โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เกร็ดข่าว: เผลอ "คลิก&ซื้อ" เด็กน้อยวัย 14 เดือนกดสั่งซื้อรถผ่านทางมือถือพ่อ

Posted: 12 Jul 2013 09:59 AM PDT

สำนักข่าวเอบีซีของสหรัฐอเมริกา พาไปดูครอบครัวหนึ่งในเมืองซีแอตเทิล เมื่อหนูน้อยเซเลร่า สเตาท์วัย 14 เดือนเอามือถือพ่อมาเล่น กดปุ่มไปมา ก็ชนะการประมูลรถออสตินคลาสสิคปี 1962 ในเว็บไซต์อีเบย์ โดยคุณพ่อพอล สเตาท์ มารู้เรื่องก็เมื่อได้รับอีเมล์จากอีเบย์ แจ้งว่าตนได้สั่งซื้อรถคลาสสิคไว้ ทำเอาผู้ปกครองใจร่วงถึงตาตุ่ม

 
หลังจากเอบีซีรายงานเรื่องนี้ ก็มีผู้ชมแบ่งปันเรื่องราวคล้ายๆ กันอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นหนุ่มน้อยวัย 3 ขวบที่สั่งซื้อรถฟอร์ดเรนเจอร์จากเว็บไซต์อีเบย์ มีเด็กวัย 9 ขวบ กดสั่งซื้อหนังไป 120 เรื่อง และหนุ่มน้อย 5 ขวบ ที่กดดาวน์โหลดหนังผ่านไอเเพดอย่างมันมือ สร้างความเสียหายไปราว 2,500 ดอลลาร์
 
โชคดีครอบครัวส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเสียเงินกับสิ่งที่สั่งซื้อไปโดยผิดพลาด แต่สำหรับครอบครัวสเตาท์ คุณพ่อบอกว่าตั้งใจเก็บรถคันนี้ไว้ เพราะที่จ่ายไปสำหรับรถคลาสสิคออสตินก็คิดเป็นราว 225 ดอลลาร์ โดยตั้งใจจะเก็บไว้ให้หนูน้อยเซเลร่าเป็นของขวัญวันเกิดเมื่อเธออายุครบ 16 ปี  
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โฆษกศาลฯ ขอความเป็นธรรมผู้พิพากษาป่วน 'บช.น.' แจงเครียดส่วนตัวอย่าโยงสีเสื้อ

Posted: 12 Jul 2013 09:33 AM PDT

นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ผู้เขียนบทความ "อากงปลงไม่ตก" แจงผู้พิพากษาป่วน "บช.น." เครียดส่วนตัว อย่าโยงลากขัดแย้งเรื่องสีเสื้อ วอนขอความเป็นธรรม

12 ก.ค.56 นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกาและโฆษกศาลยุติธรรม เผยถึงกรณีที่ น.ส.ชิดชนก แผ่นสุวรรณ ผู้พิพากษาประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ช่วยทำงานชั่วคราวผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ บุกกองบัญชาการตำรวจนครบาลก่อเหตุปาข้าวไข่เจียวและน้ำปลาพริกใส่รถประจำตำแหน่งของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น พร้อมด่าทอการทำงานของตำรวจว่าการกระทำของ น.ส.ชิดชนก ในครั้งนี้ น่าจะมาจากความเครียดส่วนตัว จนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยจอดรถกีดขวางทางจราจร และขับรถสวนทาง สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน จนทำให้คณะกรรมการข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อตรวจสอบการกระทำผิดและพิจารณาลงโทษทางวินัย ต่อมาพบว่า น.ส.ชิดชนก มีความเครียดสูงจนไม่สามารถอยู่ในภาวะที่ควบคุมตนเองได้

นายสิทธิศักดิ์ กล่าวต่อด้วยว่า การจะพิจารณาโทษว่าผิดวินัยหรือไม่ ผู้กระทำผิดจะต้องมี สติสัมปชัญญะครบถ้วน จึงได้พิจารณาให้ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของศาลยุติธรรมที่ไม่ต้องปฏิบัติ หน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีและติดต่อกับประชาชน รวมทั้งเข้ารับการรักษาอาการดังกล่าว

โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นครั้งนี้เชื่อว่า น.ส.ชิดชนก อาจจะไม่สามารถควบคุมตนเอง จึงได้แสดงออกไปโดยไม่เหมาะสม จึงอยากจะขอความเป็นธรรมให้ น.ส.ชิดชนก ด้วย โดยไม่อยากให้สังคมเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องสีของฝ่ายต่าง ๆ แต่กรณีของ น.ส. ชิดชนก ยังน่าจะเป็นเพียงการทำอะไรลงไปโดยเข้าใจว่าหลงผิด เนื่องจากมีอาการเครียดจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมจะต้องแจ้งหารือเจ้าหน้าที่เพื่ออธิบาย โดยหวังว่า พล.ต.ท.คำรณวิทย์ จะเข้าใจ

ทั้งนี้ นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ ในฐานะโฆษกศาลฯ เคยเขียนบทความหลังคำพิพากษา "อากง SMS" หรือ นายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) จำเลยอายุ 61 ปี ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นแสดง ความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์พระราชินีฯ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  มาตรา 14(2)(3) เมื่อวันที่ 23 พ.ย.54 ในบทความชื่อว่า "อากงปลงไม่ตก" เพื่ออธิบายถึงความชอบธรรมในการตัดสินจำคุกนายอำพล ถึง 20 ปี พร้อมไม่ให้สิทธิในการลดโทษ ปล่อยตัวไป หรือได้รับการประกันตัว ว่า

"สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง

ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่กระทำความผิดคิดวางแผนไตร่ตรองในการกระทำความผิด อย่างแยบยลแนบเนียนด้วยแล้ว ก็ยิ่งสมควรใช้วิธีการที่เหมาะสม ในการคุ้มครองรักษาความสงบสุขของประเทศชาติและประชาชนด้วย จึงไม่แน่แท้เสมอไปว่าชราชน ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับการลดโทษ ลงโทษน้อย หรือปล่อยตัวไปเสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อหาความผิด ความเสียหายและพฤติการณ์การกระทำแต่ละคดีที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สม รังสี' ได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว หลัง 'ฮุน เซ็น' ร้องขอ

Posted: 12 Jul 2013 06:59 AM PDT

กษัตริย์นโรดม สีหมุนีแห่งกัมพูชาได้พระราชทานอภัยโทษให้กับ 'สม รังสี' ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติแล้ว โดยฮุน เซ็น เป็นผู้ขออภัยโทษบนพื้นฐานของ "จิตวิญญาณแห่งเอกภาพและความปรองดองแห่งชาติ"

นายสม รังสี นักการเมืองฝ่ายค้านชาวกัมพูชา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างลี้ภัยการเมืองได้พบปะผู้สนับสนุนของเขาที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ 2 มิ.ย. ล่าสุดได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้ว หลังฮุน เซ็น ร้องขอต่อสมเด็จนโรดม สีหมุนี (ที่มา: เฟซบุค Sam Rainsy)

ป้ายพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ที่หน้าสำนักงานสาขาพรรคย่านบึงกัก กรุงพนมเปญ ภาพนี้ถ่ายในเดือนพฤศจิกายนปี 2555 ทั้งนี้ พรรคประชาชนกัมพูชาเป็นพรรครัฐบาลที่ครองอำนาจในกัมพูชามาอย่างยาวนานตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ขณะที่นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาประกาศว่าจะครองอำนาจไปอีก 30 ปี (ที่มา: ประชาไท)

สำนักข่าวกัมพูชา (AKP) รายงานวันนี้ (12 ก.ค.) ว่า กษัตริย์นโรดม สีหมุนีของกัมพูชาได้พระราชทานอภัยโทษให้กับ สม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ซึ่งลี้ภัยการเมืองอยู่ต่างประเทศในขณะนี้ ทั้งนี้ผู้ขอพระราชทานอภัยโทษคือฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา

สำนักข่าวกัมพูชารายงานด้วยว่า ฮุน เซ็น ได้ร้องขอพระราชทานอภัยโทษบนพื้นฐานของจิตวิญญาณแห่งเอกภาพและการปรองดองแห่งชาติ และเพื่อทำให้การเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยแบบพรรคการเมืองหลายพรรค และเป็นไปตามจดหมายของนายสม รังสี ลงวันที่ 13 มิ.ย. 56 ที่ต้องการขอพระราชทานอภัยโทษ

ทั้งนี้การขอพระราชทานอภัยโทษ จะทำให้ สม รังสี ซึ่งลี้ภัยอยู่ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส สามารถกลับเข้าประเทศได้ก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 28 ก.ค. นี้

สม รังสี ปัจจุบันอายุ 62 ปี ได้ลี้ภัยออกจากกัมพูชาในปลายปี 2552 หลังถูกศาลตัดสินข้อหายั่วยุ ให้ข้อมูลผิดพลาด และทำลายทรัพย์สินสาธารณะ หลังจากที่เขาได้ไปรื้อหมุดเขตแดนที่ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยศาลพิพากษาจำคุก 12 ปี และถูกห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปกัมพูชา

ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชา มีกำหนดจัดในวันที่ 28 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ โดยปัจจุบัน พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) นำโดยนายฮุน เซ็น ครองเสียงข้างมากอยู่ในสภาโดยมี ส.ส. 90 คน ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ที่มีนายสม รังสี เป็นผู้นำ ขณะนี้มีเสียงในสภา 26 ที่นั่ง

สำหรับพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เดิมชื่อพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (KPRP) ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2524 โดยนายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ปกครองกัมพูชามาอย่างยาวนานกว่า 27 ปี และประกาศว่าจะอยู่ในอำนาจอีก 30 ปี ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) เกิดจากการรวมกันของพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา 2 พรรคคือพรรคสม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนตั้งแต่กลางปี 2555 และจะร่วมกันแข่งขันในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคมนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรณี "ทัศนศึกษาล่องหน" ม.บูรพาสั่งไล่ออกอาจารย์ที่เกี่ยวข้องแล้ว

Posted: 12 Jul 2013 04:20 AM PDT

หลังนิสิต ม.บูรพา ร้องเรียน "ทัศนศึกษาล่องหน" มีการปลอมลายมือชื่อเบิกงบ - แต่ไม่ได้จัดจริง - นิสิตไม่ได้ไป ล่าสุดทางสถาบันไล่อาจารย์ที่เกี่ยวข้องแล้ว หลังสอบยาวนาน 7 เดือน ด้านนิสิต "บูรพาไม่เอาคนโกง" จะติดตามเรื่องนี้ต่อจนกว่าจะเห็นผล

ข่าวก่อนหน้านี้

นิสิตบูรพาร้องเรียน "ทัศนศึกษาล่องหน" เบิกจริง-แต่คนไม่ได้ไป

นิสิต ม.บูรพา แจมมิ่งวิ่งวันสถาปนามหาลัย แต่งคอสเพลย์-ชูป้าย รณรงค์ต้านคนโกง

หนังสือบันทึกข้อความของงานบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เรื่องขออนุมัติเบิกค่าใช้จ่ายโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ รวมเป็นเงิน 199,200 บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน)

(บน และ ล่าง) เอกสารที่ถูกระบุว่า เป็นการแสดงรายการเบิกค่าใช้จ่ายค่าอาหารของนิสิต พร้อมมีการลงลายมือชื่อด้วย 85 คน โดยระบุว่าเป็นการ "ศึกษาดูงานนอกสถานที่" ระหว่างวันที่ 25-28 ต.ค. 55 โดยเบิกค่าอาหารหรือเบี้ยเลี้ยงรวม 61,200 บาท

อย่างไรก็ตาม มีจดหมายชี้แจงของประธานหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตรุ่น 2 ลงวันที่ 20 ธ.ค. 255 ระบุว่าไม่มีการเดินทางไปศึกษาดูงานที่จังหวัดเชียงใหม่ และลายมือที่ปรากฏอยู่ในหลักฐานการเบิกค่าใช้จ่ายก็ไม่ใช่ลายมือของเขา

เอกสารที่ถูกระบุว่าเป็นหนังสือที่สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่าให้คณะเข้าศึกษาดูงานและรับฟังการบรรยายพิเศษในวันที่ 26 ตุลาคม 2555 ที่สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่

อย่างไรก็ตาม มีหนังสือชี้แจงจากสำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ระบุว่าไม่เคยได้รับหนังสือเข้าศึกษาดูงาน และไม่เคยพานิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเข้าศึกษาดูงาน ณ สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ และไม่เคยออกหนังสือเพื่ออนุเคราะห์ให้เข้าศึกษาดูงาน และชี้แจงด้วยว่า ลายมือชื่อที่ลงนามในหนังสือไม่ใช่ลายมือชื่อของอัยการจังหวัด และหนังสือดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม

กลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ในนามกลุ่มบูรพาไม่เอาคนโกง รวมตัวกันบริเวณเชิงเขาสามมุก ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี เพื่อทำการรณรงค์เผยแพร่เกี่ยวกับกรณีทุจริต "ทัศนศึกษาล่องหน" ของอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ เมื่อ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมีงานประเพณีประจำปีวิ่งเขาสามมุก ของนิสิตชั้นปีที่ 1  และตรงกับวันสถาปนามหาวิทยาลัยบูรพา (ที่มาของภาพ: Young Activicts Chanel/แฟ้มภาพ)

งานประชาสัมพันธ์ของ ม.บูรพา ได้เผยแพร่ข่าววันนี้ (12 ก.ค.) แจ้งว่า มีการนำเสนอผลการสอบสวนวินัยอาจารย์ท่านดังกล่าวแล้ว และมีมติให้ไล่ออกจากงาน และขั้นตอนต่อไป มหาวิทยาลัยจะดำเนินคดีอาญา และแพ่ง รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิดต่อไป

 

(12 ก.ค. 56) ตามที่ก่อนหน้านี้ นิสิตมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบูรพาได้ร้องเรียนผู้สื่อข่าวว่า หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีโครงการศึกษาดูงานให้กับนิสิตรหัส 54 ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งระบุในหลักสูตรว่ามีงบประมาณในการศึกษาดูงาน 10,000 บาทต่อคน ต่อตลอดการศึกษา และเมื่อนิสิตได้ทำเรื่องขอเบิกค่าศึกษาดูงานไปยังคณะ ทางคณะตอบกลับมาว่านิสิตได้เบิกค่าศึกษาดูงานไปจนหมดแล้วโดยพบว่า มีการจัดศึกษาดูงานไปแล้วที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการปลอมลายมือชื่อนิสิตเพื่อเบิกจ่ายเงิน และมีอาจารย์ในคณะรายหนึ่งเกี่ยวข้อง โดยทางนิสิตได้เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยมีการตรวจสอบและให้ดำเนินคดีทางกฎหมายให้ถึงที่สุดนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง (1) และ (2))

ล่าสุดวันนี้ (12 ก.ค.) เพจกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ชี้แจงว่า "ที่ผ่านมาผู้บริหารมหาวิทยาลัยบูรพามิได้นิ่งเฉยหรือละเว้น กรณีทุจริต ประพฤติมิชอบ หรือกระทำผิดกฎหมายใดๆ ในมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ดำเนินการกับบุคคลที่กระทำความผิดหรือประพฤติมิชอบหรือกระทำความผิดอาญาในทุกกรณี บนพื้นฐานของความถูกต้อง ชอบธรรม และโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเสียหายโดยรวม"

"กรณีที่มีข่าวเผยแพร่ว่าอาจารย์คนหนึ่งทุจริตนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้รับรายงานจากคณะ ต้นสังกัด เมื่อปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้พิจารณาว่ามีมูลเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง การที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมิได้ออกมาชี้แจงในเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น เนื่องจากจะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน และเงื่อนไขของข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่กำหนดโดยสภามหาวิทยาลัย และเกรงว่าจะมีผลถึงการสอบสวนทำให้เสียรูปคดี และเกิดความไม่เป็นธรรมได้ อีกทั้งอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิ หรือหมิ่นประมาทบุคคลได้ บัดนี้ การสอบสวนได้เสร็จสิ้นแล้ว มหาวิทยาลัยได้รับรายงานผลการสอบสวนจากคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง พร้อมได้นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารงานบุคคลเพื่อพิจารณาแล้ว และได้มีมติให้ไล่ออกจากงาน สำหรับในขั้นตอนต่อไป มหาวิทยาลัยจะดำเนินคดีอาญา และแพ่ง รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิดต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ"

ด้านเพจ "บูรพาไม่เอาคนโกง" ได้ออกแถลงการณ์ตามมาว่า "ทางนิสิตทุกคนขอแสดงความขอบคุณที่มหาวิทยาลัยไม่นิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของนิสิต โดยตอบรับในขั้นต้นโดยการลงโทษไล่ออกอาจารย์ที่มีการทุจริตงบ และยืนยันผ่านหนังสือชี้แจงว่าจะดำเนินการทางคดีแพ่งและอาญากับอาจารย์ท่านดังกล่าวให้ถึงที่สุด"

"แต่ทางเราจะขอติดตามผลเรื่องนี้จนกว่าจะเห็นหนังสือคำสั่งไล่ออกที่มีผลบังคับแน่นอนก่อนจึงจะยืนยันได้ว่ามหาวิทยาลัยดำเนินการจริง แต่ทั้งนี้เราขอยืนกรานตามข้อเรียกร้องที่เคยตั้งไว้ว่ามหาวิทยาลัยต้องแสดงความจริงใจโดยการตรวจสอบระบบการทุจริตในโครงการนี้ทั้งระบบ ทั้งขบวนการ ทั้งผู้ที่มีส่วนในการเซ็นเบิกงบประมาณและตรวจสอบย้อนหลังถึงโครงการที่มีการเบิกงบในโครงการที่ต้องสงสัยของอาจารย์ท่านดังกล่าวเพื่อจัดการกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริตทั้งหมด เนื่องจากการทุจริตครั้งนี้ไม่สามารถทำคนเดียวได้ในระบบราชการ ต้องมีผู้อื่นรู้เห็นช่วยเหลือในกระบวนการแน่นอน เพื่อเป็นการล้างบางการคอรัปชั่นให้เสร็จสิ้นให้เป็นบรรทัดฐานใหม่ต่อไปในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยบูรพา"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บีอาร์เอ็นประกาศงดความรุนแรงช่วงรอมฎอน

Posted: 12 Jul 2013 03:40 AM PDT

ทางการมาเลเซียแถลงระบุบีอาร์เอ็นประกาศลดเหตุความรุนแรง พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงรอมฎอน  

 
 
12 ก.ค. 56 - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานว่านายดาโต๊ะซัมซามิน อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองของมาเลเซีย ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกพูดคุยสันติภาพระหว่างไทยกับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอ็น) ได้แถลงกรณี ข้อตกลงสันติภาพเบื้องต้นในเดือนรอมฎอนปี 2556 โดยระบุว่ากลุ่มบีอาร์เอ็นรับปากควบคุมดูแลไม่ให้สมาชิกก่อเหตุความรุนแรง
 
ขณะที่กรอบเวลายุติก่อเหตุรุนแรงทุกรูปแบบช่วงรอมฎอนของบีอาร์เอ็นคือ 10 ก.ค. - 18 ส.ค. ตลอดช่วงเดือนรอมฎอนและหลังสิ้นสุดรอมฎอนแล้ว 10 วัน รวม 40 วัน ขณะที่ท่าทีฝ่ายไทยต่อข้อตกลงลดเหตุรุนแรงช่วงรอมฎอน โดยไทยรับจะรักษาความปลอดภัยประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ลดปิดล้อมตรวจค้นเชิงรุก
 
อย่างไรก็ตามการแถลงที่มาเลเซียเป็นการแถลงโดย ดาโต๊ะซัมซามิน ฝ่ายเดียว ไม่มีตัวแทนบีอาร์เอ็นและไม่มีตัวแทนคณะพูดคุยฝ่ายไทยเข้าร่วม
 
ทั้งนี้ได้มีการเผยแพร่แถลงการณ์เรื่องดังกล่าวต่อสื่อมวลชนโดยมีเนื้อหาดังนี้
 
เวทีการประชุมร่วมครั้งที่ 4 ระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติกับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอ็น) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมา ได้บรรลุความเข้าใจร่วมกันเพื่อลดระดับความรุนแรงในช่วงเดือนถือศีลอด (รอมฎอน)  ประจำปี 2556 ในพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย
 
แถลงการณ์ระบุว่า ความพยายามร่วมกันของสองฝ่ายเพื่อรักษาความสงบในช่วงเวลา 40 วัน คือตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. - 18 ส.ค. ปี 2556 ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดทางภาคใต้ของไทยได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสงขลา โดยจังหวัดสงขลาจะอยู่ในพื้นที่ภายใน 5 อำเภอคือ นาทวี สะเดา จะนะ เทพา และสะบ้าย้อย
 
ทั้งนี้ ในช่วงเดือนรอมฎอน สภาความมั่นคงแห่งชาติจะรับผิดชอบดูแลป้องกันปัญหาอาชญากรรมรุนแรง รวมถึงเฝ้าระวังตามจุดต่างๆ ในพื้นที่โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความปลอดภัยของสาธารณะชนเป็นหลัก โดยทางสภาความมั่นคงแห่งชาติได้ให้การรับรองว่าจะดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัยพ์สินของพลเรือนทุกคน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ ภูมิหลัง สถานะ และศาสนาใดๆ ก็ตาม
 
พร้อมกันนี้ ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติย้ำชัดว่าจะไม่อดทนต่อการกระทำรุนแรงใดๆ ก็ตาม ที่จะเป็นปัญหานำไปสู่เหตุความไม่สงบรุนแรงในพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศ
 
ด้านขบวนการบีอาร์เอ็นระบุว่า ในช่วงเวลาเดียวกัน ทางกลุ่มจะพยายามควบคุมตรวจตราดูแลไม่ให้สมาชิกก่อเหตุความรุนแรง โดยรวมถึงการใช้อาวุธโจมตี การวางระเบิด การซุ่มโจมตี ต่อเจ้าหน้าที่และสาธารณะชน นอกจากนี้ ทางกลุ่มจะพยายามไม่ให้เกิดการบ่อนทำลายหรือสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินทางราชการ และเครื่องอำนวยความสะดวกของส่วนร่วม
 
ทั้งนี้ทางขบวนการบีอาร์เอ็นได้ให้การรับรองว่าจะปกป้อง เคารพ และตระหนักในคุณค่าสิทธิ เสรีภาพและความปลอดภัยของประชาชนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม
 
แถลงการณ์ยังระบุอีกว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายกล่าวคือ สภาความมั่นคงแห่งชาติของไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็นจะทำงานอย่างหนักเพื่อให้มั่นใจได้ว่า เดือนถือศีลอดรอมฎอนปี 2556 นี้จะเป็นเดือนที่ปลอดจากเหตุการณ์รุนแรง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ ความรับผิดชอบ และความเอาจริงเอาจังที่ทั้งสองฝ่ายมีร่วมกันในการแก้ไขปัญหา โดยทั้งสองฝ่ายเชื่อมั่นว่า การพูดคุยตามแนวทางสันติภาพคือหนทางที่ดีที่สุดที่จะสร้างความสงบและสันติภาพอย่างยั่งยืนและคงทนในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยต่อไป
 
ฝ่ายใดก็ตามที่ทำลาย ละเมิด ขัดขวาง หรือบ่อนทำลายข้อตกลงความเข้าใจร่วมกันในครั้งนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะถือว่าคนผู้นั้นเป็นผู้ที่ไม่ยึดถือแนวทางสันติภาพและไม่ควรค่าแก่การเคารพอย่างยิ่ง
 
ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงสมควรพยายามทำความเข้าใจ ให้เกียรติ และยึดมั่นในแนวทางปฎิบัติของข้อตกลงเพื่อความเข้าใจร่วมกันเบื้องต้นฉบับนี้ เพื่อให้บรรลุความต้องการตามแนวทางสันติภาพในเดือนรอมฎอนปี 2556
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความเคลื่อนไหว กระทรวงกลาโหม-สนามหลวง

Posted: 12 Jul 2013 03:30 AM PDT

แนวร่วมคนไทยหัวใจรักชาติ ชุมนุมขวาง ยิ่งลักษณ์-ยุทธศักดิ์ ชี้ขาดความชอบธรรม ก่อน 'ไชยวัฒน์' ถอนตัวจากสนามหลวงเหตุนายทุนยุติหนุน-ปัดกระแสข่าวถูกตร.รวบ ด้านนายกฯ เข้าสักการะสิ่งศักสิทธิ์ประจำกระทรวง แถลงมอบนโยบาย 4 ด้านหลักความมั่นคง และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซีย

แนวร่วมคนไทยหัวใจรักชาติ ชุมนุมขวาง ยิ่งลักษณ์-ยุทธศักดิ์ 

11 ก.ค.56 ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่าตั้งแต่ช่วงเช้ามีกลุ่มแนวร่วมคนไทยหัวใจรักชาติ นำโดยนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี และ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ พร้อมด้วยแนวร่วม เดินทางมาชุมนุมที่หน้ากระทรวงกลาโหม เพื่อต้อนรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ที่มีกำหนดการเข้ากระทรวงในวันนี้เป็นวันแรกในช่วงเวลา 11.00 น. พร้อมกันนี้ยังมี ร.อ.ทรงกลด ชื่นชูผล หรือผู้กองปูเค็ม ได้แต่งชุดทหารฝึกลายพรางมาร่วมชุมนุมด้วย

สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยได้มีการจัดเตรียมกำลังตำรวจชุดควบคุมฝูงชนจำนวน 3 กองร้อยมาประจำการที่หน้ากระทรวงกลาโหม และมีการกั้นแผงเหล็กตั้งทางด้านศาลหลักเมือง ยาวตลอดแนวหน้ากระทรวง ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเข้าสักการะศาลหลักเมืองก่อนเดินทางเข้ากระทรวง

โดยนายไชยวัฒน์เปิดเผยว่า การแสดงออกวันนี้เพียงต้องการมาต่อต้านการเข้ารับตำแหน่ง รมว.กลาโหมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม เนื่องจากต้องการแสดงเจตนารมณ์ในการปกป้องศักดิ์ศรีกองทัพของชาติไม่ให้เป็นกองทัพของใครคนใดคนหนึ่งหลักจากมีคลิปเสียงอื้อฉาวออกมา อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีการบุกเข้าไปในกระทรวงกลาโหมอย่างแน่นอน เพราะไม่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ลำบากใจในการปฏิบัติหน้าที่

 "ยิ่งลักษณ์ไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้ากระทรวงกลาโหม ยุทธศักดิ์ไม่มีความชอบธรรมที่เหยียบกระทรวงกลาโหม เป้าหมายของเราคือต่อต้านยิ่งลักษณ์ และยุทธศักดิ์ ไม่ให้เข้ากระทรวง" นายไชยวัฒน์ประกาศ

ผบ.ตร ยันใช้การเจรจาเป็นหลักไม่ใช้ความรุนแรง

ขณะที่มีรายงานข่าวแจ้งว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้ติดตามสถานการณ์หน้ากระทรวงกลาโหมอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร) อย่างใกล้ชิด โดยยืนยันว่าจะไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม และใช้การเจรจาเป็นหลัก และล่าสุดทางตำรวจนำรถยกขนาดใหญ่มาจอดที่หน้ากระทรวงกลาโหม เตรียมการลากรถขยายเสียงของกลุ่มผู้ชุมนุมหากเจรจาให้เคลื่อนออกจากพื้นที่ไม่สำเร็จ

นายกฯ เข้าสักการะสิ่งศักสิทธิ์ประจำกระทรวง

11.09 น.นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเข้ากระทรวงกลาโหมเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรก นับจากได้รับการโปรดเกล้าฯ ผ่านมา 12 วัน โดยการเดินทางเข้ากระทรวงกลาโหม ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารอย่างเข้มงวด โดยมี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม, ปลัดกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารเรือ, ผู้บัญชาการทหารอากาศ, ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และคณะนายทหารระดับสูงให้การต้อนรับ จานนั้นนายกฯ เข้าสักการระเจ้าพ่อหอกลอง ณ ศาลเจ้าพ่อหอกลอง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในกระทรวงฯ โดยยกเลิกพิธีสักการะองค์พระหลักเมือง เนื่องจากกลุ่มแนวร่วมคนไทยหัวใจรักชาติชุมนุมอยู่บริเวณดังกล่าว

จากนั้นนายกฯได้เข้าพิธีรับการเคารพจากกองทหารเกียรติยศผสม ณ ลานอเนกประสงค์ ในศาลาว่าการกลาโหม หลังเสร็จสิ้นพีธีดังกล่าว นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ก่อนเป็นประธานมอบนโยบายให้กับหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมพร้อมรับฟังบรรยายสรุปการทำงานในส่วนกระทรวงกลาโหมสำนักปลัดกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพจากสำนักนโยบายและแผนกกลาโหม

นายกฯ แถลงมอบนโยบาย 4 ด้านหลักความมั่นคง และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซีย

ผู้จัดการออนไลน์ รายงาน ต่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ร่วมแถลงข่าวภายหลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมอบนโยบายให้กับหน่วยงานในกระทรวงกลาโหม โดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกองทัพ เพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมถึงประชาชน โดยยึดหลักแนวทางนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา และอุดมการณ์พื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

นอกจากนี้ยังได้มอบโยบายใน 4 ด้านหลักเพื่อความมั่นคง และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งในเรื่องของการสนับสนุนนโยบายในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาภาคใต้ ยาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ และขอให้กองทัพ ทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้วยการเตรียมพัฒนาบุคลากร และองค์กร ให้สอดคล้องสถานการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต อีกทั้งจะดูแลด้านสวัสดิการกำลังพลในชั้นประทวน ทหารผ่านศึก และผู้ที่ปฎิบัติงานในพื้นที่เสี่ยง และขอให้ทุกคนทำงานในหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่

ยันไม่มีล้วงลูกปรับย้ายทหารประจำปีเป็นไปตามขั้นตอนของสภากลาโหม

ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมานายกฯ เห็นจุดอ่อนอะไรของกองทัพ จึงต้องนั่งควบตรงนี้ นายกฯ กล่าวปฏิเสธว่าไม่มี ต้องเรียกว่าเราอยากร่วมมือกันทำงานและสนับสนุนให้เต็มที่ อันนี้เป็นเจตนารมณ์ เมื่อถามว่าแนวความคิดหรือนโยบายการปรับย้ายทหารประจำปีเป็นอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า เรื่องการปรับย้ายทหารทุกอย่างขอให้เป็นไปตามขั้นตอน และทางสภากลาโหมก็มีขั้นตอนในการดูแลและอยากสนับสนุนเรื่องการให้ความเป็นธรรมและให้โอกาสผู้ที่ทำงาน

เมื่อถามว่ายืนยันจะไม่มีการล้วงลูก ผบ.เหล่าทัพ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มี จริงๆ แล้วต้องเรียกว่าเราร่วมกันทำงานกับ ผบ.เหล่าทัพมาเกือบ 2 ปีแล้วคงจะทราบและขอเรียนว่าไม่มีเหตุผลที่มาเป็น รมว.กลาโหมแล้วจะทำให้งานไม่ราบรื่น ซึ่งเราอยากเห็นการทำงานที่สามัคคีและราบรื่น เราอยากเล็งเห็นผลการทำงานนั้นให้เกิดเป็นรูปธรรม

แจงคลิปเสียง ให้พิสูจน์ที่การทำงาน

เมื่อถามว่า ยังมั่นใจที่จะให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม ทำงานต่อไปหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ทุกคนต้องทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุด ส่วนกรณีข่าวคลิปฉาวจะเคลียร์กับเหล่าทัพและ รมช.กลาโหมอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ทุกอย่างต้องพิสูจน์ที่การทำงาน ตนเองเชื่อว่าจากการทำงานร่วมกับกองทัพเราต่างคนต่างให้เกียรติกัน เราต้องคนต่างทราบภารกิจของตัวเองดี ฉะนั้นสองปีที่ผ่านมาเชื่อว่าตนเองให้การทำงานที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันอยู่แล้ว ก็เชื่อว่ากองทัพจะให้โอกาสในการทำงานร่วมกันและตนเองได้ประกาศเจตนารมณ์แล้วว่าการที่เราเข้ามาทำงานนี้เราอยากจะเสริมการทำงานด้วยกัน

เมื่อถาม รู้สึกอย่างไรที่เข้ามานั่งในกระทรวงกลาโหมแล้วคลิปออกมา ซึ่งเวลานี้ยังไม่มีหน่วยงานไหนพิสูจน์คลิปจริงปลอม นายกฯ กล่าวว่า ตนเองไม่ปฏิเสธที่จะให้หน่วยงานสามารถพิสูจน์กันและว่าไปตามขั้นตอนได้เลย ซึ่งสุดท้ายอยู่ที่เจตนารมณ์การทำงาน ขอให้ดูการทำงานดีกว่า อย่างที่เคยเรียนเราเองมาในภารกิจที่ต้องดูเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

เมื่อถามว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ยังมีความเหมาะสมที่จะนั่งในตำแหน่ง รมช.กลาโหม ทำงานประสานงานกับกองทัพใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า การทำงานต่างๆทุกคนต้องพิสูจน์ที่ผลงาน เราไม่สามารถที่จะไปบอกว่าท่านไหนเหมาะสม ไม่เหมาะสม ก็ต้องดูผลงานดีกว่า ผลงานจะเป็นเครื่องบอกเอง

เมื่อถามว่า เกรง ผบ.เหล่าทัพจะหวาดระแวงตัว รมช.กลาโหม หรือทางรัฐบาล หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ถ้าหวาดระแวง ตนเองเชื่อว่ากองทัพคงหวาดระแวงไปนานแล้ว เรียกว่าไม่มีใครหรือเหตุผลอะไรที่จะทำให้กองทัพไม่สบายใจ เราเรียนหลายครั้ง อยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้า ดังนั้น เหตุผลเดียวคือการทำงานเพื่อให้เกิดการทำงานที่ราบรื่นตอบโจทย์นโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา

ร.อ.ทรงกลด ชื่นชูผล หรือผู้กองปูเค็ม

ตร.ปล่อยผู้กองปูเค็มหลังสอบปากคำเสร็จ

มีรายงานด้วยว่า  ร.อ.ทรงกลด ชื่นชูผล หรือผู้กองปูเค็ม อดีตนายทหารนอกราชการ  ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับตัวมาที่ สน.พระราชวัง หลังขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีนายกฯ และนอนขวางแนวตำรวจ

11 ก.ค.56  ช่วงหัวค่ำ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. รายงานว่า พนักงานสอบสวนปล่อยตัว ร.อ.ทรงกลด แล้ว โดยทางพนักงานสอบสวน สน.พระราชวัง ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหา ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน เนื่องจาก ร.อ.ทรงกลด ขัดขืนไม่ยอมออกจากพื้นที่การชุมนุม ตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ขณะที่ ร.อ.ทรงกลด ได้มีการปฏิเสธข้อกล่าวหา เนื่องมองว่า เป็นการกลั่นแกล้ง และเรียกร้องให้มีการยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมด ก่อนที่ทางเจ้าหน้าที่จะมีการสอบปากคำเพิ่มเติม และปล่อยตัวไป

ด้าน พ.ต.อ.สรเสริญ ใช้สถิตย์ ผู้กำกับการ สน.พระราชวัง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ทางเจ้าหน้าที่ไม่สามารถยกเลิกข้อกล่าวหาได้ ซึ่งเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาแล้ว ก็ต้องต่อสู้ในศาลต่อไป อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ.สรเสริญ กล่าวอีกว่า กรณีนี้หากผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพ ก็จะมีการเปรียบเทียบปรับแค่ 100 บาทเท่านั้น

ภาพการชุมนุมของกลุ่มพลังธรรมาธิปไตย ที่สนามหลวง

พลังธรรมาธิปไตย ท.ป.ท. สนามหลวง ปฏิเสธไม่ร่วมชุมนุมหน้า ก.กลาโหม

ก่อนหน้นนี้ เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'ธรรมาธิปไตย ท.ป.ท' เผยแพร่ประกาศ ฉบับที่ 3/2556 ของ กลุ่มพลังธรรมาธิปไตยและกองทัพปลดแอกประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งชุมนุมร่วมกับแนวร่วมคนไทยหัวใจรักชาติ และสภาเกษตรกรแห่งประเทศไทย ที่ชุมนุมบริเวณสนามหลวงมาตั้งแต่ต้น พ.ค. ที่ผ่านมา ระบุว่า ไม่ร่วมชุมนุมที่บริเวณหน้ากระทรวงกลาโหมดังกล่าว ชี้ว่าไม่ต้องการนำชีวิตของพี่น้องประชาชนไปสุ่มเสี่ยงต่ออันตรายในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจและด้วยนโยบายของกลุ่มที่ 'ไม่รบ ถ้าไม่ชนะ' อันถือเป็นสาเหตุหลักของการไม่ร่วมชุมนุมดังกล่าว

พร้อมระบุด้วยว่คืนวันที่ 10 ก.ค.ทางสถานีโทรทัศน์ประชาชน 13 สยามไท ซึ่งมีการถ่ายทอดเวทีกลุ่มพลังธรรมาธิปไตย ทุกคืนที่มีการชุมนุมนั้น ระงับการถ่ายทอดออกอกกาศอย่างกระทันหัน ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสได้รับชมคำชี้แจงนี้ รวมทั้งก่อนหน้านี้มีผู้อ้างชื่อกลุ่มตนไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มอื่นๆ สร้างความเข้าใจผิด

ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์

"ไชยวัฒน์" ถอนตัวจากสนามหลวงเหตุนายทุนยุติหนุน-ปัดกระแสข่าวถูกตร.รวบ

11 ก.ค. 56 แนวหน้าออนไลน์ รายงานว่า  จากกรณีที่ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และผู้กองปูเค็ม นำกลุ่มประชาชนไปชุมนุมขัดวางไม่ให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ากระทรวงกลาโหมเพื่อเข้าร่วมในพิธีรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม และถูกควบคุมตัวไว้ที่ สน.พระราชวัง ตามกระแสข่าวที่ได้รับนั้น แท้ที่จริงแล้วนายไชยวัฒน์ไม่ได้ถูกจับหรือถูกควบคุมตัวแต่อย่างใด

โดย นาย ไชยวัฒน์  สินสุวงศ์ เลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ทางช่อง 13 สยามไทย เกี่ยวกับการประกาศยุติการชุมนุมและถอนตัวกลุ่มแนวร่วมของตนเอง ส่วนกลุ่มอื่นๆ ไม่ทราบ และขอถอนเวทีตั้งแต่บัดนี้ ส่วนการถ่ายทอดสดของช่อง 13 สยามไทย ก็จะยุติด้วยสาเหตุเกิดจากความขัดแย้งภายในเรื่องผลประโยชน์ นายทุนยุติการให้การสนับสนุน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมอวิทิตยื่นศาลปกครองขอความเป็นธรรมโดนเลิกจ้าง

Posted: 12 Jul 2013 03:00 AM PDT

12 ก.ค. 56 - มติชนออนไลน์รายงานว่าเมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 12 กรกฎาคม ที่ศาลปกครอง นพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีตผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) พร้อมทนายได้ยืนเรื่องต่อศาลปกครอง เพื่อขอความเป็นธรรม กรณีถูกคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมเลิกสัญญาจ้าง โดยขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉิน และคุ้มครองชั่วคราวให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ หรือกลับไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำสั่งพิพากษาถึงที่สุด รวมถึงชะลอการสรรหาแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมใหม่ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งพิพากษาถึงที่สุด 
 
พร้อมทั้งยื่นฟ้อง นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม และคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม รวมถึงมติคณะรัฐมนตรี ที่มีคำสั่งเลิกจ้างตน เพื่อขอความเป็นธรรมด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทบทวนร่าง กม.สิ่งแวดล้อม วางแนวทางเพิ่มหลักโปร่งใส มีส่วนร่วม

Posted: 12 Jul 2013 01:42 AM PDT

คปก.เปิดรับฟังความเห็น "ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม" เสนอแนวทางปรับปรุงกม. โปร่งใส ปชช.มีส่วนร่วม ตั้ง 5 ประเด็นอำนาจจัดการร่วม – ประกาศเขตคุ้มครองพื้นที่สิ่งแวดล้อมคำนึงทุกมิติ คาด 3 เดือนเสนอความเห็นต่อรัฐบาล

 
12 ก.ค. 56 – คณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น "ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม" ณ โรงแรมไมด้า ซิตี้ รีสอร์ท เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โดยมีหน่วยงานงานภาครัฐ เอกชน และตัวแทนประชาชนกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมร่วมให้ความเห็น 
 
นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมายและประธานอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เป็นกฎหมายสําคัญของประเทศ มีสาระสําคัญครอบคลุมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน ทั้งการกําหนดให้มีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กองทุนสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การควบคุมมลพิษ มาตรการส่งเสริม ความรับผิดทางแพ่งและบทกําหนดโทษ อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวบังคับใช้มาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี ขณะที่สถานการณ์ สภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมีความรุนแรงและมีความซับซ้อนมากขึ้น ทําให้บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้คณะอนุกรรมการฯได้พิจารณาเนื้อหาทั้งหมดเห็นว่า ควรเพิ่มหลักการเข้าถึงข้อมูล หลักความโปร่งใส และหลักของการมีส่วนร่วมเข้าไปในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
 
"กฎหมายฉบับนี้มีผลกระทบอย่างมากต่อวิถีชีวิตของผู้คน และสิ่งแวดล้อม การประชุมรับฟังความเห็นครั้งนี้เป็นการทบทวนมาตรการทางกฎหมายสามารถรับมือได้จริงหรือไม่และจำเป็นต้องมีการทบทวนกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ โดยแนวคิดหลักคือ เรื่องทรัพยากรทางธรรมชาติไม่ควรจะเป็นเรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ควรเป็นเรื่องของทุกภาคส่วน" นายไพโรจน์ กล่าว  
 
นายไพโรจน์ กล่าวถึงแนวทางการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายว่า คณะอนุกรรมการฯมีแนวทางปรับปรุงและพัฒนากฎหมายฉบับนี้อย่างน้อย 5 ประเด็นสำคัญคือ 1.การเปลี่ยนแปลงแนวคิดสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ จากเดิมที่ให้หน่วยงานของรัฐเป็นบทบาทหลักที่ทำหน้าที่จัดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ควรมีการเปลี่ยนแปลงให้ประชาชน องค์กร ชุมชนและ ท้องถิ่น เข้ามาใช้อำนาจทางกฎหมายร่วมกับรัฐ  2.ในแง่กลไกการบริหาร ควรเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบใหม่ โดยเพิ่มองค์ประกอบตัวแทนชุมชน ท้องถิ่น ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 3.การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จากปัจจุบันที่มีการประเมินในระดับโครงการและกิจกรรม ควรให้มีการประเมินในระดับยุทธศาสตร์ด้วย ขณะเดียวกันการประเมินผลกระทบในระดับโครงการหรือกิจกรรม ควรเพิ่มมิติการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน อีกทั้งควรพิจารณาประเด็นปัญหาด้วยว่าใครจะเป็นผู้กำกับให้เป็นไปตามการประเมินและรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมนั้น ซึ่งส่วนตัวคิดว่า ควรเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม  
 
นายไพโรจน์ กล่าวว่า ประเด็นต่อมา กรณีการประกาศเขตคุมครองพื้นที่สิ่งแวดล้อม ควรให้ประชาชน และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และคำนึงถึงเรื่องแหล่งผลิตอาหารและความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้การประกาศเขตคุมครองพื้นที่สิ่งแวดล้อมดังกล่าวตอบสนองวัตถุประสงค์ ไม่เฉพาะเพียงแค่มิติเรื่องเศรษฐกิจและการลงทุนเท่านั้น แต่ควรพิจารณาถึงประเด็นเรื่องสิทธิชุมชน เศรษฐกิจภาคเกษตร และแหล่งผลิตอาหารด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ประเด็นเรื่องการควบคุมมลพิษ มีความเห็นว่า ควรให้เปิดช่องทางประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื้อหามาตรการให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริง
นายไพโรจน์ กล่าวด้วยว่า ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯจะนำข้อมูลมาพิจารณาทบทวนว่าจะมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงหรือไม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ก่อนที่คปก.จะเสนอแนะในทางเนื้อหาต่อรัฐบาล ,สภาผู้แทนราษฎร,วุฒิสภา โดยคาดว่าจะจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลได้ภายใน 2-3 เดือนหลังจากนี้
 
นายไพโรจน์ กล่าวภายหลังการรับฟังความเห็นฯว่า ที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงกฎหมายในหลักการสำคัญหลายเรื่อง คณะอนุกรรมการฯจะนำความเห็นดังกล่าวไปทบทบวนและปรับปรุง ทั้งนี้คาดว่า จะปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนในเดือนกรกฎาคมนี้ หากต้องการเสนอความเห็นประการหนึ่งประการใดก็สามารถเสนอความเห็นมาได้ในระหว่างนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอดมินเพจซดเหล้าเข้าพรรษา

Posted: 12 Jul 2013 01:39 AM PDT

"..รัฐนำเอา "ศาสนา" ใหญ่ของรัฐ มาใช้ในการ "ควบคุม" พฤติกรรมของพลเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมสำหรับการเป็น "รัฐสมัยใหม่" เพราะมันจะเปิดโอกาสให้มีการ "ละเมิดสิทธิผู้อื่น" ในนามศาสนาได้อีกมาก.." 
 
11 ก.ค.56, กล่าวถึงเทศกาลเข้าพรรษา "งดดื่มสุราแห่งชาติ ทำความดีถวายในหลวง"

รมว.สธ.รับข้อเสนอพัฒนาเครือข่ายดูแลเด็กพิเศษเน้นบูรณาการ

Posted: 12 Jul 2013 01:21 AM PDT

สปสช.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายการดูแลพัฒนาการเด็กพิเศษ ระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาบริการ เน้นการดูแลแบบบูรณาการตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และหน่วยบริการ ส่งเสริมการจัดบริการรัฐร่วมเอกชน ส่งเสริมจัดบริการในชุมชน

 
 
12 ก.ค. 56 - ที่โรงแรมเซนทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ กทม. นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างเครือข่ายการดูแลพัฒนาการเด็กในระดับชุมชน-ระดับหน่วยบริการ ซึ่งจัดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2556 เพื่อระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแลพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่การดูแลโดยครอบครัว ชุมชน หน่วยบริการ และการดูแลต่อเนื่องในชุมชน รวมถึงสร้างความเข้าใจแนวคิดการสร้างเครือข่ายดูแลพัฒนาการเด็กในระดับชุมชนทั้งรูปแบบเมือง ชนบท และหน่วยบริการ
 
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการประชุมเชิงปฏิบัติการตลอด 2 วันที่ผ่านมา ได้ข้อสรุป 3 ส่วนหลัก ดังนี้คือ 1.ด้านบริการชุมชน ควรสนับสนุนการดูแลแบบบูรณาการโดยพ่อแม่ ครอบครัว ศูนย์เด็กเล็ก รพ.สต. โรงเรียน และชุมชน ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลเด็ก โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ. สต. ครู อาสาสมัครในพื้นที่ ร่วมกับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการดูแลต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับชุมชน หน่วยบริการ และผู้ให้บริการ 2.ด้านบริการ ส่งเสริมให้มีการจัดบริการรัฐร่วมเอกชน และควรมีการคัดกรองที่ไม่ทำให้เกิดเป็นตราบาปกับเด็ก (stigma) 3.ด้านบริหาร ควรสนับสนุนอัตรากำลังคน และงบประมาณ ในการให้บริการ การให้คำปรึกษา การกระตุ้นพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนครอบครัวที่มีปัญหาเศรษฐกิจ จากการที่ต้องออกจากงานเพื่อเลี้ยงดูลูกที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ โดยอาศัยนโยบายกองทุนสตรีของนายกรัฐมนตรี และในปี 2557 ขอให้เริ่มดำเนินการนำร่องในพื้นที่ที่มีความพร้อมทุกเขตบริการโดยใช้งบดำเนินการจากทุกพื้นที่
 
ด้าน นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวว่า สำหรับการดูแลเด็กพิเศษนั้นอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. แต่การจะทำให้เข้าถึงบริการนั้น ต้องส่งเสริมการจัดเครือข่ายบริการเพื่อเพิ่มการเข้าถึง เนื่องจากมีข้อจำกัดของหน่วยบริการสาธารณสุขและบุคลากร จึงต้องดำเนินการเพื่อให้เด็กกลุ่มเด็กพิเศษเข้าถึงบริการมากขึ้น ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ปกครอง/ครอบครัว ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเด็กพิเศษร่วมกัน ซึ่งการทำให้เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสม ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ดี จนกระทั่งมีพัฒนาการที่สมวัย จะส่งผลให้ประเทศชาติได้รับประโยชน์ด้วยนั่นเอง  
 
นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า จากข้อเสนอที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการดังที่กล่าวมานั้น ทำให้ทราบว่าการประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี จนสามารถได้เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อเสนอเชิงการจัดการเพื่อส่งเสริมการดูแลเด็กที่มีพัฒนาการช้า/บกพร่อง ทั้งในระดับชุมชน และหน่วยบริการสาธารณสุขและในชุมชน แสดงว่าการประชุมนี้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวนี้จะมอบให้สปสช.รายงานต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทราบและส่งมอบให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2557 จะเริ่มดำเนินการนำร่องในพื้นที่ที่มีความพร้อมทุกเขตบริการ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปาฐกถา ‘สุวิทย์ เมษินทรีย์’ เปลี่ยนทิศทางรัฐไทย-ทุนไทย ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

Posted: 12 Jul 2013 01:20 AM PDT


ที่มาภาพ: นิตยสาร POSITIONING

 

เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 56 นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ (SIGA) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวปาฐกถา เรื่อง สู่ทศวรรษแห่งความท้าทายใหม่: บาทบาทด้านรุกและรับของรัฐสภาไทย ภายในงานสัมมนาลำดับที่ 10 ของสถาบันพระปกเกล้า

เขากล่าวว่า  ประเทศไทย รัฐสภาไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งในเชิงบริหารการจัดการ เพื่อตอบโจทย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในศตวรรษที่ 21 ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบสังคมรวมทั้งการออกแบบรัฐธรรมนูญด้วย ที่ผ่านมา

เขาอธิบายว่าโครงสร้างสังคมการเมืองไทยอยู่ในสังคมเกษตรพึ่งพาตนเอง และอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อ 8 ทศวรรษที่แล้ว แต่จนถึงปัจจุบันสังคมไทยก็ยังเป็นประชาธิปไตยเทียม เป็นแต่เพียงการปะทะกันระหว่างอำมาตยาธิปไตย กับ คณาธิปไตย  เรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งคือจะปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเพื่อตอบโจทย์ให้เรามีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริงได้อย่างไร 

นอกจากนี้เมื่อมองบริบทรอบประเทศไทยจะพบว่าในช่วงที่ผ่านมา หลายๆ ประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาไปมาก แต่ประเทศไทยยังอยู่ติดกับที่ไม่ไปไหน และตอนนี้อยู่ในสถานะที่อันตรายที่เรียกว่า falling state คือเป็นรัฐที่ใกล้จะล้มเหลว ถ้าเลยเถิดไปกว่านี้เราก็จะเป็นรัฐที่ล้มเหลว หรือ failing state ไป

เขากล่าวถึงการปกครองที่ผ่านมาว่า วิวัฒน์ของการเมืองไทยในช่วง 80 ปี มี 3 ระบอบที่ขับเคลื่อนการเมืองไทยอย่างเห็นเป็นรูปธรรมคือ ระบอบสฤษดิ์  ระบอบเปรม ระบอบทักษิณ ต้องถือว่าทั้ง 3 ระบอบนั้นมีคุณานุปการต่อการเมืองการปกครองไทยในระดับหนึ่ง มีคุณานุปการในทางเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง 3 ระบอบนี้ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะ แต่ยังไม่มีระบอบไหนเลยที่ตอบโจทย์ความเป็นประชาธิปไตยอย่างที่เราต้องการ นี่เป็นแรงปะทุของการเปลี่ยนแปลง และอย่าไปตกใจกับเรื่องความขัดแย้งที่รุนแรง หรือ hyper conflict โดยเฉพาะระหว่างคนเสื้อเหลือง เสื้อแดง เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก

"เราเห็นการต่อสู้ทางความคิด ต้องมองในเชิงบวกว่าเป็น political learning curve เป็นการเรียนรู้ทางการเมืองระหว่างคนชนชั้นกลางกับคนชนชั้นล่าง ต่างฝ่ายต่างเรียกหาอะไรบางสิ่ง เรากำลังหาจุดลงตัวนี้ผ่านการแก้รัฐธรรมนูญที่จะทำให้รัฐธรรมนูญเป็นสัญญาประชาคมที่จะจับเอาความแตกต่างหลากหลายมาอยู่ด้วยกัน"

"เราอาจตกใจในช่วงที่ผ่านมาของการเรียนรู้ทางการเมืองดังกล่าวนั้นทำให้สังคมเกิดอคติขึ้น ทุกคนเลือกข้าง ไม่เสื้อเหลืองก็ต้องเป็นเสื้อแดง ขณะเดียวกันก็บิดเบือนข้อเท็จจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนที่เลือกข้าง ทั้งจากปัจจัยภายในตัวเองคือความมีอคติที่มากขึ้น กับปัจจัยภายนอกที่มีการบิดเบือนข้อเท็จจริง ทำให้สังคมไทยถูกเปลี่ยนกลายเป็นสังคมสองขั้ว หรือ bipolar world อย่างที่เราเห็นกันอยู่"

อย่างไรก็ตาม เขาระบุถึงปัญหาว่า ขณะที่เราตบตีกัน เราก็ไม่ได้ลงทุนในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ผลที่ตามมาคือ ประเทศอื่นติดลมบนไปเกือบหมด หลายประเทศที่ล้าหลังเราก็ได้ไต่มาใกล้เคียงกับเรา และถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด อินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในปี 2050 ถ้ามองในแง่ของ GDP สะท้อนว่าที่ผ่านมาเรามองเห็นแค่ปัญญาระยะสั้น ทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญสามารถทำให้เราอยู่กันได้ในลักษณะที่ตอบโจทย์ระยะยาว เพราะเรากำลังเผชิญกับปัญหาขีดความสามารถของการแข่งขันระยะยาวที่เสื่อมถอยลง เนื่องจากสองปัจจัยที่เกิดพร้อมๆ กัน คือ

1. โครงสร้างของสังคมสูงวัย แต่ในสังคมสูงวัยที่เกิดนั้นเป็นคนที่มีคุณภาพแย่ลง เคยมีงานวิจัยที่ระบุว่า ประเทศเราเป็นประเทศที่เฉื่อยต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่เคยถูกกดดันอย่างเป็นระบบรวมทั้งมี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ความคิดที่ ไม่ได้ตามการพัฒนาเหล่านั้น นิสัยคนไทยไม่เคยเปลี่ยนจนถึงปัจจุบัน และเป็นลักษณะนิสัยที่ค่อนข้างจะ negative ไม่สามารถตอบโจทย์โลกปัจจุบันและในอนาคตได้

2.ความเหลื่อมของวัฒนธรรมกับการพัฒนา ความเหลื่อมของการพัฒนาชาติกับการพัฒนารัฐ งานวิจัยของอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ระบุชัดว่าที่ผ่านมาเราพัฒนารัฐก่อนแล้วค่อยพัฒนาชาติ พัฒนารัฐผ่าน bureaucratization พัฒนาชาติผ่าน democratization เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายทศวรรษ ประชาชนไม่ได้มีความตื่นตัวในขณะนั้นที่จะเรียกหาประชาธิปไตยแท้จริงเหมือนในตะวันตก และยังมีความเหลื่อมระหว่างระบอบทุนนิยมกับระบอบประชาธิปไตย เพราะเราไปเอาของชาวบ้านมาโดยไม่รู้รากเหง้า

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ท้าทายมากกว่าคือ ขณะนี้ 4 เสาหลักที่ค้ำจุนโลกในทศวรรษที่ 20 ของประเทศตะวันตก และเป็นต้นแบบของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย ทุนนิยม ประชาธิปไตย ประชาสังคม (civil society) ความเป็นนิติรัฐ (legal state) กำลังถูกสั่นคลอน ตอนนี้เริ่มมีปัญหาอย่าง อาหรับสปริง Occupy Wall  Street  

สำหรับประเทศไทยนอกจากมีความเฉื่อยต่อการเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังมีกับดักในเกือบทุกด้าน ในเรื่องภาคประชาชน มีความเหลื่อมล้ำซึ่งสูงมากในการเข้าถึงทรัพยากร ส่วนภาครัฐก็ขาดความน่าเชื่อถือ ในช่วง 80 ปีที่ผ่านมาไม่มีรัฐบาลไหนที่ตอบโจทย์ได้ครบ คือ รัฐบาลที่ชอบธรรม รัฐบาลที่มีคุณธรรม และรัฐบาลที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อจะบอกว่านี่คือรัฐบาลที่น่าเชื่อถือและสร้างความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ถูกต้อง และประชาชนก็ขาด dignity of the nation หรือความภาคภูมิใจในความเป็นชาติของเราซึ่งหายไป ในช่วงที่พัฒนาที่ผ่านมา

เขากล่าวด้วยว่า ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหารากฐานได้ แก้รัฐธรรมนูญกี่ครั้งก็ไม่จบ โดยปัญหารากฐานดังกล่าวคือความมั่งคั่งที่กระจุก คุณธรรมจริยธรรมที่เสื่อมทราม ทุนสังคมที่อ่อนแอ ทุนมนุษย์ที่อ่อนด้อย และทุนธรรมชาติที่เสื่อมโทรม เพื่อจะตอบโจทย์เหล่านี้ ต้องมีความมุ่งมั่นร่วมกันและต้องตอบประเด็นเชิงยุทธศาสตร์อย่างน้อย 3 ข้อ คือ 1. เรามีประสิทธิภาพในการตอบสนองพลวัตรโลกอย่างไร global responsiveness โลกมีชุดของโอกาสและภัยคุกคามที่ต่างออกไปแล้ว เราจะรับมืออย่างไร 2.เรามีขีดความสามารถหรือภูมิคุ้มกันที่เพียงพอหรือไม่ National competitiveness 3. ความสามารถในการแข่งขันอย่างกระจาย local inclusiveness รวมถึงการมีส่วนร่วมทั่วถึงของผู้คนในสังคม

"ทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญไทยเปิดรับและรับมือกับโลกภายนอก สร้างความเข้มแข็งภายในที่ถ้วนทั่วและมีส่วนร่วมในความมั่งคั่งและโอกาสที่เกิดขึ้น นี่คือสัญญาประชาคมใหม่" เขากล่าวและว่า เราต้องเปลี่ยนโมเดลการพัฒนาใหม่ให้เติบโตอย่างทั่วถึงและสมดุล เป็นโมเดลที่การเมืองประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง  เป็นโมเดลที่ผนึกกำลังทุกภาคส่วนภาครัฐ เอกชนและประชาชน  พร้อมๆ ไปกับการสร้างประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง หมายความว่า เราต้องมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงธรรม รัฐที่น่าเชื่อถือ และพลเมืองที่ตื่นตัว

"ทุกวันนี้เรามีอย่างน้อย 1 ใน 3 factor นี้คือ เรามีพระมหากษัตริย์ที่ทรงธรรม เราจะทำอย่างไรจะทำให้ได้รัฐที่หน้าเชื่อถือและประชาชนที่ตื่นตัว กลไกของรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไรให้เกิดสิ่งนี้"

สำหรับทิศทางของรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีการแก้ไขเขาเสนอว่า ต้องคิดเพื่อเตรียมรับมือว่ารัฐชาติในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่รัฐชาติเชิงวัฒนธรรม ที่คนไทยหรือเชื้อชาติไทยเป็นใหญ่ แต่เป็นรัฐชาติเชิงประชาสังคม หลากหลายเผ่าพันธุ์มาอยู่ แต่อยู่ด้วยจิตสำนึกของความเป็นไทย ต้องเปลี่ยนรัฐธรรมนูญจากที่เน้นในเชิงชาติพันธุ์เป็นใหญ่มาเป็นรัฐชาติเชิงประชาสังคม รองรับเบ้าหลอมใหม่ที่เป็นพหุวัฒนธรรมมากขึ้น

2.ต้องเปลี่ยนผ่านรัฐ ซึ่งเป็นกลไกในปัจจุบันที่สำคัญจนเกินไป การพัฒนารัฐผ่านระบบราชการทำอย่างไรจะให้มีสมดุลกับการพัฒนาชาติผ่านระบอบประชาธิปไตยและไม่ใช่ประชาธิปไตยตัวแทนที่เป็นอยู่ แต่เป็นประชาธิปไตยแบบผสมผสาน ซึ่งจะกล่าวต่อไป

3. ระบบทุนนิยมที่เรายืมของชาวบ้านมาแบบไม่ดูตาม้าตาเรือว่าเข้ากับเราหรือไม่จนเกิดความมั่งคั่งที่กระจุกก็จะต้องเปลี่ยนเป็นระบอบทุนนิยมแบบผสมผสาน

พร้อมกันนี้เขาเสนอว่า กลไกสำคัญ 7 ฟันเฟืองสำคัญที่จะเปลี่ยนผ่านประเทศไทย คือ 1.ซ่อมวัฒนธรรมเดิม สร้างวัฒนธรรมใหม่ 2.สร้างสังคมที่เป็นธรรม 3.เปลี่ยนกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4.การมีจิตสำนึกพอเพียง รู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน 5.สร้างรัฐที่น่าเชื่อถือ 6.ปูฐานราก ปักเสาหลักประชาธิปไตย 7.การเตรียมคนไทยสู่โลกที่หนึ่ง

ในมิติเศรษฐกิจ ทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญไทยเอื้อกับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากเศรษฐกิจที่เพิ่มแค่มูลค่า added economy ไปสู่เศรษฐกิจสร้างมูลค่า value creation ใช้ปัญญา ภูมิปัญญาชาวบ้าน รากฐานวัฒนธรรมสร้างมูลค่าให้มากขึ้น  รวมทั้งต้องการสร้างประชาธิปไตยในเศรษฐกิจเพื่อให้ความมั่งคั่งกระจาย เกิดสมดุลระหว่างเศรษฐกิจในและนอกประเทศ

"ถ้ายุทธศาสตร์ศก.ยังเป็นแบบเดิม ปัญหาก็ยังเกิด แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนดียังไงก็ตาม ...จากโจทย์ที่ชัดเจนที่ถูกต้อง จึงมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ถูกต้อง เราจำเป็นต้องปรับอุตสาหกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม มนุษย์ สังคม ในเวลาเดียวกัน"

สำหรับมิติวัฒนธรรม พลวัตรใหม่ของโลกทำให้คนไทยทุกคน เผชิญแรงกดดันทางวัฒนธรรม เราต้องมีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม.ที่แข็งแรงพอและรู้จักเลือกใช้สิ่งดีๆ จากวัฒนธรรมภายนอกอย่างสร้างสรรค์

"วัฒนธรรม.เดิมของเราอาจสอดรับกับอดีต แต่บางเรื่องไม่สอดรับกับปัจจุบันและอนาคตแล้ว เราต้องทบทวน อย่างวัฒนธรรม.อุปถัมภ์ ศักดินา อภิสิทธินิยม อำนาจนิยม เป็นวัฒนธรรม.เก่าเรามีมาตั้งแต่สังคมเกษตร แต่เราไม่ได้เปลี่ยนมัน ก็ซ่อนตัวอยู่จนเปลี่ยนมาสู่สังคมอุตฯ สังคมองค์ความรู้แล้ว สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ รวมถึงการยึดเอาแต่รูปแบบ ไม่เอาเนื้อหา ยึดแต่ form ไม่เอา substance ฉาบฉวย สิ่งเหล่านี้ต้องเปลี่ยน"

"ระบอบอุปถัมภ์อาจทำลายยากมาก แต่เราสามารถทำให้ระบบอุปถัมภ์เพื่อเกื้อกูลคนดีมันก็อีกแบบ  แทนที่จะเป็นระบบอุปถัมภ์ที่เกื้อกูลกันเองในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง"

"แต่โลกในศตวรรษที่ 21 ทุกคนจะเป็นอิสระมากขึ้น เราจำเป็นต้องสร้างให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งทำให้เกิด productive culture ที่ทำให้ทุกคนเป็นปัจเจกนิทัศน์หรือ self expression สามารถแสดงออกซึ่งความคิดตัวเอง แชร์ไอเดียกับคนอื่นได้ ยอมรับความคิดของคนอื่น มีจิตสาธารณะ กล้าวิจารณ์ตนเอง เน้นการปฏิบัติอย่างมีเป้าหมาย นี่คือสิ่งที่ต้องเตรียมคนไทยไปสู่โลกที่หนึ่ง ถ้าจะเปลี่ยนผ่านแต่ไม่เตรียมคนไทยไปสู่สิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดการเหลื่อมและการเฉื่อย อย่างที่เคยเป็นมา ทำยังไงที่จะทำให้สังคมยอมรับความแตกต่าง"

เขากล่าวว่า การเตรียมคนให้สามารถอยู่ในการแข่งขันของโลกอย่างมีความสุขในสังคมที่เกื้อกูล สองสิ่งดูเหมือขัดแย้งกัน แต่ไปด้วยกัน ผ่านสิ่งที่เรียกว่า วัตถุนิยมยั่งยืน และนี่คือ philosophy ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องของความพอดี ความลงตัว ดูเหมือนขัดแย้งแต่ไปด้วยกัน เป็น art and science ในการออกแบบระบอบทุนนิยม และออกแบบรัฐธรรมนูญที่จะตอบโจทย์ที่คนส่วนใหญ่ต้องการ

ทั้งนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีหลักอยู่ว่า เมื่อคนที่ยังขาดก็ต้องรู้จักเติม แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งต้องรู้จักหยุด รู้จักพอ แต่เมื่อเขามีเยอะเพราะปัญหาเขาดี มีจนเกินพอ เขาต้องรู้จักปัน สังคมก็จะอยู่ด้วยกันอย่างเกื้อกูล ลงตัว เกินความพอดีแล้วไปข้างหน้าได้โดยพร้อมๆ กัน

สิ่งที่เกิดขึ้นและต้องเปลี่ยนแปลงไปคือ วันนี้เราจำเป็นสังคมที่พึ่งพิงภาครัฐ และผ่านระบอบประชาธิปไตยที่เริ่มไม่ตอบโจทย์แล้วคือประชาธิปไตยแบบตัวแทน  ถ้าเราไปดูตัวเลขการเลือกตั้งของประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว อย่างในอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ อเมริกา จะเห็นว่าคนเลือกตั้งเริ่มใช้สิทธิน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะเขาเริ่มไม่เชื่อในระบอบนี้เท่าไร ฉะนั้น ปัญหาที่จะตอบโจทย์คือ จะทำอย่างไรให้ลดการพึ่งพิงภาครัฐ โดยการทำให้มีความเข้มแข็งของภาคประชาชน ประชาธิปไตยแบบตัวแทนอาจต้องมีอยู่ แต่ไม่ใช่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดทุกอย่างอยู่ที่เรื่องนี้เรื่องเดียวแล้ว แต่จะเป็นประชาธิปไตยที่มีส่วนร่วม direct democracy ของภาคประชาชนที่มีการปรึกษาหารือในหลากภาคส่วนมากขึ้น เป็นประชาธิปไตยที่มีการตรวจสอบรอบด้าน

รากฐานของประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เราต้องการ 3 เสาหลักคือ การมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงธรรม รัฐที่น่าเชื่อถือ ประชาชนที่ตื่นตัว ผ่านระบอบประชาธิปไตยที่มี 4 มิติ คือ ประชาธิปไตยตัวแทน  ประชาธิปไตยปรึกษาหารือ ทางตรง ตรวจสอบรอบด้าน แล้วค่อยมาพูดเรื่องความเป็นนิติรัฐ นิติธรรม การคานอำนาจ อันนี้เป็นเรื่องปลีกย่อย

เขากล่าวอีกว่า สังคมไทยวันนี้เป็นสังคมมักง่าย การที่ทุกอย่างของเอาเร่งๆ เร็วๆ เป็นที่มาของประชานิยม หลายๆ เรื่องของประชานิยมก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะตอบโจทย์หลายๆ เรื่องของภาคส่วนนั้น แต่ในหลายๆ เรื่อง ประชานิยมนั้นอาจเป็นยาพิษก็ได้ เพราะหลายเรื่องเป็น short term game, long term lost โดยเฉพาะเมื่อผสมกับเรื่องคอรัปชั่นยิ่งไปกันใหญ่ รัฐธรรมนูญจะจับเอาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาจัดการอย่างไร ระบบการเมืองไทยไม่แข็งแรงพอที่จะอยู่ยาว ฉะนั้น ก็จะตีหัวเข้าบ้านไว้ก่อน เอาเสียงไว้ก่อน การมองอะไรไม่ยาว พฤติกรรมจึงออกมาเป็นประชานิยมไม่ลืมหูลืมตา ตรงนี้เราจะแก้ยังไง ในทิศทางที่ทำให้การเมืองนั้นอยู่ยาวขึ้น บนความชอบธรรม ถูกต้องตามครรลองด้วย

เขากล่าวว่า เพื่อจะไปถึงสิ่งนั้นเราต้องเปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคม สิ่งที่เกิดขึ้นในเสื้อเหลืองเสื้อแดงนั้น ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาทัศนคติระหว่างคนชนชันกลางกับชนชั้นล่าง เรายังติดนิสัยแบบศักดินาอยู่หรือเปล่า ตามภาษาคนเสื้อแดงที่บอกว่ายังมองคนรากหญ้าเป็นไพร่

"เราต้องปรับสังคมใหม่ว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใครในสังคมก็ตาม มันต้องคุยกันแบบ mutual respect และ recognize ซึ่งกันและกัน พลเมืองที่ตื่นตัวจะเกิดขึ้นเมื่อมีเสาหลัก ตัวค้ำจุนที่ชัดเจน คือ กรอบของธรรมาภิบาล กรอบของความยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย  กรอบของระบบคุณค่า จิตสำนึกร่วมว่ายังไงก็เป็นคนไทย มีความภาคภูมิใจในตัวเอง พร้อมๆ กับการต้องลดความเหลื่อมล้ำลงทั้งที่เกิดจากการกระทำและความรู้สึก"  

"รัฐธรรมนูญจะไปได้โลดเลยถ้าปลดล็อค 4 คำนี้ ทำอย่างไรให้สังคมไทย clear care fair share"

เขากล่าวว่า ความยุติธรรมจะเกิดจากไหน มันต้องมีกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่เอื้อใครคนใดคนหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ไม่จำเป็นต้องมีเยอะ  ไม่ต้องมีอะไรอุ้ยอ้าย หากทุกคนในชาติมีจิตสำนึกของคุณธรรมจริยธรรม หาก social norm แข็งแรงพอ ทุกคนมี integrity (การยึดถือหลักคุณธรรม) มากพอ ความยุติธรรมจะเกิดเองโดยไม่ต้องมีกฎหมายมากมาย ปฐมบทคือจิตสำนึกในคุณธรรมจริยธรรม กฎหมายจะเป็นตัวเติมเต็มในการสร้างความสงบเรียบร้อยและความยุติธรรมในสังคม

"การมีความเป็นธรรมในสังคมดีไหม ดี แต่สังคมเมื่อเป็นธรรมแล้ว คนก็อาจจะเอารัดเอาเปรียบจากการที่ตัวเองมีความรู้ความสามารถมากกว่า มีเงินมากกว่า เพราะสังคมเป็นธรรมแล้วนี้ เพราะฉะนั้น ต้องสร้างให้คนมีจิตสำนึกพอเพียงด้วยในขณะเดียวกัน แต่มีแต่จิตสำนึกพอเพียงแต่สังคมไม่เป็นธรรมก็ไม่มีประโยชน์ ทั้งคู่ต้องไปด้วยกัน เมื่อทั้งคู่ไม่มีสังคมไทยถึงไม่มี clear care fair share หากมี 4 อันนี้รัฐธรรมนูญก็ไม่ต้องมีถึงฉบับที่เท่าไรๆ แล้ว เพราะมีแค่นั้นก็เพียงพอแล้ว มันเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมรับรู้และพยายามไปสู่จุดเดียวกันอยู่แล้ว"  

เรากำลังจะเปลี่ยนแปลงสังคม จากสังคมอุปถัมภ์ อำนาจนิยม อภิสิทธินิยม ศักดินานิยม มาเป็นสังคมที่ clear care fair share สร้างพลเมืองที่ตื่นตัว ทุกคนมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม เน้นการมีส่วนร่วม ให้เป็นสังคมควบคุมสังคม และสังคมควบคุมรัฐในเวลาเดียวกัน ฉะนั้น รัฐธรรมนูญไทยจะต้องมีบริบททั้งภายใน ภายนอก เราจะต้องสามารถตอบโจทย์การบริหารจัดการประเทศในเวทีโลกได้ พร้อมๆ กับความแนบแน่นของภาคประชาชนในระดับท้องถิ่นได้ในเวลาเดียวกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บิดาของฮุน เซ็น เสียชีวิตด้วยวัย 89 ปี

Posted: 12 Jul 2013 01:05 AM PDT

สถานีโทรทัศน์ของทางการกัมพูชา ประกาศเมื่อเช้านี้ว่า "ฮุน เนียง" บิดาของฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเสียชีวิตแล้ว โดยข่าวการเสียชีวิตเกิดขึ้นก่อนการจัดเลือกตั้งทั่วไป 28 ก.ค. นี้

สถานีโทรทัศน์ของทางการกัมพูชา ประกาศเมื่อเช้าวันนี้ว่า "ฮุน เนียง" บิดาของฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรี เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 89 ปี โดยบิดาของฮุน เซ็น เจ็บป่วยและพักรักษาตัวมาหลายเดือน ก่อนจะเสียชีวิตช่วงเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมา

ข่าวของทางการกัมพูชาระบุว่า ฮุน เนียง มีลูก 6 คน มีหลาน 30 คน มีเหลน 66 คน ฮุน เนียงเป็นพ่อที่ดี เป็นพุทธศาสนิกชน สร้างโรงเรียนหลายแห่ง ซ่อมศาสนสถาน ช่วยเหลือชาวนายากจนด้วยการก่อสร้างบ่อน้ำ

โดยข่าวการเสียชีวิตของเขาเกิดขึ้นก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชา 28 ก.ค. นี้ ซึ่งคาดหมายว่า "ฮุน เซ็น" ซึ่งครองอำนาจมายาวนานกว่า 28 ปีจะชนะอีกรอบ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปัญหาการบังคับศีลธรรมโดยกฎหมาย: กรณีของจีนและไทย

Posted: 11 Jul 2013 11:48 PM PDT

บทนำ
 
เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวว่า มารดาวัย 77 ปีชาวจีน ได้ยื่นฟ้องบุตรสาว หลังจากเธอปฏิเสธที่จะดูแลมารดาอีกต่อไป โดยศาลเมืองอู๋ซีได้ตัดสินให้ลูกต้องไปเยี่ยมแม่ของเธอทุกๆ 2 เดือนเป็นอย่างน้อย มิฉะนั้นจะต้องจ่ายค่าชดเชย ทั้งนี้ศาลได้ตัดสินให้เป็นไปตากฎหมายใหม่คือกฎหมายการคุ้มครองผู้สูงอายุซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ผู้เขียนอ่านข่าวนี้แล้วเห็นว่ามีประเด็นเกี่ยวข้องกับปัญหาทางนิติปรัชญาแฝงอยู่จึงอยากตั้งเป็นข้อสังเกตเผื่อว่าอาจเป็นประโยชน์ต่อการอภิปรายถกเถียงต่อไปในสังคมไทย
 
1. ควรหรือไม่ที่จะมีการบังคับทางศีลธรรมโดยกฎหมาย
 
หนึ่งในบรรดาคำถามสำคัญในทางนิติปรัชญาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ทุกวันนี้คือควรหรือไม่ที่รัฐจะบังคับให้ประชาชนในสังคมมีศีลธรรมโดยผ่านทางการคับใช้กฎหมาย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ควรหรือไม่ที่จะให้การกระทำที่ผิดศีลธรรมเป็นความผิดทางอาญาไปด้วย ปัญหานี้เกิดขึ้นมาหลายทศวรรษแล้วที่ประเทศอังกฤษ โดยสมัยก่อน พฤติกรรมรักร่วมเพศ (Homosexuality)  เป็นความผิดอาญา ต่อมาได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา 1 ชุด โดยมี John  Wolfenden เป็นประธาน โดยคณะกรรมาธิการชุดนี้ได้จัดทำรายงานขึ้นมา 1 ฉบับ เป็นที่รู้จักกันดีในนาม Wolfenden  Report โดยเสนอว่าไม่ควรให้พฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นความผิดอาญาอีกต่อไป โดยให้เหตุผลว่าควรแยกเรื่อง "บาป" (sin) ออกจาก "อาชญากรรม" ในเรื่องที่แม้จะไม่ถูกศีลธรรมส่วนตัว แต่ก็ไม่ใช่ธุระของกฎหมาย (not the law's business)[1]
 
หลังจากที่รายงานฉบับนี้ทำออกมารัฐสภาก็แก้ไขกฎหมายยกเลิกความผิดฐานรักร่วมเพศในอีกไม่กี่ปีต่อมา หลังไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ได้สร้างประเด็นถกเถียงปัญหาทางนิติปรัชญา จนกลายเป็นวิวาทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรายงานนี้ และเป็นประเด็นใหญ่ที่วงการกฎหมายกฎหมายทั่วโลกต่างพากันให้ความสำคัญโดยผู้คัดค้านได้แก่ ผู้พิพากษา Patrick  Devlin กับผู้สนับสนุนคือศาสตราจารย์ H.A.L. Hart แห่งมหาวิทยาลัย Oxford ผู้พิพากษา Devlin เห็นว่า รัฐอำนาจที่จะตรากฎหมายบังคับเรื่องศีลธรรม และหน้าที่ของกฎหมายอาญาคือการบังคับเรื่องศีลธรรม[2] นอกจากนี้ สังคมมีสิทธิที่จะปกป้องศีลธรรมของส่วนรวมด้วย หากปล่อยให้มีการกระทำผิดศีลธรรม สังคมนั้นอาจล่มสลายได้ ในขณะที่ ศาสตราจารย์ Hart เห็นด้วยกับนักปรัชญาชาวอังกฤษ  อย่างจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ที่เห็นว่า ผู้ปกครองจะเข้ามารุกล้ำหรือจำกัดเสรีภาพของประชาชนได้ต่อเมื่อการกระทำนั้นเป็นภัยหรืออันตรายแก่ผู้อื่น[3] หากการกระทำใดไม่เป็นอันตรายแก่ผู้อื่นแล้ว รัฐไม่ควรตราให้การกระทำนั้นเป็นความผิดอาญาแม้ว่ากระทำนั้นจะไม่ถูกศีลธรรมก็ตาม นอกจากนี้ Hart ยังให้เหตุผลอีกว่าการมีศีลธรรมนั้นควรเป็นเรื่องของความสมัครใจ การอบรมสั่งสอนมากกว่าการบังคับหรือการลงโทษทางกฎหมายหากละเว้นไม่กระทำ[4]
 
ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมนั้นจัดว่าเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่สุดในทางนิติปรัชญาและเป็นปัญหาละเอียดอ่อนที่มีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้าน
 
2. ปัญหาของกฎหมายจีน
 
หลังจากที่จีนเปิดตลาดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้นเป็นผลให้ประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านและหนึ่งในนั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม การที่จีนออกกฎหมายบังคับให้ลูกต้องไปเยี่ยมพ่อแม่นั้นเกิดคำถามตามมามากมายว่า อะไรคือมูลฐานของกฎหมายฉบับนี้ๆจะมีผลใช้บังคับได้จริงหรือ หากพิจารณาในมุมของ Devlin จีนมีความชอบธรรมที่จะตรากฎหมายฉบับนี้เพื่อให้คนจีนมีความกตัญญูรู้คุณของพ่อแม่ หรือให้มีความเคารพนับถือผู้หลักผู้ใหญ่ การปล่อยปละละเลยไม่สนใจปัญหานี้นานๆเข้าอาจทำให้สังคมเสื่อมลง แต่หากพิจารณาในมุมของ Mill และ ศาสตราจารย์ Hart แล้ว กฎหมายฉบับนี้เข้าไปก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของปัจเจกชน อีกทั้งการบังคับให้ปฎิบัติตามกฎหมายก็มิได้แสดงถึงความเป็นผู้มีศีลธรรมแต่อย่างใด เนื่องจากการไปเยี่ยมพ่อแม่นั้นอาจมิได้มาจากใจที่แท้จริงแต่มาจากความกลัวจากการถูกกฎหมายลงโทษ
 
ปัญหาการบังคับศีลธรรมโดยใช้กฎหมายหรือปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมนั้นเป็นปัญหาที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและโต้แย้งเสมอ และอาจไม่ยุติด้วยการทำประชามติเพราะก็จะมีข้อโต้แย้งเรื่อง "เสียงข้างมากลากไป" อีก
 
3. ปัญหากฎหมายกับศีลธรรมในสังคมไทย
 
หันมาดูกฎหมายไทยบ้าง มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามประกาศนี้ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันพระใหญ่ 4 วัน ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา โดยมีข้อยกเว้นกรณีการขายในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวในประเทศไทยและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ประกาศนี้ก็แฝงคำถามที่ชวนสงสัยดังนี้
 
ประการแรก อะไรคือวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ ในเบื้องแรกเห็นได้ชัดว่า กฎหมายฉบับนี้มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี เพราะประกาศนี้ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ 4 วัน การห้ามขายเพียง 4 วันใน 1 ปีไม่พอที่จะให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นมาได้ ฉะนั้นประกาศนี้จึงมิได้ออกมาโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลทางสุขภาพ จึงชวนคิดต่อไปว่า หรือว่าประกาศฉบับนี้มีเหตุผลทางศีลธรรมรองรับ กล่าวคือ เพื่อต้องการให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี จึงจำเป็นต้องห้ามขายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในวันดังกล่าว แต่มีคำถามว่า การจะเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีจำเป็นต้องอาศัยแรงบังคับของกฎหมายเพื่อให้ชาวพุทธต้องไม่ละเมิดศีลข้อที่ 5 สุราเมรัยหรือไม่ การที่ชาวพุทธจะงดเว้นจากการดื่มเหล้าในวันสำคัญทางศาสนาหรือวันอื่นๆก็ตามควรมาจากจิตใจมโนธรรมสำนึกของผู้นั้นจะดีกว่า การงดซื้อเหล้าเพราะ "กลัวกฎหมาย" กับการงดซื้อเหล้าเพราะ "กลัวผิดศีลข้อที่ 5" ย่อมสะท้อนพื้นฐานทางจิตใจที่ต่างกันอย่างแน่นอน อีกทั้งการงดซื้อเหล้าเพียงแค่ 4 วันใน 365 วัน ก็มิได้ทำให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีขึ้นมาได้
 
ประการที่สอง กฎหมายนี้มีข้อยกเว้นคือให้ขายได้ในโรงแรมโดยให้เหตุผลว่าต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวซึ่งดูเหมือนว่ารัฐให้คุณค่า "ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ" มากกว่า "ความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี" ใช่หรือไม่ และในกรณีที่ทั้งสองอย่างไปด้วยกันไม่ได้ รัฐเลือกสนับสนุนอย่างแรกมากกว่า
 
ประการที่สาม  ประกาศนี้น่าจะสะท้อนความอ่อนแอของวงการพระสงฆ์ที่ไม่สามารถทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาได้แม้แต่เรื่องพื้นฐานอย่างศีล 5 จนกระทั่งรัฐต้องยื่นมือเข้ามาบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด แต่กลับกลายเป็นว่า "รัฐ" กำลังทำหน้าที่แทน "พระสงฆ์"
 
นอกจากนี้ สังคมไทยก็ไม่หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเผชิญปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมว่าควรมีความเกี่ยวข้องกันมากน้อยแค่ไหนเพียงไร ในอนาคตสังคมไทยอาจเผชิญกับปัญหาเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิต การุณยฆาต (Euthanasia) การเรียกร้องให้มีการยอมรับการสมรสของเพศเดียวกัน (same sex marriage) ควรทำให้การพนัน (การเปิดบ่อนพนัน) เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายหรือไม่ หรือแม้กระทั่งปัญหาว่าการสมรสซ้อน (Bigamy) สมควรเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ซึ่งหลายประเทศถือว่าเป็นความผิดอาญา
 
บทส่งท้าย
 
ทั้งกฎหมายจีนและกฎหมายไทยเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงวิธีคิดเกี่ยวกับการบังคับ "ศีลธรรม" โดยผ่านกลไกของ "กฎหมาย" กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการยืมมือกฎหมายบังคับให้ "พลเมือง" เป็น "คนดี"นั่นเอง แต่คำถามมีว่า การบังคับใช้กฎหมายแบบนี้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่  แน่นอน กฎหมายย่อมมีพื้นฐานมาจากศีลธรรมและแยกออกจากศีลธรรมไม่ได้ แต่กฎหมายไม่สามารถบังคับให้เป็นคนดี หรือพุทธศาสนาสนิกชนที่ดีได้ ศีลธรรมหรือคุณธรรมเป็นเรื่องของการปลูกฝังอบรมมาตั้งแต่ครอบครัวและในโรงเรียนมายาวนาน อย่างที่ Immanuel Kant อธิบาย เจตจำนงเสรี (Free will) เป็นรากฐานของศีลธรรมโดยที่ไม่มีปัจจัยภายนอก (ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ) เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของบุคคลนั้น
 
ประการสุดท้าย น่าคิดว่ากฎหมายจีนฉบับนี้สะท้อนปัญหาอะไร สะท้อนความล้มเหลวของนโยบายให้มีลูกคนเดียว (One child policy) เพราะหากมีลูกหลายคน ก็สามารถแบ่งผลัดหน้าที่ไปเยี่ยมเยียนพ่อแม่ได้ หรือสะท้อนด้านมืดของระบบทุนนิยมที่คนในวัยทำงาน (ถูกบังคับกลายๆ) ต้องมุ่งหาเงินและดาหน้าเข้าสู่เมืองใหญ่ปล่อยให้คนแก่ชราอยู่เฝ้าบ้านเพียงลำพัง หรือสะท้อนความหมดอิทธิพลของปรัชญาตะวันออกอย่างลัทธิขงจื้อ จึงทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้ในสังคมจีน และในอนาคตสังคมไทยจะมีการออกกฎหมายแบบนี้หรือไม่เป็นปัญหาที่น่าคิด
 
วันนี้คุณกลับไปเยี่ยมพ่อแม่แล้วหรือยัง!!!
 

[1] Patrick Devlin, The Enforcement of Morals, (USA: Oxford University Press, 1965), หน้า 3
[2] เพิ่งอ้าง, หน้า 7
[3] John Stuart Mill, On Liberty,  (New York: The Liberal Arts Press,1956), Chapter 1 Introductory
[4] HLA Hart, Law, Liberty and Morality, (USA: A Vintage Book, 1966),หน้า 58

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฟุตบอลนัดพิเศษแมนยู-ไทยร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กพิการทางสติปัญญา

Posted: 11 Jul 2013 10:54 PM PDT

 
12 ก.ค. 56 – องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และมูลนิธิแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้สนับสนุนให้เด็กผู้พิการทางสติปัญญาจำนวน 36 คน เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษระหว่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดและนักเตะไทยที่สนามราชมังคลากีฬาสถานในวันศุกร์ (รอบซ้อม) และวันเสาร์นี้ (รอบแข่งจริง)
 
เด็กๆ ผู้พิการทางสติปัญญากลุ่มนี้อายุตั้งแต่ 10-17 ปี มาจากโรงเรียนหลายแห่งในจังหวัดกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ลพบุรี และสุพรรณบุรี หลายคนเป็นนักกีฬาในโครงการสเปเชียลโอลิมปิกส์ ซึ่งเป็นโครงการที่จัดอบรมทักษะทางกีฬาและจัดการแข่งขันกีฬาให้แก่เด็กพิการทางสติปัญญากว่า 16,000 คนทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากยูนิเซฟ เพื่อมุ่งส่งเสริมการพัฒนาทางสุขภาพ อารมณ์ และสังคมให้แก่เด็กๆ
 
"การได้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลโดยนักเตะระดับโลกเช่นนี้ จะเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เด็กๆ ผู้พิการทางสติปัญญา" นายพิชัย ราชภัณฑารี ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยกล่าว โดยเขาเสริมว่าเด็กพิการทางสติปัญญาเป็นกลุ่มที่ขาดโอกาสที่สุดกลุ่มหนึ่งในสังคม และมักเป็นกลุ่มที่ถูกลืม ดังนั้นทุกฝ่ายควรร่วมมือกันเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆ เหล่านี้ได้รับสิทธิและโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ตลอดจนการได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
 
"นั่นรวมถึงโอกาสที่จะได้เข้าร่วมในกิจกรรมกีฬาต่างๆ เพราะเราพบว่ากีฬาสามารถช่วยเด็กๆ กลุ่มนี้พัฒนาร่างกายและอารมณ์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยเด็กๆ พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้อื่นอีกด้วย" นายพิชัยกล่าว
 
จากการสำรวจความพิการ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2550 พบว่าในประเทศไทยมีผู้พิการจำนวนประมาณ 1.9 ล้านคน และข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่า มีผู้พิการทางสติปัญญาประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กถึง 600,000 คน
 
ยูนิเซฟทำงานร่วมกับมูลนิธิแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เพื่อใช้ฟุตบอลเป็นสื่อในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กทั่วโลก จวบจนถึงปัจจุบัน สโมสรได้ช่วยยูนิเซฟระดมทุนกว่า 3 ล้านปอนด์ และช่วยเหลือเด็กกว่า 3.4 ล้านคนทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้น ในปีพ.ศ. 2548 สโมสรได้สนับสนุนเงินสร้างโรงยิมเนเซียมเพื่อใช้จัดกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ที่บ้านเกร็ดตระการ ซึ่งเป็นสถานคุ้มครองเด็กและสตรีที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ การถูกทำร้ายและการถูกแสวงประโยชน์ 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุภิญญาเตือน จับตาใบอนุญาตทีวีสาธารณะประเภท 3 หลังออกหนังสือเชิญชวน

Posted: 11 Jul 2013 10:48 PM PDT

สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. และหนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ได้ให้ความเห็นหลังการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะต่อร่างร่างหนังสือเชิญเข้าร่วมขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล บริการสาธารณะ ประเภท 3 ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน ได้กล่าวว่า "เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการพิจารณาให้ใบอนุญาตทีวีสาธารณะไม่มีการออกประกาศหลักเกณฑ์คัดเลือก หรือ เกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ ซึ่งที่ผ่านมาตนได้สงวนความคิดเห็นไว้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องไว้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปอยากให้สังคมช่วยจับตาเงื่อนไขการออกใบอนุญาต ทั้งในเรื่องของการพิจารณาออกใบอนุญาตรายช่อง  

สุภิญญากล่าวต่อว่า ใบอนุญาตประเภทที่ 3 ที่คาดว่ามีแนวโน้มในการจัดสรรช่องนี้ให้กับรัฐสภา และถือเป็นโมเดลทีวีสาธารณะช่องแรกๆของการออกอากาศในระบบดิจิตอล ตนเห็นว่า ควรเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่าย ทุกพรรคการเมือง รวมถึงวุฒิสภาด้วย และกลุ่มอื่นๆในสังคมที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเข้าไปใช้สถานีนี้ด้วย เพราะเชื่อว่าช่องนี้จะส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วยที่จะสามารถรับข้อมูลข่าวสารทุกฝ่ายรอบด้านอย่างเป็นกลางและตอบสนองผลประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทำหน้าที่ของ กสทช.ที่จะต้องสร้างเงื่อนไขการพิจารณาเงื่อนไขรายละเอียดของแต่ละช่อง ทั้งในเรื่องการบริหารจัดการ ผังรายการ และการหารายได้ หลังเริ่มกระบวนการยื่นคำขอรับใบอนุญาตและการพิจารณาออกใบอนุญาต. 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น