โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เดอะการ์เดียนแฉ ไมโครซอฟท์ร่วมมือกับองค์กรสหรัฐฯ ดักจับข้อมูล

Posted: 13 Jul 2013 11:59 AM PDT

เอกสารชิ้นใหม่ที่เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เปิดเผยผ่านเดอะการ์เดียน ชี้ว่าบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ ไมโครซอฟท์ ได้ให้ความร่วมมือกับองค์กร FBI และ NSA ในการดักข้อมูลการสื่อสารของ Outlook.com SkyDrive และสไกป์ ด้านไมโครซอฟท์และองค์กรสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์อธิบายว่าพวกเขายอมให้ข้อมูลตามคำร้องด้วยเงื่อนไขทางกฎหมายเท่านั้น

เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2013 สำนักข่าวเดอะการ์เดียน เปิดเผยว่าบริษัทไมโครซอฟท์ ได้ให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐฯ โดยการอนุญาตให้มีการดักจับข้อมูลการสื่อสารของผู้ใช้ นอกจากนี้ยังให้ความช่วยเหลือสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (NSA) ในการถอดรหัสข้อมูลตามการเข้ารหัสของบริษัทไมโครซอฟท์เอง

เดอะการ์เดียนอ้างเอกสารลับล่าสุดที่ได้รับจากเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ที่เปิดเผยให้เห็นความร่วมมือของบริษัทไอทีในซิลิคอนวัลเลย์ ย่านสำนักงานธุรกิจไอทีในสหรัฐฯ และหน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐฯ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีข้อมูลใหม่เกี่ยวกับโครงการ PRISM ซึ่งเป็นการสอดแนมลับของรัฐบาลสหรัฐฯ

เอกสารลับชุดล่าสุดระบุว่า ทางไมโครซอฟท์ได้ช่วยเหลือลดขั้นตอนการทำงานถอดรหัสของ NSA ในการบอกว่า ทาง NSA จะไม่สามารถรับข้อมูลจากเว็บแชทจาก Outlook.com โฉมใหม่ได้ โดยในตอนนี้หน่วยงาน NSA อยู่ในขั้นตอนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลอีเมลก่อนถอดรหัสสำหรับเว็บ Outlook.com รวมถึงฮอทเมล

เอกสารของสโนว์เดน เปิดเผยอีกว่า ทางไมโครซอฟท์ยังทำงานร่วมกับ FBI ในปีนี้ เพื่อให้ NSA สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นโดยการเข้าถึงการให้บริการเก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ชื่อ SkyDrive ที่มีผู้ใช้มากกว่า 250 คนทั่วโลก นอกจากนี้ยังได้ทำงานร่วมกับหน่วยดักจับข้อมูลของ FBI ในการสร้างความเข้าใจระบบของ Outlook.com ที่ให้ผู้ใช้สามารถสร้างนามแฝงอีเมล

และเมื่อเดือน ก.ค. 2012 ซึ่งเป็นเวลา 9 เดือนหลังจากที่ไมโครซอฟท์ซื้อโปรแกรมให้บริการวิดีโอแชทสไกป์ ทาง NSA ก็บอกว่าพวกเขาสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลการติดต่อสื่อสารทางวิดีโอผ่านโครงการ PRISM ได้มากกว่าเดิม 3 เท่า นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้รับผ่าน PRISM ยังมีการแชร์ให้กับทาง FBI และ CIA ด้วย

เดอะการ์เดียน ระบุว่าการเปิดเผยข้อมูล สร้างความตึงเครียดระหว่างซิลิคอนวัลเลย์กับรัฐบาลโอบาม่า โดยที่บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งพยายามเรียกร้อง NSA ให้อนุญาตพวกเขาในการเปิดเผยกระบวนการทำงานร่วมกับ NSA เพื่อตอบสนองต่อความกังวลด้านสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ ซึ่งทางผู้บริหารของบริษัทไอทีเหล่านี้ก็พยายามรักษาระยะห่างกับความร่วมมือและการทำงานร่วมกับ NSA อีกทั้งยืนยันว่าการทำงานร่วมกับ NSA มาจากข้อบังคับทางกฎหมาย

โดยก่อนหน้านี้ในเดือน มิ.ย. เดอะการ์เดียนได้เผยแพร่เอกสารที่ระบุว่า NSA สามารถใช้โครงการ PRISM ในการเข้าถึงระบบของบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่เช่น ไมโครซอฟท์ สไกป์ แอปเปิล กูเกิล เฟซบุ๊ก และยาฮู ได้โดยตรง อีกทั้งศาลสืบราชการลับยังอนุญาตให้มีการเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหมายค้นหากคณะทำงานเกินครึ่งหนึ่งของ NSA เชื่อว่าเป้าหมายไม่ใช่พลเมืองสหรัฐฯ และไม่อยู่บนผืนแผ่นดินสหรัฐฯ ในช่วงเวลานั้น

หลังการเปิดโปงดังกล่าว บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ พยายามออกมากล่าวปฏิเสธว่าพวกตนไม่เคยทราบถึงการมีอยู่ของ PRISM และไม่มีช่องทางที่องค์กรข่าวกรองจะลักลอบเจาะเข้ามาได้

แต่เอกสารล่าสุดจากหน่วยปฏิบัติการข้อมูลพิเศษ (SSO) ขององค์กร NSA ระบุว่าองค์กร NSA มีความกังวลเกี่ยวกับการเข้ารหัสข้อมูลแชทใน Outlook.com ของไมโครซอฟท์ ในช่วงที่ทำการทดลองดักจับข้อมูลเมื่อปีที่แล้ว จนกระทั่งภายใน 5 เดือนหลังจากนั้นทางไมโครซอฟท์และ FBI ก็สามารถหาทางออกโดยการช่วยเหลือให้ NSA ผ่านขั้นตอนการเข้ารหัสข้อมูลการแชทของ Outlook.com ได้

นอกจาก Outlook.com แล้ว รายงานของ NSA เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2013 ก็ระบุว่า ไมโครซอฟท์ได้ทำงานร่วมกับ FBI มาหลายเดือนเมื่อให้โครงการ PRISM สามารถเข้าถึงบริการเก็บข้อมูล SkyDrive ได้ โดย NSA บรรยายไว้ในเอกสารว่าความร่วมมือระหว่าง FBI และไมโครซอฟท์ ทำให้พวกเขาสามารถดักเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา NSA ยังได้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์ ในการเข้าถึงข้อมูลของสไกป์ที่มีผู้ใช้กว่า 663 ล้านคนทั่วโลก โดยเอกสารฉบับหนึ่งระบุว่า NSA สามารถเข้าถึงข้อมูลสไกป์ได้มากขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค. 2012 โดยสไกป์ได้เข่าร่วมโครงการ PRISM ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2011 ก่อนหน้าจะถูกซื้อโดยไมโครซอฟท์แล้ว โดย NSA เริ่มเก็บข้อมูลจากสไกป์ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 2011 เป็นต้นมา โดยอาศัยความร่วมมือจาก FBI

คริส ซอเกียน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากสหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน (ACLU) กล่าวว่า การเปิดเผยเรื่องนี้จะทำให้ผู้ใช้สไกป์จำนวนมากรู้สึกแปลกใจ เนื่องจากในอดีต สไกป์ให้สัญญาต่อผู้ใช้ว่าโปรแกรมของพวกเขาไม่สามารถถูกดักข้อมูลได้

นอกจาก NSA และ FBI จะได้เห็นข้อมูลที่ถูกดักจับแล้ว ในจดหมายข่าวเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2012 ยังได้กล่าวอีกว่า ระบบของ PRISM มีความสามารถในการแชร์ข้อมูลอัตโนมัติ โดยอาศัยซอฟท์แวร์ที่ทำให้ผู้ร่วมงานของพวกเขามองเห็นตัวเลือกคำค้นที่ NSA นำไปไว้ใน PRISM ได้ โดยที่หน่วยงาน FBI และ CIA สามารถเรียกร้องข้อมูลจากตัวเลือกคำค้นใดๆ ก็ได้

"ปฏิบัติการสองอย่างนี้ เป็นการเน้นให้เห็นว่า PRISM เหมือนดั่งทีมกีฬา!" NSA กล่าวในเอกสาร


แถลงการณ์จากไมโครซอฟท์และ NSA กรณีเรื่องที่ถูกเปิดโปง
ด้านไมโครซอฟท์ออกแถลงการณ์โต้ตอบการเปิดโปงข้อมูลดังกล่าว โดยกล่าวว่า "พวกเรามีหลักการที่เป็นแนวทางการตอบสนองต่อคำร้องของรัฐที่ต้องการข้อมูลของผู้รับบริการทั้งจากหน่วยงานผู้บังคับกฎหมายและกรณีความมั่นคง หลักการประการแรกคือ พวกเรามีพันธกิจทั้งต่อผู้รับบริการและการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเข้มงวด ดังนั้นพวกเราจึงให้ข้อมูลของผู้ใช้บริการต่อเมื่อมีกระบวนการตามกฎหมายเท่านั้น"

"ประการที่สองคือ ทีมที่ปฏิบัติตามคำร้องทางกฎหมายคอยตรวจสอบคำร้องทุกอย่างอย่างใกล้ชิด และมีการปฏิเสธที่จะทำตามหากคำร้องเหล่านั้นไม่เหมาะสม ประการที่สามคือ พวกเรายอมทำตามคำร้องเฉพาะกับบัญชีผู้ใข้หรือผู้แสดงตัวตนบางคน และพวกเราไม่ตอบสนองต่อคำร้องที่มีความครอบคลุมดังเช่นที่มีการถกเถียงกันในข่าวเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จากการที่มีระบุไว้ในเอกสารที่ถูกเปิดโปง"

"ประการสุดท้ายคือ เมื่อเราอัปเกรดหรืออัปเดทบริการของเรา บางครั้งก็มีเงื่อนไขทางกฎหมายให้เราต้องปฏิบัติตามคือการที่เรายังคงสามารถให้ข้อมูลกับผู้บังคับกฎหมายหรือหน่วยงานความมั่นคงได้ มีบางด้านในประเด็นที่เราอยากจะอภิปรายกันอย่างอิสระมากกว่านี้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงโต้เถียงเพื่อเหตุผลเรื่องความโปร่งใส ซึ่งจะทำให้ทุกคนเข้าใจและสามารถอภิปรายในประเด็นสำคัญนี้ได้"

ทางด้าน ชอว์น เทอร์เนอร์ โฆษกของประธานหน่วยงานข่าวกรองแห่งชาติ และ จูดิธ เอมเมล โฆษกของ NSA ออกแถลงการณ์ร่วมกัน โดยในแถลงการณ์กล่าวว่า "การสืบราชการโดยคำสั่งศาล รวมถึงการพยายามให้ความร่วมมือของบริษัทเอกชนในสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ถูกระบุไว้ในมาตรากฎหมาย และปฏิบัติการในเรื่องนี้มีการกำกับดูแลอย่างเคร่งครัดจากทางการสหรัฐฯ โดยมีการตรวจสอบจากศาล รัฐสภา และประธานหน่วยงานข่าวกรอง ซึ่งไม่ใช่ทุกประเทศจะมีการกำกับดูแลเคร่งครัดมากเท่านี้ อันเป็นสิ่งจำเป็นในการปกป้องเสรีภาพพลเมืองและสิทธิความเป็นส่วนตัว"

แถลงการณ์ของหน่วยงานสหรัฐฯ กล่าวอีกว่า "ในทางปฏิบัติแล้ว บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ ทุ่มเทกับพันธกิจเรื่องการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการทั่วโลกอยู่เสมอ โดยที่ขณะเดียวกันก็ปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ที่พวกเขามีสำนักงานอยู่"

 

 

 

 

แปลและเรียบเรียงจาก
How Microsoft handed the NSA access to encrypted messages, The Guardian, 12-07-2013
http://www.guardian.co.uk/world/2013/jul/11/microsoft-nsa-collaboration-user-data

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศูนย์ไซมอน วีเซนธาล ประณามจุฬาฯ ใช้รูปฮิตเลอร์เป็นซูเปอร์ฮีโร่

Posted: 13 Jul 2013 10:52 AM PDT

องค์กรสิทธิชาวยิวประณามจุฬาฯ และบุคลากรที่ปล่อยให้แสดงรูปอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นซูเปอร์ฮีโร่ ประกอบการถ่ายรูปรับปริญญา เสนอมหาลัยจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุในอดีต 

 
 
เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมา ศูนย์ไซมอน วีเซนธาล (Simon Wiesenthal Center) ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนของชาวยิว มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอส แองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประณามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจากการใช้รูปภาพอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นภาพประกอบฉากถ่ายรูปวันรับปริญญา โดยระบุว่ารู้สึก "ไม่พอใจอย่างมาก" และ "รังเกียจ" ที่บุคลากรมหาวิทยาลัยเงียบงันและเฉยเมยต่อการใช้ภาพดังกล่าว 
 
โดยเว็บไซต์ของไซมอน วีเซนธาล ระบุว่า ในขณะที่มหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถวายปริญญาบัตรเกียรตินิยมแก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร แต่นิสิตกลับถ่ายภาพคู่กับบรรดาซูเปอร์ฮีโร่บริเวณหน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยมีรูปอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ประกอบอยู่ด้วย และยังทำท่า 'ซีก ไฮล์' ซึ่งเป็นวิธีแสดงความเคารพของทหารนาซีในสมัยนั้น 
 
 
"ให้ฮิตเลอร์เป็นซูเปอร์ฮีโร่นะหรือ? เขาเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนรุ่นหลังคนไทยได้อย่างไรกัน คนที่ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุที่สังหารหมู่ชาวยิวและยิปซีเพราะว่ามีเชื้อชาติที่ด้อยกว่า" อับราฮัม คูเปอร์ พระศาสนายิว ผู้เป็นผู้ช่วยคณบดีของศูนย์ไซมอน วีเซนธาลกล่าว
 
ทั้งนี้ 'อดอล์ฟ ฮิตเลอร์' เป็นผู้นำพรรคนาซีของเยอรมนี และฝ่ายอักษะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และมีบทบาทในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวจำนวนกว่า 11 ล้านคน
 
"ศูนย์ไซมอน วีเซนธาล รู้สึกโกรธเคืองและรังเกียจอย่างมากต่อการแสดงภาพในที่สาธารณะเช่นนี้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย รูปนี้ยังตั้งแสดงอยู่ใกล้ๆ กับอาคารภาคประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอยู่ด้วย เรารู้สึกไม่พอใจอย่างมากต่อคนที่สร้างภาพล้อเลียนนี้ขึ้นมา และต่อคนที่โพสท่า 'ซีก ไฮล์' ของนาซี และยังเสียใจและรังเกียจความเงียบงันจากชนชั้นนำของมหาวิทยาลัย ที่ล้มเหลวในการให้เอารูปดังกล่าวออก" พระคูเปอร์กล่าว 
 
เขากล่าวด้วยว่า อาจจะถึงเวลาที่มหาวิทยาลัยจะดูเรื่องนี้ เพื่อให้เป็นบทเรียนในการจัดการเรียนการสอนเรื่องการต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุให้แก่ทั้งบุคลากรและนิสิตมหาวิทยาลัย 
 
ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2554 ได้เกิดเหตุการณ์คล้ายกันที่โรงเรียนพระหฤทัย จ.เชียงใหม่ เด็กนักเรียนจำนวนหนึ่งได้ใส่ชุดเครื่องแบบทหารนาซีเดินพาเหรดในวันกีฬาสีของโรงเรียน ทำให้สถานกงสุลอังกฤษ สหรัฐ เยอรมนี และฝรั่งเศสประจำเชียงใหม่ เดินทางมาที่โรงเรียนเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วย 
 
เหตุการณ์ดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี 2550 นักเรียนจากโรงเรียนทิวไผ่งาม กรุงเทพฯ กว่า 200 คนแต่งกายเป็นชุดทหารนาซีในงานกีฬาสี พร้อมทั้งเปล่งเสียงคารวะผู้นำฮิตเลอร์เลียนแบบกองทัพนาซีเมื่อ 50 ปีก่อน ทำให้กันยา เขมานันต์ ผู้อำนวยการโรงเรียนทิวไผ่งามในเวลานั้น ต้องทำการขอโทษอย่างเป็นทางการไปยังศูนย์ไซมอน วีเซนธาล
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จี้ กสทช. ระบุระยะเวลาประมูลคลื่น 1800 ให้ชัดเจน

Posted: 13 Jul 2013 10:24 AM PDT

จากกรณีสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะหมดลงในวันที่ 30 ก.ย. ซึ่ง กสทช. ไม่สามารถจัดการประมูลได้ทัน และมีการร่างประกาศเรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... เพื่อยืดอายุสัมปทานออกไป ด้วยเหตุผลว่าเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคนั้น วานนี้ (12 ก.ค.56) คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดการเสวนา "ทางออกผู้บริโภค: กรณีซิมดับจากการหมดอายุสัมปทาน" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ อนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า DIGITAL PCN (Personal Communication Network) 1800 กล่าวว่า คณะอนุกรรมการชุดของตนเองนั้น ถูกแต่งตั้งเมื่อ ส.ค.55 โดยได้จัดทำรายการข้อเสนอไปตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม ปีนี้ หลังจากนั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ก็ไม่มีการเรียกประชุมอีก และมีการตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz โดยมี พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. นั่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการ

เดือนเด่น กล่าวว่า ข้อเสนอของคณะของตนเองในขณะนั้น เสนอว่า ควรนำคลื่นความถี่มาประมูลอย่างเร็วที่สุด เนื่องจากคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. เห็นว่า การพิจารณาขยายระยะเวลาในการใช้งานคลื่นความถี่ไม่สามารถกระทำได้ และให้ กทค. เร่งจัดทำหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ เพื่อเตรียมการประมูล นอกจากนี้ ยังเสนอด้วยว่า หากประมูลไม่ทัน หรือประมูลทันแต่ไม่สามารถให้บริการได้ทัน ให้ กสท.พิจารณารับลูกค้าที่คงเหลือในระบบ โดยการใช้คลื่น 800 หรือคลื่น 1760.5-1785 MHz และ 1785.5-1880 MHz ที่ กสท. มอบให้ดีแทคสำรองใช้งานและยังว่างอยู่ อย่างไรก็ตาม จนตอนนี้ก็ยังไม่มีการตั้งคณะอนุกรรมการประมูลเลย แม้ว่าจะเสนอมากว่า 7 เดือนแล้ว ขณะที่การจ้างประเมินคลื่นความถี่ ก็ยังไม่ได้ทำ ทั้งที่ถ้าทำจริง ไม่น่าจะใช้เวลานาน เพราะวิธีประมูลก็คล้ายกับเมื่อคราวประมูลคลื่น 2100 MHz

 

เดือนเด่นตั้งคำถามถึงการอ้างตัวเลขผู้ใช้บริการของทรูมูฟกว่า 17 ล้านเลขหมายที่อาจจะพบปัญหาซิมดับด้วยว่า เป็นตัวเลขจริงหรือไม่ เพราะไม่เคยได้รับตัวเลขจาก กสทช. เลย ไม่เคยทราบว่ามีการโอนย้ายไปแล้วเท่าไหร่ เพราะที่ผ่านมาก็มีการโอนย้ายอยู่ตลอด ยิ่งระยะหลังมีการโอนย้ายได้วันละ 100,000 เลขหมาย เดือนหนึ่งก็สามล้าน ก็นับว่าเยอะ  ทั้งนี้ ลูกค้าที่เป็นพรีเพดนั้นมี 17.02 ล้านเลขหมาย บัตรหมดก็เปลี่ยนไปค่ายอื่น ขณะที่ส่วนที่มีปัญหาจริงๆ คือ โพสต์เพด ซึ่งมีเพียง 0.82 ล้านเลขหมาย ดังนั้น ปัญหาจึงไม่ได้เยอะอย่างที่มีการสร้างให้เกิดขึ้น

 

ในส่วนความเห็นต่อร่างประกาศฯ นั้น เดือนเด่นยังคงมองว่า ไม่เห็นด้วยกับการต้องยืดระยะเวลา เพราะเป็นการเอาผู้บริโภคเป็นตัวประกัน และปัญหานั้นเกิดจากที่ กสทช. ล่าช้าในการดำเนินการเตรียมการจัดประมูล ละเลยการแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ เพื่อย้ายเลขหมายไปยังผู้ประกอบการรายอื่น

อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอแนะต่อร่างประกาศว่า ควรมีการระบุให้ กสทช. ต้องกำหนดระยะเวลาจัดการประมูลที่ชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะมีข้อครหาว่าจะยืดเวลาไปอีกหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้ กสทช. รับผิดชอบในความล่าช้าของตัวเองด้วย นอกจากนี้ เสนอว่า ควรมีการจัดทำกรอบแนวทางเยียวยาผู้ใช้บริการที่เป็นมาตรฐาน กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ควรมีหน้าที่ต้องกำหนด ไม่ใช่ให้เอกชนเป็นฝ่ายยื่นข้อเสนอมา ที่สำคัญ มองว่า ประกาศดังกล่าวควรใช้เฉพาะกับกรณีคลื่น 1800 เท่านั้น ไม่ใช่ใช้กับทุกกรณีอย่างที่มีการให้สัมภาษณ์

"ไม่มีเหตุผลต้องทำอีกเป็นครั้งที่สอง ถ้าจะบอกว่าทำไม่ทัน ก็ไม่ต้องมาเป็นเรกูเลเตอร์" เดือนเด่นกล่าวทิ้งท้าย  

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กทค. และ กสทช.  กล่าวว่า ฝั่งเอกชนทุกเจ้าพยายามเสนอให้มีการประมูลคลื่น 1800 โดยเร็ว ตั้งแต่ก่อนการประมูลสามจีแล้ว เพราะเขาต้องการความชัดเจน อยากรู้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมเงินประมูลคลื่น และย้ายผู้บริโภค แต่ กทค.กลับบอกว่า ไม่เป็นไรจะประมูลหลังประมูลสามจี และสุดท้ายก็ทำไม่ทัน ที่น่าสงสัย คือ กรณีนี้ ถ้าบอกว่าทำไม่ทัน โดยอ้างว่ามีผู้บริโภคย้ายค่ายทำไม่ทัน ต้องดูแลผู้บริโภค ก็พอฟังได้ แต่ถามว่าคลื่น 900 ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานในอีกสองปี ถ้าประมูลไม่ทัน กสทช.สมควรต้องถูกถอดถอนหรือไม่

ประวิทย์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เคยเชิญนักกฎหมายจากอัยการสูงสุด กฤษฎีกา สำนักงานกฎหมาย มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงนายแก้วสรรมาประชุมกัน แต่นายแก้วสรรสุดท้ายไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งได้ข้อสรุปของนักกฎหมายในที่ประชุมตรงกันว่า การให้เอกชนทำคลื่นต่อนั้นผิดกฎหมาย ซึ่งตนก็ได้นำความเห็นดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุม กทค.แล้ว ดังนั้น กรณีที่มีกรรมการ กทค.และ กสทช.บางคนบอกว่า ตัวเองเอาแต่ค้านไม่เคยเสนอทางออกนั้นไม่จริงและขอให้กรรมการท่านนั้นกลับไปอ่านเอกสารบ้าง

ประวิทย์ เล่าว่า นายแก้วสรรเองก็เคยยอมรับว่าที่ตนเองตั้งคำถามเรื่องความชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นประเด็น แต่เมื่อเข้าสู่ที่ประชุม กทค.และที่ประชุม กสทช. กลับไม่มีการเสนอให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กสทช. พิจารณา โดยมีกรรมการ กสทช. คนหนึ่งหลุดปากว่าถ้ายื่นไปแล้วเขาบอกว่าทำไม่ได้จะทำอย่างไร

ต่อมา คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน โดย ชโลม เกตุจินดา แถลงข่าวต่อกรณีดังกล่าว โดยตั้งข้อสังเกตว่า การจะออกประกาศดังกล่าวเป็นการยืดอายุการให้บริการ ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ให้บริการ และเป็นการแก้ไขปัญหาซึ่งเกิดจากการดำเนินการล่าช้าจนถึงการไม่ดำเนินการเพื่อให้เกิดประมูลคลื่นได้ทันก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของ กสทช. โดยใช้ผู้บริโภคจำนวนมากกว่า 17 ล้านเลขหมายเป็นตัวประกันจากปัญหาซิมดับ ทั้งที่การสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เป็นเหตุการณ์ที่ทราบล่วงหน้าและมีการให้ข้อมูลเตือนจากหลายฝ่าย โดยคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมได้เชิญผู้ให้บริการทั้งสองรายเพื่อหารือปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ตั้งแต่ 10 เม.ย.2555 แล้ว และตัวแทนจากทั้งสองบริษัทระบุว่ายังไม่ได้รับความชัดเจนจาก กสทช.ว่า จะจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานหรือไม่

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า 1800 ก็ได้จัดทำข้อเสนอตั้งแต่เดือนมกราคม ให้จัดประมูลคลื่นให้เร็วที่สุด รวมถึงมีการเสนอแผนเยียวยาต่างๆ ขณะที่คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. เห็นว่า การพิจารณาขยายเวลาในการใช้คลื่นความถี่ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกฎหมายของไทยกำหนดไว้ชัดเจนว่า การจะนำคลื่นไปใช้นั้นต้องด้วยการประมูลเท่านั้น ดังนั้นจึงควรดำเนินการประมูลคลื่นอย่างเร่งด่วน แต่เสียงเหล่านั้นก็ไม่ได้ถูกนำไปพิจารณา

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน กล่าวว่า เมื่อถึงวันนี้ที่การประมูลคลื่นไม่สามารถดำเนินการได้ คณะกรรมการฯ มีข้อเสนอถึง กสทช. ขอให้มีการเร่งรัดการโอนย้ายเครือข่ายให้เต็มศักยภาพ คือ 3 แสนเลขหมายต่อวัน ขอให้จัดให้มีการเพิ่มประเด็นการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการให้การคุ้มครองฯ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25 ก.ค.ให้มากกว่าที่กำหนดและเร่งตั้งคณะทำงานประมูลคลื่นความถี่ และกำหนดวันจัดประมูลคลื่นโดยเร่งด่วน

นอกจากนี้ ยังมีข้อเรียกร้องต่อผู้ให้บริการ คือ บริษัททรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (มหาชน) ว่าจะต้องคืนเงินคงเหลือในระบบให้กับผู้ใช้บริการ และกรณีที่บริษัทจะตัดสัญญาผู้ใช้บริการในระบบพรีเพด บริษัทจะต้องแจ้งผ่านข้อความสั้นให้ทราบล่วงหน้าก่อน 3 วัน พร้อมทั้งระบุจำนวนเงินคงค้างในระบบให้ผู้บริโภครับทราบและเพื่อใช้ขอคืนได้ด้วยอย่างชัดเจน

ขณะที่มีข้อเรียกร้องไปยังซูเปอร์บอร์ด (คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของ กสทช.)  ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าของ กสทช. ในกรณีที่ไม่สามารถจัดการประมูลคลื่น 1800 MHz ได้ก่ิอนสิ้นสุดสัมปทานด้วย

ด้านสุภัทรา นาคะผิว อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ตั้งคำถามต่อว่า กรณีที่มีการร่างประกาศ โดยจะเปิดรับฟังความเห็นในวันที่ 25 ก.ค.นั้น โดยหลักการเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่เข้าใจว่า ทำไมจึงต้องมีกฎว่า ผู้ที่จะไปแสดงความเห็นต้องส่งความเห็นภายในวันที่ 17 ก.ค. ไม่เช่นนั้นจะไม่มีสิทธิไปพูดในวันที่ 25 ก.ค. ด้วย ทั้งที่คนที่อยากแสดงความเห็นควรมีสิทธิอย่างเต็มที่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การจัดการความหลากหลายและความเท่าเทียมในมหาวิทยาลัยของรัฐ

Posted: 13 Jul 2013 05:09 AM PDT

มหาวิทยาลัยของรัฐอันถือเป็นองค์กรทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นแหล่งรวมบุคลากรทางการศึกษาและนักศึกษาที่ประกอบด้วยที่มาหลากหลายและแตกต่างกัน ซึ่งความหลายหลาย (diversity) ของบุคลากรทางการศึกษาและนักศึกษาในด้านอายุ ความพิการทางกาย การแปลงเพศ การแต่งงานและการใช้ชีวิตคู่ การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร สีผิว ศาสนาและความเชื่อ เพศ และรสนิยมทางเพศ ย่อมเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ (discrimination) ในหลากหลายกรณีที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การเลือกปฏิบัติจากผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในมหาวิทยาลัย การเลือกปฏิบัติระหว่างเพื่อนร่วมงานในมหาวิทยาลัย การเลือกปฏิบัติของอาจารย์มหาวิทยาลัยต่อนักศึกษา และการเลือกปฏิบัติของนักศึกษารุ่นพี่ที่มีอายุมากกว่าหรือศึกษาในชั้นปีที่สูงกว่าต่อรุ่นน้องที่มีอายุน้อยกว่าหรือศึกษาในชั้นปีที่ต่ำกว่า เป็นต้น

อนึ่ง การเลือกปฏิบัติจากบุคคลต่างๆ ในสังคมมหาวิทยาลัยย่อมอาจนำไปสู่การความไม่เท่าเทียมกันในการได้รับโอกาสต่างๆในสังคมได้  (inequality of opportunity) เพราะแม้ว่าสภาพร่างกาย ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ สภาพจิตใจ สถานภาพทางเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆ ในแต่ละตัวบุคคลหรือปัจเจกชนย่อมไม่มีทางเหมือนกันได้ทุกประการได้ในสภาพความเป็นจริง หากแต่การสร้างบรรทัดฐานทางสังคมที่ดีผ่านกลไกต่างๆ ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยของรัฐ ย่อมสามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลต่างๆ ในได้รับโอกาสที่ดีในสังคมได้

มหาวิทยาลัยของรัฐอันถือเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงที่นอกจากจะมีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะด้านการให้การศึกษาแก่นักศึกษาระดับต่างๆ ที่จะกลายมาเป็นแรงงานที่สำคัญของชาติในอนาคตแล้ว มหาวิทยาลัยของรัฐจึงควรมีหน้าที่กำหนดแนวทางในการจัดระเบียบให้ผู้คนที่มาจากหลากหลายความเป็นมาและผู้คนที่มีความแตกต่างกันสามารถอยู่รวมกันได้อย่างปกติสุข โดยการจัดระเบียบดังกล่าวต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งการเปิดโอกาสให้บุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมจากการทำงาน การเข้ารับบริการทางการศึกษาและการอยู่ร่วมสังคมมหาวิทยาลัย

การส่งเสริมความเท่าเทียม (equality)ในสถาบันการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่สามารถทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสามารถทำงาน เรียนหนังสือ และประกอบกิจกรรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย โดยมีหลักประกันว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่อาจเป็นหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานในกำกับของรัฐ ดังนั้น การสร้างหลักเกณฑ์และการกำหนดวิธีการในการจัดการความหลากหลายและความเท่าเทียมในมหาวิทยาลัยของรัฐอย่างเป็นรูปธรรม จึงกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมมหาวิทยาลัย  

ในหลายประเทศที่ดำเนินบริการสาธารณะด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาจึงได้พัฒนาแนวทางและวิธีการในการจัดการความหลากหลายและความเท่าเทียม (Managing Equality and Diversity) ขึ้น เพื่อจัดการผู้คนที่เกี่ยวข้องกับสังคมอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐอันประกอบด้วยผู้คนที่มีอายุ ความพิการทางกาย การแปลงเพศ การแต่งงานและการใช้ชีวิตคู่ การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร สีผิว ศาสนาและความเชื่อ เพศ และรสนิยมทางเพศที่แตกต่างกันออกไป โดยการจัดการดังกล่าวต้องคำนึงถึงองคาพยพหรือบริบทต่าง ที่อาจส่งผลกระทบต่อความหลากหลายและความแตกต่างของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐได้ เช่น นโยบายทางสังคมของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกิจการอุดมศึกษา วัฒนธรรมองค์การนักศึกษา การบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย การโยกย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมืองเพื่อการศึกษาและเพศวิถีในสังคมมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นต้น

การจัดการความหลากหลายและความเท่าเทียมในมหาวิทยาลัยของรัฐอาจจำแนกออกเป็นสองประการด้วยกัน ได้แก่ ประการแรก แนวทางในการสร้างโอกาสที่เท่าเทียม  (equal opportunities approach) หรือแนวทางสนับสนุนให้บุคลากรประเภทต่างๆ และนักศึกษา รวมไปถึงผู้เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยของรัฐได้รับการปฏิบัติหรือได้รับการเข้าถึงบริการด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องของการทำงาน โอกาสในเรื่องของงานกับการศึกษา การรับบริการด้านการศึกษาหรือบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกิจการของมหาวิทยาลัยและการรับบริการด้านสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของทางมหาวิทยาลัย แนวทางในการสร้างโอกาสอาจเป็นแนวทางในรูปแบบต่างๆ อันสามารถลดหรือขจัดอุปสรรคต่างๆ (barriers) ที่กระทบต่อความเป็นธรรมหรือความเท่าเทียมในมหาวิทยาลัยของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยตรงจากการปฏิบัติต่อผู้ที่มีความแตกต่างกันด้านอายุ ความพิการทางกาย การแปลงเพศ การแต่งงานและการใช้ชีวิตคู่ การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร สีผิว ศาสนาและความเชื่อ เพศ และรสนิยมทางเพศในแบบมาตรฐานที่แตกต่างกันหรือการเลือกปฏิบัติโดยอ้อมจากขั้นตอน กระบวนการ ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติหรือกีดกันอันไม่เป็นธรรม

ประการที่สอง แนวทางการจัดการความหลากหลาย (diversity management approach) หรือแนวทางการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติ รวมไปถึงการบูรณาการความหลากหลายของบุคลากรและนักศึกษาให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย การประกอบธุรกิจของมหาวิทยาลัย และการบริการสาธารณะด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัย เช่น นโยบายการเปิดหลักสูตรนานาชาติที่ไม่เพียงดึงดูดนักศึกษานานาชาติให้เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยเท่านั้น หากแต่ยังสามารถทำให้นักศึกษาที่เป็นคนท้องถิ่นสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมจากนักศึกษานานาชาติ ผู้มีภูมิหลัง ภาษา วัฒนธรรมและความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย เป็นต้น

การจัดการความหลากหลายและความเท่าเทียมในมหาวิทยาลัยของรัฐโดยทั่วไปนั้น อาจกระทำได้โดยผ่านกลไกของการบริหารงานมหาวิทยาลัยและกลไกการตรวสอบความเท่าเทียมในมหาวิทยาลัยในหลายรูปแบบด้วยกัน รูปแบบแรก การจัดการความเท่าเทียมผ่านหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยตั้งขึ้นมาเป็นการเฉพาะ (equality governing bodies) ได้แก่ คณะกรรมการส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียม (Equality and Diversity Committee) ที่มหาวิทยาลัยได้ใช้อำนาจตามกฎหมายจัดตั้งคณะกรรมการหรือหน่วยงานภายใน ให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความหลากหลายและการส่งเสริมการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมโดยปราศจากการกีดกันหรือการเลือกปฏิบัติในมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยอาจกำหนดกลไกของมหาวิทยาลัย (university's mechanism) เป็นการเฉพาะเพื่อให้กำหนดหน้าที่หรือมอบอำนาจแก่คณะกรรมการชุดนี้ในการกำกับ ดูแล วินิจฉัยหรือปรึกษาหารือร่วมกัน ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกันการส่งเสริมความเท่าเทียม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยอาจตั้งหน่วยงานสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมเป็นการเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะภารกิจ เช่น การตั้งหน่วยงานสำหรับส่งเสริมความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย การตั้งหน่วยงานสำหรับให้คำแนะนำหรือสนับสนุนนักศึกษาที่มีกายพิการหรือทุพพลภาพ เป็นต้น

รูปแบบที่สอง การประเมินผลกระทบด้านความเท่าเทียม (Equality impact assessment – EqIA) ได้แก่ กระบวนการประเมินนโยบาย โครงการและระเบียบต่างๆ ภายใต้หลักการสำคัญที่ว่านโยบาย โครงการและระเบียบเหล่านั้นจะไม่ก่อให้เกิดหรือนำไปสู่การเลือกปฏิบัติจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ การดำเนินโครงการและการบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับ รวมไปถึงกระบวนการประเมินอื่นๆ ที่นำไปสู่การขจัดการเลือกปฏิบัติที่ทำให้ผู้กำหนดนโยบายหรือประชาคมมหาวิทยาลัยสามารถทราบถึงเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายหรือการออกระเบียบข้อบังคับภายในเพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรคอันอาจเกิดจากการเลือกปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ

รูปแบบที่สาม การเปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายและความเท่าเทียมในมหาวิทยาลัย (Information on Equality and Diversity) กล่าวคือ มหาวิทยาลัยต้องมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการกีดกันหรือการเลือกปฏิบัติอันอยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของตน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมมหาวิทยาลัย รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของนักศึกษา นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยของรัฐยังควรมีหน้าที่ในการจัดทำรายงานเกี่ยวกับความหลากหลายในมหาวิทยาลัย (equality and diversity report) เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยและสังคมทั่วไปได้ทราบถึงการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในการจัดการความหลากหลายและการต่อต้านการเลือกปฏิบัติในกรณีต่างๆ

รูปแบบที่สี่ การปฏิบัติตามกฎหมายส่งเสริมความเท่าเทียมของรัฐ (Equality legislation) หรือการที่มหาวิทยาลัยดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายพื้นฐานของรัฐและกฎหมายอื่นๆ ที่กำหนดแนวทางในการควบคุมไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติในสังคมหรือส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะตนที่แตกต่างกัน เช่น การดำเนินกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัยและกิจกรรมของนักศึกษาต้องไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 อันเป็นกฎหมายพื้นฐานแห่งรัฐที่ส่งเสริมสิทธิเบื้องต้นของประชาชน เป็นต้น

การจัดการความหลากหลายและความเท่าเทียมรูปแบบต่างๆ ในมหาวิทยาลัยของรัฐไม่เพียงส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างบุคลากรประเภทต่างๆ หรือระหว่างนักศึกษาด้วยกัน หากแต่ยังส่งเสริมกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการมหาวิทยาลัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น การจัดการความหลายหลายและความเท่าเทียมในมหาวิทยาลัยของรัฐย่อมทำให้สามารถทราบทิศทางในการจัดการการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติหรือทิศทางในการรับนักศึกษานานาชาติเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่ไม่เพียงแต่จะต้องคำนึงถึงการรองรับบริการด้านการศึกษาต่อนักศึกษานานาชาติเท่านั้น หากแต่จะต้องคำนึงถึงความหลากหลายของนักศึกษาอาเซียนจากประเทศต่างๆในภูมิภาค ที่จะก้าวเข้ามาสู่รั่วมหาวิทยาลัยของรัฐอีกด้วย

การจัดการความหลากหลายและความเท่าเทียมในมหาวิทยาลัยของรัฐก็ยังทำให้สามารถสนับสนุนกระบวนการอื่นๆหรือการประเมินอื่นๆในมหาวิทยาลัยของรัฐ ให้เกิดความยุติธรรม (fair) มากขึ้น เช่น ในการต่อสัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ นอกจากมหาวิทยาลัยจะพิจารณาเงื่อนไขการต่อสัญญาจ้างในระยะต่างๆ แล้ว มหาวิทยาลัยยังต้องพิจารณาภาพรวมของกลไกการประเมินหรือพิจารณาเงื่อนไขในการต่อสัญญาจ้างว่ามีการกีดกันหรือเลือกปฏิบัติภายในองค์กรด้วยหรือไม่ รวมไปถึงการปรับตําแหน่ง และเลื่อนขั้นเงินเดือนประจําปี ตลอดจนสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ต้องกระทำโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ

นอกจากนี้ การจัดการความหลากหลายและความเท่าเทียมในมหาวิทยาลัยของรัฐยังอาจสามารถชี้ช่องหรือชี้จุดบกพร่องว่ามหาวิทยาลัยของรัฐหรือมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เทียมเทียมในการปฏิบัติต่อบุคลากรประเภทต่างๆ ในมหาวิทยาลัยอีกด้วย เช่น พนักงานมหาวิทยาลัยหมวดเงินอุดหนุน ซึ่งจ้างจากเงินงบประมาณแผ่นดิน และพนักงานมหาวิทยาลัยหมวดเงินทุนคณะ ซึ่งจ้างจากเงินรายได้ อาจได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์เกื้อกูลจากการประกอบอาชีพที่ไม่เท่าเทียมกันหรือมีความเหลื่อมล้ำกัน

จากที่ได้กล่าวมาในข้างต้น การจัดการความหลากหลายและความเท่าเทียมรูปแบบต่างๆ ในมหาวิทยาลัยของรัฐจึงถือเป็นการส่งเสริมธรรมาภิบาลในสถาบันการศึกษา ที่ทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย บุคลากรมหาวิทยาลัยและนักศึกษา รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินกิจกรรมของมหาวิทยาลัยได้ทราบทิศทางในการส่งเสริมความเท่าเทียมและทิศทางในการต่อต้านการเลือกปฏิบัติระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยในอนาคต นอกจากนี้ การพัฒนากลไกที่ส่งเสริมความเท่าเทียมย่อมเป็นการสร้างสังคมมหาวิทยาลัยให้มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน การเรียนและการใช้บริการต่างๆ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเป็นสิ่งที่ไม่พึ่งประสงค์สังคมอุดมศึกษาของรัฐ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สื่อนอกชี้ ‘หยุดยิงรอมฎอน’ แค่วาจา-‘ศรีสมภพ’ ยันคือความก้าวหน้าของสันติภาพ

Posted: 13 Jul 2013 04:01 AM PDT

จับกระแสสื่อต่างชาติ เกาะติดแถลงการณ์ 'หยุดยิงรอมฎอน' ระหว่างรัฐไทยกับขบวนการ BRN สำนักข่าว BBC ชี้ข้อตกลงหยุดยิงครั้งนี้ เป็นเพียงการลั่นวาจา ยังไม่ลงนามข้อตกลง 'ศรีสมภพ' ชี้เป็นสัญญาสุภาพบุรุษ และความก้าวหน้าของกระบวนการสันติภาพ วงในโต้เหตุบึ้มรามัน ฝ่ายทหารทำผิดเงื่อนไข

 
 
สื่อต่างประเทศรายงานข่าว แถลงการณ์ 'หยุดยิงรอมฎอน' ระหว่างรัฐไทยกับขบวนการ BRN
 
13 ก.ค. 56 - คำแถลงการณ์ "ความเข้าใจรวมกันเพื่อการริเริ่มเดือนรอมฎอนแห่งสันติสุข" หรือเรียกให้ง่ายว่า แถลงการณ์"หยุดยิงรอมฎอน" ต่อการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างตัวผู้แทนฝ่ายรัฐไทย นำโดยเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กับตัวแทนฝ่ายขบวนการต่อสู้เพื่ออิสรภาพปาตานี นำโดยแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติปาตานี หรือ BRN เป็นประเด็นหนึ่งที่ดึงความสนใจให้สื่อต่างประเทศมาร่วมรายงานข่าวนี้
 
แถลงการณ์นี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ.2013 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยดาโต๊ะ สรี ซัมซามิน บินฮาซิม อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติมาเลเซีย ในฐานะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในพูดคุยเพื่อสันติภาพดังกล่าว
 
สำนักข่าว BBC 
 
รายงานว่า ข้อตกลงหยุดยิงครั้งนี้ เป็นเพียงการลั่นวาจา ยังไม่ลงนามข้อตกลง
 
เวลา 14.32 น.รายงานข่าวของสำนักข่าว BBC พาดหัวว่า "ประเทศไทยตกลงหยุดยิงเดือนรอมาฎอน ของกบฏมุสลิม" "Thailand agrees Muslim rebel Ramadan ceasefire"
 
ผู้สื่อข่าวชื่อ Jennifer Pak รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ว่า มันเป็นกระบวนการสันติภาพที่สั่นคลอน และเป็นการตกลงด้วยวาจา ยังไม่มีการตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร 
 
ผู้สื่อข่าวยังรายงานอีกว่า ข้อกังวลในครั้งนี้คือ ตัวแทนฝ่ายขบวนกบฏ ไม่ได้มีอำนาจเต็มทางการทหารแต่อย่างใด แต่กระบวนการพูดคุยสันติภาพครั้งนี้ต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมาคือ เป็นครั้งแรกที่ฝ่ายรัฐไทยยอมรับฝ่ายขบวนการ และยังเปิดทางให้ข้อเรียกร้องของพวกเขาได้รับการได้ยินและถกเถียง
 
ที่มา: http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-23288378
 
Straits times สิงคโปร์
 
สำนักข่าวออนไลน์ Straits times ของสิงคโปร์ รายงานเป็นข่าวสั้นเมื่อเวลา 16.55 วันเดียวกันว่า ดาโต๊ะ ซัมซามิน แถลง ขบวนการต่อต้านรัฐไทยรับจะหยุดก่อเหตุช่วงเดือนรอมฎอน โดยพาดหัวข่าว ว่า "Militants seek weeks-long halt to Thai violence" การทหารแสวงหา ยุติก่อเหตุรุนแรงในไทย
 
ในเนื้อข่าวอ้างอิงคำกล่าวของดาโต๊ะซัมซามินว่า ขบวนการกบฏจะพยายามหยุดการโจมตีทางทหารทั้งหมดและการระเบิด จนถึงวันที่ 18 สิงหาคมนี้
 
ที่มา: http://www.straitstimes.com/breaking-news/se-asia/story/militants-seek-weeks-long-halt-thai-violence-20130712
 
Channel NewsAsia
 
กัวลาลัมเปอร์ : เวลา 20.38 น. (วันนี้) สำนักข่าว Channel NewsAsia รายงานข่าวผ่านเว็บไซต์โดยพาดหัวว่า ประเทศไทย, กบฏมุสลิมมุ่งหมายสู่สันติภาพเดือนรอมฎอน "Thailand, Muslim rebels aim for Ramadan peace"
 
รัฐบาลไทยและกบฏมุสลิมตกลงหยุดก่อเหตุรุนแรงช่วงรอมฎอน เป็นเครื่องหมายแสดงถึงพัฒนาการใหม่ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งในรอบทศวรรษในเร็ววันนี้ มองว่าการพูดคุยระหว่างตัวแทนรัฐไทยและBRN จะนำความหวังแห่งสันติภาพขั้นเบื้องต้น 
 
แม้กระบวนการสันติภาพที่ดำเนินอยู่ โดยมีมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุย แต่การก่อเหตุในพื้นที่ก็ยังคงดำเนินอยู่เกือบทุกวัน นับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา
ดาโต๊ะซัมซามิน ฮาซิม กล่าวว่าทั้งสองฝ่ายได้บรรลุความเข้าใจร่วมกันที่จะผลักดันให้เกิดการยุติเหตุรุนแรงเดือนรอมฎอน ซึ่งการริเริ่มสันติภาพในเดือนรอมฎอนนี้ ฝั่งรัฐไทยควรหลีกเหลี่ยงการใช้ปฏิบัติที่แข็งกร้าว ในขณะที่ BRN ไม่ควรโจมตีทางการทหาร ระเบิดและซุ่มโจมตีฝ่ายทหารฝั่งรัฐไทยและสาธารณะ 
 
"นี่เป็นการก้าวต่อไปสู่สิ่งที่เราต้องการในอนาคต ถ้าไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เราจะไม่สามารถเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ จะกลายเป็นแบบอย่างในการก้าวต่อไป"ดาโต๊ะ ซัมซามิน กล่าวต่อผู้สื่อข่าว
ดาโต๊ะซัมซามิน กล่าวว่า ข้อตกลงนี้ จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม ถึง 18 สิงหาคม และครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในสามจังหวัดชายแดนใต้ คือ ยะลา นราธิวาส ปัตตานีและสงขลา 
ภายใต้แผนดังกล่าว รัฐจะถอนด่านตรวจบนถนนออกบางส่วน และทหารได้ถอนกำลังจากบางพื้นที่เพื่อลดความตึงเครียด
 
พลโทภราดร พัฒนถาบุตร ตัวแทนคณะพูดคุยสันติภาพฝ่ายรัฐไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับ APF ว่า ตนเชื่อมั่นที่ BRN จะสามารถยับยั้งเหตุรุนแรงได้ และที่ผ่านมาBRN ไม่เคยประกาศเป้าประสงค์ที่ชัดเจนของพวกเขา
ในเนื้อหาข่าวยังระบุถึง การพูดคุยใน 4 รอบที่ผ่านมา ที่การนองเลือดยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดคำถามว่า ตกลงมีผู้นำการทหารหัวรุนแรงเท่าไหร่ ซึ่งเหตุการณ์ที่สะเทือนมากที่สุดคือ เหตุระเบิดรถทหารเสียชีวิตไป 8 นายเมื่อเดือนที่แล้ว 
 
ลงท้ายข่าว ด้วยความเห็นของผู้แทนพูดคุยรัฐไทย ได้เสนอว่า อาจจะมีการอนุมัติเลือกตั้งการบริหารส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ แต่ไม่ใช่การปกครองตัวเองแบบเต็มขั้นยังคงเป็นสิ่งต้องห้ามต่อรัฐธรรมนูญไทย ที่อาณาจักรรัฐไทยไม่สามารถแบ่งแยกได้ 
 
ที่มา : http://www.channelnewsasia.com/news/asiapacific/thailand-muslim-rebels/742596.html
 
'ศรีสมภพ' ชี้เป็นสัญญาสุภาพบุรุษ และความก้าวหน้าของสันติภาพ
 
ด้านผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ระบุว่า การแถลงข้อตกลงดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์พิเศษ เนื่องจากการพุดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐไทยกับขบวนการ BRN พึ่งจะเริ่มขึ้นประมาณ 4 เดือน แต่สามารถมีข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวได้ ถือว่าเป็นความก้าวหน้าของกระบวนการสันติภาพเป็นอย่างมาก
 
ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่า แม้ว่าก่อนหน้านี้ 3 วันได้มีการเลื่อนการแถลงข่าวดังกล่าวมาแล้วเนื่องจากฝ่าย BRN ไม่มั่นใจในความจริงใจของรัฐไทย แต่ท้ายที่สุดได้มีความพยายามจนสามารถมีแถลงการณ์ครั้งนี้ได้ ซึ่งพูดกันว่าเป็น Gentleman Agreement หรือสัญญาสุภาพบุรุษ เพราะครั้งนี้เป็นการประกาศให้รู้ว่าฝ่ายตนต้องการทำอะไร โดยไม่ได้มีการลงนามในข้อตกลงที่เป็นมาตรการด้านการปฏิบัติ หรือกลไกการติดตาม การมอนิเตอร์เหตุการณ์อย่างที่เป็นรูปแบบการมีข้อตกลงร่วมอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
 
"อันนี้เรียกได้ว่าเร็วมากที่สามารถมีข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวได้ แม้ไม่ได้มีข้อสัญญาแต่เป็นการตกลงด้วยใจ เพราะโดยทั่วไปข้อตกลงหยุดยิงจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาด้วย เช่น หยุดยิงบางพื้นที่ หรือบางเวลา มีกลไกการติดตามอย่างเป็นรูปธรรม มี Monitoring Team แต่อันนี้เป็นการหยุดยิงทั้งพื้นที่ 3 จังหวัดและ 5 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งถ้าทำได้จะเป็นการสร้างความมั่นใจขั้นต้นของกระบวนการเจรจา" ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว
 
ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวถึงกระบวนการเจรจาสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่ว่า ข้อตกลงหยุดยิงครั้งนี้เท่าที่ทราบไม่ได้เป็นการยอมรับข้อเรียกร้องและข้อเสนอของฝ่ายขบวนการที่มีมาก่อนหน้านี้ และไม่ได้มีการพูดคุยกันแต่อย่างใด มีเพียงเท่าที่พูดถึงในแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งผลของข้อตกลงหยุดยิงในเดือนรอมฎอนครั้งนี้จะเป็นข้อพิสูจน์ความจริงใจและพิสูจน์ตัวตนของขบวนการอย่างสำคัญ
 
"เมื่อพิสูจน์กันได้ในข้อตกลงหยุดยิงในเดือนรอมฎอนได้ ข้อเรียกร้อง 5 ข้อ 7 ข้อตามที่ได้มีก่อนหน้านี้คงสามารถคุยกันได้อย่างก้าวหน้ามากขึ้น"
 
วงในโต้เหตุบึ้มรามัน ฝ่ายทหารทำผิดเงื่อนไข
 
จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารถูกลอบวางระเบิดรถยีเอ็มซีที่บ้านบาลอ อ.รามัน จ.ยะลาเมือวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของเดือนรอมฎอนนั้น ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวว่าจากแหล่งข่าววงในได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารทำผิดเงื่อนไข โดยมีการเคลื่อนกำลังพลในเดือนรอมฎอน ทำให้ฝ่ายขบวนการปฏิบัติการตอบโต้
 
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำผิดข้อตกลงโดยเคลื่อนกำลังพลออก แม้จะกล่าวว่าเป็นการคุ้มครองครู แต่ก็เลยเวลารับส่งครู เป็นการเครื่องกำลังพลออกนอกเส้นทางและมีกำลังพลเป็นจำนวนมากเกินกว่าภารกิจคุ้มครองครูด้วย ซึ่งแหล่งข่าวกล่าวว่า ข้อตกลงนั้นการคุ้มครองครูจะเป็นการรับและส่งตามเวลาที่กำหนดเท่านั้น ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นการปฏิบัติที่ผิดข้อตกลงของเจ้าหน้าที่ทหาร
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุนทรพจน์เต็ม 'มาลาล่า' ที่ยูเอ็น ย้ำการศึกษาต้องมาก่อน

Posted: 13 Jul 2013 01:11 AM PDT

'มาลาล่า ยูซุฟไซ' เด็กหญิงปากีสถานกล่าวสุนทรพจน์เนื่องในวันมาลาล่าที่สมัชชาใหญ่ยูเอ็น ร้องผู้นำประเทศเคารพสิทธิสตรีและเด็ก ย้ำจะยืนหยัดต่อสู้เพื่อสิทธิการศึกษาของเด็กทั่วโลกต่อไป

เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา มาลาล่า ยูซุฟไซ เด็กหญิงชาวปากีสถานที่ถูกยิงโดยกลุ่มตาลิบันจนได้รับบาดเจ็บสาหัส และภายหลังได้รับการรักษาพยาบาลในประเทศอังกฤษจนดีขึ้น ได้กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสหประชาชาติ ณ กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ในฐานะส่วนหนึ่งของการรณรงค์เรื่องการศึกษาบังคับที่ฟรีสำหรับเด็กทุกคน 
 
ทั้งนี้ วันที่ 12 ก.ค. เป็นวันครบรอบวันเกิดครบ 16 ปีของเธอ และเป็นวันที่สหประชาชาติประกาศให้เป็น "วันมาลาล่า" เพื่อเป็นตัวแทนเป้าหมายเพื่อการศึกษาของเด็กๆ ทั่วโลก 
 

สุนทรพจน์ฉบับเต็มของมาลาล่ามีดังนี้ 
 
เรียน ท่านเลขาธิการสหประชาชาติ บัน คี มุน ประธานที่เคารพแห่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ วุค เจเรมิค ทูตพิเศษแห่งสหประชาชาติเพื่อการศึกษาทั่วโลก กอร์ดอน บราวน์ ทุกท่านที่เคารพ และพี่น้องทุกคนของข้าพเจ้า: ขอสันติภาพจงมีแด่ทุกท่าน
 
วันนี้เป็นเกียรติของข้าพเจ้าอย่างยิ่งที่ได้พูดอีกครั้งหลังจากเวลาผ่านไปนาน การได้มาอยู่ที่นี่ต่อหน้าท่านผู้มีเกียรติทุกคนนับเป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมในชีวิต และข้าพเจ้ายังรู้สึกได้รับเกียรติอีกด้วยที่วันนี้ได้สวมใส่ผ้าคลุมไหล่ของบานาเซียร์ บุตโต (อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน) ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าควรจะเริ่มพูดตรงไหนดี ไม่รู้ว่าคนจะคาดหวังให้ข้าพเจ้าพูดอะไรบ้าง แต่อย่างแรก ขอขอบคุณพระเจ้าที่ได้สร้างเราขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และขอขอบคุณทุกคนที่ช่วยภาวนาให้ข้าพเจ้าฟื้นตัวขึ้นได้อย่างรวดเร็วและสำหรับชีวิตใหม่ ข้าพเจ้าไม่อยากเชื่อเลยว่าทุกคนได้แสดงความรักที่มีต่อข้าพเจ้ามากเพียงใด ข้าพเจ้าได้รับการ์ดอวยพรเป็นพันๆ ใบ และของขวัญจากทั่วโลก ขอขอบคุณสำหรับทุกอย่าง ขอบคุณเด็กๆ ทุกคนที่คำพูดของพวกเขาได้ให้กำลังใจข้าพเจ้า ขอขอบคุณผู้ใหญ่ที่ช่วยภาวนาให้ข้าพเจ้าเข้มแข็งขึ้น ขอขอบคุณพยาบาล คุณหมอ และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคนในปากีสถาน อังกฤษ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ช่วยให้ข้าพเจ้าดีขึ้นและฟื้นฟูกำลังวังชาของข้าพเจ้า 
 
ข้าพเจ้าสนับสนุนเลขาธิการสหประชาชาติ บัน คี มุน อย่างเต็มที่สำหรับโครงการการริเริ่มการศึกษาทั่วโลก และงานด้านการศึกษาทั่วโลกของทูตพิเศษยูเอ็นกอร์ดอน บราวน์ และประธานสมัชชาใหญ่ยูเอ็น วุค เจเรมิค ข้าพเจ้าขอขอบคุณความเป็นผู้นำของท่านที่ยังคงมีเรื่อยมา มันเป็นแรงบันดาลใจสำหรับพวกเราทุกคนในการทำงาน และสำหรับพี่น้องทุกคน จำไว้หนึ่งอย่างว่า วันมาลาล่า ไม่ใช่วันของข้าพเจ้า แต่เป็นวันของผู้หญิงทุกคน เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงทุกคนที่ส่งเสียงสู้เพื่อสิทธิของพวกเขาเอง 
 
มีนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและคนทำงานด้านสังคมหลายร้อยคน ที่มิได้ลุกขึ้นสู้เพื่อสิทธิของตัวเองเท่านั้น แต่ต่อสู้เพื่อบรรลุเป้าหมายของการสร้างสันติภาพ การศึกษา และความเท่าเทียม มีคนหลายพันคนถูกผู้ก่อการร้ายฆ่า และบาดเจ็บอีกหลายล้านคน ข้าพเจ้าเป็นเพียงหนึ่งคนในนั้น ข้าพเจ้ายืนอยู่ตรงนี้ เป็นเพียงเด็กหญิงผู้หนึ่งจากหลายๆ คน ข้าพเจ้ามิได้พูดเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่เพื่อให้ได้ยินคนที่ไม่มีเสียงด้วย คนเหล่านั้นที่ได้ต่อสู้เพื่อสิทธิของเขา สิทธิในการอยู่ในสันติภาพ สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี สิทธิเรื่องความเท่าเทียมด้านโอกาส สิทธิในการได้รับการศึกษา 
 
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2012 กลุ่มตาลิบันได้ยิงข้าพเจ้าที่ศรีษะข้างซ้าย พวกเขายังยิงเพื่อนของข้าพเจ้าด้วย พวกเขาคิดว่ากระสุนจะทำให้เราเงียบเสียงได้ แต่พวกเขาล้มเหลว และจากความเงียบงันนั้นยิ่งมีเสียงนับพันก่อเกิดขึ้น พวกก่อการร้ายคิดว่าจะทำให้ข้าพเจ้าเปลี่ยนเป้าหมายและหยุดความตั้งใจได้  แต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนไปในชีวิตของข้าพเจ้าเลย ยกเว้นว่า ความอ่อนแอ ความกลัว และความสิ้นหวังได้ตายลงไป แต่ความเข้มแข็ง พลัง และความกล้าหาญได้เกิดขึ้นมาใหม่ ข้าพเจ้ายังเป็นมาลาล่าคนเดิม ความตั้งใจของข้าพเจ้ายังคงเหมือนเดิม ความหวังของข้าพเจ้ายังเหมือนเดิม และความฝันของข้าพเจ้าก็ยังคงเหมือนเดิม 
 
พี่น้อง ข้าพเจ้ามิได้ต่อต้านใคร และข้าพเจ้าก็มิได้มาพูดตรงนี้จากความอยากแก้แค้นส่วนตัวต่อกลุ่มตาลีบันหรือกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ข้าพเจ้ามาพูดที่นี่เพื่อสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน ข้าพเจ้าต้องการให้ลูกหลานของตาลีบัน และกลุ่มก่อการร้าย กลุ่มสุดขั้วอื่นๆ ได้รับการศึกษาเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าไม่รู้สึกเกลียดตาลีบันผู้ที่ยิงข้าพเจ้าเลยด้วยซ้ำ 
 
ถึงแม้ว่าหากมือข้าพเจ้ามีปืนอยู่ในมือ และเขายืนอยู่หน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะไม่ยิงเขา นี่เป็นความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากศาสดามูฮัมหมัด ผู้สั่งสอนเรื่องความเมตตา พระเยซู และพระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน นี่เป็นหนึ่งตำนานการเปลี่ยนแปลงที่ข้าพเจ้าได้รับมาจากมาร์ติน ลูเธอร์ คิง เนลสัน แมนเดลา และโมฮัมเหม็ด อาลี จินนาห์ 
 
นี่เป็นปรัชญาของสันติวิธีที่ฉันเรียนรู้มาจากคานธี บาชา คาห์น และแม่ชีเทเรซ่า นี่เป็นการให้อภัยที่ฉันได้เรียนรู้มาจากบิดาและมารดาของข้าพเจ้า นี่คือสิ่งที่จิตวิญญาณของข้าพเจ้าบอกตัวเอง ให้มีความสันติและความรักต่อทุกคน 
 
พี่น้อง เราเห็นความสำคัญของแสงสว่างเมื่อเรามองเห็นความมืดมน เราเห็นความสำคัญของเสียงเมื่อเราถูกทำให้เงียบงัน เช่นเดียวกัน เมื่อเราอยู่ในเขตสวาต ตอนเหนือของปากีสถาน เราเห็นความสำคัญของปากกาและหนังสือเมื่อเราเห็นปืน มีคำพูดที่กล่าวว่า "ด้ามปากกาทรงพลังกว่าดาบ" มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ กลุ่มสุดขั้วกลัวหนังสือและปากกา พลังของการศึกษาทำให้เขาหวาดกลัว พวกเขาหวาดกลัวผู้หญิง พลังของเสียงผู้หญิงทำให้พวกเขาหวาดกลัว นั่นคือเหตุผลว่าเหตุใดพวกเขาถึงฆ่านักเรียนบริสุทธิ์ 14 คนในการโจมตีเมื่อเร็วๆ นี้เควตตา ว่าทำไมเขาถึงสังหารครูผู้หญิง ว่าทำไมพวกเขาถึงปาระเบิดใส่โรงเรียนทุกๆ วัน เพราะพวกเขากลัวความเปลี่ยนแปลงและความเท่าเทียมที่เราจะนำมาสู่สังคมของเรา และเรายังจำได้ว่าครั้งหนึ่งมีนักข่าวถามเด็กชายคนหนึ่งในโรงเรียนว่า "ทำไมพวกตาลิบันถึงต่อต้านการศึกษา" เขาตอบอย่างเรียบง่ายด้วยการชี้ไปที่หนังสือ และตอบว่า "พวกตาลีบันไม่รู้ว่าในหนังสือมีอะไรเขียนอยู่"
 
พวกเขาคิดว่า พระเจ้าเป็นคนเล็กๆ อนุรักษ์นิยมแคบๆ ที่จะเอาปืนยิงใส่คนที่ไปโรงเรียน พวกก่อการร้ายเหล่านี้ใช้ชื่ออิสลามในทางผิดๆ เพื่อรับใช้ประโยชน์ของตัวเอง ปากีสถานเป็นประเทศที่รักสันติภาพและเป็นประชาธิปไตย พวกชนเผ่าพัชตุนก็อยากให้ลูกสาวลูกชายของเขาได้รับการศึกษา อิสลามเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ มนุษยชาติและภราดรภาพ อิสลามบอกว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษา สันติภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษา ในหลายๆ แห่งของโลกนี้ โดยเฉพาะในปากีสถานและอัฟกานิสถาน การก่อการร้าย สงคราม และความขัดแย้ง ต่างเป็นอุปสรรคไม่ให้เด็กๆ สามารถไปโรงเรียนได้ เราเหนื่อยกับสงครามเหล่านี้มาก มีผู้หญิงและเด็กทนทุกข์กำลังทรมานจากหลายๆ อย่างในหลายส่วนของโลก 
 
ในอินเดีย เด็กๆ ผู้บริสุทธิ์และยากจนตกเป็นเหยื่อของการใช้แรงงานเด็ก โรงเรียนหลายแห่งในไนจีเรียถูกทำลาย ผู้คนในอัฟกานิสถานได้รับผลกระทบจากกลุ่มสุดขั้ว เด็กผู้หญิงต้องทำงานใช้แรงงานในบ้าน และถูกบังคับให้แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ทั้งความยากจน ความไม่รู้ ความอยุติธรรม การเหยียดเชื้อชาติ และการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานต่างเป็นปัญหาหลักๆ ที่ทั้งชายและหญิงต้องเผชิญ
 
วันนี้ ข้าพเจ้าเน้นเรื่องสิทธิผู้หญิงและการศึกษาของเด็ก เพราะพวกเขาทนทุกข์ที่สุด แต่ก่อนนักเคลื่อนไหวผู้หญิงจะขอให้ผู้ชายช่วยลุกขึ้นยืนและช่วยต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเขา แต่ตอนนี้เราจะทำด้วยตัวเอง ข้าพเจ้าไม่ได้บอกให้ผู้ชายถอยจากการพูดเรื่องสิทธิผู้หญิง แต่ข้าพเจ้ามุ่งเน้นให้ผู้หญิงเป็นอิสระและต่อสู้เพื่อตนเอง ฉะนั้น พี่สาวและพี่ชาย ตอนนี้เป็นเวลาที่เราต้องลุกขึ้นยืน เราเรียกร้องให้ผู้นำโลกเปลี่ยนยุทธศาสตร์นโยบายที่จะนำไปสู่สันติภาพและความรุ่งเรือง เราเรียกร้องให้การเจรจาตกลงต่างๆ ต้องเป็นไปเพื่อพิทักษ์สิทธิของสตรีและเด็ก และข้อตกลงที่ขัดต่อสิทธิสตรีเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้
 
เราเรียกร้องต่อรัฐบาลทุกแห่งให้รับรองว่าจะจัดการศึกษาภาคบังคับที่ฟรีทั่วโลกสำหรับเด็กทุกคน เราเรียกร้องให้รัฐบาลทุกแห่งต่อสู้กับการก่อการร้ายและการใช้ความรุนแรง ให้พิทักษ์เด็กๆ จากความทารุณและภัยอันตราย เราเรียกร้องประเทศที่พัฒนาแล้วให้สนับสนุนการขยายโอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิงในประเทศที่กำลังพัฒนา เราเรียกร้องให้ชุมชนทุกแห่งมีความอดทนอดกลั้น ปฏิเสธอคติที่เกิดจากชนชั้น เผ่า กลุ่ม สีผิว ศาสนา หรือวาระเพื่อสร้างเสรีภาพและความเท่าเทียมให้ผู้หญิงเพื่อพวกเขาจะได้เจริญรุ่งเรือง พวกเราไม่สามารถสำเร็จได้หากครึ่งหนึ่งของเรายังคงถูกรั้งท้าย เราเรียกร้องไปยังพี่สาวน้องสาวทั่วโลกให้กล้าหาญ น้อมรับความแข็งแกร่งภายในตนและใช้ศักยภาพของตนเองที่มีอย่างเต็มที่ 
 
พี่ชายและพี่สาวทุกคน เราต้องการให้มีโรงเรียนและการศึกษาสำหรับอนาคตที่สดใสของเด็กทุกคน เราจะยังคงเดินทางต่อไปเพื่อให้ถึงเป้าหมายแห่งสันติภาพและการศึกษา ไม่มีใครจะหยุดยั้งเราได้ เราจะส่งเสียงเพื่อสิทธิของเราและเราจะนำการเปลี่ยนแปลงที่มาจากเสียงของเราเอง เราเชื่อในพลังและอำนาจของคำพูด คำพูดของเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบได้เพราะเรารวมพลังเพื่อการต่อสู้เรื่องการศึกษา และหากเราต้องการบรรลุเป้าหมาย ก็ต้องให้เราติดอาวุธทางปัญญา และใช้ความเป็นเอกภาพและเป็นอันหนึ่งอันเดียวเป็นเกราะป้องกัน 
 
พี่ชายและพี่สาวทุกคน เราต้องไม่ลืมว่าคนอีกหลายล้านคนกำลังทนทุกข์จากความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันและความไม่รู้ เราต้องไม่ลืมว่ามีเด็กหลายล้านคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เราต้องไม่ลืมว่ามีพี่สาวพี่ชายอีกมากที่กำลังรออนาคตที่สดใสและสันติ
 
ฉะนั้นขอให้เราร่วมกันต่อสู้กับการไม่รู้หนังสือ ความยากจน และการก่อการร้าย ให้เราหยิบหนังสือ ปากกาของเราขึ้นมา มันเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุด เด็กหนึ่งคน ครูหนึ่งคน หนังสือหนึ่งคน และปากกาหนึ่งด้านสามารถเปลี่ยนโลกได้ การศึกษาเป็นวิธีแก้ปัญหาทางเดียว การศึกษาต้องมาก่อน ขอบคุณค่ะ 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: รถตู้บรรทุกเกิน ปัญหาซ้ำซาก ที่ผู้โดยสารช้ำใจ

Posted: 13 Jul 2013 12:44 AM PDT

ปัญหาของรถตู้โดยสารมีให้พูดถึงอยู่เสมอ และก็มักเป็นปัญหาซ้ำๆ ที่ทำให้ผู้โดยสารอย่างเราช้ำใจอยู่เสมอ ล่าสุดก็เป็นข่าวคราวครึกโครมกันขึ้นมาอีกรอบ นั่นคือ "รถตู้โดยสารบรรทุกเกิน" แถมยังมีความพยายามทำลายสถิติ กันอย่างต่อเนื่องอีกด้วย 

 
ปี 2554 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ทำการสำรวจ พบว่า รถตู้โดยสารสายกรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี บรรทุกผู้โดยสารสูงสุดจำนวน 20 คน ปี 2555 มีการเพิ่มจำนวนเป็น 23 คน แต่ในปี 2556 พบว่า รถตู้สายกรุงเทพฯ-นครปฐม มีการบรรทุกผู้โดยสารถึง 28 คน ทั้งที่ข้างรถเขียนไว้ว่า "จำนวนผู้โดยสารไม่เกิน 14 หรือ 15 ที่นั่ง" ที่สำคัญปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เกิดในเส้นทางเดิมๆ ซ้ำๆ แต่ขยายตัวไปยังเส้นทางการเดินรถแทบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะช่วงหลังทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้โดยสารทั่วสารทิศ เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-โรงเกลือ,อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ระยอง,อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สมุทรสงคราม,สำโรง-คลองด่าน,ปากน้ำ-สุวรรณภูมิ,หาดใหญ่-พัทลุง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถร่วมบริการของ บริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.)และ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ(ขสมก.) ตามลำดับ  นับเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในเมืองไทย ทั้งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) , บขส. และ ขสมก. ก็มีมาตรการที่เข้มงวดสำหรับแก้ไขปัญหาเรื่องนี้เสมอมา
 
สำหรับมาตรการลงโทษ ประกอบด้วย รถหมวด 1 และหมวด 2 คือ รถที่วิ่งในเขตเทศบาล สุขาภิบาล และรถวิ่งจากกรุงเทพ ไปจังหวัดต่าง ๆ ผิดครั้งที่ 1 ขบ.ปรับ 5,000 บาท และแจ้งผู้ประกอบการ (บขส. หรือ ขสมก.) ปรับเพิ่มอีก 5,000 บาท (รวมเป็น 10,000 บาท) ผิดครั้งที่ 2 ขบ.ปรับ 5,000 บาท และแจ้งผู้ประกอบการ (บขส. หรือ ขสมก.) ปรับเพิ่มอีก 5,000 บาท พร้อมทั้งให้พักใช้รถ 15 วัน ผิดครั้งที่ 3 ขบ.ปรับ 5,000 บาท และแจ้งผู้ประกอบการ (บขส. หรือ ขสมก.) ปรับเพิ่มอีก 5,000 บาท พร้อมทั้งถอนรถออกจากการประกอบการ (บัญชี ขส.บ.11) ส่วนรถหมวด 3 และ หมวด 4 คือ รถที่วิ่งระหว่างจังหวัดกับจังหวัด และรถที่วิ่งภายในจังหวัด ผิดครั้งที่ 1 ขบ.ปรับ 5,000 บาท ผิดครั้งที่ 2 ขบ. ปรับ 5,000 บาท และแจ้งให้ผู้ประกอบการดำเนินการถอนรถออกจากการประกอบการขนส่ง (บัญชี ขส.บ.11) ผิดครั้งที่ 3 ขบ.ปรับ 5,000 บาท และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมิให้ต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้กับผู้ประกอบการรายดังกล่าว
 
ปัญหาเรื่อง การบรรทุกเกิน ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้โดยสารแบบซ้ำซ้อน เพราะไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการจะละเมิดสิทธิผู้โดยสาร โดยการเรียกเก็บเงินเท่ากันคนหนึ่งได้นั่ง แต่อีกคนยืน (เสียเงินเกินกว่าการได้รับบริการ)  ผู้โดยสารที่ขึ้นรถทั้งที่รู้ว่าที่นั่งเต็ม ก็ยังละเมิดสิทธิด้านความปลอดภัยของเพื่อนผู้โดยสารคนอื่นด้วย เพราะ รถตู้โดยสาร คือ รถปรับอากาศมาตรฐาน 2 (ชั้น 2) ขนาดกลาง มีระวางที่นั่งระหว่าง 10-11 ที่นั่ง (การกำหนดของ กรมการขนส่งทางบก  ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2551) แต่ที่เราพบเห็นและใช้บริการ รถตู้ 14 ที่นั่ง และ 15 ที่นั่ง เป็นการควบคุมจำนวนที่นั่งให้เป็นไปตามสภาพของรถตู้โดยสารที่จดทะเบียน พิจารณาจากรุ่นการผลิตของรถตู้โดยสาร  โดยน้ำหนักรวมหลังจากจากติดตั้งเบาะโดยสารและถังเชื้อเพลิงในตัวรถแล้ว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยเมื่อบรรทุกผู้โดยสารคือ ต้องไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม  หากรถตู้คันใดแบกน้ำหนักเกินจะมีผลคือ สมดุลน้ำหนักตัวรถเปลี่ยนแปลงอาจมีผลโดยตรงต่อการควบคุมรถ การบังคับเลี้ยวจนเกิดเหตุการณ์ หลุดโค้ง ท้ายปัด ล้อล็อคไถล ยางระเบิด เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะของรถในการออกตัว การเร่ง หรือการเบรก ทั้งทางตรงและทางโค้งอย่างแน่นอน การที่เราขึ้นรถทั้งที่รถเต็มก็เป็นการเพิ่มน้ำหนักส่วนเกิน จนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงตามมา เช่น กรณีรถตู้โดยสาร สายสุโขทัย-พิษณุโลก เกิดอุบัติเหตุ ยางระเบิดพลิกตกคูน้ำ ผู้โดยสารตายคาที่ 4 ศพ เจ็บอีก 14 ราย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555  พนักงานขับรถให้การว่า "ขณะขับรถมาถึงที่เกิดเหตุล้อหลังด้านขวาเกิดยางระเบิดทำให้ตัวรถสะบัดหมุนคว้างอย่างรุนแรง ไม่สามารถควบคุมรถได้ จนหล่นลงร่องน้ำข้างทางทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต"  
 
ถึงแม้ว่าปัญหา "รถตู้บรรทุกเกิน" จะยังไม่ถูกแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จ แต่เชื่อว่า หากผู้โดยสาร ร่วมมือกันเป็นอาสาสมัครเฝ้าระวัง เป็นหู เป็นตา ถ่ายคลิป ถ่ายภาพ แล้วร้องเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานเหล่านี้อาจมีข้อจำกัดของบุคลากรนั่นเอง
 
สำหรับช่องทางร้องเรียน แจ้งเหตุมีดังต่อไปนี้ สายด่วนของกรมการขนส่งทางบก ที่ 1584 บริษัท ขนส่ง จำกัด ที่ 1490 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ที่ 1348  ตำรวจทางหลวง 1193 กองบังคับการตำรวจจราจร (บกจร.) 1197 และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)ที่ 02-248 3737 หรือ complaint@consumerthai.org และหน้าเพจของ อีกแล้วรถโดยสารไทย http://www.facebook.com/againbus เพราะมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเชื่อเสมอว่า "ร้องทุกข์หนึ่งครั้ง ดีกว่าพร่ำบ่นพันครั้ง" 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาชนแถลงจี้มาตรการรองรับกรณีซิมดับ

Posted: 13 Jul 2013 12:34 AM PDT

คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน แถลงเรื่อง ทางออกผู้บริโภค กรณีซิมดับ จากการหมดอายุสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz จี้เร่งรัดการดำเนินการโอนย้ายเครือข่ายให้เต็มตามศักยภาพคือ 300,000 เลขหมายต่อวัน

 
13 ก.ค. 56 - ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้จัดให้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น "ทางออกผู้บริโภค กรณีซิมดับ จากการหมดอายุ สัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz" และออกแถลงการณ์ระบุว่า
 
เนื่องจากวันที่ 15 กันยายน 2556 จะเป็นการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งให้บริการโดยบริษัททรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (มหาชน) ซึ่งหมายความว่าหลังจากวันดังกล่าว ใครจะมาแตะต้องคลื่นนี้ไม่ได้ ถือว่าผิดกฎหมายทันที ซึ่งอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ ซิมดับได้ อย่างไรก็ตามเราขอยืนยันว่า ในฐานะคณะทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เราไม่ต้องการให้เกิดเกตุการณ์ซิมดับ ซึ่งเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้บริการ และเห็นว่าคลื่นต้องเข้าสู่ระบบการให้ใบอนุญาตเพื่อให้เกิดการแข่งขัน แต่คณะคณะกรมกาองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน มีข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นสำคัญดังนี้คือ
 
การที่ กสทช. ออก มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... เป็นการยืดอายุการให้บริการซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ให้บริการ และเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการล่าช้า จนถึงการไม่ดำเนินการเพื่อให้เกิดการประมูลคลื่นได้ทันก่อนการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของ กสทช. โดยใช้ผู้บริโภคจำนวนกว่า 17 ล้านเลขหมายเป็นตัวประกัน จากปัญหาซิมดับ
 
เนื่องจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เป็นเหตุการณ์ที่ทราบล่วงหน้า และมีการเสนอความเห็นให้ข้อมูลเตือน กสทช. ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นนี้จากหลายฝ่าย รวมถึงคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ที่ได้มีการเชิญผู้ให้บริการททั้ง 2 ราย เพื่อหารือปัญหาการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2555 เพื่อให้เกิดการเตรียมการในการแก้ไขปัญหา ซึ่งตัวแทนจากทั้งสองบริษัทระบุว่า ยังไม่ได้รับความชัดเจนจาก กสทช. ว่าจะจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานหรือไม่  ต่อมา แม้ว่า กสทช. จะได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า 1800 และคณะอนุกรรมการฯชุดดังกล่าว ได้มีข้อเสนอให้กับ กสทช. ตั้งแต่เดือนมกราคมหรือเป็นเวลา 9 เดือนก่อนเหตุการณ์สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ที่เสนอให้มีการจัดประมูลคลื่นให้เร็วที่สุด รวมถึงการเสนอแผนในการเยียวยาผู้ใช้บริการ เช่น การโอนย้ายผู้ใช้บริการเพื่อป้องกันปัญหาซิมดับ ฯลฯ  และที่สำคัญคือ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. เห็นว่า การพิจารณาขยายระยะเวลาในการใช้งานคลื่นความถี่ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกฎหมายของไทยระบุไว้ชัดเจนว่าการจะนำคลื่นไปใช้นั้นจะต้องด้วยวิธีการประมูลเท่านั้น ดังนั้นจึงควรดำเนินการประมูลคลื่นความถี่อย่างเร่งด่วน แต่เสียงเหล่านั้นก็ไม่ถูกนำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเร่งด่วน ทั้งที่การประมูลคลื่นเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุการณ์สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
 
ดังนั้น การที่ กสทช. ออก มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรทัศน์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... จึงเป็นการสะท้อนการทำงานที่ล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ ของ กสทช. ในการปฏิบัติหน้าที่ที่ควรจะเป็นเพื่อการแก้ไขปัญหากรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
 
อย่างไรก็ตามเมื่อถึงวันนี้ที่การประมูลคลื่นไม่สามารถดำเนินการได้ทันเหตุการณ์สิ้นสุดสัญญาแน่นอนแล้วนั้น คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน จึงมีข้อเสนอต่อสถานการณ์ปัจจุบันนี้คือ
 
1. คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ขอให้มีการเร่งรัดการดำเนินการโอนย้ายเครือข่ายให้เต็มตามศักยภาพคือ 300,000 เลขหมายต่อวัน
2. กสทช. ต้องให้มีการเพิ่มประเด็นในการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญากาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ ให้มากกว่าที่กำหนด
3. กสทช. ต้องเร่งตั้งคณะทำงานประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และกำหนดวันในการจัดการประมูลคลื่นโดยเร่งด่วน
4. บริษัทผู้ให้บริการทั้งสองรายคือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (มหาชน) จะต้องคืนเงินคงเหลือในระบบให้กับผู้ให้บริการ และในกรณีที่บริษัทจะตัดสัญญาณผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พรีเพดบริษัทจะต้องแจ้งผ่านข้อความสั้นให้ทราบล่วงหน้าก่อน 3 วัน พร้อมทั้งระบุจำนวนเงินคงค้างในระบบให้ผู้บริโภครับทราบและเพื่อให้ขอคืนเงินได้ด้วยอย่างชัดเจน
5. ขอให้ซุปเปอร์บอร์ดดำเนินการตรวสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ในกรณีที่ กสทช. ไม่สามารถดำเนินการให้เกิดการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ทั้งที่เป็นภาระหน้าที่ที่ทราบล่วงหน้ามาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเป็น กสทช.
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อธึกกิต แสวงสุข

Posted: 12 Jul 2013 11:59 PM PDT

"..ผมยอมรับว่าเหลืองก็คลั่ง แดงก็คลั่ง แต่ต่างกัน แดงคลั่งเพราะเลือกรัฐบาลมา โดนรัฐประหาร อุตส่าห์เลือกใหม่ ยังโดนศาลยึดอำนาจ พอมาเรียกร้องให้ยุบสภา คืนอำนาจ ก็โดนฆ่าตายเป็นเบือ โดนจับยัดคุกเป็นพันๆ แดงโดนมาทุกอย่าง อยุติธรรม สองมาตรฐาน 112 กระสุนจริง ฯลฯ สมควรคลั่งไหม แล้วเหลืองแม่-คลั่งเพราะอะไร เพราะแ้พ้เลือกตั้งเท่านั้นเอง"
12 ก.ค.56, คอลัมนิสต์ นามปากกา "ใบตองแห้ง" โพสต์สถานะบนเฟซบุ๊ก

ข่าวสั้นเอไอ: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพบเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน

Posted: 12 Jul 2013 09:19 PM PDT

เอไอพบเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ผู้เปิดโปงข้อมูลลับของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ที่สนามบินกรุงมอสโคว แถลงสนับสนุนสิทธิการลี้ภัยในประเทศที่สโนว์เดนเลือก ตำหนิสหรัฐกลั่นแกล้งด้วยการบีบประเทศอื่นให้ปิดกั้นคำขอการลี้ภัย

 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้พบและพูดคุยกับเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ผู้เปิดโปงข้อมูลลับของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ที่สนามบินกรุงมอสโกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (12 ก.ค.) เซอร์ไก นิกิติน หัวหน้าสำนักงานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำกรุงมอสโก ผู้เข้าร่วมการพูดคุยกล่าวว่า
 
"แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยินดีที่ได้พบและพูดคุยถึงการสนับสนุนของเรากับเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน พร้อมเน้นย้ำว่าเราจะกดดันรัฐบาลต่างๆ ต่อไปเพื่อให้ได้รับความมั่นใจว่าสิทธิของเขาจะได้รับการเคารพ รวมถึงสิทธิที่จะแสวงหาที่พักพิงเพื่อขอลี้ภัยในสถานที่ใดก็ตามที่เขาเลือก"
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่าข้อมูลที่สโนว์เดนเปิดโปงนั้นเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างชัดเจน ในฐานะที่เป็นผู้เปิดโปงข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาล การกระทำของเขาถือเป็นเรื่องที่ชอบธรรม เขาได้เปิดโปงกลไกสอดแนมขนาดมหึมาของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกลไกดังกล่าวเป็นการแทรกแซงสิทธิส่วนบุคคลอย่างไม่มีข้อสงสัย
 
"รัฐที่พยายามยับยั้งไม่ให้บุคคลเปิดเผยการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายถือเป็นการไม่เคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศเนื่องจากเสรีภาพในการแสดงออกถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และแทนที่จะแก้ไขหรือแสดงความรับผิดชอบต่อการละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง รัฐบาลสหรัฐฯ กลับจงใจกลั่นแกล้งสโนว์เดน โดยการพยายามกดดันรัฐบาลประเทศอื่นๆ ให้ปิดกั้นคำขอลี้ภัยของเขา ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น