพูชา โปรดร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในการนำเอา "เขตปลอดทหาร" นั้น มาแปลงเป็น "เขตสันติภาพถาวร” ให้มีลักษณะเป็น “เขตแดนร่วม” หรือ shared border ทั้งนี้เพื่อกิจการด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ ที่ปลอดจากการเมือง (ชาตินิยม) เป็นพิษ ทำให้เขตแดนเป็นสมบัติร่วมของ "ชาวบ้าน" ของประชามหาชนทั้งสองชาติสืบไปชั่วกัลปาวสาน ขออวยพรให้ ฯพณฯ ว่าที่ นรม. หญิง ประสบความสำเร็จในการทำงาน “เพื่อชาติ และราษฎรของสยามประเทศไทย” ครับ ด้วยความนับถือยิ่ง เชิง แก่นแก้ว น เกาะสิงหะปุระ PS: Make Love not War with ASEAN Neighbors, especially Cambodia, Laos and Burma
For PEACE click: http://www.petitiononline.com/sc2011/petition.html
PPS: แนบจดหมายเก่ามาเพื่อโปรดทราบด้วย ครับ FYI:
จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว: ว่าด้วยสงครามไทย-กัมพูชา
A Letter to a Khunying from Nai Cherng Kaenke จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว
(14 February 2011) ถึงคุณหญิง และกัลยาณมิตร (1) Happy Valentine’s Day และขอส่งความปรารถนาดีเนื่องในวันแห่ง “ความรัก” ขอ “สันติภาพ” จงบังเกิดต่อพี่น้องร่วมชาติของเราใน “สยามประเทศไทย” กับมนุษยชาติ “ข้ามพรมแดน” ใน “เขมรกัมพูชา” ในลาว ในอุษาคเนย์ และใน “ประชาคมอาเซียน” (2) ต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ทำให้ผมนึกถึงข้อคิดข้อเขียนของ อ. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อันเป็นที่รักเคารพของเรา “จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน” ( From Womb to Tomb) ที่กล่าวไว้ว่า “เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ ๆ อย่างบ้า ๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ” (3) ผมเชื่อว่า “การเมือง (ที่) เป็นพิษ” ในการเมืองภายในของบ้านเมืองเรา ที่ลามปามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จาก “สันติภาพ” (Peace) กำลังกลายเป็น “สงคราม” (War) จาก “สนามการค้า” (Market Place) กลับเปลี่ยนเป็น “สนามรบ” (Battlefield) นั้น ด้านหนึ่ง มาจากกิเลศและตัณหา จาก “โลภ-โกรธ-หลง” และอีกด้านหนึ่งมาจาก “อวิชชา” จาก “อประวัติศาสตร์” ขาดความเคารพนับถือในสิ่งที่ “บรรพชน-บรรพกษัตริย์” ของเราได้ทำเอาไว้ และขาดการเคารพกติการะเบียบของสังคมโลกที่เป็น “สากล” และเป็น “อารยะ” (4) ปัญหาที่มาจากกิเลศและตัณหา ว่าด้วย “โลภ-โกรธ-หลง” นั้น ก็คือ โลภ เพราะอยากได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่” โกรธ เพราะไม่ได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่” หลง เพราะคิดว่าอาจจะได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่” (5) ส่วนปัญหาที่เกิดจาก “อวิชชา” จาก “อประวัติศาสตร์” และจากการขาดความเคารพนับถือในสิ่งที่ “บรรพชน-บรรพกษัตริย์” ของเราได้ทำไว้ ก็คือเรื่อง “หนังสือสัญญา” ฉบับต่างๆ และแผนที่ 11 ระวาง (แผ่น) ที่ “สยาม” Siam ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับ เสนาบดีพระหัตถ์ซ้าย-ขวาของท่าน คือ คือ สมเด็จกรมเทววงศ์ (การต่างประเทศ) และสมเด็จกรมดำรงฯ (มหาดไทย) จำต้องทำและให้สัตยาบันไว้กับฝรั่งเศสไม่ว่าจะเป็นฉบับ ค.ศ. 1893-1904-1907 (ตรงกับ ร.ศ. 112, 122, 125 และตรงกับ พ.ศ. 2436, 2447, 2450 ตามลำดับ) (6) รวมทั้งแผนที่ 11 ระวาง (แผ่น ที่มักจะรู้จักกันในนามของ 1: 200,000) ที่ขีดเส้นพรมแดนครอบคลุมดินแดนจากแม่น้ำโขงตอนบน (แม่ กบ-เชียงล้อม)-น่าน-เทือกพนมดงรัก-ตลอดลงมาจนถึงเมืองตราด อันเป็นผลงานของ “คณะกรรมการเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม” (Commission de Delimitation entre l’Indochine et Le Siam) และอัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส (หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร) ที่ทรงรับมาเป็นจำนวน 50 ชุด และส่งกลับมากรุงเทพฯ ถวายให้กับเสนาบดีการต่างประเทศ คือ สมเด็จกรมฯ เทววงศ์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2451 (1908) (7) การที่ต้องทำหนังสือสัญญาต่างๆข้างต้น การที่ต้องให้สัตยาบัน และการที่ต้อง “รับ” แผนที่ 11 ระวาง (แผ่น) นั้นมา ก็เป็นไปตามปรัชญาความเชื่อว่าด้วย “ชาติ” ของ “ราชาชาตินิยม” หรือ Royal Nationalism ที่จะต้องรักษา “เอกราช-อธิปไตย” ของสยาม/Siam เอาไว้ ต้องยอมรับว่าสยามมีพื้นที่หรือดินแดน “จำกัด” (limited land) เป็นเพียง “รูปขวานทอง” และต้องยอมสละ “ส่วนเกิน” หรือส่วนที่เป็น “ประเทศราช-เมืองขึ้น” ที่ไป “ได้ดินแดน” (ของ “คนอื่น” ของ “เขมร-ลาว-มลายู”) มา ไม่ว่าจะเป็น “เสียมราฐ-พระตะบอง-ศรีโสภณ-จำปาศักดิ์-หลวงพระบาง-เชียงตุง-เมืองพาน” ตลอดจน “เคดะห์-ปลิส-กลันตัน-ตรังกานู” (ที่ต้องยอมยกและแลกเปลี่ยนไปกับอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2452 หรือ ค.ศ. 1909 ปลายรัชสมัย “เสด็จพ่อ ร. 5”) (8) แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 (1932) พวก “ผู้นำใหม่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก “เสนาอำมาตย์” หรือ “ปีกขวา” นักการเมืองสายทหารของ “คณะราษฎร” ก็เปลี่ยนปรัชญาความเชื่อของตน เปลี่ยนและ “สร้างชาติ” ตามแนวลัทธิ “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” หรือ Military-Bureaucratic Nationalism (แทน “ราชาชาตินิยม” Royal Nationalsim) ลัทธิใหม่นี้ เปลี่ยนนามประเทศจาก “ราชอาณาจักรสยาม” จาก Siam เป็น “ประเทศไทย” เป็น Thailand พ.ศ. 2482 (1939) รวมทั้งเปลี่ยนเนื้อร้อง “เพลงชาติ” (แต่ ไม่ได้เปลี่ยนทำนอง) จากประโยคขึ้นต้นว่า “อันสยาม นามประเทืองว่าเมืองทอง.....” เป็น “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย.....” แล้วก็ปลุกระดมความ “รักชาติ” การ “กู้ชาติ” ดำเนินการขยายดินแดนด้วยการ “เรียกร้องดินแดน” เพื่อให้ “ประเทศไทย” เป็น “มหาอานาจักรไทย” (สะกดด้วย น. หนู ตามตัวสะกดที่ถูกรัฐบาลให้เปลี่ยนในสมัยนั้น) ดังนั้น “ประเทศไทย” หรือ Thailand ก็มีสภาพเป็น expanded land หาใช่ limited land อย่างของ “ราชอาณาจักรสยาม” หรือ Siam ไม่ (9) ในปี พ.ศ. 2484-85 หลังการเปลี่ยนชื่อประเทศเพียง 2 ปี ก็เกิด “สงครามอินโดจีน” รัฐบาลของหลวงพิบูลสงคราม ก็ส่งกำลังของกองทัพบก-เรือ-อากาศ บุกเข้าไปยึดดินแดนต่างๆมาได้ อาทิ เมืองเสียมราฐ (เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “จังหวัดพิบูลสงคราม”)-ยึดพระตะบอง-ยึดศรีโสภณ-(และปราสาทพระวิหาร)-ยึดจำปา ศักดิ์ (และปราสาทวัดพู)-ยึดไซยะบุรี (เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “จังหวัดลานช้าง” สะกดโดยไม่มีไม้โท) รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม “ประกาศสงคราม” กับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ 2485 (1942) และด้วยความช่วยเหลือของ “พันธมิตรญี่ปุ่น “ ก็ทำการยึดเมืองพาน-เมืองเชียงตุง (ในพม่า เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “สหรัฐไทยเดิม”) แถมญี่ปุ่นยังมอบรัฐมลายู เช่น “เคดะห์-ปะลิส-กลันตัน-ตรังกานู” ให้มาอีก รัฐบาลพิบูลสงครามเอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “สี่รัฐมาลัย” (10) นี่คือสภาพ “อีรุงตุงนัง” และ “มรดกทางประวัติศาสตร์” ของสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศชาติของเราเกือบถูกยึดเป็น “เมืองขึ้น” และผู้นำของ “อำมาตยาเสนาธิปไตย” หลายคนเกือบกลายเป็น “อาชญากรสงคราม” ถูกจับประหารชีวิต เมื่อมหามิตรญี่ปุ่นถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูแพ้สงครามไป โชคดีที่มี ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ “ปีกซ้าย” ของ “คณะราษฎร” ตั้ง “ขบวนการเสรีไทย” ทำการใต้ดินขึ้นมา “กู้ชาติ” ไว้ได้ ทำการ “ประกาศสันติภาพ” เมื่อ 16 สิงหาคม 2488 (1945) นี่คือผลงานของ “บรรพชน-มหาบุรุษ” แต่ท่านปรีดี ก็ถูกกำจัดออกไปด้วย “การเมืองทราม-การเมืองเป็นพิษ” (ถูกกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีในกรณีสวรรคตอันมืดมนของในหลวงรัชกาลที่ 8 เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) มีการ “รัฐประหาร พ.ศ. 2490” โดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ ที่นำ “อำมาตยาเสนาธิปไตย” ของจอมพล ป. พิบูลสงครามกลับมา และสืบทอดกันต่อๆมาโดยจอมพลสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส ฯลฯ และยังทรงอิทธิพลอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้ (11) จะเห็นได้ว่า “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” ของสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีหลวงวิจิตรวาทการเป็น “มันสมอง” มีทีมงานจากกรมศิลปากร (นายธนิต หรือ นายกี อยู่โพธิ์-นายมานิต วัลลิโภดม หรือทีมงานของกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์) อย่างนายมั่น-นายคง (นายสังข์ พัธโนทัย) ก็ส่งมรดกตกทอดกันมายัง “สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส” ตลอดจนทางสายของนักการเมืองพลเรือนอย่าง “เสนีย์-คึกฤทธิ์ ปราโมช-ควง อภัยวงศ์” เรื่อยมาจนบัดนี้เป็นเวลากว่า 70 ปี จนถึงรุ่นของจำลอง-สนธิ-โพธิรักษ์-สมปอง-อดุล-ศรีศักร และรัฐบาลในปัจจุบัน (12) นี่เป็น “หลุมดำทางการเมือง” (Political Black Hole) หรือ “หีบพยนต์-ผะอบนางโมรา” (Pandora’s Box) ที่หากตกลงไปก็ยากที่จะปีนป่ายขึ้นมาได้ หรือถ้าเปิดออกมา (จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม) ก็อาจถึงตายได้ คำถามของเรา ณ บัด นี้ ก็คือเรา (หมายถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศ นอก กทม.) จะรอดจาก “บ่วงกรรม” นี้ไปได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรให้ “การเมืองเป็นพิษ” หรือ “การเมืองทราม” กลายเป็น “การเมืองดี” ทำให้ประเทศชาติของเรารุ่งเรือง มีศักดิ์มีศรี มีเกียรติภูมิในวงการระหว่างประเทศ เคารพกติการะเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศ ดำเนินการที่เป็น “สากล” และเป็น “อารยะ” กัลยาณมิตร และเพื่อนๆของผมในกลุ่ม “สันติประชาธรรม” ขอเสนอมายังคุณหญิงอีกครั้งหนึ่ง และขอให้ช่วยนำความไปเรียนต่อ “บุคคลที่อยู่ใกล้ตัวคุณหญิง ไม่ว่าจะเป็นพลเรือน หรือเป็นทหาร ไม่ว่าจะอยู่ที่ทำงาน หรืออยู่ที่บ้าน” ก็ตาม ขอให้เรามาช่วยกัน “ปฏิบัติธรรม” ละเสียซึ่งโลภ-โกรธ-หลง ขจัด “อวิชชา” และ “อประวัติศาสตร์” ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยกันหลีกเลี่ยง “สงคราม” ช่วยกันแสวงหา “สันติภาพ “ ช่วยกันทำให้ “สนามรบ” กลับเป็น “สนามการค้า” อีกครั้ง ขอให้เรามาช่วยกัน ทำดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของอุษาคเนย์-อาเซียน ที่หลากหลายไปด้วยชาติพันธุ์ ระบบนิเวศ ธรรมชาติและวัฒนธรรม จาก “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ถึงพนมดงรัก จากปราสาทพนมรุ้ง ถึงปราสาทพระวิหาร และปราสาทวัดพู จรดแม่น้ำโขงตอนกลาง ณ คอนพะเพ็ง-แก่งหลี่ผี” กลายเป็น “มรดกโลกข้ามเขตแดน” เพื่อ “ความรัก-สันติภาพ-สันติสุข-และอหิงสา” ของ “ประชาคมอาเซียน” ที่ “ไร้พรมแดน” ให้จงได้ (Asean Trans-Boundary World Heritage Sites from Dong Phyayen-Khaoyai to Phnom Dangrek-Prasat Phnom Rung/Preah Vihear/Vat Phou to Khone Papeng/Li Phi Falls and the Middle Mekong Basin) ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อ “ชาติ และราษฎรไทย” ของเรา เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อพ่อแม่พี่น้องลูกหลาน หลายพันหลายหมื่นชีวิต ที่อยู่ตามแนวชายแดนกว่า 800 กิโลเมตร จากอุบลฯ ศรีสะเกษ จากสุรินทร์ บุรีรัมย์ จากสระแก้ว-จันทบุรี-ถึงตราด ผู้คนที่เป็นเพียงชาวบ้าน แค่ชาวชนบท ด้อยการศึกษา (ไม่มีแม้แต่ประกาศนียบัตรมัธยม โดยไม่ต้องพูดถึงระดับปริญญาตรี อย่างเราๆท่านๆ ในเมืองหลวง) และก็ด้อยซึ่งโอกาส ที่ต้องเผชิญต่อ “สงคราม” และสภาพของบ้านแตกสาแหรกขาด สูญ เสียชีวิตและเลือดเนื้อ ทำมาหากินไม่ได้ ที่อยู่ทางฝั่งตะเข็บชายแดนของ “สยามประเทศไทย” ที่ร่วมชะตาและร่วมกรรมกับผู้คนที่ก็เหมือนๆกัน เป็นญาติพี่น้องกัน ร่วมสายเลือดเดียว ทั้งยังร่วมวัฒนธรรม ร่วมภาษากันในฝั่งตะเข็บชายแดนของ “เขมรกัมพูชา” จากสตุงแตรง ถึงพระวิหาร จากอุดรมีชัย ถึงบันทายมีชัย โพธิสัตว์ และเกาะกง ดังข้อเสนอต่อไปนี้ 1. ขอให้กองกำลังของทั้งสองประเทศใช้ขันติธรรม และความอดกลั้น ยุติการสู้รบโดยทันที ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและกองทัพตามชายแดนของ ทั้งสองฝ่าย 2. ขอให้ถอนกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่พิพาทอย่างเร่งด่วน เพื่อลดการเผชิญหน้าทางทหารตามชายแดนระหว่างกัน 3. ขอให้ยุติเคลื่อนกำลังทหารเข้าไปยังจุดพิพาทอื่นๆ ที่ยังคงเป็นปัญหากันอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะมิให้ขยายตัวออกไปยังจุดอื่นๆตามแนวชายแดน 4. ขอให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาพิพาทเรื่องเขตแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยผ่านกลไกการเจรจาทวิภาคีซึ่งมีอยู่แล้ว อันได้แก่คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมซึ่งได้จัดตั้งตามบันทึกความเข้าใจแห่งราช อาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 5. ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักการแห่งอหิงสา ยุติการนำประเด็นความขัดแย้งเรื่องเขตแดนมาแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ไม่ว่าการเมืองภายในประเทศ หรือการเมืองระหว่างประเทศ อันจะทำให้ปัญหาบานปลายกลายเป็นชนวนสงครามที่ยากจะหาทางยุติลงได้ ด้วยความระลึกถึง เชิง แก่นแก้ว สิงหะปุระ PS: Make Love not War with ASEAN Neighbors, especially Cambodia and Laos
For PEACE click: http://www.petitiononline.com/sc2011/petition.html
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักเรียนกกตูมยื่นหนังสือไล่ ผอ.มาตรฐานการศึกษาต่ำ ไม่โปร่งใส พกปืน Posted: 22 Jul 2011 04:17 AM PDT
นักเรียนโรงเรียนกกตูมฯ มุกดาหาร ยื่นหนังถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้ย้าย ผอ.โรงเรียน หลังทนกับปัญหาการขาดคุณภาพการศึกษา การบริหารไม่โปร่งใสมาหลายปี รุ่นพี่เคยร้องเรียนเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
21 ก.ค.54 นักเรียนโรงเรียนกกตูมประชาสรรค์รัชมังคลาภิเษก ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร จำนวนประมาณ 30 คน เดินทางด้วยรถสองแถวไปยังสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.นครพนม เพื่อยื่นหนังสือถึงนายยงยุทธ สายคง ผู้อำนวยการเขตฯ เมื่อเดินทางถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ เขต 22 นายสมบูรณ์ พรหมซุ้ย รอง ผอ.เขตฯ ได้ลงมาต้อนรับและพานักเรียนทั้งหมดไปยังห้องประชุม ตัวแทนนักเรียนแจ้งความประสงค์ว่าต้องการมายื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้ย้ายนายบุญเทศก์ บุษมงคล ผู้อำนวยการโรงเรียน ภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากนายบุญเทศก์ ทำให้โรงเรียนตกต่ำ จากการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่โปร่งใส และไม่สนใจพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ ในการชี้แจงต่อนายสมบูรณ์ นักเรียนได้ให้รายละเอียดว่า การบริหารงานของนายบุญเทศก์ ผอ.โรงเรียนคนนี้ ทำให้ครูในโรงเรียนแตกแยกกัน แม้แต่ผู้ปกครองก็แตกแยก ผอ.สนใจแต่เรื่องปรับภูมิทัศน์ โดยตัดต้นไม้ที่เคยร่มรื่นในโรงเรียนจนหมด ขุดสระ แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าไม้ที่ตัด และดินที่ขุดสระหายไปไหน ในขณะที่ไม่สนใจพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ ครูไม่ค่อยเข้าสอน นักเรียนไม่เคยได้ทดลองวิทยาศาสตร์ ไม่มีครูที่จบเอกสังคมมาสอน ไม่มีอุปกรณ์กีฬาและดนตรีให้นักเรียนเล่น นักเรียนเสนอความเห็นก็ไม่สนใจ แม้แต่การเลือกตั้งประธานนักเรียนก็ไม่ให้ความสำคัญ ผอ.ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม โดยเคยพกปืนไปในขณะที่มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่จัดนอกสถานที่ นอกจากนี้ การเรียกร้องให้ย้ายนายบุญเทศก์ภายใน 24 ชั่วโมง ก็เนื่องจากว่า ขณะที่มีการสอบสวนหาข้อเท็จจริง นักเรียนเกรงว่าจะถูกข่มขู่คุกคาม เพราะเคยเห็น ผอ.ข่มขู่รุ่นพี่ในการออกมาเคลื่อนไหวให้ย้าย ผอ.คนนี้เมื่อ 2 ปีก่อน ด้านนายสมบูรณ์ได้ชี้แจงตอบนักเรียนว่า จะรับหนังสือที่นักเรียนมายื่นไว้และนำเสนอผู้มีอำนาจดำเนินการต่อไป ซึ่งจะต้องดูเหตุผลที่เสนอมา และทำการสอบสวนตามขั้นตอน ไม่สามารถที่จะย้ายได้ในวินาทีนี้ อย่างไรก็ตาม ตนเองจะไปที่โรงเรียนกกตูมฯ ในวันอังคารหน้า(26 ก.ค.54) ให้นักเรียนเตรียมหลักฐานที่แสดงถึงความไม่โปร่งใสของ ผอ.ไว้ ตนเองเข้าใจว่านักเรียนอยากทำอะไรให้ดีขึ้น แต่ขอให้ใจเย็น และทำหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์ คือไปโรงเรียนและอยู่ในห้องเรียนจนครบเวลา ถึงแม้จะไม่มีครูมาสอน ส่วนเรื่องการข่มขู่คุกคาม ถ้ามีเกิดขึ้นจริงก็ให้นักเรียนแจ้งตำรวจ หรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเรื่องการร้องเรียนเมื่อ 2 ปีก่อน ตนเองก็เป็นผู้รับเรื่อง และเสนอด้วยวาจาต่อผู้บริหารให้ย้ายนายบุญเทศก์ แต่นายบุญเทศก์มีพี่น้องเยอะ ผลการสอบสวนอาจออกมาไม่ตรงกัน จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามที่ร้องเรียนมา ในครั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษา ตนเองเชื่อว่าจะมีอะไรดีขึ้น ผู้สื่อข่าวได้สอบถามความคิดเห็นเพิ่มเติมจากตัวแทนนักเรียน ได้รับการเปิดเผยว่า นักเรียนไม่พอใจที่ ผอ.ตัดต้นไม้ใหญ่ในโรงเรียนจนหมด โดยไม่เคยถามความเห็นครู และนักเรียน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญแต่เรื่องการปรับภูมิทัศน์ ใช้งบประมาณมากมาย แต่ไม่มีงบซื้อสารเคมีมาให้นักเรียนทดลอง ตนเองเรียนจนถึง ม.6 แล้ว ไม่เคยได้ทดลองวิทยาศาสตร์ ไม่มีงบซื้ออุปกรณ์กีฬา นักเรียนทำโครงการกีฬาต้านยาเสพติดก็ไม่อนุมัติ วิชาการตกต่ำจนการสอบโอเน็ตเมื่อปีที่แล้ว โรงเรียนกกตูมฯ มีคะแนนต่ำจนเป็นอันดับสุดท้ายของเขต แต่ ผอ.ก็ไม่สนใจพัฒนา ครูสอนคณิตศาสตร์ก็มีแต่ให้นักเรียนจดตัวอย่าง นักเรียนถามก็ตอบไม่ได้ วิชาสังคมไม่มีครูที่จบเอกสังคมมาสอน ครูเอกอื่นสอนก็มีแต่อ่านให้นักเรียนฟัง พวกตนทนไม่ได้จึงออกมาร้องเรียนเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เช่นนั้น อีก 8 ปี กว่า ผอ.คนนี้จะเกษียณ รุ่นน้องอีก 8 รุ่นจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ นายบุญเทศก์ บุษมงคล เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนกกตูมประชาสรรค์รัชมังคลาภิเษกซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยม เมื่อปี 2549 โดยย้ายมาจากโรงเรียน... ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถม จนทำให้มีปัญหาในการบริหารงาน จนนักเรียนเคยร้องเรียนให้ย้ายมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2552
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กสม.'ขอโทษ'รายงานสลายชุมนุมรั่ว-ช้า รับปากแถลงทุกเดือน 'แม่น้องเกด'บุกทวง Posted: 22 Jul 2011 03:38 AM PDT 22 ก.ค.54 เวลาประมาณ 11.40 น. นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) พร้อมด้วย น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิฯ และประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ร่วมกันแถลงข่าว กรณีเหตุผลความล่าช้าในการเปิดเผยรายงาน “การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2553” หลังจากก่อนหน้านี้มีกำหนดจะแถลงข่าวในวันที่ 8 ก.ค.แต่ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการ กสม.ออกมาแถลงเลื่อนไม่มีกำหนด เนื่องจากกรรมการบางคนเห็นว่ายังมีบางประเด็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม นอกจากนี้ กสม.ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหารายงานหลังจากรายงานบางส่วนหลุดรอดออกสู่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม การแถลงข่าวครั้งนี้มีสื่อมวลชนจำนวนมาก รวมถึงนักกิจกรรม นักสิทธิมนุษยชน ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง ซักถาม และเนื้อหาในการแถลงข่าวเป็นการตอบข้อซักถามของผู้เข้าร่วมเป็นหลัก อมรากล่าวว่า การแถลงข่าวในวันนี้เพียงต้องการเล่าความคืบหน้าว่าจะมีการปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์มากขึ้น ยังไม่ทราบกำหนดแล้วเสร็จ โดยจะมีการประชุมกันอย่างเข้มข้นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่ได้ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว เพียงแต่รายละเอียดบางอย่างยังไม่ตรงกัน ผู้เข้าร่วมถามว่าการปรับแก้จะปรับในส่วนหลักการหรือรายละเอียดข้อเท็จจริง ประธาน กสม.ระบุว่า ทั้งสองส่วน นิรันดร์ กล่าวเสริมว่า ในการทำงานครั้งนี้กรรมการสิทธิมนุษยชน ทั้ง 7 คน จะเป็นผู้พิจารณาเองพร้อมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ที่ กสม.เชิญเข้าร่วม เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน โดยไม่ผ่านคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจทั้ง 3 คณะแล้ว ผู้สื่อข่าวถามว่า การแก้ไขรายงานฉบับนี้เกิดจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อร่างรายงานที่ “รั่ว” ออกมาใช่หรือไม่ ประธาน กสม.กล่าวว่า จริงๆ กรรมการก็มีมติต้องการให้ปรับปรุงอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการรั่วของข้อมูลฉบับร่างจนเป็นเหตุให้สังคมเกิดความสับสนนั้นกำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนภายใน ขณะที่ นพ.นิรันดร์กล่าวว่า ฉบับร่างดังกล่าวเป็นของ กสม.จริง แต่เป็นเพียงร่างรายงานของ “คณะทำงาน” ซึ่งได้สำรวจ เก็บข้อมูล เบื้องต้นและยังต้องผ่านการพิจารณาของอนุกรรมการเฉพาะกิจอีก 3 ชุด และกรรมการสิทธิชุดใหญ่อีกจึงจะเป็นรายงานที่พร้อมเผยแพร่ ผู้เข้าร่วมโต้แย้งว่าเป็นเรื่องค่อนข้างแปลก เพราะกรรมการสิทธิเป็นผู้กำหนดกรอบเวลาในการแถลงข่าวผลสรุปของรายงานเองเมื่อวันที่ 8 ก.ค. แสดงว่ารายงานดังกล่าวน่าจะเป็นฉบับที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ประธาน กสม.ตอบว่า “เป็นความผิดพลาดในการวางแผนงาน ต้องขอโทษด้วย” ผู้เข้าร่วมกล่าวต่อว่า กสม.จะรับผิดชอบต่อความล่าช้ากว่าหนึ่งปีอย่างไร ต้องแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกหรือไม่ ประธาน กสม.กล่าวว่า “ไม่ทราบจะรับผิดชอบอย่างไร แล้วแต่สังคมจะประนาม มันเป็นงานยาก ทำให้เสร็จไม่ได้ภายใน 120 วัน เราพยายามแล้ว เมื่อทำไม่ทันก็ขยายเวลา...จะให้ลาออกก็ได้ ก็ต้องว่ากันตามกระบวนการ” นักข่าวถามถึงรายชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิที่จะเข้าร่วมพิจารณากับ กสม.ต่อจากนี้ รวมถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก เพราะที่ผ่านมาอนุเฉพาะกิจด้านกฎหมายซึ่งมีราว 20 คน ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าทีทหาร ตำรวจถึง 10 คน กรรมการสิทธิกล่าวว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีหลากหลายด้านตามลิสต์ที่ กสม.มีอยู่ ในเบื้องต้นมีผู้ตอบรับแล้ว เช่น กิตติศักดิ์ ปรกติ จากนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ , พล.อ.เอกชัย จากศูนย์สันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า, นางจิราพร บุนนาค รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.), นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน, นายก่อเขต จันทรเลิศลักษณ์ จากสถานี TPBS, พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และอีกหลายคนที่อยู่ระหว่างทาบทาม ผู้เข้าร่วมแสดงความเห็นว่า กระบวนการทำงานต่อจากนี้ของ กสม. ควรมีความโปร่งใสมากขึ้น และมีการแถลงต่อสาธารณชนเป็นระยะ ประธาน กสม.ระบุว่าไม่สามารถกำหนดได้ ขณะที่ นพ.นิรันดร์กล่าวว่ากำหนดลำบาก เพราะขึ้นอยู่กับความร่วมมือในการส่งเอกสารหลักฐานของหน่วยงานรัฐด้วย เช่น ศอฉ. อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดทั้งสองรับปากว่าต่อจากนี้จะแถลงรายงานความคืบหน้าทุกเดือน และเปิดให้ภาคสังคมมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นมากขึ้น ผู้สื่อข่าวถามว่า กสม.จะมีการฟ้องร้องคดีด้วยหรือไม่ เพราะ กสม.ชุดนี้มีอำนาจในเรื่องนี้มากกว่า กสม.ชุดที่แล้ว นพ.นิรันดร์ตอบว่า การตรวจสอบของ กสม. ไม่ได้เป็นไปเพื่อหาผู้กระทำผิด แต่ต้องการชี้ว่าพฤติกรรม การกระทำใดเป็นการละเมิด เรื่องการหาผู้กระทำผิด เช่น ใครเป็นผู้ซุ่มยิงเสธ.แดง เป็นเรื่องในทางคดีอาญาที่ต้องติดตามกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ อย่างไรก็ตาม เรื่องการฟ้องคดีเป็นอำนาจที่ กสม.ทำได้ แม้ขณะนี้ไม่มีการดำเนินการดังกล่าว แต่จากคดีท่อก๊าซฯ อ.จะนะ จ.สงขลา เมื่อหลายปีก่อนที่มีการปะทะกัน ก็จะเห็นได้ว่า ความเห็นของ กสม.และกรรมธิการของวุฒิสภาที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวมีการละเมิดสิทธิหรือไม่ อย่างไร ถูกนำไปเป็นหลักฐานพิจารณาในศาลด้วย ผู้เข้าร่วมถามว่า กรณีเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ กสม.ชุดที่แล้วตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษและภายในเวลา 10 วัน สามารถชี้ประเด็นการละเมิดสิทธิได้ในส่วนที่เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งกรณีการสลายการชุมนุมปีที่แล้วมีข้อมูลบางส่วนที่อาจยังเป็นข้อถกเถียง แต่ข้อมูลบางส่วนก็เห็นได้ชัดว่ามีการละเมิดสิทธิ เหตุใด กสม.ชุดนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปใดๆ เลยกระทั่งเวลาผ่านมากว่าปี ประธาน กสม.กล่าวว่า “เรากำลังสรุปบทเรียน ไม่ได้อยากให้มันเกิดขึ้น แต่กระบวนการทำงานต้องมีการปรับปรุงชัดเจน และเราหวังว่าในอนาคตเราจะทำได้ดีกว่านี้” พร้อมระบุว่ามีการถกเถียงในคณะกรรมการเช่นกันว่าจะเปิดข้อมูลเป็นส่วนๆ ไปหรือเปิดทั้งหมด และยังไม่เป็นที่ตกลงกัน ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลเปลี่ยนขั้วแล้วจะกระทบต่อสำนวนนี้เพียงใด ประธาน กสม.กล่าวว่า “ไม่เลย ข้อมูลก็เป็นอย่างที่มันเป็น” ผู้สื่อข่าวถามว่าความล่าช้า และข้อมูลที่รั่วไหลครั้งนี้เป็นเพราะมีความขัดแย้งในบรรดากรรมการฯ หรือไม่ ประธาน กสม.ตอบว่า ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาและมั่นใจว่าจัดการได้
'แม่น้องเกด' บุกทวงความคืบหน้า หลังจากนั้น เวลาประมาณ 14.00 น. นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของน.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสา หนึ่งในผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงในวัดปทุมวนารามเข้าพบนางอมรา และนพ.นิรันดร์ตามนัดหมาย เพื่อสอบถามความคืบหน้ารายงานการตรวจสอบเหตุการณ์ฯ หลังจากเมื่อวันที่ 12 ก.ค.ได้เข้าพบ กสม.มาแล้วครั้งหนึ่ง (รายละเอียดที่นี่) ภายหลังหารือกันราว 1 ชม. นางพะเยาว์ให้สัมภาษณ์ว่า กสม.ชี้แจงว่าร่างรายงานที่หลุดออกไปยังมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อน และรับปากว่าจะแถลงความคืบหน้าทุกเดือน โดยจะแจ้งข่าวให้ผู้เสียหายทราบและร่วมเข้าฟังด้วย พร้อมทั้งระบุว่าหน้าที่หาผู้กระทำผิดเป็นหน้าที่ของตำรวจ ซึ่งตนได้แสดงความคิดเห็นไปว่า ที่ผ่านมา รอมาเกือบ 1 ปี ไม่พบว่า กสม.ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนแก่ผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต และผู้ถูกจับกุมเลย ตนเห็นว่ากรณี 6 ศพวัดปทุม หลักฐานต่างๆ ค่อนข้างชัดเจน และน่าจะเป็นประเด็นแรกๆ ที่สามารถเปิดเผยได้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
รายงาน: หยาดเหงื่อแรงงานผู้ก่นสร้าง อยู่เหนือข้ออ้างกฎหมายที่อยุติธรรม Posted: 22 Jul 2011 02:26 AM PDT “ตามกฎหมายรัฐจะว่าผิดกะว่าไป เฮาถือว่าเฮามาเอาที่ของเฮาคืน แล้วกะบ่หวังว่าสิร่ำสิรวยดอก แต่ถ้าถามว่าถ้าบ่มี ที่ดิน 5 - 6 ไร่สิตายบ่ อีหลีแล้วกะบ่ตายดอก ถ้าว่าใจบ่ขาด แต่ว่ามันแฮงย่ำแย่ หลายต่อหลายคนเข้าไปแย่งชิงงานกันในกรุงเทพฯ คนมันกะล้นงานอยู่แล้ว...” “ผมว่าส่วนหนึ่งกะให้พี่น้องอยู่หม่องนี่ซะ เว้าไปแล้วหม่องนี่กะคือสิทธิเก่าอันชอบธรรมของเฮา ผมบอกว่าชอบธรรมเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าแม้ว่าที่ดินหม่องนี่ตกไปเป็นที่ดินของรัฐ ผมถือว่ารัฐบาลเบียดเบียน รัฐแย่งชิง ปล้นทรัพย์สมบัติของชาวบ้าน” ถ้อยคำอันหนักแน่นจากปากพ่อลุน สร้อยสด ชาวบ้านเก้าบาตร ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่กลั่นออกมาจากหัวจิตหัวใจ ผู้ที่ครั้งหนึ่งปู่ย่าตายายของแกเคยแบกจอบ คราด ไถ ลงมือบุกเบิกที่ดินแถบนี้ด้วยน้ำพักน้ำแรง หยาดเหงื่อแรงกาย หวังมีที่ดินทำกินเลี้ยงดูครอบครัว และเป็นมรดกตกทอดให้กับลูกหลานรุ่นต่อไป พ่อลุนและเพื่อนบ้านอีก ๑๗๑ ครอบครัว เดิมเป็นคนตำบลลำนางรอง ก่อนจะเข้ามาตั้งหมู่บ้านใหม่ชื่อ “บ้านเก้าบาตร” ซึ่งเป็นพื้นที่กรณีพิพาทระหว่างชาวบ้านเก้าบาตรและกรมป่าไม้ พ่อลุน ลูกชายและพ่อมวล ถูกฟ้องร้องคดีบุกรุกแผ้วถางที่ป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ ทั้งที่ทุกคนรู้อยู่แก่ใจว่า พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ทำกินเดิมที่พวกเขาเคยบุกเบิกทำประโยชน์ พ่อลุนเล่าว่า ราว ๔๐ ก่อน รัฐมีนโยบายเปิดป่าดงใหญ่บางส่วนให้ชาวบ้านบริเวณนั้นเข้าไปทำกิน เป้าหมายไม่ใช่การให้เกษตรกรคนจนได้มีที่ดินทำกิน แต่เพื่อให้เป็นกันชน แนวปราการต่อต้านการก่อการร้ายตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ยุคนั้น ใครมีแรงงานมากบุกเบิกได้มาก ครอบครัวละ ๕๐-๓๐๐ ไร่ ทหาร หน่วยงานราชการ ฝ่ายปกครองก็มิได้ขัดขวาง ส่งเสริมสนับสนุนให้บุกเบิกเสียด้วยซ้ำ แต่แล้วความหวังของพ่อลุนและเพื่อนบ้านก็เริ่มสั่นคลอน หลังเหตุการณ์สู้รบกับก่อการร้ายตามแนวชายแดนเบาบางลง ผู้คนถิ่นอื่นอพยพเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รัฐมีนโยบายอพยพชาวบ้าน จัดตั้งเป็นหมู่บ้าน จัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละ ๑๖ ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย ๑ ไร่ และที่ทำกิน ๑๕ ไร่ โดยให้สิทธิเป็น สทก. สิทธิทำกิน คือทำกินได้แต่ห้ามจำหน่ายจ่ายโอน ส่วนที่ดินเดิมที่เหลือจากการจัดสรร และเคยบุกเบิกทำกินกันครอบครัวละ ๕๐-๓๐๐ ไร่ ก็ถูกกันไม่ให้เข้าไปทำกินได้ดังเดิม “ทหารเขาบอกว่า อยู่หม่องนี่บ่ปลอดภัย อยู่กันกระจัดกระจาย เผื่อเขายิงปืนใหญ่มาสิเฮ็ดจังได๋” แม้ช่วงหลังรัฐจะมีการจัดสรรที่ดินเพิ่มเติมให้เขย หรือสะใภ้ใหม่ ใครดวงดีก็จับฉลากได้ คนที่ไม่ได้ก็ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น หรืออาศัยอยู่กับญาติ ทำงานรับจ้างรายวันเพราะไม่มีที่ดินทำกิน ปี ๒๕๒๘ รัฐเปิดให้เอกชน กลุ่มบุคคลเข้ามาเช่าพื้นที่เสื่อมโทรมในเขตป่าสงวนดงใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านเคยบุกเบิกทำกินไว้เดิมก่อนมีการจัดสรร ผู้ที่ได้สิทธิเช่าส่วนใหญ่เป็นนายทุน สัญญาเช่าเกือบ ๓๐ ปี เสียค่าเช่าแค่ปีละ ๑๐-๒๐ ต่อไร่ แต่ชาวบ้านก็ไม่สามารถเช่าได้ ด้วยข้ออ้างเงื่อนไข “ไม่มีรถไถใหญ่ ก็ไม่สมควรทำประโยชน์” ทั้งที่สิทธิของพวกเขา คือ “เจ้าของที่ดิน ไม่ใช่คนขอเช่าด้วยซ้ำ” ระยะเวลาร่วม ๓๐ ปี นายทุน บริษัทเอกชนได้กำไรจากการปลูกพืชเศรษฐกิจโตไวเป็นกอบเป็นกำ พร้อมๆ กับผืนดินป่าดงใหญ่ที่ไร้คุณภาพ เสื่อมลงทุกวัน ด้วยฤทธิ์สารเคมีนานาชนิด แม่น้ำลำห้วยที่เคยใสสะอาดเต็มไปด้วยสารพิษตกค้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยในป่าก็หาได้ยากเต็มที ระบบนิเวศที่เคยอุดมสมบูรณ์ให้ได้อาศัยพึ่งพาตลอดทั้งปี ก็ถูกแทนที่ด้วยต้นยูคาฯ ทำให้ป่ากลายเป็นทะเลทรายสีเขียว พ่อลุนและเพื่อนบ้านได้แต่เฝ้ามอง แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า การพากันลงชื่อคัดค้านการต่อสัญญาเช่าของบริษัท “ชาวนา ชาวไร่ และคนจนไร้ที่ดินเหล่านี้ ต้องการที่ดินผืนเล็ก ๆ เพื่อผลิตอาหารและมีรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว” นี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงที่ดินที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทยปี ๒๕๕๐ มาตรา ๕๐ ปี ๒๕๔๘ พ่อลุนและเพื่อนบ้านเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ปี ๒๕๕๒ ได้เข้าไปปักหลักตั้งถิ่นฐานในแปลงที่หมดสัญญาเช่าของบริษัท พื้นที่ ๑,๙๐๐ ไร่ เพื่อพลิกฟื้นแผ่นดินเดิมที่ถูกแย่งชิงไปโดยรัฐใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ มองข้ามหยาดเหงื่อแรงกายที่ได้บุกเบิกด้วยสิทธิอันชอบธรรม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือครองที่ดินให้มีความเป็นธรรมและยั่งยืน คือเป้าหมายของพ่อลุน ชาวบ้านเก้าบาตร และเกษตรกรไร้ที่ดินทั่วประเทศ กระท่อมไม้ยูคาฯ มุงหญ้าคาแทนสังกะสี คือบ้านของชาวบ้านเก้าบาตร แม้ไม่มีไฟฟ้า ประปา ร้านค้า หรือเครื่องอำนวยความสะดวกใด ๆ แต่หมู่บ้านแห่งนี้เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ น้ำจิตน้ำใจ และรอยยิ้มที่เป็นมิตร ที่ดินหมดสัญญาเช่า หากแต่ตอยูคาฯ เก่าก็ยังคงโยงยึดผืนดิน ร่องรอยการดูดกลืนกินสารอาหารในดินกว่า ๓ ทศวรรษ จนเหลือแต่เพียงความแข็งกระด้างของซากดิน ข้าวและมันสำปะหลังกำลังถูกแซมลงดินด้วยจอบ เสียม และรถไถนาเดินตาม กล้วยกลายเป็นพืชปรับปรุงดินขนานดี เป็นร่มเงาก่อนลงจำพวกไม้ยืนต้น ไม้ธรรมชาติต่อไป ทุกครอบครัวจะมีที่ดินทำกินเฉลี่ยประมาณ ๕-๖ ไร่ หากแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ก็ยังเป็นของส่วนรวมของทุกคน เพราะหลักการของบ้านเก้าบาตร ที่ดินแปลงนี้จะจัดทำเป็น “โฉนดชุมชน” เป็นสิทธิรวมหมู่ ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการวางแผนการผลิตที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น คำนึงถึงระบบนิเวศน์ สภาพแวดล้อมและความยั่งยืน ไม่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ ไม่ทำลายป่าสมบูรณ์ ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุล และอยู่ร่วมกันบนฐานวัฒนธรรมที่ดีงาม กฎ กติกาของชุมชน หลักการพลิกฟื้นแผ่นดินเดิมดูเข้าที มีความเป็นไปได้ มีนโยบายรัฐบาลที่เป็นแนวทางการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งกำลังอยู่ในกระบวนการขั้นตอนเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คือการถูกกลั่นแกล้ง จากหน่วยงานที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ ขับไสเกษตรกรรายย่อยให้พ้นทางด้วยการฟ้องร้องยัดเยียดคดีความให้กับแกนนำ ซึ่งพ่อลุน คือเหยื่อหนึ่งของกฎหมายที่อยุติธรรม “เรื่องคดีกะส่วนคดี ถึงจังได๋กะหลีกเลี่ยงบ่ได้ กะแก้ไปตามกระบวนการเฮาบ่แหม่นคนผิด เฮาบอกว่าเฮาบ่แหม่นคนผิด เฮาบ่แหม่นผู้บุกรุก เฮาเป็นเกษตรกร พ้อคดีกะพ้อไป แต่ว่าพ้อความยากจนหนักกว่าคดี ความยากจนเดือดร้อนกว่าคดี แต่ว่าคดีมาซ้ำเติมเฮาอีก แล้วหมู่เฮาสิหาความสุขความสบายใจ หาความมั่นคงแบบยั่งยืนได้จังได๋” นโยบายมอบโฉนดชุมชน คือความหวังของพ่อลุน และเกษตรกรไร้ที่ดินทั่วประเทศ การฟ้องร้องดำเนินคดี หรือข่มขู่ ใช้กำลังบังคับโยกย้าย คงไม่ใช่ทางออกของการแก้ไขปัญหานี้ แต่การปฏิรูปที่ดินจะเป็นจริงได้ นอกจากการต่อสู้ของผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยชอบธรรมแล้ว ทุกหน่วยงานของรัฐควรเปิดใจ อย่าทำให้ศรัทธาของประชาชนที่เคยมีต่อภาครัฐ ต้องลดน้อยเสื่อมถอยลงกว่านี้เลย ที่ผ่านมารัฐบาลไทย ให้สิทธินายทุนเช่าพื้นที่ของเกษตรกรที่เคยบุกเบิกมากว่าสามสิบปี เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวหลายหมื่นไร่ ผลประโยชน์จึงตกอยู่กับคนจำนวนน้อยถ้าเทียบกับชาวบ้านที่ต้องสูญเสียที่ดินทำกิน ทั้งผู้มีอำนาจ นักการเมืองในสังคมไทยบางคนมีที่ดินหลายหมื่นไร่แต่ไม่ได้ทำประโยชน์ แต่สำหรับพ่อลุนและชาวบ้านเก้าบาตรการต่อสู้เพื่อให้ได้ที่ดินทำกินเพียงเล็กน้อยกลับมีปัญหาอุปสรรคมากมาย แม้กระทั่งที่ดินที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมรดกโดยชอบธรรมของบรรพบุรุษ ก็ยังต้องกอบกู้ขอคืนกลับมา แม้จะต้องเหน็ดเหนื่อยกับการทำมาหากิน แต่พวกเขาก็หวังว่า สักวันหนึ่งจะได้มีสิทธิ์ทำกินในที่ดินของตนเองโดยชอบธรรม แม้กฎหมายก็มิอาจอยู่เหนือหยาดเหงื่อแรงงานผู้ก่นสร้างผืนดิน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น