โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ศาลนัดอ่านคำสั่งคดี 6 ศพ วัดปทุม 6 ส.ค.นี้

Posted: 04 Jul 2013 01:15 PM PDT

ไต่สวนการตาย 6 ศพวัดปทุมฯ นัดสุดท้าย 'เสื้อแดงคนสุดท้าย" เบิกความทหารเข้าราชประสงค์หลังแกนนำยุติการชุมนุม 2 ชม. ตำรวจ เบิกผลการรวบรวมพยาน 111 ปาก รับฟังได้ว่าการเสียชีวิตเกิดขึ้นจากทหารที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ ศาลนัดฟังคำสั่ง 6 ส.ค.นี้ 
 
4 ก.ค.56 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลไต่สวนคำร้องชันสูตรการเสียชีวิต ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของ นายสุวัน ศรีรักษา อายุ 30 ปี อาชีพเกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1, นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เสียชีวิตที่ 2, นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ผู้เสียชีวิตที่ 3, นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี อาชีพพนักงานขับรถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4, น.ส.กมนเกด ฮัคอาด อายุ 25 ปี อาชีพพยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5, และนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 โดยทั้ง 6 ศพ ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.  สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
 
โดยมีพยานเข้าเบิกความวันนี้ประกอบด้วย ร.ต.ท.ภานุพันธ์ ประเสริฐ  รองสารวัตรฝ่ายแต่งตั้ง กองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ตั้งแต่ปลายปี 52-54 พ.ต.ท.ธัชชัย บุญเพ็ง พนักงานสอบสวนของ สน.ปทุมวัน ในช่วงเกิดเหตุ และได้ทำการชันสูตรพลิกศพ และ น.ส.ผุสดี งามขำ ซึ่งเป็นผู้ชุมนุม นปช. หรือเสื้อแดงคนสุดท้ายที่อยู่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ในวันที่ 19 พ.ค.53 
 
ร.ต.ท.ภานุพันธ์ ประเสริฐ  เบิกความว่า ในวันที่ 20 พ.ค 53 เวลา 11.30 น. ขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นร้อยเวรสอบสวน ได้รับแจ้งเหตุจากเจ้าหน้าที่โรงพักว่ามีผู้เสียชีวิต 6 ราย ในวัดปทุมวนาราม เขากับผู้บังคับบัญชา พ.ต.ท. ธัชชัย บุญเพ็ง ได้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ โดยไปถึงวัดเวลา 12.30 น. พบทั้ง 6 ศพ อยู่บริเวณศาลาพระราชศรัทธาธรรมแล้วได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ชันสูตรมาทำการชันสูตรศพแล้วจึงได้เคลื่อนย้ายศพไปไว้ที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจเพื่อทำการชันสูตรเพิ่มเติม  โดยในการชันสูตรศพที่โรงพยาบาลตำรวจได้มีเจ้าพนักงาน 4 ฝ่าย คือ อัยการ แพทย์ชันสูตร เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และเขาซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนร่วมชันสูตรพลิกศพและเขาได้ทำรายงานการชันสูตรรายงานแก่ พ.ต.ท. ธัชชัย
 
ทนายญาติผู้ตาย ถามว่าก่อนมีการเคลื่อนย้ายเจ้าหน้าที่ชันสูตรได้มีการเก็บตัวอย่างเขม่าดินปืนหรือไม่  ร.ต.ท.ภานุพันธ์  ตอบว่าไมได้มีการเก็บตัวอย่าง
 
พ.ต.ท.ธัชชัย บุญเพ็ง เบิกความว่า วันที่ 20 พ.ค. 53 เวลา 11.30 น. ได้รับแจ้งเหตุว่ามีผู้เสียชีวิต 6 ราย ภายในวัดปทุมวนาราม จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ผู้บังคับบัญชาได้กำชับให้ทำการชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญามาตรา 150 เนื่องจากผู้เสียชีวิตในพื้นที่การปฏิบัติการกระชับพื้นที่ของทหาร ภายหลังได้ทำเรื่องร้องทุกข์คดีอาญา โดยพยานเป็นผู้กล่าวหาคดีข้อหาฆ่าผู้อื่น เขาได้รวบรวมหลักฐาน สอบสวนพยานเบื้องต้นแล้วส่งต่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตามมติคณะกรรมการคดีพิเศษ ต่อมาทางดีเอสไอได้ส่งสำนวนกลับมาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล และได้ส่งต่อให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ดำเนินการต่อ ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลรวบรวบข้อมูลแล้วยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นการเสียชีวิตที่เกิดจากการปฏิบัตงานของเจ้าหน้าที่ทหารจึงได้ส่งสำนวนกลับไปให้ดีเอสไออีกครั้ง
 
19 ก.ย.54 ดีเอสไอส่งกลับมาที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลและยืนยันว่าการเสียชีวิตเกิดจากการปฏิบัติการของทหารที่อ้างว่าได้รับคำสั่งมาจาก ศอฉ. ให้มาปฏิบัติในที่เกิดเหตุและมีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น  โดยดีเอสไออ้างจากการสอบสวนพยานในที่เกิดเหตุ ที่เป็นเจ้าหน้าที่ทหาร   จากนั้นทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งพยานกับพวกเป็นพนักงานสืบสวนสอบสวนในคดีนี้
 
พ.ต.ท.ธัชชัย เบิกความว่า จากการรวบรวมพยาน 111 ปาก รับฟังได้ว่าการเสียชีวิตเกิดขึ้นจากทหารที่กำลังปฏิบัติหน้าที่จึงได้ส่งสำนวนให้อัยการยื่นคำร้องไต่สวน โดยสรุปได้ว่า เส้นทางรอบนอก ถนนพญาไท พระราม 4 ราชดำริ ราชประสงค์ ถูกกำหนดเป็นเขตห้ามใช้คมนาคม  โดยมีทหารตั้งด่านมั่นคงแข็งแรงโดยรอบ ในวันที่ 19 พ.ค. 53 ทหารจากกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหาราบที่ 31 นำโดย พ.ท.ยอดอาวุธ พึ่งพักตร์  และ ร.ท.พิษณุ ทัศแก้ว  กับพวก 160 นาย มาปฏิบัติการที่แยกปทุมวัน จนถึงแยกเฉลิมเผ่าโดยใช้เส้นทางถนนพระราม 1
 
โดยที่ราวบ่ายโมงเศษแกนนำประกาศยุติการชุมนุมบนเวทีราชประสงค์และได้บอกให้ผู้ชุมนุมที่จะกลับภูมิลำเนาใช้เส้นทางถนนพระราม 1 ไปขึ้นรถที่สนามกีฬาแห่งชาติ หรือเข้าไปพักที่วัดปทุมวนารามได้  จากนั้นแกนนำได้เดินทางเข้ามอบตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ส่วนผู้ชุมนุมที่เดินทางไปขึ้นรถที่สนามกีฬาแห่งชาติจะต้องผ่านเจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่ในการควบคุมของ พ.ท.ยอดอาวุธ โดยจะมีการค้นตัวผู้ชุมนุมที่ผ่านมาด้วย โดยผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งได้เข้าไปที่วัดปทุมฯ ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน ในเวลา 17.00 น. เศษ ส.ต.อ.อดุลย์ พรหมนอก กับพวก 7 คน ขึ้นไปอยู่บนดาดฟ้าอาคารภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เห็นทหารปฏิบัติงานอยู่บนรางรถไฟฟ้าทั้งชั้นบนและล่างโดยเคลื่อนมาจากทางแยกเฉลิมเผ่าไปตามด้านหน้าวัดปทุมฯ
 
ทหารบนรางรถไฟฟ้านำโดย พ.ท.นิมิตร วีระพงษ์  และจ.ส.อ.สมยศ ร่มจำปา กับพวก รวม 8 นาย ปฏิบัติงานบนรางรถไฟฟ้า โดยรางชั้นบนมีพ.ท.นิมิตร วีระพงษ์คนเดียว รางชั้นล่างมีจ.ส.อ.สมยศ ร่มจำปา กับพวก รวม 7 นาย  ส.อ.เดชาธร มาขุนทด ส.อ.ชัยวิชิต สิทธิวงษา  ส.อ.วิฑูรย์ อินทำ  ส.อ.เกรียงศักดิ์ สีบุ ส.อ.สุนทร จันทร์งาม ส.อ.ภัทรนนท์ มีแสง   และส.อ.เดชาธร(พลธวัช) มุนทศ
 
พ.ต.ท.ธัชชัย  เบิกความว่า ต่อมาเวลา 17.40 น.(วันเกิดเหตุ) นายธวัช แสงทน ยืนอยู่กับพวกที่บริเวณศาลาสินธุเสกอยู่ติดกำแพงวัดฝั่งสยามพารากอนด้านในวัดซึ่งกำแพงนี่มีความสูงท่วมหัว เห็นทหารที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าชั้นล่างเล็งปืนลงมาที่ตนและพวก  ด้วยความกลัวเขาจึงหลบเข้าไปในมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อนายธวัชมองไปทางด้านขวาขณะรอเข้าห้องน้ำข้างกูฎิห่างออกไปราว 15 ม. ทันใดนั้นเขาเห็นวิถีกระสุนยิงถูกนายสุวัน ศรีรักษาล้มลงหน้าห้องน้ำ  เมื่อเสียงยิงปืนหยุดลงนายธวัชและพวกได้เข้าไปนำร่างของออกมาจากจุดเกิดเหตุไปไว้ที่ศาลาพระราชศรัทธาธรรม 
 
นายอัฐชัย ชุมจันทร์ถูกยิงที่ถนนพระราม 1 ใกล้กับประตูทางออกของวัดปทุมฯ ก่อนที่นยอัฐชัยจะถูกยิง มีนายสตีฟ ทิกเนอร์เดินมาจากทางเวทีที่ราชประสงค์มาตามถนพระราม 1 มาหยุดที่ปากทางออกของวัดได้เห็นายอัฐชัยวิ่งมาจากทางแยกเฉลิมเผ่ามุ่งหน้ามาทางวัดปทุมฯ แล้วถูกยิงเข้าที่หลังทะลุอก ล้มลงต่อหน้านายสตีฟ 1 นาทีถัดมานายอัฐชัยลุกวิ่งกระเสือกกระสนไปล้มลงที่ตอม่อรางรถไฟฟ้า นายสตีฟจึงได้ยกกล้องขึ้นมาถ่ายภาพนายอัฐชัยเอาไว้เวลาที่อยู่ในภาพถ่ายระบุ 17.50 น. จึงทำให้ทราบว่าขณะที่นายอัฐชัยถูกยิงเป็นเวลา 17.49 น. สตีฟยืนยันว่าผู้ที่ยิงยิงมาจากทางด้านแยกเฉลิมเผ่า  หลังเหตุการณ์พ.ต.ท.ธัชชัยได้นำนายสตีฟไปชี้ที่เกิดเหตุและวัดระยะทางจากจุดที่นายอัฐชัยล้มไปจนถึงแยกเฉลิมเผ่าได้ระยะทาง 100 ม.  ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การของนายจักรพงษ์ ธนาสิริวรพัฒน์ และนายทิเบต พึ่งขุนทด ซึ่งเป็นเพื่อนของานยอัฐชัย ได้วิ่งหนีทหารจะเข้าไปในวัดด้วยกันทั้งสามคน แต่ทหารได้ยิงถูกนายอัฐชัยก่อน  ซึ่งร.ท.พิษณุได้รับว่าได้ใช้อาวุธปืนทาโวร์ยิงไป 10 นัดแต่ปฏิเสธว่าไม่ได้ยิงนายอัฐชัย  ต่อมานายอัฐชัยถูกนำตัวไปที่หน้าสหกรณ์ซึ่งใกล้กับเต็นท์พยาบาลนายอัฐชัยก็เสียชีวิตลง  จากนั้นนายสตีฟได้เข้าไปภายในวัดปทุมฯ ถ่ายภาพจนถึง 18.12 น. เห็นคนในวัดทยอยหาที่กำบัง จากนั้น 1 นาที  เขาได้ยินเสียงปืนเขาจึงได้เขาหาที่กำบังภายในวัด
 
ประกอบกับคำให้การของนายอุดร วรรณสิงห์ออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้าวัดแต่คนในวัดยกมือห้ามเขาเอาไว้เพราะตอนนั้นเสียงปืนดังใกล้เข้ามา  นายอุดรจึงหลบอยู่ใต้สกายวอล์คโดยหมอบคว่ำหน้าลงกับพื้นทันใดนั้นเขาเห็น นายรพ และนายมงคลซึ่งยืนอยู่ด้านในใกล้กับประตูทางออกของวัด เสียงกระสุนดังลงมาจากรางรถไฟฟ้ามาโดนนายรพและนายมงคลไล่เลี่ยกัน  เมื่อเสียงปืนเงียบลงมีคนมานำร่างทั้งสองคนไปที่เต็นท์พยาบาล  ซึ่งก่อนหน้าที่นายมงคลจะถูกยิงเขาได้เห้นายมงคลช่วยปฐมพยาบาลนายอัฐชัยด้วย ซึ่งประมาณเวลาไว้ว่า 18.13 น. และ 5 นาที ต่อมานายอุดรได้เห็นวิถีกระสุนยิงไปที่เต็นท์ เห็นน.ส.กมลเกดถูกยิงล้มลง  สอดคล้องกับพยานอีกคนหนึ่งซึ่งหลบอยู่ข้างรถใกล้เต็นห่างจากจุดที่น.ส.กมลเกดถูกยิง 5 ม. เธอเห็นวิถีกระสุนยิงน.ส.กมลเกดซึ่งขณะนั้นกำลังก้มตัวลงอยู่ เธอได้ถ่ายภาพเคลื่อนไหวตอนที่น.ส.กมลเกดและนายอัครเดชถูกยิงเอาไว้ด้วย  พ.ต.ท.ธัชชัยได้นำพยานคนนี้ไปชี้จุดเกิดเหตุที่ทั้งสองคนถูกยิงส่วนเธอได้ทำไฟล์ดังกล่าวหายไปแล้ว แต่ในวันที่ 19 นั้น น.ส.ณัฎฐธิดา มีวังปลา  ได้ ก็อปปี้ไฟล์จากพยานเอาไว้จึงได้ทำภาพเคลื่อนไหวให้เป็นภาพนิ่งเพื่อให้พยานได้ชี้ที่เกิดเหตุ
 
พ.ต.ท.ธัชชัย เบิกความด้วยว่าได้ร่วมกับ พ.ต.ท.ธีรนันท์ นคินทร์พงษ์ กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ได้ทำการตรวจวิถีกระสุนมาจากรางรถไฟฟ้าใกล้กับจุดที่นายมงคลถูกยิง จากการตรวจสถานที่เกิดเหตุของสถายันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมพบดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตห้ารายซึ่งถูกนำมารวมเอาไว้อยู่บริเวณเต็นท์พยาบาลใกล้ทางออกของวัด โดยพบทั้งด้านในและด้านนอกเต็นท์    ซึ่งผลการตรวจดีเอ็นเดได้รวมในรายงานการตรวจสถานที่ของ พ.ต.ท.วัชรัศมิ์ เฉลิมสุขสันต์  โดยไม่พบเศษกระสุนที่ร่างนายอัฐชัย เพราะเป็นการยิงในแนวราบ  ส่วนผู้เสียชีวิตอีก 5 คน พบเศษกระสุนสีเขียวในร่างกายของ เพราะเป็นการยิงบนลงล่างทำให้มีเศษกระสุนตกค้าง เป็นกระสุนขนาด .223 ชนิด M855 ซึ่งหัวมีสีเขียว ใช้กับอาวุธปืนM16A2 ซึ่งตรงกับคำให้การของทหารบนรางชั้นล่างว่ามีการเบิกอาวุธปืน M16A2 และเบิกกระสุนหัวสีเขียวชนิด M855 มาใช้ในการปฏิบัติการ
 
โดยจากการตรวจสอบไม่มีการปฏิบัติการของตำรวจในพื้นที่รอบบริเวณวัดปทุมฯ แต่อย่างใด ส่วนทหารที่มาปฏิบัติการนั้นได้รับคำสั่งมาจาก ศอฉ. ในวันเกิดเหตุเมื่อเหตุการณ์สงบแล้วนายศักดิ์ชาย แซ่ลี้และพวกได้ย้ายตัวนายอัครเดชจากบริเวณเต็นท์เป็นคนแรกเข้ามาที่ศาลาพระราชศรัทธาธรรม เนื่องจากขณะนั้นนายอัครเดชยังไม่เสียชีวิตทันที  จากนั้นจึงนำร่างของน.ส.กมลเกด นายมงคล ส่วนนนายสุวันก็ถูกนำตัวไปที่ศาลาในจังหวะเดียวกับนายมงคล ต่อมาเป็นร่างของนายรพและนายอัฐชัย ตามลำดับ
 
พ.ต.ท.ธัชชัย เบิกความถึงเหตุที่ต้องขออนุญาตทหารก่อนเพื่อเข้าพื้นที่เกิดเหตุในวันที่ 20 พ.ค.53 นั้น เพราะมีทหารปิดพื้นที่โดยรอบเอาไว้จึงเข้าไม่ได้เนื่องจากทหารควบคุมไว้หมดแล้ว 
 
น.ส.ผุสดี งามขำเบิกความว่า ทำงานเป็นพยาบาลจนกระทั่งเกษียณก่อนอายุในปี 43 ปัจจุบันช่วยดูแลกิจการโรงพิมพ์ของทางบ้าน และเข้าร่วมชุมนุมตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.-19 พ.ค.53  โดยในวันที่ 13 มี.ค. ไปชุมนุมที่เวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศจนถึง 13 เม.ย. จึงได้ย้ายไปที่เวทีราชประสงค์แล้วอยู่จนถึงวันที่ 19 พ.ค.   ซึ่งทราบวัตถุประสงค์ของการชุมนุมคือต้องการให้รัฐบาลในขณะนั้นยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่  การชุมนุมเป็นการชุมนุมโดยสงบไม่มีอาวุธ
 
เวทีที่แยกราชประสงค์ด้านหน้าเวทีหันไปทางประตูน้ำ  ผู้ชุมุนมจะอยู่บนแยกกระจายไปทุกทิศทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านถนนราชดำริ ถนนเพลินจิต ประตูน้ำ ถนนพระราม 1  ผู้ชุมนุมมีเป็นจำนวนมากหลายหมื่นคนแต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน  ในช่วงที่อยู่ที่แยกราชประสงค์เธอพักอยู่บนเกาะกลางระหว่างเซ็นทรัลเวิลด์และประตูทางเข้าห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งจะมีข้าวของเครื่องใช้และแผ่นไม้ปูรองเอาไว้  ผู้ชุมนุมที่มาชุมนุมมีทั้งที่มาชุมนุมแล้วกลับบ้านและมีที่ปักหลักอยู่ในพื้นที่ชุมนุม
 
วันเกิดเหตุตอนเช้ามีรถพยาบาลนำคนเจ็บมาส่งที่โรงพยาบาลตำรวจแต่เข้าประตูเล็กเพราะโรงพยาบาลไม่เปิดประตูใหญ่ พยานอยู่ในบริเวณนั้นคอยช่วยเหลือคน  คนเจ็บที่ถูกนำมาได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงเป็นส่วนใหญ่  ตอนนั้นไม่ค่อยได้ยินเสียงปืน  แต่มีคนเจ็บมาส่งเรื่อยๆ  ที่บริเวณเวทีราชประสงค์หน้าเวทีจะมีชาวบ้านอยู่แต่คนที่อยู่ในบริเวณนั้นไม่ใช่ผู้ชุมนุมหน้าประจำ
 
น.ส.ผุสดี เบิกความถึงตอนบ่ายวันเกิดเหตุ ว่า นั่งพักอยู่ที่เกาะกลาง บนเวทีแกนนำได้ประกาศยุติการชุมนุมจึงคว้าธงไปที่หน้าเวที แกนนำบอกว่าจะมอบตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้มวลชนแยกย้าย  โดยไปขึ้นรถที่สนามกีฬาแห่งชาติได้และสามารถไปที่วัดปทุมวนารามได้  นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อก็ได้ขอให้ผู้ชุมนุมกลับบ้าน ซึ่งผู้ชุมนุมที่อยู่หน้าเวทีบางคนก็ร้องไห้ ผู้ชุมนุมก็ตะโกน ไม่ยอมระหว่างนี้มีเสียงระเบิดเกิดขึ้นด้านหลังเวที  ณัฐวุฒิก็กลับขึ้นมาพูดอีกแล้วก็มีเสียงปืนดังขึ้นสองนัด ก็ได้มีการ์ดนำตัวแกนนำไป  เมื่อแกนนำไปแล้วผู้ชุมนุมก็แยกย้ายกันไป  เธออยู่จนถึงเย็น ราวๆ 6 โมงเย็น แต่ไม่ทราบเวลาแน่ชัดเพราะไม่มีนาฬิกา เดินบ้างนั่งบ้างอยู่ในบริเวณนั้น ไม่ได้ไปไหน มีนักข่าวเข้าถ่ายรูปและสัมภาษณ์
 
หลังแกนนำยุติการชุมนุม ได้ 2 ชม. จึงเห็นทหารเคลื่อนมาจากถนนเพลินจิต ค่อยๆ เดินมา เดินแล้วหยุดจนมาถึงห้นาห้างเกษรพลาซ่าและมีการวางกำลังเป็นจุดๆ พอทหารเข้ามาหาเธอทหารได้พูดคุย จึงถามว่า "จะยิงไหม" ทหารตอบว่า "ไม่ยิง" พยานจึงถามต่ออีกว่า "จะจับไหม" ทหารก็ตอบว่า "ไม่" พยานได้บอกกับทหารอีกว่า "จะฆ่าก็ฆ่า จะไม่ผูกพยาบาท ทำใจไว้แล้ว" ทหารก็ตอบว่า "ผมไม่ทำหรอก พี่กลับบ้านไปเถอะ" พยานก็บอกอีกว่า "ฉันไม่เคยมีน้องที่ฆ่าเพื่อนฉัน" ทหารก็บอกว่า "ผมไปฆ่าเพื่อนพี่ตอนไหน" พยานชี้ไปที่ภาพคนตายบนเวทีซึ่งมีภาพผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ให้ทหารดู ทหารก็บอกว่า "ยังไม่เคยเห็นหน้าพวกนี้เลยจะไปฆ่ายังไง"  ทหารก็ถอยออกไป แล้วก็มีนักข่าวต่างประเทศเข้ามาสัมภาษณ์  พยานจึงอยู่จนถึงเย็น  นักข่าวก็ออกไป  แล้วได้มีล่ามของนักข่าวมาบอกให้พยานกลับพราะเดี๋ยวจะติดเคอร์ฟิว จะอยู่ทำไม จึงยอมกลับแต่ได้ขอไปเก็บของก่อน และนักข่าวได้ให้เสื้อยืดสีขาวกับพยานเพื่อให้เปลี่ยนตอนเดินออกไป  จึงเดินไปที่หน้าโรงพยาบาลตำรวจเพื่อเก็บของที่เกาะกลาง ระหว่างที่เดินไปนั้นได้เห็นทหารมีอาวุธปืนอยู่ทางแยกเฉลิมเผ่าหลายคนแต่เห็นในระยะไกล โดยจุดที่อยู่ตอนนั้นห่างจากแยกเฉลิมเผ่า 400 ม.   เมื่อเดินไปถึงจุดที่วางของไว้ของๆ พยานถูกรื้อกระจัดกระจายแล้วและทางเดินนั้นมีน้ำท่วมขังอยู่จึงไม่ได้ไปเอาของ
 
น.ส.ผุสดี เบิกความต่อว่าเดินกลับไปทางเวทีโดยผ่านเวทีไปทางด้านหน้าเวทีแล้วเปลี่ยนเสื้อ ตรงนั้นไม่มีใครนอจากนักข่าว ทหาร และหญิงชราอีกหนึ่งคนในบริเวณนั้น ไม่มีบุคคลอื่นที่มีอาวุธ  เมื่อเปลี่ยนเสื้อแล้วจึงได้เดินออกไปทางถนนเพลินจิต สำหรับเหตุที่ไม่ไปทางพระราม 1 นั้นเพราะทางนั้นถนนมีน้ำท่วมและมีทหารอยู่ด้วย
 
ทั้งนี้ภายหลังจบการสืบพยานปากสุดท้าย ศาลได้อ่านรายงานการพิจารณาคดี และนัดฟังคำสั่งการไต่สวนชันสูตรพลิกศพของคดีนี้ ในวันที่ 6 ส.ค. 56 เวลา 9.30 น. และศาลได้บอกเหตุที่ต้องนัดวันฟังคำสั่งเป็นระยะเวลานานเนื่องจากในคดีนี้มีเอกสารที่จะต้องพิจารณาเป็นจำนวนมาก
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทวิเคราะห์ Foreign Policy ชี้รปห.อียิปต์เปิดทางกองทัพแทรกแซงรัฐบาลจากการเลือกตั้ง

Posted: 04 Jul 2013 11:51 AM PDT

หนึ่งในกองบก. Foreign Policy นำเสนอความเห็นเกี่ยวกับการรัฐประหารล่าสุดในอียิปต์ ระบุ "รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย" มีอยู่น้อยครั้งมาก อีกทั้งเตือนว่ากรณีของอียิปต์อาจมีลักษณะแบบเดียวกับตุรกีที่มีกองทัพเข้ามาแทรกแซงรัฐบาลจากการเลือกตั้งเป็นระยะๆ

โจชัว คีธติง หนึ่งในกองบรรณาธิการเว็บไซต์ Foreign Policy เขียนบทความเกี่ยวกับกรณีการรัฐประหารในอียิปต์ครั้งล่าสุด ตั้งคำถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่การรัฐประหารจะเป็นประชาธิปไตย

โดยเมื่อช่วงคืนวันที่ 3 ก.ค. ที่ผ่านมากองทัพของอียิปต์ได้เข้ามาแทรกแซงความวุ่นวายทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นและถอดถอนประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด มอร์ซี ออกจากตำแหน่งหลังจากที่อียิปต์มีการประท้วงอย่างหนัก

ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของมอร์ซีบอกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น "การรัฐประหารโดยกองทัพ" และคำจำกัดความดั้งเดิมของการรัฐประหารโดยกองทัพมีอยู่ว่า "เมื่อกองทัพหรือส่วนหนึ่งของกองทัพ ใช้อำนาจต่อต้านให้ผู้นำของรัฐ (apex of the state) และสถาปนาตัวเองขึ้นแทน จากนั้นทุกส่วนในรัฐก็ต้องยอมรับคำสั่งจากรัฐบาลใหม่"

โจชัว กล่าวว่ารัฐประหารในอียิปต์ตรงกับนิยามดั้งเดิมของการรัฐประหาร จากการที่ประธานสภาทหารสูงสุดของอียิปต์ประกาศให้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและให้จัดตั้งรัฐบาลผู้เชี่ยวชาญนำโดยผู้พิพากษาสูงสุดจากศาลรัฐธรรมนูญ

แล้วผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในอียิปต์จะคิดอย่างไรกับกรณีนี้ โดยพื้นฐานแล้วการรัฐประหารถูกมองว่าเป็นการขัดต่อหลักกระบวนการประชาธิปไตยจากการที่อำนาจการเมืองมาจากปากกระบอกปืนแทนที่จะมาจากคูหาเลือกตั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วตามกฏหมายของสหรัฐฯ ระบุว่าทางการไม่สามารถให้ความช่วยเหลือรัฐบาลที่มาจากอำนาจกองทัพได้ แม้ว่ากฏหมายนี้จะค่อนข้างถูกละเลยก็ตาม

โจขัวร์ตั้งคำถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่การรัฐประหารจะช่วยให้ประชาธิปไตยก้าวต่อไปข้างหน้าได้ แต่เขาก็อ้างอิงบทความเมื่อปี 2012 ของอาจารย์ด้านกฏหมาย โอซาน วาโรล ที่ตีพิมพ์วารสารกฏหมายนานาชาติมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บทความดังกล่าวนี้ระบุว่าการทำรัฐประหารโดยส่วนใหญ่มีลักษณะที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และทำให้เกิดรัฐบาลที่มีความเป็นประชาธิปไตยน้อยลง โดยมีเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่เป็น "การรัฐประหารแบบเป็นประขาธิปไตย"

บทความของวาโรลกล่าวถึงกรณีศึกษาสามกรณีที่อ้างว่าเป็น "การรัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย" กรณีแรกคือการรัฐประหารในตุรกีเมื่อปี 1960 ที่กองทัพโค่นล้มอำนาจพรรคเดโมเครติกที่พยายามรักษาอำนาจทางการเมืองโดยมีการปราบปรามสื่อและผู้ต่อต้านทางการเมือง กรณีที่สองคือการรัฐประหารในโปรตุเกสปี 1974 หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการปฏิวัติดอกคาร์เนชั่น ซึ่งเป็นการโค่นล้ม "ระบอบรัฐใหม่" หรือ Estado Novo จากปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและการรุกรานอาณานิคมแอฟริกา และตัวอย่างกรณีที่สามถือว่าน่าสนใจในบริบทนี้ เพราะวาโรล กล่าวถึง การโค่นล้มฮอสนี มูบารัค อดีตผู้นำอียิปต์ในปี 2011


วาโรลกล่าวว่าหากต้องการให้รัฐประหารมีความเป็นประชาธิปไตย ควรมีลักษณะ 7 ประการดังนี้

1. คือรัฐประหารต้องเป็นการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการหรืออำนาจนิยม
2. กองทัพตอบสนองต่อการต่อต้านรัฐบาลของประชาชนจำนวนมาก และมีการต่อต้านเป็นเวลายาวนาน
3. รัฐบาลเผด็จการหรืออำนาจนิยมที่ถูกต่อต้านตอบสนองการลุกฮือด้วยการปฏิเสธจะลงจากอำนาจ
4. การรัฐประหารมาจากกองทัพที่ได้รับการเคารพนับถือจากภายในชาติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นเพราะมีการบังคับเกณฑ์ทหาร
5. กองทัพต้องทำการรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการหรืออำนาจนิยม
6. กองทัพต้องจัดให้มีการเลือกตั้งที่อิสระและยุติธรรมภายในเวลาไม่นานหลังจากนั้น
7. การรัฐประหารจบลงด้วยการถ่ายโอนอำนาจให้กับผู้นำที่ได้รับเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย


แล้วการรัฐประหารล่าสุดในอียิปต์เป็นเช่นทั้ง 7 ข้อนี้หรือไม่  โจชัวกล่าวว่า ในข้อที่ 6 และ 7 ยังเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไป ส่วนข้อที่ 2-5 ดูเหมือนเป็นไปตามนั้น แต่ข้อแรกซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุดดูเหมือนจะเป็นการพยายามยัดเยียดไปหน่อยไปกรณีของอียิปต์ เนื่องจากมอร์ซีเพิ่งได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเมื่อหนึ่งปีที่ผ่านมา และมีการแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งด้วยการที่กกต.ตัดสิทธิ์ผู้ลงสมัครที่มาจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมออก

แต่ในอีกแง่หนึ่งฝ่ายต่อต้านมอร์ซีก็อาจจะบอกว่ากลุ่มภราดรภาพมุสลิมพยายาม "ทำรัฐประหารตัวเอง" (self-coup) โดยรัฐบาลจากการเลือกตั้งพยายามบ่อนทำลายสถาบันทางการเมืองเพื่อรักษาอำนาจของตนเอง ซึ่งในกรณีของมอร์ซีคือการพยายามเพิ่มอำนาจบริหารของตนเองด้วยการออกประกาศกฤษฎีกาของประธานาธิบดี

ฝ่ายกองทัพของอียิปต์อาจจะอ้างว่าพวกเขาต้องปฏิบัติการเพื่อผ้องกันไม่ให้เกิดคนปกครองในระบอบอำนาจนิยมที่เข้มแข็งเกินไป โจชัวอ้างว่าในปัจจุบันการรัฐประหาทั่วโลกมักจะนำพาไปสู่กระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยได้เร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการรัฐประหารในช่วงสงครามเย็น แต่ก็เป็นไปได้ที่อียิปต์อาจกลับไปเป็นแบบเดียวกับตุรกีที่รัฐบาลมาจากในนามของประชาธิปไตย แต่กองทัพมักจะเข้าแทรกแซงโดยอ้างคำว่าเพื่อเข้ามา "ช่วยแก้ไข" เป็นระยะๆ มีหลักฐานบางอย่างแสดงให้เห็นว่ากองทัพอียิปต์มีความสนใจในรูปแบบของตุรกีนับตั้งแต่มีการโค่นล้มมูบารัค

"การกระทำของกองทัพอียิปต์นับจากนี้เป็นต้นไปจนถึงอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า จะเป็นตัวชี้วัดว่าประวัติศาสตร์จะกล่าวถึงเหตุการณ์ในวันที่ 3 ก.ค. อย่างไร"

"และการยอมรับว่า 'การรัฐประหารเพื่อประชาธิปไตย' มีอยู่จริง ก็เป็นเรื่องอันตรายในแง่ที่ผู้ก่อการรัฐประหารมักจะพยายามอ้างว่าพวกเขาทำไปเพื่อปกป้องประชาธิปไตย แม้ว่าพวกเขาจะพยายามรวบรวมอำนาจให้กับตนเองก็ตาม" โจชัวกล่าว

เรียบเรียงจาก

Can a Coup Ever Be Democratic?, Foreign Policy, 03-07-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.เผยผลสำเร็จกองทุนสุขภาพตำบลเป็นกลไกกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

Posted: 04 Jul 2013 09:03 AM PDT

สปสช.เผยผลสำเร็จของกองทุนสุขภาพตำบล ตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2549 พบเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญในการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น อบต./เทศบาลมีความตื่นตัวเรื่องสุขภาพ และสมทบงบประมาณเพื่อพัฒนาสาธารณสุขในชุมชนมากขึ้น ทั้งเกิดบริการสาธารณะที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งรถฉุกเฉินส่งต่อผู้ป่วย การดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ตามแนวคิดท้องถิ่นจัดการตนเอง

นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากการที่ได้มีการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.และเทศบาลหรือกองทุนสุขภาพตำบลขึ้นทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งเป็นความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และ สปสช. นั้นจนถึงปัจจุบันครอบคลุมร้อยละ 99 ทั่วประเทศ หรือ 7,718 แห่ง โดยสปสช.สนับสนุนงบประมาณอัตรา 40 บาทต่อประชากรต่อปี ตั้งแต่เริ่มดำเนินการปี 2549 ถึงปัจจุบันนั้น สปสช.สมทบ 10,685 ล้านบาท อบต.เทศบาลสมทบ 3,001 ล้านบาท เพื่อดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนกว่า 56.65 ล้านคน

เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า กิจกรรมการที่แต่ละกองทุนสุขภาพตำบลดำเนินการนั้น มีทั้งการจัดซื้อบริการตามชุดสิทธิประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การสนับสนุนหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่และประชาชนเพื่อดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคเชิงรุกในชุมชน ขณะเดียวกันก็เน้นการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพในกลุ่มโรคเรื้อรังที่สำคัญ เช่น เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์/อัมพาต โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเอดส์ เป็นต้น

นายแพทย์วินัย กล่าวว่า จากผลของความสำเร็จการดำเนินการกองทุนสุขภาพตำบลตั้งแต่ปี 2549 นั้น เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า กองทุนสุขภาพตำบลนั้นเป็นกลไกหรือเครื่องมือที่สำคัญของการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นเอง สอดคล้องกับผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ที่พบว่า กองทุนสุขภาพตำบลช่วยเสริมพลังอำนาจของท้องถิ่นและชุมชนได้ดี ท้องถิ่นและชุมชนเกิดความตื่นตัวด้านสุขภาพ มีการสมทบงบประมาณในกองทุนมากขึ้น องค์กรชุมชนมีบทบาทในการเสนอโครงการเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนด้านสาธารณสุขของอบต./เทศบาลที่มากขึ้น เกิดกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงและสร้างความตระหนักด้านสุขภาพในท้องถิ่น โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ภายใต้การสนับสนุนจาก อปท. สปสช. สถานีอนามัย และหน่วยราชการในพื้นที่ นอกจากนั้นยังเกิดความริเริ่มและนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยขึ้นมากมาย และเกิดเจ้าภาพใหม่ ได้แก่ เทศบาล/อบต. ในการส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ

นอกจากนั้น ยังเกิดบริการสาธารณะที่ดีขึ้น เช่น รถบริการฉุกเฉิน ส่งต่อผู้ป่วย การออกกำลังกาย การดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แม่/เด็ก มีความพยายามที่จะผลักดันเรื่องใหม่ๆ มากกว่าบริบทของสุขภาพ เช่น ต้องการระบบสวัสดิการเมื่อเจ็บป่วยหรือบำนาญเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ เป็นบันไดเรียนรู้และสนับสนุนให้ อปท. พัฒนาการทำงานที่สูงขึ้น เช่น การบริหารจัดบริการสุขภาพชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับมติของคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. และคณะอนุกรรมการถ่ายโอนบริการสาธารณสุข

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ร้อง สน.ดุสิต เอาผิดกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อปชต. ทำโปสการ์ดธนบัตรวันชาติ ผิด ม.112

Posted: 04 Jul 2013 08:50 AM PDT

หนึ่งในชุดโปสการ์ดบรรพชนอภิวัฒน์ โดยนักศึกษากลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (ที่มา: กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย)

สำนักข่าวทีนิวส์ รายงานว่า วันนี้ (4 ก.ค.56) เครือข่ายเฝ้าระวังระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบันฯ นำโดย นายอุดร แสงอรุณ เลขาธิการเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบันฯ พร้อมด้วยสมาชิกเครือข่ายฯ เดินทางไปแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคล โดยระบุว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 ต่อเนื่อง 24 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมาได้มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งต่อมาทราบว่าคือ กลุ่มประกายไฟการละคร ได้มีการจัดกิจกรรมรำลึกวันชาติไทย ภายใต้งานเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน โดยหนึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นมาเป็นเรื่องที่กระทบต่อความรู้สึกของคนไทย และเข้าข่ายการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยการจัดจำหน่ายโปสการ์ดคล้ายธนบัตรที่มีรูปของบุคคลสำคัญทางการเมืองในอดีต โดยกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย

โดยกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยระบุว่า ด้วยความสำคัญของวันชาติราษฎรที่คนไทยเริ่มหลงลืมกันไป ทางกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ขอนำเสนอโปสการ์ดธนบัตรวันชาติขึ้น โดยเป็นการนำเสนอวันชาติในแบบฉบับ 2475 ทั้งนี้นอกจากเพื่อฟื้นฟูคุณค่าประชาธิปไตยในเชิงสัญลักษณ์แล้ว ก็ยังเป็นการระดมทุนสำหรับการทำกิจกรรมของทางกลุ่มในช่วงปีการศึกษาถัดไปด้วย เนื่องจากกลุ่มเราเป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่สนใจการเมืองและปัญหาสังคม การขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีทุนสนับสนุนเช่นกัน

กลุ่มดังกล่าวยังระบุอีกว่า หากท่านต้องการร่วมรำลึกถึงวันชาติในแบบฉบับ 2475 รวมทั้งสนับสนุนกลุ่มกิจกรรมทางการเมืองเล็กๆของนักศึกษาที่เชิดชูเสรีภาพนี้ ท่านสามารถมีส่วนร่วมได้โดยมีรายละเอียดดังนี้  ชุดโปสการ์ดธนบัตรวันชาติ ประกอบด้วยโปสการ์ดภาพ 4 บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย 1. ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎร อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐบุรุษ ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง  2. พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำคณะราษฎรและอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ภาพในโปสการ์ดเป็นภาพการอ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง3. จอมพล ป พิบูลสงคราม สมาชิกคณะราษฎรผู้ร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อดีตนายกรัฐมนตรีหลายสมัย ผู้สร้างนิยามความเป็นไทย วางรากฐานสู่ความเป็น "รัฐสมัยใหม่"  4. กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ "ศรีบูรพา" นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ประชาธิปไตย ผู้ต่อสู้เพื่อราษฎรและมนุษยธรรมด้วยปลายปากกา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แก้วสรร แจงเปิดรับฟังความเห็น ร่างประกาศมาตรการเยียวยาคลื่น 1800 ถึง 25 ก.ค.นี้

Posted: 04 Jul 2013 07:25 AM PDT

แก้วสรร ยืนยัน พร้อมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในร่างประกาศ กสทช. เรื่อง "มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่" 25 กรกฎาคม นี้


 

แก้วสรร อติโพธิ ประธานคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz เผยถึงประเด็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในร่างประกาศ กสทช. เรื่อง "มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ..." ว่า คณะทำงานได้สรุปประเด็นที่จะขอรับฟังความคิดเห็น 7 ประเด็น ได้แก่ เรื่องฐานอำนาจทางกฎหมาย เนื้อหาความคุ้มครอง ค่าธรรมเนียมการคงสิทธิ  เลขหมาย ผู้มีหน้าที่ให้ความคุ้มครอง ระยะเวลาคุ้มครอง การหยุดให้บริการ และค่าธรรมเนียม

แก้วสรร ระบุว่า จากนี้ไปคณะทำงานฯ จะส่งคำอธิบายพร้อมประเด็นให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นหน่วยงานราชการ ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง และรัฐวิสาหกิจ, เอกชนคู่สัญญาสัมปทานทั้งหมด, สมาคมโทรคมนาคมต่างๆ, องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคต่างๆ และประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยทั่วไป เพื่อศึกษาและให้ความคิดเห็นโดยสรุปส่งให้สำนักงาน กสทช. ตามเอกสารแบบฟอร์มการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และส่งแบบฟอร์มสรุปความคิดเห็นมายังสำนักงาน กสทช. เลขที่ 87 ถ.พหลโยธิน ซ.พหลโยธิน 8 พญาไท กทม. 10400 ภายในวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียสามารถแจ้งความประสงค์ในแบบฟอร์มเพื่อขอเข้าร่วมนำเสนอความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลในประเด็นต่างๆ ด้วยวาจาต่อคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นได้ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ระหว่างเวลา 09.00–15.00น. ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ คณะทำงานกำหนดมาตรการรองรับผลกระทบอันเกิดจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน การใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz จะนำผลที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะไปปรับปรุง  ร่างประกาศฯ และนำเสนอที่ประชุม กทค. เพื่อพิจารณาต่อไป ซึ่งการให้ความคิดเห็นในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบโทรคมนาคมไทย

แก้วสรร กล่าวว่า ความจำเป็นและหลักการของ (ร่าง) มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... เป็นการดำเนินการโดยคำนึงถึงกฎหมาย การคุ้มครองประชาชนผู้บริโภค และระยะเวลาที่สัมปทานจะสิ้นสุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการและเตรียมการรองรับผลของการสิ้นสุดของการอนุญาต สัมปทาน หรือ สัญญา การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องปราศจากข้อจำกัดในระหว่างที่การจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าวแก่ผู้รับใบอนุญาตรายใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 27 (4) (6) และ (13) ประกอบกับมาตรา 83 และมาตรา 84 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม  พ.ศ. 2553 และมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
   
แก้วสรร กล่าวว่า เนื่องจากสัญญาสัมปทานแรกของประเทศไทยจะสิ้นสุดอายุสัมปทานในวันที่ 15 กันยายน 2556 เป็นการสิ้นสุดสัญญาบริการคลื่นความถี่ 1800 MHz ด้วยบทบาทของ กสทช. จึงต้องมีมาตรการกำกับดูแลเพื่อให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ตลอดจนมีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการเร่งโอนย้ายผู้ใช้บริการให้เสร็จภายในช่วงเวลาคุ้มครอง ซึ่งต้องไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ระหว่างนี้ผู้ประกอบการจะไม่สามารถรับผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มเข้าสู่ระบบเดิมได้อีก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการต่ออายุสัมปทาน และไม่ใช่การจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ตามมาตรา 45 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 แต่เป็นการกำกับดูแลเพื่อให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

สำหรับการคุ้มครองผู้บริโภค (ร่าง) ประกาศฉบับนี้ กำหนดให้ผู้ให้บริการเร่งการโอนย้ายผู้ใช้บริการไปเครือข่ายอื่น และยังคงต้องดูแลเรื่องคุณภาพบริการให้ได้คุณภาพ คิดค่าบริการตามประกาศที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้ใช้บริการคงเหลือที่ไม่แจ้งความประสงค์จะขอย้ายไปยังผู้ให้บริการรายอื่น โดยผู้ให้บริการต้องประชาสัมพันธ์แจ้งเงื่อนไขความคุ้มครอง กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดความคุ้มครอง และการโอนย้ายเครือข่ายให้ผู้ใช้บริการทราบอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ ผู้ให้บริการจะไม่สามารถรับลูกค้ารายใหม่เพิ่มเข้ามาในระบบได้

 

 

ที่มา: สำนักงาน กสทช.   

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โสภณ พรโชคชัย: การพัฒนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองจักรยาน

Posted: 04 Jul 2013 04:15 AM PDT


           
กรุงเทพมหานครมีโครงการ "ปันปั่น" แต่จะไม่มีประสิทธิผล หากไม่ดำเนินการอย่างจริงจังและมีการบูรณาการด้วยการรณรงค์การใช้จักรยานสำหรับคนใจกลางเมือง

โครงการของกรุงเทพมหานครขณะนี้ มีจุดจอดรถเพียงน้อยนิดคือ 50 จุด แต่ละจุดมีรถให้เช่าประมาณ 10-20 คันเท่านั้น  และเท่าที่ดำเนินการมาก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร  จากประสบการณ์ใช้จักรยานในยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ได้พบมา กรุงเทพมหานครควรมีการปรับปรุงให้มีประสิทธิผลมากขึ้น

การแปลงกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองจักรยานทำได้ทันที คุ้มค่า ดีต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ฯลฯ หลักสำคัญอยู่ที่การส่งเสริมให้เป็นวิถีชีวิตของคนที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง ไม่ใช่สิ่งแปลกแยก (Alienated)  ทั้งนี้การส่งเสริมการใช้จักรยานทำได้จริงโดยเริ่มที่ใจกลางเมืองก่อน เพียงการทำจักรยานให้เช่าให้แพร่หลายเพื่อการใช้สอยจริงในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน ไม่ใช่เน้นเพื่อนักท่องเที่ยว โดยการให้มีจุดเช่า/คืนประมาณ 1,000 จุดทั่วเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน-กลาง และส่งเสริมให้มีการใช้จักรยานอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้การใช้จักรยานเป็นจริงได้
           
หากแต่ละจุดมีจักรยานให้เช่า 40 คัน รวม 40,000 คัน ๆ ละ 3,000 บาท (ราคาที่เป็นจำนวนมาก) ก็เป็นเงินเพียง 160 ล้านบาท ค่าสถานที่และจัดการอีกประมาณ 1 เท่าตัว จะเห็นได้ว่าโครงการนี้สำเร็จได้ด้วยเงินเพียงไม่เกิน 400 ล้านบาท
           
ในทางการเงิน ค่าเช่าจักรยานขี่ในแต่ละวัน (วันหนึ่งได้หลายเที่ยว) อาจเป็นเงินเพียง 20 บาท โดยมีกำไรสุทธิ 20% หรือเพียง 4 บาท เมื่อโครงการอยู่ตัวแล้วในแต่ละวันอาจมีผู้เช่าเพียง 30% ของรถทั้งหมด คือมีผู้เช่า 12,000 คันจากทั้งหมด 40,000 คัน ในปีหนึ่งก็จะมีรายได้สุทธิ 17.52 ล้านบาท หรือมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 4.4% ซึ่งแม้จะไม่สูงนัก แต่ก็ไม่ขาดทุน
           
หากพิจารณาถึงผลดีที่ได้ด้านการลดการใช้น้ำมันที่มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ การลดมลภาวะ และการมีสุขภาพที่ดีจากการออกกำลังกายนี้ ก็นับว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมาก และแนวทางการดำเนินการด้วยงบประมาณเพียงเท่านี้ ก็อาจขอความอนุเคราะห์จากวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ ก็อาจทำให้โครงการนี้เป็นจริงได้โดยกรุงเทพมหานครแทบไม่ต้องเสียเงินอะไรเลย
           


กรณีตัวอย่างที่เห็นในกรุงวอชิงตันดีซี ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เฉพาะในเขตใจกลางเมืองมีจักรยานให้เช่าถึง 150 จุดๆ ละ ประมาณ 20-40 คัน คิดค่าเช่าเพียง 15 เหรียญสหรัฐ หรือ 150 บาทต่อ 3 วัน หรือวันละ 50 บาท หากคิดจากค่าครองชีพที่สูงกว่าไทย 5 เท่า ก็คงเป็นเงินเพียงวันละ 10 บาทเท่านั้น  ประชาชนที่นั่นจึงใช้รถจักรยานเช่าไปทำงานได้ทั่วไป หรือเหมาะสมกับนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน


           
กรุงเทพมหานครน่าขี่จักรยานที่สุดเพราะไม่มีเนินเขา (แต่ต้องปรับเรื่องท่อและความเรียบ) บางคนนึกอิจฉาที่ชาวตะวันตกใส่สูทขี่จักรยานไปทำงานเพราะเมืองไทยร้อน แต่ในหน้าหนาวพวกเขาก็ทำเท่ไม่ได้ ถ้าเราจะขี่จักรยานในชีวิตประจำวัน เราก็ควรต้องมีชุดที่ปกคลุมร่างกายให้ดี แล้วค่อยไปเปลี่ยนชุดที่ทำงาน  จัดให้มีสถานที่อาบน้ำชำระร่างกายเมื่อถึงที่ทำงาน (ถ้ามีโอกาส) เพื่อใช้ชีวิตเรียบง่ายพอเพียง (ที่แท้) เช่นชาวตะวันตก
           
โดยสรุปแล้ว เราต้องรณรงค์ให้ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร ใช้รถจักรยานเช่าเสียก่อน ถ้าคนจำนวนมากขี่จักรยาน  สำหรับกรณีเลนหรือช่องทางจักรยาน ก็ไม่จำเป็นต้องมี หากสามารถรณรงค์ให้มีจักรยานจำนวนมากกว่ารถในท้องถนนโดยเฉพาะในเขตใจกลางเมือง เช่น ในพื้นที่ตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและถนนราชวิถีทางทิศเหนือ ถนนสุขุมวิท 21 ทางทิศตะวันออก ทางถนนจันทน์ทางทิศใต้ และคลองผดุงกรุงเกษมและถนนสวรรคโลกในทิศวันตก  นอกจากนี้ในระยะแรกต้องมีอาสาสมัครคอยอำนวยความสะดวกและระวังอุบัติเหตุจากรถใหญ่
           
คนเมืองในกรุงเทพมหานครควรทำเมืองให้สะอาดปลอดมลพิษด้วยสองมือของเราเอง

ที่มา: AREA แถลง ฉบับที่ 84/2556: วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2556
การพัฒนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองจักรยาน

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี : อาเซียนกับคนไร้รัฐ

Posted: 04 Jul 2013 04:03 AM PDT

ไม่ต้องเป็นที่สงสัยว่า ในระยะเวลาสองปีก่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเต็มรูปแบบในปี 2015 สังคมส่วนใหญ่ต่างมองอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยความหวัง และความกระตือรือร้น ความต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง โอกาสทางเศรษฐกิจ และการนำพาภูมิภาคนี้ไปสู่ทิศทางที่เจริญก้าวหน้าขึ้น 

ใครๆ ต่างก็ตื่นเต้นกับอาเซียน ทั้งตื่นเต้น ทั้งรอคอย อาจารย์รัฐศาสตร์ท่านหนึ่ง ได้ถึงกับกล่าวไว้ว่า 
"ต้องยอมรับว่าการสร้างประชาคมอาเซียนทำให้เกิด "ภูมิทัศน์" ใหม่ในภูมิภาค ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะเปลี่ยนทันทีหลาย ๆ อย่างอาจจะไม่เปลี่ยนทั้งหมด...ต่อไปเมื่อเกิดความเป็นประชาคมอาเซียน คนจะข้ามเส้นเขตแดนได้อย่างเสรี แล้วปัญหาแรงงานข้ามชาติ คนไร้สัญชาติ จะอยู่ในสภาพที่เรียกว่า "หายไปโดยนิยาม" (ร.ศ.ดร. สุรชาติ บำรุงสุข)

นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการมองปรากฎการณ์อาเซียนใน approach แบบ the demise/decline of the state กล่าวคือ รัฐลดหน้าที่ทางการเมืองลง โดยเปลี่ยนหน้าที่ในการควบคุม ตรวจสอบ กักกัน มาทำหน้าที่ในการเชิงกำกับเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการไหลและหมุนเวียนของคนและสินค้ามากขึ้น

คำถามที่สำคัญคือ อาเซียนจะก่อให้เกิดภูมิทัศน์ใหม่จริงหรือ สิ่งที่เรียกว่าภูมิทัศน์ใหม่นั้นคืออะไร เป็นภูมิทัศน์ของใคร ภูมิทัศน์ที่ว่านี้จะสลายเส้นเขตแดน ทำให้อำนาจรัฐลดลง และทำให้คนไร้สัญชาติ หายไปโดยนิยาม จริงหรือ?

ในที่นี้ อยากจะมองย้อนศรอารมณ์ร่วมกระแสหลักของสังคมในการรอคอยอาเซียนว่า การเข้ามาของอาเซียน ไม่น่าจะก่อให้ภูมิทัศน์ใหม่ใดๆที่นำไปสู่การสลายเส้นเขตแดนทางการเมืองที่มีประโยชน์โภคผลใดๆต่อคนไร้รัฐที่มีนัยยะสำคัญนัก ทั้งนี้เพราะลักษณะที่ย้อนแย้ง (Irony) ของอาเซียน อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน

ประการแรก ประชาคมอาเซียนแม้จะมีชื่อว่าประชาคม (Community) แต่ก็มิใช่ประชาคมของสามัญชน เพราะสามัญชนคนธรรมดาไม่เคยมี และยังคงมิได้มีส่วนร่วมในการก่อตั้งหรือมีสิทธิมีเสียงใดๆนับแต่เริ่มแรก และคงจะเป็นเช่นนี้ไปจนปี 2015 นับแต่ประวัติศาสตร์ ประชาคมอาเซียนถูกสร้างขึ้นโดยชนชั้นนำเพื่อตอบสนองความต้องการของชนชั้นปกครองของประเทศ ไม่ว่าความต้องการนั้นจะเป็นเป้าประสงค์ทางการเมือง (Political regionalism) เพื่อสร้างความเป็นกลุ่มก้อนในการปลดตัวเองออกจากรัฐอาณานิคม หรือเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น มาจนการพยายามสร้างชาตินิยมทางเศรษฐกิจของภูมิภาค(Economic nationalism) เพื่อแข่งขันกับโลกตะวันตก เป้าหมายที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ มิได้เป็นไปเพื่อสามัญชนคนธรรมดา หากแต่เพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ของกลุ่มชนที่มีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ประชาคมอาเซียน พูดเรื่องสามัญชน ประชาชนน้อยมาก ในบรรดาสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน อันได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน เสาทางด้านเศรษฐกิจ มีความสำคัญที่สุด (AEC) มีโครงการต่างๆที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เป็นกลุ่มประชาคมที่แข็งแรง ทรงอำนาจ มีโครงการต่างๆมากมาย โครงการใดมีชื่อ AEC อยู่ในนั้น เป็นอันเชื่อได้ว่ารัฐจะสนับสนุน และไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่การจัดประชุมที่ผ่านมาเกี่ยวกับอาเซียน เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องของ AEC นอกจากนี้แล้ว ยุทธศาสตร์ของการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก อาจไม่ได้สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเสมอไป หากแต่กลับเป็นการสร้างความกระวนกระวายใจ จากการเพิ่มเพดานของการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและดุเดือดระหว่างกันในภูมิภาค

ประการที่สอง บูรณาการ (Integration) อันเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศสมาชิกของประชาคมอาเซียน ไม่ได้หมายถึง การผสานผนึกทุกสิ่งที่เคยอยู่แยกกันหรือต่างกันเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากแต่เป็นบูรณาการอย่างมีเงื่อนไข หรือบูรณาการแบบมีข้อยกเว้น รูปแบบการบูรณาการของอาเซียนจึงต่างไปจากประชาคมภูมิภาคอื่นๆ อาทิ อียู เพราะความร่วมมือกันระหว่างรัฐในอาเซียน ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของโครงสร้างเหนือรัฐชาติ (ฆupranational model of cooperation) ในการตัดสินใจร่วมกันอย่างแท้จริง แต่เป็นการบูรณาการกันในบางเรื่อง เช่นปรับข้อกำหนดเชิงเทคนิคต่างๆ ให้สินค้าและทุน ไหลเวียนได้ง่ายขึ้น และไม่บูรณาการในหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องที่กระทบต่อการใช้อำนาจทางการเมืองของรัฐ รัฐในแต่ละประเทศจึงยังคงรักษาองค์อธิปัตย์ไว้อย่างเหนียวแน่น แม้ว่าอาเซียนจะมีปฏิญญาที่ดูเหมือนจะมีถ้อยความที่ก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรมออกมาหลายฉบับด้วยกัน แต่จำนวนไม่น้อยในปฏิญญาเหล่านั้น ก็เป็นปฏิญญาที่มีข้อยกเว้น ยกตัวอย่างเช่น ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งแม้ว่าปฏิญญาดังกล่าวซึ่งมีบทบัญญัติที่แสดงให้เห็นถึงการตระหนักและเข้าใจในประเด็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิในด้านต่างๆของประชาชนที่รัฐสมาชิกอาเซียนพึงมีต่อประชาชนกว่า 40 ข้อ แต่ปฏิญญาดังกล่าวก็เปิดช่องทางสำหรับข้อยกเว้นไว้อย่างมีนัยยะสำคัญ ในปฏิญญาข้อที่ 7 ได้ระบุไว้ว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนั้น แม้จะยึดหลักสากล และคำนึงถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐาน แต่การตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนต้องได้รับการพิจารณาในบริบทของภูมิภาคและของประเทศ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของภูมิหลังทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และศาสนา ข้อยกเว้นดังกล่าว ได้รับการวิพากษ์อย่างกว้างขวางว่า เท่ากับเปิดช่องโหว่ให้รัฐบาลอำนาจนิยมในบางประเทศ สามารถหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามปฏิญญาได้ด้วยข้ออ้างของลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของชาติตนเองในการกดขี่ประชาชนของตน

สโลแกน One vision, one identity, one community ซึ่งดูเหมือนจะชวนให้เชื่อว่าประชาคมนี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีอัตลักษณ์ร่วมกันบนพื้นฐานของบูรณาการ ได้ปิดบังความจริงที่ว่า สิ่งที่ประเทศสมาชิกในอาเซียน ไม่มีทางจะปล่อยได้ คือ การกอดความเป็นชาติ และชาตินิยมของตนเอาไว้ด้วยข้ออ้างของการไม่แทรกแซงชาตินิยมของชาติอื่น (Non-interference policy) จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า เวลาเกิดเรื่องโรฮิงญา อาเซียนจึงเงียบและไม่เคยแสดงท่าทีใดๆต่อการที่พม่าผลักดันให้พลเมืองของตนต้องกลายเป็นคนไร้รัฐ ไม่เพียงเพราะรัฐอาเซียน ต่างก็ถือว่าเรื่องนี้ไม่ใช่กิจการของชาติของตน หากแต่ยังเป็นเพราะ เกรงว่าการแสดงออกใดๆอาจไปกระทบกระเทือนเศรษฐกิจของตนในพม่าหากทำให้รัฐบาลพม่าไม่พอใจ กรณีโรฮิงญา แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า สามขาของอาเซียน กล่าวคือ เศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคมวัฒนธรรม นั้นไม่ได้ดำเนินไปด้วยกัน หรือเมื่อขัดกัน ขาทางเศรษฐกิจมักได้รับความสำคัญมากที่สุด การแยกอาเซียนเป็นสามขา โดยไม่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน โดยให้น้ำหนักกับขาทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้อีกสองขาที่เหลือ ดำรงอยู่แต่เพียงในฐานะที่เป็นมโนทัศน์และหลักการทางนามธรรม โดยไม่มีกลไกในเชิงปฏิบัติการที่มีนัยยะสำคัญอะไร

ข้อเท็จจริงเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า อาเซียนนั้น มิใช่อะไรอื่น นอกจากเป็นกลจักรที่ต่อต้านหรือไม่เอาการเมือง (Anti-politic machine—James Ferguson) เท่านั้นเอง

ประการที่สาม การเชื่อมต่อ ไหลเวียน (Connectivity, flow) อย่างเสรี ในโลกที่ไร้พรมแดน เป็นความฝัน หรือการขายฝันของผู้นำอาเซียน แต่สิ่งที่มักไม่ถูกพูดถึงคือ การเชื่อมต่อ และเคลื่อนย้ายเหล่านี้ เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ เราจึงพบความลักลั่นหลายอย่างเกิดขึ้น การไหลของเงินทุนและเทคโนโลยีนั้น ไหลไปในทิศทางเดียว คือจากประเทศที่มีทุนหนา ไปสู่ประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก แต่ด้อยอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งเงินทุนและเทคโนโลยี จึงไม่น่าแปลกใจ ที่เราพบว่า มีโครงการสร้างเขื่อนผุดขึ้นมากมายในลาว จากการลงทุนของประเทศที่มีทุนมากเช่น ไทย จีน หรือทั้งไทย และจีน ต่างพากันไปเช่าเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในลาว เพราะที่ดินถูกเหมือนได้เปล่า แถมระยะเวลายาวนานถึง 70,80, 90 ปี ในกรณีแบบนี้ เราไม่อาจเรียกได้ว่า เป็นการเชื่อมต่อที่ก่อให้เกิดบูรณาการทางเศรษฐกิจ หากแต่เป็นการกลืนกินทางเศรษฐกิจ ในทางกลับกัน การไหลของแรงงานไร้ฝีมือ ไร้สัญชาติ กลับเดินทางสวนทิศทาง จากประเทศที่ด้อยอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่น ลาว พม่า เขมร ไปสู่ ประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจมากกว่า ประเทศปลายทางเหล่านี้ ไม่เคยปรับเปลี่ยนกฎหมาย ให้แรงงานเหล่านี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แรงงานต่างด้าว ยังคงทำงานหนักด้วยค่าแรงที่ต่ำกว่าพลเมืองทั่วไปในประเทศอยู่เช่นเดิมแม้ในกระแสอาเซียน สิ่งที่เรียกว่าแรงงาน ในทัศนะอาเซียน จึงมีนัยยะทางชนชั้น เพราะหมายถึงแรงงานที่มีทักษะขั้นสูง การสนับสนุนการไหลเวียนของแรงงาน จึงหมายถึง แรงงานของชนชั้นกลาง อาชีพที่ได้รับการส่งเสริมให้เคลื่อนย้ายอย่างเสรี จึงได้แก่วิชาชีพของผู้ที่มีฐานะอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น พวกหมอ วิศวะ พยาบาล สถาปัตย์ บัญชี ช่างสำรวจ ทันตแพทย์ แต่ไม่ได้หมายถึงกรรมการก่อสร้าง รถเร่ ซาเล้ง เด็กล้างจาน พวกรับซื้อของเก่า หรือโสเภณี คนเหล่านี้ ไม่ได้ถูกนับรวมเข้าเป็นผู้ที่จะสามารถเคลื่อนย้ายอย่างอิสระได้ในกระแสอาเซียน

ความย้อนแย้งทั้งสามประการ ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่สำคัญประการหนึ่งคือ ความร่วมมือกันของประชาคมอาเซียนนั้น เอาเข้าจริง อาจไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนักในแง่การปรับบทบาทของรัฐชาติ หรือการเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมือง ดังที่นักวิชาการหลายท่านคาดหวัง

ดิฉันคิดว่า ยากที่อาเซียน จะพัฒนาไปสู่โลกที่พรมแดนไร้นัยยะความหมาย และการไหลเวียนของคนและสิ่งของเป็นไปอย่างเสรี สิ่งที่ดิฉันคิดว่าจะเกิดขึ้นคือ การที่รัฐต่างๆร่วมกันสร้างเทคนิคการควบคุมกำกับการไหลเวียนของผู้คนและสิ่งของที่มีรายละเอียดและแยกชนชั้นมากยิ่งขึ้น เพียงแต่การควบคุมกำกับนั้น จะทำในนามของภูมิภาค โดยไม่มีรัฐใดที่จะยอมปรับเปลี่ยนความคุ้นชินทางการเมืองในการปกครองพลเมืองภายใต้เส้นเขตแดน/พรมแดน

เช่นนี้แล้ว คนไร้รัฐ จะอยู่ที่ไหนในประชาคมอาเซียนคนไร้รัฐ ในฐานะผู้ที่ถูกปฎิเสธความเป็นพลเมืองจากรัฐ เป็นผู้ที่ไร้การคุ้มครอง ไร้อำนาจการต่อรอง และไร้ตัวตนอันเป็นที่ยอมรับในทางการ และมิได้ดำรงอยู่ในกระแสธารของการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พวกเขาจะได้ประโยชน์โภคผลจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นแค่ไหน อย่างไร หากเป็นพวกเขาเป็นพวกที่ไม่ได้ถูกนับเข้าเป็นพวกด้วย และจัดเป็นกลุ่มคนชายขอบที่สุดในบรรดาผู้ไร้อำนาจทั้งหลาย

การไร้ตัวตนของคนไร้รัฐ เป็นภาพสะท้อนโดยตรงของคุณภาพว่าด้วยสิทธิของสังคมอาเซียน ที่แม้ในปริมณฑลทางการ มักอ้างอิงถึงหลักการสากลของความเท่าเทียม แต่ในทางปฏิบัติ หลักการดังกล่าวไม่เคยถูกนำมาใช้หรือให้ความสำคัญ ลีกวนยู อดีตผู้นำสิงคโปร์ เคยกล่าวไว้ว่า สิ่งที่ทำให้อุษาคเนย์ต่างไปจากฝรั่งคือ ในขณะที่ตะวันตกให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยและสิทธิของปัจเจกชน สิ่งที่สังคมในอุษาคเนย์ให้ความสำคัญกลับเป็น จารีตและวัฒนธรรม และจารีตที่ว่า วางอยู่บนฐานคติที่เขื่อว่า คนนั้นไม่เท่ากัน สำหรับอุษาคเนย์ ประเด็นเรื่องสิทธิจึงมาทีหลัง เรื่องความสงบเรียบร้อย การรู้จักที่ต่ำที่สูงและ การสร้างความก้าวหน้าร่ำรวย เป็นไปได้หรือไม่ ที่กรอบคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมแถบนี้ ที่เรื่องสิทธิของคนชั้นล่าง มักมาทีหลังการมุ่งสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคของอาเซียนอยู่เสมอ

จริงๆแล้ว ASEAN ก็มีหน่วยงานที่พูดถึงคนไร้รัฐอยู่บ้าง เช่น Asean Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR) ซึ่งทำงานร่วมกับ UNHCR และมีการประชุมกันหลายครั้ง มีความพยายามที่จะผลักดันให้ประเด็นเรื่องคนไร้รัฐ (Stateless people) เป็น agenda ในระดับภูมิภาค ความพยายามหลักดูเหมือนจะมาจากฟิลิปปินส์ ซึ่งดูจะเป็นประเทศที่ใส่ใจในเรื่องสิทธิของผู้อพยพมากกว่าประเทศอื่นๆ ส่วนหนึ่งอาจมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศตนเองส่งออก migrant workers มากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามของ AICHR ในการแก้ปัญหาคนไร้รัฐ กลับยังคงอยู่ในลักษณะของการแก้ปัญหาปลายทางและเป็นการแก้ปัญหาในเชิงเทคนิค อาทิ ความสนใจในการปรับปรุงระบบลงทะเบียนที่รับรองการมีอยู่ของแรงงานข้ามชาติทั้งหลาย การรับรองสถานะเด็กแรกเกิดให้มีสัญชาติ ฯลฯ ซึ่งแม้ประเด็นเหล่านี้จะมีความสำคัญ แต่กลับไม่ได้การเชื่อมโยงกับรากเหง้าของปัญหาคนไร้รัฐอย่างจริงจัง

ประเด็นที่ไม่เคยได้มีการพูดถึง และเป็นสาเหตุในเชิงโครงสร้างคือ ทำอย่างไรจะแก้ปัญหาต้นทางของสภาวะคนไร้รัฐ ด้วยการยุติการใช้อำนาจและนโยบายของรัฐต้นทางที่ต้องทำให้คนจำนวนมากต้องตกอยู่ในสภาวะคนไร้รัฐ หรือทำอย่างไร คนที่ปราศจากการคุ้มครองจากรัฐจะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนที่เป็นพลเมืองทั่วไป หากอาเซียนหันมายอมรับว่ารัฐจำนวนไม่น้อย สร้างคนไร้รัฐทุกวัน และจริงจังกับการแก้ไขปัญหานี้ รัฐแต่ละประเทศ จะต้องปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ เพื่อยุติการเป็นตัวการในการสร้างภาวะไร้รัฐให้กับประชาชน กล่าวคือ ต้องปรับตัวให้เป็นรัฐที่มีความเป็นประชาธิปไตย เคารพและคุ้มครองในสิทธิของประชาชน ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นชนกลุ่มน้อย ชนชั้นล่าง หรือกลุ่มชนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐ เลิกใช้แนวทางความรุนแรงและการเบียดขับต่อคนที่มิใช่พลเมือง ให้สิทธิกับพวกเขาไม่ต่างไปจากพลเมืองคนหนึ่ง

ประเด็นดังกล่าว เป็นการปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้างอำนาจทางการเมือง ซึ่งไม่เคยอยู่ในวาระของอาเซียนแต่อย่างใด และด้วยเหตุนี้ การหวังว่าอาเซียนจะช่วยสร้างภูมิทัศน์ใหม่สำหรับคนไร้รัฐ จึงเป็นความฝันที่ยากที่จะเป็นจริงได้

 

 

หมายเหตุ : บันทึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรยายเรื่อง "อาเซียนกับคนไร้รัฐ" ในงานประชุมประชุมวิชาการ "ประชากรและสังคมในอาเซียน: โอกาสและความท้าทาย" จัดโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม 2556

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาประชาสังคมชายแดนใต้ เสนอแนวปฏิบัติพูดคุยสันติภาพ รัฐบาลไทย-บีอาร์เอ็น

Posted: 04 Jul 2013 03:25 AM PDT

(4 ก.ค.56) สภาประชาสังคมชายแดนใต้ โดย ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 10/2556 เสนอแนวปฏิบัติในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างผู้แทนรัฐบาลไทยกับผู้แทนกลุ่มบีอาร์เอ็น โดยขอให้ทั้งสองฝ่ายยึดมั่นในฉันทามติทั่วไปที่ลงนามไว้ร่วมกันเมื่อวันที่ 28 ก.พ. โดยเคร่งครัด มีคณะทำงานยุทธศาสตร์ที่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดประเด็นการพูดคุยได้อย่างเหมาะสม  มีคณะผู้ประสานงานร่วมที่มีหน้าที่สร้างความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ระหว่างกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดและหวาดระแวงต่อกัน

"สภาประชาสังคมฯ เห็นว่า 5 ข้อเรียกร้อง 7 ข้อคำประกาศ ของ B.R.N. และ 1 ข้อเสนอของผู้แทนรัฐบาลไทยล้วนอยู่ในวิสัยที่ปฏิบัติตอบสนองให้แก่กันได้ทั้งสิ้น ขอเพียงมีความจริงใจต่อกันอย่างแท้จริงทุกๆ อย่างก็จะค่อยๆ ลงตัวได้อย่างแน่นอน" แถลงการณ์ระบุ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายมีความอดทนอดกลั้น อย่าฉวยโอกาสช่วงชิงความได้เปรียบให้กับฝ่ายของตัวเองไม่ว่าจะในทางการเมืองหรือทางการทหาร ตระหนักร่วมกันว่าการผลักดันกระบวนการสันติภาพครั้งนี้เป็นนาทีทองของทุกฝ่ายที่จะต้องช่วยกันประคับประคองไม่ให้การพูดคุยล้มเหลวลง เพราะหากล้มเหลวก็จะไม่มีโอกาสของสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีก
                      
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใช้รถตู้ผี ตายฟรี- บาดเจ็บจ่ายเอง

Posted: 04 Jul 2013 02:54 AM PDT

ไม่ไหวจะเคลียร์ อ่อนเพลียหัวใจ จริงๆ กับปัญหาการใช้บริการรถตู้โดยสารประจำทาง ที่มีมากมายหลายหลากทั้ง ขับรถเร็ว ซิ่ง หวาดเสียว บรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวน สภาพรถทรุดโทรมไม่เหมาะสมกับการใช้งาน  แต่ปัญหาที่มีสะสมมานาน เหมือนโรคเรื้อรัง และดูเหมือนว่าจะมาแรงแซงทางโค้งขณะนี้ก็คือ "ปัญหารถตู้ผี" ที่ออกมาวิ่งกันเกลื่อนถนน หลอกหลอนผู้คนไปทั่วสารทิศ 

"รถตู้ผี"  คืออะไร   รถตู้ผีก็คือ รถที่ไม่ได้จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ตามพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อใช้รับส่งผู้โดยสารประจำทาง  แต่จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522  เพื่อเป็นรถยนต์ใช้ส่วนบุคคลแทน จุดสังเกตง่ายๆก็คือ สีของป้ายทะเบียน หากเป็นรถตู้โดยสารประจำทาง จะเป็นป้ายทะเบียนสีเหลือง มีหมวดเลข 1 นำหน้า เช่น 10-19 แล้วตามด้วยตัวเลข 4 หลัก  ส่วนรถยนต์ตู้ส่วนบุคคลจะมีป้ายทะเบียนสีขาว และขึ้นต้นด้วยหมวดตัวอักษร รถตู้ประเภทนี้จะไม่สามารถนำมาใช้เป็นรถตู้โดยสารประจำทางได้ หากนำมาใช้วิ่งบริการ เราจะเรียกว่า รถตู้ผี หรือ รถตู้เถื่อน นั่นเอง

หากถามว่าแล้ว รถตู้ผี เกิดมาได้อย่างไร คำตอบคือ เกิดมาจากระบบการจัดการขนส่งที่ไม่สมบูรณ์ การประกอบการขนส่งของเมืองไทยจะมีผู้รับสัมปทานเพียง 2 เจ้า คือ บริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) และ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) แต่เนื่องจากทั้งสองหน่วยงานมีรถไม่เพียงพอกับการให้บริการ ทั้งสองหน่วยงานจึงออกใบอนุญาตเดินรถให้กับผู้ประกอบการเอกชนที่นำรถเข้าร่วมวิ่งในเส้นทางต่างๆ ซึ่งเราจะเรียกรถเหล่านี้ว่า "รถร่วมบริการ" มีอายุการถือครองใบอนุญาต 7 ปี

แต่ที่น่าตกใจคือจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2553 พบว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการเดินรถนั้น กลับไม่มีรถโดยสารเป็นของตนเอง ถึงร้อยละ 60 รองลงมาคือ มีรถโดยสารของตนเอง 1-5 คันเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการที่มีรถของตนเองอย่างเพียงพอจะมีสัดส่วนที่น้อยมาก คือ ร้อยละ 2 เท่านั้น

ดังนั้นการประกอบการเดินรถในปัจจุบันจึงมีรูปแบบที่เรียกว่า "การนำรถเข้ามาร่วมวิ่งกับผู้ถือใบอนุญาต" ใครมีรถตู้แล้วอยากนำมาวิ่งรับขนคนโดยสารก็นำมาวิ่งร่วมได้ บางเส้นทาง 1 ใบอนุญาตแต่มีผู้ประกอบการกว่า 100 คน เลยทีเดียว และบางครั้งรถตู้ที่นำมาวิ่งให้บริการก็เป็น รถยนต์ตู้ส่วนบุคคล หรือเรียกว่า รถผี รถเถื่อน เพราะผู้ถือใบอนุญาตไม่มีการควบคุม บริหารจัดการ ให้เป็นไปตามกฎระเบียบของกฎหมาย ทำเรื่องผิดกฎหมายให้กลายเป็นความเคยชิน ให้บริการกันเป็นปกติเช่นเดียวกับรถโดยสารประเภทประจำทาง จนในที่สุดเรื่องผิดกฎหมายก็อาจกลายเป็นถูกกฎหมายในเวลาต่อมา

รถตู้ผี คือ รถตู้ที่ผิดกฎหมาย ปัญหาที่ตามมาจากการใช้บริการรถตู้ประเภทนี้ถ้าจะให้สาธยายสามวันเจ็ดวันก็คงบรรยายไม่ครบ แต่ถ้าจะจำกัดความให้สั้นกระทัดรัดก็คือ "ใช้รถตู้ผี ตายฟรี- บาดเจ็บจ่ายเอง" จากการดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในการให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารที่นั่งรถตู้ผี แล้วประสบอุบัติเหตุ ระหว่าง ปี 2554-2556 (อุบัติเหตุ 83 ครั้ง เป็นรถผี 44 ครั้ง) พบว่า ปัญหาการใช้บริการรถตู้ผี มีดังต่อไปนี้

รถตู้ผี เป็นการนำรถมาใช้ผิดประเภท รถตู้ที่จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติรถยนต์ คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน หรือ 7 คน แต่ไม่เกิน 12 คน เมื่อนำมารับส่งผู้โดยสาร 14-15 คน ประกันภัยก็จะรับประกันเท่ากับ 7 หรือ 12 คน เท่านั้น แต่ถ้าตรวจสอบแล้ว ผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ก็อาจไม่รับผิดชอบทั้งสิ้น

รถตู้ผี จะไม่นับว่าเป็นรถร่วมบริการที่ถูกกฎหมาย นั่นหมายความว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ที่รับผิดชอบก็คือ คนขับและเจ้าของรถเท่านั้น ซึ่งบางครั้ง คนขับและเจ้าของรถอาจเป็นคนเดียวกันอีก ไม่สามารถเกี่ยวร้อยไปยัง ผู้ถือใบอนุญาต (เจ้าของวิน) และ บริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) หรือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.)  ได้เลย สถานการณ์เช่นนี้ สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะไม่ได้รับค่าชดเชย เยียวยา ที่เหมาะสม หรือไม่ได้เลย  

รถตู้ผี เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือ การได้รับบริการที่ไม่เหมาะสม เช่น บางเส้นทางรถตู้วิ่งให้บริการ เกิน 300 กิโลเมตร (ระยะทางรวมต้นทางปลายทาง) ซึ่งผิดกฎหมาย แถมยังมีคนขับคนเดียว อาจเกิดความอ่อนล้า เหน็ดเหนื่อย จนทำให้เกิดการหลับใน เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุในเวลาต่อมา

รถตู้ผี เป็นการขยายอาณาเขตระบบการให้บริการที่ผิดกฎหมาย แทรกซึมมากับระบบที่ถูกต้อง หากผู้โดยสาร ยังคงส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดบริการเช่นนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับยินยอมถูกละเมิดสิทธิที่จะสามารถเลือกใช้บริการที่มีความปลอดภัยในชีวิต และเรายังเป็นผู้ส่งเสริมให้เรื่องผิดกฎหมายกลายเป็นเรื่องถูกกฎหมายนั่นเอง 

ถึงเวลาที่ผู้บริโภคอย่างเรา ต้องหันมาเรียนรู้ ร่วมกัน ปลูก ปลุก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไทยให้เข้­­มแข็ง และสร้างจิตสำนึกใหม่ ให้รู้เท่าทันกับผลประโยชน์ที่แอบแฝง จ้องแต่จะเอาเปรียบเราทุกลมหายใจ พบปัญหาจากการใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ ติดต่อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 02-248-3734-37 หรือcomplaint@consumerthai.org และ ร่วมเป็นแฟนเพจอีกแล้วรถโดยสารไทยทางhttp://www.facebook.com/againbus  

 

 

ข้อมูลประกอบ

ภาพรวมอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ ตั้งแต่เดือน  ตุลาคม 2554 – มิถุนายน  2556

ประเภทรถโดยสาร

จำนวนอุบัติเหตุ (ครั้ง)

บาดเจ็บ

เสียชีวิต

ร้อยละ

รถตู้

83

638

119

30.63

รถโดยสารปรับอากาศ

82

1,878

123

30.26

รถโดยสารนำเที่ยว

43

1,050

42

15.87

รถโดยสารระหว่างจังหวัด

19

407

15

7.01

รถรับส่งพนักงาน

18

248

18

6.64

รถเมล์

21

81

9

7.75

รถแท็กซี่

5

5

6

1.85

รวม

271

4307

332

100.00

ข้อมูลจาก ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์เผยคนเชื่อปรับ ครม.ปู 5 ผลงานเหมือนเดิม-‘ปวีณา’นั่ง พม.งานเด่น

Posted: 04 Jul 2013 02:39 AM PDT

สำรวจความเชื่อมั่นคนกรุงเทพฯ ชี้คนไม่เชื่อว่าการปรับ ครม.จะทำให้ผลงานของรัฐบาลดีขึ้น เปลี่ยน รมว.พาณิชย์ใหม่ก็แก้ปัญหาจำนำข้าวไม่ได้ ยกปวีณาจะทำผลงานเด่นสุดใน ครม.ชุดใหม่

 
วันนี้ (4 ก.ค.56) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง "ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ครม.นายกฯ ยิ่งลักษณ์ 5" โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,093 คน หลังจากเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่ในบางกระทรวงภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบว่า
 
ในภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.8 เชื่อมั่นว่าผลงานของรัฐมนตรีใหม่ในแต่ละกระทรวงจะเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 36.9 เชื่อมั่นว่าผลงานจะดีขึ้น และร้อยละ 11.3 เชื่อมั่นว่าผลงานจะแย่ลง
 
เมื่อพิจารณารัฐมนตรีใหม่ในแต่ละกระทรวง ประชาชนมากถึงร้อยละ 74.1 เชื่อมั่นว่าผลงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะดีขึ้นภายใต้การบริหารของนางสาวปวีณา หงสกุล รองลงมาร้อยละ 44.1 เชื่อมั่นว่าผลงานของกระทรวงศึกษาธิการจะดีขึ้นภายใต้การบริหารของนายจาตุรนต์ ฉายแสง ด้านนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่มีประชาชนเพียงร้อยละ 36.2 ที่เชื่อมั่นว่าผลงานจะดีขึ้น ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าภาพลักษณ์ของ ครม. นายกฯ ยิ่งลักษณ์ 5 ดีขึ้นหรือไม่เมื่อเทียบกับ ครม.ชุดก่อน ร้อยละ 47.2 คิดว่าเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 41.4 คิดว่าดีขึ้น และร้อยละ 11.4 คิดว่าแย่ลง
 
ส่วนความเห็นประชาชนหลังจากมีการปรับ ครม. แล้วความขัดแย้งและความไม่สงบทางการเมือง จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ ร้อยละ 70.8 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 14.3 เชื่อว่าจะรุนแรงขึ้น และร้อยละ 14.9 เชื่อว่าจะรุนแรงลดลง เมื่อถามต่อว่าหลังจากมีการปรับ ครม. แล้วเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ ร้อยละ 68.9 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 20.8 เชื่อว่าจะรุนแรงขึ้น และร้อยละ 10.3 เชื่อว่าจะรุนแรงลดลง
 
สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ รมว.พาณิชย์ คนใหม่ว่าจะสามารถแก้ปัญหาการจำนำข้าวได้มากน้อยเพียงใด ร้อยละ 57.8 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 42.2 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าการที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหมเพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่งมีนัยต่อการปฏิวัติหรือไม่ ร้อยละ 39.6 คิดว่าไม่น่าจะมี ขณะที่ร้อยละ 26.3 คิดว่ามี และร้อยละ 34.1 ไม่แน่ใจ
 
รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
1.ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อผลงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ภายใต้การบริหารงานของรัฐมนตรีใหม่ในแต่ละกระทรวงเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐมนตรีคนก่อน
           
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
เชื่อมั่นว่าผลงานจะ
ดีขึ้น
(ร้อยละ)
เหมือนเดิม
(ร้อยละ)
แย่ลง
(ร้อยละ)
นางสาวปวีณา หงสกุล (การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
74.1
22.1
3.8
นายจาตุรนต์ ฉายแสง (ศึกษาธิการ)
44.1
45.0
10.9
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (กลาโหม)
36.2
44.4
19.4
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง (แรงงาน)
32.0
43.6
24.4
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (พาณิชย์)
30.9
60.2
8.9
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
27.0
66.4
6.6
นายชัยเกษม นิติสิริ (ยุติธรรม)
26.9
63.8
9.3
นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี (ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
24.3
68.9
6.8
เฉลี่ยรวม
36.9
51.8
11.3
 
 
2.ภาพลักษณ์ของ ครม. นายกฯ ยิ่งลักษณ์ 5 ดีขึ้นหรือไม่เมื่อเทียบกับ ครม. ชุดก่อน   
 
ดีขึ้น
ร้อยละ
41.4
เหมือนเดิม
ร้อยละ
47.2
แย่ลง
ร้อยละ
11.4
 
3.หลังจากมีการปรับ ครม. แล้วความขัดแย้งและความไม่สงบทางการเมือง จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้
 
เชื่อว่าจะรุนแรงขึ้น           
ร้อยละ
14.3
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม
ร้อยละ
70.8
เชื่อว่าจะรุนแรงลดลง
ร้อยละ
14.9
 
4.หลังจากมีการปรับ ครม. แล้วเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้
 
เชื่อว่าจะรุนแรงขึ้น           
ร้อยละ
20.8
เชื่อว่าจะเหมือนเดิม
ร้อยละ
68.9
เชื่อว่าจะรุนแรงลดลง
ร้อยละ
10.3
 
5.ความเชื่อมั่นต่อ รมว. พาณิชย์ คนใหม่ว่าจะสามารถแก้ปัญหาการจำนำข้าวได้มากน้อยเพียงใด
 
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 4.0 และมากร้อยละ 38.2)
ร้อยละ
42.2
 
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 43.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 14.3)
 
ร้อยละ
 
57.8
 
6.การที่ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหมเพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่ง มีนัยต่อการปฏิวัติหรือไม่
 
คิดว่ามี
ร้อยละ
26.3
คิดว่าไม่น่าจะมี
ร้อยละ
39.6
ไม่แน่ใจ
ร้อยละ
34.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
 
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการปรับ ครม. นายกฯยิ่งลักษณ์ 5
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 19 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกะปิ บางเขน บางซื่อ บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สาทร สายไหม หลักสี่ และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,093 คน เป็นชายร้อยละ 51.5 และหญิงร้อยละ 48.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ± 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล     :  1 – 3 กรกฎาคม 2556
   
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ          :  4 กรกฎาคม 2556
 
ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ
 
 
            ชาย
563
51.5
            หญิง
530
48.5
รวม
1,093
100.0
อายุ
 
 
           18 – 25 ปี
265
24.2
           26 – 35 ปี
288
26.4
           36 – 45 ปี
275
25.2
           46 ปีขึ้นไป
265
24.2
รวม
1,093
100.0
การศึกษา
 
 
        ต่ำกว่าปริญญาตรี
635
58.1
        ปริญญาตรี
386
35.3
        สูงกว่าปริญญาตรี
72
6.6
รวม
1,093
100.0
อาชีพ
 
 
   ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
170
15.6
   พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
300
27.4
   ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
213
19.5
   เจ้าของกิจการ
64
5.9
   รับจ้างทั่วไป
150
13.7
   พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
69
6.3
   นักศึกษา
101
9.2
   อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
26
2.4
รวม
1,093
100.0
 
 
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Prachatai Eyes View: Pride March @ New York ฉลองชัยความหลากหลายทางเพศ

Posted: 03 Jul 2013 11:52 PM PDT

Prachatai Eyes View: Pride March @ New York ฉลองชัยความหลากหลายทางเพศ

1) ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (30 มิ.ย.) ถนนหมายเลขห้า (Fifth Avenue) ในกรุงนิวยอร์ก กลายเป็นมหาสมุทรสีรุ้งเพราะการเดินขบวนประจำปีของชาว LGBT ในนิวยอร์คทั่วทุกหัวมุมถนนประดับประดาไปด้วยสีรุ้งซึ่งหมายถึงความหลากหลาย


2) ในปีนี้ นอกจากการเฉลิมฉลอง Pride March ตามปกติแล้ว หน้าประวัติศาสตร์ยังต้องบันทึกไว้ว่าขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศได้ขยับเข้าใกล้ความเท่าเทียมเข้าไปอีกหนึ่งก้าว เมื่อศาลสูงสหรัฐมีคำตัดสินออกมาในวันที่ 26 มิถุนายน 2013 ว่ากฎหมาย DOMA และ Proposition 8 ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิการแต่งงานของเพศเดียวกันนั้นไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา


3) Edie Windsor หญิงชราวัย 84 ปี ซึ่งเป็นผู้ยื่นฟ้องรัฐบาลกลางสหรัฐในกรณี DOMA กลายเป็นผู้นำขบวนไพรด์ในวันอาทิตย์ชัยชนะจากการต่อสู้ของเธอจะทำให้คู่แต่งงานเพศเดียวกันในสหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมเหมือนกับคู่แต่งงานต่างเพศทุกประการ


4) และในคดี Proposition 8 ชัยชนะของฝ่ายโจทก์ทำให้การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันกลับมาได้รับการรับรองตามกฎหมายอีกครั้งในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย


5) เหมือนเช่นที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาทวีตทันทีเมื่อรับรู้คำตัดสินของศาลสูงในคดี DOMA และ Prop 8 "Love is Love" และความรักนั้นไม่ได้มีแค่ด้านโรแมนติค แต่ยังมีแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพลเมืองและเสรีภาพส่วนบุคคลจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิ LGBT ในสหรัฐอเมริกาต้องต่อสู้มายาวนานถึง 44 ปีก่อนจะมีวันนี้, ที่ทุกคนยอมรับว่าความรักคือความรัก, ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นในรูปแบบใด

หมายเหตุ อ่านเพิ่มเติมเรื่องคำตัดสินศาลสูงในประเด็น DOMA และ Prop 8 ได้ที่ http://prachatai.com/journal/2013/07/47478
 

 

'ฟอร์บส์' จัด 50อันดับเศรษฐีไทย ครอง 25% ของGDP 'เจ้าสัวซีพี'แชมป์

Posted: 03 Jul 2013 10:59 PM PDT

ชี้ 50 อันดับมหาเศรษฐีไทย มีมูลค่ารวมกว่า 2.6 ล้านล้านบาท หรือ 25% ของจีดีพี  นิตยสารฟอร์บส์ จัด ธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าสัวซีพี ครองมหาเศรษฐีอันดับ 1 ไทย ด้วย มูลค่าทรัพย์สิน 3.93 แสนล้านบาท ขณะที่ 'ทักษิณ' อยู่อันดับ 10 ชี้ 44 รายมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
 
4 ก.ค.56 นิตยสารฟอร์บส์ เปิดเผยรายชื่อ 50 อันดับมหาเศรษฐีประเทศไทย ที่มีมูลค่าความร่ำรวยรวมสูงถึงกว่า 2.6 ล้านล้านบาท คิดเป็น 1 ใน 4 หรือ 25% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) นอกจากนี้ มหาเศรษฐีไทย 44 ราย จาก 50 ราย ยังมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากตลาดหุ้นไทยที่เติบโตขึ้น 14% นับจากวันที่ 20 ส.ค. 2555 ที่เป็นวันสุดท้ายที่มีการจัดอันดับก่อนหน้า
 
ทั้งนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ครองอันดับ 1 ของมหาเศรษฐีไทย ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 3.93 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.12 แสนล้านบาท จากการรุกเข้าซื้อกิจการครั้งใหญ่ในปี 2556 ทั้ง บริษัท ซีพี ออลล์ ที่เข้าซื้อสยามแม็คโคร และนายธนินท์เข้าซื้อหุ้นใหญ่ 15% ในบริษัทประกันภัย ผิงอัน ของจีน ที่ถือว่าเป็นมูลค่าการซื้อบริษัทจีนที่มากที่สุดโดยบริษัทต่างชาติ
 
สำหรับอันดับ 2 คือ ตระกูลจิราธิวัฒน์ ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 3.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.68 แสนล้านบาท ขณะที่นายเจริญ สิริวัฒนภักดี มั่งคั่งเป็นอันดับ 3 มูลค่าทรัพย์สิน 3.3 แสนล้านบาท หลังจากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เข้าซื้อกิจการกลุ่มบริษัท เอฟแอนด์เอ็น ในสิงคโปร์ วงเงิน 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 10 โดยมีทรัพย์สิน 5.3 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติมรวมทั้งบทสัมภาษณ์พิเศษ นายธนินท์ มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของไทย สามารถติดตามได้ในนิตยสาร ฟอร์บส์ ไทยแลนด์ ฉบับเดือน ก.ค. 2556
 
สำหรับรายชื่อมหาเศรษฐีไทยทั้ง 50 อันดับมีดังนี้
 
1.ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ มูลค่าทรัพย์สิน 3.93 แสนล้านบาท
 
2.ตระกูลจิราธิวัฒน์ เครือเซ็นทรัล มูลค่าทรัพย์สิน 3.83 แสนล้านบาท
 
3.เจริญ สิริวัฒนภักดี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มูลค่าทรัพย์สิน 3.30 แสนล้านบาท
 
4.ตระกูลอยู่วิทยา กลุ่มกระทิงแดง มูลค่าทรัพย์สิน 2.43 แสนล้านบาท
 
5.กฤตย์ รัตนรักษ์ บริษัทกรุงเทพ วิทยุโทรทัศน์จำกัด ผู้บริหารช่อง7สี มูลค่าทรัพย์สิน 1.21 แสนล้านบาท
 
6.จำนงค์ ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ มูลค่าทรัพย์สิน 7.48 หมื่นล้านบาท
 
7.วานิช ไชยวรรณ ประธานกรรมการ บมจ.ไทยประกันชีวิต มูลค่าทรัพย์สิน 6.55 หมื่นล้านบาท
 
8.วิชัย มาลีนนท์ ประธานกรรมการและผู้ร่วมก่อตั้ง BEC World มูลค่าทรัพย์สิน 6.24 หมื่นล้านบาท
 
9.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เครือกรุงเทพดุสิตเวชการ มูลค่าทรัพย์สิน 5.62 หมื่นล้านบาท
 
10.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มูลค่าทรัพย์สิน 5.30 หมื่นล้านบาท
 
11.วิชัย ศรีวัฒนประภา (นามสกุลเดิม รักศรีอักษร) กลุ่มคิง เพาเวอร์ มูลค่าทรัพย์สิน 4.99 หมื่นล้านบาท
 
12.บุญชัย เบญจรงคกุล ผู้ก่อตั้ง บมจ.โทเทิ่ล แอคเซส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค มูลค่าทรัพย์สิน 4.21 หมื่นล้านบาท
 
13.พรเทพ พรประภา กลุ่มสยามกลการ มูลค่าทรัพย์สิน 4.06 หมื่นล้านบาท
 
14.ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้ง บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท มูลค่าทรัพย์สิน 3.9หมื่นล้านบาท
 
15.คีรี กาญจนพาสน์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ มูลค่าทรัพย์สิน 3.74 หมื่นล้านบาท
 
16.ประยุทธ มหากิจศิริ กลุ่มควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส (เนสกาแฟ) มูลค่าทรัพย์สิน 3.59 หมื่นล้านบาท
 
17.วิชัย ทองแตง ถือหุ้นเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ,บมจ.ซีทีเอช มูลค่าทรัพย์สิน 3.43 หมื่นล้านบาท
 
18.อนันต์ อัศวโภคิน บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มูลค่าทรัพย์สิน 3.37 หมื่นล้านบาท
 
19.ประณีตศิลป์ วัชรพล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มูลค่าทรัพย์สิน 3.28 หมื่นล้านบาท
 
20.William Heinecke บริษัท Minor International มูลค่าทรัพย์สิน 3.12 หมื่นล้านบาท
 
21.สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ถือหุ้นบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ,ถือหุ้นธุรกิจธนาคาร ซีเมนต์ มูลค่าทรัพย์สิน 2.9 หมื่นล้านบาท
 
22.Aloke Lohia บริษัท Indorama Ventures มูลค่าทรัพย์สิน 2.85หมื่นล้านบาท
 
23.อิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการกลุ่มน้ำตาลมิตรผล มูลค่าทรัพย์สิน 2.84 หมื่นล้านบาท
 
24.พิชญ์ โพธารามิก บมจ.จัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล มูลค่าทรัพย์สิน 2.68 หมื่นล้านบาท
 
25.สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานกรรมการกลุ่มไทยซัมมิท มูลค่าทรัพย์สิน 2.34 หมื่นล้านบาท
 
26.สรรเสริญ จุฬางกูร ถือหุ้นบริษัทไทยซัมมิท และบริษัทไทยสตีลเคเบิ้ล มูลค่าทรัพย์สิน 2.23 หมื่นล้านบาท
 
27.วิทูร สุริยวนากุล บริษัท สยาม โกลบอล เฮ้าส์ มูลค่าทรัพย์สิน 2.18 หมื่นล้านบาท
 
28.เพชร และ รัตน์ โอสถานุเคราะห์ กลุ่มบริษัทโอสถสภา มูลค่าทรัพย์สิน 1.97 หมื่นล้านบาท
 
29.พงษ์ศักดิ์ วิทยากร ผู้ร่วมก่อตั้งกรุงเทพดุสิตเวชการ มูลค่าทรัพย์สิน 1.87 หมื่นล้านบาท
 
30.นิติ โอสถานุเคราะห์ ถือหุ้นบริษัทโอสถสภา มูลค่าทรัพย์สิน 1.79 หมื่นล้านบาท
 
31.เฉลิม อยู่วิทยา กลุ่มกระทิงแดง มูลค่าทรัพย์สิน 1.72 หมื่นล้านบาท
 
32.ไกรสร จันศิริ ประธาน บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ มูลค่าทรัพย์สิน 1.7 หมื่นล้านบาท
 
33.สมยศ และ จรีพร อนันตประยูร บริษัทดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด มูลค่าทรัพย์สิน 1.64 หมื่นล้านบาท
 
34.จำรูญ ชินธรรมมิตร์ กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น มูลค่าทรัพย์สิน 1.59 หมื่นล้านบาท
 
35.วิชา พูลวรลักษณ์ เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ มูลค่าทรัพย์สิน 1.5 หมื่นล้านบาท
 
36.ปลิว ตรีวิศวเวทย์ บมจ. ช.การช่าง มูลค่าทรัพย์สิน 1.44 หมื่นล้านบาท
 
37.นิจพร จรณะจิตต์ และ เปรมชัย กรรณสูต ถือหุ้น บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ มูลค่าทรัพย์สิน 1.26 หมื่นล้านบาท
 
38.Nishita Shah Federbush บมจ.พรีเชียส ชิปปิ้ง มูลค่าทรัพย์สิน 1.19 หมื่นล้านบาท
 
39.วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น มูลค่าทรัพย์สิน 1.15 หมื่นล้านบาท
 
40.สมโภชน์ อาหุนัย บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ มูลค่าทรัพย์สิน 1.03 หมื่นล้านบาท
 
41.เฉลิม หาญพาณิชย์ บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล มูลค่าทรัพย์สิน 1.01หมื่นล้านบาท
 
42.รุ่งโรจน์ แสงศาสตรา บมจ.ไดนาสตี้ เซรามิค มูลค่าทรัพย์สิน 9.98 พันล้านบาท
 
43.วันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการ SPCG มูลค่าทรัพย์สิน 9.36 พันล้านบาท
 
44.ทัศพล แบเลเว็ลด์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.เอเชียเอวิเอชั่น มูลค่าทรัพย์สิน 9.04 พันล้านบาท
 
45.ประชัย เลี่ยวไพรัตน์และครอบครัว บมจ.ทีพีไอ โพลีน มูลค่าทรัพย์สิน 8.42 พันล้านบาท
 
46.พรดี ลี้อิสระนุกูล และครอบครัว กลุ่มบริษัทสิทธิผล มูลค่าทรัพย์สิน 8.27 พันล้านบาท
 
47.ประทีป ตั้งมติธรรม บมจ.ศุภาลัย มูลค่าทรัพย์สิน 8.11 พันล้านบาท
 
48.วรวิทย์ วีรบวรพงศ์ บมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตร เคมิคัลส์ มูลค่าทรัพย์สิน 6.7 พันล้านบาท
 
49.อนันต์ อาญจนพาสน์ บมจ.บางกอกแลนด์ มูลค่าทรัพย์สิน 6.6 พันล้านบาท
 
50.วิโรจน์ ธนาลงกรณ์ บริษัท ซาบีน่า มูลค่าทรัพย์สิน 6.24 พันล้านบาท
 
เรียบเรียงจาก : มติชนออนไลน์ 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ+ภาพ: การเมืองอียิปต์ ตั้งแต่ อาหรับสปริง 2011 - รัฐประหาร 2013

Posted: 03 Jul 2013 03:30 PM PDT

 

คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

ปฏิวัติอาหรับสปริง

ย้อนไปตั้งแต่ช่วงปรากฏการณ์ "อาหรับสปริง" กลุ่มประชาชนชาวอียิปต์ได้รับอิทธิพลจากการลุกฮือในตูนิเซีย ทำให้เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2011 ประชาชนจำนวนมากในอียิปต์พากันลุกฮือต่อต้านประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค ซึ่งอยู่ในอำนาจมานานนับตั้งแต่ปี 1981 โดยในการประท้วงครั้งนั้นมีมวลชนจากหลากหลายแนวคิด ทั้งกลุ่มอิสลาม กลุ่มต่อต้านทุนนิยม กลุ่มชาตินิยม และกลุ่มเฟมินิสต์

หลังจากที่มีการปราบปรามจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 846 คน และบาดเจ็บราว 6,000 คน ในวันที่ 11 ก.พ. 2011 มูบารัคก็ยอมออกจากตำแหน่ง และมีการมอบอำนาจให้กับกลุ่มสภาทหารสูงสุดของอียิปต์ (Supreme Council of the Armed Forces หรือ SCAF) นำโดยโมฮาเหม็ด ฮุสเซน ทันทาวี ผู้นำเหล่าทัพในยุคนั้น


ประท้วงสภาทหารฯ

แต่การประท้วงในอียิปต์ก็ยังคงไม่จบลงเท่านี้ หลังจากนั้นยังคงมีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารหลังยุคมูบารัคโดยเริ่มตั้งแต่ในวันที่ 1 เม.ย. 2011 ในชื่อการประท้วง "ปกป้องการปฏิวัติ" โดยเรียกร้องให้รัฐบาลทหารดำเนินการเปลี่ยนผ่านโดยเร็วและปฏิบัติตามข้อเรียกร้องการปฏิวัติ โดยที่ก่อนหน้านี้สภาอียิปต์ได้ออกกฏหมายสั่งห้ามการชุมนุมและการหยุดงานประท้วง

การประท้วงรัฐบาลทหารดำเนินต่อมาในหลายๆ ชื่อ ซึ่งมักจะเป็นการประท้วงแบบนัดรวมตัวทุกๆ สัปดาห์ จนกระทั่งตั้งแต่ช่วงเดือน ส.ค. 2011 เป็นต้นมาก็เริ่มมีการพยายามสลายการชุมนุม และผู้ประท้วงก็เริ่มแข็งข้อต่อรัฐบาลทหารมากขึ้นเรื่อยๆ โดยกลุ่มผู้ประท้วงที่ไม่พอใจรัฐบาลทหารก็มาจากหลายกลุ่มทั้งกลุ่มคริสเตียนนิกายคอปต์ กลุ่มคนหนุ่มสาว กลุ่มสตรี เรื่องหลักๆ ของการประท้วงยังอยู่ที่ความไม่พอใจที่มีการเปลี่ยนผ่านช้าเกินไป เกรงว่ารัฐบาลทหารพยายามจะอยู่ในอำนาจ และเรื่องการลิดรอนเสรีภาพ

จนกระทั่งวันที่ 23 ม.ค. 2012 มีการประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. ในอียิปต์ และมีการจัดตั้งรัฐสภาทำให้สภาทหารสูงสุดของอียิปต์ถ่ายโอนอำนาจการบริหารให้กับสภา


เลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่

ช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. 2012 อียิปต์เริ่มมีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ แต่ในระหว่างช่วงนั้นก็มีปัญหาเรื่องการสั่งยุบสภาฯ โดยศาลอียิปต์บอกว่ากฎหมายมาตราต่างๆ ที่ใช้ในช่วงเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2011 ไม่สามารถใช้ได้และเรียกร้องให้มีการยุบสภาทันที ด้วยเหตุนี้ทำให้สภาทหารฯ กลับมามีอำนาจบริหารอีกครั้ง ก่อนที่จะประกาศตัวสภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในวันที่ 18 มิ.ย. 2012

มีการชุมนุมที่จัตุรัสทาห์รีย์อีกครั้งในวันที่ 19-24 มิ.ย. 2012 มีส่วนหนึ่งมาเพื่อต่อต้านการสั่งยุบสภาของสภาทหารฯ ซึ่งเกรงว่าอำนาจของรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ให้อำนาจสภาทหารอย่างมากจะกลายเป็นการจำกัดอำนาจของประธานาธิบดีคนใหม่ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งมาเพื่อฟังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี

ในวันที่ 24 มิ.ย. 2012 มีการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ โดย โมฮาเหม็ด มอร์ซี ผู้สมัครจากพรรคการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 51.73 ขณะที่ อาห์เม็ด ชาฟิค ผู้สมัครอิสระได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 48.27

โดยอาห์เม็ด ชาฟิค คือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอดีตประธานาธิบดีมูบารัคให้เป็นนายกฯ ในช่วงที่กำลังมีการลุกฮือ ก่อนจะลาออกอีกราวหนึ่งเดือนถัดมา มีบางคนมองว่าชาฟิคเป็นกลุ่มอำนาจเก่าจากสมัยมูบารัค แต่ก็ได้รับคะแนนเสียงจากกลุ่มคริสเตียนนิกายคอปต์ซึ่งต่อต้านผู้สมัครจากพรรคของกลุ่มมุสลิม

มอร์ซีกลายเป็นประธานาธิบดีคนใหม่โดยเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2012
 

การงัดข้อกับศาลและสภาทหาร

ช่วงเดือน ก.ค. 2012 หลังจาก มอร์ซี ดำรงตำแหน่ง เขาก็มีคำสั่งให้ ส.ส. ที่ถูกยุบสภาในช่วงที่สภาทหารฯ อยู่ในอำนาจกลับมาเปิดประชุมสภาอีกครั้ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ยอมรับการตัดสินใจในครั้งนี้ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการงัดข้อกันระหว่างฝ่ายผู้นำจากภราดรภาพมุสลิมและศาลอียิปต์

ในวันที่ 12 ส.ค. 2012 มอร์ซี ก็สั่งปลดนายพลทันทาวี และซามี อันนัน สองผู้นำกองทัพออกจากตำแหน่ง โดยมีมวลชนส่วนหนึ่งชุมนุมสนับสนุน ซึ่งการปลดผู้นำกองทัพจากสภาทหารฯ ทำให้มอร์ซีมีอำนาจนิติบัญญัติกลับคืนมา

ขณะเดียวกันในหมู่ประชาชนก็มีบางส่วนรู้สึกวิตกกับผู้นำอย่างมอร์ซีซึ่งเชื่อว่ามีกลุ่มภราดรภาพมุสลิมหนุนหลัง คนเหล่านี้มักเป็นกลุ่มฆราวาสนิยม กลุ่มเสรีนิยม และกลุ่มศาสนาคริสต์นิกายคอปต์ พวกเขากลัวว่าอียิปต์จะกลายเป็นประเทศอิสลามและขาดความหลากหลาย นักการเมืองฝ่ายฆราวาสนิยมอย่าง โมฮัมเหม็ด เอลบาราดาย ซึ่งล่าสุดกลายเป็นหนึ่งในแกนนำฝ่ายประท้วงต้านรัฐบาล ก็ไม่เห็นด้วยกับมอร์ซี

โดยเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2012 ก็มีกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว ซึ่งเป็นมุสลิมนิกายซาลาฟีออกมาชุมนุมสนับสนุนให้มีการนำหลัก 'ชาริอะฮ์' (Sharia) มาใช้กับกฎหมายของอียิปต์


เริ่มชุมนุมต้านมอร์ซี

เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2012 ก็มีประชาชนหลายพันหวนกลับมายังจัตุรัสทาห์รีย์ ซึ่งในคราวนี้เป็นการประท้วงต้านมอร์ซี หลังจากที่มอร์ซีออกประกาศกฤษฎีกาให้อำนาจเหนือการตรวจสอบแก่ตนเอง ในช่วงนั้นกลุ่มคณะตุลาการก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยเช่นกัน

1 ธ.ค. 2012 มอร์ซี ประกาศวันทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มีผู้ชุมนุมกลุ่มอิสลามออกมาแสดงการสนับสนุนที่มหาวิทยาลัยไคโร ขณะเดียวกันที่จัตุรัสทาห์รีย์ก็มีผู้ออกมาต่อต้าน

จนกระทั่ง 8 ธ.ค. 2012 มอร์ซี จึงยอมยกเลิกกฤษฎีกาพิเศษที่ให้อำนาจพิเศษแก่ตนเอง

ในวันที่ 15 และ 22 ธ.ค. 2012 จึงมีการลงประชามติรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีผู้เห็นชอบร้อยละ 63.83 ผู้ไม่เห็นชอบร้อยละ 36.17

ในวันที่ 26 ม.ค. 2013 ประชาชนส่วนหนึ่งพากันมาชุมนุมครบรอบสองปีการปฏิวัติ โดยมีบางส่วนแสดงความไม่พอใจว่าแม้หลังจากการปฏิวัติขับไล่มูบารัคผ่านมาสองปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง

การประท้วงยังคงมีขึ้นอยู่เนื่องๆ ในหลายวาระ รวมถึงการประท้วงต่อต้านการละเมิดทางเพศสตรีในที่ชุมนุม แต่การประท้วงส่วนใหญ่ยังเป็นการเน้นต่อต้านประธานาธิบดี มีรัฐมนตรีบางส่วนลาออกหลังเห็นเจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม และบางครั้งความรุนแรงก็มาจากการปะทะกันของผู้ชุมนุมต่างฝ่าย หรือคนต่างนิกาย

และแม้ว่าก่อนหน้านี้มอร์ซีจะเคยสั่งยกเลิกกฎหมาย "หมิ่นผู้นำสาธารณรัฐ" สมัยมูบารัคและสั่งปล่อยตัวนักข่าวที่ถูกจับในข้อหานี้ แต่เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2013 แบสเซม ยุสเซฟ นักล้อเลียนทางการเมืองชื่อดังของอียิปต์ก็เข้ามอบตัวจากข้อหาหมิ่นศาสนาอิสลามและประธนานาธิบดีมอร์ซี


การประท้วงใหญ่ล่าสุด-การรัฐประหาร

เรื่อยมาจนกระทั่งถึงการประท้วงใหญ่ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2013 ซึ่งการประท้วงดำเนินไปอย่างสงบจนกระทั่งมีกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลถูกสังหาร

1 ก.ค. 2013 กลุ่มผู้ชุมนุมต้านรัฐบาลส่วนหนึ่งได้เข้าไปทำลายอาคารที่ทำการของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในกรุงไคโร และในวันเดียวกัน กองทัพอียิปต์ได้ประกาศเส้นตาย 48 ชั่วโมง ว่าจะมีการแทรกแซงหากรัฐบาลยังหาทางจัดการความขัดแย้งไม่ได้ รัฐมนตรี 4 คนประกาศลาออก

2 ก.ค. 2013 รัฐมนตรีต่างประเทศประกาศลาออก ประธานาธิบดีมอร์ซีปฏิเสธไม่ยอมรับการขีดเส้นตายของกองทัพ บอกว่าจะใช้วิธีการแก้ปัญหาของตนเอง

3 ก.ค. 2013 ถึงกำหนดเส้นตาย มอร์ซีถูกสั่งกักตัวไว้โดยเชื่อว่าอยู่ที่ค่ายทหารของกองกำลังพิทักษ์สาธารณรัฐ รถถังเคลื่อนไปตามที่ต่างๆ และมีวางกำลังตามจุดสำคัญ จนกระทั่งผู้นำกองทัพประกาศแถลงการณ์ยกเลิกอำนาจของมอร์ซี และแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ อาดลี มานซูร์ ขึ้นเป็นรักษาการประธานาธิบดี

นอกจากนี้ ในวันเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขและประชากรเปิดเผยว่ามีผู้ชุมนุมสนับสนุนมอร์ซีเสียชีวิต ทั้งนี้ภาพจากทวิตเตอร์ ของคาริม ฟาฮิม แสดงให้เห็นกลุ่มสนับสนุนศาสนาอิสลามออกมาเผชิญหน้ากับรถถังของทหาร จนกระทั่งฝ่ายทหารยอมล่าถอยออกไป โดยเจ้าหน้าที่ทหารบอกว่าาพวกเขาแค่ต้องการมาคุ้มครองแต่กลับถูกขับไล่ โดยในช่วงที่พวกเขาล่าถอยมีผู้สนับสนุนมอร์ซีตะโกนว่า "มอร์ซีเป็นประธานาธิบดีของพวกเรา"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น