ประชาไท | Prachatai3.info |
- 9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 1: พ.ร.บ. ปรองดอง + นิรโทษกรรม
- โอไอซีเรียกร้องให้เคารพข้อตกลงยุติความรุนแรง
- สื่อมาเลย์เกาะติด ภาคใต้ของไทยยังคงคุกรุ่น
- ‘สุภิญญา’ ชี้ร่างฯ กำกับเนื้อหาควรมีกระบวนการจัดทำชัดเจน-โปร่งใส
- พ.ร.บ.นิรโทษฉบับญาติวีรชน บนความขัดแย้งสับสน
- เปิดตัวอีก! ‘กองทัพ ปชช.โค่นระบอบทักษิณ’ ร้อง 6 ข้อ เตรียมชุมนุม 4 ส.ค.นี้
- การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานดัดแปลง และปัญหาเรื่องการใช้โดยชอบธรรมในสื่อออนไลน์
- เพจ V for Thailand ลงบทความ "ประเทศไทย 2570" ถามจะเอาแบบนี้ไหม?
- ปชป.ยันไม่ได้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน
- ผู้สนับสนุนพรรคสงเคราะห์ชาติออกมาฉลองหลัง "สม รังสี" กลับบ้าน
- ระบอบสมบูรณายาสิทธิราช หลักศาสนาอิสลาม กับ การบริหารประเทศบรูไนดารุสซาลาม
- พวงทอง ภวัครพันธุ์: ข้อจำกัดของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน
9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 1: พ.ร.บ. ปรองดอง + นิรโทษกรรม Posted: 20 Jul 2013 10:04 AM PDT สำรวจนโยบายอ่อนไหวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่เจอทั้งแรงต้านต่อตัวนโยบายเอง และแรงตรวจสอบที่เข้มข้นทั้งเรื่องงบประมาณ ผลประโยชน์ทับซ้อน และกระบวนการบริหารเริ่มด้วยนโยบายนิรโทษกรรม ที่ถึงวันนี้เจอแรงเสียดทานในฝั่งเดียวกันเข้าเต็มๆ การเมืองเป็นเรื่องกระแส แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ทานกระแสต้านและการจุดประด็นสารพัดมาโจมตีตั้งแต่วันแรกที่เธอเป็นแคนดิเดตนายกจนถึงวันนี้สองปีกว่า ก็นับว่าน่าทึ่งไม่น้อย อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันขณะ จะบอกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังเจอหมัดหนักรัวๆ จนอาจจะเมาหมัดเข้าแล้วเบาๆ ก็อาจจะไม่ผิดความจริงนัก และในบรรดาหมัดที่รัวอยู่นี้ หมัดไหนจะเด็ดเป็นหมัดน็อก หมัดไหนปล่อยออกมาชกลมจนคนชกล้มคว่ำลงไปบ้าง ก็น่ามาพิจารณากัน ประชาไทรวบรวมประเด็นที่สำคัญในระดับนโยบายของรัฐบาลซึ่งถูกจับตาขยับไปทางไหนก็ติดขัด ทั้งแรงต้านต่อตัวนโยบายเอง และแรงตรวจสอบที่เข้มข้นทั้งเรื่องงบประมาณ ผลประโยชน์ทับซ้อน และกระบวนการบริหาร ประเดิมเรื่องแรกที่กำลังเป็นประเด็นของทางฝั่งรัฐบาลเองและมวลชนที่หนุนรัฐบาล ก็เห็นจะได้แก่เรื่อง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมและพ.ร.บ. ปรองดองแห่งชาติ โดยในขณะนี้ มีร่างพ.ร.บ. ปรองดองรอการพิจารณาอยู่ในรัฐสภาแล้ว 5 ฉบับ ได้แก่ 1. ร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ฉบับสนธิ บุญยรัตกลิน ที่เป็นเหตุให้การประชุมสภาเมื่อปลายเดือนพ.ค. เกิดความชุลมุนวุ่นวายทั้งในสภาและนอกสภา ร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้นิรโทษแก่กรรมผู้ชุมนุม ผู้สั่งการ เจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการ ตั้งแต่เหตุการณ์ทางการเมืองปี 2548 ถึงปี 2554 นอกจากนี้ยังเลิกความผิดแก่ผู้ถูกดำเนินทางการเมืองตามประกาศของคปค. และคืนสิทธิทางการเมืองแก่ส.ส. ที่ถูกตัดสิทธิจากการยุบพรรค 2. ร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ฉบับณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นิรโทษกรรมผู้ที่ชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2548 ถึง 2554 รวมถึงผู้ออกคำสั่ง เจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการ แต่ไม่นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานการก่อการร้ายและความผิดต่อชีวิต ไม่ว่าจะแกนนำหรือผู้ชุมนุม นอกจากนี้ยังเลิกความผิดแก่ผู้ถูกดำเนินทางการเมืองตามประกาศของคปค. และคืนสิทธิทางการเมืองแก่ส.ส. ที่ถูกตัดสิทธิจากการยุบพรรค 3. ร่างพ.ร.บ. ปรองดอง ฉบับที่เสนอโดยสามารถ แก้วมีชัย ให้นิรโทษกรรมผู้ที่ได้รับความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง ระหว่างปี 2548 ถึง 2554 รวมถึงผู้ออกคำสั่ง เจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการ และยกเลิกความผิดแก่ผู้ถูกดำเนินทางการเมืองตามประกาศของคปค. และคืนสิทธิทางการเมืองแก่ส.ส. ที่ถูกตัดสิทธิจากการยุบพรรค 4. ร่างพ.ร.บ. ปรองดอง ฉบับที่เสนอโดยนิยม วรปัญญา นิรโทษกรรมผู้ได้รับความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงวันที่ร่างพ.ร.บ. ประกาศใช้ รวมถึงผู้ออกคำสั่ง เจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการ และยกเลิกความผิดแก่ผู้ถูกดำเนินทางการเมืองตามประกาศของคปค. และคืนสิทธิทางการเมืองแก่ส.ส. ที่ถูกตัดสิทธิจากการยุบพรรค สิ่งที่ระบุเพิ่มมาจากร่างอื่นๆ คือนิรโทษกรรมการรัฐประหารโดยคปค. เมื่อปี 2549 ด้วย 5. ร่างพ.ร.บ. ปรองดอง ฉบับร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นิรโทษกรรมผู้ได้รับความผิดจากการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 จนถึงวันที่ร่างพ.ร.บ.ประกาศใช้ รวมถึงผู้ออกคำสั่ง เจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการ และยกเลิกความผิดแก่ผู้ถูกดำเนินทางการเมืองตามประกาศของคปค. และคืนสิทธิทางการเมืองแก่ส.ส. ที่ถูกตัดสิทธิจากการยุบพรรค ส่วนร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมอีก 2 ฉบับที่รอการพิจารณาของสภา ได้แก่ ร่างพ.ร.บ. ปรองดองที่เสนอโดยวรชัย เหมะ และอีก 42 ส.ส. เพื่อไทย ซึ่งนิรโทษกรรมผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ ยกเว้นแกนนำหรือผู้ที่ออกคำสั่งในการสลายการชุมนุม และร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมที่เสนอโดยนิยม วรปัญญา ส.ส. พรรคเพื่อไทย มีเนื้อหาคล้ายกับร่างของวรชัย เหมะ ความพยายามผลักดันร่างของสนธิ บุญยรัตกลิน และเฉลิม อยู่บำรุง เป็นชนวนให้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลหลายกลุ่มออกมาชุมนุม ตั้งแต่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ออกมาชุมนุมในช่วงเดือนพ.ค. ไปจนถึงกลุ่มเสื้อหลากสี นำโดยนพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ และล่าสุดการชุมนุมของกลุ่มหน้ากากขาวที่เริ่มชุมนุมจากในกรุงเทพฯ ที่ประมาณการณ์ว่ามีผู้เข้าร่วมมากที่สุด 3,000 คน และพยายามขยายการชุมนุมออกไปยังต่างจังหวัด ถึงแม้ว่าร่างพ.ร.บ. ปรองดอง ฉบับของร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ที่นิรโทษกรรมเหมาเข่ง จะก่อให้เกิดแรงต้านอย่างสูง ไม่ว่าจะจากฝั่งคนเสื้อแดงเองหรือฝ่ายพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ แต่พรรคเพื่อไทยก็ยังยืนยันว่ามีมติสนับสนุนเพียงร่างของส.ส. วรชัย เหมะ ซึ่งนิรโทษกรรมให้กับประชาชนทุกสีทุกฝ่าย ยกเว้นแกนนำและผู้สั่งการ ซึ่งวรชัยระบุว่าน่าจะสามารถลดแรงต้านได้มากที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ยังหนีไม่พ้นข้อกังวลของหลายฝ่ายว่า ร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับวรชัย จะถูกเอาไปหมดเม็ดรวมกับร่างพ.ร.บ. ปรองดอง ถูกแก้ไขร่างในขั้นตอนแปรบัญญัติเพื่อเปลี่ยนจุดประสงค์ไปจากเดิม ผลักร่างฉบับญาติผู้สูญเสีย ไม่นิรโทษให้การกระทำเกินกว่าเหตุ นอกจากร่างนิรโทษกรรมและปรองดองที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีอีกร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมอีกฉบับที่ร่างขึ้นโดยญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อ เม.ย.-พ.ค. 53 นำโดยแม่น้องเกด พะเยาว์ อัคฮาด และพ่อน้องเฌอ สมาพันธ์ ศรีเทพ โดยมีลักษณะคล้ายกับร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้งของคณะนิติราษฎร์ ตรงกับมาตรา 291/1, 291/2, 291/3 ที่ระบุให้นิรโทษกรรมการกระทำผิดจากการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน, พ.ร.บ. ความมั่นคง และการกระทำที่ไม่ได้ร่วมชุมนุมแต่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองหลังการรัฐประหาร 2549 สาเหตุที่กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมอีกฉบับขึ้นมา เนื่องจากระบุว่า ร่างของวรชัยยังมีความคลุมเครือเรื่องการปฎิบัติการทางทหาร ว่าจะได้การนิรโทษกรรมด้วยหรือไม่ ประกอบกับคำให้สัมภาษณ์ของวรชัย ยิ่งยืนยันว่าร่างดังกล่าวตั้งใจจะนิรโทษเจ้าหน้าที่ทหารทั้งหมด ทำให้กลุ่มญาติไม่เห็นด้วยและผลักดันร่างฉบับของตนเองออกมา ร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมของกลุ่มญาติฯ มีใจความหลักๆ คือนิรโทษกรรมผู้มีความผิดจากการชุมนุมหลังการรัฐประหารปี 2549 เป็นต้นมา โดยเป็นความผิดที่เกิดจากการฝ่าฝืนพ.ร.บ. ความมั่นคงและพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการกระทำที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม แต่เป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง และนิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการที่ไม่ได้กระทำเกินกว่าเหตุ ร่างพ.ร.บ. ของญาตินี้ ระบุไม่นิรโทษกรรมให้แก่ผู้สั่งการ หรือทหารที่ทำเกินกว่าเหตุ ไม่นิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่วางเพลิงเผาทำลาย หรือปล้นทรัพย์ทรัพย์สินเอกชน และการกระทำที่ก่อให้เกิดภยันตรายต่อชีวิตประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ประเด็นที่สำคัญของร่างนี้ที่กำลังเป็นถกเถียงกันมาก คือสองประเด็นหลักสำคัญ เรื่องแรก คือการระบุว่าจะไม่นิรโทษกรรมผู้สั่งการ และเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการที่ทำเกินกว่าเหตุ (มาตรา 4 วรรค 2) ว่าหากระบุไว้เช่นนี้ การอ้างเรื่องการออกคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่อ้างว่าเป็นไปตามหลักสากล จะสามารถพิสูจน์ได้มากน้อยเพียงใดว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และทหารระดับปฏิบัติการ ที่มีพ.ร.ก. ฉุกเฉิน และพ.ร.บ. ความมั่นคงมีความคุ้มครองเรื่องการเอาผิด จะสามารถถูกพิสูจน์ได้ตามกระบวนการยุติธรรมได้มากแค่ไหนว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ประเด็นที่สอง คือ มาตรา 3 (4) ที่ไม่นิรโทษกรรมการกระทำหรือการตระเตรียม ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม ที่มุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธ และการกระทำที่มุ่งก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน และการกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่น การวางเพลิง ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์อันเป็นของเอกชน หากพิจารณาตามเงื่อนไขดังกล่าว ผู้ต้องขังที่ถูกตัดสินจำคุกจากเหตุการณ์ปี 53 และเหตุการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร 25 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. จากศปช. และไม่รวมผู้ต้องขังคดีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112) อาจมีผู้เข้าข่ายได้รับการนิรโทษกรรมเพียง 3 คนเท่านั้น ได้แก่คดีมั่วสุมก่อให้เกิดความวุ่นวาย, ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และกรรโชกทรัพย์ เพราะนักโทษนอกเหนือจากนั้น จะมีคดีจากพ.ร.บ. อาวุธปืนฯ, ปล้นทรัพย์, มีอาวุธและเครื่องกระสุน, มีวัตถุระเบิด (ระเบิดปิงปอง) ไว้ครอบครอง ซึ่งอาจเข้าข่ายมาตรา 3 (4) ซึ่งยกเว้นการนิรโทษกรรม หากพิจารณาจากความผิดต่อทรัพย์สินเอกชน ในขณะนี้มีผู้ถูกตัดสินจำคุกจากการวางเพลิงเผาทรัพย์ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระโขนง 1 ราย ก็จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรม และจากคดีวางเพลิงเผาทรัพย์ศาลากลางที่จ.อุดรธานีและอุบลราชธานีอีก 4 ราย แม้ควรจะได้นิรโทษกรรมเนื่องจากเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์สินราชการ แต่สำหรับผู้ต้องขังในจ.อุบลธานี 2 ราย อาจได้รับนิรโทษกรรมในข้อหาทำลายทรัพย์สินราชการ แต่ยังคงได้รับโทษจากข้อหาวางเพลิงทรัพย์สินเอกชน เนื่องจากมีการเผาทรัพย์สินเอกชนรวมอยู่ด้วย (ร้านกาแฟและรถตู้บริเวณใกล้เคียงกับศาลากลางจังหวัด 1 คัน) จากกรณีที่กล่าวมาข้างต้น หากพิจารณาตามร่างของญาติฯ นักโทษที่ติดคุกจากเหตุการณ์การชุมนุมและที่เกี่ยวข้อง จะมีโอกาสได้รับนิรโทษกรรม ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณาเป็นรายๆ ไปว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดต่อความมั่นคง ที่ทำไปโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้ต้องขัง ม.112 ยังไม่ชัดได้รับนิรโทษหรือไม่ อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. นิรโทษกรรมและปรองดองที่กล่าวมาข้างต้น ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการนิรโทษกรรมผู้ที่ถูกตัดสินว่าผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับการตีความของศาลว่านับว่าเป็นการแสดงออกหรือการกระทำที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองหรือไม่ และรัฐบาลเองก็อาจจะเลี่ยงนิรโทษกรรมผู้ต้องขังในคดี ม.112 เนื่องจากอาจเป็นเหตุให้เกิดกระแสต่อต้านสูง จนอาจไม่สามารถออกกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับใดได้เลย ล่าสุดนายวรชัย เหมะ ก็ย้ำว่า จะพยายามผลักดันให้พรรคเพื่อไทยบรรจุร่างนิรโทษกรรมให้พิจารณาในที่ประชุมรัฐสภาสมัยสามัญเป็นวาระแรก ก่อนการพิจารณางบประมาณรายจ่ายปี 2557 หรือพ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อเอาใจมวลชนคนเสื้อแดง ในขณะที่ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมของญาติ ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนักจากส.ส. เพื่อไทย (อ่านข่าว 'จตุพร' เล็งกล่อม 'แม่น้องเกด' ยุติเสนอร่างก.ม.นิรโทษฯ) แต่พรรคประชาธิปัตย์ กลับออกมาสนับสนุนร่างของญาติ โดยระบุว่ามีแนวคิดสอดคล้องกับแนวคิดพรรคประชาธิปัตย์ และเชื่อว่าจะนำไปสู่การปรองดองได้ แม้เนื้อหาร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมของญาติฯ จะยังมิได้เป็นร่างสุดท้าย เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็น ก่อนที่จะยื่นให้กับรัฐสภา แต่การพยายามผลักดันร่างนี้ออกมา อาจเป็นการสะท้อนความไม่พอใจและไม่ไว้วางใจของคนเสื้อแดงที่มีต่อรัฐบาลและนปช. ว่ามีความจริงใจเพียงใดในการเอาผิดทั้งผู้สั่งการ เจ้าหน้าที่ทหาร รวมถึงการค้นหาความจริงในเหตุการณ์ 2553 และปล่อยตัวนักโทษในคดีการเมืองออกจากคุก นอกจากแรงเสียดทานที่เกิดจากมวลชนคนเสื้อแดงต่อรัฐบาล-นปช.แล้ว ประเด็นเรื่องการนิรโทษกรรม ยังถูกหยิบยกเป็นประเด็นหลักของการขับไล่รัฐบาลของกลุ่ม "กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ" ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้ พร้อมๆ กับประเด็นร้อนอย่าง ให้ยุติความไม่จงรักภักดีของทักษิณ ชินวัตร ให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ไปจนถึงโครงการการจัดการน้ำ และโครงการจำนำข้าว โดยทางกลุ่มประกาศว่าให้ทำตามข้อเรียกร้องภายใน 7 วัน มิเช่นนั้นจะปักหลักชุมนุมยาว คำตอบต่อสถานการณ์ดังกล่าว อาจตอบได้เมื่อรัฐสภาเปิดสมัยการประชุมในต้นเดือนสิงหาคมนี้ ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อการพิจารณาต่อร่างใด และการแปรญัตติต่อร่างนิรโทษกรรมต่างๆ จะออกมาเป็นอย่างไร น่าจะช่วยให้เห็นแรงเสียดทานที่จะเกิดขึ้นจากหลายฝ่าย และอนาคตของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต่อไปในอนาคต หมายเหตุ: สามารถดาวน์โหลดร่างพ.ร.บ. ปรองดองและนิรโทษกรรมทั้ง 9 ฉบับได้ที่ท้ายข่าวนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||||||||||||||||||
โอไอซีเรียกร้องให้เคารพข้อตกลงยุติความรุนแรง Posted: 20 Jul 2013 09:32 AM PDT สื่อมาเลย์รายงานอ้างคำกล่าวของเลขาธิการโอไอซี เรียกร้องให้ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายบีอาร์เอ็นเคารพข้อตกลงยุติความรุนแรง หลังเกิดเหตุระเบิดต่อเนื่อง 2 ครั้งที่ยะลาและนราธิวาส กัวลาลัมเปอร์ 19 ก.ค. 56 – สำนักข่าว Utusan ของมาเลเซียรายงานผ่านเว็บไซต์ว่า องค์กรโอไอซี หรือองค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยและสังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปฏิบัติตามข้อตกลงยุติความรุนแรงตลอดช่วงเดือนรอมฎอนปีนี้ โอไอซีออกคำแถลงครั้งนี้หนึ่งวันหลังจากเหตุระเบิดเกิดขึ้น 2 ครั้งอย่างต่อเนื่องที่จังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส โดยเหตุการณ์ดังกล่าวจะสงผลกระทบต่อข้อตกลงยุติความรุนแรงระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN เลขาธิการ โอไอซี Ekmeleddin Ihsanoglu ได้กล่าว่า ทั้ง 2 ฝ่ายต้องยึดถือหลักการในข้อตกลงยุติความรุนแรง ท่านก็แสดงความหวังขอให้มีแนวทางแก้ไขที่ดีสำหรับความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ ในขณะที่นาย Ekmeleddin ได้พบกับนายกรัฐมนตรี นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ณ กรุงอิสตันบูล เมื่อไม่นานมานี้ การยุติความรุนแรงเป็นหนึ่งในประเด็นหลักในการปรึกษาหารือกัน ท่านได้กล่าวว่า โอไอซีพร้อมที่จะรวมมือกับรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ภาคใต้ เพื่อก่อให้เกิดสันติภาพ ความปลอดภัย การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ส่งผลดีต่อทุกฝ่าย นาย Ekmeleddin ก็แสดงความยินดีต่อความพยายามรวมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียเพื่อจะจัดการเจรจาขั้นแรกกับ BRN ซึ่งเป็นตัวแทนของสังคม (มุสลิม) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านอธิบายว่า การเจรจาขั้นแรกเป็นความพยายามในทางที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคดังกล่าว ท่านได้กล่าวอีกว่า "ผมหวังว่า การพูดคุยนั้นจะดำเนินอย่างดี และขอให้สมาคมและองค์กรซึ่งเป็นตัวแทนของสังคมมุสลิมที่ภาคใต้ของประเทศไทยมีส่วนรวมด้วย"
ที่มา : http://www.utusan.com.my/utusan/Luar_Negara/20130720/lu_08/Tunjukkan-komitmen-gencatan-senjata ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
สื่อมาเลย์เกาะติด ภาคใต้ของไทยยังคงคุกรุ่น Posted: 20 Jul 2013 09:26 AM PDT สื่อของมาเลเซียเกาะติสถานการณ์รุนแรงทางภาคใต้ของไทย ล่าสุดมี 5 เหตุการณ์ แม้ก่อนหน้านี้มีความพยายามที่จะให้เกิดความสงบสุขในเดือนรอมฏอน 20 ก.ค. 56 - สื่อของมาเลเซียได้รายงานสถานการณ์ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยอ้างที่มาจากสำนักข่าวเบอร์นามา (BERNAMA) ในวันนี้ (20 ก.ค.) ว่าสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ถึง 5 รายด้วยกัน ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ได้มีความพยายามที่จะให้เกิดความสงบสุขในเดือนรอมฏอนแล้วก็ตาม ตามที่ได้ออกแถลงการณ์ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ผ่านมา เหตุการณ์แรก เป็นเหตุการณ์ลอบยิงนายมะซากี กาแนะ อายุ 38 ปี กำนันตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เมื่อช่วงเที่ยงของเมื่อวาน ตามการให้การของพลตำรวจตรีพีระ บุญเลี้ยง ผู้บังคับการของตำรวจภูธรเมืองยะลา เหตุการณ์ที่สองเกิดขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส นายมะสุเพียน มามะ อายุ 35 ปี ถูกยิงเสียชีวิตจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่จากการปิดล้อมตรวจค้นบ้านพัก ที่บ้านเป้าหมายในพื้นที่บ้านยานิง ม.2 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส และเหตุการณ์ที่สามได้รับแจ้งมีคนถูกยิง ทราบชื่อผู้บาดเจ็บคือ นายฮัมดีมาหะมะ มะลี อายุ 21 ปี อยู่บ้านเลขที่ 36 ม.3 ต.หน้าถ้ำ อ.เมือง จ.ยะลา ส่วนอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นเมื่อช่วงเย็น 17.50 ตามเวลาท้องถิ่น นายอัสมาดี อาแวนิยา อายุ 24 ปีถูกยิงเสียชีวิต ซึ่งเป็นอดีตทหารพรานส่วนภรรยาน.ส.อิลฮาม จะมอ อายุ 19 ปีได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดบนถนนในหมู่บ้านนาดา ม.3 ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
ที่มา: http://www.utusan.com.my/utusan/Luar_Negara/20130720/lu_02/Selatan-Thailand-terus-bergolak ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
‘สุภิญญา’ ชี้ร่างฯ กำกับเนื้อหาควรมีกระบวนการจัดทำชัดเจน-โปร่งใส Posted: 20 Jul 2013 09:08 AM PDT 20 ก.ค. 56 - จากกรณีการประชุม กสทช.ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 17 ก.ค.56 ได้ผ่านร่างประกาศ กสทช. เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เรื่อง "หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ..." ซึ่ง นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีความเห็นแตกต่างจากที่ประชุมเสียงข้างมาก และคัดค้านร่างฉบับดังกล่าว ตั้งแต่การพิจารณาในที่ประชุมกสท. ครั้งที่ 25 เมื่อวันจันทร์ที่ 8 ก.ค.56 พร้อมให้ความเห็นว่า "ดิฉันเห็นว่าการจัดทำร่างประกาศฉบับนี้ ควรมีกระบวนการจัดทำที่ชัดเจน โปร่งใส เปิดเผย ในทุกขั้นตอน และต้องแสดงให้เห็นถึงเนื้อหาสาระที่กฎหมายเจตนาห้ามมิให้นำมาออกอากาศตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 อย่างชัดเจน เพื่อมิให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ขณะเดียวกันต้องไม่สร้างความคลุมเครือ จนนำไปสู่การปิดกั้นตนเองในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการ ในการออกอากาศรายการตามหมวดที่สองนั้น จำเป็นต้องแยกสาระซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของกลไกกำกับกันเอง ในองค์กรวิชาชีพออกมาจากหลักเกณฑ์การกำกับด้านเนื้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติ ในฐานะองค์กรกำกับจึงจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนในหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพสื่อสารมวลชนได้ทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมและควบคุมการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพกันเองได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย อีกทั้งในกรณีการให้ความคุ้มครองสิทธิของบุคคลนั้น ควรกำหนดหลักประกันให้การได้มา ซึ่งข้อมูลข่าวสารในการจัดหรือผลิตรายการ ครอบคลุมถึงบุคคลที่เป็นผู้เยาว์ ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ หรือผู้ที่มี ความบกพร่องทางร่างกายหรือสติปัญญา หรือเป็นบุคคลไร้ความความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการจัดทำหลักเกณฑ์กติกาขององค์กรกำกับที่อาจเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นหรือสิทธิเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนสิทธิของบุคคล จึงต้องอยู่ในจุดที่เป็น การสมดุลระหว่างอำนาจของ กสทช. กับแนวคิดการกำกับดูแลกันเองและความรับผิดชอบต่อการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพสื่อสารมวลชนอย่างชัดเจน" นางสาวสุภิญญากล่าว . ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
พ.ร.บ.นิรโทษฉบับญาติวีรชน บนความขัดแย้งสับสน Posted: 20 Jul 2013 07:01 AM PDT พลันที่ญาติวีรชนพฤษภา 53 อันมีแม่น้องเกด กับพ่อน้องเฌอ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ออกมาเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติวีรชน ก็เกิดความขัดแย้งตอบโต้กับวรชัย เหมะ อ.ธิดา และหมอเหวง โตจิราการ ทั้งในเฟซบุคและในหน้าสื่อ ซึ่งได้โอกาส "เสี้ยม" อย่างสนุกสนาน กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ ยังออกมา "สนับสนุน" ร่างของญาติวีรชน (แต่ไม่สนับสนุนจริงเพราะละเลยสาระสำคัญ) การตอบโต้กันด้วยท่าทีที่รุนแรง และมีกองเชียร์ทั้งสองฝ่ายนี้ ไม่เป็นผลดีเลยต่อการผลักดันให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมืองโดยเร็ว กรณีนี้มีหลายประเด็นที่ควรแยกแยะทำความเข้าใจ 1.ความไม่ไว้ใจนักการเมือง การนิรโทษกรรมมวลชนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมคุมขัง จำเป็นต้องอาศัยจังหวะทางการเมือง ไม่ใช่มีอำนาจแล้วทำได้ทันที ฉะนั้นการที่บอกว่ารัฐบาลต้องทำเรื่องอื่นก่อน หรือต้องคำนึงถึงเสถียรภาพรัฐบาลด้วย แรกๆ ก็มีเหตุผล แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี รอแล้วรอเล่า มีจังหวะที่น่าจะทำหลายครั้งแต่ไม่ทำ มวลชนก็รู้สึกว่ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทยไม่ให้ความสำคัญ หนำซ้ำยังมีความพยายามจะสอดแทรก พ.ร.บ.ปรองดอง นิรโทษเหมาเข่ง ทั้งทักษิณและผู้รับผิดชอบการปราบปรามประชาชนเมื่อปี 53 อยู่เสมอ เมื่อปี 55 พรรคเพื่อไทยประกาศผลักดันแก้ไขมาตรา 291 แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก่อนนิรโทษกรรม ซึ่งไม่ว่ากัน แต่แล้วก็ถูกคว่ำทั้งกระดาน เพราะดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเข้ามาแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย (และยังคาอยู่ในสภาจนบัดนี้) หลังจากนั้นจึงเกิดกระแสผลักดันให้นิรโทษกรรมมวลชนก่อน จนเกิดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัย เหมะ ผ่านมติพรรค ให้เข้าสภาเป็นวาระแรก หลังเปิดสภาเดือนสิงหาคม กระนั้นก็ยังมีร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ฉบับเฉลิม อยู่บำรุง โผล่ขึ้นมาพร้อมรายชื่อ 163 ส.ส. โดยวรชัย เหมะ ดันไปลงชื่อด้วย ท่าทีเช่นนี้นอกจากทำให้มวลชนแคลงใจ ยังทำให้รัฐบาลเคลียร์กับสาธารณชนได้ยาก ทั้งที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับวรชัยก็ชัดเจนว่านิรโทษเฉพาะมวลชนทั้งสองฝ่าย ไม่รวมแกนนำ ไม่รวมทักษิณและผู้สั่งการ แต่กลับปล่อยให้ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองไม่รู้กี่ฉบับรออยู่ในสภา ฉะนั้นก็ไม่มีใครวางใจว่า เมื่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับวรชัยเข้าสภา จะไม่มีการนำร่าง พ.ร.บ.ปรองดองมารวมพิจารณา ล่าสุดยังมีคลิปลับ ที่แสดงความต้องการอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ของทักษิณ ที่อยากกลับบ้านผ่านการนิรโทษกรรมเหมาเข่ง สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ญาติวีรชนผู้สูญเสียออกมาปกป้องจุดยืนของตนคือยอมไม่ได้ที่จะให้นิรโทษผู้สั่งการปราบปรามเข่นฆ่าและทหารที่ทำเกินกว่าเหตุ ฉะนั้นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับญาติวีรชนก็ควรเข้าใจตรงนี้ด้วย 2.ด้านบวก การนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติวีรชนแม้มีจุดอ่อนทางกฎหมาย แต่ก็เป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่สังคมตอบรับ ได้รับความเชื่อมั่นมากกว่าเสนอร่าง พ.ร.บ.ของพรรคเพื่อไทย นี่พูดในภาพรวมไม่พูดถึงสื่อและฝ่ายค้านที่ใช้เป็นเครื่องมือเสี้ยม คืออย่างน้อยสังคมก็เชื่อมั่นว่าญาติวีรชนจะต่อต้านทุกวิถีทางไม่ให้มีการนิรโทษผู้สั่งการและทหาร ซึ่งก็หมายถึงไม่นิรโทษทักษิณด้วยเพราะไม่มีอะไรไปแลก การทำความเข้าใจต่อสาธารณชนจะง่ายกว่า ชัดเจนกว่า ว่าต้องการให้นิรโทษเฉพาะมวลชนทั้งสองฝ่ายเท่านั้นไม่รวมแกนนำ นอกจากนี้ ในตัวบทที่ร่างขึ้น ญาติวีรชนก็แสดงเจตนาชัดเจนว่าไม่ต้องการนิรโทษ "ชายชุดดำ" ไม่นิรโทษให้ผู้ลักทรัพย์หรือวางเพลิงทรัพย์สินเอกชน และนิรโทษให้ทหารที่ทำตามหน้าที่ แม้ความพยายามเขียนเรื่องเหล่านี้ลงไปจะทำให้มีปัญหาในการตีความถ้อยคำจนย้อนกลับไปกระทบการนิรโทษมวลชน (ดังจะกล่าวต่อไป) แต่เจตนาเหล่านี้ก็เป็นที่ยอมรับของสังคมวงกว้าง อย่างไรก็ดี ญาติวีรชนก็ต้องคำนึงว่า สื่อและฝ่ายค้านที่ออกมากระชุ่นไม่ได้มีเจตนาดี เพียงต้องการใช้ญาติผู้สูญเสียเป็นเครื่องมือล้มกระดานการนิรโทษเท่านั้น จึงควรระวังปัญหาท่าที อย่ากลายเป็นสนุกกับการด่ากันจนเข้าทางฆาตกร ส่วนผู้ที่คัดค้านญาติวีรชนก็ควรมองเห็นด้านบวกดังกล่าว ซึ่งถ้าจัดการไม่ดีก็จะกลายเป็นด้านลบ 3.ร่างวรชัยมาจากไหน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ วรชัย เหมะ ไม่ได้มาจากวรชัย เหมะ โถ ก็เจ้าตัวยังไปลงชื่อร่าง พ.ร.บ.ปรองดองของเฉลิมอยู่หลัดๆ แต่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับวรชัยมาจากกระแสกดดันของมวลชน จากการต่อรองภายในพรรค ภายในขบวน เพราะหลังจุดประเด็นเรียกร้องนิรโทษกรรมในการชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อปี 55 มีผู้เสนอร่างนิรโทษกรรมแบบต่างๆ ออกมา ก็เกิดการเคลื่อนไหวของแนวร่วม 29 มกรา ที่รวม "แดงอิสระ" หลากหลายกลุ่ม เรียกร้องให้ใช้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์ การเคลื่อนไหวครั้งนั้นทำให้พรรคและแกนนำ นปช.ไม่พอใจอย่างมาก มีความพยายามสกัดกั้นมวลชนทุกวิถีทาง อ.หวาน สุดา รังกุพันธุ์ แห่งกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลถูกกาหัว วิทยุ นปช.ด่าทอเสียหายให้ร้ายเรื่องส่วนตัว แต่ผลจากการกดดันครั้งนั้น และการต่อรองกันภายใน พรรคเพื่อไทยจึงคลอดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัย ซึ่งมีเนื้อหาที่ทุกฝ่าย ทั้งพรรค นปช. และแนวร่วม 29 มกรา เห็นพ้องกัน แม้ตอนแรก แนวร่วม 29 มกราเรียกร้องให้ใช้ร่างของนิติราษฎร์ แต่คงมองว่าเป็นไปได้ยากทางการเมือง (คือคำว่าแก้รัฐธรรมนูญเป็นเหมือนยาพิษ ผู้คนส่ายหน้า ส่วนใหญ่จะคิดว่าทำไมต้องทำใหญ่โตขนาดนั้น ทั้งที่จริงร่างของนิติราษฎร์สมบูรณ์ที่สุด) ร่างฉบับวรชัยจึงเป็นร่างที่หลายฝ่าย "มีส่วนร่วม" และเห็นพ้องว่าสมบูรณ์ชัดเจนระดับหนึ่ง น่าจะมีผลให้นิรโทษมวลชนที่อยู่ในคุก ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าไม่มีใครทำอะไรเลย นิ่งดูดายปล่อยให้มวลชนแห้งตายไม่ไปเยี่ยม ท่าทีเช่นนี้ทำให้กลุ่มผู้ร่วมผลักดันร่างฉบับวรชัยขุ่นเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกรงผลลบว่าการมาเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับญาติวีรชนเอาในตอนนี้ จะทำให้การนิรโทษพังทั้งกระบวน 4.ร่างวรชัยนิรโทษทหารหรือไม่ ญาติวีรชนตั้งแง่ว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับวรชัยนิรโทษให้ทหาร แต่ตามที่เป็นข่าวเมื่อครั้งยื่นเข้าสภา มาตรา 3 ซึ่งเป็นสาระสำคัญไม่มีตรงไหนกล่าวถึงการนิรโทษให้ทหาร (ไม่เขียนถึงเท่ากับไม่นิรโทษ) "มาตรา 3 ให้บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการชุมนุม การประท้วงหรือการแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ไม่เป็นความผิดต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าว" แต่เรื่องตลกอุบาทว์คือวรชัยดันให้สัมภาษณ์เมื่อวันจันทร์ยอมรับว่า เห็นควรให้นิรโทษทหารด้วย เพราะทำตามคำสั่งภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ควรเอาผิดเฉพาะผู้สั่งการ ออกคำสั่ง "เรายึดหลักการนิรโทษจะได้หมดเสียหมดไม่ได้ มิฉะนั้นจะเดินลำบาก ต้องทำให้คนค้านน้อยที่สุด ทุกฝ่ายเอาด้วยมากที่สุด" วรชัยไม่เมาแน่ เพราะให้สัมภาษณ์มติชนอีกทีว่า"ถ้าญาติวีรชนต้องการให้ผู้ปฏิบัติการทางทหารติดคุกทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับพลเรือนและทหารก็จะทำให้กระบวนการนิรโทษกรรมพี่น้องประชาชนที่ติดคุกอยู่ใน เรือนจำต้องลากยาวออกไปอีก พี่น้องก็เดือดร้อนจะทำอย่างไร วันนี้ต้องช่วยประชาชนก่อน เพราะสถานการณ์ขณะนี้ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะอยู่ได้ถึงเมื่อใด ถ้าเกิดมีการรัฐประหารล้มรัฐบาลคนในเรือนจำก็จะถูกจองจำต่อไป" และว่าเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของตนนั้น จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐพ้นจากความผิดหรือไม่ให้เป็นหน้าที่ของกรรมาธิการวิสามัญที่จะพิจารณาในอนาคต ถ้าวันนี้บอกว่าไม่ยกเว้นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการแล้วใครจะยอมต่อไปอาจจะเกิดแนวร่วมกับฝ่ายตรงข้ามทำให้พรรคประชาธิปัตย์ค้านได้อย่างเต็มที่ เฮ้ย มียังงี้ด้วยหรือ แปลว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ผลักดันกันมา นิรโทษให้ทหารด้วยหรือ ไม่เห็นบอกกับมวลชนอย่างนี้เลย นี่เป็นประเด็นที่วรชัยและพรรคเพื่อไทยต้องเคลียร์ เรื่องใหญ่นะครับ เพราะเท่ากับ "แหกตามวลชน" ให้สนับสนุนร่างที่นิรโทษกรรมให้ทหาร ไม่เว้นกระทั่งทหารที่ทำเกินกว่าเหตุ ถ้า "แหกตามวลชน" จริงก็ต้องมีคนรับผิดชอบ ใครร่วมรู้เห็นต้องรับผิดชอบหมด (หมอเหวงตอบโต้ญาติวีรชนเรื่องนิรโทษให้ทหาร ก็ควรไปซักวรชัยให้เคลียร์ด้วย ว่าทำไมพูดม้าๆ อย่างนี้) มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าถ้าเอาร่างวรชัยไปเปรียบเทียบร่างของญาติวีรชน หรือร่างของนิติราษฎร์ จะพบว่าต่างกันนิดหนึ่งตรงถ้อยคำ ร่างวรชัยใช้คำว่า "การกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง" ขณะที่นิติราษฎร์ใช้คำว่า "การกระทำใด ๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง" ซึ่งมีผู้สงสัยว่า "บุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง" อาจตีความรวมถึงทหารด้วย ถ้าเจตนาอย่างนั้นจริง ก็เท่ากับ "หมกเม็ด" หลอกลวงประชาชน และเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ไม่ต้องไปถกเถียงกันเรื่องอื่นเลย ญาติวีรชนมีความชอบธรรมที่จะล้มกระดาน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม 5.มาตรา 3(3) ผิดโดยไม่เจตนา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติวีรชน มาตรา 3 สาระสำคัญของการนิรโทษกรรม ก๊อปมาจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของนิติราษฎร์ 3 อนุมาตราแรก แต่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงในอนุมาตรา 3 เชื่อว่าเป็นเจตนาดี แต่ไม่เข้าใจหลักและภาษากฎหมาย (พ่อน้องเฌอบอกว่าปรึกษานักวิชาการกฎหมายหลายคน แต่เชื่อว่าไม่ได้ให้นักวิชาการกฎหมายตรวจทานครั้งสุดท้าย) (๑) บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลอันเป็นความผิดตามกฎหมายจากการฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือข้อกำหนดที่ออกตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมืองภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง (๒)บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือพื้นที่ที่มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมืองภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเป็นความผิดอันมีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดอันมีโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปีตามกฎหมายอื่น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง (๓) บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง ในเขตท้องที่หรือพื้นที่ตาม มาตรา ๓ (๒) อันเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งมิได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓ (๑) หรือมาตรา ๓ (๒) ตลอดจนการกระทำใด ๆ ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง ภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ ลองไปดูมาตรา 291/3 ของนิติราษฎร์ครับ "มาตรา ๒๙๑/๓ บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง ในเขตท้องที่หรือพื้นที่ตามมาตรา ๒๙๑/๒ อันเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งมิได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา ๒๙๑/๑ หรือมาตรา ๒๙๑/๒ ตลอดจนการกระทำใด ๆ ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙หากการกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายภาพหรือการแสดงความคิดเห็นเป็นความผิดตามกฎหมายอันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ" ไม่แน่ใจว่าญาติฯ อยากให้ครอบคลุม 112 ด้วยหรือไม่ (แต่พ่อน้องเฌอบอกว่าไม่ได้เจตนา) แต่ญาติฯ ไปแก้ว่า "หากการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง"โดยไม่เข้าใจว่าความผิดอาญาจำนวนมากไม่ได้เป็นความผิดต่อความมั่นคง ไม่ว่าเผาศาลากลาง ปล้นปืน ฯลฯ ที่มวลชนเสื้อแดงโดนอยู่ ไม่ได้เป็นความผิดต่อความมั่นคงทั้งสิ้นครับ เขียนแบบนี้เท่ากับว่าความผิดอาญาอื่นๆ นอกจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และความผิดลหุโทษ จะไม่ได้นิรโทษเลย กรณีที่ร่างของนิติราษฎร์ไม่ระบุ 112 หรือความผิดต่อความมั่นคงไว้ด้วย เพราะเขียนคลุมไว้แล้วในคำว่า "การกระทำทางกายภาพหรือการแสดงความคิดเห็น....อันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง" ให้ดูคำอธิบายประกอบของนิติราษฎร์ตอนแถลงเรื่องนี้วันที่ 13 มกราคม 2556 6.ปัญหาการเจาะจงในมาตรา 3(4) ญาติฯ ได้เติมมาตรา 3(4) ซึ่งพ่อน้องเฌอชี้แจงว่ามาจากการหารือหลายฝ่าย ทั้งในหมู่ญาติกันเอง (รวมทั้งนิชา ธุวธรรม) (๔) การกระทำใด ๆ หรือการตระเตรียมการของผู้ใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม โดยมุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธ ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย การกระทำใด ๆ ของประชาชนทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมอันมุ่งต่อการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือการกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่นการวางเพลิงเผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย บทบัญญัติในวรรคที่หนึ่งและสอง รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าวนั้นด้วย เจตนาของญาติชัดเจนว่าไม่ต้องการให้นิรโทษกรรม "ชายชุดดำ" และไม่ต้องการให้นิรโทษคนเผาเซ็นทรัลเวิลด์ หรือคนที่ลักทรัพย์ระหว่างเหตุชุลมุน ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ที่ดู "คลีน" ในกระแสสังคม แต่การยก case ขึ้นมาบัญญัติเป็นตัวบทกฎหมายที่มีลักษณะทั่วไป ก็อาจทำให้ไม่สามารถนิรโทษมวลชนที่ติดคุกอยู่ โดยเฉพาะเมื่อต้องผ่านการตีความของศาล การไม่นิรโทษคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ ญาติฯ อาจคิดว่าศาลยกฟ้องมวลชนเสื้อแดงแล้ว แต่ข่าวล่าสุด อัยการก็ยังจะอุทธรณ์ แปลว่าพวกเขาต้องต่อสู้คดีต่อไปนะครับ ที่จริงผมเห็นด้วยว่าไม่ควรนิรโทษคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ เพราะควรพิสูจน์ว่าใคร "เผาบ้านเผาเมือง" จากปากคำพยานก็บอกว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธ จงใจมาเผา (เผาได้ระดับนี้ไม่ใช่ชาวบ้านแน่) แต่สิ่งที่ญาติควรเข้าใจคือ การมองเฉพาะกรณีแล้วยกขึ้นมาเป็นบทบัญญัติอันมีลักษณะทั่วไปนั้น มันจะครอบคลุมกรณีอื่นๆ ที่กว้างขึ้น แล้วบางกรณีที่อยากให้นิรโทษก็จะไม่ได้นิรโทษ คำว่า "ก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือการกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่น วางเพลิงเผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน" มันกว้างนะครับ เผาศาลากลาง แม้ไม่ใช่ทรัพย์สินเอกชน แต่ก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนไหม ผู้ที่จะตีความคือศาล แล้วไว้วางใจการตีความของศาลไหม คดีเผาไม่ได้มีแค่เซ็นทรัลเวิลด์ ยังมีเผาตึกช่อง 3 เผาธนาคารกรุงเทพ (ยังจับผู้ต้องหาไม่ได้แต่ก็มีผู้ต้องสงสัยอยู่) ถามว่ามาจากแรงจูงใจทางการเมืองไหม เสื้อแดงเผาช่อง 3 เพราะไม่พอใจคำพูดพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เสื้อแดงระบายความโกรธแค้นใส่ธนาคารกรุงเทพเพราะเชื่อว่าสนับสนุนรัฐประหารและรัฐบาลประชาธิปัตย์ การเผาทรัพย์สินเอกชนจึงมีที่มาจากแรงจูงใจทางการเมืองด้วย จะนับเฉพาะเผาทรัพย์สินราชการเหมือน 14 ตุลา พฤษภา 35 ไม่ได้ เช่นกัน เรายอมรับได้ถ้าจะไม่ยกเว้น "ชายชุดดำ" เผื่ออีก 5-10 ปี มีใครเก็บความลับไม่อยู่ มีพยานหลักฐานรู้เห็นว่าใครโยนระเบิดฆ่า พล.อ.ร่มเกล้า คนนั้นก็ควรถูกดำเนินคดี แต่การยกระดับเป็นถ้อยคำว่า "มุ่งประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธ" ก็อาจโยงไปถึงมวลชนหลายรายที่ต้องความผิดเกี่ยวกับอาวุธ ทั้งที่ไม่ใช่ "ชายชุดดำ" เท่าที่นึกได้ เสื้อแดงที่ถูกชักชวนไปวางระเบิดพรรคเนรวิน แล้วโดนระเบิดเสียเอง ตาบอดทั้งสองข้าง ก็คงไม่ได้นิรโทษ เสื้อเหลืองที่ขับรถชนตำรวจ ก็คงไม่ได้นิรโทษ (การขับรถไล่ชนต้องถือว่ารถเป็นอาวุธนะครับ) พ่อน้องเฌออธิบายความเห็นไว้ในเฟซบุคว่า "ถ้าแย่งปืนจากทหารระหว่างการชุมนุม หรือนอกการชุมนุมแต่มีผลเกี่ยวเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว ร่างนี้ครอบคลุมให้นิรโทษ แต่ถ้าเอาปืนตัวเองหรือปืนใครเข้ามาในที่ชุมนุมญาติเห็นว่าไม่สมควรนิรโทษ เว้นแต่ว่าการกระทำนั้นเข้าข่ายลหุโทษ(โทษเบา) ซึ่งการพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะโดยเฉพาะที่ชุมนุมของคนหมู่มากไม่น่าจะใช่ลหุโทษ ส่วนโดนเจ้าหน้าที่ยัดอาวุธปืนใส่มือ(ผมไม่ทราบว่ามีกรณีนี้หรือไม่) ก็จำเป็นต้องพิสูจน์ทราบต่อไป" วันที่เจอกันผมก็บอกว่า ตอน 6 ตุลา ถ้าผมมีปืน ผมก็ยิงสู้มันแล้วนะ พวกแนวร่วมศิลปิน (เพื่อนชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย ยังจำได้ไหม) ที่เป็นการ์ด 6 ตุลาก็เอาปืนมาจากบ้าน สละชีวิตไปหลายคนเพื่อปกป้องเรา ประเด็นที่ว่าถูกยัดข้อหา ยัดหลักฐานหรือไม่ ให้ไปพิสูจน์ทราบ ต้องไม่มองข้ามความจริงว่า สาเหตุหนึ่งที่เราต้องการให้นิรโทษกรรมก็เพราะการดำเนินคดีมวลชนเสื้อแดงหลัง 19 พ.ค.53 อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่มีอำนาจมากกว่าสถานการณ์ปกติ ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับความยุติธรรมตามกระบวนการ แถมส่วนใหญ่เป็นคนยากจนที่ไม่มีเงินจ้างทนาย หลายรายถูกบีบคั้นให้รับสารภาพ ซึ่งเมื่อคดีล่วงเลยมาจนถึงตอนนี้ การที่จะไปพิสูจน์ทราบตามกระบวนการยุติธรรมเป็นไปได้ยาก ตัวอย่างเช่นคดีผู้หญิงยิง ฮ. ถ้าไม่หลุดไปก่อน ถ้าไปเจอศาลที่ตัดสินด้วยอคติ แล้วติดคุก ก็แปลว่าจะไม่ได้นิรโทษกรรม เพราะเข้าข่าย "มุ่งประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธ" อ้อ คดีนี้ก็ยังอยู่ระหว่างอุทธรณ์นะครับ ญาติฯ ควรตรวจสอบกับ ศปช.อีกครั้งว่าถ้านิรโทษกรรมออกมาอย่างนี้จริงๆ จะมีมวลชนเสื้อแดงกี่คนไม่ได้นิรโทษ โดยไล่ดูตามข้อหาที่โดน เพราะบางคนก็โดนหลายข้อหา บางคนอาจไม่ได้นิรโทษแน่ๆ บางคนอาจต้องส่งศาลตีความ มวลชน 20 กว่าคนที่อยู่ในคุกด้วยกันที่บางเขนตอนนี้ ต่างก็มีความหวังจะได้นิรโทษพร้อมกันนะครับ ถ้ามี 4-5 คนไม่ได้นิรโทษ ขณะที่เพื่อนได้อิสรภาพ ไม่ทราบว่าเขาจะใช้ชีวิตในคุกต่อไปอย่างไร 7.ทำไมต้องมีกรรมการขจัดความขัดแย้ง ปัญหาของการนิรโทษกรรมคือ ยิ่งพยายามแยกแยะ ยิ่งนิรโทษได้ยาก ไม่ว่าเจตนาดีอย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทั้งหลายในอดีต หรือในต่างประเทศ จึงมักนิรโทษรวมๆ ในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึง เพื่อให้มีผลปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมคุมขังทันที โดยประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวบทกฎหมายแต่อยู่ที่ "ฉันทามติ" ของสังคม ความพยายามแยกแยะว่าไม่นิรโทษแกนนำ ไม่นิรโทษชายชุดดำ ไม่นิรโทษคนร้ายเผาเซ็นทรัลเวิลด์ พอเขียนเป็นตัวบทกฎหมาย เอาเข้าจริงทำได้ยาก แม้แต่ใครเป็น "แกนนำ" ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ก็วินิจฉัยยาก เสื้อเหลืองเสื้อแดงเป็นองค์กรมวลชนกึ่งเฮโลสาระพา ไม่ใช่นิติบุคคล การประชุมตัดสินใจไม่ได้มีคณะกรรมการแน่นอน ถ้ากฎหมายออกมา ก็ต้องอาศัยสปิริตส่วนตน แกนนำเสื้อเหลืองเสื้อแดงประกาศด้วยตัวเองว่าไม่ขอรับนิรโทษ เพราะเหตุนี้นิติราษฎร์จึงเสนอให้มีคณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง มาวินิจฉัยแยกแยะเป็นรายๆ โดยนิรโทษความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปก่อน นิรโทษความผิดไม่เกิน 2 ปีไปก่อน ที่เหลือเข้าคณะกรรมการ สาเหตุที่ต้องทำเป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพราะคณะกรรมการชุดนี้เมื่อวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว เรื่องจะยุติเลย จะไม่มีใครสามารถนำไปฟ้องร้องเป็นคดีได้อีก นอกจากนั้นการใช้อำนาจของคณะกรรมการชุดนี้ ไม่ได้ดูแต่มิติทางกฎหมาย เพราะมิติทางกฎหมายอย่างเดียวแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้ แต่จะพิจารณาจากมูลเหตุจูงใจทางการเมืองของผู้กระทำเป็นสำคัญ การตั้งองค์กรลักษณะนี้ต้องทำในระดับรัฐธรรมนูญ ถ้าทำเป็นพระราชบัญญัติอาจมีคนร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญได้ ญาติวีรชนเอาร่างของนิติราษฎร์มาโดยไม่มีคณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง แล้วพยายามจะเติมมาตรา 3(4) ให้มีการแยกแยะโดยตัวบท ก็หนีไม่พ้นปัญหาที่ยิ่งแยกแยะยิ่งยุ่ง จนอาจทำให้มวลชนที่ติดคุกอยู่จำนวนหนึ่งไม่ได้นิรโทษ (แม้ไม่มีหลักประกันว่าร่างของวรชัยจะผ่านฉลุย เห็นผลทันที) พ่อน้องเฌอบอกว่า ยินดีรับฟังความเห็นถ้ามีปัญหาก็แก้ไขได้ ซึ่งผมคิดว่าปัญหาอยู่ที่มาตรา 3(4) ที่อาจจะต้องตัดออกทั้ง 2 วรรค เหลือแค่วรรค 3 ขณะที่มาตรา 3(1) และ (2) ที่จริงไม่จำเป็น นิติราษฎร์เขียนไว้เพราะต้องการแยก 2 ความผิดออกก่อนเข้าคณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง เมื่อไม่มีคณะกรรมการ เมื่อนิรโทษพร้อมๆ กัน 2 อนุมาตรานี้ไม่ต้องมีก็ได้ สาระสำคัญก็จะเหลือแค่ข้อความในมาตรา 3(3) ซึ่งถ้าแก้ไขส่วนที่ผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ กลับไปเอาตามนิติราษฎร์ทั้งหมด ก็จะระบุว่า "บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง ในเขตท้องที่หรือพื้นที่ตาม มาตรา ๓ (๒) อันเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งมิได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓ (๑) หรือมาตรา ๓ (๒) ตลอดจนการกระทำใด ๆ ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง ภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากการกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายภาพหรือการแสดงความคิดเห็นเป็นความผิดตามกฎหมายอันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ" ซึ่งก็ไม่ได้ต่างอะไรกับร่างวรชัย เพียงแต่พวกยึดสนามบินจะไม่ได้นิรโทษ (ฮิฮิ สะใจ) เนื้อหาน่าจะครอบคลุม 112 ด้วยแต่เมื่อให้ศาลตีความ ก็คงไม่มีผลอะไร 8.ปัญหา(ไม่)นิรโทษทหารมาตรา 4 "การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการที่มิได้ฝ่าฝืนคำสั่งการบังคับบัญชา และ/หรือ ไม่ได้กระทำการเกินกว่าเหตุให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจนการสลายการชุมนุมไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใด ๆ รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง หากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ และ/หรือเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย บทบัญญัติในวรรคที่สองให้ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในความผิดนั้น" ร่างนิติราษฎร์ไม่นิรโทษให้ทหาร เพราะตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถ้าทำตามกฎหมายไม่เกินกว่าเหตุก็ไม่มีความผิดอยู่แล้ว "มาตรา ๒๙๑/๘ การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจนการสลายการชุมนุมไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใด ๆ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในความผิดนั้น" นิติราษฎร์อธิบายพร้อมกับข้อเสนอร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้งว่า "ไม่มีการนิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการในระดับใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อป้องกันให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีบทเรียนหลายครั้งแล้วที่เจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ปฏิบัติไปตามอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว บางครั้งเกินกว่าเหตุ บางครั้งปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จะรู้ก็ตาม และอีกเหตุผลหนึ่งคือถ้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ไม่มีความจำเป็นต้องนิรโทษกรรมให้ เพราะ พ.ร.ก.ฉุกเฉินกำหนดไว้แล้วว่าไม่ต้องรับผิดเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับการกระทำผิดกฎหมายหากสุจริต ไม่เกินกว่าเหตุ ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น ซึ่งถ้าทำเช่นนี้ก็ไม่ผิดอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นต้องนิรโทษกรรมให้..." "...ทหารชั้นผู้น้อยเขาปฏิบัติไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แต่นี่เป็นการพยายามสร้างวัฒนธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย... การไม่นิรโทษกรรมให้จะเป็นการสร้างแนวทางหรือบรรทัดฐานที่ดีงามว่าถ้าคำสั่งนั้นไม่ถูกต้อง ผู้ใต้บังคับบัญชาก็สามารถที่จะปฏิเสธ ไม่เช่นนั้นก็จะอ้างว่านายสั่งแล้วหลุดจากความผิด การสลายการชุมนุมที่เล็งปืนไปยังผู้ชุมนุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย" เท่าที่ฟัง ญาติวีรชนคิดว่าการเขียนลงไปจะเป็นที่ชัดเจนกว่าร่างวรชัย ว่าไม่นิรโทษให้ทหารที่ทำเกินกว่าเหตุ แต่การเขียนมาตรา 4 ลงไปอย่างนี้ แทนที่จะได้ผลตามเจตนารมณ์ อาจตรงข้าม เพราะจะเป็นช่องให้เกิดการตีความ "ดิ้น" ได้ นอกจากนี้ยังจะทำให้ไม่สามารถ "ไล่เบี้ย" จากทหารชั้นผู้น้อยซึ่งต้องปกป้องตัวเอง ไปสู่ผู้ออกคำสั่ง ต้องเข้าใจว่ากฎหมายนิรโทษมุ่งหมายยกเว้นการกระทำที่เป็นความผิด ในส่วนเจ้าหน้าที่รัฐ หากไม่ได้ทำความผิด เราก็ไม่ต้องเขียนให้อยู่แล้ว ส่วนที่เป็นความผิด ก็ยังผิดต่อไป ฉะนั้นมาตรา 4 จึงไม่จำเป็น หรือถ้าจะเขียนก็เขียนแบบนิติราษฎร์ อย่าเขียนไว้มากจนเป็นช่อง เช่นที่บอกว่า "หากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ และ/หรือเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย" ญาติฯ ขยายจากนิติราษฎร์ไปเพิ่มคำว่า "ไม่สมควรแก่เหตุ" ซึ่งอันที่จริงก็อยู่ใน "ความผิดตามกฎหมาย" นั่นแหละ เขียนลงไปยิ่งเปิดช่องให้โต้แย้งตีความศรีธนญชัย ถ้าจะเขียนก็เอาตามนิติราษฎร์ไปทั้งหมดเลยครับ 9.ปัญหาท่าที แม้มีปัญหาทางกฎหมายดังกล่าว เกือบทั้งฉบับ ก็ต้องให้กำลังใจญาติวีรชน ในความพยายามที่จะมีส่วนช่วยผลักดันการนิรโทษกรรม การออกมาแสดงเจตนารมณ์ ซึ่งน่าจะมีส่วนช่วยให้สังคมเข้าใจเจตนาที่แท้จริงของการนิรโทษมากขึ้นว่า ต้องการนิรโทษมวลชนทั้งสองฝ่าย ที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมือง ด้วยความเชื่อว่าทำในสิ่งที่ถูกต้อง กระทั่งละเมิดกฎหมาย หรือแสดงอารมณ์โกรธแค้นตอบโต้การปราบปราม ที่ทำให้สูญเสียชีวิตเลือดเนื้อ กระนั้นในด้านบวกก็มีด้านลบ ญาติวีรชนและผู้สนับสนุนทั้งหลาย พึงสังวรว่าการที่จู่ๆ ก็ออกมาเสนอร่างกฎหมายพร้อมกับดิสเครดิตพรรคเพื่อไทย แกนนำ นปช. ว่าร่างเดิมๆ ไม่โปร่งใส พาดพิงตัวบุคคล ทั้งที่แม่น้องเกดก็เคยซื้อปลาสลิดไปฝากป้าธิดาเป็นประจำนั้น เท่ากับสร้างความขัดแย้งเกินเหตุ แล้วก็ตกไปเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่ต้องการทำลายกระบวนการนิรโทษกรรมอยู่แล้ว ถามว่าเราควรฝากความไว้วางใจพรรคเพื่อไทยหรือ ไม่เลย แต่การวิพากษ์กราดไปทั่วเท่ากับดิสเครดิตทั้งขบวน ที่เขาพยายามผลักดันจนได้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผ่านมติพรรค การมองเรื่องใดก็ตามไม่สามารถมองเป็นสีขาวสีดำทั้งหมด แน่นอนว่าในพรรคก็มีฝ่ายที่พยายามสอดแทรก "นิรโทษเหมาเข่ง" แต่ก็มีฝ่ายที่ต่อสู้ต่อรอง กดดัน จนแม้แต่ "นายใหญ่" ก็ไม่กล้าประกาศสนับสนุนร่างปรองดองของเฉลิม (แต่ไปพูดในคลิปลับแทน ฮิฮิ) การต่อสู้นี้บรรลุผลระดับหนึ่ง แต่ก็ยังต้องสู้กันต่อไป โดยผู้ที่ต่อสู้ต่อรองภายในต้องพยายามอดกลั้นเพื่อบรรลุผล มองสถานการณ์ใหญ่มากกว่าจะออกมาด่ากันเอง แน่นอน ฝ่ายที่โต้แย้งญาติวีรชน ก็มีส่วนที่ใช้ท่าทีค่อนข้างแรง (แล้วก็เจ็บตัวเพราะคนส่วนหนึ่งมองว่า "บังอาจ" ตอบโต้พ่อแม่ผู้สูญเสีย) แต่เพราะเขารู้สึกว่าการออกมาเช่นนี้จะทำลายกระบวนการที่จะเข้าสภาอยู่แล้ว และกลายเป็นเครื่องมือฝ่ายต่อต้านการนิรโทษฯ ซึ่งผมเชื่อว่าญาติฯ และผู้สนับสนุนก็รู้ ว่าฝ่ายตรงข้ามกำลังใช้ความเป็น "พ่อแม่ผู้สูญเสีย" มาดิสเครดิตร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ด้านหนึ่งเป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้ ก็ถูก แต่ญาติฯ ก็ต้องพยายามป้องกันและตอบโต้ เช่นพรรคประชาธิปัตย์อ้างว่าสนับสนุน แต่เนื้อหาที่พูดจริงๆ ไม่ได้สนับสนุนการนิรโทษกรรมเลย แค่ให้นิรโทษความผิด พรก.ฉุกเฉินและลหุโทษเท่านั้น ก็ต้องด่ามันกลับด้วยสิว่าไม่รับผิดชอบต่อคนตายแล้วยังเสแสร้ง คือถ้าจะไม่พอใจพวกเดียวกันทอดทิ้งคนตายคนติดคุก แล้วด่ากราด เมื่อพวกที่ต้องรับผิดชอบการฆาตกรรมฉวยโอกาสบ่อนทำลาย จะบอกว่าธุระไม่ใช่ ก็คงไม่ถูกแน่ ผมไม่ได้บอกให้ปิดปาก แต่บอกว่าด่ามันทั้งคู่สิครับ ความเห็นเกี่ยวกับตัวบทที่ผมเสนอนี้หวังว่าจะรับฟัง และสอบทานกับนักกฎหมาย (สอบถามนิติราษฎร์ก็ได้) หากเห็นด้วยว่าร่าง พ.ร.บ.นี้มีปัญหา ญาติวีรชนก็ควรกลับมามีส่วนร่วมผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัย โดยก่อนอื่นต้องทำให้เคลียร์ว่า ร่างฉบับวรชัยนิรโทษให้ทหารหรือไม่ (ถ้านิรโทษทหาร ผมต่อต้านด้วย) ขณะที่ทางพรรค แกนนำ นปช.และผู้ร่วมกันผลักดันร่างนี้มา ก็ควรให้ญาติมีส่วนร่วม (แต่ที่ผ่านมาไม่ได้หมายความว่าละเลย ไม่เคยฟังความเห็นญาติ คือจะให้สอบถามทุกคนคงเป็นไปไม่ได้ แต่ผมก็ไม่เคยได้ยินว่าญาติเสนอความเห็นอะไรอย่างเป็นทางการ) เพราะการที่ญาติผู้สูญเสียเข้ามาร่วมมีด้านบวกอย่างที่กล่าวแล้วว่าสังคมเชื่อถือว่าจะไม่นิรโทษให้ทหาร (และไม่นิรโทษให้ทักษิณ) ส่วนที่เกรงกันว่าจะสอดไส้ในกรรมาธิการ ก็ต้องผนึกกับ นปช. ศปช. กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล เครือข่ายญาติคนติดคุก (รวมทั้งฝ่ายเสื้อเหลืองในเฉพาะประเด็น) เรียกร้องให้มีตัวแทนประชาชนเข้าไปร่วมในคณะกรรมาธิการด้วย ประเด็นสำคัญที่สุดคือ จะตัดสินใจอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องผลักดันให้เกิดการนิรโทษกรรมโดยเร็วที่สุด อย่าให้เกิดปัญหาบานปลายอย่างที่มีแนวโน้มจะเป็น คือท้ายที่สุด การขัดแย้งกันอาจทำให้ไม่มีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับไหนได้ผ่านสภาเลย หรือจากที่มวลชนตั้งความหวังไว้ในเดือนสิงหาคม ก็จะยืดเยื้อไปอีกจนปิดสมัยประชุมสภา ใบตองแห้ง 20 ก.ค.56 ที่มา: .ใบตองแห้งวอยซ์ทีวี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
เปิดตัวอีก! ‘กองทัพ ปชช.โค่นระบอบทักษิณ’ ร้อง 6 ข้อ เตรียมชุมนุม 4 ส.ค.นี้ Posted: 20 Jul 2013 05:29 AM PDT 'กองทัพ ปชช.โค่นระบอบทักษิณ' ร้อง 6 ข้อ รบ. แสดงจุดยืนจงรักภัคดีต่อสถาบันฯ ยิ่งลักษณ์-ยุทธศักดิ์ ออกจาก รมว.กลาโหม แก้ปัญหาข้าวยากหมากแพง ยุติโคงการเงินกู้ ถอน ร่าง พรบ.ปรองดอง เอาผิดกับผู้ทุจริตนำข้าว เตรียมชุมนุม 4 ส.ค.นี้ เสนาธิการร่วมของกองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ ภาพจากเฟซบุ๊ก กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ 20 ก.ค.56 ที่ สนามม้านางเลิ้ง กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ ได้เปิดตัวคณะเสนาธิการร่วม ประกอบด้วย พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ อดีตแกนนำกลุ่มเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ รักษาแผ่นดิน พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ อดีตประธานองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) พล.อ.ชูเกียรติ ตันสุวัจน์ อดีตนายทหารคนสนิทพล.ต.มนูญกฤต รูปขจร พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี อดีตโฆษกอพส. และนายพิเชฐ พัฒนโชติ อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 โดยมีนายไทกร พลสุวรรณ อดีตแกนนำขบวนการอีสานกู้ชาติ ทำหน้าประสานงานองค์กรกลุ่มเครือข่าย และพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวมวลชน โดยได้ออก แถลงการณ์ ฉบับที่ 1 กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ระบุว่า สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันอยู่ในภาวะวิกฤติ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ถูกครอบงำด้วยอำนาจชั่วช้าสามานย์ ของระบอบทักษิณที่มีพฤติกรรมไม่จงรักภักดี เหิมเกริม กระทำการอันไม่เหมาะสม จาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยนักโทษหนีคุกทักษิณ ชินวัตร อีกทั้งบงการให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ทำการแทรกแซง บ่อนทำลายผู้นำเหล่าทัพให้แตกความสามัคคี ย่ำยีกองทัพ ย่ำยีหัวใจของคนไทยทั้งชาติอย่างรุนแรงที่สุด รัฐบาลนี้ปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่นโกงกินบ้านเมือง ทำให้ประเทศสูญเงินไปกับนโยบายประชานิยมในโครงการจำนำข้าวหลายแสนล้านบาท เมื่อข้าราชการผู้ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของชาติได้ตรวจพบการทุจริต รัฐบาลกลับใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน กระทำการข่มเหงอย่างไม่เป็นธรรม รัฐบาลหุ่นเชิดระบอบทักษิณ บริหารประเทศผิดพลาด ล้มเหลว จนเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง สินค้าและบริการสูงขึ้นเท่าตัว โดยเฉพาะราคาน้ำมันและแก๊สหุงต้ม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของระบบเศรษฐกิจ สร้างความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชนอย่างแสนสาหัส รัฐบาลไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาปากท้อง กลับมุ่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายที่จะทำให้นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ฟอกโทษพ้นผิด รัฐบาลนี้ กู้เงินอย่างมหาศาล ก่อหนี้ผูกพันชั่วลูกชั่วหลาน ในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท โดยไม่มีรายละเอียดที่โปร่งใส ไม่ดำเนินการประชาพิจารณ์ และศึกษาผลกระทบตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งศาลปกครองได้วินิจฉัยให้ชะลอโครงการไปแล้ว แต่รัฐบาลยังเดินหน้าก่อหนี้อย่างไม่เกรงกลัว นอกจากนั้นแล้วยังออก พรบ. กู้เงินเพื่อพัฒนาระบบขนส่งทั่วประเทศ 2.2 ล้านล้านบาท ที่ทำการยักย้ายถ่ายเท ไม่เข้าสู่ระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปี อันส่อว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 และยังมีอีกสารพัดปัญหาทำให้แผ่นดินร้อนเป็นไฟ ผู้คนในชาติแตกความสามัคคี อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติ แถลงการระบุด้วยว่า "กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ" มีภาระกิจ 1. เป็นศูนย์กลางการประสานงาน องค์กร กลุ่ม เครือข่าย พรรคการเมืองต่างๆ ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการโค่นระบอบทักษิณให้สิ้นซากไปจากแผ่นดินไทย 2. จัดตั้งและขยายมวลชนผู้รักชาติ รักสถาบันพระมหากษัตริย์ รักประชาธิปไตย หวงแหนแผ่นดิน ให้สามัคคีรวมตัวกันมากขึ้น เป็นมวลมหาประชาชนในทุกจังหวัด 3. จัดตั้งกองกำลังปกป้องประชาชนในทุกจังหวัด พร้อมด้วยข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 6 ข้อ ประกอบด้วย 1. ให้รัฐบาลแสดงจุดยืนในความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการหยุดการกระทำอันไม่ควร การจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร 2. ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม โดยทันที 3. ให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาข้าวยากหมากแพง ด้วยการยุติการขึ้นราคาแก๊สหุงต้ม และลดราคาน้ำมันทุกประเภท ด้วยการดำเนินการให้ ปตท.หยุดค้ากำไรเกินควรเอาเปรียบประชาชน และปฏิรูป ปตท. ให้กลับมาเป็นของประชาชน โดยทันที 4. ให้รัฐบาลยุติโครงการกู้เงินบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และ พรบ.กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเห็นชัดแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 5. ให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร ถอนร่าง พรบ.ปรองดอง และ พรบ.นิรโทษกรรม ทุกฉบับที่เสนอเพื่อล้างผิด ฟอกโทษต่อนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร 6. ให้รัฐบาลดำเนินการเอาผิดกับผู้ทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวในทุกขั้นตอน ยกเลิกการตั้งกรรมการสอบสวน น.ส.สุภา ปิยะจิต รองปลัดกระทรวงการคลัง รวมทั้งคืนตำแหน่งให้นายถวิล เปลี่ยนศรี ตามคำสั่งศาล โดยทันที พร้อมทั้งกำชับด้วยว่าให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องภายใน 7 วัน หากไม่ดำเนินการใดๆ หรือบ่ายเบี่ยง ซื้อเวลา กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ จะดำเนินการนัดชุมนุมโดยสันติแสดงสิทธิตามรัฐธรรมนูญและแสดงพลังในวันที่ 4 ส.ค.นี้ เพื่อให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องทั้ง 6 ข้อ ต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานดัดแปลง และปัญหาเรื่องการใช้โดยชอบธรรมในสื่อออนไลน์ Posted: 20 Jul 2013 05:19 AM PDT ในยุคที่การ์ตูนการเมืองกระแสหลักสูญเสียฐานผู้อ่านเพราะคนเลิกอ่านหนังสือพิมพ์ และปรมาจารย์การ์ตูนการเมืองอย่าง ชัยราชวัตร สูญเสียความเป็นกลางในทางความคิด เพจการ์ตูนล้อทางเลือกอย่าง "มานีมีแชร์" ก็ดังขึ้นมาแทนที่ มีผู้อ่านประจำวัน วันละหลายหมื่นคนในช่วงเวลาสั้นๆจนมีเพจอื่นๆมาออกมาล้อเลียน เกาะกระแสความดังของสาวน้อยมานี กับเจ้าโตสุนัขคู่ใจ ทำให้เกิดเกิดคำถามออกมาว่าการล้อเลียนในลักษณะนี้จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่? (ทั้งในส่วนของแบบเรียนต้นฉบับ และฝ่ายเจ้าของไอเดียผู้สร้างเพจมานี มีแชร์)
ประการแรก ระบบกฎหมายลิขสิทธิของไทยถึงแม้ในเบื้องต้นจะรับมาจากอังกฤษ แต่การพัฒนาในภายหลังล้วนแต่อิงหลักเกณฑ์ของข้อตกลงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ต่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี ได้แก่ อนุสัญญากรุงเบิร์น (ซึ่งไทยเข้าร่วมในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ อันเป็นปีที่ประเทศไทยมีกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแรก คือ พรบ.คุ้มครองวรรณกรรม พ.ศ. ๒๔๗๔) และข้อตกลงทริปส์ ดังนั้นหลักการ "การใช้โดยชอบธรรม" ของไทยจึงมีลักษณะผสม โดยในรูปแบบเอาหลัก "Three-Step Test" ของ อนุสัญญาเบิร์นมาบัญญัติ ซึ่งเน้นการพิจารณาความชอบธรรมโดยขึ้นอยู่กับ ปริมาณการนำเนื้องานของผู้อื่นมาใช้ โดยไม่พิจารณาถึงประเด็นประโยชน์สาธารณะ แต่ในทางปฏิบัติกลับมีการนำปรัชญา fair use ของทางคอมม่อนลอว์มาใช้อย่างเปิดเผยด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญากลาง (ศาลชั้นต้น) ซึ่งศาลได้พิพากษาว่าการร้องเพลงของผู้อื่นในร้านอาหารไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเป็น "fair use": พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หมวดที่1 ส่วนที่6 ได้บัญญัติข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เรียกว่าการใช้อย่างเป็นธรรม (Fair Use) ไว้ในมาตรา32 ถึงมาตรา43 เพื่อให้ใช้ในการคานหรือดุลระหว่างสิทธิผูกขาดของเจ้าของสิทธิกับสิทธิสาธารณะข้างต้น การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญารวมทั้งกฎหมายลิขสิทธิ์ให้มีความสมดุล และให้ สอดคล้องกับมาตรฐานสากลนั้น ต้องมีการชั่งระหว่างประโยชน์ของเจ้าของสิทธิและประโยชน์ของสาธารณะเสมอ และไม่สามารถปรับใช้กฎหมายโดยคำนึงแต่เพียงด้านของประโยชน์เจ้าของสิทธิฝ่ายเดียว (คดีหมายเลขแดงที่ อ 5210/2547) ความไม่ชัดเจนดังกล่าวในกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย ทำให้คาดเดาได้ยากว่าศาลจะใช้ทฤษฎีไหนมาปรับใช้กับเรื่องข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ บางทีอาจเป็นเพราะผู้พิพากษาหลายท่าน แม้จะมีความรู้ทางกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ไม่มีความลึกซึ้งทางวิชาการพอที่จะแยกความแตกต่างของหลักการใช้โดยชอบธรรมทั้งสองระบบ เหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ ถึงแม้ศาลไทยจะยอมรับหลักการ fair use ของคอมม่อนลอว์ แต่ฝ่ายตุลาการไทยในปัจจุบัน ถึงจะใช้ปรัชญากฎหมายคอมม่อนลอว์ กลับมีแนวโน้มที่จะมองเรื่องการวิพากษ์ทางการเมือง (ตามมุมมองอนุรักษ์นิยม) ว่าเป็นเรื่องต้องห้าม แทนที่จะมองว่าเป็นการส่งเสริมเสรีภาพทางความคิด เช่น อาจอ้างว่าการวิพากษ์ทางการเมืองในลักษณะล้อเลียนหน้ากากขาว เป็นเรื่องที่อาจนำความขัดแย้งมาสู่สังคม ฯลฯ การตีความเช่นนี้ ทำให้กฎหมายลิขสิทธิ์ต้องสูญเสียบทบาทที่จะนำไปสู่การคิดดัดแปลงและ สร้างสรรค์งานใหม่ๆ ในฐานะที่เป็น "Engine of free expression" ในสังคมสมัยใหม่
หมายเหตุ: เมธยา ศิริจิตร ผู้เขียนบทความ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิยาลัยนเรศวร ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
เพจ V for Thailand ลงบทความ "ประเทศไทย 2570" ถามจะเอาแบบนี้ไหม? Posted: 20 Jul 2013 02:58 AM PDT เพจ V for Thailand จำลองภาพสังคมไทยปี 2570 อยู่ในภาวะวิกฤตข้าวยากหมากแพง คนไทยหนีภัยสงครามกลางเมืองและหนี้สินที่รัฐบาลก่อไปอยู่ต่างประเทศกันหมด คนที่เหลือต้องทำงานรับจ้างเจ้านายชาวพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฯลฯ และถามด้วยว่า "จะเอาแบบนี้ไหม?" พร้อมนัดหมาย 21 ก.ค. นี้ที่ บ่ายโมง ที่เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) เพจ V for Thailand ซึ่งเป็นศูนย์รวมของผู้ชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์ ได้โพสต์บทความและขึ้นต้นว่า "ประเทศไทย 2570 กรุณาอ่านให้จบ แล้วตอบด้วยว่าจะเอาแบบนี้ไหม" จำลองภาพสังคมไทยปี 2570 ในสภาพวิกฤต โดยมีรายละเอียดดังนี้ "ประเทศไทย 2570 กรุณาอ่านให้จบ แล้วตอบด้วยว่าจะเอาแบบนี้ใหม 03.00 เสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น สมศรี ตื่นขึ้นมาอย่างงัวเงียหลังจากที่เธอเพิ่งได้หลับตามาเพียง 3 ชั่วโมงกว่าๆ เธอปลุก ลูกๆและสามีให้รีบตื่นขึ้นมา และเตรียมตัวออกจากบ้าน 03.20 สมศรี สาละวนกับอาหารของทุกๆ คน ที่ต้องทานเช้า และมื้อเที่ยง เพราะว่าอาหารข้างนอกราคาแพงมาก ก๋วยเตี๋ยวจานหนึ่ง ราคา 200 บาท เกินความสามารถที่พนักงานเงินเดือน 50,000 บาทอย่างเธอจะสามารถซื้อทานได้ 03.50 ทุกคนพร้อมที่จะออกเดินทาง ลูกๆ เดินทางโดยรถโรงเรียน ส่วนสมศรีกับสามีนั้นเดินทางโดยรถประจำทาง ทุกๆวันเธอจะต้องรอส่งลูกๆ ให้ขึ้นรถโรงเรียนให้เรียบร้อยเพราะว่า โจรโขมยเด็กนั้นเยอะมากในภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายเช่นนี้ 04.00 สมศรีและสามีขึ้นรถประจำทางจากแฟลตเล็กๆ ชานเมือง ถึงแม้ว่าระยะทางจะไม่ใกลเพียง 10 กม. จากบ้าน แต่เนื่องด้วยนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วทำให้รถติดมหาศาลใช้เวลากว่า 3 ชม. ในการเดินทาง และที่สำคัญ เงินเดือนเช่นเธอ ไม่สามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้เพราะว่า แพงเกินไป 07.00 สมศรีถึงที่ทำงาน เธอเตรียมทำความสะอาดที่ทำงาน เตรียมห้องประชุมให้กับนายชาวต่างประเทศ 08.00 สมศรีถูกเจ้านายชาวเขมร ใช้ไปซื้อกาแฟยี่ห้อดัง ตัวเธอก็หวังว่าวันหนึ่งเธอจะต้องเก็บตังซื้อกาแฟยี่ห้อนี้ทานให้ได้ 10.00 เธอพักเบรกประจำชั่วโมงแต่ไม่วาย เจอผู้จักการฝ่ายบัญชี ชาวเวียดนาม ใช้ให้ไปถ่ายเอกสาร 12.00 เป็นเวลาที่เธอมีความสุขมากๆ เพราะเธอจะได้พบปะกับบรรดา เพื่อนๆ ชาวไทยด้วยกัน ซึ่งในออฟฟิศเธอก็มีหลายคน ที่ยังก้มหน้าก้มตาทำงานอยู่ (ส่วนใหญ่ในกรุงเทพจะเป็นชาวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ลาว เขมร เวียดนาม พม่า เป็นต้น ส่วนชาวไทยแท้ๆ นั้นหนีภัยสงครามกลางเมือง ไปเป็นผู้ลี้ภัยต่างประเทศ แทบหมดประเทศเพราะรับไม่ได้กับนโยบาย จ่ายภาษี 70% เพื่อเอาไปชำระหนี้ก้อนมหาศาลที่รัฐบาลในอดีตก่อไว้) 18.00 สมศรีเลิกงาน แต่เธอก็ยังต้องรับจ้าง ทำความสะอากบ้านให้กับชาวพม่าที่อยู่ในย่านคนรวย ซึ่งสมศรีเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่เป็นคนไทยและได้รับสิทธิ์เข้าไปในเขตนี้ เพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบครัว 20.00 สมศรีต้องฝ่าการจราจรแสนสาหัส เพื่อที่จะกลับบ้านให้ทันก่อน 23.00 เพราะเธอต้องรับลูกทั้งสองคนจากรถโรงเรียน 23.30 ทุกคนพร้อมหน้ากันอีกครั้งพร้อมรับประทานอาหารเย็น 24.00 ถึงเวลานอน ราตรีสวัสดิ์ ประเทศไทย" นอกจากนี้ เพจ V for Thailand ได้นัดหมายผู้สนับสนุนให้มารวมกันที่เซ็นทรัลเวิลด์ ในวันอาทิตย์ที่ 21 ก.ค. นี้ เวลา 13.00 น. ด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
ปชป.ยันไม่ได้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน Posted: 20 Jul 2013 01:59 AM PDT พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันพรรคไม่ได้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน เชื่อไม่ได้รับการพิจารณาในสมัยประชุมนี้ พร้อมเรียกร้องรัฐบาลแถลงผลงานรัฐบาล 1 ปีแรกและแถลงผลงานรัฐบาลปีที่ 2 ทันทีที่ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 ผ่านสภาฯ 20 ก.ค. 56 - สำนักข่าวไทยรายงานว่านายชวนนท์ อินทรโกมาลสุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่าขณะนี้มีความพยายามบิดเบือนว่าพรรคประชาธิปัตย์ผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะจุดยืนของพรรคตั้งแต่แรก คือ นิรโทษกรรมตามฐานความผิด นอกจากนี้ บุคคลใดที่มีพฤติกรรมมุ่งร้ายทรัพย์สิน คุกคามประชาชน เผาสถานที่ราชการและเอกชน รวมถึงผู้กระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จะต้องไม่ได้รับการนิรโทษกรรม "การเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ สุดท้ายร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะไม่ได้รับการพิจารณา เพราะเชื่อว่าผู้มีอำนาจตัวจริงของพรรคเพื่อไทย ต้องผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาทให้ได้รับการพิจารณาก่อน" นายชวนนนท์ กล่าว ด้าน นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องรัฐบาลให้มีความชัดเจนว่า การเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนี้ จะมีวาระพิจารณาเรื่องใดบ้าง หากยังไม่พิจารณาขอแนะนำว่าให้รัฐบาลแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 1 ปีแรกก่อน เพราะจนถึงขณะนี้จะครบ 2 ปี ของการทำงานรัฐบาลแล้ว ทั้งนี้ หลังสภาฯ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 รัฐบาลควรแถลงผลงานรัฐบาลปีที่ 2 ทันที จากนั้น จึงค่อยพิจารณากฎหมายอื่นๆ ต่อไป โดยเฉพาะร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ควรพิจารณาทีหลัง เพราะถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
ผู้สนับสนุนพรรคสงเคราะห์ชาติออกมาฉลองหลัง "สม รังสี" กลับบ้าน Posted: 19 Jul 2013 10:47 PM PDT หลังสม รังสี ซึ่งลี้ภัยการเมืองนานเกือบ 4 ปีกลับถึงพนมเปญวานนี้ ล่าสุดมีรายงานว่าผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านได้ตระเวนขับมอเตอร์ไซค์ไปทั่วเมืองหลวง และตะโกนเรียกร้องให้มี "การเปลี่ยนแปลง" ในกัมพูชา ภายหลังจากที่ เมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) เพจของสม รังสี ได้เผยแพร่ภาพนายสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ เดินทางกลับประเทศกัมพูชา โดยเขาได้ก้มลงจูบแผ่นดินเมื่อกลับมาถึง และปราศรัยกับผู้สนับสนุนนับหมื่นคนที่ออกมาชุมนุมในพนมเปญ โดยเขาโพสต์ข้อความในเฟซบุคด้วยว่า "ผมอยู่ที่นี่ ความฝันของผมเป็นจริงแล้ว ทั้งชีวิตของผมจะไม่มีวันลืมวันนี้" (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ที่มา: เอื้อเฟื้อโดย อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ล่าสุดเมื่อคืนวานนี้ ผู้สนับสนุนพรรคสงเคราะห์ชาติ ยังคงออกมาขับมอเตอร์ไซค์ไปตามท้องถนนในกรุงพนมเปญ โดยตะโกนคำว่าเปลี่ยนแปลง และเบอร์ 7 ซึ่งเป็นเบอร์ของผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคสงเคราะห์ชาติ ทั้งนี้การเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชามีกำหนดจัดในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ สำหรับ สม รังสี ปัจจุบันอายุ 62 ปี ได้ลี้ภัยออกจากกัมพูชาในปลายปี 2552 หลังถูกศาลตัดสินข้อหายั่วยุ ให้ข้อมูลผิดพลาด และทำลายทรัพย์สินสาธารณะ หลังจากที่เขาได้ไปรื้อหมุดเขตแดนที่ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยศาลพิพากษาจำคุก 12 ปี และถูกห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปกัมพูชา ส่วนพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) นำโดยนายฮุน เซ็น ครองเสียงข้างมากอยู่ในสภาโดยมี ส.ส. 90 คน ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ที่มีนายสม รังสี เป็นผู้นำ ขณะนี้มีเสียงในสภา 26 ที่นั่ง โดยสม รังสี ถึงแม้จะไม่ได้ลงรับสมัครเลือกตั้ง แต่ก็เตรียมช่วยสมาชิกพรรคหาเสียงในช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนจะถึงวันเลือกตั้ง 28 กรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เดิมชื่อพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (KPRP) ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2524 โดยนายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ปกครองกัมพูชามาอย่างยาวนานกว่า 27 ปี และประกาศว่าจะอยู่ในอำนาจอีก 30 ปี ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) เกิดจากการรวมกันของพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา 2 พรรคคือพรรคสม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนตั้งแต่กลางปี 2555 และจะร่วมกันแข่งขันในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคมนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
ระบอบสมบูรณายาสิทธิราช หลักศาสนาอิสลาม กับ การบริหารประเทศบรูไนดารุสซาลาม Posted: 19 Jul 2013 04:35 PM PDT หลายครั้งพอพูดถึงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช หลายท่านมักจะชักสีหน้ากับระบอบนี้ โดยเฉพาะในยุคประชาธิปไตยบานหุบบานโผล่ แต่แท้จริงแล้วระบบแบบนี้ มันไม่น่ากลัวเสมอไป แต่มันอยู่ที่คนใช้มันมากกว่า เหมือนในบทความ ชื่อ "Good Autocracy" เคยได้นั่งอ่านเมื่อนานมาแล้ว มีเนื้อหาใจความว่าระบบการปกครองไม่ว่าแบบใดมันขึ้นอยู่กับตัวของผู้ปกครองว่าเป็นอย่างไร มีทัศนะ มีบุคลิกภาพ มีแนวคิดอย่างไร ทำให้นึกถึงการเกิดขึ้นของระบบการปกครองในสิงค์โปรที่แยกออกมาจามาเลเซีย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่มาเลเซียยอมให้แยกออกได้โดยง่ายเพราะกลัวการย้ายถิ่นของคนจีนที่จะมีสูงขึ้นเรื่อยๆ เข้าไปในมาเลเซียเพื่อรักษาความเป็นมลายูไว้ อย่างไรก็ตามเมื่อแยกตัวได้แล้ว สิงคโปร์ในขณะนั้นมีฐานะประเทศด้อยพัฒนาเป็นอย่างมาก ลี กวน ยู ได้พยายามหาว่าระบอบการปกครองแบบใดที่จะสามารถนำมาพัฒนาประเทศของตนได้ดีที่สุดในสภาพเช่นนี้ จึงออกแบบการปกครองของตัวเองโดยการนำเอาแนวคิดของหลายๆ ประเทศมาออกแบบใหม่ โดยเน้นความเป็น "State Corporation" ซึ่งรัฐทำหน้าที่คล้ายเป็นบริษัทและมีบริษัทในเครือต่างๆ ทำงาน เช่น เทมาเส็ก ที่เรารู้จักกันดีเชื่อมโยงการลงทุนต่างในนามของรัฐบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ กรณีดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่าสภาพแบบนี้ก็เป็นการรวมศูนย์อำนาจ แต่แม้สภาพความเป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงออกต่างๆ จะมีน้อยมาก ค่าครองชีพที่สูง แต่ผู้คนจากหลายแห่ง แม้กระทั่งทั้งจากประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต่างก็ยังยอมอยู่ ไม่ว่าสภาพความเป็นอยู่จะอึดอัดพียงไหนพวกเขาก็ยังคงอยู่ ผู้คนมากมายส่งลูกหลานไปเรียนในประเทศที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบอย่างสิงคโปร์ เพราะเหตุใดผู้คนมากมายอยากไปเที่ยวที่นั้น จนดัชนีชี้วัดด้านการท่องเที่ยวสูงในระดับต้นๆ ของเอเชีย อะไร คือเงื่อนไขที่ทำให้พวกเขาทำเช่นนั้น แต่สิ่งที่รัฐบาลสิงค์โปรไม่เคยมองข้ามเลย คือ "ความพึงพอใจ" ของประชาชน จะทำอย่างไรให้คนมีความพึงพอใจ ผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ต่อความคุ้มทุนต่อหน่วย น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบางรัฐไม่จำเป็นต้องใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ได้แต่ต้องอยู่บนฐานของคนเป็นศูนย์กลาง มันสะท้อนด้วยว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการปกครองทีคนที่มีเสียงส่วนใหญ่เป็นผู้กำหนดนโยบายประเทศและในขณะเดียวกันก็รับฟังเสียงข้างน้อยด้วย (Majority Rule and Minority Right) ซึ่งนั้นคือ หลักปรัชญาสำคัญของ แต่ถ้าหากผู้นำมีลักษณะเป็นเผด็จการ หรือ อำนาจนิยมขึ้นมา โดยรู้ตัวเอง หรือ ไม่รู้ก็ตาม บนฐานคิดประชาธิปไตย แปลงโฉมทันทีเป็นประชาธิปไตยรวบอำนาจ ในเชิงนโยบาย เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง โดยมีคำว่าเสียงข้างมากหนุนหลังทั้งในสภาและนอกสภา ทั้งแบบชอบธรรมและไม่ชอบธรรม เหมือนที่ท่านอาจารย์ เกษียร เตชะพีระ เรียกว่า Authoritarianism / Illiberalism การใช้อำนาจแบบอำนาจนิยม/ไม่เสรี อันนั้นก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการเป็นประเทศที่มีลักษณะเผด็จการและอำนาจนิยมเต็มขั้นในคราบประชาธิปไตยเลยซึ่งอาจจะแย่กว่าด้วยซ้ำ คราวนี้มาลองดูบรูไนฯ ประเทศซึ่งใช้ระบบสมบูรณายาสิทธิราช อย่างแท้จริง ประเทศบรูไนฯ เป็นประเทศที่เล็กมากและปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราช แต่บรูไนฯ ไม่ได้มีสภาวะความกดดันทางทางการเมือง ความอึดอัดของสังคม หรือมีสภาพเศรษฐกิจแร้นแค้นเหมือนที่เราเห็นในบางประเทศ บรูไนฯ เป็น small state แต่มีลักษณะในทางตรงกันข้าม คือ strong state เพราะความโชคดีที่มีทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ คือนำมันและก๊าซธรรมชาติที่ส่งออกได้จำนวนมากและสร้างรายได้มหาศาลให้บรูไนฯ ประกอบกับการตัดสินใจที่จะไม่รวมประเทศกับมาเลเซียในอดีตทำให้ไม่ได้ต้องแชร์เรื่องผลประโยชน์ บวกกับมีจำนวนประชาการไม่ถึงสี่แสนคน ทำให้สถานะประเทศง่ายต่อการบริหาร และได้จึงได้นำรายได้มาพัฒนาดัชนีการพัฒนามนุษย์ จนติดอันดับที่ดีที่สุดในโลกร่วมกับประเทศในตะวันตก คือ อยู่ในอันดับที่ 30 จากทั่วโลก คุณภาพชีวิตของประชาชนที่นี้ค่อนข้างดีแม้ว่าจะไม่ได้มีการปกครองประเทศแบบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามการบริหารประเทศบรูไนฯ มีลักษณะรวมศูนย์อำนาจ การสั่งการ และการตัดสินใจ ไว้ที่ส่วนกลาง ก่อนที่จะกระจายอำนาจ งบประมาณ การบริการ และทรัพยากร ลงสู่องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ในลักษณะรัฐสวัสดิการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทำให้เห็นถึงระบบราชการที่เข้มแข็ง คือ มีการจัดสายบังคับบัญชาแบบบนลงล่างโดยสมบูรณ์แบบแต่อย่างไรก็ตามโจทย์สำคัญของรัฐบาลบรูไนฯ คือ "ประชาชน" บนหลักคิดของศาสนาอิสลามที่ทุกคนเท่าเทียมกัน รักกันฉันท์พี่น้อง แม้กระทั่งสุลต่านเองเมื่อเข้าสู่มัสยิดก็ยังต้องนั่งประกอบพิธีที่พื้นเช่นเดียวกับประชาชน การปกครองของบรูไนฯ จากอดีตมาสู่ปัจจุบันเป็นระบบการปกครองที่เน้นศาสนาอิสลามเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการใช้พระราชอำนาจของพระราชาธิบดี หรือ สุลต่าน ผ่านระบบราชการที่เป็นตัวสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐ และ ประชาชน .ภายใต้ "แนวคิดรัฐอิสลาม" คือรัฐที่ถูกปกครองตามบทบัญญัติของอิสลามโดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความมั่งคงของรัฐและความรุ่งเรื่องของประเทศ (state formation และ nation building) อย่างไรก็ตามความเข้มข้นตามหลักการดังกล่าวของบรูไนฯ จะไม่เข้มเหมือนกับหลายๆ ประเทศในตะวันออกกลาง เช่น ที่บรูไนฯ ชายหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันสามารถเดินไปไหนมาไหนด้วยกันได้อย่างเปิดเผย หรือ การลงโทษที่เบากว่าในหลายประเทศในตะวันออกกลาง เช่น ไม่ได้มีการเอาก้อนหินขว้างจนเสียชีวิตหากกระทำผิดขั้นร้ายแรง แต่ใช้วิธีอื่นที่ไม่ทรมานแต่มีการโบยหากมีการะทำผิด อย่างไรก็ตามบรูไนฯ ไม่ใช่รัฐอิสลามที่มีลักษณะแบบในตะวันออกกลาง แต่ผม เรียกว่า เป็น"รัฐอิสลามแบบเอเชียน" ที่แสดงออกมาในลักษณะพหุอัตลักษณ์ คือ มีความเป็นมุสลิมที่ไม่สุดขั้วยอมรับเรื่องบางเรื่องได้ เช่น การสูบบุหรี่ เป็นข้อที่ชาวมุสลิมที่ดีไม่ควรทำแต่ที่นี้ก็มักพบเห็นได้โดยง่าย ทั้งที่ในบรูไนฯ ไม่มีร้านใดขายเพราะผิดกฎหมาย แม้ว่ารัฐบาลจะออกกฎหมายว่าการนำบุหรี่เข้ามาในประเทศบรูไนฯ ผิดกฎหมาย หากพบก็จะมีโทษเพียงการปรับตัวละ 30 เซนต์ แต่เราก็ยังเห็นกัน แบบนี้เป็นต้น อย่างไรก็ตามถึงแม้จะไม่ได้เป็นรัฐที่เข้มงวดมากนักในฐานะรัฐอิสลาม แต่หลายๆ เรื่องที่เป็นภัยต่อความมั่นคงก็ไม่สามารถละเว้นได้ เช่น เรื่องของการลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาซึ่งมีโทษประหารชีวิต หรือ เรื่องของการว่าร้ายให้กับสถาบันสูงสุดของประเทศก็มีโทษหนักเช่นกัน ดังนั้น การปกครอง การเมือง สังคม และกฎหมาย ของบรูไนฯ มีความแนบแน่นกับหลักของศาสนาอิสลามอย่างมากเช่นกัน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อชีวิตของคนบรูไน ทั้งนี้ ชาวบรูไนจะให้ความสำคัญกับหลักศาสนาที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบประจำตัวที่สำคัญที่สุด ลองลงมา หรือไม่ห่างจากองค์ประกอบแรกมากนัก คือครอบครัว และงานตามลำดับ การใช้ชีวิตของชาวบรูไนมีความสอดคล้องกับหลักศาสนามาก ดังนั้นเรื่องของศาสนา จึงมีความสำคัญกับรูปแบบการบริหารงานของรัฐด้วย โดยรัฐมีแนวคิดหลักสำคัญ คือ การสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็งตามหลักศาสนาอิสลามในกรอบของกฎหมายและหลักปรัชญาของสุลต่านที่ทรงรื้อฟื้นปรัชญาเก่าของบรูไนฯ มาใช้อย่างเข้มแข็งอีกครั้ง คือ "วิถีชีวิตแบบมาเลย์ ศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในระบบกษัตริย์" หรือ "MIB : Malay Islam Beraja (Malay Islamic Monarchy)" ซึ่งหมายถึงบรูไนฯ เป็นประเทศที่มีวิถีชีวิต และวัฒนธรรมมาเลย์ ได้แก่ใช้ภาษา วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีแบบมาเลย์ Islam หมายถึงเป็นรัฐอิสลาม ซึ่งกฎหมายและค่านิยมต่างๆ มาจากศาสนาอิสลาม และ Beraja หมายถึงเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบหรือสถาบันกษัตริย์ โดยสุลต่านซึ่งมีฐานะเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี ประชาชนจะต้องมีความจงรักภักดีในสถาบันดังกล่าว ปรัชญาของชาติดังกล่าว ถือ เป็นหลักการสำคัญในการบริหารประเทศในปัจจุบัน เช่น ข้าราชการที่ทำงานอยู่แล้วหรือที่ต้องการเป็นข้าราชการจะต้องแสดงตนบนพื้นฐานของหลัก MIB ให้ประจักษ์แจ้งแก่สังคม หากขาดองค์ประกอบอันใดอันหนึ่งแม้จะเป็นคนบรูไนก็ไม่สามารถรับราชการได้ เช่นเดียวกันที่เรื่องนี้ต้องได้รับการปลูกฝั่งจากครอบครัวและสถาบันการศึกษา ในโรงเรียนทุกระดับหรือแม้กระทั่งในระดับอุดมศึกษา (ป. ตรี) ทุกคนจะต้องได้เรียนวิชา MIB เป็นวิชาแกนทุกปี เพื่อปลูกฝั่งค่านิยมดังกล่าวนี้ MIB ยังถูกแสดงออกบนตราสัญลักษณ์บนธงชาติของบรูไนฯ อีกด้วย ซึ่งเป็นการผสานกันของสัญลักษณ์ต่างๆ บนธงชาติ ประกอบด้วย ตราแผ่นดินที่มีสีแดง ประกอบด้วยราชธวัช (The flag) พระกรด (The Royal umbrella) ทั้งสองนี้เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสสลาม ปีกนกที่มี 4 ขน (The wing of four feathers) หมายถึงการพิทักษ์ปกป้องความยุติธรรม ความสงบ ความเจริญ และสันติสุขของชาติ วงเดือนหงาย (The Crescent) เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม และมีอักษรอารบิกจารึกด้วยสีเหลือง ซึ่งเป็นคำขวัญของชาติว่า "Always in service with God's guidance" (น้อมรับใช้ตามแนวทางอัลเลาะห์เสมอ) มือ 2 ข้าง (The hand) หมายถึงหน้าที่ของรัฐบาลที่จะทำให้เกิดความมั่งคั่ง สันติสุข และความเจริญรุ่งเรือง และแถบแพรอยู่ล่างสุด จารึกอักษรอารบิค สีเหลืองเป็นชื่อประเทศว่า "Brunei Darussalam" หมายถึง บรูไน: ดินแดนแห่งสันติ รวมทั้งการเป็นรัฐสวัสดิการ คือประชาชนไม่ต้องเสียภาษีใดๆ และได้รับบริการสาธารณะอย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ก็มาจากหลักปรัชญาผู้ปกครองที่ดีที่มาจากหลักศาสนาอิสลาม ส่วนธงชาติ ประกอบด้วยพื้นสีเหลือ หมายถึงสุลต่าน มีแถบสีขาวดำพาดทแยงจากขอบบนด้านซ้าย ผ่านกลางผืนธงมายังขอบล่างด้านขวา หมายถึงรัฐมนตรีที่ถวายงานรับใช้องค์สุลต่าน และมีตราแผ่นดินอยู่กลางผืนธง
ที่มา: PATANI FORUM ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||
พวงทอง ภวัครพันธุ์: ข้อจำกัดของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน Posted: 19 Jul 2013 03:43 PM PDT ในขณะนี้ ฝ่ายประชาชนที่พยายามผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองกำลังเจอปัญหาว่าจะสนับสนุนร่างกฏหมายฉบับไหนดี ระหว่างร่างฯ ของ สส.วรชัย เหมะ และร่างฯ ฉบับประชาชน ที่เสนอโดยญาติผู้เสียชีวิตเมษา-พฤษภา 2553 ดิฉันเชื่อว่าจุดมุ่งหมายหลักของทั้งสองฉบับนี้ คือช่วยเหลือนักโทษเสื้อแดงที่ยังติดคุกมานานกว่า 3 ปี ให้ได้อิสรภาพโดยเร็ว โดยฉบับประชาชนระมัดระวังไม่ต้องการให้นายทหารระดับบังคับบัญชาและระดับล่างที่ใช้กำลังตามอำเภอใจลอยนวลไปง่าย ๆ อย่างไรก็ดี บทความนี้จะจำกัดการพิจารณาว่าร่างนิรโทษกรรมฉบับประชาชนนี้ จะสามารถบรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือนักโทษการเมืองได้มากน้อยแค่ไหน ใครจะได้รับนิรโทษกรรมบ้าง ประเด็นสำคัญของร่างฯฉบับประชาชนมี 2 ประเด็น คือ หนึ่ง ตัวหลักการของร่างที่ระบุว่า "ให้มีกฎหมายว่าด้วยนิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดต่อความสงบเรียบร้อยหรือต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง" นับแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สอง มาตรา 3 (4) ระบุว่า "การกระทำใด ๆ หรือการตระเตรียมการของผู้ใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม โดยมุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธ ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย" และ "การกระทำใด ๆ หรือการตระเตรียมการของผู้ใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม อันมุ่งต่อการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่น การวางเพลิงเผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย" (ส่วนที่เน้นเป็นของผู้เขียน) คำถามคือ ข้อหาบุกรุกและเผาสถานที่ราชการ ฯลฯ เข้าข่ายความผิดต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือไม่ หรือจะถูกศาลตีความว่าเป็นคดีอาญาเท่านั้น หากในขั้นแปรญัตติสามารถโต้แย้งและระบุให้ชัดเจนว่าเข้าข่าย ก็จะเป็นการดี แต่หากปล่อยให้ศาลเป็นผู้ตีความว่าข้อหาใดบ้างที่เข้าข่าย ก็เชื่อว่าผลร้ายจะเกิดแก่นักโทษการเมืองเสื้อแดงอย่างแน่นอน นักโทษการเมืองมาตรา 112 เป็นกลุ่มที่เข้าข่ายความผิดต่อความมั่นคงแน่นอน แต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาจะถูกกีดกันจากพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลก็จะพากันหัวหดต่อกรณีนี้อย่างไม่ต้องสงสัย ปัญหาไม่ได้มีเพียงแค่นี้ คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าผู้ต้องขังเสื้อแดงที่อุบลฯ และอุดรฯ มีความผิดข้อหาเผาสถานที่ราชการเท่านั้น ผู้ที่มีส่วนร่าง พรบ.ฉบับประชาชนก็ดูจะเข้าใจเช่นเดียวกัน จึงระบุให้เอาผิดเฉพาะกับผู้ที่เผาทำลายทรัพย์สินของเอกชนเท่านั้น ซึ่งเท่ากับยกเว้นการเผาทำลายสถานที่ราชการ (กระนั้นก็ตาม เรื่องการเผาสถานที่เอกชน ก็เป็นปัญหาเช่นกัน จะกล่าวถึงในภายหลัง) แต่จริงๆ แล้วพวกเขาถูกพิพากษาให้มีความผิดหลายข้อหามาก ดังข้อมูลต่อไปนี้ 1. กรณีอุดรธานี – นายอาทิตย์ ทองสาย จำคุก 20 ปี, นายกิตติพงษ์ ชัยกัง จำคุก 10 ปี 3 เดือน, นายเดชา คมขำ จำคุก 20 ปี 6 เดือน, นายบัวเรียน แพงสา จำคุก 20 ปี 6 เดือน และแต่ละคนต้องชดใช้ค่าเสียหายอีกคนละตั้งแต่ 31-47.3 ล้านบาท นอกจากข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและวางเพลิงที่ว่าการอำเภอแล้ว ทั้ง 4 คนนี้ ยังมีความผิดฐานก่อความวุ่นวาย + บุกรุกโดยมีอาวุธ + และทำให้เสียทรัพย์ (รถดับเพลิง) 2. กรณีอุบลราชธานี - น.ส.ปัทมา มูลมิล,นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ, นายสนอง เกตุสุวรรณ์, นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ ทั้ง 4 คนนี้ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ลดให้คนละ 1 ใน 3 เหลือ 34 ปี นอกจากความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และวางเพลิงเผาศาลากลางอุบลราชธานี ศาลตัดสินให้พวกเขามีความผิดฐานก่อความวุ่นวาย + กีดขวางทางจราจร + และทำให้เสียทรัพย์ของเอกชน (ร้านค้าเอกชนในพื้นที่ศาลากลางถูกเพลิงไหม้ไปด้วย) ต่อให้ตัดข้อหาเผาศาลากลางและ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไป นักโทษจากอุดรฯและอุบลฯ ก็อาจต้องโทษจำคุกอีกคนละหลายปี 3. กรณีนายประสงค์ มณีอินทร์ และนายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ จำคุกคนละ 11 ปี 8 เดือน ปรับ 6,100 บาท ในฐานความผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน + มีวัตถุระเบิดและเครื่องวิทยุชนิดมือถือโดยไม่ได้รับอนุญาต + พกพาวัตถุระเบิดและอาวุธต่าง ๆ + ปล้นทรัพย์ 4. นายคำหล้า ชมชื่น จำคุก 10 ปี มีความผิดฐานปล้นปืน (เอ็ม 16) จากเจ้าหน้าที่ทหาร 2 กระบอก บริเวณซอยหมอเหล็ง (แท้จริงคือการรุมล้อมรถทหารที่เข้ามาบริเวณสี่แยกดินแดง มีการแย่งปืนและดึงทหารลงจากรถ) 5. นายบัณฑิต สิทธิทุม จำคุก 38 ปี มีความผิดฐานก่อการร้าย + พกพาอาวุธปืนกล + มีวัตถุระเบิด + ใช้และครอบครองเครื่องยิงจรวดจำคุก (ใช้อาร์พีจียิ่งใส่ ก.กลาโหม) + ใช้เอกสารราชการปลอม (แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม) + พกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันควร 6. คดีผู้หญิงยิง ฮ. – คดีนี้มีจำเลย 3 คน คือ 1.นางนฤมล หรือจ๋า วรุณรุ่งโรจน์ 2. นายสุรชัย นิลโสภา 3. นายชาตรี ศรีจินดา ถูกฟ้องข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด สิ่งเทียมอาวุธ และปลอมแปลงเอกสารราชการ ศาลชั้นต้นยกฟ้องทั้งสามคน แต่อัยการอุทธรณ์จำเลยที่ 1 (นางนฤมล) ส่วนจำเลยที่ 2 เสียชีวิต และไม่อุทธรณ์จำเลยที่ 3 หากร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับประชาชนผ่านสภา นางนฤมลก็ยังต้องถูกดำเนินคดีต่อไป 7. คดีเผาเซ็นทรัลเวิร์ล – แม้ว่าศาลชั้นต้นจะยกฟ้องนายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ ไปแล้วก็ตาม แต่อัยการตัดสินใจอุทธรณ์คดีนี้ต่อไป จากข้อมูลบางส่วนข้างต้นนี้ ชี้ให้เห็นว่านักโทษการเมืองเสื้อแดงจำนวนมากอาจไม่ได้ประโยชน์จากร่างนิรโทษกรรมฉบับประชาชน ต่อให้ร่างฯ นี้ผ่านสภา ก็ต้องมาไล่ดูทีละคดีว่าใครบ้างที่จะเข้าข่ายได้รับนิรโทษกรรม ซึ่งแน่นอนว่าภาระหน้าที่นี้จะตกอยู่ที่ศาล อันที่จริง เจตนารมณ์ที่ต้องการแยกผู้ที่กระทำผิดจริงออกจากการนิรโทษกรรมนั้น เป็นหลักการที่ดี เราอาจไม่ต้องมีการนิรโทษกรรมใครๆ เลย หากระบบตุลาการในประเทศนี้ทำให้เราเชื่อมั่นในความยุติธรรมได้จริง แต่ที่ผ่านมาเราล้วนประจักษ์กับความพิกลพิการของกลไกความยุติธรรมกันเป็นอย่างดี จนไม่สามารถรับเอาคำตัดสินข้างต้นมาเป็นเกณฑ์ว่าใครบ้างจะได้รับนิรโทษกรรม หมายเหตุผู้เขียน: ดูบทความที่ชี้ให้เห็นปัญหาของระบบตุลาการที่เกี่ยวข้องกับคดีคนเสื้อแดงได้ใน พวงทอง ภวัครพันธุ์: ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ต้องโทษฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน
หมายเหตุประชาไท: พวงทอง ภวัครพันธุ์ได้เขียนบันทึกเพิ่มเติมลงใน เฟซบุ๊ก "ประชาไท"เห็นว่ามีเนื้อหาประเด็นที่ต่อเนื่องและชวนให้เกิดการถกเถียงต่อเนื่องกับบทความชิ้นนี้จึงได้ขออนุญาตผู้เขียนเพื่อนำมาเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (12.40 น. 20 กรกฎาคม 2556) *********************************************************************************************** ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งของร่างนิรโทษฉบับประชาชนคือ ไม่ต้องการนิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งในระดับสั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ ที่กระทำการเกินกว่าเหตุ และ/หรือผิดกฎหมาย ดิฉันมีความเห็นมาตลอดว่าผู้นำทหารที่ร่วมวางแผนและสั่งการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงจะต้องได้รับโทษทัณฑ์ด้วยเช่นกัน เพราะเห็นได้ชัดว่าเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ผู้ร่วมวางแผนสามารถเล็งผลว่าจะเกิดความสูญเสียชีวิตแก่ผู้ชุมนุมอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม การที่ร่างฉบับนี้ใส่ข้อความว่า "หากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ และ/หรือเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย" เป็นการเปิดช่องให้ตีความว่าการกระทำของผู้นำทหาร ภายใต้คำสั่งของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ และผู้อำนวยการ ศอฉ.นายสุเทพ ถือเป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่เหตุ หรือเป็นความผิดตามกฎหมายอย่างไร
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น