ประชาไท | Prachatai3.info |
- แรงงานเหนือแถลง จงมุ่งมั่น 300 บาททั่วประเทศ และมั่นใจว่า ผู้ใช้แรงงานจะเคียงข้าง
- เสวนา 112: นักโทษความคิดในสังคมแหว่งวิ่น
- “นโยบายประชานิยม” จะพาให้ชาติล่มจม ??
- Norbert Ropers: ชี้ทางลัดสู่สันติภาพชายแดนใต้
- ทุ่งสงเช่าที่รถไฟตั้งศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้
- คอตีบคืนชีพชายแดนใต้ 3 ปีครึ่ง ระบาดตาย 24 ศพ
- กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจการประเมินผลงาน 2 ปี 6 เดือน ผู้ว่าฯ กทม. ผ่าน
- สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต
- เปิดผามออีแดงเป็นวันที่ 2 คนแห่ขึ้นชมเขาพระวิหาร
- นพดล ปัทมะ : ความจริง ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชน กรณีคำสั่งของศาลโลก
- ศาลรัฐธรรมนูญชี้คดี ‘ดา ตอร์ปิโด’ พิจารณาคดีลับไม่ขัด รธน.
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 17 - 23 ก.ค. 2554
- Tyrell Haberkorn: ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบันฯ
- เฮลิคอปเตอร์ตกติดต่อกันเป็นลำที่ 3
แรงงานเหนือแถลง จงมุ่งมั่น 300 บาททั่วประเทศ และมั่นใจว่า ผู้ใช้แรงงานจะเคียงข้าง Posted: 24 Jul 2011 10:40 AM PDT 24 กรกฎาคม 2554 สหภาพอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ ออกแถลงการณ์ร่วม "สนับสนุนนโยบายค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศของรัฐบาลประชาธิปไตย คืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”และ”ความยุติธรรม”ให้กับผู้ใช้แรงงาน" เรียกร้องให้รัฐบาลประชาธิปไตยภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ผู้ได้รับเสียงสวรรค์จากประชาชน ต้องไม่ไหวเอนไปตามการคัดค้านของนายทุนและเครือข่ายอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย และขอให้มั่นใจได้ว่า ผู้ใช้แรงงานพร้อมปกป้องความชอบธรรมของรัฐบาลประชาธิปไตย หากบุคคล องค์กรอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย จักทำลายระบอบประชาธิปไตยเหมือนเช่นที่ผ่านมา วอนมุ่งมั่นทำตามนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ โดยแถลงการณ์มีรายละเอียด ดังนี้ 0 0 0 แถลงการณ์ ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้ทำลายระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย ทำให้สิทธิเสียงของประชาชนไม่มีความหมายในทางการเมือง ทำให้สิทธิสียงไม่มีความหมายในการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า เพื่อความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันของผู้ใช้แรงงานและสังคมไทย เนื่องเพราะอำนาจตกอยู่ในมือของฝ่ายนอกระบบประชาธิปไตย ต่อมาเมื่อมีการเรียกร้องให้ยุบสภาจัดการเลือกตั้งใหม่ ทำให้หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงของประชาชนกลับมีความหมายขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ผู้ใช้แรงงานก็เช่นกัน ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองที่จะเลือกพรรคการเมือง นักการเมือง เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน ในช่วงที่มีการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้เสนอนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นผลให้ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ได้สนับสนุนในการเลือกพรรคเพื่อไทย เนื่องเพราะนโยบายนี้จักทำให้ผู้ใช้แรงงานมีชีวิตที่ดีขึ้น หลังจากที่นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยนับเป็นเวลาร่วมหลายสิบปีไม่ได้มีนโยบายที่มีจุดยืนเคียงข้างผู้ใช้แรงงานเช่นนี้ แต่กลับเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนเท่านั้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีสภาพความเป็นอยู่อย่างอัตคัต มีหนี้สินล้นพ้นตัว จักมีชีวตอยู่รอดได้ต้องทำให้หนักขึ้น ต้องทำโอที ต้องไม่มีวันหยุด เป็นการทำลายความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้แรงงาน นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการคืน“ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”ให้กับผู้ใช้แรงงาน และคืน“ความยุติธรรม” ให้กับผู้ใช้แรงงาน ในฐานะผู้ใช้แรงงานเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม เป็นผู้สร้างสรรค์ผลิตสรรพสิ่งให้กับสังคม ในฐานะผู้ใช้แรงงานมีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญ ความมั่งคั่งให้กับประเทศ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางที่ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายนี้ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย กลับมีนายทุน องค์กรนายจ้าง เครือข่าย สื่อมวลชน นักวิชาการ ของฝ่ายอำนาจนอกระบบประชาธิปไตย ออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เราในฐานะผู้ใช้แรงงานภาคเหนือ มีความคิดเห็นว่า การคัดค้านนโยบายนี้ก็เพียงเพื่อยึดผลประโยชน์ที่เห็นแก่ตัวของนายทุนที่สนับสนุนอำนาจนอกระบบประชาธิปไตยมาตลอดเท่านั้นเอง เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลประชาธิปไตยภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ผู้ได้รับเสียงสวรรค์จากประชาชน ต้องไม่ไหวเอนไปตามการคัดค้านของนายทุนและเครือข่ายอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยทั้งหลาย จงมั่นใจได้ว่า ผู้ใช้แรงงานพร้อมปกป้องความชอบธรรมของรัฐบาลประชาธิปไตย หากบุคคล องค์กรอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย จักทำลายระบอบประชาธิปไตยเหมือนเช่นที่ผ่านมา จงมุ่งมั่นทำตามนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ จงเชื่อเถิดว่าผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายที่มีจุดยืนเคียงข้างผู้ใช้แรงงาน เพื่อคืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ”ความยุติธรรม”ให้กับผู้ใช้แรงงาน สหภาพอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสวนา 112: นักโทษความคิดในสังคมแหว่งวิ่น Posted: 24 Jul 2011 10:33 AM PDT
23 ก.ค.54 เวลา 10.00 น. ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ ถนนราชดำเนิน สี่แยกคอกวัว กลุ่มกิจกรรมการเมืองต่างๆ ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการ “ม.112!?” รวมถึงการเปิดวงเสวนา 112: ถึงเวลาคืนความเป็นธรรมให้ผู้ถูกกล่าวหา โดยกลุ่ม 24มิถุนาประชาธิปไตย และ Thailand Mirror ผู้อภิปรายมี ประกอบด้วย ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสิรฐ อาจารย์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์จากคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักกิจกรรมจากกลุ่มประกายไฟ และ วาด รวี นักเขียนอิสระ ผู้นำในการรวบรวมรายชื่อนักเขียนในแถลงการเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 และหยุดใช้ข้อกล่าวหานี้ โดยมี จอม เพชรประดับ จาก Voice TV เป็นผู้ดำเนินรายการ ทั้งนี้ บรรยากาศภายในงานครั้งนี้เป็นไปอย่างคึกคัก และการเสวนาได้รับความสนใจจากประชาชนจนล้นห้องประชุม สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ กล่าวถึงชัยชนะของพรรคเพื่อไทยว่า เหตุผลที่พรรคเพื่อไทยชนะไม่ใช่เพราะมีมวลชนมาก แต่เพราะฝ่ายอำมาตย์ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทำผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่าในรอบ 5 ปีที่ผ่าน ตั้งแต่ทำรัฐประหาร เพราะถ้าดูจากกระแสประวัติศาสตร์โลก ประเทศที่ก้าวหน้าเขาไม่ใช้วิธีเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบนี้กันแล้ว ต่อให้รัฐบาลบริหารงานผิดพลาดเค้าก็ไม่ทำแบบนี้ เค้าตัดสินทางการเมืองด้วยเสียงประชาชน ในเรื่องของกฎหมายหมิ่นฯ สุธาชัยให้ความเห็นว่า จากตัวเลขที่นักวิชาการฝรั่งประเมินหลังจากรัฐประหาร19 กันยายน 2549 มีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มขึ้นถึง 500 เท่า โดยถ้าเป็นฝ่ายเสื้อแดงโดนคดีนี้จะไม่ได้ประกัน แต่ถ้าเป็นฝ่ายเสื้อเหลืองคดีอะไรก็ได้ประกัน เช่นกรณีของคุณดา ตอร์ปิโด และคุณสนธิ ที่เป็นการดำเนินการสองมาตรฐาน โดยตอนนี้คุณดาติดคุกแล้วสามปี แต่คุณสนธิก็ได้ประกันตัวและไม่ได้ติดคุกเลย เรื่องสิทธิการประกัน รัฐธรรมนูญระบุว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้แปลว่ามีความผิด แต่ในคดีหมิ่นฯ ผู้ถูกกล่าวหากลับถูกจับและไม่ได้รับการประกัน ฉะนั้นตั้งแต่นี้ไปใครโดนคดีหมิ่นฯ ก็จะหนีเลยเพราะไม่ได้ประกัน จากนั้นศาลก็อ้างว่าไม่ให้ประกันเพราะกลัวจะหนี กลายเป็นวงจร ยิ่งกว่านั้นถ้าเป็นคนเสื้อแดงแล้ว ศาลจะใช้การตีความให้ผิดไว้ก่อนเสมอ อนุสรณ์ อุณโณ กล่าวว่า การพูดถึงปัญหา 112 มีการพูดถึงมาเยอะแล้ว แต่ด้วยฐานะของการเป็นนักมานุษยวิทยา สิ่งที่จะพูดจะไม่ได้เป็นมองมาตรา 112 จากแง่มุมของกฎหมาย แต่จะมองมาตรา 112 ในการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางสังคมไทยว่ามาตรา 112 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่เราเผชิญอยู่ ในสังคมไทยการเชื่อในการใช้อำนาจเหนือชีวิต ซึ่งคุณสมบัติสำคัญของเจ้าเหนือชีวิตคือทำตัวอยู่ใต้และอยู่เหนือกฎหมายในเวลาเดียวกัน คือพระราชอำนาจในการลดโทษประหารชีวิตเป็นของพระมหากษัตริย์เท่านั้น สถานะในความเป็นเจ้าเหนือชีวิตจึงถูกนำมาใส่ในกฎหมาย เช่นในรัฐธรรมนูญมาตราที่ 8 สิ่งที่เราเผชิญมันไปไกลกว่า112 แต่มันคือเรื่องของอำนาจเหนือหัว อำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์คืออำนาจอธิปัตย์ที่ชนชั้นนำนำมาใช้กับประชาชน อำนาจอธิปัตย์ที่นำมาใส่ในรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยควบคู่ไปกับอำนาจของประชาชนในไทย วาด รวี ให้ความเห็นว่า มาตรา 112 เกี่ยข้องกับนักเขียนด้วยเช่นกัน เพราะในการเขียนหนังสือ ความคิดใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากไม่มีเสรีภาพ มาตรา112 กระทบนักเขียน ทั้งเสรีภาพในฐานะพลเมืองของรัฐประชาธิปไตย และในฐานะของนักเขียน พื้นที่ของการเขียนหนังสือเป็นพื้นที่ในการแสดงความคิด ซึ่งเป็นพื้นที่ของความขัดแย้ง ความขัดแย้งจะทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นเสมอ ความขัดแย้งคือจุดกำเนิดของความคิดใหม่ๆ ความคิดเห็นที่ทั้งดีทั้งเลว ย่อมต้องมีเสรีภาพในการนำเสนออย่างเท่าๆ กัน ความคิดแย่ๆ หรือความคิดที่ใช้ไม่ได้จะนำไปสู่ความคิดที่ดีกว่า ในพื้นที่ของการแสดงความคิดหรือแสดงปัญญาจะต้องมีสิทธิในการแสดงความคิดเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ คนที่ไม่เห็นด้วยกับการไม่เห็นด้วยกับการแก้ 112 มีทางออกที่ดีกว่าไหม ทุกวันนี้เขายังไม่มี การที่คุณยังไม่มีความคิดที่ดีกว่า แต่คุณใช้กำลังใช้อำนาจ ใช้อำนาจนำในเชิงวัฒนธรรมเพื่อที่จะกฎขี่ปราบปราม ไม่ใช่หลักการของเสรีภาพ แล้วการที่คุณจะเขียนเรื่องวิกฤติการเมือง โดยไม่เขียนเรื่องสถาบันกษัตริย์ ก็ไม่ได้ ถ้าไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เขียนเรื่องสังคม แต่ไม่เขียนเรื่องสถาบัน ก็เฟค ก็เป็นงานเขียนที่ไม่จริง คุณบอกว่าจะจะอภิปรายปัญหาสังคม โดยที่ไม่พูดถึงประเด็นสถาบัน มันก็จะเป็นการอภิปรายที่แหว่งวิ่น
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“นโยบายประชานิยม” จะพาให้ชาติล่มจม ?? Posted: 24 Jul 2011 10:31 AM PDT กระแสวิวาทะหรือการอภิปรายถกเถียงว่าด้วย “นโยบายประชานิยม” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นนโยบายสำคัญหรือเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของนโยบายของพรรคเพื่อไทยหรือพรรคไทยรักไทยเดิมมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเชิงภาพรวมและการวิพากษ์วิจารณ์เป็นรายนโยบายไป โดยเฉพาะนโยบายค่าจ้าง 300บาท หากมองลงไปในรายละเอียดจะเห็นว่า กลุ่มคนที่มีการโต้เถียงกันในเรื่องนี้มาก ก็คือกลุ่มนักวิชาการที่นิยมแนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก กับกลุ่มคนที่เคยได้รับผลประโยชน์จากแนวคิดการพัฒนากระแสหลักหรือการพัฒนาแบบเดิมๆ และรวมถึงคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพรรคเพื่อไทยอีกจำนวนไม่น้อย คนเหล่านี้พยายามชี้ให้เห็นว่า หากรัฐบาลใหม่นำนโยบายประชานิยมมาใช้อย่างจริงจัง (ไม่ได้ดีแต่พูด) ประเทศไทยมีหวังต้องเดินตามรอยของประเทศอาร์เจนติน่า หรือไม่ก็ประเทศกรีซ นั่นหมายถึงเศรษฐกิจของชาติคงจะล่มจม เป็นหนี้เป็นสินล้นพ้นตัว กลายเป็นประเทศชาติที่ล้มละลาย (เชิงภาพลักษณ์) ไปในที่สุด ปัญหาก็คือ สิ่งที่คนกลุ่มนี้ รวมไปถึงสื่อมวลชนต่างๆ นำไปวิพากษ์วิจารณ์กันต่อๆ ไปอย่างเผ็ดร้อนนี้ จะกลายเป็นเรื่องจริง หรือเป็นเพียงการดิสเครดิตกันทางการเมืองเท่านั้น ในความเห็นของผู้เขียน มองว่า การอภิปรายโต้เถียงเรื่องนโยบายประชานิยมที่ปรากฏอยู่ส่วนใหญ่สามารถจำแนกเป็นสองแนวทาง แนวทางหนึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยอย่างแท้จริง แต่อีกแนวทางหนึ่งก็เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ไปในลักษณะต้องการทำลายความน่าเชื่อถือต่อนโยบายของพรรคการเมืองมากกว่าเป็นการอภิปรายบนพื้นฐานของเหตุผล พูดได้ว่าที่ผ่านมานั้นมีความพยายามสร้าง “วาทะกรรมประชานิยม” ขึ้นมา เพื่อสื่อให้เข้าใจว่านโยบายที่พรรคการเมืองต่างๆ นำเสนอ เป็นนโยบายที่เน้นการนำงบประมาณแผ่นดินไปแจกจ่ายให้กับประชาชนอย่างไร้เหตุผล โดยเฉพาะให้กับคนยากคนจนหรือ “คนรากหญ้า” ซึ่งมีอยู่จำนวนมากในสังคมไทย เพียงเพื่อหวังผลให้เกิดความนิยมชมชอบหรือหวังเพียงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพียงประการเดียวเท่านั้น ไม่ได้มองเรื่องความจีรังยั่งยืนใดๆ รวมถึงไม่ได้มองความมั่นคงของชาติแต่อย่างใด โทนเสียงการวิพากษ์วิจารณ์แบบหลังนี้ค่อนข้างเสียงดังกว่าแนวทางแรกมาก ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำวิพากษ์วิจารณ์ในทำนองนี้ ไม่อยากเห็นการติเรือทั้งโกลน ความจริงนโยบายของพรรคการเมืองทุกพรรค เมื่อถูกประกาศขึ้นมายังคงมีลักษณะเป็นกลางๆ บางนโยบายอาจทำได้จริงทันที แต่บางนโยบายอาจมีอุปสรรคขัดขวางอยู่มากมาย เรายังไม่สามารถบอกได้ว่านโยบายนั้นนโยบายนี้เป็นนโยบายที่ไร้เหตุผลหรือเป็นนโยบายสิ้นคิด ต้องดูไปถึงขั้นการแปลงนโยบายเป็นวิธีปฏิบัติที่แท้จริงว่าทำกันอย่างไร อย่างไรก็ตามวันนี้หากมองภาพรวมของนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาประเทศทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างดี จะบอกว่า หลายนโยบายเป็นนโยบายที่ดี สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน นโยบายที่ถูกขนานนามว่าเป็นนโยบายประชานิยมเหล่านี้ส่วนมากเป็นนโยบายที่มุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคม มุ่งเข้าไปเสริมพลังความเข้มแข็งให้กับคนรากหญ้าที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งในการพัฒนาประเทศในระยะแรกๆ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่1-7 (รวมเวลา 36 ปี) พวกเขาเหล่านี้ถูกทอดทิ้งให้เป็นประชาชนชั้นสอง เพราะแนวคิดการพัฒนากระแสหลักที่อยู่เบื้องหลังแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ต้องการส่งเสริมให้คนชั้นนำหรือคนชั้นกลางเข้ามามีบทบาทในการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการค้าเพื่อการส่งออก เพื่อสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้แก่ประเทศชาติ นโยบาย กติกาบ้านเมือง กฎหมายต่างๆ ของรัฐบาลในยุคนั้นจึงมุ่งอำนวยความสะดวกและให้ความสำคัญกับคนชั้นกลางเป็นหลัก คนรากหญ้าจึงถูกทอดทิ้งให้มีสภาพเป็นเพียงผู้ผลิตสินค้าการเกษตร เป็นแรงงานราคาถูกหรือไม่ก็เป็นกลุ่มคนยากคนจนที่น่าเวทนา จนรัฐต้องยื่นมือเข้ามาสงเคราะห์ช่วยเหลือ ดูแลไปแทบทุกเรื่อง นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนรากหญ้ากับชนชั้นสูงชั้นกลางในประเทศไทยอย่างเด่นชัดในวันนี้ ไม่ใช่เรื่องมรดกหรือเรื่องการถือครองทรัพย์สินอะไรทั้งสิ้น สิ่งที่กล่าวมานี้ ความจริงก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ยอมรับกันทั่วไป แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544) ก็พูดไว้ชัดเจน แถมชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาประเทศตามแนวทางแบบนี้ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวดีแต่ก็มีปัญหา เพราะต้องอิงแอบอยู่กับประเทศอื่นมากเกินไป การพัฒนากระจุกตัวไม่กระจาย คนรวยรวยล้นฟ้า คนจนแม้จะมีชีวิตดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังห่างไกลจากคนรวยคนชั้นกลางมาก คนและสังคมมีปัญหามากมาย ไม่ต้องพูดถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมอย่างเห็นได้ชัด จนเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้สังคมไทยต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการพัฒนาประเทศกันใหม่ มาเป็นแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือแนวคิดที่พยายามจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้สมดุล ทำให้คนรากหญ้าเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเท่าเทียม เป็นธรรมมาตั้งแต่แผน 8 จนถึงปัจจุบัน เมื่อแนวคิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลง แนวทางการพัฒนาของประเทศ รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจสังคม การเมือง รวมถึงนโยบายพรรคการเมืองต่างๆก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยไป แต่ที่ผ่านมาเกือบ15 ปี สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรม เพราะกลไกหลักในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาส่วนใหญ่ก็ยังเหมือนเดิม ระบบราชการยังมีโครงสร้างและกระบวนการทำงานแบบเดิม รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศก็เข้าใจเรื่องนี้บ้างไม่เข้าใจบ้าง บางรัฐบาลถึงกับตีความแนวคิดการพัฒนาคลาดเคลื่อนไปเป็นการชักนำให้คนส่วนใหญ่ยอมรับชะตากรรม ให้มีชีวิตที่พอเพียง ไม่ต้องดิ้นรนต่อสู้อะไรไปทำนองนั้น ครั้นพอพรรคการเมืองบางพรรคเริ่มมีความเข้าใจ มองเห็นช่องทางที่เป็นรูปธรรมที่จะทำให้แนวคิดการพัฒนาที่เขียนไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นจริงได้ โดยการนำเสนอนโยบายที่เน้นการผันงบประมาณส่วนหนึ่งของรัฐบาลมาส่งเสริมให้คนรากหญ้า ได้เรียนรู้และสะสมทุนเข้าสู่กระบวนการทำมาหากินเหมือนที่เคยส่งเสริมกับชนชั้นกลาง รวมถึงสนับสนุนนโยบายที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมแบบตรงไปตรงมาเหมือนนโยบายค่าแรง 300 บาทหรือนโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค คนในสังคมที่เคยอยู่ในฐานะได้เปรียบ ได้ผลประโยชน์จากการพัฒนาแบบเดิม กลับพยายามสร้างวาทกรรมนโยบายประชานิยมออกมา ทำให้เกิดการถกเถียงแบบไม่รู้จบ เถียงกันแบบรู้จริงบ้างไม่จริงบ้าง ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายที่ดีของรัฐบาลหลายๆนโยบาย ต้องกลายเป็นหมัน หรือผิดเพี้ยนไปจากที่ควรเป็น ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของชาติหรือการสร้างความเป็นธรรมในสังคมต้องพลอยชะงักงันไปด้วย ดังนั้นหากมองกันด้วยสายตาที่ไม่มีอคติมากเกินไป มองด้วยความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดการพัฒนาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่แปด แต่ยังทำให้บังเกิดผลที่แท้จริงไม่ได้เท่าที่ควร มองด้วยความเข้าใจและมองเห็นถึงความไม่เท่าเทียมกัน ความไม่เป็นธรรมที่ยังมีอยู่มากมายในสังคมไทยเราก็ไม่ควรต่อต้านต่อนโยบายที่รัฐพยายามจะเข้าไปเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับคนรากหญ้าส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งครั้งหนึ่งเขาได้ถูกบังคับโดยรัฐให้เป็นผู้เสียสละเพื่อความร่ำรวยของชาติ(โดยไม่รู้ตัว) การสร้างวาทกรรมประชานิยม หรือ การดิสเครดิตนโยบาย หรือความพยายามของรัฐบาลก็ควรจะมีให้น้อยลง แทนที่จะคอยวิพากษ์วิจารณ์เพื่อขัดขวาง เพื่อล้มนโยบายที่เราไม่ชอบใจ ไม่ได้ผลประโยชน์ เราควรเปลี่ยนมาเป็นการคอยช่วยกันชี้แนะให้รัฐบาล ว่าควรกำหนดนโยบาย ควรทำกิจกรรม โครงการอะไร แบบใด ที่จะสามารถส่งเสริมให้คนรากหญ้าสามารถเรียนรู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการต่อสู้ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่ครอบงำสังคมไทยและสังคมโลกอยู่ทุกวันนี้ได้อย่างเข้มแข็ง และสามารถช่วยกันขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่สังคมที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง ยั่งยืน และมีความเป็นธรรมกับทุกคนทุกฝ่าย โดยไม่กลายเป็นนโยบายที่จะพาชาติให้ล่มจมลงไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Norbert Ropers: ชี้ทางลัดสู่สันติภาพชายแดนใต้ Posted: 24 Jul 2011 10:17 AM PDT Norbert Ropers เวทีความรู้ครั้งที่ 1 เรื่องกระบวนการสันติภาพเริ่มต้นอย่างไร จัดโดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับกลุ่มบูหงารายา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 ที่ห้องประชุมอิบนุ คอลดูน วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นับเป็นอีกเวทีวิชาการที่ดึงความสนใจจากผู้คนที่ใฝ่หาสันติภาพในจังหวัดชายอดนภาคใต้ ให้ความสนใจอยู่ไม่น้อย หนึ่งในหลากหลายความสนใจนั้น อยู่ที่ความโดดเด่นของผู้บรรยาย นั่นคือ Norbert Ropers ผู้อำนวยการมูลนิธิ Berghof Peace Support นักวิชาการชาวเยอรมัน อาจารย์มหาวิทยาลัยผู้ผ่านประสบการณ์งานวิจัยเรื่องกระบวนสันติภาพในประเทศแถบเอเชียนานกว่า 10 ปี ที่มาบรรยายเรื่อง “กระบวนการสันติภาพเริ่มต้นอย่างไร? ทฤษฎีและประสบการณ์” ต่อไปนี้คือ คำบรรยายของนักวิชาการชาวเยอรมัน นาม “Dr.Norbert Ropers” ผู้เชี่ยวชาญ Peace Process ระดับโลก 0 0 0 ผมมีประสบการณ์การสอนในมหาวิทยาลัย ในวิชาการเมืองระหว่างประเทศและวิชาสันติภาพและความขัดแย้งศึกษา (PEACE and CONFLICT STUDY) ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อมอยู่กับมูลนิธิเอกชนเล็กๆ แห่งหนึ่งในเยอรมันนี ชื่อ BEGHOF foundation โดยเริ่มจากการทำวิจัยและทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการสร้างสันติภาพและการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้ง ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ทำงานหลักของผมคือเอเชีย 8 ปี ในประเทศศรีลังกา 2 ปีในประเทศไทย และปีหน้าผมจะใช้เวลาประมาณ 50% ไปกับการทำงานในจังหวัดปัตตานี ในฐานะนักวิจัยของสถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อสนับสนุนงานของอาจารย์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งนี้ มูลนิธิ BEGHOF ในภาษาอังกฤษหมายถึงสวนในภูเขา มูลนิธิฯ แห่งนี้เกิดขึ้นในบริบททางการเมืองระหว่างยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก เมื่อ 40 ปีที่แล้ว เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการสันติภาพทั้งหมดว่า จะเริ่มต้นอย่างไร จะคงสภาพให้ยั่งยืนได้อย่างไร และจะทำให้มันประสบความสำเร็จได้อย่างไร เราต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกับคำว่า ความขัดแย้งก่อน ความหมายของความขัดแย้ง และความจำเพาะของความขัดแย้งเป็นอย่างไร แล้วค่อยเรียนรู้กระบวนการของมัน หลายคนคิดว่า ความขัดแย้งเหมือนกับความรุนแรง แต่ความจริงแล้วไม่เหมือนกัน ความรุนแรงเกิดขึ้นได้ และจะเปลี่ยนผ่านไป ขณะที่ความขัดแย้งเป็นความขัดกันของความต้องการ แรงบันดาลใจ ความคิดเห็น แต่อาจจะไม่นำมาสู่ความรุนแรงก็ได้ ที่สำคัญความขัดแย้งจำเป็นมาก ที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคม บางคนมองว่า ความขัดแย้งเกิดจากคนสองฝ่ายต้องการสิ่งเดียวกัน ทั้งที่ความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้ในหมู่พวกเดียวกัน ถ้ามองปัญหาแตกต่างกัน และอาจนำไปสู่การตอบโต้ด้วยความรุนแรงก็ได้ ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง ในประเทศศรีลังกาช่วงสงครามระหว่างขบวนการพยัคฆ์ทมิฬอีแลมกับรัฐบาลศรีลังกาครั้งล่าสุด รัฐบาลพูดว่า เราไม่มีความขัดแย้ง เรามีแต่ปัญหาการก่อการร้าย แต่ชุมชนทมิฬกลับบอกว่า เรามีความขัดแย้ง เพียงแต่กลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงอยู่ในขบวนการพยัคฆ์ทมิฬอีแลม งานวิจัยยังระบุอีกว่า ความขัดแย้งอาจจะเป็นเรื่องความแตกต่างของเป้าประสงค์ ระหว่างผลประโยชน์ และความต้องการของกลุ่มคน เช่น กรณีเจ้าของทาสและทาส ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน แต่ในยุคทาสคนทั้งสองกลุ่มก็ไม่ได้มองว่า พวกเขาขัดแย้งกัน ถ้าไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความรุนแรง การสมานฉันท์มักจะถูกนำไปใช้ประกอบการอธิบายสภาพแห่งสันติภาพ คำถามของผมคือ สภาพเหล่านั้น เป็นสภาพแห่งสันติภาพจริงหรือไม่ ในบางกรณีมีผู้พยายามกดความรุนแรงไว้ไม่ให้ยกระดับขึ้น โดยใช้ผู้รักษาความปลอดภัยจำนวนมาก เช่น ดินแดนแคชเมียร์ รัฐบาลอินเดียส่งทหารเข้าควบคุมพื้นที่ 500,000 นาย เพื่อกดดันฝ่ายตรงข้าม จนไม่สามารถใช้ความรุนแรงในระดับสูงได้ นั่นใช่สันติภาพหรือไม่ สันติภาพมี 2 ความหมาย คือ สันติภาพในแง่ลบ (Negative peace) และสันติภาพในแง่บวก (Positive peace) ถ้าสันติภาพหมายถึงสภาพที่ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงปรากฏทางกายภาพ นั่นเป็นความหมายแบบ Negative peace แต่ถ้าสันติภาพในแง่บวก เป็นความหมายที่ครอบคลุมความเป็นธรรม ยุติธรรม ประชาธิปไตย สังคม เศรษฐกิจที่ดี สาเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งยืดเยื้อ มี 5 ลักษณะคือ ความเป็นอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมในวัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ และความเป็นเจ้าของในบางอย่างด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนกลุ่มน้อย ที่ต้องการยืนยันในสิทธิปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงความต้องการให้มีการอนุรักษ์อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ และความรู้ของเผ่าพันธุ์ตัวเอง ยกตัวอย่างกรณีศรีลังกา เมื่อก่อนเรียกว่ารัฐซีลอน เมื่อได้รับเอกราช ในปีค.ศ. 1948 กลายเป็นประเทศศรีลังกา ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชนสิงหลนับถือศาสนาพุทธ ต้องการยกกลุ่มชนของตนเป็นพลเมืองหลัก และยกศาสนาพุทธขึ้นเป็นศาสนาประจำชาติ ทำให้เกิดความขัดแย้งกับชาวทมิฬ ชนกลุ่มน้อยที่รับเรื่องนี้ไม่ได้ ความขัดแย้งดังกล่าวยืดเยื้อยาวนาน เมื่อมีชาวทมิฬที่อยู่ในรัฐทมิฬนาดู ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นรัฐของคนทมิฬ อยู่ห่างจากศรีลังกาไม่มากนัก มาช่วยสนับสนุนการต่อสู้ของชาวทมิฬในศรีลังกา ปัจจัยสุดท้ายที่ทำให้ขัดแย้งยืดเยื้อ ถึงกับส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นกลายเป็นวงจร มีตัวอย่างที่นำมาจากงานวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพคือ ความขัดแย้งทางยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างชาวเซิร์บและชาวโครแอทกับกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมบอสเนีย ความขัดแย้งในอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ความขัดแย้งที่เกาะมินดาเนา ในประเทศฟิลิปปินส์ และความขัดแย้งประเทศจอร์เจีย ซึ่งมีลักษณะความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ มักมีคำถามว่า เมื่อไรจะถึงเวลาแก้ไขความขัดแย้งเหล่านั้น คำตอบคือ อาจจะเป็นสันติภาพแง่ลบก่อน แล้วสันติภาพแง่บวกจะตามมาทีหลัง เรื่องนี้มี 3 ทฤษฎี ทฤษฎีที่หนึ่ง เป็นแนวคิดที่เป็นจริงคือ คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายถึงจุดสะบักสะบอม สู้ต่อไปก็ไม่เห็นทางชนะ หมายถึงทั้งสองฝ่ายเข้าสู่ภาวะ Dead lock มองไม่เห็นทางชนะในหนทางนี้แล้ว เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสงคราม 30 ปีของซูดานเหนือกับซูดานใต้ สุดท้ายซูดานใต้ก็ประกาศเอกราชเป็นประเทศซูดานใต้ได้ อีกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า คู่ขัดแย้งได้รับความเสียหายจากสงคราม และได้รับแรงกดดันจากต่างประเทศ อย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่เข้าไปกดดันเซอร์เบีย ทำให้ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมานานถูกหาทางออก ทฤษฎีที่สอง เมื่อหน้าต่างแห่งโอกาสมาถึง (Window of opportunity) ซึ่งอาจมาพร้อมกับรัฐบาลใหม่ที่มุ่งมั่นจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือฝ่ายขบวนการต่อสู้เปลี่ยนใจ หรือเกิดจากอิทธิพลภายนอกที่ต้องการหยุดความขัดแย้ง และหาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตัวอย่างกรณีนี้คือ อาเจะห์ของประเทศอินโดนีเซีย ที่ถูกคลื่นสึนามิซัด ทำให้กลุ่มต่อสู้กับรัฐบาลอินโดนีเซียในอาเจะห์คือ ขบวนการ GAM กับทหารของรัฐบาลอินโดนีเซียบนเกาะสุมาตราหยุดการต่อสู้ บวกอิทธิพลจากข้างนอกเข้าไปกดดันให้เกิดการเจรจา ในศรีลังกาก็เช่นเดียวกับอาเจะห์คือ มีคนกลางเข้ามาช่วยเหลือให้เกิดการเจรจา แต่การเจรจาก็ไม่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นว่า กรณีแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป ทฤษฎีที่สาม เป็นความมุ่งมั่นทางการเมืองของภาคประชาสังคม ที่รวมกลุ่มต่างๆ ในสังคมขึ้นมารณรงค์หาแนวทางการแก้ปัญหาให้สำเร็จ เราพูดถึงอะไรที่สามารถเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ความเคลื่อนไหวของกระบวนการสันติภาพ เริ่มต้นในระดับสูง แต่ค่อยๆ ลดลงตามปัจจัยที่เกิดขึ้น และแนวทางการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพที่เกิดขึ้นต้องเกิดในหลายระดับ ระดับที่ 1 (tract I) คือกลุ่มผู้นำจากทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายขบวนการ ระดับที่ 2 (tract II) คือกลุ่มนักวิชาการ ภาคประชาสังคม และที่สำคัญที่สุดคือคนรากหญ้า สำหรับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงเวลาของจุดเปลี่ยน เพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นตอนก่อน–ก่อนการเจรจา (pre–pre negotiation) หรือยัง การเจรจาคือการนั่งโต๊ะมาคุยกัน เพื่อหาทางออกของฝ่ายที่มีความขัดแย้ง ยกตัวอย่างในปี 2005 หัวหน้าฝ่ายรัฐของอินโดนีเซีย และ GAM ของอาเจะห์ มานั่งโต๊ะเจรจาโดยมีกลุ่มองค์กรทำงานด้านเจรจามานั่งโต๊ะคุยด้วย ส่วนขั้นตอนก่อนเจรจา คือการเตรียมการประชุมเตรียมการเพื่อการเจรจา ซึ่งมันจะเป็นการประชุมลับ คุยเบื้องต้นถึงหัวข้อและเป้าหมายคร่าวๆ ในโต๊ะเจรจาว่า จะมีอะไรบ้าง สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังไม่มีกลิ่นไอของ pre–pre negotiation หรือก่อน–ก่อนการเจรจา ถ้าผ่านขั้นตอนตรงนั้นแล้ว จะถึงขั้นตอนการตกลงทางการเมือง ยกตัวอย่างที่อาเจะห์ เกิดขั้นตอนการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ หรือในบอสเนีย ก็เกิดจากการจัดตั้งกลุ่มชุมชนที่มีความสัมพันธ์ของ 3 ชาติพันธุ์ หรือซูดานที่มีการแบ่งเป็นประเทศซูดานเหนือและซูดานใต้ นั่นเป็นผลของการตกลงทางการเมืองหลังจากเกิดกระบวนการสันติภาพ หลังจากตกลงทางการเมือง หลายคนวางใจว่าจะเกิดสันติภาพ แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของปัญหาใหม่ที่ต่างกัน แค่อาจจะไม่มีภาพความรุนแรงปรากฏให้เห็น ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่คือ การตีความข้อตกลงที่เข้าใจไม่ตรงกัน เช่น ในการตกลงเจรจาระหว่างรัฐบาลเนปาลกับกลุ่มเหมาอิสม์ ซึ่งการดำเนินการสันติภาพภายใต้ความเข้าใจต่างกันระหว่างสองฝ่าย ผลคือกลุ่มเหมาอิสม์ไม่ยอมบูรณาการกองกำลังติดอาวุธของตัวเอง เข้ากับกองกำลังทหารของเนปาล ทำให้เกิดการต่อต้านข้อตกลง ด้วยการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง (Disagreement to agreement) ทางออกของปัญหาแรกเสร็จสิ้นแล้ว อาจจะนำมาสู่ความขัดแย้งใหม่ เช่น ในซูดานเหนือและใต้ ตอนนี้มีปัญหาใหม่ที่ชายแดน เนื่องจากในข้อตกลงไม่ได้ระบุชัดเจนว่า จะเอาอย่างไรกับเส้นชายแดน ปัญหาคือ แหล่งทรัพยากรน้ำมันที่อยู่ตรงรอยต่อบริเวณชายแดน ที่ยังไม่มีการระบุชัดเจนในตอนแรก เพราะเพิ่งค้นพบหลังการลงนามในข้อตกลงไปแล้ว อาจจะเป็นสาเหตุการปะทุความรุนแรงระหว่างกันอีกรอบ ข้อสรุปจากการศึกษาความขัดแย้งจาก 20 กรณี โดยกลุ่มที่ศึกษาจากกรณีไอร์แลนด์เหนือ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ พบว่าต้องทำ 10 ข้อให้ได้ก่อน 1. ต้องรวบรวมกลุ่มที่ทรงพลังที่จะสร้างความรุนแรงให้ได้ก่อน เป็นประเด็นที่เรียนรู้จากกรณีความขัดแย้งในไอร์แลนด์ที่ยืดเยื้อ ซึ่งพบว่าเพราะกลุ่มที่แฝงอยู่ในกลุ่มก่อการร้ายไม่ถูกรวมอยู่ในการเจรจาตั้งแต่แรก 2. ระหว่างทางการเจรจา ต้องยอมรับว่า จะยังเกิดความรุนแรงอยู่ 3. กระบวนการสันติภาพ ต้องเป็นต้นแบบของการให้และการรับตลอดเวลา เราต้องยอมรับว่า แต่ละฝ่ายต้องมีส่วนที่ได้และส่วนที่เสีย 4. ผู้ชนะต้องขายความคิดเรื่องสันติภาพให้ประชาชนทุกกลุ่มยอมรับให้ได้ กระบวนการสันติภาพไม่สามารถดำเนินการโดยผู้นำแต่เพียงฝ่ายเดียว ทำให้ประชากรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสงครามเชื่อมั่นว่า จะไม่มีผลกระทบซ้ำซ้อนจากการวางอาวุธ หรือข้อตกลงนั้น จะไม่มีการเย้ยหยันฝ่ายตรงข้าม 6. การมองเผื่อไปถึงวันข้างหน้า ถึงความขัดแย้งที่อาจจะปะทุขึ้นอีกในอนาคต 7. การพัฒนาต้องเกิดพร้อมกับกระบวนการสันติภาพ เช่น รัฐบาลประเทศศรีลังกาละเลยการพัฒนาในพื้นที่ของชาวทมิฬ และยังมีการกีดกันชาวทมิฬในเรื่องต่างๆ ทำให้กระบวนการสันติภาพล้มเหลว 8. สันติภาพกับความยุติธรรมต้องมาพร้อมกัน เพราะถ้ายังมีการละเมิดอีกฝ่าย จะทำให้กระบวนการสันติภาพล้มเหลว และขาดความน่าเชื่อถือ 9. สนธิสัญญาหยุดยิง ต้องมีข้อตกลงระยะยาวที่จะไม่กลับมาใช้ความรุนแรงอีก เพื่อให้เกิดสันติภาพในระยะยาว จะต้องพูดเรื่องการเมืองประกอบด้วย 10. การแก้ไขปัญหาควรจะอยู่ในวิถีที่เหมาะสมกับชุมชน หรือเฉพาะพื้นที่นั้นๆ แทนที่จะนำแบบอย่างจากพื้นที่อื่นๆ มาปรับใช้ ในการหาหนทางสู่สันติภาพ ประเทศเยอรมันนีสามารถก้าวข้ามความเจ็บปวดทางประวัติศาสตร์ ก้าวสู่การเป็นสังคมเยอรมันทุกวันนี้ได้อย่างไร? จากประสบการณ์ความรุนแรงที่สะสมอยู่ในประเทศเยอรมันนี และส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ความรุนแรงยืดเยื้อกว่า 150 สิบปี ประวัติศาสตร์สงครามที่โด่งดังของเยอรมันนี อยู่ระหว่างปี ค.ศ.1870–1871 ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามให้กับเยอรมันนี ถูกเยอรมันนีเรียกค่าชดเชยสงครามและถูกตราหน้าว่าเป็นผู้แพ้สงคราม ช่วง ค.ศ.1870–1871 เรายังไม่เรียกตัวเองว่าเยอรมัน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1914–1918 กลายเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสเอาคืน และตราหน้าให้เยอรมันรู้สึกว่าเป็นผู้แพ้บ้าง เยอรมันนีต้องจ่ายชดใช้ค่าสงครามให้ฝรั่งเศสมากกว่าตอนที่ฝรั่งเศสจ่ายให้เยอรมันนี หลังจากค.ศ.1920 เยอรมันนีส่อแววว่าจะอ่อนแอในการพยุงประชาธิปไตย และเข้าสู่ความรุนแรงในแบบรัฐบาลนาซีเยอรมัน นาซีเยอรมันเกิดความเคียดแค้นและนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิว แต่ด้วยความโชคดีที่ผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ทำเฉกเช่นเดียวกับผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ไม่เกิดการล้างแค้นกันและกันอีก โชคร้ายคือ เกิดวงจรความรุนแรง เมื่ออิสราเอลรวมตัวกันเป็นรัฐและปกป้องตัวเอง โดยอ้างว่าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวอีก แต่ตัวเองกลับไปละเมิดอธิปไตยของชนเผ่าอื่น ในฐานะที่เป็นนักสันติภาพ เราต้องหยุดวงจรของความรุนแรง แม้ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้น ความรุนแรงจะดำเนินต่อไป มันจะดีกว่าถ้าเยอรมันนีแพ้สงครามร้อยเปอร์เซนต์ แต่ในช่วงในสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกชาตินิยมบอกว่า เยอรมันนียังไม่แพ้ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เห็นชัดว่าเยอรมันนีแพ้สงคราม ทำให้ถูกโซเวียตแบ่งออกเป็นประเทศเล็กๆ และคนในประเทศใหม่เหล่านั้น ต้องดิ้นรนสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของตัวเอง ทำให้ตัดวงจรความรุนแรงในช่วงนั้นออกไป อีกประเทศคือ ญี่ปุ่น ที่ตัดวงจรความรุนแรงหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการเบนความสนใจสู่เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเอง เดิมหลายประเทศมองว่าญี่ปุ่นและเยอรมันนี เป็นประเทศลัทธิคลั่งชาตินิยม แต่หลังจากแพ้สงครามและมีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ภาพเหล่านั้นหายไปเกือบหมดแล้ว แต่เสียดายที่หลายประเทศยังคงเกิดความขัดแย้ง ไม่สามารถพัฒนาไปให้ถึงจุดนั้นได้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในขั้นไหน ระหว่างก่อนการเจรจา หรือก่อน–ก่อนการเจรจา การส่งสัญญาณจากภาครัฐกับขบวนการ ฝ่ายไหนจะสามารถนำไปสู่การเจรจาได้จริง? ขออภัย ผมยังไม่ได้เป็นผู้ชำนาญประเด็นความขัดแย้งในภูมิภาคนี้ ตอนนี้คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มกล้าที่จะพูดเรื่องการกระจายอำนาจมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 – 4 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ถ้าดูจากสิ่งที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อ ถึงสัญญาณการเจรจา ระหว่างสองฝ่ายดูเหมือนพร้อมที่จะเจรจากัน แต่นั่นยังไม่สามารถตัดสินได้ว่า เป็นสัญญาณที่บอกว่า สถานการณ์ดีขึ้นแล้วหรือยัง ส่วนฝ่ายตรงข้ามรัฐ บางส่วนที่อาจจะยังลังเลว่า จะถูกหลอกอีกหรือไม่ อีกส่วนหนึ่งเชื่อว่า รัฐบาลยังไม่พร้อมรับข้อเสนอ เพื่อการต่อรองจากฝ่ายตรงข้าม ความแตกต่างกรณีจะเสนอ หรือลังเลในส่วนนี้ เพราะต่างฝ่ายต่างอาจจะกำลังหาทางออกที่ตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุด สิ่งที่ต้องคิดคือ การเจรจาจะต้องเตรียมใจว่า ย่อมมีทั้งได้และเสีย มีทางลัดสู่สันติภาพหรือไม่? นักการเมืองและนักกิจกรรมมากมายในพื้นที่ความขัดแย้งรอบโลก กำลังมองหาทางลัดสู่สันติภาพ ซึ่งต้องอาศัยความมุ่งมั่นทางการเมืองที่สูงมาก จะต้องมีผู้นำที่มีความเฉลียวฉลาด มีพรสวรรค์บางอย่าง ถึงจะสามารถนำประเทศสู่สันติภาพ ทางลัดสู่สันติภาพ จะต้องเตรียมผู้นำที่หลากหลาย และเชื่อมโยงการทำงานเข้าด้วยกัน ปัญหาคือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะขาดความเชื่อมั่น ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หรือ “ZERO TRUSTED” การลดความตึงเครียดของทั้งสองฝ่ายกับการสร้างสันติภาพด้วยทฤษฎี GRIT (Gradual Reduction in Tention) คือ การกระทำของทั้งสองฝ่ายเพื่อสร้างความมั่นใจระหว่างกัน ไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมด้วยกัน อาจจะต่างฝ่ายต่างทำ เพื่อลดความตึงเครียดของอีกฝ่าย หลักการนี้เกิดขึ้นในสมัยสงครามเย็นระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งต้องเชื่อมั่นในฝ่ายตรงข้าม ตัวอย่างสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเริ่มจากรัฐบาลเปิดใจรับการใช้ภาษามลายู ที่เป็นข้อเสนอของฝ่ายตรงข้าม รัฐบาลสามารถแสดงความจริงใจในการร่วมแก้ไขปัญหา และลดความตึงเครียดระหว่างกัน ขณะเดียวกันอีกฝ่ายอาจจะร่วมแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการลดการก่อเหตุ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องไม่มีการบังคับเพื่อให้อีกฝ่ายเลิกเชื่อในสิ่งที่เขาเชื่อ กระบวนการนี้ ถูกใช้ในประเทศไอร์แลนด์เหนือ โดยระดับนำของทั้งสองฝ่ายต้องสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกันว่า ถ้าอีกฝ่ายลดความตึงเครียดแล้ว อีกฝ่ายจะไม่เพิ่มความตึงเครียดให้กับฝ่ายตรงกันข้าม เพราะนั่นหมายถึงการไม่ยอมรับข้อเสนอเพื่อให้เกิดสันติภาพ ปัจจุบันสถานการณ์ความขัดแย้งในโลก มีแนวโน้มอย่างไร? ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1991–2011 จำนวนความขัดแย้งลดลง จำนวนเหยื่อจากความขัดแย้งลดลง ศตวรรษที่แล้วประเทศต่างๆ เน้นการสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ศตรรษนี้เน้นการสานสัมพันธ์ภายในประเทศ ยกตัวอย่างปัญหาความขัดแย้งในประเทศกัมพูชา ที่มีองค์กรต่างประเทศเข้ามาจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาภายใน ในอนาคตกำลังจะหมดยุคการเข้ามามีส่วนในการจัดการปัญหาในพื้นที่ความขัดแย้งของนานาประเทศในลักษณะนี้ โดยเฉพาะในประเทศเอเชีย จะมีแนวทางแก้ไขปัญหาของเอเชียเอง ทั้งนี้ ปัญหาหนึ่งที่ทำให้แนวโน้มเป็นอย่างนั้น เพราะองค์กรต่างประเทศเหล่านั้น ทำงานสองมาตรฐาน ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ในลิเบียและซีเรีย แนวโน้มการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในประเทศแถบเอเชีย จะมุ่งเน้นประสบการณ์การสร้างความเข้มแข็งให้บกัประชาชน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างพลังอำนาจการต่อรอง เพื่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนาน ตัวอย่างการจัดการปัญหาความขัดแย้งในปาปัวตะวันตก จากการทำงานอย่างเข้มแข็งของภาคประชาสังคมปาปัวตะวันตก ทำให้เกิดวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ จะสร้างความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันได้อย่างไร? การสร้างความเชื่อมั่นต่อกัน ต้องทำในหลายระดับ ไม่ใช่จุดเดียว เพราะสังคมมีหลากหลายส่วนมาอยู่ร่วมกัน การแก้ปัญหาเพื่อสร้างสันติภาพ จึงต้องถักทอเป็นตาข่าย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทุ่งสงเช่าที่รถไฟตั้งศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ Posted: 24 Jul 2011 10:07 AM PDT นายสุทธิพงษ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 ที่ห้องประชุมนายอำเภอ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ตนเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายอำนวยการและฝ่ายปฏิบัติการในคณะกรรมการประสานความร่วมมือแบบบูรณาการและติดตามผลการบริหารงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า(CDC) ภาคใต้– ทุ่งสง มีผู้เข้าร่วม 10 คน นายสุทธิพงษ์ เปิดเผยต่อไปว่า ที่ประชุมนายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเสนอผลการศึกษาความเป็นไปได้ของศูนย์กระจายสินค้าและการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องของเมือง ศึกษาโดย Cities Development Initiative for Asia หรือ CDIA ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB ต่อที่ประชุม โดยระบุว่า เป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ คาดว่าจะต้องมีลูกค้ามาใช้บริการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ปีละ 20,000 ตู้ งบประมาณก่อสร้างระยะแรก 486 ล้านบาท ประกอบด้วยการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ 2 กิโลเมตรจากสถานีชุมทางทุ่งสง ถนนและพื้นที่ขนถ่ายสินค้า บนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย 85.43 ไร่ ในเขตตำบลทุ่งสงและตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง นายสุทธิพงษ์ เปิดเผยผลการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติให้เทศบาลเมืองทุ่งสงดำเนินการขอเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยในรูปแบบหน่วยงานรัฐต่อหน่วยงานรัฐได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี จึงให้ยื่นเรื่องขอเช่าผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งที่ประชุมให้เวลาในการดำเนินการภายใน 1 เดือน แต่ในช่วงนี้คงเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นช่วงการตั้งรัฐบาลใหม่ นายสุทธิพงษ์ เปิดเผยต่อไปว่า ที่ประชุมเห็นว่า การบริหารจัดการ CDC ต้องทำในรูปแบบบริษัท จึงมอบหมายให้เทศบาลเมืองทุ่งสงไปศึกษาแนวทางการจัดตั้งบริษัท เช่นเดียวกับรูปแบบที่กรุงเทพมหานครได้ตั้งบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เพื่อบริหารจัดการด้านสาธารณูปโภคต่างๆ นายสุทธิพงษ์ เปิดเผยอีกว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ของบประมาณสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ศึกษาโครงการในเชิงลึกต่อไป เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและด้านผังเมือง เป็นต้น โดยขอให้ทางจังหวัดจัดงบประมาณสมทบบางส่วนด้วย นายทรงชัย เปิดเผยว่า โครงการนี้ทางจังหวัดได้มอบหมายให้เทศบาลเมืองทุ่งสงเป็นผู้รับผิดชอบ แต่เนื่องจากที่ตั้งโครงการตั้งอยู่บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงจำเป็นต้องขอเช่าพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่เนื่องจากการเช่าพื้นที่ในเชิงธุรกิจมีอัตราค่าเช่าที่สูงมาก จึงนำเข้าเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุม เพื่อขอความเห็นชอบให้ขอเช่าในรูปแบบหน่วยงานรัฐต่อหน่วยงานรัฐด้วยกัน จึงจะได้ค่าเช่าที่ถูกลง นายทรงชัย เปิดเผยด้วยว่า ศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ – ทุ่งสงแห่งนี้ ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม โดยจะเชื่อมโดยการขนส่งสินค้าไปทั่วภาคใต้ โดยเฉพาะการขนส่งทางราง ทั้งท่าเรือน้ำลึกสงขลา ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล ท่าเรือกันตังและท่าเรือบ้านนาเกลือ จังหวัดตรัง ท่าเรือระนอง ท่าเรือขนอม รวมทั้งท่าเรือปีนังของประเทศมาเลเซีย โดยรองรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและใกล้เคียง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คอตีบคืนชีพชายแดนใต้ 3 ปีครึ่ง ระบาดตาย 24 ศพ Posted: 24 Jul 2011 10:05 AM PDT นายแพทย์ยอร์น จิระนคร นายแพทย์ยอร์น จิระนคร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อปี 2547 เป็นต้นมา ความถี่ในการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายแห่งลดน้อยลง เพราะเกรงจะได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ ส่งผลให้โรคคอตีบ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนกลับมาระบาดอีกครั้ง โดยปี 2553 จังหวัดปัตตานีมีผู้ป่วยโรคคอตีบ 48 ราย เสียชีวิต 9 ราย สูงที่สุดในประเทศไทย นายแพทย์ยอร์น กล่าวว่า ความน่ากลัวคือ หากเด็กเล็กติดเชื้อโรคคอตีบจะมีอัตราการเสียชีวิตสูง จึงจำเป็นต้องเร่งให้วัคซีนในเด็กเล็กมากขึ้น ส่งผลให้ปี 2554 ระหว่างเดือนมกราคม–เมษายน ยอดผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคคอตีบลดลง โดยมีผู้ป่วย 4 ราย เสียชีวิต 1 ราย เป็นเด็กอายุ 5 ปี 2 เดือน นายแพทย์ยอร์น เปิดเผยว่า ตามหลักแล้วจะต้องให้วัคซีนเด็กให้ได้ 90–95% ของจำนวนเด็กทั้งหมด จึงจะสามารถควบคุมโรคได้ แต่จังหวัดปัตตานีมีเด็กได้รับวัคซีนเพียง 60% เท่านั้น เนื่องจากการทำงานสาธารณสุขเชิงรุก เช่น การลงพื้นที่ตรวจสุขภาพภายในหมู่บ้าน ในรอบ 5–6 ปีที่ผ่านมาลดน้อยลง อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ นายแพทย์ยอร์น เปิดเผยต่อไปว่า ปัญหาใหญ่คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน พยาบาล และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งต้องร่วมกันสำรวจข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน โดยเฉพาะด้านสุขภาพ ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน และไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง จึงส่งผลต่อการควบคุมโรค เช่น ข้อมูลของสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย ระบุมีเด็ก 20 คน แต่ข้อเท็จจริงอาจจะมีเด็ก 10–30 คนก็ได้ เพราะพ่อแม่ไม่ได้แจ้งเกิดทุกราย “ถ้าจำนวนเด็กน้อยกว่าตัวเลขของสำนักทะเบียนราษฎร์ การให้วัคซีนจะครอบคลุมเด็กทุกคน แต่หากจำนวนเด็กมีมากกว่า เด็กจะได้รับรับวัคซีนไม่ครบทุกคน เพราะการเตรียมวัคซีนจะเตรียมตามจำนวนเด็กที่มีอยู่ ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องสำรวจข้อมูลเด็กซ้ำ ต้องใช้เวลาในการปรับฐานข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด ” นายแพทย์ยอร์น กล่าว น.ส.วันรอปีอะห์ แวมายิ อสม. หมู่ที่ 1 ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า เด็กที่เสียชีวิตจากโรคคอตีบรายล่าสุด อยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลปูยุด ก่อนเสียชีวิตเด็กมีไอติดต่อกันหลายวัน เมื่อนำส่งไปรักษาตัวโรงพยาบาลพบว่า เป็นโรคคอตีบ นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่ 2 คืน จึงเสียชีวิต ปกติครอบครัวของเด็กคนนี้ เมื่อป่วยจะไปรักษากับหมอบ้าน จากการสอบประวัติคนทั้งครอบครัว พบว่า มีลูกทั้งหมด 4 คน ทุกคนไม่เคยได้รับวัคซีน สำหรับโรคคอตีบ เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ จากเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อนี้มักอยู่ในผู้ใหญ่และเป็นพาหะแต่ไม่แสดงอาการ เมื่อไอ จาม จะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่เด็กที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน เพราะไม่ได้รับวัคซีน ทำให้เด็กหายใจลำบาก เจ็บคอ เบื่ออาหาร ไอ เมื่อตรวจดูในคอ พบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณต่อมทอนซิลและลิ้นไก่ และอาจจะติดเชื้อลงไปถึงปอด ทำให้เสียชีวิตได้ รายงานการเฝ้าระวัง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุสถานการณ์การระบาดของโรคคอตีบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ระหว่างปี 2551–2554 ว่า ปี 2551 จังหวัดปัตตานีมีผู้ป่วย 1 คน ยะลามีผู้ป่วย 5 คน เสียชีวิต 4 คน ปี 2552 ปัตตานีมีผู้ป่วย 2 คน เสียชีวิต 2 คน ยะลามีผู้ป่วย 10 คน ปี 2553 ปัตตานีมีผู้ป่วย 46 คน เสียชีวิต 9 คน ยะลามีผู้ป่วย 22 คน เสียชีวิต 4 คน นราธิวาสมีผู้ป่วย 1 คน เสียชีวิต 1 คน ปี 2554 (ระหว่างมกราคม - เมษายน) ปัตตานีมีผู้ป่วย 3 คน เสียชีวิต 1 คน ยะลา มีผู้ป่วย 1 คน นราธิวาสมีผู้ป่วย 8 คน เสียชีวิต 3 คน รวมผู้เสียชีวิต 24 คน ทั้ง 3 จังหวัดมีแนวโน้มผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี .................... สถิติโรคคอตีบระบาดในชายแดนใต้ ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจการประเมินผลงาน 2 ปี 6 เดือน ผู้ว่าฯ กทม. ผ่าน Posted: 24 Jul 2011 10:00 AM PDT เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 2 ปี 6 เดือน ของการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 2 ปี 6 เดือน ผู้ว่าฯ กทม.” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต จำนวน 1,218 คน เมื่อวันที่ 13 -21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า คนกรุงเทพฯ ให้คะแนนความพึงพอใจผลงาน ของ กทม. ในยุคผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ 5.67 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อตอนที่ ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ทำงานครบ 2 ปี 0.31 คะแนน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยพึงพอใจผลงานด้านสุขภาพและการป้องกันโรคระบาดมากที่สุด (6.29 คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินน้อยที่สุด (5.02 คะแนน) เมื่อพิจารณานโยบายหลัก 6 ด้านที่ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ใช้หาเสียงนั้นพบว่า นโยบายที่คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ระบุว่าเห็นผลแล้วมี 2 นโยบายคือ ด้านสุขภาพ (ร้อยละ 57.7 ระบุว่าเห็นผลแล้ว) และด้านการศึกษา (ร้อยละ 52.9 ระบุว่าเห็นผลแล้ว) ส่วนนโยบายที่ยังไม่เห็นผลมี 4 นโยบาย ได้แก่ ด้านความปลอดภัย (ร้อยละ 69.6 ระบุว่ายังไม่เห็นผล) ด้านการจราจร (ร้อยะละ 64.4 ระบุว่ายังไม่เห็นผล) ด้านเศรษฐกิจ (ร้อยละ 61.9 ระบุว่ายังไม่เห็นผล) และ ด้านสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 50.8 ระบุว่ายังไม่เห็นผล) สำหรับคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้คะแนน 6.28 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในช่วงที่ทำงานครบ 2 ปี 0.56 คะแนน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 โดยได้คะแนนด้านความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด (6.82 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความฉับไวในการแก้ปัญหาน้อยที่สุด (5.90 คะแนน) ส่วนความคิดเห็นต่อประเด็นการดำเนินงานของผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ที่มุ่งหวังให้คนกรุงเทพฯ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 63.5 เห็นว่าตนเองยังคงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 29.1 เห็นว่าดีขึ้น และร้อยละ 7.3 เห็นว่าแย่ลง เมื่อสอบถามถึงความคาดหวังเมื่อตอนที่ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. กับผลงานที่ปรากฏในขณะนี้พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 46.2 เห็นว่ามีผลงานพอๆ กับที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 14.8 เห็นว่าดีกว่าที่คาดหวังไว้ และร้อยละ 9.7 เห็นว่าแย่กว่าที่คาดหวังไว้ ขณะที่ร้อยละ 29.3 ระบุว่าไม่ได้คาดหวังไว้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 24 Jul 2011 09:40 AM PDT หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประชุมหารือและตกลงร่วมกันว่าให้เปิดผามออีแดงให้นักท่องเที่ยวขึ้นชมได้ทุกวันตั้งแต่วันเสาร์ที่ 23 ก.ค. เวลา 8.00-16.00 น. คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติหลั่งไหลมาเที่ยวกันมาก ซึ่งจะทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่ขายอาหารและของที่ระลึกบนผามออีแดงมีรายได้กันเหมือนเดิม เปิดผามออีแดงวันที่ 2 นักท่องเที่ยวคึกคัก, 24 ก.ค. 2554 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เปิดผามออีแดงเป็นวันที่ 2 คนแห่ขึ้นชมเขาพระวิหาร Posted: 24 Jul 2011 06:06 AM PDT นักท่องเที่ยวมั่นใจความปลอดภัย ไม่หวั่นรบอีก แห่ขึ้นชมผามออีแดงคึกคักหลังเปิดให้เข้าได้เป็นวันที่2 ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษหวังพ่อค้าแม่ค้ากลับมามีรายได้เหมือนเดิม เว็บไซต์ข่าวไทยรัฐออนไลน์รายงาน นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมทิวทัศน์บนผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษจำนวนมาก หลังจากเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันเสาร์ที่ 23 ก.ค. 2554 เป็นต้นมา โดยนักท่องเที่ยวมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยของทหารและไม่กลัวว่าจะมีการสู้รบเกิดขึ้นอีก ด้านนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษเปิดเผยว่า ดีใจและชื่นใจที่เห็นนักท่องเที่ยวทั้งจาก จ.ศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดย“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประชุมหารือและตกลงร่วมกันว่าให้เปิดผามออีแดงให้นักท่องเที่ยวขึ้นชมได้ทุกวันตั้งแต่วันเสาร์ที่ 23 ก.ค. เวลา 8.00-16.00 น. คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติหลั่งไหลมาเที่ยวกันมาก ซึ่งจะทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่ขายอาหารและของที่ระลึกบนผามออีแดงมีรายได้กันเหมือนเดิม ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 ที่อุทยานแห่งชาติผามออีแดง นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายอำเภอกันทรลักษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ผู้นำชุมชน เข้าเยี่ยมการปรับปรุงทัศนียภาพ ร้านค้าโอท็อป บริเวณผามออีแดง ซึ่งเปิดให้เข้ามาปรับปรุงได้ตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา และนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าเยี่ยมชมทิวทัศน์บนจุดชมวิวผามออีแดงได้แล้ว โดยนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ยืนยันถึงความปลอดภัย ในชีวิตสำหรับนักท่องเที่ยว พ่อค้าแม่ค้า เจ้าหน้าที่อุทยาน สามารถนอนค้างคืนได้แล้ว โดยได้มีหนังสือยืนยังถึงความปลอดภัยจากแม่ทัพภาคที่ 2 แล้ว และอนุญาตให้นักท่องเที่ยวได้เข้าเยี่ยมชมผามออีแดงได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากเยี่ยมให้กำลังใจแม่ค้าแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เดินเท้าเข้าไปถึงหน้าทางขึ้นปราสาทพระวิหารด้วย หลังจากนี้ จะได้ประสานงานกับอุทยานและ ทางทหารให้พัฒนาทางเดินรวมไปถึงการสร้างศาลาพักเพิ่มเติมให้นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้ปราสาทพระวิหารมากที่สุด และยังคงอยู่ในแผ่นดินไทย ยอดสรุปนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเดินทางเข้าท่อง เที่ยวผามออีแดงเฉพาะวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมาประมาณ 200 คน ทีมา: ไทยรัฐออนไลน์, ข่าวประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นพดล ปัทมะ : ความจริง ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชน กรณีคำสั่งของศาลโลก Posted: 24 Jul 2011 04:03 AM PDT ความจริง ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชน กรณีคำสั่งของศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในคดีที่กัมพูชายื่นตีความคำตัดสินของศาลโลกในปี 2505 1. เมื่อศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในวันที่ 18 กค 2554 เป็นเรื่องที่น่าแปลก เพราะทั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและกัมพูชา พอใจในคำสั่งทั้งคู่ ในโลกของความเป็นจริง ยากที่คำสั่งศาลจะทำให้คู่ความทั้งสองฝ่ายพอใจ ทั้งคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี และคุณกษิต ภิรมย์ รมต ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่างพอใจในผลการตัดสิน ทั้งๆที่มีประเด็นที่น่ากังกลและน่าเป็นห่วงมากมาย นายกฯและรัฐบาลไม่พูดความจริงกับประชาชนทั้งหมด 2. ข้อดีของมาตรการคุ้มครองชั่วคราวแทบจะมีอยู่เรื่องเดียวคือการกำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราว จะช่วยลดความตรึงเครียดบริเวณปราสาทพระวิหาร และลดโอกาสในการปะทะ และสูญเสีย คำสั่งศาลทำให้กัมพูชาได้ตามที่เขาต้องการเกือบทุกเรื่อง และมีข้อที่น่ากังวลหลายเรื่องดังนี้ 2.1 ศาลสั่งให้ประเทศไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร 2.2 คำสั่งศาลโลกไม่ได้สั่งให้รื้อวัด ชุมชน และตลาดของกัมพูชา ดังนั้นชาวกัมพูชาที่เป็นพลเรือนยังอยู่ต่อไปในพื้นที่ทับซ้อน 2.3 เนื่องจากศาลโลกตัดสินว่าปราสาทเป็นของกัมพูชาตั้งแต่ปี 2505 แล้ว ศาลโลกจึงสั่งห้ามไม่ให้ไทยขัดขวางการเข้าถึงตัวปราสาทพระวิหารโดยเสรีของกัมพูชา ประเด็นนี้สุ่มเสี่ยงและกระทบสิทธิประเทศไทย เพราะอาจตีความได้ว่ากัมพูชาสามารถใช้พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นเส้นทางลำเลียงสิ่งของเข้าตัวปราสาทได้ ซึ่งประเด็นนี้ไทยคัดค้านมาตลอด แต่ศาลโลกสั่งให้ไทยห้ามขัดขวาง 2.4 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์พยายามย้ำมาตลอดว่าเรื่องปัญหาพรมแดนปราสาทพระวิหารนั้นเป็นเรื่องสองฝ่ายหรือทวิภาคี ระหว่างไทยและกัมพูชา ทั้งๆที่มันไม่จริง เพราะมันยกระดับไปเวทีพหุภาคีหรือเวทีหลายฝ่ายนานแล้ว และคำตัดสินของศาลโลกในวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมาก็ได้สั่งให้ไทยและกัมพูชาร่วมมือกันต่อไปในกรอบของอาเซียน และยอมรับผู้สังเกตการณ์ทางทหารจากอาเซียน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องพหุภาคีไปอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ประเด็นนี้กัมพูชาก็ได้ตามที่เขาต้องการอีก 3 ถ้าพิจารณาคำสั่งศาลโลกและนัยยะโดยละเอียดตามข้อ 2.1 ถึง 2.4 แล้ว ไม่มีประเด็นใดที่จะทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี หรือ นายกษิต รมว กต พอใจได้เลย ในทางตรงข้าม มันมีแต่ประเด็นที่น่ากังวล และเป็นภาระหนักที่ทิ้งไว้ให้รัฐบาลใหม่มาแบกรับ เพิ่มเติมจากประเด็นการถอนตัวจากภาคีมรดกโลก ที่เป็นปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง 5 ดังนั้นจึงถือว่าขบวนรถไฟเรื่องการตีความคำตัดสินศาลโลกเมื่อปี 2505 ได้วิ่งออกจากชานชาลาแล้ว มันจะวิ่งอีกปีหรือ สองปีก็จะถึงสถานีปลายทาง คือศาลโลกจะตัดสินในอีก 1-2 ปี เราไม่รู้ว่าผลการตัดสินจะออกหัวหรือออกก้อย เราไม่รู้ว่าศาลโลกจะสั่งให้พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกม. เป็นของไทย หรือ เป็นของกัมพูชา มันมีความไม่แน่นอน แต่ถ้าท่านดูคะแนนเสียงของผู้พิพากษาศาลโลกฝ่ายข้างมากลงมติในประเด็นคำขอของกัมพูชาในแต่ละประเด็นแล้ว เป็นการยากที่จะตัดความกังวลในผลการตัดสินในคดีหลักภายในสองปีข้างหน้าได้ 6 ผมมั่นใจว่าเราจะไม่มาถึงจุดนี้ ถ้าเราไม่เอาประเด็นปราสาทพระวิหารมาทำลายกันทางการเมืองภายในประเทศ ถ้าเราไม่คลั่งชาติกันจนเกินเหตุ และถ้าเราบอกความจริงกับประชาชน คนไทยทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้ความจริง อย่าปกปิดความจริง อย่าปิดหูปิดตาประชาชน อย่าใช้ความเท็จทำลายกัน ผมยังยืนยันอีกครั้งครับว่า ถ้าแนวทางของคำแถลงการณ์ร่วมของรัฐบาลสมัครสมัยผมเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศถูกนำไปปฏิบัติ และไม่ถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ เรื่องนี้ไม่น่าจะไปสู่ศาลโลก คืออะไรที่เป็นของเขาก็เป็นของเขา อะไรที่เป็นของเราก็ปกป้องให้เป็นของเรา ก็ในเมื่อปราสาทพระวิหารนั้นเป็นของกัมพูชาตามที่ศาลโลกตัดสิน ก็สนับสนุนให้เขาขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ เพื่อแลกเปลี่ยนให้เขาตัดพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ออกมา ไม่ให้เขาเอาไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก ส่วนพื้นที่ทับซ้อนที่ต่างคนต่างอ้างสิทธิ์ก็เอามาพัฒนาเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เป็นการแก้ปัญหาแบบ วิน วิน และจะไม่มีการทำสงครามหรือปะทะกันทางทหารอย่างที่เกิดขึ้น 7 ภาระหนักที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ ทิ้งไว้ให้รัฐบาลใหม่นั้น รัฐบาลใหม่ต้องแก้ปัญหาด้วยความระมัดระวัง โดยเชิญทุกภาคส่วนมาร่วมคิด ร่วมทำ ทำเรื่องปราสาทพระวิหารเป็นวาระแห่งชาติ บอกความจริงกับประชาชน และอย่านำเรื่องนี้มาเล่นการเมือง และยุติการใช้ความเท็จทำลายกันทางการเมืองภายในประเทศ ขอเอาใจช่วยให้รัฐบาลใหม่แก้ไขปัญหาให้สำเร็จ นำสันติภาพมาสู่พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลรัฐธรรมนูญชี้คดี ‘ดา ตอร์ปิโด’ พิจารณาคดีลับไม่ขัด รธน. Posted: 24 Jul 2011 02:36 AM PDT 24 ก.ค.54 รายงายข่าวแจ้งว่ามีการส่งอีเมล์รายงานคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรมนูญคดีดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ซึ่งศาลอาญามีกำหนดจะอ่านคำวินิจฉัยดังกล่าวในวันที่ 17 ต.ค.54 หลังเลื่อนมาจากวันที่ 9 พ.ค.54 อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้ลงวันที่ 11 พ.ค.54 ทั้งนี้ คดีดังกล่าว ศาลอาญาพิพากษาจำคุกดารณี 18 ปี (28 ส.ค.52) แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น (9 ก.พ.54) โดยระบุว่า จำเลยและทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องให้ศาลอาญาส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าการสั่งพิจารณาคดีลับของศาลชั้นต้นเป็นการขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ดังนั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจในการยกคำร้องเอง ต่อมา ผู้สื่อข่าวตรวจสอบในเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ พบ คำวินิจฉัยกลาง ปี 2554 คำวินิจฉัยที่ 30/2554 เรื่องประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 และมาตรา 40 (2) หรือไม่ คำวินิจฉัยดังกล่าวระบุว่า การที่ศาลอาญามีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ (ป.วิ อาญา มาตรา 177) ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแต่ประการใด ลงชื่อ นายชัช ชลวรา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, นายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, นายเฉลิมพล เอกอุรุ ตุลาการศาลรัฐธรรม, นายนุรักษ์ มาประณีต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, นายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยระบุเหตุผลส่วนหนึ่งว่า การพิจารณาคดีลับ มิได้หมายความว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไมได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม และมิได้จำกัดสิทธิของจำเลยในคดีอาญาแต่อย่างใด เพราะเมื่อมีการพิจารณาเป็นการลับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 178 กำหนดให้มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณามีสิทธิอยู่ในห้องพิจารณาได้ อาทิเช่น โจทก์และทนายความโจทก์ จำเลยและทนายความของจำเลย ผู้ควบคุมตัวจำเลย พยานผู้เชี่ยวชาญ และล่าม เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 เป็นบทบัญญัติที่อูยู่ในขอบเขตแห่งการให้สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณาแก่บุคคลตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ถึงแม้จะมีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอยู่บ้าง แต่ก็เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็น มิได้กระทบเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ อีกทั้งเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 และมาตรา 40 (2) ด้านนายประเวศ ประภานุกูล ทนายความของดารณีให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าวเพราะอยู่ต่างจังหวัด และศาลอาญานัดฟังคำสั่งในเดือนตุลาคมนี้ และไม่มีการแจ้งเรื่องนี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาดังนั้นจริง ขั้นตอนต่อไปหลังฟังคำสั่ง ศาลอาญาก็ต้องอ่านคำพิพากษาใหม่อีกครั้ง ซึ่งโดยหลักการแล้วจะให้เหตุผลและสั่งจำคุกเช่นเดิมหรือไม่ อย่างไรก็ได้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 17 - 23 ก.ค. 2554 Posted: 24 Jul 2011 01:42 AM PDT สมานฉันท์แรงงานไทยขีดเส้นใต้ให้เพื่อไทย 6 เดือน ขึ้นค่าแรง 300 บาท คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ยื่นข้อเสนอนโยบายเร่งด่วนเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานต่อพรรคเพื่อไทย โดยมี นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย เป็นผู้รับมอบ โดย คณะกรรมการดังกล่าวมีข้อเสนอต้องการให้ พรรคเพื่อไทย สานต่อ กรณีรับรองอนุสัญญาการรวมตัวกลุ่มสหภาพแรงงานและการต่อรอง ระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง ซึ่งขณะนี้ไม่มีการคุ้มครองผู้ก่อตั้งสหภาพ ทำให้ นายจ้าง สามารถปลดผู้ก่อตั้งออกจากโรงงานได้ ขณะที่ ยังต้องการให้พรรคเพื่อไทย สานต่อเรื่องปรับโครงสร้างค่าจ้างและสนับสนุนค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท เนื่องจาก คณะกรรมการสมานฉันท์ ได้มีการสำรวจเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรม พบว่าผู้ใช้แรงงานมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ดังนั้น พวกตนจะให้โอกาส พรรคเพื่อไทย บริหารประเทศ 6 เดือน หากยังไม่สามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้ ก็จะออกมาทวงถามอย่างแน่นนอน ทั้งนี้กรณีแรงงานต่างชาติ ที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย พวกตนเห็นว่าต้องให้ความเท่าเทียมเรื่องค่าจ้างไม่ 2 มาตรฐาน โดยรัฐบาลจำเป็นต้องควบคุมแรงงานต่างชาติที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมาย เพราะขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่จำนวนมาก (ไอเอ็นเอ็น, 18-7-2554) เล็งปรับหลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงาน ชี้ฝึกลูกจ้างยังไร้คุณภาพ นายพานิช จิตร์แจ้ง รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยผลประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งมีนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับแนวทางการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของสถาน ประกอบการ เช่น ช่างฝีมือสาขาต่างๆ พนักงานธุรการ บัญชี ซึ่งเดิม กพร.ให้สถานประกอบการสามารถส่งหลักสูตรและค่าใช้จ่ายมาให้พิจารณาก่อนหรือ หลังการอบรมก็ได้ เพื่อให้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2554 เช่น สถานประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการฝึกอบรมมาขอลดหย่อนภาษีได้ถึง 200 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ พบว่าการจัดอบรมของสถานประกอบการส่วนหนึ่ง เป็นไปอย่างไม่มีคุณภาพ ดังนั้น จึงปรับแนวทางให้สถานประกอบการต้องส่งหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการอบรมมาให้ กพร.พิจารณาเพื่อให้การรับรองก่อนจัดฝึกอบรม อีกทั้งกพร.จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบว่ามีการฝึกอบรมจริงหรือไม่เพื่อให้ การอบรมเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 (แนวหน้า, 18-7-2554) เพื่อไทยยันค่าแรง 300 บาททำได้จริง-เริ่ม ม.ค. ปี 2555 วันที่ 18 ก.ค. ที่รัฐสภา นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช ทีมเศรษฐกิจของพรรค พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการทำนโยบายของพรรคเพื่อไทย ว่า นโยบายขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท ที่หลายฝ่ายออกมาวิจารณ์ว่าเป็นไปได้ยาก ยืนยันว่านโยบายว่าเป็นไปได้ หลังการแถลงนโยบายตนจะจัดให้มีการทำเวิร์คช็อป ให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรรมกร นายจ้าง เข้ามาแสดงความเห็น ยืนยันไม่กระทบการเงินและการคลัง พรรคคำนวณไว้หมดแล้ว หากขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท ประชาชนจะได้รับเงินเดือนเพียง 7,600 บาท ซึ่งในความเป็นจริงยังไม่พอต่อกับการดำรงชีวิต ยืนยันเรื่องนี้ภาคอุตสาหกรรมเสียสละเพราะมีแผนรองรับไว้แล้ว แต่ยังไม่ขอเปิดเผยตอนนี้ นายสุชาติ กล่าวว่า นอกจากนั้น ยังมีวิธีช่วยกรรมกรด้วยนโยบายการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30 เปอร์เซ็นต์ เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้กรรมกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น วันนี้พี่ชายคนโตต้องกระจายรายได้ไปให้กับน้องๆ เพื่อให้พี่ชายคนโตรวยเร็วยิ่งขึ้น เช่น รองเท้าของเราผลิตและส่งออกนอกประเทศอย่างเดียว หากน้องสามารถซื้อรองเท้าจากที่ทำงานได้ จะขายได้ปีละ 4 แสนคู่ เห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้คนร่ำรวยขึ้น ไม่ใช่ยากจน นายสุชาติ กล่าวว่า อีกนโยบายหนึ่งที่ต้องการจะทำเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานใน ประเทศ คือ ตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมชายแดน เพื่อให้คนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ รัฐบาลจะเก็บภาษีจากกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ในระดับที่ต่ำ ส่วนนโยบายการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียน เบื้องต้นจะแจกให้กับนักเรียน ป. 1 ราคาเครื่องละ 5,000 บาท จำนวน 8 แสนเครื่อง เป็นเงิน 4,000 ล้านบาท ตนมีแนวคิดที่จะลดค่าโฆษณาของรัฐมนตรีในกระทรวงต่างๆ ที่ซื้อโฆษณาบนป้ายขนาดใหญ่ นำเงินมาซื้อแท็บเล็ตให้กับนักเรียน เบื้องต้นอาจซื้อได้มากกว่าที่กำหนดในนโยบาย เมื่อถามถึงกรณีหลายฝ่ายมองว่าหลาย นโยบายด้านเศรษฐกิจของเพื่อไทยอาจทำไม่ได้จริง นายสุชาติ กล่าวว่า ต้องดูยี่ห้องของพรรคเพื่อไทย ตนยืนยันว่าเพื่อไทยสามารถทำได้จริงทั้งหมด เรื่องนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มุ่งมั่นที่จะทำ นโยบายด้านต่างๆ ของพรรคจะเดินหน้าได้ประมาณต้นปี 2555 ส่วนค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะเริ่มได้ วันที่ 1 ม.ค.55 อย่างแน่นอน แต่ต้องรอให้พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลและหารือกับคณะกรรมการไตรภาคีก่อน (ข่าวสด, 18-7-2554) สปส.เตรียมทุ่มงบ 6 พันล.ลงทุนต่างชาติ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยผลประชุมคณะอนุกรรมการคัดเลือกผู้จัดการกองทุนต่างประเทศของสำนักงาน ประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบคัดเลือกบริษัทเอกชนที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในต่าง ประเทศ 1 แห่ง จากจำนวนที่คัดเลือกไว้ก่อนหน้านี้ทั้งหมด 3 แห่ง เพื่อนำร่องนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนในต่างประเทศจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 6 พันล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี โดยมีเป้าหมายนำผลกำไรจากการลงทุน มาเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อให้มีเงินเพิ่มขึ้น (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 19-7-2554) เผยญี่ปุ่นต้องการจ้างแรงงานไทยสาขาช่างต่างๆ จำนวนมาก นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวภายหลังเป็นประธานการมอบวุฒิบัตรและเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพให้แก่ ผู้ผ่านการฝึกงานตามโครงการจัดส่งผู้ฝึกงานไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น (IMM JAPAN) จำนวน 79 คน จาก 82 คน ว่า ผู้ที่ผ่านการฝึกงานจะได้รับเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพหลังการทำงานมา 3 ปี ประมาณ 221,762 บาท ขณะนี้กรมการจัดงาน และ IM JAPAN กำลังร่างบันทึกข้อตกลงฉบับใหม่ที่จะทำให้แรงงานหญิงหรือเยาวชนที่มีอายุ ระหว่าง 18 -30 ปี มีโอกาสในการไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น และแก้ไขข้อจำกัดสัญญาการทำงานให้มีสัญญา ระยะ 1 ปี ด้วย เนื่องจากเอ็มโอยูฉบับปัจจุบันกำหนด คุณสมบัติต้องเป็นชาย อายุ 18-24 ปี และมีสัญญาการทำงาน 3 ปี หากทำงานไม่ครบก็จะไม่ได้รับเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพ นอกจากนี้กรมการจัดหางานยังได้รับแจ้งว่าสภาหอการค้าฮอกไกโด ในประเทศญี่ปุ่นแจ้งความประสงค์ต้องการจ้างแรงงานไทยไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น สาขาช่างต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือในรายละเอียด นางสาวยูโกะ ชิโนเบะ ผู้จัดการทั่วไป IMM JAPAN สำนักงานกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จะพยายามเร่งดำเนินการให้เอ็มโอยูฉบับใหม่เสร็จทันปีนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีกับแรงงานไทยโดยเฉพาะแรงงานหญิงที่มีโอกาสในการไปฝึกงานที่ ประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น โดยคาดว่าหากสามารถลงนามกันได้จะมีโควตาในการส่งคนไทยทั้งหญิงชายไปทำงานใน ปีหน้า 500 คน นอกจากนี้ นางสาวยูโกะ ชิโนเบะ ยังระบุด้วยว่า หากนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวันมีผลบังคับใช้จริง ก็จะส่งผลกระทบกับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นในไทย เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนจะมีการย้ายฐานการผลิตหรือไม่นั้นขณะนี้สภาหอการค้าญี่ปุ่นกำลัง วิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ก่อนตัดสินใจว่าจะรับมืออย่างไร (มติชนออนไลน์, 19-7-2554) สภฟ.จี้ กกต.รับรองผล ส.ส. หนุนนโยบายค่าแรงงาน 300 บาท ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม นายเสนอ วิสุทธนะ รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง (สภฟ.) พร้อมคณะเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอให้พิจารณาการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม โดยยึดหลักการตามเจตนารมณ์ของประชาชนตามหลักการประชาธิปไตย ที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน รวมทั้งยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมและกิจการบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง เนื่องจากประเทศชาติบอบช้ำและประชาชนลำบากเป็นระยะเวลานาน (มติชนออนไลน์, 19-7-2554) พนักงาน AGC อยุธยาประท้วงถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม วันนี้ (19 ก.ค.) นายวิสิทธิ์ คำเส็ง อายุ 27 ปี พร้อมเพื่อนหนุ่มและสาวโรงงานบริษัท AGC อีเล็คทริค ประเทศไทย จำกัด ประมาณ 40 คนได้ร่วมตัวกันประท้วงที่ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อยื่นหนังสือต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรี อยุธยา เรื่องที่โดนนายจ้าง คือ บริษัท AGC อีเล็คทริค ประเทศไทย จำกัด เลขที่ 40/28 ม.5 ต.อุทัย อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา บอกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยทางบริษัทอ้างว่าพวกตนทำผิดกฎของบริษัท ผจก.IMM JAPAN ระบุขึ้นค่าจ้าง 300 บาทกระทบนักลงทุนญี่ปุ่นในไทย นางสาวยูโกะ ชิโนเบะ ผู้จัดการทั่วไปในโครงการจัดส่งผู้ฝึกงานไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น (IMM JAPAN ) กล่าวถึงนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวันของพรรคเพื่อไทย ว่าหากมีผลบังคับใช้จริงก็จะส่งผลกระทบกับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นในไทยเนื่องจาก ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนจะมีการย้ายฐานการผลิตหรือไม่นั้นขณะนี้สภาหอการค้าญี่ปุ่นกำลัง วิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ก่อนตัดสินใจว่าจะรับมืออย่างไร ทั้งนี้ในวันนี้ ( 19 ก.ค. )นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางาน ได้เป็นประธานการมอบวุฒิบัตรและเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพให้แก่ผู้ผ่านการ ฝึกงานตามโครงการจัดส่งผู้ฝึกงานไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น (IMM JAPAN) จำนวน 79 คน จาก 82 คน ซึ่งผู้ที่ผ่านการฝึกงานจะได้รับเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพหลังการทำงานมา 3 ปี ประมาณ 221,762 บาท อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ร่างบันทึกข้อตกลงฉบับใหม่ที่กำลังจัดทำจะทำให้แรงงานหญิงหรือเยาวชนที่มี อายุระหว่าง 18 -30 ปี มีโอกาสในการไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น และแก้ไขข้อจำกัดสัญญาการทำงานให้มีสัญญา ระยะ 1 ปี ด้วย เนื่องจากเอ็มโอยูฉบับปัจจุบันกำหนดคุณสมบัติต้องเป็นชาย อายุ 18-24 ปี และมีสัญญาการทำงาน 3 ปี หากทำงานไม่ครบก็จะไม่ได้รับเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพ นอกจากนี้กรมการจัดหางานยังได้รับแจ้งว่าสภาหอการค้าฮอกไกโด ในประเทศญี่ปุ่นแจ้งความประสงค์ต้องการจ้างแรงงานไทยไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น สาขาช่างต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือในรายละเอียด ด้านนางสาวยูโกะ กล่าวว่า จะพยายามเร่งดำเนินการให้เอ็มโอยูฉบับใหม่เสร็จทันปีนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีกับแรงงานไทยโดยเฉพาะแรงงานหญิงที่มีโอกาสในการไปฝึกงานที่ ประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น โดยคาดว่าหากสามารถลงนามกันได้จะมีโควตาในการส่งคนไทยทั้งหญิงชายไปทำงานใน ปีหน้า 500 คน (ฐานเศรษฐกิจ, 19-7-2554) ‘โตโยต้า’ หวั่นนโยบายค่าแรงผลักบ.รถหนีซื้อชิ้นส่วนตปท. นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า นโยบายการขึ้นแรงขั้นต่ำ 300 บาท ลดภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 20% ของพรรคเพื่อไทย ว่าที่ผู้นำรัฐบาลไทยใหม่ถือเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้ระดับชีวิตของคนไทยดีขึ้น แต่ต้องมาดูเรื่องของค่าครองชีพด้วย หากปรับสูงขึ้นมากกว่าค่าแรง ย่อมไม่เกิดประโยชน์อะไร จึงอยากให้รัฐบาลใหม่พิจารณาความสมดุลระหว่างค่าแรงกับค่าครองชีพให้ดี “การลดภาษีนิติบุคคลนับว่าเป็นผลดี ต่อบริษัทใหญ่ๆ แต่จะกระทบกับผู้ประกอบการรายย่อย หรือเอสเอ็มอี(SME) เพราะแทบจะไม่ได้ช่วยรับภาระการปรับค่าแรงของผู้ประกอบการเลย ที่สุดจะส่งผลกระทบต่อต้นทุน ซึ่งอุตสาหกรรมรถยนต์มีการใช้ชิ้นส่วนจากผู้ประกอบรายย่อยเช่นกัน แน่นอนหากต้นทุนสูงขึ้น บริษัทผู้ผลิตรถต้องหันไปพิจารณาซื้อชิ้นส่วนจากเวียดนาม, อินโดนีเซีย หรืออินเดีย แทนซื้อจากผู้ผลิตชิ้นส่วนในไทยได้” (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 20-7-2554) สิ่งทอเล็งย้ายไปเพื่อนบ้านหนีค่าแรง 300 บ. จากการสำรวจหลังจากที่รัฐบาลพรรค เพื่อไทย เตรียมประกาศใช้นโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ต้นปี 2555 นั้น หลังมีการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย และภาคแรงงานทั่วไทยเริ่มสอดรับพลักดันให้ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้ รัฐบาลเพื่อไทยดำเนินการให้ได้ภายใน 6 เดือน เรื่องนี้นายธีวรา วิตนากร ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฮเทค ชัยภูมิ แอพ พาเรล จำกัด( 081-9991222) หนึ่งในบริษัทกลุ่มห้าเสือสิ่งทอเพื่อการส่งออกระดับประเทศ เปิดเผยว่า จังหวัดชัยภูมิถือเป็นจังหวัดนำร่องเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคสิ่งทอพิเศษ ของประเทศไทย มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 เพื่อสนับสนุนให้เป็นกลุ่มโซนจังหวัดส่งเสริมภาคการลงทุนด้านโรงงาน อุตสาหกรรมสิ่งทอจากทั่วประเทศเพื่อเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญของ ประเทศ โดยในส่วนจ.ชัยภูมิ มาจนปัจจุบันมีการเดินทางมาลงทุนจากเครือข่ายห้าเสือสิ่งทอยักษ์ใหญ่จากทั่ว ประเทศ มีการมาตั้งโรงงานแล้วอยู่กว่า 40 โรงงาน ค่าการลงทุน 20,000 ล้านบาท ซึ่งมีการจัดจ้างแรงงานเข้าระบบอยู่เดิมไม่น้อยกว่า 20,000 คน ในอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่ 165 บาทต่อวัน และในส่วนของจ.ชัยภูมิถ้ามีการปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำขึ้นมาเป็น 300 บาทต่อวัน ที่รัฐบาลคาดว่าจะปรับขึ้นต้นปี 2555 ถือว่ามีการปรับขึ้นกว่าเท่าตัว จากนี้ไปภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอชัยภูมิทั้งหมดคงอยู่ไม่ได้ รวมทั้งแนวทางมาตรการที่จะออกมารองรับในเรื่องการลดหย่อนภาษีจ.ชัยภูมิก็ เป็นศูนย์กลางเขตส่งเสริมพิเศษอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาด้านลดหย่อนภาษี ตามแนวทางที่คาดว่ารัฐบาลจะนำมาใช้ก็ไม่เกิดประกอบที่จะมาช่วยแบ่งเบาภาระ ผู้ประกอบการดังกล่าวได้เลย "เราไม่เหมือนภาคแรงงานโรงงานขนาด เล็กที่มีไม่เกิน 100-200 คน แต่เราเป็นภาคธุรกิจใหญ่ที่มีแรงงานหลายหมื่นคนทั่วประเทศ ที่ต้องพึ่งภาคแรงงานและภาคการลงทุนเป็นหลัก ซึ่งถ้ามีการปรับค่าแรงขึ้นเป็น 300 บาท จากนี้ไปภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอชัยภูมิทั้งหมดยังอยู่ไม่ได้ และต้องปิดตัวลงอย่างแน่นอน และจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิตทั้งหมดไปอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านแทนที่มีต้น ทุนค่าแรงภาคการลงทุนถูกกว่า ในแถบโซนประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศเวียดนาม,ลาว,กัมพูชา,และอินโดนีเซีย แทนทั้งหมด"นายธีวรา บอกและว่า จากเดิมในส่วน จ.ชัยภูมิ มีภาคฐานการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อส่งออกไปทั่วโลก เฉพาะเครือบริษัทไฮเทค ชัยภูมิ เพียงแห่งเดียว มียอดส่งออกต่อเดือนไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท และหากจะรวมภาคโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอยักษ์ใหญ่ 5 เสือสิ่งทอไทยทั้งหมด กว่า 10 บริษัทใหญ่ การเตรียมย้ายฐานการผลิตออกไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมดรวมอีกกว่านับแสน ล้านบาท ที่ไม่อยากให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดุลการค้าตรงนี้ไป ถ้าหากรัฐบาลใหม่ยังไม่มีแนวทางออกมารองรับที่ชัดเจน และต้องยอมรับความจริงว่าการดำเนินนโยบายเรื่องนี้กลับจะได้ไม่คุ่มเสีย มากกว่า (คม ชัด ลึก, 20-7-2554) กกร.ค้านขึ้นค่าแรง 300-ชี้ทำลงทุนวูบแสนล้าน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร). นัดพิเศษเพื่อพิจารณาผลกระทบจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ของรัฐบาลชุดใหม่ว่า ภาคเอกชนเห็นความสำคัญของแรงงาน โดยเฉพาะความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต แต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้ผู้ประกอบการ แรงงาน และประชาชนอยู่รวมกันได้อย่างสมดุล ดังนั้น กกร.จึงยืนยันข้อเสนอเดิม คือ ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วันทั่วประเทศ เพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ, การปรับค่าจ้างขั้นต่ำควรเป็นไปตามกลไกตลาด และเป็นไปตามกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี โดยปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง และหากรัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน รัฐบาลก็ควรหาแนวทางจ่ายส่วนต่างของค่าจ้างดังกล่าว โดยระบุว่าเมื่อมีรัฐบาลใหม่ กกร.ก็จะยื่นข้อเสนอนี้ทันที ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ในการสำรวจผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท/วันจากผู้ประกอบการในภาพรวม พบว่า ผู้ประกอบการ 60-70% จะมีผลกระทบปานกลางถึงกระทบมาก และยังพบว่าผู้ประกอบการ 85% ระบุว่า อาจจำเป็นต้องปลดคนงานออก 15% นอกจากนี้การปรับขึ้นค่าแรงในระดับดังกล่าว จะกระทบต้นทุนจนผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับราคาสินค้าขึ้นอีก 10% ด้านนายดุสิต นนทนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ยอมรับว่า มีความกังวลกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งแม้ภาคเอกชนจะเห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่รัฐบาลควรจะดำเนินการในระดับที่เหมาะสม เพราะในระยะสั้นจะส่งผลกระทบทำให้ธุรกิจของประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการ ขนาดกลางขนาดเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ได้รับผลกระทบอย่างมากจากนโยบายนี้ อีกทั้งผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่า 90% ไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นได้ ส่วนผลกระทบระยะยาวจะทำให้ค่าจ้างแรง งานของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในการดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ จากปัจจุบันที่มีเงินลงทุนประมาณ 3-4 แสนล้านบาท เพราะหากปรับขึ้นค่าแรงในอัตราดังกล่าว อาจทำให้นักลงทุนตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านแทน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และทำให้เงินลงทุนของไทยหายไปถึง 25% หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท/ปี นอกจากนี้ ยังทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นกระทบไปถึงราคาสินค้าที่จะปรับตัวสูงขึ้น ตาม (โพสต์ทูเดย์, 20-7-2554) ลูกจ้างหน่วยงานรัฐจี้ขึ้นเงินค่าแรงรายวันเป็นละ 300 บาท รายงานข่าวจากจังหวัดลพบุรีแจ้งว่า จากการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ที่มีนโยบาย จะขึ้นค่าแรงงานให้กับบรรดาลูกจ้างเป็นวันละ 300 บาท ทำให้ลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐที่เป็นลูกจ้างรายงานได้รับค่าจ้างวันละ 232 บาท โดยเฉพาะวันหยุดราชการ วันที่ไม่ได้ทำงานก็จะถูกตัดค่าแรงงานออกไปจะไม่ได้ค่าจ้าง ทำให้แรงงานที่เป็นลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างชั่วคราว ในหน่วยงานของรัฐบาล ต้องการเห็นพรรคเพื่อไทยนำนโยบายขึ้นค่าแรงงานวันละ 300 บาทมาใช้ให้เป็นจริงจะช่วยบรรดาแรงงานในหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งให้มีรายได้ เพิ่มขึ้นมาบ้าง นางสมร บัวดี อายุ 52 ปี ลูกจ้างชั่วคราวของหมวดการทางที่ 1 แขวงการทางลพบุรีกล่าวว่าทำงานเป็นลูกจ้างที่แขวงการทางมานานเกือบจะ10 ปี แล้ว ได้ค้าจ้างวันละ 232 บาทวันหยุดราชการไม่ได้ ไม่มีสวัสดิการอะไรเลย ประกันสังคมก็ไม่มี เจ็บไข้ก็ต้องออกเงินรักษาตัวเอง เพราะไม่มาสวัสดิการอะไรเลยสำหรับลูกจ้าง ถ้าอายุมากขึ้น ทางหน่วยงานที่จ้างคนงานชั่วคราวเลิกจ้างก็จะไม่มีอะไรเหลือเลย เพราะทุกวันนี้ค่าแรงที่ได้รับแทบไม่พอกิน ทำวันกินวัน วันไหนหยุดต้องไปหางานอื่นทำเพื่อให้ได้เงินมาจุลเจือครอบครัว ทำงานสองคนรายได้ไม่ถึง 500 บาทต่อวันมีลูก 2 คนกำลังเรียน ขอสนับสนุนให้พรรคเพื่อไทยขึ้นค่าแรงงานเป็นวันละ 300 บาท นายธวัชชัย แก่นสวัสดิ์ อายุ 50 ปี ลูกจ้างชั่วคราว สำนักชลประทานที่ 10 ลพบุรี กล่าวว่าทำงานเป็นลูกจ้างมาประมาณ 7 ปี ได้รับค่าแรงงานในฐานะลูกจ้างชั่วคราววันละ 232 บาท หากได้ค่าแรงงานเพิ่มเป็นวันละ 300 บาทก็จะเพียงพอกับการดำรงชีวิต เพราะในปัจจุบันราคาอาหารแพงขึ้น แม้จะไปหารับจ้างเพื่อให้ได้เงินเพิ่มขึ้นแต่ก็แทบไม่พอใช้จ่ายเพราะ ทุกอย่างในปัจจุบันแพงมากขึ้น ข้าวสาร 5 กิโลกรัม ราคาถุงละ 150กว่าบาท และมีทีท่าว่าจะขึ้นราคาขึ้นอีก คนจนก็จนลงการที่ พรรคเพื่อไทยคิดที่จะเพิ่มค่าแรงงานให้ลูกจ้างเป็นวันละ 300 บท ขอให้ลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐได้รับการปรับค่าแรงงานด้วยเพราะไม่มี สวัสดิการอะไรเลย (เนชั่นทันข่าว, 20-7-2554) นักวิชาการชี้เพิ่มค่าจ้างเป็นแนวทางที่ดี แต่ต้องผ่านไตรภาคี ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ระบุว่า ปัญหาสำคัญของเศรษฐกิจไทยคือ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การวางเป้าหมายเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว แต่การดำเนินการต้องผ่านคณะกรรมการไตรภาคี ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้กระทบอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก หรือกลุ่ม SMEs อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังไม่ให้เงินเฟ้อสูงเกินไป นายอนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การปรับขึ้นของราคาสินค้าเกิดจากต้นทุนผลิตที่แท้จริงสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาของพลังงาน รวมถึงโครงสร้างการตลาดที่ไม่ได้มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ หรือมีการผูกขาด ทำให้ผู้ผลิต หรือผู้ขายสามารถกำหนดราคาได้ตามความต้องการระดับหนึ่งเท่านั้น (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 20-7-2554) นำร่องปล่อยกู้ทำงาน ตปท.ไม่ต้องค้ำประกัน นางดวงมน บูรณฤกษ์ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า เตรียมนำร่องจัดส่งคนหางานจำนวน 70 คน ไปทำงานในประเทศปาปัวนิวกินี โดยจะเป็นคนงานชุดแรกที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศภายใต้โครงการสินเชื่อ เพื่อการไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งจะปล่อยกู้ผ่านธนาคารกรุงไทยในวงเงินรายละไม่เกิน 1.5 แสนบาท ดอกเบี้ย 9% ต่อปี ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 18 เดือน ทั้งนี้คนงานจำนวนดังกล่าวมีนายจ้าง ชาวเกาหลี คือบริษัทแดวู อี แอนด์ ซี ต้องการแรงงานไปทำงานก่อสร้างโรงแยกก๊าซในตำแหน่งวิศวกร โฟร์แมน และช่างสาขาต่างๆ โดยมีความต้องการรับแรงงานกว่า 790 คน อย่างไรก็ตามยังต้องรอความชัดเจนอีก 2 เดือนในการส่งคนงานชุดแรกไปทำงาน เพราะต้องหารือรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาจ้างงานและวิธีส่งเงินกลับประเทศ รวมทั้งวิธีการหักเงินชำระหนี้เงินกู้ด้วย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานจะเดินทางไปยังประเทศปาปัวนิวกินีในสัปดาห์หน้า เพื่อตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานว่านายจ้างดูแลคนงานอย่างไร ซึ่งหากขั้นตอนทุกอย่างเรียบร้อยจะเร่งดำเนินการจัดส่งคนงานอีกกว่า 700 คนไปทำงานต่อไป ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นความร่วม มือระหว่างกรมการจัดหางานกับธนาคารกรุงไทย ออมสินและ ธกส. ขั้นตอนการกู้คือบริษัทจัดหางานต้องยื่นหนังสือรับรองจากกรมการจัดหางาน จากนั้นนำใบรับรองไปติดต่อธนาคาร เมื่อธนาคารตรวจสอบเอกสารและทำสัญญาเงินกู้แล้วจึงจะจ่ายเงินแก่คนงานโดยตรง รวมทั้งบริษัทจัดหางานต้องเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ 15% ของวงเงินอนุมัติด้วย (โพสต์ทูเดย์, 20-7-2554) สภาองค์การลูกจ้าง '130 สหภาพ' เปิดตำราสู้สภาอุตฯ หนุนค่าแรง 300 บาท 20 ก.ค.54 สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ “สนับสนุนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท วอนสื่อขยันทำงาน สัมภาษณ์แรงงานบ้างอย่าเอาแต่คุยกับอุตสาหกรรม ค้านเงื่อนไขสภาอุตฯที่ให้รัฐจ่ายส่วนต่าง เปรียบเแรง รัฐต้องไม่จ้างโจรให้มาปล้น (กดขี่) โดยมีรายละเอียดแถลงการณ์ ดังนี้ 0 0 0 แถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2554 “สนับสนุนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เสียงคัดค้านต่อต้านนโยบายค่าแรง 300 บาท ของพรรคเพื่อไทยดังไปทั่ว เมื่อเห็นได้ชัดแล้วว่า พรรคเพื่อไทยจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลแน่นอน โดยเฉพาะในส่วนข้อคัดค้านของฝ่ายทุน เช่น สภาอุตสาหกรรมนั้น แม้ยังฟังไม่ขึ้น แต่ก็เข้าใจได้คือเป็นความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง พูดอะไรก็ถูกทุกที แล้วมีใครที่เห็นด้วยกับการขึ้นค่า แรงเป็น 300 บาทบ้างนอกจากแรงงาน เพราะสื่อไม่ขยันพอจะไปเที่ยวหาคนที่ไม่ใช่นักการเมืองที่เห็นด้วยกับการ ขึ้นค่าแรง 300 บาท เพื่อเอาความเห็นของเขามานำเสนอบ้าง มีแต่คนด่ากันผ่านสื่อ นั้นแหละที่สื่อจะเปิดพื้นที่ของตนให้ หากเป็นเช่นนี้ในไม่ช้า สังคมไทยก็จะคล้อยตามฝ่ายทุนว่า หากขึ้นค่าแรงระดับนี้ เศรษฐกิจทั้งระบบจะพังครืน (ทั้งๆ ที่อาจพังเพราะสาเหตุอื่น เช่นสหรัฐกำลังจะล้มละลายก็ได้) นโยบายค่าแรง 300 บาทของพรรคเพื่อไทย สภาองค์การลูกจ้าง สภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย เห็นว่าไม่ใช่ตัวเลขลอยๆ ที่ได้มาจากการหาเสียง มีเหตุผลของชีวิตแรงงานในฐานะมนุษย์รองรับอยู่ เว้นแต่คนที่จะเห็นว่าชีวิตของแรงงานไม่ใช่ชีวิตของมนุษย์เท่านั้นที่คิดว่า 300 บาทเป็นตัวเลขที่สูงเกินไป หากแรงงานได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท แล้วจะทำให้สินค้าไทยราคาแพงขึ้นจนกระทั่งไม่อาจแข่งขันในตลาดโลกและตลาดภาย ในได้จริงหรือ ? ค่าแรงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต ก็จริง แต่ยังมีอีกหลายปัจจัย เมื่อค่าแรงเพิ่มขึ้น 40 บาทต่อวัน มิได้หมายความว่าสินค้าจะเพิ่มขึ้นชิ้นละ 40 บาท เพราะในกลไกการผลิตย่อมมีการดูดซับต้นทุนระหว่างกันจนกระทั่งราคาที่เพิ่ม ขึ้นเนื่องจากการเพิ่มค่าแรงอาจไม่มากนัก หากรัฐเข้าไปหนุนช่วยในกลไกการผลิตในส่วนอื่น เช่น ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอะไหล่ หรือลดภาษีรายได้บริษัทลงเหลือ 27% ตามพรรคเพื่อไทยเสนอก็จะช่วยได้มาก ยิ่งกว่านี้ การหนุนช่วยของรัฐต้องมีจุดมุ่งหมายที่มากกว่าราคาสินค้าเฉพาะหน้า ควรเป็นการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถของแรงงาน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้พ้นจากการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่การผลิต ที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ใช่ข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมที่จะให้รัฐเข้ามาช่วยจ่ายค่าแรงเสมือนรัฐ ต้องจ้างอุตสาหกรรมมิให้กดขี่แรงงาน อาจจะเป็นตรรกะเดียวกันที่นำเราไปสู่การจ้างโจรไม่ให้ปล้นด้วย การปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท จะนำไปสู่ของแพงขึ้นจริงหรือไม่ ก็คงมีผลให้ของแพงขึ้นในระยะหนึ่ง เพราะเมื่อครอบครัวแรงงานสามารถกินไข่ได้ทุกวัน ก็เป็นธรรมดาที่ไข่ย่อมแพงขึ้นในระยะหนึ่งจนกว่าผู้ผลิตไข่ซึ่งขายดิบขายดี จะเร่งผลิตไข่ออกมาให้มากกว่าเดิม การเพิ่มรายได้ทำให้ของแพง ก็เมื่อสินค้าใดเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น ราคาสูงขึ้น ทำไมจึงไม่แย่งกันผลิตเพื่อทำกำไร และเมื่อแย่งกันผลิต ราคาสินค้านั้นก็น่าจะลดลงมาสู่ราคาที่สมเหตุสมผล ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่รายได้ซึ่งเพิ่มขึ้น แต่น่าจะอยู่ที่ว่ากลไกตลาดของเราเองต้องมีอะไรบางอย่างบิดเบี้ยวทำให้ไม่มี ใครแย่งกันผลิต ดังนั้นการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม นั้นไม่มีจริงในตลาดไทย เราน่าจะไปจัดการกับการเก็งกำไรของอำนาจเหนือตลาดในรูปแบบต่างๆ ซึ่งครอบงำตลาดไทยอยู่ และที่จริงก็มีมากเสียด้วย การเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาท จึงต้องมาพร้อมกับมาตรการที่จะทำลายอำนาจเหนือตลาดในรูปแบบต่างๆ ไม่ใช่ไปห้ามไม่ใช้จ่าย 300 บาท มิเช่นนั้นไม่ควรมีใครในโลกได้รายได้เพิ่มขึ้นสักคนรวมทั้งนักวิชาการด้วย การลดดอกเบี้ยเงินกู้แก่ผู้ประกอบการ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิต ปัจจุบันธนาคารเอาเปรียบผู้ประกอบการและประชาชนมาก ธนาคารสามารถขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ตามใจชอบ แต่ดอกเบี้ยเงินฝากถูกกดให้ต่ำติดดิน นักวิชาการ นายทุน ผู้ประกอบการ น่าจะถามคำถามว่า ทำไมธนาคารจึงมีเสรีภาพในการเอารัดเอาเปรียบเช่นนี้ แทนที่จะโจมตีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวัน อันที่จริงนโยบาย 300 บาทนี้ ก็เดินตามนโยบายของรัฐบาลของพี่ชายว่าที่นายกฯ เป็นการฟื้นเศรษฐกิจวิธีหนึ่ง (แทนการแจกเงินเฉยๆ แก่ข้าราชการและลูกจ้างและพนักงานรัฐวิสาหกิจ) คือทำให้เกิดความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยในตลาดให้มากขึ้น อันจะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบ เพียงแต่ว่าไม่ได้มุ่งเน้นแต่ตลาดต่างประเทศอย่างที่สภาอุตสาหกรรมให้ความ สำคัญ แต่เพิ่มกำลังซื้อภายในให้สูงขึ้น อย่าลืมด้วยว่าตลาดภายในนับวันจะมีความสำคัญมากขึ้น บางคนแสดงความห่วงใยว่า 300 บาท จะดึงเอา พม่า ลาว กัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาอีกมากมายก็คงจะดึงจริงแน่ และถึงจะมีหรือไม่มี 300 บาท อีก 5 ปีข้างหน้า ในเงื่อนไขของเศรษฐกิจเสรีอาเซียน การหลั่งไหลของแรงงานข้ามชาติก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ปัญหาอยู่ว่าเหตุใดนายจ้างไทยจึงนิยมจ้างแรงงานต่างชาติ ส่วนหนึ่งก็เพราะแรงงานไทยขาดแคลนและงานบางอย่างแรงงานไทยไม่ทำ การมีแรงงานต่างชาติเข้ามาก็ดี เป็นการช่วยอุตสาหกรรมบางประเภทให้อยู่ได้ แต่สาเหตุส่วนนี้ยังไม่สำคัญเท่ากับว่า แรงงานต่างชาติรับค่าจ้างและสวัสดิการต่ำกว่าแรงงานไทย แม้กฎหมายไทยไม่ได้ยกเว้นแรงงานต่างชาติจากสิทธิทั้งหลายที่กฎหมายกำหนด แต่ในความเป็นจริงนายจ้างจ่ายค่าแรงต่ำกว่ามาก อีกทั้งไม่ได้ให้สวัสดิการใดๆ ที่กฎหมายกำหนดเลย สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงาน แห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิก 130 สหภาพแรงงาน มีลูกจ้างที่จะต้องดูแลถึง 60,000 คน ขอสนับสนุนนโยบายพรรคเพื่อไทยในการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ หยุดกดขี่แรงงาน หยุดขูดรีดแรงงาน หยุดการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน คืนความเป็นธรรมให้คนในสังคม แล้วความสันติสุขจะกลับคืนมา ขอบพระคุณพรรคเพื่อไทยที่มีนโยบายดี
ม็อบคนงานรามาชูว์กว่า 300 คน รวมตัวประท้วงหน้าศาลากลางชลบุรี 19 ก.ค. 54 - ที่หน้าศาลากลาง จ.ชลบุรี มีม็อบชายหญิง กว่า 300 คน ซึ่งเป็นอดีตพนักงานผลิตรองเท้ากีฬาชื่อดังก้องโลก ไนกี้, รีบอค ของโรงงานรามาชูส์ อินดัสตรีส์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ ม.8 ต.นาป่า อ.เมือง จ.ชลบุรี โดยเจ้าของโรงงานเป็นชาวสิงคโปร์ ได้แอบปิดโรงงานหลบหนี ไปตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม มาแล้ว 2 ปี โดยเบี้ยวค่าจ้างแรงงาน ปล่อยลอยแพ ทำให้พนักงานชายหญิงของบริษัท ต้องอดอยากกว่า 1,000 คน ทีเอ็มบีชี้จะขึ้นค่าแรงต้องเพิ่มฝีมือแรงงาน นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเศรษฐศาสตร์ ธนาคารทหารไทย จำกัด ( มหาชน ) เปิดเผยว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของภาครัฐบาล ถ้าต้องการที่จะให้มีการปรับขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ควรจะเป็นในรูปแบบของการทยอยปรับขึ้น อาทิเช่นปีละ 10 % เป็นต้น ไม่ควรที่จะขึ้นภายในครั้งเดียว เพราะจะทำให้ต้นทุนค่าแรงในเขตกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นถึง 40 % และในต่างจังหวัดจะเพิ่มขึ้นถึง 80 % และต้องมีมาตรการเสริมในการยกระดับความสามารถของแรงงานอย่างเร่งด่วนให้สอด รับกับต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น (บ้านเมือง, 21-7-2554) ก.แรงงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพศูนย์บริการร่วมฯ 2 แห่งใน กทม. นายสุนันท์ โพธิ์ทอง รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงปรับปรุงศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหา นครทั้ง 2 แห่ง ที่ศูนย์บริการประชาชนกระทรวงแรงงาน ชั้นล่างอาคารกระทรวงแรงงาน และเคาน์เตอร์บริการประชาชนกระทรวงแรงงาน ห้างสรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สาขาปิ่นเกล้า ชั้น 3 ให้มีความพร้อมการให้บริการแก่ประชาชนในทุกด้านแรงงานมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการบูรณาการร่วม กันในหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน ทั้งการให้บริการข้อมูลข่าวสาร การรับปรึกษาข้อร้องทุกข์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยจะดำเนินการส่งต่อในกรณีเรื่องเกี่ยวกับพื้นที่จะประสานผ่าน โทรศัพท์ และหากกรณีที่ควรได้รับการแนะนำจากนักกฎหมายจะให้คำปรึกษาผ่านอิน เทอร์เน็ต โดยใช้เครื่อง IP Vedio Phone ส่วนงานพัฒนาฝีมือแรงงาน จะดำเนินการรับสมัครฝึกทักษะยกระดับฝีมือแรงงาน ฝึกอาชีพอิสระ งานจัดหางาน รับสมัครงานในประเทศ บริการสืบค้นตำแหน่งงานว่างผ่านเว็บของกรมการจัดหางาน การแนะแนวอาชีพ ซึ่งใช้แบบทดสอบความถนัดทางอาชีพผ่านเว็บกรมการจัดหางาน รับแจ้งตำแหน่งงานว่าง ฝึกอาชีพอิสระ การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน รายงานตัวกรณีว่างงาน และให้บริการตรวจสอบสิทธิประ โยชน์ผู้ประกันตนผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด (Smart Card) ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ เงินสมทบที่ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายพร้อมดอกผลในแต่ละปี เงินสะสมชราภาพพร้อมดอกผล ประวัติการเบิกค่ารักษาพยาบาล รวมถึงได้ร่วมมือกับสำนักงานจัดหา งานกรุงเทพเขตพื้นที่ 5 ในการจัดนัดพบแรงงาน และจัดฝึกอบรมให้ความรู้ภาษาอังกฤษ โดยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพ (วัดธาตุทอง) ภายหลังจากการปรับปรุงศูนย์บริการ ร่วมกระทรวงแรงงานในเขตพื้นทีกรุงเทพมหานครทั้ง 2 แห่ง ให้มีความพร้อมการให้บริการแก่ประชาชนในทุกด้านแรงงานเพิ่มมากขึ้น กระทรวงแรงงานได้กำหนดให้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ส.ค. 54 สำหรับเคาน์เตอร์บริการประชาชนกระทรวงแรงงาน ห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สาขาปิ่นเกล้า และในวันที่ 23 ก.ย. 54 สำหรับศูนย์บริการประชาชนกระทรวงแรงงาน ชั้นล่าง อาคารกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบันได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมทั้งสิ้น 37 แห่ง (35 จังหวัด/ 2 เขตพื้นที่) โดยให้บริการใน 3 ประเภทงาน (อินโฟเควสท์, 21-7-2554) จนท.เทศบาลตรังประท้วงจ่ายค่าล่วงเวลา เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 54 - คนงานเก็บขยะเทศบาลนครตรัง ประมาณ 100 คน พร้อมด้วย รถเก็บขยะ 14 คัน ขับรถมาจอดประท้วง หน้าสำนักงานเทศบาลนครตรัง เพื่อเรียกร้องให้ นายกเทศมนตรี จ่ายเงินค่าแรงล่วงเวลา ซึ่ง เทศบาลนครตรัง ไม่จ่ายมาเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ตั้งแต่เดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน คนละ 5,070 บาท ซึ่งคนงานเก็บขยะทั้งหมดรอ นายชาลี กางอิ่ม นายกเทศมนตรี เพื่อจะสอบถามว่า จะจ่ายเงินให้วันที่เท่าไหร่ ซึ่ง นายกเทศมนตรี ก็บอกว่าจะจ่ายให้อีก 1 สัปดาห์ คนงาน จึงแยกย้ายกันกลับเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ แต่ยังไม่มั่นใจว่า จะได้รับเงินหรือไม่ เพราะผิดนัดมาหลายครั้งแล้ว ด้านนายชาลี กางอิ่ม นายกเทศมนตรีนครตรัง ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับคนงานเก็บ และกวาดขยะที่ยังไม่ได้รับเงินค่าแรงทำงานล่วงเวลา เป็นเวลา 3 เดือนนั้น ถึงสาเหตุที่มีการผิดนัด เพราะไม่ได้ตั้งงบประมาณในการเบิกจ่ายค่าแรงงานล่วงเวลาไว้ ที่ผ่านมาต้องดึงงบประมาณจากส่วนอื่น นำจ่ายให้กับคนงาน แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เกิดความล่าช้าในการจัดการดึงงบประมาณจากส่วนอื่น ตนจะแก้ปัญหานำเงินมาจ่ายให้กับคนงานทั้งหมดภายใน 1 สัปดาห์นี้ (ไอเอ็นเอ็น, 21-7-2554) โพลหอการค้าชี้ปรับค่าแรง 300 ร้ายมากกว่าดี เมื่อวันที่ 22 ก.ค. นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการ ต่อนโยบายและผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท และวุฒิปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน จากผู้ประกอบการทั่วประเทศ 800 รายว่า หากมีการปรับขึ้นค่าแรงดำเนินการอย่างเร่งด่วน และไม่มีมาตรการช่วยเหลือจะส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องปลดแรงงานประมาณ 5 แสนคน หรือคิดเป็น 10% จากการจ้างงานรวม 5 ล้านคน นอกจากนี้ยังทำให้มีการปิดกิจการเพิ่มอีก 1-2 แสนราย จากจำนวนสถานประกอบการ 2 ล้านราย โดยจะเริ่มเห็นผลกระทบตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี 2555 เป็นต้นไป ขณะเดียวกันยังจะส่งผลต่อภาคประชาชน ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น เพราะผู้ประกอบการจะผลักภาระต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้า รวมถึงจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตรวมทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ให้ลดลง 0.2-0.3% และเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น 1.1-1.3% และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจมากกว่าผลดี ดังนั้น รัฐบาลควรมีมาตรการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการจ่ายเงินอุดหนุนวงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ในรูปแบบกองทุน เพื่อโอนเงินให้ผู้ประกอบการทันที เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องแก่เอสเอ็มอี หรือใช้แนวทางร่วมมือกับธนาคารพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดวงเงินชดเชยให้เอสเอ็มอี ส่วนมาตรการระยะยาวควรตั้งกองทุนพัฒนาแรงงานควบคู่กันไป โดยจะใช้เวลาดำเนินมาตรการเยียวยา 2 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ปรับตัว ซึ่งหากรัฐบาลดำเนินการได้ จะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้น 1-1.3% และเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.8-1% นายธนวรรธน์กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการยังเห็นว่าหากมีการปรับขึ้นค่าแรง กว่า 97.1% จะมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น 78.4% จะรับขึ้นราคาสินค้า 68.7% จะหาเครื่องจักรดำเนินการแทน 65.8% จะปลดคนงานเพิ่มขึ้น และ 64.6% จะปิดกิจการโดยผู้ประกอบการ 94.1% จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตอบว่าจะแบกรับภาระไม่ได้ถ้าไม่มีมาตรการชดเชย สำหรับการจ่ายค่าจ้างของภาค อุตสาหกรรมในปัจจุบัน 97.8% ของกลุ่มตัวอย่าง จ่ายค่าจ้างน้อยกว่า 300 บาทต่อวัน โดยเฉลี่ยจ่ายค่าจ้างวันละ 176.60 บาทต่อวัน และมี 1.8% จ่ายมากกว่า 300 บาทต่อวัน หรือ 335.40 บาทต่อวัน ส่วนภาคการค้า 85.5% จ่ายน้อยกว่า 300 บาท หรือ เฉลี่ย 172.60 บาทต่อวัน และ 14.5% จ่ายมากกว่า 300 บาท หรือ 339.10 บาทต่อวัน ขณะที่ภาคบริการ 56.9% จ่ายน้อยกว่า 300 บาท หรือ 193.10 บาทต่อวัน และ 55.7% จ่ายมากกว่า 300 บาท หรือ 316 บาทต่อวัน โดยกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กจะมีค่าจ้างต่อต้นทุนประมาณ 7-9% และภาคบริการเป็นประเภทกิจการที่มีค่าจ้างต่อต้นทุนมากที่สุด คือ 4-6% ส่วนภาคการค้าและอุตสาหกรรมมีต้นทุนค่าจ้างอยู่ที่ 1-3% ส่วนนโยบายการปรับลดภาษีเงินได้ นิติบุคคลจะไม่ได้มีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ และเอสเอ็มอีเท่าที่ควร เนื่องจาก 53.2% ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล มีเพียง 46.8% ที่จดทะเบียนนิติบุคคล สำหรับสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ 48.6% ต้องการเงินชดเชย 28.1% ลดภาษีนิติบุคคลมากขึ้น 16.4% จัดอบรมฝีมือแรงงาน โดยผู้ประกอบการ51% คิดว่าหากจะดำเนินการควรปรับขึ้นในจังหวัดนำร่องก่อน อีก 44.6% เห็นว่าควรทยอยปรับขึ้นหลายครั้งจนครบ 300 บาท และ 4.4% ปรับขึ้นทันทีพร้อมกันหมดทั่วประเทศ. (เดลินิวส์, 22-7-2554) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ร้อง"เพื่อไทย"เร่งผลักดันขึ้นค่าแรง-ต้านแปรรูป รัฐวิสาหกิจ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)เรียกร้องรัฐบาลใหม่ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำกำหนดนโยบายเร่งด่วน คือการปรับค่าจ้างขั้นต่ำราคาเดียวเท่ากันทั้งประเทศ 300 บาท แม้ว่าในปี 52 สรส.และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)ได้ทำแบบสำรวจค่าใช้จ่ายรายวันและรายเดือน โดยเฉลี่ยออกมาได้สูงขึ้นวันละ 421 บาทเท่ากันทั้งประเทศก็ตาม ซึ่งก็ได้รับเสียงคัดค้านจากคนกลุ่มเดิม เหตุผลเดิม ๆ ดังนั้น การประกาศนโยบายของพรรคเพื่อไทยในการปรับค่าจ้าง 300 บาทเท่ากันทั้งประเทศ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นไปตามที่ สรส.และ คสรท. เสนอ คือ 421 บาท แต่ก็ถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่ควรสนับสนุนและต้องครอบคลุมลูกจ้างทุกคนไม่ ว่าแรงงานไทยหรือแรงงานข้ามชาติ พรรคเพื่อไทยต้องแสดงความกล้าหาญปฏิบัติการในทันทีตามที่ประกาศไว้ เพราะมิฉะนั้นอาจจะเป็นปมประเด็นทางกฎหมายต่อไป พร้อมกันนั้น นโยบายรัฐบาลใหม่จะต้องเร่งการปรับเงินเดือนให้แก่ผู้แรกเข้าทำงานในระดับ ปริญญาตรีในอัตรา 15,000 บาทต่อเดือน แต่ก็อย่าปรับแค่ปริญญาตรีเพียงอย่างเดียว ควรปรับทั้งระบบตามวุฒิการศึกษา ตั้งแต่ประถม มัธยม การศึกษาวิชาชีพ อนุปริญญา ปริญญาตรี โท เอก ทั้งแรกเข้าและทำงานอยู่ก่อน ทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน รวมทั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ รัฐบาลใหม่ควรสร้างหลักประกันให้ทุกคนอย่างไม่เลือกปฏิบัติ และการปรับค่าจ้างควรทำควบคู่กับการควบคุมราคาสินค้าด้วย "พรรคเพื่อไทยไม่ควรลังเลใด ๆ ที่จะทำตามที่หาเสียงไว้ด้วยเหตุผล 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก เชื่อว่าก่อนที่จะมีการประกาศนโยบายหาเสียงออกไปพรรคเพื่อไทยคงได้มีการ ศึกษาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้และความเป็นจริงแล้วจึงกล้าประกาศออกไป ประการที่ 2 พรรคเพื่อไทยมีทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและเชี่ยวชาญและผ่านการเป็นรัฐบาลมา แล้วถึง 2 สมัย จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่กล่าวอ้างแล้วปฏิเสธที่จะไม่ทำ สรส.ขอสนับสนุนและให้พรรคเพื่อไทยทำในทันทีตามที่ได้หาเสียงไว้กับ ประชาชน"สรส. ระบุ ประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่ สรส.ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องมาตลอดระยะเวลา คือ การต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพราะบทเรียนจากการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็น บมจ. ปตท.(PTT)และรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่ง รวมทั้งการยุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.)ในช่วงปี 45-49 สมัยพรรคไทยรักไทยในขณะนั้นเป็นรัฐบาลได้สร้างความทุกข์ยากให้กับประชาชน อย่างมากจนนำไปสู่การเกิดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคมอย่างมาก และจากคำให้สัมภาษณ์ของคนระดับแกนนำของพรรคเพื่อไทยบางคนจะเดินหน้าแปรรูป รัฐวิสาหกิจ สรส.มีความรู้สึกกังวลและหวังว่าพรรคเพื่อไทยคงไม่ทำในสิ่งผิดพลาดอีก (โพสต์ทูเดย์, 22-7-2554) สภาองค์การนายจ้างต้านรื้อระบบไตรภาคีค่าจ้าง สโมสรทหารบก 22 ก.ค. - สภาองค์การนายจ้าง 7 องค์การ ผนึกกำลังต้านรัฐบาลใหม่รื้อระบบไตรภาคีพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้าง ยืนยันกลไกระบบไตรภาคีใช้ได้ดีทุกฝ่ายเชื่อถือ ไม่ค้านขึ้นค่าจ้าง 300 บาท แนะทยอยปรับใน 4 ปี ใช้มาตรการลดภาษี-ค่าน้ำ ไฟฟ้าลดต้นทุนเอสเอ็ม นายวัลลภ กิ่งชาญศิลป์ ประธานสภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย แถลงผลการหารือของสภาองค์การนายจ้าง 7 องค์กรเกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ของรัฐบาลชุดใหม่ว่า ที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วย หากรัฐบาลชุดใหม่จะเข้ามาก้าวล่วงบทบาทและหน้าที่ในการพิจารณาปรับขึ้นค่า จ้างขั้นต่ำของบอร์ดค่าจ้างกลาง ซึ่งเป็นการพิจารณาร่วมกันระหว่างฝ่ายรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง โดยมีหลักเกณฑ์และข้อมูลรองรับชัดเจน เช่น ค่าครองชีพของแรงงาน อัตราเงินเฟ้อ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศและของโลก ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับและใช้มานานนับ 10 ปีแล้ว ดังนั้นจึงไม่อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ไปแก้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เพื่อล้มระบบไตรภาคี อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลชุดใหม่ล้มระบบไตรภาคีแล้ว การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่เป็นที่พอใจของลูกจ้างก็ต้องรับผิดชอบเอง “นโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ไม่ว่าจะปรับ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ หรือนำร่องแค่เฉพาะใน กทม. ปริมณฑล และภูเก็ต ก่อน ล้วนแต่มีผลกระทบทั้งสิ้น ทำให้แรงงานต่างด้าวทะลักเข้าไทย แรงงานอพยพเคลื่อนย้ายมากระจุกตัวทำงานใน กทม.และจังหวัดที่ได้ค่าจ้าง 300 บาท และผู้ประกอบการก็ย้ายฐานการผลิตมาอยู่ที่ กทม.เพราะต้องการประหยัดค่าขนส่ง ทำให้แรงงานต่างจังหวัดไม่มีงานทำแต่ต้องซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคแพงขึ้น” ดร.วัลลภ กล่าว ด้านนายประสิทธิ์ จงอัศญากุล ประธานสภานายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยหากรัฐบาลชุดใหม่จะเข้ามาทำลายระบบไตรภาคี เพราะช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อย่างไรก็ตาม สภาองค์การนายจ้างไม่ได้คัดค้านนโยบายปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน แต่อยากให้ดำเนินการไปตามขั้นตอนและเกณฑ์ของระบบไตรภาคี เนื่องจากตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันของรัฐบาลชุดใหม่ที่ไม่มีที่มาที่ไปและข้อมูลรองรับที่ชัดเจน “รัฐบาลจะต้องมีมาตรการรองรับเพื่อลด ต้นทุนให้แก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งไม่ได้รับประโยชน์จากการมาตรการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 27% เช่น ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบขั้นบันไดในเวลา 3-4 ปี หากจะปรับทันทีก็ต้องมีมาตรการรองรับ เช่น ลดมูลค่าเพิ่ม ให้เครดิตค่าสาธารณูปโภคทั้งค่าไฟฟ้า ประปาแก่ธุรกิจเอสเอ็มอี โดยสมมติธุรกิจเอสเอ็มอีมีกำลังจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำได้แค่ 240 บาทต่อวัน ที่เหลือเป็นส่วนต่าง 60 บาท รัฐบาลก็จ่ายต้นทุนส่วนต่างนี้ให้แก่ธุรกิจเอสเอ็ม อีและปีต่อๆ ไปก็ค่อยลดเหลือ 40 บาท และ 20 บาท จนธุรกิจเอสเอ็มอีมีกำลังจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันได้เองทั้งหมด อย่างไรก็ตาม จะรอฟังนโยบายและมาตรการรองรับของรัฐบาลชุดใหม่และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรง งานคนใหม่” นายประสิทธิ์ กล่าว (สำนักข่าวไทย, 22-7-2554) สวนดุสิตโพลชี้คนส่วนใหญ่มั่นใจรัฐบาลใหม่ทำได้ขึ้นค่าแรง 300-เงินเดือน 15,000 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลใหม่ พบว่าคนส่วนใหญ่เกือบ 70% เชื่อว่าว่านโยบายปรับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วันจะสามารถทำได้ โดยเป็นผู้ที่เชื่อว่าทำได้แน่นอน 41.08% และเชื่อว่าคงจะทำได้ 28.52% เนื่องจากเชื่อมั่นในศักยภาพของรัฐบาลว่าจะทำได้ตามสัญญาที่ให้ไว้ กับประชาชนได้สำเร็จ ส่วนประชาชนอีกกลุ่มราว 30% ไม่เชื่อว่านโยบายนี้ทำได้ ผู้ที่เห็นว่าไม่น่าจะทำได้ 15.88% ทำไม่ได้ 11.96% และคงทำไม่ได้ 2.56% เนื่องจากการขึ้นค่าแรงส่งผลให้สินค้าแพงขึ้น, มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ, นายจ้างไม่ยินยอม, แรงงานต่างด้าวจะมีมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ความเห็นส่วนใหญ่ราว 66% เชื่อว่านโยบายการปรับขึ้นเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีเริ่มต้นที่ 15,000 บาท/เดือน จะสามารถทำได้ ผู้ที่เห็นว่าทำได้แน่นอน 39.05% คงจะทำได้ 27.39% เนื่องจากเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาล, รัฐบาลต้องทำตามที่ได้หาเสียงไว้, ถ้ารัฐบาลมีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ เป็นต้น แต่ประชาชนอีกกลุ่มราว 34% เชื่อว่านโยบายนี้ทำไม่ได้ แยกเป็นไม่น่าจะทำได้ 18.36% ทำไม่ได้ 10.91% คงทำไม่ได้ 4.29% เนื่องจากมองว่าบริษัทและหน่วยงานต่างๆ คงไม่เห็นด้วย, มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ, รัฐบาลควรพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและศึกษาข้อดีข้อเสียอย่างรอบคอบ, นายจ้างอาจหันไปจ้างผู้ที่จบปวช. ปวส. แทน เป็นต้น สำหรับสิ่งที่ประชาชนเชื่อมั่นว่า รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี จะทำได้ดีขึ้นใน 3 อันดับแรก คือ อันดับ 1 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ราคาสินค้า ค่าครองชีพ ค่าแรง อันดับ 2 การแก้ปัญหายาเสพติด ผู้มีอิทธิพล อันดับ 3 การสร้างความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ทั้งนี้ สิ่งที่ประชาชนอยากฝากบอก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย 3 อันดับแรก คือ อันดับ 1 จะต้องรักษาคำพูดทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนในช่วงหาเสียง อันดับ 2 ขอให้ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ ใช้ความรู้ความสามารถที่มีในกรบริหารบ้านเมือง อันดับ 3 ยึดมั่นในคุณธรรม บริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เห็นแก่พวกพ้อง อนึ่ง ผลสำรวจดังกล่าวมาจากความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ 1,334 คน ระหว่างวันที่ 19-22 ก.ค.54 (อินโฟเควสท์, 22-7-2554) “เอ็มแรป” หนุนรัฐขึ้นค่าจ้าง 300 บาท นายเอนก จงเสถียร กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็ม เอ็ม พี จำกัด ผู้ผลิตฟิล์ม ถนอมอาหารรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้า เอ็มแรป (M WRAP) ให้สัมภาษณ์ว่า วันที่ 1 ส.ค.นี้ เขาจะปรับขึ้นเงินเดือนและค่าจ้าง แรงงานให้แก่พนักงานระดับล่างสุดจนถึงระดับสูงสุดของเขา ซึ่งมีจำนวน รวมกันกว่า 1,000 คน ทั้งในส่วนของสำนักงานใหญ่ โรงงาน และกลุ่มบริษัทในเครือ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน/คน ของรัฐบาล นายเอนกแสดงความเห็นว่า อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ควรได้รับการกำหนดให้เป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานที่กระจุกตัวในเมืองอพยพกลับถิ่นฐานของตนเอง ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมก็จะตามไปลงทุนในพื้นที่ซึ่งมีแรงงานจำนวนมากอยู่ “แนวคิดนี้ยังให้สิ่งที่มีความหมายมากกว่าตัวเงิน ตรงที่คืนเวลาให้แก่ชีวิตของผู้ใช้แรงงาน เพราะจากนี้ไป ถ้าผมให้ 300 บาท/วัน คุณก็ไม่ต้องมาทำงานล่วงเวลาอีกแล้ว” กรรมการผู้จัดการบริษัทเอ็มแรป กล่าวว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เช่น ในเขต กทม.และปริมณฑล 215 บาท/วัน ไม่เพียงพอที่จะทำให้แรงงานอยู่ได้ ในจำนวนนี้มากกว่า 80% จึงจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาอีก 4-5 ชั่วโมง เพื่อจะให้ได้เงินอีกประมาณครึ่งแรง หรืออีกราว 150 บาท “ถ้าพวกเขาไม่ต้องทำโอที ก็จะมีเวลากลับไปดูแลลูก สอนการบ้าน หรือหาข้าวปลาให้ลูกกินได้ แทนที่จะทิ้งไว้บ้าน หรือหอบไปให้ตายายเลี้ยง คุณเห็นหรือไม่ว่า 10-20 ปีมานี้ ทำไมสังคมไทยแย่ลง ทำไมมีเด็กติดยามาก และเด็กผู้หญิงท้องก่อนวัยอันควรเยอะ ก็เพราะว่าพ่อแม่ไม่มีปัญญาเลี้ยงดู ชีวิตมีแต่ทำงานกับนอน ถ้าเขามีเวลาทำงาน 8-9 ชั่วโมง/วัน เวลาที่เหลือก็เอาไปดูแลลูกได้ ผมคิดว่ามันคุ้มค่าที่จะจ่าย เพื่อแลกกับการทำให้สังคมมีสุข และคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานดีขึ้น” ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆแสดง ความเห็นคัดค้านว่า นโยบายนี้จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น กดดันให้อัตราเงินเฟ้อ และอาจถึงขั้นที่จะทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย ไปเพราะค่าจ้างแรงงานไม่ถูกอีกแล้วนั้น นายเอนกกล่าวว่า ปัจจุบันต้นทุนด้านเงินเดือนและค่าจ้างแรงงาน มีอัตราส่วนเพียง 10% เศษเท่านั้น ถ้าปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ต้นทุนอาจเพิ่มขึ้นเป็น 20% แต่ในข้อเท็จจริง บริษัทต่างๆก็ยังอยู่ได้ ถ้าเพียงแต่ยอมรับความเป็นจริงสักนิดว่ากำไรอาจลดลงบ้าง สำหรับต้นทุนการผลิตด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุนค่าขนส่งซึ่งสูงมากนั้น ก็น่าที่รัฐบาลจะต้องปฏิรูปโครงสร้างการขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ของประเทศใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับลดต้นทุนการขนส่งลงมาเกลี่ยให้แก่ผู้ใช้ แรงงานได้ “ที่บอกว่าจะมีการย้ายฐานลงทุนไป ประเทศเพื่อนบ้านกันยกใหญ่เพราะแรงงานไทยไม่ถูกอีกต่อไปแล้ว ผมว่าเอาเปรียบแรงงานเกินไป เราจะยินดีเป็นประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานถูกต่อไป โดยที่สังคมพ่ายแพ้เสียหายหรือ ผมว่ามันหมดสมัยแล้ว ที่สำคัญ 300 บาทก็บอกชัดว่าเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ถ้ามีที่ไหนประเทศใดในโลก ไม่ว่าจะเป็นแอฟริกา เวียดนาม หรืออินโดนีเซีย ที่น่าลงทุนกว่า ป่านนี้ก็คงจะไปกันหมดแล้ว” กรรมการผู้จัดการเอ็มแรปให้ความเห็น ว่า ปัจจัยที่ทำให้ต่างชาติยังคงมาลงทุนในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องค่าจ้างแรงงานอย่างเดียว แต่เพราะแรงงานไทยเป็นชาติเดียวที่ยอมหยวนให้ตลอด นัดหยุดงานประท้วงก็น้อย เปิดบริษัทหรือทำธุรกิจก็ง่าย ไม่ต้องจ่ายใต้โต๊ะหนักเหมือนประเทศอื่น ในขณะที่สภาพภูมิอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ต้องวิ่งหนีเฮอริเคน หรือแผ่นดินไหว เรียกว่ากินง่าย อยู่สบายกว่าประเทศอื่นๆมาก จึงไม่น่าเป็นห่วงเรื่องย้ายฐานการลงทุน เพราะไม่ง่ายอย่างที่พูด ส่วนเรื่องของเงินเฟ้อ ถ้ารัฐบาลเจรจากับผู้ผลิตรายใหญ่ๆให้ยอมลดกำไรลงบ้าง ไม่ผลักภาระไปที่ผู้บริโภคกันหมด อัตราเงินเฟ้อก็ไม่น่าจะปรับตัวขึ้นมากนัก “พวกคุณเห็นหรือไม่ว่า กำไรสุทธิของบริษัทต่างๆที่มาลงทุนในประเทศไทย อาทิ แบงก์พาณิชย์ เพิ่มขึ้นมหาศาล เฉพาะแค่ครึ่งแรกของปีเท่านั้นนะ ถ้าจะเจียดมาเพิ่มเงินเดือน หรือค่าจ้างขั้นต่ำให้ลูกน้องอีกสักนิด ผมไม่คิดว่าจะเป็นปัญหา” สำหรับนโยบายปรับขึ้นเงินเดือนแก่ผู้ จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทนั้น นายเอนกให้ความเห็นว่า อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะทำ กระนั้นรัฐบาลก็ควรกำหนดไว้เป็นเป้าหมายในอนาคตว่า ผู้จบการศึกษาระดับนี้สมควรจะได้รับอัตราเงินเดือนเท่าใด เช่น ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท ส่วนการจะทำให้เป้าหมายนี้บรรลุผล รัฐบาลควรปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาของประเทศใหม่ เพื่อพัฒนาบุคลากรภายในให้มีคุณภาพ “การพัฒนาคนจำเป็นต้องทุ่มงบประมาณลง ไปในสถานศึกษา ซึ่งรัฐกำหนดได้ว่า ถ้าต้องการคนเกรดเอ จะใช้เงินเท่าใด และเกรดบีจะใช้เท่าใด แรงงานกลุ่มไหนจะกลับไปสู่ท้องถิ่น ส่วนไหนจะอยู่ในเมือง เป็นต้น ถ้าทำอย่างนี้ได้ ระบบการศึกษาจะเปลี่ยน อุตสาหกรรมการผลิตของประเทศก็จะเปลี่ยนตาม. (ไทยรัฐ, 23-7-2554) สสว.เข็นตั้งกองทุนแรงงาน 300ล. อุ้มเอสเอ็มอีหนีตายค่าจ้างแพง-ส่อเจ๊ง 4 แสนราย นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ว่า สสว.เห็นด้วยกับนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ของรัฐบาล แต่ควรทยอยปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปตามผลิตภาพ พร้อมกับมีมาตรการช่วยลดผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้นให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบประมาณ 4.33 แสนราย หรือ 15% ของเอสเอ็มอีทั้งหมด 2.89 ล้านราย ทั้งนี้ สสว. จะเสนอรัฐบาลใหม่ให้จัดตั้งกองทุนแรงงาน (Labor Fund) โดยร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หอการค้าไทย และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ จ่ายเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ 3-4% แก่เอสเอ็มอีที่กู้เงินจากสถาบันการเงิน รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท ภายใต้งบประมาณของ สสว. ที่มีประมาณ 300 ล้านบาท เพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและแรงงาน คาดว่าจะมีความชัดเจน ภายใน 2 เดือน เพื่อไม่ให้เอสเอ็มอีต้องหยุดปรับปรุงกิจการ นอกจากนี้ จะเสนอ 5 โครงการ ยกระดับผู้ประกอบการให้รัฐบาลใหม่พิจารณา คือ 1.โครงการ GO SMEs หรือโครงการกองทุนตั้งตัว 2.โครงการ Beyond Border 3. โครงการ OTOP Plus 4.โครงการ AEC Ready และ 5. โครงการ SMEs Corporate Venture หรือโครงการเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของเอสเอ็มอี ปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 4.2% จากการส่งออกรวมที่น่าจะขยายตัว 12-15% การนำเข้าขยายตัว 13-14% จากการส่งออกช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.54) ที่มีมูลค่ารวม 845,516.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.33% ส่วนการจัดตั้งรายใหม่ เฉลี่ยอยู่ที่ 5,220 กิจการ/เดือน โดย 5 เดือนแรก รวมทั้งสิ้น 26,100 กิจการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 25.28% ขณะที่การเลิกกิจการเฉลี่ยอยู่ที่ 749 กิจการ/เดือน รวมทั้งสิ้น 3,743 หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.51% นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเศรษฐศาสตร์ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า นโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง สิ่งทอ มีต้นทุนแรงงานสูงขึ้นมาก อาจทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียกำไรมากถึง 50% ประกอบกับเศรษฐกิจโลกยังเปราะบาง แนวโน้มราคาน้ำมันกับราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น และอัตรา ดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากไทยปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเป็น 300 บาท คิดเป็นการปรับขึ้น 40% จะทำให้ไทยมีค่าจ้างสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อภาคส่งออกที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าจ้างสะสมที่สูงขึ้น ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำไว้ได้ เป็นต้นทุนต่อเนื่องที่ผู้ประกอบการต้องบวกต้นทุนอยู่ในราคาสินค้าด้วย ซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออก โดยผู้ซื้ออาจจะเห็นการชะลอคำสั่งซื้อลงชัดเจนตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้แน่นอน (ข่าวสด, 23-7-2554) นักธุรกิจแนะวิธีขึ้นค่าแรง 300 บาท เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวถึงนโยบายค่าแรง 300 บาท ว่าจะกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก เพราะเราไม่สามารถเคลื่อนย้ายเหมือนโรงงานการผลิตไปได้ การที่เพิ่มค่าแรง 300 บาท ในบางพื้นที่ เช่นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เท่ากับเพิ่มค่าจ้างไปถึงเกือบ 40% อัตราค่าจ้างเป็นต้นทุนการประกอบการของผู้ประกอบการถึง 15-20% ฉะนั้นการขึ้นไปถึง 40% ย่อมกระทบต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตนคิดว่าการดำเนินงานไปสู่เป้าหมาย 300 บาทเป็นเรื่องที่ดี และเป็นไปได้ แต่ต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป ในขณะเดียวกันรัฐก็ต้องเข้ามาดูแลในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถ ของผู้ประกอบอาชีพ บุคลากรในอุตสาหกรรมโรงแรม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่างๆ ให้มีขีดความสามารถรองรับกับผลตอบแทนที่ 300 บาท ด้วย ไม่ใช่ดูด้านเดียวคือการเพิ่มแต่ค่าจ้าง ตนคิดว่าตรงนี้ภาครัฐก็จะต้องเข้ามาดูถึงการพัฒนาทักษะ สมรรถนะ ความสามารถของบุคลากรที่จะทำงานให้ได้ 300 บาทเพื่อให้คุ้มค่าตรงกันด้วย มิฉะนั้นก็จะทำให้ประเทศไทยสูญเสียศักยภาพความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบ กับประเทศเพื่อนบ้าน ฉะนั้นอยากจะฝากว่า 300 บาท ทำได้และดี แต่ต้องมีส่วนร่วมของรัฐบาลในการพัฒนาขีดความสามารถของแรงงานไทยให้ได้ทัด เทียมกับในต่างประเทศ ให้คุ้มค่ากับเงิน 300 บาท ด้วยเช่นเดียวกัน ด้านนายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า รัฐบาลควรจะต้องผลักดันเมกะโปรเจ็กต์ต่อไป เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างเจริญเติบโตในทิศทางที่ควรจะเป็น โดยธรรมชาติแล้วถ้าภาครัฐเติบโต ภาคเอกชนก็จะโตตาม สมมติว่าภาครัฐโตขึ้นมา 50% ภาคเอกชนจะโตขึ้นมาประมาณ 100% ก็คือเท่าตัวของภาครัฐ ส่วนเรื่องการขึ้นค่าแรง 300 บาท ในมุมมองของภาคก่อสร้างคิดว่ามีผลกระทบบ้าง เพราะจริงๆ แล้วอุตสาหกรรมก่อสร้างจะเป็นในส่วนของงาน สมมติว่า งาน 100 บาท จะเป็นค่าแรงงานประมาณ 15 บาท ถ้ามีการขึ้นราคามาเป็น 300 บาท เราก็จะต้องมีการรับผิดชอบขึ้นประมาณ 3-4 บาท ก็คือว่าทั้งหมดจาก 100 บาท ก็กลายเป็น 103-104 บาท ทางสมาคมเองก็คิดว่าภาครัฐก็ควรจะต้องดูเรื่องราคากลางให้เหมาะสม ส่วนภาคเอกชนเองเราก็คิดว่าไปเพิ่มราคาขายในส่วนนั้น แต่จริงๆ แล้วเพิ่มไม่มากมาย (ข่าวสด, 23-7-2554) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Tyrell Haberkorn: ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบันฯ Posted: 23 Jul 2011 09:59 PM PDT อภิปราย “ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา” โดย Tyrell Haberkorn แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ที่คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ Tyrell Haberkorn อภิปราย "ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา" [ตอนที่ 1] Tyrell Haberkorn อภิปราย "ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา" [ตอนที่ 2] Tyrell Haberkorn อภิปราย "ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา" [ตอนที่ 3] Tyrell Haberkorn อภิปราย "ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา" [ตอนที่ 4] การอภิปรายของ Tyrell Haberkorn เมื่อ 13 ก.ค. 54 ที่คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดเสวนาหัวข้อ “ประวัติศาสตร์ความรุนแรงของรัฐไทย ตั้งแต่ 2475 - ปัจจุบัน: คำถาม กรอบคิด และปัญหา” ที่ห้อง 7801 อาคาร HB 7 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีผู้อภิปรายคือ Tyrell Haberkorn หรือ “อาจารย์มาลี” แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ผู้เขียน “Revolution Interrupted: Farmers, Students, Law, and Violence in Northern Thailand” (รายละเอียด) ซึ่งเป็นงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ของชาวนาใน จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน ระหว่างปี พ.ศ. 2494 ถึง 2519 รวมถึงการต่อสู้ของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (สชท.) หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และการปราบปรามและลอบสังหารผู้นำชาวนาโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ในการอภิปรายเมื่อ 13 ก.ค. Tyrell เสนอว่าสังคมไทยควรทำความเข้าใจในเรื่องการที่รัฐใช้ความรุนแรงต่อประชาชน เพราะการทำความเข้าใจในเรื่องนี้จะทำให้เราเข้าใจสังคมไทยได้ชัดเจนขึ้นว่าเพราะอะไร จึงทำให้สังคมไทยยอมรับการใช้ความรุนแรงนั้นได้ และที่สำคัญ หากเราเข้าใจเงื่อนไขการใช้ความรุนแรงของรัฐนี้ ก็จะทำให้สังคมไทยมองหาทางที่จะกำกับความรุนแรงที่รัฐจะใช้ในอนาคตได้มากขึ้น โดย Tyrell เสนอกรณีการใช้ความรุนแรงของรัฐผ่านกฎหมายพิเศษสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร กรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็นโดยเฉพาะการลอบสังหารผู้นำชาวนาช่วงก่อน 6 ตุลาคม 2519 และกรณี “ถีบลงเขา-เผาลงถังแดง” เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่สามจังหวัดภาคใต้ เช่นกรณีซ้อมทรมานอิหม่ามยะผา กาเซ็ง จนเสียชีวิตในค่ายทหาร เป็นต้น Tyrell เตือนด้วยว่าการยอมรับความรุนแรงของรัฐที่ผ่านมานั้นเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ปรากฏมากขึ้นในหลายพื้นที่ในโลกปัจจุบันนี้ เช่น ที่สหรัฐอเมริกาหลังกรณี 911 เป็นต้น สำหรับรายละเอียดของการอภิปราย ประชาไทจะทยอยนำเสนอต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เฮลิคอปเตอร์ตกติดต่อกันเป็นลำที่ 3 Posted: 23 Jul 2011 08:42 PM PDT เกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์รุ่นเบลล์ 212 ตกที่แก่งกระจาน เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 1 ราย เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 24 ก.ค. เกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์รุ่นเบลล์ 212 ของกองทัพตกในพื้นที่ ม.7 ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โดยพบผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 1 ราย โดยเฮลิคอปเตอร์ของตำรวจไปรับตัวมาส่งที่โรงพยาบาลแล้ว ทั้งนี้ เฮลิคอปเตอร์ตกซ้ำติดต่อกันเป็นลำที่ 3 แล้ว โดยก่อนหน้านี้เมื่อ 16 ก.ค. เฮลิคอปเตอร์แบบฮิวอี้ตกทหารเสียชีวิต 5 นาย หลังจากนั้นอีก 3 วัน เฮลิคอปเตอร์แบบแบล็กฮอว์กตก เมื่อวันที่ 19 ก.ค.มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 9 นาย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น