ประชาไท | Prachatai3.info |
- 108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง
- ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง
- ชาญวิทย์ชี้ ที่ผ่านมา กม.นิรโทษกรรมส่วนใหญ่ นิรโทษให้ชนชั้นนำ
- พวงทอง ภวัครพันธุ์: ทะเลาะกันไปทำไม
- “การพัฒนาสู่ความทันสมัย” กับวิถีชีวิตคนม้ง คนเมือง
- ศปช.แถลง นิรโทษกรรมแก้ไขความผิดพลาดปฎิบัติการของรัฐ คืนความยุติธรรมให้กับประชาชน
- 'พงศ์เทพ' เผยรัฐบาลเปิดกว้างรับฟังทุกกลุ่มต้านนิรโทษกรรม
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: 5 ปี ดา ตอร์ปิโด
- รำลึก 66 ปีแห่งการจากไปของนายพลอองซาน โศกนาฏกรรมแห่งปางหลวง กับอนาคตที่ริบหรี่ของ “สหภาพเมียนมาร์”
108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง Posted: 26 Jul 2013 02:24 PM PDT ชมวิดีโอการอภิปรายของนักวิชาการถึงเหตุผลที่จะต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง กฤตยา อาชวนิจกุล จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย การอภิปรายนี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน "108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง" จัดโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) เมื่อวันที่ 26 ก.ค.56 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน กฤตยา อาชวนิจกุล
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
จาตุรนต์ ฉายแสง ติดตามชมวิดีโอการอภิปรายของ ธงชัย วินิจจะกูล, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์, อภินันท์ บัวหภักดี และสุดา รังกุพันธุ์ ได้ที่ประชาไท เร็วๆ นี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง Posted: 26 Jul 2013 04:46 AM PDT เอกสารประกอบการอภิปรายระดมทุนเพื่อช่วยนักโทษการเมืองเรื่อง '108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง' 1. ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ที่ปรากฏในรายงาน "ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา – พฤษภา 53" เป็นข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ที่มีการจับกุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555[1] ตาราง 1 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีและจำนวนคดีจำแนกตามศาลและภูมิภาค
ตาราง 2 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีจำแนกตามศาลและประเภทคดีที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในแต่ละภูมิภาค
ตาราง 3 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี และผู้ต้องขังจำแนกตามสถานะของคดี
* บางคนถูกดำเนินคดีมากกว่า 1 คดี ** เป็นนักโทษคดีเสพและครอบครองยาเสพติด พร้อมทั้งฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จำนวน 5 คน 2. ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ปรับข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 2.1 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีรวม 1,833 คน (1,451 คดี) โดยมี - จำนวนผู้ถูกฟ้องเพิ่ม 2 ราย (เดิมถูกจับกุมแต่อัยการสั่งไม่ฟ้อง) ข้อหาบุกรุกศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร และมั่วสุมก่อความวุ่นวาย 1 ราย (เยาวชน) และข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.อาวุธปืน(กรุงเทพฯ) 1 ราย - จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีแต่ข้อมูลตกหล่น 68 ราย ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.อาวุธปืน(กรุงเทพฯ) 1 ราย ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกนอกเคหสถาน (เชียงใหม่) 67 ราย 2.2 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว ประมาณ 1,644 คน อยู่ระหว่างจำคุก 5 คน 2.3 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดียังไม่สิ้นสุด ประมาณ 150 คน ได้ประกัน 137 คน (คดีก่อการร้าย 24 คน) ไม่ได้ประกัน(อยู่ในเรือนจำต่างๆ) 13 คน 2.4 จำนวนหมายจับที่ยังจับกุมไม่ได้ (เท่าที่มีข้อมูล) - จ.มุกดาหาร 65 หมาย[2] - จ.อุดรฯ 50 หมาย - จ.อุบลฯ คดีเผาศาลากลาง 44 หมาย คดีอื่นๆ จำนวนหลักร้อย - จ.ขอนแก่น จำนวนหลักร้อย - เชียงใหม่ไม่ทราบแน่ 2.5 ตัวอย่างคดีที่ถูกฟ้องมากกว่าหนึ่งข้อหา และคดีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องแต่อัยการตัดสินใจอุทธรณ์คดีต่อ[3] (1) กรณีอุดรธานี – นายอาทิตย์ ทองสาย จำคุก 20 ปี, นายกิตติพงษ์ ชัยกัง จำคุก 10 ปี 3 เดือน, นายเดชา คมขำ จำคุก 20 ปี 6 เดือน, นายบัวเรียน แพงสา จำคุก 20 ปี 6 เดือน และแต่ละคนต้องชดใช้ค่าเสียหายอีกคนละตั้งแต่ 31-47.3 ล้านบาท นอกจากข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและวางเพลิงที่ว่าการอำเภอแล้ว ทั้ง 4 คนนี้ ยังมีความผิดฐานก่อความวุ่นวาย + บุกรุกโดยมีอาวุธ + และทำให้เสียทรัพย์ (รถดับเพลิง) (2) กรณีอุบลราชธานี - น.ส.ปัทมา มูลมิล,นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ, นายสนอง เกตุสุวรรณ์, นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ ทั้ง 4 คนนี้ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ลดให้คนละ 1 ใน 3 เหลือ 34 ปี นอกจากความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และวางเพลิงเผาศาลากลางอุบลราชธานี ศาลตัดสินให้พวกเขามีความผิดฐานก่อความวุ่นวาย + กีดขวางทางจราจร + และทำให้เสียทรัพย์ของเอกชน (ร้านค้าเอกชนในพื้นที่ศาลากลางถูกเพลิงไหม้ไปด้วย) ต่อให้ตัดข้อหาเผาศาลากลางและ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไป นักโทษจากอุดรฯและอุบลฯ ก็อาจต้องโทษจำคุกอีกคนละหลายปี (3) กรณีนายประสงค์ มณีอินทร์ และนายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ จำคุกคนละ 11 ปี 8 เดือน ปรับ 6,100 บาท ในฐานความผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน + มีวัตถุระเบิดและเครื่องวิทยุชนิดมือถือโดยไม่ได้รับอนุญาต + พกพาวัตถุระเบิดและอาวุธต่าง ๆ + ปล้นทรัพย์ (4) นายคำหล้า ชมชื่น จำคุก 10 ปี มีความผิดฐานปล้นปืน (เอ็ม 16) จากเจ้าหน้าที่ทหาร 2 กระบอก บริเวณซอยหมอเหล็ง (แท้จริงคือการรุมล้อมรถทหารที่เข้ามาบริเวณสี่แยกดินแดง มีการแย่งปืนและดึงทหารลงจากรถ) (5) นายบัณฑิต สิทธิทุม จำคุก 38 ปี มีความผิดฐานก่อการร้าย + พกพาอาวุธปืนกล + มีวัตถุระเบิด + ใช้และครอบครองเครื่องยิงจรวดจำคุก (ใช้อาร์พีจียิ่งใส่ ก.กลาโหม) + ใช้เอกสารราชการปลอม (แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม) + พกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันควร (6) คดีผู้หญิงยิง ฮ. – คดีนี้มีจำเลย 3 คน คือ 1.นางนฤมล หรือจ๋า วรุณรุ่งโรจน์ 2. นายสุรชัย นิลโสภา 3. นายชาตรี ศรีจินดา ถูกฟ้องข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด สิ่งเทียมอาวุธ และปลอมแปลงเอกสารราชการ ศาลชั้นต้นยกฟ้องทั้งสามคน แต่อัยการอุทธรณ์จำเลยที่ 1 (นางนฤมล) ส่วนจำเลยที่ 2 เสียชีวิต และไม่อุทธรณ์จำเลยที่ 3 หากร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับประชาชนผ่านสภา นางนฤมลก็ยังต้องถูกดำเนินคดีต่อไป (7) คดีเผาเซ็นทรัลเวิร์ล – แม้ว่าศาลชั้นต้นจะยกฟ้องนายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ ไปแล้วก็ตาม แต่อัยการตัดสินใจอุทธรณ์คดีนี้ต่อไป 3. ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี (เท่าที่รวบรวมได้) 55 ราย จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว 23 ราย จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดียังไม่สิ้นสุด 23 ราย (ไม่ทราบสถานะคดี 9 ราย) · ข้อสังเกต/ข้อเสนอของ ศปช. 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 53 ของ ศปช. เป็นเพียงความพยายามขององค์กรภาคประชาชนเล็กๆ ในการทำให้สังคมได้มองเห็นภาพรวมของปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ดังนั้น ข้อมูลของ ศปช.จึงอาจยังไม่ครอบคลุมจำนวนผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง โดยเฉพาะจำนวนและรายชื่อของผู้ที่ถูกออกหมายจับแต่ยังไม่มีการจับกุม และผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ เนื่องจาก ศปช.ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้ได้ ดังนั้น หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงควรต้องใช้กลไกของตนในการแสวงหาข้อมูล ผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลยุติธรรม หรือเปิดรับข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง 2. ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ศปช.พบว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีสาเหตุสำคัญมาจาก ก. การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งนอกจากจะประกาศใช้โดยขาดความจำเป็นแล้ว การที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจเจ้าพนักงานอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งสิทธิในชีวิต สิทธิในร่างกาย สิทธิในการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ฯลฯ โดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม เช่น ทำให้เสียชีวิต จับกุมอย่างเหวี่ยงแห จับกุมโดยไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจน ซ้อมทรมานในขณะจับกุม ยัดของกลาง เป็นต้น ส่งผลให้ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผู้ถูกจับกุมและดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก ข. หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดความยุติธรรม ปกป้องและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากแต่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ป้องปราม และกดทับประชาชน ปัญหาเหล่านี้ดำรงอยู่ในกระบวนการยุติธรรมมาเนิ่นนาน หากแต่ภายใต้สภาพความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเหล่านี้ได้ประทุขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้กฎหมายต่อกลุ่มคนที่เห็นต่าง เช่น บังคับหรือหลอกล่อให้รับสารภาพ บิดเบือนคำให้การ ไม่ให้ประกันตัว ไม่แจ้งสิทธิในการติดต่อทนายหรือญาติ ตั้งข้อหาเกินจริง การใช้ดุลพินิจของศาลที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงใจ และไม่คำนึงถึงบริบททางการเมือง ตลอดจนถึงการที่ศาลไม่ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯลฯ เหล่านี้ ส่งผลให้ผู้ที่ถูกจับกุมและดำเนินคดีถูกศาลพิพากษาลงโทษเป็นส่วนใหญ่ แม้ในปัจจุบันปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองเหล่านี้ก็ยังปรากฏให้เห็น การไม่อนุญาตให้ประกันตัวในบางคดี ทั้งคดีที่มีโทษหนักและโทษเบา (1 ปี) โดยที่บางคดีที่มีโทษหนักกว่าได้รับการประกันตัว พนักงานอัยการยังมีการสั่งฟ้องอยู่เรื่อยๆ ทั้งที่บางกรณีได้สั่งไม่ฟ้องไปแล้ว เช่น มุกดาหาร 1 ราย, ขอนแก่น (เตรียมฟ้อง) 39 ราย, กรุงเทพฯ 2 ราย พนักงานอัยการยังคงอุทธรณ์ในคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เป็นต้น ดังนั้น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นความจำเป็น ไม่ใช่เพื่อลบล้างความผิดให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่ายเพื่อให้หันหน้ากลับมาปรองดองกัน แต่เพื่อเป็นการแก้ไขความผิดพลาดของฝ่ายรัฐ และคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีและสังคม นอกจากนี้ ในระยะยาว ควรต้องผลักดันให้มีการยกเลิกกฎหมายความมั่นคง ตลอดจนผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งยวง ตั้งแต่ชั้นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล และเรือนจำ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริง
[1] สำหรับรายละเอียดของแต่ละคดี จะอยู่ในรายงาน "ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา – พฤษภา 53" ฉบับออนไลน์ ค้นได้จากเว็บไซต์: http://www.pic2010.org. [2] ตัวเลขของมุกดาหารได้มาจากคำเบิกความของตำรวจในศาลเยาวชน มุกดาหาร จะเป็นใครบ้าง ข้อหาอะไรบ้าง ศปช. ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้. [3] พวงทอง ภวัครพันธุ์. 2556. ข้อจำกัดของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2556, จาก ประชาไท เว็บไซต์: http://prachatai.com/journal/2013/07/47796.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชาญวิทย์ชี้ ที่ผ่านมา กม.นิรโทษกรรมส่วนใหญ่ นิรโทษให้ชนชั้นนำ Posted: 26 Jul 2013 03:48 AM PDT อดีตอธิการบดี มธ.ชี้ ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย 81 ปี มี กม.นิรโทษกรรม 22 ฉบับ เฉลี่ยสามปีครึ่งมีกม.นิ ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงาน "108 เหตุผลทำไมต้องนิรโทษกรรมนั ............... ประธานาธิบดีเต็งเส่ง กล่าวระหว่างการปราศรัยที่ Chatham House ในกรุงลอนดอน ให้สัญญาด้วยว่า จะไม่มีนักโทษการเมืองหรือผู้ที่ถูกคุมขังเนื่องจากมีความคิ ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน เว็บไซต์ของประธานาธิดีพม่าระบุ แน่นอนว่าเราอาจไม่เชื่อทั้ แต่สำหรับสยามประเทศไทย ในพ.ศ. 2556 เรากลับต้องมาพูดเรื่อง "108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักการเมือง" นับเป็นความน่าเศร้าอย่างยิ่ง เพราะแท้ที่จริงแล้ว เราไม่ควรจะมีเหตุผลใดๆ ที่จะมี "นักโทษการเมือง" ที่เกิดจากการคิด พูด อ่าน เขียน ที่มีความเห็นไม่ตรงกับอุ ในฐานะนักประวัติศาสตร์ ผมได้พบข้อมูลระหว่าง พ.ศ. 2475 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2556 เป็นเวลา 81 ปีว่า เรามีการออกกฎหมายนิ สาระสำคัญของกฎหมายนิรโทษกรรมทั - ความผิดฐานเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1 ฉบับ- ความผิดฐานก่อกบฎ 6 ฉบับ - ความผิดจากการก่อรัฐประหาร 10 ฉบับ - ความผิดจากการต่อต้ - ความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง 3 ฉบับ - ความผิดจากการกระทำอันเป็นคอมมิ ถ้านับกันตามเวลาแล้ว ในระยะเวลา 81 ปี เฉลี่ยแล้ว 3 ปีครึ่ง เรามีกฎหมายนิรโทษกรรม 1 ฉบับ เหตุที่มีมากเช่นนั้น เพราะเป็นการรวมการรัฐประหาร 10 ฉบับ และความผิดฐานกบฏ 6 ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้ *เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 : พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกั *เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 : พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่ *เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้ ที่กลายเป็นตลกร้ายทางการเมือง คือ กฎหมายที่มุ่งนิ กฎหมายนิรโทษกรรมกลายเป็น "ใบอนุญาตฆ่าประชาชน" ผู้ซึ่งใช้สิทธิในทางการเมื หลังจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ตามมาด้วยความขัดแย้งทางการเมื นี่เป้นเหตุผลที่เรามารวมตัวกั ขณะเดียวกัน การนิรโทษกรรมในปี 2556 ต้องไม่ใช่การนิรโทษกรรมเช่ อย่าให้ประวัติศาสตร์สอนเราว่า เราไม่เคยเรียนรู้อะไรจากประวั
หมายเหตุ: ขอขอบคุณธนาพล อิ๋วสกุล ที่ช่วยเหลือในการตระเตรียมข้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พวงทอง ภวัครพันธุ์: ทะเลาะกันไปทำไม Posted: 26 Jul 2013 03:00 AM PDT หมายเหตุ : รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเผยแพร่ในเฟซบุ๊ก http://www.facebook.com/puangthong.r.pawakapan/ เนื้อหาระบุถึงกรณีความขัดแย้งและวิวาทะที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนร่างพรบ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับ วรชัย เหมะ กับร่างพรบ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับประชาชน มีเนื้อหาดังนี้ ทะเลาะกันไปทำไม หลายคนคงรู้สึกเหมือนเราว่า เวลาเห็นเพื่อน ๆ ในแวดวงคนทำงานการเมืองซึ่งมีแค่หยิบมือเดียว ทะเลาะกันเองแล้ว เศร้า กรณีล่าสุดก็ได้ทำให้คนหลายคนต้องเลิกคบกันไปแล้ว เรื่อง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมน่ะเอง ไม่ได้จะดราม่า แต่อยากชวนให้มองด้านดีของกันและกันให้มากขึ้น กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลที่นำโดย อ.หวาน สุดา รังกุพันธ์ ได้รณรงค์-เรียกร้อง-ต่อสู้ให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมืองมาร่วมปีอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย จัดเสวนาหน้าศาลอาญาทุกวันอาทิตย์ จัดเลี้ยงข้าวนักโทษที่หลักสี่ทุกวันเสาร์ แวะไปเยี่ยมนักโทษ 112 ที่บางขวางเป็นประจำ เป็นศูนย์กลางที่พึ่งทั้งทางใจและทางกายให้กับทั้งนักโทษการเมืองและครอบครัวของพวกเขา เมื่อครั้งที่ไปเยี่ยมนักโทษการเมืองที่คุกหลักสี่ เรายังจำแววตาที่ปนเปไปด้วยความหวัง ความไม่แน่ใจ ความเศร้าเหล่านั้นได้ดี โดยเฉพาะสายตาของ ปัทมา มูลมิล (อายุ 24 ปี) กับธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ (22 ปี) พวกเขาดูเด็กมาก โทษจำคุก 34 ปีมันมากมายเกินไปสำหรับพวกเขา ปัทมาซึ่งเป็นผู้หญิงคนเดียวในคุกหลักสี่ เคยเครียดจนคิดจะฆ่าตัวตาย เรายังได้เจอกับญาติของนักโทษในที่อื่นๆอีก พวกเขาพูดถึงคนที่ตนรักที่ยังติดคุกอย่างไม่รู้อนาคต ด้วยน้ำตาอาบหน้าทุกที นาน ๆ ทีเราจึงจะได้พบกับพวกเขา แต่เราก็กลับบ้านด้วยความเศร้าทุกที แต่อ.หวานและเพื่อนใช้เวลาคลุกคลีอยู่กับพวกเขาอยู่ตลอดเวลา ได้รับรู้ถึงความทุกข์ของพวกเขาอย่างใกล้ชิด กลายเป็นความผูกพัน เป็นภาระหน้าที่ที่ต้องทำ และนี่เองที่เราเชื่อว่าเป็นเหตุผลสำคัญที่ผลักดันให้ อ.หวาน กลายเป็นผู้นำผลักดันเรื่องนิรโทษกรรมอย่างจริงจัง ผลักดันด้วยความหวังที่จะได้เห็นพวกเขาได้ออกมาอยู่ด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง ได้กอดกัน ได้กินข้าวด้วยกันแบบครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง ความหวังที่ดูห่างไกลในช่วงปีที่ผ่านมา เริ่มปรากฏเป็นจริงมากขึ้น เมื่อพรรคเพื่อไทยประกาศว่าจะนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับวรชัย ขึ้นมาเป็นวาระแรกเมื่อเปิดสภา นักโทษในคุกหลักสี่ต่างก็รับรู้ข่าวนี้กันทั้งนั้น ครั้งสุดท้ายที่เราไปเยี่ยมพวกเขา ดวงตาเขาฉายแววความหวังอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งใกล้เปิดสภา ความหวังก็ดูจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ดูจะสนใจอยู่กับการปลดปล่อยนักโทษการเมืองเท่านั้น ยิ่งผูกผันมาก ก็ยิ่งอยากเห็นพวกเขาเป็นอิสระโดยเร็วมากขึ้น เรื่องอื่นไม่สำคัญ ไว้ว่ากันทีหลัง ขอเอานักโทษออกมาก่อน คงเป็นด้วยอารมณ์เช่นนี้เอง เมื่อกลุ่มญาติเสนอร่างนิรโทษกรรมของตนเองออกมา กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลจึงตั้งตัว ตั้งสติไม่ทัน กลัวว่าทุกอย่างจะช้าไปอีก จึงปล่อยคำพูดที่ทิ่มแทงความรู้สึกกลุ่มญาติแบบไม่เกรงใจกัน เพียงหวังว่าจะปกป้องให้กระบวนการเดินไปแบบไม่มีอะไรมาสะดุดขาอีกแล้ว ยิ่งตอบโต้กัน คำพูดก็ยิ่งแรงขึ้นๆ จนกลายเป็นการเหยียบย่ำผู้ตาย การหมกมุ่นอยู่กับเป้าหมายของตนเองมากเกินไป อาจทำให้พวกเขาลืมนึกถึงหัวอกของคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่เห็นลูกของตนถูกยิงทิ้งอย่างอำมหิตด้วยฝีมือทหาร แต่กลับมองว่าการไม่ยอมเลิกรากับคนที่มีส่วนร่วมในการฆาตกรรม เป็นความยุ่งยาก เจ้าปัญหา แท้ที่จริงแล้ว หากเราหันไปดูตัวอย่างของบางประเทศ ที่ประสบความสำเร็จกับการเอาเผด็จการทหารลงมารับโทษอาญาอย่างสาสมกับความผิดของตนนั้น เราจะพบว่าพลังสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น คือ ความรักอันยิ่งใหญ่ที่พ่อแม่มีต่อลูกนั่นเอง อาร์เจนตินาคือกรณีตัวอย่างที่ดีที่สุด เมื่อเผด็จการทหารขึ้นครองอำนาจในปี 1976 พวกเขาทำ "สงครามสกปรก" (Dirty War) ด้วยการอุ้ม-ฆ่า (forced disappearance) คนหนุ่มสาวกว่าสามหมื่นคน คนที่ออกมาป่าวประกาศให้สังคมอาร์เจนตินาและทั่วโลกได้รับรู้ถึงเรื่องราวของสงครามสกปรกนี้ก็คือ บรรดาแม่ๆ (ที่มีพ่อสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง) พวกเขาเริ่มด้วยการนัดเดินขบวนหน้าจัตุรัสเมโย ใกล้ทำเนียบรัฐบาลทุกวันพฤหัสบ่าย 3 โมง จากไม่กี่สิบคน กลายเป็นหลายร้อยคน พวกแม่จะมีผ้าสีขาวโพกหัว อันเป็นสัญลักษณ์ของผ้าอ้อมเด็ก การเคลื่อนไหวได้รับความสนใจจากสื่อทั่วโลกมากขึ้นเมื่ออาร์เจนตินาเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 1978 แม้ว่าผู้นำ 3 คนของ "ขบวนการแม่แห่งจัตุรัสเมโย" จะถูกทหารอุ้มฆ่าไปด้วย แต่คนที่เหลือก็ไม่ยอมละเลิก จนกระทั่งระบอบทหารหมดอำนาจลงจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1984 แม่แห่งจัตุรัสเมโยก็ยังเดินหน้าเรียกร้องให้รัฐบาลพลเรือนสืบค้นหาความจริงและนำผู้นำทหารมาลงโทษให้ได้ ในที่สุด ในปี 1985 ผู้นำทหารหลายคนถูกนำขึ้นพิจารณาคดี และถูกพิพากษาให้มีความผิด แต่กองทัพขู่ว่าจะทำรัฐประหาร ผลปรากฏว่ารัฐบาลยอมถอย สภาคองเกรสออกกฎหมายให้ยุติการพิจารณาคดีทั้งหมด หรือเท่ากับให้อภัยโทษนั่นเอง แม่จำนวนหนึ่งหมดเรี่ยวแรง เลิกราไป แต่ก็ยังมีแม่ที่ไม่ยอมพ่ายแพ้ พวกเขาต่อสู้ต่อไปจนกระทั่งในปี 2003 สภาคองเกรสลงมติยกเลิกกฎหมายอภัยโทษ และในปี 2005 ศาลสูงมีความเห็นว่ากฎหมายอภัยโทษขัดกับรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้การพิจารณาคดีผู้นำทหารเริ่มขึ้นอีกครั้ง หลายคนถูกตัดสินจำคุกหลายสิบปี การต่อสู้ที่ใช้เวลายาวนานถึงสามทศวรรษนี้ หากไม่ใช่ด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ของคนเป็นพ่อแม่ ก็คงยากจะยืนหยัดอยู่ได้ สังคมไทยผ่านโศกนาฏกรรมมาหลายครั้ง คนบริสุทธิ์สูญเสียชีวิตไปโดยไม่สามารถเรียกร้องความยุติธรรมใด ๆ ให้พวกเขาได้ หากใครได้เคยพบเจอพ่อแม่ของคนหนุ่มสาวที่เสียชีวิตในช่วง 14 ตุลา, 6 ตุลา, และพฤษภา 35 ก็คงได้รับรู้ที่ความขมขื่นที่ยังฝังแน่นในใจพวกเขาอยู่ แต่พวกเขาทำอะไรไม่ได้ เพราะชนชั้นนำได้ร่วมมือกันออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับตนเองไปแล้ว แต่ในกรณีเมษา-พฤษภา 2553 สิ่งนี้ยังไม่ได้เกิดขึ้น และเราต้องไม่ปล่อยให้มันเกิดขึ้นง่ายๆ อีกต่อไป หากพ่อแม่ของผู้เสียชีวิตยังไม่หมดเรี่ยวแรงในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมให้กับครอบครัวของพวกเขา พวกเรามีหน้าที่ที่จะต้องสนับสนุน กฎหมายนิรโทษกรรมต้องไม่เพียงช่วยเหลือนักโทษการเมืองที่เป็นชาวบ้านให้พ้นจากการจองจำ แต่มันต้องสามารถป้องกันไม่ให้อาชญากรรมโดยรัฐได้มีโอกาสได้เกิดขึ้นอีกในประเทศได้อีก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“การพัฒนาสู่ความทันสมัย” กับวิถีชีวิตคนม้ง คนเมือง Posted: 26 Jul 2013 02:53 AM PDT ปื้น ปื้น ปื้น ....รถสี่ล้อแดงกำลังเร่งตัวเองตามคันเร่งที่คนขับบังคับอย่างขะมักเขม้นซึ่งรองรับน้ำหนักของนักศึกษาชมรมชาติพันธุ์จำนวนสิบกว่าคนมุ่งหน้าสู่หมู่บ้านม้ง หลังภารกิจในหมู่บ้านปกาเกอะญอผ่านพ้นไป คนขับพยายามบังคับรถอย่างระมัดระวังตามเส้นทางที่ลัดเลี้ยวป่าดงพงไพร ถนนที่ยังไม่ได้เทคอนกรีตแต่ฉาบด้วยเนื้อดินสีแดงดำ ขรุขระ หลุมเล็กใหญ่ที่ประทับรอยรถคันแล้วคันเล่ากลายเป็นสัญญาณ แสดงให้เห็นถึงการสัญจรของยานพาหนะที่บรรทุกของหนักผ่านไปมาตลอดช่วงอายุคน บวกกับเม็ดฝนที่กัดเซาะดินบริเวณสองข้างทางให้ค่อยๆเลื่อนไหลมากองอยู่ริมเส้นทางสัญจร ......สักพักเมื่อรถเคลื่อนตัวสู่ปากทางเข้าหมู่บ้านม้ง ข้าพเจ้าและเพื่อนนักศึกษาก็สัมผัสกลิ่นอายแห่งขุนเขาอันเขียวขจี อากาศบริสุทธิ์ซึ่งน้อยนักที่จะได้สัมผัสในตัวเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากคละคลุ้งไปด้วยควันรถจากท่อไอเสียของคารวานรถยี่ห้อต่างๆ ทัศนียภาพหรืออาณาบริเวณก่อนถึงชุมชนม้ง จัดว่าเป็นที่ราบสลับหุบเขา ที่ยังคงสังเกตเห็นถึงความเขียวชอุ่มของแมกไม้น้อยใหญ่นานาพรรณกระจายตัวระหว่างทาง สลับกับการปลูกพืชเพื่อการค้าขายอย่างกะหล่ำปลีระหว่างทางจึงเหลือบเห็นชาวม้งกำลังตัดกะหล่ำ แบกและขนกะหล่ำขึ้นรถยนต์ โฟว์วิวสีบรอนซ์ถูกนำมาใช้เป็นยานพาหนะบรรทุกกะหล่ำเต็มคันและคาดว่าโฟว์วิวคันหรูดังกล่าวคงมุ่งหน้าไปยังตลาดสักแห่งเพื่อถ่ายเทสินค้า การทำสวนกะหล่ำปลีกลายเป็นอาชีพที่คนม้งยึดเป็นพิเศษ เนื่องจากนำรายได้มาสู่ครอบครัว แต่พืชเศรษฐกิจดังกล่าวก็กลายเป็นพืชสัญลักษณ์หนึ่งที่เกาะติดความเป็นคนม้ง ด้านหนึ่งสะท้อนลักษณะของการเป็นผู้ที่พัฒนา(การหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจ) แต่อีกด้านหนึ่งม้งถูกมองว่าเป็นผู้ที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติม้งถูกมองว่าเป็นผู้ที่ใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ซึ่งต่างจากคนปกาเกอะญอที่รักษาป่า แล้วแท้จริงคนม้งคิดอย่างไร มีการปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างไร และการพัฒนานั้นทำลายความเป็นม้งลงหรือไม่ คำถามดังกล่าวกำลังสารวนกวนใจ และรบเร้าให้หาคำตอบ ซึ่งข้าพเจ้าก็คงต้องอดทนรอว่าคำตอบจากคำถามทางความคิดดังกล่าวจะสะท้อนกลับอย่างไร ทางเลียบขึ้นหมู่บ้านเป็นคอนกรีตลาดยาง แต่คลุกเคล้าด้วยเศษดิน มูลสัตว์ ตัวบ้านม้งสร้างติดพื้นดิน แต่กว้างขว้างแบ่งเป็นสัดส่วน ตัวเรือนเป็นไม้แผ่นซึ่งคงทนพอสมควร ห้องนอน ห้องครัวที่มีเตาหุงข้าวตรงกลางห้อง ห้องรับแขกและพื้นที่ทานข้าวจัดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มุมทานข้าวเป็นตั่งนั่งคล้ายกับบ้านของคนจีน ในแถบทางตอนใต้ ผู้คนมีน้ำใจดีดั่งคนเมือง ที่แขกมาถึงเรือนก็ต้อนรับขับสู้ ข้าวสวยใส่ถุง แกงจืดฝักทองใส่เนื้อหมู แกงอ่อมเนื้อวัวชั่งอร่อยพรั่งพรู ผัดพริกสดเนื้อ และขนมจีนเส้นใหญ่ ถูกวางเรียงรายบนโต๊ะอาหารเพื่อต้อนรับอาจารย์ นักศึกษา อย่างอุ่นหนาฝาครั่ง ประเภทของอาหารบ่งบอกถึงความพิเศษของงานเลี้ยง หรืองานมงคลประจำหมู่บ้านที่มีเนื้อเป็นส่วนประกอบ เช่นเดียวกับงานมงคลของคนเมือง ที่ส่วนใหญ่จะใช้หมูในการประกอบอาหารเลี้ยงในงาน ทั้งลาบหมูดิบ ลาบคั่ว แกงฮังเล ต้มจืด ขนมจีน ฯลฯ มีบ้างที่เป็นเนื้อควาย แต่น้อยนักที่จะใช้เนื้อวัวเพราะกลิ่นของเนื้อวัวจะฉุนแตะจมูก และด้วยราคาที่ไม่ใคร่สมน้ำสมเนื้อนัก แต่สำหรับม้งแล้วหมูถือเป็นสัตว์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมสำคัญ ทว่าเมื่อมีงานมงคลก็จะใช้เนื้อวัว คนม้งจะยังคงรักษาบ้านเรือน ให้เป็นบ้านไม้ แต่ใช้รถโฟว์วีล ซึ่งในหมู่บ้านเกือบทุกหลังคามีรถคันใหญ่ ไว้เป็นเครื่องมือทำมาหากิน บรรทุกของ สินค้า คน เพื่อติดต่อสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่รัฐ หรือ สมาชิกในหมู่บ้านอื่นๆบนพื้นที่ราบ คนม้งอาจจะมีรถยนต์ราคางาม เพื่อเป็นเครื่องแสดงสถานะจนทำให้ม้งได้ชื่อว่า เป็นคนที่พัฒนาแล้ว เป็นผู้ที่ร่ำรวย และนัยยะตามคำกล่าวที่ว่า "เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาแล้ว"ซึ่งต่างจากคนเมืองที่รถไม่ได้เป็นเครื่องหมายที่สลักสำคัญอะไรนัก รถยี่ห้อวีโก น้อยนักที่จะพบในหมู่คนเมือง เฉพาะเจ้าเรือนที่มีฐานะค่อนข้างดีหรือร่ำรวยก็ซื้อวีโกมาขับ ทว่าชาวนาระดับกลางก็จะใช้รถยี่ห้ออีซูซู มาสด้า ที่บรรทุกของ สินค้า และคนเพื่อทำมาหากิน และเวลาไปทางการ เพราะคนเมืองถือว่า จะขับรถอะไรก็ได้ ขอให้มีขับ และส่วนใหญ่จะใช้เพื่อประโยชน์ในการขนถ่ายสินค้า ฉะนั้นรถยนต์จึงไม่จำเป็นต้องมียี่ห้อหรู หรือราคาแพงนัก แต่สิ่งที่คนเมืองให้ความสำคัญยิ่งกว่าก็คือ บ้านเรือน ซึ่งถือเป็นจุดขาย หรือหน้าตาของเจ้าของบ้าน ที่ต้องมีการพัฒนา บ้านถือเป็นเครื่องแสดงสถานะอย่างใหญ่หลวง บ้านเก่าที่โยกเยกสึกกร่อนจะต้องถูกปรับเปลี่ยน แม้จะไม่มี เงินตรา แต่จำเป็นที่จะต้องกู้เพื่อซ่อมและรื้อสร้างใหม่เพราะหากไม่รื้อสร้าง ชาวบ้านในละแวกจะคิดว่าคนผู้นั้นไม่มีความคิดที่จะพัฒนา ฉะนั้นบ้านของคนเมืองจึงถูกปรับเปลี่ยนส่วนหนึ่งก็เพื่อลบคำสบประมาท และต้องกลายเป็นผู้ที่พัฒนาตามสายตาของหมู่คนเมือง สัญลักษณ์ของการพัฒนาไม่ได้มีเพียงเปลือกกะเทาะภายนอกหรือตัวเรือนที่ออกแบบอย่างสวยสดงดงาม ลำต้นเสาเรือนขนาดใหญ่และความวิจิตรศิลป์ที่ถูกตบแต่งด้วยฝีมือของสล่า ที่ถูกจ้างวานมาเป็นตัวแสดงหลักในการออกแบบบ้านเรือนให้มีความวิจิตรพิสดารสมกับฐานะเท่านั้น ทว่าการพัฒนาให้ทันสมัยมันบังคับให้คนเมืองต้องใช้สิ่งของอย่างที่ชนชั้นกลางมีใช้ ข้าวของเครื่องใช้ ภายในบ้านจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญ หรือเครื่องเคียงในการยกระดับสถานะให้สมบูรณ์มากขึ้น ดังนั้น คนเมืองจึงตกอยู่ในภาวะ การเสพวัตถุทางความคิดดั่งคนชั้นกลาง โดยตัวเรือนต้องมีการจัดสัดส่วนให้เหมาะสมกับกิจกรรมเฉพาะ ทั้งห้องรับแขก ที่ต้องมีองค์ประกอบอย่างโซฟา เครื่องเสียง เครื่องเล่น อันแสดงถึงความมีระดับ โก้หรู ห้องครัวเป็นห้องเฉพาะกิจในการประกอบอาหาร ที่คนนอกเข้าไปยาก หรือไม่ควรเข้าไปสัมผัสกอปรกับห้องนอนถูกแยกให้เป็นห้องส่วนตัวที่ไม่ควรก้าวล้ำ สำหรับห้องน้ำแล้วเดิมคนเมืองจะเรียก ส้วม หรือห้องส้วม ซึ่งที่ขับถ่ายและที่อาบน้ำไม่ได้แยกส่วนแต่อยู่ในบริเวณเดียวกัน หากศึกษาย้อนไปถึงความเชื่อเกี่ยวกับการก่อสร้างส้วมของคนเมืองแล้วจะพบว่าคนเมือง มักจะสร้าง "ส้วม" ให้อยู่ห่างจากตัวเรือน เพราะถือว่าเป็นส่วนลับที่ไม่ควรเปิดเผย และเป็นสถานที่อุดจาด แต่ปัจจุบัน ห้องส้วมมีคำเรียกใหม่ให้แลดูถึงการพัฒนา "ห้องน้ำ" จึงกลายมาเป็นส่วนประกอบสร้างหนึ่งของตัวเรือน ที่ต้องสร้างให้ติดกับห้องนอน หรือห้องครัว ห้องน้ำแบบทันสมัยถูกนำมาจัดวางให้กลายเป็นห้องน้ำในตัว หรือของส่วนตัว (ตายายห้องหนึ่ง ลูกสาวลูกชายห้องหนึ่ง) ส่วนหนึ่งอาจเพราะความสะดวกในตอนกลางคืน ที่ไม่ต้องวิ่งกรูลงเรือนเพื่อขับถ่าย หรือเพื่อความสะดวกของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไม่ต้องเดินทางไปห้องน้ำอย่างยากลำบาก แต่ข้าพเจ้าก็สงสัยว่านั่น คือการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของผู้คนทว่าวิธีคิดดังกล่าวมีนัยหมายถึงการยกระดับทางความคิดหรือไม่ซึ่งไม่อาจทราบได้ แต่แนวคิดการพัฒนายังถูกต่อยอดให้ทันต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม จากเดิมที่ห้องส้วมจะประกอบด้วยโถส้วมแบบยกพื้นสูงไม่เกิน 50 เซ็น และใช้ขันราด ถูกรื้อถอนเปลี่ยนเป็นชักโครก ที่นั่งแล้วแลดูดี ชาวบ้านมักจะบอกว่า "การเปลี่ยนมาใช้ชักโครก เพราะสะดวก เด็กใช้ก็ได้ ผู้ใหญ่ใช้ก็ดี นั่งสบาย" จะเห็นว่าวิธีคิดของคนเมืองเปลี่ยนแปลงไป แม้ผู้ที่ฐานะไม่ร่ำรวยก็ต้องพยายามวิ่งเต้น กู้ยืมเงิน เพื่อพัฒนาบ้านเรือนดังกล่าวอย่างปฏิเสธไม่ได้ การแข่งขันกันสร้างความทันสมัย ไม่ได้มีอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกเพียงประการเดียว แต่ปัจจัยภายในสังคมไทย และสังคมคนเมืองเองก็มีส่วนในการปรับตัวมิใช่น้อย นอกเหนือจากเรื่อง รถของคนม้ง และบ้านของคนเมืองที่แสดงถึงวิธีคิดหรือโลกทัศน์ของผู้คนต่อความเป็นไปและความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมไทยแล้ว จะพบว่าประเด็นเรื่องการศึกษาคงจะเป็นประเด็นที่ทั้งสองให้ความสำคัญเช่นกัน แต่มน้อย เนื่องจากการศึกษาเป็นเรื่องของการยกระดับฐานะ ในห้องทึบ แสงสลัวๆ ที่ผู้คนต่างทยอยกันเข้าออก เสียงพูดคุยกันด้วยภาษาม้งคละเคล้ากับรสเสียงของแอลกอฮอล์ดังสนั่นจนข้าพเจ้าต้องแอบมุดไปดูบรรยากาศภายในที่ดูจะคึกคัก ครื้นเคลง ลูกชายเจ้าของบ้านกำลังนั่งอยู่บนตั่งเพื่อให้ผู้เฒ่าผู้แก่ ลุงป้าน้าอา เพื่อนบ้านผูกข้อมือด้วยเส้นด้ายสีขาวที่ติดกันเป็นกลุ่มก้อน แสดงถึงเกลียวของจำนวนที่ผู้คนที่ต่างมาอวยพร ข้าพเจ้ามีโอกาสไปงานผูกข้อมือ เพื่อรับขวัญให้กับลูกชายคนม้งซึ่งกลับมาจากบังคลาเทศและตวัดเส้นด้ายพร้อมกล่าวอวยพรด้วยภาษาคำเมืองขณะที่พันเส้นด้ายลงบนข้อมือของเด็กหนุ่มม้งนี่อาจจะเป็นครั้งแรกของการแสดงความยินดีแก่เด็กม้ง อาจไม่ใช่เพียงแค่การเป็นนักศึกษาที่เข้าไปสังเกตการณ์พิธีกรรมดังกล่าว หรือแขกที่ไม่ได้มีความเป็นม้งโดยชาติกำเนิด ทว่าก็เป็นกาลเวลาเหมาะทีเดียว ที่คำอวยพรภาษาคำเมือง ที่แสดงถึงความหวงหาอาทรเด็กม้งและเด็กชาติพันธุ์ในโลกว่า เด็กก็คือผลผลิตของสังคม หากขาดการดูแลเอาใจใส่แบ่งแยกทางชาติพันธุ์ สังคมก็ไม่เกิดการพัฒนาไปได้ดอก ด้ายเส้นนั้นจึงเป็นตัวแทนส่งผ่านความรู้สึกนึกคิดของข้าพเจ้า ว่าจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกัน จะทำให้เราในฐานะชาติพันธุ์พร้อมจะหยิบยื่นสิ่งดีๆ คำพูดและความยินดี ให้แก่กันและกัน โดยคิดเสมอว่าเด็กเหล่านี้ก็คือสมาชิกของมนุษยชาติ ที่จะเติบโตไปเป็นกำลังในการขับเคลื่อนสังคม การกลับมาของลูกชายคนม้งหลังจากเรียนจบคงเป็นนิมิตหมายอันดีควรค่าแก่การที่ชุมชนม้งจะต้องจัดงานเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ เพราะการได้ออกไปศึกษาเล่าเรียนในต่างแดน คนม้งถือว่าเป็นโอกาสของลูกชายม้งที่จะรับข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ การได้เห็นโลกอีกโลกหนึ่งที่แตกต่างจากภายในหมู่บ้านตนเองแล้วกลับมาเล่าสู่ผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่พี่น้องและลูกหลานม้ง กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ลูกหลานม้งสนใจและใฝ่ใจในการศึกษา และใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือหรือติดอาวุธทางปัญญา เพื่อให้ม้งได้รับการพัฒนา ฉะนั้นลูกชายม้งดังกล่าวจะต้องถูกยกย่องชื่นชมในฐานะเป็นลูกหลานคนม้งไม่ใช่แค่เพียงลูกชายของครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งหรือตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ซึ่งต่างกับคนเมือง ที่ความเป็นลูกหลานของคนเมืองมิได้อยู่ในสำนึกของผู้คน ทั้งหมู่บ้าน เมื่อความทันสมัยเข้าสู่หมู่บ้าน ผู้คนต่างแข่งขันกัน ชาวนาที่ไร้ที่ดิน ชาวนามีที่ดินแต่ยากจน ชาวนาระดับกลางและชาวนารวย การแบ่งระดับนำไปสู่ การอยู่อย่างตัวใครตัวมัน ลูกใครลูกมัน ญาติใครญาติมัน งานผูกข้อมือที่คนทั้งหมู่บ้านชื่นชมยินดีเพื่อเปิดโลกทัศน์ทางด้านศึกษา หรือการให้ความสำคัญกับการศึกษา ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะว่าเป็นลูกหลานของคนทั้งหมู่บ้าน ฉะนั้นการที่จะคิดว่า ความสำเร็จของลูกหลานครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งคือความสำเร็จของคนทั้งหมู่บ้านเป็นไปไม่ได้ ลูกหลานของคนเมืองจึงต้องแข่งขันกันเพื่อสร้างตำแหน่งแห่งที่ให้กับวงศ์ตระกูลของตัวเอง ความสำเร็จของลูกก็ถือเป็นหน้าเป็นตาให้กับพ่อแม่ไม่ได้ถือเป็นหน้าตาของชุมชน ด้วยเหตุนี้ เด็กหรือเยาวชนคนเมืองจึงไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนบ้านเกิดของตนนัก เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะด้วยเหตุผลสองประการ ได้แก่ หนึ่ง ความกลัวที่จะกลับบ้าน ที่ผู้คนไม่ได้ต้อนรับอย่างเป็นมิตร เมื่อประสบความล้มเหลวในการเรียน เมื่อชุมชนไม่สนใจไยดี พวกเขาจึงระหกระเหินขอส่วนแบ่งพื้นที่ในเมืองในการสร้างคุณค่า บ้างคนต่อสู้เพื่อหาเลี้ยงตัวเองโดยการเปิดธุรกิจเล็กๆ บ้างคนไปเป็นลูกจ้างในโรงงาน ร้านอาหาร แต่เด็ก บางคนที่ไม่มีทุนก็อาจทำตัวสาแหรก เป็นวัยรุ่นกวนเมืองบ้าง ใครจะคิดว่าพวกเขามีอนาคตเช่นไรผิดกับม้งที่ความคาดหวังที่จะให้ลูกหลานรับการศึกษาที่ดี ไม่ได้บ่อนทำลายสายใยพันผูกระหว่างชุมชนม้งกับเด็กเยาวชนม้งลงอย่างสะบั้นหั่นแหลก เหมือนอย่างเด็กและเยาวชนคนเมือง เพราะโลกทัศน์ของพ่อแม่คนเมืองเปลี่ยนไป การเชื่อมประสานรอยร้าว ความเห็นอกเห็นใจกันลดน้อยลง กระนั้นก็ดีข้าพเจ้าก็ไตร่ตรองเสมอมาว่า หากจะต้องมีการพัฒนาแล้ว การพัฒนานั้นไม่ควรจะแยกระหว่างการพัฒนาวัตถุทางกายกับจิตวิญญาณความเป็นคน หรือจิตใจของมนุษย์ออกจากกัน เนื่องจากกายและใจสัมพันธ์ต่อการดำรงอยู่ของชีวิตยิ่งนัก หากเมื่อการพัฒนาดังกล่าวทำให้คนสามารถยอมรับซึ่งกันและกัน เข้าใจกันและให้โอกาสกันมากเท่าไรนั่นแหละจะถือว่าเป็นการพัฒนาที่แท้จริง
พิธีผูกข้อมือเยาวชนม้งที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ
รอยยิ้ม แรกแย้มของเด็กชายม้งที่ข้าพเจ้ารู้สึกอิ่มเอมใจทุกชั่วยาม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศปช.แถลง นิรโทษกรรมแก้ไขความผิดพลาดปฎิบัติการของรัฐ คืนความยุติธรรมให้กับประชาชน Posted: 26 Jul 2013 02:35 AM PDT ย้ำการประกาศกฎหมายความมั่นคงขาดความชอบธรรม ระบุยังมีข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีด้วย กม.ที่ไม่เป็นธรรมที่ไม่เป็นที่เปิดเผย อีกมาก ย้ำหลักการนิรโทษกรรมต้องเป็นการแก้ไขความผิ วันที่ 26 ก.ค. 2556 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รั โดย กฤตยา อาชวณิชกุล ประธาน ศปช. กล่าวถึงเหตุผลที่จัดการเสวนาขึ้นว่า แม้ ศปช. จะจัดตั้งขึ้นมาเพื่อหาข้อเท็ ถ้านับจำนวนผู้ถูกดำเนินคดี ดังนั้นถ้ารวมตัวเลขทั้งหมด คือ 1,833 และ 55 ราย สรุปได้ว่ามีประชาชนถูกดำเนิ ดร. กฤตยา กล่าวว่า ศปช. มีข้อสังเกตและข้อเสนอจากการเก็ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ศปช.พบว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรี 1.การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งนอกจากจะประกาศใช้ 2. หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ แม้ในปัจจุบันปั "ดังนั้น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็ "ศปช.เห็นว่า ในระยะยาว ไม่เพียงแต่ต้องผลักดันให้มี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'พงศ์เทพ' เผยรัฐบาลเปิดกว้างรับฟังทุกกลุ่มต้านนิรโทษกรรม Posted: 26 Jul 2013 12:37 AM PDT "พงศ์เทพ" วอนกลุ่มต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อยู่ในกรอบ กม. พร้อมเปิดรับฟังทุกความเห็น เผยรัฐบาลยื่นอุทธรณ์คดีน้ำแล้ว ยันสู้ทุกเม็ดทุกประเด็น 26 ก.ค. 56 - ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่าที่ทำเนียบรัฐบาล นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีกลุ่มต่างๆ ออกมาต่อต้านการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ว่า การแสดงความไม่เห็นด้วยในกรอบกฎหมายและกรอบรัฐธรรมนูญตามแนวทางประชาธิปไตย รัฐบาลเข้าใจ พร้อมรับฟังและยอมรับ และกฎหมายต่างๆ ที่มีการเสนอเข้าไปในสภาฯ เราเองมีคณะกรรมาธิการที่จะพิจารณาเรื่องรายละเอียดอยู่แล้ว ดังนั้น ผู้ที่ไม่เห็นด้วยต่างๆ หากส่งข้อมูลมาเราพร้อมรับฟังอยู่แล้ว แต่ขอให้อยู่ในกรอบของประชาธิปไตย พร้อมกันนี้ นายพงศ์เทพ ในฐานะประธานคณะกรรมการกลั่นกรองให้ความเห็นเกี่ยวกับคดีโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท กล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา ตัวแทนรัฐบาลได้มีการยื่นอุทธรณ์โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทต่อศาลปกครองสูงสุด ในทุกประเด็นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งในเรื่องอำนาจฟ้องของผู้ร้อง และเรื่องที่ศาลตัดสินในทุกประเด็น ขณะที่ผู้ร้องก็มีการยื่นอุทธรณ์เช่นเดียวกัน จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ทั้งสองฝ่าย ดังนั้น จากนี้ไปจึงขึ้นอยู่กับศาลปกครองสูงสุด แต่การดำเนินการในโครงการบริหารจัดการน้ำไม่จำเป็นต้องหยุด ส่วนไหนที่ทำได้ให้ดำเนินการต่อไป แม้คำพิพากษาและการบังคับของศาลปกครองกลาง จะไม่มีผลบังคับและเราจะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษานี้ก็ตาม แต่จะมาดูว่าจะทำอย่างไรถึงจะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และคำพิพากษาของศาลปกครองกลางให้มากที่สุดส่วนเรื่องการต่อสู้ในชั้นศาลปกครองสูงสุด ส่วนใหญ่จะเป็นเอกสาร ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: 5 ปี ดา ตอร์ปิโด Posted: 26 Jul 2013 12:20 AM PDT วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ อาจจะเป็นวันธรรมดาวันหนึ่งในปฏิทิน แต่สำหรับนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ "ดา ตอร์ปิโด" วันนั้นเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต เพราะเป็นวันที่เธอถูกตำรวจจากโรงพักชนะสงครามจับกุมที่ห้องพัก ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา ๑๑๒ และตั้งแต่วันนั้น เธอก็สูญเสียอิสรภาพ เพราะถูกนำตัวเข้าคุกโดยทันที และต้องอยู่ในคุกเรื่อยมาจนถึงวันนี้ นับเป็นเวลา ๕ ปีเต็ม ทำให้ดา ตอร์ปิโด กลายเป็นเหยื่อของมาตรา ๑๑๒ ที่ถูกจำคุกนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของศาลไทยสมัยใหม่ ตามประวัติ นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล เกิดราว พ.ศ.๒๕๐๖ ที่จังหวัดพระนคร จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำงานเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ และสื่อหลายฉบับ ตั้งแต่วัฏจักร พิมพ์ไทย ไทยสกายทีวี จนกระทั่ง เมื่อเกิดการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ตามข่าวเล่าว่า คุณดารณีไม่ยอมรับการรัฐประหาร จึงลาออกจากอาชีพนักข่าว โดยอธิบายว่า "ไม่อยากเป็นสื่อมวลชนที่ถูกครอบงำ อยากทำงานอย่างอิสระ วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล และคณะรัฐประหาร เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยได้อย่างเต็มที่ ตรงไปตรงมา ไม่ต้องมีใครกลัวใคร" ตั้งแต่หลังรัฐประหาร นางสาวดารณีจึงกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มคนชุดแรกๆ ที่ตั้งกลุ่มชุมนุมสนามหลวง เพื่อแสดงการสนับสนุนฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคัดค้านรัฐประหาร โดยตั้งเป็นเครือข่ายสภาประชาชนเรียกร้องประชาธิปไตย ประเด็นในการรณรงค์ก็คือ การเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ กลับมาใช้ ด้วยรูปแบบการปราศรัยที่ดุเดือด ใช้ถ้อยคำอันรุนแรง เธอจึงได้ฉายาว่า "ดา ตอร์ปิโด" และในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ขณะที่กลุ่มพีทีวี ชุมนุมอยู่ที่สนามหลวง เพื่อต่อต้านรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ คุณดารณีได้เปิดเวทีเล็ก แล้วปราศรัยโจมตีคณะรัฐประหาร ตุลาการรัฐธรรมนูญ และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เธอได้ถูกแม่ค้าปากคลองตลาดฝ่ายนิยมพันธมิตร เชื่อ นางยุพา อิ่มแดง ปาอุจจาระใส่ ทำให้เธอเริ่มเป็นที่รู้จักในหน้าสื่อมวลชนกระแสหลัก และอีกกรณีหนึ่งคือ เมื่อคืนวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ คุณดารณีได้นำมวลชนราว ๑๐๐ คน ไปประท้วงและขว้างปาสิ่งของ ที่หน้าบริษัทของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ที่ถนนพระอาทิตย์ จึงทำให้คุณดารณีกลายเป็นศัตรูสำคัญของของกลุ่มผู้จัดการและนายสนธิ ลิ้มทองกุล ต่อมาหลังจากการเลือกตั้ง เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ รัฐบาลพรรคพลังประชาชน นำโดยนายสมัคร สุนทรเวช ได้เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยลุกขึ้นมาประท้วงขับไล่ โดยอ้างว่าเป็นรัฐบาลนี้ยังคงเป็นเครือข่ายของระบอบทักษิณ คุณดารณีก็ร่วมกับประชาชนกลุ่มอื่นในการเคลื่อนไหวต่อต้านฝ่ายพันธมิตร และสนับสนุนรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ดา ตอร์ปิโด ขึ้นปราศรัยที่เวทีสนามหลวงโดยโจมตีกลุ่มพันธมิตรฯ ฝ่ายอำมาตย์ และ เผด็จการทหารด้วยถ้อยคำรุนแรง และมีข้อความบางตอนที่จะถูกวิจารณ์ว่าเป็นการพาดพิงถึงเบื้องสูง ต่อมาวันที่ ๒๐ กรกฎาคม นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรได้ขึ้นปราศรัยที่เวทีเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์โจมตีดา ตอร์ปิโดอย่างรุนแรงในข้อหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยนำเอาข้อความที่กล่าวว่าเป็นคำพูดของดา ตอร์ปิโด มาเผยแพร่ต่อสารธณชนวงกว้าง เพื่อจะปลุกกระแสคลั่งเจ้า และเล่นงานคุณดารณี การดำเนินการของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ได้นำมาสู่การออกหมายจับและจับกุมนางสาวดารณี แต่มีข่าวอีกกระแสหนึ่งว่า ทางกองทัพบกมีหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ให้ดำเนินคดีต่อดา ตอร์ปิโด โดยที่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการแต่อย่างใด หลังจากการจับกุม ได้มีการใช้สิทธิตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล เพื่อที่จะขอประกันตัวคุณดารณี ชาญเชิงศิลปกุลโดยทันที แต่ศาลไม่ยินยอมให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า ฝ่ายพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกัน และคดีนี้เป็นคดีที่มีโทษสูง ถ้าให้ประกันตัวผู้ต้องหาอาจจะหลบหนี จากนั้น ได้มีความพยายามยื่นขอประกันตัวอีกนับสิบครั้ง แต่ศาลก็ปฏิเสธทุกครั้งด้วยข้ออ้างแบบเดิม ซึ่งกรณีนี้ คุณประเวศ ประภานุกูล ทนายความของคุณดารณีอธิบายว่า ข้ออ้างของศาลนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องค้านการประกันแทบทุกคดี จึงเอามาใช้เป็นเหตุผลไม่ได้ แม้จะมีบุคคลหลายฝ่ายพร้อมยืนยันว่า คุณดารณีจะสู้คดีไม่หลบหนี ศาลก็ไม่รับฟัง ส่วนการอ้างว่า เป็นคดีที่มีโทษสูงจึงไม่ให้ประกัน หมายถึงว่า ศาลตัดสินล่วงหน้าไปแล้วว่า จำเลยมีความผิดตั้งแต่ยังไม่มีการไต่สวน ซึ่งเป็นการขัดกับหลักรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า ผู้ต้องหาถือเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะได้ตัดสินแล้วว่ามีความผิดจริง ยิ่งกว่านั้น ศาลก็ยังไม่ยอมพิจารณาในลักษณะที่ว่า จำเลยไม่เคยถูกพิพากษาโทษ และไม่เคยกระทำผิดกฎหมายมาก่อน และไม่ใช่ผู้มีอิทธิพลที่จะไปทำลายหลักฐานรูปคดี จึงควรที่จะให้ประกันตัวไปสู้คดีได้ แต่เบื้องหลังที่เป็นจริงของการห้ามประกันตัว คือ การที่ศาลจัดให้คดีความผิดตามมาตรา ๑๑๒ เป็นคดีความมั่นคง ที่จะคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาลจึงห้ามประกันตัวไว้ก่อนเสมอ ถ้าผู้ต้องหาเป็นฝ่ายประชาชนคนเสื้อแดง ซึ่งรวมถึงกรณี คุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ทั้งที่ในทางความเป็นจริง การวิจารณ์ใดๆ ก็ไม่อาจจะสร้างความกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ การจับเอาประชาชนมาเข้าคุกในคดีมาตรา ๑๑๒ แล้วห้ามการประกันตัวจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เหตุผลหนึ่งที่คุณดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล ต้องติดคุกต่อเนื่องมายาวนานเช่นนี้ เพราะเธอยืนยันเสมอที่จะสู้คดีให้เป็นบรรทัดฐานของเหยื่อคดี ๑๑๒ ได้มีผู้หวังดีหลายคนเสมอให้เธอยอมสารภาพ ยุติการสู้คดีทั้งหมด และทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งถ้าได้รับการพระราชอภัยโทษ ก็จะได้ออกจากคุกได้เร็วกว่า แต่คุณดารณีไม่ยินยอม เธอเห็นว่า คดีตามมาตรา ๑๑๒ เป็นความไม่ชอบธรรมของสังคมไทย และจะต่อสู้จนถึงที่สุด ความจริงเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลเป็นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ คุณดารณีเคยมีความหวังว่า เธอจะมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือ และได้รับความเป็นธรรมจากรัฐบาลที่เธออธิบายว่า "เป็นพวกเดียวกันเอง" แต่มาถึงวันนี้ คุณดารณีไม่มีความหวังอะไรอีกแล้วที่จะได้รับความเป็นธรรมจากฝ่ายพรรคเพื่อไทย เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ต่อให้มีการผลักดันกฏหมายนิรโทษกรรมประชาชน ก็จะไม่รวมนักโทษมาตรา ๑๑๒ ความคืบหน้าล่าสุด จากคดีดา ตอร์ปิโด ก็คือ การตัดสินของศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๖ ที่ศาลชี้ว่า พฤติกรรมของ นางสาวดารณีเป็นการหมิ่นเบื้องสูง ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมเกียรติยศ ควรต้องลงโทษสถานหนัก เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง จึงตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกนางสาวดารณี ๑๕ ปี ในขั้นตอนขณะนี้ คุณดารณีก็เตรียมการที่จะต่อสู้ไปถึงศาลฎีกาให้เป็นที่สิ้นสุด เราคงจะต้องเอาใจช่วยเธอในการต่อสู้กับความอยุติธรรม และคงต้องยกย่องในจิตใจที่เข้มแข็งยืนหยัด ทั้งที่สภาพในคุกหญิงนั้นเลวร้ายยิ่งนัก การต่อสู้ของเธอจะเป็นประวัติศาสตร์แห่งรูปธรรม ที่แสดงให้เห็นความชั่วช้าของกฎหมายมาตรา ๑๑๒ ที่ทำลายชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในนามของความอนุรักษ์นิยมสุดขั้วของสังคมไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รำลึก 66 ปีแห่งการจากไปของนายพลอองซาน โศกนาฏกรรมแห่งปางหลวง กับอนาคตที่ริบหรี่ของ “สหภาพเมียนมาร์” Posted: 26 Jul 2013 12:07 AM PDT วันที่ 19 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการของพม่าเพราะเป็น "วันแห่งวีรบุรุษ" (Martyrs' Day) ที่ประชาชนชาวพม่าร่วมรำลึกถึงการจากไปของนายพลอองซาน รัฐบุรุษคนสำคัญ ผู้นำขบวนการปลดแอกพม่าจากระบอบอาณานิคมอังกฤษ และ "บิดาแห่งพม่าสมัยใหม่" ในวันเดียวกันนี้ในปี 1947 (พ.ศ.2490) นายพลอองซานและสมาชิกคณะรัฐมนตรีอีก 7 คนถูกลอบยิงเสียชีวิต เพียง 5 เดือนเศษก่อนอังกฤษให้เอกราชแก่พม่าในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1948 นับตั้งแต่พม่าเริ่มปิดประเทศในต้นทศวรรษ 1960 รัฐบาลสั่งห้ามการเฉลิมฉลองเนื่องในวันวีรบุรุษ แต่หลังการปล่อยตัวนางอองซานซุจีครั้งล่าสุดในปี 2010 กับเหตุการณ์ที่หลายคนมองว่าเป็น "จุดเปลี่ยนสำคัญ" และเป็นการจุดกระแสด้านการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า วันแห่งวีรบุรุษนี้จึงไม่ได้กลายเป็นวันหยุดราชการธรรมดา ๆ วันหนึ่งอีกต่อไป การเฉลิมฉลองวันแห่งวีรบุรุษทั้งจากภาครัฐและประชาชนเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว (ค.ศ.2012) ในปีนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงนายพลอองซาน ฟากฝั่งของรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน NLD ภายใต้การนำของนางอองซานซุจี เอกอัครทูตประเทศต่าง ๆ ต่างส่งตัวแทนไปวางวางพวงหรีดหน้าอนุสาวรีย์นายพลอองซานที่สวนสาธารณะกันดอจีกลางเมืองย่างกุ้ง ประชาชนเองก็ร่วมระลึกถึงนายพลอองซานทั้งที่อนุสาวรีย์นายพลอองซานที่มีอยู่แทบจะทุกหัวเมืองในพม่าและสถานที่ฝังศพของท่าน (Martyrs' Mausoleum) ใกล้กับพระมหาเจดีย์ชเวดากอง แม้ว่าประชาชนทั่วประเทศจะร่วมกันเฉลิมฉลองและร่วมไว้อาลัยแก่การจากไปของนายพลอองซานอย่างเอิกเกริกในปีนี้ และเป็นปีแรกที่รัฐบาลพม่าจัดพิธีรำลึกถึงวีรบุรุษผู้วายชนม์ทั้ง 8 คนอย่างยิ่งใหญ่ แต่กลับไร้เงาของประธานาธิบดีเตงเส่ง ที่ติดภารกิจการเยือนสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสพอดี จึงทำให้รัฐพิธีสำคัญในปีนี้ต้องเป็นอีกปีหนึ่งที่ไม่มีผู้นำรัฐบาลพม่าเข้าร่วม ในขณะที่ชาวพม่า[1]จัดงานวันแห่งวีรบุรุษอย่างเอิกเกริก ชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยกลุ่มใหญ่อย่างชาวฉาน (ไทใหญ่) กะฉิ่น และกะเหรี่ยง กลับมองการเฉลิมฉลองในวันแห่งวีรบุรุษด้วยความขมขื่น ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1947 เพียง 5 เดือนเศษก่อนนายพลอองซานจะถูกลอบสังหาร และเพียง 11 เดือนก่อนพม่าได้รับเอกราช มีการประชุมแบบพหุพาคีระหว่างตัวแทนของอังกฤษ รัฐบาลพม่า และตัวแทนชนกลุ่มน้อยที่เมืองปางหลวง (พม่าอ่านว่า "ปินโลง" และฉานอ่านว่า "ป๋างโหลง") เมืองเล็ก ๆ ในรัฐฉาน เพื่อกำหนดอนาคตทางการเมืองของชนกลุ่มน้อยภายหลังพม่าได้รับเอกราช ในการประชุมครั้งนี้มีผู้แทนชนเผ่าเพียง 3 กลุ่ม ได้แก่ ฉาน กะฉิ่น และฉิ่นเข้าร่วม ที่ประชุมมีมติทั้งหมด 9 ข้อ หลักใหญ่ใจความของข้อตกลงที่ปางหลวงคือการที่ชนกลุ่มน้อยจะยินยอมเข้าร่วมกับพม่า ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพพม่า โดยเงื่อนไขว่ารัฐบาลพม่าส่วนกลางจะต้องไม่แทรกแซงกิจการภายในของชนกลุ่มน้อย และพึงปกครองชนกลุ่มน้อยด้วยความเท่าเทียมตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย ต่อมาในรัฐธรรมนูญพม่าที่ร่างขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ค.ศ.1947 มีข้อความในบทที่ 10 ว่าด้วยสิทธิการแยกตัวของชนกลุ่มน้อย โดยในข้อ 201 ในรัฐธรรมนูญพม่าฉบับนี้ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า "...ทุกรัฐจะมีสิทธิแยกตัวจากสหภาพ (พม่า – ผู้เขียน) ตามเงื่อนไขดังที่กำหนดไว้"[2] และสิทธิในการแยกตัวจากสหภาพพม่านั้นจะมีกำหนด 10 ปี ในช่วงเวลา 10 ปีหลังพม่าได้เอกราช ชนกลุ่มน้อยกลุ่มใหญ่ ๆ ที่ไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการเจรจาที่ปางหลวง อย่างกะเหรี่ยงและมอญเริ่มจับอาวุธขึ้นสู้กับรัฐบาลพม่า ในขณะที่ชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ที่มีบทบาทในการประชุมปางหลวงต่างหวาดระแวงและเริ่มไม่มั่นใจในอนาคตของตนเอง ความระส่ำระสายของรัฐบาลหลังเอกราชภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีอูนุเกิดจากทั้งสงครามกลางเมืองกับชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มและภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ รัฐบาลพลเรือนไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ทำให้อูนุจำเป็นต้องเชิญผู้นำในกองทัพอย่างนายพลเนวินขึ้นมาเป็นรัฐบาลรักษาการในปี 1958 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 10 ปีหลังพม่าได้รับเอกราช และเป็นปีที่สิทธิในการแยกตัวของชนกลุ่มน้อยที่ต้องการแยกตัวออกจากสหภาพพม่า ตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญปี 1948 จะมีผลบังคับใช้พอดี การใช้ความรุนแรงทางการทหารปราบปรามกองกำลังติดอาวุธของชนกลุ่มน้อย และการกำจัดเสี้ยนหนามทางการเมือง เช่น เจ้าฟ้าฉาน ทั้งการจำกัดสิทธิทางการเมืองโดยการปลดเจ้าฟ้าบางส่วนและยึดทรัพย์สิน เจ้าฟ้าบางพระองค์อย่างเจ้าฉ่วยไต้ เจ้าฟ้าแห่งเมืองยองฉ่วยที่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของพม่าหลังได้รับเอกราชก็ถูกกองทัพควบคุมตัวและเสียชีวิตในเรือนจำในเวลาต่อมา การขึ้นสู่อำนาจของเนวิน กระบวนการสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพพม่า (หรือที่รู้จักกันดีในนาม "ตั๊ดม่ะด่อ") การเปลี่ยนการปกครอง และการนำระบอบสังคมนิยมมาใช้เป็นธรรมนูญปกครองประเทศเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของพม่า และในห้วงคำนึงของชนกลุ่มน้อยแล้ว การปฏิวัติของกองทัพคือการทำลายจิตวิญญาณของข้อตกลงปางหลวงซึ่งก็คือจิตวิญญาณของความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในพม่าโดยสิ้นเชิง นอกจากนั้นยังเป็นการ "ทรยศ" ต่อเจตนารมณ์ของนายพลอองซานที่ต้องการรวมพม่าให้เป็นหนึ่งเพื่อสร้างรัฐนาวาสมัยใหม่ที่พร้อมเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นจากการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการพัฒนาทางเศรษฐกิจหลังพม่าได้รับเอกราช แม้ที่ผ่านมาจะมีความพยายามจากผู้นำชนกลุ่มน้อยและพรรค NLD ของนางอองซานซุจีในอันที่จะนำจิตวิญญาณปางหลวงขึ้นมาปัดฝุ่นและอภิปราย รวมทั้งวางเป็นแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในพม่าตามระบอบสหพันธรัฐ (federal system)[3] อีกครั้ง แต่คำถามจากชนกลุ่มน้อยที่อาจจะตามมา หรือสิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างแท้จริงอาจไม่ใช่สัญญาลมปากหรือจิตวิญญาณที่ไร้วิญญาณแห่งปางหลวง แต่คือการทวงคืนข้อผูกพันทางกฎหมายของข้อตกลงปางหลวง อันได้แก่สิทธิในการแยกตัว (secession) ออกจากสหภาพพม่าและสิทธิอื่น ๆ ของพวกเขาที่บรรจุอยู่ในข้อตกลงปางหลวงและรัฐธรรมนูญพม่าปี 1948 ที่พม่าร่วมร่างกับอังกฤษ แน่นอนว่าในตอนนี้รัฐของชนกลุ่มน้อยไม่มีเงื่อนไขทางการเมืองใด ๆ ที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพม่าอีกแล้ว (ต่างกับเงื่อนไขเมื่อ 66 ปีที่แล้ว ที่ทั้งพม่าและชนกลุ่มน้อยต้องร่วมมือกันเป็นหนึ่งเพราะต้องการเอกราชจากอังกฤษ) และไม่มีตัวแทนคนใดจากฝั่งรัฐบาลพม่าที่จะมีบุคลิกประนีประนอมและเป็นที่เคารพทั้งจากชนกลุ่มน้อยและรัฐบาลพม่าอย่างนายพลอองซาน การจะมองอนาคตทางการเมืองของพม่ามีความจำเป็นต้องนำการเมืองเรื่องชนกลุ่มน้อยเข้ามาพิจารณาด้วยเสมอ เพราะชนกลุ่มน้อยทั้งเล็กและใหญ่กว่า 135 กลุ่มประกอบกันเป็นประชากรกว่า 1 ใน 3 ของประชากรรวมในพม่าปัจจุบัน และยังปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากองทัพพม่าตั้งแต่ทศวรรษ 1962 เป็นต้นมาก็ได้ทุ่มกำลังมหาศาลให้กับการแก้ไขและปราบปรามปัญหาอันเนื่องมาจากชนกลุ่มน้อย เรามักได้ยินสื่อหรือนักวิเคราะห์บางคนกล่าวชื่นชมพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิจพม่าในปัจจุบันอยู่บ่อย ๆ บ้างกล่าวว่าพม่ามีพัฒนาการทางการเมืองที่น่าชื่นชม หรือการที่ผู้นำในรัฐบาลมีความต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงเป็นสิ่งที่น่ายกย่องส่งเสริม แต่ทั้งหมดนี้เป็นการมองและวิเคราะห์ทิศทางการเมืองของพม่าแบบ "โลกสวย" จนเกินไป จริงอยู่ว่าการเยือนประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่เคยคว่ำบาตรพม่ามาอย่างยาวนาน หรือการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองพม่าบางคน แม้จะเป็นตัวชี้วัดทัศนคติของกลุ่มผู้ปกครองในรัฐบาลพม่าได้บ้าง แต่ก็มิใช่การปักหมุดว่าการเมืองพม่าต่อไปนี้จะมั่นคงและปราศจากปัญหา แม้กองกำลังติดอาวุธของชนกลุ่มน้อยเกือบทุกกลุ่มจะยอมเจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าแล้ว (ยกเว้นกองทัพรัฐฉานตอนใต้ หรือ Shan State Army ภายใต้การนำของพลโทเจ้ายอดศึก ที่กำลังเจรจากับรัฐบาลพม่าอยู่ในขณะนี้) แต่ความหวาดระแวง ความคับแค้น และความทรงจำที่ชนกลุ่มน้อยมีต่อประวัติศาสตร์ความรุนแรงในพม่าที่มีมาตลอด 6 ทศวรรษจะเป็นแบบทดสอบให้กับรัฐบาลพม่าของประธานาธิบดีเตงเส่งต้องเร่งสร้างความมั่นใจ ความไว้วางใจ และทัศนคติที่ดีต่อรัฐบาลพม่าแก่ชนกลุ่มน้อยให้ได้ มิฉะนั้นความพยายามรวมเชื้อชาติในพม่าให้เป็นหนึ่งเดียวคงเกิดขึ้นได้ยาก แต่เงื่อนไขหนึ่งที่รัฐบาลพม่าต้องเคารพและน้อมรับคือการรวมชนกลุ่มน้อยในพม่าให้เข้ามาอยู่ภายใต้ "สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์" นั้น รัฐบาลกลางต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงหรือใช้ความรุนแรงปราบปรามชนกลุ่มน้อยอย่างที่เป็นมาอีก
หมายเหตุ: ผู้เขียนใช้คำว่า "พม่า" และ "เมียนมาร์" ปะปนกันในบทความนี้ ผู้เขียนใช้ "พม่า" เมื่อกล่าวถึงประเทศพม่า และคนพม่าแท้ (มาจากคำว่า "บะหม่า" ในภาษาพม่า) ซึ่งเป็นเชื้อชาติของคนส่วนใหญ่ในประเทศพม่าในปัจจุบัน และใช้คำว่า "เมียนมาร์" เมื่อกล่าวถึงประเทศพม่าในฐานะที่เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ดังนั้น "สหภาพเมียนมาร์" จึงหมายรวมถึงสหภาพที่ประกอบไปด้วยหลายรัฐและหลายเชื้อชาติ [1] ในที่นี้หมายความถึงชาวพม่าแท้หรือ "บะหม่า" [2] "The Right of Secession: A Paper tiger that scares those who want to be scared": เข้าถึงได้ที่http://www.english.panglong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=4405:the-right-of-secession-a-paper-tiger-that-scares-those-who-want-to-be-scared&catid=85:politics&Itemid=266 [3] ดูรายละเอียดใน "NLD to help hold second 'Panglong Conference'": เข้าถึงได้ที่ http://democracyforburma.wordpress.com/2013/02/14/nld-to-help-hold-second-panglong-conference/
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น