ประชาไท | Prachatai3.info |
- ‘ผบ.พัน’ เบิกคดีฮิโรยูกิ ระบุถูกกองกำลังไม่ทราบฝ่ายโจมตี พบชุดดำในรถตู้ขาว
- อียูเรียกร้องปล่อยตัวมอร์ซี อดีตผู้นำอียิปต์ที่ถูกรัฐประหาร
- 9 ข้อกับภาพอันเปลือยเปล่าของบารัค โอบามา
- พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกับคนเสื้อแดง
- iLaw: แง้มร่างเนื้อหาต้องห้าม #2: กสทช.ไม่มีอำนาจแทรกแซงสื่อ!
- โสภณ พรโชคชัย: ผังเมือง กทม. ต้องแก้ตั้งแต่วันนี้
- เตรียมดันร่างใหม่ พ.ร.บ.คอมฯ เข้า ครม.-เพิ่มอำนาจผู้ให้บริการ ระงับบริการเองไม่ต้องรอขั้นตอน กม.
- 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ค้านประกาศคุมเนื้อหาทีวีวิทยุของ กสทช.-เรียกร้องยกร่างใหม่
- มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จี้รัฐแก้ปัญหาสารเคมีตกค้างในข้าวถุง
- นักวิจัยสหรัฐฯ แบ่งชาวอเทวนิยมออกเป็น 6 ประเภท
- ประทับจิต นีละไพจิตร: เล่าเรื่องคนหายรอบโลก และย้อนมองกรณี “สมบัด สมพอน”
‘ผบ.พัน’ เบิกคดีฮิโรยูกิ ระบุถูกกองกำลังไม่ทราบฝ่ายโจมตี พบชุดดำในรถตู้ขาว Posted: 18 Jul 2013 01:54 PM PDT ไต่สวนการตาย ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย เหยือกระสุน 10 เม.ย.53 นายทหาร 'ผบ.พัน' ระบุถูกกองกำลังไม่ทราบฝ่ายโจมตี ทั้งระเบิดและยิงทหารบาดเจ็บ พบชุดดำ ปิดบังใบหน้ามากับรถตู้สีขาว เจรจากับ 'ณัฐวุฒิ' ก่อนผู้ชุมนุมเปิดทางรถพยาบาลเข้ารับคนเจ็บ ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย เมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพ คดีที่พนักงานอัยการ สำนักอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น ผู้ตายที่ 1 นายวสันต์ ภู่ทอง ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ผู้ตายที่ 2 และนายทศชัย เมฆงามฟ้า ผู้ชุมนุมนปช. ผู้ตายที่ 3 ทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 โดยพนักงานอัยการนำนายทหารระดับผบ.พัน ผู้คุมกำลัง ขึ้นเบิกความโดยสรุปว่า ได้รับคำสั่งจากพ.อ.ประวิทย์ ฉายะบุตร ผบ.กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 ให้คุมทหาร 1 กองร้อย 150 นาย ไปรักษาความปลอดภัยที่สนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากได้รับแจ้งว่ากลุ่มนปช.จะมาปิดล้อม จึงนำกำลังพลพร้อมอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน ประกอบด้วย โล่ กระบอง เสื้อเกราะ หมวกนิรภัย อาวุธปืนเล็กยาว 10 กระบอก และกระสุน 200 นัด สำหรับอาวุธปืนจะมีเฉพาะหัวหน้าชุด เมื่อไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิก็ได้รับแจกอาวุธเพิ่มเติมเป็นปืนลูกซองยาว 10 กระบอก บรรจุกระสุนยาง กระบอกละ 20 นัด แต่อาวุธทั้งหมดถูกนำไปเก็บในห้องเก็บพัสดุ และไม่ได้นำออกมาใช้ เนื่องจากไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น พยานเบิกความว่า ต่อมาวันที่ 10 เม.ย.2553 ได้รับคำสั่งให้เตรียมเคลื่อนย้ายกำลัง ไปขอคืนเส้นทางจราจร บริเวณถนนราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และสี่แยกคอกวัว โดยเบิกอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน เสริมด้วยปืนลูกซองบรรจุกระสุนยาง 10 กระบอก ซึ่งมอบให้หัวหน้าชุด แต่ปืนเล็กยาวไม่ได้เบิกมาปฏิบัติภารกิจ และได้รับคำสั่งให้ตั้งแนว อยู่ที่แยกสะพานวันชาติ ต่อมาเวลาประมาณ 17.00 น. เห็นผู้ชุมนุมอยู่บริเวณถนนพระสุเมรุ ห่างจากแยกสะพานวันชาติ 100 เมตร มีคนสวมเสื้อสีแดงคลุมด้วยแจ๊กเกตสีดำคล้ายการ์ด นปช. ปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย ขณะนั้นได้รับแจ้งว่าพบรถตู้สีขาว 2 คัน มีชายชุดดำลงจากรถตู้เข้าไปในโรงแรมรัตนโกสินทร์ ผบ.พันเบิกความต่อว่า ระหว่างที่ตั้งแนวอยู่นั้น พยานเดินตรวจพื้นที่โดยรอบ พบตำรวจปราบจลาจล 1 กองร้อย จาก จ.มหาสารคาม อยู่หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร พยานจึงประสาน ให้มาร่วมวางกำลังหน้าแนวทหารบริเวณวัดบวรฯ ขณะนั้นเริ่มมีผู้ชุมนุมขับขี่รถจักรยาน ยนต์มาปั่นป่วน ต่อมาเวลา 17.30 น. ได้รับแจ้งจากผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ตรงแนวป้องกันด้านหน้าว่า มีแกนนำ นปช. 2-3 คน จะขอเจรจากับพยาน เพราะเกรงว่าทหารจะเคลื่อนกำลังเข้าไปหาผู้ชุมนุม จึงเจรจาได้ข้อตกลงกันว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะไม่เคลื่อนเข้ามาหาทหาร ส่วนทหารก็จะไม่เคลื่อนเข้าไปหาผู้ชุมนุม ก่อนแลกเบอร์โทรศัพท์และแยกย้ายกัน พยานเบิกความว่า ช่วงที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เห็นเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกโปรยใบปลิวลงมาบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภายหลังทราบว่าเฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าวถูกยิงด้วยอาวุธสงคราม ทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บหลายนาย คาดว่าเป็นบุคคลอื่นที่ปะปนอยู่ ในกลุ่มผู้ชุมนุม เพราะทหารคงไม่ยิงอาวุธสงครามใส่เฮลิคอปเตอร์ของตนเอง ต่อมาเวลา 18.00 น. เห็นแสงเลเซอร์พาดไปมาอยู่ตามตึกบริเวณที่ทหารวางกำลังพลอยู่ แต่ไม่ทราบว่าเป็นฝ่ายใด กระทั่งเวลา 18.15 น. ได้รับคำสั่งให้ทุกหน่วยหยุดปฏิบัติภารกิจ ขอคืนพื้นที่ เนื่องจากใกล้มืดเกรงว่าจะมีผู้ไม่หวังดีมาก่อความไม่สงบ จึงให้ถอนกำลังกลับไปที่กองบัญชาการกองทัพบก ขณะเตรียมรูปขบวนได้รับแจ้งจากหน่วยด้านหลังว่าไม่สามารถเคลื่อนออกไปได้ เนื่องจากมีกลุ่มผู้ชุมนุมหลายร้อยคนปิดล้อมอยู่บริเวณแยกวิสุทธิกษัตริย์ ผบ.พันเบิกความอีกว่า ต่อมาเวลา 19.30 น. ได้รับแจ้งว่ากำลังพลที่อยู่บริเวณสี่แยกคอกวัว ถูกโจมตีด้วยอาวุธสงคราม มี ผบ.กองพัน ได้รับบาดเจ็บ เวลา 20.00 น.เศษ เห็นหน่วยทหารที่อยู่ด้านหน้ามีการเคลื่อนไหวตัวถอยหลังและเดินหน้า เนื่องจากมีการใช้แก๊สน้ำตา จากนั้นเวลา 20.40 น. ได้ยินเสียงคล้ายระเบิดบริเวณโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ครั้ง ปะปนด้วยเสียงปืนเล็กยาวประปราย 5 ครั้ง แต่กลุ่มทหารไม่ได้เป็นผู้ยิง สักพักเห็นกำลังพลหน่วยข้างหน้า บาดเจ็บหลายสิบนาย รวมถึง พ.ท.เกรียงศักดิ์ นันทโพธิ์เดช ผบ.ร.12 พัน.2 รอ. บาดเจ็บสาหัส จากการถูกวัตถุระเบิดที่ศีรษะ และขา ส่วนพ.อ.ประวิทย์ และพล.ต.วลิต โรจนภักดี ผบ.พล.ร.2 รอ. ถูกสะเก็ดระเบิดที่ขา จึงนำ ผู้บาดเจ็บขึ้นรถและออกไปทางวัดบวรนิเวศฯ แต่ถูกผู้ชุมนุมปิดล้อม จนถึงเวลา 22.00 น. ก็ยังไม่สามารถออกไปได้ พยานเบิกความว่า ระหว่างนั้น พ.อ. ธรรมนูญ วิถี ที่บาดเจ็บเข้ามาพูดคุยกับพยานว่าจะเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บอย่างไร พยานจึงติดต่อแกนนำนปช. ทราบชื่อว่านายอุเทน อดีตส.ส.ของพรรคการเมืองหนึ่ง โดยแจ้งว่ามีประชาชนและทหารบาดเจ็บเป็นจำนวนมากไม่สามารถออกจากพื้นที่ได้ นายอุเทนแจ้งว่ารอสักครู่ ก่อนส่งโทรศัพท์ให้แกนนำอีกคน เมื่อได้ยินเสียงพยานก็ทราบทันทีว่าเป็นนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ถามพยานว่าเป็นใคร รับผิดชอบอยู่ตรงไหน จึงบอกว่าอยู่ตรงสะพานวันชาติ มีทหารบาดเจ็บจากกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ขอให้ช่วยเปิดเส้นทางเพื่อลำเลียงผู้บาดเจ็บออกไป สักครู่ได้ยินเสียงผู้ชุมนุมโห่ร้องแสดงความดีใจ จากนั้นนายอุเทนบอกพยานว่าจะดำเนินการให้ ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมก็เปิดเส้นทางให้รถพยาบาลเข้ามารับผู้บาดเจ็บ และเปิดให้ทหารเคลื่อนขบวนกลับทางแยกวิสุทธิกษัตริย์ ผบ.กองพันเบิกความอีกว่า กระทั่งเวลา 22.45 น. เห็นรถตู้สีขาวมาจากแยกวิสุทธิกษัตริย์ตรงมาทางสะพานวันชาติ และจอดอยู่ด้านซ้ายมือห่างจากพยาน 1 เมตร คนขับรถตู้ลดกระจกลงและดึงผ้าสีดำที่ปิดบังใบหน้าลงมาถึงคาง พร้อมกับชะโงกหน้าออกมาด่าทอพยาน ภายในรถยังพบคนนั่งอยู่ 3-4 คน สวมเสื้อสีดำ มีผ้าปิดบังใบหน้า ไม่ได้สวมหมวก แต่พยานไม่ได้สังเกตว่าในรถมีอาวุธหรือไม่ จากนั้นรถตู้ก็ขับออกไป แต่ไม่ทราบว่าไปทางใด ส่วนพยานก็นำกำลังพลกลับ และภายหลังพยานทราบว่าหน่วยข้างหน้าที่อยู่บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมตลอดเวลา แต่พยาน ไม่เห็นเหตุการณ์ และไม่ทราบว่าผู้ตายทั้ง 3 เสียชีวิตด้วยเหตุใด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการไต่สวนเสร็จสิ้น ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 24 ก.ค. เวลา 09.00 น.
ที่มา : ข่าวสดรายวัน ฉบับประจำวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8267 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อียูเรียกร้องปล่อยตัวมอร์ซี อดีตผู้นำอียิปต์ที่ถูกรัฐประหาร Posted: 18 Jul 2013 11:15 AM PDT ผู้แทนของสหภาพยุโรปพู 18 ก.ค.56-แคทเทอรีน แอชตัน หัวหน้าฝ่ายกิจการต่ แคทเทอรีน ได้เข้าพบปะหารือกับอัมร์ ดารัง และแกนนำกลุ่มภราดรภาพมุสลิ อย่างไรก็ตามดารังจากกลุ่ ในวันเดียวกันมีผู้ชุมนุ รัฐบาลรักษาการอียิปต์ตั้ง ครม.ใหม่ ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มผู้สนับสนุนมอร์ โดยอียิปต์ได้จัดตั้งคณะรั นอกจากนี้ รักษาการประธานาธิบดีอาดลี มานซูร์ยังได้แต่งตั้งผู้หญิงเข้าร่ อย่างไรก็ตามคณะรัฐบาลรั ขณะที่แคทเทอรีนเสนอว่า สหภาพยุ องค์กรนิรโทษกรรมสากลเผย ผู้สนับสนุนมอร์ซีถูกปฏิเสธสิ เมื่อวันที่ 17 ก.ค.56 องค์กรนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) เปิดเผยว่า ผู้สนับสนุนมอร์ซีหลายร้อยคนที่ องค์กรนิรโทษกรรมสากลได้เรี "ในช่วงเวลาที่มีการแบ่งแยกฝ่ "ทุกคนมีสิทธิได้รับการดำเนิ ตามกฎหมายนานาชาติ ผู้ต้องสงสัยทุกคนต้องถูกปล่ กลุ่มทนายความเปิดเผยต่อองค์ เรียบเรียงจาก EU calls for Morsi release amid protests, Aljazeera, 18-07-2013 Egypt cabinet sworn in after violence, Aljazeera, 17-07-2013 Egypt: Morsi supporters denied rights amid reports of arrests and beatings, Amnesty, 17-07-2013
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
9 ข้อกับภาพอันเปลือยเปล่าของบารัค โอบามา Posted: 18 Jul 2013 10:14 AM PDT บารัค โอบามาเมื่อปี 2008 นั้นเจิดจรัสเป็นดาวรุ่ง ส่องแสงแห่งความหวังของมวลมนุษยชาติทั้งคนอเมริกันที่ลงคะแนนเสียงเลือกเขาหรือคนชาติอื่นโดยเฉพาะโลกที่ 3 ว่าบุรุษผู้นี้ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งมีสมญานามว่า "ผู้มีอำนาจมากที่สุดในโลก" จะนำดาวเคราะห์เบี้ยวๆ ใบนี้เข้าสู่สันติภาพและความเท่าเทียมกัน เมื่อเขาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้พยายามทำตามคำขวัญ "ความหวัง" (Hope) ที่ได้ขายไว้กับชาวโลกโดยเฉพาะการดำเนินนโยบายการต่างประเทศที่ตรงกันข้ามกับบุชเช่นการยุติโครงการป้องกันขีปนาวุธที่บุชวางแผนจะติดตั้งไว้ในสาธารณรัฐเช็ค และโปแลนด์ รวมไปถึงแผนการถอนทหารออกจากอิรักซึ่งลุล่วงไปเมื่อปีที่แล้วและจากอัฟกานิสถานในปี 2014 หรือแม้แต่การกดดันอิสราเอลเพื่อให้เกิดสันติภาพในตะวันออกกลาง รวมไปถึงการทำสนธิสัญญา START เพื่อจำกัดจำนวนหัวรบนิวเคลียร์กับรัสเซียในปี 2010 แต่แล้วในปี 2013 บารัค โอบามาคนเดิมในสมัยที่ 2 นั้นก็ได้แสดงภาพที่แท้จริงว่าเขาไม่แตกต่างจากประธานาธิบดีคนก่อนหน้านี้ไม่ว่าจอร์จ ดับเบิล บุชหรือริชาร์ด นิกสันเลยเท่าไรนักไม่ว่าประสิทธิภาพในการทำงานหรือความมีจริยธรรมดังตัวอย่าง 9 ข้อซึ่งเกิดจากนโยบายต่างประเทศของเขาต่อไปนี้ 1.โอบามายังคงสืบทอดมรดกของบุชโดยการปฏิบัติต่ออิหร่านเยี่ยงศัตรู มีการคว่ำบาตร บีบบังคับทางเศรษฐกิจเพื่อให้อิหร่านเลิกผลิตอาวุธนิวเคลียร์[i] แถมยังมีการปล่อยหนอนคอมพิวเตอร์ (Worm Computer) ไว้ทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของอิหร่านเพื่อสกัดไม่ให้สร้างอาวุธนิวเคลียร์ การแสดงความเป็นปรปักษ์ต่ออิหร่านทางการเมืองรวมไปถึงกำลังทางทหารแบบอ้อมๆ (เช่นไม่ตัดทางเลือกการใช้กำลังทางทหารออกไป) ทำให้รัสเซียหวาดระแวงว่าสหรัฐฯ จะใช้ข้ออ้างของอิหร่านคุกคามความมั่นคงของตนทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยเฉพาะเรื่องพลังงานแม้จะตัดประเด็นของเช็คและโปแลนด์ออกไป รัสเซียจึงร่วมมือกับอิหร่านในการต้านการเข้ามีอิทธิพลในตะวันออกกลางของสหรัฐฯ ความสัมพันธ์ของทั้งสหรัฐฯ และรัสเซียเลวลงตามลำดับ อันอาจส่งผลต่อสนธิสัญญา START 2.ถึงแม้จะฆ่าบิน ลาเดนเพื่อสนองความสะใจของคนอเมริกันได้ แต่โอบามาก็สืบทอดมรดกของบุชในเรื่องเครื่องบินไร้คนขับ (Drone) ที่ไล่ล่าผู้ก่อการร้ายในปากีสถานอันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2,000-3,000 ศพซึ่งทางสหรัฐฯ มักอ้างว่ามีจำนวนร้อยละของผู้เสียชีวิตที่เป็นชาวบ้านตาดำๆ เพียงน้อยนิดถ้าเทียบกับผู้ก่อการร้ายตัวจริง แต่ก็มีคนโจมตีว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาสัดส่วนที่แท้จริงได้ นอกจากนี้ปฏิบัติการยังส่งผลเสียทางจิตใจแก่ชาวปากีสถานซึ่งหวาดระแวงว่าตัวเองอาจเป็นเหยื่อรายต่อไปของเครื่องบิน ทำให้ชาวปากีสถานจงเกลียดจงชังสหรัฐฯ มากในขณะที่ทั้งรัฐบาลและกองทัพของปากีสถานยังต้องพึ่งสหรัฐฯ ในเรื่องการช่วยเหลือทางการเงิน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามโอบามาถือได้ว่าเป็นประธานาธิบดีมือเปื้อนเลือดเช่นเดียวกับบุชแม้สัดส่วนจะเล็กกว่าก็ตาม 3.โอบามาออกมายืนยันความถูกต้องชอบธรรมของโครงการ Prism ของสภาความมั่นคงของชาติที่สอดส่อง สอดแนมพฤติกรรมของชาวอเมริกันรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปที่ประจำอยู่ในสหรัฐฯ หรือแม้แต่ในกรุงบรัสเซลส์ เบลเยียมทำให้ประเทศซึ่งจัดว่าเป็นพันธมิตรไม่ว่าเยอรมัน ฝรั่งเศส ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งอันส่งผลกระทบต่อการเจรจาการค้าเสรีของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป นอกจากนี้สหรัฐ ฯ ยังเสียความชอบธรรมไปอย่างมากในการใช้ประเด็นสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะสิทธิความเป็นส่วนตัว (Right to Privacy) ในการกดดันประเทศอื่นๆ โอบามายังถูกมองว่าให้ความสำคัญของการไล่ล่าเอดวาร์ด สโนว์เดนมากเกินไปจนนักเปิดโปงผู้นี้ต้องหนีหัวซุกหัวซุนจากฮ่องกงไปติดค้างอยู่ในสนามบินของกรุงมอสโคว์จนถึงปัจจุบันและทางรัฐบาลรัสเซียอาจยอมรับการลี้ภัยของนายสโนว์เดนอันกลายเป็นตัวจุดประกายความขัดแย้งครั้งใหม่ของ 2 ประเทศ 4.โอบามาไม่สามารถทำให้ประเทศส่วนใหญ่ในละตินอเมริกาหลายประเทศชื่นชอบได้อย่างแท้จริง ต่างจากตอนเขาขึ้นดำรงตำแหน่งช่วงต้น ๆ ที่แม้แต่นายฮูโก ชาเวชอดีตประธาธิบดีเวเนซูเอลาผู้ล่วงลับซึ่งเป็นนักต้านสหรัฐฯ ตัวยงยังขอไปจับมือด้วย แต่ในเวลาต่อมา ประเทศเหล่านั้นก็เหมือนกับ "ตาสว่าง" ว่า โอบามาเหมือนเป็นนักล่าอาณานิคมใหม่ไม่ต่างอะไรกับบุชเลย อย่างเช่นบัดนี้ประเทศโบลิเวีย เวเนซูเอลาและนิการากัวเป็นหมูไม่กลัวน้ำร้อนแสดงเจตจำนงให้นายสโนว์เดนเข้าไปลี้ภัยได้ 5.โอบามาค่อนข้างถูกมองว่าล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ สำหรับความสัมพันธ์กับอิสราเอลนั้นถึงแม้โอบามาพยายามทำให้แตกต่างจากรัฐบาลบุชโดยลดระดับความเป็นมิตรกับอิสราเอลลง เช่นตัวประธานาธิบดีมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลคือนายเบนจามิน เนทันยาฮู ในการประชุมพบปะกันแต่ละครั้งเพื่อเล่นสงครามจิตวิทยา โอบามายังแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมรวมถึงเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติที่มีทัศนคติด้านลบกับอิสราเอล จนเขาถูกตราหน้าว่าเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ฯที่เกลียดยิวมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันโอบามาหันมาญาติดีกับผู้นำของปาเลสไตน์ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถชนะใจชาวปาเลสไตน์ เพราะ โอบามาก็เหมือนบุชที่ต้องการให้ปาเลสไตน์ยอมรับการมีอยู่ของรัฐอิสราเอล แต่ไม่สามารถกดดันอิสราเอลให้ยอมรับการมีอยู่ของรัฐปาเลสไตน์ได้ดังนโยบายสองรัฐเคียงกัน (Two-State Solution) เช่นไม่ยอมหยุดยั้งให้ชาวอิสราเอลเข้ามาตั้งรกรากในเขตของปาเลสไตน์ นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังร่วมกับอิสราเอลคัดค้านกับการที่สหประชาชาติมีมติให้สถานะของปาเลสไตน์เป็นรัฐผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ใช่สมาชิกเมื่อปลายปี 2012 สรุปคือโอบามาไม่สามารถชนะใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เลยถึงแม้จะเดินทางไปเยือนทั้ง 2 แห่งเมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม 6.โอบามาประกาศนโยบายโอบล้อมเอเชียทำให้มีความสัมพันธ์กับจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจที่กำลังจรัสแสง (Rising Power) เลวร้ายลง ตัวอย่างได้แก่สงครามการค้าเช่นสหรัฐฯ สกัดกั้นบางบริษัทของจีนไม่ให้ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯ โดยข้ออ้างว่าเพื่อความมั่นคงหรือ สงครามโลกไซเบอร์ที่ทั้ง 2 ประเทศกำลังสาดกระสุนเข้าหากันอย่างเมามัน รวมไปถึงสงครามเย็นครั้งใหม่กับจีนโดยมีเอเชียเป็นสมรภูมิดังต่อไปนี้ 6.1 เอเชียตะวันออกซึ่งโอบามาพยายามกดดันเกาหลีเหนืออย่างหนักไม่ว่าทางเศรษฐกิจ การทูตหรือแม้แต่การทหารเช่นเดียวกับการเป็นพันธมิตรกับเกาหลีใต้และญี่ปุ่นอันนำไปสู่การร่วมกันสร้างเครือข่ายป้องกันขีปนาวุธจากเกาหลีเหนือถูกมองจากจีนว่าเป็นการคุมคามต่อตน อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จีนเร่งเสริมสร้างอำนาจทางการทหารครั้งใหญ่ จนปัจจุบันจีนมีงบประมาณกองทัพสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ 6.2 กลุ่มประเทศในอาเซียนกับจีนมีความขัดแย้งกันโดยเฉพาะเรื่องหมู่เกาะจนมีคนกลัวว่าในอนาคตกลุ่มประเทศที่กำลังซึ่งกำลังเคลิบเคลิ้มกับเวทย์มนต์ที่ชื่อประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อาจแตกกันเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือกลุ่มสนับสนุนจีนเช่นกัมพูชา ลาว พม่า (ที่เริ่มเอียงข้างมาทางสหรัฐฯ ) กับกลุ่มขัดแย้งกับจีนในเรื่องหมู่เกาะคือฟิลิปปินส์ เวียดนาม รวมไปถึงสิงคโปร์ โอบามาได้เข้ามาเพิ่มความตึงเครียดเช่นนี้มากขึ้นไปอีกโดยการมาเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในอาเซียนทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างเข้มข้นจนเห็นได้ชัด 7.โอบามาแสดงความนิ่งเฉยเมื่อเกิดการลุกฮือที่อาหรับ (Arab Spring) เพราะกลัวดุลแห่งอำนาจจะเสียมากกว่าสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย สหรัฐ ฯ ยังแสดงการเป็น"ตาอยู่" ที่ดี คือใครขึ้นเป็นใหญ่แล้วอยู่พวกตนก็พร้อมสนับสนุน ส่วนผู้นำคนก่อนที่เคยเชิดชูสนับสนุนก็ไม่ใส่ใจเพราะหมดผลประโยชน์เหมือนช่วงตอนสงครามเย็น ส่วนประเทศที่เป็นพันธมิตรเช่นบาห์เรน หรือซาอุดิอาระเบีย ที่ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการปราบปรามผู้ประท้วง โอบามาก็ยิ่งเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ล่าสุดก็ได้แก่ตุรกีซึ่งนายกรัฐมนตรีคือนายทายิป แอร์โดแกนได้ปราบปรามประชาชนโดยใช้ความรุนแรง แต่โอบามาดูเหมือนต้องการจะโทรศัพท์คุยกับแอร์โดแกนในเรื่องเกี่ยวกับซีเรียเป็นประเด็นหลักมากกว่า ทั้งนี้ไม่นับสงครามกลางเมืองที่ซีเรีย โอบามาก็หยุดนิ่งอีกเช่นกันได้แต่แสดงวาทศิลป์ไปวันๆ เพราะความกลัวสารพัด ไม่รู้จะทำอะไรดี กว่าจะช่วยเหลือฝ่ายขบถ เหตุการณ์ก็ดำเนินไปเป็นปี 8.สถานทูตของสหรัฐฯ ที่เมืองบังกาชีของลิเบียถูกบุกเผาทำลายและอันเป็นเหตุให้คนอเมริกัน 4 คนรวมไปถึงเอกอัครราชทูตเสียชีวิตเมื่อปลายปี 2012 ได้พยายามถูกเบี่ยงประเด็นโดยรัฐบาลของโอบามาในช่วงต้นๆ ว่าเกิดจากการประท้วงของชาวมุสลิมที่ไม่พอใจภาพยนตร์สั้นในยูทูบเรื่อง Innocence of Muslims จนต้องใช้เวลานานกว่าโอบามาจะยอมรับว่าเป็นผลงานของผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์อันสะท้อนถึงความล้มเหลวของฝ่ายข่าวกรองและความไร้ประสิทธิภาพของกองกำลังพิเศษที่ไม่สามารถเดินทางมาช่วยสถานทูตไว้ทัน ความผิดพลาดนี้กลายเป็นจุดด่างพร้อมของโอบามาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยนั้นคือฮิลลารี คลินตันให้พรรคริพับลิกันได้โจมตีอยู่เนืองๆ 9.โอบามาแสดงความลังเลใจที่จะเรียกการยึดอำนาจของทหารอียิปต์เมื่อไม่นานว่าเป็นรัฐประหารก็เพราะเขาไม่ค่อยศรัทธาในประชาธิปไตยของประเทศโลกที่ 3 เท่าไรนัก (มิเช่นนั้นแล้วเขาคงไม่อาจทนกับนายฮอสนี มูบารัคได้กว่า 2 ปี )ด้วยมองว่าตัวนายมอร์ซี และภราดรภาพมุสลิมว่าเป็นเผด็จการและจะนำอียิปต์ไปสู่การเป็นรัฐศาสนา นายมอร์ซียังมีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มที่สหรัฐฯ ไม่ชอบคือคือพวกฮามัสในฉนวนกาซาซึ่งเคยยิงจรวดโจมตีอิสราเอล (กระนั้นโอบามาก็สามารถร่วมงานกับมอร์ซีได้โดยกดดันให้ประธานาธิบดีอียิปต์บังคับให้ฮามัสยุติปฏิบัติการณ์นี้) รวมไปถึงการเชื่อมความสัมพันธ์กับอิหร่าน การยอมรับการทำรัฐประหารอาจทำให้สหรัฐฯ ต้องระงับเงินช่วยเหลือทางทหารและด้านอื่นๆ อีกมากมายอันอาจทำให้อียิปต์ซึ่งภาวะเศรษฐกิจกำลังเปราะบางต้องพบกับความเสี่ยงในเรื่องความมั่นคง แม้ว่ารัฐบาลเฉพาะกาลของอียิปต์ได้รับเงินช่วยเหลือหลายพันล้านเหรียญจากซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ตาม จากทั้ง 9 ข้อสะท้อนให้เห็นถึงภาพอันเปลือยเปล่าของบารัค โอบามาที่ขัดแย้งกับภาพตอนรณรงค์หาเสียงเมื่อปี 2008 ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 1 เมื่อโอบามาขึ้นมามีอำนาจแทนที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบเสรีนิยมหรืออิงกับหลักคุณธรรมตามความคาดหวังของชาวโลก[ii] เขากลับหันมาใช้แนวคิดการเมืองที่ปรากฏ (Realpolitik) ซึ่งมีสถาปนิกคนสำคัญคือเฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตที่ปรึกษาทางความมั่นคงและอดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของริชาร์ด นิกสันและเจอรัลด์ ฟอร์ด ที่มุ่งเน้นเรื่องการรักษาดุลอำนาจมากกว่าการคำนึงถึงอุดมการณ์ทางการเมืองหรือคุณธรรมของตัวสหรัฐฯ เองหรือประเทศพันธมิตร และผลที่ออกมากลายเป็น Reluctant Realpolitik หรือแนวคิดการเมืองที่ปรากฏ(ว่า)ลังเลใจไปเสีย ภาพที่ 2 โอบามาโดยส่วนตัวแล้วอาจเป็นคนดีมีความรักโลก แต่เขาก็ไม่ต่างจากประธานาธิบดีคนก่อนหน้านี้คือมีอำนาจจำกัด เขาต้องฝ่าฟันกับกลุ่มอำนาจอื่นมากมายโดยเฉพาะคู่ปรับตลอดกาลคือรัฐสภาสหรัฐฯ หรือสภาคองเกรสที่ว่าตามความจริงแล้วอาจมีอำนาจยิ่งกว่าประธานาธิบดีเสียอีกรวมไปถึงกลุ่มนักวิ่งเต้น (Lobbyist) ทั้งหลายโดยเฉพาะนักวิ่งเต้นเพื่ออิสราเอลที่ทรงอิทธิพลในการเมืองสหรัฐฯ เขายังต้องพยายามควบคุมกลุ่มผลประโยชน์อื่นเช่นระบบราชการเช่นกองทัพ หน่วยข่าวกรอง รัฐบาลท้องถิ่น รวมไปการต่อรองผลประโยชน์กับบริษัทข้ามชาติ สื่อมวลชน กลุ่มประชาสังคมฯลฯ การตั้งความหวังต่อตัวเขาว่าเหมือนเป็นพระศรีอาริยเมตไตรยของคนอเมริกันและชาวโลกสะท้อนว่าคนเหล่านั้นไม่เข้าใจโครงสร้างทางการเมืองของสหรัฐ ฯ เท่าไรนัก ภาพที่ 3 ในระดับต่างประเทศนั้นโอบามาต้องต่อสู้กับการเสื่อมอิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของสหรัฐฯ ในโลกยุคใหม่อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากสมัยของบุช อันสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ ไม่สามารถมีอิทธิพลเหนือประเทศใดหรือสามารถกำหนดสถานการณ์ได้เด็ดขาดเหมือนช่วงสงครามเย็น[iii] โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามเย็นที่ประเทศต่างๆ ในประเทศโลกที่ 3 หลายประเทศที่ล้วนกลายเป็น Emerging Market หรือประเทศที่มีการพัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจและสังคมทำให้มีการยากสำหรับสหรัฐฯ ในการควบคุมหรือแม้แต่กดดัน ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ยังทำให้บริษัทข้ามชาติสัญญาติอเมริกันต้องพึ่งพิงประเทศเหล่านั้น นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังอาจโดนโจมตีกลับมาว่าล่วงละเมิดอธิปไตยของประเทศอื่นและอาจลามไปถึงเรื่องที่สหรัฐฯ ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง ดังนั้น โอบามาจึงต้องประนีประนอมเพื่อให้เกิดดุลอำนาจ แม้ว่าผู้นำประเทศนั้นจะมีปัญหากับเรื่องสิทธิมนุษยชนเพียงไหนก็ตามเช่นมีการยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาพูดอยู่พอสมควรแต่ก็คงเป็นวัตถุประสงค์ของโอบามาในการนำมาเป็นเพื่อการต่อรองเรื่องผลประโยชน์ระหว่างประเทศหรือระดับภูมิภาคเสียมากกว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าในเรื่องทางการเมืองไม่ว่าระหว่างประเทศหรือในประเทศที่มีความซับซ้อนและตัวผู้แสดงมากมายนั้น ภาพแห่งการเป็นคนเปี่ยมด้วยเมตตาและคุณธรรมของผู้นำทางการเมืองไม่ว่าใครล้วนจำเป็นต้องมีการตั้งคำถามทั้งสิ้น [i] วัตถุประสงค์การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านนั้นมีความไม่ชัดเจนในขณะที่สื่อตะวันตกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อตะวันออกกลางและโลก แต่อิหร่านอ้างว่าเพื่อสันติภาพ อย่างไรก็ตามตะวันตกได้แสดงว่าตนมีลักษณะเป็น 2 มาตรฐานอย่างแท้จริงว่าไม่ยอมโจมตีหลายประเทศที่การครอบครองอาวุธนิวเคลียร์น่าจะเป็นภัยต่อโลกมากว่าเช่นอิสราเอล หรือคู่กัดตลอดกาลอย่างเช่นอินเดียและปากีสถาน [ii] จอร์จ ดับเบิลยู บุชเคยดำเนินนโยบายต่างประเทศอิงกับลัทธินวอนุรักษ์นิยม (Neo-conservative) ที่มองโลกเป็นสีขาวดำ ต้องมีการใช้กำลังทหารเพื่อปราบคนชั่ว ปกป้องคุณธรรม ด้วยสงครามที่ล้มเหลวทำให้เขาถูกมองว่าเป็นประธานาธิบดีที่ชั่วร้าย ดังนั้นโอบามาจึงต้องชูภาพว่าจะดำเนินนโยบายที่แตกต่างจากบุชคืออิงกับคุณธรรมดังว่า แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงตามมุมมองของพวกสัจนิยม (Realism)ที่ประเทศต่างๆ มุ่งแสวงหาผลประโยชน์หรือครอบงำซึ่งกันกันและกันแล้วรวมไปถึงผลประโยชน์และการขยายตัวของจักรวรรดิอเมริกันแล้ว แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่สหรัฐฯ จะสามารถทำสิ่งใดบนหลักแห่งคุณธรรมเป็นสำคัญ [iii] อย่างไรก็ตาม ถ้าศึกษาประวัติศาสตร์สงครามเย็นให้ดี ไม่ว่าสหรัฐ ฯ หรือสหภาพโซเวียตเอง ก็ไม่สามารถมีอำนาจเหนือประเทศที่ดูเหมือนเป็นพันธมิตรกับตนได้เด็ดขาด อย่างเช่นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับฝรั่งเศส หรือ สหภาพโซเวียตกับยูโกสลาเวีย และมีหลายสถานการณ์ที่สะท้อนว่ามหาอำนาจทั้ง 2 มีอำนาจจำกัดจนต้องถูกบีบให้ดำเนินปฏิบัติการที่พาตนเองไปสู่หายนะอย่างเช่นสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม และสหภาพโซเวียตในสงครามอัฟกานิสถาน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกับคนเสื้อแดง Posted: 18 Jul 2013 09:27 AM PDT นับแต่พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มวลชนคนเสื้อแดงได้ตั้งความหวังไว้กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในระดับต่าง ๆ กัน นอกจากหวังให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ นำประโยชน์มาสู่ประเทศชาติและประชาชนชาวรากหญ้าที่เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดงยังหวังว่า พรรคเพื่อไทยจะใช้อำนาจบริหารและเสียงข้างมากในสภาไปดำเนินงานทางประชาธิปไตย เปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการเข่นฆ่าประชาชนเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553 เยียวยาผู้เสียหาย ช่วยเหลือผู้ที่ต้องคดีทั่วประเทศ ผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ที่ผ่านมา รัฐบาลพรรคเพื่อไทยทำตามความคาดหวังของมวลชนคนเสื้อแดงได้เพียงบางส่วน แม้จะช่วยเหลือผู้ที่ต้องคดีให้ได้ประกันตัวแล้วเป็นส่วนมาก แต่อีกจำนวนหนึ่งก็ยังถูกจำขังอยู่ แม้จะมีการเยียวยาผู้บาดเจ็บล้มตายจากเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 แต่การแสวงหาความจริงก็ยังไม่เกิดขึ้น ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ให้ยกร่างใหม่ทั้งฉบับด้วยสภาร่างรัฐธรรมนูญก็ล้มเหลวเมื่อพรรคเพื่อไทยยอมจำนนต่อศาลรัฐธรรมนูญที่อ้างมาตรา 68 เข้ามาก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ ทั้งหมดนี้ ประกอบกับ "แนวทางปรองดอง" ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ท่าทีเอาอกเอาใจและปรนเปรอฝ่ายกองทัพ การผลักดันพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติฉบับนิรโทษกรรมเหมาเข่ง กระทั่ง คำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ 19 พฤษภาคม 2555 ที่ประกาศ "สละเรือไปขึ้นบก" ทั้งหมดนี้ทำให้มวลชนคนเสื้อแดงจำนวนมากระแวงว่า พรรคเพื่อไทยและอดีตผู้นำพรรคไทยรักไทยจะ "ทอดทิ้ง" ขบวนประชาธิปไตย แม้ในระยะหลัง พรรคเพื่อไทยจะแสดงท่าทีกระตือรือร้นมากขึ้น เช่น ปาฐกถาพิเศษของนายกรัฐมนตรีที่ประเทศมองโกเลีย การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราและร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม การประกาศของสส.ฝ่ายรัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่แทรกแซงการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เป็นต้น แต่ความระแวงของมวลชนเสื้อแดงบางส่วนต่อพรรคเพื่อไทยก็ยังคงอยู่ ความไม่พอใจต่อกรณีข้างต้นของมวลชนเสื้อแดงต่อพรรคเพื่อไทยและต่อ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น มีเหตุผล แต่คนเสื้อแดงบางส่วนได้หันไปสู่ด้านที่สุดโต่งถึงกับสรุปว่า พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทยได้หักหลังขบวนประชาธิปไตยไปสยบสมคบกับพวกจารีตนิยมเรียบร้อยแล้ว ทว่า ความไม่พอใจส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการตั้งความหวังกับพ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทยเกินกว่าความเป็นจริง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เป็นนักบริหารที่มีวิสัยทัศน์แหลมคมและกว้างไกล เมื่อเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็เป็นนักการเมืองและนักบริหารที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา แต่ในทางธุรกิจ เขาเติบโตมาด้วยเครือข่ายผลประโยชน์ต่างตอบแทนอันเหนียวแน่นกับราชการและกลุ่มทุนเก่า แลกเปลี่ยนและเกื้อกูลผลประโยชน์ของทุนจารีตนิยม ในทางการเมือง เขาเป็นนักการเมืองในระบบเลือกตั้งที่ต้องอาศัยกลไกเครือข่ายเงินทุนและกลุ่มก๊วนการเมืองต่าง ๆ เช่นเดียวกับนักการเมืองในระบบเลือกตั้งทั่วทั้งโลก สถานการณ์นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา ไม่ใช่สถานการณ์ของการเมืองแบบเลือกตั้งปกติ หากแต่เป็นสถานการณ์ปฏิวัติประชาธิปไตย ที่สองชนชั้น สองแนวทาง ต่อสู้กันเพื่อตัดสินชะตากรรมอนาคตของประเทศไทยว่า จะเป็นประเทศเผด็จการจารีตนิยมที่ล้าหลังหรือจะเป็นประเทศประชาธิปไตยเสรีนิยมที่ก้าวหน้า คุณสมบัติที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณประสบความสำเร็จทั้งทางธุรกิจและทางการเมืองในระบบเลือกตั้งปกติ มิได้หมายความว่า เขาจะเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แหลมคมและชาญฉลาดภายใต้สถานการณ์ปฏิวัติประชาธิปไตย ในทางตรงข้าม ภายใต้สถานการณ์ปฏิวัตินี้ ท่าทีของพ.ต.ท.ทักษิณต่อพวกจารีตนิยมออกจะไร้เดียงสาทางการเมือง ไม่รับรู้บทเรียนทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่การปฏิวัติ 2475 ถึงปัจจุบันว่า พวกจารีตนิยมไม่เคยจริงใจกับใคร ไม่เคยต่อรองกับใคร และยิ่งไม่เคยแบ่งอำนาจให้ใครทั้งสิ้น ทั้งเหี้ยมโหดอำมหิตและไม่เคยหยุดการทำลายล้างจนกว่าคนที่เขาเห็นว่า เป็นศัตรู จะสูญสิ้นไปอย่างแท้จริง ที่สำคัญ พ.ต.ท.ทักษิณไม่เรียนรู้จากบทเรียนความล้มเหลวของตนเองครั้งแล้วครั้งเล่าในการเจรจาประนีประนอมกับพวกจารีตนิยม และยังคงไว้ซึ่งความเพ้อฝันที่มีต่อชนชั้นจารีตนิยมอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เชื่ออย่างว่างเปล่าว่า "ด้วยแรงกดดันอย่างช้า ๆ ฝ่ายจารีตนิยมจะยอมประนีประนอม" และจะสามารถ "อยู่ร่วมกันอย่างสันติ" ได้ในที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองในระบบเลือกตั้งที่ประสบความสำเร็จ แต่เขาไม่ใช่ "นักปฏิวัติสังคม" และพรรคเพื่อไทยก็ไม่ใช่พรรคปฏิวัติประชาธิปไตย คนเสื้อแดงจะต้องคาดหวังจากพ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทยตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่จากความปรารถนาส่วนตัว แต่ถึงอย่างไร ทั้งพ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทยก็ยังเป็นฝ่ายประชาธิปไตยเพราะผลประโยชน์และความอยู่รอดระยะยาวของพวกเขาผูกติดอยู่กับชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตย การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพวกเขาตราบปัจจุบัน โดยรวมแล้ว ยังเป็นคุณต่อฝ่ายประชาธิปไตยและมีอิทธิพลไปบั่นทอนพวกจารีตนิยมอย่างมีนัยสำคัญ ขบวนประชาธิปไตยจะไม่มีทางเป็นขบวนอันยิ่งใหญ่ในวันนี้หากปราศจาก พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทย มวลชนคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งที่ผิดหวังกับ พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทย ได้เสนอแนวทาง "ตั้งพรรคการเมืองของคนเสื้อแดง" ขึ้นมาเพื่อต่อสู้ช่วงชิงประชาธิปไตยแทนพรรคเพื่อไทย แต่นี่เป็นข้อเสนอที่สุดโต่งและไร้เดียงสา การตั้งพรรคการเมืองตามแนวทาง "พรรคปฏิวัติ" นั้นพ้นสมัยไปแล้วและไม่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติที่เป็นเสรีนิยมของขบวนประชาธิปไตยคนเสื้อแดง พรรคปฏิวัติเช่นนั้นมีแต่จะล้มเหลวและถูกปฏิเสธจากคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ ส่วนการตั้ง "พรรคการเมืองเลือกตั้ง" ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 ก็จะล้มเหลวในลักษณะเดียวกันกับ "พรรคการเมืองใหม่" ของพวกพันธมิตรเสื้อเหลือง เพราะพรรคเลือกตั้งจะต้องมีทั้งเงินทุนและมีบุคลากร ทั้งผู้นำพรรคและแกนนำ ที่สามารถดำเนินงานการเมืองในระบบเลือกตั้งระดับทั่วประเทศให้ได้ไม่แพ้พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ แนวทางที่ถูกต้องคือ ขบวนคนเสื้อแดงยังจะต้องทำงานร่วมกับพรรคเพื่อไทยต่อไปอย่างใกล้ชิด ทั้งสนับสนุน ทั้งวิจารณ์ไปพร้อมกัน ใช้พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทยให้เป็นประโยชน์ ผลักดันให้พรรคเพื่อไทยดำเนินการต่อสู้ทางประชาธิปไตยอย่างเอาการเอางาน วิจารณ์แนวโน้มอ่อนแอ โลเลของพวกเขาอย่างแข็งขัน ให้พวกเขาเป็นแนวรบสำคัญในรัฐสภาและฝ่ายบริหารภายในระบอบรัฐธรรมนูญ 2550 ขบวนคนเสื้อแดงจะต้องเข้าใจว่า การได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น เป็นภาระหน้าที่หลักของประชาชน ชัยชนะเด็ดขาดเหนือเผด็จการนั้น มิใช่ได้มาด้วยการใช้โวหารแล้วยกมือลงมติผ่านกฎหมายในรัฐสภา หากแต่จะต้องตัดสินในขั้นสุดท้ายด้วยการต่อสู้ของประชาชนบนท้องถนน ในการนี้ พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทย คือผู้ร่วมทางประชาธิปไตยที่สำคัญและขาดเสียมิได้
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "โลกวันนี้วันสุข" 19 กรกฎาคม 2556 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
iLaw: แง้มร่างเนื้อหาต้องห้าม #2: กสทช.ไม่มีอำนาจแทรกแซงสื่อ! Posted: 18 Jul 2013 09:26 AM PDT กสทช. กำลังทำร่างประกาศการกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งผู้รับใบอนุญาต หรือ เจ้าของสถานี ต้องควบคุมรายการที่ออกอากาศไม่ให้มีเนื้อหาต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 37 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 อันเกี่ยวกับการล้มล้างระบอบการปกครอง เนื้อหาที่กระทบต่อความมั่นคง/ความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมอันดี/ลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน สาระสำคัญในหมวดสอง ของร่างประกาศการกำกับดูแลเนื้อหารายการฯสำหรับการรายงานข่าว ร่างประกาศการกำกับดูแลเนื้อหากำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้อง "นำเสนอข้อมูลให้ ครบถ้วน มีความสมดุลของข้อมูล ปราศจากการบิดเบือนหรือแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการ หรือผู้ดำเนินรายการดังกล่าว" และต้อง "นำเสนอข้อเท็จจริง มีข้อมูลเชิงประจักษ์ และรายงานข่าวบนพื้นฐานของความเที่ยงตรง ครบถ้วน เป็นธรรม และไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" สำหรับรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก หรือความเคลื่อนไหวทางการเมือง ผู้รับใบอนุญาตต้อง "นำเสนอข้อมูลข่าวสารด้วยความเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ทางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" และการออกอากาศรายการวิจารณ์ข่าว หรือสาระความเห็นเกี่ยวกับการเมือง ผู้รับใบอนุญาตต้อง "ควบคุมมิให้ผู้ผลิตรายการ ผู้รายงานข่าว หรือผู้ดำเนินรายการ นำความเห็นส่วนตัวหรือแนวคิดทางการเมืองของตนมาโน้มนำประชาชน และต้องระมัดระวังมิให้นำรายการไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองใดๆ" สำหรับการออกอากาศรายการที่มีประเด็นความขัดแย้ง ประเด็นนโยบายสาธารณะ ผู้รับใบอนุญาตต้อง "ควบคุมและตรวจสอบให้รายการเสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ครบถ้วน น่าเชื่อถือ สามารถอ้างอิงหรือเปิดเผยแหล่งที่มาของข้อมูล เป็นธรรมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ปราศจากการบิดเบือน แทรกแซง หรือเพิ่มเติมข้อมูลอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องหรือความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ดำเนินรายการ" สำหรับการเสนอรายการในลักษณะของการแสดงความเห็นของผู้ที่มีความเห็นต่างกันในประเด็นเดียวกัน กำหนดให้ต้อง "จัดให้มีการแสดงความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และหากการแสดงความเห็นหรือการนำเสนอข้อเท็จจริงใดที่มีผลกระทบต่อผู้หนึ่งผู้ใด จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้แสดงข้อเท็จจริงและความเห็นที่เกี่ยวข้องด้วย" สำหรับการนำเสนอรายการที่มีเนื้อหาอ้างอิงถึงข้อเท็จจริงในอดีต หรือข้อมูลประวัติศาสตร์ ผู้รับใบอนุญาตต้อง "ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง เป็นจริง และต้องไม่มีลักษณะของการตัดทิ้ง ดัดแปลง แก้ไข หรือละเลยข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำคัญที่จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อบุคคลหรือองค์กรที่ถูกอ้างถึง"
กสทช. ไม่มีอำนาจกำหนดว่า สื่อต้องทำงานอย่างไรเนื้อหาใน "หมวดสอง" ของร่างประกาศฯ นี้ มีประเด็นน่าวิตกหลายประการ หลักใหญ่คือ กสทช.ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะเล่นบทบาทกำหนดมาตรการว่าคนทำสื่อต้องผลิตเนื้อหาอย่างไร ซึ่งเป็นอำนาจเข้ามาควบคุมในขั้นตอนการผลิตก่อนเผยแพร่ กสทช.มีเพียงอำนาจสั่งลงโทษเจ้าของสถานีที่ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาต้องห้าม ตามมาตรา 37 ซึ่งเป็นการลงโทษภายหลังมีรายการออกอากาศไปแล้วและตรวจสอบพบว่าเป็นความผิด นอกจาก กสทช. จะไม่มีอำนาจตามกฎหมายแล้ว ในฐานะองค์กรที่ยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกันเองของผู้ประกอบวิชาชีพ กสทช.ยิ่งต้องยึดมั่นว่า องค์กรของรัฐควรมีบทบาทต่อเนื้อหาเพียงในขั้นตอนสุดท้าย ไม่ใช่กำหนดแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งมาตรการการผลิตเนื้อหาควรเป็นเรื่องภายในขององค์กรสื่อที่จะสร้างแนวทางการทำงานของตัวเอง หรือในบางประเด็นองค์กรผู้ประกอบวิชาชีพสื่ออาจรวมตัวกันกำหนดมาตรฐานจริยธรรมเอาไว้กำกับดูแลกันเอง และสร้างความเข้มแข็งในวิชาชีพเพื่อไม่ให้ถูกแทรกแซงจากนายทุนและรัฐ (รวมถึงองค์กรอิสระของรัฐด้วย) เนื้อหาในหมวดสอง จึงมีลักษณะค่อนไปทางเป็นการเขียนประมวลจริยธรรมสื่อ ซึ่งไม่ได้เขียนโดยองค์กรสื่อแต่่เขียนโดยองค์กรกำกับดูแล ทำให้มาตรการเหล่านั้นแทนที่จะมีไว้เป็นบรรทัดฐานให้องค์กรวิชาชีพดูแลกันเองเพื่อช่วยกันยกระดับคุณภาพสื่อ กลับกลายมาเป็นเงื่อนไขให้สื่อถูกแทรกแซงโดยรัฐได้เสียเอง
หากร่างกสทช.ฉบับนี้บังตับใช้จริง จะกระเทือนวงการข่าวอย่างมาก เ ที่มาภาพ :บล็อกโอเคเนชั่น
คนข่าวเตรียมปรับตัวหนัก สื่อพลเมืองเตรียมพบจุดจบเนื้อหาในหมวดสอง เน้นไปที่รายการข่าว รายการความเห็นที่เกี่ยวกับการเมือง ซึ่งหากประกาศใช้จริง ผลกระทบจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงต่อรายการคุยข่าว ช่องทีวีสีเสื้อ และวิทยุท้องถิ่นจำนวนมาก ซึ่งมีลักษณะแสดงความคิดเห็นส่วนตัว
"นำเสนอข้อเท็จจริง มีข้อมูลเชิงประจักษ์ ครบถ้วน"การที่ร่างประกาศฉบับนี้กำหนดให้เจ้าของสถานีควบคุมให้ผู้ผลิตรายการนำเสนอเนื้อหาที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือนั้น ย่อมเป็นเรื่องดีหากสถานีต่างๆ มีจุดยืนหรือมีจรรยาบรรณร่วมกันว่า จะต้องนำเสนอเนื้อหาที่เป็นธรรม หลากหลาย และรอบด้าน แต่คุณภาพของสื่อที่ดีก็ต้องเกิดขึ้นจากการรังสรรค์ขององค์กรสื่อเอง ไม่ใช่จากการบังคับโดยกฎหมาย แม้รายการข่าวสักรายการหนึ่งจะเสนอข่าวเท็จ ผิดพลาด ก็ไม่จำเป็นเสมอไปว่าข่าวนั้นจะลักษณะของเนื้อหาต้องห้ามตามที่มาตรา 37 ระบุเอาไว้ การเสนอข่าวที่อาจจะไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาพื้นฐานที่เกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งองค์กรสื่อต้องหมั่นตรวจสอบ และแบกรับต้นทุนด้านความน่าเชื่อถือนั้นเอง หากข่าวที่นำเสนอไม่เที่ยงตรง ผู้บริโภคก็จะเรียนรู้ที่จะไม่เชื่อข่าวสารจากสื่อนั้นอีกต่อไป รวมถึงสังคมของผู้บริโภคก็ต้องตื่นตัวที่จะไม่หลงเชื่อสื่ออย่างง่ายๆ และหมั่นคอยตรวจสอบสื่อด้วยเช่นกัน กสทช.ต้องระลึกไว้เสมอว่า จุดกำเนิดของ กสทช. มีขึ้นเพื่อการจัดสรรความเป็นเจ้าของคลื่นความถี่สาธารณะและการออกใบอนุญาต ไม่ใช่มีขึ้นเพื่อปฏิรูปเนื้อหาในสื่อ และก็ไม่มีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจกสทช.ในการกำหนดมาตรการในการออกอากาศรายการ ดังนั้น เงื่อนไขเหล่านี้จึงไม่ใช่ธุระอะไรของกสทช. และหากกสทช. ดึงดันที่จะออกประกาศโดยนอกเหนืออำนาจหน้าที่ของตนเช่นนี้ อาจทำให้ประกาศฉบับนี้เป็นประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจถูกเพิกถอนโดยศาลปกครองได้ "ห้ามแสดงความเห็นส่วนตัวของผู้ดำเนินรายการ"ในร่างประกาศฯ ยังมุ่งสนใจที่จะให้รายการข่าวนำเสนอเพียง "ข้อเท็จจริง" ห้ามใส่ "ความเห็น" และยังห้ามไม่ให้ผู้ผลิตรายการ ผู้รายงานข่าว ผู้ดำเนินรายการ แสดงความเห็นส่วนตัวหรือนำความเห็นส่วนตัวมาโน้มนำในรายการที่เป็นความเห็นทางการเมืองด้วย หากร่างนี้ถูกประกาศใช้ จะมีผลให้รายการคุยข่าวจำนวนมากต้องเลิกรูปแบบดังกล่าวโดยทันที อย่างไรก็ดีต้องไม่ลืมว่า ในทางปฏิบัติ ไม่มีข่าวใดที่สามารถนำเสนอได้โดยปราศจากความเห็นของผู้รายงาน เพราะเพียงแค่การเลือกประเด็นข่าวว่าจะนำเสนอเรื่องใด และจะไม่นำเสนอเรื่องใด ก็เป็นความคิดเห็นแล้ว "เป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่การเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง"ยิ่งไปกว่านั้น ร่างประกาศฯ ยังกำหนดให้รายการเกี่ยวกับการแสดงความเห็นทางการเมือง ต้องมีเนื้อหาที่ "เป็นกลาง" และ "ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" แต่ในทางนิเทศศาสตร์ คำเหล่านี้ถูกตั้งคำถามอย่างมากว่า ความเป็นกลางนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ ยังไม่นับว่าในทุกๆ ความขัดแย้ง สิ่งที่ยากคือการหาจุดตรงกลางที่ไม่เข้าข้างฝ่ายใด เพราะโดยธรรมชาติของคนที่คิดว่าตัวเองถูกก็มักเชื่อว่าตัวเองอยู่ตรงกลางเสมอ จะเห็นได้ว่า ร่างประกาศฯ นี้ มีทัศนคติทางลบอย่างมากต่อประเด็นการเมือง อาจเพราะในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ภาคการเมืองเป็นตัวการสำคัญที่เข้าแทรกแซงสื่อ จึงมีความพยายามกำหนดลงไปในร่างประกาศฯ นี้ ไม่ให้มีการแสดงความเห็นทางการเมืองในรายการข่าวและสาระข่าว ทั้งยังกำหนด "ห้ามเป็นเครื่องมือทางการเมือง" ด้วย ทั้งที่การเป็นเครื่องมือทางการเมืองก็ยังต้องอาศัยการใช้ดุลพินิจอย่างมากว่ากรณีใดเข้าข่ายเป็นเครื่องมือทางการเมืองแล้วหรือไม่ ในขณะที่ปัจจุบันมีสถานีวิทยุชุมชนหลายแห่ง และเคเบิ้ลทีวีหลายช่องที่ประกาศตัวว่าเลือกข้างทางการเมืองอย่างชัดเจน เช่น สถานีวิทยุวิหคเรดิโอ สถานีวิทยุรักเชียงใหม่ 51 สถานีเอเอสทีวี สถานีเอเชียอัพเดท ช่องบลูสกาย ฯลฯ หากประกาศกสทช.กำหนดไว้เช่นนี้ สถานีเหล่านี้ย่อมมีความผิดฐานออกอากาศรายการที่ต้องห้ามอย่างแน่นอน และอาจถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือสั่งปิดสถานีได้ หากสิ่งที่กสทช.กำลังทำอยู่ คือความพยายามทำให้รายการข่าวและเนื้อหาสาระสะอาดปราศจากมลทิน เพื่อให้ผู้รับสื่อเชื่อว่ารายการโทรทัศน์และวิทยุต่างๆ ภายใต้กฎระเบียบของกสทช. มีคุณภาพที่วางใจได้ หารู้ไม่ว่าสิ่งนี้อาจยิ่งนำไปสู่สังคมการบริโภคสื่อที่วิกฤตยิ่งกว่า เพราะโดยธรรมชาติผู้รายงานข่าวในฐานะมนุษย์คนหนึ่งย่อมมีอคติทางการเมืองอยู่แล้ว การที่มีกฎหมายบังคับไม่ให้แสดงจุดยืนทางการเมือง อาจบีบให้รายการที่ต้องการนำเสนอความคิดเห็นบางอย่างเลือกใช้วิธีแอบแฝงความคิดเห็นลงไปผ่านการนำเสนอข้อเท็จจริงซึ่งเรียกร้องให้ผู้บริโภคต้องใช้วิจารณาญาณที่สูงขึ้น หากไม่แล้วก็อาจเผลอเชื่อไปว่า เนื้อหาที่ออกอากาศนั้นครบถ้วนรอบด้าน เป็นข้อเท็จจริงโดยแท้ ปราศจากความคิดเห็นเสมอ ซึ่งเป็นอันตรายมาก ตรงกันข้ามหากรายการข่าวหรือสาระเชิงข่าวที่นำเสนออกมานั้น ประกาศตัวอย่างตรงไปตรงมาว่า เป็นรายการที่มีขั้วทางการเมือง และผู้ประกาศมีอคติทางการเมืองของตัวเอง ผู้บริโภคย่อมไหวตัวเองได้ ว่าตนกำลังเสพเนื้อหาแบบใดอยู่ "จัดให้มีการแสดงความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย"การกำหนดให้ รายการในลักษณะของการแสดงความเห็นของผู้ที่มีความเห็นต่างกัน ต้องจัดให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายมาออกอากาศ ไม่น่าจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้อง เช่น แหล่งข่าวไม่ประสงค์จะให้ความเห็น และที่สำคัญคือความเห็นที่แตกต่างในเรื่องหนึ่งๆ ไม่จำเป็นต้องมีผู้มีส่วนได้เสียสองหรือสามฝ่ายเสมอไป แต่อาจมีได้ไม่จำกัดและแต่ละฝ่ายก็มีส่วนได้เสียไม่เท่ากัน จึงเป็นการคาดหวังที่สูงเกินไปที่จะให้สื่อจัดให้ผู้มีส่วนได้เสีย "ทุกฝ่าย" มาออกอากาศอย่างเท่าเทียมกัน การกำหนดเงื่อนไขลักษณะนี้ สร้างต้นทุนให้ผู้ผลิตสื่อรู้สึกว่า ถ้านำเสนออย่างรอบด้านไม่ได้ การเลือกที่จะไม่เสนอเรื่องนั้นเลยอาจจะง่ายกว่า ซึ่งปัญหาใหญ่ของสื่อไทยในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องการเสนอไม่รอบด้าน แต่เป็นปัญหาที่สื่อเพิกเฉยต่อประเด็นความขัดแย้งต่างๆ ในสังคมเสมือนหนึ่งว่าประเด็นนั้นๆ ไม่ได้มีอยู่ หากร่างประกาศฯ ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และกสทช.นำบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนมาใช้อย่างจริงจัง เชื่อได้ว่าเนื้อหาในสื่อโทรทัศน์และวิทยุคงน่าเบื่อ สื่อที่จะทำหน้าที่ท้าทายกระแสสังคมโดยการเสนอเนื้อหาที่แหลมคม คงจะต้องหลบทางให้การร่างประกาศฉบับนี้ เจ้าของสถานีเองก็คงสบายใจกว่าที่จะเสนอเฉพาะเนื้อหาแบบกลางๆ ในทางบวกเท่านั้น เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการถูกเพิกถอนใบอนุญาต
วงการบันเทิง-การตลาด รับมือการกำกับดูแลเนื้อหารายการชิงโชคแข่งขันร่างประกาศฯ ฉบับนี้กำหนดถึงรายการชิงโชค แจกรางวัล หรือเนื้อหาที่เป็นการแข่งขันเพื่อรับรางวัล ไว้ด้วยว่า ผู้รับใบอนุญาตต้อง "ไม่แสวงประโยชน์สำหรับตนเองหรือบุคคลอื่นใดจากการเชิญชวนประชาสัมพันธ์ให้เข้าร่วมการชิงโชค การเข้ารับการแจกรางวัล การแข่งขันเพื่อรับรางวัล หรือเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน เช่น การลงคะแนนเพื่อสนับสนุนผู้เข้าร่วมแข่งขันรายใดรายหนึ่ง หรือการลงคะแนนตัดสินในเกมการแข่งขัน" และต้องให้มีการ "บันทึกหลักฐานข้อมูลการตัดสิน และมีช่องทางที่ให้ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเกมเหล่านั้นร้องเรียนได้" หากร่างนี้บังคับใช้แล้ว จะทำให้การจัดรายการชิงโชคแข่งขันแจกรางวัล เช่นให้ส่ง SMS นั้นทายผลบอล โหวตดารานักแสดงที่ชื่นชอบ ส่งข้อความชิงโชค ฯลฯ ที่่เจ้าของสถานีได้รับผลประโยชน์ด้วย เป็นรายการต้องห้ามที่จะทำไม่ได้ อย่างไรก็ดี หากกสทช.ออกกฎนี้ขึ้นเพราะเห็นว่า ปัจจุบันสื่อนิยมทำรายการเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคจ่ายเงินเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรายการมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้ผลิตรายการก็ทำกำไรอย่างมหาศาลจากการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเสียเงินเช่นนี้ แต่การออกกฎลักษณะนี้มีผลเพียงทำให้เจ้าของสถานีและฝ่ายการตลาดปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเท่านั้น เพราะในทางปฏิบัติ ตราบใดที่มีช่องทางในการหากำไรทางธุรกิจ รายการเหล่านั้นก็ยังเกิดขึ้นได้เพียงแค่เจ้าของสถานีไม่ต้องเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรงตามกฎหมายเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน สถานีทรูวิชันส์ มีรายการอะคาเดมีแฟนตาเซีย ทั้งช่องทรูวิชันส์และอะเคดามีแฟนตาเซียก็ยังคงจัดรายการในลักษณะเดิมได้ เพียงแค่เปลี่ยนผู้ผลิตรายการ โดยอาจไปตั้งบริษัทใหม่มาเป็นผู้ผลิตรายการเพื่อรับผลประโยชน์โดยตรงแยกต่างหากจากสถานีทรูวิชันส์ ส่วนรายการก็ัยังออกอากาศในลักษณะเดิมที่สถานีเดิมต่อไปได้
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://ilaw.or.th/node/2864 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โสภณ พรโชคชัย: ผังเมือง กทม. ต้องแก้ตั้งแต่วันนี้ Posted: 18 Jul 2013 08:40 AM PDT ตามที่ได้ประกาศใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครแล้ว และมีกำหนดหมดอายุในปี 2560 นั้น แม้ทางราชการจะประกาศว่าสามารถแก้ไขได้ทันที แต่เชื่อว่าคงไม่ได้แก้ไข เพราะลำพังผังเมืองรวมทั่วประเทศ 190 บริเวณก็หมดอายุไปเกินกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ในอนาคตร่าง พ.ร.บ.ผังเมืองฉบับใหม่ จะให้ผังเมืองมีการประกาศใช้ได้สำหรับระยะเวลา 10 ปี หากไม่สามารถแก้ไขได้ทัน ก็จะให้คงต่อไปได้อีก 10 ปี และหากไม่สามารถแก้ไขได้ทันอีก ก็ยังต่ออายุได้ 2 ครั้งๆ ละ 2 ปี สิริรวมแล้ว หากผังเมืองฉบับหนึ่งๆ อาจอยู่อย่างไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และอยู่อย่างไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนถึง 24 ปี อย่างกรณีผังเมืองรวม กทม. ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงหลายด้าน เช่น 1. ผังเมืองนี้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมแต่อย่างใด ไม่มีมาตรการใดที่จะให้ประชาชนเชื่อใจได้ว่าหากเกิดน้ำท่วมอีก กรุงเทพมหานครจะป้องกันได้ ปัจจุบันนี้แม้แต่ฝนตกหนัก น้ำก็ยังท่วม มาตรการที่กำหนดให้ประชาชนต้องเว้นที่ดินไว้ 1/3 เป็นที่ว่างเพื่อให้น้ำซึมผ่านได้นั้น เป็นแนวคิดที่สุดบุพกาล เสมือนกับไม่มีระบบระบายน้ำใดๆ เลย 2. ผังเมืองนี้ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร เพราะไม่ใช่แผนแม่บทในการพัฒนาสาธารณูปโภค หน่วยงานด้านถนน รถประจำทาง ทางด่วน ระบบขนส่งมวลชนต่างพัฒนาไปคนละทิศละทาง แต่ในทางตรงกันข้าม ผังเมืองกลับอ้างว่าวางแผนตามระบบคมนาคม ซึ่งหากผังเมืองหมดอายุในปี 2560 ก็ยังไม่แน่ว่าโครงการเหล่านี้จะได้ก่อสร้างหรือไม่ เท่ากับผังเมือง เอาข้อมูลที่ไม่เป็นจริงมาวางผังเมือง 3. ผังเมืองนี้ไม่ได้ประสานกับหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคเลย เพราะกรุงเทพมหานครไม่ได้ประสานแผนงาน 5 ปีของการไฟฟ้า การประปา การโทรศัพท์ การไปรษณีย์ การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ฯลฯ เข้ากับผังเมืองนี้แต่อย่างใด 4. ที่ว่าจะสร้างกรุงเทพมหานครเป็นเมืองสีเขียว (Green City) ในความเป็นจริง ผังเมืองกลับทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองเพิ่มโลกร้อน เนื่องจากไม่ยอมให้มีการก่อสร้างในเมือง แต่หากใครออกไปสร้างนอกเขตกรุงเทพมหานครก็เท่ากับได้รับการ "ปล่อยผี" ทำให้เมืองขยายออกสู่ภายนอกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด 5. ผังเมืองนี้ออกมา ทำให้อพาร์ทเมนท์สำหรับผู้มีรายได้น้อยที่มีขนาด 1,000 ตารางเมตรขึ้นไปและมีอยู่ดกดื่นในเขตชั้นกลางของเมือง ก็จะสร้างไม่ได้อีกต่อไป เพราะเขากำหนดให้สร้างได้เฉพาะที่อยู่ติดถนนที่มีความกว้าง 30 เมตร ซึ่งไม่มีซอยไหนมีขนาดดังกล่าวเลย ก็คือห้ามสร้างนั่นเอง ยิ่งกว่านั้นทาวน์เฮาส์สำหรับผู้มีรายได้ปานกลางในเขตชานเมือง ซึ่งมีอยู่ดกดื่น ก็จะสร้างไม่ได้อีกต่อไป หรือสร้างได้ก็ต้องมีถนนกว้างๆ ซึ่งไม่มีถนนหนมีความกว้างเช่นดังอ้าง 6. กรุงเทพมหานครวางแผนว่าจะตัดถนนกว้างๆ อีก 140 ถนน เพื่อแก้ปัญหาจราจร แต่ในความเป็นจริง ไม่มีงบประมาณ เป็นแค่การขีดเขียนไว้ในผังเมืองเท่านั้น ถนนหลายเส้นวางผังมาตั้งแต่ผังเมืองฉบับก่อน ก็ยังไม่ได้ทำเลย แต่กลับสร้างปัญหากับประชาชน เพราะหากจะขออนุญาตก่อสร้าง ต้องใช้แนวตามแนวถนนเสนอแนะเหล่านี้ เช่น ถนนซอยปัจจุบันกว้าง 10 เมตร หากในผังเมืองกำหนดว่าจะขยายเป็น 16 เมตรก็เท่ากับเราต้องถอยร่นจากที่ดินของเราเองไปข้างละ 3 เมตร กรณีนี้เป็นการรอนสิทธิที่ชัดเจน 7. ที่ว่าผังเมืองนี้ให้โบนัสพิเศษแก่ที่ดินที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้านั้น เป็นการโอ่เกินจริง เพราะต้องเป็นสถานีที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่สถานีที่กำลังก่อสร้างด้วยซ้ำ แล้วใครจะไปขออนุญาตทัน ที่สำคัญโบนัสเหล่านั้นยังเป็นโบนัสที่รับไม่ได้ เช่น ให้เจ้าของที่ดินสร้างอาคารเพิ่มได้อีกนิดหน่อย หากจัดหาที่จอดรถให้ชาวบ้านที่ไปขึ้นรถไฟฟ้าได้จอดรถฟรี ลำพังที่จอดรถของอาคารก็ไม่พอแล้ว แล้วใครจะอยากได้โบนัสพิเศษแบบปลอมๆ เช่นนี้ โดยสรุปแล้ว ผังเมืองนี้ เป็นการแก้ปัญหาเมืองแบบซุกปัญหาไว้ใต้พรม เพราะแทนที่จะจัดระเบียบการใช้ที่ดินที่ดี กลับปัดปัญหาออกไปนอกเมือง นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชากรของกรุงเทพมหานครลดลงในระยะหลายปีที่ผ่านมา เพราะประชาชนไม่สามารถอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครได้ เพราะความพยายามทำเมืองให้หลวม กรุงเทพมหานครควรคิดใหม่ ทำเมืองให้หนาแน่น (High Density) แต่ไม่แออัด (Overcrowded) แต่ปัจจุบันกลับทำในทางตรงกันข้าม นอกจากนี้ควรให้การเคหะแห่งชาติและหน่วยงานอื่นโดยควรใช้วิธีจัดรูปหรือเวนคืนที่ดินชานเมือง เช่น เขตหนองจอก ราว 10,000 – 20,000 ไร่ สร้างเมืองใหม่แบบปิดล้อมแต่มีระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่ใจกลางเมืองโดยตรง แล้วจัดสรรที่ดินที่มีสาธารณูปโภคครบ (serviced land) เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ศูนย์ธุรกิจ เป็นต้น ร่วมกรมธนารักษ์เพื่อนำที่ดินใจกลางเมืองมาพัฒนาเป็นศูนย์ธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจมีการรวมศูนย์ สาธารณูปโภคไม่ต้องขยายตัวอย่างไร้ขอบเขต เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจด้วยกันเองในพื้นที่ และร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดสร้างนิคมให้โรงงานได้ใช้ในราคาถูกเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม และเพื่อห้ามการก่อสร้างโรงงานตามท้องนาหรือย่านชานเมืองเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ต้องเร่งแก้ไขผังเมืองแต่วันนี้ เพื่อประโยชน์สุขของสังคมส่วนรวม อย่าปล่อยให้ผังเมืองเป็นการดำเนินการตามระบบราชการที่ขาดความเข้าใจในการพัฒนาเมืองอย่างแท้จริง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เตรียมดันร่างใหม่ พ.ร.บ.คอมฯ เข้า ครม.-เพิ่มอำนาจผู้ให้บริการ ระงับบริการเองไม่ต้องรอขั้นตอน กม. Posted: 18 Jul 2013 08:22 AM PDT รมว.ไอซีที เผย เตรียมนำร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ เข้า ครม.ในอีก 2 เดือนที่จะถึงนี้ ระบุแก้ไขให้อำนาจผู้ให้บริการระงับบริการไม่เหมาะสมได้เอง โดยไม่ต้องรอกระบวนการทางกฎหมาย เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานว่า น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงความคืบหน้าของการร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ ซึ่งมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) หรือ สพธอ. เป็นผู้ร่างว่า ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็น (ประชาพิจารณ์) ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคกฎหมาย ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการลงทุน และภาคประชาชน ซึ่งถือว่าครบทุกภาคส่วนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างประมวลความคิดเห็นและเทียบกับข้อมูลเดิมเพื่อให้ครบถ้วนทุกความคิดเห็นและทุกภาคส่วน และคาดว่าจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายใน 2 เดือนต่อจากนี้ หลังจากนั้นต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และที่ประชุมวุฒิสภา คาดว่าใช้ระยะเวลาอย่างเร็วประมาณ 6 เดือนถึง 2 ปี ก่อนประกาศลงราชกิจจานุเบกษา สำหรับเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นั้น จะเน้น 2 ข้อหลักคือ 1. การปรับปรุงให้เข้ากับเทคโนโลยีปัจจุบัน 2.การให้สิทธิการควบคุมกันเอง โดยเฉพาะผู้ให้บริการเช่าใช้เซิร์ฟเวอร์จะมีสิทธิสั่งปิดหรือระงับการให้บริการของผู้เช่าใช้ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมได้โดยไม่ต้องรอถึงกระบวนการทางกฎหมาย โดยผู้เช่าใช้ไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ในภายหลัง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ค้านประกาศคุมเนื้อหาทีวีวิทยุของ กสทช.-เรียกร้องยกร่างใหม่ Posted: 18 Jul 2013 06:07 AM PDT (18 ก.ค.56) องค์กรวิชาชีพสื่อ 4 องค์กร ประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ออกแถลงการณ์ร่วมคัดค้านร่างประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.... ของ กสทช. เนื่องจากมีเนื้อหาที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอันจะมีผลเป็นการจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน พร้อมเสนอให้มีการยกร่างประกาศฯ ดังกล่าวใหม่ โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูล หลักการ และความคิดเห็น
รายละเอียดแถลงการณ์ มีดังนี้ แถลงการณ์ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ เรื่องคัดค้านร่างประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.... ของ กสทช. สืบเนื่องจาก 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ซึ่งประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ให้ กสทช. ทบทวนและแก้ไขการจัดทำ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ... เพราะมีเนื้อหาที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอันจะมีผลเป็นการจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนอย่างน้อย 5 มาตรา โดยมีความเห็นว่า กสทช.กำลังขยายขอบเขตอำนาจในการกำกับดูแลสื่อมวลชนเกินกว่ากฎหมายให้อำนาจไว้ และ กสทช.ยังมีกลไกอื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อได้เสนอแนะให้ กสทช.พิจารณาทบทวนแก้ไข (ร่าง) ประกาศดังกล่าวอย่างรอบคอบ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างฯ ก่อนนำออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามขั้นตอนของกฎหมาย อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง โดยหาก กสทช.เห็นควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อร่างประกาศดังกล่าว องค์กรวิชาชีพสื่อทั้ง 4 องค์กรที่มีสมาชิกเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ยินดีให้ความร่วมมือส่งตัวแทนเข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำหรือยกร่างประกาศนั้น หลังจากที่ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อได้ออกแถลงการณ์ไปแล้วนั้น ต่อมา 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้รับหนังสือเชิญประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศ จาก กสทช. ให้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ (18 กรกฎาคม 2556) ซึ่งจากการพูดคุยเบื้องต้นก่อนการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อได้สอบถามถึงกระบวนการ ขั้นตอนและความเป็นไปได้ในการนำความคิดเห็นที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้ไปพิจารณาปรับปรุงการจัดทำหรือยกร่างประกาศก่อนนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ประธานในที่ประชุม พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ ชี้แจงว่า การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งนี้ ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการจัดทำ (ร่าง) ประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.... เพราะ (ร่าง) ประกาศฉบับนี้ ได้ผ่านมติความเห็นชอบ ของ กสทช. ให้นำออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะไปแล้วเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 แต่ กสทช.จะรับไว้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความคิดเห็นเช่นเดียวกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะที่จะจัดให้มีขึ้นอย่างเปิดเผยตามมติของ กสทช.ต่อไป 4 องค์กรวิชาชีพสื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตั้งแต่ขั้นตอนการยกร่างประกาศอย่างแท้จริงตามที่ได้แสดงเจตนาไว้แต่ต้นกับ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบกับการปรับแก้ไข (ร่าง) ประกาศฉบับนี้ไม่สามารถกระทำได้ด้วยการปรับปรุงแก้ไขเพียงเล็กน้อย แต่ต้องเริ่มต้นยกร่างใหม่ด้วยการทำความเข้าใจในหลักการและวิธีปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน กลไกและกระบวนการกำกับดูแลสื่อมวลชนที่สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อและสิทธิในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนอย่างเป็นอิสระ การสร้างความเข้มแข็งและการรู้เท่าทันสื่ออย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงภาพรวมทั้งระบบ หาก กสทช. ยังคงยืนยันนำร่างประกาศฉบับดังกล่าวนี้ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ จะคัดค้านอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นร่างประกาศที่ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง เพราะมีเนื้อหาที่ขัดต่อหลักการด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยในการได้รับข้อมูลข่าวสาร อันอาจนำพาประเทศไทยกลับไปสู่ยุคของการปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างรุนแรงดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในยุคของเผด็จการรัฐประหารในอดีตที่ผ่านมา 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ จึงขอยื่นข้อเสนอต่อ กสทช.ว่า ขอให้ กสทช.พิจารณาทบทวนการนำร่างประกาศที่ผ่านมติของ กสทช. ออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูล หลักการ ความคิดเห็นตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างฯ อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจ ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และทำให้ร่างประกาศฉบับนี้มีสภาพบังคับใช้เป็นกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ กำกับดูแลสื่อมวลชนได้อย่างมีประสิทธิผล และนำมาซึ่งความสงบสุขของสังคมโดยรวมต่อไป ทั้งนี้ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อจะทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อคัดค้านการจัดทำร่างประกาศที่มีกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายฉบับนี้ต่อ กสทช. ต่อไป
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
ที่มา: แถลงการณ์ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จี้รัฐแก้ปัญหาสารเคมีตกค้างในข้าวถุง Posted: 18 Jul 2013 02:41 AM PDT มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค-มูลนิธิชีววิถี ยืนยันใช้ห้องทดลองได้รับการรับรองในการตรวจ เหตุไม่เปิดชื่อเพราะห้องทดลองถูกกดดันมากและต่อไปอาจไม่มีห้องทดลองรับตรวจให้ในอนาคต พร้อมยินดีและขอนัดพบนายกฯ เพื่อเสนอกลไกคุ้มครองผู้บริโภค (18 ก.ค.56) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถี เผยแพร่ใบแถลงข่าว ระบุว่า หลังจากการแถลงผลการตรวจข้าวสารถุงของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และมูลนิธิชีววิถี เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า รัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วย อธิบดี ผู้บริหารระดับสูง และผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ออกมาตั้งคำถาม กล่าวหา และเบี่ยงเบนสาระสำคัญของปัญหาข้าว ทั้งๆ ที่ควรมาช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ช่วยกันคุ้มครองผู้บริโภคและพัฒนาคุณภาพข้าวในประเทศไทย "คำกล่าวหาของนายยรรยง พวงราช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และนายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวง ที่ว่า "ตรวจหลังบ้าน" เป็นเรื่องที่ดูถูกดูแคลนองค์กรผู้บริโภคและมูลนิธิทั้งสอง ยอมรับไม่ได้ เพราะศูนย์ทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อ ตรวจสอบคุณภาพของสินค้าทุกเดือน และโดยเฉพาะกลุ่มอาหาร ไม่ว่าจะขนมปังที่ผสมยากันบูดเกินมาตรฐาน ซึ่งก็พบด้วยว่า ในท้องตลาดมีขนมปังที่ไม่มียากันบูด สารเคมีเกินมาตรฐานในผัก หรือแม้แต่การตรวจความหอมของข้าวหอมมะลิ จนนำมาซึ่งตรารับรองเทพนมของกระทรวงพาณิชย์" มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถี ระบุและว่า ทุกครั้งของการเปิดเผยข้อมูลต้องผ่านห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานเท่านั้น และมีนักวิชาการมืออาชีพด้านต่างๆ ที่ได้สนับสนุนการทำงานมาโดยตลอด และร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามาอย่างต่อเนื่อง "ถึงเวลาที่สิทธิของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการได้รับข้อมูลข้อเท็จจริง สิทธิในการเลือกซื้อ สิทธิในการได้รับความปลอดภัย ประชาชนไทยที่ถูกละเลยและไม่เคยให้ความสำคัญมาเป็นเวลานาน ต้องได้รับการคุ้มครอง" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักวิจัยสหรัฐฯ แบ่งชาวอเทวนิยมออกเป็น 6 ประเภท Posted: 17 Jul 2013 09:17 PM PDT นักวิจัยสองคนจากมหาวิทยาลัยรัฐเทนเนสซี ศึกษาและแบ่งประเภทของกลุ่มอเทวนิยม (atheists) เป็นหลายประเภทตั้งแต่กลุ่มนักกิจกรรมที่ประกาศต่อต้านศาสนา ไปจนถึงกลุ่มผู้ไม่เชื่อในศาสนาแต่ก็ยังเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในพิธีกรรมทางศาสนาบางอย่าง คริสโตเฟอร์ ซิลเวอร์ นักศึกษาปริญญาเอก และ โทมัส โคลแมน นักศึกษาปริญญาตรี กล่าวไว้ในรายงานการวิจัยว่า จากการศึกษาของพวกเขาทำให้ได้คำตอบหลักว่า กลุ่มคนที่ไม่เชื่อในศาสนามีความแตกต่างกันทางภววิทยา (Ontology - แขนงหนึ่งของปรัชญา ที่ศึกษาเรื่องการมีอยู่จริง หรือสภาวะของความจริง) ซิลเวอร์กล่าวอีกว่า การแบ่งผู้มีแนวคิดอเทวนิยมออกเป็น 6 ประเภท ในงานวิจัยของเขาเป็นการแบ่งเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ในอีก 30 ปี ข้างหน้าอาจมีการแบ่งได้เป็น 32 ประเภท งานวิจัยของซิลเวอร์ และ โคลแมน ใช้วิธีการสัมภาษณ์คน 59 คน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของอเทวนิยมได้ดังนี้
คนกลุ่มนี้มักจะนิยมหาข้อมูลและพยายามกระตุ้นการสนทนาเกี่ยวกับความเชื่อว่าไม่มีพระเจ้า พวกเขาชอบการถกเถียงแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะตามหน้าเว็บไซต์อินเทอร์เน็ต คนกลุ่มนี้มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาและแนวคิดไม่มีศาสนาโดยอ่านจากหนังสือหรือบทความต่างๆ และมักจะอ้างอิงหนังสือหรือบทความเหล่านั้นอยู่บ่อยๆ
คนกลุ่มนี้คิดว่าแค่การไม่เชื่อในพระเจ้านั้นยังไม่เพียงพอ พวกเขาต้องการป่าวประกาศให้คนอื่นรู้ว่าเหตุใดพวกเขาถึงปฏิเสธศาสนาและเหตุใดสังคมถึงจะดีขึ้นหากทุกคนจะกลายเป็นผู้ไม่มีศาสนาเหมือนกัน คนกลุ่มนี้มักจะเป็นปากเสียงในประเด็นการเมืองเช่น สิทธิเกย์ สตรีนิยมสิ่งแวดล้อม และการดูแลสัตว์
คนกลุ่มนี้ไม่แน่ใจว่าพระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่ก็เปิดใจและเข้าใจว่ามนุษย์มีความรู้และประสบการณ์ที่จำกัดในการหาคำตอบ ซิลเวอร์ และ โคลแมน กล่าวว่าคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ตั้งคำถามกับความเชื่อของตัวเองอยู่ตลอดเวลาและไม่ยึดติดกับจุดยืนความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนกลุ่มนี้สับสนในตัวเอง พวกเขาแค่ยอมรับเรื่องความไม่แน่นอน
ซิลเวอร์และโคลแมน กล่าวว่า คนกลุ่มนี้มักจะออกมากล่าวต่อต้านศาสนาและความเชื่อทางศาสนา โดยวางตัวเองไว้เป้นฝ่ายตรงข้ามของแนวคิดทางศาสนาโดยสิ้นเชิง "กลุ่มต่อต้านเทวนิยมมองศาสนาว่าเป็นความโง่เขลาเบาปัญญา และมองว่าบุคคลหรือสถาบันใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจะถือว่าล้าหลังและเป็นภัยต่อสังคม" นักวิจัยเขียนไว้ในรายงาน "กลุ่มต่อต้านเทวนิยมมีมุมมองที่ชัดเจน และในสายตาของพวกเขาแล้วพวกเขามองตัวเองมีความเหนือกว่าในแง่ความเข้าใจเรื่องข้อจำกัดและอันตรายของศาสนา" กลุ่มต่อต้านเทวนิยม มักจะชอบประกาศตน มีความทุ่มเท และชอบท้าทายสิ่งที่พวกเขาไม่เชื่อ พวกเขาเชื่อว่า "ความคิดผิดๆ ที่เห็นได้ชัดในศาสนาควรถูกนำมากล่าวถึงด้วยความอุกอาจในทางใดทางหนึ่ง"
เป็นกลุ่มที่มีอยู่น้อยที่สุดจากทั้ง 6 กลุ่ม เป็นกลุ่มคนที่ไม่ยุ่งเกี่ยวทั้งกับศาสนาและการต่อต้านศาสนา และในหลายกรณีก็รู้สึกเฉยเมยหรือไม่มีอารมณ์ร่วมกับสิ่งเหล่านี้เลย "กลุ่มผู้ไม่ยุ่งเกี่ยวเรื่องศาสนา คือคนที่ไม่เอาตัวเองไปผูกกับประเด็นศาสนาเลย" ซิลเวอร์ และ โคลแมน เขียนไว้ในรายงาน "ศาสนาไม่มีบทบาทหรืออิทธิพลใดๆ ต่อจิตสำนึกหรือการมองโลกของคนๆ หนึ่ง และผู้ไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนาก็ไม่สนใจขบวนการของกลุ่มต่อต้านศาสนาหรือกลุ่มไญยนิยม" ผู้วิจัยกล่าวอีกว่า "พวกเขาเพียงแค่ไม่มีความเชื่อ และในทางเดียวกัน การไม่มีความศรัทธาก็หมายถึงการไม่มีอะไรเลยที่เกี่ยวข้องกับศาสนาในพื้นที่จิตใจของพวกเขา"
พวกเขาไม่เชื่อในพระเจ้า พวกเขาไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนา และพวกเขาก็มักจะไม่เชื่อในเรื่องโลกหลังความตาย แต่ผู้ไม่เชื่อในศาสนากลุ่มที่ 6 นี้ยังคงเชื่อว่าพิธีกรรมหรือคำสอนของบางศาสนามีประโยชน์ "พวกเขามองว่ามันเป็นคำสอนเชิงปรัชญาในเรื่องวิธีการใช้ชีวิตและวิธีการมีความสุข มากกว่าจะเป็นการหลุดพ้นเหนือธรรมชาติ" นักวิจัยกล่าวในรายงาน "ยกตัวอย่างเช่น คนกลุ่มนี้อาจจะเข้าร่วมกับพิธีกรรมหรืองานเทศกาลเฉพาะอย่าง รวมถึงงานแสดงดนตรี การฝึกสมาธิ การเรียนโยคะ หรือประเพณีในวันหยุด" นักวิจัยกล่าวอีกว่า ผู้ไม่เชื่อในศาสนากลุ่มนี้มักจะยึดกับพิธีกรรมเนื่องจากประเพณีของครอบครัว ส่วนอื่นๆ ก็อาจจะมาจากความรู้สึกผูกพันหรือเคารพชมชอบโดยส่วนตัวกับ "สัญญะที่แฝงอยู่" ในพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ และงานประเพณี
แปลและเรียบเรียงจาก Behold, the six types of atheists, Dan Merica, CNN, 15-07-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประทับจิต นีละไพจิตร: เล่าเรื่องคนหายรอบโลก และย้อนมองกรณี “สมบัด สมพอน” Posted: 17 Jul 2013 07:31 PM PDT ในโอกาสครบ 7 เดือน การหายตัวไปของ "สมบัด สมพอน" ประทับจิต นีละไพจิตร อภิปรายในเสวนา "ทางเลือก-สู่สันติภาพ" เล่าเรื่องการบังคับให้สูญหายในโลก พร้อมเสนอสังคมช่วยกันบอกเล่าเรื่องราวของคนหาย เพื่อเรียกคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้เหยื่อและครอบครัวของผู้ที่ถูกทำให้สูญหาย เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา โครงการ "มองไปไกลกว่าสมบัด สมพอน" ซึ่งตั้งขึ้นหลังการหายตัวไปของนักพัฒนาอาวุโสชาวลาว สมบัด สมพอน ได้จัดรำลึกถึงการหายตัวไปของเขาครบรอบ 7 เดือน โดยมีการเสวนาเรื่อง "ทางเลือก-สู่สันติภาพ" โดย ประทับจิต นีละไพจิตร คณะทำงานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ และบุตรสาวของทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งหายตัวไปเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ประทับจิต เริ่มการเสวนาว่า ได้ค้นเอกสารในสังคมไทยว่ามีเรื่องเกี่ยวกับคนหายหรือเปล่า พบว่าในทศวรรษที่ 1950 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการถ่ายทอดวิธีการทำให้บุคคลสูญหายมาจากสหรัฐอเมริกาในช่วงที่มีการฝึกทางทหาร โดยในขณะนั้นสหรัฐอเมริกาซึ่งต่อต้านคอมมิวนิสต์ก็มีการถ่ายทอดเทคนิควิธี โดยกลุ่มหลักที่รับเทคนิคเหล่านี้คือตำรวจ ก่อนขยายไปที่ทหาร ในสังคมไทยมีกรณีคนหายเยอะมาก แต่ยังไม่มีการรวบยอดว่า การบังคับให้สูญหาย โดยเฉพาะการสูญหายโดยการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นอย่างไร มีแต่การใช้คำว่า "หาย" หรือ "missing" อีกคำหนึ่งคือ "อุ้มหาย" และยิ่งในกฎหมายของไทยยิ่งแล้วใหญ่ ไม่มีคำ และไม่มีการระบุว่าการบังคับให้สูญหาย เป็นความผิดทางอาชญากรรม ทุกวันนี้ในสังคมไทย ในลาว ในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้จะมีการลงนามรับอนุสัญญาสหประชาชาติป้องกันมิให้คนหาย แต่การทำให้คนหาย ยังไม่เป็นความผิดภายในประเทศ สำหรับในวงการวิชาการพบว่ามีกระบวนการที่คนถูกลักพาตัว มีวัตถุประสงค์ได้แก่ หนึ่ง กำจัดบุคคลนั้น สอง เอาข้อมูลสำคัญจากคนนั้น และกรณีคนหายแล้วรอดกลับมา ก็จะบอกว่าตนเองถูกทรมานแต่ส่วนมากเสียชีวิตและไม่รู้ว่าศพอยู่ที่ไหน นิยามของสหประชาชาติบอกว่า การสูญหายแปลว่ามีการกระทำ มีการลักพาตัว มีการอุ้ม มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพ แล้วคนกระทำเน้นไปที่ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือแขนขาของรัฐ แต่ในอนุสัญญาโรม เรื่องการก่ออาชญากรรมในมนุษยชาติ ก็ขยายนิยามไปถึงกลุ่มผู้กระทำอื่นที่มิใช่รัฐ เช่น กลุ่มทางการเมืองที่ใช้ความรุนแรงด้วย อย่างเช่น กลุ่มเหมาอิสต์ในเนปาล หรือกรณีในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มต่อต้านรัฐก็มีการใช้วิธีทำให้หายเหมือนกัน การทำให้สูญหาย นอกจากมีการกระทำ มีคนกระทำแล้ว ที่น่าสนใจคือรัฐ มักจะมีการปฏิเสธอย่างชัดเจนว่าไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำ มีการปกปิดสถานที่ควบคุมตัว และปกปิดสถานที่ฝังศพของผู้ที่สูญหาย ในกรณีของสมบัดิ สมพอน เมื่อเทียบกับกรณีหายตัวไปของสมชาย นีละไพจิตร นั้นกรณีของทนายสมชาย ไม่มีกล้องวงจรปิด มีแต่พยานชี้ตัว เพราะฉะนั้นคดีในศาลจึงอ่อนมาก แต่ขนาดของคุณสมบัด สมพอน มีภาพจากกล้องวงจรปิด เห็นตำรวจจราจรเรียกรถเข้าไป คือมีการกระทำ แม้จะอ้างภายหลังว่าไม่ได้เป็นผู้นำไป แต่เขาก็เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ รัฐเองจำเป็นต้องเป็นผู้ตอบคำถามนี้ อย่างน้อยคือตอบคำถามว่าคนที่เรียกตัวนายสมบัด สมพอนอยู่ที่ไหน ตอนแรกทางการลาวออกมาบอกว่าไม่รู้ ไม่เห็น แต่ข้อสังเกตกรณีที่พบมากที่สุดทั่วโลกคือ ทางการส่วนใหญ่จะโทษสาเหตุของการหายตัวไปว่า เหยื่อหายไปเอง หรือมีเรื่องส่วนตัวอยู่แล้ว หรือมีแนวโน้มจะหายตัวไปเอง ไม่รู้ไม่เห็น แต่พอมีแรงกดดันมากๆ หลังจากนั้นมีแถลงการณ์ มีการส่งคำถาม โดยเฉพาะจากทางยุโรป ไปถามรัฐบาลลาวว่าสมบัด สมพอน หายไปไหน รัฐบาลก็ใช้วิธีบอกว่าได้แจ้งไปทางตำรวจสากล ตำรวจสหรัฐอเมริกา ตำรวจประเทศนั้นประเทศนี้แล้ว ประกาศหาไปกับตำรวจทั่วโลกแล้ว ใครที่มีเบาะแส มาบอกได้เลย เราพร้อมจะไปตามหาสมบัด สมพอน ทั้งทีตำรวจประเทศเหล่านั้นไม่ได้เป็นผู้เรียกตัวสมบัด สมพอน เมื่อมีคนหาย ซึ่งไม่รู้ว่าอยู่หรือตายนั้น ได้ก่อเกิดความสบสนขึ้นในสังคม โดยเฉพาะในสังคมส่วนมากเวลาที่คนได้ยินรัฐบาลพูดอะไรบางอย่างก็มีแนวโน้มจะเชื่อ ที่ว่าสื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญนั้น บางครั้งสื่อมวลชนก็ไปประโคมข่าวให้รัฐบาล ว่าคนๆ นี้มีปัญหาแบบนี้นะ เพราะฉะนั้นเขาจึงมีแนวโน้มที่จะหาย ในขณะที่ความเห็นจากครอบครัวของเหยื่อ กลับมีน้ำหนักในสังคมน้อยมาก และการทำให้บุคคลสูญหาย เปิดโอกาสให้กับการตีความได้หลากหลาย ทำให้ผู้กระทำละเว้นต่อการรับผิดชอบ ผู้กระทำออกมาปฏิเสธได้ง่ายๆ ว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำ ช่องว่างของความคลุมเครือนี้ ทำให้การทำให้บุคคลสูญหาย ร้ายแรงกว่าการทำให้คนตายเสียอีก และรัฐได้ประโยชน์เต็มๆ จากการกระทำที่คลุมเครือ นอกจากนี้การทำให้บุคคลสูญหายก็มีรูปแบบคล้ายกันทั่วโลก เป้าหมายก็เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง ที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐออกไป ต่อมาประทับจิต อภิปรายเรื่องความคลุมเครือเมื่อมีบุคคลสูญหายก่อให้เกิดอะไรกับเหยื่อบ้าง โดยได้ยกตัวอย่างจากกรณีที่เกิดขึ้นในเนปาล โคลัมเบีย ฟิลิปปินส์ ภาคเหนือของไทย ว่าเหยื่อในแต่ละที่ ในแต่ละสังคมเจอกับอะไรบ้าง ทั้งนี้เหยื่อกลับเป็นผู้ที่เสียประโยชน์ สิ่งที่มองเห็นได้ก็คือ เหยื่อได้รับผลกระทบทางจิตใจ แทนที่เวลาผ่านไปเหยื่อจะลืม เหยื่อยิ่งครุ่นคิด ครอบครัวของผู้สูญหายยิ่งครุ่นคิด ความคลุมเครือมันร้ายแรงขนาดที่ว่า เหตุการณ์การหายไม่ได้จบลง ณ วันที่หาย แต่ความคลุมเครือที่ยังดำเนินต่อไป ระหว่างที่ยังหาศพไม่พบ ทำให้ภาวะความสูญเสีย ที่เกิดขึ้นทางจิตใจยาวขึ้นไปด้วย ส่วนผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองนั้น หลายที่โดยเฉพาะในเอเชีย ซึ่งเพศชายเป็นใหญ่ พบว่า หลังจากสามีซึ่งถูกทำให้หายตัวหรือเสียชีวิต ผู้หญิงหลายคนต้องออกมาทำงาน ปัญหาสำคัญคือในสังคมที่ผู้หญิงยากจน ไม่มีความรู้ หลายคนต้องออกมาเป็นขอทาน เมื่อออกมาพึ่งชุมชน ก็ถูกทำให้กลายเป็นคนรับใช้ของชุมชน เรื่องสังคม วัฒนธรรม พบว่า จะเห็นได้ว่า ในหลายสังคม มีพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิดและการตาย พิธีกรรมทางสังคมมีความสำคัญ เพราะมันบอกตำแหน่งแห่งที่ บอกสถานะของสมาชิกในสังคม แต่ประเด็นคือหลังจากมีการสูญหาย ไม่มีพิธีกรรมเกี่ยวกับการสูญหาย ไม่มีการเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้จบ ยุติ สถานะของเขาเหล่านั้น ความทุกข์ทรมานจึงเกิดขึ้นกับหลายสังคม เช่น ครอบครัวของผู้สูญหายในอินเดีย หรือชาวละหู่ในภาคเหนือของไทย ที่เชื่อว่าการตายโดยไม่เป็นธรรมชาติ หรือตายโหง จะนำความโชคร้ายมาสู่สังคม หรือบ้านเรือน ทำให้ผู้หญิงที่สมาชิกในครอบครัวเป็นสูญหายจะถูกกีดกันทางสังคม ในสังคมอินเดีย มีการแต้มจุดเพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าแต่งงานแล้วหรือไม่ได้แต่งงาน ผู้หญิงที่สามีสูญหาย ก็ไม่รู้ว่าจะเอาจุดออก หรือไม่เอาจุดออก เชื่อไหมว่าแค่จุดสีแดงบนหน้าผากนั้นสำคัญมาก เรื่องคนหายจึงไม่เฉพาะการพรากคนที่เขารักไป แต่ยังพรากเอาความเป็นอัตลักษณ์ ความเป็นสมาชิกในสังคมหนึ่งหายไปด้วย เมื่อมีคนหาย ครอบครัวหลายครอบครัวโดยเฉพาะผู้หญิง อยู่ไม่ได้ในชุมชน ครอบครัวของสามีก็ไม่รับ หลายคนต้องออกจากชุมชนไป ในสหรัฐอเมริกา มีกรณีที่ญาติของคนหายฆ่าตัวตายเยอะมาก ในทางการเมืองก็สำคัญ เหยื่อต้องแลกเพื่อขอความร่วมมือจากรัฐ ส่วนใหญ่ต้องยอมรับก่อนว่าเหยื่อหายไปเอง เจ้าหน้าที่รัฐไม่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ขณะเดียวกันก็ยังลังเลว่าอยากพิสูจน์ว่าเจ้าหน้าที่รัฐนั่นแหละที่ทำ หรือเกี่ยวข้อง ทำให้คนของเราหายไป ในตอนท้าย ประทับจิต กล่าวถึงวิธีที่เหยื่อซึ่งมีสมาชิกครอบครัวเป็นผู้สูญหายเลือกใช้ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง บูรณาการศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขาขึ้นมาประกอบด้วย หนึ่ง สานเสวนาระดับครอบครัว เป็นกระบวนการเยียวยาที่เหยื่อทำได้ตั้งแต่ในครอบครัว จับเข่าคุยกัน อธิบายว่าครอบครัวมีปัญหาอย่างไร เพื่อให้ยอมรับได้ว่าเรากำลังเผชิญกับความคลุมเครือที่จะเป็นภาวะระยะยาว สอง สานเสวนาระดับชุมชน มีการสร้างกลไกเพื่อระบุสถานะผู้ที่สูญหายในชุมชน คุยกันว่าสถานการณ์ในชุมชนเป็นแบบนี้ ชุมชนช่วยกันกอบกู้ความรู้สึก สร้างความช่วยเหลือให้เหยื่อ และวิธีสุดท้ายที่น่าสนใจ และเรากำลังทำในที่นี้คือ "สร้างเรื่องเล่า" ทั้งนี้สิ่งที่น่ากลัวในการทำให้คนหายคือ ผู้กระทำมักจะมีการผูกขาดอำนาจเกี่ยวกับคนหาย ว่าเขาเป็นใคร เขาไปทำอะไร แต่เราพบว่าจุดเริ่มต้นสำคัญมากๆ เหยื่อในละตินอเมริกามารวมตัวกัน และออกมาเรียกร้องได้ก็คือ การสร้างเรื่องเล่าเกี่ยวกับคนที่หายไป "ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่รู้จักสมบัด สมพอนมาก่อน แต่หลังจากที่เขาหายไป ก็ได้ศึกษาก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเขามากขึ้น ถ้าหากว่าทุกวันที่ 15 เรายังออกมายืนชูป้ายว่าเราเชื่อในสิ่งที่เขาทำ เรายังใช้การพัฒนาตามแนวทางของเขา เรายังเชื่อในพลังของเยาวชนแบบที่คุณสมบัด สมพอนเป็น กระบวนการแบบนี้คือการสร้างเรื่องเล่า ซึ่งต้องอาศัยคนทั้งสังคม ไม่เฉพาะครอบครัวของเขา เพราะครอบครัวก็เผชิญภาวะหนักแล้ว นี่คือสิ่งที่ดิฉันคิดว่าเป็นแสงเล็กๆ ที่ปลายอุโมงค์" ประทับจิตกล่าว โดยหนึ่งในวิธีที่จะทำให้คุณสมบัดกลับมาก็คือ สร้างเรื่องเล่าด้วยกันเกี่ยวกับคนที่หายไปให้มากที่สุด ว่าเขาคือใคร เขาทำอะไร เขาไม่ควรหายไปอย่างไร นี่คือแสงที่ปลายอุโมงค์เล็กๆ ที่จะสามารถช่วยเหลือเหยื่อจำนวนมาก ดิฉันและแม่ได้พบกับ ภรรยาของสมบัด สมพอน และพบว่าแรงของการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ส่งผลต่อแรงใจให้กับภรรยาของสมบัด สมพอน "การสร้างเรื่องเล่ามีพลังอำนาจมาก ถ้าทุกคนออกมาสร้างเรื่องเล่า ว่าเขาหายไม่ได้หายไปเอง หายจากการถูกเรียกในวันนั้น หายเพราะมีคนนำไป จะยิ่งทำให้เรื่องเล่าของเขาไม่หายไป เรื่องเล่าจะสลายเมฆหมอกของความคลุมเครือ จากคำอธิบายนานา ที่วนอยู่ในสังคม ขึ้นมาได้ในที่สุด" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น