ประชาไท | Prachatai3.info |
- ห่วงโซ่การค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ใครกำหนดใคร ?
- แอมเนสตี้ฯ เรียกร้องสหรัฐฯ ต้องไม่ไล่ล่าเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน
- เพจ V for Thailand ประกาศ "พักกิจกรรม" ใน กทม.
- บรรยง พงษ์พานิช: การทุจริตข้ามชาติ
- วิทยุชุมชน: เติบโตและแตกตัวมาเพื่อเล็กลง
- "ชาวปากมูน" ทวงสัญญารัฐบาล ตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูล
- นักวิชาการเห็นพ้อง กระบวนการพูดคุยสันติภาพต้องเดินหน้า
- กสทช. ชี้กรณีช่อง 5 แทรก 'ฮาร์ดคอร์ข่าว' ไม่ผิด แต่ต้องตอบคำถามสังคม
- ผู้สื่อข่าวตะวันออกกลาง The Independent วิจารณ์การนำเสนอข่าวซีเรียของสื่อต่างชาติมักเจืออคติ
- วัยรุ่นหญิงปากีสถาน 2 คน ถูกสังหารหลังถ่ายวีดิโอคลิปเต้นกลางสายฝน
- แก้วสรร อติโพธิ
- สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในยะลา
- ประชาธิปัตย์ยื่นวุฒิสภาถอดถอน ครม.ทั้งคณะ-กรณีอนุมัติโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน
- ทีดีอาร์ไอเผยคนไทยมีเงินออมมากขึ้น แต่ช่องว่างคนรวยคนจนยังห่าง
- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เสนอ "เชคสเปียร์ต้องตาย" ฉายได้ในเรต 18+
ห่วงโซ่การค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ใครกำหนดใคร ? Posted: 02 Jul 2013 12:21 PM PDT การกล่าวถึงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง มักมาพร้อมกับภาพ "การตัดไม้ทำลายป่า" ซึ่งจำเลยสำคัญคือกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่เหล่านั้น ที่ถูกเข้าใจว่าได้ตกเป็นเหยื่อของระบบทุนนิยมและกลไกตลาด แต่ภาพที่ขาดหายไปในการทำความเข้าใจเรื่องนี้ก็คือ สายพานการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนต่าง ๆ อีกมากมาย ที่มีส่วนส่งเสริมทั้งทางตรงและทางอ้อมให้การผลิตพืชพาณิชย์บนพื้นที่สูงเป็นไปได้ ตลาดการค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอำเภอแม่แจ่ม ได้ผนวกเอาชาวบ้านบนพื้นที่สูงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ในฐานะผู้ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงาน ระหว่างผู้ปลูกข้าวโพดไปถึงโรงงานผลิตอาหารสัตว์ มีผู้กระทำการหลากหลายกลุ่มในหลายระดับ แต่ผู้คนเหล่านั้นมัก "ลอยตัว" ไม่ถูกกล่าวถึง ราวกับว่าพวกเขาไม่เกี่ยวข้องอะไรกับ "การตัดไม้ทำลายป่า" เพื่อขยายการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เหตุใดความเข้าใจเรื่องการตัดไม้ทำลายป่ากับการขยายตัวของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จึงเป็นสมการสั้นห้วนที่ตัดตอนความเข้าใจอยู่เพียงแค่นั้น นอกจากนั้น เรามักเชื่อว่าเกษตรกรรายย่อยมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าผู้รับซื้อผลผลิต และผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในห่วงโซ่ของธุรกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หากพูดถึงผลประโยชน์ตอบแทนภายในห่วงโซ่การค้าก็แน่นอนว่าเกษตรกรย่อมได้รับกำไรในสัดส่วนที่น้อยกว่าผู้ประกอบการในลำดับอื่น ๆ ห่วงโซ่เดียวกัน แต่หากพิจารณาเพียงเท่านั้นเราก็จะเห็นว่าชาวบ้านเป็นแค่ "เหยื่อ" ของปลาใหญ่ในห่วงโซ่ บทความนี้จะสะท้อนให้เห็นการกระทำการของเกษตรกรรายย่อยผู้ซึ่งแลดูเสียเปรียบกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเป็น "เหยื่อ" ที่ขลาดเขลาของธุรกิจการค้าในแบบที่คนอื่นเข้าใจ เส้นทางการค้า อำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด มีปริมาณผลผลิตมากกว่าครึ่งของผลผลิตทั้งจังหวัด หรือเกือบ 8 หมื่นตันต่อปี และผลผลิตส่วนหนึ่งก็มาจากบ้านก่อวิละ หมู่บ้านปาเกอะญอขนาดประมาณ 70 หลังคาเรือน ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง และมีเส้นทางคมนาคมไม่ค่อยสะดวก ทุกปีในช่วงฤดูแล้งหลังจากเก็บเกี่ยวผลิต ชาวบ้านก่อวิละจะนำเมล็ดข้าวโพดที่สีออกจากฝักแล้วบรรจุใส่กระสอบลำเลียงใส่ท้ายรถกระบะเพื่อขนไปยังจุดรับซื้อผลผลิตที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอแม่แจ่ม[1] ระยะทางราว 16 กิโลเมตร เมื่อถึงจุดรับซื้อ เจ้าของรถจะขับรถเข้าชั่งเพื่อบันทึกน้ำหนักข้าวโพดรวมกับน้ำหนักตัวรถ ขณะกำลังชั่ง จะมีการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวโพดไปเข้าเครื่องวัดความชื้นแล้วจึงตกลงราคาซื้อขาย หากตกลงว่าจะขาย เจ้าของรถจะนำข้าวโพดไปเทลงกองซึ่งแบ่งกองไว้ตามระดับค่าความชื้นต่าง ๆ จากนั้นจึงนำรถกลับไปชั่งน้ำหนักอีกครั้งเพื่อหาค่าน้ำหนักข้าวโพด โดยทั่วไปรถยนต์กระบะหนึ่งคันจะบรรทุกผลผลิตข้าวโพดได้ประมาณ 2 ตัน ในอำเภอแม่แจ่มมีผู้รับซื้อผลผลิตการเกษตรสิบกว่ารายในตัวอำเภอ โดยส่วนใหญ่รับซื้อผลผลิตหลากหลายชนิดหมุนเวียนกันไปตลอดทั้งปี ผู้รับซื้อเหล่านี้นับเป็น "รายย่อย" ที่ทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรรายย่อยส่งไปขายต่อยังผู้รับซื้อรายใหญ่กว่าที่อยู่ต่างอำเภอ และในจังหวัดใกล้เคียง หรือบางทีหากเป็นพืชผักผลไม้ก็อาจส่งไปถึงตลาดในกรุงเทพฯ ผู้ประกอบการเหล่านี้ทำหน้าที่บริหารจัดการหรือเป็น "พ่อค้าคนกลาง" โดยลงทุนในเครื่องชั่ง เครื่องวัดความชื้น และโรงเก็บผลผลิตชั่วคราวขนาดไม่ใหญ่มาก ส่วนใหญ่พวกเขาไม่มีรถบรรทุกเป็นของตนเองแต่จะติดต่อจ้างผู้ประกอบการรถหกล้อและสิบล้อเพื่อขนส่งผลผลิตไปยังแหล่งรับซื้ออีกต่อหนึ่ง ผู้ประกอบการบางรายเลือกไม่รับซื้อผลผลิตการเกษตรบางชนิดในบางฤดูกาลเพราะไม่สะดวกที่จะจัดการส่งไปขายต่อ หรือผลผลิตนั้นไม่เป็นที่ต้องการของตลาด หรือมีปริมาณผลผลิตน้อยเกินไปจนไม่คุ้มค่ากับการจัดการ แต่ทุกรายรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทุกปีเพราะเป็นผลผลิตที่จัดการง่ายต่างจากพืชผักหรือผลไม้สดที่จัดการยากกว่าและเป็นที่ต้องการของตลาดเสมอ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากผู้รับซื้อรายย่อยในอำเภอแม่แจ่มจะถูกส่งต่อไปที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หรืออำเภอใกล้เคียงในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ผู้รับซื้อรายใหญ่มักเป็นผู้ประกอบการห้องเย็น และผู้ประกอบการโรงอบลำไย ที่มีไซโลหรือโกดังขนาดใหญ่ สามารถเก็บรวบรวมผลผลิตจำนวนมาก รวมถึงมีเครื่องจักรกลที่ช่วยเพิ่มคุณภาพและราคาของข้าวโพด เช่น ลดความชื้น คัดแยกสิ่งเจือปน เป็นต้น แล้วขายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีทั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร เช่น เครือเบทาโกร และเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น ราคาและค่าใช้จ่าย การกำหนดและต่อรองราคาเป็นเรื่องสำคัญที่มักใช้ชี้วัดถึงอำนาจการต่อรองระหว่างผู้รับซื้อและผู้ขาย แต่ในกระบวนการค้าข้าวโพดนั้นมีการส่งต่อผลผลิตกันหลายทอด แต่ละทอดได้สร้างรายได้ให้แก่คนหลายกลุ่มในอำเภอแม่แจ่ม ราคารับซื้อข้าวโพดในอำเภอแม่แจ่มไม่ได้กำหนดอย่างอิสระจากผู้รับซื้อในตัวอำเภอ แต่กำหนดมาจากผู้รับซื้อรายใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโรงอบหรือไซโลที่อยู่ต่างอำเภอ "น้องจิน" (นามสมมติ) ซึ่งเป็นผู้รับซื้อข้าวโพดรายย่อยในอำเภอแม่แจ่มเล่าว่าแต่ละวันเธอจะโทรไปที่แหล่งรับซื้อเจ้าประจำของเธอซึ่งมีสองราย รายหนึ่งอยู่ที่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และอีกรายอยู่ที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เพื่อจะได้ทราบว่าในวันนั้นแหล่งรับซื้อต้องการซื้อปริมาณและราคาเท่าไร โดยในฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโพดเธอส่งผลผลิตไปขายเฉลี่ยวันละ 70 ตัน และบางวันอาจสูงถึง 100 ตัน เมื่อทราบราคารับซื้อแล้ว น้องจินจะกำหนดราคารับซื้อกับเกษตรกร โดยหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อีกหลายขั้นตอน ได้แก่ ค่าขนส่งจากโกดังของเธอไปยังผู้รับซื้อรายใหญ่ในอัตรากิโลกรัมละ 35-40 สตางค์ โดยหากขนส่งด้วยรถบรรทุก 6 ล้อจะขนได้เที่ยวละ 10 ตัน คิดค่าขนส่งกิโลกรัมละ 40 สตางค์ แต่หากเป็นรถบรรทุกพ่วงสามารถขนได้สูงสุด 20 ตัน มีค่าขนส่งกิโลกรัมละ 35 สตางค์ กรณีที่เกษตรกรไม่ได้สีข้าวโพดมาก่อนแต่นำผลผลิตมาขายทั้งฝัก เธอคิดค่าสีข้าวโพดกิโลกรัมละ 20 สตางค์ นอกจากนั้นยังมีค่า "ทอยลาน" หรือค่าขนส่งจากลานสีมายังจุดรับซื้อกิโลกรัมละ 5 สตางค์ แต่หากต้องบรรทุกข้าวโพดจากไร่ซึ่งต้องอยู่ไม่ไกลจากตัวอำเภอมากนัก (กรณีเป็นชาวพื้นราบ) เธอคิดค่า "ทอยจากสวน" หรือค่าขนส่งข้าวโพดมายังลานสีข้าวโพดกิโลกรัมละ 20 สตางค์ กรณีที่มีผู้ที่แนะนำหรือพาเกษตรกรมาขายข้าวโพดให้แก่เธอ น้องจินให้ค่านายหน้าอีกกิโลกรัมละ 5 สตางค์ และสุดท้ายเธอคิดค่าดำเนินการซึ่งเป็นส่วนกำไรที่ผู้รับซื้อจะได้รับสุทธิจริง ๆ คือกิโลกรัมละ 10-20 สตางค์ ดังนั้นเพื่อให้ได้กำไรสูง น้องจินจึงต้องเน้น "ทำน้ำหนัก" หรือขายให้ได้ปริมาณมาก ๆ จึงจะคุ้มค่าการจัดการ จะเห็นได้ว่าในกระบวนการค้าข้าวโพดนั้นมีขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยวอีกมาก ที่ล้วนแต่ทำให้เกษตรกรมี "ค่าใช้จ่าย" กรณีที่เกษตรกรไม่จ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จกับผู้รับซื้อรายเดียวที่มีบริการครบวงจรดังเช่นน้องจิน ก็จะทำให้มีผู้มีรายได้จากกระบวนการค้าข้าวโพดเกิดขึ้นอีกหลายกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่รับจ้างสีข้าวโพด และรับจ้างขนส่ง ซึ่งผู้เขียนได้แสดงข้อมูลในส่วนนี้ไปบ้างแล้วในบทความที่ผ่านมา[2]และจะได้กล่าวถึงเพิ่มเติมในส่วนต่อไปของบทความ นอกจากข้าวโพดแล้วในอำเภอแม่แจ่มยังมีการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ อีก เช่น หอมแดง กระเทียม กะหล่ำปลี ฟักทอง ฯลฯ ช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีความต้องการว่าจ้างรถบรรทุกจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นขั้นตอนสำคัญของการค้าผลผลิตการเกษตร เพราะหากการขนส่งไม่รวดเร็วทันเวลาอาจทำให้ผลผลิตบางชนิดเน่าเสียจนกระทั่งผู้ประกอบการถึงกับขาดทุนได้ การขยายตัวของการผลิตพืชพาณิชย์ในอำเภอแม่แจ่ม ทำให้เกิดผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตการเกษตรมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนั้นเธอยังสังเกตว่าได้เกิดผู้ประกอบการรายย่อยหน้าใหม่ ๆ ที่ลงทุนซื้อรถบรรทุกมารับจ้างขนผลผลิตการเกษตร และเจ้าของรถบรรทุกเหล่านี้ก็ได้สร้างเครือข่ายหลวม ๆ เพื่อส่งข่าวและประสานงานกลายเป็นเครือข่ายผู้รับจ้างขนส่งสินค้าเกษตรที่ไม่เป็นทางการขึ้นมา ใครเลือกใคร..เกษตรกร กับผู้รับซื้อ ? ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตกับผู้รับซื้อและผู้ประกอบการในห่วงโซ่การค้าข้าวโพดนั้น เกษตรกรมักมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะในเรื่องราคา อำนาจเดียวที่เกษตรกรพอจะมีอยู่บ้างก็คือการเลือกว่าจะขายให้ใคร ซึ่งนอกเหนือจากเหตุผลเรื่องราคารับซื้อแล้วยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีกที่ทำให้ชาวบ้านตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อข้าวโพด ในอำเภอแม่แจ่มซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้รับซื้อข้าวโพดสิบกว่าราย ทำให้มีการแข่งขันเพื่อแย่งรับซื้อผลผลิตพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ตลาดมีความต้องการสูง บ้านก่อวิละผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ปีละประมาณ 1,200 ตัน แม้ว่าจะไม่ใช่ปริมาณมากนัก แต่ก็ช่วยสร้างผลกำไรให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยในอำเภอแม่แจ่มได้ไม่ต่ำกว่าปีละ1.2 – 2.4 แสนบาท แหล่งรับซื้อต่าง ๆ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอและไม่ไกลจากกันมากนักทำให้ระยะทางไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อ ผู้รับซื้อบางรายให้ราคาที่สูงกว่าโดยยอมที่จะลดผลกำไรของตนเองลงเพื่อดึงดูดให้ชาวบ้านมาขายมากขึ้น ชาวบ้านก่อวิละขับรถนำผลผลิตไปลองขายเพื่อเช็คราคากับผู้รับซื้อถึงสามราย แล้วจึงจะค่อยนำผลผลิตที่เหลือมาขายให้กับผู้รับซื้อรายที่ให้ราคาน่าพอใจที่สุด แต่ก็ใช่ว่าเกษตรกรจะตัดสินใจขายผลผลิตให้แก่ผู้รับซื้อที่ให้ราคาสูงเสมอไป เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรแม่แจ่มมักเลือกขายผลผลิตให้แก่สหกรณ์หากพบว่าราคารับซื้อไม่ต่างจากผู้รับซื้อรายอื่นมากนัก เพราะพวกเขาเห็นว่าการขายผลผลิตให้แก่สหกรณ์จะช่วยเพิ่มผลประกอบการของสหกรณ์ และส่งผลให้เกษตรกรได้ส่วนแบ่งจากเงินปันผลสมาชิกเพิ่มขึ้น ขณะที่เกษตรกรบางส่วนให้ความสำคัญกับการเลือกแหล่งรับซื้อ เกษตรกรอีกบางส่วนกลับเห็นว่าขายที่ไหนก็เหมือนกันเพราะราคาไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจากเรื่องผลตอบแทนที่ว่าแล้ว เกษตรกรบางรายมีเหตุผลในการเลือกแหล่งรับซื้อที่แปลกออกไป ตัวอย่างเช่น พะตีพา (นามสมมติ) เวียนขายข้าวโพดแต่ละปีให้กับผู้รับซื้อเจ้าประจำ 3 ราย โดยให้เหตุผลว่าเขาอยากกระจายเพื่อช่วยให้ผู้รับซื้อมีโอกาสได้มีผลผลิตเฉลี่ย ๆ กันไปเพื่อให้พวกเขาสามารถทำธุรกิจต่อไปได้ ทัศนะของพะตีพาทำให้ผู้เขียนแปลกใจ เพราะในขณะที่คนทั่วไปมองว่าเกษตรกรรายย่อยเป็นเบี้ยล่างที่ไม่มีอำนาจต่อรองกับผู้ประกอบการ ชาวบ้านกลับมองเห็นว่าตนเองต่างหากที่เป็นฝ่ายให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เกษตรกรบางรายเลือกขายข้าวโพดให้กับผู้รับซื้อที่ชาวบ้านรู้จักและคุ้นเคย ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่มากไปกว่าผู้ซื้อ-ผู้ขาย ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ช่วยทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาสูงกว่าปรกติ ดังตัวอย่างจากกรณีของพล นักการเมืองท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักของคนแม่แจ่มอยู่พอสมควร ผู้เขียนเคยตามพลไปขายข้าวโพดที่สหกรณ์การเกษตรแม่แจ่ม สังเกตเห็นเจ้าหน้าที่สหกรณ์ซื้อข้าวโพดของพลโดยให้เกณฑ์ราคารับซื้อสูงสุด คือเป็นข้าวโพดที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 14 ทั้งที่วัดค่าความชื้นข้าวโพดได้มากกว่าร้อยละ 14 อำนาจการต่อรองราคาของพลนับเป็นกรณีพิเศษมาก เมื่อเทียบกับอำนาจต่อรองของเกษตรกรคนอื่น ๆ ที่บ้านก่อวิละซึ่งมีเกษตรกรเจ็ดสิบครัวเรือน มีประมาณ 27 ครัวเรือนเท่านั้นที่มีรถยนต์กระบะเป็นของตนเอง เกษตรกรที่เหลือต้องจ้างรถยนต์ของเพื่อนบ้านบรรทุกผลผลิตไปขาย ค่าว่าจ้างหักจากเงินที่ขายผลผลิตได้ในอัตรากิโลกรัมละ 40 สตางค์ ในกรณีนี้เกษตรกรเจ้าของผลผลิตมักไม่มีทางเลือกมากนักว่าจะขายผลผลิตให้กับผู้รับซื้อรายใด เนื่องจากเจ้าของรถยนต์มักมีอำนาจโน้มน้าวให้ไปขายกับผู้รับซื้อที่เจ้าของรถยนต์รู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดี ไม่มีคนรับซื้อย่อมไม่มีคนปลูก จากกระบวนการค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่แสดงในบทความนี้ จะเห็นได้ว่าเฉพาะในด้านการค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีจุดเริ่มต้นจากหมู่บ้านเล็ก ๆ บนพื้นที่สูงของอำเภอแม่แจ่มนั้นมีกลุ่มคนต่าง ๆ เกี่ยวพันกันและได้รับประโยชน์อีกมากมาย และเกษตรกรก็เป็นเพียงแต่ส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การค้าอันยาวเหยียดนี้ ดังนั้น หากจะมีการกล่าวโทษเรื่อง "การตัดไม้ทำลายป่า" อันเกิดขึ้นจากการขยายตัวของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จำเลยของข้อกล่าวหาก็ไม่ควรจะตัดตอนมาเพ่งเล็งเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิต หากจะกล่าวว่าถ้าไม่มีคนปลูกก็ไม่มีคนซื้อ ก็คงกล่าวย้อนได้ในทำนองเดียวกันว่าหากไม่มีคนรับซื้อก็ย่อมไม่มีคนปลูกขาย เมื่อได้รับประโยชน์ คนหลายกลุ่มในหลายระดับต่างมีส่วนร่วมในผลประโยชน์จากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ผู้รับซื้อรายย่อย เจ้าของรถบรรทุก เจ้าของโรงอบ ธุรกิจอาหารสัตว์ยักษ์ใหญ่ หรือแม้แต่รัฐบาลเองที่มีรายได้จากภาษีและผลตอบแทนในด้านอื่น ๆ จากการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และธุรกิจอาหารสัตว์ แต่เมื่อตกเป็นจำเลย กลับกลายเป็นว่าเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยบนพื้นที่สูงเท่านั้นที่ถูกประณาม [1] ชาวบ้านพื้นราบส่วนใหญ่เมื่อสีข้าวโพดแล้วจะนำเมล็ดเหล่านั้นใส่ลงท้ายรถกระบะที่มุงตาข่ายโดยรอบแบบไม่แบ่งใส่กระสอบ [2] กรณีบ้านก่อวิละ มีเกษตรกรรายหนึ่งลงทุนซื้อรถโม่ หรือรถสีข้าวโพด เพื่อนำมารับจ้างชาวบ้านในหมู่บ้านสีข้าวโพดออกจากฝัก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แอมเนสตี้ฯ เรียกร้องสหรัฐฯ ต้องไม่ไล่ล่าเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน Posted: 02 Jul 2013 11:39 AM PDT แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องสหรัฐอเมริกาต้ เมื่อวานนี้ (2 ก.ค.) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยแพร่แถลงการณ์ โดยแสดงความกังวลว่านายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ผู้เปิดโปงความลับของสภาความมั่ โดย วิดนีย์ บราวน์ (Widney Brown) ผู้อำนวยการอาวุโสด้ "เขาถูกตั้งข้อหาโดยรัฐบาลสหรั ทั้งนี้ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิ เจ้าหน้าที่สหรัฐรวมทั้งเลขานุ นอกจากการยื่นฟ้องสโนว์เดนแล้ว รัฐบาลสหรัฐยังได้เพิกถอนหนังสื ตามรายงานของสื่อ สโนว์เดนมีเป้าหมายที่ เจ้าหน้าที่อาวุโสของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ชี้แจงด้วยว่าบุคคลจะต้องไม่ถูกส่ "ไม่ว่าสโนว์เดนจะตัดสินใจไปที่ใด เขามีสิทธิที่จะแสวงหาที่พักพิ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เพจ V for Thailand ประกาศ "พักกิจกรรม" ใน กทม. Posted: 02 Jul 2013 11:34 AM PDT แต่ยืนยันว่าจะกลับมาอีก "ในซีซั่นต่อไป" เมื่อทุกคนพร้อมที่จะดำเนินการในวิถีแห่ง V ขณะที่สมาชิกเพจจำนวนหนึ่งโพสต์แสดงความไม่เห็นด้วย เนื่องจากเห็นว่าจัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องแล้ว และที่ กทม. มีผู้ออกมาชุมนุมมากขึ้น เมื่อวานนี้ (2 ก.ค.) เพจ V for Thailand ซึ่งเป็นเพจศูนย์กลางของผู้ชุมนุมหน้ากายฟอว์กส์ หรือหน้ากาก V ได้เผยแพร่ "แถลงการณ์ พักกิจกรรม" โดยมีใจความว่า "แถลงการณ์ "พักกิจกรรม" เพื่อให้เป็นการกลับไปทบทวนบทบาทของทุกกลุ่มที่กำลังดำเนินการโค่น อำนาจเผด็จการ และคอร์รัปชั่น ว่าแนวทางของท่าน ใช่แนวทาง ที่เราชาว V ต้องการหรือไม่" "V for Thailand ขอประกาศ พักกิจกรรม ในกรุงเทพมหานครแล้ว V จะกลับมาเปิดกิจกรรมใน Season ต่อไป เมื่อทุกกลุ่ม ทุกท่านพร้อมที่จะดำเนินการในวิถีแห่งความเป็น V = We = พวกเรา = ประชาชน ที่ไม่ใช่คนของใคร แต่เป็นคนที่จะทำหน้าที่เพื่อประเทศไทย (ลงชื่อ) V F T" นอกจากนี้ในโพสต์ดังกล่าว ยังมีการพิมพ์ข้อความกำกับเพิ่มด้วยว่า "พักกิจกรรมชั่วคราว เนื่องจากประชาชนหลายกลุ่มยังไม่พร้อมเป็น V ต่างจังหวัดจัดต่อได้ตามปกติครับ " โดยภายหลังที่เพจ V for Thailand เผยแพร่แถลงการณ์ออกไป ได้ทำให้สมาชิกเพจได้แสดงความเห็นในเชิงเสียดาย และไม่เห็นด้วยเนื่องจากผู้ชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์ หรือหน้ากาก V ได้จัดการชุมนุมไปแล้วทั่วประเทศ และมีผู้ชุมนุมมาสมทบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ขณะที่บางคนโพสต์แจ้งในเพจว่าจะยังคงไปรวมตัวที่หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์เพื่อยืนยันจุดยืน นอกจากนี้ ยังคงมีสมาชิกเพจรายหนึ่งส่งข้อความมายังผู้ดูแลเพจ V for Thailand แจ้งว่าเขาเป็นผู้ขายหน้ากากกายฟอว์กส์ และเพิ่งได้รับสินค้า โดยผู้สนใจสามารถขอดูก่อนได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
บรรยง พงษ์พานิช: การทุจริตข้ามชาติ Posted: 02 Jul 2013 11:21 AM PDT เคยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทไอทีชั้นนำของโลก โดยเฉพาะของสหรัฐฯ มักไม่ได้เข้ามาทำสัญญาซื้อขายกับรัฐบาลไทย ทั้งๆ ที่หน่วยงานรัฐของประเทศเรามีความจำเป็นต้องจัดซื้อจัดจ้างทางไอทีนี้ปีละเป็นหมื่นๆ ล้านบาท วันหนึ่ง เมื่อได้มีโอกาสเจอกับผู้บริหารใหญ่ของหนึ่งในบริษัทเหล่านี้ จึงได้ลองถามดูว่าทำไมถึงได้เป็นอย่างนั้น ก็ได้คำตอบว่าเป็นเพราะว่าสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ ของประเทศเรา ซึ่งมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้ร่างหรือตรวจสอบนั้น "เขี้ยวเหลือเกิน" กล่าวคือสัญญาของเรานั้นดูเหมือนจะเอาเปรียบเอกชนท่าเดียว เอะอะอะไรก็ให้เอกชนเป็นฝ่ายแบกรับความเสี่ยง ยิ่งกว่านั้นยังมีความไม่ยืดหยุ่นอย่างมาก กล่าวคือไม่ค่อยเปิดโอกาสให้มีการแก้ไขสัญญาสักเท่าไหร่แม้มีเหตุสมควร ทั้งที่ในโลกของความเป็นจริงนั้น สถานการณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การจะให้เอกชนยอมเซ็นสัญญาและถูกผูกพันที่จะต้องส่งมอบสิ่งต่างๆภายใต้เงื่อนไขตามสัญญาไปตราบฟ้าสิ้นดินดับ ไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปเพียงใดนั้น จึงเป็นความเสี่ยงทางกฎหมายที่เอกชนไหนๆ ก็รับไม่ได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเอกชนเหล่านี้ต้องเซย์โน ไม่ทำธุรกิจกับรัฐบาลไทย เมื่อได้ฟังอย่างนี้ ใจหนึ่งก็นึกกังขาในสำนักงานอัยการสูงสุดของเราว่าใจคอท่านจะไม่เปิดหูเปิดตาสังเกตแนวปฏิบัติของธุรกิจในโลกเขาบ้างหรืออย่างไร ว่าควรจะร่างสัญญาเพื่อจัดสรรและบริหารความเสี่ยงในลักษณะไหน ที่ทั้งจะไม่ทำให้รัฐถูกเอกชนเอาเปรียบ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังพอมีช่องว่างให้เอกชนเขาทำธุรกิจได้บ้าง เหตุใดจะต้องร่างสัญญาให้มันเขี้ยวเสียจนบริษัทไอทีขนาดใหญ่ซึ่งเขาทำธุรกิจในที่อื่นๆมาแล้วทั่วโลกพากันมาขยาดประเทศไทยอยู่ประเทศเดียว เพราะการทำอย่างนั้น ทางหนึ่งไม่เพียงเป็นการบีบให้บริษัทซึ่งมีมาตรฐานดีๆ และทำอะไรตรงไปตรงมาจำนวนมากไม่เข้ามาทำธุรกิจกับรัฐบาลไทย เพราะกลัวว่าจะได้ไม่คุ้มเสียเท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้าม ยังแปลได้ว่า บริษัทใดก็ตามที่ยอมเข้ามาทำธุรกิจกับรัฐบาลไทย ภายใต้เงื่อนไขสัญญาโหดผิดปกติอย่างนั้น อาจเป็นบริษัทที่อยู่ในสถานะจนตรอกเต็มทีจึงไม่มีทางเลือก หรือไม่ก็เห็นทางจะ "เอาคืน" รัฐบาลไทยในทางอื่นๆ ได้อยู่แล้ว ซึ่งแน่นอนย่อมหมายถึงการโกง เช่นหลอกเอาของที่ไม่มีคุณภาพมาขายให้รัฐบาล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จะปักใจเชื่อบริษัทเอกชนเหล่านี้เสียทีเดียวก็ไม่ได้ เพราะแม้บริษัทไอทียักษ์ใหญ่เหล่านี้จะไม่ได้เข้ามาทำธุรกิจกับรัฐบาลไทยโดยตรง แต่สุดท้ายบริษัทเหล่านี้ ก็เข้ามาโดยอ้อมอยู่ดี กล่าวคือมักปรากฏว่าบริษัทเหล่านี้นี่แหละที่เป็นซัพพลายเออร์ให้กับบริษัทที่เข้ามาเซ็นสัญญากับรัฐบาลอีกทีหนึ่ง จนมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า จริงๆแล้ว ที่บริษัทไอทีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ไม่เข้ามาทำสัญญากับรัฐบาลไทยนั้นไม่ใช่ว่าสัญญาเขี้ยวอะไรทั้งนั้น แต่เป็นเพราะสหรัฐฯ นั้นมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำอันเป็นการทุจริตข้ามชาติ (U.S. Foreign Corrupt Practices Act) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า FCPA ซึ่งเอาผิดกับผู้ที่ไปติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐในต่างประเทศ โดยในเมื่อประเทศไทยของเรานั้นก็มีชื่อเสียงขจรขจายอยู่แล้วในเรื่องความเข้มข้นของคอร์รัปชันในภาครัฐ บริษัทไอทีเหล่านี้ก็เลยกลัวกันหมด ไม่กล้าเข้ามาเซ็นสัญญากับรัฐโดยตรง เพราะเดี๋ยวเกิดต้องเลี้ยงน้ำร้อนน้ำชาเป็นค่าจรดปากกาเซ็นสัญญาของบรรดาเจ้าหน้าที่แล้ว บริษัทเหล่านี้ก็จะมีความผิดตาม FCPA และถูกกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ หรือ Department of Justice (DOJ) เล่นงานเอาได้ ซึ่งจากคดีของอดีตผู้ว่า ททท. ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากเอกชนสหรัฐฯ อันเป็นความผิดตาม FCPA เช่นกัน ก็คงเห็นฤทธิ์กันอยู่แล้วว่า DOJ ของสหรัฐฯ นั้นเขาโหดแค่ไหน เรียกได้ว่าขณะเจ้าหน้าที่ไทยผู้ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนยังอยู่ในขั้นฟ้องร้องกันอยู่ในศาลไทย ฝ่ายผู้จ่ายสินบนคนสหรัฐฯ นั้นถูก DOJ เล่นเสียจนถูกฟ้องถูกพิพากษาและถูกจำคุกจนครบกระบวนการแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นอย่างที่ว่ามานี้จริง ลำพังการทำตัวเป็นซัพพลายเออร์ให้กับบริษัทที่เซ็นสัญญากับรัฐอีกทีหนึ่งของบริษัทไอทีเหล่านี้ โดยหวังว่าถ้ามีการทุจริตติดสินบนอะไรก็เป็นเรื่องของบริษัทที่เซ็น ไม่เกี่ยวกับตัวนั้น ก็ใช่ว่าจะทำให้บริษัทไอทีเหล่านี้พ้นผิดเสียทีเดียว เพราะถ้าพลิกกฎหมาย FCPA นั้นจะเห็นได้เลยว่าเขาใช้ถ้อยคำกว้างขวางมาก กล่าวคือนอกจากกฎหมายจะเอาผิดแก่บริษัทที่มีสัญชาติสหรัฐฯที่ไปติดสินบนแล้ว คำว่าบริษัทที่มีสัญชาติสหรัฐฯนั้น นั้นยังมีการนิยามให้รวมความถึง "กรรมการ เจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง ตัวแทน ผู้แทนจำหน่าย และผู้ถือหุ้น ผู้ซึ่งกระทำการเพื่อประโยชน์ของบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ" ด้วย ซึ่งย่อมแปลว่า ไม่ว่าบริษัทไอทีทั้งหลายจะหาบริษัทอื่นมาเป็น "กันชน" ของตัวเองกี่ทอดก็ตาม ถ้ามีการพิสูจน์ได้ว่าบริษัทกันชนเหล่านั้นมีการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐขึ้นมา สุดท้ายแล้ว DOJ ก็อาจจะไล่เบี้ย ไล่ชนไปจนถึงตัวบริษัทไอทีซึ่งนั่งทำท่าไม่รู้ไม่ชี้อยู่จนได้นั่นเอง ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะบอกว่า ในเมื่อกฎหมายเขามีพร้อมอยู่แล้ว ทรัพยากรในการบังคับใช้เขาก็มีพร้อมอยู่แล้ว การร้องเรียนให้ DOJ ของสหรัฐฯ เข้ามาตรวจบริษัทต่างๆ ที่เข้ามาทำธุรกิจกับรัฐบาลไทยและมีพฤติกรรมน่าสงสัย ไม่ว่าทางตรง ทางอ้อมก็นับเป็นอีกหนึ่งมาตรการในการต่อต้านคอร์รัปชันที่ประเทศเราสมควรจะทำอย่างยิ่ง เพราะได้ทั้งประสิทธิภาพ ได้ทั้งประหยัด ดังนั้น ใครมีเบาะแสก็ขอเรียนเชิญนะครับ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วิทยุชุมชน: เติบโตและแตกตัวมาเพื่อเล็กลง Posted: 02 Jul 2013 11:06 AM PDT เมื่อเดือนเมษายน – พฤษภาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสสำรวจข้อมูลเพื่อศึกษาคุณสมบัติปัจจัยความพร้อมสำหรับการดำเนินกิจการวิทยุชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้วพบว่า ครั้งหนึ่งกิจกรรมการสื่อสารอันเป็นการสะท้อนสิทธิการสื่อสารและการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่อันเคยคึกคักในนามวิทยุชุมชน ของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชนได้กำลังจัดรูปตัวเอง หาที่ทางให้ตัวเองและไม่ได้ฟูฟ่องเหมือนเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า มีผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงที่เข้าสู่กระบวนการขอใบอนุญาตประมาณ 7,000 ราย และไม่เข้าสู่กระบวนการอีกกว่า 1,000 รายนั้นสะท้อนการเติบโตอย่างเต็มที่ของกิจการวิทยุกระจายเสียง แต่ไม่ใช่วิทยุชุมชน แต่เมื่อพิจารณาตามประเภทการประกอบกิจการคือ บริการธุรกิจ บริการสาธารณะ และบริการชุมชน ก็จะพบว่า "บริการชุมชน"มีสัดส่วนที่น้อยกว่าบริการประเภทอื่นอย่างเห็นได้ชัด หรือแม้แต่เทียบกับบริการสาธารณะที่มีองค์กรด้านศาสนาและหน่วยงานความมั่นคงเข้ามาจับจองอย่างแน่นหนาและครอบคลุมพื้นที่ก็พบว่า วิทยุชุมชนมีจำนวนน้อยกว่าหลายเท่า กล่าวสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ครั้งหนึ่งวิทยุชุมชนตามหลักการ "วิทยุประชาธิปไตย" เคยเป็นโครงการนำร่องของการชูธงปฏิรูปสื่อที่กระจายตัวอยู่แทบทุกจังหวัด โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเคลื่อนไหวเชิงประเด็นไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ป่า และทรัพยากรอื่น ๆ ซึ่งก็คือปัญหาหลักของผู้คนบนดินแดนที่ราบสูง แต่เมื่อเวลาผ่านไป เครื่องมือการสื่อสารที่เคยเฟื่องฟูในช่วง 2544 - 2548 ก็กลายเป็น "ภาระ" อันล้นเกินของขบวนการประชาชนที่เรียกร้องสิทธิอันเกี่ยวข้องกับสิทธิและการทำมาหากินผู้ฝันถึงการเครื่องมือการสื่อสารที่จะขยายแนวคิดเรื่องสิทธิชุมชน การปกป้องทรัพยากรท้องถิ่น หรือแม้แต่การใช้สิทธิการสื่อสาร ทั้งนี้ เพราะทั้งหมดที่เป็นวิทยุชุมชนนั้นล้วนต้องมี "ต้นทุน"สำหรับการจัดการ ต้องใช้งบประมาณและต้องการคนผู้มีจิตรอาสาอย่างเข้มข้นจำนวนมากพอเพื่อมาอยู่ในกระบวนการผลิตเนื้อหาเพื่อนำพาวิทยุชุมชนให้ดำเนินไปได้ นั่นก็หมายความว่า วิทยุชุมชนแทนที่จะเป็นเครื่องมือก็กลับกลายเป็นภาระของขบวนประชาชนในหลายพื้นที่ การหายตัวไปจำนวนหนึ่งของวิทยุชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เคยเฟื่องฟูนั้นมาจาก การต่อสู้อันยาวนานของกระบวนการปฏิรูปสื่อตามแนวอุดมการณ์นั้นมันมาพบทางตันเมื่อพบว่า องค์กรอิสระที่จะมาทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ 2540 นั้นไม่เคยเกิดขึ้นจริง แม้จะมีความพยายามหลาย ๆ ครั้ง แต่สุดท้ายก็พบว่า คนที่ถือธงนำขบวนปฏิรูปสื่อวิทยุชุมชนเองต่างเผชิญชะตากรรมที่ไม่รู้ว่าจะไปต่ออย่างไร มิหนำซ้ำการเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและขยายตัวแบบไร้ทิศทาง ไร้คนจัดระเบียบคลื่นของวิทยุบริการธุรกิจที่กระจายตัวอย่างรุนแรงนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมานั้นมันได้สร้างปัญหาสั่นคลอนคลื่นวิทยุชุมชนที่มีความเชื่อมั่นในแนวทาง "ไม่แสวงหางกำไรในทางธุรกิจ ไม่แสวงหาอำนาจทางการเมือง" ของบางกลุ่ม บางสถานีจนต้องไขว้เขวและบางส่วนหันเหจากเส้นทางวิทยุประชาธิปไตยไปสู่วิทยุธุรกิจ การมาถึงของวิทยุธุรกิจที่เรียกตัวเองว่า วิทยุชุมชนแต่มีโฆษณา พร้อมกำลังส่งสูง เสาสูงนั้น มันได้สร้างปัญหาคลื่นทับซ้อน ปัญหาคลื่นแทรก จนเบียดขับและดับฝันวิทยุชุมชนผู้ยึดมั่นเสาสูง 30 เมตร กำลังส่ง 30 วัตต์ รัศมีกระจายเสียง 15 กิโลเมตรให้ตายกลางอากาศจำนวนมาก ประกอบกับการมาถึงของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่มาพร้อมกับข่าวด่วนพิเศษและการเข้มงวดกวดขันการสื่อสารทุกระนาบนั้นได้มีส่วนกำราบการเติบโตของวิทยุชุมชนพอสมควร แกนนำหลายพื้นที่ที่มีวิทยุชุมชนของตนเองได้รับจดหมายแจ้งเตือนจากหน่วยงานความมั่นคง และถูกสะกดรอยตามยามมีความเคลื่อนไหว และมันค่อย ๆ ทำลายความกล้าหาญที่จะสื่อสารแม้แต่ประเด็นการต่อสู้ที่ตนต่อสู้กันมายาวนาน หลังรัฐประหาร บางส่วนปิดตัวไปอย่างเงียบงัน บางส่วนหันไปร่วมมือกับหน่วยงานความมั่นคง บางส่วนเปลี่ยนแนวทางไปเป็นวิทยุธุรกิจขายน้ำผลไม้สรรพคุณล้นเหลือรักษาสารพัดโรค เมื่อคณะรัฐประหารแต่งตั้งคณะกรรมการยกร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 มวลชนผู้เฝ้ารอการมาถึงขององค์กรอิสระที่จะมาจัดสรรคลื่นความถี่จึงได้เห็นโฉมหน้าของ กสทช. ในเวลาต่อมา แต่ทว่า บางส่วนไม่ได้คงอยู่ในแนวทางวิทยุชุมชนอีกต่อไป บางส่วนล้มหายตายจากไปก่อน การมาถึงของ กสทช.และเงื่อนไขทางเทคนิคที่ปลดล็อค 30 – 30 – 15 เป็นกำลังส่งไม่เกิน 500 วัตต์ เสาสูงไม่เกิน 60 เมตรนั้นมันได้ปลดปล่อยวิทยุชุมชนที่เฝ้ารอการส่งเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน แต่มันก็อาจจะสายเกินไปสำหรับผู้ที่หล่นหายไปพร้อมกับการมาถึงของวิทยุธุรกิจ วิทยุศาสนาที่มีคลื่นแรงและไกลและไม่สนใจว่าคลื่นจะทับซ้อนกับคลื่นใครในปี 2548 และจากไปหลังจากการมาถึงของข่าวด่วนพิเศษในคืนรัฐประหาร19 กันยายน 2549 สภาพปัจจุบัน วิทยุชุมชนของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นกระจายตัวอย่างบางเบาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและตอนล่าง และยังคงอบอุ่นอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่แอ่งสกลนคร ความเป็นอยู่ของวิทยุชุมชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจนั้น บางส่วนได้อาศัยเงินตระกูล ส ทั้งจากการเขียนโครงการเสนอ สสส การเข้าร่วมกับเครือข่ายสมัชชาปฏิรูป เพื่อได้งบประมาณโครงการมาหล่อเลี้ยงสถานีและมีเนื้อหาจากแหล่งทุนมาส่งกระจายเสียงผ่านคลื่นวิทยุชุมชน บางส่วนซึ่งน้อยมากได้รับการสนับสนุนจากชุมชนหล่อเลี้ยงตัวเอง บางส่วนยังอาศัยใบบุญหลวงพ่อเพื่อบรรเทาเยียวยาค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ค่าอินเตอร์เน็ต บางส่วนควักเงินส่วนตัวเพื่อประคับประคองสถานี ความเป็นไปของวิทยุชุมชนที่ไม่แสวงหาอำนาจทางการเมืองนั้น เหมือนบางส่วนเข้าใจกันไปเองว่า เรื่องการเมือง เรื่องความคิดเห็นทางการเมืองหรือความเห็นต่างทางการเมืองนั้นไม่สามารถพูดออกอากาศได้ ต้องเน้นความเป็นกลาง แต่ก็กลับพบว่า สารจากบรรดาแหล่งทุนตระกูล ส ทั้งหลายนั้นมันกลายเป็นวาทกรรมหลักในสื่อเล็กๆที่เรียกว่าวิทยุชุมชนจนล้นเกินในบางรายการ บางครั้ง เมื่อฟังวิทยุชุมชนที่ยังยืนหยัดเป็นวิทยุชุมชนนั้น แม้เราจะได้ฟังสำเนียงเสียงพูดแบบชาวบ้าน แต่เราก็แทบไม่ได้ฟังภาษาชาวบ้านอีกต่อไป เพราะมันเต็มไปด้วยคำขบวน คำใหญ่ ๆ คำของหัวหน้า คำทางวิชาการ คำที่พูดอย่างไรก็ดูดี คำที่ฟังแล้วอัศจรรย์ใจ แต่มันเป็นคำที่ห่างไกลเหลือเกินจากวิถี จากชีวิตของผู้คนที่อยู่รายรอบสถานีวิทยุชุมชน สุดท้าย แทนที่วิทยุชุมชนจะทำหน้าที่รับใช้คนในชุมชน มันกลับกลายไปรับใช้แหล่งทุนเหล่านั้น นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งใช่ไหม ที่ทำให้วิทยุชุมชนเล็กลงและลดลงไปเอง? ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"ชาวปากมูน" ทวงสัญญารัฐบาล ตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูล Posted: 02 Jul 2013 10:55 AM PDT ชาวบ้านสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล ในนาม P-move ยื่นหนังสือติดตามความคืบหน้าหลัง ครม. เคยมีมติ 28 พ.ค. 56 ให้ตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูล-แต่ยังไม่คืบ หวั่นไม่มีกลไกในการตัดสินใจขณะที่ถึงฤดูเปิดประตูระบายน้ำ ให้ปลาขึ้นมาวางไข่ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ชาวบ้านสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล สมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ P-move เดินทางด้วยรถไฟฟรีจากสถานีรถไฟวารินชำราบ จ.อุบลราชธานีมุ่งหน้าสู่กรุงเทพมหานคร และพักค้างคืนที่หัวลำโพง และเมื่อเช้าวันที่ 2 ก.ค. ได้เดินทางต่อไปยังทำเนียบรัฐบาล และได้ปักหลักอยู่ที่บริเวณประตูทำเนียบข้างสะพานชมัยมรุเชฐ ทั้งนี้ชาวบ้านกลุ่ม ขปส. สมัชชาคนจน กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงที่จะต้องเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล เพื่อให้ปลาเดินทางขึ้นมาวางไข่ในแม่น้ำมูน แต่เนื่องจากความล่าช้าในการแต่งตั้งกรรมการอำนวยการฯ ทำให้ไม่มีกลไกในการตัดสินใจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปได้ ชาวบ้านปากมูนจึงเดินทางทวงสัญญาจากรัฐบาล โดยในเวลา 11.00 น. วานนี้ (2 ก.ค.) ตัวแทน ขปส. ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผ่านรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ เพื่อติดตามการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ตามที่ได้ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกันระหว่างผู้แทนรัฐบาลกับขปส. เมื่อวันที่ 22 พ.ค. นอกจากนี้ยังติดตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 พ.ค. 56 ซึ่งได้มีมติเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูลขึ้น โดยยกเลิกคณะทำงานชุดเดิม ทั้งนี้ จากหนังสือที่ ขสป. ยื่นผ่านผู้แทนรัฐบาลนั้น ตอนหนึ่งระบุว่า "ขณะนี้เวลาได้ผ่านมานานแล้ว ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่จะต้องเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล เพื่อให้ปลาเดินทางขึ้นมาวางไข่ในแม่น้ำมูน แต่เนื่องจากความล่าช้าในการแต่งตั้งกรรมการอำนวยการ ทำให้ไม่มีกลไกในการตัดสินใจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปได้" "พวกเราตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมาติดตามทวงถาม ความคืบหน้าในการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ทั้งนี้ พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านนายกรัฐมนตรี จะได้กรุณาลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฯ ดังกล่าว โดยเร็ว ซึ่งพวกเราจะรอผลการลงนามของท่านนายกรัฐมนตรีอย่างสงบที่หน้าทำเนียบรัฐบาล" โดยนายสุภรณ์ ซึ่งออกมารับหนังสือกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ลงนามคำสั่งมอบหมายให้ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ซึ่งจะมีการพูดคุยร่วมกันระหว่างตัวแทนพี่น้องปากมูนกับตัวแทนรัฐบาลในรายละเอียดดังกล่าวอีกครั้งต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักวิชาการเห็นพ้อง กระบวนการพูดคุยสันติภาพต้องเดินหน้า Posted: 02 Jul 2013 09:28 AM PDT วงเสวนากระบวนการสันติภาพปาตานี "ฝันที่เป็นจริง" ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และสุรัตน์ โหราชัยกุล เห็นพ้องการพูดคุยสันติภาพต้องเดินหน้าแม้เป็นเรื่องยาก อาจารย์ ม.อ.ชี้เป็นโอกาสให้คนไทยเข้าห้องเรียน ศึกษาการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สมาพันธ์นักศึกษารักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนสต.) จัดเวทีกระบวนการสันติภาพปาตานี "ฝันที่เป็นจริง" เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2556 ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี โดยมี ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ดร.สุรัตน์ โหราชัยกุล อาจารย์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อับดุลรอนิง สือแต รองผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.ปัตตานี เป็นวิทยากร โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 300 คน ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ กล่าวถึงกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างตัวแทนขบวนการ บีอาร์เอ็นกับตัวแทนรัฐไทยว่าเป็น 'สันติสนทนา' ซึ่งเป็นแนวทางการไขปัญหาความขัดแย้ง โดยเฉพาะความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธและเป็นความขัดแย้งที่ถึงตาย ซึ่งปัจจุบันพบว่า 40% ของความขัดแย้งทั่วโลก กำลังมีกระบวนการสันติสนทนาเพื่อหาทางยุติความขัดแย้ง ในมีกรณีความขัดแย้งกว่า 60% ที่กระบวนการสันติสนทนามีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการพูดคุย นอกจากนี้ จากการศึกษากรณีความขัดแย้งในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาจำนวนกว่า 268 กรณี พบว่ามีเพียง 7% เท่านั้นที่รัฐสามารถเอาชนะได้ด้วยความรุนแรง และกลุ่มที่ต่อสู่ในความขัดแย้งเหล่านี้ท้ายสุด 43% ได้แปลงตัวเองเป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทในระบบการเมืองปกติ ชัยวัฒน์กล่าวว่า ความขัดแย้งมีวงจรชีวิตของมันเอง มีระยะเวลาในการแก้ไขสั้นยาวไม่เท่ากัน และความขัดแย้งที่แก้ยากคือความขัดแย้งที่เกี่ยวกับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอัตลักษณ์ ศาสนา เป็นต้น เช่น ความขัดแย้งในปาเลสไตน์ที่กินเวลา 96 ปี หรือแคชเมียร์ที่ใช้เวลา 63 ปีจนถึงปัจจุบัน อุปสรรคที่มีต่อกระบวนการสันติสนทนาที่สำคัญประการแรก คือ ความแตกแยกในกลุ่มติดอาวุธ ความไม่เป็นเอกภาพในกลุ่มที่เจรจา จะเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาสันติภาพ ประการต่อมา คือ มีความต่างในข้อตกลงมากเกินไป ซึ่งความเห็นที่ต่างกันมากนำไปสู่การไม่ยอมรับในข้อตกลงนั้น และประการสุดท้าย คือ การแปลงความขัดแย้งไปสู่การทหาร มีการใช้กำลังอาวุธมากขึ้นในระหว่างการพูดคุย อีกทั้งพบว่า ข้อเรียกร้องให้ยุติความขัดแย้งโดยสิ้นเชิงเป็นอุปสรรคสำคัญในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ชัยวัฒน์มองว่า ข้อเสนอของขบวนบีอาร์เอ็นโดยเฉพาะเรื่องการถอนทหารมีความสำคัญ เพราะเป็นการตอบรับข้อเสนอในการยุติความรุนแรงในเดือนรอมฎอนที่มีการพูดคุยกันก่อนหน้านี้ ส่วนรายละเอียดต่างๆ ในข้อเสนอนั้น ล้วนเป็นเงื่อนไขสำหรับการพิจารณาสำหรับรัฐบาล และมองว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นข้อเรียกร้องที่เสนอต่อสาธารณะ ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับที่พูดคุยบนโต๊ะในระหว่างการเจรจาสันติภาพ ข้อเสนอเรื่องให้ถอนทหารเป็นข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลการทำวิจัยของนักวิชาการ และประชาชน มีการพูดคุยเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2549 แล้ว และในความเป็นจริง รัฐบาลเองก็ต้องการให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเป็นปกติ ดังนั้นจึงเป็นเป้าหมายร่วมกันของทั้งสองฝ่ายและเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุยเรื่องกรณีถอนทหารกันต่อไป ผศ.ดร.สุรัตน์ โหราชัยกุล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อับดุลรอนิง สือแต รอง ผอ.วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.ปัตตานี ทางด้าน สุรัตน์ โหราชัยกุล กล่าวถึงกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพว่า ในความเป็นจริงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องยาก และเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา ซึ่งสามารถศึกษาจากกรณีความขัดแย้งได้จากทั่วโลก และในประเทศไทยเองก็มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในเวลานี้หลายกรณี เช่น กรณีความขัดแย้งสีเหลืองแดง เป็นต้น "ในการคลี่คลายความขัดแย้งนั้น เป้าหมายสูงสุดควรจะเป็นเป้าหมายอยู่ที่ความมั่นคงของมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องดูที่ความมั่นคงของรัฐด้วย "จะเห็นว่าการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ที่เห็นว่าฝ่ายรัฐไม่ค่อยมีเอกภาพนั้น ก็เนื่องจากฝ่ายรัฐเองมีปัญหาภายในที่ต้องแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการเมือง ที่รัฐบาลต้องรักษาความมั่นคงของตัวเองในการรักษาฐานอำนาจการเมืองการปกครอง หรือปัญหาด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ เป็นต้น" ในด้านรูปแบบการปกครองพิเศษที่มีการเรียกร้องจากประชาชนในพื้นที่นั้น สุรัตน์กล่าวว่า จะเห็นว่าฝ่ายรัฐไม่ค่อยจะตอบสนองต่อข้อเรียกร้องนี้มากนัก ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วรูปแบบการปกครองพิเศษที่ประชาชนในพื้นที่สามารถบริหารจัดการตนเองได้นั้น มีอยู่หลากหลายรูปแบบมาก ไม่จำเป็นว่าต้องมีชื่อเรียกว่าเขตปกครองพิเศษ หรือเรียกว่าออโตโนมี่ที่เป็นคำแสลงสำหรับรัฐบาลไทย แต่สามารถเรียกชื่ออย่างอื่นได้ โดยที่มีเป้าหมายคือประชาชนในพื้นที่มีอำนาจกำหนดชะตากรรมตนเอง ซึ่งสามารถใช้คำอื่นได้ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสำคัญในฐานะที่เป็นทรัพย์สินที่สำคัญในประชาคมอาเซียน ทั้งที่เป็นทรัพย์สินในฐานะของพื้นที่ที่เป็นจุดเชื่อมต่อของกลุ่มประเทศในอาเซียน และเป็นทรัพย์สินในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมร่วมของเชื้อชาติมลายู ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประชาคมอาเซียน อับดุลรอนิง สือแต รองผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.ปัตตานี กล่าวถึงกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่เกิดขึ้นว่า เป็นกระบวนการที่ให้บทเรียนอย่างสำคัญต่อประชาชนในพื้นที่ และเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับประเทศไทยในการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้ง "กระบวนการเจรจาหรือการพูดคุยสันติภาพเป็นห้องเรียนห้องใหญ่ของประเทศไทย ที่จะเรียนรู้ได้ว่า การแก้ปัญหาความขัดแย้งจริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย และเป็นห้องเรียนสำคัญสำหรับประชาชนในพื้นที่ที่เมื่อก่อนไม่ส่ามารถหรือไม่กล้าพูดแม้คำว่าบีอาร์เอ็น เพราะอาจจะถูกเพ่งเล็งได้ แต่วันนี้สามารถพูดได้ วิพากษ์วิจารณ์ได้ในทุกพื้นที่" รองผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า การพูดคุยสันติภาพเป็นภารกิจของประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ทุกคนที่จะต้องประคับประคอง เพราะนี่คือความหวังที่จะเกิดความสงบในพื้นที่ และขอเรียกร้องให้กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ขอให้ออกมาแสดงความคิดเห็นในที่สว่าง เพื่อที่จะสามารถแลกเปลี่ยนกันอย่างสร้างสรรค์ เพราะหากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ต้องกลับไปสู่จุดเดิมนับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่สุดสำหรับทุกคน ทั้งนี้ ในวงเสวนามีความเห็นร่วมกันว่า ขณะนี้ประชาชนเริ่มที่จะเรียนรู้และเข้าใจในกระบวนการสันติภาพมากขึ้น มีความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิและการกำหนดอนาคตของตนเองมากขึ้น และเห็นว่าบทบาทของนักศึกษาคือพลังบริสุทธิ์ และมีความพร้อมสูงในการนำองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนในระดับรากหญ้า และต้องนำประชาชนในระดับล่างเข้ามาสู่แทรค 2 อันเป็นระดับของกลุ่มองค์กรเพื่อเป็นตาข่ายนิรภัย (Safety net) รองรับการพูดคุยสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กสทช. ชี้กรณีช่อง 5 แทรก 'ฮาร์ดคอร์ข่าว' ไม่ผิด แต่ต้องตอบคำถามสังคม Posted: 02 Jul 2013 07:20 AM PDT ประธานอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ กสทช. แจงกรณีช่อง 5 แทรกฮาร์ดคอร์ข่าวกลางคัน ชี้ทำได้ แต่ไม่เนียน และต้องตอบสังคมให้ได้ ส่วน กสทช.เรียกดูเนื้อหาไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ออกอากาศ
ประธานอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้น แม้ว่ากรณีการตัดรายการนั้นจะทำได้ แต่จะเกิดคำถามจากสังคมตามมา และส่วนตัวได้ตั้งคำถามว่าทำไมไม่ตรวจสอบ ซึ่งวานนี้ที่ประชุมสรุปว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการภายใน และฝ่ายข่าวรับหน้าเสื่อ "ช่อง 5 ชี้แจงว่า ข่าวสารคลุมเครือถึงได้ตัดออก เพื่อจะเอามาฉายใหม่ ถ้ามองในแง่บวก ช่อง 5 มีระบบการตรวจสอบที่สามารถทำได้ ไม่มีอะไรผิด แต่ในกรณีนี้ทำไม่เนียน ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อสังคม และตามกฎหมาย กสทช. ไม่สามารถเอาอะไรมาดูได้ เพราะยังไม่ได้ออกอากาศ" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผู้สื่อข่าวตะวันออกกลาง The Independent วิจารณ์การนำเสนอข่าวซีเรียของสื่อต่างชาติมักเจืออคติ Posted: 02 Jul 2013 06:31 AM PDT แพทริก ค็อกเบิร์น ผู้สื่อข่าวตะวันออกกลางที่เชี่ยวชาญเรื่องสงครามอิรักกล่าวถึงกรณีการนำเสนอสงครามกลางเมืองในซีเรียของสื่อต่างประเทศ ว่าหลายสำนักข่าวนำเสนอข่าววิกฤติในซีเรียมักจะมีความเข้าใจผิด หรือมีอคติเอนเอียง เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. แพทริก ค็อกเบิร์น ผู้สื่อข่าวตะวันออกกลางที่เคยทำงานให้กับสื่อ Financial Times กับ The Independent และเคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับอิรักหลายเล่ม ได้วิพากษ์วิจารณ์การนำเสนอข่าวกรณีสงครามกลางเมืองในซีเรียของหลายสำนัก โดยบอกว่าการนำเสนอข่าววิกฤติในซีเรียมักจะมีความเข้าใจผิด หรือมีอคติเอนเอียง ทั้งยังมีการวางแผนการแก้ไขวิกฤติในระยะยาวตามความเข้าใจผิดดังกล่าว แพทริก อ้างถึงรายงานเรื่องซีเรียขององค์กรวิกฤตินานาชาติ (International Crisis Group) ที่บอกว่า "เมื่อกลุ่มประเทศต่างชาติที่สนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในซีเรียเริ่มมีความเชื่อมั่นในชัยชนะมากเกินไป พวกเขาก็ปรับกระบวนทรรศไปในทางที่ห่างจากความเป็นจริง ซึ่งถือว่าอันตราย" แพทริกกล่าวว่ามักมีการนำเสนอภาพกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลในซีเรียดูเป็นกลุ่มที่อยู่ในฝ่ายดี ขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลดูเป็นตัวร้าย นอกจากนี้กลุ่มประเทศที่สนับสนุนกลุ่มต่อต้านยังได้ให้อาวุธแก่ฝ่ายกบฏโดยหวังว่าถ้ามีความกดดันทางการทหารมากพอก็มีโอกาสชนะได้โดยการให้ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ยอมเจรจาโดยจำนนต่อเงื่อนไขที่ถูกวางไว้แล้ว แต่แพทริกก็บอกว่าการพยายามใช้โวหารสร้างให้อัสซาดเป็นตัวร้ายก็ทำให้เกิดข้อเสียเปรียบหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือการที่คณะที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐฯ ซูซาน ไรซ์ และ วิลเลียม ฮาค ตัดการใช้วิธีเจรจาอย่างจริงจังและไม่ยอมอ่อนข้อให้กับผู้มีอำนาจในซีเรีย และจากการที่ฝ่ายรัฐบาลยังคงคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในซีเรียได้ ไรซ์และฮาคก็ใช้วิธีการสร้างสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น (endless war) ขณะที่แสร้งแสดงความกังวลด้านมนุษยธรรมต่อประชาชนซีเรีย แพทริกยังได้เล่าประสบการณ์จากที่เขาได้เดินทางไปที่กรุงดามาสกัส เมืองหลวงของซีเรีย, เมืองฮอม และชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เขาทราบว่าสิ่งที่ถูกนำเสนอในสื่อมีความแตกต่างจากที่เขาได้ประสบมา เช่นเมื่อวันอังคารที่แล้วเขาได้เดินทางไปยังเมืองทัล คาลักห์ เป็นเมืองที่อยู่ติดพรมแดนทางตอนเหนือของเลบานอนซึ่งมีประชาชนอยู่ 55,000 คน เมืองนี้ถูกกองทัพรัฐบาลยึดครองและผู้นำกลุ่มกบฏปลดปล่อยชาติซีเรีย (FSA) 39 คนยอมวางอาวุธ และจากการพูดคุยกับคนในพื้นที่พบว่าสันติภาพในเมืองนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยทันที แต่กลุ่มผู้นำพลเรือนในเมืองนี้คอยจัดให้มีการเจรจาและการหยุดยิงมาโดยตลอดในช่วงปีที่ผ่านมา แต่สำนักข่าวอื่นๆ กลับรายงานข่าวว่าพบควันไฟจากการต่อสู้ในเมืองนี้ทั้งที่หลายชั่วโมงที่แพทริกอยู่ในเมืองนี้ เขาไม่ได้เห็นการยิงสู้รบหรือควันไฟเลย "แน่นอนว่าทุกๆ ฝ่ายในสงครามมักจะแสร้งทำเป็นว่าตนสูญเสียฐานที่มั่นโดยมีการสู้รบอย่างกล้าหาญกับข้าศึกจำนวนมาก" แพทริกกล่าว "แต่เรื่องข่าวที่ดูไม่ชัดเจนในทัล คาลักห์ ก็ชี้ให้เห็นจุดสำคัญคือ กลุ่มต่อต้านรัฐบาลในซีเรียมีความยืดหยุ่นในแง่ของความภักดีต่อพันธมิตร" โดยขณะที่สหรัฐฯ อังกฤษ และกลุ่มประเทศที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มเพื่อนซีเรีย" ที่พยายามจะติดอาวุธให้กับกลุ่มกบฏที่ไม่ใช่กลุ่มกบฏทางศาสนา แต่แพทริกก็บอกว่ากลุ่มกบฏต้านรัฐบาลกับกลุ่มกบฏเคร่งศาสนาก็ไม่ได้มีการแตกแยกกันมากนัก และกลุ่มเหล่านี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มกบฏอัล-เคด้า มีนักรบคนหนึ่งที่เคยอยู่ในกลุ่มสังกัดเดียวกับอัล-เคด้า คือกลุ่มอัล-นุสรา ได้แยกตัวออกมาอยู่ในกลุ่มที่ดูกลางๆ ทางศาสนาเพราะแค่เขาติดบุหรี่ แพทริกบอกอีกว่า กลุ่มเคร่งศาสนาจ่ายให้มากกว่าและจากความยากจนของชาวซีเรียจำนวนมากแล้ว กลุ่มกบฏจะสามารถหาคนมาร่วมได้มากกว่าเสมอแบบที่นักการทูตรายหนึ่งเคยกล่าวกับแพทริกว่า "มันเป็นเรื่องของเงินตรามากกว่าเรื่องอุดมการณ์" แพทริกกล่าวว่าสื่อต่างชาติมักจะนำเสนอโดยอ้างอิงแหล่งข่าวจากฝ่ายกบฏมากกว่าฝ่ายรัฐบาลซีเรีย แม้ว่าเหตุผลหนึ่งอาจจะมาจากเรื่องอคติ แต่อีกเหตุผลหนึ่งคือเรื่องเดียวกันกลับไม่มีการให้ข่าวจากมุมมองของฝ่ายรัฐบาล แพทริกทราบถึงสาเหตุของเรื่องนี้หลังจากที่เขาเดินทางไปในเมืองฮอม และไม่สามารถพูดคุยกับแหล่งข่าวที่เป้นทหารฝ่ายรัฐบาลได้ แพทริกชี้ว่าการพยายามปกปิดมากเกินไปของฝ่ายรัฐบาล ทำให้ฝ่ายต่อต้านอาศัยพื้นที่นี้ในการสร้างความน่าเชื่อถือ แพทริกยังได้กล่าวถึงความลักลั่นในการนำเสนอข้อมูลโดยอ้างว่าเขาเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ระเบิดในเมืองดามาสกัสเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมาทำให้มีคนเสียชีวิต 4 คน ซึ่งเขาเชื่อว่าระเบิดลูกแรกเป็นระเบิดจากปืนครกเนื่องจากพื้นทางเท้ามีรอยแตกลงไปข้างล่างเล็กน้อยและมีเลือดกระจายอยู่ไม่มาก และไม่นานนักก็มีลูกที่สองตกใส่เหนือบ้านอีกหลังหนึ่งทำให้ผู้หญิงในบ้านนั้นเสียชีวิต ซึ่งข่าวจากช่องโทรทัศน์ของรัฐบาลรายงานว่าน่าจะเป็นเหตุระเบิดพลีชีพที่ตั้งเป้าไว้เป็นโบสถ์คริสต์นิกายออโธดอกซ์ หรืออาจจะเป็นโรงพยาบาลของมุสลิมนิกายชีอะฮ์ที่อยู่ละแวกใกล้เคียงกัน ส่วนองค์กรเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนในซีเรียซึ่งมักเป็นแหล่งข่าวของสื่อต่างชาติบอกว่าเป็นระเบิดที่ตกค้างอยู่บนถนน แต่แพทริกก็บอกว่ามีกล้องวงจรปิดในโรงพยาบาลของนิกายชีอะฮ์ที่แสดงให้เห็นว่ามีระเบิดจากปืนครกตกลงมา และเขาคาดเดาว่ากระสุนปืนครกนี้อาจจะมาจากกลุ่มกบฏที่ยิงปืนครกอย่างสุ่มมาจากย่านโจบาร์ แพทริกบอกว่าท่ามกลางสงครามกลางเมืองที่โหดร้ายการคิดว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายกบฏจะไม่สร้างเรื่องหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองก็ดูเป็นการเชื่อคนง่ายเกินไป และสื่อต่างประเทศจำนวนมากก็นำเสอนเรื่องซีเรียด้วยฐานคติเช่นนี้ "แผนการของซีไอเอและกลุ่มเพื่อซีเรียที่พยายามจะยับยั้งสงครามด้วยการนำอาวุธเข้าไปมากขึ้นนั้นก็ดูไร้เหตุผลพอกัน" แพทริกกล่าว "สงครามมีแต่จะยิ่งก่อให้เกิดสงครามมากขึ้น"
เรียบเรียงจาก Foreign media portrayals of the conflict in Syria are dangerously inaccurate, The Independent, 30-06-2013
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วัยรุ่นหญิงปากีสถาน 2 คน ถูกสังหารหลังถ่ายวีดิโอคลิปเต้นกลางสายฝน Posted: 02 Jul 2013 06:23 AM PDT ชาย 5 คนบุกเข้าไปในบ้านเพื่อสังหารวัยรุ่นหญิงและแม่ของเธอในเมืองชีลาสของปากีสถาน หลังพบคลิปเด็กวัยรุ่นทั้งสองคนเต้นกลางฝน โดยอ้างว่าเป็น "การสังหารเพื่อรักษาศักดิศรีของครอบครัว" ซึ่งเป็นประเพณีในพื้นที่อนุรักษ์นิยมของปากีสถาน 30 มิ.ย. 2013 - สื่อ The Telegraph กล่าวถึงเหตุการณ์ที่มีเด็กวัยรุ่นผู้หญิงชาวปากีสถานสองคนถูกสังหารหลังจากที่มีวีดิโอของทั้งสองคนกำลังเต้นท่ามกลางสายฝนแพร่กระจายไปทั่วอินเตอร์เน็ต ภาพวีดิโอดังกล่าวแสดงให้เห็น เด็กวัยรุ่นผู้หญิงสองคนอายุ 15 และ 16 ปี สวมชุดตามประเพณีออกไปวิ่งอย่างร่าเริงรอบนอกบ้านก่อนที่จะเริ่มเต้น สำนักข่าว Dawn ของปากีสถานรายงานว่าทั้งสองคนชื่อ นูร์ บัสรา และนูร์ เชซา เป็นลูกสาวของตำรวจปลดเกษียณ อาศัยอยู่ในเมืองชิลาส ทางตอนเหนือของประเทศ หลังจากที่วีดิโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปก็มีชาย 5 คน บุกเข้าไปในบ้านของพวกเธอเพื่อสังหารหญิงสาวทั้งสองคนรวมถึงแม่ของพวกเธอด้วยอาวุธปืน เจ้าหน้าที่ตำรวจของปากีสถานสันนิษฐานว่าผู้ก่อเหตุคือ คูโตเร พี่เลี้ยงผู้ชายของพวกเธอกับผู้ร่วมมืออีก 4 คนโดยมีและเชื่อว่าแรงจูงใจคือเป็นการ "สังหารเพื่อรักษาศักดิศรีของครอบครัว" หลังพบเห็นภาพวีดิโอคลิปเต้นท่ามกลางสายฝนของพวกเธอ ซึ่งทางตำรวจของปากีสถานได้จับตัวผู้ต้องสงสัย 4 คนที่ร่วมมือกับคูโตเรไว้ได้และทั้งหมดให้การรับสารภาพ ขณะที่คูโตเรยังคงลอยนวล อย่างไรก็ตาม จากการรายงานข่าวของ The Telegraph เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวเตือนว่าการสืบสวนยังไม่เสร็จสิ้นจึงยังไม่ด่วยสรุป โดยมีการนำภาพวีดิโอคลิปมาตรวจสอบและพบว่าเด็กวัยรุ่นทั้งสองคนได้พูดคุยอยู่กับชายคนหนึ่งในบางช่วงของคลิป ซึ่งอาจเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหาร "การสังหารเพื่อรักษาศักดิศรี" เป็นประเพณีในพื้นที่ชนบทของปากีสถานที่ยึดติดในแนวคิดอนุรักษ์นิยม โดยบางครั้งสภาเผ่าจะเป็นผู้สั่งให้มีการสังหาร นักกิจกรรมเปิดเผยว่า ในประเทศปากีสถานเมื่อปี 2012 มีผู้หญิง 900 รายถูกสังหารเพราะทำให้ครอบครัวเสื่อมเสียศักดิศรี โดยมีจำนวนมากที่ผู้ลงมือสังหารเป็นพ่อหรือพี่น้องผู้ชายโดยที่ผู้หญิงเหล่านั้นถูกกล่าวหาว่ามีความสัมพันธ์แบบผิดศีลธรรม ในพื้นที่เดียวกันของหากีสถานยังเคยมีรายงานข่าวว่ามีผู้หญิง 5 คน และชาย 2 คน ถูกสังหารหลังจากที่มีวีดิโอคลิปของพวกเขาร้องเพลงและเต้นรำด้วยกันในงานแต่งงาน แต่การสืบสวนหลังจากนั้นก็ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร
เรียบเรียงจาก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 02 Jul 2013 05:56 AM PDT |
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในยะลา Posted: 02 Jul 2013 03:30 AM PDT โสภณ พรโชคชัย สำรวจตัวเมืองยะลา พบว่ามีความปลอดภัย มีการเปิดตัวโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ หากสถานการณ์สู่ภาวะปรกติ สันติภาพจะนำมาซึ่งความสุขและการเพิ่มพูนขึ้นของมูลค่าทรัพย์สิน ยะลาไม่ได้น่ากลัวเช่นที่คิด สันติภาพจะนำมาซึ่งความสุขและการเพิ่มพูนขึ้นของมูลค่าทรัพย์สิน จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ในตัวเมืองยะลามีทหารและตำรวจปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดสภาพคล้ายกับกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ซึ่ง ดร.โสภณ เคยไปเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2550 ในขณะที่ยังมีความไม่สงบเกิดขึ้นในกรุงนี้อย่างต่อเนื่อง และกว่าที่สถานการณ์ในศรีลังกาจะถึงจุดสันติภาพได้ผ่านการเจรจาและการสูญเสียเลือดเนื้ออย่างมากมาย สถานการณ์ในศรีลังกาเสื่อมทรุดถึงขนาดว่าทหารศรีลังกาไม่สามารถเข้าพื้นที่ที่ครอบครองโดยฝ่ายกบฏได้ การก่อการร้ายลุกลามถึงเมืองหลวงและมีทีท่าว่าประเทศศรีลังกาจะถูกแบ่งแยกเพราะฝ่ายกบฏได้รับการสนับสนุนจากประเทศใหญ่มากแห่งหนึ่ง แต่ในที่สุดด้วยการเจรจาอย่างต่อเนื่องและการปราบปรามอย่างจริงจัง ทำให้ในที่สุดสถานการณ์คลี่คลายสู่ภาวะปกติ ในยามค่ำคืนพบว่า ในเวลาประมาณ 20:00 น.ก็ไม่ค่อยมีกิจกรรมใดๆ แล้ว ยกเว้นร้านอาหารขนาดใหญ่และกิจกรรมบันเทิงยามค่ำคืนตามโรงแรมต่างๆ บ้าง ส่วนในช่วงเช้ามืด ตั้งแต่ 05:30 น. ก็มีพนักงานรักษาความสะอาดเก็บกวาดถนนในเมืองร้านค้าทยอยเปิดตั้งแต่เวลา 06:00 น. ตลาดสดหลักใจกลางเมืองยะลาก็มีความคึกคักมากเช่นกัน แต่ทั้งในตัวเมืองชั้นในและโดยรอบก็มีการรักษาความปลอดภัยโดยทหารและตำรวจอย่างเข้มงวดแต่บางครั้งก็ยังมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นบ้าง หากในสถานการณ์ปกติ การค้าขายในเมืองน่าจะมีความคึกคักกว่านี้โดยก่อนหน้าที่ผู้ค้าในเมืองให้ข้อมูลว่าปกติการประกอบการค้าอาหารจะขายถึงเกือบเที่ยงคืน และในยามค่ำคืนก็ยังมีประชาชนเดินทางมาจับจ่ายซื้อของหรือเที่ยวเล่นในยามค่ำคืนมากกว่าปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเงียบเหงาไปกว่าแต่ก่อนมาก และประชาชนต่างก็หวังใจให้บ้านเมืองกลับสู่ความสงบโดยเร็ว ในแง่ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรากฏว่ายังมีการลงทุนเปิดตัวโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ อยู่เนืองๆ โดยเฉพาะโครงการที่อยู่อาศัย แต่โดยมากมักเป็นโครงการขนาดเล็กที่ไม่มีบันทึกการขออนุญาตจัดสรรซึ่งเกิดขึ้นอยู่ทั่วไปตามต่างจังหวัด ทางราชการควรควบคุมการจัดสรรที่ดินให้มีประสิทธิภาพกว่านี้เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในระยะยาว สำหรับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นยังมีอยู่อย่างจำกัด ทั้งนี้ไม่พบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทโกดัง โรงงานให้เช่า รีสอร์ตพักอาศัย (ยกเว้นโรงแรมม่านรูดในรูป หรือหากพิจารณาจากที่อยู่อาศัยในขนาดที่ดินและขนาดอาคารเดียวกันเทียบกับพื้นที่ในจังหวัดหาดใหญ่ก็ยังถือว่าราคาค่อนข้างสูง และข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีโครงการจัดสรรและอาคารชุดในจังหวัดปัตตานีและอำเภอหาดใหญ่มาปักป้ายขายในจังหวัดยะลาอยู่พอสมควรเช่นกัน ข้อเสนอแนะประการหนึ่งก็คือ รัฐบาลน่าจะพิจารณาว่าจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยที่มีความเป็นมืออาชีพสูงมีการประกันความผิดพลาดในการทำงานของบริษัทเหล่านี้ในวงเงินที่สูง โดยให้มีการติดอาวุธในระดับหนึ่งโดยรับสมัครจากประชาชนในพื้นที่และผู้สนใจอื่น ทั้งนี้ควรว่าจ้างให้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาหมู่บ้านและพื้นที่เสี่ยงทดแทนทหาร และที่สำคัญมีเกณฑ์การวัดผลที่ดี หากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ให้เลิกจ้าง เป็นต้น อนึ่ง สาเหตุที่ ดร.โสภณ เดินทางไปสำรวจวิจัยในพื้นที่เสี่ยงด้วยตนเองนั้น เพราะห่วงใยสวัสดิภาพของนักวิจัยที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ณ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าผู้ใช้บริการ ดร.โสภณจึงอาสาไปสำรวจเอง โดยทั้งนี้ได้รับการยืนยืนจากกรรมการหอการค้ายะลาและผู้ที่อยู่อาศัยในจังหวัดนี้ว่า มีความปลอดภัยโดยต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษบ้างและยังได้เพื่อนร่วมงานที่เป็นชาวมุสลิมร่วมเดินทางไปด้วย 1 ท่าน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประชาธิปัตย์ยื่นวุฒิสภาถอดถอน ครม.ทั้งคณะ-กรณีอนุมัติโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน Posted: 02 Jul 2013 03:22 AM PDT พรรคฝ่ายค้านเข้าชื่อต่อวุฒิสภา ยื่นถอดถอน ครม.ชุด 2 หลังอนุมัติโครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ระบุส่อทุจริตและผิดกฎหมาย 5 ฉบับ เวลา 13.00 น. วันนี้ (2 ก.ค.) ที่รัฐสภา เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 และ 271 ยื่นรายชื่อสมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ยื่นถอดถอนคณะรัฐมนตรีชุดที่ 2 (ครม.ปู 1/2) ต่อประธานวุฒิสภา เพราะในโครงการบริการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท โดยในคำร้องถอดถอนระบุว่า มีการส่อทุจริตและกระทำผิดกฎหมาย 5 ฉบับ คือ 1.ผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 57และ 67 , 2.ผิดพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103/7, 3. พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535, 4.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) และ 5.ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ทีดีอาร์ไอเผยคนไทยมีเงินออมมากขึ้น แต่ช่องว่างคนรวยคนจนยังห่าง Posted: 02 Jul 2013 03:11 AM PDT นักวิชาการทีดีอาร์ไอเผย 20 ปีที่ผ่านมา ครัวเรือนไทยมีเงินออมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว ระบุช่องว่างเงินออมของคนรวยและคนจนเพิ่มสูงขึ้น คนไทยส่วนใหญ่ขาดความรู้ทางการเงิน แนะรัฐดูแล หวังลดช่องว่างคนยากจน 2 ก.ค.56 ดร.ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลศึกษาภาพรวมเกี่ยวกับเงินออม การสะสมทุน และการถือครองทรัพย์สินของครัวเรือนไทย ในช่วง 2 ทศวรรษ (โดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทยในช่วง พ.ศ.2531-2552) โดยกล่าวว่า สถานะการออมของคนไทยในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ในภาพรวมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นโดยสัดส่วนครัวเรือนที่มีการออมเงินหรือมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายมีแนวโน้มสูงขึ้น จากสถิติเมื่อปี พ.ศ.2531 พบว่าสัดส่วนครัวเรือนที่ไม่มีเงินออมอยู่ที่ร้อยละ 48 แต่ในปี พ.ศ.2552 สัดส่วนดังกล่าวลดลงเหลือเพียงร้อยละ 25 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด โดยที่ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่า จากที่ในปี 2531 ครัวเรือนไทยมีเงินออมเฉลี่ยเพียง 507 บาทต่อเดือนเท่านั้น แต่ในปี 2552 พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 5,145 บาท คิดเป็นอัตราเติบโตสูงถึงร้อยละ 12 ต่อปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเติบโตของรายได้ ขณะที่รายจ่ายไม่ได้ขยายตัวในอัตราที่สูงเทียบเท่ากับรายได้ นักวิชาการทีดีอาร์ไอตั้งข้อสังเกตว่า สังคมไทยยังมีความเหลื่อมล้ำด้านเงินออมระหว่างคนรวยกับคนจนอย่างชัดเจน จากการแบ่งประชากรไทยออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน โดยใช้ข้อมูลข้างต้น พบว่าในปี 2552 กลุ่มคนที่ร่ำรวยสุดมีเงินออมเฉลี่ยสูงมากถึงราวๆ 6,300 บาทต่อคนต่อเดือน ขณะที่กลุ่มคนที่จนสุดโดยเฉลี่ยไม่มีเงินออม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากไม่มีเงินออมที่สามารถใช้เป็นหลักประกันทางการเงินสำหรับตนเองและครอบครัวในยามจำเป็นเร่งด่วน สิ่งที่พบจากผลสำรวจอีกประการหนึ่งชี้ว่า ความเหลื่อมล้ำด้านการออมดังกล่าวน่าจะเป็นผลพวงจากความไม่เท่าเทียมกันของระดับการศึกษาของคนในสังคมไทย โดยผู้ที่มีการศึกษาสูง มีรายได้ดี สามารถจัดสรรเงินออมไปลงทุนในทางเลือกต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า ทั้งนี้ เมือ่นำผลการศึกษาเรื่อง ภาวะหนี้ครัวเรือนไทย : ความเสี่ยงและนัยเชิงนโยบาย ของยรรยง ไทยเจริญ และคณะ (2547) มาพิจารณาประกอบ พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ด้านการจัดการทางการเงิน โดยผู้ที่มีความรู้ทางการเงินน้อยมักจะเป็นคนในกลุ่มรายได้ต่ำและมีการศึกษาน้อย นอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้านการออมจากโครงสร้างครัวเรือน 6 ประเภท ได้แก่ พบว่า ครัวเรือนที่อยู่กัน 2 รุ่น หรืออยู่กับญาติมีแนวโน้นสะสมทุนได้มากกว่าครัวเรือนแบบอื่นๆ เนื่องจากครัวเรือนเหล่านี้มีสมาชิกอยู่ในวัยทำงาน จึงมีโอกาสในการสะสมทรัพย์สินทางการเงินได้ง่ายและมากกว่าครัวเรือนประเภทอื่น แต่ในทางกลับกัน ครัวเรือนแบบแหว่งกลาง (เช่น ครัวเรือนที่ปู่ ย่า ตา ยาย และหลานอาศัยอยู่ร่วมกัน) เป็นกลุ่มที่จนสุดและมีการออมเงินในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับครัวเรือนประเภทอื่น เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวประเภทนี้คือผู้สูงอายุเลยวัยเกษียณ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ซึ่งมีรายได้ที่ค่อนข้างต่ำ โดยส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาเงินโอนในรูปแบบต่างๆ อีกทั้งมีเงินออมน้อยและน่าจะมีข้อจำกัดในการวางแผนรองรับในระยะยาวเพื่อลดผลกระทบของความไม่แน่นอนในอนาคต เช่นเดียวกับการสะสมทุนหรือการถือครองทรัพย์สินทางการเงินของครัวเรือน เป็นผลสืบเนื่องมาจากครัวเรือนที่มีการบริหารจัดการระหว่างรายได้กับรายจ่าย โดยจะนำเงินออมส่วนหนึ่งไปแปรเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ต่างๆ จากข้อมูลในปี 2552 พบว่า ครัวเรือนกลุ่มที่จนสุดร้อยละ 94 มีทรัพย์สินทางการเงินไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนครัวเรือนกลุ่มที่รวยสุดกว่าร้อยละ 30 ถือครองทรัพย์สินทางการเงินมากกว่า 100,000 บาท ในภาพรวมความสามารถในการสะสมทุนของครัวเรือนนอกจากจะมีความแตกต่างกันในด้านมิติของรายได้แล้ว ยังมีแนวโน้มผันแปรตามระดับการศึกษาอีกด้วย เนื่องจากสมาชิกในครัวเรือนที่มีการศึกษาสูงมักมีโอกาสในการสร้างรายได้และสามารถจัดสรรเงินไปลงทุนในทรัพย์สินทางการเงินต่างๆ ได้ดีกว่าครัวเรือนที่สมาชิกมีการศึกษาน้อย นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เสนอแนะให้ภาครัฐเร่งยกระดับมาตรฐานการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพแก่ผู้เสียเปรียบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากคุณภาพการศึกษานับว่าเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่กำหนดรายได้ของแต่ละบุคคล ความรู้จากการศึกษาขั้นพื้นฐานและรูปแบบการออมแบบดั้งเดิม เช่น การฝากเงินกับธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ยนั้น ไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่มีพลวัตรและแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ดังนั้นในส่วนของประชาชน ควรเพิ่มความรอบรู้ทางการเงิน และมองถึงการลงทุนระยะยาว รวมทั้งควรดำเนินชีวิตโดยใช้หลักความพอเพียงมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านการเงิน และรักษาระดับการใช้จ่ายของตนไม่ให้เกินตัว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ภาครัฐควรพยายามขยายฐานภาษีไปสู่ผู้ที่มีรายได้สูงที่ยังไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีได้ไม่เต็มความสามารถ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลที่จะนำไปใช้จ่ายเป็นสวัสดิการได้มากขึ้นสำหรับคนยากจนและผู้เสียเปรียบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เสนอ "เชคสเปียร์ต้องตาย" ฉายได้ในเรต 18+ Posted: 02 Jul 2013 03:06 AM PDT หลังกองเซ็นเซอร์สั่งแบน "เชคสเปียร์ต้องตาย" ล่าสุดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอว่าคำสั่งแบนถือเป็นการละเมิดเสรีภาพแสดงความคิดเห็น โดยแนะนำให้ฉายได้ในเรต 18+ ด้านผู้อำนวยการสร้างหนังเตรียมนำผลพิจารณาไปยื่นต่อศาลปกครอง ตัวอย่างภาพยนตร์ "เชคสเปียร์ต้องตาย" จากกรณีที่ภาพยนตร์ "เชคสเปียร์ต้องตาย" (Shakespeare Must Die) เขียนบทและกำกับโดยสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ อำนวยการสร้างโดย มานิต ศรีวานิชภูมิ ดัดแปลงจากบทละครโศกนาฏกรรมแม็คเบ็ธ ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ถูกคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ (กองเซ็นเซอร์) ในกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีมติสั่งห้ามฉาย ทำให้ผู้กำกับได้ฟ้องศาลปกครอง และร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกนั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) ล่าสุด ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า นายมานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ "เชคสเปียร์ต้องตาย" เปิดเผยว่า ได้รับผลการพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแล้ว โดยคณะกรรมการสิทธิฯ มีข้อสรุปว่า "คำสั่งห้ามฉายดังกล่าวละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และเห็นสมควรทบทวนคำสั่งห้ามฉายโดยให้จัดอยู่ในประเภทภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับ ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และขอเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 แต่เนื่องจากว่าเรื่องนี้กำลังเป็นคดีความอยู่ในศาลปกครองทางคณะกรรมการสิทธิฯ จึงขอยุติการดำเนินการแต่เพียงเท่านี้" ทั้งนี้ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า นายมานิตเตรียมนำผลการพิจารณาดังกล่าวไปยื่นให้กับศาลปกครองต่อไป ทั้งนี้ ภาพยนตร์ "เชคสเปียร์ต้องตาย" ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ได้รับทุนสร้างจากกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ของ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งในปี 2553 ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จและเข้าตรวจพิจารณาปีนี้ ตามเอกสารบันทึกการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ระบุว่า "คณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องเชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die) มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2552 ข้อ 7 (3) จึงมีมติไม่อนุญาต โดยจัดเป็นประเภทภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 26 (7) แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551" โดยภาพยนตร์เรื่องเชคสเปียร์ต้องตาย เป็นภาพยนตร์ไทยที่สร้างขึ้นจากบทละคร 'โศกนาฏกรรมแม็คเบ็ธ' (The Tragedy of Macbeth) ของวิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare) กวี เอกของโลก เป็นเรื่องราวของขุนพลที่มักใหญ่ใฝ่สูงอย่างไร้ขอบเขตและคลั่งไคล้ในไสยศาสตร์ เมื่อมีแม่มดมาทักว่าจะได้เป็นกษัตริย์ในภายหน้า และโดยการยุยงของภรรยา เขาสังหารพระราชาเพื่อสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ แม็คเบ็ธปกครองแผ่นดินด้วยความบ้าอำนาจ พาให้บ้านเมืองตกอยู่ในยุคมืดมนแห่งความหวาดกลัว โดยที่ตัวเขาเองก็ปราศจากความสุข ต้องใช้ความรุนแรงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อรักษาอำนาจของตน ละครเรื่องแม็คเบ็ธนี้ ได้มีการจัดแสดงโดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเมื่อปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษาของเด็กมัธยมต้นทั่วโลกมายาวนาน และได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วหลายครั้ง โดยนักทำหนังอินเดีย ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น