ประชาไท | Prachatai3.info |
- ธงชัย วินิจจะกูล
- ธงชัย วินิจจะกูล: สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาฯ
- กรีซผ่านกฎหมายปลดคนทำงานภาครัฐร่วมหมื่นตำแหน่ง
- ละเมิดหยุดยิง BRN โวย ทหารยันไม่ใช้ความรุนแรง
- กลุ่มผู้ถูกคดีไฟใต้ เตือนสันติภาพเปราะบาง ระวังเหตุลอบยิง
- พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ: คำชี้แจง (เพิ่มเติม) เรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯฉบับประชาชน (ในส่วนกระบวนการยกร่าง)
- 'สม รังสี' กลับถึงพนมเปญแล้ว ประชาชนนับหมื่นร่วมต้อนรับ
- ปชป.ท้าแกนนำ นปช. ต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมเหมือนอภิสิทธิ์-สุเทพ
- เผยรัฐเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบชุมนุมทางการเมืองไปแล้ว 70%
- ก.แรงงานอนุมัติแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติทำงานในไทยได้อีก 1 ปี
- แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลตั้งคำถามพม่ากรณีจับกุมนักโทษทางความคิด
- เวทีการใช้สิทธิฉุกเฉินตามนโยบายรัฐ ชี้ต้องมีการกำหนดกติการ่วมกัน
- ศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษาคดี 112 “บัณฑิต อานียา” 21 ส.ค.นี้
- สพธอ.จับมือเครือข่ายสร้างมาตรฐานกำกับเนื้อหาเน็ต – นักวิชาการห่วง “ศาลเตี้ย”
Posted: 19 Jul 2013 10:21 AM PDT "ของเราก็เหมือนกัน เราสามารถภูมิใจเพราะว่าเป็นบ้านเรา เราแคร์ เรารัก โดยที่ไม่ต้องบอกว่าเราเหนือกว่า ไม่ต้องหลอกตัวเองว่าพิเศษ ไม่ต้องหลอกตัวเองว่าเป็น exceptional (ข้อยกเว้น) ไม่เหมือนใครในโลก เพราะเอาเข้าจริงมีหลายอย่างที่พอเราเผยอหัวออกไปนอกกรอบสังคมไทย จะได้รู้จักตัวเองอย่างเปรียบเทียบ รู้จักตัวเองอย่างพอเหมาะพอควร" 18 ก.ค.56, ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค" | |
ธงชัย วินิจจะกูล: สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาฯ Posted: 19 Jul 2013 08:51 AM PDT เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มีการเปิดศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาขึ้นอย่างเป็นทางการ และมีปาฐกถาพิเศษโดยศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ประธานสมาคมเอเชียศึกษา และอาจารย์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ "สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค" โดยบทคัดย่อของปาฐกถาระบุว่า "ความรู้เรื่องไทย ทั้งในทางประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา นโยบายศึกษา และอื่นๆ ในบริบทของภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบริบทโลกเป็นอย่างไร? กรอบการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยปัจจจุบันนี้ถ่วงรั้งอนาคตหรือไม่? เราจะสามารถก้าวข้ามจากชุมชนชาติไปสู่ชุมชนภูมิภาคได้หรือไม่? นักวิชาการจากหรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีคุณูปการอย่างไรต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา? คุณูปการของพวกเขาจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างอย่างไรกับคุณูปการของนักวิชาการ "ตะวันตก"? ข้าพเจ้าเองจัดวางตนเอง และผู้อื่นจัดวางผลงานของข้าพเจ้าอย่างไร ในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา? ในตอนหนึ่ง ธงชัยกล่าวว่า ความรู้เกี่ยวกับไทย ความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคนี้ ในความเห็นของผม ปัจจัยสำคัญ ลักษณะสำคัญก็คือ "Thai Centrism" (เน้นไทยเป็นศูนย์กลาง) ความรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นความรู้แบบ "Thai Centric" มากๆ เราไม่รู้จักโลก เราไม่รู้จักเพื่อนบ้านเรา เราไม่รู้จักภูมิภาคนี้ เพราะเราเป็น "Thai Centrism" ความเหนือกว่า ความพิเศษ ความไม่เคยตกเป็นอาณานิคม และความรู้เรื่องไทยก็เช่นกันก็ "Thai Centrism" คือถ้าคุณเอาตัวออกจากโลกสังคมไทยหน่อย ไปเปรียบเทียบที่อื่น ไปเรียนรู้ที่อื่น ผมก็ไม่เห็นว่าเราจะต้องภูมิใจน้อยกว่านี้ เพราะนี่คือบ้านเรา ความภูมิใจที่เราจะมีต่อสังคมไทยก็คือ เพราะที่นี่เป็นบ้านของเรา ไม่ใช่เพราะเราเป็นเพชรเม็ดงามที่ดีกว่าใครในโลก ผมมีเพื่อนมาจากลักเซมเบิร์ก ก็ไม่เห็นจะต้องภูมิใจลักเซมเบิร์กว่าใครจะดีกว่าใครในโลก เขารู้อยู่ว่าประเทศของเรากระจิดริดนิดเดียว แต่ที่เขารักลักเซมเบิร์กก็เพราะเป็นบ้านเขา เขาอยากกลับบ้าน "ของเราก็เหมือนกัน เราสามารถภูมิใจเพราะว่าเป็นบ้านเรา เราแคร์ เรารัก โดยที่ไม่ต้องบอกว่าเราเหนือกว่า ไม่ต้องหลอกตัวเองว่าพิเศษ ไม่ต้องหลอกตัวเองว่าเป็น exceptional (ข้อยกเว้น) ไม่เหมือนใครในโลก เพราะเอาเข้าจริงมีหลายอย่างที่พอเราเผยอหัวออกไปนอกกรอบสังคมไทย จะได้รู้จักตัวเองอย่างเปรียบเทียบ รู้จักตัวเองอย่างพอเหมาะพอควร" สังคมไทยไม่ได้ผลิตพวกเรามาให้รู้โลก รู้รอบ รู้กว้าง ผลผลิตสำคัญของความรู้เรื่องไทยในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาคือ Thai Centrism ไม่ว่าคุณจะอ้างว่าเพื่อการพัฒนาเติบโต เพื่อยุคสงครามเย็น ต่อต้านคอมมิวนิสต์หรือะไรก็แล้วแต่ อันนั้นไปเถียงกันได้ เราน่าจะตระหนักว่าหมดยุคเหล่านั้นแล้ว เอาเข้าจริง ผมเห็นว่า มองย้อนไปนะ หมดยุคเหล่านั้นไปนานแล้วด้วย สังคมไทยยังคงผลิตความรู้ชนิดนั้น ทั้งที่เงื่อนไขในสังคมไทยผ่านยุคนั้นไปนานแล้ว การศึกษาโดยรวมไม่ใช่แค่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใช่แค่ไทยศึกษา โดยให้เน้น Thai Centrism ให้มีลักษณะยกย่องหรือปิดหูปูตาให้เห็นแค่สังคมไทย มันพ้นยุคพ้นสมัยไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ประมาณ 30-40 ปีก่อน ปกติการเปลี่ยนแปลงไม่เกิดขึ้นฉับพลันทันที มันใช้เวลา อย่างน้อยที่สุดสังคมไทยต้องตระหนักและเริ่มปรับ ผมคิดว่านี่เป็นเหตุผลหนึ่ง ผมเห็นว่าเป็นคำถามที่ท้าทายก็แล้วกัน ผมไม่ยืนยัน อาจจะต้องรอการถกเถียง ผมว่านี่อาจจะเป็นเหตุก็ได้ ที่ทำให้การศึกษาไทยล้มเหลว การศึกษาไทยอยู่ในโหมด อยู่ในแบบแผน แนวทาง ที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยมานานแล้วจึงแสนจะน่าเบื่อ เพราะสิ่งที่นักเรียนเรียนในห้องเรียน ที่เขาออกจากห้องเรียนก็เพราะสิ่งที่เรียนในห้องเรียนไม่ Relavant (สัมพันธ์) กับสังคมนี้เลย มันไม่สอดคล้อง เอาเข้าจริงผมไม่แน่ว่าด้วยนะว่าจะทำให้ภูมิใจสักแค่ไหน ทันทีที่เขาออกมาจากห้องเรียนมาอีกรอบ โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว แต่พอต้องการเรียนรู้จากตัวเอง บ้านเมืองของเรา บ้านของเรา ประเทศของเรา ยังอยู่ในโหมดที่ผูกติดกับไทยศึกษาแบบเก่าๆ ไม่สัมพันธ์กับสังคมนี้เลย ความรู้แบบที่ ต้องการสร้าง อธิบายความชอบธรรม หรือค้ำจุนจารีต ระเบียบสังคม ค้ำจุนการรู้จักที่ต่ำที่สูง ความสามัคคี รู้หน้าที่ ยกตัวอย่างสามคำนี้ เอาเข้าจริงผมว่าล้าสมัยไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้แปลว่าผมต้องการความแตกแยก ไม่ได้แปลว่าผมต้องการให้เกิดความก้าวร้าว ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง แต่สามคำนี้ มีไว้ผูกคนติดอยู่กับที่อย่างเดิม มันหมดสมัยไปนานแล้ว ทำไมเราจะให้คนรู้จักความสัมพันธ์ชนิดอื่นไม่ได้หรือ? เราสามารถมีความเคารพต่อกันได้ เราสามารถเคารพผู้ใหญ่ได้ด้วย โดยที่ไม่ต้องมีลักษณะที่ว่ามีความกดดันเรื่องที่ต่ำที่สูง หรืออย่างมี Hierachy (ลำดับชั้น) แบบเดิม เราสามารถเข้าใจความสามัคคีในแง่อื่นได้ไหม แทนที่จะต้องกดปราบ และบังคับ หรือกดดันไม่ให้ถกเถียงกัน เราสามารถส่งเสริมการถกเถียง อย่างศรีวิไล อย่างสันติ ได้ไหม ความสามัคคีชนิดนั้นแทนที่จะต้องเรียกร้องเอกภาพ ภายใต้การนำของผู้ใหญ่เสมอไป หมดสมัยอย่างนั้นไปนานแล้ว การเรียนรู้เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเรื่องไทย ขัดฝืนกับโลกที่เป็นอยู่ ชักธงอาเซียนอีกกี่สิบชาติ มันก็ไปไม่รอด เพราะมันไม่สัมพันธ์ มันไม่มีความเกี่ยวพันกับชีวิตของเขา เราเน้นการรู้จักหน้าที่ เน้นความมีระเบียบวินัยกันมาก จึงเกิดปรากฎการณ์ที่แม้กระทั่งเรื่องทรงผม เครื่องแต่งกาย ขณะที่หาความสัมพันธ์ไม่เจอแล้ว เหลืออย่างเดียวคือสร้างคนให้สยบต่ออำนาจ สังคมไทยในภาวะอย่างนั้นมันหมดไปนานแล้ว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กรีซผ่านกฎหมายปลดคนทำงานภาครัฐร่วมหมื่นตำแหน่ง Posted: 19 Jul 2013 07:52 AM PDT
ที่มาวีดีโอ: ช่องยูทูป TheNewsinsighz เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 56 ที่ผ่านมาสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่ารัฐสภาของกรีซมีมติผ่านร่างกฎหมายปรับโครงสร้างระบบราชการด้วยคะแนน 153-140 เสียง โดยการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นมาตรการปฏิรูปที่รัฐบาลกรีซได้ตกลงกับสหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือมูลค่า 6,800 ล้านยูโร ในการนำมาแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศ กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลให้ ครู พนักงานเทศบาล และตำแหน่งอื่นๆ เข้าสู่โครงการเลิกจ้างพนักงานภาครัฐ 12,500 ตำแหน่งทันที และอีก 15,000 ตำแหน่งภายในสิ้นปี 2014 ทั้งนี้ในระหว่างการประชุมสภาเพื่อขอความเห็นชอบให้ผ่านร่างกฎหมายนี้ กลุ่มสหภาพแรงงานก็ได้มารวมตัวประท้วงหน้ารัฐสภาในกรุงเอเธนส์ และก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มสหภาพแรงงานหลายแสนคนก็ได้ทำการนัดหยุดงานประท้วงเพื่อคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ละเมิดหยุดยิง BRN โวย ทหารยันไม่ใช้ความรุนแรง Posted: 19 Jul 2013 07:23 AM PDT 19 ก.ค. 56 - มีรายงานข่าวจากประเทศมาเลเซียว่า นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ในฐานะตัวแทนในการพูดคุยสันติภาพกับตัวแทนรัฐบาลไทยยื่นหนังสือต่อดาโต๊ะ สรี อาห์มัด ซัมซามิน ฮาซิม อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติมาเลเซีย ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติภาพระหว่างไทยกับบีอาร์เอ็นว่า ระบุว่าฝ่ายไทยละเมิดข้อตกลงในการลดความรุนแรงในเดือนรอมฏอน ทั้งนี้รายงานระบุว่า ฝ่ายบีอาร์เอ็นจะหยุดการก่อเหตุยิงอย่างที่ดาโต็ะ ศรี ซัมซามีนได้ประกาศไว้อย่างจริงจัง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การที่ประชาชน ครูตาดีกา ผู้นำศาสนา คนที่มีคดีติดตัวและคนอื่นๆ หลายคนที่ถูกสังหาร ทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการสันติภาพ ทำให้คนของบีอาร์เอ็น หรือกลุ่มกองกำลังอาร์เคเคไม่สามารถอดทนได้ ทำให้พวกเขาต้องออกมาตอบโต้อย่างที่เกิดขึ้น
แม่ทัพยันเรื่องจริง-ย้ำทหารไม่ใช้ความรุนแรง
พล.ท.สกล ชื่นตระกูล พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) เปิดเผยต่อกรณีดังกล่าวว่า เท่าที่ทราบมีการส่งหนังสือดังกล่าวมาให้คณะพูดคุยสันติภาพฝ่ายไทยแล้วแล้ว แต่ยังไม่มีใครได้ส่งหนังสือดังกล่าวมาให้ตน "ยอมรับว่าเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วง10 วัน ของเดือนรอมฏอนที่ผ่านมา มีความสงสัยอยู่หลายอย่าง ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของคณะทำงานส่งเสริมสันติภาพในช่วงเดือนรอม พ.ศ.2556 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่แต่งตั้งโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) ที่จะต้องตอบคำถามและข้องสงสัยต่างๆ" พล.ท.สกล กล่าว พล.ท.สกล เปิดเผยด้วยว่า อย่างไรก็ตามตลอด 10 วันของเดือนรอมฏอนที่ผ่านมา ทาง กอ.รมน.ภาค 4 สน.ได้จัดแผนการรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนในพื้นที่ ในเชิงที่ไม่ใช้ความรุนแรงอยู่แล้ว นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ เลขานุการคณะทำงานส่งเสริมสันติภาพในเดือนรอมฏอนฯ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาคณะทำงานส่งเสริมฯ ได้ประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา มีข้อสรุปว่า ตั้งแต่วันที่ 10-17 กรกฎาคม 2556 เกิดเหตุรุนแรงทั้งหมด 19 เหตุการณ์ แยกเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบ 3 เหตุการณ์ คือ เหตุระเบิดในอ.รามัน จ.ยะลา 1 เหตุการณ์ ที่อ.บันนังสตา จ.ยะลา 1 เหตุการณ์ และเหตุระเบิดที่ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส 1 เหตุการณ์ นายไกรศร เปิดเผยอีกว่า นอกจากนี้ยังมีเหตุคลุมเครือ 2 เหตุการณ์ คือ เหตุยิงราษฎรในพื้นที่อำเภอบันนังสตา 2 คน ทางคณะทำงานฯ มีมติ 1.ให้คณะทำงานฯ ในส่วนของจังหวัดยะลาเร่งตรวจสอบในพื้นที่อย่างละเอียด 2.ให้ตำรวจเร่งดำเนินคดีนี้เป็นพิเศษ 3.หากประชาชนในพื้นที่ยังไม่พอใจในผลการตรวจสอบ อาจจะตั้งคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งขึ้นมาตรวจสอบ โดยมีผู้นำศาสนาในพื้นที่เป็นกรรมการ
วิสามัญผู้ต้องหาคดีถล่มรถไฟ วันเดียวกัน สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ รายงานว่า เมื่อ 15.00 น. เจ้าหน้าที่ทหารเข้าปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายบริเวณบ้านกือลอ ม.3 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส จนเกิดการยิงปะทะกันกับคนร้ายขึ้น จากการตรวจสอบพบ คนร้ายถูกยิงเสียชีวิต 1 ราย ทราบชื่อต่อมาคือ นายมะสุเพียน มามะ พร้อมยึดอาวุธปืนที่ใช้ต่อสู้ได้ 1 กระบอก สอบประวัติพบว่าคนร้ายเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ลงมือก่อเหตุลอบยิง อาสาสมัครรักษาความปลอดภัยขบวนรถไฟ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2555
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กลุ่มผู้ถูกคดีไฟใต้ เตือนสันติภาพเปราะบาง ระวังเหตุลอบยิง Posted: 19 Jul 2013 07:11 AM PDT กลุ่มผู้ถูกคดีไฟใต้ที่ได้ประกันตัว ออกแถลงการณ์เตือนระวังเหตุลอบยิง หลังสมาชิกถูกฆ่า 5 คน เจ็บ 1 ชี้สันติภาพเปราะบาง ฝ่ายเสียเปรียบจะก่อเหตุกับชาวบ้าน หวังทำลายความน่าเชื่อถือฝ่ายตรงข้าม ตำรวจให้รายงานตัวจะช่วยดูแลได้ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมาเครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ (JOP) ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับการปล่อยชั่วคราว (ประกันตัว) ระหว่างการพิจารณาคดีและจำเลยที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ร่วมกับเครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพเครือข่ายชมรมโต๊ะอิหม่าม และเครือข่ายครูตาดีกา ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง แจ้งเตือนเฝ้าระวังการคุกคามด้วยการลอบยิงโดยศาลเตี้ย แถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่าเนื้อหาว่า ได้เกิดปรากฏการณ์การลอบยิงประชาชนมลายูปาตานีค่อนข้างถี่ท่ามกลางการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐไทยกับ BRN โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายโต๊ะอิหม่ามครูตาดีกาและผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวฯ จึงขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทและจงเฝ้าระวังสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆที่ผิดปกติ ถ้ามีสัญญาณผิดปกติให้แจ้งผู้นำชุมชนหรือเครือข่ายสื่อสารมวลชนทันที แถลงการณ์ระบุต่อไปว่า โดยวิสัยปกติในภาวะของการสู้รบ เมื่อสถานการณ์ถูกยกระดับถึงขั้นพูดคุยเพื่อสันติภาพ ย่อมมีฝ่ายได้เปรียบและเสียเปรียบในทางการเมือง และเป็นวิสัยปกติที่ฝ่ายเสียเปรียบมักจะเลือกใช้วิธีรุนแรงต่อกลุ่มเป้าหมายอ่อน เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือฝ่ายตรงข้าม มีเพียงพลังเครือข่ายประชาชนเท่านั้น ที่จะสามารถป้องกันภัยคุกคามได้ จึงขอให้ผนึกกำลังและเชื่อมั่นในพลังประชาชน นายธรรมรัฐ อาลีลาเตะ จำเลยในคดีลอบวางระเบิด 7 จุดในจังหวัดยะลา ในฐานะเลขานุการเครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติเปิดเผยว่า เหตุที่ออแถลงการณ์ดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมามีสมาชิกเครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติถูกลอบยิงมาแล้ว 5 ราย บาดเจ็บ 1 ราย โดยรายล่าสุดคือนายตอเหล็บ สะแปอิง อายุ 44 ปี ชาว ต.สะเอะ อ.กรงปินัง จ.ยะลา ได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งนายตอเหล็บถูกดำเนินคดีความมั่นคง 5 คดี ศาลยกฟ้องไปแล้ว 1 คดี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประกันตัว รวมทั้งเหตุเหตุยิงนายมะยาหะลี อาลี อายุ 44 ปี ครูตาดีกาบ้านบันนังกูแว อ.บันนังสตา จ.ยะลา เสียชีวิต นายธรรมรัฐ เปิดเผยว่า เหตุดังกล่าว ทำให้ทั้ง 4 เครือข่ายรู้สึกไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่รัฐอีกแล้ว เพราะเคยยื่นหนังสือเรียกร้องไปยังหน่วยงานต่างๆ ให้ช่วยดูแลความปลอดภัยให้คนที่ได้รับการปล่อยตัวหรือศาลพิพากษายกฟ้องมาแล้ว แต่ก็ยังถูกมองจากฝ่ายรัฐว่าเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบอยู่อีก ทั้งที่ได้รับการพิสูจน์จากศาลมาแล้วและต้องการให้รัฐช่วยดูแลแต่ก็ไม่สามารถดูแลได้ ทำให้ไม่รู้จะพึ่งใครได้อีกแล้ว จึงต้องออกแถลงการณ์ฉบับนี้ขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนเฝ้าระมัดระวังตัวเอง นายธรรมรัฐ เปิดเผยด้วยว่าสำหรับเครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 ในช่วงที่ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีความมั่นคงเริ่มสามารถขอประกันตัวออกมาได้ ทำให้คนที่ได้รับการประกันตัวออกมาแล้วรวมกลุ่มกันเพื่อจะช่วยเหลือคนที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว รวมทั้งช่วยเหลือดูแลครอบครัวผู้ต้องหาและจำเลย รวมทั้งผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวมาแล้วแต่กลับถูกฆ่าตายทั้งที่แต่ละคนได้ออกมาทำงานสุจริตไม่ได้ทำผิดกฎหมาย นายธรรมรัฐ เปิดเผยว่า เครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติมีสมาชิกทั่วทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา แต่เฉพาะในจังหวัดยะลามีสมาชิกซึ่งเป็นผู้ที่ถูกดำเนินคดีความมั่นคงจำนวน 200 คน นายธรรมรัฐ เปิดเผยว่า ส่วนการดำเนินการครั้งต่อไปนั้น ยังคงต้องเป็นการเรียกร้องจากทุกฝ่ายให้ช่วยกันดูแล โดยจะมีการประชุมหารือในทีมงานอีกครั้งว่าจะเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไร แต่สิ่งที่คาดหวังคือต้องการให้มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง
ตำรวจให้รายงานตัวจะช่วยดูแลได้ พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า อยากให้ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงทุกคนมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากตำรวจสามารถที่จะดูแลต่อความปลอดภัยได้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 19 Jul 2013 06:11 AM PDT ผมขอชี้แจงเรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯฉบับประชาชน(เพิ่มเติม)เพราะมีการกล่าว และ/สันนิษฐานว่า คณะนิติราษฎร์และศูนย์ข้อมูลประชาชน (ศปช.) ได้เข้ามาช่วยยกร่างให้ ดังนี้ ผมในฐานะคนรวบรวมความคิดเห็นและขอคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่พอจะรู้จักและขอคำปรึกษาได้ได้นำร่างรัฐธรรมนูญของนิติราษฎร์และร่าง พรบ.ของวรชัยมารวมกันก่อนจะร่างขึ้นมาใหม่ โดยทำตารางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของทั้งสองร่างซึ่งเป็นวิธีที่เคยทำเมื่อครั้งจะต้องยกร่าง กม.เกี่ยวกับเด็กสมัยทำงานพัฒนาด้านเด็กในอดีต นอกจากนั้น แม่น้องเกดกับผม และพี่นิชา (หิรัญบูรณะ ธุวธรรม) เคยไปให้ความเห็นเรื่องร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ และร่างนิรโทษกรรมฯฉบับอื่นอื่นเมื่อปีที่แล้ว (๒๕๕๕) ต่อคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือ คปก.ซึ่งตอนนั้นมีประมาณ ๕ ฉบับ รวมทั้งของพล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน พรรคมาตุภูมิและคุณณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ พรรคเพื่อไทยอยู่ด้วยซึ่งผมก็เอาเนื้อหาตรงนั้นมาใช้ด้วยเช่นกันซึ่งในการประชุมครั้งนั้นก็มีคุณวีรพัฒน์ปริยวงศ์ไปให้ความเห็นในฐานะผู้เชี่ยวชาญกฎหมายด้วย (ส่วนเพิ่มเติม) ตอนนั้นเรื่องร่างกฎหมายไม่ได้อยู่ในหัวของญาติคนไหนเลยเรายังหวังว่าจะมีร่างที่ดีกว่านี้ออกมากันร่างเหล่านี้ไม่ให้มีผลบังคับใช้จนกระทั่งมีร่างของคุณวรชัย เหมะออกมาเมื่อต้นปีกลุ่มญาติฯก็แถลงข่าวสนับสนุนร่างนี้เช่นกันในการจัดเวทีญาติในวันครบรอบ ๓ ปีวันที ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา แต่เมื่อกลุ่มญาติฯได้นำร่างของคุณวรชัยมาอ่านเราพบความคลุมเครือของการไม่กล่าวถึงปฏิบัติการทางทหารซึ่งบางคนมองว่าการไม่กล่าวถึงน่าจะหมายความว่าปฏิบัติการทางทหารนั้นชอบธรรมอยู่แล้วซึ่งนักกฎหมายบางท่านให้ความเห็นว่าน่าจะใช่ อย่างไรก็ตามคุณวรชัยได้ยอมรับแล้วว่าร่างของคุณวรชัยนั้นนิรโทษกรรมทหารทั้งหมดกรุณาอ่านที่นี่ ('วรชัย' ชี้ร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ ฉบับญาติวีรชนเดินหน้าลำบาก) เมื่อเห็นว่าไม่สามารถพึ่งพานักการเมืองได้ทางญาติจึงจำเป็นต้องร่าง พ.ร.บ.นี้ขึ้นมาเองนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกลุ่มญาติฯ เพิ่งมาร่างเอาป่านนี้ เพราะเราก็ไม่แน่ใจว่าเราจะทำได้หรือไม่และจะได้รับความช่วยเหลือจากใครบ้าง สำหรับกระบวนการยกร่างนั้นกลุ่มญาติฯตั้งต้นจากนำการกระทำที่ควรนิรโทษกับไม่สมควรนิรโทษมาเป็นตัวตั้งโดยไม่ได้ดูว่าควรนิรโทษใคร (นิรโทษกรรม = นิรโทษ + กรรม (หรือการกระทำ) แล้วเห็นร่วมกันในเบื้องต้นว่าควรจะนิรโทษการกระทำแบบไหน หลังจากนั้นผมใช้วิธี ctrlc + ctrl v จากทุกร่าง แล้วสกัดคำที่ญาติดูแล้วไม่เข้าใจหรือไม่พอใจ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นออก (เราจะร่างให้เข้าใจง่ายมากกว่าร่างให้เป็นแบบที่นักกฎหมายร่าง) นอกจากนั้นผมยังได้ตั้งกิจกรรมเพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างของคุณวรชัยเหมะและคณะในเฟซบุ๊คของผมเองและได้ความคิดเห็นที่น่าสนใจและผมได้รวบรวมไว้เพื่อปิดช่องโหว่จากร่างของคุณวรชัยให้ครบถ้วนตามที่ญาติแสดงความต้องการไว้และยังได้ขอความเห็นเพื่อนนักกิจกรรมต้านรัฐประหาร เพื่อนทนายสิทธิมนุษยชนอาจารย์ด้านสันติวิธี ฯลฯ ก่อนจะได้ร่างนี้มา หลังจากนั้นจึงไปชี้แจงกับอาจารย์บางท่านในคณะนิติราษฎร์ว่าผมลอกคำในร่างฯมาใช้ตรงไหนบ้าง ซึ่งอาจารย์ท่านก็แนะนำว่าให้ระวังการใช้คำเพราะมันเป็นร่างที่คนละระดับของการบังคับใช้ (รัฐธรรมนูญกับพระราชบัญญัติ) ในส่วนการลอกนั้นอาจารย์ท่านนั้นบอกว่าลอกหรือไม่ลอกก็ไม่เป็นไรเพราะคณะนิติราษฎร์ร่างรัฐธรรมนูญชิ้นนั้นขึ้นมาเพราะเป็น "บริการวิชาการสาธารณะ" ใครนำไปใช้ก็ได้ แต่คณะนิติราษฎร์มีจุดยืนในร่างรัฐธรรมนูญอาจารย์ท่านนั้นจึงไม่สะดวกที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขความ หรือคำแต่ถ้าสอบถามความคิดเห็นในข้อกฎหมายอาจารย์คณะนิติราษฎร์ทุกท่านก็ยินดีและพร้อมให้ความช่วยเหลือ ซึ่งผมตรวจสอบพบว่า "เนื้อความ" บางส่วนในร่างของคุณวรชัยก็นำมาจากร่างของนิติราษฎร์ด้วยเช่นกัน ก่อนที่จะสรุปเป็นร่างสุดท้าย ผมได้ขอความเห็นจากเพื่อนที่ทำงานในศูนย์ข้อมูลประชาชน (ศปช.) บางคนว่าร่างนี้ได้นิรโทษกรรมครอบคลุมมวลชนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงหรือไม่ซึ่งเจ้าหน้าที่บางท่านเป็นห่วงในส่วนการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน (ผมไม่ทราบรายละเอียด) ผมเลยอธิบายว่าถ้าแย่งปืนจากทหารระหว่างการชุมนุมหรือนอกการชุมนุมแต่มีผลเกี่ยวเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าวร่างนี้ครอบคลุมให้นิรโทษแต่ถ้าเอาปืนตัวเองหรือปืนใครเข้ามาในที่ชุมนุมญาติเห็นว่าไม่สมควรนิรโทษเว้นแต่ว่าการกระทำนั้นเข้าข่ายลหุโทษ (โทษเบา) ซึ่งการพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะโดยเฉพาะที่ชุมนุมของคนหมู่มากไม่น่าจะใช่ลหุโทษส่วนโดนเจ้าหน้าที่ยัดอาวุธปืนใส่มือ (ผมไม่ทราบว่ามีกรณีนี้หรือไม่) ก็จำเป็นต้องพิสูจน์ทราบต่อไป อย่างไรก็ตาม เราเห็นร่วมกันว่าถ้าใครถูกจับด้วยข้อหาอะไรสิทธิขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับคือสิทธิในการประกันตัวเพราะขนบกฎหมายบ้านเราใช้วิธีกล่าวหา ดังนั้นสิทธิในการประกันตัวต้องมาก่อน (ซึ่งในทางปฏิบัติเราจะทราบได้ว่าไม่จริงนี่เป็นบางส่วนของเหตุผลที่ว่าทำไมคณะนิติราษฎร์จึงร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ร่าง พรบ.) (ส่วนเพิ่มเติม) ในส่วนที่มีมิตรสหายบางท่านแสดงความห่วงใยว่าพี่น้องที่เผาศาลากลางอาจจะไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจากร่าง พ.ร.บ.นี้ ผมได้ชี้แจงว่าในร่างแรกแรกนั้นมีคำว่า "การกระทำใดใดที่เป็นความผิดต่อทรัพย์สินอันเป็นสถานที่ราชการหรือสัญลักษณ์ของอำนาจรัฐ เช่น การเผาทำลายศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจ ฯลฯให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง" บรรจุไว้ในมาตรา 3 (4) ก่อนจะกล่าวถึงการเอาผิดผู้เผาทำลายทรัพย์สินเอกชน กรณีนี้ นักวิชาการทางกฎหมายท่านหนึ่งบอกผมว่าถ้าไม่นิรโทษคนเผาทรัพย์สินเอกชนแล้วข้อความในวรรคนี้ไม่ต้องมีก็ได้ ให้เลือกเอาว่าจะตัดวรรคไหนออก ผมเลยเลือกตัดวรรคนี้ออกเพราะมัวนึกถึงเจตนารมณ์ของญาติที่ต้องการเอาผิดคนเผาห้าง ฯลฯ แต่หลายท่านก็ยังบอกว่าในขั้นแปรญัตติค่อยเพิ่มเข้าไปใหม่ก็ได้ อย่างไรก็ดีในมาตรา 4 เขียนถึงการเอาผิด และการนิรโทษ ซึ่งอ่านแล้วมันลักลั่นกันซึ่งกลุ่มญาติขอขอบคุณ คุณ John Nonlen สำหรับคำชี้แนะนี้เพราะอย่างที่คุณจอนว่ามันอาจกลายเป็นช่องโหว่ให้คนตีความในทางที่เป็นโทษได้ (แต่นักวิชาการ และ/หรือ นักกฎหมายทุกท่านยืนยันว่าค่อนข้างยากยกเว้นจะมีการแก้ไขคำในขึ้นแปรญัตติชนิดผิดความไปเลย) ในส่วนที่บางท่านวิจารณ์ว่า ร่างนี้เข้าข่ายที่นักโทษมาตรา ๑๑๒ อาจจะได้รับการนิรโทษกรรมนั้น ผมเองก็เพิ่งทราบว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชนมีบางเนื้อความเข้าข่ายมาตรา๑๑๒ ซึ่งขอเรียนให้ทราบว่าไม่ใช่เจตนาของคนร่างหรือนักวิชาการนักกฎหมายที่มาช่วยกันร่างแต่อย่างใดครับแต่ในการร่างมีการแก้คำกันไปมาจากนักวิชาการหลายท่าน ตอน finalize เลยไม่ทราบว่าไปตกเข้าข่ายตอนไหนถ้าผิดพลาดอย่างไรน่าจะเกิดจากตัวผมเอง อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการแปรญัตติในวาระ ๒ ถ้าหลายท่านไม่สบายใจก็สามารถแก้ไขความหรือคำได้อยู่แล้วผมเห็นว่าอย่าหาเหตุแค่คำสองสามคำมาเป็นข้ออ้างในการไม่รับรองร่างหรือรับร่างนี้แล้วใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามเลยครับ เพราะตอนร่างนั้นญาติได้โฟกัสไปที่ "บุคคลที่ไม่ได้อยู่ร่วมชุมนุม" เพราะมีนักโทษการเมือง และผู้มีหมายจับหลายท่านถูกจับที่บ้านและยัดข้อหาจากเจ้าพนักงาน ส่วนข้อความก่อนหน้าของมาตรา ๓ (๓) เราไม่ทราบเลยว่าเข้าข่ายมาตรา ๑๑๒ อ่านคำวิจารณ์ของคุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรมและคุณบุญระดม จิตรดอน ที่นี่ (คำต่อคำ!!! "สนธิญาณ" ชี้ร่างนิรโทษฉบับ ปชช.หมกเม็ดหวังช่วยคนผิด ม.112-เตือน ปชป.อย่าผลีผลามหนุน) สรุปว่ากระบวนการร่าง พ.ร.บ.ฯ นี้ จึงมาจากที่ชี้แจงข้างต้นโดยลอกคำในร่างรัฐธรรมนูญบางส่วนของคณะนิติราษฎร์มาใช้ ควบรวมกับร่างอื่นอื่นโดยเฉพาะร่างคุณวรชัยและคณะ และขอข้อมูลเรื่องคดีและนักโทษการเมืองจากเพื่อนเพื่อนศปช.ให้เขาช่วยดูว่าครอบคลุมนักโทษการเมืองทุกคนหรือไม่เพราะกลุ่มญาติฯคำนึงถึงนักโทษการเมืองมาเป็นอันดับแรกไม่ใช่พวกเราเองอย่างที่บางท่านได้ชิงวิจารณ์ก่อนจะเห็น "ตัวบท" ทั้งหมด ร่างนี้แม้กลุ่มญาติจะช่วยกันยกร่างขึ้นแต่เราใช้ชื่อว่าร่างฉบับประชาชน เพราะเราเชื่อว่าถ้าประชาชนทุกสีทุกฝ่ายได้อ่านน่าจะพอใจและ "พอรับได้" มากกว่าทุกร่างที่นักการเมืองได้นำเสนอมาและมีแต่พี่น้องประชาชนเท่านั้นที่จะช่วยกดดันให้ร่างนี้เป็นร่างหลักและผ่านรัฐสภาโดยเร็วเพื่อการบังคับใช้เพื่อให้นักโทษการเมืองทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดงได้ออกมาจากเรือนจำในส่วนที่ไม่สามารถเปิดรับฟังความคิดเห็นให้นานและทั่วถึงมากกว่านี้ทางกลุ่มญาติฯต้องขออภัยเพราะเกรงว่าจะปรับแก้ไม่ทันสภาผู้แทนราษฎรเปิดในต้นเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ สำหรับความลักลั่น ซ้ำซ้อนและประดักประเดิด ของภาษาที่ใช้ในร่างนี้นั้นผมคงต้องกล่าวโทษสาขาวิชาสันทนาการ คณะพลศึกษาที่ผมเรียนจบมาเพราะไม่มีวิชานิติศาสตร์ในการเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้แต่อย่างใด จะเรียกว่าจบพละแล้วริมาร่างข้อเสนอกฎหมายคงไม่ผิดนะครับ จึงเรียนชี้แจงมาเพื่อทราบ และขอบคุณทุกท่านที่สนใจมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ, พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ตัวแทนกลุ่มญาติฯ หมายเหตุ: ๑. เราเพิ่งทราบจากคนในฝั่งมวลชนพันธมิตรที่ให้ข้อมูลกับเราและได้อ่านร่างนี้แล้วว่ายังมีมวลชนพันธมิตรถูกคุมขังอยู่ ๒. ผมได้รับฉันทามติจากลุ่มญาติฯให้ชี้แจงในส่วนเนื้อหาของร่างนี้ส่วนความคิดเห็นท่านสามารถสอบถามญาติฯทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมได้ ๓. กรณีการเผาห้างนั้น ศาลได้ยกฟ้องคนเสื้อแดงไปแล้วจึงต้องพิสูจน์ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊กส่วนตัวของพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ โดยทางกองบรรณาธิการได้รับอนุญาตจากคุณพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพเพื่อนำมาเผยแพร่ต่อในหน้าเว็บประชาไท ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'สม รังสี' กลับถึงพนมเปญแล้ว ประชาชนนับหมื่นร่วมต้อนรับ Posted: 19 Jul 2013 06:02 AM PDT ลี้ภัยการเมืองร่วม 4 ปี ล่าสุด 'สม รังสี' กลับกัมพูชาแล้วหลัง 'ฮุน เซ็น' ขอกษัตริย์สีหมุนีอภัยโทษ มีผู้สนับสนุนนับหมื่นรอฟังปราศรัย ขณะที่ผู้นำฝ่ายค้านกัมพูชาได้ก้มลงจูบแผ่นดินเมื่อมาถึง และโพสต์สเตตัสว่าจะไม่มีวันลืมวันนี้ ที่มาของภาพ: เพจ Sam Rainsy ที่มาของภาพ: เพจ Sam Rainsy ตามที่เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ประชาไทเสนอข่าวกษัตริย์นโรดม สีหมุนีของกัมพูชาได้พระราชทานอภัยโทษให้กับ สม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ซึ่งลี้ภัยการเมืองอยู่ต่างประเทศ โดยผู้ขอพระราชทานอภัยโทษคือฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) และต่อมาสม รังสีมีกำหนดกลับพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในวันที่ 19 ก.ค. นั้น ล่าสุดวันนี้ (19 ก.ค.) เพจของสม รังสี ได้เผยแพร่ภาพนายสม รังสี เดินทางกลับประเทศกัมพูชา โดยเขาได้ก้มลงจูบแผ่นดินเมื่อกลับมาถึง และปราศรัยกับผู้สนับสนุนนับหมื่นคนที่ออกมาชุมนุมในพนมเปญ โดยเมื่อมาถึงพนมเปญ เพจของสม รังสีได้โพสต์ภาพของเขากำลังก้มลงจูบแผ่นดิน และลงข้อความว่า "ผมอยู่ที่นี่ ความฝันของผมเป็นจริงแล้ว ทั้งชีวิตของผมจะไม่มีวันลืมวันนี้" สม รังสี ปัจจุบันอายุ 62 ปี ได้ลี้ภัยออกจากกัมพูชาในปลายปี 2552 หลังถูกศาลตัดสินข้อหายั่วยุ ให้ข้อมูลผิดพลาด และทำลายทรัพย์สินสาธารณะ หลังจากที่เขาได้ไปรื้อหมุดเขตแดนที่ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยศาลพิพากษาจำคุก 12 ปี และถูกห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปกัมพูชา ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชา มีกำหนดจัดในวันที่ 28 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ โดยปัจจุบัน พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) นำโดยนายฮุน เซ็น ครองเสียงข้างมากอยู่ในสภาโดยมี ส.ส. 90 คน ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ที่มีนายสม รังสี เป็นผู้นำ ขณะนี้มีเสียงในสภา 26 ที่นั่ง โดยสม รังสี ถึงแม้จะไม่ได้ลงรับสมัครเลือกตั้ง แต่ก็เตรียมช่วยสมาชิกพรรคหาเสียงในช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนจะถึงวันเลือกตั้ง 28 กรกฎาคมนี้ สำหรับพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เดิมชื่อพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (KPRP) ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2524 โดยนายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ปกครองกัมพูชามาอย่างยาวนานกว่า 27 ปี และประกาศว่าจะอยู่ในอำนาจอีก 30 ปี ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) เกิดจากการรวมกันของพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา 2 พรรคคือพรรคสม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนตั้งแต่กลางปี 2555 และจะร่วมกันแข่งขันในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคมนี้ อนึ่งก่อนหน้านี้ สม รังสี มีกำหนดเสวนาและเปิดตัวหนังสือ "เราไม่ใช่ตัวปัญหา: การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในกัมพูชาของข้าพเจ้า" (We Didn't Start the Fire: My Struggle for Democracy in Cambodia) ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ในวันที่ 5 มิถุนายน 2556 แต่มีรายงานว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่ไทยห้ามไม่ให้เข้าประเทศและถูกส่งกลับ อย่างไรก็ตามเขาใช้วิธีแถลงผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เข้ามาที่ FCCT แทน และได้แสดงความแปลกใจที่ทางการไทยห้ามเขาเข้าประเทศ เพราะเมื่อสองเดือนก่อนเขาก็ยังเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ตามปกติ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ปชป.ท้าแกนนำ นปช. ต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมเหมือนอภิสิทธิ์-สุเทพ Posted: 19 Jul 2013 04:56 AM PDT โฆษก ปชป. เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติผู้สูญเสียในเรื่องมุ่งช่วยประชาชน แต่ในรายละเอียดต้องแก้ไข และยืนยันว่า ปชป. จะไม่นิรโทษกรรมให้คนหมิ่น คนเผา คนประทุษร้าย ด้านโฆษกเพื่อไทยชื่นชมญาติผู้สูญเสียที่ร่วมเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เตือนอภิสิทธิ์ร่วมโหน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมด้วย คุยกับพรรคแล้วหรือยัง เว็บไซต์พรรคเพื่อไทยรายงานวันนี้ (19 ก.ค.) ว่า นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย( พท.) แถลงว่ากรณีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับกลุ่มญาติผู้สูญเสีย เม.ย.-พ.ค.2553 ซึ่งมีอาการรีบกระโดดของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โดยแนวร่วมหรือคนที่เคยเห็นด้วยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้า ปชป. ทั้งแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มเสื้อหลากสี ตั้งข้อสังเกตที่นายอภิสิทธิ์ สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชนนั้นคิดดีหรือยัง เป็นการหวังผลทางการเมืองหรือไม่ และไม่ทราบว่านายอภิสิทธิ์ ได้คุยกับคนในพรรคแล้วหรือยัง เพราะจุดยืนของคนในพรรคประชาธิปัตย์หลายคนยังเห็นแตกต่างกันอยู่ อย่ารีบหาคะแนนโดยการสนับสนุน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน เพราะคนเสื้อแดงทราบดีว่า เหตุการณ์สลายชุมนุมปี 53 จะไม่เกิดขึ้น ถ้านายอภิสิทธิ์ ไม่ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ประกาศเขตพื้นที่ใช้กระสุนจริง ไม่ใช่อาวุธสงครามประหารประชาชน ในส่วนของ พรรคเพื่อไทยชื่นชม และแสดงความยินดีกับภาคประชาชนจะแสวงหาทางออกเพื่อความปรองดองในชาติ โดยร่าง พ.ร.บ.นี้น่าสนใจ แต่ พท.ได้มีมติไปแล้วในการสนับสนุนเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พท. ที่นิรโทษกรรมให้กับมวลชน แนวร่วมทุกสีเสื้อไม่รวมแกนนำ จึงต้องยืนยันในหลักการเดิม แต่เชื่อว่าเมื่อถึงขั้นตอนของการพิจารณาเนื้อหา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม น่าจะมีนำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับอื่นๆ มาพิจารณาร่วมด้วย แต่การตั้งต้นพิจารณาขณะนี้ ต้องใช้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย ก่อน ส่วนจะผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าพิจารณาเป็นวาระแรกทันทีที่เปิดประชุมสภาฯ สมัยสามัญทั่วไปในเดือน ส.ค.หรือไม่นั้น ต้องรอการหารือระหว่างคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย และ ส.ส.ก่อน เพราะขณะนี้ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ แต่ยืนยันว่า จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยเร็วที่สุดหลังเปิดสภาฯ เพียงแต่ความรวดเร็วนั้น ต้องไม่กระทบต่อการดำเนินการหลักของรัฐบาล
โฆษก ปชป. เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติ ในเรื่องมุ่งช่วยประชาชน ขณะที่ท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ต่อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติผู้สูญเสียนั้น ในวันนี้ (19 ก.ค.) เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าเห็นด้วยในหลักการที่มีการแยกแยะคนผิดมุ่งช่วยประชาชน แต่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในรายละเอียดเพื่อให้เห็นสอดคล้องต้องกัน ซึ่งหากผู้ที่เสนอกฎหมายมีความจริงใจที่จะผลักดันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนพรรคก็พร้อมที่จะเปิดเวทีให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนปรับปรุงเนื้องหาสาระให้สอดคล้องและเดินหน้าไปด้วยกัน โดยพรรคมีจุดยืนว่าจะไม่นิรโทษกรรมให้คนที่หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 ไม่นิรโทษกรรมผู้ทำผิดคดีอาญา เผาสถานที่ราชการ เอกชน ประทุษร้ายต่อชีวิต ทรัพย์สินของผู้อื่น แต่จะนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ที่ทำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่านั้น ซึ่งเป็นท่าทีของพรรคที่ชัดเจนมาโดยตลอด "เมื่อมีร่างที่ประชาชนเสนอเอง พรรคจึงมีท่าทีที่จะเดินหน้าไปกับประชาชนโดยไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ เข้ามาแอบแฝง เพราะทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี มีจุดยืนชัดเจนว่าจะขัดขวางการนิรโทษกรรมให้กับบุคคลทั้งสอง แต่พร้อมที่จะปลดล็อคให้ประชาชนที่บริสุทธิ์ถูกหลอกมาชุมนุมและไม่ได้ทำผิดกฎหมายอาญาร้ายแรง" นายชวนนท์ กล่าว
แปลกใจแกนนำ นปช. ออกมาสกัดญาติ นายชวนนท์ กล่าวว่า น่าแปลกใจที่แกนนำคนเสื้อแดงกลับปฏิเสธ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของคนเสื้อแดงด้วยกันเอง โดยรีบออกมาคัดค้าน สกัด พ.ร.บ.ฉบับนี้ เช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ซึ่งเดินทางไปเจรจาให้นางพะเยาว์ ชะลอการเสนอกฎหมายฉบับนี้ ต้องถามว่าทำไมนายจตุพร จึงทำแบบนี้ และนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทยและแกนนำคนเสื้อแดง ก็ออกมาคัดค้าน โดยบิดเบือนข้อเท็จจริงว่า ที่พรรคสนับสนุนเรื่องนี้เพราะต้องการโยนความผิดให้กับทหาร ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันเลย และนายอภิสิทธิ์ กับนายสุเทพก็พร้อมที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรม มีแต่แกนนำเสื้อแดงที่ยังจับผู้สนับสนุนตัวเองเป็นตัวประกันเพื่อจะได้พ่วงแกนนำให้พ้นผิดด้วย "ผมขอท้าให้แกนนำเสื้อแดงมาต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม เหมือนที่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ทำ และ ยืนยันว่า หากจะมีกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ทั้งสองคนจะเป็นคนยืนขวางกฎหมายฉบับนั้น จึงฝากถึงแกนนำเสื้อแดงว่าหลอกประชาชนมาชุมนุมเป็นบันไดให้แกนนำขึ้นสู่อำนาจแล้ว ทำไมยังใจดำไม่ปล่อยให้คนเหล่านี้เป็นอิสระแต่ยังจับประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อลากไปที่กฎหมายของนายวรชัย เพื่อพ่วงแกนนำให้พ้นผิดด้วย ซึ่งผมยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ยินยอม แน่นอน จึงขอให้แกนนำเสื้อแดงปล่อยประชาชนให้หลุดพ้นจากวังวนนี้ หากแกนนำมั่นใจว่าไม่ทำผิดก็ขอท้าให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ในชั้นศาล ใครผิดว่าตามผิด ใครถูกว่าตามถูก ประเทศเดินหน้าต่อได้ แต่ขอให้เลิกเอาคนเสื้อแดงมาเป็นตัวประกันเพื่อให้แกนนำเกาะขากางเกงหลุดพ้นความผิดด้วย" นายชวนนท์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เผยรัฐเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบชุมนุมทางการเมืองไปแล้ว 70% Posted: 19 Jul 2013 04:00 AM PDT อนุกรรมาธิการพิจารณาหลักเกณฑ์เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองฯ ยืนยัน รัฐบาลมีงบประมาณเพียงพอให้การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมที่ยังรอการตรวจพิสูจน์เอกสาร และหลักฐาน พยาน เพิ่มเติม ขณะนี้ได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วราว 70% จากผู้เข้ามาร้องเรียนทั้งหมด 19 ก.ค. 56 - วิทยุรัฐสภารายงานว่านายไพโรจน์ อิสรเสรีพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและตรวจสอบข้อเท็จจริง หลักเกณฑ์และแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองและความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง และนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแก๊สน้ำตา กระทรวงสาธารณสุข ว่า การหารือในครั้งนี้รวมถึงการประชุมที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง เป็นการรับฟังข้อมูลเพื่อประกอบการให้ความเชื่อเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทั้งในด้านเอกสารราชการ หลักฐานทางการแพทย์ จากตำรวจ ภาพถ่ายที่ปรากฏตามสื่อ หลักฐานจากการให้การในศาล การปรึกษาข้อกฎหมาย เพื่อให้สามารถนำไปยื่นประกอบการพิจารณาต่อคณะกรรมการเยียวยาชุดที่มี นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ขณะที่การให้ความช่วยเหลือจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์นั้น พบผู้ได้รับผลกระทบจากแก็สน้ำตาเกิดโรคขึ้นในภายหลัง อาทิ ภูมิแพ้เรื้อรัง ปอดอักเสบ มะเร็ง ทั้งนี้ เอกสารหลักฐานทั้งหมด จะต้องมีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์จริง เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบที่เข้ามาร้องเรียนได้รับการเยียวยาอย่างเป็นธรรม สำหรับข้อถามที่ว่า รัฐบาลมีการจัดสรรงบประมาณไว้เพียงพอกับผู้ได้รับผลกระทบที่เข้ามาเรียกร้องอย่างต่อเนื่องหรือไม่นั้น นายไพโรจน์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วราวร้อยละ 70 จากผู้เข้ามาร้องเรียนทั้งหมด คงเหลือผู้ตกค้างเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่รอเอกสาร พยานหลักฐานเพิ่มเติม ขณะที่รัฐบาสลตั้งงบประมาณและมีมติในการให้ความช่วยเหลือไว้แล้ว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ก.แรงงานอนุมัติแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติทำงานในไทยได้อีก 1 ปี Posted: 19 Jul 2013 03:13 AM PDT 19 ก.ค. 56 - ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง มีมติให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และ กัมพูชา จำนวนกว่า 200,000 คน ที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว สามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวในระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยสามารถทำงานต่อได้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานเนื่องจากปัจจุบันคนไทยไม่นิยมทำงานในโรงงานและกิจการประมงทะเล โดยกระทรวงจะพิจารณาแนวทางการจัดระบบแรงงานต่างด้าว หลังวันที่ 11 ส.ค.นี้ เพราะคาดว่ายังมีแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติอีกกว่า 200,000 คน แต่ประเทศต้นทางยังไม่ดำเนินการเรื่องเอกสารให้แล้วเสร็จ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงประเด็นการตรวจลงตรา (วีซ่า) แก่บุตรแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่อยู่นอกเหนือมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 56 ว่า เรื่องดังกล่าวได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานนำข้อสังเกตจากนักวิชาการ ที่เกรงว่าหากไทยเปิดช่องทางใหม่ดังกล่าวในระยะยาวอาจเกิดปัญหาด้านสังคม และความมั่นคงของประเทศ เพราะที่ผ่านมาหลายประเทศในแถบยุโรปจะไม่เปิดช่องทางดังกล่าวให้คนต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศโดยผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีเด็กสัญชาติพม่า ลาว และ กัมพูชา ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 100,000 คน ซึ่งนับวันปัญหาดังกล่าวอาจทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นทุกวันจนกลายเป็นปัญหาสังคมของไทยในระยะยาว ซึ่งกรมการจัดหางานจะต้องศึกษารายละเอียด และรายงานให้ที่ประชุมทราบในครั้งต่อไป ส่วนผลการดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 และวันที่ 9 เมษายน 2556 พบว่า จากข้อมูลเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 พบว่า นายจ้างยื่นแบบแจ้งความต้องการแรงงานต่างด้าว และบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา จำนวน 651,143 คน พม่า 462,162 คน ลาว 66,082 คน กัมพูชา 122,899 คน แรงงานที่ได้รับการปรับเปลี่ยนสถานะ และได้รับอนุญาตให้ทำงานอย่างถูกต้อง จำนวน 358,908 คน คงเหลือแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้รับการตรวจลงตรา และยังไม่ได้ขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางาน จำนวน 292,235 คน พม่า 112,250 คน ลาว 62,896 คน กัมพูชา 117,089 คน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลตั้งคำถามพม่ากรณีจับกุมนักโทษทางความคิด Posted: 19 Jul 2013 02:40 AM PDT 19 ก.ค. 56 - แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลออกแถลงการณ์ตั้งคำถามกับรัฐบาลพม่า หลังจากที่ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้แสดงพันธกิจเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าจะปล่อยนักโทษทางความคิดทุกคนจากคุกในพม่าภายในสิ้นปีนี้ แต่ในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจในรัฐยะไข่ของพม่าได้ควบคุมตัวนักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวโรฮิงญาวัย 74 ปีโดยพลการ ในการแสดงปาฐกถาต่อหน่วยงาน Chatham House ซึ่งเป็นสถาบันด้านนโยบายอิสระที่กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ประธานาธิบดีเต็งเส่งกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอรับประกันกับท่านว่าภายในสิ้นปีนี้ จะไม่มีนักโทษทางความคิดหลงเหลืออยู่อีกในพม่า" นายเต็งเส่งยังกล่าวเสริมว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาคดีต่าง ๆ ทุกกรณี "ทั้งนี้เพื่อประกันว่าจะไม่มีบุคคลใดถูกคุมขังด้วยเหตุผลด้านความเชื่อทางการเมืองของตนเองอีกต่อไป" เอมี่ สมิธ (Amy Smith) นักวิจัยประจำพม่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยว่า รัฐบาลพม่ายังคงอาศัยกฎหมายที่กดขี่เพื่อปราบปรามเสียงหรือความคิดเห็นที่ต่างออกไป และจับกุมคุมขังผู้ประท้วงอย่างสันติในพม่า ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในประเทศพม่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าต้องต้องยุติการปฏิบัติดังกล่าว และต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ "เราหวังว่าประธานาธิบดีเต็งเส่งจะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญานี้ ท่านอาจเริ่มจากการหลีกเลี่ยงไม่ทำให้เกิดนักโทษทางความคิดใหม่ ๆ โดยต้องยุติการจับกุมและควบคุมตัวนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้ประท้วงอย่างสันติ" เอมี่กล่าว วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา อู จอลาอ่อง (U Kyaw Hla Aung) ทนายความคนสำคัญชาวโรฮิงญาวัย 74 ปีและอดีตเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหมอไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières) ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนด้านมนุษยธรรม ได้ถูกตำรวจควบคุมตัวไว้ในรัฐยะไข่ อู จอลาอ่องเคยติดคุกในพม่ากว่า 16 ปีเนื่องจากการเคลื่อนไหวอย่างสงบ และยังคงถูกทางการเฝ้าติดตามและคุกคามมาตลอด ล่าสุดเขาถูกจับกุมและควบคุมตัวโดยพลการเมื่อเดือนมิถุนายน 2555 พร้อมกับเจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรมชาวโรฮิงญาอีกหลายคน ภายหลังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างชุมชนพุทธและมุสลิมในรัฐยะไข่ เขาได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนสิงหาคม 2555 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่าในปัจจุบันเขายังตกเป็นเป้าคุกคาม เนื่องจากเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่มีบทบาทสำคัญและมีความเชื่อมโยงกับสมาชิกประชาคมนานาชาติ "อู จอลาอ่องเป็นหนึ่งในผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนอีกหลายคนที่ถูกจับกุมเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการตั้งข้อหาหรือไม่ก็ควบคุมตัวพวกเขาฐานเกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมอย่างสงบ ทางการควรยกเลิกข้อหาทั้งหมดต่อนักกิจกรรมเหล่านี้ และควรปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวโดยทันที" เอมี่กล่าว เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2556 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ออกแถลงการณ์เน้นย้ำรายละเอียดการจับกุมนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้ประท้วงอย่างสันติในพม่า ทางการได้ใช้อำนาจตามกฎหมายในประเทศหลายฉบับเพื่อเอาผิดกับบุคคลที่ใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม และการสมาคม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเหล่านี้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ นับตั้งแต่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ออกแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว ยังคงมีนักกิจกรรมที่ถูกจับกุมคุมขัง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2556 ตำรวจที่เมืองพะเย (Pyay) เขตพะโค (Bago Region) จับกุมไวพะโย (Wai Phyo) นักกิจกรรมที่จัดโครงการรณรงค์ภาพโปสเตอร์เรียกร้องให้ "ปล่อยตัวนักโทษการเมือง" เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ในปัจจุบันเขาถูกตั้งข้อหาละเมิดพระราชบัญญัติการพิมพ์และสิ่งพิมพ์ พ.ศ. 2505 (1962 Printing and Publications Registrations Act) ไวพะโยเป็นเลขาธิการของกลุ่ม Generation Wave ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่สนับสนุนประชาธิปไตยในพม่า "เป็นเรื่องดีและเป็นประโยชน์อย่างมากที่นายเต็งเส่งสัญญาว่าจะไม่ให้มีนักโทษทางความคิดอีกต่อไป แต่จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดูเหมือนหนทางดังกล่าวยังอยู่อีกยาวไกล" เอมี่กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เวทีการใช้สิทธิฉุกเฉินตามนโยบายรัฐ ชี้ต้องมีการกำหนดกติการ่วมกัน Posted: 19 Jul 2013 02:25 AM PDT เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 56 ที่ผ่านมาสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค จัดสัมมนาเรื่อง "ระบบการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ : การใช้สิทธิฉุกเฉินตามนโยบายรัฐ" เนื่องจากเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 รัฐบาลได้ประกาศลดความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับบริการรักษาอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินของประชาชนคนไทย ซึ่งนโยบายดังกล่าวได้ดำเนินการมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี แต่พบว่ายังมีประเด็นที่สังคมมีความกังวลอยู่หลายประเด็น ด้วยเหตุนี้คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค จึงจัดสัมมนาเรื่องดังกล่าวขึ้น ณ ห้องประชุม 8 ชั้น 2 สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจทั้งนักวิชาการ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมรับฟังและเสนอความคิดเห็น นพ.ปกรณ์ นาระคล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักสาธารณสุขฉุกเฉินกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง นโยบายและทิศทางการปฏิรูปสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ว่า ปัจจุบันสำนักงานสาธารณสุขฉุกเฉิน (สธฉ.) ทำงานร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) โดยสำนักงานสาธารณสุขฉุกเฉิน ทำหน้าที่ดูแลด้านการปฏิบัติการ ส่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นผู้ควบคุมให้นโยบาย กำกับดูแลและตรวจสอบมาตรฐาน ซึ่งตนอยากให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้ให้บริการ และผู้มีส่วนร่วมทุกส่วน มาช่วยกันกำหนดตัวชี้วัด และกติกาต่างๆ เพราะบางครั้งถ้าเรากำหนดมาตรฐานที่สูงเกินไปแล้วไม่สามารถทำได้ อาจจะกลายเป็นโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีการกำหนดกติการ่วมกัน ด้าน ดร.นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึง การพัฒนาเชิงโครงสร้างการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ว่า นโยบาย "ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน" ถือเป็นนโยบายที่ดีมากกับประชาชน ถ้าโครงการนี้ประสบผลสำเร็จ ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองที่ดี แต่นโยบายนี้จะไม่สามารถไปต่อได้ถ้าไม่มีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งวิธีแก้ปัญหา คือ ต้องมีกลไกบริหารระบบโดยรวม รวมทั้งกำหนดกฎระเบียบต่างๆที่จะมารองรับโครงการ การกำหนดขอบเขตของผู้มีสิทธิเข้ารับบริการให้ชัดเจน และต้องมีมติคณะรัฐมนตรีรองรับ เพื่อให้สามารถเดินต่อได้ โดยไม่เกิดปัญหาในระยะยาว ด้าน พอ.นพ.สุรจิต สุนทรธรรม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินตามเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน 2551 ว่า เนื่องจากการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในปัจจุบันยังขาดระบบบริหารจัดการด้านบุคลากร อุปกรณ์ และเครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมทั้งยังขาดหน่วยงานรับผิดชอบ ประสานการปฏิบัติการ ทำให้มีผู้ป่วยฉุกเฉินต้องเสียชีวิต อวัยวะ รวมทั้งทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยรุนแรงขึ้นโดยไม่สมควร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิด พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉินขึ้น โดยคาดหวังว่าผู้ป่วยฉุกเฉินจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพ มาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือ รักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ และทันต่อเหตุการณ์ ด้าน นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวถึง บทบาทหน้าที่ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินได้กำหนดกลไกที่จะผลักดันให้เกิดขึ้น และเกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ คือ การพัฒนาศูนย์สั่งการในแต่ละจังหวัด เพื่อให้มีความครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาการคัดแยกให้มีการคัดแยกที่ถูกต้องมีคุณภาพ ทันต่อเวลา และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้บริการสายด่วน 1169 ด้าน นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิภาราม อุปนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวถึง การพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินในมุมมองโรงพยาบาลเอกชน ว่า ในปัจจุบันปัญหาที่พบในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน คือ ความไม่ชัดเจนของกฎเกณฑ์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบไม่ใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ตัดสินแต่กลับใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการตัดสินว่า กรณีใดฉุกเฉินและกรณีใดไม่ฉุกเฉิน ซึ่งโดยปกติแล้วตามจรรยาบรรณของแพทย์และพยาบาล ถ้าผู้ป่วยฉุกเฉินจริงยังไงก็ต้องช่วย ไม่มีการปฏิเสธการรักษา ซึ่งภาคเอกชนยินดีร่วมมือและโดยส่วนตัวคิดว่า พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ดีมาก เพียงแต่ในทางปฏิบัติตนอยากเรียกร้องให้ เจ้าหน้าที่ใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน แล้วชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจในกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ด้าน นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย กรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน กล่าวถึง โครงสร้างการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ว่า ความท้าทายเชิงนโยบายที่จะต้องทำให้ได้ในอนาคต คือ การเข้าถึงในการให้บริการทุกพื้นที่ การสร้างและพัฒนาบุคลากร คุณภาพการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน การพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน และการประชาสัมพันธ์ 1169 ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ด้าน ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล ศาสตราจารย์ สำนักเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึง ข้อเสนอการปรับปรุงเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ว่า ข้อเสนอ 3 ข้อในการปรับปรุงเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คือ ด้านการคลัง ควรทำให้ พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถมีธรรมาภิบาลและมีประสิทธิภาพ เพราะประเทศไทยต้องการระบบธรรมาภิบาล คือ มีความโปร่งใส พร้อมจะเปิดเผยความผิดพลาดของตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น ด้านรูปแบบบริการ อยากให้มีการบูรณาการของศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วย และต้องเป็นการบริการที่ไร้รอยต่อ ด้านการอภิบาลระบบ ต้องการการสนับสนุนระบบการพัฒนาบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม และการลงทุนในระบบสารสนเทศ ด้าน นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กล่าวว่า ข้อเสนอทิศทางการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินในมุมมองของผู้รับบริการ ว่า "ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว" คือสโลแกนที่กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพทำมาโดยตลอด ภาคสังคมได้เกาะติดเกี่ยวกับเรื่องระบบสุขภาพมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 เพราะในรัฐธรรมนูญพูดถึงสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนต้องมีหลักประกันสุขภาพ ตนจึงอยากเรียกร้องให้ ภาครัฐมีการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมให้มากกว่านี้ และรัฐควรเปิดเผยข้อมูลในที่สาธารณะให้มากกว่านี้ ไม่ควรเก็บงำไว้ แล้วนำไปพูดในมุมแคบๆ ควรให้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถขึ้นตรงกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพราะปัจจุบันการบริหารจัดการเหมือนถูกกินเปล่า การใช้สิทธิยุ่งยากและไม่เป็นจริง ทั้งนี้ คณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาฯ จะนำข้อเสนอที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้ไปรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ จัดทำเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะ เสนอต่อสภาที่ปรึกษาฯ และคณะรัฐมนตรีต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษาคดี 112 “บัณฑิต อานียา” 21 ส.ค.นี้ Posted: 18 Jul 2013 11:41 PM PDT
19 ก.ค.56 จือเซ็ง แซ่โค้ว นักเขียน นักแปลเจ้าของนามปากกา สมอลล์ บัณฑิต อานียา อายุ 73 ปี กล่าวว่า ทนายความได้แจ้งวานนี้ว่าศาลฎีกานัดฟังพิพากษาคดีของเขาในวันที่ 21 ส.ค.นี้ ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ เวลา 9.00 น. ทั้งนี้ บัณฑิตถูกแจ้งข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ตาม มาตรา 112 เมื่อปี 2546 จากกรณีที่ พล.อ.วาสนา เพิ่มลาภ อดีต กกต. แจ้งความกล่าวหานายบัณฑิตว่าพูดแลกเปลี่ยนในงานเสวนาและขายเอกสารที่จัดทำขึ้นเองเข้าข่ายหมิ่นฯ โดยเอกสารดังกล่าวมี 2 เรื่อง ได้แก่ 1. "สรรนิพนธ์เพื่อชาติ (ฉบับตัวอย่าง)" 2. "วรสุนทรพจน์ (ฉบับร่าง) เนื่องในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร" บัณฑิตถูกคุมขังรวม 98 วันในระหว่างพิจารณาคดีก่อนจะได้รับการประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 2 แสนบาท ต่อมาวันที่ 23 มีนาคม 2549 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 4 ปีจากความผิด 2 กระทง แต่เห็นว่าจำเลยอายุมากและป่วยด้วยโรคจิตเภทจึงให้โอกาสบำบัดแล้วรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ ต่อมาวันที่ 17 ธันวาคม 2550 ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 2 ปี 8 เดือนไม่รอลงอาญา เนื่องจากเห็นว่าจำเลยรู้ผิดชอบและสามารถบังคับตนเองได้ทั้งหมด ในชั้นนี้จำเลยได้รับการประกันตัวโดยใช้หลักทรัพย์เงินสด 300,000 บาท อ่านรายละเอียดคดีที่ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/69#detail นายบัณฑิตเขียนและแปลหนังสือหลายเล่มด้วยหลากหลายนามปากกา อาทิ 1.ภาพนี้มีความหมาย 2.ชายแก่คนหนึ่งเป็นบ้าแก้ผ้าวิ่งรอบสนามหลวง 3.ผู้มาเยือนยามวิกาล (เรื่องแปล) 4.จิตวิทยาศาสนา 5.หล่อนถูกโกงล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง 6.แม้แต่หนอนยังพลิกตัว 7. ของจริงและของปลอม 8.คนหลายเลขศูนย์ (เรื่องแปล) 9.The Dream under the Sun 10.พวงมาลัยดอกมะลิสด 11.สันติภาพกลางอากาศ 12.เบอร์ลินรันทด (เรื่องแปลและเรื่องเขียน) 13. จานบินจากนอกโลก 14. นายพลนักล้วง (เรื่องแปล) 15.ทหารนิราม (เรื่องแปล) 16.มาคาริโอ (เรื่องแปล) 17.ท่านบีกคึกฯ สารพัดฯ 18.อาคันตุกะยามรัตติกาล (เรื่องแปล) 19. อยู่อย่างมีสุข 20. รวมเรื่องสั้นเล่มแรก 21.โบสถ์สกปรก 22.สี่สิบห้าวันในควันที่คุมขังสัตว์มนุษย์ 23.นิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น (เรื่องแปล) 24.ทักษิณ ชินวัตร 25.ขจัดความเจ็บปวดเมื่อตกงาน (เรื่องแปล) 26. จดหมายถึงทักษิณ 27.บิดาของท่าน บิดาของข้าพเจ้า 28.เด็กหญิงมยุรากับหมาไม่มีปลอกคอตัวหนึ่ง 29.เด็กหญิงนภาไปซื้อความยุติธรรมที่ตลาดมืด 30.I marry with a lady dog ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สพธอ.จับมือเครือข่ายสร้างมาตรฐานกำกับเนื้อหาเน็ต – นักวิชาการห่วง “ศาลเตี้ย” Posted: 18 Jul 2013 08:28 PM PDT สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และองค์กรเครือข่ายลงนามบันทึกความเข้าใจ ร่วมกำหนดมาตรฐานกำกับดูแลกันเองสำหรับเนื้อหาออนไลน์ สร้างกลไกร้องเรียนและนำเนื้อหาออก สมาคมอีคอมเมิร์ชตอบรับต้องมีเพื่อให้ทำธุรกิจง่าย สายด่วนคุ้มครองเด็กมองจำเป็นต้องมีวิธีติดตามการทำงาน กูเกิลเน้นต้องโปร่งใส ด้านนักสิทธิห่วงกลายเป็นเซ็นเซอร์ตัวเอง ขณะที่นักวิชาการกฎหมายชี้คำว่า "เนื้อหาไม่เหมาะสม" กว้างเกินไป ตั้งคำถามถึงกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจ ไอซีทีเผยแก้พ.ร.บ.คอมใหม่ให้ระงับเว็บไซต์ไม่เหมาะสมได้ทันที ไม่ต้องรอกระบวนการกฎหมาย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ที่โรงแรม โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน (code of conduct) สำหรับการกำกับดูแลเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ ระหว่างสพธอ.กับ 7 องค์กรเครือข่ายและผู้ประกอบการ ภายใต้ชื่อกลุ่ม "Making Online Better" (MOB) ("ทำให้การออนไลน์ดีขึ้น") หรือ Thai Online Self-regulation Community (TOSC) ("ชุมชนกำกับดูแลตัวเองออนไลน์ไทย") 7 องค์กรดังกล่าวได้แก่ สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ สมาคมไทยแลนด์พีเคไอ สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กูเกิล เอเชียแปซิฟิก และอีเบย์ ทั้งนี้เอกสารประกอบการแถลงข่าวระบุว่า กลุ่ม TOSC จะดำเนินการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีกระบวนการที่ชัดเจนในการจัดการกับเนื้อหาที่อาจกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น อันเป็นการผิดต่อกฎหมาย และอาจทำให้ผู้ให้บริการต้องรับผิดจากการกระทำของบุคคลที่สาม โดยขอบเขตเนื้อหาที่จะดูแลในระยะแรก มี 5 ประเด็นคือ สื่อลามก ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการสื่อลามกเด็กด้วยมาตรการที่รวดเร็ว, การก่อการร้าย, ยาเสพติด, การหลอกลวง เช่น ฟิชชิ่งและสแปม, และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยกระบวนการหนึ่งที่จะใช้ในการกำกับดูแลคือ การแจ้งเพื่อนำเนื้อหาออก (notice & take down) โดยขั้นตอนการร้องเรียนเพื่อจัดการกับเนื้อหาจะเริ่มจาก ผู้เสียหายติดต่อไปยังศูนย์รับเรื่องร้องเรียน 1212 –> ศูนย์ร้องเรียนประสานไปยังผู้ประสานงานของ TOSC –> TOSC ประสานไปยังผู้เกี่ยวข้อง (สมาชิก) –> สมาชิกจัดการเนื้อหาตามกระบวนการที่เหมาะสม –> สมาชิกแจ้งไปยังเจ้าของเนื้อหาเพื่อให้โอกาสในการโต้แย้ง –> (หากมีการโต้แย้ง) สมาชิกแจ้งการโต้แย้งไปยังผู้แจ้งเรื่อง (ข้อมูลจากแผ่นพับ "มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทย" ที่แจกในงานแถลงข่าว) ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ชพบคือ การใช้พื้นที่เพื่อขายของผิดกฎหมาย ซึ่งในฐานะตัวกลางไม่รู้ว่ามีการขายสินค้าใดบ้างบนเว็บ หรือสินค้าใดเป็นของต้องห้าม เพราะมีจำนวนมากมาย ที่ผ่านมาเคยเกือบถูกดำเนินคดีในฐานะตัวกลางผู้ให้บริการด้วย หากมีข้อกำหนดที่ชัดเจนจากการกำกับกันเอง จะช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้ง่ายขึ้น ศรีดา ตันทะอธิพานิช จากมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ซึ่งดำเนินงานสายด่วนรับแจ้งเว็บไซต์ไม่เหมาะสมด้วยกล่าวว่า จากประสบการณ์รับร้องเรียนเรื่องภาพลามกเด็ก ที่ผ่านมาใช้วิธีติดต่อกับผู้ดูแลเว็บโดยตรง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงไอซีทีหรือตำรวจแล้ว ไม่เคยได้รับทราบผลการดำเนินการเลย อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ระบุว่า ที่ผ่านมามีการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้มีการถกเถียงถึงความเหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมาย ว่าการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐปิดเว็บนั้นละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือไม่ ซึ่งทั้งผู้ใช้งาน เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เจ้าของเว็บไซต์ มีความเห็นที่ต่างกัน เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรร่วมกันจัดทำเกณฑ์กำกับเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจบนพื้นฐานหลักการเดียวกัน อริยะ พนมยงค์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของกูเกิล ในฐานะตัวแทนจาก กูเกิล เอเชียแปซิฟิก เห็นว่าสิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในต่างประเทศการกำกับดูแลกันเองของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ก็เป็นความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชนเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ความโปร่งใส สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสพธอ.กล่าวว่า ในฐานะภาครัฐ มีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุน โดยจะพยายามไม่เข้ามาแทรกแซงการทำงาน ในขณะที่ ณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล ผู้เชี่ยวชาญสำนักกฎหมาย สพธอ. กล่าวว่ามาตรฐานดังกล่าวจะมีเนื้อหาขนานกับร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างปรับแก้ร่างฯ โดยมีแนวคิดว่าอาจนำไปใส่ในมาตราเรื่องผู้ให้บริการ แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปรวมถึงกรอบเวลาที่ชัดเจน กำพล ศรธนะรัตน์ กรรมการสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA) กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานว่า ด้านหนึ่งจะเป็น fast track หรือช่องทางด่วนรับแจ้งเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็จะกำกับดูแลกันเอง โดยอาจมีเนื้อหาบางแบบที่ระบุชัดในแนวทางว่า ผู้ให้บริการสามารถพิจารณาเอาออกเองได้โดยที่ไม่ต้องมีคนแจ้ง ซึ่งจะช่วยจัดระเบียบสังคมได้ ขณะเดียวกัน มีข้อสังเกตจาก จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ข่าวประชาไทว่า การกำกับกันเองย่อมดีกว่าให้คนอื่นมากำกับ แต่มีข้อเป็นห่วงว่า จะมีมาตรการป้องกันอย่างไร ไม่ให้การกำกับดูแลกันเองขยายเป็นการเซ็นเซอร์ตัวเอง ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งณัฐวรรธน์จากสพธอ.ตอบว่า ในต่างประเทศก็มีความกังวลในประเด็นดังกล่าวเช่นกัน ว่าผู้ให้บริการอาจนำเนื้อหาออกทันทีเมื่อได้รับการร้องเรียน ซึ่งเท่ากับไม่ไตร่ตรองให้ดีก่อนและเป็นการเซ็นเซอร์เนื้อหาให้ภาครัฐ ส่วนตัวมองว่า ยากที่จะตัดสินและยังมีความเห็นต่างกันอยู่ แต่การจัดทำแนวปฏิบัตินี้จะยืนอยู่บนฐานของกฎหมาย ซึ่งน่าจะทำให้เส้นแบ่งชัดมากขึ้น แต่ก็รับเป็นข้อห่วงใยไว้ ทั้งนี้กลุ่ม Thai Online Self-regulation Community (TOSC) นั้นประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ 1 แห่ง บริษัทเอกชน 2 แห่ง สมาคมผู้ประกอบการและสมาคมวิชาชีพ 4 แห่ง และมูลนิธิเพื่อการพัฒนา 1 แห่ง จากข้อมูลในเว็บไซต์ของสมาคมและมูลนิธิต่างๆ ดังกล่าวพบว่า มีกรรมการสมาคมและมูลนิธิจำนวนหนึ่งเป็นบุคลากรจากสพธอ.หรือหน่วยงานบังคับใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือดำรงเป็นกรรมการในหลายสมาคม หรือเป็นกรรมการไขว้สมาคมกัน เช่น สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA) มีนายกสมาคมคือ ญาณพล ยั่งยืน (รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ) มีกรรมการสมาคมคือ ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสพธอ. ในขณะที่สมาคมไทยแลนด์พีเคไอ มีที่ทำการสมาคมอยู่ที่สพธอ. อีเมลติดต่อสมาคมเป็นอีเมลภายใต้ชื่อโดเมนของสพธอ. (etda.or.th) มีนายกสมาคมคือ สุรางคณา วายุภาพ (ผู้อำนวยการสพธอ.) มีอุปนายกสมาคมคนที่ 1 คือ กำพล ศรธนะรัตน์ (กรรมการสมาคม TISA) และมีกรรมการสมาคมร่วมกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยและสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งทำวิจัยเรื่องการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ตและกลไกคุ้มครองเด็กออนไลน์ แสดงความเห็นในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า จากข้อมูลเท่าที่มียังไม่เห็นกฎหมายจัดตั้งรองรับ ดังนั้นสถานะของกลุ่ม Thailand Online Self-regulation Community (TOSC) นี้น่าจะเป็นองค์กรเอกชน ที่มีหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุน ซึ่งโครงสร้างจะคล้ายกับมูลนิธิ Internet Watch Foundation (IWF) ของสหราชอาณาจักร ที่ต่างกันบ้างคือในโครงสร้าง IWF จะมีตำรวจร่วมอยู่ด้วย ทั้งนี้การทำงานของ TOSC ก็คล้ายกับ IWF คือรับเรื่องร้องเรียนและประสานงานกับผู้ให้บริการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (ISP) หรือผู้ให้บริการเนื้อหา ให้จัดการกับเนื้อหาที่ได้รับร้องเรียน เรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ การดูแลกำกับเนื้อหาที่ "ไม่หมาะสม" กันเอง ซึ่งดูเหมือนจะดี เพราะเป็นการกันไม่ให้รัฐเข้ามายุ่มย่ามในการแสดงออกมากจนเกินไป แต่ก็มีด้านที่ต้องระวัง เพราะเป็นการสถาปนาอำนาจการปิดกั้นเนื้อหาให้กับองค์กรเอกชน ซึ่งไม่มีอำนาจทางกฎหมายแต่ไปทำหน้าที่ตัดสิน อีกทั้งไม่สามารถใช้กลไกคานอำนาจและตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างศาลปกครองและพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการได้ จึงเป็นห่วงเรื่องการควบคุมการใช้อำนาจและความโปร่งใส อีกประเด็นคือ ขอบเขตของเนื้อหาที่จะดูแล สิ่งที่ TOSC แตกต่างจาก IWF ชัดเจน กล่าวคือ IWF จะดูแลเฉพาะภาพโป๊เด็ก (child pornography) เนื้อหาตามกฎหมายลามกอนาจาร (obscenity law) และเนื้อหาตามกฎหมายภาพโป๊ขั้นรุนแรง (extreme pornography law) เท่านั้น ซึ่งทั้งหมดมีความชัดเจนว่าเป็น "เนื้อหาผิดกฎหมาย" แต่ TOSC ของไทยดูจะมีขอบเขตที่กว้างกว่ามาก เนื่องจากใช้คำว่า "เนื้อหาไม่เหมาะสม" จุดนี้เป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะคำว่า "ไม่เหมาะสม" นั้นไม่ชัดเจน และอาจทำให้สมาชิก TOSC ต้องพิจารณาเนื้อหาที่เกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด จอมพลยังได้แสดงความเห็นต่อองค์ประกอบสมาชิกของ TOSC ว่า จากที่เคยทำวิจัยเรื่องดังกล่าว มีประสบการณ์ว่าภาคเอกชนบางองค์กรที่เป็นสมาชิก TOSC มีทัศนคติสนับสนุนการควบคุมเนื้อหาแบบเข้ม จึงเป็นห่วงว่าเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนจะได้รับผลกระทบ เขายังตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า นี่อาจเป็นครั้งแรกที่มีความพยายามดึงเอาสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย (TISPA) เข้ามาร่วมควบคุมเนื้อหา เพราะเดิม TISPA ไม่ได้มีหน้าที่ดังกล่าวในกรอบงานขององค์กร อาจารย์นิติศาสตร์ทิ้งท้ายว่า โครงการดังกล่าวโดยสพธอ.นี้ เป็นความพยายามตั้งองค์กรเอกชนที่มีหน้าที่ควบคุมเนื้อหา ซึ่งอาจทำให้ประเด็นข้อโต้แย้งเรื่องการริดรอนสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญไม่เกิดขึ้น เพราะหน่วยงานที่ทำคือเอกชนไม่ใช่รัฐ และรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ที่คุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกนั้น อาจไม่ครอบคลุมถึงกรณีการปิดกั้นเนื้อหาโดยองค์กรเอกชน เนื่องจากไม่ใช่การใช้อำนาจโดยรัฐ ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ว่า ภายใน 2 เดือนนี้ กระทรวงไอซีทีจะร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา คาดว่าใช้ระยะเวลาอย่างเร็วประมาณ 6 เดือนถึง 2 ปี ก่อนประกาศลงราชกิจจานุเบกษา โดยกฎหมายฉบับใหม่จะเน้น 2 ข้อหลัก คือ 1) การปรับปรุงให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ 2) การให้สิทธิการควบคุมกันเอง โดยเฉพาะผู้ให้บริการมีสิทธิสั่งปิดหรือระงับการให้บริการของผู้ใช้บริการ "ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม" ได้ โดยไม่ต้องรอถึงกระบวนการทางกฎหมาย โดยผู้ใช้บริการไม่สามารถฟ้องร้องค่าเสียหายได้ในภายหลัง อ้างอิง ข้อมูลจากแผ่นพับ "มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทย" (สพธอ., 17 ก.ค. 2556 ณ โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ), 8 องค์กรทำ MOU เล็งสร้างเกณฑ์กำกับกันเองของเนื้อหาออนไลน์ (ประชาไท, 17 ก.ค. 2556), เฟซบุ๊ก จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน (18 ก.ค. 2556) 'อนุดิษฐ์' เตรียมดันพ.ร.บ.คอมฯใหม่เข้าครม. (เดลินิวส์, 18 ก.ค. 2556) ที่มา: https://thainetizen.org/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น